You are on page 1of 412

ผลการเรียนรู้

ตัวอักษรกรีก

ตัวอักษร ตัวอักษร ตัวอักษร ตัวอักษร


ชื่อ ชื่อ
เล็ก ใหญ่ เล็ก ใหญ่
a A alpha แอลฟา n N nu นิว
b B beta บีตา x X xi ไซ
g G gamma แกมมา o O omicron โอไมครอน
¥,
d,0∂ D delta เดลตา p P pi พาย
e E epsilon เอปไซลอน r R rho โร
z Z zeta ซีตา s S sigma ซิกมา
h H eta อีตา t T tau เทา
q Q theta ทีตา u U upsilon อิปไซลอน
i I iota ไอโอตา f F phi ฟาย, ฟี
k K kappa แคปปา c C chi ไค
l L lambda แลมบ์ดา y Y psi ซาย
m M mu มิว w W omega โอเมกา

ราชบัณฑิตยสถาน ศัพท์คณิตศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๙ แก้ไขเพิ่มเติม กรุงเทพ : ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๙.

**รูปหน้าปกเอื้อเฟื้อโดย สยามพาร์คซิตี้ สวนสยาม


คม
�ู อ
ื ครู

รายวช
ิ าเพม
�ิ เตม
ิ วท
ิ ยาศาสตร�
วช
ิ า

ฟส
ิ ก
ิ ส� เลม
� ๒
ชน
�ั

มธัยมศก
ึ ษาปท
ี �ี ๔
ตามผลการเรย
ี นร�ู
กลม
�ุ สาระการเรย
ี นรว�ูท
ิ ยาศาสตร� (ฉบบ
ั ปรบ
ั ปรงุ พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลก
ั สต
ู รแกนกลางการศก
ึ ษาขน
�ั พน
�ื ฐาน พท
ุ ธศก
ั ราช ๒๕๕๑

จด
ั ทาโดย

สถาบน
ั สง�เสรม
ิ การสอนวท
ิ ยาศาสตรแ�ละเทคโนโลยี กระทรวงศก
ึ ษาธก
ิ าร
คำชี้แจง
สถาบันส่ งเสริม การสอนวิท ยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดทาตัวชี้วั ดและสาระการเรี ย นรู้
แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้น
พื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมี จุดเน้นเพื่อต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถที่ทัดเทียมกั บ
นานาชาติ ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และ
แก้ ปั ญ หาที่ ห ลากหลาย มี ก ารท ากิ จ กรรมด้ ว ยการลงมื อ ปฏิ บั ติ เ พื่ อ ให้ ผู้ เ รี ย นได้ ใ ช้ ทั ก ษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ และทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งในปีการศึกษา ๒๕๖๑ เป็นต้นไปโรงเรียนจะต้องใช้หลักสูตรกลุ่ม
สาระการเรียนรู้วิท ยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) สสวท. ได้มีการจัดทาหนังสือเรียนที่เป็นไปตาม
มาตรฐานหลักสูตรเพื่อให้โรงเรียนได้ใช้สาหรับจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน และเพื่อให้ครูผู้สอนสามารถสอน
และจัดกิจกรรมต่างๆ ตามหนังสือเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทาคู่มือครูสาหรับใช้ประกอบหนังสือเรียน
ดังกล่าว
คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ เล่ม ๒ นี้ ได้บอกแนวการจัดการเรียน
การสอนตามเนื้อหาในหนังสือเรียนเกี่ยวกับ สมดุลกลของวัตถุ ศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วง เสถียรภาพของวัตถุ
งาน กาลัง พลังงานกล กฎการอนุรักษ์พลังงานกล เครื่องกลอย่างง่าย โมเมนตัมและการดล กฎการอนุรักษ์
โมเมนตัม การชน การดีดตัวแยกออกจากกัน และการเคลื่อนที่แนวโค้ง ซึ่งครูผู้สอนสามารถนาไปใช้เป็นแนวทาง
ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยสามารถนาไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ตามความ
เหมาะสมและความพร้อมของโรงเรียน ในการจัดทาคู่มือครูเล่มนี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากผู้ทรงคุณวุฒิ
นักวิชาการอิสระ คณาจารย์ รวมทั้งครูผู้สอน นักวิชาการ จากทั้งภาครัฐและเอกชน จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้
สสวท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ เล่ม ๒ นี้ จะ
เป็ น ประโยชน์ แ ก่ผู้ ส อน และผู้ ที่ เ กี่ ยวข้ อ งทุก ฝ่า ย ที่ จ ะช่ ว ยให้ การจัด การศึ กษาด้ า นวิ ทยาศาสตร์ ได้ อ ย่างมี
ประสิทธิภาพ หากมีข้อเสนอแนะใดที่จะทาให้ คู่มือครูเล่มนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โปรดแจ้ง สสวท. ทราบด้วย
จะขอบคุณยิ่ง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อแนะนำ�ทั่วไปในการใช้คู่มือครู
วิทยาศาสตร์มีความเก่ียวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจำ�วันและการงานอาชีพต่าง ๆ รวมทั้ง
มีบทบาทสสำ�คัญในการพัฒนาผลผลิตต่าง ๆ ที่ใช้ในการอำ�นวยความสะดวกทั้งในชีวิต และการทำ�งาน
นอกจากนี้วิทยาศาสตร์ยังช่วยพัฒนาวิธีคิดและทำ�ให้มีทักษะที่จำ�เป็นในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
อย่ า งเป็ น ระบบ  การจั ด การเรี ย นรู้ เ พื่ อ ให้ นั ก เรี ย นมี ค วามรู้ แ ละทั ก ษะท่ี สำ � คั ญ ตามเป้ า หมายของ
การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำ�คัญยิ่ง ซึ่งเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
มีดังนี้

1. เพื่อให้เข้าใจหลักการและทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของวิชาวิทยาศาสตร์
2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจในลักษณะ ขอบเขต และข้อจำ�กัดของวิทยาศาสตร์
3. เพื่อให้เกิดทักษะท่ีสำ�คัญในการศึกษาค้นคว้าและคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. เพื่อพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการจัดการ
ทักษะในการส่ือสารและความสามารถในการตัดสินใจ
5. เพื่อให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มวลมนุษย์และ
สภาพแวดล้อม ในเชิงที่มีอิทธิพลและผลกระทบซึ่งกันและกัน
6. เพื่อนำ�ความรู้ความเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ
สังคมและการดำ�รงชีวิตอย่างมีคุณค่า
7. เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมในการใช้ความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์

คู่ มื อ ครู เ ป็ น เอกสารที่ จั ด ทำ � ขึ้ น ควบคู่ กั บ หนั ง สื อ เรี ย น สำ � หรั บ ให้ ค รู ไ ด้ ใ ช้ เ ป็ น แนวทางใน
การจัดการเรียนรู้เพ่ือให้นักเรียนได้รับความรู้และมีทักษะที่ส�ำ คัญตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในหนังสือ
เรียน ซึ่งสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ส่งเสริมให้บรรลเป้าหมายของ
การจั ด การเรี ย นรู้ วิ ท ยาศาสตร์ ไ ด้  อย่ า งไรก็ ต ามครู อ าจพิ จ ารณาดั ด แปลงหรื อ เพ่ิ ม เติ ม การจัดการ
เรี ย นรู้ ใ ห้ เ หมาะสมกั บ บริ บ ทของแต่ ล ะห้ อ งเรี ย นได้  โดยคู่ มื อ ครู มี อ งค์ ป ระกอบหลั ก ดั ง ต่ อ ไปนี้

ผลการเรียนรู้
ผลการเรี ย นรู้ เ ป็ น ผลลั พ ท์ ที่ ค วรเกิ ด กั บ นั ก เรี ย นทั้ ง ด้ า นความรู้ เ เละทั ก ษะซึ่ ง ช่ ว ยให้ ค รู ไ ด้
ทราบเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ในแต่ละเนื้อหาและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ
ผลการเรียนรู้ได้ทั้งนี้ครูอาจเพ่ิมเติมเนื้อหาหรือทักษะตามศักยภาพของนักเรียน รวมทั้งอาจสอดแทรก
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นได้
การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้
การวิเคราะห์ความรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์
ที่เกี่ยวข้องในแต่ละผลการเรียนรู้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้

ผังมโนทัศน์
แผนภาพที่เเสดงความสัมพันธ์ระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อย เพื่อช่วย
ให้ครูเห็นความเชื่อมโยงของเนื้อหาภายในบทเรียน

การสรุปเนื้อหาสำ�คัญของบทเรียน เพื่อช่วยให้ครูเห็นกรอบเนื้อหาทั้งหมด รวมทั้งลำ�ดับของ


เนื้อหาในบทเรียนนั้น

เวลาที่ใช้
เวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งครูอาจดำ�เนินการตามข้อเสนอแนะที่ก�ำ หนดไว้ หรืออาจ
ปรับเวลาได้ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละห้องเรียน

ความรู้ก่อนเรียน
คำ � สำ � คั ญ หรื อ ข้ อ ความที่ เ ป็ น ความรู้ พื้ น ฐาน ซึ่ ง นั ก เรี ย นควรมี ก่ อ นที่ จ ะเรี ย นรู้ เ นื้ อ หาใน
บทเรียนนั้น

การจัดการเรียนรู้ของแต่ละหัวข้อ
การจัดการเรียนรูใ้ นเเต่ละข้ออาจมีองค์ประกอบเเตกต่างกัน โดยรายละเอียดเเต่ละองค์ประกอบ
มีดังนี้
- จุดประสงค์การเรียนรู้
เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ที่ต้องการให้นักเรียนเกิดความรู้หรือทักษะหลังจากผ่าน
กิจกรรมการเรียนรู้ในเเต่ละหัวข้อ ซึ่งสามารถวัดและประเมินผลได้ ทั้งนี้ครูอาจตั้งจุดประสงค์
เพิ่มเติมจากที่ให้ไว้ ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละห้องเรียน

- ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น
เนื้อหาที่นักเรียนอาจเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่พบบ่อย ซึ่งเป็นข้อมูลให้ครูได้พึงระวัง
หรืออาจเน้นย้ำ�ในประเด็นดังกล่าวเพื่อป้องกันการเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้
- สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
สื่ อ การเรี ย นรู้ แ ละแหล่ ง การเรี ย นรู้ ที่ ใ ช้ ป ระกอบการจั ด การเรี ย นรู้  เช่ น  บั ต รคำ � วี ดิ ทั ศ น์
เว็บไซต์ ซึ่งครูควรเตรียมล่วงหน้าก่อนเริ่มการจัดการเรียนรู้

- แนวการจัดการเรียนรู้
แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยมีการนำ�เสนอทั้งใน
ส่ ว นของเนื้ อ หาและกิ จ กรรมเป็ น ขั้ น ตอนอย่ า งละเอี ย ดทั้ ง นี้ ค รู อ าจปรั บ หรื อ เพิ่ ม เติ ม
กิจกรรมจากที่ให้ไว้ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละห้องเรียน

กิ จ กรรม การปฏิ บั ติ ที่ ช่ ว ยในการเรี ย นรู้ เ นื้ อ หาหรื อ ฝึ ก ฝนให้ เ กิ ด ทั ก ษะตามจุ ด ประสงค์


การเรียนรู้ของบทเรียน โดยอาจเป็นการทดลอง การสาธิต การสืบค้นข้อมูล หรือกิจกรรม
อื่น ๆ  ซึ่งควรให้นักเรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยองค์กอบของกิจกรรมมีรายละเอียด ดังนี้
- จุดประสงค์
เป้าหมายที่ต้องการให้นักเรียนเกิดความรู้หรือทักษะหลังจากผ่านกิจกรรมนั้น

- วัสดุและอุปกรณ์
รายการวัสดุ อุปกรณ์ หรือสารเคมีที่ต้องใช้ในการทำ�กิจกรรม ซึ่งครูควรเตรียมให้เพียงพอ
สำ�หรับการจัดกิจกรรม

- สิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้า
ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้าสำ�หรับการจัดกิจกรรม เช่น การเตรียมสารละลาย
ที่มีความเข้มข้นต่าง ๆ การเตรียมตัวอย่างสิ่งมีชีวิต

- ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
ข้อมูลทีใ่ ห้ครูเเจ้งต่อนักเรียนให้ทราบถึงข้อระวัง ข้อควรปฏิบต
ั ิ หรือข้อมูลเพิม
่ เติมในการทำ�
กิจกรรมนั้น ๆ

- ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม
ตัวอย่างผลการทดลอง การสาธิต การสืบค้นข้อมูลหรือกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อให้ครูใช้เป็น
ข้อมูลสำ�หรับตรวจสอบผลการทำ�กิจกรรมของนักเรียน
- อภิปรายหลังการทำกิจกรรม
ตั ว อย่ า งข้ อ มู ล ที่ ค วรได้ จ ากการอภิ ป รายเเละสรุ ป ผลการทำ � กิ จ กรรม ซึ่ ง ครู อ าจใช้ คำ � ถาม
ท้ า ยกิ จ กรรมหรื อ คำ � ถามเพิ่ม เติ ม  เพื่อ ช่ ว ยให้ นัก เรี ย นอภิ ป รายในประเด็ น ที่ต้อ งการรวมทั้ง
ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนช่วยกันคิดและอภิปรายถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำ�ให้ผลของกิจกรรมเป็นไป
ตามทีค
่ าดหวัง หรืออาจไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง

นอกจากนี้อาจมีความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ เพิ่มขึ้น


ซึ่งไม่ควรนำ�ไปเพิ่มเติมให้นักเรียน เพราะเป็นส่วนที่เสริมจากเนื้อหาที่มีในหนังสือเรียน

- แนวทางการวัดและประเมินผล
แนวทางการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู ้ ซึง่ ประเมินทัง้ ด้านความรู้
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์์ ทักษะเเห่งศตวรรษที่ 21 ประเมินจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ที่ควรเกิดขึ้นหลังจากได้เรียนรู้ในเเต่ละหัวข้อ  ผลที่ได้จากการประเมินจะช่วยให้ครูทราบถึง
ความสำ � เร็ จ ของการจั ด การเรี ย นรู้  รวมทั้ ง ใช้ เ ป็ น แนวทางในการปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นาการ
เรียนรู้ให้เหมาะสมกับนักเรียน
เครื่องมือวัดและประเมินผลมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น แบบทดสอบรูปแบบต่าง ๆ แบบ
ประเมินทักษะ แบบประเมินคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์  ซึ่งครูอาจเรียกใช้เครื่องมือ
สำ�หรับการวัดและประเมินผลจากเครือ
่ งมือมาตรฐานทีม
่ ผ
ี พ
ู้ ฒ
ั นาไว้  เเล้วดัดเเปลงจากเครือ
่ งมือ
ผูอ
้ น
่ื ทำ�ไว้เเล้วหรือสร้างเครือ
่ งมือใหม่ขน
้ึ เอง  ตัวอย่างเครือ
่ งมือวัดและประเมินผล ดังภาคผนวก

- เฉลยคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและแบบฝึกหัด
แนวคำ�ตอบของคำ�ถามระหว่างเรียน ซึง่ มีทง้ั ถามชวนคิด คำถามตรวจสอบความเข้าใจ และ
แบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ ทัง้ นีค
้ รูควรใช้ค�ำ ถามระหว่างเรียนเพือ
่ ตรวจสอบความรูค
้ วามเข้าใจ
ของนักเรียนก่อนเริม
่ เนือ
้ หาใหม่เพื่อให้สามารถปรับการการจัดการเรียนรู้ให้เ้หมาะสมต่อไป

- เฉลยคำ�ถาม
แนวคำ�ตอบของคำาถามท้ายบทเรียนในหนังสือเรียน เพ่อ
ื ให้ครูใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบ
การตอบคำ�ถามของนักเรียน

- เฉลยปัญหาและปัญหาท้าทาย
แนวคำ�ตอบของปัญหาและปัญหาท้าทาย ซึ่งครูควรใช้คำ�ถามท้ายบทเรียนเพ่ือตรวจสอบว่า
หลังจากเรียนจบบทเรียนเเล้ว  นักเรียนยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องใด เพื่อให้สามารถ
วางแผนการทบทวนหรือเน้นย้�ำ เนื้อหาให้กับนักเรียนก่อนการทดสอบได้
สารบัญ บทที่ 4-
บทที่ เนื้อหา หน้า

4
สมดุลกล
ผลการเรียนรู้ 1
การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 1
ผังมโนทัศน์ สมดุลกล 4
สรุปแนวความคิดสำ�คัญ 5
เวลาท่ีใช้ 7
ความรู้ก่อนเรียน 7
4.1 สมดุลกล 8
4.2 ศูนย์กลางมวลเเละศูนย์ถ่วง 10
4.3 สมดุลต่อการเลื่อนที
่ 16
4.4 สมดุลต่อการหมุน 
4.4.1 โมเมนต์ของเเรง 
4.4.2 โมเมนต์ของเเรงคู่ควบ 30
4.5 เสถียรภาพของวัตถุ 39
เฉลยเเบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4 44

5
งานเเละพลังงาน
ผลการเรียนรู้ 
การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 89
ผังมโนทัศน์ งานเเละพลังงาน 93
สรุปแนวความคิดสำ�คัญ 94
เวลาท่ีใช้ 95
ความรู้ก่อนเรียน 95
5.1 งานเนื่องจากเเรงคงตัว 97
5.2 งานเนื่องจากเเรงไม่คงตัว 103
5.3 กำ�ลัง 112
5.4 พลังงานกล 116
5.4.1 พลังงานจลน์ 116
สารบัญ บทที่ 5-6
บทที่ เนื้อหา หน้า
5.4.2 พลังงานศักย์ 123
5.5 การอนุรักษ์พลังงานกล 140
5.5.1 งานเนื่องจากเเรงอนุรักษ์ 140
5.5.2 กฎการอนุรักษ์พลังงานกล 141
5.6 เครื่องกล 147
ประสิทธิภาพของเครื่องกล
5.6.1 148
5.6.2 หลักการของงานกับเครื่องกลอย่างง่าย 149
5.6.3 หลักการของสมดุลกลกับเครื่องกลอย่างง่าย 149
เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทท่ี 5 159

6
โมเมนตัมเเละการชน
ผลการเรียนรู้ 207
การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 207
ผังมโนทัศน์ โมเมนตัมเเละการชน 210
สรุปแนวความคิดสำ�คัญ 211
เวลาท่ีใช้ 212
ความรู้ก่อนเรียน 212
6.1 โมเมนตัม 213
6.2 แรงเเละการเปลี่ยนโมเมนตัม 218
6.3 การดล 223
6.4 การอนุรักษ์โมเมนตัม 231
6.5 การชนและการดีดตัวแยกจากกัน 235
6.5.1 การชนของวัตถุในหนึ่งมิติ 236
6.5.2 การดี
ดตัวเเยกจากกันของวัตถุในหนึ่งมิติ 242
เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทท่ี 6 253
สารบัญ บทที่ 7
บทที่ เนื้อหา หน้า

7
การเคลื่อนที่เเนวโค้ง
ผลการเรียนรู้ 303
การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 303
ผังมโนทัศน์ การเคลื่อนที่เเนวโค้ง 306
สรุปแนวความคิดสำ�คัญ 307
เวลาท่ีใช้ 308
ความรู้ก่อนเรียน 308
7.1 การเคลื่อนที่เเบบโพเจกไทล์ 309
7.2 การเคลื่อนที่เเบบวงกลม
320
เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทท่ี 7 333

ภาคผนวก ตัวอย่างเครื่องมือวัดและประเมินผล 382


แบบทดสอบ 382
แบบประเมินทักษะ 386
แบบประเมินคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์ 389
การประเมินการนำ�เสนอผลงาน 392
คณะกรรมการจัดทำ� 394
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 1

4
บทที่ สมดุลกล

goo.gl/SnDXrv

ผลการเรียนรู้:

1. อธิบายสมดุลกลของวัตถุ โมเมนต์ และผลรวมของโมเมนต์ทม


ี่ ต
ี อ
่ การหมุน แรงคูค
่ วบและผลของ
แรงคูค
่ วบทีม
่ ต
ี อ
่ สมดุลของวัตถุ เขียนแผนภาพของแรงทีก
่ ระทำ�ต่อวัตถุอสิ ระเมือ
่ วัตถุอยูใ่ นสมดุลกล
และคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทดลองและอธิบายสมดุลของแรงสามแรง
2. สังเกตและอธิบายสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ เมื่อแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุผ่านศูนย์กลางมวลของ
วัตถุ และผลของศูนย์ถ่วงที่มีต่อเสถียรภาพของวัตถุ

การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ กับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะ


แห่งศตวรรษที่ 21

ผลการเรียนรู้
1. อธิบายสมดุลกลของวัตถุ โมเมนต์และผลรวมของโมเมนต์ทม
ี่ ต
ี อ
่ การหมุน แรงคูค
่ วบและผลของ
แรงคูค
่ วบทีม
่ ต
ี อ
่ สมดุลของวัตถุ เขียนแผนภาพวัตถุอสิ ระเมือ
่ วัตถุอยูใ่ นสมดุลกล และคำ�นวณปริมาณ
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทดลองและอธิบายสมดุลของแรงสามแรง

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายและยกตัวอย่างของสมดุลกล สมดุลสถิต และสมดุลจลน์
2. บอกความหมายของสมดุลต่อการเลื่อนที่ และสมดุลต่อการหมุน
3. อภิปรายเพือ่ สรุปเงือ่ นไขทีท
่ �ำ ให้วต
ั ถุอยูใ่ นสมดุลต่อการเลือ่ นทีแ่ ละอยูน
่ งิ่ เมือ่ มีแรงสองแรงกระทำ�
ต่อวัตถุ
4. ทดลอง วิเคราะห์ และอภิปรายเพื่อสรุปเงื่อนไขของแรงสามแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุแล้วทำ�ให้วัตถุ
อยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่และอยู่นิ่ง
5. เขียนแผนภาพวัตถุอิสระ วิเคราะห์ และคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีแรงกระทำ�ต่อ
วัตถุแล้วทำ�ให้วัตถุอยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่และอยู่นิ่ง โดยใช้วิธีการแยกแรง
2 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

6. บอกความหมายและคำ�นวณโมเมนต์ของแรง
7. อภิปรายเพื่อสรุปเงื่อนไขที่ทำ�ให้วัตถุอยู่ในสมดุลต่อการหมุน
8. เขียนแผนภาพวัตถุอิสระ วิเคราะห์ และคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเมื่อวัตถุอยู่ในสมดุล
ต่อการหมุน
9. บอกความหมายของแรงคู่ควบและลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อมีแรงคู่ควบหนึ่งคู่กระทำ�
ต่อวัตถุ

ทักษะกระบวนการทาง ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


วิทยาศาสตร์

1. การสังเกต การวัด และการ 1. การแก้ปญ


ั หา (สถานการณ์ 1. ด้ า นความรอบคอบ และ
ลงความเห็นจากข้อมูล เกี่ยวกับสมดุลกล) ความรับผิดชอบ และความร่วม
(จากการทำ�กิจกรรม) 2. ความร่วมมือ การทำ�งาน มื อ ช่ ว ย เ ห ลื อ จ า ก ก า ร ทำ �
2. การใช้จำ�นวน (การคำ�นวณ เป็นทีมและภาวะผู้นำ� (การทำ� กิจกรรม
ปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสมดุล กิจกรรม)
กล จากรายงานผลการทำ � 3. การสื่อสาร (การอภิปราย
กิจกรรม และแบบฝึกหัด) ร่วมกันและการนำ�เสนอผล)

ผลการเรียนรู้
2. สังเกตและอธิบายสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ เมื่อแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุผ่านศูนย์กลางมวลของ
วัตถุ และผลของศูนย์ถ่วงที่มีต่อเสถียรภาพของวัตถุ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วงของวัตถุ
2. สังเกตและอธิบายสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ เมื่อแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุผ่านศูนย์กลางมวล
ของวัตถุ
3. สังเกตและอภิปรายผลของศูนย์ถ่วงที่มีต่อเสถียรภาพของวัตถุ
4. นำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับศูนย์ถ่วงของวัตถุไปอธิบายเสถียรภาพของวัตถุต่าง ๆ ในชีวิตประจำ�วัน
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 3

ทักษะกระบวนการทาง ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


วิทยาศาสตร์

1. การสังเกตและการลงความ 1. การสื่อสาร (การอภิปราย 1. ด้านความอยากรู้อยากเห็น


เห็ น จากข้ อ มู ล (จากการทำ � ร่วมกันและการนำ�เสนอผล) จากอภิปรายร่วมกัน และการ
กิจกรรมหาศูนย์กลางมวลและ ทำ�กิจกรรม
ศูนย์ถ่วง และเสถียรภาพของ 2. ด้านความร่วมมือช่วยเหลือ
วัตถุ) จากการทำ�กิจกรรม
4 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

ผังมโนทัศน์ สมดุลกล

สมดุลกล

จำ�แนกได้เป็น

สมดุลสถิต สมดุลจลน์

เกิดขึ้นเมื่อ
เกิดขึ้นเมื่อ

วัตถุหยุดนิ่ง วัตถุเลื่อนที่ด้วย และ/หรือ วัตถุหมุนด้วย


คือ ความเร็วคงตัว ความเร็วเชิงมุมคงตัว

และ/หรือ
ไม่เลื่อนที่ ไม่หมุน

แสดงว่า แสดงว่า
วัตถุอยู่ในสมดุลต่อการเคลื่อนที่ วัตถุอยู่ในสมดุลต่อการหมุน

มีผลต่อ ศูนย์กลางมวล มีผลต่อ ใช้ค�ำ นวณ โมเมนต์ของแรงและ


และศูนย์ถ่วง โมเมนต์ของแรงคู่ควบ
จะได้ จะได้

∑F = 0 มีผลต่อ
∑M = 0
เสถียรภาพของวัตถุ
นำ�ไปใช้คำ�นวณ นำ�ไปใช้คำ�นวณ

ปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง


กับสมดุลต่อการเลื่อนที่ กับสมดุลต่อการหมุน
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 5

สรุปแนวความคิดสำ�คัญ
วัตถุที่อยู่ในสมดุลกล หรือเรียกสั้น ๆ ว่าสมดุล (equilibrium) คือวัตถุที่รักษาสภาพการเคลื่อนที่
ให้คงเดิม
วัตถุที่อยู่ในสมดุลสถิต (static equilibrium) คือวัตถุที่อยู่นิ่งและไม่มีการหมุน
วัตถุที่อยู่ในสมดุลจลน์ (dynamic equilibrium) คือวัตถุที่มีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว หรือ
มีการหมุนด้วยอัตราเร็วคงตัว
วัตถุที่อยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่ (translational equilibrium) คือวัตถุที่หยุดนิ่ง หรือ มีการ
เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว
วัตถุที่อยู่ในสมดุลต่อการหมุน (rotational equilibrium) คือวัตถุที่ไม่มีการหมุน หรือ หมุนด้วย
อัตราเร็วคงตัว
ศูนย์กลางมวล (center of mass, CM) คือจุดที่เปรียบเสมือนเป็นจุดรวมมวลของวัตถุทั้งก้อน ซึ่ง
อยูป
่ ระจำ�ทีแ่ น่นอนและไม่ขน
ึ้ กับสถานที่ และอาจไม่อยูภ
่ ายในเนือ
้ ของวัตถุ เช่น ศูนย์กลางมวลของวงแหวน
ศูนย์ถ่วง (center of gravity, CG) คือจุดที่แรงโน้มถ่วงของโลกกระทำ�ต่อวัตถุ
สำ�หรับวัตถุที่อยู่ในบริเวณที่สนามโน้มถ่วงมีค่าสม่ำ�เสมอ ศูนย์ถ่วงของวัตถุและศูนย์กลางมวลเป็น
ตำ�แหน่งเดียวกัน
เมื่อวัตถุอยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่และอยู่นิ่ง แรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุมีค่าเป็นศูนย์ เขียนแทนได้

ด้วยสมการ ∑ F = 0
ในการคำ�นวณปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการที่วัตถุอยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่และอยู่นิ่ง สามารถแยก
พิจารณาได้ดังนี้ คือ
Ø กรณี มี แ รงสองแรงกระทำ � แรงทั้ ง สองจะต้ อ งมี ข นาดเท่ า กั น แต่ มี ทิ ศ ตรงข้ า มกั น และ
แนวแรงผ่านศูนย์กลางมวล
Ø กรณีมีแรงสามแรงกระทำ� สามารถแบ่งได้เป็นกรณีย่อยอีกสองกรณีคือ
¡ กรณี ที่ แ รงอยู่ ใ นแนวเดี ย วกั น ผลรวมของแรงที่ มี ทิ ศ ตรงข้ า มกั น ต้ อ งมี ข นาด
เท่ากัน
¡ กรณี ที่ แ รงไม่ อ ยู่ ใ นแนวเดี ย วกั น แต่ อ ยู่ ใ นระนาบเดี ย วกั น แนวแรงทั้ ง สามต้ อ ง
พบกั น ที่ จุ ด ๆ หนึ่ ง และถ้ า นำ � เวกเตอร์ แ ทนแรงทั้ ง สามมารวมกั น ด้ ว ยวิ ธี ห าง
ต่อหัวเวกเตอร์ จะได้เป็นรูปสามเหลี่ยมปิด
Ø กรณี ที่ มี แ รงมากกว่ า สามแรงกระทำ � โดยที่ แ รงแต่ ล ะแรงไม่ อ ยู่ ใ นแนวเดี ย วกั น ถ้ า นำ �
เวกเตอร์แทนแรงทั้งหมดมารวมกันด้วยวิธีหางต่อหัวเวกเตอร์ จะได้
เป็นรูปหลายเหลี่ยมปิด
6 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

การเขียนแผนภาพวัตถุอิสระและการแยกแรงเป็นแรงองค์ประกอบ สามารถนำ�มาใช้ในการพิจารณา
แรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุเมื่อวัตถุอยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่และอยู่นิ่ง ผลรวมของแรงในแนวแกน x และ
แกน y มีค่าดังสมการ
 
∑F
= 0 และ ∑ Fy = 0
x

โมเมนต์ของแรง (moment of a force) เป็นปริมาณที่บอกถึงแนวโน้มที่ทำ�ให้วัตถุหมุนรอบจุดหรือ


