You are on page 1of 6

บทความ

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
นาวาตรี ยุทธเศรษฐ์ วังกานนท์

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ๐5


นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการ พระราชพิธี จำนวน ๕๒ ลำ พร้อมกำลังพลฝีพาย จำนวน
จัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่อง ๒,๒๐๐ คน ไว้พร้อมแล้ว โดยได้จัดให้มีการอบรมนายเรือ
ในโอกาสพระราชพิ ธี ม หามงคลเฉลิ ม พระชนมพรรษา และนายท้ายเรือ รวม ๑๖๒ นาย เมื่อวันที่ ๑๐ - ๒๘
๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔ ได้มอบหมายให้กองทัพเรือ มกราคม  พ.ศ.๒๕๕๔  เพื่อทำหน้าที่เป็นครูฝึกฝีพาย
จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในงานพระราชพิธีทรงบำเพ็ญ ซึ่งหลังจากนั้นได้เริ่มฝึกฝีพายบนเขียงฝึกลักษณะคล้าย ๆ 
พระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน  ณ  วัดอรุณราชวราราม กับอยู่ในเรือแต่อยู่บนบก เพื่อสร้างความคุ้นเคย ตั้งแต่
ราชวรมหาวิหาร  เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล วันที่  ๓  มกราคม ถึง ๒๕ มีนาคม  พ.ศ.๒๕๕๔  ต่อมาเมื่อ
เฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ วันที่  ๑  เมษายน  พ.ศ.๒๕๕๔  พลเรือเอก  อภิวัฒน์ ฯ  เป็น
ซึ่งกำหนดจัดในวันที่  ๒๒  ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔  กองทัพเรือ ประธานในพิธีบวงสรวงและอัญเชิญเรือพระราชพิธีลงน้ำ
โดย พลเรือเอก กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ ซึ่ ง ขณะนี้ ก ำลั ง พลฝี พ ายได้ ท ำการฝึ ก ซ้ อ มการพายกั บ
ได้ตระหนักดีถึงความสำคัญของการจัดขบวนเรือให้สง่างาม เรือพระราชพิธีในพื้นที่ต่าง ๆ ของกองทัพเรือ จำนวน ๕ แห่ง
และสมพระเกี ย รติ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ประกอบด้วย  ป้อมพระจุลจอมเกล้า อ.พระสมุทรเจดีย์
จึ ง ได้ มี การเตรี ย มการอย่ า งดี ยิ่ ง   ได้ แ ต่ ง ตั้ ง คณะกรรม จ.สมุทรปราการ  หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง 
การเตรี ย มจั ด งานขึ้ น   โดยใช้ ชื่ อ ว่ า   “คณะกรรมการ อ.สัตหีบ  จ.ชลบุรี  ศูนย์ฝึกทหารใหม่  กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
เตรียมการจัดงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวาย อ.สัตหีบ  จ.ชลบุรี  กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ
ผ้าพระกฐิน  โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  เนื่อง เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และ กองเรือเล็ก กรมการขนส่ง
ในโอกาสพระราชพิ ธี ม หามงคลเฉลิ ม พระชนมพรรษา ทหารเรือ  เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร  โดยจะทำการซ้อม
๗ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔” ใช้ชื่อย่อว่า “คจข.” โดยมี อย่ า งต่ อ เนื่ อ งไปจนถึ ง เดื อ นสิ ง หาคม  จากนั้ น ในช่ ว ง
พลเรือเอก อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ เป็นประธาน คจข. พลเรือเอก ปลายเดือนสิงหาคม กำลังพลจากพื้นที่ ต่าง ๆ จะมารวมพล
อภิ วั ฒ น์   ศรี ว รรธนะ  ประธาน  คจข.ได้ จั ด เตรี ย มเรื อ เพื่ อ ทำการฝึ ก ซ้ อ มเป็ น รู ป ขบวนในแม่ น้ ำ เจ้ า พระยา

