You are on page 1of 476

คูม่ อื ครูรายวิชาพืน้ ฐาน

คณิตศาสตร์
เล่ม ๒
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่


ตามมาตรฐานการเรียนรูแ้ ละตัวชีว้ ดั
กลุม่ สาระการเรียนรูค้ ณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
คู่มือครู

รายวิชาพื้นฐาน

คณิตศาสตร์
ชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ ๒ เล่ม ๒

ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

จัดทำ�โดย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำ�นำ�

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มีพันธกิจในการศึกษาค้นคว้า วิจัยและพัฒนาหลักสูตร


วิธีการเรียนรู้ วิธีสอนและการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งจัดทำ�หนังสือเรียน คู่มือครู แบบฝึกทักษะ กิจกรรม และ
สื่อการเรียนรู้เพื่อใช้ประกอบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ เล่ม ๒ นี้ จัดทำ�ขึ้นตามพันธกิจและพัฒนาให้สอดคล้องกับ
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมุ่งหวังให้ผู้สอนนำ�ไปใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับการใช้หนังสือเรียน
รายวิชาพืน
้ ฐานคณิตศาสตร์ ชัน
้ มัธยมศึกษาปีที่ ๒ เล่ม ๒ เพือ
่ ให้ผเู้ รียนสามารถคิด วิเคราะห์และแก้ปญ
ั หาอย่างเป็นคณิตศาสตร์
เกิดทักษะที่จำ�เป็นสำ�หรับการดำ�รงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ และประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
ตนเอง
สสวท. หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า คูม
่ อ
ื ครูเล่มนีจ้ ะเป็นประโยชน์ตอ
่ การจัดการเรียนรู้ และเป็นส่วนสำ�คัญในการพัฒนาคุณภาพ
และมาตรฐานการศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรทางการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำ�ไว้ ณ โอกาสนี้

(ศาสตราจารย์ชก
ู จิ ลิมปิจ�ำ นงค์)
ผู้อำ�นวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ
คำ�ชี้แจง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จด


ั ทำ�ตัวชีว้ ด
ั และสาระการเรียนรูแ้ กนกลาง กลุม
่ สาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมี
จุดเน้นเพื่อต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถที่ทัดเทียมกับนานาชาติ ได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงความรู้กับ
กระบวนการคิด มีความคิดริเริม
่ สร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ปญ
ั หาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ
และถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำ�ไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำ�คู่มือครูสำ�หรับผู้สอน ใช้ประกอบกับหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
เล่ม ๒ ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำ�หนดไว้ในหลักสูตร
คูม
่ อ
ื ครูรายวิชาพืน
้ ฐานคณิตศาสตร์ ชัน
้ มัธยมศึกษาปีที่ ๒ เล่ม ๒ นี้ ประกอบด้วยคำ�แนะนำ�การใช้คม
ู่ อ
ื ครู กำ�หนดเวลา
สอนโดยประมาณในแต่ละบท ในทุก ๆ บทจะกล่าวถึงสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง จุดประสงค์ของ
บทเรียน การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างตัวชี้วัดกับจุดประสงค์ของบทเรียน ตัวอย่างคำ�ถามหรือกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิด
ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ พัฒนาการของความรู ้ ลำ�ดับการจัดกิจกรรมการเรียนรูข
้ องบทเรียน กิจกรรมเสนอแนะ
เฉลยชวนคิดและแบบฝึกหัดต่าง ๆ ตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท รวมทัง้ ความรูเ้ พิม
่ เติมในบางเนือ
้ หาสำ�หรับผูส้ อน ผูส้ อนสามารถ
นำ�คู่มือครูเล่มนี้ไปใช้ประกอบการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้บรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ เลือกและประยุกต์ใช้กิจกรรม
การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน ชั้นเรียนและบริบทของโรงเรียนที่มีความแตกต่างกัน
ในการจัดทำ�คู่มือครูเล่มนี้ สสวท. ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการอิสระ คณาจารย์
รวมทั้ง ครูผู้สอน นักวิชาการ จากสถาบัน และสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สอน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่จะช่วยให้การจัดการศึกษา
ด้านคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีข้อเสนอแนะใดที่จะทำ�ให้คู่มือครูเล่มนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โปรดแจ้ง สสวท.
ทราบด้วย จะขอบคุณยิ่ง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ
คำ�แนะนำ�การใช้คู่มือครู

คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 จัดทำ�ขึ้นเพื่อเป็นคู่มือสำ�หรับการใช้หนังสือเรียน


รายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านความรู้ทางคณิตศาสตร์ ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และด้านคุณธรรม
จริยธรรม และค่านิยม ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำ�หนดไว้ในหลักสูตรอย่างครบถ้วน ครูจึงควรศึกษาคู่มือครู
ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และทดลองปฏิบต
ั ก
ิ จิ กรรมเพือ
่ ให้เกิดความพร้อมก่อนสอนจริง และเข้าใจลำ�ดับการดำ�เนินกิจกรรมตามที่
เสนอแนะไว้ ทั้งนี้ ครูอาจปรับเปลี่ยนกิจกรรมหรือวิธีการจัดการเรียนการสอนได้ตามความเหมาะสมโดยคำ�นึงถึงศักยภาพของ
นักเรียนเป็นสำ�คัญ
จำ�นวนชั่วโมงเรียนที่แนะนำ�ให้ใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำ�หรับหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ในแต่ละ
เล่ม คือ 60–100 ชั่วโมง/ภาคเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้ครูสามารถปรับรายละเอียดของเนื้อหาและเวลาเรียนให้เหมาะสมกับ
ทั้งศักยภาพของนักเรียนและบริบทของชั้นเรียน ทั้งนี้ ครูอาจใช้หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
เล่ม 2 เป็นสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนกับทั้งรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม โดยอาจจัดเนื้อหาบางส่วนของหนังสือเรียน
ที่มีขอบเขตของเนื้อหา และความซับซ้อนมากกว่าที่ตัวชี้วัดกำ�หนด ให้นักเรียนได้เรียนเป็นรายวิชาเพิ่มเติม
คู่มือครูเล่มนี้ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

1. เป็นส่วนที่ประกอบด้วยชื่อบทเรียน พร้อมทั้งหัวข้อย่อยของบทเรียนและจำ�นวนชั่วโมงที่
แนะนำ�ให้ใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยประมาณ เพือ
่ ให้ครูสามารถนำ�ไปประกอบการวางแผน
ชื่อบทเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายภาค และเพื่อให้เวลาเรียนสอดคล้องกับโครงสร้างเวลาเรียนของ
รายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
คู่มือครูนี้ จึงกำ�หนดจำ�นวนชั่วโมงเรียนที่แนะนำ�ให้ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของทุกหัวข้อไว้
รวม 60 ชั่วโมง/ภาคเรียน

2. เป็นสาระและมาตรฐานการเรียนรูต
้ ามทีป
่ รากฏอยูใ่ นตัวชีว้ ด
ั และสาระการเรียนรูแ้ กนกลาง
สาระและมาตรฐาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
การเรียนรู้
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้ครูได้ตรวจสอบความสอดคล้องและครอบคลุมกับหลักสูตร
สถานศึกษา
3. เป็นตัวชี้วัดตามที่ปรากฏอยู่ในตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้
ตัวชี้วัด คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน
้ พืน
้ ฐาน พุทธศักราช
2551 เพื่อให้ครูได้คำ�นึงถึงว่าจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามตัวชี้วัด และ
วัดและประเมินผลตามตัวชี้วัด

4. เป็นจุดประสงค์ตามทีป
่ รากฏอยูใ่ นหนังสือเรียนรายวิชาพืน
้ ฐานคณิตศาสตร์ ชัน
้ มัธยมศึกษา
จุดประสงค์ ปีที่ 2 เล่ม 2 ของแต่ละบทเรียน เพื่อให้ครูได้ตระหนักถึงความรู้ที่นักเรียนพึงมีหลังสิ้นสุดการเรียน
ของบทเรียน
การสอน รวมทั้ง นำ�ไปใช้ในการวัดและประเมินผลของครู

5. เป็นการอธิบายหรือขยายความตัวชี้วัด โดยเชื่อมโยงกับจุดประสงค์ของบทเรียน เพื่อให้


ความเชื่อมโยง
ระหว่างตัวชี้วัดกับ ครูได้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้ตามแต่ละจุดประสงค์จะทำ�ให้นักเรียนบรรลุการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด
จุดประสงค์ของบทเรียน อย่างไร

6. เป็นทักษะและกระบวนการทีน
่ ก
ั เรียนควรจะได้รบ
ั จากการเรียนในแต่ละหัวข้อเป็นอย่างน้อย
ทักษะและ
กระบวนการทาง พร้อมทั้งตัวอย่างของคำ�ถามหรือปัญหาที่คาดหวังว่าสามารถกระตุ้นให้เกิดทักษะและกระบวนการ
คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ได้ โดยรายละเอียดในการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยส่งเสริมทักษะและกระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์จะแทรกอยู่ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งนี้ การพัฒนาทักษะ
และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ให้กบ
ั นักเรียนจะเกิดขึน
้ ได้มากหรือน้อยนัน
้ ขึน
้ อยูก
่ บ
ั กระบวนการ
จัดการเรียนการสอนของครูเป็นสำ�คัญ

7. เป็นส่วนที่ต้องการสะท้อนให้ครูเห็นภาพความต่อเนื่องและเชื่อมโยงของความรู้ทั้งสาม
พัฒนาการ
ลักษณะ ได้แก่
ของความรู้
ความรู้พื้นฐานที่จำ�เป็น เป็นหัวข้อความรู้ที่นักเรียนจะต้องมีก่อนการเรียนในแต่ละบท ซึ่ง
ครูอาจเริ่มต้นจากการใช้แบบทดสอบออนไลน์ เพื่อตรวจสอบและประเมินความรู้เดิมของผู้เรียน
แล้วทบทวนหรือจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนในกรณีที่นักเรียนขาดความรู้ในส่วนนี้ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้น
ให้เกิดความเชื่อมโยงของประสบการณ์เดิมจนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่เป็นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาเป็น
ความรู้ที่สำ�คัญในบทเรียนต่อไป
ความรู้ที่สำ�คัญในบทเรียน เป็นความคิดรวบยอดต่าง ๆ ของบทเรียนในภาพรวม เพื่อให้
ครูได้ทราบเกี่ยวกับความรู้ที่เป็นแนวคิดหลักของเนื้อหาที่นักเรียนจำ�เป็นต้องรู้หลังจากเรียนจบ
บทเรียนนั้น ๆ
ความรู้ในอนาคต เป็นหัวข้อความรู้ที่นักเรียนจะได้ศึกษาต่อไปในอนาคต ซึ่งชี้นำ�ให้ครู
ได้เห็นว่าความรู้ที่เกิดขึ้นจากแต่ละบทเรียนนั้นมีความสำ�คัญสำ�หรับการพัฒนาความรู้ในหัวข้ออื่น
ใดบ้าง ในระดับชั้นเดียวกันหรือระดับชั้นที่สูงขึ้น

8. เป็นลำ�ดับของแนวทางการจัดกิจกรรมทีค
่ วรเกิดขึน
้ ในแต่ละบทเรียน ทัง้ นีล้ �ำ ดับของแนวทาง
ลำ�ดับการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมจะสอดคล้องกับลำ�ดับของหัวข้อและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏในหนังสือเรียน
ของบทเรียน

9.
ข้อเสนอแนะ เป็นหัวข้อภายใต้หัวข้อย่อยของบทเรียนประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้
ในการจัดกิจกรรม 1) ชื่อหัวข้อย่อย เป็นหัวข้อย่อยพร้อมทั้งจำ�นวนชั่วโมงที่แนะนำ�ให้ใช้ในการกิจกรรม
การเรียนรู้ การเรียนรู้โดยประมาณ เพื่อให้ครูสามารถนำ�ไปประกอบการวางแผนการจัดการเรียนการสอน
รายคาบ ทั้งนี้ ครูอาจยืดหยุ่นได้ตามที่เห็นสมควร
2) จุดประสงค์ เป็นจุดประสงค์รายหัวข้อย่อยของบทเรียน โดยระบุไว้เพื่อให้ครูคำ�นึงถึง
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้มีความรู้และความสามารถตรงตามจุดประสงค์ที่วางไว้
จุดประสงค์ในส่วนนี้เป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถสะท้อนกลับไปยังจุดประสงค์ของ
บทเรียนและตัวชี้วัด ทั้งนี้ ครูอาจปรับเปลี่ยนจุดประสงค์นี้ได้ตามที่เห็นสมควร แต่จะต้องเป็น
จุดประสงค์ที่สะท้อนความสามารถของนักเรียนว่าผ่านจุดประสงค์ของบทเรียนและตัวชี้วัดได้
นอกจากนี้ ครูควรประเมินผลให้ตรงตามจุดประสงค์โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น
การตอบคำ�ถามในชั้นเรียน การทำ�แบบฝึกหัด การทำ�ใบกิจกรรม ชิ้นงาน หรือการทดสอบย่อย
โดยถ้าจุดประสงค์ใดที่ครูเห็นว่านักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่ผ่าน ในชั่วโมงต่อไปครูควรนำ�บทเรียนนั้น
มาสอนซ่อมเสริมใหม่
3) ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เป็นตัวอย่างเนื้อหาที่นักเรียนมักเข้าใจคลาดเคลื่อน หรือ
เข้าใจผิด เพื่อให้ครูได้ทราบและป้องกันไม่ให้นักเรียนเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
4) สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นสื่อที่แนะนำ�ให้
ครูใช้สำ�หรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ครูได้จัดเตรียมสื่อหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ล่วงหน้า ทั้งนี้
สื่อดังกล่าว เป็นสื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ตามข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
5) ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นจุดเน้นหรือแนวทางในการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ที่สำ�คัญอย่างเป็นลำ�ดับขั้นตอนในแต่ละหัวข้อย่อย ซึ่งครูควรศึกษาและทำ�ความเข้าใจ
ควบคูไ่ ปกับหนังสือเรียน เพือ
่ จะได้เตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนรูใ้ ห้สอดคล้องกับจุดประสงค์และ
เหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียน
6) กิจกรรมและเฉลยกิจกรรม เป็นกิจกรรมที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน
คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 โดยขยายขั้นตอนการทำ�กิจกรรมที่อยู่ในหนังสือเรียน
รวมทั้งมีตัวอย่างหรือใบกิจกรรม เพื่อให้ครูสามารถนำ�ไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
7) กิจกรรมเสนอแนะ เป็นกิจกรรมทีแ่ นะนำ�ให้ครูน�ำ ไปใช้กบ
ั นักเรียนในการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ ซึ่งมีอยู่หลายลักษณะ ทั้งกิจกรรมเพื่อนำ�เข้าสู่เนื้อหา กิจกรรมเสริมเนื้อหาในบทเรียน
เพื่ อ ให้ เ ข้ า ใจเนื้ อ หาในบทเรี ย นนั้ น ๆ ได้ ม ากขึ้ น โดยแต่ ล ะกิ จ กรรมจะสอดแทรกทั ก ษะและ
กระบวนการทางคณิตศาสตร์ให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะและกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้
ครูอาจพิจารณาปรับเปลี่ยนการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเวลาและศักยภาพของนักเรียน
8) เฉลยชวนคิ ด เป็ น การอธิ บ ายแนวคิ ด และคำ � ตอบของกรอบชวนคิ ด ที่ ป รากฏอยู่
ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 เพื่อให้ครูใช้เป็นแนวทาง
ในการอภิปรายร่วมกันกับนักเรียนถึงแนวคิดในการแก้ปัญหานั้น ๆ
9) เฉลยมุ ม เทคโนโลยี เป็ น การอธิ บ ายแนวคิ ด และคำ � ตอบของกรอบมุ ม เทคโนโลยี
ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 เพื่อให้ครูใช้
เป็นแนวทางในการอภิปรายร่วมกันกับนักเรียนถึงแนวคิดในการแก้ปัญหานั้น ๆ
10) เฉลยแบบฝึ ก หั ด เป็ น คำ � ตอบของแบบฝึ ก หั ด ในหนั ง สื อ เรี ย นรายวิ ช าพื้ น ฐาน
คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 เพื่อให้ครูได้ใช้เป็นแนวทางในการตรวจแบบฝึกหัดของ
นักเรียน ซึ่งในบางข้อจะมีแนวคิดไว้ เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการหาคำ�ตอบ และในบางข้ออาจมี
หลายคำ�ตอบ แต่ให้ไว้เพียงตัวอย่างคำ�ตอบที่ถูกต้องและเป็นไปได้ ทั้งนี้ เพราะแบบฝึกหัดดังกล่าว
ได้ ส อดแทรกปั ญ หาที่ เ ปิ ด โอกาสให้ นั ก เรี ย นได้ คิ ด อย่ า งหลากหลาย และฝึ ก การให้ เ หตุ ผ ล
ซึง่ คำ�อธิบายของนักเรียนอาจแตกต่างจากทีเ่ ฉลยไว้ ดังนัน
้ ในการตรวจแบบฝึกหัดครูควรพิจารณา
อย่างรอบคอบ และยอมรับคำ�ตอบที่เห็นว่ามีความถูกต้องและเป็นไปได้ที่แตกต่างไปจากที่เฉลย
ไว้นี้
สำ � หรั บ แบบฝึ ก หั ด ในหนั ง สื อ เรี ย น ครู ค วรเลื อ กให้ นั ก เรี ย นได้ ฝึ ก ฝนตามความรู้
ความสามารถ ซึง่ ในหลายแบบฝึกหัด ครูอาจใช้เพือ
่ การตรวจสอบความเข้าใจในชัน
้ เรียน โดยอาจใช้
การถาม–ตอบร่วมกันในชั้นเรียน สำ�หรับแบบฝึกหัดที่เป็นข้อท้าทายนั้น จะมีความยากและ
ซับซ้อนมากขึน
้ ซึง่ นักเรียนทัว่ ไปอาจยังไม่สามารถทำ�ได้ ดังนัน
้ ครูควรพิจารณาความเหมาะสมของ
การใช้งานกับระดับความรู้ความสามารถของนักเรียนในชั้นเรียน และไม่ควรนำ�แบบฝึกหัดที่มี
ความยากในระดับนี้ไปสร้างแบบทดสอบเพื่อวัดและประเมินผลกับนักเรียนโดยทั่วไป
10. เป็นคำ�ตอบ หรือแนวคิดในการทำ�กิจกรรมท้ายบท เพื่อเป็นแนวทางให้ครูใช้อภิปราย
เฉลยกิจกรรม ร่วมกับนักเรียน และโดยบางกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นปัญหาปลายเปิดจะมีตัวอย่างแนวคิดหรือ
ท้ายบท
คำ�ตอบที่ถูกต้องและเป็นไปได้ให้ไว้

11. เป็นคำ�ตอบของแบบฝึกหัดท้ายบทในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยม


เฉลยแบบฝึกหัด ศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 เพื่อให้ครูได้ใช้เป็นแนวทางในการตรวจแบบฝึกหัดของนักเรียน ซึ่งมีแนวคิด
ท้ายบท เช่นเดียวกับในส่วนของเฉลยแบบฝึกหัดที่อยู่ในแต่ละหัวข้อย่อย

สำ�หรับแบบฝึกหัดท้ายบทในหนังสือเรียนนี้ มีไว้เพือ
่ ให้นก
ั เรียนได้ฝก
ึ ทำ�โจทย์แบบบูรณาการ
ความรู ้ โดยไม่จ�ำ แนกความรูท
้ ใี่ ช้ในการแก้ปญ
ั หาตามหัวข้อย่อย ซึง่ ครูควรเลือกให้นก
ั เรียนได้ฝก
ึ ฝน
ตามระดับความรู้ความสามารถ

12. เป็นตัวอย่างของแบบทดสอบประจำ�บทที่เน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาทั้งบท และ


ตัวอย่าง ให้เห็นรูปแบบของแบบทดสอบที่มีความหลากหลาย รวมทั้งมีตัวอย่างเกณฑ์การให้คะแนนที่ครู
แบบทดสอบท้ายบท สามารถนำ�ไปปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของชัน
้ เรียน อย่างไรก็ตามครูสามารถใช้ตวั อย่างแบบทดสอบ
ท้ายบทเป็นแนวทางในการสร้างแบบทดสอบสำ�หรับวัดและประเมินผลนักเรียนในแต่ละบทเรียน
ซึ่งตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบทนี้ จะครอบคลุมและสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียนและ
ตัวชี้วัดของหลักสูตร ทั้งนี้ ความซับซ้อนของแบบทดสอบที่จะใช้ควรเหมาะสมกับศักยภาพของ
นักเรียน

13. เป็นกิจกรรมทีเ่ น้นการประยุกต์ใช้ความรูค


้ ณิตศาสตร์ บูรณาการเข้ากับความรูใ้ นศาสตร์อน
่ื ๆ
กิจกรรมคณิตศาสตร์
เชิงสะเต็มและ เพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์ที่กำ�หนดให้ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำ�กัดต่าง ๆ โดยในการแก้ปัญหานั้น
เฉลยกิจกรรม จะต้องอาศัยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (Engineering Design Process) เป็นเครื่องมือ
คณิตศาสตร์เชิงสะเต็ม
14. เป็นความรูท
้ ค
่ี รูควรทราบเพิม
่ เติมไปจากบทเรียน เช่น ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีเป็นเครือ่ งมือ
ความรู้เพิ่มเติม ในการจัดการเรียนรู้เรื่องหนึ่ง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน
สำ�หรับครู

15. เป็นตัวอย่างของเกม ปัญหา หรือกิจกรรมต่าง ๆ ทีค


่ รูสามารถนำ�ไปใช้สร้างความคิดสร้างสรรค์
ให้เกิดกับนักเรียนในชั้นเรียน โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิดและลงมือปฏิบัติอย่างอิสระ ภายใต้
ปกิณกคดี
คำ � ชี้ แ นะของครู เ ท่ า ที่ จำ � เป็ น หรื อ ใช้ สำ � หรั บ การจั ด กิ จ กรรมประกอบอื่ น ๆ เช่ น การเข้ า ค่ า ย
คณิตศาสตร์ กิจกรรมแรลลี่ นิทรรศการ โดยเชื่อมโยงกับวิชาภาษาไทยและเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อฝึกการให้เหตุผล
กำ�หนดเวลาสอน

เนือ
่ งจากสถานศึกษาสามารถปรับเกลีย่ จำ�นวนชัว่ โมงเรียนของรายวิชาพืน
้ ฐานได้เอง ดังนัน
้ สถานศึกษาแต่ละแห่งอาจ
กำ�หนดจำ�นวนชั่วโมงเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาตร์ไม่เท่ากัน สำ�หรับหนังสือชุดนี้ จะแนะนำ�จำ�นวนชั่วโมงเรียงที่อิงตาม
โครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คือ 60 ชั่วโมง/ภาคเรียน เป็นหลัก ทั้งนี้ สถานศึกษา
สามารถปรับจำ�นวนชั่วโมงนี้ ให้สอดคล้องกับบริบทของตนเองได้ตามความเหมาะสม

หน่วยการเรียนรู้ จำ�นวนชั่วโมงที่แนะนำ�
สถิติ (2) 12
ความเท่ากันทุกประการ 14
เส้นขนาน 11
การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 14
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 9
สารบัญ บทที่ 1–3

บทที่ เนื้อหา หน้า

1
บทที่ 1 สถิติ (2) 13
1.1 แผนภาพจุด 18
1.2 แผนภาพต้น–ใบ 23
1.3 ฮิสโทแกรม 29
10

9
1.4 ค่ากลางของข้อมูล 35
8

0
30 35 40 45 50 55

สถิติ (2)

2
บทที่ 2 ความเท่ากันทุกประการ 75
2.1 ความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต 80
2.2 ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม 86
2.3 รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ด้าน–มุม–ด้าน 91
2.4 รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ มุม–ด้าน–มุม 105
2.5 รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ด้าน–ด้าน–ด้าน 111
2.6 รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ มุม–มุม–ด้าน 117
2.7 รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ฉาก–ด้าน–ด้าน 123
ความเท่ากันทุกประการ
2.8 การนำ�ไปใช้ 131

3
บทที่ 3 เส้นขนาน 177
3.1 เส้นขนานและมุมภายใน 181
3.2 เส้นขนานและมุมแย้ง 193
3.3 เส้นขนานและมุมภายนอกกับมุมภายใน 210
3.4 เส้นขนานและรูปสามเหลี่ยม 223

เส้นขนาน
สารบัญ บทที่ 4–5

บทที่ เนื้อหา หน้า

4
บทที่ 4 การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 259
4.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการให้เหตุผลทางเรขาคณิต 263
4.2 การสร้างและการให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้าง 284
4.3 การให้เหตุผลเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม 308

การให้เหตุผลทางเรขาคณิต

5
บทที่ 5 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 399
5.1 การแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง 404
5.2 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว 410
5.3 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์ 419
5.4 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง 428

การแยกตัวประกอบ
ของพหุนามดีกรีสอง

กิจกรรมคณิตศาสตร์เชิงสะเต็ม 453
ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู 459
ปกิณกคดี 469

บรรณานุกรม 472

คณะผู้จัดทำ� 473
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 13

1
บทที่ สถิติ (2)
ในบทสถิติ (2) นี้ ประกอบด้วยหัวข้อย่อย ดังต่อไปนี้
10

1.1 แผนภาพจุด 2 ชั่วโมง


9

1.2 แผนภาพต้น–ใบ 3 ชั่วโมง


7

4
1.3 ฮิสโทแกรม 3 ชั่วโมง
3

2
1.4 ค่ากลางของข้อมูล 4 ชั่วโมง
1

0
30 35 40 45 50 55

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระ สถิติและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา

ตัวชี้วัด
เข้าใจและใช้ความรูท
้ างสถิตใิ นการนำ�เสนอข้อมูลและวิเคราะห์ขอ
้ มูลจากแผนภาพจุด แผนภาพต้น–ใบ ฮิสโทแกรม และ
ค่ากลางของข้อมูล และแปลความหมายผลลัพธ์ รวมทั้งนำ�สถิติไปใช้ในชีวิตจริงโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

จุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถ
1. วิเคราะห์และนำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพจุด แผนภาพต้น–ใบ และฮิสโทแกรมโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
รวมทั้งอ่านและแปลความหมายข้อมูลที่นำ�เสนอด้วยรูปแบบเหล่านี้
2. หาและเปรียบเทียบค่ากลางของข้อมูล (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม) โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
รวมทั้งแปลความหมายผลลัพธ์และเลือกใช้ค่ากลางของข้อมูล
3. ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ คาดคะเน และสรุปผล ได้อย่างเหมาะสม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
14 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

การเชื่อมโยงระหว่างตัวชี้วัดกับจุดประสงค์ของบทเรียน
เนื่องจากตัวชี้วัดกล่าวถึงการเข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนำ�เสนอข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพจุด
แผนภาพต้น–ใบ ฮิสโทแกรม และค่ากลางของข้อมูล และแปลความหมายผลลัพธ์ รวมทัง้ นำ�สถิตไิ ปใช้ในชีวต
ิ จริงโดยใช้เทคโนโลยี
ที่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อให้การเรียนรู้ในเรื่องสถิติของนักเรียนสอดคล้องกับตัวชี้วัด ครูควรจัดประสบการณ์ให้นักเรียนสร้าง
องค์ความรู้ทางสถิติและใช้ความรู้นี้ในการแก้ปัญหาทางสถิติ ซึ่งสะท้อนได้จากการที่นักเรียนสามารถนำ�เสนอข้อมูลที่กำ�หนดให้
ในรูปแผนภาพจุด แผนภาพต้น–ใบ และฮิสโทแกรม โดยเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถหาค่ากลางของข้อมูลโดยใช้
เทคโนโลยีทเี่ หมาะสม เปรียบเทียบลักษณะสำ�คัญของค่ากลางของข้อมูลและเลือกใช้คา่ กลางได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถ
อ่านวิเคราะห์ และแปลความหมายผลลัพธ์ให้สอดคล้องกับบริบทของข้อมูลเหล่านัน
้ ทัง้ ผลลัพธ์ทไ่ี ด้จากการนำ�เสนอในรูปแบบ
ต่าง ๆ และผลลัพธ์ที่เกิดจากการจัดกระทำ�ข้อมูลจนเกิดเป็นค่ากลางของข้อมูล ตลอดจนความสามารถในการใช้ความรู้ทางสถิติ
ที่เกิดขึ้นในการตัดสินใจ คาดคะเน และสรุปผลในสถานการณ์ต่าง ๆ

stem–and– mean
dot plot leaf plot histogram median
mode

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 15

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

1.1 แผนภาพจุด
1.1 แผนภาพจุด มุมเทคโนโลยี 1.2
- แบบฝ�กหัด แผนภาพ
1.1 : 1–2 ต�น–ใบ
1.2
อื่น ๆ อื่น ๆ กิจกรรมอวบอ�วน
แผนภาพต�น–ใบ
- - ผอมเพรียว โฉบเฉีย่ ว
แบบฝ�กหัด 1.2 : 6
หุน
� ดี, แบบฝ�กหัด
1.2 : 1–2, 5
1.4 ค�ากลาง
ของข�อมูล 1.4 ค�ากลางของ
1.3 ฮิสโทแกรม
แบบฝ�กหัด 1.4 : 2 1.3 ฮิสโทแกรม ข�อมูล
- แบบฝ�กหัด
ชวนคิด 1.2
1.3 : 1–3

การสื่อสารและ
การแก�ป�ญหา การสื่อความหมาย
ทางคณิตศาสตร�

ทักษะและ
กระบวนการ
1.1 แผนภาพจุด
แบบฝ�กหัด การคิด ทางคณิตศาสตร� การเชื่อมโยง 1.1 แผนภาพจุด 1.2
1.1 : 5 สร�างสรรค� - แผนภาพ
อื่น ๆ 1.2 แผนภาพ ต�น–ใบ
- ต�น–ใบ อื่น ๆ กิจกรรมอวบอ�วน
- - ผอมเพรียว โฉบเฉีย่ ว
หุน
� ดี, แบบฝ�กหัด
การให�เหตุผล
1.2 : 4–6
1.4 ค�ากลางของ 1.3 ฮิสโทแกรม
ข�อมูล แบบฝ�กหัด
- 1.3 : 3 1.4 ค�ากลางของ 1.3 ฮิสโทแกรม
ข�อมูล แบบฝ�กหัด
- 1.3 : 2–3

1.1 แผนภาพจุด
แบบฝ�กหัด
1.1 : 4–5 1.2
อื่น ๆ แผนภาพ
แบบฝ�กหัด ต�น–ใบ
ท�ายบท : 1–4 แบบฝ�กหัด
1.2 : 3–4
1.4
1.3
ค�ากลางของข�อมูล
ฮิสโทแกรม
ชวนคิด 1.3,
แบบฝ�กหัด
แบบฝ�กหัด
1.3 : 4
1.4 ข : 7

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

พัฒนาการของความรู้

ความรูพื้นฐาน ✤ ความหมายของสถิติและกระบวนการทางสถิติ
ที่จำเปน ✤ ข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ
✤ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำ�นวนจริง

✤ แผนภาพจุด เป็นการนำ�เสนอข้อมูลเชิงปริมาณ โดยจะเขียนจุด


แทนข้อมูลแต่ละตัว เหนือเส้นในแนวนอนที่มีสเกล ตรงกับตำ�แหน่ง
ที่แสดงค่าของข้อมูลนั้น แผนภาพจุดช่วยให้เห็นภาพรวมของข้อมูล
ได้รวดเร็วเมื่อสนใจจะพิจารณาลักษณะของข้อมูลว่ามีการกระจาย
มากน้อยเพียงใด
✤ แผนภาพต้น–ใบ เป็นการนำ�เสนอข้อมูลเชิงปริมาณที่มีการเรียงลำ�ดับ
ข้อมูลและช่วยให้เห็นภาพรวมของข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทำ�ได้โดยแบ่ง
ตัวเลขที่แสดงข้อมูลเชิงปริมาณออกเป็นส่วนลำ�ต้นและส่วนใบ โดยในที่นี้
ความรูที่สำคัญ ส่วนใบจะเป็นตัวเลขที่อยู่ขวาสุด ส่วนตัวเลขที่เหลือจะเป็นส่วนลำ�ต้น
ในบทเรียน ✤ ฮิสโทแกรม มีลักษณะคล้ายแผนภูมิแท่ง แต่ใช้แท่งสี่เหลี่ยมมุมฉาก
แสดงความถี่หรือความถี่สัมพัทธ์ของข้อมูลเชิงปริมาณ
✤ ค่ากลางของข้อมูล
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต เป็นค่าที่ได้จากการหารผลบวกของข้อมูลทั้งหมด
ด้วยจำ�นวนข้อมูล
มัธยฐาน เป็นค่าที่อยู่ตรงกลางของข้อมูลทั้งหมด เมื่อเรียงข้อมูล
จากน้อยไปมากหรือจากมากไปน้อยแล้ว จำ�นวนข้อมูลที่น้อยกว่าหรือ
เท่ากับค่านั้นจะเท่ากับจำ�นวนข้อมูลที่มากกว่าหรือเท่ากับค่านั้น
ฐานนิยม เป็นข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดในข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ

ความรูในอนาคต ✤ การกระจายของข้อมูล
✤ แผนภาพกล่อง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 17

ลำ�ดับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของบทเรียน

แนะนำ�ความหมายของแผนภาพจุด

นำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพจุด
อ่าน วิเคราะห์และแปลความหมายแผนภาพจุด

แนะนำ�ความหมายของแผนภาพต้น–ใบ

นำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพต้น–ใบ
อ่าน วิเคราะห์และแปลความหมายแผนภาพต้น–ใบ

แนะนำ�ความหมายของฮิสโทแกรม

นำ�เสนอข้อมูลด้วยฮิสโทแกรม
อ่าน วิเคราะห์และแปลความหมายฮิสโทแกรม

แนะนำ�ค่ากลางของข้อมูล (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม)


และหาค่ากลางของข้อมูล

เปรียบเทียบลักษณะสำ�คัญของค่ากลางของข้อมูล
และเลือกใช้ค่ากลางของข้อมูลได้อย่างเหมาะสม

สรุปบทเรียน ทำ�กิจกรรมท้ายบทเพื่อเติมเต็มความรู้ที่ได้รับจากบทเรียน
และพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกหัดท้ายบท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
18 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

1.1 แผนภาพจุด (2 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. วิเคราะห์ข้อมูลและนำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพจุด
2. อ่านและแปลความหมายของข้อมูลที่นำ�เสนอด้วยแผนภาพจุด
3. ตัดสินใจ คาดคะเน และสรุปผล ได้อย่างเหมาะสม

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
-

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องแผนภาพจุด ซึ่งเป็นรูปแบบของการนำ�เสนอข้อมูลเชิงปริมาณแบบหนึ่งที่แสดงข้อมูลทุกตัวด้วยจุด
บนตำ�แหน่งเหนือเส้นในแนวนอนที่แบ่งสเกลออกเป็นช่วง ช่วงละเท่า ๆ กัน แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูทบทวนการนำ�เสนอข้อมูลที่นักเรียนเคยเรียนมา แล้วแนะนำ�ความหมายและประโยชน์ของแผนภาพจุด
จากนัน
้ ยกตัวอย่างข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น คะแนนสอบระหว่างภาคเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน เพือ
่ นำ�เสนอ
ด้วยแผนภาพจุด
2. ครูแนะนำ�ขั้นตอนเพื่อให้นักเรียนนำ�เสนอข้อมูลโดยใช้แผนภาพจุด จากนั้นตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับแผนภาพจุดนั้น
เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนในเรื่องการอ่าน วิเคราะห์และแปลความหมายของข้อมูล และชี้ให้นักเรียน
เห็นว่าการนำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพจุดนัน
้ ช่วยให้สามารถเห็นลักษณะสำ�คัญของข้อมูลได้งา่ ยกว่าการพิจารณา
ข้อมูลโดยตรง
3. ครูใช้มม
ุ เทคโนโลยี ในหนังสือเรียน หน้า 14 เพือ
่ แนะนำ�ให้นก
ั เรียนรูจ้ ก
ั การใช้เทคโนโลยีชว่ ยในการนำ�เสนอข้อมูล
เกี่ยวกับอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 แล้วให้นักเรียนฝึกนำ�เสนอข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิต่ำ�สุด
ด้วยเทคโนโลยี จากนั้นอภิปรายร่วมกันเพื่อเปรียบเทียบลักษณะของข้อมูลทั้งสองแบบที่เกิดขึ้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 19

เฉลยมุมเทคโนโลยี
มุมเทคโนโลยี หน้า 14
เขียนแผนภาพจุดแสดงอุณหภูมิตํ่าสุดในเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 โดยใช้ซอฟต์แวร์ GeoGebra ได้ดังนี้
ipst.me/10055



● ●

● ●

● ●

● ● ●

● ● ●

● ● ●

● ● ● ●

● ● ● ●

● ● ● ● ●

24 25 26 27 28

แผนภาพจุดแสดงอุณหภูมิต่ำ�สุดในเดือนเมษายนแตกต่างจากแผนภาพจุดแสดงอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายนในหลาย
ลักษณะ เช่น แผนภาพจุดแสดงอุณหภูมิต่ำ�สุดแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิต่ำ�สุดในเดือนเมษายนอยู่ที่ 24 องศาเซลเซียส ข้อมูล
อุณหภูมิต่ำ�สุดในเดือนเมษายนส่วนมากอยู่ที่ 27 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำ�สุดที่เก็บรวบรวมได้จะกระจุกตัวอยู่ในช่วง
26–28 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนใหญ่ที่อยู่ทางด้านขวาของแผนภาพจุด ในขณะที่อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน
กระจุกตัวอยู่ในช่วง 33–35 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนใหญ่ที่อยู่ในช่วงกลางของแผนภาพ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
20 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 1.1
1. 1) เขียนแผนภาพจุดแสดงคะแนนสอบปลายภาคเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น ม.2 ห้องหนึ่งได้ดังนี้


● ●
● ● ● ● ● ● ●
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●

14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42

คะแนนสอบปลายภาคเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น ม.2 ห้องหนึ่ง

2) คะแนนสูงสุด คือ 39 และคะแนนต่ำ�สุด คือ 15


3) จากแผนภาพจุดแสดงคะแนนสอบ จะเห็นว่า ในการสอบปลายภาคเรียนวิชาคณิตศาสตร์นักเรียนส่วนมาก
ได้ 35 คะแนน

2. 1) เขียนแผนภาพจุดแสดงความสูง (เซนติเมตร) ของนักเรียนห้องนี้ได้ดังนี้

● ●
● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●

144 146 148 150 152 154 156 158 160 162 164 166 168 170 172 174 176

ความสูง (เซนติเมตร) ของนักเรียน

2) นักเรียนคนที่สูงที่สุด สูง 175 เซนติเมตร และนักเรียนคนที่เตี้ยที่สุด สูง 145 เซนติเมตร


จะได้ว่านักเรียนคนที่สูงที่สุด สูงกว่านักเรียนคนที่เตี้ยที่สุด เท่ากับ 175 – 145 = 30 เซนติเมตร
3) จากแผนภาพจุดแสดงความสูงของนักเรียนห้องนี้ พบว่า นักเรียนส่วนมากสูง 145 เซนติเมตร และ 166 เซนติเมตร
4) เนื่องจากโรงเรียนจะคัดเลือกนักเรียนที่มีความสูงตั้งแต่ 160 เซนติเมตรขึ้นไป เพื่อเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลของ
โรงเรียน ซึง่ จากแผนภาพจุดแสดงความสูงของนักเรียนห้องนี้ จะเห็นว่า นักเรียนทีม
่ ค
ี วามสูงตัง้ แต่ 160 เซนติเมตร
ขึ้นไป มีทั้งหมด 17 คน
ดังนั้น นักเรียนห้องนี้มีโอกาสได้รับการคัดเลือกทั้งหมด 17 คน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 21

3. จากแผนภาพจุดแสดงอัตราการเต้นของหัวใจ (ครั้งต่อนาที) ตอบคำ�ถามแต่ละข้อได้ดังนี้


1) ในคาบเรียนนี้มีนักเรียนทั้งหมด 28 คน
2) เนือ
่ งจากพิสยั เท่ากับค่าสูงสุดของข้อมูลลบด้วยค่าต่�ำ สุดของข้อมูล จากแผนภาพจุดจะได้วา่ อัตราการเต้นของหัวใจ
สูงสุดเท่ากับ 90 ครั้งต่อนาที และอัตราการเต้นของหัวใจต่ำ�สุดเท่ากับ 59 ครั้งต่อนาที
ดังนั้น พิสัย เท่ากับ 90 – 59 = 31 ครั้งต่อนาที
3) จากแผนภาพจุดแสดงอัตราการเต้นของหัวใจ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีอัตราการเต้นของหัวใจเท่ากับ 71 ครั้ง
ต่อนาที และ 86 ครั้งต่อนาที

4. จากแผนภาพจุดแสดงจำ�นวนชั่วโมงในการนอนเมื่อวันรุ่งขึ้นต้องไปโรงเรียนและจำ�นวนชั่วโมงในการนอนเมื่อวันรุ่งขึ้น
เป็นวันหยุด ตอบคำ�ถามแต่ละข้อได้ดังนี้
1) พิสัยของจํานวนชั่วโมงที่นักเรียนใช้ในการนอนเมื่อวันรุ่งขึ้นต้องไปโรงเรียน
เท่ากับ 11 – 7.5 = 3.5 ชั่วโมง
พิสัยของจํานวนชั่วโมงที่นักเรียนใช้ในการนอนเมื่อวันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุด
เท่ากับ 13 – 8.9 = 4.1 ชั่วโมง
2) จํานวนชั่วโมงในการนอนของนักเรียนส่วนใหญ่เมื่อวันรุ่งขึ้นต้องไปโรงเรียน เท่ากับ 10 ชั่วโมง
จํานวนชั่วโมงในการนอนของนักเรียนส่วนใหญ่เมื่อวันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุด เท่ากับ 11 ชั่วโมง
3) แผนภาพจุดของจำ�นวนชัว่ โมงในการนอนทัง้ สองแบบมีการกระจายแตกต่างกัน กล่าวคือ แผนภาพจุดของจํานวน
ชัว่ โมงทีน
่ ก
ั เรียนใช้ในการนอนเมือ
่ วันรุง่ ขึน
้ เป็นวันหยุดมีลก
ั ษณะค่อนข้างสมมาตร ขณะทีแ่ ผนภาพจุดของจาํ นวน
ชัว่ โมงทีน
่ ก
ั เรียนใช้ในการนอนเมือ
่ วันรุง่ ขึน
้ ต้องไปโรงเรียน ข้อมูลส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยูท
่ างด้านขวาของข้อมูล
ทั้งหมด
4) จากข้อมูลจำ�นวนชั่วโมงการนอนทั้งสองแบบของนักเรียนสามารถสรุปได้ว่า ในกรณีที่วันรุ่งขึ้นต้องไปโรงเรียน
นักเรียนส่วนใหญ่มีจำ�นวนชั่วโมงในการนอนอยู่ในช่วง 9–10 ชั่วโมง ในขณะที่ถ้าวันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุด นักเรียน
ส่วนใหญ่มีจำ�นวนชั่วโมงในการนอนอยู่ในช่วง 11–12 ชั่วโมง ซึ่งจะเห็นว่าจำ�นวนชั่วโมงในการนอนเมื่อวันรุ่งขึ้น
เป็นวันหยุด มากกว่าจำ�นวนชั่วโมงในการนอนเมื่อวันรุ่งขึ้นต้องไปโรงเรียน

5. จากแผนภาพจุดแสดงเวลา (นาที) ทีใ่ ช้ในการวิง่ ระยะไกลของนักเรียนชายและเกณฑ์มาตรฐานในการประเมินสมรรถภาพ


ทางกายด้วยการวิ่งระยะไกล (นาที) ตอบคำ�ถามแต่ละข้อได้ดังนี้
1) นักเรียนชายที่มีสมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับดีมากมี 3 คน
2) สมรรถภาพทางกายด้วยการวิ่งระยะไกลของนักเรียนชายกลุ่มนี้อยู่ในระดับดี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
22 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

3) คำ�ตอบข้อนี้มีได้หลากหลาย กล่าวคือ นักเรียนสามารถสร้างชุดข้อมูลที่แสดงเวลา (นาที) ที่ใช้ในการวิ่งระยะไกล


ของนักเรียนหญิงได้หลายชุดข้อมูลซึ่งต้องมีการกระจายของข้อมูลในลักษณะสมมาตร และผลของการประเมิน
สมรรถภาพทางกายเช่นเดียวกับของนักเรียนชาย คือ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี รองลงมาเป็นระดับปานกลาง และ
น้อยทีส
่ ด
ุ อยูใ่ นระดับดีมาก โดยไม่มน
ี ก
ั เรียนคนใดได้ผลการประเมินสมรรถภาพทางกายอยูใ่ นระดับต่�ำ และต่�ำ มาก
เช่น










● ● ●
● ● ●
● ● ● ● ●
● ● ● ● ●
● ● ● ● ●

7.5 8 8.5 9 9.5 10 10.5 11 11.5 12 12.5 13

เวลา (นาที) ที่ใช้ในการวิ่งระยะไกลของนักเรียนหญิง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 23

1.2 แผนภาพต้น–ใบ (3 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. วิเคราะห์ข้อมูลและนำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพต้น–ใบ
2. อ่านและแปลความหมายของข้อมูลที่นำ�เสนอด้วยแผนภาพต้น–ใบ
3. ตัดสินใจ คาดคะเน และสรุปผล ได้อย่างเหมาะสม

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. เครื่องชั่งน้ำ�หนัก
2. เครื่องวัดส่วนสูง
3. เครื่องคิดเลข

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนีเ้ ป็นเรือ่ งแผนภาพต้น–ใบ ซึง่ เป็นรูปแบบหนึง่ ของการนำ�เสนอข้อมูลเชิงปริมาณ ทีม่ กี ารแบ่งตัวเลขทีแ่ สดงข้อมูล
ออกเป็นส่วนลำ�ต้นและส่วนใบ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูทบทวนการนำ�เสนอข้อมูลที่นักเรียนเคยเรียนมา แล้วแนะนำ�ความหมายและประโยชน์ของแผนภาพต้น–ใบ
จากนั้นยกตัวอย่างข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น น้ำ�หนักของนักเรียน เพื่อนำ�เสนอด้วยแผนภาพต้น–ใบ
2. ครูแนะนำ�ขั้นตอนเพื่อให้นักเรียนนำ�เสนอข้อมูลโดยใช้แผนภาพต้น–ใบ แล้วอภิปรายร่วมกับนักเรียนเกี่ยวกับ
ข้อสังเกตในหนังสือเรียน หน้า 21
3. ครูยกตัวอย่างข้อมูลที่เป็นทศนิยม แล้วอภิปรายร่วมกันกับนักเรียนเกี่ยวกับการนำ�เสนอข้อมูลนี้ด้วยแผนภาพ
ต้น–ใบ และอภิปรายเกีย่ วกับการเขียนตัวเลขในส่วนลำ�ต้นและส่วนใบเมือ
่ ไม่ปรากฏข้อมูลในส่วนใบ จากข้อสังเกต
ในหนังสือเรียน หน้า 22 แล้วชีป
้ ระเด็นให้นก
ั เรียนเห็นว่าแผนภาพต้น–ใบ นิยมใช้น�ำ เสนอข้อมูลทีเ่ ป็นจำ�นวนเต็ม
บวกและศูนย์
4. ครูยกตัวอย่างแผนภาพต้น–ใบ แล้วตัง้ คำ�ถามเกีย
่ วกับแผนภาพต้น–ใบนัน
้ เพือ
่ ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน
ในเรือ
่ งการอ่าน วิเคราะห์และแปลความหมายของข้อมูล และชีใ้ ห้นก
ั เรียนเห็นว่าการนำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพ
ต้น–ใบนั้น ช่วยให้สามารถเห็นลักษณะสำ�คัญของข้อมูลได้ง่ายกว่าการพิจารณาข้อมูลโดยตรง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
24 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

5. ครูแนะนำ�ให้นักเรียนเห็นว่า สามารถใช้แผนภาพต้น–ใบ เพื่อเปรียบเทียบลักษณะข้อมูลสองชุดได้ โดยอาจใช้


ตัวอย่างที่ 2 ในหนังสือเรียน หน้า 24 เป็นตัวอย่างเพื่อแสดงให้นักเรียนเห็นขั้นตอนในการนำ�เสนอ จากนั้น
ตั้งคำ�ถามเพื่อฝึกการอ่าน วิเคราะห์ และแปลความหมายของข้อมูลที่นำ�เสนอด้วยรูปแบบนี้
6. ครูใช้ “กิจกรรม : อวบอ้วน ผอมเพรียว โฉบเฉี่ยวหุ่นดี” ในหนังสือเรียน หน้า 25 เพื่อฝึกให้นักเรียนเก็บรวบรวม
ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการนำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพต้น–ใบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 25

กิจกรรม : อวบอ้วน ผอมเพรียว โฉบเฉี่ยวหุ่นดี


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมทีเ่ ปิดโอกาสให้นก
ั เรียนได้ทบทวนความรูแ้ ละความเข้าใจเกีย่ วกับการนำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพ
ต้น–ใบ รวมทั้งเห็นความเชื่อมโยงของความรู้ทางสถิติและข้อมูลที่ใกล้ตัวนักเรียนซึ่งในที่นี้คือ น้ำ�หนักและส่วนสูงของนักเรียน
และเพื่อนร่วมชั้น โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
1. เครื่องชั่งน้ำ�หนัก
2. เครื่องวัดส่วนสูง
3. เครื่องคิดเลข

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรรม
1. ครูให้นักเรียนแต่ละคนชั่งน้ำ�หนักและวัดส่วนสูงของตนเอง แล้วจดบันทึก
2. ครูให้นักเรียนแต่ละคน เขียนน้ำ�หนักและความสูงของตนเองไว้บนกระดานหน้าชั้นเรียน
3. ครู แ บ่ ง นั ก เรี ย นออกเป็ น กลุ่ ม กลุ่ ม ละ 4–5 คน ให้ แ ต่ ล ะกลุ่ ม คำ � นวณหาค่ า BMI ของนั ก เรี ย นทุ ก คน โดยใช้
เครื่องคิดเลข แล้วเขียนแผนภาพต้น–ใบ แสดงค่า BMI น้ำ�หนัก และความสูง
4. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม แล้วอภิปรายคำ�ตอบร่วมกันทั้งชั้นเรียน

เฉลยคำ�ถามท้ายกิจกรรม : อวบอ้วน ผอมเพรียว โฉบเฉี่ยวหุ่นดี


ครูพิจารณาความถูกต้องของคำ�ตอบจากข้อมูลน้ำ�หนัก ความสูง และค่า BMI ที่รวบรวมได้ในชั้นเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
26 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 1.2
1. จากคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนห้องหนึ่งจำ�นวน 45 คน ตอบคำ�ถามแต่ละข้อได้ดังนี้
1) เขียนแผนภาพต้น–ใบ แสดงคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้ดังนี้

3 0 0 0 1 1 1 2 2 2 3 3 6 6 7 7 7 7 8 8 8
4 2 2 4 7 8 8
5 1 1 1 2 2 3 3 5 5 6 6 7 8 8 8 9 9 9
6 0
สัญลักษณ์ 4|2 หมายถึง 42

2) พิสัยของคะแนนสอบของนักเรียนห้องนี้เท่ากับ 60 – 30 = 30 คะแนน
3) คะแนนสอบที่นักเรียนได้เท่ากันมากที่สุด คือ 37 คะแนน
4) นักเรียนส่วนใหญ่ได้คะแนนอยู่ในช่วง 30–39 คะแนน
5)
เมื่อกําหนดให้เกณฑ์ในการผ่านอยู่ที่ 40 คะแนนขึ้นไป จะมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ 25 คน คิดเป็น
25
— × 100 ≈ 55.56 เปอร์เซ็นต์
45

2. จากข้อมูลน้ำ�หนัก (กรัม) ของปลานิลจำ�นวน 40 ตัว ตอบคำ�ถามแต่ละข้อได้ดังนี้


1) เขียนแผนภาพต้น–ใบ แสดงน้ำ�หนัก (กรัม) ของปลานิลได้ดังนี้
31 8
32 6
33 4 9
34
35
36
37
38 2 5
39 2
40 0 0 1 7 9
41 4 4 7
42 0 7
43 3 6
44 1 1
45 2 3 5 5 7 9
46 1 3 6 6 6 8 8
47 0 0 1 3 6 9
สัญลักษณ์ 45|2 หมายถึง 452
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 27

2) ปลานิลที่หนักมากที่สุดมีน้ำ�หนัก 479 กรัม และปลานิลที่หนักน้อยที่สุดมีน้ำ�หนัก 318 กรัม


3) ถ้าศักดิ์กําหนดเกณฑ์นํ้าหนักของปลานิลที่จับได้ในช่วงเวลาดังกล่าวว่าจะต้องมีนาํ้ หนักอย่างน้อย 350 กรัมขึ้นไป
4 × 100 = 10 เปอร์เซ็นต์
จะมีปลานิลที่มีน้ำ�หนักไม่ผ่านเกณฑ์ 4 ตัว คิดเป็น —
40

3. จากแผนภาพต้น–ใบ แสดงปริมาณธาตุเหล็ก (มิลลิกรัม) ในมะเขือพวง ตอบคำ�ถามแต่ละข้อได้ดังนี้


1) เมือ
่ พิจารณาแผนภาพต้น–ใบ พบว่า มะเขือพวงทีเ่ ป็นตัวอย่างเกือบทัง้ หมด 19 แหล่ง มีปริมาณธาตุเหล็กใกล้เคียง
กันตั้งแต่ 38 ถึง 45 มิลลิกรัม แต่มีมะเขือพวง 1 แหล่ง ที่มีปริมาณธาตุเหล็กแตกต่างจากแหล่งอื่นอย่างมาก คือ
มีเพียง 12 มิลลิกรัม ดังนั้น ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนี้อาจมีข้อผิดพลาด
2) มีการกระจุกตัวของข้อมูลอยู่ในช่วง 40–49 มิลลิกรัม มากกว่าช่วงอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด
3) โศภาควรจะสรุปว่าในมะเขือพวง 100 กรัม มีปริมาณธาตุเหล็ก 43 มิลลิกรัม เนื่องจากมะเขือพวงจากแหล่งที่
แตกต่างกันส่วนใหญ่มีปริมาณธาตุเหล็ก 43 มิลลิกรัม

4. จากแผนภาพต้น–ใบ แสดงค่า pH ของน้ำ�ในบ่อปลา จำ�นวน 25 บ่อ ตอบคำ�ถามแต่ละข้อได้ดังนี้


1) บ่อปลาทีเ่ พชรควรให้ความสนใจอย่างเร่งด่วนมี 2 บ่อ นัน
่ คือ บ่อทีม
่ ค
ี า่ pH ของน้�ำ เท่ากับ 5.1 และ 9.2 เนือ
่ งจาก
ค่า pH ของน้ำ�แตกต่างจากน้ำ�ในบ่อปลาอื่น ๆ อย่างชัดเจน
2) บ่อปลาส่วนใหญ่มีค่า pH ของน้ำ�เท่ากับ 7.2
3) จากแผนภาพต้น–ใบ แสดงค่า pH ของน้ำ�ในบ่อปลา จำ�นวน 25 บ่อ และตารางค่า pH ของน้ำ�กับผลต่อการดำ�รง
ชีวิตของสัตว์น้ำ�สำ�หรับปลาสวยงาม สามารถสรุปได้ว่า บ่อเลี้ยงปลาของฟาร์มของเพชรส่วนใหญ่เหมาะสมต่อ
การเลี้ยงปลา แต่มีเพียง 2 บ่อ ที่เพชรควรปรับสภาพความเป็นกรด–เบส เพื่อให้เหมาะสมต่อการดำ�รงชีวิตของ
ปลา คือ บ่อที่มีค่า pH 5.1 และบ่อที่มีค่า pH 9.2

5. จากข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการเต้นของหัวใจ (ครั้ง/นาที) ก่อนและขณะออกกำ�ลังกายไปแล้ว 5 นาที ของคน 30 คน


ตอบคำ�ถามแต่ละข้อได้ดังนี้
1) เขียนแผนภาพต้น–ใบ แสดงอัตราการเต้นของหัวใจ (ครัง้ /นาที) ก่อนและขณะออกกำ�ลังกายไปแล้ว 5 นาที ได้ดงั นี้
ก่อนออกกำ�ลังกาย ขณะออกกำ�ลังกายไปแล้ว 5 นาที
9 9 8 8 8 7 5 5 7
9 8 8 7 6 6 5 5 5 4 4 4 4 3 2 2 1 1 1 1 0 8
0 9
10
11 0 0 0 1 2 3 3 3 3 4 5 5 6 6 7 7 8 9
12 0 0 2 3 3 5 7 7 8
13 0 0 0
สัญลักษณ์ 11|2 หมายถึง อัตราการเต้นของหัวใจ 112 ครั้ง/นาที

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
28 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2) ลั ก ษณะการกระจายของข้ อ มู ล ทั้ ง สองชุ ด ต่ า งกั น โดยข้ อ มู ล แต่ ล ะชุ ด มี ก ารกระจุ ก ตั ว ของข้ อ มู ล อยู่ ใ นช่ ว งที่
แตกต่างกัน กล่าวคือ ข้อมูลที่แสดงอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำ�ลังกายไปแล้ว 5 นาที กระจุกตัวอยู่ในช่วง
110–130 ครั้ง/นาที ขณะที่อัตราการเต้นของหัวใจก่อนออกกำ�ลังกายกระจุกตัวอยู่ในช่วง 70–90 ครั้ง/นาที
3) จากข้อมูลข้างต้นสามารถสรุปข้อมูล ดังตัวอย่างต่อไปนี้
✤ อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้นขณะออกกำ�ลังกายไปแล้ว 5 นาที
✤ จากกลุ่มตัวอย่างจำ�นวน 30 คน ขณะออกกำ�ลังกายไปแล้ว 5 นาที คนส่วนใหญ่จะมีอัตราการเต้นของหัวใจ
อยู่ในช่วง 110–119 ครั้ง/นาที

6. จากแผนภาพต้น–ใบ สรุปพฤติกรรมในการชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือผ่าน USB และ AC จากระยะเวลา (ชั่วโมง


ต่อครั้ง) ดังตัวอย่างต่อไปนี้
✤ จำ � นวนชั่ ว โมงในการชาร์ จ แบตเตอรี่ โ ทรศั พ ท์ มื อ ถื อ ผ่ า นอุ ป กรณ์ USB หรื อ ผ่ า นเครื่ อ งแปลงไฟ AC
ไม่แตกต่างกันในช่วง 0.1–0.9 ชั่วโมง แต่แตกต่างกันอย่างชัดเจนในช่วง 1.0–2.9 ชั่วโมง และในช่วง
14.0–14.9 ชั่วโมง กล่าวคือ นิยมชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือผ่านเครื่องแปลงไฟ AC มากกว่าอย่างชัดเจน
ในช่วง 1.0–2.9 ชั่วโมง และในช่วง 14.0–14.9 ชั่วโมง
✤ ถ้าต้องการชาร์จแบตเตอรีโ่ ทรศัพท์มอ
ื ถือเป็นระยะเวลานาน ๆ กลุม
่ ตัวอย่างมีแนวโน้มของพฤติกรรมการชาร์จ
แบตเตอรี่ผ่านเครื่องแปลงไฟ AC มากกว่าการชาร์จแบตเตอรี่ผ่านอุปกรณ์ USB
✤ ลักษณะการกระจายของข้อมูลเกีย่ วกับพฤติกรรมในการชาร์จแบตเตอรีโ่ ทรศัพท์มอ
ื ถือผ่านอุปกรณ์ USB หรือ
ผ่านเครื่องแปลงไฟฟ้าไม่แตกต่างกัน คือ กระจุกตัวอยู่ในช่วง 0.1–3.9 ชั่วโมง และในช่วง 14.0–14.9 ชั่วโมง
กล่าวคือ นิยมชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือในช่วงจำ�นวนชั่วโมงเหล่านี้มากกว่าช่วงจำ�นวนชั่วโมงอื่น ๆ
อย่างเห็นได้ชัด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 29

1.3 ฮิสโทแกรม (3 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. วิเคราะห์ข้อมูลและนำ�เสนอข้อมูลด้วยฮิสโทแกรม
2. อ่านและแปลความหมายของข้อมูลที่นำ�เสนอด้วยฮิสโทแกรม
3. ตัดสินใจ คาดคะเน และสรุปผล ได้อย่างเหมาะสม

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
-

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องฮิสโทแกรม ซึ่งเป็นการนำ�เสนอข้อมูลเชิงปริมาณที่เหมาะกับข้อมูลที่มีจำ�นวนมาก ๆ การนำ�เสนอ
ด้วยแผนภาพจุด และแผนภาพต้น–ใบ จึงอาจทำ�ได้ไม่สะดวก แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูทบทวนการนำ�เสนอข้อมูลเชิงปริมาณที่นักเรียนได้เรียนมา แล้วชี้ให้เห็นข้อจำ�กัดที่เกิดขึ้นเมื่อข้อมูลมีจำ�นวน
มาก ๆ จากนั้นแนะนำ�ให้นักเรียนได้รู้จักการนำ�เสนอข้อมูลด้วยฮิสโทแกรม และเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง
กับแผนภูมิแท่ง
2. ครูแนะนำ�หลักการสร้างฮิสโทแกรม และใช้ตัวอย่างข้อมูล ในหนังสือเรียน หน้า 31 เพื่อให้นักเรียนฝึกสร้าง
ฮิสโทแกรม รวมทั้งอ่าน วิเคราะห์และแปลความหมายของข้อมูล จากนั้นใช้มุมคณิต ในหนังสือเรียน หน้า 33
อภิปรายร่วมกับนักเรียนเกี่ยวกับการเขียนฮิสโทแกรมของข้อมูลเชิงปริมาณที่ไม่ต่อเนื่อง
3. ครู ใ ช้ ข้ อ มู ล ที่ นำ � เสนอในรู ป ตารางแจกแจงความถี่ อภิ ป รายร่ ว มกั บ นั ก เรี ย นถึ ง การนำ � เสนอข้ อ มู ล ดั ง กล่ า ว
ด้วยฮิสโทแกรม แล้วให้นักเรียนอ่าน วิเคราะห์ แปลความหมาย รวมถึงสังเกตลักษณะการกระจายของข้อมูล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
30 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 1.3
1. จากการสํารวจจํานวนพี่น้องในครอบครัวของนักเรียนแต่ละคนในห้อง จํานวน 32 คน ตอบคำ�ถามแต่ละข้อได้ดังนี้
1) สร้างฮิสโทแกรม แสดงจํานวนพี่น้องในครอบครัวของนักเรียนแต่ละคนในห้องได้ดังนี้
จำนวนนักเรียน
10

0 จำนวนพี่น�องในครอบครัว
1 2 3 4

หมายเหตุ ในการสร้างฮิสโทแกรมในระดับชั้นนี้ นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยี เช่น ซอฟต์แวร์ GeoGebra หรือซอฟต์แวร์ตารางทำ�งาน เพื่อช่วย


ในการสร้างฮิสโทแกรมได้ ดังนั้น ในทางปฏิบัติ บางลักษณะของฮิสโทแกรมที่สร้างจากซอฟต์แวร์ เช่น ลูกศรบนแกน การย่อแกน เป็นต้น
อาจไม่ปรากฏ ซึง่ ครูอาจชวนนักเรียนอภิปรายถึงสิง่ ทีน
่ ก
ั เรียนเคยเรียนมาแล้วในระดับประถมศึกษาว่าฮิสโทแกรมทีส่ ร้างจากซอฟต์แวร์เหมือน
หรือแตกต่างจากสิ่งที่นักเรียนเคยเรียนมาอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถยอมรับฮิสโทแกรมที่สร้างจากซอฟต์แวร์ได้

2) จากฮิสโทแกรมสามารถสร้างข้อสรุปได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
✤ นักเรียนส่วนใหญ่มีจำ�นวนพี่น้องในครอบครัว 2 คน
✤ มีนักเรียน 9 คน ที่เป็นลูกคนเดียวในครอบครัวหรือไม่มีพี่น้อง
✤ มีนักเรียนเพียงห้าคนที่มีจำ�นวนพี่น้องในครอบครัว 4 คน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 31

2. จากการสํารวจพฤติกรรมการดื่มกาแฟของประชาชนในประเทศต่าง ๆ 30 ประเทศ ตอบคำ�ถามแต่ละข้อได้ดังนี้


1) สร้างตารางแจกแจงความถี่ เมื่อกำ�หนดช่วงให้ได้ดังนี้

น�้ำหนักของกาแฟโดยเฉลี่ยที่แต่ละคนบริโภค ความถี่
(กิโลกรัมต่อปี)
ตั้งแต่ 0.7 แต่น้อยกว่า 2.2 5
ตั้งแต่ 2.2 แต่น้อยกว่า 3.7 12
ตั้งแต่ 3.7 แต่น้อยกว่า 5.2 5
ตั้งแต่ 5.2 แต่น้อยกว่า 6.7 5
ตั้งแต่ 6.7 แต่น้อยกว่า 8.2 2
ตั้งแต่ 8.2 แต่น้อยกว่า 9.7 1

2) สร้างฮิสโทแกรม แสดงน้ำ�หนักของกาแฟโดยเฉลี่ยที่แต่ละคนบริโภค (กิโลกรัมต่อปี) ได้ดังนี้

ความถี่

12
11

10
9

8
7
6
5
4
3
2
1

0 น้ำหนักของกาแฟ
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
32 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

3) จากฮิสโทแกรม อาจสร้างข้อสรุปได้ดังนี้
✤ น้�ำ หนักของกาแฟโดยเฉลีย่ ต่อปีทป
ี่ ระชาชนในประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่บริโภคอยูใ่ นช่วงตัง้ แต่ 2.2 แต่นอ
้ ยกว่า
3.7 กิโลกรัม
✤ ประเทศทีป
่ ระชาชนดืม
่ กาแฟโดยเฉลีย
่ ต่อปีในช่วงตัง้ แต่ 0.7 แต่นอ
้ ยกว่า 2.2 กิโลกรัม ตัง้ แต่ 3.7 แต่นอ
้ ยกว่า
5.2 กิโลกรัม และตั้งแต่ 5.2 แต่น้อยกว่า 6.7 กิโลกรัม มีจำ�นวนไม่แตกต่างกัน
✤ มีเพียงประเทศเดียวที่ประชาชนดื่มกาแฟโดยเฉลี่ยต่อปีในช่วงตั้งแต่ 8.2 แต่น้อยกว่า 9.7 กิโลกรัม
3. จากการสํารวจของ General Social Survey ในปี ค.ศ. 2016 เกี่ยวกับจํานวนชั่วโมงเฉลี่ยในแต่ละวันที่ใช้ในการดูทีวี
ของชาวอเมริกัน โดยมีผู้ตอบแบบสํารวจทั้งหมด 1,883 คน ตอบคำ�ถามได้ดังนี้
1) สร้างฮิสโทแกรม แสดงจํานวนชั่วโมงเฉลี่ยในแต่ละวันที่ใช้ในการดูทีวีของชาวอเมริกัน โดยให้แกนตั้งแสดง
เปอร์เซ็นต์ของจํานวนคนตามตาราง ได้ดังนี้

ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำ�นวนชั่วโมงเฉลี่ยในแต่ละวันที่ใช้ในการดูทีวีกับเปอร์เซ็นต์ของจำ�นวนคน

จำ�นวนชั่วโมงเฉลี่ยในแต่ละวัน เปอร์เซ็นต์ของจำ�นวนคน
0 8.60
1 19.65
2 25.81
3 15.77
4 11.74
5 6.00
6 4.89
7 1.17
8 2.44
9 0.32
10 1.22
11 0.05
12 1.33
13 0.05
14 0.05
15 0.80
16 0.85
17 0
18 0.05
19 0

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 33

จำ�นวนชั่วโมงเฉลี่ยในแต่ละวัน เปอร์เซ็นต์ของจำ�นวนคน
20 0.27
21 0
22 0
23 0
24 0.27

ฮิสโทแกรมแสดงจำนวนชั่วโมงเฉลี่ยที่ใช�ในการดูทีวี

28
27
26
25
24
23
22
21
20
เปอร�เซ็นต�ของจำนวนคน

19
18
17
16
15
14
13
12
11
10
9
8
7
6
5
4
3
2
1
0
0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24

เวลาที่ใช�ในการดูทีวี (ชั่วโมงต�อวัน)

2) จากตารางในข้ อ 1) พบว่ า ผลรวมเปอร์ เ ซ็ น ต์ ข องผู้ ที่ ใ ช้ เ วลาในการดู ที วี ไ ม่ เ กิ น สองชั่ ว โมงต่ อ วั น เท่ า กั บ


8.60 + 19.65 + 25.81 = 54.06 ดังนั้นกลุ่มของผู้ที่ตอบแบบสำ�รวจที่มีโอกาสมีชีวิตยืนยาวได้อีกหนึ่งปีครึ่ง
คิดเป็นร้อยละ 54.06 ของผู้ที่ตอบแบบสำ�รวจ
3) จากฮิสโทแกรม สามารถสรุปเกี่ยวกับผลการสำ�รวจนี้ได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
✤ ผู้ตอบแบบสำ�รวจประมาณ 1 ใน 4 หรือ 25% มีจำ�นวนชั่วโมงเฉลี่ยในการดูทีวี 2 ชั่วโมงต่อวัน
✤ ลักษณะการกระจายของข้อมูลจำ�นวนชั่วโมงเฉลี่ยในการดูทีวีของผู้ตอบแบบสำ�รวจมีลักษณะไม่สมมาตร
โดยกระจุกตัวอยู่ในช่วง 0–6 ชั่วโมงต่อวัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
34 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

4. จากข้อมูลของร้านอาหารที่ชื่นชอบแห่งหนึ่ง สามารถตอบคำ�ถามได้ดังนี้
1) ช่วงเวลาที่ร้านแห่งนี้เปิดให้บริการคือ 10:00–22:00 น.
2) ตัวอย่างคำ�ตอบ จากข้อมูลของร้านอาหารแห่งนี้ หากต้องการไปรับประทานอาหารทีร่ า้ นนีใ้ นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์
ควรเลือกช่วงเวลาที่มีลูกค้าน้อยเมื่อเทียบกับช่วงอื่น ๆ นั่นคือ
ในวันเสาร์ควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลา 12:00–15:00 น. และ 17:00–21:00 น.
และในวันอาทิตย์ควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลา 11:00–14:00 น. และ 16:00–20:00 น.
3) จำ�นวนลูกค้าที่เข้ามารับประทานอาหารที่ร้านแห่งนี้ในวันเสาร์และวันอาทิตย์มีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก
เมื่อพิจารณาจากการกระจายของข้อมูลมีลักษณะคล้ายกัน กล่าวคือ มีลักษณะสมมาตรสองช่วง ได้แก่ ช่วงเวลา
ประมาณ 10:00–15:00 น. และประมาณ 15:00–22:00 น. โดยในแต่ละช่วงนั้นจะมีจำ�นวนลูกค้าค่อย ๆ
เพิ่มขึ้นจนมีจำ�นวนมากในช่วงกลางของแต่ละช่วงแล้วค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ

10

6
ความถี่

2 4 6 8 10 2

1
50 55
0 40 45
30 35
การทำงาน
จำนวนชั่วโมงใน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 35

1.4 ค่ากลางของข้อมูล (4 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยมของข้อมูล
2. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม และเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม
3. ตัดสินใจ คาดคะเน และสรุปผล ได้อย่างเหมาะสม

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.4 : ค่าใดที่คู่ควร

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องค่ากลางของข้อมูล ซึ่งกล่าวถึงค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม เพื่อใช้เป็นตัวแทนของข้อมูล
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูอภิปรายกับนักเรียนเกีย่ วกับสถานการณ์ความสูงของนักเรียนชัน
้ ม.2 ในโรงเรียน ในหนังสือเรียน หน้า 38 หรือ
ให้นก
ั เรียนเก็บรวบรวมข้อมูลเกีย
่ วกับความสูงของนักเรียนในห้อง แล้วอภิปรายซักถามนักเรียนว่าควรใช้ขอ
้ มูลใด
จึงจะเป็นตัวแทนที่เหมาะสมของข้อมูลทั้งหมดที่กำ�หนดให้ เพื่อให้นักเรียนรู้จักคำ�ว่า “ค่ากลางของข้อมูล”
2. ครูแนะนำ�ความหมายของค่าเฉลี่ยเลขคณิต จากนั้นยกตัวอย่างข้อมูล เพื่อให้นักเรียนฝึกหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
แล้วอาจใช้ชวนคิด 1.1 ในหนังสือเรียน หน้า 41 อภิปรายร่วมกับนักเรียนเกีย่ วกับค่าเฉลีย่ เลขคณิตทีเ่ กิดจากข้อมูล
สองชุด โดยแต่ละชุดมีจ�ำ นวนข้อมูลไม่เท่ากัน และอาจใช้ชวนคิด 1.2 ในหนังสือเรียน หน้า 43 เพือ
่ ตรวจสอบความ
เข้าใจการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
3. ครูให้นักเรียนทำ� “กิจกรรม : แต้มลูกเต๋า” ในหนังสือเรียน หน้า 44 เพื่อฝึกการหาค่าเฉลี่ยของจำ�นวนครั้ง
ในการทอดลูกเต๋า แล้วทำ�ให้ลูกเต๋าขึ้นหน้าต่าง ๆ ครบหมดทุกหน้า แล้วอาจใช้ชวนคิด 1.3 ในหนังสือเรียน
หน้า 45 เพื่อตรวจสอบความเข้าใจเรื่องการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตและการใช้ข้อมูลดังกล่าว ในสถานการณ์ปัญหา
ที่จะต้องใช้การตัดสินใจ
4. ครูใช้ชุดข้อมูลที่มีค่าของข้อมูลแตกต่างกันมาก ดังตัวอย่างข้อมูลในหนังสือเรียน หน้า 46 ซึ่งส่งผลให้ค่าเฉลี่ย
เลขคณิต ไม่เป็นค่ากลางที่เหมาะสม แล้วแนะนำ�ให้นักเรียนรู้จักความหมายของมัธยฐาน จากนั้นอภิปรายร่วมกัน
กับนักเรียนถึงวิธีการหามัธยฐาน ทั้งในกรณีที่จำ�นวนข้อมูลเป็นจำ�นวนคี่และจำ�นวนคู่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
36 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

5. ครูใช้มุมเทคโนโลยี ในหนังสือเรียน หน้า 48 เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยเลขคณิตกับ


มัธยฐาน แล้วสร้างชุดข้อมูลให้ได้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและมัธยฐานตามเงื่อนไขที่ก�ำ หนด จากนั้นอภิปรายร่วมกับ
นักเรียนถึงความแตกต่างระหว่างชุดข้อมูลที่เกิดขึ้น
6. ครูแนะนำ�ให้นก
ั เรียนรูจ้ ก
ั ความหมายของฐานนิยม และหลักการในการพิจารณาหาฐานนิยมของข้อมูล โดยการหา
ฐานนิยมในที่นี้ เราจะพิจารณาหาฐานนิยมที่มีไม่เกินหนึ่งค่าเท่านั้น สำ�หรับกรณีที่มีฐานนิยมมากกว่าหนึ่งค่า
นักเรียนจะได้เรียนในระดับสูงต่อไป
7. ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 1.4 : ค่าใดที่คู่ควร” ในคู่มือครู หน้า 38 เพื่อให้นักเรียนฝึกวิเคราะห์และเลือกใช้
ค่ากลางของข้อมูลให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 37

กิจกรรม : แต้มลูกเต๋า
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ฝึกให้นักเรียนคาดการณ์ผลลัพธ์ของการออกหน้าลูกเต๋า ผ่านการทดลอง แล้วเชื่อมโยงกับ
ค่าเฉลีย
่ เลขคณิต เพือ
่ ให้เห็นประโยชน์ของค่าเฉลีย
่ เลขคณิตกับโอกาสของเหตุการณ์ทจี่ ะเกิดขึน
้ ซึง่ ในทีน
่ ค
ี้ อ
ื จำ�นวนครัง้ ทีล
่ ก
ู เต๋า
จะขึ้นหน้าครบทุกหน้า โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
1. ลูกเต๋า 1 ลูก
2. ตารางบันทึกผล

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน ทดลองทอดลูกเต๋าหนึ่งลูกซ้ำ� ๆ กัน บันทึกหน้าต่าง ๆ ที่ขึ้นจนกระทั่ง
แต่ละหน้าขึน
้ อย่างน้อยหนึง่ ครัง้ จึงหยุดทอดในรอบนัน
้ ให้นกั เรียนทำ�การทดลองเช่นนี ้ จนครบ 10 รอบ โดยให้นกั เรียน
บันทึกผลแต่ละรอบลงในตาราง
2. ครูให้นก
ั เรียนหาค่าเฉลีย
่ เลขคณิตของจำ�นวนครัง้ ทีท
่ อดลูกเต๋าในแต่ละรอบ ค่ากลางทีไ่ ด้จะเป็นค่าเฉลีย
่ โดยประมาณ
ของจำ�นวนครั้งที่จะต้องทอดลูกเต๋าลูกหนึ่งให้ขึ้นหน้าต่าง ๆ ครบทุกหน้าอย่างน้อยหน้าละครั้ง

เฉลยกิจกรรม : แต้มลูกเต๋า
ให้นักเรียนทำ�กิจกรรมตามที่กำ�หนด เพื่อหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของจำ�นวนครั้งที่ทอดลูกเต๋าในแต่ละรอบ ซึ่งคำ�ตอบของ
ปัญหาที่ได้ของนักเรียนแต่ละกลุ่มอาจแตกต่างกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
38 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

กิจกรรมเสนอแนะ 1.4 : ค่าใดที่คู่ควร


กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้ฝึกตัดสินใจเลือกใช้ค่ากลางของข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน
และฐานนิยม โดยสถานการณ์ที่กำ�หนดให้จะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบต่าง ๆ นักเรียนต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมใน
การเลือกใช้ค่ากลางของข้อมูลเพื่อเป็นตัวแทนของข้อมูลชุดนั้น ๆ โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.4 : ค่าใดที่คู่ควร

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแจกใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.4 : ค่าใดที่คู่ควร โดยให้นักเรียนทำ�กิจกรรมเป็นรายบุคคล
2. หลังจากนัน
้ ให้นก
ั เรียนจับคูก
่ บ
ั เพือ
่ น ช่วยกันหาคำ�ตอบในแต่ละสถานการณ์ พร้อมทัง้ เหตุผลทีน
่ ก
ั เรียนเลือกใช้คา่ กลาง
นั้น ๆ หากนักเรียนมีคำ�ตอบไม่ตรงกัน ให้วิพากษ์และตัดสินใจเลือกค่ากลางเพื่อเป็นคำ�ตอบของคู่ตนเอง
3. ครูน�ำ อภิปรายหน้าชัน
้ เรียน โดยยกสถานการณ์ทล
ี ะสถานการณ์ แล้วสุม
่ คูข
่ องนักเรียนเพือ
่ อธิบายคำ�ตอบ ถ้ามีค�ำ ตอบ
ที่แตกต่างกัน ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเหตุผลที่เกิดขึ้น เพื่อหาข้อสรุป
4. ทำ�ตามขั้นตอนที่ 3 จนครบทุกสถานการณ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 39

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.4 : ค่าใดที่คู่ควร

ให้นก
ั เรียนระบุคา่ กลางของข้อมูลทีเ่ หมาะสมเพือ
่ เป็นตัวแทนของข้อมูลในสถานการณ์ทก
ี่ �ำ หนด พร้อมทัง้ ให้เหตุผล
ประกอบ

ในชั้นเรียน
ของเพื่อน
1. ขนา ดเสื้อโปโล 2. ปริมาณการนำ�เข้านมผงข
รอยขีด าดมันเนยของประ
เทศต่าง ๆ
ขนาดเสื้อ ∣∣∣∣
S ∣∣∣∣ ∣∣∣
M ∣∣∣∣ ∣∣∣∣
∣∣∣∣ ∣∣∣∣
L ∣∣
XL

3. ผู้ที่เข้าชมสวนสัตว์แห่งหนึ่งจำ�แนก
ตามจังหวัด โดยวิเคราะห์จากป้าย
ทะเบียนรถ

4. รองเท้าแต่ละเบอร์ที่ขายได้ใน 1 สัปดาห์ 5 จำ�นวนข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์จ�ำ แนกตามเนือ


้ หา

เบอร์ จำ�นวน (คู่) พ.ศ.


เนื้อหา
37 5 2557 2558 2559 2560 2561
38 2 เลขยกกำ�ลัง 5 4 5 5 3
39 4 สถิติ 7 6 6 8 6
40 12 พหุนาม 4 6 5 3 6
41 17 การให้เหตุผล 4 4 4 4 5
42 20 รวม 20 20 20 20 20

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
40 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

6.
ส�วนสูงเป�นเซนติเมตรของสมาชิกในทีมบาสเกตบอลโรงเรียน
208
210
200 189 192 195 193 190
190 179
180 168 173
170 161
160 156
150
140
130
120
110
100
90
80
70
60
50
40
30
20
10
0

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 41

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.4 : ค่าใดที่คู่ควร

สถานการณ์ 1 สถานการณ์ 2
ค่ากลางที่ใช้ คือ ค่ากลางที่ใช้ คือ
เหตุผล เหตุผล

สถานการณ์ 3 สถานการณ์ 4
ค่ากลางที่ใช้ คือ ค่ากลางที่ใช้ คือ
เหตุผล เหตุผล

สถานการณ์ 5 สถานการณ์ 6
ค่ากลางที่ใช้ คือ ค่ากลางที่ใช้ คือ
เหตุผล เหตุผล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
42 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 1.4 : ค่าใดที่คู่ควร

สถานการณ์ 1 สถานการณ์ 2
ค่ากลางที่ใช้ คือ ฐานนิยม ค่ากลางที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
เหตุผล เนื่องจากขนาดเสื้อ S, M, L, XL แต่ละข้อมูลเป็น เหตุผล เนื่องจากปริมาณนมผงขาดมันเนยเป็นข้อมูล
ข้อมูลเชิงคุณภาพที่อธิบายลักษณะต่าง ๆ ของเสื้อโปโล เชิงปริมาณที่ไม่แตกต่างกันจนผิดปกติ ซึ่งในการศึกษา
นั่นคือ ความยาวรอบอก ความยาวของตัวเสื้อ เป็นต้น ปริมาณนมผงขาดมันเนยที่นำ�เข้าทั้งที่เป็นรายประเทศ
ซึ่งในการศึกษาว่าเพื่อนในห้องส่วนใหญ่สวมเสื้อขนาดใด ในระยะเวลา 5 ปี หรือเป็นรายปี ดังนัน
้ ค่ากลางของข้อมูล
การคำ�นวณค่าเฉลีย
่ และมัธยฐานจึงไม่สามารถนำ�มาใช้ได้ ที่เหมาะสมคือค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ดังนั้น ค่ากลางของข้อมูลที่เหมาะสมคือฐานนิยม

สถานการณ์ 3 สถานการณ์ 4
ค่ากลางที่ใช้ คือ ฐานนิยม ค่ากลางที่ใช้ คือ ฐานนิยม
เหตุผล เนื่องจากสถานการณ์นี้เป็นการศึกษาผู้เข้าชม เหตุผล เนื่องจากเบอร์รองเท้า แต่ละข้อมูลเป็นข้อมูล
สวนสัตว์จ�ำ แนกตามจังหวัดโดยรวบรวมและวิเคราะห์จาก เชิงคุณภาพที่อธิบายลักษณะของเท้า เช่น ความยาว
ป้ายทะเบียนรถ เห็นได้ชัดว่าชื่อจังหวัดเป็นข้อมูลเชิง ของเท้า ซึ่งการศึกษาจำ�นวนรองเท้าแต่ละเบอร์ที่ขายได้
คุณภาพที่ไม่สามารถคำ�นวณได้ ดังนั้น ค่ากลางของข้อมูล ใน 1 สัปดาห์นั้น การคำ�นวณค่าเฉลี่ยและมัธยฐานจึงไม่
ที่เหมาะสมคือฐานนิยม สามารถนำ�มาใช้ได้ ดังนั้น ค่ากลางของข้อมูลที่เหมาะสม
คือฐานนิยม

สถานการณ์ 5 สถานการณ์ 6
ค่ากลางที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่ากลางที่ใช้ คือ มัธยฐาน
เหตุผล ในการพิจารณาแนวของจำ�นวนข้อสอบจำ�แนกตาม เหตุผล เนือ
่ งจากความสูงของสมาชิกในทีมมีความแตกต่าง
เนือ้ หา เราอาจพิจารณาจำ�นวนของข้อสอบในแต่ละเนือ้ หา กันค่อนข้างมาก ซึง่ อาจส่งผลต่อค่าเฉลีย่ เลขคณิต และไม่มี
จากค่าเฉลีย่ ของจำ�นวนทัง้ ห้าปียอ
้ นหลัง เพือ
่ คะเนจำ�นวน สมาชิกคนใดที่มีความสูงเท่ากันเลย ทำ�ให้ได้ว่าการ
ข้อสอบในแต่ละเนือ
้ หาในปีถด
ั ไป ดังนัน
้ ค่ากลางของข้อมูล พิจารณาข้อมูลทีอ
่ ยูต
่ �ำ แหน่งตรงกลางจึงมีความเหมาะสม
ที่ใช้คือค่าเฉลี่ยเลขคณิต ดังนั้น ค่ากลางของข้อมูลที่เหมาะสมคือมัธยฐาน

หมายเหตุ นักเรียนอาจตอบแตกต่างจากนี้ ให้ครูพิจารณาเหตุผลของนักเรียนด้วยว่า สมเหตุสมผลหรือไม่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 43

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 1.1
แนวคิด
พิจารณาสถานการณ์ที่กำ�หนดให้ พบว่า น้ำ�หนักเฉลี่ยของนักเรียนห้องนี้ ไม่เท่ากับ 55 + 45 กิโลกรัม
ipst.me/10057

2
เนื่องจาก จำ�นวนของนักเรียนชายและจำ�นวนของนักเรียนหญิงไม่เท่ากัน
ดังนั้น การจะหาน้ำ�หนักเฉลี่ยของนักเรียนห้องนี้จึงต้องหาผลรวมของน้ำ�หนักของนักเรียนชาย 15 คน และ
ผลรวมของน้�ำ หนักของนักเรียนหญิง 25 คน แล้วนำ�มารวมกัน จากนัน ้ เฉลีย่ โดยการหารด้วยจำ�นวนนักเรียนทัง้ ห้อง
นั่นคือ น้ำ�หนักเฉลี่ยของนักเรียนห้องนี้เท่ากับ (15 × 55) + (25 × 45) = 48.75 กิโลกรัม
15 + 25

ชวนคิด 1.2
แนวคิด
ipst.me/10058
ให้ดิลกได้ผลการเรียนเฉลี่ยในภาคเรียนที่ 2 ของชั้น ม.3 เท่ากับ x
ดังนั้น ผลการเรียนเฉลี่ยทั้งหกภาคเรียน เท่ากับ
(15.0 × 3.20) + (15.0 × 4.00) + (14.5 × 3.50) + (16.5 × 3.00) + (16.0 × 3.65) + (15.0 × x)
15.0 + 15.0 + 14.5 + 16.5 + 16.0 + 15.0
แต่ต้องการให้ได้ผลการเรียนเฉลี่ย เป็น 3.50 จะได้
(15.0 × 3.20) + (15.0 × 4.00) + (14.5 × 3.50) + (16.5 × 3.00) + (16.0 × 3.65) + (15.0 × x) = 3.50
15.0 + 15.0 + 14.5 + 16.5 + 16.0 + 15.0
ดังนั้น x เท่ากับ 3.69

ชวนคิด 1.3
แนวคิด
ipst.me/10060
จากผลการแข่งขันวิ่งในงานกีฬาสีแห่งนี้ พิจารณาค่าเฉลี่ยของเวลาที่ใช้ในการวิ่งของแต่ละทีม ได้ดังนี้
ทีมสีเขียว ใช้เวลาในการวิ่งโดยเฉลี่ย เท่ากับ 13 + 15 + 16 = 44 ≈ 14.67 วินาที
3 3
ทีมสีม่วง ใช้เวลาในการวิ่งโดยเฉลี่ย เท่ากับ 14 + 14 + 15 = 43 ≈ 14.33 วินาที
3 3
ทีมสีเหลือง ใช้เวลาในการวิ่งโดยเฉลี่ย เท่ากับ 14 + 14 + 16 = 44 ≈ 14.67 วินาที
3 3
ทีมสีแดง ใช้เวลาในการวิ่งโดยเฉลี่ย เท่ากับ 15 + 15 + 16 = 46 ≈ 15.33 วินาที
3 3
ถ้าพิจารณาตามเกณฑ์แพ้–ชนะเป็นทีม จากทีมที่ใช้เวลาวิ่งโดยเฉลี่ยน้อยที่สุด จะพบว่า ทีมที่ใช้เวลาวิ่ง
โดยเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ทีมสีม่วง ดังนั้น ทีมที่ชนะเลิศ คือ ทีมสีม่วง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
44 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยมุมเทคโนโลยี
มุมเทคโนโลยี หน้า 48
จากมุมเทคโนโลยี จะได้ตัวอย่างของชุดข้อมูลที่มีค่าเฉลี่ยและมัธยฐานเท่ากับ 20 ดังนี้
ipst.me/9141
ข้อมูลชุดที่ 1 16 17 17 19 20 20 22 22 23 24
ข้อมูลชุดที่ 2 1 2 3 4 4 36 36 37 38 39
ข้อมูลชุดที่ 3 11 13 15 17 19 21 23 25 27 29
ข้อมูลแต่ละชุดแตกต่างกัน กล่าวคือ ข้อมูลชุดที่ 1 มีการกระจายของข้อมูลน้อย ข้อมูลแต่ละตัวเข้าใกล้คา่ เฉลีย่
และมัธยฐาน ข้อมูลชุดที่ 2 มีการกระจายออกเป็นสองช่วงซึ่งแต่ละช่วงอยู่ห่างจากค่าเฉลี่ยและมัธยฐานค่อนข้างมาก
และข้อมูลชุดที่ 3 มีการกระจายสม่ำ�เสมอ เนื่องจากเมื่อเรียงข้อมูลแล้วข้อมูลที่อยู่ติดกันจะเพิ่มขึ้นทีละเท่า ๆ กัน
มีขอ
้ มูลชุดอืน
่ ๆ ทีแ่ ตกต่างไปจากข้อมูลทัง้ สามชุดดังกล่าวทีม
่ ค
ี า่ เฉลีย
่ และมัธยฐานเท่ากับ 20 แต่ลก
ั ษณะของ
การกระจายของข้อมูลไม่แตกต่างกัน
จากกิจกรรมนีส้ งิ่ ทีค
่ รูอาจชักชวนให้นก
ั เรียนร่วมกันอภิปรายว่าหากมีการเพิม
่ ข้อมูลทีม
่ ค
ี วามแตกต่างจากข้อมูล
เดิมมาก ๆ หรือข้อมูลทีม
่ ค
ี า่ ผิดปกติ ข้อมูลนัน
้ จะส่งผลต่อค่าเฉลีย่ เลขคณิต แต่อาจไม่สง่ ผลต่อมัธยฐานของข้อมูลชุดนี้
ซึ่งในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการพิจารณาเลือกค่ากลางของข้อมูล หากนักเรียนพบข้อมูลที่มีค่าผิดปกติ ค่ากลาง
ที่เหมาะสมสำ�หรับการใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลชุดนั้น ๆ คือ มัธยฐาน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 45

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 1.4 ก
1. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลในแต่ละข้อเป็นดังต่อไปนี้
1) ค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดนี้ คือ 3 + 2 + 5 + 8 + 14 + 14 + 5 + 3 + 17
9
≈ 7.89

2) ค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดนี้ คือ 2.8 + 2.1 + 5.7 + 2.1 + 3.3 + 2.8 + 2.8 + 3.2 + 2.1 + 5.1
10
= 3.20

3) ค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดนี้ คือ 72 + 86 + 90 + 65 + 72 + 68
6
= 75.50

4) ค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดนี้ คือ 150 + 86 + 225 + 345 + 410 + 330 + 176


7
= 246

2. ตอบคำ�ถามแต่ละข้อดังต่อไปนี้
1) เนื่องจากค่าเฉลี่ยของจำ�นวน 4 จำ�นวน เท่ากับ 25 จะได้ ผลรวมของจำ�นวนทั้งสี่จำ�นวนนี้เท่ากับ 4(25) = 100
ดังนัน
้ ชุดของจำ�นวน 4 จำ�นวนทีม
่ ผ
ี ลรวมเป็น 100 โดยทีแ่ ต่ละจำ�นวนไม่เท่ากับ 25 มีได้หลากหลาย โดยพิจารณา
ข้อมูลที่มีการกระจายในลักษณะสมมาตร เช่น
✤ 23, 24, 26, 27
✤ 22, 24, 26, 28
✤ 10, 20, 30, 40
2) เนื่องจากค่าเฉลี่ยของจำ�นวน 4 จำ�นวนเท่ากับ 32 จะได้ ผลรวมของจำ�นวนทั้งสี่จำ�นวนนี้เท่ากับ 4(32) = 128
เนื่องจากผลต่างระหว่างจำ�นวนที่มากที่สุดและจำ�นวนที่น้อยที่สุด เท่ากับ 21
ดังนั้น ชุดของจำ�นวน 4 จำ�นวนที่มีพิสัยเท่ากับ 21 และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 32 มีได้หลากหลาย เช่น
✤ 20, 32, 35, 41
✤ 23, 25, 36, 44
✤ 25, 28, 29, 46

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
46 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

3) เพื่อให้หาจำ�นวนที่ต้องการได้ง่ายขึ้น อาจพิจารณาข้อมูลที่การกระจายของข้อมูลนั้นมีลักษณะสมมาตร โดยใช้


110 เป็นจำ�นวนที่มีค่ามากเป็นลำ�ดับที่สามก็ได้ จำ�นวน 5 จำ�นวน ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 110 และมีค่าตั้งแต่ 90
ถึง 120 โดยมีจำ�นวนหนึ่งเป็น 110 มีได้หลายคำ�ตอบ เช่น
✤ 108, 109, 110, 111, 112
✤ 105, 108, 110, 112, 115
✤ 100, 102, 110, 118, 120
✤ 90, 110, 111, 119, 120
4) เนื่องจากค่าเฉลี่ยของจำ�นวน 5 จำ�นวน เท่ากับ 50 จะได้ ผลรวมของจำ�นวนทั้งห้าจำ�นวนนี้เท่ากับ 5(50) = 250
ดังนั้น ชุดของจำ�นวน 5 จำ�นวน ที่มีผลรวมเป็น 250 โดยมีสองจำ�นวนน้อยกว่า 50 และอีกสามจำ�นวนมากกว่า
50 มีได้หลายคำ�ตอบ เช่น
✤ 30, 40, 55, 60, 65
✤ 32, 42, 53, 60, 63
✤ 25, 35, 55, 65, 70

3. จากข้อมูลจำ�นวนชั่วโมงที่เครื่องจักรเสีย ตอบคำ�ถามได้ดังนี้
1) เครื่องจักรเสียทั้งหมด 15 ครั้ง
2) จํานวนชั่วโมงที่น้อยที่สุดที่เครื่องจักรไม่สามารถผลิตสินค้าได้ คือ 1 ชั่วโมง
3) จํานวนชั่วโมงที่มากที่สุดที่เครื่องจักรไม่สามารถผลิตสินค้าได้ คือ 40 ชั่วโมง
4)
ค่าเฉลี่ยของจํานวนชั่วโมงที่เครื่องจักรไม่สามารถผลิตสินค้าได้ หาได้จาก
2 + 5 + 1 + 2 + 14 + 10 + 11 + 18 + 14 + 28 + 26 + 23 + 31 + 38 + 40 ≈ 17.53 ชั่วโมง
15
ดังนั้น ค่าเฉลี่ยของจํานวนชั่วโมงที่เครื่องจักรไม่สามารถผลิตสินค้าได้ ประมาณ 17.53 ชั่วโมง

4. จากข้อมูลค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบของนักเรียน ตอบคำ�ถามได้ดังนี้
1) คะแนนรวมของคะแนนสอบของนักเรียนทั้งสิบคน เท่ากับ 10(51) = 510 คะแนน
2) ถ้าค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบของนักเรียนชายเป็น 49 คะแนน
ดังนั้น คะแนนรวมของคะแนนสอบของนักเรียนชายทั้งหกคน เท่ากับ 6(49) = 294 คะแนน
จากคะแนนรวมของทั้งสิบคนเป็น 510 คะแนน
จะได้ว่า คะแนนรวมของคะแนนสอบของนักเรียนหญิง เท่ากับ 510 – 294 = 216 คะแนน
ดังนั้น ค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบของนักเรียนหญิงเป็น 216 = 54 คะแนน
4

5. จาก 6 วัน สมปองเก็บเงินได้รวมทั้งสิ้น 120 บาท คิดเป็นค่าเฉลี่ย 120 = 20 บาท


6
หากในวันที่ 7 สมปองต้องการเก็บเงินให้ได้ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2 บาท นั่นคือ ค่าเฉลี่ยเป็น 22 บาท
ดังนั้น สมปองต้องมีเงินเก็บ 7 วัน รวมทั้งสิ้น 7(22) = 154 บาท
เพราะฉะนั้น ในวันที่ 7 สมปองจะต้องเก็บเงินให้ได้ 154 – 120 = 34 บาท
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 47

6. แนวคิด
ผลการเรียน จำ�นวน ผลคูณระหว่างผลการเรียนเฉลี่ย
เฉลี่ย หน่วยกิต กับจำ�นวนหน่วยกิต
ม.1 ภาคเรียนที่ 1 3.20 15.0 3.2 × 15 = 48.00
ภาคเรียนที่ 2 4.00 15.0 4 × 15 = 60.00
ม.2 ภาคเรียนที่ 1 3.50 14.5 3.5 × 14.5 = 50.75
ภาคเรียนที่ 2 3.00 16.5 3 × 16.5 = 49.50
ม.3 ภาคเรียนที่ 1 3.65 16.0 3.65 × 16 = 58.40
รวม 77 266.65

ดังนั้น ผลการเรียนเฉลี่ยทั้งห้าภาคเรียนของดิลก เท่ากับ 266.65 ≈ 3.46


77
แบบฝึกหัด 1.4 ข
1. มัธยฐานของข้อมูลแต่ละข้อเป็นดังต่อไปนี้
1) มัธยฐานของข้อมูล หาได้ดังนี้
เรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก จะได้ 15, 17, 17, 18, 25, 29, 37, 49, 62
เนื่องจากข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง คือ 25
ดังนั้น มัธยฐาน เท่ากับ 25
2) มัธยฐานของข้อมูล หาได้ดังนี้
เรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก จะได้ 0.8, 0.8, 4.3, 5.1, 6.5, 7.2, 10.2, 11.3
จากข้อมูลคู่ที่อยู่ตรงกลาง จะได้ 5.1 + 6.5 = 11.6 = 5.8
2 2
ดังนั้น มัธยฐาน เท่ากับ 5.8
3) มัธยฐานของข้อมูล หาได้ดังนี้
เรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก จะได้ 48, 56, 58, 72, 72, 72, 90
เนื่องจากข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง คือ 72
ดังนั้น มัธยฐาน เท่ากับ 72
4) มัธยฐานของข้อมูล หาได้ดังนี้
เรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก จะได้ 10, 11, 12, 12, 12, 12, 15, 16, 20, 20
จากข้อมูลคู่ที่อยู่ตรงกลาง จะได้ 12 + 12 = 24 = 12
2 2
ดังนั้น มัธยฐาน เท่ากับ 12

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
48 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2. คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น
1) 23, 24, 26, 27
10, 20, 30, 40
3, 22, 28, 30
2) 20, 32, 32, 41
21, 24, 40, 42
25, 28, 36, 46
3) 103, 104, 105, 119, 119
105, 105, 105, 117, 118
103, 105, 105, 118, 119
4) 10, 10, 10, 10, 60
5, 7, 10, 23, 55
9.5, 9.5, 10, 11.5, 59.5

3. ฐานนิยมของแต่ละข้อเป็นดังต่อไปนี้
1) ฐานนิยมของข้อมูล พิจารณาจากข้อมูลที่มีความถี่สูงสุด
เมื่อนำ�ข้อมูลมาแจกแจงจะได้ดังตาราง

ข้อมูล 4 5 7 8 10 11

ความถี่ 2 1 3 2 1 1

จากตารางพบว่า ข้อมูลที่มีความถี่สูงสุด คือ 7


ดังนั้น ฐานนิยมของข้อมูลชุดนี้ คือ 7
2) ฐานนิยมของข้อมูล พิจารณาจากข้อมูลที่มีความถี่สูงสุด
เนื่องจาก ข้อมูลแต่ละตัวมีอย่างละหนึ่งตัวหรือมีความถี่เท่ากัน
ดังนั้น ข้อมูลชุดนี้ไม่มีฐานนิยม
3) ฐานนิยมของข้อมูล พิจารณาจากข้อมูลที่มีความถี่สูงสุด
เมื่อนำ�ข้อมูลมาแจกแจงจะได้ดังตาราง

ข้อมูล 11 15 17 18 21

ความถี่ 4 3 1 2 1

จากตารางพบว่า ข้อมูลที่มีความถี่สูงสุด คือ 11


ดังนั้น ฐานนิยมของข้อมูลชุดนี้ คือ 11

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 49

4. จากข้อมูลการจำ�หน่ายเสื้อขนาดตามเบอร์ต่าง ๆ ในหนึ่งสัปดาห์ ตอบคำ�ถามได้ดังนี้


1) คนส่วนใหญ่ซื้อเสื้อเบอร์ 13
2) เฉลี่ยแล้วในแต่ละวันขายเสื้อได้ เท่ากับ 7 + 5 + 6 + 10 + 18 + 7 + 3 = 56 = 8 ตัว
7 7

