You are on page 1of 20

กระบวนการสร้างงานศิลปะจากการบูรณาการการรับรู้ความรู้สึก

ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา กลุ่มโรงเรียนปัญญานุกูล ภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเรื่อง กระบวนการสร้างงานศิลปะจากการบูรณาการการรับรู้ความรู้สึกของนักเรียนที่มีความ
บกพร่องทางสติปัญญา กลุ่มโรงเรียนปัญญานุกูล ภาคตะวันออก เกิดจากแนวความคิดในการสร้างงานศิลปะ
ร่วมกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยนำหลักการทำกิจกรรมของศิลปะบำบัด (Art Therapy)
มาใช้ประยุกต์ใช้กับศาสตร์ด้านการบูรณาการรับความรู้สึก (Sensory Integration) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ค้นหากระบวนการสร้างงานศิลปะที่เกิดจากการบูรณาการการรับรู้ความรู้สึก (Sensory Integration) ของ
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เพื่อสร้างต้นแบบกิจกรรมทางศิลปะในการจัดการเรียนการสอนศิลปะ
สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และเพื่อค้นหาแนวทางการประยุกต์ผลงานศิลปะของนักเรียน
ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้แก่นักเรียนและชุมชน ในการวิจัยครั้งนี้
ได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการลงพื้นท่ีเป็นอาสาสมัครเพื่อเก็บข้อมูลภาคสนาม ดำเนินการวิเคราะห์ข้อ
มูลเพ่ือค้นหากระบวนการสร้างกิจกรรมศิลปะ จากนั้นได้ดำเนินการออกแบบและผลิตผลงานร่วมกับนักเรียนที่
มีความบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่งเป็นนักเรียนจากระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4-6) และระดับชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) จากกลุ่มโรงเรียนปัญญานุกูลในภาคตะวันออก ในระหว่างกระบวนการได้มีการ
เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกกับครูและนักกิจกรรมบำบัด โดยผลการวิจัยได้
ค้นพบต้นแบบของกระบวนการสร้างงานศิลปะที่นำไปสู่การค้นพบศักยภาพและความสามารถเฉพาะตัวของ
นักเรียนแต่ละคน

คำสำคัญ : กระบวนการสร้างงานศิลปะ, การบูรณาการการรับรู้ความรู้สึก, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติ


ปัญญา

1. บทนำ

โครงการวิจัย “กระบวนการสร้างงานศิลปะจากการบูรณาการการรับรู้ความรู้สึกของนักเรียนที่มี
ความบกพร่องทางสติปัญญา กลุ่มโรงเรียนปัญญานุกูล ภาคตะวันออก” ได้เริ่มต้นจากการตั้งคำถามที่ว่า
กิจกรรมการเรียนการสอนศิลปะในห้องเรียนการศึกษาพิเศษนั้น หากนำแนวทางของศิลปะบำบัด (Art
Therapy) และการบูรณาการรับความรู้สึก (Sensory Integration) มาใช้ร่วมกันในกระบวนการสร้างสรรค์ผล
งานศิลปะของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา น่าจะทำให้กิจกรรมศิลปะในชั้นเรียนนั้นกลายเป็น
เครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่พัฒนาการด้านต่างๆ ของนักเรียนได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจาก “ศิลปะ” เป็นหนึ่งใน
ศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความสมดุลทั้งร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณของมนุษย์ กระบวนการ
สร้างงานศิลปะรูปแบบต่างๆ สามารถใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างพัฒนาและช่วยบรรเทาปัญหาทางด้าน
อารมณ์ จิตใจ พฤติกรรม และดึงศักยภาพที่มีอยู่มาใช้ได้เต็มที่ การทำงานศิลปะสามารถช่วยเพิ่มองค์ประกอบ
ต่างๆ ของความคิดสร้างสรรค์ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ความคิดริเริ่ม (Originality) ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
ความยืดหยุ่น (Flexibility) และความละเอียดลออ (Elaboration) อีกทั้ง “ศิลปะ” ได้ช่วยในด้านการสื่อสาร
และการเรียนรู้ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
จากประเด็นดังกล่าวข้างต้น ได้จุดประกายแนวคิดในการออกแบบกระบวนการสร้างงานศิลปะจาก
การบูรณาการการรับรู้ความรู้สึกของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา กลุ่มโรงเรียนปัญญานุกูล โดยนำ
กระบวนการของศิลปะบำบัด (Art Therapy) และการบูรณาการรับความรู้สึก (Sensory Integration) มาใช้
ร่วมกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหากระบวนการสร้างงานศิลปะที่เกิดจากการบูรณาการการรับรู้ความรู้สึก
(Sensory Integration) ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เพื่อสร้างต้นแบบของกิจกรรมทางศิลปะ
ที่ช่วยจุดประกายแนวคิดใหม่ในการจัดการเรียนการสอนศิลปะสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
และเพื่อค้นหาแนวทางการประยุกต์ผลงานศิลปะของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาให้เป็นผลิตภัณฑ์
ที่สามารถสร้างรายได้แก่นักเรียนและชุมชน
ดังนั้น โครงการวิจัยนี้ จึงเป็นการค้นหาแนวทางและรูปแบบการสร้างกิจกรรมทางศิลปะสำหรับ
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในรูปแบบใหม่ที่ผสมผสานศาสตร์และศิลป์ ภายใต้กรอบความคิดการ
วิจัย (Conceptual Framework) ใน 3 ประเด็น คือ ศิลปะบำบัด (Art Therapy) สำหรับเด็กที่มีความ
บกพร่องทางสติปัญญา การบูรณาการการรับรู้ความรู้สึก (Sensory Integration) ของเด็กที่มีความบกพร่อง
ทางสติปัญญา และกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามแนวทางของศิลปะกระบวนการ (Process Art)

\
แผนภาพที่ 1 กรอบความคิดของการวิจัย (Conceptual Framework)