๐6 นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔


เพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียง  โดยจะทำการฝึกซ้อมย่อย โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้  นาวาเอก
๘  ครั้ง  ในห้วงปลายเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม  และกำหนด ทองย้อย แสงสินชัย ข้าราชการบำนาญ สังกัดกองทัพเรือ
ซ้อมใหญ่ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๓ , ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ได้ประพันธ์กาพย์เห่เรือขึ้นมาใหม่ จำนวน ๓ บท ใช้เวลา
ก่ อ นที่ จ ะมี พ ระราชพิ ธี ท รงบำเพ็ ญ พระราชกุ ศ ลถวาย ในการขับเห่เป็นเวลา ๔๕ นาที ซึ่งสอดคล้องกับห้วงเวลา
ผ้าพระกฐิน  โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  ในวันที่ ในการปฏิบัติของการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
๒๒  ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔  ในส่วนของบทเห่เรือที่จะใช้ใน โดยมี นาวาตรี ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ หัวหน้าแผนกเรือราชพิธี
พระราชพิ ธี ท รงบำเพ็ ญ พระราชกุ ศ ลถวายผ้ า พระกฐิ น กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ เป็นพนักงานเห่

กาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
บทที่ ๑
สรรเสริญพระบารมี
ถวายภิวาทไตรรัตน์ถ้วน ไตรทวาร
ไตรภพโพ้นจักรพาล ผ่องแผ้ว
ไตรทิพย์เทพทุกสถาน เชิญถั่ง พรเทอญ
ถวายพระเกียรติถกลแก้ว ก่องฟ้านิรันดร์สมัย
(๑) เห่เอย เห่เรือทิพย์ ล่องลอยลิบเลิศล้ำสวรรค์
ร้อยคำล้ำค่าครัน แด่จอมธรรม์ผู้จอมไทย
(๒) พระเอยพระผ่านเผ้า พระอยู่เกล้ามายาวไกล
พระแผ่พระบารมีไป เปี่ยมโลกหล้าฟ้าดินสราญ
(๓) พระชนม์พิพัฒน์ชัย เจ็ดรอบสมัยมงคลกาล
หัวใจไทยชื่นบาน ดั่งทิพย์ธารหล่อเลี้ยงไทย
(๔) ครองราชย์ก็ร่มราษฎร์ ชุ่มชื่นชาติเฉกฉัตรชัย
ร่มธรรมน้ำพระทัย ปัดป้องภัยในธรณี
(๕) สองพระบาทประพาสไทย ประทับไว้ทุกถิ่นที่
สองพระหัตถ์กระหวัดวี ทรงโอบทั่วทุกทวยชน
(๖) สองนัยน์สายพระเนตร ทรงเห็นเหตุทุกแห่งหน
สองพระกรรณสดับกล เพื่อแก้ทุกข์ทวยประชา
(๗) สองบ่าที่ทรงแบก แต่วันแรกครองพารา
เจ็ดรอบพระชันษา ทั้งสองบ่ามิเคยเบา
(๘) เหน็ดเหนื่อยนั้นหนักนัก หนุนเนื่องหนักเนิ่นนานเนา
ภัยพาลผ่านผ่อนเพลา ก้มเกศเกล้ากราบใกล้ไกล
(๙) ราษฎร์รักฤๅโรยร้าง รักกระจ่างอยู่กลางใจ
ครองธรรมจึงครองไทย จึงครองใจนานจำเนียร
(๑๐) ร้อยทุกข์ที่รุมโถม ไม่อาจโหมให้หันเหียน
ร้อยวันที่ผันเวียน ไม่อาจเปลี่ยนให้รักแปลง
(๑๑) แปดสิบสี่พระชันษา พระอังสาอาจล้าแรง
พระวรกายที่เคยแกร่ง อาจผุกร่อนไปตามกาล
(๑๒) น้ำพระทัยยังเป็นทิพย์ เลิศล้ำลิบรสหอมหวาน
ไหลหลั่งดั่งสายธาร ทั่วทวยไทยได้อาบกิน