5. จากข้อมูลผลรวมของแต้มจากการโยนลูกเต๋าสองลูก
1) หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
เนื่องจากข้อมูลข้างต้น มีผลรวมของแต้มที่ซ้ำ�กัน ดังนั้น เราอาจหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตได้จากตาราง ดังนี้

ผลรวมของแต้มที่ปรากฏ 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 รวม

ความถี่ 4 6 6 12 13 20 16 10 6 4 3 100

ความถี่ × ผลรวมของแต้มที่ปรากฏ 8 18 24 60 78 140 128 90 60 44 36 686

ดังนั้น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต เท่ากับ 686 = 6.86


100
2) หามัธยฐาน
เนื่องจากข้อมูลมีทั้งสิ้น 100 ข้อมูล ดังนั้น มัธยฐานจะหาได้จากค่าเฉลี่ยของข้อมูลในตำ�แหน่งที่ 50 และ 51
พิจารณาตารางที่กำ�หนดให้

ผลรวมของแต้ม 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12

ความถี่ 4 6 6 12 13 20 16 10 6 4 3

จะได้ว่า ข้อมูลในตำ�แหน่งที่ 50 และ 51 คือ 7


ดังนั้น มัธยฐานของผลรวมของแต้มที่ปรากฏ คือ 7
3) หาฐานนิยม
เนื่องจากข้อมูลที่มีความถี่สูงสุด คือ 7
ดังนั้น ฐานนิยมของผลรวมของแต้มที่ปรากฏ คือ 7

6. จากชุดของข้อมูลแต่ละข้อที่กำ�หนดให้ พิจารณาค่ากลางที่เหมาะสมดังนี้
1) เนื่องจากมีข้อมูลหนึ่งคือ 8,923 ที่เป็นค่าผิดปกติ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อค่าเฉลี่ย และไม่มีข้อมูลใดที่ซำ้�กัน
ทำ�ให้ได้ว่าไม่มีฐานนิยม ดังนั้น ค่ากลางที่เหมาะสม คือ มัธยฐาน
2) เนื่องจากเห็นได้ชัดว่าข้อมูลส่วนใหญ่คือ 2 ดังนั้น ค่ากลางที่เหมาะสม คือ ฐานนิยม
3) เนื่องจากมีข้อมูลหนึ่งคือ 200 ที่เป็นค่าผิดปกติ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อค่าเฉลี่ย และเห็นได้ชัดว่าข้อมูลส่วนใหญ่
คือ 18 ดังนั้น ค่ากลางที่เหมาะสม คือ ฐานนิยม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
50 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

4) เนื่องจากไม่มีข้อมูลใดที่ซ้ำ�กันทำ�ให้ได้ว่าไม่มีฐานนิยม
พิจารณาค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดนี้
1 + 2 + 3 + 4 + 5 + 16 + 19 + 28 + 29 + 30 = 13.7
10
พิจารณามัธยฐาน จะได้ว่าข้อมูลคู่ที่อยู่ตรงกลาง คือ 5 และ 16
จะได้ว่า มัธยฐาน เท่ากับ 5 + 16 = 10.5
2
ซึ่งจะพบว่า 13.7 เป็นตัวแทนของข้อมูลได้ดีกว่า 10.5
ดังนั้น ค่ากลางที่เหมาะสม คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต

7. จากข้อมูลรายได้ต่อเดือนของพนักงานในบริษัทผลิตสื่อสิ่งพิมพ์แห่งหนึ่ง ได้ตารางดังนี้

รายได้ต่อเดือน (บาท) 120,000 50,000 15,000 12,000 10,000 8,500

จำ�นวนพนักงาน (คน) 1 3 10 12 16 8

รายได้ต่อเดือน × จำ�นวนพนักงาน 120,000 150,000 150,000 144,000 160,000 68,000

ค่าเฉลี่ยเลขคณิต หาได้ดังนี้
1) ✤

120,000 + 150,000 + 150,000 + 144,000 + 160,000 + 68,000 = 15,840


50
ดังนั้น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต เท่ากับ 15,840 บาท
✤ มัธยฐาน หาได้ดังนี้
เนื่องจากข้อมูลมีทั้งสิ้น 50 ข้อมูล ดังนั้น มัธยฐานจะหาได้จากค่าเฉลี่ยของข้อมูลในตำ�แหน่งที่ 25 และ 26
จากตารางจะได้ว่าข้อมูลในตำ�แหน่งที่ 25 และ 26 คือ 12,000
ดังนั้น มัธยฐาน เท่ากับ 12,000 บาท
✤ จากข้อมูลที่มีความถี่สูงสุด คือ 10,000 ดังนั้น ฐานนิยม คือ 10,000 บาท
2) แต่ละฝ่ายอาจเลือกค่ากลางเป็นข้ออ้างในการเจรจา ดังนี้
✤ เจ้าของบริษัทน่าจะเลือกค่าเฉลี่ยเลขคณิตซึ่งเท่ากับ 15,840 บาท โดยจะอ้างว่าเฉลี่ยแล้วบริษัทจ่ายค่าจ้าง
พนักงานสูงถึงเดือนละ 15,840 บาท
✤ ตัวแทนพนักงานน่าจะเลือกฐานนิยม โดยจะอ้างว่าพนักงานส่วนใหญ่ได้รับเงินเดือนจากบริษัทเพียงเดือนละ
10,000 บาท
✤ คนกลางผู้ไกล่เกลี่ยน่าจะเลือกมัธยฐาน โดยอ้างหลักการทางสถิติ เพราะรายได้ต่อเดือนของพนักงานมี
ความแตกต่างกันมาก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 51

กิจกรรมท้ายบท : วัยใส ๆ ใช้สถิติ


กิจกรรมนีเ้ ป็นกิจกรรมทีเ่ ปิดโอกาสให้นก
ั เรียนได้คด
ิ อย่างอิสระ ฝึกการทำ�งานร่วมกันเป็นทีม และประยุกต์ ใช้กระบวนการ
ทางสถิติตลอดจนเครื่องมือทางสถิติที่ได้เรียนรู้มาสำ�หรับหาคำ�ตอบของคำ�ถามทางสถิติที่สนใจ โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอน
การดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
1. เครื่องคิดเลข
2. ซอฟต์แวร์สำ�หรับการนำ�เสนอข้อมูลทางสถิติ
3. กระดาษปรู๊ฟ

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันตั้งคำ�ถามทางสถิติที่นักเรียนสนใจ โดยครูอาจ
ช่วยแนะนำ�ประเด็นให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มได้ เช่น ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ข่าวที่กำ�ลังได้รับความสนใจ ทั้งนี้คำ�ถามที่ได้จะต้องมีการใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ
เพื่อตอบคำ�ถามด้วย
2. ครูให้แต่ละกลุ่มนำ�เสนอคำ�ถามทางสถิติ แล้วให้นักเรียนช่วยกันอภิปรายลักษณะและความเหมาะสมของคำ�ถาม
แล้วให้แต่ละกลุ่มนำ�ข้อเสนอที่ได้มาปรับคำ�ถามทางสถิติของกลุ่ม
3. ครูแจกกระดาษปรู๊ฟให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 1 แผ่น เพื่อเขียนคำ�ถามทางสถิติที่ได้ปรับปรุงแล้ว
4. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบวิธีการและวางแผนในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบคำ�ถามทางสถิตินั้น หลังจาก
นั้นนำ�เสนอวิธีการและแผนดังกล่าว
ในระหว่างการนำ�เสนอ ครูให้นก
ั เรียนช่วยกันให้ขอ
้ เสนอแนะเกีย่ วกับวิธก
ี ารและแผนในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ของแต่ ล ะกลุ่ ม แล้ ว ให้ แ ต่ ล ะกลุ่ ม เขี ย นวิ ธี ก ารและแผนในการเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากข้ อ เสนอแนะลงใน
กระดาษปรู๊ฟ
5. ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเก็บรวบรวมข้อมูลตามแผนที่ตั้งไว้ โดยอาจให้นักเรียนหาเวลาที่เหมาะสมเอง
6. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำ�เสนอข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ พร้อมทั้งแนวทางและรูปแบบในการนำ�เสนอข้อมูลเหล่านี้
โดยให้ มี ก ารนำ � เสนอข้ อ มู ล ด้ ว ยแผนภาพจุ ด แผนภาพต้ น –ใบ ฮิ ส โทแกรม ตลอดจนการหาค่ า กลางของข้ อ มู ล
รวมอยู่ด้วย
7. ครูให้นกั เรียนร่วมกันอภิปรายเพือ่ เสนอแนะแนวทางและรูปแบบในการนำ�เสนอข้อมูลของกลุม
่ อืน
่ ๆ จากนัน
้ ให้นกั เรียน
แต่ละกลุ่มเขียนข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางและรูปแบบในการนำ�เสนอข้อมูลของกลุ่มของตนเองลงในกระดาษปรู๊ฟ
8. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือนำ�เสนอข้อมูลตามแนวทางและรูปแบบที่กำ�หนดไว้ โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม
แล้วคัดลอกผลการนำ�เสนอข้อมูลที่ได้ลงในกระดาษปรู๊ฟ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
52 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

9. ครูให้นก
ั เรียนแต่ละกลุม
่ ช่วยกันอ่าน วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลทีไ่ ด้จากการนำ�เสนอ แล้วเขียนข้อสรุปลงใน
กระดาษปรู๊ฟเพื่อนำ�เสนอ
10. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำ�เสนอผลการศึกษาทางสถิติที่ได้

เฉลยกิจกรรมท้ายบท : วัยใส ๆ ใช้สถิติ


คำ�ตอบมีได้หลากหลายขึ้นอยู่กับคำ�ถามทางสถิติที่แต่ละกลุ่มตั้งไว้ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ ตลอดจนการอ่านและ
แปลความหมายข้อมูลเหล่านั้นที่นำ�เสนอในรูปแบบต่าง ๆ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 53

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท
1. จากการสำ�รวจปริมาณน้ำ�ตาล (กรัม) ในเครื่องดื่มชาเขียว เขียนแจกแจงข้อมูลได้ดังนี้
0 0 0 0 28 30.5 31.5 31.5 33.5 54.5
ตอบคำ�ถามแต่ละข้อได้ดังนี้
1) เขียนแผนภาพต้น–ใบ แสดงปริมาณน้ำ�ตาล (กรัม) ได้ดังนี้
0 0 0 0 0
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28 0
29
30 5
31 5 5
32
33 5
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
54 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54 5
สัญลักษณ์ 28|0 แทน ปริมาณน้ำ�ตาล 28.0 กรัม

จากแผนภาพต้น–ใบ ที่สร้างได้ จะเห็นว่่า แผนภาพนั้นใช้พื้นที่ในการนำ�เสนอค่อนข้างมาก แต่ไม่ได้แสดง


ให้เห็นภาพลักษณะของข้อมูลได้อย่างชัดเจน ดังนั้น การนำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพต้น–ใบ สำ�หรับข้อมูลชุดนี้ จึงไม่เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากยังต้องการนำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพต้น–ใบ เราอาจทำ�ได้โดยการปัดข้อมูลให้เป็นจำ�นวนเต็ม
ก่อน แล้วจึงเขียนเป็นแผนภาพต้น–ใบ ใหม่ ดังนี้
0 0 0 0 0
1
2 8
3 1 2 2 4
4
5 5
สัญลักษณ์ 3|2 แทน ปริมาณน้ำ�ตาล 32 กรัม
2) สร้างฮิสโทแกรม ได้ดังนี้
จำนวนชนิด
4

0 10 20 30 40 50 60
ปริมาณน้ำตาล (กรัม)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 55

3) ✤ หาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของปริมาณน้ำ�ตาล
0 + 0 + 0 + 0 + 28 + 30.5 + 31.5 + 31.5 + 33.5 + 54.5 = 20.95
10
ดังนั้น ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของปริมาณน้ำ�ตาล เท่ากับ 20.95 กรัม
✤ หามัธยฐานของปริมาณน้ำ�ตาล
เนื่องจากข้อมูลมี 10 จำ�นวน ดังนั้น มัธยฐานจะหาได้จากค่าเฉลี่ยของข้อมูลในตำ�แหน่งที่ 5 และ 6
ดังนั้น มัธยฐาน เท่ากับ 28 + 30.5 = 29.25 กรัม
2
✤ ฐานนิยมของปริมาณน้ำ�ตาล คือ ข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุด นั่นคือ 0 กรัม
4) ค่ากลางที่ควรเป็นตัวแทนของข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำ�ตาลที่สำ�รวจได้ คือ มัธยฐาน

2. จากแผนภาพต้น–ใบแสดงคะแนนสอบของนักเรียนห้องหนึ่ง ตอบคำ�ถามแต่ละข้อได้ดังนี้
1) พิสัยของคะแนนสอบ คือ 94 – 55 = 39 คะแนน
2) เขียนแผนภาพจุดแสดงคะแนนสอบได้ดังนี้

● ●

● ● ● ● ● ● ● ● ● ●

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●

54 56 58 60 62 64 66 68 70 72 74 76 78 80 82 84 86 88 90 92 94

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
56 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

3) สร้างฮิสโทแกรมด้วยซอฟต์แวร์เพื่อแสดงคะแนนสอบได้ดังนี้

12

11

10

0
52 54 56 58 60 62 64 66 68 70 72 74 76 78 80 82 84 86 88 90 92 94 96
62.8 70.6 78.4 86.2

4)
ค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบ

55 + 57 + 57 + … + 91 + 92 + 94 = 3,027 ≈ 75.68
40 40
ดังนั้น ค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบ ประมาณ 75.68 คะแนน
✤ มัธยฐานของคะแนนสอบ
เนื่องจากข้อมูลมี 40 จำ�นวน ดังนั้น มัธยฐานจะหาได้จากค่าเฉลี่ยของข้อมูลในตำ�แหน่งที่ 20 และ 21
ดังนั้น มัธยฐาน เท่ากับ 76 + 77 = 153 = 76.5 คะแนน
2 2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 57

✤ ฐานนิยมของคะแนนสอบ
ฐานนิยมของคะแนนสอบ คือ ข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุด นั่นคือ 80 และ 91 แต่ตามข้อตกลงในชั้นนี้จะไม่
พิจารณาหาฐานนิยม กรณีที่ข้อมูลมีความถี่สูงสุดมากกว่า 1 ข้อมูล
5) ค่ากลางที่เหมาะสมที่จะเป็นตัวแทนของคะแนนสอบ คือ ค่าเฉลี่ย เพราะข้อมูลที่มีเป็นข้อมูลเชิงปริมาณและมี
ลักษณะของการกระจายค่อนข้างสมมาตร ไม่มีข้อมูลที่มีค่าผิดปกติมาก ๆ หรือ น้อย ๆ ที่ส่งผลต่อค่าเฉลี่ย

3. จากฮิสโทแกรมของข้อมูลทั้งสามกลุ่ม ตอบคำ�ถามได้ดังนี้
1) เนื่องจากรูป 3 ข้อมูลมีลักษณะการกระจายที่ค่อนข้างสมมาตร จึงคาดการณ์ว่าข้อมูลชุดนี้อาจมีค่าเฉลี่ยเลขคณิต
และมัธยฐานเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน
2) เนื่องจากรูป 1 ข้อมูลมีลักษณะการกระจายไม่สมมาตร โดยข้อมูลที่มีความถี่มากส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านซ้าย
จึงคาดการณ์ได้ว่า มัธยฐานและค่าเฉลี่ยเลขคณิตน่าจะแตกต่างกัน โดยค่าเฉลี่ยเลขคณิตจะมีค่ามากกว่ามัธยฐาน

หมายเหตุ ข้อนี้มีเจตนาให้นักเรียนฝึกวิเคราะห์ และให้เหตุผลตามความคิดของนักเรียน นักเรียนอาจวิเคราะห์ข้อมูล และคาดการณ์ได้แตกต่างจากนี้

4. จากข้อมูลประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด 10 อันดับแรกของโลกใน ค.ศ.2016 ตอบคำ�ถามได้ดังนี้


1)
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หาได้จาก
10,151 + 5,312 + 2,431 + 1,635 + 1,209 + 802 + 656 + 634 + 595 + 563 = 23,988 = 2,398.8
10 10
ดังนั้น ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เท่ากับ 2,398.8 เมตริกตัน
มัธยฐาน ของข้อมูลปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คือ 1,209 + 802 = 1,005.5 เมตริกตัน
2
2) จากข้อมูลปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่า ข้อมูลที่มีโอกาสจะแตกต่างจากข้อมูลอื่น ๆ มาก คือ ข้อมูล
ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศจีน และข้อมูลนี้ส่งผลต่อค่าเฉลี่ยเลขคณิตทำ�ให้ค่าเฉลี่ยสูงกว่าที่เป็น
จริง แต่ข้อมูลนี้ไม่ส่งผลต่อมัธยฐาน เพราะตำ�แหน่งของข้อมูลที่เป็นมัธยฐานยังเหมือนเดิม
3) มัธยฐาน
4) เมื่ อ พิ จ ารณาปริ ม าณก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ ต่ อ จํ า นวนประชากร แล้ ว เรี ย งลำ � ดั บ ประเทศตามค่ า ดั ง กล่ า ว
จากมากไปน้อย จะได้ว่าลําดับของประเทศจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมดังตารางต่อไปนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
58 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ปริมาณก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ จํานวนประชากร ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ลำ�ดับที่ ประเทศ (คน) ต่อจํานวนประชากร
(เมตริกตัน)
-5
1 ซาอุดีอาระเบีย 634 32,275,678 1.96 x 10
-5
2 สหรัฐอเมริกา 5,312 322,179,605 1.65 x 10
-5
3 แคนาดา 563 36,289,822 1.55 x 10
-5
4 เกาหลีใต้ 595 50,791,919 1.17 x 10
-5
5 รัสเซีย 1,635 143,964,513 1.14 x 10
-6
6 เยอรมนี 802 81,914,672 9.79 x 10
-6
7 ญี่ปุ่น 1,209 127,748,513 9.46 x 10
-6
8 อิหร่าน 656 80,277,428 8.17 x 10
-6
9 จีน 10,151 1,403,500,365 7.23 x 10
-6
10 อินเดีย 2,431 1,324,171,354 1.84 x 10

5) คำ�ตอบมีได้หลากหลาย แล้วแต่ความเห็นของนักเรียน เช่น


ในการนำ�เสนอข้อมูลนีต
้ อ
่ สาธารณะ เราควรพิจารณาจากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตอ
่ จํานวนประชากร
เพราะข้อมูลนีอ
้ าจสะท้อนไปถึงปัจจัยบางประการทีท
่ �ำ ให้แต่ละประเทศปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยกตัวอย่าง
เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามีจำ�นวนประชากรประมาณ 1 ใน 5 ของจำ�นวนประชากรของประเทศจีน แต่มป
ี ริมาณ
การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นครึง่ หนึง่ ของประเทศจีน นัน
่ อาจแปลความหมายได้ว่าจำ�นวนประชากรอาจ
ไม่ใช่ปจั จัยเดียวทีท
่ �ำ ให้ประเทศต่าง ๆ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่อาจจะเป็นปริมาณการใช้รถยนต์ จำ�นวน
โรงงานอุตสาหกรรม หรือจำ�นวนปศุสัตว์ เป็นต้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 59

ตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. ในการสอบสัมภาษณ์เพื่อรับคนงานเข้าทำ�งานของบริษัทแห่งหนึ่ง ผู้สมัครต้องเข้ารับการประเมิน 5 ด้าน แต่ละด้าน
มีคะแนนเต็ม 60 คะแนน โดยบริษัทตั้งเกณฑ์การผ่านการสัมภาษณ์คือ ต้องมีคะแนนเฉลี่ยของคะแนนรวมทุกด้านเกิน
60% ถ้ามนัสเข้าสัมภาษณ์กับบริษัทนี้แล้วได้คะแนน 4 ด้านแรกเป็น 25, 40, 30 และ 35 คะแนน เขาต้องทำ�คะแนน
ด้านสุดท้ายให้ได้คะแนนเท่าใดจึงผ่านการสัมภาษณ์ (1 คะแนน)
ก. 36 คะแนน
ข. มากกว่า 36 คะแนน
ค. มากกว่า 49 คะแนน
ง. มากกว่า 50 คะแนน

2. ถ้าส่วนสูงหน่วยเป็นเซนติเมตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำ�นวน 8 คน เป็นดังนี้


150, 160, 150, 148, 152, 150, 152, 158 ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง (1 คะแนน)
ก. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตมีค่ามากกว่ามัธยฐาน
ข. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตมีค่าน้อยกว่ามัธยฐาน
ค. ฐานนิยมมีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ง. ฐานนิยมมีค่ามากกว่ามัธยฐาน

3. ฟาร์มสุนัขแห่งหนึ่งมีลูกสุนัขเกิดใหม่อยู่ 4 ครอก โดยแต่ละครอกมีจำ�นวนลูกสุนัข 3, 4, 5 และ 3 ตัว ตามลำ�ดับ เจ้าของ


ฟาร์มคำ�นวณน้ำ�หนักเฉลี่ยของลูกสุนัขแต่ละครอกเป็นดังนี้ 2.5, 2.0, 1.5, และ 1.5 กิโลกรัม ตามลำ�ดับ น้ำ�หนักเฉลี่ย
ของลูกสุนัขทั้งหมดที่เกิดในฟาร์มแห่งนี้ประมาณได้เท่ากับข้อใด (1 คะแนน)
ก. 1.50 กิโลกรัม
ข. 1.75 กิโลกรัม
ค. 1.83 กิโลกรัม
ง. 1.88 กิโลกรัม

4. โรงเรียนแห่งหนึ่งจำ�แนกคนงานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนสวนและกลุ่มแม่บ้าน โดยที่กลุ่มคนสวนและกลุ่มแม่บ้าน


จะได้รับค่าจ้างรายวันวันละ 380 และ 350 บาท ตามลำ�ดับ ถ้าโรงเรียนจ้างคนสวน 5 คน และแม่บ้าน 10 คน
อยากทราบว่าคนงานของโรงเรียนแห่งนี้มีรายได้เฉลี่ยวันละกี่บาท (1 คะแนน)
ก. 360 บาท
ข. 365 บาท
ค. 540 บาท
ง. 730 บาท
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
60 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

5. กำ�หนดให้ข้อมูล 2 ชุด เป็นดังนี้


ข้อมูลชุด A : 3 18 15 10 7 11
ข้อมูลชุด B : 12 7 15 14 3 10 18
อยากทราบว่ามัธยฐานของข้อมูลชุด A และมัธยฐานของข้อมูลชุด B มีค่าต่างกันอยู่เท่าใด (1 คะแนน)
ก. 1
ข. 1.5
ค. 2
ง. 2.5

6. ถ้าข้อมูลชุดหนึ่งมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 10 พิจารณาข้อความต่อไปนี้
1) เมื่อบวกข้อมูลในชุดนี้ทุกข้อมูลด้วย 2 ค่าเฉลี่ยเลขคณิตค่าใหม่ของข้อมูลชุดนี้คือ 12
2) เมื่อคูณข้อมูลในชุดนี้ทุกข้อมูลด้วย 2 ค่าเฉลี่ยเลขคณิตค่าใหม่ของข้อมูลชุดนี้คือ 20
ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง (1 คะแนน)
ก. ข้อ 1) เป็นจริงเพียงข้อเดียว
ข. ข้อ 2) เป็นจริงเพียงข้อเดียว
ค. ข้อ 1) และข้อ 2) เป็นจริง
ง. ข้อ 1) และข้อ 2) ไม่เป็นจริง

จงใช้ข้อมูลความสูงของนักเรียนชั้น ม.2 ในตาราง ตอบคำ�ถามข้อ 7–9

ความสูง (เซนติเมตร) 165 168 170 171 174 175 178


จำ�นวนนักเรียน (คน) 5 5 7 9 8 4 2

7. มัธยฐานของข้อมูลชุดนี้เท่ากับเท่าใด (1 คะแนน)
ก. 170 เซนติเมตร
ข. 170.5 เซนติเมตร
ค. 171 เซนติเมตร
ง. 172.5 เซนติเมตร

8. ค่าเฉลี่ยคณิตของข้อมูลชุดนี้เท่ากับเท่าใด (1 คะแนน)
ก. 5.71 เซนติเมตร
ข. 9 เซนติเมตร
ค. 171 เซนติเมตร
ง. 171.05 เซนติเมตร
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 61

9. ฐานนิยมของข้อมูลชุดนี้เท่ากับเท่าใด (1 คะแนน)
ก. 170 เซนติเมตร
ข. 170.5 เซนติเมตร
ค. 171 เซนติเมตร
ง. 172.5 เซนติเมตร

จงใช้ข้อมูลจากฮิสโทแกรมต่อไปนี้ ตอบคำ�ถามข้อ 10–11


ฮิสโทแกรมที่ค้นหาได้จากเว็บไซต์หนึ่งซึ่งแสดงจำ�นวนลูกค้าในช่วงเวลาต่าง ๆ ของร้านกาแฟแห่งหนึ่ง เป็นดังนี้

วันเสาร์

‹ ›
9:00 น. 12:00 น. 15:00 น. 18:00 น. 21:00 น.
โดยปกติลูกค้าจะใช้บริการอยู่ในร้านประมาณ 1–2 ชั่วโมง

10. หากส้มโอต้องการไปดื่มกาแฟที่ร้านนี้ในวันเสาร์ซึ่งส้มโอไม่ชอบการรอคอยนาน ๆ ส้มโอไม่ควรไปร้านนี้ในช่วงเวลาใด


(1 คะแนน)
ก. 9:00–10:00 น.
ข. 11:00–12:00 น.
ค. 13:00–14:00 น.
ง. 14:00–15:00 น.

11. หากทางร้านต้องการเพิ่มจำ�นวนลูกค้า โดยการมอบสิทธิประโยชน์ให้ลูกค้าแบบซื้อ 1 แถม 1 ทางร้านควรนำ�เสนอ


สิทธิประโยชน์นี้ เมื่อลูกค้ามาดื่มกาแฟในช่วงเวลาใดจึงจะเหมาะสมที่สุด (1 คะแนน)
ก. 9:00–10:00 น.
ข. 10:00–11:00 น.
ค. 16:00–17:00 น.
ง. 17:00–18:00 น.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
62 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

12. ข้อมูลจำ�นวนชั่วโมงที่พนักงานแผนกหนึ่งใช้ในการออกกำ�ลังกายในสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นดังนี้


30 10 10 10 12 10 13 15 10 14
ค่ากลางที่ไม่เหมาะสมกับข้อมูลชุดนี้คือ (1 คะแนน)

13. จากแผนภาพจุดต่อไปนี้

● ● ●

● ● ● ● ●

● ● ● ● ●

10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20

พิจารณาข้อความต่อไปนี้
1) การกระจายของข้อมูลชุดนี้มีลักษณะสมมาตร
2) ค่าเฉลี่ยเลขคณิตมีค่ามากกว่ามัธยฐานและฐานนิยม
ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง (1 คะแนน)
ก. ข้อ 1) เป็นจริงเพียงข้อเดียว
ข. ข้อ 2) เป็นจริงเพียงข้อเดียว
ค. ข้อ 1) และข้อ 2) เป็นจริง
ง. ข้อ 1) และข้อ 2) ไม่เป็นจริง

14. ในการแข่งขันบาสเกตบอลของทีมโรงเรียนคณิตวิทยา ปรากฏว่า แต้มสูงสุดที่ทำ�ได้ในการแข่งขันแต่ละครั้งกับทีมอื่น ๆ


เป็นดังแผนภาพต้น–ใบ ดังนี้

ต้น ใบ
1
2 4 6 7
3 4 5 5 6 6 6 7
4
5 3 4 4 5
สัญลักษณ์ 3|4 หมายถึง 34 แต้ม
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 63

จากข้อมูลข้างต้น จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้ (3 คะแนน)


1) ทีมนี้เข้าแข่งขันทั้งหมด ครั้ง
2) แต้มที่ทำ�ได้สูงสุดกับแต้มที่ทำ�ได้ต่ำ�สุด ต่างกัน แต้ม
3) มี ครั้ง ที่แข่งขันแล้วทำ�แต้มได้ตั้งแต่ 35 ขึ้นไป

15. พิจารณาข้อมูลผลการสำ�รวจเวลาที่นักเรียนห้องหนึ่งใช้ในการรับประทานอาหารเช้าในแต่ละวัน เป็นดังนี้

เวลา (นาที) ที่ใช้ในการรับประทานอาหารเช้าของนักเรียนหญิง

0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
1 0 0 5 5 5 5
2 0 5 5
3 0 5
สัญลักษณ์ 1|0 หมายถึง 10 นาที

เวลา (นาที) ที่ใช้ในการรับประทานอาหารเช้าของนักเรียนชาย

0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
1 0 0 5 5
2 0 5
3 0
สัญลักษณ์ 1|0 หมายถึง 10 นาที

ข้อสรุปใดต่อไปนี้สรุปได้สมเหตุสมผล (1 คะแนน)
ก. มัธยฐานและฐานนิยมของข้อมูลเวลาทีใ่ ช้ในการรับประทานอาหารเช้าของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงแตกต่างกัน
ในขณะที่ค่าเฉลี่ยเลขคณิตไม่แตกต่างกัน
ข. เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนชายทีไ่ ม่รบ
ั ประทานอาหารเช้ามากกว่าเปอร์เซ็นต์ของนักเรียนหญิงทีไ่ ม่รบ
ั ประทานอาหารเช้า
ไม่ถึง 10%
ค. การกระจายของข้อมูลเวลาทีใ่ ช้ในการรับประทานอาหารเช้าของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีลกั ษณะแตกต่างกัน
ง. ควรมีการแนะนำ�ให้นก
ั เรียนทราบผลดีและผลเสียของการไม่รบ
ั ประทานอาหารเช้า เพราะนักเรียนส่วนใหญ่ไม่รบ

ประทานอาหารเช้า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
64 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. ในการสอบสัมภาษณ์เพื่อรับคนงานเข้าทำ�งานของบริษัทแห่งหนึ่ง ผู้สมัครต้องเข้ารับการประเมิน 5 ด้าน แต่ละด้าน
มีคะแนนเต็ม 60 คะแนน โดยบริษัทตั้งเกณฑ์การผ่านการสัมภาษณ์คือ ต้องมีคะแนนเฉลี่ยของคะแนนรวมทุกด้านเกิน
60% ถ้ามนัสเข้าสัมภาษณ์กับบริษัทนี้แล้วได้คะแนน 4 ด้านแรกเป็น 25, 40, 30 และ 35 คะแนน เขาต้องทำ�คะแนน
ด้านสุดท้ายให้ได้คะแนนเท่าใดจึงผ่านการสัมภาษณ์ (1 คะแนน)
ก. 36 คะแนน
ข. มากกว่า 36 คะแนน
ค. มากกว่า 49 คะแนน
ง. มากกว่า 50 คะแนน
แนวคิด
เนื่องจากคะแนนเต็มจากการประเมินทั้งห้าด้าน เท่ากับ 5 × 60 = 300 คะแนน
60% ของคะแนนรวม คิดเป็น   60   × 300 = 180 คะแนน
100
ถ้าจะผ่านการสัมภาษณ์ต้องได้คะแนนเฉลี่ยของคะแนนรวมทุกด้านเกิน 60% หรือได้คะแนนรวมเกิน 60%
ดังนั้น มนัสต้องได้คะแนนรวมเกิน 180 คะแนน
เนื่องจากมนัสได้คะแนน 4 ด้านแรกรวมทั้งสิ้น 25 + 40 + 30 + 35 = 130 คะแนน
ดังนั้น เขาจะต้องทำ�คะแนนจากการสัมภาษณ์ด้านสุดท้ายให้ได้มากกว่า 180 – 130 = 50 คะแนน

2. ถ้าส่วนสูงหน่วยเป็นเซนติเมตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำ�นวน 8 คน เป็นดังนี้


150, 160, 150, 148, 152, 150, 152, 158 ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง (1 คะแนน)
ก. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตมีค่ามากกว่ามัธยฐาน
ข. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตมีค่าน้อยกว่ามัธยฐาน
ค. ฐานนิยมมีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ง. ฐานนิยมมีค่ามากกว่ามัธยฐาน
แนวคิด
✤ หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
150 + 160 + 150 + 148 + 152 + 150 + 152 + 158 = 1,220 = 152.5
8 8
ดังนั้น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต เท่ากับ 152.5 เซนติเมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 65

✤ หามัธยฐาน
เรียงความสูงจากน้อยไปหามาก จะได้
148, 150, 150, 150, 152, 152, 158, 160
ตำ�แหน่งตรงกลางของข้อมูลชุดนี้อยู่ระหว่าง 150 และ 152
ดังนั้น มัธยฐาน เท่ากับ 150 + 152 = 302 = 151 เซนติเมตร
2 2
✤ หาฐานนิยม
ฐานนิยมคือข้อมูลที่มีความถี่สูงสุด นั่นคือ 150
ดังนั้น ฐานนิยม เท่ากับ 150 เซนติเมตร
ดังนั้น สรุปได้ว่า ฐานนิยมมีค่าน้อยกว่ามัธยฐาน และมัธยฐานมีค่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิต

3. ฟาร์มสุนัขแห่งหนึ่งมีลูกสุนัขเกิดใหม่อยู่ 4 ครอก โดยแต่ละครอกมีจำ�นวนลูกสุนัข 3, 4, 5 และ 3 ตัว ตามลำ�ดับ เจ้าของ


ฟาร์มคำ�นวณน้ำ�หนักเฉลี่ยของลูกสุนัขแต่ละครอกเป็นดังนี้ 2.5, 2.0, 1.5, และ 1.5 กิโลกรัม ตามลำ�ดับ น้ำ�หนักเฉลี่ย
ของลูกสุนัขทั้งหมดที่เกิดในฟาร์มแห่งนี้ประมาณได้เท่ากับข้อใด (1 คะแนน)
ก. 1.50 กิโลกรัม
ข. 1.75 กิโลกรัม
ค. 1.83 กิโลกรัม
ง. 1.88 กิโลกรัม
แนวคิด
จากโจทย์จะได้ว่า
ผลรวมของน้ำ�หนักของลูกสุนัขครอกที่ 1 คิดเป็น 3 × 2.5 = 7.5 กิโลกรัม
ผลรวมของน้ำ�หนักของลูกสุนัขครอกที่ 2 คิดเป็น 4 × 2.0 = 8.0 กิโลกรัม
ผลรวมของน้ำ�หนักของลูกสุนัขครอกที่ 3 คิดเป็น 5 × 1.5 = 7.5 กิโลกรัม
ผลรวมของน้ำ�หนักของลูกสุนัขครอกที่ 4 คิดเป็น 3 × 1.5 = 4.5 กิโลกรัม
น้ำ�หนักเฉลี่ยของลูกสุนัขทั้งหมด คิดเป็น
7.5 + 8.0 + 7.5 + 4.5 ≈ 1.83
15
ดังนั้น น้ำ�หนักเฉลี่ยของลูกสุนัขทั้งหมดที่เกิดในฟาร์มแห่งนี้ประมาณ 1.83 กิโลกรัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
66 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

4. โรงเรียนแห่งหนึ่งจำ�แนกคนงานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนสวนและกลุ่มแม่บ้าน โดยที่กลุ่มคนสวนและกลุ่มแม่บ้าน


จะได้รับค่าจ้างรายวันวันละ 380 และ 350 บาท ตามลำ�ดับ ถ้าโรงเรียนจ้างคนสวน 5 คน และแม่บ้าน 10 คน
อยากทราบว่าคนงานของโรงเรียนแห่งนี้มีรายได้เฉลี่ยวันละกี่บาท (1 คะแนน)
ก. 360 บาท
ข. 365 บาท
ค. 540 บาท
ง. 730 บาท
แนวคิด
ผลรวมของค่าจ้างรายวันของคนสวน 5 คน ใน 1 วัน คิดเป็น 5 × 380 = 1,900 บาท
ผลรวมของค่าจ้างรายวันของแม่บ้าน 10 คน ใน 1 วัน คิดเป็น 10 × 350 = 3,500 บาท

ดังนั้น คนงานของโรงเรียนแห่งนี้มีรายได้เฉลี่ยวันละ 1,900 + 3,500 = 5,400 = 360 บาท


5 + 10 15

5. กำ�หนดให้ข้อมูล 2 ชุด เป็นดังนี้


ข้อมูลชุด A : 3 18 15 10 7 11
ข้อมูลชุด B : 12 7 15 14 3 10 18
อยากทราบว่ามัธยฐานของข้อมูลชุด A และมัธยฐานของข้อมูลชุด B มีค่าต่างกันอยู่เท่าใด (1 คะแนน)
ก. 1
ข. 1.5
ค. 2
ง. 2.5
แนวคิด
✤ หามัธยฐานของข้อมูลชุด A
เรียงข้อมูลจากน้อยไปหามาก
3 7 10 11 15 18
ตำ�แหน่งตรงกลางของข้อมูลชุดนี้อยู่ระหว่างข้อมูล 10 และ 11
ดังนั้น มัธยฐาน เท่ากับ 10 + 11 = 10.5
2
✤ หามัธยฐานของข้อมูลชุด B
เรียงข้อมูลจากน้อยไปหามาก
3 7 10 12 14 15 18
ตำ�แหน่งตรงกลางของข้อมูลชุดนี้ตรงกับข้อมูล 12

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 67

ดังนั้น มัธยฐาน เท่ากับ 12


มัธยฐานของข้อมูลชุด A และมัธยฐานของข้อมูลชุด B มีค่าต่างกันอยู่ เท่ากับ 12 – 10.5 = 1.5

6. ถ้าข้อมูลชุดหนึ่งมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 10 พิจารณาข้อความต่อไปนี้
1) เมื่อข้อมูลในชุดนี้ทุกข้อมูลถูกบวกด้วย 2 ค่าเฉลี่ยเลขคณิตค่าใหม่ของข้อมูลชุดนี้คือ 12
2) เมื่อข้อมูลในชุดนี้ทุกข้อมูลถูกคูณด้วย 2 ค่าเฉลี่ยเลขคณิตค่าใหม่ของข้อมูลชุดนี้คือ 20
ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง (1 คะแนน)
ก. ข้อ 1) เป็นจริงเพียงข้อเดียว
ข. ข้อ 2) เป็นจริงเพียงข้อเดียว
ค. ข้อ 1) และข้อ 2) เป็นจริง
ง. ข้อ 1) และข้อ 2) ไม่เป็นจริง
แนวคิด
สมมุติข้อมูลชุดหนึ่งเป็น x1, x2, x3, x4
จากค่าเฉลี่ยเลขคณิต เท่ากับ 10
x1 + x2 + x3 + x4
จะได้ = 10
4
หรือ x1 + x2 + x3 + x4 = 40 1
ข้อมูลในชุดนี้ทุกข้อมูลเมื่อบวกด้วย 2
จะได้ (x1 + 2) + (x2 + 2) + (x3 + 2) + (x4 + 2) = 40 + 2 + 2 + 2 +2
หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
(x1 + 2) + (x2 + 2) + (x3 + 2) + (x4 + 2) 48
= = 12
4 4
ดังนั้น ข้อ 1) เป็นจริง
จากสมการ 1 ข้อมูลในชุดนี้ทุกข้อมูลเมื่อคูณด้วย 2
จะได้ (x1 × 2) + (x2 × 2) + (x3 × 2) + (x4 × 2) = 40 × 2

หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
(x1 × 2) + (x2 × 2) + (x3 × 2) + (x4 × 2) 80
= = 20
4 4
ดังนั้น ข้อ 2) เป็นจริง
เพราะฉะนั้นข้อสรุป ค. ถูกต้อง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
68 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

จงใช้ข้อมูลความสูงของนักเรียนชั้น ม.2 ในตาราง ตอบคำ�ถามข้อ 7–9

ความสูง (เซนติเมตร) 165 168 170 171 174 175 178


จำ�นวนนักเรียน (คน) 5 5 7 9 8 4 2

7. มัธยฐานของข้อมูลชุดนี้เท่ากับเท่าใด (1 คะแนน)
ก. 170 เซนติเมตร
ข. 170.5 เซนติเมตร
ค. 171 เซนติเมตร
ง. 172.5 เซนติเมตร
แนวคิด
หาจำ�นวนนักเรียนทั้งห้อง
5 + 5 + 7 + 9 + 8 + 4 + 2 = 40
มัธยฐานหาได้จากค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่อยู่ตำ�แหน่งที่ 20 และ 21 ซึ่งมีค่า 171 เท่ากัน
ดังนั้น มัธยฐานของข้อมูลชุดนี้เท่ากับ 171 เซนติเมตร

8. ค่าเฉลี่ยคณิตของข้อมูลชุดนี้เท่ากับข้อใด (1 คะแนน)
ก. 5.71 เซนติเมตร
ข. 9 เซนติเมตร
ค. 171 เซนติเมตร
ง. 171.05 เซนติเมตร
แนวคิด
หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
(5 × 165) + (5 × 168) + (7 × 170) + (9 × 171) + (8 × 174) + (4 × 175) + (2 × 178) = 171.05
40
ดังนั้น ค่าเฉลี่ยคณิตของข้อมูลชุดนี้เท่ากับ 171.05 เซนติเมตร

9. ฐานนิยมของข้อมูลชุดนี้เท่ากับข้อใด (1 คะแนน)
ก. 170 เซนติเมตร
ข. 170.5 เซนติเมตร
ค. 171 เซนติเมตร
ง. 172.5 เซนติเมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 69

แนวคิด
ข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดคือ 171
ดังนั้น ฐานนิยมของข้อมูลชุดนี้เท่ากับ 171 เซนติเมตร

สำ�หรับข้อ 1–9
ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถหาและเปรียบเทียบค่ากลางของข้อมูล (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม) โดยใช้
เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งแปลความหมายผลลัพธ์และเลือกใช้ค่ากลางของข้อมูล
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็มข้อละ 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ข้อละ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

จงใช้ข้อมูลจากฮิสโทแกรมต่อไปนี้ ตอบคำ�ถามข้อ 10–11


ฮิสโทแกรมที่ค้นหาได้จากเว็บไซต์หนึ่งซึ่งแสดงจำ�นวนลูกค้าในช่วงเวลาต่าง ๆ ของร้านกาแฟแห่งหนึ่ง เป็นดังนี้

วันเสาร์

‹ ›
9:00 น. 12:00 น. 15:00 น. 18:00 น. 21:00 น.
โดยปกติลูกค้าจะใช้บริการอยู่ในร้านประมาณ 1–2 ชั่วโมง

10. หากส้มโอต้องการไปดื่มกาแฟที่ร้านนี้ในวันเสาร์ซึ่งส้มโอไม่ชอบการรอคอยนาน ๆ ส้มโอไม่ควรไปร้านนี้ในช่วงเวลาใด


(1 คะแนน)
ก. 9:00–10:00 น.
ข. 11:00–12:00 น.
ค. 13:00–14:00 น.
ง. 14:00–15:00 น.
แนวคิด
จากฮิสโทแกรมที่ค้นหาได้จากเว็บไซต์ พบว่า แกนนอนแทนช่วงเวลาและแกนตั้งแทนจำ�นวนลูกค้าในช่วงเวลาต่าง ๆ
จะได้ว่า ในช่วงเวลา 14:00–15อ:00 น. มีจำ�นวนลูกค้ามากที่สุด
ดังนั้น หากส้มโอต้องการไปดื่มกาแฟที่ร้านนี้ในวันเสาร์และไม่ชอบการรอคอยนาน ๆ ส้มโอไม่ควรไปในช่วงเวลา
14:00–15:00 น.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
70 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

11. หากทางร้านต้องการเพิ่มจำ�นวนลูกค้า โดยการมอบสิทธิประโยชน์ให้ลูกค้าแบบซื้อ 1 แถม 1 ทางร้านควรนำ�เสนอ


สิทธิประโยชน์นี้ เมื่อลูกค้ามาดื่มกาแฟในช่วงเวลาใดจึงจะเหมาะสมที่สุด (1 คะแนน)
ก. 9:00–10:00 น.
ข. 10:00–11:00 น.
ค. 16:00–17:00 น.
ง. 17:00–18:00 น.
แนวคิด
จากฮิสโทแกรมที่ค้นหาได้จากเว็บไซต์ พบว่า แกนนอนแทนช่วงเวลาและแกนตั้งแทนจำ�นวนลูกค้าในช่วงเวลาต่าง ๆ
จะได้ว่า ในช่วงเวลา 9:00–10:00 น. มีจำ�นวนลูกค้าน้อยที่สุด
ดังนั้น ทางร้านควรนำ�เสนอสิทธิประโยชน์นี้ เมื่อลูกค้ามาดื่มกาแฟในช่วงเวลา 9:00–10:00 น. จึงจะเหมาะสมที่สุด

สำ�หรับข้อ 10–11
ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถวิเคราะห์และนำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพจุด แผนภาพต้น–ใบ และฮิสโทแกรมโดยใช้
เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งอ่านและแปลความหมายข้อมูลที่นำ�เสนอด้วยรูปแบบเหล่านี้
ข้อ 3 นักเรียนสามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ คาดคะเน และสรุปผล ได้อย่างเหมาะสม
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็มข้อละ 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ข้อละ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

12. ข้อมูลจำ�นวนชั่วโมงที่พนักงานแผนกหนึ่งใช้ในการออกกำ�ลังกายในสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นดังนี้


30 10 10 10 12 10 13 15 10 14
ค่ากลางที่ไม่เหมาะสมกับข้อมูลชุดนี้คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (1 คะแนน)
แนวคิด
เนื่องจาก มีข้อมูล 1 ค่า ซึ่งมีค่ามากผิดปกติ คือ 30 ซึ่งข้อมูลนี้ส่งผลต่อค่าเฉลี่ยเลขคณิต ดังนั้นค่าเฉลี่ยเลขคณิตจึง
ไม่ใช่ค่ากลางที่เหมาะสมกับข้อมูลชุดนี้

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถหาและเปรียบเทียบค่ากลางของข้อมูล (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม) โดยใช้
เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งแปลความหมายผลลัพธ์และเลือกใช้ค่ากลางของข้อมูล
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 71

13. จากแผนภาพจุดต่อไปนี้

● ● ●

● ● ● ● ●

● ● ● ● ●

10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20

พิจารณาข้อความต่อไปนี้
1) การกระจายของข้อมูลชุดนี้มีลักษณะสมมาตร
2) ค่าเฉลี่ยเลขคณิตมีค่ามากกว่ามัธยฐานและฐานนิยม

ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง (1 คะแนน)
ก. ข้อ 1) เป็นจริงเพียงข้อเดียว
ข. ข้อ 2) เป็นจริงเพียงข้อเดียว
ค. ข้อ 1) และข้อ 2) เป็นจริง
ง. ข้อ 1) และข้อ 2) ไม่เป็นจริง
แนวคิด
พิจารณาข้อความ 1)
เนื่องจาก ข้อมูลที่มีความถี่ของข้อมูลสูงสุดคือ 15 ซึ่งเป็นข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง และความถี่ของข้อมูลที่ถัดมาทางด้าน
ซ้ายและขวาของข้อมูลที่อยู่ตรงกลางเท่ากัน และความถี่ของข้อมูลที่มีค่าน้อยที่สุดและข้อมูลที่มีค่ามากที่สุดเท่ากัน จะได้
ว่าการกระจายของข้อมูลมีลักษณะสมมาตร
ดังนั้น ข้อความ 1) เป็นจริง
พิจารณาข้อความ 2)
✤ หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
10 + 10 + 12 + 12 + 12 + 15 + 15 + 15 + 15 + 15 + 15 + 18 + 18 + 18 + 20 + 20 = 15
16
จะได้ว่า ค่าเฉลี่ยเลขคณิต เท่ากับ 15

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
72 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

✤ หามัธยฐาน
ข้อมูลที่อยู่ตำ�แหน่งตรงกลาง คือ 15
จะได้ว่า มัธยฐาน เท่ากับ 15
✤ หาฐานนิยม
ข้อมูลที่มีความถี่สูงสุด คือ 15
จะได้ว่า ฐานนิยม เท่ากับ 15
ดังนั้น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐานและฐานนิยม มีค่าเท่ากัน
ดังนั้น ข้อความ 2) ไม่เป็นจริง

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถวิเคราะห์และนำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพจุด แผนภาพต้น–ใบ และฮิสโทแกรมโดยใช้
เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งอ่านและแปลความหมายข้อมูลที่นำ�เสนอด้วยรูปแบบเหล่านี้
ข้อ 2 นักเรียนสามารถหาและเปรียบเทียบค่ากลางของข้อมูล (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม) โดยใช้
เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งแปลความหมายผลลัพธ์และเลือกใช้ค่ากลางของข้อมูล
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

14. ในการแข่งขันบาสเกตบอลของทีมโรงเรียนคณิตวิทยา ปรากฏว่า แต้มสูงสุดที่ทำ�ได้ในการแข่งขันแต่ละครั้งกับทีมอื่น ๆ


เป็นดังแผนภาพต้น–ใบ ดังนี้

ต้น ใบ
1
2 4 6 7
3 4 5 5 6 6 6 7
4
5 3 4 4 5
สัญลักษณ์ 3|4 หมายถึง 34 แต้ม

จากข้อมูลข้างต้น จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้ (3 คะแนน)


1) ทีมนี้เข้าแข่งขันทั้งหมด 14 ครั้ง
2) แต้มที่ทำ�ได้สูงสุดกับแต้มที่ทำ�ได้ต่ำ�สุด ต่างกัน 31 แต้ม
3) มี 10 ครั้ง ที่แข่งขันแล้วทำ�แต้มได้ตั้งแต่ 35 ขึ้นไป
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 1 | สถิติ (2) 73

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถวิเคราะห์และนำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพจุด แผนภาพต้น–ใบ และฮิสโทแกรมโดยใช้
เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งอ่านและแปลความหมายข้อมูลที่นำ�เสนอด้วยรูปแบบเหล่านี้
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 3 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ข้อละ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ข้อละ 0 คะแนน

15. พิจารณาข้อมูลผลการสำ�รวจเวลาที่นักเรียนห้องหนึ่งใช้ในการรับประทานอาหารเช้าในแต่ละวัน เป็นดังนี้

เวลา (นาที) ที่ใช้ในการรับประทานอาหารเช้าของนักเรียนหญิง

0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
1 0 0 5 5 5 5
2 0 5 5
3 0 5
สัญลักษณ์ 1|0 หมายถึง 10 นาที

เวลา (นาที) ที่ใช้ในการรับประทานอาหารเช้าของนักเรียนชาย

0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
1 0 0 5 5
2 0 5
3 0
สัญลักษณ์ 1|0 หมายถึง 10 นาที

ข้อสรุปใดต่อไปนี้สรุปได้สมเหตุสมผล (1 คะแนน)
ก. มัธยฐานและฐานนิยมของข้อมูลเวลาทีใ่ ช้ในการรับประทานอาหารเช้าของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงแตกต่างกัน
ในขณะที่ค่าเฉลี่ยเลขคณิตไม่แตกต่างกัน
ข. เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนชายทีไ่ ม่รบ
ั ประทานอาหารเช้ามากกว่าเปอร์เซ็นต์ของนักเรียนหญิงทีไ่ ม่รบ
ั ประทานอาหารเช้า
ไม่ถึง 10%
ค. การกระจายของข้อมูลเวลาทีใ่ ช้ในการรับประทานอาหารเช้าของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีลกั ษณะแตกต่างกัน
ง. ควรมีการแนะนำ�ให้นก
ั เรียนทราบผลดีและผลเสียของการไม่รบ
ั ประทานอาหารเช้า เพราะนักเรียนส่วนใหญ่ไม่รบ

ประทานอาหารเช้า
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
74 บทที่ 1 | สถิติ (2) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

แนวคิด
✤ ค่ากลางของข้อมูลเวลา (นาที) ที่ใช้ในการรับประทานอาหารเช้านักเรียนหญิงและนักเรียนชายเป็นดังนี้

ค่ากลางของข้อมูล นักเรียนหญิง นักเรียนชาย


มัธยฐาน 0 0
ฐานนิยม 0 0
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต 8.27 5.20

จะเห็นว่า มัธยฐานกับฐานนิยมของข้อมูลเวลาที่ใช้ในการรับประทานอาหารเช้าของนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย
ไม่แตกต่างกัน แต่ค่าเฉลี่ยของข้อมูลแตกต่างกัน

15 × 100 ≈ 58%
✤ นักเรียนหญิงที่ไม่รับประทานอาหารเช้า คิดเป็น —
26
17 × 100 ≈ 71%
นักเรียนชายที่ไม่รับประทานอาหารเช้า คิดเป็น —
24
ดังนั้น เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนชายที่ไม่รับประทานอาหารเช้ามีมากกว่าเปอร์เซ็นต์ของนักเรียน
หญิงที่ไม่รับประทานอาหารเช้าประมาณ 13%

✤ ลักษณะการกระจายของข้อมูลเวลาทีใ่ ช้ในการรับประทานอาหารเช้าของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงไม่แตกต่างกัน

✤ จากข้อมูล เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่ไม่รับประทานอาหารเช้า ดังนั้น ควรมีการอภิปรายและชี้ให้นักเรียนเห็นข้อดี


และข้อเสียของการไม่รับประทานอาหารเช้า เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความสำ�คัญในเรื่องนี้

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถวิเคราะห์และนำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพจุด แผนภาพต้น–ใบ และฮิสโทแกรมโดยใช้
เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งอ่านและแปลความหมายข้อมูลที่นำ�เสนอด้วยรูปแบบเหล่านี้
ข้อ 2 นักเรียนสามารถหาและเปรียบเทียบค่ากลางของข้อมูล (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม) โดยใช้
เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งแปลความหมายผลลัพธ์และเลือกใช้ค่ากลางของข้อมูล
ข้อ 3 นักเรียนสามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ คาดคะเน และสรุปผล ได้อย่างเหมาะสม
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 75

2
บทที่ ความเท่ากันทุกประการ
ในบทความเท่ากันทุกประการนี้ ประกอบด้วยหัวข้อย่อย ดังต่อไปนี้

2.1 ความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต 1 ชั่วโมง


2.2 ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม 1 ชั่วโมง
2.3 รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ
ด้าน–มุม–ด้าน 2 ชั่วโมง
2.4 รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ
มุม–ด้าน–มุม 2 ชั่วโมง
2.5 รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ
ด้าน–ด้าน–ด้าน 2 ชั่วโมง
2.6 รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ
มุม–มุม–ด้าน 1 ชั่วโมง
2.7 รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ
ฉาก–ด้าน–ด้าน 2 ชั่วโมง
2.8 การนำ�ไปใช้ 3 ชั่วโมง

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 2 การวัดและเรขาคณิต
มาตรฐาน ค 2.2 เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิต
และทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำ�ไปใช้

ตัวชี้วัด
เข้าใจและใช้สมบัติของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
76 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

จุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถ
1. บอกสมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต
2. บอกได้วา่ รูปสามเหลีย่ มสองรูปทีส
่ ม
ั พันธ์กน
ั แบบ ด้าน–มุม–ด้าน, มุม–ด้าน–มุม, ด้าน–ด้าน–ด้าน, มุม–มุม–ด้าน
และ ฉาก–ด้าน–ด้าน เท่ากันทุกประการ
3. นำ�สมบัตข
ิ องความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลีย่ มสองรูปทีส่ ม
ั พันธ์กน
ั แบบต่าง ๆ ไปใช้อา้ งอิงในการให้เหตุผล
และการแก้ปัญหา

ความเชื่อมโยงระหว่างตัวชี้วัดกับจุดประสงค์ของบทเรียน
เนือ่ งจากตัวชีว้ ด
ั นี้ กล่าวถึงความเข้าใจและการใช้สมบัตข
ิ องรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการในการแก้ปญ
ั หาคณิตศาสตร์
และปัญหาในชีวิตจริง ดังนั้น เพื่อให้การเรียนรู้ของนักเรียนในเรื่องความเท่ากันทุกประการสอดคล้องกับตัวชี้วัด ครูควรจัด
ประสบการณ์ให้นักเรียนสามารถ
1. เข้าใจและใช้สมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิตต่าง ๆ เพื่อนำ�ไปสู่ความเท่ากันทุกประการของ
รูปสามเหลี่ยม ซึ่งสะท้อนได้จากการที่นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ด้านคู่ใดยาวเท่ากัน มุมคู่ใดมีขนาดเท่ากัน
เพื่ อ สรุ ป เกี่ ย วกั บ ความเท่ า กั น ทุ ก ประการของรู ป สามเหลี่ ย มสองรู ป ที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ แ บบ ด้ า น–มุ ม –ด้ า น,
มุม–ด้าน–มุม, ด้าน–ด้าน–ด้าน, มุม–มุม–ด้าน หรือ ฉาก–ด้าน–ด้าน
2. เข้าใจและใช้สมบัติของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง
ซึ่งสะท้อนได้จากการที่นักเรียนสามารถให้เหตุผลและแก้โจทย์ปัญหาต่าง ๆ โดยนำ�สมบัติของความเท่ากัน
ทุกประการของรูปสามเหลี่ยมไปใช้อ้างอิงได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 77

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

2.1 ความเท�ากัน 2.2 ความเท�ากัน 2.1 ความเท�ากัน 2.2 ความเท�ากัน


ทุกประการของ ทุกประการของ ทุกประการของ ทุกประการของ
รูปเรขาคณิต รูปสามเหลี่ยม รูปเรขาคณิต รูปสามเหลี่ยม
ชวนคิด 2.3 - - -
2.3 รูปสามเหลี่ยมสองรูป 2.4 รูปสามเหลี่ยมสองรูป 2.3 รูปสามเหลี่ยมสองรูป 2.4 รูปสามเหลี่ยมสองรูป
ที่สัมพันธ�กันแบบ ที่สัมพันธ�กันแบบ ที่สัมพันธ�กันแบบ ที่สัมพันธ�กันแบบ
ด�าน–มุม–ด�าน มุม–ด�าน–มุม ด�าน–มุม–ด�าน มุม–ด�าน–มุม
แบบฝ�กหัด 2.3 : 6–8 แบบฝ�กหัด 2.4 : 6 แบบฝ�กหัด 2.3 แบบฝ�กหัด 2.4 : 1–3
2.5 รูปสามเหลี่ยมสองรูป 2.6 รูปสามเหลี่ยมสองรูป 2.5 รูปสามเหลี่ยมสองรูป 2.6 รูปสามเหลี่ยมสองรูป
ที่สัมพันธ�กันแบบ ด�าน–ด�าน–ด�าน ที่สัมพันธ�กันแบบ มุม–มุม–ด�าน ที่สัมพันธ�กันแบบ ด�าน–ด�าน–ด�าน ที่สัมพันธ�กันแบบ มุม–มุม–ด�าน
แบบฝ�กหัด 2.5 : 6 แบบฝ�กหัด 2.6 : 3, 5 แบบฝ�กหัด 2.5 : 1–3 แบบฝ�กหัด 2.6 : 1–2, 4–5
2.7 รูปสามเหลีย่ มสองรูปที่ 2.8 การนำไปใช� 2.8 การนำไปใช�
2.7 รูปสามเหลีย่ มสองรูปที่
สัมพันธ�กน
ั แบบ ฉาก–ด�าน–ด�าน แบบฝ�กหัด 2.8 : 9–10 -
สัมพันธ�กน
ั แบบ ฉาก–ด�าน–ด�าน
แบบฝ�กหัด 2.7 : 4–5, 7 แบบฝ�กหัด 2.7 : 5, 7
อื่น ๆ อื่น ๆ
แบบฝ�กหัดท�ายบท :
แบบฝ�กหัดท�ายบท :
9–10
5–8
การสื่อสารและ
การแก�ป�ญหา การสื่อความหมาย
ทางคณิตศาสตร�

2.1 ความเท�ากัน 2.2 ความเท�ากัน ทักษะและ


2.1 ความเท�ากัน 2.2 ความเท�ากัน
ทุกประการของ
รูปเรขาคณิต
ทุกประการของ
รูปสามเหลี่ยม
กระบวนการ ทุกประการของ ทุกประการของ
ชวนคิด 2.2 - การคิด ทางคณิตศาสตร� การเชื่อมโยง รูปเรขาคณิต
-
รูปสามเหลี่ยม
-
2.3 รูปสามเหลี่ยมสองรูป 2.4 รูปสามเหลี่ยมสองรูป
สร�างสรรค�
ที่สัมพันธ�กันแบบ ที่สัมพันธ�กันแบบ 2.3 รูปสามเหลี่ยมสองรูป 2.4 รูปสามเหลี่ยมสองรูป
ด�าน–มุม–ด�าน มุม–ด�าน–มุม ที่สัมพันธ�กันแบบ ที่สัมพันธ�กันแบบ
- - ด�าน–มุม–ด�าน มุม–ด�าน–มุม
- ชวนคิด 2.7
2.5 รูปสามเหลี่ยมสองรูป 2.6 รูปสามเหลี่ยมสองรูป การให�เหตุผล
ที่สัมพันธ�กันแบบ ด�าน–ด�าน–ด�าน ที่สัมพันธ�กันแบบ มุม–มุม–ด�าน 2.5 รูปสามเหลี่ยมสองรูป 2.6 รูปสามเหลี่ยมสองรูป
- - ที่สัมพันธ�กันแบบ ด�าน–ด�าน–ด�าน ที่สัมพันธ�กันแบบ มุม–มุม–ด�าน
แบบฝ�กหัด 2.5 : 6 แบบฝ�กหัด 2.6 : 5
2.7 รูปสามเหลีย่ มสองรูปที่ 2.8 การนำไปใช�
- 2.7 รูปสามเหลีย่ มสองรูปที่ 2.8 การนำไปใช�
สัมพันธ�กน
ั แบบ ฉาก–ด�าน–ด�าน
สัมพันธ�กน
ั แบบ ฉาก–ด�าน–ด�าน ชวนคิด 2.14
ชวนคิด 2.10, 2.11
แบบฝ�กหัด 2.7 : 7
2.1 ความเท�ากัน 2.2 ความเท�ากัน
อื่น ๆ ทุกประการของ อื่น ๆ
- ทุกประการของ
รูปเรขาคณิต แบบฝ�กหัดท�ายบท :
ชวนคิด 2.3 รูปสามเหลี่ยม
9–10
แบบฝ�กหัด 2.1 : 1–10 -
2.3 รูปสามเหลีย่ มสองรูป 2.4 รูปสามเหลี่ยมสองรูป
ทีส่ ม
ั พันธ�กน
ั แบบด�าน–มุม–ด�าน ที่สัมพันธ�กันแบบ
ชวนคิด 2.5, 2.6 มุม–ด�าน–มุม
แบบฝ�กหัด 2.3 : 1–8 แบบฝ�กหัด 2.4 : 1–3, 5
2.5 รูปสามเหลี่ยมสองรูป 2.6 รูปสามเหลี่ยมสองรูป
ที่สัมพันธ�กันแบบ ด�าน–ด�าน–ด�าน ที่สัมพันธ�กันแบบ มุม–มุม–ด�าน
แบบฝ�กหัด 2.5 : 1–3 แบบฝ�กหัด 2.6 : 1–2, 4–5

2.7 รูปสามเหลีย่ มสองรูปที่ 2.8 การนำไปใช�


สัมพันธ�กน
ั แบบ ฉาก–ด�าน–ด�าน -
แบบฝ�กหัด 2.7 : 1–5, 7

อื่น ๆ
แบบฝ�กหัดท�ายบท :
6–8

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
78 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

พัฒนาการของความรู้

ความรูพื้นฐาน ✤ การสร้างทางเรขาคณิต
รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
ที่จำเปน ✤
✤ ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
✤ มุมที่เกิดจากเส้นตัดตัดเส้นขนาน
✤ การแปลงทางเรขาคณิต

✤ รูปเรขาคณิตสองรูปเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ เคลื่อนที่


รูปหนึ่งไปทับอีกรูปหนึ่งได้สนิท
ความรูที่สำคัญ ✤ รูปเรขาคณิตสองรูปเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ รูปเรขาคณิต
ในบทเรียน ทั้งสองรูปนั้นมีรูปร่างเหมือนกัน และมีขนาดเท่ากัน
✤ เมื่อรูปสามเหลี่ยมสองรูปมีความสัมพันธ์กันแบบ ด้าน–มุม–ด้าน,
มุม–ด้าน–มุม, ด้าน–ด้าน–ด้าน, มุม–มุม–ด้าน หรือ
ฉาก–ด้าน–ด้าน จะเป็นรูปที่เท่ากันทุกประการ

✤ เส้นขนาน
ความรูในอนาคต ✤ การให้เหตุผลทางเรขาคณิต
✤ ความคล้าย
✤ พื้นที่ผิวและปริมาตร
✤ วงกลม
✤ อัตราส่วนตรีโกณมิติ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 79

ลำ�ดับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของบทเรียน

ทบทวนความรู้เรื่องเส้นขนาน การเคลื่อนที่รูปเรขาคณิตโดยใช้การแปลงทางเรขาคณิต

แนะนำ�บทนิยามของความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิตบนระนาบ
พร้อมทั้งสมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต

แนะนำ�ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม โดยพิจารณาจากด้านคู่ที่สมนัยกันและมุมคู่ที่สมนัยกัน

ทำ�กิจกรรมสำ�รวจรูปสามเหลี่ยมที่มีความสัมพันธ์กันแบบ ด้าน–มุม–ด้าน, มุม–ด้าน–มุม, ด้าน–ด้าน–ด้าน,


มุม–มุม–ด้าน หรือ ฉาก–ด้าน–ด้าน เพื่อสรุปเกี่ยวกับการเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม

สรุปบทเรียน ทำ�กิจกรรมท้ายบทเพื่อเติมเต็มความรู้ที่ได้รับจากบทเรียน
และพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกหัดท้ายบท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
80 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2.1 ความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต (1 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. บอกเงื่อนไขที่ทำ�ให้รูปเรขาคณิตสองรูปเท่ากันทุกประการ
2. บอกสมบัติของความเท่ากันทุกประการ

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
กระดาษลอกลาย

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับบทนิยามและสมบัติต่าง ๆ ของความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต เพื่อใช้เป็นพื้นฐาน
ในการให้เหตุผลทางเรขาคณิต แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ว่าสิ่งใดมีลักษณะเป็นรูปเรขาคณิตสองมิติบ้าง และสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น
มีสงิ่ ใดบ้างทีม
่ ข
ี นาดและรูปร่างเหมือนกัน จากนัน
้ ครูทบทวนเรือ
่ งการแปลงทางเรขาคณิตเกีย่ วกับการเลือ
่ นขนาน
การสะท้อน และการหมุน ซึง่ เป็นตัวอย่างของการเคลือ่ นทีร่ ป
ู เรขาคณิตบนระนาบทีข
่ นาดและรูปร่างไม่เปลีย่ นแปลง
เพื่อนำ�เข้าสู่บทนิยามของความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิตบนระนาบ พร้อมทั้งแนะนำ�สัญลักษณ์ ≅ ที่ใช้
แสดงว่า รูปเรขาคณิตสองรูปเท่ากันทุกประการ
2. ครูอาจแนะนำ�ให้นกั เรียนใช้กระดาษลอกลาย ลอกรูปหนึง่ แล้วนำ�ไปทับอีกรูปหนึง่ ซึง่ เป็นวิธห
ี นึง่ ทีใ่ ช้ในการตรวจสอบ
ความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต นอกจากนี้ ครูอาจเสริมความเข้าใจเกีย่ วกับความเท่ากันทุกประการของ
รูปเรขาคณิต โดยใช้ตัวอย่างที่มีอยู่ในชีวิตจริง เช่น รูปที่ได้จากการถ่ายเอกสาร รูปเรขาคณิตสองรูปในแต่ละข้าง
ของแกนสมมาตรของรูปสมมาตรบนเส้น ซึง่ สามารถตรวจสอบความเท่ากันทุกประการได้โดยการพับรูปตามแนว
แกนสมมาตร ดังรูป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 81

3. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายการใช้คำ�ว่า “ก็ต่อเมื่อ” ในบทนิยามของความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต


ประโยคดังกล่าว อาจกล่าวอีกอย่างที่มีความหมายเช่นเดียวกัน โดยใช้ประโยค “ถ้า…แล้ว…” สองประโยคได้
4. ครูแนะนำ�สมบัติของความเท่ากันทุกประการของส่วนของเส้นตรง และความเท่ากันทุกประการของมุม เพื่อเป็น
พื้นฐานในการให้เหตุผลเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม
ในเรือ
่ งสมบัตข
ิ องความเท่ากันทุกประการของส่วนของเส้นตรง ครูอาจให้นก
ั เรียนสังเกตว่า เมือ
่ เรากล่าวถึง
สมบัติของความเท่ากันทุกประการของส่วนของเส้นตรง โดยใช้ประโยค “ถ้า…แล้ว…” เราจะได้ว่า “ถ้าส่วนของ
เส้นตรงสองเส้นเท่ากันทุกประการ แล้วส่วนของเส้นตรงทั้งสองเส้นนั้นยาวเท่ากัน” และ “ถ้าส่วนของเส้นตรง
สองเส้นยาวเท่ากัน แล้วส่วนของเส้นตรงทั้งสองเส้นนั้นเท่ากันทุกประการ” ดังนั้น ในกรณีการใช้สมบัติของ
ส่วนของเส้นตรง จึงได้ว่า AB ≅ CD และ AB = CD สามารถใช้แทนกันได้ นอกจากนี้ ในกรณีของ
AB̂C ≅ DÊF และ AB̂C = DÊF ก็สามารถใช้แทนกันได้เช่นกัน
5. ครูให้นักเรียนสังเกตว่า จากบทนิยามและสมบัติเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการที่ได้เรียนมา เราจะได้แนวคิดว่า
“รูปเรขาคณิตสองรูปเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ รูปเรขาคณิตทั้งสองรูปนั้น มีรูปร่างเหมือนกัน (same shape)
และมีขนาดเท่ากัน (same size)” ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ นักเรียนสามารถนำ�ไปใช้ตรวจสอบความเท่ากัน
ทุกประการของรูปสามเหลี่ยมและรูปหลายเหลี่ยมอื่น ๆ ได้ด้วย โดยการพิจารณาจากรูปร่างและขนาดของ
รูปเหล่านั้น
6. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงสมบัติอน
ื่ ๆ ของความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต ได้แก่ สมบัตส
ิ ะท้อน
สมบัติสมมาตร และสมบัติถ่ายทอด จากนั้น นำ�ความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการแก้ปัญหา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
82 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 2.1
การสะท้อน
ipst.me/10061

ชวนคิด 2.2
1.
ipst.me/10062

2. 1) 2) 3)

ชวนคิด 2.3
รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีฐานยาวเท่ากันและส่วนสูงเท่ากัน ไม่จำ�เป็นต้องเท่ากันทุกประการ เช่น
ipst.me/10063

a a

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 83

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 2.1
การอธิบายในกรณีที่ไม่จริง อาจยกตัวอย่างค้านเพียง 1 ตัวอย่าง ก็เพียงพอที่จะสรุปว่าไม่จริง ซึ่งคำ�ตอบอาจมีได้
หลากหลาย
1. เป็นจริง เพราะความเท่ากันทุกประการมีสมบัติถ่ายทอด

2. เป็นจริง เพราะความเท่ากันทุกประการมีสมบัติสมมาตร

3. เป็นจริง
เนือ
่ งจาก รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสองรูปที่มีความยาวรอบรูปเท่ากัน จะมีความยาวของด้านแต่ละด้านเท่ากัน และมีมุม
ทุกมุมเป็นมุมฉาก ทำ�ให้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทั้งสองรูปมีรูปร่างเหมือนกันและมีขนาดเท่ากัน
นั่นคือ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสองรูปที่มีความยาวรอบรูปเท่ากัน จะเท่ากันทุกประการ

4. ไม่เป็นจริง เช่น

4 3

6 8
จะเห็นว่า รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทั้งสองรูปมีพื้นที่เท่ากัน คือ 24 ตารางหน่วย
แต่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทั้งสองรูปมีรูปร่างไม่เหมือนกันและมีขนาดไม่เท่ากัน
นั่นคือ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสองรูปที่มีพื้นที่เท่ากัน ไม่จำ�เป็นต้องเท่ากันทุกประการ

5. เป็นจริง
เนื่องจาก รูปสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั สองรูปทีม
่ พ
ี น
ื้ ทีเ่ ท่ากัน จะมีความยาวของด้านแต่ละด้านเท่ากัน และมีมม
ุ ทุกมุมเป็นมุมฉาก
ทำ�ให้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทั้งสองรูปมีรูปร่างเหมือนกันและมีขนาดเท่ากัน
นั่นคือ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสองรูปที่มีพื้นที่เท่ากัน จะเท่ากันทุกประการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
84 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

6. ไม่เป็นจริง เช่น

4 4

5 5

จะเห็นว่า รูปสามเหลี่ยมทั้งสองรูปมีพื้นที่เท่ากัน คือ 10 ตารางหน่วย


แต่รูปสามเหลี่ยมทั้งสองรูปมีรูปร่างไม่เหมือนกัน ทำ�ให้ทับกันไม่สนิท
นั่นคือ รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีพื้นที่เท่ากัน ไม่จำ�เป็นต้องเท่ากันทุกประการ

7. ไม่เป็นจริง เช่น
C
H
B D G I

A E F J

จะเห็นว่า รูปห้าเหลี่ยมด้านเท่าทั้งสองรูปมีความยาวรอบรูปเท่ากัน
แต่รูปห้าเหลี่ยมทั้งสองรูปมีรูปร่างไม่เหมือนกัน ทำ�ให้ทับกันไม่สนิท
นั่นคือ รูปห้าเหลี่ยมด้านเท่าสองรูปที่มีความยาวรอบรูปเท่ากัน ไม่จำ�เป็นต้องเท่ากันทุกประการ

8. เป็นจริง
เนื่องจาก ในการสร้างรูปหกเหลีย่ มด้านเท่ามุมเท่ารูปแรกอาจใช้จด
ุ บนเส้นรอบวงจุดหนึง่ เป็นจุดศูนย์กลางของวงกลม
และใช้วงเวียนรัศมียาวเท่ากับรัศมีของวงกลม เขียนส่วนโค้งตัดเส้นรอบวงของวงกลมครั้งที่ 1 และใช้
จุดตัดที่ได้เป็นจุดศูนย์กลางของวงกลม รัศมียาวเท่าเดิมเขียนส่วนโค้งตัดเส้นรอบวงของวงกลมครั้งที่ 2
ทำ�เช่นนี้ไปจนครบรอบ เมื่อลากส่วนของเส้นตรงเชื่อมจุดตัดทั้งหก ตามลำ�ดับ จะได้รูปหกเหลี่ยมด้านเท่า
มุมเท่าที่มุมภายในแต่ละมุมมีขนาด 120 องศา ในทำ�นองเดียวกัน เมื่อสร้างรูปหกเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า
อีกรูปหนึ่ง โดยใช้รัศมีของวงกลมเดียวกัน ก็จะได้รูปหกเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่าอีกรูปหนึ่ง ที่มุมภายในแต่
ละมุมมีขนาด 120 องศา เท่ากัน ดังรูป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 85

จะเห็นว่า ด้านของรูปหกเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่าทั้งสองรูป จะยาวเท่ากันและยาวเท่ากับรัศมีของวงกลมเดียวกัน


มุมภายในแต่ละมุมก็มข
ี นาด 120 องศา เท่ากัน หรือ เมือ
่ ลากส่วนของเส้นตรงเชือ
่ มจุดยอดของรูปหกเหลีย่ ม
ด้านเท่ามุมเท่าแต่ละรูปกับจุดศูนย์กลางของวงกลม จะได้วา่ รูปหกเหลีย่ มด้านเท่ามุมเท่าแต่ละรูปประกอบ
ไปด้ ว ยรู ป สามเหลี่ ย มด้ า นเท่ า (เพราะมี ค วามยาวของด้ า นเท่ า กั บ รั ศ มี ข องวงกลม) 6 รู ป ที่ เ ท่ า กั น
ทุกประการ
นั่นคือ รูปหกเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่าสองรูปที่สร้างโดยใช้รัศมีของวงกลมเดียวกัน จะเท่ากันทุกประการ

9. ไม่เป็นจริง เช่น
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ที่มีด้านยาวเท่ากัน ดังรูป

นั่นคือ รูปสี่เหลี่ยมสองรูปที่มีด้านยาวเท่ากันสี่คู่ ไม่จำ�เป็นต้องเท่ากันทุกประการ

10. เป็นจริง
เนื่องจาก วงกลมสองวงที่มีเส้นรอบวงยาวเท่ากัน จะมีรัศมียาวเท่ากัน*
จะได้ วงกลมทั้งสองมีรูปร่างเหมือนกันและมีขนาดเท่ากัน
นั่นคือ วงกลมสองวงที่มีเส้นรอบวงยาวเท่ากัน จะเท่ากันทุกประการ

* หมายเหตุ : วงกลมสองวงมีรัศมีเป็น r1 และ r2


เมื่อวงกลมสองวงนั้นมีเส้นรอบวงยาวเท่ากัน
จะได้ว่า 2πr1 = 2πr2
ดังนั้น r1 = r2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
86 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2.2 ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม (1 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. บอกได้ ว่ า รู ป สามเหลี่ ย มสองรู ป เท่ า กั น ทุ ก ประการ ก็ ต่ อ เมื่ อ ด้ า นคู่ ที่ ส มนั ย กั น และมุ ม คู่ ที่ ส มนั ย กั น ของ
รูปสามเหลี่ยมทั้งสองรูปนั้น มีขนาดเท่ากันเป็นคู่ ๆ
2. บอกด้านคู่ที่ยาวเท่ากันและมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากันของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
นักเรียนเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีมุมเท่ากัน 3 คู่ เป็นรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. กระดาษลอกลาย
2. ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตอื่น ๆ
3. อุปกรณ์ของกิจกรรมเสนอแนะ 2.2 : รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนีเ้ ป็นเรือ
่ งของการตรวจสอบว่า รูปสามเหลีย่ มสองรูปเท่ากันทุกประการหรือไม่ โดยมีจด
ุ ประสงค์ให้นก
ั เรียนบอก
ได้ว่ามีเงื่อนไขอย่างไร รูปสามเหลี่ยมสองรูปจึงจะเท่ากันทุกประการ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูทบทวนบทนิยามของความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิตให้นักเรียน เพื่อนำ�มาใช้สำ�รวจสมบัติของ
ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม โดยให้นักเรียนใช้กระดาษลอกลายลอกรูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่งไปทับ
รูปสามเหลี่ยมอีกรูปหนึ่ง หรือครูอาจใช้ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิต
พลวัตอื่น ๆ ในการจัดกิจกรรม
2. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมว่า ถ้าต้องการ
ตรวจสอบความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลีย่ มสองรูป ในเบือ
้ งต้น จะต้องตรวจสอบความเท่ากันของด้านคูท
่ ่ี
สมนัยกัน 3 คู่ ว่าแต่ละคู่ยาวเท่ากันหรือไม่ และมุมคู่ที่สมนัยกัน 3 คู่ ว่าแต่ละคู่มีขนาดเท่ากันหรือไม่
3. ครูย�้ำ เกีย
่ วกับการเขียนสัญลักษณ์แสดงรูปสามเหลีย
่ มสองรูปทีเ่ ท่ากันทุกประการ ซึง่ นิยมเขียนตัวอักษรเรียงตาม
ลำ�ดับของมุมคู่ที่สมนัยกันและด้านคู่ที่สมนัยกัน เช่น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 87

C F

A B D E

จะเห็นว่า เราอาจเขียนได้ว่า ∆ABC ≅ ∆DEF หรือ ∆BCA ≅ ∆EFD หรือ ∆CAB ≅ ∆FDE หรือ
∆ACB ≅ ∆DFE หรือ ∆BAC ≅ ∆EDF หรือ ∆CBA ≅ ∆FED ก็ได้
4. ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 2.2 : รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ” ในคู่มือครู หน้า 88 เพื่อเสริม
ความเข้าใจเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม
5. ครูให้นก
ั เรียนฝึกทักษะเพิม
่ เติมเพือ
่ ตรวจสอบความเข้าใจเกีย่ วกับมุมคูท
่ สี่ มนัยและด้านคูท
่ สี่ มนัยของรูปสามเหลีย่ ม
ที่เท่ากันทุกประการสองรูปโดยใช้แบบฝึกหัด 2.2 ซึ่งในการทำ�แบบฝึกหัดข้อ 2 ในหนังสือเรียน หน้า 76 ครูอาจ
แนะให้นักเรียนเขียนด้านคู่ที่สมนัยกันยาวเท่ากันและมุมคู่ที่สมนัยกันที่มีขนาดเท่ากัน โดยไม่ต้องเขียนรูปก่อน
เพื่อเป็นการฝึกการนึกภาพในจินตนาการ ถ้าทำ�ไม่ได้จึงให้เขียนรูป เช่น
เมื่อกำ�หนดให้ ∆EAT ≅ ∆FAT

จะได้ ∆EAT ≅ ∆FAT ด้านคู่ที่สมนัยกัน คือ EA = FA, AT = AT และ TE = TF

และมุมคู่ที่สมนัยกัน คือ EÂT = FÂT, AT̂E = AT̂F และ TÊA = TF̂A ซึ่งสามารถเขียนแสดงตัวอย่างของ
รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการได้ดังนี้

E F

6. ครูให้นักเรียนศึกษาสมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปหลายเหลี่ยม จากมุมคณิต ในหนังสือเรียน หน้า 77


ซึ่งเป็นการขยายฐานความรู้จากความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม และตรวจสอบความเข้าใจโดยใช้
ชวนคิด 2.4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
88 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

กิจกรรมเสนอแนะ 2.2 : รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ


กิจกรรมนี้ ใช้สำ�หรับการทำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการในลักษณะต่าง ๆ และฝึก
การหาจุดคู่ที่สมนัยกัน ด้านคู่ที่สมนัยกัน และมุมคู่ที่สมนัยกัน โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
กระดาษสีที่ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการที่มีลักษณะต่าง ๆ จำ�นวนกลุ่มละ 4 คู่ ซึ่งครูควรมอบหมาย
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมมาล่วงหน้า ดังตัวอย่างต่อไปนี้

รูปสามเหลี่ยมมุมแหลม รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

รูปสามเหลี่ยมมุมป้าน รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2–3 คน
2. ครูให้นักเรียนนำ�กระดาษสีรูปสามเหลี่ยมแต่ละคู่มาซ้อนทับกัน แล้วให้นักเรียนสังเกตว่ารูปสามเหลี่ยมแต่ละคู่
จะทับกันได้สนิท ซึ่งแสดงว่ารูปสามเหลี่ยมแต่ละคู่เท่ากันทุกประการ
3. ครู สุ่ ม ให้ ตั ว แทนนั ก เรี ย นใช้ ก ระดาษสี รู ป สามเหลี่ ย มแต่ ล ะคู่ ม าประกอบกั น โดยอาจให้ มี บ างส่ ว นซ้ อ นทั บ กั น
แล้วนำ�เสนอหน้าชั้นเรียน ดังตัวอย่าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 89

✤ การประกอบกันโดยให้มีด้านคู่ที่สมนัยกันบางคู่ร่วมกัน

✤ การประกอบกันโดยให้มีมุมคู่ที่สมนัยกันบางคู่ร่วมกัน

4. ครูให้นักเรียนใช้กระดาษสีรูปสามเหลี่ยมแต่ละคู่มาประกอบกัน โดยอาจให้มีบางส่วนซ้อนทับกัน แล้วจดบันทึก


ไว้ในสมุด ให้ได้จำ�นวนรูปที่ประกอบกันและแตกต่างกันอย่างน้อย 10 รูป
5. ครูให้นักเรียนเขียนตัวอักษรกำ�กับจุดทุกจุดในรูปที่จดบันทึกไว้ แล้วให้ระบุจุดคู่ที่สมนัยกันทุกคู่ ด้านคู่ที่สมนัยกัน
ทุกคู่ และมุมคู่ที่สมนัยกันทุกคู่ โดยในกรณีที่นักเรียนไม่สามารถบอกจุด ด้าน หรือมุมที่สมนัยกันแต่ละคู่ได้ ครูอาจ
แนะนำ�ให้นักเรียนแยกกระดาษสีแดงและกระดาษสีเหลืองออกจากกัน เพื่อช่วยในการทำ�ความเข้าใจ ดังนี้

A A A

C B D C B B D

จุดคู่ที่สมนัยกัน คือ จุด A กับจุด A, จุด B กับจุด B และ จุด C กับจุด D


ด้านคู่ที่สมนัยกัน คือ AC กับ AD, BC กับ BD และ AB กับ AB
มุมคู่ที่สมนัยกัน คือ AB̂C กับ AB̂D, BÂC กับ BÂD และ AĈB กับ AD̂B
6. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำ�เสนอ กลุ่มละ 1–2 รูป โดยเน้นการพูดสื่อสารและสื่อความหมายผลการปฏิบัติกิจกรรม
หน้าชั้นเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
90 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 2.4
ด้านคู่ที่ยาวเท่ากัน คือ BL กับ HO , LA กับ OR , AC กับ RS , CK กับ SE , KB กับ EH
ipst.me/10064
และมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากัน คือ B̂ กับ Ĥ , L̂ กับ Ô , Â กับ R̂ , Ĉ กับ Ŝ , K̂ กับ Ê

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 2.2
1. 1) ด้านคู่ที่สมนัยกัน คือ AB กับ XY , BC กับ YZ , AC กับ XZ
มุมคู่ที่สมนัยกัน คือ Â กับ X̂ , B̂ กับ Ŷ , Ĉ กับ Ẑ
2) ด้านคู่ที่สมนัยกัน คือ PR กับ PR , PQ กับ PS , QR กับ SR
มุมคู่ที่สมนัยกัน คือ PQ̂R กับ PŜR , QP̂R กับ SP̂R , PR̂Q กับ PR̂S
3) ด้านคู่ที่สมนัยกัน คือ MP กับ NP , MO กับ NO , OP กับ OP
มุมคู่ที่สมนัยกัน คือ MÔP กับ NÔP , MP̂O กับ NP̂O , OM̂P กับ ON̂P
4) ด้านคู่ที่สมนัยกัน คือ AO กับ BO , OX กับ OY , AX กับ BY
มุมคู่ที่สมนัยกัน คือ AÔX กับ BÔY , OÂX กับ OB̂Y , AX̂O กับ BŶO

2. 1) ด้านคู่ที่ยาวเท่ากัน คือ AB กับ ED , BC กับ DF , CA กับ FE


มุมคู่ที่มีขนาดเท่ากัน คือ AB̂C กับ ED̂F , BĈA กับ DF̂E , CÂB กับ FÊD
2) ด้านคู่ที่ยาวเท่ากัน คือ TO กับ GU , OP กับ UN , TP กับ GN
มุมคู่ที่มีขนาดเท่ากัน คือ TÔP กับ GÛN , OP̂T กับ UN̂G , PT̂O กับ NĜU
3) ด้านคู่ที่ยาวเท่ากัน คือ BI กับ BO , IG กับ OY , BG กับ BY
มุมคู่ที่มีขนาดเท่ากัน คือ BÎG กับ BÔY , GB̂I กับ YB̂O , IĜB กับ OŶB
4) ด้านคู่ที่ยาวเท่ากัน คือ CA กับ RA , AT กับ AT , CT กับ RT
มุมคู่ที่มีขนาดเท่ากัน คือ CÂT กับ RÂT , AT̂C กับ AT̂R , TĈA กับ TR̂A

3. 1) B̂ = 30° และ F̂ = 70°


2) B̂ = 60° และ D̂ = 100°

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 91

2.3 รูปสามเหลีย
่ มสองรูปทีส
่ ม
ั พันธ์กน
ั แบบ ด้าน–มุม–ด้าน (2 ชัว่ โมง)
จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. บอกได้ว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ด้าน–มุม–ด้าน เท่ากันทุกประการ
2. นำ�สมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ด้าน–มุม–ด้าน ไปใช้อ้างอิง
ในการให้เหตุผล

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
นักเรียนอาจเข้าใจคลาดเคลือ
่ นว่า รูปสามเหลีย
่ มสองรูปทีม
่ ด
ี า้ นยาวเท่ากันสองคู่ และมีมม
ุ ทีม
่ ข
ี นาดเท่ากันหนึง่ คู่ จะเป็น
มุมคู่ใดก็ได้ เป็นรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. อุปกรณ์ของกิจกรรม : สำ�รวจ ด้าน–มุม–ด้าน
2. ไฟล์สื่อสำ�เร็จรูปที่สร้างจากซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad ในมุมเทคโนโลยีของกิจกรรม : สำ�รวจ
ด้าน–มุม–ด้าน
3. อุปกรณ์ของกิจกรรมเสนอแนะ 2.3 : ร่วมด้วยช่วยกันให้เหตุผล

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องของการตรวจสอบว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการหรือไม่ โดยการตรวจสอบเพียงด้านคู่ที่
สมนัยกันบางด้าน และมุมคู่ที่สมนัยกันบางมุมของรูปสามเหลี่ยมทั้งสองรูปนั้น ซึ่งด้านและมุมดังกล่าวต้องสอดคล้องกับเงื่อนไข
ทีก
่ �ำ หนด ทัง้ นี้ นักเรียนจะได้ฝก
ึ การให้เหตุผลอย่างมีแบบแผน อันเป็นทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ทส
ี่ �ำ คัญอย่างหนึง่
นอกจากนั้น ครูควรให้นักเรียนได้นำ�ความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วย แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูสนทนากับนักเรียนว่า วิธีการตรวจสอบความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูป ในเบื้องต้นนั้น
เราต้องตรวจสอบการเท่ากันของความยาวของด้านทีส
่ มนัยกัน 3 คู่ และการเท่ากันของขนาดของมุมคูท
่ ส
ี่ มนัยกัน
อีก 3 คู่ แต่ในหัวข้อต่อไปจากนี้ นักเรียนจะได้เห็นว่าเราสามารถตรวจสอบการเท่ากันของความยาวของด้านหรือ
ขนาดของมุมเพียง 3 คู่ ตามเงื่อนไขที่กำ�หนด ก็เพียงพอที่จะสรุปว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นเท่ากันทุกประการ
2. ครูแนะนำ�ความสัมพันธ์กน
ั ของรูปสามเหลีย่ มสองรูปแบบ ด้าน–มุม–ด้าน โดยใช้ “กิจกรรม : สำ�รวจ ด้าน–มุม–ด้าน”
ในหนังสือเรียน หน้า 78 ด้วยการให้นก
ั เรียนสำ�รวจว่ารูปสามเหลีย่ มสองรูปเท่ากันทุกประการหรือไม่ จากการลงมือ
ปฏิบต
ั ด
ิ ว้ ยการวัดความยาวของด้านและขนาดของมุมทีเ่ หลือ หรือใช้กระดาษลอกลายลอกรูปไปทับกัน เพือ่ เชือ่ มโยง
สู่กรณีทั่วไปที่ว่า “รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ด้าน–มุม–ด้าน จะเท่ากันทุกประการ”
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
92 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ครูควรให้นักเรียนช่วยกันสังเกตว่า สิ่งที่เป็นเงื่อนไขของด้านและมุมที่กำ�หนดให้นั้นเป็นอย่างไร เพื่อให้ได้


ข้อสรุปว่า “รูปสามเหลีย่ มทัง้ สองรูปดังกล่าวนี้ มีดา้ นยาวเท่ากันสองคู่ และมุมทีม
่ ข
ี นาดเท่ากันนัน
้ ต้องเป็นมุมทีอ
่ ยู่
ในระหว่างด้านคูท
่ ย
ี่ าวเท่ากัน จึงจะเป็นเงือ
่ นไขทีเ่ พียงพอทีจ่ ะสรุปว่ารูปสามเหลีย
่ มสองรูปนัน
้ เท่ากันทุกประการ”
ซึ่งในกิจกรรมนี้ ครูอาจใช้ไฟล์สื่อสำ�เร็จรูปที่สร้างจากซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad ที่สามารถ
ดาวน์โหลดได้จากมุมเทคโนโลยีในหนังสือเรียน หน้า 79 ให้นักเรียนสำ�รวจ เพื่อค้นพบข้อสรุปได้เช่นเดียวกัน
จากนั้นครูแนะนำ�นักเรียนว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ด้าน–มุม–ด้าน สามารถเขียนย่อ ๆ
ว่า ด.ม.ด.
3. ครูใช้ชวนคิด 2.5 ในหนังสือเรียน หน้า 80 เพื่ออภิปรายร่วมกับนักเรียนว่า เงื่อนไขที่จะบอกว่ารูปสามเหลี่ยม
สองรูปเท่ากันทุกประการ คือ ต้องมีด้านที่ยาวเท่ากันสองคู่ และมุมที่มีขนาดเท่ากันหนึ่งคู่ แต่มุมที่มีขนาดเท่ากัน
นัน
้ จะต้องเป็นมุมทีอ
่ ยูร่ ะหว่างด้านคูท
่ ย
ี่ าวเท่ากัน โดยครูอาจให้นก
ั เรียนช่วยกันยกตัวอย่างรูปสามเหลีย
่ มสองรูป
ที่มีด้านยาวเท่ากันสองคู่ และมุมที่มีขนาดเท่ากัน 1 คู่ ซึ่งมุมดังกล่าวไม่เป็นมุมที่อยู่ระหว่างด้านคู่ที่ยาวเท่ากัน
เพื่อแสดงให้เห็นว่า รูปสามเหลี่ยมทั้งสองนั้น ไม่เท่ากันทุกประการ เช่น
C F

A B D E

จากรูป เห็นได้ชัดว่า ∆ABC และ ∆DEF ไม่เท่ากันทุกประการ


จากตัวอย่างนี้ ครูควรชีใ้ ห้นก
ั เรียนเห็นว่า การเขียนว่ารูปสามเหลีย่ มสองรูปมีความสัมพันธ์กน
ั แบบใด ลำ�ดับ
ในการเขียนเป็นเรือ่ งทีส่ �ำ คัญ เราไม่สามารถเขียนแทนความสัมพันธ์กน
ั แบบ “ด้าน–มุม–ด้าน” ด้วย “ด้าน–ด้าน–มุม”
หรือ “มุม–ด้าน–ด้าน” ได้
4. ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 2.3 : ร่วมด้วยช่วยกันให้เหตุผล” ในคู่มือครู หน้า 97 เพื่อให้นักเรียนได้ฝึก
การให้เหตุผลเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการผ่านการทำ�กิจกรรมร่วมกัน

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการให้เหตุผลแบบนิรนัย
ในหัวข้อนีน
้ กั เรียนจะฝึกการให้เหตุผลแบบนิรนัยด้วยการพิสจู น์อย่างเป็นแบบแผน ครูอาจแนะนำ�นักเรียนให้ด�ำ เนินการดังนี้
1. อ่านและทำ�ความเข้าใจโจทย์ปัญหา ด้วยการพิจารณาว่าโจทย์กำ�หนดอะไรให้บ้างและโจทย์ต้องการให้พิสูจน์
อะไรโดยนำ�มาเขียนแสดงใน “กำ�หนดให้” และ “ต้องการพิสูจน์ว่า” ตามลำ�ดับ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 93

2. ในการพิสจู น์ ครูอาจใช้ค�ำ ถามให้นก


ั เรียนวิเคราะห์ยอ
้ นกลับจาก “ต้องการพิสจู น์วา่ ” ผนวกกับ “บทนิยาม/
สมบัติ” เพื่อหาเหตุผลเชื่อมโยงย้อนกลับสู่ “กำ�หนดให้”
การตอบคำ�ถามของนักเรียนจะทำ�ให้ได้แนวทางในการเขียนแสดงการพิสูจน์ ซึ่งนักเรียนจะต้อง
พิจารณาว่า มีข้อมูลใดบ้างจากที่ระบุใน “กำ�หนดให้” ที่นำ�มาใช้ได้ผนวกกับ “บทนิยาม/สมบัติ” ที่นักเรียน
เคยศึกษามาแล้ว นำ�มาเขียนอธิบายเชื่อมโยงสู่ข้อสรุปตามที่ระบุไว้ใน “ต้องการพิสูจน์ว่า”
ข้อแนะนำ�ดังกล่าวข้างต้นแสดงได้ด้วยแผนภาพ ดังนี้

การวิเคราะห์ย้อนกลับ การเขียนแสดงการพิสูจน์

ข้อสรุปตามที่ระบุใน “กำ�หนดให้”
“ต้องการพิสูจน์ว่า”
อธิบายให้เหตุผล
วิเคราะห์ “เหตุ” ที่ทำ�ให้เกิด “ผล”
บทนิยาม/สมบัติ
บทนิยาม/สมบัติ
ข้อสรุปตามที่ระบุใน
“กำ�หนดให้” “ต้องการพิสูจน์ว่า”

ตัวอย่างเช่น
จากรูปกำ�หนดให้ BC = AD, AB̂C = BÂD
A B
จงพิสูจน์ว่า
1. ∆ABC ≅ ∆BAD
2. AC = BD
3. BÂC = AB̂D
C D

A B A B

จากรูปที่กำ�หนดให้
สามารถแยกพิจารณาเป็น
รูปสามเหลี่ยมสองรูป ดังนี้
C D

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
94 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ข้อมูลจากโจทย์นำ�มาเขียน “กำ�หนดให้” และ “ต้องการพิสูจน์ว่า” ได้ดังนี้


กำ�หนดให้ BC = AD, AB̂C = BÂD
ต้องการพิสูจน์ว่า ∆ABC ≅ ∆BAD, AC = BD และ BÂC = AB̂D

ในการวิเคราะห์ย้อนกลับ ครูใช้การถาม-ตอบจาก “ต้องการพิสูจน์ว่า” ไปสู่ “กำ�หนดให้” ได้ดัง


แผนภาพต่อไปนี้

BC = AD
AB̂C = BÂD กำ�หนดให้
AB เป็นด้านร่วม

∆ABC ≅ ∆BAD
AC = BD ต้องการพิสูจน์ว่า
BÂC = AB̂D

จากแผนภาพข้างต้น เขียนแสดงการพิสูจน์จาก “กำ�หนดให้” ไปสู่ “ต้องการพิสูจน์ว่า” ได้ดังนี้


พิสูจน์ พิจารณา ∆ABC และ ∆BAD
BC = AD (กำ�หนดให้)
AB̂C = BÂD (กำ�หนดให้)
AB = BA (AB เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ∆ABC ≅ ∆BAD (ด.ม.ด.)
จะได้ AC = BD (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
และ BÂC = AB̂D (มุมคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
ครูควรฝึกให้นักเรียนใช้การวิเคราะห์ย้อนกลับในการพิสูจน์ทางเรขาคณิต ซึ่งส่วนใหญ่จะทำ�ให้นักเรียน
สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง การฝึกดังกล่าวในระยะแรก ครูควรใช้การถาม–ตอบเพื่อเป็นแนวทางก่อน
หลังจากนั้นจึงให้นักเรียนวิเคราะห์ด้วยตนเอง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 95

ทั้งนี้ในการพิสูจน์ครูอาจแนะนำ�ให้นักเรียนเขียนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ลงในรูป เพื่อช่วยให้มีแนวคิด


ในการพิสูจน์ว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ เช่น

D C

2
O
1

A B

จากรูปและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในรูป จะบอกได้ว่า AO = CO , BO = DO และ AÔB = CÔD


สำ�หรับ AÔB = CÔD สามารถเขียนแทนได้ด้วย 1̂ = 2̂ ซึ่งจะทำ�ให้มองเห็นมุมที่ต้องการกล่าวถึง
ได้ง่ายกว่า และสะดวกในการเรียกชื่อมุมมากกว่า

การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเรขาคณิต ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ในการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องเรขาคณิตนั้น โจทย์ที่เกี่ยวกับเรขาคณิตในหนังสือเรียนชุดนี้จะมีคำ�ถามอยู่
4 ลักษณะ คือ
1. ให้สร้าง เช่น ตัวอย่างในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม.1 เล่ม 1 หน้า 85
2. ให้หาค่าของสิ่งต่าง ๆ เช่น แบบฝึกหัดที่ 2.3 ข้อ 5 ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม.2
เล่ม 2 หน้า 84 แบบทดสอบ ข้อ 4 ในคู่มือครู หน้า 163
3. ให้แสดงเหตุผล เช่น แบบฝึกหัดที่ 2.3 ข้อ 1 ในหนังสือเรียนรายวิชาพืน
้ ฐาน คณิตศาสตร์ ม.2 เล่ม 2 หน้า 84
4. ให้พส
ิ จู น์ เช่น หัวข้อ 2.3 ตัวอย่างที่ 1–2 ในหนังสือเรียนรายวิชาพืน
้ ฐาน คณิตศาสตร์ ม.2 เล่ม 2 หน้า 81
ถ้าเป็นโจทย์ในลักษณะที่ 1 (ให้สร้าง) ให้เขียนเฉพาะวิธีทำ� แต่รูปต้องมีร่องรอยการสร้างให้เห็นอย่างชัดเจน
ถ้าเป็นโจทย์ในลักษณะที่ 2 (ให้หาค่าของสิ่งต่าง ๆ) ให้เขียนวิธีทำ�และเหตุผลที่จำ�เป็น โจทย์ลักษณะนี้ต้องการให้
นักเรียนสามารถหาค่าของสิ่งต่าง ๆ ได้เท่านั้น ไม่เน้นการให้เหตุผลทุกขั้นตอนตามแบบที่ปรากฏในหนังสือเรียน เพราะ
คำ�อธิบายที่ให้ไว้ในหนังสือเรียนมีไว้เพื่อให้นักเรียนเห็นถึงที่มาที่ไปของการหาค่าดังกล่าว
ี �ำ และเหตุผลประกอบ โดยไม่จ�ำ เป็นต้องเขียน กำ�หนดให้
ถ้าเป็นโจทย์ในลักษณะที่ 3 (ให้แสดงเหตุผล) ให้เขียนวิธท
และต้องการพิสูจน์ว่า
ถ้าเป็นโจทย์ในลักษณะที่ 4 (ให้พิสูจน์) จะต้องเขียนให้ครบตามรูปแบบ คือ กำ�หนดให้ ต้องการพิสูจน์ว่า และ
พิสูจน์ ตามแบบที่ปรากฏในหนังสือเรียน
ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นนี้ จะมีโจทย์ทั้งสี่ลักษณะ โดยไม่ประสงค์ที่จะให้นักเรียนส่วนใหญ่เขียนการพิสูจน์
แต่จะเน้นการให้เหตุผลและนำ�ไปใช้ได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
96 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

กิจกรรม : สำ�รวจ ด้าน–มุม–ด้าน


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อสังเกตว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีด้านที่ยาวเท่ากัน
สองคู่ และมีมุมที่มีขนาดเท่ากัน 1 คู่ ซึ่งมุมนี้เป็นมุมที่อยู่ระหว่างด้านคู่ที่ยาวเท่ากัน จะเป็นเงื่อนไขที่เพียงพอที่จะสรุปว่า
รูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นเท่ากันทุกประการ โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
1. อุปกรณ์ของกิจกรรม : สำ�รวจ ด้าน–มุม–ด้าน ในหนังสือเรียน หน้า 78
2. ไฟล์สื่อสำ�เร็จรูปที่สร้างจากซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad ในมุมเทคโนโลยีของกิจกรรม : สำ�รวจ
ด้าน–มุม–ด้าน

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. จาก “กิจกรรม : สำ�รวจ ด้าน–มุม–ด้าน” ในหนังสือเรียน หน้า 78 ครูให้นักเรียนสังเกตรูปที่กำ�หนดให้ ว่ามีด้านใดบ้าง
ที่ยาวเท่ากัน และมุมใดบ้างที่มีขนาดเท่ากัน
2. ครูให้นักเรียนวัดความยาวของด้าน และวัดขนาดของมุมที่เหลือ หรือใช้กระดาษลอกลาย ลอกรูปแล้วนำ�ไปทับกัน
3. ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย และสรุปว่ารูปทั้งสองที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อ เท่ากันทุกประการหรือไม่ เพราะเหตุใด
4. ครูให้นักเรียนสังเกตสิ่งที่โจทย์กำ�หนดให้อีกครั้ง เพื่อสรุปว่า มุมที่โจทย์กำ�หนดให้มีขนาดเท่ากันนั้น เป็นมุมที่อยู่ใน
ระหว่างด้านคู่ที่กำ�หนดให้ที่ยาวเท่ากัน
5. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลที่ได้จากการสำ�รวจ ซึ่งเป็นไปตามสมบัติที่ว่า “ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปมีความสัมพันธ์
กันแบบ ด้าน–มุม–ด้าน (ด.ม.ด.) กล่าวคือ มีด้านยาวเท่ากันสองคู่ และมุมในระหว่างด้านคู่ที่ยาวเท่ากันมีขนาด
เท่ากัน แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นเท่ากันทุกประการ”
6. ในการทำ�กิจกรรมนี้ ครูอาจใช้ไฟล์สอ
ื่ สำ�เร็จรูปทีส่ ร้างจากซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad ในมุมเทคโนโลยี
ของ “กิจกรรม : สำ�รวจ ด้าน–มุม–ด้าน” ในหนังสือเรียน หน้า 79 เพื่อให้นักเรียนใช้สำ�รวจ และสร้างข้อสรุปจากการ
สำ�รวจ ได้เช่นเดียวกัน

เฉลยกิจกรรม: สำ�รวจ ด้าน–มุม–ด้าน


รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อเท่ากันทุกประการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 97

กิจกรรมเสนอแนะ 2.3 : ร่วมด้วยช่วยกันให้เหตุผล


กิจกรรมนีใ้ ช้ส�ำ หรับให้นก
ั เรียนได้เรียนรูก
้ ารให้เหตุผลเกีย่ วกับรูปสามเหลีย่ มสองรูปทีเ่ ท่ากันทุกประการแบบ ด.ม.ด. ผ่าน
การทำ�กิจกรรมร่วมกันของนักเรียนในชั้นเรียน โดยเน้นการวิเคราะห์โจทย์จากผลไปสู่เหตุ เพื่อนำ�ไปสู่การเขียนแสดงขั้นตอน
การพิสูจน์จากเหตุไปสู่ผล ให้นักเรียนได้สื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนิน
กิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
1. กระดาษ A4
2. โจทย์ตัวอย่างหรือโจทย์แบบฝึกหัดการพิสูจน์รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการแบบ ด.ม.ด.