2. วิธีการดำเนินงานวิจัย

โครงการวิจัยนี้ ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดังนี้


2.1 การวิจัยภาคเอกสาร (Documentary Research)
2.1.1 ศึกษาวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎี หลักการ แนวคิด รูปแบบและกระบวนการ
ศิลปะบำบัดสำหรับผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา
2.1.2 ศึกษารูปแบบการบูรณาการการรับรู้ความรู้สึก (Sensory Integration) ของเด็กที่มี
ความต้อง การพิเศษ
2.1.3 วิเคราะห์และสรุปข้อมูล เพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบการจัดกิจกรรมทาง
ศิลปะ
2.2 การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)
2.2.1 ดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มประชากร ซึ่งเป็นนักเรียนจากระดับประถม
ศึกษาตอนปลาย (ป.4-6) และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) จากโรงเรียนปัญญานุกูลในภาคตะวันออก
ได้แก่ โรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล และ โรงเรียนระยองปัญญานุกูล โดยดำเนินการออกแบบการจัด
กิจกรรมทางศิลปะในระยะเวลาทั้งสิ้น 4 เดือน หรือ 1 ภาคการศึกษา โดยแบ่งออกเป็นสัปดาห์ละ 2 วัน ใช้
เวลาทำกิจกรรมครั้งละ 50 นาที มีขั้นตอนในการทำกิจกรรมตามหลักการของศิลปะบำบัด (4E) (ทวีศักดิ์ สิริ
รัตน์เรขา 2550 : 49) ดังนี้
- Established Rapport Stage การสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย
- Exploration Stage การค้นหาปัญหาเพื่อวางแนวทางสำหรับกิจกรรมต่อไป
- Experiencing Stage การทบทวนประสบการณ์ ปรับเปลี่ยนแก้ไขในมุมมองและ
สภาวะใหม่
- Empowerment Stage การเสริมสร้างพลังใจโดยเสริมสร้างความภาคภูมิใจใน
ตนเอง
2.2.2 ดำเนินการบันทึกผลงานในรูปแบบวิดีทัศน์และภาพถ่าย เพื่อบันทึกพฤติกรรม การ
เปลี่ยนแปลง และข้อสังเกตต่างๆ ในระหว่างการทำกิจกรรมศิลปะ
2.2.3 ดำเนินการออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากผลงานศิลปะของนักเรียน
2.2.4 ดำเนินการจัดแสดงผลงานและหาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์
2.2.5 การประเมินผลจากพัฒนาการด้านจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มเป้า
หมาย
2.2.6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
2.3 กลุ่มประชากร
2.3.1 นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4-6) อายุระหว่าง 10-14 ปี จำนวน 5
คน และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) อายุระหว่าง 15-21 ปี จำนวน 5 คน จากโรงเรียนฉะเชิงเทรา
ปัญญานุกูล
2.3.2 นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4-6) อายุระหว่าง 10-14 ปี จำนวน 5
คน และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) อายุระหว่าง 15-21 ปี จำนวน 5 คน จากโรงเรียนระยองปัญญา
นุกูล
2.4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ดังนี้
2.4.1 การสังเกตการณ์ ช่วงระหว่างการปฏิบัติการ ดำเนินการสังเกตพฤติกรรมของกลุ่ม
ประชากรขณะทำกิจกรรมของโครงการวิจัย และบันทึกข้อมูลด้วยวิดีทัศน์ ภาพนิ่ง และเครื่องบันทึกเสียง ร่วม
ด้วย
2.4.2 การสัมภาษณ์ ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านกิจกรรมบําบัด เพื่อเลือกสื่อและ
เทคนิคที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมศิลปะที่สอดคล้องกับแนวทางของการบูรณาการการรับรู้ความรู้สึก (Sensory
Integration) สัมภาษณ์ครูเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนและพฤติกรรมของนักเรียน
2.5 การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ผลในแต่ละขั้นของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดังนี้
- Established Rapport Stage วิเคราะห์ผลการสำรวจพัฒนาการของนักเรียนจากผล
งานการวาดภาพคน ตามทฤษฎีของ วิคเตอร์ โลเวนเฟล
- Exploration Stage วิเคราะห์ผลการคัดเลือกสื่อและเทคนิคที่เหมาะสม เพื่อวาง
แนวทางการจัดกิจกรรมศิลปะให้แก่นักเรียนเฉพาะบุคคล
- Experiencing Stage วิเคราะห์พฤติกรรมและผลงานของนักเรียนจากการสร้างสรรค์
งานศิลปะด้วยสื่อและเทคนิคที่ค้นพบของแต่ละบุคคล
- Empowerment Stage การแสดงออกต่อผลงานศิลปะที่เสร็จสมบูรณ์
2.6 สรุปผลการวิจัยและอภิปรายข้อเสนอแนะ

