You are on page 1of 401

ระดับบัณฑิตศึกษา เล่ม 1

ทีปานิส ชาชิโย
วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน (IF) มหาวิทยาลัยนเรศวร
Thai Scroll Series in Physics - สรรพคัมภีร์แห่งฟิสิกส์
คำนำ
หนังสือกลศาสตร์ควอนตัมเล่มนีเ้ กิดขึ้นด้วยเหตุผลที่ไม่แตกต่างจากหนังสือเรียนเล่มอื่นๆเท่าใด
นัก ที่มีวัตถุประสงค์ก็เพื่อเป็นเนื้อหาประกอบการสอนในวิชากลศาสตร์ควอนตัม ในระดับ
บัณฑิตศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยังไม่มีตาราภาษาไทยที่อธิบายถึงกลศาสตร์ควอนตัมระดับ
ปริญญาโทและเอก ที่มุ่งประเด็นไปที่ความเข้าใจ ไปพร้อมๆกับทักษะการนาคณิตศาสตร์เข้ามา
ช่วยในการแก้ปัญหา โดยที่ตาราส่วนใหญ่จะเข้าสูค่ านิยาม และใช้ Wave Function เป็น
หลัก ซึ่งแตกต่างจากหนังสือเล่มนี้ที่เริ่มแนะนาให้นักศึกษารู้จักกับกลศาสตร์ควอนตัมโดย
ระเบียบวิธีแบบใหม่ ที่ได้ริเริม่ โดยผู้แต่งอย่างเช่น Feynman, Sakurai, และ Townsend ซึ่ง
จะใช้ Matrix Mechanics หรือ State มากกว่าการกล่าวถึง Wave Function ของระบบ

ในแง่ของเนื้อหาและลักษณะการเรียบเรียงนั้น เอกสารฉบับนี้จะเน้นหนักในการอธิบายความ
และยกตัวอย่างที่หลากหลาย ทั้งนี้ก็เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น ทาให้ใน
สายตาของผู้ทมี่ ีความเชี่ยวชาญในด้านกลศาสตร์ควอนตัมอยู่แล้ว รูส้ ึกว่า ภาษาที่ใช้ในเอกสาร
เล่มนี้ ซ้าซ้อนและยืดเยื้อ ถึงกระนั้น เอกสารชุดนีม้ ิได้มีจดุ ประสงค์ที่จะใช้เป็นเอกสารอ้างอิง
ที่จาเป็นต้องใช้ภาษาที่รัดกุมและตรงประเด็น

จริงอยู่ว่า เอกสารฉบับนี้มิใช่หนังสือแปล หากแต่เป็นการเรียบเรียงตามความเข้าใจ และ


ประสบการณ์ของข้าพเจ้าเอง อย่างไรก็ตามเอกสารเล่มนีไ้ ด้รับอิทธิพล ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของ
เนื้อหา แบบฝึกหัด และตัวอย่างในการขยายความ มาจากหนังสือ 3 เล่มด้วยกัน คือ “The
Feynman Lectures on Physics” (Feynman), “A Modern Approach to Quantum
Mechanics” (Townsend), และ “Modern Quantum Mechanics” (Sakurai). ดังนั้น
เครดิตทั้งหมดของเอกสารเล่มนี้ ข้าพเจ้าถือว่าเป็นของผู้แต่งระดับอาจารย์ทั้ง 3 ท่าน

ในท้ายที่สุดนี้ ข้าพเจ้าต้องขอขอบคุณผูเ้ กี่ยวข้องทุกท่าน ที่ช่วยให้การเรียบเรียงเอกสาร เป็นไป


อย่างราบรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณกีรติ มณีสาย และ คุณอดินันท์เจ๊ะซู ซึ่งอานวยความสะดวก
เป็นผู้ช่วยสอนและยังเป็นผู้ตรวจการบ้านประจาวิชา Quantum Mechanics I อีกด้วย

ทีปำนิส ชำชิโย
วิทยำลัยเพื่อกำรค้นคว้ำระดับรำกฐำน (IF), มหำวิทยำลัยนเรศวร
สำรบัญ
1 ตัวแปรพื้นฐำนของกลศำสตร์ควอนตัม
1.1 ธรรมชาติของอะตอม 1-1
1.2 สถานะของระบบ 1-2
1.3 Probability Amplitude 1-3
1.4 Probability และ Probability Amplitude 1-6
1.5 ตัวอย่าง: อิเล็กตรอนภายในกล่อง 1-7
1.6 ตัวอย่าง: การทดลอง Stern-Gerlach 1-12
1.7 วิเคราะห์เชิงลึก การทดลอง Stern-Gerlach 1-16
1.8 คณิตศาสตร์ของ Bra และ Ket 1-22
1.9 บทสรุป 1-27
1.9 ปัญหาท้ายบท 1-28

2 Operator และ Matrix Mechanics


2.1 Operator 2-1
2.2 Basis State 2-6
2.3 Matrix Mechanics 2-13
2.4 Expectation Value และ Uncertainty 2-36
2.5 Rotation Operator 2-44
2.6 บทสรุป 2-52
2.7 ปัญหาท้ายบท 2-54

3. Angular Momentum
3.1 Orbital Angular Momentum และ Spin Angular Momentum 3-2
3.2 Commutation 3-4
3.3  Jˆx , Jˆ y   i Jˆ z 3-6
3.4 Commuting Operator 3-12
3.5 Eigenvalue ของ Angular Momentum 3-14
3.6 สมบัติของ Operator 3-15
3.7 Raising และ Lowering Operator 3-19
3.8 m และ  2 3-23
3.9 Jˆ j, m และ Jˆ j, m 3-28
3.10 บทสรุป 3-30
3.11 ปัญหาท้ายบท 3-32

4 Time Evolution
4.1 Time Evolution Operator 4-1
4.2 Precession ของ Spin 1 Particle ในสนามแม่เหล็ก 4-5
2
4.3 การหมุน 360 องศาของนิวตรอน 4-12
4.4 Magnetic Resonance 4-13
4.5 Ammonia Maser 4-19
4.6 บทสรุป 4-30
4.7 ปัญหาท้ายบท 4-31

5 Interaction ของ Spin


5.1 Hyperfine Splitting 5-1
5.2 Two Spin 1 Particles 5-8
2
5.3 EPR Paradox 5-14
5.4 การรวมกันของ Angular Momentum 5-18
5.5 บทสรุป 5-28
5.6 ปัญหาท้ายบท 5-29

6 Wave Mechanics in One Dimension


6.1 Wave Function และ PositionEigenstate 6-1
6.2 Generator of Translation 6-5
6.3 Momentum Operator 6-11
6.4 Free Particles และ Gaussian Wave Packets 6-16
6.5 Heisenberg Uncertainty Principle 6-25
6.6 Schrödinger Equation 6-28
6.7 Square Well Potential 6-35
6.8 Scattering in One Dimension 6-40
6.9 Ehrenfest Theorem 6-48
6.10 บทสรุป 6-51
6.11 ปัญหาท้ายบท 6-53
7 Harmonic Oscillator
7.1 บทนา 7-1
7.2 Eigen Energy 7-4
7.3 Eigenstate ใน Position Space 7-12
7.4 Quantum Model Versus Classical Model 7-17
7.5 Applications - Einstein’s Model of Specific Heat 7-27
7.6 บทสรุป 7-33
7.7 ปัญหาท้ายบท 7-36

8 Central Potential
8.1 บทนา 8-1
8.2 Orbital Angular Momentum Operator 8-6
8.3 เซตของ Commuting Observables 8-17
8.4 Position Space ในพิกัดทรงกลม 8-22
8.5 Eigen State ของ Hamiltonian 8-27
8.6 Application - Nuclear Magic Number 8-32
8.7 EigenStateของ Lˆz และ L̂2 8-41
8.8 Application - Coulomb Potential 8-50
8.9 บทสรุป 8-63
8.10 ปัญหาท้ายบท 8-67

9 Time Independent Perturbation


9.1 บทนา 9-1
9.2 Non-Degenerate Perturbation Theory 9-6
9.3 Applications 9-14
9.4 Degenerate Perturbation Theory 9-21
9.5 Application - Relativistic Correction 9-29
9.6 Application - Zeeman Effect 9-48
9.7 บทสรุป 9-51
9.8 ปัญหาท้ายบท 9-53
Quantum Mechanics I, Class of 2009

ทีปานิส ชาชิโย ศราวุธ ป้องหา วีรชน มีฐาน คาสอน แก้วทองคา อาดาวรรณ ไวจาปา อดินันท์ เจ๊ะซู

ทีปานิส ชาชิโย (ขวาสุด) และเหล่าคณาจารย์ของ IF ท่านอื่นๆ

ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชม IF นะครับ ดร.หทัยทิพย์ ชาชิโย และ ดร.ทีปานิส ชาชิโย


แด่ทุกผู้คน ในชีวิตของข้าพเจ้า

Email: teepanisc@nu.ac.th
Facebook: https://www.facebook.com/teepanis.chachiyo
Youtube: https://www.youtube.com/user/teepanis
Online Resource:
https://sites.google.com/site/siamphysics/quantum-mechanics
ภาพปก ตะวันทอแสงโดย Uzrilia จาก wallreborn.com
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-1

1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม

เนื้อหา
1.1 ธรรมชาติของอะตอม
1.2 สถานะของระบบ
1.3 Probability Amplitude
1.4 Probability และ Probability Amplitude
1.5 ตัวอย่าง: อิเล็กตรอนภายในกล่อง
1.6 ตัวอย่าง: การทดลอง Stern-Gerlach
1.7 วิเคราะห์เชิงลึก การทดลอง Stern-Gerlach
1.8 คณิตศาสตร์ของ Bra และ Ket
1.9 บทสรุป
1.10 ปัญหาท้ายบท

หัวข้อ 1.1 ธรรมชาติของอะตอม


Quantum Mechanics หรือ กลศาสตร์ควอนตัม เป็นทฤษฏีทางฟิสิกส์ที่อธิบายพฤติกรรมของสสารที่
มีขนาดเล็กในระดับอะตอม สิ่งที่มีขนาดเล็กเช่นนี้ มีคุณสมบัติและพฤติกรรมที่แตกต่างจากสิ่งที่เรา
พบเห็นในชีวิตประจาวันอย่างสิ้นเชิง วัตถุขนาดจิ๋วดังกล่าว ไม่อาจจัดให้อยู่ในประเภทของ
“อนุภาค” อีกทั้งยังไม่ใช่ “คลื่น” เสียเลยทีเดียว พฤติกรรมของมัน แตกต่างไปจากกลุ่มหมอกใน
อากาศ ลูกบอล สปริง หรืออะไรก็ตามแต่ที่เราเคยได้ศึกษามาแล้วในวิชากลศาสตร์ของนิวตัน

ภาพภายในเซลล์จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนประเภท
หนึ่งที่เรียกว่า TEM โดยปรกติแล้วกล้องจุลทรรศน์ที่เรา
คุ้นเคย อาศัยสมบัติความเป็นคลื่นของแสงที่หักเหผ่านเลนส์
ทาให้สามารถมองเห็นวัตถุที่มีขนาดเล็ก แต่การที่
นักวิทยาศาสตร์สามารถนาอิเล็กตรอนมาประยุกต์ใช้ ทา
หน้าที่คล้ายแสง แสดงให้เห็นชัดเจนถึงสมบัติความเป็นคลื่น
ของอิเล็กตรอน (ภาพจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
Melbourne)
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-2

อิเล็กตรอนที่เราเคยคิดว่ามันเป็นอนุภาคนั้น แท้จริงแล้วในหลายๆสถานการณ์ มันก็มสี มบัตคิ ล้ายๆกับ


คลื่น การที่สิ่งที่มีขนาดเล็กๆเช่นนี้ มีคุณสมบัติที่เป็นทั้งคลื่นและอนุภาคในขณะเดียวกัน ได้สร้าง
ความสงสัยให้กับนักฟิสิกส์ในยุคนัน้ อย่างมาก

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของอะตอม และสิ่งต่างๆที่มีขนาดเล็กระดับอะตอม ได้ถูกสะสมมาอย่าง


ต่อเนื่อง จากการทุ่มเทศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ในช่วงกลางศตวรรษ การศึกษาข้อมูลเหล่านี้ ได้
เผยให้เห็นความแปลกประหลาดในเชิงฟิสิกส์ของสิ่งที่มีขนาดเล็กๆ

ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1926 และ ค.ศ. 1927 นักฟิสิกส์ 3 ท่านคือ Schrödinger, Heisenberg, และ
Born ก็สามารถรวบรวมพฤติกรรมเหล่านี้ กาเนิดเป็นกลศาสตร์ควอนตัม และในบทที่ 1 นี้ เราจะ
ได้กล่าวถึงประเด็นหลักๆของทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทั้ง 3 ท่านนี้ ได้ค้นพบ

หัวข้อ 1.2 สถานะของระบบ


ก่อนที่จะกล่าวถึงการนากลศาสตร์ควอนตัมมาอธิบายปรากฏการณ์ตา่ งๆในทางฟิสิกส์นั้น เราจะต้อง
ทาความรู้จักกับคานิยาม และสัญลักษณ์เบื้องต้นกันเสียก่อน ซึ่งถึงแม้คานิยามต่างๆเหล่านี้ จะไม่ใช่
สาระสาคัญอันเป็นแก่นของตัวทฤษฎี เสียเลยทีเดียว แต่ก็เป็นเครือ่ งมือที่ใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหา
ทั้งนี้เพื่อให้เป็นหลักสากลในการสือ่ สาร ระหว่างผู้เขียน ผู้อ่าน และผู้ที่สนใจศึกษาในวิชาแขนงนี้

เมื่อวิเคราะห์ระบบที่ต้องการศึกษาโดยทั่วไปนั้น ไม่ว่าจะเป็นอิเล็กตรอนที่อยู่ภายในอะตอม หรือ


แม้กระทั่งการทอดลูกเต๋า เราจะต้องมีวิธีอธิบายสถานะของระบบนัน้ ๆ ตามระเบียบวิธีของ
กลศาสตร์ควอนตัม เราใช้สญ ั ลักษณ์ ที่เรียกว่า Ket เป็นสัญลักษณ์ แทนสถานะของระบบที่
ต้องการศึกษา ยกตัวอย่างเช่นการทอดลูกเต๋า ซึ่งหลังจากการโยนแต่ละครั้ง ระบบจะมีสถานะที่
เป็นไปได้อยู่ทั้งสิ้น 6 กรณี ดังในภาพ 1.1

1 4 ภาพ 1.1 แสดงถึงการนาสัญลักษณ์ Ket มาแสดงถึงสถานะ


ของระบบ ในกรณีนี้ สถานะของลูกเต๋าที่เกิดขึ้นได้ ภายหลัง
2 5 จากการทอดหนึ่งครั้ง มีได้ทั้งสิ้น 6 หน้าด้วยกัน
3 6

หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง ถ้าเรากาลังพิจารณาเกรดของนักศึกษาที่ลงทะเบียนวิชา Quantum I อยู่ขณะนี้


จะได้ว่า สถานะของระบบที่อาจเป็นไปได้ หลังจากสิ้นสุดภาคการศึกษา มีอยู่ทั้งสิ้น 8 กรณี กล่าวคือ
F , D , D , , B , A
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-3

หัวข้อ 1.3 Probability Amplitude


นอกเหนือไปจากการใช้ Ket มาเป็นคานิยามของสถานะในทางกลศาสตร์ควอนตัมแล้วนั้น
Probability Amplitude ถือได้วา่ เป็นแนวคิดอีกอันหนึ่ง ที่มีความสาคัญเป็นอย่างยิ่งในการทาความ
เข้าใจกลไกภายใน ของตัวทฤษฎี ซึ่งเราจะได้กล่าวถึงในรายละเอียด และยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม
ในลาดับต่อไป

การศึกษาวิชาฟิสิกส์เบื้องต้นในหลายแขนง อาทิ ไฟฟ้าสถิต กลศาสตร์ของนิวตัน หรือทฤษฎีสัมพัทธ


ภาพพิเศษของไอน์สไตน์นั้น ทฤษฎีเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่มีตัวแปรพืน้ ฐาน ที่เป็นปริมาณซึ่งบ่งบอก
สถานะของระบบนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น กลศาสตร์ของนิวตันอาศัยตัวแปรพื้นฐานคือ ตาแหน่ง x
และ โมเมนตัม p ในการบ่งบอกถึงสถานะการเคลื่อนที่ของอนุภาค

หรือ ในเนื้อหาของวิชาไฟฟ้าสถิตที่อาศัย “ศักย์ไฟฟ้า” ซึ่งมีหน่วยเป็น โวลต์ และมีสัญลักษณ์ที่ใช้


ทั่วไปคือ  (r ) เป็นตัวแปรพื้นฐานของระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเชิงไฟฟ้าสถิตนั้น หากเราทราบ
ศักย์ไฟฟ้า ณ ตาแหน่งใดๆ ก็สามารถคานวณหาปริมาณทางฟิสิกส์อื่นๆ ตามมาภายหลัง อาทิเช่น
สนามไฟฟ้า E หรือการกระจายตัวของประจุ  (r ) ดังแสดงในสมการ (1.1) และ สมการ (1.2)
ตามลาดับ

E   (r ) _________________________สมการ (1.1)


 (r )
 2 (r )   _________________________ สมการ (1.2)

หากเราวกกลับมาที่กลศาสตร์ควอนตัมและถามว่า “ตัวแปรพื้นฐานที่บ่งบอกถึงสถานะของระบบนั้น
คืออะไร ?” คาตอบก็คือ “Probability Amplitude”

ตามระเบียบวิธีของกลศาสตร์ควอนตัมนั้น เราใช้ตัวเลขหนึ่งตัว ที่เรียกว่า Probability Amplitude


ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์สองเหตุการณ์ หรือ สถานะสองสถานะ

ยกตัวอย่างเช่น ถ้ากาหนดให้ student เป็นสถานะของนักศึกษาที่กาลังเข้าเรียนในวิชา Quantum I


ในขณะนี้ และ F เป็นสถานะที่นักศึกษาได้เกรด F หลังจากการสิ้นสุดภาคการศึกษา จะ
สามารถเขียนความสัมพันธ์ของสถานะสองอันนี้ ได้ว่า

Probability Amplitude ที่นักศึกษาจะไม่ผ่านวิชานี้  F student


บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-4

ให้สังเกตการใช้สญ
ั ลักษณ์ ซึ่งเรียกว่า Bra-Ket ในการแสดงความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยที่การ
อ่าน จะอ่านจากขวาไปซ้าย ซึ่งจะได้ขยายความในลาดับต่อไป

กฎพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัมก็คือ เราสามารถประเมินค่าความสัมพันธ์ของสถานะสองสถานะ
ออกมาเป็นตัวเลข ซึ่งตัวเลขอันนี้ เรียกว่า Probability Amplitude นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น

F Engineer Student  0.5


A Engineer Student  0.001  0.001i
D Physics Student  0.4  0.2i

ตัวอย่างข้างต้นแสดง “ความสัมพันธ์” ระหว่างนักศึกษาในคณะต่างๆ และ เกรดที่เขาจะได้รับเมื่อ


สิ้นสุดภาคการศึกษา คาว่า ความสัมพันธ์ ในที่นี้ยังมีความหมายทีก่ ากวมเป็นอย่างยิ่ง เพราะการจะ
ขยายความให้ชัดเจนมากไปกว่านี้ ยังเป็นสิ่งที่มีความซับซ้อนอยู่พอสมควร จนเราจะต้องยกไปอธิบาย
ในหัวข้อถัดไป นอกจากนี้ สังเกตว่าตัวเลขที่เราประเมินค่าออกมา ยังเป็นจานวนเชิงซ้อน ซึ่ง
ประกอบด้วยทั้งส่วนที่เป็นจานวนจริงและจานวนจินตภาพ และด้วยความที่เป็นจานวนเชิงซ้อนนี้เอง
จะเห็นว่า การจะตีความคาว่า “ความสัมพันธ์” ให้เฉพาะเจาะจงลงไปนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนัก

นอกจากประเด็นเล็กๆของการใช้สัญลักษณ์ Bra-Ket เพื่อสื่อสารถึง Probability Amplitude


ระหว่างสถานะทั้งสอง ความหมายที่แท้จริงของตัวเลขซึ่งบ่งบอกความสัมพันธ์อันนี้ คืออะไร?

ในเบื้องต้น เนื่องจาก Probability Amplitude เป็นจานวนเชิงซ้อน เราไม่อาจตีความหมายของตัวเลข


อันนี้ ไปเกี่ยวข้องกับปริมาณทางฟิสิกส์ได้โดยตรง เพราะปริมาณทางฟิสิกส์ ซึ่งโดยทั่วไป ได้มาจากการ
วัด การทดลอง หรือบางครั้งจากการใช้ข้อสรุปทางตรรกะ จะต้องเป็นจานวนจริง เช่น มวล 10
กิโลกรัม ระยะทาง 2 กิโลเมตร หรือ เงิน 1 บาท คาตอบก็คือ Probability Amplitude ไม่มี
ความหมายโดยตรง หากแต่มีความเกี่ยวข้องกับความน่าจะเป็น หรือ Probability

ตามระเบียบวิธีทางกลศาสตร์ควอนตัม ทุกครั้งที่เราเห็นเครื่องหมาย B A ซึ่งเรียกว่า Bra-Ket


นักศึกษาต้องตีความว่ามันเป็นเพียงตัวเลขหนึ่งตัว ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง 2 สถานะ กล่าวคือ
Ket A และ Ket B จะสังเกตเห็นว่า ภายในเครื่องหมาย Bra-Ket B A มีองค์ประกอบอยู่
สองส่วนคือ

1) สถานะที่ปรากฏอยู่ทางขวา ซึ่งในที่นี้ก็คือ A จากตัวอย่างที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเกรดของ


นักศึกษา หรือ การโยนลูกเต๋า เมื่อสถานะ Ket ใดๆ ปรากฏอยู่ทางขวา มันมีความหมายเป็นสถานะ
ตั้งต้น หรือ สมมติฐานตั้งต้น
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-5

2) สถานะที่ปรากฏอยู่ทางซ้าย ซึ่งในที่นี้ก็คือ B และเมื่อสถานะ Ket ใดๆ ปรากฏอยู่ทางซ้าย มัน


มีสถานะภาพเป็น ผลที่จะตามมา หรือเหตุการณ์ที่สบื เนื่องถ้าสมมุติฐานในข้อแรกนั้นเป็นจริง
ยกตัวอย่างเช่น

A Engineer Student สมมุติว่ามีนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์


มี Probability Amplitude เท่าใด ที่เขาจะได้เกรด A

4 Even Number สมมุติว่ามีเลขจานวนคู่


มี Probability Amplitude เท่าใด ที่มันจะเป็นเลข 4

v  1m s x  2 m สมมุติว่าเราพบอนุภาค ณ ตาแหน่ง 2 เมตรจากจุดกาเนิด


มี Probability Amplitude เท่าใด ที่มันจะมีความเร็ว 1m s

Engineer Student A สมมุติว่ามีนักศึกษาได้เกรด A


มี Probability Amplitude เท่าใด ที่เขาจะอยู่ในคณะวิศว.

จากตัวอย่างในหลายสถานการณ์ขา้ งต้น

เราอ่านสัญลักษณ์ B A จากขวาไปซ้าย นั่นคือ ถ้ามีสมมุติว่ามีสถานะ Ket A เกิดขึ้น


จะมี Probability Amplitude เท่าใดที่สถานะ Ket B จะเกิดขึ้น ด้วยเช่นกัน _____ สมการ (1.3)

เพราะฉะนั้น เมื่อสถานะ Ket B เข้าไปมีความสัมพันธ์กับสถานะอื่นๆอยู่ภายในเครื่องหมาย


B A เราจะเขียนมันกลับด้าน ให้อยู่ในรูปที่เรียกว่า “Bra” หรือในเชิงสัญลักษณ์ว่า B ทั้งนี้
ข้อแตกต่างระหว่างสถานะ Ket B และ สถานะ Bra B เป็นเพียงข้อแตกต่างของการตีความใน
แง่ลาดับก่อนหลังของความสัมพันธ์ในสมการ (1.3)

ในแง่ของคณิตศาสตร์ สถานะ Ket B และ สถานะ Bra B มีข้อแตกต่างกันเล็กน้อยดังจะได้


กล่าวถึงในลาดับต่อไป

โดยสรุปแล้วก็คือ ทุกๆครั้งที่ Bra มาเจอกับ Ket จะเกิดเป็นตัวเลขจานวนเชิงซ้อน ซึ่งเรียกว่า


Probability Amplitude นั่นเอง
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-6

หัวข้อ 1.4 Probability และ Probability Amplitude


ตามกฎของกลศาสตร์ควอนตัม Max Born ค้นพบว่า เราสามารถคานวณความน่าจะเป็นหรือ
Probability ได้จาก

Probability  Probability Amplitude


2
_______________ สมการ(1.4)

สมมุติว่าเราโยนลูกเต๋าขึ้นไปในอากาศ และในขณะที่ลอยตัวอยู่ในอากาศนั้น แทนสถานะของลูกเต๋า


ด้วยสัญลักษณ์  ซึ่งสถานะดังกล่าว ยังไม่ใช่หน้าใดหน้าหนึ่งของลูกเต๋าเสียเลยทีเดียว เนื่องจาก
มันยังไม่ตกและยังไม่หยุดนิ่งอยู่บนพื้น ตามระเบียบวิธีของกลศาสตร์ควอนตัมนั้น

ความน่าจะเป็นที่ลูกเต๋าจะออกมาเป็นเลขหนึ่ง  1
2
__________ สมการ (1.5)

หรือในตัวอย่างที่สอง เรื่องของเกรดของนักศึกษา โดยที่กาหนดให้สถานะของนักศึกษา ในระหว่างที่


มีการเรียนการสอนอยู่นั้น เป็นสถานะ  จากนั้น เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา

ความน่าจะเป็นที่นักศึกษาคนนี้จะได้เกรด F  F 
2
________ สมการ (1.6)

ในสองสถานการณ์ข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างในชีวิตประจาวันเพื่อสือ่ สารถึงแนวคิดเบื้องต้น ของการ


คานวณความน่าจะเป็น และเราจะได้กล่าวถึงตัวอย่างในทางฟิสิกส์ ซึ่งมีคานิยามที่รดั กุมยิ่งขึ้นในลาดับ
ถัดไป

จะเห็นได้ว่า คานิยามของความน่าจะเป็นตามระเบียบวิธีของกลศาสตร์ควอนตัมดังสมการ (1.5) และ


สมการ (1.6) นั้น มีข้อสังเกตอยู่ 3 ประการดังนี้

1. การแปลความหมายตามสัญลักษณ์ในสมการ (1.5) และ สมการ (1.6) จะอ่านจากขวาไปซ้าย


กล่าวคือ ระบบเริ่มอยู่ในสถานะ  ในขณะที่ลอยอยู่ในอากาศ จากนั้นตั้งคาถามว่า จะมีโอกาส
เท่าไหร่ ทีล่ ูกเต๋าจะหงายออก เป็นหมายเลขหนึ่ง

2. ความน่าจะเป็น คานวณได้จาก Absolute Value ยกกาลังสองของ 1  (ในกรณีของตัวอย่างที่


หนึ่ง) ตัวเลขที่แทนด้วยสัญลักษณ์ 1  เรียกว่า Probability Amplitude ซึ่งใช้บ่งบอก
ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 สถานะใดๆ
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-7

3. Probability Amplitude นั้นไม่ใช่เป็นเพียงเลขจานวนจริง หากแต่เป็นจานวนเชิงซ้อน หรือ


Complex Number ที่ประกอบด้วยทั้งส่วนที่เป็นจานวนจริง และ จานวนจินตภาพ

หัวข้อ 1.5 ตัวอย่าง: อิเล็กตรอนภายในกล่อง


เพื่อให้นักศึกษามีความคุ้นเคยกับระเบียบวิธีของกลศาสตร์ควอนตัม และ คานิยามทีเ่ กี่ยวข้องกับ
สถานะ Ket, Probability Amplitude, และ Probability ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น และให้
นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาของวิชาควอนตัมในระดับบัณฑิตศึกษาในครั้งนี้ เข้ากับเนื้อหา
เบื้องต้น เมื่อครั้งเรียนในระดับปริญญาตรี เราจะมาวิเคราะห์ตัวอย่างของระบบอย่างง่าย ที่เรียกว่า
“อิเล็กตรอนภายในกล่อง”

V  V 

m V 0

x0 xd x0 xd

(a) (b)
ภาพ 1.2 a) ระบบที่ประกอบด้วยอิเล็กตรอนมวล m ซึ่งถูกขังอยู่ภายในกล่องขนาดความยาว d
และ b) แบบจาลองที่ใช้ในการศึกษา โดยให้พลังงานศักย์ V ( x) มีค่าเป็นอนันต์ ณ บริเวณ
ภายนอกของกล่อง ซึ่งสามารถวาดกราฟของ V ( x) ได้ดังภาพ

ดังในภาพ 1.2a ถ้าต้องการศึกษาพฤติกรรมของอิเล็กตรอนที่ถูกขังอยู่ภายในกล่อง โดยใช้กลศาสตร์


ควอนตัม เราสามารถสร้างแบบจาลองของระบบดังกล่าว โดยมองว่ามีอนุภาคมวล m ซึ่งอยู่ภายในบ่อ
พลังงานศักย์ ที่มีขอบบ่อสูงเป็นอนันต์ และมีความกว้างของบ่อเป็นระยะ d โดยจากัดการเคลื่อนที่
อยู่แต่เพียง 1 มิติเท่านั้น ดังที่เห็นในภาพ 1.2b

จากหัวข้อ 1.2 ซึ่งกล่าวถึงสถานะของระบบ เราอาจจะแสดงสถานะของอิเล็กตรอนอันนี้ด้วย


สัญลักษณ์ Ket ดังต่อไปนี้

ให้  แทนสถานะของอิเล็กตรอนในระบบ ________________ สมการ (1.7)

ซึ่งคาว่า “สถานะ” เป็นคาที่มีความหมายกว้างๆ อาจจะรวมไปถึงคุณสมบัติทางฟิสิกส์ในหลายๆ


ประเด็น ไม่ว่าจะเป็น ตาแหน่ง โมเมนตัม พลังงาน หรืออื่นๆ เพื่อให้เฉพาะเจาะจงลงไป สมมุติว่า
เราต้องการที่จะวิเคราะห์ระบบ ในประเด็นที่เกี่ยวกับ ตาแหน่งของอิเล็กตรอน
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-8

ให้ x แทนสถานะของอิเล็กตรอนทีอ่ ยู่ ณ ตาแหน่ง x ใดๆ ___________ สมการ(1.8)

จากนั้นตั้งคาถามว่า “อิเล็กตรอนภายในระบบนั้น มี Probability Amplitude เท่าใด ที่มันจะอยู่ ณ


ตาแหน่ง x ?” คาตอบสามารถเขียนให้อยู่ในรูปสัญลักษณ์แบบ Bra-Ket นัน่ คือ x 

จะเห็นว่า Probability Amplitude ซึ่งเป็นตัวเลขจานวนเชิงซ้อนอันนี้ ย่อมมีค่าเปลีย่ นแปลงไปตาม


ตาแหน่ง x ที่เรากาลังพิจารณาอยู่ ยกตัวอย่างเช่น มันอาจจะมีค่าเป็น 1.23 ที่ตาแหน่งตรงกลางของ
กล่อง และ มีค่าเป็น 3.21+1.23i ณ ตาแหน่งค่อนมาทางซ้าย เป็นต้น การที่ Probability
Amplitude มีค่าเปลี่ยนแปลงไปตามตาแหน่ง x เช่นนี้ เราเรียกอีกอย่างหนึ่งในทางคณิตศาสตร์ว่า
มันเป็นฟังก์ชันของ x หรือ

x    ( x) ___________________________ สมการ (1.9)

เทอมทางขวามือของสมการ (1.9) นั้น เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มผู้ที่เรียนกลศาสตร์ควอนตัมเบื้องต้น ว่า


ก็คือ “Wave Function” นั่นเอง

 ( x)หรือที่เรียกกันว่า Wave Function ก็คือ Probability Amplitude ที่จะพบอิเล็กตรอน (หรือ


อนุภาคที่เรากาลังพิจารณา) ณ ตาแหน่ง x

ข้อควรระวัง นักศึกษาไม่ควรสับสนระหว่าง Probability และ Probability Amplitude ในขณะที่


Probability หรือ ความน่าจะเป็น เป็นปริมาณที่มีความหมายชัดเจนในทางฟิสิกส์ หากแต่
Probability Amplitude เป็นตัวเลขจานวนเชิงซ้อนที่โดยตัวมันเองแล้ว ไม่มคี วามหมายแต่อย่างใด

เมื่อกล่าวถึง Wave Function ในวิชากลศาสตร์ควอนตัมในระดับปริญญาตรีนั้น นักศึกษาจะคุ้นเคย


กับการใช้สมการ Time-Independent Schrödinger เพื่อใช้ในการหา Wave Function โดยที่ใน
ตัวอย่างครั้งนี้ เราจะเพียงยกเอาตัวสมการขึ้นมาใช้ เพียงเพื่อเป็นการทบทวนเท่านั้น และจะกล่าวถึง
รายละเอียดของสมการ Schrödinger ในบทที่ 6

สมการ Time-Independent Schrödinger เป็นสมการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Wave


Function และ พลังงานของอนุภาคใน 3 มิติ ดังนี้
2
  2 (r )  V (r ) (r )  E (r ) _________________ สมการ (1.10)
2m
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-9

ข้อสังเกต ตามหลักที่ถูกต้องแล้ว สมการ Schrödinger หรือ Wave Function ที่กล่าวไว้ในสมการ


(1.9) ก็ดี มีส่วนที่ขึ้นกับเวลา หรืออีกนัยหนึ่ง Wave Function นั้น เป็นฟังก์ชันของเวลาด้วย แต่
ในบทที่ 1 นี้ เพื่อป้องกันความสับสนที่จะเกิดกับนักศึกษาผู้ยังไม่คุ้นเคยกับเนื้อหา เราจึงเลี่ยงที่จะ
กล่าวถึงความสัมพันธ์ในแง่ของเวลาในคราวนี้ และจะได้วกกลับมากล่าวถึงอีกครั้ง ในบทที่ 4 เรื่อง
Time Evolution

ซึ่งเมื่อเรานาสมการดังกล่าวนี้ มาประยุกต์ใช้กับตัวอย่างใน 1 มิติ สมการ (1.10) จะลดรูปให้ง่ายขึน้


ดังนี้
2
2
  ( x)  E ( x) _________________ สมการ (1.11)
2m x 2
 (0)   (d )  0 _________________ สมการ (1.12)

สมการ (1.11) ผนวกกับเงื่อนไขขอบเขตหรือ Boundary Condition ในสมการ (1.12) ทาให้เรา


สามารถเขียน Wave Function ให้อยู่ในรูป

 ( x)  A sin(kx) _________________ สมการ (1.13)

แบบฝึกหัด 1.1 Boundary Condition ในสมการ (1.12) นั้น เป็นสมการทางคณิตศาสตร์ จงให้


เหตุผลในทางฟิสิกส์ว่าเพราะอะไร เราจึงสามารถบอกได้ว่า Wave Function ณ บริเวณขอบของกล่อง
ทางซ้ายและทางขวามีค่าเป็นศูนย์ ?

โดยที่ A และ k นั้นเป็นค่าคงที่ ซึ่งถ้าหากเราสนใจที่จะให้สมการ (1.11) เป็นจริงแต่เพียงอย่างเดียวนัน้


A และ k ย่อมมีค่าเป็นอะไรก็ได้ แต่ด้วยเงื่อนไขขอบเขตทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วในสมการ (1.12) และ
แบบฝึกหัด 1.1 ค่าของ k จะจากัดอยู่แต่ในรูปของ

n
k ________________________ สมการ (1.14)
d

เมื่อ n เป็นเลขจานวนเต็ม 1,2,3,… ส่วนค่าคงที่ A นั้น เราสามารถหาได้จากวิเคราะห์ความสัมพันธ์


ระหว่าง Wave Function และ ความน่าจะเป็น

dP  x 
2 2
dx   ( x) dx _______________ สมการ (1.15)

สัญลักษณ์ dP หมายถึงความน่าจะเป็น (ขนาดเล็กมาก) ที่จะพบอิเล็กตรอนอยู่ภายในช่วงสั้นๆ


ระหว่าง x และ x  dx ซึ่งความน่าจะเป็นดังกล่าว มีค่าเท่ากับ x  2 dx จะเห็นว่า คา
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-10

นิยามของความน่าจะเป็นอันนี้ แตกต่างอยู่บ้างกับคานิยามในหัวข้อ 1.4 ที่ผ่านมา กล่าวคือ มีการ


คูณ dx เข้าไปประกบ แทนที่จะอยู่ในรูปของ x  2 แต่เพียงเท่านั้น

ข้อแตกต่างอันนี้ เกิดจากการทีต่ ัวอย่างที่เรานาเสนอให้หัวข้อที่ผ่านมา เช่นการโยนลูกเต๋า หรือเกรด


ของนักศึกษา ล้วนเป็นกรณีที่มจี านวนสถานะอย่างจากัด กล่าวคือ ลูกเต๋ามีเพียง 6 ด้าน หรือเกรด
มีเพียง 8 ระดับที่เป็นไปได้ แต่จานวนสถานะของงอิเล็กตรอนในสมการ (1.8) ซึ่งแทนด้วยตัวแปร
x นั้น เป็นตัวแปรที่ต่อเนื่อง และมีค่าที่เป็นไปได้หลากหลาย จนนับไม่ถ้วน

ในสถานการณ์เช่นนี้ เราตีความ x 
2
ต่างออกไปจากหัวข้อ 1.4 เล็กน้อย กล่าวคือ

x 
2
ไม่ใช่ ความน่าจะเป็น แต่คือ ความน่าจะเป็น ต่อหนึ่งหน่วยความยาว
dP
หรือ x 
2

dx

ด้วยเหตุนี้ dP  x  2 dx ดังแสดงในสมการ (1.15) และในเมื่อ dP มีความหมายเกี่ยวโยงอยู่


กับความน่าจะเป็น ผลรวมของความน่าจะเป็นทั้งหมด ต้องมีค่าเป็น 1 แต่เนื่องจากเรากาลัง
กล่าวถึงปริมาณทีต่ อ่ เนื่อง ดังนั้นจาต้องเปลี่ยนจากซัมเมชั่น ให้อยู่ในรูปของการอินทิเกรต ดังนี้
 

 dP   dx  ( x)  1 ________________________ สมการ (1.16)


2

 

การที่ทางขวามือของสมการ (1.16) มีค่าเป็น 1 นั้นก็หมายถึง มีโอกาส 100% ที่เราจะพบ


อิเล็กตรอนอยู่ ณ ที่ใดก็ได้สักแห่งในระบบ ซึ่งสมการ (1.16) นั้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
Normalization Condition นั่นเอง

จากสมการ (1.13)-(1.16) จะได้วา่


2 x
 n ( x)  sin( n ) _________________ สมการ (1.17)
d d

จะเห็นว่าในทางคณิตศาสตร์แล้ว Wave Function ในสมการ (1.17) ที่ทาให้ สมการ (1.11) และ


สมการ (1.12) เป็นจริงนั้น มีมากกว่าหนึ่งฟังก์ชัน ดังที่ได้ใช้ดัชนี n เป็นตัวกากับ ในทางฟิสิกส์แล้ว
เราสามารถแปลความได้ว่า อิเล็กตรอนที่อยู่ภายในกล่องดังกล่าว มีอยู่ได้หลายสถานะด้วยกัน ดัง
แสดงเป็นตัวอย่างในภาพ 1.3a
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-11

n=1
n=2
n=3

x0 xd x0 xd

2  x  2 2  x 
 n ( x) 
2
 n ( x)  sin  n  sin  n 
d  L d  L
ภาพ1.3a) แสดง Wave Function โดยยกตัวอย่างมา 3 สถานะด้วยกัน อย่างไรก็ตาม Wave
Function เป็นคานิยามเชิงกลศาสตร์ควอนตัมที่ไม่มีความหมายไปเปรียบเทียบกับปริมาณทาง
ฟิสิกส์ได้โดยตรง 1.3b) แสดง การกระจายตัวของความน่าจะเป็นของอิเล็กตรอน ในสถานะ
ต่างๆกัน

แบบฝึกหัด 1.2 ถ้าแบ่งกล่องในหนึ่งมิติดังแสดงในภาพ 1.2 ออกเป็น 4 ช่อง เท่าๆกัน จงหาความ


น่าจะเป็นที่จะพบอิเล็กตรอนภายในบริเวณช่องแรก ความน่าจะเป็นดังกล่าวนี้ ขึ้นอยู่กับสถานะของ
อิเล็กตรอนตามสมการ (1.17) หรือไม่ อย่างไร

จากเนื้อหาที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น นักศึกษาจะสังเกตเห็นว่าเราสามารถที่จะเชื่อมโยงคานิยาม
อย่างเช่น สถานะ Ket และ Probability Amplitude มาประยุกต์ใช้กับ Wave Function ที่เรา
คุ้นเคยในวิชากลศาสตร์ควอนตัมระดับปริญญาตรี หากแต่ว่าการใช้ Wave Function นั้น มี
ข้อจากัดอยู่มากทีเดียวในการนามาประยุกต์ใช้กับปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ในระดับอะตอม
ยกตัวอย่างเช่น สปิน ซึ่งเป็นปริมาณทางฟิสิกส์ที่มคี ่าไม่ต่อเนื่อง ซึ่งต่างออกไปจากปริมาณทางฟิสิกส์ที่
มีความต่อเนื่องเช่น พิกัดและโมเมนตัม

ดังนั้นในตัวอย่างที่จะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไปนี้ เป็นการทดลองของ O. Stern และ W. Gerlach ในปี


ค.ศ. 1922 ที่เกี่ยวเนื่องกับ “สปิน” ของอะตอม โดยที่ตัวอย่างชิ้นนี้จะแสดงให้เห็นถึงความสาคัญ
และความสะดวกของการศึกษากลศาสตร์ควอนตัม โดยใช้สถานะ Ket และ Probability Amplitude
เป็นหลัก
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-12

หัวข้อ 1.6 ตัวอย่าง: การทดลอง Stern-Gerlach


การหยิบยกเอาการทดลองชิ้นนี้มาศึกษา ก็เพื่อเป็นประโยชน์ใน 3 ประเด็นด้วยกันคือ 1) เพื่อทาให้
นักศึกษาคุ้นเคยกับระเบียบวิธเี บื้องต้นของกลศาสตร์ควอนตัมดังที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยใช้ตัวอย่างจริง
ของการทดลองทางฟิสิกส์ 2) เพื่อใช้ผลการทดลอง ในการแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของ
กลศาสตร์ควอนตัมเมื่อเปรียบเทียบกับกลศาสตร์คลาสสิก และ 3) เพื่อแสดงให้เห็นว่า Probability
Amplitude จะต้องเป็นจานวนเชิงซ้อน

Detector

S S
Beam

N
N
Collimator
(a) (b)
ภาพ1.4 (a) แผนภาพแสดงการทดลองของ O. Stern และ W. Gerlach ในปี ค.ศ. 1922 (b)
ลักษณะการจัดวางตัวของแม่เหล็กขั้วเหนือและขั้วใต้ ที่มีผลทาให้เกิดแรงกระทากับอะตอมที่พุ่งผ่าน
เข้ามา ทิศทางและขนาดของแรงขึ้นอยู่กับสมบัติเชิงแม่เหล็กของตัวอะตอมเอง ซึ่งในท้ายที่สุด
จะทาให้มันไปตกบนแผ่นฟิล์มด้านหลังนั้น ที่ตาแหน่งแตกต่างกัน

จากภาพ 1.4a การทดลองของ Stern-Gerlach ประกอบด้วย ลาอนุภาค (Beam) ซึ่งประกอบด้วย


อะตอมของธาตุเงิน (Silver) ไหลผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า Collimator ซึ่งมีหน้าที่ทาให้ลาของอนุภาค
พุ่งออกมาเป็นเส้นตรง จากนั้น อะตอมจะพุ่งเข้าสู่บริเวณที่เป็นสนามแม่เหล็กซึ่งได้รับการออกแบบ
เป็นพิเศษ ดังในภาพ 1.4b

อะตอมบางประเภท หรืออิเล็กตรอน จะมีสมบัติคล้ายแท่งแม่เหล็กขนาดจิ๋ว กล่าวคือมีโมเมนต์


แม่เหล็ก หรือ Magnetic Moment μ ซึ่งเป็นปริมาณเวคเตอร์ แสดงถึงทิศทางของแท่งแม่เหล็กที่
สามารถจัดเรียงในทิศทางต่างๆกัน และเมื่อ Magnetic Moment ดังกล่าวอยู่ภายในสนามแม่เหล็ก
B ก็จะมีอันตรกิริยาเกิดขึ้นระหว่างโมเมนต์แม่เหล็กของอนุภาค และ สนามแม่เหล็กภายในบริเวณ
ซึ่งสามารถเขียนพลังงานของอันตรกิริยานี้ให้อยู่ในรูป

U  μ  B __________________________ สมการ (1.18)


บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-13

หรือในกรณีที่เรากาหนดให้ ทิศทางของสนามแม่เหล็กเรียงตัวตามแนวแกน z นั่นคือ B  B0 ( z )k


จะได้ว่า

U    z B0 ( z ) __________________________ สมการ (1.19)

เนื่องจากความไม่สม่าเสมอของสนามแม่เหล็กที่ออกแบบดังภาพ 1.4b ทาให้เกิดความไม่สม่าเสมอของ


พลังงานศักย์ดังในสมการ (1.19) ทั้งนี้ ในทางกลศาสตร์คลาสสิกสามารถตีความได้ว่าเกิดแรง

U 
Fz     z B0 ( z ) __________________________ สมการ (1.20)
z z

จากมุมมองของกลศาสตร์คลาสสิก Magnetic Moment μ สามารถชี้ในทิศทางต่างๆกัน ส่งผลให้


องค์ประกอบตามแนวแกน z หรือ z  μ cos มีค่าได้แตกต่างกันขึ้นอยู่กับมุม  ที่ Magnetic
Moment ของอนุภาคนั้นๆกระทากับแกน z

และทิศทางที่แตกต่างกันออกไปของ μ นี้เอง จากสมการ (1.20) ทาให้แรงที่กระทากับอนุภาคตาม


แนวแกน z มีค่าไม่เท่ากันตามไปด้วย ส่งผลให้อนุภาคเบี่ยงเบนออกไปและตกกระทบที่แผ่นฟิล์ม ณ
ตาแหน่งต่างๆกัน

อะตอมของธาตุเงิน มีอิเล็กตรอนอยู่ทั้งหมด 47 ตัว และลักษณะการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนในชั้น


พลังงานต่างๆ เป็น [Kr]5s14d10 ซึ่งก็แสดงว่า ในชั้นระดับพลังงานนอกสุดนั้น มีอิเล็กตรอนอยูเ่ พียงตัว
เดียว (ชั้นระดับพลังงานใดที่มีอิเล็กตรอนจับคู่กับอยู่ครบสองตัว สปินจะหักล้างกันกลายเป็นศูนย์) ทา
ให้สปินสุทธิของอะตอม ทั้งอะตอม มีค่าไม่เป็นศูนย์ เราอาจจะมองในอีกแง่หนึ่งว่า อะตอมดังกล่าว
เป็นแท่งแม่เหล็กเล็กๆอันหนึ่ง ดังที่แสดงในภาพ 1.5a ซึ่งความเป็นแม่เหล็กขนาดจิ๋วนี้ ก็สืบ
เนื่องมาจากสปินของอิเล็กตรอนในชั้น 5s นั่นเอง
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-14

Detector

S
N
S
S
N

(a) (b) (c)


ภาพ1.5 (a) เนื่องมาจากสปินของอิเล็กตรอนที่อยู่ชั้นระดับพลังงานนอกสุดของอะตอม เราอาจ
มองอะตอมเหล่านี้เสมือนกับแม่เหล็กแท่งเล็กๆที่กาลังพุ่งเข้าสู่ชุดทดลองของ Stern-Gerlach (b)
ลักษณะของภาพที่อาจจะเกิดขึ้น โดยใช้กลศาสตร์คลาสสิกมาวิเคราะห์ การที่ภาพปรากฏเป็นแถบที่
ต่อเนื่องนั้น มีที่มาจากสมมติฐานที่ว่า ทิศทางของแนวแกนแม่เหล็กขนาดจิ๋วเหล่านี้ สามารถที่จะ
เรียงตัวอยู่ในทิศใดก็ได้ (c) ลักษณะของภาพที่เกิดขึ้นจากผลการทดลองจริง ที่สะท้อนให้เห็น
ความแปลก ความประหลาดในเชิงพฤติกรรมของระบบที่มีขนาดเล็กๆเช่นอะตอม

ภาพ 1.5a แสดงให้เห็นถึงอะตอม ซึ่งเปรียบเสมือนแม่เหล็กแท่งเล็กๆจานวนมากที่กาลังพุ่งเข้าสู่


สนามแม่เหล็กขนาดใหญ่ โดยอาศัยภาพอันนี้ เราสามารถที่จะเดาได้ว่า ตาแหน่งของมันที่จะไปตก
บนฉากหลัง ก็ขึ้นอยู่กับทิศของ Magnetic Moment ของแต่ละอะตอมนั่นเอง

แบบฝึกหัด 1.3 a) จงทบทวนกลศาสตร์ควอนตัมเบื้องต้น และหาว่า อิเล็กตรอนที่อยู่ในชั้นพลังงาน


5s นี้ มีรูปทรงอย่างไร และ มี Angular Momentum เป็นศูนย์หรือไม่ ? b) เราสามารถที่จะสรุปได้
หรือไม่ว่า ความเป็นแม่เหล็กของอะตอมดังกล่าว สืบเนื่องมาจากการที่ อิเล็กตรอนเคลื่อนที่เป็นวง
โคจรภายในอะตอม แล้วทาให้เกิดกระแสไหล?

ตามหลักการของกลศาสตร์คลาสสิก เราพอจะคาดการณ์ได้ว่า ลักษณะของภาพที่ปรากฏบนฟิล์ม ณ


ฉากด้านหลัง ควรจะเป็นเส้นที่ต่อเนื่อง ดังในภาพ 1.5b ด้วยเหตุผลที่ว่า ความน่าจะเป็นที่จะพบ
แนวแกนแม่เหล็กขนาดจิ๋ว ในทิศทางต่างๆกัน ควรจะมีความเป็นไปได้เท่าๆกัน ไม่ว่าจะเป็นทิศขึน้
ลง หรือทามุมกี่องศาก็แล้วแต่
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-15

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผลการทดลองปรากฏออกมาดังในภาพ 1.5c กล่าวคือ อะตอมของธาตุเงิน


มีทิศของแนวแกนแม่เหล็กอยู่เพียง 2 ทิศด้วยกันคือ ขึ้นกับลง และเนื่องจากความเป็นแม่เหล็กของ
อะตอมดังกล่าว มีที่มาจากสปินของอิเล็กตรอน เราจึงบอกว่า สปินของอิเล็กตรอนก็มไี ด้เพียง 2 ค่า
โดยในเบื้องต้น ให้คิดเสียว่า ค่าทั้งสอง เป็นสิ่งที่วัดได้จากการทดลอง ซึ่งก็คือ  และ  1
2 2

กล่าวโดยสรุปก็คือ ชุดทดลองของ Stern-Gerlach เป็นการทดลองที่สามารถแยกลาของอิเล็กตรอน2


(หรือในที่นคี้ ืออะตอมของธาตุเงิน) ของเป็น 2 สายด้วยกัน คือ แยกเป็นสายที่มสี ปิน  และสายที่มี
2
สปินเท่ากับ 
2

ภาพแสดงไปรษณียบัตรที่ Stern ส่งให้กับ Neil Bohr เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1922 การวางตัว


ของแม่เหล็กเป็นไปในแนวนอน ซึ่งต่างจากภาพ 1.5 ที่วางตัวในแนวตั้ง ภาพทางซ้ายเป็นชุด
ควบคุมที่แสดงถึงแผ่นฟิล์มในขณะที่ไม่มสี นามแม่เหล็ก และภาพทางขวาแสดงชัดเจนถึงการแยก
ของ Beam ของเป็น 2 แถบภายในไปรษณียบัตรมีข้อความ “Attached [is] experimental proof
of directional quantization. We congratulate [you] on the confirmation of your
theory.” [Credit: Friedrich et. al. Physics Today. December. 2003]

1
ในบางครั้ง เราเรียกค่าของสปินเหล่านี้ว่า  1 2 หรือ  2 ทั้งนี้ เป็นเพียงข้อแตกต่างของการใช้ภาษาเท่านั้น
2
เพื่อให้ง่ายในการทาความเข้าใจ ผู้เขียนเลือกที่จะใช้คาว่า อิเล็กตรอน ทั้งๆที่อนุภาคซึ่งพุ่งเข้าไปในสนามแม่เหล็ก คืออะตอมของธาตุเงิน
เพราะลักษณะการเรียงตัวในชั้นพลังงานของอิเล็กตรอนทั้ง 47 ตัวภายในอะตอม ทาให้อะตอมทั้งอัน มีค่าของสปิน เปรียบเสมือนกับอิเล็กตรอน
เพียงตัวเดียวเท่านั้น
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-16

หัวข้อ 1.7 วิเคราะห์เชิงลึก การทดลองของ Stern-Gerlach


ในขั้นต่อไป เราจะศึกษาผลการทดลองของ Stern-Gerlach ในรูปแบบที่หลายหลาย และอาศัยผลการ
ทดลองเหล่านีม้ าทาการวิเคราะห์ โดยอาศัยระเบียบวิธีทางกลศาสตร์ควอนตัม

ในหัวข้อที่กาลังจะกล่าวถึงนี้ แม้จะเป็นเนื้อหาทีย่ ดื ยาวอยู่บ้าง แต่ในท้ายที่สุดแล้ว จะนาไปสู่บทสรุปที่


ทาให้กลศาสตร์ควอนตัม แตกต่างออกไปจากฟิสิกส์ทเี่ ราได้เรียนรูม้ า กล่าวคือกลศาสตร์ควอนตัม
จาเป็นจะต้องใช้จานวนเชิงซ้อนเข้ามาร่วมเป็นกลไกของการอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ อย่าง
หลีกเลี่ยงไม่ได้

รูปแบบที่ 1 SGZ-SGZ
ดังที่กล่าวไว้ในหัวข้อ 1.2 เราเริม่ ด้วยการให้คานิยามของสถานะของระบบที่กาลังศึกษา ในการ
ทดลองของ Stern-Gerlach ที่ผ่านมาพบว่า อิเล็กตรอนมีสปินได้เพียง 2 ค่า ดังนั้นเราอาจเขียน
สถานะที่เป็นไปได้ของอิเล็กตรอนได้ดังนี้

Z แทน State ของอิเล็กตรอนที่มีสปินเท่ากับ  เมื่อวัดตามแนวแกน z


2
Z แทน State ของอิเล็กตรอนที่มีสปินเท่ากับ  เมื่อวัดตามแนวแกน z
2

และหากเราจะตีความโดยอนุโลมว่า อิเล็กตรอนเปรียบเสมือนแท่งแม่เหล็กขนาดจิ๋วอันหนึ่ง ซึ่งมี


Magnetic Moment เป็นสมบัตเิ ฉพาะตัว สถานะ  Z ในที่นี้ ก็หมายถึงแกนของแท่งแม่เหล็ก
ขนาดจิ๋วแท่งนี้ มีส่วนที่ชี้ขึ้นในแนว +z นั่นเอง

เมื่อกาหนดให้สนามแม่เหล็กขนาดใหญ่ เรียงตัวตามแนวแกน z ดังในภาพ 1.5a ซึ่งจะมีอันตรกิริยากับ


แท่งแม่เหล็กจิ๋วของอนุภาค (สปินของมัน) ส่งผลให้ตัวอนุภาค เคลื่อนที่ไปตกลงบนฉาก ไม่ด้านบน ก็
ด้านล่าง ขึ้นอยู่กับสมบัติเชิงสปินของมัน จากนั้นเราลองวิเคราะห์ผลการทดลองของ Stern-
Gerlach (SG) ในรูปแบบที่ 1 ดังแสดงในภาพ 1.6

50
50 SG-Z
100 0
SG-Z 50
ภาพ 1.6 แสดงผลการทดลองของ Stern-Gerlach ในรูปแบบที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยสนามแม่เหล็ก
ขนาดใหญ่ 2 ชุด (SGZ) เรียงตัวตามแนวแกน z ทั้งคู่
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-17

ผลการทดลองปรากฏว่า เมื่ออิเล็กตรอน 100 ตัวพุ่งเข้ามาที่ SGZ ชุดแรก จะมีโอกาสครึ่งต่อครึ่ง ที่


เราจะตรวจพบว่ามันมีสปินเท่ากับ  หรือ  เป็นที่น่าสังเกตว่า ในกรณีของ SGZ ชุดที่สอง
2 2
เราตรวจพบว่า อิเล็กตรอนทั้งหมด 50 ตัวที่เข้ามาใน SGZ ชุดที่สอง มีสปินเป็น  ทั้งหมด
2
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า

1) ถ้าอิเล็กตรอนอยู่ใน State  Z (ดังที่ได้ตรวจพบใน SGZ ชุดที่หนึ่ง) Probability ที่เราจะพบ


อิเล็กตรอนดังกล่าวนี้ อยู่ใน State  Z ในการวัดของ SGZ ชุดที่สอง มีค่าเป็น 1 และโดยอาศัย
รูปแบบของสัญลักษณ์ในหัวข้อ 1.4 จะได้ว่า

 1 ______________________ สมการ (1.21)


2
Z Z

2) ถ้าอิเล็กตรอนอยู่ใน State  Z (ดังที่ได้ตรวจพบใน SGZ ชุดที่หนึ่ง) Probabilityที่เราจะพบ


อิเล็กตรอนดังกล่าวนี้ อยู่ใน State Z ในการวัดของ SGZ ชุดที่สอง มีค่าเป็น 0

 0 _______________________ สมการ (1.22)


2
Z  Z

จะเห็นว่า สมการ (1.21) และ สมการ (1.22) นั้น ได้มาจากการนาผลการทดลองมาสังเคราะห์ในแง่


ของความน่าจะเป็น ผนวกกับคานิยามดังที่กล่าวมาแล้วในหัวข้อ 1.2-1.4 อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ง่าย
ต่อการคานวณทางคณิตศาสตร์ ในอนาคต เราสามารถที่เปลีย่ น สมการ (1.21) และ (1.22) ให้อยู่ใน
รูปของ Probability Amplitude ได้ดังนี้

Z Z  1
________________________ สมการ(1.23)
Z  Z  0

ข้อสังเกต ตามหลักที่ถูกต้องในทางคณิตศาสตร์นั้น การเปลี่ยนจากสมการ (1.21) มาเป็นสมการ


(1.23) นั้น โดยหลักการแล้วเป็นการถอดรากทีส่ อง ซึ่งเราจะต้องนา Phase ของจานวนเชิงซ้อนมา
เกี่ยวข้อง กล่าวคือ  Z  Z  ei แต่ผู้เขียนจะไม่กล่าวถึง Phase ในเวลานี้ เพราะจะทาให้
การอธิบายความและเนื้อหา มีความซับซ้อนเกินความจาเป็น
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-18

รูปแบบที่ 2 SGX-SGZ
ในลาดับต่อไปเราลองมาวิเคราะห์ผลการทดลอง ในกรณีที่ชุดสนามแม่เหล็กหลักของ Stern-Gerlach
Experiment ทั้งสองชุด วางตัวในทิศที่ตั้งฉากกัน ดังแสดงในภาพ 1.7b โดยลาอิเล็กตรอนซึ่งพุ่งเข้ามา
ในครั้งแรกจะถูกแยกออกเป็น 2 สายตามแนวแกน x จากนั้นจะเปิดทางให้เฉพาะ Beam ที่มีสถานะ
เป็น  X พุ่งเข้าสู่ SGZ เพื่อทาการตรวจสปินในแนวแกน z

25
50
100 SG-Z
25 (a)
50
SG-Z

Z X
S
S

N (b)
N

ภาพ 1.7a) ผลการทดลองของ Stern-Gerlach รูปแบบที่ 2 b) แสดงทิศทางการวางตัวที่ตั้งฉาก


กันระหว่าง SGX และ SGZ

จากผลการทดลองดังที่แสดงใน ภาพ 1.7a พบว่า ในจานวนอิเล็กตรอนทั้ง 50 ตัว ซึ่งอยู่ในสถานะ


 X มีอยู่บางส่วนที่พบว่ามีสถานะเป็น  Z และ บางส่วนที่พบว่ามีสถานะเป็น  Z ซึ่ง
ในทางกลศาสตร์ควอนตัมเราสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

 X  a  Z  b Z ____________________ สมการ (1.24)

โดยที่สมั ประสิทธิ์ a และ b เป็นตัวเลขที่จะตีความได้ว่า เมื่อนาอิเล็กตรอนที่ทราบแน่ชดั ว่าอยู่ใน


สถานะ  X มาทาการวัดสปินตามแนวแกน z “a” ก็คือ Probability Amplitude ที่จะพบ
อิเล็กตรอนดังกล่าวในสถานะ  Z และ “b” ก็คือ Probability Amplitude ที่จะพบอิเล็กตรอน
ดังกล่าวในสถานะ Z นั่นเอง
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-19

หากสังเกตจานวนของอิเล็กตรอนในภาพ 1.7a จะพบว่า ถ้าอิเล็กตรอนอยู่ใน State  X (ดังที่ได้


ตรวจพบใน SGX ชุดที่หนึ่ง) แล้วความน่าจะเป็นที่เราจะพบว่าอิเล็กตรอนดังกล่าวนี้ อยู่ใน State
 Z (ในการวัดของ SGZ ชุดที่สอง) มีค่าเป็น 1/2 ดังนั้นจากสมการ (1.4) จะได้ว่า

1
Z  X
2
 ________________________ สมการ (1.25)
2

เมื่อแทนคานิยามของ  X ในสมการ (1.24) เข้าไปในสมการ (1.25) และใช้สมการ (1.23) เข้า


ช่วยในการจัดเทอมให้ลดรูปได้ง่ายขึ้น จะได้ว่า

 Z  a  Z  b Z 
2 1

2
a  Z  Z  b Z  Z
2
 _______________________ สมการ(1.26)
2 1
a 
2

และในทานองเดียวกัน ในกรณีของสถานะ Z จะได้ว่า


1
b 
2
______________________ สมการ (1.27)
2

จากสมการ (1.26) และ สมการ (1.27) นั้น ถ้าเราสมมุติว่า a และ b นั้นเป็นเลขจานวนจริง ดังนั้น

1 1
X  Z  Z ____________________ สมการ (1.28)
2 2
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-20

25 Y  X
2

1
(a)
50 2
100 25
50

25  Z Y
2

1
50 2
(b)
SG-Z
100 25
50

ภาพ 1.8 a) Stern-Gerlach รูปแบบที่ 3 b) Stern-Gerlach รูปแบบที่ 4

รูปแบบที่ 3 SGX-SGY
ถ้าสังเกตจากการทดลองในชุดที่ผา่ นมา ซึ่งเริ่มด้วยการวางสนามแม่เหล็กในแนวแกน x ก่อน แล้ว
ตามมาด้วยสนามในแนวแกน z แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทิศทางหรือแกนที่เรากาหนด เป็นสิ่งที่
สมมุติขึ้นเพื่อง่ายต่อการอธิบายเท่านั้น ที่สาคัญ ขอแต่เพียงว่า แนวแกนแม่เหล็กทั้งสองนั้น ตั้งฉากกัน
ก็เพียงพอแล้ว

เพราะฉะนั้น แทนที่จะให้ลาของอิเล็กตรอนพุ่งเข้าใส่ชุด SGX-SGZ ดังในรูปแบบที่ 2 เราสามารถ


เปลี่ยนระบบการเรียงตัวของแม่เหล็กให้อยู่ในรูป SGX-SGY โดยทีผ่ ลการทดลองในแง่ของความน่าจะ
เป็น ก็ควรจะยังคงเดิม ดังแสดงในภาพ 1.8a ดังนั้น ในทานองเดียวกันกับสมการ (1.25) จะได้ว่า

1
Y  X
2
 _________________ สมการ (1.29)
2

สมการข้างต้น มีความหมายว่า ถ้าพบว่าอิเล็กตรอนอยู่ในสถานะ  X อยู่ก่อนแล้ว มีโอกาสอยู่


50% ที่เราจะตรวจพบอิเล็กตรอนดังกล่าวในสถานะ Y อีกครั้งหนึ่ง
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-21

รูปแบบที่ 4 SGY-SGZ
ในลักษณะเดียวกันกับการวิเคราะห์ในรูปแบบที่ 2 เราสามารถที่จะจัดวางแท่งแม่เหล็กของ Stern-
Gerlach Experiment ในรูปของ SGY-SGZ ดังในภาพ 1.8b และนาไปสู่การเขียนสมการในลักษณะ
คล้ายๆกับ สมการ (1.24) ได้ว่า

Y  c  Z  d Z _________________ สมการ (1.30)


และ
1
c 
2
_________________ สมการ (1.31)
2
1
d
2
 ________________ สมการ (1.32)
2

ในที่สุด เราก็มาถึงจุดที่เป็นประเด็นสาคัญของการวิเคราะห์ Stern-Gerlach Experiment ทั้ง 4


รูปแบบดังที่กล่าวมาแล้ว นั่นคือ ระเบียบวิธีของกลศาสตร์ควอนตัมนั้น จะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่
Probability Amplitude จะต้องเป็นตัวเลขที่เป็นจานวนเชิงซ้อน ซึง่ จะได้อธิบายในลาดับต่อไปนี้

ดูผิวเผิน คล้ายกับว่า สมการ (1.31) และ (1.32) นั้น มีคาตอบที่ง่าย นั่นก็คือ คล้ายว่า “c” และ
1
“d” มีค่าเป็น แต่แท้ที่จริงแล้ว เราสามารถพิสูจน์ได้ว่า
2

1 1
Y  Z  Z _________________ สมการ (1.33)
2 2

1 1
เนื่องด้วย ถ้าเรากาหนดอย่างผิดๆว่า Y  Z  Z จะมีผลทาให้สถานะ Y
2 2
เหมือนกันทุกประการกับสถานะ X หรืออีกนัยหนึ่ง Y  X
2
1 ซึ่งขัดกับผลการทดลอง
และสมการ (1.29) อย่างสิ้นเชิง

มีอยู่เพียงวิธีเดียวที่ค่าของสัมประสิทธิ์ c และ d จะทาให้สมการ (1.28) (1.29) (1.31) และ (1.32)


เป็นจริงทั้งหมดพร้อมๆกัน (ซึ่งก็หมายถึงค่าของ c และ d ที่สอดคล้องกับการทดลอง Stern-Gerlach
ทุกๆรูปแบบที่เราได้ศึกษามาทั้งหมด) นั่นก็คือ c  1 และ d  i โดยที่ i เป็นเลขจานวนจินต
2 2
ภาพ i  1 หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง

1 i
Y  Z  Z _________________ สมการ (1.34)
2 2
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-22

1 i
แบบฝึกหัด 1.4 จงพิสูจน์ว่าถ้า Y  Z  Z แล้ว จะทาให้สมการ (1.28) (1.29)
2 2
(1.31) และ (1.32) เป็นจริงทั้งหมดพร้อมกันๆ

จากการทดลองของ Stern-Gerlach ทั้ง 4 รูปแบบ ดังที่เราได้ใช้เวลาพอสมควรในการวิเคราะห์นั้น


สมการ (1.34) ได้แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะตัวของกลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งก็คือ Probability
i
Amplitude จะต้องเป็นจานวนเชิงซ้อน อันจะเห็นได้จาก d ในสมการ (1.34) นั่นเอง
2

แบบฝึกหัด 1.5 จงเขียน  X และ Y ให้อยู่ในรูปของผลบวกของ สถานะ Z และ Z


ในทานองเดียวกันกับสมการ (1.28)และ (1.34)

หัวข้อ 1.8 คณิตศาสตร์ของ Bra และ Ket


ที่ผ่านมาเราได้ใช้การทดลองของ Stern-Gerlach เป็นเครื่องมือในการพิสูจน์ว่า กลศาสตร์ควอนตัม
จาเป็นต้องใช้จานวนเชิงซ้อน เป็นกลไกหลักในการอธิบายถึงพฤติกรรมต่างๆของธรรมชาติ และ
เนื้อหาในหัวข้อ นี้ เราจะมาดูในรายละเอียดถึงเอกลักษณ์ต่างๆในทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ Bra
และ Ket

Superposition
สมมุติให้สญ
ั ลักษณ์ Ket  แทนสถานะของเหรียญที่มีโอกาสจะเป็นไปได้เพียง 2 สถานะคือ หัว
(head) หรือ ก้อย (tail)

หากทราบว่ามันวางนิ่งอยู่บนพื้น และหงายออกก้อย ด้วยข้อมูลอันนี้ เราบอกได้วา่   tail แต่


ในกรณีที่มันกาลังหมุนคว้างอยู่ในอากาศ เราไม่มีข้อมูลที่จะแยกแยะออกได้ว่า  มีสถานะเป็นอะไร
กันแน่ เพราะฉะนั้น ตามระเบียบวิธีทางกลศาสตร์ควอนตัม เราเขียนสถานะของเหรียญให้อยู่ในรูป
Superposition (แปลว่า การผสมกัน หรือ การรวมกัน) ได้ว่า

  a head  b tail __________________ สมการ (1.35)

โดยที่ตัวเลข a และ b มีความเกีย่ วพันธ์กับเปอร์เซ็นต์ของน้าหนัก หรือ อัตราส่วนผสมทีส่ ถานะนั้นๆ


มีอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเหรียญมีความสมมาตร จะได้ว่า  มีโอกาสที่เป็น head หรือ
tail ได้เท่าๆกัน
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-23

อย่างไรก็ตามตัวเลข a และ b ไม่ใช่ความน่าจะเป็นที่จะพบว่าเหรียญหงายออกหัวหรือออกก้อย


แต่ a และ b คือ Probability Amplitude ที่เหรียญจะอยู่ในสถานะ head หรือ tail

นักศึกษาสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงการตีความข้างต้น โดยการนาสถานะ Bra head เข้าไปประกบ


ทางซ้าย ทั้งสองข้างของสมการ (1.35) จะได้ว่า

head   head a head  head b tail


________ สมการ (1.36)
 a head head  b head tail

โดยที่ทางขวามือของสมการ (1.36) นั้น เนื่องจาก a และ b เป็นเพียงตัวเลข จึงสามารถย้าย


ออกมาคูณ ณ ตาแหน่งข้างหน้าของ Bra-Ket เพราะตัวเลข ไม่ว่าจะเป็นจานวนจริง หรือ เลข
จานวนเชิงซ้อน ล้วนมีสมบัติการสลับที่ของการคูณ

เนื่องจากเหรียญ มี 2 สถานะที่เป็นอิสระต่อกัน เพราะฉะนั้น

head tail  0 _______________ สมการ (1.37)


และ
head head  1 _________________ สมการ (1.38)

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ถ้าทราบข้อมูลแน่ชัดแล้วว่าเหรียญหงายออกก้อย โอกาสที่มันจะออกหัว ก็


ย่อมเป็นศูนย์ ส่งผลให้ Probability Amplitude ดังในสมการ (1.37) เป็นศูนย์ตามไปด้วย

เมื่อนาสมการ (1.37) และ (1.38) เข้าไปแทนในสมการ (1.36) จะได้ว่า

head   a _________________ สมการ (1.39)

โดยอาศัยคาอธิบายในหัวข้อ 1.3 เราสรุปจากสมการ (1.39) ได้ว่าความหมายที่ถูกต้องของตัวเลข a


ก็คือ Probability Amplitude ที่ระบบของเรา (ซึ่งก็คือเหรียญที่กาลังลอยคว้างในอากาศ) จะอยู่ใน
สถานะ head

ในเมื่อ a คือ Probability Amplitude หัวข้อ 1.4 บอกเราว่า a 2 ก็คือ Probability ที่เหรียญจะ
หงายออกหัว และในทานองเดียวกัน b 2 ก็คือความน่าจะเป็นที่เหรียญจะหงายออกก้อยนั่นเอง

ในเนื้อหาของวิชาสถิติ เมื่อการโยนเหรียญมีโอกาสที่จะเกิดผลลัพธ์ได้เพียง 2 เหตุการณ์ คือหัวและ


ก้อย ความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์ทั้งสองจะเกิดขึ้น ต้องมีผลรวมสุทธิเป็น 1 หรืออีกนัยหนึ่ง
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-24

a  b  1 __________________ สมการ (1.40)


2 2

ข้อสังเกต a เป็นเลขจานวนเชิงซ้อน เพราะฉะนั้น a 2  aa เมื่อ a คือ Complex Conjugate


ของ a นอกจากนี้ ในกรณีของเหรียญที่มีความสมมาตร ความน่าจะเป็นที่จะมันจะหงายของหัว
หรือก้อยย่อมมีคา่ เท่าๆกัน หรือ a 2  1 2 และ b 2  1 2 แต่ก็ไม่จาเป็นเสมอไป นักพนัน
อาจจะดัดแปลงเหรียญให้จุดศูนย์ถ่วงของน้าหนักค่อนมาทางด้านก้อย เป็นผลให้ a 2  b 2 ก็เป็นได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบที่เรากาลังสนใจศึกษา

ในประเด็นที่เกีย่ วข้องกับ Superposition of States หรือ การผสมกันของสถานะ เราอาจจะสรุป


ให้อยู่ในรูปแบบของภาษาที่เป็นทางการของกลศาสตร์ควอนตัมได้วา่

ให้  เป็นตัวแทนสถานะของระบบ ซึ่งสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของ Superposition

N
   ci  i ____________________ สมการ (1.41)
i 1

เมื่อ  i  คือเซตของสถานะ หรือ เหตุการณ์พื้นฐานต่างๆที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ทั้งหมด ซึ่งมีทั้งสิ้น


N สถานะด้วยกัน เซตของ  i  ดังกล่าว มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Basis States หรือ สถานะ
พื้นฐาน

ซึ่งโดยทั่วไป Basis State มีสมบัตคิ วามเป็น Orthonormal (มาจาก Orthogonal บวกกับ Normal)
หรือ

 i  j   ij ____________________ สมการ (1.42)

เทอมด้านขวามือของสมการ มีค่าเป็น 0 หรือ 1 ขึ้นอยู่กับดัชนี i และ j หาก i  j หรืออีกนัยหนึ่ง


สถานะ  i และ  j เป็นสถานะเดียวกัน ด้านขวามือของสมการจะมีคา่ เท่ากับ 1 แต่จะมีค่า
เท่ากับ 0 หากเป็นคนละสถานะ

สมการข้างต้น สามารถอธิบายเป็นภาษาที่เรียบง่าย โดยอาศัยตัวอย่างของการโยนเหรียญหัวก้อยได้ว่า


หากออกหัวก็คือออกหัว หากรู้ว่าเป็นหัวก็แสดงว่าไม่ได้ออกก้อย นั่นเอง

ในสมการ (1.41) ci ก็คือ Probability Amplitude ของการเกิดสถานะนั้นๆ นั่นก็หมายถึง


บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-25

ci
2
 ความน่าจะเป็นทีร่ ะบบ จะอยู่ในสถานะ i ____________________ สมการ (1.43)
และ
N
 ci  1 ____________________ สมการ (1.44)
2

i 1

สมการ (1.44) เรียกกันโดยทั่วไปว่า Sum Rule ซึ่งเป็นกฎที่บอกว่า ผลรวมของความน่าจะเป็นทั้งหมด


มีค่าเป็นหนึ่งนั่นเอง

จาก Ket ให้เป็น Bra


เมื่อเรานากลศาสตร์ควอนตัมไปประยุกต์เพื่อแก้ปัญหาของระบบที่ซบั ซ้อนมากขึ้น ซึ่งเป็นเนื้อหาในบท
ต่อๆไปนั้น เอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์อีกอันหนึ่งที่จะมีส่วนช่วยในการวิเคราะห์ ก็คือเอกลักษณ์ที่
เกี่ยวข้องกับการเปลีย่ นสถานะ Ket  ในสมการ (1.41) ให้เป็นสถานะ Bra  ซึ่งก็คือ

N
   ci  i ____________________ สมการ (1.45)
i 1

จะสังเกตเห็นว่า สัมประสิทธิ์ ci ในสมการ (1.45) เป็น Complex Conjugate ของสัมประสิทธิ์ ci


ในสมการ (1.41) ความเป็น Complex Conjugate ของสัมประสิทธิ์ดังกล่าวนี้เอง เป็นประเด็น
สาคัญที่นักศึกษาต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง เมื่อทาการวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์

แบบฝึกหัด 1.6 จงใช้สมบัติความเป็น Orthonormal ในสมการ (1.42) และ ใช้ข้อกาหนดที่ว่า


   1 เพื่อพิสูจน์สมการ (1.45)


   

จากหัวข้อ 1.3 เราได้เกริ่นไปแล้วว่า Probability Amplitude เป็นปริมาณพื้นฐานในทางกลศาสตร์


ควอนตัม มันคือเลขจานวนเชิงซ้อน 1 ตัวที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสองสถานะ โดยความสัมพันธ์
อันนี้ เขียนด้วยเครื่องหมายที่เรียกว่า Bra-Ket ซึ่งจะต้องอ่านจากขวาไปซ้าย

ในคราวนี้ สมมุติว่าเราสลับลาดับซ้ายขวา ของสถานะทั้งสอง ดังแสดงในสมการข้างต้น จะมีผลทาให้


ตัวเลข Probability Amplitude ดังกล่าว กลายเป็น Complex Conjugate ของตัวเติม โดย
สามารถพิสูจน์ได้ดังนี้

พิจารณาระบบที่แทนด้วยสถานะ  ซึ่งสามารถเขียนในรูปของ Superposition ได้ว่า


บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-26

N
   ai  i ____________________ สมการ (1.46)
i 1

และในทานองเดียวกัน สมมุติว่าเรามีสถานะ  อีกสถานะหนึ่ง

N
   bj  j ____________________ สมการ (1.47)
j 1

ซึ่งก็สามารถใช้สมการ (1.47) เปลีย่ นให้อยู่ในรูปของ Bra ได้ว่า


N
   bj  j ____________________ สมการ (1.48)
j 1

เพราะฉะนั้น ถ้าเรานา Bra ในสมการ (1.48) ข้างต้นไปประกบกับ Ket ในสมการ (1.46) จะทาให้

 N   N 
     bj  j   ai  i 
 j 1   i 1 
N N
  bj ai  j  i ____________________ สมการ (1.49)
j 1 i 1
N N
  bj ai ji
j 1 i 1

ในสมการข้างต้น เราทาการกระจายซัมเมชั่น และใช้สมบัติความเป็น Orthonormal ของ Basis


State นอกจากนี้ ในสมการ (1.49) จะเห็นว่า Kronecker Delta Function มีค่าเป็นศูนย์เกือบ
ทั้งหมด ยกเว้นเฉพาะในกรณี i  j เพราะฉะนั้น จานวนของซัมเมชั่น จะลดลงจากเดิมที่มีอยูส่ อง
กลายเป็นหนึ่ง
N N
    bi ai   ai bi
i 1 i 1
 ____________________ สมการ (1.50)
N 
 
N 
    aibi    aibi 
 
i 1  i 1 

สมการ (1.50) ข้างต้น ใช้ทักษะเกี่ยวกับเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ Complex


Conjugate อยู่พอสมควร นักศึกษาที่ไม่คุ้นเคยกับประเด็นดังกล่าว ควรที่จะทบทวนเรื่องจานวน
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-27

เชิงซ้อนเบื้องต้น ซึ่งเป็นทักษะทางคณิตศาสตร์ที่เราจาเป็นต้องใช้มากขึ้นไปอีก ในเนื้อหาของบท


ต่อๆไป

โดยอาศัยการเปลี่ยนจาก Ket  ให้เป็น Bra  และนาไปประกบกับ Ket  เราได้มาซึ่ง


ความสัมพันธ์ดังสมการ (1.50) และโดยใช้ลาดับของตรรกะในทานองเดียวกัน สามารถพิสูจน์ได้ว่า
N
    aibi ____________________ สมการ (1.51)
i 1

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสมการ(1.51) และ สมการ (1.50)ร่วมกัน ทาให้เราได้บทสรุป


    ____________________ สมการ (1.52)

ซึ่งก็จะเป็นเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์อีกข้อหนึ่ง ที่จะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์หรือหาผลเฉลย
ของสมการทางกลศาสตร์ควอนตัมในลาดับต่อไป

หัวข้อ 1.9 บทสรุป


ในบทที่1 เราได้เกริ่นถึงธรรมชาติโดยทั่วไปของอะตอม หรือระบบทีม่ ีขนาดเล็กในระดับอะตอมว่าเป็น
สิ่งที่ผิดแผกจากกลศาสตร์นิวตันทีเ่ ราคุ้นเคย ทฤษฏีที่ใช้ในการศึกษาระบบขนาดจิ๋วเหล่านี้ก็คือ
กลศาสตร์ควอนตัมที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดย Schrödinger, Heisenberg, และ Born

เราใช้สัญลักษณ์ทเี่ รียกว่า Ket ในการแสดงสถานะต่างๆที่ต้องการศึกษา และเรียกความสัมพันธ์ของ


สถานะต่างๆเหล่านี้ว่า Probability Amplitude ซึ่งเป็นจานวนเชิงซ้อนที่โดยตัวมันเองแล้วไม่มี
ความหมายทีเ่ ป็นรูปธรรมในทางฟิสิกส์ หากแต่มีความเกี่ยวเนื่องในทางคณิตศาสตร์กบั ความน่าจะเป็น
หรือ Probability ของระบบ

นอกจากนี้ เรายังได้ศึกษาตัวอย่างของระบบที่ปริมาณทางฟิสิกส์มีความต่อเนื่อง คือ Wave Function


ที่แสดงถึง Probability Amplitude (ต่อหนึ่งหน่วยความยาว) ที่อิเล็กตรอนจะไปปรากฏ ณ ตาแหน่ง
ต่างๆ

อีกทั้งระบบที่ไม่ต่อเนื่อง อาทิเช่น สปิน ของอิเล็กตรอน ดังที่ได้เห็นในการทดลองของ Stern-Gerlach


โดยที่ตัวอย่างเหล่านี้ พร้อมกับแบบฝึกหัดที่แทรกอยู่กับเนื้อหา เป็นกลไกสาคัญที่จะทาให้นักศึกษา
เข้าใจในระบบตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม และยังบ่มเพาะความเชี่ยวชาญในด้านการนา
คณิตศาสตร์มาร่วมในการแก้ปญ ั หาอีกด้วย
บทที่ 1 ตัวแปรพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม 1-28

หัวข้อ 1.10 ปัญหาท้ายบท


แบบฝึกหัด 1.7 จงพิสูจน์สมการ (1.51)

 
แบบฝึกหัด 1.8 กาหนดให้  n  cos( )  Z  ei sin( )  Z
2 2
a) จงพิสูจน์ว่า ถ้าเลือก
 และ  ที่เหมาะสมแล้ว จะทาให้ n มีค่าเดียวกัน (หรือ อยู่ในสถานะ
เดียวกัน) กับ  X และ Y ได้
b) จงให้ความหมายของ  และ 

 
แบบฝึกหัด 1.9 ถ้าให้ n  sin( )  Z  ei cos( )  Z จงพิสูจน์ว่า n  n  0 และ
2 2
n n  1
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-1

2 Operator และ Matrix Mechanics

เนื้อหา
2.1 Operator
2.2 Basis State
2.3 Matrix Mechanics
2.4 Expectation Value และ Uncertainty
2.5 Rotation Operator
2.6 บทสรุป
2.7 ปัญหาท้ายบท

ฟิสิกส์คงจะเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ ถ้าสถานะของระบบที่เราต้องการศึกษานั้นหยุดนิ่งอยู่กับที่ และไม่


มีความเปลี่ยนแปลงใดๆเลย หากแต่ในความเป็นจริงแล้วกลศาสตร์ควอนตัมเต็มไปด้วยการ
เปลี่ยนแปลง จากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่งอย่างไม่หยุดนิ่ง

ในบทที่ 1 ที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น ก็เพื่อให้นักศึกษาสามารถที่จะอธิบายสถานะของระบบโดยใช้


ระเบียบวิธีของกลศาสตร์ควอนตัม หากแต่การที่เราสามารถอธิบายว่าระบบอยู่ในลักษณะ
อย่างไรนั้น ไม่เพียงพอในการศึกษาฟิสิกส์ มีความจาเป็นที่จะต้องมีระเบียบแบบแผน ที่
สามารถควบคุมหรือเปลีย่ นแปลงสถานะของระบบนั้นๆได้ด้วย ในบทที่ 2 นี้ เราจะมาเริ่ม
ศึกษากลไกหรือกระบวนการที่ทาให้เกิดการเปลีย่ นแปลงจากสถานะเริ่มต้น ไปเป็นสถานะ
ผลลัพธ์ หรือที่เรียกว่า Operator นั่นเอง

หัวข้อ 2.1 Operator


เมื่อครั้งศึกษากลศาสตร์ควอนตัมเบื้องต้น นักศึกษารู้จักกับคาว่า Operator ด้วยความเข้าใจ
ที่ว่ามันมีความเชื่อมโยงกับกระบวนการวัดหรือการทดลองในทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น เรา
แทนกระบวนการวัดโมเมนตัมของระบบ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า Momentum Operator หรือ
แทนกระบวนการวัดพลังงานจลน์ของระบบด้วยสิ่งที่เรียกว่า Kinetic Energy Operator ซึ่ง
Operator ต่างๆเหล่านี้ ก็จะมีรูปแบบทางคณิตศาสตร์ที่แตกต่างกันออกไป
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-2

ถึงแม้ว่าคานิยามของ Operator ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เป็นคานิยามที่ถูกต้อง แต่มีความหมาย


ที่แคบจนเกินไปและมีข้อจากัดอยูห่ ลายประการ ดังนั้น ในหัวข้อ 2.1 นี้ เราจะมาเริ่มทาความ
รู้จักกับ Operator ของกลศาสตร์ควอนตัมในความหมายที่กว้างมากขึ้น และในหัวข้อ 2.3
เราจึงจะตีกรอบของ Operator ให้แคบลง ซึ่งมีความหมายเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับกระบวนการ
วัด หรือ Measurement ในทางฟิสิกส์

Operator คือ กลไกหรือกระบวนการที่ทาให้เกิดการเปลีย่ นแปลงจากสถานะเริ่มต้น ไปเป็น


สถานะผลลัพธ์

สมมุติว่าเราเตรียมอนุภาคหรืออิเล็กตรอน ให้สปินของมัน ชี้ไปในทิศทาง ที่แทนด้วยสถานะ


X จากนั้น ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ เราต้องการที่เปลี่ยนสถานะของอิเล็กตรอน
ให้กลายเป็น Y ดังในภาพ 2.1

z
N

Y
y
S

X

x
ภาพ 2.1 เราสามารถที่จินตนาการได้วา่ อิเล็กตรอนซึ่งเดิมอยู่ในสถานะ X ถูกเปลี่ยนให้
อยู่ในสถานะ Y ด้วยสิ่งที่เรียกว่า Operator

ในแง่ของการออกแบบการทดลองนั้น การเปลี่ยนสถานะดังกล่าว อาจจะสามารถทาได้ด้วยการ


ป้อนสนามแม่เหล็กที่ขนานกับแนวแกน y เข้าไปในระบบ การบังคับให้สปินของอนุภาคให้มี
ทิศทางตามที่เราต้องการนี้ หาได้เป็นแต่เพียงกระบวนการที่นักทฤษฏีจินตนาการในเชิงวิชาการ
เท่านั้น หากแต่ถูกนามาเป็นประโยชน์ทางเทคโนโลยีที่ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น MRI
(Magnetic Resonance Imaging)

อย่างไรก็ตาม ในเนื้อหาที่กาลังกล่าวถึงนี้ เรายังจะไม่สนใจว่าการที่จะเปลีย่ นสถานะของ


อนุภาคจาก  X ให้เป็น Y นั้น สามารถทดลองให้เห็นจริงได้อย่างไร ในขั้นต้นนี้ เรา
จะมาศึกษาเพียงในเชิงทฤษฏีเท่านั้น
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-3

ตามระเบียบวิธีของกลศาสตร์ควอนตัม การเปลี่ยนแปลงจากสถานะหนึ่ง ไปยังอีกสถานะหนึ่ง


เราเขียนให้อยู่ในรูปทั่วๆไป ดังต่อไปนี้

  Ô  __________________________ สมการ (2.1)

จะเห็นว่า เดิมทีนั้น ระบบอยู่ในสถานะ  แต่ด้วยสิ่งที่เราเรียกว่า Operator Ô ทาให้


ระบบเปลี่ยนมาอยู่ในสถานะ  การใช้สัญลักษณ์ที่แสดงความเป็น Operator นั้น เรา
มักจะใช้สัญลักษณ์ที่มลี ักษณะคล้ายๆกับหมวก ที่อ่านว่า Hat

ข้อควรระวัง ในการอ่านสัญลักษณ์ในสมการ (2.1) Operator Ô มิได้คณ ู อยู่กับสถานะ


 เหมือนดังเช่นสมการ (1.30) ที่ค่าสัมประสิทธิ์ d คูณอยู่กับสถานะ  Z หากแต่
จะต้องอ่านว่า Operator Ô กระทำกับสถานะ  และทาให้ได้สถานะ  ขึ้นมา

อาศัยรูปแบบการใช้สัญลักษณ์ดังสมการ (2.1) เราอาจนามาประยุกต์ใช้กับตัวอย่างการ


เปลี่ยนสถานะเชิงสปินของอนุภาค ได้ว่า

ˆ X
Y   _____________________ สมการ (2.2)

มาถึงขั้นนี้ เราได้กล่าวถึง Operator ในสองประเด็นคือ 1) สัญลักษณ์ที่ใช้ และ 2) ผลกระทบที่


มีต่อสถานะของระบบ ยกตัวอย่างเช่น เปลี่ยนจาก  X ให้กลายเป็น Y ถึงกระนั้นก็
ตาม ยังปรากฏโจทย์ทสี่ าคัญซึ่งยังมิได้รับคาตอบที่ชัดเจน นั่นก็คือ ในทางคณิตศาสตร์แล้ว
Operator ̂ ดังกล่าว มีรูปร่างหน้าตา หรือ รูปแบบทางคณิตศาสตร์ เป็นอย่างไร?

X 
1
Z 
1
Z
Operator
2 2

Operator ̂

1 i
Y  Z  Z ˆ  Z Z  i Z Z

2 2

ภาพ 2.2 ถ้า Operator ดังกล่าวสามารถที่จะเปลี่ยนสถานะของสปินได้ คาถามก็คือ


แล้ว Operator ที่ว่านี้ รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ด้วยการออกแบบที่ชาญฉลาดและลงตัว
กลศาสตร์ควอนตัมใช้สัญลักษณ์ “Ket-Bra” หรือ เป็นตัวแทนของ Operator
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-4

ภาพ 2.2 แสดงถึงแนวทางการเขียน Operator ให้อยู่ในรูปของ ซึ่งเป็นลักษณะที่วาง


Ket ไว้ทางซ้ายมือและวาง Bra ไว้ทางขวามือ หรืออาจจะเรียกว่า “Ket-Bra” จากนั้นเราลอง
มาวิเคราะห์ดูว่า การเขียน Operator ในลักษณะดังกล่าวนี้ จะมีผลอย่างไรกับสถานะที่มันกาลัง
กระทาอยู่

1) Ket 1
2
Z
  1 
 Z  Z   Z 
2) Operator Z  Z   2 

3) Ket 1
Z Bra Ket Probability
2
Amplitude
ภาพ 2.3 แสดงลาดับขั้นตอนในการที่ Operator กระทากับสถานะใดๆ

1
จากภาพ 2.3 เริ่มด้วยการพิจารณาสถานะของระบบ ซึ่งแทนด้วยเครื่องหมาย Ket Z
2
จากนั้นนา Operator ที่แทนด้วยเครื่องหมาย Z  Z (ซึ่งเป็นการเขียนในลักษณะของ
Ket-Bra) มาวางไว้ทางซ้ายมือ และ นาสถานะ Ket วางไว้ทางขวามือ ดังที่แสดงในภาพ จะ
เห็นว่า

1
1) สัมประสิทธิ์ ที่คูณอยู่กับ Ket นั้น เป็นเพียงตัวเลขที่เราสามารถที่ย้ายมาวางไว้ตาแหน่ง
2
ใดๆก็ได้ เพราะว่าตัวเลขโดยทั่วไปนั้น มีสมบัติการสลับที่ของการคูณ

2) เนื่องจากกลเม็ดในการจัดวางตัวที่ชาญฉลาดและลงตัวของสัญลักษณ์ที่เราใช้แทน Operator
ให้สังเกตว่า ส่วนที่เป็น Bra ของ Operator จะเข้ามาพบกับส่วนที่เป็น Ket ของสถานะที่มีอยู่
ทาให้เกิดการรวมตัวกันเป็น Bra-Ket หรือ ซึ่งจากหัวข้อ 1.3 ในบทที่ 1 มีความหมาย
เป็น Probability Amplitude อันมีคุณสมบัตเิ ป็นเพียงตัวเลขจานวนเชิงซ้อนตัวหนึ่งเท่านั้น
ในกรณีของตัวอย่างที่แสดงในภาพ 2.3 นั้น Probability Amplitude  Z  Z  1

1
และในท้ายที่สดุ แล้ว เราก็จะได้สถานะที่เกิดขึ้นเป็นผลลัพธ์คือ Z ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า
2

 1  1
Oˆ  Z   Z เมื่อ Ô   Z  Z _________________ สมการ (2.3)
 2  2
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-5

1
จากสมการ (2.3) พบว่า Operator Ô สามารถที่จะเปลี่ยนสถานะ Ket Z ให้
2
1
กลายเป็นสถานะ Ket Z และในลาดับต่อไป เราจะกล่าวถึงตัวอย่างของ Operator
2
ที่สามารถเปลี่ยนสถานะ X ให้เป็นสถานะ Y

จากภาพ 2.2 เรากาหนดให้

ˆ   Z  Z  i Z Z
 _________________ สมการ (2.4)

เมื่อแทนค่าของ ̂ ดังกล่าวเข้าไปกระทากับ X ดังในสมการ (2.2) จะได้ว่า

ˆ  X    Z  Z  i  Z  Z   X
 _________________ สมการ (2.5)
 

แต่จากการวิเคราะห์ในบทที่ 1 พบว่า เราอาจจะเขียน  X ให้อยู่ในรูป Superposition


ของ  Z ด้วยเหตุนี้ สมการ (2.5) ข้างต้นจึงสามารถเปลีย่ นให้อยู่ในรูปดังต่อไปนี้

ˆ  X    Z  Z  i  Z  Z

 1
 Z 
1 
Z 
  2 2 
1 1
Z Z Z  Z Z Z ____ สมการ (2.6)
2 2

i i
 Z Z  Z  Z Z Z
2 2

ในสมการ (2.6) ข้างต้น เราทาการกระจายให้กลายเป็น 4 เทอมด้วยกัน จากนั้นโดยอาศัย


คุณสมบัติดังทีไ่ ด้กล่าวในบทที่ 1 ที่ว่า  Z  Z  1 , Z  Z  0 เพื่อลดรูปให้เหลือเพียง

ˆ  X  1  Z  i Z
 ________ สมการ (2.7)
2 2

1 i
จากสมการ (1.34) เราทราบว่า Y  Z  Z ซึง่ ตรงกันกับเทอมทางขวามือ
2 2
ของสมการ (2.7) ข้างต้น ทาให้ในท้ายที่สุดแล้ว
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-6

ˆ  X  Y
 ___________________ สมการ (2.8)

z ภาพประกอบแบบฝึกหัด 2.1 สปินของ


อิเล็กตรอนไม่จาเป็นต้องชี้ในทิศขนาน
กับแกน x, y, หรือ z เสมอไป

y

 
แบบฝึกหัด 2.1 ในแบบฝึกหัด 1.8 สถานะ  n  cos( )  Z  ei sin( )  Z แทน
2 2
สปินที่อาจจะชี้ไปในทิศทางใดๆก็ได้ โดยที่ตัวแปร  และ  มีความหมายเป็นมุม 2 มุมที่
กาหนดทิศทางเหล่านั้น ดังภาพ จงพิสูจน์ว่า ˆ n มีผลทาให้ สถานะดังกล่าว หมุน 90
องศารอบแกน z

จากตัวอย่างข้างต้น เราจะเห็นว่า Operator ̂ ที่เขียนอยู่ในรูปดังสมการ (2.4) นั้น สามารถที่


จะเปลีย่ นสถานะ  X ให้กลายเป็น Y ได้ตามที่เราต้องการ

หัวข้อ 2.2 Basis State


มีเซตของ State หรือ สถานะ อยู่จาพวกหนึ่งที่เราสามารถใช้เป็นตัวแทนของ State อื่นๆได้ ซึ่ง
เราเรียกเซตเหล่านี้ว่า Basis State หรือ “สถานะพื้นฐาน” ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึง
แนวคิดอันนี้ เราลองมาวิเคราะห์ตัวอย่าง 2 ตัวอย่างด้วยกัน โดยที่ตัวอย่างทั้งสอง ดูผิวเผิน
นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับ Basis State แต่อย่างใด หากแต่ในความเป็นจริงแล้ว มีแนวความคิดของ
“สถานะพื้นฐาน” ซุกซ่อนอยู่

Basis State ในรูปแบบต่างๆ


ตัวอย่างแรกก็คือระบบของพิกัด ที่เราใช้ในการบอกตาแหน่งของวัตถุ เช่น ในระบบ
Cartesian Coordinate เราใช้ทิศทางที่เป็น Unit Vector ในแนวแกน x, y, และ z เป็น
ตัวแทนของเวคเตอร์ใดๆ

r  xi  yj  zk ___________________ สมการ (2.9)


บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-7

จากสมการ (2.9) ข้างต้นจะเห็นว่า ไม่ว่าเวคเตอร์ r จะชี้ไปยังตาแหน่งไหนก็ตาม สามารถ


เขียนให้อยู่ในรูปผลบวกของ Basis Vector i , j , และ k โดยที่สัมประสิทธิ์ x , y , และ z
เป็นตัวกาหนดความยาวตามแนวทิศทางของ Basis Vector ทั้งสาม

นอกจากนี้ เราอาจจะละ Basis Vector i , j , และ k ไว้ในฐานที่เข้าใจ และเขียนเวคเตอร์


r แบบย่อๆ โดยใช้เฉพาะสัมประสิทธิ์ทั้งสามตัวในการสื่อความหมาย เช่น

r   x, y, z  ______________________ สมการ (2.10)

ตัวอย่างที่สองเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ในเรื่องของฟังก์ชัน เมื่อพิจารณาฟังก์ชันใดๆในหนึ่งมิติ
จะพบว่า เราสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของอนุกรม Taylor ได้ดังนี้

f ( x)   an x n ______________________ สมการ (2.11)
n 0

1 2 1 3 1 3 1 5
ยกตัวอย่างเช่น ex  1  x  x  x หรือ sin x  x  x  x ซึ่งจะเห็นว่า
2! 3! 3! 5!
Basis Function ที่เราใช้เป็นตัวแทนของฟังชันก์ใดๆ ดังสมการ (2.11) นั้น ก็คือ พหุนาม
(Polynomial) นั่นเอง โดยที่เซตของสัมประสิทธิ์ an  มีค่าแตกต่างกันออกไปตามแต่
ฟังก์ชัน f ( x) ที่เรากาลังพิจารณา

แบบฝึกหัด 2.2 จงหา Taylor Expansion ของฟังชันก์ e x , cos x, sin x จากนั้นพิสูจน์


ว่า ei  cos  i sin 

a2
แบบฝึกหัด 2.3 จงใช้อนุกรม Taylor ในการพิสูจน์ว่า a 2  b2  b  เมื่อ a b
2b

การเขียนฟังก์ชันใดๆให้อยู่ในรูปผลบวกของ Basis Functions มิได้จากัดอยู่แต่ในกรณีของ


ฟังก์ชันของหนึ่งตัวแปรดังในสมการ (2.11) ในกรณีของฟังชันก์ของสองตัวแปร มีตัวอย่างที่
นักศึกษาคุ้นเคยก็คือ
 l
f ( ,  )    flmYlm ( ,  ) ______________________ สมการ (2.12)
l  0 m l
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-8

สมการ (2.12) แสดงให้เห็นว่า ฟังก์ชันของสองตัวแปร f ( ,  ) ใดๆ สามารถเขียนให้อยู่


ในรูปซัมเมชั่นของ Basis Function Ylm ( , ) คูณกับ สัมประสิทธิ์ flm โดยที่ฟังก์ชัน
Ylm ( ,  ) มีชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่า Spherical Harmonic ซึ่งนักศึกษาอาจจะเคยพบมาบ้าง
แล้วในการแก้สมการ Schrödinger สาหรับอะตอมของไฮโดรเจนในวิชากลศาสตร์เบื้องต้น
โดยที่เราจะทบทวนสมบัติทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง ในเนื้อหาของบทที่ 9

ถ้าวกกลับมาที่กลศาสตร์ควอนตัม เราเรียกเซตของสถานะทีส่ ามารถใช้เป็นองค์ประกอบ


พื้นฐานของสถานะอื่นๆว่า Basis State ซึ่งเซตดังกล่าวนี้ก็ขึ้นอยูก่ ับระบบทางฟิสิกส์ที่กาลัง
พิจารณา ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือ เซตของ  Z , Z  โดยที่เราสามารถเขียน
สถานะใดๆที่เกี่ยวข้องกับสปินของอิเล็กตรอนให้ในรูปของ Superposition ได้ดังนี้

  a  Z  a Z ______________________ สมการ (2.13)

อย่างไรก็ตาม อาจจะมีเซตของ Basis State อยู่มากกว่าหนึ่งเซตให้เลือกใช้ในการแทนสถานะ


ของระบบที่เรากาลังศึกษา การมีอิสระที่จะเลือกใช้ Basis State ในทางกลศาสตร์ควอนตัม
นั้น มีความคล้ายคลึงกับอิสระที่จะเลือกใช้พิกัดที่แสดงถึงตาแหน่งของวัตถุใน 3 มิติ ซึ่งเรา
สามารถเลือกใช้ว่าจะเป็นระบบ Cartesian Coordinate, Spherical Coordinate, หรือ
แม้กระทั่ง Cylindrical Coordinate

ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของแบบฝึกหัด 2.1 ที่เราแสดงสถานะเชิงสปินของอิเล็กตรอนที่ชี้ในทิศ


ซึ่งกาหนดโดยมุม  และ  โดยที่สถานะ n ดังกล่าว เมื่อเขียนอยู่ในรูปของ Basis
State ที่เป็น  Z , Z  จะได้ว่า

 
 n  cos( )  Z  ei sin( )  Z ______________________ สมการ (2.14)
2 2

อย่างไรก็ตาม สมมุติว่าเครื่องมือทีใ่ ช้ตรวจวัดสปินไม่ได้วางตัวอยูต่ ามแนวแกน z หากแต่อยู่


ในแนวแกน x เพราะฉะนั้นเราอาจจะเลือกใช้   X ,  X  เป็น Basis State ในกรณี
เช่นนี้ สามารถเขียน n ได้ว่า

n  c  X  c  X ______________________ สมการ (2.15)

โดยที่สมั ประสิทธิ์ c , c ก็คือ Probability Amplitude ที่จะพบ n อยู่ในสถานะ  X


และ  X ตามลาดับ และจากหัวข้อ 1.8 ในบทที่ 1 c , c สามารถเขียนให้อยู่ในรูป
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-9

c   X  n
______________________ สมการ (2.16)
c   X  n

เราคานวณปริมาณทางขวามือในสมการ (2.16) ได้จากนา สถานะ Bra X เข้าประกบกับ


สถานะ Ket n ในสมการ (2.14) จะได้ว่า

 
 X  n  cos( )  X  Z  ei sin( )  X  Z ________ สมการ (2.17)
2 2

สืบเนื่องจากหัวข้อ 1.6 ในเรื่องการทดลองของ Stern-Gerlach เราทราบจากสมการ (1.28) ว่า


1
Z  X  และ Z  X  1 เพราะฉะนั้นแล้ว
2 2

 1
 X Z  Z  X 
2
________ สมการ (2.18)
 1
 X Z  Z  X 
2

และเมื่อแทนสมการ (2.18) เข้าไปในสมการ (2.17) จะทาให้

 1  1
 X n  cos( )  ei sin( )  c ________ สมการ (2.19)
2 2 2 2

และในทานองเดียวกัน

 1  1
 X n  cos( )  ei sin( )  c ________ สมการ (2.20)
2 2 2 2

และในท้ายที่สดุ เราสามารถเขียนสถานะ n ให้อยู่ในรูปของ Basis State  X , X 


ดังนี้

1   i   1   i  
n   cos( )  e sin( )   X   cos( )  e sin( )   X สมการ (2.21)
2 2 2  2 2 2 

ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบสมการ (2.14) และสมการ (2.21) จะพบว่า ถึงแม้เราจะมีอสิ ระในการ


เลือกที่จะแสดงสถานะของระบบให้อยู่ใน Basis State ใดๆก็ได้ แต่การเลือกที่ไม่เหมาะสมจะ
ทาให้การวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์มีความซับซ้อนเกินความจาเป็น ดังจะเห็นว่า สถานะ n
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-10

ในรูปของ Basis State  X , X  มีความซับซ้อนมากกว่าในรูปของ   Z , Z 


เป็นต้น

แบบฝึกหัด 2.4 จากแบบฝึกหัด 1.8 และ 1.9 จงเขียน n และ n ในรูปของ Basis
State  Y , Y 

คณิตศาสตร์ของ Operator และ Basis State


เนื้อหาในหัวข้อ 1.8 เราได้เกริ่นถึงการแสดงสถานะของระบบให้อยู่ในรูป Superposition ของ
Basis State ได้ว่า
N
   ci  i ____________________ สมการ (2.22)
i 1

เมื่อ   i  คือเซตของ Basis State หรือ เหตุการณ์พื้นฐานต่างๆที่มโี อกาสจะเกิดขึ้นได้


ทั้งหมด ซึ่งมีทั้งสิ้น N สถานะด้วยกัน

ดังที่ได้แสดงเป็นตัวอย่างในหัวข้อ 2.1 และ ในสมการ (2.4) ในเรื่องของการเขียน Operator ให้


อยู่ในรูปของ Ket-Bra หรือ ในครั้งนี้เราจะนาตัวอย่างดังกล่าวมาเป็นพื้นฐานในการ
เขียน Operator Ô ใดๆ ซึ่งไม่จากัดอยู่แต่เฉพาะในกรณีของระบบที่มี Basis State เป็น
 Z , Z  เพียงเท่านั้น

จากกรณีตัวอย่างดังในสมการ (2.4) Operator Ô ใดๆ ของระบบดังกล่าว สามารถเขียนให้


อยู่ในรูป
N N
Oˆ   oij  i j ____________________ สมการ (2.23)
i 1 j 1

เมื่อ สัมประสิทธิ์ oij ก็คือค่าคงที่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ Operator และ ระบบทางฟิสิกส์ที่เรากาลัง


ศึกษา ยกตัวอย่างเช่น Operator ̂ ในหัวข้อ 2.1 ซึ่งมี N  2 และ
1   Z , 2  Z เพราะฉะนั้น o11  1, o12  0, o21  0, o22  i เป็นต้น

เพื่อเป็นตัวอย่างของการนาเอารูปแบบการเขียน Operator ดังในสมการ (2.23) เราจะมา


วิเคราะห์ Operator ที่เรียกว่า Identity Operator
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-11

Identity Operator ซึ่งโดยทั่วไปเขียนด้วยสัญลักษณ์ 1̂ เป็น Operator ที่เมื่อกระทากับ


สถานะใดๆ จะไม่มผี ลทาให้สถานะนั้นๆเกิดการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด หรือเขียนในรูปของ
สมการได้ว่า

1̂    ____________________ สมการ (2.24)

N N
จากคานิยามในสมการข้างต้น เราสามารถพิสูจน์ได้ว่า 1̂   ij i j หรืออีกนัยหนึ่ง
i 1 j 1

N
1̂    i i ____________________ สมการ (2.25)
i 1

N
การพิสูจน์ให้เห็นว่า Operator   i i ในสมการ (2.25) เมื่อไปกระทากับสถานะใดๆ
i 1
แล้ว ไม่ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสถานะนั้นๆ ทาได้โดยการพิจารณา

 N   N  N
  i  i      i  i   cn  n ______________ สมการ (2.26)
 i 1   i 1  n 1

ในสมการข้างต้น เราเขียนสถานะของระบบ  ให้อยู่ในรูป Superposition ของ Basis


State   n  จากนั้นสามารถกระจายซัมเมชั่นทั้งสอง เข้าหากัน ซึ่งจะได้ว่า

 N  N N
  i  i      i  i cn  n
 i 1  i 1 n 1
N N
______________ สมการ (2.27)
   i cn in
i 1 n 1

เนื่องจาก Kronecker Delta Function  in ทาให้เทอมต่างๆภายในซัมเมชั่นของสมการ


(2.27) เป็นศูนย์เกือบทั้งหมด ยกเว้นแต่ในกรณี i  n ดังนั้น

 N  N
  i  i     cn  i   ______________ สมการ (2.28)
 i 1  n 1

ซึ่งก็เป็นจริงตามคานิยามในสมการ (2.24) Identity Operator 1̂ โดยตัวมันเองแล้ว ไม่มี


ประโยชน์ในแง่ของการนามาวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ เพราะ 1̂ เปรียบเสมือนตัวเลข
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-12

1 ซึ่งเมื่อคูณกับฟังก์ชันใดก็ย่อมไม่เกิดอะไรขึ้น แต่ Identity Operator 1̂ จะเป็นตัวช่วยใน


การวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์ ดังจะได้แสดงเป็นตัวอย่างในลาดับต่อไป

แบบฝึกหัด 2.5 สมการ (2.23) เป็นการเขียน Operator Ô ในรูปของสัมประสิทธิ์ oij


ในทางกลับกัน จงเขียนสัมประสิทธิ์ oij ในรูปของ Operator Ô และพิสจู น์ว่า
oij   i Oˆ  j ____________________ สมการ (2.29)
บอกใบ้: ใช้สมบัติความเป็น Orthogonal ของ Basis State   i 

ในแบบฝึกหัด 2.4 เราเปลีย่ นกำรเขียนสถำนะ n โดยที่แต่เดิมอยู่ในรูปของ Basis State


 Z , Z  ให้อยู่ในรูปของ Basis State  Y , Y  ซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างของระบบที่
มีจานวนสถานะพื้นฐาน N=2 ในคราวนี้ เราจะลองใช้ Identity Operator เป็นเครื่องมือช่วย
ในการเปลี่ยน Basis State ของระบบ

สมมุตว่าแต่เดิม เขียนสถานะของระบบ  ด้วยเซตของ Basis State   i  กล่าวคือ

N
   ci  i ____________________ สมการ (2.30)
i 1

โดยที่เราทราบค่าของสัมประสิทธิ์ c i  พิจารณาเซตของ Basis State   j  อีกชุดหนึ่ง


จาก Identity Operator ในสมการ (2.25) สามารถเขียนได้ว่า
N
1̂    j  j ____________________ (2.31)
j 1

ด้วยความที่เป็น Identity Operator ดังที่เขียนในรูปสมการ (2.31) เราสามารถนามันเข้าไป


กระทากับสถานะใดๆก็ตามแต่ ก็จะไม่มีผลทาให้สถานะนั้นๆ เปลี่ยนไปจากเดิม จึงสามารถ
นาเข้าไปแทรกในเทอมทางขวามือของสมการ (2.30) โดยไม่ต้องเกรงว่าเทอมทางคณิตศาสตร์
จะผิดแผกไปจากเดิม
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-13

N
   ci 1̂  i
i 1
N  N 
  ci    j  j  i ____________________ สมการ (2.32)
i 1  j 1 
N N
  ci  j  j i
i 1 j 1

และในเมื่อ  j i เป็นเพียงตัวเลขจานวนเชิงซ้อน จึงสามารถจัดรูปได้ดังต่อไปนี้

N N 
   bj  j เมื่อ b j   ci  i  j ___________ สมการ (2.33)
j 1 i 1

ทาให้สรุปได้ว่า การเปลี่ยนสถานะที่เดิม เขียนในรูปของ Basis State   i  ให้อยู่ในรูป


ของ Basis State   j  สามารถทาได้โดยการคานวณค่าของสัมประสิทธิ์ b j  โดยอาศัย
สมการ (2.33) นั่นเอง

หัวข้อ 2.3 Matrix Mechanics


นอกจากจะใช้ระบบทางสัญลักษณ์ที่เรียกว่า Bra และ Ket ในการอธิบายกลศาสตร์ควอนตัม
แล้ว Matrix Mechanics ยังเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถทาได้ และในหัวข้อ 2.3 นี้เราจะ
เริ่มด้วยการทบทวน Linear Algebra หรือ พีชคณิตเชิงเส้น เพื่อให้นักศึกษาคุ้นเคยกับระบบ
ของ Vector และ Matrix จากนั้นจะกล่าวถึงระบบของ Matrix Mechanics ที่ Heisenberg,
Born, และ Jordan คิดค้นขึ้น และในสุดท้าย จะกล่าวถึง Spin Operator ที่อยู่ในรูปของ
Matrix

ทบทวนพีชคณิตของ Vector และ Matrix


เพื่อให้นักศึกษาคุ้นเคยกับเนื้อหาของ Vector และ Matrix ที่อยู่ในวิชาพีชคณิตเชิงเส้น (Linear
Algebra) ในขั้นต้น เราจะทบทวนคานิยามและเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ต่างๆที่เกีย่ วข้อง

Vector คือ กลุ่มของตัวเลข ซึ่งอาจเป็นเพียงจานวนจริงหรือจานวนเชิงซ้อน ที่โดยทั่วไป


เขียนให้อยู่ในลักษณะเป็นแถวในแนวตั้ง ยกตัวอย่างเช่น
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-14

 c1 
 2i  c 
1  
a    , b  1  i  , หรือ c 2 เป็น Vector _____________ สมการ (2.34)
8  
1  i   
cN 

จานวนของตัวเลขภายใน Vector ซึ่งในกรณีนี้ก็คือจานวนของแถว แสดงถึงมิติ (Dimension)


ของ Vector ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างข้างต้น ประกอบด้วย Vector ที่มี 2, 3, และ N
Dimension ตามลาดับ

จะสังเกตเห็นว่า เราใช้สัญลักษณ์ a , b , และ c แทน Vector และในการอ้างถึงตัวเลข


ต่างๆภายใน Vector เราใช้ Index หรือ ดัชนีกากับตาแหน่ง ซึ่งแสดงถึงลาดับของแถวที่
ตัวเลขนั้นๆปรากฏอยู่ ยกตัวอย่างเช่น a2  8 หรือ b3  1  i เป็นต้น

Matrix คือ การจัดกลุ่มของตัวเลขที่มีความซับซ้อนมากขึ้นจาก Vector กล่าวคือ เป็นการ


เขียนที่มีลักษณะเป็นทั้งแถวควบคูไ่ ปกับคอลัมน์ ยกตัวอย่างเช่น

 1 0 1 i
 1 5 
A , B 0 4 2i  ,
 5 2  1  i 2i 1 
 c1,1 c1,2 c1, N 
c c2,2 c2, N 
หรือ C เป็น Matrix _____________ สมการ (2.35)
2,1
 
 
cN ,1 cN ,2 cN , N 

เนื่องจาก Matrix มีทั้งแถวและคอลัมน์ เราใช้ตัวเลข 2 ตัวในการบ่งบอกถึงขนาดของมัน ซึ่ง


จากตัวอย่างข้างต้น ประกอบด้วย Matrix ที่มีขนาด 2x2, 3x3, และ NxN ตามลาดับ ในกรณี
เช่นนี้ เราใช้คาว่า Matrix A มี 2 แถวและมี 2 คอลัมน์ หรือ Matrix C มี N แถวและมี N
คอลัมน์ อย่างไรก็ตาม จานวนของแถวและจานวนของคอลัมน์ไม่จาเป็นต้องเท่ากัน แต่ถ้าทั้ง
สองมีค่าเท่ากัน จะเรียก Matrix นั้นว่า Square Matrix

โดยทั่วเราใช้ตัวอักษร Roman และมีเครื่องหมาย Tilde เพื่อแสดงถึงความเป็น Matrix


ยกตัวอย่างเช่น A , B , และ C และในทานองเดียวกันกับขนาดของ Matrix ในการอ้าง
ถึงสมาชิกภายใน Matrix เราจะใช้ตัวเลข 2 ตัวเพื่อเป็นเลขดัชนีกากับตาแหน่งที่สมาชิกนั้นๆ
ปรากฏอยู่ ยกตัวอย่างเช่น

A2,1  5 , B3,1  1  i และ B1,3  1  i


บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-15

โดยที่ดัชนีตัวแรกแสดงถึงแถว และดัชนีตัวที่สองแสดงถึงคอลัมน์ ทั้งนี้ ตัวเลขที่เป็นสมาชิก


ของ Matrix เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Matrix Element

Matrix-Vector Operation เราสามารถนา Matrix เข้ามากระทากับ Vector และทาให้


เกิด Vector ขึ้นมาใหม่ ซึ่งในบางครั้งเรียกกระบวนการดังกล่าวนีว้ ่า “การคูณ” ของ Matrix
เข้ากับ Vector

ใ a  Bb a1  B1,1  b1  B1,2  b2  B1,3  b3

 1 0 1  i   2i  1 (2i)  0  (1  i)  (1  i)  (1  i)  2  2i
 0 4 2i  1  i   6  6i

1  i 2i 1  1  i   1  5i
N
ใ ai   Bi, j  b j
j 1
ภาพ 2.4 แสดง Matrix-Vector Operation

ดังแสดงในภาพ 2.4 สมมุติว่ามี Matrix B ขนาด 3x3 และ มี Vector b ซึ่งมีขนาดเท่ากับ 3


เช่นเดียวกัน เมื่อกาหนดให้ a  Bb จะได้ว่า Vector ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมีค่าเท่ากับ
N
ai   Bi , j  b j เมื่อ a  Bb _________________ สมการ (2.36)
j 1

หากสังเกตเฉดสีของภาพข้างต้น จะพบว่า สมาชิกในแถวที่ 1 ของ Vector a ได้มาจากการ


คูณกันระหว่างแถวที่ 1 ของ Matrix B กับ Vector b นั่นเอง

Matrix-Matrix Operation นอกจากนี้ Matrix ยังสามารถกระทากับ Matrix ด้วยกันเอง


เกิดเป็น Matrix ขึ้นมาใหม่
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-16

ใ AB  C
C1,3  A1,1  B1,3  A1,2  B2,3  A1,3  B3,3

1 1 0 1   1 0 1 i  2  i 2i 2  i 
2 0 4 0   0 4 2i   0 16 8i 

1 0 3 1  i 2i 1   4  3i 6i 4  i 
1 3
N
ใ Ci, j   Ai,k  Bk , j
k 1
ภาพ 2.5 แสดง Matrix-matrix Operation

ดังตัวอย่างของภาพ 2.5 กาหนดให้ A และ B เป็น Square Matrix ที่มีขนาด NxN


เพราะฉะนั้น ผลลัพธ์ของ Matrix-Matrix Operation AB  C ก็คือ
N
Ci , j   Ai ,k  Bk , j เมื่อ C  AB ______________ สมการ (2.37)
k 1

ยกตัวอย่างเช่น สมาชิกของ Matrix C ที่อยู่ ณ ตาแหน่ง แถว 1 และ คอลัมน์ 3 หรือ C1,3
สามารถคานวณได้จากการคูณกันระหว่าง แถว 1 ของ A และ คอลัมน์ 3 ของ B นั่นเอง

แบบฝึกหัด 2.6 จาก Matrix A และ B ดังในภาพ 2.5 จงคานวณ BA และแสดงให้


เห็นว่า ในกรณีดังกล่าว BA  AB

Conjugate Transpose ของ Matrix กระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่สาคัญอันหนึ่งก็คือ


การนา Matrix มาสลับแถว  คอลัมน์ และในกรณีที่ Matrix มีสมาชิกเป็นเลขจานวน
เชิงซ้อน นอกจากการสลับตาแหน่งดังกล่าวยังมีการเปลี่ยนตัวเลขให้เป็น Complex
Conjugate ของตัวมันเอง ยกตัวอย่างเช่น

1  6i 2  5i 
ถ้า A  3  4i 4  3i 
5  2i 6  1i 
1  6i 3  4i 5  2i 
แล้ว Conjugate Transpose ของ A คือ A†   
 2  5i 4  3i 6  1i 
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-17

ตัวอย่างข้างต้น คือการหา Conjugate Transpose ของ Matrix ขนาด 3x2 ซึ่งจะได้ผลลัพธ์


เป็น Matrix ขนาด 2x3 นอกจากนี้ ตัวอย่างดังกล่าวยังสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของสมาชิก
ของ Matrix ได้ว่า

Bi, j  Aj ,i เมื่อ B  A† ____________________ สมการ (2.38)

ให้สังเกตการสลับที่ของดัชนี i  j พร้อมทั้งการคานวณ Complex Conjugate ของสมาชิก


ในสมการ (2.38) ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ Conjugate Transpose

Conjugate Transpose เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Adjoint ที่จะมีความสาคัญในอนาคต เมื่อเรา


กล่าวถึง Eigenvalue ของ Matrix

แบบฝึกหัด 2.7 จงใช้คานิยามของ Adjoint หรือ Conjugate Transpose ในสมการ (2.38)


เพื่อพิสูจน์ว่า (a)  A†   A และ (b)  AB   B† A†
† †

แบบฝึกหัด 2.8 เราสามารถที่จะมอง Vector ว่าเป็น Matrix ที่มีขนาด Nx1 นั่นก็คือ ถ้า
Vector a เรียงกันเป็นแถวในแนวตั้ง จะได้ว่า a† เรียงกันเป็นคอลัมน์ในแนวนอน
 a1 
a 
ถ้า a   2  แล้ว Adjoint ของ a คือ
 
 aN 
a †   a1 a2 aN 
 
จงพิสูจน์โดยอาศัยหลักการของ Matrix-Matrix Operation ดังที่ได้กล่าวไว้ เพื่อแสดงว่า
a) a † a  ตัวเลขจานวนเชิงซ้อน 1 ตัว
b) aa †  Matrix ที่มีขนาด NxN

แบบฝึกหัด 2.9 Matrix ซึ่งมีสมบัติพิเศษคือเป็น Adjoint ของตัวมันเอง เรียก Matrix ที่


สมบัติพิเศษประเภทนี้ว่า Hermitian Matrix หรืออีกนัยหนึ่ง

Matrix H มีชื่อเรียกว่า Hermitian Matrix ถ้า H  H† _________ สมการ (2.39)

จงพิสูจน์ว่า Diagonal Element ของ Hermitian Matrix จะต้องเป็นจานวนจริง [หมาย


เหตุ: Diagonal Element คือ สมาชิก หรือ Matrix Element ที่ปรากฏอยู่ในแนวเส้นทแยงมุม
ของ Matrix กล่าวคือ อยู่ ณ ตาแหน่ง H i,i ]
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-18

Eigenvector และ Eigenvalue ของ Matrix ความเข้าใจเรื่อง Eigenvalue และ


Eigenvector ของ Matrix มิใช่เป็นแต่เพียงกลยุทธ์ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นนามธรรมและเป็น
ประโยชน์แต่เฉพาะในแง่ของการฝึกฝนเชาว์ปญ ั ญาแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่มีการนามา
ประยุกต์ใช้งานอย่างเป็นรูปธรรมในทางกลศาสตร์ควอนตัม และ อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ
ในทางฟิสิกส์

อย่างไรก็ตามในขั้นต้นนี้ เราจะโฟกัสอยู่แต่เฉพาะในทางคณิตศาสตร์และจะวกกลับมา
กล่าวถึงการประยุกต์ใช้งานในหัวข้อ อื่นๆอีกต่อไป ยกตัวอย่างเช่นเมื่อพิจารณา Matrix
ขนาด 2x2

1 2 
A 
2 3
จะพบว่า มีอยู่ 2 เวคเตอร์ด้วยกันคือ
  5  1   5  1
a1    และ a2   
 2   2 

ซึ่งเมื่อ A กระทากับ a1 หรือ a2 แล้ว กลับได้ผลลัพธ์เป็น a1 หรือ a2 เช่นเดิม คูณด้วย


ค่าคงที่ ดังจะเห็นได้จาก

1 2   5  1  3  5   5  1
Aa1      
  2 5   
 2 3   2   4  2 5   2  __________ สมการ (2.40)

Aa1  2  5 a1 
และในทานองเดียวกัน ในกรณีของ a2

1 2    5  1  3  5    5  1
Aa2        2 5    
 2 3   2   4  2 5   2  ______ สมการ (2.41)

Aa2  2  5 a2 
จากสมการทั้งสองจะเห็นว่า ค่าคงที่ดังกล่าว มีค่าเท่ากับ (2  5) ในกรณีของ a1 และ มี
ค่าเท่ากับ (2  5) ในกรณีของ a2 โดยที่คุณสมบัติพิเศษของเวคเตอร์ a1 และ a2
สามารถสรุปให้อยู่ในรูปทั่วไปได้วา่

พิจารณา Square Matrix A ขนาด NxN ใดๆ จะปรากฏมีเวคเตอร์ an และ ค่าคงที่ n ที่
มีความสัมพันธ์ดังสมการ
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-19

Aan  n an ___________________ สมการ (2.42)

เราเรียก เวคเตอร์ an ว่าเป็น Eigenvector ของ Matrix A


ค่าคงที่ n ว่าเป็น Eigenvalue ของ Eigenvector an

ให้สังเกตว่า เรากากับ Eigenvector และ Eigenvalue ดังในสมการ (2.42) ด้วยเลขดัชนี n


ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าจานวนของ Eigenvector ที่ทาให้สมการดังกล่าวเป็นจริงนั้น มีจานวน
ทั้งสิ้น N ตัวด้วยกัน หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่ง

โดยทั่วไปจะมีเซตของ Eigenvector a1 , a2 , , aN  และ เซตของ Eigenvalue


1, 2 , , N  ที่ทาให้สมการ (2.42) นั้นเป็นจริง

คาถามที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การหาค่า Eigenvalue และ Eigenvector ดังตัวอย่างของ Matrix


1 2 
A  นั้น มีขั้นตอนอย่างไร ? คาตอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) หา
2 3
Eigenvalue และ (2) หา Eigenvector

1) เซตของ Eigenvalue 1, 2 , , N  สามารถหาได้จากการกาหนดให้

 
det A   I  0 เมื่อ I คือ Identity Matrix ___________________ สมการ (2.43)

สมการ (2.43) จะทาให้เกิดพหุนามกาลัง N ซึ่งอยู่ในรูป  N  N    2 2  1   0  0


ทีม่ ีรากของสมการเป็นจานวนเท่ากับ N คาตอบ และเป็นที่มาของ 1, 2 , , N  ดังกล่าว

1 2 
ยกตัวอย่างเช่น กาหนดให้ A  เราสามารถจัดรูปของเทอมต่างๆให้เหมือนกับ
2 3
สมการ (2.43) ได้ว่า

 1 2  1 0   1   2 
det         det  0 ____________ สมการ (2.44)
  2 3  0 1    2 3   

ถ้าอนุมานเอาว่า นักศึกษาคุ้นเคยกับการคานวณ Determinant ของ Matrix เป็นอย่างดี จะ


ได้ว่า ทางซ้ายมือของสมการ (2.44) มีค่าเท่ากับ
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-20

(1   )(3   )  4  0
____________ สมการ (2.45)
 2  4  1  0

จะเห็นว่าสมการ (2.45) อยู่ในรูปของพหุนามกาลัง 2 เพราะว่า Matrix A ในกรณีตัวอย่างนี้ มี


ขนาดเป็น 2x2 นั่นเอง และจากสมการข้างต้น มีผลเฉลยอยู่สองค่าด้วยกันคือ

4  16  4
  2 5 ____________ สมการ (2.46)
2

2) เซตของ Eigenvector a1 , a2 , , aN  สามารถคานวณได้ด้วยการแทนค่าของ


 x
Eigenvalue เข้าไปในสมการ (2.42) เช่นในกรณีของ a1    โดยที่ตัวแปร x, y เป็นสิ่ง
 y
ที่ไม่ทราบค่าในตอนต้น

1 2  x   x

2 3  y   2  5  y 
    
 ____________ สมการ (2.47)

จากนั้น ทาการเปลี่ยนสมการ (2.47) ให้อยู่ในรูปของระบบสมการ 2 ตัวแปรดังนี้

 
x  2y  2  5 x
____________ สมการ (2.48)
2x  3y   2  5  y

หรือ
5 1
y x ____________ สมการ (2.49)
2
2
y x ____________ สมการ (2.50)
5 1

ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนแล้วจะพบว่า สมการ (2.49) และ (2.50) นั้น เป็นสมการเดียวกัน!


