You are on page 1of 16

รายงาน

เรื่อง การเต้นรำ ๔ ภาค

นำเสนอ

อาจารย์ พฤฒภควัต เพ็งตะโก

จัดทำโดย

นางสาว นุชรี ฉิมมา

กจอ.ปี1 ภาคสมทบ รหัสนักศึกษา 2661053043104

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
วิทยาเขตวังไกลกังวล

ออสเตน เทค
คำนำ
รายงานเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ
วิชา กิจกรรมการเข้าจังหวะ เพื่อให้ได้ศึกษหาความรู้ใน
เรื่่อง การเต้นรำ4 ภาค และ ได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการ
เรียน

ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือ นักศึกษา


ที่กำลัง หาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด
ผู้จัดทำขอน้ อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

นุชรี ฉิมมา
การเเสดงพื้นเมือง
เป็นการแสดงที่แสดงออกถึงการสืบทอดทางศิลปะและวัฒนธรรมของ
แต่ละท้องถิ่นที่สืบทอดกันต่อ ๆ มาอย่างช้านาน ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน
การแสดงจะออกมาในรูปแบบใดนั้น ขึ้น อยู่กับสภาพทางภูมิศาสตร์
สิ่งแวดล้อม อาชีพ และความจำเป็น ทางเศรษฐกิจตลอดจนอุปนิสัย
ของประชาชนในท้องถิ่น จึงทำให้การแสดงพื้นเมือง
มีลีลาท่าทางที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็มีจุดมุ่งหมาย อย่างเดียวกันคือ
เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง และพักผ่อนหย่อนใจ
ซึ่งมีความแตกต่างกันตามภูมิภาคการแสดงพื้นเมืองได้แบ่งออกเป็น4ภาค

การละเล่นพื้นเมือง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การแสดงพื้นเมือง


และ เพลงพื้นเมืองการแสดงพื้นเมือง หมายถึง
การละเล่นที่มีการแสดง การร่ายรำมีเพลงดนตรีประกอบ
ที่ได้วางเป็นแบบแผน และนิยมเล่นหรือถ่ายทอด
สืบต่อกันมาจนแพร่หลายการแสดงพื้นเมือง อาจเกิดจากการบูชาบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์
เช่น ขอให้สิ่งที่ตนนับถือประทานสิ่งที่ตนปรารถนา
หรือขจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่ปรารถนา นอกจากนี้ ก็เป็นการแสดงเพื่อความบันเทิง
รื่นเริงเพลงพื้นเมือง หมายถึง เพลงที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น ๆ
ประดิษฐ์แบบแผนการร้องเพลง ไปตรมความนิยมและสำเนียงภาษาพูดในท้องถิ่นของตน
นิยมร้องเล่นกันในเทศกาลหรืองานที่มี

การชุมนุมรื่นเริง เช่น
ตรุษ สงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า
และในการลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว
เป็นการเล่นที่สืบต่อกันมา
เนื้อความของเพลงพื้นเมืองที่นิยมร้องกัน
มักจะเป็นการเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิง
ปะทะคารมกัน ในด้านสำนวนโวหาร สิ่งสำคัญของการร้องคือ
การด้นกลอนสด ร้องแก้กันด้วยปฏิภาณไหวพริบ
ทำให้เกิดความสนุกสนานทั้งสองฝ่า
และ เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ ระบำ
หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์
ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ 4 ภูมิภาค ดังนี้
นาฏศิลป์ พื้นเมืองภาคเหนือ

ภาคนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะช้า ท่าหยาบนุ่มนวล
เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน
ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน
ผู้คนไม่ต้องรีบร้อนในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ
เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ
นาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้ อนเมือง(ฟ้ อนเล็บ ฟ้ อนก๋ายลาย)ฟ้ อนเทียน
ฟ้ อนจ้อง ฟ้ อนวี ฟ้ อนขันดอก ฟ้ อนดาบ ฟ้ อนเชิง(ฟ้ อนเจิง)ตีกลองสะบัดไชย
ฟ้ อนสาวไหม ฟ้ อนน้ อยไจยา ฟ้ อนหริภุญชัย ฟ้ อนล่องน่าน ฟ้ อนแง้น
เป็นต้น นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพล
จากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน
และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้ อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง
เป็นต้นดังนั้น นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือนอกจากมีของที่เป็น
“คนเมือง” แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ
และของชนเผ่าต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า
เช่น ฟ้ อนกำเบ้อ ฟ้ อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ
เช่น ฟ้ อนนก (กิงกาหล่า – ไทยใหญ่) ฟ้ อนเงี้ยว (เงี้ยว) ระบำซอ
ระบำเก็บใบชา(ชาวไทยภูเขา) ฟ้ อนไต ฟ้ อนไตอ่างขาง ฟ้ อนนกยูง เป็นต้น
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือมีหลายอย่าง
ได้แก่
- ฟ้ อนเล็บหรือฟ้ อนเมือง - ฟ้ อนเทียน
- ฟ้ อนลาวแพล - ฟ้ อนรัก
- ฟ้ อนม่านมุ้ยเชียงตา -ฟ้ อนเงี้ยว
- ฟ้ อนดวงเดือน - ฟ้ อนเจิงและตบมะผาบ
- ฟ้ อนบายศรี -ฟ้ อนดวงดอกไม้
- ฟ้ อนดาบ -ฟ้ อนเทียน
เดิมคงเป็นการฟ้ อนสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาแสดงในงานพิธีสำคัญ
ในคุ้มเจ้าหลวง ผู้ฟ้ อนเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่ายใน เมื่อ พ.ศ. 2469
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองเหนือ
เจ้าดารารัศมีทรงฝึกหัดสาวเหนือฟ้ อนรับเสด็จและครูนาฏศิลป์ของกรมศิลปากร
ได้นำมาสอนในวิทยาลันนาฏศิลป์ต่อมา ลักษณะการแสดง
ผู้ฟ้ อนเป็นหญิงล้วน ถือเทียนจุดไฟมือละเล่มนิยมแสดงในเวลากลางคืน
ความงามของฟ้ อนเทียนอยู่ที่แสงเทียน
เต้นระยิบระยับขณะที่ผู้ฟ้ อนหมุนข้อมือ
และลีลาการเคลื่อนไหวช้าๆเห็นแสงเทียนเดินเป็นทาง
มีการแปรขบวนควงคู่สลับแถว เข้าวง ต่อมือ ฯลฯ งดงามมาก
การแต่งกาย นุ่งซิ่นยาวกรอม สวมเสื้อแยนยาวคอปิด คาดเข็มขัดทับ ห่มสไบ
เกล้าผมมวยสูงประดับดอกไม้ล้อมมวย ห้อยอุบะยาวเคลียไหล่ ถือเทียนมือละเล่ม
นาฏศิลป์ พื้นเมืองภาคอีสาน
ภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้งเพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ
ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ อีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา
และเป็นคนรักสนุก จึงหาความบันเทิงได้ทุกโอกาส
การแสดงของภาคอีสาน มักเกิดจากกิจวัตรประจำวัน หรือประจำฤดูกาล
เช่น แห่นางแมว เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง เซิ้งกระติบ รำลาวกระทบไม้ ฯลฯ
ลักษณะการแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะของอีสาน
คือ ลีลาและจังหวะในการก้าวเท้า มีลักษณะคล้ายเต้น แต่นุ่มนวล
มักเดินด้วยปลายเท้าและสะบัดเท้าไปข้างหลังสูง เป็นลักษณะของ เซิ้ง
การแสดงพื้นบ้านภาคอีสาน แบ่งได้เป็น ๒ กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ

กลุ่มอีสานเหนือ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของลาว
ซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้ อน และหมอลำ”
เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ฟ้ อนภูไท
เซิ้งสวิง เซิ้งบ้องไฟ เซิ้งกะหยัง เซิ้งตังหวาย ฯลฯ ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบด้วย
แคน พิณ ซอ กลองยาวอีสาน โปงลาง โหวด ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และ กรับ
ส่วนกลุ่มอีสานใต้ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า
“เรือม หรือ เร็อม” เช่น เรือมอันเร (รำกระทบสาก) รำกระโหนบติงต็อง
(ระบำตั๊กแตนตำข้าว) รำอาไย (รำตัด) วงดนตรีที่ใช้บรรเลงคือวงมโหรีอีสานใต้
มีเครื่องดนตรี เช่น ซอด้วง ซอตรัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาดเอกไม้ ปี่สไล
กลองรำมะนา และเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงแต่งแบบ
วัฒนธรรมของพื้นบ้านอีสาน มีลักษณะลีลาท่ารำ
และท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ กระฉับกระเฉง รวดเร็ว และสนุกสนาน
การฟ้ อนภูไทเรณูนคร
การฟ้ อนภูไทเรณูนคร เป็นการฟ้ อนประเพณีที่มีมาแต่บรรพบุรุษ
ที่สร้างบ้านแปลงเมืองการฟ้ อนภูไทนี้ถือว่าเป็นศิลปะเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรม
ประจำเผ่าของภูไทเรณูนคร ถือว่าฟ้ อนภูไทเป็นการฟ้ อนที่เป็น
สัญลักษณ์ของจังหวัดนครพนม ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนมในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ นั้น นายสง่า จันทรสาขา
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมในสมัยนั้น ได้จัดให้มีการฟ้ อนผู้ไทถวาย นายคำนึง อินทร์ติยะ
ศึกษาธิการอำเภอเรณูนคร ได้อำนวยการปรับปรุงท่าฟ้ อนผู้ไทให้สวยงามกว่าเดิม
โดยเชิญผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ในการฟ้ อนผู้ไทมาให้คำแนะนำ
จนกลายเป็นท่าฟ้ อนแบบแผนของชาวเรณูนครและได้ถ่ายทอดให้แก่
ลูกหลานสืบทอดต่อจนปัจจุบันในปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุวิชา
การฟ้ อนภูไทเรณูนคร เข้าไว้ในหลักสูตร ให้นักเรียนทั้งชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ได้ฝึกฝนเล่าเรียนกันโดยเฉพาะนักเรียนที่เล่าเรียน
อยู่ในสถานศึกษาภายในเขตอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม จะฟ้ อนรำประเพณี
“ฟ้ อนภูไทเรณูนคร” เป็นทุกคน ลักษณะการฟ้ อนภูไทเรณูนคร
ชายหญิงจับคู่เป็นคู่ ๆ แล้วฟ้ อนท่าต่าง ๆ ให้เข้ากับจังหวะดนตรี โดยฟ้ อนรำเป็นวงกลม
แล้วแต่ละคู่จะเข้าไปฟ้ อนกลางวงเป็นการโชว์ลีลาท่าฟ้ อน
หญิงสาวที่จะฟ้ อนภูไทเรณูนครต้อนรับแขก จะได้ต้องเป็นสาวโสด
ผู้ที่แต่งงานแล้วจะไม่มีสิทธิ์ฟ้ อนภูไทเรณูนคร
เวลาฟ้ อนทั้งชายหญิงจะต้องไม่สวมถุงเท้าหรือรองเท้า
และที่สำคัญคือในขณะฟ้ อนภูไทนั้น
ฝ่ายชายจะถูกเนื้อต้องตัวฝ่ายหญิงไม่ได้เด็ดขาด
มิฉะนั้นจะผิดผี เพราะชาวภูไทนับถือผีบ้านผีเมือง
อาจจะถูกปรับไหมตามจารีตประเพณีได้
การฟ้ อนภูไทกาฬสินธุ์
เป็นการฟ้ อนประกอบทำนองหมอลำภูไท
ซึ่งเป็นทำนองพื้นเมืองประจำชาชาติพันธุ์ภูไท
ซึ่งปกติแล้วการแสดงหมอลำภูไท
มักจะมีการฟ้ อนรำประกอบกันไปอยู่แล้ว
ซึ่งทำให้การฟ้ อนภูไทกาฬสินธุ์ในแต่ละอำเภอหรือหมู่บ้าน จะมีท่าฟ้ อนที่แตกต่างกัน
การฟ้ อนภูไทกาฬสินธุ์ เป็นการฟ้ อนที่ได้การปรับปรุงท่ามาจากท่าฟ้ อนภูไท
ท่าฟ้ อนในเซิ้งบั้งไฟ และท่าฟ้ อนดอนตาล ประกอบด้วยท่าฟ้ อนไหว้ครู ท่าเดิน ท่าช่อม่วง
ท่ามโนราห์ ท่าดอกบัวบาน ท่ามยุรี ท่ามาลัยแก้ว ฯลฯ ซึ่งผู้ฟ้ อนจะเป็นผู้หญิงทั้งหมด
ท่าฟ้ อนของชาวภูไทได้ถูกรวบรวมโดย นายมณฑา ดุลณี
ร่วมกับกลุ่มแม่บ้านชาวภูไทบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
เป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่าฟ้ อนภูไทให้เป็นระเบียบ ๔ ท่าหลัก
ส่วนท่าอื่นๆนั้น คณะครูหมวดนาฏศิลป์พื้นบ้าน
วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ เป็นผู้คิดประดิษฐ์โดยได้นำเอาการฟ้ อนของชาวภูไทใน
จังหวัดกาฬสินธุ์ อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์
และอำเภอคำม่วง รวบรวมเอาไว้ด้วยกัน ซึ่งเมื่อเสร็จเรียบร้อย
จึงได้ทำการแสดงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ณ
พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร
นาฏศิลป์ พื้นเมืองภาคกลาง