3. การออกแบบกระบวนการสร้างงานศิลปะจากการบูรณาการการรับรู้ความรู้สึก

การศึกษาค้นคว้าภายใต้กรอบความคิดการวิจัย (Conceptual Framework) ใน 3 ประเด็น คือ


ศิลปะบำบัด (Art Therapy) สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา การบูรณาการการรับรู้ความรู้สึก
(Sensory Integration) ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
ตามแนวทางของศิลปะกระบวนการ (Process Art) สามารถวิเคราะห์ออกมาเป็นแนวทางสำหรับจัดกิจกรรม
ศิลปะ ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
3.1 การกำหนดแนวทางการออกแบบการจัดกิจกรรมทางศิลปะ
จากการวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องการบูรณาการการรับรู้ความรู้สึก (Sensory Integration) ของเด็กที่
มีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้นํามาสู่การคัดเลือกรูปแบบของกิจกรรมศิลปะที่มุ่งเน้นบูรณาการการรับ
รู้ความรู้สึกหลายๆ รูปแบบ ได้แก่ ระบบการทรงตัว (Vestibular Sense) การรับสัมผัส (Tactile Sense) และ
การรับความรู้สึกจากเอ็นและข้อต่อ (Proprioceptive Sense) มาใช้ โดยผู้วิจัยได้เลือกวิธีการกระตุ้นประสาท
สัมผัสในด้านต่างๆ ที่เหมาะสมกับการทํากิจกรรมศิลปะ ดังนี้
- ด้านการรับรู้ผ่านกล้ามเนื้อเอ็นข้อต่อ (Proprioceptive Sense) เลือกลักษณะของกิจ
กรรมที่ต้องออกแรงดึง หมุน ผลัก กด
- ด้านการเคลื่อนไหวและการทรงตัว (Vestibular Sense) เลือกลักษณะของกิจกรรมที่
ต้องมีการเคลื่อนที่ในลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรี และการวิ่งในแนวตรงย้อนกลับไปมาหรือแนวซิกแซก
- ด้านการรับสัมผัส (Tactile Sense) เลือกลักษณะของกิจกรรมที่ต้องมีการสัมผัสพื้นผิว
ในลักษณะต่างๆ
โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกสื่อและเทคนิคที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมศิลปะให้เหมาะสมและ
สอดคล้องกับแนวทางของการบูรณาการการรับรู้ความรู้สึก (Sensory Integration) ดังตารางข้างล่างนี้
ตารางที่ 1 รูปแบบของสื่อและเทคนิคที่สอดคล้องกับการบูรณาการการรับรู้ความรู้สึก (SI)
รูปแบบ สื่อและเทคนิค ประโยชน์การบูรณาการการรับรู้ความรู้สึก (SI)
Painting การระบายสีบนพื้นผิว การสัมผัสพื้นผิว (Tactile Sense) ที่หลากหลาย จากการระบายสี
• Crayons and เทียนหรือสีชอล์กบนพื้นไม้ พื้นปูน หรือบนกระดาษทรายที่มีพื้น
Sandpaper ผิวขรุขระ
• Paintbrushes การใช้ ก ล้ า มเนื้ อ มั ด เล็ ก ของกล้ า มเนื้ อ มื อ (Proprioceptive
Sense) ในการออกแรงกดเพื่อระบายสีให้ติดบนกระดาษทราย
การเป่า การใช้กล้ามเนื้อปาก ซึึ่งในเด็กกลุ่มพิเศษก็จะมีความท้าทายเรื่อง
• Painting with การใช้กล้ามเนื้อมือและกล้ามเนื้อปากอยู่แล้ว เช่น เด็กที่พูดช้า
Bubbles กิจกรรมเป่าจะช่วยฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อปากให้แข็งแรง
การหยดและการฉีดสี การใช้ของสายตาทำงานร่วมกับมือ การใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ (Tip
น้ำ pinch) ในการหยดสี การใช้กล้ามเนื้อเอ็นข้อต่อของนิ้วมือ
• Dropper Painting (Proprioceptive Sense) เพื่อเหนี่ยวไกในการฉีดสี
• Squirt Gun
Painting
การระบายสีด้วยนิ้วมือ การสัมผัสความลื่นเหลวของเนื้อสี (Tactile Sense)
Scribble การวาดลายเส้น การควบคุมกล้ามเนื้อข้อมือหัวไหล่ (Proprioceptive Sense) ใน
• My self ขณะวาดภาพในแนวตั้ง
• Drawing on การสัมผัสพื้นผิว (Tactile Sense) ที่หลากหลาย และการเรียนรู้
Vertical Surfaces ลักษณะของพื้นผิวต่างๆ ที่ปรากฏบนกระดาษ ในขณะที่นอนวาด
• Drawing การเคลื่อนไหวและการทรงตัว (Vestibular Sense) รับรู้ว่า
Underneath & ร่างกายกำลังเคลื่อนไหวอยู่ เด็กที่มีภาวะ Hyperactive การ
Upside Down เคลื่อนไหวเร็วๆ ทำให้เขารับรู้ได้ว่าตัวเขากำลังเคลื่อนไหวอยู่ ไป
พร้อมๆ กับการควบคุมการใช้มือ
Print Making การพิมพ์ การใช้กล้ามเนื้อเอ็นและข้อต่อ (Proprioceptive Sense) ของมือ
• Fingerprints and ในการกดน้ำหนักลงบนแม่พิมพ์ที่มีลักษณะแข็ง เหมาะสำหรับเด็ก
Thumbprints ที่ยั้งแรงไม่ได้ กดไม่ได้ การได้ฝึกลงน้ำหนักกดจะทำให้เด็ก
• Printing with Nuts สามารถทำงานได้ต่อเนื่องมากขึ้น และสำหรับเด็กที่มีอารมณ์
and Bolts and หงุดหงิด การได้ออกแรงกด นวด ก็จะทำให้เขารับรู้ร่างกายของ
Screws ตนเอง รับรู้การกดน้ำหนักลงของตนเอง ช่วยให้ผ่อนคลายอารมณ์
ลงได้มากขึ้น
รูปแบบ สื่อและเทคนิค ประโยชน์การบูรณาการการรับรู้ความรู้สึก (SI)
Crafts การร้อย รัด มัด ทอ การส่งเสริมเรื่องกล้ามเนื้อเอ็นและข้อต่อ (Proprioceptive
• Weavings with Sense) ของนิ้วมือในการออกแรงดึงมัดให้แน่น เหมาะสำหรับเด็ก
homemade ที่ไม่รับรู้การใช้ข้อต่อของตนเอง เช่น เด็กที่เขียนหนังสือหรือ
Cardboard ระบายสีกดน้ำหนักลงแรงๆ
Looms การใช้วัสดุที่มีสัมผัสที่หลากหลายเด็กก็จะได้รับการกระตุ้นเรื่อง
• Pom Pom Rug ประสาทสัมผัส (Tactile Sense)
การส่งเสริมเรื่องการใช้สายตากับมือ การใช้ 2 มือร่วมกัน มือหนึ่ง
จับ มือหนึ่งดึง เป็นการใช้มือสองข้างทำงานที่ต่างกัน ซึ่งในกลุ่ม
เด็กพิเศษบางคนมักจะทำงานโดยใช้มือทีละข้าง การทำกิจกรรมที่
ต้องใช้มือสองข้างก็จะช่วยกระตุ้นร่างกายทั้งสองซีก
Sculpture การปั้น การใช้กล้ามเนื้อเอ็นและข้อต่อ (Proprioceptive Sense) ในการ
• Pottery Crafts ออกแรงกด บีบ และปั้นดินเหนียว จะส่งเสริมให้เกิดการใช้มือกับ
• Hand Dish สายตาทำงานร่วมกัน
• Leaf Bowls
• Coil Pots
• Candle Holders
• Slab Lanterns