เพราะฉะนั้นเราจึงสามารถกาหนดค่า x ได้อย่างอิสระ และเมื่อแทนค่า x เข้าไปในสมการ
(2.49) ก็จะได้คา่ ของ y ตามมา

ดังในกรณีของตัวอย่างที่กาลังกล่าวถึง เราเลือกให้ x  5  1 ซึ่งจะได้ค่า y  2 อิสระใน


การเลือกค่าของ x ดังกล่าวนี้ เป็นคุณสมบัติโดยทั่วไปของ Eigenvector ซึ่งก็คือ

“ถ้า a เป็น Eigenvector ของ Matrix A แล้ว


จะได้ว่า ca ก็เป็น Eigenvector ด้วยเช่นกัน เมื่อ c คือค่าคงที่ใดๆ”
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-21

แบบฝึกหัด 2.10 โดยใช้วิธีในทานองเดียวกันกับสมการ (2.40) จงแสดงให้เห็นว่า เวคเตอร์


 5  1
 ,


 
5  1 2
, และ
 4 
  ล้วนแล้วแต่เป็น Eigenvector ของ A
 2   1  2 5  2

x
และในกรณีของ a2    ซึ่งมี 2  2  5 เป็น Eigenvalue จะได้ระบบสมการคือ
 y


x  2y  2  5 x ____________ สมการ (2.51)
2x  3y   2  5  y

ซึ่งนาไปสูส่ มการ
1 5
y x ____________ สมการ (2.52)
2

  5  1
ซึ่งถ้าเราเลือก x   5 1 ก็จะได้ค่าของ y2 ทาให้ a2    ดังในสมการ
 2 
(2.41)

 E0  A
แบบฝึกหัด 2.11 จงหา Eigenvector และ Eigenvalue ของ Matrix  A E  เมื่อ
 0

E0 และ A คือจานวนจริงใดๆ

ภาพของ Heisenberg
(ซ้าย) ในปี 1927 และ
Max Born (ขวา) [Credit:
The American Institute
of Physics]

Quantum Mechanics ในรูปของ Matrix


ความหนักหน่วงเชิงคณิตศาสตร์ทเี่ กี่ยวข้องกับ Vector และ Matrix ที่นักศึกษาต้องทบทวนใน
หัวข้อที่ผ่านมา จะมีผลที่คุ้มค่ากับการได้สัมผัสกับผลงานชิ้นเอกของ Werner Heisenberg,
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-22

Max Born, และ Pascual Jordan ในปี 1925 ผู้เป็นบิดาแห่ง Matrix Mechanics และ
Heisenberg ได้รับรางวัลโนเบลในปี 1932

แทนสถานะของระบบด้วย Vector เมื่อพิจารณาการเขียนสถานะ Ket ให้อยู่ในรูป


Superposition ของ Basis State ยกตัวอย่างเช่น Y  1  Z  i Z ซึ่งเรา
2 2
สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของ Vector ได้ดังนี้

1 1
Y 
 Z basis
  _________________ สมการ (2.53)
2 i 

โดยที่ในบางครั้ง อาจจะละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า เรากาลังใช้ Z เป็น Basis State และ


เขียนสถานะดังกล่าวให้สั้นลงได้ว่า

1 1 1 1
Y   Y   
2 i  2  i 
1 1 1 1
X   X    _______________ สมการ (2.54)
2 1 2  1
1  0 
Z  0  Z  1 
   

จากตัวอย่างในสมการ (2.53) และ สมการ (2.54) เราสามารถสรุปขั้นตอนการเปลี่ยนจากการ


อธิบายสถานะของระบบซึ่งเดิมอยูใ่ นรูปของ Superposition ของ Basis State ให้กลายเป็น
รูปแบบของ Vector ได้ดังต่อไปนี้

 c1 
N c 
   ci  i   2  _________________ สมการ (2.55)
i 1
 i basis  
 
 cN 

นอกจากสถานะ Ket ดังในสมการ (2.55) แล้ว ในบทที่ 1 หัวข้อ 1.8 เราได้กล่าวถึงสถานะ


N
Bra    ci  i และการเปลี่ยนรูปแบบของการเขียนสถานะ Bra ดังกล่าว ให้อยู่ในรูป
i 1

ของ Vector จาเป็นต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากมีข้อสังเกตอยู่ 2 ประการ


บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-23

1) ในการเปลี่ยนจาก Ket ให้เป็น Bra นั้น สัมประสิทธิ์ที่เดิมคูณอยู่กับสถานะ Ket จะ


กลายเป็น Complex Conjugate ของตัวมันเองเมื่อเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของ Bra ดังในสมการ
(1.45)

2) เมื่อสถานะ Bra เข้ามากระทากับสถานะ Ket จะต้องมีสภาพเป็นตัวเลขจานวนเชิงซ้อน


หรือที่เรียกว่า Probability Amplitude ดังในสมการ (1.3)

เมื่อพิจาณาข้อสังเกตทั้ง 2 ข้อดังกล่าว จะพบว่า เราสามารถแสดงสถานะ Bra ให้อยู่ในรูป


ของ Vector ได้โดยสิ่งที่เรียกว่า Conjugate Transpose ดังที่ได้เคยทบทวนในเนื้อหาของ
หัวข้อที่ผ่านมา กล่าวคือ

 c1 
N c 
   ci  i   2   c1 c2 cN  _____ สมการ (2.56)
 i basis    
i 1
 
cN 

การเขียนสถานะ Bra ให้อยู่ในรูป Adjoint หรือ Conjugate Transpose ในสมการ (2.56) มี


ผลสอดคล้องกับข้อสังเกตทั้งสองข้อดังกล่าว ซึ่งก็คือ

1) เมื่อสังเกตกลุม่ ของตัวเลขในทางขวามือของสมการ (2.56) จะพบว่ามันเป็น Complex


Conjugate ซึ่งเป็นผลโดยอัตโนมัติสืบเนื่องจากความเป็น Adjoint

2) ดังแสดงในแบบฝึกหัด 2.8 ที่เมือ่ Bra มาพบกับ Ket ย่อมต้องเกิดเป็นตัวเลขจานวนเชิงซ้อน


ที่ตีความได้ว่าเป็น Probability Amplitude ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเรานา Adjoint ของ
เวคเตอร์ในสมการ (2.56) มากระทากับเวคเตอร์ในสมการ (2.55) จะได้ว่า

 c1 
c  N N
   c1 c2 cN   2    cici   ci ______ สมการ (2.57)
2
  
i 1 i 1
 
 N
c

ซึ่งสอดคล้องอย่างลงตัวกับคานิยามของ   และด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นการเหมาะสม


ที่เราแทนสถานะ Bra ด้วย Adjoint ของเวคเตอร์นั่นเอง

เพราะฉะนั้นแล้ว สถานะ Bra ที่แสดงถึงสปินของอิเล็กตรอนในการทดลองของ Stern-


Gerlach สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของ Adjoint ภายใต้สถานะพื้นฐาน  Z ได้ว่า
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-24

1 1
Y  1 i  Y  1 i 
2 2
1 1
X  1 1 X  1 1 ____________ สมการ (2.58)
2 2
Z  1 0 Z  0 1

จากตัวอย่างของสถานะ Ket และ สถานะ Bra ที่เขียนให้อยู่ในรูป Vector และ Adjoint


Vector ดังในสมการ (2.54) และ (2.58) ตามลาดับนั้น จะปรากฏว่า การคานวณเชิง
คณิตศาสตร์ใดๆทีเ่ กี่ยวข้องกับ Ket และ Bra ก็จะสามารถทาได้โดยใช้กฎเกณฑ์ของ Linear
Algebra หรือ พีชคณิตเชิงเส้นเข้ามาเป็นตัวช่วย ยกตัวอย่างเช่น
2
1 1 1
1 1  
2
 X Y 
2 2  i 
2
1
 1  i  ________________ สมการ(2.59)
2
1

2

ซึ่งการวิเคราะห์โดยใช้ Linear Algebra เช่นนี้ มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ง่าย


ต่อการใช้คอมพิวเตอร์ในการคานวณ

ข้อควรระวัง สถานะที่เขียนให้อยูใ่ นรูปของเวคเตอร์นั้น ถึงแม้ว่าเราจะละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าใช้


 Z เป็นสถานะพื้นฐาน แต่ก็ไม่จาเป็นเสมอไป อาทิเช่น ในกรณีที่เราใช้  X เป็น
1 
Basis State จะสามารถเขียน  X  
 X basis 0 
เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะทาการ
คานวณที่เกี่ยวข้องกับสถานะต่างๆ โดยใช้ Linear Algebra นั้น ต้องแน่ใจว่า ทุกๆสถานะ เขียน
ขึ้นโดยใช้ Basis State ชุดเดียวกัน

แบบฝึกหัด 2.12 จงคานวณ  X Z


2
, Y  Z
2
, X X , และ X X
โดยใช้ Matrix Mechanics

แทน Operator ของระบบด้วย Matrix เมื่อสังเกตการเขียน Operator ดังสมการ (2.23)


N N
ซึ่งก็คือ Oˆ   oij  i j จะสังเกตเห็นว่า
i 1 j 1
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-25

1) ค่าคงที่ oij นั้น มี Index หรือ ดัชนี กากับอยู่สองตัวด้วยกัน ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีที่ใช้


กากับตาแหน่งของสมาชิกภายใน Matrix

2) Operator เมื่อกระทากับสถานะ Ket จะเกิดขึ้นเป็นสถานะ Ket อันใหม่ขึ้นมา ในทานอง


เดียวกันกับที่ Matrix เมื่อกระทากับ Vector ก็จะได้ Vector เกิดขึน้ มา

3) จากแบบฝึกหัด 2.5 เราสามารถคานวณ oij ได้จากเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์


oij   i Oˆ  j

เพราะฉะนั้นจึงเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะใช้ Matrix แทน Operator โดยก่อนที่เราจะกล่าวถึงใน


กรณีทั่วๆ จะขอยกตัวอย่างของระบบที่มีจานวนของ Basis State เท่ากับ 2

สมมุติว่าเรากาลังศึกษาระบบทางฟิสิกส์ที่ใช้  Z เป็นสถานะพื้นฐาน จะได้ว่า Operator


Ô สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของ Matrix ดังต่อไปนี้

 Z Oˆ  Z  Z Oˆ  Z 
Oˆ  
 Z basis   Z
 ___________ สมการ (2.60)
 Oˆ  Z  Z Oˆ  Z 

เพื่อให้ง่ายในการทาความเข้าใจ เราจะลองมาวิเคราะห์ตัวอย่าง Operator ̂ ดังที่ได้กล่าวไว้


ในหัวข้อ 2.1 ดังนั้น

ˆ Z  1
Z 
ˆ Z  0
Z 
ˆ Z  0
____________________ สมการ (2.61)
Z 
ˆ Z  i
Z 

เทอมต่างๆ ในสมการ (2.61) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Matrix Element ของ Operator ̂ ซึ่ง


เมื่อนามาเขียนให้อยู่ในรูปของ Matrix จะทาให้

ˆ  1 0 
 
 Z basis 0 i 
___________ สมการ (2.62)
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-26

แบบฝึกหัด 2.13 จากหัวข้อ 2.1 เราทราบว่า ˆ  X  Y จงใช้รูปแบบของ


Operator ในสมการ (2.62) และ รูปแบบของสถานะในสมการ (2.54) ประกอบกับ Matrix-
Vector Operation เพื่อแสดงให้เห็นว่า ˆ  X  Y

มาถึงขั้นนี้เราสามารถที่จะกาหนดระเบียบวิธีในการเขียน Operator Ô ใดๆ ให้อยู่ในรูปของ


Matrix ได้ดังต่อไปนี้ กาหนดให้เซตของ   i  ใดๆ เป็น Basis State จะได้ว่า

  1 Oˆ  1  1 Oˆ  2  1 Oˆ  N 
 
  Oˆ   2 Oˆ  2  2 Oˆ  N 
Oˆ   2 1
 ___ สมการ (2.63)
 
 i basis 



  N Oˆ  1  N Oˆ  2  N Oˆ  N 
 

แบบฝึกหัด 2.14
a) จงเขียน Operator Ĵ    Z Z และ Operator Ĵ   Z  Z ในรูปของ
Matrix
b) จงเขียน Operator 1

Jˆ x  Jˆ  Jˆ
2
 ในรูปของ Matrix โดยใช้ Matrix ที่ได้จาก (a)
c) จงใช้สมบัติการคูณ Matrix-Vector เพื่อพิสูจน์ว่า Jˆ x  X   X
2

Quantum Postulate และ Eigen Equation


ในหัวข้อ 2.1 เราได้เข้าใจกับคาว่า Operator ซึ่งเป็นกลไกทางกลศาสตร์ควอนตัมที่ใช้ในการ
เปลี่ยนแปลงสถานะเริ่มต้นให้เป็นสถานะผลลัพธ์ อันเป็นคานิยามของ Operator ที่มีขอบเขต
ของการตีความอยู่ในวงกว้าง

กลศาสตร์ควอนตัมยังมี Operator ที่มีคุณสมบัติพิเศษอยู่จาพวกหนึง่ ซึ่งมีความหมายและ


เอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นสมบัติเฉพาะ และมีความเกีย่ วข้องกับกระบวนการวัดหรือ
Measurement ในทางฟิสิกส์ ซึ่งเป็นคานิยามของ Operator ในกรอบที่แคบลงมา อันจะได้
กล่าวถึงในลาดับต่อไปนี้

ตาม Postulate หรือข้อกาหนดเบื้องต้นของกลศาสตร์ควอนตัม เราเรียกปริมาณต่างๆทาง


ฟิสิกส์ที่สามารถทาการทดลองหรือตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือว่า Observable ยกตัวอย่างเช่น
โมเมนตัม, ตาแหน่งของวัตถุ, หรือ พลังงานจลน์ ถือว่าเป็น Observable และแทน
กระบวนการวัดเพื่อที่จะทราบค่า Observable อันเป็นสมบัติทางฟิสิกส์ของระบบทีเ่ รากาลัง
ศึกษาเหล่านีด้ ้วย Operator จากคานิยามทั้งสองประเด็นดังกล่าว เราสามารถสรุป
Postulate อันสาคัญของกลศาสตร์ควอนตัม ได้ดังต่อไปนี้
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-27

Postulate I: เมื่อพิจารณา Observable A ยกตัวอย่างเช่น โมเมนตัม, ตาแหน่ง, หรือ


พลังงานของระบบ จะมี Operator  ที่ใช้เป็นตัวแทนกระบวนตรวจวัดระบบ ซึ่งอยู่ใน
สถานะ a ทาให้ทราบค่า  ซึ่งเป็นจานวนจริงที่แสดงถึงปริมาณทางฟิสิกส์ที่วัดได้ และ
เป็นสมบัติเฉพาะตัวของสถานะ a นั้นๆ โดยที่กระบวนการดังกล่าว เขียนให้อยู่ใน
รูปแบบของคณิตศาสตร์ได้ว่า

 a   a ___________________ สมการ (2.64)

จากสมการข้างต้น Â คือ Operator ที่เมื่อเข้าไปกระทากับสถานะ a จะเป็นการดึงเอา


 ซึ่งเป็นสมบัตเิ ฉพาะตัวของ a ออกมา ทั้งนี้ เมื่อเราเปรียบเทียบผลของ Operator ที่
เขียนในสมการ (2.64) กับผลของ Operator ที่เขียนในสมการ (2.1) มีข้อสังเกต 4 ข้อคือ

1) เรียก สมการ Â a  a ว่าเป็น Eigen Equation


สถานะ a ว่าเป็น Eigenstate ของ Operator Â
ค่าคงที่  ว่าเป็น Eigenvalue ของสถานะ a

2) สถานะ Ket ที่ปรากฏอยู่ทั้งสองข้างของสมการ (2.64) นั้นเป็นสถานะ Ket เดียวกัน


ในขณะที่สมการ (2.1) นั้น อาจจะเหมือนหรือต่างกันก็ได้

3) ตัวเลข  ทางขวามือของสมการ (2.64) จะต้องเป็นเลขจานวนจริง เพราะมันมีความ


หมายถึง Observable หรือ ปริมาณทางฟิสิกส์ทตี่ รวจวัดได้ ยกตัวอย่างเช่น เราไม่สามารถ
กล่าวว่า วัตถุมีมวล 2  1i กิโลกรัม หรือ จรวดพุ่งขึ้นฟ้าด้วยมุมเงย 2  43i องศา

4) หากมอง Operator ให้อยู่ในรูปของ Matrix โดยมีสมบัติทสี่ าคัญของ Matrix ที่ว่า


“Hermitian Matrix จะมี Eigenvalue เป็นจานวนจริงเท่านั้น” (ทบทวน แบบฝึกหัด 2.9)
เพราะฉะนั้น เราเรียก Operator  ดังในสมการ (2.64) ว่า Hermitian Operator

จากข้อสังเกตข้างต้น จะพบว่า Operator สามารถทาหน้าที่ใน 2 ลักษณะคือ 1) ในการ


เปลี่ยนแปลงสถานะ ดังในสมการ (2.1) และ (2) ทาหน้าที่ในการวัด หรือ Measurement ดัง
ในสมการ (2.64) และเพื่อให้นกั ศึกษาได้คุ้นเคยกับ Operator ที่ทาหน้าที่ของ
Measurement มากขึ้น เราจะวกกลับมากล่าวถึง Stern-Gerlach Experiment อีกครั้งหนึ่ง
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-28

Spin Operator
ในบทที่ 1 เราได้ศึกษาถึงการทดลองของ Stern-Gerlach ปรากฏว่า เราพิจารณาสถานะ
Ket 2 สถานะด้วยกันที่สามารถทาหน้าที่เป็นสถานะพื้นฐาน ซึ่งก็คือ  Z และ Z และ
จากการทดลองพบว่า สถานะทั้งสองดังกล่าว มีคุณสมบัตเิ ฉพาะตัวซึง่ ก็คือ “Spin Angular
Momentum” ตามแนวแกน z เท่ากับ  และ  ตามลาดับ
2 2

ดังนั้น เราสามารถทีส่ ร้าง Operator ซึ่งเป็นกลไกทางคณิตศาสตร์ทใี่ ช้แทนกระบวนการวัด


Spin Angular Momentum ตามแนวกัน z โดยอาจจะใช้สัญลักษณ์ว่า Sˆz อาศัยสมการ
(2.64) จะได้ว่า

Sˆz  Z   Z ___________ สมการ (2.65)


2
และ
Sˆz  Z   Z ___________ สมการ (2.66)
2

จากคานิยามของ Sˆz Operator ในสมการ (2.65) และ (2.66) เราสามารถเขียนให้อยู่ในรูป


ของ Ket-Bra ดังนี้

Sˆz   Z Z  Z Z ___________ สมการ (2.67)


2 2

และในทานองเดียวกันกับหัวข้อ 2.3 Sˆz Operator ก็สามารถแสดงให้อยู่ในรูปของ Matrix

 Z Sˆz  Z  Z Sˆz  Z  1 0 
Sˆz  
 Z basis   Z
   ___ สมการ (2.68)
 Sˆz  Z ˆ
 Z S z  Z  2 0 1

นอกจากจะสามารถวัด Spin Angular Momentum ในแนวแกน z ซึ่งเป็นที่มาของ Operator


Sˆz แล้ว เรายังอาจที่เลือกวัดตามแนวแกน x และในทานองเดียวกันกับสมการ (2.65) และ
(2.66) คานิยามของ Sˆx เขียนให้อยู่ในรูป

Sˆx  X   X ___________ สมการ (2.69)


2
และ
Sˆx  X   X ___________ สมการ(2.70)
2
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-29

ส่งผลให้ Operator Sˆx มีรูปแบบของ Matrix ดังต่อไปนี้

  X Sˆx  X  X Sˆx  X  1 0 
Sˆx  
 X basis   X Sˆ  X
   __ สมการ (2.71)
 x  X Sˆx  X  2 0 1

อย่างไรก็ตาม Operator Sˆx ในสมการ (2.71) นั้น มิได้มีประโยชน์แต่อย่างใด เพราะมันอยู่


ในรูปของ Basis State ที่แตกต่างจาก Sˆz ในสมการ (2.68) ดังที่ได้กล่าวไว้ในข้อควรระวัง
ข้างต้น ที่ว่า Matrix หรือ Vector ที่เขียนขึ้นโดยอาศัย Basis State ที่แตกต่างกัน จะนามา
กระทาการใดๆทางคณิตศาสตร์ร่วมกันไม่ได้

เพราะฉะนั้น เราเลือกที่จะเขียน Operator Sˆx ให้อยู่ในรูปของ Basis State  Z และ


 Z ซึ่งสามารถทาได้โดยการเปลีย่ นรูปของสมการ (2.69) และ สมการ (2.70) ให้อยู่ในรูป
1 1
ของ X  Z  Z ดังนั้น
2 2

 1 1   1 1 
Sˆx  Z  Z     Z  Z  ___________ สมการ (2.72)
 2 2  2 2 2 
และ
 1 1   1 1 
Sˆx  Z  Z     Z  Z  ___________ สมการ (2.73)
 2 2  2 2 2 

เมื่อนาสถานะ Bra  Z เข้าประกบทั้งสองข้างของสมการ (2.72) และ ทั้งสองข้างของ


สมการ (2.73) ทาให้

 Z Sˆx  Z   Z Sˆx  Z   ___________ สมการ (2.74)


2
และ
 Z Sˆx  Z   Z Sˆx  Z   ___________ สมการ(2.75)
2

จะสังเกตว่า สมการ (2.74) และสมการ (2.75) เป็นระบบของสมการ 2 ตัวแปรที่สามารถหาผล


เฉลยได้โดยง่าย กล่าวคือ

 Z Sˆx  Z  0 ___________ สมการ (2.76)


บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-30

 Z Sˆx  Z   ___________ สมการ (2.77)


2

ในทานองเดียวกัน เมื่อนาสถานะ Bra Z เข้าประกบทั้งสองข้างของสมการ (2.72) และทั้ง


สองข้างของสมการ (2.73) จะให้เกิดระบบของสมการ 2 ตัวแปร อันจะนาไปสู่ผลเฉลยที่ว่า

 Z Sˆx  Z   ___________ สมการ (2.78)


2
Z Sˆx Z  0 ___________ สมการ (2.79)

เมื่อทาการรวบรวมเทอมต่างๆในสมการ (2.76)-(2.79) ทาให้สามารถเขียน Operator Sˆx โดย


ใช้ Basis State  Z และ Z ได้ว่า

  Z Sˆx  Z  Z Sˆx Z  0 1 
Sˆx  
 Z basis   Z Sˆ  Z
   ____ สมการ (2.80)
 x Z Sˆx Z  2 1 0

แบบฝึกหัด 2.15 จงเขียน Operator Sˆ y ให้อยู่ในรูปของ Matrix โดยใช้ Basis State


 Z และ  Z และพิสูจน์ว่า คาตอบที่ได้ก็คือ

0 i 
Sˆ y    ______ สมการ (2.81)
 Z basis 2  i 0 

ในเนื้อหาที่ผ่านมา เราสามารถที่จะออกแบบการทดลองในการวัด Spin Angular Momentum


โดยวางแนวของแม่เหล็กใน Stern-Gerlach Experiment ให้อยู่ตามแนวแกน x, y, และ z
ซึ่งเป็นที่มาของ Operator Sˆx , Sˆ y , และ Sˆz ตามลาดับ และสรุปได้ว่า

0 1  0 i  1 0 
Sx  , Sy  , และ Sz 
2 1 0  2  i 0  2 0 1
เมื่อใช้ Basis State   Z , Z  _____________________ สมการ (2.82)

บางครั้งในการวิเคราะห์คณ ุ สมบัตทิ ี่เกี่ยวข้องกับ Spin เรานิยามสิง่ ที่เรียกว่า Pauli Spin


Matrix ซึ่งใช้สัญลักษณ์ ˆ x , ˆ y , และ ˆ z โดยที่ Matrix เหล่านี้มีคานิยามทีส่ ัมพันธ์กับ
Spin Angular Momentum Operator คือ ˆ x  Sˆx , ˆ y  Sˆ y , และ ˆ z  Sˆz
2 2 2
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-31

อย่างไรก็ตาม เราไม่จาเป็นจะต้องวางแนวของแม่เหล็กไว้ตามแนวของแกนต่างๆในพิกัด 3
มิติเสมอไป ดังแสดงในภาพ 2.6 สมมุติว่า Stern-Gerlach Experiment ใช้สนามแม่เหล็ก
สองชุดเช่นเคย แต่ทว่าชุดแรกมิได้เรียงตัวอยูต่ ามแนวแกน x, y, หรือ z หากแต่ที่มุมก้ม 
กับแกน z และ มุมกวาด  กับแกน x

SG-( ,  )
SG- SG-Z
SG-Z
z
Z ใ
beam 100% S

 S n 50%

N
y N
Z ใ

n 50%
x
ภาพ 2.6 แสดงการทดลองของ Stern-Gerlach ที่ใช้สนามแม่เหล็กสองชุด แต่ทว่าชุด
แรกมิได้เรียงตัวอยู่ตามแนวแกน x, y, หรือ z หากแต่ที่มมุ ก้ม  กับแกน z และ มุม
กวาด  กับแกน x

ในขณะที่แม่เหล็กชุดที่สองเรียงตัวอยู่ตามแนวแกน z และในการวิเคราะห์ครั้งนี้เราต้องการ
ทราบว่า มีความน่าจะเป็นเท่าใดที่จะตรวจพบอนุภาคอยู่ในสถานะ  Z และ Z
ตามลาดับ

เพื่อที่จะตอบคาถามข้อนี้ เราลาดับเหตุการณ์ตา่ งๆที่เกิดขึ้น ดังต่อไปนี้

1) เมื่อ Beam ของอนุภาคพุ่งผ่านสนามแม่เหล็กชุดแรก ทาให้เกิดการแยกของอนุภาคออกเป็น


สองสาย และเพื่อความสะดวกในการอธิบายความ เราเรียกสถานะของอนุภาคทั้งสองนี้ว่า
n และ n

2) Beam ของอนุภาค n ถูกกั้นออกไป ในขณะที่ Beam ของอนุภาคที่อยู่ในสถานะ n


พุ่งเข้าสู่สนามแม่เหล็กชุดที่สอง ที่อยู่ตามแนวแกน z
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-32

3) ณ จุดนี้ เท่ากับว่าเราได้เตรียมอนุภาคไว้ในสถานะ n แล้วทั้งหมด เพราะฉะนั้น


Probability ที่จะพบว่าอนุภาคอยู่ในสถานะ  Z หรือ Z ย่อมมีค่าเท่ากับ  Z  n 2

หรือ Z n
2
ตามลาดับ

4) จากข้อ (3) จุดเริม่ ต้นในการตอบคาถามก็คือ จะต้องทราบสถานะ n ก่อนว่าเป็น


อย่างไร และมีรูปแบบทางคณิตศาสตร์อย่างไร

5) จะสังเกตว่า ถ้าวางสนามแม่เหล็กในแนวแกน x ก็เท่ากับเรามี Operator Sˆx ที่ทาการวัด


สถานะของระบบ ซึ่งจะแยกออกมาเป็นสองสถานะคือ  X หรือ  X โดยจะเห็นว่า
 X เป็น Eigenstate ของ Operator Sˆx

6) ในทานองเดียวกันกับการวางสนามแม่เหล็กตามแนวแกน y ซึ่งแยก Beam ของอนุภาค


เป็น Y หรือ Y โดยจะเห็นว่า Y เป็น Eigenstate ของ Operator Sˆ y

7) จากข้อ (5) และ (6) การวางสนามแม่เหล็กเป็นมุม ( ,  ) ก็เช่นเดียวกัน ถ้าเรา


สามารถสร้าง Operator ในทางคณิตศาสตร์ที่เป็นตัวแทนของกระบวนการวัดนี้ได้ โดยจะ
เห็นว่า สถานะ n ก็คือ Eigenstate ของ Operator ดังกล่าว นั่นเอง

เมื่อวิเคราะห์ถึงลาดับเหตุการณ์ตงั้ แต่ข้อ (1)-(7) เราสามารถนิยาม Operator ในข้างต้นให้


อยู่ในรูป

Spin Angular Momentum Operator ในทิศ ( ,  ) คือ Sˆ  nˆ ____ สมการ (2.83)

เมื่อ Sˆ  Sˆx i  Sˆ y j  Sˆz k และ n̂ คือ Unit Vector ที่ชี้ที่กากับด้วยมุม ( ,  ) ซึ่งสามารถ


เขียนอยู่ในรูปขององค์ประกอบตามแนวแกน x, y, และ z ได้ว่า
nˆ  cos  sin  i  sin  sin  j  cos  k เพราะฉะนั้นแล้ว

Sˆ  nˆ   cos  sin   Sˆx   sin  sin   Sˆ y   cos   Sˆz _____ สมการ (2.84)

จากสมการ (2.82) เราสามารถเขียน Operator Sˆ  nˆ ให้อยู่ในรูปของ Matrix คือ


บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-33

0 1   0 i  1 0 
Sˆ  nˆ   cos  sin       sin  sin       cos   
2 1 0  2  i 0  2 0 1
 cos  cos  sin   i sin  sin  
  
2 cos  sin   i sin  sin   cos  

และเมื่ออาศัยเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ei  cos   i sin  Matrix ข้างต้นจะลดรูปให้


ง่ายขึ้น

 
  2 cos  e i sin  
Sˆ  nˆ  
2
 _______ สมการ (2.85)
 e  i sin   cos  
 2 2 

เพื่อคานวณหา Eigenstate ของ Matrix ดังในสมการ (2.85) เราจะต้องหา Eigenvalue


เสียก่อน ซึ่งก็ทาได้โดยการกาหนดให้

 
 2 cos    e i sin  
det 
2
0 _______ สมการ (2.86)
 e  i sin   cos    
 2 2 

2
 
ซึ่งนาไปสู่พหุนาม: 2     0 และจะได้ว่า Eigenvalue ทั้งสองก็คือ
2

   ______________________ สมการ (2.87)


2

c 
เพื่อที่จะหา Eigenstate เรานิยาม  n   1
 Z basis c2 
และใช้กลไกของการ
คานวณ Eigenvector ซึ่งอยู่ในเนื้อหาของ Linear Algebra ในการหาค่าของ c1 และ c2
จะทาให้

 
  2 cos  e i sin    c1   c1 
2     __________ สมการ (2.88)
  
 e  i sin   c  2 
 cos     c2 
 2 2  2

ซึ่งจะได้ความสัมพันธ์
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-34

1  cos 
c2  c1ei __________ สมการ (2.89)
sin 

 c1 
และเนื่องจาก c  มิใช่ Eigenvector ทั่วๆไป แต่เป็น Eigenvector ที่แทนสถานะของ
 2
กลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของ Sum Rule ซึ่งก็คือ
N
 ci __________ สมการ (2.90)
2 2 2
 1  c1  c2
i 1

sin 2 
เมื่อพิจารณาสมการ (2.89) และ สมการ (2.90) ร่วมกันจะได้ว่า c1 
2
และเมื่อ
1  cos 
   
ผนวกกับเอกลักษณ์ทางตรีโกณมิติ sin   2sin cos , cos   cos2  sin 2 จะได้
2 2 2 2


c1  cos __________________ สมการ (2.91)
2

ซึ่งเมื่อแทนเข้าไปในสมการ (2.89) ทาให้ทราบว่า


c2  ei sin __________________ สมการ (2.92)
2

ด้วยเหตุนี้ เราสรุปได้ว่าหนึ่งใน Eigenstate ของ Operator Sˆ  nˆ ก็คือ

 
n  cos  Z  ei sin Z ซึ่งมี Eigenvalue  ______ สมการ (2.93)
2 2 2

วกกลับมาที่คาถามทีม่ ีไว้ตั้งแต่แรก ดังในภาพ คือความน่าจะเป็นที่จะพบอนุภาคอยู่ใน


สถานะ  Z หรือ Z ซึ่งจากลาดับเหตุการณ์ในข้อ (3) ที่ผ่านมา ย่อมมีคา่ เท่ากับ
 Z  n หรือ  Z  n ตามลาดับ และจากสมการ (2.93) จะได้ว่า
2 2

2 
 Z n  cos 2
2
___________ สมการ (2.94)
2 2
Z n  sin
2
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-35

สมการ (2.94) ถือเป็นความสาเร็จอย่างยิ่งในการอธิบาย Stern-Gerlach Experiment ที่ใช้ชุด


แม่เหล็กสองชุด ซึ่งทามุมกัน ( ,  ) เราสามารถตรวจสอบความถูกต้องของสมการ (2.94)
ในขั้นต้นโดยการแทนค่า ( ,  ) ต่างๆกัน จากนั้นเปรียบเทียบกับผลการทดลองของ Stern-
Gerlach ที่ได้ศึกษาในบทที่ 1 ซึ่งการเปรียบเทียบดังกล่าวสรุปได้ดังนี้

ชุดแม่เหล็ก ( ,  )  Z n
2
Z n
2 เปรียบเทียบ ความ
กับสมการ ถูกต้อง
แนวแกน z  0 1 0 (1.21), (1.22) 
แนวแกน x 
  ,  0
1 1 (1.25) 
2 2 2
แนวแกน y 

, 
 1 1 (1.34) 
2 2 2 2

แบบฝึกหัด 2.16 จงหา Eigenstate n ของ Operator Sˆ  nˆ ซึ่งมี Eigenvalue เป็น



2
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-36

หัวข้อ 2.4 Expectation Value และ Uncertainty


ธรรมชาติของทฤษฏีควอนตัม ที่นาเอาความน่าจะเป็นเข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางวัด
หรือ Measurement นั้น ทาให้การวัดปริมาณทางฟิสิกส์ในแต่ละครั้งมีค่าที่ตรวจวัดได้
แตกต่างกัน เพราะฉะนั้น หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เราจะต้องกล่าวถึงคุณสมบัตเิ ชิงสถิติของการวัด
หรือ ในภาษาของกลศาสตร์ควอนตัม กล่าวถึงคุณสมบัติเชิงสถิติของ Operator ซึ่ง
ประกอบด้วยค่าเฉลีย่ ของการวัด หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Expectation Value และ ค่า
ความไม่แน่นอนของการวัด ที่เรียกว่า Uncertainty

สถิติ และ สถานะ


ในสาขาวิชาสถิติ เมื่อมีเหตุการณ์หลายๆเหตุการณ์ที่จะอาจจะเกิดขึ้นด้วยความน่าจะเป็นที่
แตกต่างกัน มีปริมาณเชิงสถิติหลายอย่างด้วยกันที่จะเป็นเครื่องมือในการทาความเข้าใจถึง
พฤติกรรมของระบบทางฟิสิกส์ที่เรากาลังศึกษาให้ได้มากขึ้น อาทิเช่น Average (ค่าเฉลี่ย) และ
Standard Deviation (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน)

ก่อนที่จะมุ่งประเด็นไปที่การเขียนสมการให้อยู่ในรูปทั่วไป เราควรจะพักการวิเคราะห์ที่หนัก
หน่วงในเชิงกลศาสตร์ควอนตัม และมาทบทวนในเนื้อหาของวิชาสถิติโดยใช้โจทย์ของการเล่น
พนัน

ในการเล่นพนัน ทอดลูกเต๋าแบบใหม่ มี
กติกาว่า ถ้าลูกเต๋าหงายออกมาหน้าใด
นักศึกษาจะได้เงินตอบแทนจากเจ้ามือเป็น
จานวนบาท เท่ากับหมายเลขของหน้าลูกเต๋า
นั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าลูกเต๋าหงายเลข 2
นักศึกษาจะได้เงิน 2 บาท

แต่มีข้อแม้ว่า ในการโยนแต่ละครัง้ นักศึกษาต้องเสียค่าธรรมเนียมให้เจ้ามือ 3 บาท ถาม


ว่าในการเล่นแต่ละครั้ง เจ้ามือจะได้กาไรหรือขาดทุน โดยเฉลี่ยแล้วกี่บาท ?

ในการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย เราแทนสถานะที่เป็นไปได้ทั้งหมด (หรือ Basis State) ด้วย


สัญลักษณ์ one , two , , six ซึ่งสถานะทัง้ หกมีคุณสมบัติที่สรุปเป็นตารางได้ว่า
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-37

สถานะ ความน่าจะเป็น Observable คือ “เงินที่ได้”


Eigenvalue ของ Observable
one 2 1 1  1
c1 
6
two 2 1 2  2
c2 
6
three 2 1 3  3
c3 
6
four 2 1 4  4
c4 
6
five 2 1 5  5
c5 
6
six 2 1 6  6
c6 
6

ในทางสถิติ เราสามารถคานวณค่าเฉลี่ยของ “เงินที่ได้รับ” ซึ่งมีค่าเท่ากับ

 (เงิน 1 บาท)x(Probability หงายเลข 1) + (เงิน 2 บาท)x(Probability หงายเลข 2)


+… (เงิน 6 บาท)x(Probability หงายเลข 6)

และเขียนให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ดังแสดงในตารางได้ว่า
6
   i ci  3.5 บาท _____ สมการ (2.95)
2 2 2 2
   1 c1   2 c2    6 c6
i 1

เพราะฉะนั้นในการวัดดวงแต่ละครั้ง เจ้ามือจะต้องจ่ายในนักศึกษาโดยเฉลี่ยแล้ว 3.5 บาท


ในขณะที่เขาได้รับเงินเพียง 3 บาทเป็นค่าธรรมเนียม จึงสรุปได้ว่า ตามกติกาการการเล่นที่ว่า
นี้

“เจ้ามือขาดทุนโดยเฉลี่ย ตาละ 50 สตางค์”

แบบฝึกหัด 2.17 ถ้าเจ้ามือทาการดัดแปลงลูกเต๋า ให้โอกาสที่จะหงายหน้าหมายเลขหนึ่ง มี


ความน่าจะเป็น เป็น 3 เท่าของหน้าอื่นๆ จงหาว่าในคราวนี้ เจ้ามือจะได้กาไรเป็นเงินเท่าใด
ถ้าโยน 100 ครั้ง

ให้สังเกตความพยายามที่จะเขียนสัญลักษณ์โจทย์ข้อดังกล่าว ให้มีความคล้ายคลึงกับสัญลักษณ์
ทางกลศาสตร์ควอนตัม ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกในการที่จะให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยง
ตรรกะและความสัมพันธ์ จากการคานวณเชิงสถิติ ไปสูส่ ิ่งที่เรียกว่า Expectation Value
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-38

Expectation Value
การวัด หรือ Operator ในทางกลศาสตร์ควอนตัม ก็มิได้แตกต่างอะไรมากนักกับการที่นัก
พนันเปิดฝากระติบข้าวเหนียวเพื่อที่จะเห็นลูกไฮโล (ลูกเต๋า) ที่อยู่ภายใน
N
เมื่อระบบทางฟิสิกส์อยู่ในสถานะ    ci a i ซึ่งเป็นสถานะผสมระหว่าง Basis State
i 1

ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยมี ci
2
แสดงถึงความน่าจะเป็นที่ระบบดังกล่าวจะอยู่ในสถานะ
พื้นฐานนั้นๆ

ในทานองเดียวกันกับที่ สถานะ one , two , , six มีจานวน “เงินที่ได้รับ” แตกต่างกัน


ออกไป Basis State a i ก็มี Eigenvalue  i แตกต่างกันออกไป ซึ่ง Eigenvalue  i
นี้เอง ก็คือปริมาณทางฟิสิกส์เช่นโมเมนตัม, พลังงาน, หรือ ความเร็ว ที่สอดคล้องกับ
กระบวนการวัดที่เรียกว่า Operator  หรืออีกนัยหนึ่ง

Aˆ a i   i a i

และในทานองเดียวกันกับการหาค่าเฉลี่ยของเงินที่ได้รับจากการพนัน ระบบซึ่งอยู่ในสถานะ
 เมื่อทาการวัดด้วย Operator  จะมีค่าเฉลี่ยของปริมาณทางฟิสิกส์เท่ากับ

N
ค่าเฉลี่ย     i ci
2
เรียกในภาษากลศาสตร์ควอนตัมว่า Expectation Value
i 1

อย่างไรก็ตาม เราสามารถเขียนค่าเฉลี่ยในสมการข้างต้น ให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานของ


กลศาสตร์ควอนตัม ด้วยการใช้สมบัติของ Probability Amplitude ที่ว่า
ci  cici   a i a i  ซึ่งทาให้
2

N  N 
Expectation Value    i  ai a i      i a i ai  
i 1  i 1 
__________________ สมการ (2.96)

โดยที่ในสมการข้างต้น เราทาการจัดกลุ่มของเทอมต่างๆ กล่าวคือ ส่วนสถานะ Ket 


และสถานะ Bra  นั้น สามารถแยกออกมาข้างนอกซัมเมชั่นได้ เพราะไม่ได้เกีย่ วข้องกับเลข
ดัชนี i แต่อย่างใด
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-39

N
และจากแบบฝึกหัด 2.25 สามารถเขียน Operator  ให้อยู่ในรูป Aˆ    i a i ai
i 1
เพราะฉะนั้นสมการ (2.96) ลดรูปหรือเพียง

Expectation Value หรือ เขียนสัน้ ๆว่า Aˆ   Aˆ  ______ สมการ (2.97)

เพื่อเป็นตัวอย่างของการหาค่าเฉลีย่ หรือ Expectation Value ของระบบ เราจะทาการ


วิเคราะห์สปินของอิเล็กตรอนที่อยูภ่ ายในสนามแม่เหล็ก B

สมมุติว่าเมื่ออิเล็กตรอนอยู่ท่ามกลางสนามแม่เหล็กที่เรียงตัวตามแนวแกน z หรือ B  B0k


มีพลังงาน ซึ่งสามารถวัดได้ด้วย Operator

0 
Hˆ   Z  Z  0 Z Z ______ สมการ (2.98)
2 2

ที่มาของ Operator Ĥ ดังกล่าวไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องอธิบายในคราวนี้ แต่จะได้รับการขยาย


ความในบทที่ 4 ประเด็นทีส่ าคัญในการวิเคราะห์ครั้งนี้ก็คือ สมมุติว่าสปินของอิเล็กตรอน
อยู่ในสถานะที่ชี้ในแนวแกน y หรือ   Y จงหาพลังงานเฉลี่ยของระบบ

จะเห็นว่า Operator Ĥ ในสมการ (2.98) นั้น เขียนอยู่ในรูปของ Basis State  Z


ดังนั้นเพื่อเป็นการสะดวกในการคานวณ เราจะเขียนสถานะของระบบ   Y ให้อยู่ในรูป

1 i 1 i
  Z  Z และ   Z  Z ______ สมการ (2.99)
2 2 2 2

จากสมการ (2.97) เราสามารถคานวณพลังงานเฉลีย่ ได้จาก

 1 i     1 i 
 Hˆ    Z  Z   0  Z  Z  0 Z Z   Z  Z 
 2 2  2 2  2 2 
______ สมการ (2.100)

และเมื่อนา Operator Ĥ เข้าไปกระทากับสถานะ Ket ทางขวามือจะได้


บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-40

 1 i   i 
 Hˆ    Z  Z   0  Z  0 Z 
 2 2 2 2 2 2 
 1  0  i  0i
    __ สมการ (2.101)
 22 2  2 2 2
 Hˆ   0

ซึ่งในท้ายที่สุดจะพบว่า พลังงานโดยเฉลี่ยมีค่าเป็นศูนย์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า เมื่อกาหนดให้


สปินของอิเล็กตรอนอยู่ในแนวแกน y ทาให้มีความน่าจะเป็น 50-50 ที่ จะตรวจพบว่า สปินข
องอนุภาคเรียงตัวในทิศ +z หรือ -z ทาให้ค่าพลังงานของอันตกริยากับสนามแม่เหล็ก
B  B0k หักล้างกันเหลือศูนย์

แบบฝึกหัด 2.18 สมมุติ Spin ของอิเล็กตรอนอยู่ในสถานะ


 
n  cos  Z  ei sin Z จงหา Expectation Value ของพลังงาน ที่ระบบ
2 2
ดังกล่าวมีอยู่

แบบฝึกหัด 2.19 จะเห็นว่า Operator Ĥ ในสมการ (2.98) สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของ


Matrix
 1 0 
Hˆ   H  0 
 Z basis 2 0 1
ในขณะเดียวกันที่ สถานะ n สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเวคเตอร์
  
 cos 2 
 n   n   
 Z basis  e  i sin  
 2 
จงคานวณ Expectation Value ของพลังงานโดยใช้กระบวนการของ Matrix-Vector
Operation กล่าวคือ n†  Hn  และเปรียบเทียบผลกับแบบฝึกหัด 2.18

แบบฝึกหัด 2.20 พิจารณา Operator Hˆ 2  HH ˆ ˆ เมื่อ Ĥ คือ Operator ดังสมการ (2.98)


a) จงเขียน Operator Ĥ 2 ในรูปของ Ket-Bra
b) จงเขียน Operator Ĥ 2 ในรูปของ Matrix
c) จงหา Expectation Value ของระบบ   Y เมื่อทาการวัดด้วย Operator Ĥ 2
ดังกล่าว และเปรียบเทียบกับในกรณีของตัวอย่าง ว่า  Hˆ 2   0 หรือไม่
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-41

N
Aˆ   Aˆ     i c i
2
แบบฝึกหัด 2.21 จงใช้คานิยามของ Expectation Value
i 1
เพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เหล่านี้
a) 1̂  1 (ค่าเฉลีย่ ของ Unitary Operator เท่ากับ 1)
b)  Aˆ   Aˆ เมื่อ  คือค่าคงที่
c) Aˆ  Aˆ

d) Aˆ  Bˆ  Aˆ  Bˆ

เมื่อสถานะเปลี่ยน Phase   ei  เราจะปิดท้ายบทวิเคราะห์ในเนื้อหาของ


Expectation Value ด้วยคุณสมบัติโดยทั่วไปที่สาคัญอีกประการหนึ่งของสถานะ 

พิจารณาสถานะ  ที่อธิบายพฤติกรรมของระบบทางฟิสิกส์ เมื่อมีค่าคงที่ e  i เข้ามาคูณ


กับมัน โดยที่  เป็นจานวนจริงใดๆ กล่าวคือ

  ei  หรือ ในรูปของ Bra   ei 

การเปลีย่ นแปลงของสถานะในลักษณะเช่นนี้ จะส่งผลให้ Expectation Value ของ


Operator  ใดๆ ที่สอดคล้องกับกับสถานะใหม่ที่เกิดขึ้นดังกล่าว มีคา่ เท่ากับ

   
  e i Aˆ e i   e i e i  Aˆ    Aˆ 
 Aˆ  

ข้างต้นจะเห็นว่า เมื่อสถานะของระบบมีการเปลีย่ น Phase หรือ   ei  จะไม่ทา


ให้ปริมาณต่างๆในทางฟิสิกส์ที่ตรวจวัดได้ มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นแล้ว
การที่สถานะของระบบได้รับการคูณด้วยค่าคงที่ ei เป็นกลไกทางคณิตศาสตร์ที่ไม่มีนัยสาคัญ
อันใดต่อกลศาสตร์ควอนตัม

ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะเขียนสถานะ n ดังสมการ (2.93) เสียใหม่ให้อยู่ในรูป

 
 n  ei  n  ei cos  Z  sin Z
2 2
หรือ
  
i i  i 
n  e 2 n  e 2 cos Z  e 2 sin Z
2 2
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-42

ก็มิได้ทาให้นัยยะทางฟิสิกส์เกิดการเปลีย่ นแปลงแต่ประการใด

Uncertainty
ค่าเฉลี่ย หรือ Expectation Value เพียงอย่างเดียว บ่งบอกถึงพฤติกรรมของระบบได้ไม่
ครบถ้วน ยกตัวอย่างเช่น การที่ประเทศสองประเทศมีประชากรซึง่ มีรายได้โดยเฉลี่ยที่เท่ากัน
คือ 15,000 บาทต่อเดือน ประเทศที่หนึ่งอาจจะไม่ได้มีช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน
มากมายนัก นั่นก็หมายถึง ประชากรส่วนใหญ่สามารถทามาหาเลีย้ งตนเองได้ในระดับหนึ่งและมี
ความสุขตามอัตภาพ ในขณะที่ประเทศทีส่ อง มีประชากรส่วนใหญ่ยากจนและด้อยโอกาส
ด้วยเงินรายได้เพียงเดือนละ 4,000 บาท ซึ่งไม่เพียงพอที่จะซื้อหาแม้กระทั่งสิ่งจาเป็นในการ
ดารงชีวิต และมีประชากรส่วนน้อยที่ร่ารวยมหาศาลและกุมทรัพยากรของชาติไว้ในมือ
อย่างไรก็ตาม ประเทศที่สองมีรายได้โดยเฉลี่ย 15,000 บาท ต่อเดือนต่อคน หากแต่มีช่องว่าง
ของรายได้จานวนมหาศาล

ในทางสถิติ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ Standard Deviation (S.D.) แสดงถึงปริมาณการ


กระจายตัวของปริมาณต่างๆ ว่าอยู่ห่างจากค่าเฉลี่ยมากน้อยแค่ใด ดังในตัวอย่างข้างต้น เรา
บอกว่า รายได้ของประชากรในประเทศที่หนึ่งมี S.D. ต่า ในขณะที่ประเทศที่สองมี S.D. สูง
ซึ่งค่า Standard Deviation ในทางสถิติสามารถคานวณได้จาก

S.D.   x  x 2 ______________ สมการ (2.102)

ในทางกลศาสตร์ควอนตัม เมื่อทาการวัดปริมาณทางฟิสิกส์ด้วย Operator  และพบว่า


ตรวจวัดได้ค่าเฉลีย่ เท่ากับ Â แต่ด้วยความไม่แน่นอนที่เป็นธรรมชาติพื้นฐานของทฤษฏี
ควอนตัม การวัดแต่ละครั้งก็จะได้ค่าที่แตกต่างกันออกไป ถ้าแตกต่างกันมาก แสดงว่าการวัด
มีความคลาดเคลื่อนสูง หรือถ้ากระจุกตัวอยู่ใกล้เคียงกับ Expectation Value  ก็แสดงว่ามี
ความแม่นยา เพราะฉะนั้น เราสามารถนิยาม Uncertainty หรือ ความไม่แน่นอนของการวัด
ด้วย Operator  ในทานองเดียวกับสมการ (2.102) ได้ว่า

 Aˆ  Aˆ 
2
Uncertainty A  ______________ สมการ (2.103)

จะเห็นว่า เราใช้สัญลักษณ์ A แสดงถึง ความไม่แน่นอนของการวัด หรือ Uncertainty


และผนวกกับเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในแบบฝึกหัด 2.21 สามารถลดรูปสมการ (2.103) ให้
ง่ายขึ้นโดยอาศัย  Aˆ  Aˆ   Aˆ 2  2 Aˆ Aˆ  Aˆ
2 2
เพราะฉะนั้น
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-43

 Aˆ  Aˆ 
2 2
 Aˆ 2  2 Aˆ Aˆ  Aˆ

2
 Aˆ 2  2 Aˆ Aˆ  Aˆ

 Aˆ  Aˆ 
2 2
 Aˆ 2  2 Aˆ Aˆ  Aˆ

ในกระบวนการข้างต้น เราใช้สมบัติการกระจายดังในแบบฝึกหัด 2.21d และตามด้วยสมบัติใน


แบบฝึกหัด 2.21b และ 2.21c ทาให้ในท้ายที่สุดแล้ว

2
A  Aˆ 2  Aˆ ______________ สมการ (2.104)

ยกตัวอย่างเช่น สมมุติเรามีระบบที่มี Spin อยู่ในสถานะ  Z และต้องการทราบ


Uncertainty ของการวัด Spin ตามแนวแกน x หรืออีกนัยหนึ่ง ต้องการทราบ S x

การคานวณ Uncertainty ดังสมการ (2.104) แบ่งออกเป็นสองขั้นตอน คือ

1) หาค่าเฉลี่ย Sˆx   Sˆx  และเพื่อเป็นการทบทวนเราจะใช้กระบวนการทาง


Matrix Mechanics ในการคานวณ กล่าวคือ

 0 1  1 
 Sˆx   1 0  0 ______________ สมการ (2.105)
2 1 0  0 

2) คานวณ Sˆx2   Sˆx Sˆx  เริ่มด้วยการเขียน Operator Sˆx2 ให้อยู่ในรูปของ Matrix


ได้โดยอาศัย Matrix-Matrix Operation

0 1  0 1  
2 1 0

Sˆx Sˆx  
2 1 0  2 1 0  4 0 1 
    

เพราฉะนั้น
2
1 0  1  2
Sˆx2  1 0  ______________ สมการ (2.106)
4 0 1  0  4

ทั้งนี้ การคานวณในสมการ (2.105) และ สมการ (2.106) เป็นการละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า กาลัง


ใช้ Basis State  Z และสืบเนื่องจากสมการทั้งสอง Uncertainty ดังในสมการ
(2.104) มีค่าเท่ากับ
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-44

2
S x  Sˆx2  Sˆx 
2

แบบฝึกหัด 2.22
(a) จงหาความไม่แน่นอนของการวัด Spin ตามแนวแกน x ของระบบ ถ้ากาหนดให้ระบบอยู่
ในสถานะ n  cos   Z  ei sin  Z
2 2
(b) มุม ( ,  ) เป็นเท่าใดจึงจะวัดได้แม่นยาที่สุด และในกรณีใดที่วัดได้หยาบที่สดุ

หัวข้อ 2.5 Rotation Operator


เนื้อหาในลาดับสุดท้ายของบทที่ 2 เราจะกล่าวถึง Rotation Operator ที่จะเป็นการนาความรู้
เรื่อง Operator ในประเด็นต่างๆมาสังเคราะห์ร่วมกัน เมื่อกล่าวถึง Spin ของอนุภาคที่
อาจจะชี้ไปในทิศทางต่างๆกัน อาทิเช่น  X และในหัวข้อ 2.1 เราได้เกริ่นถึง Operator ̂
ที่สามารถจะหมุน  X เป็นมุม 90 องศา ให้กลายเป็น Y Rotation Operator ก็ทา
หน้าที่ในทานองเดียวกัน แต่มันสามารถที่จะหมุน Spin ของระบบรอบแกน z ด้วยมุม  ใดๆ

Infinitesimal Rotation
พิจารณา Operator ที่ทาให้สถานะ Spin ของอนุภาคมีการหมุน 90 องศา ดังแสดงในภาพ
2.7a จะเห็นว่า แทนที่จะหมุนสถานะดังกล่าวนี้รวดเดียว 90 องศา เราสามารถหมุน
สถานะเป็นมุมเล็กๆ d องศา (Infinitesimal Rotation) ดังในภาพ 2.7b ซึ่งถ้าหมุนซ้ากัน
หลายๆครั้ง ในท้ายที่สุดผลทีเ่ กิดขึน้ ก็จะเปรียบเหมือนว่า เราได้หมุนสถานะดังกล่าวไปแล้ว 90
องศาดังที่ต้องการ
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-45

z z

Y
y y

X 90 o

x x d

(a) (b)
ภาพ 2.7 a) พิจารณา Operator ที่หมุนสถานะไป 90 องศา b) แทนที่จะหมุน 90
องศาในครั้งเดียว เราสามารถที่หมุนคราวละ d องศา ซึ่งเป็นมุมที่มีขนาดเล็กมาก
(Infinitesimal Rotation)

การเขียนหรือการให้คานิยามของ Operator ที่สามารถหมุนสถานะเป็นมุมขนาดเล็กๆ d


องศานั้น สามารถเขียนอยู่ในรูปของ

Rˆ (d k )  1  d 
ˆ __________________ สมการ (2.107)

การเลือกใช้สญั ลักษณ์ R̂ ก็เพียงเพื่อให้สื่อถึง Rotation Operator และการเขียน (d k )


กากับ ก็เพียงเพื่อขยายความว่าเป็นการหมุนด้วยมุม d ซึ่งมีขนาดเล็กๆ รอบแกน z ซึ่งใน
ลาดับต่อไป เราจะเรียก Operator Rˆ (d k ) นี้ว่า Infinitesimal Rotation

การเขียน Infinitesimal Rotation Operator Rˆ (d k ) ให้อยู่ในรูปของ 1  d ˆ มีความ


เหมาะสมด้วยเหตุที่ว่า ถ้าหาก d  0 แล้ว จะทาให้ Rˆ (d k )  1 นั่นก็หมายความ
ว่า ถ้าเราหมุนสถานะด้วยมุม 0 องศา สถานะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ก็คือสถานะเดิม ไม่มีการเปลีย่ น
แต่อย่างใด

ในกรณีที่ d  0 Operator ̂ จะเป็นตัวกาหนดการเปลี่ยนแปลงไปของสถานะ ซึ่งใน


ขั้นต้นนี้ เรายังไม่ทราบว่า Operator ̂ จะต้องมีรูปแบบในทางคณิตศาสตร์อย่างไร จึงจะทา
ให้เกิดการหมุนดังที่ต้องการ
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-46

นอกจากนี้ Infinitesimal Rotation Operator ดังที่เห็นในสมการ (2.107) นั้น ยังมี


เอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่สาคัญอย่างยิ่งอันหนึ่ง ซึ่งจะได้กล่าวถึงดังต่อไปนี้

สมมุติว่า เราต้องการที่จะหมุนสถานะเป็นมุม  องศา แทนที่จะหมุนภายในครั้งเดียว เรา


สามารถแบ่งการหมุนออกเป็น N ครั้ง โดยที่ N เป็นจานวนเต็มบวก จะได้ว่า ในการหมุน
ย่อยๆแต่ละครั้งนั้น d   ซึ่งจะต้องทาการหมุนทั้งสิ้น N ครั้งซ้อนๆกัน จะได้ว่า
N

Rˆ ( k )  Rˆ (d k ) Rˆ (d k ) Rˆ (d k )


N terms
N
    ˆ     ˆ     ˆ    ˆ
 1      1      1   N     1   N   
  N    N          
N terms

แต่เนื่องจากคานิยามข้างต้นของ Operator Rˆ (d k )  1  d ˆ อยู่ในรูปของ Infinitesimal


Rotation ดังนั้นเราจาเป็นจะต้องหมุนเป็นมุมขนาดเล็ก d  0 ซึ่งในทางคณิตศาสตร์
ทาได้โดยกาหนดให้ limit N   เพราะฉะนั้นแล้ว
N
   ˆ
Rˆ ( k )  lim 1      ___________________ สมการ (2.108)
N   N 

แบบฝึกหัด 2.23 จงพิสูจน์ว่า


N
 x
lim 1    ex
N   N

โดยการหาอนุกรม Taylor ของเทอมทั้งสองข้างของสมการ แล้วตรวจสอบว่า อนุกรมทั้งสองนั้น


มีค่าเท่ากันหรือไม่

สืบเนื่องจาก แบบฝึกหัด 2.23 และรูปแบบในสมการ (2.108) นั้น เราใช้เอกลักษณ์ทาง


คณิตศาสตร์บอกได้ว่า Rotation Operator ที่สามารถหมุนระบบเป็นมุม  องศานั้น สามารถ
เขียนให้อยู่ในรูป

ˆ
Rˆ ( k )  e  ___________________ สมการ (2.109)

อย่างไรก็ตาม การเขียน Infinitesimal Rotation ให้อยู่ในรูป Rˆ (d k )  1  d ˆ ดังสมการ


(2.107) หรือแม้กระทั่งการเขียน Finite Rotation ให้อยู่ในรูปดังสมการ (2.109) ก็ดี เป็น
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-47

แต่เพียงการหนีเสือปะจระเข้ กล่าวคือ เราก็ยังไม่ทราบอยู่ดีว่ารูปแบบทางคณิตศาสตร์ที่ชัดเจน


ของ Operator ̂ นี้ว่าเป็นอย่างไร และ มันจะสามารถหมุนสถานะต่างๆ ได้อย่างที่เรา
ต้องการหรือไม่ หรือแม้กระทั่งคาถามที่ว่า ̂ มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับการวัดปริมาณทาง
ฟิสิกส์อย่างไร

ใ z z
z

y y

x z x z
ภาพ 2.8 แสดงผลของการหมุนรอบแกน z ที่มีผลต่อทิศทางของกรวย (ซ้าย) ถ้าสถานะ
ของกรวยมีทิศที่เอียง เมื่อได้รับการหมุน ทิศทางจะเปลี่ยนไป (ขวา) ถ้าสถานะของกรวย
มีทิศในแนวแกน z อยู่ก่อนแล้ว การหมุนรอบแกน z ไม่มีผลกระทบใดๆ

เอกลักษณ์ของ ̂
เมื่อเราพิจารณาผลของการหมุนรอบแกน z ต่อ Spin ของระบบ จะพบว่า ถ้าระบบมีสถานะ
เป็น  Z หรือ Z แล้ว Operator Rˆ ( k ) ไม่ควรจะมีผลใดๆต่อสถานะทั้งสอง
ดังกล่าว

ความจริงในข้อนี้สามารถเห็นได้จากภาพ 2.8 ที่แสดงผลของการหมุนรอบแกน z ซึ่งมีผลต่อ


ทิศทางของกรวย (ซ้าย) ถ้าสถานะของกรวยมีทิศที่เอียง เมื่อได้รับการหมุน ทิศทางจะ
เปลี่ยนไป (ขวา) ถ้าสถานะของกรายมีทิศในแนวแกน z อยู่ก่อนแล้ว การหมุนรอบแกน z ไม่
มีผลกระทบใดๆ เพราะฉะนั้นแล้ว

Rˆ ( k )  Z  (ค่าคงที่) Z และ Rˆ ( k ) Z  (ค่าคงที)่ Z __ สมการ (2.110)

สมการข้างต้นเป็นการเขียนทางคณิตศาสตร์เพื่อที่จะแสดงว่า Operator Rˆ ( k ) ไม่มี


ผลกระทบใดๆต่อสถานะ  Z หรือ Z และในเมื่อ Rˆ ( k ) เกี่ยวพันโดยตรงกับ
Operator ̂ เราบอกได้ว่า

ˆ Z   Z
  และ  Z    Z เมื่อ   ,  คือค่าคงที่ ___ สมการ (2.111)
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-48

สืบเนื่องจากสมการ (2.109) เราสามารถกระจายเทอมทางขวามือให้อยู่ในรูป Taylor


Expansion

ˆ ˆ 2 
ˆ 2 3 
ˆ3
Rˆ ( k )  e   1     _________ สมการ (2.112)
1! 2! 3!

โดยอาศัยสมบัติของ ̂ ในสมการ (2.111) จึงสรุปได้ว่า

ˆ Z   Z
 ˆ Z   Z

 
ˆ 2 Z   2 Z
 ˆ 2 Z   2 Z

 และ 
ˆ 3 Z   3 Z
 ˆ 3 Z   3 Z

 

ˆ
เพราะฉะนั้น เมื่อ Operator Rˆ ( k )  e  กระทากับสถานะ Z จะทาให้

  ˆ 2  ˆ2 
Rˆ ( k )  Z  1     Z
 1! 2! 
ˆ 2  ˆ2
 1 Z  Z  Z 
1! 2!
   2
 1 Z  Z  Z 
1! 2!
    2  2 
Rˆ ( k )  Z  1      Z
 1! 2! 

ซึ่งในท้ายที่สุด
Rˆ ( k )  Z  e   Z ___________ สมการ (2.113)

และในทานองเดียวกัน

Rˆ ( k ) Z  e  Z ___________ สมการ (2.114)

จากสองสมการ (2.113) และ (2.114) ข้างต้นจะพบว่า ถ้ากาหนดให้ ˆ  Z     Z แล้ว


จะทาให้สมการ (2.110) เป็นจริง ด้วยเหตุผลในทานองคล้ายกับตัวอย่างในภาพ 2.8
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-49

ในขั้นต่อไป เราจะต้องทาการหาค่าที่แท้จริงของ   ,   ซึ่งกระทาได้โดยวิเคราะห์ผลของ


Operator Rˆ ( k ) ที่กระทาต่อสถานะของ Spin ซึ่งบังเอิญไม่ได้อยู่ในแนวแกน z
ยกตัวอย่างเช่น

0 0
 n  cos  Z  ei0 sin Z ___________ สมการ (2.115)
2 2

โดยที่มุม 0 , 0  บ่งบอกถึงทิศทางที่ Spin กาลังชี้อยู่ และให้สังเกตว่า 0 คือมุมกวาด


รอบแกน z เพราะฉะนั้น Operator Rˆ ( k ) ควรจะมีผลกระทบโดยตรงต่อมุมดังกล่าว

   
Rˆ ( k )  n  Rˆ ( k ) cos 0  Z  ei0 sin 0  Z 
 2 2 
0 ˆ 
 cos R( k )  Z  sin 0 ei0 Rˆ ( k )  Z
2 2

และเมื่ออาศัยสมการ (2.113) และ สมการ (2.114) จะได้ว่า


 
Rˆ ( k )  n  cos 0 e   Z  sin 0 ei0 e   Z
2 2
   
 e  cos 0  Z  sin 0 ei0  (    )  Z 
 2 2 

สังเกตเทอมทางขวามือของสมการข้างต้น ว่าเราแยกตัวประกอบเอาค่าคงที่ e ออกมา 

ทั้งนี้ก็เพือ่ ให้การวิเคราะห์ง่ายขึ้น จากหัวข้อ 2.4 เราทราบว่า เมื่อสถานะของระบบมีการคูณ


ด้วยค่าคงที่ จะไม่ทาให้สถานะมีเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นในที่นี้เราจะไม่นาค่าคงที่
e ในสมการข้างต้นเข้ามาวิเคราะห์รว่ มด้วย ดังนั้น

 
Rˆ ( k ) n  cos 0  Z  sin 0 ei0  (    ) Z ___________ สมการ (2.116)
2 2

ทั้งนี้หากสังเกตคานิยามของสถานะ n ในสมการ จะพบว่า เมื่อมีการหมุนรอบแกน z


ด้วยมุม  แล้วนั้น สถานะ n ที่มี 0 เป็นมุมกวาดรอบแกน z อยู่เดิม ควรจะเปลี่ยน
จาก 0  0   และดังสมการ (2.116) การเปลีย่ นแปลงในลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้
ก็ต่อเมื่อ i0   (     )  i 0    ซึ่งจะนาไปสู่ความสัมพันธ์ที่ว่า

   i __________________ สมการ (2.117)


บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-50

นอกจากนี้ เมื่อเราพิจารณาคานิยามของ   ,  ในสมการ (2.111) ประกอบกับความสมมาตร


ของระบบ ค่าคงที่ทั้งสองควรจะมี

   ___________________ สมการ (2.118)

i i
จากสมการ (2.117) และ (2.118) ทาให้สรุปได้ว่า    ,    และเมื่อแทน
2 2
ค่าคงที่ทั้งสองเข้าไปในสมการ (2.111) จะทาให้ได้คุณสมบัติที่สาคัญ Operator ̂ ดังนี้

ˆ Z   i Z

2
___________________ สมการ (2.119)
ˆ Z   i Z

2

นอกจากนี้ เนื้อหาในหัวข้อ 2.3 ในเรื่องของ Spin Operator ที่ว่า

Sˆz  Z   Z
2
___________________ สมการ (2.120)
Sˆz  Z   Z
2

และเมื่อเราเปรียบเทียบสมการ (2.119) และ สมการ (2.120) จะได้เอกลักษณ์ข้อที่สองของ


Operator ̂ นั่นก็คือ

ˆ   i Sˆ
 ___________________ สมการ (2.121)
z

Generator of Rotation
เมื่อแทนเอกลักษณ์ของ Operator ̂ ข้างต้น เข้าไปในคานิยามของ Infinitesimal
Rotation Operator ดังสมการ (2.107) จะทาให้

i
Rˆ (d k )  1  d Sˆz ___________________ สมการ (2.122)

และนาไปสู่ Rotation Operator ที่สามารถหมุนสถานะเชิง Spin ของระบบด้วยมุมใดๆ ได้ว่า


i
  Sˆz
Rˆ ( k )  e ___________________ สมการ (2.123)
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-51

ในท้ายที่สุดเราก็พบกับความหมายที่สาคัญของ Operator Sˆz ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้นสองประเด็น


ด้วยกันคือ

1) Sˆz คือ Operator ที่ใช้แทนการวัด Spin Angular Momentum ตามแนวแกน z ซึ่งเป็น


ความหมายโดยทั่วไปของ Sˆz ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อ 2.3

2) Sˆz คือ Generator of Rotation หรือ Operator ที่ทาให้เกิด (Generate) การหมุน


สาหรับทีม่ าของชื่อดังกล่าว แสดงให้เห็นด้วยสมการ (2.122) ในการหมุนเป็นมุมขนาดเล็กๆ
นั้น เมื่อ Operator Rˆ (d k ) เข้าไปกระทากับสถานะ  ของระบบ จะทาให้มันเกิดการ
หมุน หรือ เปลีย่ นแปลง

i
แต่จากสมการ Rˆ (d k )  1  d Sˆz มีอยู่สองเทอม เทอมแรกคือ Identity Operator 1̂
i
ที่ไม่มผี ลอันใดกับสถานะของระบบ ในขณะที่เทอมที่สองคือ d Sˆz ซึ่งจะทาหน้าที่ให้เกิด
การเปลีย่ นแปลงของระบบ ส่งผลให้เกิดการหมุน และด้วยคุณสมบัติอันนี้ เราเรียก

Sˆz เป็น Generator of Rotation Rˆ ( k ) _________ สมการ (2.124)

คาทานายที่ท้าทาย
นอกจากนี้ Rotation Operator ที่ได้กล่าวถึงยังมีบทสรุปอีกอันหนึง่ ที่น่าทึ่งและท้าทาย
เพื่อที่จะอธิบายประเด็นดังกล่าว ลองตั้งคาถามว่า ถ้าเราหมุนสถานะใดๆก็ตาม เป็นมุม 360
องศา สถานะผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร?

สืบเนื่องจากรูปแบบของ Operator Rˆ ( k ) ในสมการที่ (2.123) จะได้ว่า

i 2 ˆ

c  ___________ สมการ (2.125)
Sz
Rˆ (2 k )   e  Z  c  Z

จากสมการข้างต้น เราเขียนสถานะ  ให้อยู่ในรูป Superposition


  c  Z  c Z เมื่อ c , c คือ ค่าคงที่ใดๆ และเมื่อใช้เอกลักษณ์ที่ว่า
ei  1 ทาให้

i 2   i 2  
     
Rˆ (2 k )   c e 2  Z  c e  2 Z
 c  Z  c  Z
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-52

หรือ

Rˆ (2 k )     ___________ สมการ (2.126)

นี่เป็นคาทานายในเชิงทฤษฏีที่ท้าทายต่อการพิสจู น์โดยการทดลองเป็นอย่างยิ่ง เพราะ


กลศาสตร์ควอนตัมกาลังบอกโดยใช้สมการ (2.126) ว่า ในระบบอนุภาคที่มี Spin เป็น 1/2
นั้น ถ้าเราหมุนสถานะของระบบเป็นมุม 360 องศา สถานะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะมีค่าเป็น ลบ
ของตัวมันเอง

ในบทที่ 4 ที่ว่าด้วย Time Evolution เราจะวกกลับมาศึกษาถึงการทดลองที่สามารถพิสจู น์การ


ทานายอันนี้ โดย S.A. Werner, R. Collella, A. W Overhauser1, and C.F. Eagen ในปี
1975.

แบบฝึกหัด 2.24 จงเขียน Rotation Operator Rˆ ( k ) ดังสมการ (2.123) ให้อยู่ในรูปของ


Matrix โดยใช้  Z , Z  เป็นสถานะพื้นฐาน

หัวข้อ 2.6 บทสรุป


ในบทที่ 2 เราได้ศึกษาถึง Operator และคุณสมบัติหลายๆประเด็นของมัน ในความหมาย
อย่างกว้างของ Operator Ô ก็คือสิ่งที่ทาให้สถานะของระบบเปลี่ยนแปลง จากสถานะเริ่มต้น
ไปยังสถานะผลลัพธ์

  Ô 

ซึ่งการเขียน Operator โดยทั่วไปอาจจะทาให้อยู่ในรูปของ Ket-Bra ของ Basis State   i 


กล่าวคือ
N N
Oˆ   oij  i j
i 1 j 1

1
R. Colella และ W. Overhauser สอนอยูท่ ี่ Purdue University ในขณะที่ผแู ้ ต่งเรี ยน Ph.D. อยู่ ณ มหาวิทยาลัยแห่ งนี้ โดยที่ Colella
นั้นสอนวิชา Electromagnetic และ Overhauser นั้นสอนวิชา Thermodynamic ให้แก่ขา้ พเจ้า ท่านทั้งสองมีความเชี่ยวชาญ
แตกฉานในวิชาที่สอน เพราะทั้งสองท่านล้วนสอนปากเปล่า ไม่มีโน๊ตอยูใ่ นมือใดๆทั้งสิ้ น
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-53

และนอกจากรูปแบบของกลศาสตร์ควอนตัมที่ใช้ Ket และ Bra เป็นสัญลักษณ์พื้นฐาน เรายัง


สามารถใช้ Vector และ Matrix ในการแสดงสถานะและแสดง Operator ซึ่งสามารถเขียน
ได้ว่า

 c1 
N c 
   ci  i   2 
i 1
 i basis  
 
 cN 

  1 Oˆ  1  1 Oˆ  2  1 Oˆ  N 
 
  Oˆ   2 Oˆ  2  2 Oˆ  N 
Oˆ   2 1

 
 i basis 



  N Oˆ  1  N Oˆ  2  N Oˆ  N 
 

หลังจากนั้นเราเริม่ กล่าวถึงความหมายอย่างแคบของ Operator ซึ่งก็คือกลไกในการวัดปริมาณ


ทางฟิสิกส์ หรือ Observable และนาไปสูส่ ิ่งที่เรียกว่า Eigen Equation

 a   a

โดยที่ตัวอย่างของ Operator ในลักษณะดังกล่าวนี้ก็คือ Spin Operator ที่ใช้ในการวัด Spin


Angular Momentum ของระบบในทิศทางต่างๆกัน ได้แก่

0 1  0 i  1 0 
Sx  , Sy  , และ Sz  เมื่อใช้ Basis State
2 1 0  2  i 0  2 0 1
  Z , Z 

ในความหมายของ Operator ที่เกี่ยวข้องกับการวัดนี้เอง หลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องกล่าวถึง


ค่าเฉลี่ยของการวัด และ ความไม่แน่นอนของการวัด หรือ ที่เรียกว่า Expectation Value และ
Uncertainty

Expectation Value Aˆ   Aˆ 
2
Uncertainty A  Aˆ 2  Aˆ
บทที่ 2 Operator และ Matrix Mechanics 2-54

และในท้ายที่สดุ เพื่อเป็นตัวอย่างของการนาความรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับ Operator มาประมวลและ


สังเคราะห์ เราได้กล่าวถึง Rotation Operator และ Generator of Rotation
i
  Sˆz
Rˆ ( k )  e

หัวข้อ 2.7 ปัญหาท้ายบท


แบบฝึกหัด 2.25 โดยเริม่ จากคานิยามของ Operator ในสมการ (2.23) จงพิสูจน์ว่า เรา
N
สามารถเขียน Operator ให้อยู่ในรูป Aˆ    i a i ai เมื่อ ai และ  i คือ
i 1
Eigenstate และ Eigenvalue ของ Operator Â

แบบฝึกหัด 2.26 ในทานองเดียวกันกับแบบฝึกหัดข้างต้น


Sˆx   X  X   X  X จงเขียน Operator Sˆx ให้อยู่ในรูปของ Matrix โดยใช้
2 2
สถานะพื้นฐาน   Z , Z 

แบบฝึกหัด 2.27 จงเขียน Rotation Operator Rˆ (1 i) และ Rˆ ( 2 j) ให้อยู่ในรูปของ


Matrix โดยใช้  Z , Z  เป็น Basis State
บทที่ 3 Angular Momentum 3-1

3 Angular Momentum

เนื้อหา
3.1 Orbital และ Spin Angular Momentum
3.2 Commutation
3.3  Jˆx , Jˆ y   i Jˆ z
3.4 Commuting Operator
3.5 Eigenvalue ของ Angular Momentum
3.6 สมบัติของ Operator
3.7 Raising และ Lowering Operator
3.8 m และ  2
3.9 Jˆ j, m และ Jˆ j, m
3.10 บทสรุป
3.11 ปัญหาท้ายบท

ลักษณะการเคลื่อนที่ ที่สาคัญอันหนึ่งในทางฟิสิกส์ ก็คือการหมุน ปริมาณทางฟิสิกส์ที่เราใช้ในการ


อธิบายพฤติกรรมของอนุภาคทีเ่ กีย่ วข้องกับการหมุนนั้น เรียกว่า Angular Momentum

Angular Momentum Vector

ภาพ 3.1 Angular Momentum เป็นปริมาณทางฟิสิกส์ที่แสดงถึงการเคลื่อนที่แบบหมุน ในภาพ


จะเห็น Shizuka Arakawa กาลังแสดงการหมุนตัวแบบ Donut Spin ในการแข่งขันสเกตน้าแข็ง
บทที่ 3 Angular Momentum 3-2

ในกลศาสตร์คลาสสิก โมเมนตัมเชิงมุม หรือ Angular Momentum เป็นปริมาณเวคเตอร์ ซึ่งหากจะ


ตีความโดยอนุโลมแล้ว เวคเตอร์อันนี้ก็คือแกนของการหมุน ดังแสดงในภาพ 3.1 ซึ่งนักสเกตน้าแข็ง
กาลังหมุนตัว และถ้าพิจารณาทิศทางของการหมุนตามกฎมือขวา เธอก็จะมีโมเมนตัมเชิงมุมในทิศชี้ขึ้น
นั่นเอง

คานิยามของ Angular Momentum อยู่ในรูปของ L  r  p นั่นก็หมายความว่าขนาดของมัน


ขึ้นอยู่กับความเร็วเชิงมุมขณะที่กาลังหมุน, มวลของวัตถุ, และ รัศมีของการหมุน ยกตัวอย่างเช่น ถ้า
มวล 1 kg ที่มีลักษณะเป็นทรงกลมซึ่งมีรัศมี 10 cm เมื่อหมุนด้วยความเร็วเป็น 10 รอบต่อวินาที จะ
มีโมเมนตัมเชิงมุมประมาณ 0.25 Js

แต่ทว่าระบบอนุภาคในระดับอะตอม ซึ่งมีมวลขนาดเล็กมากและเคลื่อนที่อยู่แต่ในวงจากัดภายใน
ระยะทางระหว่างอะตอมนั้น มีโมเมนตัมเชิงมุมที่เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างข้างต้น เป็นค่าที่เล็ก
มาก ยกตัวอย่างเช่น Spin Angular Momentum ของอิเล็กตรอนที่กล่าวในบทที่ 2 มีค่าเท่ากับ
2 หรือ 0.5  1034 Js เปรียบเทียบกับ L = 0.25 Js ในกรณีของการหมุนของลูกทรงกลมข้างต้น

นอกเหนือไปจากขนาดของ L ที่เล็กมากๆ โมเมนตัมเชิงมุมของอนุภาคในระดับอะตอม ยังมี


คุณสมบัติที่น่าทึ่ง นั่นคือ แกนของการหมุน ตลอดจนความเร็วรอบในการหมุน มิใช่จะเป็นเท่าใดก็ได้
สมบัตเิ ชิงการหมุนเหล่านี้ ไม่ใช่ปริมาณที่ต่อเนื่อง หากแต่มีค่าที่เป็นไปได้ลักษณะคล้ายกับขั้นบันได ใน
ทานองเดียวกันกับขนาดของประจุ ที่มีค่าได้เฉพาะภายในเซต e, 2e, 3e, ... แต่เพียงเท่านั้น ซึ่งใน
บทที่ 3 นี้ เราจะพยามทาความเข้าใจกับธรรมชาติของ Angular Momentum ด้วยระเบียบวิธีของ
กลศาสตร์ควอนตัม

หัวข้อ 3.1 Orbital และ Spin Angular Momentum


สืบเนื่องจากการทดลองของ Stern-Gerlach ที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อ 1.6 อะตอมของธาตุเงิน มี
สมบัติคล้ายๆกับแท่งแม่เหล็กขนาดเล็ก โดยทีส่ นามแม่เหล็กขนาดจิ๋วของมัน เป็นผลมาจาก
อิเล็กตรอนในชั้น 5s

เนื่องจากสิ่งที่เราได้เคยศึกษาในวิชาแม่เหล็กไฟฟ้า หากอนุภาคที่มปี ระจุ เช่นอิเล็กตรอน มีการ


เคลื่อนทีว่ ิ่งวนอยู่รอบนิวเคลียส จะทาให้เกิดกระแสไหล ส่งผลให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นโดยรอบ ตาม
ทฤษฎีของ Bio-Savart อย่างไรก็ตามในกรณีของอะตอมดังกล่าว เราจะด่วนสรุปว่าสนามแม่เหล็ก
ขนาดจิ๋วของมัน เกิดมาจากการทีอ่ ิเล็กตรอนในชั้น 5s วิ่งวนเป็นวงโคจรรอบๆนิวเคลียสมิได้

ด้วยเหตุที่ว่า จากแบบฝึกหัด 1.3 ที่เราได้ทบทวน Wave Function ของอิเล็กตรอน ซึ่งมักจะใช้


Quantum Number (n, , m) เป็นตัวกากับคุณสมบัติและรูปทรงการกระจายตัวของกลุ่มหมอก
บทที่ 3 Angular Momentum 3-3

อิเล็กตรอน (Electron Density) ในชั้นระดับพลังงานต่างๆ ซึ่งถ้าหากพิจารณาในชั้น 5s จะพบว่า


อิเล็กตรอนในชั้นดังกล่าวนี้ มี Orbital Angular Quantum Number เป็นศูนย์ นั่นก็หมายความ
ว่า อิเล็กตรอนในชั้น 5s มิได้มีลักษณะของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนทีส่ ่อให้เห็นว่ามันวิ่งเป็นวงโคจรรอบ
แกนใดแกนหนึ่งแต่อย่างใด

แล้วเพราะเหตุใด อิเล็กตรอนในชั้น 5s จึงยังสามารถสร้างสนามแม่เหล็กขนาดจิ๋วนี้ขึ้นมาได้ ?


คาตอบก็คือ Spin ในเชิงกลศาสตร์ควอนตัม เราจัดให้ Spin อยู่ในประเภทเดียวกันกับ Angular
Momentum ทั้งคู่ทาให้เกิดสนามแม่เหล็กได้เช่นเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนที่อาจจะ
เกิดขึ้น เรามักจะใช้สัญลักษณ์ดังต่อไปนี้

L  OrbitalAngular Momentum ( เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ )


S  Spin angular Momentum ( เป็นสมบัตเิ ฉพาะตัวของอนุภาค )
J  Angular Momentum ( ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็น Spin หรือ Orbital )

หรือในบางครั้ง มักจะเขียนเป็นสมการได้ว่า

J  LS _________________________ สมการ (3.1)

ซึ่งสมการ (3.1) ดังกล่าว ถ้าเราตีความโยงไปถึงการทดลองของ Stern-Gerlach ก็อาจจะกล่าวได้วา่


โดยทั่วไปแล้ว Angular Momentum J ที่ทาให้เกิดสนามแม่เหล็กขนาดเล็กๆนั้น สามารถเกิดขึ้น
ได้ด้วยปัจจัยสองประการคือ 1) L ในกรณีที่อิเล็กตรอนมีการเคลื่อนที่มีลักษณะเป็นวงกลมทาให้เกิด
กระแสไหล และ 2) S ซึ่งเป็นคุณสมบัตเิ ฉพาะตัวของอนุภาคนั้นๆ

หากจะพยายามเปรียบเทียบธรรมชาติของ Angular Momentum ทัง้ สองประเภท กับการเคลื่อนที่


ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ L ก็คล้ายกับการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ส่วนสปิน S ก็ “คล้าย” กับ
การหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์

เราใช้คาว่า คล้าย ภายใต้เครื่องหมายคาพูดก็เพื่อเน้นย้าอีกครั้งว่า สปิน ในกลศาสตร์ควอนตัมนั้น มีข้อ


แตกต่างจากกลศาสตร์คลาสสิกอยู่หลายประเด็น จนเราไม่อาจสรุปได้ว่า สปินคือการหมุนรอบตัวเอง
ของอนุภาคขนาดเล็ก ดังจะเห็นได้จากข้อสังเกตใน 3 ประเด็นคือ

1) สปินของอิเล็กตรอน เท่ากันพอดีกับสปินของโปรตอน ทั้งๆที่มวลของอนุภาคทั้งสอง ต่างกัน


ประมาณ 1,000 เท่า หากสปินคือการหมุนรอบตัวเองของอิเล็กตรอน ค่าที่วัดได้ ย่อมต้องขึ้นอยู่กับ
มวลของมัน และไม่มีทางเท่ากับสปินของโปรตอนได้

2) หากมองว่าโมเมนต์แม่เหล็ก (Magnetic Moment) เกิดจากอนุภาคที่มีประจุ หมุนรอบตัวเอง


(สปิน) แล้วเหตุใด นิวตรอนจึงมีโมเมนต์แม่เหล็ก ทั้งที่มันไม่มีประจุ ?
บทที่ 3 Angular Momentum 3-4

3) หากมองว่าสปินคือการหมุนรอบตัวเอง อิเล็กตรอนซึ่งเป็นอนุภาคมูลฐานที่เป็นจุด ไม่มีขนาด


ย่อมไม่สามารถหมุนรอบตัวเองได้

ข้อสังเกตเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งเตือนใจ เพื่อไม่ให้นักศึกษาด่วนสรุปเอาว่า สปิน คือการหมุนรอบตัวเอง


ของอนุภาคขนาดเล็ก เสียเลยทีเดียว

ในช่วงแรกของการศึกษา Angular Momentum ในบทที่ 3 นี้ เราจะเริม่ ด้วยการใช้สัญลักษณ์ J


หรือกล่าวถึงโมเมนตัมเชิงมุมโดยภาพรวม ทั้งนี้ก็เพื่อให้ขอบเขตของการนาไปประยุกต์ใช้งานมีความ
กว้างขวาง จากนั้นเราจึงจะยกตัวอย่างที่แคบลงไป และศึกษากรณีของ Spin Angular
Momentum ในโอกาสต่อไป

หัวข้อ 3.2 Commutation


สมบัตเิ ชิง Angular Momentum ในประเด็นแรกที่เราจะศึกษาก็คอื การนา Operator ที่เกี่ยวข้องกับ
การหมุนเข้าไปกระทากับสถานะของระบบนั้น จะสลับลาดับที่ไม่ได้ ภาพ 3.2 ชี้แจงประเด็นดังกล่าว
นี้ให้เห็นเป็นภาพพจน์ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

z
อบ x อบ y

อบ y อบ x
ภาพ 3.2 แสดงการหมุนวัตถุรอบแกน x และ รอบแกน y ใน 2 ลักษณะ จะสังเกตเห็นว่า ถ้า
ลาดับในการหมุนนั้นแตกต่างกัน ผลลัพธ์ที่ได้ ก็จะแตกต่างกัน

ถ้าเริ่มด้วยวัตถุรูปทรงสี่เหลี่ยมดังในภาพ 3.2 ซึ่งวงกลมสีดาบนวัตถุนั้น มีไว้ก็เพื่อให้ง่ายต่อการ


สังเกตลักษณะของการหมุน จากนั้นหมุนวัตถุใน 2 ลักษณะด้วยกันคือ 1) หมุนรอบแกน x ตามด้วย
การหมุนรอบแกน y และ 2) สลับลาดับของการหมุน
บทที่ 3 Angular Momentum 3-5

จะพบว่าวัตถุดังกล่าว ภายหลังจากการหมุนทั้งสองแบบแล้ว อยู่ในทิศทางที่แตกต่างกัน ในเชิงกล


ศาสตร์ควอนตัมนั้นก็เช่นเดียวกัน โดยทั่วไปแล้ว หากเรามี Operator อาทิเช่น Sˆx และ Sˆ y
ลาดับก่อนหลังในการนา Operator ทั้งสองตัวดังกล่าวไปกระทากับสถานะใดๆ มีความสาคัญ และ
จะทาให้สถานะผลลัพธ์ออกมาแตกต่างกัน กล่าวคือ

Sˆx Sˆ y   Sˆ y Sˆx  _________________________ สมการ (3.2)

หรือ Sˆx Sˆ y  Sˆ y Sˆx  0 นั่นเอง ในเมื่อผลต่างดังกล่าวไม่เท่ากับศูนย์ ในภาษาของกลศาสตร์


ควอนตัมนั้น เราใช้สญ ั ลักษณ์ที่เรียกว่า Commutator เพื่อใช้เขียนแทนผลต่างของการสลับลาดับ
ก่อนหลังของ Operator สอง Operator ใดๆ ดังต่อไปนี้

 Aˆ , Bˆ   AB
ˆ ˆ  BA
ˆ ˆ _________________________ สมการ (3.3)
 

ทั้งนี้ การใช้สัญลักษณ์ดังกล่าว ก็เพียงเพื่อให้ง่ายและประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

Commutator มีเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์อยู่หลายข้อ ยกตัวอย่างเช่น


1)  Aˆ , Aˆ   0
 
2)  Aˆ , Bˆ     Bˆ , Aˆ 
   
3) ˆ
 A, c   0 เมื่อ c คือค่าคงที่
 
4)  Aˆ  Bˆ , Cˆ    Aˆ , Cˆ    Bˆ , Cˆ 
     
5)  Aˆ , BC
ˆ ˆ    Aˆ , Bˆ  Cˆ  Bˆ  Aˆ , Cˆ 
     

แบบฝึกหัด 3.1 จงอาศัยเอกลักษณ์ของ Commutator ข้างต้น เพื่อพิสูจน์ Jacobi Identity ที่ว่า


 Aˆ ,  Bˆ , Cˆ     Bˆ , Cˆ , Aˆ    Cˆ ,  Aˆ , Bˆ    0
           
บทที่ 3 Angular Momentum 3-6

หัวข้อ 3.3  Jˆ x , Jˆ y   i Jˆ z
 

ในบทที่ 2 เราได้ศึกษาถึง Operator ที่สามารถใช้ในการวัด Spin Angular Momentum ในแนวแกน


z นั่นก็คือ Sˆz ดังที่ได้กล่าวในหัวข้อ 3.1 Spin Angular Momentum เป็นอีกประเภทหนึ่งของ
โมเมนตัมเชิงมุมซึ่งใช้สัญลักษณ์ Jˆz เป็นตัวแทนอย่างกว้างๆ และไม่จาเพาะเจาะจงว่าเป็นประเภทใด
การอธิบายความในลาดับต่อไป เราจะใช้รูปแบบสัญลักษณ์ Jˆz เพื่อแสดงให้เห็นว่าบทสรุปต่างๆของ
การวิเคราะห์นั้น สามารถนามาประยุกต์ได้ทั้งกับ Spin Angular Momentum Sˆz และ Orbital
Angular Momentum Lˆz

ในขั้นต้นนี้ เราไม่จาเป็นที่จะจากัดการวิเคราะห์ให้อยู่แต่เฉพาะในแนวแกน z เท่านั้น หากแต่


สามารถมองโมเมนตัมเชิงมุมในทิศทางใดๆก็ได้ ดังนั้นเราอาจจะเขียน Operator ให้อยู่ในทิศทาง
ทั่วๆไปได้ว่า

Jˆ  Jˆ x  Jˆ y  Jˆ z _________________________ สมการ (3.4)

ซึ่งสมการ (3.4) นั้นเป็นการเขียน Angular Momentum Operator ให้อยู่ในรูปขององค์ประกอบตาม


แนวแกน x, แกน y, และ แกน z ตามลาดับ โดยที่ Operator ทั้งสามดังกล่าว มิได้เป็นอิสระต่อกัน
เสียเลยทีเดียว แต่มีความสัมพันธ์ในทางคณิตศาสตร์กันอยู่ ก็คือ

 Jˆ x , Jˆ y   i Jˆ z
 
_________________________ สมการ (3.5)

ในหัวข้อ 3.3 เราจะพิสูจน์ความสัมพันธ์ดังสมการ (3.5) โดยใช้ Spin ของอิเล็กตรอนเป็นตัวอย่างใน


การพิสูจน์ แต่ถึงแม้ว่าตัวอย่างที่ใช้จะเป็นกรณีพิเศษ ความสัมพันธ์ดังสมการ (3.5) นั้น เป็นกรณีทั่วไป
ที่ประยุกต์ใช้กับ Angular Momentum ในทุกสถานการณ์

จากบทที่ 2 เราสามารถเขียน Operator Jˆ x , Jˆ y , Jˆ z ให้อยู่ในรูปของ Matrix โดยใช้   Z , Z 


เป็นสถานะพื้นฐานได้ว่า

0 1  0 i  1 0 
Jx   , Jy   , และ Jz    ____________ สมการ (3.6)
2 1 0  2 i 0  2 0 1

เพราะฉะนั้น ทางขวามือของสมการ (3.5) สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของ Matrix


บทที่ 3 Angular Momentum 3-7

0 1  0 i  0 i  0 1 
JxJ y  J y Jx   1 0   i 0    i 0  1 0 
2 2  2 2 
i 0   i 0 
 0 i    
2 2  2 2 0 i
 2i 0 
JxJ y  J y Jx   
2 2  0 2i 

 1 0  
ซึ่งผลลัพธ์ข้างต้นสามารถจัดรูปใหม่ได้ว่า J x J y  J y J x  i     ซึ่งเมื่อพิจารณา Jz
 2 0 1 
ในสมการ (3.6) ทาให้เห็นความสัมพันธ์

Jx J y  J y Jx  i Jz _________________________ สมการ (3.7)

ซึ่งก็ตรงกับสมการ (3.5) อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นการพิสูจน์โดยใช้กรณีเฉพาะใน


เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Spin ของอิเล็กตรอนเท่านั้น ในลาดับต่อไป จะพิสูจน์ว่าความสัมพันธ์ดังใน
สมการ (3.5) นั้นเป็นจริงในทุกๆกรณี

บทที่ 2 ได้กล่าวถึง Rotation Operator ในทางกลศาสตร์ควอนตัมที่เรียกว่า


i
  Jˆ z
Rˆ ( k )  e _________________________ สมการ (3.8)

ซึ่งสามารถหมุนสถานะเชิง Spin ของระบบเป็นมุม  Radian รอบแกน z ในครั้งนี้เราจะได้


กล่าวถึง Rotation Operator ในเชิงเรขาคณิต
บทที่ 3 Angular Momentum 3-8

z Matrix   k  Vector a
b    k  a  Radian อบ z อ
cos   sin  0
b a
y   k    sin  cos  0 

 0 0 1 
x

เมื่อทบทวนเนื้อหาของวิชาเรขาคณิตเบื้องต้น Matrix   k  ซึ่งมีสมาชิกดังแสดงในภาพ


สามารถที่หมุน Vector a เป็นมุมขนาด  Radian รอบแกน z และทาให้ได้ผลลัพธ์เป็น
Vector b    k  a

ดังในภาพข้างต้น ตาแหน่งของจุดต่างๆในพิกัดแบบ Cartesian Coordinate สามารถแทนด้วย


Vector a ใน 3 มิติ และ Vector เหล่านีส้ ามารถที่จะมีการเปลี่ยนตาแหน่งด้วยการนา Matrix เข้า
มาคูณ หรือ เข้ามากระทา และทาให้เกิด Vector ผลลัพธ์อันใหม่ขึ้นมา

เมื่อทบทวนเนื้อหาของวิชาเรขาคณิตเบื้องต้น จะพบว่า Matrix   k  ซึ่งมีสมาชิก

 cos   sin  0
  k    sin  cos  0  _________________________ สมการ (3.9)
 0 0 1 

สามารถที่หมุน Vector a เป็นมุมขนาด  Radian รอบแกน z และจะสังเกตเห็นว่า เราใช้


สัญลักษณ์   k  แทน Rotation Operator ในเชิงเรขาคณิต เพื่อไม่ให้สบั สนกับ Rotation
Operator Rˆ ( k ) ในเชิงกลศาสตร์ควอนตัม

นอกจากการหมุนเป็นมุม  Radian แล้ว เรายังสามารถพิจารณาการหมุนเป็นมุมขนาดเล็กมาก อาทิ


เช่น  1 และในกรณีดังกล่าวนี้ cos   1 และ sin    เพราะฉะนั้น สมการ (3.9) จะลด
รูปเหลือเพียง

 1  0
   k    1 0  _________________________ สมการ (3.10)
 0 0 1 
บทที่ 3 Angular Momentum 3-9

และในทานองเดียวกันกับ Matrix ที่สามารถหมุน Vector ให้เป็นมุมขนาดเล็ก  1 รอบแกน z


เราสามารถสร้าง Matrix ในลักษณะดังกล่าวที่หมุนรอบแกน y และ แกน x ได้ว่า

 1 0 
   j   0 1 0  _________________________ สมการ (3.11)
  0 1 
1 0 0 
   i   0 1   _________________________ สมการ (3.12)
0  1 

Matrix ทั้ง 3 ดังสมการ (3.10), (3.11), และ (3.12) นั้น มีเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่น่าสนใจอยู่


อันหนึ่ง พิจารณา

1 0    1 2    0  2 0

   
   i     j     j    i    2 1     0 1     2 0 0
     
 1   1  0 0 0
    
___________ สมการ (3.13)

และหากวิเคราะห์ Rotation Matrix ที่หมุน Vector ด้วยมุม 2 รอบแกน z และ ลบด้วย


Identity Matrix จะได้

1  2 0  1 0 0  0  2 0
     
 
  2 k  I   2

1 0   0
 
1 0    2
 
0 0

________ สมการ (3.14)
 0 0 1  0
 
0 1  0
 
0 0

จะสังเกตเห็นว่า ทางขวามือของสมการ (3.13) และ สมการ (3.14) นั้นมีค่าเท่ากัน เพราะฉะนั้นเรา


สรุปเอกลักษณ์ข้อดังกล่าว ของ Rotation Matrix ในเชิงเรขาคณิตได้ว่า

 
   i     j     j    i     2 k  I ___________ สมการ (3.15)

สมการข้างต้นมีความสาคัญอยู่มากทีเดียวในแง่ของการวิเคราะห์สมบัติของการหมุนวัตถุใดๆใน 3 มิติ
ดังที่แสดงในภาพ 3.2 ที่ว่า การสลับลาดับก่อนหลังของการหมุน ให้ผลลัพธ์ที่ได้แตกต่างกัน
บทที่ 3 Angular Momentum 3-10

สมการ (3.15) ชี้แจงให้เห็นว่า เมือ่ พิจารณาการหมุนเป็นมุมขนาดเล็ก ผลของการสลับลาดับก่อนหลัง


ของการหมุนรอบแกน x และ รอบแกน y ก็ทาให้สถานะผลลัพธ์ออกมาแตกต่างกัน โดยทีผ่ ลต่าง
ของผลลัพธ์ทั้งสอง เปรียบเสมือนการหมุนรอบแกน z เป็นมุมขนาดเล็กลงไปอีก

อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวิชาเรขาคณิต เพราะฉะนั้นความหมายที่ลึกซึ้งในเชิง


เรขาคณิตของสมการ (3.15) ไม่มคี วามจาเป็นแต่อย่างใด ในขั้นต้น เราจะมองสมการ (3.15) เป็น
เพียงเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ขอ้ หนึ่งที่จะใช้เป็นสะพานเชื่อมไปสูก่ ารพิสูจน์สมการ (3.5) เท่านั้น

ถ้าหากตั้งสมมุติฐานว่า Rotation Operator ในเชิงกลศาสตร์ควอนตัม หรือ Rˆ ( i) , Rˆ ( j) , และ


Rˆ ( k ) นั้น มีเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เหมือนกับ Rotation Operator ในเชิงเรขาคณิตดัง
สมการ (3.15) จะเขียนได้ว่า

Rˆ ( i) Rˆ ( j)  Rˆ ( j) Rˆ ( i)  Rˆ ( 2 k )  1ˆ ___________ สมการ (3.16)

เมื่อ  1 แทนมุมของการหมุนที่มีขนาดเล็กมาก และในกรณีที่มุมขนาดเล็กมากเช่นนี้ Rotation


Operator ดังในสมการ (3.8) ลดรูปเหลือเพียง
i
  Jˆ x i
Rˆ ( i )  e  1   Jˆ x เมื่อ  1 ____________________ สมการ (3.17)
i
  Jˆ y i
Rˆ ( j)  e  1   Jˆ y เมื่อ  1 ____________________ สมการ (3.18)
i
  2 Jˆ z i
Rˆ ( 2 i )  e  1   2 Jˆ z เมื่อ  1 ____________________ สมการ (3.19)

และเมื่อแทนสมการ (3.17) - (3.19) เข้าไปในสมการ (3.16) จะได้

 i ˆ  i ˆ   i ˆ  i ˆ   i 2ˆ 
1   J x 1   J y   1   J y  1   J x    1   J z   1
       

ซึ่งสามารถลดรูปให้ง่ายขึ้นก็คือ

2 ˆ ˆ 2 ˆ ˆ i
 J J  2 J y J x    2 Jˆ z
2 x y

หรือเขียนในรูปของ Commutator ได้ว่า  Jˆ x , Jˆ y   i Jˆ z


 
ซึ่งก็คือสมการ (3.5) นั่นเอง
บทที่ 3 Angular Momentum 3-11

แบบฝึกหัด 3.2 จงใช้กระบวนการวิเคราะห์ Rotation Matrix ในทานองเดียวกับหัวข้อ 3.2 เพื่อ


แสดงให้เห็นว่า  Jˆ y , Jˆz   i Jˆ x และ  Jˆz , Jˆx   i Jˆ y

แบบฝึกหัด 3.3 ในการทดลองของ Stern-Gerlach ที่ใช้อนุภาคที่มี Spin เป็น 1 (Spin-1


Particles) ยกตัวอย่างเช่น อนุภาคในกลุ่ม Boson ซึ่งจะทาให้ลาอนุภาคแยกออกมาเป็น 3 สาย
ด้วยกัน ดังนั้นเราสามารถเลือกใช้ Basis State เป็นสถานะทั้งสามในแนวแกน z ได้ว่า
  , 0 ,   นอกจากนี้ ยังสามารถนิยาม Spin Angular Momentum Operator ในทั้งสาม
แกนดังต่อไปนี้

Jˆ z    
Jˆ z 0  0 0
Jˆ z    

จากการทดลอง ปรากฏว่าได้ผลดังภาพ 3.3

25

100 50
SG-Z 0
25
SG-X 

50

100 0
SG-X SG-Z 0
50

ภาพ 3.3 แสดงผลของการทดลอง Stern-Gerlach โดยใช้อนุภาคที่มี Spin เป็น 1

1) จงใช้ระเบียบวิธีของกลศาสตร์ควอนตัมในทานองเดียวกับบทวิเคราะห์ของหัวข้อ 1.7 และหัวข้อ


2.3 เพื่อที่จะเขียน Operator Jˆx , Jˆ y , และ Jˆz ในรูปของ Matrix และตรวจสอบว่า คาตอบที่
ได้อยู่ในรูปดังต่อไปนี้หรือไม่
บทที่ 3 Angular Momentum 3-12

0 1 0
Jˆ x 
 1 0 1 
  , 0 ,   basis 2
 0 1 0 
0 i 0 
Jˆ y   i 0 i 
  , 0 ,   basis 2
0 i 0 
1 0 0 
ˆ
J z   0 0 0 
  , 0 ,   basis
0 0 1

b) จงใช้ Matrix ในข้อ (a) พิสูจน์โดยการคูณ Matrix ว่า  Jˆ x , Jˆ y   i Jˆ z


 

หัวข้อ 3.4 Commuting Operator


จากภาพที่ 3.2 และตัวอย่างในหัวข้อ 3.3 จะเห็นว่าโดยทั่วไปแล้ว Oˆ1 , Oˆ 2   0 เมื่อ Ô1 และ Ô2
 
เป็น Operator ใดๆ แต่ในกรณีพิเศษบางกรณีนั้น การสลับลาดับก่อนหลัง ก็อาจจะไม่มีผลต่อ
สถานะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เราจะศึกษาในประเด็นที่ Operator  และ B̂ มี
ลักษณะพิเศษคือ

 Aˆ , Bˆ   0 ___________________ สมการ (3.20)


 

แล้วนั้น จะเกิดผลกระทบที่ตามมาอย่างไร ? ในแง่ของการใช้ภาษา หาก Operator  และ B̂


มีความสัมพันธ์ดังสมการ (3.20) เราเรียกว่า “Operator  Commute กับ B̂ ”

สมมุติว่าเมื่อเราพิจารณา Operator  แล้วพบว่า มันมี Eigenstate เป็น a และมี Eigenvalue


เป็น  หรือเขียนในรูปของความสัมพันธ์เชิงคณิตศาสตร์ได้ว่า

 a   a ___________________ สมการ (3.21)

เมื่อนา operator B̂ เข้าไปกระทากับทั้งสองข้างของสมการ (3.21) จะทาให้

ˆ ˆ a  Bˆ  a
BA 
___________________ สมการ (3.22)

  Bˆ a 
บทที่ 3 Angular Momentum 3-13

เนื่องจาก Operator  Commute กับ B̂ หรือ ˆ ˆ  BA


AB ˆˆ ทางซ้ายมือของสมการ (3.22) จึง
สามารถจัดรูปของนิพจน์ได้ว่า
  ___________________ สมการ (3.23)
ˆ ˆ a   Bˆ a
AB

Aˆ  Bˆ a     Bˆ a 

ให้สังเกตผลลัพธ์ทไี่ ด้จากสมการ (3.23) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดรูปของ  B̂ a  ให้อยู่ในวงเล็บ


จะเห็นว่า  B̂ a  จัดว่าเป็น Eigenvector ของ Operator  ในทานองเดียวกันกับที่ a ก็เป็น
Eigenvector ของ Â เช่นกัน ดังนั้นทั้งสองจะต้องแปรผันตรงซึ่งกันและกัน

B̂ a  (ค่าคงที)่ a

หรือเขียนในอีกรูปแบบหนึ่งได้ว่า
B̂ a   a ___________________ สมการ (3.24)

สมการข้างต้นแสดงให้เห็นว่า a คือ Eigenstate ของ Operator B̂ และมี Eigenvalue เท่ากับ


จากสมการ (3.24) และสมการ (3.21) เราสามารถกล่าวโดยสรุปว่า

ถ้า operator  commute กับ B̂


แล้ว Eigenstate ของ Â ก็ย่อมเป็น Eigenstate ของ B̂ ด้วยเช่นกัน

ข้อควรระวัง การที่ Operator  และ B̂ มี Eigenstate อันเดียวกัน ไม่ได้หมายความว่าทั้งสอง


จะมี Eigenvalue เหมือนกัน
บทที่ 3 Angular Momentum 3-14

หัวข้อ 3.5 Eigenvalue ของ Angular Momentum


เพื่อเป็นการมิให้เราหลงทางและจมอยู่ท่ามกลางคณิตศาสตร์ จนลืมเห็นเป้าหมายที่แท้จริงในเนื้อหา
ทางฟิสิกส์ที่เรากาลังศึกษา ผู้เขียนจะขอเกริ่นถึงประเด็นหลักที่เราต้องการวิเคราะห์ในบทที่ 3 นี้

เราต้องการที่จะศึกษาว่าในเชิงของกลศาสตร์ควอนตัมนั้น ค่าของโมเมนตัมเชิงมุมมีความไม่ต่อเนื่อง
หากแต่มลี ักษณะเป็นขั้นบันได ซึ่งแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับกับ Newtonian Mechanics ที่โมเมนตัม
เชิงมุมจะมีค่าเป็นเท่าไหร่กไ็ ด้ ขึ้นอยู่กับมวล, ความเร็วรอบในการหมุน, และ รัศมีของการหมุน

กลศาสตร์ควอนตัมใช้สิ่งที่เรียกว่า Operator เป็นตัวแทนในการตรวจวัดปริมาณทางฟิสิกส์ และสิ่งที่


เรียกว่า Eigenvalue เป็นตัวแทนของปริมาณนั้นๆที่วดั ได้ เช่นเดียวกันกับในกรณีของ Angular
Momentum Operator ที่เรากาลังให้ความสนใจวิเคราะห์อยู่นี้

เมื่อกล่าวถึงโมเมนตัมเชิงมุม ซึ่งเป็นปริมาณเวคเตอร์ เราสนใจใน 2 ประเด็นด้วยกัน แทนด้วย


operator (1) Jˆz และ (2) Ĵ 2

1). Operator Jˆz คือการวัด Angular Momentum ตามแนวแกน z และ


2) Operator Ĵ 2 คือการวัดขนาดของ Angular Momentum ยกกาลังสอง ซึ่งมีคานิยามว่า

Jˆ 2  Jˆ  Jˆ  Jˆ x2  Jˆ y2  Jˆ z2 ___________________ สมการ (3.25)

เมื่อมี Operator ที่ใช้ในการวัด ก็จะต้องมีค่าที่วัดออกมาได้ กาหนดให้

1) m เป็น Angular Momentum ตามแนวแกน z ที่วัดได้


ดังนั้น m มีสถานะภาพเป็น Eigenvalue ของ Operator Jˆz

2)  2
เป็น ขนาดของ Angular Momentum ยกกาลังสอง ที่วัดได้
ดังนั้น  2 มีสถานะภาพเป็น Eigenvalue ของ Operator Ĵ 2

ให้สังเกตการคูณ และ 2 เข้าไปในคานิยามของ Eigenvalue ทั้งสองประเภท ทั้งนี้ก็เพราะ มี


หน่วยเป็น Joule  second ซึ่งเป็นหน่วยของ Angular Momentum อยู่ก่อนแล้ว ทาให้ m และ
 จะต้องเป็นตัวเลขธรรมดาทีไ่ ม่มห
ี น่วยไปโดยปริยาย

ในเมื่อสนใจที่จะศึกษาระบบโดยใช้ปริมาณทางฟิสิกส์ทั้งสองประเภทดังกล่าว เราอาจจะใช้ m และ


 เป็นตัวเลขที่กากับคุณสมบัติของระบบ ยกตัวอย่างเช่น
บทที่ 3 Angular Momentum 3-15

  , m

ด้วยข้อสังเกตที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด สรุปได้ว่า ในบทที่ 3 เราต้องการที่จะวิเคราะห์สมการ

Jˆ z  , m  m  , m ___________________ สมการ (3.26)

Jˆ 2  , m   2
, m ___________________ สมการ (3.27)

และในลาดับต่อไป เราจะใช้การบวนการทางคณิตศาสตร์เพื่อที่จะคานวณ Eigenvalue m และ


 2 และ Eigenstate  , m ของ Operator Jˆz และ Ĵ 2 ในสมการ (3.26) และ (3.27)
ตามลาดับ

แบบฝึกหัด 3.4 จงพิสูจน์ว่า Ĵ 2 Commute กับ Jˆz ซึ่งเป็นเหตุผลทีเ่ ราสามารถเขียนสถานะ


 , m ให้เป็น Eigenstate ของทั้ง Ĵ 2 และ Jˆz พร้อมกันได้

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความซับซ้อนของคณิตศาสตร์ในการวิเคราะห์ เราจะต้องกล่าวถึงเรื่องสาคัญที่


เกี่ยวข้องกับ Operator ใน 4 ประเด็นก่อน ซึ่งก็คือ 1) Adjoint Operator 2) Unitary Operator
3) Hermitian Operator และ 3) Raising and Lowering Operator

หัวข้อ 3.6 สมบัติของ Operator


Operator ที่เกี่ยวข้องกับกลศาสตร์ควอนตัมมีสมบัติอยู่หลายประการ อีกทั้งมีอยู่หลายประเภท
ทั้งนี้ความหลากหลายดังกล่าวก็เพือ่ ประโยชน์ในการคานวณทางคณิตศาสตร์ เพราะเราจะต้องไม่ลืม
ว่าในท้ายที่สุดแล้วกลศาสตร์ควอนตัมจะต้องสามารถทานายผลการทดลองออกมาเป็นตัวเลข ที่
ตรวจวัดได้ ตรวจสอบได้ และแม่นยา ซึ่งจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องใช้คณิตศาสตร์ และในหัวข้อ
3.6 เราจะกล่าวถึง Adjoint Operator, Unitary Operator, และ Hermitian Operator ตามลาดับ

Adjoint ของ Operator ในหัวข้อ 2.3 ของบทที่ 2 เราได้กล่าวถึง Conjugate Transpose ของ
Matrix หรือ ที่เรียกสั้นๆว่า Adjoint ของ Matrix และเนื่องจาก Matrix และ Operator นั้นมี
ความสัมพันธ์กันอยู่ ในคราวนี้จะขยายขอบเขตการวิเคราะห์ให้ครอบคลุมไปถึง Adjoint ของ
Operator ใดๆ
บทที่ 3 Angular Momentum 3-16

Operator Ô โดยทั่วไปแล้วจะกระทากับสถานะ Ket  พิจารณา Probability Amplitude ที่


เขียนในรูปของ Bra-Ket

Probability Amplitude =  Ô  ____________________ สมการ (3.28)

และเพื่อให้มีความชัดเจนว่า Operator Ô นั้น จะต้องเข้ามากระทากับ  เป็นอันดับแรก เรา


อาจจะเขียนสมการ (3.28) เสียใหม่โดยการใส่วงเล็บ อาทิเช่น

Probability Amplitude = 
 Ô   _____________________ สมการ (3.29)

ข้อจากัดที่ Operator จะต้องกระทากับสถานะ Ket ได้เพียงเท่านั้น จะทาให้เกิดความไม่สะดวกใน


กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ในเมื่อกลศาสตร์ควอนตัมใช้ทั้ง Ket และ ทั้ง Bra ในการแสดงถึงสถานะ
ของระบบ

เราสามารถนิยามสิ่งที่เรียกว่า Adjoint Operator ของ Ô โดยเขียนเป็นสัญลักษณ์ว่า Ô† ในทาง


ตรงกันข้ามกับ Operator Ô ซึ่งกระทากับสถานะ Ket Adjoint Operator Ô† จะกระทากับ
สถานะ Bra ซึ่งมีคานิยามทางคณิตศาสตร์ดังนี้


 Oˆ      Oˆ  

_____________________ สมการ (3.30)

นั่นคือ Adjoint Operator Ô† มีนิยามเป็นสิ่งที่กระทากับ Bra ทางซ้ายมือ ในขณะที่ Operator


Ô จะกระทากับ Ket ทางขวามือ แต่อย่างไรก็ตามผลการคานวณ Probability Amplitude ที่ได้
จะต้องมีค่าเท่ากัน
บทที่ 3 Angular Momentum 3-17

Operator O อ R1
y

90 อ
R2  2 j

R2  OR1  4 
O
x

R1  2i
y
 Operator O† อ ?
R2  2 j อ
O† O†R2   R1  4  R2  OR1 
x

R1  2i
อบ Operator O† อ อ R2
90 อ
ภาพ 3.4 แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Operator Ô และ Adjoint Operator Ô†

ภาพ 3.4 แสดงถึงตัวอย่างของ Adjoint Operator Ô† โดยอาศัยคานิยามในสมการ (3.30) โดยที่


ภาพกล่าวถึงตัวอย่างของการหมุนเวคเตอร์ในระนาบ x-y ซึ่งกาหนดให้ Operator Ô ทาหน้าที่ใน
การหมุนเวคเตอร์ R1 เป็นมุม 90 องศาทวนเข็มนาฬิกา เพราะฉะนัน้ แล้ว Dot Product ของ


R2  OR1  4 

ในคราวนี้ลองจินตนาการ Operator O† ที่กระทากับเวคเตอร์ R2 ซึ่งปรากฏอยู่ด้านซ้าย (แทนที่จะ


ไปกระทากับเวคเตอร์ด้านขวามือ) คาถามก็คือ O† ควรเป็นการหมุนในลักษณะใด จึงจะทาให้
ผลลัพธ์ของ Dot Product มีค่าเช่นเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง ?

