You are on page 1of 32

Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

การรักษาด้วยความร้อนลึกแบบคลื่นสั้น
(Shortwave diathermy therapy, SWD)
ผศ.ดร.ปริญญา เลิศสินไทย
ภาควิชากายภาพบาบัด มหาวิทยาลัยนเรศวร

วัตถุประสงค์
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนเรื่องการรักษาด้วยการบาบัดด้วยคลื่นสั้น (SWD) นิสิตกายภาพบาบัด
จะต้องสามารถ
1. อธิบายหลักการพื้นฐานของการสร้างคลื่น คุณสมบัติ ชีวฟิสิกส์ ผลในการรักษาของคลื่นสั้น (SWD)
ได้อย่างถูกต้อง
2. อธิบายข้อบ่งชี้ (Indication) ข้อควรระวัง (Precaution) และ ข้อห้ามใช้ (Contraindication) ของ
คลื่นสั้น (SWD) ได้อย่างถูกต้อง
3. อธิบายเทคนิควิธีการรักษา และ การตั้งค่าตัวแปรรักษาของคลื่นสั้น (SWD) ได้อย่างถูกต้อง
4. คานวณระดับพลังงานของคลื่นสั้น ได้ทั้งแบบปล่อยพลังงานต่อเนื่อง (Continuous SWD, CSWD)
และ แบบปล่อยพลังงานเป็นช่วง (Pulsed SWD, PSWD)
5. เปรียบเทียบวิธีการ ผลการรักษา และ ข้อบ่งใช้ ระหว่าง CSWD และ PSWD ได้
6. เลือกหัวส่งพลังงาน (Electrodes) และ แสดงวิธีการรักษาด้วยคลื่นสั้น (SWD) ในการรักษาผู้ป่วย
ประเภทต่างๆได้อย่างถูกต้อง และ เหมาะสมกับพยาธิสภาพของผู้ป่วยได้
7.บอกความแตกต่างของ Superficial heat, SWD, MWD และ US ได้

(ที่มา; Enraf-Nonius Curapuls 970 Shortwave)

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 1


Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

1. หลักการพื้นฐานของการสร้างคลื่น คุณสมบัติ ชีวฟิสิกส์ ผลในการรักษาของคลื่นสั้น (SWD)


ความร้อนชนิดคลื่นสั้น (Shortwave diathermy, SWD) จัดเป็นการให้ความร้อนลึก (Deep heat) ที่
สร้างจากคลื่นสั้น (Shortwave) โดยคลื่นสั้นจัดอยู่ในช่วงพลังงานคลื่นวิทยุ (Radio frequency energy, RF
energy) ทีม่ ีความถี่อยู่ในช่วงความถี่ 3-300 เมกะเฮิร์ทซ (MHz) และ ความยาวคลื่น 1 เมตรถึง 100 กิโลเมตร
โดย Diathermy มาจากภาษากรีก โดย Dia = through + Thermy = heat ดังนั้น Diathermy หมายถึง
ความร้อนที่ทะลุผ่านเป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กความร้อนที่ผ่านได้ลึก (Deep heat) ซึง่ สามารถให้ความร้อนลง
ได้ลึก 3-5 เซนติเมตร (ประโยชน์ บุญสินสุข,2530; Al-Mandel MM, 2008; Robertson V,2009)
Shortwave diathermy (SWD) คือ การนาพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นมาใช้ในรูปแบบของ
คลื่นสั้น ที่มีช่วงความถี่ 10-100 เมกะเฮิร์ทซ และ ความยาวคลื่น 3-30 เมตร ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วง
คลื่นอยู่ระหว่างคลื่นความถี่ต่า (Extremely low frequency) และคลื่นไมโคร (Microwave) และถือว่าเป็น
การแผ่รังสีแบบ Nonionizing ในแทบคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic spectrum) (Lehmann
JF,1990; Al-Mandel MM, 2008) (ภาพที่ 1)

ภาพที่ 1 แทบคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic spectrum) คลื่นสั้น (Shortwave) มีช่วงความถี่


10-100 เมกะเฮิร์ทซ และ ความยาวคลื่น 3-30 เมตร ในแทบพลังงานคลื่นวิทยุ (Radio frequency)
(ที่มา: http://www.cyberphysics.co.uk/topics/light/emspect.htm; 15 Mar 2015)

ผู้ที่มีบทบาทสาคัญ ๆ เกี่ยวข้องกับการเกิดความร้อนลึกแบบคลื่นสั้นที่น่าสนใจคือ
ใน ปี ค.ศ. 1890 Professor Arsene D’ Arsonval เป็นบุคคลแรกที่ได้ค้นพบว่า เมื่อใช้กระแสไฟฟ้า
สลับที่มีความถี่เกินกว่า 5,000 รอบ/วินาที กระตุ้นกล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัว ของกล้ามเนื้อน้อยมากและ
ความถี่เพิ่มขึ้นจนถึง 10,000 รอบ/วินาที กล้ามเนื้อก็จะไม่มีการหดตัวเกิดขึ้นให้เห็นเลย (Lehmann JF,1990)

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 2


Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

ใน ปี ค.ศ. 1907 Franz Nagel Schmidt ได้ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า กระแสไฟฟ้ า ที่ มี ค วามถี่ สู ง (high
frequency current) สามารถก่อให้เกิดความร้อนในเนื้อเยื่อของร่างกายได้ และเป็นบุคคลแรกที่นาคาว่า
“Diathermy” มาใช้ (ศรีวรรณ ปัญติ, 2541)
ใน ปี ค.ศ. 1928 Schliephake และคณะ ได้เริ่มนาการเกิดความร้อนลึ กแบบคลื่นสั้ นมาใช้รั ก ษา
ผู้ป่วยเป็นครั้งแรกต่อมาได้มีการนาความถี่ของคลื่นสั้นมาใช้ในการรักษาทางการแพทย์ โดยเครื่องมือในการ
ผลิตคลื่นสั้น (shortwave diathermy SWD) ได้ถูกกาหนดให้มี 3 แถบความถี่ คือ 13.56 MHz (22.12 m),
27.12 MHz (11.06 m) ,และ 40.68 MHz (7.50 m) แต่แถบคลื่นความถี่ 27.12 MHz ซึ่งมีความยาวคลื่ น
11.06 เมตร เป็นที่นิยมในการนามาใช้รักษามากที่สุด เนื่องจากมีความกว้างของแถบมากที่สุด เพื่อให้เกิดความ
ร้อนภายในเนื้อเยื่อส่วนลึกของร่างกาย และมีการแทรกสอดคลื่นน้อยจึงนิยมใช้กัน (Prentice WE,1998; Al-
Mandel MM, 2008; Robertson V,2009)
การคานวณความยาวคลื่น (wavelength) ของ Electromagnetic spectrum หาได้จากสูตรของ
Maxwell Law โดยกาหนดให้ค่า Velocity (C) เท่ากับ 3 x 108 m/s (Lehmann JF,1990)
V=fxL
L = 3x108 / 27.12 MHz
L= 11.06 m
วงจรของเครื่องผลิตความร้อนลึกแบบคลื่นสั้น (Al-Mandel MM, 2008; Robertson V,2009)
เครื่องผลิตความร้อนลึกแบบคลื่นสั้นประกอบด้วยวงจรพื้นฐานสาคัญ 4 ส่วนคือ (ภาพที่ 2)
1. วงจรแหล่งจ่ายไฟ (Power supply) 50 Hz, 220 V
2. วงจรแปลงสัญญาณไฟ (Transformer and rectifier) รวมทั้งวงจรการปรับคลื่น
(Oscillating circuit) เพื่อให้ได้ความถี่ 27.12 เมกะเฮิร์ทซ (MHz)
3. วงจรขยายสัญญาณ (Power amplifier) ขยายสัญญาณจากวงจรแปลงสัญญาณให้มากเพียงพอ
สาหรับใช้ในการรักษา
4. วงจรผู้ป่วย (Patient circuit หรือ resonator) ที่สามารถปรับได้ทั้งวิธีการใช้และอิเล็คโตรดให้
เป็น ชนิด Condenser หรือขดลวด (coil)

ภาพที่ 2 แสดงส่วนประกอบของเครื่องผลิตคลื่นสั้น (Shortwave diathermy, 27.12 MHz)


(ที่มา: Robertson V,2009)
Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 3
Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

ลักษณะและส่วนประกอบของเครื่องผลิต SWD (Prentice WE,1998)


1. Display monitor (แผงหน้าปัด) ประกอบด้วย
• ปุ่มเปิดขปิดเครื่อง (Switch on – off)
• ปุ่มปรับเลือกปล่อนคลื่น (Type of treatment continuous หรือ pulse mode)
• ปุ่มตั้งค่าเวลารักษา (Timer) หน่วยเป็น นาที (Minutes)
• ปุ่มปรับลดและเพิ่มระดับพัลงงาน (Intensity) หน่วยเป็น Watt (Number 0-10)
2. Electrode arm แขนจับเครื่อง สามารถปรับมุมได้ตามต้องการ
3. Electrode sockets ช่องใช้สาหรับเสียบสายส่งพลังงาน ที่เรียกว่าสาย cable
4. Mains cable สายหลักจากตัวเครื่องต่อเข้ากับตัวอาคารเข้า Power supply โดยใช้ไฟฟ้า
กระแสสลับ (AC, 220 V, 50 HZ) ทาให้เครื่องสามารถสร้างวงจรไฟฟ้ากระแสสลับเพสบวก-ลบได้