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูใช้โจทย์ตัวอย่างการพิสูจน์เกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการแบบ ด.ม.ด. โดยอาจนำ�ตัวอย่างที่ 1
ในหนังสือเรียน หน้า 81 มาใช้ในการทำ�กิจกรรม ดังนี้
A

จากรูป กำ�หนดให้ AB ตัดกับ CD ที่จุด O


D
ทำ�ให้ AO = BO และ CO = DO
C O
จงพิสูจน์ว่า ∆AOC ≅ ∆BOD

2. ครูสุ่มให้นักเรียน 1 คน มาเขียนสิ่งที่ต้องการพิสูจน์ลงในกระดาษ A4 แล้วถือแสดงไว้หน้าชั้นเรียน ดังนี้

∆AOC ≅ ∆BOD

3. ครูสุ่มให้นักเรียน 2 คน มาเขียนสิ่งที่โจทย์กำ�หนดให้ว่าสิ่งใดบ้างที่เท่ากันลงในกระดาษ A4 แล้วถือแสดงไว้หน้า


ชั้นเรียน เรียงกันดังนี้

AO = BO CO = DO

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
98 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

4. ครูให้นักเรียนในห้องช่วยกันวิเคราะห์ว่า ถ้าจะให้ ∆AOC ≅ ∆BOD แบบ ด.ม.ด. จะต้องมีเงื่อนไขอะไรเพิ่มเติมบ้าง


โดยอาจให้นก
ั เรียนใช้การประกอบกันของรูปสามเหลีย่ มจาก “กิจกรรมเสนอแนะ 2.2 : รูปสามเหลีย่ มสองรูปทีเ่ ท่ากัน
ทุกประการ” มาช่วยในการทำ�ความเข้าใจ จากนั้นสุ่มให้นักเรียน 1 คน มาเขียนด้านหรือมุมคู่ที่ทราบเพิ่มเติมว่า
มีขนาดเท่ากันตามเงื่อนไขของโจทย์ลงในกระดาษ A4 แล้วถือแสดงไว้หน้าชั้นเรียน เรียงกันดังนี้

∆AOC ≅ ∆BOD AO = BO CO = DO AÔC = BÔD

5. ครูให้นักเรียนที่ถือกระดาษหน้าชั้นเรียนยืนสลับที่กันใหม่จากสิ่งที่กำ�หนดให้หรือสิ่งที่ทราบจากความรู้เดิม ไปสู่สิ่งที่
ต้องการพิสูจน์ ผลจะเป็นดังนี้

AO = BO AÔC = BÔD CO = DO ∆AOC ≅ ∆BOD

6. ครูให้นก
ั เรียนทีถ
่ อ
ื กระดาษหน้าชัน
้ เรียนแต่ละคนบอกเหตุผลของการเท่ากันหรือการเท่ากันทุกประการ ของความยาว
ของด้าน หรือขนาดของมุม หรือรูปสามเหลี่ยมที่แต่ละคนเขียนและถือแสดงไว้ตามลำ�ดับ
7. ครูสรุปขั้นตอนการวิเคราะห์ย้อนกลับจากผลไปสู่เหตุ ดังนี้

คำ�ตอบ/การเขียนแสดง
คำ�ถามของครู คำ�ตอบบนกระดาษ A4
ต้องการพิสูจน์ว่า
จากโจทย์ สิ่งที่ต้องการพิสูจน์คืออะไร ∆AOC ≅ ∆BOD

รูปสามเหลี่ยมทั้งสองรูปน่าจะมีความสัมพันธ์กันแบบใด ด.ม.ด.

ด้านคู่ที่หนึ่งที่ยาวเท่ากันคือด้านคู่ใด AO = BO

มุมคู่ที่มีขนาดเท่ากันคือมุมคู่ใด AÔC = BÔD

กำ�หนดให้/ ด้านคู่ที่สองที่ยาวเท่ากันคือด้านคู่ใด CO = DO
สิ่งที่ทราบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 99

8. ครูสรุปการเขียนแสดงการพิสูจน์จากเหตุไปสู่ผล โดยให้นักเรียนที่ถือกระดาษ A4 ที่แสดงข้อความที่พิสูจน์จัดเรียง


ลำ�ดับจากสิง่ ทีก
่ �ำ หนดให้ไปหาสิง่ ทีต
่ อ
้ งการพิสจู น์ พร้อมให้บอกเหตุผลของการเท่ากันของความยาวของด้านและขนาด
ของมุม และเหตุผลของการเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม ดังนี้

ข้อความที่นักเรียนจัดเรียงลำ�ดับ เหตุผลที่นักเรียนควรบอกได้

AO = BO (กำ�หนดให้)

AÔC = BÔD (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)

CO = DO (กำ�หนดให้)

∆AOC ≅ ∆BOD (ด.ม.ด.)

9. ครูให้นักเรียนเปรียบเทียบการเขียนแสดงการพิสูจน์ในหนังสือเรียนกับกิจกรรมที่ทำ�

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 2.5
โดยทั่วไปจะไม่เท่ากันทุกประการ แต่มีบางกรณีที่เท่ากันทุกประการ เช่น ถ้ามุมที่มีขนาดเท่ากันเป็นมุมฉาก
ipst.me/10065

① ②

จากทฤษฎีบทพีทาโกรัส จะหาได้ว่าด้านที่เหลือยาวเท่ากันด้วย
จะได้ ∆① ≅ ∆②

ชวนคิด 2.6
รูปสามเหลี่ยม ABO เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว เพราะจากการพิสูจน์ ∆AOD ≅ ∆BOC
ipst.me/10066
จะได้ AO = BO

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
100 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 2.3
1. แนวคิด N E

W S

∆WSN และ ∆ENS เท่ากันทุกประการ เพราะมีความสัมพันธ์แบบ ด้าน–มุม–ด้าน (WS = EN, WŜN = EN̂S,
SN = NS)

2. N M

K L

กำ�หนดให้ KLMN เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มี NL เป็นเส้นทแยงมุม


ต้องการพิสูจน์ว่า ∆NKL ≅ ∆LMN
พิสูจน์ พิจารณา ∆NKL และ ∆LMN
NK = LM (ด้านของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวเท่ากัน)
NK̂L = LM̂N (มุมภายในแต่ละมุมของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีขนาด 90°)
KL = MN (ด้านของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวเท่ากัน)
ดังนั้น ∆NKL ≅ ∆LMN (ด.ม.ด.)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 101

3. E
A
O
C
D
B

กำ�หนดให้ AC = DO , BC = EO และ AĈB = DÔE


ต้องการพิสูจน์ว่า AB = DE
พิสูจน์ พิจารณา ∆ACB และ ∆DOE
AC = DO (กำ�หนดให้)
AĈB = DÔE (กำ�หนดให้)
BC = EO (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ∆ACB ≅ ∆DOE (ด.ม.ด.)
จะได้ AB = DE (ด้านคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน)

4. P

S Q

กำ�หนดให้ PQRS มี SQ เป็นเส้นทแยงมุม PS = RS และ PŜQ = RŜQ


ต้องการพิสูจน์ว่า SP̂Q = SR̂Q
พิสูจน์ พิจารณา ∆PQS และ ∆RQS
PS = RS (กำ�หนดให้)
PŜQ = RŜQ (กำ�หนดให้)
SQ = SQ (SQ เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ∆PQS ≅ ∆RQS (ด.ม.ด.)
จะได้ SP̂Q = SR̂Q (มุมคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
102 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

5. แนวคิด A B

C D
พิจารณา ∆ABC และ ∆BAD
BC = AD (กำ�หนดให้)
AB̂C = BÂD (กำ�หนดให้)
AB = BA (AB เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ∆ABC ≅ ∆BAD (ด.ม.ด.)
จะได้ BÂ C = AB̂ D (มุมคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก BÂ C = 110° (กำ�หนดให้)
ดังนั้น AB̂ D = 110° (สมบัติของการเท่ากัน)

6. แนวคิด 1 A

P R I L
พิจารณา ∆APR และ ∆ALI
AR = AI (กำ�หนดให้)
AR̂I = AÎR (กำ�หนดให้)
เนื่องจาก AR̂ P + AR̂ I = AÎL + AÎR = 180° (ขนาดของมุมตรง)
จะได้ AR̂ P = AÎL (สมบัติของการเท่ากัน)
PR = LI (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ∆APR ≅ ∆ALI (ด.ม.ด.)
จะได้ AP = AL (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากัน
ทุกประการ จะยาวเท่ากัน)
เนื่องจาก AP = 12 เซนติเมตร (กำ�หนดให้)
ดังนั้น AL = 12 เซนติเมตร (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 103

แนวคิด 2 A

P R I L

พิจารณา ∆API และ ∆ALR


PR = LI (กำ�หนดให้)
PR + RI = LI + RI (สมบัติของการเท่ากัน)
จะได้ PI = LR (สมบัติของการเท่ากัน)
AÎ P = AR̂L (กำ�หนดให้)
AI = AR (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ∆API ≅ ∆ALR (ด.ม.ด.)
จะได้ AP = AL (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
เนื่องจาก AP = 12 เซนติเมตร (กำ�หนดให้)
ดังนั้น AL = 12 เซนติเมตร (สมบัติของการเท่ากัน)

7. แนวคิด จากโจทย์อาจเขียนภาพได้ดังนี้

D C

A B

1) พิจารณา ∆APB และ ∆CPD


AP = CP (BD และ AC เป็นเส้นทแยงมุมซึ่งแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน และ
ตัดกันที่จุด P)
AP̂B = CP̂D (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
BP = DP (BD และ AC เป็นเส้นทแยงมุมซึ่งแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน และ
ตัดกันที่จุด P)
ดังนั้น ∆APB ≅ ∆CPD (ด.ม.ด.)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
104 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

จะได้ AB = CD (ด้ า นคู่ ที่ ส มนั ย กั น ของรู ป สามเหลี่ ย มที่ เ ท่ า กั น ทุ ก ประการ


จะยาวเท่ากัน)
เนื่องจาก AB = 6 หน่วย (กำ�หนดให้)
ดังนั้น CD = 6 หน่วย (สมบัติของการเท่ากัน)
2) ทำ�นองเดียวกันกับข้อ 1) จะได้ว่า ∆APD ≅ ∆CPB (ด.ม.ด.)
จะได้ DÂP = BĈP (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก DÂP = 40° (กำ�หนดให้)
ดังนั้น BĈP = 40° (สมบัติของการเท่ากัน)

8. แนวคิด
C

36 36 86

A 40° 40° E
B
36

พิจารณา ∆ADB และ ∆BCE


AD = AC (จุด A เป็นจุดกึ่งกลางของ DC)
AC = BC (กำ�หนดให้)
จะได้ AD = BC (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก CÂB + BÂD = 180° (ขนาดของมุมตรง)
EB̂C + CB̂A = 180° (ขนาดของมุมตรง)
CÂB + BÂD = CB̂A + EB̂C (สมบัติของการเท่ากัน)
จะได้ BÂD = EB̂C (CÂB = CB̂A = 40°)
เนื่องจาก AB = BE (จุด B เป็นจุดกึ่งกลางของ AE)
ดังนั้น ∆ADB ≅ ∆BCE (ด.ม.ด.)
จะได้ DB = CE (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากัน
ทุกประการ จะยาวเท่ากัน)
เนื่องจาก CE = 86 หน่วย (กำ�หนดให้)
ดังนั้น DB = 86 หน่วย (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 105

2.4 รูปสามเหลีย
่ มสองรูปทีส
่ ม
ั พันธ์กน
ั แบบ มุม–ด้าน–มุม (2 ชัว่ โมง)
จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. บอกได้ว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ มุม–ด้าน–มุม เท่ากันทุกประการ
2. นำ�สมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ มุม–ด้าน–มุม ไปใช้อ้างอิง
ในการให้เหตุผล

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. อุปกรณ์ของกิจกรรม : สำ�รวจ มุม–ด้าน–มุม
2. ไฟล์สื่อสำ�เร็จรูปที่สร้างจากซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad ในมุมเทคโนโลยีของกิจกรรม : สำ�รวจ
มุม–ด้าน–มุม

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนีเ้ ป็นเรือ่ งของการตรวจสอบว่า รูปสามเหลีย่ มสองรูปเท่ากันทุกประการหรือไม่ โดยการตรวจสอบเพียงด้านคูท ่ ส่ี มนัย
กันบางด้าน และมุมคูท ่ ส่ี มนัยกันบางมุมของรูปสามเหลีย่ มทัง้ สองรูปนัน ้ ซึง่ ด้านและมุมดังกล่าวต้องสอดคล้องกับเงือ ่ นไขทีก่ �ำ หนด
ทัง้ นี้ นักเรียนจะได้ฝกึ การให้เหตุผลอย่างมีแบบแผน อันเป็นทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ทส่ี �ำ คัญอย่างหนึง่ นอกจากนัน ้
ครูควรให้นก ั เรียนได้น�ำ ความรูน ้ ไ้ี ปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ตา่ ง ๆ ด้วย แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรูอ ้ าจทำ�ได้ดงั นี้
1. ครูแนะนำ�ความสัมพันธ์กน ั ของรูปสามเหลีย่ มสองรูปแบบ มุม–ด้าน–มุม โดยใช้ “กิจกรรม : สำ�รวจ มุม–ด้าน–มุม”
ในหนังสือเรียน หน้า 86 ด้วยการให้นักเรียนสำ�รวจว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการหรือไม่ จากการ
ลงมือปฏิบัติด้วยการวัดความยาวของด้านและขนาดของมุมที่เหลือ หรือใช้กระดาษลอกลายลอกรูปไปทับกัน
เพื่อเชื่อมโยงสู่กรณีทั่วไปที่ว่า “รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ มุม–ด้าน–มุม จะเท่ากันทุกประการ”
2. ครู ค วรให้ นั ก เรี ย นช่ ว ยกั น สั ง เกตว่ า สิ่ ง ที่ เ ป็ น เงื่ อ นไขของด้ า นและมุ ม ที่ กำ � หนดให้ นั้ น เป็ น อย่ า งไร เพื่ อ ให้ ไ ด้
ข้อสรุปว่า “รูปสามเหลี่ยมทั้งสองรูปดังกล่าวนี้ มีมุมที่มีขนาดเท่ากันสองคู่ และด้านซึ่งเป็นแขนร่วมของมุม
ทั้งสองยาวเท่ากัน จึงจะเป็นเงื่อนไขที่เพียงพอที่จะสรุปว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นเท่ากันทุกประการ” ซึ่งใน
กิจกรรมนี้ ครูอาจใช้ไฟล์สอ ื่ สำ�เร็จรูปทีส
่ ร้างจากซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad ทีส ่ ามารถดาวน์โหลด
ได้จากมุมเทคโนโลยี ในหนังสือเรียน หน้า 87 ให้นักเรียนสำ�รวจ เพื่อค้นพบข้อสรุปได้เช่นเดียวกัน
จากนัน ้ ครูแนะนำ�นักเรียนว่า รูปสามเหลีย่ มสองรูปทีส่ ม ั พันธ์กนั แบบ มุม–ด้าน–มุม สามารถเขียนย่อ ๆ ว่า ม.ด.ม.
3. ครูอาจแนะนำ�ว่า ในกรณีที่รูปที่ต้องการพิจารณามีบางส่วนซ้อนกัน ทำ�ให้ดูยากว่าด้านใดยาวเท่ากันบ้าง หรือมุม
คู่ใดมีขนาดเท่ากันบ้าง อาจสร้างรูปใหม่ โดยแยกรูปเดิมออกเป็นสองรูปที่ไม่มีส่วนใดซ้อนกัน เช่น ข้อ 2 และ
ข้อ 4 ในแบบฝึกหัด 2.4 ในหนังสือเรียน หน้า 90

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
106 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

กิจกรรม : สำ�รวจ มุม–ด้าน–มุม


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อสังเกตว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีมุมที่มีขนาด
เท่ากันสองคู่ และด้านที่เป็นแขนร่วมของมุมทั้งสองยาวเท่ากัน จะเป็นเงื่อนไขที่เพียงพอที่จะสรุปว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้น
เท่ากันทุกประการ โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
1. อุปกรณ์ของกิจกรรม : สำ�รวจ มุม–ด้าน–มุม ในหนังสือเรียน หน้า 86
2. ไฟล์สื่อสำ�เร็จรูปที่สร้างจากซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad ในมุมเทคโนโลยีของกิจกรรม : สำ�รวจ
มุม–ด้าน–มุม

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. จาก “กิจกรรม : สำ�รวจ มุม–ด้าน–มุม” ในหนังสือเรียน หน้า 86 ครูให้นักเรียนสังเกตรูปที่กำ�หนดให้ ว่ามีด้านใดบ้าง
เป็นด้านที่ยาวเท่ากัน และมุมใดบ้างเป็นมุมที่มีขนาดเท่ากัน
2. ครูให้นักเรียนวัดความยาวของด้าน และวัดขนาดของมุมที่เหลือ หรือใช้กระดาษลอกลาย ลอกรูปแล้วนำ�ไปทับกัน
3. ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย และสรุปว่ารูปทั้งสองที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อ เท่ากันทุกประการหรือไม่ เพราะเหตุใด
4. ครูให้นักเรียนสังเกตสิ่งที่โจทย์กำ�หนดให้อีกครั้ง เพื่อสรุปว่า ด้านที่โจทย์กำ�หนดให้ยาวเท่ากันนั้น เป็นด้านที่เป็น
แขนร่วมของมุมทั้งสองที่กำ�หนดให้
5. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลที่ได้จากการสำ�รวจ ซึ่งเป็นไปตามสมบัติที่ว่า ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปมีความสัมพันธ์
กันแบบ มุม–ด้าน–มุม (ม.ด.ม.) กล่าวคือ มีมุมที่มีขนาดเท่ากันสองคู่ และด้านซึ่งเป็นแขนร่วมของมุมทั้งสองยาว
เท่ากัน แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นเท่ากันทุกประการ
6. ในการทำ�กิจกรรมนี้ ครูอาจใช้ไฟล์สอ
ื่ สำ�เร็จรูปทีส่ ร้างจากซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad ในมุมเทคโนโลยี
ของ “กิจกรรม : สำ�รวจ มุม–ด้าน–มุม” ในหนังสือเรียน หน้า 87 เพื่อให้นักเรียนใช้สำ�รวจ และสร้างข้อสรุปจากการ
สำ�รวจ ได้เช่นเดียวกัน

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจ มุม–ด้าน–มุม


รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อเท่ากันทุกประการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 107

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 2.7
จากตัวอย่างที่ 1 จะได้ ∆MAX ≅ ∆CAN (ม.ด.ม.)
ipst.me/10067
ดังนั้น MX = CN
X N

M C

จากรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก AMX
ถ้ากำ�หนดให้ AX = 8 หน่วย และ MA = 17 หน่วย
2 2 2
จะได้ MX = 17 – 8
= 225
ดังนั้น MX = 15 หน่วย
นั่นคือ CN = 15 หน่วย

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 2.4
1. แนวคิด

F
B
A

E D

ΔABC และ ΔDEF เท่ากันทุกประการ เพราะมีความสัมพันธ์แบบ มุม–ด้าน–มุม (Â = D̂ , AC = DF, Ĉ = F̂ )

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
108 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2. แนวคิด อาจพิจารณาจากรูปเดิม หรือแยกเป็นรูปสามเหลี่ยม 2 รูป เพื่อให้ดูง่ายขึ้น ดังภาพด้านขวามือ

T C T C

R P A I R A P I
รูปเดิม รูปใหม่

กำ�หนดให้ RT = IC, AT̂R = PĈI และ AR̂T = PÎC


ต้องการพิสูจน์ว่า ΔART ≅ ΔPIC
พิสูจน์ พิจารณา ΔART และ ΔPIC
AT̂R = PĈI (กำ�หนดให้)
RT = IC (กำ�หนดให้)
AR̂T = PÎC (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ΔART ≅ ΔPIC (ม.ด.ม.)

3.
A

D E S K

กำ�หนดให้ AD = AK, AD̂E = AK̂S และ DÂE = KÂS


ต้องการพิสูจน์ว่า AE = AS
พิสูจน์ พิจารณา ΔADE และ ΔAKS
AD̂E = AK̂S (กำ�หนดให้)
AD = AK (กำ�หนดให้)
DÂE = KÂS (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ΔADE ≅ ΔAKS (ม.ด.ม.)
จะได้ AE = AS (ด้านคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 109

4. แนวคิด อาจพิจารณาจากรูปเดิม หรือแยกเป็นรูปสามเหลี่ยม 2 รูป เพื่อให้ดูง่ายขึ้น ดังภาพด้านขวามือ

D C D C

A B A B A B
รูปเดิม รูปใหม่

แนวคิด 1
พิจารณา ΔABD และ ΔBAC
AD̂B = BĈA (กำ�หนดให้)
DB = CA (กำ�หนดให้)
AB̂D = BÂC (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ΔABD ≅ ΔBAC (ม.ด.ม.)
จะได้ DÂB = CB̂A (มุมคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก DÂB = 68° (กำ�หนดให้)
ดังนั้น CB̂A = 68° (สมบัติของการเท่ากัน)

แนวคิด 2 (ไม่ได้ใช้ความรู้เรื่องความเท่ากันทุกประการ)
DÂB + AD̂B + AB̂D = 180° (ขนาดของมุมภายในทัง้ สามมุมของรูปสามเหลีย่ มรวมกันเท่ากับ 180°)
CB̂A + BĈA + BÂC = 180° (ขนาดของมุมภายในทัง้ สามมุมของรูปสามเหลีย่ มรวมกันเท่ากับ 180°)
จะได้ DÂB + AD̂B + AB̂D = CB̂A + BĈA + BÂC (สมบัติของการเท่ากัน)
AD̂B = BĈA (กำ�หนดให้)
AB̂D = BÂC (กำ�หนดให้)
จะได้ DÂB = CB̂A (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก DÂB = 68° (กำ�หนดให้)
ดังนั้น CB̂A = 68° (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
110 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

5. แนวคิด
C
30 ซม. B
50° 50°
O
A 30 ซม.

D
ให้ตำ�แหน่ง A, B, C, D และ O แทนตำ�แหน่งบนใบพัด ดังรูป
พิจารณา ΔAOC และ ΔBOD
OÂC = OB̂D = 50° (กำ�หนดให้)
AO = BO = 30 ซม. (กำ�หนดให้)
AÔC = BÔD (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น ΔAOC ≅ ΔBOD (ม.ด.ม.)
แสดงว่าแบบใบพัดทั้งสองข้างมีขนาดเท่ากัน
นั่นคือ ความคิดของเจ้าของร้านค้าถูกต้อง

6. แนวคิด จากโจทย์อาจเขียนภาพได้ดังนี้
D F C

E
5

A B
พิจารณา ΔADF และ ΔABE
DÂF = BÂE (กำ�หนดให้)
AD = AB (ด้านของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวเท่ากัน)
AD̂F = AB̂E = 90° (มุมของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น ΔADF ≅ ΔABE (ม.ด.ม.)
จะได้ DF = BE (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
เนื่องจาก ΔADF เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
2 2 2
จะได้ว่า DF = AF – AD
2 2
DF = 5 – 16
2
DF = 9
ดังนั้น DF = 3 หน่วย
นั่นคือ BE = 3 หน่วย (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 111

2.5 รูปสามเหลีย่ มสองรูปทีส่ มั พันธ์กน


ั แบบ ด้าน–ด้าน–ด้าน (2 ชัว่ โมง)
จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. บอกได้ว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ด้าน–ด้าน–ด้าน เท่ากันทุกประการ
2. นำ�สมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ด้าน–ด้าน–ด้าน ไปใช้อ้างอิง
ในการให้เหตุผล

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. อุปกรณ์ของกิจกรรม : สำ�รวจ ด้าน–ด้าน–ด้าน ในหนังสือเรียน หน้า 91
2. ไฟล์ส่อ
ื สำ�เร็จรูปที่สร้างจากซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad ในมุมเทคโนโลยีของกิจกรรม : สำ�รวจ
ด้าน–ด้าน–ด้าน

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องของการตรวจสอบว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการหรือไม่ โดยการตรวจสอบเพียงด้านคู่ที่
สมนัยกันทั้งสามคู่ ทั้งนี้ นักเรียนจะได้ฝึกการให้เหตุผลอย่างมีแบบแผน อันเป็นทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่สำ�คัญ
อย่างหนึ่ง นอกจากนั้น ครูควรให้นักเรียนได้นำ�ความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วย แนวทางการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูแนะนำ�ความสัมพันธ์กน
ั ของรูปสามเหลีย่ มสองรูปแบบ ด้าน–ด้าน–ด้าน โดยใช้ “กิจกรรม : สำ�รวจ ด้าน–ด้าน–
ด้าน” ในหนังสือเรียน หน้า 91 ด้วยการให้นักเรียนสำ�รวจว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการหรือไม่ จาก
การลงมือปฏิบัติด้วยการวัดขนาดของมุมทั้งสาม หรือใช้กระดาษลอกลายลอกรูปไปทับกัน เพื่อเชื่อมโยงสู่กรณี
ทั่วไปที่ว่า “รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ด้าน–ด้าน–ด้าน จะเท่ากันทุกประการ”
2. ครูควรให้นักเรียนช่วยกันสังเกตว่า สิ่งที่เป็นเงื่อนไขของด้านที่กำ�หนดให้นั้นเป็นอย่างไร เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า
“รูปสามเหลีย่ มทัง้ สองรูปดังกล่าวนี้ มีดา้ นทีย่ าวเท่ากันสามคู่ จึงจะเป็นเงือ
่ นไขทีเ่ พียงพอทีจ่ ะสรุปว่ารูปสามเหลีย่ ม
สองรูปนัน
้ เท่ากันทุกประการ” ซึง่ ในกิจกรรมนี้ ครูอาจใช้ไฟล์สอ
ื่ สำ�เร็จรูปทีส่ ร้างจากซอฟต์แวร์ The Geometer’s
Sketchpad ที่สามารถดาวน์โหลดได้จากมุมเทคโนโลยีในหนังสือเรียน หน้า 92 ให้นักเรียนสำ�รวจ เพื่อค้นพบ
ข้อสรุปได้เช่นเดียวกัน
จากนั้น ครูแนะนำ�นักเรียนว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ด้าน–ด้าน–ด้าน สามารถเขียน
ย่อ ๆ ว่า ด.ด.ด.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
112 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

กิจกรรม : สำ�รวจ ด้าน–ด้าน–ด้าน


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อสังเกตว่า รูปสามเหลี่ยมทั้งสองรูปที่มีด้านที่ยาวเท่า
กันทั้งสามคู่ จะเป็นเงื่อนไขที่เพียงพอที่จะสรุปว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นเท่ากันทุกประการ โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอน
การดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
1. อุปกรณ์ของกิจกรรม : สำ�รวจ ด้าน–ด้าน–ด้าน ในหนังสือเรียน หน้า 91
2. ไฟล์สื่อสำ�เร็จรูปที่สร้างจากซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad ในมุมเทคโนโลยีของกิจกรรม : สำ�รวจ
ด้าน–ด้าน–ด้าน

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. จาก “กิจกรรม : สำ�รวจ ด้าน–ด้าน–ด้าน” ในหนังสือเรียน หน้า 91 ให้นก
ั เรียนวัดขนาดของมุมทัง้ หมด หรือใช้กระดาษ
ลอกลาย ลอกรูปแล้วนำ�ไปทับกัน แล้วร่วมกันอภิปราย และสรุปว่ารูปทัง้ สองทีก่ �ำ หนดให้ในแต่ละข้อ เท่ากันทุกประการ
หรือไม่ เพราะเหตุใด
2. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลทีไ่ ด้จากการสำ�รวจ ซึง่ เป็นไปตามสมบัตท
ิ ว่ี า่ ถ้ารูปสามเหลีย่ มสองรูปมีความสัมพันธ์กน

แบบ ด้าน–ด้าน–ด้าน (ด.ด.ด.) กล่าวคือ มีด้านยาวเท่ากันทั้งสามคู่ แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นเท่ากันทุกประการ
3. ในการทำ�กิจกรรมนี้ ครูอาจใช้ไฟล์สอ
ื่ สำ�เร็จรูปทีส่ ร้างจากซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad ในมุมเทคโนโลยี
ของ “กิจกรรม : สำ�รวจ ด้าน–ด้าน–ด้าน” ในหนังสือเรียน หน้า 92 เพื่อให้นักเรียนใช้สำ�รวจ และสร้างข้อสรุปจาก
การสำ�รวจ ได้เช่นเดียวกัน

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจ ด้าน–ด้าน–ด้าน


รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อเท่ากันทุกประการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 113

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 2.8
รูปสามเหลีย่ มสองรูปทีม
่ ข
ี นาดของมุมเท่ากันสามคู่ โดยทัว่ ไปจะไม่เท่ากันทุกประการ เพราะความยาวของด้าน
ipst.me/10068
ของรูปสามเหลี่ยมทั้งสองรูป อาจยาวไม่เท่ากัน ดังรูป
C
F

A B D E

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 2.5
1.
A D

B C

กำ�หนดให้ AB = CD และ DA = BC
ต้องการพิสูจน์ว่า เส้นทแยงมุม BD แบ่งรูปสี่เหลี่ยม ABCD ออกเป็นรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ
พิสูจน์ พิจารณา ∆ABD และ ∆CDB
AB = CD (กำ�หนดให้)
DA = BC (กำ�หนดให้)
BD = DB (BD เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ∆ABD ≅ ∆CDB (ด.ด.ด.)
นั่นคือ เส้นทแยงมุม BD แบ่งรูปสี่เหลี่ยม ABCD ออกเป็นรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
114 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2. C D C D

A B A B A B
กำ�หนดให้ AC = BD และ BC = AD
ต้องการพิสูจน์ว่า AĈB = BD̂A
พิสูจน์ พิจารณา ∆ABC และ ∆BAD
AC = BD (กำ�หนดให้)
BC = AD (กำ�หนดให้)
AB = BA (AB เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ∆ABC ≅ ∆BAD (ด.ด.ด.)
จะได้ AĈB = BD̂A (มุมคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)

3. A

B C
กำ�หนดให้ AB = AC และ BD = CD
ต้องการพิสูจน์ว่า AD แบ่งครึ่ง BÂC
พิสูจน์ พิจารณา ∆ABD และ ∆ACD
AB = AC (กำ�หนดให้)
BD = CD (กำ�หนดให้)
AD = AD (AD เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ∆ABD ≅ ∆ACD (ด.ด.ด.)
จะได้ BÂD = CÂD (มุมคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
นั่นคือ AD แบ่งครึ่ง BÂC (BÂD = CÂD)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 115

4. แนวคิด
C

T
M

เนื่องจาก ∆CAT ≅ ∆MAN (AT = AN, CT = MN, AC = AM)


จะได้ CÂT = MÂN (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก MÂN = 130° (กำ�หนดให้)
ดังนั้น CÂT = 130° (สมบัติของการเท่ากัน)

5. แนวคิด
S R

P Q

เนื่องจาก ∆PSR ≅ ∆QRS (PS = QR, PR = QS, SR = RS)


จะได้ PŜR = QR̂S (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก PŜR = 100° (กำ�หนดให้)
ดังนั้น QR̂S = 100° (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
116 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

6. แนวคิด

h1
C แนวต�นไม� D
h2

ให้ C แทน ตำ�แหน่งของต้นมะยม


และ D แทน ตำ�แหน่งของต้นมะม่วง
เนื่องจาก ∆ACD ≅ ∆BDC (AC = BD, AD = BC, CD = DC)
ดังนั้น พื้นที่ของ ∆ACD = พื้นที่ของ ∆BDC
จากรูปจะได้ – 1 × CD × h = – 1 × CD × h
2 1 2 2

นั่นคือ h1 = h2
ดังนั้น ระยะจากจุด A ถึงแนวของ CD จะเท่ากับระยะจากจุด B ถึงแนวของ CD
นั่นคือ ตำ�แหน่งที่วางโต๊ะนั่งเล่นทั้งสองอยู่ห่างจากแนวต้นไม้เท่ากัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 117

2.6 รูปสามเหลีย
่ มสองรูปทีส
่ ม
ั พันธ์กน
ั แบบ มุม–มุม–ด้าน (1 ชัว่ โมง)
จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. บอกได้ว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ มุม–มุม–ด้าน เท่ากันทุกประการ
2. นำ�สมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ มุม–มุม–ด้าน ไปใช้อ้างอิง
ในการให้เหตุผล

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
นักเรียนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีมุมที่มีขนาดเท่ากันสองคู่ และมีด้านยาวเท่ากันหนึ่งคู่ จะเป็น
ด้านคู่ใดก็ได้ เป็นรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
อุปกรณ์ของกิจกรรม : สำ�รวจ มุม–มุม–ด้าน

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องของการตรวจสอบว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการหรือไม่ โดยการตรวจสอบเพียงด้านคู่ที่
สมนัยกันบางด้าน และมุมคู่ที่สมนัยกันบางมุมของรูปสามเหลี่ยมทั้งสองรูปนั้น ซึ่งด้านและมุมดังกล่าวต้องสอดคล้องกับเงื่อนไข
ทีก
่ �ำ หนด ทัง้ นี้ นักเรียนจะได้ฝก
ึ การให้เหตุผลอย่างมีแบบแผน อันเป็นทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ทส
ี่ �ำ คัญอย่างหนึง่
นอกจากนั้น ครูควรให้นักเรียนได้นำ�ความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วย แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูแนะนำ�ความสัมพันธ์กน
ั ของรูปสามเหลีย่ มสองรูปแบบ มุม–มุม–ด้าน โดยใช้ “กิจกรรม : สำ�รวจ มุม–มุม–ด้าน”
ในหนังสือเรียน หน้า 99 ด้วยการให้นักเรียนสำ�รวจว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการหรือไม่ จากการ
ลงมือปฏิบัติด้วยการวัดความยาวของด้านและขนาดของมุมที่เหลือ หรือใช้กระดาษลอกลายลอกรูปไปทับกัน
เพื่อเชื่อมโยงสู่กรณีทั่วไปที่ว่า “รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ มุม–มุม–ด้าน จะเท่ากันทุกประการ”
2. ครู ค วรให้ นั ก เรี ย นช่ ว ยกั น สั ง เกตว่ า สิ่ ง ที่ เ ป็ น เงื่ อ นไขของด้ า นและมุ ม ที่ กำ � หนดให้ นั้ น เป็ น อย่ า งไร เพื่ อ ให้ ไ ด้
ข้อสรุปว่า “รูปสามเหลี่ยมทั้งสองรูปดังกล่าวนี้ มีมุมที่มีขนาดเท่ากันสองคู่ และด้านคู่ที่อยู่ตรงข้ามกับมุมคู่ที่มี
ขนาดเท่ากัน ยาวเท่ากันหนึง่ คู่ จึงจะเป็นเงือ
่ นไขทีเ่ พียงพอทีจ่ ะสรุปว่ารูปสามเหลีย่ มสองรูปนัน
้ เท่ากันทุกประการ”
จากนั้น ครูแนะนำ�นักเรียนว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ มุม–มุม–ด้าน สามารถเขียนย่อ ๆ
ว่า ม.ม.ด.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
118 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

กิจกรรม : สำ�รวจ มุม–มุม–ด้าน


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อสังเกตว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีมุมที่มีขนาด
เท่ากันสองคู่ และด้านคูท
่ อ
ี่ ยูต
่ รงข้ามกับมุมคูท
่ ม
ี่ ข
ี นาดเท่ากัน ยาวเท่ากันหนึง่ คู่ จะเป็นเงือ
่ นไขทีเ่ พียงพอทีจ่ ะสรุปว่า รูปสามเหลีย่ ม
สองรูปนั้นเท่ากันทุกประการ โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
อุปกรณ์ของกิจกรรม : สำ�รวจ มุม–มุม–ด้าน ในหนังสือเรียน หน้า 99

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. จาก “กิจกรรม : สำ�รวจ มุม–มุม–ด้าน” ในหนังสือเรียน หน้า 99 ครูให้นักเรียนสังเกตรูปที่กำ�หนดให้ ว่ามีด้านใดบ้าง
ที่ยาวเท่ากัน และมุมใดบ้างที่มีขนาดเท่ากัน
2. ครูให้นักเรียนวัดความยาวของด้านและวัดขนาดของมุมที่เหลือ
3. ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย และสรุปว่ารูปทั้งสองที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อ เท่ากันทุกประการหรือไม่ เพราะเหตุใด
4. ครูให้นักเรียนสังเกตสิ่งที่โจทย์กำ�หนดให้อีกครั้ง เพื่อสรุปว่าด้านที่โจทย์กำ�หนดให้ยาวเท่ากันนั้น เป็นด้านคู่ที่อยู่
ตรงข้ามกับมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากัน มุมใดมุมหนึ่ง
5. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลที่ได้จากการสำ�รวจ ซึ่งเป็นไปตามสมบัติที่ว่า ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปมีความสัมพันธ์
กันแบบ มุม–มุม–ด้าน (ม.ม.ด.) กล่าวคือ มีมม
ุ ทีม
่ ข
ี นาดเท่ากันสองคู่ และด้านคูท
่ อ
ี่ ยูต
่ รงข้ามกับมุมคูท
่ ม
ี่ ข
ี นาดเท่ากัน
ยาวเท่ากันหนึ่งคู่ แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นเท่ากันทุกประการ

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจ มุม–มุม–ด้าน


รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อเท่ากันทุกประการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 119

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 2.9
รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีมุมที่มีขนาดเท่ากันสองคู่ และมีด้านยาวเท่ากันหนึ่งคู่ อาจจะไม่เท่ากันทุกประการ
ipst.me/10069
เพราะด้านที่ยาวเท่ากันนั้น ไม่ได้อยู่ตรงข้ามกับมุมที่มีขนาดเท่ากัน เช่น

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 2.6
1.
H

F I G

กำ�หนดให้ ∆FGH เป็นรูปสามเหลี่ยม ที่มี HF̂I = HĜI และ HI ตั้งฉากกับ FG


ต้องการพิสูจน์ว่า ∆FIH ≅ ∆GIH
พิสูจน์ พิจารณา ∆FIH และ ∆GIH
HF̂I = HĜI (กำ�หนดให้)
FÎ H = GÎ H = 90° (กำ�หนดให้ HI ตั้งฉากกับ FG)
HI = HI (HI เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ∆FIH ≅ ∆GIH (ม.ม.ด.)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
120 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2.
A

B C

กำ�หนดให้ ∆ABC มี OB̂A = OĈA และ BÂO = CÂO


ต้องการพิสูจน์ว่า OB = OC
พิสูจน์ พิจารณา ∆AOB และ ∆AOC
OB̂A = OĈA (กำ�หนดให้)
BÂO = CÂO (กำ�หนดให้)
AO = AO (AO เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ∆AOB ≅ ∆AOC (ม.ม.ด.)
จะได้ OB = OC (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)

3. แนวคิด
A C

B D

พิจารณา ∆AOB และ ∆COD


AÔB = CÔD (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
OÂB = OĈD (กำ�หนดให้)
AB = CD (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ∆AOB ≅ ∆COD (ม.ม.ด.)
จะได้ BO = DO (ด้านคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน)
เนื่องจาก BO = 8 หน่วย (กำ�หนดให้)
ดังนั้น DO = 8 หน่วย (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 121

4.
P

S T

Q R

กำ�หนดให้ ∆PQR มี PQ = PR จุด S เป็นจุดที่อยู่บน PQ จุด T เป็นจุดที่อยู่บน PR


ซึ่งทำ�ให้ QT และ RS ตั้งฉากกับ PR และ PQ ตามลำ�ดับ
ต้องการพิสูจน์ว่า ∆PQT ≅ ∆PRS
พิสูจน์ พิจารณา ∆PQT และ ∆PRS
PT̂Q = PŜR = 90° (กำ�หนดให้ QT และ RS ตั้งฉากกับ PR และ PQ ตามลำ�ดับ)
TP̂Q = SP̂R (P̂ เป็นมุมร่วม)
PQ = PR (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ∆PQT ≅ ∆PRS (ม.ม.ด.)

5. 1)
B A

C D

กำ�หนดให้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มี AC เป็นเส้นทแยงมุม


AB̂C = CD̂A และ BĈA = DÂC
ต้องการพิสูจน์ว่า เส้นทแยงมุม AC แบ่งรูปสี่เหลี่ยม ABCD ออกเป็นรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ
พิสูจน์ พิจารณา ∆ABC และ ∆CDA
AB̂C = CD̂A (กำ�หนดให้)
BĈA = DÂC (กำ�หนดให้)
AC = CA (AC เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ∆ABC ≅ ∆CDA (ม.ม.ด.)
นั่นคือ เส้นทแยงมุม AC แบ่งรูปสี่เหลี่ยม ABCD ออกเป็นรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
122 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2) แนวคิด
( 18x + 9)°
B A
(2x – 214)°

C D x°

CD̂A + DÂC + DĈA = 180° (ขนาดของมุมภายในทัง้ สามมุมของรูปสามเหลีย่ มรวมกันเท่ากับ 180°)


และ DĈA = BÂC (มุมคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
จะได้ CD̂A + DÂC + BÂC = 180° (แทน DĈA ด้วย BÂC)
จากโจทย์ CD̂A = x°, DÂC = (2x – 214)° และ BÂC = —x +9°
18 ( )
จะได้ x + (2x – 214) + —x +9 =
18 ( ) 180
3x + —x – 205 = 180
18
54x + x – 3,690 = 3,240
55x = 6,930
x = 126

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 123

2.7 รูปสามเหลีย่ มสองรูปทีส่ มั พันธ์กน


ั แบบ ฉาก–ด้าน–ด้าน (2 ชัว่ โมง)
จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. บอกได้ว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ฉาก–ด้าน–ด้าน เท่ากันทุกประการ
2. นำ�สมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ฉาก–ด้าน–ด้าน ไปใช้อ้างอิง
ในการให้เหตุผล

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. อุปกรณ์ของกิจกรรม : สำ�รวจ ฉาก–ด้าน–ด้าน
2. ไฟล์สื่อสำ�เร็จรูปที่สร้างจากซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad ในมุมเทคโนโลยีของกิจกรรม : สำ�รวจ
ฉาก–ด้าน–ด้าน

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องของการตรวจสอบว่า รูปสามเหลี่ยมมุมฉากสองรูปเท่ากันทุกประการหรือไม่ โดยการตรวจสอบเพียง
ความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก และความยาวของด้านอื่นอีกหนึ่งคู่ ทั้งนี้ นักเรียนจะได้ฝึกการให้เหตุผลอย่างมีแบบแผน
อันเป็นทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่สำ�คัญอย่างหนึ่ง นอกจากนั้น ครูควรให้นักเรียนได้น�ำ ความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้
ในสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วย แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูแนะนำ�ความสัมพันธ์กน
ั ของรูปสามเหลีย่ มสองรูปแบบ ฉาก–ด้าน–ด้าน โดยใช้ “กิจกรรม : สำ�รวจ ฉาก–ด้าน–ด้าน”
ในหนังสือเรียน หน้า 104 ด้วยการให้นักเรียนสำ�รวจว่ารูปสามเหลี่ยมมุมฉากสองรูปเท่ากันทุกประการหรือไม่
จากการลงมือปฏิบต
ั ด
ิ ว้ ยการวัดความยาวของด้านและขนาดของมุมทีเ่ หลือ หรือใช้กระดาษลอกลายลอกรูปไปทับกัน
เพือ่ เชือ่ มโยงสูก่ รณีทว่ั ไปทีว่ า่ “รูปสามเหลีย่ มมุมฉากสองรูปทีส่ ม
ั พันธ์กน
ั แบบ ฉาก–ด้าน–ด้าน จะเท่ากันทุกประการ”
2. ครูควรให้นก
ั เรียนช่วยกันสังเกตว่า สิง่ ทีเ่ ป็นเงือ
่ นไขของด้านและมุมทีก
่ �ำ หนดให้นน
้ั เป็นอย่างไร เพือ
่ ให้ได้ขอ
้ สรุปว่า
“รูปสามเหลี่ยมมุมฉากทั้งสองรูปดังกล่าวนี้ มีด้านตรงข้ามมุมฉากยาวเท่ากัน และมีด้านอื่นอีกหนึ่งคู่ยาวเท่ากัน
จึงจะเป็นเงื่อนไขที่เพียงพอที่จะสรุปว่ารูปสามเหลี่ยมมุมฉากสองรูปนั้นเท่ากันทุกประการ” ซึ่งในกิจกรรมนี้
ครูอาจใช้ไฟล์สื่อสำ�เร็จรูปที่สร้างจากซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad ที่สามารถดาวน์โหลดได้จาก
มุมเทคโนโลยีในหนังสือเรียน หน้า 105 ให้นักเรียนสำ�รวจ เพื่อค้นพบข้อสรุปได้เช่นเดียวกัน
จากนัน
้ ครูแนะนำ�นักเรียนว่า รูปสามเหลีย่ มสองรูปทีส่ ม
ั พันธ์กน
ั แบบ ฉาก–ด้าน–ด้าน สามารถเขียนย่อ ๆ ว่า ฉ.ด.ด.
3. ในบางครั้งโจทย์อาจกำ�หนดข้อมูลมาให้มากกว่าที่จำ�เป็นต้องใช้ ดังแบบฝึกหัด 2.7 ข้อ 2 ในหนังสือเรียน
หน้า 108 เพื่อฝึกให้นักเรียนตัดสินใจเลือกใช้ข้อมูลที่จำ�เป็นต่อการแก้ปัญหา
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
124 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

กิจกรรม : สำ�รวจ ฉาก–ด้าน–ด้าน


กิ จ กรรมนี้ เป็ น กิ จ กรรมที่ ต้ อ งการให้ นั ก เรี ย นได้ ล งมื อ ปฏิ บั ติ จ ริ ง เพื่ อ สั ง เกตว่ า รู ป สามเหลี่ ย มมุ ม ฉากสองรู ป ที่ มี
ด้านตรงข้ามมุมฉากยาวเท่ากัน และมีดา้ นอืน
่ อีกหนึง่ คูย
่ าวเท่ากัน จะเป็นเงือ
่ นไขทีเ่ พียงพอทีจ่ ะสรุปว่า รูปสามเหลีย
่ มสองรูปนัน

เท่ากันทุกประการ โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
1. อุปกรณ์ของกิจกรรม : สำ�รวจ ฉาก–ด้าน–ด้าน ในหนังสือเรียน หน้า 104
2. ไฟล์สื่อสำ�เร็จรูปที่สร้างจากซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad ในมุมเทคโนโลยีของกิจกรรม : สำ�รวจ
ฉาก–ด้าน–ด้าน

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. จาก “กิจกรรม : สำ�รวจ ฉาก–ด้าน–ด้าน” ในหนังสือเรียน หน้า 104 ครูให้นก
ั เรียนสังเกตรูปทีก
่ �ำ หนดให้ ว่ามีดา้ นใดบ้าง
ที่ยาวเท่ากัน และมุมใดบ้างที่มีขนาดเท่ากัน
2. ครูให้นักเรียนวัดความยาวของด้าน และวัดขนาดของมุมที่เหลือ
3. ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย และสรุปว่ารูปทั้งสองที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อ เท่ากันทุกประการหรือไม่ เพราะเหตุใด
4. ครูให้นักเรียนสังเกตสิ่งที่โจทย์กำ�หนดให้อีกครั้ง เพื่อสรุปว่า ด้านอื่นที่โจทย์กำ�หนดให้ยาวเท่ากันอีกหนึ่งคู่นั้น
เป็นด้านคู่ที่สมนัยกัน
5. ครู แ ละนั ก เรี ย นร่ ว มกั น สรุ ป ผลที่ ไ ด้ จ ากการสำ � รวจ ซึ่ ง เป็ น ไปตามสมบั ติ ที่ ว่ า ถ้ า รู ป สามเหลี่ ย มมุ ม ฉากสองรู ป
มีความสัมพันธ์กันแบบ ฉาก–ด้าน–ด้าน (ฉ.ด.ด.) กล่าวคือ มีด้านตรงข้ามมุมฉากยาวเท่ากัน และมีด้านอื่นอีกหนึ่งคู่
ยาวเท่ากัน แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นเท่ากันทุกประการ
6. ในการทำ�กิจกรรมนี้ ครูอาจใช้ไฟล์สอ
ื่ สำ�เร็จรูปทีส่ ร้างจากซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad ในมุมเทคโนโลยี
ของ “กิจกรรม : สำ�รวจ ฉาก–ด้าน–ด้าน” ในหนังสือเรียน หน้า 105 เพื่อให้นักเรียนใช้สำ�รวจ และสร้างข้อสรุปจาก
การสำ�รวจ ได้เช่นเดียวกัน

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจ ฉาก–ด้าน–ด้าน


รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อเท่ากันทุกประการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 125

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 2.10
ได้ โดยใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัสแสดงว่า ความยาวของ XY และ AB
ipst.me/10070 X A
เท่ากัน แล้วแสดงว่า ∆XYO และ ∆ABO เท่ากันทุกประการแบบ

O
ด.ม.ด. โดยมุมระหว่างด้านคู่ที่ยาวเท่ากันคือ X̂ กับ Â แต่ไม่สามารถ
ใช้มุม Ô ของแต่ละรูปสามเหลี่ยมได้ เพราะไม่ได้เกิดจากเส้นตรง
สองเส้นตัดกัน
Y B

ชวนคิด 2.11
วิธก
ี ารตรวจสอบว่า ขอบของกรอบรูปเป็นรูปสีเ่ หลีย
่ มมุมฉาก โดยการวัดความยาวของเส้นทแยงมุมให้เท่ากัน
ipst.me/10071
เป็นวิธีที่ใช้ได้ ดังการพิสูจน์ต่อไปนี้
A B A B

D C D C

กำ�หนดให้ รูปสี่เหลี่ยม ABCD มี AB = DC, AD = BC และ AC = BD


ต้องการพิสูจน์ว่า รูปสี่เหลี่ยม ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
พิสูจน์ พิจารณา ∆ADC และ ∆BCD
AD = BC (กำ�หนดให้)
AC = BD (กำ�หนดให้)
CD = DC (CD เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ∆ADC ≅ ∆BCD (ด.ด.ด.)
จะได้ AD̂C = BĈD (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
ทำ�นองเดียวกัน จะได้ว่า ∆BCD ≅ ∆CBA และ ∆CBA ≅ ∆DAB (ด.ด.ด.)
จะได้ BĈD = CB̂A และ CB̂A = DÂB (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น AD̂C = BĈD = CB̂A = DÂB (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก AD̂C + BĈD + CB̂A + DÂB = 360° (ขนาดของมุมภายในทั้งสี่มุมของรูปสี่เหลี่ยมรวมกัน
เท่ากับ 360°)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
126 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

จะได้ AD̂C = BĈD = CB̂A = DÂB = 90° (สมบัติของการเท่ากัน)


ดังนั้น รูปสี่เหลี่ยม ABCD มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก
จะได้ รูปสี่เหลี่ยม ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 2.7
1.
D E C

A F B

กำ�หนดให้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน DF ⏊ AB ที่จุด F และ BE ⏊ CD ที่จุด E


ต้องการพิสูจน์ว่า ΔADF ≅ ΔCBE
พิสูจน พิจารณา ΔADF และ ΔCBE
AF̂D = CÊB = 90° (กำ�หนดให้ DF ⏊ AB ที่จุด F และ BE ⏊ CD ที่จุด E)
FD = EB (ระยะห่างระหว่างเส้นขนานยาวเท่ากัน)
AD = CB (ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานยาวเท่ากัน)
ดังนั้น ΔADF ≅ ΔCBE (ฉ.ด.ด.)

M
2.

O N Q

กำ�หนดให้ MN ⏊ OP, MO ⏊ OQ, MN = OP, MO = OQ และ MÔN = OQ̂P


ต้องการพิสูจน์ว่า ΔMON ≅ ΔOQP
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 127

พิสูจน์
พิจารณา ΔMON และ ΔOQP
MÔN = 90° (กำ�หนดให้ MO ⏊ OQ)
MÔN = OQ̂P = 90° (กำ�หนดให้ และสมบัติของการเท่ากัน)
MO = OQ (กำ�หนดให้)
MN = OP (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ΔMON ≅ ΔOQP (ฉ.ด.ด.)

3.
A
O

T
F
S

กำ�หนดให้ OÂB = OŜT = 90° , OB = OT, AB = ST และ AB ⏊ ST ที่จุด F


ต้องการพิสูจน์ว่า OAFS เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
พิสูจน์ พิจารณา ΔOAB และ ΔOST
OÂB = OŜT = 90° (กำ�หนดให้)
OB = OT (กำ�หนดให้)
AB = ST (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ΔOAB ≅ ΔOST (ฉ.ด.ด.)
จะได้ OA = OS (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
AF̂S = 90° (กำ�หนดให้ AB ⏊ ST ที่จุด F)
เนื่องจาก AÔS + OŜF + SF̂A + FÂO = 360° (ขนาดของมุมภายในทัง้ สีม
่ ม
ุ ของรูปสีเ่ หลีย่ มรวมกัน
เท่ากับ 360°)
จะได้ AÔS = 90° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น OAFS เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก (มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก)
จะได้ OA = SF และ OS = AF (ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก จะยาวเท่ากัน)
ดังนั้น OA = SF = OS = AF (OA = OS จากการพิสูจน์ข้างต้น และสมบัติของการเท่ากัน)
นั่นคือ OAFS เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส (มีด้านทุกด้านยาวเท่ากันและมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
128 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

4.
D

A B E

กำ�หนดให้ AĈB = AÊD = 90°, BC = DE และ AB = BD


ต้องการพิสูจน์ว่า ΔCBD เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
พิสูจน์ พิจารณา ΔABC และ ΔBDE
AĈB = BÊD = 90° (กำ�หนดให้)
BC = DE (กำ�หนดให้)
AB = BD (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ΔABC ≅ ΔBDE (ฉ.ด.ด.)
จะได้ AB̂C = BD̂E (มุมคูท
่ สี่ มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก DB̂E + BÊD + BD̂ E = 180° (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยม
รวมกันเท่ากับ 180°)
และ BÊD = 90° (กำ�หนดให้)
จะได้ DB̂E + BD̂E = 90° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น DB̂E + AB̂C = 90° (แทน BD̂E ด้วย AB̂C)
เนื่องจาก CÊD + DB̂E + AB̂C = 180° (ขนาดของมุมตรง)
ดังนั้น CB̂D = 90° (สมบัติของการเท่ากัน)
นั่นคือ ΔCBD เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก (CB̂D เป็นมุมฉาก)

5. แนวคิด
A A
1 2
E O F

B D B D

34 56

C C

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 129

พิจารณา ΔABC และ ΔADC


AB̂C = AD̂C = 90° (มุมภายในแต่ละมุมของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีขนาด 90°)
AB = AD (ด้านทุกด้านของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวเท่ากัน)
AC = AC (AC เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ΔABC ≅ ΔADC (ฉ.ด.ด.)
จะได้ 1̂ = 2̂ และ 3̂ = 4̂ (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
พิจารณา ΔAEC และ ΔAFC
1̂ = 2̂ (จากการพิสูจน์ข้างต้น)
AC = AC (AC เป็นด้านร่วม)
5̂ = 6̂ (5̂ มีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของ 3̂
6̂ มีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของ 4̂ และ 3̂ = 4̂ )
ดังนั้น ΔAEC ≅ ΔAFC (ม.ด.ม.)
จะได้ AE = AF และ CE = CF (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว

6.
C C

B
D A B D A

1) แนวคิด พิจารณา ∆BDC และ ∆ADC


BD̂C = AD̂C = 90° (กำ�หนดให้)
CD = CD (CD เป็นด้านร่วม)
BC = AC (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ∆BDC ≅ ∆ADC (ฉ.ด.ด.)
จะได้ BĈD = AĈ D (มุมคูท
่ สี่ มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
นั่นคือ มุมด้านบนของรูปสามเหลี่ยมทั้งสองรูปมีขนาดเท่ากัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
130 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2) แนวคิด เนื่องจาก ∆ADC เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มี AC = 1.5 และ AD = 1.8


— = 0.9
2 2 2
2
จะได้ว่า CD = AC – AD
2 2
= 1.5 – 0.9
= 1.44
ดังนั้น CD = 1.2 เมตร
นั่นคือ เสาด้านหน้าที่ค้ำ�เต็นท์นี้สูง 1.2 เมตร

7. แนวคิด
D
สัน

สัน เชือก

C
O
สัน

พิจารณา ∆AOD และ ∆COD


AÔD = CÔD = 90° (กำ�หนดให้)
DO = DO (DO เป็นด้านร่วม)
AD = CD (สันของพีระมิดตรงฐานสามเหลี่ยมด้านเท่าจะยาวเท่ากัน)
ดังนั้น ∆AOD ≅ ∆COD (ฉ.ด.ด.)
จะได้ AO = CO (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
ในทำ�นองเดียวกัน จะได้ ∆AOD ≅ ∆BOD (ฉ.ด.ด.)
ดังนั้น AO = BO (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
จะได้ AO = BO = CO (สมบัติของการเท่ากัน)
นั่นคือ จุด O อยู่ห่างจากจุด A จุด B และจุด C เท่า ๆ กัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 131

2.8 การนำ�ไปใช้ (3 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. บอกสมบัติของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
2. นำ�สมบัติของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วไปใช้อ้างอิงในการให้เหตุผลและแก้ปัญหา
3. นำ�สมบัตข
ิ องความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลีย่ มสองรูปทีส
่ ม
ั พันธ์กน
ั แบบใดแบบหนึง่ คือ ด้าน–มุม–ด้าน,
มุม–ด้าน–มุม, ด้าน–ด้าน–ด้าน, มุม–มุม–ด้าน และ ฉาก–ด้าน–ด้าน ไปใช้อ้างอิงในการให้เหตุผลและแก้ปัญหา

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 2.8 : ทำ�ได้หรือไม่

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องของการสำ�รวจสมบัติของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว เพื่อนำ�ความรู้ที่ได้ไปช่วยในการให้เหตุผล รวมถึงนำ�
ความรู้ที่ได้ศึกษามาจากหัวข้อก่อนหน้านี้เกี่ยวกับสมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม ไปช่วยในการให้เหตุผล
และแก้ปัญหาด้วยเช่นกัน แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูยกตัวอย่างรูปสามเหลีย
่ มหน้าจัว่ ทีอ
่ ยูใ่ นสิง่ แวดล้อมรอบตัว เพือ
่ นำ�เข้าสูบ
่ ทนิยามของรูปสามเหลีย
่ มหน้าจัว่ บน
ระนาบ ที่กล่าวว่า “รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว คือ รูปสามเหลี่ยมที่มีด้านสองด้านยาวเท่ากัน” ในการยกตัวอย่าง
จากสิ่งรอบตัวควรให้นักเรียนได้เห็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วในมุมมองที่หลากหลาย เช่น การจัดวางรูปสามเหลี่ยม
หน้าจั่วในหนังสือเรียน หน้า 110
2. ครูให้นักเรียนทำ� “กิจกรรม : สำ�รวจรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว” ในหนังสือเรียน หน้า 111 เพื่อสำ�รวจ ค้นหา
และสรุปสมบัติของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วด้วยตนเอง ซึ่งนักเรียนอาจใช้ความรู้เกี่ยวกับสมบัติของความเท่ากัน
ทุกประการของรูปสามเหลี่ยมมาใช้ในการอธิบายได้
นอกจากนี้ครูอาจแนะนำ�ให้นักเรียนแยกแยะระหว่างบทนิยามกับสมบัติของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว เช่น
“มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน” เป็นสมบัติไม่ใช่บทนิยาม แต่อย่างไรก็ตามนักเรียนสามารถ
นำ�ทั้งบทนิยามและสมบัติของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วไปใช้อ้างอิงในการให้เหตุผลและการแก้ปัญหาได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
132 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

3. ครูยกตัวอย่างที่ 3 ในหนังสือเรียน หน้า 114–115 เพื่อให้นักเรียนเห็นถึงการนำ�สมบัติของความเท่ากันทุก


ประการของรูปสามเหลี่ยมไปใช้ในการพิสูจน์การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตบางข้อที่นักเรียนเคยเรียนมาแล้ว
เป็นการยืนยันว่าผลจากการสร้างนั้นเป็นจริง
4. ครูให้นักเรียนทำ� “กิจกรรม : โย้ได้หรือไม่” ในหนังสือเรียน หน้า 119 เพื่อให้เห็นว่า รูปสามเหลี่ยมมีสมบัติพิเศษ
อย่างไร ทำ�ไมสิ่งของและสิ่งก่อสร้างที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงจึงสร้างให้มีโครงสร้างเป็นรูปสามเหลี่ยม
5. ครูอาจให้นักเรียนทำ� “กิจกรรมเสนอแนะ 2.8 : ทำ�ได้หรือไม่” ในคู่มือครู หน้า 133 เพื่อให้นักเรียนเห็น
ความเชือ
่ มโยงของเนื้อหาสาระเรื่องความเท่ากันทุกประการกับชีวิตจริง
6. ครูอาจแนะนำ�นักเรียนว่า ในบางครั้งรูปที่โจทย์กำ�หนดอาจไม่เพียงพอต่อการพิสูจน์ เราต้องสร้างรูปเพิ่มเติม
เพื่อช่วยในการพิสูจน์ด้วย แต่การสร้างดังกล่าวจะต้องไม่เป็นการสร้างเกินความเป็นจริง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 133

กิจกรรมเสนอแนะ 2.8 : ทำ�ได้หรือไม่


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่มีจุดประสงค์ให้นักเรียนสามารถนำ�สมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมไปใช้
แก้ปัญหาและอธิบายเหตุการณ์ในชีวิตประจำ�วัน โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 2.8 : ทำ�ได้หรือไม่

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ให้นก
ั เรียนแบ่งกลุม
่ กลุม
่ ละ 3–4 คน แล้วทำ�กิจกรรมในใบกิจกรรมเสนอแนะ 2.8 : ทำ�ได้หรือไม่ ในคูม
่ อ
ื ครู หน้า 134
2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มมานำ�เสนอข้อสรุปที่ได้หน้าชั้นเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
134 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 2.8 : ทำ�ได้หรือไม่

ปัญหาที่ 1
ซ่อมผนังห้อง
ริมผนังห้องแห่งหนึ่งเว้าแหว่งหลุดหายไปเป็นรูปสามเหลี่ยม ดังรูป
ถ้าวัดความยาวของด้านสองด้านของช่องรูปสามเหลี่ยม และมุมใน
ระหว่างด้านสองด้านนี้ จะได้ข้อมูลที่เพียงพอสำ�หรับนำ�ไปใช้เพื่อตัด
แผ่ น ไม้ รู ป สามเหลี่ ย มที่ ส ามารถนำ � มาซ่ อ มผนั ง ที่ เ ว้ า แหว่ ง ได้ พ อดี
หรือไม่ เพราะเหตุใด

ปัญหาที่ 2
สร้างโครงหลังคา

ช่างก่อสร้างได้สร้างแบบของโครงหลังคาชุดหนึ่งไว้ แล้วสร้างโครง
หลังคาชุดอืน
่ ๆ ด้วยการวัดความยาวของท่อเหล็กสามชิน
้ และตำ�แหน่ง
บนท่อที่จะนำ�ท่อเหล็กมาประกอบกันเป็นโครงรูปสามเหลี่ยมเท่านั้น
โดยไม่ วั ด ขนาดของมุ ม เลย โครงหลั ง คาที่ ส ร้ า งได้ แ ต่ ล ะชุ ด เท่ า กั น
ทุกประการกับแบบของโครงหลังคาหรือไม่ เพราะเหตุใด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 135

เฉลยกิจกรรมเสนอแนะ 2.8 : ทำ�ได้หรือไม่


ปัญหาที่ 1
ได้
เนื่องจาก แผ่ น ไม้ รู ป สามเหลี่ ย มที่ ตั ด ได้ กั บ ช่ อ งรู ป สามเหลี่ ย มบนผนั ง ห้ อ งที่ เ ว้ า แหว่ ง เท่ า กั น ทุ ก ประการ
เพราะมีความสัมพันธ์กันแบบ ด้าน–มุม–ด้าน

ปัญหาที่ 2
เท่ากันทุกประการ
เพราะ โครงหลังคารูปสามเหลี่ยมที่สร้างได้แต่ละชุดเท่ากันทุกประการกับแบบของโครงหลังคา เนื่องจาก
มีความสัมพันธ์กันแบบ ด้าน–ด้าน–ด้าน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
136 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

กิจกรรม : สำ�รวจรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้นักเรียนได้สำ�รวจ ค้นหา และสรุปสมบัติของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วด้วยตนเอง
ซึ่งนักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับสมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมที่ได้ศึกษามาในหัวข้อก่อนหน้านี้มาใช้ใน
การอธิบายให้เหตุผล โดยมีขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
-

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3–4 คน แล้วทำ� “กิจกรรม : สำ�รวจรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว” ในหนังสือเรียน หน้า 111
โดยตอบคำ�ถามในกิจกรรมที่ 1–3 ให้เรียบร้อย
2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม เขียนสรุปสิ่งที่ได้ค้นพบจากการทำ�กิจกรรมที่ 1–3
3. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มมานำ�เสนอข้อสรุปที่ได้หน้าชั้นเรียน

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
กิจกรรมที่ 1
1. เท่ากันทุกประการ เพราะ มีความสัมพันธ์แบบ ด.ม.ด.
2. เท่ากัน เพราะ มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน
3. เท่ากัน เพราะ ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน
4. เท่ากัน เพราะ มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน
5. เท่ากัน
6. 180° เพราะ AD̂B + AD̂C = BD̂C ซึ่งเป็นมุมตรง และมุมตรงมีขนาด 180°
7. AD̂B = 90°
เนื่องจาก AD̂B + AD̂C = 180° และ AD̂B = AD̂C (จากข้อ 4)
จะได้ 2(AD̂B) = 180° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น AD̂B = 90° (สมบัติของการเท่ากัน)
8. AD ตั้งฉากกับ BC เพราะ AD̂B มีขนาด 90°

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 137

กิจกรรมที่ 2
1. ΔABD ≅ ΔACD เพราะ มีความสัมพันธ์แบบ ด.ด.ด.
2. เท่ากัน เพราะ มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน
3. AD ตั้งฉากกับ BC เพราะ
แนวคิด 1 ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว และ BÂD = CÂD
จะได้ AD แบ่งครึ่ง BÂC ที่เป็นมุมยอด ทำ�ให้ AD ตั้งฉากกับ BC (จากข้อ 8 ของกิจกรรมที่ 1)
แนวคิด 2 เนื่องจาก ΔABD ≅ ΔACD
จะได้ AD̂B = AD̂C (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
แต่ AD̂B + AD̂C = 180° (ขนาดของมุมตรง)
จะได้ 2(AD̂B) = 180° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น AD̂B = 90° (สมบัติของการเท่ากัน)
นั่นคือ AD ตั้งฉากกับ BC

กิจกรรมที่ 3
1. ΔABD ≅ ΔACD เพราะ มีความสัมพันธ์แบบ ฉ.ด.ด.
2. เท่ากัน เพราะ มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน
3. AD แบ่งครึ่ง BC เพราะ
เนื่องจาก ΔABD ≅ ΔACD
จะได้ BD = CD (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
นั่นคือ AD แบ่งครึ่ง BC

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
138 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

กิจกรรม : โย้ได้หรือไม่
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่เชื่อมโยงความรู้กับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยให้นักเรียนสำ�รวจ ค้นหา เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับ
โครงสร้างที่ประกอบเป็นรูปเรขาคณิตชนิดต่าง ๆ โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
อุปกรณ์ของกิจกรรม : โย้ได้หรือไม่ ในหนังสือเรียน หน้า 119

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ให้นักเรียนทำ�ตามขั้นตอนการทำ�กิจกรรมของ “กิจกรรม : โย้ได้หรือไม่” ในหนังสือเรียน หน้า 119 พร้อมตอบคำ�ถาม
ข้อ 3 และข้อ 4
2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มมานำ�เสนอผลที่ได้จากการทำ�กิจกรรม

เฉลยกิจกรรม : โย้ได้หรือไม่
3. โครงรูปสามเหลี่ยม โย้ไม่ได้ แต่โครงรูปสี่เหลี่ยม โย้ได้
4. การคาดการณ์ว่า รูปหลายเหลี่ยมอื่น ๆ สามารถโย้ได้หรือไม่ อาจมีคำ�ตอบได้หลายคำ�ตอบ
ตัวอย่างคำ�ตอบ
✤ รูปหลายเหลี่ยมอื่น ๆ สามารถโย้ได้
✤ รูปห้าเหลี่ยม สามารถโย้ได้
✤ รูปหกเหลี่ยม สามารถโย้ได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 139

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 2.12
เส้นตรงทั้งสามเป็นเส้นที่อยู่ในแนวเดียวกัน
ipst.me/10072

ชวนคิด 2.13

ipst.me/10073
กำ�หนดให้ PR = LI แล้วใช้สมบัติของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ARI และขนาดของมุมตรง ทำ�ให้ AR̂P = AÎ L

ชวนคิด 2.14
ช่างสำ�รวจใช้ความสัมพันธ์แบบ ม.ด.ม. ดังรูป
ipst.me/10074

ชวนคิด 2.15
ถ้าเชือก 2 เส้น ที่กำ�หนดให้ มีความยาวไม่เท่ากัน สามารถใช้ความรู้เรื่องรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
ipst.me/10075
หาความกว้างของสิ่งของที่นักเรียนเลือกมาได้ เช่น

B
C

A
D

ถ้าต้องการหาความกว้างของขอบสระบัว ซึง่ บริเวณทีจ่ ะวัดอาจมีน�้ำ พุหรือสิง่ อืน


่ ๆ ขวางแนวทีจ่ ะวัดโดยตรง
สามารถทำ�ได้ดังนี้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
140 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

1. ให้ A และ B แทน ตำ�แหน่งปลายทั้งสองด้านของขอบสระบัวบริเวณที่ต้องการหาความกว้าง


2. หาจุดกึ่งกลางของเชือกทั้งสองเส้นที่ยาวไม่เท่ากันนั้น โดยทำ�เครื่องหมายกำ�กับไว้
3. ให้เพื่อน 2 คน นำ�ปลายเชือกไปวาง ที่ตำ�แหน่ง A และ B และจับไว้
4. ให้เพื่อนอีก 2 คน จับปลายเชือก ที่ตำ�แหน่ง C และ D แล้วดึงเชือกให้ตึงและขนานกับแนวพื้น โดยให้
เชือกซ้อนกัน ณ จุดที่ทำ�เครื่องหมายไว้ ให้จุดนี้ คือจุด O เมื่อมองจากด้านบน จะได้ดังรูปข้างต้น
เนื่ อ งจาก ∆AOB และ ∆COD เท่ า กั น ทุ ก ประการ เพราะมี ค วามสั ม พั น ธ์ แ บบ ด้ า น–มุ ม –ด้ า น
ทำ�ให้ CD = AB
5. ให้เพื่อนอีกคนใช้ตลับเมตรหรือไม้เมตรวัดความยาวของ CD ซึ่งจะเท่ากับความยาวของ AB ที่เป็น
ความกว้างของขอบสระบัว ณ ตำ�แหน่งที่ต้องการหา

ชวนคิด 2.16
เนื่องจาก ในเวลา 60 นาที เข็มยาวของนาฬิกาหมุนไปจากเดิม 1 รอบ ด้วยมุม 360 องศา
ipst.me/10076
แสดงว่า ในเวลา 1 นาที เข็มยาวหมุนไปด้วยมุม 6 องศา
และ ในเวลา 60 นาที เข็มสั้นของนาฬิกาจะหมุนไปจากเดิม 5 ช่องนาที เท่ากับ 30 องศา
เมื่อเวลา 11:50 น. เข็มยาวของนาฬิกาหมุนไป 50 นาที ด้วยมุม 300 องศา
เข็มสั้นของนาฬิกาจะหมุนจากตัวเลข 11 ไป —– 30 × 300 = 25 องศา
360
ดังนั้น เข็มยาว(ซึ่งอยู่ที่ตัวเลข 10) และเข็มสั้นของนาฬิกาทำ�มุมที่มีขนาด 30 + 25 = 55 องศา

หรือ
เมื่อเวลา 12:10 น. เข็มยาวของนาฬิกาหมุนไป 10 นาที ด้วยมุม 60 องศา
เข็มสั้นของนาฬิกาจะหมุนจากตัวเลข 12 ไป —– 30 × 60 = 5 องศา
360
ดังนั้น เข็มยาว(ซึ่งอยู่ที่ตัวเลข 2) และเข็มสั้นของนาฬิกาทำ�มุมที่มีขนาด 60 – 5 = 55 องศา
นั่นคือ เข็มยาวและเข็มสั้นของนาฬิกา ณ เวลาทั้งสองทำ�มุมที่มีขนาด 55 องศา เท่ากัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 141

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 2.8
1. แนวคิด
กรณีที่ 1 ให้ด้านประกอบมุมยอดแต่ละด้านยาว 10 เซนติเมตร

10 10

ให้ ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วยาว x เซนติเมตร


เนื่องจาก รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีความยาวรอบรูป 36 เซนติเมตร
จะได้ x + 10 + 10 = 36
x = 16
ดังนั้น ความยาวของด้านที่เหลืออีกสองด้านเท่ากับ 16 และ 10 เซนติเมตร
กรณีที่ 2 ให้ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วยาว 10 เซนติเมตร

x x

10

ให้ด้านประกอบมุมยอดแต่ละด้านยาว x เซนติเมตร
เนื่องจาก รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีความยาวรอบรูป 36 เซนติเมตร
จะได้ x + x + 10 = 36
2x = 26
x = 13
ดังนั้น ความยาวของด้านที่เหลือแต่ละด้านเท่ากับ 13 เซนติเมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
142 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2. แนวคิด
กรณีที่ 1 ให้มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาด 52 องศา

52° 52°

ให้มุมยอดของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาด x องศา
เนื่องจาก ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกันเท่ากับ 180 องศา
จะได้ x + 52 + 52 = 180
x = 76
ดังนั้น ขนาดของมุมที่เหลืออีกสองมุมเท่ากับ 76 และ 52 องศา

กรณีที่ 2 ให้มุมยอดของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาด 52 องศา

52°

x° x°

ให้มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วแต่ละมุมมีขนาด x องศา
เนื่องจาก ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกันเท่ากับ 180 องศา
จะได้ x + x + 52 = 180
2x = 128
x = 64
ดังนั้น ขนาดของมุมที่เหลือแต่ละมุมเท่ากับ 64 องศา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 143

3. แนวคิด
เนื่องจาก มี ส มบั ติ ป ระการหนึ่ ง ของรู ป สามเหลี่ ย มที่ ว่ า “ผลบวกของความยาวของด้ า นสองด้ า นใด ๆ ของ
รูปสามเหลี่ยมมากกว่าความยาวของด้านที่เหลือ”
ดังนั้น ความยาวของด้ า นทั้ ง สามของรู ป สามเหลี่ ย มหน้ า จั่ ว ที่ เ ป็ น จำ � นวนเต็ ม หน่ ว ย และมี ค วามยาวรอบรู ป
16 หน่วย มีได้ 3 รูป ดังนี้

ความยาวของด้านประกอบมุมยอด (หน่วย) ความยาวของฐาน ความยาวรอบรูป


รูปที่
ด้านที่ 1 ด้านที่ 2 (หน่วย) (หน่วย)
1 7 7 2 7 + 7 + 2 = 16
2 6 6 4 6 + 6 + 4 = 16
3 5 5 6 5 + 5 + 6 = 16

4. แนวคิด
A

B E
C D
F G
1) เท่ากัน
เนื่องจาก AC = AD (กำ�หนดให้)
จะได้ ∆ACD เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (บทนิยามของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว)
ดังนั้น AĈD = AD̂C (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
AĈD = FĈB และ AD̂C = GD̂E (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
นั่นคือ FĈB = GD̂E (สมบัติของการเท่ากัน)
2) เท่ากัน
เนื่องจาก BĈA + AĈD = ED̂A + AD̂C = 180° (ขนาดของมุมตรง)
และ AĈD = AD̂C (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น BĈA = ED̂A (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
144 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

5. A

B C

กำ�หนดให้ ∆ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า


ต้องการพิสูจน์ว่า AB̂C = AĈB = BÂC
พิสูจน์ AB = AC (ด้านของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่ายาวเท่ากัน)
จะได้ ∆ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (บทนิยามของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว)
ดังนั้น AB̂C = AĈB (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
ในทำ�นองเดียวกัน เนื่องจาก BC = BA จะได้ AĈB = BÂC
ดังนั้น AB̂C = AĈB = BÂC (สมบัติของการเท่ากัน)
นั่นคือ มุมภายในแต่ละมุมของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่ามีขนาดเท่ากัน

6. A

D B

C
กำ�หนดให้ AB̂D = CB̂D และ BD ⏊ AC
ต้องการพิสูจน์ว่า ∆ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
พิสูจน์ พิจารณา ∆ABD และ ∆CBD
AB̂D = CB̂D (กำ�หนดให้)
BD = BD (BD เป็นด้านร่วม)
AD̂B = CD̂B = 90° (BD ⏊ AC)
ดังนั้น ∆ABD ≅ ∆CBD (ม.ด.ม.)
จะได้ AB = CB (ด้านคูท
่ สี่ มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
นั่นคือ ∆ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (บทนิยามของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 145

7. C

A B
E

กำ�หนดให้ ∆ACB เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มี CE เป็นเส้นแบ่งครึ่งมุมยอด จุด D อยู่บน CE


ต้องการพิสูจน์ว่า ∆ADB เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว และ AD̂E = BD̂E
พิสูจน์ พิจารณา ∆ACD และ ∆BCD
AC = BC (ด้านประกอบมุมยอดของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
ยาวเท่ากัน)
AĈD = BĈD (CE เป็นเส้นแบ่งครึ่งมุมยอด AĈB)
CD = CD (CD เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ∆ACD ≅ ∆BCD (ด.ม.ด.)
จะได้ AD = BD (ด้านคูท
่ สี่ มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
นั่นคือ ∆ADB เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (บทนิยามของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว)
และ AD̂C = BD̂C (มุมคูท
่ สี่ มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก AD̂C + AD̂E = BD̂C + BD̂E = 180° (ขนาดของมุมตรง)
จะได้ AD̂E = BD̂E (สมบัติของการเท่ากัน)

8. C

A B
O

กำ�หนดให้ AB ยาวพอสมควร
ต้องการสร้าง CD แบ่งครึ่ง AB ที่จุด O
วิธีสร้าง 1. ใช้จุด A และจุด B เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมียาวพอสมควร เขียนส่วนโค้งให้ตัดกันที่จุด C และ
จุด D ตามลำ�ดับ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
146 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2. ลาก CD ให้ตัด AB ให้จุดตัดชื่อจุด O


จะได้ CD แบ่งครึ่ง AB ที่จุด O
C

A B
O

ต้องการพิสูจน์ว่า CD แบ่งครึ่ง AB ที่จุด O


พิสูจน์ ลาก AC, BC, AD และ BD
พิจารณา ∆ACD และ ∆BCD
AC = BC (รัศมียาวเท่ากัน จากการสร้าง)
AD = BD (รัศมียาวเท่ากัน จากการสร้าง)
CD = CD (CD เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ∆ACD ≅ ∆BCD (ด.ด.ด.)
จะได้ AĈO = BĈO (มุ ม คู่ ที่ ส มนั ย กั น ของรู ป สามเหลี่ ย มที่ เ ท่ า กั น ทุ ก ประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
พิจารณา ∆AOC และ ∆BOC
CO = CO (CO เป็นด้านร่วม)
AĈO = BĈO (จากการพิสูจน์ข้างต้น)
AC = BC (รัศมียาวเท่ากัน จากการสร้าง)
ดังนั้น ∆AOC ≅ ∆BOC (ด.ม.ด.)
จะได้ AO = BO (ด้ า นคู่ ที่ ส มนั ย กั น ของรู ป สามเหลี่ ย มที่ เ ท่ า กั น ทุ ก ประการ
จะยาวเท่ากัน)
นั่นคือ CD แบ่งครึ่ง AB ที่จุด O

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 147

9. แนวคิด ABCD ที่ได้เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว โดยสามารถอธิบายได้ตามแนวการพิสูจน์ ดังนี้


A

D B
O

C
ให้ AC และ BD ตัดกันที่จุด O
พิจารณา ∆AOD และ ∆AOB
AO = AO (AO เป็นด้านร่วม)
AÔD = AÔB = 90° (กำ�หนดให้)
DO = BO (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ∆AOD ≅ ∆AOB (ด.ม.ด.)
จะได้ AD = AB (ด้านคูท
่ สี่ มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
ในทำ�นองเดียวกัน ∆COD ≅ ∆COB จะได้ CD = CB
เนื่องจาก AD = AB และ CD = CB
จะได้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว

10. แนวคิด ลวดทั้งสองเส้นยาวเท่ากัน และมุมที่ลวดทั้งสองเส้นทำ�กับพื้นดิน มีขนาดเท่ากัน ตามแนวการพิสูจน์จาก


แบบจำ�ลองดังนี้

P S R

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
148 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

สร้าง ∆QPR โดยมี QP และ QR แทนลวด


PR แทนแนวพื้นดิน
และ QS แทนส่วนหนึ่งของเสาไฟฟ้าซึ่งตั้งฉากกับ PR ดังรูป
พิจารณา ∆PQS และ ∆RQS
PS = RS (กำ�หนดให้)
o
PŜQ = RŜQ = 90 (กำ�หนดให้)
QS = QS (QS เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ∆PQS ≅ ∆RQS (ด.ม.ด.)
จะได้ PQ = RQ (ด้ า นคู่ ที่ ส มนั ย กั น ของรู ป สามเหลี่ ย มที่ เ ท่ า กั น ทุ ก ประการ
จะยาวเท่ากัน)
และ QP̂S = QR̂S (มุ ม คู่ ที่ ส มนั ย กั น ของรู ป สามเหลี่ ย มที่ เ ท่ า กั น ทุ ก ประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
นั่นคือ ลวดทั้งสองเส้นยาวเท่ากัน และมุมที่ลวดทั้งสองเส้นทำ�กับพื้นดิน มีขนาดเท่ากัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 149

กิจกรรมท้ายบท : หาได้เท่าไร
กิจกรรมนี้ เน้นให้นักเรียนได้นำ�ความรู้เกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมไปใช้ในการหาความกว้างของ
สิ่งต่าง ๆ รอบตัว ซึ่งความกว้างของสิ่งของเหล่านั้น ไม่สามารถวัดได้โดยตรง โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
อุปกรณ์ในกิจกรรมท้ายบท : หาได้เท่าไร ในหนังสือเรียน หน้า 123

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ให้นักเรียนทำ�ตามขั้นตอนของ “กิจกรรมท้ายบท : หาได้เท่าไร” ในหนังสือเรียน หน้า 123
2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำ�เสนอว่ากลุ่มของตนเอง เลือกที่จะวัดความกว้างของอะไร และมีวิธีคิดอย่างไร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
150 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยกิจกรรมท้ายบท : หาได้เท่าไร
3. ตัวอย่างคำ�ตอบ

ถ้าต้องการหาความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางของฐานของหินที่มีรูปร่างใกล้เคียงกับทรงกระบอกที่ล้อมรอบต้นไม้
แต่มีต้นไม้ขวางแนวที่จะวัดโดยตรง
ให้ A และ B แทน ตำ�แหน่งปลายทั้งสองด้านของสิ่งที่ต้องการหาความกว้าง
หาความกว้างของสิ่งที่เลือก ตามแนวคิด ดังนี้
1) ใช้ความรู้เกี่ยวกับสมบัติของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน โดยใช้เชือก 2 เส้น ที่ยาวเท่ากัน
1.1) ให้เพื่อน 2 คน นำ�ปลายเชือกไปวาง ที่ตำ�แหน่ง A และ B แล้วจับไว้
1.2) ให้เพื่อนอีก 2 คน จับปลายเชือกที่เหลือที่ตำ�แหน่ง C และ D แล้วดึงเชือกให้ตึงและขนานกัน พร้อมทั้ง
ขนานกับแนวพื้นดินด้วย เมื่อมองจากด้านบน จะได้ดังรูป
D
เชือก
B

เชือก
A

เนื่องจาก รูปสี่เหลี่ยม ABDC เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน


จะได้ว่า ด้านตรงข้ามยาวเท่ากัน ทำ�ให้ระยะจากจุด C ถึงจุด D เท่ากับระยะจากจุด A ถึงจุด B
1.3) ให้เพื่อนอีกคน ใช้ตลับเมตรหรือไม้เมตรวัดความยาวของ CD ซึ่งจะเท่ากับความยาวของ AB ที่เป็น
ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางของฐานของหินที่มีรูปร่างใกล้เคียงกับทรงกระบอกที่ล้อมรอบต้นไม้
แต่ในทางปฏิบัติ การทำ�ให้เชือก AC กับ BD ขนานกันนั้น เป็นเรื่องยาก
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 151

2) ใช้ความรู้เกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ (รายละเอียดอยู่ในข้อ 4)

4. ใช้ความรู้เกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการช่วยในการหาความกว้างของสิ่งที่เลือกได้ตามแนวคิด ดังนี้

ถ้าต้องการหาความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางของฐานของหินทีม
่ รี ป
ู ร่างใกล้เคียงกับทรงกระบอกทีล่ อ
้ มรอบต้นไม้
แต่มีต้นไม้ขวางแนวที่จะวัดโดยตรง สามารถทำ�ได้ดังนี้
1) ให้ A และ B แทน ตำ�แหน่งปลายทั้งสองด้านของสิ่งที่ต้องการหาความกว้าง
2) หาจุดกึ่งกลางของเชือกที่ยาว 5 เมตร ทั้งสองเส้น แล้วทำ�เครื่องหมายกำ�กับไว้
3) ให้เพื่อน 2 คน นำ�ปลายเชือกไปวาง ที่ตำ�แหน่ง A และ B และจับไว้
4) ให้เพือ
่ นอีก 2 คน จับปลายเชือกทีต
่ �ำ แหน่ง C และ D แล้วดึงเชือกให้ตงึ และขนานกับแนวพืน
้ ดิน โดยให้เชือก
ซ้อนกัน ณ จุดที่ทำ�เครื่องหมายไว้ ให้จุดนั้นคือจุด O เมื่อมองจากด้านบน จะได้ดังรูป

เนื่องจาก รูปสามเหลี่ยม AOB และรูปสามเหลี่ยม COD เท่ากันทุกประการ เพราะมีความสัมพันธ์แบบ


ด้าน–มุม–ด้าน ทำ�ให้ระยะจากจุด C ถึงจุด D เท่ากับระยะจากจุด A ถึงจุด B
5) ให้เพื่อนนักเรียนอีกคน ใช้ตลับเมตรหรือไม้เมตรวัดความยาวของ CD ซึ่งจะเท่ากับ ความยาวของ AB ที่เป็น
ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางของฐานของหินที่มีรูปร่างใกล้เคียงกับทรงกระบอกที่ล้อมรอบต้นไม้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
152 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท
1. แนวคิด รูปสามเหลี่ยม ABC ที่สร้าง จะเท่ากันทุกประการกับรูปสามเหลี่ยม DEF ที่กำ�หนดให้
เพราะมีความสัมพันธ์แบบ ด้าน–มุม–ด้าน ดังนี้
E B

5 ซม.
3 ซม. 3 ซม.

D 4 ซม. F A C

เนื่องจาก ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก


2 2 2
จะได้ว่า AC = 5 –3
= 16
ดังนั้น AC = 4 เซนติเมตร
พิจารณา ΔABC และ ΔDEF
AB = DE (จากการสร้าง)
BÂC = ED̂F = 90° (จากการสร้าง)
AC = DF (มีความยาว 4 เซนติเมตร เท่ากัน)
ดังนั้น ΔABC ≅ ΔDEF (ด.ม.ด.)

2. แนวคิด A

B D E C

พิจารณา ΔABD และ ΔACE


AD̂B + AD̂E = AÊC + AÊD = 180° (ขนาดของมุมตรง)
AD̂E = AÊD (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
AD̂B = AÊC (สมบัติของการเท่ากัน)
AB̂D = AĈE (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 153

AB = AC (ด้านประกอบมุมยอดของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วยาวเท่ากัน)
ดังนั้น ΔABD ≅ ΔACE (ม.ม.ด.)
จะได้ BD = CE (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
BD = 10 หน่วย (กำ�หนดให้)
ดังนั้น CE = 10 หน่วย (สมบัติของการเท่ากัน)

หมายเหตุ ในการให้เหตุผล เพื่อแสดงว่า ΔABD และ ΔACE เท่ากันทุกประการแบบ มุม–มุม–ด้าน อาจใช้ความยาวของด้าน AD


และด้าน AE ของ ΔADE แทน AB และ AC ของ ΔABC ก็ได้

3.

P
A
N O
E

Q M R
B
D C

กำ�หนดให้ AB̂C มีขนาดพอสมควร


ต้องการสร้าง PQ̂R ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ AB̂C

วิธีสร้าง 1. ลาก QR
2. ใช้จุด B เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมียาวพอสมควร เขียนส่วนโค้งให้ตัด BC และ BA ที่จุด D และ
จุด E ตามลำ�ดับ

3. ใช้จุด Q เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมียาวเท่าเดิม เขียนส่วนโค้ง MN ให้ตัด QR ที่จุด M
4. ใช้จุด M เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมียาวเท่ากับ DE เขียนส่วนโค้งให้ตัดส่วนโค้ง MN ที่จุด O

5. ลาก QP ผ่านจุด O
จะได้ PQ̂R มีขนาดเท่ากับขนาดของ AB̂C

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
154 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

P
A
N O
E

Q M R
B
D C

ต้องการพิสูจน์ว่า PQ̂R = AB̂C


พิสูจน์ ลาก DE และ MO
พิจารณา ΔQMO และ ΔBDE
QM = BD (รัศมียาวเท่ากัน จากการสร้าง)
QO = BE (รัศมียาวเท่ากัน จากการสร้าง)
MO = DE (รัศมียาวเท่ากัน จากการสร้าง)
ดังนั้น ΔQMO ≅ ΔBDE (ด.ด.ด.)
จะได้ PQ̂R = AB̂C (มุมคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
นั่นคือ PQ̂R ที่สร้างขึ้น มีขนาดเท่ากับขนาดของ AB̂C ตามต้องการ

4. แนวคิด
D

E C

A M B

รูป ABCDE เป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า และจุด M เป็นจุดกึ่งกลางของ AB


ลาก DM, EM และ CM
พิจารณา ΔAME และ ΔBMC
AE = BC (ด้านของรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่ายาวเท่ากัน)
MÂE = MB̂C (มุมของรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่ามีขนาดเท่ากัน)
AM = BM (จุด M เป็นจุดกึ่งกลางของ AB)
ดังนั้น ΔAME ≅ ΔBMC (ด.ม.ด.)
จะได้ ME = MC (ด้านคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 155

พิจารณา ΔDME และ ΔDMC


DE = DC (ด้านของรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่ายาวเท่ากัน)
DM = DM (DM เป็นด้านร่วม)
ME = MC (จากการพิสูจน์ข้างต้น)
ดังนั้น ΔDME ≅ ΔDMC (ด.ด.ด.)
จะได้ ED̂M = CD̂M (มุมคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก ED̂M + CD̂M = 108° (มุมภายในแต่ละมุมของรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า
มีขนาดเท่ากับ 3 × 180 = 108°)
5
จะได้ 2CD̂M = 108° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น CD̂M = 54° (สมบัติของการเท่ากัน)

5. 1)
A B B
F
D C

E F

H G D C H G

กำ�หนดให้ ABCDHGFE เป็นกล่องทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่แต่ละด้านยาว 1 เมตร


ต้องการพิสูจน์ว่า ΔBFH ≅ ΔHDB
พิสูจน์ พิจารณา ΔBCD และ ΔFGH
BC = FG (เส้นขอบหรือด้านของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ยาว 1 เมตร เท่ากัน)
BĈD = FĜH (มุมที่จุดยอดด้านบนและด้านล่างของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
มีขนาด 90° เท่ากัน)
CD = GH (เส้นขอบหรือด้านของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ยาว 1 เมตร เท่ากัน)
ดังนั้น ΔBCD ≅ ΔFGH (ด.ม.ด.)
จะได้ BD = FH (ด้านคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
156 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

D B

H F

พิจารณา ΔBFH และ ΔHDB


FH = DB (จากการพิสูจน์ข้างต้น)
FB = DH (ด้านของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ยาว 1 เมตร เท่ากัน)
BH = HB (BH เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ΔBFH ≅ ΔHDB (ด.ด.ด.)

2) แนวคิด

B D B

1 1

D 1 C H

เนื่องจาก ΔBCD เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก


2 2 2
จะได้ว่า BD = 1 +1
= 2
เนื่องจาก ΔBDH เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
2 2 2
จะได้ว่า BH = BD + DH
2
= 2 + 1
= 3
ดังนั้น BH = √3 เมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 157

A
6.