รอบแกนหนึ่ง ๆ โดยหาค่าของโมเมนต์ได้จากสมการ M = Fr sin θ = Fl
โมเมนต์ของแรงอาจทำ�ให้วัตถุหมุนตามเข็มนาฬิกา (Mตาม) หรือหมุนทวนเข็มนาฬิกา (Mทวน)
เมื่อวัตถุอยู่ในสมดุลต่อการหมุน ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกามีค่าเท่ากับผลรวมของโมเมนต์
ตามเข็มนาฬิกาเขียนแทนด้วยสมการ

ถ้าให้โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกามีค่าบวก โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกามีค่าลบ สามารถเขียนสมการใหม่
ได้เป็น
∑M = 0
แรงคู่ควบ เป็นแรงสองแรงที่มีขนาดเท่ากัน แนวแรงขนานกัน แต่มีทิศทางตรงข้าม โดยถ้ามีแรงคู่
ควบหนึ่งคู่กระทำ�ต่อวัตถุจะทำ�ให้เกิดโมเมนต์ของแรงคู่ควบที่มีค่าไม่เป็นศูนย์ วัตถุจึงไม่อยู่ในสมดุลต่อ
การหมุน แต่วัตถุจะอยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่ เนื่องจากแรงลัพธ์มีค่าเป็นศูนย์
การเขียนแผนภาพของแรงทีก
่ ระทำ�ต่อวัตถุและการแยกแรงเป็นแรงองค์ประกอบ สามารถนำ�มาใช้
ในการพิจารณาแรงลัพธ์และผลรวมโมเมนต์ของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุเมื่อวัตถุอยู่ในสมดุลต่อการหมุนและ
อยู่นิ่ง เขียนแทนด้วยสมการ
 
∑ Fx = 0 ∑Fy = 0 และ ∑ M = 0
วัตถุที่อยู่ในสมดุลอาจวางตัวได้ในลักษณะที่ต่างกัน ทำ�ให้เกิดการสมดุลที่มเี สถียรภาพต่างกัน ขึ้น
อยู่กับศูนย์ถ่วงของวัตถุ และ ความกว้างส่วนฐานของวัตถุ
วัตถุที่มีศูนย์ถ่วงต่ำ�และมีฐานกว้าง จะมีเสถียรภาพมากกว่าวัตถุที่มีศูนย์ถ่วงสูงและมีฐานแคบ
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 7

เวลาที่ใช้

บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 1 ชั่วโมง

4.1 สมดุลกล 1 ชั่วโมง


4.2 ศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วง 2 ชั่วโมง
4.3 สมดุลต่อการเลื่อนที่  ชั่วโมง
4.4 สมดุลต่อการหมุน  ชั่วโมง
4.5 เสถียรภาพของวัตถุ 2 ชั่วโมง

ความรู้ก่อนเรียน

แผนภาพวัตถุอสิ ระ ปริมาณเวกเตอร์ การหาแรงลัพธ์โดยวิธเี ขียนเวกเตอร์ของแรงและวิธค


ี �ำ นวณ
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน โมเมนต์ของแรง

นำ�เข้าสู่บทที่ 4
ครูน�ำ เข้าสูบ
่ ทที่ 4 โดยให้นก
ั เรียนดูภาพของวัตถุทม
ี่ ส
ี ภาพการเคลือ
่ นทีแ่ ตกต่างกัน เช่น วัตถุทก
ี่ �ำ ลัง
เคลื่อนที่ วัตถุที่อยู่นิ่ง หรือ วัตถุที่กำ�ลังหมุนแต่อยู่น่ิง โดยแต่ละภาพให้นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับรูปแบบ
ของการเคลื่อนที่และแรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุ และเปิดโอกาสให้นักเรียนตอบอย่างอิสระ ไม่คาดหวังคำ�
ตอบที่ถูกต้อง
ครูแจ้งนักเรียนว่า ในบทที่ 4 นี้ นักเรียนจะได้เรียนรูเ้ กีย่ วกับวัตถุทอ่ี ยูน
่ ง่ิ เรียกว่า อยูใ่ นสมดุลกล จากนัน

ครูชแี้ จงหัวข้อทีน
่ ก
ั เรียนจะได้เรียนรูใ้ นบทที่ 4 และคำ�ถามสำ�คัญทีน
่ ก
ั เรียนจะต้องตอบได้หลังจากการเรียน
รู้บทที่ 4 ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน
8 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

4.1 สมดุลกล
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายและยกตัวอย่างของสมดุลกล สมดุลสถิต และสมดุลจลน์
2. บอกความหมายของสมดุลต่อการเลื่อนที่ และสมดุลต่อการหมุน

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

1. วัตถุที่กำ�ลังเคลื่อนที่ไม่อยู่ในสมดุลกล 1. วัตถุที่ก�ำ ลังเคลื่อนที่อาจอยู่ในสมดุลต่อการ


เลื่อนที่ ถ้าการเคลื่อนที่นั้นเป็นการเคลื่อนที่ด้วย
ความเร็วคงตัว

2. วัตถุที่กำ�ลังหมุนไม่อยู่ในสมดุลกล 2. วัตถุที่กำ�ลังหมุนอาจอยู่ในสมดุลต่อการ
หมุน ถ้าการหมุนนั้นเป็นการหมุนด้วย
ความเร็วเชิงมุมคงตัว

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ของหัวข้อ 4.1 จากนั้น ครูให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของสมดุลกล
ความเร็วเชิงมุม สมดุลสถิต สมดุลจลน์ สมดุลต่อการเลื่อนที่ และสมดุลต่อการหมุน ตามรายละเอียดใน
หนังสือเรียน
ครูยกตัวอย่างสถานการณ์ใบพัดลมทีก
่ �ำ ลังหมุนด้วยความเร็วเชิงมุมคงตัวโดยไม่สา่ ยไปมาเพือ
่ ให้นก
ั เรียน
ร่วมกันอภิปรายลงความเห็นว่า ระบบดังกล่าวเป็นระบบทีอ
่ ยูใ่ นสมดุลแบบใด ซึง่ ควรสรุปได้วา่ การทีใ่ บพัด
ลมหมุนด้วยความเร็วเชิงมุมคงตัวแสดงว่าอยู่ในสมดุลต่อการหมุน

ครูอาจให้นักเรียนยกสิ่งรอบตัวมาเป็นตัวอย่าง ให้ร่วมกันอภิปรายว่าสิ่งนั้นอยู่ในสมดุลแบบใด โดยครู


เน้นว่าในบทที่ 4 นี้ จะเป็นการศึกษาเฉพาะกรณีที่วัตถุอยู่ในสมดุลสถิตเท่านั้น แต่ก่อนที่จะศึกษาเงื่อนไข
ต่าง ๆ ทีท
่ �ำ ให้วต
ั ถุอยูใ่ นสมดุลสถิต นักเรียนต้องเข้าใจแนวคิดสำ�คัญแนวคิดหนึง่ ก่อน นัน
่ คือ ศูนย์กลางมวล
และศูนย์ถ่วง ซึ่งจะได้เรียนรู้ในหัวข้อ 4.2
ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปแนวคิดสำ�คัญเกี่ยวกับสมดุลแบบต่าง ๆ จากนั้น ให้นักเรียน
ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจท้ายหัวข้อ 4.1 โดยอาจมีการเฉลยคำ�ตอบและอภิปรายคำ�ตอบร่วมกัน
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 9

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรูเ้ กีย
่ วกับสมดุลกล สมดุลสถิต สมดุลจลน์ สมดุลต่อการเลือ
่ นที่ สมดุลต่อการหมุน จากคำ�ถาม
ตรวจสอบความเข้าใจ 4.1
2. ทักษะการจำ�แนกประเภทของสมดุล จากคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 4.1

แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 4.1

1. การยืนนิ่งโดยมือข้างหนึ่งถือกระเป๋าเป็นการอยู่ในสมดุลหรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวคำ�ตอบ การยืนนิ่งโดยมือข้างหนึ่งถือกระเป๋าเป็นการอยู่ในสมดุลสถิต เพราะไม่มีการ
เคลื่อนที่ และไม่มีการหมุน

2. ยกตัวอย่างวัตถุที่อยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่มา 2 ตัวอย่าง
แนวคำ�ตอบ ตัวอย่างวัตถุที่อยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่ เช่น เสาธง อนุสาวรีย์

3. ยกตัวอย่างวัตถุที่อยู่ในสมดุลต่อการหมุนมา 2 ตัวอย่าง
แนวคำ � ตอบ ตั ว อย่ า งวั ต ถุ ที่ อ ยู่ ใ นสมดุ ล ต่ อ การหมุ น เช่ น ม้ า หมุ น ที่ กำ � ลั ง หมุ น ด้ ว ย
ความเร็วเชิงมุมคงตัว หรือ กังหันลมที่อยู่นิ่ง

4. นักกรีฑาที่กำ�ลังวิ่งแข่ง 100 เมตร อยู่ในสมดุลกลหรือไม่ เพราะเหตุใด


แนวคำ�ตอบ นักกรีฑาที่กำ�ลังวิ่งแข่ง 100 เมตร ไม่อยู่ในสมดุลกล เพราะมีการเคลื่อนที่ด้วย
ความเร็วไม่คงตัว

5. เป็นไปได้หรือไม่ ที่วัตถุหนึ่งจะอยู่ในสมดุลจลน์และสมดุลต่อการเลื่อนที่พร้อมกัน
แนวคำ�ตอบ เป็นไปได้ที่วัตถุหนึ่งจะอยู่ในสมดุลจลน์และสมดุลต่อการเลื่อนที่พร้อมกัน
ดังเช่น กรณีที่วัตถุมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว
10 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

4.2 ศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วงของวัตถุ
2. สั ง เกตและอธิ บ ายสภาพการเคลื่ อ นที่ ข องวั ต ถุ เมื่ อ แรงที่ ก ระทำ � ต่ อ วั ต ถุ ผ่ า นศู น ย์ ก ลางมวลของ
วัตถุ

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

1. ศูนย์กลางมวลของวัตถุอยู่ตรงกลางของวัตถุ 1. ศูนย์กลางมวลของวัตถุอาจอยู่ส่วนใดของ
เสมอ วัตถุก็ได้ ขึ้นอยู่กับการกระจายมวลของวัตถุและ
รูปร่างของวัตถุ

2. ศูนย์กลางมวลของวัตถุตอ้ งอยูใ่ นเนือ้ ของวัตถุ 2. ศูนย์กลางมวลของวัตถุอาจไม่อยู่ในเนื้อ


ของวัตถุ เช่น กรณีของวงแหวนที่มีมวล
สม่ำ�เสมอ มีศูนย์กลางมวลอยู่ตรงกลาง
วงแหวน

สิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้า
1. อุปกรณ์สำ�หรับการสาธิตเพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น ไม้เมตร 8 – 10 อัน ช้อนส้อมหนึ่งคู่ ไม้ขีด 2 ก้าน
2. ชุดอุปกรณ์กิจกรรม 4.1 ศูนย์กลางมวลกับสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ
3. ชุดอุปกรณ์กิจกรรมลองทำ�ดู ถ้ามีการให้ทำ�กิจกรรมลองทำ�ดู
4. ใบกิจกรรรม
5. ถ้าจะมีการแจกแนวทางการให้คะแนนการประเมินทักษะต่าง ๆ จากการทำ�กิจกรรม ให้กับนักเรียน
ให้จัดเตรียมเอกสารให้เพียงพอกับจำ�นวนนักเรียน

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้หัวข้อ 4.2
ครูนำ�เข้าสู่หัวข้อ 4.2 โดยตั้งคำ�ถามให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันดังต่อไปนี้
1. วัตถุที่ได้ศึกษาในบทที่ผ่านมามีลักษณะอย่างไร แตกต่างจากวัตถุในความเป็นจริงอย่างไร
2. ถ้าออกแรงกระทำ�ต่อวัตถุ ที่ตำ�แหน่งต่างกัน วัตถุจะมีการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่แตกต่างกันหรือไม่
อย่างไร
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 11

โดยครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตอบคำ�ถามอย่างอิสระ ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง
ครูอธิบายเกี่ยวกับการพิจารณาวัตถุที่ได้ศึกษามาตั้งแต่บทที่ 3 ให้เป็นจุดและให้มวลของวัตถุทั้งหมด
เสมือนว่ามารวมกันที่จุดนั้น ซึ่ง แรงต่าง ๆ ที่กระทำ�ต่อวัตถุเป็นแรงที่กระทำ�ผ่านจุดนี้ ทำ�ให้ลักษณะการ
เคลื่อนที่ของวัตถุที่ได้ศึกษามาก่อนหน้านี้เป็นเพียงการเปลี่ยนตำ�แหน่งโดยไม่หมุน หรือ เป็นการเลื่อนที่
เท่านั้น แต่ในความเป็นจริง วัตถุมีทั้งขนาดและรูปทรง การออกแรงกระทำ�ต่อวัตถุ นอกจากจะทำ�ให้วัตถุ
เลื่อนที่แล้ว ยังทำ�ให้วัตถุมีการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่อย่างไรอีกบ้าง นักเรียนจะได้ศึกษาจากกิจกรรม 4.1
ครูให้นก
ั เรียนทำ�กิจกรรม 4.1 ในหนังสือเรียน จากนัน
้ อภิปรายร่วมกันจนได้ขอ
้ สรุปเกีย
่ วกับศูนย์กลาง
มวลตามหนังสือเรียน

กิจกรรม 4.1 ศูนย์กลางมวลกับสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ

จุดประสงค์
1. สังเกตสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ เมื่อแนวของแรงที่กระทำ�ผ่านตำ�แหน่งต่าง ๆ ของวัตถุ
2. หาจุดตัดของแนวแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุแล้วทำ�ให้วัตถุมีการเลื่อนที่โดยไม่หมุน

เวลาที่ใช้ 30 นาที

วัสดุและอุปกรณ์
1. ดินสอ 2 แท่ง
2. หนังสือ 1 เล่ม
3. กระดาษขาว 1 แผ่น
4. ไม้บรรทัด 1 อัน
5. เทปใส 1 ม้วน

แนวคำ�ตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม

□ เมื่อใช้ดินสอดันขอบหนังสือที่ต�ำ แหน่งต่าง ๆ สภาพการเคลื่อนที่ของหนังสือแตกต่างกันอย่างไร


แนวคำ�ตอบ กรณีแนวแรงผ่านกึ่งกลางหนังสือ หนังสือจะเลื่อนที่โดยไม่หมุน แต่กรณีแนวแรงไม่
ผ่านกึ่งกลางหนังสือ หนังสือเลื่อนที่และหมุนไปพร้อม ๆ กัน

□ แนวของเส้นที่ขีดบนกระดาษขาวแต่ละเส้นตัดกันหรือไม่ อย่างไร
แนวคำ�ตอบ กรณีทผ
ี่ ลักหนังสือให้เลือ
่ นทีโ่ ดยไม่เกิดการหมุน แนวแรงทีผ
่ ลักทุกแนวจะพบกันทีจ่ ด

หนึ่งประมาณกึ่งกลางของหนังสือ
12 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

อภิปรายและสรุปผล
ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้ผลการทำ�กิจกรรมและคำ�ถามท้ายกิจกรรม จนได้ข้อ
สรุปดังนี้
1. เมือ
่ ใช้ดน
ิ สอดันขอบหนังสือให้แนวดินสอผ่านประมาณจุดกึง่ กลางของหนังสือ จะพบ
ว่าหนังสือมีการเลือ
่ นทีโ่ ดยไม่เกิดการหมุน แต่ถา้ ตำ�แหน่งทีด
่ น
ั หนังสือมีแนวดินสอไม่ผา่ นจุดกึง่ กลาง
ของหนังสือ หนังสือจะมีการเลื่อนที่และหมุนไปพร้อมกัน
2. เมื่อขีดเส้นบนกระดาษขาวจากตำ�แหน่งที่ใช้ดินสอดันขอบหนังสือแล้วทำ�ให้หนังสือ
เลื่อนที่โดยไม่หมุน ไปยังขอบอีกด้านของหนังสือ พบว่า เส้นแต่ละเส้นมาตัดกันที่จุด ๆ หนึ่ง จุดนี้
เป็นจุดที่เมื่อมีแรงกระทำ�ผ่านแล้วทำ�ให้วัตถุมีการเลื่อนที่เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการหมุน
ครูให้ความรูเ้ พิม
่ เติมว่า จุดทีเ่ มือ
่ มีแรงกระทำ�ผ่านแล้วทำ�ให้วต
ั ถุมก
ี ารเลือ
่ นทีเ่ พียงอย่างเดียว
โดยไม่มีการหมุน และเป็นจุดที่เสมือนมวลของวัตถุทั้งก้อนมารวมกัน เรียกว่า ศูนย์กลางมวล ของ
วัตถุ ซึ่งไม่เปลี่ยนตำ�แหน่งและไม่ขึ้นกับสถานที่ที่วัตถุนั้นอยู่
ครูน�ำ เข้าสูก
่ ารเรียนรูเ้ รือ
่ งศูนย์ถว่ ง โดยอาจสาธิตหรือแสดงคลิปวีดโิ อเพือ
่ กระตุน
้ ความสนใจ
ดังนี้
1. ใช้ไม้เมตร 8-10 อัน ตั้งเรียงซ้อนกันไว้บนโต๊ะ โดยให้ปลายข้างหนึ่งของกองไม้เมตร
พอดีขอบโต๊ะ หรือยื่นออกนอกขอบโต๊ะเล็กน้อย แล้วค่อย ๆ เลื่อนไม้เมตรอันบนสุดให้ยื่นออกมา
จนเกือบจะหล่นจึงหยุดเลือ
่ น ต่อไปค่อย ๆ เลือ
่ นอันทีส่ องถัดลงมาให้ยน
ื่ ออกมาจนเกือบจะหล่น เช่น
เดียวกัน การทำ�ลักษณะเช่นนี้กับไม้เมตรอันถัดลงมาเรื่อย ๆ จนในที่สุดไม้เมตรอันบนสุดยื่นออก
มานอกขอบโต๊ะทั้งอัน เมื่อใช้มือผลักปลายไม้เมตรส่วนที่ยื่นออกนอกโต๊ะทีละอันให้หันเบี่ยงออก
จากการซ้อนกันจะปรากฏว่าไม้ทั้งหมดยังอยู่ในสมดุลได้ไม่ตกลงมา ดังรูป 4.1

รูป 4.1 ไม้เมตรเรียงซ้อนกันบนโต๊ะ


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 13

2. ใช้กา้ นไม้ขด
ี ไฟและช้อนส้อมหนึง่ คู่ เสียบปลายช้อนเข้ากับซีข
่ องส้อมแล้วใช้ไม้ขด
ี ก้าน
หนึง่ เอาปลายด้านหางไม้ขด
ี เสียบเข้าระหว่างซีข
่ องส้อม ใช้มอ
ื ถือไม้ขด
ี อีกก้านหนึง่ ทางหาง แล้วเอา
ทางด้านหัวของไม้ขีดรองรับที่หัวของไม้ขีดที่เสียบกับช้อนส้อมในตำ�แหน่งที่จะทำ�ให้อยู่ในสมดุลได้
ดังรูป 4.2

รูป 4.2 ระบบที่ประกอบด้วยช้อนส้อมและก้านไม้ขีดไฟ

ครูอาจใช้การสาธิตอื่น ๆ ประกอบเพื่อกระตุ้นความสนใจ โดยในแต่ละการสาธิต ครูควรตั้งปัญหา


ให้นักเรียนคิด เช่น เหตุใดไม้เมตรจึงซ้อนกันพ้นขอบโต๊ะได้ไม่หล่นลงมา เหตุใดไม้ขีดจึงรองรับหัว
ไม้ขีดที่เสียบอยู่กับช้อนส้อมได้โดยไม่ตก และให้มีการอภิปรายร่วมกัน จนได้ความหมายของศูนย์
ถ่วงตามรายละเอียดในหนังสือเรียน และคำ�อธิบายการสาธิต เช่น ในกรณีของกองไม้เมตรนั้น เมื่อ
ใช้มือผลักปลายไม้เมตรจนเบี่ยงออกจากกันแล้วปรากฏว่า ไม้เมตรอยู่ในสมดุลไม่หล่นลงมา เพราะ
แนวของศูนย์ถว่ งของกองไม้เมตรยังอยูบ
่ นโต๊ะ สำ�หรับกรณีชอ
้ นส้อมและไม้ขด
ี นัน
้ แนวของศูนย์ถว่ ง
ของทั้งหมดยังอยู่บนหัวไม้ขีดอันที่ใช้รองรับ จึงไม่หล่นลงมา
ครูตั้งคำ�ถามว่า สำ�หรับวัตถุที่มีรูปร่างสมมาตรและมีมวลสม่�ำ เสมอ เช่น ไม้บรรทัด หนังสือ
หรือ ก้อนอิฐ ศูนย์กลางมวลและศูนย์ถว่ งของวัตถุจะอยูท
่ ต
ี่ �ำ แหน่งใด ให้นก
ั เรียนอภิปรายร่วมกันจน
สรุปได้ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน
ครูตั้งคำ�ถามอีกว่า ถ้าวัตถุมีรูปร่างไม่สมมาตร หรือ มีมวลไม่สม่ำ�เสมอ นักเรียนจะสามารถ
หาศูนย์ถ่วงและศูนย์กลางมวลได้อย่างไร อภิปรายร่วมกัน
ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมลองทำ�ดู การหาศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วงของวัตถุ
14 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

กิจกรรมลองทำ�ดู การหาศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วงของวัตถุ

จุดประสงค์
หาศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วงของวัตถุที่มีรูปร่างไม่สมมาตรด้วยวิธีการลากเส้นตามแนวของ
แรงโน้มถ่วงที่กระทำ�ต่อวัตถุ

เวลาที่ใช้ 1 ชั่วโมง

วัสดุและอุปกรณ์
1. แผ่นทำ�จากวัสดุแข็ง รูปร่างไม่สมมาตร 1 แผ่น
และได้มีการเจาะรูไว้แล้ว
2. ดินสอ 1 แท่ง
3. ไม้บรรทัด 1 อัน
4. นอต 1 ตัว
5. ขาตั้งพร้อมที่ยึดหลอดทดลอง 1 อัน
6. เชือกยาวประมาณ 50 เซนติเมตร 1 เส้น

ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม

รูป ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรมลองทำ�ดู

ครูรว่ มอภิปรายกับนักเรียนว่าศูนย์กลางมวล และศูนย์ถว่ งในบางกรณีอาจไม่อยูใ่ นเนือ


้ วัตถุ เช่น
ศูนย์กลางมวลของวงแหวนสม่ำ�เสมอ
ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจท้ายหัวข้อ 4.2 โดยอาจมีการเฉลยคำ�ตอบและ
อภิปรายคำ�ตอบร่วมกัน
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 15

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับศูนย์กลางมวล และศูนย์ถ่วงของวัตถุรูปทรงใด ๆ จากการทำ�กิจกรรม การนำ�เสนอ
และการตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 4.2
2. ทักษะการสังเกต การสื่อสาร และการลงความเห็นจากข้อมูล จากการทำ�กิจกรรม และการนำ�เสนอ
3. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความอยากรู้อยากเห็น และความร่วมมือช่วยเหลือ จากการอภิปรายร่วมกัน
และการทำ�กิจกรรม

แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 4.2

1. วัตถุมวลสม่ำ�เสมอวางบนพื้นโลก ศูนย์ถ่วงกับศูนย์กลางมวลจะเป็นตำ�แหน่งเดียวกันหรือไม่
แนวคำ�ตอบ เป็นตำ�แหน่งเดียวกัน เพราะที่พื้นโลกถือว่ามีความเร่งโน้มถ่วงสม่�ำ เสมอคงตัว

2. แขวนวัตถุทรงกระบอกที่ปลายเชือกด้านหนึ่ง ปลายเชือกอีกปลายหนึ่งแขวนไว้กับเพดาน
จะต้องแขวนวัตถุทรงกระบอกที่ปลายเชือกอย่างไร ให้วัตถุนั้นวางตัวในระดับพอดี
แนวคำ�ตอบ แขวนให้แนวเส้นเชือกผ่านกึ่งกลางพื้นที่หน้าตัดของทรงกระบอกซึ่งจะผ่าน
ศูนย์ถ่วงของทรงกระบอกพอดี

3. ศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วงของวัตถุหนึ่งบนผิวโลกอยู่ที่ตำ�แหน่งเดียวกัน ถ้าวัตถุนี้อยู่บน
ดวงจันทร์ ศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วงของวัตถุก้อนนี้จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร
แนวคำ�ตอบ ไม่เปลีย่ นตำ�แหน่ง เพราะศูนย์กลางมวลวัตถุไม่ขน
ึ้ กับสถานที่ บนพืน
้ ดวงจันทร์
ถือว่าความเร่งโน้มถ่วงสม่ำ�เสมอคงตัว ดังนั้นศูนย์ถ่วงวัตถุเมื่ออยู่บนดวงจันทร์ยังอยู่ที่เดียว
กับศูนย์กลางมวลวัตถุ

4. ยกตัวอย่างวัตถุที่ศูนย์ถ่วงอยู่ภายนอกเนื้อวัตถุมา 2 ตัวอย่าง
แนวคำ�ตอบ วัตถุทรงกระบอกกลวง เช่น ท่อ แก้ว หม้อ ขวดน้ำ� หรือ ลวดที่โค้งงอ
16 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

4.3 สมดุลต่อการเลื่อนที่
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อภิปรายเพือ่ สรุปเงือ่ นไขทีท
่ �ำ ให้วต
ั ถุอยูใ่ นสมดุลต่อการเลือ่ นทีแ่ ละอยูน
่ งิ่ เมือ่ มีแรงสองแรงกระทำ�
ต่อวัตถุ
2. ทดลอง วิเคราะห์ และอภิปรายเพื่อสรุปเงื่อนไขของแรงสามแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุแล้วทำ�ให้วัตถุ
อยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่และอยู่นิ่ง
3. เขียนแผนภาพวัตถุอิสระ วิเคราะห์ และคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีแรงกระทำ�ต่อ
วัตถุแล้วทำ�ให้วัตถุอยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่และอยู่นิ่ง โดยใช้วิธีการแยกแรง

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

วั ต ถุ ที่ อ ยู่ ใ นสมดุ ล ต่ อ การเลื่ อ นที่ ไม่ มี แ รง วัตถุที่อยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่ มีแรงลัพธ์ที่


กระทำ� กระทำ�ต่อวัตถุเป็นศูนย์

สิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้า
1. อุปกรณ์สำ�หรับการสาธิต เช่น เครื่องชั่งสปริง ถุงทราย
2. ชุดอุปกรณ์กิจกรรม 4.2 การทดลองเรื่องสมดุลของแรงสามแรง
3. ใบกิจกรรรม
4. ถ้าจะมีการแจกแนวทางการให้คะแนนการประเมินทักษะต่าง ๆ จากการทำ�กิจกรรม ให้กับนักเรียน
ให้จัดเตรียมเอกสารให้เพียงพอกับจำ�นวนนักเรียน

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ของหัวข้อ 4.3
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยทบทวนกฎการเคลื่อนที่
ของนิวตัน จากนั้น ให้นักเรียนทำ�กิจกรรมและตอบ
คำ�ถามต่อไปนี้
ให้นักเรียนใช้เครื่องชั่งสปริงเกี่ยวถุงทราย 1 ถุง
 
ถือไว้นิ่ง ๆ ดังรูป 4.3 ก. เครื่องชั่งสปริงเกี่ยวถุงทราย ข. แรง P และ W
ที่กระทำ�ต่อถุงทราย
รูป 4.3 เครื่องชั่งสปริงเกี่ยวถุงทราย เมื่อถุงทรายอยู่ในสมดุล
น้ำ�หนักจะมีค่าเท่ากับแรงดึงของสปริง
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 17

ตั้งคำ�ถามให้นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับแรงที่กระทำ�ต่อถุงทราย เช่น
 
- มีแรงใดกระทำ�ต่อถุงทรายบ้าง (เครือ่ งชัง่ สปริงดึงถุงทรายขึน้ P และ น้�ำ หนักถุงทรายดึงลง W )
- น้ำ�หนักถุงทรายมีค่าเท่าใด (น้�ำ หนักถุงทรายเท่ากับ 0.5 kg × 9.8 m/s 2 = 4.9 N
- เครื่องชั่งสปริงบอกแรงใด มีค่าเท่าใด (บอกแรงที่เครื่องชั่งสปริงดึงวัตถุขึ้น เท่ากับ 4.9 นิวตัน)
- สภาพการเคลื่อนที่ของถุงทรายขณะนี้เป็นอย่างไร (อยู่นิ่ง)
- เขียนแผนภาพวัตถุอิสระที่ถุงทราย
- แรงที่กระทำ�ต่อถุงทรายทั้งสองแรงสัมพันธ์กันอย่างไร (ขนาดของแรงทั้งสอง
เท่ากันแต่ทิศทางตรงข้าม)
- แรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อถุงทรายมีค่าเท่าใด (แรงลัพธ์เป็นศูนย์)
จากการตอบคำ�ถามและร่วมกันอภิปรายควรสรุปได้วา่ เมือ
่ มีแรง 2 แรงกระทำ�ต่อวัตถุแล้วทำ�ให้วต
ั ถุ
สมดุลต่อการเลื่อนที่ แรงทั้งสองจะมีขนาดเท่ากันแต่ทิศทางตรงข้ามกัน ดังนั้นแรงลัพธ์ของแรงทั้งสองเป็น
ศูนย์
จากนั้น ครูชี้แจงว่า ในหัวข้อนี้ จะพิจารณาสมดุลต่อการเลื่อนที่เฉพาะวัตถุที่อยู่นิ่งเท่านั้น โดยแบ่ง
การพิจารณาเป็นสองกรณี คือ กรณีมีแรงสองแรงกระทำ� และ กรณีมีแรงสามแรงกระทำ�ต่อวัตถุ ดังต่อไปนี้
กรณีที่มีแรงสองแรงกระทำ�
ในกรณีมแี รงสองแรงกระทำ�ต่อวัตถุ ให้นก
ั เรียนพิจารณาข้อสรุปของแรงทีก
่ ระทำ�กับถุงทรายจาก
กิจกรรมนำ�เข้าสู่หัวข้อ 4.3 และให้นักเรียนพิจารณาเพิ่มเติมเกี่ยวกับแรงที่กระทำ�ต่อจอภาพของ
คอมพิวเตอร์วางอยู่บนโต๊ะในรูป 4.5 ของหนังสือเรียน ซึ่งควรได้ข้อสรุปเดียวกัน นั่นคือ มีแรง
2 แรงกระทำ�ต่อวัตถุแล้วทำ�ให้วัตถุสมดุลต่อการเลื่อนที่ แรงทั้งสองจะมีขนาดเท่ากันแต่ทิศทาง
ตรงข้ามกัน และกระทำ�ผ่านศูนย์กลางมวล ดังนั้นแรงลัพธ์ของแรงทั้งสองเป็นศูนย์
กรณีที่มีแรงสามแรงกระทำ�
ครูนำ�นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับกรณีมีแรงสามแรงกระทำ� โดยเริ่มจากให้นักเรียนพิจารณากรณี
ที่ 1 แรงอยูใ่ นแนวเดียวกัน ตามรูป 4.6 และรายละเอียดในหนังสือเรียน จนได้ขอ
้ สรุปว่า วัตถุถก
ู แรง
ที่อยู่ในแนวเดียวกัน 3 แรงกระทำ� วัตถุจะอยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่และอยู่นิ่งเมื่อผลรวมของแรง
ที่มีทิศตรงข้ามกันมีขนาดเท่ากัน
ครูกระตุ้นความสนใจด้วยคำ�ถามว่า การที่มีแรงสามแรงที่ไม่อยู่แนวเดียวกันแต่อยู่ในระนาบ
เดียวกันกระทำ�ต่อวัตถุแล้วทำ�ให้วัตถุอยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่และอยู่นิ่ง จะมีเงื่อนไขอะไรบ้าง
ให้นักเรียนอภิปรายร่วมกัน จากนั้นให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 4.2 เพื่อหาคำ�ตอบ
18 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