จากคานิยามของ O† ในสมการ (3.30) ที่ว่า O R   R  R  OR  ทาให้เราสรุปได้ว่า Adjoint



2 1 2 1

Operator Ô †
จะต้องเป็น Operator ที่หมุนเวคเตอร์ R2 เป็นมุม 90 องศาตามเข็มนาฬิกานั่นเอง

จะสังเกตว่า ในกรณีของตัวอย่างข้างต้น เมื่อเริม่ ด้วยการหมุนทวนเข็ม และจากนั้นทาการหมุนตามเข็ม


ผลลัพธ์ที่ได้ก็เท่ากับว่าไม่มีการหมุนเกิดขึ้นเลย หรือเขียนเป็นรูปของสมการได้ว่า

Oˆ †Oˆ  1̂
บทที่ 3 Angular Momentum 3-18

Operator ที่มีคุณสมบัติข้างต้น จัดอยู่ในประเภทของ Operator ที่เรียกว่า Unitary Operator


ทั้งนี้นักศึกษาต้องไม่ลืมว่า Operator โดยทั่วไปนั้น ไม่จาเป็นจะต้องมีคุณสมบัตดิ ังกล่าว

Adjoint Operator มีสมบัตไิ ม่แตกต่างจาก Adjoint Matrix ในหัวข้อ 2.3 ของบทที่ 2 ซึ่งสามารถ
สรุปโดยสังเขปได้ดังนี้
1)  Aˆ †   Aˆ

 Aˆ  Bˆ   Aˆ  Bˆ

2) † †

3)  AB 

ˆ ˆ  Bˆ Aˆ † †

4)  Aˆ    Aˆ 
1 †
† 1

5)   Aˆ    Aˆ เมื่อ  คือตัวเลขจานวนเชิงซ้อนใดๆ
†  †

Unitary Operator ตามระเบียบวิธีของกลศาสตร์ควอนตัมเราเรียก Operator Û ว่า Unitary


Operator เมื่อมันมีสมบัติ

Uˆ †Uˆ  1 ______________________ สมการ (3.31)

  Aˆ 

แบบฝึกหัด 3.5 ให้ Â เป็น Operator จงพิสูจน์ว่า    Aˆ † เมื่อ  คือตัวเลขจานวน
เชิงซ้อนใดๆ

Hermitian Operator จากที่กล่าวมาแล้วในภาพ 3.4 ว่า Operator ที่เกี่ยวข้องกับการหมุนนัน้


เป็น Unitary Operator นั่นก็คือ Adjoint Operator Rˆ † (d k ) จะหมุนในทิศทางตรงข้ามกับ
Operator Rˆ (d k ) ดังนั้นถ้าเราย้อนกับไปพิจารณาสมการ (2.122) จะได้ว่า

Rˆ † (d k ) Rˆ (d k )  1
 i ˆ   i ˆ

 __________________ สมการ (3.32)
1  J z d  1  J z d   1
   

โดยใช้เอกลักษณ์ของ Adjoint Operator ในแบบฝึกหัด 3.5 ทาให้ทราบว่า



 i ˆ  i ˆ†
1  J z d   1  J z d เพราะฉะนั้น
 
บทที่ 3 Angular Momentum 3-19

 i ˆ†  i ˆ 
1  J z d 1  J z d   1
  
______ สมการ (3.33)
i i 1
 Jˆ z d  Jˆ z† d  2 Jˆ z† Jˆ z (d ) 2  0

ู อยู่กับ  d 2 ในสมการ (3.33) ทิ้ง


เนื่องจากมุม d มีค่าที่เล็กมาก เราสามารถที่จะตัดเทอมที่คณ
ไปได้ ทาให้

Jˆ z†  Jˆ z _________________________ สมการ (3.34)

Operator ที่มี Adjoint เท่ากันกับตัวมันเอง ดังในสมการ (3.34) นั้น มีชื่อเรียกว่า Hermitian


Operator ซึ่งเป็นกลุ่มของ Operator ที่มีความสาคัญมากในทางกลศาสตร์ควอนตัม เนื่องจาก
Hermitian Operator มี Eigenvalue เป็นจานวนจริง มันจึงเป็น Operator ที่ใช้แทนการวัดหรือ
Measurement เพราะว่าปริมาณทางฟิสิกส์ทสี่ ามารถวัดได้นั้น จะต้องเป็นเลขจานวนจริง (คงจะ
เป็นเรื่องตลกที่เราบอกว่าในห้องมีนักศึกษาอยู่ 1  i คน)

หัวข้อ 3.7 Raising และ Lowering Operator


ก่อนที่จะทาการวิเคราะห์ Eigenvalue ของ Angular Momentum Operator Ĵ 2 และ Jˆz ทั้งสอง
เราจะต้องนิยาม Operator ที่จะอานวยความสะดวกในการวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์ในอนาคตกัน
เสียก่อน นิยาม Operator

Jˆ  Jˆ x  iJˆ y ________________________ สมการ (3.35)


Jˆ  Jˆ x  iJˆ y ________________________ สมการ (3.36)

Operator ที่นิยามไว้ดังในสมการ (3.35) และ สมการ (3.36) นั้น มีสมบัติทางคณิตศาสตร์ซึ่งจะช่วยให้


สามารถตีความหมายของมันในทางฟิสิกส์ในภายหลังอยู่สามประการ ก็คือ

1)  Jˆ z , Jˆ    Jˆ เอกลักษณ์ในทางคณิตศาสตร์ดังกล่าวนี้ สามารถพิสูจน์ได้อย่างง่ายดาย โดย


การแทนคานิยามของ Ĵ  จากสมการ (3.35) และ สมการ (3.36) จะได้

 Jˆ z , Jˆ    Jˆ z , Jˆ x  iJˆ y 
   
________________ สมการ (3.37)
  Jˆ z , Jˆ x   i  Jˆ z , Jˆ y 
   
บทที่ 3 Angular Momentum 3-20

จากนั้น ใช้ความสัมพันธ์ในเชิง Commutator ดังที่ได้กล่าวในแบบฝึกหัด 3.2 ที่ว่า  Jˆx , Jˆ y   i Jˆ z ,


 Jˆ y , Jˆ z   i Jˆ x , และ  Jˆ z , Jˆ x   i Jˆ y ดังนั้นสมการ (3.37) สามารถจัดรูปให้ง่ายขึ้นคือ
   


 Jˆ z , Jˆ   i Jˆ y  i i Jˆ x
  

  Jˆ  iJˆ
x y  ________________ สมการ (3.38)
 Jˆ z , Jˆ    Jˆ
 

สมการ (3.38) นั้นเขียนให้อยู่ในรูปของ Commutator ซึ่งสามารถที่จะเปลีย่ นให้อยู่ในรูปของผลบวก


และผลคูณธรรมดาได้ว่า

Jˆz Jˆ  Jˆ Jˆ z  Jˆ ________________ สมการ (3.39)

2) Jˆ Jˆ  Jˆ 2  Jˆz2  Jˆz และ Jˆ Jˆ  Jˆ 2  Jˆz2  Jˆz เอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ข้อนี้
สามารถพิสูจน์ได้โดยใช้คานิยามในสมการ (3.35) และ (3.36) ผนวกเข้ากับคายามของ
Ĵ 2 และ Jˆz Operator ในสมการ (3.25) , (3.26) , และ (3.27) ยกตัวอย่างเช่น


Jˆ Jˆ  Jˆ x  iJˆ y  Jˆx  iJˆ y 
 Jˆ x2  iJˆ x Jˆ y  iJˆ y Jˆ x  Jˆ y2
________________ สมการ (3.40)
  
 Jˆ x2  Jˆ y2  i Jˆ x Jˆ y  Jˆ y Jˆ x 
Jˆ Jˆ  Jˆ 2  Jˆ z2  Jˆ z

และในทานองเดียวกัน

Jˆ Jˆ  Jˆ 2  Jˆ z2  Jˆ z ________________ สมการ (3.41)

แบบฝึกหัด 3.6 จงพิสูจน์สมการ (3.41)

3) Adjoint ของ Operator Ĵ  ก็คือ Ĵ  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง

Jˆ†  Jˆ _________________________ สมการ (3.42)


บทที่ 3 Angular Momentum 3-21

โดยที่สมบัติข้อนี้ สามารถพิสูจน์ได้โดยเริ่มจากคานิยามของ Ĵ  ดังสมการ (3.35) และ สมการ (3.36)


จากนั้นใช้เอกลักษณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Adjoint Operator ดังที่ได้เห็นในแบบฝึกหัด 3.5

 

Jˆ†  Jˆ x  iJˆ y

  Jˆ x iJˆ y  ___________________________ สมการ (3.43)


Jˆ†  Jˆ

จากคุณสมบัติทั้งสามประการของ Operator Ĵ  ที่ได้ศึกษามาแล้วนั้น เราสามารถที่จะวิเคราะห์


ถึงความหมายของ Ĵ  ได้ดังต่อไปนี้

พิจารณา ผลของ Operator Jˆ z Jˆ ที่กระทากับสถานะ , m จะได้ว่า


Jˆ z Jˆ  , m  Jˆ Jˆ z  Jˆ  , m  ______________ สมการ (3.44)
 Jˆ Jˆ z  , m  Jˆ  , m

สมการ (3.44) ข้างต้นนั้น ได้มาจากการนา Commutator ในสมการ (3.39) มาร่วมพิจารณาด้วย


จากนั้นสามารถใช้คานิยามของ Jˆz ในสมการ (3.26) เพื่อลดรูปให้ง่ายขึ้น

Jˆ z Jˆ  , m  Jˆ Jˆ z  , m  Jˆ  , m


 Jˆ m  , m  Jˆ  , m
Jˆ z Jˆ  , m  (m  1) Jˆ  , m
หรือ

Jˆz Jˆ  , m   (m  1)  Jˆ  , m  ______ ______ สมการ (3.45)

เมื่อเปรียบเทียบข้างต้นกับสมการ (3.26) ซึ่งเป็น Eigen Equation ของ Jˆz โดยมี  , m เป็น


Eigenstate และมี m เป็น Eigenvalue สถานะ  Jˆ  , m  ก็คือ Eigenstate อีกอันหนึ่งของ
Jˆz โดยมี Eigenvalue เป็น (m  1) และหากเราแทนสถานะอันนี้ด้วยสัญลักษณ์  , m  1 จะ
สามารถเขียนสมการในทานองเดียวกันกับสมการ (3.26) ได้ว่า

Jˆ z  , m  1  (m  1)  , m  1 ______________ สมการ (3.46)

เมื่อพิจารณาสมการ (3.45) และ (3.46) ควบคู่กันไป จะเห็นว่า Jˆ  , m , m  1 หรือ


บทที่ 3 Angular Momentum 3-22

Jˆ  , m    , m  1 เมื่อ  คือค่าคงที่ _________________ สมการ (3.47)

นั่นก็คือ Operator Ĵ  จะทาการเปลี่ยนสถานะ  , m ให้กลายเป็นสถานะ  , m  1 อันเป็น


ที่มาของชื่อที่ว่า “Raising Operator” ซึ่งเป็นคาศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีความหมายว่า Operator ที่ทา
ให้สถานะเปลี่ยนแปลงขึ้นไปหนึ่งขั้น

ส่วนในกรณีของค่าคงที่  ที่คูณอยูก่ ับด้านขวามือของสมการ (3.47) นั้น จะได้ทาการศึกษาใน


ลาดับต่อไป

ในทานองเดียวกัน เราสามารถวิเคราะห์ถึงความหมายของ Operator Ĵ  ด้วยการเริ่มพิจารณา

 
Jˆ z Jˆ  , m  Jˆ Jˆ z  Jˆ  , m

 Jˆ Jˆ z  , m  Jˆ  , m
______________ สมการ (3.48)
 Jˆ m  , m  Jˆ  , m
Jˆ z Jˆ  , m  (m  1) Jˆ  , m

และเมื่อทาการจัดรูปสมการ (3.48) เสียใหม่ ทาให้


Jˆ z Jˆ  , m   (m  1)  Jˆ , m  ______________ สมการ (3.49)
ดังนั้นเราจึงสรุปได้ว่า

Jˆ  , m    , m  1 ____________________ สมการ (3.50)

ซึ่งเป็นที่มาของชื่อที่เรียกว่า “Lowering Operator" ด้วยเหตุที่ Operator Ĵ  นั้น สามารถ


เปลี่ยนสถานะ  , m ให้กลายเป็นสถานะ  , m  1 หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่ง

Lowering Operator จะทาการเปลี่ยนสถานะของระบบ ที่เดิมมี Angular Momentum ใน


แนวแกน z (Eigenvalue ของ Jˆz ) เป็น m ให้กลายเป็นสถานะที่มี Angular Momentum
ในแนวแกน z ดังกล่าว เป็น (m  1) นั่นเอง
บทที่ 3 Angular Momentum 3-23

หัวข้อ 3.8 m และ  2

เมื่อลองมองถึงความหมายของ m และ  2 ในทางฟิสิกส์ จะได้ว่า  2 ก็คือขนาดของ


Angular Momentum ยกกาลังสอง ส่วน m นั้น เป็นเพียง Angular Momentum ตาม
แนวแกน z ดังนั้น

m2   ____________________ สมการ (3.51)

สมการ (3.51) นั้นมีที่มาจากการวิเคราะห์ ขนาดของปริมาณเวคเตอร์ใดๆ (ซึ่งรวมไปถึง Angular


Momentum ด้วย) ที่ว่า องค์ประกอบเฉพาะในแนวแกน z ของเวคเตอร์จะมีค่าน้อยกว่าหรือ
เท่ากับ ขนาดสุทธิของมัน เสมอ

ถ้าเรียกค่าสูงที่สุดที่เป็นไปได้ของ m ว่า mmax และนา Raising Operator Ĵ  มากระทากับสถานะ


ดังกล่าวจะได้ว่า

Jˆ  , mmax  0 ____________________ สมการ (3.52)

สาเหตุที่สมการ (3.52) จะต้องมีคา่ เป็นศูนย์ก็เพราะ ไม่มสี ถานะใดๆ ที่สูงไปกว่าสถานะ  , mmax


อีกแล้ว ดังนั้น Raising Operator Ĵ  ไม่มีทางที่จะเปลี่ยนสถานะ  , mmax ไปเป็นอะไรได้อีก
นอกเสียจากเป็นศูนย์ ดังสมการ (3.52)

ดังนั้น

Jˆ Jˆ  , mmax  Jˆ Jˆ  , mmax 
 Jˆ  0 _____________ สมการ (3.53)
Jˆ Jˆ  , mmax  0  , mmax

แต่จากสมการ (3.41) เราทราบว่า Jˆ Jˆ  Jˆ 2  Jˆ z2  Jˆ z ซึ่งทาให้

 
Jˆ Jˆ  , mmax  Jˆ 2  Jˆ z2  Jˆ z  , mmax

 Jˆ 2  , mmax  Jˆ z2  , mmax  Jˆ z  , mmax _______ สมการ (3.54)


Jˆ Jˆ  , mmax   2
 mmax
2 2
 mmax 2
 , m
max

เมื่อเปรียบเทียบสมการ (3.53) และ สมการ (3.54) จะเห็นว่า  2


 mmax
2 2
 mmax 2
0 หรือ
บทที่ 3 Angular Momentum 3-24

  mmax
2
 mmax ______________________ สมการ (3.55)

ในทานองเดียวกัน เราสามารถที่จะเขียนค่าที่น้อยที่สดุ ที่เป็นไปได้ของ m ว่า mmin ซึ่งจะทาให้

Jˆ  , mmin  0 ____________________ สมการ (3.56)

โดยที่สมการ (3.56) ดังกล่าว จะมีผลสืบเนื่องที่จะเกิดขึ้นก็คือ

  mmin
2
 mmin __________________ สมการ (3.57)

ซึ่งเมื่อเราพิจารณาสมการ (3.55) และ สมการ (3.57) จะได้ว่า 2


mmax  mmax  mmin
2
 mmin
หรือ

mmin  mmax __________________ สมการ (3.58)

และโดยทั่วไปแล้วในกลศาสตร์ควอนตัม เราจะใช้สัญลักษณ์ j แทนค่าของ mmax ซึ่งนั่นหมายถึง


mmin   j นั่นเอง เนื่องจากข้อกาหนด mmin  m  mmax จะเห็นว่าองค์ประกอบในแนวแกน z
ของ Angular Momentum (หรือค่า Eigenvalue ของ Jˆz ) นั้น มีค่าได้ภายในช่วง

j m j __________________ สมการ (3.59)

จากภาพ 3.5 หากเริ่มด้วยระบบทีอ่ ยู่ในสถานะ  , m  j จะเห็นว่า Lowering Operator


สามารถที่จะเปลี่ยนให้สถานะดังกล่าวไปเป็น , m  j  1 และเมื่อนา Lowering Operator มา
กระทาอีกครั้งหนึ่ง ก็จะได้สถานะ  , m  j  2 อย่างนี้เรื่อยไป จนกระทั่งสถานะของระบบมา
หยุดอยู่ที่  , m   j ซึ่งเป็นสถานะสุดท้าย ที่จะต่าไปกว่านี้อีกไม่ได้

เนื่องจาก Lowering Operator Ĵ  นั้นสามารถที่จะลดค่าของ m ได้คราวละหนึ่ง จะได้ว่า


mmax  mmin  จานวนเต็ม หรือ

j  ( j )  n __________________ สมการ (3.60)

เมื่อ n เป็นจานวนเต็มใดๆ ซึ่งจะมีคา่ เป็นเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับระบบทางฟิสิกส์ที่เรากาลังศึกษาอยู่


เมื่อวิเคราะห์สมการ (3.60) จะได้ว่า j  n ซึ่งค่าของ j และ m ที่เป็นไปได้นนั้ ก็คือ
2
บทที่ 3 Angular Momentum 3-25

m   j,  j  1, , j  1, j
1 3
j  0, ,1, , 2, และ __________ สมการ (3.61)
2 2

j Jˆ  , m

j 1

j2

 j

ภาพ 3.5 ถ้ากาหนดให้ค่าของ m มีค่ามากที่สดุ คือ j จากนั้น Lowering Operator Ĵ  จะ


ทาให้สถานะของระบบเปลี่ยนแปลง โดยมีค่าของ m ลดลงมาคราวละหนึ่งเป็นลาดับ และมาสิ้น
สิ้นสุดที่ m   j

ดังนั้น เมื่อทราบค่าที่เป็นไปได้ของ j จากสมการ (3.55) จะได้ว่า

  j(j  1) __________________ สมการ (3.62)

เราสามารถตีความสมการ (3.62) ได้ดังต่อไปนี้ ถ้าให้ j คือค่าที่สูงที่สุดที่เป็นไปได้ของ Angular


Momentum ในแนวแกน z จะได้ว่า ค่าของ Angular Momentum ยกกาลังสองของระบบจะเป็น
j(j  1) 2

แบบฝึกหัด 3.7 กาหนดให้เวคเตอร์ R ซึ่งมีขนาดเท่ากับ 2 cm. เมื่อเวคเตอร์ R ชี้ไปในทิศ


ต่างๆในพิกัดทรงกลม ที่มมี ุมก้มเป็น  เทียบกับแกน +z และมุมกวาดในแนวราบเป็น  เทียบกับ
แกน +x จะได้ว่าองค์ประกอบตามแนวแกน x, y, และ z ของ R ก็คือ
บทที่ 3 Angular Momentum 3-26


Rz 
R
y

x

ภาพ 3.6 แสดงเวคเตอร์ R ในสามมิติ โดยทีร่ ะบบพิกัดแบบทรงกลมนั้น เราใช้มุม  และ มุม


 เป็นตัวบอกทิศทางที่เวคเตอร์ดังกล่าวชี้ไป และจากวิเคราะห์จะได้ว่า องค์ประกอบตาม
แนวแกน z ของมัน ขึ้นอยู่กับมุม 

Rx  2 sin( ) cos( )
Ry  2 sin( )sin( )
Rz  2 cos( )

a) จงหาค่า Rzmax ซึ่งหมายถึงค่าสูงที่สุดที่เป็นไปได้ของ Rz และบอกว่า Rzmax มีความสัมพันธ์


กับ R 2 อย่างไร
b) Rzmax ในข้อ (a) เกิดขึ้นที่มุม  เท่ากับเท่าใด?
c) เปรียบเทียบความแตกต่างของคาตอบที่ได้ในข้อ (a) กับ Angular Momentum ในเชิงกลศาสตร์
ควอนตัมดังสมการ (3.62)
d) หากต้องการยึดตาม Angular Momentum ของกลศาสตร์ควอนตัมโดยใช้ สมการ (3.62) และ
บอกว่า R 2  Rzmax ( Rzmax  1) จงแก้สมการเพื่อหาว่า Rzmax มีค่าเป็นเท่าใด
e) Rzmax ในข้อ (d) เกิดขึ้นที่มุม  เท่ากับเท่าใด?

ในทางกลศาสตร์ควอนตัมนั้น อนุภาคไม่สามารถที่จะมีโมเมนตัมเชิงมุมที่ชี้ในทิศทางขนานกับ
แนวแกน z ได้เสียเลยทีเดียว เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็ด้วยเงื่อนไขในทางคณิตศาสตร์ดังสมการ (3.62)

แบบฝึกหัด 3.8 อิเล็กตรอนที่โดยทั่วไปเรามักจะกล่าวถึง Spin Angular Momentum ในแนวแกน


z ว่า “Spin Up” หรือ “Spin Down” นั้น แท้ที่จริงแล้ว อิเล็กตรอนที่มี Spin Up หรือ Spin ชี้
ขึ้นที่ว่านี้
a) ชี้ในทิศทางที่ขนานกับแกน z เลยหรือไม่ ?
b) ถ้าไม่ ทามุมกี่องศากับแนวแกน +z ?
บทที่ 3 Angular Momentum 3-27

Rz
[บอกใบ้ - ในกรณีของเวคเตอร์ใดๆ มุมที่ทากับแกน z มีความสัมพันธ์ cos   ]
R

นอกจากนี้ เนื่องจาก  มีความสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับ j ดังสมการ (3.62) โดยสากลแล้ว ในระเบียบ


วิธีทางกลศาสตร์ควอนตัมนั้น เราไม่นิยมเขียนสถานะของระบบในรูปของ  , m ดังในสมการ (3.26)
และ (3.27) หากแต่เขียนให้อยู่ในรูปของ j, m ดังจะยกตัวอย่างใน 2 กรณี

ตัวอย่าง 1) กรณีของอิเล็กตรอน หากพิจารณาเฉพาะโมเมนตังเชิงมุมในส่วนของ Spin จะมีค่า


1
j ดังนั้นสถานะ Spin Angular Momentum ของอิเล็กตรอนมีอยู่ 2 สถานะด้วยกันคือ
2
1 1 1 1
j  ,m   และ j ,m   หรือ เขียนโดยย่อว่า
2 2 2 2

1 1 1 1
สถานะ Spin Angular Momentum ของอิเล็กตรอนคือ , และ , และเมื่อนา
2 2 2 2
Operator Jˆz และ Ĵ 2 เข้ามากระทากับสถานะดังกล่าวจะได้

1 1 1 1
Jˆ z ,   , ______________ สมการ (3.63)
2 2 2 2 2
1 1 1 1
Jˆ z ,   , ______________ สมการ (3.64)
2 2 2 2 2
และ
1 1 11  1 1
Jˆ 2 ,     1 2
, __________ สมการ (3.65)
2 2 22  2 2
1 1 11  1 1
Jˆ 2 ,     1 2
, __________ สมการ (3.66)
2 2 22  2 2

ซึ่งจากสมการข้างต้น สรุปได้ว่า ขนาดของ Angular Momentum ยกกาลังสอง ของอิเล็กตรอนนัน้


มีค่าเท่ากับ 3 2 และขนาดของ Spin Angular Momentum ในแนวแกน z นั้นมีได้ 2 ค่า คือ
4
1 1
 และ  ตามลาดับ
2 2

ตัวอย่าง 2) ในกรณีของ Gluon ซึ่งเป็นอนุภาคที่มี Spin Angular Momentum เป็น j  1


ดังนั้นสถานะเชิง Spin ของ อนุภาค Gluon มีอยู่ 3 สถานะด้วยกันคือ 1, 1 , 1,0 , และ 1, 1
ซึ่งสถานะทั้ง 3 เหล่านี้ มี Eigenvalue ของ Ĵ 2 เท่ากับ 2 2 และ Eigenvalue ของ Jˆz ก็คือ  ,
0 , และ  ตามลาดับ
บทที่ 3 Angular Momentum 3-28

หัวข้อ 3.9 Jˆ j , m และ Jˆ j , m

อย่างที่กล่าวในข้างต้นแล้วว่า Eigenstate ของ Jˆz และ Ĵ 2 นั้นสามารถเขียนให้อยู่ในรูป j, m


โดยที่

Jˆ z j, m  m j, m ______________ สมการ (3.67)


ˆ2
J j, m  j ( j  1) 2
j, m ______________ สมการ (3.68)

ซึ่งสืบเนื่องจากสมการ (3.47) นั้น เราสามารถเขียนผลกระทบของ Operator Ĵ  ที่มีต่อสถานะ


j , m ได้ดังนี้

Jˆ j, m   j, m  1 ______________ สมการ (3.69)

และในขณะนี้เราก็พร้อมที่จะวิเคราะห์ว่า  มีค่าเป็นเท่าใด โดยที่การคานวณดังกล่าวนี้ ทาได้ด้วย


การพิจารณา


j , m Jˆ Jˆ j , m  _________________ สมการ (3.70)

จะสังเกตเห็นว่า Operator Ĵ  นั้น แทนที่จะกระทากับสถานะ Ket j, m เราสามารถย้ายเข้ามา


กระทากับสถานะ Bra j, m พร้อมๆกันนั้นจะต้องเปลีย่ นให้เป็น Adjoint Operator ของ Ĵ † ตาม
คานิยามที่ให้ไว้ในหัวข้อ 3.6

j , m Jˆ Jˆ j , m   j , m Jˆ†   Jˆ  j, m  _________ สมการ (3.71)

แต่เนื่องจากในหัวข้อ 3.7 นั้น เราทราบว่า Jˆ†  Jˆ ดังนั้นสมการ (3.71) ข้างต้น จะแปรสภาพเป็น

j , m Jˆ Jˆ j , m   j , m Jˆ  Jˆ j, m 


  *  j , m  1 j, m  1 __________ สมการ (3.72)
j , m Jˆ Jˆ j , m   
2

นอกจากนี้ ยังทราบว่า Jˆ Jˆ  Jˆ 2  Jˆ z2  Jˆ z เพราะฉะนั้น


บทที่ 3 Angular Momentum 3-29


j , m Jˆ Jˆ j , m  j , m Jˆ 2  Jˆ z2  Jˆ z  j, m

 j ( j  1) m
2 2 2
 m  j, m
2
j, m ________ สมการ (3.73)
j , m Jˆ Jˆ j , m   j ( j  1)  m  m
2 2

เมื่อเปรียบเทียบสมการ (3.72) และ สมการ (3.73) เราสามารถที่จะเลือกให้

  j ( j  1)  m 2  m __________________ สมการ (3.74)

เพราะฉะนั้น สรุปคุณสมบัติของ Operator Ĵ  ได้ว่า

Jˆ j , m  j ( j  1)  m 2  m j , m  1 ______________ สมการ (3.75)

และในทานองเดียวกัน

Jˆ j , m  j ( j  1)  m 2  m j , m  1 ______________ สมการ (3.76)

แบบฝึกหัด 3.9 จงพิสูจน์สมการ (3.76)

1
แบบฝึกหัด 3.10 พิจารณาระบบ Spin Angular Momentum ของอิเล็กตรอนซึ่งมี j
2
a) จงใช้คานิยามของ Ĵ  และ Ĵ  ในสมการ (3.75) และ (3.76) เพื่อเขียน Operator Ĵ  และ
1 1
Ĵ  ให้อยู่ในรูปของ Matrix โดยกาหนดให้มี Basis State คือ j ,m   และ
2 2
1 1
j ,m  
2 2

b) จงใช้คานิยามของ Ĵ  และ Ĵ  ในสมการ (3.35) และ (3.36) ในการเขียน Operator Jˆx และ
Jˆ y ในรูปของ Matrix
บทที่ 3 Angular Momentum 3-30

หัวข้อ 3.10 บทสรุป


ในบทที่ 3 ที่เราได้เริม่ ศึกษาพฤติกรรมของโมเมนตัมเชิงมุมในทางกลศาสตร์ควอนตัม Angular
Momentum ที่เราใช้สัญลักษณ์อย่างหลวมๆว่า J โดยที่

J  LS

กล่าวคือ Angular Momentum แบ่งออกเป็นส่วนประกอบย่อยๆเป็นสองกลุ่ม คือ Orbital Angular


Momentum L ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบหมุน และ Spin Angular Momentum S ซึ่งเป็น
สมบัตเิ ฉพาะตัวของอนุภาคนั้นๆ

จากนั้นเราได้เริ่มศึกษาถึงการที่จะเขียน Angular Momentum Operator Jˆ  Jˆx  Jˆ y  Jˆz ให้อยู่


ในรูปของผลบวกขององค์ประกอบในแนวแกน x, y, และ z ตามลาดับ ซึ่ง operator ดังกล่าวนี้ มี
ความสัมพันธ์กันอยู่คือ

 Jˆ x , Jˆ y   i Jˆ z
 

โดยอาศัยความสัมพันธ์ของ Angular Momentum Operator อันนี้ และสมบัติทางคณิตศาสตร์อื่นๆ


ที่เกี่ยวข้อง นาไปสู่ประเด็นที่มคี วามสาคัญอย่างมากเกีย่ วกับโมเมนตัมเชิงมุม กล่าวคือ

1) ให้ j เป็นค่าสูงที่สดุ ที่ Angular Momentum ในแนวแกน z จะพึงมีได้ ค่า j ดังกล่าวนี้มี


ลักษณะเป็นขั้นบันได โดยที่

1 3
j  0, ,1, , 2,
2 2

ซึ่งค่าของ j จะเป็นเท่าไหร่ภายในเซตดังกล่าวนี้ ก็ขึ้นอยู่กับอนุภาคหรือระบบทีเ่ รากาลังศึกษาอยู่

2) เมื่อทราบค่า j ในระบบแล้ว องค์ประกอบในแนวแกน z ของ Angular Momentum ที่เป็นไปได้


หรือที่เราเรียกว่า m นั้น มีค่าอยู่ในช่วง

m   j , j  1, ,  j  1,  j

3) ดังนั้นตามหลักสากลแล้ว เราจะใช้สัญลักษณ์ j, m เป็นตัวกากับสถานะของระบบที่มีค่า j และ


m เฉพาะตัว ซึ่งสถานะดังกล่าว มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
บทที่ 3 Angular Momentum 3-31

Jˆ z j , m  m j, m
Jˆ 2 j , m  j ( j  1) 2
j, m

Jˆ j , m  j ( j  1)  m 2  m j , m  1

Jˆ j , m  j ( j  1)  m 2  m j , m  1

การวิเคราะห์สมบัตเิ หล่านี้ในเชิงฟิสิกส์ที่เป็นรูปธรรมนั้น ถึงแม้บางครั้งจะทาได้ยาก ด้วยเหตุผลของ


คณิตศาสตร์ที่นักศึกษายังไม่คุ้นเคย แต่ก็เป็นสิ่งที่จาเป็น และนาไปสู่พฤติกรรมที่น่าสนใจในมุมมอง
ของกลศาสตร์ควอนตัม ยกตัวอย่างเช่น

อิเล็กตรอนทีโ่ ดยมากเรามักเรียกว่ามี Spin Up นั้น แท้ที่จริงทิศของ Spin ไม่ได้ชี้ขึ้นขนานกับแกน


+z เสียเลยทีเดียว หากแต่ทามุมประมาณ 54.7 องศา กับแกน z

Maximum Jz j

Jz  0

และหากจะอธิบายธรรมชาติของการหมุน ในมุมมองของกลศาสตร์ควอนตัมโดยอนุโลมรวบรัดที่สุด
เพื่อความสะดวกในการทาความเข้าใจ ก็อาจสรุปได้ดังภาพข้างต้น

1) อนุภาคเมื่อมีการหมุน (ไม่ว่าจะเป็นการโคจรรอบนิวเคลียสหรือการหมุนรอบตัวเอง) ขนาดของ


โมเมนตัมเชิงมุม ก็คือ j ( j  1)

2) เมื่อค่า j ขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือสมบัติของอนุภาคนั้นๆ ซึ่งบ่งบอกว่ามันกาลังหมุนเร็วช้า


เพียงใด อาทิเช่น j  1 2 ในกรณีสปินของอิเล็กตรอน หรือ j  1 ในกรณีอิเล็กตรอนของอะตอม
คาร์บอนที่อยู่ในชั้นระดับพลังงาน p-Orbital

3) แกนของการหมุน ดังในภาพแทนด้วยเวคเตอร์ สามารถเอียงทามุมได้แตกต่างกันไป โดยอันที่ชี้ชัน


มากที่สุด ก็จะมีองค์ประกอบในแนวแกน z มากที่สุด ซึ่งก็คือ j ส่วนอันที่ลาดเอียงลดลงมา J z ก็
จะลดลงเรื่อยๆ คราวละ
บทที่ 3 Angular Momentum 3-32

4) ให้ m แทนองค์ประกอบตามแนวแกน z ตัวแปร m มีค่าอยู่ในช่วง  j, j  1, ,  j  1,  j

5) แกนของการหมุนมิได้จะชี้เยื้องไปทางขวาของภาพเสียทั้งหมด มันอาจสลับมาทางซ้ายก็ได้ ตราบใด


ที่ยังทามุมกับแกน z เท่าเดิม นี้คือความหมายของกรวยที่กากับอยู่กับเวคเตอร์ด้านล่าง ที่บ่งบอกว่า
เราไม่อาจทราบองค์ประกอบตามแนวแกน x หรือ y ของเวคเตอร์นไี้ ด้เลย มันจึงอาจอยูต่ าแหน่งใดก็
ได้ บนผิวกรวยดังกล่าว

หัวข้อ 3.11 ปัญหาท้ายบท


แบบฝึกหัด 3.11 พิจารณาอนุภาค Boson ซึ่งเป็น Spin-1 และมี 1, 1 , 1,0 , 1, 1 เป็น
Basis State จงเขียน Ĵ  , Ĵ  , และ Jˆz ในรูปของ Matrix จากนั้นใช้ J  และ J  ที่ได้เพื่อหา
Jˆ y และ Jˆx

แบบฝึกหัด 3.12 พิจารณาอนุภาค Boson ซึ่งเป็น Spin-1 และมี Eigenstate ของ Jˆz เป็น Basis
State ซึ่งก็คือ 1, 1 , 1,0 , และ 1, 1 สมมุตวิ ่าอนุภาคอยู่ในสถานะ
3
1  
   2
Jˆ z basis 14  
1i 
a) เมื่อทาการวัด Angular Momentum ตามแนวแกน z หรือ Jˆz จงหาความน่าจะเป็นที่จะวัดค่า
ได้เท่ากับ  , 0 , และ 
b) จงหา Jˆ z
c) เมื่อวัด Angular Momentum ในแนวแกน x จะได้ค่าโดยเฉลี่ยเท่าใด ? บอกใบ้ - คานวณ Jˆ x

แบบฝึกหัด 3.13 จากแบบฝึกหัด 3.11 จงหา Jˆ  nˆ ในรูปของ Matrix คล้ายๆกับสมการ (2.85)


จากนั้นคานวณ Eigenvalue และ Eigenstate ในทานองเดียวกันกับสมการ (2.93)

เฉลย - มี Eigenstate อยู่ 3 สถานะด้วยกันคือ


(1  cos  ) sin  (1  cos  )
 n  ei 1, 1  1, 0  ei 1, 1
2 2 2
sin  sin 
0n  ei 1, 1  cos  1, 0  ei 1, 1
2 2
(1  cos  ) sin  (1  cos  )
n  ei 1, 1  1, 0  e i 1, 1
2 2 2
บทที่ 3 Angular Momentum 3-33

แบบฝึกหัด 3.14 จงพิสูจน์ว่า Rotation Operator ในแนวแกน y นอกจากจะสามารถเขียนอยู่ในรูป


i
  Jˆ y 1
Rˆ ( j)  e แล้ว ในกรณีของอนุภาคที่มี Spin s ยังสามารถเขียนอยู่ในรูป
2
 2i 
Rˆ ( j)  cos  Jˆ y sin ได้อีกด้วย
2 2

แบบฝึกหัด 3.15 ในแบบฝึกหัด 2.22 เราคานวณ Sˆ x ในกรณีที่ระบบอยู่ในสถานะ


 
 n  cos  Z  ei sin Z
2 2
a) จงคานวณ Sˆ y และ Sˆ z

b) พิสูจน์ให้เห็นว่า Sˆx Sˆ y  Sˆz


2
c) มุม  ,   เป็นเท่าใด จึงจะทาให้ Sˆx Sˆ y  Sˆz
2

แบบฝึกหัด 3.16 กาหนดให้ Operator Ĉ มีคานิยามคือ iCˆ   Aˆ , Bˆ  พิสูจน์ว่าถ้า Â และ


 
B̂ เป็น Hermitian Operator แล้ว Ĉ ก็เป็น Hermitian ด้วย

แบบฝึกหัด 3.17 จงพิสูจน์ Schwarz Inequality        2


บอกใบ้ - เริ่มจาก    0 เมื่อ  คือสถานะใดๆ จากนั้นพิจารณาในกรณีที่
      เมื่อ  คือค่าคงที่ใดๆ จะได้ว่า               0
แล้ววิหาค่า  ที่ทาให้ ทางซ้ายมือของสมการมีคา่ น้อยที่สุด
บทที่ 4 Time Evolution 4-1

4
เนื้อหา
Time Evolution

4.1 Time Evolution Operator


4.2 Precession ของ Spin 1 Particle ในสนามแม่เหล็ก
2
4.3 การหมุน 360 องศาของนิวตรอน
4.4 Magnetic Resonance
4.5 Ammonia Maser
4.6 บทสรุป
4.7 ปัญหาท้ายบท

วัตถุประสงค์หลักอันหนึ่งของการศึกษาฟิสิกส์ ก็คือความสามารถในการทานายสิ่งที่จะเกิดขึ้นใน
อนาคต หรือการศึกษาปริมาณทางฟิสิกส์ที่เปลีย่ นแปลงไปกับเวลา เพราะฉะนั้นในบทที่ 4 นี้ เราจะ
กล่าวถึงระเบียบวิธีในทางกลศาสตร์ควอนตัม ที่จะเป็นกลไกในการศึกษาว่าสถานะต่างๆนั้น จะมีการ
เปลี่ยนแปลงไปกับเวลาอย่างไร

หัวข้อ 4.1 Time Evolution Operator


สมมุติว่าเราทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของระบบ ณ เวลา t  0 ซึ่งอาจจะเขียนให้เป็นสัญลักษณ์
โดยใช้ Ket ได้ว่า (t  0) จากนั้น ด้วยระเบียบวิธีของกลศาสตร์ควอนตัม ที่ได้กล่าวถึงในบทที่
2 เราสามารถจินตนาการได้ว่า มี Operator ซึ่งอาจจะแทนด้วยสัญลักษณ์ Uˆ (t ) โดยที่
Operator ดังกล่าวนี้ สามารถที่เปลี่ยนสถานะ Ket ณ เวลา t=0 ให้กลายเป็นสถานะ Ket ณ เวลา t
หรือเขียนในรูปของสมการได้ว่า

Uˆ (t ) (t  0)  (t ) ______________ สมการ (4.1)

ถึงแม้ว่าในขณะนี้ เรายังไม่ทราบว่า Operator Uˆ (t ) ดังกล่าวนี้ มีรูปแบบหรือเอกลักษณ์ในทาง


คณิตศาสตร์เป็นอย่างไร แต่ด้วยคานิยามในสมการ (4.1) นั้น เราเรียก Uˆ (t ) ว่าเป็น Time
Evolution Operator แปลว่า Operator ที่ทาให้สถานะของระบบ เปลี่ยนไปกับเวลานั่นเอง
บทที่ 4 Time Evolution 4-2

ในทานองเดียวกันกับการศึกษา Rotation Operator ในบทที่ 2 ซึ่งเริ่มด้วยศึกษาการหมุนที่เป็นมุม


เล็กๆรอบแกน z หรือที่เราใช้สัญลักษณ์ Rˆ (d k ) Time Evolution Operator ก็เช่นเดียวกัน
เราสามารถเริ่มด้วยการพิจารณา

Uˆ (dt ) (t  0)   (dt ) ______________ สมการ (4.2)

สมการ (4.2) แสดงถึงมุมมองทีว่ ่า Û เป็น Operator ที่ทาการเปลี่ยนสถานะ Ket เริ่มต้น ให้เป็น


สถานะผลลัพธ์ภายหลังจากเวลาผ่านไปเพียง dt เท่านั้น และในลักษณะเดียวกันกับ Infinitesimal
Rotation Operator ดังสมการ (2.122) ที่ว่า Rˆ (d k )  1  i Jˆz d เราก็สามารถเขียน

i
Uˆ (dt )  1  Hˆ dt ______________ สมการ (4.3)

i ˆ
เนื่องจากเลข 1 ที่ปรากฏอยู่ทางขวามือของสมการ ไม่มีหน่วย เทอม H dt ก็ต้องไม่มีหน่วย
เช่นเดียวกัน ส่งผลให้ Operator Ĥ มีหน่วยเป็นพลังงาน นอกจากนี้ ลักษณะความสัมพันธ์ทาง
คณิตศาสตร์ในสมการ (4.3) สามารถตีความได้ว่า Ĥ ก็คือ Generator of Time Evolution
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง Ĥ เป็น Operator ที่เป็นตัวกาหนดว่า สถานะของระบบจะมีการเปลี่ยนไปตาม
เวลาในลักษณะอย่างไร

ด้วยอาศัยสมบัติทางคณิตศาสตร์ดงั ในแบบฝึกหัด 2.23 เราเขียน Time Evolution Operator ให้


อยู่ในรูปของ Ĥ ได้ว่า

iHˆ t

Uˆ (t )  e ______________ สมการ (4.4)

สมการ (4.4) ข้างต้น แสดงให้เห็นถึงรูปแบบทางคณิตศาสตร์ของ Time Evolution Operator Uˆ (t )


อย่างคร่าวๆ แต่ทว่า สมการ (4.4) นั้นไม่ได้มีประโยชน์มากมายนัก เพราะเราก็ยังไม่ทราบอยู่ดีว่า
Operator Ĥ แท้ที่จริงแล้วคืออะไร มีรูปแบบทางคณิตศาสตร์อย่างไรบ้าง ดังนั้น การเขียน Uˆ (t )
ให้อยู่ในรูปของ Ĥ จึงเป็นเพียงการ “ผัดวันประกันพรุ่ง” ตราบใดที่เรายังไม่ทราบว่า Ĥ คืออะไร
และมีรูปแบบในทางคณิตศาสตร์เป็นเช่นใด

แบบฝึกหัด 4.1 จงพิสูจน์ว่า Time Evolution Operator Uˆ (t ) มีสมบัติเป็น Unitary Operator



กล่าวคือ Uˆ  t Uˆ  t   1
บทที่ 4 Time Evolution 4-3

แบบฝึกหัด 4.2 จงใช้ความเป็น Unitary ของ Time Evolution Operator เพื่อบอกว่า Ĥ ดังที่
นิยามในสมการ (4.3) นั้น ต้องเป็น Hermitian Operator [หมายเหตุ: เมื่อ Ĥ เป็น Hermitian
แสดงว่ามันเป็น Operator ที่สามารถแทนกระบวนการวัดทางฟิสิกส์ได้ เพราะมี Eigenvalue เป็น
จานวนจริง]

Ĥ คือ Hamiltonian Operator


นอกจากเราจะสามารถตีความได้วา่ Operator Ĥ ก็คือ Generator of Time Evolution ซึ่งเป็น
Operator ที่กาหนดลักษณะการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาของสถานะใดๆทีม่ ันไปกระทาอยู่
Operator Ĥ ก็ยังมีความหมายอีกแง่หนึ่งที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี และในหัวข้อ 4.1 นี้ เราจะมา
วิเคราะห์ถึงตรรกะทางคณิตศาสตร์เพียง 2 ข้อ และจะเป็นต้นตอของบทสรุปที่สาคัญอันหนึ่งที่
เกี่ยวข้องกับความหมายของ Ĥ ซึ่งนอกจากจะเป็น Generator of Time Evolution Ĥ ยังมี
สมบัตเิ ป็น Hamiltonian Operator หรือเป็น Operator ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานรวมของระบบอีกด้วย

จากความสัมพันธ์ระหว่าง Uˆ (t ) และ Ĥ ดังสมการ (4.4) เราสามารถบอกได้ว่า [Uˆ (t ), Hˆ ]  0


และเมื่อ Uˆ (t ) Commute กับ Ĥ จากหัวข้อ 3.4 ในบทที่ 3 เราสรุปได้วา่ Eigenstate ของ Ĥ
ก็คือ Eigenstate ของ Uˆ (t ) โดยอัตโนมัตินั่นเอง

สมมุติว่าเราพิจารณา Eigenstate ของ Ĥ ซึ่งเขียนอยู่ในรูปของ

Ĥ   E  ______________ สมการ (4.5)

เมื่อเห็นสมการดังในลักษณะสมการ (4.5) ข้างต้น นักศึกษาจะต้องไม่ลืมว่า สถานะ  นั้น ไม่ใช่


จะเป็นสถานะใดๆก็ได้ หากแต่มันมีสมบัติเฉพาะตัว กล่าวคือเป็น Eigenstate ของ Operator Ĥ
โดยที่มี Eigenvalue เป็น E

เนื่องจาก Ĥ Commute กับ Uˆ (t ) ดังนั้น  จะต้องเป็น Eigenstate ของ Uˆ (t ) ด้วยโดยปริยาย


เพราะฉะนั้น

Uˆ (t )   eiEt  ______________ สมการ (4.6)

สมการ 4.6 แสดงให้เห็นว่า Time Evolution Operator ไม่สามารถทาให้สถานะ  นั้น


เปลี่ยนแปลงตามเวลาได้ ด้วยเหตุว่า หลังจากที่ Uˆ (t ) มากระทากับสถานะ  แล้ว สถานะ
ผลลัพธ์ยังคงเป็น  อยู่เช่นเดิม (คูณด้วยค่าคงที่ eiEt เท่านั้น)

มาถึงจุดนี้ เราสามารถสรุปคุณสมบัติ 2 ประการที่เกีย่ วข้องกับ Operator Ĥ ได้ว่า


บทที่ 4 Time Evolution 4-4

1) Operator Ĥ มีหน่วยเป็นพลังงาน หรือ Joule


2) Eigenstate ของ Ĥ (และรวมไปถึง Eigenvalue) นั้น ไม่เปลี่ยนไปกับเวลา

จากคุณสมบัติทั้งสองข้อดังที่ได้กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า Operator Ĥ นั้นเกี่ยวข้องกับปริมาณทาง


ฟิสิกส์ที่ไม่เปลี่ยนไปกับเวลา และมีหน่วยเป็น Joule ดังนั้น Ĥ ก็คือ พลังงานรวมของระบบ หรือ
Hamiltonian นั่นเอง

สมการ Schrödinger
หลังจากที่ทราบความหมายในอีกแง่หนึ่งของ Operator Ĥ ว่าเป็น Hamiltonian เราก็พร้อมที่จะ
Derive สมการ Schrödinger ที่ได้เริ่มค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1926

สมมุติว่ามีสถานะ (t  0) ณ เวลา t  0 และต้องการที่จะหาว่า สถานะดังกล่าว ณ เวลา


t  dt นั้น มีลักษณะเป็นเช่นใด สามารถทาได้โดยใช้ Time Evolution Operator

Uˆ (t  dt ) (t  0)  (t  dt ) ______________ สมการ (4.7)

อย่างไรก็ตาม แทนที่จะให้เวลาผ่านไปในคราวเดียวเท่ากับ t  dt ดังสมการ (4.7) ในข้างต้น เรา


สามารถเลือกที่จะทาให้เวลาผ่านไปเป็น 2 จังหวะ กล่าวคือ 1) ใช้ Operator Uˆ (t ) กระทากับ
สถานะ (t  0) ก่อน และ 2) นา Operator Uˆ (dt ) เข้าไปกระทาซ้าในรอบที่สอง ซึ่งจะได้
ผลลัพธ์เป็นการเปลี่ยนไปของเวลาเท่ากับ t  dt เช่นเดียวกัน หรือ ในรูปของสมการจะได้ว่า

Uˆ (dt )Uˆ (t ) (t  0)  (t  dt ) ______________ สมการ (4.8)

เมื่อพิจารณา สมการ (4.8) ร่วมกับสมการ (4.7) ทาให้สรุปได้ว่า

Uˆ (t  dt )  Uˆ (dt )Uˆ (t ) ______________ สมการ (4.9)

เมื่อแทน Uˆ (dt )  1  i Hdt


ˆ จากสมการ (4.3) เข้าไปในสมการ (4.9) จะทาให้

 i ˆ  ˆ
Uˆ (t  dt )  1  Hdt  U (t ) ______________ สมการ (4.10)
 

ความสัมพันธ์ดังในสมการ (4.10) นั้น สามารถจัดรูปให้กระชับมากขึ้นคือ


บทที่ 4 Time Evolution 4-5

Uˆ (t  dt )  Uˆ (t )
i ˆ ˆ (t )
 HU ______________ สมการ (4.11)
dt

 ˆ Uˆ (t  dt )  Uˆ (t )
จะสังเกตเห็นว่า ข้างซ้ายของสมการ (4.11) นั้น เราสามารถนิยามให้ U (t ) 
t dt
ดังนั้น สมการ (4.11) สามารถเขียนให้อยู่ในรูปที่คล้ายคลึงกับสมการ Schrödinger ได้ นั่นคือ

 ˆ
i ˆ ˆ (t )
U (t )  HU ______________ สมการ (4.12)
t


i (t )  Hˆ (t ) ______________ สมการ (4.13)
t

ซึ่งสมการ Schrödinger ดังที่เขียนในสมการ (4.13) นั้น ในอนาคต เราจะวกกลับมาวิเคราะห์


สมการดังกล่าวในบทที่ 6 แต่ขณะนี้ จะใช้เวลาศึกษาตัวอย่าง 4 ตัวอย่างด้วยกัน ซึ่งเป็น
ปรากฏการณ์ในทางฟิสิกส์ที่สามารถใช้ความรู้เกี่ยวกับ Time Evolution Operator มาเป็นเครื่องมือ
ในการอธิบาย Dynamics ของระบบดังกล่าว

แบบฝึกหัด 4.3 ในระบบที่ซับซ้อนขึ้นนั้น Hamiltonian เป็นฟังก์ชันของเวลา ในกรณีเช่นนี้ จง


พิสูจน์ว่า Time Evolution Operator สามารถเขียนอยู่ในรูปของ
 i t 
Uˆ  t   exp    dt Hˆ (t ) 
 0 
บอกใบ้ - ซอย Time Evolution Operator ให้เป็นจังหวะย่อยๆจาก t  0, t  dt , t  2dt ,
หมายเหตุ: ถ้าจะวิเคราะห์ในรายละเอียดให้ลึกซึ้ง สมการข้างต้นมีเงือ่ นไขในทางคณิตศาสตร์เพิ่มเติม
ทีว่ ่า  Hˆ (t 1 ), Hˆ (t 2 )   0

หัวข้อ 4.2 Precession ของ Spin 1


2
Particle ในสนามแม่เหล็ก

สมมุติว่าเราพิจารณาอนุภาคทีม่ ี Spin Angular Momentum เป็น 1 2 ซึ่งไม่จาเป็นจะต้องเป็น


อิเล็กตรอนแต่เพียงอย่างเดียว เมื่ออนุภาคดังกล่าวนี้ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสนามแม่เหล็ก
B  B0k ที่เรียงตัวอยู่ในแนวแกน z เราจะมาวิเคราะห์วา่ สนามแม่เหล็กดังกล่าว มีผลอย่างไรกับ
Spin ของอนุภาคที่ว่านี้
บทที่ 4 Time Evolution 4-6

z
B

y
Magnetic Moment

H    B
x

อนุภาคที่มี Spin ก็จะเปรียบได้กบั แม่เหล็กขนาดเล็กๆแท่งหนึ่ง ซึ่งมี Magnetic Moment เป็น


ฟังก์ชันที่ขึ้นอยู่กับมวล และ Spin ของอนุภาคนั้นๆ ดังต่อไปนี้

gq ˆ
ˆ  S _____________________ สมการ (4.14)
2m

เมื่อ g คือค่าคงที่เฉพาะตัวของอนุภาคที่กาลังกล่าวถึง เรียกโดยทั่วไปว่า g-factor ซึ่งจะสามารถวัด


ได้จากการทดลอง ยกตัวอย่างเช่น อิเล็กตรอนมี g  2.00 และโปรตอนมี g  5.58 เป็นต้น และ
q ก็คือประจุของอนุภาคดังกล่าว

โดยธรรมชาติแล้ว เมื่อแม่เหล็กทีม่ ี Magnetic Moment ̂ ตกอยู่ภายในอิทธิพลของสนามแม่เหล็ก


B เราสามารถเขียนได้ว่า พลังงานของระบบนั้นๆ ก็คือ

Hˆ   ˆ  B
gq ˆ _____________________ สมการ (4.15)
 S  ( B0k )
2m

ยกตัวอย่างเช่นถ้าเรากาลังพิจารณาอิเล็กตรอนที่มีประจุ q  e และ Spin s 1 2 นั้น จะได้ว่า

ge ˆ
Hˆ  ( S x  Sˆ y  Sˆz )  ( B0k )
2mc
 geB0  ˆ
  Sz _________________ สมการ (4.16)
 2m 
Hˆ   Sˆ
0 z
บทที่ 4 Time Evolution 4-7

ซึ่งที่มาของสมการ (4.16) นั้น เราเขียน Spin Operator ในรูปขององค์ประกอบตามแนวแกน x, y,


และ z ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในสมการ (2.83) และ สมการ (3.4) นอกจากนี้ สมการ (4.16) ยังบอก
อีกว่า พลังงานของระบบที่เรากาลังพิจารณาอยู่นี้นั้น โดยความเป็นจริงแล้ว ขึ้นอยู่กับ 1) Spin
Angular Momentum ตามแนวแกน z ของอนุภาค และ 2) ขึ้นอยู่กับค่าคงที่ ซึ่งเราเขียนยุบ
รวมเข้าด้วยกันแทนด้วยสัญลักษณ์ 0 เมื่อ 0  geB0
2m

จากสมการ (4.16) จะเห็นว่า Operator Ĥ Commute กับ Operator Sˆz เพราะฉะนั้นแล้ว


Eigenstate ของ Sˆz ซึ่งก็คือ  Z และ Z นั้น เป็น Eigenstate ของ Hamiltonian Ĥ
ด้วยโดยปริยาย หรืออีกนัยหนึ่ง

Hˆ  Z  0 Sˆz  Z
0
 Z _________________ สมการ (4.17)
2
 E  Z

ดังนั้น ด้วยความที่สถานะ  Z เป็น Eigenstate ของ Hamiltonian Ĥ เราบอกได้ว่า สถานะ


 Z ดังกล่าวนี้ จะเสถียรและไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา โดยที่สถานะ  Z และ  Z จะมี
0 0
พลังงานเป็น E   และ E   ตามลาดับ
2 2

Dynamics ของระบบ
เพื่อที่จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาของระบบ หรือที่เรียกว่า Dynamics ของระบบนั้น เรา
จะต้องมาพิจารณา Time Evolution Operator Uˆ (t ) ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่เราใช้เวลาส่วนหนึ่งใน
ตอนต้นของเนื้อหาในบทนี้ กับการวิเคราะห์ Hamiltonian Ĥ เพราะว่า Uˆ (t ) นั้นมีความสัมพันธ์
กับ Ĥ ดังในสมการ (4.4) นั่นเอง

เมื่อวิเคราะห์รูปแบบของ Time Evolution Operator Uˆ (t ) ตามสมการ (4.4) และ สมการ (4.16)


จะได้

i0 Sˆz t

Uˆ (t )  e _________________ สมการ (4.18)

ซึ่งถ้านิยามตัวแปร   0t จะทาให้


บทที่ 4 Time Evolution 4-8

i Sˆz

Uˆ (t )  e  Rˆ ( k ) _________________ สมการ (4.19)

โดยที่นักศึกษาเองอาจจะจารูปแบบของ Rotation Operator Rˆ ( k ) ที่ได้ศึกษาในบทที่ 2 ซึ่ง


สมการ (4.19) นั้นกล่าวว่า Time Evolution Operator ของระบบที่เรากาลังให้ความสนใจอยู่นี้ ไป
สอดคล้องกันพอดีกับ Rotation Operator ที่หมุน Spin ของระบบเป็นมุม   0t องศา

เพราะฉะนั้น เราสรุปได้ว่า ผลของสนามแม่เหล็กทีม่ ีต่อ Spin ของอนุภาคนั้น จะทาให้ Spin ของ


อนุภาคหมุนแบบส่ายควง หรือ Precession รอบๆแกน z (หรือแกนใดก็ตามที่มีทิศทางขนานกับ
สนามแม่เหล็ก B ) โดยที่ความเร็วรอบของการส่ายควงนั้น ก็คือ 0  geB0 ซึ่งแปรผันตรงกับ
2m
ความเข้มของสนามแม่เหล็กที่มีอยูน่ ั่นเอง

ความเร็วเชิงมุมของการส่ายควงหรือ 0 ดังกล่าว เป็นปรากฏการณ์ที่สาคัญ และมีชื่อเฉพาะในทาง


ฟิสิกส์ที่เรียกว่า Larmor Frequency ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของโปรตอน มี Larmor Frequency
เท่ากับ 42.5 MHz ต่อสนามแม่เหล็ก 1 Tesla เป็นต้น

สถานะ (t ของระบบ


นอกจากจะสามารถสรุปได้ว่า ระบบเกิด Precession ด้วยการอ้างความคล้ายคลึงของ Time
Evolution Operator Uˆ (t ) กับ Rotation Operator Rˆ ( k ) ดังสมการ (4.19) แล้วนั้น เรา
สามารถศึกษาให้ชัดเจนลงไปอีกว่า Uˆ (t ) แท้จริงแล้ว มีผลต่อสถานะ (t  0) ของระบบอย่างไร

เนื่องจากเราสามารถใช้  Z และ Z เป็น Basis State ดังนั้น สถานะใดๆของระบบ สามารถ


เขียนในรูป Superposition ของ Basis State ได้เสมอ

(t  0)  c  Z  c Z _________________ สมการ (4.20)

โดยที่ c เป็น Probability Amplitude ที่ระบบจะอยู่ในสถานะ  Z เพราะฉะนั้นแล้ว การที่


เราต้องการทราบว่าสถานะของระบบ  (t ) ณ เวลา t ใดๆ จะมีลักษณะเป็นอย่างไรนั้น ก็
ˆ
iHt

สามารถทาได้โดย การนา Time Evolution Operator Uˆ (t )  e เข้าไปกระทากับ  (t  0)
นั่นเอง
บทที่ 4 Time Evolution 4-9

 (t )  Uˆ (t )  (t  0)


ˆ
iHt _________________ สมการ (4.21)
 e  c  Z  c  Z 


เนื่องจากสมการ (4.17) บอกว่า Hˆ  Z   0  Z ดังนั้น
2

(t )  c ei0t /2  Z  c ei0t /2 Z _________________ สมการ (4.22)

สมการ (4.22) ในข้างต้นนั้น แสดงให้เห็นว่าระบบที่เรากาลังศึกษาอยู่นี้ มีความเปลี่ยนแปลงกับเวลา


อย่างไร ซึ่งการเปลีย่ นแปลงดังกล่าวนี้ ขึ้นอยู่กับ 1) สถานะเริม่ ต้น ณ เวลา t=0 หรือ c และ 2)
ขึ้นอยู่กับ Larmor Frequency 0  geB0 นั่นเอง
2m

z
B

(t  0)  X y
t0
x
x
ภาพ 4.1 สมมุติว่าเราเตรียมสถานะของระบบ ณ เวลา t  0 ให้เป็น Spin ในแนวแกน +x
และเราต้องการทราบว่า เมื่อเวลาผ่านไป สถานะของระบบจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร?

เพื่อให้เห็นตัวอย่างที่ชัดเจน เราลองมาสมมุติว่าสถานะของระบบ ณ เวลา t 0 คือ Spin ที่ชี้ใน


แนวแกน +x ดังภาพ 4.1

 (t  0)   X
1 1 _________________ สมการ (4.23)
 Z  Z
2 2

เมื่อเปรียบเทียบสถานะของระบบที่ Spin อยู่ในแนวแกน x ตามสมการ (4.23) กับสถานะที่เขียนให้อยู่


ในรูปทั่วไป ดังสมการ (4.20) จะได้ว่า สัมประสิทธิ์
บทที่ 4 Time Evolution 4-10

1 1
c  c 
2 2

และเมื่อแทนค่าสัมประสิทธิ์ดังกล่าว เข้าไปในสมการ (4.22) จะได้ว่า สถานะของระบบมีการ


เปลี่ยนแปลงตามเวลาดังต่อไปนี้

e i0t /2 e i0t /2
 (t )  Z  Z _________________ สมการ (4.24)
2 2

สถานะดังที่เขียนในสมการ (4.24) ทาให้เราสามารถคานวณหา ความน่าจะเป็น ที่จะพบระบบอยู่ใน


สถานะ  Z และ Z ซึ่งก็คือ

2
2 e i0t /2 1
 Z  (t )   __________________________ (4.25)
2 2
2
2 e i0t /2 1
 Z  (t )   __________________________ (4.26)
2 2

แบบฝึกหัด 4.4 จงคานวณหา Expectation Value ของ Sˆz ของ state ในสมการ (4.24) แล้ว
วิจารณ์ว่า ค่าดังกล่าว เปลี่ยนแปลงกับเวลาหรือไม่ อย่างไร

จากสมการ (4.25) และ สมการ (4.26) จะเห็นว่า ถ้าเตรียมระบบให้อยู่ในสถานะที่มี Spin เป็น


 X ตั้งแต่แรก จะมีความน่าจะเป็นที่ต่อมาภายหลังจะพบว่า Spin ของมันอยู่ตามแนวแกน
 Z หรือ  Z เท่าๆกัน และความน่าจะเป็นอันนี้ มีค่าเท่ากับ 1/2 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา

ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราตั้งคาถามว่า ความน่าจะเป็นที่จะพบ Spin ของระบบอยู่ในสถานะ X


ณ เวลาต่างๆ มีค่าเป็นเท่าใด ? ก็สามารถตอบคาถามได้ด้วยการเริ่มคานวณ Probability
Amplitude

 1 1   ei0t /2 ei0t /2 
 X  (t )   Z  Z  Z  Z 
 2 2   2 2 
ei0t /2 ei0t /2
  ________ (4.27)
2 2
 t 
 cos  0 
 2 
บทที่ 4 Time Evolution 4-11

และเราจะได้ว่า Probability ที่จะพบระบบอยู่ในสถานะ X ก็คือ

 t 
 X  (t )
2
 cos 2  0  ______________________ (4.28)
 2 

จากสมการ (4.28) จะเห็นว่า ณ เวลา t  0 ความน่าจะเป็นมีค่าเป็น 1 ซึ่งก็สอดคล้องกับ


ข้อกาหนดเริ่มต้นที่เราเตรียมระบบให้อยู่ในสถานะ  X ตั้งแต่แรกเริ่ม แต่เมื่อเวลาผ่านไป จะ
สังเกตว่า Probability ดังกล่าว มีการลดลงเพิ่มขึ้นกลับไปกลับมา ระหว่างค่า 1 และ 0

เราสามารถตีความและทาความเข้าใจกับการเพิ่มขึ้นลดลง สลับกลับไปกลับมาของ Probability


ดังกล่าว ถ้ามองว่า Spin ของระบบที่แต่เดิม เตรียมให้อยู่ในสถานะ  X ตั้งแต่เริ่มต้น มีการ
หมุนรอบแกน z ดังภาพ 4.2

ภาพ 4.2 สนามแม่เหล็กทาให้เกิดการ


z
B Precession ของ Spin รอบแกน z

Spin
x

แบบฝึกหัด 4.5 จงพิสูจน์ว่า เมือ่ เราทาการวัด Spin ตามแนวแกน x ค่าที่วัดได้โดยเฉลี่ย ก็คือ


cos 0t 
2
บอกใบ้: คานวณ Expectation Value ของ Operator Sˆx

แบบฝึกหัด 4.6 จงคานวณความน่าจะเป็นที่จะพบระบบอยู่ในสถานะ X ณ เวลาใดๆ

ในหัวข้อ 4.2 ที่เราได้กล่าวถึง Precession ของ Spin ที่อยู่ภายใต้อทิ ธิพลของสนามแม่เหล็ก B


เราเริ่มด้วยการวิเคราะห์ถึง Hamiltonian ของระบบ และโยงความสัมพันธ์ไปยัง Time Evolution
Operator เพื่อเขียนสถานะของระบบ ณ เวลาใดๆได้ว่า

(t )  c ei0t /2  Z  c ei0t /2 Z


บทที่ 4 Time Evolution 4-12

เมื่อ สัมประสิทธิ์ c , c ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติเฉพาะของระบบที่กาลังศึกษา เราพบว่า ผลของ


สนามแม่เหล็กก็คือการทาให้ Spin เกิดการ Precession รอบแกนที่ขนานกับ B โดยที่ความถี่
เชิงมุมของการหมุน มีค่าเท่ากับ 0  geB0 ซึ่งเรียกว่า Larmor Frequency นั่นเอง
2m

หัวข้อ 4.3 การหมุน 360 องศาของนิวตรอน


1
นิวตรอนเป็นอนุภาคชนิดหนึ่งที่มี Spin s จากที่ได้กล่าวไปแล้วในบทที่ 2 ในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
2
1
กับ Rotational Operator เมื่อเราทาการหมุน Spin ของอนุภาคที่มี Spin s เป็นมุม 360
2
องศา จะทาให้ State กลายเป็นลบของตัวมันเอง

Rˆ (2 k )     ______________________ (4.29)

สมบัติข้อนี้นเี่ อง เป็นหนึ่งในพฤติกรรมในเชิงกลศาสตร์ควอนตัม ทีแ่ ตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากกลศาสตร์


คลาสสิก ด้วยเหตุที่ว่า วัตถุต่างๆที่พบได้ทั่วไปในชีวิตประจาวัน เมื่อเราทาการหมุนด้วยมุม 2
ย่อมจะกลับมาอยู่ในรูปแบบเดิม ก่อนที่จะมีการหมุน ในปี 1975 S.A. Werner, R. Colella, A.W.
Overhauser, และ C.F. Eagen ได้ทาการทดลองเพื่อพิสูจน์พฤติกรรมที่แปลกประหลาดขอ
กลศาสตร์ควอนตัม ดังแสดงในสมการ (4.29) อันนี้

ภาพ 4.3 แสดง diagram การ


ทดลองของ Werner et. al. ที่
ประกอบด้วยลานิวตรอน พุ่งเข้า
กระทบกับแผ่นซิลิกอน (A)
เกิดปรากฏการณ์ Diffraction ทา
ให้ลานิวเตรอนแยกออกเป็นสอง
เส้นทาง [Credit: ภาพจาก
Werner et. al. Phys. Rev.
Lett. 35, 1053 (1975)]

ดังแสดงในภาพ 4.3 การทดลองของ Werner et. al. ประกอบด้วยลานิวตรอนพุ่งเข้ากระทบกับ


แผ่นซิลิกอน (A) เกิดปรากฏการณ์ Diffraction ทาให้ลานิวตรอนแยกออกเป็นสองเส้นทาง AB
และ AC
บทที่ 4 Time Evolution 4-13

ในเส้นทาง AC มีสนามแม่เหล็กขนาดความเข้ม B อยูภ่ ายในช่วงระยะทาง ซึ่งจากหัวข้อ 4.2 เรา


ทราบว่ามีผลทาให้ Spin ของนิวตรอนเกิดการหมุน โดยที่มมุ ของการหมุนสามารถควบคุมได้จาก
ความเข้มของสนามแม่เหล็ก และ ระยะทาง ที่นิวตรอนเคลื่อนที่อยูภ่ ายใต้อิทธิพลของ
สนามแม่เหล็ก

Werner และผูร้ ่วมงานพบว่าถ้าเขาทาการปรับความเข้มของสนามแม่เหล็กให้สอดคล้องกับการหมุน


360 องศา ลานิวตรอน AB และ AC จะหักล้างกันพอดี และทาให้เกิดเป็นจุดต่าสุดของกราฟใน
ภาพ 4.4 ซึ่งก็หมายความว่า Rotational Operator ที่หมุน Spin s  1 มีผลทาให้สถานะของ
2
นิวตรอนที่ผ่านเส้นทาง AC มีเฟสตรงกันข้ามกับสถานะของนิวตรอนที่ผ่านเส้นทาง AB และเกิด
การหักล้างกันดังกล่าว

ภาพ 4.4 ผลการทดลองของ Werner at. el. แสดงปริมาณของนิวตรอนที่ตรวจนับได้ ภายหลัง


จากมีการแทรกสอดเกิดขึ้น จะเห็นว่าที่ความเข้มของสนามประมาณ 62 Gauss มีการหักล้างกัน
ของลานิวตรอน [Credit: ภาพจาก Werner et. al. Phys. Rev. Lett. 35, 1053 (1975)]

หัวข้อ 4.4 Magnetic Resonance


ในหัวข้อ 4.2 เราได้ศึกษาผลของสนามแม่เหล็ก B ซึ่งทาให้เกิด Precession ของอนุภาคที่มี Spin
1
s ในกรณีดังกล่าว ถ้ากาหนดให้ทิศทางของสนามแม่เหล็กให้ขนานกับแกน z หรือ B zˆ
2
แล้วความน่าจะเป็นที่จะพบอนุภาคอยู่ในสภานะ Z หรือ Z จะไม่เปลีย่ นแปลงกับเวลา

หรืออีกนัยหนึ่ง เราอาจจะมองภาพโดยอนุโลมได้ว่า สนามแม่เหล็ก B ทาหน้าที่เหมือนหมุดที่


พยายามตรึง Spin ของอนุภาคให้เรียงตัวตามแนวแกน z เพราะฉะนั้นถ้าเราเตรียม Spin ของ
อนุภาคให้อยู่ตามแนวแกน z เมื่อเวลา t  0 หรือ (t  0)   Z สนามแม่เหล็ก B จะตรึง
บทที่ 4 Time Evolution 4-14

ให้ระบบอยู่ในสถานะ (t )   Z ไปโดยตลอด หรือ ถ้า (t  0)  Z


สนามแม่เหล็กก็จะตรึงให้ระบบอยู่ในสถานะ (t )  Z ไปโดยตลอดเช่นกัน

ในกรณีที่ Spin ของอนุภาคไม่ใช่ทั้ง Z หรือ Z เสียเลยทีเดียว หากแต่เป็นผลบวก หรือ


1 1
Superposition ของสถานะพื้นฐานทั้งสอง ยกตัวอย่างเช่น X  Z  Z ในกรณี
2 2
geB0
เช่นนี้ Spin จะเกิดการส่ายควง หรือ Precession ด้วยความถี่ 0 
2m

เราอาจจะออกแบบการวางสนามแม่เหล็กให้ซบั ซ้อนมากยิ่งขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ Spin ของระบบ


สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงจาก  Z ไปยัง Z เมื่อเวลาผ่านไป ดังภาพ 4.5

z
S B0  B0k

y
Oscillate x
x B1  B1 cos(t )i
ภาพ 4.5 แสดงสนามแม่เcหล็กทีอ่ ยู่ในระบบซึ่งประกอบด้วยส่วนหลัก และ ส่วนรอง
สนามแม่เหล็กรองมีลักษณะเป็น Oscillation ที่สามารถปรับความถี่  ได้ตามต้องการ ส่งผลให้
สนามแม่เหล็กสุทธิมีค่าเท่ากับ B  B1 cos(t )i  B0k

สนามแม่เหล็กที่อยู่ในระบบประกอบด้วยส่วนหลัก และ ส่วนรอง สนามแม่เหล็กหลักชี้ในทิศแกน z


แต่สนามแม่เหล็กรองอยู่ในแนวแกน x นอกจากนี้ สนามแม่เหล็กรองยังมีลักษณะเป็น Oscillation
ที่สามารถปรับความถี่ ω ได้ตามต้องการ ส่งผลให้สนามแม่เหล็กสุทธิมีค่าเท่ากับ

B  B1 cos(ω t )i  B0k ______________________ (4.30)

ในทาเดียวกันกับสมการ (4.16) จะได้ว่า พลังงานของระบบคือ


บทที่ 4 Time Evolution 4-15

ge ˆ
Hˆ  ( S x  Sˆ y  Sˆ z )  ( B1 cos(ωt)i  B0k )
2m
geB1 geB0 ˆ
 cos(ωt) Sˆ x  Sz ______________________ (4.31)
2m 2m
Hˆ   cos(ωt) Sˆ   Sˆ
1 x 0 z

เมื่อเรานิยาม

geB0
0  และ  1 geB1 ______________________ (4.32)
2m 2m

ขั้นตอนต่อไปในการวิเคราะห์เพือ่ ต้องการทราบการเปลีย่ นแปลงของสถานะเมื่อเวลาผ่านไป โดยใช้


สมการ Schrödinger ดังในสมการ (4.13) เราเริ่มด้วยการเขียนสถานะของระบบให้อยู่ในรูป
Superposition ของ  Z และ Z

(t )  a(t )  Z  b(t ) Z ______________________ (4.33)

ในกรณีนี้ สัมประสิทธิ์ a(t ) และ b(t ) เป็นค่าที่เปลี่ยนแปลงกับเวลา เพราะว่าสถานะ  ที่ปรากฏ


ด้านซ้ายมือของสมการนั้น เปลี่ยนแปลงกับเวลาด้วยเช่นกัน สมการ (4.33) ที่เขียนให้อยู่ในรูปของ
Ket สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของ Vector ดังที่ได้กล่าวในหัวข้อ 2.3 ได้ว่า

 a(t ) 
 (t )  
 Z basis  b(t ) 
______________________ (4.34)

เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ในลาดับต่อไป เราจะสมมุติว่า ระบบ ณ เวลา t 0 มี


สถานะเป็น  Z หรือ ในรูปของ Vector

1 
 (0)   
 Z basis 0 
______________________ (4.35)

นอกจากนี้ โดยใช้  Z เป็นสถานะพื้นฐาน เราสามารถเขียน Hamiltonian Operator ในสมการ


(4.31) ให้อยู่ในรูปของ Matrix ได้ว่า

  Z 1Sˆx cos(t )  0 Sˆz  Z  Z 1Sˆx cos(t )  0 Sˆz  Z 


Hˆ   
 Z basis   Z  Sˆ cos(t )   Sˆ  Z  Z 1Sˆx cos(t )  0 Sˆz  Z 
 1 x 0 z
บทที่ 4 Time Evolution 4-16

ดังนั้น
 0 1 cos(t ) 
H   cos(t ) ______________________ (4.36)
2 1 0 

จาก Hamiltonian Operator ในรูปของ Matrix ดังในสมการ (4.36) และ จากสถานะในรูปของ


Vector ดังสมการ (4.34) เราสามารถนา Schrödinger Equation จากสมการ (4.13) มาประยุกต์ใช้
ได้ว่า
d 
 0 1 cos(t )   a(t )   dt a(t ) 
 i   ______________________ (4.37)
2 1 cos(t ) 0   b(t )   d b(t ) 
 dt 

สมการข้างต้นเป็นสมการอนุพันธ์ซึ่งมีเงื่อนไขเริม่ ต้นดังในสมการ (4.35) เพื่อให้ง่ายต่อการหาผล


เฉลยทางคณิตศาสตร์ เราจะวิเคราะห์เฉพาะในกรณีของ Resonance กล่าวคือ กรณีที่   0 ซึ่ง
มีผลเฉลยคือ

 t 2
 cos( 1 )e i0t
 a (t )   
 b(t )   
4
 ______________________ (4.38)
 
  i sin( 1t )e  i0t 2
 4 

แบบฝึกหัด 4.7 จงพิสูจน์ว่า a (t ) และ b (t ) ในสมการ (4.38) ทาให้สมการ (4.37) เป็นจริง


(โดยประมาณ)
1  e2i0t 1
บอกใบ้: cos 0t  ei0t   ถ้า 0 1
2 2

ในที่สุดเราก็ได้สถานะของระบบ ณ เวลาใดๆ ซึ่งอาจจะเปลีย่ นการเขียนในรูปแบบของ Vector ใน


สมการ (4.38) ให้เป็นรูปของ Ket ได้ว่า

1t 1t
(t )  cos( )ei0t 2
 Z  i sin( )ei0t 2
Z ________________ (4.39)
4 4

ทั้งนีจ้ ะต้องไม่ลมื ว่า สถานะของระบบในสมการ (4.39) เป็นผลเฉลยเฉพาะกรณีที่ 1) เกิด


Resonance กล่าวคือ ความถี่ของสนามแม่เหล็กรอง สอดคล้องกับ Larmor Frequency ของอนุภาค
พอดี และ 2) สถานะเริ่มต้นของระบบอยู่ที่ (t  0)   Z
บทที่ 4 Time Evolution 4-17

มาถึงขั้นนี้ เราสามารถวิเคราะห์หาความน่าจะเป็นที่จะพบระบบอยูใ่ นสถานะ Z ซึ่งสามารถ


คานวณได้จาก

1t
 Z  (t )
2
 cos2 ( ) ________________ (4.40)
4

และในทานองเดียวกัน Probability ที่จะพบระบบอยู่ในสถานะ Z

1t
 Z  (t )
2
 sin 2 ( ) ________________ (4.41)
4

การเปลีย่ นแปลงของสถานะดังกล่าว สามารถทาความเข้าใจได้ง่ายๆจากภาพ 4.6

0.8 2 1t
 Z  (t )  cos 2 ( )
จ ป

0.6 4
0.4

1t

0.2
2
 Z  (t )  sin 2 ( )
0 4

ภาพ 4.6 แสดงการเปลี่ยนแปลงของระบบ ที่มีการสั่นไปมาขึ้นกับเวลาของ Spin จาก


 Z  Z

จากภาพ 4.6 แสดงการเปลี่ยนแปลงของ Spin ที่มีการสั่นไปมาเมื่อเวลาผ่านไป จากกราฟจะสังเกต


ว่าเมื่อเวลา t  0 Probability ที่จะพบอนุภาคในสถานะ  Z มีค่าเป็น 1 หรือ 100% ที่เป็น
เช่นนี้ก็สอดคล้องกับเงื่อนไปเริม่ ต้นที่เรากาหนดให้ อนุภาคอยู่ในสถานะ  Z เมื่อเวลา t  0

เมื่อเวลาผ่านไปเพียงเล็กน้อย สนามแม่เหล็กรอง B1 cos(t )i มีผลทาให้เกิดการเปลีย่ นแปลงของ


ระบบ จาก  Z  Z ซึ่งจะสังเกตได้จาก Probability ที่อนุภาคจะคงอยู่ ณ สถานะ  Z มีค่า
2
ลดลง และเป็นศูนย์ในที่สุดเมื่อเวลา t ซึ่ง ณ เวลาดังกล่าวนีเ้ อง ระบบเปลีย่ นมาเป็นสถานะ
1
Z โดยสิ้นเชิง
บทที่ 4 Time Evolution 4-18

ในทางปฏิบัติ สนามแม่เหล็กรอง B1  B1 cos(t )i สามารถสร้างได้โดยการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่


สามารถปรับความถี่ได้ เข้าไปในระบบ ถ้าต้องการให้เกิดการ Resonance ก็จาเป็นจะต้องให้
geB0
  0  ซึ่งในกรณีของอนุภาคโปรตอนจะมีความถี่อยู่ประมาณ 42.5 MHz ต่อความเข้มของ
2m
สนามแม่เหล็กหลัก 1 Tesla

ในกรณีที่ความถี่ของสนามแม่เหล็กรองมีค่าต่างออกไปจากความถี่ Resonance กล่าวคือ   0


ความน่าจะเป็นที่จะพบระบบอยู่ในสถานะ Z ณ เวลาใดๆ ดังในสมการ (4.41) มีความซับซ้อน
มากขึ้น Probability ในกรณีดงั กล่าวค้นพบเป็นครั้งแรกโดย I.I. Rabi Phys. Rev. 1939.

12 / 4 (0   )2  12 / 4


 Z  (t )
2
 sin 2
( t) ___________ (4.42)
(0   )2  12 / 4 2

จะสังเกตเห็นว่า Probability ดังในสมการ (4.42) มีการสั่นขึ้นลงดังในสมการ (4.41) แต่ทว่าแอม


ปลิจูดของการสั่นเป็นฟังก์ชันของ  ดังแสดงในภาพ 4.7

1
12 / 4
( 0   ) 2  12 / 4 0.8

Rabi Formula (I.I. Rabi 1939) 0.6


0.4

0.2

0 
0
ภาพ 4.7 แสดงความน่าจะเป็นที่ระบบจะมีการเปลี่ยนสถานะจาก  Z  Z ภายหลังจาก
เวลาผ่านไปครบหนึ่งรอบ จะสังเกตเห็นว่า Probability ดังกล่าวจะมีค่ามากที่สุดเมื่อ   0
และจะลดลงตามลาดับเมื่อความถี่มีการเบี่ยงเบนออกจาก Resonance Frequency

เนื้อหาของ Magnetic Resonance ดังที่ได้กล่าวในหัวข้อ 4.4 นี้ มีประโยชน์สาคัญยิ่งในทาง


การแพทย์ คือ MRI (Magnetic Resonance Imaging) หลักการทางานและรายละเอียดของ MRI
อยู่นอกเหนือจากขอบเขตของหนังสือเล่มนี้ อย่างไรก็ตาม หลักการทางานสังเขปก็คือการออกแบบ
สนามแม่เหล็กหลัก B0 ( x, y) ให้เป็นฟังก์ชันที่ขึ้นกับตาแหน่ง ดังนั้นเมื่อระบบมีการเปลี่ยนสถานะ
ของ Spin ก็จะปล่อย (Emit) คลืน่ แม่เหล็กไฟฟ้าออกมาที่ความถี่ตา่ งกันเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับตาแหน่ง
บทที่ 4 Time Evolution 4-19

( x, y )และเมื่อเราทาการสร้างแผนทีแ่ สดงความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่
ปล่อยออกมา กับตาแหน่งที่เป็นแหล่งกาเนิดของคลื่นนั้นๆ ก็จะเกิดเป็นภาพขึ้น

หัวข้อ 4.5 Ammonia Maser


ที่ผ่านมาเราได้นาระเบียบวิธีทางของกลศาสตร์ควอนตัม ที่เขียนโดยใช้ภาษาของ Bra-Ket และ Matrix
เข้ามาช่วยในการแก้ปัญหา ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่นักศึกษาได้เรียนรู้ในวิชาควอนตัมเบื้องต้น ที่มุ่งเน้นใน
เรื่องของ Wave Function เป็นหลัก

การวิเคราะห์โดยใช้ Matrix มีข้อดีคือทาให้เราสามารถวิเคราะห์ระบบที่มีความไม่ต่อเนื่อง ยกตัวอย่าง


เช่นระบบที่มี Basis State อยู่สองอัน ดังที่ได้แสดงในตัวอย่างในเรือ่ ง Spin ของอิเล็กตรอน ซึ่งมี
สถานะพื้นฐานคือ  Z และ Z

อย่างไรก็ตาม ระบบทีม่ ี Basis State อยู่สองสถานะมิได้จากัดอยู่แต่เพียง Spin ของอนุภาคแต่เพียง


เท่านั้น ดังจะได้ยกตัวอย่างในเรือ่ งของ Ammonia Maser ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงสร้างของโมเลกุล
NH3 หรือ Ammonia

Ammonia (NH3)
N

H
H
H

1 2
ภาพ 4.8 แสดงโครงสร้างทางเคมีของโมเลกุลแอมโมเนีย โดยทีอ่ ะตอมไฮโดรเจนทั้งสามวางตัว
อยู่ในระนาบเป็นลักษณะสามเหลีย่ มด้านเท่า ในขณะที่อะตอมไนโตรเจน สามารถที่จะอยู่ ณ
ตาแหน่งด้านบน หรือ ด้านล่างของฐาน
บทที่ 4 Time Evolution 4-20

โมเลกุลแอมโมเนียประกอบด้วยอะตอมไนโตรเจน ซึ่งมีพันธะเคมีกบั ไฮโดรเจนอีก 3 อะตอม


โครงสร้างของ NH3 จะปรากฏว่ามีอะตอมไฮโดรเจนทั้งสาม วางตัวอยู่ในระนาบเป็นลักษณะ
สามเหลี่ยมด้านเท่า ดังแสดงในภาพ 4.8 ในขณะที่อะตอมไนโตรเจน สามารถที่อยู่ ณ ตาแหน่ง
ด้านบน หรือ ด้านล่างของฐาน เพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ เราเรียกสถานะของระบบที่มี
ตาแหน่งของไนโตรเจนอะตอมต่างกันนี้ว่า

1  สถานะที่อะตอมไนโตรเจน อยู่ด้านบน
2  สถานะที่อะตอมไนโตรเจน อยู่ด้านล่าง

เพื่อที่จะวิเคราะห์หา Eigen Energy และ Eigenstate ของระบบทีม่ ีสถานะทีไ่ ม่ต่อเนื่องดังกล่าว เรา


เริ่มด้วยการเขียน Hamiltonian ให้อยู่ในรูปของ Matrix

 1 Hˆ 1 1 Hˆ 2 
Hˆ    _________________________ (4.43)
1 , 2 basis  2 Hˆ 1 2 Hˆ 2 

แล้วทาการคานวณ Matrix Element 1 Hˆ 1 และ 2 Hˆ 2 ในสมการ (4.43) ก่อน ด้วยการ


สังเกตว่า เทอม 1 Hˆ 1 สามารถตีความได้ว่าเป็น Expectation Value ของ พลังงานเมื่อกาหนดให้
ระบบอยู่ในสถานะ 1

เนื่องจากระบบมีความสมมาตร เราบอกได้วา่ สถานะ 1 และ 2 ควรจะมีพลังงานเท่ากัน ซึ่ง


กาหนดให้มีค่าเท่ากับตัวแปร E0 เพราะฉะนัน้

1 Hˆ 1  2 Hˆ 2  E0 _________________________ (4.44)

สาหรับเทอม 1 Hˆ 2 และ 2 Hˆ 1 ในสมการ (4.43) นั้น เราสามารถตีความได้ โดยใช้ Time


Evolution Operator ในสมการ (4.3) เข้าช่วย กล่าวคือ สามารถเขียน Hamiltonian ให้อยู่ในรูป
Infinitesimal Time Evolution Operator ได้ว่า

i i
Hˆ    Uˆ (dt ) _________________________ (4.45)
dt dt

เพราะฉะนั้น
i i
1 Hˆ 2  1   Uˆ ( dt ) 2
dt dt
_________________________ (4.46)
i i
 12  1 Uˆ (dt ) 2
dt dt
บทที่ 4 Time Evolution 4-21

ถ้าเรากาหนดให้สถานะพื้นฐาน 1 และ 2 นั้น Orthogonal กล่าวคือ 1 2 0 จะได้ว่า

1 Hˆ 2  1 Uˆ (dt ) 2 _________________________ (4.47)

ทางขวามือของสมการ (4.47) มีความหมายว่า ถ้าเตรียมระบบให้อยู่ในสถานะ 2 และเมื่อเวลาผ่าน


ไปเป็นเวลา dt (นั่นคือความหมายของ Time Evolution Operator) ถามว่า Probability
Amplitude ที่ระบบจะเปลี่ยนสถานะมาเป็น 1 มีค่าเป็นเท่าใด?

กล่าวโดยสรุป เทอม 1 Hˆ 2 มีความสัมพันธ์กับความน่าจะเป็นที่ระบบจะเปลีย่ นสถานะจาก


2  1 เมื่อเวลาผ่านไป แต่เนื่องจากเรายังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจนในทางคณิตศาสตร์ที่
เกี่ยวข้องกับโมเลกุลแอมโมเนีย ในขั้นนี้ จึงทาได้แต่เพียงนิยามให้ 1 Hˆ 2 มีค่าเป็นค่าคงที่
เฉพาะตัวอันหนึ่ง เรียกว่า 1 Hˆ 2   A

เพราะฉะนั้น Hamiltonian Matrix ดังในสมการ (4.43) มีค่าเป็น

 E  A
Hˆ   0
1 , 2 basis   A E0 
_________________________ (4.48)

เพื่อที่จะหา Eigen Energy หรือ Eigenvalue ของ Hamiltonian ดังกล่าว เราเขียนสมการให้อยู่ใน


รูปของ Eigen Equation ดังต่อไปนี้

Ĥ   E  _________________________ (4.49)

หรือ ในรูปของ Matrix-Vector

 E0  A
  A E  c  Ec _________________________ (4.50)
 0

พิจารณาสมการ Eigen ดังที่แสดงในสมการ (4.50) ซึ่งเป็น Matrix ขนาด 2x2 จะปรากฏว่ามีผล


เฉลยที่เรียกว่า Eigenvector c และ Eigenvalue E อยู่ทั้งสิ้น 2 ผลเฉลยด้วยกัน ดังทีไ่ ด้ทบทวน
มาแล้วในหัวข้อ 2.3 ของบทที่ 2

ผลเฉลย Eigenvector และ Eigenvalue ทั้งสอง ของสมการ (4.50) ก็คือ


บทที่ 4 Time Evolution 4-22

 1   1 
   
2 2
c1   , EI  E0  A และ c2   , EII  E0  A ___________ (4.51)
 1   1 
   
 2  2

เนื่องจาก Matrix ที่เรากาลังหาผลเฉลยของสมการ Eigen อยู่ในขณะนี้ เป็น Hamiltonian Matrix


เราเรียก E1 , E2 ว่าเป็น Eigen Energy และเรียก c1 , c2 ว่าเป็น Eigenstate

และนี่ก็เป็นครั้งแรกที่เราได้มีโอกาสใช้ Matrix Mechanics ในการหาค่า Eigenvector และ


Eigenvalue ของ Hamiltonian Operator ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะได้ทาความเข้าใจให้ลึกซึ้งใน
ลาดับต่อไป

Eigenstate และ Eigenvalue ของ Hamiltonian เชิงลึก


ในตอนต้นของเนื้อหา เราได้กล่าวถึง Time Evolution Operator Û ซึ่งเป็น Operator ทีท่ าหน้าที่
ในการกระทากับสถานะใดๆ และทาให้สถานะนัน้ ๆเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ทั้งนี้ Time Evolution
Operator Û สัมพันธ์อยู่กับ Hamiltonian Operator Ĥ ดังสมการ (4.4) ซึ่งก็คือ

iHˆ t

Uˆ (t )  e ________________________ สมการ (4.52)

เพราะฉะนั้น ถ้ากาหนดให้ระบบที่อยู่ในสถานะ  เป็น Eigenstate ของ Hamiltonian


Operator Ĥ ผลที่ตามมาก็คือ สถานะ  จะเป็นสถานะที่เสถียร ด้วยเหตุที่ Time Evolution
Operator Û ไม่สามารถทาให้สถานะ  เปลี่ยนแปลงไปกับเวลาได้เลย

เพื่อที่จะให้นักศึกษาเข้าใจถึงคุณสมบัติในแง่นี้ เราเริ่มด้วยการนิยาม  ด้วยสมการ

Ĥ   E  ________________________ สมการ (4.53)

และเมื่อนา Operator ในสมการ (4.52) เข้ามากระทากับสถานะ  จะได้

  iHˆ t 
 
ˆ
U (t )   e  ________________________ สมการ (4.54)
 

สังเกตว่า Operator ทางขวามือของสมการ (4.54) นั้น เขียนอยู่ในลักษณะของฟังก์ชันเอ็กซ์โพเนน


เชียล ซึ่งยากต่อการทาความเข้าใจในการที่จะนาเอาฟังก์ชันดังกล่าว เข้าไปกระทากับสถานะ 
บทที่ 4 Time Evolution 4-23

เพราะฉะนั้น เราจะเขียน Operator ทางขวามือเสียใหม่ให้อยู่ในรูปของพหุนาม โดยใช้ Taylor


Expansion

  ˆ   ˆ  2  ˆ 3 
 iH t iH t iH t 
Uˆ (t )   1         
     
       
____________ สมการ (4.55)
  i t   it 
2
 it 
3 
 1    Hˆ    Hˆ 2    Hˆ 3   
       

จากนั้นใช้สมบัติการกระจายของ Operator เพื่อกระจายแต่ละเทอมของพหุนาม ให้ต่างก็เข้าไป


กระทากับสถานะ 

2 3
 it   it   it 
Uˆ (t )   1     Hˆ     Hˆ 2     Hˆ 3   _____ สมการ (4.56)
     

อาศัยสมบัติความเป็น Eigenstate ของ Ĥ ดังในสมการ (4.53) ทาให้สมการข้างต้นเปลีย่ นรูปเป็น


2 3
 it   it   it 
Uˆ (t )   1     E     E 2     E 3   _____ สมการ (4.57)
     

จะสังเกตได้ว่า ทุกๆเทอมทางขวามือของสมการ (4.57) นั้น ล้วนแล้วแต่อยู่ในรูปของสถานะ  คูณ


อยู่กับตัวเลขธรรมดา เพราะฉะนัน้ เราสามารถแยกตัวประกอบเอาตัวเลขเหล่านีเ้ ข้ามารวมกันเป็น
ผลบวก ซึ่งจะได้ว่า

  i t   it 
2
 it 
3 
Uˆ (t )   1    E    E 2    E 3  
       
_____ สมการ (4.58)
  iEt   iEt 2  iEt 3 
 1        
       

เทอมในวงเล็บของสมการข้างต้น สามารถลดรูปให้อยู่ในรูปของฟังก์ชันเอ็กซ์โพเนนเชียล ได้ว่า


iEt

Uˆ (t )   e  _________________ สมการ (4.59)
บทที่ 4 Time Evolution 4-24

สมการ (4.59) แสดงให้เห็นชัดเจนว่า เมื่อ Time Evolution Operator Uˆ (t ) กระทากับสถานะ 


ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังเป็นสถานะ  เช่นเดิม (คูณด้วยค่าคงที่ ซึ่งไม่มีนัยยะอะไรเป็นสาคัญ) หรือกล่าว
อีกนัยหนึ่ง สถานะ  ซึ่งเป็น Eigenstate ของ Hamiltonian นั้น เป็นสถานะที่เสถียร และ ไม่
เปลี่ยนแปลงกับเวลานั่นเอง

ในวิชากลศาสตร์ควอนตัมเบื้องต้น เราใช้เวลาส่วนใหญ่ในการแก้สมการ Schrödinger เพื่อหา


Eigenstate ของระบบ ยกตัวอย่างเช่น ระบบของอะตอมไฮโดรเจน ซึ่งปรากฏว่ามี Eigenstate ที่
สื่อให้เห็นถึงการกระจายตัวของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนเป็นรูปทรงกลม (s-Orbital) หรือ รูปดัมเบล
(px, py, px-Orbital) ที่เป็นเช่นนี้มิได้หมายความว่า อิเล็กตรอนไม่สามารถที่จะกระจายตัวเป็นกลุ่ม
หมอกรูปทรงอื่นๆเช่น รูปหมวกกันน็อก หรือ รูปมะม่วงได้

แท้ที่จริงแล้วกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนภายในอะตอมไฮโดรเจน จะปรากฏอยู่ในรูปใดก็ได้ เพราะไม่มี


กฎข้อใดของกลศาสตร์ควอนตัม ที่จะจากัดสถานะของระบบให้อยู่ในรูปแบบใดแบบหนึ่ง

แต่ที่เราให้ความสาคัญเป็นพิเศษกับสถานะของระบบที่เป็น Eigenstate (ของ Hamiltonian


Operator) ก็เพราะว่า มันเป็นสถานะที่เสถียร ดังนั้นจึงเป็นสถานะที่มีโอกาสที่จะพบบ่อยทีส่ ุดใน
ธรรมชาตินั่นเอง

วกกลับมาที่ Eigenstate ของโมเลกุลแอมโมเนีย จากสมการ (4.51) เราพบว่าระบบมี Eigenstate


อยู่สองสถานะด้วยกันคือ

1 1
I  1  2 ___________________ (4.60)
2 2
และ
1 1
II  1  2 ___________________ (4.61)
2 2

เพื่อความสะดวก เราเรียก Eigenstate ทั้งสองนี้วา่ I และ II ตามลาดับ Eigenstate ทั้งสอง


ดังในสมการ (4.60) และ (4.61) แสดงให้เห็นว่า สถานะที่อะตอมไนโตรเจนอยูด่ ้านบน แทนด้วย 1
นั้น ไม่ได้เป็นสถานะที่เสถียร ที่ไม่เสถียรก็เพราะด้วยเหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่ว่า 1 มิได้เป็น
Eigenstate ของ Hamiltonian Matrix และด้วยเหตุผลทางฟิสกิ ส์ที่ว่า 1 มีโอกาสที่จะเปลีย่ นไป
เป็น 2 ยกตัวอย่างเช่น อะตอมไนโตรเจนมีโอกาสที่จะเคลื่อนที่จะด้านบนลงมาข้างล่าง นั่นเอง

สถานะ I และ II นั้น ต่างก็เป็น Eigenstate ของ Ĥ ทาให้มันไม่เปลี่ยนแปลงกับเวลา


สถานะทั้งสองดังกล่าว เป็นสถานะที่เราไม่อาจจะตัดสินใจได้ว่าอะตอมไนโตรเจน อยูด่ ้านบนหรือ
บทที่ 4 Time Evolution 4-25

ด้านล่าง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นสถานะผสม ซึ่งในทางคณิตศาสตร์เราใช้คาว่า


Superposition

นอกจากนี้ สถานะ I และ II มีพลังงานเท่ากับ E0  A และ E0  A ตามลาดับ ส่งผลให้


เมื่อระบบมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างสถานะทั้งสอง จะมีการปลดปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมี
พลังงานเท่ากับผลต่างของพลังงาน hv  EII  EI  2 A

แบบฝึกหัด 4.8 จากการทดลองพบว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาจากการเปลี่ยนแปลง


สถานะมีความยาวคลื่นเท่ากับ 1 1 cm จงให้ความสัมพันธ์ในสมการ (4.47) เพื่อคานวณหาความ
4
น่าจะเป็นต่อหนึ่งหน่วยเวลา ที่ระบบจะมีการเปลีย่ นสถานะจาก 2 1 (เรียกกันโดยทั่วไปว่า
Transition Rate)

Dynamics ของโมเลกุล Ammonia


สมมุติว่า ณ เวลา t  0 กาหนดให้อะตอมไนโตรเจน อยู่ ณ ตาแหน่งด้านบนของระนาบที่ประกอบกัน
ขึ้นจาก hydrogen อะตอมทั้งสาม หรืออีกนัยหนึ่ง

(0)  1 ___________________ (4.62)

ในสภาวะเช่นนี้ เราอาจต้องการทีจ่ ะทราบว่า สถานะของระบบดังกล่าว เปลีย่ นแปลงไปเช่นใดเมื่อ


เวลาผ่านไป โดยใช้ Time Evolution Operator เราสามารถคานวณหาสถานะ ณ เวลาใดๆได้วา่

iHˆ t

(t )  Uˆ (t ) (0)  e (0) ___________________ (4.63)

และจากสมการ (4.60) - (4.61) เราสามารถเขียน 1 ให้อยู่ในรูป superposition ของ I และ


II ได้ว่า

1 1
1  I  II ___________________ (4.64)
2 2

เพราะฉะนั้น สมการ (4.63) กลายเป็น


บทที่ 4 Time Evolution 4-26

iHˆ t
  1 1 
 (t )  e  I  II 
 2 2 
___________________ (4.65)
iHˆ t iHˆ t
1  1 
 e I  e II
2 2

และโดยอาศัยสมบัติของสถานะ I และ II ที่ต่างก็เป็น Eigenstate ของ Ĥ จะได้ว่า

iEI t iEII t
1  1 
 (t )  e I  e II
2 2
i  E0  A  t i  E0  A  t
___________________ (4.66)
1  1 
 e I  e II
2 2

เมื่อทราบสถานะของระบบ ณ เวลาใดๆ ดังแสดงในสมการ (4.66) เราก็สามารถคานวณความน่าจะ


เป็นที่จะพบอะตอมไนโตรเจน ณ ด้านบนของฐานสามเหลี่ยม ซึ่งก็คอื

2 A 
1  (t )  cos 2  t  ___________________ (4.67)
 

แบบฝึกหัด 4.9 จงพิสูจน์สมการ (4.67)

N 1 NH3 ป จ 1  2
A  
cos2  t  1
t
H   2A
H 0.8

0.6
H
0.4

0.2
2
timet
ภาพ 4.9 แสดงการเปลี่ยนตาแหน่งของอะตอมไนโตรเจน เมื่อเวลาผ่านไป สมมุติให้เมื่อเวลา
t  0 อะตอมไนโตรเจนอยู่ด้านบนของฐาน จะได้ว่า Probability ที่จะพบมัน ยังคงด้านบนนั้น
เป็นฟังก์ชันของเวลา
บทที่ 4 Time Evolution 4-27

จากการทดลองพบว่า ในกรณีของโมเลกุลแอมโมเนีย ความถี่ที่อะตอมไนโตรเจนมีการสั่นขึ้นลง


ระหว่างด้านบนและล่างมีค่าเท่ากับ 24GHz

Maser
ในขัน้ ต้นของการวิเคราะห์โมเลกุลแอมโมเนีย เราใช้ความสมมาตรของระบบในการอธิบายว่า พลังงาน
ของสถานะ 1 และ 2 นั้นมีค่าเท่ากัน คือ E0  1 Hˆ 1  2 Hˆ 2 ในหัวข้อ 4.5 นี้ เราจะมา
พิจารณาระบบที่มคี วามซับซ้อนมากขึ้น และจะส่งผลให้ระดับพลังงานของทั้งสองสถานะดังกล่าวมี
ความแตกต่างกัน

(NH3)

E
-
Dipole Moment +
e e
Dipole Moment
+
-

1 2
ภาพ 4.10 เนื่องจากการกระจายตัวของอิเล็กตรอนภายโมเลกุล ทาให้เกิดความไม่สม่าเสมอของ
ประจุไฟฟ้าขึ้น เกิดเป็นประจุลบสุทธิไปกระจุกตัวอยู่บริเวณไนโตรเจน และ เกิดเป็นประจุบวก
สุทธิไปกระจุกตัวอยู่บริเวณไฮโดรเจน ความไม่สม่าเสมอลักษณะดังกล่าวนี้ทาให้เกิด Electric
Dipole Moment e

ภาพ 4.10 แสดงลักษณะของ Electric Dipole Moment e ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติภายในโมเลกุล


แอมโมเนีย ทิศทางของ e ขึ้นอยู่กับตาแหน่งของอะตอมไนโตรเจน หรืออีกนัยหนึ่ง ขึ้นอยู่กับ
ว่าระบบอยู่ในสถานะ 1 หรือ 2 นั่นเอง

เมื่อเราป้อนสนามไฟฟ้า E ภายนอกเข้าไปในระบบ ย่อมทาให้เกิดอันตรกิริยาระหว่าง Electric


Dipole Moment และ สนามไฟฟ้า ซึ่งมีพลังงานของอันตรกิริยาคือ e  E
บทที่ 4 Time Evolution 4-28

เมื่อมีอันตกริยาเพิ่มเติมเช่นนี้ Hamiltonian Matrix ดังในสมการ (4.48) ก็ย่อมต้องมีการ


ปรับเปลีย่ นให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ดังต่อไปนี้

 E0  e E A
Hˆ    __________________ (4.68)
1 , 2 basis  A E0  e E 
 

สมการ (4.68) เป็น Hamiltonian Matrix ของโมเลกุลภายใต้อิทธิพลของสนามไฟฟ้า จะสังเกตเห็น


ว่า พลังงานของสถานะ 2 มีค่าลดลงจากเดิม e E เนื่องจาก Electric Dipole Moment มี
ทิศทางเดียวกันกับสนามไฟฟ้าภายนอก ในขณะที่พลังงานของสถานะ 1 มีค่าเพิ่มขึ้นจากเดิม
e E เนื่องจากมีทิศสวนทางกับสนามไฟฟ้าดังกล่าว

เพื่อที่จะหาระดับพลังงานของระบบ เราสามารถหาผลเฉลยของ Eigenvalue ของ Matrix ขนาด 2x2


ในสมการ (4.68) ซึ่งจะได้ว่า Eigen Energy ของระบบก็คือ

2
E  E0 e2 E  A2 _________________________ (4.69)

อย่างไรก็ตาม เราสามารถที่จะประมาณระดับพลังงานในสมการ (4.69) ให้มีรูปแบบทางคณิตศาสตร์ที่


ง่ายขึ้น โดยใช้กลไกการประมาณค่าที่เรียกว่า Taylor Expansion เพราะฉะนั้น
2
e2 E
E  E0 A _________________________ (4.70)
2A

Maser (Microwave Amplification by Stimulated Emission)


ป ป 
 
2
   e E 
Fz   E ( z )    
z z 2A
 
NH3

Wave Cavity
ค Resonance ป 24GHz
ภาพ 4.11 แสดงหลักการทางานของ Maser ที่สามารถสร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้าสูง ได้
คล้ายๆกัน Laser ที่เราคุ้นเคยกันดี เพียงแต่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ได้จาก Maser มีความถี่ 24GHz
บทที่ 4 Time Evolution 4-29

ดูผิวเผิน สมการ (4.70) เป็นเพียงความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานของระบบ และความเข้มของ


สนามไฟฟ้า E ที่ป้อนเข้าไปในระบบ อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ดงั กล่าว เป็นหนึ่งในปัจจัยสาคัญ
ที่ทาให้ J.P. Gordon, H. J. Zeiger, และ C.H. Townes [Phys. Rev. 99, 1264-1274 (1955)] ได้
ประสบความสาเร็จในการสร้างสิ่งที่เรียกว่า Maser ซึ่งย่อมาจาก Microwave Amplification by
Stimulated Emission โดยทีต่ ่อมาในปี 1964 Townes ได้รบั รางวัลโนเบลอันเนื่องมาจากงาน
ของเขาที่เกี่ยวข้องกับ Maser และ Laser

ภาพ 4.11 แสดงหลักการทางานของ Maser ซึ่งประกอบด้วยลาของโมเลกุลแอมโมเนีย ที่แต่เดิมมีทั้งที่


อยู่ในสถานะ I และ II ดังแสดงด้วยวงกลมกลวงและวงกลมตันตามลาดับ จากนั้นลาของ
โมเลกุลผ่านเข้าสู่บริเวณที่ใช้เป็นตัวแยกสถานะทั้งสองออกจากกัน

จากสมการ (4.70) ถ้าเราออกแบบให้ความเข้มของสนามไฟฟ้าเป็นฟังก์ชันที่เปลี่ยนไปตามแกน z


กล่าวคือ E  E( z) จะได้ว่า พลังงานของโมเลกุลก็ย่อมต้องขึ้นกับพิกัดในแกน z ที่โมเลกุลนั้นๆ
ปรากฏอยู่
2
e2 E( z )
E ( z )  E0 A _________________________ (4.71)
2A

และเมื่อพลังงานเป็นฟังก์ชันของตาแหน่ง เราสามารถคานวณแรงทีก่ ระทาต่อโมเลกุลได้ว่า

 2 
Fz   E( z)   e E( z ) _________________________ (4.72)
z A z

จากเครื่องหมาย  ในสมการ (4.72) จะเห็นว่าแรงที่กระทาต่อโมเลกุลที่อยู่ในสถานะ I จะมีทิศ


ตรงกันข้ามกับของสถานะ II เพราะฉะนั้นลาของโมเลกุลจะแยกออกเป็นสองสายเนื่องจากความ
ไม่สม่าเสมอของสนามไฟฟ้าที่ถูกออกแบบไว้แต่ต้น

ในภาพ 4.11 เมื่อโมเลกุลแอมโมเนียผ่านออกมาจากส่วนที่ทาหน้าทีค่ ัดแยก เข้ามาสู่บริเวณที่ไม่มี


สนามไฟฟ้า Gordon, Zeiger, และ Townes ออกแบบให้โมเลกุลในสถานะ II ซึ่งมีพลังงาน
เท่ากับ EII  E0  A มารวมตัวกันอยู่ในภาชนะที่เรียกว่า “Resonance Wave Cavity” ที่
ออกแบบรูปร่างและขนาดของภาชนะให้เอื้อต่อการปลดปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ความถี่ 24 GHz
ซึ่งความถี่นี้เองเป็นความถี่ของคลืน่ แม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานเท่ากับ E  EII  EI

โมเลกุลแอมโมเนียทีโ่ ดนแยกออกมา เมื่อมาตัวกันใน Resonance Wave Cavity และ แต่เดิมอยู่ใน


สถานะ II จะเกิดการเปลี่ยนสถานะโดยฉับพลันและโดยพร้อมเพรียงกัน จาก II  I
บทที่ 4 Time Evolution 4-30

จึงเกิดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ความถี่ 24 GHz ที่มีความเข้มสูงปลดปล่อยออกมา นักศึกษาจะ


สังเกตได้ว่า กลไกการทางานของ Maser มีความคล้ายคลึงกับ Laser ที่นักศึกษาคุ้นเคยใน
ชีวิตประจาวัน เพียงแต่ว่า Maser เปล่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านความถี่ของ Microwave ในขณะที่
Laser อยู่ในย่านของความถี่แสงนั่นเอง

หัวข้อ 4.6 บทสรุป


ในบทที่ 4 ที่ว่าด้วย Time Evolution เราได้เริ่มรู้จักกับ Time Evolution Operator Uˆ (t ) ที่เมื่อ
กระทากับสถานะใดๆของระบบ จะทาให้มันเปลี่ยนแปลงไปกับเวลา หรืออีกนัยหนึ่ง

(t )  Uˆ (t ) (t  0)

เราสามารถที่จะเขียน Operator Uˆ (t ) ให้อยู่ในรูปที่สัมพันธ์กับ Hamiltonian ของระบบ ซึ่งก็คือ

ˆ
iHt

Uˆ (t )  e _________________________ (4.73)

ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่สาคัญยิ่งในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาเมื่อเราทราบ
สถานะเริ่มต้นของระบบ ซึ่งพอจะสรุปได้เป็น 3 ขั้นตอนโดยสังเขปดังต่อไปนี้

โจทย์ - สมมุติว่าเราทราบ Hamiltonian ของระบบที่กาลังศึกษาว่าเป็น Ĥ และสมมุตติ ่อไปอีกว่าเรา


ทราบสถานะของระบบเมื่อเวลาเริม่ ต้น (t  0) คาถามก็คือ ระบบจะมีการเปลีย่ นแปลงไป
อย่างไรในเวลาต่อมา

1. คานวณหา Eigenstate  n และ Eigen Energy En ทั้งหมดที่เป็นไปได้ของ Hamiltonian


Operator Ĥ หรืออีกนัยหนึ่ง ต้องทาการหาผลเฉลยของสมการ Hˆ  n  En  n

2. กระจายสถานะเริ่มต้น  (t  0) ให้อยู่ในรูป Superposition ของ Eigenstate ในข้อ 1

 (t  0)   cn  n
n

โดยที่สมั ประสิทธิ์ cn สามารถหาได้จาก cn   n (t  0)


บทที่ 4 Time Evolution 4-31

3. โดยอาศัยรูปแบบของ Time Evolution Operator ในสมการ (4.4) และอาศัยว่า n เป็น


Eigenstate ของ Ĥ ดังนั้น
ˆ
iHt

 (t )  e  (t  0)
ˆ
iHt

e  cn n
n

หรือ
iE t
 n
 (t )  e  cn n _________________________ (4.74)
n

โดยที่นักศึกษาจะสังเกตเห็นว่า ตัวอย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็น Spin Precession ของ


อิเล็กตรอน หรือ Ammonia Maser ก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นการนาผลของสมการ (4.74) มา
ประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ทั้งสิ้น

หัวข้อ 4.7 ปัญหาท้ายบท


แบบฝึกหัด 4.10 พิจารณาอนุภาคที่มี Spin = 1 โดยใช้ Eigenstate ของ Sˆz เป็นสถานะ
พื้นฐาน ( j, m  1, 1 , 1,0 , 1, 1  ) จงเขียน Eigenstate ทั้งสาม ของ Sˆ y ให้อยู่ในรูปของ
Superposition ของสถานะพื้นฐานดังกล่าว

gq ˆ
แบบฝึกหัด 4.11 Spin-1 Particle ซึ่งมี Magnetic Moment เท่ากับ  S วางอยู่
2m
ท่ามกลางสนามแม่เหล็ก B  B0k ณ เวลา t  0 ระบบอยู่ในสถานะ ที่เป็น Eigenstate ของ Sˆ y

และมี Eigenvalue จงหาว่า Sˆ x , Sˆ y , และ Sˆ z เปลี่ยนแปลงกับเวลาอย่างไร

แบบฝึกหัด 4.12 จงแก้สมการ (4.38) โดยตรงเพื่อหาผลเฉลยของ a(t ) และ b(t )


บอกใบ้ - (i) ใช้วิธีเปลี่ยนตัวแปรโดยกาหนดให้ a(t )  c(t )ei0t 2 และ b(t )  d (t )ei0t 2
จากนั้น เขียนสมการให้อยู่ในรูปของ c(t ) และ d (t ) (ii) จากนั้นกาหนดให้   0 เพื่อก็จะได้
สมการอนุพันธ์อันดับหนึ่ง (iii) เป็นให้เป็นสมการอนุพันธ์อันดับสองแล้วแก้สมการ

แบบฝึกหัด 4.13 กาหนดให้ Hamiltonian Matrix ของระบบทีม่ ีสถานะพื้นฐาน 3 อันด้วยกันคือ


1 , 2 , 3 มีค่าเท่ากับ
บทที่ 4 Time Evolution 4-32

 E0 0 A
H   0 E1 0 
 A 0 E0 

a) จงหาความน่าจะเป็นทีร่ ะบบจะเปลีย่ นจาก 1  2 และ 2  3 เมื่อเวลาผ่านไป


b) ถ้า ณ เวลา t  0 พบว่า (t  0)  2 จงหา  (t )
c) ถ้า ณ เวลา t  0 พบว่า (t  0)  3 จงหา  (t )
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-1

5 Interaction ของ Spin

เนื้อหา
5.1 Hyperfine Splitting
5.2 Two Spin 1 Particles
2
5.3 EPR Paradox
5.4 การรวมกันของ Angular Momentum
5.5 บทสรุป
5.6 ปัญหาท้ายบท

หัวข้อ 5.1 Hyperfine Splitting


ในเนื้อหาของกลศาสตร์ควอนตัมเบื้องต้น เราคุ้นเคยเป็นอย่างดีกบั การศึกษาระบบของอะตอม
ไฮโดรเจน ซึ่งอิเล็กตรอนมีอันตรกิริยากับโปรตอน ในลักษณะของแรงดึงดูดเชิงไฟฟ้าสถิต

Spin

2A ˆ ˆ
Hˆ  S1  S2
2
ภาพ 5.1 แสดง Spin-Spin Interaction ระหว่างอนุภาคอิเล็กตรอนและโปรตอนที่อยู่ใกล้เคียง
กันภายในอะตอมของไฮโดรเจน

นอกจากนี้ ยังมีอันตรกิริยาอีกประเภทหนึ่งที่เกิดจาก Magnetic Moment ของอนุภาคทั้งสอง ซึ่งมีชื่อ


เรียกโดยทั่วไปว่า Hyperfine Interaction ทั้งนี้ เนื่องจากอิเล็กตรอนและโปรตอนต่างก็เป็นอนุภาค
ที่มี Spin s  1 ทาให้มี Magnetic Moment เป็นของตัวเอง และเมื่ออยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน
2
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-2

ภายในอะตอม จึงมีอันตรกิรยิ าระหว่างกันคล้ายกับแท่งแม่เหล็กสองแท่ง ดังในภาพ 5.1 ซึ่งในกรณี


ดังกล่าว เราสามารถเขียน Hamiltonian ได้ว่า

2A
Hˆ  2 Sˆ1  Sˆ2 _________________________ สมการ (5.1)

สมการ (5.1) แสดงให้เห็นว่าพลังงานของระบบขึ้นอยู่กับ Sˆ1  Sˆ2 ซึ่งก็คือมุมระหว่าง Spin ของอนุภาค


ทั้งสอง ในภาพ 5.1 (ขวา) เราใช้ทิศทางของแม่เหล็กสองแท่งเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพพจน์ของ
อันตรกิริยาดังกล่าว นอกจากนี้ พลังงานของระบบยังจะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆอาทิเช่น ระยะห่าง
ระหว่างอนุภาคทั้งสอง และ Magnetic Moment ของอนุภาคคู่กรณี เป็นต้น

แต่เนื่องจากปัจจัยอื่นๆเหล่านี้ มีความซับซ้อนเกินกว่าขอบเขตของเนื้อหาในปัจจุบัน เราจึงทาได้ดี


ที่สุดโดยการแทนด้วยค่าคงที่ A และการหารด้วย 2 ในสมการ (5.1) ก็เพื่อที่จะบังคับให้ A มี
หน่วยเป็นพลังงานนั่นเอง

Basis State ของระบบ Spin ที่มี 2 อนุภาค การที่จะคานวณหาพลังงานของระบบ สามารถทาได้


โดยเปลี่ยน Hamiltonian Operator ดังในสมการ (5.1) ให้อยู่ในรูปของ Matrix จากนั้นจึงทาการ
แก้หาค่า Eigen Energy และ Eigenstate ในลาดับต่อไป

แต่การที่จะสร้าง Hamiltonian Matrix นั้น เราจาเป็นจะต้องกาหนด Basis State ซึ่งก็คือสถานะ


พื้นฐานทั้งหมดที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น ในเมื่อเรากาหนดให้อนุภาคทัง้ สองมี Spin s  1 จึงมีโอกาสที่
2
จะเกิดขึ้นได้ทั้งหมด 4 กรณีด้วยกันคือ

 Z ,  Z ,  Z , Z , Z ,  Z , Z , Z __________________ สมการ (5.2)

สมการข้างต้นแสดงให้เห็นว่าเราเลือกที่จะวัด Spin ของทั้งสองอนุภาคตามแนวแกน z ซึ่งสัญลักษณ์


 Z , Z ในที่นี้หมายถึง Spin ของอนุภาคที่หนึ่งอยู่ในสถานะ  Z และ อนุภาคที่สองอยู่ใน
สถานะ Z ตามลาดับ

อย่างไรก็ตาม ดังที่ได้เห็นในการทดลองของ Stern-Gerlach ที่ว่าเราสามารถเลือกที่จะวัด Spin ของ


อนุภาคในทิศใดก็ได้ เพราะฉะนัน้ Basis State ดังในสมการ (5.2) มิได้เป็นเซตทีต่ ายตัว
ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะเลือกใช้เซตของ

 Z ,  X ,  Z ,  X , Z ,  X , Z ,  X
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-3

ซึ่งโดยหลักการแล้วมิได้ผดิ พลาดแต่อย่างใด แต่ในทางปฏิบัติจะนาไปสู่ความยุ่งเหยิงทางคณิตศาสตร์ที่


ไม่จาเป็น เพราะฉะนั้นในเนื้อหาของบทที่ 5 เมื่อกล่าวถึงอนุภาคที่มี Spin s  1 อยู่ 2 อนุภาค
2
ด้วยกัน เราจะใช้ Basis State ดังในสมการ (5.2) แต่จะใช้สัญลักษณ์ดังต่อไปนี้แทน เพื่อความ
กระชับ

 ,  ,  ,  __________________ สมการ (5.3)

เมื่อทราบ Basis State และความหมายของมันดังในสมการ (5.3) ทาให้เราทราบผลของ Operator


ต่างๆที่กระทากับสถานะพื้นฐานเหล่านี้

Sˆ1z     Sˆ1z     Sˆ1z     Sˆ1z    


2 2 2 2
Sˆ1   0 Sˆ1   0 Sˆ1    Sˆ1   

Sˆ1    Sˆ1    Sˆ1   0 Sˆ1   0


3 3 3 3
Sˆ12   2
 Sˆ12   2
 Sˆ12   2
 Sˆ12   2

4 4 4 4
_______________________ สมการ (5.4)

ดังแสดงในตารางข้างต้น การใช้สัญลักษณ์ Sˆ1z นั้นหมายถึงว่า Operator ดังกล่าวกระทากับเฉพาะ


สถานะของอนุภาคที่หนึ่งเท่านั้น โดยที่นักศึกษาสามารถทบทวนคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ
Operator Sˆ1z , Ŝ1 , Ŝ1 , และ Ŝ12 ได้จากบทที่ 3 ในเรื่อง Angular Momentum

และในทานองเดียวกันกับ Operator ที่กระทากับเฉพาะอนุภาคที่สอง จะได้ว่า

Sˆ2 z     Sˆ2 z     Sˆ2 z     Sˆ2 z    


2 2 2 2
Sˆ2   0 Sˆ2    Sˆ2   0 Sˆ2   

Sˆ2    Sˆ2   0 Sˆ2    Sˆ2   0


3 3 3 3
Sˆ22   2
 Sˆ22   2
 Sˆ22   2
 Sˆ22   2

4 4 4 4
_______________________ สมการ (5.5)

ผลของ Operator Sˆ1  Sˆ2 ที่กระทากับ Basis State อย่างไรก็ตาม Hamiltonian ดังในสมการ
(5.1) นั้น อยู่ในรูปของ Sˆ1  Sˆ2 ซึ่งเป็น Operator ที่เรายังไม่เคยได้วิเคราะห์ ดังนั้นในขั้นต้นนี้
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-4

จาเป็นต้องเปลี่ยนรูปของ Operator Sˆ1  Sˆ2 ให้อยู่ในรูปของ Operator ที่เราได้ศึกษามาแล้วข้างต้น


อันได้แก่ Sˆ1z , Ŝ1 , Ŝ1 และ Sˆ2 z , Ŝ2 , Ŝ2 เสียก่อน

ในทานองเดียวกันกับเวคเตอร์เราสามารถเขียน

 
2Sˆ1  Sˆ2  2 Sˆ1x i  Sˆ1 y j  Sˆ1z k  Sˆ2 x i  Sˆ2 y j  Sˆ2 z k  ____________ สมการ (5.6)
 2Sˆ1x Sˆ2 x  2Sˆ1 y Sˆ2 y  2Sˆ1z Sˆ2 z

นอกจากนี้ เราทราบว่า Raising และ Lowering operator Ŝ มีความสัมพันธ์กับ Sˆx และ Sˆ y อยู่
ในรูป

Sˆ  Sˆx  iSˆ y ____________ สมการ (5.7)

และในทางกลับกัน ถ้าจัดรูปสมการ (5.7) เสียใหม่ จะได้ว่า

Sˆ  Sˆ1 Sˆ  Sˆ Sˆ  Sˆ2 Sˆ  Sˆ2


Sˆ1x  1 Sˆ1 y  1 1 และ Sˆ2 x  2 Sˆ2 y  2
2 2i 2 2i
____________ สมการ (5.8)

เมื่อแทน Operator ดังในสมการ (5.8) เข้าในในสมการ (5.6) จะทาให้

2Sˆ1  Sˆ2  Sˆ1 Sˆ2  Sˆ1 Sˆ2  2Sˆ1z Sˆ2 z ____________ สมการ (5.9)

จะสังเกตเห็นว่า ทั้ง 3 เทอมในทางขวามือของสมการ (5.9) ล้วนอยู่ในรูปของ Operator ที่มีคุณสมบัติ


ดังที่ได้สรุปในสมการ (5.4) และ สมการ (5.5) ทาให้เราอยู่ในฐานะที่จะคานวณ Matrix Element
ของ Hamiltonian ได้โดยง่าย

แบบฝึกหัด 5.1 จงพิสูจน์สมการ (5.9) โดยเริ่มจากสมการ (5.6) และ (5.8)

Eigen Energy และ Eigenstate จากสมการ (5.9) เขียน Hamiltonian ได้ว่า

A

Hˆ  2 Sˆ1 Sˆ2  Sˆ1 Sˆ2  2Sˆ1z Sˆ2 z  ____________ สมการ (5.10)
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-5

เพราะฉะนั้น เราสามารถที่จะคานวณ Matrix Element ของ Hamiltonian โดยใช้สถานะพื้นฐาน


 ,  ,  ,  ซึ่งจะยกตัวอย่างใน 2 กรณี

1) A
 
 Hˆ   2  Sˆ1 Sˆ2  Sˆ1 Sˆ2  2Sˆ1z Sˆ2 z 

และเมื่ออาศัยสมบัติการกระจาย จะทาให้

A A 2A
 Hˆ   2  Sˆ1 Sˆ2   2  Sˆ1 Sˆ2   2  Sˆ1z Sˆ2 z 

จากนั้น นาสมการ (5.4) และ (5.5) มาเป็นตัวช่วยลดรูปเทอมทั้ง 3 ที่ปรากฏทางในขวามือของสมการ


ข้างต้น

A A 2A
 Hˆ   2  Sˆ1 Sˆ2   2  Sˆ1 Sˆ2   2  Sˆ1z Sˆ2 z 

2A
 2
 
22
A
 Hˆ  
2

และในกรณีของตัวอย่างที่สอง

2) A
 
 Hˆ   2  Sˆ1 Sˆ2  Sˆ1 Sˆ2  2Sˆ1z Sˆ2 z 

ซึ่งเมื่อกระจายเทอมข้างต้น และใช้คุณสมบัติดังในสมการ (5.4) และ (5.5) เข้าช่วย จะได้ว่า

A A A
 Hˆ   2  Sˆ1 Sˆ2   2  Sˆ1 Sˆ2   2 2  Sˆ1z Sˆ2 z 

A A   
 2
   2  
2  2  2 
 
2
  
 Hˆ   0

แบบฝึกหัด 5.2 จงคานวณ Matrix Element ให้ครบทั้ง 16 เทอม Matrix ที่ได้ มีสมบัติเป็น
Hermitian Matrix หรือไม่ ?