ส่วนประกอบที่ใช้กับเครื่อง
ส่วนประกอบที่สาคัญของคลื่นสั้น คือ อิเล็คโตรด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด (Lehmann JF,1990) คือ
1. คอนเดนเซอร์ (Condenser หรือ capacitor electrodes) (ภาพที่ 3) เป็นชนิดให้ความร้อนได้
ดีในชั้นเนื้อเยื่อที่มีน้าเป็นองค์ประกอบน้อย (Low water content เช่น ชั้น Fat, Bone, Joint, Ligament
หัวส่งขนืดนี้มี 2 ชนิดย่อย (Prentice WE,1998; Al-Mandel MM,2008; Robertson V,2009) คือ
- Air space electrode หัวส่งแบบแผ่นแบนทรงกลม มีหลายขนาด นิยมใช้คือ ขนาดแผ่นโลหะเก็บ
ประจุเส้นฝ่าศูนย์กลาง 7.5 cm และ 17.5 cm โดยมีฝาครอบแก้ว หรือ พลาสติกครอบไว้ เพื่อป้องกันโลหะ
สัมผัสผิวหนังโดยตรง โดยขณะใช้งานจะต้องวางแผ่นทั้ง 2 บนบริเวณที่ต้องการให้เกิดความร้อน โดยส่วน
ร่างกายของผู้ป่วยจะเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้าขณะที่รักษา (Electric circuit) Air space สามารถปรับ
ระยะหว่างของแผ่นโลหะกับผิวหนังได้ โดยปกติจะต้องห่างจากผิวหนัง 2-4 cm หรือ 1-1.5 inch ตามความ
เหมาะสมของพยาธิสภาพ (ขนาดเล็กใช้กับส่วนข้อต่อเล็กๆ เช่น ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ในขณะที่ขนาดใหญ่ใช้กับ
บริเวณกว้าง หรือข้อขนาดใหญ่ เช่น ข้อไหล่ ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อศอก หลัง ก้น เป็นต้น การสางหัวส่งขนิด
Air space electrode จะต้องวางให้แนวขนานไปกับส่ วนร่างกายเสมอ นอกจากนี้ electrode ต้องมีขนาด
ใหญ่กว่าบริเวณที่รักษาเล็กน้อยเสมอ เพื่อให้สนามไฟฟ้าสถิต (Electrostatic field) วิ่งสม่าเสมอและหนาแน่น
- Rubber flexible plate/ Rubber pad electrode หัวส่งแบบแผ่นแบนทรงสี่เหลี่ยมมีหลาย
ขนาด โดยผลิ ต จากยางร่ ว มกั บ โลหะผสมพิ เ ศษ โดยมั ก วางบนแผ่ น กั น ซั บ หรื อ ผ้ า ขนหนู เพื่ อ ไม่ ใ ห้ แ ผ่ น
Electrodeสั มผั ส กับ ผิ ว หนั งโดยตรง โดยการวางนั้นจะวางแบบเดียวกับ Air space electrode โดยปกติ
จะต้องห่างจากผิวหนัง 2-4 cm หรือ 1-1.5 inch เช่นกัน นอกจากนี้ electrode ต้องมีขนาดใหญ่กว่าบริเวณ
ที่รักษาเล็กน้อยเสมอ เพื่อให้สนามไฟฟ้าสถิต (Electrostatic field) วิ่งสม่าเสมอและหนาแน่น
2. ขดลวด (Inductor หรือ coil field method หรือ cable method) เป็นหัวส่งที่ให้ความร้อน
ในชั้นเนื้อเยื่อที่มี น้าอยู่มาก หรือมีระบบไหลเวียนดี (High water content) เช่น กล้ามเนื้อ, เส้นประสาท,
อวัยวะภายใน, เส้นเลือด เป็นต้น (ภาพที่ 4)
- ขดลวดเหนี่ยวนา (induction coil) เป็นขดลวดที่ใช้พันส่วนของร่างกาย (Cable electrode)
หรือพันวนเป็นแผ่นแบบ (Pancake type) การพันขดลวดชนิดนี้บนบริเวณที่ต้องการรักษา จะต้องหาผ้าขนหนู
รองบริเวณที่จะรักษาหนาประมาณ 2-5 cm โดยทาการพันรอบส่วนแขน ขา ให้แต่ละวงห่างกัน 1.5 cm
เพื่อให้สนามแม่เหล็ก (Magnetic fields) สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วๆบริเวณรักษา และป้องกันไม่ให้เกิดการร้อนที่
ผิวมากเกินไป
Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 4
Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

- หัวส่ง รู ปแบบพิเ ศษ มีรู ป ร่ างตามวัส ดุที่ห่ อหุ้ ม เช่น Drum (Diplode, Flexiplode), Monode,
Minode และ Circuplode) เป็นต้น โดยปกติจะต้องวางหัวส่งขนิดนี้ให้ห่างกับผิวหนัง 2-4 cm เพื่อให้พลังงาน
สนามแม่เหล็ก (Magnetic fields) สามารถสร้างความร้อนได้ลึกลงไป 3-5 cm

ชนิด Air space electrode ชนิด Rubber pad electrode

ภาพที่ 3 อิเล็คโตรดชนิดคอนเดนเซอร์ (Condensor หรือ capacitor electrodes) มี 2 ชนิดย่อย คือ Air


space electrode และ Rubber flexible plate หรือ Rubber pad electrode

ภาพที่ 4 อิเล็คโตรดชนิด Inductor Coil และ ชนิด Drum (Diplode, Flexiplode), Minode, Monode
(ที่มา: ศรีวรรณ ปัญติ, 2541)
Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 5
Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

2. ชีวฟิสิกส์ของคลื่นสั้น (Biophysics of shockwave diathermy)


เมื่อคลื่นสั้นเข้าสู่ร่างกาย จะก่อให้เกิดความร้อนภายในเนื้อเยื่อ และ จานวนความร้อนที่มากที่สุดจะ
เกิดในบริเวณที่มีความหนาแน่นของกระแสสนามไฟฟ้าแม่เหล็กไฟฟ้า มากที่สุด (Electromagnetic fields)
ตามกฎของ Kirchoff’s equation คือ (Lehmann JF,1990; Al-Mandel MM,2008; Robertson V,2009)

H = 0.24 x I 2 x R x T

H = ปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อ
I = ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเนื้อเยื่อ
R = ปริมาณความต้านทานของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด
T = เวลาที่ใช้รักษา

ดังนั้น การรักษาด้วย SWD เพื่อให้เกิดความร้อน พบว่า พลังงานความร้อนจะขึ้นอยู่กับค่าพลังงานที่


ใช้ (Intensity) เป็นหลัก นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับ ระยะเวลา (Time) ในการรักษา และ ชนิดความต้านทานใน
เนื้อเยื่อ อีกด้วย (Prentice WE,1998; Michlovitz SL,1990)

ขณะที่เนื้อเยื่ออยู่ในสนามไฟฟ้า (Electrostatic fields) เนื้อเยื่ออาจจะเรียงตัวอยู่ในลักษณะอนุกรม


หรือ ขนานกันเส้นแรงสนามไฟฟ้าก็ได้ ถ้าเนื้อเยื่อเหล่านั้นเรียงตัวอยู่ในลักษณะอนุกรม (Series) ซึ่งกันและกัน
และอนุกรมกับเส้นแรงสนามไฟฟ้า (ภาพที่ 5 ก) จะพบว่า ความหนาแน่นของสนามไฟฟ้าจะมากในชั้นของ
เนื้อเยื่อที่เป็นสื่อนาไฟฟ้าที่ไม่ดีได้มากที่สุด เช่น ไขมัน (Fat) เป็นต้น ในทางตรงข้าม ถ้าเนื้อเยื่ออยู่ในลักษณะ
ขนาน (Parallel) ซึ่งกันและกันกับเส้นแรงสนามไฟฟ้า ( E ) (ภาพที่ 5 ข) โดยพบว่าสนามไฟฟ้า จะไหลผ่าน
เข้าไปในเนื้อชนิดที่เป็นสื่อไฟฟ้าได้ดีที่สุด ได้ มากที่สุด ซึ่งมีน้าเป็นสื่อนาสนามไฟฟ้ าได้มาก เช่น กล้ามเนื้อ
(Muscle) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่มีน้าเป็นองค์ประกอบมาก ทาให้บริเวณนี้มีความหนาแน่นของกระแสไฟฟ้ามาก
ที่สุด (Prentice WE,1998; Al-Mandel MM,2008; Robertson V,2009)
เนื้อเยื่อที่มีลักษณะที่เป็นสื่อไฟฟ้า จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับจานวนน้าที่อยู่ในเนื้อเยื่อนั้นโดย
เนื้อเยื่อที่มีน้ามาก (High water contents) ก็จะมีลักษณะเป็นสื่อไฟฟ้าที่ดี เช่น กล้ามเนื้อ เส้นประสาท เส้น
เลือด อวัยวะภายใน และผิวหนังที่เปียกชื้น (Moist skin tissue) ในขณะที่ ส่วนเนื้อเยื่อที่มีน้าน้อย (Low
water contents) มีลักษณะเป็นสื่อไฟฟ้าที่เลว เช่น กระดูก เอ็น ไขมัน ผิวหนังที่แห้ง (Dry skin tissue)
นอกจากนี้การวางขั้วแผ่น Air space, Rubber pad electrodes ยังพบว่ายังมีปัจจัยที่สาคัญอื่นๆอีก
หลายปัจจัยที่เป็นตัวกาหนดความหนาแน่นของกระแสไฟฟ้า (Electrostatic current density) ในเนื้อเยื่อ
ได้แก่ (Prentice WE,1998; Al-Mandel MM,2008; Robertson V,2009)
- ขนาดของขั้ว (Electrode)
- ระยะห่างของขัว้ กับผิวหนัง (Electrode distance)
- เทคนิคการวางขั้ว (Electrode placement) เป็นต้น ซึ่งจะอธิบายต่อไป

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 6


Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

ภาพที่ 5 ลักษณะการเรียงตัวของเนื้อเยื่อกับอิเล็คโตรดชนิด condenser electrode (Air space electrode)


ก) เนื้อเยื่อเรียงตัวอนุกรมกับเส้นแรงไฟฟ้า (Series) พบว่า สนามไฟฟ้าจะไหลเข้าชั้นไขมันมาก (Fat) และ
ข) เนื้อเยื่อเรียงตัวขนานกันกับเส้นแรงไฟฟ้า (Parallel) พบว่า สนามไฟฟ้าจะไหลเข้ากล้ามเนื้อมาก (Muscle)

สนามที่เกิดจากการใช้เครื่องผลิตคลื่นสั้น (Electrostatic fields, E)


1. สนามไฟฟ้า (Electrostatic field, E)
- สนามไฟฟ้ า เกิ ด ขึ้ น จากการใช้ อิ เ ล็ ค โตรด (Electrode) แบบ Condenser หรื อ Capacitor
electrode ไ ด้ แ ก่ Air space electrodes แ ล ะ Rubber pad electrodes ซึ่ ง เ ป็ น ส น า ม ไ ฟ ฟ้ า แ บ บ
Electrostatic field ซึ่งเป็นสนามไฟฟ้า สถิตย์ โดยสนามไฟฟ้ามีลักษณะคงที่และอยู่นิ่ง (Static) (Prentice
WE,1998; Al-Mandel MM,2008; Robertson V,2009)
- วิธีการรักษาด้วยวิธีนี้ ส่วนของร่างกายที่ต้องการรักษาอยู่ระหว่างอิเล็คโตรด 2 อัน โดยมีวัตถุฉนวน
คั้นระหว่างผิวหนังกับอิเล็คโตรด (ภาพที่ 6) หรือ วางด้านเดียวกันกับเนื้อเยื่อ (ภาพที่ 7)
-สาหรับอิเล็คโตรดที่ใช้วิธีการนี้มีหลายรูปแบบแตกต่ างกันตามรูปร่างและขนาดเพื่อให้เหมาะสมกับ
ตาแหน่งและการใช้ อิเล็คโตรดจะทาหน้าที่เช่นเดียวกับแผ่นคาปาซิเตอร์ (Capacitor) ในขณะที่เนื้อเยื่อผู้ป่วย
รวมทั้งวัตถุฉนวนดังกล่ าวเป็ น วัส ดุที่มีคุณสมบัต “ไดอิเล็คตริค ” (Dielectric) ดังนั้นวิธีการนี้จะทาให้ เ กิด
สนามไฟฟ้าขึน้ ระหว่างอิเล็คโตรดทั้งสอง และส่งผลต่อเนื้อเยื่อ หรือ สารภายในเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในสนามไฟฟ้า
- การเกิดความร้อนในเนื้อเยื่อ ของร่างกายจากการใช้ Capacitors เกิดได้จากสนามไฟฟ้าทาให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางไฟฟ้าของเนื้อเยื่อได้ โดยปกติเนื้อเยื่อต่างๆจะประกอบด้วยโมเลกุลทั้งชนิดมี
ประจุไฟฟ้า ทั้งประจุบวกและประจุลบ (Charge molecules เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียมไอออน)
สารที่แสดงความเป็นขั้วทางไฟฟ้าที่เรยกว่า ไดโพล่า โมเลกุล (Dipolar molecules เช่น โมเลกุลน้า) และ
ชนิดที่ไม่มีขั้ว (Non –polar molecules) โดยเมื่อมีการปล่อยพลังงานสนามไฟฟ้า SWD ผ่านเนื้อเยื่อเหล่านี้
โดยความถี่ ข องกระแสสลั บ (AC) ที่ ส ร้ า งขึ้ น คื อ 27.12 ล้ า นรอบต่ อ วิ น าที (Hz) ซึ่ ง เป็ น ความถี่ สู ง (high
frequency current) เข้ า ไป จะมี ผ ลท าให้ เ กิ ด การเปลี่ ย นเป็ น พลั ง งานความร้ อ นได้ (Convert energy)
(Prentice WE,1998; Al-Mandel MM,2008; Robertson V,2009)

