You are on page 1of 70

สภาพสังคม การเมือง

การปกครองและอิทธิพล
ต่อวรรณกรรมสมัยนะระ
สมัยนะระ
• ช่วงระยะเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 710-794
• ค.ศ. 710 จักรพรรดิเก็มเมะอิ ( 元明天皇 )
เสด็จจากพระราชวังฟุจิวะระไปประทับที่พระ
ราชวังเฮะอิโจ ( 平城京 ) ที่จังหวัดนะระ นับ
เป็นเมืองหลวงถาวรแห่งแรกของญี่ปุ่ น
สาเหตุการย้ายพระราชวัง
• มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นมากทำให้
พระราชวังฟุจิวะระคับแคบเกินไป
• สมัยนะระได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรม
ราชวงศ์ถัง ประเทศจีน
• พุทธศาสนามีบทบาทสำคัญต่อการ
ปกครองญี่ปุ่ น
• ตระกูลฟุจิวะระมีบทบาทสำคัญและสร้าง
ความมั่นคงให้ตระกูลด้วยการผูกญาติกับ
จักรพรรดิ เช่น ฟุจิวะระ โนะ ฟุฮิโตะส่ง
ลูกสาวให้ไปเป็ นพระมเหสีในจักรพรรดิมม
มุ
• นอกจากนี้ ยังส่งลูกสาวอีกคนไปเป็ นพระ
ชายาของเจ้าชายโอะบิโตะซึ่งเป็ นพระ
ราชโอรสในจักรพรรดิมมมุและต่อมาได้ขึ้น
ครองราชย์เป็ นจักรพรรดิโฌมุ
ระบบการศึกษาในสมัยนะระ
• ในเมืองหลวงมีมหาวิทยาลัย ( 大学 )
• ในท้องถิ่นมีวิทยาลัย ( 国学 )
• วิชาที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย
เหมือนกัน เช่น ลัทธิขงจื๊อ กฎหมาย
คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์
ระบบการศึกษาในสมัยนะระ
• มีการสอบย่อยและสอบประจำปี
• สอบย่อยกระทำทุก 10 วันของการเรียน
• สอบประจำปี กระทำปี ละครั้งเพื่อทดสอบ
เนื้อหาที่เรียนมาตลอดทั้งปี
ระบบการศึกษาในสมัยนะระ
• ผู้มีสิทธิเรียน คือ ลูกหลานของขุนนางใน
เมืองหลวงและผู้ปกครองท้องถิ่นที่มีอายุ
ระหว่าง 13-16 ปี ยกเว้น วิทยาลัยใน
ท้องถิ่นซึ่งหากมีที่นั่งว่างจึงอนุญาตให้ลูก
หลานชาวบ้านเข้าเรียนได้
สิ่งก่อสร้างและประติมากรรม
• มีการสร้างวัดใหญ่และเล็กจำนวนมาก
เช่น วัดโทดะอิ ( 東大寺 )
พระไวโรจนพุทธะหรือดะอิบุท์ซุ ( 大
仏)
• พระพุทธรูปองค์ใหญ่
ที่สุดในญี่ปุ่ น
• มีพิธีเบิกพระเนตร
ใน ค.ศ. 752
สิ่งก่อสร้างและประติมากรรม
• ในวัดมีผลงานศิลปกรรมจำนวนมาก เช่น
ประตูเทะงะอิ ( 転害門 )
ที่พักของคนสมัยนะระ
• ที่พักของชาวบ้านทั่วไปทางตะวันตกเป็ น
แบบอาคารตั้งเสาบนพื้นเรียบกับดิน และ
ค่อย ๆ แพร่หลายไปทางตะวันออก
ที่พักของคนสมัยนะระ
• ที่พักของชาวบ้านทั่วไปทางตะวันออกเป็ น
ที่พักแบบขุดหลุมและมีอาคารเพื่อใช้เป็ น
โกดังเก็บเมล็ดพืช
การใช้ชีวิตหลังแต่งงาน
• สามีมาหาภรรยาที่บ้านของภรรยา
• ผู้เลี้ยงดูลูก คือ พ่อของภรรยา
• หากต่อมา สามีย้ายมาอยู่บ้านของภรรยา
สักระยะหนึ่งแล้วทั้งคู่จะย้ายไปที่พักใหม่
ซึ่งสามีจัดเตรียมไว้
ความเชื่อในสมัยนะระ
• พุทธศาสนามีพลังปกป้ องภัยพิบัติต่าง ๆ
และทำให้ประเทศมีความสงบสุข แต่
ควบคุมพระไม่ให้เผยแพร่พุทธศาสนาต่อ
ชาวบ้านทั่วไป
วรรณกรรมประเภทบันทึกประวัติศาสตร์