และเมื่อคานวณครบทั้ง 16 กรณีจะได้ว่า Hamiltonian Matrix คือ


บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-6

A 2 0 0 0 
 0 A 2 A 0 
Hˆ   _______ สมการ (5.11)
 ,  ,  ,  basis  0 A A 2 0 
 
 0 0 0 A 2

Hamiltonian Matrix ดังสมการข้างต้นมี Eigenstate อยู่ 4 สถานะด้วยกัน ในจานวนนี้ มีอยู่ 3


สถานะที่มีพลังงานเท่ากันคือ  A และอีกสถานะหนึ่งมีพลังงานเท่ากับ  3 A ซึ่งสถานะเหล่านี้
2 2
เขียนให้อยู่ในรูปของเวคเตอร์ได้วา่

1  0 0 
0    0 
 , 1  1   A
0 
, ล้วนมี Eigenvalue เท่ากับ 
2  1 0  2
     
0  0 1 
และ
0
 
1  1 3A
มี Eigenvalue เท่ากับ 
2  1 2
 
0

เพราะฉะนั้น เราสรุปได้ว่า Hyperfine Interaction ระหว่าง Spin ของอิเล็กตรอนและ Spin ของ


โปรตอนนั้น ระบบจะมี Eigenstate หรือ สถานะที่เสถียรอยู่ทั้งสิน้ 4 สถานะด้วยกัน โดยที่แต่ละ
สถานะมีการจัดเรียงตัวของ Spin และมีพลังงานดังต่อไปนี้

 

1 1  A
    Eigen Energy คือ  _______ สมการ (5.12)
2 2  2
 

1 1 3A
   Eigen Energy คือ  _______ สมการ (5.13)
2 2 2

แบบฝึกหัด 5.3 สมมุติว่าเราต้องการขยายขอบเขตของการวิเคราะห์ Hyperfine Interaction ให้


กว้างขึ้น ที่จากเดิมจากัดอยู่แต่เพียง Spin Angular Momentum ให้ครอบคลุมไปถึง Angular
Momentum โดยทั่วไป (Spin Angular Momentum + Orbital Angular Momentum) ดังที่ได้
กล่าวในบทที่ 3 ซึ่งใช้สัญลักษณ์ jm เป็นตัวบ่งบอกถึงสถานะของอนุภาคใดๆ ถ้าเรากาหนดให้
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-7

1 1 1 1 
อนุภาคโปรตอน มี Basis State j1m1   ,  , ,  
2 2 2 2 
3 3 3 1 3 1 3 3 
อนุภาคอิเล็กตรอน มี Basis State j2 m2   ,  , ,  , ,  , ,  
2 2 2 2 2 2 2 2 
a) ในระบบที่มีทั้งโปรตอนและอิเล็กตรอน จะพบว่า มีจานวน Basis State ทั้งสิ้น 2x4 = 8 สถานะ
จงเขียนสถานะทั้ง 8 ดังกล่าว ให้อยู่ในรูป j1m1; j2 m2
b) ในทานองเดียวกันกับสมการ (5.1) เราสามารถเขียน Hamiltonian ได้ว่า
Hˆ  2  Jˆ1 Jˆ2  Jˆ1 Jˆ2  2 Jˆ1z Jˆ2 z  จงสร้าง Hamiltonian Matrix ขนาด 8x8 และหา
A

Eigen Energy ของระบบ

สืบเนื่องจากพลังงานของระบบดังในสมการ (5.13) และ สมการ (5.12) จะสังเกตว่าอะตอม


ไฮโดรเจน ซึ่งแต่เดิมถ้านาเอาเฉพาะ Coulomb Interaction มาวิเคราะห์ จะมีพลังงาน Ground
State อย่างหยาบๆ เท่ากับ E0  13.6eV ดังในภาพ 5.2 เมื่อนาเอา Hyperfine Interaction
เข้ามาร่วมพิจารณาเพื่อให้ได้ระดับพลังงานที่ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น พบว่าแท้จริงแล้ว ระดับ
พลังงานของอะตอมไฮโดรเจนนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะการเรียงตัวของ Spin ของอนุภาคทั้งสองด้วย
ในแง่ของระดับพลังงานนั้น แยกออกเป็น 2 ระดับดังภาพ

1 1
    
2 2
E0  13.6eV
5.9 106eV

1 1
  
  21cm 2 2

ภาพ 5.2 การเกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ความยาวคลื่น 21cm เนื่องมาจาก Hyperfine


Interaction ระหว่าง Spin ของอิเล็กตรอนและ Spin ของโปรตอน

ทั้งนี้จะพบว่า เมื่ออะตอมไฮโดรเจนมีการเปลี่ยนแปลงสถานะเกิดขึ้น ก็จะต้องปลดปล่อยคลื่น


แม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานเท่ากับ

A  3A 
h  E    2A
2  2 
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-8

ในปี 1944 Hendrik van de Hulst ได้ทานายความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าวในทางทฤษฏี


ว่าอยู่ในช่วง 1420.4058 MHz หรือที่ความยาวคลื่นประมาณ 21cm ซึ่งต่อมาในปี 1951 Ewen
และ Purcell ได้พิสูจน์ด้วยการทดลองว่าคลื่นดังกล่าวมีอยู่จริง (Nature. 168:356) คลื่นวิทยุที่
ความถี่ดังกล่าวนี้มคี วามสาคัญมากในทางดาราศาสตร์ เพราะว่าเอกภพประกอบด้วยกลุ่มแก็ส
ไฮโดรเจน จานวนมหาศาล และในปี 1951 Muller และ Oort (Nature. 168:357) ได้สร้างแผนที่
ของกาแล็กซีทางช้างเผือกขึ้นเป็นครั้งแรกโดยอาศัยการตรวจวัดความเข้มของสัญญาณในช่วง 21cm
ซึ่งได้ค้นพบเป็นครั้งแรกว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกมีโครงสร้างที่เป็น Spiral หรือ ก้นหอย นั่นเอง

หัวข้อ 5.2 Two Spin 1


2
Particles

ในการศึกษา Eigenstate ของ Hyperfine Interaction Hamiltonian นั้น เราพบว่าสถานะทั้ง 3


ในสมการ (5.12) มีพลังงานที่เท่ากัน จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าสถานะทั้ง 3 ดังกล่าว ควรจะมีสมบัติบาง
ประการทีเ่ หมือนกัน

จริงอยู่ ระบบที่กาลังพิจารณาโดยภาพรวมแล้วนั้นประกอบด้วย 2 อนุภาค แต่ Basis State ที่เรา


นามาใช้ เป็นสมบัติที่กล่าวถึงรายละเอียดเฉพาะตัวของอนุภาคนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น  เป็น
สถานะที่อนุภาคที่หนึ่งมี Spin Up และอนุภาคทีส่ องมี Spin Down

ในทางตรงกันข้าม เราอาจจะสนใจคุณสมบัตโิ ดยรวมของทั้งระบบ อาทิเช่น Total Spin Angular


Momentum ตามแนวแกน z หรือ Total Spin Angular Momentum ยกกาลังสอง และการที่
จะได้มาซึ่งปริมาณทางฟิสิกส์เหล่านี้ ก็ทาได้โดยการสร้าง Operator ขึ้นมา และ หา Eigenvalue ของ
มัน โดยเราสามารถนิยาม

Sˆz  Sˆ1z  Sˆ2 z __________________ สมการ (5.14)


และ
 
Sˆ 2  Sˆ  Sˆ  Sˆ1  Sˆ2  Sˆ1  Sˆ2  _______________ สมการ (5.15)
Sˆ 2  Sˆ12  Sˆ22  2 Sˆ1  Sˆ2

ด้วยอาศัยรูปแบบของ Operator ในสมการ (5.15) และอาศัยสถานะพื้นฐาน


Ŝ 2
 ,  ,  ,  เราเขียน Ŝ 2 ในรูปของ Matrix ได้ว่า
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-9

2 0 0 0
 1 1 0 
ˆ 2 0
S 
2
0
_______ สมการ (5.16)
 ,  ,  ,  basis 1 1 0
 
0 0 0 2

ซึ่ง Matrix ดังกล่าวมี Eigenvector และ Eigenvalue ดังต่อไปนี้

1  0 0 
0    0 
 , 1  1  
0 
, ล้วนมี Eigenvalue เท่ากับ 2 2
 1(1  1) 2
2  1 0 
     
0  0 1 
และ
0
 
1  1
มี Eigenvalue เท่ากับ 0 2
 0(0  1) 2
2  1
 
0

นอกจากนี้ Eigenvector ของ Ŝ 2 Operator ข้างต้น เขียนให้อยู่ในรูปของ Ket ได้ว่า

eigenvalue
d   Sˆ 2 d  1(1  1) 2
d
1 1
c     Sˆ 2 c  1(1  1) 2
c
2 2 ____________ สมการ (5.17)
b   Sˆ 2 b  1(1  1) 2
b
1 1
a     Sˆ 2 a  0(0  1) 2
a
2 2

จากสมการข้างต้น เพื่อความสะดวก เราใช้สัญลักษณ์ a , b , c , d แทน Eigenstate ทั้ง 4 ที่มี


อยู่ และจะสังเกตได้ชัดเจนว่า เซตของ Eigenstate ดังกล่าวเป็นเซตเดียวกันกับ Eigenstate ของ
Hyperfine Splitting Hamiltonian ในสมการ (5.13) และ (5.12)

นอกจากนี้ สมการ(5.14) และ (5.15) ยังแสดงให้เห็นว่า Operator ที่แสดงถึงสมบัตโิ ดยรวมของระบบ


ทั้งสองนั้น Commute หรืออีกนัยหนึ่ง

 Sˆ z , Sˆ 2   0 __________________ สมการ (5.18)


 
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-10

ทั้งนี้จะเห็นได้จากการพิจารณา  Sˆz , Sˆ 2  และกระจายเทอมออกเป็นชิ้นๆ จะได้ว่า


 

 Sˆz , Sˆ 2    Sˆ1z  Sˆ2 z , Sˆ12  Sˆ22  2Sˆ1  Sˆ2 


   
  Sˆ1z , Sˆ1    Sˆ2 z , Sˆ1    Sˆ1z , Sˆ22    Sˆ2 z , Sˆ22    Sˆ1z  Sˆ2 z , 2Sˆ1  Sˆ2 
2 2
         

จากแบบฝึกหัด 3.4 เราทราบว่า  Sˆ1z , Sˆ12   0 และ  Sˆ2 z , Sˆ12   0 เพราะ Operator คู่กรณีนั้น
   
มิได้กระทากับอนุภาคตัวเดียวกัน ทาให้สมการข้างต้นลดรูปเหลือเพียง

 Sˆz , Sˆ 2    Sˆ1z  Sˆ2 z , 2Sˆ1  Sˆ2 


   
 2  Sˆ1z  Sˆ2 z , Sˆ1x Sˆ2 x  Sˆ1 y Sˆ2 y  Sˆ1z Sˆ2 z 
 

และด้วยอาศัยคุณสมบัติเชิง Commutator ของ Angular Momentum Operator ในสมการ (3.5)


ทาให้เราสรุปได้ว่า  Sˆz , Sˆ 2   0 ซึ่งก็เป็นจริงดังในสมการ (5.18)

แบบฝึกหัด 5.4 พิสูจน์ว่า  Sˆ1z  Sˆ2 z , Sˆ1x Sˆ2 x  Sˆ1 y Sˆ2 y  Sˆ1z Sˆ2 z   0
 

เนื่องจาก Sˆ z , Sˆ 2   0 จะได้ว่า Eigenstate ของ Ŝ 2 ดังในสมการ (5.17) ก็ย่อมต้องเป็น


 
Eigenstate ของ Sˆ ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น เราสามารถที่จะคานวณผลของ Operator Sˆ
z z ต่อ
Eigenstate ดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น

  1
Sˆz c  Sˆ1z  Sˆ2 z 
 2

 
1
2
 


1 1 1 1
 Sˆ1z   Sˆ1z   Sˆ2 z   Sˆ2 z 
2 2 2 2
1 1 1 1
       
2 2 2 2 2 2 2 2

เนื่องจากในสมการข้างต้นนั้น เครือ่ งหมายของแต่เทอมหักล้างกันพอดี จึงทาให้ Sˆz c  0 หรือ


เขียนได้อีกว่า

Sˆz c  0 c
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-11

เมื่อเป็นเช่นนี้ เราสามารถสรุปผลของ Operator Sˆz และ Ŝ 2 ที่มีต่อ Eigenstate a ,b ,c ,d


ดังนี้

d   Sˆ 2 d  1(1  1) 2
d Sˆz d   d
1 1
c     Sˆ 2 c  1(1  1) 2
c Sˆ z c  0 c
2 2
_ สมการ (5.19)
b   Sˆ 2 b  1(1  1) 2
b Sˆz b   b
1 1
a     Sˆ 2 a  0(0  1) 2
a Sˆz a  0 a
2 2

หากทบทวนบทที่ 3 ในเรื่อง Angular Momentum จะพบว่า เราสามารถใช้สถานะพื้นฐาน j, m


เพื่อเป็นตัวแทนสถานะเชิง Spin ของระบบ นอกจากนี้ เรายังทราบว่า ผลของ Operator Sˆz และ
Ŝ 2 ต่อสถานะ j , m ก็คือ

Sˆz j, m  m j, m และ Sˆ 2 j, m  j ( j  1) 2
j, m ________ สมการ (5.20)

เพราะฉะนั้น ถ้าลองเปรียบเทียบสมการ (5.20) กับสมการ (5.19) จะทาให้สามารถเข้าใจ


ความหมายของสถานะ a , b , c , d ได้ดียิ่งขึน้ นั่นก็คือ จากการเปรียบเทียบเราพบว่า

d  j  1, m  1
c  j  1, m  0
______________ สมการ (5.21)
b  j  1, m   1
a  j  0, m  0

และก่อนที่จะวนอยู่ในวงกตของคณิตศาสตร์ จนหลงประเด็นที่กาลังจะทาความเข้าใจ ผูเ้ ขียนจะขอ


ย้าอีกครั้งว่า ในหัวข้อ 5.2 นี้ เราต้องการที่ศึกษาสมบัติโดยรวมของระบบที่มีสองอนุภาค โดยแต่ละ
1 1 1 1
อนุภาคมี Spin ได้สองแบบคือ Spin Up j ,m   และ Spin Down j ,m  
2 2 2 2

โจทย์ Spin ของทั้งสองอนุภาคจะต้องเรียงตัวอย่างไร ระบบโดยรวมจึงจะ มี j 1 และ m 1


ตอบ จากสมการ (5.21) จะได้ว่า คาตอบที่ถูกต้องก็คือ 
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-12

จากตัวอย่างในข้างต้น เราสามารถทาความเข้าใจได้โดยง่ายว่า ในเมื่ออนุภาคแต่ละตัวมี Angular


Momentum ตามแนวแกน z เท่ากับ m1   1 และ m2   1 ก็ย่อมจะทาให้ทั้งระบบมี
2 2
m 1

แต่พฤติกรรมของกลศาสตร์ควอนตัม ในบางครั้งก็มีส่วนขัดแย้งกับสามัญสานึกทางฟิสิกส์ที่เราคุ้นเคย
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการที่จะให้ระบบโดยรวมมี j  0, m  0 นั่นคือมี Spin เป็นศูนย์ จาก
สมการ (5.21) จะพบว่า อนุภาคทัง้ สองจะต้องอยู่ในสถานะ

1 1
j  0, m  0     ________ สมการ (5.22)
2 2

สมการข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ในสภาวะที่ Spin ของอนุภาคทั้งสอง มีทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งมีอยู่สอง


กรณีคือ  หรือ  จะส่งผลให้ Spin ของระบบมีค่าเป็นศูนย์ และเนือ่ งจากมีอยู่สองกรณีที่
เป็นไปได้ j  0, m  0 ดังในสมการ (5.22) จึงเป็น Superposition ของสถานะพื้นฐานทั้งสอง
ดังกล่าว ทั้งนี้ ให้สังเกตสัมประสิทธิ์ที่เป็นเครื่องหมายลบ

สิ่งที่น่าแปลกเป็นอย่างยิ่งก็คือ ถ้าเราทาให้สมั ประสิทธิ์เป็นเครื่องหมายบวก ผลลัพธ์ที่ได้ กลับทาให้


Angular Momentum ของทั้งระบบไม่เป็นศูนย์ นั่นก็คือ จากสมการ (5.21)

1 1
j  1, m  0     ________ สมการ (5.23)
2 2

สถานะ j  1, m  0 ข้างต้น แสดงให้เห็นถึง Spin ของระบบที่ไม่เป็นศูนย์ ( j  0) และเรา


จะต้องย้าให้เห็นอีกครั้งว่า ถึงแม้สถานะพื้นฐานทั้งสอง ที่ปรากฏอยูท่ างขวามือของสมการ (5.23) ล้วน
แต่เป็นสถานะที่ Spin ของอนุภาคทั้งสองมีทิศตรงกันข้าม แต่เมือ่ นามาผสมกัน Spin ของทั้ง
ระบบกลับไม่เป็นศูนย์ และนี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความแปลกที่ผิดแผกพิสดาร ของ
กลศาสตร์ควอนตัม

ทั้งนี้ พอจะสรุปสมบัติการรวมกันของ Spin j1m1 และ j2 m2 ซึ่งเมื่อรวมอยู่ในระบบเดียวกัน


เราใช้สัญลักษณ์ j1m1; j2 m2 เพื่อให้กระชับ ได้ว่า
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-13

1 1 1 1
j  1, m  1  , ; ,
2 2 2 2
1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
j  1, m  0  , ; ,  , ; ,
2 2 2 2 2 2 2 2 2 2
_____ สมการ (5.24)
1 1 1 1
j  1, m  1  , ; ,
2 2 2 2
1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
j  0, m  0  , ; ,  , ; ,
2 2 2 2 2 2 2 2 2 2

ในท้ายที่สุด เราสามารถตอบคาถามที่เกี่ยวข้องกับพลังงานของ Hyperfine Interaction ว่าเพราะเหตุ


ใด พลังงานของ Eigenstate จึงแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอย่างชัดเจน จากสมการ (5.24), (5.13) , และ
(5.12) เราตอบได้ว่า พลังงาน E   A นั้นเป็นกลุ่มของสถานะที่มี Angular Momentum j  1
2
3A
ในขณะที่พลังงาน E อยู่ในกลุ่มของสถานะที่มี j0 นั่นเอง
2
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-14

หัวข้อ 5.3 EPR Paradox


เพื่อที่จะยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการนาสมการ (5.24) มาประยุกต์ใช้งานในสถานการณ์จริง
เราจะมาศึกษาการสลายตัวของอนุภาค  meson และจากการวิเคราะห์การสลายตัวของอนุภาค
ที่ไม่เสถียรนี้เอง จะนาไปสู่ข้อสังเกตที่ Einstein, Podolsky, และ Rosen (Phys.Rev. 1935. 47:777)
ได้ให้ไว้เพื่อประกอบความเชื่อของบุคคลทั้งสามในขณะนั้นว่า กลศาสตร์ควอนตัมยังเป็นทฤษฏีที่มี
ข้อบกพร่องอยู่ ซึ่งข้อสังเกตดังกล่าวนี้ รู้จักกันทั่วไปภายใต้ชื่อ EPR Paradox

 -meson s0

 s
1
 s
1
2 2
Angular Momentum

1 1
    
2 2
ภาพ 5.3 แสดงการสลายตัวของอนุภาค -meson ซึ่งในบางครั้งเกิดเป็นอนุภาค
  anti-muon และ   muon

ภาพ 5.3 แสดงการสลายตัวของอนุภาค -meson ซึ่งเป็นอนุภาคที่มี Spin s  0 ถึงแม้ว่าการ


สลายตัวของอนุภาคโดยปกติจะเกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับระดับพลังงานของอนุภาคดังกล่าว
ในบางครั้ง -meson สลายตัวออกเป็นอนุภาคสองตัวคือ Muon และ Anti-Muon ซึ่งใช้สัญลักษณ์
ว่า   และ   ตามลาดับ และเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่าสมบัติของ Muon หรือ Mnti-Muon นั้น
1
ล้วนเป็นอนุภาคทีม่ ี spin s
2

โจทย์ ภายหลังจากการสลายตัวทาให้เกิดเป็นระบบที่มีสองอนุภาค จงเขียนสถานะของระบบ


ตอบ   1   1 
2 2
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-15

1
เมื่อพิจารณาระบบที่มีสองอนุภาค และแต่ละอนุภาคมี Spin s นั้น การเรียงตัวของ Spin
2
เป็นไปได้ทั้งหลายวิธีดังในสมการ (5.24) แต่มีอยู่วิธีเดียวเท่านั้นทีท่ าให้ Total Spin Angular
Momentum ของระบบทั้งหมดมีค่าเป็นศูนย์ สาเหตุที่ต้องเป็นศูนย์ก็เพราะว่าอนุภาค -meson
ที่ให้กาเนิด Muon และ Anti-Muon นั้น มี s  0 ซึ่งเมื่อพิจารณากฎการอนุรักษ์โมเมนตัม
เชิงมุมแล้วจะได้ว่า Spin ก่อนและหลังการสลายตัวจะต้องเป็นศูนย์ เพราะฉะนั้นแล้ว สถานะของ
ระบบภายหลังจากการสลายตัว จะต้องอยู่ในรูปของ   1   1 
2 2

นอกจากนี้ กฎของการอนุรักษ์โมเมนตัมอีกเช่นกันที่บังคับให้ Muon และ Anti-Muon จะต้องพุ่ง


ออกไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม และถ้าเราลองจินตนาการว่า อนุภาคทั้งสองเคลื่อนที่ห่างออกไป
เรื่อยๆโดยไม่อะไรมากีดขวาง จนอยู่ห่างกันหลายล้านปีแสง คนละซีกของเอกภพ

Spin SG-Z
SG-Z

S S

 
N N
1 1
    
2 2
ภาพ 5.4 แสดงเหตุการณ์สมมุตทิ ี่ Einstein จินตการขึ้นเพื่อชี้ให้เห็นว่ากลศาสตร์ควอนตัมยังเป็น
ทฤษฏีที่ไม่มีความสมบูรณ์

ดังแสดงในภาพ 5.4 ถ้าสมมุติว่าอนุภาคทั้งสองอยู่ห่างกันเป็นระยะทางมหาศาล แต่ด้วยข้อกาหนด


ของระบบที่ว่า Spin ของอนุภาคทั้งสองจะต้องมีทิศทางตรงกันข้ามเสมอ เพราะฉะนั้นถ้าเราติดตั้ง
Stern-Gerlach Experiment เพือ่ ทาการวัด Spin และพบว่าอนุภาค Anti-Muon   ทางซ้ายมือ
1 1
มี Spin เป็น , อนุภาค Muon  ที่อยู่อีกซีกหนึ่งของกาแล็กซีจะโดนบังคับด้วย
2 2
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-16

1 1
กลศาสตร์ควอนตัมให้มี spin เป็น , ในทันที ซึ่งเร็วกว่าความเร็วแสง และขัดกันอย่าง
2 2
สิ้นเชิงกับ Special Relativity ของ Einstein

นอกจากนี้ การที่สมบัติเชิง Spin ของอนุภาค Muon   ไปผูกติดอยู่กับสมบัติของอนุภาค


Anti-Muon   ยังแสดงให้เห็นว่า Spin ของอนุภาค Muon   มิใช่คุณสมบัติเฉพาะตัวของมัน
เอง หากแต่ไปผูกติดอยู่กับอนุภาคอื่นๆที่อยู่ห่างไกลออกไป นักฟิสิกส์เรียกพฤติกรรมลักษณะ
ดังกล่าวนี้ว่า Non-Locality

และในปี 1935 Einstein, Podolsky, และ Rosen (Phys.Rev. 1935. 47:777) ได้ตีพิมพ์บทความ
ที่แสดงจุดยืนเชิงปรัชญาที่ว่า สมบัติต่างๆเช่นโมเมนตัม, มวล, พลังงาน, หรือ Spin ก็ตาม ควร
จะต้องเป็นสมบัติเฉพาะตัวของอนุภาคตัวนั้นๆ และไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมหรืออนุภาคอื่นใด
พฤติกรรมลักษณะเช่นนี้เรียกว่า Local Reality ซึ่งหมายถึง สมบัตขิ องอนุภาค (Reality) จะต้องมีอยู่
จริงและเป็นสมบัติเฉพาะตัว (Local) ของมันเอง ความขัดแย้งในเชิงปรัชญาอันนี้เอง ที่เรียกกัน
โดยทั่วไปว่า EPR Paradox

1. พใ ซ

2. ซ
พ ซ ใ

3. ผ

ภาพ 5.5 เหตุการณ์จาลองที่จะทาให้นักศึกษาเข้าใจความหมายของ Einstein ในแง่ของ Local


Reality ได้ง่ายขึ้น สมมุติว่ามีภาพสองภาพ 1) แจกัน และ 2) ใบหน้า ถ้าเราใส่ซองที่เหมือนกัน
และสลับจนแยกไม่ออกว่าภาพไหนอยู่ซองใด จากนั้นส่งไปยังผูร้ ับ
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-17

ภาพ 5.5 แสดงเหตุการณ์จาลองที่จะทาให้นักศึกษาเข้าใจความหมายของ Einstein ในแง่ของ


Local Reality ได้ง่ายขึ้น สมมุติว่ามีภาพสองภาพ 1) แจกัน และ 2) ใบหน้า ถ้าเราใส่ซองที่
เหมือนกันและสลับจนแยกไม่ออกว่าภาพไหนอยู่ซองใด จากนั้นส่งไปยังผู้รับ

จริงอยู่ว่าถ้ายังไม่เปิดซองเราก็ไม่ทราบว่าภายในซองมีภาพใด *แต่* ภาพที่อยู่ในซอง เป็นสมบัติ


เฉพาะตัวของซองนั้นๆ และสมบัติดังกล่าวได้ถูกกาหนดไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่เมื่อครั้งที่เราได้ทาการ
บรรจุภาพเอาไว้ และการที่เราไม่ทราบว่าซองไหนมีภาพใดก็เป็นเพราะ ภาพถูกซ่อนไว้ในซอง
Einstein ใช้คาศัพท์ว่า “Hidden Variable” ที่ใช้แทนปริมาณทางฟิสิกส์ที่เราไม่อาจจะวัดได้ด้วย
ข้อจากัดต่างๆ และความไม่แน่นอน หรือ Randomness ในทางฟิสิกส์ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจาก
ข้อจากัดดังกล่าวนี้เอง

Quantum Mechanics Theory Hidden Variable Theory

พ ฐ

1 1 พ ใ
    
2 2 ณ ฟ ซซ
ภาพ 5.6 แสดงถึงมุมมองที่แตกต่างกันระหว่าง Quantum Mechanics Theory และ Hidden
Variable Theory

ภาพ 5.6 แสดงถึงมุมมองที่แตกต่างกันระหว่าง Quantum Mechanics Theory และ Hidden


Variable Theory เมื่อเราพิจารณาระบบที่เป็นสถานะผสมของ Basis State ดังจะเห็นใน
ตัวอย่างที่เป็นสถานะผสมของภาพแจกันและภาพใบหน้า

Quantum Mechanics Theory มองการผสมของสองสถานะดังกล่าวเป็นกฎเกณฑ์พื้นฐานของ


ธรรมชาติและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังที่ได้เห็นในภาพที่อาจจะตีความได้วา่ เป็นแจกันหรือใบหน้าก็ได้ ขึ้นอยู่
กับจังหวะและมุมมองของผู้สังเกต

ในขณะที่ Hidden Variable Theory มองการผสมของสองสถานะดังกล่าวเป็นเพียงข้อจากัดทาง


เทคนิค เปรียบเสมือนภาพที่ซุกซ่อนไว้ในซอง โดยที่แต่ละซองก็จะมีภาพซึ่งเป็นสมบัตเิ ฉพาะตัวของ
ซองนั้นๆ และเป็นอิสระจากซองอื่นๆ
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-18

ก่อนปี 1964 นักฟิสิกส์ส่วนใหญ่เชื่อว่า กลไกทางกลศาสตร์ควอนตัมที่เกี่ยวข้องกับ Probability


Amplitude หรือ แม้กระทั่งการใช้ Complex Number เข้ามาเป็นหนึ่งในหัวใจสาคัญของตัวทฤษฏี
นั้น ถึงแม้ว่าจะสามารถอธิบายและทานายผลการทดลองได้ ก็เป็นเรื่องบังเอิญ

Einstein เชื่อว่าเราสามารถที่จะออกแบบ Hidden Variable Theory ที่อธิบายและทานายผลการ


ทดลองต่างๆที่กลศาสตร์ควอนตัมเคยประสบความสาเร็จมาแล้ว อาทิเช่น Stern-Gerlach
Experiment โดยที่ Hidden Variable Theory ดังกล่าว ไม่มีความจาเป็นใดๆที่จะต้องนาแนวคิด
ของ Non-Locality หรือ Complex Number เข้ามามีส่วนร่วมแต่อย่างใด

ในปี 1964 John Bell (J. Bell. Physics 1, 195) ได้ออกแบบการทดลองขึ้นมาชุดหนึ่งที่


Quantum Mechanics Theory และ Hidden Variable Theory ให้ผลการทานายที่แตกต่างกันโดย
สิ้นเชิง และต่อมาในภายหลังนักวิทยาศาสตร์อาทิ Aspect et. al. (A. Aspect, P. Grangier, and
G. Roger. Phys. Rev. Lett. 49:91) ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าผลการทดลองนั้น แท้ที่จริงแล้วสอดคล้อง
กับ Quantum Mechanics และขัดแย้งกับผลการทานายของ Hidden Variable Theory

หัวข้อ 5.4 การรวมกันของ Angular Momentum


1
ในตัวอย่างของหัวข้อที่ผ่านมา เรามุ่งเน้นไปที่ Spin ของอิเล็กตรอนและโปรตอนซึ่งมี s ใน
2
คราวนี้เราจะมาศึกษาการที่ Angular Momentum Ĵ1 และ Ĵ 2 เข้ามารวมกัน โดยที่

Eigenstate ของ Ĵ1 คือ j1m1 m1   j1 , j1  1, ,  j1  1,  j1 มีทั้งสิ้น 2 j1  1 state


Eigenstate ของ Ĵ 2 คือ j2 m2 m2   j2 , j2  1, ,  j2  1,  j2  มีทั้งสิ้น 2 j2  1 state

เมื่อ Angular Momentum ทั้งสอง มีความจาเป็นที่จะต้องนามาพิจารณาเป็นระบบเดียวกัน ไม่ว่า


จะเป็น (1) สองอนุภาคเข้ามารวมกันเป็นอะตอม (2) หรือสองอนุภาคที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์การ
สลายตัวของอนุภาคที่ไม่เสถียร (3) หรือแม้กระทั่งกรณีของอนุภาคเดียว แต่เราต้องการพิจารณาทั้ง
Orbital Angular Momentum Jˆ1  Lˆ และ Spin Angular Momentum Ĵ 2  Sˆ ไปพร้อมๆกัน
กล่าวคือ Jˆ1  Jˆ2  Lˆ  Sˆ เป็นต้น

ในกรณีเช่นนี้ เราสามารถสร้าง Basis State ให้อยู่ในรูปของ

Basis Set j1m1; j2 m2 มีทั้งสิ้น (2 j1  1)(2 j2  1) state _____ สมการ (5.25)


บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-19

อย่างไรก็ตาม เซตของ Basis State ในสมการ (5.25) เป็นสถานะทีแ่ สดงถึงคุณสมบัตเิ ฉพาะตัวของ


อนุภาคทั้งสอง และถ้าเราต้องการที่จะสร้างสถานะที่แสดงให้เห็นถึงสมบัติโดยรวมของทั้งระบบ
สามารถทาได้โดยเขียน

jm โดยที่  Sˆ  jm
2
 j ( j  1) 2
jm และ  Sˆ  jm
z m jm _____ สมการ (5.26)

สถานะทั้งสองลักษณะดังสมการ (5.25) และ (5.26) นั้น เราได้เคยวิเคราะห์มาแล้วในกรณีตัวอย่าง ดัง


ในสมการ (5.24) และจากตัวอย่างนี้เอง จะพบว่า สามารถเขียน jm ให้อยู่ในรูป Superposition
ของ Basis Set j1m1; j2 m2 ได้ว่า

jm   Cm1,m2 j1m1; j2 m2 _____ สมการ (5.27)


m1,m2

โดยที่สมั ประสิทธิ์ Cm1,m2 มีชื่อเฉพาะว่า Clebsch-Gordan Coefficient ซึ่งมีค่าแตกต่างกันไปตาม


พฤติกรรมของระบบที่กาลังพิจารณา จะเห็นว่า สัมประสิทธิ์ดังกล่าว มีตัวเลขดัชนีกากับอยู่ 2 ตัวคือ
m1 และ m2 ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเขียนตัวอย่างดังที่ได้กล่าวไว้ในสมการ (5.24) ให้อยู่ในรูปแบบ
ของภาษาที่ใช้ในสมการ (5.27) จะได้ว่า

1 1 1 1
C 1 1 j1 , m1   ; j2 , m2   C 1 1 j1 , m1   ; j2 , m2  
 , 2 2  , 2 2
2 2 2 2
j  1, m  0 
1 1 1 1
C 1 1 j1 , m1   ; j2 , m2   C 1 1 j1 , m1   ; j2 , m2  
 , 2 2  , 2 2
2 2 2 2

ซึ่งในกรณีนี้ สัมประสิทธิ์ดังกล่าวมีค่าเท่ากับ

1
C 1 1 0 C 1 1 
 ,  , 2
2 2 2 2
1
C 1 1  C 1 1 0
 , 2  ,
2 2 2 2

ทั้งนี้ การเขียนสถานะ jm ให้อยู่ในรูปทั่วไปดังสมการ (5.27) มีจุดประสงค์ก็เพื่อเป็นสากลในการ


วิเคราะห์ระบบต่างๆทางฟิสิกส์ที่มี Angular Momentum j , m , j1 , และ j2 แตกต่างกันออกไป
และโดยปรกติแล้ว นักศึกษาจะสามารถตรวจสอบค่าของสัมประสิทธิ์ Cm1,m2 ได้จากตารางอ้างอิง
ทั่วไปที่ได้มีการจัดทาไว้แล้วเพื่อการสะดวกในการนามาใช้งาน
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-20

a) 1 2 1 2 1 ใ ฐ ใ ใ
1
1 2 1 2 1
1
0
0
0

 1 2 1 2 1 2 12
1 ใ 1 2
1 2  1 2 1 2 1 2
1
 12
1 2 1 2 1
j j
b) 11 2 32 c)
3 2 3 2 12
m m
1  1 2 1 1 2 1 2 m1 m2
1 1 2 13 2 3
0 1 2 23 1 3
3 2 12 m1 m2
1 2 1 2
0 1 2 23 13
32
1  1 2 1 3 2 3
3 2
1 1 2 1

ภาพ 5.7 แสดงตาราง Clebsch-Gordan Coefficient ที่พบได้โดยทั่วไป

ยกตัวอย่างเช่นภาพ 5.7 ที่แสดงตาราง Clebsch-Gordan Coefficient ที่พบได้โดยทั่วไปในหนังสือ


อ้างอิง นักศึกษาจะพบว่าในภาพจะประกอบด้วยตารางย่อยที่ขึ้นต้นด้วยสัญลักษณ์อาทิเช่น 1 1 2
1
ซึ่งหมายถึงการรวมกันของ Angular Momentum j1  1 และ j2 
2

ตารางดังภาพ 5.7b ยังแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ 4 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนมีความหมายดังแสดงในภาพ 5.7c


ในภาพดังกล่าว แถวบนแสดงถึงสถานะ jm ที่เป็นไปได้ ในขณะที่แถวซ้ายแสดงถึง ซัมเมชั่นของ
j1m1; j2 m2 ต่างๆที่อาจจะมาผสมกัน และในบริเวณส่วนกลางของตารางก็คือสัมประสิทธิ์
ยกตัวอย่างเช่น

32
3 2
1  1 2 1
มีความหมายว่า j  3 2, m   3 2  j1, m1  1 ; j2 , m2  1 2
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-21

3 2 12
1 2 1 2
1 1 2 13 2 3
0 1 2 23 1 3

มีความหมายว่า
1 2
j  3 2, m   1 2  j1 , m1  1 ; j2 , m2  1 2  j1 , m1  0 ; j2 , m2   1 2
3 3
2 1
และ j  1 2, m   1 2  j1 , m1  1 ; j2 , m2  1 2  j1 , m1  0 ; j2 , m2   1 2
3 3

สัมประสิทธิ์ที่เรียกว่า Clebsch-Gordan Coefficient ดังที่แสดงในสมการ (5.27) นอกจากจะเขียน


อยู่ในรูป Cm1,m2 ยังอาจจะเขียนอยู่ในรูปของ Bra-Ket ได้ว่า

jm   j1m1; j2 m2 jm  j1m1; j2 m2 _____ สมการ (5.28)


m1, m2

สมการ (5.28) ข้างต้นนิยามให้ Clebsch-Gordan Coefficient อยู่ในรูปของ j1m1; j2 m2 jm ซึ่ง


เราจะมาศึกษาอย่างละเอียดในขั้นตอนต่อไปถึงการคานวณปริมาณดังกล่าว อย่างไรก็ตามก่อนที่จะ
วิเคราะห์ Clebsch-Gordan Coefficients ด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์อย่างละเอียด ภาพ 5.8 แสดง
ถึงตารางของสัมประสิทธิ์ในกรณีตา่ งๆทั้งสิ้น 7 กรณีเพื่อความสะดวกในการใช้งานในอนาคต
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-22

1 2 1 2 1 3 2 1 2 2
1 2 2 1
1 0
1 2 1 2 1  3 2 1 2 1 1 1
0 0
 1 2 1 2 1 2 12  3 2 1 2 14 3 4
1 2 1
1 2  1 2 1 2 1 2 1 2 1 2 34 1 4
1 0 0
1 2 1 2 1 2 1 2 52  1 2 1 2 12 12
5 2
5 2 32 1 2  1 2 1 2 1 2
2 1
2  1 2 1 1
11 2 3 2 3 2
32 1
3 2  1 2 1 2 34 14
3 2 12 2 1 2 15 4 5 2
1  1 2
5 2 32  3 2 1 2 1 4 3 4
1 1 2 1 2 1  1 2 4 5 1 5 2
1 2 1 2
1 1 2 13 2 3  3 2 1 2 1
3 2 12 1 1 2 25 35
0 1 2 23 1 3 5 2 32
1 2 1 2 0 1 2 3 5 2 5
1 2 1 2
0 1 2 23 13
32 0 1 2 35 2 5
1  1 2 1 3 2 3 5 2 32
3 2 1  1 2 25 3 5
3 2 1 52
1 1 2 1 1 1 2
3 2 3 2
5 2 52 32 1 1 2 45 15
22 1 52
 3 2 1 1 3 2 3 2 2  1 2 1 5 4 5
1 1 1
1 1 5 2
3 2 0 25 35
52 32 12 1 0 1 2 12 2 1 2 1
 1 2 1 3 5 2 5 2 1 0
1 2 1 2 1 2 0 1 1 2 1 2
0 0 0
 3 2 1 1 10 25 12
1 1 1 6 12 13
1 2 0 35 1 15 1 3 52 32 12 0 0 23 0 1 3 2 1
1 2 1 3 10  8 15 16 1 2 1 2 1 2
2 1 3 1 1 1 6 1 2 13 1 1
1 2 1 3 10 8 15 16
3 0 1 1 2 12 2
3 2 1 2 0 35  1 15 1 3
52 32
2 1 1 2 2 1 0 1 2 1 2 2
 3 2 1 1 10 2 5 3 2 3 2
12
2 0 1 1 1
13 2 3
3 2 1 1 2 1 35 2 5
1 1 23 1 3 3 2 0 2 5 3 5
52
1 1 1
5 2
2 1 1 15 13 35
 3 2 1 1
1 0 8 15 1 6  3 10 3 2 1
0 1 6 15 1 2 1 10 0 0 0
1 1 1 5 12 3 10
0 0 35 0 2 5 3 2 1
1 1 1 5 1 2
Notations j j 1 1 1
3 10
0 1 6 15 12 1 10
m m 1 0 8 15 1 6  3 10 3 2
m1 m2 2 1 1 15 1 3 35 2 2

m1 m2 Coefficients 1 1
2 0
23 13
1 3 2 3
3
3
2 1 1

ภาพ 5.8 แสดง Clebsch-Gordan Coefficients ที่เกี่ยวข้องกับการรวมกันของ Angular


Momentum j1 และ j2 ซึ่งดังตารางใช้สัญลักษณ์ j1  j2

อย่างไรก็ตาม ตารางดังแสดงในภาพ 5.8 เป็นสิ่งที่เราสามารถที่สร้างได้เองในกรณีทมี่ ีความ


จาเป็นต้องวิเคราะห์ระบบที่มี Angular Momentum นอกเหนือจากที่มีอยู่ในตาราง ดังนั้นเรา
จาเป็นต้องมาพิจารณาเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ 3 ข้อด้วยกันคือ

1) j1m1; j2 m2 jm  0 เว้นแต่ m  m1  m2
สมบัติข้างต้นของ Clebsch-Gordan Coefficient สามารถพิสจู น์ได้โดยง่ายเมื่อเราพิจารณา
Operator Jˆz  Jˆz1  Jˆz 2 เพราะฉะนั้น
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-23

Jˆ z  Jˆ z1  Jˆ z 2  0

ซึ่งเมื่อ Operator ที่เป็นศูนย์ดังกล่าวกระทากับสถานะใด ก็ย่อมต้องเป็นศูนย์ หรือ

 Jˆz  Jˆz1  Jˆz 2  jm  0

Jˆ z jm   Jˆ z1  Jˆ z 2  jm  0

m jm   Jˆ z1  Jˆ z 2  jm  0

และเมื่อแยกตัวประกอบเอาสถานะ jm ออกมาจะได้ว่า

m  Jˆ z1  Jˆ z 2  jm  0

ขั้นตอนต่อไปคือการนาสถานะ Bra j1m1; j2 m2 มาประกบทั้งสองข้างของสมการ ซึ่งจะทาให้


j1m1; j2 m2 m  Jˆ z1  Jˆ z 2  jm  0

Operator  m  Jˆ z1  Jˆ z 2  ที่เดิมการทากับสถานะ Ket jm เราสามารถเปลี่ยนให้เป็น


Adjoint ของตัวมันเองเพื่อที่จะกระทากับสถานะ bra j1m1; j2 m2 และทาให้ในท้ายที่สุด

 j1m1; j2 m2 m  Jˆ z†1  Jˆ z†2  jm 0

จากบทที่ 3 เรื่อง Angular Momentum เราทราบว่า Jˆz เป็น Hermitian Operator ซึ่งมีสมบัติที่ว่า
Jˆ z†  Jˆ z เพราะฉะนั้น

 j1m1; j2 m2 m  m1  m2  jm  0
 m  m1  m2  j1m1; j2 m2 jm  0

สมการข้างต้นแสดงให้เห็นว่า
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-24

j1m1; j2 m2 jmซึ่งก็คือ Clebsch-Gordan Coefficient


จะต้องมีค่าเป็นศูนย์ เว้นแต่ m  m1  m2 ______________ สมการ (5.29)

2) Clebsch-Gordan Coefficients มีความสัมพันธ์แบบ Recursive ที่ว่า

j  j  1  m  m  1 j1m1; j2 m2 j ,  m  1

 j1  j1  1  m1  m1 1 j1  m1 1 ; j2 m2 jm

 j2  j2  1  m2  m2 1 j1m1; j2  m2 1 jm
ก่อนที่เราจะนาความสัมพันธ์แบบ Recursive ดังกล่าวนามาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างตารางดังใน
ภาพ 5.8 เราจะมาพิสูจน์ความสัมพันธ์ข้างต้น ทั้งนี้เพื่อฝึกฝนการนาเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ได้
ศึกษาในบทที่ 3 มาใช้ประกอบการวิเคราะห์

พิจารณา Operator Ĵ  ที่กระทากับสถานะ jm


Jˆ jm  Jˆ1  Jˆ2   jm ___________________ สมการ (5.30)

นอกจากนี้ เนื่องจากเซตของสถานะ เป็น Basis Set ดังนั้นเราจึงสามารถเขียน Identity


Operator ดังในสมการ (2.25) ได้ว่า

1̂   j1m1; j2 m2 j1m1; j2 m2 ___________________ สมการ (5.31)


m1, m2

และสามารถนา Identity Operator ดังกล่าวเข้าไปแทรกทางขวามือของสมการ (5.30) จะทาให้

 Jˆ1  Jˆ2 1ˆ jm   Jˆ1  Jˆ2  m,m j1m1; j2 m2 j1m1; j2 m2 jm ______ สมการ (5.32)
1 2

โดยอาศัยสมบัติของ Raising และ Lowering operator ดังในสมการ (3.75)-(3.76) เราสามารถ


กระจายเทอมในสมการ (5.32) ออกเป็น 2 เทอมดังต่อไปนี้
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-25

 Jˆ1  Jˆ2  jm  
m1 , m2
j1  j1  1  m1  m1  1 j1  m1  1 ; j2 m2 j1m1; j2 m2 jm

  j2  j2  1  m2  m2  1 j1m1; j2  m2  1 j1m1; j2 m2 jm
m1 , m2

เพื่อที่จะลดรูปให้ซัมเมชั่นทั้งสองนั้นหายไป เราสามารถนาสถานะ bra j1m1; j2 m2 เข้าไป


ประกบกับทั้งสองข้างของสมการข้างต้น ให้สังเกตการใช้สัญลักษณ์ m1m2 เพื่อป้องกันการซ้าซ้อน
กับ m1m2 ที่ปรากฏอยู่ภายในซัมเมชั่น


j1m1; j2 m2 Jˆ1  Jˆ2  jm

  j1  j1  1  m1  m1  1 j1m1; j2 m2 j1  m1  1 ; j2 m2 j1m1; j2 m2 jm


m1, m2

  j2  j2  1  m2  m2  1 j1m1; j2 m2 j1m1; j2  m2  1 j1m1; j2 m2 jm


m1, m2

ด้วยสมบัติความเป็น Orthonormal ของ Basis Set j1m1; j2 m2 จะได้ว่า เทอมต่างๆภายในซัม


เมชั่นอันแรกมีค่าเป็นศูนย์ ยกเว้นแต่กรณีที่ m1  m1  1 และ m2  m2 และในกรณีของซัมเมชั่น
อันที่สอง เทอมที่มีค่าไม่เป็นศูนย์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ m1  m1 และ m2  m2  1 เพราะฉะนั้น


j1m1; j2 m2 Jˆ1  Jˆ2  jm

 j1  j1  1  m1  m1 1 j1  m1 1 ; j2 m2 jm

 j2  j2  1  m2  m2 1 j1m1; j2  m2 1 jm

จะเห็นว่าสมการข้างต้นนั้น ใช้สัญลักษณ์ m1m2 เป็นตัวกากับสถานะของระบบ และเพื่อให้เกิด


ความสวยงามเราอาจะเปลี่ยนมาเป็นใช้สัญลักษณ์ m1m2 แทน ซึ่งก็มิได้ทาให้เกิดข้อผิดพลาดทาง
คณิตศาสตร์แต่อย่างใด


j1m1; j2 m2 Jˆ1  Jˆ2  jm

 j1  j1  1  m1  m1 1 j1  m1 1 ; j2 m2 jm _______ สมการ (5.33)


 j2  j2  1  m2  m2 1 j1m1; j2  m2 1 jm

นอกจากนี้ ทางซ้ายมือของสมการ (5.33) ยังสามารถเขียนอยู่ในรูป


บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-26


j1m1; j2 m2 Jˆ1  Jˆ2  jm  j1m1; j2 m2 Jˆ jm

 j  j  1  m  m  1 j1m1; j2 m2 j ,  m  1
___________ สมการ (5.34)

และในท้ายที่สดุ ถ้าเราพิจารณาสมการ (5.33) และสมการ (5.34) จะได้ว่า ทั้งสองสมการมีคา่


เท่ากัน และนาไปสู่ความสัมพันธ์

j  j  1  m  m  1 j1m1; j2 m2 j ,  m  1

 j1  j1  1  m1  m1 1 j1  m1 1 ; j2 m2 jm _______ สมการ (5.35)


 j2  j2  1  m2  m2 1 j1m1; j2  m2 1 jm

 j j1  j2
 m
 j
3) j1m1; j2 m2 jm  1 if 
 m1  j1

m2  j2
สมบัติทางคณิตศาสตร์ข้างต้น สามารถพิสูจน์ได้โดยอาศัยสมการ (5.29) เข้าร่วมในการพิจารณา
กล่าวคือ จากสมการ (5.28) เราสามรถเขียน

j   j1  j2  , m  j   j1m1; j2 m2  j1  j2  ,  j1  j2   j1m1; j2 m2
m1, m2

________________ สมการ (5.36)

ภายในซัมเมชั่นที่ประกอบด้วยหลายๆเทอมด้วยกัน แต่จากสมการ (5.29) เทอมต่างๆเหล่านีล้ ้วนมี


ค่าเป็นศูนย์ ยกเว้นในกรณีที่

m1  m2   j1  j2  ________________ สมการ (5.37)

แต่ด้วยคุณสมบัติที่เกี่ยวกับ Angular Momentum เราทราบว่า m1   j1, j1  1, ,  j1  1,  j1


และ m2   j2 , j2  1, ,  j2  1,  j2  นั่นหมายถึง m1 มีค่าได้มากที่สุดคือ j1 และ m2 มี
ค่าได้มากที่สุดคือ j2

เมื่อเป็นเช่นนี้ ค่าของ m1 และ m2 ที่จะทาให้สมการ (5.37) เป็นจริงได้นนั้ ก็คือ m1  j1 และ


m2  j2 ซึ่งเทอมต่างๆที่ปรากฏอยู่ภายในซัมเมชั่น ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว ย่อมมีค่าเป็น
ศูนย์ เพราะฉะนั้น สมการ (5.36) แปรสภาพเป็น
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-27

j   j1  j2  , m  j   j1m1; j2 m2  j1  j2  ,  j1  j2   j1 j1; j2 j2
Clebsch-Gordan Coefficient

ในเมื่อเทอมทางขวามือของสมการข้างต้น ประกอบด้วยเทอมเพียงเทอมเดียว โดยอาศัยหลักของ


Normalization สัมประสิทธิ์ Clebsch-Gordan จะต้องมีค่าเป็นหนึ่ง หรือสรุปได้ว่า

 j j1  j2
 m
 j
j1m1; j2 m2 jm  1 if  __________________ สมการ (5.38)
 m1  j1

m2  j2

สมบัติของ Clebsch-Gordan Coefficients ทั้ง 3 ข้อในข้างต้น สามารถนามาเป็นเครื่องมือในการ


สร้างตารางที่สมบูรณ์ดังในภาพ 5.8 ดังจะขอยกตัวอย่างในกรณีของ j1  1 และ j2  1
2

จากสมการ (5.38) เราบอกได้ว่า

1 3 3
j1m1  1; j2 m2  , 1 __________________ สมการ (5.39)
2 2 2

ซึ่งสัมประสิทธิ์ข้างต้น แสดงอยู่ในตารางย่อยชุดแรก ของกรณี 1  1 นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้


2
1
ความสัมพันธ์แบบ Recursive ในสมการ (5.35) ทั้งนี้ ถ้ากาหนดให้ j1  1 , j2  , m1  0 ,
2
1
m2  , j 3, และ m
3
จะทาให้
2 2 2

33  33  1 1 3 3 
1   1 1, 0; ,  , 1
2  2  2  2  2 2 2  2 
3 3
 11  1  0  0  1 j1  m1  1 ; j2 m2 ,
2 2

11  11  3 3
 1  1 j1m1; j2  m2  1 ,
2  2  2  2  2 2
สังเกตว่าเทอมทีส่ องทางขวามือ มีค่าเป็นศูนย์ ในขณะที่สมการ (5.39) บอกว่าเทอมแรกนั้น
3 3
j1  m1  1 ; j2 m2 , 1 เพราะฉะนั้นแล้ว สมการข้างต้นลดรูปเหลือเพียง
2 2
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-28

1 1 3 1 2
1, 0; ,  , 
2 2 2 2 3

ซึ่งก็คือ Clebsch-Gordan Coefficients ที่แสดงในตารางย่อยชุดทีส่ อง ของกรณี 1  1 นั่นเอง


2

แบบฝึกหัด 5.5 จงใช้คุณสมบัตทิ ั้ง 3 ข้อของ Clebsch-Gordan Coefficients เพื่อสร้างตารางที่


สมบูรณ์ในกรณีของ Spin 1  1
2

หัวข้อ 5.5 บทสรุป


ในบทที่ 5 นี้ เราได้กล่าวถึงอันตรกริยาระหว่าง Spin ของอนุภาค โดยที่เราได้เริ่มยกตัวอย่างของ
กรณี Hyperfine Splitting ซึ่งเป็น Interaction ระหว่าง Spin ของอิเล็กตรอน และ Spin ของ
โปรตอนภายในอะตอมไฮโดรเจน

ในกรณีดังกล่าวนี้เอง Hamiltonian ของระบบอยู่ในรูปของ

2A
Hˆ  2 Sˆ1  Sˆ2

ซึ่งถ้าเราใช้ Basis State เป็นเซตของ  ,  ,  ,  ก็จะได้ว่า Eigenstate และ


Eigen Energy ของระบบอยู่ในรูปของ

 

1 1  A
    Eigen Energy คือ 
2 2  2
 

1 1 3A
   Eigen Energy คือ 
2 2 2

นอกจากการวิเคราะห์ Hyperfine Splitting ดังกล่าวจะนาไปสู่การเปรียบเทียบผลทีไ่ ด้จากการทดลอง


ยังนาไปสู่การตีความของ Eigenstate ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น 1   1 
2 2
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-29

หมายถึงสภาวะของระบบที่ Total Angular Momentum ของทั้งระบบเป็นศูนย์ ในส่วนของ


Eigenstate อื่นๆนั้น เขียนโดยสรุปได้ว่า

1 1 1 1
j  1, m  1  , ; ,
2 2 2 2
1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
j  1, m  0  , ; ,  , ; ,
2 2 2 2 2 2 2 2 2 2
1 1 1 1
j  1, m  1  , ; ,
2 2 2 2
1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
j  0, m  0  , ; ,  , ; ,
2 2 2 2 2 2 2 2 2 2

ทั้งนี้จากสมการข้างต้น จะสังเกตว่า เราใช้สัญลักษณ์ jm ซึ่งแสดงถึง Angular Momentum


โดยทั่วไป ซึ่งไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็น Spin Angular Momentum หรือ Orbital Angular
Momentum

1 1
จากนั้น เราใช้กรณีของ EPR Paradox เป็นตัวอย่างในการนาเอาสถานะ    เข้ามา
2 2
ใช้ในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

ในท้ายที่สุด เรากล่าวถึงกรณีทวั่ ๆไปของการรวมกันของ Angular Momentum j1m1 และ


j2 m2 ซึ่งจะเป็นที่มาของ Clebsch-Gordan Coefficients ดังที่ได้แสดงในตาราง 5.8

หัวข้อ 5.6 ปัญหาท้ายบท


แบบฝึกหัด 5.6 พิจารณาอะตอมไฮโดรเจนที่มี Spin Hamiltonian
2A
Hˆ  2 Sˆ1  Sˆ2  ω0 Sˆ1z

โดยที่เทอมแรกเป็น Hyperfine Interaction ในขณะที่เทอมทีส่ องเกิดจากสนามแม่เหล็กภายนอกที่มี


ความเข้ม B0 ซึ่งจะทาให้ ω0  geB0
2mc
a) จงคานวณ Eigen Energy ของระบบ
b) วิเคราะห์ผลของพลังงานงานที่ได้ในสองกรณีด้วยกันคือ 1. limit A ω0 และ 2.
limit A ω0 โดยใช้ Taylor Expansion
บทที่ 5 Interaction ของ Spin 5-30

แบบฝึกหัด 5.7 ในเวลา t=0 อนุภาค 2 อนุภาคคือ Electron และ Positron เกิดขึ้นจากการ
สลายตัวของอนุภาคที่ขนาดใหญ่กว่า โดยมี Total Angular Momentum ของระบบเป็นศูนย์
จากนั้นอนุภาคทั้งสองอยู่ภายใต้อทิ ธิพลของสนามแม่เหล็กที่มีความเข้ม B0
a) จงอธิบายว่า ถ้าไม่มี Interaction ระหว่าง Electron และ Position แล้ว เราสามารถเขียน
Hamiltonian ของทั้งระบบได้ว่า
Ĥ = ω0 Sˆ1z -ω0 Sˆ2 z
โดยที่ Sˆ1z คือ Spin Operator ของ Electron ในขณะที่ คือ Sˆ2 z Spin Operator ของ Positron.
b) จงแสดงให้เห็นว่า สถานะของระบบมีการ Oscillate ระหว่าง spin-0 และ spin-1 พร้อมทั้ง
คานวณหาคาบของการสั่น พร้อมเขียนสถานะ  (t ) ของระบบที่ขึ้นกับเวลา
c) ณ เวลา t เราทาการวัด Spin โดยใช้ Operator Sˆ1x และ Sˆ2 x จงคานวณความน่าจะเป็นที่
การวัดทั้งสองจะได้ค่าออกมาเป็น  พร้อมๆกันทั้งสอง Operator
2

แบบฝึกหัด 5.8 สืบเนื่องจากข้อ 5.7 คราวนี้เรานา Hyperfine Interaction ระหว่างอนุภาคทั้ง


สองมาคิดร่วมด้วย จะได้ว่า Hamiltonian ของระบบก็คือ
2A ˆ ˆ
Ĥ = S  S  ω0 Sˆ1z -ω0 Sˆ2 z
2 1 2

จงหา Eigen Energy ของระบบ


บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-1

6 Wave Mechanics in One Dimension

เนื้อหา
6.1 Wave Function และ Position Eigenstate
6.2 Generator of Translation
6.3 Momentum Operator
6.4 Free Particle และ Gaussian Wave Packet
6.5 Heisenberg Uncertainty Principle
6.6 Schrödinger Equation
6.7 Square Well Potential
6.8 Scattering in One Dimension
6.9 Ehrenfest Theorem
6.10 บทสรุป
6.11 ปัญหาท้ายบท

หัวข้อ 6.1 Wave Function และ Position Eigenstate


ระบบต่างๆที่เราได้กล่าวถึงในบทที่ผ่านมา ล้วนแต่เป็นระบบที่มี Basis State เป็นสถานะที่ไม่ต่อเนื่อง
ยกตัวอย่างเช่น Spin ของอิเล็กตรอนที่มีค่าได้เพียง  หรือ  และจากกลไกของกลศาสตร์
2 2
ควอนตัม อาทิ Matrix Mechanics, Expectation Value, หรือ Time Evolution Operator ทาให้
เราสามารถวิเคราะห์ระบบที่ไม่ต่อเนื่องเหล่านีไ้ ด้ในหลายแง่มุม ทั้งในแง่ของพลังงาน หรือ แม้กระทั่ง
การเปลีย่ นแปลงไปตามเวลาของระบบที่เรากาลังพิจารณา

อย่างไรก็ตาม มีระบบในทางฟิสกิ ส์อยู่จานวนมากที่มี Basis State เป็นสถานะที่ต่อเนื่อง


ยกตัวอย่างเช่นอิเล็กตรอนที่ถูกขังอยู่ในบ่อพลังงานศักย์ดังที่ได้เกริ่นมาแล้วในหัวข้อ 1.5

ให้  แทนสถานะของอิเล็กตรอนในระบบ ________________ สมการ (6.1)

และในเมื่ออิเล็กตรอนดังกล่าวสามารถที่จะอยู่ ณ ตาแหน่งใดๆก็ได้ภายในกล่อง เราจึงให้ Basis


State เป็นเซตของตาแหน่งต่างๆ ซึ่งเขียนได้โดยสัญลักษณ์
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-2

ให้ x แทนสถานะของอิเล็กตรอนทีอ่ ยู่ ณ ตาแหน่ง x ใดๆ ___________ สมการ (6.2)

จะเห็นว่า เซตของ Basis State ข้างต้นเป็นค่าที่ต่อเนื่อง และมีจานวนสมาชิกของเซตเป็นอนันต์


ด้วยเหตุนเี้ อง เมื่อเราเขียนสถานะ  ของระบบ ให้อยู่ในรูปของ Superposition ของ Basis State
x จึงมีความจาเป็นจะต้องเขียนอยู่ในลักษณะของการอินทิเกรต ดังต่อไปนี้

   dx ( x) x ____________________ สมการ (6.3)

N
โดยนัยยะสาคัญแล้ว สมการข้างต้นมิได้ต่างจากสมการ (2.22) หากแต่ซัมเมชั่น  ได้ถูกเปลี่ยน
i1

ให้อยู่ในรูปของการอินทิเกรต  dx ในขณะเดียวกัน เซตของสัมประสิทธิ์ ci ที่ปรากฏในสมการ


(2.22) ซึ่งเป็นค่าเฉพาะที่ผูกติดอยูก่ ับ Basis State  i นั้นๆ ก็ได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นฟังก์ชัน  ( x)
ซึ่งเป็นฟังก์ชันของ x เพราะเป็นสัมประสิทธิ์ที่ผูกติดกับ Basis State x นั่นเอง

และในทานองเดียวกันที่เราสามารถตีความได้ว่า ci ก็คือ Probability Amplitude ที่ระบบจะอยู่ใน


สถานะ  i ในระบบที่มีความต่อเนื่องเช่นนี้ ก็สามารถเขียนได้ว่า

 ( x)  x  ___________________________ สมการ (6.4)

สมการ (6.4) นี้เองคือคานิยามของ Wave Function ที่นักศึกษาคุ้นเคยเป็นอย่างดีในเนื้อหาของ


กลศาสตร์ควอนตัมเบื้องต้น โดยที่ความหมายของ Wave Function ดังกล่าวนั้น เกี่ยวข้องกับความ
น่าจะเป็นที่จะพบอนุภาค

 ( x) dx 
2
ความน่าจะเป็นที่จะพบอนุภาคอยูภ่ ายในบริเวณ x  x  dx

นอกจากนี้ในบทที่ 2 เรายังได้กล่าวถึงการเขียน Operator ให้อยู่ในรูปของ Ket-Bra ซึ่งปรากฏใน


สมการ 2.23 ดังต่อไปนี้

เมื่อ   i  คือ Basis State _____________ สมการ (2.23)


N N
Oˆ   oij  i j
i 1 j 1

และในทานองเดียวกันกับสมการ (6.3) เราสามารถเขียน Operator ให้อยู่ในรูป


บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-3

Oˆ   dxdxo( x, x) x x ____________________ สมการ (6.5)

จากสมการข้างต้นจะพบว่า Double Summation ได้ถูกเปลี่ยนให้เป็น Double Integral และ


สัมประสิทธิ์ oij ได้ถูกเปลีย่ นให้เป็นฟังก์ชัน o( x, x) และจากแบบฝึกหัด 2.5 เราสามารถเขียน
o( x, x) ซึ่งเป็นฟังก์ชันของ x และ x  ได้ว่า

o( x, x)  x Oˆ x ____________________ สมการ (6.6)

แบบฝึกหัด 6.1 จงใช้ Identity Operator ในบทที่ 2 เพื่อแสดงให้เห็นว่า


1̂   dx x x ____________________ สมการ (6.7)

แบบฝึกหัด 6.2 กาหนดให้    1 จงใช้ Identity Operator ในสมการ (6.7) และ คา


นิยามของ Wave Function ในสมการ (6.3) เพื่อพิสูจน์ว่า
1   dx  ( x) ( x)   dx  ( x) ____________________ สมการ (6.8)
2

สมบัติทางคณิตศาสตร์ที่สาคัญอีกอันหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับการใช้  x  เป็นเซตของ Basis State คือ

x x   ( x  x) ____________________ สมการ (6.9)

เมื่อ คือ  ( x  x) Dirac Delta Function โดยทีส่ มการ (6.9) ข้างต้นสามารถพิสูจน์ได้โดยง่าย


โดยการพิจารณาสถานะ Bra 

   dx  ( x) x ____________________ สมการ (6.10)

ให้สังเกตการเปลีย่ นรูปของฟังก์ชัน  ( x) ในสมการ (6.3) มาเป็น Complex Conjugate ของตัวมัน


เองในสมการ (6.10) นอกจากนี้เราทราบว่า    1 เพราะฉะนั้นแล้ว

   1   dxdx  ( x) ( x) x x

ในสมการข้างต้น ถ้าเราสมมุติให้ x x   ( x  x) แล้วจะได้ว่า


บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-4

1   dxdx  ( x) ( x) ( x  x)

  dx ( x)   dx 
( x) ( x  x) 
1   dx  ( x) ( x)

ซึ่งก็ถูกต้องเมื่อเปรียบเทียบกับสมการ (6.8) ทาให้เราทราบว่าสมมุตฐิ านที่ว่า x x   ( x  x) นั้น


สอดคล้องกับความเป็นจริง

แบบฝึกหัด 6.3 พิจารณาสถานะของระบบ 2 สถานะด้วยกันคือ  และ  ทั้งนี้เมื่อเราให้


เซตของ Basis State เป็น  x  จะสามารถเขียนได้ว่า
   dx ( x) x และ    dx ( x) x
โดยที่  ( x) และ  ( x) เป็นฟังก์ชันใดๆ จงใช้ Identity Matrix ในสมการ (6.7) และคานิยามของ
Wave Function ในสมการ (6.4) เพื่อพิสูจน์ว่า
    dx  ( x) ( x) ____________________ สมการ (6.11)

นอกจากนี้ โดยทั่วไปแล้ว Expectation Value ของ Operator Ô ใดๆ จะเขียนอยู่ในรูป

Oˆ   Oˆ 

ทั้งนี้เมื่อเราแทรก Identity Operator 1̂   dx x x เข้าไปในสมการข้างต้น ย่อมกระทาได้ เพราะ


Identity Operator ไม่ทาให้เกิดการเปลีย่ นแปลงในทางคณิตศาสตร์

Oˆ   Oˆ 

  1ˆOˆ 
  dx  x x Oˆ 

โดยใช้เอกลักษณ์  x  x      ( x) และเขียน  ให้อยู่ในรูป Superposition ของ


Basis State    dx ( x) x จะได้ว่าสมการข้างต้นแปรสภาพเป็น

Oˆ   dxdx  ( x) ( x) x Oˆ x ____________________ สมการ (6.12)

สมการ (6.12) มีความสาคัญมากในการคานวณ Expectation Value ของระบบที่มี Basis State เป็น


ปริมาณที่ต่อเนื่องอาทิเช่น  x  ดังจะได้ยกตัวอย่างการนามาใช้งานในแบบฝึกหัด 6.4
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-5

แบบฝึกหัด 6.4 พิจารณา Operator ที่ใช้วัดตาแหน่งของอนุภาค และใช้สัญลักษณ์ว่า x̂ ด้วย


เหตุนี้เมื่อ Operator ดังกล่าวกระทากับสถานะ x ก็ย่อมต้องดึงเอา Eigenvalue ซึ่งแสดงถึง
ตาแหน่งในขณะนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
x̂ x  x x ____________________ สมการ (6.13)
จงใช้คานิยามของ Operator ข้างต้นผนวกกับ 1) การคานวณ Expectation Value ในสมการ (6.9)
และ 2) เอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในสมการ (6.12) เพื่อพิสูจน์ว่า Expectation Value
xˆ   dx  ( x) x ( x) ____________________ สมการ (6.14)

เมื่อนักศึกษาลองมองย้อนไปถึงเนือ้ หาของกลศาสตร์เบื้องต้น ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการคานวณ


Expectation Value ของ Operator ใดๆ จะพบว่า รูปแบบของสมการทีเ่ ขียนจะมีความคล้ายคลึง
กับที่แสดงในสมการ (6.14) มากกว่าที่แสดงในสมการ (6.12)

ทั้งนี้ก็เพราะว่าวิชากลศาสตร์ควอนตัมเบื้องต้นเน้นการใช้ Wave Function เป็นหลักในการคานวณ


หากแต่เนื้อหาที่เรากาลังวิเคราะห์อยู่นี้ มีต้นตอมาจาก Matrix Mechanics ซึ่งมีขอบเขตของการ
ประยุกต์ใช้งานกว้างขวางกว่า Wave Mechanics อยู่มากทีเดียว ข้อเสียของ Matrix Mechanics
ก็คือ รูปแบบของสมการที่นักศึกษาจาเป็นต้องทาความเข้าใจ ค่อนข้างจะซับซ้อนกว่า ดังจะเห็นได้จาก
วิธีการคานวณ Expectation Value ในสมการ (6.12) เป็นต้น

หัวข้อ 6.2 Generator of Translation


ในแบบฝึกหัด 6.4 เราได้เห็นตัวอย่างของ Operator x̂ ซึ่งทาหน้าที่ในการวัดตาแหน่งของอนุภาค
และมีคณ
ุ สมบัติในทางคณิตศาสตร์คือ x̂ x  x x ในหัวข้อ 6.2 เราจะมาทาความรู้จัก
Operator อีกชนิดหนึ่งซึ่งทาหน้าที่ในการเลื่อนตาแหน่งของอนุภาคเป็นระยะทาง a ด้วยคุณสมบัติ
ของ Operator ดังกล่าวที่เราต้องการนี้ สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของสมการทางคณิตศาสตร์ได้วา่

Translation Operator Tˆ (a) x  x  a ____________________ สมการ (6.15)

ในสมการ (6.15) เราเรียก Operator Tˆ (a) ว่า Translation Operator ซึ่งมีผลให้ Basis State
x เปลี่ยนไปเป็นสถานะ x  a หรืออีกนัยหนึ่ง เลื่อนไปข้างหน้าตามแกน x เป็นระยะทางเท่ากับ
a นั่นเอง

โดยทั่วไปแล้ว อนุภาคหรือระบบที่เราต้องการศึกษา มิได้มีตาแหน่งที่แน่นอนอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง


หากแต่เป็น Superposition ของตาแหน่งต่างๆที่เป็นไปได้ โดยมีฟงั ก์ชัน  ( x) เป็น Probability
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-6

Amplitude ที่อนุภาคจะอยู่ ณ ตาแหน่งต่างๆเหล่านั้น หรืออีกนัยหนึ่ง    dx ( x) x


และก็เป็นที่น่าสนใจว่า Translation Operator Tˆ (a) จะมีผลอย่างไรกับระบบที่อยู่ในสถานะ
ดังกล่าว ทั้งนี้เมื่อพิจารณา

Tˆ (a)   Tˆ (a )   dx ( x) x 
  dx ( x)Tˆ (a) x

Tˆ (a)    dx ( x) x  a

และเมื่อเราทาการเปลี่ยนตัวแปรของการอินทิเกรต โดยนิยามให้ x  x  a จะทาให้สมการข้างต้น


เปลี่ยนรูปดังต่อไปนี้

Tˆ (a)    dx ( x  a) x

อย่างไรก็ตาม ตัวแปร x  เป็นเพียงตัวแปรของการอินทิเกรตที่เราจะใช้สัญลักษณ์ตัวอื่นแทนได้โดย


ไม่ผดิ กติกาแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นอาจจะเขียนได้ว่า

Tˆ (a)    dx ( x  a) x เมื่อ    dx ( x) x __________ สมการ (6.16)

ทั้งสมการ (6.16) และภาพ 6.1 แสดงให้เห็นถึงผลของ Translation Operator ต่อสถานะของระบบ


ถ้าเราบ่งบอกสถานะของระบบด้วย Probability Amplitude ที่อนุภาคจะอยู่ ณ ตาแหน่งต่างๆ ซึ่ง
แทนด้วยฟังก์ชัน  ( x) จะพบว่า ผลของ Operator Tˆ (a) ก็คือการทาให้ฟังก์ชันดังกล่าวเลื่อน
ไปข้างหน้าตามแนวแกน x เป็นระยะทางเท่ากับ a

   dx ( x) x ภาพ 6.1 แสดงผลของ Translation


Operator ต่อสถานะของระบบ ถ้าเราบ่ง
1 บอกสถานะของระบบด้วย Probability
0.5
Amplitude ที่อนุภาคจะอยู่ ณ ตาแหน่งต่างๆ
ซึ่งแทนด้วยฟังก์ชัน  ( x) จะพบว่า ผล
2 0 2 4 ของ Operator Tˆ (a) ก็คือการทาให้ฟังก์ชัน
 0.5 ดังกล่าวเลื่อนไปข้างหน้าตามแนวแกน x เป็น
1
ระยะทางเท่ากับ a

Tˆ (a )    dx ( x  a ) x
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-7

แบบฝึกหัด 6.5 จงใช้สมบัติของ Translation Operator ในสมการ (6.15) และเอกลักษณ์ของ


Dirac Delta Function เพื่อพิสูจน์ว่า
x Tˆ (a)    ( x  a) __________ สมการ (6.17)

แบบฝึกหัด 6.6 จงใช้สมบัติการ Normalization ของสถานะ    dx ( x) x ในการพิสูจน์


ว่า Translation Operator มีสมบัติเป็น Unitary Operator กล่าวคือ
Tˆ † (a)Tˆ (a)  1 ________________ สมการ (6.18)

อย่างไรก็ตาม แทนที่เราจะสนใจ Translation Operator ที่สามารถเลื่อนสถานะของระบบเป็น


ระยะทาง a เราอาจจะพิจารณาเฉพาะการเลื่อนอนุภาคเป็นระยะทางสั้นๆ x หรือที่เรียกว่า
Infinitesimal Translation

และในทานองเดียวกันกับ Infinitesimal Rotation Operator ในบทที่ 2 หรือ Infinitesimal


Time Evolution Operator ในบทที่ 4 เราสามารถเขียน Infinitesimal Translation ให้อยู่ในรูป
ของ

i
Tˆ (x)  1  pˆ x x เมื่อ pˆ x คือ Generator of Translation __________ สมการ (6.19)

สาเหตุที่เรียก Operator pˆ x นี้ว่าเป็น Generator of Translation ก็เพราะว่ามันทาหน้าที่ในการ


กาหนดคุณลักษณะการเปลีย่ นแปลงไปของสถานะที่ Operator Tˆ (x) กาลังกระทาอยู่ นอกจากนี้
ด้วยเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ทไี่ ด้กล่าวถึงแล้วในบทที่ 2 เราสามารถเขียน
i
 pˆ x a
Tˆ (a)  e ________________ สมการ (6.20)

Generator of Translation Operator pˆ x มีสมบัติทางคณิตศาสตร์ที่สาคัญอยู่ 3 ข้อที่สาคัญ ซึ่งจะ


ได้กล่าวถึงโดยละเอียดในลาดับต่อไปนี้

1. pˆ x เป็น Hermitian Operator สมบัติข้อนี้พิสูจน์ได้จากคานิยามของ Infinitesimal


Translation Operator Tˆ (x)  1  i pˆ x x จากคุณสมบัติในสมการ (6.18) ที่ว่า
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-8

1  Tˆ † (x)Tˆ (x)

 i   i 
 1  pˆ x x  1  pˆ x x 
   
 i  i 
 1  pˆ †x x  1  pˆ x x 
  

และเมื่อกระจายเทอมทางขวามือของสมการจะได้

i i 1
pˆ x† x  pˆ x† pˆ x  x 
2
1  1 pˆ x x 

เนื่องจากเรากาลังพิจารณา Infinitesimal Operator ซึ่งก็หมายถึงว่า x  0 ทาให้สามารถตัด


เทอมที่ 4 ทางขวามือของสมการออกได้ เพราะมีค่าเล็กมากเมื่อเทียบกับเทอมอื่นๆ ดังนั้นแล้ว

pˆ †x  pˆ x _____________________ สมการ (6.21)

ซึ่งสมการ ก็มคี วามหมายว่า pˆ x เป็น Hermitian Operator นั่นเอง

2.  xˆ, pˆ x   i คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ขอ้ นี้มีที่มาจากการพิจารณา Commutation ระหว่าง


i
Infinitesimal Translation Operator Tˆ (x)  1  pˆ x x ในสมการ (6.19) และ Position
Operator x̂ ในสมการ (6.13) กล่าวคือ

 xˆ , Tˆ (x)   xˆ 1  i pˆ x x   1  i pˆ x x  xˆ


     
i i
 xˆ  xp ˆˆ x x  xˆ  pˆ x xˆ x

i
  x  xp
ˆˆ x  pˆ x xˆ 

สมการข้างต้นสามารถลดรูปลงไปได้อีก ถ้าเราเขียน ˆˆ x  pˆ x xˆ
xp ให้อยู่ในรูป xˆ, pˆ x  ดังนั้น

 xˆ, Tˆ (x)    i x  xˆ, pˆ x  _____________________ สมการ (6.22)


 

นอกจากนี้ ถ้าเราพิจารณาผลของ Operator  xˆ , Tˆ (x)   xT


 
ˆ ˆ (x)  Tˆ (x) xˆ ที่กระทากับสถานะ
   dx ( x) x ใดๆ จะได้ว่า
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-9

  
 xˆ, Tˆ (x)    xT 
ˆ ˆ (x)  Tˆ (x) xˆ  dx ( x) x

ˆ ˆ (x)  dx ( x) x  Tˆ (x) xˆ  dx ( x) x


 xT

และเมื่อใช้สมบัติของ Tˆ (dx) ในสมการ (6.16) และ สมบัติของ x̂ ในสมการ (6.13) เทอมข้างต้น


แปรสภาพเป็น

 xˆ, Tˆ (x)    xˆ dx ( x  x) x  Tˆ (x) dx ( x) x x


   
  dx ( x  x) x x   dx ( x  x)( x  x) x
 x  dx ( x  x) x

ฟังก์ชัน  ( x  x) ที่อยู่ภายในการอินทิเกรตในสมการข้างต้น สามารถกระจายให้อยู่ในรูปของ


Taylor Expansion  ( x  x)   ( x)  x 1    x 2 1  2
 เมื่อพิจารณาเทอม x
1! x 2! x 2
ซึ่งอยู่ภายนอกการอินทิเกรตที่กาลังคูณสมทบเข้าไปอีก เฉพาะเทอม  ( x) เท่านั้นที่มีความสาคัญ
ส่วนเทอมอื่นจะอยู่ในสภาพ  x 2 หรือ  x 3 ซึ่งมีค่าน้อยมากเสียจนตัดออกได้ หรืออีกนัยหนึ่ง ใน
กรณีเฉพาะอันนี้  ( x  x)   ( x) จึงมีผลให้

 xˆ , Tˆ (x)    x dx ( x ) x  x 
  

เนื่องจากสถานะ  ที่เรานามาพิจารณาเป็นสถานะทั่วๆไป และไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นกรณีใดเป็น


พิเศษ สมการข้างต้นจึงเป็นจริงในทุกๆกรณี และสรุปได้ว่า

 xˆ , Tˆ ( x)   x
 
_____________________ สมการ (6.23)

ในท้ายที่สุด เมื่อเปรียบเทียบสมการ (6.23) และสมการ (6.22) จะได้ความสัมพันธ์

 xˆ, pˆ x   i _____________________ สมการ (6.24)


3. x pˆ x    ( x) ในแบบฝึกหัด 6.5 เราได้คุ้นเคยกับสมบัติทางคณิตศาสตร์ของ
i x
Operator Tˆ (a) ในลักษณะเดียวกันนี้มาแล้ว ในคราวนี้เรามาวิเคราะห์ในกรณีของ Generator of
Translation Operator pˆ x กันบ้าง พิจารณา
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-10

Tˆ (x)    dx ( x  x) x

จะเห็นว่าเราสามารถกระจายฟังก์ชันให้อยู่ในรูปของอนุกรม Taylor

 ( x  x)   ( x)  x  ( x) เพราะฉะนั้นแล้ว สมการข้างต้นแปรสภาพเป็น
x


Tˆ (x)    dx ( x) x  x  dx  ( x) x
x

และเมื่อนาสถานะ bra x เข้ามาประกบทั้งสองข้างของสมการ จะได้วา่


x Tˆ (x)    dx  ( x ) x x   x  dx   ( x ) x x 
x

  dx ( x) ( x  x)  x  dx  ( x) ( x  x )
x

ให้สังเกตการณ์ใช้ Dirac Delta Function ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในสมการ (6.9) และ


อาศัยคุณสมบัติของ Dirac Delta Function ที่ว่า  ( x  x)   ( x  x) ทาให้


x Tˆ (x)    ( x)  x  ( x) _____________________ สมการ (6.25)
x

นอกจากนี้ เรายังสามารถวิเคราะห์เทอม x Tˆ (x)  โดยการเขียน Tˆ (x) ให้อยู่ในรูปของ


i
Tˆ (x)  1  pˆ x x ซึ่งจะได้ว่า

i
x Tˆ (x)   x 1  pˆ x x 

i
 x   x x pˆ x 

เพราะฉะนั้นแล้ว
i
x Tˆ (x)    ( x)  x x pˆ x  ________________ สมการ (6.26)

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาทางขวามือของสมการ (6.25) และสมการ (6.26) แล้วพบว่า


i 
x x pˆ x   x  ( x) หรืออีกนัยหนึ่ง
x
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-11


x pˆ x    ( x) ________________ สมการ (6.27)
i x

นอกจากนี้ สมการข้างต้น ยังสามารถเขียนให้อยู่ในรูป


pˆ x    dx  ( x) x เมื่อ    dx ( x) x ___________ สมการ (6.28)
i x

แบบฝึกหัด 6.7 สมมุติให้ระบบทางฟิสิกส์อยู่ในสถานะ    dx ( x) x จงพิสูจน์ว่า


Expectation Value ของ Generator of Translation Operator pˆ x มีค่าเท่ากับ

 pˆ x    dx  ( x)  ( x) ________________ สมการ (6.29)
i x

หัวข้อ 6.3 Momentum Operator


คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ทั้ง 3 ข้อที่เราได้กล่าวมาข้างต้นนั้น มีความสาคัญต่อการตีความหมายของ
Operator pˆ x ในทางฟิสิกส์เป็นอย่างยิ่ง ประการแรกก็คือ คานิยามในสมการ (6.19) บังคับให้
Joule  sec
Operator pˆ x มีหน่วยเป็น ซึ่งเป็นหน่วยของโมเมนตัม
m

ประการทีส่ อง pˆ x เป็น Hermitian Operator ดังที่ได้อธิบายในบทที่ 3 หัวข้อ 3.6 ซึ่งมี


ความหมายว่า pˆ x จะต้องมี Eigenvalue เป็นจานวนจริง และสามารถที่จะเป็น Operator ที่ใช้วัด
Observable ในทางฟิสิกส์ได้

และประการทีส่ าม pˆ x มีคุณสมบัติดังในสมการ (6.27) ซึ่งนักศึกษาคงสามารถจดจารูปแบบทาง


คณิตศาสตร์ของ Momentum Operator ในเนื้อหาของวิชากลศาสตร์ควอนตัมเบื้องต้นได้ว่า มี
ความคล้ายคลึงกับสมการ (6.27)

ด้วยเหตุผลทั้ง 3 ประการนี้เองเราสรุปได้ว่า

นอกจาก pˆ x จะมีหน้าที่เป็น Generator of Translation Operator ที่เป็นตัวควบคุมให้อนุภาค


เลื่อนไปข้างหน้าตามแนวแกน x แล้ว Operator pˆ x ยังเป็นที่รู้จักกันดีในเชื่อที่ว่า Momentum
Operator อีกด้วย
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-12

ในวิชากลศาสตร์ควอนตัมเบื้องต้นที่ใช้สมการ Schrödinger เป็นหลัก นักศึกษามักจะคุ้นเคยกับ


Wave Function  ( x) และ Momentum Operator ที่เขียนอยู่ในรูป pˆ x   อย่างไรก็
i x
ตาม รูปแบบของ Momentum Operator ดังกล่าวเมื่ออยู่ภายใต้บริบทของเนื้อหา Matrix
Mechanics ที่เรากาลังศึกษาอยู่นี้ เป็นเพียงรูปแบบของ Momentum Operator ที่แสดงออกมา
ภายใต้ Basis Set  x 

นักศึกษาต้องไม่ลมื ว่า Operator ต่างๆนั้น จะแสดงออกมาว่ามีรูปแบบทางคณิตศาสตร์อย่างไร


ล้วนแล้วแต่ผูกติดอยู่กับ Basis State ที่กาลังใช้อยู่ ไม่ว่าจะเป็น Operator ในสมการ (2.23) หรือ
Matrix ในสมการ (2.63) หรือ แม้กระทั่ง Momentum Operator ในสมการ (6.27)

เพราะฉะนั้น แทนที่เราจะใช้ตาแหน่งของอนุภาค  x  เป็น Basis State เราอาจจะพิจารณา


ระบบที่กาลังสนใจ ในแง่ของ Momentum ที่มันมีอยู่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง พิจารณาระบบโดยใช้
Momentum ตามแนวแกน x เป็น Basis State ซึ่งในที่นี้ เราจะใช้สัญลักษณ์  p  แทนเซตของ
Basis State ดังกล่าว

และเมื่อเราใช้ Momentum Operator pˆ x เข้ามากระทากับกับสถานะ p ก็จะมีผลเท่ากับการวัด


Momentum ของสถานะนั้นๆ และดึงเอาค่า Eigenvalue ดังกล่าวออกมา ซึ่งก็คือ

pˆ x p  p p _____________________ สมการ (6.30)

นอกจากนี้ เรายังสามารถที่จะเขียนสถานะของระบบ  ให้อยู่ในรูป Superposition ของ Basis


State  p  เหล่านีไ้ ด้ว่า
   dp ( p) p ____________________ สมการ (6.31)

โดยทั่วไปแล้ว สถานะ  ดังในสมการ (6.31) นั้น เราเรียกเซตของ Momentum Basis State


 p  ว่า “Momentum Space” ในขณะที่สมการ (6.3) เป็นการเขียน  ให้อยู่ในรูปของ
“Position Space”

จะสังเกตว่าในสมการ (6.31) ข้างต้นนั้น เราใช้ฟังก์ชัน  ( p) แทน Probability Amplitude ที่จะ


พบอนุภาคหรือระบบที่เรากาลังสนใจ อยู่ในสภาวะที่มี Momentum ต่างๆกัน หรือในรูปของ
Bra-Ket ก็คือ

 ( p)  p  ____________________ สมการ (6.32)


บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-13

และจาก Probability Amplitude ดังกล่าว โดยคานิยามของความน่าจะเป็นแล้ว

dp  ( p)
2
คือ Probability ที่อนุภาคจะมีโมเมนตัม อยู่ในช่วง p   p  dp 

แบบฝึกหัด 6.8 ในทานองเดียวกันกับสมการ (6.9) จงพิสูจน์ว่า


p p   ( p   p ) ____________________ สมการ (6.33)

สมบัติของ Momentum Basis State ในสมการ (6.33) และการเขียน  ในสมการ (6.31) จะทา
ให้เราสามารถเขียนรูปแบบทางคณิตศาสตร์ของ Momentum Operator ดังที่ปรากฏภายใต้
Momentum Space กล่าวคือ

p pˆ x   p   dp ( p) pˆ x p 
 p   dp  ( p ) p  p  

  dp  ( p ) p   p  p  

และเมื่อใช้เอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ของ Dirac Delta Function ที่ว่า   p  p    p  p 


และ  dx f ( x)  x  x0   f  x0  จะได้ว่า
p pˆ x   p ( p) ____________________ สมการ (6.34)

มาถึงขั้นนี้ นักศึกษาต้องสังเกตให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างสมการ (6.27) ซึ่งดูเหมือนว่า


Momentum Operator pˆ x เมื่ออยูภ่ ายใต้ Position Space อยู่มีรูปแบบทางคณิตศาสตร์เป็น
Differential Operator  ซึ่งกระทาอยู่กับฟังก์ชัน  ( x)
i x

ในขณะที่สมการ (6.34) บ่งบอกว่า Momentum Operator pˆ x เมื่ออยู่ในบริบทของ Momentum


Space แล้ว จะมีรูปแบบทางคณิตศาสตร์เป็นค่า Eigenvalue ของ Momentum p ซึ่งคูณอยู่
กับฟังก์ชัน  ( p)

ความแตกต่างดังกล่าว เป็นหลักฐานชิ้นสาคัญซึ่งจะทาให้เราตระหนักว่า Operator ต่างๆที่ได้เคย


ศึกษามาในกลศาสตร์ควอนตัมเบือ้ งต้นซึ่งใช้สมการ Schrödinger เป็นหลักนั้น แท้จริงแล้วเป็นการ
เขียน Operator ที่แสดงออกมาภายใต้กรอบของ Position Space เท่านั้นเอง

ในคราวนี้เราจะมากล่าวถึงเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์สาคัญอีกอันหนึ่ง ซึ่งจะถูกนามาประยุกต์ใช้
งานในอนาคต นั่นก็คือ เราจะพิสูจน์ว่า
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-14

1
x p  eipx ____________________ สมการ (6.35)
2

พิจารณา x pˆ x p  p x p นอกจากนี้ ถ้าพิจารณาสมการ (6.27) และกาหนดให้   p



จะได้ว่า x pˆ x p  x p เพราะฉะนั้นแล้ว
i x


p x p  x p ____________________ สมการ (6.36)
i x

เนื่องจาก x p มีสถานะภาพเป็นฟังก์ชัน ทาให้สมการ (6.36) ก็มีสถานะภาพเป็นสมการอนุพันธ์


ธรรมดา ซึ่งมีผลเฉลยของสมการคือ

x p  Neipx เมื่อ N คือค่าคงที่ ____________________ สมการ (6.37)

โดยที่เราสามารถคานวณค่าคงที่ N ได้จากการพิจารณาสถานะ p ซึ่งก็ไม่ต่างจากสถานะทั่วๆไป


ที่เราสามารถเขียนอยู่ในรูปของ Superposition ใน Position Space

p   dx  x p  x เมื่อ คือ x p Probability Amplitude

และเมื่อนา Bra p เข้ามาประกบทั้งสองข้างของสมการ จะได้ว่า p p   dx x p p x

แต่จากสมการ (6.33) p p   ( p   p ) เพราะฉะนั้น

 ( p  p)   dx x p p  x

  dx x p x p 
i  p  p  x
 dxe
2
 N

Dirac Delta Function ที่ปรากฏอยู่ทางซ้ายมือของสมการข้างต้น มีรูปแบบทางคณิตศาสตร์ทเี่ ป็นไป



1
ได้อยู่หลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น  ( x)   dk e
ikx
และเมื่อใช้คานิยามของ Dirac
2 
Delta Function ดังกล่าวนี้

 x  i p  p  x
d  e 
1 i  p  p  x
  dx e
2
 N
2  
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-15

1
ด้วยเหตุนเี้ อง ทาให้ N และเมือ่ ผนวกกับสมการ (6.37) ก็จะได้ความสัมพันธ์ x p
2
ดังแสดงในสมการ (6.35)

การนาเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในสมการ (6.35) มาประยุกต์ใช้งานนั้น ก็ได้แก่การเปลี่ยนจาก


Probability Amplitude ซึ่งแต่เดิมอยู่ใน Position Space  ( x) ให้กลายมาเป็น Momentum
Space  ( p) โดยสมมุติว่าเราทราบข้อมูลของอนุภาค และ Probability Amplitude ที่มันจะอยู่
ณ ตาแหน่งต่างๆกันคือ

   dx ( x) x

เมื่อนาสถานะ Bra p เข้ามาประกบทั้งสองข้างของสมการจะได้ว่า p    dx ( x) p x


ทั้งนี้โดยคานิยามแล้ว ทางซ้ายมือของสมการก็คือ  ( p)  p  ในขณะที่ทางขวามือของสมการก็
1 ipx
คือ
2
 dx ( x)e เพราะฉะนั้นแล้ว

1 ipx
 ( p) 
2
 dx ( x)e ____________________ สมการ (6.38)

และในทานองเดียวกัน เราสามารถพิสูจน์ได้ว่า

1 ipx
 ( x) 
2
 dp ( p)e ____________________ สมการ (6.39)

แบบฝึกหัด 6.9 พิจารณาระบบที่อิเล็กตรอนถูกขังอยู่ในบ่อพลังงานศักย์สูงเป็นอนันต์ดังในภาพ


(1.2) ของบทที่ 1 สมมุติว่า Probability Amplitude ที่จะพบอิเล็กตรอน ณ ตาแหน่งต่างๆภายใน
30
กล่องคือ  ( x)  x( d  x) เมื่อ 0 xd
d5
a) จงหา Probability Amplitude  ( p) และวาดกราฟ
b) เมื่อวิเคราะห์อิเล็กตรอนที่อยู่ในสถานะดังกล่าว มีความน่าจะเป็นเท่าใดที่จะพบว่ามันมีโมเม
นตัมอยู่ในช่วง p  ( p  dp) พร้อมทั้งวาดกราฟ
15 8  2 k 2 d 2  ( k 2d 2  4)2cos(kd )  8dk sin(kd )  p
เฉลย 2
 ( p)  เมื่อนิยาม k
 k d 
6 5 
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-16

นอกจากนี้ เนื่องจากความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ระหว่าง  ( x) และ  ( p) ดังในสมการ (6.38)


และ (6.39) ที่มีลักษณะของเหมือนกันกับ Fourier Transform เราเรียกฟังก์ชัน  ( x) และ
 ( p) ว่าเป็น Fourier Transform Pair (ฟังก์ชันที่เป็น Fourier Transform ของกันและกัน)
ระหว่าง Position Space และ Momentum Space

หัวข้อ 6.4 Free Particle และ Gaussian Wave Packet


เพื่อมิให้เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ Momentum Operator และกลไกทางคณิตศาสตร์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น
เป็นเพียงนามธรรมที่เลื่อนลอยจนเกินไป เรามาศึกษาตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ซึ่งก็คือ อนุภาคที่
เคลื่อนที่อย่างอิสระตามแนวแกน x หรือที่เรียกว่า Free Particle

   dx ( x) x

x0  x 2 2a 2
 ( x)  Ne

ภาพ 6.2 แสดงถึงโมเดลอีกแบบหนึ่งของกลศาสตร์ควอนตัม ที่ใช้แทนอนุภาคที่วางอยู่ ณ จุด


กาเนิด คาว่า "วาง ณ จุด x=0" นั้น ในความเป็นจริงแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่อนุภาคจะมีตาแหน่งที่
แน่นอน 100% อยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่ง

พิจารณาอนุภาคที่วางอยู่ ณ จุดกาเนิดดังในภาพ 6.2 ในมุมมองของกลศาสตร์ควอนตัม คาว่า “วาง


ณ จุด x=0” นั้น ในความเป็นจริงแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่อนุภาคจะมีตาแหน่งที่แน่นอน 100% อยู่ ณ
จุดใดจุดหนึ่ง เพราะฉะนั้น เราให้สถานะ  ของอนุภาคเป็น Superposition ของตาแหน่งต่างๆ
ที่เป็นไปได้    dx ( x) x โดยมีฟังก์ชัน  ( x) แสดงถึง Probability Amplitude ที่จะพบ
อนุภาค ณ ตาแหน่งนั้นๆ

โมเดลอันหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือ การกาหนดให้
2 2a2
 ( x)  Ne  x ____________________ สมการ (6.40)
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-17

เมื่อ N และ a คือค่าคงที่ ซึ่งเราจะทาการคานวณและตีความในลาดับต่อไป รูปแบบของฟังก์ชัน


ในสมการ (6.40) จัดอยู่ในกลุ่มของฟังก์ชันที่เรียกว่า Gaussian Function ดังแสดงในภาพ 6.2

ข้อควรระวัง Probability Amplitude ในสมการ (6.40) มิได้เป็นข้อกาหนดตายตัวที่ใช้ในการ


อธิบายอนุภาคอิสระ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับระบบทางฟิสิกส์ที่กาลังพิจารณา ยกตัวอย่างเช่น
บางครั้งเรา model อนุภาคอิสระที่กาลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงโดยใช้ Probability Amplitude
 ( x) eikx

เราสามารถคานวณค่าคงที่ N ได้จากเงื่อนไข Normalization ที่ว่า

1   dx  ( x) ( x)

2  x a 
2
  dx N e



2
อาศัยสมบัติของ Gaussian Function  dx e x   ผนวกกับสมการข้างต้น จะได้ว่า


1
N
a

เพราะฉะนั้นแล้ว Probability Amplitude ของอนุภาคอิสระซึ่งอยู่ในรูปของ Gaussian Function ก็


คือ

1 2 2a2
 ( x)  e x ____________________ สมการ (6.41)
a

และเพื่อที่จะเข้าใจความหมายของค่าคงที่ a เราลองคานวณ Uncertainty ในการวัดตาแหน่งของ


อนุภาคดังกล่าว จากหัวข้อ 2.4 ในบทที่ 2 Uncertainty ของ Operator x̂ คานวณได้จาก

x  xˆ 2  xˆ
2
____________________ สมการ (6.42)

เราเริ่มขั้นตอนในการคานวณด้วยการวิเคราะห์ Expectation Value x̂ ซึ่งจากสมการ (6.12)


เราบอกได้ว่า
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-18

xˆ   dxdx  ( x) ( x ) x xˆ x 

  dxdx  ( x) ( x ) x  x x 

จากนั้น ใช้สมการ (6.9) เพื่อช่วยในการอินทิเกรต ทาให้ในท้ายที่สุด

xˆ   dxdx   ( x ) ( x ) x  ( x  x )


  dx ( x) x ( x)


และเมื่อนาเอาคานิยามของ Probability Amplitude ในสมการ (6.41) เข้ามาอินทิเกรต



1 2 a2
xˆ   dx xe x 0 ________________ สมการ (6.43)
 a

2 2
ผลลัพธ์ของการอินทิเกรต เป็นศูนย์ก็เพราะว่า e x a เป็นฟังก์ชันคู่ ในขณะที่ x เป็นฟังก์ชันคี่
และเมื่อทาการอินทิเกรต ตลอดช่วง  ,   จึงได้ผลลัพธ์เป็นศูนย์โดยอัตโนมัติ

แบบฝึกหัด 6.10 จงใช้กลไกของการคานวณ Expectation Value ในสมการ (6.12) เพื่อพิสูจน์ว่า



xˆ 2   dx

( x) x 2 ( x) ________________ สมการ (6.44)


ขั้นตอนต่อไปคือการคานวณ x̂ 2 ซึ่งจากสมการ (6.44) จะได้ว่า


1 2 a2 a2
xˆ 2   dx x 2e x  ________________ สมการ (6.45)
 a 2

เทคนิคของการอินทิเกรต ในสมการข้างต้น มิได้มีอะไรซับซ้อนไปกว่าการเปิดตาราง ที่ปรากฏอยู่ใน


หนังสือ Mathematical Physics ซึ่งมีอยู่โดยทั่วไป

ในท้ายที่สุด เราสามารถคานวณ Uncertainty ของตาแหน่งของอนุภาคได้จาก สมการ (6.45) และ


สมการ (6.43) ซึ่งก็คือ

a
x  xˆ 2  xˆ
2
 ________________ สมการ (6.46)
2
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-19

นอกจากเราจะมองสถานะของอนุภาคดังกล่าวใน Position Space เรายังสามารถเปลี่ยน


Probability Amplitude  ( x) ให้อยู่ในรูปของ  ( p) ใน Momentum space ซึ่งทาได้โดยอาศัย
สมการ (6.38)

1 1 2 2a 2 ipx
 ( p)   dx e x e
2  a

x ipa
อินทิกรัลข้างต้นสามารถคานวณได้โดยการเปลี่ยนตัวแปร นิยามให้    ซึ่งจะทาให้
2a 2
อินทิกรัลแปรรูปเป็น

1 1 2a 2 2 2  2
 ( p)  2 ae  p  d e
2 a 

และจะได้ว่า

a 2a2 2 2
 ( p)  e p ________________ สมการ (6.47)

ฟังก์ชัน  ( p) ข้างต้น แสดงถึง Probability Amplitude ที่อนุภาคจะมีโมเมนตัมต่างๆกัน และนั้น


ก็หมายถึง เมื่อเราต้องการที่จะอธิบายสถานะของระบบให้อยู่ในรูปแบบของ Momentum Basis
State จะทาได้โดย

 a 2a 2 2 2 
   dp 

e p  p ________________ สมการ (6.48)
  

สถานะที่แสดงดังในสมการ (6.48) มีความสะดวกในการคานวณ Expectation Value ของโมเมนตัม


ซึ่งแทนด้วยสัญลักษณ์ p̂ และการคานวณ Uncertainty ในการวัดโมเมนตัม ซึ่งแทนด้วย
สัญลักษณ์ p

Expectation Value p̂ สามารถคานวณได้โดยใช้สมการ (6.12) ซึ่งถึงแม้ตัวสมการจะเขียนอยู่ใน


รูปของ Operator ที่ใช้ Position Basis State  x  เป็นหลัก รูปแบบของสมการนั้นเป็นจริงใน
ทุกๆ Basis State รวมไปถึง Momentum Basis State  p  ด้วย
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-20

pˆ   dpdp   ( p ) ( p ) p pˆ p 

a 2a2 2
  dp pe  p
 

และเมื่อใช้เหตุผลที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชันคู่และฟังก์ชันคี่ของสิ่งที่อยู่ในอินทิกรัลข้างต้น เราสรุปได้ว่า

a 2a2 2
pˆ   dp pe p 0 ________________ สมการ (6.49)
 

