You are on page 1of 137

• บันทึกหรือนิกกิ ( 日記 ) คือ ผลงานที่บันทึก

เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของ
บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
• เป็นวรรณกรรมร้อยแก้ว อาจแทรกด้วยบทกวี
• เป็นวรรณกรรมประเภทใหม่ที่เกิดขึ้นเพราะเริ่ม
มีการใช้อักษรของญี่ปุ่ นเองในสมัยเฮอัน และ
ส่วนมากเขียนโดยนักเขียนสตรี
『土佐日記』
とさにっき
วรรณคดีประเภทบันทึกประจำวันเรื่องแรกของญี่ปุ่ น
เขียนโดยKi no Tsurayuki 紀貫之 ราว ค.ศ.936
ผู้เขียนสมมติตัวเป็นหญิง ขณะเดินทางกลับเกียวโต
หลังจากไปปฏิบัติราชการที่เมืองTosa 土佐
• “โทะซะ” เป็นชื่อพื้นที่ในญี่ปุ่ นสมัยโบราณ
ปัจจุบัน คือ ส่วนหนึ่งของจังหวัดโคชิ ( 高知
県)
• “นิกกิ” หมายถึง บันทึก
• โทะซะนิกกิ หมายถึง บันทึกของเมืองโทะซะ ซึ่ง
เป็นบันทึกการเดินทางจากเมืองโทะซะกลับมา
เมืองหลวงของผู้เขียนเรื่องนี้
• โทะซะนิกกิเป็นวรรณกรรมประเภทบันทึกที่
เขียนด้วยอักษรคะนะที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่ น
• ผู้เขียน คือ คิ โนะ ท์ซุระยุกิ ( 紀貫之 ) ซึ่ง
เป็นหนึ่งในกวีสี่คนที่รวบรวมประชุมบทกวีญี่ปุ่ น
โคะกิงวะกะฌูและเป็นผู้เขียนคำนำส่วนที่เป็น
คะนะโจะ
紀貫之(きのつらゆき)
• สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นหลังจากวันที่ 16 เดือน
2 ค.ศ.935 ซึ่งเป็นวันที่ท์ซุระยุกิเดินทางกลับ
ถึงเมืองหลวงโดยทางเรือหลังจากปฏิบัติภารกิจ
เป็นผู้ดูแลเมืองโทะซะเรียบร้อยแล้ว
• ขณะนั้นท์ซุระยุกิมีอายุราว 63 ปี ซึ่งนับเป็นวัย
ที่ลำบากทั้งด้านสภาพร่างกายและจิตใจในการ
เดินทางโดยเรือ
• การเดินทางระหว่างเมืองโทะซะกับเมืองหลวง
โดยทางเรือในสมัยโบราณ ปกติใช้เวลาประมาณ
25 วันแต่ในโทะซะนิกกิเริ่มเดินทางตั้งแต่วันที่
21 เดือน 12 ค.ศ. 934 ถึงวันที่ 16 เดือน 2
ค.ศ. 935 รวมระยะเวลา 55 วันซึ่งยาวนาน
มากกว่าสองเท่าของระยะเวลาปกติ อาจเพราะ
เดินทางในช่วงฤดูหนาวซึ่งทะเลเกิดคลื่นลมแรง
และอากาศแปรปรวนได้ง่าย
• โทะซะนิกกิเขียนด้วยอักษรคะนะโดยผู้ชายแต่
สมมติตัวเองเป็นผู้หญิงคนหนึ่ง ดังปรากฏใน
ข้อความตอนต้นเรื่องว่า “บุรุษนิยมเขียนบันทึก
กัน ข้าพเจ้าซึ่งเป็นสตรีจึงอยากลองเขียนบันทึก
ดูบ้าง ออกเดินทางประมาณสองทุ่มของวันที่
21 เดือน 12”
• การเขียนด้วยอักษรคะนะทำให้สามารถแสดง
ความรู้สึกนึกคิดได้อย่างละเอียดซึ่งแตกต่าง
จากบันทึกที่เขียนด้วยประโยคภาษาจีนหรือ
คัมบุนที่ผู้เขียนเป็นผู้ชายและมีจุดประสงค์เพื่อ
บันทึกเหตุการณ์ที่เป็นข้อเท็จจริง
เนื้อเรื่องกล่าวถึงการเดินทางโดยเรือจาก 土佐 ถึง
เกียวโตรวม 55 วัน พรรณนาความอาวรณ์ตอนเริ่ม
เดินทาง บรรยายธรรมชาติ ชีวิตความเป็ นอยู่บนเรือ
ความยินดีที่กลับเมืองหลวง ความทรงจำที่ดีเกี่ยวกับ
บ้านเกิด ความกังวลของผู้โดยสารบนเรือ เช่น เรื่อง
โจรสลัด เรื่องสภาพอากาศ นอกจากนี้ผู้ เขียนยังแสดง
ความเศร้าต่อการจากไปของลูกสาวที่เมือง 土佐
• เนื้อเรื่องประกอบด้วย 1 เล่ม รูปประโยคเป็น
แบบเรียบง่าย แฝงอารมณ์ขันของผู้แต่งซึ่ง
หมายถึง การใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่าย และมีความ
หมายที่ก่อให้เกิดความขบขัน
• เช่น ประโยคที่ว่า ฟุนะจิ นะเระโดะ อุมะ โนะ ฮะ
นะมุเกะซุ ( 船路なれど馬のはなむけす )
หมายถึง “มอบของตอบแทนให้ทั้ง ๆ ที่เป็ นการ
เดินทางโดยเรือ” ซึ่งตามธรรมเนียมโบราณของ
ญี่ปุ่ น ผู้ไปส่งจะมอบสิ่งของหรือเงินเพื่อแสดง
ความขอบคุณแก่ผู้เดินทางที่เดินทางโดยม้า แต่
เรื่องนี้เดินทางโดยเรือ แต่มีการมอบของให้ ผู้