กิจกรรม 4.2 การทดลองเรื่องสมดุลของแรงสามแรง

จุดประสงค์
1. ทดลอง วิเคราะห์ และอภิปรายเกี่ยวกับแนวของแรงและขนาดของแรงสามแรงที่กระทำ�ต่อ
วัตถุแล้วทำ�ให้วัตถุอยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่และอยู่นิ่ง
2. หาแรงลัพธ์ของแรงสามแรงด้วยวิธีการเขียนเวกเตอร์แบบหางต่อหัว

เวลาที่ใช้ 90 นาที

วัสดุและอุปกรณ์
1. เครื่องชั่งสปริง 3 อัน
2. เชือก 6 เส้น
3. กระดาษขาว 1 แผ่น
4. กระดาษแข็ง 1 แผ่น
5. ตัวหนีบยึด 3 อัน

แนะนำ�ก่อนทำ�กิจกรรม

1. ในการดึงเครือ่ งชัง่ สปริง ไม่ควรให้ขอเกีย่ วของเครือ่ งชัง่ สปริงครูดกับพืน


้ เพราะจะทำ�ให้อา่ นค่า
ของแรงผิดพลาดได้
2. แผ่นกระดาษขาวที่วางใต้กระดาษแข็งมีการตรึงด้วยเทปกาวหรือดินน้ำ�มันติดกับโต๊ะ เพื่อ
ไม่ให้กระดาษเลื่อนขณะทำ�กิจกรรม
3. การบันทึกแนวแรงบนกระดาษขาว ผู้ทำ�กิจกรรมต้องมองในแนวดิ่ง การบันทึกแนวแรง
ใช้ดน
ิ สอดำ�ปลายแหลม จุดบนกระดาษขาวใต้แนวเส้นเชือกเส้นละ 3 ตำ�แหน่งเพือ
่ ให้ลากเส้น
แนวแรงได้

ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม
ผลการทำ�กิจกรรมของนักเรียนแต่ละกลุ่มไม่จำ�เป็นต้องเหมือนกัน อาจต่างกันทั้งขนาดและ
ทิศทางของแรงที่ใช้ดึงกระดาษแข็ง แต่ผลสรุปตามคำ�ถามท้ายกิจกรรมจะเป็นเช่นเดียวกัน
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 19

  
ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรมในที่นี้ แรงที่ใช้ดึงกระดาษแข็งทั้งสามแรง F1 F2 และ F3 มีขนาด
2.5 N 2.6 N และ 5.1 N ตามลำ�ดับ

ก. แนวแรงดึงในเส้นเชือกที่ผูกยึดกระดาษแข็ง

F1 = 2.5 N

F2 = 2.6 N
F3 = 3.1 N

ข. แนวแรงและขนาดของแรง
รูป 4.4 ตัวอย่างแนวแรงและขนาดของแรงที่บันทึกได้

F2

F1

F3

รูป 4.5 ตัวอย่างการรวมเวกเตอร์ของแรงทั้งสาม โดยการเขียนรูปแบบหางต่อหัว


20 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

F1 + F2 = -F3 F1
F1
-F3
F2 F3
F3 -F1
F2

F2 + F3 = -F1
   
ก. แรงลัพธ์ของแรง F1 กับแรง F2 ข. แรงลัพธ์ของแรง F
 2 กับแรง F3

มีขนาด เท่ากับ F3 แต่ทิศตรงข้ามกัน มีขนาดเท่ากับ F1 แต่ทิศตรงข้ามกัน
รูป 4.6 ตัวอย่างการหาแรงลัพธ์ของสองแรง โดยวิธีสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
ซึ่งแรงลัพธ์ของแรงสองแรงจะมีขนาดเท่ากับแรงที่สาม แต่มีทิศตรงข้ามกัน

แนวคำ�ตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม

□ ขณะกระดาษแข็งอยู่นิ่งแรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อกระดาษแข็งมีค่าเท่าใด
แนวคำ�ตอบ เท่ากับศูนย์เนื่องจากแผ่นกระดาษแข็งสมดุลต่อการเลื่อนที่

□ แนวของเส้นเชือกแต่ละเส้นที่เขียนต่อบนกระดาษขาวจะพบกันหรือไม่อย่างไร
แนวคำ�ตอบ พบกันที่จุดหนึ่ง

□ เมือ่ เขียนให้หางของเวกเตอร์หนึง่ ต่อกับหัวของอีกเวกเตอร์หนึง่ จนครบจะได้ภาพทีม่ ลี กั ษณะเป็น


อย่างไร
แนวคำ�ตอบ เป็นรูปสามเหลี่ยมปิดพอดี

อภิปรายหลังการทำ�กิจกรรม
ครู แ ละนั ก เรี ย นร่ ว มกั น อภิ ป รายโดยใช้ ผ ลการทำ � กิ จ กรรมและการตอบคำ � ถามท้ า ยกิ จ กรรม
ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน จนได้ข้อสรุปดังนี้
1. เมื่อมีแรง 3 แรงที่ไม่ได้อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันกระทำ�ต่อวัตถุแล้ววัตถุสมดุลต่อการเลื่อนที่
แรงลัพธ์ของแรงทั้งสามเท่ากับศูนย์
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 21

2. เมื่อเขียนเวกเตอร์ของแรงทั้งสามแบบหางต่อหัวจะพบว่าเวกเตอร์ของแรงทั้งสามต่อกันเป็น
สามเหลี่ยมปิด
3. แรงลัพธ์ของสองแรงแรก จะมีขนาดเท่ากับแรงที่สามแต่ทิศทางตรงข้ามกัน
4. เมื่อวัตถุอยู่นิ่ง ถ้าต่อแนวแรงทั้งสามออกไป แนวแรงทั้งสามจะพบกันที่จุดหนึ่ง

ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า เมื่อมีแรงสามแรงกระทำ�ต่อวัตถุ แล้ววัตถุอยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่ แรงทั้ง


สามจะอยู่ในระนาบเดียวกัน ครูอาจสาธิตโดยใช้เส้นเชือกสามเส้น ผูกปลายข้างหนึ่งเข้าด้วยกันให้เป็นปม
ดึงปลายทีเ่ หลือของเชือกทัง้ สามเส้นให้ปมเชือกหยุดนิง่ สังเกตระนาบของแรงทัง้ สาม และเมือ
่ เปลีย่ นทิศทาง
ของแรงใดแรงหนึ่งไปอยู่ในระนาบอื่น อีกสองแรงที่เหลือจะเปลี่ยนตามไปอยู่ในระนาบเดียวกันเสมอ

ก. ระนาบของแนวแรงทั้งสามที่ขนานกับพื้นโต๊ะ ข. ระนาบของแนวแรงทั้งสามที่ไม่ขนานกับพื้นโต๊ะ

รูป 4.7 ปมเชือกอยู่นิ่งด้วยแรง 3 แรง และแรงทั้งสามอยู่ในระนาบเดียวกันเสมอ

จากนัน
้ ใช้เครือ
่ งชัง่ สปริงอีกอันหนึง่ เกีย
่ วปมเชือกดึงขึน
้ ในแนวดิง่ จะพบว่า ระนาบของแรงทัง้ สีแ่ รง
ที่กระทำ�กับปมเชือก ไม่จำ�เป็นต้องอยู่ในระนาบเดียวกัน ดังรูป 4.8 และปมเชือกยังอยู่ในสมดุลต่อการ
เลื่อนที่ได้

รูป 4.8 ปมเชือกสมดุลต่อการเลื่อนที่ด้วยแรง 4 แรง และแรงทั้งสี่ไม่จำ�เป็นต้องอยู่บนระนาบเดียวกัน


22 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

จากนั้นครูให้ความรู้ตามรายละเอียดในหนังสือเรียนว่า เมื่อมีแรงหลายแรงกระทำ�ต่อวัตถุแล้ว วัตถุ


สมดุลต่อการเลื่อนที่ แรงลัพธ์ของแรงเหล่านั้นมีค่าเป็นศูนย์หรือ โดยเขียนเวกเตอร์ของแรง
เหล่านั้นแบบหางต่อหัว จะได้เป็นรูปเหลี่ยมปิดเช่นเดียวกัน

การหาแรงลัพธ์โดยวิธีแยกแรง
ครูทบทวนเกี่ยวกับการแยกแรงหนึ่งออกเป็นแรงองค์ประกอบ 2 แรงที่ตั้งฉากกัน ซึ่งจะได้ความ
สัมพันธ์ดังนี้
Fx = F cos θ
Fy = F sin θ
เมื่อ q เป็นมุมที่แนวแรง F ทำ�กับแกน x

Fy
F

θ
Fx
รูป 4.9 การแยกแรงหนึ่งออกเป็นองค์ประกอบ 2 แรงในแนวแกน x และแกน y

จากนั้นครูชี้ให้นักเรียนเห็นว่าเมื่อแรงหลายแรงกระทำ�ต่อวัตถุ จะแยกแต่ละแรงออกเป็นแรงองค์
ประกอบในแนวแกน x และ แกน y ได้
เมือ
่ พิจารณาแรงลัพธ์ในแต่ละแกนจะพบว่า ขณะวัตถุสมดุลต่อการเลือ
่ นทีว่ ต
ั ถุไม่มก
ี ารเลือ
่ นทีท
่ งั้ ใน
แนวแกน x และในแนวแกน y แสดงว่า แรงลัพธ์ในแนวแกน x และในแนวแกน y ต้องเป็นศูนย์หรือ
∑F x = 0 และ ∑ Fy = 0 นัน่ คือ ผลรวมของขนาดแรงองค์ประกอบในแนวแกน +x จะเท่ากับผลรวม
ของขนาดแรงองค์ประกอบในแนวแกน –x และผลรวมของขนาดของแรงองค์ประกอบในแนวแกน +y จะ
เท่ากับผลรวมของขนาดแรงองค์ประกอบในแนวแกน –y ด้วย
ครูใช้คำ�ถามนำ�เพื่อให้นักเรียนช่วยกันสรุปเงื่อนไขของแรง 3 แรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ แล้ววัตถุอยู่ใน
สมดุลต่อการเลื่อนที่ ดังนี้
1. แรงลัพธ์ของแรงทั้งสามเท่ากับศูนย์
2. แรงลัพธ์ของสองแรงแรกมีขนาดเท่ากับแรงที่สาม แต่ทิศทางตรงข้ามกัน
3. แนวแรงทั้งสามอยู่ในระนาบเดียวกันและพบกันที่จุดหนึ่ง
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 23

เมือ
่ มีแรงมากกว่าสองแรงกระทำ�ต่อวัตถุ สามารถแยกแรงเหล่านัน
้ ออกเป็นแรงองค์ประกอบในแนว
แกน x และ y ถ้าวัตถุอยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่ แรงลัพธ์ในแนวแกน x และแกน y ต้องเท่ากับศูนย์
ครูอภิปรายตัวอย่าง 4.1 – 4.3 จากนัน
้ ครูให้นก
ั เรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและทำ�แบบ
ฝึกหัดท้ายหัวข้อ 4.3 โดยอาจมีการเฉลยคำ�ตอบและอภิปรายคำ�ตอบร่วมกัน

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับสมดุลต่อการเลื่อนที่ จากคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 4.3 และแบบฝึกหัด 4.3
2. ทักษะการสังเกต การลงความเห็นจากข้อมูล การทำ�งานเป็นทีม จากการทำ�กิจกรรม
3. ทักษะการแก้ปัญหาและการใช้จำ�นวน จากการทำ�กิจกรรมและการทำ�แบบฝึกหัด 4.3
4. จิตวิทยาศาสตร์ดา้ นความมีเหตุผล และความรอบคอบ จากการอภิปรายร่วมกันและจากแบบฝึกหัด
4.3

แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 4.3

1. วัตถุที่อยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่และอยู่นิ่ง มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
แนวคำ�ตอบ แรงลัพธ์เป็นศูนย์และความเร็วเป็นศูนย์

2. ปล่อยให้วต
ั ถุตกอย่างอิสระ ถ้าไม่คด
ิ แรงต้านอากาศทีก่ ระทำ�ต่อวัตถุ วัตถุนส้ี มดุลต่อการเลือ่ นที่
หรือไม่ อธิบาย
แนวคำ�ตอบ ไม่สมดุลต่อการเลื่อนที่ เพราะวัตถุที่ตกแบบเสรี เคลื่อนที่ด้วยความเร่ง g

3. วางไม้คานสม่ำ�เสมอพิงกำ�แพงลื่น ปลายอีกข้างหนึ่งวางบนพื้นลื่นเช่นกัน ในกรณีนี้คานจะ


สมดุลต่อการเลื่อนที่หรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวคำ�ตอบ ไม่สมดุลต่อการเลื่อนที่ เพราะในแนวราบมีแรงปฏิกิริยาตั้งฉากของกำ�แพง
ดันคานโดยไม่มีแรงอื่นทิศทางตรงข้ามมาหักล้าง จึงทำ�ให้แรงลัพธ์ในแนวราบไม่เป็นศูนย์

4. จงให้เหตุผลว่า เมือ
่ มีมวลแขวนทีจ่ ด
ุ กึง่ กลางของเส้นเชือกทีข
่ งึ ไว้ในแนวระดับ ทำ�ไมเราจึงไม่
สามารถทำ�ให้เชือกเป็นเส้นตรงโดยไม่หย่อนเลย
แนวคำ�ตอบ เพราะจุดแขวนบนเชือกจะมีแรงน้�ำ หนักวัตถุดงึ ลงในแนวดิง่ หากจุดแขวนอยูน
่ ง่ิ
แสดงว่าสมดุลต่อการเลื่อนที่ ซึ่งจะต้องมีแรงทิศทางขึ้นในแนวดิ่งมาหักล้างให้แรงลัพธ์
เป็นศูนย์ เชือกจึงหย่อนลงเสมอเพือ
่ ทำ�ให้เกิดแรงองค์ประกอบของแรงดึงเชือกขึน
้ ในแนวดิง่
24 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

เฉลยแบบฝึกหัด 4.3

1. เด็กคนหนึง่ ออกแรง 100 นิวตัน ลากกล่องให้เคลือ


่ นทีอ
่ ย่างสม่�ำ เสมอไปตามแนวระดับ โดยแนว
ของแรงดึงทำ�มุม 30 องศา กับแนวระดับ จงหาแรงเสียดทานที่พื้นกระทำ�ต่อกล่อง
วิธีทำ� Fsin 30 ° F

30 ° Fcos30 °

W
แยกแรง 100 N ออกเป็นแรงองค์ประกอบในแนวระดับและแนวดิ่ง
เนื่องจากกล่องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ข้อ 1 จะได้

แรงเสียดทาน = แรงองค์ประกอบในแนวระดับของแรง F
f = F cos 30
= (100 N ) ( cos 30 )
= 86.6 N
ตอบ แรงเสียดทานที่พื้นกระทำ�ต่อกล่องเท่ากับ 86.6 นิวตัน

2. วัตถุหนัก 50 นิวตัน วางอยู่นิ่งบนพื้นเอียงซึ่งเอียงทำ�มุม 30 องศา กับแนวระดับ จงหาแรงที่พื้น


เอียงดันวัตถุในแนวตั้งฉาก และแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างพื้นเอียงกับวัตถุ
วิธีทำ�
N
แยกแรงของน้�ำ หนัก 50 N ในแนวขนานกับพืน
้ เอียง
และตั้งฉากกับพื้นเอียง เนื่องจากวัตถุอยู่ในสมดุล

W sin 30 ° 30 °
f
30 °
W cos30 °
W
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 25

f = W sin 30
1
= (50 N )( )
2
= 25 N

N คือ แรงที่พื้นเอียงกระทำ�ต่อวัตถุในแนวตั้งฉากกับพื้นเอียง

N = W cos 30
 3
= ( 50 N )  
 2 
= 43.3 N
ตอบ แรงที่พื้นเอียงกระทำ�ต่อวัตถุในแนวตั้งฉากกับพื้นเอียง 43.3 นิวตัน
แรงเสียดทานที่พื้นเอียงกระทำ�กับวัตถุเท่ากับ 25 นิวตัน

3. แรงสองแรงมีขนาด 20 และ 30 นิวตัน กระทำ�ต่อวัตถุหนึ่งดังรูป

20 N
60 °

30 N

รูปประกอบแบบฝึกหัด 4.3 ข้อ 3

จงหาขนาดและทิศทางของแรงที่สามที่จะทำ�ให้วัตถุอยู่ในสมดุล
26 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

วิธีทำ� หาแรงลัพธ์ของแรง 20 N และ 30 N โดยการนำ�หางเวกเตอร์แทนแรง 30 N มาต่อหัว



เวกเตอร์แทนแรง 20 N โดยใช้มาตราส่วน 1 เซนติเมตร : 10 นิวตัน แล้วหาเวกเตอร์ลัพธ์
ซึ่งแทนแรงลัพธ์

T = 26.5 N

20 N

20 N 100.5°
แรงลัพธ� 79.5°
30 N

แรงลัพธ�

30 N

จากรูปพบว่า เวกเตอร์ลัพธ์ยาว 2.65 เซนติเมตร


จะได้ แรงลัพธ์เท่ากับ 26.5 N ทำ�มุม 79.5 กับแรง 20 N
ดังนั้น วัตถุจะสมดุลได้ เมื่อ มีแรงขนาด 26.5 N กระทำ�ในทิศตรงข้ามกับแรงลัพธ์ 26.5 N
ตอบ แรงทีท
่ �ำ ให้วต
ั ถุอยูใ่ นสภาพสมดุล คือ แรงทีม
่ ค
ี า่ เท่ากับ 26.5 นิวตัน มีทศ
ิ ตรงข้ามกับแรงลัพธ์
ของแรง 20 นิวตัน และ 30 นิวตัน โดยทำ�มุม 100.5 องศา กับแรง 20 นิวตัน

4. วัตถุหนัก W แขวนไว้ด้วยเชือกดังรูป

60°

30 N T1

รูปประกอบแบบฝึกหัด 4.3 ข้อ 4

ถ้าแรงดึงในเส้นเชือกตามแนวระดับเป็น 30 นิวตัน จงหาน้ำ�หนัก W


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 27

วิธีทำ�

แยกแรง T1 เข้าแกนดิ่งและแกนระดับ
แนวระดับ T1 cos 60 = 30 N

T1 = 60 N

แนวดิ่ง W = T1 sin 60


 3
W = ( 60 N )  
 2 
W = 51.96 N
ตอบ วัตถุหนัก 51.96 นิวตัน

5. วัตถุหนัก 40 นิวตัน ผูกด้วยเชือกเบายาว 100 เซนติเมตร แล้วนำ�ไปแขวนห้อยอยู่ในแนวดิ่ง ถ้า


ใช้แรงดึง F ในแนวระดับดึงให้วัตถุสูงจากตำ�แหน่งเดิมเป็นระยะ 20 เซนติเมตร ดังรูป

100 cm

F
20 cm
40 N
รูปประกอบแบบฝึกหัด 4.3 ข้อ 5
จงหาแรง F
28 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

วิธีทำ� เขียนแผนภาพวัตถุอิสระ ขณะวัตถุอยู่ในสมดุล ได้ดังนี้


Tcosθ 100 cm
T 80 cm θ
θ
F
60 cm
Tsinθ
40 N

วัตถุสมดุลต่อการเลื่อนที่

แนวดิ่ง T cos θ = 40 N …(1)

แนวราบ T sin θ = F …(2)


F
(1) tan θ =
(2) 40 N
80 cm F
=
60 cm 40 N
F = 30 N
ตอบ แรง F มีค่าเท่ากับ 30 นิวตัน
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 29

4.4 สมดุลต่อการหมุน
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายและคำ�นวณโมเมนต์ของแรง
2. อภิปรายเพื่อสรุปเงื่อนไขที่ทำ�ให้วัตถุอยู่ในสมดุลต่อการหมุน
3. เขียนแผนภาพวัตถุอิสระ วิเคราะห์ และคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเมื่อวัตถุอยู่ในสมดุล
ต่อการหมุน
4. บอกความหมายของแรงคู่ควบและลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อมีแรงคู่ควบหนึ่งคู่กระทำ�
ต่อวัตถุ

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

วัตถุอยูใ่ นสมดุลต่อการหมุนแสดงว่าไม่มแี รง วัตถุที่อยู่ในสมดุลต่อการหมุน มีแรงกระทำ�


กระทำ�ต่อวัตถุ ต่อวัตถุ โดยผลรวมของโมเมนต์ของแรงที่ทำ�ให้
วัตถุหมุนในทิศทวนเข็มนาฬิกาเท่ากับผลรวม
ของโมเมนต์ของแรงที่ท�ำ ให้วัตถุหมุนในทิศตาม
เข็มนาฬิกา

สิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้า
• อุปกรณ์สำ�หรับการสาธิต เช่น คาน เชือก ถุงทราย

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้หัวข้อ 4.4
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยการอภิปรายเพื่อทบทวนเกี่ยวกับศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วง จากนั้นครูนำ�
อภิปรายเกี่ยวกับสมดุลต่อการหมุน เทียบเคียงกับสมดุลต่อการเลื่อนที่ จนสรุปได้ว่า วัตถุที่สมดุลต่อการ
หมุนวัตถุจะหยุดนิ่ง (ไม่หมุน) หรืออาจหมุนด้วยความเร็วเชิงมุมคงตัว แต่ในบทเรียนจะศึกษาเฉพาะกรณี
ที่วัตถุหยุดนิ่ง
30 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

4.4.1 โมเมนต์ของแรง
แนวการจัดการเรียนรู้
ครูยกตัวอย่างเกี่ยวกับการหมุนของวัตถุที่พบเห็นในชีวิตประจำ�วัน เช่น การผลักบานประตูหรือ
หน้าต่าง การบิดลูกบิดประตู การถีบจักรยาน การออกแรงผลักปากกาหรือไม้บรรทัดที่วางบนโต๊ะ แล้ว
นำ�อภิปรายจนได้ข้อสรุปว่า เมื่อออกแรงกระทำ�กับวัตถุ โดยแนวแรงไม่ผ่านศูนย์กลางมวลของวัตถุ จะ
ทำ�ให้วัตถุหมุนรอบศูนย์กลางมวล แต่ถ้ามีการยึดวัตถุให้อยู่ที่แกนหมุนอื่นซึ่งไม่ใช่ศูนย์กลางมวล วัตถุจะ
หมุนรอบแกนนั้น ๆ ได้ ผลการหมุนที่เกิดจากแรงเรียกว่า โมเมนต์ของแรง ครูนำ�อภิปรายรายละเอียดตาม
หนังสือเรียน จนได้ข้อสรุปว่า ขนาดของโมเมนต์ของแรงมีค่าเท่ากับผลคูณระหว่างขนาดของแรงกับระยะ
ทางจากจุดหมุนไปตั้งฉากกับแนวแรง ตามสมการ (4.3) และ (4.4) ครูควรเน้นว่าโมเมนต์ของแรงเป็น
ปริมาณเวกเตอร์
จากนั้นครูควรชี้ให้เห็นว่า มีการกำ�หนดให้โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกาและโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกามี
เครื่องหมายต่างกัน ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน จากนั้นตั้งคำ�ถามให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า การ
ที่วัตถุอยู่นิ่งโดยไม่หมุน โมเมนต์ของแรงที่เกิดขึ้นกับวัตถุเป็นอย่างไร โดยครูไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง

ครูน�ำ นักเรียนอภิปรายเกีย่ วกับสถานการณ์การแขวนถุงทรายกับคาน ตามรายละเอียดและรูป 4.11


ในหนังสือเรียน จนได้ข้อสรุปว่า คานหรือวัตถุจะอยู่ในสมดุลต่อการหมุนและอยู่นิ่งเมื่อผลรวมของโมเมนต์
ทวนเข็มนาฬิกาเท่ากับผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา หรือ ผลรวมทางคณิตศาสตร์ของโมเมนต์มีค่า
เป็นศูนย์ เขียนแทนได้ด้วยสมการ (4.5) และ สมการ (4.6) ตามลำ�ดับ
ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกีย่ วกับการอยูใ่ นสมดุลต่อการหมุนของคานในรูป 4.12 ในหนังสือเรียน

4.4.2 โมเมนต์ของแรงคู่ควบ
ครูยกตัวอย่างการออกแรงสองแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุแล้วทำ�ให้วัตถุมีการหมุน เช่น การใช้มือออกแรง
หมุนพวงมาลัยรถขณะเลี้ยว  หรือ  การใช้มือออกแรงหมุนลูกบิดประตู  โดยให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย
จนกระทั่ ง ได้ ข้ อ สรุ ป ว่ า   ขณะหมุ น
แรงบิด
พวงมาลัยรถ  หรือ  ขณะบิดลูกบิด แรงบิด
ประตู   แรงที่ ก ระทำ � ต่ อ พวงมาลั ย
หรือลูกบิดประตูมีสองแรงในทิศทาง
ตรงข้ามกัน โดยในกรณีลูกบิดประตู แรงบิด
สามารถแสดงแรงที่กระทำ�ต่อลูกบิด
ได้ดังรูป
แรงบิด
รูป 4.10 แรงคู่ควบกระทำ�ต่อลูกบิดประตู
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 31

ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับแรงคู่ควบคู่หนึ่งกระทำ�ต่อวัตถุตามรายละเอียดในหนังสือ
เรียน จนได้ข้อสรุปดังนี้

1. แรงสองแรงที่มีขนาดเท่ากันกระทำ�ต่อวัตถุ แนวแรงขนานกัน แต่มีทิศทางตรงข้ามกันเรียกว่า


แรงคู่ควบ
2. โมเมนต์ของแรงคู่ควบใด ๆ มีขนาดเท่ากับผลคูณของขนาดของแรงใดแรงหนึ่งกับระยะทาง
ตั้งฉากระหว่างแนวแรงทั้งสอง ซึ่งวัตถุจะหมุนทวนหรือตามเข็มนาฬิกานั้น ขึ้นกับทิศทางของ
แรงคู่ควบนั้น
3. แรงคู่ควบหนึ่งคู่เป็นแรงที่ท�ำ ให้วัตถุไม่สมดุลต่อการหมุน แต่ท�ำ ให้สมดุลต่อการเลื่อนที่เนื่องจาก
แรงลัพธ์ของแรงคู่ควบเป็นศูนย์
4. ในกรณีที่วัตถุถูกกระทำ�ด้วยแรงคู่ควบหนึ่งคู่ วัตถุจะไม่สมดุลต่อการหมุน ถ้าต้องการให้วัตถุ
อยู่ในสมดุลต่อการหมุน คือ มีผลรวมของโมเมนต์เท่ากับศูนย์ ต้องมีแรงคู่ควบอย่างน้อยอีก
หนึ่งคู่กระทำ�ต่อวัตถุ โดยมีโมเมนต์ของแรงคู่ควบเท่ากัน แต่มีการหมุนในทิศทางตรงข้ามกัน

ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มวิเคราะห์ปัญหา “เมื่อวัตถุอยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่ แต่ไม่สมดุลต่อการ


หมุน เพราะมีแรงคู่ควบกระทำ� และถ้าต้องการให้วัตถุนั้นสมดุลต่อการหมุน จะใช้แรงอีกหนึ่งแรงกระทำ�
ต่อวัตถุได้หรือไม่” แล้วเขียนรายงานการวิเคราะห์
F1
แนวการวิเคราะห์
ในกรณีท่วี ัตถุถูกกระทำ�ด้วยแรงคู่ควบหนึ่งคู่
วัตถุนั้นจะสมดุลต่อการเลื่อนที่ แต่จะไม่สมดุลต่อ
การหมุน ถ้าจะให้วต
ั ถุอยูใ่ นสมดุลการหมุน คือทำ�ให้
ผลรวมของโมเมนต์ของแรงมีค่าเป็นศูนย์ จะต้องมี
แรงคู่ควบอีกหนึ่งคู่ ทำ�ให้เกิดโมเมนต์ของแรงขนาด
d
เท่ากันและทำ�ให้วัตถุหมุนในทิศทางตรงข้ามกัน

F1

รูป 4.11 แรงคู่ควบหนึ่งคู่กระทำ�ต่อวัตถุ


32 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

จากรูป 4.11 โมเมนต์ของแรงคู่ควบ (F1, F1) มีค่าเท่ากับ F1 d และมีการหมุนทวนเข็มนาฬิกา แต่


แรงลัพธ์ของ (F1, F1) เป็นศูนย์ เนื่องจากขนาดของแรงเท่ากันแต่ทิศทางตรงข้าม ขณะนี้วัตถุ จึงสมดุลต่อ
การเลื่อนที่ แต่ไม่สมดุลต่อการหมุนเนื่องจากมีโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกาเพียงอย่างเดียว ไม่มีโมเมนต์ตาม
เข็มนาฬิกา

ถ้าต้องการให้วัตถุนั้นสมดุลต่อการหมุนโดยใช้แรงอีกหนึ่งแรงกระทำ�แล้วทำ�ให้เกิดโมเมนต์ของแรง
นั้นมีขนาดเท่ากับโมเมนต์ของแรงคู่ควบเดิมแต่มีทิศทางตรงข้ามกันนั้น สามารถทำ�ได้ดังรูป 4.12 แต่การ
ออกแรงกระทำ�เพียงแรงเดียวจะทำ�ให้วัตถุนั้นไม่อยู่ในสมดุลต่อการเลื่อนที่ เพราะแรงลัพธ์ไม่เป็นศูนย์