ภาคกลาง โดยธรรมชาติภูมิประเทศเป็นที่ราบ เหมาะสำหรับอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน และเป็น


ศูนย์รวมของศิลปวัฒนธรรม การแสดงจึงออกมาในรูปแบบของขนบธรรมเนียมประเพณี และการ
ประกอบอาชีพ เช่น เต้นกำรำเคียว เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงฉ่อย เพลงอีแซว ลิเกลำตัด
กลองยาว เถิดเทิง เป็นต้น

เต้นกำรำเคียว เป็นเพลงพื้นเมืองของชาวบ้านจังหวัดนครสวรรค์ นิยมเล่นตามท้องนาใน


ฤดูกาลลงแขกเกี่ยวข้าว ร้องเล่นกันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน ผ่อนคลายจากความเหน็ด
โอกาสที่เล่น เล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว ขณะที่มีการเกี่ยวข้าวนั้น เขามักจะมีการร้องเพลงเกี่ยว
ข้าวไปด้วย โดยร้องแก้กันระหว่างฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง และเมื่อหยุดพักการเกี่ยวข้าวประ
ตะวันบ่ายคล้อยแล้ว การเต้นกำรำเคียวจึงเริ่มเล่น
วิธีการเล่น จะแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายชาย เรียกว่า พ่อเพลง ฝ่ายหญิง เรียกว่า แม่
เพลง เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนแม่เพลงให้ออกมาเต้นกำรำเคียว โดยร้องเพลงและเต้นออก
ไปรำล่อ ฝ่ายหญิงและแม่เพลงก็ร้องและรำแก้กันไป ซึ่งพ่อเพลงแม่เพลงนี้อาจจะเปลี่ยนไป
หลายๆ คน ช่วยกัน ร้องจนกว่าจะจบเพลง ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่เพลงก็ต้องเป็นลูกคู่
การแต่งกาย ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย และเสื้อกุยเฮงสีดำ มีผ้าขาวม้าคาดเอว
สวมงอบ และ จะไม่ใส่รองเท้าฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบนและเสื้อแขนกระบอก สีดำหรือเป็นสีพื้น
ก็ได้ และไม่สวมรองเท้าผู้แสดงทุกคนต้องถือเคียวในมือขวาและถือรวงข้าวในมือซ้ายด้วย
รำวง วิวัฒนาการมาจากรำโทน
เพลงร้องได้มีการกำหนดท่ารำของแต่ละเพลงไว้โดยเฉพาะ
เช่น เพลงงามแสงเดือน ใช้ท่าสอดสร้อยมาลาเป็นท่ารำ
เพลงชาวไทยใช้ท่าชักแป้ งผัดหน้ า
เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญใช้ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลาเพียงไหล่ เป็นต้น
เพลงรำวงที่กำหนดท่ารำโดยใช้ท่ารำแม่บทดังกล่าวนี้เรียกว่า รำวงมาตรฐาน
นิยมในงานรื่นเริงแทนการเต้นรำ
และยังจัดเป็นชุดนาฏศิลป์ไทยที่นำไปแสดงเพื่อความบันเทิงได้อีกด้วย
การแต่งกายของผู้เล่นรำวง ผู้ชายแต่งชุดสากล ผู้หญิงแต่งชุดเสื้อกระโปรง
หรือชุดไทยพระราชนิยม
ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม มีผ้าคาดเอว ผู้หญิงแต่งชุดไทย เป็นต้น