แต่งเห็นว่าเป็ นเรื่องขบขันจึงเขียนไว้ในบันทึก
การพรรณนาส่วนใหญ่ใช้ 和歌 ใช้คำศัพท์เข้าใจง่าย
Umare shimo 生まれしも
Kaeranu mono o 帰らぬものを
Wa ga yado ni 我がやどに
Komatsu no aru o 小松のあるを
Miru ga kanashisa 見るがかなしさ
• ลูกที่เกิดมาไม่มีทางกลับมาแล้ว เมื่อมองต้นสนเล็กที่
งอกขึ้นในบ้านก็รู้สึกเศร้ายิ่งนัก
• มีคนหนึ่งหมดวาระดำรงตำแหน่งผู้ปกครองดิน
แดน 4-5 ปี และครบกำหนดการยืดเวลาตาม
ข้อกำหนดที่เคยมีมา เมื่อรับหนังสือส่งมอบงาน
แล้วได้ออกเดินทางจากที่พักและไปยังสถานที่
ลงเรือ ทั้งคนที่รู้จักและไม่รู้จักต่างไปส่ง บรรดา
คนที่ติดต่อกันมาหลายปี อย่างสนิทสนมต่าง
กล่าวอำลา ทำเช่นนี้ตลอดทั้งวันจนพลบค่ำ
• วันที่ 22 ตอนนี้ขอพรให้เดินทางถึงอิสุมิได้
อย่างปลอดภัย ฟุจิวะระ โนะ โทะกิสะเนะได้
มอบของตอบแทนให้ทั้ง ๆ ที่เป็นการเดินทาง
โดยเรือ ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง
ชนชั้นล่าง ทุกคนต่างเมาคลื่น และที่น่าแปลก
อย่างยิ่งคือ การพูดหยอกเล่นกันท่ามกลาง
ทะเลเกลือ
แนะนำหนังสือ
วรรณคดีประเภทบันทึกประจำวันเรื่องแรกที่เขียน
โดยผู้หญิง (แม่ของ Fujiwara no Michitsuna 藤原
道綱 ) สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นหลัง ค.ศ.974
เรื่องราวชีวิตขมขื่นตลอดเวลา 21 ปี หลังแต่งงาน
กับFujiwara no Kaneie 藤原兼家
• “คะเงะโร” หมายถึง แมลงเม่าซึ่งเป็นสัตว์ที่
มีอายุสั้น
• “นิกกิ” หมายถึง บันทึก
• คะเงะโรนิกกิ หมายถึง บันทึกของแมลงเม่า ซึ่ง
เป็นบันทึกเรื่องราวของผู้เขียนที่สะท้อนความไม่
เที่ยงแท้ของชีวิต สรรพสิ่งล้วนดำรงอยู่เพียง
เวลาอันสั้น เปรียบดังช่วงชีวิตของแมลงเม่า
ประวัติผู้เขียน
• แม่ของมิชิท์ซุนะเป็นลูกของฟุจิวะระ โนะ โทะ
โมะยะซุ ( 藤原倫寧 ) ซึ่งเป็นขุนนางและกวี
ส่งผลให้มารดาของมิชิท์ซุนะมีความสามารถ
ด้านบทกวีญี่ปุ่ นโดยเป็นกวีหญิงเลื่องชื่อ
• ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสามหญิงงามของญี่ปุ่ น
ประวัติผู้เขียน
• สมรสกับฟุจิวะระ โนะ คะเนะอิเอะ ( 藤原
兼家 ) เมื่อ ค.ศ. 954 หลังจากนั้นหนึ่งปี จึง
ให้กำเนิดมิชิท์ซุนะ
• คะเนะอิเอะมีภรรยาอยู่ก่อนแล้วคือ โทะกิฮิเมะ
( 時姫 )
ประวัติผู้เขียน
• รูปแบบการแต่งงานในสมัยนั้นคือ อิปปุอิซซะอิ
ตะโฌ ( 一夫一妻多妾 ) ซึ่งหมายถึง
“สามีหนึ่งคน ภรรยาหลวงหนึ่งคน ภรรยารอง
หลายคน” แม่ของมิชิท์ซุนะอยู่ในฐานะภรรยา
รอง และคะเนะอิเอะยังมีภรรยารองอีกหลายคน
สามหญิงงามของญี่ปุ่ น
1) ฟุจิวะระ โนะ อะซะกะเบะ ( 藤原安宿 )
ต่อมาได้เป็นจักรพรรดินีในจักรพรรดิโฌมุ
( 聖武天皇 )
สามหญิงงามของญี่ปุ่ น
2) ฟุจิวะระ โนะ เมะอิฌิ ( 藤原明子 ) ต่อ
มาได้เป็นพระสนมในจักรพรรดิมนโตะกุ
( 文徳天皇 )
สามหญิงงามของญี่ปุ่ น
3) มารดาของฟุจิวะระ โนะ มิชิท์ซุนะ
• เนื้อเรื่องประกอบด้วย 3 ช่วง
• บรรยายความทุกข์ระทมของชีวิตสมรสตั้งแต่
ค.ศ. 954 ถึง ค.ศ. 974 รวม 21 ปี
• พรรณนาความรู้สึกโศกเศร้าของผู้หญิงคนหนึ่ง
ซึ่งการแสดงความรู้สึกเช่นนี้จัดอยู่ในประเภท
โมะโนะโนะอะวะเระ
『蜻蛉日記』 ช่วงที่หนึ่ง (15 ปี )
ช่วงแรกตั้งแต่ ค.ศ.954-968 เนื้อเรื่องกล่าวถึง
การสู่ขอและการแต่งงานขณะที่ผู้เขียนมีอายุ
ราว 17 ปี สามี 26 ปี และมีภรรยาแล้ว
คือTokibime 時姫
หลังแต่งงาน 1 ปี ได้ให้กำเนิดMichitsuna ผู้
เขียนรู้สึกขมขื่นที่ต้องรอสามี หลังแต่งงานแล้ว
สามีไปมีภรรยาใหม่อีกหนึ่งคน สร้างความเจ็บ
ช้ำใจแก่ผู้เขียนอย่างยิ่ง
『蜻蛉日記』 ช่วงที่สอง (3 ปี )
ช่วงที่สองตั้งแต่ ค.ศ.969-971
ความสัมพันธ์กับสามีเลวลงถึง