B D C

กำ�หนดให้ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมที่ Â = B̂ = Ĉ


ต้องการพิสูจน์ว่า ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า
พิสูจน์ ลาก AD ตั้งฉากกับ BC ที่จุด D และลาก BE ตั้งฉากกับ AC ที่จุด E
พิจารณา ΔABD และ ΔACD
AB̂D = AĈD (กำ�หนดให้)
AD̂B = AD̂C = 90° (AD ตั้งฉากกับ BC ที่จุด D)
AD = AD (AD เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ΔABD ≅ ΔACD (ม.ม.ด.)
จะได้ AB = AC (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
ในทำ�นองเดียวกัน ΔBEA ≅ ΔBEC จะได้ AB = CB
ดังนั้น AB = AC = CB (สมบัติของการเท่ากัน)
นั่นคือ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า (มีด้านทุกด้านยาวเท่ากัน)

7. แนวคิด D C

3 4
1 2
A B

พิจารณา ΔABD และ ΔBAC


2̂ = 1̂ (กำ�หนดให้)
AB = BA (AB เป็นด้านร่วม)
4̂ = 3̂ (กำ�หนดให้)
1̂ + 3̂ = 2̂ + 4̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
BÂD = AB̂C (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น ΔABD ≅ ΔBAC (ม.ด.ม.)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
158 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

8. A

F E

B D C

กำ�หนดให้ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า มี AD, BE และ CF เป็นเส้นมัธยฐาน


ต้องการพิสูจน์ว่า AD = BE = CF
พิสูจน์ พิจารณา ΔADC และ ΔBEC
AC = BC (ด้านของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่ายาวเท่ากัน)
AĈD = BĈE (Ĉ เป็นมุมร่วม)
DC = EC (ต่างก็เป็นครึ่งหนึ่งของด้านที่ยาวเท่ากัน)
ดังนั้น ΔADC ≅ ΔBEC (ด.ม.ด.)
จะได้ AD = BE (ด้านคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน)
ในทำ�นองเดียวกัน ΔBEA ≅ ΔCFA จะได้ BE = CF
ดังนั้น AD = BE = CF (สมบัติของการเท่ากัน)
นั่นคือ เส้นมัธยฐานทั้งสามเส้นของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่ายาวเท่ากัน

9. แนวคิด B Bʹ
C Cʹ

A
A

ให้ A แทนตำ�แหน่งจุดหมุนของเข็มนาฬิกาทั้งสอง
B แทนตำ�แหน่งจุดปลายของเข็มสั้นของนาฬิกา เมื่อเวลา 11:50 น.
C แทนตำ�แหน่งจุดปลายของเข็มยาวของนาฬิกา เมื่อเวลา 11:50 น.
Bʹ แทนตำ�แหน่งจุดปลายของเข็มสั้นของนาฬิกา เมื่อเวลา 12:10 น.
Cʹ แทนตำ�แหน่งจุดปลายของเข็มยาวของนาฬิกา เมื่อเวลา 12:10 น.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 159

พิจารณา ΔABC และ ΔABʹCʹ


AB = ABʹ (เข็มสั้นของนาฬิกายาวเท่ากัน)
BÂC = BʹÂCʹ (เข็มสั้นและเข็มยาวของนาฬิกาทำ�มุมที่มีขนาดเท่ากัน
เมื่อเวลา 11:50 น. และ 12:10 น.)
AC = ACʹ (เข็มยาวของนาฬิกายาวเท่ากัน)
ดังนั้น ΔABC ≅ ΔABʹCʹ (ด.ม.ด.)
จะได้ BC = BʹCʹ (ด้านคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน)
นั่นคือ ปลายเข็มสั้นและเข็มยาว ณ เวลา 11:50 น. และ 12:10 น. อยู่ห่างเท่ากัน

10. แนวคิด
วิธีที่ 1 ใช้การพิสูจน์
B Bʹ

A Aʹ

C Cʹ
ให A แทนตำ�แหน่งจุดหมุนของเข็มนาฬิกาทั้งสอง
B แทนตำ�แหน่งจุดปลายของเข็มสั้นของนาฬิกา เมื่อเวลา 11:36 น.
C แทนตำ�แหน่งจุดปลายของเข็มยาวของนาฬิกา เมื่อเวลา 11:36 น.
Bʹ แทนตำ�แหน่งจุดปลายของเข็มสั้นของนาฬิกา เมื่อเวลา 12:24 น.
Cʹ แทนตำ�แหน่งจุดปลายของเข็มยาวของนาฬิกา เมื่อเวลา 12:24 น.
พิจารณา ΔABC และ ΔABʹCʹ
AB = ABʹ (เข็มสั้นของนาฬิกา ยาวเท่ากัน)
AC = ACʹ (เข็มยาวของนาฬิกา ยาวเท่ากัน)
BC = BʹCʹ (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ΔABC ≅ ΔABʹCʹ (ด.ด.ด.)
จะได้ BÂC = BʹÂCʹ (มุมคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
นั่นคือ เข็มยาวและเข็มสั้นของนาฬิกา ณ เวลาทั้งสองทำ�มุมที่มีขนาดเท่ากัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
160 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

วิธีที่ 2 ใช้การคำ�นวณหาขนาดของมุม
(ข้อนี้จะเฉลยโดยใช้แนวคิดต่างจากที่เฉลยในชวนคิด 2.16 เพื่อให้เห็นว่าแต่ละข้อมีวิธีทำ�ได้หลากหลาย)

360 หรือ 6 องศา


เนื่องจาก ในเวลา 1 นาที เข็มยาวของนาฬิกา หมุนไปด้วยมุม —–
60
และ 30 หรือ 0.5 องศา
ในเวลา 1 นาที เข็มสั้นของนาฬิกาจะหมุนไปด้วยมุม —
60

เมื่อเวลา 11:36 น.
เข็มยาวของนาฬิกาหมุนไปจากตัวเลข 12 ด้วยมุม 36 × 6 = 216 องศา
แสดงว่า เหลืออีก 360 – 216 = 144 องศา เข็มยาวจะไปอยู่ตำ�แหน่งตัวเลข 12 อีกครั้งหนึ่ง
เข็มสั้นของนาฬิกาจะหมุนไปจากตัวเลข 11 ด้วยมุม 36 × 0.5 = 18 องศา
แสดงว่า เหลืออีก 30 – 18 = 12 องศา เข็มสั้นจะไปอยู่ตำ�แหน่งตัวเลข 12 อีกครั้งหนึ่ง
ดังนั้น เข็มยาวและเข็มสั้นของนาฬิกาทำ�มุมที่มีขนาด 144 – 12 = 132 องศา

เมื่อเวลา 12:24 น.
เข็มยาวของนาฬิกาหมุนไปจากตัวเลข 12 ด้วยมุม 24 × 6 = 144 องศา
เข็มสั้นของนาฬิกาจะหมุนไปจากตัวเลข 12 ด้วยมุม 24 × 0.5 = 12 องศา
ดังนั้น เข็มยาวและเข็มสั้นของนาฬิกาทำ�มุมที่มีขนาด 144 – 12 = 132 องศา
นั่นคือ เข็มยาวและเข็มสั้นของนาฬิกา ณ เวลาทั้งสองทำ�มุมที่มีขนาด 132 องศา เท่ากัน

11. 1) แนวคิด จากโจทย์ นำ�มาเขียนรูปใหม่เฉพาะส่วนที่จะพิจารณาให้ดูง่ายขึ้น ได้ดังนี้

M
A

B N

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 161

พิจารณา ΔBMN และ ΔAMN


BN = AN (เชือกยึดติดกับพื้นสนามโดยห่างจากโคนเสาที่ตำ�แหน่ง N
เป็นระยะทางเท่ากัน)
BN̂M = AN̂M = 90° (เสาตั้งฉากกับพื้นดิน)
MN = MN (MN เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ΔBMN ≅ ΔAMN (ด.ม.ด.)
ในทำ�นองเดียวกัน ΔBMN ≅ ΔCMN
จะได้ ΔAMN ≅ ΔCMN (สมบัติของการเท่ากันทุกประการ)
นั่นคือ รูปสามเหลี่ยมทั้งสามรูปที่เกิดจากการผูกเชือกให้ยึดกับพื้นสนามเท่ากันทุกประการ

2) คำ�ตอบขึ้นอยู่กับเหตุผล และสามารถคำ�นวณหาความยาวของเชือกที่ใช้ได้ดังนี้
แนวคิด
M

80

B 60 N

เนื่องจาก ΔBMN เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก


2 2 2
จะได้ BM = 60 + 80
= 10,000
ดังนั้น BM = 100 เซนติเมตร
นั่นคือ ถ้ามีเชือกยาวเส้นละ 100 เซนติเมตร จะไม่สามารถผูกเชือกเพื่อยึดเสาไว้ได้ทั้งสามจุด เนื่องจากต้อง
เสียเชือกตรงปมที่ผูกไปบ้าง ทำ�ให้เชือกที่เหลือไม่สามารถผูกยึดเสาไว้ได้ เว้นแต่สามารถหาวัสดุมายึด
ไว้โดยไม่เสียเชือกตรงปม หรือเลื่อนตำ�แหน่งที่จะยึดกับพื้นสนามให้ใกล้เสาเข้ามาอีก จึงจะสามารถ
ผูกเชือกเพื่อยึดเสาไว้ได้ทั้งสามจุด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
162 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. จากข้อความต่อไปนี้ จงเติมคำ�ลงในช่องว่าง

ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปมีด้านคู่ที่ยาวเท่ากัน คือ SU = DO, UN = OG และ SN = DG


และมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากัน คือ SÛN = DÔG, UN̂S = OĜD และ NŜU = GD̂O

จะสรุปได้ว่า ∆ ≅ ∆ (1 คะแนน)

2. รูปสามเหลีย่ มทีก
่ �ำ หนดให้ในแต่ละข้อต่อไปนีเ้ ท่ากันทุกประการหรือไม่ ถ้าเท่ากันทุกประการให้บอกว่าเท่ากันทุกประการ
ด้วยความสัมพันธ์แบบใด (4 คะแนน)
1) 2)
B F A Q
80°
6 ซม. 40°
25

R
°

C
7 ซม. 7 ซม.
80°
40°
40° 6 ซม.
A 5 ซม. C E 5 ซม. D B P

3) AC ตัดกับ BD ที่จุด O 4)
C C
B
P
35°

O 6 ซม.

D
35° 65°
A R Q
A 80° 6 ซม.
B

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 163

D
3. ABCD เป็นรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้า มี BE และ DF ตัง้ ฉากกับ AC
ที่จุด E และ F ตามลำ�ดับ

A E จงหาว่า รูปสามเหลีย่ มคูท
่ เ่ี ท่ากันทุกประการมีทง้ั หมดกีค่ ู่ อะไรบ้าง
C
F พร้ อ มระบุ ค วามสั ม พั น ธ์ ที่ ทำ � ให้ รู ป สามเหลี่ ย มคู่ นั้ น เท่ า กั น
ทุกประการ (4 คะแนน)
B

4. ถ้ารูปสามเหลี่ยมที่กำ�หนดให้เท่ากันทุกประการ จงหาความยาวของด้าน AC กับขนาดของมุม QPR (2 คะแนน)

30°

A
70° 80°
30°
B R 6 ซม. Q

5. C

30° Z 5 ซม. Y

5 ซม.
(5x)°
X
A B

จากรูป ΔABC ≅ ΔXYZ มี AB̂C = 90° , AĈB = 30° และ YX̂Z = (5x)°
จงหาค่า x (2 คะแนน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
164 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

6. B C
D

E A (2x + 10)°

(3x – 20)°

จากรูป จงหาค่า x (2 คะแนน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 165

7. กำ � หนดให้ ABCD เป็ น รู ป สี่ เ หลี่ ย มผื น ผ้ า X และ Y เป็ น จุ ด กึ่ ง กลางของด้ า น BC และ AD ตามลำ � ดั บ
จงแสดงว่า AX = CY (5 คะแนน)
D C

Y X

A B

8. กำ�หนดให้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน และ MB̂D = ND̂B


จงหาว่า ∆BMD และ ∆DNB เท่ากันทุกประการหรือไม่ เพราะเหตุใด (9 คะแนน)
D C

M N

A B

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
166 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

9. “รูปสี่เหลี่ยมคางหมูหน้าจั่ว” เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูที่มีด้านที่ไม่ขนานกัน ยาวเท่ากัน


จากรูป AB ขนานกับ DC M เป็นจุดกึ่งกลางของ AB AM̂D = BM̂C และ AD̂M = BĈM จงหาว่ารูปสี่เหลี่ยม
ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูหน้าจั่วหรือไม่ เพราะเหตุใด (6 คะแนน)

D C

A M B

10. คลองแห่งหนึ่ง มีเสาไฟฟ้าอยู่ริมฝั่งทั้งสองของคลอง ห่างจากริมฝั่งคลอง 50 เซนติเมตร โดยที่เสาไฟฟ้าแต่ละต้นของ


แต่ละฝั่งอยู่ห่างเท่า ๆ กัน ดังรูป

A B C D E

F G H I J
ถ้านักเรียนและเพื่อน ๆ ต้องการหาความกว้างของคลอง โดยอาศัยแนวของเสาไฟฟ้า จะมีวิธีหาได้อย่างไร จงอธิบาย
(5 คะแนน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 167

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
168 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. จากข้อความต่อไปนี้ จงเติมคำ�ลงในช่องว่าง

ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปมีด้านคู่ที่ยาวเท่ากัน คือ SU = DO, UN = OG และ SN = DG


และมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากัน คือ SÛN = DÔG, UN̂S = OĜD และ NŜU = GD̂O

จะสรุปได้ว่า ∆SUN ≅ ∆DOG (1 คะแนน)

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรีียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถบอกสมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

2. รูปสามเหลีย่ มทีก
่ �ำ หนดให้ในแต่ละข้อต่อไปนีเ้ ท่ากันทุกประการหรือไม่ ถ้าเท่ากันทุกประการให้บอกว่าเท่ากันทุกประการ
ด้วยความสัมพันธ์แบบใด (4 คะแนน)
1) 2)
B F A Q
80°
6 ซม. 40°
25

R
°

C
7 ซม. 7 ซม.
80°
40° 6 ซม.
40°
A 5 ซม. C E 5 ซม. D B P

สรุปไม่ได้ เท่ากันทุกประการ เพราะมีความสัมพันธ์


แบบ มุม–ด้าน–มุม หรือ มุม–มุม–ด้าน
3) AC ตัดกับ BD ที่จุด O 4) C
C P
B 35°
6 ซม.
O
35° 65°
D R 6 ซม. Q
A 80°
A
B
เท่ากันทุกประการ เพราะมีความสัมพันธ์ เท่ากันทุกประการ เพราะมีความสัมพันธ์
แบบ ด้าน–มุม–ด้าน แบบ มุม–ด้าน–มุม หรือ มุม–มุม–ด้าน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 169

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นั ก เรี ย นสามารถบอกได้ ว่ า รู ป สามเหลี่ ย มสองรู ป ที่ สั ม พั น ธ์ กั น แบบ ด้ า น–มุ ม –ด้ า น, มุ ม –ด้ า น–มุ ม ,
ด้าน–ด้าน–ด้าน, มุม–มุม–ด้าน และ ฉาก–ด้าน–ด้าน เท่ากันทุกประการ
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 4 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ข้อละ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

3.
D ABCD เป็นรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้า มี BE และ DF ตัง้ ฉากกับ AC
ที่จุด E และ F ตามลำ�ดับ
จงหาว่า รูปสามเหลีย่ มคูท
่ เ่ี ท่ากันทุกประการมีทง้ั หมดกีค่ ู่ อะไรบ้าง
A E
C
F พร้ อ มระบุ ค วามสั ม พั น ธ์ ที่ ทำ � ให้ รู ป สามเหลี่ ย มคู่ นั้ น เท่ า กั น
ทุกประการ (4 คะแนน)

แนวคิด
3 คู่ เหตุผลมีได้หลากหลาย เช่น
1) ∆ABC ≅ ∆CDA เพราะมีความสัมพันธ์แบบ ด้าน–ด้าน–ด้าน (AB = CD, CB = AD, AC = CA)
หรือ มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน–มุม–ด้าน (AB = CD, AB̂C = CD̂A, BC = DA)
2) ∆ABE ≅ ∆CDF เพราะมีความสัมพันธ์แบบ มุม–มุม–ด้าน (AÊB = CF̂D, BÂE = DĈF, AB = CD)
หรือ มีความสัมพันธ์แบบ ฉาก–ด้าน–ด้าน (AÊB = CF̂D = 90°, * BE = DF, AB = CD)
3) ∆CBE ≅ ∆ADF เพราะมีความสัมพันธ์แบบ มุม–มุม–ด้าน (BÊC = DF̂A, BĈE = DÂF, BC = DA)
หรือ มีความสัมพันธ์แบบ ฉาก–ด้าน–ด้าน (BÊC = DF̂A, = 90°, * BE = DF, BC = DA)
* หมายเหตุ : ถ้านักเรียนตอบประเด็นนี้ ควรให้อธิบายเพิ่มเติม

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นั ก เรี ย นสามารถบอกได้ ว่ า รู ป สามเหลี่ ย มสองรู ป ที่ สั ม พั น ธ์ กั น แบบ ด้ า น–มุ ม –ด้ า น, มุ ม –ด้ า น–มุ ม ,
ด้าน–ด้าน–ด้านม มุม–มุม–ด้าน และ ฉาก–ด้าน–ด้าน เท่ากันทุกประการ
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 4 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
ตอบถูกว่ามี 3 คู่ ได้ 1 คะแนน
ตอบได้ว่ารูปสามเหลี่ยมคู่ใดที่เท่ากันทุกประการ พร้อมระบุความสัมพันธ์ได้ถูกต้อง ได้คู่ละ 1 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
170 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

4. ถ้ารูปสามเหลี่ยมที่กำ�หนดให้เท่ากันทุกประการ จงหาความยาวของด้าน AC กับขนาดของมุม QPR (2 คะแนน)


C

30°

A
70° 80°
30°
B R 6 ซม. Q

ความยาวของด้าน AC เท่ากับ 6 เซนติเมตร และขนาดของมุม QPR เท่ากับ 70 องศา

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 3 นักเรียนสามารถนำ�สมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบต่าง ๆ
ไปใช้อ้างอิงในการให้เหตุผลและการแก้ปัญหา
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 2 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้คำ�ตอบละ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

5. C

30° Z 5 ซม. Y

5 ซม.
(5x)°
X
A B

จากรูป ΔABC ≅ ΔXYZ มี AB̂C = 90° , AĈB = 30° และ YX̂Z = (5x)°
จงหาค่า x (2 คะแนน)

แนวคิด เนื่องจาก ΔABC ≅ ΔXYZ (กำ�หนดให้)


จะได้ BÂC = YX̂Z (มุมคูท
่ สี่ มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก BÂC + AB̂C + AĈB = 180° (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยม
รวมกันเท่ากับ 180 องศา)
จะได้ BÂC + 90 + 30 = 180 (กำ�หนดให้ AB̂ C = 90° และ AĈB = 30° )
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 171

BÂC = 60°
ดังนั้น YX̂Z = 60° (สมบัติของการเท่ากัน)
จะได้ 5x = 60 (กำ�หนดให้ YX̂Z = (5x)° )
ดังนั้น x = 12 (สมบัติของการเท่ากัน)

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 3 นักเรียนสามารถนำ�สมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบต่าง ๆ
ไปใช้อ้างอิงในการให้เหตุผลและการแก้ปัญหา
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 2 คะแนน
หาค่า x ถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

6.
B C
D

E A (2x + 10)°

(3x – 20)°

จากรูป จงหาค่า x (2 คะแนน)


แนวคิด
พิจารณา ΔABC และ ΔEDA
AB̂C = ED̂A = 90° , BC = DA และ CA = AE (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ΔABC ≅ ΔEDA (ฉ.ด.ด.)
จะได้ AĈB = EÂ D = (3x – 20)° (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยม
ที่เท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก BÂC + AĈB + AB̂C = 180° (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของ
รูปสามเหลี่ยมรวมกันเท่ากับ 180 องศา)
จะได้ (2x + 10) + (3x – 20) + 90 = 180 (กำ�หนดให้)
5x + 80 = 180 (สมบัติของการเท่ากัน)
5x = 100
ดังนั้น x = 20

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
172 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 3 นักเรียนสามารถนำ�สมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบต่าง ๆ
ไปใช้อ้างอิงในการให้เหตุผลและการแก้ปัญหา
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 2 คะแนน
หาค่า x ถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

7. กำ�หนดให้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า X และ Y เป็นจุดกึ่งกลางของด้าน BC และ AD ตามลำ�ดับ จงแสดงว่า


AX = CY (5 คะแนน)
D C

Y X

A B

แนวคิด พิจารณา ΔABX และΔCDY


AB = CD (ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวเท่ากัน)
AB̂X = CD̂Y = 90° (มุมภายในแต่ละมุมของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาด 90°)
BX = DY (ต่างก็เป็นครึ่งหนึ่งของด้านที่ยาวเท่ากัน)
ดังนั้น ΔABX ≅ ΔCDY (ด.ม.ด.)
จะได้ AX = CY (ด้านคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน)

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 3 นักเรียนสามารถนำ�สมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบต่าง ๆ
ไปใช้อ้างอิงในการให้เหตุผลและการแก้ปัญหา
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 5 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
✤ บอกได้ว่า AB = CD และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ บอกได้ว่า AB̂X = CD̂Y และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ บอกได้ว่า BX = DY และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ บอกได้ว่า ∆ABX ≅ ∆CDY และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ บอกได้ว่า AX = CY และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 173

8. กำ�หนดให้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน และ MB̂D = ND̂B


จงหาว่า ∆BMD และ ∆DNB เท่ากันทุกประการหรือไม่ เพราะเหตุใด (9 คะแนน)
D C

M N

A B
แนวคิด พิจารณา ∆ABD และ ∆CDB
AB = CD (ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานยาวเท่ากัน)
AD = CB (ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานยาวเท่ากัน)
BD = DB (BD เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ∆ABD ≅ ∆CDB (ด.ด.ด.)
จะได้ AD̂B = CB̂D (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
พิจารณา ∆BMD และ ∆DNB
BD̂M = DB̂N (เป็นมุมคู่เดียวกับ AD̂B และ CB̂D ตามลำ�ดับ ซึ่งมีขนาดเท่ากัน)
BD = DB (BD เป็นด้านร่วม)
MB̂D = ND̂B (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ∆BMD ≅ ∆DNB (ม.ด.ม.)

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 3 นักเรียนสามารถนำ�สมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบต่าง ๆ
ไปใช้อ้างอิงในการให้เหตุผลและการแก้ปัญหา
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 9 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
✤ บอกได้ว่า AB = CD และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ บอกได้ว่า AD = CB และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ บอกได้ว่า BD = DB และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ บอกได้ว่า ∆ABD ≅ ∆CDB และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ บอกได้ว่า AD̂B = CB̂D และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ บอกได้ว่า BD̂M = DB̂N และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ บอกได้ว่า BD = DB และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ บอกได้ว่า MB̂D = ND̂B และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ บอกได้ว่า ∆BMD ≅ ∆DNB และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
174 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

9. “รูปสี่เหลี่ยมคางหมูหน้าจั่ว” เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูที่มีด้านที่ไม่ขนานกัน ยาวเท่ากัน


จากรูป AB ขนานกับ DC M เป็นจุดกึ่งกลางของ AB AM̂D = BM̂C และ AD̂M = BĈM จงหาว่ารูปสี่เหลี่ยม
ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูหน้าจั่วหรือไม่ เพราะเหตุใด (6 คะแนน)
D C

A M B

แนวคิด ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูหน้าจั่ว เมื่อ AD = BC


D C

A M B

พิจารณา ∆AMD และ ∆BMC


AD̂M = BĈM (กำ�หนดให้)
AM̂D = BM̂C (กำ�หนดให้)
AM = BM (จุด M เป็นจุดกึ่งกลางของ AB)
ดังนั้น ∆AMD ≅ ∆BMC (ม.ม.ด.)
จะได้ AD = BC (ด้านคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน)
นั่นคือ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูหน้าจั่ว (เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูที่มีด้านที่ไม่ขนานกันยาวเท่ากัน)

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 3 นักเรียนสามารถนำ�สมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบต่าง ๆ
ไปใช้อ้างอิงในการให้เหตุผลและการแก้ปัญหา
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 6 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
✤ บอกได้ว่า AD̂M = BĈM และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ บอกได้ว่า AM̂D = BM̂C และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ บอกได้ว่า AM = BM และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ บอกได้ว่า ∆AMD ≅ ∆BMC และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ บอกได้ว่า AD = BC และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ สรุปได้ว่า ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูหน้าจั่ว และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ 175

10. คลองแห่งหนึ่ง มีเสาไฟฟ้าอยู่ริมฝั่งทั้งสองของคลอง ห่างจากริมฝั่งคลอง 50 เซนติเมตร โดยที่เสาไฟฟ้าแต่ละต้นของ


แต่ละฝั่งอยู่ห่างเท่า ๆ กัน ดังรูป

A B C D E

F G H I J

ถ้านักเรียนและเพื่อน ๆ ต้องการหาความกว้างของคลอง โดยอาศัยแนวของเสาไฟฟ้า จะมีวิธีหาได้อย่างไร จงอธิบาย


(5 คะแนน)
ตัวอย่างคำ�ตอบ

A B C D E

F G H I J

แนวคิด ถ้าคาดการณ์ว่าริมฝั่งคลองขนานกันและแนวของเสาไฟฟ้าขนานกับแนวของริมฝั่งคลอง ดังรูป


นักเรียนและเพื่อนสามารถหาความกว้างโดยประมาณของคลองได้จากเสาไฟฟ้าที่ตำ�แหน่ง C กับตำ�แหน่ง H
โดยใช้เสาไฟฟ้าที่ตำ�แหน่ง A, F และ G ช่วย ได้ดังนี้
✤ ให้เพื่อนคนหนึ่งยืนเล็งในแนวเส้นตรง AF
✤ ให้เพื่อนอีกคนหนึ่งยืนเล็งในแนวเส้นตรง CG
✤ ให้เพื่อนอีกคนหนึ่งยืนในตำ�แหน่งที่แนวเส้นตรงทั้งสองตัดกัน สมมติเป็นจุด K
✤ พิจารณา ∆GCH และ ∆GKF
จะได้ GĤC = GF̂K (CH ⏊ FH ที่จุด H และ KF ⏊ FH ที่จุด F)
GH = GF (จุด G เป็นจุดกึ่งกลางของ FH)
CĜH = KĜF (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น ∆GCH ≅ ∆GKF (ม.ด.ม.)
จะได้ CH = KF (ด้านคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
176 บทที่ 2 | ความเท่ากันทุกประการ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

✤ เนื่องจาก เสาไฟฟ้าที่จุด C และจุด H ห่างจากริมฝั่งคลอง 50 เซนติเมตร


จะได้ ความกว้างโดยประมาณของคลอง เท่ากับ CH – 1 เมตร
✤ วัดระยะจากจุด K ถึงจุด F เป็นเมตร
ดังนั้น ความกว้างโดยประมาณของคลองจะเท่ากับ KF – 1 เมตร

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 3 นักเรียนสามารถนำ�สมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบต่าง ๆ
ไปใช้อ้างอิงในการให้เหตุผลและการแก้ปัญหา
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 5 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
✤ วาดรูปหรืออธิบายเพื่อให้ได้แนวคิดว่ารูปสามเหลี่ยมใดเท่ากันทุกประการ ได้ 1 คะแนน
✤ ให้เหตุผลได้ว่ารูปสามเหลี่ยมคู่นั้นเท่ากันทุกประการ ได้ 3 คะแนน
✤ หาความกว้างของคลองได้ ได้ 1 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 177

3
บทที่ เส้นขนาน
ในบทเส้นขนานนี้ ประกอบด้วยหัวข้อย่อย ดังต่อไปนี้

3.1 เส้นขนานและมุมภายใน 2 ชั่วโมง


3.2 เส้นขนานและมุมแย้ง 2 ชั่วโมง
3.3 เส้นขนานและมุมภายนอกกับมุมภายใน 3 ชั่วโมง
3.4 เส้นขนานและรูปสามเหลี่ยม 4 ชั่วโมง

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระ การวัดและเรขาคณิต
มาตรฐาน ค 2.2 เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิต
และทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำ�ไปใช้

ตัวชี้วัด
นำ�ความรู้เกี่ยวกับสมบัติของเส้นขนานและรูปสามเหลี่ยมไปใช้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

จุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถใช้สมบัติของเส้นขนานและรูปสามเหลี่ยมในการให้เหตุผลและแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

ความเชื่อมโยงระหว่างตัวชี้วัดกับจุดประสงค์ของบทเรียน
เนื่องจากตัวชี้วัดกล่าวถึงการนำ�ความรู้เกี่ยวกับสมบัติของเส้นขนานและรูปสามเหลี่ยมไปใช้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
และเนื้อหาในบทนี้ก็กล่าวถึงสมบัติของเส้นขนานและรูปสามเหลี่ยม ดังนั้น เพื่อให้การเรียนรู้ของนักเรียนในเรื่องเส้นขนาน
สอดคล้องกับตัวชี้วัด ครูควรจัดประสบการณ์ให้นักเรียนสามารถเข้าใจและใช้สมบัติของเส้นขนานและรูปสามเหลี่ยมใน
การให้เหตุผลและแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ซึ่งสะท้อนได้จากการที่นักเรียนสามารถระบุมุมภายใน มุมแย้ง และมุมภายนอก
ซึ่งเป็นมุมที่เกิดจากเส้นตัดตัดเส้นขนาน มีความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติของเส้นขนาน นำ�สมบัติดังกล่าวไปใช้ในการให้เหตุผล
เกีย่ วกับขนาดของมุมภายในของรูปสามเหลีย่ ม ตลอดจนนำ�ไปใช้ในการให้เหตุผลอย่างต่อเนือ
่ งเกีย่ วกับเงือ
่ นไขของความเท่ากัน
ทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ มุม–มุม–ด้าน และนำ�ไปใช้แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
178 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

3.1 เส�นขนานและ
มุมภายใน 3.1 เส�นขนานและ
3.2 มุมภายใน 3.2
-
เส�นขนาน แบบฝ�กหัด เส�นขนาน
และมุมแย�ง และมุมแย�ง
อื่น ๆ อื่น ๆ 3.1 : 5
- แบบฝ�กหัด แบบฝ�กหัด
กิจกรรมท�ายบท
ท�ายบท : 13 3.2ก : 6–8
แบบฝ�กหัด 3.2ข :
3.4 3.3 เส�นขนานและ 3–4
เส�นขนานและ มุมภายนอกกับ 3.4
รูปสามเหลี่ยม เส�นขนานและ 3.3
มุมภายใน รูปสามเหลี่ยม เส�นขนานและ
- ชวนคิด แบบฝ�กหัด มุมภายนอกกับ
3.3 3.4 : 8–9 มุมภายใน
-

การสื่อสารและ
การแก�ป�ญหา การสื่อความหมาย
ทางคณิตศาสตร�

ทักษะและ
3.1 เส�นขนานและ
กระบวนการ
มุมภายใน 3.2 การคิด ทางคณิตศาสตร� การเชื่อมโยง 3.1 เส�นขนานและ
- เส�นขนาน สร�างสรรค� มุมภายใน
และมุมแย�ง - 3.2
อื่น ๆ แบบฝ�กหัด อื่น ๆ
- เส�นขนาน
3.2 : 5 แบบฝ�กหัด และมุมแย�ง
ท�ายบท แบบฝ�กหัด
3.4 3.3 การให�เหตุผล 14–15 3.2ข : 3–4
เส�นขนานและ เส�นขนานและ
มุมภายนอกกับ 3.4 3.3
รูปสามเหลีย
่ ม เส�นขนานและ เส�นขนานและ
- มุมภายใน
รูปสามเหลีย
่ ม มุมภายนอกกับ
ชวนคิด - มุมภายใน
3.3
-

3.1 เส�นขนาน 3.2


และมุมภายใน เส�นขนาน
ชวนคิด และมุมแย�ง
3.1, แบบฝ�กหัด
อื่น ๆ 3.2 3.2ก : 6–8
กิจกรรมท�ายบท แบบฝ�กหัด 3.2ข :
3.3 3–4
3.4 เส�นขนานและ
เส�นขนานและ มุมภายนอกกับ
รูปสามเหลี่ยม มุมภายใน
แบบฝ�กหัด แบบฝ�กหัด
3.4 : 10 3.3ข : 2–3
ชวนคิด
3.3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 179

พัฒนาการของความรู้

ความรูพื้นฐาน ✤ มุมตรงข้าม มุมตรง มุมภายใน มุมภายนอก มุมแย้ง


ที่จำเปน ✤ ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม
✤ ผลบวกของขนาดของมุมภายในของรูปสามเหลี่ยม

✤ เส้นตรงสองเส้นที่อยู่บนระนาบเดียวกัน ขนานกัน ก็ต่อเมื่อ


เส้นตรงทั้งสองเส้นนั้นไม่ตัดกัน
✤ ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกัน แล้วระยะห่างระหว่างเส้นตรงคู่นั้น
จะเท่ากันเสมอ และในทางกลับกัน ถ้าเส้นตรงสองเส้นมีระยะห่าง
ระหว่างเส้นตรงเท่ากันเสมอ แล้วเส้นตรงคู่นั้นจะขนานกัน
ความรูที่สำคัญ ✤ เส้นตรงสองเส้นที่กำ�หนดให้จะขนานกันหรือไม่ สามารถตรวจสอบ
จากระยะห่างระหว่างเส้นตรงทั้งสองที่วัดจากจุดที่แตกต่างกัน
ในบทเรียน
อย่างน้อยสองจุด หรือพิจารณาจากขนาดของมุมภายในที่อยู่บน
ข้างเดียวกันของเส้นตัด ขนาดของมุมแย้ง หรือขนาดของ
มุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด
✤ ถ้าต่อด้านใดด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมออกไป แล้วมุมภายนอก
ที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเท่ากับผลบวกของขนาดของมุมภายในที่ไม่ใช่
มุมประชิดของมุมภายนอกนั้น

ความรูในอนาคต ✤ การให้เหตุผลทางเรขาคณิต
✤ วงกลม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
180 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ลำ�ดับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของบทเรียน

ยกตัวอย่างสิ่งที่มีลักษณะของเส้นขนานในชีวิตประจำ�วัน
ทบทวนบทนิยามของเส้นขนาน และระยะห่างระหว่างเส้นขนาน

แนะนำ�มุมที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด และทำ�กิจกรรมสำ�รวจ เพื่อสร้างข้อความคาดการณ์


ซึ่งนำ�ไปสู่สมบัติเกี่ยวกับเส้นขนานและมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด

อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยคมีเงื่อนไข ซึ่งมีคำ�ว่า “ถ้า...แล้ว...” กับประโยคที่มีคำ�ว่า “ก็ต่อเมื่อ”

แนะนำ�มุมแย้ง และทำ�กิจกรรมสำ�รวจ เพื่อสร้างข้อความคาดการณ์


ซึ่งนำ�ไปสู่ทฤษฎีบทเกี่ยวกับเส้นขนานและมุมแย้ง
อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทกลับ เพื่อเชื่อมโยงทฤษฎีบทและบทกลับไปเป็นทฤษฎีบทเดียวกัน

แนะนำ�มุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด
ทำ�กิจกรรมสำ�รวจ เพื่อสร้างข้อความคาดการณ์ซึ่งนำ�ไปสู่ทฤษฎีบทเกี่ยวกับเส้นขนานและ
มุมภายนอกกับมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด
อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทกลับ เพื่อเชื่อมโยงทฤษฎีบทและบทกลับไปเป็นทฤษฎีบทเดียวกัน

นำ�สมบัตแิ ละทฤษฎีบทเกีย่ วกับเส้นขนานไปใช้ในการพิสจู น์ทฤษฎีบทเกีย่ วกับรูปสามเหลีย่ มต่อไปนี้


✤ ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกันเท่ากับ 180 องศา
✤ ถ้าต่อด้านใดด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมออกไป แล้วมุมภายนอกที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเท่ากับ
ผลบวกของขนาดของมุมภายในที่ไม่ใช่มุมประชิดของมุมภายนอกนั้น
✤ ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปมีความสัมพันธ์กันแบบ มุม–มุม–ด้าน (ม.ม.ด.) กล่าวคือ มีมุมที่มี
ขนาดเท่ากันสองคู่ และด้านคู่ที่อยู่ตรงข้ามกับมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากัน ยาวเท่ากันหนึ่งคู่
แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นเท่ากันทุกประการ

สรุปบทเรียน ทำ�กิจกรรมท้ายบทเพื่อเติมเต็มความรู้ที่ได้รับจากบทเรียน
และพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกหัดท้ายบท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 181

3.1 เส้นขนานและมุมภายใน (2 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. บอกบทนิยามของเส้นขนาน
2. บอกได้ว่า ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกัน แล้วระยะห่างระหว่างเส้นตรงคู่นั้นจะเท่ากันเสมอ
3. บอกได้ว่า ถ้าเส้นตรงสองเส้นมีระยะห่างระหว่างเส้นตรงเท่ากันเสมอ แล้วเส้นตรงคู่นั้นจะขนานกัน
4. ระบุได้ว่า มุมคู่ใดเป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด เมื่อกำ�หนดให้เส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง
5. บอกได้ว่า เมื่อเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง เส้นตรงคู่นั้นขนานกัน ก็ต่อเมื่อ ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้าง
เดียวกันของเส้นตัดรวมกันเท่ากับ 180 องศา และนำ�สมบัตินี้ไปใช้

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
นักเรียนอาจเข้าใจผิดว่า ผลรวมของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดเท่ากับ 180 องศา เสมอ
โดยไม่ได้พิจารณาว่า เส้นตัดนั้นต้องตัดเส้นตรงที่ขนานกัน จึงจะทำ�ให้ผลรวมของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของ
เส้นตัดเท่ากับ 180 องศา

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. อุปกรณ์ของกิจกรรม : สำ�รวจผลรวมของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด
2. ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad (GSP)
3. อุปกรณ์ของกิจกรรมเสนอแนะ 3.1 : ภาพลวงตา

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเส้นขนานและมุมภายใน มุ่งเน้นการทบทวนบทนิยามของเส้นขนาน ระยะห่างระหว่าง
เส้นขนาน และเพิม
่ เติมความรูเ้ กีย่ วกับสมบัตข
ิ องเส้นขนานทีเ่ กีย่ วกับมุมภายใน และนำ�สมบัตน
ิ ไี้ ปใช้เป็นพืน
้ ฐานในการให้เหตุผล
ทางเรขาคณิตต่อไป แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูและนักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างสิ่งต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่มีลักษณะของเส้นขนานบนระนาบเดียวกัน
เพื่อนำ�เข้าสู่บทนิยามของการขนานกันของเส้นตรง จากนั้นครูควรชี้แจงให้นักเรียนเห็นว่า บทนิยามดังกล่าวนี้
สามารถนำ�ไปใช้กบ
ั การขนานกันของส่วนของเส้นตรงและรังสี เมือ
่ ส่วนของเส้นตรงและรังสีนน
ั้ เป็นส่วนหนึง่ ของ
เส้นตรงที่ขนานกันหรืออยู่บนเส้นตรงที่ขนานกัน
2. ครูอาจทบทวนและทำ�ความเข้าใจเพิ่มเติมกับนักเรียนเกี่ยวกับระยะห่างระหว่างเส้นขนานในประเด็นต่อไปนี้
1) ระยะห่างระหว่างจุดจุดหนึ่งกับเส้นตรง จะหมายถึง ความยาวของส่วนของเส้นตรงที่ลากจากจุดนั้นไปตั้งฉาก
กับเส้นตรง ดังรูป
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
182 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

A Q B

� �
จากรูป PQ ตั้งฉากกับ AB จะได้ PQ คือระยะห่างระหว่างจุด P กับ AB
2) เมื่อกล่าวถึงระยะห่างระหว่างเส้นขนานที่กล่าวว่า “ระยะห่างระหว่างเส้นขนานเท่ากันเสมอ” ในการ
ตรวจสอบการเท่ากันของระยะห่างของเส้นขนานนี้ ในทางปฏิบัติ จะวัดระยะห่างจากจุดที่แตกต่างกัน
อย่างน้อยสองจุดบนเส้นตรงเส้นหนึ่งไปยังเส้นตรงอีกเส้นหนึ่งก็เพียงพอแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากมีเส้นตรงเพียง
เส้นเดียวเท่านั้นที่ลากผ่านจุดสองจุดที่กำ�หนดให้ได้
3. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกีย่ วกับการตรวจสอบว่าเส้นตรงคูใ่ ดขนานกัน ถ้าใช้บทนิยามของเส้นขนานโดยตรง
หรือพิจารณาจากระยะห่างระหว่างเส้นตรงทั้งสองเส้นนั้นอาจไม่สะดวก ในทางคณิตศาสตร์ยังมีวิธีการอื่น ๆ อีก
ที่จะตรวจสอบ โดยพิจารณาจากขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด ขนาดของมุมแย้ง หรือ
ขนาดของมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด
4. ครูให้นักเรียนพิจารณารูปเส้นตัดตัดเส้นตรงสองเส้น ในหนังสือเรียน หน้า 134 เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักว่า มุมใด
บ้างทีเ่ ป็นมุมภายในบนข้างเดียวกันของเส้นตัด จากนัน
้ ครูควรใช้ “กิจกรรม : สำ�รวจผลรวมของขนาดของมุมภายใน
ทีอ
่ ยูบ
่ นข้างเดียวกันของเส้นตัด” ในหนังสือเรียน หน้า 134–136 ให้นก
ั เรียนได้ลงมือปฏิบต
ั ก
ิ จิ กรรม โดยนักเรียน
ต้องเขียนเส้นตัดและระบุว่ามุมคู่ใดบ้างที่เป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด พร้อมทั้งวัดขนาดของ
มุมเหล่านั้น จากนั้นให้นักเรียนสังเกตผลที่ได้จากกิจกรรมข้อ 1 และข้อ 2 แล้วสร้างข้อความคาดการณ์โดยใช้
ภาษาของตนเอง ซึ่ ง ครู ค วรยกตั ว อย่ า งที่ ห ลากหลายโดยอาจดาวน์ โ หลดไฟล์ GSP จากมุ ม เทคโนโลยี
ในหนังสือเรียน หน้า 134 เพื่อแสดงตัวอย่างให้นักเรียนสังเกตเพิ่มเติม แล้วร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปว่าข้อความ
คาดการณ์ที่ได้นั้น สอดคล้องกับสมบัติของเส้นขนานที่ว่า “ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วขนาด
ของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันเท่ากับ 180 องศา”
ในการทำ� “กิจกรรม : สำ�รวจผลรวมของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด” ข้างต้นนี้
ครูสามารถให้นักเรียนทำ�กิจกรรมโดยผ่านซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad แทนการทำ�กิจกรรม
ลงในหนังสือเรียน เนื่องจากช่วยให้ประหยัดเวลาในการทำ�กิจกรรม และสามารถปรับเปลี่ยนลักษณะของเส้นตรง
หรือมุมได้หลากหลาย โดยครูดาวน์โหลดไฟล์ GSP จากมุมเทคโนโลยี ในหนังสือเรียน หน้า 134 แล้วให้นก
ั เรียน
� �
สังเกตผลที่ได้จากการทำ�กิจกรรม โดยปรับเปลี่ยน AB หรือ CD หรือเส้นตัด XY ทำ�ให้ข้อความคาดการณ์ที่
สร้างมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 183

5. ครูเน้นกับนักเรียนให้สังเกตว่า สมบัติของเส้นขนานแสดงอยู่ในรูปประโยคมีเงื่อนไข “ถ้า...แล้ว…” สองประโยค


ซึ่งเป็นบทกลับของกันและกัน และทำ�ความเข้าใจว่า สามารถใช้ประโยคที่มีคำ�ว่า “ก็ต่อเมื่อ” แทนได้ เมื่อประโยค
มีเงื่อนไข “ถ้า...แล้ว…” เป็นประโยคมีเงื่อนไขที่เป็นจริง ดังในหนังสือเรียน หน้า 137 ในทางกลับกัน ประโยค
ที่มีคำ�ว่า “ก็ต่อเมื่อ” ที่เป็นจริงก็สามารถกล่าวโดยใช้ประโยคมีเงื่อนไข “ถ้า...แล้ว...” สองประโยคที่เป็นบทกลับ
ของกันและกันแทนได้
6. ครูอาจใช้ชวนคิด 3.1 ในหนังสือเรียน หน้า 137 เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิด สำ�รวจ และค้นหาคำ�ตอบด้วยตนเอง
เกีย
่ วกับผลรวมของขนาดของมุมภายในทีอ
่ ยูบ
่ นข้างซ้ายของเส้นตัดทีต
่ ด
ั เส้นตรงคูห
่ นึง่ ทีไ่ ม่ขนานกัน จากนัน
้ ครูให้
นักเรียนนำ�เสนอคำ�ตอบและแนวคิดในการหาคำ�ตอบ
7. ครูใช้ตัวอย่างในหนังสือเรียน หน้า 137–140 เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับสมบัติของ
เส้นขนาน โดยในตัวอย่างที่ 4 ครูควรสรุปให้นักเรียนเห็นว่า การขนานกันของเส้นตรงมีสมบัติถ่ายทอด
8. ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 3.1 : ภาพลวงตา” ในคู่มือครู หน้า 187 เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิดว่า ภาพที่เห็น
เหมือนกับสิ่งที่เป็นจริงหรือไม่ ซึ่งควรให้เหตุผลยืนยันได้โดยใช้สมบัติต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้มา
9. ครูฝึกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบฝึกหัด 3.1 ในหนังสือเรียน หน้า 140–142 โดยใน
แบบฝึกหัด 3.1 ข้อ 1 ข้อย่อย 4) ครูควรให้นักเรียนให้เหตุผลเพื่อสนับสนุนคำ�ตอบของตนเอง โดยนักเรียน
อาจตอบว่า เส้นตรงทั้งสองเส้นขนานกัน หรือเส้นตรงทั้งสองเส้นไม่ขนานกัน หรือไม่สามารถสรุปได้ โดยครูต้อง
คำ�นึงถึงเหตุผลที่สมเหตุสมผลในการตอบ
สำ�หรับแบบฝึกหัด 3.1 ข้อ 2 เป็นการนำ�ความรู้เรื่องสมการมาช่วยหาขนาดของมุมที่เกี่ยวกับเส้นขนาน
10. ครูอาจใช้ชวนคิด 3.2 ในหนังสือเรียน หน้า 142 ในการอภิปรายกับนักเรียนเกี่ยวกับขนาดของมุมภายในของ
รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก สมบัติของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก และผลรวมของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่ตัด
เส้นขนาน เพื่อระบุว่าด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากขนานกันหรือไม่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
184 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

กิจกรรม : สำ�รวจผลรวมของขนาดของมุมภายใน
ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้นักเรียนสำ�รวจผลรวมของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด โดย
นักเรียนต้องเขียนเส้นตัด ระบุและวัดขนาดของมุมภายในทีอ
่ ยูบ
่ นข้างเดียวกันของเส้นตัด เพือ
่ สังเกตและสร้างข้อความคาดการณ์
เกีย
่ วกับผลรวมของขนาดของมุมภายในทีอ
่ ยูบ
่ นข้างเดียวกันของเส้นตัด โดยมีสอ
ื่ /อุปกรณ์ และขัน
้ ตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
1. ไม้บรรทัด
2. โพรแทรกเตอร์

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
� �
1. ครูทบทวนมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด โดยครูอาจเขียนรูปเส้นตัด XY ตัด AB และ CD โดยให้
� �
จุด M และจุด N เป็นจุดตัดบน AB และ CD ตามลำ�ดับ และให้นักเรียนช่วยกันตอบว่า มุมคู่ใดบ้างที่เป็นมุมภายใน
ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด
2. ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรมข้อ 1 และข้อ 2 ในหนังสือเรียน หน้า 135–136 โดยให้นักเรียนเขียนเส้นตัด XY ให้เอียง
ทำ�มุมในแนวใดก็ได้ตามใจชอบ จากนั้นให้นักเรียนระบุว่า มุมคู่ใดเป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด
วัดขนาดของมุมเหล่านี้ และเติมลงในตารางให้สมบูรณ์
3. ครูให้นก
ั เรียนสังเกตตารางทีไ่ ด้ในข้อ 1 และข้อ 2 แล้วสร้างข้อความคาดการณ์เกีย่ วกับผลรวมของขนาดของมุมภายใน
ทีอ
่ ยูบ
่ นข้างเดียวกันของเส้นตัดกับการขนานกันของเส้นตรงคูน
่ น
ั้ เมือ
่ กำ�หนดเส้นตรงคูห
่ นึง่ มาให้ ด้วยภาษาของตนเอง
4. ครูให้นักเรียนนำ�เสนอข้อความคาดการณ์ที่ได้ จากนั้นครูอาจยกตัวอย่างเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่นักเรียนทำ�ลงใน
หนังสือเรียนหลาย ๆ ตัวอย่าง เพื่อให้นักเรียนเห็นจริงว่า ไม่ว่าเส้นตัด XY จะเอียงทำ�มุมในแนวใด ผลที่ได้ยังคง
เหมือนเดิม หรือครูอาจดาวน์โหลดไฟล์ GSP จากมุมเทคโนโลยี ในหนังสือเรียน หน้า 134 เพื่อแสดงตัวอย่างหรือ
ให้นักเรียนได้สำ�รวจเพิ่มเติม เพื่อสรุปว่าข้อความคาดการณ์ที่ได้สอดคล้องกับสมบัติของเส้นขนานที่ว่า “ถ้าเส้นตรง
สองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันเท่ากับ 180 องศา”

หมายเหตุ ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมเป็นรายบุคคล หรือเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่ม ขึ้นอยู่กับบริบทของห้องเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 185

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจผลรวมของขนาดของมุมภายใน
ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด
� � � �
1. ในแต่ละข้อกำ�หนดให้ AB และ CD ไม่ขนานกัน ให้นักเรียนเขียนเส้นตัด XY ตัด AB และ CD โดยให้จุด M
� �
และจุด N เป็นจุดตัดบน AB และ CD ตามลำ�ดับ จากนั้นให้ระบุว่า มุมคู่ใดบ้างที่เป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน
ของเส้นตัด XY พร้อมทั้งวัดขนาดของมุมเหล่านั้น แล้วเติมลงในตารางให้สมบูรณ์
1) ตัวอย่าง
ผลรวมของ
B ขนาดของ
X ขนาด
ชื่อมุม ของมุม มุมภายในที่อยู่
M บนข้างเดียวกัน
A
ของเส้นตัด XY
AM̂N 88°
C N D คู่ที่ 1 163°
Y CN̂M 75°
BM̂N 92°
คู่ที่ 2 197°
DN̂M 105°

2) ตัวอย่าง

A
ผลรวมของ
ขนาด มุมขนาดของ
ชื่อมุม ของมุ ม บนข้ภายในที
X ่อยู่
M างเดียวกัน
C B
ของเส้นตัด XY
AM̂N 69°
N คู่ที่ 1 170°
CN̂M 101°
Y
BM̂N 111°
D คู่ที่ 2 190°
DN̂M 79°

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
186 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

� � � �
2. ในแต่ละข้อกำ�หนดให้ AB และ CD ขนานกัน ให้นักเรียนเขียนเส้นตัด XY ตัด AB และ CD โดยให้จุด M และ
� �
จุด N เป็นจุดตัดบน AB และ CD ตามลำ�ดับ จากนั้นให้ระบุว่า มุมคู่ใดบ้างที่เป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของ
เส้นตัด XY พร้อมทั้งวัดขนาดของมุมเหล่านั้น แล้วเติมลงในตารางให้สมบูรณ์
1) ตัวอย่าง
ผลรวมของ
X ขนาดของ
ขนาด
A M B ชื่อมุม ของมุม มุมภายในที่อยู่
บนข้างเดียวกัน
ของเส้นตัด XY
AM̂N 51°
C N D คู่ที่ 1 180°
Y CN̂M 129°
BM̂N 129°
คู่ที่ 2 180°
DN̂M 51°

2) ตัวอย่าง
ผลรวมของ
B
ขนาดของ
X ขนาด
M ชื่อมุม ของมุม มุมภายในที่อยู่
A บนข้างเดียวกัน
ของเส้นตัด XY
AM̂N 95°
D คู่ที่ 1 180°
N CN̂M 85°
Y
C
BM̂N 85°
คู่ที่ 2 180°
DN̂M 95°

3. จากการทำ�กิจกรรมในข้อ 1 และข้อ 2 เมื่อกำ�หนดเส้นตรงคู่หนึ่งมาให้ นักเรียนได้ข้อความคาดการณ์อย่างไรเกี่ยวกับ


ผลรวมของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด กับการขนานกันของเส้นตรงคู่นั้น
ตัวอย่างคำ�ตอบ ✤ ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง และเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน แล้วขนาดของมุมภายในที่อยู่บน
ข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันเท่ากับ 180°
✤ ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วผลรวมของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน
ของเส้นตัดเท่ากับ 180°
✤ ถ้าเส้นตรงสองเส้นไม่ขนานกันและมีเส้นตัด แล้วผลรวมของขนาดของมุมภายในทีอ
่ ยูบ
่ นข้างเดียวกัน
ของเส้นตัดไม่เท่ากับ 180°
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 187

กิจกรรมเสนอแนะ 3.1 : ภาพลวงตา


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้นักเรียนตระหนักว่า ภาพที่เห็นอาจเป็นภาพลวงตา นักเรียนควรสังเกตภาพให้ถี่ถ้วน
ว่าเป็นดังที่เห็นหรือไม่ ซึ่งควรให้เหตุผลยืนยันได้โดยใช้สมบัติต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้มา โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนิน
กิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
1. ไม้บรรทัด
2. โพรแทรกเตอร์
3. ใบกิจกรรมเสนอแนะ 3.1 : ภาพลวงตา

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูนำ�เสนอภาพลวงตาในใบกิจกรรมเสนอแนะ 3.1 : ภาพลวงตา ในคู่มือครู หน้า 188 และร่วมสนทนากับ
นักเรียนว่า ภาพที่เห็นมีลักษณะอย่างไร
2. ครูให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า นักเรียนเชื่อในสิ่งที่เห็นหรือไม่ เพราะเหตุใด
3. ครูให้นก
ั เรียนนำ�เสนอแนวคิดสนับสนุนคำ�ตอบของตนเองหน้าชัน
้ เรียน จากนัน
้ ครูสรุปแนวคิดของนักเรียนทีน
่ �ำ เสนอ
และเน้นย้ำ�ว่า ภาพที่เห็นอาจไม่ได้เป็นอย่างที่คิด ดังนั้นการตัดสินจากสิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เป็นอยู่จริง จึงควรมี
หลักการในการตัดสินหรือสรุป
4. ครูกับนักเรียนอาจอภิปรายเพิ่มเติม เพื่อให้นักเรียนเชื่อมโยงได้ว่า การวัดระยะห่างระหว่างเส้นตรงคู่หนึ่ง ต้องสร้าง
เส้นจากจุดบนเส้นตรงเส้นหนึ่งไปตั้งฉากกับเส้นตรงอีกเส้นหนึ่ง ถ้าระยะห่างที่วัดจากจุดสองจุดที่แตกต่างกันบน
เส้นตรงเส้นหนึง่ เท่ากัน และจุดทัง้ สองนัน
้ อยูบ
่ นด้านเดียวกันของเส้นตรงอีกเส้นหนึง่ แล้วจึงจะสรุปได้วา่ เส้นตรงคูน
่ น
ั้
ขนานกัน

A E X B

C F Y D

หมายเหตุ ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมเป็นรายบุคคล หรือเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่ม ขึ้นอยู่กับบริบทของห้องเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
188 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 3.1 : ภาพลวงตา

ให้นักเรียนพิจารณาภาพต่อไปนี้

ภาพที่ 1 ภาพที่ 2

ภาพที่ 3

นักเรียนคิดว่า ในแต่ละภาพส่วนของเส้นตรงในแนวนอนทั้งหมดขนานกันหรือไม่ เพราะเหตุใด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 189

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 3.1 : ภาพลวงตา


ให้นักเรียนพิจารณาภาพต่อไปนี้

ภาพที่ 1 ภาพที่ 2

ภาพที่ 3

นักเรียนคิดว่า ในแต่ละภาพส่วนของเส้นตรงในแนวนอนทั้งหมดขนานกันหรือไม่ เพราะเหตุใด


ตัวอย่างคำ�ตอบ ✤ ขนานกัน เพราะว่า เมื่อวัดระยะห่างระหว่างส่วนของเส้นตรงแต่ละคู่ พบว่ามีระยะห่าง
เท่ากันเสมอ
✤ ขนานกัน เพราะว่า เมื่อเขียนเส้นตัดตัดส่วนของเส้นตรงแต่ละคู่ พบว่าขนาดของ
มุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันเท่ากับ 180 องศา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
190 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 3.1
เมื่อกำ�หนดเส้นตรงสองเส้นที่ไม่ขนานกันให้ และมีเส้นตัดตัดเส้นตรงสองเส้นนั้น ไม่ว่าเส้นตัดจะเอียงทำ�มุม
ipst.me/10077
ไปในแนวใดก็ตาม
1. ผลรวมของขนาดของมุมภายในทีอ
่ ยูบ
่ นข้างซ้ายของเส้นตัด จะเท่ากัน เนือ
่ งจาก เมือ
่ เราต่อเส้นทัง้ สอง
ในแนวของเส้นเดิม เส้นตรงทัง้ สองเส้นจะตัดกันและเกิดเป็นรูปสามเหลีย่ ม ซึง่ ไม่วา่ เส้นตัดจะเอียงทำ�มุมไป
แนวใดก็ตาม ขนาดของมุมทีจ่ ด
ุ ตัด P หรือจุดยอด (NP̂M) ของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ กิดขึน
้ จะเท่าเดิม ดังรูป

X B X B
M
M
C P C P
N D N D
A Y A Y

X B

C P
N D
A Y

เนื่องจากผลรวมของขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับ 180° จะได้ว่า


NP̂M + PM̂N + MN̂P = 180°
ดังนั้น PM̂N + MN̂P = 180 – NP̂M ซึ่งเป็นค่าคงตัว
และ PM̂N + MN̂P เป็นผลรวมของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างซ้ายของเส้นตัด
ดังนั้น ไม่ว่าเส้นตัดจะเอียงทำ�มุมไปในแนวใดก็ตาม ผลรวมของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างซ้าย
ของเส้นตัด จะเท่ากัน
2. ถ้าผลรวมของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างขวาของเส้นตัดน้อยกว่า 180° แล้วเมื่อต่อเส้นตรง
ทั้งสองเส้นในแนวของเส้นเดิม เส้นตรงทั้งสองเส้นนี้จะตัดกันทางข้างขวาของเส้นตัด ดังรูป

ชวนคิด 3.2
ขนานกัน เพราะว่ารูปสี่เหลี่ยมมุมฉากมีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก ทำ�ให้ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน
่ องรูปสีเ่ หลีย่ มมุมฉาก รวมกันได้ 180° จึงได้วา่ ด้านทีอ
ipst.me/10078
ของเส้นตัดทีต
่ ด
ั ด้านทีอ
่ ยูต
่ รงข้ามแต่ละคูข ่ ยูต
่ รงข้ามกัน
ขนานกันทุกคู่
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 191

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 3.1
� �
1. 1) AB และ CD ขนานกัน เพราะว่า ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันเท่ากับ
117 + 63 = 180 องศา
� �
2) AB และ CD ไม่ขนานกัน เพราะว่า ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันเท่ากับ
134 + 47 = 181 องศา ซึ่งไม่เท่ากับ 180 องศา
� �
3) AB และ CD ไม่ขนานกัน เพราะว่า DŶX = 180 – 91 = 89 องศา ทำ�ให้ขนาดของมุมภายในที่อยู่บน
ข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันเท่ากับ 90 + 89 = 179 องศา ซึ่งไม่เท่ากับ 180 องศา
� �
4) จากรูปที่กำ�หนดให้ ข้อมูลไม่เพียงพอที่จะตอบได้ว่า AB และ CD ขนานกันหรือไม่

2. แนวคิด ใช้สมบัติของเส้นขนานที่ว่า “ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วขนาดของมุมภายในที่อยู่


บนข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันเท่ากับ 180°” ในการสร้างสมการ จากนั้นแก้สมการเพื่อหาคำ�ตอบ
1) 79 2) 88 3) 60
4) 75 5) 5 หรือ -5
6) 20 (ใช้ขนาดของมุมตรง เพื่อหาขนาดของ QÂB ก่อน)

3. แนวคิด
A B
x° y°

60°
C D

� �
เนื่องจาก AB // CD
จะได้ x + 90 = 180 (ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่ตัด
เส้นขนานรวมกันเท่ากับ 180°)
ดังนั้น x = 90 (สมบัติของการเท่ากัน)
และ y + 60 = 180 (ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่ตัด
เส้นขนานรวมกันเท่ากับ 180°)
ดังนั้น y = 120 (สมบัติของการเท่ากัน)
นั่นคือ 2x – y = 2(90) – 120 = 60

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
192 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

4. แนวคิด
D C

53° 71°
A B

เนื่องจาก ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีด้าน AB ขนานกับด้าน CD


จะได้ AD̂C + 53 = 180 (ขนาดของมุ ม ภายในที่ อ ยู่ บ นข้ า งเดี ย วกั น ของเส้ น ตั ด ที่ ตั ด
เส้นขนานรวมกันเท่ากับ 180°)
ดังนั้น AD̂C = 127° (สมบัติของการเท่ากัน)
และ DĈB + 71 = 180 (ขนาดของมุ ม ภายในที่ อ ยู่ บ นข้ า งเดี ย วกั น ของเส้ น ตั ด ที่ ตั ด
เส้นขนานรวมกันเท่ากับ 180°)
ดังนั้น DĈB = 109° (สมบัติของการเท่ากัน)

5. แนวคิด
A

P K L

M
N
B

� � � � �
กำ�หนดให้ PL // MN มี AB เป็นเส้นตัด ตัด PL และ MN ที่จุด K และ M ตามลำ�ดับ
ต้องการพิสูจน์ว่า BM̂N = AK̂P
� � �
พิสูจน์ เนื่องจาก PL // MN มี AB เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)
จะได้ MK̂L + KM̂N = 180° (ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด
ที่ตัดเส้นขนานรวมกันเท่ากับ 180°)
เนื่องจาก BM̂N + KM̂N = 180° (ขนาดของมุมตรง)
จะได้ BM̂N + KM̂N = MK̂L + KM̂N (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น BM̂N = MK̂L (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก MK̂L = AK̂P (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาด
เท่ากัน)
ดังนั้น BM̂N = AK̂P (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 193

3.2 เส้นขนานและมุมแย้ง (2 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. บอกได้ว่า มุมคู่ใดเป็นมุมแย้ง เมื่อกำ�หนดให้เส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง
2. บอกได้ ว่ า เมื่ อ เส้ น ตรงเส้ น หนึ่ ง ตั ด เส้ น ตรงคู่ ห นึ่ ง เส้ น ตรงคู่ นั้ น ขนานกั น ก็ ต่ อ เมื่ อ มุ ม แย้ ง มี ข นาดเท่ า กั น
และนำ�สมบัตินี้ไปใช้

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
นักเรียนอาจเข้าใจผิดว่า มุมที่เป็นมุมแย้งกันมีขนาดเท่ากันเสมอ แต่ที่ถูกต้องคือ มุมแย้งเกิดจากเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้น
ตรงคู่หนึ่ง ซึ่งเส้นตรงคู่นั้นอาจขนานกันหรือไม่ขนานกันก็ได้ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงมุมแย้งทั่ว ๆ ไป จะสรุปว่ามีขนาดเท่ากันไม่ได้

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. อุปกรณ์ของกิจกรรม : สำ�รวจมุมแย้ง
2. ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad (GSP)
3. ใบกิจกรรมเสนอแนะ 3.2 : อยู่ตรงไหนบ้าง

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนีเ้ ป็นเรือ
่ งเกีย่ วกับเส้นขนานและมุมแย้ง มุง่ เน้นให้นก
ั เรียนตรวจสอบการขนานกันของเส้นตรงสองเส้นได้โดยใช้
มุมแย้ง โดยผ่านการให้เหตุผลและการใช้ความรู้เกี่ยวกับเส้นขนานและขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด
นอกจากนี้นักเรียนยังได้เห็นการพิสูจน์สมบัติของเส้นขนานและมุมแย้ง ซึ่งสามารถนำ�สมบัตินี้ไปใช้เป็นพื้นฐานในการให้เหตุผล
ทางเรขาคณิตต่อไป แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูควรให้นักเรียนพิจารณารูปเส้นตัดตัดเส้นตรงสองเส้น ในหนังสือเรียน หน้า 143 เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักว่า
มุมคู่ใดที่เป็นมุมแย้งกัน และครูควรทำ�ความเข้าใจกับนักเรียนเพิ่มเติมว่า มุมแย้งที่เกิดจากเส้นตรงเส้นหนึ่งตัด
เส้นตรงคู่หนึ่ง อาจเกิดจากเส้นตรงที่ขนานกันหรือไม่ขนานกันก็ได้
2. ครูควรใช้ “กิจกรรม : สำ�รวจมุมแย้ง” ในหนังสือเรียน หน้า 143–144 ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม
โดยนักเรียนต้องเขียนเส้นตัดและระบุว่ามุมคู่ใดบ้างที่เป็นมุมแย้งกัน พร้อมทั้งวัดขนาดของมุมเหล่านั้น จากนั้น
ครูเน้นให้นักเรียนสังเกตผลที่ได้จากกิจกรรมข้อ 1 และข้อ 2 แล้วสร้างข้อความคาดการณ์โดยใช้ภาษาของตนเอง
ซึ่งครูอาจยกตัวอย่างที่หลากหลายโดยดาวน์โหลดไฟล์ GSP จากมุมเทคโนโลยี ในหนังสือเรียน หน้า 143 เพื่อ
แสดงให้นักเรียนสังเกตเพิ่มเติม จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปว่าข้อความคาดการณ์ที่ได้
สอดคล้องกับสมบัติของเส้นขนานที่ว่า “ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน”

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
194 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ในการทำ� “กิจกรรม : สำ�รวจมุมแย้ง” ข้างต้นนี้ ครูสามารถให้นักเรียนทำ�กิจกรรมโดยใช้ซอฟต์แวร์


The Geometer’s Sketchpad แทนการทำ�กิจกรรมลงในหนังสือเรียน เนื่องจากช่วยให้ประหยัดเวลาในการทำ�
กิจกรรม และสามารถปรับเปลี่ยนลักษณะของเส้นตรงหรือมุมได้หลากหลาย โดยครูดาวน์โหลดไฟล์ GSP จาก

มุมเทคโนโลยี ในหนังสือเรียน หน้า 143 แล้วให้นักเรียนสังเกตผลที่ได้จากการทำ�กิจกรรม โดยปรับเปลี่ยน AB

หรือ CD หรือเส้นตัด XY ทำ�ให้ข้อความคาดการณ์ที่สร้างมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
หลังจากทีน
่ ก
ั เรียนได้ขอ
้ ความคาดการณ์ซงึ่ เป็นไปตามทฤษฎีบท “ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด
แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน” แล้ว ครูและนักเรียนควรช่วยกันพิสูจน์ทฤษฎีบทเพื่อให้นักเรียนเห็นจริง นอกจากนี้
ครูควรเน้นย้ำ�กับนักเรียนเพิ่มเติมว่า การอ้างด้วยสมบัติของมุมแย้ง ควรเขียนข้อความของสมบัตินั้นให้สมบูรณ์
ไม่ควรเขียนอ้างว่า “เพราะเป็นมุมแย้ง” หรือไม่ควรเขียนอ้างว่า “มุมแย้งย่อมมีขนาดเท่ากัน”
3. ครูร่วมอภิปรายกับนักเรียนว่า ในการตรวจสอบการขนานกันของเส้นตรงสองเส้น นอกจากจะพิจารณาจาก
ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่ตัดเส้นตรงทั้งสองแล้ว ยังสามารถพิจารณาจากขนาด
ของมุมแย้งได้ ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีบท “ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน
แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน” พร้อมทั้งร่วมกันพิสูจน์ทฤษฎีบทเพื่อให้นักเรียนเห็นจริง จากนั้นครูอธิบายเพิ่มเติม
ว่า ทฤษฎีบทนี้เป็นบทกลับของทฤษฎีบท “ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน”
ซึ่งเป็นประโยคมีเงื่อนไขที่เป็นจริงทั้งสองประโยค จึงสามารถใช้ประโยคที่มีคำ�ว่า “ก็ต่อเมื่อ” แทนได้ จึงได้เป็น
ทฤษฎีบท “เมื่อเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง เส้นตรงคู่นั้นขนานกัน ก็ต่อเมื่อ มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน”
4. ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 3.2 : อยู่ตรงไหนบ้าง” ในคู่มือครู หน้า 199 เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเชื่อมโยงความ
รู้เกี่ยวกับเส้นขนานและสมบัติของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เพื่อหาว่ามีรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานอยู่ในตำ�แหน่งใดบ้าง
สำ�หรับ “เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 3.2 : อยู่ตรงไหนบ้าง” มีไว้เพื่อเป็นแนวทางของครูในการตรวจสอบคำ�ตอบ
ของนักเรียน ซึ่งครูอาจให้นักเรียนเขียนตอบสั้น ๆ หรือแสดงคำ�ตอบด้วยวาจา ไม่มีเจตนาให้นักเรียนเขียนแสดง
เหตุผลในรูปแบบดังกล่าว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 195

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

มุมแย้งที่กล่าวถึงในบทเรียนจะเป็นมุมแย้งภายใน (alternate interior angles) เท่านั้น ในทางคณิตศาสตร์


กำ�หนดมุมแย้ง เป็นดังนี้
� � �
กำ�หนดให้ EF เป็นเส้นตัดตัด AB และ CD ดังรูป
E
A 2 1 B 8̂ และ 2̂ เป็นมุมแย้งภายนอก (alternate exterior angles)
3 4 7̂ และ 1̂ เป็นมุมแย้งภายนอก
3̂ และ 5̂ เป็นมุมแย้งภายใน
6 5
C 7 8 D 4̂ และ 6̂ เป็นมุมแย้งภายใน
เนื่องจาก ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน
F
จึงทำ�ให้ได้ 1̂ = 3̂ , 2̂ = 4̂ , 5̂ = 7̂ และ 6̂ = 8̂

ดังนัน
้ สมบัตต
ิ า่ ง ๆ ของเส้นขนานทีเ่ กีย่ วกับมุมแย้งภายใน จึงยังคงเป็นจริงสำ�หรับมุมแย้งภายนอกด้วย หนังสือ
หลายเล่มเมื่อกล่าวถึงสมบัติต่าง ๆ ของเส้นขนานเกี่ยวกับมุมแย้ง จึงไม่ระบุว่าเป็นมุมแย้งภายในหรือมุมแย้งภายนอก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
196 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

กิจกรรม : สำ�รวจมุมแย้ง
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้นักเรียนสำ�รวจมุมแย้ง โดยนักเรียนต้องเขียนเส้นตัด ระบุและวัดขนาดของมุมแย้ง
เพื่อสังเกตและสร้างข้อความคาดการณ์เกี่ยวกับขนาดของมุมแย้ง โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
1. ไม้บรรทัด
2. โพรแทรกเตอร์

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
� � �
1. ครูทบทวนมุมแย้ง โดยครูอาจเขียนรูปเส้นตัด XY ตัด AB และ CD โดยให้จุด M และจุด N เป็นจุดตัดบน AB

และ CD ตามลำ�ดับ และให้นักเรียนช่วยกันตอบว่า มุมคู่ใดบ้างที่เป็นมุมแย้งกัน
2. ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรมข้อ 1 และข้อ 2 ในหนังสือเรียน หน้า 143–144 โดยให้นักเรียนเขียนเส้นตัด XY ให้เอียง
ทำ�มุมในแนวใดก็ได้ตามใจชอบ จากนั้นให้นักเรียนระบุว่า มุมคู่ใดบ้างที่เป็นมุมแย้งกัน วัดขนาดของมุมเหล่านี้ และ
เติมลงในตารางให้สมบูรณ์
3. ครู ใ ห้ นั ก เรี ย นสั ง เกตตารางที่ ไ ด้ ใ นข้ อ 1 และข้ อ 2 แล้ ว สร้ า งข้ อ ความคาดการณ์ เ กี่ ย วกั บ ขนาดของมุ ม แย้ ง กั บ
การขนานกันของเส้นตรงคู่นั้น เมื่อกำ�หนดเส้นตรงคู่หนึ่งมาให้ ด้วยภาษาของตนเอง
4. ครูให้นักเรียนนำ�เสนอข้อความคาดการณ์ที่ได้ จากนั้นครูอาจยกตัวอย่างเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่นักเรียนทำ�ลงใน
หนังสือเรียนหลาย ๆ ตัวอย่าง เพื่อให้นักเรียนเห็นจริงว่า ไม่ว่าเส้นตัด XY จะเอียงทำ�มุมในแนวใด ผลที่ได้ยังคง
เหมือนเดิม หรือครูอาจดาวน์โหลดไฟล์ GSP จากมุมเทคโนโลยี ในหนังสือเรียน หน้า 143 เพื่อแสดงตัวอย่างหรือ
ให้นักเรียนได้สำ�รวจเพิ่มเติม เพื่อสรุปว่าข้อความคาดการณ์ที่ได้สอดคล้องกับสมบัติของเส้นขนานที่ว่า “ถ้าเส้นตรง
สองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน”

หมายเหตุ ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมเป็นรายบุคคล หรือเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่ม ขึ้นอยู่กับบริบทของห้องเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 197

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจมุมแย้ง
� � � �
1. ในแต่ละข้อกำ�หนดให้ AB และ  CD ไม่ขนานกัน ให้นักเรียนเขียนเส้นตัด XY ตัด AB และ   CD โดยให้ จุด M
� �
และจุด N เป็นจุดตัดบน AB และ    CD ตามลำ�ดับ จากนั้นให้ระบุว่า มุมคู่ใดบ้างที่เป็นมุมแย้งกัน พร้อมทั้งวัดขนาด
ของมุมเหล่านั้น แล้วเติมลงในตารางให้สมบูรณ์
1) ตัวอย่าง
B ชื่อมุม ขนาดของมุม
X
M AM̂N 88°
A คู่ที่ 1
DN̂M 105°
BM̂N 92°
C N D คู่ที่ 2
Y CN̂M 75°

2) ตัวอย่าง
A
ชื่อมุม ขนาดของมุม
X
M AM̂N 69°
คู่ที่ 1
C B
DN̂M 79°
BM̂N 111°
N คู่ที่ 2
Y CN̂M 101°

� � � �
2. ในแต่ละข้อกำ�หนดให้ AB และ   CD ขนานกัน ให้นักเรียนเขียนเส้นตัด XY ตัด AB และ CD โดยให้ จุด M
� �
และจุด N เป็นจุดตัดบน AB และ   CD ตามลำ�ดับ จากนั้นให้ระบุว่า มุมคู่ใดบ้างที่เป็นมุมแย้งกัน พร้อมทั้งวัดขนาดของ
มุมเหล่านั้น แล้วเติมลงในตารางให้สมบูรณ์
1) ตัวอย่าง

X
ชื่อมุม ขนาดของมุม
A M B
AM̂N 51°
คู่ที่ 1
DN̂M 51°
BM̂N 129°
C N D คู่ที่ 2
Y CN̂M 129°

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
198 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2) ตัวอย่าง
B
ชื่อมุม ขนาดของมุม
X
M
A AM̂N 95°
คู่ที่ 1
DN̂M 95°

D BM̂N 85°
N คู่ที่ 2
CN̂M 85°
C Y

3. จากตารางในข้อ 1 และ 2 ให้นักเรียนสังเกตและสร้างข้อความคาดการณ์เกี่ยวกับขนาดของมุมแย้ง กับการขนานกันของ


เส้นตรงคู่นั้น
ตัวอย่างคำ�ตอบ ✤ ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน
✤ ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง และเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน
✤ ถ้าเส้นตรงสองเส้นไม่ขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดไม่เท่ากัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 199

กิจกรรมเสนอแนะ 3.2 : อยู่ตรงไหนบ้าง


กิ จ กรรมนี้ เป็ น กิ จ กรรมที่ ต้ อ งการให้ นั ก เรี ย นได้ ฝึ ก ใช้ ส มบั ติ ข องเส้ น ขนานและสมบั ติ ต่ า ง ๆ ของรู ป เรขาคณิ ต ที่
เคยเรียนมาในการให้เหตุผลเพื่อแก้ปัญหา โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 3.2 : อยู่ตรงไหนบ้าง

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูทบทวนสมบัติของเส้นขนาน สมบัติของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน สมบัติเกี่ยวกับขนาดของมุมภายในรูปสามเหลี่ยม
ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม ที่นักเรียนเคยเรียนมาแล้ว เพื่อใช้ในการให้เหตุผลประกอบการทำ�
กิจกรรม
2. ครูให้นักเรียนค้นหารูปสี่เหลี่ยมด้านขนานโดยทำ�ใบกิจกรรมเสนอแนะ 3.2 : อยู่ตรงไหนบ้าง ในคู่มือครู หน้า 200
และอภิปรายร่วมกันว่า รูปสีเ่ หลีย่ มด้านขนานซ่อนอยูต
่ รงไหน และมีแนวคิดในการค้นหารูปสีเ่ หลีย่ มด้านขนานอย่างไร
3. ครูให้นักเรียนนำ�เสนอคำ�ตอบและแนวคิดสนับสนุนคำ�ตอบของตนเองหน้าชั้นเรียน จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกัน
อภิปรายเพื่อสรุปแนวคิดในการได้มาซึ่งคำ�ตอบ
4. สำ�หรับ “กิจกรรมเสนอแนะ 3.2 : อยู่ตรงไหนบ้าง” ไม่ต้องการให้นักเรียนระบุได้ว่า รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่ซ่อนอยู่
ในรู ป นี้ มี ทั้ ง หมดกี่ รู ป หรื อ ระบุ ไ ด้ ด้ ว ยการวั ด ครู ค วรให้ นั ก เรี ย นอภิ ป รายถึ ง เหตุ ผ ลที่ ไ ด้ ม าซึ่ ง คำ � ตอบ ทั้ ง นี้
นักเรียนสามารถระบุชื่อของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานได้หลายรูป ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ที่นักเรียนมี ครูควรพิจารณา
ความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบและแนวคิดที่นักเรียนนำ�เสนออย่างถี่ถ้วน

หมายเหตุ ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมเป็นรายบุคคล หรือเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่ม ขึ้นอยู่กับบริบทของห้องเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
200 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 3.2 : อยู่ตรงไหนบ้าง

D F C

35°
H

55°
A B
E

จากรูป กำ�หนดให้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ให้นักเรียนหาว่า มีรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานซ่อนอยู่


ตรงไหนบ้าง พร้อมทั้งบอกเหตุผลในการระบุว่ารูปนั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

สรุปคำ�ตอบ นักเรียนสามารถหารูปสี่เหลี่ยมด้านขนานได้ รูป ได้แก่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 201

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 3.2 : อยู่ตรงไหนบ้าง


D F C

35°
H

55°
A B
E

จากรู ป กำ � หนดให้ ABCD เป็ น รู ป สี่ เ หลี่ ย มผื น ผ้ า ให้ นั ก เรี ย นหาว่ า มี รู ป สี่ เ หลี่ ย มด้ า นขนานซ่ อ นอยู่
ตรงไหนบ้าง พร้อมทั้งบอกเหตุผลในการระบุว่ารูปนั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

สรุปคำ�ตอบ นักเรียนสามารถหารูปสี่เหลี่ยมด้านขนานได้ 4 รูป ได้แก่ ■ABCD


■EBFD, ■AECF และ ■GEHF
แนวคิด
1) ■ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เนื่องจาก ■ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

2) ■EBFD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
จาก ∆ADE จะได้ 90 + 35 + DÊA = 180 (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกัน
เท่ากับ 180°)
ดังนั้น DÊA = 55° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 55 + DÊB = 180 (ขนาดของมุมตรง)
จะได้ DÊB = 125° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก DÊB + FB̂E = 125 + 55 = 180° (สมบัติของการเท่ากัน)
จะได้ว่า DE // FB (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้ขนาดของ
มุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกัน
เท่ากับ 180° แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)
เนื่องจาก EB // DF (EB เป็นส่วนหนึ่งของ AB และ DF เป็นส่วนหนึ่งของ DC
ซึ่ง AB // DC)
ดังนั้น ■EBFD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (มีด้านตรงข้ามขนานกันสองคู่)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
202 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

3) ■AECF เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
เนื่องจาก CB̂F = 90 – 55 = 35° (มุมภายในแต่ละมุมของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาด 90°
และกำ�หนดให้ EB̂F = 55°)
พิจารณา ∆EAD และ ∆FCB
AD̂E = CB̂F = 35° (สมบัติของการเท่ากัน)
AD = CB (ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวเท่ากัน)
DÂE = BĈF = 90° (มุมภายในแต่ละมุมของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาด 90°)
ดังนั้น ∆EAD ≅ ∆FCB (ม.ด.ม.)
จะได้ AE = CF (ด้านคูท
่ สี่ มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
AB = CD (ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวเท่ากัน)
จะได้ AE + EB = CF + FD (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น EB = FD (AE = CF จากการพิสูจน์ข้างต้น และสมบัติของ
การเท่ากัน)
พิจารณา ∆AFD และ ∆CEB
FD = EB (จากการพิสูจน์ข้างต้น)
FD̂A = EB̂C (มุมภายในแต่ละมุมของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาด 90°)
AD = CB (ด้านตรงข้ามของ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวเท่ากัน)
ดังนั้น ∆AFD ≅ ∆CEB (ด.ม.ด.)
จะได้ AF = CE (ด้านคูท
่ สี่ มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
จะได้ว่า ■AECF เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (มีด้านตรงข้ามยาวเท่ากันสองคู่)

4) ■GEHF เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
เนื่องจาก GE // FH (จากข้อ 2) พิสูจน์แล้วว่า ■EBFD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน และ
GE เป็นส่วนหนึ่งของ DE FH เป็นส่วนหนึ่งของ FB ซึ่ง DE // FB)
และ GF // EH (จากข้อ 3) พิสูจน์แล้วว่า ■AECF เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน และ
GF เป็นส่วนหนึ่งของ AF EH เป็นส่วนหนึ่งของ EC ซึ่ง AF // EC)
ดังนั้น ■GEHF เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (มีด้านตรงข้ามขนานกันสองคู่)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 203

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 3.2 ก
1. แนวคิด M

B A

N F

� �
MÂB = AB̂N เพราะว่า BN // MF และมี AB เป็นเส้นตัด ทำ�ให้มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน

2. แนวคิด B

E
M

Y A K
N

� � �
MÊA = EÂK ( EM // KY และมี BN เป็นเส้นตัด ทำ�ให้มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
� �
EÂK = YÂN ( BN ตัดกับ KY ทำ�ให้มุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
จะได้ MÊA = YÂN (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น MÊA = EÂK = YÂN (สมบัติของการเท่ากัน)

3. แนวคิด D
E
A

54° O

C B

เนื่องจาก AÔC + CÔB = 180° (ขนาดของมุมตรง)


จะได้ CÔB = 180 – 54 = 126° (AÔC = 54°)
ดังนั้น OB̂E = 126° (CD // BE และมี AB เป็นเส้นตัด ทำ�ให้มุมแย้งมี
ขนาดเท่ากัน)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
204 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

4. แนวคิด
A
D
76°

E
55°
B
C

เนื่องจาก 55 + BĈD = 180 (ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่ตัดเส้นขนาน


รวมกันเท่ากับ 180°)
จะได้ BĈD = 125° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 125 + DĈE = 180 (ขนาดของมุมตรง)
จะได้ DĈE = 55° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก AĈD = 76° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น AĈE = AĈD + DĈE = 76 + 55 = 131°

5. แนวคิด
B A
115°

C 105°
F

E D

� � � �
ลาก CF ให้ขนานกับ BA จะได้ CF ขนานกับ DE ด้วย (สมบัติถ่ายทอดของการขนาน)
เนื่องจาก BĈF + 115 = 180 (ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่ตัดเส้นขนาน
รวมกันเท่ากับ 180°)
ดังนั้น BĈF = 65° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก BĈF + FĈD = 105° (กำ�หนดให้)
จะได้ 65 + FĈD = 105 (สมบัติของการเท่ากัน)
FĈD = 40° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก FĈD = CD̂E (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
นั่นคือ CD̂E = 40° (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 205

6. แนวคิด
A
B

C
D

กำ�หนดให้ AB // CD และ BC // DE
ต้องการพิสูจน์ว่า AB̂C = CD̂E
พิสูจน์ เนื่องจาก AB // CD (กำ�หนดให้)
จะได้ AB̂C = BĈD (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก BC // DE (กำ�หนดให้)
จะได้ BĈD = CD̂E (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น AB̂C = CD̂E (สมบัติของการเท่ากัน)

7. แนวคิด
P R

A C
B

Q S

กำ�หนดให้ PQ // RS โดยมี AC ตัด PQ และ RS ที่จุด A และจุด B ตามลำ�ดับ


ต้องการพิสูจน์ว่า PÂC = RB̂C
พิสูจน์ เนื่องจาก PQ // RS (กำ�หนดให้)
จะได้ PÂC = AB̂S (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก AB̂S = RB̂C (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น PÂC = RB̂C (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
206 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

8. แนวคิด
D C

A B
E

กำ�หนดให้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน


E เป็นจุดกึ่งกลางของ AB
และส่วนต่อของทั้ง DE และ CB ตัดกันที่จุด F
ต้องการพิสูจน์ว่า DE = FE
พิสูจน์ พิจารณา ∆AED และ ∆BEF
เนื่องจาก AD // BC (ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ขนานกัน)
จะได้ DÂE = FB̂E (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
AE = BE (E เป็นจุดกึ่งกลางของ AB)
AÊD = BÊF (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น ∆AED ≅ ∆BEF (ม.ด.ม.)
จะได้ DE = FE (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน )

แบบฝึกหัด 3.2 ข
1.
1) A
E

B C

เนื่องจาก EÂC = AĈB (กำ�หนดให้)


และเนื่องจาก EÂC และ AĈB เป็นมุมแย้งกัน

ดังนั้น AE // BC (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้มุมแย้งมีขนาด
เท่ากัน แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 207

2) A B

D
C N
M

เนื่องจาก AD̂C = BĈN (กำ�หนดให้)


และ BĈN = DĈM (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
จะได้ AD̂C = DĈM (สมบัติของการเท่ากัน)
และเนื่องจาก AD̂C และ DĈM เป็นมุมแย้งกัน

ดังนั้น AD // BM (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน
แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)

3)
S R
110° 100°

110° 100°
P Q

� � �
เนื่องจาก SR และ PQ มี SP เป็นเส้นตัด ทำ�ให้มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน คือ 110°
� �
ดังนั้น SR // PQ
� � �
หรือเนื่องจาก SR และ PQ มี RQ เป็นเส้นตัด ทำ�ให้มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน คือ 100°
� �
ดังนั้น SR // PQ

4) E

40° D
C 30°

40° B

ไม่มีส่วนของเส้นตรงคู่ใดขนานกัน เพราะไม่มีมุมแย้งคู่ใดมีขนาดเท่ากัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
208 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2. แนวคิด
E
A B
38° °
y° 82

38° x°
C D
F

เนื่องจาก AÊC = EĈF = 38° (กำ�หนดให้)


ดังนั้น AB // CD (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน
แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)
จะได้ x + 82 = 180 (ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่ตัดเส้นขนาน
รวมกันเท่ากับ 180°)
ดังนั้น x = 98 (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 38 + y + 82 = 180 (ขนาดของมุมตรง)
จะได้ y = 60 (สมบัติของการเท่ากัน)

3. แนวคิด
C B

A D

กำ�หนดให้ AB และ CD แบ่งครึ่งซึ่งกันและกันที่จุด O


ต้องการพิสูจน์ว่า AD = BC และ AD // BC
พิสูจน์ พิจารณา ∆AOD และ ∆BOC
AO = BO (AB และ CD แบ่งครึ่งซึ่งกันและกันที่จุด O)
AÔD = BÔC (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
DO = CO (AB และ CD แบ่งครึ่งซึ่งกันและกันที่จุด O)
ดังนั้น ∆AOD ≅ ∆BOC (ด.ม.ด.)
จะได้ AD = BC (ด้านคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน)
และจะได้ AD̂O = BĈO (มุมคูท
่ ส่ี มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก AD̂O และ BĈO เป็นมุมแย้งกัน
ดังนั้น AD // BC (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน
แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 209

4. แนวคิด
C

5
1 3 2 4
A D
B

กำ�หนดให้ CÂB = EB̂D และ AB̂C = BD̂E หรือ 1̂ = 2̂ และ 3̂ = 4̂


ต้องการพิสูจน์ว่า AC // BE และ BC // DE
พิสูจน์ 3̂ + 5̂ + 2̂ = 180° (ขนาดของมุมตรง)
1̂ = 2̂ (กำ�หนดให้)
จะได้ 3̂ + 5̂ + 1̂ = 180° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 3̂ + 5̂ และ 1̂ เป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่ตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง
ดังนั้น AC // BE (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้ขนาดของมุมภายใน
ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันเท่ากับ 180° แล้วเส้นตรง
คู่นั้นขนานกัน)
ในทำ�นองเดียวกันจะพิสูจน์ได้ว่า BC // DE

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
210 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

3.3 เส้นขนานและมุมภายนอกกับมุมภายใน (3 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. บอกได้ว่า มุมคู่ใดเป็นมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด เมื่อกำ�หนดให้เส้นตรง
เส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง
2. บอกได้ว่า เมื่อเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง เส้นตรงคู่นั้นขนานกัน ก็ต่อเมื่อ มุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่
ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน และนำ�สมบัตินี้ไปใช้

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. อุปกรณ์ของกิจกรรม : สำ�รวจมุมภายนอกและมุมภายใน
2. ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad (GSP)

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนีเ้ ป็นเรือ
่ งเกีย่ วกับเส้นขนานและมุมภายนอกกับมุมภายใน มุง่ เน้นให้นก
ั เรียนตรวจสอบการขนานกันของเส้นตรง
สองเส้นได้ โดยใช้มุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด ผ่านการให้เหตุผลและการใช้ความรู้
เกี่ยวกับเส้นขนาน ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด หรือขนาดของมุมแย้ง นอกจากนี้นักเรียนยังได้เห็น
การพิสจู น์สมบัตข
ิ องเส้นขนานและมุมภายนอกกับมุมภายใน ซึง่ สามารถนำ�สมบัตน
ิ ไี้ ปใช้เป็นพืน
้ ฐานในการให้เหตุผลทางเรขาคณิต
ต่อไป แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูควรให้นักเรียนพิจารณารูปเส้นตัดตัดเส้นตรงสองเส้น ในหนังสือเรียน หน้า 153 เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักว่า
มุมคู่ใดบ้างที่เป็นมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด
2. ครูใช้ “กิจกรรม : สำ�รวจมุมภายนอกและมุมภายใน” ในหนังสือเรียน หน้า 153–155 ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ
กิจกรรม โดยนักเรียนต้องเขียนเส้นตัดและระบุว่ามุมคู่ใดบ้างที่เป็นมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบน
ข้างเดียวกันของเส้นตัด พร้อมทั้งวัดขนาดของมุมเหล่านั้น จากนั้นครูเน้นให้นักเรียนสังเกตผลที่ได้จากกิจกรรม
ข้อ 1 และข้อ 2 แล้วสร้างข้อความคาดการณ์โดยใช้ภาษาของตนเอง ซึ่งครูอาจยกตัวอย่างที่หลากหลาย
โดยดาวน์โหลดไฟล์ GSP จากมุมเทคโนโลยี ในหนังสือเรียน หน้า 153 เพื่อแสดงให้นักเรียนสังเกตเพิ่มเติม
จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปว่าข้อความคาดการณ์ที่ได้สอดคล้องกับสมบัติของเส้นขนานที่ว่า
“ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของ
เส้นตัดมีขนาดเท่ากัน”
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 211

ในการทำ� “กิจกรรม : สำ�รวจมุมภายนอกและมุมภายใน” ข้างต้นนี้ ครูสามารถให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม


ผ่านซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad แทนการทำ�กิจกรรมลงในหนังสือเรียน เนือ
่ งจากช่วยให้ประหยัด
เวลาในการทำ�กิจกรรม และสามารถปรับเปลีย่ นลักษณะของเส้นตรงหรือมุมได้หลากหลาย โดยครูดาวน์โหลดไฟล์
GSP จากมุมเทคโนโลยี ในหนังสือเรียน หน้า 153 แล้วให้นักเรียนสังเกตผลที่ได้จากการทำ�กิจกรรม โดยปรับ
� �
เปลี่ยน AB หรือ CD หรือเส้นตัด XY ทำ�ให้ข้อความคาดการณ์ที่สร้างมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
หลังจากทีน
่ ก
ั เรียนได้ขอ
้ ความคาดการณ์ซงึ่ เป็นไปตามทฤษฎีบท “ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด
แล้วมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน” แล้ว ครูและนักเรียนควร
ช่วยกันพิสูจน์ทฤษฎีบทเพื่อให้นักเรียนเห็นจริง ซึ่งวิธีพิสูจน์ที่นำ�เสนอในหนังสือเรียนใช้สมบัติของเส้นขนาน
เกี่ยวกับมุมแย้ง ครูอาจแนะนำ�ให้นักเรียนพิสูจน์โดยใช้สมบัติของเส้นขนานเกี่ยวกับผลรวมของขนาดมุมภายใน
ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด เพื่อให้เห็นความหลากหลายของวิธีการพิสูจน์ก็ได้ ดังการพิสูจน์ต่อไปนี้

E
A 1 2 B
3 4

5 6
C 7 8 D

� � �
กำ�หนดให้ AB // CD มี EF เป็นเส้นตัด
ต้องการพิสูจน์ว่า 1̂ = 5̂ , 2̂ = 6̂ , 7̂ = 3̂ และ 8̂ = 4̂
� �
พิสูจน์ เนื่องจาก AB // CD (กำ�หนดให้)
จะได้ 5̂ + 3̂ = 180° (ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่ตัดเส้นขนาน
รวมกันเท่ากับ 180°)
เนื่องจาก 1̂ + 3̂ = 180° (ขนาดของมุมตรง)
จะได้ 1̂ + 3̂ = 5̂ + 3̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น 1̂ = 5̂ (สมบัติของการเท่ากัน)

การพิสูจน์ว่า 2̂ = 6̂ , 7̂ = 3̂ และ 8̂ = 4̂ อาจให้นักเรียนลองพิสูจน์โดยใช้สมบัติดังตัวอย่างข้างต้นก็ได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
212 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

3. ครูรว่ มอภิปรายกับนักเรียนว่า ในการตรวจสอบการขนานกันของเส้นตรงสองเส้น นอกจากจะพิจารณาจากขนาด


ของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดและขนาดของมุมแย้งแล้ว ยังสามารถพิจารณาจากขนาดของ
มุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดได้ ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีบท “ถ้าเส้นตรง
เส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้มุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด มีขนาด
เท่ากัน แล้วเส้นตรงคูน
่ น
้ั ขนานกัน” และอธิบายเพิม
่ เติมว่าทฤษฎีบทนีเ้ ป็นบทกลับของทฤษฎีบท “ถ้าเส้นตรงสองเส้น
ขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด มีขนาดเท่ากัน”
จากนั้นร่วมกันพิสูจน์ทฤษฎีบทเพื่อให้นักเรียนเห็นจริง ซึ่งวิธีพิสูจน์ที่นำ�เสนอในหนังสือเรียนใช้ผลรวมของ
ขนาดมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด ครูอาจแนะนำ�ให้นักเรียนพิสูจน์โดยใช้สมบัติของเส้นขนาน
เกี่ยวกับมุมแย้ง เพื่อให้เห็นความหลากหลายของวิธีการพิสูจน์ก็ได้ ดังการพิสูจน์ต่อไปนี้

X
A B
M

C N D
Y

� � �
กำ�หนดให้ XY ตัด AB และ CD ที่จุด M และ N ตามลำ�ดับ ทำ�ให้ AM̂X = CN̂M
� �
ต้องการพิสูจน์ว่า AB // CD
พิสูจน์ เนื่องจาก AM̂X = BM̂N (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
และ AM̂X = CN̂M (กำ�หนดให้)
จะได้ BM̂N = CN̂M (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก BM̂N และ CN̂M เป็นมุมแย้งที่มีขนาดเท่ากัน
� �
ดังนั้น AB // CD (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้มุมแย้ง
มีขนาดเท่ากัน แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)

4. ครูอาจใช้ชวนคิด 3.3 ในหนังสือเรียน หน้า 162 ให้นักเรียนฝึกแก้ปัญหาโดยใช้สมบัติของเส้นขนานที่ได้เรียน


มาแล้ว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 213

กิจกรรม : สำ�รวจมุมภายนอกและมุมภายใน
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้นักเรียนสำ�รวจมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด
โดยนักเรียนต้องเขียนเส้นตัด ระบุและวัดขนาดของมุมภายนอกและมุมภายใน เพื่อสังเกตและสร้างข้อความคาดการณ์เกี่ยวกับ
ขนาดของมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
1. ไม้บรรทัด
2. โพรแทรกเตอร์

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม

1. ครูทบทวนมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด โดยครูอาจเขียนเส้นตัด XY ตัด AB
� � �
และ CD โดยให้จุด M และจุด N เป็นจุดตัดบน AB และ CD ตามลำ�ดับ และให้นักเรียนช่วยกันตอบว่า
มุมคู่ใดบ้างที่เป็นมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด
2. ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรมข้อ 1 และข้อ 2 ในหนังสือเรียน หน้า 153–155 โดยให้นักเรียนเขียนเส้นตัด XY ให้เอียง
ทำ�มุมในแนวใดก็ได้ตามใจชอบ จากนั้นให้นักเรียนระบุว่า มุมคู่ใดบ้างที่เป็นมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้าม
บนข้างเดียวกันของเส้นตัด วัดขนาดของมุมเหล่านี้ และเติมลงในตารางให้สมบูรณ์
3. ครูให้นักเรียนสังเกตตารางที่ได้ในข้อ 1 และข้อ 2 แล้วสร้างข้อความคาดการณ์เกี่ยวกับขนาดของมุมภายนอกและ
มุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดกับการขนานกันของเส้นตรงคู่นั้น เมื่อกำ�หนดเส้นตรงคู่หนึ่งมาให้
ด้วยภาษาของตนเอง
4. ครูให้นักเรียนนำ�เสนอข้อความคาดการณ์ที่ได้ จากนั้นครูอาจยกตัวอย่างเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่นักเรียนทำ�ลงใน
หนังสือเรียนหลาย ๆ ตัวอย่าง เพื่อให้นักเรียนเห็นจริงว่า ไม่ว่าเส้นตัด XY จะเอียงทำ�มุมในแนวใด ผลที่ได้ยังคง
เหมือนเดิม หรือครูอาจดาวน์โหลดไฟล์ GSP จากมุมเทคโนโลยี ในหนังสือเรียน หน้า 153 เพื่อแสดงตัวอย่างหรือ
ให้นักเรียนได้สำ�รวจเพิ่มเติม เพื่อสรุปว่าข้อความคาดการณ์ที่ได้สอดคล้องกับสมบัติของเส้นขนานที่ว่า “ถ้าเส้นตรง
สองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและมุมภายในทีอ
่ ยูต
่ รงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน”

หมายเหตุ ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมเป็นรายบุคคล หรือเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่ม ขึ้นอยู่กับบริบทของห้องเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
214 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจมุมภายนอกและมุมภายใน
� � � �
1. ในแต่ละข้อกำ�หนดให้ AB และ CD ไม่ขนานกัน ให้นักเรียนเขียนเส้นตัด XY ตัด AB และ CD โดยให้ จุด M และ
� �
จุด N เป็นจุดตัดบน AB และ CD ตามลำ�ดับ จากนัน
้ ให้ระบุวา่ มุมคูใ่ ดบ้างทีเ่ ป็นมุมภายนอกและมุมภายในทีอ
่ ยูต
่ รงข้าม
บนข้างเดียวกันของเส้นตัด พร้อมทั้งวัดขนาดของมุมเหล่านั้น แล้วเติมลงในตารางให้สมบูรณ์
1) ตัวอย่าง
มุม ชื่อมุม ขนาดของมุม
มุมภายนอก AM̂X 92°
คู่ที่ 1
X
B มุมภายใน CN̂M 75°
มุมภายนอก BM̂X 88°
A M คู่ที่ 2
มุมภายใน DN̂M 105°
มุมภายนอก CN̂Y 105°
C N D คู่ที่ 3
Y มุมภายใน AM̂N 88°
มุมภายนอก DN̂Y 75°
คู่ที่ 4
มุมภายใน BM̂N 92°

2) ตัวอย่าง
มุม ชื่อมุม ขนาดของมุม
A มุมภายนอก AM̂X 111°
คู่ที่ 1
X มุมภายใน CN̂M 101°
M
มุมภายนอก BM̂X 69°
C B คู่ที่ 2
มุมภายใน DN̂M 79°
N มุมภายนอก CN̂Y 79°
Y คู่ที่ 3
มุมภายใน AM̂N 69°
D
มุมภายนอก DN̂Y 101°
คู่ที่ 4
มุมภายใน BM̂N 111°

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 215

� � � �
2. ในแต่ละข้อกำ�หนดให้ AB และ CD ขนานกัน ให้นักเรียนเขียนเส้นตัด XY ตัด AB และ CD โดยให้ จุด M และจุด N
� �
เป็นจุดตัดบน AB และ CD ตามลำ�ดับ จากนั้นให้ระบุว่า มุมคู่ใดบ้างที่เป็นมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้าม
บนข้างเดียวกันของเส้นตัด พร้อมทั้งวัดขนาดของมุมเหล่านั้น แล้วเติมลงในตารางให้สมบูรณ์
1) ตัวอย่าง
มุม ชื่อมุม ขนาดของมุม
มุมภายนอก AM̂X 129°
คู่ที่ 1
มุมภายใน CN̂M 129°
X
A M B มุมภายนอก BM̂X 51°
คู่ที่ 2
มุมภายใน DN̂M 51°
มุมภายนอก CN̂Y 51°
C N D คู่ที่ 3
มุมภายใน AM̂N 51°
Y
มุมภายนอก DN̂Y 129°
คู่ที่ 4
มุมภายใน BM̂N 129°

2) ตัวอย่าง

B มุม ชื่อมุม ขนาดของมุม


X มุมภายนอก AM̂X 85°
คู่ที่ 1
A M
มุมภายใน CN̂M 85°
มุมภายนอก BM̂X 95°
คู่ที่ 2
มุมภายใน DN̂M 95°
D
N มุมภายนอก 95°
CN̂Y
คู่ที่ 3
Y มุมภายใน AM̂N 95°
C
มุมภายนอก DN̂Y 85°
คู่ที่ 4
มุมภายใน BM̂N 85°

3. จากตารางในข้อ 1 และข้อ 2 ให้นักเรียนสังเกตและสร้างข้อความคาดการณ์เกี่ยวกับขนาดของมุมภายนอกและ


ขนาดของมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด กับการขนานกันของเส้นตรงคู่นั้น
ตัวอย่างคำ�ตอบ ✤ ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้าม
บนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน
✤ ถ้าเส้นตรงสองเส้นไม่ขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้าม
บนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดไม่เท่ากัน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
216 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 3.3
แนวคิดในการหาคำ�ตอบข้อนี้มีได้หลากหลาย นักเรียนอาจจะใช้สมบัติของเส้นขนานเกี่ยวกับมุมภายในที่อยู่
ipst.me/10079 บนข้างเดียวกันของเส้นตัด มุมแย้ง มุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด หรือ
ขนาดของมุมภายนอกของรูปสามเหลี่ยม ประกอบการหาคำ�ตอบ
A B
X Y

15°
P Q
a° u°

M N


E F


C 75° D

ลาก XY, PQ, MN และ EF ขนานกับ AB ดังรูป


เนื่องจาก AB // XY (จากการสร้าง)
จะได้ t = 15 (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและ
มุมภายในทีอ่ ยูต
่ รงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด มีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก XY // PQ (จากการสร้าง และสมบัติถ่ายทอดของการขนาน)
จะได้ u = t + a = 15 + a (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและ
มุมภายในทีอ่ ยูต
่ รงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด มีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก PQ // MN (จากการสร้าง และสมบัติถ่ายทอดของการขนาน)
จะได้ v = u + b = 15 + a + b (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอก
และมุมภายในทีอ่ ยูต่ รงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด มีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก MN // EF (จากการสร้าง และสมบัติถ่ายทอดของการขนาน)
จะได้ w = v + c = 15 + a + b + c (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอก
และมุมภายในทีอ่ ยูต่ รงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด มีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก EF // CD (จากการสร้าง และสมบัติถ่ายทอดของการขนาน)
จะได้ w + d = 75 (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น 15 + a + b + c + d = 75 (สมบัติของการเท่ากัน)
นั่นคือ a + b + c + d = 60
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 217

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 3.3 ก
1. แนวคิด
P R
A B

Q S

� �
เนื่องจาก PQ // RS และมี AB เป็นเส้นตัด ทำ�ให้มุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของ
เส้นตัดมีขนาดเท่ากัน
จะได้ AP̂Q = AR̂S และ BR̂S = BP̂Q

2. แนวคิด

Q
M N
S

T
K L
P

� � �
เนื่องจาก MN // KL และมี PQ เป็นเส้นตัด ทำ�ให้มุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของ
เส้นตัดมีขนาดเท่ากัน
จะได้ NŜT = LT̂P
� � �
เนื่องจาก MN // KL และมี PQ เป็นเส้นตัด ทำ�ให้มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน
จะได้ NŜT = ST̂K
� �
เนื่องจาก MN ตัดกับ PQ ทำ�ให้มุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน
จะได้ NŜT = QŜM
ดังนั้น NŜT = LT̂P = ST̂K = QŜM

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
218 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

3. แนวคิด
D F

66°
118°
A B
X Y

C E

เนื่องจาก CD // EF และมี AB เป็นเส้นตัด


จะได้ 118 = XŶD + 66 (ถ้ า เส้ น ตรงสองเส้ น ขนานกั น และมี เ ส้ น ตั ด แล้ ว มุ ม ภายนอกและ
มุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น XŶD = 52° (สมบัติของการเท่ากัน)

4. แนวคิด
F

A 52°
B

E 104° H

C D

ลาก EH ขนานกับ AB จะได้ EH // CD ด้วย (สมบัติถ่ายทอดของการขนาน)


เนื่องจาก AB // EH และมี EF เป็นเส้นตัด
จะได้ AÊH = 52° (ถ้ า เส้ น ตรงสองเส้ น ขนานกั น และมี เ ส้ น ตั ด แล้ ว มุ ม ภายนอกและ
มุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก AÊC = 104° (กำ�หนดให้)
จะได้ HÊC = 104 – 52 = 52° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก EH // CD และมี EC เป็นเส้นตัด
จะได้ HÊC + EĈD = 180° (ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่ตัดเส้นขนาน
รวมกันเท่ากับ 180°)
ดังนั้น EĈD = 180 – 52 = 128° (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 219

5. แนวคิด
D C

133°
E A B

เนื่องจาก DÂB + 133 = 180 (ขนาดของมุมตรง)


จะได้ DÂB = 47° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก AD // BC (ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ขนานกัน)
จะได้ AB̂C = 133° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและ
มุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น BĈD = 47° และ CD̂A = 133° (มุมตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน มีขนาดเท่ากัน)

6. แนวคิด
D C

(x + 48)°

A B

(2x – 17)°
E

เนื่องจาก AB // CD มี CE เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)


จะได้ 2x – 17 = x + 48 (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและ
มุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น x = 65 (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
220 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

แบบฝึกหัด 3.3 ข
1.
1) D C

E A B
F

� �
เนื่องจาก DF และ BC มี BE เป็นเส้นตัด แล้วทำ�ให้ EÂD และ AB̂C ซึ่งเป็นมุมภายนอกและมุมภายใน
ที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด มีขนาดเท่ากัน

ดังนั้น DF // BC

2) A

B C
N

เนื่องจาก AB และ MN มี BC เป็นเส้นตัด แล้วทำ�ให้ MN̂C และ AB̂C ซึ่งเป็นมุมภายนอกและมุมภายใน


ที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด มีขนาดเท่ากัน
ดังนั้น AB // MN

3) D

44°
B F
44°
46°
P Q

A C E

เนื่องจาก AB และ CD มี PD เป็นเส้นตัด แล้วทำ�ให้ PB̂A และ BD̂C ซึ่งเป็นมุมภายนอกและมุมภายใน


ที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด มีขนาดเท่ากัน
ดังนั้น AB // CD

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 221

4) N Q

96° F
50°
84° E
130° D
A B C

P R
M

เนื่องจาก NB̂C + 130 = 180 (ขนาดของมุมตรง)


จะได ้ NB̂C = 50° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก MN และ PQ มี AF เป็นเส้นตัด และ QD̂E = NB̂C
จะได้ MN // PQ (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึง่ ตัดเส้นตรงคูห
่ นึง่ ทำ�ให้มม
ุ ภายนอกและมุมภายในทีอ่ ยู่
ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน แล้วเส้นตรงคูน
่ น
้ั ขนานกัน)
เนื่องจาก NĈD + 84 = 180 (ขนาดของมุมตรง)
จะได้ NĈD = 96° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก NP และ QR มี AF เป็นเส้นตัด และ QÊF = NĈD
จะได้ NP // QR (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึง่ ตัดเส้นตรงคูห
่ นึง่ ทำ�ให้มม
ุ ภายนอกและมุมภายในทีอ่ ยู่
ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน แล้วเส้นตรงคูน
่ น
้ั ขนานกัน)

2. แนวคิด

Y A M

Q R
� �
เนื่องจาก YM // QR (กำ�หนดให้)
จะได้ PÂM = PQ̂R (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและมุมภายใน
ที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด มีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก XŶM = PQ̂R (กำ�หนดให้)
จะได้ PÂM = XŶM (สมบัติของการเท่ากัน)
� �
ดังนั้น YX // QP (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึง่ ตัดเส้นตรงคูห
่ นึง่ ทำ�ให้มม
ุ ภายนอกและมุมภายในทีอ
่ ยู่
ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน แล้วเส้นตรงคูน
่ น
้ั ขนานกัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
222 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

3. แนวคิด

E
B

A D C F

กำ�หนดให้ ∆ABC และ ∆DEF เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มี AB̂C และ DÊF เป็นมุมยอด


BÂC = EF̂D
ต้องการพิสูจน์ว่า AB // DE และ BC // EF
พิสูจน์ เนื่องจาก ∆ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (กำ�หนดให้)
จะได้ BÂC = BĈA (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก BÂC = EF̂D (กำ�หนดให้)
จะได้ BĈA = EF̂D (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น BC // EF (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้มุมภายนอก
และมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด
มีขนาดเท่ากัน แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)
ในทำ�นองเดียวกันจะพิสูจน์ได้ว่า AB // DE

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 223

3.4 เส้นขนานและรูปสามเหลี่ยม (4 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. บอกได้วา่ ถ้าต่อด้านใดด้านหนึง่ ของรูปสามเหลีย่ มออกไป มุมภายนอกทีเ่ กิดขึน
้ จะมีขนาดเท่ากับผลบวกของขนาด
ของมุมภายในที่ไม่ใช่มุมประชิดของมุมภายนอกนั้น และนำ�สมบัตินี้ไปใช้
2. ใช้สมบัติเกี่ยวกับเส้นขนาน ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม หรือสมบัติของรูปสามเหลี่ยม ในการให้
เหตุผลและแก้ปัญหา

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad (GSP)

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเส้นขนานและรูปสามเหลี่ยม มุ่งเน้นให้นักเรียนนำ�ความรู้เกี่ยวกับสมบัติของเส้นขนานมาใช้
ในการพิสูจน์ทฤษฎีบทอื่น ๆ ซึ่งจะเน้นการให้เหตุผลเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยม แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูทบทวนเรื่องผลบวกของขนาดของมุมภายในของรูปสามเหลี่ยม โดยอาจจัดกิจกรรมให้นักเรียนสังเกตผลจาก
การลงมือปฏิบัติ เช่น
1) ครูอาจให้นักเรียนเขียนรูปสามเหลี่ยมในลักษณะต่าง ๆ กลุ่มละ 3–4 รูป จากนั้นวัดขนาดของมุมภายใน
ทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมแต่ละรูป และหาผลบวกของขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยม
2) ครูอาจให้นักเรียนตัดหรือพับมุมทั้งสามมุมของกระดาษรูปสามเหลี่ยม เพื่อแสดงผลบวกของขนาดของ
มุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยม ดังรูป
3

1 3 2

1 2

3) ครูอาจดาวน์โหลดไฟล์ GSP เพือ


่ แสดงผลบวกของขนาดมุมภายในทัง้ สามมุมของรูปสามเหลีย
่ มได้ โดยครูลาก
จุดยอดของรูปสามเหลีย่ มให้รป
ู สามเหลีย่ มเปลีย่ นรูปร่างหรือเปลีย่ นขนาดไป แล้วให้นก
ั เรียนสังเกตว่า ผลบวก
ของขนาดของมุมภายในของรูปสามเหลี่ยม ยังคงเท่าเดิมและเท่ากับ 180 องศา ซึ่งครูดาวน์โหลดไฟล์ GSP
ได้ที่ http://ipst.me/10426 หรือสแกน QR Code
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
224 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ครูควรเน้นย้�ำ ว่าข้อค้นพบหรือผลสรุปทีไ่ ด้จากการสำ�รวจตัวอย่างหลาย ๆ ตัวอย่างอาจเป็นจริงทุกกรณีหรือ


ไม่กไ็ ด้ เพือ่ เป็นการยืนยันว่า ผลสรุปนีเ้ ป็นจริง ครูกบ
ั นักเรียนจึงควรร่วมกันพิสจู น์ทฤษฎีบทนีใ้ ห้เห็นจริง ดังการพิสจู น์
ในหนังสือเรียน หน้า 163
2. ครูอาจใช้ชวนคิด 3.4 ในหนังสือเรียน หน้า 163 เพื่อขยายความคิดจากผลบวกของขนาดของมุมภายในของ
รูปสามเหลี่ยม หากนักเรียนไม่สามารถหาคำ�ตอบได้ ครูสามารถดาวน์โหลดไฟล์ GSP และให้นักเรียนสืบเสาะ
ผลบวกของขนาดของมุมภายในของรูป n เหลี่ยม เพื่อศึกษาและหาคำ�ตอบได้ด้วยตนเอง
3. ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องขนาดของมุมภายนอกและขนาดของมุมภายในของรูปสามเหลี่ยม โดยแนะนำ�ให้
นักเรียนรู้จักมุมประชิดของรูปสามเหลี่ยมและมุมภายนอกของรูปสามเหลี่ยม ก่อนร่วมกันพิสูจน์ทฤษฎีบท ซึ่งครู
อาจใช้มุมคณิต ในหนังสือเรียน หน้า 164 ในการอธิบายเรื่องมุมประชิดของมุมด้วยก็ได้
4. ครูอภิปรายร่วมกับนักเรียนถึงการพิสจู น์ทฤษฎีบททีใ่ ช้ในการตรวจสอบความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลีย่ ม
สองรูปทีก
่ ล่าวว่า “ถ้ารูปสามเหลีย่ มสองรูปมีความสัมพันธ์กน
ั แบบ มุม–มุม–ด้าน (ม.ม.ด.) กล่าวคือ มีมม
ุ ทีม
่ ข
ี นาด
เท่ากันสองคู ่ และด้านคูท
่ อ่ี ยูต
่ รงข้ามกับมุมคูท
่ ม
่ี ข
ี นาดเท่ากัน ยาวเท่ากันหนึง่ คู
่ แล้วรูปสามเหลีย่ มสองรูปนัน
้ เท่ากัน
ทุกประการ” ในหนังสือเรียน หน้า 165 ซึง่ ใช้แนวคิดในการพิสจู น์โดยการใช้สมบัตข
ิ องรูปสามเหลีย่ มทีก
่ ล่าวว่า
“รูปสามเหลีย่ มสองรูปทีม
่ ค
ี วามสัมพันธ์กน
ั แบบ มุม–ด้าน–มุม จะเท่ากันทุกประการ เมือ่ ด้านคูท
่ ย่ี าวเท่ากันอยูร่ ะหว่าง
มุมคูท
่ ม
่ี ข
ี นาดเท่ากัน” จากนัน
้ ครูควรชีใ้ ห้นก
ั เรียนเห็นว่า ด้านคูท
่ ย่ี าวเท่ากัน จะเป็นด้านคูใ่ ดก็ได้ ไม่จ�ำ เป็นต้องเป็น
ด้านคู่ท่ีอยู่ระหว่างมุมคู่ท่ีมีขนาดเท่ากัน แต่ต้องเป็นด้านคู่ท่ีอยู่ตรงข้ามกับมุมคู่ท่ีมีขนาดเท่ากัน ทำ�ให้ได้ว่า
รูปสามเหลีย่ มสองรูปทีม
่ ค
ี วามสัมพันธ์กน
ั แบบ มุม–ด้าน–มุม ย่อมมีความสัมพันธ์กน
ั แบบ มุม–มุม–ด้าน ด้วย
5. ครูชใ้ี ห้นก
ั เรียนเห็นการเชือ
่ มโยงความรูใ้ นการนำ�สมบัตข
ิ องเส้นขนานมาใช้ในการพิสจู น์ทฤษฎีบทอืน
่ ๆ ต่อเนือ
่ งกัน
ดังแผนภูมิต่อไปนี้

สมบัติของเส้นขนานเกี่ยวกับมุมแย้ง

สมบัติเกี่ยวกับผลบวกของขนาดของ
มุมภายในของรูปสามเหลี่ยม

สมบัติเกี่ยวกับขนาดของมุมภายนอกและ สมบัติเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการของ
มุมภายในของรูปสามเหลี่ยม รูปสามเหลี่ยมแบบ ม.ม.ด.