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 7


Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

- สารที่มีประจุไฟฟ้าโมเลกุลชนิดที่มีขั้วบวก-ขั้วลบ (Positive, Negative ion) จะมีการตอบสนองต่อ


แรงของการผลักกัน (ประจุไฟฟ้าเหมือนกัน ) และดูดกันเกิดขึ้นระหว่างโมเลกุล (ประจุไฟฟ้าต่างกัน ) และ
สนามไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเป็นสาเหตุในการเร่งให้เกิดการเรียงตัวของโมเลกุลตามแนวแรงของกระแสไฟฟ้า ดังนั้น
ขณะที่มี การสลั บ ขั้ว ของไฟฟ้าจะทาให้ เกิด การสั่นและเกิดการชนเสียดสี กัน จึงทาให้ เกิดความร้อนขึ้น ใน
เนื้อเยื่อ (ภาพที่ 8) (Prentice WE,1998; Al-Mandel MM,2008; Robertson V,2009)
- สาหรับเนื้อเยื่อที่มีโมเลกุลสารที่มีขั้ว (Dipolar molecules) เช่น โมเลกุลน้า (H2O) ซึ่งประกอบด้วย
โมเลกุลที่มีขั้วบวก (Oxygen) และ ขั้วลบ (Hydrogen) ในโมเลกุลเดียวกัน โดยเมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าสลับ (AC)
จะทาให้เกิดสนามไฟฟ้าเกิดขึ้น และจะทาให้เกิดการบิดหมุนตัวของโมเลกุล (Rotation of dipoles) (ภาพ 8)
- สาหรับเนื้อเยื่อทีไ่ ม่มีขั้ว (Non-polar molecules) พบว่ามีกลุ่มอิเล็กตรอนในชั้นพลังงาน (Electron
orbital) จะเกิดการเคลื่อนตัวสั่นไปมาอย่างรวดเร็ว (Electron oscillation) ทาให้เกิดการเสียดสีกระทบกัน
จากการเคลื่อนที่ของกลุ่มอิเล็กตรอน (Electrons cloud motion) และอาจะเปลี่ยนเป็นสารที่มีขั้วชั่วคราวได้
โดยเชื่อว่ากลไกนี้จะให้ความร้อนไม่มาก (Little heat energy) (ภาพที่ 8) (Robertson V,2009)

ภาพที่ 6 สนามไฟฟ้ า เกิ ด ขึ้ น จากการใช้ อิ เ ล็ ค โตรด (Electrode) แบบ Condenser หรื อ Capacitor
electrode ไ ด้ แ ก่ Air space electrodes แ ล ะ Rubber pad electrodes ซึ่ ง เ ป็ น ส น า ม ไ ฟ ฟ้ า แ บ บ
Electrostatic field ซึ่งเป็นสนามไฟฟ้าสถิตย์ (Electrostatic fields) โดยส่วนของร่างกายที่ต้องการรักษาจะ
ว่างอยู่ระหว่างอิเล็คโตรด 2 อัน (Contra-planar technique) โดยถ้าสนามไฟฟ้ายิ่งมากจะมีผลทาให้ เกิด
ความร้อนในเนื้อเยื่อมากตาม

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 8


Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

ภาพที่ 7 สนามไฟฟ้าเกิดขึ้นจากการใช้อิเล็คโตรดแบบ Condenser หรือ Capacitor electrode จากการวาง


ขั้วไฟฟ้าทั้ง 2 อันด้านเดียวกัน (Co-planar technique) ในเนื้อเยื่อชนิดเดียว (Homogenous tissue) และ
เนื้อเยื่อหลายชนิดวางตัวเรียงกัน (Heterogeneous tissue) โดยพบว่า ในเนื้อเยื่อชนิดเดียวสนามไฟฟ้าจะ
กระจายทั่วจากขั้วหนึ่งไปอีกขั้วหนึ่ง และ ในขณะที่เนื้อเยื่อต่างชนิดกัน สนามไฟฟ้าจะวิ่งตื้นและเข้ามากใน
เนื้อเยื่อชั้นไขมัน (Fat) มากกว่าชั้นกล้ามเนื้อ (Muscles) (ที่มา: Prentice WE,1998)

ภาพที่ 8 กลไกการสร้ างความร้ อนในเนื้อเยื่อ (Volume heating) จากแผ่ นเก็บประจุ (Capacitors) โดย
เนื้อเยื่อที่ผ่านสนามไฟฟ้าจะทาให้เกิดการเคลื่อนกลับไปมาอย่างเร็วของไอออน (Ion motion) ส่วนโมเลกุลที่มี
ขั้ว (Dipolar molecule) เช่น โมเลกุลน้าจะเกิดการบิดหมุนอย่างเร็ว (Rotation) และอนุภาคชนิดไม่มีประจุ
(Non –charge particle) ซึ่งเป็นโมเลกุลชนิดที่ไม่มีขั้ว (non-polar) เช่น ไขมัน เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าความถี่
สูงเข้าไป โมเลกุชนิดนี้ก็จะเกิดการตอบสนองต่อสนามไฟฟ้าด้วยในลักษณะของการเคลื่อนตัวแคบๆและการ
บิดตัว (Distortion) ซึ่งก็จะทาให้เกิดความร้อนขึ้น เป็นต้น (ที่มา: Robertson V, et al,2009)
Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 9
Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

สนามไฟฟ้าจากแผ่นเก็บประจุ (Capacitor) สามารถผ่านเนื้อเยื่อได้ตลอดจากขนาดแผ่นเก็บประจุ


อิเล็คโตรด (Electrode) ขั้วหนึ่งไปอีกขั้วหนึ่งได้ แต่สนามไฟฟ้าจะเข้มในส่วนที่ใกล้ชิดกับอิเล็คโตรดมากกว่า
ส่วนที่ไกลออกไปเนื่องจากเส้นแรงไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะผลักกัน ดังนั้นความเข้มของสนามไฟฟ้าตรงบริเวณส่วน
ผิวของร่างกาย (Skin) จะมากกว่าตรงบริเวณเนื้อเยื่อส่วนลึก ซึ่งถูกขัดขวางด้วยเนื้อเยื่อที่นาความร้อนได้ไม่ดี
เช่น ไขมัน (Subcutaneous fat) เป็นต้น (ภาพที่ 9, 10) นอกจากนั้นขนาดของสนามไฟฟ้าจะขึ้นกับขนาดของ
แผ่นเก็บประจุ อิเล็คโตรด ถ้าขนาดแผ่นเก็บประจุอิเล็คโตรดใหญ่กว่าเยื้อเยื่อ พบว่า จะให้สนามไฟฟ้ากว้าง
กระจายทั่วถึงและสนามไฟฟ้าวิ่งตรงสม่าเสมอและเบนออกน้อย ในขณะที่ถ้าขนาดขั้วแผ่นเก็บประจุมีขนาด
เล็กกว่าเนื้อเยื่อมากจะทาให้สนามไฟฟ้าบานออกมาก และความเข้มสนามไฟฟ้าจะสะสมมากที่ชั้นรอยต่อ
ไขมันและผิวหนัง ดังนั้นการจัดระยะห่างระหว่างอิเล็คโตรดกับผิวหนังผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความร้อนบริเวณ
เนื้อเยื่อส่วนตื้นลดน้อยลงใกล้เคียงกับความร้อนกับบริเวณเนื้อเยื่อส่วนลึก มักจะจัดให้มีระยะห่างระหว่างอิเล็ค
โตรดกับผิวหนังประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร (1 นิ้ว) นอกจากนั้นขนาดของอิเล็คโตรด (Electrodes size) และ
ระยะหว่างของผิวหนังกับขั้วแผ่นเก็บประจุ (Electrode distance) ที่ใช้ก็มีผลทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการ
กระจายความร้อนภายในเนื้อเยื่อด้วย (ภาพที่ 11)
โดยปกติควรเลือกขั้วแผ่นเก็บประจุที่ใช้ทั้ง 2 อัน ควรมีขนาดเท่ากัน วางห่างจากผิวหนังเท่ากัน 2 - 3
เซนติ เ มตร (1 นิ้ ว ) ทั้ ง 2 ด้ า น และ ขนาดขั้ ว แผ่ น ควรใหญ่ ก ว่า เนื้อ เยื่ อ ที่ ต้อ งการรัก ษาเล็ ก น้ อ ย เพื่ อ ให้
สนามไฟฟ้ากระจายได้ทั่วและวิ่งเป็นเส้นตรงไม่เบนออกมาก
ถ้าใช้ขั้วแผ่นเก็บประจุขนาดเท่ากันทั้ง 2 อัน แต่วางขั้วห่างจากผิวหนังไม่เท่ากันเท่า กัน จะพบว่า
สนามไฟฟ้าจะหนาแน่นมากในด้านที่ว่างใกล้ผิวหนัง
ถ้าใช้ขนาดขั้วแผ่นเก็บประจุต่างกัน พบว่า สนามไฟฟ้าจะสะสมบริเวณด้านที่ขั้วแผ่นเก็บประจุขนาด
เล็ก มากกว่าขั้วแผ่นเก็บประจุขนาดใหญ่

ภาพที่ 9 แสดงความร้อนที่สะสมในเนื้อเยื่อไขมัน , กล้ามเนื้อ และ กระดูก เมื่อใช้หัวส่งต่างกันกัน โดยหัวส่ง


แบบขดลวด (Coil induction, drum electrode) จะให้ความร้อนสะสมในชั้นกล้ามเนื้อได้ดี ในขณะที่ หหัว
ส่งแบบแผ่นเก็บประจุ (Capacitive, air space, Rubber pad) จะให้ความร้อนสะสมในไขมัน และ กระดูกได้
ดีกว่าหหัวส่งแบบขดลวด
Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 10
Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

ภาพที่ 10 แสดงความร้อนที่สะสมในเนื้อเยื่อไขมัน, กล้ามเนื้อ และ กระดูก เมื่อใช้ SWD (Capacitors), SWD


(Inductors) เมื่อเปรียบเทียบกับ Ultrasound (US) และ Microwave diathermy (MWD) (ที่มา: Cameron
MH,1990)

ภาพที่ 11 แสดงสนามไฟฟ้าที่เกิดจากหหัวส่งแบบแผ่นเก็ บประจุ (Capacitive, air space, Rubber pad)


โดยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อขนาดและความเข้มสนามไฟฟ้า (เส้นประ) ได้แก่ ระยะห่างระหว่างแผ่นเก็บประจุกับ
ผิ ว (Electrode distance), ขนาดของแผ่ น เก็ บ ประจุ (Electrode size) และ การวางขนาดกั บ เนื้ อ เยื่ อ
(Electrode parallel) เป็นต้น (ที่มา: Robertson V,2009)
Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 11
Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

เทคนิคการวางแผ่นประจุ (Capacitors) สามารถว่างได้ 3 แบบ (ภาพที่ 12) คือ


1. Contra-planar technique คือ การวางแผ่นเก็บประจุคร่อม ข้อต่อ หรือ เนื้อเยื่อ แบ่งได้ 2 แบบย่อย
- Longitudinal คือ การวางคร่อมกระดูกตามแนวยาวของกระดูก
- Oblique คือ การวางเฉียงตามของร่างกาย มักว่างกับส่วนโค้งมน เช่น ข้อศอก, ข้อเข่า
2. Co-planar technique คือ การวางแบบระนาบ + ฝั่งด้านเดียวกัน
3. Cross fire technique คือ การวางแบบไข้ว หรือ กากบาท นิยมใช้กับส่วนที่เป็นโพรงอากาศ

ภาพที่ 12 แสดงวิธีการวางขั้วแผ่นเก็บประจุ (Capacitors) แบบต่างๆ

2. สนามไฟฟ้าแม่เหล็ก (Electromagnetic fields, B)


สนามไฟฟ้าแม่เหล็ก เกิดขึ้นจากการใช้อิเล็คโตรดแบบ inductor เช่น ขดลวดเหนี่ยวนา (Inductive
coil) หรือหัวส่งแบบพิเศษต่าง ๆ (Drum electrodes) โดย SWD ที่ใช้วิธีการนี้ จะทาให้เกิด สนามแม่เหล็ก
ไฟฟ้ า แบบ Electromagnetic field รอบ ๆ จุ ด ศู น ย์ ก ลางของขดลวดเหนี่ ย วน า โดยเมื่ อ ท าการปล่ อ ย
กระแสไฟฟ้ า (Electrical current, I) ผ่ า นเข้ า ไปในขดลวด (Inductive coil) จะท าให้ ข วดลวดสร้ า ง
สนามแม่เหล็ กขึ้น รอบขดลวด (Magnetic fields, B) โดยเมื่อ สนามแม่เหล็ กที่ เกิ ดขึ้ นจะเหนี่ ยวนาให้ เ กิ ด
กระแสไฟไหลวน (Eddy current) ขึ้นในเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นการสร้างสนามไฟฟ้าในเนื้อเยื่อ แบบ Electrostatic
field (สนามไฟฟ้าสถิต) ที่บริเวณปลายของขดลวดเหนี่ยวนา โดยสนามแม่เหล็ก (B) นี้จะมีทิศทางตรงข้ามกับ
การไหลวนของกระแสไฟฟ้า (Eddy current) ในขดลวดเหนี่ยวนา (ภาพที่ 13) และพลังงานที่สูญเสียโดย
กระแสไหลวนนี้ จะเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานความร้อนขึ้นในเนื้อเยื่อแทน ดังนั้นความร้อน (Thermal effect) ที่
เกิดขึ้นจะเป็นผลจากปริมาณความเข้มของสนามแม่เหล็ก (B) ที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อนั้น และความเข้มของความ
หนาแน่นของการผลิตไฟฟ้าชนิดกระแสวน ความเข้มของสนามแม่เหล็กจะพิจารณาได้จากระยะห่างระหว่าง
อิเล็คโตรด (Electrode) กับผิวหนังหรือเนื้อเยื่อ โดยพบว่า ถ้าระยะห่างจากผิวหนังมากขึ้น พบว่าความเข้ม
สนามแม่เหล็ก (Magnetic fields, B) ที่เกิดขึ้นจะลดลง โดยจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนักในเนื้อเยื่อแต่ล ะชนิด
(Michlovitz SL,1990; : Prentice WE,1998; Cameron MH,1999; Robertson V,2009)

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 12


Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

A. B.

C.

ภาพที่ 13 A. แสดงการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวด ทาให้ขดลวดเกิดการสร้างสนามแม่เหล็กรอบๆ


ขดลวด (Magnetic fields, ลูกศรเล็ก) และจะเหนียวนาให้รอบข้างๆสนามแม่เหล็กเกิดการสร้างสนามไฟฟ้า
สถิ ต ย์ (Electrostatic fields) ที่ เ รี ย กว่ า กระแสไฟฟ้ า ไหลวน (Eddy current, ลู ก ศรขนาดใหญ่ ) B.
สนามแม่เหล็ก (Magnetic field) ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้า (Electric current, I) เข้าขดลวด และ
เกิดกระแสไฟฟ้าไหลวน (Eddy current) ในเนื้อเยื่อส่วนนขา C. ค่าสนามแม่เหล็ก (Magnetic field) จะมี
ความเข้ ม หนาแน่ น สนามแม่ เ หล็ ก มากที่ สุ ด เมื่ อ ใกล้ แ หล่ ง ก าเนิ ด (Origin) และจะลดลง เมื่ อ ห่ า งจาก
แหล่งกาเนิดมากขึ้น (ที่มา:ศรีวรรณ ปัญติ,2541; Cameron MH,1999)

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 13


Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

ส่ ว นความเข้ ม ของไฟฟ้ า ชนิ ดกระแสวน (Eddy current) จะขึ้ น กั บ ความเข้ ม ของสนามแม่เหล็ ก


(Magnetic fields, B) ดังนั้น จากคุณสมบัติในการนาไฟฟ้าของเนื้อเยื่อบริเวณนั้น พบว่าหัวส่งแบบขดลวด
(Coil inductive electrode) จะให้พลังงานแม่เหล็กและพลังงานสามไฟฟ้ามากในเนื้อเยื่อที่มีน้ามาก (High
water contents) เช่น กล้ามเนื้อ ,น้าในข้อต่อ (Synovial fluid) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่มีน้าเป็นสื่อในการนาไฟฟ้า
ที่ดี เมื่อเทียบกับเนื้อเยื่อที่มีส่วนประกอบของน้าน้อย เช่น . ไขมัน กระดูก เนื้อเยื่อที่มีใยคอลลาเจนสูง ซึ่งมี
คุณสมบัติในการนาไฟฟ้าที่ไม่ดี (ตารางที่ 1 และ 2) (Lehmann JF,1990; Robertson V,2009)

ตารางที่ 1 แสดงการนาไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ (Muscle) ต่อความถี่ของคลื่น SWD ที่แตกต่างกัน


(ศรีวรรณ ปัญติ,2541; Lehmann JF,1990)
Frequency (MHz) Conductivity (Siemens/meter)
13.56 0.62
27.12 0.60
40.68 0.68
200 1.00
2450 2.17

ตารางที่ 2 แสดงการนาไฟฟ้าของเนื้อเยื่อ (Soft tissues) ที่แตกต่างกันที่คลื่นความถี่ 25 MHz


(ศรีวรรณ ปัญติ,2541; Lehmann JF,1990)
Tissue Conductivity (Siemens/meter)
Liver 0.48-0.54
Kidney 0.83
Brain 0.46
Muscle 0.7-0.9
Fat 0.04-0.06
Bone 0.01

ดังนั้น การเลือกอิเล็คโตรดเพื่อใช้ในการรักษา ต้องพิจารณาว่าต้องการให้เนื้อเยื่อระดับใดที่ต้องการ


เกิดความร้อน (Thermal effect) เช่น ชั้นกล้ามเนื้อ (Muscle), ชั้นไขมัน (Fat), หรือข้อต่อ (Articular joint)
และ เนื้อเยื่อนั้นมีส่วนประกอบของน้ามากหรือน้อย ซึ่งถ้าต้องการรักษาเนื้อเยื่อที่มีส่วนประกอบของน้าสูง
(High water contents) เช่ น กล้ า มเนื้ อ เส้ น เลื อ ด อวั ย วะภายใน ควรเลื อ กใช้ วิ ธี ส นามแม่ เ หล็ ก ไฟฟ้ า
(Magnetic field) จากขดลวดเหนี่ยวนา (Conductive electrode) เช่น Inductive coil, Drum (Diplode,
Flexiplode, Monode, Minode) แต่ถ้าต้องการรักษาเนื้ อเยื่ อที่ มีส่ ว นประกอบของน้าน้ อย (Low water
contents) เช่น กระดูก เอ็น ข้อต่อ เอ็ น กล้ ามเนื้อ ไขมัน ใต้ผิ ว หนัง ควรเลื อกใช้ หั ว ส่ งแบบให้ สนามไฟฟ้า
(Electrostatic fields) จาก capacitor เช่น Air space, Rubber pad electrodes ซึ่งจะให้ผลดีกว่า เพราะ
อุณหภูมิจะสะสมที่ชั้นไขมันสูงกว่าชั้นกล้ามเนื้อ (Michlovitz SL,1990)

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 14


Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

3. องค์ประกอบที่มีผลต่อการกระจายของสนามไฟฟ้าชนิด Capacitor electrode


1. ระยะห่างของอิเล็คโตรดกับผิวหนัง (Electrode spacing) มีผลต่อความเข้มของคลื่นสั้นต่อเนื้อเยื่อ
ที่ต้องการรักษา ดังนี้
-ระยะห่างของอิเล็คโตรดใกล้หรือชิดผิวหนัง ทาให้การกระจายความเข้มของสนามไฟฟ้าในบริเวณ
เนื้อเยื่อที่อยู่ตื้นมีมากเป็นผลทาให้เกิดความร้อนมากในเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าว (ภาพที่ 14)
-ระยะห่างของอิเล็คโตรดห่างจากผิวหนังประมาณ 2-3 เซนติเมตร ทาให้การกระจายความเข้มของ
สนามไฟฟ้าในเนื้อเยื่อส่วนลึกมีมากกว่าส่วนตื้น เป็นผลทาให้เกิดความร้อนในเนื้อเยื่อส่วนลึกมากกว่าส่วนตื้น
(ภาพที่ 15)
-ระยะห่างของทั้ง 2 อิเล็คโตรดห่างจากผิวหนังเท่ากัน ทาให้ความเข้มของคลื่นกระจายเท่ากันทั้ง 2
ด้าน แต่ถ้าจัดระยะห่างไม่เท่ากัน ความหนาแน่นของสนามไฟฟ้าจะหนาแน่นมากในเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้กับอิเล็ค
โตรดมากกว่า (ภาพที่ 16)

ภาพที่ 14 แสดงความเข้มของสนามไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากระยะห่างของอิเล็คโตรดที่ใกล้ชิดผิวหนังมาก
(ที่มา: Bouwhuijsen FD,1985)

ภาพที่ 15 แสดงความเข้มของสนามไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากอิเล็คโตรดขนาดที่เท่ากันวางห่างจากผิวหนัง 2-3


เซนติเมตรเท่ากันทั้ง 2 ด้าน (ที่มา: Bouwhuijsen FD,1985)
Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 15
Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

ภาพที่ 16 แสดงความเข้มของสนามไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากอิเล็คโตรดขนาดที่เท่ากันวางห่างจากผิวหนังทั้ง 2 ข้าง


ไม่เท่ากัน โดยสนามไฟฟ้าจะหนาแน่นมากด้านที่ชิดใกล้ผิวหนัง (ที่มา: Bouwhuijsen FD,1985)