F1

F1
P


รูป 4.12 ใช้แรง P เพิ่มขึ้น 1 แรงทำ�ให้วัตถุสมดุลต่อการหมุนแต่ไม่สมดุลต่อการเลื่อนที่

ดังนั้นการที่จะทำ�ให้วัตถุสมดุลต่อการเลื่อนที่และสมดุลต่อการหมุนในขณะเดียวกัน จึงต้องใช้แรงคู่
ควบอีกหนึ่งคู่กระทำ�ต่อวัตถุ ในลักษณะที่ทำ�ให้เกิดโมเมนต์เท่ากัน แต่ทิศทางการหมุนตรงข้ามกับโมเมนต์
ของแรงคู่ควบคู่แรกดังรูป 4.13 เช่น การใช้แรงคู่ควบ (F2, F2 ) กระทำ�ต่อวัตถุ ดังนี้
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 33

F1
F2

d2

d1

F2
F1

รูป 4.13 แรงคู่ควบ 2 คู่ ทำ�ให้วัตถุสมดุลต่อการเลื่อนที่และสมดุลต่อการหมุน

แรงลัพธ์ของแรงคู่ควบ แต่ละคู่เป็นศูนย์ วัตถุจึงสมดุลต่อการเลื่อนที่


โมเมนต์ของแรงคู่ควบ (F1, F1) = F1d1 และเป็นโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา
โมเมนต์ของแรงคู่ควบ (F2, F2) = F2d2 และเป็นโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
ดังนั้น เมื่อโมเมนต์ของแรงคู่ควบ (F1, F1) เท่ากับโมเมนต์ของแรงคู่ควบ (F2, F2) วัตถุจะอยู่ในสมดุลต่อ
การหมุน ทั้งนี้ F1 และ F2 ไม่จ�ำ เป็นต้องเท่ากัน แต่ F1d1 ต้องเท่ากับ F2d2

ครูอภิปรายตัวอย่าง 4.4 – 4.8 ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน จากนั้นครูให้นักเรียนตอบคำ�ถาม


ตรวจสอบความเข้าใจและทำ�แบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 4.4 โดยอาจมีการเฉลยคำ�ตอบและอภิปรายคำ�ตอบ
ร่วมกัน

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับสมดุลต่อการหมุน จากการตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 4.4 และการทำ�
แบบฝึกหัด 4.4
2. ทักษะการแก้ปัญหาและการใช้จำ�นวน จากการคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมดุลต่อการ
หมุนในแบบฝึกหัด 4.4
3. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความมีเหตุผล และความรอบคอบ จากการอภิปรายร่วมกันและจากการทำ�
แบบฝึกหัดท้าย 4.4
34 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 4.4

1. วัตถุจะอยู่ในสมดุลต่อการหมุน ต้องมีเงื่อนไขอะไรบ้าง
แนวคำ�ตอบ โมเมนต์รวมของทุกแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุรอบจุดหมุนใด ๆ เท่ากับศูนย์ หรือ
ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกาเท่ากับผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา

2. “แรงสองแรงกระทำ�ต่อวัตถุก้อนหนึ่ง โดยแรงทั้งสองมีขนาดเท่ากันอยู่ในแนวขนานกันและ
มีทิศทางตรงข้าม วัตถุจะอยู่ในสมดุลไม่ไถลและไม่หมุน” คำ�กล่าวนี้ถูกต้องหรือไม่ เพราะ
เหตุใด
แนวคำ�ตอบ ไม่ถูกต้อง เพราะแรงสองแรงขนาดเท่ากันทิศทางตรงข้ามกันจะมีแรงลัพธ์
เป็นศูนย์ แต่มีโมเมนต์รวมไม่เป็นศูนย์ ดังนั้นวัตถุจะสมดุลต่อการเลื่อนที่ แต่ไม่สมดุลต่อ
การหมุน

uv
u
3. ก. น้�ำ หนัก W ทำ�ให้คาน AB ในแต่ละรูปมีการหมุนรอบจุดตรึงอย่างไร เมือ่ ตัดเส้นเชือกให้ขาด
uv
u
ข. ในรูปใด โมเมนต์ของแรงเนื่องจากน้�ำ หนัก W รอบจุดตรึงมีค่ามากกว่า

เชือก เชือก
จุดตรึง จุดตรึง
A B A B

W W
ก. ข.
รูป ประกอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 4.4 ข้อ 3
uv
u
แนวคำ�ตอบ ก. เมื่อตัดเส้นเชือกน้ำ�หนัก W ทำ�ให้คาน AB ในรูป ก. หมุนทวนเข็ม
นาฬิการอบจุดตรึง B ส่วนในรูป ข. คาน AB ในรูป ข. หมุนตามเข็ม
นาฬิการอบจุดตรึง A
uv
u
ข. รูป ข. มีโมเมนต์ของแรงเนื่องจากน้�ำ หนัก W มากกว่ารูป ก. เพราะมี
ระยะจากจุด หมุนไปตั้งฉากกับแนวแรงยาวกว่า รูป ก.
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 35

4. โมเมนต์ของแรงและโมเมนต์ของแรงคู่ควบต่างกันหรือไม่ อย่างไร
แนวคำ�ตอบ แตกต่างกัน เนื่องจาก โมเมนต์ของแรงเป็นผลคูณระหว่างขนาดของแรงกับ
ระยะทางจากจุดหมุนไปตัง้ ฉากกับแนวของแรง แต่โมเมนต์ของแรงคูค
่ วบเป็นผลคูณระหว่าง
ขนาดของแรงใดแรงหนึ่งกับระยะทางตั้งฉากระหว่างแนวแรงทั้งสอง

เฉลยแบบฝึกหัด 4.4

1. คานเบายาว 3L มีเชือกผูกห่างจากปลายด้านซ้ายเป็นระยะ L และมีวัตถุ 4 ก้อนที่มีน�้ำ หนัก


ต่างกันแขวนที่ตำ�แหน่งต่าง ๆ ทำ�ให้ไม้คานวางตัวในแนวระดับ ดังรูป

L L L

25 N 5N 5N x

รูป ประกอบแบบฝึกหัด 4.4 ข้อ 1

วัตถุ x มีน้ำ�หนักเท่าใด
วิธีทำ� ให้ต�ำ แหน่งที่เชือกผูกเป็นจุดหมุน คานสมดุลต่อการหมุน

x(2 L) + (5 N)L = ( 25 N ) L
x = 10 N
ตอบ วัตถุ x มีน้ำ�หนักเท่ากับ 10 นิวตัน

2. แท่งไม้เบายาว 2.0 เมตร มีเชือก 2 เส้นผูกไว้และมีน�้ำ หนักแขวนไว้ที่ตำ�แหน่งต่าง ๆ ทำ�ให้แท่ง


ไม้วางตัวในแนวระดับ ดังรูป

0.5 m T2 0.5 m
T1

1m
50 N 30 N 20 N

รูป ประกอบแบบฝึกหัด 4.4 ข้อ 2

แรงดึงเชือก T1 เป็นกี่เท่าของ T2
36 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

วิธีทำ� ให้ O เป็นจุดหมุน

0.5 m T2 0.5 m
T1

O
50 N 30 N 20 N

แท่งไม้สมดุลต่อการเลื่อนที่
T1 + T2 = 100 N
แท่งไม้สมดุลต่อการหมุน ให้ O เป็นจุดหมุน

( 30 N )( 0.5 m ) + ( 20 N )(1.5 m ) = ( 50 N )( 0.5 m ) + T2 (1.0 m )


T2 = 20 N

T1 = 100 N - 20 N

= 80 N
T1 80 N
= = 4
T2 20 N
T1 = 4T2

ตอบ แรงดึงเชือก T1 เป็น 4 เท่าของแรงดึงเชือก T2


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 37

3. กรอบไม้เบารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ABCD ด้าน AB ยาว 40 เซนติเมตร ด้าน BC ยาว 30


เซนติเมตร มีแรงกระทำ� 4 แรง ดังรูป

20 N C
D
30 N
30 N
30 cm

A
40 cm B
20 N
รูป ประกอบแบบฝึกหัด 4.4 ข้อ 3

โมเมนต์รวมที่กระทำ�ต่อกรอบไม้ มีขนาดเท่าใดและเป็นชนิดใด
วิธีทำ� เนื่องจากแรงลัพธ์ของแรงทั้งหลายที่กระทำ�ต่อกรอบไม้เป็นศูนย์ โมเมนต์รวมเป็นลักษณะ
ของโมเมนต์ของแรงคู่ควบ จะไม่ขึ้นกับจุดหมุน
จากรูป กรอบไม้ถูกกระทำ�ด้วยแรงคู่ควบ 2 คู่
ที่จุด A และ C มีแรงคู่ควบ 30 N กระทำ�
M30N = (30 N)(AC) = (30 N)(0.5 m) = 15 N m ตามเข็มนาฬิกา
ที่จุด B และ D มีแรงคู่ควบ 20 N กระทำ�
M20N = (20 N)(AB) = (20 N)(0.4 m) = 8 N m ตามเข็มนาฬิกา
∑ M = 15 N m+8N m
= 23 N m ตามเข็มนาฬิกา
ตอบ โมเมนต์รวมมีขนาด 23 นิวตัน เมตร เป็นโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
38 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

4. ถังรูปทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร หนัก 120 นิวตัน วางบน


พื้นราบ ใช้แรง 36 นิวตัน กระทำ�ในแนวระดับ ทำ�ให้ถังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว โดยไม่ล้ม แรง
ที่ใช้ต้องอยู่สูงจากพื้นไม่เกินเท่าใด

รูป ประกอบแบบฝึกหัด 4.4 ข้อ 4


วิธีทำ� เขียนแผนภาพแสดงแรงต่าง ๆ ที่กระทำ�ต่อถังรูปทรงกระบอก ได้ดังนี้

36 N

10 cm
h
120 N A

ให้แรง 36 N อยู่สูงจากพื้นมากสุดเป็นระยะ h
ถังอยู่ในสมดุลต่อการหมุนรอบจุด A
แรงปฏิกิริยาที่พื้นกระทำ�ต่อถัง N จะเลื่อนไปสุดที่จุด A
ให้ A เป็นจุดหมุน
Mทวน = Mตาม
(120 N)(10 cm) = (36 N)h
h = 33.33 cm
ตอบ แรงที่ใช้ต้องอยู่สูงจากพื้นไม่เกิน 33.33 เซนติเมตร
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 39

4.5 เสถียรภาพของวัตถุ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สังเกตและอธิบายผลของศูนย์ถ่วงที่มีต่อเสถียรภาพของวัตถุ
2. นำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับศูนย์ถ่วงของวัตถุไปอธิบายเสถียรภาพของวัตถุต่าง ๆ ในชีวิตประจำ�วัน

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

1. วัตถุที่อยู่ในสมดุลคือวัตถุที่มีเสถียรภาพสูง 1. วัตถุทอี่ ยูใ่ นสมดุลอาจมีเสถียรภาพต่�


ำ ถ้าศูนย์
ถ่วงของวัตถุอยู่สูง หรือ ฐานของวัตถุแคบ

2. น้ำ�หนักของวัตถุมีผลกับเสถียรภาพของวัตถุ 2. น้ำ�หนักของวัตถุจะมีผลกับเสถียรภาพของ
วัตถุเมื่อทำ�ให้ศูนย์ถ่วงของวัตถุสูงขึ้น

สิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้า
1. อุปกรณ์สำ�หรับการสาธิต เช่น กล่องชอล์ค กล่องนม
2. ชุดอุปกรณ์กิจกรรม 4.3 ผลของศูนย์ถ่วงที่มีต่อเสถียรภาพของวัตถุ
3. ใบกิจกรรรม
4. ถ้าจะมีการแจกแนวทางการให้คะแนนการประเมินทักษะต่าง ๆ จากการทำ�กิจกรรม ให้กับนักเรียน
ให้จัดเตรียมเอกสารให้เพียงพอกับจำ�นวนนักเรียน

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้หัวข้อ 4.5
ครูยกตัวอย่างวัตถุต่าง ๆ ที่อยู่ในสมดุล เช่น แท่งชอล์คที่วางนอนบนพื้นโต๊ะ ลูกบอลวางบนพื้น เมื่อนำ�
ชอล์ค (อาจใช้ปากกา หรือดินสอหรือวัตถุทรงยาวอื่น ๆ) วางตั้งบนพื้นโต๊ะ แล้วผลักวัตถุ แต่ละอย่าง ให้
นักเรียนสังเกตการเปลี่ยนแปลงของวัตถุเหล่านั้น ว่ามีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
ครูให้นักเรียนพิจารณารูป 4.14 ในหนังสือเรียน จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายรายละเอียด
ตามในหนังสือเรียน จนได้ข้อสรุปได้ว่า วัตถุต่าง ๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำ�วัน เมื่อมีการวางตัวในลักษณะ
แตกต่างกันจะมีแนวโน้มที่จะล้มได้ง่ายหรือยากแตกต่างกัน เช่นเดียวกับกรณีของแจกัน นั่นคือ วัตถุจะมี
เสถียรภาพมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการวางตัวของวัตถุ ปัจจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับเสถียรภาพของวัตถุ ให้
นักเรียนศึกษาจากการทำ�กิจกรรม 4.3 ผลของศูนย์ถ่วงที่มีต่อเสถียรภาพของวัตถุ
40 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

กิจกรรม 4.3 ผลของศูนย์ถ่วงที่มีต่อเสถียรภาพของวัตถุ

จุดประสงค์
1. สังเกตสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อได้รับแรง
2. อภิปรายเพื่อสรุปเกี่ยวกับผลของศูนย์ถ่วงที่มีต่อเสถียรภาพของวัตถุ

เวลาที่ใช้ 45 นาที

วัสดุและอุปกรณ์
1. กล่องเปล่าที่มีขนาดของฐานกล่อง
ใกล้เคียงกัน แต่ความสูงต่างกัน 2 กล่อง
2. ลวดหนีบกระดาษ 2 อัน
3. เชือกยาวประมาณ 1 เมตร 2 เส้น
4. แท่งไม้ขนาดเล็กที่มีความยาวมากกว่า
ความกว้างของกล่อง 2 แท่ง

แนวคำ�ตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม

□ เมื่อดันให้กล่องทั้งสองเอียงทำ�มุมต่าง ๆ แล้วปล่อย โดยที่กล่องแต่ละใบไม่ล้ม แนวของเส้นเชือก


ที่ห้อยลวดหนีบกระดาษเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับส่วนฐานของกล่อง
แนวคำ�ตอบ แนวของเส้นเชือกที่ห้อยลวดหนีบกระดาษยังไม่เลยส่วนฐานของกล่อง

□ เมื่อดันให้กล่องทั้งสองเอียงทำ�มุมต่าง ๆ แล้วปล่อย โดยที่กล่องล้ม แนวของเส้นเชือกที่ห้อยลวด


เสียบกระดาษเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับส่วนฐานของกล่อง
แนวคำ�ตอบ แนวของเส้นเชือกที่ห้อยลวดหนีบกระดาษเลยส่วนฐานของกล่อง

□ มุมที่มากที่สุดที่กล่องแต่ละใบสามารถเอียงได้โดยไม่ล้ม แตกต่างกันหรือไม่
และเกี่ยวข้องกับศูนย์ถ่วงแต่ละใบอย่างไร
แนวคำ�ตอบ เอียงกล่องโดยกล่องไม่ลม
้ พบว่ากล่องทีม
่ ค
ี วามสูงน้อยกว่าจะเอียงไปได้มากกว่ากล่อง
ที่สูงกว่า แสดงว่ากล่องที่มีศูนย์ถ่วงอยู่ต่ำ�กว่าจะล้มได้ยากกว่าหรือมีเสถียรภาพดีกว่า
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 41

อภิปรายหลังการทำ�กิจกรม
ครูน�ำ นักเรียนอภิปรายโดยใช้ค�ำ ตอบของนักเรียนจากคำ�ถามท้ายกิจกรรม จนได้ขอ้ สรุปว่าเสถียรภาพ
ของวัตถุขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย คือ
1. ศูนย์ถ่วงของวัตถุ
2. ความกว้างส่วนฐานของวัตถุ

ครูนำ�นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับเสถียรภาพของวัตถุในรูป 4.16 – 4.17 ในหนังสือเรียน จากนั้น


ให้นก
ั เรียนยกตัวอย่างการนำ�ความเข้าใจเกีย่ วกับเสถียรภาพของวัตถุไปใช้ในชีวต
ิ ประจำ�วัน ตามรายละเอียด
ในหนังสือเรียน
ครูให้นกั เรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจท้ายหัวข้อ 4.5 โดยอาจมีการเฉลยคำ�ตอบและอภิปราย
คำ�ตอบร่วมกัน

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

เสถียรภาพของสมดุล
วัตถุขณะอยู่ในสมดุลอาจวางตัวในลักษณะต่างกัน ซึ่งจะทำ�ให้วัตถุนั้น ๆ มีเสถียรภาพของ
สมดุลต่างกันด้วย เช่น การวางกรวยในรูป ก. ข. และ ค.

ก. ข. ค.
รูป กรวยวางตัวในลักษณะต่างกันบนพื้นระดับ

ในแต่ละกรณี กรวยจะรักษาสมดุลได้ต่างกัน จากรูป ก. เมื่อผลักกรวยให้เอียงไปจากเดิม


เล็กน้อยแล้วปล่อยมือ กรวยจะเคลื่อนที่กลับมาอยู่ในลักษณะเดิม กรณีนี้เรียกว่ากรวยอยู่ในสมดุล
เสถียร (stable equilibrium) ถ้ากรวยอยู่ในลักษณะดังรูป ข. เมื่อผลักกรวยอย่างไรก็ตาม กรวย
จะเคลื่อนตัวไม่กลับที่เดิม แต่อยู่นิ่งในลักษณะเดิมได้ เรียกว่ากรวยอยู่ในสมดุลสะเทิน (neutral
equilibrium) แต่ถ้าวางกรวย ดังรูป ค. เมื่อผลักกรวยให้เอียงจากเดิมเล็กน้อยแล้วปล่อยมือกรวย
จะล้ม ในกรณีนี้เรียกว่ากรวยอยู่ในสมดุลไม่เสถียร (unstable equilibrium)
42 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

สมดุลเสถียร
จากรูป ก. เดิมกรวยอยู่ในสภาพสมดุลเสถียร เมื่อมีแรงกระทำ�ต่อกรวยให้เอียงไปเล็กน้อย
ศูนย์กลางมวล (CM) ของกรวย จะเปลี่ยนตำ�แหน่งอยู่ในระดับสูงขึ้น ซึ่งหมายถึงกรวยมีพลังงาน

ศักย์สูงขึ้น เมื่อกรวยเอียงไปทางใดทางหนึ่ง น้�ำ หนัก W จะไม่อยู่ในแนวเดียวกับแรงที่พื้นดันวัตถุ

ในทิศทางตั้งฉาก N ทำ�ให้เกิดโมเมนต์ของแรงคู่ควบที่จะทำ�ให้กรวยกลับมาตั้งอยู่ในลักษณะเดิม
สมดุลสะเทิน
จากรูป ข. เมื่อออกแรงผลักกรวย ไม่ว่าจะผลักอย่างไร กรวยจะกลิ้งโดยศูนย์กลางมวลของ

กรวยอยู่สูงจากพื้นเท่าเดิม พลังงานศักย์ของศูนย์กลางมวลเท่าเดิม และแนวน้ำ�หนัก W ยังคงอยู่

ในแนวแรง N จึงไม่เกิดโมเมนต์ของแรงให้กลับคืนที่เดิม ทำ�ให้กรวยอยู่ ณ ตำ�แหน่งใหม่ทุกครั้ง
แต่วางตัวในลักษณะเดิม
สมดุลไม่เสถียร
จากรูป ค. เมื่อกรวยถูกผลักให้เอียงไปเล็กน้อย ศูนย์กลางมวลจะเปลี่ยนตำ�แหน่งอยู่ใน
ระดับที่ต่ำ�ลง พลังงานศักย์ของกรวยจะลดลง และเมื่อศูนย์กลางมวลของกรวยพ้นแนวปลายแหลม
 
ของกรวยที่เป็นฐาน ทำ�ให้กรวยล้มเนื่องจากโมเมนต์ของแรงคู่ควบของน้ำ�หนัก W และ N โดย
กรวยจะไม่วางตัวกลับไปดังเดิม

สำ�หรับระบบใด ๆ ที่เราพิจารณา หากว่าพลังงานศักย์ของระบบมีการเปลี่ยนแปลง ระบบ


จะพยายามปรับเปลี่ยนตัวเองให้มีพลังงานศักย์ต่ำ�ที่สุด ตัวอย่างเช่น วัตถุทรงกลมวางอยู่บนพื้นที่
มีลักษณะต่าง ๆ ดังรูปด้านล่าง ทรงกลมที่เขียนเป็นเส้นประแสดงตำ�แหน่งของทรงกลมขณะที่
อยู่ในสมดุล ทรงกลมทึบแสดงตำ�แหน่งของทรงกลมหลังจากถูกแรงภายนอกกระทำ�จนตำ�แหน่ง
เปลี่ยนไปจากเดิม และลูกศรแสดงทิศทางของแรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อทรงกลม สังเกตว่า สำ�หรับ
สมดุลเสถียร (รูป ง.) แรงลัพธ์จะกระทำ�ในทิศทางที่จะลดพลังงานศักย์ของระบบลง ในกรณีนี้เป็น
ทิศที่ชี้เข้าหาจุดสมดุลเดิม ซึ่งทำ�ให้วัตถุถูกดึงกลับไปสู่จุดสมดุล สำ�หรับสมดุลสะเทิน (รูป จ.) ไม่มี
แรงลัพธ์กระทำ�ต่อวัตถุเนื่องจากพลังงานศักย์ของวัตถุเท่ากันทุกตำ�แหน่ง นั่นหมายถึงวัตถุสามารถ
อยู่ในสมดุล ณ ตำ�แหน่งใหม่ได้ และสำ�หรับสมดุลไม่เสถียร (รูป ฉ.) แรงลัพธ์กระทำ�ในทิศทางที่จะ
ลดพลังงานศักย์ของระบบ แต่กรณีนี้ทิศของแรงชี้ออกจากตำ�แหน่งสมดุล ซึ่งหมายถึง วัตถุจะเสีย
สภาพสมดุลไป
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 43

Fลัพธ
Fลัพธ

ง. สมดุลเสถียร จ. สมดุลสะเทิน ฉ. สมดุลไม่เสถียร


รูป วัตถุทรงกลมวางอยู่บนพื้นลักษณะต่าง ๆ ทำ�ให้เกิดแรงลัพธ์แตกต่างกัน

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับเสถียรภาพของวัตถุจากแบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 4.5
2. ทักษะการสังเกต และการลงความเห็นจากข้อมูล จากการทำ�กิจกรรม
3. จิตวิทยาศาสตร์ ด้านการเห็นคุณค่าทางวิทยาศาสตร์ จากการอภิปรายร่วมกัน

แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 4.5

1. เสถียรภาพของวัตถุขึ้นกับอะไรบ้าง
แนวคำ�ตอบ รูปทรงของวัตถุ ความสูงของศูนย์ถ่วง และความกว้างของฐาน

2. เพราะเหตุใด ช่องเก็บสัมภาระของรถบัสจึงอยู่ข้างล่างของตัวรถ
แนวคำ�ตอบ เพื่อรักษาให้ศูนย์ถ่วงของรถบัสอยู่ต�่ำ

3. ขวดน้ำ�ดื่มแบบเดียวกันสามขวด ขวดหนึ่งไม่มีน้ำ� ขวดที่สองมีน้ำ�อยู่ครึ่งขวด และขวดที่สาม


มีน้ำ�อยู่เต็ม ขวดใดมีเสถียรภาพมากกว่ากัน อธิบาย
แนวคำ�ตอบ ขวดน้ำ�เปล่าจะมีศูนย์ถ่วงสูงประมาณครึ่งหนึ่งของความสูงขวด แต่ขวดที่มีน้ำ�
ครึ่งขวดจะมีศูนย์ถ่วงสูงประมาณครึ่งหนึ่งของความสูงน้ำ�หรือสูงประมาณหนึ่งในสี่ความสูง
ขวด ส่วนขวดที่บรรจุน�้ำ เต็มจะมีศูนย์ถ่วงสูงประมาณครึ่งหนึ่งของความสูงขวด ดังนั้นขวด
ทีม
่ น
ี �ำ้ ครึง่ ขวดมีเสถียรภาพมากทีส่ ด
ุ ส่วนขวดเปล่ากับขวดมีน�ำ้ เต็มจะมีเสเถียรภาพพอ ๆ กัน
44 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4

คำ�ถาม

1. แท่งไม้แท่งหนึ่งมีเชือกผูกที่ปลายบน ปลายล่างแตะอยู่บนแผ่นวัตถุซึ่งลอยน้ำ�อยู่ (แผ่นวัตถุลอย


เคลื่อนที่ไปมาในน้�ำ ได้) จงอธิบายให้เห็นว่าแผ่นวัตถุจะอยู่ในสมดุล คือ หยุดนิ่งเมื่อเส้นเชือกที่ผูก
อยู่ในแนวดิ่ง ไม่ว่าแท่งไม้จะเอียงทำ�มุมเท่าไรก็ตาม

รูป ประกอบคำ�ถามข้อ 1

แนวคำ�ตอบ ตามรูป ก. เส้นเชือกที่แขวนปลาย A ไม่อยู่ในแนวดิ่ง



T = แรงดึงเชือก

W = น้ำ�หนักแท่งไม้

R = แรงที่แผ่นวัตถุกระทำ�ต่อปลาย B ของแท่งไม้

T
T sin θ
T
θ T cos θ
A R R

W W
ก. ข.

แยกแรง T ออกเป็นแรงย่อย T cosq ตามแนวระดับ และ T sinq ตามแนวดิ่ง W จะเท่ากับ


Tsinq + R จึงหักล้างกันพอดี เหลือแรง T cosq ผลักไม้ไปทางด้านขวาจนแนวเส้นเชือกที่แขวน
ปลาย A อยู่ตามแนวดิ่ง ดังรูป ข. T cosq จะเป็นศูนย์และแผ่นวัตถุจะอยู่ในสภาพ สมดุลสถิต
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 45

2. สุภาษิตที่ว่า “หาบดีกว่าคอน” เป็นจริงหรือไม่ในแง่ของวิชาฟิสิกส์

ก. การหาบ ข. การคอน
รูป ประกอบคำ�ถามข้อ 2

แนวคำ�ตอบ

N2

F
N1

mg mg

2 mg
46 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

กรณีของหาบนั้นแรงที่กระทำ�กับบ่าจะมีค่าเท่ากับน้�ำ หนักที่แขวนทั้งสองข้าง ส่วนคอนนั้น แรง


ที่กระทำ�กับบ่าจะมีค่าเท่ากับน้ำ�หนักที่แขวนบวกกับแรงที่มือกระทำ�กับคาน ดังนั้นแรงที่กระทำ�กับ
บ่าของหาบจะน้อยกว่าคอน

กรณีหาบ คือ การถ่วงน้ำ�หนักที่ปลายแต่ละด้านของคาน แรงที่กระทำ�ต่อบ่าหาได้จากแรงที่บ่า


กระทำ�ต่อคาน (N) จากรูป N = 2mg

กรณีคอน คือ การถ่วงน้ำ�หนักไปรวมกันที่ปลายข้างเดียวของคาน ดังนั้นจะต้องออกแรงกดที่


ปลายคานอีกด้านหนึ่งด้วยแรง F จากรูป N = 2mg + F
แรงที่กระทำ�ต่อบ่ากรณีคอนจะมากกว่ากรณีที่หาบ คำ�กล่าวที่ว่า “หาบจึงดีกว่าคอน” ในแง่วิชา
ฟิสิกส์นั้นเป็นจริง

3. ในกรณีทว่ี ต
ั ถุถก
ู กระทำ�ด้วยแรงคูค
่ วบหนึง่ คู่ วัตถุนน
้ั จะไม่อยูใ่ นสมดุลต่อการหมุน ถ้าจะให้วต
ั ถุ
อยู่ในสมดุลของการหมุน ต้องทำ�ให้ผลรวมของโมเมนต์ของแรงมีค่าเป็นศูนย์ นั่นคือต้องมีแรงคู่
ควบอีกอย่างน้อยหนึ่งคู่ กระทำ�ต่อวัตถุ แรงคู่ควบนั้นจะต้องกระทำ�ต่อวัตถุในลักษณะใด เขียนรูป
ประกอบคำ�อธิบายด้วย
แนวคำ�ตอบ แรงคู่ควบหนึ่งคู่ กระทำ�ต่อวัตถุ ดังเส้นลูกศรทึบ จะทำ�ให้วัตถุอยู่ในสมดุลต่อการ
เลื่อนตำ�แหน่ง แต่ไม่สมดุลต่อการหมุน เนื่องจากโมเมนต์ของแรงไม่เป็นศูนย ดังนั้นเมื่อมีแรงคู่ควบ
หนึ่งคู่ (ดังลูกศรเส้นทึบ) กระทำ�กับวัตถุแล้วต้องใช้แรงคู่ควบอีกอย่างน้อยหนึ่งคู่ (ดังลูกศรเส้นประ)
กระทำ�ต่อวัตถุให้เกิดโมเมนต์ตรงข้ามกับโมเมนต์ของแรงคู่ควบแรก โดยมีขนาดเท่ากัน วัตถุจึงจะ
ไม่เลื่อนตำ�แหน่งและไม่หมุน วัตถุจะอยู่ในสมดุล ดังรูป

F F

F F
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 47

4. วางแท่งไม้สม่ำ�เสมอยาว l ซ้อนกันดังรูป แท่งไม้ในรูปใดที่อยู่ในสมดุล เพราะเหตุใด

l/4 l /2

l /2 l/4

ก. ข.