การเล่นรำวง นอกจากจะเป็นที่นิยมของชาวไทยแล้ว
ชาวต่างชาติก็ยังนิยมเล่นรำวงด้วยเพลง
รำวงที่ต่างชาติรู้จักและมักจะร้องกันได้ คือ เพลงลอยกระทง
การเล่นรำวงจะเล่นได้ทุกโอกาสที่มีงานรื่นเริงหรือมีการแสดงนาฏศิลป์ไทย
ในการนำนาฏศิลป์ไทยไปแสดงที่ต่างประเทศในบางครั้ง
เมื่อจบการแสดงแล้วจะมีการเชิญชวนแขกผู้มีเกียรติ
ขึ้นมาร่วมรำวงกับผู้แสดงชายและหญิงของคณะนาฏศิลป์ไทย
นับเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีระหว่างคณะนาฏศิลป์
ไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาชมการแสดง อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่
ศิลปะการเล่นรำวงให้แพร่หลายไปในนานาประเทศอีกด้วย
รำกลองยาว
ประเพณีการเล่นเทิงบ้องกลองยาว หรือ เถิดเทิง มีผู้เล่าให้ฟังเป็น
เชิงสันนิษฐานว่าเป็นของพม่า พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง
เมื่อชาวไทยเห็นว่ารำกลองยาว
เป็นการเล่นที่สนุกสนาน และเล่นได้ง่ายก็นิยมเล่นกันไปแทบ
ทุกบ้านทุกเมืองมาจนทุกวันนี้
เครื่องดนตรี กลองยาว กรับ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง การแต่งกาย
๑. ชาย นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น เหนือศอก
มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว
๒. หญิง นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อทรงกระบอกคอปิด
ผ่าอกหน้ า ห่มสไบทับเสื้อคาดเข็มขัดทับเสื้อ ใส่สร้อยคอและต่างหู
ปล่อยผมทัดดอกไม้ โอกาสและวิธีการเล่น นิยมเล่นกันในงานตรุษ
งานสงกรานต์ หรืองานแห่แหน ซึ่งต้อง เดินเคลื่อนขบวน
เช่น ในงานแห่นาค แห่พระ และแห่กฐิน เป็นต้น
คนดูคนใดรู้สึกสนุกจะเข้าไป รำด้วยก็ได้
เพราะเป็นการเล่นอย่างชาวบ้าน เคลื่อนไปกับขบวน
พอถึงที่ตรงไหนมีลานกว้างหรือเหมาะก็หยุดตั้งวงเล่น
กันก่อนพักหนึ่งแล้วเคลื่อนไปต่อ การเล่นเถิดเทิงกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่
กำหนดให้มีแบบแผนลีลาท่ารำ
โดยกำหนดให้มีกลองรำ กลองยืนด้วยกลองรำ
หมายถึง ผู้ที่แสดงลวดลายในการร่ายรำ
กลองยืน หมายถึง ผู้ตีกลองยืนให้จังหวะในการรำ
การเล่นเถิดเทิงแบบนี้มีมาตรฐานตายตัว
ผู้เล่นทั้งหมดต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อน คนดูจะได้เห็นความงามและ
ความสนุกสนานแม้จะไม่ได้ร่วมเล่นด้วยก็ตามจำนวนผู้แสดงแบบนี้
จะมีเป็นชุด คือ พวกตีเครื่องประกอบจังหวะ คนตีกลองยืน คนตีกลองรำ
และผู้หญิงที่รำล่อ พวกตีประกอบจังหวะ
จะร้องประกอบเร่งเร้าอารมณ์ให้สนุกสนานในขณะที่ตีด้วย
นาฏศิลป์ พื้นเมืองภาคใต้

ศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้
2 กลุ่มคือ
– วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา
– วัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร)
ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ
1. โนรา เป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาศิลปะการแสดงของภาคใต้
มีความยั่งยืนมานับเป็นเวลาหลายร้อยปี การแสดงโนราเน้ นท่ารำเป็นสำคัญ
ต่อมาได้นำเรื่องราวจากวรรณคดีหรือนิทานท้องถิ่นมาใช้ในการแสดงเรื่อง
พระสุธนมโนห์รา เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการแสดงมากที่สุดจน
เป็นเหตุให้เรียกการแสดงนี้ว่า มโนห์รา
ตาม ตำนานของชาวใต้เกี่ยวกับกำเนิดของโนรา มีความเป็นมาหลาย
ตำนานในแต่ละจังหวัด ทั้งชื่อที่ปรากฏในเรื่องและเนื้อเรื่องบางตอน
ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจากความคิด ความเชื่อ ตลอดจนวิธีสืบทอดที่ต่างกัน
จึงทำให้รายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละตำนานแตกต่างกัน
จากการศึกษาท่ารำอย่างละเอียดจะเห็นว่าท่ารำที่สืบทอดกันมานั้น
ได้มาจากความประทับใจที่มีต่อธรรมชาติ อาทิ ท่าลีลาของสัตว์บางชนิด
เช่น ท่ามัจฉา ท่ากวางเดินดง ท่านกแขกเต้าเข้ารัง ท่าหงส์บิน ท่ายูงฟ้ อนหาง ฯลฯ
ท่าเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
เช่น ท่าพระจันทร์ทรงกลด ท่ากระต่ายชมจันทร์
ต่อมาเมื่อได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาก็มีท่าพระลักษณ์แผลงศร
พระรามน้ าวศิลป์ และท่าพระพุทธเจ้าห้ามมาร ท่ารำและศิลปะการรำต่าง ๆ ของโนรา
ท่านผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าเป็นต้นแบบของละครชาตรีและการรำแม่บทของรำไทย ด้วย
ท่ารำโนรามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผู้ที่ฝึกหัดนาฏศิลป์ของ
ภาคกลางแล้วจะรำท่าของโนราไม่สวย
เพราะการทรงตัว การทอดแขน ตั้งวงหรือลีลาต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน
ผู้ที่จะรำโนราได้สวยงามจะต้องมีพื้นฐานการทรงตัว ดังนี้
– ช่วงลำตัว จะต้องแอ่นอกอยู่เสมอ หลังจะต้องแอ่นและลำตัวยื่นไปข้างหน้ า