ขีดสุด สามีมีภรรยาคนใหม่อีก
ผู้เขียนรู้สึกสิ้นหวัง ไม่สามารถ
ทำอะไรได้และมีความคิดจะ
หลีกหนีจากความทรมานใจ
ด้วยการออกบวช
『蜻蛉日記』 ช่วงที่สาม (3 ปี )
ช่วงที่สามตั้งแต่ ค.ศ.972-974 ผู้เขียนมีความคิด
เรื่องสามีเปลี่ยนไปทั้งๆที่ความสัมพันธ์ยังไม่ดีขึ้น
เริ่มปลงตกต่อชีวิต ความขุ่นเคืองที่ผ่านมาเริ่ม
เบาบางลง ผู้เขียนเฝ้ าดูความเจริญรุ่งเรืองของ
ลูกชายและรับเด็กสาวมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมอีก
หนึ่งคน
• มีผู้หญิงคนหนึ่งใช้ชีวิตโดยขาดความชัดเจน
พึ่งพาไม่ได้และระยะเวลาครึ่งชีวิตที่ผ่านมาช่าง
เปล่าประโยชน์
• ใบหน้าก็แตกต่างจากคนทั่วไป การไตร่ตรอง
และตัดสินใจก็ไม่มี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่
ต้องอยู่ในสภาพไร้ประโยชน์เช่นนี้
• เมื่อดูตำนานเรื่องเล่าโบราณที่แพร่หลายทั่วไป
ในขณะที่ตนเองใช้ชีวิตประจำวันที่น่าเบื่อหน่าย
พบว่า มีจำนวนมากมายที่เป็นผลงานธรรมดาที่
เขียนขึ้นตามใจชอบ
• หากข้าพเจ้าซึ่งไม่เหมือนคนทั่วไปได้ลองเขียน
บันทึกดูบ้าง คงเป็นสิ่งแปลกใหม่
• หากมีคนถามเรื่องราวเกี่ยวกับการแต่งงานกับ
คนสูงศักดิ์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง อยากให้บันทึกนี้
เป็นตัวอย่างหนึ่งของคำตอบนั้น แต่เหตุการณ์
ได้ผ่านล่วงเลยมานานแล้ว ความทรงจำจึง
เลือนราง ไม่ชัดเจน ทำให้มีเรื่องราวจำนวนมาก
ที่อยู่ในสภาพไม่แน่ชัด
『蜻蛉日記』
การพรรณนาความรู้สึกของผู้เขียนใช้บทกวีญี่ปุ่ น เช่น....
Nageki tsutsu なげきつつ
Hitori neru yo no 独り寝る夜の
Akuru ma wa 明くる間は
Ikani hisashiki いかに久しき
Mono toka wa shiru ものとかは知る
ความหมาย:ท่านเข้าใจหรือยังว่าการนอนร้องไห้เพียงลำพังจนรุ่งสางนั้น
ทุกข์ทรมานเพียงใด (แต่งเพื่อบอกสามีที่โมโหเมื่อภรรยาเปิ ดประตูรับ
ช้าไม่ทันใจ)
『蜻蛉日記』
Taenuru ka 絶えぬるか
Kage dani araba 影だにあらば
Tou beki o 問ふべきを
Katami no mizu wa かたみの水は
Mikusai ni keri 水草いにけり
ความหมาย:ความสัมพันธ์คงจบสิ้นแล้วเพราะหากเงาของเขาสะท้อนลง
บนผืนน้ำคงไต่ถามได้ แต่ในผืนน้ำกลับเต็มไปด้วยตะไคร่ แม้แต่เงาก็
ไม่อาจเห็นได้ (ผืนน้ำหมายถึงน้ำชาในถ้วยที่ตั้งโต๊ะไว้ต้อนรับสามี)
อิสุมิฌิกิบุนิกกิ
( 和泉式部日
記)
• วรรณกรรมประเภทบันทึกที่เขียนโดยสตรี
• มีทั้งส่วนที่เป็นร้อยแก้วและบทกวีโต้ตอบ
เรื่องความรักระหว่างชายกับหญิง
• ไม่ทราบชื่อจริงของผู้เขียน ทราบเพียงชื่อ
เรียกว่าอิสุมิฌิกิบุซึ่งเป็นตำแหน่งของสามีที่
ไปปฏิบัติราชการที่เมืองอิสุมิ ( 和泉 )
ปัจจุบันคือ พื้นที่ในจังหวัดโอซาก้า
• มีชื่อเรียกอื่นคือ อิสุมิฌิกิบุโมะโนะ
งะตะริ ( 和泉式部物語 )
• สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นภายหลัง
เดือน 10 ค.ศ. 1007
• การดำเนินเรื่องทำเสมือนมุมมอง
จากบุคคลที่สามโดยเรียกตัวละคร
เอกหญิงด้วยสรรพนามบุรุษที่สาม
คือ อนนะ ( 女 ) ซึ่งหมายถึง “ผู้
หญิง” แทน วะตะฌิ ( 私 )
ประวัติผู้แต่ง
• อิสุมิฌิกิบุเป็นกวีหญิงเลื่องชื่อในสมัยเฮอัน และ
เป็นธิดาของขุนนางชื่อโอเอะ โนะ มะซะมุเนะ
( 大江雅致 )
• สมรสกับขุนนางชื่อทะชิบะนะ โนะ มิชิซะดะ
( 橘道貞 )
• ให้กำหนดบุตรสาวคือโคะฌิกิบุ โนะ นะอิฌิ
( 小式部内侍 ) ซึ่งเป็นกวีหญิงเลื่องชื่อ
ในสมัยเฮอันเช่นกัน
• ต่อมา แยกกันอยู่กับสามีและพบรักกับเจ้าชาย
ทะเมะตะกะ ( 為尊親王 ) ซึ่งเป็นโอรส
องค์ที่สามในจักรพรรดิเระอิเสะอิ ( 冷泉天
皇)
• หลังจากเจ้าชายสิ้นพระชนม์แล้วนางมีความรัก
กับพระอนุชาของเจ้าชายทะเมะตะกะ คือ เจ้า
ชายอะท์ซุมิชิ ( 敦道親王 )
• หลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายอะท์ซุมิชิแล้ว
อิสุมิฌิกิบุเป็นนางกำนัลของพระมเหสีโฌฌิ
( 彰子 ) ในจักรพรรดิอิชิโจ
• ต่อมา สมรสกับฟุจิวะระ โนะ ยะซุมะซะ ( 藤
原保昌 ) ซึ่งเป็นขุนนางผู้ดูแลคฤหาสน์ของ
ฟุจิวะระ โนะ มิชินะงะ ( 藤原道長 ) ผู้
เป็นบิดาของพระมเหสีโฌฌิ แต่แยกทางกันใน
เวลาต่อมาเพราะชีวิตสมรสไม่ราบรื่น นอกจาก
นี้ ลูกสาวที่เกิดกับสามีคนแรกเสียชีวิตลงอีก
ทำให้ชีวิตของอิสุมิฌิกิบุเต็มไปด้วยความทุกข์
เนื้อเรื่อง
• กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา
ประมาณ 10 เดือน เริ่มจากเจ้าชายอะท์ซุมิชิ
ทรงส่งดอกทะชิบะนะ ( 橘 ) ไปให้ผู้หญิงคน
หนึ่งที่กำลังโศกเศร้าต่อการสิ้นพระชนม์ของเจ้า
ชายทะเมะตะกะผู้เป็นชายคนรัก
ดอกทะชิบะนะ
• เหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นของความรักครั้งใหม่
มีการส่งจดหมายและบทกวีโต้ตอบกันราว
150 บท และต่อมา ผู้หญิงคนนั้นได้ย้าย
เข้าไปอยู่ในพระตำหนักของเจ้าชายอะท์ซุมิชิ
ตอนที่อิสุมิฌิกิบุเฝ้ ารอการติดต่อจากเจ้าชายอะท์ซุมิชิ

• หลังจากนั้น 2-3 วันเจ้าชายไม่ทรงติดต่อมา


เลย เมื่อคิดถึงพระดำรัสที่ดูเหมือนจะคาดหวัง
ได้ว่าบัดนี้เป็นอย่างไร ทำให้นอนไม่หลับ ลืมตา
ตื่นขึ้นและเอนกายลงนอน ท้องฟ้ ายามค่ำคืน
ค่อย ๆ สว่างขึ้น
• ทันใดนั้น มีเสียงเคาะประตูบ้าน นึกไม่ออกว่า
เป็นใครกัน เมื่อถามไถ่จึงรู้ว่าเป็นพระอักษรจาก
เจ้าชาย และเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่คาดไม่ถึง
จึงคิดว่าความรู้สึกคงถ่ายทอดไปถึงเจ้าชายได้
• หลังเปิ ดประตูแล้วอ่านข้อความ (บทกวี) เป็น
ดังนี้
• เธอมองดูอยู่หรือเปล่า พระจันทร์ยามค่ำคืนแห่ง
ฤดูใบไม้ร่วงที่คล้อยตกไปสุดขุนเขายามฟ้ าสาง
• เจ้าชายทรงมองพระจันทร์ทำให้ความหมาย
ของบทกวีลึกซึ้งกว่าปกติ และเนื่องจากไม่ได้
เปิ ดประตู ดังนั้น มหาดเล็กคงรออยู่ไกล ๆ
• ขอส่งบทกวีตอบกลับดังนี้
• ท้องฟ้ าคงสว่างแล้วแต่ยังนอนไม่หลับ หากยิ่ง
มองพระจันทร์จะยิ่งทำให้คิดถึงมากขึ้น จึงขอ
เลือกไม่มองพระจันทร์
• เจ้าชายทรงรู้สึกผิดคาดและทรงคิดว่า “ผู้หญิง
คนนี้ไม่ใช่คนที่ไม่น่าสนใจ ต้องทำอะไรสักอย่าง
เพื่อให้มาอยู่ใกล้ ๆ และให้แต่งบทกวีให้ฟังเพื่อ
ปลอบประโลมใจ”
มุระซะกิฌิกิบุนิกกิ
( 紫式部日記 )
• วรรณกรรมประเภทบันทึกที่เขียนโดยสตรี
• เขียนเป็ นร้อยแก้วแทรกด้วยบทกวีญี่ปุ่ น
• ผู้เขียนคือ มุระซะกิฌิกิบุ ซึ่งเป็ นผู้แต่งเรื่อง
เก็นจิโมะโนะงะตะริ
• สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นตั้งแต่ช่วงฤดูร้อนถึง
ฤดูใบไม้ร่วงของ ค.ศ. 1010
• เนื้อเรื่องกล่าวถึงเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
ที่เกิดขึ้นในวังตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1008
ถึงช่วงปี ใหม่ของ ค.ศ. 1010 ของผู้แต่งขณะ
ถวายงานเป็นนางกำนัลของพระมเหสีโฌฌิ
( 彰子 ) ในจักรพรรดิอิชิโจ
• ตัวอย่างเหตุการณ์ เช่น งานพิธีก่อนและหลัง
การประสูติของเจ้าชายอะท์ซุฮิระ ( 敦成親
王 ) ในพระมเหสีโฌฌิ
• การเฉลิมฉลองการประสูติครบ 50 วันของพระ
โอรสองค์ที่สองคือเจ้าชายอะท์ซุนะงะ (
敦良親王 )
• นอกจากนี้ ยังมีข้อความแทรกเนื้อเรื่องที่เรียกว่า
โฌโซะโกะบุมิ ( 消息文 ) ซึ่งหมายถึง
“ข้อความที่กล่าวถึงเรื่องราวของบุคคล” โดย
เป็นการวิจารณ์คนรอบข้างรวมทั้งนางกำนัลที่
อยู่ด้วยกัน เช่น อิสุมิฌิกิบุ และเซะอิโฌนะงน
• สีสันแห่งฤดูใบไม้ร่วงแผ่ปกคลุมไปทั่วทั้งบริเวณ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ณ พื้นที่ในคฤหาสน์ท์ซุชิมิ