แบบฝึกหัด 6.11 จงคานวณ Expectation Value p̂ 2 ในทานองเดียวกับที่เราได้วิเคราะห์


x̂ 2 เพียงแต่ว่าในกรณีนี้เป็น Operator p̂ 2 และ Momentum Basis State  p  และ
พิสูจน์ว่า
 2
a 2a2 2
pˆ 2   dp p 2 e p  ________________ สมการ (6.50)
  2a 2

แบบฝึกหัด 6.12 จงหา Expectation Value p̂ โดยเริ่มจากการเขียนสถานะของระบบอยู่ในรูป


1 2 2a2
ของ Position Basis    dx e x x แทนที่จะเป็น Momentum Basis ดังใน
a
สมการ (6.48) นักศึกษาอาจจะต้องใช้สมการ (6.119) เข้าช่วยในการวิเคราะห์

จากสมการ (6.49) และ (6.50) ซึ่งบอก Expectation Value p̂ และ p̂ 2 ตามลาดับ เราบอก
ได้ว่า Uncertainty ของการวัดโมเมนตัมของอนุภาค ที่เราใช้โมเดลของ Gaussian Wave Packet คือ

p  pˆ 2  pˆ
2
 ________________ สมการ (6.51)
2a

คุณสมบัติตา่ งๆของ Gaussian Wave Packet ดังกล่าว ได้สรุปอยู่ในภาพ 6.3 ซึ่งแสดงโมเดลของ


อนุภาคอิสระที่อธิบายด้วยกลศาสตร์ควอนตัม และแสดงในสองลักษณะคือ 1) Position Space
 ( x) และ 2) Momentum Space  ( p) ซึ่งทั้งสองมุมมองสามารถเปลี่ยนแปลงไปมาได้โดยใช้
Transformation Equation ที่มีลักษณะคล้ายกันกับ Fourier Transform
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-21

Position Space Momentum Space


 1 2 2  2 2 2
e x 2a  x
a
   dx     dp  e p a 2  p
 a    

 ( x) 1  ipx  ( p)
 ( x) 
2
 dp ( p)e
1 1 ipx
a 2
 dx ( x)e   ( p)
a
x  p
a
x  p 
2 2a
ภาพ 6.3 แสดงโมเดลของอนุภาคอิสระที่อธิบายด้วยกลศาสตร์ควอนตัม และแสดงในสองลักษณะ
คือ 1) Position Space  ( x) และ 2) Momentum Space  ( p)

1) ใน Position Space อนุภาคมี Expectation Value ของตาแหน่ง xˆ  0 ซึ่งหมายถึงว่าโดย


a
เฉลี่ยแล้วมันอยู่ ณ ตาแหน่ง x = 0 ในขณะที่ความไม่แน่นอนของตาแหน่งดังกล่าว x  ซึ่ง
2
แปรผันตรงกับค่าคงที่ a

2) ใน Momentum Space อนุภาคมี Expectation Value ของ Momentum Operator


pˆ  0 ซึ่งหมายถึงว่าโดยเฉลี่ยแล้วมันหยุดนิ่ง และจะสังเกตว่าความไม่แน่นอนของโมเมนตัม

ดังกล่าว p  ซึ่งแปรผกผันกับค่าคงที่ a นั่นหมายถึงถ้าเราบอกตาแหน่งของอนุภาคได้


2a
แม่นยา จะส่งผลให้ความคลาดเคลื่อนของการวัดโมเมนตัม มีค่าสูงขึ้น

ในกรณีของตัวอย่างที่เรากาลังวิเคราะห์อยู่นี้ ความสัมพันธ์ของ Uncertainty ทั้งสองคือ

xp  ในกรณีของ Gaussian Wave Packet ________________ สมการ (6.52)


2

Time Evolution of Gaussian Wave Packet


โมเดลของกลศาสตร์ควอนตัม ที่ใช้ในการอธิบายพฤติกรรมของอนุภาค ดังที่ได้สรุปในภาพ 6.3 นั้น
อาจจะมีการเปลีย่ นแปลงได้เมื่อเวลาผ่านไป ในคราวนี้ เราจะมาศึกษาพฤติกรรมของอนุภาคใน
แง่มุมต่างๆกัน ไม่ว่าจะเป็นตาแหน่ง, ความไม่แน่นอนของการวัดตาแหน่ง และ วัดโมเมนตัม, และ
สถานะของอนุภาค เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-22

กลไกที่สาคัญในการวิเคราะห์หาสถานะของระบบเมื่อเวลา t ใดๆนั้น ก็คือ Time Evolution


Operator ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 4 ซึ่งอยู่ในรูปของ
ˆ
iHt

Uˆ (t )  e ___________________________ สมการ (6.53)

โดยที่ Ĥ คือ Hamiltonian Operator และในระบบของอนุภาคอิสระที่เรากาลังศึกษาอยู่นี้


พลังงานรวมของระบบมาจากพลังงานจลน์ของการเคลื่อนที่ ซึ่งก็คือ

pˆ 2
Hˆ  _____________________________ สมการ (6.54)
2m

ทั้งนี้ เนื่องจาก Hamiltonian ของระบบเป็นฟังก์ชันของ Momentum Operator จึงเป็นการ


เหมาะสมที่เราจะเริม่ ด้วยการเขียนสถานะของอนุภาค  ให้อยู่ในรูปของ Momentum Space
เพราะฉะนั้นแล้ว สถานะของระบบ ณ เวลาใดๆ ก็คือ
ˆ
iHt

 (t)  e  (t  0)
ˆ
iHt
  a 2a2 2 2 
e  dp  e p  p
  
ipˆ 2t
 a  p2a2 2 2  
 (t)   dp  e  e 2m p
 
 

ipˆ 2t

การที่จะวิเคราะห์สมการข้างต้น เราจะต้องทาการลดรูปเทอม e p ให้ได้เสียก่อน ซึ่งขั้นตอน 2m

ก็ไม่ต่างจากที่เราเคยได้ฝึกในหัวข้อ 2.5 ของบทที่ 2 โดยเริ่มการการกระจาย Operator


ipˆ 2 t
exp(  ) ให้อยู่ในรูปของอนุกรม Taylor จากนั้นนาพจน์ต่างๆเข้ามากระทากับสถานะ p
2m
ipˆ 2t ip 2t
 
ซึ่งจะได้ว่า e 2m p e ทั้งนี้ให้สังเกตว่าทางซ้ายมือของสมการปรากฏเป็น
2m p
Operator p̂ ในขณะที่ทางขวามือของสมการปรากฏเป็น Eigenvalue p ดังนั้น

 a 2 a 2 2 2 ip 2t 2 m 
 (t)   dp 

e p  p ________________ สมการ (6.55)
  
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-23

สมการ (6.55) แสดงให้เห็นว่า Probability Amplitude ของอนุภาคใน Momentum Space เป็น


ฟังก์ชันของทั้งโมเมนตัม p และ ของเวลา t ซึ่งก็คือ

a 2 a 2 2 2 ip 2t 2 m
 ( p, t )  e p ________________ สมการ (6.56)

และจากข้อมูลในสมการ (6.55) และ สมการ (6.56) เราสามารถคานวณปริมาณต่างๆที่เกี่ยวข้องอาทิ


โมเมนตัมเฉลี่ย และ ความไม่แน่นอนของการวัดโมเมนตัม ว่าเปลี่ยนแปลงกับเวลาอย่างไร ซึ่งจะได้
ว่า

p 0 ณ เวลาใดๆ ________________ สมการ (6.57)


p  ณ เวลาใดๆ ________________ สมการ (6.58)
2a

เป็นที่น่าสังเกตว่า สมบัติต่างๆของระบบที่เกี่ยวข้องกับ Momentum Space มิได้เปลี่ยนแปลงไป


กับเวลาแต่อย่างใด และในกรณีของ Position Space เราสามารถใช้ Fourier Transform ดังใน
สมการ (6.39) เพื่อที่จะหา Probability Amplitude  ( x, t )

1 a 2 a 2 2 2 ip 2t 2 m ipx
 ( x, t )   dp e p
2 

a2 it ix
และเมื่อทาการเปลี่ยนตัวแปร   p 2
  ทาให้เราสรุปได้ว่า
2 2m a 2
it
2 2

2 2m

 
x2
exp   2  
1 1
 ( x, t )  ________ สมการ (6.59)
  a  i t ma 
 2a


1  i t ma 2   

และส่งผลให้

xˆ  0 ณ เวลาใดๆ ___________________ สมการ (6.60)


2 2
a t
x  1 2 4
___________________ สมการ (6.61)
2 m a

แบบฝึกหัด 6.13 จงพิสูจน์สมการ (6.59) , (6.60) , และ (6.61)


บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-24

สมการ (6.59) และ สมการ (6.61) แสดงให้เห็นว่า เมื่อเวลาผ่านไป ถึงแม้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วตาแหน่ง


ของอนุภาคจะหยุดนิ่งอยู่ที่จุดกาเนิด แต่ความไม่แน่นอนของตาแหน่งดังกล่าว กลับเพิ่มขึ้นกับเวลา
และเมื่อรอจนกระทั่วเวลาล่วงเลยไปมากพอสมควร เราแทบจะบอกไม่ได้เลยว่า อนุภาคอยู่ที่ใด
2
แบบฝึกหัด 6.14 a) จงวาดกราฟของ Probability Density  ( x, t ) ณ เวลาต่างๆกัน b)
เวลา t ผ่านไปเท่าใด ระบบจึงจะมี Uncertainty ของตาแหน่ง หรือ x เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของ
x ในเวลาเริม
่ ต้น
3ma 2
เฉลย T ___________________ สมการ (6.62)

แต่ทว่าในความเป็นจริงที่เราเห็นในธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเรามองไปทีม่ ะม่วงลูกงามที่อยู่บน


ต้น กลับมาพรุ่งนี้เช้ามะม่วงก็ยงั คงอยู่ที่ต้นเดิมไม่หนีไปไหน ความเป็นจริงที่สังเกตเห็นได้นี้ ขัดกัน
อย่างสิ้นเชิงหรือไม่ กับสมการ (6.61) ที่บอกว่า ความไม่แน่นอนของตาแหน่งจะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

ในกรณีของมะม่วง สมมุติให้มีมวล m  30 g และมีความแม่นยาในการบอกตาแหน่งอยู่ในช่วง


3ma 2
a  0.1cm จากแบบฝึกหัด 6.14 เราจะต้องรอถึง T  1019 ปี จนกว่าเราจะเห็น
ลูกมะม่วงมี Uncertainty ของตาแหน่งเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า

2 2
a t
ปัจจัยสาคัญในการกาหนดคุณสมบัติการเพิ่มขึ้นของ x  1 2 4
นี้ ขึ้นอยู่กับมวลและ
2 m a
ขนาดของอนุภาคเป็นสาคัญ ยกตัวอย่างเช่น พิจารณาอะตอมไฮโดรเจน ซึ่งมีมวลประมาณ
m  1.67 1027 kg และจินตนาการว่าเราสามารถเห็นมันด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ซึ่งบอก
3ma 2
ตาแหน่งด้วยระยะความคลาดเคลือ่ นที่ a  1A ในกรณีเช่นนี้ T 1013 วินาที ซึ่ง
จะเห็นว่าอนุภาคอิสระซึ่งมีขนาดเล็กมากๆ มีความคลาดเคลื่อนของการวัดตาแหน่งอยู่มากทีเดียว

ข้อควรระวัง สมการ (6.61) เป็นการวิเคราะห์ที่จากัดอยู่แต่เพียงอนุภาคอิสระที่ไม่ได้ตกอยู่ภายใต้


แรงยึดเหนีย่ วใดๆ ในกรณีของอะตอมที่ถูกยึดให้ตดิ อยู่กับวัตถุด้วยพันธะเคมี จะมีพฤติกรรมที่
แตกต่างกันออกไป
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-25

หัวข้อ 6.5 Heisenberg Uncertainty Principle


จากการวิเคราะห์กรณีตัวอย่างของอนุภาคอิสระ ที่ใช้ Gaussian Wave Packet เป็นโมเดลนั้น เรา
ได้สังเกตเห็นความสัมพันธ์ของ x และ p ดังในสมการ (6.52) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงข้อจากัดใน
มุมมองของกลศาสตร์ควอนตัม ที่ไม่อาจจะวัดตาแหน่ง และโมเมนตัม ของอนุภาคให้แม่นยาพร้อมๆกัน
ได้

และในหัวข้อ 6.5 นี้ เราจะมาศึกษากฎเกณฑ์ที่มีขอบเขตการประยุกต์ใช้งานกว้างมากขึ้น ซึ่งมิได้จากัด


อยู่แต่เพียง Operator x̂ และ p̂ ดังในตัวอย่างของ Gaussian Wave Packet

พิจารณาการวัดปริมาณทางฟิสิกส์ที่แทนด้วย Operator  และ B̂ จะได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง


Uncertainty ในการวัดของปริมาณทั้งสองก็คือ

 Aˆ , Bˆ 
 
A B  ___________________ สมการ (6.63)
2

โดยที่  Aˆ , Bˆ  มีความหมายว่า Expectation Value ของ Operator  Aˆ , Bˆ   AB


ˆ ˆ  BA
ˆˆ และ
   
เครื่องหมาย ที่ปรากฏอยู่ทางขวามือของสมการ (6.63) ก็คือ Absolute Value นั่นเอง

ก่อนที่เราจะทาการพิสูจน์ที่มาของสมการ (6.63) เรามาฝึกการนาสมการดังกล่าวมาใช้งานเสียก่อน


สมมุติว่าเรากาลังพิจารณาระบบทีเ่ รากาลังจะวัด 1) ตาแหน่ง ซึ่งแทนด้วย Operator x̂ และ 2) โม
เมนตัม ซึ่งแทนด้วย Operator p̂

จากสมการ (6.24) เราทราบว่า xˆ, pˆ   i เราฉะนั้น Expectation Value ของ  xˆ, pˆ  ก็คือ

 xˆ, pˆ    i 
i  
 xˆ, pˆ   i

ซึ่ง Absolute Value ของ Complex Number i ก็มีค่าเท่ากับ นั่นเอง เพราะฉะนั้น จาก
สมการ (6.63) จะได้ว่า

x p  ___________________ สมการ (6.64)


2
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-26

ความสัมพันธ์ในสมการข้างต้น เป็นจริงในทุกๆกรณี รวมไปถึงกรณีของอนุภาคอิสระ นอกจากนี้


สมการ (6.64) ยังมีชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า Heisenberg Uncertainty Principle

แบบฝึกหัด 6.15 จงให้สมการ (6.63) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง Uncertainty ของการวัด


Angular Momentum ตามแนวแกน x และ ตามแนวแกน y และเปรียบเทียบกับแบบฝึกหัด 3.15
เฉลย J x J y  Jˆz
2

สาหรับขั้นตอนในการพิสูจน์สมการ (6.63) นั้น สรุปโดยสังเขปได้ว่า

1. เริ่มด้วย Schwarz Inequality ดังที่ได้เคยวิเคราะห์ในแบบฝึกหัด 3.17 ที่ว่า


2
      ___________________ สมการ (6.65)

2. พิจารณา Operator  และ B̂ ใดๆที่ใช้ในการวัดปริมาณทางฟิสิกส์ จะได้ว่า Operator ทั้ง


สองต้องเป็น Hermitian Operator

3. ถ้าเรากาหนดให้ 
  Aˆ  Aˆ  และ 
  Bˆ  Bˆ  จะได้ว่า

 
2
    Aˆ  Aˆ    A ___________________ สมการ (6.66)
2

   Bˆ  Bˆ 
2
   B  ___________________ สมการ (6.67)
2
 

เพราะฉะนั้น ทางซ้ายมือของ Schwarz Inequality มีค่าเท่ากับ  A B 2 ในขณะที่ทางขวามือ


อยู่ในรูปของ

    Aˆ  Aˆ    Bˆ  Bˆ   ___________________ สมการ (6.68)

ซึ่งจาเป็นจะต้องจัดรูปเสียใหม่

4. พิจารณา Operator Ô ใดๆ เราสามารถพลิกแพลงได้ว่า

Oˆ  Oˆ † Oˆ  Oˆ †
Oˆ   ___________________ สมการ (6.69)
2 2
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-27

ทั้งนี้ถ้ากาหนดให้ 
Oˆ  Aˆ  Aˆ   Bˆ  Bˆ  แล้วจะมีผลให้

Oˆ  Oˆ †  AB
ˆ ˆ  BAˆ ˆ   Aˆ , Bˆ  ______________ สมการ (6.70)
 
Oˆ  Oˆ †  ABˆ ˆ  BA
ˆ ˆ  2 Aˆ Bˆ  2 Aˆ Bˆ  Aˆ Bˆ ______________ สมการ (6.71)

5. ดังนั้นสมการ (6.68) แปรรูปเป็น

    Oˆ 
Oˆ  Oˆ † Oˆ  Oˆ †
    ______________ สมการ (6.72)
2 2
1
 1
  Oˆ  Oˆ †     Aˆ , Bˆ  
2 2   
แบบฝึกหัด 6.16 จงพิสูจน์ว่า a) Operator Oˆ  Oˆ † ในสมการ (6.71) เป็น Hermitian Operator
เพราะฉะนั้นแล้ว Expectation Value Oˆ  Oˆ † เป็นจานวนจริงเสมอ b) Operator Oˆ  Oˆ †
ในสมการ (6.70) มี Expectation Value เป็นจานวนจินตภาพเสมอ

6. เพราะว่า Oˆ  Oˆ † เป็นจานวนจริง และ Oˆ  Oˆ † เป็นจานวนจินตภาพ จากสมการ (6.72)


เราบอกได้ว่า

 
1 2 1 2
 Oˆ  Oˆ †    Aˆ , Bˆ  
2
   
4 4  

 
1 2 1 2 1 2
และเป็นธรรมดาที่  Oˆ  Oˆ †     Aˆ , Bˆ  
 
   Aˆ , Bˆ  
 
4 4 4
เพราะว่าทั้งสองเทอมในทางซ้ายมือของอสมการล้วนเป็นบวกทั้งคู่ เพราะฉะนั้นแล้ว

1 2
  Aˆ , Bˆ  
2
  
 
______________ สมการ (6.73)
4

7. เมื่อรวมสมการ (6.73), สมการ (6.66), สมการ (6.67) ,และ อสมการ (6.65) เข้าด้วยกัน จะได้ว่า

1 2
 A B 2    Aˆ , Bˆ  
2
  
4  
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-28

2
หรืออีกนัยหนึ่ง  A B 2  1   Aˆ , Bˆ  
 
ซึ่งลดรูปให้ง่ายลงได้ในท้ายที่สุดก็คือ
4

1  ˆ ˆ
A B  A, B
2  

เพียงสั้นๆ 7 ขั้นตอน เราก็สามารถพิสูจน์สมการ (6.63) ได้สาเร็จ

หัวข้อ 6.6 Schrödinger Equation


การศึกษากลศาสตร์ควอนตัมคงจะขาดความสมบูรณ์ ถ้าเราไม่ได้กล่าวถึงสมการ Schrödinger
ถึงแม้ว่าจะกระทั่งบัดนี้ เราพยายามที่หลีกเลี่ยงการให้ Wave Function เข้ามาวิเคราะห์ปรากฏการณ์
ทางฟิสิกส์ก็ตาม

ในหัวข้อ 4.1 ของบทที่ 4 เราได้กล่าวถึงสมการ Schrödinger ไปบ้างแล้ว ซึ่งสมการดังกล่าวเขียน


อยู่ในรูปแบบของสถานะ Ket ได้วา่


i (t )  Hˆ (t ) ______________ สมการ (6.74)
t

และเพื่อแสดงให้เห็นว่า Matrix Mechanics ดังในสมการ (6.74) นั้นมีขอบเขตการประยุกต์กว้างขวาง


กว่าสมการ Schrödinger ที่เราคุน้ เคยในวิชากลศาสตร์ควอนตัมเบือ้ งต้น เราจะมาศึกษาสมการ
Schrödinger ที่สามารถเขียนออกมาใน 2 รูปแบบด้วยกัน คือ 1) Position Space และ 2)
Momentum Space

Schrödinger Equation in Position Space


ใน Position Space เราสามารถนิยาม พลังงานรวมของระบบ หรือ Hamiltonian Operator ที่
ปรากฏในทางขวาของสมการ (6.74) ให้อยู่ในรูปของ

pˆ 2
Hˆ   V ( xˆ ) ______________ สมการ (6.75)
2m

ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการอธิบายความ เราจากัดการวิเคราะห์แต่เฉพาะใน 1 มิติ ตามแกน x จาก


pˆ 2
สมการ (6.75) จะเห็นว่า ก็คือ Kinetic Energy Operator หรือ Operator ที่ใช้วัดพลังงานจลน์
2m
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-29

ของระบบ และ V ( xˆ ) ก็คือ Potential Energy Operator ซึ่งเป็นตัวแทนของพลังงานศักย์ที่ระบบ


อยู่ภายใต้อิทธิพล ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของอนุภาคอิสระทีเ่ ราศึกษาในหัวข้อ ที่ผ่านมา
V ( xˆ )  0 หรือในกรณีที่อะตอมโดนยึดติดอยู่กับอะตอมอื่นๆด้วยพันธะเคมี เราอาจจะโมเดล

พลังงานศักย์นี้ได้ว่า V ( xˆ)  1 kxˆ 2 โดยที่ k เป็นตัวเลขที่แสดงถึงความแข็งแรงของพันธะเคมี


2
ดังกล่าว

ใน Position Space เราเขียนสถานะของระบบ  (t ) ให้อยู่ในรูปของ

(t )   dx ( x, t ) x ______________ สมการ (6.76)

จะเห็นว่า Probability Amplitude  ( x, t ) ในสมการ (6.76) นั้น เป็นฟังก์ชันของทั้งตาแหน่ง


และ เวลา ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ Schrödinger Equation ที่ปรากฏในสมการ (6.74) นั้นมีส่วนที่
เปลี่ยนแปลงไปกับเวลาด้วย ด้วยสถานะดังสมการ (6.76) ทาให้สมการ (6.74) เปลี่ยนรูปเป็น


 dx i  ( x, t ) x   dx ( x, t ) Hˆ x ______________ สมการ (6.77)
t

และเมื่อนาสถานะ bra x เข้ามาประกบทั้งสองข้างของสมการข้างต้น จะได้ว่า


 dx i  ( x, t ) x x   dx ( x, t ) x Hˆ x
t
 pˆ 2
 dx i
t
 ( x , t ) ( x   x )   dx ( x , t ) x 
2m
 V ( xˆ ) x

 pˆ 2
i  ( x, t )   dx ( x, t ) x x   dx ( x, t ) x V ( xˆ ) x
t 2m
______________ สมการ (6.78)

ในการคานวณข้างต้น ทางซ้ายมือของสมการ เราใช้คุณสมบัติของ Dirac Delta Function ในขณะที่


ทางขวาประกอบด้วยสองเทอมด้วยกัน เทอมแรก จากสมการ (6.28) เราพิสูจน์โดยง่ายว่า
pˆ 2 2
2
x x   ( x  x) และเทอมที่สอง จากสมการ (6.9) เราบอกได้ทันทีว่า
2m 2m x 2
และเมื่อผนวกกันเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการ
x V ( xˆ ) x  V ( x) ( x  x)
อินทิเกรต Dirac Delta Function แล้ว จะทาให้สมการ (6.78) ลดรูปได้เป็น
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-30

 pˆ 2
i  ( x, t )   dx ( x, t ) x x   dx ( x, t ) x  V ( xˆ ) x
t 2m
 2
2
i  ( x, t )    ( x, t )  V ( x) ( x, t )
t 2m x2

และในท้ายที่สดุ เพื่อความสะดวก เราสามารถที่จะเปลีย่ นตัวแปรจากเดิม x ให้เป็น x ซึ่งก็จะได้

 2
2
i  ( x, t )    ( x, t )  V ( x) ( x, t ) ______________ สมการ (6.79)
t 2m x 2

สมการ (6.79) ก็คือ Schrödinger Equation ใน Position Space ซึ่งเป็นต้นกาเนิดสาคัญของวิชา


กลศาสตร์ควอนตัมเบื้องต้นที่นักศึกษาคุ้นเคยเป็นอย่างดี และโดยปรกติแล้ว การที่จะได้มาซึ่งผล
เฉลย  ( x, t ) ก็ทาได้โดยการแก้สมการอนุพันธ์อันดับสองของสมการดังกล่าว

นอกจากนี้  ( x, t ) ยังอาจจะหาได้โดยการใช้ความสัมพันธ์

iE t
 n
 (t )   cn e n
n

ดังที่ปรากฏในหัวข้อ 4.6 ของบทที่ 4 ซึ่งถ้าเราใช้คานิยาม (t )   dx ( x, t ) x และนาสถานะ


bra x เข้าประกบทั้งสองข้างของสมการข้างต้น จะพิสูจน์ได้ว่า

iE t
 n
 ( x, t )   cn e  n ( x) ______________ สมการ (6.80)
n

เมื่อ  n ( x) เป็น Eigen Function ของสมการ

2
2
  n ( x)  V ( x) n ( x)  En n ( x) ______________ สมการ (6.81)
2m x 2

ในบางครั้งเราเรียกสมการ (6.81) นี้ว่า Time Independent Schrödinger Equation ด้วยเหตุที่ว่า


เป็นสมการอนุพันธ์ที่ไม่ขึ้นกับเวลา และสาหรับการคานวณหา Wave Function  ( x, t ) ของระบบ
ก็จะกระทาเป็นขั้นตอนโดยสังเขปคือ

1. กาหนดพฤติกรรมของระบบโดยการนิยาม V ( x)
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-31

2. กาหนดสถานะเริ่มต้น ณ เวลา t=0 ของระบบ ซึ่งแทนด้วย Probability Amplitude  ( x, t  0)


3. แก้สมการ Time Independent Schrödinger Equation เพื่อหาเซตของ Eigen Function
 n ( x) และ Eigen Energy En 
4. คานวณสัมประสิทธิ์ cn   dx n ( x) ( x, t  0)
iE t
 n
5.  ( x, t )   cn e  n ( x)
n

Schrödinger Equation in Momentum Space


ในการสร้างสมการ Schrödinger ใน Momentum Space เราจาเป็นต้องเริ่มด้วยการศึกษา
เอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ p xˆ  กันเสียก่อน พิจารณา

p xˆ   p xˆ1ˆ 
  dx p xˆ x x  ______________ สมการ (6.82)
  dx p x x ( x)

ในสมการข้างต้น เราใช้ Identity Operator ที่เขียนอยู่ในรูปของ 1̂   dx x x ให้เป็นประโยชน์


1
นอกจากนี้ เทอม p x x ยังสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของ x eipx โดยใช้สมการ (6.35)
2
เป็นตัวอ้างอิง แต่

1 1  ipx
x eipx i e ______________ สมการ (6.83)
2 2 p

และเมื่อแทนสมการ (6.83) เข้าไปในสมการ (6.82) จะได้ว่า

1  ipx
p xˆ  
2
 dx i p
e  ( x)

 1 ipx
i
p 2
 dxe  ( x)

 ( p)

เพราะฉะนั้นแล้ว


p xˆ   i  ( p) ______________ สมการ (6.84)
p
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-32

สมการ (6.84) แทบจะเรียกได้ว่ามีความสัมพันธ์ควบคู่ไปกับสมการ (6.27) เลยทีเดียว และในขณะนี้


เราก็พร้อมที่จะ Derive สมการ Schrödinger ใน Momentum Space

เริ่มด้วย Schrödinger Equation ในสมการ (6.74) ถ้าเรานาสถานะ Bra p เข้าประกบทั้งสอง


ข้างของสมการจะได้ว่า


i p  (t )  p Hˆ  (t )
t
______________ สมการ (6.85)
 pˆ 2
i  ( p, t )  p  (t )  p V ( xˆ )  (t )
t 2m

ทางขวามือของสมการข้างต้นนั้นมีอยู่สองเทอมที่จะต้องขยายความ เทอมแรกนั้น เนื่องจาก p̂ เป็น



 pˆ 2   pˆ 2 
Hermitian Operator ทาให้      เพราะฉะนั้น
 2m   2m 

  2 † 
pˆ 2  pˆ 
p  (t )   p     (t )
2m 
  2m  

p2
 p  (t ) ______________ สมการ (6.86)
2m
pˆ 2 p2
p  (t )   ( p)
2m 2m

ส่วนเทอมที่สองในสมการ (6.85) นั้นมีความซับซ้อนมากขึ้น ประการแรกก็คือ Operator V ( xˆ )


สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของ Taylor Series V ( xˆ)   an xˆ n ดังนั้น
n

p V ( xˆ )  (t )   an p xˆ n  (t )
n

และจากสมการ (6.84) จะได้ว่า


n
  
p V ( xˆ )  (t )   an  i   ( p, t ) ______________ สมการ (6.87)
n  p 
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-33

n
  
โดยที่ i  มีความหมายว่า อนุพันธ์อันดับ n ถึงแม้รูปแบบของ p V ( xˆ )  (t ) ดังสมการ
 p 
(6.87) นั้นจะตีความในเชิงคณิตศาสตร์ได้ชัดเจน บางครั้นเรานิยมเขียนย่อๆว่า
n
   
 an  i p   ( p, t )  V (i p ) ( p, t ) เพราะฉะนั้นแล้ว
n  


p V ( xˆ )  (t )  V (i ) ( p, t ) ______________ สมการ (6.88)
p

และในท้ายทีสดุ เมื่อรวบรวมเทอมในสมการ (6.86) และ สมการ (6.88) จะทาให้

 p2 
i  ( p, t )   ( p, t )  V (i ) ( p, t ) ______________ สมการ (6.89)
t 2m p

สมการข้างต้นเป็น Schrödinger equation ใน Momentum Space

Operator in Position Space and Expectation Value


ที่ผ่านมาเราพยายามที่เขียน Eigenstate ให้อยู่ในรูปของ Ket และเขียน Operator ให้อยู่ในรูปของ
Ket-Bra โดยพยายามหลีกเลี่ยงที่จะใช้รูปแบบสัญลักษณ์ของ Wave Function ถ้าไม่จาเป็น ทั้งนี้
ก็เพื่อประโยชน์ที่ต้องการฝึกให้นักศึกษาได้คุ้นเคยกับระเบียบวิธีทางกลศาสตร์ควอนตัม ที่ใช้ Ket และ
Matrix เป็นหลัก และไม่ยดึ ติดกับ Schrödinger Wave Function จนเกินไป

มาถึงขั้นนี้ เมื่อเรามีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ Ket และ Matrix เป็นที่น่าพอใจแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะ


สละทิ้งรูปแบบเปลือกนอกของสัญลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็น a) Wave Function หรือเป็น b) สถานะ Ket
ทั้งสอง ย่อมมีความหมายเหมือนกัน และเป็นเพียงเปลือกที่หุ้มไว้ด้วยสาระของกลศาสตร์ควอนตัม อัน
เดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญย่อมสามารถเลือกใช้เครื่องมือทั้งสอง ได้อย่างคล่องแคล่ว และสลับสับเปลีย่ น
ระหว่างสองยุทธวิธีตามความเหมาะสม

Operator ที่เราคุ้นเคย ซึ่งเขียนอยู่ในรูปแบบภาษาของ Wave Function ก็คือ Operator ที่เขียน


อยู่ในรูปของ Position Space อาทิเช่น


Momentum Operator ตามแนวแกน x คือ pˆ x  หรือ
i x
2
Hamiltonian Operator Hˆ    2  V (r )
2m
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-34

Operator ในลักษณะดังกล่าวนี้ จะสามารถกระทาได้แต่เฉพาะกับ Wave Function ใน Position


Space เพียงเท่านั้น อาทิเช่น


Momentum Operator pˆ x ( x)   ( x)
i x
2
Hamiltonian Operator Hˆ  (r )    2 (r )  V (r ) (r )
2m

เมื่อเป็นเช่นนี้ก็หลีกเลีย่ งไม่ได้ที่บางครั้งจะเกิดความสับสนในการใช้สญ
ั ลักษณ์ ว่า Operator Ô ที่
เรากาลังกล่าวถึงนั้น เป็น Operator ใน Position Space หรือ เป็น Operator ที่เขียนขึ้นในรูปทั่วไป
อย่างในสมการ (6.5) กันแน่ จึงต้องอาศัยประสบการณ์ของนักศึกษาเอง ที่จะสามารถแยกแยะทั้ง 2
กรณีออกจากกัน โดยอาศัยบริบทของเนื้อหาแวดล้อม เป็นตัวตัดสิน

อนึ่ง การเขียน Operator ใน Position Space นั้นค่อนข้างง่ายต่อการคานวณ Expectation


Value หรือ คานวณ Probability Amplitude กาหนดให้  (r ) คือ Wave Function ที่ใช้แทน
สถานะของระบบ จะได้ว่า Expectation Value ของ Operator Ô ก็คือ

Expectation Value Oˆ   d3 r (r )Oˆ (r ) in Position Space ______ สมการ (6.90)

หรือ ในกรณีของ Matrix Element ระหว่างสถานะ  (r ) และ  (r ) ก็สามารถคานวณได้อย่าง


ตรงไปตรงมาใน Position Space กล่าวคือ

    d3r  (r ) (r ) in Position Space ______ สมการ (6.91)

นักศึกษาจะเห็นว่า สมการ (6.90) นั้นค่อนจะง่ายกว่าสมการ (6.12) อยู่มากทีเดียว ทั้งๆที่มี


ความหมายเดียวกัน ที่แตกต่างกันก็เพราะว่า Operator Ô ในสมการ (6.90) นั้นมีข้อจากัดก็คือ
จะต้องเขียนขึ้นใน Position Space เพียงเท่านั้น

ข้อจากัดดังกล่าวนีไ้ ม่ก่อให้เกิดปัญหามากนัก เพราะสถานการณ์ตา่ งๆโดยทั่วไปในทางกลศาสตร์


ควอนตัมนั้น จะใช้ Position Space เป็นหลัก

แบบฝึกหัด 6.17 สมมุติว่าอนุภาคมวล m ใน 1 มิติอยู่ในสถานะที่อธิบายด้วย Wave Function


14
 m  2 2
 ( x)    e m x
 
2
2
a) จงคานวณหา Expectation Value ของ พลังงานจลน์ 
2m x 2
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-35

1
b) จงคานวณหา Expectation Value ของ Operator m xˆ 2
2
c) จงแสดงให้เห็นว่า   1
14
 4  m 3  2 2
d) จงแสดงให้เห็นว่า   0 เมื่อ  ( x)      xe  m x
    

หัวข้อ 6.7 Square Well Potential


เมื่อเราได้ศึกษาการเขียนสมการ Schrödinger ทั้งสองรูปแบบคือใน Position Space ดังสมการ
(6.79) และใน Momentum Space ดังสมการ (6.89) มาแล้ว ก็มีความจาเป็นที่เราจะต้อง
ยกตัวอย่างการนามาใช้งาน ซึ่งก็คือการศึกษา Quantum Well ของสารประกอบ GaAs และ
GaAlAs

Quantum Well
V ( x)

x x
2a

GaAlAs GaAs
2a
ภาพ 6.4 แสดงชั้นของสาร GaAs ซึ่งโดยประกบอยู่ระหว่าง GaAlAs

โครงสร้างของ Quantum Well อีกแบบหนึ่งก็คือการนาสารกึ่งตัวนามาประกอบกันเป็นชั้นๆ


ยกตัวอย่างเช่นในภาพ 6.4 แสดงชั้นของสาร GaAs ซึ่งโดยประกบอยู่ระหว่าง GaAlAs ใน
การศึกษาหรือทานายคุณสมบัติของกระแสอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ผ่านโครงสร้างลักษณะดังกล่าวนี้ เรา
สามารถใช้โมเดลอย่างง่าย เพื่อวิเคราะห์สมบัติพื้นฐานอย่างหยาบๆ ด้วยการมองว่าอิเล็กตรอนนั้น ตก
อยู่ภายใต้อิทธิพลของบ่อพลังงานศักย์ค่าหนึ่ง ซึ่งมีความกว้างของบ่อเท่ากับความหนาของชั้น GaAs

บ่อพลังงานศักย์ดังกล่าว เรียกกันทั่วไปว่า Finite Square Well ในขั้นแรกนี้ Finite Square Well


เป็นบ่อพลังงานศักย์ ซึ่งมีความสูงเท่ากับ V0 และความกว้าง 2a ดังจะเห็นในภาพที่ 6.5 โดยที่ขอบ
บ่อทั้งสองข้าง ได้ถูกวางไว้ให้มีความสมมาตร ในทั้งด้านขวาและด้านซ้ายของแกน x ทั้งนี้ก็เพื่อให้ง่าย
ต่อการวิเคราะห์ในเชิงคณิตศาสตร์ในลาดับต่อไป
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-36

V0

x x
a a
 I (x)  II (x)  III (x)
ภาพ 6.5 Finite Square Well ซึ่งเป็นลักษณะของบ่อพลังงานศักย์ที่มีความสูง V0 และความ
กว้างของบ่อ 2a

จากภาพที่ 6.5 เราสามารถที่แบ่ง Finite Square Well ตามแนวแกน x ออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน


จากนั้น เขียนสมการ Schrödinger ในแต่ละส่วนตามลาดับได้ดังต่อไปนี้

 1 2 
  2   V0  I ( x)  EI ( x) ;    x   a
 
1 2
  II ( x)  EII ( x) ;  a  x   a ___________ สมการ (6.92)
2
 1 2 
  2   V0  III ( x)  EIII ( x) ;  a  x  
 

ซึ่งถ้าเรามุ่งที่จะวิเคราะห์ แต่เฉพาะในกรณีที่อิเล็กตรอนถูกจากัดอยูแ่ ต่ภายในบ่อ กล่าวคือ พลังงาน


ของอิเล็กตรอน E  V0 จะได้ Wave Function ในทั้ง 3 ส่วนดังนี้

I ( x)  A  eQ x I ( x)  A  eQ x
II ( x)  B cos(k  x) II ( x)  B sin(k  x)
___________ สมการ
(6.93)
III ( x)  A  eQ x III ( x)  A  eQ x

k2 ___________ สมการ
k 2  Q2  2V0 และ E
2 (6.94)

แบบฝึกหัด 6.18 จงพิสูจน์หาความสัมพันธ์ระหว่าง k และ Q ในสมการ (6.94)

รูปแบบของ Wave Function ในสมการ (6.93) นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นคาตอบของ Schrödinger


Equation ในสมการ (6.92) โดยสามารถจาแนกออกเป็นสองประเภทคือ ฟังก์ชันคู่ และฟังก์ชันคี่
ตามที่เห็นได้จากเทอม cos(kx) และ เทอม sin(kx) ในสมการที่ (6.93) นั่นเอง
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-37

จะสังเกตว่าสมการในข้างต้นนั้น มีตัวแปรหรือค่าคงที่ ซึ่งยังไม่ทราบค่าอยู่จานวนหนึ่ง คือ A  , B , k


และ Q การที่เราจะทราบค่าที่แท้จริงของตัวแปรเหล่านี้ จาเป็นเป็นต้องอาศัยคุณลักษณะอื่นๆของ
Wave Function เข้ามาพิจารณาร่วมกันด้วย

กล่าวคือ ถ้าเราพิจารณาตาแหน่ง x  a และ x  a ซึ่งตาแหน่งทั้งสองนี้เป็นรอยต่อของ


I ( x) , II ( x) ,และ III ( x ) จะได้ว่า ค่าของฟังก์ชัน และ 1st Derivative ของฟังก์ชัน จะต้อง
เท่ากัน ด้วยเหตุที่ Wave Function มีความต่อเนื่อง ไม่ขาดตอนในบริเวณรอยต่อเหล่านี้

II (a)  III (a)


dII ( x) dIII ( x) ___________________ สมการ (6.95)

dx a dx a

ถ้าเรานาข้อจากัดในข้างต้นมาพิจารณากับ Wave Function ในสมการ (6.93) โดยแยกพิจารณา


สาหรับฟังก์ชันคู่และฟังก์ชันคี่เป็นกรณีๆไป จะได้ว่า

B cos(ka)  A  eQa B sin(ka)  A  eQa ________ สมการ


-kB sin(ka)  QA  e  Q a
kB cos(ka)  QA  e  Q a
(6.96)
Even solution Odd solution

จาก สมการ (6.96) และ สมการ (6.94) เราสามารถสรุปความสัมพันธ์ระหว่าง k และ Q ดังต่อไปนี้

k tan(ka)  Q -k cot(ka )  Q
k  Q  2V0
2 2
k 2  Q 2  2V0
________ สมการ (6.97)
Even solution Odd solution

จะมีเซตของค่า k , Q เพียงจานวนหนึ่งเท่านั้น ที่จะทาให้สมการ (6.97) เป็นจริง โดยที่เราสามารถ


หาคาตอบได้โดยการวิเคราะห์กราฟ ดังแสดงในภาพ (6.6) ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของฟังก์ชันคู่
จุดตัดระหว่างกราฟวงกลม k 2  Q2  2V0 ซึ่งมีรัศมี 2V0 กับกราฟ Q  k tan(ka) เป็น
พิกัดของ k , Q ที่ทาให้ สมการ (6.97) เป็นจริง

แบบฝึกหัด 6.19 จงพิสูจน์ว่า ในกรณี ของ Finite Square Well ซึ่งมีความกว้าง 2a และความสูง
2V0 a
V0 จะมีจานวน Bound State ( E  V0 ) ซึ่งเป็นฟังก์ชันคู่เท่ากับ 1  floor( ) และเป็น

2V0 a 1
ฟังก์ชันคี่เท่ากับ 1  floor(  )
 2
หมายเหตุ ฟังก์ชัน floor( x) คือจานวนเต็มที่มากที่สุด ซึ่งน้อยกว่าจานวนจริง x
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-38

Q ภาพ 6.6 แสดงการวิเคราะห์


กราฟเพื่อที่จะหา เซต k , Q ที่ทา
k 2  Q 2  2V0
Q   k tan(ka)
ให้สมการ (6.97) เป็นจริง
Q  k cot(ka) ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของฟังก์ชัน
คู่ ก็คือจุดตัดระหว่างเส้นทึบ
k 2  Q2  2V0 และ เส้นประ
k Q  k tan(ka)

มาถึงจุดนี้ เราสามารถที่จะคานวณค่า k , Q ที่เป็นไปได้ของระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่า k นั้น


มีความสัมพันธ์กับระดับพลังงานตามสมการ (6.94) นอกเหนือจากนี้ ค่าของ B ยังสามารถเขียนให้
อยู่ในรูปของ A  , k, Q, และ a โดยใช้สมการ (6.96)

e  Qa e  Q a
B  A 
cos(ka)
B   A 
sin(ka)
________ สมการ (6.98)
Even solution Odd solution

ซึ่งถ้านา B ที่ได้ในข้างต้น เข้าไปแทนค่าในสมการ (6.93) ก็จะได้ Wave Function ดังนี้

I ( x)  A  eQ x I ( x)  A  eQ x
e-Qa e  Q a
II ( x)  A  cos(k  x) II ( x)   A  sin(k  x) ______ สมการ (6.99)
cos(ka) sin(ka)
III ( x)  A  eQ x III ( x)  A  eQ x
Even solution Odd solution

การที่เราจะได้ Wave Function ที่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น จาเป็นต้องหาค่าของ A  ในสมการ (6.99)


เสียก่อน ซึ่งค่าของ A  นั้น ได้มาจาก Normalization Condition กล่าวคือ ความเป็นไปได้
ที่จะพบอิเล็กตรอน ณ ตาแหน่งใดๆ ควรจะมีผลรวมเป็น 1 เสมอ หรืออีกนัยหนึ่ง
a a 


2
I ( x) dx  
2
II ( x) dx  
2
III ( x) dx  1 ________________ สมการ (6.100)
- -a a

การที่ผลบวกของ Integral ทั้ง 3 เทอม มีค่าเป็น 1 จะทาให้สามารถหาค่าของ A ได้ดังนี้


บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-39

Q
A  k cos(ka)eQa
2V0 cos (ka)  k 2 Qa
2
________________ สมการ (6.101)
Q Qa
A  k sin(ka)e
2V0 sin 2 (ka)  k 2 Qa

แบบฝึกหัด 6.20 จงพิสูจน์หาค่า A  ในสมการ (6.101)

ในที่สุด เราก็ได้ Wave Function ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ดังจะเห็นใน สมการ (6.99) และ สมการ
(6.101) ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรากาหนดให้ a = 2 Bohr และ Vo = 1 Hartrees จากการ
วิเคราะห์กราฟที่มลี ักษณะคล้ายๆกับ ภาพ 6.6 เราจะมีคาตอบทีเ่ ป็น Bound State อยู่สองคาตอบ
ซึ่งมีพลังงาน E=0.166 Hartrees และ E=0.623 Hartrees ดังที่เห็นในภาพ 6.7
1

Ground State
k = 0.576
0.5 Q = 1.292
A+ = 3.237
E = 0.166 Hartrees
x-axis (Bohr)
 10 5 0 5 10
Excited State
k = 1.116
Q = 0.869
A+ = 2.526
 0.5 E = 0.623 Hartrees

ภาพ 6.7 แสดง Wave Function ของบ่อพลังงานศักย์ที่มีความกว้าง 4 Bohr และความสูง


Vo= 1 Hartrees ค่า {k,Q} ได้ม1าจากเทคนิคการวิเคราะห์กราฟดังที่อธิบายในภาพ 6.6

เราสามารถที่จะตรวจสอบความถูกต้องของ Wave Function ในสมการ (6.99) และ สมการ (6.101)


ได้โดยสมมุติให้ V0   ซึ่งจะเป็นระบบแบบ Infinite Square Well ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในกรณี
นี้จะได้ว่า จุดตัดของกราฟ ดังในภาพที่ 6.6 จะอยู่ที่

Q
Q
 1
ka   n    ; n  0,1, 2, ka  n ; n  1, 2,
 2
 2
 1 2
2
E  n2
E  n   2a 2
 2  2a 2
Even solution Odd solution

ทาให้ Wave Function ในสมการที่ (6.99) ลดรูปลงมาเหลือเพียง


บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-40

I ( x)  0 I ( x)  0
1 1
II ( x)  cos(k  x) II ( x)  sin(k  x)
a a
III ( x)  0 III ( x)  0
Even solution Odd solution

ซึ่งก็เป็น Wave Function ของระบบ Infinite Square Well นั่นเอง

หัวข้อ 6.8 Scattering in One Dimension


หัวข้อที่ผ่านมา เราได้ศึกษาระดับพลังงานและ Wave Function ของระบบที่ถูกขังอยู่ในบ่อพลังงาน
ศักย์ ซึ่งเป็นโมเดลที่เราใช้ในการศึกษาพฤติกรรมของอิเล็กตรอนที่อยู่ภายในชั้นของ Quantum Well

ในคราวนี้เราจะมาศึกษาระบบที่พลังงานศักย์มีลักษณะเป็นเหมือนกาแพง เรียกว่า “Potential


Barrier” หรือ กาแพงศักย์ ซึ่งกาแพงดังกล่าวเป็นโมเดลในการศึกษาการทดลองที่เรียกว่า
Scattering Experiment

Incident Beam

Reflected Beam Transmitted Beam

ภาพ 6.8 ในเมื่อเราจากัดการกระเจิงให้อยู่แต่เพียง 1 มิติ ทิศทางในการกระเจิง จึงมีได้เพียง 2


ทิศคือ 1) ย้อนกลับ หรือที่เรียกว่า Reflected Beam และ 2) ทะลุผ่าน หรือที่เรียกว่า
Transmitted Beam

ใน Scattering Experiment อนุภาคที่มีพลังงานสูงจะถูกยิงเข้าสูเ่ ป้าหมาย เมื่อเข้าใกล้ก็จะมีอันตร


กริยากับสิ่งที่กาลังกีดขวาง และอนุภาคก็จะเกิดการ “กระเจิง” หรือ “Scattered” ไปในทิศทาง
ต่างๆกัน เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา เรามาวิเคราะห์การทดลองดังกล่าวโดยใช้โมเดลแบบง่ายๆใน 1
มิติ และในเมื่อเราจากัดการกระเจิงให้อยู่แต่เพียง 1 มิติ ทิศทางในการกระเจิงจึงมีได้เพียง 2 ทิศคือ
1) ย้อนกลับ หรือที่เรียกว่า Reflected Beam และ 2) ทะลุผ่าน หรือที่เรียกว่า Transmitted Beam

ข้อควรระวัง นักศึกษาต้องไม่ลมื ว่าภาพ 6.8 เป็นกราฟที่แสดงความน่าจะเป็นที่จะพบอนุภาค ซึ่งแท้


ที่จริงแล้ว เมื่ออนุภาคพุ่งเข้ามามีอันตรกริยากับกาแพงศักย์แล้ว จะปรากฏว่ามันทะลุผ่านหรือสะท้อน
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-41

กลับนั้น เป็นเรื่องของความน่าจะเป็น ภาพ 6.8 มิได้หมายความว่าอนุภาคพุ่งชนกาแพงแล้วแตก


ออกเป็นสองเสี่ยง ซึ่งส่วนหนึ่งทะลุผ่านและอีกส่วนทีเ่ หลือสะท้อนกลับ

Plane-Wave Model of Particle Beam


แต่ทว่า ใน Scattering Experiment ทั่วๆไปแล้ว เรามิได้ใช้อนุภาคเพียงอนุภาคเดียวในการทดลอง
แต่เป็นลักษณะของ Particle Beam หรือ ลาของอนุภาคจานวนมากที่พุ่งเข้าสู่เป้าหมาย ยกตัวอย่าง
เช่นในกรณีของลาอนุภาคกาลังพุ่งผ่านพื้นที่ว่างซึ่งไม่มีกาแพงศักย์กนั้ อยู่ หรือ V (r )  0 สามารถ
เขียนสมการ Time-Independent Schrödinger ได้ว่า
2
  2 (r )  E (r )
2m

ในสมการข้างต้น เราเขียนให้อยู่ในรูปของ 3 มิติ ซึ่งมีคาตอบของสมการคือ


2
1 ik r
k
 (r )  e และ E ________________ สมการ (6.102)
V 2m

จะเห็นว่า Normalization Constant ของ Probability Amplitude ข้างต้น ก็คือ 1 V ซึ่ง


หมายถึง “หนึ่งส่วน รากที่สองของปริมาตรของระบบที่เรากาลังพิจารณา” เทคนิคการเขียนฟังก์ชัน
ในลักษณะนี้มปี ระโยชน์ทาให้ฟังก์ชัน  (r ) มีสมบัติการ Normalization เป็นหนึ่ง กล่าวคือ

1 1
d
3
r  (r ) (r )   d 3r e ik r e ik r
V V
1
V
 d 3r

d
3
r  (r ) (r )  1

ส่วน k ในสมการ (6.102) นั้นเรียกว่า Wave Vector และมีความสัมพันธ์กับโมเมนตัมของอนุภาคที่


เรากาลังกล่าวถึง ซึ่งก็คือ

p k ________________ สมการ (6.103)

แบบฝึกหัด 6.21 จงแสดงให้เห็นว่า Probability Amplitude ในสมการ (6.102) เป็น Eigenstate


ของ Momentum Operator ใน 3 มิติ
  
x pˆ x    (r ) y pˆ y    (r ) z pˆ z    (r )
i x i y i z
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-42

และพิสูจน์ให้เห็นว่า Eigenvalue ของ Momentum Operator ดังกล่าวก็คือ k นั่นเอง

นักศึกษาจะเข้าใจว่ารูปแบบทางคณิตศาสตร์ของ Probability Amplitude (หรือ Wave Function)


ในสมการ (6.102) นั้น มีสมบัติที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นโมเดลในการศึกษาลาอนุภาค ได้เป็นอย่างดี
ด้วยการพิจารณา Time Evolution ของฟังก์ชัน  (r ) ดังกล่าวนี้ ซึ่งในทานองเดียวกันกับสมการ
(6.80) จะได้ว่า

 (r , t ) 
1
e

i k r ωt  เมื่อ ω=
k2
________________ สมการ (6.104)
V 2m

เมื่อวาดกราฟของ  (r , t ) ใน 1 มิติ จะเห็นว่ามีลักษณะเป็นคลื่นที่กาลังเคลื่อนที่ดังภาพ 6.9 โดยที่


k เป็นตัวกาหนดทิศทางการเคลื่อนที่ดังกล่าว

Probability Amplitude Probability

 ( x, t ) exp  ikx  it  2


 ( x, t ) 

x x

ภาพ 6.9 แสดงโมเดลที่ใช้แทนระบบของ Particle Beam จะสังเกตว่า Probability


Amplitude เคลื่อนที่จากซ้ายไปขวาตามแกน x (ในกรณีที่ k เป็นบวก) ในทางตรงกันข้าม ความ
น่าจะเป็นที่จะพบอนุภาคที่ประกอบกันขึ้นเป็น Particle Beam มีค่าคงที่ตลอดแนวแกน x

ภาพ 6.9 แสดงโมเดลที่ใช้แทนระบบของลาอนุภาค จะสังเกตว่า

1) Probability Amplitude เคลือ่ นที่จากซ้ายไปขวาตามแกน x (ในกรณีที่ k เป็นบวก) ซึ่งลักษณะ


ทางคณิตศาสตร์เช่นนี้ก็เหมือนกับการเคลื่อนที่ของอนุภาคที่ประกอบกันขึ้นเป็น Particle Beam

2) ในทางตรงกันข้าม ความน่าจะเป็นที่จะพบอนุภาคเหล่านี้ มีค่าคงที่ตลอดแนวแกน x ซึ่งเป็น


ลักษณะของลาอนุภาค ที่โดยเฉลีย่ แล้ว พอจะอนุโลมได้ว่ามีลักษะเป็นเนื้อเดียวกันโดยตลอดทั้งลา
เพราะฉะนั้น ความน่าจะเป็นที่จะพบอนุภาคจึงเป็นค่าคงที่ตลอดแนวแกน x
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-43

อย่างไรก็ตาม สถานะของระบบดังในสมการ (6.104) เป็นเพียงอีกสถานะหนึ่งที่เป็นไปได้ ในความ


เป็นจริงแล้ว Particle Beam อาจจะประกอบด้วยอนุภาคที่มโี มเมนตัม ค่าต่างๆกัน หรือมีทิศทางการ
เคลื่อนที่ของอนุภาคแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นแสงที่ส่องจากดวงอาทิตย์มีความถี่ต่างๆกัน ซึ่ง
หมายถึงมีโมเมนตัมแตกต่างกัน หรือแสงที่ปรากฏอยูภ่ ายในห้องมีที่มาจากหน้าต่างหลายๆบาน ซึ่ง
หมายถึงมีว่ามันมีทิศทางต่างๆกัน

นั่นก็หมายถึงในเมื่อเราพิจารณา Particle Beam ที่ซับซ้อนเหมือนจริงมากขึ้น สถานะของระบบ


อาจจะอยู่ในรูปของ Superposition ของสถานะพื้นฐานดังในสมการ (6.102) ดังจะได้ยกตัวอย่าง
การคานวณในทางกลศาสตร์ควอนตัม ที่เกี่ยวข้องกับ Scattering

Scattering From Potential Barrier

Aeikx  Beikx Ceikx

Incident + Reflected Transmitted (or Tunneled)


ภาพ 6.10 แสดงโมเดลอย่างง่ายใน 1 มิติของอันตรกริยาระหว่างอนุภาคที่ถูกเร่งให้มีความเร็วสูง
ที่กาลังพุ่งชน เป้าหมาย

ภาพ 6.10 แสดงโมเดลอย่างง่ายใน 1 มิติของอันตรกริยาระหว่างอนุภาคที่ถูกเร่งให้มีความเร็วสูง ที่


กาลังพุ่งชน เป้าหมาย ซึ่งเราแทนอันตกริยาดังกล่าวด้วย Potential Barrier ที่มีความสูงเท่ากับ
V0 และเขียนให้อยู่ในรูปของฟังก์ชันได้ว่า

0 x  d

V(x)=  V0 d  x  d ________________ สมการ (6.105)
0 xd

และสมมุติให้อนุภาคมีพลังงาน E<V0 เพราะฉะนั้นจากการวิเคราะห์ Schrödinger Equation เรา


บอกได้ว่าผลเฉลยของสมการอยู่ในรูปของ
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-44

 Aeikx  Beikx x  d

 (x)=  Feqx  Ge qx d  x  d ________________ สมการ (6.106)

 Ceikx x  d

โดยที่ k และ q มีความสัมพันธ์กับพลังงานก็คือ

2mE 2m  V0  E 
k 2
และ q 2
________________ สมการ (6.107)

ดังสมการ (6.106) ในกรณีของ x  d จะสังเกตเห็นว่าสถานะของระบบเป็น Superposition


ของ Probability Amplitude ในทานองเดียวกันกับสมการ (6.102) ซึ่งก็คือ Aeikx และ Beikx
ข้อแตกต่างของสถานะพื้นฐานทั้งสองนี้ก็คือเครื่องหมายของ Wave Vector k เครื่องหมายที่
แตกต่างกันนี้แสดงให้เห็นถึงทิศทางการเคลื่อนที่ของ Beam ทั้งสอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง

Ae  ikx
เป็นตัวแทนของ Incident Beam หรือ ลาของอนุภาคที่ยิงออกมาจากแหล่งกาเนิด ในขณะ
ikx
ที่ Be เป็นตัวแทนของ Reflected Beam หรือ ลาของอนุภาคที่สะท้อนกับภายหลังจากกระทบ
กับกาแพงศักย์นั่นเอง

สาเหตุที่ในบริเวณ x   d เรามิได้นาเทอมที่อยู่ในรูปของ eikx เข้ามาร่วมพิจารณาในสมการ


(6.106) ด้วยนั้น ก็เพราะว่าเทอม eikx มีลักษณะเป็นคลื่นที่พุ่งย้อนกลับจาก x   เข้าสู่
x  0 ซึ่งขัดกับข้อกาหนดในทางฟิสิกส์ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่เมื่ออนุภาคได้ทะลุผ่านกาแพงศักย์ออกไป
แล้ว จะสามารถย้อนกลับเข้ามาอีกได้

เซตของสัมประสิทธิ์  A, B, F , G, C ที่ปรากฏอยูใ่ นสมการ (6.106) นั้นสามารถคานวณได้โดยใช้


เงื่อนไปของความต่อเนื่อง (Continuity Condition) ณ บริเวณรอยต่อ ซึ่งจะนาไปสูส่ มการทั้งสิ้น 4
สมการก็คือ

Aeikd  Beikd  Fe qd  Ge qd


ikAeikd  ikBeikd  qFe qd  qGe qd
Feqd  Ge qd  Ceikd
qFeqd  qGe qd  ikCeikd

และเพื่อให้จานวนตัวแปรลดลง เราหารทุกๆสมการด้วย A และจัดรูปเสียใหม่จะได้ว่า


บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-45

beikd  fe qd  ge qd  eikd


ikbeikd  qfe qd  qge qd  ikeikd
ceikd  feqd  ge qd  0
ikceikd  qfeqd  qge qd  0

B C F G
ทั้งนี้เรานิยาม b , c  , f  ,g  เพื่อความกระชับในการเขียนสมการ และสมการ
A A A A
ข้างต้นมีคาตอบผลเฉลยคือ

b  feikd  qd  geikd  qd  e2ikd


4ikqe2ikd
c
(q  ik ) 2 e2 qd  (q  ik ) 2 e2 qd
(q  ik )eikd  qd ________________ สมการ (6.108)
f  c
2q
(q  ik )eikd  qd
g c
2q

ซึ่งเมื่อนาผลเฉลยดังกล่าวแทนเข้าไปใน Probability Amplitude ในสมการ (6.106) จะได้ลักษณะดัง


ภาพ 6.10 จะสังเกตเห็นว่า ถึงแม้พลังงานของระบบ จะมีคา่ น้อยกว่า Potential Barrier ก็ตาม
อนุภาคยังมีความน่าจะเป็นที่จะทะลุผา่ นกาแพงศักย์ออกไปได้ ปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่า
“Tunneling”

Tunneling เป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แต่ขัดแย้งกับกลศาสตร์คลาสสิก โดยสิ้นเชิง


นักศึกษาคงเคยปั่นจักรยานให้เร็วที่สุด จากนั้นปล่อยให้มันวิ่งขึ้นเนินด้วยอาศัยพลังงานจลน์ของตัว
จักรยานเอง แน่นอนว่าถ้าพลังงานจลน์ที่เราใส่เข้าไปในจักรยานด้วยการปั่นนั้น มีค่าน้อยกว่า
พลังงานศักย์ที่เกิดจากความสูงของเนิน เราย่อมข้ามเนินไปไม่ได้ กล่าวคือ ความน่าจะเป็นที่จะพบ
จักรยาน ณ อีกฟากหนึ่งของเนินเป็นศูนย์

แต่ในระบบขนาดเล็กๆเช่นอะตอมหรือโมเลกุล ปรากฏการณ์ Tunneling เกิดขึ้นได้ทั่วไป และยัง


เป็นที่มาของสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า “Scanning Tunneling Microscope” หรือ STM อีกด้วย

จากการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ Tunneling ดังกล่าว เราสามารถนิยาม Transmission Coefficient


ว่าเป็นอัตราส่วนของลาอนุภาคทีท่ ะลุออกไป ต่อ Incident Beam ได้ว่า
2
C
Transmission Coefficient T ________________ สมการ (6.109)
A
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-46

และในทานองเดียวกัน Reflection Coefficient ก็เป็นอัตราส่วนทีล่ าอนุภาคจะสะท้อนกลับภายหลัง


จากมีอันตรกริยากับ Potential Barrier แล้ว
2
B
Reflection Coefficient R ________________ สมการ (6.110)
A

ข้อควรระวัง อย่างไรก็ตาม Transmission Coefficient และ Reflection Coefficient ดังใน


สมการข้างต้น มีความหมายแคบๆที่มีขอบเขตการใช้งานจากัดอยู่แต่เฉพาะในการวิเคราะห์ Potential
Barrier เท่านั้น คานิยามของ Coefficient ทั้งสองซึ้งใช้เป็นมาตรฐานสากลจาเป็นจะต้องนาความรู้
เรื่อง Probability Current เข้ามาร่วมอธิบาย ซึ่งเราจะกล่าวถึงโดยละเอียดอีกครั้งในเนื้อหาของบท
Scattering (Volume II)

ดังตัวอย่างของ Potential Barrier ข้างต้น เมื่อรวมรวมเอาสมการ (6.109) , (6.108) , และ


(6.107) เข้าด้วยกัน เราบอกได้ว่า

1 2m  V0  E 
T 2
เมื่อ q 2
__________ สมการ (6.111)
V0
1 sinh 2 (2qd )
4 E (V0  E )

แบบฝึกหัด 6.22 จงพิสูจน์สมการ (6.111)


2 2
บอกใบ้ : (q  ik )2 e2qd  (q  ik )2 e2qd  2(q 2  k 2 )sinh(2qd )   4qk 2

แบบฝึกหัด 6.23 จงวิเคราะห์หา Probability Amplitude ในทานองเดียวกันกับสมการ (6.108)


แต่เป็นในกรณีที่ E  V0 และพิสูจน์ให้เห็นว่า ในกรณีดังกล่าวนี้
1 2m  E-V0 
T 2
เมื่อ q 2
__________ สมการ (6.112)
V0
1 sin 2 (2qd )
4 E ( E  V0 )
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-47

T 1 T
1
V02 sinh 2 (2qd ) E  V
0
0.8 1  2
4 E E  V0  sin (2qd ) E  V0
0.6

0.4 V0 2m E-V0
q
2
0.2

0
0 1 2 3 4 d d
E V0
ภาพ 6.11 แสดง Transmission Coefficient ซึ่งเปลี่ยนแปลงตามระดับพลังงานของ Particle
Beam ที่กาลังพุ่งเข้ามา (Incident Beam)

ภาพ 6.11 แสดง Transmission Coefficient ซึ่งเปลี่ยนแปลงตามระดับพลังงานของ Particle Beam


ที่กาลังพุ่งเข้ามา (Incident Beam) จากกราฟเมื่อพลังงานมีคา่ ต่า โอกาสที่อนุภาคจะทะลุกาลังแพง
ศักย์จึงมีค่าน้อย และความน่าจะเป็นอันนี้ ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อพลังงานของอนุภาคมีค่ามากขึ้น

อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่า พลังงานยิ่งสูง Transmission Coefficient จะยิ่งมากเป็นเงาตาม


ตัวเสมอไป จากภาพจะสังเกตบริเวณที่เป็นเงาสีเ่ หลีย่ มสีฟ้า จะเป็นช่วงที่ T ( E ) มีค่าลดลง ทั้งๆที่
V
E
มีค่าเพิ่มขึ้น ปรากฏการเช่นนี้ อธิบายไม่ได้โดยใช้แนวคิดพื้นฐานของกลศาสตร์คลาสสิก
V

แบบฝึกหัด 6.24 จงหาเงื่อนไขที่ทาให้ T 1


บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-48

หัวข้อ 6.9 Ehrenfest Theorem


Tunneling เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงถึงศักยภาพของกลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งมีขอบเขตในการอธิบาย
ปรากฏการณ์ต่างๆ ในขณะที่กลศาสตร์คลาสสิกเข้าไปได้ไม่ถึง

และเมื่อกล่าวถึงกลศาสตร์คลาสสิก หรือ กลศาสตร์นิวตัน แล้วนั้น หัวใจสาคัญของทฤษฏีดังกล่าว


ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎข้อที่สองของนิวตัน ซึ่งกล่าวว่า

dp
F  ma ในกลศาสตร์นิวตัน __________ สมการ (6.113)
dt

ในมุมมองของกลศาสตร์นิวตัน กฎดังกล่าวเป็น Axiom ที่กาหนดขึ้นโดยไม่มตี รรกะรองรับ แต่ด้วย


อาศัยผลการทดลองจานวนมหาศาลที่พิสูจน์เป็นประจักพยานแล้วว่า กฎดังกล่าวถูกต้อง และใน
หัวข้อ 6.9 นี้เราจะมากล่าวถึงศักยภาพอีกอันหนึ่งของกลศาสตร์ควอนตัม ที่สามารถ Derive กฎข้อ
สองของนิวตัน

ก่อนอื่นเรามาพิจารณา Hermitian Operator  ใดๆ และมาวิเคราะห์ว่า เมื่อนา Operator


ดังกล่าวมาตรวจวัดสถานะของระบบ Expectation Value ที่ได้จะเปลีย่ นแปลงกับเวลาอย่างไรบ้าง

d ˆ d
A  (t ) Aˆ (t )
dt dt

และเมื่ออาศัยกฎลูกโซ่จะได้ว่า

d ˆ d  d   ˆ
A   (t )  Aˆ  (t )   (t ) Aˆ   (t )    (t ) A  (t )
dt  dt   dt  t

เมื่อนา Schrödinger Equation ดังในสมการ (6.74) เข้ามาเปลี่ยนรูปพจน์ที่อยู่ในวงเล็บ จะทาให้

d ˆ i  i   ˆ
A    (t ) Hˆ  Aˆ  (t )   (t ) Aˆ  Hˆ  (t )    (t ) A  (t )
dt     t
i
  (t ) HA ˆ ˆ  (t )   (t )  Aˆ  (t )
ˆ ˆ  (t )  i  (t ) AH
t
d ˆ i
A   (t ) HA ˆ ˆ  (t )   (t )  Aˆ  (t )
ˆ ˆ  AH
dt t
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-49

เราสามารถลดรูปสมการข้างต้นให้กระชับขึ้นอีกโดยใช้คานิยามของ Commutator
ˆ ˆ  AH
HA ˆ ˆ   Hˆ , Aˆ  เพราะฉะนั้นแล้ว
 

d ˆ i  ˆ
A  (t )  Hˆ , Aˆ  (t )  (t )
 
A (t ) __________ สมการ (6.114)
dt t

สมการข้างต้นอธิบายความเปลี่ยนแปลงตามเวลาของ Expectation Value ของ Operator ใดๆ ซึ่ง


มีประโยชน์มากในการวิเคราะห์ว่าระบบที่เรากาลังพิจารณาอยู่นั้น มี ตาแหน่ง, โมเมนตัม, หรือ
ปริมาณทางฟิสิกส์อื่นๆ เป็นฟังก์ชันอย่างไรกับเวลาที่ผ่านไป

ยกตัวอย่างเช่น พิจารณา Momentum Operator pˆ x จากสมการ (6.114) จะได้ว่า

d i 
pˆ x   (t )  Hˆ , pˆ x   (t )   (t ) pˆ x  (t ) __________ สมการ (6.115)
dt   t
0

เนื่องจาก Momentum Operator pˆ x ไม่ส่วนที่ขึ้นกับเวลา ดังนั้นเทอมที่สองจึงเป็นศูนย์


pˆ 2
นอกจากนี้ Hamiltonian ใน 1 มิติคือ Hˆ   V ( xˆ ) เพราะฉะนั้นแล้ว
2m

 ˆ2 
 Hˆ , pˆ x    p , pˆ x   V ( xˆ ), pˆ x 
   2m 

 
   an xˆ n , pˆ x 
 n 
  an  xˆ n , pˆ x 
 
n

โดยที่ในสมการข้างต้น เราเขียน Operator ของพลังงานศักย์ V ( x) ให้อยู่ในรูปของ Taylor


Expansion V ( xˆ)   an xˆ 2 นอกจากนี้ จากแบบฝึกหัด 6.23 เราบอกได้ว่า
n

 Hˆ , pˆ x   i
   an nxˆ n1
n

i  an xˆ n
x n

 Hˆ , pˆ x   i  V ( xˆ )
  x
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-50

แบบฝึกหัด 6.25 จงหาพิสูจน์วา่  xˆ n , pˆ x   i nxˆ n 1 โดยเริม่ จากสมการ (6.24)


 

ด้วยเหตุนเี้ อง สมการ (6.115) จึงลดรูปเหลือเพียง

d dV
pˆ x   __________ สมการ (6.116)
dt dx

นอกจากนี้ อีกตัวอย่างหนึ่งของการนาเอาสมการ (6.114) มาใช้วิเคราะห์ก็คือ Expectation Value


ของตาแหน่งของอนุภาค หรือ

d i 
xˆ   (t )  Hˆ , xˆ   (t )   (t ) xˆ  (t )
dt   t
0

แบบฝึกหัด 6.26 จงหาพิสูจน์วา่


 Hˆ , xˆ    i pˆ x __________ สมการ (6.117)
  m

ซึ่งจากการสมการ (6.117) ทาให้

d pˆ x
xˆ  __________ สมการ (6.118)
dt m

สมการ (6.116) และสมการ (6.118) ดูผิวเผินคงเป็นเพียงเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์อีกอันหนึ่งที่ไม่มี


ประโยชน์ใช้งานที่เป็นรูปธรรมมากนัก แท้จริงแล้ว ทั้งสองสมการมีความสาคัญและยังมีชื่อเฉพาะว่า
Ehrenfest Theorem

เราจะเห็นความสาคัญของ Ehrenfest Theorem ด้วยการวิเคราะห์ต่อยอดจากสมการทาง


d d 
คณิตศาสตร์ทั้งสองอีกสักนิด ถ้าเรานิยามความเร่งว่า a  xˆ  แล้วจากสมการ (6.118)
dt  dt 
จะได้

1 d
a pˆ x
m dt
d
ma  pˆ x
dt
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-51

d
และจากสมการ (6.116) ถ้าเรานิยามแรงที่กระทากับอนุภาคว่า F  V ( xˆ ) จะนาไปสู่
dx
ความสัมพันธ์ที่เป็นรากฐานของความรู้ทางกลศาสตร์ของมนุษย์ในยุคก่อนปี 1926 นั่นก็คือ

F  ma

หัวข้อ 6.10 บทสรุป


ในบทที่ 6 เราใช้กลไกของ Matrix Mechanics เพื่อศึกษาระบบที่มี Basis State เป็นสถานะที่
ต่อเนื่อง อาทิเช่น Position และ Momentum ซึ่งเริ่มด้วยการใช้ Position เป็น Basis State

   dx ( x) x

ในลักษณะเช่นนี้ Bra-Ket ของสองสถานะใดๆ สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของอินทิกรัล ได้ว่า

    dx  ( x) ( x)

จากนั้นเราก็ได้ทาความรู้จักกับ Operator ที่เกี่ยวข้อง นั่นก็คือ Translation Operator Tˆ (a) ซึ่งมี


ผลให้ Basis State x เปลี่ยนไปเป็นสถานะ x  a และแทนที่จะเลื่อนสถานะตามแนวแกน x
เป็นระยะทาง a เราสามารถที่จะพิจารณาการเลื่อนเป็นระยะ Infinitesimal Translation x
โดยที่

i
Tˆ (x)  1  pˆ x x เมื่อ pˆ x คือ Generator of Translation

ทั้งนี้ นอกจาก pˆ x จะเป็น Generator of Translation มันก็ยังเป็น Momentum Operator ซึ่งมี


คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ที่สาคัญคือ

 xˆ, pˆ x   i
และ

x pˆ x    ( x)
i x

นอกจากการใช้ Position เป็น Basis State แล้วนั้น ยังสามารถใช้ Momentum เป็น Basis State
กล่าวคือ
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-52

   dp ( p) p

ในกรณีดังกล่าว เราเรียก  ( p)  p  ว่าเป็น Probability Amplitude ใน Momentum space


ซึ่งแตกต่างจากเดิม  ( x)  x  ซึ่งเป็น Probability Amplitude ใน Position Space โดยที่
Basis State ในทั้งสอง Space มีความสัมพันธ์กันก็คือ

1
x p  eipx
2

ซึ่งเมื่อเขียนอยู่ในรูปของ Probability Amplitude  ( x) และ  ( p) จะมีความเกี่ยวโยงทาง


คณิตศาสตร์คือ

1 ipx 1 ipx
 ( p) 
2
 dx ( x)e และ  ( x) 
2
 dp ( p)e

ทั้งนี้เราได้ยกตัวอย่างของการใช้กลศาสตร์ควอนตัม มาวิเคราะห์อนุภาคอิสระ ซึ่งเราใช้ Gaussian


Wave Packet เป็นโมเดลในการศึกษา และด้วยการพิจารณาความไม่แน่นอนของการบอกตาแหน่ง
และโมเมนตัมของอนุภาคในอุดมคตินี้เอง นาไปสู่ความสัมพันธ์ทเี่ รียกว่า Heisenberg Uncertainty
Principle ที่ว่า

x p 
2

หากแต่กฎดังกล่าวมิได้จากัดอยู่แต่เพียง Position และ Momentum เท่านั้น สาหรับ Operator


ใดๆที่สามารถใช้ในการวัดปริมาณทางฟิสิกส์ จะได้ว่า

 Aˆ , Bˆ 
 
A B 
2

และเมื่อมีเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ที่พร้อม เราก็ได้กล่าวถึง Schrödinger Equation ซึ่งจริงๆแล้ว


สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของ Position Space

 2
2
i  ( x, t )    ( x, t )  V ( x) ( x, t )
t 2m x 2
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-53

และ ของ Momentum Space

 p2 
i  ( p, t )   ( p, t )  V (i ) ( p, t )
t 2m p

เพื่อยกตัวอย่างการนา Schrödinger Equation มาใช้งาน เราวิเคราะห์ระบบที่เรียกว่า Square Well


Potential และ Scattering ใน 1 มิติ ซึ่งปรากฏการณ์ที่สาคัญของการศึกษาในครั้งนี้ ก็คือ
Tunneling ที่หมายถึงการที่ลาอนุภาค สามารถทะลุผ่านกาแพงศักย์ออกมาได้ ถึงแม้ว่าพลังงานจลน์
ของมันจะมีค่าน้อยกว่ากาแพงศักย์ก็ตาม

และในท้ายที่สดุ เรากล่าวถึง Ehrenfest theorem ที่เป็นทฤษฏีที่แสดงให้เห็นว่ากลศาสตร์นิวตัน แท้


ที่จริงแล้ว เป็น Subset ของกลศาสตร์ควอนตัมเท่านั้นเอง

หัวข้อ 6.11 ปัญหาท้ายบท


แบบฝึกหัด 6.27 จงคานวณหา Transmission Coefficient และ Reflection Coefficient ใน
กรณีของกาแพงศักย์ที่นิยามด้วย
0 x0
V ( x)  
V0 x0
4 V0
เฉลย ถ้า E  V0 แล้ว R 1 T  0 ถ้า E  V0 T  เมื่อ   1
1    2 E

แบบฝึกหัด 6.28 จงพิสูจน์สมการ (6.39)

แบบฝึกหัด 6.29 จงพิสูจน์ว่า



x pˆ x x   ( x  x) ________________ สมการ (6.119)
i x

แบบฝึกหัด 6.30 จงพิสูจน์สมการ (6.57) และ สมการ (6.58)

แบบฝึกหัด 6.31 เริ่มจาก Probability Amplitude ใน Momentum Space ของ Gaussian


a 2a2 2 2
Wave packet  ( p)  e p จงพิสูจน์ว่า Fourier Transform ในสมการ (6.39)

1 2 2a2
ทาให้เกิดเป็นฟังก์ชัน  ( x)  e x จริง
a
บทที่ 6 Wave Mechanics in One Dimension 6-54

แบบฝึกหัด 6.32 จงคานวณหา Transmission Coefficient และ Reflection Coefficient ใน


กรณีของ “บ่อศักย์” ที่นิยามด้วย
 0 x  d

V ( x)   V0 d  x  d
 0 x  d

1 2m  E+ V0 
เฉลย ถ้า E  V0 T 2
เมื่อ q 2
V0
1 sin 2 (2 qd )
4 E ( E  V0 )
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-1

7 Harmonic Oscillator

เนื้อหา
7.1 บทนำ
7.2 Eigen Energy
7.3 Eigenstate ใน Position Space
7.4 Quantum Model Versus Classical Model
7.5 Application - Einstein’s Model of Specific Heat
7.6 บทสรุป
7.7 ปัญหำท้ำยบท

หัวข้อ 7.1 บทนา


ในบทที่ผ่ำนมำ เรำได้ศึกษำระบบใน 1 มิติโดยใช้กลศำสตร์ควอนตัม ซึ่งก็มีลักษณะของพลังงำนศักย์
V ( x) แตกต่ำงกันออกไป อำทิเช่น Free Particle V ( x)  0 , บ่อพลังงำนศักย์, และ กำแพงศักย์
เป็นต้น

ในบทที่ 7 นี้ เรำจะใช้เวลำทั้งหมดกับกำรศึกษำพลังงำนศักย์แบบซิมเปิลฮำร์มอนิกใน 1 มิติ


(Harmonic Potential) ดังแสดงในภำพ (7.1)a ซึ่งมีรูปแบบทำงคณิตศำสตร์เป็นฟังก์ชันแบบ
พำรำโบลำ กล่ำวคือ

1 2
V ( x)  kx _____________________ สมกำร (7.1)
2

ในวิชำกลศำสตร์คลำสสิก หรือกลศำสตร์นิวตัน บ่อพลังงำนศักย์รปู ทรงพำรำโบลำ ในสมกำร (7.1)


มักจะเป็นโมเดลที่ใช้แทนกำรเคลือ่ นที่ของมวลที่ผูกติดอยู่กับสปริง โดยที่ค่ำคงที่ k ซึ่งปรำกฏอยู่ใน
สมกำรดังกล่ำว สื่อควำมหมำยถึงควำมแข็งของสปริงนั้นๆ แน่นอนว่ำกำรเคลื่อนที่ของมวลเมื่อผูก
ติดกับสปริงจะมีลักษณะของกำรสัน่ หรือที่เรียกว่ำ Oscillation และกำรสั่นนี้เองโดยทั่วไปจะมี
ควำมถี่เชิงมุมเท่ำกับ ω rad/sec ซึ่งมีควำมสัมพันธ์กับควำมแข็งของสปริงและมวลที่กำลังเคลื่อนที่
คือ   k m ด้วยเหตุนี้ ในบำงครั้งเรำอำจจะเขียนพลังงำนศักย์ V ( x) ในสมกำร (7.1) ให้อยู่ใน
รูปของ
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-2

1
V ( x)  mω2 x 2 _____________________ สมกำร (7.2)
2

กำรเคลื่อนที่ ซึ่งมีลักษณะเป็นกำรสั่นสลับกันไปมำ มิได้จำกัดอยู่แต่เพียงระบบที่มีสปริงเป็น


องค์ประกอบ ยกตัวอย่ำงเช่นกำรสั่นของ Pendulum รอบๆจุดสมดุล เพรำะฉะนั้น กำรเขียน
ฟังก์ชันของพลังงำนศักย์ดังในสมกำร (7.2) มีประโยชน์คือมันสื่อควำมหมำยครอบคลุมได้กว้ำงขวำง
กว่ำในสมกำร (7.1) ซึ่งผูกติดอยู่กบั ระบบที่มสี ปริงเพียงเท่ำนั้น

1)
Harmonic Potential V ( x) 
1

1
4
x x2

2)
1 1
( x  2) 2 
2 4
x0

1 2
V ( x)  kx
2 4) V ( x0 )  0

(a) 3)
(b)
ภำพ (7.1) (a) บ่อศักย์แบบซิมเปิลฮำร์มอนิกที่มรี ูปทรงแบบพำรำโบลำ (b) พลังงำนศักย์ที่อยู่
ในรูปแบบต่ำงๆ โดยทั่วไปแล้วเมือ่ พิจำรณำ ณ บริเวณรอบๆจุดสมดุล เรำสำมำรถประมำณได้ว่ำ
พลังงำนศักย์มีลักษณะเป็นพำรำโบลำ

อย่ำงไรก็ตำม เรำได้เกริ่นในบทที่ 1 แล้วว่ำกลศำสตร์ควอนตัมเป็นเนื้อหำที่มีประโยชน์ในกำรอธิบำย


พฤติกรรมของระบบที่มีขนำดเล็กมำกๆ ในระดับอะตอม คงเป็นไปไม่ได้ที่เรำจะผลิตสปริงขนำดเล็ก
เช่นนั้น หรือมีลูกตุม้ Pendulum ขนำดจิ๋ว ที่พอจะให้เรำนำกลศำสตร์ควอนตัม มำศึกษำได้อย่ำง
จริงจัง และเพรำะเหตุใด จึงจำเป็นต้องมี “Harmonic Oscillator” เป็นบทหนึ่งของเนื้อหำวิชำ?

พลังงำนศักย์ลักษณะดังกล่ำวนีม้ ีควำมสำคัญเพียงพอที่จะเป็นเนื้อหำของบท บทหนึ่ง ในตัวมันเองก็


เพรำะว่ำ เมื่อพิจำรณำพลังงำนศักย์ในรูปแบบ V ( x) ใดๆดังแสดงในภำพ (7.1)b เนื่องจำกระบบ
ในทำงฟิสิกส์ที่เรำกำลังสนใจส่วนใหญ่ จะอยู่ในสภำพสมดุล หรือเคลือ่ นที่อยู่ภำยในบริเวณใกล้เคียงกับ
ตำแหน่งสมดุล ซึ่งในทำงคณิตศำสตร์นั้น หมำยถึงระบบจะอยูภ่ ำยในบริเวณที่ V ( x) มีค่ำเป็น
Minimum หรือจุด x0

นอกจำกนี้ เรำสำมำรถที่ใช้ Taylor Expansion เพื่อเขียน


บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-3

1 dV 1 d 2V
V ( x)  V ( x0 )  ( x  x0 )  ( x  x0 ) 2 2  _____ สมกำร (7.3)
1! dx x  x0 2! dx x  x0

โดยคำนิยำมของ “จุดสมดุล” แรงที่กระทำ ณ จุดดังกล่ำวต้องมีคำ่ เป็นศูนย์ และเนื่องจำกแรงก็คือ


dV dV
อนุพันธ์ของพลังงำนศักย์เทียบกับตำแหน่ง หรือ F  เพรำะฉะนั้นแล้ว 0
dx dx x  x0

ดังนั้น

1 2 d 2V
V ( x)  kx เมื่อ k _______________ สมกำร (7.4)
2 dx 2 x  x0

ซึ่งสมกำรข้ำงต้น ได้มำจำก 1) กำรเลื่อนจุดกำเนิดของกรำฟ V ( x) ให้มำอยู่ ณ ตำแหน่งสมดุล


และ 2) กำรเลื่อนระดับพลังงำนเพื่อให้ V ( x0 )  0

สมกำร (7.4) แสดงให้เห็นว่ำ ไม่ว่ำระบบที่เรำกำลังวิเครำะห์ จะอยู่ภำยใต้อิทธิพลของพลังงำนศักย์


V ( x) ในรูปแบบใดก็ตำม ตรำบใดทีเ่ รำสนใจพฤติกรรมของระบบนั้นๆ ขณะอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
กับจุดสมดุล ย่อมสำมำรถประมำณได้ว่ำ ระบบดังกล่ำวอยูภ่ ำยใต้อิทธิพลของบ่อพลังงำนศักย์แบบ
พำรำโบลำ ดังในสมกำร (7.1) หรือ (7.2)

ดังนั้น ขอบเขตของกำรนำบ่อพลังงำนศักย์แบบซิมเปิลฮำร์มอนิกไปประยุกต์ใช้งำนจึงมีขอบเขต
กว้ำงขวำงมำก เริ่มตั้งแต่กำรสัน่ ของอะตอมที่อยู่ภำยในโมเลกุลหรือภำยในผลึก, กำรเปล่งแสงของ
วัตถุเมื่อโดนเผำให้ร้อน, หรือควำมจุควำมร้อนของสสำรต่ำงๆ เป็นต้น

แบบฝึกหัด 7.1 พลังงำนศักย์ที่เกิดขึ้นจำกอันตรกริยำระหว่ำงอะตอมของแก็สเฉื่อยเช่นอะตอม


ฮีเลียม สำมำรถโมเดลให้อยู่ในรูปของ Lennard-Jones Potential ซึ่งมีรูปแบบทำงคณิตศำสตร์คือ
   12
 
6
V ( x )      2   
 x  x 
เมื่อ  และ  คือค่ำคงที่
a) จงประมำณพลังงำนศักย์ข้ำงต้นให้อยู่ในรูปของซิมเปิลฮำร์มอนิก
b) วำดรูปพลังงำนศักย์ V ( x) และคำนวณควำมลึกของบ่อพลังงำนศักย์ พร้อมทั้งคำนวณหำ
ตำแหน่งสมดุล และอธิบำยว่ำปริมำณทั้งสอง (ควำมลึก และ ตำแหน่งสมดุล) มีควำมสัมพันธ์กับ 
และ  อย่ำงไร
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-4

หัวข้อ 7.2 Eigen Energy


เมื่อเรำต้องกำรทรำบระดับพลังงำนของระบบซิมเปิลฮำร์มอนิกดังสมกำร (7.2) โดยทั่วไปแล้วมักจะ
เริ่มด้วยกำรพิจำรณำ Time-Independent Schrödinger Equation ใน Position Space ซึ่งก็คือ
2
2 1
  n ( x)  m 2 x 2 n ( x)  En n ( x) _______________ สมกำร (7.5)
2m x 2 2

และกำรทีไ่ ด้จะมำซึ่งเซตของ Eigen Energy En  ก็ทำได้โดยกำรหำผลเฉลยของสมกำรอนุพันธ์


อันดับสอง ดังในสมกำรข้ำงต้น

อย่ำงไรก็ตำม ในปี 1925 P.A.M. Dirac คิดค้นวิธีกำรคำนวณ Eigen Energy En  ของระบบซิม
เปิลฮำร์มอนิกโดยอำศัยกลไกของ Operator และ State ซึ่งจะได้ขยำยควำมในลำดับต่อไปนี้

พิจำรณำ Hamiltonian ของบ่อศักย์แบบซิมเปิลฮำร์มอนิก

pˆ 2 1
Hˆ  x  m 2 xˆ 2 _____________________ สมกำร (7.6)
2m 2

ด้วยควำมชำญฉลำดของ Dirac โดยอำศัยคุณสมบัติ xˆ, pˆ x   i เพียงประกำรเดียว เขำสำมำรถ


หำ Eigenvalue ของ Operator ในสมกำร (7.6) ข้ำงต้นได้สำเร็จ

เริ่มต้นด้วยกำรนิยำม Operator ขึ้นมำสองตัวคือ

m  i 
aˆ   xˆ  m pˆ x  _____________________ สมกำร (7.7)
2  

เป็นสิทธิที่เรำจะนิยำม Operator ในรูปแบบใดๆขึ้นมำก็ได้ แต่ Operator â ได้ถูกออกแบบขึ้นมำ


ให้มีคุณสมบัติพเิ ศษอยู่หลำยประกำร ที่ในโอกำสต่อไป จะเป็นประโยชน์อย่ำงยิ่งในกำรหำ Eigen
Energy ดังจะได้กล่ำวถึงคุณสมบัติทำงคณิตศำสตร์ใน 5 ประเด็นของ Operator นี้ว่ำ

1) Adjoint ของ Operator â ก็คือ


บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-5


†  m  i  
aˆ    xˆ  pˆ x  
 2  m  
m  † i †
  xˆ  m pˆ x 
2  

สมกำรข้ำงต้นอำศัยสมบัติของ Adjoint ดังที่ได้กล่ำวในหัวข้อ 3.6 ของบทที่ 3 และเนื่องจำก x̂


และ pˆ x ต่ำงก็เป็น Hermitian Operator กล่ำวคือ xˆ †  xˆ และ pˆ †x  pˆ x ดังนั้น

m  i 
aˆ †  xˆ  pˆ x  _____________________ สมกำร (7.8)
2  m 

2) พิจำรณำ  aˆ , aˆ †  โดยอำศัยสมกำร (7.7) และสมกำร (7.8) จะได้ว่ำ


 

 
 aˆ , aˆ †    m  xˆ  i pˆ x  , m  xˆ  i pˆ x  
   2  m  2  m  

m  i i 
 xˆ  pˆ x , xˆ  pˆ x
2  m m 

และโดยอำศัยสมบัติกำรกระจำยของ Commutator ทำให้

 aˆ , aˆ †   m  xˆ  i pˆ x , xˆ   m i  xˆ  i pˆ x , pˆ x 
  2  m  2 m 
  m 

m m i i i i
  xˆ , xˆ    pˆ x , xˆ    xˆ , pˆ x    pˆ x , pˆ x 
2   2 m  2 2 m 
 aˆ , aˆ †    i  xˆ , pˆ x 
 

ซึ่งเรำทรำบดีว่ำ  xˆ, pˆ x   i เพรำะฉะนั้นแล้ว

 aˆ , aˆ †   1  aa
ˆ ˆ †  aˆ † aˆ _____________________ สมกำร (7.9)
 

3) จำกสมกำร (7.7) และสมกำร (7.8) เป็นกำรเขียน Operator â และ ↠ให้อยู่ในรูปของ


Operator x̂ และ pˆ x ในทำงตรงกันข้ำม เรำสำมำรถเขียน
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-6

xˆ 
2m
 aˆ  aˆ 

_____________________ สมกำร (7.10)


pˆ x  i
m
2

aˆ  aˆ † 
แบบฝึกหัด 7.2 จงพิสูจน์สมกำร (7.10) และ (7.11)

และเมื่อแทนควำมสัมพันธ์ข้ำงต้นเข้ำไปใน Hamiltonian ดังสมกำร (7.6) จะได้ว่ำ

Hˆ 
 †
2
 ˆ ˆ†
aˆ aˆ  aa  _____________________ สมกำร (7.11)

แต่จำกสมกำร (7.9) เมื่อเรำแทน aaˆ ˆ †  1  aˆ † aˆ เข้ำไปในสมกำรข้ำงต้น ก็จะได้ Hamiltonian ที่


เขียนให้อยู่ในรูปของ Operator â และ ↠คือ

 1
Hˆ    aˆ † aˆ   _____________________ สมกำร (7.12)
 2

4) Operator â นอกจำกจะมีรูปแบบทำงคณิตศำสตร์ดังในสมกำร (7.7) แล้ว ยังมีควำมหมำยทำง


ฟิสิกส์ที่ชัดเจน กล่ำวคือมันทำหน้ำที่เหมือน Lowering Operator ของระบบ Harmonic Potential
ซึ่งในหลำยๆประเด็นก็คล้ำยกับ Operator Ĵ  ของระบบ Angular Momentum ดังจะได้ขยำย
ควำมในลำดับต่อไป

สมมุติว่ำเรำใช้สัญลักษณ์ n แทน Eigenstate ของ Hamiltonian ดังที่เขียนในสมกำร (7.6) หรือ


สมกำร (7.12) ด้วยควำมที่เป็น Eigenstate

Hˆ n  En n _____________________ สมกำร (7.13)

จำกสมกำรข้ำงต้น เรำใช้สัญลักษณ์ En แทนระดับพลังงำนของ Eigenstate นั้นๆ จะสังเกตว่ำ


Eigenstate มิได้มีเพียงสภำนะเดียว หำกแต่เป็นเซตของ State ซึ่งกำกับด้วยดัชนี n ดังนั้นแล้ว
ระดับพลังงำนในสมกำร (7.13) จึงอยู่ในรูปของเซต En   E0 , E1, E2 ,  ดังในภำพ 7.2
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-7

Eigen Energy แ Eigenstate


E4 n4
E3 n3
E2 n2
E1 n 1
E0 n0

ภำพ (7.2) ระดับพลังงำนและ Eigenstate ของบ่อศักย์แบบซิมเปิลฮำร์มอนิก จะสังเกตเห็นว่ำ


เอกลักษณ์ที่ชัดเจนของระดับพลังงำนในกรณีนี้ คือจะมีช่องว่ำงที่เท่ำกัน โดยที่ E  

ภำพ (7.2) แสดง Eigenstate ของระบบซิมเปิลฮำร์มอนิก ในแต่ละ Eigenstate n ก็จะมี


Eigenvalue En เป็นของตัวเอง ซึ่งในที่นี้ เริ่มต้นนับเลขดัชนี n จำกศูนย์เป็นต้นไป นอกจำกนี้
เรำยังเขียน Eigenstate ต่ำงๆโดยเรียงจำกขนำดของระดับพลังงำน จำกข้ำงล่ำงซึ่งมีพลังงำนต่ำที่สดุ
ขึ้นไปหำสถำนะที่มีระดับพลังงำนสูงขึ้นเรื่อยๆ กล่ำวคือ E0  E1  E2 

พิจำรณำ Operator ˆˆ
Ha ที่กำลังกระทำกับสถำนะ n ใดๆ จะได้ว่ำ

ˆ ˆ n    aˆ † aˆ  1  aˆ n
Ha  2 

_____________________ สมกำร (7.14)
 1 
   aˆ † aa
ˆ ˆ  aˆ  n
 2 

แบบฝึกหัด 7.3 เมื่อนำเอกลักษณ์ในสมกำร (7.9) เข้ำมำวิเครำะห์ จงพิสูจน์ว่ำ


aˆ † aa ˆ ˆ † aˆ  aˆ _____________________ สมกำร (7.15)
ˆ ˆ  aa

ดังนั้นแล้ว จำกแบบฝึกหัด 7.3 เรำสำมำรถเปลีย่ นรูปของ Operator ˆˆ


Ha ในสมกำร (7.14) ได้ว่ำ

ˆ ˆ n    aa † 1 
Ha  ˆ ˆ aˆ  2 aˆ  aˆ  n
 
 1 
  aˆ  aˆ † aˆ   1 n _____________________ สมกำร (7.16)
 2 


 aˆ Hˆ   n 
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-8

ในสมกำรข้ำงต้น เรำเปลี่ยนรูป Operator Ha


ˆ ˆ ให้กลำยเป็น 
â Hˆ    ซึ่งเมื่อนำ Operator
ดังกล่ำวเข้ำไปกระทำกับสถำนะ n จะทำให้

ˆ ˆ n  aH
Ha ˆ ˆ n   aˆ n
ˆ n n   aˆ n
 aE
ˆ ˆ n   E    aˆ n
Ha n

หรือจัดรูปเสียใหม่ได้เป็น

Hˆ  aˆ n    En     aˆ n  _____________________ สมกำร (7.17)

จำกสมกำร (7.17) ให้สังเกตว่ำ

 â n  มีสถำนะภำพเป็น n ก็มีสถำนะภำพเป็น
Eigenstate ของ Hamiltonian Ĥ Eigenstate ของ Hamiltonian Ĥ
ซึ่งมี Eigenvalue เป็น  En    ซึ่งมี Eigenvalue เป็น En

ตำรำงข้ำงต้นแสดงให้เห็นว่ำ ผลของ Operator â ที่กระทำกับ Eigenstate n นั้น ส่งผลให้เกิด


เป็น Eigenstate ตัวใหม่ที่มีพลังงำนลดลงมำเท่ำกับ  ของระดับพลังงำนเดิม และจำกภำพ 7.2
เมื่อพลังงำนลดลงมำ ก็หมำยถึง Eigenstate ที่อยู่ต่ำลงมำ หรือ อีกนัยหนึ่ง aˆ n  n  1 ซึ่ง
เขียนให้อยู่ในรูปของสมกำรได้ว่ำ

aˆ n   n  1 _____________________ สมกำร (7.18)

เมื่อ  คือค่ำคงที่ ที่จำเป็นจะต้องคำนวณหำค่ำที่เหมำะสมในโอกำสต่อไป

สมกำร (7.18) เป็นที่มำของชื่อที่เรำใช้เรียก Operator â ว่ำเป็น Lowering Operator หรือ


Annihilation Operator เพรำะมันทำให้สถำนะของระบบ เปลี่ยนไปเป็นสถำนะทีม่ ีระดับพลังงำน
ลดลงมำนั่นเอง นอกจำกนี้ สมกำร (7.17) และสมกำร (7.18) ยังแสดงให้เห็นอีกว่ำ ระดับพลังงำน
ของสถำนะต่ำงๆดังในภำพ 7.2 นั้น มีผลต่ำงของพลังงำนคือ

En  En 1   _____________________ สมกำร (7.19)


บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-9

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพรำะว่ำ ในกำรกระโดดของสถำนะที่เกิดขึ้น เนื่องจำกโดนกระทำด้วย Lowering


Operator â หรือ Raising Operator ↠นั้น ทำให้ระดับพลังงำนเปลี่ยนไปเท่ำกับ   นั่นเอง

5) โดยอำศัยวิธีกำรพิสจู น์ทำนองเดียวกันกับข้อ 4) ข้ำงต้น เรำบอกได้ว่ำ Operator ↠นั้นเป็น


Raising Operator หรือ Creation Operator เพรำะมันทำให้สถำนะของระบบ เปลีย่ นไปเป็นสถำนะ
ที่มีระดับพลังงำนเพิ่มขึ้น หรืออีกนัยหนึ่ง

aˆ † n   n  1 _____________________ สมกำร (7.20)

เมื่อ  คือค่ำคงที่ ที่มีค่ำเฉพำะซึ่งเรำจะต้องคำนวณหำในลำดับถัดไป

แบบฝึกหัด 7.4 จงอธิบำยที่มำของสมกำร (7.20) โดยอำศัยตรรกะในทำนองเดียวกันกับในข้อ 4)


ที่ผ่ำนมำ

ด้วยคุณสมบัติทั้ง 5 ประกำรที่เกี่ยวข้องกับ Operator â และ Operator ↠ดังกล่ำวข้ำงต้นทำให้


เรำสำมำรถวิเครำะห์หำระดับพลังงำนของระบบซิมเปิลฮำร์มอนิก ได้อย่ำงไม่ยำกเย็นนัก จำกคำ
นิยำมที่ว่ำ n  0 เป็น Ground State นั่นก็คือ ไม่มีสถำนะใดที่ต่ำลงไปกว่ำนี้อีกแล้ว เพรำะฉะนั้น

aˆ n  0  0 _____________________ สมกำร (7.21)

นั่นหมำยถึง เมื่อ Lowering Operator â กระทำกับสถำนะ Ground State ย่อมต้องเกิดผลลัพธ์เป็น


ศูนย์ นอกจำกนี้จำกสมกำร (7.12) เรำเขียนใหม่ได้ว่ำ

Hˆ 1
aˆ † aˆ   _____________________ สมกำร (7.22)
 2

จำกนั้นพิจำรณำ n  0 aˆ † aˆ n  0 โดยอำศัยสมกำร (7.21) เรำบอกได้ว่ำ

n  0 aˆ †aˆ n  0  0 _____________________ สมกำร (7.23)

และโดยอำศัยสมกำร (7.22) เรำบอกได้อีกเช่นกันว่ำ


บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-10

Hˆ 1
n  0 aˆ † aˆ n  0  n  0  n0
 2
Hˆ 1
 n0 n0  n0 n0
 2
1
E0 1
 n0 n0 
 2
1
หรือ
E0 1
n  0 aˆ † aˆ n  0   _____________________ สมกำร (7.24)
 2

ทั้งนี้ เมื่อกำหนดให้สมกำร (7.24) มีค่ำเท่ำกับสมกำร (7.23) ทำให้สรุปได้ว่ำ


E0  __________________________ สมกำร (7.25)
2

ในเมื่อเรำทรำบระดับพลังงำน E0 แล้ว จำกกำรวิเครำะห์ในสมกำร (7.19) จะได้ว่ำ


3 5
E1  E0     หรือ E2  E1     เป็นเช่นนี้เรื่อยไป ดังนั้นแล้ว ในระบบของ
2 2
ซิมเปิลฮำร์มอนิก

 1
En    n   __________________________ สมกำร (7.26)
 2

แบบฝึกหัด 7.5 ใช้รูปแบบของ Hamiltonian ในสมกำร (7.12) , และระดับพลังงำนในสมกำร


(7.26) เพื่อพิสูจน์ว่ำ
aˆ † aˆ n  n n _____________________ สมกำร (7.27)

มำถึงขั้นนี้ เรำก็มีควำมพร้อมที่จะคำนวณค่ำคงที่  และ  ดังที่ปรำกฏในสมกำร (7.18) และ


(7.20) ตำมลำดับ ในกรณีแรก พิจำรณำ


n aˆ † aˆ n  n aˆ † aˆ n 
ทั้งนี้ กำรใส่วงเล็บคร่อมไว้ก็เพื่อสือ่ สำรให้ชัดเจนว่ำ Operator aˆ † aˆ จะต้องกระทำกับสถำนะ Ket
n ในทำงขวำมือ แต่จำกหลักกำรของ Adjoint Operator จะได้ว่ำ Operator ↠สำมำรถที่
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-11

ย้ำยมำกระทำกับสถำนะ Bra n แต่จะต้องแปรสภำพให้เป็น Adjoint ของตัวมันเองเสียก่อน


 aˆ 

เนื่องจำก †
 aˆ ดังนั้น


n aˆ † aˆ n  n aˆ † aˆ n 
  n aˆ  aˆ n  ___________________ สมกำร (7.28)
n aˆ † aˆ n   2 n  1 n  1
1

นอกจำกนี้ เรำยังสำมำรถคำนวณผลของ Operator aˆ † aˆ ที่กระทำกับสถำนะ n โดยอำศัยสมบัติดัง


ในสมกำร (7.27) กล่ำวคือ

n aˆ † aˆ n  n n n
n n n ___________________ สมกำร (7.29)
1

n aˆ † aˆ n  n

และเมื่อกำหนดให้สมกำร (7.28) เท่ำกับสมกำร (7.29) จะได้ว่ำ   n หรือ

aˆ n  n n  1 ___________________ สมกำร (7.30)

สมกำรข้ำงต้นเป็นเอกลักษณ์ที่มีควำมสำคัญ เพรำะมันบ่งบอกอย่ำงละเอียดถึงผลของ Lowering


Operator â ที่กระทำกับสถำนะ n และในทำนองเดียวกันนั้น เรำก็สำมำรถพิสูจน์ได้ว่ำ
  n  1 โดยเริ่มจำกสมกำร (7.20) ซึ่งจะได้ว่ำ

aˆ † n  n  1 n  1 ___________________ สมกำร (7.31)

แบบฝึกหัด 7.6 จงพิสูจน์สมกำร (7.31)


บอกใบ้: เริ่มจำกสมกำร (7.20) จำกนั้นพิจำรณำผลของ Operator aa ˆ ˆ † ที่กระทำกับสถำนะ n
นักศึกษำอำจจะต้องใช้เอกลักษณ์ทำงคณิตศำสตร์ในสมกำร (7.9) เข้ำช่วยในกำรคำนวณ

ระดับพลังงำนของระบบซิมเปิลฮำร์มอนิก ดังแสดงในสมกำร (7.26) บ่งบอกให้เห็นอย่ำงชัดเจนว่ำ มัน


มีลักษณะเป็นเหมือนขั้นบันไดที่มชี ่องว่ำคงที่ ซึ่งมี E  ω
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-12

นอกจำกนี้ ระดับพลังงำนในสมกำร (7.26) ยังสำมำรถนำมำอธิบำยสมบัติอื่นๆของสสำรที่เป็นของแข็ง


อำทิเช่น ควำมจุควำมร้อนของของแข็ง ณ อุณหภูมิต่ำ ที่เรียกว่ำ “Einstein’s Model of Specific
Heat” ซึ่งจะได้กล่ำวถึงในลำดับต่อไป

หัวข้อ 7.3 Eigenstate ใน Position Space


ในกำรวิเครำะห์สถำนะ n ของระบบซิมเปิลฮำร์มอนิกนั้น เรำอำจจะต้องกำรทรำบควำมน่ำจะ
เป็นที่อนุภำคดังกล่ำวจะอยู่ ณ ตำแหน่งต่ำงๆ ซึ่งก็จะต้องเริ่มด้วยกำรคำนวณ Wave Function ใน
Position Space

 n ( x)  x n ___________________ สมกำร (7.32)

เมื่อดัชนี n ที่กำกับ Wave Function นั้นก็เพื่อบ่งบอกให้ชัดเจนว่ำเป็นสถำนะใดของระบบทีเ่ รำกำลัง


พิจำรณำอยู่ ทั้งนี้เรำสำมำรถที่จะใช้ เอกลักษณ์ทำงคณิตศำสตร์ที่ได้กล่ำวมำแล้วข้ำงต้นในกำร
วิเครำะห์ Wave Function ดังในสมกำร (7.32)

Ground State Wave Function


โดยในขั้นต้น เรำจะทำกำรคำนวณ Wave Function ของสถำนะพื้น ด้วยกำรพิจำรณำผลของ
Lowering Operator â ที่กระทำกับ Ground State n  0

aˆ 0  0

ทั้งนี้เนื่องจำก โดยคำนิยำมแล้ว Ground State เป็นสถำนะสุดท้ำยที่ต่ำที่สุด เมื่อ Lowering


Operator กระทำกับมัน ย่อมต้องได้ผลลัพธ์เป็นศูนย์ จำกนั้นนำสถำนะ Bra x เข้ำมำกระทำทั้ง
สองข้ำงของสมกำร จะได้ว่ำ

m  i 
x aˆ 0  x  xˆ  pˆ x  0
2  m 
 i 
 x  xˆ  pˆ x  0 ___________________ สมกำร (7.33)
 m 
i
0  x xˆ 0  x pˆ x 0
m

โดยที่ในสมกำรข้ำงต้นเรำใช้คำนิยำมของ Lowering Operator â ในสมกำร (7.7) ซึ่งจะเห็นว่ำ


ทำงขวำมือของสมกำรดังกล่ำวนั้น ประกอบด้วยสองเทอมที่ต้องบวกกันแล้วเท่ำกับศูนย์ คือ
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-13

1) เทอม x xˆ 0 เนื่องจำก x̂ เป็น Hermitian Operator เรำสำมำรถกำหนดให้มันกระทำกับ


สถำนะ Bra x ได้ (แทนที่จะต้องกระทำกับสถำนะ Ket 0 ) เพรำะฉะนั้นแล้ว

x xˆ 0  x x 0

2) เทอม x pˆ x 0 ใช้ตรรกะของควำมเป็น Hermitian ในทำนองเดียวกันกับกรณีข้ำงต้น ทำให้


ทรำบว่ำ


x pˆ x 0  x0
i x

และเมื่อแทนทั้งสองเทอมดังกล่ำวเข้ำไปในสมกำร (7.33) โดยนิยำมสัญลักษณ์  0 ( x)  x0 จะได้


0  x 0 ( x)   0 ( x)
m x

สมกำรดังกล่ำวเป็น 1st Order Differential Equation ที่มีผลเฉลยหำได้โดยง่ำย ซึ่งอยู่ในรูปทั่วไปคือ


2 2
 0 ( x)  Ne  m x

โดยที่ค่ำคงที่ N สำมำรถหำได้จำกข้อกำหนดของ Normalization ที่ว่ำควำมน่ำจะเป็นทั้งหมดต้องมี



ค่ำเป็นหนึ่ง  dx  0 ( x) 2  1 ดังนั้น


14
 m  2 2
 0 ( x)    e m x ___________________ สมกำร (7.34)
 

สมกำร (7.34) เป็นผลกำรทำนำยตำมทฤษฏีกลศำสตร์ควอนตัม ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับควำมน่ำจะ


เป็นที่จะพบอนุภำคที่กำลังเคลื่อนที่ภำยใต้อิทธิพลของบ่อศักย์แบบซิมเปิลฮำร์มอนิก ในขณะที่มันอยู่
ในสถำนะ Ground State กล่ำวคือ

ควำมน่ำจะเป็นที่จะพบอนุภำค ณ ตำแหน่งระหว่ำง x  x  dx มีค่ำเป็น


2 m  m x 2
 0 ( x) dx  e dx

บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-14

Probability Density
2
 0 ( x)
V ( x)

x
ภำพ (7.3) ควำมน่ำจะเป็นที่จะพบอนุภำค ณ ตำแหน่งต่ำงๆ ของอนุภำคที่เคลื่อนที่ภำยใต้
อิทธิพลของบ่อศักย์แบบซิมเปิลฮำร์มอนิก ในขณะที่มันอยู่ในสถำนะ Ground State

ดังแสดงใน ภำพ (7.3) จะเห็นว่ำในสถำนะ Ground State ของระบบนั้น โดยเฉลี่ยแล้ว มีโอกำสที่


จะพบอนุภำคที่ ณ จุดกำเนิดได้มำกที่สุด อย่ำงไรก็ตำม อนุภำคมีโอกำสที่จะอยู่ห่ำงออกไปจำกจุด
สมดุลดังกล่ำว แต่ด้วยควำมน่ำจะเป็นที่ลดลงแบบ exp  ax 2  ซึ่งมีชื่อเรียกว่ำ Gaussian Decay

Excited State Wave Function


และเมื่อทรำบ Probability Amplitude หรือที่เรียกว่ำ Wave Function ของระบบที่อยู่ในสถำนะ
Ground State แล้ว เรำก็พร้อมที่จะวิเครำะห์หำ  n ( x) ใดๆในลำดับต่อไป

กลยุทธ์ที่เรำจะใช้ก็คือ กำรนำเอกลักษณ์ของ Raising Operator ↠ดังแสดงในสมกำร (7.31) ที่


สำมำรถนำสถำนะ Ground State n  0 ของระบบ ขึ้นไปสู่สถำนะ n ใดๆก็ได้ โดยกำรนำ
Operator ↠มำกระทำซ้ำกันหลำยๆครั้ง ทั้งนี้สำมำรถพิสูจน์ได้ว่ำ

aˆ †
 n ( x)  x n 1 ___________________ สมกำร (7.35)
n

แบบฝึกหัด 7.7 จงพิสูจน์สมกำร (7.35) (ให้สังเกตว่ำสถำนะ  n ( x) ดังในสมกำร (7.35) นั้น


Normalize เป็น 1)

สมกำรข้ำงต้นจะเป็นกลไกสำคัญในกำรช่วยให้เรำวิเครำะห์ Wave Function ของสถำนะ n ใดๆ


โดยเริ่มจำกสถำนะ Ground State และเมื่อเรำแทนคำนิยำมของ ↠ดังในสมกำร (7.8) จะได้
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-15

1 m  i 
 n ( x)  x  xˆ  pˆ x  n  1
n 2  m 

หรือเขียนให้อยู่ในรูปของ Position Space ของ Operator ได้ว่ำ

1 m   
 n ( x)   x  n 1 ( x) _______________ สมกำร (7.36)
n 2  m x 

กำรนำสมกำร (7.36) เพื่อมำใช้ในกำรคำนวณ Wave Function ณ ระดับพลังงำนต่ำงๆนั้น ทำได้


โดยง่ำย ยกตัวอย่ำงเช่น ในระดับ 1st Exited State หรือ n  1 จะได้วำ่

1 m  
 1 ( x)   x  m x  0 ( x)
1 2 
   m  
14
m  2
  x    e m x 2

2  m x     

14
m  m    m x2 2 2 
 1 ( x)   xe
2
 xe  m x 
2     

หรือ
14
m  m  2 2
 1 ( x)  2 xe  m x _______________ สมกำร (7.37)
2   

หรืออีกตัวอย่ำงหนึ่งในกรณีของ 2nd Excited State n2 จะได้ว่ำ

1 m   
 2 ( x)   x  m x  1 ( x)
2 2  
   m  m  
14
1 m  2
  x     2 xe  m x 2

2 2  m x   2    

14
2  m  m   2  m x2 2 2 2 2 
 2 ( x)     x e
2
 e  m x  x 2 e  m x 
2  2     m 

หรือ
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-16

14
1  m   m 2   m x2
 2 ( x)    2 x  1 e 2
__________ สมกำร (7.38)
2   

ภำพ (7.4) แสดง Wave Function และ Probability Amplitude ของบ่อศักย์แบบซิมเปิลฮำร์มอ


นิก ณ ระดับพลังงำนต่ำงๆกัน จำกภำพจะสังเกตเห็นว่ำ ยิ่งระดับพลังงำนสูงขึ้น อนุภำคก็มีควำม
น่ำจะเป็นที่จะอยูห่ ่ำงออกไปจำกจุดสมดุลมำกขึ้น ในทำนองเดียวกันกับกำรสั่นของสปริงในระบบ
ของกลศำสตร์คลำสสิก ที่ Amplitude ของกำรสั่นมีค่ำมำกขึ้นถ้ำพลังงำนของมันมำกขึ้นนั่นเอง

Wave Function Probability Density


2
 0 ( x)
2
 1 ( x)
2
 2 ( x)

x
ภำพ (7.4) แสดง Wave Function และ Probability Amplitude ของบ่อศักย์แบบซิมเปิลฮำร์
มอนิก ณ ระดับพลังงำนต่ำงๆกัน

อย่ำงไรก็ตำม กำรอธิบำยระบบซิมเปิลฮำร์มอนิกโดยใช้ภำษำของกลศำสตร์ควอนตัม ซึ่งอยู่ใน


รูปแบบของ ระดับพลังงำนดังสมกำร (7.26) หรือในรูปแบบของ Wave Function ดังในสมกำร (7.34)
และ (7.36) นั้น นักศึกษำอำจจะยังมองภำพเหตุกำรณ์ที่เป็นรูปธรรมซึ่งเกิดขึ้นได้ลำบำก เมื่อ
เปรียบเทียบกับซิมเปิลฮำร์มอนิกในกลศำสตร์คลำสสิก ที่เรำเห็นภำพชัดเจนถึงกำรสั่นไปมำของสปริง
หรือ กำรแกว่งกลับไปกลับมำของลูกตุ้ม

สำเหตุที่เปรียบเทียบได้ลำบำกก็เพรำะว่ำกำรสั่นในระดับกลศำสตร์ควอนตัมนั้น เป็นปรำกฏกำรณ์ใน
ระดับอะตอมหรือโมเลกุลซึ่งมีขนำดเล็ก และอยู่นอกเหนือจำกเหตุกำรณ์ในชีวิตประจำวันที่มนุษย์
สำมำรถสังเกตหรือทำควำมเข้ำใจได้โดยง่ำย

แต่ถึงแม้จะทำได้ด้วยควำมลำบำก ไม่ได้หมำยควำมว่ำเรำจะละควำมพยำยำม แท้ที่จริงแล้ว เรำ


สำมำรถเรียนรู้กฎเกณฑ์ทำงฟิสิกส์ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ด้วยกำรวิเครำะห์เปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนถึงข้อ
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-17

เหมือนและข้อแตกต่ำงระหว่ำง Quantum Mechanics และ Classical Mechanics ในกำรศึกษำ


ระบบซิมเปิลฮำร์มอนิก ดังจะได้กล่ำวถึงในลำดับต่อไป

แบบฝึกหัด 7.8 จงคำนวณ Wave Function ของ 3rd Excited State Wave Function  3 ( x)
และวำดกรำฟของ Probability Density

หัวข้อ 7.4 Quantum Model versus Classical Model


ในมุมมองของ Classical Mechanics ลักษณะกำรเคลื่อนที่ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ทสี่ ำคัญของซิมเปิล
ฮำร์มอนิก ก็คือกำรสั่นไปมำของมวลในรูปแบบของฟังก์ชันแบบ Sinusoidal (ซึ่งแปลว่ำมีลักษณะขึ้น
ลงแบบฟังก์ชัน Sine หรือ Cosine) และอำจจะเขียนสมกำรบ่งบอกถึงตำแหน่งของมวลดังกล่ำวได้วำ่

Time Evolution ของ Classical Model

xclassical (t )  A cos(ω t ) _____________ สมกำร (7.39)

(a) (b)
Amplitude A
x
x(t )  A cos(ωt )

t
x0

ภำพ (7.5) a) Classical Model ของซิมเปิลฮำร์มอนิก ซึ่งประกอบด้วยสปริงผูกติดกับมวล m


และถ้ำกำหนดให้ ณ เวลำ t=0 เรำดึงเอำมวลมำไว้ที่จดุ หยุดนิ่ง ซึ่งห่ำงจำกจุดสมดุลเป็นระยะ A
b) จะได้ว่ำตำแหน่งของมวล m ณ เวลำใดๆมีคำ่ เท่ำกับ xclassical  A cos(ω t )

ดังแสดงใน ภำพ (7.5) A คือ Amplitude ของกำรสั่น ในขณะที่ ω คือควำมถี่เชิงมุมซึ่งมีค่ำเท่ำกับ


k m เมื่อ k คือค่ำคงที่ของสปริง นอกจำกนี้เรำอำจจะยังเขียน Amplitude A ให้อยู่ในรูปของ
1
พลังงำนทั้งหมดของระบบได้ว่ำ Etotal  mω2 A2 เพรำะฉะนั้นแล้ว
2
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-18

A  2 Etotal mω2

และเมื่อแทน Amplitude ดังกล่ำวเข้ำไปในสมกำร (7.39) จะได้ว่ำ

2 Etotal
xclassical (t )  cos(ω t ) _____________ สมกำร (7.40)
mω2

ด้วยเอกลักษณ์เฉพำะตัวของกำรเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮำร์มอนิกใน Classical Mechanics ดังกล่ำว


เรำอำจจะสมมุติเอำอย่ำงผิดๆว่ำ Quantum Mechanics มองซิมเปิลฮำร์มอนิก ในลักษณะที่
เหมือนกันเสียเลยทีเดียว

Time Evolution ของ Quantum Model


ในภำษำของ Quantum Mechanics เรำอธิบำยกำรวัดตำแหน่งของอนุภำคที่กำลังศึกษำด้วยสิ่งที่
เรียกว่ำ Expectation Value ของ Position Operator x̂ และ เรำอธิบำยกำรเปลี่ยนแปลงไป
ของอนุภำคตำมเวลำที่ผ่ำนไป ด้วยสิ่งที่เรียกว่ำ Time Evolution Operator Uˆ (t ) เพรำะฉะนั้น
แล้ว กำรศึกษำกำรเคลื่อนที่ของอนุภำคในทำง Quantum Mechanics นั้น เรำต้องกำรที่จะทรำบ

xquantum (t )

ซึ่งก็คือตำแหน่งของอนุภำคโดยเฉลี่ย เมื่อเวลำผ่ำนไป เพื่อเป็นกำรเปรียบเทียบกับ xclassical ใน


สมกำร (7.39) นั่นเอง

สมมุติว่ำเรำเตรียมอนุภำค ณ เวลำ t=0 ให้เป็นหนึ่งใน Eigenstate ของระบบภำยใต้บ่อศักย์แบบซิม


เปิลฮำร์มอนิก หรือ

(t  0)  n

เมื่อ n คือหนึ่งใน Eigenstate ดังในสมกำร (7.13) และถ้ำเรำต้องกำรทรำบสถำนะดังกล่ำวเมื่อ


เวลำผ่ำนไป ก็สำมำรถทำได้โดยนำ Time Evolution Operator เข้ำมำกระทำ

 (t )  Uˆ (t ) n
ˆ
 eiHt n
i  n 1 2 ωt
 (t )  e n
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-19

ในสมกำรข้ำงต้น เรำอำศัยสมบัตทิ ี่ว่ำ n คือ Eigenstate ของ Hamiltonian Ĥ ซึ่งมี Eigenvalue


 1
เท่ำกับ En   n   ω ทำให้สำมำรถแทน Operator Ĥ ที่ปรำกฏอยู่ในเลขยกกำลังของ
 2
ฟังก์ชันเอ็กซ์โพเนนเชียล ด้วย Eigenvalue ของมันได้

และเมื่อเรำทรำบ  (t ) ซึ่งแสดงถึงสถำนะของระบบ ณ เวลำใดๆแล้ว ก็สำมำรถคำนวณตำแหน่ง


โดยเฉลี่ยของอนุภำคได้ว่ำ

xquantum (t )  xˆ   (t ) xˆ  (t )  n e 
 i n 1 2 ωt
xˆ e 
i n 1 2 ωt
n  n xˆ n

จำกสมกำรข้ำงต้นจะพบว่ำ Expectation Value ของตำแหน่งนั้น กลับไม่ขึ้นกับเวลำ ซึ่งก็เสมือนว่ำ


โดยเฉลี่ยแล้ว Quantum Mechanics มองว่ำอนุภำคดูเหมือนหยุดนิ่ง ณ ตำแหน่งสมดุล

แบบฝึกหัด 7.9 จงพิสูจน์ว่ำ Expectation Value ของ position n xˆ n  0


บอกใบ้: เขียน x̂ Operator ให้อยู่ในรูปของ Raising และ Lowering Operator

ดังนั้นเรำสรุปได้ว่ำ

xquantum (t )  0 ถ้ำ (t  0)  n _____________ สมกำร (7.41)

สมกำร (7.41) แตกต่ำงอย่ำงสิ้นเชิงกับสมกำร (7.39) ในแง่ที่ว่ำ ถ้ำเรำทรำบแน่ชัดว่ำสถำนะของ


ระบบนั้น เป็นหนึ่งใน Eigenstate ของระบบ Quantum Mechanics ทำนำยว่ำ เมื่อทำกำรวัด
ตำแหน่งของอนุภำคดังกล่ำว จะไม่พบว่ำมันมีกำรเปลีย่ นแปลงกับเวลำแต่อย่ำงใด

เรำจะอธิบำยข้อขัดแย้งระหว่ำง Classical Mechanics และ Quantum Mechanics นี้ว่ำอย่ำงไร ?