รูป ประกอบคำ�ถามข้อ 4

แนวคำ�ตอบ แท่งไม้รูป ข.จะอยู่ในสมดุลเนื่องจากจุดศูนย์กลางของก้อนวัตถุอยู่บนโต๊ะ จึงทำ�ให้


ก้อนวัตถุไม่ตกจากโต๊ะ

5. เมือ่ นำ�วัตถุทรงลูกบาศก์สองก้อน ทำ�จากไม้และโลหะ ซึง่ ยึดติดกันอยูม


่ าวางไว้บนพืน
้ ฝืดดังรูป

ก. ไม ข. โลหะ
โลหะ ไม
รูป ประกอบคำ�ถามข้อ 5

วัตถุในรูปใดที่มีแนวโน้มที่จะล้มได้ง่ายกว่าเมื่อถูกผลักด้วยแรงเท่า ๆ กันจากระดับความสูงเดียวกัน
อธิบาย
แนวคำ�ตอบ สำ�หรับวัตถุทม
่ี รี ป
ู ทรงเดียวกัน วัตถุทม
่ี ศ
ี น
ู ย์ถว่ งต่�ำ กว่าจะมีเสถียรภาพทีด
่ ก
ี ว่าเนือ
่ งจาก
โลหะมีความหนาแน่นมากกว่าไม้ ดังนั้นศูนย์กลางมวลของวัตถุ (ก) ซึ่งมีโลหะทรงลูกบาศก์อยู่
ด้านล่างจึงอยู่ที่ระดับต่�ำ กว่าศูนย์กลางมวลของวัตถุ (ข) ซึ่งมีโลหะทรงลูกบาศก์วางตัวอยู่ด้านบน
ในสนามโน้มถ่วงสม่ำ�เสมอ ตำ�แหน่งศูนย์กลางมวลเป็นตำ�แหน่งเดียวกับตำ�แหน่งศูนย์ถ่วง ดังนั้น
วัตถุ (ก) จึงมีศูนย์ถ่วงที่ต่ำ�กว่าวัตถุ (ข) ส่งผลให้วัตถุ (ก) มีเสถียรภาพที่ดีกว่า เมื่อวัตถุทั้งสองถูก
ผลักด้วยแรงเท่า ๆ กันจากระดับความสูงเดียวกัน วัตถุ (ข) จึงมีแนวโน้มที่จะล้มได้ง่ายกว่า
48 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

6. ระบบซึ่งประกอบด้วยช้อน ส้อม และไม้จิ้มฟัน เราสามารถนำ�เอาไม้จิ้มฟันไปวางที่ขอบแก้ว


แล้วทำ�ให้เกิดสมดุลดังรูป

รูป ประกอบคำ�ถามข้อ 6

จงอธิบาย เพราะเหตุใดจึงเกิดสมดุลได้
แนวคำ�ตอบ เมือ
่ มองจากด้านบน ศูนย์ถว่ งของระบบสามารถประมาณได้วา่ อยูท
่ ต
่ี �ำ แหน่งจุดสัมผัส
ขอบแก้ว ดังรูป

cg

ดังนั้น หากนำ�ไม้จิ้มฟันไปวางไว้โดยให้ต�ำ แหน่งศูนย์ถ่วงสัมผัสขอบแก้วพอดี จะทำ�ให้แรงลัพธ์ที่


กระทำ�ต่อระบบเป็นศูนย์ เนื่องจาก ที่จุดสัมผัส มีแรงโน้มถ่วงและแรงแนวฉากที่มีขนาดเท่ากันแต่มี
ทิศทางตรงกันข้ามกระทำ�ต่อระบบผ่านศูนย์ถ่วง
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 49

ปัญหา

1. แรง 20 นิวตัน แรง 40 นิวตัน และ แรง F กระทำ�ต่อวัตถุหนึ่ง ดังรูป

20 N
60 ° 40 N

รูป ประกอบปัญหาข้อ 1

ขนาดของแรง F ที่ท�ำ ให้วัตถุอยู่ในสมดุลเป็นเท่าใด
วิธีทำ� แรงลัพธ์ของแรง 2 แรงต้องมีขนาดเท่ากับแรงที่ 3 แต่มีทิศตรงข้ามกัน จึงหาแรงลัพธ์โดย
สร้างรูปสามเหลี่ยมปิดและหาขนาดของแรงลัพธ์โดยใช้กฎโคไซน์


F
20 N
60 

40 N

ตามสมการ F 2 = F12 + F2 2 − 2 F1 F2 cosθ

แทนค่า F 2 = ( 20 N ) + ( 40 N ) − 2(20 N)(40 N)cos 60o


2 2

1
F 2 = 400 N 2 +1600 N 2 − (2)(800 N 2 )  
2
= 1200 N 2

F = (400)(3) N

= 20 3 N

ตอบ ขนาดของแรง F ที่ทำ�ให้วัตถุอยู่ในสภาพสมดุลเท่ากับ นิวตัน
= 20 3 N
50 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2


2. น้ำ�หนัก W แขวนไว้ด้วยเชือกสองเส้น ซึ่งเอียงทำ�มุม 60 องศา และ 30 องศา กับแนวดิ่ง จง
หาขนาดแรงดึงในเส้นเชือกทั้งสอง

วิธีทำ� เขียนแผนภาพวัตถุอิสระของจุดบนเชือกที่มี W แขวนดังรูป

T2 cos30 °
T2
60 °

30 °
30 ° T cos60 °
1
60 ° T1

T2 sin30 ° T1 sin60 °

T1cos60° +T2cos30° = W (1)

T1 sin 60o = T2 sin 30o (2)

T1 = T2 sin 30 = T2

จากสมการ (2) (3)
sin 60 3
นำ�ค่า T1 จากสมการ (3) แทนค่าในสมการ (1)

T2
cos 60o + T2 cos 30o = W
3
T2 3T
+ 2 =W
2 3 2 3
4T2
=W
2 3
3
T2 = W
2
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 51

นำ�ค่า T2 ไปแทนในสมการ (3)


T2
3W
T1
= =
3
2 3
W
=
2
W 3
ตอบ แรงดึงในเส้นเชือก T1 มีค่าเท่ากับ และแรงดึงในเส้นเชือก T2 มีค่าเท่ากับ W
2 2

3. วัตถุเลื่อนลงมาตามพื้นเอียงด้วยความเร็วคงตัว พื้นเอียงนี้ยาว 6.0 เมตร สูง 3.0 เมตร จงหา


สัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์ระหว่างวัตถุกับพื้นเอียง
วิธีทำ�
N
A

6.0 m
3.0 m
Wsin θ θ
f
B θ
C
W cosθ

แยกแรง W ออกเป็นแรงย่อย 2 แรง ที่ตั้งฉากกัน คือ แรงในแนวขนานกับพื้นเอียงมีค่าเท่ากับ


Wsinq มีทิศลงตามแนวพื้นเอียง และแรงที่กดพื้นในแนวตั้งฉากกับพื้นเอียง มีค่าเท่ากับ
Wcosq วัตถุอยู่ในสมดุล เพราะวัตถุเลื่อนลงตามพื้นเอียงด้วยความเร็วคงตัว
ดังนั้น แรงลัพธ์ในแนวขนานกับพื้นเอียง = 0
นั่นคือ Wsinq = f
และแรงลัพธ์ในแนวตั้งฉากกับพื้นเอียง = 0
นั่นคือ Wcosq = N
จาก f k = µk N
ดังนั้น W sin θ = µkW cos θ
µk = tan θ
52 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

พิจารณาสามเหลี่ยม ABC

( 6.0 m )
2
= (3.0 m) 2 + BC2

BC = 27 m
3m
นั่นคือ µk = = 0.58
27 m
ตอบ สัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์ระหว่างวัตถุและพื้นเอียงเท่ากับ 0.58

4. วัตถุมีน้ำ�หนัก 20 นิวตัน วางบนพื้นเอียงทำ�มุม 45 องศากับแนวระดับ ถ้าสัมประสิทธิ์



ความเสียดทานจลน์ระหว่างวัตถุกับพื้นเท่ากับ 0.3 แรง F กระทำ�ต่อวัตถุมีแนวขนานกับพื้นเอียง
ดังรูป
F

45 °

รูป ประกอบปัญหาข้อ 4

จงหา

ก. แรงดึง F ที่ทำ�ให้วัตถุเคลื่อนที่ขึ้นพื้นเอียงด้วยความเร็วคงตัว

ข. แรงดึง F ทีท่ ำ�ให้วัตถุเคลื่อนที่ลงพื้นเอียงด้วยความเร็วคงตัว

วิธีทำ�

ก. หาแรงดึง F ที่ทำ�ให้วัตถุเคลื่อนที่ขึ้น F
N
ไปตามพื้ น เอี ย งด้ ว ยความเร็ ว คงตั ว
 fk
ให้ N เป็นแรงทีพ่ น
้ื ดันวัตถุในแนวตัง้ ฉาก
กั บ พื้ น เ อี ย ง เ มื่ อ วั ต ถุ เ ค ลื่ อ น ที่ ขึ้ น 45°W cos 45 °
W sin 45 °
แรงเสี ย ดทานจลน์ ร ะหว่ า งวั ต ถุ แ ละ
W
พื้ น เอี ย งอยู่ ใ นทิ ศ ลงขนานกั บ พื้ น เอี ย ง
ดังรูป 45 °
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 53

แรงลัพธ์ของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุในแนวขนานกับพื้นเท่ากับศูนย์

F = W sin 45 + f k
 2
= ( 20 N )   + µk N
 2 
โดย N = W cos 45
 2
F = ( 20 N )   + ( 0.3)( 20 N ) ( cos 45 )

 2 
 2
( )
= (10 N ) 2 + ( 0.3)( 20 N )  
 2 
= (10 N ) ( 2 ) + ( 3 N ) ( 2 )

= 18.39 N

ตอบ แรงดึง ที่ทำ�ให้วัตถุเคลื่อนที่ขึ้นไปตามพื้นเอียงด้วยความเร็วคงตัวมีค่า 18.39 นิวตัน

ข. หาแรงดึง F ทีท
่ �ำ ให้วต
ั ถุเคลือ
่ นทีล่ งตามพืน
้ เอียงด้วยความเร็วคงตัว เมือ
่ วัตถุเคลือ
่ นทีล่ ง
แรงเสียดทานจลน์ระหว่างวัตถุและพื้นจะอยู่ในทิศขึ้นขนานกับพื้นเอียง ดังรูป แรงลัพธ์
ของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุในแนวขนานกับพื้นเอียงเท่ากับศูนย์

F
N
fk

45°W cos 45 °
W sin 45 °

45 °

ดังนั้น
F + f k = W sin 45
F = ( 20 N ) sin 45 − µk N

54 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

โดย N = W cos 45

F = (20 N) sin 45 − µkW cos 45


 2  2
= ( 20 N )   − ( 0.3)( 20 N )  
 2   2 
( )
= (10 N ) 2 − ( 3) 2 ( )
= 9.90 N
ตอบ แรงดึง F ที่ท�ำ ให้วัตถุเคลื่อนที่ลงไปตามพื้นเอียงด้วยความเร็วคงตัวมีค่า 9.90 นิวตัน

5. วัตถุมีน้ำาหนัก 50 นิวตัน วางไว้บนพื้นและมีแรง 20 นิวตัน กระทำาดังรูป

20 N

30°

รูป ประกอบปัญหาข้อ 5

จงหาแรงกดพื้นในแนวตั้งฉากกับผิว และถ้าวัตถุกำ�ลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว
จงหาสัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์ระหว่างวัตถุกับพื้น
วิธีทำ�
เนื่องจากแรงลัพธ์ในแนวดิ่งเป็นศูนย์

20 sin30°

20 N
30°
20 cos30°

fk

W
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 55


ดังนั้น N = W + ( 20 N ) sin 30

( )
= ( 50 N ) + ( 20 N ) ( sin 30 )
1
= ( 50 N ) + ( 20 N )  
2
= 60 N

ถ้าวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว แรงลัพธ์ในแนวระดับเป็นศูนย์

ดังนั้น f k = ( 20 N ) cos 30 ( )


 3
( µk ) ( 60 N ) = ( 20 N )  
 2 
µk = 0.29

ตอบ แรงที่วัตถุกดพื้นจะเท่ากับแรงที่พื้นกระทำ�กับวัตถุมีค่าเท่ากับ 60 นิวตัน


สัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์เท่ากับ 0.29

6. วัตถุหนัก 40 นิวตัน และวัตถุหนัก W ผูกไว้ด้วยเชือกและอยู่ในสมดุลในลักษณะดังรูป ถ้า


สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างวัตถุกับพื้นโต๊ะเท่ากับ 0.4 จงหาน้�ำ หนัก W ที่มากที่สุดที่
จะทำ�ให้วัตถุทั้งสองยังคงอยู่นิ่งเช่นเดิม

30 °
T1 T3
40 N
T2

รูป ประกอบปัญหาข้อ 6
56 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

วิธีทำ� N

T3 sin30° 30
°

T1 T1 T3
A T3 cos30°
fs T2
T2
40 N

หาค่า W ที่มากที่สุดที่จะทำ�ให้วัตถุทั้งสองยังคงอยู่ในสมดุลสถิต
พิจารณาที่วัตถุน้ำ�หนัก 40 N แรงลัพธ์เท่ากับศูนย์

ดังนั้น T1 = fs

f s = µs N

T1 = ( 0.4 )( 40 N )

= 16 N

พิจารณาที่ A แรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อตำ�แหน่ง A เท่ากับศูนย์

ดังนั้น T3 cos 30 = T1


 3
T3   = (16 N )
 2 
2
= T3 = (16 N) 18.48
3
T2 = T3 sin 30
1
= (18.48 N )  
2
= 9.24 N
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 57

พิจารณาที่วัตถุ W

W = T2

เพราะฉะนั้น W = 9.24 N

ตอบ ค่า W ที่มากที่สุด ที่จะทำ�ให้วัตถุทั้งสองยังคงอยู่นิ่งมีค่าเป็น 9.24 นิวตัน

7. วัตถุหนัก 20 นิวตัน แขวนไว้ด้วยเชือกคล้องผ่านรอกที่ไม่คิดความฝืด (ความฝืดน้อยมาก)


ปลายอีกข้างหนึ่งของเชือกผูกวัตถุหนัก 25 นิวตัน ซึ่งวางอยู่บนพื้นเอียง ดังรูป

30 °
รูป ประกอบปัญหาข้อ 7

เมื่อปล่อยไว้อย่างอิสระ ปรากฏว่า วัตถุที่วางบนพื้นเอียงเคลื่อนที่ขึ้นพื้นเอียงได้พอดี จงหา


สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างพื้นกับวัตถุ
วิธีทำ�
N
T
T
fs
(25)(sin30°)
(25)(cos30°)

25 N 20 N
30 °

หาค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิต ( µ s) ระหว่างพื้นกับวัตถุ
แรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุทั้งสองเท่ากับศูนย์
เมื่อพิจารณาที่วัตถุหนัก 20 นิวตัน
ดังนั้น T = 20 N
58 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

พิจารณาที่วัตถุหนัก 25 นิวตัน ซึ่งเคลื่อนที่ขึ้นพอดี

T = W sin 30 + fs

= ( 25 N ) ( sin 30 ) + fs

= ( 25 N ) ( sin 30 ) + µs N (1)

N = ( 25 N ) ( cos 30 )

แทน T และ N ในสมการ (1) จะได้


1  3
( 20 N ) = ( 25 N )  + ( µs )( 25 N )  
2  2 
( 20 N ) = (12.5 N ) + ( 21.65 N ) µs
(20 N ) − (12.5 N )
µs =
(21.65 N )
µs = 0.35

ตอบ สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างพื้นกับวัตถุเป็น 0.35

8. มวล m วางบนพื้นเอียงซึ่งทำ�มุม 30 องศากับแนวระดับ ถ้าวัดได้ว่ามวลนั้นไถลลงพื้นเอียงด้วย


1
ความเร่ง g สัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์ระหว่างมวลนั้นกับพื้นจะเป็นเท่าไร
8

วิธีท�ำ

mg sin 30°
fk 30°
30° mg cos 30 °
mg
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 59

1
วัตถุเลื่อนลงด้วยความเร่ง a = g
8
แรงเสียดทาน f k = µk N

= µk mg cos 30
 
จากกฎข้อ 2 ของนิวตัน ∑ F = ma
1 
ดังนั้น mg sin 30 − f k = ( m )  g 
8 
1 1

2
(
( mg )   − µk mg cos 30 = mg
8
)
 3  2 
µk =     = 0.43
 8  3 
ตอบ สัมประสิทธิ์ของความเสียดทานจลน์ระหว่างมวลกับพื้น มีค่าเท่ากับ 0.43

9. แผ่นพลาสติกรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ABC แต่ละด้านยาว 40 เซนติเมตร มีแรงกระทำ� ดังรูป

10 N

B C
30 N
20 N
รูป ประกอบปัญหาข้อ 9

โมเมนต์ของแรงรอบจุด A มีขนาดเท่าใด และเป็นโมเมนต์ชนิดใด


60 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

วิธีทำ� โจทย์ก�ำ หนดให้ A เป็นจุดหมุน ดังนั้นแรง 10 N ที่ผ่านจุด A และแรง 20 N ที่แนวแรงก็


ผ่านจุด A ไม่ทำ�ให้เกิดโมเมนต์ เหลือแรง 30 N ทำ�ให้เกิดโมเมนต์รอบจุด A ดังรูป

ACsin60o

60o C
30 N

โมเมนต์ของแรง 30 N รอบจุด A

M = ( 30 N )( 0.4 m ) sin 60°


3
= ( 30 N )( 0.4 m )
2
= 6 3 N m เป็นโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา

ตอบ โมเมนต์ของแรงรอบจุด A มีขนาด 6 3 นิวตัน เมตร เป็นโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา

10. ไม้เมตรสม่�ำ เสมอหนัก 8 นิวตัน นำ�มาวางบนพื้นโต๊ะที่อยู่ในแนวระดับ โดยให้ปลายด้านหนึ่ง


ยืน
่ ออกไปจากขอบโต๊ะ 80 เซนติเมตร จะต้องใช้แรงกดทีป
่ ลายอีกด้านหนึง่ อย่างน้อยเท่าใด ไม้เมตร
จึงไม่กระดก
วิธีทำ� เขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทำ�ต่อไม้เมตรได้ดังรูป


F
20 cm
o
30 cm

N
8N
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 61

เมื่อคานสมดุลต่อการหมุน ∑ M = 0

คิดโมเมนต์รอบจุด O

(8 N )( 30 cm ) = ( F )( 20 cm )
F = 12 N

ตอบ ต้องใช้แรงกดที่ปลายอีกด้านหนึ่งอย่างน้อยเท่ากับ 12 นิวตัน


11. คานสม่ำ�เสมอหนัก 50 3 นิวตัน แขวนไว้กับเพดานที่จุดหมุนลื่น ออกแรง F ในแนวระดับ
กระทำ�ต่อปลายคานแล้วทำ�ให้คานเบนไปจากแนวดิ่ง 30 องศา ดังรูป

30


F
รูป ประกอบปัญหาข้อ 11


จงหาขนาดของแรง F
วิธีทำ� ให้คานสม่�ำ เสมอยาว L เขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทำ�ต่อคานได้ดังรูป

30

50 3 N
60o 
F
62 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

เมื่อคานอยู่ในสมดุลต่อการหมุน ∑ M = 0

คิดโมเมนต์รอบจุด O
L
(50 )
3 N   sin 30o = ( F )( L ) sin 60o
2
1  3

2
(
25 3 N   = ( F )   )
 2 
F = 25 N

ตอบ ขนาดของแรง F เท่ากับ 25 นิวตัน

12. คานสม่ำ�เสมอ AB ยาว L หนัก W วางนิ่งอยู่บนพื้นเอียงผิวเกลี้ยง โดยปลาย A ทำ�มุม q


กับพื้นเอียงซึ่งทำ�มุม 30 องศากับแนวระดับ ส่วนปลาย B อยู่บนพื้นเอียงซึ่งทำ�มุม 60 องศากับ
แนวระดับ ดังรูป
B
A
θ

30 60
รูป ประกอบปัญหาข้อ 12

จงหาแรงที่พื้นเอียงกระทำ�กับแต่ละปลายคานในเทอมของ W
วิธีทำ� เขียนแผนภาพแรงที่กระทำ�กับคานได้ดังรูป

NA NB

30 60 B
A
θ 60
W
30
30 60
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 63

ให้ NA และ NB เป็นแรงที่พื้นเอียงกระทำ�กับปลายคานที่ A และ B ตามลำ�ดับ ได้ NA ทำ�มุม


30 กับแนวดิ่ง, NB ทำ�มุม 60 กับแนวดิ่ง และ W ชี้ลงในแนวดิ่ง แสดงว่าคานอยู่ในสมดุล
ของแรง 3 แรง นำ�เวกเตอร์แทนแรงทั้งสามมาเขียนต่อกันได้รูปสามเหลี่ยมมุมฉากดังรูป
NA
ใช้กฎไซน์กับสามเหลี่ยมรูปนี้จะได้ NB W NB
= = 60
sin 60° sin 30° sin 90°
จะได้ N A = Wsin 60°
W
3
= W
2 30 N A
N A = 0.866W

จะได้ N B = Wsin 30


1
= W
2
NB = 0.50W
N

ตอบ แรงที่พื้นเอียงกระทำ�ที่ปลาย A เท่ากับ 0.87W และปลาย B เท่ากับ 0.50W

13. แผ่นไม้ไม่สม่�ำ เสมอ AB หนัก 120 นิวตัน ยาว 2 เมตร วางตัวในแนวระดับ ดังรูป

50 N 70 N

A B
2m
รูป ประกอบปัญหาข้อ 13

ศูนย์ถ่วงของแผ่นไม้อยู่ห่างจากปลาย A เป็นระยะเท่าใด
วิธีทำ� แผ่นไม้ไม่สม่�ำ เสมอ ศูนย์ถ่วง (CG) ของแผ่นไม้ไม่อยู่ตรงกลาง
ให้ CG ห่างปลาย A เป็นระยะ x ดังนั้น CG ห่างปลาย B เป็นระยะ 2m_x
เขียนแผนภาพวัตถุอิสระแสดงแรงต่าง ๆ ที่กระทำ�ต่อแผ่นไม้ ได้ดังนี้
64 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

50 N 70 N
CG
A B
x
(2 m-x)

120 N
แผ่นไม้สมดุลต่อการหมุน ให้ CG เป็นจุดหมุน

( 70 N ) ( 2 m − x ) = ( 50 N ) x
7
x= m
6
7
ตอบ ศูนย์ถ่วงของแผ่นไม้อยู่ห่างจากปลาย A เป็นระยะ เมตร
6

14. มีแรงคู่ควบกระทำ�ต่อวัตถุในแนวต่าง ๆ ดังรูป 100 N

100 N
100 N m
3 cm 3 cm 210 ° 3c

120 °
100 N
100 N
ข.
ก. 100 N ค.
รูป ประกอบปัญหาข้อ 14

จะหาขนาดของโมเมนต์ของแรงคู่ควบเหล่านั้นและในแต่ละกรณีวัตถุจะหมุนอย่างไร
วิธีทำ� จากรูป ก. ผลรวมของโมเมนต์แรงคู่ควบ M c = Fl
l เป็นระยะทางตั้งฉากระหว่างแนวแรงทั้งสอง ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3 เซนติเมตร
F เป็นขนาดของแรงคู่ควบ

M c = Fl
1
= (100 N ) ( 3 ×10−2 m )  
2
=3Nm
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 65

จากรูป ข. ผลรวมของโมเมนต์แรงคู่ควบ M c = Fl
(
l เป็นระยะทางตั้งฉากระหว่างแนวแรงทั้งสอง ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3 × 10−2 m sin 30 )( )
F เป็นขนาดของแรงคู่ควบมีขนาดเท่ากับ 100 N

100 N
3 cm 210 °
60°

100 N

M c = Fl
1
= (100 N ) ( 3 ×10−2 m )  
2
= 1.5 N m

จากรูป ค. ผลรวมของโมเมนต์แรงคู่ควบ M c = Fl
(
l เป็นระยะทางตั้งฉากระหว่างแนวแรงทั้งสอง ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3 × 10−2 m cos 30 )( )
F เป็นขนาดของแรงคู่ควบ
100 N

m
3c
30°

100 N

M c = Fl
 3
= (100 N ) ( 3 ×10−2 m )  
 2 
= 2.60 N m
66 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

ตอบ จากรูป ก. ผลรวมของโมเมนต์แรงคู่ควบ มีค่าเท่ากับ 3 N m ทิศทวนเข็มนาฬิกา


จากรูป ข. ผลรวมของโมเมนต์แรงคู่ควบ มีค่าเท่ากับ 1.5 N m ทิศตามเข็มนาฬิกา
จากรูป ค. ผลรวมของโมเมนต์แรงคู่ควบ มีค่าเท่ากับ 2.6 N m ทิศทวนเข็มนาฬิกา

15. คานสม่ำ�เสมอยาว 50 เซนติเมตร มีไม้หมอนหนุนไว้ที่จุดกึ่งกลางคาน P และมีน้ำ�หนัก


แขวนไว้ที่ต่าง ๆ ดังรูป
5 cm 20 cm P 25 cm

20 N

40 N 40 N

รูป ประกอบปัญหาข้อ 15

ถ้าต้องการให้คานวางตัวตามแนวระดับ จะต้องแขวนมวลหนัก 50 นิวตัน ที่ตำ�แหน่งใด


วิธีทำ� ให้แขวนมวล 50 นิวตันห่างจุด P เป็นระยะ x เมตร

5 cm 20 cm P 25 cm

x

20 N
50 N

40 N 40 N

คิดโมเมนต์รอบแกนหมุน P
โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
( 20 N )( 0.25 m ) + ( 40 N )( 0.2 m ) = ( 50 N ) x + ( 40 N )( 0.25 m )
x = 0.06 m
มวล 50 N ห่างจุด P = 6 cm
ตอบ แขวนมวล 50 นิวตัน ห่างจุด P ไปทางขวาเป็นระยะ 6 เซนติเมตร
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 67

16. เส้นลวดดึงคาน AB ซึ่งมีน�้ำ หนัก 50 นิวตัน แขวนไว้ที่ปลายคาน ถ้าคานสม่ำ�เสมอมีน้ำ�หนัก


20 นิวตัน ยาว 5 เมตร มีปลาย A ตรึงติดกับกำ�แพง คานสมดุลอยู่ได้ดังรูป จงหาแรงดึงของเส้นลวด

30°

1m
60° B
4m
A
50 N

รูป ประกอบปัญหาข้อ 16

วิธีทำ�

30°

Tsin60 °

1m
60° B
4m
A
W 50 N

50 N

หาแรงดึงในเส้นลวด เมื่อวัตถุอยู่ในสมดุลสถิตและสมดุลต่อการหมุนคิดโมเมนต์รอบจุด A
68 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

ดังนั้น โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา

W ( 2.5 m ) + ( 50 N )( 5 m ) = T sin 60

( ) (4 m)
( 20 N )( 2.5 m ) + ( 50 N )( 5 m ) = (T sin 60 ) ( 4 m )

 3
50 N + 250 N = T   ( 4 m )
 2 
T = 86.60 N
ตอบ แรงดึงในเส้นลวดมีค่าเป็น 86.60 นิวตัน

17. AB เป็นคานสม่ำ�เสมอตรึงไว้ที่ A ลวด BC ดึงคานที่ห้อยวัตถุไว้ ถ้าคานหนัก 200 นิวตัน


และวัตถุ W หนัก 1,000 นิวตัน แขวน ดังรูป จงหาแรงดึงในเส้นลวด BC
B

30° 45 °
C A
รูป ประกอบปัญหาข้อ 17

วิธีทำ�
B
T
15 °

x
30 ° 45 ° 200 N 1000 N
C A

วัตถุสมดุลสถิตและสมดุลต่อการหมุน
หาแรงดึงในเส้นลวด
คิดโมเมนต์รอบจุด A
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 69

ดังนั้น โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา


 AB 
(
200 N ) 
 2
( ) (
cos 45  + (1, 000 N ) AB cos 45 = (T ) AB sin 15

)
 2  2
AB หารตลอดจะได้ (100 N )   + (1, 000 N )   = (T )( 0.259 )
 2  2
   
T = 3, 003.16 N

ตอบ แรงดึงในเส้นลวดเท่ากับ 3003.16 นิวตัน

18. บันไดยาว 2.5 เมตร มีน้ำ�หนัก 40 นิวตัน วางพิงกำ�แพงเกลี้ยง (ไม่คิดแรงเสียดทาน) ดังรูป


A

60 ° B

รูป ประกอบปัญหาข้อ 18

ศูนย์ถ่วงของบันไดอยู่ห่างปลายล่าง 1.0 เมตร จงหา


ก. แรงเสียดทานระหว่างพื้นล่างกับบันได เพื่อทำ�ให้บันไดวางนิ่งอยู่ได้
ข. จงหาแรงที่บันไดกระทำ�ต่อกำ�แพงที่จุด A
70 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

วิธีทำ� หาแรงเสียดทานสถิตระหว่างพื้นล่างกับบันได ( f s ) และแรงที่บันไดกระทำ�ต่อกำ�แพงที่จุด


A (N1)

A
N1

2.5 m

1.0 m
N
W = 40 N fs
60°
B

บันไดอยูใ่ นสมดุลสถิตและสมดุลต่อการหมุน แรงลัพธ์ทก่ี ระทำ�ต่อบันไดเท่ากับศูนย์ หาโมเมนต์


ของแรงรอบ B และโมเมนต์ของแรงรอบจุดใด ๆ เท่ากับศูนย์

โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา

( N1 )( 2.5 m ) ( sin 60 ) = ( 40 N )(1 m ) ( cos 60 )


 3 1
( N1 )( 2.5 m )   = ( 40 N ) × (1 m ) ×  
 2  2
N1 = 9.24 N

fs = 9.24 N ด้วย

ตอบ ก. แรงเสียดทานระหว่างพื้นล่างกับบันไดมีค่าเป็น 9.24 นิวตัน


ข. แรงที่บันไดกระทำ�ต่อกำ�แพงที่จุด A เป็น 9.24 นิวตันด้วย
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 71

19. คานยาว 2.0 เมตร หนัก 40 นิวตัน ศูนย์กลางมวลอยู่ห่างจากปลายที่ด้านล่าง 0.8 เมตร


ปลายอีกด้านหนึ่งวางพิงกำ�แพงผิวเกลี้ยง ดังรูป

2.0 m
1.2 m
0.8
m

40 N
รูป ประกอบปัญหาข้อ 19

ถ้าคานที่พิงเริ่มไถล จงหาสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างพื้นกับคาน
วิธีทำ� เขียนแผนภาพแสดงแรงกระทำ�กับคานได้ดังรูป