ไม่ว่าจะรำท่าไหน หลังจะต้องมีพื้นฐานการวางตัวเช่นนี้เสมอ
1.การเเสดงมโนราห์
การแสดงโนราเริ่มต้นจากการลงโรง (โหมโรง) กาดโรงหรือกาดครู
(เชิญครู) “พิธีกาดครู” ในโนราถือว่าครูเป็นเรื่องสำคัญมาก
ฉะนั้นก่อนที่จะรำจะต้องไหว้ครู
เชิญครูมาคุ้มกันรักษา หลายตอนมีการรำพัน
สรรเสริญครู สรรเสริญคุณมารดา เป็นต้น
การแต่งกาย
การแต่งกายของโนรา ยกเว้นตัวพรานกับตัวตลก จะแต่งเหมือนกันหมด
ตามขนบธรรมเนียม เดิมการแต่งกายก็ถือเป็นพิธีทางไสยศาสตร์
ในพิธีผูกผ้าใหญ่ (คือพิธีไหว้ครู)
จะต้องนำเทริดและเครื่องแต่งกายชิ้นอื่น ๆ ตั้งบูชาไว้บนหิ้ง หรือ “พาไล”
และเมื่อจะสวมใส่เครื่องแต่งกายแต่ละชิ้นจะมีคาถากำกับ โดยเฉพาะการสวม
“เทริด” ซึ่งมักจะต้องใช้ผ้ายันต์สีขาวโพกศีรษะเสียก่อนจึงจะสวมเทริดทับ
เทริด คือ เครื่องสวมหัวโนรา เดิมนั้นเทริดเป็นเครื่องทรงกษัตริย์ทา
งอาณาจักรแถบใต้ อาจเป็นสมัยศรีวิชัยหรือศรีธรรมราช
เมื่อโนราได้เครื่องประทานจากพระยา
สายฟ้ าฟาดแล้วก็เป็นเครื่องแต่งกายของ โนราไป
สมัยหลังเมื่อจะทำเทริดจึงมีพิธีทางไสยศาสตร์เข้าไปด้วย
วงดนตรีประกอบเครื่องดนตรีโนรามี 2 ประเภท คือ
1. ประเภทเครื่องตี
ได้แก่ กลองทับ โหม่ง (ฆ้องคู่) ฉิ่ง แกระหรือแตระ (ไม้ไผ่ 2 อัน ใช้ตีให้จังหวะ)
2. ประเภทเครื่องเป่า ได้แก่ ปี่โอกาสที่แสดง
การแสดงโนรามีแสดงทั่วไปในภาคใต้ แต่เดิมได้รับความนิยมมาก
จึงแสดงเพื่อความบันเทิงไม่นิยมแสดงในงานศพและในงานมงคลสมรส
ถ้าเป็นงานใหญ่ก็มักจะให้แข่งขัน หรือประชันกันซึ่งทำมากเมื่อ 40 ปีก่อน
2. รองเง็ง
การเต้นรองเง็งสมัยโบราณ เป็นที่นิยมกันในบ้านขุนนาง
หรือเจ้าเมืองในสี่จังหวัดชายแดน เดิมการเต้นรองเง็งจะมีลีลา
ตามบทเพลงไม่น้ อยกว่า 10 เพลง แต่ปัจจุบันนี้ที่นิยมเต้นมีเพียง 7 เพลงเท่านั้น
วิธีการแสดง
การเต้นรองเง็ง ส่วนใหญ่มีชายหญิงฝ่ายละ 5 คน โดยเข้าแถวแยกเป็นชายแถว
หนึ่งหญิงแถวหนึ่งยืนห่างกันพอสมควร ความสวยงาม
ของการเต้นรองเง็งอยู่ที่ลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า
มือ ลำตัว และลีลาการร่ายรำ ตลอดจนการแต่งกายของคู่ชายหญิง
และความไพเราะของดนตรีประกอบกัน