ครำวนี้สมมุติว่ำ เรำไม่ทรำบแน่ชดั ว่ำระบบอยู่ใน Eigenstate อันใดอันหนึ่ง แต่เป็นสถำนะผสม


ระหว่ำงสอง Eigenstate ด้วยกันคือ

1 1
(t  0)  n  n 1 _________________ สมกำร (7.42)
2 2

เพื่อควำมสะดวก กำหนดให้สัมประสิทธิ์ของ Superposition ของทั้งสองนั้นเท่ำกัน และด้วย


ข้อกำหนดตั้งต้นเช่นนี้ เรำสำมำรถคำนวณหำ สถำนะของระบบ ณ เวลำใดๆได้ว่ำ
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-20

 1 1 
 (t )  Uˆ (t )  n  n 1 
 2 2 
ˆ  1 1 
 eiHt  n  n 1 
 2 2 
 (t )  e 
i n 1 2 ωt 1
n e 
i n  3 2 ωt 1
n 1
2 2

ซึ่งเมื่อคำนวณ Expectation Value ของตำแหน่ง จะทำให้

 i n 1 2 ωt 1 
 (t ) xˆ  (t )  e  n e 
 i n  3 2 ωt 1
n 1 
 2 2 
 i n 1 2 ωt 1 
xˆ e  n e 
i n  3 2 ωt 1
n 1 
 2 2 
1 1 1 1
 n xˆ n  e iωt n xˆ n  1  e iωt n  1 xˆ n  n  1 xˆ n  1
2 2 2 2
0 0
1 1
 (t ) xˆ  (t )  e iωt n xˆ n  1  e  iωt n  1 xˆ n
2 2

 n  1
ถ้ำแทนให้ xˆ 
2m
 aˆ  aˆ  แล้วจะพบว่ำ

n xˆ n  1 
2m
 n  1 xˆ n ดังนั้น

 n  1  n  1
 (t ) xˆ  (t ) 
1
2 2m
e iωt

 e iωt 
2m
cos  ωt 

เรำสรุปได้ว่ำ

 n  1 1 1
xquantum (t )  cos  ωt  ถ้ำ (t  0)  n  n 1
2m 2 2
_____________________ สมกำร (7.43)

ให้สังเกตสมกำร (7.43) และสมกำร (7.39) ว่ำมีควำมคล้ำยคลึงกันอยู่มำกทีเดียว ทั้งสองสมกำรต่ำง


ก็แสดงถึงกำรเคลื่อนที่แบบ Sinusoidal รอบจุดสมดุลด้วยควำมถี่เชิงมุมเท่ำกับ ω และสำเหตุที่ทำ
ให้ผลกำรทำนำยของ Quantum Mechanics xquantum (t ) มีควำมคล้ำยคลึงกับกำรเคลื่อนที่แบบ
Classical Mechanics xclassical (t ) ได้นั้น ก็เนื่องมำจำกกำรกำหนดให้
1 1
(t  0)  n  n 1
2 2
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-21

เรำสำมำรถที่จะตีควำมได้ว่ำ ในครั้งแรกที่เรำตั้งข้อสมมุติฐำนให้ (t  0)  n นั้น ก็เท่ำกับไป


กำหนดให้ระบบมีพลังงำนที่แน่นอนอยู่เพียงค่ำเดียวคือ E  ω(n+1 2 ) ซึ่งในทำงปฏิบัติแล้ว ใน
ระบบที่มีขนำดใหญ่ (Macroscopic System) เช่นลูกบอลทีผ่ ูกติดอยู่กับสปริงนั้น ย่อมเป็น
สมมุติฐำนที่ขัดแย้งกับควำมเป็นจริง ลูกบอกประกอบด้วยอะตอมจำนวนมหำศำลซึ่งต่ำงก็สั่นและ
เคลื่อนที่อยู่ภำยในโมเลกุล ไม่มีทำงที่เรำจะทรำบพลังงำนของมวลทั้งก้อนได้แม่นยำอย่ำงสมบูรณ์โดย
ไม่มีควำมคลำดเคลื่อนเลยแม้แต่นอ้ ย ด้วยสมมุติฐำนที่ผิดพลำดเช่นนี้ จึงไม่น่ำแปลกใจทีผ่ ลทำนำย
ของ Quantum Mechanics ที่ว่ำ xquantum (t )  0 ในสมกำร (7.41) ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เรำพบเห็น
ในระบบ Classical Mechanics เช่นลูกตุ้ม หรือ มวลที่ผูกติดกับสปริง

1 1
ก็ต่อเมื่อเรำกำหนดให้ (t  0)  n  n 1 ซึ่งสื่อควำมหมำยเป็นนัยว่ำเรำไม่ทรำบ
2 2
แน่ชัดถึงสถำนะที่แท้จริงของระบบ หำกแต่เป็น Superposition ของสองสถำนะด้วยกันคือ n และ
n 1 และเนื่องจำก Probability Amplitude มีค่ำเท่ำกัน ก็แสดงว่ำระบบมีโอกำส 50% ที่จะมี
1 3
พลังงำน E  ω(n+ ) และอีก 50% ที่จะเป็น E  ω(n+ ) ส่วนจะมีพลังงำนเท่ำใดแน่นั้น ไม่
2 2
ปรำกฏแน่ชัด ก็ต่อเมื่อเรำใส่ควำมไม่แน่นอนดังกล่ำวนี้เข้ำไปในสมมุติฐำนเบื้องต้นแล้วเท่ำนั้น
Quantum Mechanics จึงจะให้คำทำนำยในสมกำร (7.43) สอดคล้องกับ Classical Mechanics

แบบฝึกหัด 7.10 จำกสมกำร (7.43) จงพิสูจน์ว่ำ


E 1 1
xquantum (t )  cos  ωt  ถ้ำ (t  0)  n  n 1
2m 2
2 2
_____________________ สมกำร (7.44)
เมื่อ E คือ Expectation Value ของพลังงำนในระบบ

1 1
เป็นที่น่ำสังเกตว่ำ ในกรณีที่ (t  0)  n  n 1 นั้น xquantum (t ) ในสมกำร
2 2
(7.44) ไม่ได้เหมือนกันกับ xclassical (t ) ในสมกำร (7.40) ไปเสียทั้งหมด จริงอยู่ในแง่ของกำร
เปลี่ยนแปลงกับเวลำ ทั้งคู่อยู่ในรูปของ cos(ωt ) แต่ในแง่ของ Amplitude แล้ว xclassical (t ) มีค่ำ
มำกกว่ำ xquantum (t ) ถึง 2 เท่ำ ข้อแตกต่ำงดังกล่ำวนี้อำจจะมีที่มำจำกข้อเท็จจริงที่ว่ำ
สมมุติฐำนของ Wave Function ดังในสมกำร (7.42) นั้น อำจจะเป็นรูปแบบของ Superposition
ที่ไม่เหมำะสมที่จะนำมำเป็น Model เพื่อจะนำมำเปรียบเทียบกับ Classical Mechanics
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-22

General Form ของ Position Expectation Value


มำถึงจุดนี้เรำเห็นว่ำ กำรกำหนดรูปแบบของ Wave Function ในสมกำร (7.42) อำจจะเป็น
รูปแบบที่เป็นกรณีเฉพำะจนเกินไป ซึ่งไม่แน่นักว่ำ ถ้ำสถำนะ (t  0) ของระบบอยู่ในรูป
Superposition ในลักษณะอื่นๆแล้วนั้น xquantum (t ) จะยังคงสภำพเป็นลักษณะของฟังก์ชัน
Sinusoidal อยู่ดังเช่นสมกำร (7.44) อีกหรือไม่

เพรำะฉะนั้น เรำจะเริ่มเขียนสถำนะ (t  0) ให้อยู่ในรูปทั่วไปมำกขึ้น แล้วจะอำศัย


กระบวนกำรทำงคณิตศำสตร์เพื่อเป็นเครื่องมือในกำรวิเครำะห์คุณสมบัติของ xquantum (t ) ในลำดับ
ต่อไป กำหนดให้

 (t  0)   cn n _____________________ สมกำร (7.45)
n 0

เมื่อ cn  คือเซตของสัมประสิทธิ์ที่ประกอบกันขึ้นเป็น Superposition ของ Eigenstate  n 


ซึ่งในขั้นต้นนี้ cn  จะเป็นอะไรก็ได้ไม่จำกัด และเมื่อนำ Time Evolution Operator เข้ำไป
กระทำกับ (t  0) จะปรำกฏว่ำ

 (t )  Uˆ  (t  0)

ˆ
 eiHt  cn n ___________________ สมกำร (7.46)
n 0

 (t )   cn eit (n1 2) n
n 0

จำกนั้นทำกำรคำนวณ Expectation Value ของตำแหน่ง

xˆ   (t ) xˆ  (t )
      
   cn e it ( n1 2) n  
 n0   2m
aˆ  aˆ †     c e
n 0
n
it ( n 1 2)
n 

 
xˆ    cncn eit (nn)
2m n0 n 0
 
n aˆ  aˆ † n

โดยอำศัยเอกลักษณ์ของ â และ â†สำมำรถพิสูจน์ได้ว่ำ



n aˆ  aˆ †
n  n n,n 1  n  1 n,n 1 เมื่อ  i , j คือ Kronecker Delta Function ดังนั้น
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-23

เรำสำมำรถเปลีย่ น Double Summation ในสมกำรข้ำงต้น ให้กลำยเป็น Summation เพียงอันเดียว


ซึ่งก็คือ
 
xˆ    cn cn e it ( n n )  n n,n 1  n  1 n,n 1 
2m n 0 n  0
____ สมกำร (7.47)
 it    
  e
2m 
 c c
n 1 n n  e  it
 cn1cn n  1 

n 1 n 0 

ในกำรลดรูปของ Double Summation ดังกล่ำว จะเห็นว่ำในเทอมแรกนั้น n  จะต้องมีค่ำเท่ำกับ


n 1 มิเช่นนั้น Kronecker Delta Function จะกลำยเป็นศูนย์ ในขณะที่เทอมทีส
่ องนั้น n 
จะต้องมีค่ำเท่ำกับ n 1

นอกจำกนี้ถ้ำสังเกตให้ดจี ะเห็นว่ำ  cn1cn n นั้นเป็น Complex Conjugate ของ
n 1

 cn1cn n 1 ซึ่งข้อเท็จจริงข้อนี้สำมำรถพิสจู น์ให้เห็นได้หลำยวิธี ยกตัวอย่ำงเช่นใช้วิธีแจก
n 0
แจงแต่ละเทอมของซัมเมชั่น ออกมำโดยตรงแล้วเปรียบเทียบกัน

 cn1cn n  c0c1 1  c1c2 2  c2c3 3 
n 1

ในขณะที่

 cn1cn n  1  c1c0 1  c2c1 2  c3c2 3 
n 0

เพื่อควำมสะดวกเรำกำหนดให้

 cn1cn n  ae ib _______________ สมกำร (7.48)
n 1

เมื่อ a และ b คือจำนวนจริงใดๆ เพรำะฉะนั้นแล้ว



 cn1cn n  1  ae ib _______________ สมกำร (7.49)
n 0

หลังจำกนั้นแทนสมกำร (7.48) และ สมกำร (7.49) เข้ำไปในสมกำร (7.47) จะได้ว่ำ


บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-24

xˆ  e it ae ib  e it aeib 


2m  

 a  cos ωt  i sin ωt  cos b  i sin b    cos ωt  i sin ωt  cos b  i sin b  


2m 

xˆ  2a  cos b cos ωt  sin b sin ωt 


2m

ให้สังเกตว่ำ Expectation Value ของตำแหน่งดังปรำกฏในสมกำรข้ำงต้น มีค่ำเป็นจำนวนจริง ที่


เป็นเช่นนี้เพรำะส่วนจิตภำพหักล้ำงกันหมดไป ซึ่งกำรที่ Expectation Value มีค่ำออกมำเป็น
จำนวนจริงเสมอนั้น ก็ทำให้เรำสบำยใจไปได้ในระดับหนึ่ง นอกจำกนี้ โดยอำศัยกฎของ Cosine จะ
ได้ว่ำ


2a 2
xˆ  cos  ωt  b  เมื่อ  cn1cn n  ae ib _________ สมกำร (7.50)
m n 1

สมกำร (7.50) มีควำมสำคัญมำกที่เชื่อมโยง Quantum Mechanics กับ Classical Mechanics เมื่อ


เรำพิจำรณำกำรเคลื่อนทีแ่ บบซิมเปิลฮำร์มอนิก สมกำรดังกล่ำวแสดงให้เห็นว่ำเมื่อใช้ภำษำของ
Quantum Mechanics แล้ว Expectation Value ของตำแหน่งจะมีกำรสั่นไปมำด้วยควำมถี่ ω
เช่นเดียวกันกับผลลัพธ์จำกกำรวิเครำะห์โดยอำศัย Classical Mechanics

นอกจำกนี้ สมกำร (7.50) ยังอยู่ในรูปทั่วไปและเป็นจริงในทุกกรณี เพรำะสถำนะ  ดังในสมกำร


(7.45) ของระบบนั้นจะเป็นเช่นใดก็ได้ มิได้จำกัด ขึ้นอยู่กับเซตของสัมประสิทธิ์ cn  ว่ำเป็นเช่นใด

อำทิเช่น

ตัวอย่ำง 1) ถ้ำเรำกำหนดให้ สถำนะ  ของระบบเป็นหนึ่งใน Eigenstate  หรือ   


เพรำะฉะนั้นเซตของสัมประสิทธิ์ cn  จะมีค่ำเป็นศูนย์เกือบทุกตัว ยกเว้นเมื่อ n   หรือในรูป
ของสมกำร
cn    n,
แล้วจะได้ว่ำ
 
 cn1cn n    n 1,   n, n  0
n 1 n 1

ดังนั้น a0 และเมื่อแทนเข้ำไปในสมกำร (7.50) จะได้ว่ำ

xˆ  0
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-25

ซึ่งก็สอดคล้องกับกรณีศึกษำที่เรำได้ทำเป็นตัวอย่ำงมำแล้วในสมกำร (7.41)

1 1
ตัวอย่ำง 2) ถ้ำเรำกำหนดให้ (t  0)     1 ดังนั้นเซตของสัมประสิทธิ์ cn 
2 2
1
ก็จะมีค่ำเป็นศูนย์เกือบทั้งหมด ยกเว้นในกรณีที่ n  และ n   1 ที่มันจะมีค่ำเป็น หรือ
2
เขียนในรูปของสมกำรได้วำ่

 1 
if n   or n    1
cn    2 
 0 
 otherwise 
แล้วจะได้ว่ำ

1
 cn1cn n
2
 1
n 1

1
ดังนั้น a  1 และ b0 ซึ่งถ้ำแทนค่ำลงไปในสมกำร (7.50) จะทำให้
2

  1
xˆ  cos  ωt 
2m

จะเห็นว่ำสมกำรข้ำงต้นนั้น สอดคล้องกับกรณีศึกษำที่เรำได้ทำเป็นตัวอย่ำงมำแล้วในสมกำร (7.43)

Gaussian Distribution ของ Eigenstate


จำกตัวอย่ำงทั้งสองที่แสดงในข้ำงต้นจะพบว่ำ Amplitude ของ x̂ นั้นขึ้นอยู่กับเซตของ
สัมประสิทธิ์ cn  นั่นเอง ซึ่งก็ปรำกฏว่ำมีกรณีที่น่ำสนใจอยู่อันหนึ่ง กล่ำวคือถ้ำเรำสมมุติว่ำระบบที่
กำลังศึกษำอยู่นี้ มีกำรกระจำยตัวของ Superposition แบบ Gaussian Distribution หรืออีกนัย
หนึ่ง

( n  n )2

1
cn  e 4 2 ______________ สมกำร (7.51)
 2 
14
2

เมื่อ n และ  คือค่ำคงที่ และถ้ำ n เป็นค่ำคงที่ ซึ่งมีค่ำสูงมำกพอสมควรจะได้ว่ำ


บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-26


 1
 cn ______________ สมกำร (7.52)
2
E  ω  n    ωn
n 0  2

เรำสำมำรถพิสูจน์สมกำรข้ำงต้นได้ด้วยกำรแทนซัมเมชั่น ให้อยู่ในรูปของอินทิกรัล ซึ่งสำมำรถทำได้ถำ้


 ( n  n )2
 
 1 1  1
n มีค่ำสูง กล่ำวคือ  cn 2 ω  n     dn e 2 2 ω  n    ωn
n 0  2 0 2 2  2

แบบฝึกหัด 7.11 จงพิสูจน์ว่ำสัมประสิทธิ์ของ Superposition ในสมกำร (7.51) นั้น Normalize



เป็นหนึ่ง หรือ  cn 2  1 ถ้ำ n มีค่ำสูงพอสมควร
n 0

เซตของ cn  ในสมกำร (7.51) ก็ดี ตลอดจน Expectation Value ของพลังงำนในสมกำร (7.52)
ก็ดี เป็นโมเดลในทำง Quantum Mechanics ที่เหมำะสมในกำรศึกษำกำรเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮำร์
มอนิกของวัตถุขนำดใหญ่ (Macroscopic) ซึ่งประกอบด้วยอะตอมเป็นจำนวนมำก ยกตัวอย่ำงเช่น
ระบบของสปริงกับกล่องใน ภำพ (7.5)a

เมื่อครั้งที่เรำใช้ Quantum Mechanics ในกำรศึกษำซิมเปิลฮำร์มอนิก Eigenstate ของระบบมีได้


หลำยสถำนะ ซึ่งเรำใช้ Quantum Number n เป็นตัวกำกับ อย่ำงไรก็ตำม เรำมักจะกล่ำวถึงเพียง
สถำนะต้นๆ โดยละเลยสถำนะทีม่ เี ลข Quantum Number n สูงๆ ยกตัวอย่ำงเช่น Ground
State, 1st Excited State, หรือ 2nd Excited State ดังแสดงใน ภำพ (7.4)

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพรำะ Quantum Mechanics โดยทั่วไปนั้นเป็นทฤษฏีที่ใช้ในกำรอธิบำยระบบขนำดเล็ก


(Microscopic) ซึ่งมีพลังงำนน้อยมำก อยู่ในระดับ Electron Volt (eV) หรือประมำณ 1019 Joules
ซึ่งแตกต่ำงโดยสิ้นเชิงกับระบบขนำด Macroscopic ซึ่งมีพลังงำนอยู่ในระดับ 1Joules
เพรำะฉะนั้นแล้วซิมเปิลฮำร์มอนิกของระบบที่เป็น Macroscopic จะต้องมี Quantum Number n ที่
สูงมำก และเป็นที่มำของค่ำคงที่ n ในสมกำร (7.52) นั่นเอง

n คือ Quantum Number (โดยเฉลี่ย) ของซิมเปิลฮำร์มอนิก


ของระบบที่เป็น Macroscopic System

นอกจำกนี้ อำศัย cn  ในสมกำร (7.51) เรำสำมำรถคำนวณ x̂ โดยเริ่มด้วย

 ( n 1 n )2  ( n  n )2
 
1
 cn1cn n   dn e 4 2 n n
n 1 0 2 2
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-27

ดังนั้น a n  E ω และ b0 ซึ่งถ้ำแทนค่ำลงไปในสมกำร (7.50) จะทำให้

( n  n )2

2 E e 4 2
xˆ  cos  ωt  b  ถ้ำ cn  _____________ สมกำร (7.53)
 
2 14
mω 2 2

เป็นที่น่ำสังเกตอย่ำงยิ่งว่ำ Amplitude ของกำรสั่นในสมกำรข้ำงต้น มีควำมสัมพันธ์ระหว่ำงพลังงำน


เฉลี่ย E และ Amplitude x̂ ของกำรสั่น ที่เท่ำกันพอดีกับกำรสั่นแบบ Classical Mechanics
ในสมกำร (7.40) ทำให้เรำพอจะคำดเดำได้ว่ำ ในกำรสั่นแบบซิมเปิลฮำร์มอนิก ของระบบขนำดใหญ่
เช่นกล่องที่ผูกติดอยู่กับสปริง อำจจะมี Distribution ของสถำนะเป็นแบบ Gaussian Distribution
ก็เป็นได้

หัวข้อ 7.5 Application - Einstein’s Model of Specific Heat


ระดับพลังงำน En    n  1 2 ของบ่อศักย์แบบซิมเปิลฮำร์มอนิก ที่ได้จำกกำรศึกษำเชิงกล
ศำสตร์ควอนตัมนั้น มีประโยชน์ในกำรนำมำประยุกต์ใช้ (Application) อธิบำยค่ำ “ควำมจุควำม
ร้อนจำเพำะ” ของวัสดุที่เป็นของแข็ง ดังจะได้ขยำยควำมในลำดับต่อไปนี้

ในเนื้อหำที่เกี่ยวข้องกับเทอร์โมไดนำมิกส์ เมื่อมีควำมร้อน dQ ถ่ำยเทเข้ำสู่ของแข็ง อุณหภูมิของ


มันจะเพิ่มสูงขึ้น T เรำนิยำมอัตรำส่วนของปริมำณทั้งสองต่อหนึ่งโมลของสสำรว่ำเป็น Molar
Specific Heat หรือ ควำมจุควำมร้อนจำเพำะ c ซึ่งเขียนในรูปของสมกำรได้ว่ำ

Q  ncT ________________ สมกำร (7.54)

เมื่อ n คือจำนวนโมลของสสำร Molar Specific Heat c เป็นสมบัติเฉพำะของเนื้อสำร และมีค่ำ


แตกต่ำงกันออกไปขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุนั้นๆ ดังแสดงในตำรำง

ตำรำงแสดง Molar Specific Heat (at Constant Pressure) ณ อุณหภูมิห้อง [ Joules mole  deg ]
Solid cp Solid cp
Copper 24.5 Aluminum 24.4
Silver 25.5 Tin 26.4
Lead 26.4 Sulfur 22.4
Zinc 25.4
ข้อมูลจำก Reif, “Fundamental of Statistical and Thermal Physics”
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-28

อย่ำงไรก็ตำม จำกกำรทดลองพบว่ำ Molar Specific Heat มิได้มีคำ่ คงที่ หำกแต่มีกำรเปลี่ยนแปลง


ขึ้นกับอุณหภูมิ และจะมีคำ่ ลู่ c  0 เมื่ออุณหภูมิศูนย์องศำสมบูรณ์ ดังแสดงใน ภำพ (7.6)

ไอน์สไตน์ได้เผยแพร่ผลงำนของเขำในปี 1907 ซึ่งเป็นคนแรกที่สำมำรถอธิบำยเหตุผลทำงทฤษฏี ว่ำ


เหตุใด Molar Specific Heat จึงมีค่ำลดลง เมื่ออุณหภูมติ ่ำ โดยใช้แนวคิดของกลศำสตร์ควอนตัม
เข้ำมำผสมผสำนกับแนวคิดที่เรียกว่ำ Canonical Distribution ซึ่งอยู่ภำยใต้เนื้อหำของเทอร์โม
ไดนำมิกส์ ดังจะได้กล่ำวถึงในลำดับต่อไป

cv
3R

T
E
ภำพ (7.6) แสดงกำรเปลี่ยนแปลงของ Molar Specific Heat ขึ้นกับอุณหภูมิ จุดที่ปรำกฏบน
กรำฟคือข้อมูลจำกำรทดลองของเพชร ในขณะที่เส้นที่อยู่บนกรำฟ มำจำกทฤษฏีของไอน์สไตน์
เมื่อกำหนดให้ E  1320 K [A. Einstein, Ann. Physik, vol. 22, p. 186 (1907)]

พ ังงานเฉ ี่ย ในมุมมองของเทอร์โมไดนามิกส์


ในมุมมองของเทอร์โมไดนำมิกส์นนั้ ถ้ำระบบมีอณ ุ หภูมคิ งที่เท่ำกับ T จะมีผลทำให้เกิดกำรแลกเปลี่ยน
พลังงำนในรูปของควำมร้อนระหว่ำงตัวระบบเอง กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ ทำให้พลังงำนของ
ระบบมีคำ่ ไม่คงที่เสียทีเดียว แต่กระเพื่อมขึ้นลงแบบสุ่ม (Random) ซึ่งเรียกว่ำ Thermal
Fluctuation

ยกตัวอย่ำงเช่น ขณะต้มน้ำให้เดือด โมเลกุล H2O มิได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่จะเคลื่อนไหวขยุกขยิกไปมำ


อย่ำงต่อเนื่อง ในขณะที่ระบบมีกำรแลกเปลี่ยนพลังงำน ซึ่งไหลเข้ำออกอยู่ตลอดเวลำ ระหว่ำงน้ำและ
เปลวไฟของเตำแก๊ส พลังงำนที่กระเพื่อมขึ้นลงนี้ ก็คือ Thermal Fluctuation นั่นเอง
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-29

เนื่องจำกมีกำรแลกเปลีย่ นพลังงำนเข้ำออกอยูต่ ลอดเวลำ ระบบอำจจะถูกกระตุ้นให้ไปอยู่ในสถำนะ


แตกต่ำงกัน แต่เนื่องจำกอุณหภูมิมีค่ำจำกัดค่ำหนึ่ง จึงมีโอกำสน้อย ที่ระบบจะถูกกระตุ้นให้ไปอยู่ใน
สถำนะที่พลังงำนสูงๆ ในขณะที่สถำนะพลังงำนต่ำๆ จะมีโอกำสเป็นไปได้มำกกว่ำ

“Canonical Distribution” เป็นทฤษฎีทำงเทอร์โมไดนำมิกส์ ที่ใช้ในกำรคำนวณควำมน่ำจะเป็น Pr


ที่ระบบจะไปอยู่ ณ สถำนะหนึ่งๆ โดยที่

e  r k BT
Pr  _______________ สมกำร (7.55)
 e  r k BT

เรำใช้เลขดัชนี r ในกำรแจกแจงสถำนะทั้งหมดที่เป็นไปได้ k B คือ Boltzmann Constant และ


ด้วย Thermal Fluctuation นี้เอง ทำให้ระบบอำจจะอยู่ในสถำนะ r ใดๆก็ได้ แต่ด้วยควำมน่ำจะ
เป็น Pr ที่แตกต่ำงกัน จำกสมกำรข้ำงต้นเรำสำมำรถคำนวณพลังงำนเฉลี่ยของระบบได้ว่ำ

  r e r k BT

E    r Pr  r
______________ สมกำร (7.56)
r  e r k BT

ซึ่งนักศึกษำจะต้องไม่ลืมว่ำ พลังงำนเฉลี่ยข้ำงต้น เป็นค่ำเฉลี่ยในมุมมองของเทอร์โมไดนำมิกส์ และ


แตกต่ำงจำก Expectation Value ของกลศำสตร์ควอนตัม อย่ำงไรก็ตำม ไอน์สไตน์พิจำรณำ
อะตอมภำยในของแข็ง ว่ำมีกำรสัน่ แบบซิมเปิลฮำร์มอนิกอยู่รอบจุดสมดุล และโดยอำศัยกลศำสตร์
ควอนตัม เขำทรำบว่ำระดับพลังงำนของระบบดังกล่ำวก็คือ En    n  1 2 ซึ่งเมื่อนำมำผนวก
รวมกับสมกำร (7.56) จะทำให้

   n 1 2  k BT
   n  1 2 e
E n 0

__________ สมกำร (7.57)
e 
  n 1 2  k BT

n 0

สมกำรข้ำงต้นได้มำจำกกำรผสมผสำนกันระหว่ำงกลศำสตร์ควอนตัมและเทอร์โมไดนำมิกส์ ในแง่ที่ว่ำ
สูตรในกำรคำนวณค่ำเฉลี่ยของพลังงำนดังในสมกำร (7.56) นั้น เป็นของเทอร์โมไดนำมิกส์ ในขณะที่
สูตรในกำรคำนวณระดับพลังงำนต่ำงๆที่ระบบจะมีได้นั้น เป็นของกลศำสตร์ควอนตัม

และในที่สุดสมกำร (7.57) จะลดรูปลงให้ง่ำยขึ้นเหลือเพียง


บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-30

   
E (T )     k BT  ________________ สมกำร (7.58)
 2 e 1 

กำรลดรูปจำกสมกำร (7.57) มำเป็นสมกำร (7.58) สำมำรถพิสูจน์ได้โดยไม่ยำกนัก ซึ่งทำได้โดยกำร


เขียน

 En e En 
n 0
E 
 e En 
n 0

เมื่อ En    n  1 2  และ   1 k BT จำกนั้นนิยำม Partition Function


Z  e En 
n 0

 
 
ซึ่งจะสังเกตเห็นว่ำ  En e En    e En   Z เพรำะฉะนั้นแล้ว
n 0  n 0 

1  
E Z  ln Z ________________ สมกำร (7.59)
Z  

และเมื่อพิจำรณำ Partition Function Z ให้ละเอียดแล้วจะพบว่ำ


 
Z  e En  
n 0
e
n 0
   n 1 2  
 e  2
1  e  
 e2 
 

เทอมที่อยู่ภำยในวงเล็บสำมำรถเขียนให้อยู่ในรูปที่กระชับมำกขึ้น โดยใช้ทฤษฏีของอนุกรมเรขำคณิต
 2
e
1  e 
 e2 
  
1  e
1

ดังนั้น Z
1  e 
ซึ่งจะทำให้

ln Z  
1
2
  ln 1  e  

จำกนั้นนำผลลัพธ์ของ ln Z เข้ำไปแทนในสมกำร (7.59) ก็จะได้ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงพลังงำนโดย
เฉลี่ยของระบบ กับอุณหภูมิของมัน ดังแสดงในสมกำร (7.58) ดังกล่ำว
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-31


แบบฝึกหัด 7.12 a) จงแสดงให้เห็นว่ำในช่วงที่อุณหภูมสิ ูง หรือ 1 นั้น สมกำร (7.58)
k BT
ลดรูปลงอีกเหลือเพียง

E (T )  k BT ถ้ำ 1 ________________ สมกำร (7.60)
k BT
และในช่วงที่อุณหภูมติ ่ำ
1  k BT  
E (T )     e   ถ้ำ 1 ________________ สมกำร (7.61)
2  k BT

Molar Specific Heat


ขั้นตอนต่อไปก็เป็นเพียงกำรโยงพลังงำนเฉลี่ยทีไ่ ด้จำกสมกำร (7.58) เข้ำกับ Molar Specific Heat
ซึ่งทำได้โดยอำศัยกฎข้อที่ 1 ของเทอร์โมไดนำมิกส์

กฎข้อที่ 1 ของเทอร์โมไดนำมิกส์กล่ำวว่ำพลังงำนภำยในของระบบ จะเปลีย่ นแปลงได้ในสองกรณีคือ


1) ควำมร้อนที่ถ่ำยเทเข้ำสูร่ ะบบ หรือ 2) งำนที่ทำโดยระบบ หรือในรูปของสมกำร

dE  dQ  dW ________________ สมกำร (7.62)

แต่เนื่องจำกปริมำตรของของแข็งขยำยตัวได้น้อยมำก (เมื่อเปรียบเทียบกับปริมำตรของแก็สในลูกโป่ง)
มันจึงไม่สูญเสียพลังงำนในรูปของ “งำน” dW  pdV ที่กระทำกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น dW  0
หรือกล่ำวอีกนัยหนึง่ ควำมร้อน dQ ที่ถ่ำยเทเข้ำสู่ของแข็ง จะถูกกับเก็บอยู่ในรูปพลังงำนภำยใน
dE ซึ่งเป็นพลังงำนของกำรสั่นเชิงซิมเปิลฮำร์มอนิกของอะตอมต่ำงๆ ทีอ ่ ยู่ภำยในสสำรนั่นเอง

จำกคำนิยำมของ Molar Specific Heat ในสมกำร (7.54) และพลังงำนเฉลี่ยในสมกำร (7.58)


ประกอบกับกฎข้อ 1 ของเทอร์โมไดนำมิกส์ในสมกำร (7.62) เรำบอกได้ว่ำ

    
cv  3 N a    k BT  ________________ สมกำร (7.63)
T  2 e 1 

สำเหตุที่ต้องคูณด้วย N a ซึ่งก็คือ Avogadro Number ก็เพรำะว่ำพลังงำนในสมกำร (7.58) นั้นเป็น


พลังงำนเฉลี่ยของหนึ่งอะตอมเพียงเท่ำนั้น ในขณะที่ Molar Specific Heat นั้นนิยำมต่อ 1 โมล ซึ่ง
มีอยู่ทั้งสิ้น Na  6.02 1023 อะตอม

สำเหตุที่ต้องคูณด้วยเลข 3 ก็เพรำะว่ำพลังงำนเฉลี่ยทีเ่ รำได้ทำกำรวิเครำะห์มำโดยตลอดนั้น เป็น


เพียงกำรสั่นใน 1 มิติ ในขณะทีอ่ ะตอมภำยในของแข็งมีกำรสั่นใน 3 มิติ
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-32

ก่อนที่จะทำกำรลดรูปของสมกำร (7.63) ให้อยู่ในรูปที่เหมำะสมมำกขึ้น เรำสำมำรถวิเครำะห์กรณี


เฉพำะที่น่ำสนใจคือในกรณีที่อุณหภูมิสูง  1 ในกรณีดังกล่ำวนี้ จำกสมกำร (7.60) จะพบว่ำ
k BT
E (T )  k BT เพรำะฉะนั้นแล้ว

 
cv  3N a  kBT   3Na kB  3R เมื่อ อุณหภูมิสูง 1
T k BT

ในทำงเทอร์โมไดนำมิกส์ โดยทั่วไปแล้วนักศึกษำจะพบเห็นว่ำเรำนิยำมค่ำคงที่ R  Na kB ว่ำเป็น


Joule
“Gas Constant” ซึ่งมีค่ำเท่ำกับ R  8.314 เพรำะฉะนั้นแล้วจำกสมกำรข้ำงต้น เรำ
mol K
สำมำรถทำนำย Molar Specific Heat ของของแข็ง ณ อุณหภูมสิ ูงได้ว่ำ

Joule 
cv  3R  24.94 เมื่ออุณหภูมสิ ูง 1 __________ สมกำร (7.64)
mol K k BT

ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับตำรำงในข้ำงต้น จะพบว่ำผลกำรคำนวณเชิงทฤษฏีมีควำมสอดคล้องกำรผลกำร
ทดลองอยู่เป็นที่น่ำพอใจ

ในกรณีของอุณหภูมิ T ใดๆนั้น เรำจะต้องทำกำรคำนวณสมกำร (7.63) โดยตรง ซึ่งก็จะได้ว่ำ

    
cv  3 N a    k BT 
T  2 e 1 
 
2
e  k BT
 3N a
k BT 2 e
 
2
 k BT
1

  
2  k BT
e
cv  3 N a k B  
e  
2
R  B 
k T k BT
1

หรือจัดรูปเสียใหม่

e E
2
  T
cv  3R  E  __________ สมกำร (7.65)
 T 
e 
2
E T
1
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-33


เมื่อเรำนิยำม E  ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่ำ “Einstein Temperature” และเป็นอุณหภูมิที่ใช้ใน
kB
กำรแบ่งแยกพฤติกรรมของของแข็ง ว่ำสมบัติที่เกี่ยวข้องกับ Molar Specific Heat นั้น อยู่ในช่วงที่
สำมำรถอธิบำยได้ด้วยกลศำสตร์คลำสสิก หรือจำเป็นจะต้องใช้กลศำสตร์ควอนตัม กล่ำวคือ

ถ้ำ T E ของแข็งจะมี Molar Specific Heat เป็น cv  3R


ซึ่งในกรณีดังกล่ำวนี้ สำมำรถใช้ทฤษฏีของกลศำสตร์คลำสสิก ร่วมกับ Equipartition
Theorem ในกำรทำนำยผลของกำรทดลอง (นักศึกษำสำมำรถอ่ำนเพิ่มเติมได้จำก Reif,
“Fundamental of Statistical and Thermal Physics” หัวข้อ 7.6) โดยไม่จำเป็นต้อง
อำศัยกลศำสตร์ควอนตัมแต่อย่ำงใด

2
 
ถ้ำ T E ของแข็งจะมี Molar Specific Heat เป็น cv  3R  E  eE T
 T 
ในกรณีดังกล่ำวนี้จำเป็นจะต้องใช้ระดับพลังงำนที่คำนวณได้จำกกลศำสตร์ควอนตัม
จึงจะได้ผลทำงทฤษฏีที่สอดคล้องกับกำรทดลอง (อย่ำงไรก็ตำม ถ้ำจะวิเครำะห์กันให้
ละเอียดแล้ว สมกำรของไอน์สไตน์ยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้ำง เพรำะเรำไปสมมุติอย่ำงหยำบๆ
ว่ำควำมถี่ ω ของกำรสั่นของทุกๆอะตอมที่อยู่ในผลึกนั้น มีค่ำเท่ำกัน ซึ่งในควำมเป็นจริง
แล้วไม่เป็นเช่นนั้น)

กรำฟที่แสดงใน ภำพ (7.6) เป็นกำรเปรียบเทียบผลของ Molar Specific Heat ของเพชร และสมกำร


(7.65) โดยที่ Einstein Temperature E นั้นได้มำจำกกำร Fit เพื่อให้เส้นกรำฟที่ได้จำกทฤษฏี
นั้นใกล้เคียงกับผลกำรทดลองมำกที่สุด และจำกภำพจะเห็นว่ำมีควำมแม่นยำอยู่พอสมควร

หัวข้อ 7.6 บทสรุป


ในบทที่ 7 ที่ว่ำด้วย Harmonic Oscillator เรำได้ศึกษำกำรเคลื่อนที่ของอนุภำคใน 1 มิติภำยใต้
พลังงำนศักย์ที่อยู่ในรูปของ

1
V ( x)  mω2 x 2
2

ซึ่งมีขอบเขตของกำรประยุกต์ใช้งำนกับระบบที่เคลื่อนที่ในบริเวณใกล้เคียงกับจุดสมดุล อำทิเช่น
อะตอมภำยในของแข็งหรือโมเลกุลทำงเคมี และอำศัยกลไกของ Lowering Operator â และ
Raising Operator ↠ซึ่งมีคำนิยำมว่ำ
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-34

m  i  m  i 
aˆ   xˆ  m pˆ x  และ aˆ †   xˆ  m pˆ x 
2   2  

โดยที่ Operator ทั้งสองดังกล่ำว เมื่อกระทำกับสถำนะ Eigenstate จะทำให้ระบบมีกำรกระโดดลงมำ


อยู่ชั้นต่ำลงกว่ำ (Lowering Operator) หรือ กระโดดขึ้นไปอยู่ชั้นสูงขึ้น (Raising Operator)
ตำมลำดับ

aˆ n  n n  1 และ aˆ † n  n  1 n  1

ในปี 1925 P.A.M. Dirac สำมำรถที่จะคำนวณ Eigen Energy และ Ground State Wave
Function ของบ่อศักย์แบบซิมเปิลฮำร์มอนิก ได้ว่ำ
14
 1
และ  0 ( x)   m 
2 2
En    n   e m x
 2  

ในขณะที่ Wave Function ในสถำนะ n ใดๆ สำมำรถที่จะคำนวณได้จำกควำมสัมพันธ์

1 m   
 n ( x)   x  m x  n 1 ( x)
n 2  

ในลำดับต่อมำเรำได้พยำยำมที่จะเปรียบเทียบกำรเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮำร์มอนิก ในแง่ของ Classical


Mechanics กับในแง่ของ Quantum Mechanics โดยที่ในแง่ของ Classical Mechanics นั้น เป็น
ที่ทรำบดีว่ำมวลมีกำรสั่นแบบฟังก์ชัน Sinusoidal

xclassical (t )  A cos(ω t  b)

โดยที่ A คือ Amplitude ของกำรสั่น, ω คือ ควำมถี่เชิงมุม, และ b คือ Phase เริ่มต้นของกำร
เคลื่อนที่ สมกำรข้ำงต้นอำจจะเขียนในรูปแบบของพลังงำนได้ว่ำ

2 Etotal
xclassical (t )  cos(ω t  b)
mω2

ทั้งนี้ ในแง่ของ Quantum Mechanics ถ้ำเรำสมมุติว่ำระบบ ณ เวลำ t=0 นั้นอยู่ในสถำนะ



 (t  0)   cn n และพิจำรณำ Time Evolution ของระบบดังกล่ำว จะพบว่ำ
n 0
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-35

Expectation Value ของตำแหน่งมีกำรเปลีย่ นแปลงในลักษณะฟังก์ชัน Sinusoidal เช่นเดียวกัน


กล่ำวคือ


2a 2
xˆ  cos  ωt  b  เมื่อ  cn1cn n  ae ib
m n 1

อย่ำงไรก็ตำม กำรเคลื่อนที่แบบ Sinusoidal จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ระบบอยู่ในสถำนะผสม หรือ


เป็น Superposition ของ Eigenstate เท่ำนั้น

และในลำดับสุดท้ำย เรำได้นำระดับพลังงำน En    n  1 2 มำประยุกต์ใช้ในกำรวิเครำะห์


Molar Specific Heat ของของแข็ง ซึ่งไอน์สไตน์ได้เคยทำกำรศึกษำไว้ในปี ค.ศ. 1907 Molar
Specific Heat (ซึ่งใช้สัญลักษณ์ cv ) เป็นสมบัตเิ ฉพำะตัวของสสำรที่บ่งบอกถึงอัตรำกำรเพิ่มขึ้นของ
อุณหภูมิ เมื่อมีควำมร้อนถ่ำยเทเข้ำไปสูต่ ัวมัน

โดยไอน์สไตน์นำระดับพลังงำนที่คำนวณได้จำกกลศำสตร์ควอนตัมมำผนวกกับทฤษฏี Canonical
Distribution ของเทอร์โมไดนำมิกส์ และพบว่ำ

e E
2
  T
cv  3R  E 
 T 
e 
2
E T
1


เมื่อเรำนิยำม E  ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่ำ “Einstein Temperature” สมกำรของ Molar
kB
Specific Heat ในทำงทฤษฏีดังกล่ำว และสำมำรถอธิบำยกำรลดลงของ cv เมื่ออุณหภูมติ ่ำได้
สอดคล้องกับผลกำรทดลองเป็นทีน่ ่ำพอใจ
บทที่ 7 Harmonic Oscillator 7-36

หัวข้อ 7.7 ปัญหาท้ายบท


แบบฝึกหัด 7.13 จงพิสูจน์ว่ำ Ground State Wave Function ดังในสมกำร (7.34) นั้น ทำให้
เงื่อนไขของ Normalization เป็นจริง

แบบฝึกหัด 7.14 จงคำนวณ Ground State Wave Function ใน Momentum Space 0 ( p)


โดย 2 วิธีด้วยกันคือ a) ใช้วิธีในทำนองเดียวกันกับหัวข้อ 7.3: Ground State Wave Function
และ b) เริ่มจำกสมกำร (7.34) แล้วใช้วิธี Fourier Transform ให้มำอยู่ใน Momentum Space
บอกใบ้: a) p xˆ   i   ( p) และ p pˆ x   p ( p)
p

แบบฝึกหัด 7.15 จงพิสูจน์ว่ำ


 aˆ 
n

n  0 ___________________ สมกำร (7.66)
n!

แบบฝึกหัด 7.16 จงหำ Expectation Value ของ Momentum n pˆ x n


บอกใบ้: เขียน pˆ x ให้อยู่ในรูปของ Lowering Operator และ Raising Operator จำกนั้นใช้
เอกลักษณ์ดังในสมกำร (7.30) และ สมกำร (7.31) เข้ำช่วย

แบบฝึกหัด 7.17 จงหำ Uncertainty ในกำรวัดตำแหน่ง และ momentum ของอนุภำคภำยใต้


 1
Harmonic Potential ในขณะที่มนั อยู่ในสถำนะ   n และพิสูจน์ว่ำ xp x   n  
 2
จำกนั้นเปรียบเทียบผลที่ได้กับ Heisenberg Uncertainty Principle

2
 
แบบฝึกหัด 7.18 จงพิสูจน์ว่ำ cv  3R  E  eE T
เมื่อ T E โดยเริ่มจำกสมกำร
 T 
(7.65)
บทที่ 8 Central Potential 8-1

8 Central Potential

เนื้อหา
8.1 บทนำ
8.2 Orbital Angular Momentum Operator
8.3 เซตของ Commuting Observable
8.4 Position Space ในพิกัดทรงกลม
8.5 Eigen State ของ Hamiltonian
8.6 Application - Nuclear Magic Number
8.7 Eigen State ของ Lˆz และ L̂2
8.8 Application - Coulomb Potential
8.9 บทสรุป
8.10 ปัญหำท้ำยบท

หัวข้อ 8.1 บทนา


ระบบทำงฟิสิกส์จำนวนไม่น้อย ที่อยู่ภำยใต้อิทธิพลของพลังงำนศักย์ซึ่งมีควำมสมมำตรในแนวรัศมี
ยกตัวอย่ำงเช่น อะตอมซึ่งประกอบด้วยอิเล็กตรอนและนิวเคลียส โดยที่อิเล็กตรอนจะอยู่ภำยใต้
อิทธิพลของแรงคูลอมบ์ระหว่ำงประจุลบของตัวมัน และประจุบวกของโปรตอนที่อยู่ในนิวเคลียส
หรือเขียนให้อยู่ในรูปของสมกำรได้ว่ำ

e2 Z
V (r )   (SI Unit) _____________________ สมกำร (8.1)
4 0 r

เมื่อ Z คือ Atomic Number ของนิวเคลียส ซึ่งแสดงถึงจำนวนของโปรตอนที่บรรจุอยู่ภำยใน


และ r คือระยะทำงระหว่ำงอิเล็กตรอนและนิวเคลียส โดยที่เรำกำหนดให้นิวเคลียสของอะตอม อยู่
ณ จุดกำเนิดพอดี จำกสมกำร (8.1) จะเห็นว่ำ พลังงำนศักย์ดังกล่ำวขึ้นอยู่กับระยะทำงของอนุภำค
จำกจุดกำเนิดเพียงเท่ำนั้น เรำเรียกระบบที่อยู่ภำยใต้อิทธิพลของพลังงำนศักย์เช่นนี้ว่ำ Central
Potential และจะเป็นประเด็นหลักของเนื้อหำในบทนี้

Central Potential V (r )  V ( r ) _____________________ สมกำร (8.2)


บทที่ 8 Central Potential 8-2

ซึ่งจะส่งผลให้ Hamiltonian Operator ของระบบอยู่ในรูปของ

pˆ 2
Hˆ   V (r ) _____________________ สมกำร (8.3)
2m

เนื่องจำกสสำรทุกชนิดที่เรำพบเห็น ล้วนประกอบด้วยอะตอมทั้งสิ้น กำรที่เรำสำมำรถนำ


กลศำสตร์ควอนตัมมำใช้ในกำรวิเครำะห์ให้เห็นถึงพฤติกรรมในแง่ต่ำงๆของอะตอม จึงมีควำมสำคัญยิง่
และจะเป็นพื้นฐำนที่จำเป็นในกำรศึกษำระบบที่ซับซ้อนมำกขึ้น อำทิเช่นโมเลกุล, ผลึก, หรือ สมบัติ
ของวัสดุ เป็นต้น

ข้อมูลชิ้นสำคัญที่ได้จำกกำรคำนวณโดยอำศัยกลศำสตร์ควอนตัม นอกจำกระดับพลังงำนของ
โมเลกุลแล้ว ก็คือกำรกระจำยตัวของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอน เนื่องจำกควำมก้ำวหน้ำทำงวิทยำกำร
คอมพิวเตอร์ ประกอบกับงำนวิจัยเชิงทฤษฏีในด้ำน Quantum Chemistry ทำให้นักวิทยำศำสตร์
สำมำรถที่จะนำสมกำร Schrödinger มำศึกษำโมเลกุลขนำดใหญ่ขนึ้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ ก็คือควำม
น่ำจะเป็นที่จะพบอิเล็กตรอน ณ ตำแหน่งต่ำงๆ หรือที่เรียกว่ำ กลุ่มหมอกอิเล็กตรอนนั่นเอง

กลุ่ มหมอกอิเล็กตรอนจากการถ่ ายภาพโดย STM เปรียบเทียบกับผลการคานวณ

Experimental

Quantum

ภำพ (8.1) [Credit: Moresco and Gourdon, "Scanning tunneling microscopy


experiments on single molecular landers". PNAS, Vol 102:8809-8814]

ภำพ (8.1) แสดงกลุม่ หมอกอิเล็กตรอนจำกกำรถ่ำยภำพโดย Scanning Tunneling Microscope


เปรียบเทียบกับผลกำรคำนวณที่ได้จำกทฤษฏีควอนตัม โมเลกุลที่ปรำกฏเป็นสำรประกอบ
ไฮโดรคำร์บอนที่ชื่อ Pentacene ซึ่งมีโครงสร้ำงทำงเคมีดังแสดงในภำพ (Geometry)
บทที่ 8 Central Potential 8-3

ภำพของกลุ่มหมอกที่อยู่ภำยใต้ชื่อ Homo และ Lumo โดยคร่ำวๆแล้ว มีควำมหมำยเป็นกำร


กระจำยตัวของอิเล็กตรอนที่มีระดับพลังงำนแตกต่ำงกัน ผลกำรคำนวณที่แสดงในภำพ มำจำก
ทฤษฏีหนึ่ง ที่ชื่อ Density Functional Theory หรือ DFT ซึ่งต่อยอดออกมำจำกฐำนของกลศำสตร์
ควอนตัม และถึงแม้เนื้อหำของ DFT จะอยู่นอกเหนือจำกขอบเขตของหนังสือเล่มนี้ ภำพที่
ปรำกฏให้เห็นดังกล่ำว ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้นักศึกษำได้เห็นถึงเนื้อหำทีน่ ่ำตื่นเต้นของกลศำสตร์ควอนตัม
ซึ่งรออยู่ในอนำคต ถ้ำนักศึกษำตัดสินใจที่จะทำงำนวิจัยในด้ำนนี้

อย่ำงไรก็ตำม Central Potential มิได้จำกัดอยู่แต่ในปรำกฏกำรณ์ทำงฟิสิกส์ในระดับของอะตอม


ซึ่งมีขนำดอยู่ที่ประมำณ 1010 เมตร แต่เพียงเท่ำนั้น พฤติกรรมของนิวเคลียสเอง ซึ่งมีขนำดเล็ก
กว่ำอะตอมถึง 1 แสนเท่ำ (หรือรำว 1 femto-meter) ก็สำมำรถที่จะอธิบำยได้ด้วย Central
Potential ของ “แรงนิวเคลียร์” ซึ่งเป็นแรงที่ยึดเหนีย่ วให้โปรตอนและนิวตรอนสำมำรถอยู่รวมกันได้
โดยที่เรำจะวกกลับมำวิเครำะห์ระบบที่เล็กในระดับนิวเคลียสในโอกำสต่อไป ภำยหลังจำกทีไ่ ด้เข้ำใจ
ในกลไกทำงคณิตศำสตร์ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในกำรวิเครำะห์ Central Potential เรียบร้อยแล้ว

Position Space in 3 Dimensions


เมื่อจะทำกำรวิเครำะห์พฤติกรรมของระบบด้วยกลศำสตร์ควอนตัม เรำจำเป็นจะต้องเลือก Basis
State เป็นพื้นฐำนในกำรบรรยำยถึงสถำนะของอนุภำคนั้นๆ วิธีกำรที่ง่ำยและเป็นธรรมชำติที่สดุ ใน
กำรอธิบำยพฤติกรรมของมัน ก็คือกำรตั้งคำถำมว่ำ อนุภำคอยู่ ณ ตำแหน่งใด

กำหนดให้

r แทนสถำนะของอนุภำค ซึ่งอยู่ ณ ตำแหน่ง r _______________ สมกำร (8.4)

และโดยทั่วไปแล้ว เรำมีวิธีในกำรกำกับตำแหน่งของอนุภำคใน 3 มิติโดยอำศัย Cartesian


Coordinate ด้วยเหตุนี้เอง ในกำรอธิบำยสถำนะดังสมกำร (8.4) เรำอำจจะใช้สญ ั ลักษณ์

x, y, z แทนสถำนะของอนุภำค ซึ่งอยู่ ณ ตำแหน่ง r  xˆi  yˆj  zkˆ _____ สมกำร (8.5)

z
2
 ( x, y, z ) dxdydz 
ความน่ าจ เป็ น ทีจ พบอนุภาคอย่ ภาย น
y กล่อ นาด dV  dxdydz ตั อย่
ณ ตา หน่ ( x, y, z )
x
บทที่ 8 Central Potential 8-4

ทั้งนี้ นักศึกษำจะต้องไม่ลมื ว่ำ กลไกในกำรบ่งบอกถึงตำแหน่งของอนุภำค มิได้มีเพียง Cartesian


Coordinate ที่ใช้ตัวแปร ( x, y, z ) เพียงอย่ำงเดียวเท่ำนั้น ณ ตำแหน่งเดียวกันนี้เอง เรำอำจจะใช้
“พิกัดทรงกลม” ซึ่งกำกับตำแหน่งของอนุภำคด้วย (r , ,  ) หรือแม้กระทั่งกำรใช้ตัวแปร
(  ,  , z ) ในพิกัดกระบอก อย่ำงนี้เป็นต้น อย่ำงไรก็ตำม ในขั้นต้นนี้ เรำจะใช้ Cartesian
Coordinate ในกำรกำหนดตำแหน่งของอนุภำค และจะวกกลับมำกล่ำวถึงประเด็นของพิกัดทรงกลม
อีกครั้งหนึ่งเมื่อมีควำมจำเป็น

กลศำสตร์ควอนตัมมองสถำนะของระบบในแง่ของควำมน่ำจะเป็น กล่ำวคือเรำไม่อำจจะทรำบได้ว่ำ
แท้จริงแล้วอนุภำคที่กำลังสนใจ อยู่ ณ ตำแหน่งใดกันแน่ เพรำะฉะนั้นถ้ำกำหนดให้  แทน
สถำนะของอนุภำค แล้วเรำสำมำรถเขียนสถำนะของระบบให้อยู่ในรูป Superposition ของ Basis
State ในสมกำร (8.5) ได้ดังต่อไปนี้

   dxdydz ( x, y, z ) x, y, z
หรือนิยมเขียนแบบย่อว่ำ
   d3r (r) r _______________ สมกำร (8.6)

เมื่อ  (r) คือ Probability Amplitude ของสถำนะ r และด้วยคำนิยำมของฟังก์ชันดังกล่ำว


สำมำรถตีควำมได้ว่ำ
2
 (r ) d3r  ควำมน่ำจะเป็นที่อนุภำคจะมีตำแหน่งอยู่ระหว่ำง
x  x  dx , y  y  dy , และ z  z  dz
_______________ สมกำร (8.7)

และจำกคำนิยำมของ Basis State ใน 3 มิติ ดังในสมกำร (8.4) ก็ดี หรือในระบบของพิกัด


Cartesian ในสมกำร (8.5) ก็ดี กลไกของ Operator ที่เรำเคยได้ศึกษำมำแล้วใน 1 มิติ อำทิเช่น
Position Operator x̂ , Translation Operator Tˆ (a) , หรือแม้กระทั่ง Momentum Operator
pˆ x ก็สำมำรถนำมำประยุกต์ใช้กับระบบใน 3 มิติได้เช่นเดียวกัน ซึ่งก็คือ

Position Operator x̂ , ŷ , และ ẑ เป็น Operator ซึ่งทำหน้ำที่เสมือนกับกำรวัดตำแหน่งของ


อนุภำค ตำมแนวแกน x, y, และ z ตำมลำดับ โดยเขียนให้อยู่ในรูปของสมกำรได้ว่ำ

x̂ r  x r , ŷ r  y r , และ ẑ r  z r _______________ สมกำร (8.8)


บทที่ 8 Central Potential 8-5

Momentum Operator pˆ x , pˆ y , และ pˆ z เป็น Operator ซึ่งทำหน้ำที่ในกำรวัดโมเมนตัม


ของอนุภำคตำมแนวแกนต่ำงๆ และผลของ Operator ดังกล่ำวที่กระทำกับสถำนะใน 1 มิติที่เรำได้
ศึกษำมำแล้ว สำมำรถเขียนให้อยู่ในรูปของ 3 มิตไิ ด้ดังนี้


r pˆ x    ( x, y , z )
i x

r pˆ y    ( x, y , z ) __________________ สมกำร (8.9)
i y

r pˆ z    ( x, y , z )
i z

Translation Operator Tˆx (a) , Tˆy (a) , และ Tˆz (a) เป็น Operator ที่มีผลทำให้สถำนะของ
อนุภำค เลื่อนตำแหน่งของมันตำมแนวแกน x, y, หรือ z ไปเป็นระยะทำงเท่ำกับ a หรืออีกนัยหนึ่ง

Tˆx (a ) r  Tˆx (a ) x, y, z  x  a, y , z
Tˆy (a ) r  Tˆy (a ) x, y, z  x, y  a, z ____________ สมกำร (8.10)
Tˆz (a ) r  Tˆz (a ) x, y, z  x, y, z  a

นอกจำกนี้ ในกรณีที่กำรเลื่อนของตำแหน่งมีขนำดเล็กมำกๆ เป็นระยะทำงสั้นๆ a หรือที่เรียกว่ำ


Infinitesimal Translation เรำสำมำรถเขียน Translation Operator ให้อยู่ในรูปที่สัมพันธ์อยู่กบั
Momentum Operator ซึ่งก็คือ

i
Tˆx (a)  1  pˆ x a

i
Tˆy (a)  1  pˆ y a _____________________ สมกำร (8.11)
i
Tˆz (a)  1  pˆ z a

จำกคำนิยำมของ Position Operator , Momentum operator, และ Translation Operator


ดังกล่ำว ทำให้เรำสำมำรถเขียนควำมสัมพันธ์ของ Operator ต่ำงๆเหล่ำนี้ให้อยู่ในรูปของ
Commutator ได้ว่ำ

 xˆ, pˆ x   i ,  yˆ , pˆ y   i
  , และ zˆ, pˆ z   i ___________ สมกำร (8.12)

สำหรับ Operator ซึ่งกระทำในแกนที่ต่ำงกัน ยกตัวอย่ำงเช่น x̂ และ pˆ y นั้น เรำสำมำรถสลับ


ลำดับที่ของกำรกระทำกับสถำนะใดๆได้ กล่ำวคือ
บทที่ 8 Central Potential 8-6

ˆ ˆ y  pˆ y xˆ  0   xˆ , pˆ y 
xp  

แบบฝึกหัด 8.1 จงพิสูจน์ว่ำ


 xp ˆˆ ˆ 
 y  ypx , p x   i p y
ˆˆ ˆ _________________ สมกำร (8.13)
และ
 xp ˆ ˆ x , pˆ y   i pˆ x
 ˆˆ y  yp _________________ สมกำร (8.14)

ควำมสัมพันธ์ในเชิง Commutator ระหว่ำง Position Operator และ Momentum Operator


ประกอบกับคำนิยำมของ Infinitesimal Translation Operator นี้เอง จะเป็นพื้นฐำนสำคัญในกำร
วิเครำะห์ Orbital Angular Momentum Operator ในลำดับต่อไป

หัวข้อ 8.2 Orbital Angular Momentum Operator


เมื่อครั้งที่ศึกษำถึงสมบัติที่เกี่ยวข้องกับกำรหมุนของระบบ หรือที่เรียกว่ำ Angular Momentum นั้น
เรำใช้สัญลักษณ์ J  Jˆx  Jˆ y  Jˆz แทน Angular Momentum โดยทั่วไปของระบบ ซึ่งแยก
ออกเป็นสองประเภทด้วยกันคือ Orbital Angular Momentum และ Spin Angular Momentum
กล่ำวคือ

J  LS

เรำใช้เวลำอยู่พอสมควรในกำรศึกษำ Spin Angular Momentum S  Sˆx  Sˆ y  Sˆz โดยเฉพำะ


อย่ำงยิ่ง Sˆz Operator นั้น นอกจำกจะมีควำมหมำยถึง Operator ในกำรวัด Spin Angular
Momentum ตำมแนวแกน z ของระบบแล้ว มันยังทำหน้ำเป็น Generator of Rotation
กล่ำวคือ มันเป็นต้นเหตุที่ทำให้ Spin ของอนุภำคมีกำรหมุนรอบแกน z เป็นมุม Infinitesimal d
นั่นเอง

i
Rˆ (d kˆ )  1  Sˆz d _________________ สมกำร (8.15)

อย่ำงไรก็ตำม Rotation Operator ดังปรำกฏอยู่ในสมกำรข้ำงต้น มีผลแต่เฉพำะต่อสมบัติเชิง Spin


ของอนุภำคเพียงเท่ำนั้น เพรำะผูกโยงอยู่กับ Operator Sˆz ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับกำรวิ่งวนรอบ
นิวเคลียสใน 3 มิติแต่อย่ำงใด
บทที่ 8 Central Potential 8-7

แต่ในครำวนี้ เรำจะใช้ Orbital Angular Momentum Lˆz ให้ทำหน้ำทีเ่ ป็น Generator of


Rotation ซึ่งทำให้เกิดกำรหมุนของอนุภำคใน 3 มิติรอบแกน z

ในทำนองเดียวกันกับสมกำร (8.15) เรำสำมำรถนิยำม Infinitesimal Rotation Operator

i
Rˆ (d kˆ )  1  Lˆ z d _________________ สมกำร (8.16)
เมื่อ

Lˆz คือ 1) Operator ในกำรวัด Orbital Angular Momentum ตำมแนวแกน z


2) Generator of Rotation รอบแกน z
_________________ สมกำร (8.17)

 i ˆ 
ข้อแตกต่ำงที่สำคัญระหว่ำงสมกำร (8.15) และสมกำร (8.16) ก็คือ 1  S z d  อธิบำยกำรหมุน
 
 i ˆ 
ของ Spin ในขณะที่ 1  Lz d  เป็นกำรหมุนของตำแหน่งของอนุภำคใน 3 มิติ และใน
 
ลำดับต่อไปเรำจะใช้คำนิยำมของ L ในสมกำร (8.17) มำวิเครำะห์ว่ำ Lˆ สัมพันธ์อยู่กับ Position
ˆ
z z
และ Momentum Operator อย่ำงไรบ้ำง

Lˆz ในรูปของ
Position และ Momentum Operator
ภำพ (8.2) แสดงกำรหมุนของตำแหน่งของอนุภำครอบแกน z เมื่อพิจำรณำในระนำบ x-y สมมุติ
ว่ำแต่เดิม ตำแหน่งของอนุภำคก็คอื ( x, y) ซึ่งทำมุมกับแกน x เท่ำกับ  ณ ตำแหน่งดังกล่ำวนี้เอง
ระยะห่ำงของอนุภำคจำกจุดกำเนิดมีค่ำเป็น   x 2  y 2

เมื่อเกิดกำรหมุนรอบแกน z ปรำกฏว่ำอนุภำคอยู่ ณ ตำแหน่งใหม่ ( x, y) และเนื่องจำกกำร


หมุนเป็นมุม d ดังกล่ำว ระยะห่ำงของอนุภำคจำกแกน z (หรือรัศมี) จะต้องคงที่ เพรำะฉะนั้น
แล้ว

x    cos   d   x 2  y 2 cos   d   _________________ สมกำร (8.18)


และ
y    sin   d   x 2  y 2 sin   d  _________________ สมกำร (8.19)
บทที่ 8 Central Potential 8-8

การเปลียน ถาน อ อนุภาค


ดวยการหมุน ตา หน่ อ มัน รอบ กน z
y

r  x, y, z  x  yd , y  xd , z

d r  x, y, z

x
ภำพ (8.2) แสดงกำรเปลี่ยนตำแหน่งของอนุภำค เนื่องจำกกำรหมุนรอบแกน z เป็นมุมขนำดเล็ก

และเมื่อเรำพิจำรณำเฉพำะในกรณีที่มุม d มีขนำดเล็กมำก สมกำร (8.18) และ สมกำร (8.19)


ลดรูปลงเหลือ

x  x  yd และ y   y  xd _______________ สมกำร (8.20)

แบบฝึกหัด 8.2 จงพิสูจน์สมกำร (8.20) จำกสมกำร (8.18) และ (8.19)

กระบวนกำรในกำรหมุนของตำแหน่งที่อนุภำคตั้งอยู่ จำกสถำนะ x, y, z มำเป็น


x  yd , y  xd , z นั้น เป็นผลของ Infinitesimal Rotation Operator ในสมกำร (8.16)
เพรำะฉะนั้นแล้ว

x  yd , y  xd , z  Rˆ (dkˆ ) x, y, z _______________ สมกำร (8.21)

ถ้ำสังเกตให้ดีจะพบว่ำ กำรหมุนเป็นมุมขนำดเล็กดังกล่ำว ประกอบด้วยสองขั้นตอนด้วยกัน คือ


1) Translation ของอนุภำคตำมแนวแกน y เป็นระยะทำง xd หรือ Tˆy ( xd )
2) Translation ของอนุภำคตำมแนวแกน x เป็นระยะทำง  yd หรือ Tˆx ( yd )

ดังนั้น Infinitesimal Rotation Operator Rˆ (d kˆ ) จึงสำมำรถเขียนให้อยูใ่ นรูปของ Translation


Operator ทั้งสองได้ดังนี้
บทที่ 8 Central Potential 8-9

Rˆ (d kˆ )  Tˆx ( yd )Tˆy ( xd )


 i  i 
 1  pˆ x   yd
ˆ    1  pˆ y  xd
ˆ   _________ สมกำร (8.22)
  
i
Rˆ (d kˆ )  1  xp ˆ ˆ x d
ˆˆ y  yp 

โดยที่ในสมกำรข้ำงต้น เรำอำศัยคำนิยำมของ Infinitesimal Translation Operator ดังปรำกฏใน


สมกำร (8.11) และตัดเทอมที่แปรผันกับ  d 2 ทิง้ ไป และในท้ำยที่สุดถ้ำหำกเปรียบเทียบสมกำร
(8.16) ซึ่งเขียน Infinitesimal Rotation Operator ให้อยู่ในรูปของ Orbital Angular Momentum
กับสมกำร (8.22) ข้ำงต้น จะสรุปได้ว่ำ

Lˆz  xp
ˆˆ y  yp
ˆˆx ____________________ สมกำร (8.23)

สมกำร (8.23) แสดงให้เห็นถึงควำมสัมพันธ์ของ Orbital Angular Momentum Operator Lˆz กับ


Position Operator และ Momentum Operator และเป็นควำมสัมพันธ์ที่มีประโยชน์อย่ำงมำก
ในทำงคณิตศำสตร์ โดยเฉพำะอย่ำงยิ่งสมบัติที่เกีย่ วข้องกับ Commutator ระหว่ำง Lˆz และ
Operator อื่นๆ

ยกตัวอย่ำงเช่น ถ้ำต้องกำรพิจำรณำ Commutator  Lˆz , pˆ x  ก็สำมำรถทำได้โดยกำรแทน


Lˆz  xp ˆ ˆ x เข้ำไปใน Commutator ซึ่งจะทำให้
ˆˆ y  yp

 Lˆ z , pˆ x    xp ˆ ˆ x , pˆ x 
ˆˆ  yp
   y 
  xp
ˆˆ y , pˆ x    yp

ˆ ˆ x , pˆ x 

 Lˆ z , pˆ x   i pˆ y
 

เช่นนี้เป็นต้น

แบบฝึกหัด 8.3 จงพิสูจน์สมบัติต่อไปนี้ของ Commutator


 Lˆ z , pˆ x2  pˆ 2y  pˆ z2   0 _________________ สมกำร (8.24)
 
 Lˆ z , xˆ 2  yˆ 2  zˆ 2   0 __________________ สมกำร (8.25)
 

และในทำนองเดียวกันกับ Lˆz ดังในสมกำร (8.23) เรำสำมำรถเขียน Lˆx และ ให้อยู่ในรูปของ


Position Operator และ Momentum Operator ได้เช่นเดียวกัน โดยเริ่มจำกกำรพิจำรณำผลของ
บทที่ 8 Central Potential 8-10

กำรหมุนเป็นมุมขนำดเล็ก รอบแกน x ในกรณีของ Lˆx และ รอบแกน y ในกรณีของ Lˆ y และจะได้


ว่ำ

Lˆx  yp
ˆ ˆ z  zp
ˆˆ y และ Lˆ y  zp
ˆ ˆ x  xp
ˆˆ z _________________ สมกำร (8.26)

เป็นที่น่ำสังเกตว่ำ ควำมสัมพันธ์ขำ้ งต้น สอดคล้องกับคำนิยำมของ Angular Momentum ในวิชำ


กลศำสตร์คลำสสิก ซึ่งเขียนอยู่ในรูปเวคเตอร์ได้ว่ำ

 x   px   ypz  zp y 
   
Lclassical  r  p   y    p y    zpx  xpz 
 z   p   xp y  ypx 
 z  

อย่ำงไรก็ตำม ถึงแม้บังเอิญจะมีรปู แบบของควำมสัมพันธ์ที่คล้ำยกัน เนื้อหำในบทนี้ เรำนิยำม


Orbital Angular Momentum โดยอำศัยควำมสัมพันธ์กับกำรหมุนรอบแกนต่ำงๆ ซึ่งมิได้เกี่ยวข้อง
ใดๆกับ Cross Product ของเวคเตอร์ r และ p แต่อย่ำงใด

แบบฝึกหัด 8.4 จงพิสูจน์สมบัติต่อไปนี้ของ Commutator


 Lˆ x , Lˆ y   i Lˆ z
 
_____________________ สมกำร (8.27)
 Lˆ y , Lˆ z   i Lˆ x
 
_____________________ สมกำร (8.28)
 Lˆ z , Lˆ x   i Lˆ y
 
_____________________ สมกำร (8.29)

L̂2 ในรูปของ
Position และ Momentum Operator
นอกจำกองค์ประกอบตำมแนวแกน z ของ Orbital Angular Momentum หรือ Lˆz แล้วนั้น เรำ
อำจจะมีควำมต้องกำรทรำบเพียงขนำดของ Orbital Angular Momentum โดยมิได้สนใจว่ำเวคเตอร์
ของ Orbital Angular Momentum ดังกล่ำว ชี้ไปในทิศทำงใดทิศทำงหนึ่งโดยเฉพำะ เพรำะฉะนัน้
เรำนิยำม Operator

Lˆ2  Lˆ2x  Lˆ2y  Lˆ2z _____________________ สมกำร (8.30)

เหมือนดังในกรณีของ Lˆz ซึ่งสำมำรถที่จะเขียนให้อยู่ในรูปของ Position Operator และ


Momentum Operator ได้ ดังปรำกฏในสมกำร (8.23) เรำก็สำมำรถเขียน L̂2 ให้อยู่ในลักษณะ
เช่นเดียวกันนี้ได้ ซึ่งก็คือ

  pˆ     xp ˆˆ z 
2
Lˆ2  xˆ 2  yˆ 2  zˆ 2 2
x  pˆ 2y  pˆ z2  xp
ˆˆ x  yp
ˆ ˆ y  zp
ˆˆ z i ˆˆ x  yp
ˆ ˆ y  zp
บทที่ 8 Central Potential 8-11

__________________ สมกำร (8.31)

หรือเขียนแบบย่อๆได้ว่ำ

Lˆ2  rˆ2 pˆ 2   rˆ  pˆ   i rˆ  pˆ __________________ สมกำร (8.32)


2

เมื่อนิยำมให้สัญลักษณ์ต่อไปนี้มีควำมหมำยเป็น rˆ2  xˆ 2  yˆ 2  zˆ 2 , pˆ 2  pˆ x2  pˆ 2y  pˆ z2 , และ


rˆ  pˆ  xp
ˆˆ x  yp ˆ ˆ z สำหรับเอกลักษณ์ทำงคณิตศำสตร์ในสมกำร (8.31) หรือ ที่เขียนอย่ำงย่อ
ˆ ˆ y  zp
ในสมกำร (8.32) ก็ดี สำมำรถพิสูจน์ได้อย่ำงไม่ยำกเย็นนัก โดยเริ่มจำกกำรเขียน

    zpˆ ˆ x  xp
ˆˆ z    xp ˆˆx 
2 2
Lˆ2  Lˆ2x  Lˆ2y  Lˆ2z  yp
2
ˆ ˆ z  zp
ˆˆ y ˆˆ y  yp

และเมื่อทำกำรกระจำยเทอม และจัดกลุ่มใหม่จะได้ว่ำ

Lˆ2  yp ˆ ˆ z  yp
ˆ ˆ z yp ˆ ˆ y  zp
ˆ ˆ z zp ˆ ˆ z  zp
ˆ ˆ y yp ˆˆ y 
ˆ ˆ y zp
ˆ ˆ x  zp
ˆ ˆ x zp
zp ˆˆ z  xp
ˆ ˆ x xp ˆ ˆ x  xp
ˆˆ z zp ˆˆ z 
ˆˆ z xp
xp y xp y  xp y ypx  ypx xp y  ypx yp
ˆˆ ˆˆ ˆˆ ˆ ˆ ˆ ˆ ˆˆ ˆ ˆ ˆˆx

  yp ˆ ˆ z  zp
ˆ ˆ z yp ˆ ˆ y  zp
ˆ ˆ y zp ˆ ˆ x  xp
ˆ ˆ x zp ˆˆ z  xp
ˆˆ z xp ˆˆ y  yp
ˆˆ y xp ˆ ˆ x
ˆ ˆ x yp

  yp ˆ ˆ y  zp
ˆ ˆ z zp ˆ ˆ z  zp
ˆ ˆ y yp ˆˆ z  xp
ˆ ˆ x xp ˆ ˆ x  xp
ˆˆ z zp ˆ ˆ x  yp
ˆˆ y yp ˆˆ y 
ˆ ˆ x xp

__________________ สมกำร (8.33)

จะเห็นว่ำสมกำรข้ำงต้นประกอบด้วย 2 วงเล็บด้วยกัน เรำสำมำรถที่จะใช้สมบัติของ Commutator


จัดรูปเทอมที่อยูภ่ ำยในวงเล็บปีกกำอันแรกได้ว่ำ

 yp ˆ ˆ z  zp
ˆ ˆ z yp ˆ ˆ y  zp
ˆ ˆ y zp ˆ ˆ x  xp
ˆ ˆ x zp ˆˆ z  xp
ˆˆ z xp ˆˆ y  yp
ˆˆ y xp ˆˆ x
ˆ ˆ x yp

 yˆ 2 pˆ z2  zˆ 2 pˆ 2y  zˆ 2 pˆ x2  xˆ 2 pˆ z2  xˆ 2 pˆ 2y  yˆ 2 pˆ x2

     
 xˆ 2 pˆ x2  pˆ 2y  pˆ z2  yˆ 2 pˆ x2  pˆ 2y  pˆ z2  zˆ 2 pˆ x2  pˆ 2y  pˆ z2  xˆ 2 pˆ x2  yˆ 2 pˆ 2y  zˆ 2 pˆ z2


 xˆ 2  yˆ 2  zˆ 2  pˆ 2
x  
 pˆ 2y  pˆ z2  xˆ 2 pˆ x2  yˆ 2 pˆ 2y  zˆ 2 pˆ z2 
ในขณะที่เทอมในวงเล็บปีกกำอันที่สองสำมำรถจัดรูปได้โดยอำศัยสมบัติ pˆ x xˆ  xp
ˆˆ x  i ,
ˆ ˆ y  i , และ pˆ z zˆ  zp
pˆ y yˆ  yp ˆˆ z  i ดังนั้นแล้ว
บทที่ 8 Central Potential 8-12

 yp ˆ ˆ y  zp
ˆ ˆ z zp ˆ ˆ z  zp
ˆ ˆ y yp ˆˆ z  xp
ˆ ˆ x xp ˆ ˆ x  xp
ˆˆ z zp ˆ ˆ x  yp
ˆˆ y yp ˆˆ y 
ˆ ˆ x xp

 yˆ  zp ˆ ˆ z  i  pˆ y  zˆ  yp ˆ ˆ y  i  pˆ z  zˆ  xpˆˆ x  i  pˆ z 

ˆ ˆ z  i  pˆ x  xˆ  yp
xˆ  zp ˆ ˆ y  i  pˆ x  yˆ  xpˆˆ x  i  pˆ y

 2  yzpˆ ˆ ˆ y pˆ z  xzp ˆˆ ˆ x pˆ y   2i  xp
ˆ ˆ ˆ x pˆ z  xyp ˆˆ x  yp
ˆ ˆ y  zpˆˆ z 

และเมื่อรวมวงเล็บปีกกำทั้งสองเข้ำด้วยกัน สมกำร (8.33) จะอยู่ในรูปของ

Lˆ2   xˆ 2
 yˆ 2  zˆ 2  pˆ 2
x  
 pˆ 2y  pˆ z2  xˆ 2 pˆ x2  yˆ 2 pˆ 2y  zˆ 2 pˆ z2 

2 yzp
ˆ ˆ ˆ y pˆ z  xzp
ˆ ˆ ˆ x pˆ z  xyp
ˆˆ ˆ x pˆ y  2i   xp
ˆˆ x  yp ˆˆ z 
ˆ ˆ y  zp

สมกำรข้ำงต้นจะลดรูปให้ง่ำยขึ้นไปอีก ถ้ำเรำใช้เอกลักษณ์ที่ว่ำ

 xpˆˆ x  yp ˆˆ z 
2
ˆ ˆ y  zp


 xˆ 2 pˆ x2  yˆ 2 pˆ 2y  zˆ 2 pˆ z2  2 yzp  
ˆ ˆ ˆ y pˆ z  xzp
ˆ ˆ ˆ x pˆ z  xyp
ˆˆ ˆ x pˆ y  i   xpˆˆ x  yp ˆˆ z 
ˆ ˆ y  zp

__________________ สมกำร (8.34)

แบบฝึกหัด 8.5 จงพิสูจน์เอกลักษณ์ในสมกำร (8.34)

ทำให้ในท้ำยที่สุดแล้ว

 xˆ  pˆ     xp ˆˆ z 
2
Lˆ2  2
 yˆ 2  zˆ 2 2
x  pˆ 2y  pˆ z2  xp
ˆˆ x  yp
ˆ ˆ y  zp
ˆˆ z i ˆˆ x  yp
ˆ ˆ y  zp

ซึ่งก็ตรงกับสมกำร (8.31) อย่ำงไรก็ตำม กำรพิสจู น์ควำมสัมพันธ์ในสมกำร (8.31) ด้วยวิธีกำร


กระจำยเทอมต่ำงๆออกมำโดยตรงนั้น ค่อนข้ำงจะต้องใช้ควำมรอบคอบและละเอียดพอสมควร
เรำสำมำรถที่จะพิสูจน์สมกำรเดียวกันนี้ โดยใช้อีกวิธีหนึ่งที่มีควำมซับซ้อนน้อยกว่ำ กล่ำวคือ

ถ้ำเปลี่ยนกำรเรียกพิกัดในระบบ Cartesian ซึ่งเดิมเป็น  x, y, z  ให้อยู่ในรูปแบบของสัญลักษณ์


 x1, x2 , x3  แทน เรำจะเขียน Orbital Angular Momentum ตำมแกนต่ำงๆได้ว่ำ

Lˆ1  xˆ2 pˆ 3  xˆ3 pˆ 2 , Lˆ2  xˆ3 pˆ1  xˆ1 pˆ 3 และ Lˆ3  xˆ1 pˆ 2  xˆ2 pˆ1 ____________ สมกำร (8.35)

หรือเขียนให้อยู่ในรูปทั่วไป
บทที่ 8 Central Potential 8-13

3 3
Lˆi     ijk xˆ j pˆ k ____________ สมกำร (8.36)
j 1 k 1

เมื่อ  ijk คือค่ำคงที่ซึ่งอำจจะเป็น 0, +1, หรือ -1 ขึ้นอยู่กับดัชนี i, j, k ที่กำกับมันอยู่ และมีชื่อ


เรียกโดยทั่วไปว่ำ Permutation Symbol ในท้ำยที่สุดแล้ว กำรเขียนในรูปของสมกำรข้ำงต้น มี
ผลลัพธ์ที่ได้ไม่แตกต่ำงจำกสมกำร (8.35) เพียงแต่ว่ำสมกำร (8.36) มีควำมกระชับมำกกว่ำเท่ำนั้น

นอกจำกนี้ Permutation Symbol  ijk ยังมีเอกลักษณ์หลำยประกำรที่สำคัญ อำทิเช่น


 0 if i  j    j  k    k  i 


 ijk  1 if  i, j, k   1, 2,3 ,  2,3,1 ,  3,1, 2  ____________ สมกำร (8.37)

1 if
  i, j, k   1,3, 2  ,  3, 2,1 ,  2,1,3
3 3
  ijk  0 ____________ สมกำร (8.38)
i 1 j 1
3 3
   ipq jpq  2 ij ____________ สมกำร (8.39)
p 1 q 1
3 3 3
   ijk  ijk  6 ____________ สมกำร (8.40)
i 1 j 1 k 1
3
  ijk  imn   jm kn   jn km ____________ สมกำร (8.41)
i 1
[Credit: Weisstein Eric W. “Permutation Symbol.” MathWorld - A Wolfram Web Resource]

และจำกสมกำร (8.36) เรำบอกได้ว่ำ

3 3  3 3  3 3 
Lˆ2   Lˆ2i       ijk xˆ j pˆ k      imn xˆm pˆ n 
 
  m 1 n 1 
i 1 i 1  j 1 k 1  
3 3 3 3 3
Lˆ2       ijk  imn xˆ j pˆ k xˆm pˆ n
i 1 j 1 k 1 m 1 n 1

เนื่องจำกเทอม xˆ j pˆ k xˆm pˆ n ไม่ขึ้นอยู่กับดัชนี i เรำสำมำรถจัดกลุม่ ของซัมเมชั่นเสียใหม่ ประกอบกับ


ใช้เอกลักษณ์ในสมกำร (8.41) ทำให้
บทที่ 8 Central Potential 8-14

3 3 3 3  3 
Lˆ2         ijk  imn  xˆ j pˆ k xˆm pˆ n
 
j 1 k 1 m 1 n 1  i 1 
3 3 3 3

      jm kn   jn km xˆ j pˆ k xˆm pˆ n 
j 1 k 1 m 1 n 1
3 3 3 3 3 3 3 3
Lˆ2       jm kn xˆ j pˆ k xˆm pˆ n       jn km xˆ j pˆ k xˆm pˆ n
j 1 k 1 m 1 n 1 j 1 k 1 m 1 n 1

ถึงแม้ซัมเมชั่นข้ำงต้น จะมีเทอมทีบ่ วกกันอยู่เป็นจำนวนมำก ด้วยสมบัติของ Kronecker Delta


Function จะมีเฉพำะบำงเทอมที่ไม่เท่ำกับศูนย์ ดังนั้น
3 3 3 3
Lˆ2    xˆ j pˆ k xˆ j pˆ k    xˆ j pˆ k xˆk pˆ j
j 1 k 1 j 1 k 1
3 3 3 3
 
   xˆ j xˆ j pˆ k  i  kj pˆ k    xˆ j pˆ k pˆ j xˆk  i  jk  
j 1 k 1 j 1 k 1
3 3 3 3 3 3
Lˆ2    xˆ 2j pˆ k2  i  xˆ j pˆ j    xˆ j pˆ j pˆ k xˆk  i  xˆ j pˆ j
j 1 k 1 j 1 j 1 k 1 j 1

แต่เทอมที่ 3 ในสมกำรข้ำงต้น สำมำรถจัดรูปเสียใหม่ได้ว่ำ


3 3 3 3 3 3 3
  xˆ j pˆ j pˆ k xˆk    xˆ j pˆ j  xˆk pˆ k  i     xˆ j pˆ j xˆk pˆ k  3i  xˆ j pˆ j
j 1 k 1 j 1 k 1 j 1 k 1 j 1

เพรำะฉะนั้นแล้ว
3 3 3 3 3
Lˆ2    xˆ 2j pˆ k2    xˆ j pˆ j xˆk pˆ k  i  xˆ j pˆ j
j 1 k 1 j 1 k 1 j 1

 3  3   3  3   3 
   xˆ 2j    pˆ k2     xˆ j pˆ j    xˆk pˆ k   i   xˆ j pˆ j 
 j 1   k 1   j 1   k 1 
  j 1 
     

ทั้งนี้ถ้ำเรำนิยำม rˆ2  xˆ12  xˆ22  xˆ32 , pˆ 2  pˆ12  pˆ 22  pˆ 32 , และ rˆ  pˆ  xˆ1 pˆ1  xˆ2 pˆ 2  xˆ3 pˆ 3
จะสำมำรถเขียนสมกำรข้ำงต้นอย่ำงย่อๆให้อยู่ในรูปของ

Lˆ2  rˆ2 pˆ 2   rˆ  pˆ   i rˆ  pˆ
2
บทที่ 8 Central Potential 8-15

ซึ่งก็ได้ผลลัพธ์ตรงกันกับสมกำร (8.32) ไม่ว่ำเรำจะทำกำรพิสูจน์แบบกระจำยเทอมออกมำโดยตรง


เหมือนในวิธีแรก หรือกำรใช้ Permutation Symbol  ijk เข้ำช่วยเหมือนดังวิธีที่สอง ก็ตำม

 Lˆ z , Hˆ   0   Lˆ2 , Hˆ 
Commutator
   
สมบัตเิ ชิงคณิตศำสตร์ที่สำคัญอีกประกำรหนึ่งของ L และ L̂ ก็คือ Operator
ˆ 2
ทั้งสอง ต่ำงก็
z
Commute กับ Hamiltonian ของระบบแบบ Central Potential โดยในขั้นต้นนีเ้ รำจะเพียง
พิสูจน์เฉพำะเอกลักษณ์ทำงคณิตศำสตร์ดังกล่ำวนี้ แต่จะข้ำมกำรวิเครำะห์ให้เห็นถึงควำมหมำย
ในทำงฟิสิกส์ไปก่อน

เมื่อพิจำรณำ Hamiltonian Operator ของระบบที่เป็น Central Potential พบว่ำ ประกอบด้วย


สองเทอมด้วยกันคือ พลังงำนจลน์ และ พลังงำนศักย์

pˆ 2
Hˆ   V (r )
2m

เมื่อ pˆ 2  pˆ x2  pˆ 2y  pˆ z2 จำกสมกำร (8.24) จะเห็นว่ำ  Lˆ z , pˆ 2   0 เพรำะฉะนั้นแล้ว Lˆz


 
จะต้อง Commute กับพลังงำนจลน์ของระบบ กล่ำวคือ

 pˆ 2 
 Lˆz , 0 ____________________ สมกำร (8.42)
 2m 

ส่วนในกรณีของพลังงำนศักย์ V (r ) ถ้ำนิยำมตัวแปร   r 2 และเขียน V (r ) ให้อยู่ในรูปของ


V (r )  V (  ) จำกนั้นเรำสำมำรถกระจำยให้อยู่ในรูปของ Taylor Expansion ได้ว่ำ

   
V (  )   V (  )  1   V(  ) 1 2
     2 

 0  1!     2
V ( )

  2!
  0    0 

  
1  n
  n !   n V (  )  n

n 0
  0 

จำกสมกำร (8.25) เรำทรำบว่ำ Lˆz Commute กับ   xˆ 2  yˆ 2  zˆ 2 เพรำะฉะนั้น

 Lˆ z ,  n   0 เมื่อ n คือเลขจำนวนเต็ม 0,1,2, …


 
บทที่ 8 Central Potential 8-16

และถ้ำพิจำรณำ Commutator ระหว่ำง Lˆz กับพลังงำนศักย์ V (r )  V ( ) จะพบว่ำ

   n     
 Lˆ z ,V (r )    Lˆ z ,  1   V (  )  n  

1  n
V (  )   Lˆ ,  n 
   n !   n   n 0 n !   n  z 
  
n 0
  0    0 
0

ดังนั้น

 Lˆ z , V ( r )   0
 
____________________ สมกำร (8.43)

เนื่องจำก Orbital Angular Momentum ตำมแนวแกน z Commute กับทั้งพลังงำนจลน์และ


พลังงำนศักย์ จึงสรุปได้ทันทีว่ำ

 Lˆ z , Hˆ   0
 
____________________ สมกำร (8.44)

และในกรณีของ Lˆx และ Lˆ y เรำจะใช้ตรรกะของควำมสมมำตร กล่ำวคือ Hamiltonian


Operator Ĥ มิได้ขึ้นอยู่กับทิศทำงใด ทิศทำงหนึ่งโดยเฉพำะ หำกแต่มีควำมสมมำตรในแนวรัศมี
เพรำะฉะนั้นสมกำร (8.44) เมื่อเป็นจริงตำมแนวแกน z แล้ว ก็จะต้องเป็นจริงตำมแนวแกนอื่นๆด้วย
เพรำะว่ำแกนที่เรำกำหนดขึ้นว่ำเป็น x, y, หรือ z นั้น เป็นเพียงสิ่งที่สมมุติขึ้น ดังนั้น

 Lˆ x , Hˆ   0   Lˆ y , Hˆ 
   
____________________ สมกำร (8.45)

ในเมื่อได้ข้อสรุปแล้วว่ำ Orbital Angular Momentum Operator ทั้ง 3 ล้วน Commute กับ


Hamiltonian ของระบบแบบ Central Potential ทั้งสิ้น เรำสำมำรถโยงควำมสัมพันธ์ดังกล่ำวไป
ยัง Operator L̂2 ได้ด้วยเช่นกัน กล่ำวคือ

 Lˆ2 , Hˆ    Lˆ2x  Lˆ2y  Lˆ2z , Hˆ    Lˆ2x , Hˆ    Lˆ2y , Hˆ    Lˆ2z , Hˆ 


         

อำศัยสมบัติของ Commutator ที่ว่ำ ˆ ˆ , Cˆ   Aˆ  Bˆ , Cˆ    Aˆ , Cˆ  Bˆ


 AB ทำให้เรำทรำบว่ำเทอมทั้ง 3
     
ที่ปรำกฏอยู่ทำงขวำมือของสมกำรข้ำงต้น ล้วนมีค่ำเป็นศูนย์ เพรำะฉะนั้นแล้ว

 Lˆ2 , Hˆ   0 ____________________ สมกำร (8.46)


 

แบบฝึกหัด 8.6 จงพิสูจน์ว่ำ 0   Lˆ2x , Hˆ    Lˆ2y , Hˆ    Lˆ2z , Hˆ 


     
บทที่ 8 Central Potential 8-17

และภำยหลังจำกทีไ่ ด้พสิ ูจน์ให้เห็นในเชิงคณิตศำสตร์ ถึงควำมสัมพันธ์เชิง Commutator ดังในสมกำร


(8.44) และ สมกำร (8.46) เรียบร้อยแล้ว ในลำดับต่อไปเรำจะได้กล่ำวถึงนัยสำคัญที่ซ่อนอยู่
เบื้องหลังเปลือกนอกของคณิตศำสตร์เหล่ำนี้

หัวข้อ 8.3 เซตของ Commuting Observable


กลศำสตร์ควอนตัมใช้กลไกของ Operator ในกำรวัดปริมำณทำงฟิสกิ ส์ เรำเรียกปริมำณเหล่ำนี้ว่ำ
Observable อำทิเช่น ตำแหน่ง , โมเมนตัม, โมเมนตัมเชิงมุม, หรือ พลังงำน เป็นต้น และแทน
กระบวนกำรในกำรวัด Observable เหล่ำนี้ด้วย Operator อำทิเช่น x̂ , pˆ x , Lˆz , หรือ Ĥ

สมมุติว่ำเรำกำลังพิจำรณำ Operator ที่ใช้แทนกระบวนกำรวัด Observable  และ B̂ ใดๆ


และปรำกฏว่ำ Operator ทั้งสองนั้น Commute หรือ  Aˆ , Bˆ   0

ในทำงตรงกันข้ำม ถ้ำสมมุติต่อไปอีกว่ำ Operator Ĉ มิได้ Commute กับ Â กล่ำวคือ


 Aˆ , Cˆ   0 ผลลัพธ์ทจ
ี่ ะตำมมำในแง่ของกำรตีควำมในเชิงกลศำสตร์ควอนตัม นั้น มีควำมสำคัญ
 
มำกที่เรำจำเป็นจะต้องทำควำมเข้ำใจนัยสำคัญทำงฟิสิกส์ ที่อยู่ลึกลงไปจำกพื้นผิวของคณิตศำสตร์ที่
ปรำกฏอยู่ต่อหน้ำ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Operator และ Eigen Equation


กำหนดให้สถำนะ r แทนสถำนะของอนุภำคที่เรำทรำบแน่ชัดว่ำอยู่ ณ ตำแหน่ง r ซึ่งถ้ำเรำใช้
พิกัด Cartesian ในกำรกำกับตำแหน่ง ก็จะเขียนให้ชัดเจนยิ่งขึ้นได้วำ่

r  x, y , z แทนสถำนะของอนุภำค ทีท่ รำบแน่ชัดว่ำอยู่ ณ พิกัด  x, y, z 

พิจำรณำ Operator x̂ ที่ใช้แทนกระบวนกำรวัดตำแหน่งตำมแนวแกน x ของอนุภำค แน่นอนว่ำ


เรำสำมำรถเขียนสมกำรในรูปดังต่อไปนี้

x̂ r  x r ____________________ สมกำร (8.47)

ทำงซ้ำยมือของสมกำร แสดงถึงกระบวนกำรวัดพิกัดตำมแนวแกน x ถ้ำระบบอยู่ในสถำนะ r


ทำงขวำมือของสมกำร แสดงถึงผลลัพธ์ของกำรวัด นั่นก็คือ ได้คำตอบเท่ำกับ x
บทที่ 8 Central Potential 8-18

สมกำร (8.47) เรียกอีกอย่ำงหนึ่งว่ำ Eigen Equation และให้สังเกตว่ำสถำนะ r ปรำกฏอยู่ทั้ง


ทำงซ้ำยและขวำมือของสมกำรดังกล่ำว

นอกจำกนี้ เมื่อพิจำรณำ Operator pˆ x ที่ใช้แทนกระบวนกำรวัดโมเมนตัมตำมแนวแกน x ของ


อนุภำค มีนักศึกษำอยู่จำนวนไม่น้อยที่อำศัยสมกำร (8.47) เป็นตัวอย่ำง และเขียน Eigen
Equation อย่ำงผิดๆว่ำ

ไม่ถูกต้อง ! pˆ x r  px r ____________________ สมกำร (8.48)

ด้วยควำมเข้ำใจทีผ่ ิดว่ำ เมื่อนำ Operator pˆ x เข้ำไปวัดโมเมนตัมของสถำนะ r แล้วจะได้ค่ำ


โมเมนตัม px ออกมำเป็นผลลัพธ์ เรำจะอภิปรำยควำมผิดพลำดของสมกำรข้ำงต้นใน 4 ประเด็น
ด้วยกันคือ

1) จำก Heisenberg Uncertainty Principle ที่ว่ำ xp  นั่นก็แสดงว่ำ ถ้ำเรำทรำบตำแหน่ง


2
ที่แน่ชัดของสถำนะ r หรืออีกนัยหนึ่ง ควำมคลำดเคลื่อนของกำรวัดตำแหน่ง x  0 ย่อม
หมำยควำมว่ำสถำนะดังกล่ำวมีควำมคลำดเคลื่อนของกำรวัดโมเมนตัม p   พูดง่ำยๆก็คือ เรำ
ไม่มีทำงทรำบเลยว่ำโมเมนตตัมของสถำนะ r มีค่ำเป็นเท่ำใดกันแน่

นั่นก็แสดงว่ำ อนุภำคที่อยู่ในสถำนะ r ไม่อำจจะมีโมเมนตัม px ที่แน่นอนเป็นสมบัติเฉพำะตัวของ


มันเอง ดังนั้นควำมพยำยำมในกำรเขียนสมกำร (8.48) ดังกล่ำวจึงไม่ถูกต้อง

2) ในเชิงคณิตศำสตร์ กำรเขียนสมกำร (8.48) นั้น คล้ำยกับจะพยำยำมจะสื่อควำมหมำยว่ำ


สถำนะ r เป็น Eigenstate ของ Operator pˆ x ซึ่งในทำงคณิตศำสตร์แล้ว เป็นไปไม่ได้

เนื่องจำก Operator x̂ และ pˆ x ต่ำงก็ไม่ Commute กล่ำวคือ xˆ, pˆ x   i  0 ดังนั้น


Operator ทั้งสองไม่อำจจะมี Eigenstate ร่วมกันได้ และถ้ำเรำกำหนดให้ r เป็น Eigenstate
ของ x̂ ตั้งแต่แรกเสียแล้ว มันก็ไม่อำจจะเป็น Eigenstate ของ Operator pˆ x ได้อีกต่อไป

3) ในเชิงฟิสิกส์ ถ้ำพิจำรณำ Operator  ใดๆที่ใช้วัดปริมำณทำงฟิสิกส์ กำรที่เรำจะเขียน


Eigen Equation ในลักษณะ Â   a  ได้นั้น ย่อมมีควำมหมำยทีล่ ะไว้ในฐำนที่เข้ำใจว่ำ
สถำนะ  จะต้องมีสมบัติเฉพำะตัวที่แน่นอนค่ำหนึ่ง ซึ่งมีค่ำเท่ำกับ a ยกตัวอย่ำงเช่น
บทที่ 8 Central Potential 8-19

x̂ r  x r แสดงว่ำ สถำนะ r มีพิกัดตำมแกน x ที่แน่นอน


ŷ r  y r แสดงว่ำ สถำนะ r มีพิกัดตำมแกน y ที่แน่นอน
ẑ r  z r แสดงว่ำ สถำนะ r มีพิกัดตำมแกน z ที่แน่นอน

4) จริงๆแล้ว เรำสำมำรถคำนวณผลของ Operator pˆ x ที่กระทำต่อสถำนะ r ได้โดยใช้


ควำมสัมพันธ์ระหว่ำง Infinitesimal Translation Operator Tˆx (a) และ Momentum Operator
pˆ x ได้จำกกำรพิจำรณำ Tˆx (a)  1  i pˆ x a ดังนั้น

pˆ x   Tˆx (a)
ia ia

และผลของ Operator pˆ x ที่กระทำกับสถำนะ r ก็คือ


pˆ x r  
 i a

i a

Tˆx (a)  x, y, z 
 ia  x, y, z  x  a, y, z 
จะเห็นว่ำ สถำนะผลลัพธ์ทไี่ ด้ เป็น Superposition ระหว่ำงสถำนะที่อนุภำคอยู่ ณ ตำแหน่งเดิม
ผสมกับสถำนะที่อนุภำคเลื่อนไปข้ำงหน้ำเป็นระยะทำง a ด้วยเหตุเหล่ำนี้เอง สมกำร (8.48) จึงไม่
ถูกต้อง

Simultaneous Observable
ในกรณีตัวอย่ำงของ Position Operator x̂ และ Momentum Operator pˆ x ที่กล่ำวมำแล้ว
ข้ำงต้น เรำสำมำรถสรุปให้ครอบคลุมไปถึงกรณีทั่วไป โดยกำรพิจำรณำ Hermitian Operator
 และ B̂ ใดๆ (ซึ่งเป็นตัวแทนของกำรวัดปริมำณทำงฟิสิกส์ )

ถ้ำสมมุติให้ Â Commute กับ B̂ หรืออีกนัยหนึ่ง ถ้ำ  Aˆ , Bˆ   0 แล้วผลลัพธ์ที่จะตำมมำก็


 
คือ Operator ทั้งสอง จะมี Eigenstate ร่วมกัน ซึ่งเขียนในรูปของสมกำรได้ว่ำ

   a  และ B̂   b 

จำกสมกำรข้ำงต้น จะเห็นว่ำสถำนะ  เป็น Eigenstate ของ Â ซึ่งก็หมำยถึงสถำนะดังกล่ำวมี


ปริมำณทำงฟิสิกส์ที่แทนด้วย Observable a ที่ชัดเจนแน่นอนค่ำหนึง่ และสถำนะ  ก็ยังเป็น
Eigenstate ของ B̂ ซึ่งก็หมำยถึงสถำนะดังกล่ำวมีปริมำณทำงฟิสิกส์ที่แทนด้วย Observable b ที่
ชัดเจนแน่นอนค่ำหนึ่ง อีกเช่นกัน
บทที่ 8 Central Potential 8-20

ในเมื่อค่ำของ a และ b ต่ำงก็เป็นสมบัติเฉพำะตัวของสถำนะ  จึงไม่แปลกที่เรำอำจจะเขียน


สถำนะดังกล่ำวว่ำ

  a, b

นักศึกษำอำจจะมีเพื่อนที่มสี มบัติเฉพำะตัวคือ เขำเป็นคนทีส่ ูงมำก และเพื่อนคนเดียวกันนี้ ยังเป็น


คนมีฐำนะร่ำรวยเป็นพิเศษ ในบำงครั้งเรำเอ่ยถึงเขำโดยอำศัยสมบัติเฉพำะตัวทีม่ ีอยู่ และเรียกเพื่อน
คนนี้ว่ำ เสี่ย , โย่ง

กำรที่สถำนะ  สำมำรถมีค่ำทั้ง a และ b เป็นสมบัตเิ ฉพำะตัวพร้อมๆกันได้ เรำเรียก


เหตุกำรณ์ในลักษณะนี้ว่ำ Â และ B̂ เป็น Simultaneous Observable ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ
 Aˆ , Bˆ   0 เท่ำนั้น
 

Eigen State ของระบบ Central Potential


ในกรณีของ Hamiltonian Operator Ĥ ซึ่งใช้ในกำรวัดระดับพลังงำนของระบบ ถ้ำสมมุติให้สถำนะ
 เป็น Eigenstate ของ Ĥ แล้วจะได้ว่ำ

Ĥ   E 

เมื่อ E คือพลังงำนของระบบ และจำกสมกำร (8.46) เรำทรำบว่ำ  Lˆ2 , Hˆ   0


 
เพรำะฉะนั้น
 ย่อมต้องเป็น Eigenstate ของ Operator L̂2 ด้วย กล่ำวคือ

Lˆ2     1 2

เมื่อ ก็คือเลข Quantum Number ของ Orbital Angular Momentum สมกำรข้ำงต้นแสดงให้


เห็นว่ำ ระบบดังกล่ำวมีขนำดของ Orbital Angular Momentum เท่ำกับ   1 2 (สำหรับ
นักศึกษำที่ยังขำดควำมแม่นยำในประเด็นดังกล่ำว สำมำรถทบทวนเนื้อหำในบทที่ 3 Angular
Momentum ได้)

ในกรณีทั่วไปแล้ว Angular Momentum j สำมำรถที่จะมีคำ่ ได้ทั้งทีเ่ ป็นเลขจำนวนเต็ม และเป็น


ครึ่งหนึ่งของจำนวนเต็ม กล่ำวคือ
บทที่ 8 Central Potential 8-21

 1 3 
Angular Momentum j  0, ,1, , 2, 
 2 2 

แต่ในกรณีของ Orbital Angular Momentum ซึ่งเกี่ยวข้องเฉพำะกับกำรหมุนของอนุภำคใน 3


มิตินั้น มีค่ำได้เฉพำะเป็นเลขจำนวนเต็มเท่ำนั้น หรืออีกนัยหนึ่ง

Orbital Angular Momentum  0,1, 2, 

โดยที่เรำจะได้กล่ำวถึงเหตุผลของข้อจำกัดดังกล่ำวในโอกำสต่อไป และในท้ำยที่สุด เนื่องจำก


Hamiltonian Ĥ Commute กับ Operator Lˆz ดังจะเห็นได้จำกสมกำร (8.44) ทำให้  เป็น
Eigenstate ของ Lˆz โดยปริยำย ดังนั้น

Lˆz   m 

เมื่อ m ก็คือองค์ประกอบตำมแนวแกน z ของ Orbital Angular Momentum ซึ่งค่ำของ m ที่


เป็นไปได้นั้นมีอยูภ่ ำยในช่วงที่จำกัด คือ m   ,    1 , ,    1 ,  

และในเมื่อสถำนะ  มีสมบัตเิ ฉพำะตัวที่ทรำบค่ำแน่ชัดอยู่ 3 ปริมำณด้วยกัน 1) พลังงำน , 2)


ขนำดของ Orbital Angular Momentum , และ 3) องค์ประกอบตำมแนวแกน z ของ Orbital
Angular Momentum เรำจึงอำจจะเรียก  ด้วยสมบัติที่มันมีอยู่ได้ว่ำ

ให้ E, , m เป็นสถำนะ Eigenstate ของระบบแบบ Central Potential โดยที่


Hˆ E, , m  E E, , m ____________________ สมกำร (8.49)
Lˆ2 E, , m    1 2 E, , m ____________________ สมกำร (8.50)
Lˆz E, , m  m E, , m ____________________ สมกำร (8.51)

จำกสมกำรทั้งสำมข้ำงต้น จะพบว่ำ E, , m แสดงถึงสถำนะของระบบทีม่ ีสมบัติเฉพำะตัวพร้อมๆ


กัน 3 ประกำรด้วยกันคือ 1) มีพลังงำนเท่ำกับ E , 2) มีขนำดของ Orbital Angular Momentum
เท่ำกับ   1 2 , และ 3) มีองค์ประกอบตำมแนวแกน z ของ Orbital Angular
Momentum เป็น m

ข้อควรระวัง เนื่องจำกเรำใช้สัญลักษณ์ m แทนมวลของอนุภำค ในขณะเดียวกัน m ก็อำจจะ


หมำยถึง องค์ประกอบตำมแนวแกน z ของ Orbital Angular Momentum นักศึกษำจึงควร
ระมัดระวังเป็นพิเศษไม่ให้สับสน โดยดูจำกสภำพแวดล้อมของสมกำร เพื่อแยกแยะระหว่ำงกรณีทั้งสอง
บทที่ 8 Central Potential 8-22

หัวข้อ 8.4 Position Space ในพิกัดทรงกลม


ดังที่ได้เกริ่นไว้แล้วว่ำ กำรอธิบำยถึงตำแหน่งของอนุภำค มิได้จำกัดอยู่แต่เพียง Cartesian
Coordinate เพียงเท่ำนั้น ในขั้นนี้เรำจะพยำยำมที่จะใช้พิกัดทรงกลม ในกำรกำกับตำแหน่งของ
อนุภำค รวมไปถึงกำรเขียน Operator ต่ำงๆอำทิเช่น L̂2 , และ Lˆz ให้อยู่ในรูปของพิกัดทรงกลม
หรือ Spherical Coordinate

Spherical Coordinate
ในพิกัดทรงกลมดังแสดงใน ภำพ (8.3) เรำอธิบำยตำแหน่ง r ของอนุภำคด้วยเซตของตัวแปร 3 ตัว
ด้วยกันคือ  r , ,   เมื่อ

r  ระยะห่ำงของอนุภำคจำกจุดกำเนิด
  มุมก้มที่กระทำกับแกน z
  มุมกวำด ที่เงำซึ่งทอดลงบนระนำบ x-y กระทำกับแกน x

z
2
 (r , ,  ) r 2 sin  drd d 
 ความน่ าจ เป็ น ทีจ พบอนุภาคอย่ ภาย น
r กล่อ นาด dV  r 2 sin  drd d
y
 ตั อย่ ณ ตา หน่ (r , ,  )

x
ภำพ (8.3) ภำพแสดงวิธีกำรอธิบำยตำแหน่งของอนุภำค ในระบบ Spherical Coordinate

จำกคำนิยำมของตัวแปรในพิกัดทรงกลมทั้ง 3 เรำสำมำรถเขียนควำมสัมพันธ์กับตัวแปรในพิกัด
Cartesian ได้ว่ำ

x  r sin  cos  y  r sin  sin  z  r cos ____________ สมกำร (8.52)


และ
 
z  y
r x2  y 2  z 2   cos 1     tan 1   _____ สมกำร (8.53)
 x2  y 2  z 2   x
 

และสำมำรถคำนวณ Partial Derivative ระหว่ำงคู่ต่ำงๆของตัวแปรเหล่ำนีไ้ ด้ ซึ่งก็คือ


บทที่ 8 Central Potential 8-23

 x x x 
  sin  cos   r cos  cos    r sin  sin  
 r   
 y y y 
  sin  sin   r cos  sin    r sin  cos   _____ สมกำร (8.54)
 r   
 z z z 
  cos    r sin  0 
 r   
และ
 r x r y r z 
 x  y

z
 
 x2  y 2  z 2 x2  y 2  z 2 x2  y 2  z 2 
 
  xz  yz   x2  y 2 
    
 x


x  y x2  y 2  z 2
2 2
 y

x2  y 2 x2  y 2  z 2  z 
x2  y 2  z 2  

  y  x  
 x  2  2
y x  y 2 z
0 
 x  y2 
___________________ สมกำร (8.55)

นอกจำกนี้ เพื่อควำมสะดวก Partial Derivative ดังในสมกำรข้ำงต้น สำมำรถเขียนให้อยู่ในรูป


ของตัวแปรในพิกัดทรงกลม โดยอำศัยสมกำร (8.52) เป็นตัวช่วย ได้ดังต่อไปนี้

 r r r 
  sin  cos   sin  sin   cos  
 x y z 
  cos  cos   sin  cos   sin  
     ____________ สมกำร (8.56)
 x r y r z r 
  sin   cos   
   0 
 x r sin  y r sin  z 

และถ้ำกำหนดให้ r  r, , เป็นสถำนะที่ทรำบแน่ชัดว่ำ อนุภำคอยู่ ณ ตำแหน่ง r เรำ


สำมำรถที่เขียนสถำนะ  ใดๆของอนุภำคให้อยู่ในรูป Superposition ได้ว่ำ

   d 3 r  (r ) r
  
    dxdydz  ( x, y, z ) x, y, z ____________ สมกำร (8.57)
  
  2
     drd d r sin  (r , ,  ) r , , 
2

00 0
บทที่ 8 Central Potential 8-24

จะสังเกตว่ำ ค่ำที่เป็นไปได้ของตัวแปร  r , ,   ในพิกัดทรงกลมนั้น มิได้อยู่ในช่วง  ,  


เหมือนกันกับในกรณีของพิกัด Cartesian แต่ทว่ำมีค่ำจำกัดอยู่ในช่วง r   0,   ,    0,   ,
และ    0, 2  เพียงเท่ำนั้น

จำกสมกำร (8.57) ข้ำงต้น ประกอบกับภำพ (8.3) เรำบอกได้ว่ำ

 (r, ,  ) r 2 sin  drd d  ควำมน่ำจะเป็นที่จะพบอนุภำคภำยในกล่องขนำด


2

dV  r 2 sin  drd d ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง r   r, , 


__________________ สมกำร (8.58)

Operator  rˆ  pˆ  ในพิกัดทรงกลม
เพื่อแสดงขั้นตอนในกำรเขียนผลของ Operator ต่ำงๆ ที่แต่เดิมนิยำมอยู่ในรูปของพิกัด Cartesian
ให้อยู่ในรูปของตัวแปรในพิกัดทรงกลม เรำจะเสนอตัวอย่ำงของ Operator rˆ  pˆ ซึ่งมีคำนิยำมว่ำ

rˆ  pˆ  xp
ˆˆ x  yp
ˆ ˆ y  zp
ˆˆ z

ในขั้นแรก พิจำรณำผลของ Operator ดังกล่ำวในพิกัด Cartesian กำหนดให้  แทนสถำนะ


ใดๆของระบบ จะได้ว่ำ

r  rˆ  pˆ    r xp
ˆˆ x  yp
ˆˆ y  zp
ˆ ˆ z   r xp
ˆˆ x   r yp
ˆˆ y   r zp
ˆˆ z 

ในแต่ละเทอมที่ปรำกฏอยู่ทำงขวำมือของสมกำร ยกตัวอย่ำงเช่น r xp
ˆˆ x  เนื่องจำก x̂ เป็น
Hermitian Operator เรำสำมำรถนำมันมำกระทำกับสถำนะ Bra r ได้โดยไม่ผิดกติกำ
นอกจำกนี้ โดยคำนิยำมแล้ว r x̂  r x เนื่องจำก r เป็น Eigenstate ของ x̂ ดังนั้น

r  rˆ  pˆ    x r pˆ x   y r pˆ y   z r pˆ z 

ถ้ำเรำเขียนสถำนะ  ในรูปของ Superposition ของ Position ในพิกัด Cartesian


  
     dxdydz  ( x, y, z) x, y, z จะได้ว่ำ
  

r  rˆ  pˆ    x r pˆ x   y r pˆ y   z r pˆ z 
  
i x i y i z
บทที่ 8 Central Potential 8-25

เพรำะฉะนั้นแล้ว ในพิกัด Cartesian

    
r  rˆ  pˆ    x y z  __________________ สมกำร (8.59)
i  x y z 

ในขั้นที่สอง ทำกำรเปลี่ยนทำงขวำมือของสมกำร (8.59) ให้อยู่ในรูปตัวแปรของพิกัดทรงกลม



พิจำรณำ เนื่องจำกเรำทรำบว่ำ นอกจำกจะสำมำรถเขียน    ( x, y, z) แล้ว มันยัง
x
อำจจะอยู่ในรูปของตัวแปร   r, ,  ได้อีกด้วย ดังนั้น อำศัยกฎลูกโซ่ของ Partial Derivative

  r    
  
x r x  x  x

เพรำะฉะนั้น

     r     
x y z  x   
x y z  r x  x  x 
  r     
 y   
 r y  y  y 
  r     
 z   
 r z  z  z 

  
จัดกลุ่มสมกำรข้ำงต้น ให้อยู่ในรูปผลคูณของ , , และ จะได้
r  

     r r r 
x y z  x  y z 
x y z r  x y z 
     
 x y z 
  x y z 
     
 x y z 
  x y z 

ในท้ำยที่สุด ใช้สมกำร (8.56) ช่วยในกำรคำนวณเทอมที่อยู่ภำยในวงเล็บทั้งสำม จะได้ว่ำ