3.2 การจัดกิจกรรมศิลปะ
ดำเนินไปตามหลักการศิลปะบำบัดใน 4 ขั้นตอน คือ Established Rapport Stage,
Exploration Stage, Experiencing Stage และ Empowerment Stage โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
3.2.1. Established Rapport Stage
การสร้างความสัมพันธ์กับนักเรียน เพื่อทำความรู้จักและสร้างความสัมพันธ์กับนักเรียน
โดยจัดกิจกรรมในรูปแบบ Scribbles ใช้วิธีการวาดแบบปกติเพื่อการสื่อสารตามศักยภาพของตนเองอย่าง
อิสระ และได้ปรับเทคนิคเป็นการวาดภาพในระนาบแนวตั้ง (Drawing on Vertical Surfaces) และการนอน
วาด (Drawing Underneath & Upside Down) เพื่อให้นักเรียนฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อข้อมือ หัวไหล่
และการสัมผัสพื้นผิวที่หลากหลาย ซึ่งผลงานจากกิจกรรม Scribble สามารถนำมาวิเคราะห์พัฒนาการของ
นักเรียนตามทฤษฎีของวิคเตอร์ โลเวนเฟล ได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตารางที่ 2 การวิเคราะห์พัฒนาการจากภาพวาดตามทฤษฎีของ วิคเตอร์ โลเวนเฟล
ระดับพัฒนาการของนักเรียน ลักษณะผลงาน
ขั้นร่างเค้าโครง (Pre-schematic
Stage) ร่างเค้าโครงของคน สัตว์ สิ่งของ จากต้นแบบของสิ่งต่างๆ รอบ
ตัวได้ แม้จะเป็นคนละคนกันหรือคนละตัวกัน แต่จะวาดให้มีรูป
ร่างหน้าตาเหมือนกัน และขนาดใกล้เคียงกัน การวาดรูปคนเป็น
แบบ Tadpole Figures ประกอบด้วยหัวกลมๆ อาจมีตา จมูก
ปาก หรือมีขา 2 ขาต่อจากหัว มีแขนต่อออกมาจากหัวเช่นกัน
การวาดรูปบ้าน มักจะแทนด้วยสี่เหลี่ยม ระบายสีจะเป็นการ
ระบายอย่างอิสระไม่มีกฎกติกา เลือกใช้สีอย่างอิสระตามความ
\ คิดตน

ขั้นแสดงเค้าโครง (Schematic
Stage) แสดงภาพได้ชัดเจนตามความเป็นจริง และเชื่อมโยงสิ่งแวดล้อม
ให้สัมพันธ์กัน มีการวาดรูปให้เป็นสัญลักษณ์สากลของสิ่งต่างๆ
เช่น คนมีหัวกลมๆ มีตัว มีผม มีแขน มีขา ต้นไม้ ลำต้นสีน้ำตาล
และด้านบนเป็นพุ่มใบสีเขียว หรือรูปบ้านจะใช้รูปสี่เหลี่ยมเป็นตัว
บ้าน ส่วนหลังคาจะเป็นสามเหลี่ยม วาดรูปในมุมสูงหรือมุมมอง
ของนก (Bird’s Eye View) มี ก ารแสดงเรื่ อ งราวจาก
ประสบการณ์ที่เคยเรียนรู้มา เช่น ภาพเศรษฐกิจพอเพียง มีการ
\ เขียนข้อความเพื่อเล่าเรื่องที่ต้องการสื่อ
ขั้ น แสดงเค้ า โครง (Schematic
Stage) แสดงภาพได้ ชั ด เจนขึ้ น ตามความเป็ น จริ ง และเชื่ อ มโยงสิ่ ง
แวดล้อมให้สัมพันธ์กันได้ มีการวาดรูปคนเป็นแบบสัญลักษณ์
ของหุ่นยนต์ในเกม มีลำตัว แขน ขา หัว เป็นเหลี่ยม วาดรูปให้ทุก
อย่างตั้งอยู่บนเส้น (Baseline) การใช้สีมีลักษณะเลียนแบบเกม
มีความพยายามวาดรูปในมุมสูงหรือมุมมองของนก (Bird’s Eye
View) แบบแผนผัง (Plan) เน้นบางองค์ประกอบ (Emphasized
Elements) อาจมีความหมายอะไรบางอย่างที่สำคัญหรือเป็นสิ่ง
\ พิเศษสำหรับเด็ก
ระดับพัฒนาการของนักเรียน ลักษณะผลงาน
ขั้นแสดงเค้าโครง (Schematic
Stage) แสดงภาพได้ชัดเจนตามความเป็นจริงและเชื่อมโยงสิ่งแวดล้อมให้
สัมพันธ์กันมากขึ้น วาดรูปปราสาท แต่จะวาดเฉพาะกำแพงของ
ปราสาท มีการเน้นบางองค์ประกอบ (Emphasized Elements)
หรือละเลยรายละเอียดบางอย่าง (Omission) โดยภาพอาจมี
ความหมายอะไรบางอย่างที่สำคัญหรือเป็นสิ่งพิเศษ วาดทุกอย่าง
ให้ตั้งอยู่บนเส้น (Baseline) เป็น 2 มิติ ไม่แสดงความลึกหรือ
ความหนา การใช้สีอย่างอิสระ มีการเปรียบเทียบภาพของตนเอง
\ กับภาพวาดของเพื่อนๆ มีความวิตกกังวลที่จะต้องแสดงภาพให้
เพื่อนดู
ขั้นเสมือนจริง (The Pseudo-
naturalistic Stage : The Age of วาดภาพเสมือนจริง มีเหตุมีผล มีมิติ และมีความซับซ้อน ใส่ราย
Reasoning) ละเอียดของสีที่เหมือนสิ่งนั้น มีการลงสีที่หลากหลาย มีความ
อิสระในการสร้างสรรค์