2. กรณีมีการฝั่งโลหะที่อยู่ภายในเนื้อเยื่อ (Metal implant)


- สนามไฟฟ้าจะถูกดึงดูดเข้าหาโลหะ ทาให้มีการดึง สนามไฟฟ้ามาสะสมที่ โลหะ เป็นผลทาให้เกิด
ความร้อนในโลหะอย่างมาก และทาให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อรอบข้างได้ เช่น อาการไหม้ (burn) ของเนื้อเยื่อ
รอบ ๆ บริเวณนั้น (ภาพที่ 17)

ภาพที่ 17 แสดงการกระจายของสนามไฟฟ้าที่ถูกดึงดูดให้เกิดการสะสมที่บริเวณโลหะ และทาให้เกิดความ


ร้อนในโลหะได้ และ ทาให้เกิดการพองไหม้ได้ (ที่มา: Bouwhuijsen FD,1985)

3. กรณีบริเวณที่รักษามีช่องว่างอากาศ (Cavity) เช่น โพรงจมูก โพรงกะโหลก


- เมื่อปล่อยคลื่น SWD จะทาให้มีการกระจายของสนามไฟฟ้าในบริเวณช่องว่างน้อย เนื่องจากมีการ
เบนออกของสนามไฟฟ้า โดยการกระจายความเข้มของสนามไฟฟ้าจะมีมากขึ้นในบริเวณเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียง
โพรงอากาศ ทาให้ความร้อนเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อใกล้เคียงโพรงอากาศมากกว่า

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 16


Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

ภาพที่ 18 แสดงการกระจายของคลื่นบริเวณช่องว่าง (ที่มา: Bouwhuijsen FD,1985)

4. ขนาดของอิเล็คโตรดเมื่อเทียบกับพื้นที่เนื้อเยื่อที่ต้องการรักษา
-ขนาดของอิเล็คโตรดเล็กกว่าเนื้อเยื่อที่ต้องการรักษา ความเข้มของสนามไฟฟ้าจะเบนกระจายออก
และวิ่งไม่เป็นเส้นตรง (ภาพที่ 19)
-ขนาดของอิเล็คโตรดใหญ่กว่าเนื้อเยื่อที่ต้องการรักษามาก ความเข้มของสนามไฟฟ้ามีการกระจาย
น้อย วิ่งเป็นเส้นตรง และได้บริเวณกว้าง ความเข้มของคลื่นจะอยู่ใกล้กับอิเล็คโตรด (ภาพที่ 20)
-ขนาดของอิเล็คโตรดใหญ่กว่าเนื้อเยื่อที่ต้องการรักษาเล็กน้อย ความเข้มของสนามไฟฟ้ามีมาก และ
ได้บริเวณกว้างกว่าพื้นที่เนื้อเยื่อที่ต้องการรักษา ซึ่งตรงตามวัตถุประสงค์ของการรักษา (ภาพที่ 21)
-กรณีที่ผิวทั้งสองด้านของอวัยวะที่ต้องการรักษาไม่ได้ขนานกัน มีลักษณะของความโค้งต่างกัน การ
วางอิเล็คโตรดขนานกันลักษณะตรงข้ามกัน ความเข้มของคลื่นจะสูงบริเวณที่ใกล้ผิวหนังมากที่สุด และถ้าวาง
อิเล็คโตรดขนานกับผิวของร่างกาย ความเข้มของคลื่นจะสูงบริเวณผิวที่อิเล็คโตรดทั้งสองอยู่ใกล้ผิว ดังนั้นเพื่อ
ประโยชน์ในการรักษามากที่สุดควรปรับการวางอิเล็คโตรดแบบกึ่งขนานกับอิเล็คโตรดและบริเวณที่ต้องการ
รักษา (ภาพที่ 22)

ภาพที่ 19 แสดงการกระจายของสนามไฟฟ้าในกรณีที่ใช้อิเล็คโตรดที่เล็กกว่าบริเวณที่รักษา
(ที่มา: Bouwhuijsen FD,1985)

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 17


Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

ภาพที่ 20 แสดงการกระจายของสนามไฟฟ้าในอิเล็คโตรดที่ใหญ่กว่าบริเวณที่รักษามาก ทาให้สนามไฟฟ้าเบน


ออกนอกบริเวณที่รักษามาก (ที่มา: Bouwhuijsen FD,1985)

ภาพที่ 21 แสดงการกระจายของคลื่นในอิเล็คโตรดที่ใหญ่กว่าบริเวณที่รักษาเล็กน้อย ซึ่งเหมาะสมในการรักษา


ทาให้สนามไฟฟ้าเบนเข้าในเนื้อเยื่อที่ต้องการรักษา (ที่มา: Bouwhuijsen FD,1985)

ภาพที่ 22 แสดงการกระจายของคลื่นในอิเล็คโตรดในบริเวณที่มีลักษณะโค้ง และวางไม่ขนานกันกับผิว และ


วางขนานกับผิว (Parallel) (ที่มา: Bouwhuijsen FD,1985)

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 18


Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

4. ผลทางชีววิทยาของคลื่นสั้น (Biology effects of SWD)


1. เพิ่มเซลล์เมตะบอลิซึ่ม (Cell metabolism) (ภาพที่ 23)
เมื่อเนื้อเยื่อได้รับความร้อนเพิ่มขึ้น ความร้อนที่เพิ่มขึ้นจะช่วงไปเร่งปฏิกิริยาเคมี ให้มีการเพิ่มเมตะบอ
ลิซึ่มขึ้นทาให้เซลล์มีความต้องการใช้สารต่าง ๆ ในเลือดมากขึ้น ขณะเดียวกันจะมีสารที่เป็นของเสียที่เกิดจาก
เมตะบอลิซึ่มเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
2. เพิ่มเลือดไปเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น (Increase blood circulation)
จากผลของการเพิ่มเมตะบอลิสม์ขึ้น ทาให้มีการเพิ่มสารพวกของเสีย (Metabolites) ในบริเวณนั้น
มากขึ้น ซึ่งจะไปมีปฏิกิริ ยาต่อผนังของหลอดเลื อดเป็นเหตุให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลื อดเพิ่มขึ้น ใน
ขณะเดียวกันความร้อนที่เพิ่มขึ้นก็มีผลต่อการขยายตัวของหลอดเลือดด้วย ซึ่งเมื่อหลอดเลือดขยายตัว จะทา
ให้เลือด เกิดการไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณนั้นเพิ่มขึ้น ทาให้ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเนื้อเยื่อบริเวณ
นั้นและช่วยในการกาจัดของเสียซึ่งเป็นผลทางอ้อม
3. ผลต่อเส้นประสาท (Nerve effect)
เนื่องจากคลื่นสั้นเป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง ดังนั้นเมื่อผ่านคลื่นสั้นเข้าไปในร่างกายด้วยขนาดน้อย ๆ
ผู้ป่วยจะรู้สึกอุ่นเท่านั้น และพบว่าจะมีผลต่อการลดความไวของเส้นประสาท (Decrease nerve excitability)
คือมีผล ผลของการผ่อนคลายและลดปวด (Sedative effect) ต่อเส้นประสาท ทาให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย แต่ถ้าให้
ความร้อนมากเกินไปจะมีผลรบกวน และ อันตรายต่อเส้นประสาทได้ (เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 45Co)
4. ผลต่อกล้ามเนื้อ (Muscle effect)
เมื่อกล้ามเนื้อมีอุณหภูมิสูงขึ้น ถึง Therapeutic temperature (อุณหภูมิ 40-43Co) จะมีผลทาให้
กล้ามเนื้อคลายตัวได้ดีและมีประสิทธิภาพในการทางานได้สูงขึ้น กล้ามเนื้อสามารถหดตัวและคลายตัวได้เร็วขึ้น
5. ผลในการทาลายเนื้อเยื่อ (Tissue damage)
ถ้าเนื้อเยื่อบริเวณนั้นได้รับความร้อนสูงเกินไป หรือ พองไหม้ (เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 45Co) จะทาให้เกิด
denature ของโปรตีนของเนื้อเยื่อและมีผลทาให้เกิดการทาลายเนื้อเยื่อขึ้น
6. ผลในการทาให้อุณหภูมิทั่วไปของร่างกายสูงขึ้น (Hyperthermia)
เมื่อให้ความร้อนแต่เนื้อเยื่อทาให้ เลือดไหลผ่านในเนื้อเยื่อที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งจะมีการนาเอาความ
ร้อนไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายด้วย ดังนั้นถ้าให้การรักษาเป็นบริเวณกว้าง ๆ เป็นระยะเวลานาน จะมีผลทา
ให้อุณหภูมิทั่วไปของร่างกายสูงขึ้นและไปมีผลต่อ Vasomotor center ทาให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือด
ทั่วตัว จากเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจะมีผลต่อการกระตุ้น Sympathetic nervous system (SNS) ทาให้เกิด
การกระตุ้นการทางานของหัวใจ ขยายตัวของหลอดเลือด
7. ผลในการทาให้ความดันเลือดต่าลง (hypotension)
จากการขยายตัวของหลอดเลือดทั่ว ๆ ไป ทาให้ลดความต้านทานที่ส่วนปลายของระบบการ
ไหลเวียนเลือดและความหนืดของเลือดลง มีผลต่อความดันเลือดต่าลง
8. เพิ่มการทางานของต่อมเหงื่อ
พบว่าถ้าอุณหภูมิทั่วไปของร่างกายเพิ่มขึ้น จะมีผลทาให้เพิ่มการทางานของต่อมเหงื่อทั่วร่างกาย และ
ความร้อนเฉพาะที่ของผิวหนังจะไปกระตุ้นให้ต่อมเหงื่อบริเวณนั้นทางานเพิ่มขึ้น จึงมีการหลั่งเหงื่อมากขึ้นเมื่อ
ได้รับ SWD ได้ แต่ต้องระวังอย่าให้มีเหงือออกเป็นหยด เพราะสนามไฟฟ้าจะไปสะสมที่เหงื่อและพองได้ ดังนั้น
ควรทาการซับเหงื่อเมื่อมีเหงื่อออก หรือ ใช้ผ้าขนหนูซับเสมอ

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 19


Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

5. ผลของการรักษาด้วยคลื่นสั้น (Therapeutic effect of SWD)