N1

2.0 m
1.2 m
0.8 N2
m
θ
40 N
1.6 m fs

เมื่อคานอยู่ในสมดุล ∑ F = 0 และ ∑ M = 0
พิจารณาแรงลัพธ์ในแนวระดับ

N1 − fs = 0

N1 = fs
72 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

พิจารณาแรงลัพธ์ในแนวดิ่ง

N 2 − 40 N = 0

N 2 = 40 N

หา N1 จาก ∑ M = 0 รอบจุดที่ปลายคานสัมผัสกับพื้นได้

( 40 N )( 0.8 m ) cosθ − N1 (1.2 m ) = 0


1.6 m 
( 40 N )( 0.8 m )   − N1 (1.2 m ) = 0
 2.0 m 
N1 =
( 40 N )( 0.8 m )( 0.8)
(1.2 m )
= 21.33 N
fs
หา µ s จาก µs =
N2
21.33 N
=
40 N
µs = 0.53

ตอบ สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างผิวพื้นกับคานเท่ากับ 0.53


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 73

20. คานสม่ำ�เสมอยาว L หนัก W ปลายข้างหนึ่งวางพิงกำ�แพงผิวเกลี้ยงทำ�มุม q กับกำ�แพง


ปลายอีกข้างอยู่บนพื้นระดับผิวฝืด ถ้าคานอยู่นิ่ง จงหาแรงเสียดทานที่พื้นกระทำ�ต่อคาน ในเทอม
W และ q
วิธีทำ� เขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทำ�กับคานได้ดังรูป

Ν1
θ

L
N2

W
fs

ให้ และ เป็นแรงในแนวตั้งฉากกับกำ�แพงและแรงในแนวตั้งฉากพื้นที่กระทำ�ต่อคาน


เป็นแรงเสียดทานที่พื้นกระทำ�ต่อคาน

เมื่อคานอยู่ในสมดุล และ

พิจารณาแรงลัพธ์ในแนวระดับ

ù 1 − fs = 0

N1 = fs (1)

หา จาก รอบจุดที่ปลายคานสัมผัสกับพื้น

LL 
W sinθθ−−ùù11((LLcos
W sin cosθθ))==00
22 
W
N1 = tan θ (2)
2
W
สมการ (1) = (2) fs = tan θ
2
W
ตอบ แรงเสียดทานที่พื้นกระทำ�ต่อคานมีค่า tan θ
2
74 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

ปัญหาท้าทาย

21. วางวัตถุมวล m บนแผ่นไม้ซึ่งทำ�มุม 30 องศากับแนวระดับ เมื่อค่อย ๆ ยกปลายแผ่นไม้ให้


สูงขึ้นพบว่า วัตถุจะเริ่มเคลื่อนที่เมื่อแผ่นไม้ทำ�มุม 60 องศา กับแนวระดับ แรงเสียดทานที่กระทำ�
ต่อวัตถุ ตั้งแต่แรกจนถึงวัตถุเริ่มเคลื่อนที่มีค่าเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร

วิธีทำ� วัตถุมวล m อยู่บนพื้นที่เอียงทำ�มุม q กับแนวระดับ แรงเนื่องจากน้ำ�หนักของวัตถุตาม


้ เอียงมีคา่ mg sin θ ซึง่ เป็นขนาดของแรงเสียดทานขณะวัตถุยงั ไม่เคลือ่ นที่ เขียนแผนภาพ
พืน
วัตถุอิสระที่กระทำ�ต่อวัตถุเมื่อแผ่นไม้ทำ�มุม 30 องศาและ 60 องศากับแนวระดับ ได้ดังนี้

f
N
N
f
mg

mg 60o
30o
รูป 1 รูป2

พิจารณารูป 1 แรงเสียดทานยังไม่สูงสุด แต่วัตถุสมดุล

แสดงว่า f = mg sin 30°


1
= mg   = 0.5mg
2
พิจารณารูป 2 แรงเสียดทานสูงสุด

f = mg sin 60°
 3
= mg  
 2 
= 0.87 mg

ตอบ แรงเสียดทานที่กระทำ�ต่อวัตถุ ตั้งแต่แรกจนถึงวัตถุเริ่มเคลื่อนที่มีค่าเปลี่ยนแปลงโดยมีค่า


เพิ่มขึ้นจาก 0.5mg เป็น 0.87mg
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 75

22. แท่งไม้สม่�ำ เสมอหนัก W ยาว L ติดบานพับที่ปลาย A มีเชือกผูกที่จุด B ระยะ AB เท่ากับ


2
L ดังรูป
3

o
60

B
o
60

W
A
รูป ประกอบปัญหาข้อ 22

แรงดึงในเส้นเชือกมีค่าเท่าใด (ตอบในเทอมของ W)
วิธีทำ� แรงที่กระทำ�ต่อแท่งไม้มี 3 แรงคือ น้ำ�หนัก W แรงดึงในเส้นเชือก T และแรงที่กระทำ�ที่
ปลาย A ซึ่งทำ�ให้แท่งไม้สมดุลต่อการหมุน ถ้าให้ปลาย A เป็นจุดหมุน เขียนแผนภาพแสดง
W และ T ที่กระทำ�ต่อแท่งไม้และทำ�ให้เกิดโมเมนต์ ได้ดังนี้

o Tsin60o
60
T
o
o 60
s60 B
Tco
o
o 60
60 60
o

os
Wc Wsin60o

A W

เมื่อ A เป็นจุดหมุน =
2 L
(T sin 60° ) L = (W sin 60° )
3 2
3
T= W
4
3
ตอบ แรงดึงในเส้นเชือกมีค่า W
4
76 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

23. งอลวดสม่�ำ เสมอเป็นมุมฉาก ด้าน ab ยาว 80 เซนติเมตร ด้าน bc ยาว 40 เซนติเมตร มีแรง
กระทำ�ที่ปลาย a และปลาย c ทำ�ให้ลวดอยู่ในสมดุลต่อการหมุนรอบจุด b ดังรูป
a
F

c
2N
60o 30o
b
รูป ประกอบปัญหาข้อ 23

ถ้าความเสียดทานที่จุดสัมผัสมากพอที่จะไม่ไถล แรง F ที่กระทำ�ที่ปลาย a มีค่าเท่าใด กำ�หนดให้


ลวดยาว 100 เซนติเมตร มีน้ำ�หนัก 1 นิวตัน
วิธีทำ� เขียนแผนภาพแสดงแรงต่าง ๆ ที่กระทำ�ต่อลวด ได้ดังนี้
a
F

o
s60
)co 60o c
8N
(0. 2N

b (0.4 N)sin60o
0.8 N 0.4 N

ลวดด้าน ab มีน้ำ�หนัก (1 N/m )( 0.8 m ) = 0.8 N


ลวดด้าน bc มีน้ำ�หนัก (1 N/m )( 0.4 m ) = 0.4 N
ลวดสมดุลต่อการหมุน ให้ปลาย b เป็นจุดหมุน

F ( 0.8 m ) + ( 0.8 N ) cos 60° ( 0.4 m )  =


F ( 0.8 m ) + ( 0.8 N ) cos 60° ( 0.4 m )  = ( 2 N )( 0.4 m ) + ( 0.4 N ) sin 60° ( 0.2 m ) 
( 2 N )( 0.4 m ) + ( 0.4 N ) sin 60° ( 0.2Fm=)0.89 N

ตอบ แรง F ที่กระทำ�ที่ปลาย a มีค่า 0.89 นิวตัน


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 77

24. แท่งเหล็กสม่ำ�เสมอ ab ปลาย a ผูกไว้ด้วยเชือกเบา ปลาย b วางอยู่บนเครื่องชั่งและ


อยู่ ในสมดุลในลักษณะดังรูป

รูป ประกอบปัญหาข้อ 24

ถ้าแท่งเหล็กมีน�้ำ หนัก 80 นิวตัน เครื่องชั่งจะอ่านน้�ำ หนักได้กี่นิวตัน


วิธีทำ� เขียนแผนภาพแสดงแรงต่าง ๆ ที่กระทำ�ต่อแท่งเหล็ก ได้ดังนี้

(80 N)sinθ R
θ
θ
Rsinθ
80 N
b

เข็มเครื่องชั่งจะบอกค่าของแรงที่เครื่องชั่งกระทำ�ต่อปลาย b ของแท่งเหล็ก ให้แรงนี้มีค่า


เป็น R ให้แท่งเหล็กยาว 2L
แท่งเหล็กสมดุลต่อการหมุน ให้ปลาย a เป็นจุดหมุน
78 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

( R sin θ )(2 L) = [(80 N) sin θ ]L

R = 40 N

ตอบ เครื่องชั่งจะอ่านน้�ำ หนักได้ 40 นิวตัน

25. ว่าวจุฬาเป็นการละเล่นของไทย ในการเล่นจะต้องใช้เชือกผูกทีต่ วั ว่าวสองเส้นเรียกว่า “สายซุง”


โดยเชือกทำ�มุมไม่เท่ากันดังรูป

วาว
45o

30o

รูป ประกอบปัญหาข้อ 25

ถ้าเส้นเชือกทีใ่ ช้ดงึ สายซุงมีแรงดึงในเชือก 10 นิวตัน จงหาแรงดึงในเชือกสายซุงเส้นบนและเส้นล่าง


ตามลำ�ดับ
วิธีท�ำ เขียนแผนภาพวัตถุอิสระได้ดังนี้

T2sin45o T2

T1
45o T2cos45o
60o T3cos60o

T3sin60o T3
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 79

สมดุลต่อการเลื่อนที่
แรงในแนวแกน x

∑F x =0

T1 = T2 cos 45° + T3 cos 60° (1)

แรงในแนวแกน y

∑F y =0

T2 sin 45° = T3 sin 60° (2)

2 T
จาก (1) 10 =
10NN= T2 + 3
2 2
2 3
และ (2) T2 = T3
2 2

T2 = 8.97 N

T3 = 7.32 N

ตอบ แรงดึงในเชือกสายซุงเส้นบนและเส้นล่างเท่ากับ 8.97 นิวตัน และ 7.32 นิวตัน ตามลำ�ดับ


80 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

26. วัตถุหนัก W แขวนไว้ด้วยเชือก AB และ BC เชือก AB อยู่ในแนวระดับและเชือก BC


ทำ�มุม 60 องศากับแนวดิ่ง ดังรูป
C
60o
B
A

รูป ประกอบปัญหาข้อ 26
ถ้าเส้นเชือกแต่ละเส้นทนแรงดึงได้สูงสุดเส้นละ 30 นิวตัน จงหาน้ำ�หนัก W ที่มากที่สุดที่ทำ�ให้วัตถุ
อยู่นิ่งได้
วิธีทำ� ให้แรงดึงเชือก AB เป็น T2
ให้แรงดึงเชือก BC เป็น T2
เขียนแผนภาพวัตถุอิสระ ขณะวัตถุอยู่ในสมดุล ได้ดังนี้

T2cos60o T2

60o

T1 T2sin60o
W

จากรูป T1 = T2 sin 60 แสดงว่า T2 > T1



และ W = T2 cos 60 แสดงว่า T2 > W
จะเห็นว่า T2 > W และ T2 > T1 ดังนั้น ถ้าเพิ่ม W เชือก BC จะขาดก่อน
เชือก AB
ให้ T2 = 30 N (ค่าสูงสุดที่เชือก BC รับได้)
จากรูป วัตถุหยุดนิ่ง
แนวดิ่ง W = T2 cos 60°
1
= ( 30 N )  
2
W = 15 N

ตอบ น้�ำ หนัก W ที่มากที่สุดทำ�ให้วัตถุอยู่นิ่งได้มีค่า 15 นิวตัน


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 81

1
27. เส้นลวดโตสม่�ำ เสมอหนัก W ดัดให้โค้งเป็นส่วนหนึง่ ของวงกลมทีม
่ ค
ี วามยาว ของความยาว
4
เส้นรอบวง วางพิงผนังลื่นที่จุด A และสัมผัสพื้นที่จุด B ดังรูป
ผนัง
A

พื้น
B
รูป ประกอบปัญหาข้อ 27

แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นที่พื้นต้องมีขนาดอย่างน้อยเท่าใด จึงทำ�ให้ลวดหยุด (ตอบในรูปของ W)


วิธีทำ� เขียนแผนภาพแสดงแรงต่าง ๆ ที่กระทำ�ต่อลวด ได้ดังนี้
NA O
A
45o
r

fs
B
W NB
จากรูป O เป็นศูนย์กลางของวงกลม
r เป็นรัศมีของลวด
NB เป็นแรงปฏิกิริยาที่พื้นกระทำ�ต่อลวดที่จุด B และแนวแรงผ่าน O
fs เป็นแรงเสียดทานที่น้อยที่สุดที่จุด B
ลวดสมดุลต่อการหมุน ให้ O เป็นจุดหมุน

W (r sin 45°) = f s r
W

fs =
2
W
ตอบ แรงเสียดทานที่พื้นอย่างน้อยต้องมีขนาด
2
82 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

28. หอเอนเมืองปิซ่าในประเทศอิตาลี หากยังไม่คิดถึงการเอียงตัวของหอคอยจะมีความสูง


ประมาณ 56 เมตรและมีความกว้างของฐานประมาณ 15 เมตร แต่ในความเป็นจริงเมื่อหอคอย
เอียงตัวและพบว่ายอดหอคอยด้านหนึ่งมีระยะห่างจากแนวดิ่งเป็นระยะประมาณ 3.9 เมตร ดังรูป
15 m 3.9 m

56 m
θ

รูป ประกอบปัญหาข้อ 28

หอคอยนี้เอียงตัวเป็นมุมเท่าใด และจะเอียงเป็นมุมมากที่สุดเท่าใดโดยที่ไม่ล้มลงมา
วิธีทำ� หอคอยจะล้มลงมาถ้าตำ�แหน่งของศูนย์ถ่วงนั้นอยู่นอกฐานของหอคอย
a
มุมที่หอคอยเอียงตัว สามารถหาได้จากรูปด้านบนโดยใช้ความสัมพันธ์ θ =
r
โดย a = 3.9 m และ r = 56 m แทนค่าจะได้

3.9 m
θ=
56 m
3.9  3.9   180 

θ= rad =  rad    = 3.99 ≅ 4.0
 

56  56  π rad 

หากประมาณให้ศูนย์ถ่วงของหอคอยอยู่ที่
ตำ�แหน่งกึ่งกลางของแต่ละด้าน ตำ�แหน่ง
สุ ด ท้ า ยก่ อ นที่ ห อคอยจะล้ ม ลงมานั้ น จะมี
แนวของศูนย์ถ่วงอยู่ที่ขอบของฐานหอคอย θMAX

พอดี ดังรูป
m
28.0

7.5 m
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 83

จากรูป จะได้ θ max มีค่าเป็น

 7.5 m 
θ max = tan −1  
 28.0 m 
= tan −1 0.2678 ≅ 15°

ตอบ หอคอยเอียงตัวทำ�มุม 4.0 องศา และจะเอียงตัวได้มากที่สุดเป็นมุม 15.0 องศา

29. บันไดขนาดสม่�ำ เสมอหนัก 80 นิวตัน วางพาดไว้กับผนังห้อง โดยทั้งผนังห้องและพื้นห้องลื่น


ถ้าเด็กคนหนึ่งมีน้ำ�หนัก 100 นิวตัน ปีนขึ้นไปตามบันไดนี้ได้สูง 2.2 เมตร ดังรูป

100 N
2.6 m
2.2 m


เชือ
30 o
O 1.2 m

รูป ประกอบปัญหาข้อ 29

แรงดึงของเชือกจะเป็นเท่าใด
84 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

วิธีทำ� สามารถเขียนแรงที่กระทำ�กับบันได ได้ดังรูป

R1

0.6 m
100 N
2.6 m
2.2 m
80N
T cos30 o
30 o R2

เชือ T T sin 30 o
30 o
O K x
1.2 m

ตามรูป 2.2 m = 2.6 m


x 1.2 m
x = 1.015 m

และ K = 1.2 m − 1.015 m = 0.185 m (1)



จาก ∑F = 0
3
R1
ในแนว x : = T cos 30
= T (2)
2
ในแนว y : R2 = T sin 30 + 80 N + 100 N
T
จะได R2 = + 180 N (3)
2
จาก ∑ M = 0 คิดรอบจุด O จะได้
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 85

โมเมนต์ตามนาฬิกา = โมเมนต์ทวนนาฬิกา

R1(2.6 m)+(100 N)(K)+(80 N)(0.6 m) = R2(1.2 m)

แทนค่าจากสมการ (2) และ (3) จะได้


3 3 TT
T T ( 2.6(m ) +.5(18N.5mN) +m()48+ (N48mN) m =) = =180180
2.6) +m(18 N + N + (1.2 (m
1.2) m )

2 2   2 2
T = 90.5 N

ตอบ แรงดึงของเชือกเท่ากับ 90.5 นิวตัน

30. วัตถุแข็งเกร็งรูปเหลี่ยมสม่�ำ เสมอ หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นที่ a2 วัตถุมีความยาว h


หนัก W ดังรูป
Q
L
าว

L
กย

L
เชือ

L
B

A x C
P
a a
D
h

รูป ประกอบปัญหาข้อ 30
จงหา
ก. แรงดึงเชือกแต่ละเส้น ถ้ามุมบนทั้งสี่ผูกด้วยเชือกยาว L เท่ากัน 4 เส้น โดยปลายบนรวบไป
แขวนไว้ที่จุดบนเพดาน
ข. ความตึงของเชือกที่เหลือแต่ละเส้น เมื่อตัดเชือก QC และระบบยังอยู่ในสมดุลสถิต
86 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

ก. วิธีทำ� เนื่องจากความสมมาตรเชือกทั้งสี่ซึ่งมีความยาว x
A P
เท่ากันจะมีความตึงเท่ากัน และพื้นที่ ABCD a x
จะเป็นพื้นที่ระดับ พิจารณาสามเหลี่ยม ADP D
ตามรูปจะได้

2x2 = a2
a
x =
2
พิจารณาสามเหลี่ยม APQ ถ้าเชือกแต่ละเส้นมีความตึง T
Q
จาก จะได้
W θ
T cos θ =
4

T cos θ
PQ 1 2

L
cos θ = = L − x2

T
L L
1
 a2  2 θ
= 1 − 2  A
 2L  x P
1

W a2  2
ดังนั้น T = 1 − 
4  2 L2 
1

W  a2  2
ตอบ แรงดึงของเชือกแต่ละเส้นเท่ากับ 1 − 2
4  2L 
ข. วิธีทำ� จากความสมมาตร เพื่อที่จะให้วัตถุอยู่ในสมดุลสถิต ความตึงของเชือก AQ จะเท่ากับ
ศูนย์ ความตึงของเชือก QD และ QB (ซึ่งเท่ากัน) หาได้จาก
1
W  a2  2
T cos θ = , cos θ = 1 − 2 
2  2L 
1

W  a2  2
จะได้ T = 1 − 2
2  2L 
1

W  a2  2
ตอบ เชือกที่เหลือแต่ละเส้นจะมีความตึงเท่ากับ 1 − 2
2  2L 
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 4 | สมดุลกล 87

31. บันไดโลหะมีความสมมาตรแสดงดังรูป

B
l

60
รูป ประกอบปัญหาข้อ 32

ด้านบนเป็นบานพับ มีคานโลหะ B มวลน้อยมากดึงรัง้ ไว้ท�ำ ให้บน


ั ไดทัง้ สองข้างทำ�มุม 60 องศา
กับพื้นระดับ ถ้าบันไดแต่ละข้างยาว l และคาน B สูงกว่าพื้นเป็นระยะ h พบว่าคาน B ทั้งสอง
ออกแรงดึงบันไดแต่ละข้างเท่ากับ T จงหาน้�ำ หนักรวมของบันไดนี้ในเทอมของ T, l และ h
ถ้าระบบไม่มีความเสียดทาน
วิธีทำ� จากความสมมาตรอาจเขียนแผนภาพของบันไดได้ดังรูป และอาจพิจารณาปัญหาเป็นระบบ
สองมิติ

O A E

30

30

B T
D
W
h
N N

60
C
88 บทที่ 4 | สมดุลกล ฟิสิกส์ เล่ม 2

ถ้า N เป็นแรงปฏิกิริยาจากพื้น เมื่อพิจารณาสมดุลของบันได OC โดยหาโมเมนต์รวมของ


แรงต่าง ๆ ที่กระทำ�ต่อ OC รอบจุด O ตามรูปจะได้ว่า

W ( OA ) + T ( OD ) = N ( OE )

โดย W เป็นน้�ำ หนักของบันไดแต่ละข้าง จะได้


l
W
2
(
sin 30 + T l cos 30 − h ) = Nl sin 30 (1)

จากการพิจารณาพบว่า 2N จะเท่ากับน้ำ�หนักรวมของบันได

นั่นคือ 2 N = 2W

หรือ N = W

แทนในสมการ (1) จะได้

 l  1   3  l
W     + T  l − h  = W  
 2  2   2  2

จะได้

l  3 
W = T  l − h 
4  2 
 3 h
W = 4  −  T
 2 l
 3 h  2h 
ดังนั้น น้ำ�หนักทั้งหมดของบันได (2W) มีค่าเป็น 8  −  T = 4  3 −  T
 2 l  l 
 2h 
ตอบ น้�ำ หนักรวมของบันไดเท่ากับ 4  3 − T
 l 
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 89

5
บทที่ งานและพลังงาน

goo.gl/oMUJLK

ผลการเรียนรู้:

1. วิเคราะห์ และคำ�นวณงานของแรงคงตัว จากสมการและพืน


้ ทีใ่ ต้กราฟความสัมพันธ์ระหว่างแรง
กับตำ�แหน่ง รวมทั้งอธิบายและคำ�นวณกำ�ลังเฉลี่ย
2. อธิบายและคำ�นวณพลังงานจลน์ พลังงานศักย์ พลังงานกล ทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างงาน
กับพลังงานจลน์ ความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานศักย์โน้มถ่วง ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของ
แรงทีใ่ ช้ดงึ สปริงกับระยะทีส
่ ปริงยืดออกและความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานศักย์ยด
ื หยุน
่ รวม
ทั้งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างงานของแรงลัพธ์และพลังงานจลน์ และคำ�นวณงานที่เกิดขึ้นจาก
แรงลัพธ์
3. อธิบายกฎการอนุรักษ์พลังงานกล รวมทั้งวิเคราะห์ และคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
การเคลื่อนที่ของวัตถุในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้กฎการอนุรักษ์พลังงานกล
4. อธิ บ ายการทำ � งาน ประสิ ท ธิ ภ าพและการได้ เ ปรี ย บเชิ ง กลของเครื่ อ งกลอย่ า งง่ า ยบางชนิ ด
โดยใช้ความรู้เรื่องงานและสมดุลกล รวมทั้งคำ�นวณประสิทธิภาพและการได้เปรียบเชิงกล

การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ กับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะ


แห่งศตวรรษที่ 21

ผลการเรียนรู้
1. วิเคราะห์ และคำ�นวณงานของแรงคงตัว จากสมการและพืน
้ ทีใ่ ต้กราฟความสัมพันธ์ระหว่างแรง
กับตำ�แหน่ง รวมทั้งอธิบายและคำ�นวณกำ�ลังเฉลี่ย

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของงานในวิชาฟิสิกส์
2. วิเคราะห์และคำ�นวณงานของแรงคงตัวจากสมการและพื้นที่ใต้กราฟระหว่างแรงกับตำ�แหน่ง
3. บอกความหมายของงานที่มีค่าเป็นบวก เป็นลบ หรือเป็นศูนย์
90 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

4. วิเคราะห์และคำ�นวณงานของแรงไม่คงตัวจากพื้นที่ใต้กราฟระหว่างแรงกับตำ�แหน่ง
5. บอกความหมายของกำ�ลังและกำ�ลังเฉลี่ย
6. คำ�นวณกำ�ลังเฉลี่ย

ทักษะกระบวนการทาง ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


วิทยาศาสตร์

1. การตีความหมายข้อมูลและ - 1. ด้านความมีเหตุผลจากการ
ลงข้อสรุป (การหางานจากพืน
้ ที่ อภิปรายร่วมกัน
ใต้กราฟ)
2. การใช้จำ�นวน (การคำ�นวณ
หางานจากสมการหรือพื้นที่ใต้
กราฟ)

ผลการเรียนรู้
2. อธิบายและคำ�นวณพลังงานจลน์ พลังงานศักย์ พลังงานกล ทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างงาน
กับพลังงานจลน์ ความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานศักย์โน้มถ่วง ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของ
แรงที่ใช้ดึงสปริงกับระยะที่สปริงยืดออกและความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานศักย์ยืดหยุ่น
รวมทัง้ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างงานของแรงลัพธ์และพลังงานจลน์ และคำ�นวณงานทีเ่ กิดขึน
้ จาก
แรงลัพธ์

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายและคำ�นวณพลังงานจลน์
2. ทดลองเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างงานของแรงลัพธ์กับพลังงานจลน์
3. อธิบายและประยุกต์ใช้ทฤษฎีบทงาน-พลังงานจลน์ในการแก้ปัญหา
4. บอกความหมายและคำ�นวณพลังงานศักย์โน้มถ่วง
5. ทดลองเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานศักย์โน้มถ่วง
6. บอกความหมายและคำ�นวณพลังงานศักย์ยืดหยุ่น
7. ทดลองเพือ
่ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงทีใ่ ช้ดงึ สปริงกับระยะทีส่ ปริงยืดออก และ
ความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานศักย์ยืดหยุ่น
8. บอกความหมายและคำ�นวณพลังงานกล
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 91

ทักษะกระบวนการทาง ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


วิทยาศาสตร์

1. การวัด (ระยะห่างระหว่าง 1. การสือ่ สารสารสนเทศและ 1. ด้ า นความซื่ อ สั ต ย์ และ


จุ ด บนแถบกระดาษและค่ า ที่ การรูเ้ ท่าทันสือ
่ (การอภิปราย ความรับผิดชอบ จากรายงาน
อ่านได้จากเครื่องชั่งสปริง) ร่วมกันและการนำ�เสนอผล) ผลการทดลอง
2. การใช้จำ�นวน (การคำ�นวณ 2. ความร่วมมือ การทำ�งาน 2. ด้ า นความพยายามมุ่ ง มั่ น
ปริ ม าณต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ เป็นทีมและภาวะผู้นำ� ความร่วมมือช่วยเหลือ จากการ
พลังงานจลน์ พลังงานศักย์โน้ม ทดลอง และการอภิปรายร่วม
ถ่วงและพลังงานศักย์ยืดหยุ่น) กัน
3. การทดลอง
4. การจัดกระทำ�และสื่อความ
หมายข้อมูล (การเขียนกราฟ
ความสัมพันธ์ทเี่ กีย่ วข้องกับแรง
งานและพลังงาน)
5. การตีความหมายข้อมูลและ
ลงข้ อ สรุ ป (การสรุ ป ผลการ
ทดลอง)

ผลการเรียนรู้
3. อธิบายกฎการอนุรักษ์พลังงานกล รวมทั้งวิเคราะห์ และคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
การเคลื่อนที่ของวัตถุในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้กฎการอนุรักษ์พลังงานกล

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของแรงอนุรักษ์
2. จำ�แนกแรงอนุรักษ์กับแรงไม่อนุรักษ์
3. วิเคราะห์และอภิปรายเพื่อสรุปเกี่ยวกับกฎการอนุรักษ์พลังงานกล
4. จำ�แนกสถานการณ์ที่มีการอนุรักษ์พลังงานกลกับสถานการณ์ที่ไม่มีการอนุรักษ์พลังงานกล
5. ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องแรงอนุรักษ์และกฎการอนุรักษ์พลังงานกลในแก้ปัญหา
92 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ทักษะกระบวนการทาง ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


วิทยาศาสตร์

1. การวัด (ระยะห่างระหว่าง 1. การสือ่ สารสารสนเทศและ 1. ด้านความร่วมมือช่วยเหลือ


จุดบนแถบกระดาษ) การรูเ้ ท่าทันสือ
่ (การอภิปราย จากการอภิปรายร่วมกัน
2. การใช้จำ�นวน (การคำ�นวณ ร่วมกันและการนำ�เสนอผล)
ปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
ก า ร เ ค ลื่ อ น ที่ ข อ ง วั ต ถุ ใ น
สถานการณ์ต่าง ๆ จากสมการ)
3. การตีความหมายข้อมูลและ
ลงข้อสรุป (วิเคราะห์จากแถบ
กระดาษ)

ผลการเรียนรู้
4. อธิบายการทำ�งาน ประสิทธิภาพและการได้เปรียบเชิงกลของเครื่องกลอย่างง่ายบางชนิด โดย
ใช้ความรู้เรื่องงานและสมดุลกล รวมทั้งคำ�นวณประสิทธิภาพและการได้เปรียบเชิงกล

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายและคำ�นวณประสิทธิภาพของเครื่องกลอย่างง่าย
2. อธิบายการทำ�งานของเครื่องกลอย่างง่ายโดยใช้ความรู้เรื่องงานและสมดุลกล
3. บอกความหมายและคำ�นวณการได้เปรียบเชิงกลของเครื่องกลอย่างง่าย

ทักษะกระบวนการทาง ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


วิทยาศาสตร์

1. การใช้จำ�นวน (การคำ�นวณ 1. การสือ่ สารสารสนเทศและ 1. ด้ า นความมี เ หตุ ผ ล และ


ปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การรูเ้ ท่าทันสือ
่ (การอภิปราย ความพยายามมุ่งมั่น จากการ
ก า ร เ ค ลื่ อ น ที่ ข อ ง วั ต ถุ ใ น ร่วมกันและการนำ�เสนอผล) อภิปรายร่วมกัน
สถานการณ์ต่างๆ จากสมการ) 2. ด้านความรอบคอบจากการ
คำ�นวณ
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 93

ผังมโนทัศน์ งานและพลังงานกล

งาน
เมื่อหาในหนึ่งหน่วย
เวลา เรียกว่า
เกิดขึ้นเมื่อ
กำ�ลัง

มี มี

แรงกระทำ�ต่อวัตถุ การกระจัดของวัตถุในแนวแรง

นำ�ไปใช้ นำ�ไปใช้ เมื่อแรงเป็น เมื่อวัตถุ เมื่อวัตถุเปลี่ยน


คำ�นวณ คำ�นวณ แรงลัพธ์ เคลือ่ นที่มี ตำ�แหน่งหรือ
นำ�ไปสู่ รูปร่าง
สัมพันธ์กับ
สมดุลกล ประสิทธิภาพ การได้เปรียบเชิงกล พลังงานจลน์ พลังงานศักย์ แรงอนุรักษ์