3.2.2 Exploration Stage


ขั้นตอนการค้นหาความสนใจและความสามารถพิเศษของนักเรียน ผ่านการจัดกิจกรรม
ศิลปะด้วยสื่อและเทคนิคที่หลากหลาย ได้แก่
3.2.2.1 Painting
ผู้วิจัยเลือกใช้สื่อและเทคนิคที่สอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริมให้เกิดการบรูณาการการ
รับรู้ความรู้สึก (Sensory Integration) โดยมีรายละเอียดของกิจกรรม ดังนี้
- การระบายสีเทียนบนกระดาษทราย (Crayons and Sandpaper) โดยกำหนดให้
นักเรียนที่มีพัฒนาการวาดในขั้นร่างเค้าโครง (Pre-schematic Stage) ระบายสีเทียนลงบนแบบที่จัดทำไว้
นักเรียนสามารถเลือกใช้สีได้อย่างอิสระ กิจกรรมนี้จะช่วยส่งเสริมกล้ามเนื้อเอ็นข้อต่อ (Proprioceptive
Sense) จากการใช้ข้อต่อของนิ้วมือกดน้ำหนักลงแรงๆ เพื่อระบายสีให้ติดบนกระดาษทราย การใช้วัสดุที่มีพื้น
ผิวสัมผัสจะกระตุ้นเรื่องประสาทสัมผัส (Tactile Sense) นอกจากนี้ สำหรับในกลุ่มเด็กที่มีความต้องการ
พิเศษบางคนมักใช้มือทีละข้าง กิจกรรมนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้มือสองข้างร่วมกันแต่ต่างหน้าที่ (มือหนึ่ง
ระบาย มือหนึ่งจับกระดาษไม่ให้เลื่อน) ช่วยกระตุ้นร่างกายทั้งสองซีก
\ \
ภาพที่ 1 การใช้สองมือร่วมกันในการระบายสีบนกระดาษทราย (Crayons and Sandpaper)

- การระบายสีด้วยฟอง (Painting with Bubbles) เป็นกิ จกรรมกระตุ้นการใช้กล้าม


เนื้อปาก โดยการเป่าจะช่วยฝึกการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อปาก

\ \
ภาพที่ 2 กิจกรรมระบายสีด้วยฟอง (Painting with Bubbles)

- การระบายสีด้วยปืนฉีดน้ำและขวดพ่นละอองน้ำ (Squirt Gun Painting and


Spray Painting) เพื่อการส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของกล้ามเนื้อมือ ด้วยการใช้นิ้วเหนี่ยวไกเพื่อออกแรง
กดเพื่อให้สีออกมา และส่งเสริมการใช้สายตาเล็งไปที่เป้าหมาย ช่วยให้เกิดการทำงานประสานระหว่างสายตา
กับมือในการควบคุมทิศทางของสีที่พุ่งออกมา

\ \
ภาพที่ 4 การระบายสีด้วยปืนฉีดน้ำ (Squirt Gun Painting)

- การหยดสี (Dropper Painting) ด้วยการใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้บีบกระเปราะของหลอด


ให้สีหยดลงมา กระตุ้นการใช้ข้อต่อปลายนิ้ว การควบคุมแรงบีบเพื่อกำหนดปริมาณสีให้หยดออกมามาก-น้อย
\ \
ภาพที่ 5 ผลงานการหยดสีสร้างรูปทรงธรรมชาติ

- การระบายสีด้วยพู่กัน (Paintbrushes) ลงในพื้นที่ที่กำหนด ส่งเสริมการทำงาน


ประสานกันระหว่างสายตากับมือ

\ \
ภาพที่ 6 กิจกรรมระบายครามสีธรรมชาติด้วยพู่กัน

3.2.2.2 Print Making


การพิมพ์ลายด้วยนิ้วมือ (Fingerprints and Thumbprints) กระตุ้นให้เกิดการใช้เอ็น
ข้อต่อ (Proprioceptive Sense) การได้ฝึกลงน้ำหนักกด สำหรับในรายที่เด็กที่มีอารมณ์หงุดหงิด การได้
ออกแรงกดก็จะทำให้เขารับรู้ร่างกายของตนเอง รับรู้การกดน้ำหนักลงของตนเอง ช่วยให้ผ่อนคลายอารมณ์ลง
ได้ จากนั้นให้นักเรียนในกลุ่มที่มีพัฒนาการการวาดรูปในขั้นเสมือนจริง (The Pseudo-naturalistic Stage :
The Age of Reasoning) วาดลายเส้นเพื่อต่อเติมรูปทรงจากลายพิมพ์นิ้วมือ

\
ภาพที่ 7 การวาดภาพต่อเติมจากภาพพิมพ์ลายนิ้วมือเป็นรูปแมลงต่างๆ ตามจินตนาการ
3.2.2.3 Clay
ผู้วิจัยดำเนินการจัดกิจกรรมปั้นดิน (Pottery Craft) ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ Hand Dish,
Leaf Bowl, Coil Pots, Candle Holders และ Slab Lanterns เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ของข้อต่อจาก
การออกแรงกด บีบ และกลิ้งดินให้เป็นแผ่น

\ \
ภาพที่ 8 ผลงาน Hand Dish และLeaf Bowl

\ \
ภาพที่ 9 การคลึงดินให้เป็นเส้น

\ \ \ \
ภาพที่ 10 จากภาพวาดสู่ผลงานเซรามิก
3.2.2.4 Crafts
ผู้ วิ จั ย ดำเนิ น การจั ด กิ จ กรรมงานฝี มื อ ในรู ป แบบของการทอผ้ า บนกระดาษแข็ ง
(Weavings with homemade Cardboard Looms) เพื่อส่งเสริมเรื่องกล้ามเนื้อมือ การใช้ข้อต่อนิ้ว การใช้
วัสดุที่มีสัมผัสที่หลากหลาย เพื่อกระตุ้นเรื่องประสาทสัมผัส นอกจากนี้ จะส่งเสริมเรื่องการใช้สายตากับมือ
และการใช้สองมือร่วมกันแต่ต่างหน้าที่กัน โดยมือข้างหนึ่งจับ มืออีกข้างหนึ่งดึง

