You are on page 1of 16

ตอนที่ ๒

ความรู้เบื้องต้นการประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ
การประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ------------------------ ๒๖
แผนการเรียนรู้ตอนที่ ๒
ชุดการเรียน การศึกษาต่อเนื่องหลักสูตรการประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ
ตอนที่ ๒ ความรู้เบื้องต้นการประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ
เรื่องที่
๒.๑ ใบตองและดอกไม้ในการประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ
๒.๒ วัสดุอุปกรณ์ในการประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญและวิธีเก็บรักษา
๒.๓ เครื่องประกอบพานบายศรีสู่ขวัญ
สาระสาคัญ
การเลือกใช้ใบตองในการจัดทาพานบายศรีสู่ขวัญมีความสาคัญและจาเป็น ในการประดิษฐ์ชิ้นงาน
แต่ล ะส่ว นที่จะน ามาประกอบเป็น พานบายศรีสู่ ขวัญ ผู้ ประดิษฐ์ ต้องเลื อกใบตองให้เหมาะสม ในการ
ประดิษฐ์ควรทาความสะอาดใบตองก่อน ดอกไม้ที่ใช้เป็นดอกไม้มงคลมีหลายชนิดแต่ละชนิดมีวิธีการใช้และ
การเก็บรักษาที่แตกต่างกันออกไป วัสดุและอุปกรณ์ในการประดิษฐ์มีหลายอย่างและเมื่อใช้วัสดุอุปกรณ์
เหล่านั้นแล้วควรเก็บรักษาให้ถูกวิธี
จุดประสงค์การเรียนรู้
เมื่อเรียนรู้ตอนที่ ๒ แล้วผู้เรียนสามารถ
๑. บอกวิธีการเลือกใช้และเก็บรักษาใบตอง และดอกไม้ในการประดิษฐ์ได้
๒. ระบุวัสดุอุปกรณ์ในการดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญและวิธีเก็บรักษาได้
๓. บอกวิธีการจัดเครื่องประกอบพานบายศรีสู่ขวัญได้
กิจกรรมระหว่างเรียน
๑. ศึกษาชุดการเรียน เรื่องที่ ๒.๑ – ๒.๒ ไปพร้อมกับเรียนรู้จากผู้สอน
๒. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายตามเอกสารชุดการเรียนแต่ละเรื่อง
๓. ศึกษาเพิ่มเติมจากดีวีดี
สื่อการเรียนรู้
๑. รูปภาพ และ ตัวอย่างของจริง
๒. ใบตอง ดอกไม้ วัสดุอุปกรณ์
๓. เอกสารประกอบการเรียน และกิจกรรมที่ ๒
๔. วีดิทัศน์ประกอบชุดการเรียน
การประเมินผล
๑. ประเมินจากผลการทากิจกรรมที่ ๒
๒. ประเมินผลจากการทากิจกรรมประเมินครั้งสุดท้าย
อ่านแผนการเรียนรู้ประจาตอนที่ ๒ แล้ว โปรดศึกษาเอกสาร
และฝึกปฏิบัตติ ามคาแนะนาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อศึกษาเอกสารจบตอนแล้วให้ทา
กิจกรรมที่ ๒ ในแบบฝึกปฏิบัติ
การประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ------------------------ ๒๗
เรื่องที่ ๒.๑ ใบตองและดอกไม้ใน
ในการประดิษฐ์พาน
พานบายศรีสูส่ขู วัญ

๒.๑.๑ ใบตองสาหรับประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ
ใบตองที่เหมาะกับงานฝีมือ ควรใช้ใบตองตานี เพราะมีคุณสมบัตินุ่มเหนียวไม่ฉีกขาดง่าย มีสีเขียว
เข้ม เส้นทางตองมีแนวตรง ทางตองกว้าง การเลือกใช้ใบตองตานี ควรเลือกใบตองที่มีทางยาวและใบตองที่
ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป เลือกใบตองอายุกลาง ๆ จะสดใช้ได้ทนนาน ควรตัดใบตองในตอนเย็น แต่ถ้าตัด
ตอนเช้าต้องรอให้สาย ถ้าใบตองยังสดอยู่ให้นามาผึ่งลม เพื่อให้ใบตองหายกรอบก่อน