กะโดะด้วยแล้วมีความงดงามโดยไม่ต้องเอ่ยคำ
พรรณนา ทั้งบริเวณยอดของต้นไม้รอบสระน้ำ
และต้นไม้ที่ขึ้นริมธารน้ำต่างปกคลุมด้วยสีสัน
ถ้วนหน้า และยิ่งทำให้ตื่นตาตื่นใจด้วยสภาพ
ของท้องฟ้ าที่งดงามยามพระอาทิตย์ตกดิน
• ขณะนั้นเสียงสวดมนต์ของเหล่าพระสงฆ์อย่าง
ไม่ขาดสายที่ได้ยินนั้นทำให้รู้สึกดื่มด่ำเข้าไปใน
จิตใจอย่างลึกซึ้ง
• เสียงของธารน้ำที่ไม่เคยจบสิ้นตามเสียงแห่ง
สายลมยามค่ำคืนที่ค่อย ๆ เยือกเย็นขึ้นนั้น
ฟังแล้วทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเสียงสวดพระธรรม
• พระมเหสีทรงฟังเรื่องสัพเพเหระยามค่ำคืนที่
หาข้อยุติไม่ได้จากนางกำนัลที่ปฏิบัติงานสนอง
พระโอษฐ์อยู่ข้าง ๆ
• แม้ทรงเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายแต่ไม่ได้
ทรงแสดงกิริยาให้เห็นแต่อย่างใด ทรงทำ
เหมือนไม่มีอะไรผิดปกติ
• รู้สึกชื่นชมอย่างหาที่สุดมิได้ในพระอิริยาบถที่
งดงามและจิตใจที่ลึกซึ้งของพระมเหสี
• การปลอบประโลมใจบนโลกที่เต็มไปด้วยความ
โศกเศร้านี้คือ แม้จะต้องพยายามไขว่คว้าก็ตาม
แต่ควรได้ปฏิบัติงานสนองพระโอษฐ์ในพระ
มเหสีที่ยอดเยี่ยมเช่นนี้
• ความรู้สึกหม่นหมองทุกคืนวันเปลี่ยนแปลงไป
สามารถลืมความโศกเศร้าไปได้ตามธรรมชาติ
โดยไม่มีสิ่งใดมาเปรียบเทียบได้
• เมื่อลองคิดทบทวนดูแล้วข้าพเจ้าก็รู้สึกว่าเป็น
เรื่องแปลกเช่นกัน
• คฤหาสน์ของฟุจิวะระ โนะ มิชินะงะซึ่งเป็นบิดา
ของพระมเหสีโฌฌิ พระมเหสีทรงกลับมาที่
คฤหาสน์แห่งนี้ตั้งแต่คืนวันที่ 16 เดือน 7 เพื่อ
ทรงเตรียมการคลอด
ซะระฌินะนิกกิ
( 更級日記 )
• “ซะระฌินะ” เป็นชื่อพื้นที่ในญี่ปุ่ นสมัยโบราณ
ปัจจุบัน คือ พื้นที่ของจังหวัดชิบะ ( 千葉
県 ) “นิกกิ” หมายถึง บันทึก
• ซะระฌินะนิกกิ หมายถึง บันทึกของเมืองซะ
ระฌินะ ซึ่งเป็นบันทึกการเดินทางและเรื่องราว
ของผู้เขียนเรื่องนี้ โดยสามีของผู้เขียนเคยไป
ปฏิบัติงานที่เมืองซะระฌินะ
• วรรณกรรมประเภทบันทึกที่เขียนโดยสตรี
• เขียนเป็นร้อยแก้วแทรกด้วยบทกวีญี่ปุ่ น
• ไม่ปรากฏชื่อจริงของผู้เขียน ทราบเพียงว่าผู้
เขียนคือ ธิดาของขุนนางชื่อซุงะวะระ โนะ
ทะกะซุเอะ ( 菅原孝標 ) และเป็น
หลานของมารดาของมิชิท์ซุนะซึ่งเป็นผู้เขียน
เรื่องคะเงะโรนิกกิ
• สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นหลังจากสามีซึ่งเป็ น
ขุนนางชื่อทะชิบะนะ โนะ โทะฌิมิชิ ( 橘
俊通 ) เสียชีวิตได้สองหรือสามปี และปี
สุดท้ายที่ปรากฏในบันทึกคือ ค.ศ.
1059 จึงสันนิษฐานว่าบันทึกนี้เขียนขึ้น
ประมาณ ค.ศ. 1060 หรือหลังจากนั้น
• ธิดาของทะกะซุเอะเกิดในตระกูลนักวิชาการ
และเขียนบันทึกนี้โดยย้อนเหตุการณ์ไปตั้งแต่
ขณะอายุ 13 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทะกะซุเอะผู้
เป็นบิดาครบวาระการปฏิบัติภารกิจดูแลเมือง
คะสุซะ ( 上総 ) เรียบร้อยแล้วและเดินทาง
กลับเมืองหลวงพร้อมกับครอบครัวโดยใช้เวลา
เดินทางประมาณ 3 เดือน
• หลังเดินทางกลับถึงเมืองหลวงแล้ว ปี ถัดมาธิดา
ของทะกะซุเอะได้รับวรรณกรรมเรื่องเก็นจิโมะ
โนะงะตะริจากป้ า (พี่สาวต่างมารดาของแม่)
คือ มารดาของมิชิท์ซุนะและอ่านตลอดเวลาทั้ง
กลางวันและกลางคืน ทำให้มีความใฝ่ ฝันอยาก
พบรักกับชายหนุ่มรูปงามเหมือนตัวละครใน
เรื่องเก็นจิโมะโนะงะตะริ
เนื้อเรื่อง
• กล่าวถึงเรื่องราวในชีวิตของผู้เขียนตั้งแต่อายุ
13 ปี จนถึงอายุ 52 ปี หรือระยะเวลาประมาณ
40 ปี
• ประกอบด้วย 25 ตอนโดยเริ่มจากบันทึกเรื่อง
ราวการเดินทางกลับเมืองหลวงขณะอายุ 13 ปี