ทำ�ให้ได้ว่าความสัมพันธ์แบบ ม.ด.ม.
เป็นความสัมพันธ์แบบ ม.ม.ด. ด้วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 225

6. ครูอาจให้นักเรียนนำ�ความรู้ที่เรียนในหัวข้อนี้ไปใช้แก้ปัญหาในชวนคิด 3.3 ในหนังสือเรียน หน้า 162 เพื่อเป็น


ทางเลือกอีกวิธีหนึ่ง โดยมีแนวคิดดังนี้

A T B
1
15° 2
a° 3
b° 4
5
S

C 75° D
R

กำ�หนดชื่อจุด R และ S แล้วต่อ RS ไปตัด AB ที่จุด T และกำ�หนดมุม 1̂ ถึงมุม 5̂ ดังรูป


จากรูป จะได้ 1̂ = 75° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้ง
มีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น 75 = 15 + 2̂
(ขนาดของมุมภายนอกของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับ
= 15 + (a + 3̂ )
ผลบวกของขนาดของมุมภายในที่ไม่ใช่มุมประชิด
= 15 + a + (b + 4̂ )
ของมุมภายนอกนั้น)
= 15 + a + b + (c + 5̂ )
= 15 + a + b + c + d (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาด
เท่ากัน)
นั่นคือ a + b + c + d = 60

7. ครูอาจใช้ชวนคิด 3.5 ในหนังสือเรียน หน้า 167 ให้นักเรียนฝึกแก้ปัญหาโดยใช้สมบัติต่าง ๆ ที่ได้เรียนมาแล้ว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
226 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 3.4
ผลบวกของขนาดของมุมภายในของรูป n เหลี่ยม เท่ากับ (n – 2) × 180 องศา
ipst.me/10080

ชวนคิด 3.5
นักเรียนสามารถใช้ขนาดของมุมตรง ขนาดของมุมตรงข้าม สมบัติเกี่ยวกับผลบวกของขนาดของมุมภายใน
ipst.me/10081
ของรูปสามเหลี่ยมและรูปห้าเหลี่ยม สมบัติเกี่ยวกับขนาดของมุมภายนอกและมุมภายในของรูปสามเหลี่ยม
หรือสมบัติอื่น ๆ มาช่วยในการหาคำ�ตอบได้

22°

64°
86° 36°

26° 72°
26° 72°
68°
72°
112° ° 118°
68
46°
50°
62°
44°

40°

จากรูปจะได้ m = 26 n = 50 p = 86
q = 22 r = 36 s = 72
t = 118 u = 44

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 227

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 3.4
1. แนวคิด
A E

68°
64° x°
B C

เนื่องจาก BA // CE และมี BC เป็นเส้นตัด


จะได้ 64 + (x + 68) = 180 (ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่ตัดเส้นขนาน
รวมกันเท่ากับ 180°)
ดังนั้น x = 48 (สมบัติของการเท่ากัน)

2. แนวคิด
E F

46°

128°
A B C D

เนื่องจาก AB̂E = BĈF = 128° (กำ�หนดให้)


จะได้ BE // CF (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้มุมภายนอกและ
มุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน
แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)
เนื่องจาก CÊF = 81° (กำ�หนดให้)
จะได้ CF̂E + 46 + 81 = 180 (ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่ตัด
เส้นขนานรวมกันเท่ากับ 180°)
ดังนั้น CF̂E = 53° (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
228 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

3. แนวคิด
B
A

106° D

C E

พิจารณา ∆CDE
จะได้ 106 = y + 90 (ขนาดของมุมภายนอกของรูปสามเหลีย่ มเท่ากับผลบวกของ
ขนาดของมุมภายในทีไ่ ม่ใช่มม
ุ ประชิดของมุมภายนอกนัน
้ )
ดังนั้น y = 16 (สมบัติของการเท่ากัน)
จะได้ AĈD = 90 – y = 90 – 16 = 74° (สมบัติของการเท่ากัน)
จะได้ x = 74 (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้ง
มีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น x + √y = 74 + √16 = 78

4. แนวคิด

C
120° y°
B

E

100°
D
°
A 130

เนื่องจาก DÂE + 130 = 180 (ขนาดของมุมตรง)


จะได้ DÂE = 50° (สมบัติของการเท่ากัน)
พิจารณา ∆ABC
จะได้ 120 = y + 50 (ขนาดของมุมภายนอกของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับผลบวกของ
ขนาดของมุมภายในที่ไม่ใช่มุมประชิดของมุมภายนอกนั้น)
ดังนั้น y = 70 (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก AD̂E = 100° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 229

พิจารณา ∆ADE
จะได้ x = 100 + 50 = 150 (ขนาดของมุมภายนอกของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับผลบวกของ
ขนาดของมุมภายในที่ไม่ใช่มุมประชิดของมุมภายนอกนั้น)

5. แนวคิด A
D

E
x° y° 54° C
B
48°

G
F
เนื่องจาก DG // AC และมี EC เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)
จะได้ x = 54 (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด
แล้วมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบน
ข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก AB̂D = FB̂G = 48° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
และ 54 + 48 + y = 180 (ขนาดของมุมตรง)
จะได้ y = 78 (สมบัติของการเท่ากัน)
2 2
ดังนั้น (x – y) = (54 – 78) = 576

6. แนวคิด E

44°

X C 4 6 D Y
3 5

A 1 2
B

1) เนื่องจาก ∆EAB เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว


จะได้ 1̂ = 2̂ (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)

เนื่องจาก XY // AB มี AE เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)
จะได้ 1̂ = 3̂ และ 2̂ = 5̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้ง
มีขนาดเท่ากัน)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
230 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

และ 1̂ = 4̂ และ 2̂ = 6̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอก


และมุมภายในทีอ
่ ยูต
่ รงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาด
เท่ากัน)
ดังนั้น 1̂ = 2̂ = 3̂ = 4̂ = 5̂ = 6̂
� (สมบัติของการเท่ากัน)
หรือ EÂB = AB̂E = AĈX = EĈD = BD̂Y = CD̂E

2) เนื่องจาก 1̂ + 2̂ + 44 = 180 (ขนาดของมุมภายในทัง้ สามมุมของรูปสามเหลีย่ มรวมกันเท่ากับ 180°)


และ 1̂ = 2̂ (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
จะได้ 2(1̂) + 44 = 180 (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น 1̂ = 68°
� (สมบัติของการเท่ากัน)
หรือ EÂB = 68°

7. แนวคิด
Q
D

120° A
E C
P 32°

28°
B

เนื่องจาก BÂC + 28 + 32 = 180 (ขนาดของมุมภายในทัง้ สามมุมของรูปสามเหลีย่ มรวมกันเท่ากับ 180°)


จะได้ BÂC = 120° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น PÂD = 120° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก EP̂Q = 120° (กำ�หนดให้)
จะได้ EP̂Q = PÂD (สมบัติของการเท่ากัน)
� �
ดังนั้น PQ // BD (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้มุมภายนอกและ
มุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน
แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 231

8. แนวคิด
E A F
1 2

3 4
B C

เนื่องจาก ∆ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (กำ�หนดให้)


จะได้ 3̂ = 4̂ (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)

เนื่องจาก EF // BC (กำ�หนดให้)
จะได้ 3̂ = 1̂ และ 4̂ = 2̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น 1̂ = 2̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
นั่นคือ BÂE = CÂF (สมบัติของการเท่ากัน)

9. แนวคิด
D
G

B 1 2 5
A E
4 3 F

H
C

� �
กำ�หนดให้ CG // DH, AB = EF และ BC = FD
ต้องการพิสูจน์ว่า AC // DE
พิสูจน์ พิจารณา ∆ABC และ ∆EFD
เนื่องจาก AB = EF (กำ�หนดให้)
� �
และ CG // DH (กำ�หนดให้)
จะได้ 1̂ = 2̂ (ถ้ า เส้ น ตรงสองเส้ น ขนานกั น และมี เ ส้ น ตั ด แล้ ว มุ ม ภายนอกและ
มุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก 1̂ = 3̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
จะได้ 2̂ = 3̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก BC = FD (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ∆ABC ≅ ∆EFD (ด.ม.ด.)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
232 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

จะได้ 4̂ = 5̂ (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น AC // DE (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่งทำ�ให้มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน
แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)

10. แนวคิด

F ขั้นที่ 3 I
77°

282° ขั้นที่ 2 E
D

ขั้นที่ 1
B C
77°

พื้นดิน 103° 103°


A G H

ต่อ FE ไปทางจุด E และให้ตัดกับแนวพื้นดิน AH ที่จุด G


เนื่องจาก GÂB = 103° และ AB̂C = 77° (กำ�หนดให้)
จะได้ GÂB + AB̂C = 103 + 77 = 180° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น BC // AH (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้ขนาดของ
มุมภายในทีอ ่ นข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันเท่ากับ 180°
่ ยูบ
แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)
นั่นคือ บันไดขั้นที่ 1 ขนานกับพื้นดิน
เนื่องจาก AB // CD และ AB̂C = 77° (กำ�หนดให้)
จะได้ BĈD = 77° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมี
ขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก มุมกลับ CDE = 282° (กำ�หนดให้)
จะได้ CD̂E = 360 – 282 = 78° (มุมรอบจุดมีขนาดเท่ากับ 360°)
และ CD̂E ≠ BĈD (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้มุมแย้งมีขนาด
ไม่เท่ากัน แล้วเส้นตรงคู่นั้นไม่ขนานกัน)
ดังนั้น DE ไม่ขนานกับ BC
จะได้ว่า บันไดขั้นที่ 2 ไม่ขนานกับบันไดขั้นที่ 1
นั่นคือ บันไดขั้นที่ 2 ไม่ขนานกับพื้นดิน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 233

เนื่องจาก AB // GF มี AH เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้ และจากการสร้าง)


จะได้ว่า HĜF = 103° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอก
และมุมภายในทีอ
่ ยูต
่ รงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด มีขนาด
เท่ากัน)
เนื่องจาก F̂ = 77° (กำ�หนดให้)
จะได้ F̂ + HĜF = 77 + 103 = 180° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น FI // AH (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึง่ ตัดเส้นตรงคูห
่ นึง่ ทำ�ให้ขนาดของมุมภายใน
ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันเท่ากับ 180°
แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)
นั่นคือ บันไดขั้นที่ 3 ขนานกับพื้นดิน
ดังนั้น แบบของบันไดที่ภูรักษ์วาดขึ้นไม่สอดคล้องกับบันไดที่ภูรักษ์ต้องการสร้าง คือ บันไดขั้นที่ 2 ไม่ขนานกับ
พื้นดิน ภูรักษ์ต้องแก้ไขแบบของบันไดขั้นที่ 2 โดยปรับมุมกลับ CDE ให้มีขนาดเท่ากับ 283° เพื่อให้
CD̂E มีขนาดเท่ากับ 77° (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่งทำ�ให้มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน แล้วเส้นตรง
คู่นั้นขนานกัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
234 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

กิจกรรมท้ายบท : เผยมุมให้ชัด
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนได้ใช้สมบัติต่าง ๆ ที่ได้เรียนมาแล้ว มาให้เหตุผลเพื่อหาขนาดของมุมทั้งหมดใน
รูปที่กำ�หนดให้ ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมนี้นอกเวลาเรียน โดยมีขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
-

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนแต่ละคนทำ� “กิจกรรมท้ายบท : เผยมุมให้ชัด” ในหนังสือเรียน หน้า 172
2. ครูให้นักเรียนช่วยกันเฉลยขนาดของมุมแต่ละมุม พร้อมทั้งให้นักเรียนนำ�เสนอเหตุผลสนับสนุนคำ�ตอบของตนเอง
ซึ่งเหตุผลของนักเรียนอาจแตกต่างกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 235

เฉลยกิจกรรมท้ายบท : เผยมุมให้ชัด

A B
69° 89° 91° 111° 69° 89° 91° 111° 69°

21°

118°
97°
83° 84° 96°
62° 118°
62° 96° 84° 84° 96°
118° 118° 62° 96° 84° 62° 118°
83°
118° 62°
97°

22°
108° 94°
93°
72° 72° 108°
72° 86°
86° 72° 87°
72° 108°
87° 86° 72°
10° 86° 94° 62°
83° 84° 96 °
96° 22° 118° 118°
62° 62° 96° 84° 84°

118° 96°
62° 62° 83°
84° 97°

62°
22° 21°

69° 89° 91° 89° 69° 111° 69°


D C

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
236 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท
1. แนวคิด
B
A
22°


P
Q b°
85°
C
D
� � � �
ลาก PQ ให้ขนานกับ AB จะได้ PQ // CD ด้วย (สมบัติถ่ายทอดของการขนาน)
� � � �
เนื่องจาก AB // PQ และ PQ // CD (จากการสร้าง)
จะได้ a = 22 และ b = 85 (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น x = a + b = 22 + 85 = 107

2. แนวคิด
D
Q
26°

30° A x°
E
P C
(y – 12) °
B
F
พิจารณา ∆PQE
จะได้ AP̂Q = 30 + 26 = 56° (ขนาดของมุมภายนอกของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับผลบวกของ
ขนาดของมุมภายในที่ไม่ใช่มุมประชิดของมุมภายนอกนั้น)
� � �
เนื่องจาก PQ // BD และมี EC เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)
จะได้ CÂD = AP̂Q (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและ
มุมภายในทีอ่ ยูต
่ รงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น x = 56 (สมบัติของการเท่ากัน)
� � �
เนื่องจาก EC // BF และมี BD เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)
จะได้ x = y – 12 (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและ
มุมภายในทีอ่ ยูต
่ รงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
56 = y – 12 (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น y = 68 (สมบัติของการเท่ากัน)

นั่นคือ 2y – x = 2(68) – 56 = 4
   5        5     
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 237

3. แนวคิด
A B
120°
(2x + y)° D
C
(2x – y)°
140° F
E
� �
เนื่องจาก AB // CD และมี AC เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)
จะได้ (2x + y) + 120 = 180 (ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด
ที่ตัดเส้นขนานรวมกันเท่ากับ 180°)
� �
เนื่องจาก CD // EF และมี CE เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)
จะได้ (2x – y) + 140 = 180 (ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด
ที่ตัดเส้นขนานรวมกันเท่ากับ 180°)
ดังนั้น (2x + y) + 120 = (2x – y) + 140 (สมบัติของการเท่ากัน)
y = 10 (สมบัติของการเท่ากัน)
จาก (2x + y) + 120 = 180
จะได้ (2x + 10) + 120 = 180
x = 25

4. แนวคิด
D C E

(2y – 5)° (3x + 25)°


(x + 55)°
F A B

เนื่องจาก ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (กำ�หนดให้)


� �
จะได้ DE // BF และ AD // BC (ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน จะขนานกัน)
� �
เนื่องจาก DE // BF และมี BC เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)
จะได้ 3x + 25 = x + 55 (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น x = 15 (สมบัติของการเท่ากัน)

เนื่องจาก AD // BC และมี BF เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)
จะได้ (2y – 5) + (x + 55) = 180 (ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่ตัด
เส้นขนานรวมกันเท่ากับ 180°)
(2y – 5) + (15 + 55) = 180 (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น y = 57.5 (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
238 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

5. แนวคิด
D C
100°
(5x + y)° (2x + y)°

(5x – y)°
A B

เนื่องจาก AB // CD และมี AD เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)


จะได้ (5x + y) + (5x – y) + 100 = 180 (ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด
ที่ตัดเส้นขนานรวมกันเท่ากับ 180°)
ดังนั้น x = 8 (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก AB // CD และมี AC เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)
จะได้ 2x + y = 5x – y (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมี
ขนาดเท่ากัน)
2(8) + y = 5(8) – y (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น y = 12 (สมบัติของการเท่ากัน)

6. แนวคิด
H

48° E
A n° B
(5y – 8)°
(2x + 2y)° 32°

C F G D

จากรูป n = 48 (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)


� � �
เนื่องจาก AB // CD และมี GH เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)
จะได้ (5y – 8) + n = 180 (ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด
ที่ตัดเส้นขนานรวมกันเท่ากับ 180°)
(5y – 8) + 48 = 180 (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น y = 28 (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 2x + 2y = n + 32 (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมี
ขนาดเท่ากัน)
จะได้ 2x + 2(28) = 48 + 32 (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น x = 12 (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 239

7. แนวคิด E

1 2 3 G B
A F 6 5 4

พิจารณา ∆AFE และ ∆BGH H

เนื่องจาก AE // HB และมี AB เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)


จะได้ 1̂ = 4̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้ง
มีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก AF = BG (กำ�หนดให้)
และ FE // HG และมี AB เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)
จะได้ 3̂ = 6̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้ง
มีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก 2̂ + 3̂ = 180° และ 5̂ + 6̂ = 180° (ขนาดของมุมตรง)
จะได้ 2̂ + 3̂ = 5̂ + 6̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
2̂ = 5̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น ∆AFE ≅ ∆BGH (ม.ด.ม.)
จะได้ FE = GH (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)

8. แนวคิด
B D

1 2 3 4
A E
C
พิจารณา ∆ABC และ ∆CDE
เนื่องจาก AB // CD และมี AE เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)
จะได้ 1̂ = 3̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและ
มุมภายในทีอ่ ยูต
่ รงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก AC = CE (จุด C เป็นจุดกึ่งกลางของ AE)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
240 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

และ CB // ED และมี AE เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)


จะได้ 2̂ = 4̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและ
มุมภายในทีอ่ ยูต
่ รงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น ∆ABC ≅ ∆CDE (ม.ด.ม.)

9. แนวคิด A
1
E

3
2 4
B
C D
เนื่องจาก ∆ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (กำ�หนดให้)
จะได้ 1̂ = 2̂ (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
� �
เนื่องจาก CE // BA มี AC และ BD เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)
จะได้ 1̂ = 3̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาด
เท่ากัน)
และ 4̂ = 2̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและ
มุมภายในทีอ่ ยูต
่ รงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น 3̂ = 4̂ (สมบัติของการเท่ากัน)

นั่นคือ CE แบ่งครึ่ง AĈD

10. แนวคิด A
E

C
B

จาก ∆ABC จะได้ Â + B̂ + Ĉ = 180° (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกัน


เท่ากับ 180°)
จาก ∆DEF จะได้ D̂ + Ê + F̂ = 180° (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกัน
เท่ากับ 180°)
จะได้ Â + B̂ + Ĉ + D̂ + Ê + F̂ = 360° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น ผลบวกของ Â , B̂ , Ĉ , D̂ , Ê และ F̂ ของรูปดาวหกแฉกนี้เท่ากับ 360°

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 241

11. แนวคิด
A 4
1 C
3
6
2
5
B

กำ�หนดให้ ∆ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมใดๆ


ต้องการพิสูจน์ว่า ขนาดของมุมภายนอกของ ∆ABC รวมกันเท่ากับ 360°
พิสูจน์ เนื่องจาก 1̂ + 4̂ = 180° (ขนาดของมุมตรง)
2̂ + 5̂ = 180° (ขนาดของมุมตรง)
3̂ + 6̂ = 180° (ขนาดของมุมตรง)
จะได้ 1̂ + 4̂ + 2̂ + 5̂ + 3̂ + 6̂ = 540° (สมบัติของการเท่ากัน)
(1̂ + 2̂ + 3̂ ) + (4̂ + 5̂ + 6̂ ) = 540° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 1̂ + 2̂ + 3̂ = 180° (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของ
รูปสามเหลี่ยมรวมกันได้ 180°)
จะได้ 4̂ + 5̂ + 6̂ = 360°
(สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น ขนาดของมุมภายนอกของ ∆ABC รวมกันเท่ากับ 360°

12. แนวคิด จากแนวคิดในข้อ 11 จะเห็นว่ามุมภายนอกแต่ละมุมเป็นมุมประกอบสองมุมฉากของมุมภายในแต่ละมุม


ที่เป็นมุมประชิดกัน ดังนั้นจึงทำ�ให้เกิดมุมตรงทั้งหมด n มุม นั่นคือ ผลบวกของขนาดของมุมภายนอกของรูป n เหลี่ยม
เท่ากับ ผลบวกของขนาดของมุมตรง n มุม ลบด้วย ผลบวกของขนาดของมุมภายในของรูป n เหลี่ยม
จากชวนคิด 3.4 และแนวคิดข้างต้น จะได้ว่า ผลบวกของขนาดของมุมภายนอกของรูป n เหลี่ยม
เท่ากับ n(180) – (n – 2)180 = 360°

13. แนวคิด A

7 8

5 9 10 6
E D
3 G F 4

B 1 2 C

กำ�หนดให้ ∆ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มี BC เป็นฐาน


BC // ED และ BÂE = CÂD

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
242 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ต้องการพิสูจน์ว่า AE = AD
พิสูจน์ เนื่องจาก ∆ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (กำ�หนดให้)
จะได้ 1̂ = 2̂ (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาด
เท่ากัน)
เนื่องจาก BC // ED มี AB และ AC เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)
จะได้ 1̂ = 3̂ และ 2̂ = 4̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด
แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น 3̂ = 4̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 3̂ + 5̂ = 180° และ 4̂ + 6̂ = 180° (ขนาดของมุมตรง)
จะได้ 3̂ + 5̂ = 4̂ + 6̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น 5̂ = 6̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 3̂ ˆ
= 9̂ และ 4̂ = 10 (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้าม
มีขนาดเท่ากัน)
จะได้ 9̂ = 10ˆ (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น AG = AF (∆AGF เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว เนื่องจาก
ˆ
9̂ = 10 )
เนื่องจาก 7̂ = 8̂ (กำ�หนดให้)
จะได้ ∆AEG ≅ ∆ADF (ม.ด.ม.)
ดังนั้น AE = AD (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากัน
ทุกประการจะยาวเท่ากัน)

14. แนวคิด
F E D
1 3

2 4

A B C

จากรูป ให้ BF และ CE เป็นท่อนเหล็กที่นำ�มาเชื่อมตามแนวเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส


เนื่องจาก ABEF และ BCDE เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส (กำ�หนดให้)
จะได้ EF = EB และ DE = DC (ด้านของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวเท่ากัน)
ดังนั้น ∆EFB และ ∆DEC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (มีด้านยาวเท่ากันสองด้าน)
เนื่องจาก FÊB = 90° และ ED̂C = 90° (มุมภายในแต่ละมุมของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีขนาด 90°)
จะได้ 1̂ = 2̂ = 45° และ 3̂ = 4̂ = 45° (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น 3̂ = 1̂ (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 243

นั่นคือ BF // CE (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึง่ ตัดเส้นตรงคูห


่ นึง่ ทำ�ให้มม
ุ ภายนอก
และมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด
มีขนาดเท่ากัน แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)
จะได้ว่า ท่ อ นเหล็ ก สองท่ อ นที่ นำ � มาเชื่ อ มตามแนวเส้ น ทแยงมุ ม ของรู ป สี่ เ หลี่ ย มจั ตุ รั ส สองรู ป นี้ เ รี ย งตั ว ขนานกั น
ในทำ�นองเดียวกัน สามารถพิสูจน์ได้ว่าท่อนเหล็กท่อนอื่น ๆ ก็เรียงตัวขนานกับท่อนเหล็กสองท่อนนี้ด้วย
ดังนั้น ข้อกังวลของภิวัฒน์ไม่เป็นจริง

15. แนวคิด
B D F N
X Y กระจก
T
108°

A 68° a° M กระจก
C P E G

เนื่องจาก กระจกเงา 2 บาน ขนานกัน


พิจารณา แสงเลเซอร์สีชมพู
เนื่องจาก CÂB = AB̂X (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
และ CÂB = 68° (กำ�หนดให้)
ดังนั้น AB̂X = 68° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก ขนาดของมุมตกกระทบเท่ากับขนาดของมุมสะท้อน
จะได้ AB̂X = CB̂D = CD̂B = ED̂F = EF̂D = GF̂N = 68°
พิจารณา แสงเลเซอร์สีเขียว
เนื่องจาก GM̂N = MN̂Y (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
และ GM̂N = a° (กำ�หนดให้)
ดังนั้น MN̂Y = a° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก ขนาดของมุมตกกระทบเท่ากับขนาดของมุมสะท้อน
จะได้ MN̂Y = TN̂F = a° (สมบัติของการเท่ากัน)
พิจารณา ∆FTN
จะได้ TF̂N + TN̂F = 108° (ขนาดของมุมภายนอกของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับผลบวกของขนาด
ของมุมภายในที่ไม่ใช่มุมประชิดของมุมภายนอกนั้น)
68 + a = 108 (สมบัติของการเท่ากัน)
a = 40 (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
244 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

16. แนวคิด
D
C

E
1 2 B

จากรูป 1̂ = B̂ + D̂ และ 2̂ = Ĉ + Ê (ขนาดของมุมภายนอกของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับผลบวกของ


ขนาดของมุมภายในที่ไม่ใช่มุมประชิดของมุมภายนอกนั้น)
เนื่องจาก Â + 1̂ + 2̂ = 180° (ขนาดของมุ ม ภายในทั้ ง สามมุ ม ของรู ป สามเหลี่ ย มรวมกั น
เท่ากับ 180°)
จะได้ Â + (B̂ + D̂ ) + (Ĉ + Ê ) = 180° (สมบัติของการเท่ากัน)
หรือ Â + B̂ + Ĉ + D̂ + Ê = 180°

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 245

ตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. กำ�หนดให้ AB // CD และ CD // EF โดยมีระยะห่างระหว่าง AB และ EF เท่ากับ 20 เซนติเมตร และมีระยะห่าง
ระหว่าง CD และ EF เท่ากับ 15 เซนติเมตร จงหาระยะห่างระหว่าง AB และ CD (2 คะแนน)

ตอบ

2. ให้นักเรียนพิจารณารูปและข้อความต่อไปนี้
A C B ให้ AB // XZ และ AE // CD
(1) BĈY = EX̂Y
(2) CÂX = XŶC
X Z
Y
(3) CB̂Z = YẐD
(4) BĈD = CD̂E
E D

จากข้อความข้างต้น ข้อความใดเป็นจริง (1 คะแนน)


ก. (1) (2) และ (4) ข. (1) (3) และ (4)
ค. (1) (2) และ (3) ง. (2) (3) และ (4)

3. ให้นักเรียนพิจารณารูปและข้อความต่อไปนี้
D ให้ AD // GB และ DC // EF
3 (1) 2̂ = 7̂
(2) 5̂ = 8̂
A 1 E 2 C B (3) 3̂ = 8̂
7 6 4
(4) 3̂ = 5̂
5
F (5) 1̂ = 4̂
8
G

จากข้อความข้างต้น ข้อความใดเป็นจริง (1 คะแนน)


ก. (1) และ (2) ข. (3) และ (4)
ค. (3) และ (5) ง. (4) และ (5)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
246 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

B � �
4. จากรูป กำ�หนดให้ AB // QE, PQ̂R = 27° และ
PR̂Q = 58° จงหาค่า a (1 คะแนน)
A a°
E
ตอบ
P

Q 27° 58° R

5. A จากรูป กำ�หนดให้ AC = BC และ BC // DE


x° ถ้า x = 65 แล้ว y เท่ากับเท่าไร (1 คะแนน)
ตอบ
B C

y° E
D
� �
6. A จากรูป กำ�หนดให้ DE // BC, BÂD = 74° และ
74° AB̂C = 41° จงหาค่า x (1 คะแนน)
x° E
D ตอบ
41°

B C
C
7. จากรูป กำ�หนดให้ AB // EF จงหาค่าของ a + b

(1 คะแนน)
ตอบ
36° b°
A B
D

68°
E
F
8. P Q จากรูป กำ�หนดให้ PQ // RS, RS // MN และ TR // MQ
55°

R U จงหาค่าของ x + y + z (2 คะแนน)
S
x° y°
ตอบ

T M N

Z
9. จากรูป กำ�หนดให้ ∆XYZ มี XY = XZ และ W เป็นจุด

W
อยู่บนด้าน XZ โดยที่ WZ = ZY ถ้า YŴZ = 52°
52°
แล้วค่าของ b – a เท่ากับเท่าไร (2 คะแนน)

X b° a° Y
ตอบ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 247

� � � �
10. จากรูป กำ�หนดให้ PA // QB และ QC // RD
C D
A B จงหาค่าของ √a + √b (2 คะแนน)
ตอบ
40°
40° a° b°
M N
P Q R

11. E จากรูป ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน


จงหาขนาดของ EĤB (2 คะแนน)
40°
ตอบ
G
D C
(3x – 8)°
(2x + 3)°
A B
H

E
12. จากรูป กำ�หนดให้ AB // CD, CF // ED และ CE = CD
จงหาค่าของ p, q และ r (3 คะแนน)
p° q°
C D ตอบ p =
q =
A 56
° 85° B r =

� � �
13. A B จากรูป กำ�หนดให้ AB // DF และ AC // DE
150°
จงหาค่าของ a และ b (2 คะแนน)
C 80°
ตอบ a =
b =

D
b° F

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
248 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

14. กำ�หนดให้ AC // DE, BÂC = 114° และ AB̂C = 38° จงหาขนาดของ CD̂E พร้อมแสดงเหตุผล (3 คะแนน)

A B

15. กำ�หนดให้ AB // CD และ BE = FE จงแสดงว่า AB = DF (3 คะแนน)

A B

C F D

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 249

16. ถ้าหมุนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า AOB รอบจุด O ด้วยมุม 60° ทวนเข็มนาฬิกา โดยหมุนต่อเนื่องไป 5 ครั้ง จะได้
รูปหกเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า ABCDEF ดังรูป

E D

F C
O

A B

จงอธิบายว่า ด้าน AB และด้าน ED ขนานกันหรือไม่ เพราะเหตุใด (3 คะแนน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
250 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. กำ�หนดให้ AB // CD และ CD // EF โดยมีระยะห่างระหว่าง AB และ EF เท่ากับ 20 เซนติเมตร และมีระยะห่าง
ระหว่าง CD และ EF เท่ากับ 15 เซนติเมตร จงหาระยะห่างระหว่าง AB และ CD (2 คะแนน)
ตอบ 5 เซนติเมตร, 35 เซนติเมตร
แนวคิด
A E C

A C E
5 ซม. 20 ซม.

15 ซม.
15 ซม.

B D F
B F D

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถใช้สมบัติของเส้นขนานและรูปสามเหลี่ยมในการให้เหตุผลและแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 2 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้คำ�ตอบละ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้คำ�ตอบละ 0 คะแนน

2. ให้นักเรียนพิจารณารูปและข้อความต่อไปนี้
A C B ให้ AB // XZ และ AE // CD
(1) BĈY = EX̂Y
X Z (2) CÂX = XŶC
Y
(3) CB̂Z = YẐD
E D (4) BĈD = CD̂E

จากข้อความข้างต้น ข้อความใดเป็นจริง (1 คะแนน)


ก. (1) (2) และ (4) ข. (1) (3) และ (4)
ค. (1) (2) และ (3) ง. (2) (3) และ (4)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 251

3. ให้นักเรียนพิจารณารูปและข้อความต่อไปนี้
D ให้ AD // GB และ DC // EF
3 (1) 2̂ = 7̂
(2) 5̂ = 8̂
A 1 E 2 C B
7 6 4 (3) 3̂ = 8̂
5 (4) 3̂ = 5̂
F (5) 1̂ = 4̂
8
G
จากข้อความข้างต้น ข้อความใดเป็นจริง (1 คะแนน)
ก. (1) และ (2) ข. (3) และ (4)
ค. (3) และ (5) ง. (4) และ (5)

� �
4. B จากรูป กำ�หนดให้ AB // QE, PQ̂R = 27° และ
PR̂Q = 58° จงหาค่า a (1 คะแนน)
A a° ตอบ 85
E
P

Q 27° 58° R

5. A จากรูป กำ�หนดให้ AC = BC และ BC // DE


x° ถ้า x = 65 แล้ว y เท่ากับเท่าไร (1 คะแนน)
ตอบ 50
B C

y° E
D

� �
6. A จากรูป กำ�หนดให้ DE // BC, BÂD = 74° และ
74°
E
AB̂C = 41° จงหาค่า x (1 คะแนน)

D ตอบ 115
41°

B C

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
252 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

7. C จากรูป กำ�หนดให้ AB // EF จงหาค่าของ a + b


a° (1 คะแนน)
ตอบ 188
36° b°
A B
D

68°
E
F

สำ�หรับข้อ 2–7
ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถใช้สมบัติของเส้นขนานและรูปสามเหลี่ยมในการให้เหตุผลและแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม ข้อละ 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

8. P Q จากรูป กำ�หนดให้ PQ // RS, RS // MN และ TR // MQ


55°

R U จงหาค่าของ x + y + z (2 คะแนน)
S
x° y°
ตอบ 250

T M N

แนวคิด เนื่องจาก RŜQ และ PQ̂S เป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่ตัดเส้นขนาน


จะได้ RŜQ = 180 – 55 = 125°
เนื่องจาก ขนาดของมุมภายนอกของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับผลบวกของขนาดของมุมภายในที่ไม่ใช่มุมประชิดของ
มุมภายนอกนั้น
จะได้ RŜQ = y + z ดังนั้น y + z = 125
เนื่องจาก TR // MQ และมี RS เป็นเส้นตัด จะได้ x = 125
ดังนั้น x + y + z = 125 + 125 = 250

Z
9. จากรูป กำ�หนดให้ ∆XYZ มี XY = XZ และ W เป็นจุด
อยู่บนด้าน XZ โดยที่ WZ = ZY ถ้า YŴZ = 52°
W 52° แล้วค่าของ b – a เท่ากับเท่าไร (2 คะแนน)
ตอบ 4
X b° a° Y

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 253

แนวคิด เนื่องจาก WZ = ZY จะได้ ∆ZWY เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว


ดังนั้น ZŶW = 52° และ WẐY = 180 – 2(52) = 76°
เนื่องจาก XY = XZ จะได้ ∆XYZ เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
ดังนั้น 76 = a + 52 จะได้ a = 24 และ b = 180 – 2(76) = 28
ดังนั้น b – a = 28 – 24 = 4

� � � �
10. จากรูป กำ�หนดให้ PA // QB และ QC // RD
C D
A B จงหาค่าของ √a + √b (2 คะแนน)
40°
ตอบ 20
40° a° b°
M N
P Q R

� �
แนวคิด เนื่องจาก PA // QB
จะได้ MP̂A และ PQ̂B เป็นมุมภายนอกและมุมภายในทีอ
่ ยูต
่ รงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดทีต
่ ด
ั เส้นขนาน
ดังนั้น PQ̂B = 40°
เนื่องจาก PQ̂R เป็นมุมตรง จะได้ PQ̂B + BQ̂C + CQ̂R = 180°
40 + 40 + a = 180
ดังนั้น a = 100
� �
เนื่องจาก QC // RD
จะได้ DR̂N และ CQ̂R เป็นมุมภายนอกและมุมภายในทีอ
่ ยูต
่ รงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดทีต
่ ด
ั เส้นขนาน
ดังนั้น b = a = 100
นั่นคือ √a + √b = √100 + √100 = 20

11. E จากรูป ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน


จงหาขนาดของ EĤB (2 คะแนน)
40°
ตอบ 117°
G
D C
(3x – 8)°
(2x + 3)°
A B
H

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
254 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

แนวคิด เนื่องจาก GD̂A และ DÂH เป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่ตัดเส้นขนาน


ดังนั้น (3x – 8) + (2x + 3) = 180
จะได้ x = 37
ดังนั้น DÂH = 2(37) + 3 = 77°
เนื่องจาก ขนาดของมุมภายนอกของรูปสามเหลีย่ มเท่ากับผลบวกของขนาดของมุมภายในทีไ่ ม่ใช่มม
ุ ประชิดของ
มุมภายนอกนั้น
จะได้ EĤB = 40 + 77 = 117°

สำ�หรับข้อ 8–11
ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถใช้สมบัติของเส้นขนานและรูปสามเหลี่ยมในการให้เหตุผลและแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม ข้อละ 2 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน
E
12. จากรูป กำ�หนดให้ AB // CD, CF // ED และ CE = CD
p° q°
จงหาค่าของ p, q และ r (3 คะแนน)
C D
ตอบ p = 56
q = 62
° 85° B
A 56 r = 23

F
แนวคิด เนื่องจาก AB // CD จะได้ EĈD และ CÂB เป็นมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกัน
ของเส้นตัดที่ตัดเส้นขนาน
ดังนั้น EĈD = CÂB นั่นคือ p = 56
เนื่องจาก ∆ECD เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
จะได้ ED̂C = (180 – 56) ÷ 2 = 62° ดังนั้น q = 62
เนื่องจาก CF // ED, ED̂C และ DĈF เป็นมุมแย้งกัน จะได้ DĈF = 62°
และเนื่องจาก CD̂B และ AB̂D เป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่ตัดเส้นขนาน
จะได้ CD̂B = 180 – 85 = 95°
พิจารณา ∆CDF จะได้ 62 + 95 + r = 180 ดังนั้น r = 23
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 255

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถใช้สมบัติของเส้นขนานและรูปสามเหลี่ยมในการให้เหตุผลและแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 3 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้คำ�ตอบละ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้คำ�ตอบละ 0 คะแนน

� � �
13. A B จากรูป กำ�หนดให้ AB // DF และ AC // DE
150°
จงหาค่าของ a และ b (2 คะแนน)
C 80°
ตอบ a = 130
b = 150

D
b° F

� � � �
แนวคิด ลาก CG // DF ดังนั้น CG // AB ด้วย
A B เนื่องจาก BÂC และ AĈG เป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน
150° ของเส้นตัดที่ตัดเส้นขนาน
30°
C
50° G
จะได้ AĈG = 180 – 150 = 30°
ดังนั้น GĈD = 80 – 30 = 50°
D a° เนือ
่ งจาก GĈD และ CD̂F เป็นมุมภายในทีอ
่ ยูบ
่ นข้างเดียวกัน
b° F
ของเส้นตัดที่ตัดเส้นขนาน
E
จะได้ CD̂F = 180 – 50 = 130° ดังนั้น a = 130

เนื่องจาก AC // DE, AĈD และ CD̂E เป็นมุมแย้งกัน จะได้ CD̂E = 80°
เนื่องจาก มุมรอบจุด D มีขนาด 360° จะได้ว่า 80 + 130 + b = 360
ดังนั้น b = 150

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถใช้สมบัติของเส้นขนานและรูปสามเหลี่ยมในการให้เหตุผลและแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 2 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้คำ�ตอบละ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้คำ�ตอบละ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
256 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

14. กำ�หนดให้ AC // DE, BÂC = 114° และ AB̂C = 38° จงหาขนาดของ CD̂E พร้อมแสดงเหตุผล (3 คะแนน)
E

A B

แนวคิด
เนื่องจาก BÂC = 114° และ AB̂C = 38° (กำ�หนดให้)
E พิจารณา ∆ABC
เนื่องจาก AĈ B + 114 + 38 = 180° (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของ

C
รูปสามเหลี่ยมรวมกันเท่ากับ 180° )
จะได้ AĈB = 28° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก AC // DE และมี CD เป็นเส้นตัด
D
ดังนั้น CD̂E = 28° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด
114° 38°
B
แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
A

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถใช้สมบัติของเส้นขนานและรูปสามเหลี่ยมในการให้เหตุผลและแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 3 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
✤ เขียนแสดงเหตุผลสมบูรณ์และหาคำ�ตอบได้ถูกต้อง ได้ 3 คะแนน
✤ เขียนแสดงเหตุผลได้บางส่วน และได้คำ�ตอบถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
หรือเขียนแสดงเหตุผลสมบูรณ์ แต่หาคำ�ตอบไม่ถูกต้อง
✤ ไม่เขียนแสดงเหตุผล แต่ได้คำ�ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
หรือเขียนแสดงเหตุผลได้บางส่วน แต่หาคำ�ตอบไม่ถูกต้อง
✤ ไม่เขียนแสดงเหตุผล และได้คำ�ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 3 | เส้นขนาน 257

15. กำ�หนดให้ AB // CD และ BE = FE จงแสดงว่า AB = DF (3 คะแนน)

A B

C F D
แนวคิด
พิจารณา ∆ABE และ ∆DFE
เนื่องจาก AB // CD และมี BF เป็นเส้นตัด (กำ�หนดให้)
จะได้ AB̂E = DF̂E (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
AÊB = DÊF (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
และ BE = FE (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ∆ABE ≅ ∆DFE (ม.ด.ม.)
จะได้ AB = DF (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ จะยาว
เท่ากัน)

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถใช้สมบัติของเส้นขนานและรูปสามเหลี่ยมในการให้เหตุผลและแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 3 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
✤ เขียนแสดงเหตุผลถูกต้องและสมบูรณ์ ได้ 3 คะแนน
✤ เขียนแสดงเหตุผลถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ ได้ 2 คะแนน
✤ เขียนแสดงเหตุผลถูกต้องเพียงเล็กน้อย ได้ 1 คะแนน
✤ ไม่เขียนแสดงเหตุผล หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
258 บทที่ 3 | เส้นขนาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

16. ถ้าหมุนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า AOB รอบจุด O ด้วยมุม 60° ทวนเข็มนาฬิกา โดยหมุนต่อเนื่องไป 5 ครั้ง จะได้
รูปหกเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า ABCDEF ดังรูป

E D

F C
O

A B

จงอธิบายว่า ด้าน AB และด้าน ED ขนานกันหรือไม่ เพราะเหตุใด (3 คะแนน)


แนวคิด
เนื่องจาก EÔB เป็นมุมตรง (EÔD + DÔC + CÔB = 60 + 60 + 60 = 180°)
จะได้ EO และ OB อยู่บน EB
เนื่องจาก DÊO = OB̂A = 60° (มุมภายในแต่ละมุมของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่ามีขนาดเท่ากับ 60°)
ดังนั้น AB // ED (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่งทำ�ให้มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน
แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถใช้สมบัติของเส้นขนานและรูปสามเหลี่ยมในการให้เหตุผลและแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 3 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
✤ เขียนแสดงเหตุผลสมบูรณ์และหาคำ�ตอบได้ถูกต้อง ได้ 3 คะแนน
✤ เขียนแสดงเหตุผลได้บางส่วน และได้คำ�ตอบถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
หรือเขียนแสดงเหตุผลสมบูรณ์ แต่หาคำ�ตอบไม่ถูกต้อง
✤ ไม่เขียนแสดงเหตุผล แต่ได้คำ�ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
หรือเขียนแสดงเหตุผลได้บางส่วน แต่หาคำ�ตอบไม่ถูกต้อง
✤ ไม่เขียนแสดงเหตุผล และได้คำ�ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 259

4
บทที่ การให้เหตุผลทางเรขาคณิต
ในบทการให้เหตุผลทางเรขาคณิตนี้ ประกอบด้วยหัวข้อย่อย ดังต่อไปนี้

4.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการให้เหตุผลทางเรขาคณิต 2 ชั่วโมง


4.2 การสร้างและการให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้าง 5 ชั่วโมง
4.3 การให้เหตุผลเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม 7 ชั่วโมง

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระ การวัดและเรขาคณิต
มาตรฐาน ค 2.2 เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิต และ
ทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำ�ไปใช้ได้

ตัวชี้วัด
ใช้ความรู้ทางเรขาคณิตและเครื่องมือ เช่น วงเวียนและสันตรง รวมทั้งซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad หรือ
ซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตอื่น ๆ เพื่อสร้างรูปเรขาคณิต ตลอดจนนำ�ความรู้เกี่ยวกับการสร้างนี้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา
ในชีวิตจริง

จุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถ
1. สร้างรูปตามที่กำ�หนดและให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้าง
2. นำ�สมบัติหรือทฤษฎีบทเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมมาใช้ในการให้เหตุผล และนำ�ไปใช้ในชีวิตจริง

ความเชื่อมโยงระหว่างตัวชี้วัดกับจุดประสงค์ของบทเรียน
เนื่ อ งจากตั ว ชี้ วั ด กล่ า วถึ ง การใช้ ค วามรู้ ท างเรขาคณิ ต และเครื่ อ งมื อ เช่ น วงเวี ย นและสั น ตรง รวมทั้ ง ซอฟต์ แ วร์
The Geometer’s Sketchpad หรือซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตอื่น ๆ เพื่อสร้างรูปเรขาคณิต ตลอดจนนำ�ความรู้เกี่ยวกับ
การสร้างนี้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง ดังนั้น เพื่อให้การเรียนรู้ของนักเรียนในเรื่องการให้เหตุผลทางเรขาคณิต
สอดคล้องกับตัวชี้วัด ครูควรจัดประสบการณ์ให้นักเรียนสามารถ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
260 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

1. ใช้ความรูท
้ างเรขาคณิตและเครือ่ งมือ เช่น วงเวียนและสันตรง รวมทัง้ ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad หรือ
ซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัตอืน
่ ๆ เพือ่ สร้างรูปเรขาคณิต ซึง่ สะท้อนได้จากการทีน
่ กั เรียนสามารถสร้างรูปตามทีก่ �ำ หนด
โดยใช้การสร้างพืน
้ ฐานทางเรขาคณิต 6 ข้อ การใช้บทนิยามต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง และให้เหตุผลเกีย่ วกับการสร้าง
2. นำ�ความรูเ้ กีย่ วกับการสร้างนีไ้ ปประยุกต์ใช้ในการแก้ปญ
ั หาในชีวต
ิ จริง ซึง่ สะท้อนได้จากการทีน
่ ก
ั เรียนสามารถนำ�
สมบัติหรือทฤษฎีบทเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมมาใช้ในการให้เหตุผล และนำ�ไปใช้ในชีวิตจริง

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

4.1 4.2
ความรู�พื้นฐาน การสร�างและ 4.1 4.2
เกี่ยวกับการให� การให�เหตุผล ความรู�พื้นฐาน การสร�างและ
เหตุผลทางเรขาคณิต เกี่ยวกับการสร�าง เกี่ยวกับการให� การให�เหตุผล
แบบฝ�กหัด 4.1 : แบบฝ�กหัด 4.2 : เหตุผลทางเรขาคณิต เกี่ยวกับการสร�าง
9, 11 4–5 ชวนคิด 4.3 -

4.3 4.3
การให�เหตุผลเกี่ยวกับ อื่น ๆ
อื่น ๆ การให�เหตุผลเกี่ยวกับ -
รูปสามเหลี่ยมและ แบบฝ�กหัดท�ายบท : รูปสามเหลี่ยมและ
รูปสี่เหลี่ยม 17–19 รูปสี่เหลี่ยม
แบบฝ�กหัด ชวนคิด 4.6
4.3 ก : 9

การสื่อสารและ
การแก�ป�ญหา การสื่อความหมาย
ทางคณิตศาสตร�

ทักษะและ
4.1 4.2 กระบวนการ
4.1 4.2
ความรู�พื้นฐาน การสร�างและ การคิด ทางคณิตศาสตร� การเชื่อมโยง ความรู�พื้นฐาน การสร�างและ
เกี่ยวกับการให� การให�เหตุผล สร�างสรรค�
เกี่ยวกับการให� การให�เหตุผล
เหตุผลทางเรขาคณิต เกี่ยวกับการสร�าง
ชวนคิด 4.1 ชวนคิด 4.4, เหตุผลทางเรขาคณิต เกี่ยวกับการสร�าง
4.5 - -

การให�เหตุผล 4.3
4.3 อื่น ๆ การให�เหตุผลเกี่ยวกับ อื่น ๆ
การให�เหตุผลเกี่ยวกับ - รูปสามเหลี่ยมและ แบบฝ�กหัดท�ายบท : 21
รูปสามเหลี่ยมและ รูปสี่เหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม ชวนคิด 4.7
ชวนคิด 4.6 แบบฝ�กหัด
4.3 ข :
4.2 8–10
4.1 การสร�างและ
ความรู�พื้นฐาน การให�เหตุผล
เกี่ยวกับการให� เกี่ยวกับการสร�าง
เหตุผลทางเรขาคณิต แบบฝ�กหัด 4.2 : 2–3
แบบฝ�กหัด 4.1 : กิจกรรม :
12–13 สำรวจพื้นที่รูปสามเหลี่ยม
4.3
การให�เหตุผลเกี่ยวกับ
รูปสามเหลี่ยมและ อื่น ๆ
รูปสี่เหลี่ยม แบบฝ�กหัดท�ายบท : 20
กิจกรรม : สำรวจรูป
สี่เหลี่ยมที่แนบ
ในรูปสี่เหลี่ยม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 261

พัฒนาการของความรู้

ความรูพื้นฐาน 1. ความรูพ
้ น
้ื ฐานและสมบัตข
ิ องรูปเรขาคณิตสองมิติ 2. การสร้างพืน
้ ฐานทางเรขาคณิต
ที่จำเปน 3. ทฤษฎีบทพีทาโกรัส 4. การแปลงทางเรขาคณิต
5. ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลีย่ ม 6. เส้นขนาน

1. ข้อสรุปที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลองหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งเชื่อว่ามีความเป็นไปได้


มากที่สุด แต่ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นจริง เรียกข้อสรุปนั้นว่า ข้อความคาดการณ์
2. ประโยคมีเงื่อนไข ประกอบด้วยข้อความสองข้อความที่เชื่อมด้วย “ถ้า...แล้ว...”
เรียกข้อความที่ตามหลัง “ถ้า” ว่า “เหตุ” และเรียกข้อความที่ตามหลัง “แล้ว”
ว่า “ผล”
3. เมื่อประโยคมีเงื่อนไขเป็นจริงและมีบทกลับเป็นจริง อาจเขียนเป็นประโยคเดียวกัน
โดยใช้คำ�ว่า “ก็ต่อเมื่อ” เชื่อมข้อความทั้งสองในประโยคมีเงื่อนไขนั้นได้ และประโยคที่ได้
ก็จะเป็นจริงด้วย
4. ทฤษฎีบทในบทเรียนนี้
✤ ด้านสองด้านของรูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่งจะยาวเท่ากัน ก็ต่อเมื่อ มุมที่อยู่ตรงข้ามกับ

ความรูที่สำคัญ ด้านทั้งสองนั้น มีขนาดเท่ากัน


✤ ถ้ารูปสามเหลี่ยมมุมฉากสองรูปมีความสัมพันธ์กันแบบ ฉาก–ด้าน–ด้าน (ฉ.ด.ด.)
ในบทเรียน กล่าวคือ มีด้านตรงข้ามมุมฉากยาวเท่ากัน และมีด้านอื่นอีกหนึ่งคู่ยาวเท่ากัน
แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นเท่ากันทุกประการ
✤ ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานยาวเท่ากัน
✤ ถ้ารูปสี่เหลี่ยมรูปหนึ่งมีด้านตรงข้ามยาวเท่ากันสองคู่ แล้วรูปสี่เหลี่ยมรูปนั้นเป็น
รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
✤ มุมตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีขนาดเท่ากัน
✤ ถ้ารูปสี่เหลี่ยมรูปหนึ่งมีมุมตรงข้ามที่มีขนาดเท่ากันสองคู่ แล้วรูปสี่เหลี่ยมรูปนั้นเป็น
รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
✤ เส้นทแยงมุมทั้งสองของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานแบ่งครึ่งซึ่งกันและกันที่จุดตัดของ
เส้นทแยงมุม
✤ ส่วนของเส้นตรงที่ปิดหัวท้ายของส่วนของเส้นตรงที่ขนานกันและยาวเท่ากัน
จะขนานกันและยาวเท่ากัน
✤ ส่วนของเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดกึ่งกลางของด้านสองด้านของรูปสามเหลี่ยมใด ๆ
จะขนานกับด้านที่สามและยาวเป็นครึ่งหนึ่งของด้านที่สาม

ความรูในอนาคต 1. ความคล้าย
2. วงกลม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
262 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ภาพรวมของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

แนะนำ�และอภิปรายเกี่ยวกับ “ข้อความคาดการณ์” “ประโยคมีเงื่อนไข” “บทกลับของประโยคมีเงื่อนไข”

แนะนำ�และอภิปรายถึงคำ�ศัพท์ที่ใช้ในคณิตศาสตร์เพื่อสื่อความหมาย
เช่น คำ�อนิยาม บทนิยาม สัจพจน์ ทฤษฎีบท

ยกตัวอย่างและอภิปรายการพิสูจน์ข้อความทางคณิตศาสตร์ที่เป็นประโยคมีเงื่อนไข แบ่งเป็น
การพิสูจน์ว่าข้อความเป็นจริง และการพิสูจน์ว่าข้อความไม่เป็นจริงโดยยกตัวอย่างค้าน

ทบทวนทฤษฎีบทเบื้องต้นทางเรขาคณิตเพื่อนำ�ไปใช้อ้างอิงในการให้เหตุผล

อภิปรายเกี่ยวกับการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตโดยเน้นการให้เหตุผล
และการใช้ความรู้เรื่องความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม

ยกตัวอย่าง อภิปราย และสร้างรูปเรขาคณิตต่าง ๆ โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต


พร้อมทั้งให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้าง

อภิปรายและยกตัวอย่างการพิสูจน์สมบัติที่สำ�คัญบางประการของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม
พร้อมทั้งอภิปรายการนำ�ไปใช้ในชีวิตจริง

สรุปบทเรียนเรื่องการให้เหตุผลทางเรขาคณิต
ฝึกแก้ปัญหาโดยการทำ�กิจกรรมท้ายบท และแบบฝึกหัดท้ายบท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 263

4.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการให้เหตุผลทางเรขาคณิต (2 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. สร้างข้อความคาดการณ์ในสถานการณ์ที่กำ�หนดให้
2. บอกข้อความที่เป็น “เหตุ” และข้อความที่เป็น “ผล” ของประโยคมีเงื่อนไขที่กำ�หนดให้
3. เขียนบทกลับของประโยคมีเงื่อนไข
4. เขียนบทนิยามที่อยู่ในรูป “ก็ต่อเมื่อ” ให้เป็นประโยคมีเงื่อนไข 2 ประโยค
5. ใช้บทนิยาม สมบัติของจำ�นวน และสมบัติทางเรขาคณิต ในการให้เหตุผลทางเรขาคณิต

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
นักเรียนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า ถ้าประโยคมีเงื่อนไขใดเป็นจริง แล้วบทกลับของประโยคนั้นต้องเป็นจริงด้วย

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.1 : คาดการณ์ได้หรือไม่
2. ซอฟต์แวร์ The Geometer's Sketchpad (GSP)

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการให้เหตุผลทางเรขาคณิต ครูควรใช้การยกตัวอย่าง การอภิปรายและให้
นักเรียนทำ�กิจกรรมเพื่อให้เข้าใจความหมายของข้อความคาดการณ์ และสามารถให้เหตุผลทางเรขาคณิตได้ แนวทางการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูนำ�นักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการสร้างข้อความคาดการณ์ โดยครูอาจยกตัวอย่างสถานการณ์การสร้างข้อความ
คาดการณ์ที่ใช้ในชีวิต เช่น นักเรียน ก สังเกตรายการอาหารกลางวันที่ขายในร้าน A พบว่าทุกวันพฤหัสบดีร้าน A
ขายไข่พะโล้ จึงคาดการณ์ว่า ทุก ๆ วันพฤหัสบดีร้าน A จะมีไข่พะโล้ขาย จากนั้นครูเปิดโอกาสให้นักเรียน
ยกตัวอย่างเชื่อมโยงประสบการณ์ที่เคยพบและสามารถสร้างข้อความคาดการณ์ได้ แล้วครูอาจยกสถานการณ์
การสังเกตจำ�นวนที่เรียงลำ�ดับกันของข้าวปั้น ในหนังสือเรียน หน้า 182 เพื่อหาแบบรูปของจำ�นวน ครูอาจใช้
ชวนคิด 4.1 เพื่อสร้างข้อความคาดการณ์เกี่ยวกับรูปเรขาคณิตของข้าวหอม ในหนังสือเรียน หน้า 182 ร่วมกับ
ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad และชวนคิด 4.3 ในหนังสือเรียน หน้า 197 ในการทดลองสร้าง
ส่ ว นของเส้ น ตรงเพื่ อ แบ่ ง พื้ น ที่ พ ร้ อ มคาดการณ์ คำ � ตอบที่ เ กิ ด ขึ้ น และให้ เ หตุ ผ ลแสดงแนวคิ ด ของคำ � ตอบนั้ น
ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 4.1 : คาดการณ์ได้หรือไม่” ในคูม
่ อ
ื ครู หน้า 266 เพือ
่ ให้นก
ั เรียนได้ฝก
ึ สร้างข้อความ
คาดการณ์เกี่ยวกับจำ�นวนและรูปเรขาคณิตเพิ่มเติม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
264 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2. ครูยกตัวอย่างประโยคมีเงื่อนไข ซึ่งประกอบด้วยสองข้อความที่เชื่อมกันด้วย “ถ้า...แล้ว...” โดยแนะนำ�ข้อความ


ส่วนทีเ่ ป็น “เหตุ” และข้อความส่วนทีเ่ ป็น “ผล” จากนัน
้ ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกีย่ วกับ “ประโยคมีเงือ
่ นไข
เป็นจริง” และ “ประโยคมีเงือ
่ นไขไม่เป็นจริง” ทัง้ นีต
้ วั อย่างประโยคทีค
่ รูน�ำ มาใช้ควรเป็นประโยคทีน
่ ก
ั เรียนคุน
้ เคย
และเข้าใจง่าย เช่น “ถ้าจำ�นวนนับใดหารด้วยสองลงตัว แล้วจำ�นวนนับนั้นเป็นจำ�นวนคู่” และครูควรจัดกิจกรรม
ให้นักเรียนได้มีส่วนในการสร้างประโยคมีเงื่อนไขดังกล่าว
3. ครูนำ�เสนอตัวอย่างประโยคมีเงื่อนไขและบทกลับของประโยคมีเงื่อนไข ให้นักเรียนสังเกตว่าบทกลับของประโยค
มีเงื่อนไขเป็นจริงหรือไม่ จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจนได้ข้อสรุปว่า ถ้าประโยคมีเงื่อนไขใดเป็นจริง
แล้วบทกลับของประโยคนั้นอาจเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ได้ พร้อมยกตัวอย่างชวนคิด 4.2 ในหนังสือเรียน หน้า
184 และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สร้างประโยคมีเงื่อนไขและบทกลับของประโยคมีเงื่อนไขเพื่อตรวจสอบ
ความเข้าใจที่ถูกต้อง พร้อมทั้งแนะนำ�คำ�ว่า “ก็ต่อเมื่อ” ให้นักเรียนใช้กับประโยคมีเงื่อนไขที่เรียนมาข้างต้น
ในกรณีที่ประโยคมีเงื่อนไขเป็นจริงและบทกลับเป็นจริง ซึ่งในบทนี้จะจำ�กัดเพียงขอบเขตนี้เท่านั้น
4. ครูให้นักเรียนทำ� “กิจกรรม : ทำ�ได้ไหม” ในหนังสือเรียน หน้า 185 และให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำ�ตอบจาก
การเขียนประโยคมีเงือ
่ นไขและบทกลับของประโยคมีเงือ
่ นไข เขียนประโยคทีอ
่ ยูใ่ นรูป “ก็ตอ
่ เมือ
่ ” ให้เป็นประโยค
มีเงื่อนไข 2 ประโยค ซึ่งในกิจกรรมนี้จะเห็นได้ว่านักเรียนต้องมีความรู้แม่นยำ�ในเรื่องสมบัติของรูปเรขาคณิต
เช่น รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ดังนั้นครูควรทบทวน
ความรู้ดังกล่าวเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการทำ�กิจกรรมนี้และการเรียนในส่วนต่อไปของบทนี้
5. ครูแนะนำ�คำ�ทีเ่ กีย่ วข้องกับการเรียนเรือ
่ งการให้เหตุผลทางเรขาคณิต เช่น คำ�อนิยาม (undefined term) บทนิยาม
(definition) สัจพจน์ (axiom; postulate) และ ทฤษฎีบท (theorem) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายตัวอย่างที่
1 ถึงตัวอย่างที่ 5 ในหนังสือเรียน หน้า 188–191 เพื่อให้เหตุผลว่าข้อความหรือสิ่งที่กำ�หนดให้นั้นเป็นจริงหรือไม่
เป็นจริง และถ้าไม่เป็นจริง (ดังตัวอย่างที่ 3) ครูควรให้นก
ั เรียนร่วมกันยกตัวอย่างค้าน พร้อมการอภิปรายประกอบ
ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและความถูกต้องในการนำ�เสนอรูปเรขาคณิตหรือภาพจากโจทย์ ครูสามารถใช้ซอฟต์แวร์
The Geometer’s Sketchpad ในการสร้างและการอธิบายโจทย์ได้
นอกจากนีค
้ รูอาจแนะนำ�ให้นก
ั เรียนศึกษาความรูเ้ พิม
่ เติมจากมุมคณิต ในหนังสือเรียน หน้า 195 และ หน้า
196 เกี่ยวกับวิธีการให้เหตุผลซึ่งมีสองวิธี คือการให้เหตุผลแบบอุปนัยและการให้เหตุผลแบบนิรนัย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 265

กิจกรรม : ทำ�ได้ไหม
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมทีม
่ งุ่ เน้นให้นก
ั เรียนเขียนประโยคมีเงือ
่ นไขและบทกลับของประโยคมีเงือ
่ นไข รวมทัง้ เขียนประโยค
ที่อยู่ในรูป “ก็ต่อเมื่อ” ให้เป็นประโยคมีเงื่อนไข 2 ประโยค โดยมีขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
-

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนทำ� “กิจกรรม : ทำ�ได้ไหม”
2. ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยและอภิปรายคำ�ตอบ

เฉลยกิจกรรม : ทำ�ได้ไหม
1. 1) ถ้ารูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า แล้วรูปสามเหลี่ยมนั้นมีส่วนสูงทั้งสามเส้นยาวเท่ากัน
2) ถ้าเส้นทแยงมุมทัง้ สองเส้นของ ABCD ตัดกันเป็นมุมฉากและแบ่งครึง่ ซึง่ กันและกัน แล้ว ABCD เป็นรูปสีเ่ หลีย่ ม
ที่มีด้านทั้งสี่ยาวเท่ากัน

2. 1) รูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่งมีส่วนสูงทั้งสามเส้นยาวเท่ากัน ก็ต่อเมื่อ รูปสามเหลี่ยมนั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า


2) ABCD เป็นรูปสีเ่ หลีย่ มทีม
่ ด
ี า้ นทัง้ สีย่ าวเท่ากัน ก็ตอ
่ เมือ
่ เส้นทแยงมุมทัง้ สองเส้นของ ABCD ตัดกันเป็นมุมฉาก
และแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน

3. 1) “ถ้ารูปสี่เหลี่ยมรูปหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน แล้วด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมนั้นยาวเท่ากันสองคู่” และ


“ถ้ารูปสี่เหลี่ยมรูปหนึ่งมีด้านตรงข้ามยาวเท่ากันสองคู่ แล้วรูปสี่เหลี่ยมนั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน”
2) “ถ้ารูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่งมีขนาดของมุมเท่ากันสองมุม แล้วรูปสามเหลี่ยมนั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว” และ
“ถ้ารูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว แล้วรูปสามเหลี่ยมนั้นมีขนาดของมุมเท่ากันสองมุม”

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
266 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

กิจกรรมเสนอแนะ 4.1 : คาดการณ์ได้หรือไม่


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้นักเรียนสร้างข้อความคาดการณ์เกี่ยวกับจำ�นวนและรูปเรขาคณิต โดยมีสื่อ/อุปกรณ์
และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.1 : คาดการณ์ได้หรือไม่

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนทำ�ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.1 : คาดการณ์ได้หรือไม่
2. ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยและอภิปรายคำ�ตอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 267

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.1 : คาดการณ์ได้หรือไม่

1. จำ�นวนคี่ ได้แก่ … , -7, -5, -3, -1, 1, 3, 5, 7, …


ให้นักเรียนสังเกตแบบรูปแสดงจำ�นวนคี่ ในแต่ละช่องต่อไปนี้

… -5 -3 -1 1 3 5 …
… [2 × (-3)] + 1 [2 × (-2)] + 1 [2 × (-1)] + 1 [2 × 0] + 1 [2 × 1] + 1 [2 × 2] + 1 …

จงเขียนข้อความคาดการณ์ของแบบรูปแสดงจำ�นวนคี่ต่อไปนี้ให้สมบูรณ์
“จำ�นวนคี่ คือ จำ�นวนที่เขียนได้ในรูป เมื่อ k แทนจำ�นวนเต็มจำ�นวนหนึ่ง”

2. สำ�หรับรูปห้าเหลี่ยม ABCDE เมื่อลากเส้นทแยงมุมจากจุดยอดจุดหนึ่ง ในที่นี้คือจุดยอด A ไปยังจุดยอดอื่น


เพื่อทำ�ให้เกิดรูปสามเหลี่ยม ดังตัวอย่าง จะได้ว่ามีเส้นทแยงมุม 2 เส้น และมีรูปสามเหลี่ยมเกิดขึ้น 3 รูป
B

A C

E D

ให้นก
ั เรียนเขียนรูปหลายเหลีย่ มต่าง ๆ และลากเส้นทแยงมุมตามตัวอย่างข้างต้น แล้วเติมจำ�นวนในตาราง ให้สมบูรณ์

จำ�นวนด้านของ 3 4 5 6 … 20 … n
รูปหลายเหลี่ยม
จำ�นวน 2 … …
เส้นทแยงมุม
จำ�นวน
รูปสามเหลี่ยม 3 … …
ที่เกิดจากการลาก
เส้นทแยงมุม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
268 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

3. จงพิ จ ารณาหาแบบรู ป เพื่ อ แสดงจำ � นวนรู ป สี่ เ หลี่ ย มจั ตุ รั ส ที่ แ รเงาและพื้ น ที่ ทั้ ง หมดของรู ป ที่ กำ � หนดให้ ต่ อ ไปนี้
และเขียนจำ�นวนที่ได้ในช่องว่างของตารางข้างล่างนี้

รูปที่ 1 2 3 4

รูปที่ 1 2 3 4 … 10 … n

จำ�นวนรูป 1 3 5 7 … …
ที่แรเงา
พื้นที่ทั้งหมด 1 4 9 16 … …
(ตารางหน่วย)

4. ให้นักเรียนสร้าง AB และ CD ที่ยาวเท่ากันและขนานกันหลาย ๆ คู่ และแต่ละคู่ให้ลาก AD และ BC


จงเขียนข้อความคาดการณ์แสดงความเกี่ยวข้องระหว่าง AD และ BC

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 269

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.1 : คาดการณ์ได้หรือไม่


1. จำ�นวนคี่ คือ จำ�นวนที่เขียนได้ในรูป 2k + 1 เมื่อ k แทนจำ�นวนเต็มจำ�นวนหนึ่ง
2. ตัวอย่างรูปหลายเหลี่ยมต่าง ๆ

จำ�นวนด้านของ 3 4 5 6 … 20 … n
รูปหลายเหลี่ยม
จำ�นวนเส้นทแยงมุม 0 1 2 3 … 17 … n–3

จำ�นวนรูปสามเหลี่ยม
ที่เกิดจากการลาก 1 2 3 4 … 18 … n–2
เส้นทแยงมุม

3.
รูปที่ 1 2 3 4 … 10 … n

จำ�นวนรูป 1 3 5 7 … 19 … 2n – 1
ที่แรเงา
พื้นที่ทั้งหมด 1 4 9 16 … 100 … n
2

(ตารางหน่วย)

4. ตัวอย่างคำ�ตอบ
คำ�ตอบที่ 1
D C D C
D C

A B
A B A B

ข้อความคาดการณ์ : AD และ BC ยาวเท่ากันและขนานกัน


สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
270 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

คำ�ตอบที่ 2
C D C D

A B A B

ข้อความคาดการณ์ : AD และ BC แบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน

คำ�ตอบที่ 3

C D C D

A B A B

ข้อความคาดการณ์ : AD และ BC ตัดกัน ทำ�ให้ได้รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการแบบ ม.ด.ม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 271

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 4.1
แนวคิดและตัวอย่างคำ�ตอบ
ipst.me/10082
นั ก เรี ย นควรจะสร้ า งข้ อ ความคาดการณ์ อ ย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง หรื อ หลายอย่ า งเกี่ ย วกั บ จุ ด ยอดของ
รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วทั้งหลายที่ข้าวหอมสร้างบนฐาน AB เดียวกันได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

A B

✤ จุดยอดของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วทั้งหลายที่มีฐานเดียวกัน จะอยู่บนเส้นตรงเดียวกัน
✤ จุดยอดของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วทั้งหลายที่มีฐานเดียวกัน จะอยู่บนเส้นตรงที่แบ่งครึ่งและตั้งฉากกับฐาน
✤ จุดยอดแต่ละจุดของรูปสามเหลีย่ มหน้าจัว่ ทัง้ หลายทีม
่ ฐี านเดียวกัน จะอยูห
่ า่ งจากจุดปลายของฐานเท่ากัน
เป็นคู่ ๆ
✤ ส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมจุดยอดแต่ละจุดของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วทั้งหลายที่มีฐานเดียวกัน กับจุดปลาย
ของฐาน จะทำ�ให้เกิดมุมที่ฐานที่มีขนาดเท่ากัน เป็นคู่ ๆ
✤ ถ้าลากเส้นตรงผ่านจุดยอดทุกจุดของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วทั้งหลายที่มีฐานเดียวกัน เส้นนี้จะตั้งฉากกับ
ฐานและทำ�ให้เกิดรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการแบบ ฉ.ด.ด. เป็นคู่ ๆ
✤ ถ้าลากเส้นตรงผ่านจุดยอดทุกจุดของรูปสามเหลีย
่ มหน้าจัว่ ทัง้ หลายทีม
่ ฐี านเดียวกัน เส้นนีจ้ ะแบ่งครึง่ ฐาน
และทำ�ให้เกิดรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการแบบ ด.ด.ด. เป็นคู่ ๆ
✤ จุดยอดแต่ละจุดของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วทั้งหลายที่มีฐานเดียวกันที่อยู่ข้างใดข้างหนึ่งของฐาน จะมีภาพ
สะท้อนเป็นจุดยอดของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่อยู่อีกข้างหนึ่งของฐาน เป็นคู่ ๆ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
272 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ชวนคิด 4.2
แนวคิ
ipst.me/10083

บทกลับของประโยคมีเงื่อนไข คือ “ถ้ามะเหมี่ยวอยู่ในประเทศไทย แล้วมะเหมี่ยวอยู่ที่จังหวัดสงขลา”
จะเห็นว่าประโยคนี้ไม่เป็นจริงเสมอไป เพราะมีหลายจังหวัดในประเทศไทย มะเหมี่ยวอาจอยู่ท่ีจังหวัดอื่น
นอกจากจังหวัดสงขลาก็ได้

ชวนคิด 4.3
แนวคิด
ipst.me/10084
ถ้าสร้างส่วนของเส้นตรง 4 เส้น แบ่งพืน
้ ทีข
่ องวงกลมหนึง่ วง จะแบ่งได้มากทีส
่ ด
ุ 11 ชิน
้ โดยมีตวั อย่าง
การแบ่ง ดังรูป

ถ้าจะสร้างข้อความคาดการณ์เพื่อหาจำ�นวนชิ้นที่แบ่งได้มากที่สุด จะต้องหาแบบรูปของจำ�นวนชิ้น
ที่แบ่งได้ในแต่ละครั้ง ดังนี้

จำ�นวนชิ้นที่แบ่งได้
แบ่งครั้งที่ จำ�นวนส่วนของเส้นตรง
จำ�นวนรวม เขียนในรูปผลบวก
1 1 2 1+1
2 2 4 1+1+2
3 3 7 1+1+2+3
4 4 11 1+1+2+3+4
5 5 16 1+1+2+3+4+5
6 6 22 1+1+2+3+4+5+6
. . . .
. . . .
. . . .

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 273

จากแบบรูปข้างต้น จะสร้างข้อความคาดการณ์ได้ว่า
ถ้าสร้างส่วนของเส้นตรง n เส้น จะแบ่งพื้นที่ของวงกลมหนึ่งวงได้มากที่สุด
1 + 1 + 2 + 3 + 4 + 5 + 6 + … + n ชิ้น หรือ 1 + (1 + 2 + 3 + 4 + 5 + 6 + … + n) ชิ้น

ซึ่งเท่ากับ 1 + n(n + 1) ชิ้น


2
2
หรือ n +n+2 ชิ้น
2
2
หรือ (n + 1) – (n – 1) ชิ้น
2
วิธีแบ่งพื้นที่ของวงกลมเพื่อให้ได้จำ�นวนชิ้นที่แบ่งมากที่สุด คือ ในการสร้างส่วนของเส้นตรงตั้งแต่
เส้นที่สองเป็นต้นไป จะต้องให้ตัดกับส่วนของเส้นตรงทุกเส้นที่มีอยู่เดิมในวงกลมเส้นละหนึ่งตำ�แหน่ง และ
ไม่ตัดที่จุดตัดเดิม

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 4.1
ข้อเสนอแนะ ครูควรสอนให้นักเรียนได้ฝึกการวิเคราะห์สิ่งที่โจทย์กำ�หนดให้และเงื่อนไขต่าง ๆ แล้วเขียนสัญลักษณ์แทน
มุมที่มีขนาดเท่ากัน ด้านที่มีความยาวเท่ากัน หรือเติมชื่อมุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขที่กำ�หนดให้ในรูป
เพิม
่ เติม ทัง้ นีค
้ วรกำ�หนดชือ
่ มุมเป็นตัวเลขเพือ
่ ความสะดวกในการเรียกชือ
่ และนำ�ไปใช้ในการแสดงแนวคิด
หรือการพิสูจน์
1. แนวคิด

1 4 3
2

เนื่องจาก 2̂ = 1̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)


1̂ = 4̂ (กำ�หนดให้)
ดังนั้น 2̂ = 4̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 4̂ + 3̂ = 180° (ขนาดของมุมตรง)
ดังนั้น 2̂ + 3̂ = 180° (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 4̂ ด้วย 2̂ )

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
274 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2. 1) แนวคิด A

3
2

4 5
1 B C

เนื่องจาก 1̂ = 3̂ (กำ�หนดให้)
1̂ = 4̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น 3̂ = 4̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 3̂ = 5̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น 3̂ = 4̂ = 5̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 2̂ ≠ 3̂ (กำ�หนดให้)
จะได้ 2̂ ≠ 4̂ และ 2̂ ≠ 5̂
ดังนั้น รูปสามเหลี่ยม ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (มีมุมที่มีขนาดเท่ากันสองมุม)

2) แนวคิด
A

3
2

4 5
1 B C

เนื่องจาก 1̂ = 3̂ (กำ�หนดให้)
1̂ = 4̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น 3̂ = 4̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 3̂ = 5̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
และ 2̂ = 3̂ (กำ�หนดให้)
จะได้ 2̂ = 4̂ = 5̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น รูปสามเหลี่ยม ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า (มีมุมที่มีขนาดเท่ากันสามมุม)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 275

3. แนวคิด 1
X

A 1 E B

3
C F 2 D

เนื่องจาก 1̂ = 2̂ (กำ�หนดให้)
2̂ = 3̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
จะได้ 1̂ = 3̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
� �
ดังนั้น AB // CD (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้มุมภายนอกและ
มุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาด
เท่ากัน แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)

แนวคิด 2
X

A 1 E B
4

3
C F 2 D

เนื่องจาก 1̂ = 2̂ (กำ�หนดให้)
1̂ = 4̂ และ 2̂ = 3̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
จะได้ 4̂ = 3̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
� �
ดังนั้น AB // CD (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้มุมแย้งมีขนาด
เท่ากัน แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
276 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

4. แนวคิด
A B
2

E 1

4 3
C D

� �
กำ�หนดให้ AB // CD และ DE พบ BC ที่จุด E
ต้องการพิสูจน์ว่า BÊD = AB̂E + ED̂C หรือ 1̂ = 2̂ + 3̂
พิสูจน์
เนื่องจาก 2̂ = 4̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมี
ขนาดเท่ากัน)
1̂ = 4̂ + 3̂ (ขนาดของมุมภายนอกของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับผลบวกของ
ขนาดของมุมภายในที่ไม่ใช่มุมประชิดของมุมภายนอกนั้น)
ดังนั้น 1̂ = 2̂ + 3̂ (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 4̂ ด้วย 2̂ )
หรือ BÊD = AB̂E + ED̂C (สมบัติของการเท่ากัน)

5. แนวคิด
L

A M B
3 2
N
C 4 D

1 O
E F
P

� � � �
กำ�หนดให้ AB // CD และ CD // EF
� � � �
LP ตัด AB, CD และ EF ที่จุด M, N และ O ตามลำ�ดับ
ต้องการพิสูจน์ว่า 1) EÔN = BM̂N หรือ 1̂ = 2̂
2) AM̂N + EÔN = 180° หรือ 3̂ + 1̂ = 180°

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 277

พิสูจน์ 1)
เนื่องจาก 1̂ = 4̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาด
เท่ากัน)
และ 4̂ = 2̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอก
และมุมภายในทีอ
่ ยูต
่ รงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาด
เท่ากัน)
ดังนั้น 1̂ = 2̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
หรือ EÔN = BM̂N (สมบัติของการเท่ากัน)
พิสูจน์ 2)
เนื่องจาก 3̂ + 2̂ = 180° (ขนาดของมุมตรง)
และ 1̂ = 2̂ (จากการพิสูจน์ 1) )
ดังนั้น 3̂ + 1̂ = 180° (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 2̂ ด้วย 1̂ )
หรือ AM̂N + EÔN = 180° (สมบัติของการเท่ากัน)

6. แนวคิด เขียนสัญลักษณ์แทนสิ่งที่โจทย์กำ�หนดและสิ่งที่ทราบว่าเท่ากันในรูปประกอบการให้เหตุผลได้ดังนี้
S T Q

50°

50°
P 60°

V U

R
เนื่องจาก TŴQ = 50° (กำ�หนดให้)
STUV เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (กำ�หนดให้)
จะได้ SV // TU (ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานกัน)
ดังนั้น SP̂W = TŴQ = 50° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด
แล้วมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้าม
บนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก ΔPQR เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า (กำ�หนดให้)
จะได้ WP̂U = 60° (มุมภายในแต่ละมุมของรูปสามเหลีย่ มด้านเท่ามีขนาด 60 องศา)
เนื่องจาก SP̂W + WP̂U + UP̂V = 180° (ขนาดของมุมตรง)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
278 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

จะได้ 50 + 60 + UP̂V = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน SP̂W ด้วย 50 และ


แทน WP̂U ด้วย 60)
ดังนั้น UP̂V = 70° (สมบัติของการเท่ากัน)

7. แนวคิด
กระจกเงาราบ
B
ป�ายตกแต�ง ภาพสะท�อน

120°
C

15°

A D

E
เนื่องจากรูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการสะท้อนเท่ากันทุกประการ
BĈD = 120° (กำ�หนดให้)
จะได้ BĈA = 120° (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่
เท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก CÂB + AB̂C + BĈA = 180° (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของ
รูปสามเหลี่ยมรวมกันเท่ากับ 180 องศา)
จะได้ 15 + AB̂C + 120 = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน CÂB
ด้วย 15 และ แทน BĈA ด้วย 120 )
ดังนั้น AB̂C = 45° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก AB̂C = DB̂C = 45° (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่
เท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
และ AB̂D = AB̂C + DB̂C (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น AB̂D = 45 + 45 = 90° (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน AB̂C
และ DB̂C ด้วย 45)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 279

8. แนวคิด

A

F B
4
5 3
1 2
75° z°
E C
y° D

จากภาพซึ่งประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนทั้งหมด 6 รูป ถ้าจะหาค่าของ 3(x + y) – z แสดงว่ามีรูปสี่เหลี่ยม


ขนมเปียกปูนที่เท่ากันทุกประการ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ได้แก่ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน A, C และ E และแบบที่สอง ได้แก่
รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน B, D และ F
เนื่องจาก รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน A, C และ E
มีมุมแหลมมุมหนึ่งซึ่งมีขนาดเท่ากับ y° (กำ�หนดให้)
จะได้ y = 1̂ = 2̂ = 4̂ (มุมตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
มีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน B, D และ F
มีมุมแหลมมุมหนึ่งซึ่งมีขนาดเท่ากับ 75° (กำ�หนดให้)
จะได้ x = 3̂ = 5̂ = 75 (มุมตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
มีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก 2̂ + z = 180 (ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนขนานกัน
และขนาดของมุมภายในทีอ่ ยูบ
่ นข้างเดียวกันของเส้นตัด
ที่ตัดเส้นขนานรวมกันเท่ากับ 180 องศา)
จะได้ z = 180 – 2̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 2̂ + 3̂ + 4̂ + 5̂ + 1̂ + 75 = 360 (มุมรอบจุดมีขนาด 360°)
จะได้ (1̂ + 2̂ + 4̂ ) + (3̂ + 5̂ + 75) = 360
3y + 3(75) = 360
นั่นคือ y = 45
และ z = 180 – 45 = 135
ดังนั้น 3(x + y) – z = 3(75 + 45) – 135
= 225

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
280 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

9. แนวคิด
Q R

1

T

85° 40°
a° 2
P S

เนื่องจาก PQRS เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (กำ�หนดให้)


ดังนั้น 1̂ = 85° และ 2̂ = b° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้ง
มีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก 40 + 1̂ + c = 180 (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยม
รวมกันเท่ากับ 180 องศา)
จะได้ 40 + 85 + c = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดย แทน 1̂ ด้วย 85)
ดังนั้น c = 55 (สมบัติของการเท่ากัน)
จาก ΔPST จะได้ c = a + 2̂ (ขนาดของมุ ม ภายนอกของรู ป สามเหลี่ ย มเท่ า กั บ
ผลบวกของขนาดของมุมภายในทีไ่ ม่ใช่มม
ุ ประชิดของ
มุมภายนอกนั้น)
จะได้ c = a + b = 55 (สมบัติของการเท่ากัน โดย แทน 2̂ ด้วย b )
ดังนั้น a + b + c = (a + b) + c = 55 + 55 = 110

10. แนวคิด
A C
100°

E D m
2 140°
1
B

เนื่องจาก // m และ BÂC = 100° (กำ�หนดให้)


จะได้ 2̂ = 100° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด
แล้วมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้าม
บนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 281

เนื่องจาก 1̂ + 2̂ = 140° (ขนาดของมุ ม ภายนอกของรู ป สามเหลี่ ย มเท่ า กั บ


ผลบวกของขนาดของมุมภายในทีไ่ ม่ใช่มม
ุ ประชิดของ
มุมภายนอกนั้น)
จะได้ 1̂ + 100 = 140 (สมบัติของการเท่ากัน โดย แทน 2̂ ด้วย 100)
ดังนั้น 1̂ = 40° หรือ AB̂C = 40° (สมบัติของการเท่ากัน)

11. แนวคิด 1
F G D
1 20°
2
C

70°
m
E A B

ต่อ AC ออกไปทางจุด C และให้ตัดกับส่วนของเส้นตรง ที่จุด G


เนื่องจาก // m และ EÂC = 70° (กำ�หนดให้)
จะได้ 1̂ = 70° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้ง
มีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก AĈD = 1̂ + 20 (ขนาดของมุ ม ภายนอกของรู ป สามเหลี่ ย ม เท่ า กั บ
ผลบวกของขนาดของมุมภายในทีไ่ ม่ใช่มม
ุ ประชิดของ
มุมภายนอกนั้น)
จะได้ AĈD = 70 + 20 = 90° (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 1̂ ด้วย 70)
เนื่องจาก 1 ของ AĈD
AĈB = – (กำ�หนดให้)
3
จะได้ 1 × 90 = 30°
AĈB = – (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน AĈD ด้วย 90)
3
เนื่องจาก AĈB + BĈD = AĈD
ดังนั้น 30 + BĈD = 90 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน AĈB ด้วย 30 และ
แทน AĈD ด้วย 90)
นั่นคือ BĈD = 60° (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
282 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

แนวคิด 2

F D
20°
1
P C 2 Q
3

70°
m
E A B


ลาก PQ ผ่านจุด C ให้ขนานกับส่วนของเส้นตรง

จะได้ PQ // m (สมบัติของการขนาน)
ดังนั้น 1̂ = 20° และ 2̂ + 3̂ = 70° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้ง
มีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก AĈD = 1̂ + (2̂ + 3̂ )
จะได้ AĈ D = 20 + 70 = 90° (สมบั ติ ข องการเท่ า กั น โดยแทน 1̂ ด้ ว ย 20 และ
แทน 2̂ + 3̂ ด้วย 70)

เนื่องจาก 1 ของ AĈ D


AĈ B = – (กำ�หนดให้)
3
จะได้ AĈB = –1 × 90 = 30° (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน AĈD ด้วย 90)
3
เนื่องจาก AĈ B + BĈD = AĈ D
ดังนั้น 30 + BĈD = 90 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน AĈB ด้วย 30 และ
แทน AĈD ด้วย 90)
นั่นคือ BĈD = 60° (สมบัติของการเท่ากัน)

12. แนวคิด
A

G
4
D
E

2
1 3
B F C

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 283

� �
ให้ BD แบ่งครึ่ง AB̂C และมีจุด E เป็นจุดใด ๆ จุดหนึ่งบน BD
� �
ให้ EG ⊥ BA ที่จุด G และ ให้ EF ⊥ BC ที่จุด F
พิจารณา ΔBEF และ ΔBEG

เนื่องจาก 1̂ = 2̂ (กำ�หนดให้ BD แบ่งครึ่ง AB̂C)
� �
3̂ = 4̂ = 90° (จากการสร้าง EG ⊥ BA ที่จุด G และ EF ⊥ BC ที่จุด F)
BE = BE (BE เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ΔBEF ≅ ΔBEG (ม.ม.ด.)
จะได้ EF = EG (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
นั่นคือ จุดใด ๆ ที่อยู่บนเส้นแบ่งครึ่งมุมมุมหนึ่ง ย่อมอยู่ห่างจากแขนทั้งสองข้างของมุมนั้นเป็นระยะเท่ากัน

13. ไม่จริง เช่น รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว มีเส้นทแยงมุมตั้งฉากกัน แต่ด้านทุกด้านไม่ได้ยาวเท่ากัน ดังรูป


D

A C

หรือ รูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่าที่มีเส้นทแยงมุมตั้งฉากกัน ดังรูป

E G

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
284 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

4.2 การสร้างและการให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้าง (5 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. ให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต
2. สร้างรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมตามเงื่อนไขที่กำ�หนดให้ และให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้างนั้น

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ซอฟต์แวร์ The Geometer's Sketchpad (GSP)

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างและการให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้าง จึงมุ่งเน้นให้นักเรียนสามารถให้เหตุผลเกี่ยวกับ
การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต 6 ข้อได้ โดยอาศัยความรู้เรื่องความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม รวมถึงการสร้าง
รูปเรขาคณิตต่าง ๆ เช่น รูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม ที่มีเงื่อนไขตามที่โจทย์กำ�หนด แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจ
ทำ�ได้ดังนี้
1. ครูทบทวนความรู้ที่จำ�เป็นสำ�หรับเรื่องนี้ เช่น การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต 6 ข้อ (โดยใช้เครื่องมือพื้นฐาน
คือ วงเวียนและสันตรง) ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม เส้นขนาน สมบัติของรูปเรขาคณิต เพื่อให้
นักเรียนมีความแม่นยำ�ในเรื่องเหล่านี้ และนำ�มาใช้ในการให้เหตุผลได้
2. ครูนำ�เสนอและร่วมกันอภิปรายการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต 6 ข้อ เรียงตามลำ�ดับ โดยครูอาจดาวน์โหลดไฟล์
GSP เพื่ อ สอนหรื อ แนะนำ � ให้ นั ก เรี ย นนำ � ไปศึ ก ษาขั้ น ตอนการสร้ า งพื้ น ฐานทางเรขาคณิ ต ข้ อ ที่ 1–6 ได้ ที่
มุมเทคโนโลยี ในหนังสือเรียน หน้า 198 โดยมีแนวทางการให้เหตุผลของการสร้างพื้นฐานแต่ละข้อ ดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 285

การสร้างข้อที่ 2 การแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงที่กำ�หนดให้
ลาก AP, PB, AQ และ QB
∆APQ ≅ ∆BPQ (มีความสัมพันธ์แบบ ด.ด.ด. )
P
เพราะ AP = BP (จากการสร้าง ใช้รัศมียาวเท่ากัน)
1 2
AQ = BQ (จากการสร้าง ใช้รัศมียาวเท่ากัน)
PQ = PQ (PQ เป็นด้านร่วม)
C จะได้ 1̂ = 2̂ (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่
A B
เท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
∆APC ≅ ∆BPC (มีความสัมพันธ์แบบ ด.ม.ด.)
เพราะ AP = BP (จากการสร้าง ใช้รัศมียาวเท่ากัน)
Q
1̂ = 2̂ (จากการพิสูจน์ข้างต้น)
PC = PC (PC เป็นด้านร่วม)
จะได้ AC = BC (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยม
ที่เท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน)
ดังนั้น จุด C แบ่งครึ่ง AB

การสร้างข้อที่ 3 การสร้างมุมให้มีขนาดเท่ากับขนาดของมุมที่กำ�หนดให้
A
ลาก DE และ MN
D
∆DBE ≅ ∆MYN (มีความสัมพันธ์แบบ ด.ด.ด.)
เพราะ BE = YN (จากการสร้าง ใช้รัศมียาวเท่ากัน)
BD = YM (จากการสร้าง ใช้รัศมียาวเท่ากัน)
ED = NM (จากการสร้าง ใช้รัศมียาวเท่ากัน)
B E C
จะได้ B̂ = Ŷ (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยม
X ที่เท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
M
หรือ Ŷ = B̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น XŶZ = AB̂C (สมบัติของการเท่ากัน)

Y N Z

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
286 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

การสร้างข้อที่ 4 การแบ่งครึ่งมุมที่กำ�หนดให้
ลาก MD และ ND
A
∆BMD ≅ ∆BND (มีความสัมพันธ์แบบ ด.ด.ด.)
เพราะ BM = BN (รัศมีของวงกลมเดียวกัน)
D
M
MD = ND (จากการสร้าง ใช้รัศมียาวเท่ากัน)
BD = BD (BD เป็นด้านร่วม)
จะได้ MB̂D = NB̂D (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยม
B N C ที่เท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น AB̂D = CB̂D (สมบัติของการเท่ากัน)

การสร้างข้อที่ 5 การสร้างเส้นตั้งฉากจากจุดภายนอกมายังเส้นตรงที่กำ�หนดให้
ลาก MP, MQ, NP และ NQ

P ∆MPQ ≅ ∆NPQ (มีความสัมพันธ์แบบ ด.ด.ด.)
1 2 เพราะ MP = NP (รัศมีของวงกลมเดียวกัน)
MQ = NQ (จากการสร้าง ใช้รัศมียาวเท่ากัน)
PQ = PQ (PQ เป็นด้านร่วม)
M 3 4 N จะได้ 1̂ = 2̂ (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยม
B
A C B ที่เท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
∆MPC ≅ ∆NPC (มีความสัมพันธ์แบบ ด.ม.ด.)
Q เพราะ MP = NP (รัศมีของวงกลมเดียวกัน)
1̂ = 2̂ (จากการพิสูจน์ข้างต้น)
PC = PC (PC เป็นด้านร่วม)
จะได้ 3̂ = 4̂ (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยม
ที่เท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก 3̂ + 4̂ = 180° (ขนาดของมุมตรง)
ทำ�ให้ได้ 3̂ = 4̂ = 90° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น AĈP = BĈP = 90° (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 287

การสร้างข้อที่ 6 การสร้างเส้นตั้งฉากที่จุดจุดหนึ่งที่อยู่บนเส้นตรงที่กำ�หนดให้
ลาก MX และ NX
X
∆MXP ≅ ∆NXP (มีความสัมพันธ์แบบ ด.ด.ด.)
เพราะ MP = NP (รัศมีของวงกลมเดียวกัน)
MX = NX (จากการสร้าง ใช้รัศมียาวเท่ากัน)
M 1 2 N XP = XP (XP เป็นด้านร่วม)
A P B จะได้ 1̂ = 2̂ (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยม
ที่เท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก 1̂ + 2̂ = 180° (ขนาดของมุมตรง)
ทำ�ให้ได้ 1̂ = 2̂ = 90° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น AP̂X = BP̂X = 90° (สมบัติของการเท่ากัน)

3. ครูน�ำ เสนอและอภิปรายการนำ�ความรูเ้ กีย่ วกับการสร้างพืน


้ ฐานทางเรขาคณิต 6 ข้อ ไปใช้ในการสร้างรูปเรขาคณิต
ต่าง ๆ ดังตัวอย่างที่ 1 ในหนังสือเรียน หน้า 204 การสร้างเส้นขนานที่ใช้ความรู้เรื่องมุมแย้งหรือหลักการสร้าง
รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และตัวอย่างที่ 2 ในหนังสือเรียน หน้า 206 การสร้างรูปสามเหลี่ยมจากเงื่อนไขของ
โจทย์ที่กำ�หนดความยาวของฐาน ส่วนสูงและขนาดของมุม 1 มุม ที่ใช้หลักการสร้างเส้นขนาน ทั้งนี้ในการสอน
ครูควรใช้การถาม–ตอบทีละขั้นตอนของการสร้างเพื่อฝึกการให้เหตุผล
4. ครูให้นักเรียนทำ� “กิจกรรม : สำ�รวจพื้นที่รูปสามเหลี่ยม” ในหนังสือเรียน หน้า 211 เพื่อสร้างข้อความคาดการณ์
เกีย
่ วกับพืน
้ ทีข
่ องรูปสามเหลีย
่ มทีม
่ ฐี านเดียวกันและจุดยอดอยูบ
่ นเส้นตรงทีข
่ นานกับฐาน และอาจใช้ชวนคิด 4.4
และชวนคิด 4.5 ในหนังสือเรียน หน้า 211 เพื่อให้นักเรียนฝึกคิด ให้เหตุผล และเชื่อมโยงความสัมพันธ์เกี่ยวกับ
พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
288 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

กิจกรรม : สำ�รวจพื้นที่รูปสามเหลี่ยม
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้นักเรียนฝึกการสร้างข้อความคาดการณ์เกี่ยวกับพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม โดยมีสื่อ/
อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรมดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad (GSP)

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนจับคู่กันทำ� “กิจกรรม : สำ�รวจพื้นที่รูปสามเหลี่ยม” ในหนังสือเรียน หน้า 211
2. ครูให้นักเรียนสร้างรูปตามเงื่อนไขที่กำ�หนดให้ โดยใช้ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad และบันทึกสิ่งที่
นักเรียนสำ�รวจและค้นพบ
3. ครูอภิปรายกับนักเรียนถึงแนวทางในการสร้างข้อความคาดการณ์เกีย่ วกับพืน
้ ทีข
่ องรูปสามเหลีย่ มตามเงือ
่ นไขทีก
่ �ำ หนด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 289

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจพื้นที่รูปสามเหลี่ยม

ตัวอย่างแนวการสร้างและการสำ�รวจโดยใช้ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad



X D C E F Y m ∠XCA = 75.60°
m ∠CAB = 75.60°
ระยะทางจากจุด C ถึง AB = 4.84 ซม.
ระยะทางจากจุด D ถึง AB = 4.84 ซม.
ระยะทางจากจุด E ถึง AB = 4.84 ซม.
ระยะทางจากจุด F ถึง AB = 4.84 ซม.
A B

AB = 6.39 ซม. AB พื้นที่ ΔABC พื้นที่ ΔADB พื้นที่ ΔAEB พื้นที่ ΔAFB
2 2 2 2
พื้นที่ ΔABC = 15.47 ซม.
2 7.87 ซม. 19.89 ซม. 19.89 ซม. 19.89 ซม. 19.89 ซม.
2 2 2 2
2 8.74 ซม. 22.10 ซม. 22.10 ซม. 22.10 ซม. 22.10 ซม.
พื้นที่ ΔADB = 15.47 ซม. 2 2 2 2
2 4.41 ซม. 11.13 ซม. 11.13 ซม. 11.13 ซม. 11.13 ซม.
พื้นที่ ΔAEB = 15.47 ซม. 2 2 2 2
2 5.81 ซม. 14.45 ซม. 14.45 ซม. 14.45 ซม. 14.45 ซม.
พื้นที่ ΔAFB = 15.47 ซม. 2 2 2 2
6.39 ซม. 15.47 ซม. 15.47 ซม. 15.47 ซม. 15.47 ซม.

