You are on page 1of 4

ใบความรู้

เรื่อง นาฏศิลป์ไทย

ประวัตินาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ เป็นศิลปะแห่งการละคร ฟ้อนรา และดนตรี อันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะหรือ
นาฏยะ กาหนดว่า ต้องประกอบไปด้วย ศิลปะ 3 ประการ คือ การฟ้อนรา การดนตรี และการขับ
ร้อง รวมเข้าด้ว ยกัน ซึ่งทั้ง 3 สิ่ งนี้เป็นอุปนิสั ยของคนมาแต่ดึกดาบรรพ์ นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและ
เกิดขึ้นจากสาเหตุตามแนวคิดต่าง ๆ เช่น เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์ ไม่ว่าจะ
อารมณ์แห่งความสุข หรือความทุกข์แล้วสะท้อนออกมาเป็นท่าทาง แบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นเป็น
ท่าทางลีลาการฟ้อนรา หรือเกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้า โดยแสดงความ
เคารพบูชาด้วยการเต้นรา ขับร้อง ฟ้อนราให้เกิดความพึงพอใจ เป็นต้น
นอกจากนี้ นาฏศิลป์ไทย ยังได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสาน
ด้วย เช่น วัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้า และตานานการฟ้อนรา โดยผ่าน
เข้าสู่ประเทศไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ ผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนามาปรับปรุงให้เป็น
รูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย เช่น ตัวอย่างของเทวรูปศิวะปางนาฏราช ที่สร้างเป็นท่าการร่ายราของ
พระอิศวร ซึ่งมีทั้งหมด 108 ท่า หรือ 108 กรณะ โดยทรงฟ้อนราครั้งแรกในโลก ณ ตาบลจิทรัมพรัม
เมืองมัทราส อินเดียใต้ ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาดู นับเป็นคัมภีร์สาหรับการฟ้อนรา แต่งโดยพระภรตมุนี
เรี ย กว่ า คัมภี ร์ ภ รตนาฏยศาสตร์ ถือเป็ นอิทธิพ ลส าคัญ ต่อแบบแผนการสื บสาน และการถ่ ายทอด
นาฏศิลป์ของไทยจนเกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่มีรูปแบบ แบบแผนการเรียน การฝึกหัด จารีต
ขนบธรรมเนียม มาจนถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไ ทยได้สันนิษฐานว่า อารยธรรมทาง
ศิลปะด้านนาฏศิลป์ของอินเดียนี้ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุ ธยาตามประวัติการ
สร้างเทวาลัยศิวะนาฏราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1800 ซึ่งเป็นระที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย ดังนั้นที่ราไทย
ที่ดัด แปลงมาจากอิน เดีย ในครั้ งแรกจึ งเป็ นความคิดของนั กปราชญ์ ในสมัย กรุง ศรีอ ยุ ธ ยา และมี การ
แก้ไข ปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จนนามาสู่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุง
รัตนโกสินทร์จนนามาสู่การประดิษฐ์ท่าทางร่ายราและละครไทยมาจนถึงปัจจุบัน
ประเภทของนาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ คือ การร่ายราที่มนุษย์ได้ปรุงแต่งจากลีลาตามธรรมชาติให้สวยสดงดงาม โดยมี
ดนตรีเป็นองค์ประกอบในการร่ายรา
นาฏศิลป์ของไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดงเป็นประเภทใหญ่ๆ 4 ประเภท
คือ

1. โขน เป็ นการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์ คือ ผู้แสดงจะต้องสวมหั ว ที่