ภาพที่ ๒.๑ การตัดใบตองจากต้น

๑) การทาความสะอาดใบตอง
การเช็ด เช็ดใบตองให้สะอาด ถ้าใบตองมีคราบสกปรก ใช้ผ้าเนื้อนุ่มชุบน้า บิดให้หมาด ๆ เช็ดตาม
ทางริ้วใบตองทั้งสองด้าน เช็ดจากด้านริมใบตองที่แข็งไปทางด้านริมใบตองที่อ่อน ใบตองที่เช็ดสะอาดแล้ว
จะมีลักษณะความมัน

ภาพ ๒.๒ การทาความสะอาดใบตอง

การประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ------------------------ ๒๘
๒) การฉีกใบตอง
หลังจากเช็ดใบตองแล้วการฉีกใบตองเพื่อใช้ในการประดิษฐ์ก็มีความสาคัญมาก หากฉีกไม่เป็นก็จะ
ทาให้ใบตองฉีกขาดไม่ได้ขนาดตามต้องการ การฉีกใบตองจึงควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนดังนี้

๑ ๒

๓ ๔

๑. วัดใบตองขนาดที่ต้องการเป็นแบบใบแรก
๒. วางแบบบนใบตองใช้เล็บหรือเข็มมือจิกฉีกใบตองดึงขึ้น (ใช้เข็มจะดีที่สุด)
๓. ใช้มือข้างหนึ่งกดใบตองไว้อีกข้างดึงเส้นใยด้านบนกรณีฉีกไม่ขาด
๔. ใบต่อไปทาเช่นเดียวกันโดยใช้ใบตองใบแรกเป็นแบบเพื่อให้มีขนาดที่เท่ากัน ใบตองที่ฉีกแล้ว
ให้คว่าไว้

๓) การตัดเพื่อใช้ในงานประดิษฐ์ เมื่อฉีกใบตองตามขนาดเสร็จแล้ว เพื่อให้ใบตองมีขนาดความยาว


ที่เท่ากันจึงควรตัดออก โดยวิธีการจับใบตองเรียงช่วงโคนใบตอง (ส่วนที่มีเยื่อติด) ให้เสมอกันแล้วตัดปลาย
ออก เพื่อความสะดวกในการประดิษฐ์ และช่วงปลายใบจะเป็นช่วงที่เหลืองและเหี่ยวเฉาเร็วกว่าโคนใบ

ภาพที่ ๒.๓ แสดงวิธีการตัดใบตอง

การประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ------------------------ ๒๙
๔) การเตรียมใบตองเป็นแป้นร้อยมาลัย
ในการประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ หากต้องการประดับตกแต่งพานด้วยการร้อยมาลัยดอกไม้ ควร
เตรียมแป้นสาหรับร้อยมาลัยไว้มีวิธีการพับดังนี้

๑ ๒

๓ ๔
5

๕ ๖

๗ ๘

๑. ฉีกใบตองกว้าง ๑ นิ้ว ยาวสุดใบตอง จานวน ๒ ชิ้นวางโคนใบตองทับกันหงายขึ้น


๒. พับใบตองที่อยู่ด้านล่างขึ้นทับด้านบน
๓. - ๕. พับใบตองอีกชิ้นขึ้นทับสลับกันจนเกือบสุด
๖. – ๘. สอดใบตองส่วนที่เหลือทั้งสองด้านเก็บไว้ด้านในทบพับ จะได้แป้นสาหรับร้อยมาลัย

การประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ------------------------ ๓๐
๒.๑.๒ ดอกไม้ที่ใช้ในการตกแต่งพานบายศรีสู่ขวัญ
ดอกไม้ที่ใช้ในการตกแต่งพานบายศรีสูขวัญส่วนมากเป็นดอกไม้ที่มีชื่อและความหมายเป็นมงคล
ได้แก่ ดอกรัก ดอกบานไม่รู้โรย ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า ใบเงิน ใบทอง ใบนาก ใบแก้ว ใบ
มะยม ฯลฯ จะต้องให้ใหม่และสด จึงจะช่วยให้พานที่จัดแล้วสวยงาม คงทนอยู่ได้นาน
๑) การเลือกใช้และเก็บรักษาดอกไม้
การเลือกใช้และเก็บรักษาดอกไม้ ดอกไม้ที่จะนามาใช้งานควรผึ่งให้นิ่มตามลักษณะการใช้งาน
เพราะถ้าสดมากจะประดิษฐ์ได้ยากและทาให้เกิดรอยซ้าฉีกขาดง่าย เมื่อยังไม่ใช้งานหรือขณะใช้งานควรเก็บ
ดอกไม้ทุกชนิดใส่ถุงให้มิดชิดหรือคลุมด้วยผ้า อย่าให้โดนลม และดอกไม้บางชนิดไม่ควรโดนน้า เช่น ดอกรัก
ดอกพุด ดอกบานไม่รู้โรย เพราะจะทาให้บานและเน่าเร็ว และควรเก็บดอกไม้ไว้ในตู้เย็นช่องปกติหรือช่อง
แช่ผัก ถ้าดอกไม้ที่ประดิษฐ์เสร็จแล้วให้พรมน้าและสะบัดน้าออกก่อนเก็บ
ดอกไม้และใบไม้ การเลือก การใช้ การเก็บ
๑.๑) ดอกดาวเรือง ควรเลือกดอกที่มีกลีบ ตัดก้านดอกตาม ไม่ให้โดนลม ใส่ถุง
แน่นติดอยู่กับ ความต้องการ พรม รัดปาก แช่เย็น
ขั้วดอก กลีบดอกสด น้าได้เบา ๆ
แข็ง สีสดใส กลีบ
ดอกไม่ช้า ก้านดอก
แข็งแรงสีเขียวสด
๑.๒) ดอกพุด ควรเลือกดอกที่สด ถ้าใช้ร้อยมาลัยต้อง ใส่ถุงไม่พรมน้า ไม่ให้
ใหม่ ดอกที่ตูมเล็กสี ผึ่งให้ก้านนิ่ม แต่ โดนลม แช่เย็น
ขาวสะอาด ก้านสด สาหรับการใช้
แข็ง สีเขียวอ่อน ลักษณะอื่น เช่น
การเย็บตาข่าย หรือ
เสียบยอดตัวบายศรี
ต้องใช้ก้านแข็ง
๑.๓) ดอกรัก ควรเลือกดอกที่สด อย่าให้โดนลม ไม่ให้ ใส่ถุงไม่ให้โดนลม
ใหม่ กลีบเลี้ยงสดหุ้ม พรมน้า แช่เย็น
ดอกสีเขียวนวล
กลีบดอกสดแข็งแรง
สีขาวสะอาด

๑.๔) กลีบเลี้ยงดอกรัก เลือกกลีบเลี้ยงที่ อย่าให้โดนลม ไม่พรม ใส่ถุงทั้งดอกไม่ให้


กาลังแย้มบาน กลีบ น้า เมื่อจะใช้จึงปลิด โดนลมแช่เย็น
เลี้ยงสดหุ้มดอกสี ออกจากดอกปลิด
เขียวนวล กลีบเลี้ยงออกจาก
ดอกอย่า
ให้ฉีกขาด

การประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ------------------------ ๓๑
ดอกไม้และใบไม้ การเลือก การใช้ การเก็บ
๑.๕) ดอกกุหลาบมอญ ควรเลือกดอกที่ไม่บาน ปลิดกลีบดอกที่สมบูรณ์ ใส่ถุงไม่ให้โดนลม
หรือตูมเกินไป กลีบสด อย่าให้โดนลมพรมน้า แช่เย็น
ขั้วไม่ซ้า กลีบไม่ร่วง เบา ๆ ให้ทั่วเพื่อรักษา
และเลือกขนาดดอก ความสด
ตามการใช้งาน

๑.๖) ดอกบานไม่รู้โรย เลือกดอกที่ตัดจากต้น ตัดก้านให้สั้นตามขนาด ใส่ถงุ รัดปากถุง แช่เย็น