ข้อความคาดการณ์
รูปสามเหลี่ยมที่มีฐานเดียวกัน และมีจุดยอดอยู่บนเส้นตรงที่ขนานกับฐาน จะมีพื้นที่เท่ากัน

พิสูจน์ข้อความคาดการณ์
X D C E F Y

h2 h1 h4
h3

A B

กำ�หนดให้ XY // AB และ ΔABC, ΔADB, ΔAEB, ΔAFB อยู่บนฐาน AB โดยมีจุดยอด

C, D, E, F อยู่บน XY
ต้องการพิสูจน์ว่า พื้นที่ของ ΔABC = พื้นที่ของ ΔADB = พื้นที่ของ ΔAEB = พื้นที่ของ ΔAFB
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
290 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

พิสูจน์
1 × AB × h
เนื่องจาก พื้นที่ของ ΔABC = – เมื่อ h1 เป็นความสูงของ ΔABC
2 1

1
พื้นที่ของ ΔADB = – × AB × h2 เมื่อ h2 เป็นความสูงของ ΔADB
2
1 × AB × h
พื้นที่ของ ΔAEB = – เมื่อ h3 เป็นความสูงของ ΔAEB
2 3

1
พื้นที่ของ ΔAFB = – × AB × h4 เมื่อ h4 เป็นความสูงของ ΔAFB
2

เนื่องจาก XY // AB (กำ�หนดให้)
� � �
จะได้ XY // AB (AB อยู่บน AB)
และ h1 = h2 = h3 = h4 (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกัน แล้วระยะห่างระหว่างเส้นตรงคู่นั้น
จะเท่ากัน)

นั่นคือ –1 × AB × h1 = –1 × AB × h2 = –1 × AB × h3 = –1 × AB × h4 (สมบัติของการเท่ากัน)
2 2 2 2
ดังนั้น พื้นที่ของ ΔABC = พื้นที่ของ ΔADB = พื้นที่ของ ΔAEB = พื้นที่ของ ΔAFB (สมบัติของการเท่ากัน)

เฉลยคำ�ถามในกิจกรรม
1. รูปสามเหลี่ยมแต่ละรูป มีพื้นที่เท่ากับพื้นที่ของ ∆ABC
เพราะ รูปสามเหลี่ยมแต่ละรูปมีฐาน AB ร่วมกัน และมีความสูงเท่ากัน (ระยะห่างระหว่างจุดยอดกับฐาน AB ของ
รูปสามเหลี่ยมแต่ละรูปเท่ากัน)

2. มีหลายรูปนับไม่ถ้วน และรูปสามเหลี่ยมเหล่านั้นมีจุดยอดอยู่บน XY ที่ผ่านจุด C และขนานกับฐาน AB หรือมี
� �
จุดยอดอยู่บนเส้นตรงอีกเส้นหนึ่ง ( PQ) ที่อยู่ใต้ฐาน AB ขนานกับฐาน AB และอยู่ห่างจากฐาน AB เท่ากับที่ XY อยู่
ห่างจากฐาน AB ดังรูป
X C Y

A B

P Q
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 291

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 4.4
แนวคิด คำ�ตอบมีได้หลากหลาย ตัวอย่างคำ�ตอบ เช่น

ipst.me/10085
วิธีที่ 1 แบ่งครึ่งฐาน แล้วลากส่วนของเส้นตรงจากจุดยอดมายังจุดแบ่งครึ่งฐาน

Q D E R

ให้ QR เป็นฐานของ ∆PQR ให้ PE เป็นส่วนสูงของ ∆PQR


จากการสร้างเส้นตรงแบ่งครึ่ง QR ที่จุด D จะได้ QD = DR = – 1 QR แล้วลาก PD
2
จะได้ ∆PQD และ ∆PRD มีพื้นที่เป็นครึ่งหนึ่งของพื้นที่ของ ∆PQR
แนวคิดในการให้เหตุผล
1 × QR × PE
พื้นที่ของ ∆PQR = – (PE เป็นส่วนสูงของ ∆PQR)
2
1 × QD × PE
พื้นที่ของ ∆PQD = –
2
= – 1×– 1 QR × PE 1 QR)
(แทน QD ด้วย –
2 2 2
= – 1 × พื้นที่ของ ∆PQR
2
ในทำ�นองเดียวกัน
1 × พื้นที่ของ ∆PQR
พื้นที่ของ ∆PRD = –
2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
292 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

วิธีที่ 2 แบ่งครึ่งส่วนสูง แล้วลากส่วนของเส้นตรงจากจุดแบ่งครึ่งที่ได้นั้นไปยังจุดปลายทั้งสองข้างของฐาน

นอกจากจะใช้จุด G เป็น
S T จุดยอดของรูปสามเหลี่ยมที่สร้างแล้ว
G
จะใช้จุดใดจุดหนึ่งบน

ST ก็จะได้ผลเช่นเดียวกัน

Q F R

ให้ PF เป็นส่วนสูงของ ∆PQR


� 1 PF แล้วลาก GQ และ GR
จากการสร้าง ST แบ่งครึ่ง PF ที่จุด G จะได้ GF = PG = –
2
จะได้ ∆GQR มีพื้นที่เป็นครึ่งหนึ่งของพื้นที่ของ ∆PQR
แนวคิดในการให้เหตุผล
1 × QR × PF
พื้นที่ของ ∆PQR = –
2
1 × QR × GF
พื้นที่ของ ∆GQR = –
2
= – 1 × QR × – 1 PF 1 PF)
(แทน GF ด้วย –
2 2 2
= – 1×– 1 × QR × PF
2 2
= – 1 × พื้นที่ของ ∆PQR
2

วิธีที่ 3 สร้างฐานให้มีความยาวเป็นสองเท่าของความยาวของฐานเดิม และสร้างส่วนสูงให้มีความยาวเป็น


1 ของความสูงเดิม แล้วลากเส้นจากจุดยอดใหม่ที่ได้นั้นไปยังจุดปลายทั้งสองข้างของฐานใหม่

4

Q D R S

ให้ QR เป็นฐานของ ∆PQR และให้ PD เป็นส่วนสูงของ ∆PQR


จากการต่อ QR ออกไปทางจุด R จนถึงจุด S โดยให้ RS = QR จะได้ QS = 2QR
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 293

1 PD
จากการแบ่งครึ่ง PD ที่จุด M จะได้ MD = PM = –
2
และจากการแบ่งครึ่ง MD ที่จุด N จะได้ ND = MN = –1 MD = –
1 (–
1 PD) = –
1 PD
2 2 2 4
แล้วลาก NQ และ NS
จะได้ ∆NQS มีพื้นที่เป็นครึ่งหนึ่งของพื้นที่ของ ∆PQR
แนวคิดในการให้เหตุผล
1 × QR × PD
พื้นที่ของ ∆PQR = –
2
1 × QS × ND
พื้นที่ของ ∆NQS = –
2
= – 1 × 2QR × – 1 PD (แทน QS ด้วย 2QR และแทน ND ด้วย –
1 PD)
2 4 4
= – 1×– 1 × QR × PD
2 2
= – 1 × พื้นที่ของ ∆PQR
2

ชวนคิด 4.5
แนวคิด คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น
ipst.me/10086
วิธีที่ 1 สร้ า งรู ป สามเหลี่ ย มให้ มี ค วามยาวของฐานเป็ น สองเท่ า ของความยาวของฐานของรู ป สี่ เ หลี่ ย ม
ด้านขนาน แต่มีความสูงเท่ากับความสูงของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
D E C

A F B G

ให้ AB เป็นฐาน และให้ EF เป็นส่วนสูงของ ABCD


จากการต่อ AB ออกไปทางจุด B จนถึงจุด G โดยให้ BG = AB จะได้ AG = 2AB
แล้วลาก EA และ EG
จะได้ ∆EAG มีพื้นที่เท่ากับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ABCD
แนวคิดในการให้เหตุผล
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ABCD = AB × EF
1 × AG × EF
พื้นที่ของ ∆EAG = –
2
= – 1 × 2AB × EF (แทน AG ด้วย 2AB)
2
= AB × EF
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
294 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ดังนั้น ∆EAG มีพื้นที่เท่ากับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ABCD



เนื่องจาก จุด E เป็นจุดจุดหนึ่งบน CD และยังมีจุดอื่น ๆ อีกมากมายบน CD ที่อยู่ห่างจาก AB
เท่ากับ EF
ดังนั้น จึงสามารถสร้างรูปสามเหลี่ยมที่มีพื้นที่เท่ากับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ABCD เช่นเดียวกับ
∆EAG ได้อีกหลายรูป เช่น ∆MAG เป็นรูปสามเหลี่ยมอีกรูปหนึ่งที่มีพื้นที่เท่ากับพื้นที่
ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ABCD ดังรูป

D E M C

A F B G

วิธีที่ 2 สร้างรูปสามเหลีย
่ มให้มค
ี วามยาวของฐานเท่ากับความยาวของฐานของรูปสีเ่ หลีย
่ มด้านขนาน แต่มี
ความสูงเป็นสองเท่าของความสูงของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

D E C

A F B

ให้ EF เป็นส่วนสูงของ ABCD


จากการต่อ FE ออกไปทางจุด E จนถึงจุด M โดยให้ ME = EF จะได้ MF = 2EF แล้วลาก
MA และ MB
จะได้ ∆MAB มีพื้นที่เท่ากับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ABCD

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 295

แนวคิดในการให้เหตุผล
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ABCD = AB × EF
1 × AB × MF
พื้นที่ของ ∆MAB = –
2
= – 1 × AB × 2EF (แทน MF ด้วย 2EF)
2
= AB × EF
ดังนั้น ∆MAB มีพื้นที่เท่ากับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ABCD


สร้าง ST ผ่านจุด M ให้ขนานกับ AB
� �
เนื่องจาก จุด M เป็นจุดจุดหนึ่งบน ST ที่ขนานกับ AB และยังมีจุดอื่น ๆ อีกมากมายบน ST ที่อยู่ห่าง
จาก AB เท่ากับ 2EF
ดังนั้น จึงสามารถสร้างรูปสามเหลี่ยมที่มีพื้นที่เท่ากับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ABCD เช่นเดียวกับ
∆MAB ได้อีกหลายรูป เช่น ∆NAB เป็นรูปสามเหลี่ยมอีกรูปหนึ่งที่มีพื้นที่เท่ากับพื้นที่ของ
รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ABCD ดังรูป

S M N T

D E C

A F B

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
296 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 4.2
1. 1) แนวคิด 1

P
a R
X C

b b

Y Z A a B Q

� �
1. สร้าง AQ และบน AQ สร้าง AB ยาว a หน่วย
2. สร้าง PÂQ ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ XŶZ

3. สร้าง AR แบ่งครึ่ง PÂQ

4. บน AR สร้าง AC ยาว b หน่วย
5. ลาก BC
จะได้ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมตามต้องการ

แนวคิด 2
a U
X C
S

b b

Z A a B T
Y

1. สร้าง YS แบ่งครึ่ง XŶZ
2. สร้าง UÂT ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ SŶZ

3. บน AT สร้าง AB ยาว a หน่วย

4. บน AU สร้าง AC ยาว b หน่วย
5. ลาก BC
จะได้ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมตามต้องการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 297

Q
2) แนวคิด Z

C D

A F B X R Y P


1. สร้าง DE แบ่งครึ่ง AB ที่จุด F

2. สร้าง XP
� 1 AB + AC
3. บน XP สร้าง XR ยาวเท่ากับ AF และสร้าง RY ยาวเท่ากับ AC จะได้ XY = –
2
4. สร้าง XŶQ ให้มีขนาดเท่ากับสองเท่าของขนาดของ AB̂C

5. บน YQ สร้าง YZ ยาวเท่ากับ BC
6. ลาก XZ
จะได้ ΔXYZ เป็นรูปสามเหลี่ยมตามต้องการ

3) แนวคิด
X

Y Z S
� � Q
1. สร้าง BP และบน BP สร้าง BA ยาว b หน่วย C
2. สร้าง AB̂Q ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ XŶZ R E

3. สร้าง BR แบ่งครึ่ง AB̂Q
� a
4. บน BR สร้าง BE ยาว a หน่วย
� �
5. ลาก AS ให้ผ่านจุด E และตัด BQ ที่จุด C
จะได้ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมตามต้องการ P A b B

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
298 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

4) แนวคิด

P C

Q R A B X


1. สร้าง AX

2. บน AX สร้าง AB ยาวเป็นสองเท่าของ QR
3. ใช้จุด A และจุด B เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีเท่ากับ PR เขียนส่วนโค้งให้ตัดกันที่จุด C
4. ลาก AC และ BC
จะได้ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วตามต้องการ

5) แนวคิด


a b

R
U
S C T

b a


P A V B Q
� �
1. สร้าง PQ และกำ�หนดจุด A บน PQ
� �
2. สร้าง AR ตั้งฉากกับ PQ ที่จุด A

3. บน AR สร้าง AS ยาว b หน่วย
� � �
4. สร้าง ST ตั้งฉากกับ AR ที่จุด S ทางด้านเดียวกับ AQ
� �
5. สร้าง UÂQ ให้มีขนาดเท่ากับ k° และ AU ตัด ST ที่จุด C

(จะได้จุด C มีระยะห่างจาก PQ เท่ากับ b หน่วย)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 299


6. ใช้จุด C เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีเท่ากับ a หน่วย เขียนส่วนโค้งตัด AQ ที่จุด V

7. ใช้จุด V เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีเท่ากับ VA เขียนส่วนโค้งตัด VQ ที่จุด B
8. ลาก BC
จะได้ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมตามต้องการ

2. แนวคิด

V
a
D
b

R U

E
S

P M b N Q

� �
1. สร้าง PQ และกำ�หนดจุด M บน PQ แล้วสร้าง MN ยาว b หน่วย
� � �
2. สร้าง MR ตั้งฉากกับ PQ ที่จุด M และบน MR สร้าง MC ยาว a หน่วย

3. ลาก ST ผ่านจุด N และจุด C
� � � � �
4. สร้าง NU ตั้งฉากกับ ST ที่จุด N และสร้าง CV ตั้งฉากกับ ST ที่จุด C ทางด้านเดียวกันของ ST
� �
5. ใช้จุด N และจุด C เป็นจุดศูนย์กลางรัศมีเท่ากับ NC เขียนส่วนโค้งตัด NU ที่จุด E และตัด CV ที่จุด D
ตามลำ�ดับ
6. ลาก DE
จะได้ NCDE เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตามต้องการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
300 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

แนวคิดในการให้เหตุผล
เนื่องจาก ΔCMN เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มี CM̂N เป็นมุมฉาก MN = b หน่วย และ MC = a หน่วย
(จากการสร้าง)
2 2 2
จะได้ NC = a + b (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
เนื่องจาก NCDE เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่แต่ละด้านยาวเท่ากับ NC (จากการสร้าง)
2 2 2
ดังนั้น NCDE มีพื้นที่เท่ากับ NC ตารางหน่วย หรือ a + b ตารางหน่วย
2
เนื่องจาก รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส A มีพื้นที่ a ตารางหน่วย (รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส A มีความยาว
ของแต่ละด้าน a หน่วย)
2
และ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส B มีพื้นที่ b ตารางหน่วย (รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส B มีความยาว
ของแต่ละด้าน b หน่วย)
ดังนั้น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส NCDE มีพื้นที่เท่ากับ ผลบวกของ
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส A และพื้นที่ของ
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส B (สมบัติของการเท่ากัน)

3. แนวคิด 1
1) a B
b
b
a

A C Q P

a
b

� �
1. สร้าง AP และบน AP สร้าง AQ ยาว a + b หน่วย
2. กำ�หนดจุด C บน AQ จะได้ AC ยาวน้อยกว่า a + b หน่วย
(เนือ่ งจาก จะสร้างรูปสามเหลีย่ มได้เมือ่ ผลบวกของความยาวของด้านสองด้านใด ๆ ของรูปสามเหลีย่ มมากกว่า
ความยาวของด้านที่สาม)
3. ใช้จุด A เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีเท่ากับ a หน่วย และใช้จุด C เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีเท่ากับ b หน่วย
เขียนส่วนโค้งตัดกันทั้งสองด้านของ AC ที่จุด B และจุด D ตามลำ�ดับ
4. ลาก BA, BC, DA และ DC
จะได้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าวตามต้องการ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 301

2) สร้างได้หลายรูปนับไม่ถ้วน
เพราะ สามารถสร้าง AC ให้ยาวน้อยกว่า a + b หน่วย ได้มากมายนับไม่ถ้วน โดยให้จุดตัด B และ D อยู่
ทางขวาของจุด A เสมอ ดังตัวอย่าง

b B
b
a

A C Q P

a
b
D
B

b
a

A Q P
C

a
b

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
302 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

แนวคิด 2
1)
a B

b
a a

A
C Q P

b b

� �
1. สร้าง AP และบน AP สร้าง AQ ยาว 2a หน่วย
2. กำ�หนดจุด C บน AQ จะได้ AC ยาวน้อยกว่า 2a หน่วย
(เนือ่ งจาก จะสร้างรูปสามเหลีย่ มได้เมือ่ ผลบวกของความยาวของด้านสองด้านใด ๆ ของรูปสามเหลีย่ มมากกว่า
ความยาวของด้านที่สาม)
3. ใช้จุด A และจุด C เป็นจุดศูนย์กลางรัศมีเท่ากับ a หน่วย เขียนส่วนโค้งตัดกันทางด้านใดด้านหนึ่งของ AC
ที่จุด B แล้วลาก BA และ BC
4. ใช้จุด A และจุด C เป็นจุดศูนย์กลางรัศมีเท่ากับ b หน่วย เขียนส่วนโค้งตัดกันอีกด้านหนึ่งของ AC ที่จุด D
แล้วลาก DA และ DC
จะได้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าวตามต้องการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 303

2) สร้างได้หลายรูปนับไม่ถ้วน
เพราะ สามารถสร้าง AC ให้ยาวน้อยกว่า 2a หน่วย ได้มากมายนับไม่ถ้วน โดยให้จุดตัด B และ D
อยู่ทางขวาของจุด A เสมอ ดังตัวอย่าง

B b
B
a a
a a

A C Q P A C Q P

b b b b

D D

4. แนวคิด 1
R C

S D

P Q A B T

� �
1. สร้าง AT และบน AT สร้าง AB ยาวเท่ากับ PQ
2. ลาก QS
3. ใช้จุด A เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีเท่ากับ PS และใช้จุด B เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีเท่ากับ QS
เขียนส่วนโค้งตัดกันที่จุด D
4. ลาก AD
5. ใช้จุด B เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีเท่ากับ QR และใช้จุด D เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีเท่ากับ SR
เขียนส่วนโค้งตัดกันที่จุด C
6. ลาก BC และ DC
จะได้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการกับ PQRS
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
304 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

แนวคิดในการให้เหตุผล
R C

S D

P Q A B T

พิจารณา ΔABD และ ΔPQS


เนื่องจาก AB = PQ, AD = PS และ BD = QS (จากการสร้าง)
ดังนั้น ΔABD ≅ ΔPQS (ด.ด.ด.)
จะได้ DÂB = SP̂Q, AB̂D = PQ̂S และ BD̂A = QŜP (มุมคูท
่ สี่ มนัยกันของรูปสามเหลีย่ ม
ที่เท่ากันทุกประการ จะมีขนาด
เท่ากัน)
พิจารณา ΔBCD และ ΔQRS
เนื่องจาก BD = QS, DC = SR และ BC = QR (จากการสร้าง)
ดังนั้น ΔBCD ≅ ΔQRS (ด.ด.ด.)
จะได้ DB̂C = SQ̂R, BĈD = QR̂S และ CD̂B = RŜQ (มุมคูท
่ สี่ มนัยกันของรูปสามเหลีย่ ม
ที่เท่ากันทุกประการ จะมีขนาด
เท่ากัน)
นั่นคือ AB̂D + DB̂C = PQ̂S + SQ̂R (สมบัติของการเท่ากัน)
จะได้ AB̂C = PQ̂R (สมบัติของการเท่ากัน)
ในทำ�นองเดียวกันจะได้ CD̂A = RŜP (สมบัติของการเท่ากัน)
พิจารณา ABCD และ PQRS
จะได้ AB = PQ, BC = QR, CD = RS และ AD = PS (จากการสร้าง)
DÂB = SP̂Q, AB̂C = PQ̂R, BĈD = QR̂S
และ CD̂A = RŜP (จากการพิสูจน์ข้างต้น)
ดังนั้น ABCD ≅ PQRS (รูปหลายเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ ด้านคู่ที่สมนัยกัน
ยาวเท่ากันเป็นคู่ ๆ และมุมคู่ที่สมนัยกัน มีขนาดเท่ากันเป็นคู่ ๆ)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 305

แนวคิด 2
R U C

S D

P Q A B T

� �
1. สร้าง AT และบน AT สร้าง AB ยาวเท่ากับ PQ
2. ที่จุด A สร้าง UÂB ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ SP̂Q

3. บน AU สร้าง AD ยาวเท่ากับ PS
4. ใช้จุด B เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีเท่ากับ QR และใช้จุด D เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีเท่ากับ SR
เขียนส่วนโค้งตัดกันที่จุด C
5. ลาก BC และ DC
จะได้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการกับ PQRS

แนวคิดในการให้เหตุผล
R U C

S D

P Q A B T

ลาก QS และ BD
พิจารณา ΔABD และ ΔPQS
เนื่องจาก AB = PQ, DÂB = SP̂Q และ AD = PS (จากการสร้าง)
ดังนั้น ΔABD ≅ ΔPQS (ด.ม.ด.)
จะได้ BD = QS, AB̂D = PQ̂S และ BD̂A = QŜP (ด้ า นคู่ ที่ ส มนั ย กั น ของรู ป สามเหลี่ ย ม
ที่เท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน และ
มุ ม คู่ ที่ ส มนั ย กั น ของรู ป สามเหลี่ ย มที่
เท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
306 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

พิจารณา ΔBCD และ ΔQRS


เนื่องจาก BC = QR, CD = RS (จากการสร้าง)
และ BD = QS (จากการพิสูจน์ข้างต้น)
ดังนั้น ΔBCD ≅ ΔQRS (ด.ด.ด.)
จะได้ DB̂C = SQ̂R, BĈD = QR̂S และ CD̂B = RŜQ (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยม
ที่เท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
นั่นคือ AB̂D + DB̂C = PQ̂S + SQ̂R (สมบัติของการเท่ากัน)
จะได้ AB̂C = PQ̂R (สมบัติของการเท่ากัน)
ในทำ�นองเดียวกันจะได้ CD̂A = RŜP (สมบัติของการเท่ากัน)
พิจารณา ABCD และ PQRS
จะได้ AB = PQ, BC = QR, CD = RS และ AD = PS (จากการสร้าง)
และ DÂB = SP̂Q (จากการสร้าง)
AB̂C = PQ̂R, BĈD = QR̂S และ CD̂A = RŜP (จากการพิสูจน์ข้างต้น)
ดังนั้น ABCD ≅ PQRS (รูปหลายเหลีย่ มสองรูปเท่ากันทุกประการ ก็ตอ
่ เมือ
่ ด้านคูท
่ ส
ี่ มนัยกัน
ยาวเท่ากันเป็นคู่ ๆ และมุมคู่ที่สมนัยกันมีขนาดเท่ากันเป็นคู่ ๆ)

5. แนวคิด
G

3 D

C
E
5

A 8 B

พิจารณา ΔABC และ ΔADC


CÂB = CÂD (AC เป็นเส้นแบ่งครึ่ง DÂB)
AB̂C = AD̂C = 90° (กำ�หนดให้)
AC = AC (AC เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ΔABC ≅ ΔADC (ม.ม.ด.)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 307

จะได้ AB = AD = 8 (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่
เท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน)
เนื่องจาก AE = ED (กำ�หนดให้)
ดังนั้น AE = ED = 4 (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก ΔAEF เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก (กำ�หนดให้)
2 2 2
จะได้ FE = AF – AE (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
2 2 2
FE = 5 –4 (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น FE = 3 (สมบัติของการเท่ากัน)

เนื่องจาก FG // AD (กำ�หนดให้)
จะได้ ADGF เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู (มีด้านตรงข้ามขนานกัน 1 คู่)
ดังนั้น พื้นที่ของ 1 × (8 + 3) × 3 = 16.5 ตารางหน่วย
ADGF = –
2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
308 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

4.3 การให้เหตุผลเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม (7 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถนำ�ทฤษฎีบทเกีย่ วกับความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลีย่ ม เส้นขนาน และสมบัตขิ องรูปสามเหลีย่ ม
และรูปสี่เหลี่ยมไปใช้ในการให้เหตุผล

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.3 : ให้เหตุผลได้หรือไม่
2. ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad (GSP)

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้เหตุผลเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม โดยอาศัยทฤษฎีบทเรื่องความเท่ากัน
ทุกประการของรูปสามเหลีย่ มและเส้นขนานทีไ่ ด้เรียนมาแล้ว ผ่านการถามตอบประกอบการอธิบาย และการทำ�กิจกรรมเชิงสำ�รวจ
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครู ท บทวนทฤษฎี บ ทเกี่ ย วกั บ เงื่ อ นไขที่ ทำ � ให้ ส รุ ป ได้ ว่ า รู ป สามเหลี่ ย มสองรู ป เท่ า กั น ทุ ก ประการ ซึ่ ง ได้ แ ก่
รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์กันแบบ ด.ม.ด., ม.ด.ม., ด.ด.ด., ม.ม.ด. และ ฉ.ด.ด. โดยไม่ต้องแสดง
การพิสูจน์
2. ครูแนะนำ�ทฤษฎีบทซึ่งเป็นสมบัติที่สำ�คัญของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่กล่าวว่า ถ้ารูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่งมีด้านยาว
เท่ากันสองด้าน แล้วมุมทีอ
่ ยูต
่ รงข้ามกับด้านคูท
่ ยี่ าวเท่ากัน มีขนาดเท่ากัน ในหนังสือเรียน หน้า 212 และอภิปราย
กับนักเรียนเกี่ยวกับการพิสูจน์ทฤษฎีบทดังกล่าวด้วยการใช้ความสัมพันธ์แบบ ด.ม.ด. ตลอดจนร่วมกันพิจารณา
บทกลับของทฤษฎีบทนี้ ซึ่งจะเห็นว่าเป็นจริงด้วย จากนั้นครูให้นักเรียนใช้คำ�ว่า “ก็ต่อเมื่อ” เพื่อเขียนทฤษฎีบท
ทั้งสองให้เป็นทฤษฎีบทเดียวกัน
3. ครูอภิปรายร่วมกับนักเรียนถึงการพิสจู น์ทฤษฎีบททีใ่ ช้ในการตรวจสอบความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลีย่ ม
มุมฉากสองรูป ที่กล่าวว่า ถ้ารูปสามเหลี่ยมมุมฉากสองรูปมีความสัมพันธ์กันแบบ ฉาก–ด้าน–ด้าน (ฉ.ด.ด.)
กล่าวคือ มีดา้ นตรงข้ามมุมฉากยาวเท่ากัน และมีดา้ นอืน
่ อีกหนึง่ คูย่ าวเท่ากัน แล้วรูปสามเหลีย่ มสองรูปนัน
้ เท่ากัน
ทุกประการ ในหนังสือเรียน หน้า 214 ซึ่งใช้แนวคิดในการพิสูจน์โดยการใช้สมบัติถ่ายทอดของการเท่ากัน
ทุกประการ
4. ครูทบทวนบทนิยามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน และทฤษฎีบทที่เกี่ยวข้องดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 309

บทนิยาม รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน คือ รูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านตรงข้ามขนานกันสองคู่


ทฤษฎีบท
1) ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานยาวเท่ากัน
2) ถ้ารูปสี่เหลี่ยมรูปหนึ่งมีด้านตรงข้ามยาวเท่ากันสองคู่ แล้วรูปสี่เหลี่ยมรูปนั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
3) มุมตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีขนาดเท่ากัน
4) ถ้ารูปสีเ่ หลีย่ มรูปหนึง่ มีมม
ุ ตรงข้ามทีม
่ ข
ี นาดเท่ากันสองคู
่ แล้วรูปสีเ่ หลีย่ มรูปนัน
้ เป็นรูปสีเ่ หลีย่ มด้านขนาน
5) เส้นทแยงมุมทั้งสองของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานแบ่งครึ่งซึ่งกันและกันที่จุดตัดของเส้นทแยงมุม
จากนั้นครูอภิปรายกับนักเรียนถึงการพิสูจน์ทฤษฎีบทเกี่ยวกับสมบัติของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่นักเรียน
เคยทราบแต่ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ในหนังสือเรียน หน้า 218–221 ซึ่งจะทำ�ให้ทราบเงื่อนไขเกี่ยวกับความยาวของ
ด้านและขนาดของมุมที่ทำ�ให้รูปสี่เหลี่ยมเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ส่วนสำ�หรับทฤษฎีบทที่ว่า “ส่วนของเส้นตรง
ทีป
่ ด
ิ หัวท้ายของส่วนของเส้นตรงทีข
่ นานกันและยาวเท่ากัน จะขนานกันและยาวเท่ากัน” ทฤษฎีบทนีช
้ ว่ ยให้เรา
ทราบเงื่อนไขที่ทำ�ให้รูปสี่เหลี่ยมเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานเพิ่มอีกหนึ่งเงื่อนไข คือ รูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านที่อยู่
ตรงข้ามกันคูห
่ นึง่ ขนานกันและยาวเท่ากัน เป็นรูปสีเ่ หลีย่ มด้านขนาน และทฤษฎีบททีก
่ ล่าวว่า “ส่วนของเส้นตรง
ที่ลากเชื่อมจุดกึ่งกลางของด้านสองด้านของรูปสามเหลี่ยมใด ๆ จะขนานกับด้านที่สามและยาวเป็นครึ่งหนึ่งของ
ด้านที่สาม” ก็เป็นทฤษฎีบทที่มีประโยชน์มากในการนำ�ไปใช้อ้างอิงได้
5. ครูใช้แนวคิดจาก “เกร็ดน่ารู”้ ในหนังสือเรียน หน้า 224 เพือ
่ ให้นก
ั เรียนเห็นประโยชน์จากการใช้ความรูเ้ รือ
่ งสมบัติ
ของเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนไปใช้ในชีวิตจริง
6. ครูอาจใช้ “กิจกรรมเสนอแนะ 4.3 : ให้เหตุผลได้หรือไม่” ในคู่มือครู หน้า 317 เพื่อเป็นตัวอย่างการพิสูจน์ โดย
ใช้สมบัตข
ิ องเส้นขนานและความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลีย่ มในการให้เหตุผล และนำ�แนวคิดการสร้างไป
ใช้ในชวนคิด 4.6 ในหนังสือเรียน หน้า 225 โดยครูอาจนำ�เสนอหรืออาจให้นกั เรียนใช้ซอฟต์แวร์ The Geometer’s
Sketchpad เพื่อหาวิธีในการแบ่งส่วนของเส้นตรงออกเป็นหลาย ๆ ส่วนที่เท่ากัน และสำ�หรับชวนคิด 4.7
ในหนังสือเรียน หน้า 226 แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการให้เหตุผลในการหาแนวเส้นแบ่งครึ่งมุม
7. ครูให้นก
ั เรียนทำ� “กิจกรรม : สำ�รวจรูปสีเ่ หลีย่ มทีแ่ นบในรูปสีเ่ หลีย่ ม” ในหนังสือเรียน หน้า 227 โดยใช้ซอฟต์แวร์
The Geometer’s Sketchpad เพื่อต้องการให้นักเรียนสำ�รวจและสร้างข้อความคาดการณ์เกี่ยวกับลักษณะของ
PQRS ที่แนบใน ABCD ซึ่งนักเรียนควรได้ข้อค้นพบต่าง ๆ เช่น
✤ ด้านตรงข้ามของ PQRS ยาวเท่ากัน
✤ มุมตรงข้ามของ PQRS มีขนาดเท่ากัน
✤ PQRS เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
✤ เส้นทแยงมุมของ PQRS แบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน
8. ครูให้นักเรียนทำ� “กิจกรรมท้ายบท : สร้างรูปสามเหลี่ยมให้มีพื้นที่เท่ากับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมที่กำ�หนดให้”
ในหนังสือเรียน หน้า 232 โดยใช้ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad เพื่อต้องการให้นักเรียนนำ�ความรู้
เรื่องเส้นขนาน สมบัติของรูปสามเหลี่ยมและสมบัติของรูปสี่เหลี่ยม มาใช้แก้ปัญหา โดยครูควรถามถึงแนวคิดจาก
การสร้างข้อ 1 ถึงข้อ 4 ให้นักเรียนบอกเหตุผล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
310 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

9. ในการเรียนเรื่องการให้เหตุผลทางเรขาคณิตนี้ ไม่ได้มีจุดประสงค์ให้นักเรียนพิสูจน์ทฤษฎีบทต่าง ๆ ด้วยตนเอง


แต่ให้ใช้การอภิปรายร่วมกันกับครู ทั้งนี้มุ่งหวังให้นักเรียนนำ�สมบัติและทฤษฎีบทไปใช้ในการให้เหตุผลในเรื่อง
ต่าง ๆ ต่อไป ครูจึงไม่ควรประเมินผลในเรื่องการพิสูจน์ทฤษฎีบทเหล่านี้

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

1. การพิสูจน์ทฤษฎีบทในหนังสือเรียน หน้า 212 ที่ว่า “ถ้ารูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่งมีด้านยาวเท่ากันสองด้าน แล้วมุมที่อยู่


ตรงข้ามกับด้านคู่ที่ยาวเท่ากัน มีขนาดเท่ากัน” ไม่ใช้แนวทางการแบ่งครึ่งมุมยอดของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว เพราะ
ในการพิสูจน์เกี่ยวกับการสร้างเส้นแบ่งครึ่งมุม ต้องอาศัยความสัมพันธ์ของรูปสามเหลี่ยมแบบ ด.ด.ด. และการพิสูจน์
ว่ารูปสามเหลี่ยมเท่ากันทุกประการแบบ ด.ด.ด. ต้องอ้างถึงสมบัติดังกล่าวของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ซึ่งทำ�ให้เกิด
ลักษณะการให้เหตุผลแบบวนกลับ
2. จากทฤษฎีบททีว่ า่ ด้านตรงข้ามของรูปสีเ่ หลีย
่ มด้านขนานยาวเท่ากัน ตามทีไ่ ด้พส
ิ จู น์ไว้แล้วในหนังสือเรียน หน้า 218
นั้น บทกลับของทฤษฎีบทนี้ คือ ถ้ารูปสี่เหลี่ยมรูปหนึ่งมีด้านตรงข้ามยาวเท่ากันสองคู่ แล้วรูปสี่เหลี่ยมรูปนั้นเป็น
รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน มีแนวคิดในการพิสูจน์ดังนี้
A B

D C

กำ�หนดให้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปหนึ่งที่มี AB = CD และ CB = AD


ต้องการพิสูจน์ว่า ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
พิสูจน์ ลาก AC
พิจารณา ΔABC และ ΔCDA
เนื่องจาก AB = CD, CB = AD (กำ�หนดให้)
AC = CA (AC เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ΔABC ≅ ΔCDA (ด.ด.ด.)
จะได้ BÂC = DĈA และ AĈB = CÂD (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยม
ที่เท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น AB // CD และ BC // AD (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง
ทำ�ให้มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน แล้วเส้นตรง
คู่นั้นขนานกัน)
นั่นคือ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน คือ รูปสี่เหลี่ยม
ที่มีด้านตรงข้ามขนานกันสองคู่)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 311

กิจกรรม : สำ�รวจรูปสี่เหลี่ยมที่แนบในรูปสี่เหลี่ยม
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้นักเรียนฝึกสำ�รวจและสร้างข้อความคาดการณ์เกี่ยวกับลักษณะของรูปสี่เหลี่ยมที่เกิด
จากการลากส่วนของเส้นตรงเชื่อมจุดกึ่งกลางของด้านของรูปสี่เหลี่ยมที่กำ�หนดให้ โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนิน
กิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad (GSP)

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนจับคู่ทำ� “กิจกรรม : สำ�รวจรูปสี่เหลี่ยมที่แนบในรูปสี่เหลี่ยม” ในหนังสือเรียน หน้า 227
2. ครูให้นักเรียนสร้างรูปตามเงื่อนไขที่กำ�หนดให้ โดยใช้ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad และบันทึกสิ่งที่
นักเรียนสำ�รวจและค้นพบ
3. ครูซก
ั ถามและอภิปรายร่วมกับนักเรียนเกีย่ วกับผลการสำ�รวจและการสร้างข้อความคาดการณ์ถงึ ลักษณะของ PQRS
ที่แนบใน ABCD พร้อมทั้งแนวคิดในการให้เหตุผล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
312 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจรูปสี่เหลี่ยมที่แนบในรูปสี่เหลี่ยม
1. ตัวอย่างการสำ�รวจและข้อความคาดการณ์เกี่ยวกับลักษณะของ PQRS
1) สำ�รวจความยาวของด้านตรงข้ามของ PQRS

AP = 5.96 ซม. SR = 4.29 ซม.


PB = 5.96 ซม. D PQ = 4.29 ซม.
R
BQ = 3.79 ซม. SP = 6.35 ซม.
C
QC = 3.79 ซม. RQ = 6.35 ซม.
CR = 2.89 ซม. S SR PQ SP RQ
RD = 2.89 ซม. Q 4.84 ซม. 4.84 ซม. 6.55 ซม. 6.55 ซม.
DS = 3.22 ซม. 4.46 ซม. 4.46 ซม. 5.84 ซม. 5.84 ซม.
A 5.10 ซม. 5.10 ซม. 6.24 ซม. 6.24 ซม.
SA = 3.22 ซม. P
B 3.89 ซม. 3.89 ซม. 5.50 ซม. 5.50 ซม.
4.29 ซม. 4.29 ซม. 6.36 ซม. 6.36 ซม.

จากการสำ�รวจข้างต้น ได้ข้อความคาดการณ์ คือ ด้านตรงข้ามของ PQRS ยาวเท่ากัน


แนวคิดในการให้เหตุผล : ด้านตรงข้ามของ PQRS ยาวเท่ากัน
D
R
C

S
Q

A
P
B
ลาก AC และ BD
พิจารณา ΔABC
เนื่องจาก จุด P และจุด Q เป็นจุดกึ่งกลางของ AB และ BC ตามลำ�ดับ (กำ�หนดให้)
จะได้ PQ = – AC1 (ส่วนของเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดกึ่งกลางของด้านสองด้านของ
2
รูปสามเหลี่ยมใด ๆ จะยาวเป็นครึ่งหนึ่งของด้านที่สาม)
ในทำ�นองเดียวกัน จาก ΔACD จะได้ SR = – 1 AC
2
ดังนั้น PQ = SR (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 313

จาก ΔABD จะได้ SP = – 1 BD


2
จาก ΔBCD จะได้ RQ = – 1 BD
2
ดังนั้น SP = RQ (สมบัติของการเท่ากัน)

2) สำ�รวจมุมตรงข้ามของ PQRS

AP = 5.68 ซม. m∠SPQ = 121.25°


PB = 5.68 ซม. C m∠QRS = 121.25°
BQ = 3.98 ซม. R m∠PQR = 58.75°
QC = 3.98 ซม. D m∠RSP = 58.75°
CR = 4.38 ซม. m∠SPQ m∠QRS m∠PQR m∠RSP
Q
RD = 4.38 ซม. S 114.38° 114.38° 65.62° 65.62°
DS = 1.79 ซม. 126.93° 126.93° 53.07° 53.07°
SA = 1.79 ซม. A 76.84° 76.84° 103.16° 103.16°
P 62.29° 62.29° 117.71° 117.71°
B
121.25° 121.25° 58.75° 58.75°

จากการสำ�รวจข้างต้น ได้ข้อความคาดการณ์ คือ มุมตรงข้ามของ PQRS มีขนาดเท่ากัน


แนวคิดในการให้เหตุผล : มุมตรงข้ามของ PQRS มีขนาดเท่ากัน
C
R

D 1

4 Q
S 3

2
A
P
ลาก AC, BD, SQ และ RP B

เนื่องจาก จุด P, Q, R และ S เป็นจุดกึ่งกลางของ AB, BC, CD และ DA ตามลำ�ดับ (กำ�หนดให้)


พิจารณา ΔSRQ และ ΔQPS
เนื่องจาก SR = – 1 AC (ส่วนของเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดกึ่งกลางของด้านสองด้านของ
2
รูปสามเหลี่ยมใด ๆ จะยาวเป็นครึ่งหนึ่งของด้านที่สาม)
และ 1 AC
PQ = – (ส่วนของเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดกึ่งกลางของด้านสองด้านของ
2
รูปสามเหลี่ยมใด ๆ จะยาวเป็นครึ่งหนึ่งของด้านที่สาม)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
314 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ดังนั้น SR = PQ (สมบัติของการเท่ากัน)
ในทำ�นองเดียวกัน
จะได้ 1 BD
RQ = SP = – (ส่วนของเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดกึ่งกลางของด้านสองด้านของ
2
รูปสามเหลี่ยมใด ๆ จะยาวเป็นครึ่งหนึ่งของด้านที่สาม)
เนื่องจาก SQ = SQ (SQ เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ΔSRQ ≅ ΔQPS (ด.ด.ด.)
จะได้ 1̂ = 2̂ (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ จะมี
ขนาดเท่ากัน)
พิจารณา ΔRSP และ ΔPQR
จะได้ SR = PQ (จากการพิสูจน์ข้างต้น)
SP = RQ (จากการพิสูจน์ข้างต้น)
และ RP = RP (RP เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ΔRSP ≅ ΔPQR (ด.ด.ด.)
จะได้ 3̂ = 4̂ (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)

3) สำ�รวจความสัมพันธ์ของมุมภายในของ PQRS

AP = 5.55 ซม.
C m∠SPQ = 127.37°
PB = 5.55 ซม. R m∠QRS = 127.37°
BQ = 3.73 ซม. D m∠PQR = 52.63°
QC = 3.73 ซม.
Q m∠RSP = 52.63°
CR = 5.25 ซม. S
m∠SPQ + m∠PQR = 180.00°
RD = 5.25 ซม.
A m∠PQR + m∠QRS = 180.00°
DS = 1.75 ซม. P
SA = 1.75 ซม. B

m∠SPQ m∠QRS m∠PQR m∠RSP m∠SPQ + m∠PQR m∠PQR + m∠QRS


126.41° 126.41° 53.59° 53.59° 180.00° 180.00°
107.75° 107.75° 72.25° 72.25° 180.00° 180.00°
76.35° 76.35° 103.65° 103.65° 180.00° 180.00°
63.56° 63.56° 116.44° 116.44° 180.00° 180.00°
127.37° 127.37° 52.63° 52.63° 180.00° 180.00°

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 315

จากการสำ�รวจข้างต้น ได้ข้อความคาดการณ์ คือ PQRS เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน


แนวคิดในการให้เหตุผล : PQRS เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
C
R
D

Q
S

A
P
B
ลาก AC, BD
เนื่องจาก จุด P, Q, R และ S เป็นจุดกึ่งกลางของ AB, BC, CD และ DA ตามลำ�ดับ
(กำ�หนดให้)
ดังนั้น PQ // AC และ SR // AC (ส่วนของเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดกึ่งกลางของด้านสองด้านของ
รูปสามเหลี่ยมใด ๆ จะขนานกับด้านที่สาม)
จะได้ PQ // SR (สมบัติถ่ายทอด)
ในทำ�นองเดียวกัน
SP // DB และ RQ // DB (ส่วนของเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดกึ่งกลางของด้านสองด้านของ
รูปสามเหลี่ยมใด ๆ จะขนานกับด้านที่สาม)
จะได้ SP // RQ (สมบัติถ่ายทอด)
ดังนั้น PQRS เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (มีด้านตรงข้ามขนานกันสองคู่)

4) สำ�รวจความสัมพันธ์ของเส้นทแยงมุมของ PQRS

AP = 5.84 ซม. SM = 5.06 ซม.


D
PB = 5.84 ซม. R MQ = 5.06 ซม.
BQ = 1.75 ซม. C PM = 2.55 ซม.
QC = 1.75 ซม. MR = 2.55 ซม.
S
CR = 4.38 ซม. M Q SM MQ PM MR
RD = 4.38 ซม. 4.94 ซม. 4.94 ซม. 2.69 ซม. 2.69 ซม.
DS = 3.45 ซม. B 5.44 ซม. 5.44 ซม. 3.73 ซม. 3.73 ซม.
P
SA = 3.45 ซม. A 5.64 ซม. 5.64 ซม. 3.71 ซม. 3.71 ซม.
5.29 ซม. 5.29 ซม. 3.07 ซม. 3.07 ซม.
5.10 ซม. 5.10 ซม. 2.44 ซม. 2.44 ซม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
316 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

จากการสำ�รวจข้างต้น ได้ข้อความคาดการณ์ คือ เส้นทแยงมุมของ PQRS แบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน


แนวคิดในการให้เหตุผล : เส้นทแยงมุมของ PQRS แบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน
D
R
4 C

S 2
1 Q
M

3
B
P
A

ลาก SQ, PR และ BD โดยให้ SQ ตัดกับ PR ที่จุด M


เนื่องจาก จุด P, Q, R และ S เป็นจุดกึ่งกลางของ AB, BC, CD และ DA ตามลำ�ดับ
(กำ�หนดให้)
พิจารณา ΔSMP และ ΔQMR
จะได้ 1 BD และ SP // RQ // BD
SP = RQ = – (ส่ ว นของเส้ น ตรงที่ ล ากเชื่ อ มจุ ด กึ่ ง กลางของด้ า น
2
สองด้านของรูปสามเหลีย่ มใด ๆ จะขนานกับด้านทีส่ าม
และยาวเป็นครึ่งหนึ่งของด้านที่สาม)
1̂ = 2̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้ง
มีขนาดเท่ากัน)
3̂ = 4̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้ง
มีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น ΔSMP ≅ ΔQMR (ม.ด.ม.)
จะได้ SM = QM และ PM = RM (ด้านคูท
่ สี่ มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 317

กิจกรรมเสนอแนะ 4.3 : ให้เหตุผลได้หรือไม่


กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้นักเรียนใช้สมบัติของเส้นขนานและความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม
ในการให้เหตุผลว่า ถ้าเส้นตรงสามเส้นขนานซึ่งกันและกัน และมีเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดทำ�ให้ได้ส่วนตัดบนเส้นนี้ยาวเท่ากัน
แล้วเส้นทีข
่ นานกันเหล่านีจ้ ะตัดเส้นตัดอืน
่ ๆ ออกเป็นส่วน ๆ ได้ยาวเท่ากันด้วย โดยมีสอ
ื่ /อุปกรณ์ และขัน
้ ตอนการดำ�เนินกิจกรรม
ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
1. ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.3 : ให้เหตุผลได้หรือไม่
2. ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad (GSP)

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแจกใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.3 : ให้เหตุผลได้หรือไม่
2. ครู ใ ห้ นั ก เรี ย นสร้ า งรู ป ตามเงื่ อ นไขที่ กำ � หนดโดยใช้ ซ อฟต์ แ วร์ The Geometer’s Sketchpad และสำ � รวจ
ความยาวส่วนของเส้นตรงที่ถูกตัดด้วยเส้นขนาน บันทึกสิ่งที่นักเรียนสำ�รวจและค้นพบ
3. ครูซก
ั ถามและอภิปรายกับนักเรียนเกีย่ วกับแนวคิดในการพิสจู น์ แล้วให้นก
ั เรียนเติมข้อความในช่องว่าง เพือ
่ ให้เหตุผล
ว่า “ถ้าเส้นตรงสามเส้นขนานซึ่งกันและกัน และมีเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดทำ�ให้ได้ส่วนตัดบนเส้นนี้ยาวเท่ากัน แล้วเส้น
ที่ขนานกันเหล่านี้จะตัดเส้นตัดอื่น ๆ ออกเป็นส่วน ๆ ได้ยาวเท่ากันด้วย” โดยใช้สมบัติของเส้นขนานและความเท่า
กันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
318 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.3 : ให้เหตุผลได้หรือไม่

ให้นก
ั เรียนสร้างรูปและเติมข้อความในช่องว่างเพือ
่ พิสจู น์วา่ ถ้าเส้นตรงสามเส้นขนานซึง่ กันและกัน และมีเส้นตรง
เส้นหนึ่งตัดทำ�ให้ได้ส่วนตัดบนเส้นนี้ยาวเท่ากัน แล้วเส้นที่ขนานกันเหล่านี้จะตัดเส้นตัดอื่น ๆ ออกเป็นส่วน ๆ ได้ยาว
เท่ากันด้วย
P R X
A D N
1 1

B 3 E
2
4

C 2 F
M 3

Q Y S


กำ�หนดให้ เส้นตรง 1, 2 และ 3 ขนานซึ่งกันและกัน มี PQ เป็นเส้นตัดตัด 1, 2 และ 3

ที่จุด A, B และ C ตามลำ�ดับ ทำ�ให้ AB = BC และ RS เป็นเส้นตัดอีกเส้นหนึ่งที่ตัด
เส้นตรง 1, 2 และ 3 ที่จุด D, E และ F ตามลำ�ดับ
ต้องการพิสูจน์ว่า
พิสูจน์
� � �
ลาก XY ผ่านจุด E และให้ขนานกับ PQ โดย XY ตัดเส้นตรง 1
ที่จุด N และตัดเส้นตรง 3
ที่จุด M
เนื่องจาก 1
// 2
� �
และ XY // PQ
จะได้ ABEN เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
ดังนั้น AB = NE
เนื่องจาก 2
// 3
� �
และ XY // PQ
จะได้ BCME เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
ดังนั้น BC = EM

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 319

พิจารณา ΔDEN และ ΔFEM


เนื่องจาก AB = BC
จะได้ NE = EM
1̂ = 2̂
3̂ = 4̂
ดังนั้น ΔDEN ≅ ΔFEM
จะได้ DE = EF

นั่นคือ ถ้าเส้นตรงสามเส้นขนานซึง่ กันและกัน และมีเส้นตรงเส้นหนึง่ ตัดทำ�ให้ได้สว่ นตัดบนเส้นนีย้ าวเท่ากัน แล้ว

กรณีที่มีเส้นตรงมากกว่าสามเส้นขนานซึ่งกันและกัน จะพิสูจน์ได้ในทำ�นองเดียวกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
320 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยใบกิจกรรมเสนอแนะ 4.3 : ให้เหตุผลได้หรือไม่


P R X
A D N
1 1

B 3 E
2
4

C 2 F
M 3

Q Y S


กำ�หนดให้ เส้นตรง 1, 2 และ 3 ขนานซึ่งกันและกัน มี PQ เป็นเส้นตัดตัด 1, 2 และ 3

ที่จุด A, B และ C ตามลำ�ดับ ทำ�ให้ AB = BC และ RS เป็นเส้นตัดอีกเส้นหนึ่งที่ตัด
เส้นตรง 1, 2 และ 3 ที่จุด D, E และ F ตามลำ�ดับ
ต้องการพิสูจน์ว่า DE = EF
พิสูจน์
� � �
ลาก XY ผ่านจุด E และให้ขนานกับ PQ โดย XY ตัดเส้นตรง 1
ที่จุด N และตัดเส้นตรง 3
ที่จุด M
เนื่องจาก 1
// 2 (กำ�หนดให้ )
� �
และ XY // PQ (จากการสร้าง)
จะได้ ABEN เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (มีด้านตรงข้ามขนานกันสองคู่)
ดังนั้น AB = NE (ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานยาวเท่ากัน)
เนื่องจาก 2
// 3 (กำ�หนดให้)
� �
และ XY // PQ (จากการสร้าง)
จะได้ BCME เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (มีด้านตรงข้ามขนานกันสองคู่)
ดังนั้น BC = EM (ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานยาวเท่ากัน)
พิจารณา ΔDEN และ ΔFEM
เนื่องจาก AB = BC (กำ�หนดให้)
จะได้ NE = EM (สมบัติของการเท่ากัน)
1̂ = 2̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
3̂ = 4̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น ΔDEN ≅ ΔFEM (ม.ด.ม.)
จะได้ DE = EF (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน)
นั่นคือ ถ้าเส้นตรงสามเส้นขนานซึ่งกันและกัน และมีเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดทำ�ให้ได้ส่วนตัดบนเส้นนี้ยาวเท่ากัน แล้ว
เส้นที่ขนานกันเหล่านี้จะตัดเส้นตัดอื่น ๆ ออกเป็นส่วน ๆ ได้ยาวเท่ากันด้วย
กรณีที่มีเส้นตรงมากกว่าสามเส้นขนานซึ่งกันและกัน จะพิสูจน์ได้ในทำ�นองเดียวกัน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 321

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 4.6
แนวคิด
C
ipst.me/10537
F

E N
4
D I
3 5
1 2
A G H B

� �
ลาก MN ผ่านจุด G และให้ขนานกับ AC
เนื่องจาก DG // BF และ EH // BF (จากการสร้าง)
จะได้ DG // EH (สมบัติถ่ายทอด)
� �
และ MN // AC (จากการสร้าง)
จะได้ DEIG เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (มีด้านตรงข้ามขนานกันสองคู่)
ดังนั้น DE = GI (ด้านตรงข้ามของรูปสีเ่ หลีย่ มด้านขนานยาวเท่ากัน)
พิจารณา ΔADG และ ΔGIH
1̂ = 2̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอก
และมุมภายในทีอ่ ยูต
่ รงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก AD = DE (จากการสร้าง)
จะได้ AD = GI (สมบัติของการเท่ากัน)
3̂ = 4̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและ
มุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
4̂ = 5̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและ
มุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
จะได้ 3̂ = 5̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น ΔADG ≅ ΔGIH (ม.ด.ม.)
จะได้ AG = GH (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
322 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ถ้าต้องการแบ่งส่วนของเส้นตรงเป็นห้าส่วนทีย่ าวเท่ากัน สามารถทำ�ได้โดยมีแนวการสร้างตามทีก


่ ล่าวไว้ในชวนคิดข้างต้น
(ชวนคิด 4.6) และได้ภาพสุดท้ายดังนี้
C
H
G
F
E
D

A I J K L B

นั่นคือ จุด I, J, K และ L แบ่ง AB ออกเป็นห้าส่วนที่ยาวเท่ากัน

ชวนคิด 4.7
แนวคิด
ipst.me/10538
F

C 20 ม.
20 ม. R
P D
B
25 ม. E
25 ม.
A
Q

รูป ข
พิจารณา ΔCPQ และΔCRQ
CP = CR (กำ�หนดให้)
PQ = RQ (กำ�หนดให้)
CQ = CQ (CQ เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ΔCPQ ≅ ΔCRQ (ด.ด.ด.)
จะได้ PĈQ = RĈQ (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากัน
ทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
นั่นคือ QC แบ่งครึ่ง PĈ̂R
เนื่องจาก BĈD และ PĈR เป็นมุมเดียวกัน ดังนั้น QC แบ่งครึ่ง BĈD

F เป็นจุดที่อยู่บน QC
ดังนั้น ตำ�แหน่งฝังสมอบกที่นายช่างใหญ่หาได้จึงอยู่ในแนวเส้นแบ่งครึ่ง BĈD
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 323

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 4.3 ก
1. แนวคิด
C
D
4

2
M
1

3
B
A

พิจารณา ∆ABM และ ∆CDM


เนื่องจาก AM = CM (กำ�หนดให้ BD แบ่งครึ่ง AC ที่จุด M)
1̂ = 2̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
BM = DM (กำ�หนดให้ AC แบ่งครึ่ง BD ที่จุด M)
ดังนั้น ∆ABM ≅ ∆CDM (ด.ม.ด.)
จะได้ 3̂ = 4̂ (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ จะมี
ขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น AB // DC (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึง่ ตัดเส้นตรงคูห
่ นึง่ ทำ�ให้มม
ุ แย้งมีขนาดเท่ากัน
แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)

2. แนวคิด นักเรียนอาจวาดรูปได้ต่างกัน ดังรูป แต่การให้เหตุผลทำ�ได้แบบเดียวกัน

A A

B C B C

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
324 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

พิจารณา ∆ABD และ ∆ACD


เนื่องจาก AB = AC (ด้านประกอบมุมยอดของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วยาวเท่ากัน)
DB = DC (ด้านประกอบมุมยอดของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วยาวเท่ากัน)
AD = AD (AD เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ∆ABD ≅ ∆ACD (ด.ด.ด.)

3. แนวคิด
C
2
5
4

30° 3 1
A B D

จาก ∆ADC จะได้


CÂD = 30° (กำ�หนดให้)
30 + 1̂ + 2̂ = 180 (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกัน
เท่ากับ 180 องศา)
1̂ + 2̂ = 150° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 1̂ = 2̂ (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น 1̂ = 2̂ = 75° (สมบัติของการเท่ากัน)

จาก ∆BCD จะได้


1̂ = 3̂ (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น 1̂ = 3̂ = 75° (จากการพิสูจน์ข้างต้น 1̂ = 75° และสมบัติของการเท่ากัน)
1̂ + 3̂ + 4̂ = 180° (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกัน
เท่ากับ 180 องศา)
75 + 75 + 4̂ = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 1̂ และ 3̂ ด้วย 75)
ดังนั้น 4̂ = 30° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 2̂ = 4̂ + 5̂
75 = 30 + 5̂ (สมบัตข
ิ องการเท่ากัน โดยแทน 2̂ ด้วย 75 และแทน 4̂ ด้วย 30)
จะได้ 5̂ = 45° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น BĈA = 45° (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 5̂ ด้วย BĈA)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 325

4. แนวคิด 1
B

x° x°

1 100° 2
A D C

จาก ∆ABD จะได้


1̂ + x = 100 (ขนาดของมุมภายนอกของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับผลบวกของ
ขนาดของมุมภายในที่ไม่ใช่มุมประชิดของมุมภายนอกนั้น)
1̂ = x (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น 1̂ = x = 50 (สมบัติของการเท่ากัน)
จาก ∆BCD จะได้
2̂ + x + 100 = 180 (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกัน
เท่ากับ 180 องศา)
2̂ + 50 + 100 = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน x ด้วย 50)
2̂ = 30° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น BĈD = 30° (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 2̂ ด้วย BĈD)

แนวคิด 2
B

x° x°

2 1 100° 3
A D C

จาก ∆ABD จะได้


1̂ + 100 = 180 (ขนาดของมุมตรง)
1̂ = 80° (สมบัติของการเท่ากัน)
1̂ + 2̂ + x = 180 (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกัน
เท่ากับ 180 องศา)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
326 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

80 + 2̂ + x = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 1̂ ด้วย 80)


2̂ + x = 100 (สมบัติของการเท่ากัน)
2̂ = x (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น 2̂ = x = 50 (สมบัติของการเท่ากัน)
จาก ∆BCD จะได้

3̂ + x + 100 = 180 (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกัน
เท่ากับ 180 องศา)
3̂ + 50 + 100 = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน x ด้วย 50)
3̂ = 30° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น BĈD = 30° (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 3̂ ด้วย BĈD)

5. แนวคิด
B

5
4

A C
E

1) แนวคิด
พิจารณา ∆AEB และ ∆CEB
เนื่องจาก AÊB = CÊB = 90° (เส้นทแยงมุมของรูปสีเ่ หลีย
่ มรูปว่าวตัดกันเป็นมุมฉาก)
BE = BE (BE เป็นด้านร่วม)
และ AB = CB (ด้านประชิดของรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าวยาวเท่ากัน)
ดังนั้น ∆AEB ≅ ∆CEB (ฉ.ด.ด.)
จะได้ AE = EC (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากัน
ทุกประการ จะยาวเท่ากัน)
เนื่องจาก ∆AEB เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
มี AÊB เป็นมุมฉาก AB = 5 เซนติเมตร และ BE = 4 เซนติเมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 327

2 2 2
จะได้ AE = 5 –4 (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
ดังนั้น AE = 3 เซนติเมตร (สมบัติของการเท่ากัน)
และ AC = 6 เซนติเมตร (สมบัติของการเท่ากัน)

1 × ผลคูณของความยาวของเส้นทแยงมุม
= – จะได้ พื้นที่ของ ABCD
2
1
= – × (AC × BD)
2
1 × (6 × 12)
= –
2
= 36 ตารางเซนติเมตร

2) แนวคิด
เนื่องจาก ∆AED เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก (AÊD = 90°)
2 2 2
จะได้ AD = AE + ED (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
2 2
= 3 + 8
ดังนั้น AD = √73 เซนติเมตร
เนื่องจาก AD = CD (ด้านประชิดของรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าวยาวเท่ากัน)
จะได้ CD = √73 เซนติเมตร (สมบัติของการเท่ากัน)

ดังนั้น ความยาวรอบรูปของ ABCD = AB + BC + CD + DA


= 5 + 5 + √73 + √73
= 10 + 2 √73 เซนติเมตร
6. แนวคิด
D C

32° G

A F B

จาก ∆AEF จะได้


AF̂E + 90 + 32 = 180 (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกัน
เท่ากับ 180 องศา)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
328 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ดังนั้น AF̂E = 58° (สมบัติของการเท่ากัน)


เมื่อพับกระดาษไปแล้ว รูปเดิมและรูปใหม่ที่ได้จากการพับเท่ากันทุกประการ ดังนั้น ∆AEF ≅ ∆GEF
จะได้ GF̂E = 58° (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก
AF̂E + EF̂G + GF̂B = 180° (ขนาดของมุมตรง)
จะได้ 58 + 58 + GF̂B = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน AF̂E และ EF̂G ด้วย 58)
ดังนั้น GF̂B = 64° (สมบัติของการเท่ากัน)

7. แนวคิด
C

24°

42°
42° F
E B D

84°

A
พิจารณา ∆ABC และ ∆ADC
เนื่องจาก CB = CD (กำ�หนดให้)
BĈA = DĈA = 24° (กำ�หนดให้)
CA = CA (CA เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ∆ABC ≅ ∆ADC (ด.ม.ด.)
จะได้ BÂC = DÂC = 42° (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากัน
ทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
จาก ∆ABC จะได้ CB̂A + BÂC + BĈA = 180° (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยม
รวมกันเท่ากับ 180 องศา)
จะได้ CB̂A + 42 + 24 = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน BÂC ด้วย
42 และ BĈA ด้วย 24)
CB̂A = 114° (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 329

พิจารณา ∆ECB และ ∆FCD


เนื่องจาก CÊB = CF̂D = 42° (กำ�หนดให้)
EB̂C = FD̂C (กำ�หนดให้)
CB = CD (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ∆ECB ≅ ∆FCD (ม.ม.ด.)
จะได้ EĈB = FĈD (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากัน
ทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก EĈB + BĈA + DĈA + FĈD = 90° (กำ�หนดให้)
จะได้ 2(EĈB + BĈA) = 90 (สมบัติของการเท่ากัน)
EĈB + BĈA = 45° (สมบัติของการเท่ากัน)
EĈB + 24 = 45 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน BĈA ด้วย 24)
EĈB = 21° (สมบัติของการเท่ากัน)
จาก ∆ECB จะได้ EB̂C + EĈB + CÊB = 180° (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยม
รวมกันเท่ากับ 180 องศา)
จะได้ EB̂C + 21 + 42 = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน EĈB ด้วย
21 และ แทน CÊB ด้วย 42)
EB̂C = 117° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น EB̂A = 360 – (114 + 117) = 129° (มุมรอบจุดมีขนาด 360 องศา และสมบัติของ
การเท่ากัน)

8. แนวคิด
F

E
A B

D C

ลาก FB และพิจารณา ∆AED และ ∆BEF


DE = FE และ AE = BE (กำ�หนดให้)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
330 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

และ AÊD = BÊF (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้าม


มีขนาดเท่ากัน)
จะได้ ∆AED ≅ ∆BEF (ด.ม.ด.)
ดังนั้น DÂE = FB̂E = 90° (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากัน
ทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
และ AD = BF (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากัน
ทุกประการ จะยาวเท่ากัน)
เนื่องจาก AD = AB (ด้านของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวเท่ากัน)
จะได้ BF = AB (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น ∆ABF เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (มีด้านยาวเท่ากันสองด้าน)
จะได้ FÂB = BF̂A (มุมทีฐ่ านของรูปสามเหลีย่ มหน้าจัว่ มีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก FB̂A + FÂB + BF̂A = 180° (ขนาดของมุมภายในทัง้ สามมุมของรูปสามเหลีย่ ม
รวมกันเท่ากับ 180°)
จะได้ 90 + 2(FÂB) = 180 (สมบัตข
ิ องการเท่ากัน โดยแทน FB̂A ด้วย 90)
2(FÂB) = 90°
ดังนั้น FÂB = 45°

9. แนวคิด
A ลาก DE ⏊ AB ที่จุด E
พิจารณา ∆ADE และ ∆ADC
1 เนื่องจาก 1̂ = 2̂ (กำ�หนดให้ AD แบ่งครึ่ง BÂC)
2
AD = AD (AD เป็นด้านร่วม)
3̂ = 4̂ (จากการสร้างและกำ�หนดให้)
E
3 ดังนั้น ∆ADE ≅ ∆ADC (ม.ม.ด.)
4 จะได้ DE = DC (ด้านคู่ที่สมนัยกันของ
B D C รูปสามเหลี่ยมที่เท่ากัน
ทุกประการ จะยาวเท่ากัน)
พิจารณารูปสามเหลี่ยมมุมฉาก BDE
จะได้ BD > DE (ด้านตรงข้ามมุมฉาก ยาวกว่าด้านประกอบมุมฉาก)
เนื่องจาก DE = DC (จากการพิสูจน์ข้างต้น)
จะได้ BD > DC (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน DE ด้วย DC)
ดังนั้น BD ยาวกว่า DC

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 331

แบบฝึกหัด 4.3 ข
1. แนวคิด
B

D
3
1 2
O
4
C

กำ�หนดให้ AB และ CD ตัดกันและแบ่งครึ่งซึ่งกันและกันที่จุด O


ต้องการพิสูจน์ว่า ACBD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
พิสูจน์
พิจารณา ΔAOD และ ΔBOC
จะได้ AO = BO (CD แบ่งครึ่ง AB ที่จุด O)
1̂ = 2̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
DO = CO (AB แบ่งครึ่ง CD ที่จุด O)
ดังนั้น ΔAOD ≅ ΔBOC (ด.ม.ด.)
จะได้ AD = BC (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
และ 3̂ = 4̂ (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น AD // BC (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้มุมแย้งมีขนาด
เท่ากัน แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)
นั่นคือ ACBD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (รูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านที่อยู่ตรงข้ามกันคู่หนึ่งขนานกันและ
ยาวเท่ากันเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน) *

* อาจให้เหตุผลอย่างอื่นได้อีก เช่น
จะได้ AC = DB และ AC // DB (ส่วนของเส้นตรงที่ปิดหัวท้ายของส่วนของเส้นตรงที่
ขนานกันและยาวเท่ากัน จะขนานกันและยาวเท่ากัน)
นั่นคือ ACBD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (มีด้านตรงข้ามกันขนานกันสองคู่)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
332 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2. แนวคิด C W Y V D

79° 2 1 60°
A X Z B

เนื่องจาก WX // YZ (กำ�หนดให้)
จะได้ 1̂ = 79° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและ
มุมภายในทีอ่ ยูต
่ รงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด มีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก XY // ZV (กำ�หนดให้)
จะได้ 2̂ = 60° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมภายนอกและ
มุมภายในทีอ่ ยูต
่ รงข้ามบนข้างเดียวกันของเส้นตัด มีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก 1̂ + 2̂ + x = 180 (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกัน
เท่ากับ 180 องศา)
จะได้ 79 + 60 + x = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 1̂ ด้วย 79 และ
แทน 2̂ ด้วย 60)
ดังนั้น x = 41 (สมบัติของการเท่ากัน)

3. แนวคิด C

10 ซม. D

E
9 ซม.

A
8 ซม.
B

เนื่องจาก จุด D เป็นจุดกึ่งกลางของ AC และ AC = 10 เซนติเมตร (กำ�หนดให้)


จะได้ DC = 5 เซนติเมตร (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก จุด E เป็นจุดกึ่งกลางของ BC และ BC = 9 เซนติเมตร (กำ�หนดให้)
จะได้ EC = 4.5 เซนติเมตร (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 333

เนื่องจาก จุด D และจุด E เป็นจุดกึ่งกลางของ AC และ BC ตามลำ�ดับ


และ AB = 8 เซนติเมตร (กำ�หนดให้)
จะได้ 1 AB
DE = – (ส่วนของเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดกึ่งกลางของด้านสองด้านของ
2
รูปสามเหลี่ยมใด ๆ จะยาวเป็นครึ่งหนึ่งของด้านที่สาม)
ดังนั้น DE = 4 เซนติเมตร (สมบัติของการเท่ากัน)
นั่นคือ ΔCDE มี DC = 5 เซนติเมตร, EC = 4.5 เซนติเมตร และ DE = 4 เซนติเมตร
จะได้ ความยาวรอบรูปของ ΔCDE = 5 + 4.5 + 4 = 13.5 เซนติเมตร

4. แนวคิด 1
D F C
4
1

2
3
A E B

กำ�หนดให้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน และ AD̂E = CB̂F (หรือ 1̂ = 2̂ )


ต้องการพิสูจน์ว่า BEDF เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
พิสูจน์
พิจารณา ΔADE และ ΔCBF
1̂ = 2̂ (กำ�หนดให้)
AD = CB (ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานยาวเท่ากัน)
3̂ = 4̂ (มุมตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น ΔADE ≅ ΔCBF (ม.ด.ม.)
จะได้ DE = BF (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
และ AE = CF (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
เนื่องจาก AB = CD (ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานยาวเท่ากัน)
หรือ AE + EB = CF + FD (สมบัติของการเท่ากัน)
จะได้ EB = FD (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น BEDF เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (มีด้านตรงข้ามยาวเท่ากันสองคู่)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
334 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

แนวคิด 2
D F C
9 8 6 4
1

2
3 5 7 10
A E B

กำ�หนดให้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน และ AD̂E = CB̂F (หรือ 1̂ = 2̂ )


ต้องการพิสูจน์ว่า BEDF เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
พิสูจน์
พิจารณา ΔADE และ ΔCBF
1̂ = 2̂ (กำ�หนดให้)
AD = CB (ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานยาวเท่ากัน)
3̂ = 4̂ (มุมตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น ΔADE ≅ ΔCBF (ม.ด.ม.)
จะได้ 5̂ = 6̂ (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก 5̂ + 7̂ = 6̂ + 8̂ = 180° (ขนาดของมุมตรง)
จะได้ 7̂ = 8̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 1̂ + 9̂ = 2̂ + ˆ
10 (มุมตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีขนาดเท่ากัน)
จะได้ 9̂ = ˆ
10 (1̂ = 2̂ และสมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น BEDF เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (มีมุมตรงข้ามที่มีขนาดเท่ากันสองคู่)

5. แนวคิด N 3 ซม. P M

45°
K 3 ซม. O L

จาก ΔKON จะได้ NK̂O + KÔN + ON̂K = 180° (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของ


รูปสามเหลี่ยมรวมกันเท่ากับ 180 องศา)
45 + 90 + ON̂K = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน NK̂O ด้วย
45 และแทน KÔN ด้วย 90)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 335

ON̂K = 45° (สมบัติของการเท่ากัน)


ดังนั้น ΔKON เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (มีมุมที่มีขนาดเท่ากันสองมุม)
เนื่องจาก KO = 3 เซนติเมตร (กำ�หนดให้)
จะได้ NO = 3 เซนติเมตร (ด้านประกอบมุมยอดของรูปสามเหลี่ยม
หน้าจั่วยาวเท่ากัน)
พิจารณา ΔNWP และ ΔOWL
จะได้ NW = OW และ PW = LW (OP และ NL ยาวเท่ากัน แบ่งครึ่งซึ่งกัน
และกันที่จุด W)
NŴP = OŴ̂L (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมี
ขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น ΔNWP ≅ ΔOWL (ด.ม.ด.)
จะได้ NP = OL (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากัน
ทุกประการ จะยาวเท่ากัน)
เนื่องจาก NP = 3 เซนติเมตร (กำ�หนดให้)
ดังนั้น OL = 3 เซนติเมตร (สมบัติของการเท่ากัน)
จะได้ KL = KO + OL = 3 + 3 = 6 เซนติเมตร (สมบัติของการเท่ากัน)

ดังนั้น พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน KLMN = 6 × 3


= 18 ตารางเซนติเมตร

6. แนวคิด
D

C
S

A P B

เนื่องจาก AC = 8 เซนติเมตร และ BD = 12 เซนติเมตร (กำ�หนดให้)


จุด P จุด Q จุด R และจุด S เป็นจุดกึ่งกลางของด้านของรูปสี่เหลี่ยม ABCD (กำ�หนดให้)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
336 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

จาก ΔABC จะได้ 1 AC


PQ = – (ส่วนของเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดกึ่งกลาง
2
ของด้านสองด้านของรูปสามเหลี่ยมใด ๆ
จะยาวเป็นครึ่งหนึ่งของด้านที่สาม)
ดังนั้น 1 (8) = 4 เซนติเมตร
PQ = – (สมบัติของการเท่ากัน)
2

ในทำ�นองเดียวกัน จาก ΔADC จะได้ SR = 4 เซนติเมตร

จาก ΔDAB จะได้ 1 BD


PS = – (ส่ ว นของเส้ น ตรงที่ ล ากเชื่ อ มจุ ด กึ่ ง กลางของ
2
ด้านสองด้านของรูปสามเหลีย่ มใด ๆ จะยาวเป็น
ครึ่งหนึ่งของด้านที่สาม)
ดังนั้น 1 (12) = 6 เซนติเมตร
PS = – (สมบัติของการเท่ากัน)
2

ในทำ�นองเดียวกัน จาก ΔDCB จะได้ QR = 6 เซนติเมตร


ดังนั้น ความยาวรอบรูปของ PQRS = 4 + 4 + 6 + 6 = 20 เซนติเมตร

7. 1) แนวคิด
B 4y – 3 C

z
14
E 25

A D
เนื่องจาก ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน (กำ�หนดให้)
จะได้ BC = CD (ด้านของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนยาวเท่ากัน)
นั่นคือ 4y – 3 = 25 (กำ�หนดให้)
ดังนั้น y = 7 (สมบัติของการเท่ากัน)

เนื่องจาก ΔCED เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก (เส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน


ตัดกันเป็นมุมฉาก)
BD = 14 หน่วย (กำ�หนดให้)
จะได้ BD = —
BE = ED = — 14 = 7 หน่วย (เส้นแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
2 2
แบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 337

2 2 2
ดังนั้น z = 25 – 7 (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
= 576 (สมบัติของการเท่ากัน)
จะได้ z = 24 (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น z – y = 24 – 7 = 17 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน z ด้วย 24
และแทน y ด้วย 7 )
2) แนวคิด
เนื่องจาก ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน (กำ�หนดให้)
BD = 14 หน่วย (กำ�หนดให้)
AC = 2z = 2(24) = 48 หน่วย (สมบัติของการเท่ากัน)
1 × ผลคูณของความยาวของเส้นทแยงมุม
ดังนั้น พื้นที่ของ ABCD = –
2
1 × 14 × 48
= –
2
= 336 ตารางหน่วย

8. แนวคิด

C
B

พิจารณา ΔPBA และ ΔPBC


AB = BC (กำ�หนดให้)
PB̂A = PB̂C = 90° (PB อยู่ในแนวดิ่งหรือตั้งฉากกับ AB และ BC ซึ่งอยู่บนพื้น
ในแนวระดับ)
PB = PB (PB เป็นด้านร่วม)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
338 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

จะได้ ΔPBA ≅ ΔPBC (ด.ม.ด.)


ดังนั้น PA = PC (ด้ า นคู่ ที่ ส มนั ย กั น ของรู ป สามเหลี่ ย มที่ เ ท่ า กั น ทุ ก ประการ
จะ ยาวเท่ากัน)
นั่นคือ คำ�กล่าวของสมศักดิ์ที่ว่า “ท่อนเหล็กที่ใช้ยึดเสาสัญญาณโทรศัพท์จากจุด P ถึงจุด A และจากจุด P ถึงจุด C
จะยาวเท่ากัน” เป็นจริง

9. แนวคิด

F
E C

A B

พิจารณา ΔBAD และ ΔFCD


AD = CD (จุด D เป็นจุดกึ่งกลางของ AC)
BD̂A = FD̂C (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน)
DÂB = DĈF (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ΔBAD ≅ ΔFCD (ม.ด.ม.)
จะได้ AB = CF (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
นั่นคือ นายช่างใช้สมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม ซึ่งทำ�ให้สรุปได้ว่า CF เป็นความยาวของ
สะพานที่จะต้องสร้าง (เพราะ CF = AB และ AB เป็นความยาวของสะพานที่จะต้องสร้าง)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 339

10. แนวคิด
พื้นบ�าน
C 18 ซม.

ลูกนอนบันได 24 ซม.
(7 × 18) + 18 = 144 ซม.
7 × 18 = 126 ซม. 18 ซม.
ลูกตั้งบันได
พุกบันได

แม�บันได
พื้นดิน
B 7 × 24 = 168 ซม. A

1) แนวคิด
เนื่องจาก บันไดมี 7 ขั้น แต่ละขั้นสูง 18 เซนติเมตร
และบันไดขั้นบนสุดห่างจากพื้นบ้าน 18 เซนติเมตร
ดังนั้น พื้นบ้านอยู่สูงจากพื้นดิน (7 × 18) + 18 = 144 เซนติเมตร
= 1.44 เมตร
2) แนวคิด 1
เนื่องจาก ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
2 2 2
ดังนั้น AC = 168 + 126 (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
= 44,100
จะได้ AC = 210 เซนติเมตร
ดังนั้น ช่างสำ�ราญจะต้องซื้อไม้สำ�หรับทำ�แม่บันไดยาวอย่างน้อย 210 เซนติเมตร หรือ 2.10 เมตร

แนวคิด 2

P 24 Q เนื่องจาก ΔPQR เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก


2 2 2
18
ดังนั้น RQ = 18 + 24 (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
= 900
R
จะได้ RQ = 30 เซนติเมตร

ดังนั้น ช่างสำ�ราญจะต้องซื้อไม้สำ�หรับทำ�แม่บันไดยาวอย่างน้อย 7 × 30 = 210 เซนติเมตร หรือ 2.10 เมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
340 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

กิจกรรมท้ายบท : สร้างรูปสามเหลี่ยมให้มีพื้นที่เท่ากับพื้นที่ของ
รูปสี่เหลี่ยมที่กำ�หนดให้
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้นักเรียนฝึกสร้างรูปตามเงื่อนไขที่กำ�หนดให้ ฝึกสำ�รวจและให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้าง
รูปสามเหลี่ยมให้มีพื้นที่เท่ากับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมที่กำ�หนดให้ โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรมดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ให้นก
ั เรียนจับคูท
่ �
ำ “กิจกรรม : สร้างรูปสามเหลีย
่ มให้มพ
ี น
ื้ ทีเ่ ท่ากับพืน
้ ทีข
่ องรูปสีเ่ หลีย
่ มทีก
่ �ำ หนดให้” ในหนังสือเรียน
หน้า 232
2. ครูให้นักเรียนสร้างรูปตามเงื่อนไขที่กำ�หนดให้ โดยใช้ซอฟต์แวร์ The Geometer’s Sketchpad และบันทึกสิ่งที่
นักเรียนสำ�รวจและค้นพบ
3. ครูซักถามและอภิปรายกับนักเรียนเกี่ยวกับผลการสำ�รวจและการให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้างรูปสามเหลี่ยมให้มีพื้นที่
เท่ากับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมที่กำ�หนดให้ เช่น
✤ พื้นที่ของ ∆DBC เท่ากับพื้นที่ของ ∆DBE เพราะเหตุใด
✤ พื้นที่ของ ∆ADE เท่ากับพื้นที่ของ ABCD เพราะเหตุใด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 341

เฉลยกิจกรรมท้ายบท : สร้างรูปสามเหลี่ยมให้มีพื้นที่เท่ากับ
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมที่กำ�หนดให้
แนวการสร้าง
สร้างรูปตามเงื่อนไขของขั้นตอนที่ 1 ข้อ 1) ถึงข้อ 4) ได้ดังนี้
X
D D

C C

A B A B E
Y
5) พื้นที่ของ ∆DBC เท่ากับพื้นที่ของ ∆DBE เพราะ
- มีฐาน DB ร่วมกัน

- มีส่วนสูงยาวเท่ากัน เนื่องจาก จุดยอด C และจุดยอด E อยู่บน XY ที่ขนานกับฐาน DB

6) พื้นที่ของ ∆ADE เท่ากับพื้นที่ของ ABCD


เนื่องจาก พื้นที่ของ ∆ADE = พื้นที่ของ ∆ADB + พื้นที่ของ ∆DBE
= พื้นที่ของ ∆ADB + พื้นที่ของ ∆DBC (จากข้อ 5))
และ พื้นที่ของ ABCD = พื้นที่ของ ∆ADB + พื้นที่ของ ∆DBC
ดังนั้น พื้นที่ของ ∆ADE = พื้นที่ของ ABCD (สมบัติของการเท่ากัน)

คำ�ถาม (ในขั้นตอนที่ 2)
แนวคิด
คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น
X
D P D R Q

C
C

A B A B E
Y
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
342 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

สร้างรูปสามเหลี่ยมรูปอื่นซึ่งมีพื้นที่เท่ากับรูปสี่เหลี่ยม ABCD ที่กำ�หนดให้ ได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้


� �
1. สร้าง PQ ผ่านจุด D และขนานกับ AE

2. กำ�หนดจุด R ลงบน PQ แล้วลาก RA และ RE จะได้รูป ΔARE
เนื่องจาก พื้นที่ของ ΔARE = พื้นที่ของ ΔADE (มีฐาน AE ร่วมกันและมีสว่ นสูงยาวเท่ากัน เนือ
่ งจาก จุดยอด R

และจุดยอด D อยู่บน PQ ที่ขนานกับฐาน AE)
และ พื้นที่ของ ΔADE = พื้นที่ของ ABCD (จากข้อ 6))
ดังนั้น พื้นที่ของ ΔARE = พื้นที่ของ ABCD (สมบัติของการเท่ากัน)
ทั้งนี้ สามารถสร้างรูปสามเหลี่ยมรูปอื่นซึ่งมีพื้นที่เท่ากับรูปสี่เหลี่ยม ABCD ที่กำ�หนดให้ได้มากมาย

เช่น กำ�หนดจุดใด ๆ บน PQ แล้วลากเส้นเชื่อมจุดนั้นกับจุด A และจุด E

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 343

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท
w z
1. 1) แนวคิด
D C
y

x
A B

ให้รูปสี่เหลี่ยมที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขของโจทย์ คือ ABCD ดังรูป


� �
เนื่องจาก x // y (กำ�หนดให้)
� �
จะได้ AB // DC (AB อยู่บน x และ DC อยู่บน y)
� �
เนื่องจาก w // z (กำ�หนดให้)
� �
จะได้ AD // BC (AD อยู่บน w และ BC อยู่บน z)
ดังนั้น ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (มีด้านตรงข้ามขนานกันสองคู่)
นั่นคือ รูปสี่เหลี่ยมที่เกิดขึ้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

2) แนวคิด z
w
C y
D 2
3

1 x
90° B
A

เนื่องจาก ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (จากการพิสูจน์ข้อ 1))


และ DÂB = 90° (กำ�หนดให้มุมมุมหนึ่งมีขนาด 90 องศา)
จะได้ 2̂ = 90° (มุมตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก 90 + 1̂ = 180 (ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่ตัด
เส้นขนาน รวมกันเท่ากับ 180 องศา)
ดังนั้น 1̂ = 90° (สมบัติของการเท่ากัน)
จะได้ 3̂ = 90° (มุมตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก (มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก)
นั่นคือ รูปสี่เหลี่ยมตามเงื่อนไขดังกล่าวเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
344 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2. แนวคิด
ตัวอย่างการสร้างที่แตกต่างกัน

8 หน่วย

6 หน่วย 6 หน่วย 6 หน่วย

สามารถสร้างรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าวที่แตกต่างจากที่ได้สร้างไว้แล้วได้อีกมากมายไม่จำ�กัด

3. แนวคิด A

D E

B C

เพื่อความสะดวกในการพิจารณารูป อาจวาดรูปใหม่ไม่ให้ซ้อนทับกัน พร้อมทั้งเขียนสัญลักษณ์


แสดงการเท่ากันของความยาวของด้านหรือขนาดของมุมที่ทราบจากโจทย์ลงในรูป
แนวคิด 1

A A A
1 1 1

D 3 2 E 2 E D 3

B C B C

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 345

พิจารณา ΔABE และ ΔACD


เนื่องจาก 2̂ = 3̂ (BE ⏊ AC ที่จุด E และ CD ⏊ AB ที่จุด D)
1̂ = 1̂ (1̂ เป็นมุมร่วม)
AB = AC (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ΔABE ≅ ΔACD (ม.ม.ด.)
จะได้ AE = AD (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)

แนวคิด 2
A

D E D E
3 4 3 4

1 2 1 2
B C B C B C

พิจารณา ΔBCD และ ΔCBE


เนื่องจาก 1̂ = 2̂ (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
3̂ = 4̂ (CD ⏊ AB ที่จุด D และ BE ⏊ AC ที่จุด E)
BC = CB (BC เป็นด้านร่วม)
ดังนั้น ΔBCD ≅ ΔCBE (ม.ม.ด.)
จะได้ BD = CE (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
AB = AC (กำ�หนดให้)
AB – BD = AC – CE (สมบัติของการเท่ากัน)
นั่นคือ AD = AE (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
346 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

4. แนวคิด ใช้ความรู้ที่ว่า ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกันเท่ากับ 180°


แนวคิด 1

p° q°
a

Z
X
B


(180 – p – q)°
q° q°
M A a C N

แนวการสร้าง
� � �
1. ลาก MN และกำ�หนดจุด A บน MN แล้วสร้าง AC บน MN ยาว a หน่วย
2. ที่จุด C สร้าง MĈX ให้มีขนาดเท่ากับ q°
3. ที่ จุ ด A สร้ า งมุ ม ให้ มี ข นาดเท่ า กั บ 180 – p – q องศา โดยสร้ า ง MÂY ให้ มี ข นาดเท่ า กั บ q°
� �
แล้วสร้าง YÂZ ให้มีขนาดเท่ากับ p° และให้ AZ ตัด CX ที่จุด B ทำ�ให้ได้ BÂC มีขนาด
เท่ากับ 180 – p – q องศา และ AB̂C มีขนาดเท่ากับ 180 – q – (180 – p – q) องศา หรือเท่ากับ p°
จะได้ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมตามต้องการ

แนวคิด 2

p° q°
a

X Y
A

a
(180 – p – q)°

(180 – p – q)°

M B C N
Z
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 347

แนวการสร้าง
� �
1. ลาก MN และกำ�หนดจุด C บน MN
2. ที่จุด C สร้าง MĈX ให้มีขนาดเท่ากับ q° แล้วสร้าง XĈY ให้มีขนาดเท่ากับ p° จะได้ NĈY
มีขนาดเท่ากับ 180 – p – q องศา

3. บน CX สร้าง CA ยาว a หน่วย
� �
4. ที่จุด A สร้าง CÂZ ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ NĈY โดยให้ AZ ตัด MN ที่จุด B
ทำ�ให้ได้ AB̂C มีขนาดเท่ากับ 180 – q – (180 – p – q) องศา หรือ p°
จะได้ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมตามต้องการ

แนวคิด 3

p° q°
a

X
A Y

a
(180 – p – q)°
(180 – p – q)°
q° p°

M B C N
Z

แนวการสร้าง
� �
1. ลาก MN และกำ�หนดจุด C บน MN
2. ที่จุด C สร้าง MĈX ให้มีขนาดเท่ากับ q°
3. สร้าง NĈY ให้มีขนาด p° จะได้ XĈY มีขนาดเท่ากับ 180 – p – q องศา

4. บน CX สร้าง CA ยาว a หน่วย
� �
5. ที่จุด A สร้าง CÂZ ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ XĈY โดยให้ AZ ตัด MN ที่จุด B
ทำ�ให้ได้ AB̂C มีขนาดเท่ากับ 180 – q – (180 – p – q) หรือ p°
จะได้ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมตามต้องการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
348 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

5. แนวคิด 1 ให้เส้นทแยงมุมเส้นยาวมีความยาว c หน่วย


D

a a b

b A c C X

c a b

B
แนวการสร้าง
� �
1. ลาก AX และบน AX สร้าง AC ยาว c หน่วย
2. ใช้จุด A เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีเท่ากับ a หน่วย เขียนส่วนโค้งทั้งสองด้านของ AC
3. ใช้จุด C เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีเท่ากับ b หน่วย เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งในข้อ 2 ที่จุด B และ
จุด D
4. ลาก AB, BC, CD และ DA
จะได้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าวตามต้องการ

แนวคิด 2 ให้เส้นทแยงมุมเส้นสั้นมีความยาว a หน่วย


F

b b

E a G Y
b

c c

H
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 349

แนวการสร้าง
� �
1. ลาก EY และบน EY สร้าง EG ยาว a หน่วย

2. ใช้จุด E และจุด G เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีเท่ากับ b หน่วย เขียนส่วนโค้งตัดกันทางด้านหนึ่งของ EG
ที่จุด F

3. ใช้จุด E และจุด G เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีเท่ากับ c หน่วย เขียนส่วนโค้งตัดกันอีกด้านหนึ่งของ EG
ที่จุด H
4. ลาก EF, FG, GH และ HE
จะได้ EFGH เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าวตามต้องการ

แนวคิด 3 ให้เส้นทแยงมุมเส้นสั้นมีความยาว b หน่วย


Q

a a

a P b R Z

c c c

แนวการสร้าง
� �
1. ลาก PZ และบน PZ สร้าง PR ยาว b หน่วย

2. ใช้จุด P และจุด R เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีเท่ากับ a หน่วย เขียนส่วนโค้งตัดกันทางด้านหนึ่งของ PR
ที่จุด Q

3. ใช้จุด P และจุด R เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีเท่ากับ c หน่วย เขียนส่วนโค้งตัดกันอีกด้านหนึ่งของ PR
ที่จุด S
4. ลาก PQ, QR, RS และ SP
จะได้ PQRS เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าวตามต้องการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
350 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

6. แนวคิด
E V
a
T
b S

c D

c
M
R

F
C W

P A b B Q
N
U

แนวการสร้าง
� �
1. ลาก PQ และบน PQ สร้าง AB ยาว b หน่วย
� �
2. ที่จุด A สร้าง AR ให้ตั้งฉากกับ AB และบน AR สร้าง AC ยาว a หน่วย

3. ลาก MN ผ่านจุด B และจุด C
� �
4. ที่จุด C สร้าง CS ให้ตั้งฉากกับ BC และบน CS สร้าง CD ยาว c หน่วย

5. ลาก TU ผ่านจุด B และจุด D
� �
6. ที่จุด D สร้าง DV ให้ตั้งฉากกับ BD และบน DV สร้าง DE ยาวเท่ากับ BD
� �
7. ที่จุด B สร้าง BW ให้ตั้งฉากกับ BD และบน BW สร้าง BF ยาวเท่ากับ BD
8. ลาก EF
จะได้ BDEF เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตามต้องการ

แนวคิดในการให้เหตุผล
เนื่องจาก รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 3 รูปที่กำ�หนดให้ มีความยาวของด้านเท่ากับ a, b และ c หน่วย
(กำ�หนดให้)
2 2 2
จะได้ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 3 รูปนี้ จะมีพื้นที่ a , b และ c ตารางหน่วย ตามลำ�ดับ
2
(พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส = ความยาวของด้าน )
2 2 2
ดังนั้น ผลบวกของพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 3 รูปนี้ เท่ากับ a + b + c ตารางหน่วย
(สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 351

เนื่องจาก ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มี BÂC เป็นมุมฉาก มี AB = b หน่วย และ AC = a หน่วย


(จากการสร้าง )
2 2 2
จะได้ BC = a +b (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
เนื่องจาก ΔBCD เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มี BĈD เป็นมุมฉาก และมี CD = c หน่วย
(จากการสร้าง )
2 2 2
จะได้ BD = BC + CD (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
2 2 2 2
BD = (a + b ) + c (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน
2 2 2
BC ด้วย a + b และแทน
2 2
CD ด้วย c )
2 2 2 2
หรือ BD = a +b +c (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก BDEF เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่แต่ละด้านยาวเท่ากับ BD
2
จะได้ พื้นที่ของ BDEF เท่ากับ BD ตารางหน่วย (พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
2
= ความยาวของด้าน )
2 2 2
ดังนั้น พื้นที่ของ BDEF เท่ากับ a + b + c ตารางหน่วย (สมบัติของการเท่ากัน)

จะได้ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส BDEF เป็นรูปที่มีพื้นที่เท่ากับผลบวกของพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทั้งสามรูป


ที่กำ�หนดให้ตามต้องการ

7. แนวคิด อาจเป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว หรือรูปสี่เหลี่ยมใด ๆ ก็ได้ ดังนี้

1) รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว 2) รูปสี่เหลี่ยมใด ๆ
4 ถ้าสร้างเส้นทแยงมุมให้ตงั้ ฉากกันก่อน แล้วกำ�หนด
จุ ด ยอดบนเส้ น ทแยงมุ ม ที่ ไ ม่ ทำ � ให้ มี ด้ า นตรงข้ า ม
3 ขนานกัน ก็จะได้รูปที่ต้องการ
2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
352 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

8. แนวคิด 1
m

C
D
60°
E
A
60°

20°

F
1
G

60°

เนื่องจาก ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า (กำ�หนดให้)


จะได้ DĈG = EÂF = GB̂F = 60° (มุมภายในแต่ละมุมของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า
มีขนาด 60 องศา)
จาก ΔGDC จะได้ GD̂E = 20 + 60 = 80° (ขนาดของมุมภายนอกของรูปสามเหลีย่ มเท่ากับผลบวก
ของขนาดของมุมภายในที่ไม่ใช่มุมประชิดของ
มุมภายนอกนั้น)
เนื่องจาก // m (กำ�หนดให้)
จะได้ FÊA = GD̂E = 80° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด
แล้วมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้าม
บนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
จาก ΔFEA จะได้ EF̂A + 60 + 80 = 180 (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยม
รวมกันเท่ากับ 180 องศา)
นั่นคือ EF̂A = 40° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น 1̂ = 40° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน แล้วมุมตรงข้าม
มีขนาดเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 353

m
แนวคิด 2
C
D
60°
E
A
60°

20°

F
1
G
2
3

60°

เนื่องจาก ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า (กำ�หนดให้)