\ \
ภาพที่ 11 กิจกรรมทอผ้าบนกระดาษแข็ง (Weavings with homemade Cardboard Looms)
จากการทำกิจกรรมในขั้นการค้นหาความสนใจและความสามารถพิเศษของนักเรียน (Exploration
Stage) ผู้วิจัยพบว่า นักเรียนที่มีพัฒนาการการวาดภาพต่ำกว่าอายุ (ตามหลักการขั้นแสดงพัฒนาการตาม
ทฤษฎีของ วิคเตอร์ โลเวนเฟล) ซึ่งมีสาเหตุมาจากความบกพร่องทางสติปัญญาและลักษณะออทิสติก อาจทำ
กิจกรรมศิลปะบางอย่างได้ไม่ดีนัก หรือมีสมาธิจดจ่อทำงานอยู่ได้ไม่นาน แต่ในบางกิจกรรมกลับพบว่า
นักเรียนสามารถทำผลงานได้ออกมาอย่างดี และมีสมาธิจดจ่อตั้งใจทำงานได้ในระยะเวลานาน
3.2.3 Experiencing Stage
ขั้นตอนการทบทวนประสบการณ์ ผู้วิจัยได้คัดเลือกนักเรียนจำนวน 3 คน เข้าร่วมกิจกรรม
ศิลปะในรูปแบบที่นักเรียนแต่ละคนถนัดเพื่อต่อยอดความสามารถของนักเรียน ดังกิจกรรมต่อไปนี้
3.2.3.1 งานเซรามิก ผู้วิจัยพบนักเรียนที่ มีความชื่นชอบและมีความสามารถในการปั้น
เมื่อต่อยอดเป็นกิจกรรมเซรามิกก็สามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาในรูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ ถ้วยกาแฟ
จานรองสบู่ กระถางกระบองเพชร และ จานรองแก้ว โดยสามารถนำสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ เช่น แมว ไปเป็นแรง
บันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน

\
ภาพที่ 12 ผลงานเซรามิก

3.2.3.2 งานทอผ้าและตัดเย็บ ผู้วิจัยพบนักเรียนมีความสามารถในการทอผ้า มีสมาธิ


จดจ่อ และมีความละเอียดอ่อนในการทำงาน ผู้วิจัยได้ต่อยอดเป็นการใช้กี่ทอผ้าแบบพกพาและใช้เส้นด้าย
ขนาดเล็ก

\ \
ภาพที่ 13 ผลงานทอผ้าบนกี่พกพา
นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้ต่อยอดการเรียนรู้การเย็บผ้าด้วยจักรอัตโนมัติ พบว่า นักเรียนสามารถ
ใช้มือและสายตาทำงานประสานกันได้เป็นอย่างดี สามารถเย็บต่อผ้าได้ และมีความเข้าใจแยกด้านลวดลายของ
ผ้ากับด้านหลังได้ นักเรียนสามารถเย็บตามแพทเทิร์นและประกอบเป็นชิ้นงานได้ภายใต้การช่วยเหลือของผู้
วิจัย

\ \ \ \
ภาพที่ 14 ผลงานเย็บผ้าด้วยจักรอัตโนมัติ

3.2.3.3 งานวาดภาพประกอบ ผู้วิจัยพบนักเรียนที่มีความสามารถด้านการวาดภาพ


จึงออกแบบโปรแกรมการวาดภาพผ่านการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ศิลป์ไล่เรียงตามยุคสมัยต่างๆ จากยุคก่อน
ประวัติศาสตร์ไปจนถึงยุคเรเนสซองค์ โดยยกตัวอย่างผลงานสถาปัตยกรรม งานประติมากรรม และงาน
จิตรกรรมของแต่ละยุค จากนั้นทำการทบทวนประสบการณ์โดยให้นักเรียนเลือกวาดสิ่งที่ตนสนใจจากการเรียน
รู้ จึงพบว่า นักเรียนสนใจการวาดภาพสถาปัตยกรรม โดยสามารถเก็บรายละเอียดต่างๆ ของสถานที่นั้นๆ ได้
เป็นอย่างดี

\ \ \

\ \ \
ภาพที่ 15 ภาพวาดสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงของโลก

จากนั้น ได้ปรับเปลี่ยนหัวข้อเป็นสถานที่สำคัญที่รู้จักและเคยไป นักเรียนได้เริ่มจากการวาด


ภาพอาคารโรงเรียนของตนเอง พระที่นั่งอนันตสมาคม และเสาชิงช้า
\ \ \
ภาพที่ 16 ผลงานภาพวาดสถานที่สำคัญ

3.2.4 Empowerment Stage


ภายหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการ ผู้วิจัยได้นำผลงานของนักเรียนมาออกแบบต่อยอดและ
สร้างสรรค์ให้เป็นชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- กระเป๋าปักลาย จากภาพวาดต่อเติมตามจินตนาการของนักเรียน จึงทำให้ได้กระเป๋ า
รูปแมลงเต่าทอง ผึ้ง เห็บ เป็นต้น และการปักภาพที่สมบูรณ์บนผลงาน Paintbrushes

\ \ \ \
ภาพที่ 17 กระเป๋าปักลายจากจินตนาการของนักเรียน

\ \ \ \

\ \ \ \
ภาพที่ 18 กระเป๋าปักลายจากผลงานระบายสีด้วยพู่กัน (Paintbrushes)

\ \ \
ภาพที่ 19 กระเป๋าปักฝากวางจำหน่ายในงานบ้านและสวนแฟร์
- ผลงานเซรามิก ในรูปแบบ Pottery Craft ได้แก่ Hand Dish, Leaf Bowl, Coil
Pots, Candle Holders และ Slab Lanterns นำไปเข้าสู่กระบวนการเผาเคลือบสีเพื่อให้ได้ชิ้นงานที่เสร็จ
สมบูรณ์สามารถใช้งานได้จริง