บทที่ 8 Central Potential 8-26

 r r r 
x  y  z   r sin 2  cos 2   r sin 2  sin 2   r cos 2   r
 x y z 
    
y z   sin  cos  cos   sin  cos  sin   sin  cos   0
2 2
x
 x y z 
    
x y z    sin  cos   sin  cos   0  0
 x y z 

   
ด้วยเหตุนี้ x y z r และเมื่อแทนผลลัพธ์ที่ได้เข้ำไปในสมกำร (8.59) จะ
x y z r
ได้ผลของ Operator  rˆ  pˆ  ในพิกัดทรงกลม กล่ำวคือ

  2

r  rˆ  pˆ    r  (r ,  ,  ) ถ้ำ      drd d r
2
sin  (r , ,  ) r , , 
i r 00 0
_____________________ สมกำร (8.60)

แบบฝึกหัด 8.7 จงหำผลของ Operator Lˆx , Lˆ y , และ Lˆz ในพิกัดทรงกลม โดยใช้วิธีในทำนอง


เดียวกับที่กล่ำวมำแล้วข้ำงต้น และแสดงให้เห็นว่ำ
   
r Lˆ x     sin   cot  cos   (r ,  ,  ) _____ สมกำร (8.61)
i   
   
r Lˆ y    cos   cot  sin   (r , ,  ) ______ สมกำร (8.62)
i   

r Lˆz    (r ,  ,  ) _________________________ สมกำร (8.63)
i 

Operator L̂2 ในพิกัดทรงกลม


จำกกำรเขียน Operator Lˆx , Lˆ y และ , Lˆz ให้อยู่ในรูปของ Spherical Coordinate ดังในสมกำร
(8.61) , สมกำร (8.62) , และสมกำร (8.63) นั้น เรำสำมำรถนำรูปแบบดังกล่ำว มำประกอบกันขึ้น
เป็น Operator ที่ซับซ้อนมำกขึ้น อำทิเช่น

r Lˆ2x 
           
 sin   sin   cot  cos    cot  cos   sin   cot  cos 
2

           
บทที่ 8 Central Potential 8-27

r Lˆ2y 
           
 cos   cos   cot  sin    cot  sin   cos   cot  sin 
2

           

 2
r Lˆ2z    2
 2

และเมื่อรวมเทอมทั้งสำมเข้ำด้วยกัน จะปรำกฏว่ำเทอมจำนวนมำกหักล้ำงกันหำยไป เหลือแต่เพียง

  2   2  2 
r Lˆ2x  Lˆ2y  Lˆ2z    2
 2  cot   cot 2   
    2  2 

ซึ่งสำมำรถจัดรูปได้เป็น

 1     1  2 
r Lˆ2    sin   2   r , ,  
2
  
 sin      sin   2 
______________________ สมกำร (8.64)

หัวข้อ 8.5 Eigenstate ของ Hamiltonian


ในกำรวิเครำะห์หำ Eigenstate และ Eigen Energy ของ Hamiltonian Operator Ĥ นั้น ในเมื่อ
เรำทรำบว่ำพลังงำนศักย์ V (r ) มีควำมสมมำตรในแนวรัศมี จึงอำจจะเป็นประโยชน์อยู่บ้ำง ถ้ำเรำ
จะลองเขียน Ĥ ให้อยู่ในรูปของ Spherical Coordinate

Operator Ĥ ในพิกัดทรงกลม
กำรสร้ำง Hamiltonian Operator ในพิกัดทรงกลมนั้น สำมำรถเริ่มได้จำกกำรพิจำรณำ Operator
Lˆ2  rˆ2 pˆ 2   rˆ  pˆ   i rˆ  pˆ ในสมกำร (8.32) จะได้ว่ำ
2

r Lˆ2   r rˆ 2 pˆ 2   rˆ  pˆ   i rˆ  pˆ 
2

 r rˆ 2 pˆ 2   r  rˆ  pˆ    i
2
r rˆ  pˆ 

โดยที่เรำจะพิจำรณำทำงขวำมือของสมกำร ไปทีละเทอม
บทที่ 8 Central Potential 8-28

เทอมที่ 3) จำกสมกำร (8.60) เรำทรำบว่ำ



i r  rˆ  pˆ    2
r  (r ,  ,  )
r

เทอมที่ 2) ได้จำกกำรนำ Operator  rˆ  pˆ  มำกระทำซ้อนกัน 2 ครั้ง ดังนั้น


     2 2  
r  rˆ  pˆ     2 r
2
 r  (r ,  ,  )    2
 r  (r ,  ,  )  r  (r ,  ,  ) 
r  r r 
  r
2

เทอมที่ 1) เนื่องจำก Position Operator rˆ2  xˆ 2  yˆ 2  zˆ 2 เป็น Hermitian Operator เรำ


สำมำรถนำมันมำกระทำกับสถำนะ Bra r ทำให้
 
r rˆ 2 pˆ 2   x 2  y 2  z 2 r pˆ 2   r 2 r pˆ 2 

และเมื่อรวมเทอมทั้งสำมเข้ำด้วยกัน จะทำให้ได้ผลลัพธ์

 2 2  
r Lˆ2   r 2 r pˆ 2   2
 r  2 r  (r , ,  )
 r
2 r 

จำกนั้นทำกำรจัดรูปให้อยู่ในรูปของ Operator

2  2
pˆ 2 1 ˆ2    2  
r   r L  2   (r , ,  )
2m 2mr 2 2m  r r r 

pˆ 2
สมกำรข้ำงต้นเป็นผลของ Operator ที่กระทำกับสถำนะ  ใดๆ ในพิกัดทรงกลม ซึ่งเป็น
2m
Operator ที่แสดงถึงพลังงำนจลน์ของระบบ เพรำะฉะนั้น เรำสำมำรถสร้ำง Hamiltonian Eigen
equation ได้ว่ำ

pˆ 2
r Hˆ E , , m  r  V (r ) E , , m
2m
pˆ 2
 r  V (r ) E , , m  r V (r ) E , , m
2m
2  2
1  2  
r Hˆ E , , m  r Lˆ2 E , , m   2   E (r ,  ,  )  V (r ) E (r ,  ,  )
2mr 2 2m  r r r 
______________________ สมกำร (8.65)
บทที่ 8 Central Potential 8-29

ในสมกำรข้ำงต้น เรำใช้สัญลักษณ์  E (r, ,  ) แทน Probability Amplitude (หรือ Wave


Function) ซึ่งเป็น Eigenstate ของ Hamiltonian

r E , , m   E (r ,  ,  ) คือ Eigenstate ของ Hamiltonian

แต่จำกคำนิยำมของสมกำร (8.50) Lˆ2 E, , m    1 2 E, , m และสมกำร (8.49)


Hˆ E, , m  E E, , m ดังนั้นแล้ว สมกำรข้ำงต้นลดรูปลงเหลือ

  1 2 2 2 2  
E r E, , m  r E, , m     E (r ,  ,  )  V (r ) E (r ,  ,  )
2mr 2 2m  r 2 r r 

หรือ



2  2
 2     1 2 

   2    V (r )  E (r , ,  )  E E (r , ,  )
 2m  r r r  2mr 2

 
______________________ สมกำร (8.66)

ที่แสดงข้ำงต้นเป็น Eigen Equation ของ Hamiltonian Operator ที่เขียนขึ้นในพิกัดทรงกลม ใน


มุมมองของคณิตศำสตร์ มันเป็นสมกำรอนุพันธ์อันดับสอง ที่มีผลเฉลยคือ 1) Eigen Function
 E (r , ,  ) ซึ่งมีควำมหมำยในทำงกลศำสตร์ควอนตัมเป็น Probability Amplitude ที่จะพบ
อนุภำค ณ ตำแหน่ง r   r, ,  และ 2) Eigenvalue E ซึ่งก็คือระดับพลังงำนของอนุภำคที่
อยู่ในสถำนะนั้นๆ

นอกจำกนี้จะสังเกตว่ำ ผลเฉลย  E (r, ,  ) และ E ของสมกำร (8.66) นั้น ขึ้นอยู่กับสมบัติ


เชิง Orbital Angular Momentum ของอนุภำคด้วย ดังจะเห็นได้จำกเทอม   1 2 ที่ปรำกฏ
ในสมกำรดังกล่ำว

Radial Equation
สมกำร (8.66) มีลักษณะพิเศษที่สำคัญอยู่ข้อหนึ่งก็คือ Operator ทำงซ้ำยมือของสมกำร ขึ้นอยู่กับ
ตัวแปร r เพียงอย่ำงเดียว ด้วยเหตุนี้จึงเป็นกำรสมเหตุผลที่เรำจะสมมุติว่ำ Probability
Amplitude  E (r, ,  ) ซึ่งจำกนิยำมแล้วเป็นฟังก์ชันของทั้ง r ,  , และ  นั้น สำมำรถ
เขียนให้อยู่ในรูป

 E (r , ,  )  R(r )Y ( ,  ) ______________________ สมกำร (8.67)


บทที่ 8 Central Potential 8-30

กล่ำวคือ ส่วนที่ขึ้นอยู่กับรัศมี r นั้น เป็นอิสระจำกส่วนที่ขึ้นอยู่กับมุมทั้งสอง และเมื่อแทน


สมมุติฐำนดังกล่ำวเข้ำไปในสมกำร (8.66) จะได้ว่ำ



2  2
 2     1 2 

  2    V (r )  R(r )  E R(r )
 2m  r r r  2mr 2

 
______________________ สมกำร (8.68)

นอกจำกนี้เมื่อพิจำณำสมบัติเชิง Normalization ที่ว่ำ ผลรวมของควำมน่ำจะเป็นทั้งหมดมีค่ำเป็น


หนึ่ง หรือ
  2

   drd d r
2
1 2
sin   (r ,  ,  )
00 0
  2

   drd d r
2 2
 2
sin  R(r ) Y ( ,  )
00 0
  2
2  2
1    dr r 2 R (r )    d d sin  Y ( ,  ) 
  
0  0 0 

เพรำะฉะนั้น เพื่อควำมสะดวก เรำจะกำหนดให้ทั้งสองเทอมที่คณ


ู กันอยู่มีค่ำเป็น 1 ทั้งคู่ กล่ำวคือ

 dr r
2
2
R(r )  1
Normalization Condition 0
 2
________ สมกำร (8.69)
  d d sin  Y ( , )
2
1
0 0

สมกำร (8.68) เป็นหัวใจสำคัญในกำรวิเครำะห์ระดับพลังงำนของระบบที่มีลักษณะเป็น Central


Potential ซึ่งกำรจะหำผลเฉลยของสมกำรดังกล่ำว จำเป็นต้องมีขอ้ มูลเบื้องต้นอยู่ 2 ประกำรคือ 1)
ทรำบฟังก์ชันของ Central Potential V (r ) ที่เรำกำลังศึกษำ และ 2) กำหนดขนำดของ Orbital
Angular Momentum ที่เรำกำลังพิจำรณำ

ด้วยข้อมูลทั้งสองชิ้นดังกล่ำว ถ้ำเรำประสบผลสำเร็จในกำรแก้สมกำร ก็จะได้ผลเฉลยเป็นข้อมูล


ออกมำ 2 ประเภทด้วยกันคือ 1) ระดับพลังงำน E ที่เป็นไปได้ของระบบ และ 2) ฟังก์ชัน R(r ) ที่
สอดคล้องกับระดับพลังงำนนั้นๆ

นอกจำกนี้จะสังเกตว่ำ ระดับพลังงำนดังกล่ำว มิได้เกี่ยวข้องกับลักษณะกำรกระจำยตัวเชิงมุม


Y ( ,  ) แต่อย่ำงใด
บทที่ 8 Central Potential 8-31

Degeneracy
จำกที่กล่ำวมำแล้วข้ำงต้นว่ำ Eigenstate ของระบบ มีสมบัติเฉพำะตัวอยู่อย่ำงน้อย 3 ชนิดด้วยกันคือ
1) พลังงำน 2) ขนำดของ Orbital Angular Momentum และ 3) องค์ประกอบตำมแกน z ของ
Angular Momentum หรือที่เขียนให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ว่ำ

 E  E, , m

อย่ำงไรก็ตำม จำกสมกำร (8.68) เรำทรำบว่ำ ระดับพลังงำน E ของระบบ มิได้เกี่ยวข้องกับ m แต่


อย่ำงใด หมำยควำมว่ำ ในบำงสถำนกำรณ์ m อำจมีค่ำเป็นเท่ำใดก็ได้ ก็ไม่อำจทำให้ระดับ
พลังงำน E เปลี่ยนแปลงไป เพรำะตัวแปรทั้งสองนี้ มิได้เกี่ยวข้องกัน

ยกตัวอย่ำงเช่น สมมุติว่ำเรำกำลังวิเครำะห์อนุภำคที่เคลื่อนที่ภำยใต้อิทธิพลของ Central Potential


V (r ) และพิจำรณำกรณีที่ระบบมี  1 หรืออีกนัยหนึ่ง กำหนดให้ระบบมีขนำดของ Orbital
Angular Momentum เท่ำกับ 1 1  1  2

ในเมื่อ 1 ก็แสดงว่ำ m  1, 0, 1 ทำให้มี Eigenstate อยู่ 3 สถำนะด้วยกันคือ

E,  1, m  1 , E,  1, m  0 , และ E,  1, m  1

โดยที่สถำนะทั้ง 3 เหล่ำนี้ มีองค์ประกอบตำมแกน z ของ Orbital Angular Momentum แตกต่ำง


กัน แต่มีพลังงำนเท่ำกัน (สำเหตุที่พลังงำนเท่ำกันก็เพรำะว่ำ พลังงำนขึ้นอยู่กับค่ำของ เพียง
เท่ำนั้น)

ในทำงกลศำสตร์ควอนตัม กำรที่ Eigenstate มีสมบัติแตกต่ำงกัน แต่มีพลังงำนเท่ำกัน


เรำเรียกเหตุกำรณ์เช่นนี้ว่ำ “Degeneracy”

จำกตัวอย่ำงข้ำงต้น เรำมักจะเรียกเหตุกำรณ์เช่นนี้ว่ำ 3 Fold Degeneracy และในกรณีของ


ใดๆนั้น เนื่องจำก m  ,    1 ,    2 , ,    2 ,   1 ,   จึงสรุปได้ว่ำ

ในระบบ Central Potential สถำนะที่มสี มบัติเชิง Orbital Angular Momentum แทนด้วย


จะแยกออกเป็น (2  1) Fold Degeneracy เป็นอย่ำงน้อย
บทที่ 8 Central Potential 8-32

ควำมเข้ำใจในธรรมชำติของ Degeneracy ของระบบ มีควำมสำคัญเกี่ยวกับกำรวิเครำะห์ระบบใน


กรณีที่ประกอบด้วยอนุภำคมำกกว่ำหนึ่งอนุภำค ซึ่งจะได้ยกตัวอย่ำงกำรนำมำใช้งำนในลำดับต่อไป
เมื่อกล่ำวถึง Nuclear Magic Number

หัวข้อ 8.6 Application - Nuclear Magic Number


ตัวอย่ำงทีส่ ำคัญอันหนึ่ง ในกำรนำสมกำร (8.68) มำใช้ในกำรวิเครำะห์ระดับพลังงำนของระบบ ก็คือ
"Nuclear Magic Number”

a) Mass Number คอจานวนนิวคลีออน b) โมเดลอย่ า ่ าย อ นิวเคลีย

12 mass number
C6 atomic number
credit: graphic atomicarchive.com Virginia university Astronomy Group

ภำพ (8.4) a) แสดง Mass Number ทีป่ รำกฏอยู่ในตำรำงธำตุ ซึ่งหมำยจำนวนของนิวคลีออน


ภำยในนิวเคลียสนั่นเอง b) โมเดลอย่ำงง่ำยที่ใช้ในกำรคำนวณเชิงกลศำสตร์ควอนตัม

ภำยในนิวเคลียส ซึ่งมีขนำดเล็กกว่ำอะตอมประมำณถึง 1 แสนเท่ำ นั้น โดยทั่วไปแล้วประกอบด้วย


อนุภำคโปรตอนและนิวตรอน อนุภำคทั้งสองชนิดนี้ เรียกรวมๆกัน (โดยไม่เฉพำะเจำะจงว่ำเป็น
โปรตอนหรือนิวตรอนกันแน่) ว่ำ “นิวคลีออน” (Nucleon) ในธำตุแต่ละชนิดก็จะมีจำนวนนิวคลีออ
นแตกต่ำงกันออกไป และจำนวนของนิวคลีออนภำยในนิวเคลียสนี้เอง มีชื่อเรียกว่ำ “Mass
Number” ซึ่งมักจะแทนด้วยสัญลักษณ์ A

ยกตัวอย่ำงเช่น อะตอมคำร์บอนที่มีจำนวนโปรตอน 6 ตัวนั้น มีอยู่ด้วยกันหลำย Isotope


กล่ำวคือ Carbon-12 และ Carbon-14 ซึ่งหมำยถึงมี Mass Number เท่ำกับ 12 และ 14
ตำมลำดับ

จำกกำรทดลองของนักวิทยำศำสตร์ ถ้ำจำนวนของนิวคลีออนมีค่ำเฉพำะค่ำหนึ่ง จะพบว่ำนิวเคลียส


ดังกล่ำวนั้นมีควำมเสถียรเป็นพิเศษ จำนวนเหล่ำนั้นก็คือ 2, 8, 20, 28, 50, 82, … ด้วยควำม
พิเศษของมัน เรำเรียกลำดับของตัวเลขดังกล่ำวนี้ว่ำ “Magic Number” (Warner, “Not-so-
บทที่ 8 Central Potential 8-33

magic-number” Nature 430:517-519 (2004) และ Mayer “On closed shell nuclei II”
Phys.Rev. 75:1969-1970 (1949))

Infinite Spherical Potential Well


ดังแสดงในภำพ (8.4)b เรำจะใช้โมเดลอย่ำงง่ำยในกำรคำนวณหำระดับพลังงำนของนิวคลีออนที่
บรรจุอยูภ่ ำยในนิวเคลียส โดยมองว่ำอนุภำคนิวคลีออนโดนกักอยูภ่ ำยในด้วยอิทธิพลของ Central
Potential ที่มีควำมแข็งเป็นอนันต์ หรือ

0 r  a
V (r )   __________________ สมกำร (8.70)
 r  a

ลักษณะของบ่อพลังงำนศักย์ดังกล่ำว มีควำมคล้ำยคลึงกับ Infinite Square Well ใน 1 มิติ


เพียงแต่ V (r ) ในสมกำร (8.70) นั้นเป็นระบบใน 3 มิติ และเนื่องจำกกำแพงศักย์ ณ r  a มี
ควำมแข็งเป็นอนันต์ Probability Amplitude บริเวณภำยนอกทรงกลมจะต้องมีค่ำเป็นศูนย์เสมอ
ซึ่งเรำจะเรียกเงื่อนไขนี้ว่ำ Boundary Condition

 E (r , ,  )  0 ถ้ำ ra __________________ สมกำร (8.71)

และในเมื่อเรำแยก Probability Amplitude (หรือ Wave Function) ออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ


 E (r , ,  )  R(r )Y ( ,  ) จะได้ว่ำ ณ ตำแหน่งรัศมีเท่ำกับ a นั้น

R(a)  0 Boundary Condition __________________ สมกำร (8.72)

จำกสมกำร (8.68) ระดับพลังงำนของ Central Potential นั้นถูกกำหนดโดยฟังก์ชัน R(r ) และ


Orbital Angular Momentum quantum number เพียงเท่ำนัน้ ซึ่งอยู่ในรูปของสมกำร
ดังต่อไปนี้



2  2
 2     1 2 

เมื่อ ra ________ สมกำร (8.73)
  2    R( r )  E R( r )
 2m  r r r  2mr 2

 

ในสมกำรข้ำงต้น จะเห็นว่ำเรำกำหนดให้ V (r )  0 ซึ่งก็สืบเนื่องมำจำกลักษณะของบ่อศักย์ที่กำลัง


พิจำรณำอยู่ เมื่อ m ก็คือมวลของนิวคลีออน (หรือมวลของโปรตอน ซึ่งก็แทบจะเท่ำกับของ
นิวตรอน) เรำสำมำรถจัดรูปสมกำรข้ำงต้นให้ดูง่ำยขึ้นได้ว่ำ

2 R 2 R   1  2mE 
  R 2 R  0
r 2 r r r 2
 
บทที่ 8 Central Potential 8-34

โดยทั่วไปแล้วสมกำรอนุพันธ์อันดับสองจะมีผลเฉลยที่ซับซ้อนและแก้สมกำรได้ลำบำก แต่โชคดีที่เรำ
สำมำรถเปลีย่ นรูปของสมกำรข้ำงต้นให้อยู่ในรูปของ Spherical Bessel Equation ซึ่งนัก
คณิตศำสตร์ได้ศึกษำผลเฉลยไว้เรียบร้อยแล้ว โดยใช้เทคนิคกำรเปลี่ยนตัวแปร

2mE
 2
r

สมกำรอนุพันธ์ข้ำงต้นจะอยู่ในรูปของ

2 R 2 R    1 
 1  R 0
 2     2 

Spherical Bessel Equation ข้ำงต้น ในทำงคณิตศำสตร์แล้ว มีผลเฉลยอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ

1) Spherical Bessel Function


 1 d   sin  
j ( )         ________ สมกำร (8.74)
  d    
และ

2) Spherical Neumann Function


 1 d   cos  
 ( )          ________ สมกำร (8.75)
  d    

จะเห็นว่ำ ฟังก์ชันทั้งสองมีรูปแบบที่ขึ้นอยู่กับ ซึ่งเชื่อมโยงอยู่กับขนำดของ Orbital Angular


Momentum ของระบบ โดยมีลักษณะของฟังก์ชันดังแสดงใน ภำพ (8.5)
บทที่ 8 Central Potential 8-35

ผลเฉลย 2R 2 R  l  l  1 
ผลเฉลย ออ Spherical
SphericalBessel
BesselEquation
Equation  1  R0
 2     2 
Spherical Bessel Function jl (  ) Spherical Neumann Function l (  )
1
j0 0 1 2
0
0.5 j1
j2
1
0

 0.5 2
0 2 4 6 8 10 0 2 4 6 8 10
 
ภำพ (8.5) แสดงผลเฉลยของ Spherical Bessel Equation ซึ่งมีฟังก์ชันที่เป็นผลเฉลยอยู่ 2
ประเภทคือ Spherical Bessel Function และ Spherical Neumann Functions

ฟังก์ชันทั้งสองแบบดังกล่ำว มี Close Form ดังต่อไปนี้

sin  cos 
j0 (  )  0 (  )  
 
sin  cos  cos  sin 
j1 (  )  2  1 (  )   
  2 
 3 1 3cos   3 1 3sin 
j2 (  )   3   sin   2 (  )      cos  
   2  
 2
3
 

อย่ำงไรก็ตำม ถึงแม้ว่ำผลเฉลยในทำงคณิตศำสตร์มีได้สองแบบ เนื่องจำก Spherical Neumann


Functions  (  )   ณ จุดกำเนิด ในทำงฟิสิกส์เรำจึงตัดผลเฉลยนี้ออกไป คงเหลือไว้แต่
Spherical Bessel Function เท่ำนั้นเอง เพรำะฉะนั้น Probability Amplitude สำมำรถเขียนให้
อยู่ในรูป

 2mE 
R(r )  N R j 
 2
r
 เมื่อ  0,1, 2, ___________ สมกำร (8.76)
 


เมื่อ NR คือ Normalization Constant ที่ทำให้  dr r 2 2
R(r )  1
0
บทที่ 8 Central Potential 8-36

Energy Eigen Values


และเนื่องจำกข้อกำหนดของ Probability Amplitude ที่ว่ำ R(r  a)  0 ซึ่งเงื่อนไขนี้เองจะเป็น
ตัวกำหนดให้พลังงำน E ของระบบมีค่ำได้เฉพำะเพียงค่ำใดค่ำหนึ่ง กล่ำวคือ

2mE
j ( 2
a)  0 __________________ สมกำร (8.77)

 2mE 
sin  2
a 
ยกตัวอย่ำงเช่น ในกรณีที่ 0 จะได้ว่ำ j0 (
2mE
a)    0
2
2mE
2
a

หรือ
2mE
2
a  n เมื่อ n  1, 2, 3,

นั่นก็คือ
 2 2  2
En, 0 
 2ma 2  n เมื่อ n  1, 2, 3, ____________ สมกำร (8.78)
 

สมกำรข้ำงต้น แสดงระดับพลังงำนที่เป็นไปได้ของนิวคลีออน เฉพำะกรณีทมี่ ี Orbital Angular


Momentum เป็นศูนย์

ส่วนในกรณีที่  0 กำรคำนวณหำระดับพลังงำนมีควำมซับซ้อนมำกขึน้ และจะต้องอำศัยข้อมูล


จำกตำรำงดังแสดงใน ภำพ (8.6)

Spherical Bessel Function เป็ น นย ณ ตา หน่ ต่ า กัน


1
j0 n 1 n2
4.49 7.73
j1     0
n 1 n2 n3
0.5
3.14 6.28 9.42 j0     0
j1

0 2 4 6 8 10

 0.5

ภำพ (8.6) Spherical Bessel Function j ( )  0 ณ ตำแหน่ง  ต่ำงๆกัน จุดที่ฟังก์ชัน


2mE
เป็นศูนย์นี้เองจะเป็นตัวกำหนดระดับพลังงำนของระบบ โดยอำศัยเงื่อนไข j ( 2
a)  0
บทที่ 8 Central Potential 8-37

0 1 2 3
n 1 3.142 4.493 5.763 6.988
n2 6.283 7.725 9.095 10.417
n3 9.425 10.904 12.323 13.698
ตำรำงแสดงค่ำของ  ที่ทำให้ j (  )  0 หรือเรียกอีกอย่ำงหนึ่งว่ำ zeroth of Bessel
Function (จำก MathCAD Version 14)

สำหรับขั้นตอนในกำรอ่ำนตำรำงข้ำงต้น เพื่อที่จะนำไปคำนวณระดับพลังงำนของระบบนั้น สมมุติว่ำ


เรำต้องกำรทรำบระดับพลังงำนลำดับที่ n  3 ของนิวคลีออน ในขณะที่มันมีขนำดของ Orbital
Angular Momentum เป็น 2  2  1 2 สำมำรถทำได้โดยกำรกำหนดให้


2m En 3, 2  a  12.323
2

เพรำะฉะนั้นแล้ว

2
12.3232
En 3, 2 
2ma 2

และเรำอำจจะนำระดับพลังงำนดังกล่ำว แทนเข้ำไปในสมกำร (8.76) เพื่อวำดกรำฟของฟังก์ชัน R(r )


ทั้งนี้เนื่องจำกระดับพลังงำนข้ำงต้น ขึ้นอยู่กับเลข Quantum Number n, จึงเป็นกำรเหมำะสมที่
เรำจะใช้ดัชนี n, กำกับ Probability Amplitude R(r ) เพื่อให้เกิดควำมชัดเจนยิ่งขึ้น กล่ำวคือ

2mEn,
Rn, (r )  N R j ( 2
r) เมื่อ l  0,1, 2, ___________ สมกำร (8.79)
บทที่ 8 Central Potential 8-38

Rn, (r ) นกรณีต่า กัน าหรับนิวเคลีย รั มี a = 1


5 8 R3,1
R1,0
4 6
R2,1
4
3
R1,1 R1,1
2
2
r
0 0.5 1
1 R1,2 2

r 4
0 0.5 1

ภำพ (8.7) แสดง Probability Amplitude ในส่วนของ Rn, (r ) ในสถำนกำรณ์ต่ำงๆกัน

ภำพ (8.7) แสดง Probability Amplitude Rn, (r ) ที่ระดับพลังงำน และ ที่ Orbital Angular
Momentum ต่ำงๆกัน จะสังเกตว่ำเมื่อขนำดของ Orbital Angular Momentum สูงขึ้น (ใน
ภำพซ้ำยที่กำลังเปรียบเทียบ Rn, 0 (r ) , Rn, 1 (r ) , และ Rn, 2 (r ) ) อนุภำคนิวคลีออนโดย
เฉลี่ยแล้วจะอยู่ในบริเวณทีม่ ีรัศมีมำกขึ้น ซึ่งก็สอดคล้องกับลักษณะกำรเคลื่อนที่ในมุมมองของ
กลศำสตร์คลำสสิกที่ว่ำ ถ้ำอนุภำคเคลื่อนที่ด้วยรัศมีของกำรหมุนเพิ่มขึ้น Angular Momentum
ของมันก็จะมำกขึ้นเป็นเงำตำมตัวนั่นเอง

Nucleon Magic Number


จำกตัวอย่ำงข้ำงต้น จะเห็นว่ำเมื่อเรำพิจำรณำระบบของนิวคลีออนที่โดนกักอยู่ในนิวเคลียส ซึ่ง
โมเดลอย่ำงง่ำยที่เรำใช้เป็นเครื่องมือในกำรศึกษำเบื้องต้นก็คือ Spherical Infinite Potential Well
หรือบ่อพลังงำนศักย์รูปทรงกลมทีแ่ ข็งมำก ทำให้อนุภำคไม่สำมำรถออกไปภำยนอกได้นั้น

ในแต่ละกรณีทนี่ ิวคลีออนมี Orbital Angular Momentum (ซึ่งกำกับด้วยเลข Quantum Number


) ที่แตกต่ำงกัน ก็จะมีระดับพลังงำนเป็นชั้นๆ เป็นเซตของตัวมันเอง (ซึ่งกำกับด้วยเลข Quantum
Number n ) ดังที่ได้สรุปไว้ในภำพ ภำพ (8.8)
บทที่ 8 Central Potential 8-39

ด จานวนนิวคลีออน ที ามารถบรรจุอย่ น ต่ ล ร ดับ ันพลั าน

จานวนนิวคลีออน
200 14
2ma 2 10
En,
2
6 14
100 2 10


6
2 14 34 40
20 18
10
2
6 8
2
0
0 1 2 3
ภำพ (8.8) แสดงระดับพลังงำนของนิวคลีออน ในกรณีของ n และ ต่ำงๆกันออกไป

ภำพ (8.8) แสดงระดับพลังงำน En, ของนิวคลีออนในกรณีของ Orbital Angular Momentum


(  1) ต่ำงๆกัน จะเห็นว่ำระดับพลังงำนดังกล่ำว ขึ้นอยู่กับค่ำของ n และ

ตัวเลขที่เขียนกำกับอยู่กับในแต่ละชั้นพลังงำน อำทิ 2, 6, 10, หรือ 14 แสดงถึงจำนวนของนิวคลี


ออนที่สำมำรถบรรจุเข้ำไปให้เต็ม ในแต่ละระดับพลังงำนนั้นๆ ซึ่งตัวเลขดังกล่ำว ขึ้นอยู่กับค่ำของ
และสมบัตเิ ชิง Spin ของนิวคลีออน ยกตัวอย่ำงเช่น

ถ้ำ  1 แล้วจะได้ว่ำ ณ ระดับพลังงำนเดียวกันนี้ องค์ประกอบตำมแนวแกน z ของ Angular


Momentum หรือที่แทนด้วยสัญลักษณ์ m นั้น มีค่ำที่เป็นไปได้ก็คอื m  1, 0, 1 ซึ่งเป็นไป
ได้ทั้งสิ้น 2   1  3 แบบ หรือที่เรียกว่ำ 3 Fold Degeneracy ประกอบกับกำรที่นิวคลีออนซึ่งก็
คือโปรตอนหรือนิวตรอนนั้น มี Spin s  1 ดังนั้น เรำสำมำรถบรรจุนวิ คลีออนถึง 6 ตัวเข้ำไปอยู่
2
ในระดับพลังงำนเดียวกันนี้ โดยทีท่ ั้ง 6 ตัวดังกล่ำว มีสถำนะไม่ซ้ำกันเลย ซึ่งก็คือ
บทที่ 8 Central Potential 8-40

นิวคลีออนทั 6 ตัว อย่ นร ดับพลั านเดียวกัน


S z  1 2
m  1
S z  1 2

1 m0
Sz  1 2 รวมทั หมด
Sz  1 2 6 Fold Degeneracy
Sz  1 2
m  1
Sz  1 2
3 Fold 2 Fold

เมื่อพิจำรณำนิวเคลียสของธำตุต่ำงๆ จำกกำรทดลองพบว่ำ ถ้ำจำนวนนิวคลีออนที่อยู่ภำยใน


นิวเคลียสมีค่ำเท่ำกับ 2, 8, 20, 28, 50, หรือ 82 แล้ว นิวเคลียสดังกล่ำวจะมีควำมเสถียรเป็นพิเศษ
ทำให้นักวิทยำศำสตร์ตั้งชื่อลำดับของตัวเลขเหล่ำนี้ว่ำ “Nuclear Magic Number”

ในควำมพยำยำมที่จะใช้อธิบำย Nuclear Magic Number โดยใช้โมเดลของกลศำสตร์ควอนตัมแบบ


Infinite Spherical Potential Well นั้น เรำจะตั้งสมมุติฐำนว่ำ

กำรที่นิวเคลียสมีควำมเสถียรเป็นพิเศษก็เพรำะจำนวนนิวคลีออน
ที่อยู่ภำยใน บรรจุอยู่เต็มชั้นระดับพลังงำนของระบบพอดี

ในทำงทฤษฏีนั้น โดยอำศัยระดับพลังงำนที่คำนวณได้ดังแสดงในภำพ (8.8) เงื่อนไขข้ำงต้นจะเกิดขึน้


ได้ ก็ต่อเมื่อจำนวนนิวคลีออนทั้งหมดของนิวเคลียส มีค่ำเท่ำกับ “จำนวนนิวคลีออน สะสม” ซึ่งก็คือ
2, 8, 18, 20, 34, และ 40 นั่นเอง

โดยอำศัยตรรกะอันนี้ เรำสำมำรถทำนำยตัวเลข Magic Number ในทำงทฤษฏี ซึ่งก็คือ 2, 8, 18,


20, 34, หรือ 40 และจะเห็นว่ำมีควำมใกล้เคียงกับ Magic Number จำกกำรทดลองอยู่บ้ำง
โดยเฉพำะอย่ำงยิ่งตัวเลขในสองอันดับแรก คือเลข 2 และ เลข 8

ต้นเหตุที่ทำให้เกิดควำมแตกต่ำงระหว่ำงกำรคำนวณและผลที่ทดลองได้นั้น มีที่มำจำกกำรที่โมเดลที่
เรำใช้ศึกษำ มีกำรประมำณที่หยำบจนเกินไป อีกทั้งยังมีอันตรกริยำภำยในนิวเคลียสอื่นๆที่เรียกว่ำ
Spin-Orbit Interaction ซึ่งเรำละเลยมิได้นำมำพิจำรณำร่วมด้วย และภำยหลังจำกกำรนำปัจจัย
ต่ำงๆทีเ่ กี่ยวข้องเข้ำมำวิเครำะห์เชิงกลศำสตร์ควอนตัมโดยละเอียด เรำจะพบว่ำ Magic Number ที่
ได้จำกกำรคำนวณนั้น ตรงกันพอดีกับผลที่ปรำกฏจำกกำรทดลอง (B.T.Feld, Ann. Rev. Nuclear
Sci. 2:239 (1953))
บทที่ 8 Central Potential 8-41

หัวข้อ 8.7 Eigen State ของ Lˆz และ L̂2

ที่ผ่ำนมำเรำได้ใช้เวลำส่วนใหญ่ในกำรคำนวณ R(r ) ซึ่งแทนกำรกระจำยตัวของ Probability


Amplitude  E (r, ,  ) ในเชิงรัศมี แต่ยังมีข้อมูลอีกส่วนหนึ่งที่เรำยังไม่ได้กล่ำวถึง ซึ่งก็คือ
Y ( ,  )

รูปแบบทางคณิตศาสตร์ของ Y ( ,  )
เมื่อพิจำรณำ Operator Lˆz และ Operator L̂2 นั้น จะพบว่ำ Operator ทั้งสอง เมื่อเขียนให้อยู่
ในรูปของพิกัดทรงกลมแล้ว ขึ้นอยู่กับมุม  และมุม  ดังต่อไปนี้


r Lˆz    (r ,  ,  )
i 
และ
 1     1 2 
r Lˆ2    sin   2   r ,  ,  
2
  
 sin      sin   2 

ถ้ำกำหนดให้ สถำนะ  เป็น Eigenstate ของ Hamiltonian หรือ   E, , m แล้วจะทำ


ให้


r Lˆ z E , , m  R(r )Y ( ,  )
i 

m r E , , m  R(r ) Y ( ,  )
i 
R ( r ) Y ( , )

หรือ

Y ( ,  )  m Y ( ,  ) _______________ สมกำร (8.80)
i  eigenvalue
Lˆ z operator
in spherical
coordinate

และในกรณีของ L̂2 จะได้ว่ำ

 1     1 2 
r Lˆ2 E , , m       R(r )Y ( ,  )
2
    sin 2   2 
sin
 sin   
 1     1 2 
(  1) 2
r E , , m   R(r ) 2
  sin     Y ( ,  )
 sin      sin 2   2 
R ( r ) Y ( , )
บทที่ 8 Central Potential 8-42

หรือ
 1     1 2 
 2
  sin    2
Y ( ,  )  (  1) 2 Y ( ,  ) ___ สมกำร (8.81)
 sin      sin 2
   eigenvalue

Lˆ2 operator in spherical coordinate

จำกสมกำร (8.80) และ (8.81) จะเห็นว่ำ นอกจำก Y ( ,  ) จะแสดงถึงกำรกระจำยตัวของ


Hamiltonian Eigenstate ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมุม ( ,  ) แล้ว มันยังมีสมบัติที่มีควำมสำคัญก็คือ

Y m ( ,  ) เป็น Eigenstate ของ Lˆz และ L̂2 Operator


ซึ่งมี และ m เป็นสมบัติเฉพำะตัว

โดยที่เรำใช้ดัชนี , m กำกับฟังก์ชัน Y ( ,  ) ก็เพื่อบ่งชี้ใช้ชัดเจนว่ำ ฟังก์ชัน Y m ( , ) ในพิกัด


ทรงกลมดังกล่ำว เป็นตัวแทนของ Eigenstate ซึ่งมี ขนำดของ Orbital Angular Momentum
เท่ำกับ (  1) 2 และมีองค์ประกอบในแนวแกน z ของ Orbital Angular Momentum
เท่ำกับ m

นอกจำกนี้ เรำยังอำจจะเขียน Eigenstate ของ Lˆz และ L̂2 Operator ให้อยู่ในรูปของ Ket ได้ว่ำ
, m ซึ่งมีคุณสมบัติคือ

Lˆ2 , m  (  1) 2
,m และ Lˆz l , m  m l , m

Eigenstate , m ที่เขียนอยู่ในลักษณะของ Ket นั้น มีข้อดีคือมันไม่ได้ยึดติดอยู่กับพิกัดใดๆ ของ


ระบบ หำกแต่ใช้ได้ในกรณีทั่วไป ซึ่งต่ำงจำก Y m ( , ) ซึ่งเป็นตัวแทนของ Eigenstate ในพิกัด
ทรงกลมเพียงเท่ำนั้น กล่ำวคือ

 ,  , m  Y m ( ,  ) __________________ สมกำร (8.82)

เมื่อ  ,  มีควำมหมำยเป็นสถำนะที่อนุภำคตั้งอยู่ ณ มุมก้ม  และ มุมกวำด  ในพิกัดทรงกลม


โดยมิได้สนใจว่ำอนุภำคดังกล่ำวมีรัศมี r ห่ำงจำกจุดกำเนิดเป็นระยะทำงเท่ำใด

และเพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่ำ Y m ( , ) เป็นฟังก์ชันที่ขึ้นอยู่กับ มุม  และมุม  อย่ำงไรบ้ำง เรำ


เริ่มด้วยกำรพิจำรณำสมกำร (8.81)
บทที่ 8 Central Potential 8-43

 1     1 2  m
 2
  sin    2
Y ( ,  )  (  1) 2Y m ( ,  )
 sin      sin   
2

 1     m 1 2 m
       Y ( ,  )  (  1)Y m ( ,  )  0
  
sin Y ( , )
 sin    sin 2   2

 m 2
แต่จำกสมกำร (8.80) Y ( ,  )  m Y m ( ,  ) ดังนั้น Y m ( ,  )  m 2Y m ( ,  )
i   2
หรือ

 1     m m2
 2  sin    Y ( ,  )  2 Y ( ,  )  (  1)Y ( ,  )  0
m m
 sin      sin 
__________________ สมกำร (8.83)

เนื่องจำกสมกำรข้ำงต้น เป็นสมกำรอนุพันธ์ของ Y ,m ( ,  ) ที่ขึ้นอยู่กับมุม  เพียงอย่ำงเดียว


ในขณะที่สมกำร (8.80) ก็เป็นสมกำรอนุพันธ์ของ Y ,m ( ,  ) ที่ขึ้นอยู่กับมุม  เพียงเท่ำนั้น เรำ
สำมำรถเขียน

Y m ( ,  )  ( )( ) __________________ สมกำร (8.84)

กล่ำวคือ ส่วนที่ขึ้นกับมุมทั้งสองนั้น เป็นฟังก์ชันที่เป็นอิสระต่อกัน และเมื่อแทนคำนิยำมข้ำงต้น


เข้ำไปในสมกำร (8.80) จะได้ว่ำ


( )  m ( )
i 
ซึ่งมีผลเฉลยของสมกำรก็คือ
( )  eim ____________________ สมกำร (8.85)

ส่วนในกรณีของมุม  นั้น แทนสมกำร (8.84) เข้ำไปในสมกำร (8.83) จะทำให้

 1     m2
 2  sin    ( )  2 ( )  (  1)( )  0
 sin       sin 

ใช้เทคนิคของกำรเปลี่ยนตัวแปร โดยนิยำมให้ x  cos และเขียนสมกำรข้ำงต้นในรูปของ x


บทที่ 8 Central Potential 8-44

2   m2 
(1  x 2 )   2x    (  1)    0
x 2 x  1  x 2 

เป็นที่น่ำยินดีที่มีปรำชญ์นำมว่ำ Adrien-Marie Legendre ได้ศึกษำสมกำรอนุพันธ์ข้ำงต้น และทรำบ


ผลเฉลยเป็นอย่ำงดี สมกำรข้ำงต้นมีชื่อเฉพำะว่ำ Associated Legendre Differential Equation
ซึ่งมีผลเฉลยคือ

( )  P m ( x) เมื่อ x  cos

 1m m
เมื่อ P m ( x) 
2 !
(1  x 2 ) m 2
dx
d
m  x  1
2
อำทิเช่น
P00 ( x)  1

P10 ( x)  x
   
12 1 12
P11 ( x)   1  x 2 P11 ( x)  1  x2
2

     
1 12 1 12
P20 ( x)  3x 2  1 P21 ( x)  3x 1  x 2 P21 ( x)  x 1  x2
2 2

P22 ( x)  3 1  x 2  1

P22 ( x)  1  x 2 
8

       
1 3 12 1 12
P30 ( x)  x 5x 2  3 P31 ( x)  1  5x2 1  x2 P31 ( x)   1  5x2 1  x2
2 2 8
( x)  15 x 1  x 
( x)  x 1  x 
P32 2 1
P32 2
8
( x)  15 1  x 
32
P33 2
( x)  1  x 
1 32
P33 2
48
ตำรำงแสดง Associated Legendre Polynomial (Credit: Weisstein, Eric W. "Legendre
Polynomial." From MathWorld--A Wolfram Web Resource)

และเมื่อเรำนำผลลัพธ์ ( )  P m ( x) เข้ำมำรวมกับ ( )  eim จะทำให้ได้ Y m ( , ) อยู่ใน


รูปที่สมบูรณ์คือ

2  1   m ! m
Y m ( ,  )   P (cos  )eim _______________ สมกำร (8.86)
4   m !
บทที่ 8 Central Potential 8-45

2  1   m !
สำเหตุที่จำเป็นจะต้องมีสมั ประสิทธิ์  คูณอยู่กับผลเฉลยของ Associated
4   m !
Legendre Equation ก็เพรำะว่ำ เรำต้องกำรให้ฟังก์ชัน Y m ( ,  ) Normalized เป็นหนึ่ง
กล่ำวคือ
 2
  d d sin  Y ( , )
2
1
0 0

สัมประสิทธิ์ของกำร Normalization ดังแสดงในสมกำร (8.86) นั้น สำมำรถพิสูจน์ให้เห็นได้อย่ำงไม่


ยำกเย็นนัก โดยกำรสมมุติให้

Y m ( ,  )  N  P m (cos  )eim

เมื่อ N คือ Normalization Constant และอำศัยเงื่อนไข


 2 2
1   d d sin  N  P m (cos  )eim
0 0
 2
P 
2
  d d sin  N
2 m
(cos  )
0 0

 
2
1  N 2 2  d sin  P m (cos  )
0

กำหนดให้ x  cos ดังนั้น d sin   dx เพรำะฉะนัน้


1

 dx  Pl 
2
1  N 2 2 m
( x)
1

อำศัยสมบัติทำงคณิตศำสตร์ของ Associated Legendre Function ที่ว่ำ

2   m !
1

 dx  P 
2
m
( x)   __________________ สมกำร (8.87)
1
2  1   m !

2   m !
ทำให้ 1  N 2 2  หรืออีกนัยหนึ่ง
2  1   m !
บทที่ 8 Central Potential 8-46

2  1   m !
N 
4   m !

นอกจำกนี้ Associated Legendre Function ยังมีสมบัติที่เป็นประโยชน์ในกำรคำนวณทำง


คณิตศำสตร์มำกก็คือ

(2  1) xP m ( x)  (  m) P m1 ( x)  (  m  1) P m1 ( x) _________ สมกำร (8.88)

ดังปรำกฏในสมกำร (8.86) ดังกล่ำว นอกจำกนี้ฟังก์ชัน Y ,m ( ,  ) ยังมีชื่อเรียกอีกอย่ำงหนึ่งว่ำ


Spherical Harmonic ซึ่งจะปรำกฏให้เห็นบ่อยครั้งมำกในสมกำรทำงฟิสิกส์ที่ใช้พิกัดทรงกลมในกำร
วิเครำะห์ ตำรำงดังต่อไปนี้แสดงตัวอย่ำงของ Spherical Harmonic Y ,m ( ,  ) ในกรณี , m
ต่ำงๆกัน

1 1
Y00 ( ,  ) 
2 
1 3 1 3
Y10 ( ,  )  cos  Y11 ( ,  )   sin  ei
2  2 2

Y20 ( ,  ) 
1 5
4 

3cos 2   1  Y21 ( ,  )  
1
2
15
2
sin  cos  e i

1 15
Y22 ( ,  )  sin 2  e 2i
4 2

Y30 ( ,  ) 
1 7
4 

cos  5cos 2   3  Y31 ( ,  )  
1 21
8 
 
sin  5cos 2   1 e i

1 105
Y32 ( ,  )  sin 2  cos  e2i
4 2
1 35
Y33 ( ,  )   sin 3  e 3i
8 
ตำรำงแสดง Associated Legendre Polynomial (Credit: Weisstein, Eric W. "Spherical
Harmonics." From MathWorld--A Wolfram Web Resource)

ตำรำงข้ำงต้นแสดงเฉพำะในส่วนที่ m  0 สำหรับกรณีที่ m  0 เรำสำมำรถใช้เอกลักษณ์ทำง


คณิตศำสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ Complex Conjugate ของ Y m ( , ) กล่ำวคือ
บทที่ 8 Central Potential 8-47


Y  m ( ,  )   1 Y m ( ,  ) 
m
 

Spherical Harmonics
2
Y m ( ,  )

 0, m  0
z 2
)

m (θ
Y l

y
 1, m  0  1, m  1
x

 2, m  0  2, m  1  2, m  2
ภำพ (8.9) แสดงรูปร่ำงของ Spherical Harmonics ยกกำลังสอง ในกรณีต่ำงๆกัน

แบบฝึกหัด 8.8 จงแสดงให้เห็นว่ำ


2 

  d d sin  Y     

m
( ,  ) cos  Y m ( ,  )   , 1   , 1  m,m
0 0

และ m เป็นจานวนเต็ม
เมื่อกล่ำวถึง Angular Momentum โดยทั่วไปนั้น เรำใช้สัญลักษณ์ J  L  S ซึ่งรวมเอำ
Angular Momentum ทั้งสองชนิดได้ด้วยกัน กล่ำวคือ 1) Orbital Angular Momentum และ 2)
Spin Angular Momentum

นอกจำกนี้ ในบทที่ 3 เรำได้พิสูจน์แล้วว่ำ เมื่อพิจำรณำขนำดของ Angular Momentum และ


องค์ประกอบตำมแนวแกน z ของ Angular Momentum

Jˆ 2 j, m  j ( j  1) 2
j, m และ Jˆ z j, m  m j, m

 1 3 
โดยที่ j มีค่ำได้อยู่ในช่วง 0, ,1, , 2,  คือเป็นได้ทั้งจำนวนเต็ม และครึ่งหนึ่งของจำนวนเต็ม
 2 2 
บทที่ 8 Central Potential 8-48

แต่เมื่อเรำเริ่มศึกษำเกีย่ วกับ Eigenstate ของ Orbital Angular Momentum Operator

Lˆ2 , m  (  1) 2
,m และ Lˆz l , m  m l , m

เรำได้สมมุติว่ำ มีค่ำได้แค่เพียงจำนวนเต็ม 0,1, 2,3,  ซึ่งแตกต่ำงจำกกรณีของ j ที่เป็นได้ทั้ง


จำนวนเต็ม หรือ ครึ่งหนึ่ง ของจำนวนเต็มก็ได้ และในหัวข้อนี้ เรำจะได้อภิปรำยถึงสำเหตุที่ และ
m จะต้องเป็นเลขจำนวนเต็มเพียงเท่ำนั้น

ถ้ำพิจำรณำ Eigenstate ของ Lˆz ในพิกัดทรงกลม ซึ่งก็คือ

( )  eim

โดยที่ตัวแปร  แสดงถึงมุมกวำดตำมแนวรำบในพิกัดทรงกลม และสมมุติว่ำ แต่เดิมอนุภำคตั้งอยู่


ณ ตำแหน่งที่มีมมุ   0 จำกนั้นทำกำรหมุนอนุภำคดังกล่ำวให้ครบ 1 รอบพอดี กล่ำวคือ
กำหนดให้   0  2 เนื่องจำกเรำกำลังพิจำรณำพิกัดทรงกลมใน 3 มิติ อนุภำคจะต้องมำอยู่
ณ จุดเดิม ก่อนที่จะมีกำรหมุน หรืออีกนัยหนึ่ง

(0 )  (0  2 )
eim0  e  0
im   2 

สมกำรข้ำงต้นจะเป็นจริงได้ในทุกๆกรณี ก็ต่อเมื่อ ei 2m  1 ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ถ้ำ

m เป็นจำนวนเต็ม

และเนื่องจำก m   ,    1 , ,    1 ,   กำรที่ m เป็นจำนวนเต็ม ก็ย่อมหมำยควำม


ว่ำ

เป็นจำนวนเต็ม

ด้วยเช่นกัน กล่ำวโดยสรุปก็คือ โดยอำศัยตรรกะที่เกีย่ วข้องกับ Symmetry ของระบบพิกัดใน 3


มิติ ซึ่งก็คือ Eigenstate ของ Lˆz จะต้องไม่มีกำรเปลี่ยนแปลง เนื่องจำกกำรหมุนเป็นมุม 2 รอบ
แกน z เรำสำมำรถบอกได้ว่ำ และ m จะต้องเป็นจำนวนเต็มเสมอ
บทที่ 8 Central Potential 8-49

รูปแบบที่สมบูรณ์ของ  E  r, ,  ในพิกัดทรงกลม


มำถึงขึ้นนี้ เรำมีข้อมูลที่ครบถ้วนทีจ่ ะสร้ำง Probability Amplitude หรือ ที่เรียกว่ำ Wave Function
ของอนุภำคในพิกัดทรงกลม และเป็นกำรดีที่เรำจะได้สรุปขั้นตอนโดยทั่วไปของกำรนำกลศำสตร์
ควอนตัมมำวิเครำะห์ระบบทีเ่ ป็น Central Potential

General Steps for Solving Central Potential Problem

โจทยกาหนด Central Potential V (r )

ก มการ Radial Equation


 2   2 2     1 2 
     V (r )  Rn, (r )  En, Rn, (r )
2m  r 2 r r  2mr 2
 
 Rn, (r )
ดผลลัพ 
 En,

รา Wave Function ที มบรณ


 n, , m ( r ,  ,  )  Rn, (r )Y m ( ,  )

ภำพ (8.10) แสดงขั้นตอนโดยทัว่ ไปของกำรวิเครำะห์ระบบแบบ Central Potential

ดังแสดงในภำพ (8.10) กลไกโดยทั่วไปในกำรวิเครำะห์ระบบแบบ Central Potential แบ่งออกเป็น


3 ขั้นตอนด้วยกันคือ

1) อำศัยกฎเกณฑ์ทำงฟิสิกส์เป็นตัวกำหนด Central Potential V (r ) ของระบบที่เรำต้องกำรศึกษำ


0 ra
ยกตัวอย่ำงเช่นโมเดลอย่ำงง่ำยของนิวคลีออนภำยในนิวเคลียส V (r )   หรืออีก
 r  a
e2 1
ตัวอย่ำงหนึ่งก็คือ อิเล็กตรอนของอะตอมไฮโดรเจน V (r )   เป็นต้น
4 0 r

2) ทำกำรแก้สมกำร


2  2
 2     1 2 

  2    V (r )  Rn, (r )  En, Rn, (r )
 2m  r r r  2mr 2 
 
ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับควำมซับซ้อนของ V (r ) ว่ำเรำสำมำรถที่จะหำผลเฉลยให้อยูใ่ นรูปของกำรวิเครำะห์เชิง
แคลคูลสั ได้หรือไม่ ถ้ำหำกไม่ได้ กำรใช้คอมพิวเตอร์ในกำรประมำณคำตอบของสมกำรก็เป็น
ทำงเลือกหนึ่ง ที่สำมำรถทำได้โดยไม่ยำกนัก
บทที่ 8 Central Potential 8-50

ผลลัพธ์ที่ได้จำกกำรแก้สมกำรก็คอื i) ระดับพลังงำน En, ของระบบ ซึ่งกำรใช้ดัชนี n, ในกำร


กำกับพลังงำนดังกล่ำว ก็เพื่อที่จะบ่งชี้ให้ชัดเจนว่ำ ระดับพลังงำนที่ได้นั้น ขึ้นอยู่กับ Orbital
Angular Momentum และในแต่ค่ำของ ก็จะมีระดับพลังงำนได้มำกกว่ำหนึ่งอัน ซึ่งกำกับ
ด้วยดัชนี n นั่นเอง

และ ii) Radial Wave Function Rn, (r ) ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่แสดงถึงกำรกระจำยตัวในแนวรัศมีของ


Probability Amplitude ทั้งนี้ ดัชนี n, เป็นสิ่งที่บ่งชี้ให้เห็นว่ำ ระบบที่มี Orbital Angular
Momentum และระดับพลังงำน n ที่แตกต่ำงกัน ก็จะมีกำรกระจำยตัวในแนวรัศมีที่แตกต่ำง
กันด้วยเช่นกัน

3) สร้ำง Probability Amplitude ใน 3 มิติที่สมบูรณ์ของระบบ โดยที่

r E, , m  Rn, (r )Y m ( ,  ) __________________ สมกำร (8.89)

เมื่อ Y ,m ( ,  ) ก็คือ Spherical Harmonics Function ดังที่แสดงในตำรำงข้ำงต้น

หัวข้อ 8.8 Application - Coulomb Potential


ตั้งแต่ปี 1913 นักวิทยำศำสตร์ได้ทำกำรศึกษำกำรแผ่รังสีของอะตอมไฮโดรเจน หรือที่เรียกว่ำ
Emission Spectrum อย่ำงละเอียดและพบว่ำแสงที่เปล่งออกมำนั้น มีควำมยำวคลื่น  แตกต่ำงกัน
ออกไป ยกตัวอย่ำงเช่น ในช่วงแสงสีแดง ณ ควำมยำวคลื่น   410.2 nm หรือในช่วงแสงสีน้ำ
เงิน ณ ควำมยำวคลื่น   486.1nm เป็นต้น

ก่อนหน้ำนั้นถึง 30 ปี โดยอำศัยกำรลองผิดลองถูก ในปี 1885 อำจำรย์ชำว Swiss ชื่อ Johann


Balmer ได้ค้นพบสูตรทำงคณิตศำสตร์ทสี่ ำมำรถทำนำยควำมยำวคลื่นของแสง ที่แผ่ออกมำจำก
อะตอมไฮโดรเจนได้ตรงกับผลของกำรทดลอง (เป็นบำงส่วน) ซึ่งมีสมกำรว่ำ

1  1 1 
 R 2  2  ______________ สมกำร (8.90)
 2 n 

และควำมยำวคลื่นแสงที่สอดคล้องกับสมกำรข้ำงต้นนั้น เรียกว่ำ Balmer Series เมื่อ R คือ


ค่ำคงที่ซึ่งเท่ำกับ 1.097 107 m1 อย่ำงไรก็ตำม ควำมเข้ำใจที่ถ่องแท้เกี่ยวกับที่มำของสมกำร
บทที่ 8 Central Potential 8-51

ดังกล่ำว ตลอดจนข้อมูลเชิงทฤษฏีในแง่อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับอะตอม ยังจำเป็นจะต้องรอจนกว่ำจะมี


กำรถือกำเนิดของกลศำสตร์ควอนตัมในปี 1926

และในหัวข้อนี้ เรำจะได้ศึกษำถึงระดับพลังงำนของอะตอมไฮโดรเจนในมุมมองของกลศำสตร์
ควอนตัม ซึ่งจะเป็นพื้นฐำนที่สำคัญในกำรทำควำมเข้ำใจกับธรรมชำติของอะตอม ที่ประกอบกันขึ้น
เป็นสรรพสิ่งรอบๆตัวเรำ

Bound State Solution ณ Asymptotic Limit


เมื่อพิจำรณำกำรเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ที่อยู่ภำยใต้อิทธิพลของแรงคูลอมบ์ระหว่ำงนิวเคลียส ซึ่งมี
ประจุเท่ำกับ Ze จะพบว่ำพลังงำนศักย์ก็คือ

e2 Z
V (r )  
4 0 r

และในกำรคำนวณ Probability Amplitude ของระบบ เรำเริม่ ด้วย Radial Equation



2  2
 2     1 2
e2 Z  
________ สมกำร (8.91)
  2     R( r )  E R(r )
 2m  r r r  2mr 2 4 0 r 
 

เพื่อที่จะทรำบสมบัติอย่ำงคร่ำวๆของผลเฉลย R(r ) เรำมำลองวิเครำะห์ผลเฉลยดังกล่ำวใน


สถำนกำรณ์สดุ โต่ง หรือ Asymptotic Limit สองสถำนกำรณ์ด้วยกันคือ

1) ที่รัศมีห่ำงจำกนิวเคลียสอยูม่ ำกพอสมควร หรือ r 1 และ


2) ที่บริเวณใกล้กับจุดกำเนิด หรือ r 1

1) ในกรณีที่ r จะมีอยู่ 3 เทอมที่ปรำกฏอยู่ทำงซ้ำยมือของสมกำรข้ำงต้น ที่มีค่ำน้อยมำก


1

โดยประมำณแล้ว เรำสำมำรถตัดออกจำกสมกำรได้ ซึ่งเทอมเหล่ำนี้ก็คือ 2 ,   , และ


1 2
r 2mr 2
e2 Z
เพรำะฉะนั้นแล้ว สมกำร (8.91) ลดรูปเหลือ
4 0 r

2 2mE
R(r )  R(r )  0
r 2 2

ในทำงคณิตศำสตร์แล้ว สมกำรข้ำงต้นมีผลเฉลยอยู่สองประเภท ขึ้นอยู่กับค่ำของระดับพลังงำน E


กล่ำวคือ
บทที่ 8 Central Potential 8-52

 2m E 
ถ้ำ E0 R(r ) exp  i r ________ สมกำร (8.92)
 2 
 
 2m E 
ถ้ำ E0 R(r ) exp   r ________ สมกำร (8.93)
 2 
 

ทั้งนี้ เมื่อเรำกำลังพิจำรณำ Bound State Solution ซึ่งหมำยถึงกำรกำหนดให้อิเล็กตรอนอยู่


ภำยในบริเวณใกล้เคียงกับนิวเคลียส หรืออีกนัยหนึ่ง

Bound State Solution lim R(r )  0


r 

นั่นก็คือ ควำมน่ำจะเป็นที่จะพบอนุภำค ณ ตำแหน่งไกลออกไปจำกนิวเคลียส จะต้องมีคำ่ เป็นศูนย์


แต่จำกสมกำร (8.92) และ (8.93) เงื่อนไของ Bound State จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ระดับพลังงำน
 2m E 
E0 และ R(r ) exp   r ดังนั้นสรุปได้ว่ำ
 2 
 

ในกรณี Bound State ของอะตอมไฮโดรเจน E0


 2m E 
และเมื่อ r 1 จะทำให้ R(r ) exp   r
 2 
 
__________________ สมกำร (8.94)

ดังแสดงในสมกำรข้ำงต้น จะพบว่ำในสถำนะ Bound State นั้น พลังงำนของอะตอมไฮโดรเจน


จะต้องมีค่ำเป็นลบ และในบริเวณที่อยู่ห่ำงออกไปจำกนิวเคลียส ควำมน่ำจะเป็นที่จะพบ
อิเล็กตรอนมีค่ำลดลงเรื่อยๆ แบบ Exponential Decay นั่นเอง

2) ในกรณีที่ r 1 เรำลองเดำผลเฉลยของ R(r ) ในกรณีดังกล่ำวนี้ โดยสมมุติให้อยู่ในรูป


R(r )  r s ซึ่งเมื่อแทนเข้ำไปในสมกำร (8.91) จะได้

  1 2
 
2
e2
 s ( s  1)r s  2  2sr s  2  r s 2  Zr s 1  Er s
2m 2m 4 0

เมื่อคูณทั้งสองข้ำงของสมกำรด้วย r s2 ทำให้


บทที่ 8 Central Potential 8-53

2
  1 2
e2

2m
 s(s  1)  2s   2m

4 0
Zr  Er 2

e2
ในกรณีที่ r 0 เรำสำมำรถที่จะตัดเทอม Zr และ Er 2 ทิ้งไปได้ เพรำะฉะนั้น
4 0

 s( s  1)  2s    1  0
 s    s    1   0

หรือ s   และ s  (  1) ในที่นี้เรำเลือกเฉพำะผลเฉลยที่ R(r ) r เท่ำนั้น เพรำะว่ำ


ผลเฉลย R(r ) r ( 1) นั้นมีค่ำลู่เข้ำสู่อนันต์ ณ จุดกำเนิด เพรำะฉะนั้น

ในกรณี Bound State ของอะตอมไฮโดรเจน


เมื่อ r 1 จะทำให้ R(r ) r
__________________ สมกำร (8.95)

ข้อมูลที่เรำวิเครำะห์ได้ มำจนถึงบัดนี้ก็คือลักษณะทำงคณิตศำสตร์แบบหยำบของฟังก์ชัน R(r ) ใน


2 กรณีด้วยกันคือ

  2m E 

 exp  r  if r 1
R(r )   2 
 


 r if r 1

จะเป็นพื้นฐำนที่สำคัญในกำรช่วยแนะแนวทำงให้เรำสำมำรถเขียนผลเฉลย R(r ) ณ ตำแหน่ง r ใดๆ


ได้สำเร็จ

ระดับพลังงานของ Bound State


2
จะสังเกตว่ำสมกำร (8.91) ยังประกอบด้วยค่ำคงที่จำนวนหนึ่ง อำทิเช่น หรือแม้กระทั่ง
2m
พลังงำน E ซึ่งก็ถือว่ำเป็นค่ำคงที่ของระบบอีกอันหนึ่ง ถ้ำเรำนิยำมตัวแปรของระยะทำง

8m E
 2
r __________________ สมกำร (8.96)

จำกนั้นเขียนสมกำร (8.91) ให้อยู่ในรูปของ  จะได้ว่ำ


บทที่ 8 Central Potential 8-54

 2 2     1  1
 2   R  R     R  0 _________ สมกำร (8.97)
      2
  4

Ze2 m
โดยที่  และเมื่อพิจำรณำ Asymptotic Limit ดังในสมกำร (8.94) และ
4 0 2 2
E
สมกำร (8.95) จะพบว่ำ

 
e
2
if  1
R(  ) 
 
 if  1

เทคนิคในทำงฟิสิกส์ที่พบบ่อย เพือ่ ที่จะหำผลเฉลยของสมกำร (8.97) นั้น ทำได้โดยกำรเขียน R(  )


ให้อยู่ในรูปผลคูณของ Asymptotic Limit ทั้งสอง และคูณอยู่กับฟังก์ชันทั่วไปอันหนึ่ง กล่ำวคือ
กำหนดให้

R (  )   e   2 L(  ) _________________ สมกำร (8.98)

สมกำรข้ำงต้นมิได้มีกำรประมำณเข้ำมำเกี่ยวข้องแต่อย่ำงใด ถึงแม้เรำจะจำกัดรูปแบบทำง
คณิตศำสตร์ให้อยู่ในรูปของ  e  2 แต่ฟังก์ชัน L(  ) ก็ยังสำมำรถที่จะเป็นอะไรก็ได้ และ
เพื่อที่จะหำว่ำ L(  ) มีรูปแบบเช่นใด แทน R(  ) ดังในสมกำร (8.98) เข้ำไปในสมกำร (8.97) ทำ
ให้

2  22        1 
L(  )    1 L(  )  
  L(  )  0 _________ สมกำร (8.99)
     
2
 

ก่อนที่จะทำกำรวิเครำะห์เพื่อหำผลเฉลยทำงคณิตศำสตร์ของ L(  ) เรำจะทำกำรพิสูจน์ให้เห็นว่ำ
กำรที่ผลเฉลยจะอยูล่ ักษณะที่เป็น Bound State นั้น  จะต้องเป็นจำนวนเต็มเสมอ

พิจำรณำฟังก์ชัน L(  ) ที่อยู่ในรูปพหุนำม


L(  )   ck  k
k 0

และเมื่อแทนซัมเมชั่นดังกล่ำว เข้ำไปในสมกำร (8.99) จะพบว่ำ


บทที่ 8 Central Potential 8-55

   
 k (k  1)ck  k 2  2   1  kck  k 2   kck  k 1      1  ck  k 1  0
k 2 k 1 k 1 k 0

ถ้ำสังเกตให้ดีจะเห็นว่ำซัมเมชั่นอันแรก สำมำรถเลื่อนกำรนับเลขดัชนี มำเป็นเริ่มต้นที่ k  0 ได้


เพรำะเทอม k  k  1 ที่กำลังคูณอยู่ จะทำให้กลำยเป็นศูนย์อยู่ดี และใช้แนวคิดเดียวกัน เลื่อนกำร
นับดัชนีของซัมเมชั่นอันที่ 3 ให้มำเริ่มต้นที่ k  0 จำกนั้นจัดกลุม่ ตำมลักษณะของ  k 2 และ  k 1
จึงได้

 
 kck (k  1)  2(  1)   k  2   ck     1  k    k 1  0
k 0 k 0

เพื่อปรับซัมเมชั่นอันแรก ให้กลำยเป็น  k 1 (โดยหวังจะยุบรวมทั้งสองซัมเมชั่นเข้ำด้วยกันในอนำคต)


เรำนิยำมเลขดัชนีตัวใหม่ k   k  1 หรือ k  k   1 แล้วแทนเข้ำในซัมเมชั่นแรก กลำยเป็น

 
 (k   1)ck 1  k   2(  1)  k 1   ck     1  k    k 1  0
k 1 k 0

ในซัมเมชั่นแรก ดัชนี k  สำมำรถเลือ่ นมำนับเริ่มที่ k   0 ได้ นอกจำกนี้ เรำจะตั้งชื่อดัชนีว่ำ k 


หรือ k  หรือ k  ก็ไม่มีนยั ะสำคัญอะไรในทำงคณิตศำสตร์ ดังนั้นเรียกมันว่ำ k ก็ได้ ฉะนั้นแล้ว
 
 (k  1)(k  2  2)ck 1 k 1   ck     1  k   k 1  0
k 0 k 0

 (k  1)(k  2 
 2)  ck 1      1  k   ck  k 1  0
k 0

เนื่องจำกสมบัตคิ วำมเป็น Orthogonal ของพหุนำม  k 1 สมกำรจะเป็นจริงได้ในทุกกรณี ก็


ต่อเมื่อเทอมภำยในวงเล็บปีกกำต้องมีค่ำเท่ำกับศูนย์ หรือ

(k  1)(k  2  2) ck 1      1  k  ck  0

ทำให้

 1 k   
ck 1  ck _________________ สมกำร (8.100)
(k  1)(k  2  2)
บทที่ 8 Central Potential 8-56

สมกำรข้ำงต้น เป็นกลไกที่สำมำรถใช้ในกำรคำนวณหำเซตของสัมประสิทธิ์ ck  ยกตัวอย่ำงเช่น


เรำอำจจะกำหนดให้  0 และ c0  1 ซึ่งจะได้ว่ำ
c0  1
0  1  0   1 
c1  c0 
(0  1)(0  2  0  2) 2
 0  1  1   2   1 
c2  c1  
(1  1)(1  2  0  2) 6 2
c3 
เช่นนี้เป็นต้น

ck 1 1
อย่ำงไรก็ตำม ถ้ำสัมประสิทธิ์มคี ่ำ ck  0 เช่นนี้เรื่อยไป สุดท้ำยแล้วจะทำให้ lim 
k  ck k

ซึ่งก็หมำยถึง L(  )   ck  k จะมีค่ำเข้ำสู่อนันต์ ณ บริเวณที่อยู่ไกลจำกนิวเคลียส (    )
k 0
และทำให้ขัดกับข้อกำหนดของ Bound State ที่เรำตั้งใจไว้ตั้งแต่แรก

วิธีกำรที่จะหลีกเลีย่ งไม่ให้เกิดสถำนกำรณ์ทไี่ ม่พึงประสงค์ดังกล่ำว ก็คือกำรกำหนดให้  มีค่ำ


เท่ำกับจำนวนเต็มบวกค่ำหนึ่ง กล่ำวคือ

กำหนดให้  n เมื่อ n  1, 2, 3,

และในสถำนกำรณ์เช่นนี้ เมื่อ k  n  1 จะทำให้ ck 1  0 , ck  2  0 , และ ck 3  0


( n  1)
อย่ำงนี้เรื่อยไป ส่งผลให้ L(  )   ck  k เป็นพหุนำมที่มี Order สูงสุดเพียงแค่ Order
k 0

(n   1) และจะไม่ลู่เข้ำสู่อนันต์ เป็นไปตำมที่เรำต้องกำร

Ze2 m
จำกคำนิยำมของ  จะได้ว่ำ ระดับพลังงำนของระบบก็คือ
4 0 2 2
E

2
 Ze 2   m  1
En   
 4 0    2   2 เมื่อ n  1, 2, 3, ____________ สมกำร (8.101)
  2  n

นอกจำกนี้จะพบว่ำ มีค่ำของ ที่เป็นไปได้อยู่จำนวนหนึ่ง ที่ทำให้ระดับพลังงำนเท่ำกัน ซึ่งก็คือ

 0,1, , (n  1) _________________ สมกำร (8.102)


บทที่ 8 Central Potential 8-57

En ร ดับพลั าน อ อ ตอม โดรเจน


r

E3 nf hv  Ef  Ei

E2 ni โ ตอน
อิเล็กตรอนกร โดดล มาทีร ดับ
E1 พลั านตากว่ า ล เปล่ ออกมา

V (r )

2
 Ze 2   m 
ในกรณีของอะตอมไฮโดรเจนนั้น     2   13.6 eV และเพื่อเปรียบเทียบกับผลกำร
 4 0  2 
ทำนำยที่เรียกว่ำ Balmer Series ดังที่ได้เกริ่นไว้ข้ำงต้นในสมกำร (8.90) เรำมองว่ำแสงที่เปล่ง
ออกมำจำกอะตอมนั้น เกิดขึ้นจำกกำรที่อิเล็กตรอนมีกำรกระโดดจำกระดับพลังงำนในชั้น n f ที่สูง
กว่ำ มำยังระดับพลังงำน ni ที่ต่ำกว่ำ ส่งผลให้เปล่งแสงที่มีพลังงำนเท่ำกับ E  E f  Ei
หรืออีกนัยหนึ่ง

  m   1 1   Ze 2   m  1 1 
2 2
 Ze 2
hv   
 4 0    2    2  2       2    2  2 
   2   n f ni   4 0   2   ni n f 

และเมื่ออำศัยควำมสัมพันธ์ระหว่ำงควำมยำวคลื่นของแสง และควำมถี่ของมัน c  v ทำให้

 1 1 
2
1 1  Ze2   m
    2     
 hc  4 0  2   ni2 n 2f 
Rydberg constant

จำกกำรคำนวณ เรำจะพบว่ำ Rydberg Constant นั้นมีค่ำเท่ำกับ 1.097 107 m1 และ Balmer
Series นั้นเป็นเพียงกรณีที่มีกำรกระโดดจำกระดับพลังงำน n f ใดๆ มำสู่ระดับพลังงำนชั้นที่ ni  2
บทที่ 8 Central Potential 8-58

Radial Wave Function


มำถึงขั้นนี้เรำก็มีควำมพร้อมที่จะคำนวณหำ Radial Wave Function R(  ) ก่อนอื่น เพื่อควำม
2
8m E  Ze 2   m  1
สะดวก เรำจะเขียนคำนิยำมของ  r เสียใหม่ โดยแทน E 
 4 0    2  2
 2  n
2

จะได้

e2 m 2Z
   r
4 0 2 n
1 a0

4 0 2
ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ค่ำคงที่ a0   0.529 A มีชื่อเรียกว่ำ Bohr Radius ซึ่งเป็นหน่วยใน
e2 m
กำรวัดระยะทำงในระดับอะตอม เพรำะฉะนั้นแล้ว จึงเป็นกำรเหมำะสมเรำจะเขียน

2Z r
  ______________________ สมกำร (8.103)
n a0

นอกจำกนี้จะสังเกตว่ำสมกำร (8.99) นั้น มีควำมคล้ำยคลึงกับสมกำรทำงคณิตศำสตร์ที่ชื่อ


Associated Laguerre Equation ที่ว่ำ

2  k 1   s
L( x )    1  L( x )    L( x )  0 _________ สมกำร (8.104)
x 2
 x  x x

เมื่อ k และ s เป็นจำนวนเต็ม และ Edmond Laguerre (1834-1886) ได้ทำกำรศึกษำผลเฉลย


ของสมกำรดังกล่ำว ซึ่งมีชื่อว่ำ Associated Laguerre function ที่มักจะเขียนโดยใช้สัญลักษณ์

xk e x d s  x sk
L(sk ) ( x) 
s ! dx s
e x   ______________ สมกำร (8.105)
ยกตัวอย่ำงเช่น

L(0k ) ( x)  1
L(1k ) ( x)   x  k  1
1 2
L(2k ) ( x)  x  2  k  2  x   k  1 k  2  
2 
1
L(3k ) ( x)    x3  3  k  3 x 2  3  k  2  k  3 x   k  1 k  2  k  3 
6 
บทที่ 8 Central Potential 8-59

ซึ่งมีเอกลักษณ์ทำงคณิตศำสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกำรอินทิเกรตดังต่อไปนี้

 x k (k )  s  k !
 dx e x L s ( x)L(sk ) ( x)   s, s ______________ สมกำร (8.106)
0
s!
และ
 2  s  k !
 dx e
 x k 1  ( k )
x L ( x) 
 s 
  2s  k  1 ______________ สมกำร (8.107)
0
s!
นอกจำกนี้
L(sk ) ( x)  L(sk 1) ( x)  L(sk11) ( x) ______________ สมกำร (8.108)

เมื่อเปรียบเทียบ Associated Laguerre Equation (8.104) กับสมกำร (8.99) เรำสำมำรถเขียนผล


เฉลยของ Radial Equation ได้วำ่

Rn, (  )  N  e  2L(2 1)


n  1 (  )


2
ซึ่ง N ก็คือ Normalization Constant ที่จะทำให้  dr r 2  Rn, (r )   1 หรือในรูปของ 
0

3
 na    e  2 L(2 1) (  )   1
2
N2  0   d 
2
 2Z   n  1 
0

และจำกเอกลักษณ์ทำงคณิตศำสตร์ของ Associated Laguerre functionsในสมกำร (8.107) จะ



2n  n   !
ดังนั้น N   2Z  
n   1!
32
2
พบว่ำ  d   2   e  2L(2n 1)1 (  ) 
0
 n   1!  na0  2n  n   !
และในท้ำยที่สดุ

 n   1! l   2 (2 1)
32
 2Z  2Z r
Rn, (r )    e Ln  1 (  ) เมื่อ   
 na0  2n  n   ! n a0
____________________ สมกำร (8.109)
ยกตัวอย่ำงเช่น
32
Z 
R1,0 (r )  2   e Zr a0

 a0 
บทที่ 8 Central Potential 8-60

32
 Z   Zr   Zr
R2,0 (r )  2   1  e
2a0

 2a0   2a0 
32
1  Z  Zr  Zr
R2,1 (r )    e 2a0
3  2a0  a0

32 
1  2Zr   
2
 Z  2 Zr
R3,0 (r )  2    e Zr 3a0
 3a0   3a0 27a02 
 
32
4 2 Z  Zr  Zr   Zr 3a0
R3,1 (r )    1  e
9  3a0  a0  6a0 
32 2
2 2  Z   Zr   Zr 3a0
R3,2 (r )      e
27 5  3a0   a0 

Radial Probability Amplitude Rn, (r ) อ โดรเจน


2 0.8 0.3
1.5 R1,0 (r ) 0.6 R2,0 R3,0
0.2
0.4
R3,1
1
0.2 R2,1 0.1 R3,2
0.5
r a0 0 5 10 15 20 0 5 10 15 20
 0.2  0.1
0 5 10 15 20

Complete Wave Function ของไฮโดรเจน


สิ่งที่ได้วิเครำะห์มำด้วยควำมลำบำกพอสมควร ก็คือ Rn, (r ) , Y m ( , ) , และ En ของอะตอม
ไฮโดรเจน ทำให้เรำทรำบข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับมัน นั่นก็คือ Probability Amplitude (หรือ Wave
Function) ของอิเล็กตรอนภำยในอะตอมนั่นเอง

กำหนดให้ n, , m แทนสถำนะ Eigenstate ของไฮโดรเจน จะได้ว่ำ

r , ,  n, , m   n, ,m  r, ,   Rn, (r )Y m ( ,  ) ______________ สมกำร (8.110)

 n   1!
32
 2Z  2Z r
โดยที่ Rn, (r )     e  2 L(2 1)
n  1 (  ) เมื่อ  
 na0  2n  n   ! n a0
บทที่ 8 Central Potential 8-61

2  1   m ! m
Y m ( ,  )   P (cos  )eim
4   m !

2
การกร จายตัว อ Probability Density Rn, (r )Y m ( ,  ) นร นาบ x-z
n 1 z n3

x
 0, m  0
 0, m  0
n2

 0, m  0  1, m  0  1, m  1

 1, m  0  1, m  1  2, m  0  2, m  1  2, m  2
2
ภำพ (8.11) แสดงกำรกระจำยตัวของ Probability Density หรือ Rn, (r )Y m ( ,  ) ของ
อะตอมไฮโดรเจนในระนำบ x-z บริเวณที่ภำพมีควำมเข้มสูงหมำยถึงมีควำมน่ำจะเป็นที่จะพบ
อิเล็กตรอน ณ ตำแหน่งดังกล่ำวสูง ในขณะที่พื้นหลังของภำพ สีขำว หมำยถึงบริเวณที่ไม่มี
อิเล็กตรอนปรำกฏอยู่

และสมบัติอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ Operator อำทิเช่น


2
 Ze 2   m  1
Hˆ n, , m  En n, , m ซึ่ง En   
 4 0    2  2
  2  n
Lˆ2 n, , m    1 2
n, , m  0,1, , (n  1)
Lˆz n, , m  m n, , m m   ,    1 , ,    1 ,  

ดังแสดงในภำพ (8.11) ที่เรียกได้วำ่ เป็นกำรกระจำยตัวของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอน ในกรณีที่มันมีระดับ


พลังงำน และ สมบัติเชิง Orbital Angular Momentum ต่ำงๆกัน ซึ่งมีข้อสังเกตอยู่หลำยประกำร
ดังต่อไปนี้
บทที่ 8 Central Potential 8-62

1) เฉพำะในกรณีที่ Orbital Angular Momentum 0 เพียงเท่ำนั้น ที่อิเล็กตรอนมีโอกำสที่จะอยู่


ณ ตำแหน่งของนิวเคลียสพอดี

2) ในระดับพลังงำนสูงขึ้น หรือ n มำกขึ้นนั้น อิเล็กตรอนมีโอกำสที่จะอยู่ห่ำงไกลจำกนิวเคลียส


มำกขึ้น ซึ่งจะสังเกตได้จำกภำพว่ำ อะตอมมีขนำดใหญ่ขึ้น ในทำงคณิตศำสตร์ เรำสำมำรถ
คำนวณรัศมีโดยเฉลี่ยของของอิเล็กตรอนได้ว่ำ

a0  2
r  n, , m r n, , m  3n  (  1)  _____________ สมกำร (8.111)
2Z  

แบบฝึกหัด 8.9 จงพิสูจน์สมกำร (8.111)

นอกจำกนี้ ยังมีสมบัติทำงคณิตศำสตร์อีกจำนวนหนึ่งที่จะเป็นประโยชน์มำกในกำรคำนวณค่ำเฉลี่ยของ
ปริมำณทำงฟิสิกส์ในลำดับต่อไป อำทิเช่น
2
a n
r 2
 n, , m r n, , m  2  0  5n 2  1  3 (  1) 
2
_______ สมกำร (8.112)
 2Z   
1 1 Z
 n, , m n, , m  2 _______ สมกำร (8.113)
r r n a0
1 1 2Z 2
 n, , m n, , m  _______ สมกำร (8.114)
r2 r2 n3a02  2  1
1 1 2Z 3
 n, , m n, , m  _______ สมกำร (8.115)
r3 r3 n3a03   1 2  1

แบบฝึกหัด 8.10 จงคำนวณพลังงำนจลน์โดยเฉลี่ยของอิเล็กตรอนในอะตอมไฮโดรเจน ถ้ำระบบอยู่


ในสถำนะ Eigenstate n, , m และแสดงให้เห็นว่ำ
pˆ 2
 En ___________________ สมกำร (8.116)
2m

เมื่อเปรียบเทียบกับอะตอมอื่นๆทีม่ ีอยู่ในธรรมชำติ ไฮโดรเจนถือเป็นโมเดลพื้นฐำนและไม่ซับซ้อน


จนเกินไป ที่จะเปิดโอกำสให้เรำใช้ผลกำรวิเครำะห์ทำงคณิตศำสตร์ได้อย่ำงแม่นยำ อย่ำงไรก็ตำม
เรื่องรำวเกี่ยวกับอะตอมไฮโดรเจน ยังมิได้จบลงแต่เพียงระดับพลังงำนและรูปร่ำงของกลุ่มหมอก
อิเล็กตรอนที่ปรำกฏเท่ำนั้น

ยังมีอันตรกริยำอื่นๆ อีกที่เรำยังไม่ได้กล่ำวถึง อำทิเช่น อันตรกริยำที่เกี่ยวข้องกับ Spin ของโปรตอน


และอิเล็กตรอนภำยในอะตอม, อันตรกริยำระหว่ำงอิเล็กตรอนกับ สนำมไฟฟ้ำ หรือ สนำมแม่เหล็ก
บทที่ 8 Central Potential 8-63

ภำยนอกที่ป้อนให้กับระบบ, หรือแม้กระทั้ง ปรำกฏกำรณ์ที่มวลของอิเล็กตรอนมีค่ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย


เมื่อมันเคลื่อนที่ด้วยควำมเร็วสูง (อันเป็นผลจำกทฤษฏีสมั พัทภำพพิเศษของไอน์สไตน์) ซึ่งเรำจะได้
กล่ำวถึงปรำกฏกำรณ์ต่ำงเหล่ำนี้ในอนำคต ภำยหลังจำกทีไ่ ด้ศึกษำเทคนิคทำงกลศำสตร์ควอนตัม ที่
เรียกว่ำ Perturbation Theory ในบทที่ 9

หัวข้อ 8.9 บทสรุป


ประเด็นหลักของเนื้อหำในบทนี้กค็ ืออนุภำคที่เคลื่อนที่อยูภ่ ำยใต้อิทธิพลของ Central Potential

V (r )  V ( r )

ส่งผลให้ Hamiltonian ของระบบอยู่ในรูปของ

pˆ 2
Hˆ   V (r )
2m

ด้วยควำมที่เป็นระบบใน 3 มิติ เรำเขียนสถำนะ  ของอนุภำคให้อยู่ในรูป Superposition ของ


Position Basis State

   d3r (r) r

เมื่อ  (r) คือ Probability Amplitude ของสถำนะ r และด้วยคำนิยำมของฟังก์ชันดังกล่ำว


สำมำรถตีควำมได้ว่ำ
2
 (r ) d3r  ควำมน่ำจะเป็นที่อนุภำคจะมีตำแหน่งอยู่ระหว่ำง
x  x  dx , y  y  dy , และ z  z  dz

Operator ที่มีควำมสำคัญอย่ำงมำกในกำรศึกษำ Central Potential ก็คือ Operator ที่เกี่ยวข้องกับ


Orbital Angular Momentum Lˆz และ L̂2 ซึ่งเขียนให้อยู่ในรูปของ Position และ
Momentum Operator ได้ว่ำ

Lˆz  xp และ Lˆ2  rˆ2 pˆ 2   rˆ  pˆ   i rˆ  pˆ


2
ˆˆ y  yp
ˆˆx

ซึ่ง Operator ทั้งสองนั้น Commute กับ Hamiltonian กล่ำวคือ


บทที่ 8 Central Potential 8-64

 Lˆ z , Hˆ   0   Lˆ2 , Hˆ 
   

ส่งผลให้ เรำสำมำรถกำหนดให้ E, , m เป็นสถำนะ Eigenstate ของระบบ Central Potential


โดยที่

Hˆ E , , m  E E , , m
Lˆ2 E , , m    1 2
E, , m
Lˆ z E , , m  m E , , m

เมื่อ มีค่ำได้อยู่ในช่วง 0,1, 2,3,  และ m   ,    1 , ,    1 ,   ทั้งนี้ นอกจำก


พิกัด Cartesian ที่เรำใช้เป็นตัวกำกับตำแหน่งของอนุภำคแล้ว เรำอำจจะใช้พิกัดทรงกลม  r , ,  
และเขียนสถำนะ  ให้อยู่ในรูปของ Superposition

  2
   d 3 r  (r ) r     drd d r
2
sin  (r , ,  ) r , , 
00 0

ซึ่งฟังก์ชัน  (r , ,  ) ก็คือ Probability Amplitude ในพิกัดทรงกลม และ

 (r, ,  ) r 2 sin  drd d  ควำมน่ำจะเป็นที่จะพบอนุภำคภำยในกล่องขนำด


2

dV  r 2 sin  drd d ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง r   r , ,  

และในระบบพิกัดทรงกลมนี้เอง Operator ที่สำคัญๆสำมำรถเขียนให้อยู่ในรูป


r Lˆ z    (r , ,  )
i 
 1     1  2 
r Lˆ2    sin   2   r ,  ,  
2
  
 sin      sin   2 

รวมไปถึง Operator ที่เกี่ยวข้องกับ Hamiltonian ด้วย ซึ่งก็คือ

2  2
pˆ 2 1 ˆ2    2  
r   r L    (r , ,  )
2m 2mr 2 2m  r 2 r r 
บทที่ 8 Central Potential 8-65

และ

1  2 2  
2
r Hˆ   r Lˆ2      (r , ,  )  V (r ) (r ,  ,  )
2mr 2 2m  r 2 r r 

รูปแบบของ Hamiltonian Operator ในพิกัดทรงกลมดังกล่ำว นำไปสู่กำรเขียน Probability


Amplitude ใน 3 มิติของระบบ ให้อยู่ในรูป

 n, , m (r ,  ,  )  Rn, (r )Y m ( ,  )

เมื่อ  n, ,m (r , ,  ) คือ Eigenstate ของ Hamiltonian ซึ่งจำกสมกำรข้ำงต้น แยกออกเป็นสองส่วน


คือ 1) Radial Part Rn, (r ) และ 2) Angular Part Y m ( , )

ในส่วนของ Radial Part นั้น สำมำรถหำได้จำกกำรแก้สมกำร



2  2
 2     1 2 

  2    V (r )  Rn, (r )  En, R(r )
 2m  r r r  2mr 2 
 

โดยจะได้ผลเฉลยของสมกำรเป็น Rn, (r ) และ Eigen Energy En, ของระบบ จะสังเกตว่ำ


สมกำรดังกล่ำวขึ้นอยู่กับ Orbital Angular Momentum และ V (r ) เพียงเท่ำนั้น และมิได้
เกี่ยวข้องกับ องค์ประกอบตำมแกน z หรือ m แต่อย่ำงใด

ทำให้ในระบบ Central Potential Eigenstate ที่มี Quantum Number จะแยกออกเป็น


(2  1) Fold Degeneracy เป็นอย่ำงน้อย

นอกจำกนี้ เพื่อเป็นตัวอย่ำงของกำรนำสมกำรดังกล่ำวมำประยุกต์ใช้งำน เรำได้ศึกษำระบบของ


นิวเคลียส โดยจำลองว่ำเป็นกำแพงพลังงำนศักย์ทรงกลมที่แข็งมำก จนโปรตอนหรือนิวตรอนที่บรรจุ
อยู่ภำยในนั้น ทะลุออกมำไม่ได้

0 r  a
V (r )  
 r  a

จำกกำรวิเครำะห์ระดับพลังงำนของระบบดังกล่ำวพบว่ำ โมเดลอย่ำงหยำบๆที่เรำใช้นั้น ทำนำย


“Nuclear Magic Number” ว่ำมีค่ำเป็น 2, 8, 18, 20, 34, และ 40 ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลที่
ได้จำกกำรทดลอง ซึ่งก็คือ 2, 8, 20, 28, 50, หรือ 82 ก็ถือได้ว่ำ เป็นจุดเริม่ ต้นที่ดี
บทที่ 8 Central Potential 8-66

ในส่วนของ Angular part Y m ( , ) นั้น ปรำกฏว่ำไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพำะตัวของ Central


Potential V (r ) แต่อย่ำงใด และฟังก์ชันดังกล่ำว สำมำรถคำนวณได้ดว้ ยกำรแก้สมกำร

 1     1 2  m
 2
  sin     Y ( ,  )  (  1) Y ( ,  )
2 m
 sin      sin 2   2 

ซึ่งมีผลเฉลยก็คือ

2  1   m ! m
Y m ( ,  )   P (cos  )eim
4   m !

เมื่อ Pm ( x) คือ Associated Legendre Polynomial นอกจำก Y m ( , ) จะเป็นส่วน Angular


Part ของ Eigenstate ในระบบที่เป็น Central Potential แล้ว ตัวมันเองยังมีสมบัติเป็น
Eigenstate ของ Lˆz และ L̂2 Operator อีกด้วย

ในท้ำยที่สุด เรำได้ใช้เวลำในกำรศึกษำอะตอมไฮโดรเจน เพื่อที่จะได้ทรำบถึงระดับพลังงำน


ตลอดจนกำรกระจำยตัวของ Probability Amplitude ใน 3 มิติของมัน

อะตอมไฮโดรเจนประกอบด้วยอิเล็กตรอนที่อยูภ่ ำยใต้อิทธิพลของแรงคูลอมบ์ ซึ่งมีพลังงำนศักย์อยู่ใน


รูปของ

e2 Z
V (r )  
4 0 r

และจำกกำรแก้ระบบของสมกำรดังที่กล่ำวไว้ข้ำงต้น พบว่ำระดับพลังงำนของมันมีค่ำเป็น
2
 Ze 2   m  1
En   
 4 0    2  2 เมื่อ n  1, 2, 3,
  2  n

ในแต่ละชั้น n ของระดับพลังงำนนั้นๆ ระบบมี Orbital Angular Momentum


 0,1, , (n  1) และถ้ำกำหนดให้ n, , m แทนสถำนะ Eigenstate ของไฮโดรเจน จะได้ว่ำ

r , ,  n, , m   n, ,m  r, ,   Rn, (r )Y m ( ,  )
บทที่ 8 Central Potential 8-67

 n   1!
32
 2Z  2Z r
โดยที่ Rn, (r )     e  2 L(2 1)
n  1 (  ) เมื่อ  
 na0  2n  n   ! n a0

2  1   m ! m
Y m ( ,  )   P (cos  )eim
4   m !

หัวข้อ 8.10 ปัญหาท้ายบท


แบบฝึกหัด 8.11 จงแสดงให้เห็นว่ำ ในกรณี Eigenstate ของไฮโดรเจนนั้น ค่ำเฉลี่ยของพิกัดตำม
แนวแกน z ของอิเล็กตรอนนั้น มีค่ำเท่ำกับ
z  n, l , m zˆ n, l , m  0

แบบฝึกหัด 8.12 พิจำรณำพลังงำนของ Diatomic Molecule ที่อยู่ในรูปพลังงำนจลน์ของกำร


หมุนรอบตัวเอง กล่ำวคือ กำหนดให้ Hamiltonian
Lˆ2
Hˆ 
2I
เมื่อ I คือค่ำคงที่ ซึ่งอำจจะตีควำมได้ว่ำเป็น Moment of Inertia
Center of Mass Moment of Inertia
 mm 
I   1 2  r02
 m1  m2 

m1 m2

r0
a) จงคำนวณระดับพลังงำนและ Eigenstate ของระบบ
b) ในกรณีของ Hydrochloric Acid หรือ HCl พบว่ำสเปกตรัมกำรดูดกลืนแสงเกิดขึ้นที่ ควำมยำว
คลื่น   479, 243, 162, 121, และ 96 ไมครอน จงวิเครำะห์สเปกตรัมดังกล่ำวเพื่อคำนวณหำ
ระยะห่ำงระหว่ำงอะตอมคลอรีนและอะตอมไฮโดรเจนภำยในโมเลกุล
หมำยเหตุ: ข้อมูลจำก D. Bloor et at., Proc. Roy. Soc. A260, 510(1961)

แบบฝึกหัด 8.13 พิจำรณำ Hamiltonian ของระบบที่มีรูปแบบทำงคณิตศำสตร์ดังต่อไปนี้


Lˆ2
Hˆ   0 Lˆz
2I
เมื่อ I และ 0 คือค่ำคงที่
a) จงคำนวณ Eigen Energy และ Eigenstate ของระบบ
b) จงให้ควำมหมำยในทำงฟิสิกส์ของ Hamiltonian ดังกล่ำว โดยเฉพำะอย่ำงยิ่งที่มำของเทอม 0 Lˆz
บทที่ 8 Central Potential 8-68

แบบฝึกหัด 8.14 พิจำรณำ Ground State ของอะตอมไฮโดรเจน จงคำนวณควำมน่ำจะเป็นที่


จะพบอิเล็กตรอนอยู่นอก Classically Allowed Region
หมำยเหตุ: Classically Allowed Region คือบริเวณทีม่ ีพลังงำนจลน์เป็นบวก หรือ E V  0

แบบฝึกหัด 8.15 พิจำรณำ Isotope ของไฮโดรเจน ที่เรียกว่ำ Tritium นั่นก็คืออิเล็กตรอนที่อยู่


ภำยใต้อิทธิพลของนิวเคลียสซึ่งประกอบด้วย 1 โปรตอน และ 2 นิวตรอน กำหนดให้แต่เดิม
อิเล็กตรอนอยู่ในสถำนะ ground state จำกนั้นสมมุติว่ำเกิดปฏิกริ ิยำนิวเคลียร์ขึ้นภำยในนิวเคลียส
ทำให้นิวตรอน 1 ตัวกลำยเป็นโปรตอน ทำให้ในท้ำยที่สุด นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนถึง 2 ตัว
a) จงคำนวณควำมน่ำจะเป็นที่อิเล็กตรอนจะอยู่ในสถำนะ Ground State ของระบบภำยหลังจำก
ปฏิกิริยำนิวเคลียร์ดังกล่ำว
b) แสดงคำตอบออกมำเป็นตัวเลข

แบบฝึกหัด 8.16 พิจำรณำ Hamiltonian ของระบบที่อยู่ในรูปของ Spherical Harmonic


กล่ำวคือ
pˆ 2 1
Hˆ   mω2 r 2
2m 2
เมื่อ  คือค่ำคงที่ และสมมุติให้ระบบอยู่ในสถำนะ Bound State
a) จงหำผลเฉลยของ R(r ) ณ Asymptotic Limit r 1 และ r 1
b) จงคำนวณ Energy Eigenstate ของระบบ
c) จงคำนวณรูปแบบผลเฉลยของ R(r ) ณ รัศมี r ใดๆ
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-1

9 Time Independent Perturbation

เนื้อหา
9.1 บทนำ
9.2 Non-Degenerate Perturbation Theory
9.3 Application
9.4 Degenerate Perturbation Theory
9.5 Application - Relativistic Correction
9.6 Application - Zeeman Effect
9.7 บทสรุป
9.8 ปัญหำท้ำยบท

หัวข้อ 9.1 บทนา


เนื้อหำในทุกๆกรณีที่ผ่ำนมำ ถึงแม้บำงครั้งจะเป็นไปด้วยควำมยำกลำบำกอยู่บ้ำง แต่กส็ ำมำรถนำ
กระบวนกำรทำงคณิตศำสตร์เข้ำมำทำกำรวิเครำะห์หำ Eigen Energy และ Eigenstate ของระบบได้
อย่ำงแม่นยำ ยกตัวอย่ำงเช่น Precession ของ Spin, Finite Potential Well, Harmonic
Potential, หรือแม้กระทั่ง Central Potential ใน 3 มิติ

วิธีในกำรคำนวณระดับพลังงำนของระบบที่แตกต่ำงกันเหล่ำนี้ ก็มีกลไกที่คล้ำยคลึงกัน กล่ำวคือ


กำหนด Hamiltonian ของระบบ จำกนั้นสร้ำงสมกำร Eigen

Hˆ  n  En  n

ผลเฉลยของสมกำรข้ำงต้น ก็คือเซตของ Eigen Energy En  และ Eigenstate   n  ของ


ระบบที่เรำกำลังศึกษำนั่นเอง อย่ำงไรก็ตำม ในควำมเป็นจริงนั้น ระบบในทำงฟิสิกส์มีควำมซับซ้อน
และมีปัจจัยอื่นๆที่จะมีผลกระทบต่อระบบที่เรำกำลังพิจำรณำ ยกตัวอย่ำงเช่น
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-2

Quantum Well ภายใต้สนามไฟฟ้า


ในกำรศึกษำ Quantum Well เรำใช้ Finite Square Well ใน 1 มิติ เพื่อเป็นโมเดลอย่ำงง่ำยใน
กำรวิเครำะห์หำระดับพลังงำน ตลอดจน Probability Amplitude ของระบบ ในครำวนี้สมมุติว่ำ
เรำต่อแบตเตอรี่เข้ำกับขั้วทั้งสองข้ำงของ Quantum Well ทำให้เกิดสนำมไฟฟ้ำ E

Quantum Well
E
V ( x)

x
x
2a

GaAlAs GaAs
2a

เมื่อทบทวนเนือ้ หำวิชำแม่เหล็กไฟฟ้ำ จะพบว่ำอันตรกริยำระหว่ำง สนำมไฟฟ้ำกับอิเล็กตรอน ซึ่งมี


ประจุ q  e สำมำรถแทนด้วยพลังงำนศักย์ Velectric ( x)  q ( x)  e E  x  a  เมื่อ  ( x) ก็
คือ “ศักย์ไฟฟ้ำ” ซึ่งมีควำมสัมพันธ์กับสนำมไฟฟ้ำในรูปของ E   และเมื่อรวมกับพลังงำน
ศักย์ที่มีอยู่เดิม ซึ่งมีลักษณะเป็น Square Well

V0 x  2a

Vwell ( x)   0  2a  x  0
V 0 x
 0

ก็จะทำให้ได้พลังงำนศักย์ V ( x)  Vwell ( x)  Velectric ( x) สุทธิดังแสดงในภำพข้ำงต้น อย่ำงไรก็ตำม


พลังงำนศักย์ในลักษณะดังกล่ำวมีควำมซับซ้อน และไม่ง่ำยนักทีเ่ รำจะคำนวณระดับพลังงำน และ
Eigenstate ของระบบ

Perturbation เป็นกลไกที่กลศำสตร์ควอนตัมใช้ในกำรประมำณค่ำของระดับพลังงำน และ ประมำณ


Eigenstate ของระบบที่มีควำมซับซ้อน เกินกว่ำที่เรำจะหำคำตอบได้โดยตรง
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-3

Polarization ของอะตอม
พิจำรณำอะตอมไฮโดรเจนในสถำนะ Ground State ที่อยู่ท่ำมกลำงสนำมไฟฟ้ำภำยนอก E ซึ่งมี
ทิศทำงตำมแนวแกน z แต่เดิมเมื่อปรำศจำกสนำมไฟฟ้ำภำยนอกนั้น พลังงำนของระบบอยู่ในรูป
pˆ 2 e2 Z
ของ พลังงำนจลน์ และพลังงำนศักย์ Coulomb หรือ Hˆ 0  
2m 4 0 r

z
E

ภำพ (9.1) สนำมไฟฟ้ำที่ป้อนเข้ำไปในอะตอมไฮโดรเจน และมีผลทำให้ระดับพลังงำนของอะตอม


เปลี่ยนแปลงไป

แต่เมื่ออยู่ท่ำมกลำงสนำมไฟฟ้ำภำยนอกดังกล่ำว ซึ่งมีอันตรกริยำอยูใ่ นรูปของพลังงำน Hˆ 1  e E zˆ


นั้น ทำให้ Hamiltonian โดยรวมของระบบ กลำยเป็น

 pˆ 2 e2 Z 
Hˆ  Hˆ 0  Hˆ 1     e E zˆ
 2m 4 0 r 
 

เมื่อ Hamiltonian เปลีย่ นแปลงไป เป็นที่แน่นอนว่ำ Eigen Energy และ Eigenstate ก็จะต้อง
ปรับเปลีย่ นตำมไปด้วย ซึ่งจะแสดงออกมำให้เห็นได้จำกลักษณะของสเปกตรัมและลักษณะของกลุม่
หมอกอิเล็กตรอนที่ปรำกฏว่ำ เบี่ยงเบนไปจำกเดิม

อย่ำงไรก็ตำม Hamiltonian Ĥ ข้ำงต้น มีควำมซับซ้อนทำงคณิตศำสตร์เกินกว่ำที่เรำจะแก้สมกำรหำ


ผลเฉลยของ Eigen Energy หรือ Eigenstate ได้โดยตรง จะทำได้ก็แต่เพียง กำรประมำณคำตอบ
โดยคร่ำวๆเท่ำนั้น ซึ่งก็จะต้องอำศัยสิ่งที่เรียกว่ำ Perturbation Theory เป็นเครื่องมือในกำรประมำณ
ผลเฉลยดังกล่ำว
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-4

อันตรกริยาระหว่างอะตอมและแสง
จำกตัวอย่ำงใน 2 กรณีข้ำงต้น จะพบว่ำเรำนิยมแทน อันตรกริยำทีเ่ พิ่มเข้ำมำ (และทำให้ระบบมีควำม
ซับซ้อนทำงคณิตศำสตร์เพิ่มขึ้น) ด้วยสัญลักษณ์ Ĥ1 ซึ่งมีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่ำ “Perturbation”
(แปลว่ำ ปัจจัยที่เข้ำมำรบกวนระบบ)

En
r

E3 nf

E2 ni

E1

V0 (r ) Hˆ  Hˆ 0  2ε  μe cos ωt

นอกจำกนี้ Perturbation Ĥ1 ยังอำจจะมีกำรเปลี่ยนแปลงที่เป็นฟังก์ชันของเวลำ กล่ำวคือ


Hˆ 1  Hˆ 1 (t ) ยกตัวอย่ำงเช่นในกรณีที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ำ เคลื่อนที่เข้ำไปทำอันตรกริยำกับอะตอม

ที่ผ่ำนมำเรำมักจะถือว่ำ เมื่อพลังงำนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ำดังกล่ำว มีค่ำเท่ำกับ E  Ef  Ei ของ


อะตอม ก็จะมีกำรดูดกลืนแสง แต่เรำยังไม่เคยให้ควำมสนใจในกระบวนที่แท้จริงของกำรดูดกลืน
ดังกล่ำว ว่ำมีรำยละเอียดเป็นอย่ำงไร

ในกรณีที่ Perturbation เป็นฟังก์ชันของเวลำนั้น กระบวนกำรทำงคณิตศำสตร์ในกำรประมำณ


ระดับพลังงำน และ Eigenstate มีควำมยุ่งยำกมำกขึ้นไปอีก และเรำมักจะเรียกกรณีเช่นนี้ว่ำ
Time-Dependent Perturbation Theory อย่ำงไรก็ตำม เรำจะไม่กล่ำวถึง Time Dependent
Perturbation Theory ในบทนี้

Formal Notation
เพื่อมิให้เกิดควำมสับสน เรำจำเป็นจะต้องระมัดระวังอย่ำงมำกในกำรใช้สัญลักษณ์เมื่อกล่ำวถึง
สถำนะต่ำงๆของระบบ ตำมระเบียบวิธีของ Perturbation Theory ดังจะได้ขยำยควำมในลำดับ
ต่อไปนี้

กำหนดให้ Hamiltonian ของระบบ สำมำรถเขียนให้อยู่ในรูปของ

Hˆ  Hˆ 0  Hˆ 1 ______________________ สมกำร (9.1)


บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-5

ในที่นี้เรำสนใจที่จะทรำบผลเฉลยของ Eigenstate   n  และ Eigen Energy En  ที่ทำให้


สมกำร

Hˆ  n  En  n ______________________ สมกำร (9.2)

เป็นจริง แต่เนื่องจำกควำมซับซ้อนทำงคณิตศำสตร์ของ Hamiltonian ดังกล่ำว เรำจึงพยำยำม


แบ่ง Ĥ ออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ

1) Ĥ 0 เป็นส่วนของ Hamiltonian ทีส่ ำมำรถหำผลเฉลยของ Eigenstate และ Eigen Energy ของ


มันได้เรียบร้อยแล้ว หรืออีกนัยหนึ่ง เรำจะต้องทรำบเซตของ   n(0)  และ  En(0)  ที่ทำให้
สมกำร

Hˆ 0  n(0)  En(0)  n(0) ______________________ สมกำร (9.3)

นั้นเป็นจริง ให้สังเกตกำรใช้ Superscript (0) กำกับสถำนะและกำกับพลังงำนในสมกำรข้ำงต้น


เพื่อให้เห็นอย่ำงชัดเจนว่ำมันเป็นผลเฉลยของ Hamiltonian Ĥ 0 และแตกต่ำงจำกสถำนะใน
สมกำร (9.2)

2) Ĥ1 เป็นส่วนของ Hamiltonian ที่เรียกว่ำ “Perturbation” ซึ่งแทนปัจจัยอื่นๆที่เข้ำมำมี


บทบำทกับระบบที่กำลังพิจำรณำ และมีผลทำให้ Hamiltonian Hˆ  Hˆ 0  Hˆ 1 สุทธิที่เกิดขึ้น มีควำม
ซับซ้อนทำงคณิตศำสตร์มำกเสียจนเรำไม่สำมำรถหำคำตอบได้โดยตรง

ทั้งนี้ สมมุติว่ำ Ĥ1 มีขนำดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับ Ĥ 0 ด้วยสมมุติฐำนประกำรนี้ ในบำงครั้งเรำจึง


เรียก Ĥ1 ว่ำเป็น Perturbing Hamiltonian และ เรียก Ĥ 0 ว่ำเป็น Unperturbed Hamiltonian

Perturbations Theory เป็นกลไกในกำรประมำณผลเฉลย Eigenstate   n  และ Eigen


Energy En  ของ Hamiltonian Hˆ  Hˆ 0  Hˆ 1 โดยอำศัยข้อมูลของ   n(0)  และ  En(0) 
และอำศัยสมมุติฐำนที่ว่ำ Ĥ1 มีขนำดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับ Ĥ 0
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-6

หัวข้อ 9.2 Non-Degenerate Perturbation Theory


ในขั้นต้นนี้ เพื่อควำมสะดวก เรำจะสมมุติว่ำ Perturbing Hamiltonian Ĥ1 ไม่มีส่วนที่ขึ้นกับเวลำ
หรือที่เรียกว่ำ “Time Independent Perturbation” ที่ Erwin Schrödinger และ Lord
Rayleigh เป็นผู้ได้รับกำรยอมรับว่ำเป็นบุคคลที่ให้กำเนิดทฤษฏีดังกล่ำว

เพื่อทีจ่ ะ Derive สูตรในกำรประมำณผลเฉลย Eigenstate   n  และ Eigen energy En 


เรำเริ่มด้วยกำรเขียน Hamiltonian ดังในสมกำร (9.1) เสียใหม่ ให้อยู่ในรูปของ

Hˆ  Hˆ 0   Hˆ 1 ______________________ สมกำร (9.4)

โดยที่ตัวเลข  นั้นมีขนำดเล็ก กล่ำวคือ 0    1 กำรนำตัวแปร  เข้ำมำคูณอยู่กับ


Perturbing Hamiltonian นั้นมีประโยชน์ถึงสองประกำรด้วยกันคือ 1) เป็นกำรแสดงให้เห็นอย่ำง
ชัดเจนว่ำ เทอม  Ĥ1 นั้นมีขนำดเล็ก และถือได้ว่ำเป็น Perturbation ของ Hamiltonian Ĥ 0
และ 2) เรำจะใช้  เป็นตัวช่วยในกำรจัดรูปทำงคณิตศำสตร์ได้เป็นระเบียบ และ ง่ำยขึ้น ดังจะได้
เห็นในลำดับต่อไป

หัวใจสำคัญของ Perturbation Theory นั้นก็คือกำรสมมุติว่ำ เรำสำมำรถเขียนผลเฉลย Eigen


Energy En และ Eigenstate  n ให้เป็นซัมเมชั่นของเทอมที่มีขนำดเล็กลง ลดหลั่นกันลงไปเรื่อยๆ
กล่ำวคือ

En  En(0)   En(1)   2 En(2)   3 En(3)  ___________ สมกำร (9.5)

จำกสมกำรข้ำงต้น เนื่องจำก 0    1 เรำจะเห็นว่ำ โดยหลักกำรแล้ว En(0)   En(1)   2 En(2)


เพรำะว่ำหำกตัวแปร  มีขนำดเล็ก  2 ก็ยิ่งมีค่ำเล็กลงไปอีก และจะเล็กลงไปเรื่อยๆ ตำมเลขยก
กำลังที่สูงขึ้น ทั้งนี้

เทอมแรก En(0) คือ Eigen Energy ของ Unperturbed Hamiltonian Ĥ 0

เทอมที่สอง คือ 1st Order Correction Term ซึ่งเมื่อเข้ำมำบวกกับ En(0) ก็จะทำให้


En(1)
ผลรวมมีค่ำใกล้เคียงกับ En ที่ปรำกฏอยู่ทำงซ้ำยมือของสมกำรได้ดียิ่งขึ้น

เทอมที่สำม En(2) คือ 2nd Order Correction Term ซึ่งเป็นเทอมที่มีขนำดเล็กลงไปอีก


แต่เมื่อนำมำบวกกับเทอมทั้งสองข้ำงต้น ก็ยิ่งจะทำให้เรำประมำณค่ำของ En ได้
แม่นยำมำกขึ้นอีก เป็นลำดับขั้น เช่นนี้เรื่อยไป
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-7

มำถึงจุดนี้ เรำทรำบแต่เพียงว่ำ En(0) มีค่ำเป็นเท่ำใด ซึ่งก็จะได้ทำกำรวิเครำะห์เพื่อหำสูตรสำเร็จใน


กำรคำนวณค่ำของเทอม En(1) , En(2) , ในลำดับต่อไป

1st Order และ 2nd Order Perturbation


ในทำนองเดียวกันกับ Eigen Energy En ดังในสมกำร (9.5) เรำสำมำรถเขียน Eigenstate n
ให้อยู่ในรูปของ

 n   n(0)    n(1)   2  n(2)   3  n(3)  ___________ สมกำร (9.6)

และเมื่อแทนเทอมของ Hamiltonian Ĥ ดังสมกำร (9.4) , Eigen Energy ดังสมกำร (9.5) , และ


Eigenstate ดังสมกำร (9.6) ทั้งสำมนั้น เข้ำไปในสมกำร (9.2) จะได้ว่ำ

 Hˆ 0   Hˆ 1    n(0)    n(1)   2  n(2)  


  En(0)   En(1)   2 En(2)     n(0)    n(1)   2  n(2)  
หรือ

0  Hˆ 0   Hˆ 1    n(0)    n(1)   2  n(2)  
  En(0)   En(1)   2 En(2)     n(0)    n(1)   2  n(2)  
___________________ สมกำร (9.7)

สมกำรข้ำงต้น เมื่อกระจำยออกมำจะประกอบด้วยเทอมจำนวนมำก เรำสำมำรถจัดกลุ่มของเทอม


ทั้งหลำยเหล่ำนี้ โดยอำศัย เลขยกกำลังของ  เป็นหลัก ดังต่อไปนี้

เทอมที่คูณอยูก่ ับ 0 :
 Hˆ 0  n(0)  En(0)  n(0)  0

เทอมที่คูณอยู่กับ 1 :
 Hˆ 0  n(1)  Hˆ 1  n(0)  En(0)  n(1)  En(1)  n(0)  1

เทอมที่คูณอยู่กับ 2 :
 Hˆ 0  n(2)  Hˆ 1  n(1)  En(0)  n(2)  En(1)  n(1)  En(2)  n(0)  2
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-8

เช่นนี้เป็นต้น และเนื่องจำก  เป็นตัวแปรที่เรำสมมุติขึ้นมำเท่ำนั้น กำรที่สมกำร (9.7) จะเป็น


จริงได้โดยไม่สนใจว่ำ  จะมีค่ำเป็นเท่ำในนั้น ทุกๆเทอมในวงเล็บปีกกำที่แสดงข้ำงต้น จะต้อง
เท่ำกับศูนย์ หรืออีกนัยหนึ่ง

Hˆ 0  n(0)  En(0)  n(0) _________ สมกำร (9.8)


Hˆ 0  n(1)  Hˆ 1  n(0)  En(0)  n(1)  En(1)  n(0) _________ สมกำร (9.9)
Hˆ 0  n(2)  Hˆ 1  n(1)  En(0)  n(2)  En(1)  n(1)  En(2)  n(0) ________ สมกำร (9.10)

ขั้นตอนในกำรวิเครำะห์หำสูตรสำเร็จในกำรคำนวณ 1st Order Energy Correction Term หรือที่เรำ


ใช้สัญลักษณ์วำ่ En(1) สำมำรถทำได้โดยนำเอำสถำนะ Bra  n(0) เข้ำมำประกบทั้งสองข้ำงของ
สมกำร (9.9) จะทำให้

 n(0) Hˆ 0  n(1)   n(0) Hˆ 1  n(0)   n(0) En(0)  n(1)   n(0) En(1)  n(0)

 (0)
n 
Hˆ 0†  n(1)   n(0) Hˆ 1  n(0)  En(0)  n(0)  n(1)  En(1)  n(0)  n(0)
1

สังเกตว่ำในเทอมแรกนั้น เรำเปลี่ยนเอำ Hamiltonian Ĥ 0 มำกระทำกับสถำนะ Bra  n(0) แทน


ซึ่งพร้อมกันนั้น จะต้องเปลีย่ นให้กลำยเป็น Adjoint Operator Ĥ 0† แต่เนื่องจำก Hamiltonian
เป็น Hermitian Operator ดังนั้น Hˆ 0†  Hˆ 0 หรืออีกนัยหนึ่ง
 n(0) Hˆ 0†   n(0) Hˆ 0   n(0) En(0) เพรำะฉะนั้น สมกำรข้ำงต้น ลดรูปเหลือเพียง

 n(0) En(0)  n(1)   n(0) Hˆ 1  n(0)  En(0)  n(0)  n(1)  En(1)  n(0)  n(0)
1
หรือ
En(1)   n(0) Hˆ 1  n(0) ______________ สมกำร (9.11)

ข้ำงต้น คือสูตรสำเร็จในกำรคำนวณ 1st Order Correction ของ Eigen Energy ซึ่งอยู่ในรูปของ


Bra-Ket ที่ประกบเอำ Operator Ĥ1 ไว้ภำยใน

และในกรณีของ 1st Order Correction ของ Eigenstate หรือ  n(1) เรำเริม่ ด้วยกำรตั้ง
ข้อสังเกตว่ำ เซตของ Eigen State   n(0)  นั้นเป็น Complete เซต เพรำะฉะนั้น สำมำรถ
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-9

เขียนสถำนะใดๆก็ได้ ให้อยู่ในรูป Superposition ของเซตดังกล่ำว ไม่เว้นแม้กระทั่งสถำนะ  n(1)

ด้วยเช่นกัน เพรำะฉะนั้น สำมำรถเขียน

 n(1)   ck  k(0) เมื่อ ck   k(0)  n(1)


k n

เมื่อ ck คือสัมประสิทธิ์ของกำรกระจำยที่เรำจะต้องวิเครำะห์หำค่ำที่แท้จริงในลำดับไป และสำเหตุ


ทีซ่ ัมเมชั่นของ k มีเงื่อนไขที่ว่ำ k  n นั้น เพรำะจำกสมกำร (9.6) จะเห็นว่ำสถำนะ  k(0)n ได้
ปรำกฏอยู่ในเทอมแรกของสมกำรอยู่แล้ว และไม่มีควำมจำเป็นจะต้องรวมเข้ำไปเป็นส่วนหนึ่งของ
Superposition อีก