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ๐7


(๑๓) บุญใดที่ไทยสร้าง ไม่โรยร้างยังหลั่งริน
ภักดีภูบดินทร์ ไม่สุดสิ้นจากสายทรวง
(๑๔) บุญสัตย์อันศักดิ์สิทธิ์ บุญฤทธิ์อันใหญ่หลวง
บุญแก้วทั้งสามดวง เทพทั้งปวงผู้เปี่ยมบุญ
(๑๕) รวมมั่นเป็นขวัญมิ่ง ประสิทธิ์สิ่งประเสริฐสุนทร์
อำนวยค่าอำนรรฆคุณ อดุลเดชพิเศษดล
(๑๖) ถวายแรงถวายรัก ถวายมรรคถวายผล
ถวายชื่นยืนพระชนม์ ถวายผองพระพรชัย
(๑๗) คุณธรรมที่ทรงธาร เป็นปราการอันเกรียงไกร
กั้นมารและพาลไกล อย่าอาจกล้ำมาใกล้กราย
(๑๘) พระหฤทัยอันเปี่ยมธรรม จงเย็นฉ่ำและเฉิดฉาย
เพ็ญแผ้วอยู่แพรวพราย อย่าทรงพบพวกเผ่าพาล
(๑๙) สรรพสิ่งที่ทรงหวัง สำเร็จดังพระทัยดาล
แม้ทรงมุ่งพระโพธิญาณ สัมฤทธิ์ได้ดังพระทัย – เทอญ.
บทที่ ๒
ชมเรือขบวน
หงส์ทองลอยล่องฟ้า มาดิน
นาคราชสาดสายสินธุ์ สนุกล้ำ
สุบรรณแบกวิษณุบิน โบกโบย
เพลงเห่เสน่ห์เสนาะน้ำ สนั่นฟ้าดินไหว
(๑) เรือเอย เรือพระที่นั่ง งามสะพรั่งกลางสายธาร
ลอยลำล้ำแลลาน ปานเคลื่อนคล้อยลอยฟ้ามา
(๒) สุวรรณหงส์ลงลอยล่อง เพียงหงส์ทองล่องลอยนภา
พู่ห้อยร้อยรสนา งามหยาดฟ้ามาแดนชล
(๓) อนันตนาคราช เจ็ดเศียรสาดสายสินธุ์ถกล
เล่นน้ำฉ่ำชื่นชล ยลหงอนปากอย่างนาคเป็น
(๔) อเนกชาติภุชงค์ อวดลำระหงให้โลกเห็น
แนบน้ำฉ่ำชื่นเย็น ปานนาคเป็นเล่นวารี
(๕) นารายณ์ทรงสุบรรณ ผาดผายผันผ่องโสภี
ดั่งครุฑยุดนาคี แบกจักรีโบกบินบน
(๖) กระบี่ศรีสง่า งามท่วงท่าร่าเริงชล
เรือครุฑรุดเร็วยล กลครุฑคล้อยลอยเมฆินทร์
(๗) อสุรวายุภักษ์ ศักดิ์ศรีคู่อสุรปักษิน
โผนผกเพียงนกบิน ผินสู่ฟ้าร่าเริงลม
(๘) เรือแซงแข่งเรือดั้ง พายพร้อมพรั่งน้ำพร่างพรม
เรือชัยไฉไลสม ชมเรือกิ่งพริ้งเพราตา
(๙) ยักษ์ลิงกลิ้งกลอกกาย แลลวดลายล้วนเลขา
รูปสัตว์หยัดกายา ลอยคงคาสง่าครัน
(๑๐) เสนาะศัพท์ขับเพลงเห่ เสียงเสน่ห์น้ำสนั่น
เพลงทิพย์ไป่เทียมทัน กลั่นจากทรวงปวงนาวี