\ \ \
ภาพที่ 20 ผลงานเซรามิก

- ปลอกหมอนอิง ผู้วิจัยนำผลงานจากกิจกรรมการหยดสีลงบนเผ้า (Dropper


Painting) นำไปตัดเย็บเป็นปลอกหมอนอิง

\ \
ภาพที่ 21 ปลอกหมอนอิง
- ลายบนเสื้อยืด จากกิจกรรมการระบายสีเทียนบนกระดาษทราย (Crayons and
Sandpaper) ได้นำไปรีดด้วยความร้อนพิมพ์เป็นลวดลายบนเสื้อยืดสีขาว

\ \ \
ภาพที่ 22 ตัวอย่างผลงานเสื้อยืดพิมพ์ลาย

- ที่รองแก้ว จากกิจกรรมทอผ้าบนกระดาษแข็ง (Weavings with homemade


Cardboard Looms)
\
ภาพที่ 23 ที่รองแก้ว
ผลงานดังกล่าวข้างต้น เมื่อเด็กๆ ได้เห็นผลงานของตนกลายเป็นชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์
สามารถนำไปใช้งานได้จริง และทราบว่าผลงานของเขาสามารถจำหน่ายและนำรายได้มาสู่โรงเรียน นักเรียนได้
แสดงออกถึงความภาคภูมิใจในผลงานของตน

4. บทสรุปและข้อเสนอแนะ
4.1 บทสรุปผลการวิจัย
4.1.1 ผลการสร้างกระบวนการสร้างงานศิลปะที่เกิดจากการบูรณาการการรับรู้ความรู้สึก
(Sensory Integration) ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้พบกระบวนการต้นแบบของสร้างงาน
ศิลปะตามหลักการของศิลปะบําบัด คือ Established Rapport Stage, Exploration Stage, Experiencing
Stage และ Empowerment Stage ผ่านการทดลองใช้วัสดุอุปกรณ์และเทคนิคที่หลากหลายตามความชอบ
และความเหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน และสอดคล้องกับการบูรณาการการรับรู้ความรู้สึก (Sensory
Integration) ทั้ง 3 ระบบ คือ การทรงตัว (Vestibular Sense) การรับความรู้สึกจากกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อ
ต่อ (Proprioceptive Sense) และการรับสัมผัส (Tactile Sense) ซึ่งสามารถสรุปกระบวนการทั้งหมดได้ดัง
แผนภูมิต่อไปนี้