เกี่ยวข้องกับ นำ�ไปสู่

ใช้อธิบาย ทฤษฎีบทงาน-พลังงานจลน์ ความสัมพันธ์ระหว่างงาน


ของแรงอนุรักษ์กับผลต่าง
การทำ�งานและ ของพลังงานศักย์
ประสิทธิภาพของเครื่องกล

นำ�ไปสู่

กฎการอนุรักษ์พลังงานกล

นำ�ไปวิเคราะห์และคำ�นวณ

ปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ
เคลื่อนที่ของวัตถุในสถานการณ์ต่าง ๆ
94 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

สรุปแนวความคิดสำ�คัญ
 
เมื่อมีแรงคงตัว F กระทำ�ต่อวัตถุให้เคลื่อนที่ในแนวตรงได้การกระจัด ∆x ถ้าแรงและการกระจัดมี

แต่ถθา้ แรงทีท
ทิศทางเดียวกัน จะทำ�ให้เกิดงาน (work) ของแรง F มีคา่ W = F ∆x cos ่ �ำ มุม q กับการกระจัด

จะทำ�ให้เกิดงานของแรง F มีค่า W = F ∆x cos θ ซึ่งอาจมีค่าของงานเป็นบวก ศูนย์ หรือ ลบ ขึ้นอยู่
กับมุม q งานเป็นปริมาณสเกลาร์ มีหน่วยเป็นนิวตัน เมตร (N m) หรือ จูล (J) อาจหาค่าของงานได้จาก
พื้นที่ใต้กราฟระหว่างแรงกับตำ�แหน่ง ทั้งในกรณีแรงคงตัวและแรงไม่คงตัว
กำ�ลัง (power) หาจากงานทีท ่ �ำ ได้ในหนึง่ หน่วยเวลา โดยทัว่ ไป หมายถึง กำ�ลังเฉลีย่ หาได้จากสมการ
W
Pav = กำ�ลังเป็นปริมาณสเกลาร์ มีหน่วยเป็นจูลต่อวินาที (J/s) หรือ วัตต์ (W)
∆t
พลังงาน (energy) เป็นความสามารถในการทำ�งานในด้านกลศาสตร์ ผลรวมของพลังงานจลน์กับ
พลังงานศักย์เรียกว่า พลังงานกล (mechanical energy) พลังงานเป็นปริมาณสเกลาร์ มีหน่วยเป็นจูล (J)
พลังงานจลน์ (kinetic energy) เป็นพลังงานของวัตถุที่กำ�ลังเคลื่อนที่ คำ�นวณได้จากสมการ
1
Ek = mv 2 พลังงานจลน์มค ี วามสัมพันธ์กบ
ั งานของแรงลัพธ์ โดยงานของแรงลัพธ์เท่ากับพลังงานจลน์ของ
2
วัตถุที่เปลี่ยนไป ตามทฤษฎีบทงาน-พลังงานจลน์ (work-kinetic energy theorem) เขียนแทนได้ด้วย
1
สมการ Ek = mv 2
2
พลังงานศักย์เป็นพลังงานของวัตถุที่เกี่ยวข้องกับตำ�แหน่งหรือรูปร่างของวัตถุ เช่น พลังงานศักย์
1
โน้มถ่วง คำ�นวณได้จากสมการ Ep = mgh และพลังงานศักย์ยด ื หยุน
่ คำ�นวณได้จากสมการ Eps = kx 2
2
แรงที่กระทำ�ต่อวัตถุแล้วทำ�ให้เกิดงานที่มีค่าไม่ขึ้นกับเส้นทางการเคลื่อนที่ เรียกว่า แรงอนุรักษ์
(conservative force) โดยงานของแรงอนุรักษ์มีความสัมพันธ์กับพลังงานศักย์ตามสมการ

ถ้างานที่เกิดขึ้นกับวัตถุมีเฉพาะงานเนื่องจากแรงอนุรักษ์เท่านั้น พลังงานกลของวัตถุจะคงตัว ซึ่ง


เป็นไปตามกฎการอนุรักษ์พลังงานกล (law of conservation of mechanical energy) ทั้งนี้ พลังงาน
ศักย์อาจเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ หรือ พลังงานจลน์อาจเปลี่ยนเป็นพลังงานศักย์ได้
กฎการอนุรักษ์พลังงานกลสามารถนำ�มาใช้ในการอธิบาย พยากรณ์ และคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ เช่น การเคลื่อนที่ของวัตถุติดสปริง การเคลื่อนที่ภายใต้สนามโน้มถ่วง
เป็นต้น
เครื่องกล (machine) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้การทำ�งานสะดวกขึ้นหรือง่ายขึ้น หรือใช้แรงที่น้อยลง
หรือช่วยในการผ่อนแรง เครือ ั เป็นเครือ
่ งกลทีจ่ ด ่ งกลอย่างง่าย (simple machines) มีหกชนิด ได้แก่ คาน
รอก พื้นเอียง ล้อกับเพลา ลิ่ม และสกรู การทำ�งานของเครื่องกลอย่างง่ายสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการ
ของงานและสมดุลกล
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 95

เวลาที่ใช้

บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 20 ชั่วโมง

5.1 งานเนื่องจากแรงคงตัว 2 ชั่วโมง


5.2 งานเนื่องจากแรงไม่คงตัว 1 ชั่วโมง
5.3 กำ�ลัง 1 ชั่วโมง
5.4 พลังงานกล 10 ชั่วโมง
5.5 การอนุรักษ์พลังงานกล 3 ชั่วโมง
5.6 เครื่องกล 3 ชั่วโมง

ความรู้ก่อนเรียน

การเคลื่อนที่ในแนวตรง แรงและผลของแรงลัพธ์ที่มีต่อการเคลื่อนที่ แรงเสียดทาน งานที่เกิด


จากแรงที่อยู่ในแนวเดียวกับการเคลื่อนที่ กำ�ลัง พลังงานกล การถ่ายโอนพลังงาน กฎการอนุรักษ์
พลังงาน หลักการทำ�งานของเครื่องกลอย่างง่าย สมดุลกล โมเมนต์
96 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

นำ�เข้าสู่บทที่ 5
ครูนำ�เข้าสูบ
่ ทที่ 5 โดยใช้รป
ู 2 รูปเป็นสือ
่ ในการอภิปราย รูปหนึง่ เป็นการทำ�กิจกรรมทีอ
่ อกแรงแล้ว
เกิดงาน และ อีกรูปเป็นรูปที่ออกแรงแล้วไม่เกิดงาน แล้วตั้งคำ�ถามกระตุ้นให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อ
ทบทวนเกี่ยวกับงานและพลังงานที่นักเรียนเคยได้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเปิดโอกาสให้
นักเรียนตอบอย่างอิสระ ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง
ครูอาจใช้ตัวอย่างรูปการทำ�กิจกรรมต่อไปนี้ให้นักเรียนพิจารณา

รูป 5.1 การทำ�กิจกรรมต่าง ๆ

จากรูป อาจพิจารณาได้ว่า รูปทุกรูปมีงานเกิดขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่า นักเรียนพิจารณาลักษณะอะไร


ยกตัวอย่างเช่น รูปผู้หญิงนั่งพิมพ์คีย์บอร์ด ถ้าพิจารณานิ้วที่กดปุ่มบนคีย์บอร์ด ถือว่า มีงานเกิดขึ้นเพราะ
มีแรงทีน
่ วิ้ กดทำ�ให้ปม
ุ่ มีการเคลือ
่ นที่ แต่ถา้ พิจารณาทีต
่ วั ผูห
้ ญิงทีน
่ งั่ อยูก
่ บ
ั ที่ จะถือว่า ไม่เกิดงาน เพราะไม่มี
การเคลื่อนที่ หรือ อีกตัวอย่างหนึ่งคือ คนขับรถ ถ้าพิจารณามือที่ใช้หมุนพวงมาลัย จะถือว่ามีงานเกิดขึ้น
แต่ถ้าพิจารณาตัวคนขับ ถือว่า ไม่มีงานเกิดขึ้นเนื่องจากแรงโน้มถ่วง เพราะ คนขับรถไม่ได้มีการเคลื่อนที่
ขึ้นหรือลง
ครูใช้คำ�ถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า งานมีความสัมพันธ์กับพลังงานอย่างไร และ
ความเข้าใจเกีย่ วกับงานและพลังงานสามารถนำ�ไปอธิบายการเคลือ
่ นทีข
่ องวัตถุได้เหมือนหรือแตกต่างจาก
การใช้กฎการเคลือ
่ นทีข
่ องนิวตันทีน
่ ก
ั เรียนได้เรียนรูม
้ าแล้วอย่างไร โดยครูเปิดโอกาสให้นก
ั เรียนตอบอย่าง
อิสระ ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง
ครูชี้แจงหัวข้อที่นักเรียนจะได้เรียนรู้ในบทที่ 5 และคำ�ถามสำ�คัญที่นักเรียนจะต้องตอบได้หลังจากการ
เรียนรู้บทที่ 5 ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 97

5.1 งานเนื่องจากแรงคงตัว
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของงานในวิชาฟิสิกส์
2. วิเคราะห์และคำ�นวณงานของแรงคงตัวจากสมการและพื้นที่ใต้กราฟระหว่างแรงกับตำ�แหน่ง
3. บอกความหมายของงานที่มีค่าเป็นบวก เป็นลบ หรือเป็นศูนย์

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

1. เมือ่ มีการออกแรงกระทำ�ต่อวัตถุ จะมีงานเกิด 1. เมื่อมีการออกแรงกระทำ�ต่อวัตถุ อาจเกิด


ขึ้นเสมอ งานหรือไม่เกิดงานก็ได้ เช่น ในกรณีที่การกระ
จัดของวัตถุเป็นศูนย์หรือตั้งฉากกับแรง จะไม่มี
งานเกิดขึ้น

2. งานเป็นปริมาณเวกเตอร์ เพราะงานขึ้นกับ 2. งานเป็นปริมาณสเกลาร์ เพราะเป็นผลคูณ


การกระจัดและแรงซึ่งเป็นปริมาณเวกเตอร์ ระหว่างขนาดของแรง ขนาดของการกระจัด
และมุมระหว่างแรงกับการกระจัด ซึ่งล้วนเป็น
ปริมาณสเกลาร์

3. เ ค รื่ อ ง ห ม า ย บ ว ก แ ล ะ ล บ ข อ ง ง า น เ ป็ น 3. เครื่องหมายบวกและลบของงาน เป็น


เครื่องหมายบอกว่างานเป็นปริมาณเวกเตอร์ เครื่องหมายที่บอกว่า แรงกับการกระจัดทำ�มุม
อย่างไรต่อกัน

สิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้า
รูปการทำ�กิจกรรมต่าง ๆ ทีเ่ กิดงานและไม่เกิดงานในวิชาฟิสก
ิ ส์ สำ�หรับทบทวนความเข้าใจเกีย่ วกับงาน
และพลังงาน

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ของหัวข้อ 5.1 จากนั้น ครูอธิบายเกี่ยวกับการหาค่าของงานตามราย
ละเอียดในหนังสือเรียนจนสรุปได้สมการ (5.1) ตามหนังสือเรียน โดยครูเน้นว่า สมการ (5.1) ใช้กับกรณี
 
ที่ทิศทางของแรง F และการกระจัด ∆x อยู่ในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนที่บนพื้นระดับหรือ
พื้นเอียง
98 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ครูอาจให้นักเรียนสืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติของเจมส์ เพรสกอต จูล นอกเวลาเรียน


ครูยกตัวอย่างการออกแรงที่ไม่อยู่ในแนวเดียวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ เช่น ช้างลากซุง การดึงกล่อง
ด้วยเชือก โดยแรงมีทศ
ิ ทำ�มุมกับการกระจัด แล้วให้นก
ั เรียนอภิปรายร่วมกันว่า งานของแรงดังกล่าวแตกต่าง
จากกรณีทผ
ี่ า่ นมาอย่างไร จนสรุปได้สมการ (5.2) จากนัน
้ ให้นก
ั เรียนพิจารณาค่าของ cosq ทีท
่ �ำ ให้คา่ ของ
งานเป็นบวก ลบ หรือ ศูนย์ โดยใช้รูป 5.3 ประกอบการพิจารณา แล้วอภิปรายร่วมกันจนได้ข้อสรุปเกี่ยว
กับค่าบวก ลบ หรือ ศูนย์ ของงานที่ขึ้นกับมุมระหว่างแรงกับการกระจัดที่กระทำ�ต่อกัน
ครูให้นก
ั เรียนยกตัวอย่างงานทีม
่ ค
ี า่ เป็นบวกและงานทีม
่ ค
ี า่ เป็นลบในชีวต
ิ ประจำ�วัน เช่น งานของแรงใน
แนวระดับที่ลากวัตถุให้เคลื่อนที่ไปตามพื้นระดับมีค่าเป็นบวก งานของแรงดึงถุงทรายให้ขึ้นในแนวดิ่งมีค่า
เป็นบวก งานของแรงดึงถุงทรายให้เคลื่อนที่ลงจากที่สูงมีค่าเป็นลบ งานของแรงที่ต้านให้วัตถุเคลื่อนที่
ช้าลงมีค่าเป็นลบ เป็นต้น ทั้งนี้ ครูควรเน้นให้นักเรียนทราบด้วยว่า งานที่เกิดจากแรงที่มีทิศทางตรงข้าม
กับทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุจะเป็นลบเสมอ เครื่องหมายบวกและลบของงานมิได้เป็นสิ่งแสดง
ทิศทางของงาน เพราะงานเป็นปริมาณ สเกลาร์ จึงไม่มีทิศทาง
ครูอธิบายตัวอย่าง 5.1 และ 5.2 ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน จากนั้นครูนำ�อภิปรายเกี่ยวกับ งาน
เนื่องจากแรงดึงดูดของโลกบริเวณใกล้ผิวโลก โดยเริ่มจากครูตั้งคำ�ถามให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า ใน
กรณีที่วัตถุตกแบบเสรีจากที่สูง มีแรงอะไรที่กระทำ�ต่อวัตถุและมีงานเกิดขึ้นหรือไม่ โดยครูเปิดโอกาสให้
นักเรียนตอบอย่างอิสระ ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง
หลังจากได้คำ�ตอบของนักเรียน ครูนำ�อภิปรายเกี่ยวกับ งานเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกบริเวณใกล้
ผิวโลกจนสรุปได้ว่า งานเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกบริเวณใกล้ผิวโลกมีค่าขึ้นกับผลต่างของระดับความสูง
ในแนวดิ่งระหว่างจุดต้นกับจุดปลาย
ครูอธิบายตัวอย่าง 5.3 ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน จากนัน
้ ให้นก
ั เรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความ
เข้าใจและทำ�แบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.1 โดยอาจมีการเฉลยคำ�ตอบและอภิปรายคำ�ตอบร่วมกัน

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับการหางานเนื่องจากแรงคงตัวจากคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและแบบฝึกหัดท้าย
หัวข้อ 5.1
2. ทักษะการใช้จำ�นวนจากการคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ในแบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.1
3. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความมีเหตุผล จากการอภิปรายร่วมกัน
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 99

แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 5.1

 
1. งาน W ของแรงคงตัว F ที่กระทำ�ต่อวัตถุให้เคลื่อนที่ด้วยการกระจัด ∆x หาได้อย่างไร
แนวคำ�ตอบ หาจากผลคูณระหว่างแรงกับการกระจัดที่อยู่ในแนวเดียวกัน ตามสมการ
W = F ∆x cos θ
2. ออกแรงยกถุงให้เคลื่อนที่ขึ้นเป็นระยะทางต่างกัน งานที่ท�ำ ในแต่ละกรณีเท่ากัน หรือไม่
แนวคำ�ตอบ งานที่ทำ�อาจจะเท่าหรือไม่เท่ากันก็ได้ เพราะงานในการยกวัตถุด้วยอัตราเร็ว
สม่�ำ เสมอขึน
้ กับความสูงในแนวดิง่ ของวัตถุทเี่ ปลีย่ นไป ตามสมการ W = mg (h f − hi ) โดย
ไม่ขึ้นกับเส้นทางการเคลื่อนที่ หากระยะทางต่างกันแต่ความสูงในแนวดิ่งเปลี่ยนไปเท่ากัน
งานก็จะเท่ากัน
3. เด็กคนหนึ่งปีนต้นมะพร้าวที่ลำ�ต้นตรงในแนวดิ่ง การปีนขึ้นในแนวดิ่งกับการใช้บันไดพาด
ที่เอียงทำ�มุมกับพื้นดิน งานที่ทำ�แต่ละครั้งเท่ากันหรือไม่ ให้เหตุผล
แนวคำ�ตอบ สมมติเด็กมีน้ำ�หนัก mg ขึ้นต้นมะพร้าวถึงตำ�แหน่งสูงจากพื้น h เท่ากัน
ไม่วา่ จะปีนขึน
้ โดยตรงหรือใช้บน
ั ไดพาดต้นมะพร้าวทำ�มุม q กับพืน
้ ดิน งานทีท
่ �
ำ W แต่ละครัง้
มีค่าเท่ากันคือ mgh ดังนี้
ในกรณีที่ปีนขึ้นในแนวดิ
= ่ง W (=mg )(h) mgh
h
ในกรณีที่ใช้บันไดพาด W = (mg sin θ )( s ) = (mg )( s ) = mgh
s

h s

mg mg

θ
รูป การปีนต้นมะพร้าว
100 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

4. นักท่องเทีย่ วแบกเป้ไว้บนหลัง เดินในแนวระดับได้ไกล 100 เมตร งานทีท


่ �ำ ในการแบกเป้เป็น
เท่าใด
แนวคำ�ตอบ งานในในการแบกเป้ของนักท่องเทีย่ วเป็นศูนย์ เพราะการเดินในแนวระดับ ความสูง
ในแนวดิง่ ไม่เปลีย่ นแปลง เนือ
่ งจากแรง (น้�ำ หนักของเป้) มีทศ
ิ ทางลงและการกระจัดมีทศ
ิ ทาง
ตั้งฉากกับแรง จะได้
การกระจัด

น้ำหนักของเป
รูป น้�ำ หนักและการกระจัดของเป้

เฉลยแบบฝึกหัด 5.1

1. ชาวบ้านคนหนึ่งหิ้วถังน้ำ�หนัก 200 นิวตัน เคลื่อนที่ไปบนพื้นราบได้ระยะทาง 10 เมตร ดังรูป


จงหางานในการหิ้วถังน้�ำ

10 m
รูป ประกอบแบบฝึกหัด 5.1 ข้อ 1

วิธีทำ� เนื่องจากชาวบ้านคนนี้เคลื่อนที่ในแนวราบ ส่วนน้ำ�หนักของถังน้ำ�อยู่ในแนวดิ่ง ดังรูป

ทิศทางการเคลื่อนที่

200 N
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 101

ดังนั้น งานในการเคลื่อนถังน้ำ� W = F ∆x cos90


= F ∆x(0)
= 0J
ตอบ งานในการหิ้วถังน้�ำ เท่ากับ 0 จูล

2. นักเรียนคนหนึ่งถือของมวล 10 กิโลกรัม นั่งอยู่บนรถตู้ซึ่งแล่นไปบนถนนราบได้ระยะทาง


50 เมตร เด็กคนนี้จะทำ�งานเท่าใด
วิธีทำ� เนื่องจากเป็นการเคลื่อนที่ในแนวราบ น้ำ�หนักของมวล 10 กิโลกรัม อยู่ในแนวดิ่ง
ดังนั้น งานที่ใช้ในการเคลื่อนที่มวล W = F ∆x cos 90
= F ∆x(0)
= 0J
ตอบ นักเรียนคนนี้ทำ�งาน 0 จูล

3. นักเรียนคนหนึ่งดึงก้อนวัตถุน้ำ�หนัก 5 นิวตัน เคลื่อนที่บนพื้นเอียงที่มีแรงเสียดทานน้อยมาก


จาก R ถึง Q ดังรูป จงหางานที่ใช้ในการเคลื่อนวัตถุ จาก R ถึง Q

Q
5m

R
4m

รูป ประกอบแบบฝึกหัด 5.1 ข้อ 3


Q
วิธีทำ�
5m

3m
θ
in
gs
m θ mg = 5 N R
mg = 5 N
4m
102 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

จากรูป งานที่ใช้ในการดึงวัตถุ W = (mg sin θ )(∆x)


3
= (5 N )( )(5 m)
5
= 15 J

ตอบ งานที่ใช้ในการเคลื่อนวัตถุจาก R ถึง Q เท่ากับ 15 จูล

4. วัวตัวหนึ่งออกแรง 124 นิวตัน ลากเลื่อนไปบนพื้นราบ โดยแนวแรงทำ�มุม 30 องศา กับพื้น


จงหางานเนื่องจากแรงนี้ เมื่อเลื่อนเคลื่อนที่ไปตามพื้นราบเป็นระยะทาง 0.50 กิโลเมตร
วิธีทำ� จาก W = F ∆x cos θ
3
= (125 N )(0.50 × 103 m)( )
2
= 5.4 × 10 J
4

ตอบ งานที่ใช้ในการลากเลื่อนเท่ากับ 5.4 × 10 J จูล


4

5. ชายคนหนึ่งใช้เชือกลากกล่องไม้มวล 60.0 กิโลกรัม ด้วยอัตราเร็วสม่�ำ เสมอ เป็นระยะทาง


1.0 กิโลเมตร ถ้าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างพื้นกับกล่องไม้เท่ากับ 0.02 จงหา
ก. งานที่ชายคนนี้ทำ�
ข. งานเนื่องจากแรงเสียดทานระหว่างพื้นกับกล่องไม้
ก. วิธีท�ำ หางานที่ชายคนนี้ทำ�
ให้ F เป็นแรงที่ใช้ในการลากกล่องไปบนพื้นราบฝืดด้วยอัตราเร็วสม่�ำ เสมอ จะได้
F = µ N = µ mg
2
= (0.02)(60 kg)(9.8 m/s )


W = F ∆x

3
= (11.76 N)(1.0×10 m)


4
= 1.18 × 10 J

ตอบ งานที่ชายคนนี้ทำ�เท่ากับ 1.2 × 10 จูล


4
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 103

ข. วิธีทำ� หางานที่ทำ�โดยแรงเสียดทาน โดยที่แรงเสียดทาน f มีขนาดเท่ากับแรง F


ดังนั้น งานของแรงเสียดทานจึงเท่ากับงานของแรง F แต่มีเครื่องหมายเป็นลบ
ตอบ งานของแรงเสียดทานเท่ากับ −1.2 × 10 จูล
4

5.2 งานเนื่องจากแรงไม่คงตัว
จุดประสงค์การเรียนรู้
วิเคราะห์และคำ�นวณงานของแรงไม่คงตัวจากพื้นที่ใต้กราฟระหว่างแรงกับตำ�แหน่ง

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

1. แรงที่กระทำ�ต่อวัตถุทุกแรงเป็นแรงคงตัว 1. แรงส่ ว นใหญ่ ใ นชี วิ ต ประจำ � วั น เป็ น แรงไม่


คงตัว

2. พืน
้ ทีใ่ ต้กราฟคือพืน
้ ทีร่ ะหว่างกราฟกับแกน x 2. พื้ น ที่ ใ ต้ ก ราฟ หมายถึ ง พื้ น ที่ ใ นบริ เ วณ
ในส่วนเหนือแกน x เท่านัน
้ ไม่รวมพืน
้ ทีใ่ ต้แกน x ระหว่างเส้นกราฟกับแกน x ซึ่งรวมทั้งกรณีที่
เส้นกราฟอยู่ใต้แกน x

สิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้า
อุปกรณ์สาธิตแรงไม่คงตัว ได้แก่ เครื่องชั่งสปริง และ สปริง

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่หัวข้อ 5.2 โดยทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับงานเนื่องจากแรงคงตัว จากนั้นตั้งคำ�ถามว่า ใน
กรณีที่ออกแรงผลักหรือดึงกล่องไปบนพื้นลื่น ถ้านำ�ขนาดของแรงคงตัวที่ผลักหรือดึงและตำ�แหน่งที่วัตถุ
เคลื่อนที่มาเขียนกราฟ จะได้กราฟมีลักษณะอย่างไร โดยครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตอบอย่างอิสระ ไม่คาด
หวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง
104 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ครูนำ�อภิปรายจนสรุปได้ว่า กราฟระหว่างขนาดของแรงกับตำ�แหน่งดังกล่าวจะมีลักษณะดังรูป 5.5 ใน


หนังสือเรียน โดยการหางานของแรงสามารถหาได้จากพื้นที่ใต้กราฟ ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน ทั้งนี้
ครูควรเน้นให้นักเรียนทราบด้วยว่า พื้นที่ใต้กราฟ หมายถึงพื้นที่ระหว่างเส้นกราฟกับแกน x ซึ่งรวมทั้ง
กรณีที่กราฟอยู่ใต้แกน x
ครูชี้แจงว่า แรงในชีวิตประจำ�วันบางแรงเป็นแรงที่ไม่คงตัว และในหัวข้อ 5.2 นี้ นักเรียนจะได้ศึกษาว่า
ถ้ามีแรงไม่คงตัวกระทำ�ต่อวัตถุ จะหางานของแรงนั้นได้อย่างไร ครูบอกจุดประสงค์การเรียนรู้ของหัวข้อ
5.2
ครูสาธิตโดยการใช้เครือ
่ งชัง่ สปริงดึงสปริงให้ยด
ื ออก แล้วให้นก
ั เรียนสังเกตสเกลของเครือ
่ งชัง่ สปริง จาก
นั้นครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับแรงที่ใช้ดึงสปริงและแรงของสปริงจนได้ข้อสรุปว่าแรงดังกล่าว
เป็นแรงไม่คงตัวและมีคา่ เปลีย่ นแปลงอย่างสม่�ำ เสมอ เมือ
่ เขียนกราฟระหว่างขนาดของแรงกับตำ�แหน่ง จะ
ได้กราฟดังรูป 5.6 ในหนังสือเรียน และการหางานของแรงไม่คงตัวที่มีค่าเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำ�เสมอ
สามารถหาได้จากพืน
้ ทีใ่ ต้กราฟ โดยพิจารณาให้ขนาดของแรงเป็นขนาดของแรงเฉลีย
่ ดังรายละเอียด
ในหนังสือเรียน
ครูตั้งคำ�ถามว่า ในกรณีที่แรงมีค่าเปลี่ยนแปลงไม่สม่ำ�เสมอ ตามกราฟในรูป 5.7 ในหนังสือเรียน การ
หางานของแรงดังกล่าวจะใช้วิธีใด ทั้งนี้ ครูอาจชี้แนะให้นักเรียนพิจารณาการหาพื้นที่ใต้กราฟระหว่าง
อัตราเร็วกับเวลาที่ได้ศึกษามาแล้วในบทที่ 2 จากนั้น ครูนำ�อภิปรายจนได้ข้อสรุปเกี่ยวกับวิธีการหางาน
เนือ่ งจากแรงไม่คงตัวด้วยการแบ่งพืน
้ ทีใ่ ต้กราฟออกเป็นแถบสีเ่ หลีย่ มผืนผ้าเล็ก ๆ ตามรายละเอียดในหนังสือ
เรียน
ครูอธิบายตัวอย่าง 5.4 ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน จากนัน
้ ครูให้นก
ั เรียนทำ�แบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ
5.2 โดยอาจมีการเฉลยคำ�ตอบและอภิปรายคำ�ตอบร่วมกัน

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับการหางานเนื่องจากแรงไม่คงตัว จากคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและแบบฝึกหัด
ท้ายหัวข้อ 5.2
2. ทักษะการตีความหมายและลงข้อสรุป จากแบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.2
3. ทักษะการใช้จำ�นวนจากการคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ในแบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.2
4. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความมีเหตุผล จากการอภิปรายร่วมกัน
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 105

แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 5.2

1. การหางานของแรงคงตัวและแรงไม่คงตัวที่กระทำ�ต่อวัตถุ มีวิธีการหาเหมือนหรือ ต่างกัน


อย่างไร
แนวคำ�ตอบ
_ เหมือนกันคือ ทั้งงานของแรงคงตัวและงานของแรงไม่คงตัวหาได้จากพื้นที่ใต้กราฟ
ระหว่างแรงกับตำ�แหน่ง
_ ต่างกันคือ งานของแรงคงตัวหาได้จากสมการ W = F ∆x cos θ แต่งานของแรงไม่คงตัว
หาได้ W = Fเฉลี่ย × ∆x

2. ในการหางานจากกราฟระหว่างขนาดของแรงกับขนาดของการกระจัด ถ้าแรงที่กระทำ�ต่อ
วัตถุมีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างสม่ำ�เสมอ จะหาพื้นที่ได้อย่างไร
แนวคำ�ตอบ หางานได้จากพื้นที่ใต้กราฟระหว่างแรงเฉลี่ยกับการกระจัด
โดยแรงเฉลี่ยหาจาก
(แรงที่ต�ำ แหน่งเริ่ม + แรงที่ตำ�แหน่งปลาย)
แรงเฉลี่ย =
2

3. ในการหางานจากกราฟระหว่างขนาดของแรงกับขนาดของการกระจัด ถ้าแรงที่กระทำ�ต่อ
วัตถุมีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไม่สม่�ำ เสมอ จะหาพื้นที่ได้อย่างไร
แนวคำ�ตอบ แบ่งพื้นที่ใต้กราฟเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ในช่วงขนาดของการกระจัด (∆x)
น้อยที่สุด แล้วนำ�พื้นที่ทั้งหมดมารวมกันเป็นงานทั้งหมด

4. สำ�หรับเส้นกราฟระหว่างขนาดของแรงไม่คงตัว F กับขนาดของการกระจัด ∆x F ทีม


่ ค
ี า่ ลบ (-)
มีความหมายอย่างไร
แนวคำ�ตอบ แรง F ที่มีค่าลบหมายความว่าแรงมีทิศทางตรงข้ามกับการเคลื่อนที่จึงทำ�ให้
งานมีค่าเป็นลบ
106 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

เฉลยแบบฝึกหัด 5.2

1. กราฟระหว่างแรงกับการเคลื่อนที่ไปตามพื้นราบลื่นของวัตถุเป็นดังรูป

F (N)