5.1 ผลของความร้อน (Thermal effect, อุณหภูมิ 40-43Co)
ผลทางด้านความร้อนต่อเนื้อเยื่อทั้งส่วนตื้นและส่วนลึก ทาให้มีการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในเนื้อเยื่อ
รวมทั้ ง ช่ ว ยลดอาการปวด (Pain control), กล้ า มเนื้ อ เกร็ ง (Muscle spasm), กระตุ้ น การซ่ อ มแซมของ
เนื้ อ เยื่ อ (Healing process) ลดปั ญ หาข้ อ ติ ด (Joint stiffness) , เพิ่ ม ความยื ด หยุ่ น ของเนื้ อ เยื่ อ (Tissue
extensibility) เช่น อ็นกล้ามเนื้อ (Tendon), เอ็นยึดข้อต่อ (Ligament) , เยื่อหุ้มข้อ (Capsule) และ ถ้าใช้
ร่วมกับการยืดเนื้อเยื่อ (Heat combined stretching technique) จะช่วยเพิ่มความสามารถในการยืดยาว
เนื้ อ เยื่ อ (Extensibility) และ มุ ม ของการเคลื่ อ นไหวของเนื้ อ เยื่ อ ข้ อ ต่ อ ได้ (Range of motion, ROM)
โดยเฉพาะเนื้อเยื่อที่มีการหดรั้ง ยึดติด โดยความร้อนจาก SWD จะคงค้างอยู่ประมาณ 12 นาทีหลังปิดเครื่อง
(Therapeutic window) ดังนั้น การยืดควรรีบทาในช่วงที่เนื้อเยื่อยังมีอุณหภูมิสะสมมากอยู่จึงจะได้ประโยชน์
จากความร้อน โดยถ้าต้องการผลความร้อนเด่น ควรเลือกใช้ Continuous mode SWD (CSWD) แต่ถ้าใช้
Pulsed mode SWD (PSWD) จะให้ความร้อนได้ เช่นกันแต่จะต้องใช้พลังงานสูงและใช้ระยะเวลานานกว่า
CSWD
5.2 ผลที่ไม่ทาให้เกิดความร้อน (Non-thermal effect)
การใช้คลื่นสั้นแบบเป็นช่วง (Pulsed SWD) พบว่าจะให้ผลที่เด่นชัดที่ไม่ได้เกิดจากความร้อน (แบบ
Non-thermal effect) ของ PSWD นั้ น จะเป็ น ผลในการกระตุ้ น ระดั บ เซลล์ ในการเร่ ง การซ่ อ มแซมของ
เนื้อเยื่อ (Tissue healing) จากการที่ได้รับการบาดเจ็บ ผลของคลื่นสั้นชนิดที่ไม่ทาให้เกิดความร้อนมักจะเกิด
จากการใช้คลื่นชนิดที่ปล่อยออกมาแบบช่วง (มีช่วงพักกคลื่น SWD แคบๆ) ความถี่การปล่อยคลื่นไม่มาก
(Frequency) ระดั บ ความเข้ ม พลั ง งานต่ า ๆ (Mean power) ซึ่ ง ไม่ มี ผ ลท าให้ มี ก ารเพิ่ ม ขึ้ น ของอุ ณ หภู มิ
เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อจะเกิดขึ้น น้อยๆแบบชั่วคราว และมีการแพร่ ระบายความร้อนที่เกิดขึ้น
ออกไปโดยระบบไหลเวียนของเลือดขณะช่วงพักของคลื่น (Pause duration) ส่งผลทาให้มีการเพิ่มการการ
ยอมผ่านของผนังเซลล์ (Cell permeability), ขบวนการแลกเปลี่ยนสารต่าง ๆ ในหลอดเลือดขึ้นเล็กน้อย
(Micro-vascular perfusion) , การไหลเวียนเฉพาะที่ (Local blood circulation), การใช้ออกซิเจนของ
เนื้อเยื่อ (Oxygenation), ขบวนการเก็บลายเชื้อโรคของเม็ดเลือดขาว (Phagocytosis) และ ยังมีผลต่อการ
ทางานของช่องเปิดไอออนของเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ส่งผลต่อการเพิ่มการทางานของเซลล์ (Cell
activity) โดย PSWD ถูกนาใใช้ในทางคลินิกเพื่อ ลดอาการปวดและบวม โดยเฉพาะในระยะอักเสบเฉียบพลัน,
เร่งกระบวนการซ่อมแซมของแผล (wound healing), การซ่อมแซมของเส้นประสาท (Nerve healing and
regeneration) การซ่อมแซมของกระดูก (bone healing) เป็นต้น

6. รูปแบบการปล่อยพลังงาน SWD (Mode of SWD)


1. ปล่อยต่อเนื่อง (Continuous mode, CSWD): (ภาพที่ 24)
- การปล่อยคลื่น SWD ต่อเนื่อง ไม่มีช่วงพักทาให้เกิดการสะสมพลังงานความร้อนได้ไว
- ใช้เมื่อต้องการผลของความร้อน (Thermal effects) เด่น (Main effect)
- เหมาะกับ Chronic pain, Chronic inflammation, Joint stiffness, Muscle spasm
2. ปล่อยแบบช่วงพัก (Pulse mode, PSWD) (ภาพที่ 25, 26)
การปล่อยคลื่นแบบมี ช่วงหยุดปล่ อยเป็นช่วงๆ ทาให้การสะสมคลื่น SWD ไม่มากเกิดความร้อนได้
น้ อ ยหรื อ ไม่ เ กิ ด เน้ น ผลที่ ไ ม่ ไ ด้ เ กิ ด จากความร้ อ น (Non-thermal effect) เช่ น การจั ด เรี ย งตั ว การเกิ ด
Phagocytosis WBC เน้นการกระตุ้นการทางานของเซลล์ / ซ่อมแซมสมานเนื้อเยื่อ
Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 20
Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

- PSWD ถ้าใช้ความถี่ (Frequency, Hz) + พลังงานสูง มีผลทาให้เกิดความร้อนได้เช่นกัน แต่ต้องใช้


เวลานานกว่าแบบ CSWD
- PSWD เหมาะใช้ ก รณี Tissue healing, หิ น ปู น (calcified), Sub-acute pain, Acute muscle
pain

ภาพที่ 23 แสดงผลทางสรีรวิทยาของความร้อนเมื่อรักษาด้วย SWD

ภาพที่ 24 แสดงรูปแบบการปล่อยคลื่อ SWD แบบปล่อยต่อเนื่อง และ แบบปล่อยเป็นช่วง


Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 21
Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

การปล่อยคลื่นแบบปล่อยแบบมีช่วงพัก (Pulse SWD, PSWD)


การเกิดความร้อนของ PSWD นั้นจะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นอยู่กับตั้งค่า 3 ค่าได้แก่ (Prentice WE,1998;
Al-Mandel MM,2008; Robertson V,2009)
1. ค่ากาลังส่งออกสูงสุด (Peak pulse; Amplitude) ปกติเปิดได้สูงสุด 1000 W บางเครื่องตั้งค่าเป็น
เบอร์ 1 ถึง เบอร์ 10 (No 1-10)
2. ค่าความถี่ของการปล่อย (Pulse frequency) ให้ปล่อยกี่ช่วง ต่อ นาที (คานวณได้)
3.ค่าช่วงเวลาปล่อยคลื่น (Pulse duration) ปกติจะปล่อยช่วงละ 0.4 ms (คงที่ ในบางยี่ห้อเครื่อง)
ค่าพลังงานเฉลี่ย (Mean power)
ค่าพลังงานที่ปล่อยออกจากเครื่ อง โดยคานวณได้จากค่าทั้ง 3 ซึ่งจะให้ทราบค่าพลังงานที่ปล่ อย
ออกมาได้ ถ้า Mean power มากกว่า 12 Watts จะเริ่มให้ผลของความร้อน (Thermal effect) แก่เนื้อเยื่อ
ได้ โดยค่าพลังงานเฉลี่ย (Mean power) หาได้จากสูตร

Mean power (Watts) = Pulsed duration (sec) x Pulse repetition rate (Hz) x Peak Power (watts)

ตัวอย่าง 1. การคานวณค่าพลังงานเฉลี่ย
เช่น PSWD peak power = 35 W, Frequency 400 Hz, Pulse duration 0.4 msec
Mean power = 0.0004 sec x 400 Hz x 35 W
Mean Power = 5.6 Watts
ดังนั้นการตั้งค่านี้จะไม่ เกิดความร้อน เพราะถ้าจะเกิดความร้อนในเนื้อเยื่อจะต้องมีค่าพลังงานเฉลี่ย
มากกว่า 12 วัตต์ (<12 Watts)

ตัวอย่าง 2. การคานวณค่าพลังงานเฉลี่ย
เช่น นักกายภาพบาบัดตั้งค่าเครื่อง SWD แบบ Pulsed mode ดังนี้
ค่า Frequency PSWD ที่ 20 Hz
ค่า Pulse duration = 0.4 msec (บริษัทตั้งค่ามาแน่นอน)
ถ้าเปิดกาลังส่งออกสูงสุด เบอร์ No.10 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1,000 Watts
คาถาม : 1. การตั่งค่าเครื่อง PSWD จะให้พลังงานเฉลี่ยเท่าไร (Watts) ?
ตอบ Mean Power = 8 Watts
2. ได้ผลด้านความร้อนเกิดขึ้นชัดเจนหรือไม่ ?
ตอบ การตั้งค่านี้จะไม่เกิดความร้อน เพราะถ้าจะเกิดความร้อนในเนื้อเยื่อจะต้องมีค่าพลังงานเฉลี่ย
มากกว่า 12 วัตต์ (<12 Watts

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 22


Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

ภาพที่ 25 การปล่อยคลื่นแบบปล่อยแบบมีช่วงพัก (Pulse SWD, PSWD)

ภาพที่ 26 ค่าพลังงานเฉลี่ย (Mean power) ของการตั้งค่าในการรักษา PSWD เมื่อตั้งค่าความถี่ (Hz) ค่า


พลังงาน (Watts) เช่น ถ้าคั้งค่าความถี่ 200 Hz และ ค่าพลังงาน 500 Watts (No.5) จะได้ค่าพลังงานเฉลี่ย
เท่ากับ 40 Watts ซึ่งจะความร้อนในเนื้อเยื่อ
Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 23
Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

7.ข้อบ่งชี้ของการรักษา (indications of SWD)


(Prentice WE,1998; Al-Mandel MM,2008; Robertson V,2009)
สาหรับผลของความร้อน (Thermal Effect)
-Injury of tendons and joint structures
-Degenerative joint disease
-Bursitis
-Sacroiliac strain
-Ankylosing spondylitis
-Chronic disease conditions such as contracture, advanced degenerative stage of
Rheumatoid arthritis
-Subacute stage of traumatic arthritis, epicondylitis, chronic inflammatory disease
-fibrositis, myo-fibrositis
สาหรับผลที่ไม่ได้เกิดจากความร้อน (Non-thermal effect)
-Post-traumatic disorder such as sprain, contusion, rupture, fracture, hematoma,
Lacerations
-Post-operative disorder
-Inflammation such as chronic osteitis, bursitis possibly with calcification, sinusitis
-Peripheral circulatory disease

8. ข้อห้าม (Contraindications)
(Prentice WE,1998; Al-Mandel MM,2008; Robertson V,2009)
สาหรับ Thermal-level (CSWD)
- Acute injury or inflammation
- Recent or potential hemorrhage
- Thrombophlebitis
- Impaired sensation
- Impaired menstruation
- Malignancy
- Metal implants or pacemakers
- Pregnancy
- Eyes
- Testes
- Growing epiphyses
สาหรับ Non-thermal -level
- Internal organs
- As a substitute for conventional therapy for edema and pain
- Pacemaker (warning)
- Metal implants at the treatment site (warning)
Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 24
Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

ข้อควรระวัง (Precautions)
(Prentice WE,1998; Al-Mandel MM,2008; Robertson V,2009)
สาหรับ Thermal -level
- Electronic or magnetic equipment in the field
- Obesity
- Menstruation
- Copper-bearing intrauterine contraceptive devices
สาหรับ Non-thermal- level
- Electronic or magnetic equipment in the field
- Obesity
- Copper-bearing intrauterine contraceptive devices
- Pregnancy
- Skeletally immature patients

9. อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ SWD
(Prentice WE,1998; Al-Mandel MM,2008; Robertson V,2009)
1. การพองไหม้ (Burn) ซึ่งสาเหตุเกิดจากการที่ใช้ความเข้ม (Dose) ในการรักษาที่มากเกินไป ชนิด
ของเนื้ อเยื่ อซึ่งมีชั้น ของไขมัน มีปั จ จั ย เสี่ย งมากที่สุดส าหรับการเกิดอาการไหม้จากการใช้อิเล็คโตรดชนิด
capacitive plate เพราะชนิดของอิเล็กโตรดนี้จะมีผลของความร้อนมากต่อชั้นไขมัน และชั้นไขมันก็เป็นชั้นที่
มีการไหลเวียนของโลหิตน้อยกว่าในชั้นกล้ามเนื้อและผิวหนัง จึงทาให้มีโอกาสเกิดอาการไหม้ได้ง่ายกว่าชั้นอื่น
ๆ สามารถ
ป้องกันได้โดย
-ตรวจข้อห้ามใช้ บริเวณที่ต้องการรักษา และถามอาการผู้ป่วยระหว่างการให้การรักษา
-ตรวจความรู้สึกร้อนของผิวหนัง
-ผิวต้องแห้งไม่มีเหงื่อ
-วางอิเล็คโตรดให้เหมาะสม
2. ไฟฟ้าช๊อต (Electric shock) อาจเกิดขึ้นกับทั้งผู้ป่วยและผู้ให้การรักษา สามารป้องกันได้โดย
-ไม่เพิ่มความเข้มจนกว่าจะต่ออิเล็คโตรดเข้ากับเครื่องถูกต้องเรียบร้อยแล้ว
-เครื่องมือต่อกับสายดิน
-ไม่สัมผัสเครื่องขณะที่ทาการรักษา
-แน่ใจว่าไม่มีโลหะอยู่บริเวณที่รักษาภายในระยะ 30 เซนติเมตร

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 25


Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

10. วิธีการใช้คลื่นสั้นในการรักษา
เทคนิคการวางอิเล็คโตรด กรณีเลือกใช้หัวส่งแบบ Condenser (capacitor) electrode
(Michlovitz SL,1990; Prentice WE,1998; Al-Mandel MM,2008; Robertson V,2009)
10.1 การวางแบบ Transverse (Contra-planar)
คือ การวางอิเล็คโตรดทั้ง 2 อันตรงข้ามกันและให้อวัยวะที่ต้องการรักษาอยู่ตรงกลาง มี 3 เทคนิคที่ใช้
-ขนาดของอิเล็คโตรดทั้ง 2 ด้านเท่ากันและระยะระหว่างอิเล็คโตรดทั้ง 2 กับบริเวณผิวหนังห่างเท่ากัน
โดยทั่วไปประมาณ 2-10 เซนติเมตร (1 – 3 นิ้ว) ความเข้มของคลื่นจะกระจายเท่า ๆ กัน
-ขนาดของอิเล็คโตรด ทั้ง 2 ด้าน ไม่เท่ากัน แต่ระยะห่างระหว่างอิเล็คโตรดทั้ง 2 ด้านกับผิวหนังห่าง
เท่ากัน ความเข้มของคลื่นบริเวณอิเล็คโตรดขนาดเล็กจะมีมากกว่าอิเล็คโตรดขนาดใหญ่
-ขนาดของอิเล็คโตรดทั้ง 2 ด้านเท่ากัน แต่ระยะห่างระหว่างอิเล็คโตรดทั้ง 2 ด้านกับบริเวณผิวหนัง
ห่างไม่เท่ากัน ความเข้มของคลื่นจะมีมากใกล้อิเล็คโตรดที่อยูใกล้ชิดกับผิวหนังมากกว่า
10.2 การวางแบบ Co-planar
คือ การวางอิเล็คโตรดทั้ง 2 อันขนานกันในแนวเดียวกัน เนื้อเยื่อที่ต้องการรักษาอยู่ตรงกลางระหว่าง
2 อิเล็คโตรด ทาให้มีอุณหภูมิสูงที่เนื้อเยื่อไขมัน เพราะไม่มีการทะลุผ่านของคลื่นสั้น ดังนั้นความร้อนที่ได้จึง
ค่อนข้างตื้น การวางอิเล็คโตรดควรวางให้ห่างจากผิวหนังและระยะห่างระหว่างอิเล็คโตรดทั้ง 2 อันประมาณ 1
เท่าครึ่งของเส้นผ่านศูนย์กลางของอิเล็คโตรด
* Oblique คือ การวางอิเล็คโตรดเป็นมุมเฉียงกัน บริเวณอวัยวะที่เป็นมุมงอ หรือข้อพับ เช่น ข้อเข่า
ข้อศอก เป็นต้น โดยความเข้มของคลื่นจะอยู่บริเวณมุมงอ หรือบริเวณด้านที่อิเล็คโตรดที่อยู่ใกล้กัน
*Longitudinal คือ การวางอิเล็คโตรดทั้งสองตรงข้ามตามแนวยาวของอวัยวะที่ต้องการรักษา เช่น
ข้อเท้าและข้อเข่า วางอิเล็คโตรดไว้ที่เหนือเข่าและใต้ฝ่าเท้าตรงข้ามกันความเข้มของคลื่นจะกระจายไปตาม
แนวยาวของเนื้อเยื่อ ความต้านทานที่เกิดขึ้นน้อย ในส่วนเนื้อเยื่อที่นาไฟฟ้าได้ดีจะเกิดความร้อนมาก
10.3 การวางแบบ Cross- fire
การวางแบบนี้เป็นเทคนิคที่รักษา sinusitis คือการวางอิเล็คโตรด 1 อันไว้ที่ด้านที่มีปัญหาในแนวตั้ง
(Affected side) ระยะห่ า งจากผิ ว หนั ง ประมาณ 2 เซนติ เ มตร ขณะที่ อิ เ ล็ ค โตรดอี ก 1 อั น ไว้ ที่ ข้ า งปกติ
(Unaffected side) ห่างจากผิวหนังประมาณ 3 เซนติเมตร นาน 10 นาที และทาการสลับขั้วในแนวตั้ง โดยที่
การวางอิเล็คโตรดจะวางไว้ที่หน้าผากและแก้ม

เทคนิคพิเศษการวางแบบรยางค์คู่ (Application to two limbs) เทคนิคนี้จะวาง อิเล็คโตรด


คล้ายcontra- planarแต่แตกต่างกันที่จัดให้บริเวณที่ต้องการรักษาเช่น มือ เข่า ข้อเท้า ทั้ง 2 ข้าง อยู่ตรงกลาง
ระหว่างอิเล็คโตรด ความเข้มของสนามไฟฟ้าจะสูงสุดที่จุดที่อวัยวะทั้งสองอยู่ชิดกัน ดังนั้นในการรักษาควรมี
ผ้าขนหนู หรือหมอนที่แห้ง กั้นระหว่างอวัยวะทั้งสอง เพื่อป้องกันอันตรายจากความเข้มของคลื่นที่สูงมาก

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 26


Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

ภาพที่ 27 แสดงการวางอิเล็คโตรดเทคนิค Contraplanar โดยที่ขนาดของอิเล็คโตรดไม่เท่ากันแต่มีระยะห่าง


จากผิวหนังเท่ากันทั้ง 2 ด้าน โดยด้านที่ใช้ขั้วขนาดเล็กจะมีสนามไฟฟ้าหนาแน่นกว่า ทาให้ร้อนมากกว่าอีกด้าน
(Bouwhuijsen FD,1985)

ภาพที่ 28 แสดงการวางอิ เ ล็ ค โตรดเทคนิ ค Co-planar โดยถ้ า วางขั้ ว ทั้ ง 2 ใกล้ กั น มาก จะมี ผ ลท าให้
สนามไฟฟ้าวิ่งเข้าอีกขั้วหนึ่งอย่างมาก และไม่ลงในเนื้อเยื่อชั้นลึก และ การวางขั้วทั้ง 2 ห่างกันมากกว่า 2-3
นิ้ว และวางขั้วห่างจากผิวหนัง 1 นิ้ว จะมีผลทาให้สนามไฟฟ้าลงได้ลึกและสะสมในชั้นกล้ามเนื้อได้มากขึ้น
(ที่มา: Prentice WE,1998)

ภาพที่ 29 แสดงการวางอิเล็คโตรดเทคนิค oblique และ เทคนิค longitudinal ตามลาดับ


Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 27
Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

เทคนิคการใช้อิเล็คโตรดชนิด Inductive coil (Drum, Coil, Diplode, Monode)


(Prentice WE,1998; Al-Mandel MM,2008; Robertson V,2009)
-การพันแบบขดลวดโซลินอยด์ (Solenoid cable, coil)
การพันขดลวดให้รอบแขน หรือ ขา (Wrapping) ในส่วนที่ต้องการรักษา โดยให้ระยะห่างระหว่างรอบ
ประมาณ 1-1.5 นิ้ว ถ้าระยะห่างระหว่างรอบน้อยหรือชิดกันมาก มีผลทาให้ ความเข้มของคลื่นสนามแม่เหล็ก
จะสูงแต่ลงได้ไม่ลึก และมีการพันขดลวดบนผ้าหนา โดยใช้ผ้า ห่อคลุมบริเวณที่ต้องการรักษาด้วยยางหรือผ้า
เพื่อไม่ให้ Coil หรือหัวส่งเกิดการสัมผัสกับบริเวณที่รักษาโดยตรง
- การพันขดลวดเป็นแผนวงกลม (Pancake coil)
โดยการนา Coil มาวางเป็นรูปวงกลมแผ่ขยายออกไป ขนาดใหญ่หรือ เล็ก ก็ได้ ตามที่ต้องการขึ้นอยู่
กับบริเวณที่ต้องการรักษาว่าบริเวณเล็ก หรือ กว้าง โดยวาง Coil วางบนบริเวณที่ต้องการรักษาซึ่งคลุมด้วย
ผ้าขนหนู 6-8 ชั้น (ประมาณ 1-2 นิ้ว)
- การใช้หัวส่งแบบสาเร็จรูป (Drum electrode)
โดยเทคนิคนี้วางให้หัวส่งตั้งฉาก ขนานกับเนื้อเยื่อ และครอบคลุมบริเวณที่ต้องการรักษา แบ่งออก
เป็น 2 แบบย่อย
- Drum (Diplode, Flexiplode) โดยการปรับปีก 2 ข้าง ให้วางครอบส่วนที่ต้องการรักษา เช่น ครอบ
ไหล่ ครอบหลัง เป็นตัน อาจวางบนผ้าขนหนู 6-8 ชั้น หรือ ห่างจากผิวหนังประมาณ 1-2 นิ้ว
- Circuplode ,monode, minode วางเหนือบริเวณที่ต้องการรักษาโดยตรงหรือห่างเล็กน้อยเพื่อให้มี
การระบายเหงื่อและควรวางให้อิเล็คโตรดขนานกับบริเวณที่ต้องการรักษา อาจวางบนผ้าขนหนู 6-8 ชั้น หรือ
ห่างจากผิวหนังประมาณ 1-2 นิ้ว

ภาพที่ 29 แสดงการพันอิเล็คโตรดชนิด Solenoid cable, coil (ที่มา: Cameron MH,1999)


Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 28
Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