• มีการพรรณนาความรู้สึกต่อสิ่งที่ได้เห็น ภูมิทัศน์
ระหว่างการเดินทาง การพลัดพรากกับแม่นม
ความทุกข์ยากในการเดินทาง และตำนานของ
ดินแดนต่าง ๆ ที่เดินทางผ่าน
• เนื้อเรื่องส่วนที่เป็นบันทึกการเดินทางนี้คิดเป็น
ประมาณร้อยละ 20 ของเนื้อเรื่องทั้งหมด
• หลังเดินทางถึงเมืองหลวงแล้วต้องพลัดพราก
กับแม่เลี้ยง และเผชิญกับความทุกข์เรื่องการ
เสียชีวิตของแม่นมและพี่สาว
• ช่วงนี้ได้อ่านเรื่องเก็นจิโมะโนะงะตะริและ
หลงใหลในตัวละครหญิง เช่น ยูงะโอะ ( 夕
顔)
• ต่อมา ขณะอายุ 25 ปี มีการพรรณนาความ
รู้สึกอย่างลึกซึ้งที่ต้องพลัดพรากกับพ่อเพราะ
พ่อเดินทางไปเป็นผู้ดูแลเมืองฮิตะชิ ( 常陸 )
ซึ่งอยู่ห่างไกลมาก
• ผู้เขียนเลี้ยงดูลูกสาวสองคนของพี่สาวที่ลาจาก
โลกนี้ไปและเป็นผู้ดูแลเรื่องราวในบ้านเพียง
ลำพัง
• หลังจากนั้น ขณะอายุประมาณ 32 ปี ถวาย
งานแด่เจ้าหญิงยูฌิ ( 祐子内親王 )
• ปี ถัดมาสมรสกับโทะฌิมิชิ ใช้ชีวิตสมรสอย่าง
เรียบง่ายและมีบุตรสองคน
• ช่วงนี้ผู้ เขียนเริ่มตระหนักว่าผู้ชายในอุดมคติ
แบบเจ้าชายเก็นจิหรือคะโอะรุไม่มีอยู่จริง
• ผู้เขียนเฝ้ าดูการเจริญเติบโตของลูกและไป
นมัสการที่วัดต่าง ๆ เช่น วัดฮะเซะ ( 長谷
寺 ) วัดอิฌิยะมะ ( 石山寺 )
• เมื่ออยู่ในช่วงวัย 50 ปี เผชิญกับความเศร้าต่อ
การจากโลกนี้ไปของสามี และใช้ชีวิตอย่าง
เงียบเหงาแต่มีความเชื่อและศรัทธาเรื่องการ
เสด็จมารับดวงวิญญาณของพระอมิตาพุทธ
ลักษณะเด่นของบันทึกนี้
มีข้อความแสดงความใฝ่ ฝันของผู้เขียน และเป็น
ผลงานที่แสดงความรู้สึกของผู้หญิงคนหนึ่งที่
เริ่มต้นจากความใฝ่ ฝันหรืออุดมคติในวัยเด็ก
และความฝันพังทลายเมื่อต้องดำเนินชีวิตใน
โลกแห่งความเป็นจริง และสุดท้ายจึงมองเห็น
สัจธรรมด้วยความเชื่อทางศาสนาเรื่องโลกหน้า
• ข้าพเจ้าผู้ซึ่งเติบโตขึ้นมา ณ ดินแดนอันห่างไกล
เสียยิ่งกว่าหนทางไปยังแคว้นอะสุมะ (
東国 )
• แม้มีความเป็นชนบทเพียงใดก็ตามแต่เหตุใดจึง
เริ่มคิดเช่นนั้น
• ได้ยินว่าบนโลกนี้มีวรรณกรรมประเภทเรื่องเล่า
อยู่ รู้สึกอยู่เสมอว่าอยากอ่านให้ได้
• ได้ยินพี่สาวและแม่เลี้ยงพูดเกี่ยวกับเรื่องเล่านั้น
เรื่องเล่าโน้น เรื่องราวของฮิกะรุ เก็นจิทั้งในตอน
กลางวันที่น่าเบื่อหน่ายและตอนกลางคืนที่อยู่
กันจนดึกดื่น ยิ่งทำให้รู้สึกอยากอ่านมากยิ่งขึ้น
• เหตุใด (พี่สาวและแม่เลี้ยง) จึงสามารถนึกเรื่อง
ราวขึ้นมาได้โดยไม่ดูอะไรเลยและเล่าให้
ข้าพเจ้าฟังตามที่ปรารถนา
นิฮนเรียวอิกิ
( 日本霊異記 )
• มีชื่อเต็มว่านิฮงโกะกุเง็นโฮเส็นอะกุเรียวอิกิ
( 日本国現報善悪霊異記 )
• วรรณกรรมประเภทตำนานทางพุทธศาสนาที่
เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่ น
• ผู้รวบรวม คือ เคียวกะอิหรือเคะอิกะอิ ( 景
戒 ) เป็นพระแห่งวัดยะกุฌิ( 薬師寺 )
นครนะระ
• สันนิษฐานว่ารวบรวมขึ้นราว ค.ศ. 822
• เนื้อเรื่องประกอบด้วย 3 เล่มมี 116 ตอน
• เขียนด้วยประโยคภาษาจีนหรือคัมบุน
• ส่วนมากเป็นตำนานในสมัยนะระ มีการ
บรรยายเรื่องผลกรรมตามความเชื่อทาง
พุทธศาสนาโดยเป็นผลกรรมจากการปฏิบัติตัว
ของชนชั้นสามัญ
• เดิมที พุทธศาสนาและลัทธิขงจื๊อนั้น
หากกล่าวถึงระยะเวลาที่เผยแพร่อย่างกว้าง
ขวางมายังประเทศของเรา (ญี่ปุ่น) มี
ประมาณ 2 ครั้ง ทั้งสองครั้งข้ามทะเลมาจาก
ประเทศเกาหลี
• มีเอกสารคำสอนของลัทธิขงจื๊อเผยแพร่เข้ามา
ในรัชสมัยของจักรพรรดิโอจินซึ่งปกครองบ้าน
เมืองโดยทรงประทับอยู่ที่พระราชวังโทะ
โยะอะกิระ เขตคะรุฌิมะ
แห่งยะมะโตะ
• มีตำราของพุทธศาสนาเผยแพร่เข้ามาในรัชสมัย
ของจักรพรรดิคิมเมะอิซึ่งปกครองบ้านเมืองโดย
