You are on page 1of 3

บทที่ 3

วิธีการดำเนินการ
การวิจัย เรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพเเผ่นปิดแผลจากเส้นใยฟางข้าว มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษา
นำฟางข้าวที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ นำทาวัสดุปิดเเผล ซึ่งผู้วิจัยขอนำเสนอวิธีดำเนินการศึกษาตามหัวข้อ
ดังต่อไปนี้
1. เครื่องมือเครื่องใช้ในการวิจัย
2. วิธีการดำเนินการ
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล

3.1 เครื่องมือเครื่องใช้ในการวิจัย
สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) 0.5 M
สารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) 5% v/v
สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) 2 M
ฟางข้าว (Rice straw) 20 กรัม
แป้งสาลี 20 กรัม
โพลิไวนิลแอลกอฮอล์ (PVA) 20 กรัม
น้ำกลั่น (Distilled water) 1 L 1 ขวด
pH meter แบบปากกา 1 ด้าม
ตู้อบสุญญากาศ BIOBASE (BOV-V65F) 1 เครื่อง
กระจกนาฬิกา 50 mm 1 ใบ
ผ้าขาวบาง 1 ผืน
Hot plate 1 เครื่อง
กรวยกรอง 1 อัน
แท่งแก้วคนสาร 3 แท่ง
บีกเกอร์ ขนาด 100, 250, 1,000 ml 3 ใบ
เครือ่ งบด QUICK chopper 1 เครื่อง
เครือ่ งชั่งดิจิตอล 1 เครื่อง
เครือ่ ง Fourier Transform Infrared Spectrometer (FT-IR) 1 เครื่อง
3.2 วิธีการดำเนินการ
ตอนที่ 1 การวิเคราะห์โครงสร้างและหาปริมาณสารสกัดเซลลูโลสจากฟางข้าว
- นำฟางข้าวมาปั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆแล้วชั่งมา 20 กรัม
- นำฟางข้าวมาต้มกับน้ำเดือด 1 ชั่วโมง นำมากรองและล้างด้วยน้ำกลั่น แล้วจึงนำมาต้มด้วยสารละลาย
โซเดียมไฮดรอกไฮดรอกไซด์ (NaOH) ความเข้มข้น 0.5 M โดยน้ำหนักที่อุณหภูมิ 70-80 °C เป็นเวลา 2 ชั่วโมง
30นาที
- กรองแล้วล้างด้วยน้ำกลั่น เพื่อกำจัดลิกนิน แล้วนำกากของฟางข้าวมาต้มต่อ ด้วยสารละลายไฮโดรเจน
เปอร์ออกไซด์ (H2O2)ความเข้มข้น 5% v/v เตรียมในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 0.5 M ที่
อุณหภูมิ
70-80 °C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เพื่อทำการฟอกขาว
- จากนั้นกรองแล้วล้างไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ออกด้วยน้ำกลั่น
- ทำการไฮโดรไลซิสหรือการย่อยเยื่อฟางข้าวที่ได้จากขั้นตอนการฟอกขาว โดยนำมาต้มด้วยสารละลายกรด
ไฮโดรคลอริก (HCl) ความเข้มข้น 2 M ที่อุณหภูมิ 80 °C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
- จากนั้นนำเยื่อเซลลูโลสที่ย่อยได้มากรองและล้างด้วยน้ำกลั่น
- ทดสอบค่า pH ด้วย pH meter แบบปากกาให้สารละลายมีฤทธิ์เป็นกลาง
- แล้วนำเยื่อเซลลูโลสที่ได้ไปอบอุณหภูมิ 60 °C เป็นเวลา 3 ชั่วโมง 15 นาที เยื่อเซลลูโลสที่ได้จะมีลักษณะ
หยาบ จึงต้องนำมาบดเพื่อให้ได้เป็นผงที่ละเอียดขึ้น
- พิสูจน์ว่าผงที่ได้เป็นเซลลูโลสหรือไม่ ด้วยวิธี FT-IR
ตอนที่ 2 ทดสอบความสามารถในการดูดซับของเหลวของแผ่นปิดแผล
- นำผงฟางข้าวผสมกับแป้งสาลี พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ และน้ำกลั่นในอัตราส่วนที่เหมาะสม
- จากนั้นตั้งไฟผสมให้แป้งสุก
- นำไปขึ้นรูปเป็นแผ่นปิดแผล
- ทดสอบประสิทธิภาพในการดูดซับของเหลวและบันทึกผล

3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามที่สมบูรณ์แล้วดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลมีขั้นตอน ดังนี้
3.3.1 ผู้วิจัยได้สร้างเเบบสอบถาม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และะอธิบายวิธีตอบเเบบสอบถาม
พร้อมทั้งบอกวัตถุประสงค์ของการวิจัยแก่กลถามตัวอย่างเพื่อขอความร่วมมือจากกลุ่มตัวอย่างในการกรอก
แบบสอบถาม
3.3.2 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเเบบสอบถาม ผู้ศึกษานำแบบสอบถามไปให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน
พระปฐมวิทยาลัยจำนวน 10 คน เพื่อตอบแบบสอบถาม

3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
3.4.1 นำเเบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาตรวจสอบความสมบูรณ์ในการตอบเเบบสอบถาม เเล้วนำมาวิเคราะห์
ข้อมูล
3.4.2 วิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถิติที่ใช้
คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่และร้อยละ
3.4.3 วิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จำนวน 10 คน
สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

You might also like