ภาพที่ 30 แสดงการวางอิเล็คโตรดแบบ Pancake coil (ที่มา: Cameron MH,1999)

ภาพที่ 31 แสดงการวางอิเล็คโตรดชนิด Drum (Diplode) และ การวางอิเล็คโตรดชนิด Circuplode


(ที่มา: Cameron MH,1999)

11. รูปแบบการปล่อยของคลื่น (SWD mode) (Michlovitz SL,1990)


แบบต่อเนื่อง (Continuous SWD, CSWD)
- เป็นรูปแบบของคลื่นที่ปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่องในระหว่างที่ให้การรักษา
- เน้นผลความร้อน (Thermal effects)
- ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาประมาณ 20-30 นาที
- ความเข้ม (Intensity) ขึ้นอยู่กับระยะของพยาธิสภาพและความรู้สึกของผู้ป่วยแบ่งได้เป็น 4 ระดับ
(Goats CG1989; Prentice WE,1998)
 Dose I Lowest คือ ใช้ความเข้มระดับต่าสุด คือ ไม่มีความรู้สึกอุ่น โดยใช้ความเข้มที่ต่ากว่าจุดที่
ทาให้รู้สึกว่ามีความร้อนเกิดขึ้น มักใช้ในระยะ Acute inflammatory process (ผู้ป่วยรูส้ ึกเฉยๆ ไม่อุ่นใดๆ)

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 29


Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

 Dose II Low คือ ใช้ความเข้มระดับต่า คือความเข้มที่ทาให้เกิดความรู้สึกว่ามีความร้อนเกิดขึ้น


เล็กน้อย (Mild heating sensation) มักใช้ในระยะ Sub-acute หรือ resolving inflammatory process
 Dose III Medium คือ ใช้ความเข้มระดับปานกลาง คือความเข้มที่ทาให้เกิดความรู้สึกว่ามีความ
ร้อนเกิดขึ้นระดับปานกลาง รู้สึกอุ่นสบาย มักใช้ในระยะ Sub-acute หรือ Muscle pain, chronic pain
 Dose IV Heavy or Vigorous คือ ใช้ความเข้มระดับมาก คือความเข้มที่ทาให้เกิดความรู้สึกว่ามี
ความร้อนเกิดขึ้นมาก ในระดับอุ่นจัดแต่สามารถทนได้ มักใช้ในระยะ chronic condition, Joint stiffness,
Scar tissue adhesion
- ความถี่ในการรักษา 1 - 2 ครั้งต่อวัน
- จานวนครั้งในการรักษาขึ้นกับสภาพผู้ป่วย การตอบสนองต่อการรักษาประมาณ 3-15 ครั้ง

แบบปล่อยคลื่นเป็นช่วง มีช่วงพัก (Pulsed SWD, PSWD)


- PSWD เป็ น รู ป แบบของคลื่ น ที่ป ล่ อยออกมาแบบช่ว งระหว่างที่ให้ การรักษา สามารถเลื อกช่ว ง
ความถี่ (Frequency) ของคลื่นได้ตั้งแต่ 15 ถึง 200 Hz. โดยมี Maximum power (peak pulse power มี
ช่วงอยู่ระหว่าง 1000 Watts , Pulse duration constant = 0.4 ms. และ Main power ลักษณะคลื่นเป็น
รูปสี่เหลี่ยม (rectangular pulse) โดยระยะ pulse และ ระยะ pause จะสั้นหรือยาว ขึ้นอยู่กับการเลื อก
Frequency ของ pulse SWD ความร้ อ นที่ ค านวณได้ จ ากการใช้ ค ลื่ น สั้ นแบบช่ว งเรีย กว่ า mean power
(Goats CG1989; Michlovitz SL,1990; Prentice WE,1998)
ตัวอย่างการคานวณหา mean power
ถ้า pulse duration คือ 400 microeconds. (0.4 milliseconds) และ pulse frequency ที่
เลือกใช้เท่ากับ 35 Hz. คือ ใน 1 วินาที หรือ 1000 ms มี pulsed repetition frequency 35 ครั้ง ดังนั้น
pulsed SWD 1 ครั้งใช้เวลา เท่ากับ 1000/35 เท่ากับ 28.57 ms. ดังนั้นร้อยละของระยะเวลาที่ pulsed
SWD ปล่อยออกมา คือ 0.4 /28.57 เท่ากับ 1.4 % นั่นคือ mean power เท่ากับ 1.4 % ของ 1000 Watt
เท่ากับ 14 W
- ความเข้ม (Intensity) ขึ้นอยู่กับระยะของพยาธิสภาพและความรู้สึกของผู้ป่วยแบ่งได้เป็น 4 ระดับ
(Michlovitz SL,1990)
 Dose I Athermal (Non-thermal) คือ ใช้ความเข้มระดับต่าสุด คือความเข้มที่ต่ากว่าจุดที่ทาให้
รู้สึกว่ามีความร้อนเกิดขึ้น มักใช้ในระยะ acute inflammatory process (ผู้ป่วยรู้สึกเฉยๆ ไม่อุ่นใดๆ) ใช้
กาลังเฉลี่ยประมาณ 1-2 Watts (ภาพที่ 32)
 Dose II Mild warmth คือ ใช้ความเข้มระดับต่า คือความเข้มที่ทาให้เกิดความรู้สึกว่ามีความร้อน
เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย มักใช้ในระยะ Sub-acute หรือ resolving inflammatory process ใช้กาลังเฉลี่ย
ประมาณ 12-16 Watts
 Dose III Moderated warmth คื อ ใช้ ค วามเข้ ม ระดั บ ปานกลาง คื อ ความเข้ ม ที่ ท าให้ เ กิ ด
ความรู้ สึ กว่า มี ความร้ อนเกิด ขึ้ น ปานกลาง รู้สึ ก อุ่น สบาย มักใช้ในระยะ Sub-acute หรือ Muscle pain,
chronic pain, increase blood flow ใช้กาลังเฉลี่ยประมาณ 24-32 Watts
 Dose IV Vigorous คือ ใช้ความเข้มระดับมาก คือความเข้มที่ทาให้เกิดความรู้สึกว่ามีความร้อน
เกิดขึ้นมาก ในระดับอุ่นจัดแต่สามารถทนได้ มักใช้ในระยะ chronic condition, Joint stiffness, Scar tissue
adhesion, Stretching collagen tissue ใช้กาลังเฉลี่ยประมาณ 48 Watts

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 30


Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

ภาพที่ 32 แนวทางการรักษาด้วย PSWD ในแต่ละวัตถุประสงค์ในการรักษา

12. ขัน้ ตอนการใช้เครื่องคลื่นสั้นในการรักษา (Michlovitz SL,1990; Prentice WE,1998)


1. ตรวจประเมินปัญหาของผู้ป่วยและพิจารณาว่าเครื่องมือ SWD เหมาะสมสาหรับให้การรักษา
2. ตรวจข้อควรระมัดระวัง อันตราย ข้อห้ามใช้
3. แนะนา และอธิบายให้ผู้ป่วยทราบเกี่ยวกับวิธีและผลของการรักษา
4. ปิด Switch, timer, intensity
5. เลือก อิเล็คโตรด, cable ที่เหมาะสมเสียบติดเข้าด้วยกัน
6. จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่ถูกต้องเหมาะสมและสบายที่สุด
7. จัด อิเล็คโตรด, cable เหนือบริเวณที่ต้องการรักษาให้เหมาะสม โดย cable ไม่สัมผัสกัน ไม่
สัมผัสกับโลหะ หรือ ผู้ป่วย
8. เปิด Switch หลอดไฟจะสว่างขึ้น พัดลมในเครื่องเริ่มทางาน (บางเครื่องอาจต้องอุ่นเครื่อง 1-2
นาที)
9. ตั้งเวลาตามที่ต้องการ
10.เปิดความเข้ม ควรให้ในระดับต่าสุดก่อนแล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้น
11.ถามความรู้สึกผู้ป่วยขณะที่ทาการรักษา เป็นระยะๆ
12. เมื่อหมดเวลา จะมีเสียงสัญญาณ และเครื่องจะตัดการส่งไฟเข้าวงจรผู้ป่วย ลดความเข้มไปที่
เลข 0 และปรับ อิเล็คโตรดและเครื่องออกจากตัวผู้ป่วย ถ้าจะใช้เครื่องต่อไม่จาเป็นต้องปิด Switch
13.ตรวจประเมินบริเวณที่ให้การรักษาซ้าอีกครั้ง

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 31


Asst.Prof. Parinya Lertsinthai, Ph.D, PT.

13. ข้อควรระวังในระหว่างการรักษา
(Goats CG1989; Michlovitz SL,1990; Robertson V,2009)
1. ไม่ควรวาง อิเล็คโตรด ให้มีแรงกดระหว่าง อิเล็คโตรด กับผู้ป่วย ซึ่งอาจทาให้ burn ได้
2. ผู้ป่วยหรือนักกายภาพบาบัดไม่ควรสอดมือเข้าใต้ อิเล็คโตรด ขณะทาการรักษา
3. ผู้ป่วยเคลื่อนไหวส่วนที่รักษาให้น้อยที่สุด
4. นักกายภาพบาบัดหรือผู้ให้การรักษาควรอยู่ห่างจากเครื่อง SWD ขณะที่คลื่นออกมาแบบต่อเนื่อง
(continuous) 1-2 เมตร หรือแบบช่วง (pulse SWD) 50-100 เซนติเมตร สามารถใช้หลอดทดสอบพลังงาน
ส่งของคลื่น SWD ได้

บรรณานุกรม
1. ประโยชน์ บุญสินสุข การรักษาด้วยความร้อนและไฟฟ้า. กรุงเทพ: ไพศาลป์การพิมพ์; 2530. 111-
141.
2. ศรีวรรณ ปัญติ. เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชา 514311. การรักษาด้วยคลื่นสั้น
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: ภาควิชา กายภาพบาบัด; 2541. 2.1-2.14.
3. Robertson V, et. Chapter 13: Electromagnetic fields: Shortwave. In: Electrotherapy
explained: principle and practice. 4th ed. New York; Elsevier: 2009.
4. Al-Mandel MM, Watson T. Pulsed and continuous shortwave therapy. In: Watson T.
Electrotherapy: evidence-based practice: 12th ed. New York: Elsevier; 2008.
5. Cameron MH. Physical agents in rehabilitation. W.B. Saunders Company; 1999. 321-
335.
6. Goats CG. Continuous shortwave diathermy. British journal sports medicine, 1989;
23(2):123-127.
7. Goats CG. Pulsed electromagnetic (Short-wave) energy therapy. British journal
sports medicine, 1989; 23(4):213-216.
8. Michlovitz SL. Thermal agent in rehabilitation. 2nd ed. F.A. Davis company; 1990,
171-191.
9. Prentice WE. Therapeutic modalities for allied health professionals. McGraw-Hill;
1998. 169-200.
10. Bouwhuijsen FD. Pulsed and continuous short-wave therapy. Hall and: B.V. Enraf-
Nonius; 1985.
11. Kloth L. Thermal Agents in Rehabilitation. 2nd ed. Philadelphia: F.A. Davis
company; 1990. 177-215.
12. Lehmann JF. Therapeutic heat and cold. 4th ed. Williams & Wilkins;1990. 199-352.

Shortwave diathermy (SWD_PT NU) 32

You might also like