ทรงประทับที่พระราชวังคะนะสะฌิ เขต
ฌิกิฌิมะ แห่งยะมะโตะ
• อย่างไรก็ตาม มีผู้ศรัทธาในเอกสารคำสอนของ
ลัทธิขงจื๊อกล่าวถึงคำสอนของพุทธศาสนาใน
ทางไม่ดี และผู้ศรัทธาในตำราของพุทธศาสนา
ไม่เห็นคุณค่าของเอกสารคำสอนของลัทธิขงจื๊อ
• บรรดาผู้คนที่ขาดปัญญาจะหลงทาง ไม่เชื่อหลัก
พื้นฐานที่ว่าหากประกอบกรรมไม่ดีจะได้ผลไม่ดี
หากประกอบกรรมดีจะได้ผลดี แต่บรรดาผู้คนที่
ศรัทธาในพุทธศาสนาและมีปัญญาลุ่มลึกจะเข้า
ถึงได้ทั้งตำราของพุทธศาสนาและเอกสารคำ
สอนของลัทธิขงจื๊อ เชื่อในคำสอนและเกรงกลัว
เรื่องผลจากการประกอบกรรม
『今昔物語集』
こんじゃく
ものがたりしゅう
• วรรณกรรมประเภทตำนานที่รวบรวมตำนานไว้
มากที่สุดที่มีอยู่ในปัจจุบันของญี่ปุ่ น
• ไม่ทราบผู้รวบรวมแต่คาดว่าเป็นพระ
• สันนิษฐานว่าแต่งปลายสมัยเฮอัน(ต้น
ศตว.12)
• เนื้อเรื่องมีทั้งตำนานของอินเดีย จีนและญี่ปุ่ น
• มีทั้งตำนานทางพุทธศาสนาและเรื่องทางโลก
• เนื้อเรื่องประกอบด้วย 31 เล่ม มีมากกว่า
1,000 ตอน
• ปัจจุบันสูญหายไปสามเล่ม ได้แก่ เล่มที่ 8,
18 และ 21
• ทุกตอนเริ่มต้นด้วยคำว่า อิมะ วะ มุกะฌิ
( 今は昔 ) หมายถึง กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
• เล่มที่ 1-5 เป็ นตำนานทางพุทธศาสนาของอินเดีย
• เล่มที่ 6-9 เป็ นตำนานทางพุทธศาสนาของจีน
• เล่มที่ 10 เป็ นตำนานทางโลกของจีน
• เล่มที่ 11-20 เป็ นตำนานทางพุทธศาสนาของญี่ปุ่ น
• เล่มที่ 22-31 เป็ นตำนานทางโลกของญี่ปุ่ น
• เนื้อเรื่องที่เป็นตำนานทางพุทธศาสนามีเนื้อหา
แสดงความเป็นมา การเผยแพร่ และการปลูกฝัง
คำสอนทางพุทธศาสนา และมีเรื่องเล่าแสดงกฎ
แห่งกรรม
• เนื้อเรื่องที่เป็นตำนานทางโลกมีเนื้อหาแสดง
เรื่องราวของบุคคลหลากหลายชนชั้น ตั้งแต่พระ
ราชวงศ์ พระ นักรบ นักวิชาการ เกษตรกร ชาว
ประมง พ่อค้า ขโมย ฯลฯ
• นอกจากนี้ยังปรากฏเรื่องราวของภูต ปี ศาจร้าย
ร่างแปลง และสัตว์โดยเรื่องราวมีความหลาก
หลาย เช่น ความรัก ศิลปะการแสดง เรื่องลี้ลับ
เรื่องชวนหัว
• เรื่องราวเหล่านี้มีทั้งที่เป็ นเรื่องเล่าลือในหมู่ผู้คน
และเรื่องเล่าก่อนนอนซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้รวบรวม
เป็ นผู้มีความสนใจตำนานทางโลกอย่างลึกซึ้ง
• รูปประโยคมีการใช้คำผสมทั้งคำภาษาจีน คำที่
ใช้ในทางโลกหรือโสะกุโงะ ( 俗語 ) และคำศัพท์
ทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นต้นกำเนิดของรูปแบบ
การเขียนที่เรียกว่าวะกังกงโกบุน ( 和漢混交文
) ซึ่งหมายถึง “การเขียนด้วยภาษาจีนสลับกับ
ภาษาญี่ปุ่ น” โดยการนำอักษรจีนมาเขียนแทน
เสียงญี่ปุ่ น แต่ส่วนที่เป็นคำช่วยและการผันท้าย
คำกริยาจะใช้อักษรคะตะคะนะ
เรื่องที่ 1

「卵から生まれた五百人の王子」
ณ ดินแดนแห่งหนึ่งมีมเหสีคนหนึ่งคลอดลูกออกมา
เป็ นไข่ 500 ฟอง นางกลุ้มใจมากจึงแอบเอาไข่ใส่
ตะกร้าไปลอยแม่น้ำ
ตะกร้าลอยไปเมืองด้านข้างที่เป็ นศัตรูกัน เจ้าเมืองนำ
ไข่กลับไปยังปราสาท หลายวันต่อมาไข่ฟักออกมา
เป็ นเจ้าชาย 500 คน
• เจ้าชายเติบโตขึ้นเป็นนักรบที่แข็งแกร่ง เจ้าเมือง
สั่งให้เจ้าชายทั้ง 500 คนไปสู้รบเมืองด้านข้าง
• มเหสีผู้เป็นแม่รู้ว่าทั้ง 500 คนเป็นลูกของตน
จึงออกไปห้ามทัพและบอกว่าถ้าไม่เชื่อว่าเป็น
แม่ลูกกันให้เจ้าชายทุกคนอ้าปากไว้และหัน
หน้ามาทางตน
• มเหสีเปิ ดหน้าอกขึ้น และปรากฏว่ามีน้ำนมไหลออก
มาและเข้าปากเจ้าชาย 500 คนพร้อมกัน
• เจ้าชายจึงเชื่อว่าเป็ นแม่ลูกกันจริง
• ทั้งสองเมืองเลิกรบและเป็ นมิตรต่อกันตั้งแต่นั้นมา
เรื่องที่ 2

「源信僧都の母」
(げんしんそうずのはは)