•โคะจิกิ
•นิฮนโฌะกิ
โคะจิกิ 『古事記』
• 『古事記』 อ่านว่าKojiki หรือ Furukotobumi
• วรรณคดีประเภทบันทึกประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่ น
• จักรพรรดิTenmuโปรดเกล้าให้Hieda no Are (นักเล่านิทานหญิง) จำเรื่อง
ราวต่างๆไว้ ต่อมาจักรพรรดิGenmei โปรดเกล้าให้Ou no Yasumaroคัด
เลือกเรื่องมาบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
• เสร็จสมบูรณ์ ค.ศ.712
โคะจิกิ หรือ ฟุรุโกะโตะบุ
มิ 『古事記』
• โคะจิกิ หรือ ฟุรุ
โกะโตะบุมิ แปลว่า
“บันทึกเรื่องราวที่
เล่าสืบต่อกันมา”
• โคะจิกิ เขียนด้วย
อักษรจีนเพราะ
สมัยนั้นยังไม่มี
อักษรญี่ปุ่น
古事記 ประกอบด้วย 3 เล่ม
บทนำ (ประวัติการบันทึกเรื่องราวในโคะจิกิ และความ
ลำบากของการใช้อักษรคันจิมาแต่งประโยค)
1. เล่มต้น (เรื่องราวในยุคเทพเจ้า)
2. เล่มกลาง (เรื่องราวในยุคมนุษย์ เนื้อเรื่องแนวตำนาน
เทพเจ้า )
3. เล่มท้าย (เรื่องราวในยุคมนุษย์ เนื้อเรื่องแนวเรื่องเล่าบน
โลกมนุษย์)
ตำนานเทพเจ้าในโคะจิกิ 『古事記』
เทพIzanaki และIzanami กำเนิดขึ้น
ที่ดินแดนTakama no hara ทั้งคู่
ได้รับบัญชาให้มาสร้างโลก และ
ใช้ง้าวกวนให้แผ่นดินแยกจากน้ำ
ทั้งคู่มาอาศัยบนพื้นโลกให้กำเนิด
เกาะต่างๆ รวมทั้งเทพต่างๆ
เทพIzanami ถูกไฟคลอกตายเพราะ
คลอดเทพแห่งไฟออกมา
IzanakiไปหาIzanamiที่ดินแดน
มรณะและจะพากลับไปโลก
แต่ Izanami ทานอาหารของ
ดินแดนมรณะไปแล้ว อย่างไร
ก็ตามนางจะไปขอร้องเทพผู้
ครองดินแดนมรณะแต่มีข้อแม้
ว่าห้ามหันมามองนาง
แต่Izanakiรอนานจึงตาม
เข้าไปดู เมื่อเห็นร่างของ
ภรรยาก็ตกใจ วิ่งหนี
Izanamiไล่ตามมาด้วยความโมโห และกล่าวว่า “จะฆ่าคนบนโลกมนุษย์
วันละ 1,000 คน”
Izanakiตอบว่า “ถ้าเช่นนั้น จะทำให้มีคนเกิดวันละ 1,500 คน”
Izanaki กลับมาโลกมนุษย์และ
ชำระร่างกายให้บริสุทธิ์ที่
แม่น้ำและให้กำเนิดเทพอีก
หลายองค์ เช่น
ให้กำเนิดเทพAmaterasuขณะ
ล้างตาซ้าย
ให้กำเนิดเทพTsukuyomiขณะ
ล้างตาขวา
ให้กำเนิดเทพSusanooขณะล้าง
จมูก
Amaterasuได้รับคำสั่งให้ดูแลดินแดนTakama no hara(สวรรค์)
Tsukuyomiได้รับคำสั่งให้ดูแลโลกยามราตรี
Susanooได้รับคำสั่งให้ดูแลท้องทะเล แต่ไม่ยอมไป เอาแต่ร้องไห้
อยากไปอยู่กับแม่ที่ดินแดนมรณะ แต่ก่อนไป จะไปลาพี่สาวบน
สวรรค์ เมื่อไปสวรรค์ได้สร้างเรื่องราวก่อกวนสวรรค์
Amaterasu หนีไปซ่อนในถ้ำ ทำให้สวรรค์และโลกมืดมิด
บรรดาเทพเจ้าจึงออกอุบายโดยจัดงานรื่นเริง ขับร้อง ร่ายรำหน้าถ้ำ
Amaterasu ออกจากถ้ำ สวรรค์และโลกกลับมาสว่างดังเดิม
Susanooถูกขับไล่ให้ไปอยู่บนโลกมนุษย์ (เมืองIzumo) หมู่บ้านแห่งนี้
มีงูยักษ์ตาแดง มี 8 หัว 8 หางมาจับมนุษย์ไปกินทุกปี
Susanooฆ่างูยักษ์สำเร็จด้วยดาบ
Amaterasuพยายามส่งเทพลงไปโลกมนุษย์หลายองค์เพื่อกำราบเทพบนพื้น
พิภพที่ป่ าเถื่อน แต่ส่งไปองค์แล้วองค์เล่าก็ไม่มีองค์ใดกลับคืนมาบน
สวรรค์ สุดท้ายส่งลงไปอีก 2 องค์และได้เจรจาขอปกครองพื้นพิภพกับ
เทพOokuninushiซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเทพSusanoo

รูปปั้นเทพOokuninushiที่ศาล
เจ้าIzumo
เทพOokuninushiได้ปรึกษากับลูกและสรุปว่ายินดียกพื้นพิภพให้และ
อยู่ภายใต้คำบัญชาของเทพสวรรค์ แต่ขอให้สร้างวังขนาดใหญ่ มี
เสาสูงเสียดฟ้ า เทียบเท่ากับวังของผู้สื บเชื้อสายจากเทพสวรรค์
Amaterasuเห็นว่ากำราบเทพพื้นพิภพได้แล้วจึงส่งเทพNinigiลงไป
ปกครอง และมอบของศักดิ์สิทธิ์ 3 อย่างคือกระจก แก้วมณี ดาบ
Ninigiไปพื้นพิภพและพบกับสาวงามชื่อ Konohana no Sakuyabime
Ninigi ไปสู่ขอจากพ่อของนาง ฝ่ ายพ่อยินดีพร้อมทั้งได้มอบของต่างๆ
มากมาย รวมทั้งมอบ Iwanagahime ซึ่งเป็นพี่สาวของ Sakuyabime
ให้ด้วย แต่ Ninigi ไม่รับเพราะพี่สาวมีรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์
พ่อของหญิงสาวรู้สึกอับอายที่ Ninigi ไม่ยอมรับ
ลูกสาวคนโตและกล่าวว่า “ที่ส่งลูกสาวไป
พร้อมกันสองคนเพราะได้อธิษฐานไว้ว่าหาก
รับลูกสาวคนโตไป บรรดาเชื้อสายแห่งเทพ
สวรรค์จะมีอายุยืนยาวตลอดกาลเหมือนหินผา
หากรับลูกสาวคนรองไป จะพบแต่ความเจริญ
รุ่งเรืองเหมือนดอกไม้ผลิบาน เมื่อท่านส่ง
ลูกสาวคนโตกลับมาเช่นนี้ อายุขัยของผู้สืบ
เชื้อสายแห่งเทพสวรรค์จะสั้นเหมือนดอกไม้”
Sakuyabime ตั้งครรภ์หลังจากมีความสัมพันธ์กับNinigi เพียงคืนเดียว
ทำให้ Ninigi ไม่เชื่อว่าเป็นลูกของตน ดังนั้น Sakuyabime จึง
พิสูจน์โดยสร้างโรงคลอดขนาดใหญ่ซึ่งไม่มีช่องประตู แล้วเข้าไป
อยู่ข้างใน เอาดินกลบปิ ดทางเข้า เมื่อถึงเวลาคลอดก็จุดไฟเผาโรง
คลอดนั้น เทพที่คลอดออกมาอย่างปลอดภัยขณะเปลวไฟลุกโชนมี
3 องค์ ได้แก่ Hoderi Hosuseri และ Hoori ตามลำดับ
ของศักดิ์สิทธิ์ 3 อย่างที่Amaterasuมอบให้เทพNinigiตอนส่งลงไป
ปกครองพื้นพิภพคือกระจก แก้วมณี และดาบ
กระจกเป็นสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์ เป็นสิ่งเชิญเทพให้มาสถิต
เพื่อคุ้มครอง(จากตำนานตอนเชิญAmaterasuออกมาจากถ้ำ)
แก้วมณีเป็นสิ่งที่มีความขลังและมีจิตวิญญาณแห่งเทพสถิตอยู่
ดาบเป็นสิ่งแทนตัวSasanooที่สุดท้ายต้องยอมสยบ
แก่Amaterasuจึงเปรียบเหมือนสื่อของชัยชนะการต่อสู้