ใหม่ๆ สังเกตจากดอก ทีต่ ้องการใช้
ยังมีความสด กลีบ
แข็งแรง ก้านดอกแข็ง
สีเขียวสด เลือกใช้ดอก
ที่มีอายุ ขนาดกลาง
ไม่เลือกดอกอ่อนหรือ
แก่จนเกินไป ดอกเบา
ไม่อมน้า
๑.๗) ใบสนฉัตร ควรเลือกใบที่มีความ พรมน้าให้ทั่วใช้เย็บ ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์
อวบกลมเสมอกัน อายุ แบบ ห่อ แช่เย็น
ขนาดกลาง ไม่ควรอ่อน
หรือแก่เกินไป สดและ
ใหม่ สีเขียวเข้มสดเสมอ
กัน ปลายหรือโคนใบ
ไม่ควรเป็นสีน้าตาลหรือ
รอยไหม้
๑.๘) ใบไม้ ได้แก่ ใบกระบือ ควรเลือกใบที่มีอายุ เด็ดจากก้านผึ่งลมให้ ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์
ใบทอง ใบเงิน ใบนาก ใบ ขนาดกลาง ไม่อ่อนไม่ อ่อน ห่อ แช่เย็น
ดอกรัก ใบพลู ใบยอ แก่เกินไป มีความสด
ใหม่ ก้านใบแข็ง สี
สดใสตามธรรมชาติ ไม่
ควรมีรอยหนอน หรือ
แมลงเจาะกัดกินเป็นรู
พรุน ใบไม่ช้าหรือเป็น
รอยฉีกขาด

นอกจากนี้แล้วยังสามารถใช้ดอกไม้อื่นประดับตกแต่งพานบายศรีได้ เช่น ดอกบัว ดอกชบา ดอก


กล้วยไม้ ฯลฯ

การประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ------------------------ ๓๒
๒) การเตรียมดอกไม้ไว้สาหรับใช้ในการตกแต่งพาน
๒.๑) การเตรียมดอกกุหลาบ สาหรับทาดอกข่า ร้อยมาลัย เย็บแบบ มีวิธีการดังนี้

๑ ๒ ๓
๑. จับรวบกลีบดอกกุหลาบรวบขยุ้มเข้าในจีบมือ
๒. หงายจีบมือขึ้นมือส่วนมือที่จับก้านดอกด้านล่างจับให้แน่น
๓. ค่อย ๆ ดึงกลีบดอกที่ยังติดอยู่กับก้านดอกอย่างเบามือจนหลุดหมด
๔. พรมน้าแล้วเก็บใส่ถุงพลาสติกขณะใช้งานอย่าให้โดนลมมากจะ
เหี่ยว

๒.๒) การเตรียมดอกไม้เพื่อประดับตกแต่งพาน
การเตรียมดอกไม้สาหรับเสียบประดับตัวบายศรี นั้นจะใช้ไม้ไผ่ หรือไม้ทางมะพร้าว เหลาเป็นก้าน
หรือลวดทาดอกไม้ มาเสียบเข้ากับดอกไม้ในรูปแบบต่าง ๆ แล้วแต่ผู้จัดพานบายศรีสู่ขวัญจะคิดออกแบบให้
เหมาะสมกับพาน ดังนี้
 ดอกดาวเรือง ถ้าใช้ประดับตกแต่งพานให้ใช้ไม้เสียบอาหารขนาด ๔ นิ้ว เสียบหรือปัก
เข้าก้นดอกให้ปลายแหลมอยู่ด้านล่างเพื่อจะได้ปักยึดเข้ากับพานได้ไม่หลุดร่วง ส่วนการเสียบเพื่อประดับ
ตัวบายศรีควรเลือกดอกที่มีขนาดเล็กแล้วใช้ก้านทางมะพร้าวเหลาเสียบแล้วปักยอดบายศรี ดังภาพ

ภาพที่ ๒.๔ การเตรียมดอกดาวเรืองเพื่อประดับตกแต่งพานและตัวบายศรี

การประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ------------------------ ๓๓
 การเตรียมดอกไม้ประดับตกแต่งตัวบายศรี สามารถใช้ดอกไม้ เช่น ดอกรัก บานไม่รู้โรย
ดอกพุด และดอกไม้อื่น หรือแม้กระทั้งดอกไม้พลาสติก มาใช้เสียบก้านหรือประดิษฐ์เป็นดอกแล้วนามา
เสียบปักเข้ากับนิ้วของตัวบายศรี ดังภาพ

บานไม่รู้โรย รัก พุด รักหงาย บานไม่รู้โรย รักคว่า พุด รัก พุด

พุดพลาสติก บานไม่รู้โรย พุด

รัก ๔ ดอก รักหงาย รักคว่า พุด รักหงาย รักคว่า ชบาหนู

ดอกโป้ยเซียน บานไม่รู้โรย รัก ๓ ดอก ข้าวเหนียวปั้นเป็นบานไม่รู้โรย


ผสมสีเหลือง แดง และดอกรัก

การประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ------------------------ ๓๔
เรื่องที่ ๒.๒ วัสดุอุปกรณ์ในการประดิษฐ์พานบายศรีสขู่ วัญและวิธีเก็บรักษา