๐8 นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔


(๑๑) ศิลปกรรมล้ำเลิศเหลือ ลวดลายเรือล้วนโสภี
ท่อนไม้ไร้ชีวี มีชีวิตคิดเหมือนเป็น
(๑๒) นาวาสถาปัตย์ ช่างเชี่ยวชัดชาญเชิงเช่น
ยิ่งยลยิ่งเยือกเย็น เห็นสายศิลป์วิญญาณไทย
(๑๓) สมบูรณ์สมบัติชาติ ควรประกาศเกียรติเกริกไกร
ฝีมือลือเลิศใคร ไม่เทียบเทียมเยี่ยมนิยม
(๑๔) ควรสืบควรรักษา ควรคู่ค่าควรเมืองสม
ควรเชิดควรชื่นชม ควรภูมิใจไทยทั้งมวล
(๑๕) แม้นสิ้นจากถิ่นไทย ห่อนเห็นใครมาคู่ควร
แบบบทหมดกระบวน ล้วนเลิศแล้วแพรวพริ้งพราย
(๑๖) ขวัญเอยเป็นขวัญเนตร ศิลป์พิเศษยังสืบสาย
ลูกหลานวานอย่าวาย อย่าดูดายศรีแผ่นดิน
(๑๗) ฝากโลกให้รู้จัก ฝากศรีศักดิ์วิญญาณศิลป์
ฝากนามสยามินทร์ ฝากฝีมือชื่อไทยเอย.
บทที่ ๓
ชมเมือง
เจ้าพระยาสง่าเพี้ยง ธารสวรรค์
กรุงเทพเทพนครทัน ถิ่นฟ้า
ใจไทยย่อมหฤหรรษ์ หอมทิพย์ ธรรมแฮ
ตราบเมื่อนี้เมื่อหน้า เมื่อโน้นนิรันดร์เกษม
(๑) เจ้าเอย เจ้าพระยา ถั่งธารามานานไกล
เอิบอาบกำซาบใจ หล่อเลี้ยงไทยเลื่องลือนาม
(๒) เป็นถิ่นแห่งศีลธรรม รุ่งเรืองล้ำร่มอาราม
โลกร้อนไฟลุกลาม แดนสยามยังร่มเย็น
(๓) ดินแดนแห่งกาสาว์ คือสมญาโลกย่อมเห็น
ศีลธรรมที่บำเพ็ญ ช่วยดับเข็ญได้ทุกครา
(๔) พระแก้วอยู่เหนือเกล้า ทุกค่ำเช้าเฝ้าบูชา
ศีลทานสานศรัทธา เปรมปรีดาด้วยความดี
(๕) บัวบุญจึงเบ่งบาน อบดวงมานหอมหวานทวี
รอยยิ้มอิ่มอารี เติมไมตรีเต็มหัวใจ
(๖) ความรู้อาจไม่หลาก แต่ความรักไม่รองใคร
น้ำจริงอาจแล้งไป แต่น้ำใจยังไหลแรง
(๗) แสงเทียนทุกยามเช้า คือแสงธรรมยังทอแสง
เดือนปีอาจเปลี่ยนแปลง แต่รักแรงไม่เปลี่ยนไป
(๘) บ้านเรือนไม่หรูหรา แต่สูงค่าปัญญาไทย
หนทางอาจห่างไกล แต่หัวใจใกล้ชิดกัน
(๙) น้ำใจไม่เคยจืด อยู่ยาวยืดยิ้มยืนยัน
ต่างเพศต่างผิวพรรณ แต่ใจนั้นไม่ต่างใจ
(๑๐) ศูนย์รวมคือพ่อหลวง ร้อยรักปวงดวงใจไทย
ทุกพระองค์คือธงชัย ร้อยดวงใจจอมจักรี