ของศักดิ์สิทธิ์ 3 อย่างนี้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงอำนาจและความถูก
ต้องในการปกครองของจักรพรรดิซึ่งมีเทพAmaterasuเป็นผู้
สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง
จักรพรรดิ
องค์แรกของ
ญี่ปุ่ น
แนะนำ
หนังสืออ่าน
เพิ่มเติม
แนะนำ
หนังสืออ่าน
เพิ่มเติม
Nihonshoki 『日本書紀』

• รวบรวมเสร็จสมบูรณ์ใน ค.ศ. 720


• รวบรวมโดยโทะเนะริ ฌินโน และ
โอ โนะ ยะซุมะโระตามพระบรม
ราชโองการของจักรพรรดินีเก็นโฌ
• ประกอบด้วย 30 เล่ม
• โครงสร้างของนิฮนโฌะกิคล้ายกับ
โคะจิกิ คือ เนื้อเรื่องมีทั้งส่วนที่เป็น
เรื่องราวในยุคของเทพเจ้า และเรื่อง
ราวในยุคของมนุษย์
แนะนำ
หนังสืออ่าน
เพิ่มเติม
วรรณกรรมประเภทบทกวี

•มันโยฌู
•คะอิฟูโซ
『万葉集』
まんようしゅう
• ประชุมกวีนิพนธ์ฉบับเก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่ น
• กวีผู้รวบรวมคือOotomo no Yakamochi 大伴家持
• บทกวีแต่งโดยกวีหลายชนชั้น (จักพรรดิ ขุนนาง สามัญชน)
• จำนวนกวีที่แต่ง มีมากกว่า 500 คน
• เขียนด้วยอักษรManyougana 万葉仮名 (อักษรจีนแต่มีเสียง
อ่านผสมทั้งแบบจีนและญี่ปุ่ น)
• มี 20 ม้วน บทกวีประมาณ 4,500 บทส่วนใหญ่เป็นTanka 短歌
(5-7-5-7-7)
• สันนิษฐานว่ารวบรวมเสร็จสมบูรณ์ราวทศวรรษที่ 770
• บทกวีส่วนมากเป็นแบบมะซุระโอะบุริ ( ますらをぶり ) คือ มีความ
เรียบง่ายและมีพลังแข็งแกร่งแบบผู้ชาย
• มีการใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการแต่งบทกวี เช่น มะกุระโกะโตะบะ (
枕詞 ) โจะโกะโตะบะ ( 序詞 )
枕詞(まくらことば)
• คำหรือข้อความที่กำหนดไว้ตายตัวให้วางไว้หน้าคำ
หรือข้อความใดเพื่อให้เกิดความไพเราะ และขยาย
ความหมายของบทกวี ส่วนมากมี 5 พยางค์
• あしひきの เป็ น 枕詞 ของ 山
• あしひきの แปลว่า เดินเท้าปีนขึ้น
ด้วยความยากลำบาก
あしひきの เป็ น 枕詞 ของ 山
あしひきの 山のしづく
妹(いも)待つと
われ立ち濡(ぬ)れぬ
山のしづくに