จะได้ DĈG = EÂF = GB̂F = 60° (มุมภายในแต่ละมุมของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า
มีขนาด 60 องศา)
ที่จุด B สร้าง n // ดังนั้น n // m ด้วย (สมบัติถ่ายทอดของการขนาน)
จะได้ 3̂ = 20° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุม
ภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบนข้างเดียวกัน
ของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก 3̂ + 2̂ = 60° (สมบัติของการเท่ากัน)
จะได้ 20 + 2̂ = 60 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 3̂ ด้วย 20)
2̂ = 40° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น 1̂ = 40° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้ง
มีขนาดเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
354 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

9. แนวคิด B

G
2

1
F w° 5
3

4 z° y° 6
A E D C

เนื่องจาก 1̂ + w + 3̂ = 180 (ขนาดของมุมตรง)


จะได้ w = 180 – 1̂ – 3̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
ในทำ�นองเดียวกันจะได้ x = 180 – 2̂ – 5̂
y = 180 – 6̂
และ z = 180 – 4̂
เนื่องจาก w + x + y + z = 360 (ขนาดของมุมภายในทัง้ สีม
่ ม
ุ ของรูปสีเ่ หลีย่ มรวมกัน
เท่ากับ 360 องศา)
จะได้ (180 – 1̂ – 3̂ ) + (180 – 2̂ – 5̂ ) + (180 – 6̂ ) + (180 – 4̂ ̂) = 360 (สมบัติของการเท่ากัน โดย
แทนค่าของ w, x, y, z)
720 – 1̂ – 2̂ – 3̂ – 4̂ – 5̂ – 6̂ = 360 (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น 1̂ + 2̂ + 3̂ + 4̂ + 5̂ + 6̂ = 360° (สมบัติของการเท่ากัน)

10. แนวคิด
B

m° D
21°

25° C
A

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 355

เนื่องจาก AD = BD = CD (กำ�หนดให้)
จะได้ ΔADC, ΔBDC และ ΔADB เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (มีด้านยาวเท่ากันสองด้าน)
จาก ΔADC จะได้
DÂC = DĈA = 25° (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก AD̂C + DÂC + DĈA = 180° (ขนาดของมุ ม ภายในทั้ ง สามมุ ม ของรู ป สามเหลี่ ย ม
รวมกันเท่ากับ 180 องศา)
จะได้ AD̂C + 25 + 25 = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน DÂC และ DĈA
ด้วย 25)
AD̂C = 130°
(สมบัติของการเท่ากัน)
ในทำ�นองเดียวกัน จาก ΔBDC จะได้ BD̂C = 180 – 21 – 21 = 138°
และจาก ΔADB จะได้ m = 180 – 2n
เนื่องจาก m + AD̂C + BD̂C = 360 (มุมรอบจุดเท่ากับ 360 องศา)
m + 130 + 138 = 360 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน AD̂C ด้วย 130 และ
BD̂C ด้วย 138)
จะได้ m = 92 (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก m = 180 – 2n (จากการพิสูจน์ข้างต้น)
จะได้ n = 44 (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น m – n = 92 – 44 = 48 (สมบัติของการเท่ากัน)

11. แนวคิด
O

60°

P z° Q

x° 70°

60° 60°
M R N

เนื่องจาก ΔMNO เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า (กำ�หนดให้)


จะได้ NM̂O = MÔN = ON̂M = 60° (มุมภายในแต่ละมุมของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า
มีขนาด 60 องศา)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
356 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เนื่องจาก PQ // MN (กำ�หนดให้)
จะได้ x + y + 60 = 180 (ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด
ที่ตัดเส้นขนานรวมกันเท่ากับ 180 องศา)
นั่นคือ x + y = 120 (สมบัติของการเท่ากัน)
และ z = 60 (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด
แล้วมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้ามบน
ข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น x + y – z = 120 – 60 = 60 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน x + y ด้วย 120 และ
แทน z ด้วย 60)

12. แนวคิด
C

16 30
D

B
A E
34

ΔABC มีความยาวของด้านเท่ากับ 34, 30 และ 16 หน่วย (กำ�หนดให้)


2
เนื่องจาก 34 = 1,156
2 2
และ 30 + 16 = 900 + 256 = 1,156
ดังนั้น ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก โดยที่ AĈB = 90° (บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส)

พิจารณา ΔADE
จะได้ 1 (30) = 15
DE // CB และ DE = – (ส่วนของเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดกึ่งกลางของด้าน
2
สองด้านของรูปสามเหลีย่ มใด ๆ จะขนานกับด้านทีส
่ าม
และยาวเป็นครึ่งหนึ่งของด้านที่สาม)
AD̂E = 90° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด
แล้วมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้าม
บนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
นั่นคือ ΔADE เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 357

เนื่องจาก AD = 8 หน่วย (กำ�หนดให้จุด D เป็นจุดกึ่งกลางของด้าน AC และ


AC = 16 หน่วย)

1 × 8 × 15 = 60 ตารางหน่วย
ดังนั้น พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม ADE = –
2

13. 1) แนวคิด
A

F
D

B E C

เนื่องจาก จุด D จุด E และจุด F เป็นจุดกึ่งกลางของ AB, BC และ CA ตามลำ�ดับ (กำ�หนดให้)


จะได้ DF // BC (ส่วนของเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดกึ่งกลางของ
ด้านสองด้านของรูปสามเหลี่ยมใด ๆ จะขนานกับ
ด้านที่สามและยาวเป็นครึ่งหนึ่งของด้านที่สาม)
ดังนั้น DF // BE (BE อยู่บน BC)
ในทำ�นองเดียวกัน
จะได้ FE // AB
ดังนั้น FE // DB (DB อยู่บน AB)
จะได้ DFEB เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (มีด้านตรงข้ามขนานกันสองคู่)
เนื่องจาก AB̂C = 90° (กำ�หนดให้)
ดังนั้น DF̂E = 90° (มุมตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีขนาดเท่ากัน)

2) แนวคิด
A

F
10 D

B E C

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
358 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เนื่องจาก จุด E และจุด F เป็นจุดกึ่งกลางของ BC และ CA ตามลำ�ดับ (กำ�หนดให้)


จะได้ EF = AB
— (ส่วนของเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดกึ่งกลางของด้าน
2
สองด้านของรูปสามเหลี่ยมใด ๆ จะยาวเป็นครึ่งหนึ่ง
ของด้านที่สาม)
ดังนั้น 10 = 5 หน่วย
EF = — (กำ�หนดให้ AB = 10 หน่วย)
2

เนื่องจาก ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มี AB̂C เป็นมุมฉาก และ AB = 10 หน่วย


2 2 2
จะได้ AC = 10 + 10 (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
ดังนั้น AC = 10√2 หน่วย
CF = AC

เนื่องจาก (กำ�หนดให้จุด F เป็นจุดกึ่งกลางของ CA)
2
จะได้ CF = 10√2 = 5√2 หน่วย (สมบัติของการเท่ากัน)
    2    

14. แนวคิด
D C

E F

A B

กำ�หนดให้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน จุด E และจุด F เป็นจุดกึ่งกลางของด้าน AD


และด้าน BC ตามลำ�ดับ ลาก DF และ EB
ต้องการพิสูจน์ว่า DFBE เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
พิสูจน์
เนื่องจาก ED // BF (ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของด้านตรงข้ามที่ขนานกัน
ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน)
และ ED = BF (จุด E และจุด F เป็นจุดกึ่งกลางของ AD และ
BC ตามลำ�ดับ และ AD = BC)
ดังนั้น DFBE เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (รูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านที่อยู่ตรงข้ามกันคู่หนึ่งขนานกัน
และยาวเท่ากัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 359

15. แนวคิด
D C

4 4

A B

1) เนื่องจาก ΔADB มี AD = BD = 4 หน่วย (กำ�หนดให้)


ดังนั้น ΔADB เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (มีด้านยาวเท่ากันสองด้าน)
จะได้ BÂD = AB̂D (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
AD̂B = 2(BÂD) (กำ�หนดให้)
เนื่องจาก BÂD + AB̂D + AD̂B = 180° (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยม
รวมกันเท่ากับ 180 องศา)
BÂD + BÂD + 2(BÂD) = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน AB̂D ด้วย BÂD
และ AD̂B ด้วย 2(BÂD)
จะได้ BÂD = 45° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น ΔADB เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมุมฉาก ที่มี BÂD = AB̂D = 45° และ AD̂B = 2(45) = 90°
2 2 2
จะได้ AB = AD + BD (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
2 2 2
AB = 4 +4 (สมบั ติ ข องการเท่ า กั น โดยแทน AD และ BD
ด้วย 4)
AB = √32 หรือ 4√2 หน่วย
2) เนื่องจาก AB // DC (กำ�หนดให้)
ดังนั้น BD̂C = AB̂D = 45° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด
แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)

16. แนวคิด
M R N

30° 140°
P
Q

30°
L O

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
360 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ต่อ OQ ออกไปทางจุด Q และให้ตัด MN ที่จุด R


เนื่องจาก PQ // LO (กำ�หนดให้)
จะได้ PQ̂R = LÔQ = 30° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัดแล้ว
มุมภายนอกและมุมภายในทีอ
่ ยูต
่ รงข้ามบนข้างเดียวกัน
ของเส้นตัดมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก RQ̂O = 180° (ขนาดของมุมตรง)
และ NQ̂O = 140° (กำ�หนดให้)
จะได้ RQ̂N = 180 – 140 = 40° (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น PQ̂N = 30 + 40 = 70° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก PQNM เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (มีด้านตรงข้ามขนานกันสองคู่ คือ MN // PQ และ
MP // NQ
ดังนั้น PM̂N = 70° (มุมตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีขนาดเท่ากัน)

17. แนวคิด
D
F

A 55°
2
C

15°

5
1 3 4
B E

เนื่องจาก ΔABC ≅ ΔDBE (กำ�หนดให้)


และ AB = AC = DB = DE (กำ�หนดให้)
จะได้ 1̂ = 2̂ = 3̂ = 4̂ (มุมที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน และรูปสามเหลี่ยมทั้งสองเป็นรูป
สามเหลี่ยมหน้าจั่ว)
เนื่องจาก DÊF = 15° (กำ�หนดให้)
จะได้ 5̂ = 4̂ – 15 (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 361

จาก ΔBEC จะได้


3̂ + 5̂ = 2̂ + AĈF (ขนาดของมุมภายนอกของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับผลบวกของ
ขนาดของมุมภายในที่ไม่ใช่มุมประชิดของมุมภายนอกนั้น)
4̂ + (4̂ – 15) = 4̂ + 55 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 5̂ ด้วย 4̂ – 15 แทน 3̂ และ
2̂ ด้วย 4̂ และแทน AĈF ด้วย 55)
ดังนั้น 4̂ = 70° (สมบัติของการเท่ากัน)
จาก ΔABC จะได้
BÂC + 1̂ + 2̂ = 180 (ขนาดมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกันเท่ากับ
180 องศา)
BÂC + 70 + 70 = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 1̂ และ 2̂ ด้วย 70)
ดังนั้น BÂC = 40° (สมบัติของการเท่ากัน)

18. แนวคิด
S

60°

Q
U
60°

60°
60° T
60°
R
60°

พิจารณา ΔPRS และ ΔQRT


เนื่องจาก PR = QR (ด้านของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่ายาวเท่ากัน)
PR̂Q = SR̂T = 60° (มุมภายในแต่ละมุมของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่ามีขนาด
60 องศา)
ดังนั้น PR̂Q + QR̂S = SR̂T + QR̂S (สมบัติของการเท่ากัน)
นั่นคือ PR̂S = QR̂T (สมบัติของการเท่ากัน)
และ RS = RT (ด้านของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่ายาวเท่ากัน)
ดังนั้น ΔPRS ≅ ΔQRT (ด.ม.ด.)
จะได้ PŜR = QT̂R (มุมคูท
่ สี่ มนัยกันของรูปสามเหลีย่ มทีเ่ ท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
362 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

จาก ΔSUT จะได้


SÛT + UT̂S + TŜU = 180° (ขนาดของมุมภายในทัง้ สามมุมของรูปสามเหลีย่ ม
รวมกันเท่ากับ 180 องศา)
จะได้ SÛT + (60 – QT̂R) + (60 + PŜR) = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน UT̂S ด้วย
(60 – QT̂R) แทน TŜU ด้วย (60 + PŜR))
SÛT + (60 – QT̂R) + (60 + QT̂R) = 180 (สมบัตขิ องการเท่ากัน โดยแทน PŜR ด้วย QT̂R)
ดังนั้น SÛT = 60°

19. แนวคิด A

D
E

84°

B F C

เนื่องจาก ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มี AB = BC และ AB̂C = 84° (กำ�หนดให้)


จะได้ BÂC = BĈA (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก AB̂C + BÂC + BĈA = 180° (ขนาดของมุมภายในทัง้ สามมุมของรูปสามเหลีย่ มรวมกันเท่ากับ
180 องศา)
จะได้ 84 + 2(BÂC) = 180 (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น BÂC = 48° (สมบัติของการเท่ากัน)

พิจารณา ΔDEA และ ΔEFC


เนื่องจาก AD = EC และ AE = FC (กำ�หนดให้)
และ DÂE = EĈF = 48° (จากการพิสูจน์ข้างต้น)
ดังนั้น ΔDEA ≅ ΔEFC (ด.ม.ด.)
จะได้ ED = FE (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่
เท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 363

และ AD̂E = CÊF และ AÊD = CF̂E (มุ ม คู่ ที่ ส มนั ย กั น ของรู ป สามเหลี่ ย มที่
เท่ากันทุกประการ จะมีขนาดเท่ากัน)
จาก ΔADE จะได้
DÂE + AD̂E = DÊF + CÊF (ขนาดของมุมภายนอกของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับ
ผลบวกของขนาดของมุมภายในที่ไม่ใช่มุมประชิด
ของมุมภายนอกนั้น)
จะได้ 48 + CÊF = DÊF + CÊF (สมบัตข
ิ องการเท่ากัน โดยแทน DÂE ด้วย 48 และ
แทน AD̂E ด้วย CÊF)
ดังนั้น DÊF = 48° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก ΔDEF เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (มี ED = EF จากการพิสูจน์ข้างต้น)
จะได้ว่า ED̂F = DF̂E (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก DÊF + ED̂F + DF̂E = 180° (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยม
รวมกันเท่ากับ 180 องศา)
จะได้ 48 + 2(DF̂E) = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน DÊF ด้วย 48
และ ED̂F ด้วย DF̂E)
ดังนั้น DF̂E = 66° (สมบัติของการเท่ากัน)

20.
C
แท�นยึดแขนกล แท�นยึดแขนกล

B D

A A
E

F F B
C

E
1 2 D

แนวคิด
แขนกลที่เกษรออกแบบสามารถเคลื่อนย้ายแก้วน้ำ�ได้ โดยที่แก้วน้ำ�ตั้งอยู่ในแนวดิ่งตลอดเวลา เพราะแขนกลนี้
มีส่วนประกอบที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ABEF และ BCDE ซึ่งรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานทั้งสองนี้สามารถโยกได้
โดยที่ AF เป็นส่วนที่คงที่และอยู่ในแนวดิ่ง BE และ CD ซึ่งขนานกับ AF จึงอยู่ในแนวดิ่งด้วยเสมอ ฐานวางแก้วน้ำ�
ตั้งฉากกับ CD เสมอ ดังนั้นฐานวางแก้วน้ำ�จึงอยู่ในแนวนอนเสมอ ทำ�ให้แก้วน้ำ�ตั้งอยู่ในแนวดิ่งตลอดเวลา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
364 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

21. 1) แนวคิด
E D
H

F C
G

A B
0.6

พื้นโต๊ะ ED ขนานกับแนว AB เสมอ ไม่ว่าจะปรับระดับพื้นโต๊ะให้สูงขึ้นหรือต่ำ�ลง เพราะ เป็นไปตามสมบัติของ


เส้นทแยงมุมของรูปสีเ่ หลีย
่ มขนมเปียกปูนทีว่ า่ เส้นทแยงมุมของรูปสีเ่ หลีย
่ มขนมเปียกปูนตัง้ ฉากกัน การปรับระดับโต๊ะ
ให้สูงขึ้นใช้วิธีการบังคับให้เส้นทแยงมุมในแนวนอนสั้นลง (เช่น FC) เส้นทแยงมุมที่อยู่ในแนวตั้งก็จะมีความยาว
เพิ่มขึ้น (เช่น GH) ทำ�ให้โต๊ะอยู่ในระดับสูงขึ้นตามแนวตั้งที่ต้องการ ในทางกลับกันถ้าเพิ่มความยาวของเส้นทแยงมุม
ในแนวนอนให้มากขึน
้ เส้นทแยงมุมในแนวตัง้ ก็จะมีความยาวลดลง ทำ�ให้โต๊ะลดระดับลงตามต้องการ โดยทีเ่ ส้นทแยงมุม
ทั้งสองจะตั้งฉากกันเสมอ จึงทำ�ให้พื้นโต๊ะขนานกับแนว AB เสมอ
2) แนวคิด
J ลากเส้นทแยงมุมในแนวตั้ง ดังรูป
E D

เนื่องจากเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนตั้งฉากกัน
ดังนั้น ΔABG เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มี AÎG เป็นมุมฉาก
H
2 2 2
จะได้ AG = AI + IG (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
2 2 2
IG = 0.5 – 0.3
F C
ดังนั้น IG = 0.4 เมตร

เนือ
่ งจาก FHCG ประกอบด้วยรูปสามเหลีย่ มมุมฉากขนาดเดียวกับ ΔABG จำ�นวน
G สองรูป
0.5 0.5 ดังนั้น GH = 0.4 + 0.4 = 0.8 เมตร

A B เนื่องจาก ΔEHD เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากขนาดเดียวกับ ΔABG


I
0.3 ดังนั้น HJ = 0.4 เมตร
0.6

ดังนั้น พื้นโต๊ะ ED จะอยู่ห่างจากแนว AB เท่ากับ IG + GH + HJ = 0.4 + 0.8 + 0.4 = 1.6 เมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 365

ตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. จงสร้างรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว PQR ที่มีฐาน PQ ยาวเท่ากับ AB และมุมยอดมีขนาดเท่ากับ a°
D (6 คะแนน)


A B

2. กำ�หนดรูปสามเหลี่ยม ABC จงสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน PQRS ที่มี PQ = AB, SP̂Q = AĈB และมีส่วนสูง


ยาวเท่ากับความสูงของรูปสามเหลี่ยม ABC ที่กำ�หนดให้ พร้อมทั้งให้เหตุผลว่าเพราะเหตุใดรูปสี่เหลี่ยม PQRS ที่ได้
จึงเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (14 คะแนน)

A D B

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
366 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

3. ให้นักเรียนศึกษาตัวอย่างแนวการสร้างรูปห้าเหลี่ยม PQRST ให้เท่ากันทุกประการกับรูปห้าเหลี่ยม ABCDE ต่อไปนี้


จากนั้นให้นักเรียนให้เหตุผลว่ารูปทั้งสองเท่ากันทุกประการเพราะเหตุใด โดยตอบคำ�ถามตามที่กำ�หนดท้ายการสร้าง
(15 คะแนน)
แนวการสร้าง
D S

N
L
R
E C T
M

A B P Q K

� �
1) ลาก PK และบน PK สร้าง PQ ให้มีความยาวเท่ากับ AB
2) ที่จุด P สร้าง LP̂Q ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ EÂB

3) ที่จุด P สร้าง PT บน PL ให้มีความยาวเท่ากับ AE
4) ลาก BE, BD และ QT
5) ที่จุด T สร้างส่วนโค้งรัศมีเท่ากับ ED และที่จุด Q สร้างส่วนโค้งรัศมีเท่ากับ BD ตัดส่วนโค้งแรก ที่จุด S
6) ลาก TS และ QS
7) ที่จุด S สร้าง MŜQ ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ CD̂B และที่จุด Q สร้าง SQ̂N ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ
� �
DB̂C และให้ QN ตัด SM ที่จุด R
จะได้ รูปห้าเหลี่ยม PQRST เท่ากันทุกประการกับรูปห้าเหลี่ยม ABCDE ที่กำ�หนดให้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 367

จากแนวการสร้างข้างต้น จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1) PQ = AB เพราะ
2) TP̂Q = EÂB เพราะ
3) PT = AE เพราะ
4) ΔPTQ ≅ ΔAEB เพราะมีความสัมพันธ์แบบ
5) QT = BE เพราะ
6) TS = ED เพราะ
7) QS = BD เพราะ
8) ΔQTS ≅ ΔBED เพราะมีความสัมพันธ์แบบ
9) RŜQ = CD̂B เพราะ
10) SQ̂R = DB̂C เพราะ
11) ΔQRS ≅ ΔBCD เพราะมีความสัมพันธ์แบบ
12) SR = DC เพราะ
13) QR = BC เพราะ
14) รูปห้าเหลี่ยม PQRST เท่ากันทุกประการกับรูปห้าเหลี่ยม ABCDE เป็นผลมาจากรูปสามเหลี่ยมที่
เท่ากันทุกประการในข้อ
15) จากรูปห้าเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการในข้อ 14) ทำ�ให้ได้ด้านของรูปห้าเหลี่ยมยาวเท่ากัน คู่
ได้แก่

4. จงแบ่ง AB ออกเป็น 5 ส่วน ที่ยาวเท่ากัน โดยสร้างตามขั้นตอนต่อไปนี้ (10 คะแนน)


1) ลาก AB มีความยาวพอสมควร

2) ที่จุด A ลาก AC ด้านบนของ AB จะได้ BÂC
3) ที่จุด B สร้าง AB̂D อีกด้านหนึ่งของ AB ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ BÂC

4) ใช้จุด A เป็นจุดศูนย์กลาง กำ�หนดรัศมียาวพอสมควร เขียนส่วนโค้งตัด AC ที่จุด E, F, G, H และ I
โดยเปลี่ยนจุดศูนย์กลางทุกครั้ง เพื่อทำ�ให้ AE = EF = FG = GH = HI

5) ใช้จุด B เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมียาวเท่าเดิม เขียนส่วนโค้งตัด BD ที่จุด J, K, L, M และ N โดยเปลี่ยน
จุดศูนย์กลางทุกครั้ง เพื่อทำ�ให้ได้ว่า BJ = JK = KL = LM = MN
6) ลาก IB
7) ลาก HJ, GK, FL, EM ตัด AB ที่จุด O, P, Q และ R ตามลำ�ดับ
8) ลาก AN
จะได้ AR = RQ = QP = PO = OB

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
368 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

จากการสร้างข้างต้น จงให้เหตุผลในการตอบคำ�ถามต่อไปนี้
� �
1) AC และ BD ขนานกันหรือไม่ เพราะเหตุใด

2) AE และ MN เท่ากันหรือไม่ เพราะเหตุใด

5. จงพิ จ ารณาว่ า รู ป สามเหลี่ ย มที่ กำ � หนดให้ ใ นแต่ ล ะข้ อ ต่ อ ไปนี้ เ ป็ น รู ป สามเหลี่ ย มชนิ ด ใด (รู ป สามเหลี่ ย มหน้ า จั่ ว
รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก หรือ รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า) เพราะเหตุใด (ตอบได้มากกว่า 1 คำ�ตอบ) (9 คะแนน)

1) 2)
C P 2

45°

A B Q R

ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยม ΔPQR เป็นรูปสามเหลี่ยม

เพราะ เพราะ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 369

3) 4)
G
C
60°
2

120°
A
S P T 1

ΔGSP เป็นรูปสามเหลี่ยม ΔCAT เป็นรูปสามเหลี่ยม

เพราะ เพราะ

6. จากรูป จงหาค่า x พร้อมทั้งแสดงเหตุผล (3 คะแนน)


A

100°
55°
C D
B

7. จากรูปที่กำ�หนดให้ ΔACD เป็นรูปสามเหลี่ยมชนิดใด เพราะเหตุใด (5 คะแนน)

B C D

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
370 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

8. จากรูปที่กำ�หนดให้ จงหาความยาวของ BC พร้อมทั้งบอกเหตุผล (2 คะแนน)


A

D
E
7 ซม.

B
C

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 371

9. กำ�หนดให้ ΔPQR เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มี PQ̂R เป็นมุมฉาก มี PQ และ PR ยาว 5 และ 13 เซนติเมตร
ตามลำ�ดับ และมีจุด S และจุด T เป็นจุดกึ่งกลางของ PQ และ QR ตามลำ�ดับ จงหา (10 คะแนน)
1) ความยาวรอบรูปของ ΔSQT
2) ความยาวรอบรูปของ ΔPQR เป็นกี่เท่าของความยาวรอบรูปของ ΔSQT
3) พื้นที่ของ ΔSQT
4) พื้นที่ของ ΔPQR เป็นกี่เท่าของพื้นที่ของ ΔSQT

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
372 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

10. จากรูปกำ�หนดให้ AB ขนานกับ CD GH ตั้งฉากกับ EF และ CÊF มีขนาด 55° จงหาขนาดของ GĤB
พร้อมแสดงแนวคิดในการหาคำ�ตอบ (3 คะแนน)
E D

C
G

B
H
A F

� �
11. จากรูปกำ�หนดให้ AB ขนานกับ CD BQ̂R และ RŜP มีขนาด 70° และ 110° ตามลำ�ดับ จงเขียนแสดง
การให้เหตุผลในแต่ละรายการต่อไปนี้ให้สมบูรณ์ เพื่อพิสูจน์ว่า PQRS เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (10 คะแนน)

E
G
C S
R D
110°

70°
A P
Q B
F
H

� �
กำ�หนดให้ AB ขนานกับ CD BQ̂R และ RŜP มีขนาด 70° และ 110° ตามลำ�ดับ
ต้องการพิสูจน์ว่า PQRS เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 373

พิสูจน์
� �
เนื่องจาก AB // CD ( )
จะได้ PQ // SR ( )
เนื่องจาก BQ̂R = 70° ( )
จะได้ QR̂S = 70° ( )
เนื่องจาก RŜP = 110° ( )
จะได้ QR̂S + RŜP = 70 + 110 ( )
หรือ QR̂S + RŜP = 180° ( )
� �
ดังนั้น EF // GH ( )
จะได้ PS // QR ( )
ดังนั้น PQRS เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ( )


12. จากรูป AD เป็นเส้นแบ่งครึ่ง BÂC จงแสดงการให้เหตุผลเพื่อหาว่า ΔAFG เป็นรูปสามเหลี่ยมชนิดใดโดยเติม
เหตุผลท้ายข้อความที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อความให้ถูกต้อง (7 คะแนน)

C
G

D
E

F
B

พิจารณา ΔAEF และ ΔAEG


เนื่องจาก AF̂E = AĜE = 90° ( )
FÂE = GÂE ( )
และ AE = AE ( )
ดังนั้น ΔAEF ≅ ΔAEG ( )
จะได้ AF = AG ( )
ดังนั้น ΔAFG เป็นรูปสามเหลี่ยม ( )

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
374 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

13. จากรูป กำ�หนดให้ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว และมี AD = BE จงให้เหตุผลว่า ΔCDE เป็นรูปสามเหลี่ยม


หน้าจั่ว (9 คะแนน)
C

A D E B

14.
จากรูป กำ�หนดให้ ΔLMN เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
LO = 9 เซนติเมตร NP = 22 เซนติเมตร
N 22 ซม.
P
จงหาความยาวของ PO พร้อมทั้งแสดงเหตุผล

M
(5 คะแนน)

O
L 9 ซม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 375

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
376 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. จงสร้างรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว PQR ที่มีฐาน PQ ยาวเท่ากับ AB และมุมยอดมีขนาดเท่ากับ a° (6 คะแนน)
D


A B
แนวการสร้าง 1

W V
D
R
C


A B
U


S P Q T

� �
1) ลาก ST และกำ�หนดจุด P บน ST

2) ที่จุด P สร้าง PQ บน ST ให้มีความยาวเท่ากับ AB
3) ที่จุด P สร้าง SP̂U ให้มีขนาดเท่ากับ a° จะได้ UP̂T มีขนาดเท่ากับ 180 – a องศา

4) สร้าง PV แบ่งครึ่ง UP̂T จะได้ VP̂Q มีขนาดเท่ากับ 180 – a องศา
2
5) ที่จุด Q สร้าง PQ̂W ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ VP̂Q
� �
6) ให้ PV และ QW ตัดกันที่จุด R จะได้ PR̂Q มีขนาดเท่ากับ 180 – 180 – a – 180 – a หรือ a°
2 2
ดังนั้น ΔPQR เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วตามต้องการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 377

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถสร้างรูปตามที่กำ�หนดและให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้าง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 6 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
✤ สร้างฐาน PQ ให้มีความยาวเท่ากับ AB ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ใช้ขนาดของมุมยอด a° สร้างมุมที่ฐาน PQ ถูกต้อง ได้ 4 คะแนน
✤ สร้างรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว PQR ได้สมบูรณ์ ได้ 1 คะแนน

แนวการสร้าง 2
T
G

D L

C Q
I
N
E
a° F
A K B

J
M

R P S
O H


1) ลาก RS และที่จุด R สร้าง TR̂S ให้มีขนาดเท่ากับ a°

2) สร้าง RE แบ่งครึ่ง TR̂S
� � �
3) กำ�หนดจุด F บน RE และที่จุด F สร้าง GH ตั้งฉากกับ RE

4) สร้าง IJ แบ่งครึ่ง AB ที่จุด K

5) ใช้จุด F เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมี KA เขียนส่วนโค้งตัด GH ที่จุด L และจุด M
� � �
6) ที่จุด L สร้าง LN ตั้งฉากกับ GH และตัด RT ที่จุด Q
� � �
7) ที่จุด M สร้าง MO ตั้งฉากกับ GH และตัด RS ที่จุด P
8) ลาก PQ
ดังนั้น ΔPQR เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วตามต้องการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
378 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถสร้างรูปตามที่กำ�หนดและให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้าง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 6 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
✤ สร้างมุมยอด PRQ ให้มีขนาดเท่ากับ a° ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ สร้างฐาน PQ ให้มีความยาวเท่ากับ AB หน่วย ถูกต้อง ได้ 5 คะแนน

2. กำ�หนดรูปสามเหลี่ยม ABC จงสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน PQRS ที่มี PQ = AB, SP̂Q = AĈB และมีส่วนสูง


ยาวเท่ากับความสูงของรูปสามเหลี่ยม ABC ที่กำ�หนดให้ พร้อมทั้งให้เหตุผลว่าเพราะเหตุใดรูปสี่เหลี่ยม PQRS ที่ได้
จึงเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (14 คะแนน)
C

A D B
แนวการสร้าง

U Y

C W V S R X

A D B E P Q F
� �
1) ลาก EF และกำ�หนดจุด P บน EF

2) ที่จุด P สร้าง PQ บน EF ให้มีความยาวเท่ากับ AB
3) ที่จุด P สร้าง YP̂Q ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ AĈB
� �
4) ที่จุด P สร้าง PU ตั้งฉากกับ EF

5) ที่จุด P สร้าง PV บน PU ให้มีความยาวเท่ากับ CD
� � � �
6) ที่จุด V สร้าง WX ตั้งฉากกับ PU และให้ WX ตัด PY ที่จุด S

7) ที่จุด S สร้าง SR บน WX ให้มีความยาวเท่ากับ AB แล้วลาก QR
ดังนั้น PQRS เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานตามต้องการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 379

แนวคิดในการให้เหตุผล
เนื่องจาก UP̂Q + PV̂X = 180° (จากการสร้างจะได้ UP̂Q = PV̂X = 90°)
� �
ดังนั้น EF // WX (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้ขนาด
ของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด
รวมกันได้ 180 องศา แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)
จะได้ PQ // SR (ส่วนของเส้นตรงที่อยู่บนเส้นตรงที่ขนานกัน จะขนานกัน)
เนื่องจาก PQ = AB (จากการสร้าง)
และ SR = AB (จากการสร้าง)
จะได้ PQ = SR (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น PS // QR (ส่วนของเส้นตรงที่ปิดหัวท้ายของส่วนของเส้นตรงที่ขนานกัน
และยาวเท่ากัน จะขนานกันและยาวเท่ากัน)
จะได้ PQRS เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (มีด้านตรงข้ามขนานกันสองคู่)

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถสร้างรูปตามที่กำ�หนดและให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้าง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 14 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 การสร้าง 7 คะแนน
✤ สร้างฐานของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานถูกต้อง 1 คะแนน
✤ สร้างมุมที่ฐานของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานถูกต้อง 1 คะแนน
✤ สร้างส่วนสูงถูกต้อง 2 คะแนน
✤ สร้างเส้นขนานกับฐานถูกต้อง 2 คะแนน
✤ สร้างด้านของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่เหลือถูกต้อง 1 คะแนน
ส่วนที่ 2 การให้เหตุผล 7 คะแนน (พิจารณาจากแนวการให้เหตุผลข้างต้นรายการละ 1 คะแนน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
380 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

3. ให้นักเรียนศึกษาตัวอย่างแนวการสร้างรูปห้าเหลี่ยม PQRST ให้เท่ากันทุกประการกับรูปห้าเหลี่ยม ABCDE ต่อไปนี้


จากนั้นให้นักเรียนให้เหตุผลว่ารูปทั้งสองเท่ากันทุกประการเพราะเหตุใด โดยตอบคำ�ถามตามที่กำ�หนดท้ายการสร้าง
(15 คะแนน)
แนวการสร้าง
D S

N
L
R
E C T
M

A B P Q K

� �
1) ลาก PK และบน PK สร้าง PQ ให้มีความยาวเท่ากับ AB
2) ที่จุด P สร้าง LP̂Q ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ EÂB

3) ที่จุด P สร้าง PT บน PL ให้มีความยาวเท่ากับ AE
4) ลาก BE, BD และ QT
5) ที่จุด T สร้างส่วนโค้งรัศมีเท่ากับ ED และที่จุด Q สร้างส่วนโค้งรัศมีเท่ากับ BD ตัดส่วนโค้งแรก ที่จุด S
6) ลาก TS และ QS
7) ที่จุด S สร้าง MŜQ ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ CD̂B และที่จุด Q สร้าง SQ̂N ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ
� �
DB̂C และให้ QN ตัด SM ที่จุด R
จะได้ รูปห้าเหลี่ยม PQRST เท่ากันทุกประการกับรูปห้าเหลี่ยม ABCDE ที่กำ�หนดให้

จากแนวการสร้างข้างต้น จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1) PQ = AB เพราะ จากการสร้าง PQ ให้มีความยาวเท่ากับ AB
2) TP̂Q = EÂB เพราะ จากการสร้าง LP̂Q ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ EÂB และจุด T เป็น

จุดบน PL
3) PT = AE เพราะ จากการสร้าง PT ให้มีความยาวเท่ากับ AE
4) ΔPTQ ≅ ΔAEB เพราะมีความสัมพันธ์แบบ ด.ม.ด.
5) QT = BE เพราะ ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน
6) TS = ED เพราะ จากการสร้างส่วนโค้งที่จุด T ให้มีรัศมีเท่ากับ ED และตัดส่วนโค้งจาก
จุด Q ที่จุด S
7) QS = BD เพราะ จากการสร้างส่วนโค้งที่จุด Q ให้มีรัศมีเท่ากับ BD และตัดส่วนโค้งจาก
จุด T ที่จุด S

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 381

8) ΔQTS ≅ ΔBED เพราะมีความสัมพันธ์แบบ ด.ด.ด.


9) RŜQ = CD̂B เพราะ จากการสร้าง MŜQ ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ CD̂B และจุด R

เป็นจุดบน SM
10) SQ̂R = DB̂C เพราะ จากการสร้าง SQ̂N ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ DB̂C และจุด R

เป็นจุดบน QN
11) ΔQRS ≅ ΔBCD เพราะมีความสัมพันธ์แบบ ม.ด.ม.
12) SR = DC เพราะ ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน
13) QR = BC เพราะ ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ จะยาวเท่ากัน
14) รูปห้าเหลี่ยม PQRST เท่ากันทุกประการกับรูปห้าเหลี่ยม ABCDE เป็นผลมาจากรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากัน
ทุกประการในข้อ 4, 8 และ 11
15) จากรูปห้าเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการในข้อที่ 14) ทำ�ให้ได้ด้านของรูปห้าเหลี่ยมยาวเท่ากัน 5 คู่
ได้แก่ PQ = AB, PT = AE, TS = ED, SR = DC และ QR = BC

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถสร้างรูปตามที่กำ�หนดและให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้าง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 15 คะแนน (ข้อย่อยละ 1 คะแนน)
แต่ละข้อย่อยให้เหตุผลถูกต้องชัดเจน ได้ 1 คะแนน
แต่ละข้อย่อยให้เหตุผลไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

4. จงแบ่ง AB ออกเป็น 5 ส่วนที่ยาวเท่ากัน โดยสร้างตามขั้นตอนต่อไปนี้ (10 คะแนน)


1) ลาก AB มีความยาวพอสมควร

2) ที่จุด A ลาก AC ด้านบนของ AB จะได้ BÂC
3) ที่จุด B สร้าง AB̂D อีกด้านหนึ่งของ AB ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ BÂC

4) ใช้จุด A เป็นจุดศูนย์กลาง กำ�หนดรัศมียาวพอสมควร เขียนส่วนโค้งตัด AC ที่จุด E, F, G, H และ I
โดยเปลี่ยนจุดศูนย์กลางทุกครั้ง เพื่อทำ�ให้ AE = EF = FG = GH = HI

5) ใช้จุด B เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมียาวเท่าเดิม เขียนส่วนโค้งตัด BD ที่จุด J, K, L, M และ N โดยเปลี่ยน
จุดศูนย์กลางทุกครั้ง เพื่อทำ�ให้ BJ = JK = KL = LM = MN
6) ลาก IB
7) ลาก HJ, GK, FL, EM ตัด AB ที่จุด O, P, Q และ R ตามลำ�ดับ
8) ลาก AN
จะได้ AR = RQ = QP = PO = OB

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
382 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

แนวการสร้าง
C
I
H
G

F
E

B
A
R Q P O

K
L

M
N
D

จากการสร้างข้างต้น จงให้เหตุผลในการตอบคำ�ถามต่อไปนี้
� �
1) AC และ BD ขนานกันหรือไม่ เพราะเหตุใด
ขนานกัน เพราะจากการสร้าง AB̂D ให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ BÂC จะได้ว่ามุมทั้งสองเป็นมุมแย้งกันและ
� �
มีขนาดเท่ากัน ทำ�ให้ AC // BD
2) AE และ MN เท่ากันหรือไม่ เพราะเหตุใด
AE = MN เพราะจากการสร้างใช้รัศมียาวเท่ากัน (จากขั้นตอน 4) และ 5) )

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถสร้างรูปตามที่กำ�หนดและให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้าง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 การสร้าง 8 คะแนน
✤ สร้างถูกต้อง ได้ขั้นตอนละ 1 คะแนน
✤ สร้างไม่ถูกต้อง หรือไม่สร้าง ได้ขั้นตอนละ 0 คะแนน
ส่วนที่ 2 การให้เหตุผล 2 คะแนน
✤ ให้เหตุผลถูกต้องชัดเจน ได้ข้อละ 1 คะแนน
✤ ให้เหตุผลไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 383

5. จงพิ จ ารณาว่ า รู ป สามเหลี่ ย มที่ กำ � หนดให้ ใ นแต่ ล ะข้ อ ต่ อ ไปนี้ เ ป็ น รู ป สามเหลี่ ย มชนิ ด ใด (รู ป สามเหลี่ ย มหน้ า จั่ ว
รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก หรือ รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า) เพราะเหตุใด (ตอบได้มากกว่า 1 คำ�ตอบ) (9 คะแนน)

แนวคิดในการให้เหตุผล
1) C

ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
เพราะ มีด้านยาวเท่ากันสองด้าน
A B

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถนำ�สมบัติหรือทฤษฎีบทเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมมาใช้ในการให้เหตุผล
และนำ�ไปใช้ในชีวิตจริง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 2 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
✤ ตอบได้ว่าเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ ตอบได้ว่าเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว แต่ไม่บอกเหตุผลหรือบอกเหตุผลไม่ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

2)
P 2
45°
2

1 1
R
Q
คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น
คำ�ตอบ 1 ΔPQR เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
เพราะ มีมุมมุมหนึ่งเป็นมุมฉาก
คำ�ตอบ 2 ΔPQR เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
เพราะ มีมุมที่มีขนาดเท่ากันสองมุม
คำ�ตอบ 3 ΔPQR เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
เพราะ มีมุมมุมหนึ่งเป็นมุมฉาก และ ΔPQR เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว เพราะมีมุมที่มีขนาด
เท่ากันสองมุม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
384 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

แนวคิด
เนื่องจาก 1
// 2
(กำ�หนดให้)
จะได้ 1̂ = 45° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก 90 + 1̂ + 2̂ = 180 (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกัน
เท่ากับ 180 องศา )
จะได้ 90 + 45 + 2̂ = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 1̂ ด้วย 45)
ดังนั้น 2̂ = 45° (สมบัติของการเท่ากัน)
จะได้ 1̂ = 2̂ (สมบัติของการเท่ากัน)

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรีียนสามารถนำ�สมบัติหรือทฤษฎีบทเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมมาใช้ในการให้เหตุผล
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 3 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
✤ ตอบได้ว่าเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากและรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 3 คะแนน
✤ ตอบได้ว่าเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากหรือรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว และบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ ตอบได้ว่าเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากหรือรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว แต่ไม่บอกเหตุผลหรือ
บอกเหตุผลไม่ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

3)
G

60°

ΔGSP เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า
2 1 120° เพราะ มีมุมที่มีขนาดเท่ากันทั้งสามมุม
S P

แนวคิด
เนื่องจาก 1̂ + 120 = 180 (ขนาดของมุมตรง)
จะได้ 1̂ = 60° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 60 + 1̂ + 2̂ = 180 (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกัน
เท่ากับ 180 องศา )
จะได้ 60 + 60 + 2̂ = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 1̂ ด้วย 60)
ดังนั้น 2̂ = 60° (สมบัติของการเท่ากัน)
จะได้ 1̂ = 2̂ = Ĝ (กำ�หนดให้ Ĝ = 60 องศา และสมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 385

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรีียนสามารถนำ�สมบัติหรือทฤษฎีบทเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมมาใช้ในการให้เหตุผล
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 2 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
✤ ตอบได้ว่าเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าและบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ ตอบได้ว่าเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า แต่ไม่บอกเหตุผลหรือบอกเหตุผลไม่ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

4)
C
1 2
2

ΔCAT เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
3
A 4 เพราะ มีมุมที่มีขนาดเท่ากันทั้งสองมุม
T 1

แนวคิด
เนื่องจาก 1̂ = 2̂ และ //
1 2
(กำ�หนดให้)
จะได้ 1̂ = 3̂ และ 2̂ = 4̂ (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้ง
มีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น 3̂ = 4̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
จากแนวคิดข้างต้น
จะได้ ΔCAT เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว เพราะมีมุมที่มีขนาดเท่ากันสองมุม

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรีียนสามารถนำ�สมบัติหรือทฤษฎีบทเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมมาใช้ในการให้เหตุผล
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 2 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
✤ ตอบได้ว่าเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วและบอกเหตุผลถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ ตอบได้ว่าเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว แต่ไม่บอกเหตุผลหรือบอกเหตุผลไม่ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
386 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

6. จากรูป จงหาค่า x พร้อมทั้งแสดงเหตุผล (3 คะแนน)


A

100°
55°
C D
B
แนวคิด 1
เนื่องจาก x + 55 = 100 (ขนาดของมุมภายนอกของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับผลบวกของ
ขนาดของมุมภายในที่ไม่ใช่มุมประชิดของมุมภายนอกนั้น)
ดังนั้น x = 45 (สมบัติของการเท่ากัน)

แนวคิด 2
A

55° y° 100°
C D
B

เนื่องจาก y + 100 = 180 (ขนาดของมุมตรง)


ดังนั้น y = 80 (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก x + y + 55 = 180 (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกัน
เท่ากับ 180 องศา)
จะได้ x + 80 + 55 = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน y ด้วย 80)
ดังนั้น x = 45 (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 387

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรีียนสามารถนำ�สมบัติหรือทฤษฎีบทเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมมาใช้ในการให้เหตุผล
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 3 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
✤ หาค่า x ถูกต้อง และแสดงเหตุผลครบถ้วนสมบูรณ์ ได้ 3 คะแนน
✤ หาค่า x ถูกต้อง และแสดงเหตุผลถูกต้องบางส่วน
หรือแสดงเหตุผลถูกต้อง แต่คำ�นวณหาค่า x ไม่ถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ หาค่า x ถูกต้อง แต่ไม่แสดงเหตุผลหรือแสดงเหตุผลแต่ไม่ถูกต้อง
หรือแสดงเหตุผลถูกต้องบางส่วน และคำ�นวณหาค่า x ไม่ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

7. จากรูปที่กำ�หนดให้ ΔACD เป็นรูปสามเหลี่ยมชนิดใด เพราะเหตุใด (5 คะแนน)


A

B C D

แนวคิด 1
A

1 4

2 3 5
B C D

เนื่องจาก AB = BC = CA (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า (มีด้านยาวเท่ากันสามด้าน)
จะได้ 1̂ = 2̂ = 3̂ = 60° (มุมภายในแต่ละมุมของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า
มีขนาดเท่ากับ 60 องศา)
เนื่องจาก 1̂ + 4̂ = 90° (กำ�หนดให้)
จะได้ 60 + 4̂ = 90 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 1̂ ด้วย 60)
ดังนั้น 4̂ = 30° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 2̂ + 1̂ + 4̂ + 5̂ = 180° (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยม
รวมกันเท่ากับ 180 องศา)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
388 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

จะได้ 60 + 60 + 30 + 5̂ = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 2̂ , 1̂ และ 4̂ ด้วย 60,


60 และ 30 ตามลำ�ดับ)
ดังนั้น 5̂ = 30° (สมบัติของการเท่ากัน)
นั่นคือ ΔACD เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (มีมุมที่มีขนาดเท่ากันสองมุม)

แนวคิด 2 A

1 4

2 3 6 5
B C D

เนื่องจาก AB = BC = CA (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า (มีด้านยาวเท่ากันสามด้าน)
จะได้ 1̂ = 2̂ = 3̂ = 60° (มุมภายในแต่ละมุมของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า
มีขนาดเท่ากับ 60 องศา )
เนื่องจาก 1̂ + 4̂ = 90° (กำ�หนดให้)
จะได้ 60 + 4̂ = 90 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 1̂ ด้วย 60)
ดังนั้น 4̂ = 30° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 3̂ + 6̂ = 180° (ขนาดของมุมตรง)
จะได้ 60 + 6̂ = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 3̂ ด้วย 60)
ดังนั้น 6̂ = 120° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 4̂ + 5̂ + 6̂ = 180° (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยม
รวมกันเท่ากับ 180 องศา)
จะได้ 30 + 5̂ + 120 = 180 (สมบัติของการเท่ากัน โดยแทน 4̂ ด้วย 30 และ
แทน 6̂ ด้วย 120)
ดังนั้น 5̂ = 30° (สมบัติของการเท่ากัน)
นั่นคือ ΔACD เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (มีมุมที่มีขนาดเท่ากันสองมุม)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 389

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรีียนสามารถนำ�สมบัติหรือทฤษฎีบทเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมมาใช้ในการให้เหตุผล
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 5 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
✤ หาขนาดของ 1̂ , 2̂ , 3̂ ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ หาขนาดของ 4̂ ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ หาขนาดของ 5̂ ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ตอบได้ว่า ΔACD เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ได้ 1 คะแนน
✤ ให้เหตุผลได้ว่า ΔACD เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วได้ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน

8. จากรูปที่กำ�หนดให้ จงหาความยาวของ BC พร้อมทั้งบอกเหตุผล (2 คะแนน)


A

D
E
7 ซม.

B
C
แนวคิด
เนื่องจาก จุด D เป็นจุดกึ่งกลางของ AB (กำ�หนดให้ AD = DB)
และ จุด E เป็นจุดกึ่งกลางของ AC (กำ�หนดให้ AE = EC)
ดังนั้น DE = – 1 BC (ส่วนของเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดกึ่งกลางของด้าน
2
สองด้านของรูปสามเหลี่ยมใด ๆ จะยาวเป็นครึ่งหนึ่ง
ของด้านที่สาม)
เนื่องจาก DE = 7 เซนติเมตร (กำ�หนดให้)
จะได้ BC = 2DE = 14 เซนติเมตร (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น ความยาวของ BC เท่ากับ 14 เซนติเมตร

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรีียนสามารถนำ�สมบัติหรือทฤษฎีบทเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมมาใช้ในการให้เหตุผล
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 2 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
✤ หาความยาวของ BC ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ แสดงเหตุผลถูกต้อง ได้ 1 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
390 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

9. กำ�หนดให้ ΔPQR เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มี PQ̂R เป็นมุมฉาก มี PQ และ PR ยาว 5 และ 13 เซนติเมตร
ตามลำ�ดับ และมีจุด S และจุด T เป็นจุดกึ่งกลางของ PQ และ QR ตามลำ�ดับ จงหา (10 คะแนน)
1) ความยาวรอบรูปของ ΔSQT
2) ความยาวรอบรูปของ ΔPQR เป็นกี่เท่าของความยาวรอบรูปของ ΔSQT
3) พื้นที่ของ ΔSQT
4) พื้นที่ของ ΔPQR เป็นกี่เท่าของพื้นที่ของ ΔSQT

แนวคิด วาดรูปประกอบการหาคำ�ตอบได้ดังนี้
P

13 ซม.
5 ซม. S

Q T R

เนื่องจาก ΔPQR เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก (กำ�หนดให้)


2 2 2
จะได้ QR = 13 – 5 (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
2
ดังนั้น QR = 144 (สมบัติของการเท่ากัน)
QR = 12 (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก จุด S เป็นจุดกึ่งกลางของ PQ และ PQ = 5 เซนติเมตร (กำ�หนดให้)
จะได้ SQ = 2.5 เซนติเมตร (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก จุด T เป็นจุดกึ่งกลางของ QR และ QR = 12 เซนติเมตร (กำ�หนดให้ และจากการพิสูจน์ข้างต้น)
จะได้ QT = 6 เซนติเมตร (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก จุด S และจุด T เป็นจุดกึ่งกลางของ PQ และ QR ตามลำ�ดับ และ PR = 13 เซนติเมตร
(กำ�หนดให้)
จะได้ 1 PR
ST = – (ส่วนของเส้นตรงที่ลากเชื่อมจุดกึ่งกลาง
2
ของด้านสองด้านของรูปสามเหลี่ยม
ใด ๆ จะยาวเป็นครึง่ หนึง่ ของด้านทีส่ าม)
ดังนั้น 1 (13) = 6.5 เซนติเมตร
ST = – (สมบัติของการเท่ากัน)
2
พิจารณา ΔSQT
มี SQ̂T เป็นมุมฉาก SQ = 2.5 เซนติเมตร QT = 6 เซนติเมตร และ ST = 6.5 เซนติเมตร
จะได้ ความยาวรอบรูปของ ΔSQT = 2.5 + 6 + 6.5 = 15 เซนติเมตร
และ 1 (6)(2.5) = 7.5 ตารางเซนติเมตร
พื้นที่ของ ΔSQT = –
2
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 391

พิจารณา ΔPQR
มี PQ̂R เป็นมุมฉาก, PQ = 5 เซนติเมตร QR = 12 เซนติเมตร และ PR = 13 เซนติเมตร
จะได้ ความยาวรอบรูปของ ΔPQR = 5 + 12 + 13 = 30 เซนติเมตร
และ 1 (12)(5) = 30 ตารางเซนติเมตร
พื้นที่ของ ΔPQR = –
2

จากแนวคิดและข้อมูลที่ได้ข้างต้น ตอบคำ�ถามได้ดังนี้
1) ความยาวรอบรูปของ ΔSQT เท่ากับ 15 เซนติเมตร
2) ความยาวรอบรูปของ ΔPQR เป็น 2 เท่าของความยาวรอบรูปของ ΔSQT
(เนื่องจาก ความยาวรอบรูปของ ΔPQR เท่ากับ 30 เซนติเมตร และความยาวรอบรูปของ ΔSQT เท่ากับ
15 เซนติเมตร จะได้ความยาวรอบรูปของ ΔPQR เป็น — 30 = 2 เท่าของความยาวรอบรูปของ ΔSQT)
15
3) พื้นที่ของ ΔSQT เท่ากับ 7.5 ตารางเซนติเมตร
4) พื้นที่ของ ΔPQR เป็น 4 เท่าของพื้นที่ของ ΔSQT
(เนื่องจาก พื้นที่ของ ΔPQR เท่ากับ 30 ตารางเซนติเมตร และ พื้นที่ของ ΔSQT เท่ากับ 7.5
ตารางเซนติเมตร จะได้พื้นที่ของ ΔPQR เป็น — 30 = 4 เท่าของพื้นที่ของ ΔSQT)
7.5

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรีียนสามารถนำ�สมบัติหรือทฤษฎีบทเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมมาใช้ในการให้เหตุผล
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
ข้อ 1) คะแนนเต็ม 5 คะแนน
✤ วาดรูปประกอบการหาคำ�ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ หา QR ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ หา SQ และ QT ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ หา ST ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ หาความยาวรอบรูปของ ΔSQT ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
ข้อ 2) คะแนนเต็ม 2 คะแนน
✤ หาความยาวรอบรูปของ ΔPQR ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
ข้อ 3) คะแนนเต็ม 1 คะแนน
✤ หาพื้นที่ของ ΔSQT ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
ข้อ 4) คะแนนเต็ม 2 คะแนน
✤ หาพื้นที่ของ ΔPQR ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
392 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

10. จากรูปกำ�หนดให้ AB ขนานกับ CD GH ตั้งฉากกับ EF และ CÊF มีขนาด 55° จงหาขนาดของ GĤB
พร้อมแสดงแนวคิดในการหาคำ�ตอบ (3 คะแนน)

E D

C
G D
E
C B
G
H
A F
B
H
แนวคิด เขียนสัญลักษณ์แทนสิ่งที่โจทย์
A กำ�หนดและสิ
F ่งที่ทราบว่าเท่ากันในรูป ประกอบการให้เหตุผลได้ดังนี้

D
E
C 55°
G

B
H
A F

เนื่องจาก AB // CD และ CÊF = 55° (กำ�หนดให้)


จะได้ CÊF = EF̂H = 55° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้ง
มีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก FĜH = 90° (กำ�หนดให้ GH ⊥ EF)
ดังนั้น GĤB = 55 + 90 = 145° (ขนาดของมุมภายนอกของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับผลบวกของ
ขนาดของมุมภายในที่ไม่ใช่มุมประชิดของมุมภายนอกนั้น)

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรีียนสามารถนำ�สมบัติหรือทฤษฎีบทเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมมาใช้ในการให้เหตุผล
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 3 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
✤ ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ แสดงแนวคิดถูกต้อง ได้ 2 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 393

� �
11. จากรูปกำ�หนดให้ AB ขนานกับ CD BQ̂R และ RŜP มีขนาด 70° และ 110° ตามลำ�ดับ จงเขียนแสดง
การให้เหตุผลในแต่ละรายการต่อไปนี้ให้สมบูรณ์ เพื่อพิสูจน์ว่า PQRS เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (10 คะแนน)
E
G
C S
R D
110°

70°
A P Q B
F
H

� �
กำ�หนดให้ AB ขนานกับ CD BQ̂R และ RŜP มีขนาด 70° และ 110° ตามลำ�ดับ
ต้องการพิสูจน์ว่า PQRS เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
พิสูจน์
� �
เนื่องจาก AB // CD (กำ�หนดให้ )
� �
จะได้ PQ // SR (PQ อยู่บน AB และ SR อยู่บน CD )
เนื่องจาก BQ̂R = 70° (กำ�หนดให้ )
จะได้ QR̂S = 70° (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด แล้วมุมแย้ง
มีขนาดเท่ากัน )
เนื่องจาก RŜP = 110° (กำ�หนดให้ )
จะได้ QR̂S + RŜP = 70 + 110 (สมบัติของการเท่ากัน )
หรือ QR̂S + RŜP = 180° (สมบัติของการเท่ากัน )
� �
ดังนั้น EF // GH (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำ�ให้ขนาดของ
มุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันเท่ากับ
180 องศา แล้วเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน )
� �
จะได้ PS // QR (PS อยู่บน EF และ QR อยู่บน GH )
ดังนั้น PQRS เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (มีด้านตรงข้ามขนานกันสองคู่ )

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรีียนสามารถนำ�สมบัติหรือทฤษฎีบทเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมมาใช้ในการให้เหตุผล
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 10 คะแนน
เติมเหตุผลในแต่ละช่องถูกต้อง ได้ช่องละ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
394 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2


12. จากรูป AD เป็นเส้นแบ่งครึ่ง BÂC จงแสดงการให้เหตุผลเพื่อหาว่า ΔAFG เป็นรูปสามเหลี่ยมชนิดใดโดยเติม
เหตุผลท้ายข้อความที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อความให้ถูกต้อง (7 คะแนน)
C
G

D
E

F
B

พิจารณา ΔAEF และ ΔAEG


เนื่องจาก AF̂E = AĜE = 90° (กำ�หนดให้ )

FÂE = GÂE ( AD เป็นเส้นแบ่งครึ่ง BÂC )
และ AE = AE (AE เป็นด้านร่วม )
ดังนั้น ΔAEF ≅ ΔAEG (ม.ม.ด. )
จะได้ AF = AG (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน )
ดังนั้น ΔAFG เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (มีด้านยาวเท่ากันสองด้าน )

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรีียนสามารถนำ�สมบัติหรือทฤษฎีบทเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมมาใช้ในการให้เหตุผล
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 7 คะแนน
เติมเหตุผลในแต่ละช่องถูกต้อง ได้ช่องละ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้องหรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

13. จากรูป กำ�หนดให้ ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว และมี AD = BE จงให้เหตุผลว่า ΔCDE เป็นรูปสามเหลี่ยม


หน้าจั่ว (9 คะแนน)
C

A D E B
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 395

แนวคิด เขียนสัญลักษณ์แทนสิ่งที่ทราบว่าเท่ากันจากเงื่อนไขที่โจทย์กำ�หนดลงในรูป เพื่อความสะดวกในการให้เหตุผล


แนวคิด 1
C

1 2
A D E B

พิจารณา ΔACD และ ΔBCE


เนื่องจาก ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (กำ�หนดให้)
จะได้ AC = BC (ด้านประกอบมุมยอดของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วยาวเท่ากัน)
และ 1̂ = 2̂ (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
AD = BE (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ΔACD ≅ ΔBCE (ด.ม.ด.)
จะได้ CD = CE (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
ดังนั้น ΔCDE เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (มีด้านยาวเท่ากันสองด้าน)

แนวคิด 2
C

1 3 5 6 4 2
A D E B

พิจารณา ΔACD และ ΔBCE


เนื่องจาก ΔABC เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (กำ�หนดให้)
จะได้ AC = BC (ด้านประกอบมุมยอดของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วยาวเท่ากัน)
และ 1̂ = 2̂ (มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีขนาดเท่ากัน)
AD = BE (กำ�หนดให้)
ดังนั้น ΔACD ≅ ΔBCE (ด.ม.ด.)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
396 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

จะได้ 3̂ = 4̂ (มุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะมีขนาดเท่ากัน)
เนื่องจาก 3̂ + 5̂ = 4̂ + 6̂ = 180° (ขนาดของมุมตรง)
จะได้ 5̂ = 6̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
ดังนั้น ΔCDE เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (มีมุมที่มีขนาดเท่ากันสองมุม)

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรีียนสามารถนำ�สมบัติหรือทฤษฎีบทเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมมาใช้ในการให้เหตุผล
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 9 คะแนน
ให้เหตุผลได้ว่า ΔACD ≅ ΔBCE แบบ ด.ม.ด. ถูกต้องชัดเจน ได้ 5 คะแนน
สรุปได้ว่า CD = CE หรือ CD̂E = CÊD และให้เหตุผลถูกต้องชัดเจน ได้ 2 คะแนน
สรุปได้ว่า ΔCDE เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว และให้เหตุผลถูกต้องชัดเจน ได้ 2 คะแนน

14.

N 22 ซม.
P
จากรูป กำ�หนดให้ ΔLMN เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
M LO = 9 เซนติเมตร NP = 22 เซนติเมตร
จงหาความยาวของ PO พร้อมทั้งแสดงเหตุผล
(5 คะแนน)

O
L 9 ซม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 397

แนวคิด 1

22 ซม.
N P
4 7
1
6
M

2
5 8 O
L
9 ซม.

พิจารณา ΔLMN
เนื่องจาก 1̂ + 2̂ + 3̂ = 180° (ขนาดของมุมภายในทั้งสามมุมของรูปสามเหลี่ยม
รวมกันเท่ากับ 180 องศา)
จะได้ 1̂ + 2̂ + 90 = 180 (กำ�หนดให้ 3̂ = 90 องศา)
ดั้งนั้น 1̂ + 2̂ = 90° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก NP // LO (ถ้าเส้นตรงเส้นหนึง่ ตัดเส้นตรงคูห
่ นึง่ ทำ�ให้ขนาดของมุมภายใน
ทีอ
่ ยูบ
่ นข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันเท่ากับ 180 องศา แล้ว
เส้นตรงคู่นั้นขนานกัน)
จะได้ 4̂ + 1̂ + 2̂ + 5̂ = 180° (ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดที่ตัดเส้น
ขนาน รวมกันเท่ากับ 180 องศา)
ดังนั้น 4̂ + 5̂ = 90° (1̂ + 2̂ = 90 องศา และสมบัติของการเท่ากัน)
พิจารณา ΔNMP
เนื่องจาก 4̂ + 6̂ + 7̂ = 180° (ขนาดของมุมภายในทัง้ สามมุมของรูปสามเหลีย่ ม รวมกันเท่ากับ
180 องศา)
จะได้ 4̂ + 6̂ + 90 = 180 (กำ�หนดให้ 7̂ = 90 องศา)
ดังนั้น 4̂ + 6̂ = 90° (สมบัติของการเท่ากัน)
เนื่องจาก 4̂ + 5̂ = 4̂ + 6̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
จะได้ 5̂ = 6̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
พิจารณา ΔNMP และ ΔMLO
เนื่องจาก 6̂ = 5̂ (จากการพิสูจน์ข้างต้น)
7̂ = 8̂ = 90° (กำ�หนดให้)
NM = ML (กำ�หนดให้ ΔLMN เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว)
ดังนั้น ΔNMP ≅ ΔMLO (ม.ม.ด.)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
398 บทที่ 4 | การให้เหตุผลทางเรขาคณิต คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

จะได้ MP = LO = 9 (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
และ NP = MO = 22 (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
ดังนั้น PO = PM + MO = 9 + 22 = 31 เซนติเมตร

แนวคิด 2
จาก ΔNMP จะได้ 4̂ + 6̂ + 90 = 180 (ขนาดของมุมภายในทัง้ สามมุมของรูปสามเหลีย่ ม รวมกันเท่ากับ
180 องศา)
ที่จุด M จะได้ 9̂ + 6̂ + 90 = 180 (ขนาดของมุมตรง)
ดังนั้น 4̂ = 9̂ (สมบัติของการเท่ากัน)
พิจารณา ΔNMP และ ΔMLO
NM = ML (กำ�หนดให้ ΔLMN เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว)
7̂ = 8̂ = 90° (กำ�หนดให้)
4̂ = 9̂ (จากการพิสูจน์ข้างต้น)
ดังนั้น ΔNMP ≅ ΔMLO (ม.ม.ด)
จะได้ MP = LO = 9 (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
NP = MO = 22 (ด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
จะยาวเท่ากัน)
ดังนั้น PO = PM + MO = 9 + 22 = 31 เซนติเมตร

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรีียนสามารถนำ�สมบัติหรือทฤษฎีบทเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมมาใช้ในการให้เหตุผล
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 5 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
✤ ตอบถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ ให้เหตุผลได้ว่า ΔNMP ≅ ΔMLO แบบ ม.ม.ด. ถูกต้องชัดเจน ได้ 3 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 399

5
บทที่ การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
ในบทการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองนี้ ประกอบด้วย
หัวข้อย่อย ดังต่อไปนี้

5.1 การแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้
สมบัติการแจกแจง 1 ชั่วโมง
5.2 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
ตัวแปรเดียว 3 ชั่วโมง
5.3 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
ที่เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์ 3 ชั่วโมง
5.4 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
ที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง 2 ชั่วโมง

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระ จำ�นวนและพีชคณิต
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน ลำ�ดับและอนุกรม และนำ�ไปใช้

ตัวชี้วัด
เข้าใจและใช้การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

จุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถ
1. แยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง
2. แยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว พหุนามดีกรีสองที่เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์ และพหุนามดีกรีสอง
ที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
400 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ความเชื่อมโยงระหว่างตัวชี้วัดกับจุดประสงค์ของบทเรียน
เนื่องจากตัวชี้วัดกล่าวถึงความเข้าใจและการใช้การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
ดังนัน
้ เพือ
่ ให้การเรียนรูข
้ องนักเรียนในเรือ
่ งการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองสอดคล้องกับตัวชีว้ ด
ั ครูควรจัดประสบการณ์
ให้นก
ั เรียนสามารถ เข้าใจหลักการแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้สมบัตก
ิ ารแจกแจง ซึง่ สะท้อนได้จากการทีน
่ ก
ั เรียนสามารถ
หาตัวประกอบร่วมทีม
่ ด
ี ก
ี รีมากทีส
่ ด
ุ ของพหุนาม และใช้สมบัตก
ิ ารแจกแจงในการแยกตัวประกอบของพหุนามนัน
้ ได้ รวมถึงเข้าใจ
หลักการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว ซึง่ สะท้อนได้จากการทีน
่ ก
ั เรียนรูจ้ ก
ั พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว และ
สามารถแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองนั้นโดยใช้สมบัติการแจกแจง กำ�ลังสองสมบูรณ์ และผลต่างของกำ�ลังสอง รวมทั้ง
สามารถนำ�ความรู้เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามไปใช้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ต่อไป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 401

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

5.1 การแยกตัวประกอบ 5.1 การแยกตัวประกอบ


ของพหุนามโดยใช� 5.2 ของพหุนามโดยใช� 5.2
สมบัตกิ ารแจกแจง การแยก สมบัติการแจกแจง การแยก
ชวนคิด 5.1 ตัวประกอบ - ตัวประกอบ
อื่น ๆ ของพหุนามดีกรี อื่น ๆ ของพหุนามดีกรี
แบบฝ�กหัดท�ายบท : สองตัวแปรเดียว - สองตัวแปรเดียว
ข�อ 8–12 ชวนคิด 5.2, 5.3, 5.4 ชวนคิด 5.4

5.4 5.3 5.4 5.3


การแยกตัวประกอบ การแยกตัวประกอบของ การแยกตัวประกอบ การแยกตัวประกอบของ
ของพหุนามดีกรีสองทีเ่ ป�น พหุนามดีกรีสองทีเ่ ป�น ของพหุนามดีกรีสองทีเ่ ป�น พหุนามดีกรีสองทีเ่ ป�น
ผลต�า� งของกำลังสอง กำลังสองสมบูรณ� ผลต�า� งของกำลังสอง กำลังสองสมบูรณ�
ชวนคิด 5.5 แบบฝ�กหัด 5.3 : 4 - -

การสื่อสารและ
การแก�ป�ญหา การสื่อความหมาย
ทางคณิตศาสตร�

ทักษะและ
5.1 การแยกตัวประกอบ
กระบวนการ
5.1 การแยกตัวประกอบ
ของพหุนามโดยใช� การคิด ทางคณิตศาสตร� การเชื่อมโยง ของพหุนามโดยใช� 5.2
สมบัตกิ ารแจกแจง 5.2 สร�างสรรค� สมบัตกิ ารแจกแจง การแยก
การแยก
- - ตัวประกอบ
อื่น ๆ ตัวประกอบ
อื่น ๆ ของพหุนามดีกรี
- ของพหุนามดีกรี
- สองตัวแปรเดียว
สองตัวแปรเดียว
AR มุมคณิต
- การให�เหตุผล
5.4 5.3 หน�า 250
การแยกตัวประกอบ การแยกตัวประกอบ 5.4 5.3
ของพหุนามดีกรีสองทีเ่ ป�น ของพหุนามดีกรีสองทีเ่ ป�น การแยกตัวประกอบ การแยกตัวประกอบของ
ผลต�า� งของกำลังสอง กำลังสองสมบูรณ� ของพหุนามดีกรีสองทีเ่ ป�น พหุนามดีกรีสองทีเ่ ป�น
- - ผลต�า� งของกำลังสอง กำลังสองสมบูรณ�
- -

5.1 การแยกตัวประกอบ
ของพหุนามโดยใช� 5.2
สมบัตกิ ารแจกแจง การแยก
- ตัวประกอบ
อื่น ๆ ของพหุนามดีกรี
สองตัวแปรเดียว
-
ชวนคิด 5.2, 5.4

5.4 5.3
การแยกตัวประกอบ การแยกตัวประกอบของ
ของพหุนามดีกรีสองทีเ่ ป�น พหุนามดีกรีสองทีเ่ ป�น
ผลต�า� งของกำลังสอง กำลังสองสมบูรณ�
ชวนคิด 5.5 -

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
402 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

พัฒนาการของความรู้

ความรูพื้นฐาน
✤ ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการแยกตัวประกอบของจำ�นวนนับ
ที่จำเปน ✤ การบวก การลบ การคูณพหุนาม และการหารพหุนามด้วยเอกนาม

✤ การเขียนพหุนามที่กำ�หนดให้ ให้อยู่ในรูปการคูณกันของพหุนามตั้งแต่สอง
พหุนามขึ้นไป โดยที่แต่ละพหุนามหารพหุนามที่กำ�หนดให้ได้ลงตัว เรียกว่า
การแยกตัวประกอบของพหุนาม
✤ การแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง
ถ้า a, b และ c แทนพหุนามใด ๆ แล้ว
ab + ac = a(b + c) หรือ ba + ca = (b + c)a
เรียก a ว่า ตัวประกอบร่วมของ ab และ ac
หรือตัวประกอบร่วมของ ba และ ca
2
✤ พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวคือ พหุนามที่เขียนได้ในรูป ax + bx + c
เมื่อ a, b, c เป็นค่าคงตัว ที่ a ≠ 0 และ x เป็นตัวแปร
ความรูที่สำคัญ ✤ การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองในรูป ax + bx + c
2

เมื่อ a, b, c เป็นจำ�นวนเต็ม และ a ≠ 0, c ≠ 0 ทำ�ได้โดย


ในบทเรียน 1. หาพหุนามดีกรีหนึ่งสองพหุนามที่คูณกันแล้วได้พจน์หน้าคือ ax
2

2. หาจำ�นวนเต็มสองจำ�นวนที่คูณกันแล้วได้พจน์หลัง คือ c
3. นำ�ผลที่ได้ในข้อ 1) และ 2) มาหาพจน์กลางทีละกรณี จนกว่าจะได้พจน์กลาง
เป็น bx ตามที่ต้องการ
✤ การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์ ทำ�ได้โดยใช้สูตร ดังนี้
2 2 2
A + 2AB + B = (A + B)
2 2 2
A – 2AB + B = (A – B)
✤ การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองทีเ่ ป็นผลต่างของกำ�ลังสอง ทำ�ได้โดยใช้สต
ู ร
ดังนี้
2 2
A –B = (A + B)(A – B)

✤ การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสูงกว่าสอง
ความรูในอนาคต ✤ สมการกำ�ลังสองตัวแปรเดียว
✤ ฟังก์ชันกำ�ลังสอง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 403

ภาพรวมของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของบทเรียน

ทบทวนความรู้เรื่องพหุนามและการแยกตัวประกอบของจำ�นวนนับ

อภิปรายเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของพหุนามและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของ
การคูณพหุนามกับการแยกตัวประกอบของพหุนาม

ทบทวนการคูณกันของเอกนามกับพหุนาม
และอภิปรายเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง

แนะนำ�พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวและอภิปรายเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
ในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a, b เป็นจำ�นวนเต็ม และ c = 0

ทบทวนการหาผลคูณของพหุนาม (x + m)(x + n) และอภิปรายเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของ


2
พหุนามดีกรีสองในรูป ax + bx + c เมื่อ a = 1, b และ c เป็นจำ�นวนเต็ม และ c ≠ 0

ทบทวนการหาผลคูณของพหุนาม (px + r)(qx + s) และอภิปรายเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของ


2
พหุนามดีกรีสองในรูป ax + bx + c เมื่อ a, b, c เป็นจำ�นวนเต็ม และ a ≠ 1, c ≠ 0

2 2
สำ�รวจผลคูณของพหุนามที่อยู่ในรูป (A + B) และ (A – B)

อภิปรายการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์

สำ�รวจผลคูณของพหุนามที่อยู่ในรูป (A + B)(A – B)

อภิปรายการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง

สรุปบทเรียน ทำ�กิจกรรมท้ายบทเพื่อเติมเต็มความรู้ที่ได้รับจากบทเรียน
และพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกหัดท้ายบท
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
404 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

5.1 การแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง (1 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
นักเรียนมักจะผิดพลาดในการใช้สมบัติการแจกแจง เช่น
2x + 6 = 2(x + 6)
หรือ 2(x + 3) = 2x + 3

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
-

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง โดยก่อนที่จะเรียนรู้หัวข้อนี้
ควรเน้นให้นกั เรียนได้ท�ำ ความเข้าใจเกีย่ วกับการคูณพหุนามและเชือ่ มโยงไปยังการแยกตัวประกอบของพหุนามซึง่ เป็นกระบวนการ
ทำ�ย้อนกลับของการคูณพหุนาม แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูทบทวนสมบัติการแจกแจงของจำ�นวนเต็มและความหมายของตัวประกอบร่วมของจำ�นวนนับ เพราะเป็น
ความรูท
้ เี่ ราจะต้องนำ�มาใช้ในการแยกตัวประกอบของพหุนามในหัวข้อนี
้ สำ�หรับสมบัตกิ ารแจกแจงนัน
้ ควรทบทวน
ให้นักเรียนเห็นทั้งสองลักษณะ ดังนี้
a(b + c) = ab + ac และ (b + c)a = ba + ca
2. ครูแนะนำ�นักเรียนเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง และชี้ให้นักเรียนเห็นว่า
การแยกตัวประกอบของพหุนามอาจเขียนได้มากกว่า 1 แบบ ซึ่งต่างจากการแยกตัวประกอบของจำ�นวนนับที่
เขียนได้คำ�ตอบเดียว เช่น
-9x + 3 = 3(-3x + 1) หรือ -9x + 3 = -3(3x – 1)
3. เนือ่ งจากการแยกตัวประกอบของพหุนามนัน
้ เป็นเรือ่ งทีค
่ อ่ นข้างยากสำ�หรับนักเรียนส่วนมาก ดังนัน
้ ในขัน
้ เริม
่ ต้นของ
การหาตัวประกอบร่วมของพหุนาม ครูควรให้นก
ั เรียนพิจารณาและหาตัวประกอบร่วมทีละตัว ดังตัวอย่างต่อไปนี้
จงแยกตัวประกอบของ 8x3y2 + 20x2y3 – 12y4
ขั้นที่ 1 พิจารณาค่าคงตัวซึ่งเป็นสัมประสิทธิ์ของแต่ละพจน์
หา ห.ร.ม. ของสัมประสิทธิ์ของแต่ละพจน์ได้แก่ 8, 20 และ 12
จะได้ ห.ร.ม. เป็น 4
ดังนั้น 4 เป็นตัวประกอบร่วมตัวหนึ่งของพหุนามนี้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 405

ขั้นที่ 2 พิจารณาตัวแปร x ในแต่ละพจน์ จะเห็นว่ามีตัวแปร x อยู่ในพจน์เพียงสองพจน์


3 2 2 3
คือ 8x y และ 20x y แสดงว่าไม่มีตัวประกอบร่วมที่เป็นตัวแปร x
ขั้นที่ 3 พิจารณาตัวแปร y ในแต่ละพจน์ จะเห็นว่ามีตัวแปร y อยู่ในพจน์ทั้งสามคือ
3 2 2 3 4 2
8x y , 20x y และ 12y จะได้ y เป็นตัวประกอบร่วมอีกตัวหนึ่งของพหุนามนี้
ขั้นที่ 4 นำ�ตัวประกอบร่วมทั้งหมดมาเขียนเป็นผลคูณจะได้ผลคูณนั้นเป็นตัวประกอบร่วม
ของแต่ละพจน์
2 3 2 2 3 4
จากขั้นตอนข้างต้นจะได้ 4y เป็นตัวประกอบร่วมของ 8x y , 20x y และ 12y
3 2 2 3 4
ดังนั้น แยกตัวประกอบของ 8x y + 20x y – 12y ได้ดังนี้
3 2 2 3 4 2 3 2 2
8x y + 20x y – 12y = 4y (2x + 5x y – 3y )

ครูอาจให้นก
ั เรียนสังเกตว่า ในการพิจารณาตัวประกอบร่วมดังข้างต้น ไม่ได้พจิ ารณาเครือ
่ งหมายระหว่างพจน์
นอกจากนี้ ในการแยกตัวประกอบของพหุนาม โดยทั่วไปจะไม่เขียนแยกตัวประกอบของจำ�นวนเต็มที่เป็น ห.ร.ม.
2 2
ที่ได้ต่อไปอีก เช่น จะไม่เขียน 4y เป็น 2 × 2 × y
4. สำ�หรับชวนคิด 5.1 มีไว้เพือ
่ ให้นก
ั เรียนฝึกการคิดวิเคราะห์แก้ปญ
ั หา และเห็นการประยุกต์ของการแยกตัวประกอบ
ของพหุนาม ในการหาค่ากลของจัตรุ สั กลปรกตินน
ั้ จะต้องนำ�จำ�นวนทัง้ หมดทีอ
่ ยูใ่ นตารางมาบวกกัน แล้วหารด้วย
จำ�นวนแถว (หรือจำ�นวนหลัก) จึงจะได้ค่ากล ดังนั้น ในการหาค่ากลของจัตุรัสกลปรกติ ขนาด n × n ใด ๆ จะ
2 2
ต้องหาผลบวกตั้งแต่ 1 ถึง n แล้วหารด้วย n ซึ่งเป็นจำ�นวนแถว โดยในการหาผลบวกตั้งแต่ 1 ถึง n นั้น จะต้อง
อาศัยความรู้ของการหาผลบวกตั้งแต่ 1 ถึ ง n ซึ่ งเมื่ อ ศึ กษาจากมุ มเทคโนโลยี ในหนั งสื อ เรี ยน หน้ า 247
จะพบว่า ผลบวกตั้งแต่ 1 ถึง n มีค่าเป็น n(n + 1) ซึ่งอยู่ในรูปของการแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้สมบัติ
2
ของการแจกแจงนั่นเอง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
406 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 5.1
1. แนวคิด เนื่องจาก ค่ากล คือ จำ�นวนที่เป็นผลบวกของจำ�นวนในแต่ละแถว (หรือแต่ละหลัก) ซึ่งมีค่า
ipst.me/10419
เท่ากัน โดยค่ากลนั้นหาได้จากผลรวมของจำ�นวนทั้งหมดหารด้วยจำ�นวนแถว
จัตุรัสกลปรกติ ขนาด 4 × 4 จะมีช่องว่างทั้งหมด 16 ช่อง สำ�หรับเติมเลขโดด 1 ถึง 16
ในการหาผลบวกของจำ�นวนตั้งแต่ 1 ถึง 16 วิธีหนึ่งที่สามารถช่วยให้หาค่าได้ง่ายและรวดเร็ว
คือใช้การจับคู่ให้ได้ผลบวกเท่ากับ 17 ดังแผนภาพต่อไปนี้

1 + 2 + 3 + 4 + 5 + 6 + 7 + 8 + 9 +10 + 11 + 12 + 13 + 14 + 15 + 16
… 17 …
17 อาจคิดได้จาก
16(17) = 136
17
2

17
จากแผนภาพ จะได้ผลบวกเป็น 17 + 17 + 17 + 17 + 17 + 17 + 17 + 17 = 8 × 17 = 136
เนื่องจากจัตุรัสกลปรกติ ขนาด 4 × 4 มี 4 แถว (หรือ 4 หลัก)
ดังนั้น ค่ากลของจัตุรัสกลปรกติ ขนาด 4 × 4 เท่ากับ 136 = 34
4
2 2
2. แนวคิด จัตุรัสกลปรกติ ขนาด n × n จะมีช่องว่างทั้งหมด n ช่อง สำ�หรับเติมเลขโดด 1 ถึง n
2 2
จากแนวคิดในข้อ 1 จะได้ว่า ผลบวกของจำ�นวนตั้งแต่ 1 ถึง n เท่ากับ (n )(n + 1)
2

2
เนื่องจากจัตุรัสกลปรกติ ขนาด n × n มี n แถว (หรือ n หลัก)
2 2
ดังนั้น ค่ากลของจัตุรัสกลปรกติ ขนาด n × n เท่ากับ (n )(n + 1) ÷ n
2
2 2
= (n )(n + 1)
2n
2
= (n)(n + 1)
2
2
นั่นคือ ค่ากลของจัตุรัสกลปรกติ ขนาด n × n เท่ากับ (n)(n + 1)
2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 407

2
3. แนวคิด จากแนวคิดในข้อ 2 จะได้ว่า ค่ากลของจัตุรัสกลปรกติ ขนาด n × n เท่ากับ (n)(n + 1)
2
2
จะได้ว่า (n)(n + 1) = 369
2
2
(n)(n + 1) = 738
2
(n)(n + 1) = (9)(82)
2
(n)(n + 1) = (9)(81 + 1)
2 2
(n)(n + 1) = (9)(9 + 1)
นั่นคือ n = 9
ดังนั้น ถ้าต้องการสร้างจัตุรัสกลปรกติ ที่มีค่ากลเป็น 369 จะต้องใช้ตารางขนาด 9 × 9

(n)(n2 + 1)
หมายเหตุ : นักเรียนอาจลองหาจำ�นวนที่แทน n ใน แล้วมีค่าเท่ากับ 369 ก็ได้
2

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 5.1
1. 1) 10x + 4 = 2(5x + 2)
2) 7x – 14 = 7(x – 2)
3) -9x + 3 = 3(-3x + 1) หรือ -3(3x – 1)
4) -8 – 12x = 4(-2 – 3x) หรือ -4(2 + 3x)
5) 14y + 26z = 2(7y + 13z)
2
6) x + 13x = x(x + 13)
2
7) 3z – 2z = z(3z – 2)
2
8) 5y – 20y = 5y(y – 4)
9) 12xz – 16z = 4z(3x – 4)
2
10) 33y – 11yz = 11y(3y – z)
2
11) 15x y + 5x = 5x(3xy + 1)
2
12) 6xy – 8xy = 2xy(3 – 4y)
3 2
13) x + x = x(x + 1)
3 2
14) y + 4y = y(y + 4)
2 2
15) 9y z – 6yz = 3yz(3yz – 2)
3 2 2 3 2 2
16) 21x y – 28x y = 7x y (3x – 4y)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
408 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2 3 3 2 3 2
17) -7x z + 63xz5 = 7xz (-x + 9z ) หรือ -7xz (x – 9z )
4 2 3 3 3 2
18) 24x z + 18x z = 6x z (4x + 3z)
2 3 3 2 3 3 2 2
19) 30x y + 36x y – 6x y = 6x y (5y + 6x – xy)
2 2 3 3 4 2 2 2
20) 24xz – 27x z + 9x z = 3xz (8 – 9xz + 3x z )

2. 1) m(n + 3) + 5(n + 3) = (n + 3)(m + 5)


2) (x + y)z – (x + y) = (x + y)(z – 1)
3) 4t(a + b) – s(a + b) = (a + b)(4t – s)
2 2 2
4) (4y + 3)y + 6(4y + 3) = (4y + 3)(y + 6)
5) a(b – 3c) + x(b – 3c) = (b – 3c)(a + x)
6) แนวคิด 1 ax + by + bx + ay = (ax + bx) + (ay + by)
= x(a + b) + y(a + b)
= (a + b)(x + y)
แนวคิด 2 ax + by + bx + ay = (ax + ay) + (bx + by)
= a(x + y) + b(x + y)
= (x + y)(a + b)
7) แนวคิด 1 5a – 10x + ab – 2bx = (5a – 10x) + (ab – 2bx)
= 5(a – 2x) + b(a – 2x)
= (a – 2x)(5 + b)
แนวคิด 2 5a – 10x + ab – 2bx = (5a + ab) – (10x + 2bx)
= a(5 + b) – 2x(5 + b)
= (5 + b)(a – 2x)
8) แนวคิด na + 3b + nb + 3a = (na + nb) + (3a + 3b)
= n(a + b) + 3(a + b)
= (a + b)(n + 3)
9) แนวคิด xy – st – xt + sy = (xy – xt) + (sy – st)
= x(y – t) + s(y – t)
= (y – t)(x + s)
2 2 2 2
10) แนวคิด n m + n p – 8m – 8p = (n m – 8m) + (n p – 8p)
2 2
= m(n – 8) + p(n – 8)
2
= (n – 8)(m + p)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 409

2 2 2 2
11) แนวคิด ab – cb – 6a + 6c = (ab – cb ) – (6a – 6c)
2
= b (a – c) – 6(a – c)
= (a – c)(b2 – 6)
3 2 3 2
12) แนวคิด 2x – x + 14x – 7 = (2x – x) + (14x – 7)
2 2
= x(2x – 1) + 7(2x – 1)
2
= (2x – 1)(x + 7)
2 3 2 3
13) แนวคิด a – 2b – 5a + 10ab = (a – 2b) – (5a – 10ab)
2 2
= (a – 2b) – 5a(a – 2b)
2
= (a – 2b)(1 – 5a)
3 3 2 2 3 3 2 2
14) แนวคิด x –xz+yz–y = (x – x z) – (y – y z)
3 2
= x (1 – z) – y (1 – z)
3 2
= (1 – z)(x – y )

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
410 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

5.2 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว (3 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวที่มีสัมประสิทธิ์ของแต่ละพจน์เป็นจำ�นวนเต็ม และมี
สัมประสิทธิ์ของแต่ละพจน์ในพหุนามตัวประกอบเป็นจำ�นวนเต็ม

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ซอฟต์แวร์ The Geometer's Sketchpad (GSP)

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
อาจทำ�ได้ดังนี้
2
1. ครูแนะนำ�พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวที่เขียนอยู่ในรูป ax + bx + c เมื่อ a, b, c เป็นจำ�นวนเต็ม และ
a ≠ 0 พร้อมทั้งให้ตัวอย่างประกอบ อาจให้นักเรียนบอกค่า a, b และ c ในแต่ละพจน์ เหล่านั้น
2. ครูทบทวนการคูณกันของเอกนามกับพหุนาม จากนั้นครูให้ตัวอย่างการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
ในกรณีที่ c = 0 ก่อน เพราะกรณีนี้จะใช้ความรู้ต่อเนื่องจากหัวข้อ 5.1 ซึ่งเป็นการแยกตัวประกอบของ
พหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจงและมีตัวประกอบร่วมเป็นเอกนาม
3. ครูทบทวนการหาผลคูณของพหุนามโดยครูอาจดาวน์โหลดไฟล์ GSP จากมุมเทคโนโลยีในหนังสือเรียนชั้น ม.2
เล่ม 1 บทที่ 6 เรื่องพหุนาม หน้า 288 มาใช้ประกอบการทบทวน จากนั้นครูอภิปรายกับนักเรียนเกี่ยวกับ
2
การแยกตัวประกอบของพหุนามทีเ่ ขียนอยูใ่ นรูป ax + bx + c เมือ
่ a = 1 และ c ≠ 0 ในขัน
้ ตอนต่าง ๆ
ที่ใช้สมบัติของการแจกแจงและมีตัวประกอบร่วมเป็นพหุนาม อาจมีรายละเอียดที่อาจเข้าใจยากสำ�หรับนักเรียน
บางกลุม
่ ครูควรอธิบายให้นก
ั เรียนเห็นแนวคิดแล้วสรุปวิธก
ี ารแยกตัวประกอบโดยให้ขอ
้ สังเกตเกีย่ วกับสัมประสิทธิ์
ของพจน์กลาง (b) ค่าของพจน์หลัง (c) พร้อมยกตัวอย่างประกอบ จนนักเรียนสามารถมองเห็นความสัมพันธ์
แล้วจึงค่อยสรุปเป็นหลักการทั่ว ๆ ไปคือ
2
x + bx + c = (x + m)(x + n) เมื่อ m และ n เป็นจำ�นวนเต็มที่ m + n = b และ mn = c
ครูควรเน้นย้ำ�ให้นักเรียนตรวจสอบคำ�ตอบโดยการหาผลคูณของพหุนามที่เป็นตัวประกอบ ว่าตรงกับ
พหุนามที่กำ�หนดให้หรือไม่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 411

2
ครูควรให้ขอ
้ สังเกตกับนักเรียนด้วยว่า ในกรณีท ี่ x + bx + c มี b และ c เป็นจำ�นวนเต็ม ถ้าไม่สามารถ
หาจำ�นวนเต็มสองจำ�นวนที่คูณกันได้ c และบวกกันได้ b ก็แสดงว่าไม่สามารถแยกตัวประกอบของพหุนามนั้น
ให้มีตัวประกอบที่เป็นพหุนามดีกรีหนึ่งและมีสัมประสิทธิ์เป็นจำ�นวนเต็มได้
ในหัวข้อนี้ครูควรให้นักเรียนฝึกการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองเพิ่มเติม โดยสามารถดาวน์โหลด
ไฟล์ GSP จากมุมเทคโนโลยี ในหนังสือเรียน หน้า 252 เพื่อให้นักเรียนฝึกฝนจนเกิดความคล่องแคล่วใน
การแยกตัวประกอบของพหุนาม ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำ�คัญในการเรียนต่อในหัวข้อถัดไป
4. ครูอาจให้นก
ั เรียนทำ�กิจกรรมโดยใช้สอ
ื่ AR ในมุมคณิต ในหนังสือเรียน หน้า 250 เพือ
่ ให้เห็นการใช้พหุนามแสดง
ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากกับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมนั้น ซึ่งความสัมพันธ์ที่ได้
เขียนอยู่ในรูปการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
การใช้สื่อรูปธรรมนี้ มีเจตนาให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอดและเรียนคณิตศาสตร์อย่างมีความหมาย
ครูไม่ควรยึดติดกับการใช้สื่อรูปธรรมเกินความจำ�เป็น เพราะบางครั้งสื่อเหล่านี้ก็ทำ�ให้เกิดความยุ่งยากได้ สิ่งที่
ครูควรให้นักเรียนทำ�คือ ให้โจทย์ที่เหมาะสมและให้นักเรียนได้ฝึกทักษะอย่างเพียงพอ
5. ครูทบทวนการหาผลคูณของพหุนามโดยครูอาจดาวน์โหลดไฟล์ GSP จากมุมเทคโนโลยีในหนังสือเรียนชั้น ม.2
เล่ม 1 บทที่ 6 เรื่องพหุนาม หน้า 288 จากนั้นครูอภิปรายกับนักเรียนเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของพหุนาม
ดีกรีสองในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a, b, c เป็นจำ�นวนเต็มที่ a ≠ 1 และ c ≠ 0 ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา
ในการทำ�ความเข้าใจและการฝึกฝน ในการจัดการเรียนการสอน ครูควรดำ�เนินการอย่างช้า ๆ ให้เวลานักเรียน
ได้คิดคำ�นวณอย่างรอบคอบและตรวจสอบคำ�ตอบให้ถูกต้องทุกครั้ง
ครู ค วรย้ำ � กั บ นั ก เรี ย นเสมอว่ า ก่ อ นแยกตั ว ประกอบของพหุ น ามใด ๆ ควรพิ จ ารณาว่ า สามารถหา
ตัวประกอบร่วมได้หรือไม่ ถ้าได้ควรกระทำ�ก่อน เพราะอาจจะช่วยให้การแยกตัวประกอบขั้นต่อไปทำ�ได้ง่ายขึ้น
ดังตัวอย่างที่ 10 ในหนังสือเรียน หน้า 256 วิธีที่ 1 ในการแยกตัวประกอบของพหุนาม ครูไม่ควรเข้มงวด
2
เกี่ยวกับรูปแบบของคำ�ตอบมากนัก เช่น เมื่อแยกตัวประกอบของ 6x – 10x – 4 อาจเขียนคำ�ตอบเป็น
2
6x – 10x – 4 = (3x + 1)(2x – 4) หรือ (6x + 2)(x – 2) ก็ให้ถือว่าถูกต้อง เพียงแต่ยังไม่เป็นการแยก
ตัวประกอบที่สมบูรณ์เท่านั้น
สำ�หรับตัวอย่างที่ 11 ในหนังสือเรียน หน้า 257 เป็นโจทย์ที่ a เป็นจำ�นวนเต็มลบ ครูอาจแนะนำ�ให้
นักเรียนใช้วิธีทำ� วิธีที่ 2 ซึ่งนำ�ตัวประกอบร่วม -1 ออกมาก่อน จะช่วยทำ�ให้แยกตัวประกอบขั้นต่อไปง่ายขึ้น
และอาจเขียนคำ�ตอบโดยมี -1 อยู่นอกวงเล็บก็ได้เป็น
2 2
-3x + 10x + 8 = -(3x – 10x – 8) = (-1)(3x + 2)(x – 4)
6. ในหัวข้อนีค
้ รูควรให้นก
ั เรียนฝึกการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองเพิม
่ เติม โดยสามารถดาวน์โหลดไฟล์ GSP
จากมุมเทคโนโลยี ในหนังสือเรียน หน้า 257

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
412 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 5.2
ipst.me/10420

จงเติมเลขโดด 0–9 ลงใน ทั้งสิบช่อง ซึ่งเลขโดดแต่ละตัวนั้น ใช้ได้เพียงครั้งเดียว

2
x + 0 x – 4 = (x + 2)(x – 2 )

2
x + 1 1 x + 1 8 = (x + 2)(x + 9 )

2
x + 2x – 3 5 = (x + 7 )(x – 5 )

2
x – 6 x + 8 = (x – 2)(x – 4)

ชวนคิด 5.3
1. แนวคิด
2
จาก x + bx + 16 ให้พิจารณา m, n ที่เป็นจำ�นวนเต็ม โดยที่ mn = 16 และ m + n = b
ipst.me/10421
ได้ดังตารางต่อไปนี้

m n mn b=m+n
16 1 16 17
8 2 16 10
4 4 16 8
2 8 16 10
1 16 16 17
-1 -16 16 -17
-2 -8 16 -10
-4 -4 16 -8
-8 -2 16 -10
-16 -1 16 -17

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 413

2
จากตารางข้างต้น จะได้ว่า จำ�นวนเต็ม b ทั้งหมดที่เป็นไปได้ ที่ทำ�ให้ x + bx + 16 สามารถแยกตัวประกอบออกเป็น
พหุนามดีกรีหนึ่งซึ่งมีสัมประสิทธิ์และค่าคงตัวเป็นจำ�นวนเต็ม คือ 8, 10, 17, -8, -10, -17 รวมทั้งสิ้น 6 จำ�นวน

2. คำ�ตอบมีได้หลากหลาย
แนวคิด พิจารณาตัวอย่างของ m, n ที่เป็นจำ�นวนเต็ม ที่ซึ่ง m + n = -4 และ c เป็นจำ�นวนเต็ม โดยที่ c = mn
ได้ดังตารางต่อไปนี้

m n m+n c = mn
-1 -3 -4 3
0 -4 -4 0
1 -5 -4 -5
2 -6 -4 -12
3 -7 -4 -21

2
ดังนั้น จำ�นวนเต็ม c ที่เป็นตัวอย่างทั้งสิ้น 5 จำ�นวน ที่ทำ�ให้ x – 4x + c สามารถแยกตัวประกอบออกเป็น
พหุนามดีกรีหนึ่งซึ่งมีสัมประสิทธิ์และค่าคงตัวเป็นจำ�นวนเต็ม คือ 3, 0, -5, -12, -21

ชวนคิด 5.4
1. พิจารณาการแยกตัวประกอบของพหุนามกำ�ลังสองที่กำ�หนดให้
ipst.me/10422
2x2 + 9x – 18 = (2x – 3)(x + 6)
4x2 + 25x + 6 = (x + 6)(4x + 1)
12x – 17x – 5
2
= (4x + 1)(3x – 5)

จากความสัมพันธ์ข้างต้น จะได้ว่า

แทน x + 6 แทน 4x + 1

แทน 2x – 3 และ แทน 3x – 5

ดังนั้น

• = (2x – 3)( 3x – 5)

2
= 6x – 19x +15
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
414 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

• •
2. 2
= 12x – 69x – 105 1)

• =
2
4x + 4x – 3 2)

• – • =
2
8x – 14 3)

• + • =
2
2x – 5x – 24 4)

แนวคิด พิจารณาการแยกตัวประกอบของพหุนามกำ�ลังสองที่กำ�หนดให้
จาก 1) 12x2 – 69x – 105 = (3)(4x2 – 23x – 35)
= (3)(x – 7)(4x + 5)

นั่นคือ จะแทน 3 หรือ x – 7 หรือ 4x + 5

จะแทน 3 หรือ x – 7 หรือ 4x + 5

และในทำ�นองเดียวกัน จะแทน 3 หรือ x – 7 หรือ 4x + 5

จาก 2) 4x2 + 4x – 3 = (2x – 1)(2x + 3)

นั่นคือ จะแทน 2x – 1 หรือ 2x + 3 และในทำ�นองเดียวกัน จะแทน 2x – 1 หรือ 2x + 3

พิจารณาความสอดคล้องกับความสัมพันธ์ 3) โดยใช้ตารางดังนี้
× 2x – 1 2x + 3
3 6x – 3 6x + 9
x–7 2x – 15x + 7
2
2x – 11x – 21
2

4x + 5 8x2 + 6x – 5 8x2 + 22x + 15

หมายเหตุ จากตารางนี้ นักเรียนอาจเลือกพิจารณาเฉพาะการคูณกันของค่าคงตัวเพื่อสังเกตหาความสัมพันธ์ที่ต้องการ

จากตารางและจากความสัมพันธ์ 3) จะได้ดังนี้
2 2
8x – 14 = (8x + 6x – 5) – (6x + 9)
= (4x + 5)(2x – 1) – 3(2x + 3)
และจะได้ว่า
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 415

แทน 4x + 5 แทน 2x – 1

แทน 3 แทน 2x + 3 แทน x – 7

เมื่อพิจารณาค่าต่าง ๆ ในตารางและความสัมพันธ์ 4) จะได้พหุนามที่สอดคล้องกับความสัมพันธ์ดังกล่าว ดังนี้


2 2
เนื่องจาก 2x – 5x – 24 = (6x – 3) + (2x – 11x – 21)
= 3(2x – 1) + (x – 7)(2x + 3)
จะได้ 3(2x – 1) + (x – 7)(2x + 3) = 2x2 – 5x – 24
เนื่องจากการคูณและการบวกมีสมบัติการสลับที่ ดังนั้น คำ�ตอบมีได้หลากหลาย เช่น

• + • =
2
2x – 5x – 24

• + • =
2
2x – 5x – 24

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
416 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 5.2 ก
1. 1) m = 7 n = 12 หรือ m = 12 n = 7
2) m = -13 n = 8 หรือ m = 8 n = -13
3) m = 13 n = -11 หรือ m = -11 n = 13
4) m = -14 n = -9 หรือ m = -9 n = -14
5) m = 6 n = 15 หรือ m = 15 n = 6
6) m = 15 n = -8 หรือ m = -8 n = 15
7) m = -16 n = 8 หรือ m = 8 n = -16
8) m = -6 n = -18 หรือ m = -18 n = -6
9) m = 21 n = -19 หรือ m = -19 n = 21
10) m = -24 n = 13 หรือ m = 13 n = -24

2
2. 1) x – 5x = x(x – 5)
2
2) 3m – 3m = 3m(m – 1)
2
3) -2y + y = y(-2 + y) หรือ -y(2 – y)
2
4) -5x – 10x = 5x(-x – 2) หรือ -5x(x + 2)
2
5) x + 4x + 3x + 12 = (x + 4)(x + 3)
2
6) m – 5m + 2m – 10 = (m – 5)(m + 2)
7) x2 + 9x + 14 = (x + 7)(x + 2)
2
8) n + 15n + 14 = (n + 14)(n + 1)
2
9) y + 10y + 24 = (y + 6)(y + 4)
2
10) x + 7x – 18 = (x + 9)(x – 2)
2
11) x – 9x + 20 = (x – 4)(x – 5)
2
12) a – 8a – 9 = (a + 1)(a – 9)
2
13) b + 9b – 10 = (b + 10)(b – 1)
2
14) x – 10x + 24 = (x – 4)(x – 6)
2
15) x – 14x + 24 = (x – 2)(x – 12)
2
16) a + 11a + 18 = (a + 2)(a + 9)
2
17) 56 + 15a + a = (8 + a)(7 + a)
2
18) m – 13m + 42 = (m – 6)(m – 7)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 417

19) x2 – 20x – 21 = (x + 1)(x – 21)