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ๐9


(๑๑) ราชันขวัญสยาม ปิ่นเพชรงามปักธานี
ร่มพระบารมี ศรีไผทฉัตรชัยชน
(๑๒) ไตรรงค์ธงชัยโชค ลอยอวดโลกโบกลมบน
ขวัญฟ้าขวัญตายล ขวัญกมลมงคลชัย
(๑๓) กรุงเทพคือกรุงธรรม งามเลิศล้ำด้วยน้ำใจ
งามนอกไม่หลอกใคร พร้อมงามในจริงใจครัน
(๑๔) สยามจึงงามพร้อม หัวใจหอมไม่หุนหัน
เกลียดใครไม่นานวัน แต่รักนั้นนานไม่วาง
(๑๕) ขัดแย้งแต่ไม่แยก แม้ต่างแตกไม่แตกต่าง
เจียมใจไว้ไม่จาง คุณใครสร้างค้างใจจำ
(๑๖) เมืองไทยคือเมืองทอง ขอพี่น้องครองรักนำ
ถ้าไทยไม่ทิ้งธรรม ไทยสุขล้ำฉ่ำชื่นไทย
(๑๗) เมื่อนี้ตราบเมื่อหน้า คงคู่หล้าฟ้าดินกษัย
เกษมสุขสิ้นทุกข์ภัย ชมชื่อไทยไป่สิ้นเทอญ.

ประพันธ์โดย นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

ความหมายตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔


อักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. สีเหลืองทอง อันเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพอยู่กลาง
ตราสัญลักษณ์  ขลิบรอบตัวอักษรด้วยสีทองบนพื้นวงกลมสีน้ำเงินล้อมรอบด้วยกรอบโค้งเรียบ
สีเหลืองทอง หมายความว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจของคนไทยทั้งชาติ
ด้านบนอักษรพระปรมาภิไธยเป็นเลข  ๙  หมายถึงพระมหากษัตริย์พระองค์ที่  ๙  แห่งพระบรมราช
จักรีวงศ์ เลข ๙ นั้น อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎอันเป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของ
พระมหากษัตริย์  และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นสมเด็จราชาธิราชถัดลงมาด้านข้างซ้ายขวา
ของอักษรพระปรมาภิไธยมีสายพุ่มข้าวบิณฑ์สีทอง ซึ่งมีสัปตปฎลเศวตฉัตรประดิษฐานอยู่เบื้องบน
ด้านนอกสุดเป็นกรอบโค้งมีลวดลายสีทองบนพื้นสีเขียว หมายถึงสีอันเป็นเดชแห่งวันพระบรมราชสมภพ อีกทั้งยังหมายถึง
ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์และความสงบร่มเย็น  ด้านล่างอักษรพระปรมาภิไธยเป็นรูปกระต่ายสีขาว  กระต่ายนั้นทรงเครื่อง
อยู่ในลักษณะกำลังก้าวย่าง  อันหมายถึง  ปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา  ๗  รอบ  ตรงกับปีเถาะ  ซึ่งปีกระต่าย
เป็นเครื่องหมายแห่งปีนักษัตร  โดยรูปกระต่ายอยู่บนพื้นสีน้ำเงินมีลายกระหนกสีทอง  อันหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง
ของประเทศไทย  ภายใต้พระบรมโพธิสมภารเบื้องล่างตราสัญลักษณ์เป็นแพรแถบสีชมพูขลิบทองเขียนอักษรสีทอง 
ความว่า  “พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ “  ออกแบบโดย นายศิริ หนูแดง 
ได้รับเงินรางวัล  ๔๐๐,๐๐๐  บาท  พร้อมประกาศเกียรติคุณ  สามารถ  Download  แบบตราสัญลักษณ์ ฯ เฉลิมพระชนมพรรษา
๗  รอบ  ขนาดใหญ่ได้ที่  http://www.prd.go.th/download/king84.pdf

๐10 นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔

You might also like