ขณะที่กำลังยืนรอเธออยู่นั้นฉันเปี ยกชุ่ม
ไปด้วยหยดน้ำจากต้นไม้บนภูเขา
序詞(じょことば)
• คำหรือข้อความที่ไม่กำหนดไว้ตายตัวให้วางไว้หน้า
คำหรือข้อความใดเพื่อให้สามารถเข้าใจบทกวีได้
ชัดเจนขึ้น ไม่จำกัดจำนวนพยางค์
秋山の 樹(こ)の下隠(かく)り
逝(ゆ)く水の
われこそ益(ま)さめ
御思(みおもひ)よりは
ความรู้สึกของข้าพเจ้าลึกซึ้งมากยิ่งกว่าที่จักรพรรดิทรงรู้สึกต่อ
ข้าพเจ้า เปรียบดังน้ำที่ไหลผ่านใต้ต้นไม้บนเทือกเขาในฤดูใบไม้
ร่วงมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
秋山の樹の下隠り逝く水の เป็ น 序詞 ของ
益す
การแบ่งประเภทของบทกวีในมันโยฌู
• แบ่งตามเนื้อหาของบทกวี
• แบ่งตามฉันทลักษณ์
• แบ่งตามช่วงเวลา
บทกวีในมันโยฌู 3 แบบ (แบ่งตามเนื้อหา)
1. โซมน ( 相聞 ) = บทกวีโต้ตอบกันโดยเน้น
เรื่องความรัก
2. บังกะ ( 挽歌 ) = บทกวีแสดงความอาลัยต่อ
ผู้เสียชีวิต
3. โสกะ ( 雑歌 ) = บทกวีอื่น ๆ เช่น งานเลี้ยง
บทกวีในมันโยฌู 4 แบบ (แบ่งตามฉันทลักษณ์)
1. ทังกะ ( 短歌 ) = 5 7 5 7 7
2. โชกะ ( 長歌 ) = 5 7 5 7…5 7 7
3. เซะโดกะ ( 旋頭歌 ) = 5 7 7 5 7 7
4. บุท์ซุโซะกุเซะกิกะ ( 仏足石歌 ) = 5 7 5 7
77
บทกวีในมันโยฌู 4 แบบ (แบ่งตามช่วงเวลา)
1. ช่วงที่ 1 (ค.ศ.619-672) บทกวีเรียบง่ายและสดชื่น
2. ช่วงที่ 2 (ค.ศ.673-710) บทกวีมีพลังและเพิ่มความลุ่ม
ลึก
3. ช่วงที่ 3 (ค.ศ.710-733) บทกวีละเอียดอ่อนและซับซ้อน
4. ช่วงที่ 4 (ค.ศ.734-759) บทกวีอ่อนไหวและสง่างาม
อะสุมะอุตะ ( 東歌 )
• บทกวีที่ใช้คำเรียบง่ายและมีเนื้อหาเกี่ยว
กับการใช้ชีวิตของชาวบ้าน จำนวน
12 กลุ่มบริเวณแคว้นอะสุมะ มี
ประมาณ 240 บท ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง
ซะกิโมะริอุตะ ( 防人歌 )
• บทกวีที่แต่งโดยนักรบที่ปกป้ องเกาะคิวชู
เป็ นเวลา 3 ปี บ้านเกิดของนักรบส่วนมาก
อยู่ที่แคว้นอะสุมะ เนื้อหาแสดงความวิตก
กังวลและโศกเศร้าเพราะแยกจากคนใน
ครอบครัว มีประมาณ 90 บท
บทกวีที่ 741 โดยOotomo no Yakamochi