2
20) x – 15x + 36 = (x – 3)(x – 12)
2
21) y + 13y + 12 = (y + 12)(y + 1)
2
22) t – 11t + 30 = (t – 5)(t – 6)
2
23) a – a – 72 = (a + 8)(a – 9)
2
24) x – 17x + 70 = (x – 7)(x – 10)
2
25) y – 18y + 81 = (y – 9)(y – 9)
2
26) n + 15n – 54 = (n + 18)(n – 3)
2
27) x – 30x – 99 = (x + 3)(x – 33)
2
28) m – 22m + 121 = (m – 11)(m – 11)
2
29) x – 12x – 85 = (x + 5)(x – 17)
2
30) 144 + 24a + a = (12 + a)(12 + a)

แบบฝึกหัด 5.2 ข
2
1. 2x – 2x – 4 = 2(x – 2)(x + 1)
2
2. 2a + 6a + 4 = 2(a + 2)(a + 1)
2
3. 3x – 6x – 9 = 3(x – 3)(x + 1)
2
4. 6y – y – 12 = (2y – 3)(3y + 4)
2
5. 9y – 6y + 1 = (3y – 1)(3y – 1)
2
6. 6a + a – 12 = (3a – 4)(2a + 3)
2
7. 6a + 17a + 12 = (3a + 4)(2a + 3)
2
8. 5x + 14x – 3 = (5x – 1)(x + 3)
2
9. 4x + 16x – 9 = (2x + 9)(2x – 1)
2
10. 9y – 12y – 5 = (3y + 1)(3y – 5)
2
11. 5x + 4x – 1 = (5x – 1)(x + 1)
2
12. 12a – a – 35 = (4a – 7)(3a + 5)
2
13. 16y – 8y + 1 = (4y – 1)(4y – 1)
2
14. 15x + 8x – 7 = (x + 1)(15x – 7)
2
15. 7a + 49a + 84 = 7(a + 3)(a + 4)
2
16. 35m + 18m – 8 = (7m – 2)(5m + 4)
2
17. 4 + 10x – 6x = 2(2 – x)(1 + 3x) หรือ -2(x – 2)(3x + 1)
2
18. 9 – 42y + 49y = (3 – 7y)(3 – 7y)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
418 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2
19. 35 – 26b + 3b = (7 – b)(5 – 3b)
2
20. 4z – 28z + 49 = (2z – 7)(2z – 7)
2
21. -12a – 20a – 7 = (-6a – 7)(2a + 1) หรือ (6a + 7)(-2a – 1)
2
22. 10 – 19x – 15x = (5 + 3x)(2 – 5x)
2
23. 6b – 38b + 56 = 2(3b – 7)(b – 4)
2
24. 7m + 72m – 55 = (7m – 5)(m + 11)
2
25. 20a + 77a + 18 = (5a + 18)(4a + 1)
2
26. 3x – 40x + 117 = (3x – 13)(x – 9)
2
27. -10x + 81x – 45 = (-2x + 15)(5x – 3) หรือ (2x – 15)(-5x + 3)
2
28. 13y + 69y – 54 = (13y – 9)(y + 6)
29. 4y – 36
2
= 4(y – 3)(y + 3)
30. 9a2 – 64 = (3a – 8)(3a + 8)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 419

5.3 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
ที่เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์ (3 ชั่วโมง)
จุดประสงค์
2 2
นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์และเขียนอยู่ในรูป A + 2AB + B หรือ
2 2
A – 2AB + B เมื่อ A และ B เป็นพหุนาม

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ซอฟต์แวร์ The Geometer's Sketchpad (GSP)

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำ�ความเข้าใจในการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูให้นก
ั เรียนทำ� “กิจกรรม : สำ�รวจกำ�ลังสองสมบูรณ์” ในหนังสือเรียน หน้า 260 เพือ
่ ให้นก
ั เรียนสังเกตเห็นรูปแบบ
ของพหุนามที่เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์ นอกจากนี้ ครูอาจให้นก
ั เรียนดาวน์โหลดไฟล์ GSP เพือ
่ ฝึกการคูณพหุนามที่
ได้ผลลัพธ์เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์เพิม
่ เติม ได้ทม
่ี ม
ุ เทคโนโลยี ในหนังสือเรียน หน้า 260
2. ครูอภิปรายกับนักเรียนเกีย่ วกับการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองทีเ่ ป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์ เมือ
่ นักเรียนสังเกต
เห็นรูปแบบของการแยกตัวประกอบแล้ว ต่อจากนัน
้ ครูอาจให้สต
ู รสำ�หรับการนำ�ไปใช้ในการทำ�แบบฝึกหัดเลยก็ได้
นักเรียนจะจำ�สูตรในรูปของตัวแปร หรือจำ�ในรูปข้อความก็ได้ ดังนี้
2 2 2 2 2 2
A + 2AB + B = (A+B) หรือ (หน้า) + 2(หน้า)(หลัง) + (หลัง) = (หน้า + หลัง)
2 2 2 2 2 2
A – 2AB + B = (A – B) หรือ (หน้า) – 2(หน้า)(หลัง) + (หลัง) = (หน้า – หลัง)
3. ครูให้นักเรียนศึกษาแบบจำ�ลองแสดงการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์ในมุมคณิต
ในหนังสือเรียนหน้า 262
4. สำ�หรับหัวข้อนีไ้ ด้แบ่งสาระเป็นสองตอนเพือ
่ ความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน
✤ ตัวอย่างที่ 1 ถึงตัวอย่างที่ 4 และแบบฝึกหัด 5.3 ข้อ 1, 2 และ 4 เหมาะสำ�หรับนักเรียนทั่ว ๆ ไป
✤ ตัวอย่างที่ 5 ตัวอย่างที่ 6 และแบบฝึกหัด 5.3 ข้อ 3 เหมาะสำ�หรับนักเรียนที่มีความสามารถ
เป็นพิเศษ
การจัดสาระให้กับนักเรียนให้อยู่ในดุลพินิจของครู

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
420 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

สำ�หรับตัวอย่างที่ 5 และตัวอย่างที่ 6 อาจแยกตัวประกอบของพหุนามทีก


่ �ำ หนดให้โดยไม่ดท
ู รี่ ป
ู แบบของ
พหุนามทีเ่ ป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์ แต่อาจทำ�พหุนามนัน
้ ให้อยูใ่ นรูปอย่างง่ายก่อนแล้วจึงแยกตัวประกอบก็ได้ เช่น
2 2 2 2 2 2
4x – 4(x – 3x) + (x – 3) = 4x – 4x + 12x + x – 6x + 9
2
= x + 6x + 9
2 2
= x + 2(x)(3) + 3
2
= (x + 3)
2 2 2 2
ดังนั้น 4x – 4(x – 3x) + (x – 3) = (x + 3)
อนึ่ง ตัวอย่างที่ 5 ตัวอย่างที่ 6 และแบบฝึกหัด 5.3 ข้อ 3 นี้มีเจตนาให้นักเรียนได้พัฒนาการคิดและ
สังเกตรูปแบบทีเ่ ป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์ ครูจงึ ควรให้นกั เรียนทำ�วิธด
ี งั ตัวอย่างมากกว่าการทำ�ให้อยูใ่ นรูปอย่างง่ายก่อน
ในการทำ�แบบฝึกหัด 5.3 ข้อ 3 ครูควรย้ำ�ให้นักเรียนระมัดระวังในเรื่องการเข้าวงเล็บและถอดวงเล็บ
ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนเครื่องหมายของแต่ละพจน์ ดังนั้น ควรย้ำ�ให้นักเรียนตรวจสอบการคำ�นวณอยู่เสมอ
5. ในหั ว ข้ อ นี้ ค รู ค วรให้ นั ก เรี ย นฝึ ก การแยกตั ว ประกอบของพหุ น ามดี ก รี ส องที่ เ ป็ น กำ � ลั ง สองสมบู ร ณ์ เ พ่ิ ม เติ ม
โดยสามารถดาวน์โหลดไฟล์ GSP จากมุมเทคโนโลยี ในหนังสือเรียน หน้า 263
6. ครูให้นักเรียนทำ� “กิจกรรม : ค้นหาเส้นทางกำ�ลังสองสมบูรณ์” ในหนังสือเรียน หน้า 265 เพื่อฝึกทักษะเพิ่มเติม
เกี่ยวกับการพิจารณาพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์
7. สำ�หรับมุมคณิต ในหนังสือเรียน หน้า 267 มีเจตนาให้นักเรียนรู้ว่าถึงแม้จะเป็นพหุนามดีกรีสองที่มีสองตัวแปร
การแยกตัวประกอบของพหุนามที่เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์ก็ยังใช้สูตรดังกล่าวได้เช่นกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 421

กิจกรรม : สำ�รวจกำ�ลังสองสมบูรณ์
กิ จ กรรมนี้ เ ป็ น กิ จ กรรมที่ ส นั บ สนุ น ให้ นั ก เรี ย นสั ง เกตเห็ น ความสั ม พั น ธ์ ข องพหุ น ามที่ อ ยู่ ใ นรู ป กำ � ลั ง สองสมบู ร ณ์
2 2 2 2 2 2
ทั้งในรูป (A + B) = A + 2AB + B และ (A – B) = A – 2AB + B โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำ�ลังที่มีฐานเป็น
พหุนามและการคูณพหุนาม โดยมีขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
-

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนทำ� “กิจกรรม : สำ�รวจกำ�ลังสองสมบูรณ์” ในหนังสือเรียน หน้า 260 โดยในการทำ�กิจกรรมนี้ครูอาจให้
นักเรียนทำ�กิจกรรมแบบเดี่ยวหรือคู่ก็ได้
2. ครูให้นักเรียนพิจารณาพหุนามในข้อ 1 แล้วให้นักเรียนเติมพหุนามในข้อ 2–5
3. ขณะที่ นั ก เรี ย นทำ � ใบกิ จ กรรม ครู ค วรเดิ น สั ง เกตว่ า นั ก เรี ย นเขี ย นพหุ น ามโจทย์ ใ นรู ป การคู ณ ได้ ถู ก ต้ อ งหรื อ ไม่
และหาผลคูณได้ถกู ต้องหรือไม่ หากพบนักเรียนทีไ่ ม่สามารถเติม 2 ช่องนีไ้ ด้อย่างถูกต้อง ให้ครูชว่ ยเหลือโดยการทบทวน
ความหมายของเลขยกกำ�ลังและการคูณพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง
4. ครูให้นักเรียนอภิปรายกับเพื่อนที่นั่งข้าง ๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพหุนามที่พบจากการทำ�กิจกรรม พร้อมทั้ง
จดบันทึกความสัมพันธ์ดังกล่าวในสมุด
5. ครูให้นักเรียนพิจารณาพหุนามในข้อ 6 แล้วให้นักเรียนเติมพหุนามในข้อ 7–10
6. ครูให้นักเรียนอภิปรายกับเพื่อนที่นั่งข้าง ๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพหุนามที่พบจากการทำ�กิจกรรม
7. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม

หมายเหตุ ครูอาจช่วยให้นักเรียนหาความสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้นโดยการใช้ปากกาคนละสี เช่นเดียวกับข้อ 1 ในใบกิจกรรม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
422 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจกำ�ลังสองสมบูรณ์
ข้อ โจทย์ เขียนในรูปการคูณ ผลคูณที่ได้ อาจจัดรูปได้เป็น
2 2 2 2 2
1 (x + 3) (x + 3)(x + 3) x + 3x + 3x + 3 x + 2(3x) + 3
2 2 2 2 2
2 (y + 5) (y + 5)(y + 5) y + 5y + 5y + 5 y + 2(5y) + 5
2 2 2 2 2
3 (3x + 1) (3x + 1)(3x + 1) (3x) + (1)(3x) + (1)(3x) + 1 (3x) + 2(1•3x) + 1
2 2 2 2
4 (5z + 4) (5z + 4)(5z + 4) (5z) + (4)(5z) + (4)(5z) + 4 (5z)2 + 2(4•5z) + 4
2 2 2 2 2
5 (A + B) (A + B)(A + B) A + AB + AB + B A + 2AB + B
2 2 2 2 2
6 (x – 4) (x – 4)(x – 4) x – 4x – 4x + 4 x – 2(4x) + 4
2 2 2 2 2
7 (y – 6) (y – 6)(y – 6) y – 6y – 6y + 6 y – 2(6y) + 6
2 2 2 2 2
8 (9x – 1) (9x – 1)(9x – 1) (9x) – (1)(9x) – (1)(9x) + 1 (9x) – 2(1•9x) + 1
2 2 2 2 2
9 (2x – 7) (2x – 7)(2x – 7) (2x) – (7)(2x) – (7)(2x) + 7 (2x) – 2(7•2x) + 7
2 2 2 2 2
10 (A – B) (A – B)( A – B) A – AB – AB + B A – 2AB + B

เฉลยคำ�ถามท้ายกิจกรรม : สำ�รวจกำ�ลังสองสมบูรณ์
ตัวอย่างคำ�ตอบ
✤ จากกิจกรรมข้างต้น ความสัมพันธ์ที่สังเกตได้ มีดังนี้
2 2 2
1. (A + B) = A + 2AB + B
2 2 2
2. (A – B) = A – 2AB + B
✤ จากกิจกรรมข้างต้น ความสัมพันธ์ที่สังเกตได้ มีดังนี้
2 2
1. ถ้าพหุนามกำ�ลังสองสามารถเขียนได้ในรูป A + 2AB + B แล้วสามารถเขียนแยกตัวประกอบ
2 2 2
ได้เป็น A + 2AB + B = (A + B)(A + B) หรือ (A + B)
2 2
2. ถ้าพหุนามกำ�ลังสองสามารถเขียนได้ในรูป A – 2AB + B แล้วสามารถเขียนแยกตัวประกอบ
2 2 2
ได้เป็น A – 2AB + B = (A – B)(A – B) หรือ (A – B)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 423

กิจกรรม : ค้นหาเส้นทางกำ�ลังสองสมบูรณ์
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่เสริมทักษะการแยกตัวประกอบของพหุนามที่อยู่ในรูปผลบวกทั้งหมดยกกำ�ลังสอง
2 2 2 2 2 2
A + 2AB + B = (A + B) และผลต่างทั้งหมดยกกำ�ลังสอง A – 2AB + B = (A – B) โดยขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
-

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนทำ� “กิจกรรม : ค้นหาเส้นทางกำ�ลังสองสมบูรณ์” ในหนังสือเรียน หน้า 265 โดยในการทำ�กิจกรรมนี้
ครูอาจให้นักเรียน ทำ�กิจกรรมแบบเดี่ยวหรือคู่ก็ได้
2. ครูให้นก
ั เรียนช่วยข้าวปุน
้ หาเส้นทางไปเก็บแอปเปิล โดยในขณะทีน
่ ก
ั เรียนทำ�ใบกิจกรรม ครูควรเดินสังเกตว่านักเรียน
มีวิธีการในการพิจารณาว่าพหุนามนั้น ๆ เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์หรือไม่ หากพบนักเรียนที่ไม่สามารถแยกตัวประกอบ
2 2 2 2
ที่อยู่ในรูปผลบวกทั้งหมดยกกำ�ลังสอง A + 2AB + B = (A + B) หรือผลต่างทั้งหมดยกกำ�ลังสอง A – 2AB +
2 2
B = (A – B) ครูอาจช่วยนักเรียน โดยใช้คำ�ถามนำ� ดังนี้
✤ พหุนามที่นักเรียนกำ�ลังพิจารณาอยู่มีพจน์ใดเป็นพจน์หน้า
✤ ลักษณะของพหุนามที่อยู่ในรูปกำ�ลังสองสมบูรณ์เป็นอย่างไร
✤ พจน์หน้าของพหุนามนี้สามารถเขียนอยู่ในรูปกำ�ลังสองได้หรือไม่ ถ้าได้จะเขียนได้อย่างไร
✤ พจน์หลังของพหุนามนี้สามารถเขียนอยู่ในรูปกำ�ลังสองได้หรือไม่ ถ้าได้จะเขียนได้อย่างไร
3. ครูอาจให้นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องกับเพื่อนที่นั่งข้าง ๆ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
424 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยกิจกรรม : ค้นหาเส้นทางกำ�ลังสองสมบูรณ์

ข้าวปุน้ ต้องการไปเก็บแอปเปิลทีท่ า้ ยสวน แต่เส้นทางทีข่ า้ วปุน้ จะ


เลือกเดินนัน้ ต้องเป็นเส้นทางของพหุนามทีเ่ ป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์เท่านัน้
เพื่อน ๆ ช่วยข้าวปุ้นหาเส้นทางหน่อยนะคะ

2
2 x – 30x + 225 2 2
9x + 15x + 6 2 16x – 44x + 30 x + 14x + 48
= (x – 15)

2 2
2 x – 36x + 324 81x – 36x + 4 2
9x + 42x + 49 2 2 4x + 28x + 45
= (x – 18) = (9x – 2)

2
2 2 x – 42x + 441 2
x – 21x + 110 x + 17x + 72 2 x + 15x + 44
= (x – 21)

2
2 2 121x + 22x + 1 2
x + 20x + 99 25x – 45x + 20 2 2x – 30x + 100
= (11x + 1)

2 2
2 100x + 20x + 1 4x – 12x + 9 2
5x – 12x + 4 2 2 9x – 15x + 6
= (10x + 1) = (2x – 3)

2
2 9(x – 2) – 42(x – 2) + 49 2 2
4x + 22x + 30 2 x – 25x + 156 121x + 88x + 15
= [3(x – 2) – 7]

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 425

เฉลยคำ�ถามท้ายมุมคณิต
เฉลยคำ�ถามท้ายมุมคณิต หน้า 267
2 2 2 2 2
1. 4x + 4xy + y = (2x + y) 2. m + 44mn + 484n2 = (m + 22n)
ipst.me/10423 2 2 2 2 2 2
3. 100x + 60xy + 9y = (10x + 3y) 4. 81t + 90tk + 25k = (9t + 5k)
2 2 2 2 2 2
5. x – 16xy + 64y = (x – 8y) 6. 9x – 6xy + y = (3x – y)

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 5.3
2 2 2 2
1. 1) x + 12x + 36 = (x + 6) 2) x + 16x + 64 = (x + 8)
2 2 2 2
3) x + 34x + 289 = (x + 17) 4) x + 40x + 400 = (x + 20)
2 2 2 2
5) x + 46x + 529 = (x + 23) 6) x – 10x + 25 = (x – 5)
2 2 2 2
7) x – 28x + 196 = (x – 14) 8) x – 38x + 361 = (x – 19)
2 2 2 2
9) x – 52x + 676 = (x – 26) 10) x – 60x + 900 = (x – 30)

2 2 2 2
2. 1) 9x + 30x + 25 = (3x + 5) 2) 16x + 56x + 49 = (4x + 7)
2 2 2 2
3) 49x + 42x + 9 = (7x + 3) 4) 100x + 220x + 121 = (10x + 11)
2 2 2 2
5) 81x + 360x + 400 = (9x + 20) 6) 4x – 36x + 81 = (2x – 9)
2 2 2 2
7) 49y – 70y + 25 = (7y – 5) 8) 64y – 176y + 121 = (8y – 11)
2 2
9) 81x – 180x + 100 = (9x – 10)
10) แนวคิด 1
2 2
225x – 360x + 144 = 9(25x – 40x + 16)
= 9[(5x) – 2(5x)(4) + 4 ]
2 2

2
= 9(5x – 4)
แนวคิด 2
2 2 2
225x – 360x + 144 = (15x) – 2(15x)(12) + 12
2
= (15x – 12)
= [3(5x – 4)]2
2
= 9(5x – 4)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
426 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2 2 2
3. 1) (x – 2) + 12(x – 2) + 36 = (x – 2) + 2(x – 2)(6) + 6
= [(x – 2) + 6]2
2
= (x + 4)
2 2 2
2) (2x + 1) + 20(2x + 1) + 100 = (2x + 1) + 2(2x + 1)(10) + 10
= [(2x + 1) + 10]2
2
= (2x + 11)
2 2 2
3) (x + 3) – 16(x + 3) + 64 = (x + 3) – 2(x + 3)(8) + 8
= [(x + 3) – 8]2
2
= (x – 5)
2 2 2
4) (4x – 5) – 26(4x – 5) + 169 = (4x – 5) – 2(4x – 5)(13) + 13
= [(4x – 5) – 13]2
2
= (4x – 18)
= [2(2x – 9)]2
2
= 4(2x – 9)
5) แนวคิด 1
2
36(x + 6) + 108(x + 6) + 81 = [6(x + 6)]2 + 2[6(x + 6)](9) + 92
= [6(x + 6) + 9]2
2
= (6x + 36 + 9)
2
= (6x + 45)
= [3(2x + 15)]2
2
= 9(2x + 15)
แนวคิด 2
36(x + 6) + 108(x + 6) + 81 = 9[4(x + 6) + 12(x + 6) + 9]
2 2

= 9{[2(x + 6)] + 2[2(x + 6)](3) + 3 }


2 2

= 9[2(x + 6) + 3]
2

2
= 9(2x + 15)
6)
2
9(x – 1) – 30(x – 1) + 25 = [3(x – 1)]2 – 2[3(x – 1)](5) + 52
= [3(x – 1) – 5]2
2
= (3x – 8)
2 2 2
7) 16x2 + 8x(x + 1) + (x + 1) = (4x) + 2(4x)(x + 1) + (x + 1)
= [4x + (x + 1)]2
2
= (5x + 1)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 427

2 2 2 2
8) (x – 3) – 12x(x – 3) + 36x = (x – 3) – 2(x – 3)(6x) + (6x)
= [(x – 3) – 6x]2
2
= (x – 3 – 6x)
= (-5x – 3) หรือ [(-1)(5x + 3)] = (5x + 3)
2 2 2

2 2 2 2 2
9) 49x + 14(x – x) + (x – 1) = 49x + 14x(x – 1) + (x – 1)
2 2
= (7x) + 2(7x)(x – 1) + (x – 1)
= [7x + (x – 1)]2
2
= (8x – 1)
2 2 2 2 2
10) (x + 2) – 18(x + 2x) + 81x = (x + 2) – 18x(x + 2) + 81x
2 2
= (x + 2) – 2(x + 2)(9x) + (9x)
= [(x + 2) – 9x]2
2
= (x + 2 – 9x)
2
= (2 – 8x)
= [2(1 – 4x)]2
2
= 4(1 – 4x)

4. 1) 36 2) 54x
3) 20x 4) 81
2 2
5) 4x 6) x
2
7) 81x 8) 30x
9) 150x 10) 49

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
428 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

5.4 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
ที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง (2 ชั่วโมง)
จุดประสงค์
2 2
นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสองซึ่งเขียนอยู่ในรูป A – B เมื่อ A และ
B เป็นพหุนาม

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ซอฟต์แวร์ The Geometer's Sketchpad (GSP)

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง แนวทางการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูให้นก
ั เรียนทำ� “กิจกรรม : สำ�รวจผลต่างของกำ�ลังสอง” ในหนังสือเรียน หน้า 268 เพื่อให้นักเรียนสังเกตเห็น
รูปแบบของพหุนามที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง นอกจากนี้ ครูอาจให้นก
ั เรียนดาวน์โหลดไฟล์ GSP เพือ
่ ฝึกการคูณ
พหุนามทีไ่ ด้ผลลัพธ์เป็นผลต่างของกำ�ลังสองเพิม
่ เติม ได้ทม
่ี ม
ุ เทคโนโลยี ในหนังสือเรียน หน้า 268
2. ครูอภิปรายกับนักเรียนเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง เมื่อนักเรียน
2 2
สังเกตเห็นรูปแบบของการแยกตัวประกอบแล้ว ต่อจากนั้นครูอาจให้นักเรียนจำ�สูตร A – B = (A + B)(A – B)
เมื่อ A และ B เป็นพหุนาม หรือจำ�สูตรข้อความย่อ ๆ สำ�หรับนำ�ไปใช้ในการแยกตัวประกอบดังนี้
2 2
(หน้า) – (หลัง) = (หน้า + หลัง)(หน้า – หลัง)
3. ครูให้นก
ั เรียนศึกษาแบบจำ�ลองแสดงการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองทีเ่ ป็นผลต่างของกำ�ลังสองในมุมคณิต
ในหนังสือเรียน หน้า 270
2 2
4. ในการแยกตัวประกอบของหัวข้อนี้ มีเจตนาให้นก
ั เรียนใช้สต
ู ร A – B = (A + B)(A – B) มากกว่า
2
ใช้วธิ แี ยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองในรูป ax + bx + c เมือ่ a, b, c เป็นจำ�นวนเต็มที
่ a ≠ 0, b = 0
และ c ≠ 0 ตามหัวข้อ 5.2 ที่ผ่านมา เช่น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 429

2
การแยกตัวประกอบของพหุนาม 49x – 196 เราสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามตามสูตรข้างต้น
ได้ทน
ั ที โดยไม่ได้น�ำ ตัวประกอบร่วมออกมาเป็นตัวคูณก่อน ซึ่งครูควรชี้ให้นักเรียนเห็นเป็นตัวอย่างว่า บางครั้ง
จำ�นวนที่เป็นสัมประสิทธิ์ของแต่ละพจน์ในพหุนามอาจมองเห็นไม่ง่ายนักว่ามีตัวประกอบร่วมหรือไม่ ดังนั้น
การแยกตัวประกอบของพหุนามที่มีรูปแบบเช่นนี้จึงอาจทำ�ตามสูตรได้เลย ดังนี้
2 2 2
49x – 196 = (7x) – 14
2
จะได้ 49x – 196 = (7x + 14)(7x – 14)
= 7(x + 2)(7)(x – 2)
2
ดังนั้น 49x – 196 = 49(x + 2)(x – 2)
แต่ถ้านักเรียนจะหาตัวประกอบร่วมก่อนแล้วแยกตัวประกอบต่อก็จะทำ�ได้ดังนี้
2 2
49x – 196 = 49(x – 4)
2
จะได้ 49x – 196 = 49(x + 2)(x – 2)
5. ครู ค วรอภิ ป รายกั บ นั ก เรี ย นว่ า สำ � หรั บ พหุ น ามบางพหุ น าม อาจจะไม่ ไ ด้ อ ยู่ ใ นรู ป ของผลต่ า งของกำ � ลั ง สอง
อย่างชัดเจน แต่อาจมองเห็นได้ง่ายว่ามีตัวประกอบร่วม ดังนั้น ในการแยกตัวประกอบควรใช้สมบัติการแจกแจง
เพื่อนำ�ตัวประกอบร่วมออกมาก่อน ก่อนที่จะใช้ความรู้เรื่องผลต่างของกำ�ลังสอง
2 2
เช่น 2x – 18 = 2(x – 9)
= 2(x + 3)(x – 3)
6. ในหัวข้อนี้ ครูควรให้นักเรียนฝึกการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสองเพิ่มเติม
โดยสามารถดาวน์โหลดไฟล์ GSP จากมุมเทคโนโลยี หน้า 271
7. สำ�หรับตัวอย่างที่ 6 ต้องการให้นักเรียนเห็นการใช้พหุนามในการแก้โจทย์ปัญหาบางเรื่อง เช่น โจทย์ปัญหา
เกี่ยวกับความยาวและพื้นที่ของรูปเรขาคณิต
8. ครูแนะนำ�ให้นักเรียนใช้ความรู้เกี่ยวกับพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์และผลต่างของกำ�ลังสอง มาช่วย
ในการคำ�นวณเกี่ยวกับจำ�นวนนับบางจำ�นวนให้ได้ผลลัพธ์รวดเร็วขึ้น ดังมุมคณิต ในหนังสือเรียน หน้า 274

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
430 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

กิจกรรม : สำ�รวจผลต่างของกำ�ลังสอง
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนให้นักเรียนสังเกตเห็นความสัมพันธ์ของพหุนามที่อยู่ในรูปผลต่างของกำ�ลังสองในรูป
2 2 2 2
A – B ซึ่งแยกตัวประกอบได้เป็น A – B = (A + B)(A – B) โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับการคูณพหุนามและสมบัติของ
เลขยกกำ�ลัง โดยมีขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรมดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
-

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแจกใบกิจกรรม : สำ�รวจผลต่างของกำ�ลังสอง ให้นก
ั เรียน โดยในการทำ�กิจกรรมนีค
้ รูอาจให้นก
ั เรียนทำ�กิจกรรมแบบ
เดี่ยวหรือคู่ก็ได้
2. ครูให้นักเรียนพิจารณาพหุนามในข้อ 1 แล้วให้นักเรียนเติมพหุนามในข้อ 2–4
3. ขณะทีน
่ ก
ั เรียนทำ�ใบกิจกรรม ครูควรเดินสังเกตว่านักเรียนหาผลคูณได้ถก
ู ต้องหรือไม่ หากพบนักเรียนทีไ่ ม่สามารถหา
ผลคูณได้อย่างถูกต้อง ให้ครูช่วยเหลือโดยการทบทวนความหมายของเลขยกกำ�ลังและการคูณพหุนามโดยใช้สมบัติ
การแจกแจง
4. ครูให้นักเรียนอภิปรายกับเพื่อนที่นั่งข้าง ๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพหุนามที่พบจากการทำ�กิจกรรม
5. ครูให้นักเรียนเติมพหุนามในข้อ 5
6. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม

หมายเหตุ ครูอาจช่วยให้นักเรียนหาความสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้นโดยการใช้ปากกาคนละสี เช่นเดียวกับข้อ 1 ในใบกิจกรรม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 431

เฉลยกิจกรรม : สำ�รวจผลต่างของกำ�ลังสอง
ข้อ โจทย์ ผลคูณ พหุนามในรูปผลสำ�เร็จ อาจจัดรูปได้เป็น
2 2 2 2
1 (x + 4)(x – 4) x – 4x + 4x – 16 x – 16 x –4
2 2 2 2
2 (x + 7)(x – 7) x – 7x + 7x – 49 x – 49 x –7
2 2 2
3 (x + 9)(x – 9) x – 9x + 9x – 81 x – 81 x2 – 9
2 2 2 2
4 (3x + 1)(3x – 1) 9x – 3x + 3x – 1 9x – 1 (3x) – 1
2 2 2 2 2 2
5 (A + B)(A – B) A – AB + AB – B A –B A –B

เฉลยคำ�ถามท้ายกิจกรรม : สำ�รวจผลต่างของกำ�ลังสอง
ตัวอย่างคำ�ตอบ
✤ จากกิจกรรมข้างต้น ความสัมพันธ์ที่สังเกตได้ มีดังนี้
2 2
(A + B)(A – B) = A – B
✤ จากกิจกรรมข้างต้น ความสัมพันธ์ที่สังเกตได้ มีดังนี้
2 2
ถ้าพหุนามกำ�ลังสองสามารถเขียนได้ในรูป A – B แล้วสามารถเขียนแยกตัวประกอบได้เป็น
2 2
A – B = (A + B)(A – B)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
432 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยคำ�ถามท้ายมุมคณิต
เฉลยคำ�ถามท้ายมุมคณิต หน้า 274
2 2
1. 997 = (1,000 – 3)
ipst.me/10424
2 2
= 1,000 – 2(1,000)(3) + 3
= 994,009
2 2
2. 2,015 = (2,000 + 15)
2 2
= 2,000 + 2(2,000)(15) + 15
= 4,060,225
2 2
3. 1,001 – 999 = (1,001 + 999)(1,001 – 999)
= 4,000
2 2
4. 3,012 – 3,008 = (3,012 + 3,008)(3,012 – 3,008)
= 24,080
2 2
5. 2,004 – 1,996 = (2,004 + 1,996)(2,004 – 1,996)
= 32,000
2 2
6. 2,547 – 453 = (2,547 + 453)(2,547 – 453)
= 6,282,000

เฉลยชวนคิด
ชวนคิด 5.5
แนวคิด แยกตัวประกอบของพหุนามได้ดังนี้
ipst.me/10425
2 2
8x + 10xy – 4x – 5y = (8x + 10xy) – (4x + 5y)
= 2x(4x + 5y) – (4x + 5y)
= (4x + 5y)(2x – 1)
2 2 2
4x – 4x + 1 = (2x) – 2(2x)(1) + 1
2
= (2x – 1)
= (2x – 1)(2x – 1)
2 2 2 2
16x – 25y = (4x) – (5y)
= (4x + 5y)(4x – 5y)
2 2
8x – 10xy – 4x + 5y = (8x – 10xy) – (4x – 5y)
= 2x(4x – 5y) – (4x – 5y)
= (4x – 5y)(2x – 1)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 433

นำ�พหุนามที่ได้จากการแยกตัวประกอบ มาเติมคำ�ตอบในตารางได้ดังนี้

2x – 1 4x – 5y
2 2 2
4x + 5y 8x + 10xy – 4x – 5y 16x – 25y
2 2
2x – 1 4x – 4x + 1 8x – 10xy – 4x + 5y

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 5.4
2
1. 1) x –1 = (x + 1)(x – 1)
2
2) 16 – x = (4 + x)(4 – x)
2
3) x – 64 = (x + 8)(x – 8)
2
4) x – 144 = (x + 12)(x – 12)
2
5) 225 – x = (15 + x)(15 – x)
2
6) x – 361 = (x + 19)(x – 19)
2
7) x – 625 = (x + 25)(x – 25)
2
8) x – 900 = (x + 30)(x – 30)
2
9) 9x – 1 = (3x + 1)(3x – 1)
2
10) 4x – 49 = (2x + 7)(2x – 7)
2
11) 16x – 169 = (4x + 13)(4x – 13)
2
12) 49x – 81 = (7x + 9)(7x – 9)
2
13) 25x – 121 = (5x + 11)(5x – 11)
2
14) 196x – 100 = 4(7x + 5)(7x – 5)
2
15) 81x – 400 = (9x + 20)(9x – 20)
2
16) 64x – 225 = (8x + 15)(8x – 15)
2
17) 144x – 441 = 9(4x + 7)(4x – 7)
2
18) 1 – 289x = (1 + 17x)(1 – 17x)
2
19) 529x – 625 = (23x + 25)(23x – 25)
2
20) 961 – 900x = (31 + 30x)(31 – 30x)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
434 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

2 2 2
2. 1) (a – 2) – 1 = (a – 2) – 1
= [(a – 2) + 1][(a – 2) – 1]
= (a – 1)(a – 3)
2 2 2
2) 25 – (y + 1) = 5 – (y + 1)
= [5 + (y + 1)][5 – (y – 1)]
= (6 + y)(4 – y)
2
3) (x + 2) – 4 = x(x + 4)
2
4) (x – 3) – 36 = (x + 3)(x – 9)
2
5) 81 – (x + 5) = (14 + x)(4 – x)
2 2
6) x – (2x + 1) = (3x + 1)(-x – 1) หรือ (-1)(3x + 1)(x + 1)
2 2
7) 4x – (x – 2) = (3x – 2)(x + 2)
2 2
8) (2x + 3) – 25x = (7x + 3)(-3x + 3) หรือ (-3)(7x + 3)(x – 1)
2 2
9) (x + 6) – (x + 4) = 4(x + 5)
2 2
10) (x – 8) – (x – 5) = -3(2x – 13)
2 2
11) (3x + 2) – (x – 1) = (4x + 1)(2x + 3)
2 2
12) (4x – 3) – (5x + 2) = (9x – 1)(-x – 5) หรือ (-1)(9x – 1)(x + 5)
2 2
13) 9(x – 7) – 100x = (13x – 21)(-7x – 21) หรือ (-7)(13x – 21)(x + 3)
2 2
14) 144x – (2x – 3) = (14x – 3)(10x + 3)
2 2
15) 25x – 16(x – 5) = (9x – 20)(x + 20)
2 2
16) (5x + 3) – 121x = (16x + 3)(-6x + 3) หรือ (-3)(16x + 3)(2x – 1)

3. แนวคิด วงกลมทั้งสองมีพื้นที่ต่างกัน π(89) – π(65)


2 2
=
2
π(89 – 65 )
2

= π(89 + 65)(89 – 65)


≈ 3.14 × 154 × 24
≈ 11,605.44 ตารางหน่วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 435

4. แนวคิด ให้ ED = x เซนติเมตร


จะได้ AD = 38 + x เซนติเมตร
2 2 2
จากรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ABD จะได้ BD = 51 – (38 + x)
A 2 2 2
และจากรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก BDE จะได้ BD = 25 – x
2 2 2 2
ดังนั้น 51 – (38 + x) = 25 – x
51 38 [51 + (38 + x)][51 – (38 + x)] = 625 – x
2

2
(89 + x)(13 – x) = 625 – x
E
25 1,157 – 76x – x
2
= 625 – x
2
x
B C
D 76x = 532
x = 7
2 2 2
แทน x ด้วย 7 ในสมการ BD = 25 – x
2 2
จะได้ BD2 = 25 – 7
2
BD = 576
BD = 24 เซนติเมตร
เนื่องจาก BC = 2BD
จะได้ BC = 2 × 24 = 48 เซนติเมตร
เนื่องจาก AD = AE + ED
จะได้ AD
= 38 + 7 = 45 เซนติเมตร
ดังนั้น พื้นที่ของ ∆ABC = –1 × BC × AD
2
= –1 × 48 × 45
2
= 1,080 ตารางเซนติเมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
436 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

กิจกรรมท้ายบท : ค่อย ๆ ค้นหา


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้นักเรียนฝึกทักษะเพื่อให้เกิดความคล่องแคล่วในการแยกตัวประกอบของพหุนาม
โดยมีขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
-

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนแต่ละคนทำ� “กิจกรรมท้ายบท : ค่อย ๆ ค้นหา” ในหนังสือเรียน หน้า 277
2. ครูให้นักเรียนช่วยกันเฉลยคำ�ตอบ พร้อมทั้งอธิบายวิธีคิดและการได้มาซึ่งคำ�ตอบ

เฉลยกิจกรรมท้ายบท : ค่อย ๆ ค้นหา


สำ�นวนที่ซ่อนอยู่คือ

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.
SUCCESS IS A LADDER THAT CANNOT BE
8. 9. 10. 11. 12. 13. 14.
CLIMBED WITH YOUR HANDS IN YOUR POCKETS

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 437

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท
1. 1)
2
9(y – 20y + 100) – 441y
2
= [3(y – 10)]2 – (21y)2
= [3(y – 10) + 21y][3(y – 10) – 21y]
= (3y – 30 + 21y)(3y – 30 – 21y)
= (24y – 30)(-18y – 30)
= 6(4y – 5)(-6)(3y + 5)
= (-36)(4y – 5)(3y + 5)
2 2 2 2
2) (4t – 12t + 9) – (5t + 1) = (2t – 3) – (5t + 1)
= [(2t – 3) + (5t + 1)][(2t – 3) – (5t + 1)]
= (7t – 2)(-3t – 4) หรือ (-1)(7t – 2)(3t + 4)
2 2 2 2
3) (4m – 36m + 81) – (16m + 56m + 49) = (2m – 9) – (4m + 7)
= [(2m – 9) + (4m + 7)][(2m – 9) – (4m + 7)]
= (6m – 2)(-2m – 16)
= 2(3m – 1)(-2)(m + 8)
= (-4)(3m – 1)(m + 8)
4)
2
(n + 3n + 1) – 1
2
= [(n 2
+ 3n + 1) + 1][(n + 3n + 1) – 1]
2

2 2
= (n + 3n + 2)(n + 3n)
= (n + 1)(n + 2)(n)(n + 3) หรือ n(n + 1)(n + 2)(n + 3)
3 2
2. แนวคิด เนื่องจาก 7x + 14x = A(x + 2)
2
จะได้ 7x (x + 2) = A(x + 2)
2
ดังนั้น A = 7x
2
เนื่องจาก B(y + 5) = y + 2y – 15
จะได้ B(y + 5) = (y – 3)(y + 5)
ดังนั้น B = y–3
2
นั่นคือ A + 2B = 7x + 2(y – 3)
2
= 7x + 2y – 6

3. แนวคิด จากการแยกตัวประกอบโดยใช้สูตรผลต่างของกำ�ลังสอง
2 2
จะได้ b –a = (b + a)(b – a)
2 2
เนื่องจาก b –a = 10
จะได้ (b + a)(b – a) = 10
(a + b)(b – a) = 10
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
438 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เนื่องจาก a+b = 2
จะได้ 2(b – a) = 10
นั่นคือ b–a = 5
ดังนั้น a – b = -5

D = 2,558 – 2,550 – 8
2 2 2
4. แนวคิด เนื่องจาก
2,550
2
จะได้ D = (2,558 – 2,550)(2,558 + 2,550) – 8
2,550
2
= 8(5,108) – 8
2,550
= 8(5,108 – 8)
2,550
= 8(5,100)
2,550
= 8(2)
ดังนั้น D = 16

5. แนวคิด

สวนหิน

สวนหญ�า

พิจารณา พื้นที่ของสวนหินซึ่งเป็นรูปวงแหวนที่มีรัศมีวงกลมวงนอกเท่ากับ 4 เมตร และรัศมีวงกลมวงใน เท่ากับ


1 เมตร
2 2
จะได้ว่า พื้นที่ของสวนหินซึ่งเป็นรูปวงแหวน เท่ากับ π(4) – π(1)
2 2
= π(4 – 1 )
≈ 3.14(4 + 1)(4 – 1)
≈ 3.14(5)(3)
≈ 47.1 ตารางเมตร
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 439

เนื่องจาก ผู้รับเหมาคิดค่าดำ�เนินการจัดสวนหิน ราคาตารางเมตรละ 150 บาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายในการจัด


สวนหิน 47.1 × 150 = 7,065 บาท
พิจารณา พืน
้ ทีข
่ องสวนหญ้าซึง่ เป็นรูปวงแหวนทีม
่ รี ศ
ั มีวงกลมวงนอกเท่ากับ 5 เมตร และรัศมีวงกลมวงในเท่ากับ
4 เมตร
2 2
จะได้ พื้นที่ของสวนหญ้าซึ่งเป็นรูปวงแหวน เท่ากับ π(5) – π(4)
2 2
= π(5 – 4 )
≈ 3.14(5 + 4)(5 – 4)
≈ 3.14(9)(1)
≈ 28.26 ตารางเมตร
เนื่องจาก ผู้รับเหมาคิดค่าดำ�เนินการจัดสวนหญ้า ราคาตารางเมตรละ 60 บาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายในการจัด
สวนหญ้า 28.26 × 60 = 1,695.60 บาท
ดังนั้น พฤกษ์จะต้องจ่ายเงินในการจัดสวนหินและสวนหญ้าเป็นเงินทัง้ สิน
้ 7,065 + 1,695.60 = 8,760.60 บาท

6. แนวคิด เนื่องจาก พหุนามดีกรีสองที่อยู่ในรูปกําลังสองสมบูรณ์ คือ พหุนามดีกรีสองที่อยู่ในรูป


2 2
(พจน์หน้า) + 2(พจน์หน้า)(พจน์หลัง) + (พจน์หลัง)
2 2
หรือ (พจน์หน้า) – 2(พจน์หน้า)(พจน์หลัง) + (พจน์หลัง)
2
เนื่องจาก (3x – 2)(3x + 4) + n = 9x + 12x – 6x – 8 + n
2
= 9x + 6x – 8 + n
2
จัดรูปจะได้ (3x – 2)(3x + 4) + n = (3x) + 2(3x)(1) + (-8 + n)
2
นั่นคือ (3x – 2)(3x + 4) + n จะอยู่ในรูปกําลังสองสมบูรณ์เมื่อ -8 + n = 1 = 1
ดังนั้น n = 9

2
7. แนวคิด หาค่าของ 20,182,018 – 20,182,008 × 20,182,028 โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับการแยกตัวประกอบ
ของพหุนามที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง
2
จะได้ว่า 20,182,018 – 20,182,008 × 20,182,028
2
= 20,182,018 – (20,182,018 – 10) × (20,182,018 + 10)
2 2 2
= 20,182,018 – (20,182,018 – 10 )
2 2
= 20,182,018 – 20,182,018 + 102
2
= 10
= 100
2
ดังนั้น 20,182,018 – 20,182,008 × 20,182,028 = 100

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
440 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

หมายเหตุ เพื่อให้มองง่ายขึ้น อาจสมมุติให้จำ�นวนใดจำ�นวนหนึ่งเป็นตัวแปร เช่น ให้ x = 20,182,018


จะได้ 20,182,008 = x – 10 และ 20,182,028 = x + 10
2 2
ดังนั้น 20,182,018 – 20,182,008 × 20,182,028 = x – (x – 10)(x + 10)
2 2 2
= x – (x – 10 )
2 2 2
= x – x + 10
2
= 10
= 100

8. แนวคิด เนื่องจาก ∆ABC และ ∆ABD เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก


2 2 2
จาก ∆ABC จะได้ y = 39 – (16 + z) (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
C จาก ∆ABD จะได้ y
2 2
= 25 – z
2
(ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
2 2 2 2
ดังนั้น 39 – (16 + z) = 25 – z (สมบัติของการเท่ากัน)
16
2 2 2 2
39 – 25 = (16 + z) – z
D 39 (39 + 25)(39 – 25) = (16 + z + z)(16 + z – z)
(64)(14) = (16 + 2z)(16)
z 25
4(14) = 16 + 2z
A B z = 20
y
2 2 2
จะได้ y = 25 – 20
y = 15
ดังนั้น 1 × 16 × 15 = 120 ตารางหน่วย
พื้นที่ของ ∆BCD เท่ากับ –
2

9. แนวคิด B

37
13 h

D C A
x

เนื่องจาก ∆ABC และ ∆ABD เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก


ให้ AC = x หน่วย และ ให้ AB = h หน่วย
จะได้ AD = 7x หน่วย
2 2 2
จาก ∆ABC จะได้ h = 13 – x (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
2 2 2
จาก ∆ABD จะได้ h = 37 – (7x) (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
2 2 2 2
ดังนั้น 13 – x = 37 – (7x) (สมบัติของการเท่ากัน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 441

2 2 2 2
(7x) – x = 37 – 13
2 2
49x – x = (37 + 13)(37 – 13)
2
48x = (50)(24)
2
x = 25
จะได้ x = 5
ดังนั้น AC ยาว 5 หน่วย

10. แนวคิด

260 ซม.
h ห�องเก็บของ ห�องเก็บของ

x
30 ซม.
ก่อนบันไดไม้หัก หลังบันไดไม้หัก

กำ�หนดให้ ความสูงของห้องเก็บของเป็นh เซนติเมตร


ก่อนบันไดไม้หัก ระยะทางจากปลายบันไดไม้ถึงห้องเก็บของเป็น x เซนติเมตร
2 2 2
จะได้ h = 260 – x (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
หลังบันไดไม้หัก จะได้
2 2 2
h = 250 – (x – 30) (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)
2 2 2 2
ดังนั้น 260 – x = 250 – (x – 30) (สมบัติของการเท่ากัน)
2 2 2 2
260 – 250 = x – (x – 30)
(260 + 250)(260 – 250) = [x + (x – 30)][x – (x – 30)]
(510)(10) = (2x – 30)(30)
170 = 2x – 30
จะได้ x = 100
2 2 2
ดังนั้น h = 260 – 100
= (260 + 100)(260 – 100)
= (360)(160)
= 57,600
จะได้ h = 240
นั่นคือ ความสูงของห้องเก็บของ เท่ากับ 240 เซนติเมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
442 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

11. แนวคิด เนื่องจาก ∆ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มีด้านตรงข้ามมุมฉากยาว 41 หน่วย


สมมุติให้ ∆ABC มีด้านประกอบมุมฉากยาว a หน่วย และ b หน่วย ดังรูป
A

b 41

C a B

2 2 2
โดยทฤษฎีบทพีทาโกรัส จะได้ a + b = 41 1
เนื่องจาก ∆ABC มีพื้นที่ 180 ตารางหน่วย จะได้ – 1 ab = 180 หรือ ab = 360 2
2 2 2 2
เนื่องจาก พหุนามที่เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์ อยู่ในรูป a + 2ab + b = (a + b) 3
2 2 2 2 2
จาก 1 และ 2 จะได้ a + 2ab + b = (a + b ) + 2ab = 41 + 2(360) = 2,401
2
จาก 3 จะได้ (a + b) = 2,401
นั่นคือ a + b = 49 (เนื่องจาก a และ b เป็นความยาวด้านของรูปสามเหลี่ยม
ดังนั้น a + b ไม่เป็นจำ�นวนลบ)
ความยาวรอบรูปของ ∆ABC เท่ากับ a + b + 41 = 49 + 41 = 90 หน่วย

12. แนวคิด [( )( )( ) ( )]
หาค่าของ 18 1– —
2
1 1– —
2
1 1– —
3
2
1 … 1– —
4
2
9
1 โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับผลต่างของกำ�ลังสอง
2

จะได้ [( )( )( ) ( )]
18 1– — 1 1– —
2
2
1 1– —
3
2
1 … 1– —
4
2
9
1
2

[( )( )( ) ( )]
2 2 2 2
= 18 2 –2 1 3 –2 1 4 –2 1 … 9 –2 1
2 3 4 9

[
= 18 (2 – 1)(2
2
2
+ 1) ∙ (3 – 1)(3 + 1) ∙ (4 – 1)(4 + 1) ∙…∙ (9 – 1)(9 + 1)
3
2
4
2
9
2 ]
[
= 18 (1)(3) ∙ (2)(4) ∙ (3)(5) ∙ (4)(6) ∙ (5)(7) ∙ (6)(8) ∙ (7)(9) ∙ (8)(10)
(2)(2) (3)(3) (4)(4) (5)(5) (6)(6) (7)(7) (8)(8) (9)(9) ]
[ ]
= 18 (1)(10)
(2)(9)
= 10

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 443

ตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
2 2
1. ถ้า 4n + 6n = A(2n + 3) และ -5m – 15m = B(m + 3) สำ�หรับทุกค่าของ m และ n เมื่อ m และ n เป็นจำ�นวนจริง
ใด ๆ แล้ว A × B มีค่าเท่าใด (1 คะแนน)
ก. -10
ข. 10
ค. -10mn
ง. 10mn

2
2. ให้ x เป็นจำ�นวนจริงบวกและ x > 4 ถ้ารูปสี่เหลี่ยมมุมฉากรูปหนึ่งมีพื้นที่ x + 3x – 4 ตารางหน่วย พหุนามในข้อใด
ที่แทนความกว้างและความยาวของรูปสี่เหลี่ยมได้ (1 คะแนน)
ก. x – 1, x + 4
ข. x + 4, x + 1
ค. x + 1, x – 4
ง. x – 4, x – 1

2
3. พหุนาม x – 1 + z(x – 1) เท่ากับพหุนามในข้อใด (1 คะแนน)
ก. (x – 1)(x + z – 1)
ข. (x – 1)(x + z + 1)
ค. (x + 1)(x + z + 1)
ง. (x + 1)(x + z – 1)

2
4. กำ�หนดให้ A, B และ C เป็นค่าคงตัว และ As + Bs + C = (6s – 5)(7s + 8) แล้วค่าของ (2A + 2B +10) ÷ C
เป็นเท่าใด (1 คะแนน)

ก. -–3
5
ข. 3

5
ค. -3
ง. 3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
444 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

5. จงหาผลลัพธ์ โดยใช้วิธีการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง (5 คะแนน)


2 2
1) 59 – 41 = = =

( ) ( )
2 2
2) —55 – —45 = = =
10 10
2 2
3) 26.7 – 23.3 = = =
2 2
4) 533 – 467 = = =
2 2
5) 1,024 – 24 = = =

6. จงเติมพจน์ที่หายไปลงในช่องว่าง เพื่อให้พหุนามในรูปผลสำ�เร็จที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อ เป็นพหุนามดีกรีสองที่เป็น


กำ�ลังสองสมบูรณ์ (2 คะแนน)
2
1) 36x – 60x + 25
2
2) 25x + 70x + 49

7. ข้อใดเป็นพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์ (1 คะแนน)
2
ก. 9x – 30x + 16
2
ข. 16x + 50x + 25
2
ค. 25x + 80x + 64
2
ง. 100x – 300x + 81

8. จงเขียนตัวเลือกจาก a–m ที่พหุนามทางขวามือ เป็นผลจากการแยกตัวประกอบของพหุนามทางซ้ายมือที่กำ�หนดให้


ในแต่ละข้อต่อไปนี้ (6 คะแนน)
2 2
1) x + 24x + 144 a. (x – 18)
2 2
2) 2x – 50 b. (x + 12)
2 2
3) 4x + 15x – 25 c. (3x + 8y)
3 2
4) x – 5x + 3x – 15 d. 2(x + 5)(x – 5)
2 2
5) 9x + 60xy + 64y e. (2x + 5)(2x – 5)
2 2
6) 3(x + 3x – 10) + 6(x – x – 30) f. (4x + 5)(x – 5)
g. (4x – 5)(x + 5)
2
h. (x + 3)(x – 5)
2
i. (x – 5)(x + 3)
j. 3(x + 5)(3x – 14)
k. 3(x + 5)(3x – 8)
l. (3x + 16y)(3x + 4y)
m. (4y + 3x)(4y + 12x)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 445

2
9. ถ้ารูปสี่เหลี่ยมมุมฉากต่อไปนี้กว้าง x + 5 หน่วย และมีพื้นที่ 4x + 17x – 15 ตารางหน่วย จงหาว่า ด้านยาวของ
รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากนี้ยาวกี่หน่วย (1 คะแนน)

x+5

ตอบ ด้านยาวของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากนี้ยาว หน่วย

2
10. ถ้ารูปสามเหลี่ยมมุมฉาก มีด้านประกอบมุมฉากด้านหนึ่งยาว x + 3 หน่วย และมีพื้นที่ 2x + 7x + 3 ตารางหน่วย
จงหาว่า ด้านประกอบมุมฉากอีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมนี้ยาวกี่หน่วย (1 คะแนน)

ตอบ ด้านประกอบมุมฉากอีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมนี้ยาว หน่วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
446 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

เฉลยตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
2
1. ถ้า 4n + 6n = A(2n + 3) และ -5m2 – 15m = B(m + 3) สำ�หรับทุกค่าของ m และ n เมื่อ m และ n เป็นจำ�นวนจริง
ใด ๆ แล้ว A × B มีค่าเท่าใด (1 คะแนน)
ก. -10
ข. 10
ค. -10mn
ง. 10mn

2
แนวคิด แยกตัวประกอบของ 4n + 6n โดยใช้สมบัติการแจกแจง
2
จะได้ 4n + 6n = 2n(2n + 3)
2
จากโจทย์ 4n + 6n = A(2n + 3) จะได้ A = 2n
2
แยกตัวประกอบของ -5m – 15m โดยใช้สมบัติการแจกแจง
2
จะได้ -5m – 15m = -5m(m + 3)
2
จากโจทย์ -5m – 15m = B(m + 3) จะได้ B = -5m
ดังนั้น A × B = 2n × (-5m) = -10mn

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

2. ให้ x เป็นจำ�นวนจริงบวกและ x > 4 ถ้ารูปสี่เหลี่ยมมุมฉากรูปหนึ่งมีพื้นที่ x2 + 3x – 4 ตารางหน่วย พหุนามในข้อใดที่


แทนความกว้างและความยาวของรูปสี่เหลี่ยมนี้ได้ (1 คะแนน)
ก. x – 1, x + 4
ข. x + 4, x + 1
ค. x + 1, x – 4
ง. x – 4, x – 1
แนวคิด พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เท่ากับ ความกว้าง × ความยาว
2
เนื่องจาก x + 3x – 4 = (x + 4)(x – 1)
และ x เป็นจำ�นวนจริงบวกโดยที่ x > 4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 447

จะได้ x + 4 เป็นจำ�นวนจริงบวก และ x – 1 เป็นจำ�นวนจริงบวก


แต่ x + 4 มากกว่า x – 1
ดังนั้น รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากรูปนี้กว้าง x – 1 หน่วย และยาว x + 4 หน่วย

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว พหุนามดีกรีสองที่เป็น
กำ�ลังสองสมบูรณ์ และพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

2
3. พหุนาม x – 1 + z(x – 1) เท่ากับพหุนามในข้อใด (1 คะแนน)
ก. (x – 1)(x + z – 1)
ข. (x – 1)(x + z + 1)
ค. (x + 1)(x + z + 1)
ง. (x + 1)(x + z – 1)

2 2
แนวคิด x – 1 + z(x – 1) = (x – 1) + z(x – 1)
= (x + 1)(x – 1) + z(x – 1)
= (x – 1)[(x + 1) + z]
= (x – 1)(x + z + 1)

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง
ข้อ 2 นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว พหุนามดีกรีสองที่เป็น
กำ�ลังสองสมบูรณ์ และพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
448 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

4. กำ�หนดให้ A, B และ C เป็นค่าคงตัว และ As2 + Bs + C = (6s – 5)(7s + 8) แล้วค่าของ (2A + 2B +10) ÷ C
เป็นเท่าใด (1 คะแนน)
ก. - – 3
5
ข. – 3
5
ค. -3
ง. 3
2
แนวคิด (6s – 5)(7s + 8) = 42s + 48s – 35s – 40
2
= 42s + 13s – 40
2
จากโจทย์ (6s – 5)(7s + 8) = As + Bs + C
2 2
จะได้ As + Bs + C = 42s + 13s – 40
นั่นคือ A = 42 B = 13 และ C = -40
ดังนั้น (2A + 2B +10) ÷ C = [2(42) + 2(13) +10] ÷ (-40)
= (84 + 26 + 10) ÷ (-40)
= 120 ÷ (-40)
= -3

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว พหุนามดีกรีสองที่เป็น
กำ�ลังสองสมบูรณ์ และพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

5. จงหาผลลัพธ์ โดยใช้วิธีการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง (5 คะแนน)


2 2
1) 59 – 41 = (59 – 41)(59 + 41) = (18)(100) = 1,800

(10—55) – (10—45) ( )( ) ( )( )
2 2
2) 55 – —
= — 45 —
55 + —
45 = 10
— 100
—– = 10
10 10 10 10 10 10
2 2
3) 26.7 – 23.3 = (26.7 – 23.3)( 26.7 + 23.3) = (3.4)(50) = 170
2 2
4) 533 – 467 = (533 – 467)(533 + 467) = (66)(1,000) = 66,000
2 2
5) 1,024 – 24 = (1,024 – 24)( 1,024 + 24) = (1,000)(1,048) = 1,048,000

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 449

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว พหุนามดีกรีสองที่เป็น
กำ�ลังสองสมบูรณ์ และพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 5 คะแนน ข้อละ 1 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
✤ เขียนนิพจน์ที่กำ�หนดให้ในรูป (a – b)(a + b) ถูกต้อง ได้ข้อละ 0.5 คะแนน
✤ หาผลลัพธ์ถูกต้อง ได้ข้อละ 0.5 คะแนน

6. จงเติมพจน์ที่หายไปลงในช่องว่าง เพื่อให้พหุนามในรูปผลสำ�เร็จที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อ เป็นพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำ�ลัง


สองสมบูรณ์ (2 คะแนน)
2
1) 36x – 60x + 25
2
2) 25x + 70x + 49

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว พหุนามดีกรีสองที่เป็น
กำ�ลังสองสมบูรณ์ และพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 2 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ข้อละ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ข้อละ 0 คะแนน

7. ข้อใดเป็นพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำ�ลังสองสมบูรณ์ (1 คะแนน)
2
ก. 9x – 30x + 16
2
ข. 16x + 50x + 25
2
ค. 25x + 80x + 64
2
ง. 100x – 300x + 81

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว พหุนามดีกรีสองที่เป็น
กำ�ลังสองสมบูรณ์ และพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
450 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

8. จงเขี ย นตั ว เลื อ กจาก a–m ที่ พ หุ น ามทางขวามื อ เป็ น ผลจากการแยกตั ว ประกอบของพหุ น ามทางซ้ า ยมื อ ที่
กำ�หนดให้ในแต่ละข้อต่อไปนี้ (6 คะแนน)
2 2
b 1) x + 24x + 144 a. (x – 18)
2 2
d 2) 2x – 50 b. (x + 12)
2 2
g 3) 4x + 15x – 25 c. (3x + 8y)
3 2
i 4) x – 5x + 3x – 15 d. 2(x + 5)(x – 5)
2 2
l 5) 9x + 60xy + 64y e. (2x + 5)(2x – 5)
2 2
j 6) 3(x + 3x – 10) + 6(x – x – 30) f. (4x + 5)(x – 5)
g. (4x – 5)(x + 5)
2
h. (x + 3)(x – 5)
2
i. (x – 5)(x + 3)
j. 3(x + 5)(3x – 14)
k. 3(x + 5)(3x – 8)
l. (3x + 16y)(3x + 4y)
m. (4y + 3x)(4y + 12x)
แนวคิด
3 2 3 2
4) x – 5x + 3x – 15 = (x – 5x ) + (3x – 15)
2
= x (x – 5) + 3(x – 5)
2
(x – 5)(x + 3)
2 2
6) 3(x + 3x – 10) + 6(x – x – 30) = 3(x + 5)(x – 2) + 6(x – 6)(x + 5)
= 3(x + 5)[(x – 2) + 2(x – 6)]
= 3(x + 5)(3x – 14)

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง
ข้อ 2 นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว พหุนามดีกรีสองที่เป็น
กำ�ลังสองสมบูรณ์ และพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 6 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ข้อละ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ข้อละ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 451

2
9. ถ้ารูปสี่เหลี่ยมมุมฉากมีด้านหนึ่งยาว x + 5 หน่วย และมีพื้นที่ 4x + 17x – 15 ตารางหน่วย จงหาว่า อีกด้านหนึ่ง
ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากนี้ยาวกี่หน่วย (1 คะแนน)

x+5

ตอบ อีกด้านหนึ่งของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากนี้ยาว 4x – 3 หน่วย

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง
ข้อ 2 นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว พหุนามดีกรีสองที่เป็น
กำ�ลังสองสมบูรณ์ และพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

2
10. ถ้ารูปสามเหลี่ยมมุมฉาก มีด้านประกอบมุมฉากด้านหนึ่งยาว x + 3 หน่วย และมีพื้นที่ 2x + 7x + 3 ตารางหน่วย
จงหาว่า ด้านประกอบมุมฉากอีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมนี้ยาวกี่หน่วย (1 คะแนน)

ตอบ ด้านประกอบมุมฉากอีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมนี้ยาว 2(2x + 1) หรือ 4x + 2 หน่วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
452 บทที่ 5 | การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

แนวคิด 1
1 × ความยาวฐาน × ความสูง
เนื่องจาก พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม = –
2
ดังนั้น
2 1
2x + 7x + 3 = – (x + 3) × ความสูง
2
นั่นคือ 4x + 14x + 6 = (x + 3) × ความสูง
2
1

เนื่องจาก 4x2 + 14x + 6 สามารถแยกตัวประกอบได้เป็น 2(x + 3)(2x + 1) 2


จาก 1 และ 2 จะได้ว่า ความสูงของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากนี้คือ 2(2x + 1) หน่วย
ดังนั้น ด้านประกอบมุมฉากอีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมนี้ยาว 2(2x + 1) หรือ 4x + 2 หน่วย

แนวคิด 2

x+3

จากพื้นที่ที่กำ�หนดให้ อาจพิจารณาได้ว่า พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากนี้ เป็นครึ่งหนึ่งของพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม


มุมฉากที่มีด้านกว้างและด้านยาว ยาวเท่ากับด้านประกอบมุมฉากของรูปสามเหลี่ยม
2 2
นั่นคือ พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เท่ากับ 2(2x + 7x + 3) = 4x + 14x + 6 ตารางหน่วย
ซึ่งพหุนามที่แทนพื้นที่นี้สามารถแยกตัวประกอบ ได้เป็น 2(2x + 1)(x + 3) ตารางหน่วย
ทำ�ให้ได้ว่า ด้านประกอบมุมฉากอีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากยาว 2(2x + 1) หรือ 4x + 2 หน่วย

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง
ข้อ 2 นักเรียนสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว พหุนามดีกรีสองที่เป็น
กำ�ลังสองสมบูรณ์ และพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำ�ลังสอง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 1 คะแนน
ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 453

กิจกรรมคณิตศาสตร์เชิงสะเต็มศึกษา : Hedgehog ฟ้าแลบ


กิจกรรมคณิตศาสตร์เชิงสะเต็มศึกษา เป็นกิจกรรมที่ฝึกให้นักเรียนประยุกต์ใช้ความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ เชิงบูรณาการ
ในการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับชีวิตจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประยุกต์ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ผ่าน
กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องมือช่วยในการหาคำ�ตอบของสถานการณ์ปัญหา สำ�หรับกิจกรรมนี้
มีจด
ุ ประสงค์ให้ผเู้ รียนประยุกต์ใช้ความรูท
้ างคณิตศาสตร์ในเรือ
่ งความเท่ากันทุกประการ เส้นขนาน การให้เหตุผลทางเรขาคณิต
ทั้งนี้ ครูพิจารณานำ�กิจกรรมนี้ไปใช้ตามความเหมาะสม อุปกรณ์และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม มีดังนี้

อุปกรณ์
✤ เชือก (ยาวประมาณ 2 เมตร) 1 เส้นต่อกลุ่ม
✤ กระดาษปรู๊ฟ 1 แผ่นต่อกลุ่ม
✤ คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อกลุ่ม
✤ ซอฟต์แวร์เรขาคณิตพลวัต 1 ซอฟต์แวร์
✤ ไม้บรรทัด 1 อัน
✤ ดินสอ 1 แท่ง
✤ ยางลบ 1 อัน

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุม
่ กลุม
่ ละ 4–5 คน แล้วให้นก
ั เรียนอ่านทำ�ความเข้าใจสถานการณ์ แล้วร่วมกันวิเคราะห์
ภารกิจต่าง ๆ ทีต
่ อ
้ งลงมือปฏิบต
ั ใิ นสถานการณ์ทก
ี่ �ำ หนดให้ กล่าวอีกนัยหนึง่ นักเรียนจะต้องร่วมกันค้นหาเป้าหมาย
และเงื่อนไขของสถานการณ์ คือ พิจารณาการเคลื่อนที่ของ Hedgehog บนรูปสามเหลี่ยมใด ๆ เมื่อจะต้อง
เคลื่อนที่จากจุดกึ่งกลางของด้านใดด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยม แล้วกลิ้งไปในทิศทางขนานกับด้านใดด้านหนึ่งจน
กระทบกับจุดบนอีกด้านหนึง่ ของรูปสามเหลีย่ มนัน
้ จากนัน
้ ออกจากจุดดังกล่าวไปยังด้านทีเ่ หลือโดยเคลือ
่ นทีไ่ ปใน
แนวขนานกับด้านแรกที่โผล่ขึ้นมา โดยจำ�ลองการม้วนตัวของ Hedgehog ดังรูป

2. ครู แ นะนำ � ให้ นั ก เรี ย นสื บ ค้ น ข้ อ มู ล เพื่ อ หาแนวทางในการพิ สู จ น์ แ นวคิ ด ว่ า เพราะเหตุ ใ ดการเคลื่ อ นตั ว ของ
Hedgehog จึงส่งผลให้ Hedgehog กลับลงรูเดิมที่โผล่ขึ้นมาในตอนแรก
3. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำ�เสนอข้อมูลที่ได้จากกิจกรรมในข้อ 2 แล้วนำ�อภิปรายในประเด็นต่าง ๆ ที่สำ�คัญกับ
กลุ่มอื่น ๆ เช่น
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
454 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ผลจากการสืบค้นข้อมูลของนักเรียน

✤ การอธิบายเหตุผลโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับเส้นขนานและความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม

ทฤษฎีบท
“เส้นตรงทีล่ ากผ่านจุดกึง่ กลางของด้านด้านหนึง่ ของรูปสามเหลีย่ ม และขนานกับอีกด้านหนึง่ ของรูปสามเหลีย่ ม
จะตัดกับด้านที่สามที่จุดกึ่งกลางของด้านที่สามนั้น”

แนวคิดในการพิสูจน์ (แบบที่ 1)
A

X Y

B W C

กำ�หนดให้ ∆ABC มีจุด X เป็นจุดกึ่งกลางของ AB


XY // BC และ XY ตัด AC ที่จุด Y
ต้องการพิสจ
ู น์วา่ จุด Y เป็นจุดกึ่งกลางของ AC

พิสจ
ู น์ จากจุด Y สร้าง YZ ให้ขนานกับ AB และตัดกับ BC ที่จุด W
จะได้ XBWY เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (มีด้านตรงข้ามขนานกันสองคู่)
ดังนั้น XB = YW (ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานยาวเท่ากัน)
นั่นคือ AX = YW (AX = XB)
พิจารณา ∆AXY และ ∆YWC
AX = YW (จากการพิสูจน์ข้างต้น)
AŶX = YĈW (ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัด
XÂY = WŶC � แล้วมุมภายนอกและมุมภายในที่อยู่ตรงข้าม
บนข้างเดียวกันของเส้นตัด มีขนาดเท่ากัน)
ดังนั้น ∆AXY ≅ ∆YWC (ม.ม.ด.)
จะได้ AY = YC (ด้ า นคู่ ที่ ส มนั ย กั น ของรู ป สามเหลี่ ย มที่ เ ท่ า กั น
ทุกประการ จะยาวเท่ากัน)
นั่นคือ จุด Y เป็นจุดกึ่งกลางของ AC

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 455

✤ การอธิบายเหตุผลโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับเส้นขนานและความคล้ายกันของรูปสามเหลี่ยม

แนวคิดในการพิสูจน์ (แบบที่ 2)
A

X Y

B C

กำ�หนดให้ ∆ABC มีจุด X เป็นจุดกึ่งกลางของ AB


XY // BC และ XY ตัด AC ที่จุด Y

ต้องการพิสจ
ู น์วา่ จุด Y เป็นจุดกึ่งกลางของ AC

พิสจ
ู น์ เนื่องจาก ∆AXY ~ ∆ABC (ถ้ารูปสามเหลีย่ มสองรูปมีขนาดของมุมเท่ากัน เป็นคู่ ๆ
สามคู่ แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม
ที่คล้ายกัน)
จะได้ AX = AY
— — (สมบัติของรูปสามเหลี่ยมคล้าย)
AB AC
เนื่องจาก AX
— = –1 (จุด X เป็นจุดกึ่งกลางของ AB)
AB 2
ดังนั้น AY
— = –21 (สมบัติของการเท่ากัน)
AC
AY = –1AC (สมบัติของการเท่ากัน)
2
นั่นคือ จุด Y เป็นจุดกึ่งกลางของ AC

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
456 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

4. ครู ใ ห้ นั ก เรี ย นแต่ ล ะกลุ่ ม วางแผนและนำ � เสนอแผนการดำ � เนิ น การ โดยครู ค วรอภิ ป รายซั ก ถามเพื่ อ ให้ เ กิ ด
ความชัดเจนในความรู้ที่นักเรียนสืบค้นและรวบรวมมาได้ และความเป็นไปได้ของแผนการดำ�เนินการ เช่น
✤ นักเรียนจะใช้ความรู้ในเรื่องใดบ้าง
✤ นักเรียนจะวางแนวทางในการเขียนอธิบายเหตุผลหรือพิสูจน์อย่างไร

นักเรียนกลุ่มหนึ่ง อาจมีแผนในการดำ�เนินการ เป็นดังนี้


✤ วาดภาพประกอบการพิสูจน์
✤ เขียนข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกต
✤ วางเป้าหมายของการพิสูจน์
✤ ร่างลำ�ดับขั้นตอนที่จะเกิดขึ้นในการพิสูจน์
✤ ลงมือเขียนอธิบายเหตุผล แสดงการพิสูจน์

5. ครูให้นักเรียนลงมือปฏิบัติตามแผนที่เตรียมไว้
นักเรียนกลุ่มหนึ่ง อาจลงมือปฏิบัติตามแผนที่เตรียมไว้ ดังนี้
✤ วาดภาพประกอบการพิสูจน์
- สร้างรูปสามเหลี่ยม ABC โดยให้ M เป็นจุดกึ่งกลางของด้าน AB
A

B
C

- ลากส่วนของเส้นตรงผ่านจุด M ให้ขนานกับด้าน BC และตัดกับด้าน AC ที่จุด P


A

M P

B
C

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 457

- ลากส่วนของเส้นตรงผ่านจุด P ให้ขนานกับด้าน AB และตัดกับด้าน BC ที่จุด Q


A

M P

B
Q C

- ต้องการแสดงว่าเมื่อลากส่วนของเส้นตรงผ่านจุด Q ให้ขนานกับด้าน AC
ส่วนของเส้นตรงดังกล่าวจะผ่านจุด M
A

M P

B
Q C

✤ เขียนข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกต
จุด P เป็นจุดกึ่งกลางของ AC และจุด Q เป็นจุดกึ่งกลางของ BC
✤ วางเป้าหมายของการพิสูจน์
จะแสดงว่า ส่วนของเส้นตรงที่ลากผ่านจุด Q ให้ขนานกับด้าน AC จะผ่านจุด M
A

M P

B
Q C

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
458 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

✤ ร่างลำ�ดับขั้นตอนที่จะเกิดขึ้นในการพิสูจน์
(1) P เป็นจุดกึ่งกลางของ AC
(2) Q เป็นจุดกึ่งกลางของ BC

✤ ลงมือเขียนอธิบายเหตุผล แสดงการพิสูจน์
- เนื่องจากจุด M เป็นจุดกึ่งกลางของด้าน AB เมื่อลาก MP ขนานกับ BC โดยให้ MP ตัดกับ
AC ที่จุด P โดยทฤษฎีบทที่พิสูจน์ข้างต้น จะได้ จุด P เป็นจุดกึ่งกลางของด้าน AC
- เนื่องจากจุด P เป็นจุดกึ่งกลางของด้าน AC เมื่อลาก PQ ขนานกับ AB โดยให้ PQ ตัดกับ
BC ที่จุด Q โดยทฤษฎีบทที่พิสูจน์ข้างต้น จะได้ จุด Q เป็นจุดกึ่งกลางของด้าน BC
- เนื่องจากจุด Q เป็นจุดกึ่งกลางของด้าน BC ดังนั้น จากทฤษฎีบทที่พิสูจน์ข้างต้น เมื่อลาก
ส่วนของเส้นตรงผ่านจุด Q ให้ขนานกับด้าน AC ส่วนของเส้นตรงนั้นจะผ่านจุดกึ่งกลางของด้าน AB
นั่นคือ ส่วนของเส้นตรงดังกล่าวผ่านจุด M

ดั ง นั้ น จากลั ก ษณะการกลิ้ ง ตั ว ของ Hedgehog ที่ เ คลื่ อ นที่ จ ากจุ ด กึ่ ง กลางของด้ า นใดด้ า นหนึ่ ง ของ
รูปสามเหลี่ยม แล้วกลิ้งไปในทิศทางขนานกับด้านใดด้านหนึ่งจนกระทบกับจุดบนอีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยม
นัน
้ จากนัน
้ ออกจากจุดดังกล่าวไปยังด้านทีเ่ หลือโดยเคลือ
่ นทีไ่ ปในแนวขนานกับด้านแรกทีโ่ ผล่ขน
ึ้ มา Hedgehog
จะกลับลงรูเดิมที่โผล่ขึ้นมาตอนแรก
6. ครู ต รวจสอบคำ � ตอบของนั ก เรี ย น ซั ก ถามปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ระหว่ า งการทำ � งาน และให้ ข้ อ เสนอแนะนั ก เรี ย น
แต่ละกลุ่ม
7. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำ�เสนอผลงานที่ได้ และซักถามความคิดเห็นของนักเรียนกลุ่มอื่น ๆ ที่มีต่อคำ�ตอบของ
กลุ่มที่นำ�เสนอ แล้วอาจให้นักเรียนสำ�รวจและคาดการณ์เพิ่มเติมกรณีที่ Hedgehog โผล่ออกมาจากจุดใด ๆ บน
ด้านของรูปสามเหลี่ยมโดยใช้สื่อ AR ในหนังสือเรียน หน้า 280

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 459

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
เครื่องคิดเลขกับการสอนสถิติ

ในการจัดการเรียนรูส้ ถิติ มีความจำ�เป็นสำ�หรับครูทจี่ ะต้องจัดสิง่ แวดล้อมทางการเรียนรูใ้ ห้นกั เรียนคิดอย่างเป็นสถิต ิ


ตระหนักถึงความสำ�คัญของข้อมูล เห็นภาพและเข้าใจเกี่ยวกับการผันแปรของข้อมูล สามารถอธิบายและให้เหตุผลทาง
สถิติโดยใช้แบบจำ�ลอง ตลอดจนแปลความหมายผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการทางสถิติให้สอดคล้องกับบริบทของข้อมูล
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้นักเรียนไปถึงเป้าหมายเหล่านี้ ครูจำ�เป็นต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนรู้
เนือ่ งจากเทคโนโลยีชว่ ยให้การคิดคำ�นวณได้ผลลัพธ์ทรี่ วดเร็วยิง่ ขึน้ ใช้ส�ำ รวจลักษณะทีส่ �ำ คัญบางอย่างของข้อมูลได้สะดวก
ช่วยให้เห็นภาพรวมที่เป็นนามธรรมบางอย่างของข้อมูล ใช้จำ�ลองการเกิดขึ้นของสถานการณ์ รวมถึงค้นหาความสัมพันธ์
เกี่ยวกับข้อมูลจริงที่เก็บรวบรวมได้ ทั้งนี้ในการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสูดกับผู้เรียนนั้น ครูควรทำ�ความเข้าใจ
เกี่ยวกับแนวคิดและแนวการเรียนรู้ของนักเรียน เลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการคิดทางสถิติ และมีกลยุทธ์ในการใช้ให้
เหมาะสม
เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้สถิติมีหลากหลาย เช่น ซอฟต์แวร์ตารางทำ�งาน โปรแกรมสำ�เร็จรูปทางสถิติ
ซอฟต์แวร์ GeoGebra ที่ได้แนะนำ�แล้วในหนังสือเรียน ในที่นี้จะแนะนำ�ให้รู้จักกับฟังก์ชันการใช้งานบางอย่างในเครื่องคิด
เลขกราฟิกบางรุ่นที่สามารถใช้ในการจัดการเรียนรู้สถิติได้

การสร้างฮิสโทแกรม
พิจารณาผลการทดสอบวิชาคณิตศาสตร์จำ�นวน 10 ข้อ ของนักเรียนห้องหนึ่ง จำ�นวนข้อที่นักเรียนตอบถูก เป็นดังนี้


5 4 7 8 5 9 10 10 7 9

10 7 5 5 7 4 6 3 8 4

5 3 4 6 8 3 8 6 9 3

เลือกเมนู Statistics

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
460 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

จะปรากฏตารางใส่ข้อมูลดังภาพ

ป้อนข้อมูลทั้งหมดลงในเครื่องคิดเลข
โดยพิมพ์ตัวเลขข้อมูลแล้วตามด้วย l
กด 5l4l7l8l5l
9l10l10l7l
9l10l7l5l5
l7l.....ใส่ข้อมูลไปเรื่อย ๆ จนครบทั้งหมด

เลือกคำ�สั่ง GRAPH โดยกด q

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 461

เลือกชนิดของกราฟทางสถิติ
โดยกด u เพื่อเลือกคำ�สั่ง SET

เราจะเปลี่ยนชนิดของกราฟ (Graph Type) เป็นฮิสโทแกรม


(Histogram) โดยเลื่อนแถบดำ�มาที่ Graph Type โดยกด N
สังเกตแท็บด้านล่างหน้าจอ จะยังไม่เห็นฮิสโทแกรม

เพื่อไปหน้าถัดไป ให้กด u
(จะเห็น Hist อยู่ที่แท็บแรกตรงกับปุ่ม q)

สังเกตชนิดกราฟจะเป็น Hist ตรงกับปุ่ม q


Xlist : List1 (หมายถึง ค่าแกน x อยู่ใน List1)
Frequency : 1 หมายถึง ข้อมูลใน List1 มีความถี่เป็น 1

จากนั้นกด d เพื่อกลับออกมา หน้าตาราง


แล้วกด q เพื่อสั่งให้เครื่องวาด Graph 1
เครื่องจะให้ใส่ค่าเริ่มต้น ความกว้างของกราฟ
ในที่นี้ ให้ Start = 0 ให้ Width = 1
กด 0l1l

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
462 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

แล้วกด l เพื่อให้เครื่องวาดฮิสโทแกรม
จะได้ฮิสโทแกรมตามต้องการ

กรณีข้อมูลอยู่ในรูปตารางแจกแจงความถี่ที่เป็นช่วง

จำ�นวนชั่วโมงในการทำ�งาน ความถี่ ในเครื่องคิดเลขไม่สามารถใส่ค่าเป็นช่วงได้

ตั้งแต่ 30 แต่น้อยกว่า 35 4 ให้ใส่ค่าใดค่าหนึ่งก็ได้ที่อยู่ในช่วงนั้น


ตั้งแต่ 35 แต่น้อยกว่า 40 9
ตั้งแต่ 40 แต่น้อยกว่า 45 10
ตั้งแต่ 45 แต่น้อยกว่า 50 8
ตั้งแต่ 55 แต่น้อยกว่า 55 5

ตัวอย่างการใช้ตัวเลขที่อยู่ในช่วงเป็นตัวแทน

จำ�นวนชั่วโมงในการทำ�งาน ความถี่ ใส่ข้อมูลชั่วโมงในการทำ�งานใน List 1


31 4
36 9
41 10
46 8
51 5

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 463

ใส่ค่าความถี่ของแต่ละช่วงลงใน List2

เลือกคำ�สั่ง Graph โดยกด q


เลือกชนิดของกราฟโดยกด uเพื่อเลือก SET

กด N เพื่อเลื่อนแถบดำ�ลงมาที่ Frequency
แล้วกด w เพื่อเลือก List

เครื่องจะถามว่าความถี่อยู่ใน List ใด
ให้ใส่ 2 แล้วกด l

เครื่องจะขึ้นว่า ความถี่อยู่ใน List2


เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้ว
ให้กดปุ่ม d เพื่อกลับมายังตาราง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
464 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

แล้วเลือก Graph1 กด q
เครื่องจะให้ใส่ค่าเริ่มต้น ความกว้างของกราฟ

ในที่นี้ ให้ Start = 30 ให้ Width = 5


กด 30l5l

แล้วกด l เพื่อให้เครื่องวาดฮิสโทแกรม
จะได้ฮิสโทแกรมตามต้องการ

การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ตัวอย่างที่ 1 คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน 10 คน เป็นดังนี้ 5, 7, 10, 6, 5, 4, 4, 8, 5 และ 6
หาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบของนักเรียน 10 คนนี้
วิธีที่ 1

เข้าเมนู 1: Calculate กด w1

จากนั้นกด a5+7+10+6+5
+4+4+8+5+6

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 465

เลื่อนลงมาใส่จำ�นวนข้อมูล กด R10
แล้วกด = เพื่อให้เครื่องแสดงผลลัพธ์

ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบของนักเรียนกลุ่มนี้เป็น 6 คะแนน

วิธีที่ 2
เข้าเมนู 6: Statistics กด w6

กด 1 เพื่อเลือก 1: 1-Variable

ใส่คะแนนกด 5=7=10=6=5=
4=4=8=5=6=

กดปุ่ม T

จากนั้นกด 3 เพื่อเลือกคำ�สั่ง 3: 1-Variable Calc


เครื่องจะแสดงค่าเลขเฉลี่ยเลขคณิต ( x ) มีค่าเป็น 6 คะแนน

การหามัธยฐาน (Median)
จงหาค่ามัธยฐานของข้อมูลต่อไปนี้
15, 18, 17, 17, 29, 25, 37, 49 และ 62
(ข้อมูลเป็นจำ�นวนคี่)
เลือกเมนู 2: Statistics กด p2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
466 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

จะปรากฏตารางใส่ข้อมูลดังภาพ

ป้อนข้อมูลทั้งหมดลงในเครื่องคิดเลข
โดยพิมพ์ตัวเลขข้อมูลแล้วตามด้วย l
กด 15l18l17l
17l29l25l
37l49l62l

ทำ�การเรียงค่าข้อมูลจากน้อยไปมาก
กด u ไปหาคำ�สั่งอีกหน้าแทบเมนู

จากนั้นให้เลือกเมนู TOOL กด q

จะพบคำ�สั่ง SORTASC กด q
เครื่องจะถามจำ�นวน Lists ที่จะเรียง
กด 1l

จากนั้นเครื่องจะถามว่า List ใดที่จะเรียง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 467

กด 1l

เลื่อน B จะพบว่าข้อมูลจะเรียงจากน้อยไปมากแล้ว

เลื่อน N เพื่อดูว่าข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง
ในที่นี้คือตัวที่ 5
ดังนั้นมัธยฐานคือ 25

การหาฐานนิยม (Mode)
จงหาฐานนิยมของข้อมูลต่อไปนี้
5, 7, 4, 8, 7, 11, 7, 4, 10 และ 8

ใส่ข้อมูลลงใน List 1 โดยกด 5l7l


4l8l7l11l
7l4l8l

ให้เลือกคำ�สั่ง CALC โดยกด w

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
468 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

หาค่าต่าง ๆ ทางสถิติ ของข้อมูล


ให้เลือกคำ�สั่ง 1-VAR โดยกด q
เครื่องจะแสดงค่าต่างๆ ทางสถิติ

ให้กด N เลื่อนลงด้านล่างสุด

จะได้ว่าฐานนิยม คือ 7
และฐานนิยมของข้อมูลชุดนี้มีตัวเดียว
และมีความถี่เป็น 3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 469

ปกิณกคดี

ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ นอกจากนักเรียนจะได้ศก
ึ ษาสาระต่าง ๆ ตามทีก
่ �ำ หนดไว้ในหลักสูตรและ
ได้นำ�เสนอไว้ในหนังสือเรียน กิจกรรมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าค่ายคณิตศาสตร์ การแข่งแรลลีคณิตศาสตร์ การแข่งขัน
ทางคณิตศาสตร์ การจัดนิทรรศการ ล้วนเป็นสิ่งสำ�คัญ ที่จะฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดและตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ เพราะ
หัวใจของการเรียนคณิตศาสตร์คอ
ื การให้เหตุผล การทีน
่ ก
ั เรียนมีความสามารถในการให้เหตุผลอย่างสมเหตุสมผล จะทำ�ให้
เป็นพลเมืองทีม
่ ค
ี ณ
ุ ภาพของประเทศชาติ ดังนัน
้ การจัดหาเกม กิจกรรม ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ให้นก
ั เรียนได้ฝก
ึ คิด จึงเป็น
หน้าที่ของครูผู้สอนด้วยเช่นกัน
ปัญหาและเกมทีน
่ �ำ มาเป็นตัวอย่างในทีน
่ ี้ บางปัญหาก็เป็นปัญหาเก่าแก่ทอ
ี่ าจรูจ้ ก
ั กันมาเกินครึง่ ศตวรรษ แต่กต
็ อ
้ ง
ใช้ความคิดทุกครั้งในการให้เหตุผล เพราะไม่อาจอาศัยการท่องจำ�เพียงอย่างเดียวในการตอบ นอกจากนี้การให้นักเรียน
ได้ฝึกอ่านปัญหาที่นำ�เสนอ ก็เป็นการเชื่อมโยงความรู้กับวิชาอื่น ๆ เช่น ภาษาไทย บางปัญหาอาจต้องสืบเสาะโดยการใช้
เทคโนโลยีประกอบด้วย แต่สิ่งที่สำ�คัญกว่าคำ�ตอบที่ได้ก็คือ ทำ�ไมจึงตอบเช่นนั้น
การเฉลยคำ�ตอบของปัญหาเหล่านี้ ไม่ใช่สงิ่ สำ�คัญ เพราะผูต
้ อบสามารถวินจิ ฉัยได้ดว้ ยตนเอง ว่าคำ�ตอบนัน
้ ถูกต้อง
หรือไม่ โดยตรวจสอบว่า คำ�ตอบที่ได้นั้นสอดคล้องกับเงื่อนไขของปัญหาที่กำ�หนดให้หรือไม่ โดยทำ�ในทำ�นองเดียวกับ
การพิจารณาว่า คำ�ตอบที่ได้จากการแก้สมการที่สร้างมาจากโจทย์ปัญหานั้น เป็นคำ�ตอบของโจทย์ปัญหาหรือไม่ ซึ่งจะ
ทำ�ให้ผแู้ ก้ปญ
ั หาสามารถยืนยันได้วา่ คำ�ตอบทีค
่ ด
ิ ได้นน
ั้ ถูกต้อง อีกทัง้ ถ้ามีโอกาสนักเรียนก็ควรจะได้อภิปรายกับผูอ
้ น
ื่ ทีค
่ ด

แก้ปัญหานี้ด้วย เพื่อจะได้เห็นแนวทางในการแก้ปัญหาแบบอื่น ๆ ที่มีความแปลกใหม่ เพราะปัญหาเหล่านี้มีวิธีการคิดที่
หลากหลาย ซึ่งจะทำ�ให้เกิดประโยชน์กับการใช้ปัญหานั้น ๆ ยิ่งขึ้นไป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
470 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

โดด โดด โดด


เลขโดดจากหนึ่งถึงเก้า ทั้งหมดเมื่อเอา
เข้ากลุ่มกลุ่มละสามตัว
สร้างเลขสามหลักมิมั่ว เรียงใหม่ใช้หัว
ได้สามจำ�นวนชวนมอง
ได้แล้วก็จงทดลอง อัตราส่วนของ
จำ�นวนทั้งสามตามนี้
หนึ่งต่อสองต่อสามมี ได้บ้างไหมนี่
ถ้ามีกี่ชุดช่วยโชว์
คิดได้ทั้งเด็กเล็กโต มิต้องมือโปร
มีสิทธิ์คิดได้หาดู………….

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 471

ส�ำหรับท่านที่สนใจดูตัวอย่างของปัญหาหรือกิจกรรมอื่น ๆ
เพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://ipst.me/10087

…แน่หรือ สวัสดี สวัสดี สวัสดี


สี่ เหลี่ยมด้านขนาน
สวัสดี สวัสดี สวัสดี ปัญหา ทางหลว

ใดๆ ในโลกนี้
“…สีเ่ หลีย่ มคอนเวกซ์ ค�ำค�ำนี้ ไทยเริ่มใช้ เมื่อไรหนอ
เหมาะนั่น ไปช่วยคิดปริศนา
ตัดเป็นสี่ ส่วนไซร้ ให้ เชิญคิดกัน เร็วไว ไม่ต้องรอ ลุงดนัยให้หลานดิสก์
น�าสี ช
่ น
้ ิ นี ห
้ นอ มาต่ อ กั น
ใน พ.ศ. เลขโดดล้วน จ�ำนวนคู่ บอกเพียงว่าตาไปวัด
จงมั่นใจ ที่แจ้งแถลงมา แต่ก็ฟังไม่ถนัด
ได้สี่เหลี่ยม ใหม่พลัน อยู่ในเดือน มกรำ หำไม่ยำก วัดนี้มีชื่อดัง
รูปสี่เหลี่ยม ใหม่นี้ มี
สมบัติ ชื่อจังหวัดไม่รู้ที
วันที่หำก คิดไป ก็ง่ำยอยู่ ที่อยู่ไม่รู้ชัด ถนนนั้นหมายเลขดี
าสงสัย
ที่เห็นชัด ถนัดตา อย่ เป็นพำลินโดรมเด่นเฟ้นหำดู จำาได้เพียงสั้นสั้น
่ อยู่ร�่าไป…” มีสี่หลักประจักษ์ตา
ด้านขนาน กันสองคู มีเลขคู่ ในเลขโดด โปรดตอบมำ กำาหนดในแผนที่ ่า
จำาง่ายนักเนื่องจากว
ด ใยได้จริง เลขโดดแต่ละหลัก พาะ
ตัดอย่างนี้ ด้วยเหตุใ ทุกหลักล้วนจำานวนเฉ
เป็นเลขเคยคิดมา เป็นสองข้างช่างเหมา
ะเจาะ
พิ สูจน์ สี่หลักหากแบ่งกลาง
สองจำานวนล้วนน่าจำ

ได้ไหม จำาได้ง่ายนักเพราะ มีรูปโฉมที่คมขำา
ต่างเป็นพาลินโดรม
ทั้งสองค่ามาลบกัน
หากว่าถ้าเรานำา จะเห็นว่าผลต่างนั้น
เมื่อพิจารณา ะจริง
จำานวนเฉพาะเหมาะเจา
ก็เป็นเช่นเดียวกัน อยู่ที่ไหนใคร่รู้ยิ่ง
วัดนี้มีชื่อไร
ง ใช้ทุกสิ่งเสาะหามา
บอกแห่งแหล่งอ้างอิ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิท
ยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โลยี
ิทยาศาสตร์และเทคโน
สถาบันส่งเสริมการสอนว

โลยี
ิทยาศาสตร์และเทคโน
สถาบันส่งเสริมการสอนว

จัตุรัส คำ�
จัตุรัสมหัศจรรย์นั้นมากแบบ
รู้ จริงหรือ ล้วนแต่แยบยลนักมักฉงน
ทั้งอักษรและสระที่ปะปน
หนุ่มนายหนึ่งเดินถึงคลองน�้านองฝั่ง อย่าสับสนเป็นเลขโดดโปรดเข้าใจ
แต่ละตัวแทนแน่แน่แต่ละเลข
ละล้าละลังนั่งปลงตรงตลิ่ง
ด้วยว่ายน�้ามิได้กลัวตายจริง
นาง บาท ราก ใช่ยกเมฆจํานวนนี้นี่เท่าไร
เลยนั่งนิ่งนึกดูอยู่เป็นนาน เก้าจํานวนเมื่อหามาอย่าแปลกใจ
จัตุรัสมหัศจรรย์ไงใช่แน่นอน
เหลือบมองเห็นป้ายปักไว้ให้รู้ว่า
คลองนี้หนาลึกเฉลี่ยไปทุกย่าน สามจํานวนแต่ละแถวทุกแนวนั้น

หนึ่งจุดห้าเมตรจ้ะโดยประมาณ ผลรวมพันห้าร้อยสิบห้าลองหาก่อ
หนุ่มพออ่านค่าเฉลี่ยเลิกเสียใจ “ดาม”นั้นค่าสูงสุดแท้มากแน่นอน

ด้วยเขาสูงร้อยแปดสิบเซนติเมตร มาด ยาย ดาม ค่าที่หย่อน รองต่อนั้น “การ”แน่เที


ช่วยกันหน่อยหากันนิดคิดกันนะ
ยว

คงพ้นเขตน�้าลึกเลยคึกใหญ่
มิใช่จะยากเกินหาจนหน้าเขียว
โดดลงคลองหวังเดินให้เพลินใจ
แต่ท�าไมชายคนนี้นี่ตายเอย ถ้าปวดหัวก็อย่าทนทําคนเดียว
จําไว้เชียวมีเพื่อนคิด ชื่นจิตเอย…

การ ทาบ งาน

ยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สถาบันส่งเสริมการสอนวิท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิท
ยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เกมนิม
...หนึ่ งเดียว
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ั แล้วมา
าเกมนิมซึง่ นักเรียนรูจ้ ก
กิจกรรมนีม ้ จี ดุ มุง่ หมายให้นก ุ้ เคยกับโครงสร้างของการพิสจู น์ โดยการนำ
ั เรียนได้คน
้ ฐานในการพิสจู น์ทางคณิตศาสตร์ตอ ่ ไป
จู น์ อันจะเป็นพืน
ั เรียนเห็นโครงสร้างและแนวทางในการพิส
เกม ใหญ่ ได้
่ งให้นก
เป็นตัวเดินเรือ

แยกเอาไว้ ����ระสงค์
เลือกไพ่ A K Q J
โดยเลือกใช้ สี่ดอกหน
า อย่าสงสัย
หกจำ�นวนชวน 1. ให้นักเรียนฝึกสังเกต วิเคราะห์และหาข้
2. ให้นักเรียนฝึกการให้เหตุผล
อสรุ ปจากผลการปฏิบัติ

รวมแล้วมี ที่ต้องหยิ
บ สิบหกใบ คิด
เลขโดด.. นะจ๊ะ
ถว สี่แนวตั้ง
แล้วเรียงไพ่ เป็นสี่แ
QKA � ความร����น�าน
แต่ละแถว ต้องมี J
าสิ้นหวัง จ�ำนวนนับ หกจ การให้เหตุผล
ที่พิเศษ มีทุกหน้า อย่ ที่เรียงติด ต่ �ำนวน ล้วนน่
ำคิด
ท�าง่ายจัง อกัน นั้นแปล
แต่ละหลัก เป็นด้วยไซร้ น�ำมำเขียน กไหม
ง ที ว
่ า
่ ได้ ไชโยเอ ย ในวง ลงเลขไป
หากวา งดั พยำยำม ท�ำ
ขอ ให้ ได้ค่ำมำ
จอด + มีสำมแถว เรี
ยงแนวตรง
สำมจ�ำนวน คงมองเห็น
ชมนก ควรเป็น เช่น
นี้หนำ
ผลบวกใน ทุ
กแนวนั้น เท่
เขียนเสร็จแล้ ำกันนำ
ว ลองตรวจตร
ำ ว่ำเท่ำจริง
พิสูจน์ดู อีก
ที ว่ำที่ท�ำ
ช่ำงเลิศล�้ำ เกิ
ส ว ดได้ แปลกใจ
ย ผ จญ หกตัวใด ใส่ ยิ่ง
สอ น+
ส ว อย่ำงนั้น มั่น
ย+ ให้อ้ำงอิง ทุก ใจจริง
ส ว ย สิ่งมำ อย่ำเก็
ม ว ย แต่ละชุด หกจ
บง�ำ
ขอ ย ล �ำนวน ชวนสงส
จะเลือกวำง ัย
อย่ำงไร ไม่ใ
มีกี่แบบ ที่ต ห้ซ�้ำ
่ำงกัน วำนลอง
ไม่ว่ำน�ำ หกต ท�ำ
ัวใด มำใช้วำง
พยัญชนะแทนเลขโดดโปรดลองคิ

ต่างชนิดต่างเลขกันนั้นแน่หนา
ศูนย์ถึงเก้าตัวต่อตัวอย่ามั่วมา โลยี 1
ิทยาศาสตร์และเทคโน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สถาบันส่งเสริมการสอนว
ลองช่วยหาเลขเด็ดนี้ให้ทีเอย

สถาบันส่ง
เสริมการสอ
นวิทยาศาส
ตร์และเทค
โนโลยี
สถาบันส่งเสริมการสอนวิท
ยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
472 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

บรรณานุกรม
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). ศัพท์วิทยาศาสตร์ อังกฤษ–ไทย ไทย–อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:
อรุณการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). พจนานุกรมศัพท์คณิตศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับ


ลิเคชั่นส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). ศัพท์ต่างประเทศที่ใช้คำ�ไทยแทนได้ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2558). พจนานุกรมคำ�ใหม่ เล่ม 1–2 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). คูม


่ อ
ื ครูรายวิชาเพิม
่ เติม คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชัน
้ มัธยมศึกษาปีท่ี 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 5).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 4).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). คูม


่ อ
ื ครูรายวิชาเพิม
่ เติม คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชัน
้ มัธยมศึกษาปีท่ี 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). คูม


่ อ
ื ครูรายวิชาเพิม
่ เติม คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชัน
้ มัธยมศึกษาปีท่ี 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สำ�นักงานราชบัณฑิตยสภา. (2559). พจนานุกรมศัพท์คณิตศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สหมิตร


พริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 473

คณะผู้จัดทำ�
คณะที่ปรึกษา
ศ. ดร.ชูกิจ ลิมปิจำ�นงค์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.ศรเทพ วรรณรัตน์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะผู้จัดทำ�คู่มือครู
ผศ. ดร.ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นางนงนุช ผลทวี โรงเรียนทับปุดวิทยา จังหวัดพังงา
ดร.วัลลภา บุญวิเศษ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี
นางรุ่งอรุณ โตหนึ่ง โรงเรียนปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
จังหวัดนครปฐม
นายถนอมเกียรติ งานสกุล โรงเรียนสตรีภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
นางสุปราณี พ่วงพี ข้าราชการบำ�นาญ
นายสมนึก บุญพาไสว สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวดนิตา ชื่นอารมณ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวจันทร์นภา อุตตะมะ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.รณชัย ปานะโปย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาววรนารถ อยู่สุข สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวสิริวรรณ จันทร์กูล สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.อลงกต ใหม่ด้วง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะผู้พิจารณาคู่มือครู
ผศ. ดร.ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นางนงนุช ผลทวี โรงเรียนทับปุดวิทยา จังหวัดพังงา
ดร.วัลลภา บุญวิเศษ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี
นางรุ่งอรุณ โตหนึ่ง โรงเรียนปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
จังหวัดนครปฐม
นายถนอมเกียรติ งานสกุล โรงเรียนสตรีภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
นางมยุรี สาลีวงศ์ โรงเรียนสตรีสิริเกศ จังหวัดศรีสะเกษ
นางสาวจำ�เริญ เจียวหวาน ข้าราชการบำ�นาญ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
474 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 2

ผศ.ทวีชัย สิทธิศร ข้าราชการบำ�นาญ


นางสุปราณี พ่วงพี ข้าราชการบำ�นาญ
นางชมัยพร ตั้งตน นักวิชาการอิสระ
นายดนัย ยังคง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผศ.ลัดดาวัลย์ เพ็ญสุภา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสุวรรณา คล้ายกระแส สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นายสมนึก บุญพาไสว สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผศ.มาลินท์ อิทธิรส สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ว่าที่ร้อยเอก ดร.ภณัฐ ก้วยเจริญพานิชก์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.อลงกรณ์ ตั้งสงวนธรรม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวดนิตา ชื่นอารมณ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวจันทร์นภา อุตตะมะ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.รณชัย ปานะโปย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาววรนารถ อยู่สุข สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวสิริวรรณ จันทร์กูล สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.อลงกต ใหม่ด้วง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะบรรณาธิการ
นายดนัย ยังคง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสุวรรณา คล้ายกระแส สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.รณชัย ปานะโปย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางชมัยพร ตั้งตน นักวิชาการอิสระ

คณะทำ�งานฝ่ายเสริมวิชาการ
ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางวนิดา สิงห์น้อย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ออกแบบรูปเล่ม
บริษัท เธิร์ดอาย 1999 จำ�กัด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สถาบันส�งเสริมการสอนวิทยาศาสตร�และเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ

You might also like