๒.๒.๑ วัสดุและอุปกรณ์หลักในการประดิษฐ์
วัสดุอุปกรณ์สิ่งของที่ใช้ในการประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญโดยทั่วไปมีวัสดุอุปกรณ์หลัก ๆ ดังนี้

ด้ายเบอร์ ๖๐ ๘ และ๒๐ ฟลอร่าเทป ไม้จิ้มฟัน

ไม้เสียบอาหาร ขั้วชบาพาสติก โฟม

ตะปูเข็ม เข็มหมุด น้ามันวาสลิน

ลวด ใช้เบอร์ ๒๐ – ๒๔ ถาด อ่างน้า

การประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ------------------------ ๓๕
มีด กรรไกร คีมตัดลวด

เข็มมือ เบอร์ ๖ – ๙ เข็มมาลัย เครื่องเย็บกระดาษ

กระบอกฉีดน้า คัดเตอร์

พานขนาดต่างๆ

การประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ------------------------ ๓๖
๒.๒.๒ การเก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์

เมื่อใช้งานวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เสร็จแล้วควรล้าง เช็ดทาความสะอาด จัดเก็บให้ถูกวิธีเพื่อช่วยยืด


อายุการใช้งาน ดังนี้
๑. วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นเหล็ก เช่น คีมตัดลวด มีดคัดเตอร์ ควรใช้น้ามันหยอดจักร เช็ดและจัดเก็บ
ในห่อกระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อป้องกันสนิมขึ้น
๒. วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นแสตนเลส เช่น กะละมัง มีด เข็ม ควรล้างทาความสะอาดคาบดอกไม้ใบตอง
ออก แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง
๓. ฟอร่าเทปเมื่อใช้เสร็จแล้วควรเก็บใส่ถุงพลาสติกปิดให้แน่นเพื่อป้องกันความเสื่อมของกาว
๔. วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นพลาสติก เช่น พาน กะลัง กล่อง ควรทาความสะอาดด้วยการล้างแล้วเช็ด
ให้แห้ง เก็บให้พ้นแสงแดดเพื่อป้องกันการกรอบแตกหักเสียหาย
๕. กระบอกฉีดน้าเมื่อใช้งานแล้วควรเทน้าทิ้งป้องกันตะกอนน้าอุดตันท่อฉีด
๖. ตะปูเข็ม เข็มหมุด เมื่อใช้งานเสร็จแล้วควรเก็บออกพื้นที่ทางานโดยใช้แม่เหล็กดูดหรือกวาดให้
หมดแล้วบรรจุไว้ในภาชนะปิดฝาให้สนิท กรณีเป็นตะปูเข็มที่ใช้แล้วควรใส่น้ามันจักรไว้กันสนิม
๗. เทีย นเวีย นหั ว ก่อนน าไปใช้ควรเก็บไว้ในที่ มีอากาศเย็ นไม่ร้ อน วางทีพื้ น ราบเรียบรองด้ว ย
กระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อป้องกันการปิดงอจากการถูกความร้อนและสีเทียนตกใส่วัสดุอุปกรณ์อื่น
๘. พานที่ใช้ในการจัดบายศรีสู่ขวัญ เมื่อใช้งานแล้วควรเช็ดทาความสะอาดบรรจุลงในถุงพลาสติก
ขนาดใหญ่มัดให้แน่นป้องกันฝุ่นละอองจับตามซอกมุมลายของพาน

ข้อเสนอแนะ
ตะปูเข็มสาหรับการใช้งานบางงานต้องการความฝืดของตะปูเข็ม จะทาให้ตะปูเข็มขึ้นสนิม
โดยการเอาน้ าพรมทิ้ งไว้ใ ห้ ขึ้น สนิ ม แล้ ว ยกขึ้ น วางบนกระดาษเช็ด ให้ แ ห้ ง น ามาใช้ งานได้ ดีก ว่ า
แบบใหม่ เพราะเมื่ อ ปั ก ลงบนชิ้น งานท าให้ ไม่ เ ลื่ อ นไหลออกมาจากโครงโฟม การท าเช่ น นี้ค วร
พิจารณาชิ้นงานด้วยหากเป็นส่วนหรือองค์ประกอบที่มีสีขาวก็ไม่ควรใช้

การประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ------------------------ ๓๗
เรื่องที่ ๒.๓ เครือ่ งประกอบพานบายศรีสู่ขวัญ

เมื่อจัดทาพานบายศรีเสร็จแล้ว จะนามาตั้งวางบนผ้าขาวบริเวณพิธี โดยข้างพานบายศรีจะมีข้าวของ


เครื่องใช้ของเจ้าของขวัญ พานดอกไม้ แก้วน้า แก้วน้าใส่ส้มป่อย และแก้วเหล้า รวมทั้งอาหารคาวหวาน
เหล่านี้เรียกว่าเครื่องประกอบพานบายศรีสู่ขวัญ หรือท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมเรียกเครื่องคาย
หรือเครื่องสังเวย ประกอบด้วย
๑. ขันธ์ห้า เป็นเครื่องบูชาหมอสูตรขวัญหรือพ่อพรามหณ์ หรือหมอพราหมณ์ ที่เจ้าภาพจัดเตรียม
ไว้ ประกอบด้วย ดอกไม้ ธูป และเทียนอย่างละ ๕ คู่ พร้อมเงินค่ายกครูสมัยก่อนใช้ ๖ สลึง ปัจจุบันจะใช้
เป็นธนบัตรม้วนเป็นมวนมัดด้วยด้ายสายสิญจน์ ตามศรัทธาของเจ้าภาพเพื่อใช้ผูกแขนพราหมณ์ก่อนเริ่มทาพิธี
๒. ไข่ต้มสุก ไข่ต้มเป็นเครื่องหมายแทนขวัญ กล่าวคือ ไข่กับขวัญมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันคือ ไข่มี
เปลือกหุ้มและขวัญมีร่างกายหุ้ม นอกจากนี้การใช้ไข่ต้มสุกในการประกอบพิธีสู่ขวัญ ชาวอีสานยังเชื่อว่าไข่
เป็นสัญลักษณ์ของการเกิด และไข่ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของเจ้าของขวัญ ดังนั้น ไข่จึงเป็นเครื่องหมายของ
ความเป็นศิริมงคล และบางคนยังเชื่อว่าขวัญชอบกินไข่อีกด้วย
๓. กล้วยสุก กล้วยสุกนิยมใช้กล้วยน้าว้า จานวน ๔ ผล เพราะถือว่าเป็นเครื่องสังเวยแก่ เทวดา
และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่สิงสถิตอยู่ทั้ง ๔ ทิศ ชาวอีสานเชื่อว่ากล้วยเป็นสิ่งที่มีบุญคุณต่อมนุษย์ เพราะ
ในช่วงที่เป็นทารก มารดาได้ป้อนกล้วยเป็นอาหาร และกล้วยยังเกิดออกมาจากปลีกล้วย ซึ่งเชื่อว่า กล้วย
เกิดขึ้นมาหลายครั้ง
๔. เทียน ๒ แบบคือ เทียนธรรมดาจัดใส่พานบายศรีจานวน ๕ คู่ และเทียนเวียนหัวปักยอดบนสุด
ของพานอาจปักลงในกรวย หรือมัดไว้แนบข้างกรวยเพื่อให้หมอสูตรจุดบูชาก่อนเริ่มพิธี
๕. ด้ายสาหรับผูกข้อมือ หรือด้ายผูกแขนเป็นด้ายดิบนามาจับเป็นวงยาวพอที่จะพันรอบข้อมือ
เจ้าของขวัญได้ โดยจะจับ ๓ เส้น ๕ เส้น ๗ เส้น ตามโบราณว่าอาชญา ๕ ขี้ข้า ๓ ซึ่งหมายถึงถ้าเป็นคน
ธรรมดาจะใช้ ๓ เส้นต่อหนึ่งวง ส่วนผู้ดีมีศักดิ์ตระกูลใช้ ๕ เส้นต่อวง ในการจัดวางฝ้ายผูกแขนนิยมจัดวาง
ไว้บ นสุ ดของพานบายศรี จึ งมีการผูกฝ้ ายเข้ากับก้านทางมะพร้าวแล้ ว นาไปปักรอบกรวยยอดบายศรี
การวงด้ายผูกข้อมือโบราณจะใช้วิธีเด็ดหรือดึงให้ขาดจะไม่ใช้มีดหรือกรรไกรตัดเพราะการใช้กรรไกรตัด
เฉพาะดัดด้ายผูกข้อมือศพเท่านั้น ในการผูกแขนจะมีวิธีการคือจับฝ้ายผูกแขนด้วยมือทั้งสองแล้วปัดออกไป
ที่ปลายมือเจ้าของขวัญ และกล่าวคือว่า “ฮ้ายกวดหนี” และเมื่อปัดเข้าจะกล่าวคาว่า “ดีกวดใส่” หมายถึง
เมื่อปัดออกจะเป็นการปัดเอาสิ่งชั่วร้ายและมลทินต่าง ๆ ในตัวเจ้าของขวัญออกไป ขณะเดียวกันปัดเข้าก็นา
สิ่งเป็นสิริมงคลต่าง ๆ เข้าสู่ตัวเจ้าของขวัญ