ผู้ชายแต่งกายแบบพื้นเมือง สวมหมวกไม่มีปีกหรือใช้หมวกแขกสีดำ
นุ่งกางเกงขายาวกว้างคล้ายกางเกงจีน สวมเสื้อคอกลมแขนยาวผ่า
ครึ่งอกสีเดียวกับกางเกงใช้โสร่งยาวเหนือเข่าสวมทับกางเกงเรียกว่า ซอแกะ
เครื่องดนตรีและเพลงประกอบ ดนตรีที่ใช้ประกอบการเต้นรองเง็ง มี 3 อย่าง คือ
1. รำมะนา
2. ฆ้อง
3. ไวโอลิน

โอกาสที่แสดง
เดิมรองเง็งแสดงในงานต้อนรับแขกเมืองหรืองานพิธีต่าง ๆ
ต่อมานิยมแสดงในงานรื่นเริง
เช่น งานประจำปี งานอารีรายอ ตลอดจนการแสดงโชว์ในโอกาสต่าง ๆ เช่น
งานแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
3. ระบำตารีกีปัส
ตารีกีปัสเป็นระบำที่ต้องอาศัยพัดเป็นองค์ประกอบสำคัญ เป็นการแสดงที่แพร่หลาย
ในหมู่ชาวไทยมุสลิม
โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี สำหรับลีลาของการแสดงอาจจะมีพลิกแพลงแตกต่างกันไป
สำหรับการแสดงชุดนี้ ได้ปรับปรุงท่ารำ เพื่อให้เหมาะสมกับการแสดงที่เป็นหญิงล้วน
ส่วน เครื่องดนตรีประกอบการแสดง ได้แก่ ไวโอลิน แมนตาลิน ขลุ่ย รำมะนา ฆ้อง มาลากัส
บทเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง เพลงตารีกีปัส เป็นเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง บรรเลงดนตรีล้วน ๆ
มีท่วงทำนองไพเราะอ่อนหวาน สนุกสนานเร้าใจ
ความไพเราะของเพลงตารีกีปัส อยู่ที่การโซโลเสียงดนตรีทีละชิ้น
4. ลิเกฮูลู หรือ ดีเกฮูลู
เป็นการละเล่นขึ้นบทเป็นเพลงประกอบดนตรีและจังหวะตบมือ
มีรากฐานเดิมมาจากคำว่า ลิเก คือการอ่านทำนองเสนาะ และคำว่า
ฮูลู ซึ่งหมายถึง ทิศใต้ ซึ่งเมื่อรวมความแล้ว
คือ การขับกลอนเป็นทำนองเสนาะจากทิศใต้
บทกลอนที่ใช้ขับเรียกว่า ปันตน หรือ ปาตง ในภาษามลายูถิ่นปัตตานี
ผู้รู้บางท่านได้กล่าวไว้ว่า ลิเกฮูลู เกิดขึ้นเริ่มแรกที่อำเภอรามัน
ซึ่งไม่ทราบแน่นอนว่าผู้ริเริ่มนี้คือใคร ชาวปัตตานีเรียกคนในอำเภอรามันว่า
คนฮูลู แต่ชาวมาเลเซียเรียกศิลปะชนิดนี้ว่า ดีเกปารัต
ซึ่ง ปารัต แปลว่า เหนือ จึงเป็นที่ยืนยันได้ว่า ลิเกฮูลู หรือ ดีเกปารัต
นี้มาจากทางทิศเหนือของประเทศมาเลเซียและอยู่ทางตอนใต้ของปัตตานี
ลักษณะการแสดงลิเกฮูลูคณะหนึ่ง ๆ จะมีประมาณ 10 คน
เป็นชายล้วน มีต้นเสียง 1-3 คน ที่เหลือจะเป็นลูกคู่ เวทีลิเกฮูลู
จะยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร เปิดโล่งไม่มีม่าน ไม่มีฉาก ลูกคู่ขึ้นไปนั่ง
ล้อมวงร้องรับและตบมือโยกตัวให้เข้ากับจังหวะดนตรี
ส่วนผู้ร้องหรือผู้โต้กลอนจะลุกขึ้นยื่นข้าง ๆ วงลูกคู่
ถ้ากรณีมีการประชันกัน แต่ละคณะจะขึ้นนั่งบนเวทีด้วยกัน
แต่ล้อมวงแยกกันพอสมควร การแสดงที่ผลัดกันร้องทีละรอบทั้งรุก
และรับเป็นที่ครึกครื้นสบอารมณ์ของผู้ ชมลิเกฮูลู
เริ่มต้นด้วยการแสดงด้วยดนตรีที่ใช้โหมโรงเป็นการเรียกผู้ชมต่อจากนั้น
นักร้องออกมาร้องเพลงในจังหวะต่าง ๆ ทีละคน
เนื้อร้องกล่าวถึงความประสงค์ในการเล่น แล้วจึงเริ่มแสดง
ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวของเหตุการณ์บ้านเมือง ปัญหาท้องถิ่นหรือเรื่องตลกโปกฮา
ผู้แสดงจะต้องใช้คารมและปฏิภาณ
ให้ทั้งความรู้และความบันเทิงแก่ผู้ชมการแต่งกาย

You might also like