ส่วนในกรณีของสัมประสิทธิ์ ck นั้น สำมำรถหำได้โดยกำรนำสถำนะ Bra  k(0) เข้ำไปประกบทั้ง


สองข้ำงของสมกำร (9.9) และจะได้ว่ำ

 k(0) Hˆ 0  n(1)   k(0) Hˆ 1  n(0)   k(0) En(0)  n(1)   k(0) En(1)  n(0)

Ek(0)  k(0)  n(1)   k(0) Hˆ 1  n(0)  En(0)  k(0)  n(1)  En(1)  k(0)  n(0)
0
หรือ
 k(0) Hˆ 1  n(0)
 k(0)  n(1)  เมื่อ kn
En(0)  Ek(0)
เพรำะฉะนั้นแล้ว
 k(0) Hˆ 1  n(0)
 n(1)   En(0)  Ek(0)
 k(0) ______________ สมกำร (9.12)
k n

และก่อนที่จะยกตัวอย่ำงกำรนำ Perturbation มำใช้งำนนั้น เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดเรำควรจะ


Derive สูตรในกำรคำนวณ 2nd Order Energy Correction เสียก่อน ซึ่งทำได้ไม่ยำกนักโดยกำร
นำสถำนะ Bra  n(0) เข้ำประกบทั้งสองข้ำงของสมกำร (9.10) จะได้วำ่

 n(0) Hˆ 0  n(2)   n(0) Hˆ 1  n(1)

  n(0) En(0)  n(2)   n(0) En(1)  n(1)   n(0) En(2)  n(0)


0
หรือ
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-10

En(2)   n(0) Hˆ 1  n(1)

และเมื่อแทน  n(1) ดังในสมกำร (9.12) เข้ำไปทำงขวำมือของสมกำรข้ำงต้น จะทำให้

 k(0) Hˆ 1  n(0)
En(2)   En(0)  Ek(0)
 n(0) Hˆ 1  k(0)
k n

 k(0) Hˆ 1  n(0)  n(0) Hˆ 1  k(0)


  En(0)  Ek(0)
k n

 k(0) Hˆ 1  n(0)  k(0) Hˆ 1  n(0)
En(2)   En(0)  Ek(0)
k n

หรืออีกนัยหนึ่ง
2
 k(0) Hˆ 1  n(0)
En(2)   En(0)  Ek(0)
______________ สมกำร (9.13)
k n

ดังที่ได้กล่ำวมำแล้วข้ำงต้นว่ำ ตัวแปร  ที่ปรำกฏในสมกำร (9.4) เป็นเพียงสิ่งที่สมมุติขึ้นเพื่อช่วย


จัดกลุ่มของเทอมต่ำงๆเพื่อควำมสะดวกของกำร Derive สูตรสำเร็จในกำรคำนวณ Correction Term
ดังที่ปรำกฏในสมกำร (9.11) , (9.12) , และ (9.13) และในท้ำยที่สุด เมื่อนำระเบียบวิธี
Perturbation Theory มำใช้งำนจริง เรำจะกำหนดให้   1 กล่ำวคือ

En  En(0)  En(1)  En(2)  En(3)  ______________ สมกำร (9.14)


และ
 n   n(0)   n(1)   n(2)   n(3)  ___________ สมกำร (9.15)

Simple Application
เพื่อเป็นกำรยกตัวอย่ำงกำรนำ Perturbation Theory มำใช้เป็นเครื่องมือในกำรวิเครำะห์ระบบ
สมมุติว่ำเรำต้องกำรคำนวณ Eigen Energy ของ Hamiltonian

pˆ 2 1
Hˆ   m 2 x 2  bx 2 ________________ สมกำร (9.16)
2m 2

นักศึกษำที่มีไหวพริบอยู่บำ้ ง ย่อมจะสังเกตเห็นได้ทันทีว่ำ Hamiltonian ข้ำงต้นนั้น สำมำรถหำผล


เฉลยของ Eigen Energy ได้โดยตรง และไม่มีควำมจำเป็นที่จะต้องประมำณคำตอบโดยอำศัยกลไก
ของ Perturbation Theory แต่อย่ำงใด
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-11

แต่ในขั้นต้นเรำจะแสร้งทำเป็นไม่ทรำบ โดยมองว่ำ Hamiltonian Ĥ ดังในสมกำร (9.16) นั้นมี


ควำมซับซ้อนเกินกว่ำจะหำผลเฉลยของ Eigen Energy ได้โดยตรง และเริม่ จำกกำรเขียน Ĥ ให้อยู่
ในรูปของ

pˆ 2 1
Hˆ   m 2 x 2  bx 2  Hˆ 0  Hˆ 1 _____________ สมกำร (9.17)
2m 2
Hˆ 0

ซึ่งมองว่ำ Ĥ1  bx 2 มีลักษณะเป็น Perturbing Term และสมมุติฐำนข้อนี้จะสมเหตุผลก็ต่อเมื่อ


pˆ 2 1
ค่ำคงที่ b นั้นมีขนำดเล็กมำก ส่วนในแง่ของ Hˆ 0   m 2 x 2 นั้น ก็เป็นระบบของ
2m 2
Simple Harmonic Potential ซึ่งเรำได้ศึกษำและทรำบ Eigen Energy ตลอดจน Eigenstate ของ
มันเป็นอย่ำงดี กล่ำวคือ

 1
En(0)    n   ___________________ สมกำร (9.18)
 2

ในขณะที่ Eigenstate  n(0) ของ Ĥ 0 มีสมบัติที่เกี่ยวข้องกับ Raising และ Lowering Operator


ที่ว่ำ

aˆ  n(0)  n  n(0)
1 และ aˆ †  n(0)  n  1  n(0)
1 _______ สมกำร (9.19)

เรำจะอำศัยสมบัติที่เกี่ยวข้องกับ Raising และ Lowering Operator ดังกล่ำวเพื่อช่วยในกำรประมำณ


Eigen Energy ของ Hamiltonian ดังในสมกำร (9.16) จำกเนื้อหำในบทที่ 7 เรำทรำบว่ำ
xˆ 
2m
 aˆ  aˆ 

ดังนั้นสำมำรถเขียน Perturbing Hamiltonian Ĥ1  bx 2 ให้อยู่ในรูป

2
 
Hˆ 1  bx 2  b 
 2 m

aˆ  aˆ †   
 2 m
b


aˆ 2  aa
ˆ ˆ †  aˆ † aˆ  aˆ †2  _______ สมกำร (9.20)

จำกสมกำร (9.11) จะได้ว่ำ 1st Order Energy Correction ก็คือ


บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-12

En(1)   n(0) Hˆ 1  n(0)


b
2m
 n(0) aˆ 2  aa
ˆ ˆ †  aˆ † aˆ  aˆ †2  n(0) 
 
b  (0) 2 (0) 
En(1)    n aˆ  n   n aa
(0)
ˆ ˆ †  n(0)   n(0) aˆ † aˆ  n(0)   n(0) aˆ†2  n(0) 
2m  
 0 n 1 n 1 n n 0 
หรือ
1 1  2b 
 2n  1    n    2 
b
En(1)  __________ สมกำร (9.21)
2m  2  2  m 

ในขณะที่ 2nd Order Energy Correction มีค่ำเท่ำกับ

2
 k(0) Hˆ 1  n(0)
En(2)   En(0)  Ek(0)
k n

 
2
2  k(0) aˆ 2  aa
ˆ ˆ †  aˆ † aˆ  aˆ †2  n(0)
 b 
 
 2m 
 En(0)  Ek(0)
k n

 b 
2
 n  n  1  n  1 n  2  
En(2)      
 2m   2  2  
หรือ
2
 1  1   2b 
En(2)    n       ____________ สมกำร (9.22)
 2  8   m 2 

ซึ่งจำก En(0) , En(1) , และ En(2) เรำสำมำรถประมำณค่ำ Eigen Energy En ของ Hamiltonian
Hˆ  Hˆ 0  Hˆ 1 ได้ทันทีว่ำ

1   1  2b  1  2b  
2

En    n   1        ___________ สมกำร (9.23)
 2   2  m 2  8  m 2  

สมกำรข้ำงต้น เป็นผลลัพธ์จำก Non-Degenerate Perturbation Theory ที่สำมำรถประมำณค่ำ


ระดับพลังงำน En ของระบบ และเพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่ำ ระดับพลังงำนที่ได้จำกกำรประมำณ
ดังกล่ำว เป็นกำรประมำณที่ถูกต้อง สมเหตุผล เรำจะได้ทำกำรคำนวณ Eigen Energy En ที่
แท้จริง โดยปรำศจำกกำรประมำณ เพื่อจะได้เปรียบเทียบกับสมกำร (9.23)
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-13

pˆ 2 1
จำก Hamiltonian Hˆ   m 2 x 2  bx 2 เรำสำมำรถเขียน
2m 2

pˆ 2 1
Hˆ   m 2 x 2  bx 2
2m 2
2
 
pˆ 2 1 
  m  2  2b m  x 2
2m 2  
  
pˆ 2 1
Hˆ   m 2 x 2
2m 2

ลักษณะของ Hamiltonian Ĥ ข้ำงต้นนั้น เปรียบเสมือนระบบแบบ Simple Harmonic


Potential ที่มีควำมถี่เท่ำกับ     2  2b m และในกรณีนี้เอง ระดับพลังงำนมีค่ำเท่ำกับ

 1  1 2b  1
En     n     2  2b m  n     1  2 
n 
 2  
2 m  2
หรือ
 1 2b
En    n   1  ________________ สมกำร (9.24)
 2  m 2

เพื่อที่จะตอบโจทย์ว่ำ ระดับพลังงำน En ในสมกำร (9.24) มีควำมคล้ำยคลึงกับที่ได้จำก


Perturbation ในสมกำร (9.23) อย่ำงไรนั้น ลองพิจำรณำ Taylor Expansion

1 1 1 5 4
1   1   2  3   
2 8 16 128

2 3
2b 1  2b  1  2b  1  2b 
เพรำะฉะนั้นแล้ว 1  1    2 
    หรืออีกนัยหนึ่ง
m 2 2  m 2  8  m  16  m 2 
สมกำร (9.24) สำมำรถเขียนให้อยู่ในรูปของ Taylor Expansion ได้ว่ำ

1   1  2b  1  2b  
2 3
 1  2b 
En    n   1            ______ สมกำร (9.25)
 2   2  m 2  8  m 2  16  m 2  

ดังนั้นเรำสรุปได้ว่ำ ระดับพลังงำนในสมกำร (9.23) ที่ได้จำก Perturbation Theory นั้น เป็นกำร


ประมำณที่สมเหตุผลของระดับพลังงำนในสมกำร (9.24) นั่นเอง
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-14

pˆ 2 1
แบบฝึกหัด 9.1 จงคำนวณระดับพลังงำนของ Hamiltonian Hˆ   m 2 x 2  e E xˆ เมือ่
2m 2
e คือประจุของอิเล็กตรอน และ E คือควำมเข้มของสนำมไฟฟ้ำในระบบ
a) ด้วยวิธีกำรประมำณแบบ Perturbation โดยใช้ควำมละเอียดในกำรประมำณอย่ำงน้อย 2nd
Order
b) ด้วยวิธีกำรหำคำตอบที่แท้จริง
c) วำดภำพแสดงระบบทำงฟิสิกส์ของ Hamiltonian ดังกล่ำว

หัวข้อ 9.3 Application


กระบวนกำรในกำรประมำณคำตอบของ Eigen Energy และ Eigenstate ที่เรียกว่ำ Non-
Degenerate Time-Independent Perturbation Theory ที่เรำได้ศึกษำผ่ำนไปแล้วนั้น สำมำรถ
นำมำใช้ประยุกต์ในกำรวิเครำะห์ระบบต่ำงๆอยูม่ ำกพอสมควร ดังจะได้เสนอ 2 ตัวอย่ำงด้วยกันคือ
1) แบบจำลองที่มองว่ำนิวเคลียสนั้น มิได้เป็น “จุดประจุ” หำกแต่เป็นทรงกลมที่มีรศั มี R และ 2)
พลังงำน Ground State ของอะตอมฮีเลียม

Nucleus with Finite Size


เมื่อครั้งที่เรำได้ศึกษำระดับพลังงำนของไฮโดรเจนอะตอม หรืออะตอมใดๆที่ประกอบด้วยอิเล็กตรอน
เพียงหนึ่งตัว ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ภำยใต้อิทธิพลของศักย์ Coulomb ของนิวเคลียสทีม่ ีประจุเท่ำกับ Ze
นั้น เรำมองว่ำนิวเคลียสมีลักษณะเป็น “จุดประจุ” ซึ่งเปรียบเสมือนจุดที่มีรัศมีเท่ำกับศูนย์ และ
e2 Z
ในกรณีดังกล่ำวนี้ พลังงำนศักย์ของอิเล็กตรอนมีค่ำเท่ำกับ 
4 0 r

ในครำวนี้ เรำจะสร้ำงโมเดลของนิวเคลียสให้สมจริงมำกขึ้น โดยมองว่ำประจุขนำด Ze มิได้


กระจุกตัวอยูเ่ ป็นจุดที่มีขนำดเป็นศูนย์แต่อย่ำงใด หำกแต่มีกำรกระจำยตัวของประจุเป็นทรงกลมซึง่
มีรัศมีเท่ำกับ R ดังแสดงใน ภำพ (9.2)

 Ze R

 Ze
 ,r  R
 proton (r )   4 R3 3
 0 ,r  R

ภำพ (9.2) แสดงโมเดลของนิวเคลียสที่ประกอบด้วยประจุบวก กระจำยตัวอย่ำงสม่ำเสมอภำยใน
ทรงกลมซึ่งมีรศั มี R
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-15

แบบฝึกหัด 9.2 จงทบทวนเนื้อหำของไฟฟ้ำสถิตพื้นฐำนเพื่อพิสูจน์ว่ำ พลังงำนศักย์ของ


อิเล็กตรอนภำยใต้อิทธิพลของกำรนิวเคลียสดังใน ภำพ (9.2) อยู่ในรูปของ
 e2 Z   r 2 
 3     , r  R
 4 0 2 R   R  
V (r )   ____________ สมกำร (9.26)
 e2 Z
  ,r  R
 4 0 r
บอกใบ้: ใช้กฎของ Gauss

จำกพลังงำนศักย์ข้ำงต้นจะพบว่ำ ในกรณีที่อิเล็กตรอนอยู่ภำยในนิวเคลียส รูปแบบทำงคณิตศำสตร์


ของ V (r ) จะมีลักษณะแตกต่ำงออกไปจำกศักย์ Coulomb กล่ำวคือแปรผันกับ r 2 เมื่อเป็น
เช่นนี้ เรำสรุปได้ว่ำ ระดับพลังงำนของอะตอมไฮโดรเจนในกรณีดังกล่ำวนี้ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปจำก
เดิม จำกที่เรำเคยสมมุติเอำว่ำ นิวเคลียสเป็นจุดประจุ

เพื่อที่จะคำนวณระดับพลังงำนของระบบ เรำเขียน Hamiltonian ได้ว่ำ

pˆ 2
Hˆ   V (r ) ______________________ สมกำร (9.27)
2m

เมื่อ V (r ) เป็นพลังงำนศักย์ดังแสดงในสมกำร (9.26) อย่ำงไรก็ตำม เรำไม่ทรำบ Eigen Energy


ของ Hamiltonian ดังกล่ำว เนื่องจำกควำมซับซ้อนของพลังงำนศักย์ V (r ) ดังนั้นเรำจะใช้ Time-
Independent Perturbation โดยเริ่มจำกกำรเขียน Hamiltonian ให้อยู่ในรูป

pˆ 2 e2 Z ˆ
Hˆ    H1 (r ) ________________ สมกำร (9.28)
2m 4 0 r
Hˆ 0

เมื่อ
 e2 Z   r 2 2 R 
  3    ,r  R
Hˆ 1 (r )   4 0 2 R   R  r  ____________ สมกำร (9.29)
 

 0 ,r  R

ในขั้นตอนต่อไป สังเกตเห็นว่ำ Eigen Energy และ Eigenstate ของ Hamiltonian Ĥ 0 นั้น ก็คือ
ระดับพลังงำน และ Wave Function ของอะตอมไฮโดรเจนนั่นเอง กล่ำวคือ ในสถำนะ Ground
State
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-16

r , ,   ground
(0)
  ground
(0)
(r , ,  )  R10 (r )Y00 ( ,  )

โดยที่
32
Z  1
R10 (r )  2   e Zr a0
เมื่อ a0 คือ Bohr Radius และ Y00 ( ,  ) 
 a0  2 

2
 Ze 2  m
และระดับพลังงำน Ground State ก็คือ Eground  
 4 0   2 เมื่อเป็นเช่นนี้ เรำสำมำรถ
  2
คำนวณ 1st Order Correction ของระดับพลังงำนในสถำนะพื้นได้ว่ำ

(1)
Eground   ground
(0)
Hˆ 1  ground
(0)

ซึ่งสำมำรถเขียนให้อยู่ในรูปของกำรอินทิเกรต คือ
(1)
Eground
(0)
  d3 r ground (r ,  ,  ) Hˆ 1 ground
(0)
(r, ,  )
 e2 Z R   r 2 2 R   
2  2
2 
            
0
drr R ( r ) 3   R ( r )   d d sin Y ( , ) 
 4 0 2 R 0
10 10 0
  R  r 
   0 0 
1
3R
e 2
Z Z   r 4 
 4   dr 3r
2
  2 Rr  e  2 Zr a0
4 0 2 R  a0  0  R 2


เนื่องจำกเทอม e2Zr a0 ที่ปรำกฏอยู่ในสมกำรข้ำงต้น ทำให้กำรอินทิเกรตมีควำมซับซ้อนมำกขึ้น


แต่ถ้ำเรำประมำณว่ำ รัศมีของนิวเคลียสนั้นมีขนำดเล็กกว่ำ Bohr Radii มำก หรือ R a0 เมื่อ
R
เป็นเช่นนี้ ภำยในช่วงของกำรอินทิเกรต  dr นั้น และจะมีผลให้ e 2 Zr ดังนั้น
r
1
a0
1
a0
0

R  2 r4   2 Zr R  r4  R3
 3r  R2  2Rr  e   dr 3r 2  2  2 Rr   
a0
dr
0   1 0  R  5
ทำให้
3 2
e2 Z  Z  R3 4  ZR 
(1)
Eground  4    Eground
(0)
  เมื่อ R a0
4 0 2 R  a0  5 5  a0 
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-17

ทั้งนี้เมื่อเรำรวมเทอม (0)
Eground และ (1)
Eground เข้ำด้วยกัน เพื่อเป็นกำรประมำณพลังงำน Ground
State จะได้ว่ำ

 4  ZR 2 
Eground  (0)
Eground  Eground
(1)
 (0)
Eground 1     เมื่อ R a0 ___ สมกำร (9.30)
 5  a0  
 

จำกสมกำรข้ำงต้นจะพบว่ำ กำรที่เรำมองนิวเคลียสเป็นกำรกระจำยตัวของประจุแบบทรงกลม ที่มี


2
4  ZR 
รัศมีเท่ำกับ R นั้น มีผลทำให้ระดับพลังงำนเพิ่มขึ้นเป็นอัตรำส่วนเท่ำกับ   (ที่เพิ่มขึ้น
5  a0 
เพรำะระดับพลังงำนเดิมนั้น ติดลบ)

และเพื่อที่จะทรำบขนำดของ Correction Energy อย่ำงคร่ำวๆ เรำอำจจะลองแทนค่ำรัศมีของ


นิวเคลียสให้มีค่ำเท่ำกับ 11015 m และกำหนดให้ Z  1 ซึ่งจะได้ว่ำ
2
4  1 1015 m  9
(1)
Eground  13.6 eV     3.89  10 eV
5  5.29  1011 m 

หรือมีพลังงำนเท่ำกับคลื่นควำมถีว่ ิทยุ 0.941MHz ซึ่งนับว่ำน้อยมำก และเป็นกำรยำกที่จะ


ตรวจสอบด้วยกลไกของกำรทดลอง โจทย์ข้อนี้จึงถือได้ว่ำเป็นเพียงแบบฝึกหัดทำงทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
กับ Perturbation แต่เพียงเท่ำนั้น

พลังงาน Ground State ของอะตอมฮีเลียม


เมื่อเรำพิจำรณำ Hamiltonian ของอิเล็กตรอนที่อยู่ภำยในอะตอมฮีเลียม ก็จะพบว่ำมันมีควำม
ซับซ้อนไม่แพ้กัน ดังแสดงใน ภำพ (9.3) จะเห็นว่ำฮีเลียมประกอบด้วย 2 อิเล็กตรอน และ
นิวเคลียสที่มี Atomic Number เป็น Z  2 เพรำะฉะนั้น Hamiltonian จะอยู่ในรูปของ
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-18

2
z

r2 r1

y
Z  2
x
ภำพ (9.3) อะตอมฮีเลียม ที่ประกอบด้วยอิเล็กตรอน 2 ตัว ซึ่งต่ำงก็ผลักกันด้วยแรงคูลอมบ์

pˆ 2 e2 Z pˆ 2 e2 Z e2 1
Hˆ  1   2   ________ สมกำร (9.31)
2m 4 0 r1 2m 4 0 r2 4 0 r1  r2
1st electron 2nd electron repulsion term

เทอมต่ำงๆภำยใน Hamiltonian ข้ำงต้นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆด้วยกันคือ

pˆ12 e2 Z
1)  คือพลังงำนเฉพำะที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กตรอนตัวแรก ซึ่งรวมทั้งพลังงำน
2m 4 0 r1
จลน์และพลังงำนศักย์ที่มันกระทำกับนิวเคลียส

pˆ 22 e2 Z
2)  คือพลังงำนเฉพำะที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กตรอนตัวที่สอง
2m 4 0 r2

e2 1
3) คืออันตรกริยำคูลอมบ์ระหว่ำงอิเล็กตรอนทั้งสอง ให้สังเกตว่ำฟังก์ชัน
4 0 r1  r2
ของพลังงำนเป็นบวก ซึ่งหมำยถึงแรงผลัก

ในโจทย์ข้อนี้ เรำสนใจที่จะทรำบพลังงำน Ground State หรือระดับพลังงำนต่ำสุดของ Hamiltonian


ดังในสมกำร (9.31) ซึ่งในปัจจุบัน ยังไม่มีใครสำมำรถหำคำตอบที่แท้จริงโดยไม่มีกำรประมำณได้เลย
เพรำะฉะนั้น ในขั้นต้นนี้ เรำจำเป็นจะต้องใช้ Perturbation Theory เข้ำมำช่วย และจะทำกำร
เปรียบเทียบคำตอบทีไ่ ด้ กับคำตอบที่ได้จำกกำรทดลองในโอกำสต่อไป

ในขั้นต้น เรำเขียน Hamiltonian ให้อยู่ในรูป Hˆ  Hˆ 0  Hˆ 1 โดยที่


บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-19

pˆ 2 e2 Z pˆ 2 e2 Z
Hˆ 0  1   2  ________ สมกำร (9.32)
2m 4 0 r1 2m 4 0 r2
และ
e2 1
Hˆ 1  ___________________ สมกำร (9.33)
4 0 r1  r2

ในขั้นที่สอง จะต้องทำกำรหำ Eigenstate หรือ ที่เรียกว่ำ Wave Function ของ Ĥ 0 เสียก่อน ซึ่ง
จะมีควำมสะดวกในกำรอธิบำยควำม ถ้ำเรำใช้ภำษำของ Wave Function เป็นหลัก พิจำรณำ

Ĥ 0 (0)  E (0) (0)

จำกสมกำร (9.32) จะเห็นว่ำ Ĥ 0 เป็นฟังก์ชันของทั้ง r1 และ r2 เพรำะฉะนั้น โดยหลักของกำร


แก้สมกำรอนุพันธ์แล้ว Wave Function ควรจะต้องเป็นฟังก์ชันของ r1 และ r2 ด้วยเช่นกัน
กล่ำวคือ

 2 2 e2 Z 2
e2 Z  (0)
 1    22    r1 , r2   E   r1 , r2 
(0) (0)
 2 m 4 r
0 1 2 m 4 0 2 
r 
_____________________ สมกำร (9.34)

เมื่อเครื่องหมำย Laplacian 12 ที่ประกอบด้วย Subscript 1 นั้นหมำยถึง Laplacian เทียบกับพิกัด


2 2 2
ของอิเล็กตรอนตัวแรกเพียงเท่ำนัน้ ยกตัวอย่ำงเช่น 12    และ
x12 y12 z12
2 2 2
 22    เช่นนี้เป็นต้น
x22 y22 z22

อนึ่ง เมื่อกล่ำวถึงระบบที่ประกอบด้วย 2 อิเล็กตรอนขึ้นไป โดยทั่วไปแล้วนอกจำกพิกัดบอก


ตำแหน่งแล้ว เรำจะต้องวิเครำะห์ถึง Spin ของมันทั้งสองด้วย แต่ในขั้นต้นนี้ เนื่องจำกเรำกำลัง
กล่ำวถึงระดับพลังงำน Ground State ซึ่งอิเล็กตรอนทั้งสองมี Spin ตรงกันข้ำมกันพอดีทำให้หักล้ำง
กันกลำยเป็นศูนย์ จึงพอจะอนุโลมข้ำมประเด็นของ Spin ไปเสียก่อน

ผลเฉลยของสมกำร (9.34) นั้นสำมำรถหำได้โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่ำ Separation of Variables


กล่ำวคือ สมมุติให้

 (0)  r1 , r2     r1    r2 
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-20

เมื่อ   r  คือฟังก์ชันใดๆ และถ้ำแทนสมมติฐำนข้ำงต้นเข้ำไปในสมกำร (9.34) ประกอบกับทักษะ


เชิงพีชคณิตขั้นพื้นฐำน จะนำไปสูผ่ ลลัพธ์ที่ว่ำ
2
 Ze 2  m
Ground State Energy ของ (0)
Ĥ 0 Eground  2 
 4 0   2 เมื่อ Z 2
  2
Ground State Wave Function  ground
(0)
 r1, r2     r1   r2  เมื่อ  (r )  R10 (r )Y00 ( ,  )
_____________________ สมกำร (9.35)

แบบฝึกหัด 9.3 จงพิสูจน์สมกำรข้ำงต้น โดยใช้เทคนิค Separation of Variable

อย่ำงไรก็ตำม ระดับพลังงำน Ground State ดังแสดงในสมกำร (9.35) นั้น เป็นเพียง Ground


State ของ Hamiltonian Ĥ 0 ที่ปรำศจำกอันตรกริยำซึ่งเป็นแรงผลักระหว่ำงอิเล็กตรอนทั้งสอง
จึงไม่ใช่ระดับพลังงำนของอะตอมฮีเลียม เสียเลยทีเดียว

Hamiltonian Hˆ  Hˆ 0  Hˆ 1 ต่ำงหำก ที่เป็นแสดงถึงระบบของฮีเลียมอะตอมอย่ำงแท้จริง


เพียงแต่ว่ำ กำรที่จะคำนวณระดับพลังงำน Ground State โดยตรงนั้น ทำได้ยำก เรำจึงต้องใช้
e2 1
Perturbation Theory แทน โดยมองว่ำ Hˆ 1  เป็น Perturbation ซึ่งจะได้ว่ำ
4 0 r1  r2
1st Order Energy ของ Ground State ก็คือ

(0)
(1)
Eground   ground
(0)
Hˆ 1  ground
(0)
  d3 r1d3 r2  ground (r1 , r2 ) Hˆ 1 ground
(0)
(r1 , r2 )

และเมื่อแทน  ground
(0)
 r1, r2  จำกสมกำร (9.35) จะได้ว่ำ

e2 2 2 1 2 2
  d3r1 R10 (r1 ) Y00 (1 , 1 )   d3r2 R10 (r2 ) Y00 (2 , 2 ) 
(1)
Eground
4 0  r1  r2 
 
_____________________ สมกำร (9.36)

1 2 2
มีอยู่หลำยวิธที ี่จะสำมำรถคำนวณผลของกำรอินทิเกรต  d3r2 R10 (r2 ) Y00 ( 2 , 2 ) ได้
r1  r2
1 1
วิธีหนึ่งก็คือกำรเขียน  ซึ่งในกำรอินทิเกรตตัวแปร d 3 r2 นั้น เรำ
r1  r2 r12  2r1  r2  r22
สำมำรถกำหนดให้ ẑ2 r1 ดังนั้น
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-21

1 1

r1  r2 r12  2r1r2 cos  2  r22

1 2 2 1 e 2 Zr1 a0
Z  2 Zr1
และจะทำให้  d3r2 R10 (r2 ) Y00 ( 2 , 2 )    e a0
ซึ่งเมื่อ
r1  r2 r1 r1 a0
แทนผลลัพธ์ดังกล่ำวเข้ำไปในสมกำร (9.36) จะได้ว่ำ
2
5  Ze 2  m
(1)
Eground     2 _____________________ สมกำร (9.37)
8  4 0  2

โดยที่เรำจะปล่อยให้เป็นหน้ำที่ของนักศึกษำ ที่จะต้องพิสูจน์ในทำงคณิตศำสตร์ เพื่อที่จะทรำบทีม่ ำ


ของสมกำรข้ำงต้น อย่ำงถ่องแท้

แบบฝึกหัด 9.4 จงพิสูจน์สมกำร (9.37) โดยเริ่มจำกสมกำร (9.36)


บอกใบ้: นักศึกษำสำมำรถศึกษำขัน้ ตอนในกำรอินทิเกรตอย่ำงละเอียดได้ใน “Theoretical Physics:
ท้ำยเล่มวิชำแกน”, Chapter Two-Electron System, Dr. Teepanis Chachiyo.

เพรำะฉะนั้น เมื่อแทน Z 2 เรำสำมำรถประมำณ Ground State Energy ของอะตอมฮีเลียม


ได้ว่ำ
2
 Ze 2  m  5
Eground 
 4 0   2  2    74.8eV ________________ สมกำร (9.38)
  2  8

ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลกำรทดลอง Eground
(exp.)
 79.0eV จะมีควำมคลำดเคลื่อนอยู่ที่ 5%
โดยประมำณ และนับว่ำเป็นที่น่ำพอใจในระดับหนึ่ง อย่ำงไรก็ตำม ยังมีวิธีในกำรประมำณที่ให้ผล
แม่นยำกว่ำนีม้ ำกนัก อำทิเช่น Hartree-Fock, หรือ CI Calculation

หัวข้อ 9.4 Degenerate Perturbation Theory


จำกกำรศึกษำ Perturbation Theory ที่ผ่ำนมำจะพบว่ำ เมื่อพิจำรณำเทอมที่ปรำกฏอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งก็
คือ

 k(0) Hˆ 1  n(0)
En(0)  Ek(0)
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-22

ในกรณีที่ Eigen Energy ของ Unperturbed Hamiltonian Ĥ 0 มีลักษณะที่เรียกว่ำ


Degenerate กล่ำวคือ

Degeneracy: เกิดกรณีที่ En(0)  Ek(0) ทั้งๆที่ nk

จะมีผลทำให้เทอมดังแสดงข้ำงต้น ลู่เข้ำสู่อนันต์และเกิดปัญหำในกำรคำนวณตำมมำอย่ำงหลีกเลี่ยง
ไม่ได้ ด้วยเหตุนเี้ อง ถ้ำ Eigenstate ของ Ĥ 0 อยู่ในสภำวะที่เป็น Degeneracy เสียแล้ว เรำ
จะต้องมำวิเครำะห์หำสูตรสำเร็จในกำรประมำณ Correction Energy จำกเดิมที่เขียนไว้ในสมกำร
(9.11) และ (9.13) กันเสียใหม่ทั้งหมด

นอกจำกนี้ Correction เทอมของ Eigenstate ดังแสดงในสมกำร (9.12) ก็จำเป็นจะต้องมีกำร


เปลี่ยนแปลงด้วย หำกแต่ด้วยควำมซับซ้อนที่จะตำมมำ และเกินขอบเขตของเนื้อหำ เรำจะไม่
กล่ำวถึงในกรณี Correction ของ Eigenstate

1st Order Energy Correction


เพื่อทีจ่ ะรับมือกับสถำนกำรณ์ของ Degeneracy เรำจะต้องเริ่มพิจำรณำกันตั้งแต่ต้น สมมุติว่ำ
Eigenstate ของ Hamiltonian Ĥ 0 มีอยู่ N สถำนะที่มีพลังงำน En(0) เท่ำกัน กล่ำวคือ

 n(0)
,i i  1, 2, ,N มีพลังงำน En(0) ________________ สมกำร (9.39)

จะสังเกตว่ำ เรำใช้เลขกำกับดัชนีของสถำนะข้ำงต้นถึง 2 ตัวเลขด้วยกันคือ n, i โดยที่ n แสดง


ถึงระดับพลังงำน ในขณะที่ i แสดงถึงสถำนะต่ำงๆที่มโี อกำสเป็นไปได้ ที่มีพลังงำนเท่ำกันในชั้น
ระดับพลังงำนอันนี้ และเพื่อที่จะให้นักศึกษำเข้ำใจควำมหมำยของสัญลักษณ์ดังในสมกำร (9.39)
อย่ำงเป็นรูปธรรม เรำจะยกตัวอย่ำงในกรณีของอะตอมไฮโดรเจน

เมื่อกล่ำวถึงสถำนะ Eigenstate ของอะตอมไฮโดรเจนเรำมักจะใช้สัญลักษณ์ n, , m เมื่อ


n  1, 2, คือเลข Quantum Number ที่บ่งบอกถึงระดับชั้นของพลังงำน ในขณะที่ และ m
แสดงถึงสมบัติเชิง Orbital Angular Momentum ของอิเล็กตรอน โดยที่  0,1,  n  1 และ
m   ,    1 , ,    1 ,   ด้วยเหตุที่ในแต่ละค่ำของ n มี  , m ที่เป็นไปได้อยู่
หลำยค่ำด้วยกัน สถำนะ Eigenstate ของไฮโดรเจน n, , m จึงมีลักษณะที่เป็น Degeneracy

ซึ่งถ้ำเรำคำนวณกันให้ดี ณ ระดับพลังงำน n ใดๆ จะมี Eigenstate อยู่ทั้งหมด N  n2 สถำนะที่


มีระดับพลังงำนเท่ำกัน หรือ กล่ำวเป็นภำษำที่ค่อนข้ำงเป็นทำงกำรว่ำ
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-23

ไฮโดรเจน ณ ระดับพลังงำน n มีอยู่อย่ำงน้อย N  n2 Fold Degeneracy

ยกตัวอย่ำงเช่น

ในระดับ n 1 มีอยู่อย่ำงน้อย N 1 Fold Degeneracy


ซึ่งก็คือ n, , m  1, 0, 0

ในระดับ n2 มีอยู่อย่ำงน้อย N 4 Fold Degeneracy


ซึ่งก็คือ n, , m  2,0,0 , 2,1, 1 , 2,1,0 , 2,1, 1

แบบฝึกหัด 9.5 จงพิสูจน์ว่ำไฮโดรเจน ณ ระดับพลังงำน n มีอยู่อย่ำงน้อย N  n2 Fold


Degeneracy และถ้ำนำ Spin ของอิเล็กตรอนเข้ำมำคิดร่วมด้วย ก็จะมี N  2n2 Fold
Degeneracy

และถ้ำเรำจะโยงสัญลักษณ์ที่เรำได้กล่ำวถึงในสมกำร (9.39) มำใช้อธิบำยกรณีข้ำงต้น จะได้ว่ำ

ไฮโดรเจน ณ n2 มี Eigenstate  2,(0)i i  1, 2,3, 4 _________ สมกำร (9.40)

เช่นนี้เป็นต้น Eigenstate ที่มีลกั ษณะ Degenerate ดังกล่ำวนี้ ยังมีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่ำ

กำหนดให้  n(0)
,i i  1, 2, ,N เป็น “Sub-Space” ของ Degenerate Eigenstate
____________________ สมกำร (9.41)

เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้ำย้อนกลับไปถึงกำรเขียน Eigenstate n ดังในสมกำร (9.6) โดยที่ในครำวนี้ เรำ


นำเอำควำมเป็น Degeneracy เข้ำมำวิเครำะห์ร่วมด้วย จะได้ว่ำ
N
 n   ci  n(0)
,i    n
(1)
  2  n(2)   3  n(3)  ___________ สมกำร (9.42)
i 1

เมื่อ ci  เป็นเซตของสัมประสิทธิ์ที่เหมำะสม ที่จะต้องทำกำรวิเครำะห์หำในลำดับต่อไป และเมื่อ


นำ  n ดังในสมกำร (9.42) แทนเข้ำไปในสมกำร (9.2) จำกนั้นแยกเขียนเฉพำะเทอมที่คณ ู อยู่กับ
1 จะได้ว่ำ
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-24

N N
Hˆ 0  n(1)  Hˆ 1  ci  n(0)
,i  En  n
(0) (1)
 En(1)  ci  n(0)
,i _________ สมกำร (9.43)
i 1 i 1

ข้ำงต้น มีลักษณะที่คล้ำยกับสมกำร (9.9) เป็นอย่ำงมำก เพียงแต่ว่ำ สมกำร (9.9) นั้นเป็นกรณีของ


Non-Degenerate ในขณะที่สมกำร (9.43) เป็นกรณีของ Degenerate 1st Order Perturbation
นั่นเอง

เมื่อนำสถำนะ Bra  n(0)


,j เข้ำประกบทั้งสองข้ำงของสมกำรข้ำงต้น จะได้วำ่

N N
, j H1  ci  n,i   n, j En  n , j En  ci  n,i
 n(0) ˆ ˆ
, j H0  n   n(0)   n(0)
(1) (0) (0) (0) (1) (1) (0)

i 1 i 1
N N
 ci , j H1  n,i  En  ci  n, j  n,i
 n(0) ˆ (0) (1) (0) (0)

i 1 i 1
ij
N
 ci  n(0) ˆ
, j H1  n,i  En c j
(0) (1)

i 1

________________ สมกำร (9.44)

ถ้ำเขียนสมกำรข้ำงต้นให้อยู่ในรูปของ Vector และ Matrix โดยนิยำมให้


 c1 
c 
Vector c 2
 
 
 cN 

  (0) Hˆ 1  n(0)  n(0) ˆ ˆ (0) 


,1 H1  n,2  n(0)
,1 H1  n, N
(0)
 n,1 ,1 
 (0) (0) 
 Hˆ 1  n(0)  n(0) Hˆ 1  n(0)  n(0) ˆ
H1  n, N 
และ Matrix H1   n,2 ,1 ,2 ,2 ,2

 
 (0) 
  n, N Hˆ 1  n(0)  n(0) ˆ
, N H1  n,2
(0)
 n(0) Hˆ 1  n, N 
(0)
,1 ,N 
___________________ สมกำร (9.45)
ดังนั้นสมกำร (9.44) แปรสภำพเป็น
H1c  En(1) c ___________________ สมกำร (9.46)

Matrix Element ของ Degenerate Sub-Space ในสมกำร (9.45) และสมกำรที่อยู่ในรูป Eigen


Matrix Mquation ในสมกำร (9.46) เป็นสมกำรที่สำคัญในกำรคำนวณ 1st Order Energy
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-25

Correction En(1) และเพื่อที่จะให้นักศึกษำคุ้นเคยกับกำรนำสมกำรทัง้ สองมำใช้งำน เรำลองมำ


วิเครำะห์ Stark Effect ที่เกิดขึ้นกับอะตอมไฮโดรเจน

Stark Effect
Stark Effect เป็นปรำกฏกำรณ์ทสี่ เปกตรัมกำรดูกลืนแสดง หรือ ระดับพลังงำนของอะตอม มีกำร
เปลี่ยนแปลงสืบเนื่องมำจำกสนำมไฟฟ้ำที่ป้อนเข้ำไป เพื่อเป็นตัวอย่ำงในกำรนำ Degenerate
Perturbation Theory มำประยุกต์ใช้งำน เรำจะพิจำรณำไฮโดรเจนในสถำนะ Ground State
n  1 และ สถำนะ Excited State n  2

ดังแสดงใน ภำพ (9.1) Hamiltonian ของระบบที่ประกอบด้วยอะตอมไฮโดรเจนและสนำมไฟฟ้ำ


ภำยนอกนั้น อยู่ในรูปของ

pˆ 2 e2 Z
Hˆ    e E zˆ
2m 4 0 r
Hˆ 0

และเมื่อต้องกำรทรำบ Energy Eigenstate ของ Ĥ โดยใช้วิธี Perturbation เรำกำหนดให้


pˆ 2
e Z 2
Unperturbed Hamiltonian คือ Hˆ 0   และ Perturbing Hamiltonian คือ
2m 4 0 r
Hˆ 1  e E zˆ

ในสถำนะ Ground State n  1 จะเห็นว่ำ Eigenstate ของ Unperturbed Hamiltonian Ĥ 0


นั้นอยู่ในสภำวะที่เป็น Non-Degenerate กล่ำวคือ n, , m  1, 0, 0 และ 1st Order Energy
Correction ของ Ground State นั้นก็คือ

(1)
Eground   ground
(0)
Hˆ 1  ground
(0)

เมื่อ  ground
(0)
(r )  R10 (r )Y00 ( ,  ) คือ Ground State Wave Function ของไฮโดรเจน ซึ่งเมือ

ทำกำรอินทิเกรตจะพบว่ำ

(1)
Eground (0)
  d3 r ground  
(r ) e E r cos   ground
(0)
(r )

  2
2
  2

 e E   dr r 3 R10 (r )     d d sin  cos  Y00 ( ,  ) 
 0   0 0 
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-26

สมกำรข้ำงต้น เกิดจำกกำรเขียน Perturbing Hamiltonian Hˆ 1  e E zˆ  e E r cos


และแยกกำรอินทิเกรตออกเป็นสองส่วนด้วยกันคือ dr r 2 และ d d sin 

 2 2
อย่ำงไรก็ตำม เนื่องจำก   d d sin  cos Y00 ( ,  ) 0 จะมีผลทำให้ 1st Order Energy
0 0
Correction เนื่องจำกสนำมไฟฟ้ำ
(1)
Eground 0 ___________________ สมกำร (9.47)

เพรำะฉะนั้นแล้ว เรำสรุปได้ว่ำ เมื่อป้อนสนำมไฟฟ้ำภำยนอกที่มีควำมเข้ม E เข้ำไปในอะตอม


ไฮโดรเจน ระดับพลังงำน Ground State แทบจะไม่มีกำรเปลี่ยนแปลงเลย หรือถึงจะมี ก็น้อย
มำก ซึ่งอยู่ในระดับ 2nd Order Correction เพียงเท่ำนั้น

ในสถำนะ 1st Excited State n  2 จะเห็นว่ำ Eigenstate ของ Unperturbed Hamiltonian Ĥ 0


นั้นมีลักษณะเป็น 4-Fold Degeneracy กล่ำวคือ n, , m  2,0,0 , 2,1, 1 , 2,1,0 , 2,1, 1
ในโจทย์ข้อนี้เรำต้องกำรทรำบ 1st Order Energy Correction E1st(1)excite ของระบบ

แต่เนื่องจำกควำมเป็น 4-Fold Degeneracy ของ Eigenstate ดังกล่ำว เรำจำเป็นต้องใช้


Degenerate Perturbation Theory ดังแสดงในสมกำร (9.46) และเพื่อควำมชัดเจน กำหนดให้

 n(0)
,i i  1, 2,3, 4 เป็น Sub-Space ของ Degenerate Eigenstate
i 1  n(0)
,1  2, 0, 0

i2  n(0)
,2  2,1, 1

i 3  n(0)
,3  2,1, 0

i4  n(0)
,4  2,1, 1

ขั้นตอนต่อไป คือกำรสร้ำง Sub-Space Perturbation Matrix ขนำด 4x4 ดังแสดงในสมกำร (9.45)


ได้ดังต่อไปนี้
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-27

 2, 0, 0 Hˆ 1 2, 0, 0 2, 0, 0 Hˆ 1 2,1, 1 2, 0, 0 Hˆ 1 2,1, 0 2, 0, 0 Hˆ 1 2,1, 1 


 
 2,1, 1 Hˆ 2, 0, 0
1 2,1, 1 Hˆ 2,1, 1
1 2,1, 1 Hˆ 2,1, 0
1 2,1, 1 Hˆ 1 2,1, 1 
H1   
 2,1, 0 Hˆ 1 2, 0, 0 2,1, 0 Hˆ 1 2,1, 1 2,1, 0 Hˆ 1 2,1, 0 2,1, 0 Hˆ 1 2,1, 1 
 
 2,1, 1 Hˆ 1 2, 0, 0 2,1, 1 Hˆ 1 2,1, 1 2,1, 1 Hˆ 1 2,1, 0 2,1, 1 Hˆ 1 2,1, 1 

ไม่ใช่เรื่องง่ำยนักที่เรำจะทำกำรอินทิเกรตหำสมำชิกของ Matrix ทั้ง 16 ชุด แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เกิน


ควำมสำมำรถของนักศึกษำจนเกินไป ถ้ำทรำบเทคนิค และมีกระบวนกำรคิดอย่ำงเป็นขั้นตอน
อินทิกรัลทั้ง 16 เทอมข้ำงต้นสำมำรถลดรูปให้อยู่ในรูปของ

 d r  n, ,m (r )  z  n, ,m (r ) 
3

เมื่อ
 r, ,   Rn, (r )Y m ( , )
 n, ,m

 n   1!   2 (2 1) และ


32
 2Z  2Z r
Rn, (r )     e Ln  1 (  )  
 na0  2n  n  l  ! n a0

2  1   m ! m
Y m ( ,  )   P (cos  )eim
4   m !

1)
n  1 (  )
L(2 คือ Associated Laguerre Polynomial , Y m ( ,  ) คือ Spherical Harmonics ,
และ P m ( x) คือ Associated Legendre Polynomial

และอำศัยเวลำพอสมควรเรำจะบอกได้ว่ำ

n 2    1   1  m 2
2 2
 3a0
 d r  n, ,m (r ) 
3
z  n, ( r ) 
   n ถ้ำ   1 และ
 2  1 2  3
,m
2Z

m  m
___________________ สมกำร (9.48)

ซึ่งเมื่อแทน Z 1 และ n2 จะได้

 0 0 3a0 e E 0
 
 0 0 0 0
H1   
3a0 e E 0 0 0
 
 0 0 0 0
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-28

___________________ สมกำร (9.49)

แบบฝึกหัด 9.6 จงพิสูจน์สมกำร (9.48)

แบบฝึกหัด 9.7 นำสมกำร (9.48) มำประยุกต์ใช้ในกำรคำนวณ Perturbation Matrix ดังในสมกำร


(9.49)

เมื่อนำ Matrix ข้ำงต้นมำคำนวณหำ Eigenvalue ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ำยของ 1st Order Energy


Correction ดังแสดงในสมกำร (9.46) ซึ่งจะพบว่ำมี Eigenvalue ทั้งสิ้น 4 ค่ำด้วยกันคือ

(1)
E1st 
excite  3a0 e E , 0, 0, 3a0 e E  ______________ สมกำร (9.50)

Stark Effect
3e E
1st Excited
3e E
Ground

Ĥ 0 Hˆ 0  Hˆ 1

E
ภำพ (9.4) แสดงผลของสนำมไฟฟ้ำต่อระดับพลังงำนของอะตอมไฮโดรเจน

จำกกำรคำนวณที่ผ่ำนมำ ในแง่ของ Stark Effect ซึ่งมีผลลัพธ์ดังในสมกำร (9.47) และ สมกำร (9.50)


เรำสำมำรถสรุปโดยอำศัย ภำพ (9.4) ได้ดังต่อไปนี้

อะตอมไฮโดรเจนโดยตัวมันเอง ขณะที่ยังไม่มสี นำมไฟฟ้ำภำยนอก มีสถำนะต่ำงๆ ซึ่งอยู่ในระดับ


พลังงำนต่ำงๆกัน หนึ่งในนั้น ก็คือ Ground State และ 1st Excited State

1) ในระดับพลังงำน Ground State อิเล็กตรอนอยู่ในสถำนะ n, , m  1, 0, 0 และมีพลังงำนต่ำ


ที่สุด
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-29

2) ในระดับพลังงำน 1st Excited State อิเล็กตรอนมีได้ทั้งสิ้น 4 สถำนะด้วยกันคือ


2,0,0 , 2,1, 1 , 2,1,0 , 2,1, 1 ซึ่งมีพลังงำนเท่ำกันทัง้ หมด ดังจะเห็นได้จำกภำพซีกซ้ำยมือ ซึ่ง
แสดงด้วยเส้นตรง 4 เส้นที่อยู่ในระดับเดียวกัน

เมื่อมีสนำมไฟฟ้ำภำยนอก ที่มีควำมเข้มเท่ำกับ E เข้ำมำในระบบ ปรำกฏว่ำระดับพลังงำนชั้น


ต่ำงๆก็จะต้องมีกำรเปลี่ยนแปลง โดยประมำณแล้ว (1st Order Energy Correction) จำก ภำพ
(9.4) จะเห็นว่ำ ระดับพลังงำน Ground State ยังคงไม่มีกำรเปลีย่ นแปลงแต่อย่ำงใด ในขณะที่
ระดับพลังงำน 1st Excited State นั้น แยกออกเป็น 3 ระดับ: 3a0e E , 0 , และ 3a0e E
จะเป็นว่ำ ขนำดของพลังงำนที่แยกออกมำนั้น แปรผันตรงกับขนำดควำมเข้มของสนำมไฟฟ้ำที่ป้อนเข้ำ
ไป

Stark Effect ที่เรำได้หยิบมำเป็นตัวอย่ำงของกำรคำนวณ 1st Order Energy Correction En(1) นัน้


ก็เพื่อให้นักศึกษำสำมำรถเห็นกำรนำ Degenerate Perturbation Theory มำประยุกต์ใช้งำนอย่ำง
เป็นรูปธรรม ซึ่งในที่นี้เรำจะสรุปขั้นตอนโดยทั่วไป ดังต่อไปนี้

1. กำหนด Hamiltonian Hˆ  Hˆ 0  Hˆ 1
2. พิจำรณำ Sub-Space ของ Degenerate Eigenstate  n(0)
,i i  1, 2, ,N

3. สร้ำง Sub-Space Perturbation Matrix H1 ซึ่งคำนวณได้จำกสมกำร (9.45)


4. คำนวณ Eigenvalue ของ Matrix ในข้อ 3 ซึง่ จะได้ผลลัพธ์เป็นเซตของ  En(1) 

หัวข้อ 9.5 Application - Relativistic Correction


ระดับพลังงำน Ground State ของไฮโดรเจนที่กลศำสตร์ควอนตัมได้ทำนำยเอำไว้ว่ำมีค่ำเท่ำกับ
Eground  13.6eV ตลอดจนสเปกตรัมกำรดูกลืนแสงที่ผลกำรคำนวณตรงกันอย่ำงน่ำทึ่งกับผล
กำรทดลอง อย่ำงไรก็ตำม ถ้ำพิจำรณำโดยละเอียดแล้ว ยังมีอันตรกริยำอื่นๆทีเ่ กิดขึ้นภำยในอะตอม
ไฮโดรเจนที่เรำยังไม่ได้นำมำวิเครำะห์ร่วมด้วย อำทิเช่น Relativistic Correction ของพลังงำนจลน์
และ Spin-Orbit Interaction ซึ่งจะได้กล่ำวถึงโดยละเอียดในลำดับต่อไป อันตกริยำที่เกิดขึ้น
เหล่ำนี้ จะเป็นที่มำของสิ่งที่เรียกว่ำ Lamb Shift ซึ่งเป็นงำนที่ทำให้ W.E. Lamb ได้รับรำงวัลโนเบล
ในปี 1953. (W.E. Lamb and R.C. Retherford, Phys.Rev.72: 241 (1947) และ Phys.Rev.86:
1014 (1952))
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-30

Relativistic Correction ของพลังงานจลน์


เมื่อเรำพิจำรณำ Hamiltonian ของอะตอมไฮโดรเจน โดยทั่วไปนั้น เรำมองว่ำพลังงำนจลน์ของ
อิเล็กตรอนซึ่งมีมวล m มีค่ำเท่ำกับ

pˆ 2
Classical Kinetic Energy: Kˆ  ______________ สมกำร (9.51)
2m

อย่ำงไรก็ตำม ถ้ำพิจำรณำให้ละเอียดถึงปรำกฏกำรณ์เชิงสัมพัทภำพพิเศษ ที่เมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่


ด้วยควำมเร็วสูงขึ้น มวลของมันก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้สมกำรในกำรคำนวณพลังงำนจลน์ข้ำงต้น
มีควำมผิดพลำดอยู่เล็กน้อย

ถ้ำเรำทบทวนเนื้อหำของ Special Relativity พื้นฐำน จะพบว่ำ พลังงำนจลน์ของอนุภำคควรจะอยู่


ในรูปของ

 
2
Relativistic Kinetic Energy: Kˆ  pˆ 2c 2  mc 2  mc 2 ______________ สมกำร (9.52)

เมื่อ c คือควำมเร็วแสง และ m คือ Rest Mass ของอิเล็กตรอน ดูผิวเผินนั้น รำวกับว่ำ รูปแบบ
ทำงคณิตศำสตร์ในสมกำร (9.52) มีควำมแตกต่ำงโดยสิ้นเชิงกับสมกำร (9.51) แต่ว่ำถ้ำเรำเขียน
Relativistic Kinetic Energy ให้อยู่ในรูปของ Taylor Expansion ดังนี้

pˆ 2 pˆ 4 pˆ 6
Relativistic Kinetic Energy: Kˆ   3 2  ______________ สมกำร
2m 8m c 16m5 c 4
(9.53)

จะเห็นว่ำเทอมแรกของ Relativistic Kinetic Energy นั้น ตรงกันพอดีกับ Classical Kinetic


pˆ 4
Energy เพียงแต่ว่ำพลังงำนจลน์ดังในสมกำร (9.53) มี Correction เทอม 
8m3c 2
เพรำะฉะนั้นถ้ำจะเขียน Hamiltonian ของไฮโดรเจนเสียใหม่ โดยนำเอำ Relativistic Correction
ของพลังงำนจลน์เข้ำมำร่วมวิเครำะห์ด้วย ซึ่งก็คือ

pˆ 2 e2 Z pˆ 4
Hˆ    3 2 ______________ สมกำร (9.54)
2m 4 0 r 8m c
Hˆ 0 Hˆ K

เมื่อ
pˆ 4
Hˆ K   ______________ สมกำร (9.55)
8m3c 2
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-31

คือ Relativistic Correction Hamiltonian ของพลังงำนจลน์ และในโจทย์ข้อนี้เรำต้องกำรที่จะ


ทรำบว่ำ Eigen Energy ของ Hamiltonian ดังในสมกำร (9.54) มีค่ำเท่ำใด และจะเปลีย่ นแปลงไป
จำก Hamiltonian Ĥ 0 เดิมอย่ำงไร

เนื่องจำก Hamiltonian Ĥ 0 เป็นของอะตอมไฮโดรเจน ซึ่งมี Eigenstate ที่แสดงด้วยสัญลักษณ์


n, , m และเมื่อพิจำรณำเฉพำะระดับพลังงำน n ใดๆ จะพบว่ำมีอยู่ทั้งสิ้น n2 Fold
Degeneracy ดังนั้นเรำจำเป็นต้องใช้ Degenerate Perturbation Theory ในกำรตอบโจทย์ทตี่ ั้ง
ไว้ข้ำงต้น

พิจำรณำ ณ ระดับพลังงำน n ของไฮโดรเจน กำหนดให้ Sub-Space Eigenstate คือ


 n(0)
,i i  1, 2, , N เมื่อ N  n2 เพื่อควำมชัดเจน เรำจะกำหนดให้ดัชนี i ที่มีค่ำตั้งแต่ 1

จนถึง N นั้น แสดงถึงสถำนะต่ำงๆ ดังต่อไปนี้

i 1  n(0)
,1  n,  0, m  0

i2  n(0)
,2  n,  1, m  1

i 3  n(0)
,3  n,  1, m  0

i4  n(0)
,4  n,  1, m  1

i 5  n(0)
,5  n,  2, m  2

iN , N  n,   n  1 , m  
 n(0)

กล่ำวโดยสรุปก็คือเรำแบ่ง  n(0)
,i i  1, 2, ,N ออกเป็นกลุ่มๆ โดยอำศัย Orbital Angular
Momentum l เป็นเกณฑ์ และในกลุ่มที่มี l เดียวกัน เรำก็เรียง m Quantum Mumber จำก
น้อยไปหำมำก m   ,    1 , ,    1 , 

ขั้นตอนต่อไปของ Degenerate Perturbation Theory ก็คือกำรคำนวณ Matrix Element


H1ij   n(0),i Hˆ K  n(0), j เหมือนดังสมกำร (9.45) ทั้งนี้สมมุติให้

 n(0)
,i แทนอิเล็กตรอนอยู่ในสถำนะ n, , m

 n(0)
,j แทนอิเล็กตรอนอยู่ในสถำนะ n, , m
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-32

ดังนั้น
ˆ ˆ
,i H K  n, j  n, , m H K n, , m
 n(0) (0)

เพื่อควำมสะดวกในกำรคำนวณ Matrix Element ข้ำงต้น เรำเขียน Operator Hˆ K เสียใหม่ได้ว่ำ

2 2
pˆ 4  pˆ 2 
1 1  e2 Z 
Hˆ K     
2  2m 
   Hˆ 0  
3 2
8m c 2mc   2mc 2  4 0 r 
เพรำะฉะนั้น
2
1  e2 Z 
n, , m Hˆ K n, , m   n , , m  Hˆ 0   n, , m
2mc 2  4 0 r 

 
 (0) 2 
 En

  n, , m n, , m 

1  (0) e
2
1 
   2 E n, , m n, , m 

2 n
2mc  4 0 r 
 2 
  e2  1 
  4  n, , m 2 n, , m
 Z 
  0  r 
__________________ สมกำร (9.56)

จะเห็นว่ำ ผลลัพธ์ของสมกำรข้ำงต้นประกอบด้วย 3 เทอมด้วยกัน สิ่งที่เรำสรุปได้ทันทีก็คือ

n, , m Hˆ K n, , m  0 ถ้ำ  ______________ สมกำร (9.57)

1
แบบฝึกหัด 9.8 จงพิสูจน์สมกำร (9.57) โดยกำรเขียน n, , m n, , m , n, , m n, , m ,
r
1
n, , m n, , m ให้อยู่ในรูปอินทิกรัลของ Wave Function และสังเกตอินทิกรัลในส่วนของ
r2
 2
  d d sin 
0 0

แบบฝึกหัด 9.9 จงพิสูจน์สมกำร (9.57) โดยเริ่มจำกสมบัติที่ว่ำ  Hˆ K , Lˆ2   0  Hˆ K Lˆ2  Lˆ2 Hˆ K


 
บอกใบ้: พิจำรณำ n, , m  Hˆ K , Lˆ2  n, , m
 
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-33

สมบัติที่ว่ำ n, , m Hˆ K n, , m  0 ถ้ำ   ดังกล่ำวนี้มีควำมสำคัญมำก เพรำะจะทำให้


Matrix Element H1ij   n(0),i Hˆ K  n(0), j มีลักษณะเป็น Block สี่เหลี่ยมย่อยๆในแนวทแยง ที่
ซ้อนอยู่ภำยในตัว Matrix อีกทีหนึ่ง ดังแสดงใน ภำพ (9.5)

Sub-Space Perturbing Matrix Block


 0 1 2   n  1
0
0
0 0
0 0 1

H1  0 0

0   n  1

: Eigenvalue Matrix H1
Eigenvalue Block
ภำพ (9.5) แสดงลักษณะของ Matrix H1 ที่เป็นผลสืบเนื่องมำกจำกสมบัติที่ว่ำ
n, , m Hˆ K n, , m  0 ถ้ำ  

จำกภำพ เมื่อเรำทำกำรจำแนก  n(0)


,i ออกเป็นกลุ่มๆโดยอำศัยขนำดของ Orbital Angular
Momentum เป็นเกณฑ์ ดังนั้นสมกำร (9.57) จะมีผลให้ Matrix Element ระหว่ำงสถำนะที่อยู่
คนละกลุ่มกัน มีค่ำเท่ำกับศูนย์ ดังจะเห็นในภำพที่ใหญ่ของ Matrix Element มีค่ำเป็นศูนย์ ยกเว้น
ในแนวทแยงเพียงเท่ำนั้น

ลักษณะเช่นนี้เรำมักจะเรียกว่ำ Matrix H1 แบ่งออกเป็น Block ย่อยๆในแนวทแยง หรือ “Block


Diagonal Matrix” ซึ่งในแต่ละ Block ที่คือกลุ่มของ  n(0),i ที่มีขนำดของ Angular Orbital
Momentum เท่ำกัน

ในลำดับสุดท้ำยของ Degenerate Perturbation Theory ก็คือกำรคำนวณ Eigenvalue ของ Matrix


H1 ซึ่งลักษณะของ H1 ดังใน ภำพ (9.5) มีควำมสำคัญมำกที่จะช่วยให้เรำสำมำรถหำ
Eigenvalue ได้อย่ำงไม่ยำกนัก อำศัยทฤษฏีบทที่เกี่ยวข้องกับ Matrix และ Eigenvalue ของ
Matrix ที่ว่ำ
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-34

Eigenvalue ของ Block Diagonal Matrix มีค่ำเท่ำกับ Eigenvalue ของแต่ละ Block

ด้วยเหตุนเี้ อง เรำจะพิจำรณำเฉพำะ Eigenvalue ของแต่ละ Block ที่มี Quantum Number n


และ เท่ำกัน

Block ของ Quantum Number n, H 


( n, )
1
mm
 n, , m Hˆ K n, , m

และจำกสมกำร (9.56) ประกอบกับเอกลักษณ์ที่เรำได้วิเครำะห์มำแล้วในกรณีของไฮโดรเจน ที่ว่ำ


1 Z 1 2Z 2
 2 และ  จะพบว่ำ
r n a0 r2 n3 a02  2  1

1 0 0
   
2 2
En(0)  0  En(0)  4
4 8n  0 1 8n 
H1( n, )   
 Z 2 1  
1     1 I
mc 2
   mc  Z 2  1 
2
 
0 0 1

เนื่องจำก Matrix ข้ำงต้นอยู่ในรูปของ Diagonal Matrix อยู่เรียบร้อยแล้ว เรำบอกได้ทันทีว่ำ


Eigenvalue ของมันมีค่ำเท่ำกับ

E 
2
(0)
n 2 4n 1
Relativistic Kinetic Energy Correction En(1)   Z  2 1  2  ___ สมกำร (9.58)
mc 2
 

ซึ่งในควำมหมำยของ Degenerate Perturbation Theory สมกำรข้ำงต้นก็คือ 1st Order Energy


Correction เนื่องจำก Relativistic Correction ของพลังงำนจลน์ ซึ่งเป็นปรำกฏกำรณ์ที่เกิดจำก
ผลของทฤษฏสัมพัทธภำพพิเศษของไอน์สไตน์

Spin-Orbit Coupling
พิจำรณำกำรเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนภำยในอะตอมไฮโดรเจน ถ้ำในขณะหนึ่งๆ อิเล็กตรอนมี
ควำมเร็ว v ในมุมมองของอิเล็กตรอน หรือที่เรียกว่ำ ในกรอบอ้ำงอิงของอิเล็กตรอน จะมองเห็น
นิวเคลียสเคลื่อนที่ด้วยควำมเร็ว v และถ้ำเรำทบทวนเนื้อหำของวิชำแม่เหล็กไฟฟ้ำพื้นฐำนจะ
พบว่ำ จำกกฎของ Biot-Savart เมื่ออนุภำคที่มีประจุ Q   Ze เคลื่อนที่ดว้ ยควำมเร็ว v จะ
ทำให้เกิดสนำมแม่เหล็กขึ้น ดังแสดงใน ภำพ (9.6)
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-35

Spin-Orbit Coupling
e
v
v r
Q   Ze
Biot-Savart Q   Ze
v

 vr
B   0 Ze
4 r3
ภำพ (9.6) แสดงกลไกของอันตรกริยำที่เรียกว่ำ Spin-Orbit Coupling

0 vr
B Ze 3 ___________________ สมกำร (9.59)
4 r

เมื่อ 0  4 107 T  m A คือ Permeability of Free Space ในหน่วยของ SI จะสังเกตว่ำ


เทอม v  r ที่ปรำกฏอยู่ทำงขวำมือของสมกำรข้ำงต้น มีควำมสัมพันธ์กับคำนิยำมของ Orbital
Angular Momentum ของอิเล็กตรอนที่ว่ำ L  r  p  mv  r และเมื่อแทนเข้ำไปในสมกำร
จะทำให้

Ze0 L
B ___________________ สมกำร (9.60)
4 m r 3

นั่นก็หมำยถึง สนำมแม่เหล็ก B ที่เกิดขึ้น มีควำมสัมพันธ์โดยตรงกับ Orbital Angular


Momentum L ของอิเล็กตรอน ในขณะที่มันกำลังเคลื่อนที่ ซึ่งเรำสำมำรถสรุปต้นกำเนิดของ
สนำมแม่เหล็กดังในสมกำร (9.60) อีกครั้งหนึ่ง ดังต่อไปนี้

1. อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ภำยในอะตอมด้วยควำมเร็ว v
2. ในมุมมองของอิเล็กตรอน มันเห็นนิวเคลียสเคลื่อนที่ด้วยควำมเร็ว v
3. จำกกฎของ Biot-Savart และ ทฤษฏีแม่เหล็กไฟฟ้ำพื้นฐำน เมือ่ อนุภำคที่มีประจุ Ze มีกำร
เคลื่อนที่ ย่อมทำให้เกิดสนำมแม่เหล็กขึ้นในบริเวณใกล้เคียง ดังในสมกำร (9.59)
4. เนื่องจำกเทอม v  r ที่ปรำกฏ เรำสำมำรรถโยงควำมสัมพันธ์ระหว่ำงสนำมแม่เหล็ก และ
Orbital Angular Momentum ของอิเล็กตรอน
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-36

กำรวิเครำะห์ในเรื่องของ Spin-Orbit Coupling จะมีควำมซับซ้อนมำกขึ้น เมื่อเรำมองต่อไปอีกว่ำ


สนำมแม่เหล็ก B เกิดมีอันตกริยำกับ Magnetic Moment ของอิเล็กตรอน เพรำะฉะนั้น
พลังงำนของอันตกริยำดังกล่ำวก็คอื

 g  e    Ze0 L  Ze2 0
μ  B    S   3
 LS
 2m   4 m r  4 m r
2 3

gq
จะเห็นว่ำ Magnetic Moment μ S นั้น มีแหล่งกำเนิดมำจำก Spin ของอิเล็กตรอนเอง
2m
และ g-Factor g  2 ในกรณีของอิเล็กตรอน แต่ในบำงครั้งเรำนิยมที่จะทำให้ Permeability of
Free Space 0 หำยไปจำกสมกำร โดยอำศัยควำมสัมพันธ์ที่ว่ำ  0 0  1 c2 เมื่อ c คือ
ควำมเร็วของแสงในสุญญำกำศ และเขียน อันตรกริยำดังกล่ำวในรูปทั่วไป ได้ว่ำ

Ze 2 L  S
μ  B  ___________________ สมกำร (9.61)
4 0 m 2 c 2 r 3

เพื่อที่จะวิเครำะห์อินตรกริยำดังกล่ำวในกรอบระเบียบวิธีของกลศำสตร์ควอนตัม เรำจะต้องเขียน
พลังงำนที่ปรำกฏในสมกำรข้ำงต้น ให้อยู่ในรูปของ Operator

e2 Z
Hˆ SO  Lˆ  Sˆ ___________________ สมกำร (9.62)
4 0 m2 c 2 rˆ 3

Hamiltonian ดังในสมกำรข้ำงต้นมีชื่อว่ำ “Spin-Orbit Interaction” หรือมักจะเขียนโดยย่อว่ำ SO


Hamiltonian ดังกล่ำว แสดงถึงอันตรกริยำระหว่ำงสมบัติเชิงฟิสิกส์ 2 ปัจจัยด้วยกันคือ

gq
1) Magnetic Moment μ S ของอิเล็กตรอน ซึ่งมีที่มำจำก Spin และ
2m
Ze0 L
2) สนำมแม่เหล็ก B ที่เกิดขึ้นภำยในอะตอม B ซึ่งมีที่มำจำก Orbital Angular
4 m r 3
Momentum ของอิเล็กตรอนเอง

จึงเป็นที่มำของชื่อ Spin-Orbit Interaction ดังกล่ำว อย่ำงไรก็ตำม Spin-Orbit Hamiltonian ดัง


ในสมกำร (9.62) นั้นมีข้อผิดพลำดซึ่งค้นพบเป็นครั้งแรกโดย Llewellyn Thomas เรียกว่ำ Thomas
Precession เนื่องจำกเรำลืมนำเอำผลเชิง Special Relativity ของกำรเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนเข้ำ
มำเกี่ยวข้อง ด้วยข้อจำกัดของเนื้อหำ เรำจะไม่ขยำยควำม Thomas Effect ไปมำกกว่ำนี้ (L.H.
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-37

Thomas, Nature. 117,514 (1926)) แต่ในท้ำยที่สุดแล้ว มีผลให้ Hamiltonian ĤSO ในสมกำร


(9.62) มีขนำดลดลงเป็นครึ่งหนึ่ง หรือ

e2 Z
Hˆ SO  Lˆ  Sˆ ________________ สมกำร (9.63)
4 0 2m2 c 2 rˆ 3

ดังนั้น เมื่อเรำพิจำรณำอะตอมไฮโดรเจน และนำ Spin-Orbit Interaction เข้ำมำวิเครำะห์ร่วมด้วย


จะทำให้ Hamiltonian อยู่ในรูปของ

pˆ 2 e2 Z e2 Z
Hˆ    Lˆ  Sˆ ________________ สมกำร (9.64)
2m 4 0 r 4 0 2m 2 c 2 rˆ 3
Hˆ 0
Hˆ SO

โดยที่เรำสำมำรถที่จะมองว่ำ Hˆ SO เป็น Perturbing Hamiltonian และสำมำรถนำกลไกของ


Degenerate Perturbation Theory มำช่วยในกำรประมำณ Energy Eigenvalue ของ
Hamiltonian ในสมกำร (9.64) ได้

ดังที่ได้เห็นในสมกำร (9.41) จุดเริ่มต้นก็คือ เรำจะต้องกำหนด Sub-Space Eigenstate กัน


เสียก่อน ทั้งนี้เมื่อเรำพิจำรณำระดับพลังงำน n ของไฮโดรเจน จะพบว่ำมีอยู่อย่ำงน้อย N  n2
Fold Degeneracy อย่ำงไรก็ตำม Degeneracy ดังกล่ำว เกิดขึ้นจำกกำรที่เรำพิจำรณำเพียง
Orbital Angular Momentum ของอิเล็กตรอนเพียงเท่ำนั้น

ซึ่งถ้ำนำ Spin ของอิเล็กตรอนเข้ำมำวิเครำะห์ร่วมด้วยจะพบว่ำ ในแต่ละสถำนะ n, , m ของ


อิเล็กตรอนนั้น มันอำจจะมี Spin Quantum Mumber เป็น ms   1 2 หรือ ms  1 2 ก็ได้
ทำให้จำนวน Degeneracy ของอิเล็กตรอนในระดับพลังงำน n มีค่ำเท่ำกับ 2n 2

อนึ่ง กำรที่เรำจะต้องนำ Spin Degree of Freedom เข้ำมำวิเครำะห์ร่วมด้วย ก็เพรำะว่ำ


Hamiltonian ĤSO ในสมกำร (9.64) มีส่วนที่เกี่ยวข้องอยู่กับ Spin ของอิเล็กตรอน ซึ่งแตกต่ำง
pˆ 2 e2 Z
จำกในอดีตที่ Hamiltonian Hˆ 0   ที่ไม่ขึ้นอยู่กับ Spin แต่อย่ำงใด
2m 4 0 r

เมื่อเป็นเช่นนี้ เรำจะเขียนสถำนะของอิเล็กตรอนด้วยเลข Quantum Number ถึง 4 ตัวด้วยกันคือ

สถำนะของอิเล็กตรอน ในอะตอมไฮโดรเจน n, , m , ms ___________ สมกำร (9.65)


บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-38

โดยที่ n  1, 2, ,  0,1, ,  n  1 , m  ,    1 , ,    1 ,   และ


ms   1 2 และจะพบว่ำ เมื่อพิจำรณำ ณ ระดับพลังงำน n ใดๆ จะมี Sub-Space
Eigenstate ทั้งสิ้น N  2n2 สถำนะ ด้วยกัน

ในขั้นตอนต่อไปของ Degenerate Perturbation Theory ก็คือกำรคำนวณ Matrix Element ของ


Perturbing Hamiltonian ĤSO ดังที่ได้อธิบำยในสมกำร (9.45) หรืออีกนัยหนึ่ง ต้องคำนวณ

e2 Z 2 Lˆ  Sˆ
n, , m , ms Hˆ SO n, , m , ms  n, , m , ms n, , m , ms
4 0 4m2 c 2 rˆ
3

____________________ สมกำร (9.66)

Operator 2Lˆ  Sˆ ที่ปรำกฏอยู่ทำงขวำมือของสมกำรนั้น สำมำรถเขียนให้อยู่ในรูป

2Lˆ  Sˆ  Lˆx Sˆx  Lˆ y Sˆ y  Lˆz Sˆz  Lˆ Sˆ  Lˆ Sˆ  2Lˆz Sˆz ____________ สมกำร (9.67)

เมื่อ L̂ และ Ŝ คือ Raising หรือ Lowering Operator ของ Orbital Angular Momentum และ
Spin Angular Momentum ตำมลำดับ ซึ่งมีสมบัติที่เมื่อกระทำกับสถำนะ n, , m , ms จะมี
ผลทำให้

Lˆ n, , m , ms    1  m  m  1 n, , m  1, ms
Lˆ n, , m , ms    1  m  m  1 n, , m  1, ms
Sˆ n, , m , ms  1 2  n, , m , ms  1 2 Sˆ n, , m , ms   1 2  0
Sˆ n, , m , ms  1 2  0 Sˆ n, , m , ms  1 2  n, , m , ms  1 2
____________ สมกำร (9.68)

จำกสมบัติดังกล่ำว ผนวกกับสมกำร (9.67) เรำบอกได้ทันทีว่ำ

n, , m , ms Hˆ SO n, , m , ms  0 ถ้ำ  ____________ สมกำร (9.69)

สมบัติข้ำงต้นข้อนี้ มีผลคล้ำยกับในกรณีของ Relativistic Kinetic Energy Correction ดังแสดงใน


ภำพ (9.5) ที่ทำให้ Matrix Element มีลักษณะที่เป็น Block Diagonal Matrix

เพรำะฉะนั้นเรำจะพิจำรณำอินทิกรัลข้ำงต้นเฉพำะในกรณีที่  กล่ำวคือ
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-39

n, , m , ms Hˆ SO n, , m , ms
e2 Z 2 Lˆ  Sˆ
 n, , m , ms n, , m , ms
4 0 4m 2 c 2 rˆ
3


e2 Z 2  1
  dr r Rn (r ) Rn (r ) , m , ms 2 Lˆ  Sˆ , m , ms
4 0 4m c 2 2
0 rˆ
3

1
r3

สำเหตุที่สำมำรถแยกอินทิกรัลออกมำเป็นสองส่วน คือ 1
และ , m , ms 2Lˆ  Sˆ , m , ms ก็
r3
1
เนื่องมำจำกกำรที่ Operator 3
นั้นเกี่ยวข้องกับรัศมี r ของ Wave Function แต่อย่ำงเดียว

ในขณะที่ Operator 2Lˆ  Sˆ นั้นเกี่ยวข้องกับมุม  ,   แต่เพียงเท่ำนั้น

และอำศัยสมกำร (9.67) และ สมกำร (9.68) ทำให้สำมำรถคำนวณผลลัพธ์ของ Matrix Element


, m , ms 2Lˆ  Sˆ , m , ms ในกรณีต่ำงๆ ซึ่งจำแนกได้ 4 กรณีด้วยกัน

1) m  m and ms  ms
e2 Z 1
n, , m , ms Hˆ SO n, , m , ms  n, , m , ms 2 Lˆ  Sˆ n, , m , ms
4 0 4m c r 3
2 2

e2 Z 1
 n, , m , ms 2 Lˆ z Sˆz n, , m , ms
4 0 4m c r 3
2 2

e2 Z 1
 2m ms 2
4 0 4m c r 3
2 2

____________ สมกำร (9.70)

2) m  m  1 and ms  1 2, ms   1 2
1 ˆ 1
n, , m  1,  H SO n, , m , 
2 2
e2 Z 1 1 ˆ ˆ 1
 n, , m  1,  L S n, , m , 
4 0 4m 2 c 2 r 3 2 2
e2 Z 1 1 ˆ ˆ 1
 n, , m  1,  L S n, , m , 
4 0 4m 2 c 2 r 3 2 2
e2 Z 1
   1  m  m  1 2
4 0 4m 2 c 2 r 3
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-40

____________ สมกำร (9.71)

3) m  m  1 and ms   1 2, ms  1 2
1 ˆ 1
n, , m  1,  H SO n, , m , 
2 2
e2 Z 1 1 ˆ ˆ 1
 n, , m  1,  L S n, , m , 
4 0 4m c r 3
2 2 2 2
e2 Z 1 1 ˆ ˆ 1
 n, , m  1,  L S n, , m , 
4 0 4m c r 3
2 2 2 2
e2 Z 1
   1  m  m  1 2
4 0 4m c r 3
2 2

____________ สมกำร (9.72)

4) อื่นๆที่นอกเหนือจำกกรณี 1)-3)
, m , ms 2Lˆ  Sˆ , m , ms  0

โดยอำศัยผลทำงคณิตศำสตร์ทั้ง 4 ข้อ เรำสำมำรถเขียน Block ย่อยๆของ Sub-Space


Perturbation Matrix ได้ดังภำพข้ำงล่ำง

Matrix Block Diagonal 2x2


m       1    1 
1 1 1 1 1
ms      
2 2 2 2 2 ( m , ms )
1
 ,
2
1
 ,
2x2 2

H1( n, ) 
l  0 l 1 l  2 l   n  1

2x2
l0
0
0 0
0 0 l 1

H1  0 0

0 l   n  1
1
 ,
2
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-41

1
ลำดับในกำรจัดกลุม่ ของสถำนะทีด่ ูจะเป็นธรรมชำติที่สุดก็คือ ให้ m , ms  ,  , ,
2
1 1 1 1
 , ,    1 ,  ,   1 ,  , ,  , กล่ำวคือ เรียง m จำกน้อยไป
2 2 2 2
1 1
หำมำก โดยที่ในแต่ละค่ำของ m กำหนดให้ ms   และ  ตำมลำดับ
2 2

นักศึกษำสำมำรถพิสูจน์ได้จำกสมกำร (9.70) , (9.72) , และ (9.72) ถ้ำเรำจัดกลุม่ ในลักษณะดังภำพ


จะมีผลทำให้ matrix H1(n, ) มีลักษณะเป็น Block Diagonal ย่อยๆขนำด 2x2 โดยที่แต่ละ Block
มีลักษณะดังต่อไปนี้

e2 Z 1


m   1  m  m  1 

sub H1( n, )  2
4 0 4m c r 3
2 2    1  m  m  1   m  1 
 

และเนื่องจำกเป็น Sub Matrix ขนำด 2x2 ก็จะต้องมี Eigenvalue อยู่ 2 ค่ำด้วยกันคือ

e2 Z 1 
En(1)  2

4 0 4m2 c 2 r 3    1

1 2Z 3
และเมื่อแทน  , 0 จะได้ว่ำ
r3 n3 a03   1 2  1

E 
2
(0)
n 2n 
Spin-Orbit Correction En(1)   , 0 __ สมกำร
mc 2
  1 2  1    1
(9.73)

จะสังเกตเห็นว่ำ Correction Term ดังกล่ำวมีขนำด (Order of Magnitude) ใกล้เคียงกับในกรณีของ


Relativistic Kinetic Energy Correction แต่ต่ำงกันตรงที่ระดับพลังงำนแยกออกเป็น 2
ส่วนย่อยๆด้วยกัน

ส่วนกรณีที่  0 กล่ำวคือ อิเล็กตรอนมี Orbital Angular Momentum เท่ำกับศูนย์พอดีนั้น


ในทำงฟิสิกส์เรำบอกได้ว่ำ Spin-Orbit Coupling (ซึ่งเป็นอันตรกริยำระหว่ำง L และ S ) ก็ควรจะมี
1 1
ค่ำเป็นศูนย์ด้วยเช่นกัน แต่ในทำงคณิตศำสตร์ เนื่องจำกเทอม 3
แปรผันกับ จึงอำจจะทำ
r
ให้กลไกในกำรคำนวณดังในสมกำร (9.73) เกิดปัญหำตำมมำ
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-42

ข้อขัดแย้งในทำงคณิตศำสตร์ดังกล่ำวนี้สำมำรถแก้ไขได้ด้วยกระบวนกำรที่เรียกว่ำ Dirac Equation


ซึ่งเป็นกำรนำ ทฤษฏี Quantum Mechanics และ Special Relativity เข้ำมำผนวกรวมกัน และ
เป็นรำยละเอียดที่เกินขอบเขตของเนื้อหำในบทนี้ แต่โดยสรุปแล้ว เมื่อนำ Relativistic Effect เข้ำ
1
มำวิเครำะห์จะพบว่ำ 0 เมื่อ 0 และจะส่งผลให้
r3

Spin-Orbit Correction En(1)  0 , 0 __________ สมกำร (9.74)

แบบฝึกหัด 9.10 ในทำนองเดียวกัน ภำพ (9.4) จงวำดภำพระดับพลังงำนของอะตอมไฮโดรเจน


ก่อนและหลังจำกที่นำ Spin-Orbit Coupling เข้ำมำร่วมวิเครำะห์

Spin-Orbit Coupling Revisited


ในหัวข้อที่ผ่ำนมำ เรำพยำยำมที่จะเขียนสถำนะเชิง Angular Momentum ของอิเล็กตรอนด้วย
Quantum Number 3 ตัวด้วยกันคือ , m , ms โดยเฉพำะอย่ำงยิ่งเซตของ  m , ms  นั้น ก็
เพื่อเป็นกำรแยก Angular Momentum ทั้ง 2 ชนิดออกจำกกันให้ชัดเจนระหว่ำง Orbital Angular
Momentum m และ Spin Angular Momentum ms

อย่ำงไรก็ตำม ในเนื้อหำของวิชำกลศำสตร์ควอนตัม ที่เกี่ยวข้องกับ Spin-Orbit Interaction นั้น ใน


บำงครั้งเรำนิยมที่จะรวม Angular Momentum ทั้ง 2 ชนิดนี้เข้ำด้วยกัน โดยนิยำม

J  LS ___________________________ สมกำร (9.75)

เมื่อ J  L  S ก็คือ Total Angular Momentum ของอิเล็กตรอน ซึ่งเขียนโดยใช้สัญลักษณ์ของ


Vector หรือโดยใช้สัญลักษณ์ของ Operator ได้ว่ำ

Jˆ z  Lˆz  Sˆz _______________________ สมกำร (9.76)


Jˆ 2  Lˆ2  2 Lˆ  Sˆ  Sˆ 2 _______________________ สมกำร (9.77)

ทั้งนี้ นักศึกษำที่ยังไม่คุ้นเคยกับกลไกในกำรรวม Angular momentum ทั้งสองเข้ำด้วยกัน สำมำรถ


ทบทวนเนื้อหำของบทที่ 3 Angular Momentum และ บทที่ 5 Interaction ของ Spin
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-43

Angular Momentum 2
1. Orbital Spin 2. Total Angular Momentum
z z

S
L
J

x y x y
Orbital:  1, m  1 Total: 3
j  , mj  
1
2 2
Spin: s  1 , ms   1
2 2
ภำพ (9.7) (ซ้ำย) สมมุติให้อิเล็กตรอนอยู่ในสถำนะ n, , m  2,1, 1 และมี Spin Down หรือ
1
ms   (ขวำ) เรำสำมำรถรวม Angular Momentum ทั้ง 2 ชนิด หรือ J  LS ซึ่งจะ
2
3 1
ได้ว่ำ j, m j  ,
2 2

ดัง ภำพ (9.7) แทนที่เรำจะแสดงสถำนะของอิเล็กตรอนด้วย n, , m , ms เหมือนที่ผ่ำนมำในสมกำร


(9.65) เรำนิยมกำหนดให้

สถำนะของอิเล็กตรอน n, , j , m j ___________ สมกำร (9.78)

โดยที่ ระดับพลังงำน: n  1, 2, , ขนำดของ Orbital Angular Momentum:


 1 1
 0,1, ,  n  1 , ขนำดของ Total Angular Momentum: j  ,   , และ
 2 2
องค์ประกอบตำมแกน z ของ J : m j   j,   j  1 , ,   j  1 ,  j

ตำมควำมเป็นจริงแล้ว สำเหตุทเี่ รำใช้รูปแบบดังสมกำร (9.78) ในกำรอธิบำยสถำนะของอิเล็กตรอน


แทนที่จะใช้รูปแบบดังสมกำร (9.65) นั้น ก็เพื่อควำมสะดวกในทำงคณิตศำสตร์

นักศึกษำจะต้องไม่ลืมว่ำ ขั้นตอนสำคัญของ Degenerate Perturbation Theory ก็คือกำรคำนวณ


Eigenvalue ของ Sub-Space Matrix H1(n, ) ดังแสดงในสมกำร (9.70) , (9.71) , (9.72) และกำร
แทนสถำนะของอิเล็กตรอนด้วย n, , j, m j มีผลทำให้กระบวนกำรทำงคณิตศำสตร์ง่ำยขึ้นมำก
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-44

Spin-Orbit Coupling Hamiltonian ดังในสมกำร (9.63) มีเทอม L̂  Sˆ ปรำกฏอยู่ ซึ่งถ้ำเรำอำศัย


สมกำร (9.77) เข้ำช่วย จะได้ว่ำ

e2 Z 1  ˆ 2 ˆ2 ˆ 2 
Hˆ SO  J L S
4 0 2m2 c 2 rˆ 2 
3 

1
จะเห็นว่ำ สถำนะ n, , j , m j นั้น เป็น Eigenstate ของ Operator Lˆ  Sˆ   Jˆ 2  Lˆ2  Sˆ 2 
2 
อยู่แล้วโดยอัตโนมัติ กล่ำวคือ
2
1  ˆ 2 ˆ2 ˆ 2   3
J  L  S n, , j , m j  j  j  1    1   n, , j , m j
2   2  4

และมีผลทำให้ Matrix Element ของ Sub-Space Matrix H1( n, )


อยู่ในรูปของ

e2 Z 1  3
n, , j , mj Hˆ SO n, , j, m j   j  j  1    1    jj  mj m j
2
4 0 4m2 c 2 r 3  4

Kronecker Delta Function  jj mj m j ทำให้ Matrix Element อยู่ในรูปของ Diagonal Matrix
และอำศัยทฤษฏีบททำง Matrix Algebra ที่ว่ำ Eigenvalue ของ Diagonal Matrix ก็คือ สมำชิกที่
เรียงตัวอยู่ในแนวทแยงดังกล่ำวนัน่ เอง ดังนั้น Eigenvalue ก็คือ

e2 Z 1  3
En(1)   j  j  1    1  
2
4 0 4m2 c 2 r 3  4
_______________ สมกำร (9.79)

 1 1
และเนื่องจำก j  ,   มีอยู่ 2 ค่ำที่เป็นไปได้ (ยกเว้นกรณี  0) เรำสำมำรถคำนวณ
 2 2
ผลลัพธ์ของสมกำร (9.79) ออกเป็น 2 กรณีด้วยกันคือ

 1 1
  ,j 
2
En(0)  j  2 j  1
 2
Spin-Orbit Correction En(1)  2n   , 0
mc 2  1
,j 
1
  j  1 2 j  1 2

______________________ สมกำร (9.80)
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-45

Spin-Orbit Correction ที่ได้จำกสมกำร (9.80) ข้ำงต้น มีค่ำเท่ำกันกับสมกำร (9.73) เพียงแต่ว่ำ


สมกำรข้ำงต้นนั้น เขียนอยู่ในรูปของ Total Angular Momentum เท่ำนั้นเอง

1
แบบฝึกหัด 9.11 เขียนสมกำร (9.80) ให้อยู่ในรูปของ l โดยกำรแทนค่ำ j  และ
2
1
j  แล้วแสดงให้เห็นว่ำผลลัพธ์ที่ได้ ลดรูปไปเป็นสมกำร (9.73)
2

Fine Structure
เรำสำมำรถวิเครำะห์ระดับพลังงำนของอะตอมไฮโดรเจน ( Z  1 ) โดยนำเอำ Relativistic Kinetic
Energy Correction ในสมกำร (9.58) และ Spin-Orbit Correction ในสมกำร (9.80) เข้ำมำร่วม
วิเครำะห์ด้วย

Hˆ 1  Hˆ K  Hˆ SO ______________________ สมกำร (9.81)

และเนื่องจำก Hamiltonian Ĥ1 มีขนำดเล็กและมีลักษณะที่เป็น Perturbation ของ Ĥ 0 ก็ย่อม


ทำให้ Energy Correction มีขนำดเล็กตำมไปด้วย เรำนิยมเรียก Correction Energy ในลักษณะ
ดังกล่ำวนี้ว่ำ “Fine Structure” (Fine หมำยถึง โดยละเอียด)

Fine Structure มีที่มำจำกอันตรกริยำทำงฟิสิกส์หลำยอย่ำงด้วยกัน อำทิเช่น Relativistic


Correction ที่เรำกำลังกล่ำวถึง อันตรกริยำระหว่ำงสนำมแม่เหล็กภำยนอกและ Magnetic
Moment ของอิเล็กตรอน หรือแม้กระทั่งอันตรกริยำระหว่ำง Magnetic Moment ของนิวเคลียส
กับ สนำมแม่เหล็กที่เกิดขึ้นจำกกำรเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน เป็นต้น อันตกริยำเหล่ำนี้ล้วนทำให้
ระดับพลังงำนของไฮโดรเจนมีควำมสลับซับซ้อนมำกขึ้น ส่งผลให้แถบพลังงำนของมันมีรูปแบบกำร
เรียงตัวที่แตกต่ำงในกรณีของ Ĥ 0 นั่นเอง

อนึ่ง Fine Structure ในส่วนที่เป็นปรำกฏกำรณ์สืบเนื่องจำกผลของ Special Relativity โดย


หลักกำรแล้ว กำรศึกษำในเรื่องของ Fine Structure จะต้องเริ่มจำก Dirac Equation และมี
หนังสืออยู่หลำยเล่มได้รวมเอำสิ่งที่เรียกว่ำ Darwin Term หรือ Hˆ D เข้ำรวมกับ Hamiltonian ใน
สมกำร (9.81) ด้วย แต่ในท้ำยที่สุดแล้ว ผลลัพธ์สุทธิที่จะเกิดขึ้น ก็คือสมกำร (9.81) นั่นเอง

นักศึกษำที่ประสงค์จะศึกษำในเรือ่ งของ Dirac Equation และ Relativistic Quantum Mechanics


สำมำรถอ่ำนเพิ่มเติมได้จำก R. Shankar, “Principles of Quantum Mechanics” J.D.Bjorken
และ S.D.Drell, “Relativistic Quantum Mechanics” และ J.J.Sakurai, “Advanced
Quantum Mechanics”
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-46

ทั้งนี้ เมื่อรวมสมกำร (9.58) และ (9.80) เข้ำด้วยกัน และกำหนดให้ Z 1 จะได้ว่ำ

E   
2
(0)
n 3 2n 
En(1)     ___________________ สมกำร (9.82)
mc 2  2 j  1 
 2

e2 1
และถ้ำเรำเขียนสมกำรข้ำงต้นให้อยู่ในรูปของ Fine Structure Constant   ซึ่งเป็น
4 0 c
1
ค่ำคงที่ ที่ไม่มีหน่วยและจำกกำรทดลองมีค่ำเท่ำกับ   จะได้ว่ำ
137

 
mc 2 4  3 2n 
Fine Structure Correction En(1)     ___________ สมกำร (9.83)
4n 4  2 j  1 
 
 2

mc 2 2
และเมื่อผนวกกับระดับพลังงำนของไฮโดรเจนที่ว่ำ En(0)   เรำสำมำรถสร้ำงแผนภำพ
2n 2
ของระดับพลังงำนดังใน ภำพ (9.8)

Relativistic Correction
1 1 3 3 3 1
, j, m j  0, ,  , 1, ,  , 1, , 
2 2 2 2 2 2

1st Excited state 3 3 3 1


n2 1, ,  , 1, , 
2 2 2 2
2 p3 2 4.53 105 eV
1 1
0, , 
2 2 10.96GHz
2s1 2 , 2 p1 2

1 1
, j, m j  0, , 

Ground State
2 2

1 1
n 1 0, , 
2 2
1s1 2

Ĥ 0 Hˆ 0  Hˆ K  Hˆ SO
ภำพ (9.8) ระดับพลังงำนของไฮโดรเจน ทีเ่ ปลี่ยนแปลงไปเนื่องจำก Relativistic Correction ดัง
Hamiltonian ในสมกำร (9.81)
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-47

พิจำรณำ 1st Excited State จะพบว่ำเมื่อเรำนำ Relativistic Correction เข้ำมำร่วมวิเครำะห์


ปรำกฏว่ำระดับพลังงำนแยกออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกันคือ 1) กลุ่มที่ j  1 และ 2) กลุ่มที่ j  3
2 2

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพรำะระดับพลังงำนในสมกำร (9.83) นั้น ขึ้นอยู่กับ j ซึ่งถ้ำเรำคำนวณผลต่ำงของ


ระดับพลังงำนทั้งสองดังกล่ำวนี้ จะได้ว่ำ

 
    
mc 2 4  3 2n  3 2n   mc 2 2  2
E          4.53  105 eV
4n 4  2 j  1   2 j  1   2 16
 
 2 j
3  2 j 
1 13.6 eV
 2 2

อนึ่ง สัญลักษณ์ทเี่ รำมักจะใช้ เมื่อกล่ำวถึง Fine Structure นั้น ค่อนข้ำงจะซับซ้อนอยู่บ้ำง เพรำะ


ในกำรอธิบำยสถำนะของอิเล็กตรอนนั้น ใช้ Quantum Number ถึง 4 ตัวด้วยกัน คือ n, , j, m j

ในกำรบ่งชี้ถึง นั้น เรำจะใช้รหัสตัวอักษร s เมื่อ 0 , p เมื่อ  1 , d เมื่อ 2 เช่นนี้


เป็นต้น ในขณะทีต่ วั เลข Sub-Script ก็เพื่อบ่งชี้ถึง j ยกตัวอย่ำงเช่น

1s1 2 หมำยถึง n, , j , m j  n  1,  0, j  1 2, m j

2s1 2 หมำยถึง n, , j , m j  n  2,  0, j  1 2, m j

2 p1 2 หมำยถึง n, , j , m j  n  2,  1, j  1 2, m j

2 p3 2 หมำยถึง n, , j , m j  n  2,  1, j  3 2, m j

จำก ภำพ (9.8) จะพบว่ำ Relativistic Effect Hˆ 1  Hˆ K  Hˆ SO มีผลทำให้ระดับพลังงำน 2s1 2 ,


2 p1 2 , และ 2 p3 2 แยกออกเป็น 2 กลุ่ม ทั้งๆที่เดิมถ้ำเรำพิจำรณำเฉพำะ Hamiltonian Ĥ 0
สถำนะเหล่ำนีล้ ้วนมีพลังงำนเท่ำกันทั้งหมด

อย่ำงไรก็ตำม จำกแผนภำพจะพบว่ำ สถำนะ 2s1 2 และ 2 p1 2 ยังมีระดับพลังงำนเท่ำกันอยู่


เมื่อปี 1947 W.E. Lamb และ R.C. Retherford สังเกตเห็นว่ำระดับพลังงำนของสถำนะ 2s1 2
และ 2 p1 2 นั้นมีค่ำแตกต่ำงกันอยู่เล็กน้อย จำกกำรทดลองพบว่ำผลต่ำงของพลังงำนนั้นเท่ำกับ
4.4 106 eV หรือ 1058 MHz เรียกกันโดยทั่วไปว่ำ “Lamb Shift” ผลงำนชิ้นนี้ทำให้ Lamb
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-48

ได้รับรำงวัลโนเบล เมื่อปี 1953 (W.E. Lamb and R.C. Retherford, Phys.Rev.72: 241 (1947)
และ Phys.Rev.86: 1014 (1952))

ในเชิงทฤษฏี Lamb Shift เป็นปรำกกฎกำรณ์ทำงฟิสิกส์อีกอันหนึ่งที่ทำให้เกิด Fine Structure ขึ้น


เป็นผลสืบเนื่องจำกทฤษฏีที่เรียกว่ำ Quantum Electrodynamics (QED) และผลกำรทดลองซึ่ง
ตรงกับผลกำรคำนวณนั้น นับว่ำเป็นปริมำณทำงฟิสิกส์ที่แม่นยำที่สดุ อันหนึ่งในโลก เพรำะตัวเลข
ของพลังงำน 1058 MHz นั้น เป็นกำรวัดที่มีเลขทศนิยมถึง 11 ตำแหน่ง ! Richard Feynman
มักจะเปรียบเทียบว่ำ เป็นกำรวัดระยะทำงจำก Los Angeles ไปถึง New York โดยใช้ไม้บรรทัดที่
ละเอียดขนำดเท่ำเส้นผมของคนเลยทีเดียว

หัวข้อ 9.6 Application - Zeeman Effect


ในปี 1896 Zeeman ค้นพบว่ำถ้ำป้อนสนำมแม่เหล็กภำยนอก มีผลต่อแถบสเปกตรัมของแสงที่
อะตอมเปล่งออกมำ กล่ำวคือสนำมแม่เหล็กมีผลต่อระดับพลังงำนของอิเล็กตรอนภำยในอะตอม
นั่นเอง

อันตกริยำที่เกิดขึ้นนั้น สืบเนื่องมำจำกอันตรกริยำระหว่ำง Magnetic Moment ของอิเล็กตรอน


และสนำมแม่เหล็ก B

  e   e  
μ  B    L S  B
 2m m 

เพื่อควำมสะดวกเรำจะกำหนดให้สนำมแม่เหล็กดังกล่ำว มีทิศทำงอยู่ในแกน z และมีขนำดควำม


เข้มเท่ำกับ B  B เพรำะฉะนั้นแล้ว

Hˆ B 
eB ˆ
2m

Lz  2Sˆz  ___________________ สมกำร (9.84)

เมื่อ Hˆ B คือ Hamiltonian ที่แสดงถึงอันตรกริยำระหว่ำง Magnetic Moment ของอิเล็กตรอน และ


สนำมแม่เหล็ก B และเพื่อที่จะคำนวณ Energy Correction ที่เกิดจำก Hamiltonian ดังกล่ำว
เรำจำเป็นจะต้องใช้ Degenerate Perturbation Theory

ในทำนองเดียวกันกับกรณีของ Spin-Orbit Coupling เรำจะเขียนสถำนะของอิเล็กตรอนโดยใช้


สถำนะพื้นฐำน n, , j, m j เนื่องจำก
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-49

n, , j , mj Hˆ B n, , j , m j  0 ถ้ำ 

นั่นก็หมำยควำมว่ำ Perturbation Matrix Element มีลักษณะดังใน ภำพ (9.5) และจะทำให้


Eigenvalue ของ Matrix ทั้งหมด มีค่ำเท่ำกับ Eigenvalue ของ Block ย่อยๆในกลุ่มที่มี เดียวกัน
เพรำฉะนั้น เรำพิจำรณำ

n, , j , mj Hˆ B n, , j, m j  n, , j , mj
eB ˆ
2m
 
J z  Sˆz n, , j, m j ____ สมกำร (9.85)

โดยที่ในสมกำรข้ำงต้น เรำใช้ Total Angular Momentum Jˆz แทน Orbital Angular


Momentum Lˆz ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมำะสมกับสถำนะพื้นฐำน n, , j, m j ที่เรำกำลังใช้อยู่นั่นเอง
สมกำร (9.85) ข้ำงต้นสำมำรถกระจำยออกเป็นสองเทอมด้วยกัน คือเทอมแรก

eB ˆ eB
n, , j, mj J z n, , j, m j  m j  mj m j
2m 2m

eB ˆ
และเทอมทีส่ อง n, , j, mj S z n, , j, m j ซึ่งจะคำนวณเทอมที่สองนี้ได้ ก็ต้องกระจำย
2m
สถำนะ n, , j, m j ให้อยู่ในรูป Superposition ของ  n, , m , ms  โดยใช้กลไกของ Clebsch-
Gordan Coefficient กล่ำวคือ

1 1
 mj  mj 
1 2 1 1 2 1 1
j   ,mj  ,mj  ,  ,mj  ,
2 2 1 2 2 2 1 2 2
___________________ สมกำร (9.86)

แบบฝึกหัด 9.12 จงพิสูจน์สมกำร (9.86)


บอกใบ้: ทบทวนบทที่ 5 Interaction ของ Spin ในหัวข้อกำรรวมกันของ Angular Momentum

eB ˆ
เพื่อให้กำรคำนวณมีควำมซับซ้อนน้อยลง เรำจะประมำณว่ำ n, , j , mj S z n, , j, m j  0
2m
 1 1
ถ้ำ j  j และเนื่องจำก j  ,   ซึ่งเรำจะแยกคิดใน 2 กรณีด้วยกันคือ
 2 2
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-50

1 eB ˆ eB mj
1) j  n, , j, mj S z n, , j, m j    m m
2 2m 2m  2  1 j j
1 eB ˆ eB mj
2) j  n, , j, mj S z n, , j, m j    m m
2 2m 2m  2  1 j j

ซึ่งเมื่อรวมสองเทอมเข้ำด้วยกัน จะได้ว่ำ Sub-Space Perturbation Matrix อยู่ในรูปของ

 1 
eB 1  2  1 0 
sub H1( n, )  mj  
2m  0 1
1 
 2  1 

และจะมีผลทำให้ Eigenvalue ของ Matrix ข้ำงต้น (หรือ ในควำมหมำยของ Degenerate


Perturbation Theory ก็คือ 1st Order Energy Correction Term เนื่องจำกสนำมแม่เหล็ก
ภำยนอก) มีค่ำเท่ำกับ

 1 1
eB 1  2 1
,j 
2
EB(1)  mj  _______________ สมกำร (9.87)
2m 1  1 1
,j 
 2 1 2

 1 
อนึ่ง สัมประสิทธิ์ 1  2  1  มีชื่อเรียกว่ำ Lande-g Factor เพรำะมันทำหน้ำที่คล้ำยๆกับ g-
 
Factor ของอนุภำคเมื่อเรำต้องกำรคำนวณ Magnetic Momentum ของมัน กล่ำวคือ
gq
z  Sz
2m

จำกสมกำร (9.87) จะเห็นว่ำระดับของ Energy Correction ขึ้นอยู่กับ m j และ ของระบบ ดัง


แสดงใน ภำพ (9.9) ที่ทำให้เห็นกำรเปลีย่ นแปลงของระดับพลังงำนของอิเล็กตรอนในสถำนะ s1 2 ,
p1 2 , และ p3 2 เมื่อป้อนสนำมแม่เหล็กเข้ำไปในระบบ ทำให้เกิดกำรแยกชั้นของระดับพลังงำน
ย่อยๆ หรือที่เรียกว่ำ Zeeman Splitting นัน่ เอง
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-51

Zeeman Effect
3 3
, j , m j  1, , 
2 2
 3 1 3 1
 1, 2 ,  2 , j , m j  1, , 
p3 2  2 2
, j, m j  
 1, 3 ,  3 3 1
 2 2 , j , m j  1, , 
2 2
3 3
, j , m j  1, , 
2 2

1 1
, j , m j  1, , 
1 1 2 2
p1 2 , j , m j  1, , 
2 2 1 1
, j , m j  1, , 
2 2

1 1
, j, m j  0, , 
1 1 2 2
s1 2 , j, m j  0, , 
2 2 1 1
, j, m j  0, , 
2 2
ภำพ (9.9) ผลของ Zeeman Effect ต่ออิเล็กตรอนในสถำนะ s1 2 , p1 2 , p3 2 ลูกศรใน
แนวดิ่งแสดงถึงโอกำสที่อิเล็กตรอนจะสำมำรถกำรกระโดดและเปล่งแสงออกมำได้ โดยอำศัย
Selection Rule l  1 และ m j  0, 1

หัวข้อ 9.7 บทสรุป


Time Independent Perturbation Theory เป็นกลไกในทำงกลศำสตร์ควอนตัมที่ใช้ในกำรประมำณ
Eigen Energy และ Eigenstate ของระบบที่มี Hamiltonian Ĥ ที่ค่อนข้ำงซับซ้อน สมมุติว่ำเรำ
สำมำรถเขียน

Hˆ  Hˆ 0  Hˆ 1

โดยที่ Ĥ 0 คือ Unperturbed Hamiltonian ที่เรำทรำบคำตอบ   n(0)  และ  En(0)  อยู่แล้ว


กล่ำวคือ
Hˆ 0  n(0)  En(0)  n(0)
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-52

และ Ĥ1คือ Perturbing Hamiltonian ซึ่งไม่ขึ้นกับเวลำและจำเป็นจะต้องมีขนำดเล็กเมื่อเทียบกับ


Ĥ 0 Time Independent Perturbation Theory มีสมมุติฐำนเบื้องต้นก็คือว่ำ เรำสำมำรถเขียน
ระดับพลังงำนของ Ĥ ให้อยู่ในรูป

En  En(0)  En(1)  En(2)  En(3) 

โดยที่เทอมทำงขวำมือ มีขนำดเล็กลง ลดหลั่นกันไปเรื่อยๆ และมีลกั ษณะเป็น Correction Energy


อำทิเช่น เรียก En(1) ว่ำเป็น first order correction หรือ En(2) ว่ำเป็น 2nd Order Correction
เป็นต้น และในแง่ของ Eigenstate ก็เช่นเดียวกัน

 n   n(0)   n(1)   n(2)   n(3) 

Perturbation Theory เป็นขั้นตอนที่ว่ำด้วยกำรคำนวณ Correction Term ณ Order ต่ำงๆเหล่ำนี้


โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณีใหญ่ด้วยกัน คือ 1) Non-Degenerate Perturbation Theory และ 2)
Degenerate Perturbation Theory

ในกรณีของ Non-Degenerate Perturbation Theory นั้น เซตของ Eigen Energy  En(0) 


จะต้องมีค่ำไม่ซ้ำกัน ยกตัวอย่ำงเช่น Harmonic Potential ซึ่งในกรณีดังกล่ำวนี้ จะได้ว่ำ
2
 k(0) Hˆ 1  n(0)
En(1)   n(0) Hˆ 1  n(0) , En(2)   En(0)  Ek(0)
k n

และ
 k(0) Hˆ 1  n(0)
 n(1)   En(0)  Ek(0)
 k(0)
k n

ในกรณีของ Degenerate Perturbation Theory นั้น เซตของ Eigen Energy  En(0)  มีโอกำสที่
จะซ้ำกันได้ ยกตัวอย่ำงเช่นในกรณีของไฮโดรเจน ซึ่งระดับพลังงำนของอิเล็กตรอนในสถำนะ 2s
และ 2 p มีค่ำเท่ำกัน เนื่องจำกควำมซับซ้อน โดยทั่วไป เรำมักจะกล่ำวถึงเฉพำะ 1st Order
Energy Correction เพียงเท่ำกัน โดยที่

H1c  En(1) c
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-53

เนื่องจำก Eigenstate   n(0)  มีควำมเป็น Degeneracy 1st Order Energy Correction En(1)

ก็จะมีอยู่ด้วยกันหลำยค่ำ ซึ่งก็คือ เซตของ Eigenvalue ของสมกำรข้ำงต้นนั่นเอง สำหรับ Sub-


Space Perturbation Matrix H1 นั้น สำมำรถคำนวณได้จำก

  (0) Hˆ 1  n(0)  n(0) ˆ ˆ (0) 


,1 H1  n,2  n(0)
,1 H1  n, N
(0)
 n,1 ,1 
 (0) (0) 
 Hˆ 1  n(0)  n(0) Hˆ 1  n(0)  n(0) ˆ
H1  n, N 
H1   n,2 ,1 ,2 ,2 ,2

 
 (0) 
  n, N Hˆ 1  n(0)  n(0) ˆ
, N H1  n,2
(0)
 n(0) Hˆ 1  n, N 
(0)
,1 ,N 

เมื่อ  n(0)
,i i  1, 2, ,N เป็น “Sub-Space” ของ Degenerate Eigenstate

และเพื่อที่จะให้นักศึกษำคุ้นเคยกับกำรนำ Perturbation Theory ทั้งสองชนิดมำประยุกต์ใช้ในกำร


วิเครำะห์ระดับพลังงำนของระบบ เรำได้ทำกำรศึกษำตัวอย่ำงในหลำยๆกรณีด้วยกันคือ Perturbing
Harmonic Potential, Nucleus with Finite Size, Ground State Energy ของฮีเลียม, Stark
Effect, Relativistic Correction, Spin-Orbit Coupling, และ Zeeman Effect เป็นต้น

หัวข้อ 9.8 ปัญหาท้ายบท


แบบฝึกหัด 9.13 จงพิสูจน์ว่ำ 2nd Order Perturbation ของ Eigenstate ในกรณีของ Non-
Degenerate Perturbation อยู่ในรูปของ

 n(2)  

 Hˆ 1
ki
  Hˆ 1in 
 Hˆ 1 Hˆ 1 
nn kn

 (0) 

(0)

k  n i  n En  Ek
(0)
 E (0)
n  Ei(0)  E (0)
n  Ek(0) 
2


k

เมื่อ Hˆ 1ki   k H1  i(0) , Hˆ 1 


(0) ˆ
 in  i(0) Hˆ 1  n(0) , Hˆ 1nn   n(0) Hˆ 1  n(0)

แบบฝึกหัด 9.14 พิจำรณำ Perturbing Hamiltonian Hˆ 1  bxˆ 4 ในกรณีของ Un-perturbed


Hamiltonian ที่อยู่ในรูปของ Harmonic Potential
pˆ 2 1
Hˆ 0   m 2 xˆ 2
2m 2
จงคำนวณหำ 1st Order Energy Correction Term
เฉลย: En(1) 
3 2b
4m  2 2 1  2n  2n  2
บทที่ 9 Time Independent Perturbation 9-54

pˆ 2
แบบฝึกหัด 9.15 ประมำณ Eigen Energy ของ Hamiltonian Hˆ   V ( x) เมื่อ
2m

 e E x , 0  x  L
V ( x)   ซึ่งเป็นกรณีของ Infinite Square Well ที่มีก้นบ่อเฉียงแบบฟัน

 0 , elsewhere
ปลำ เนื่องจำกสนำมไฟฟ้ำควำมเข้ม E

แบบฝึกหัด 9.16 พิจำรณำ Harmonic Potential ใน 2 มิติ


pˆ 2 1 pˆ 2y 1
Hˆ 0  x  m 2 xˆ 2   m 2 yˆ 2 จงประมำณ Eigen Energy ของ Hamiltonian
2m 2 2m 2
ˆˆ เมื่อ b คือค่ำคงที่ซึ่ง b 1
Hˆ  Hˆ 0  2bxy
บรรณานุกรม
Aspect, Alain, Jean Dalibard, and Gérard Roger. "Experimental test of Bell's
inequalities using time-varying analyzers." Physical review letters 49.25 (1982):
1804.

Bell, John S. "On the einstein-podolsky-rosen paradox." Physics 1.3 (1964): 195-
200.

D. Bloor et at., Proc. Roy. Soc. A260, 510(1961)

E. Lamb, Jr. and R. C. Retherford, Phys. Rev. 72, 241. (1947).

Einstein, Albert, Boris Podolsky, and Nathan Rosen. "Can quantum-mechanical


description of physical reality be considered complete?." Physical review 47.10
(1935): 777.

Ewen, Harold I., and E. M. Purcell. "Observation of a line in the galactic radio
spectrum." Nature 168.4270 (1951): 356-358.

Feynman, Richard P, Robert B Leighton, and Matthew L Sands. The Feynman


Lectures On Physics. Redwood City, Calif.: Addison-Wesley, 1989. Print.

Friedrich, Bretislav, and Dudley Herschbach. "Stern and Gerlach: How a bad cigar
helped reorient atomic physics." Physics Today 56.12 (2003): 53-59.

Gordon, James P., Herbert J. Zeiger, and Charles H. Townes. "The maser—new
type of microwave amplifier, frequency standard, and spectrometer." Physical
Review 99.4 (1955): 1264.

Mayer, Maria G. "On closed shells in nuclei." Physical Review 74.3 (1948): 235.
Moresco, Francesca, and André Gourdon. "Scanning tunneling microscopy
experiments on single molecular landers." Proceedings of the National Academy
of Sciences of the United States of America 102.25 (2005): 8809-8814.

Muller, C. A., and J. H. Oort. "Observation of a Line in the galactic radio


spectrum: the interstellar hydrogen line at 1,420 Mc./sec., and an estimate of
galactic rotation." Nature 168 (1951): 357-358.

Sakurai, J. J, and Jim Napolitano. Modern Quantum Mechanics. Boston: Addison-


Wesley, 2011. Print.

Shankar, Ramamurti. Principles of quantum mechanics. Springer Science &


Business Media, 2012.

Townsend, John S. A Modern Approach To Quantum Mechanics. Sausalito, Calif.:


University Science Books, 2000. Print.

Warner, David. "Nuclear physics: Not-so-magic numbers." Nature 430.6999 (2004):


517-519.

Werner, S. A., Colella, R., Overhauser, A. W., & Eagen, C. F. (1975). Observation of
the phase shift of a neutron due to precession in a magnetic field. Physical
Review Letters, 35(16), 1053.
Index
Conjugate Transpose, 2-16
A Coulomb Potential, 8-49
Associate Laguerre Equ., 8-58
Associate Legendre Equ., 8-44 D
Adjoint Matrix, 2-16 Density Functional Theory, 8-3
Adjoint Operator, 3-15
Ammonia Maser, 4-19 E
Angular Momentum, 3-1 Ehrenfest Theorem, 6-48
Eigenvalue, 3-14 Eigenvalue, 2-18
Operator Jˆz 3-14 Eigenvector, 2-18
Operator Ĵ 2 3-14 EPR Paradox, 5-14
Raising and Lowering, 3-19 Expectation Value, 2-26
Total, 5-8, 5-18
F
B Free Particle, 6-16
Balmer Series, 8-50 Finite Square Well, 6-35
Basis State, 2-6 Fine Structure, 9-45
Bra, 1-5
Bra-Ket, 1-4 G
Gaussian Wave Packet, 6-16
C Generator of Rotation, 2-50
Central Potential, 8-1 Generator of Translation, 6-5
Degeneracy, 8-31
Eigenstate, 8-20 H
Radial Equation, 8-29 Hamiltonian Operator, 4-3
Clebsch-Gordan Coefficient, 5-20 Hermitian Matrix, 2-17
Commuting Observable, 8-17 Hermitian Operator, 3-18
Commuting Operator, 3-12 Harmonic Potential, 7-1
Commutation, 3-4 Raising Operator, 7-4
 Jˆ x , Jˆ y   i Jˆ z , 3-6
  Lowering Operator, 7-5
 xˆ, pˆ x   i , 6-8 Eigen Energy, 7-14
Eigenstate, 7-12 Nucleon, 8-32
Wave Function, 7-14 Nucleous with Finite Size, 9-14
QM vs CM, 7-17
Hidden Variables Theory, 5-17 O
Heisenberg Uncertainty, 6-25 Observable, 2-27
Hyperfine Splitting, 5-1 Operator, 2-1, 2-25
Hydrogen Atom, 8-49 Orbital Angular Momentum, 3-2, 8-6
Wave Function, 8-68
Helium Atom, 9-17
P
Pauli Spin Matrix, 2-31
I Permutation Symbol, 8-13
Identity Operator, 2-11 Perturbation Theory, 9-1
Infinite Square Well, 1-7 Non-Degenerate, 9-6
Infinite Sphericl Well, 8-32 Degenerate, 9-21
Infinitesimal Rotation, 2-44 Phase, 2-41
Planewave Model, 6-41
K Postulate, 2-26
Ket, 1-2 Position Eigenstate, 6-1
Ket-Bra, 2-3 Position Operator, 8-4
Position Space, 6-21
L Precession of Spin, 4-5
Larmor Frequency, 4-9 Probability, 1-6
Probability Amplitude, 1-3
M
Magnetic Moment, 1-12 R
Magnetic Resonance, 4-13 Rabi Formula, 4-18
Maser, 4-27 Relativistic Correction, 9-29
Matrix, 2-13 Rotation Operator, 2-44, 3-8
Matric Mechanics, 2-13 Rydberg Constant, 8-57
Momentum Operator, 6-8, 8-5
Momentum Space, 6-21 S
Muon and Anti-Muon, 5-15 Scattering, 6-40
Schrödinger Equation, 1-8, 4-3, 6-28
N in Position Space, 6-28
Nuclear Magic Number, 8-32 in Momentum Space, 6-31
Simultaneous Observable, 8-19 Translation Operator, 6-6, 8-5
Specific Heat, 7-27
Spherical Bessel Equation, 8-35 U
Spherical Neuman Function, 8-35 Uncertainty, 2-36
Spherical Harmonic, 2-7, 8-47 Unitary Operator, 3-18
Spin, 1-13, 2-28
Spin Angular Momentum, 3-2
Spin Operator, 2-28
V
Spin-Orbit Coupling, 9-34 Vector, 2-13
Square Well Potential, 6-35
State, 1-2, 2-22 W
Stark Effect, 9-25 Wave Function, 1-8, 6-1
Stern-Gerlach, 1-3
Superposition, 1-22 Z
Zeeman Effect, 9-48
T
Taylor Expansion, 2-7
Time Evolution Operator, 4-1

You might also like