เรียกว่า หัวโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ การเจรจาของผู้พากย์และตาม
ทานองเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยมนามาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง
รามเกียรติ์ แต่งการเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่าการแต่งกายแบบ
“ยื่นเครื่อง” มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะพิธีสาคัญได้แก่ งานพระราชพิธี
ต่าง ๆ
2. ละคร เป็นศิลปะการร่ายราที่เล่นเป็นเรื่องราว มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน ละครมี
เอกลักษณ์ในการแสดงและการดาเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่ารา เข้าบทร้อง ทานองเพลงและเพลง
หน้ า พาทย์ ที่ บ รรเลงด้ ว ยวงปี่ พ าทย์ มี แ บบแผนการเล่ น ที่ เ ป็ น ทั้ ง ของชาวบ้ า นและของหลวงที่
เรี ย กว่ า ละครโนราชาตรี ละครนอก ละครใน เรื่ อ งที่ นิ ย มน ามาแสดงคื อ พระสุ ธ น สั ง ข์ ท อง
คาวี อิเหนา อุณรุท นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด การแต่งกายของละครจะ
เลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า การแต่งการแบยืนเครื่อง นิยมเล่นในงานพิธีสาคัญ
และงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์
3. ระ และ ระบา เป็นศิลปะแห่งการร่ายราประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็น
เรื่องราว ในที่นี้หมายถึงราและระบาที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตรฐาน ซึ่งมีความหมายที่จะ
อธิบายได้พอสังเขป ดังนี้
3.1 ร า หมายถึง ศิล ปะแห่ งการร่ ายราที่มีผู้ แสดง ตั้งแต่ 1-2 คน เช่น การราเดี่ยว
การราคู่ การราอาวุธ เป็นต้น มีลักษณะการแต่งการตามรูปแบบของการแสดง ไม่เล่นเป็นเรื่องราวอาจ
มีบทขับร้องประกอบการราเข้ากับทานองเพลงดนตรี มีกระบวนท่ารา โดยเฉพาะการราคู่จะต่างกับระบา
เนื่องจากท่าราจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน และเป็นบทเฉพาะสาหรับผู้แสดงนั้น ๆ เช่น
ราเพลงช้าเพลงเร็ว ราแม่บท ราเมขลา –รามสูร เป็นต้น
3.2 ระบา หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายราที่มีผู้เล่นตังแต่ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะการแต่ง
การคล้ายคลึงกัน กระบวนท่าร่ายราคล้ายคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรา
เข้าทานองเพลงดนตรี ซึ่งระบาแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งการนิยมแต่งกายยืน
เครื่องพระนาง-หรือแต่งแบบนางในราชสานัก เช่น ระบาสี่บท ระบากฤษดาภินิหาร ระบาฉิ่งเป็นต้น
4. การแสดงพื้นเมือง เป็นศิลปะแห่งการร่ายราที่มีทั้งรา ระบา หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์
ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ 4 ภาค ดังนี้
4.1 การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เป็นศิลปะการรา และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกัน
ทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ
ชาวยอง ชาวเขิน เป็น ต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่
ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่าราที่แช่มช้า อ่อนช้อยมีการ
แต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น
วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้นรับแขกบ้าน
แขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหมและฟ้อนเจิง
4.2 การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง เป็นศิลปะการร่ายราและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้าน
ภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและ
เพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทางาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บ
เก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นการาเคียว ราโทนหรือราวง ราเถิดเทอง รากลองยาว เป็นต้น
มี ก ารแต่ ง กายตามวั ฒ นธรรมของท้ อ งถิ่ น และใช้ เ ครื่ อ งดนตรี พื้ น บ้ า น เช่ น กลองยาว กลอง
โทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
4.3 การแสดงพื้ น เมื อ งภาคอี ส าน เป็ น ศิ ล ปะการร าและการเล่ น ของชาวพื้ น บ้ า นภาค
อีสาน หรือ ภาคตะวนออกเฉียงเหนือของไทย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ กลุ่มอีสาน
เหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลา” เช่น เซิ้งบังไฟ เซิ้ง
สวิง ฟ้อนภูไท ลากลอนเกี้ยว ลาเต้ย ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลอง
ยาว อีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย ส่วนกลุ่มอีสานใต้
ได้รับอิทธิพลไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม เช่น เรือมลูดอันเร หรือรากระทบ
สาก รากระเน็บติงต็อง หรือระบาตั๊กแตน ตาข้าว ราอาไย หรือราตัด หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลาง
วงดนตรี ที่ใช้บรรเลง คือ วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี คือ ซอด้วง ซอด้วง ซอครัวเอก กลอง
กั น ตรึ ม พิ ณ ระนาด เอกไม้ ปี่ ส ไล กลองร ามะนาและเครื่ อ งประกอบจั ง หวะ การแต่ ง กาย
ประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่าราและท่วงทานองดนตรีในการแสดง
ค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน
4.4 การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ เป็นศิลปะการราและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจ
แบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรม 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลง
บอก เพลงนา และวัฒ นธรรมไทยมุส ลิ ม ได้แก่ รองเง็ง ซาแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิ เก
ฮู ลู (คล้ า ยลิ เ กภาคกลาง) และซิ ล ะ มี เ ครื่ อ งดนตรี ป ระกอบที่ ส าคั ญ เช่ น กลองโนรา กลอง
โพน กลองปื ด โทน ทั บ กรั บ พวง โหม่ ง ปี่ ก าหลอ ปี่ ไ หน รามะนา ไวโอลิ น อั ค คอร์ เ ดี ย น
ภายหลังได้มีระบาที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต ศิลปะต่างๆ เข่น ระบาร่อนแร่ การีดยาง ปาเต๊ะ
เป็นต้น

ที่มา : http://www.maechai.ac.th/art/prawat.htm

You might also like