ภาพที่ ๒.๖ การมัดฝ้ายผูกแขนเข้ากับก้านทางมะพร้าวเพื่อเสียบลงพานชั้นบนสุดของบายศรี

การประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ------------------------ ๓๘
๖. ดอกไม้และใบไม้ ดอกไม้ที่ใช้ประดับพานบายศรีจะเป็นดอกไม้มงคล ได้แก่ ดอกดาวเรือง
ดอกรัก ดอกพุด ดอกบานไม่รู้โรย ดอกกุหลาบ เป็นต้น ส่วนใบไม้ ได้แก่ ใบเงิน ใบทอง ใบนาก ใบคูณ
ใบยอป่า เป็นต้น ซึ่งชื่อของดอกไม้และใบไม้จะสื่อถึงความเป็นมงคล เช่น ดอกดาวเรืองแทนความหมายว่า
ทาอะไรก็เจริญรุ่งเรือง ใบคูณ หมายถึง การทาอะไรต่าง ๆ ก็จะค้าคูน ซึ่งคาว่าค้าคูนเป็นภาษาอีสานมี
ความหมายในทางเจริญรุ่งเรืองมั่นคง ให้โชคลาภ
๗. ผ้าหรือข้าวของเครื่องใช้ประจาตัวของเจ้าของขวัญ ผู้จัดพิธีจะนาข้าวของเครื่องใช้ของเจ้า
ของขวัญ ได้แก่ หวี ผ้าแพร ผ้าซิ่น หรือผ้าเช็ดตัว มาวางปูพื้นแล้ววางทับด้วยพานบายศรี บางทีจะได้ยิน
เรียกว่าผ้าผืนแพรวา เพื่อให้ขวัญได้กลิ่นเจ้าตัวจะได้กลับมาหาเจ้าของขวัญได้ถูกต้อง ดังปรากฏในเนื้อ
เพลงราบายศรีสู่ขวัญตอนหนึ่งว่า “อยู่ที่ไหนจงมารับด้ายไชยามาคล้องผ้าแพรขเจ้า”
๘. เหล้า ในการประกอบพิธีสู่ขวัญจะใช้เหล้าขาวเพราะเหล้าขาวกลั่นไม่มีสีจึงเปรียบเสมือนน้าแห่ง
ความบริสุทธิ์ที่ทาให้เกิดความรื่นรมย์ สนุกสนาน จะจัดวางจานวน ๑ ขวด พร้อมแก้วใช้ในขณะกล่าวคา
วิดฟาย ซึ่งเป็นขั้นตอนที่หมอสูตรจะขับไล่ความอัปมงคล และ สิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ ออกจากเจ้าของขวัญหรือ
ผู้ร่วมพิธี การวิดฟายมีวิธีการทาโดยหมอสูตรจะยกแก้วเหล้าหรือแก้วน้า แล้วใช้ใบมะยมหรือหญ้าคามัดเป็น
กาจุ่มลงไปในแก้วแล้วสลัดไปทั่วทิศ น้าจะถูก ผู้เข้าร่วมพิธีหมอสูตรจะกล่าวคาวิดฟายไปด้วย สาหรับ
สู่ขวัญพระสงฆ์ และสู่ขวัญนาค จะไม่ใช้เหล้าขาวแต่ จะใช้น้าหอมน้ามนต์แทน ปัจจุบันจะเห็นว่าใช้เหล้า
อะไรก็ได้ไม่ได้ถือตามอย่างประเพณี บางแห่งงดใช้เหล้าในพิธีบายศรีสู่ขวัญเพื่อส่งเสริมการงดเหล้าใน
งานบุญ
๙. ด้ายสายสิญจน์ ทาด้วยฝ้ายนิยมใช้เป็นใจมาต่อกัน นามาม้วนเป็นก้อน ในพิธีการสู่ขวัญจะถือว่า
เป็นด้ายมงคล เปรียบเสมือนสายใยแห่งความสัมพันธ์ระหว่างผู้มาร่วมงานและหมู่ญาติพี่น้องของเจ้าภาพ
โดยหมอสูตรจะจับริมสุดของด้ายแล้วโยงไปที่เจ้าภาพ ผู้ถูกเรียกขวัญและผู้มาร่วมงานจับต่อกันไปจนสุด
ด้าย หมอสูตรกล่าวคาขวัญจบคนจับสายสิญจน์คนสุดท้ายจะม้วนกลับคืนนามาวางไว้ที่พานบายศรีเช่นเดิม
๑๐. ขันน้ามนต์ การนาน้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพิธี ตามความเชื่อว่าน้าเป็นสัญลักษณ์ของความร่มเย็น
เป็นสุขและความสามัคคี เมื่อเสร็จพิธีจะปะพรมน้ามนต์ไปยังผู้ร่วมพิธี
๑๑. อาหารคาวหวาน เป็นภาชนะจัดแต่งสารับอาหารของชาวอีสานซึ่งเป็นของคู่กันกับพานบายศรี
เรียกว่าพาข้าวซึ่งจะตั้งคู่กับพาขวัญ (พานบายศรี) อาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่น เพิ่มด้วยหมาก
พลู ยาเส้น (บุหรี่) ข้าวต้มมัด ๕ กลีบ กล้วย ๕ ลูก และข้าวสาร ปัจจุบันการแต่งภาชนะคาวหวานอาจจัด
แต่งไว้บนพานบายศรีเลยก็ได้ เช่น จัดวาง ไข่ต้ม ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียว กล้วย ขนมมงคล ไว้ในกระทง
ใบตองแล้วจัดวางในพานชั้นล่างของพานบายศรี โดยไม่จัดแต่งภาชนะคาวหวานต่างหาก และบางแห่งยัง
นิยมจัดแต่งภาชนะอาหารก็จะเห็นว่ามีการจัดอาหารคาว ได้แก่ ไก่ต้ม ปลาย่าง กล้วยเป็นหวี ผลไม้ต่าง ๆ

การประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ------------------------ ๓๙
ภาพที่ ๒.๗ แสดงการจัดเครื่องประกอบพานบายศรีสู่ขวัญจากที่ต่าง ๆ

ภาพที่ ๒.๘ การจัดเครื่องประกอบบายศรีสู่ขวัญที่จะรวมเป็นเดียวกับพานบายศรีสู่ขวัญ

ข้อเสนอแนะ
เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย และเป็นการสะดวกในการจัดหาจัดทาเครื่องประกอบพานบายศรีสู่ขวัญ
และสามารถนาไปใช้ได้เป็นกลาง ๆ ทุกท้องถิ่น มีข้อเสนอแนะดังนี้
o จัดวางไข่ขวัญ ข้าวต้มมัด กล้วยน้าหว้า ขนมมงคล ฝ้ายผูกแขน บนพานบายศรี
o แต่งภาชนะอาหารคาวหวานจัดวางด้านข้างพานบายศรีใช้พานขนาดเล็ก (พาข้าว)
o จัดแต่งขันธ์ ๕ ประกอบด้วย ดอกไม้ ธูป เทียน อย่างละ ๕ คู่ หรืออาจใส่เงิน ๕ บาท หรือ
๒๕ บาทลงไปในพานก็ได้แล้วแต่ความเชื่อ
o จัดวางเหล้า และน้าดื่มสะอาดข้างพานบายศรี (สาหรับพราหมณ์ เวลาสวดจะได้ไม่คอแห้ง)
o อาจจัดแต่งพานอีกพานสาหรับจัดวางข้าวของเครื่องใช้ของเจ้าของขวัญก็ได้

การประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ------------------------ ๔๐

You might also like