\
แผนภาพที่ 3 แสดงกระบวนการสร้างงานศิลปะ
4.1.2 ผลการสร้างกิจกรรมต้นแบบเพื่อแสดงแนวคิดใหม่ในการจัดการเรียนการสอนศิลปะ
สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้เป็นกระบวนการต้นแบบของการจัดกิจกรรมศิลปะในอีกรูป
แบบหนึ่ง ที่ทำให้ค้นพบความสนใจและความสามารถพิเศษของนักเรียน โดยสามารถสรุปผลรูปแบบของ
กิจกรรมต้นแบบที่เหมาะสมกับพัฒนาการของนักเรียนตามทฤษฎีของ วิคเตอร์ โลเวนเฟล ดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 3 สื่อและเทคนิคของกิจกรรมศิลปะที่เหมาะสมกับพัฒนาการและประเภทความพิการ
รูปแบบ สื่อและเทคนิค ลักษณะของนักเรียนที่เหมาะสมกับกิจกรรม
กิจกรรม
ระดับพัฒนาการ ประเภทความพิการ
Paintin • Crayons and • ขั้นร่างเค้าโครง (Pre-schematic • บกพร่องทางสติ
g Sandpaper Stage) ปัญญา
แบบที่ 1 : ระบายสีตาม • ขั้นแสดงเค้าโครง (Schematic • ออทิสติก
โครงร่าง Stage) • ดาวน์ซินโดรม
• ขั้นเสมือนจริง (The Pseudo-
naturalistic Stage : The Age of
Reasoning)
• Crayons and • ขั้นเสมือนจริง (The Pseudo- • บกพร่องทางสติ
Sandpaper naturalistic Stage : The Age of ปัญญา
แบบที่ 2 : วาดและ Reasoning) • ออทิสติก
ระบายสีอย่างอิสระ
• Painting with • ขั้นร่างเค้าโครง (Pre-schematic • บกพร่องทางสติ
Bubbles Stage) ปัญญา
• ขั้นแสดงเค้าโครง (Schematic • ดาวน์ซินโดรม
Stage)
• Squirt Gun Painting • ขั้นร่างเค้าโครง (Pre-schematic • บกพร่องทางสติ
Stage) ปัญญา
• ขั้นแสดงเค้าโครง (Schematic • ออทิสติก
Stage) • ดาวน์ซินโดรม
• Spray Painting • ขั้นร่างเค้าโครง (Pre-schematic • บกพร่องทางสติ
Stage) ปัญญา
• ขั้นแสดงเค้าโครง (Schematic • ออทิสติก
Stage) • ดาวน์ซินโดรม
รูปแบบ สื่อและเทคนิค ลักษณะของนักเรียนที่เหมาะสมกับกิจกรรม
กิจกรรม
ระดับพัฒนาการ ประเภทความพิการ
• Dropper Painting • ขั้นร่างเค้าโครง (Pre-schematic • บกพร่องทางสติ
Stage) ปัญญา
• ขั้นแสดงเค้าโครง (Schematic • ออทิสติก
Stage) • ดาวน์ซินโดรม
• Paintbrushes • ขั้นเสมือนจริง (The Pseudo- • บกพร่องทางสติ
ระบายสีตามโครงร่าง naturalistic Stage : The Age of ปัญญา
Reasoning)
Print • Fingerprints and • ขั้นร่างเค้าโครง (Pre-schematic • บกพร่องทางสติ
Makin Thumbprints Stage) ปัญญา
g • ขั้นแสดงเค้าโครง (Schematic • ออทิสติก
Stage) • ดาวน์ซินโดรม
• Thumbprints and • ขั้นเสมือนจริง (The Pseudo- • บกพร่องทางสติ
Scribbles วาดต่อเติม naturalistic Stage : The Age of ปัญญา
รูปทรงจากรอยพิมพ์นิ้ว Reasoning) • ออทิสติก
มือ
Clay • Hand Dish • ขั้นร่างเค้าโครง (Pre-schematic • บกพร่องทางสติ
Stage) ปัญญา
• ขั้นแสดงเค้าโครง (Schematic • ออทิสติก
Stage) • ดาวน์ซินโดรม
• ขั้นเสมือนจริง (The Pseudo-
naturalistic Stage : The Age of
Reasoning)
• Leaf Bowls • ขั้นร่างเค้าโครง (Pre-schematic • บกพร่องทางสติ
Stage) ปัญญา
• ขั้นแสดงเค้าโครง (Schematic • ออทิสติก
Stage) • ดาวน์ซินโดรม
• ขั้นเสมือนจริง (The Pseudo-
naturalistic Stage : The Age of
Reasoning)
รูปแบบ สื่อและเทคนิค ลักษณะของนักเรียนที่เหมาะสมกับกิจกรรม
กิจกรรม
ระดับพัฒนาการ ประเภทความพิการ
• Coil Pots • ขั้นแสดงเค้าโครง (Schematic • บกพร่องทางสติ
Stage) ปัญญา
• ขั้นเสมือนจริง (The Pseudo-
naturalistic Stage : The Age of
Reasoning)
• Slab Lanterns • ขั้นเสมือนจริง (The Pseudo- • บกพร่องทางสติ
naturalistic Stage : The Age of ปัญญา
Reasoning)
Crafts • Weavings with • ขั้นร่างเค้าโครง (Pre-schematic • บกพร่องทางสติ
homemade Stage) ปัญญา
Cardboard Looms • ขั้นแสดงเค้าโครง (Schematic • ออทิสติก
Stage) • ดาวน์ซินโดรม
• ขั้นเสมือนจริง (The Pseudo-
naturalistic Stage : The Age of
Reasoning)
กระบวนการสร้างงานศิลปะจากการบูรณาการการรับรู้ความรู้สึกของนักเรียนที่มีความบก
พร่องทางสติปัญญา ซึ่งเป็นแนวความคิดในการสร้างนวัตกรรมทางศิลปะที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์เข้ากับศาสตร์ทางศิลปะ หากขยายรูปแบบในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนเลือกทำได้อย่างหลาก
หลายมากขึ้น จะทำให้ผู้สอนสามารถค้นหาความสนใจ ความถนัดของนักเรียนได้ ส่งผลให้สามารถดึงศักยภาพ
และความสามารถเฉพาะตัวของนักเรียนแต่ละคนออกมาได้ ซึ่งจะช่วยให้ครูผู้สอนสามารถกำหนดทิศทางการ
ฝึกอาชีพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาได้ต่อไป
4.1.3 ผลการค้นหาแนวทางการประยุกต์ผลงานศิลปะของนักเรียนพบว่า ผลงานจาก
กระบวนการข้างต้น อาจไม่ใช่ผลงานที่ดูสวยงามสมบูรณ์แบบ แต่คุณค่าของผลงานอยู่ที่ความรู้สึกนึกคิด
จินตนาการ สมาธิ และความตั้งใจของนักเรียน เมื่อนำมาต่อยอดด้านการออกแบบให้เกิดมูลค่าในเชิงประโยชน์
ใช้สอยและความงาม ผลงานเหล่านั้นจะสามารถแปรเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ ได้ อาทิ กระเป๋า
ถุงผ้า จานรองแก้ว ถาด แก้วกาแฟ ที่วางสบู่ เครื่องประดับ หรือของตกแต่งบ้าน เช่น หมอนอิง กระถางต้นไม้
โคมไฟ โคมเทียน ฯ โดยผลิตภัณฑ์เหล่านั้นสามารถนำไปจำหน่ายและก่อให้เกิดรายได้แก่นักเรียน ครอบครัว
และโรงเรียน นกจากนี้ การต่อยอดมูลค่าให้กับผลงานของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาจะเป็นส่วน
หนึ่งที่ช่วยเปลี่ยนค่านิยมการซื้อผลงานของผู้พิการเพียงเพราะความสงสาร แต่แนวคิดใหม่นี้ จะทำให้ผู้ซื้อ
ตัดสินใจซื้อสินค้านั้นๆ เพราะอยากได้อยากครอบครองผลิตภัณฑ์ที่มีดีไซน์แปลกใหม่และสวยงามมากกว่า
ความสงสาร
4.2 ข้อเสนอแนะ
การวิจัยเรื่อง “กระบวนการสร้างงานศิลปะจากการบูรณาการการรับรู้ความรู้สึกของนักเรียนที่มี
ความบกพร่องทางสติปัญญา กลุ่มโรงเรียนปัญญานุกูล ภาคตะวันออก” เป็นกระบวนการสร้างนวัตกรรมทาง
ศิลปะที่เกิดจากการรวมแนวคิด การบูรณาการศาสตร์ทางการบูรณาการการรับรู้ความรู้สึกกับหลักการของ
ศิลปะบำบัด ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางต่อยอดการสร้างงานนวัตกรรมศิลปะที่เอื้อให้เกิดคุณค่าทางสุนทรี
ยะและคุณประโยชน์ทางการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์กับเด็กกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มเด็กผู้พิการประเภทอื่นๆ
หรือกลุ่มเด็กในชนบท เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านั้นได้มีโอกาสเข้าถึงประสบการณ์ทางศิลปะ และในขณะเดียวกัน
ก็ได้รับประโยชน์จากการกระตุ้นประสาทสัมผัสบูรณาการการรับรู้ความรู้สึกด้านต่างๆ ผ่านสื่อและเทคนิคการ
สร้างงานศิลปะในรูปแบบที่หลากหลาย อีกทั้งเป็นการจุดประกายให้ผู้สอนศิลปะในชุมชนได้หันมาทบทวน
คุณค่าทางศิลปะในฐานะที่เป็นเครื่องที่มีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพเด็กในด้านต่างๆ

You might also like