Ime no ai wa การพบกันในความฝัน
Kurushi kari keri ช่างทุกข์ทรมาน
Odorokite เพราะเมื่อลืมตาตื่นขึ้น
Kakisagure domo แม้จะตามหาเธอ
Te nimo fure neba แต่ก็ไม่อาจสัมผัสมือเธอได้
บทกวีที่ 4361
แต่งโดยOotomo no Yakamochi

Sakurabana ดอกซากูระ
Ima sakari nari ตอนนี้ผลิบานสะพรั่ง
Naniwa no umi ที่ทะเลแห่งอ่าวนะนิวะ
Oshiteru miya ni พระราชวัง
Kikoshimesu nae ทอดพระเนตรจาก
บทกวีที่ 4435
แต่งโดยOotomo no Yakamochi

Fufume rishi ยังไม่ทันที่


Hana no hajime ni ดอกไม้จะเริ่มผลิบาน
Koshi ware ya เมื่อเรามาถึงที่นี่
Chiri nan nachi ni ถึงเวลาต้องโรยรา
Miyakoe yukan เมื่อคราวกลับเมืองหลวง
แนะนำแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม

• http://edb.kulib.kyoto-u.ac.jp/
exhibit/np/manyo.html
『懐風藻』
かいふうそう
懐風藻(かいふうそう)

• ประชุมบทกวีจีนเก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่ น
• ไม่ทราบชื่อผู้รวบรวม
• เสร็จสมบูรณ์ ค.ศ. 751
• มี 1 เล่ม ประมาณ 120 บท
• 2 ใน 3 ของบทกวีมี8วรรค วรรคละ5พยางค์
• บทกวีเป็นผลงานของกวี 64 คน
• กวีส่วนมากเป็นชนชั้นสูง เช่น จักรพรรดิ ขุนนาง
• บทกวีส่วนมากเป็นบทกวีในงานเลี้ยงและการ
ท่องเที่ยว
• 道徳 天訓を承 ( う ) け 塩梅 ( えんばい ) 真
宰 ( しんさい ) に寄す 羞 ( は ) づらくは監撫 (
かんぶ ) の術なきことを 安 ( いづく ) んぞ能 (
よ ) く四海に臨まん
• ได้รับคำสั่งสอนจากสวรรค์ ให้มาสั่งสอนบนโลก
ปกครองแผ่นดินตามคำสั่งสอนของสวรรค์อย่าง
ถูกต้อง ช่างน่าละอายที่ตนไม่มีความสามารถใน
ฐานะผู้ปกครอง ควรจัดการด้านการเมืองเช่นไรดี
• 金烏 西舎に臨み 鼓声 短命を催す 泉路
賓主なし この夕 誰が家にか向ふ
• พระอาทิตย์คล้อยไปทางตะวันตก ถึงเวลาที่
ชีวิตอันแสนสั้นจะดับสูญในเวลาระฆังยามเย็น
การไปยังดินแดนปรโลกเป็นการเดินทางเพียง
ลำพัง พลบค่ำนี้จะไปพักแห่งใด
• 日辺 日本を瞻 雲裏 雲端を望む 遠遊
遠国に労し 長恨 長安に苦しむ
• มองไปยังประเทศญี่ปุ่นบ้านเกิดซึ่งเป็นสถานที่
ที่พระอาทิตย์ขึ้น มองไปยังปลายเมฆที่แผ่กว้าง
เดินทางมาศึกษายังต่างแดนอันห่างไกล ต้อง
ทุกข์ทรมานในต่างแดน คิดถึงความยากลำบาก
อันยาวนานที่ไม่มีวันจบสิ้น ณ เมืองฉางอัน

You might also like