• Genshinซึ่งก่อนหน้านี้เดินทางไป
ภูเขาHi’eizan และกลายเป็นพระสมณะ
ศักดิ์สูง ได้ส่งของฝากไปให้แม่ที่บ้านเกิด
• Genshinตั้งจิตอธิษฐานไว้ว่าจะอยู่ปฏิบัติ
ธรรมที่ภูเขา และไม่ยอมลงจากภูเขา หากไม่ได้
รับอนุญาตจากแม่
• เมื่อเข้าสู่ปี ที่ 7 ช่วงฤดูใบไม้ผลิ Genshinอยาก
ลงจากภูเขาเพื่อไปหาแม่ แต่แม่ปฏิเสธ
• ต่อมา เมื่อเข้าสู่ปี ที่ 9 Genshinลงจากภูเขา
ตามเสียงร้องของแมลง
• ระหว่างทาง ได้พบกับคนรับใช้ของแม่ที่ถือ
จดหมายของแม่มา
• Genshinได้อยู่กับแม่ในวาระสุดท้ายของแม่
เรื่องที่ 3

「良峯宗貞の出家」
(よしみねのむねさだのしゅっけ)
• Yoshimineเป็นขุนนาง และเป็นที่
โปรดปรานของจักรพรรดิอย่างยิ่ง แต่ไม่เป็นที่
โปรดปรานของพระมเหสี
• หลังจากจักรพรรดิสวรรคตแล้ว
Yoshimineเห็นว่าโลกนี้ล้ วนไม่จีรัง จึง
ออกบวชโดยไม่บอกให้ลูกและเมียรู้
• ลูกและเมียออกเดินทางตามหา
Yoshimineและได้ไปวิงวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ
ที่วัดแห่งหนึ่ง
• ลูกและเมียได้พบกับ Yoshimine
• Yoshimineยืนยันจะปฏิบัติธรรมต่อไป และ
ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Henjou
เรื่องที่ 4

「つはものだてける者」
• ชายคนหนึ่ง เป็นเพียงคนรับใช้ของขุนนางท่าน
หนึ่ง แต่ชอบแสร้งทำเป็นคนกล้าหาญ
• วันหนึ่ง ภรรยาบอกว่า เห็นโจรมา (แท้จริงแล้ว
เป็นเงาของภรรยาในน้ำที่สะท้อนจาก
แสงจันทร์)
• สามีรีบวิ่งไปดู แล้วก็วิ่งตัวสั่นกลับมาหาภรรยา
เพราะเห็นว่า โจรมีดาบใหญ่อยู่ในมือ (แท้จริง
แล้ว โจรนั้นคือเงาของสามีเอง)
• ขณะที่ภรรยากำลังจะวิ่งไปดูโจร ประตูล้มลงมา
จนเกิดเสียงดัง
• สามีคิดว่าโจรบุกมาแล้ว จึงตะโกนร้องเสียงดัง
• ต่อมา เมื่อทั้งคู่รู้ความจริง สามีโทษว่าเป็น
ความผิดของภรรยา
• ภรรยาได้แต่หัวเราะเยาะสภาพของสามี
เรื่องที่ 5

「葦刈り」(あしかり)
• กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง
เป็นชนชั้นล่างและยากจนมาก อาศัยอยู่ใน
เมืองหลวง ไม่มีเพื่อนสนิท ไม่มีพ่อแม่และญาติ
• เนื่องจากไม่มีบ้านของตนเองจึงไปช่วยงานและ
อาศัยอยู่บ้านคนอื่น แต่ไม่ได้รับความสำคัญ
เท่าที่ควรจึงย้ายไปอยู่ที่ต่าง ๆ ที่คิดว่าเหมาะ
สมกว่า
• อย่างไรก็ตาม ทุกที่ต่างเหมือนกันหมด ไม่
สามารถรับใช้เจ้านายต่อไปได้และไม่รู้จะทำ
อย่างไรต่อไป
• ฝ่ ายภรรยาอายุยังน้อย ใบหน้าและกิริยางดงาม
และจิตใจอ่อนโยน
• ฝ่ ายสามีคิดและรู้สึกลำบากใจที่ภรรยาต้องมา
ติดตามตนผู้ยากจนเช่นนี้
• สามีจึงพูดกับภรรยาว่า “ตั้งใจจะใช้ชีวิตร่วมกัน
เช่นนี้ตราบเท่าที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่การที่นับวันยิ่ง
ยากจนมากขึ้นเช่นนี้ หากยังอยู่ร่วมกันต่อไปคง
ไม่ดี ต่างคนต่างควรลองใช้ชีวิตแยกกันจะดีหรือ
ไม่”
• ภรรยาตอบกลับว่า “ข้าพเจ้าไม่คิดเช่นนั้น ทุก
อย่างล้วนเป็นผลกรรมจากชาติก่อนและคิด
เตรียมใจล่วงหน้าไว้แล้วว่าจะต้องอดตายไป
ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม อาจไม่สามารถใช้ชีวิต
ร่วมกันได้แล้วจริง ๆ ถ้าเช่นนั้น ขอให้ลองใช้
ชีวิตแยกกัน”
• สามีคิดว่า “เป็นจริงเช่นนั้น” หลังจากนั้น ทั้งคู่
ให้สัญญาต่อกันว่าจะกลับมาพบกันใหม่ และ
ต่างร้องไห้แล้วแยกทางกัน
• ต่อมาฝ่ ายหญิงเป็นภรรยาของขุนนางท่านหนึ่ง
แต่ฝ่ ายชายยังยากจน ตัด ashi ไปขายที่
อ่าวNaniwa
• ขบวนของขุนนางไปที่อ่าว Naniwa ทำให้
ฝ่ ายหญิงได้พบกับสามีเดิม
• ฝ่ ายหญิงเลี้ยงอาหารและเหล้าสามีเดิม พร้อม
กับฉีกแขนเสื้อและเขียนบทกวีส่งให้
• สามีเดิมอับอายมาก จึงหลบหนีไป

You might also like