10
5
x (m)
1 2 3 4
รูป ประกอบแบบฝึกหัด 5.2 ข้อ 1

จงหางานที่กระทำ�โดยแรงที่เคลื่อนที่มวลไปตามทางเป็นระยะเท่ากับ 4.0 เมตร


วิธีทำ� จากกราฟ แรงที่ ก ระทำ � ต่ อ วั ต ถุ เ ป็ น แรงไม่ ค งตั ว และมี ก ารเปลี่ ย นแปลงอย่ า งสม่ำ � เสมอ
การหางานของแรงทีม
่ ค
ี า่ เปลีย่ นแปลงอย่างสม่�ำ เสมอ หาได้จากพืน
้ ทีใ่ ต้กราฟระหว่างแรงกับ
ตำ�แหน่ง
F (N)

10 B
A
5
x (m)
D 1 2 3 4C

ดังนั้น งานของแรงนี
้ = พื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู ABCD

1  สูง  ผลบวกของด้านคู่ขนาน
=
2
1
= (4 m)(5 N + 10 N)
2
= 30 J

ตอบ งานที่กระทำ�โดยแรงดังกล่าว มีค่า 30 จูล


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 107

2. แรงทีส่ ปริงกระทำ�กับมวลก้อนหนึง่ แสดงดังกราฟความสัมพันธ์ระหว่างแรงสปริงกับตำ�แหน่งของ


มวลจากตำ�แหน่งสมดุล ดังรูป

แรงสปริง (N)
4.0
3.0
2.0
1.0
ตำแหนง (m)
-0.4 -0.3 -0.2 -0.1 0 0.1 0.2 0.3 0.4
-1.0

-2.0

-3.0
-4.0

รูป ประกอบแบบฝึกหัด 5.2 ข้อ 2

จงหา
ก. งานของแรงสปริงจากตำ�แหน่ง 0 ถึง 0.3 เมตร
ข. งานของแรงสปริงจากตำ�แหน่ง -0.3 ถึง 0.3 เมตร

ก. วิธีทำ� จากกราฟจะเห็นว่าแรงที่สปริงกระทำ�กับมวลเป็นแรงไม่คงตัวและแรงมีทิศทางตรงข้าม
กับตำ�แหน่งเสมอ เราสามารถหางานเนือ
่ งจากแรงสปริงนีจ้ ากพืน
้ ทีใ่ ต้กราฟระหว่างขนาด
ของแรงสปริงกับตำ�แหน่งของมวล ดังรูป

แรงสปริง (N)
4.0
D
3.0
2.0
1.0
E C A ตำแหนง (m)
-0.4 -0.3 -0.2 -0.1 0 0.1 0.2 0.3 0.4
-1.0

-2.0

-3.0
B
-4.0
108 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

งานของแรงสปริงในช่วงจากตำ�แหน่ง 0 ถึง 0.3 เมตรเท่ากับพื้นที่สามเหลี่ยม ABC


1
พื้นที่สามเหลี่ยม ABC = × ฐาน × สูง
2
1
= (0.3 m)(−3 N)
2
= − 0.45 J

ตอบ งานของแรงสปริงจากตำ�แหน่ง 0 ถึง 0.3 เมตรเท่ากับ _0.45 จูล

ข. วิธีทำ� งานของแรงสปริงจากตำ�แหน่ง 0 ถึง -0.3 เมตรเท่ากับพื้นที่สามเหลี่ยม CDE


1
พื้นที่สามเหลี่ยม CDE = × ฐาน × สูง
2
1
= (−0.3 m)(3 N)
2
= − 0.45 J
ดังนั้น งานของแรงสปริงจากตำ�แหน่ง -0.3 ถึง 0.3 เมตร
W = W1 + W2 = (−0.45 J ) + (−0.45 J ) = −0.9 J
ตอบ งานของแรงสปริงจากตำ�แหน่ง -0.3 ถึง 0.3 เมตรเท่ากับ -0.9 จูล

3. กราฟความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงที่กระทำ�ต่อมวลก้อนหนึ่งกับการกระจัดแสดงดังรูป
โดยแรงและการกระจัดทีทิศทางเดียวกัน งานทั้งหมดของแรงนี้เป็นเท่าใด

แรง (N)
6
5
4
3

2
1
0 ตำแหนง (m)
0.0 0.1 0.2 0.3 0.4 0.5 0.6
รูป ประกอบแบบฝึกหัด 5.2 ข้อ 3
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 109

วิธีทำ� แรงทีก
่ ระทำ�กับมวลเป็นแรงไม่คงตัว เราสามารถหางานของแรงนีไ้ ด้โดยการหาพืน
้ ทีใ่ ต้กราฟ
โดยการแบ่งพื้นที่ใต้กราฟออกเป็นส่วนย่อย ๆ แล้วหาผลรวมของพื้นที่ส่วนย่อย ๆ เหล่านั้น
ดังรูป

แรง (N)
6
C F
5

2 B

1
A D E G
0 ตำแหนง (m)
0.0 0.1 0.2 0.3 0.4 0.5 0.6

1
พื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู ABCD = × ผลบวกด้านคู่ขนาน × สูง
2
1
= (2 N + 5 N)(0.1 m)
2
= 0.35 J

พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า CDEF = กว้าง × ยาว

= (0.1 m)(5 N)

= 0.5 J
1
พื้นที่สามเหลี่ยม EFG = × ฐาน × สูง
2
1
= (0.3 m)(5 N)
2
= 0.75 J
110 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

เนื่องจากแรงและการกระจัดมีทิศทางเดียวกัน ดังนั้นงานเนื่องจากแรงนี้จึงมีค่าเป็นบวก

งานทั้งหมด = ผลรวมของพื้นที่ใต้กราฟส่วนย่อย

= 0.35 J + 0.5 J + 0.75 J

= 1.6 J

ตอบ งานทั้งหมดของแรงนี้เท่ากับ 1.6 จูล

4. แรงไม่คงตัวกระทำ�ต่อมวลก้อนหนึง่ ถ้ากราฟระหว่างแรงกับขนาดการกระจัดในแนวการเคลือ
่ นที่
เป็นดังรูป

F (N)

0 0.1 0.2 0.3 0.4 0.5 0.6 x (m)

รูป ประกอบแบบฝึกหัด 5.2 ข้อ 4

งานของแรงนี้มีค่าประมาณเท่าใด
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 111

วิธีทำ� แรงทีก
่ ระทำ�กับมวลเป็นแรงไม่คงตัว เราสามารถหางานของแรงนีไ้ ด้โดยการหาพืน
้ ทีใ่ ต้กราฟ
โดยการแบ่งพื้นที่ใต้กราฟออกเป็นส่วนย่อย ๆ แล้วหาผลรวมของพื้นที่ส่วนย่อย ๆ เหล่านั้น
ดังรูป
F (N)

5
E F
4

3
A D
2
G J

1
B C H I
0 0.1 0.2 0.3 0.4 0.5 0.6 x (m)

พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า ABCD = กว้าง × ยาว


= (2.5 N)(0.2 m)
= 0.5 J
พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า CEFH = กว้าง × ยาว
= (4 N)(0.2 m)
= 0.8 J
พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า GHIJ = กว้าง × ยาว
= (1.5 N)(0.2 m)
= 0.3 J
เนื่องจากแรงและการกระจัดมีทิศทางเดียวกัน ดังนั้นงานเนื่องจากแรงนี้จึงมีค่าเป็นบวก
งานทั้งหมด = ผลรวมของพื้นที่ใต้กราฟส่วนย่อย
= 0.5 J + 0.8 J + 0.3 J
= 1.6 J
ตอบ งานทั้งหมดของแรงนี้เท่ากับ 1.6 จูล
112 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

5.3 กำ�ลัง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของกำ�ลังและกำ�ลังเฉลี่ย
2. คำ�นวณกำ�ลังเฉลี่ย

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

1. กำ�ลังมีความหมายเดียวกับพลังงาน 1. กำ�ลังหมายถึง งานที่ท�ำ ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา


มี ห น่ ว ยเป็ น หน่ ว ยของพลั ง งานต่ อ หน่ ว ยของ
เวลา เช่น จูลต่อวินาที (J/s) หรือ วัตต์ (W)

2. กำ�ลังมีความหมายเดียวกับแรง เช่น ลิฟต์มี 2. กำ�ลังเกี่ยวข้องกับแรง โดยเป็นอัตราการ


กำ�ลังมาก หมายถึง ลิฟต์มีแรงดึงมาก ทำ�งานของแรงซึ่งขึ้นกับงานของแรงและเวลา
ที่ใช้ในการทำ�งานนั้น

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่หัวข้อ 5.3 โดยยกสถานการณ์ที่มีการทำ�งานได้ปริมาณเท่ากันแต่ใช้เวลาต่างกันแล้วใช้
คำ�ถามให้นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับการทำ�งานเทียบกับเวลา โดยครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตอบอย่างอิสระ
ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง
ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ของหัวข้อ 5.3 จากนั้น ครูนำ�อภิปรายจนนักเรียนเข้าใจแนวคิดเกี่ยว
กับกำ�ลัง กำ�ลังเฉลี่ย และการคำ�นวณกำ�ลังเฉลี่ย ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน ทั้งนี้ ครูอาจให้นักเรียน
ศึกษาประวัติของเจมส์ วัตต์ เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน

ครูอธิบายตัวอย่าง 5.5 และ 5.6 ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน จากนั้น ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถาม


ตรวจสอบความเข้าใจและทำ�แบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.3 โดยอาจมีการเฉลยคำ�ตอบและอภิปรายคำ�ตอบ
ร่วมกัน
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 113

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับความหมายของกำ�ลัง จากคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและแบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.3
2. ทักษะการใช้จำ�นวนจากการคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ในแบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.3
3. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความมีเหตุผล จากการอภิปรายร่วมกัน

แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 5.3

1. กำ�ลังเฉลี่ยเกี่ยวข้องกับปริมาณใดบ้าง
แนวคำ�ตอบ กำ�ลังเฉลี่ยเกี่ยวข้องกับ งานที่ทำ�ได้ (W ) และช่วงเวลาที่ใช้ (∆t ) โดยปริมาณ
ทั้งสามมีความสัมพันธ์กันดังสมการ
งานที่ทำได้ (W)
กำลังเฉลี่ย =
ช่วงเวลาที่ใช้ (∆t )
2. กำ�ลังเฉลี่ยของเครื่องกลชนิดเดียวกันสองเครื่องที่มีก�ำ ลังไม่เท่ากันบ่งบอกอะไรแก่เรา
แนวคำ�ตอบ ในเวลาเท่ากัน เครื่องกลที่มีก�ำ ลังเฉลี่ยมากกว่าจะทำ�งานได้มากกว่า

3. สมมติเส้นทางขึ้นไปยังน้ำ�ตกในอุทยานแห่งหนึ่งมีสองเส้นทาง เส้นทางแรก คดเคี้ยวแต่


ลาดชันน้อย เส้นทางที่สองลาดชันมาก เส้นทางใดขึ้นได้ง่ายกว่า เพราะเหตุใด
แนวคำ�ตอบ เส้นทางทีล่ าดชันน้อยขึน
้ ได้งา่ ยกว่า เพราะแรงทีใ่ ช้ในการเดินขึน
้ ทีส่ งู น้อยกว่า
114 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

เฉลยแบบฝึกหัด 5.3

1. นักวิ่งคนหนึ่งมีมวล 60 กิโลกรัม วิ่งแข่งขันขึ้นอาคาร 25 ชั้น ด้วยอัตราคงตัว โดยใช้เวลา 10 นาที


แต่ละชั้นสูง 3.2 เมตร จงหากำ�ลังเฉลี่ยของนักวิ่ง
W
วิธีทำ� กำ�ลังเฉลี่ยของนักวิ่ง Pav =
∆t
งานที่นักวิ่งทำ�ได้ W = F ∆x = (60 kg )(9.8 m/s 2 )(25 × 3.2m)

= 47040 J
47040 J
ดังนั้น Pav = = 78.4 W
10 × 60 s
ตอบ กำ�ลังเฉลี่ยของนักวิ่งเท่ากับ 78.4 วัตต์

2. เครื่องยนต์ของเรือลำ�หนึ่งมีกำ�ลัง 3 กิโลวัตต์ สามารถทำ�ให้เรือแล่นได้ด้วยอัตราเร็วคงตัว


5.0 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จงหาแรงจากเครื่องยนต์ที่ท�ำ ให้เรือลำ�นี้แล่น

วิธีทำ� จาก

Pav 3 × 103 W
ดังนั้น F = =
v 9.0 km/h

3 ×103 W
=
2.5 m/s
= 1200 N

ตอบ แรงจากเครื่องยนต์ที่ท�ำ ให้เรือลำ�นี้แล่นเท่ากับ 1200 นิวตัน


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 115

3. เครื่องยนต์ของรถยนต์คันหนึ่งมีกำ�ลัง 60 กิโลวัตต์ ถ้าแรงจากเครื่องยนต์ที่ท�ำ ให้รถเคลื่อนที่มี


ค่า 4000 นิวตัน รถยนต์สามารถเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วกี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง

W F ∆x
วิธีคิด กำ�ลังเป็นงานที่ทำ�ได้ในหน่วยเวลา หรือ Pav = = = Fv
∆t ∆t

จาก Pav = Fv

แทนค่า 60 × 103 W= ( 4000 N ) v

จะได้ v = 15 m s

15 ×10−3 km
=
 1 
 h
 3600 
15 × 3600
= km/h
1000

v = 54 km/h

ตอบ รถยนต์สามารถเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 54 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


116 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

5.4 พลังงานกล
ครูนำ�เข้าสู่หัวข้อ 5.4 โดยตั้งคำ�ถามให้นักเรียนอภิปรายและทบทวนเกี่ยวกับความหมายของงาน
ความหมายของพลังงาน และชนิดของพลังงาน เช่น
1. พลังงาน คืออะไร
2. พลังงานกล แบ่งเป็นพลังงานชนิดใดบ้าง
จากนั้นครูใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนอภิปรายว่า งานและพลังงานมีความสัมพันธ์กันอย่างไร โดยครูเปิด
โอกาสให้นักเรียนตอบอย่างอิสระ ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง

5.4.1 พลังงานจลน์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายและคำ�นวณพลังงานจลน์
2. ทดลองเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างงานของแรงลัพธ์กับพลังงานจลน์
3. อธิบายและประยุกต์ใช้ทฤษฎีบทงาน-พลังงานจลน์ในการแก้ปัญหา

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

1. พลังงานจลน์สามารถมีคา่ เป็นลบได้เช่นเดียว 1. พลังงานจลน์มค


ี า่ เป็นบวกเท่านัน
้ เพราะมีคา่
กับงาน เท่ากับผลคูณระหว่างมวลกับอัตราเร็วยกกำ�ลัง
สอง

2. พลังงานจลน์ของวัตถุที่เปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับ 2. พลังงานจลน์ของวัตถุทเี่ ปลีย


่ นไปขึน ้ อยูก
่ บ

เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ มวลและอัตราเร็วของวัตถุเท่านัน ้ ไม่ขน
ึ้ กับเส้น
ทางการเคลื่อนที่

3. วั ต ถุ ที่ เ คลื่ อ นที่ เ ร็ ว กว่ า จะมี พ ลั ง งานจลน์ 3. วั ต ถุ ที่ มี ม วลมากแต่ เ คลื่ อ นที่ ช้ า อาจมี
มากกว่าวัตถุที่เคลื่อนที่ช้ากว่า พลั ง งานจลน์ ม ากกว่ า วั ต ถุ ที่ มี ม วลน้ อ ยแต่
เคลือ
่ นทีเ่ ร็ว เพราะพลังงานจลน์ขน ึ้ อยูก่ บ
ั ทัง้ มวล
และอัตราเร็วของวัตถุ

4. ทฤษฎีบทงาน-พลังงานจลน์ ใช้ได้กบ
ั งานของ 4. ทฤษฎีบทงาน-พลังงานจลน์ ใช้ได้กบ
ั งานของ
แรงแต่ละแรง แรงลัพธ์เท่านั้น
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 117

สิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้า
1. ชุดอุปกรณ์กิจกรรม 5.1 การทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานจลน์
2. แบบบันทึกผลการทำ�กิจกรรรม 5.1
3. ถ้าจะมีการแจกแนวทางการให้คะแนนการประเมินทักษะต่าง ๆ จากการทำ�กิจกรรม ให้จัดเตรียม
เอกสารให้เพียงพอกับจำ�นวนนักเรียน

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ของหัวข้อ 5.4.1 แล้วยกตัวอย่างสถานการณ์เพื่ออภิปรายเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานจลน์ เช่น การผลักกล่องให้เคลื่อนที่ด้วยแรงแตกต่างกัน โดยตั้ง
คำ�ถามว่า แรงที่แตกต่างกันทำ�ให้พลังงานจลน์ของกล่องแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร โดยครูไม่คาดหวังคำ�
ตอบที่ถูกต้อง จากนั้น ครูให้นักเรียนหาคำ�ตอบจากการทำ�กิจกรรม 5.1

กิจกรรม 5.1 การทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานจลน์

จุดประสงค์
1. คำ�นวณงานของแรงดึงรถทดลองและอัตราเร็วของรถทดลอง
2. เขียนและวิเคราะห์กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างงานของแรงดึงรถทดลองกับอัตราเร็ว
ของรถทดลองยกกำ�ลังสอง
3. อภิปรายเพื่อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างงานของแรงดึงรถทดลองกับพลังงานจลน์
ของรถทดลอง

เวลาที่ใช้ 90 นาที

วัสดุและอุปกรณ์
1. ชุดเครื่องเคาะสัญญาณเวลาพร้อมแถบกระดาษ 1 ชุด
2. รางไม้พร้อมแขนราง 1 ชุด
3. หม้อแปลงโวลต์ต่ำ�พร้อมสายไฟ 1 ชุด
4. รถทดลอง 1 คัน
5. นอตโลหะ 4 ตัว
6. เชือกยาวประมาณ 80 เซนติเมตร 1 เส้น
7. ไม้เมตร 1 อัน
118 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

แนะนำ�ก่อนการทำ�กิจกรรม

1. ในการปล่อยรถทดลองนั้น จะต้องปล่อยจากตำ�แหน่งเดียวกันทุกครั้ง
2. เส้นเชือกที่ใช้ในการลากรถและแขวนนอต ควรให้มีความยาวพอดีที่จะทำ�ให้รถทดลองอยู่
ห่างจากปลายรางมากกว่า 60 เซนติเมตร และนอตอยู่สูงจากพื้นมากกว่า 60 เซนติเมตร ดังรูป 5.2
m

mg

60 cm

รูป การจัดอุปกรณ์กิจกรรม 5.1


3. ครูควรเน้นว่าระยะที่รถเคลื่อนที่ ∆x ซึ่งเท่ากับ 50 เซนติเมตรนั้น คือระยะที่วัดจากแถบ
กระดาษ ดังนั้น จะต้องวัดจากจุดแรกบนแถบกระดาษไปเป็นระยะ 50 เซนติเมตร เพื่อการหา
อัตราเร็วของรถทดลอง เมื่อเคลื่อนที่ได้ 50 เซนติเมตร จากแถบกระดาษให้หาอัตราเร็วที่จุดบน
แถบกระดาษที่อยู่ใกล้กับตำ�แหน่ง 50 เซนติเมตร มากที่สุด ดังรูป 5.3

ระยะที่วัด
เพื่อหาอัตราเร็ว
ระยะ 50 cm

จุดเริ่มตน หาอัตราเร็ว
ของการเคลื่อนที่ ที่จุดนี้

รูป การหาอัตราเร็วของรถจากแถบกระดาษเมื่อเคลื่อนที่ได้ 50 เซนติเมตร


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 119

4. ครูชี้แจงให้ทราบว่าแรงดึงรถทดลอง F คือแรงดึงในเส้นเชือกซึ่งสามารถหาได้จากกฎการ
เคลื่อนที่ของนิวตันดังนี้
ให้ m และ m′ เป็นมวลของรถทดลองและนอตตามลำ�ดับ
T เป็นแรงตึงในเส้นเชือก
a เป็นความเร่งของระบบ

a
T m

a T

mg

รูป แรงและความเร่งของวัตถุในระบบ

จากกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน จะได้ว่า

ที่มวล m′ m′g − T = m′a (1)

ที่มวล m T = ma (2)
mm′g
จาก (1) และ (2) หา จะได้ T =
m + m′
mm′g
นั่นคือ F = T =
m + m′
สำ�หรับค่าของ g ในการทดลองนี้ใช้ g = 9.8 m/s2
5. การชั่งหามวลของรถและนอตที่ใช้ ครูควรให้นักเรียนใช้เครื่องชั่งที่มีความละเอียดถึง 1 กรัม
6. จับรถทดลองไว้โดยให้แถบกระดาษดึงรถทดลอง เมื่อกดสวิตซ์เครื่องเคาะสัญญาณเวลา
แล้วจึงปล่อยรถทดลองให้เคลื่อนที่
120 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ตัวอย่างข้อมูลที่ได้จากการทำ�กิจกรรม

จำ�นวนนอต มวลของนอต มวลของรถ ขนาดแรงดึง ระยะที่รถ อัตราเร็ว v2 งานที่ทำ�โดย


(ตัว) m′ (kg) m (kg) รถ เคลื่อนที่ สุดท้าย (m/s)2 แรง F
mm′g
F= ∆x (m) v (m/s) (N m)
m + m′
(N)
1 0.018 0.50 0.17 0.50 0.60 0.36 0.09
2 0.036 0.50 0.34 0.50 0.84 0.70 0.17
3 0.054 0.50 0.49 0.50 0.96 0.93 0.25
4 0.072 0.50 0.63 0.50 1.10 1.21 0.32

นำ�ข้อมูลจากตารางมาเขียนกราฟระหว่าง F∆x กับอัตราเร็วของรถทดลองยกกำ�ลังสอง v2 ได้


ดังรูป 5.5

Fs (J)

0.30

0.25

0.20
∆(Fs)
0.15

0.10

0.05 ∆(v 2)
2 2 2
v ( m /s )
0 0.3 0.6 0.9 1.2 1.5

รูป 5.2 กราฟระหว่างงาน F∆x กับอัตราเร็วของรถทดลองยกกำ�ลังสอง v2


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 121

ความชันของกราฟ = ∆( F ∆x)
∆ (v 2 )
0.31 J − 0.07 J
=
1.2(m/s) 2 − 0.3 (m/s) 2
0.24 J
=
0.90 (m/s) 2
= 0.27 kg

แนวคำ�ตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม

□ กราฟที่ได้มีลักษณะอย่างไร
แนวคำ�ตอบ เป็นกราฟเส้นตรง

□ จากลักษณะของกราฟ  สรุปความสัมพันธ์ระหว่างงานกับกำ�ลังสองของอัตราเร็วสุดท้ายได้
อย่างไร
แนวคำ�ตอบ งานแปรผันตรงกับกำ�ลังสองของอัตราเร็วสุดท้าย

□ จากกราฟระหว่าง F∆ x กับ v 2 ความชันของกราฟคือค่าใด


แนวคำ�ตอบ ครึ่งหนึ่งของมวลรถ หรือ m
2

อภิปรายหลังการทำ�กิจกรรม
ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม และบันทึกคำ�ตอบในแบบบันทึกผลการทำ�กิจกรรม จากนั้นครู
นำ�นักเรียนอภิปรายโดยใช้ค�ำ ตอบจากคำ�ถามท้ายกิจกรรม จนสรุปได้ว่า
1. งานที่ทำ�โดยแรงดึงรถทดลองเป็นสัดส่วนตรงกับอัตราเร็วของรถยกกำ�ลังสอง เขียนได้ว่า
F ∆x ∝ v 2 หรือ F ∆x = kv 2
2. ความชันของกราฟ k มีค่าคงตัว และเท่ากับครึ่งหนึ่งของมวลรถ ดังนั้น
m
k=
2
3. งานที่เกิดจากแรงดึงรถทดลองเท่ากับพลังงานจลน์ของรถทดลอง และเท่ากับ หรือ
1 2
F ∆x = mv
2
122 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ข้อแนะนำ�เพิ่มเติมสำ�หรับครู
1. ถ้าใช้ห่วงเหล็กเป็นที่แขวนนอต การชดเชยแรงเสียดทานต้องชดเชยขณะที่มีห่วงเหล็กผูกเชือก
คล้องอยู่กับรถทดลองด้วย
2. เมื่อนำ�ผลการทดลองมาเขียนกราฟ ถ้าชดเชยแรงเสียดทานได้พอดี จะพบว่าเส้นกราฟจะผ่านจุด
กำ�เนิดพอดี แต่หากมีการชดเชยแรงเสียดทานมากไปหรือน้อยไป จะทำ�ให้กราฟไม่ผ่านจุดกำ�เนิด
1 2
พิจารณาได้จาก ∑ F ∆x = mv
2
ให้แรงที่ฉุดรถเป็น (F) มีแรงเสียดทาน (f) และชดเชยแรงเสียดทานด้วยแรง mg sin θ เมื่อ q

เป็นมุมระหว่างพื้นรางกับแนวระดับ จะได้
1 2
( F − f + mg sin θ ) = mv
2
1
F ∆x − ( f ∆x + mg ∆x sin θ ) = mv 2
2
จัดรูปให้อยู่ในลักษณะของสมการเส้นตรง y = kx + c
1 2
จะได้ F ∆x = mv + ( f − mg sin θ )∆x
2
จะเห็นว่าถ้าเมื่อเขียนกราฟระหว่างงานแรงฉุด (F ∆x ) กับ กำ�ลังสองความเร็ว (v2) จะมีจุดตัดแกนตั้งที่
(c) เป็น ( f − mg sin θ )∆x สรุปได้คือ ถ้า
c = 0 กราฟผ่านจุดกำ�เนิด ชดเชยแรงเสียดทานได้พอดี mg sin θ = f
c > 0 กราฟผ่านเหนือจุดกำ�เนิด ชดเชยแรงเสียดทานน้อยไป mg sin θ < f
c < 0 กราฟผ่านใต้จุดกำ�เนิด ชดเชยแรงเสียดทานมากไป mg sin θ > f

จากนั้น ครูนำ�อภิปรายเกี่ยวกับ งานกับการเปลี่ยนพลังงานจลน์ของวัตถุ โดยใช้สถานการณ์ที่วัตถุ


มีการเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วต้นไม่เท่ากับศูนย์ ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน จนสรุปได้สมการ (5.6)
และทฤษฎีบทงาน-พลังงานจลน์
ครูเน้นกับนักเรียนว่า พลังงานจลน์ของวัตถุที่เปลี่ยนไปนั้นอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ขึ้นอยู่กับ
ทิศทางของแรงที่มากระทำ� กล่าวคือ ถ้าแรงที่มากระทำ�มีทิศทางเดียวกับทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ จะ
ทำ�ให้พลังงานจลน์ของวัตถุเพิ่มขึ้น แต่ถ้าแรงที่มากระทำ�มีทิศทางตรงข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ
จะทำ�ให้พลังงานจลน์ของวัตถุลดลง
ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานบวกและงานลบที่นักเรียนเคยศึกษามาแล้วว่า เมื่อให้งานที่เป็น
บวกแก่วัตถุจะทำ�ให้พลังงานจลน์ของวัตถุเพิ่มขึ้น นั่นคือ ∆Ek เป็นบวก และเมื่อให้งานที่เป็นลบแก่วัตถุ
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 123

จะทำ�ให้พลังงานจลน์ของวัตถุลดลง นั่นคือ ∆Ek เป็นลบ จะเห็นว่างานที่ท�ำ ให้พลังงานจลน์ของวัตถุลดลง


เป็นงานลบ เพราะเป็นงานของแรงต้านการเคลื่อนที่นั่นเอง ครูชี้ให้นักเรียนเห็นว่า งานของแรงต้านอาจ
จะเปลี่ยนเป็นพลังงานชนิดอื่นได้ เช่น ความร้อนที่เกิดขึ้น
ต่อจากนั้น ครูอธิบายตัวอย่าง 5.7 และ 5.8 เพื่อให้นักเรียนเข้าใจถึงวิธีการแก้โจทย์ปัญหาตาม
ความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานจลน์ของวัตถุที่เปลี่ยนไป หลังจากนั้น ให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจ
สอบความเข้าใจและทำ�แบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.4 โดยเลือกเฉพาะข้อที่เกี่ยวข้องกับพลังงานจลน์ ทั้งนี้
อาจมีการเฉลยคำ�ตอบและอภิปรายคำ�ตอบร่วมกัน

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรูเ้ กีย่ วกับพลังงานจลน์ พลังงานกล และความสัมพันธ์ระหว่างงานของแรงลัพธ์กบ
ั พลังงานจลน์
จากคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและแบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.4 ในหัวข้อที่เกี่ยวกับพลังงานจลน์
2. ทักษะการวัด การทดลอง การจัดกระทำ�และสื่อความหมายข้อมูล การตีความหมายข้อมูลและลง
ข้อสรุป การทำ�งานร่วมกัน จากการทำ�กิจกรรม 5.1 และแบบบันทึกผลการทำ�กิจกรรม
3. ทักษะการสื่อสารและนำ�เสนอผลจากการนำ�เสนอผลการทำ�กิจกรรม 5.1
4. ทักษะการใช้จำ�นวน จากการคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ในแบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.4 ที่เกี่ยวข้องกับ
พลังงานจลน์
5. จิตวิทยาศาสตร์ดา้ นความซือ่ สัตย์และความรับผิดชอบ จากการทำ�กิจกรรม 5.1 และจากแบบบันทึกผล
การทำ�กิจกรรม

5.4.2 พลังงานศักย์
ครูน�ำ เข้าสูห
่ วั ข้อ 5.4.2 โดยตัง้ คำ�ถามเกีย่ วกับความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานจลน์ทไ่ี ด้เรียนรู้
มาก่อนหน้านี้ แล้วให้นก
ั เรียนอภิปรายร่วมกันว่า งานกับพลังงานศักย์มค
ี วามสัมพันธ์ในลักษณะเดียวกัน
หรือไม่ อย่างไร โดยครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตอบอย่างอิสระ ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง จากนั้น
ครูนำ�อภิปรายเกี่ยวกับพลังงานศักย์ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน
ก. พลังงานศักย์โน้มถ่วง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายและคำ�นวณพลังงานศักย์โน้มถ่วง
2. ทดลองเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานศักย์โน้มถ่วง
124 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

1. การเปลีย่ นแปลงพลังงานศักย์ของวัตถุขน
ึ้ อยู่ 1. การเปลี่ยนพลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุไม่
กับเส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ ขึ้ น กั บ เส้ น ทางการเคลื่ อ นที่ แต่ จ ะขึ้ น กั บ การ
เปลี่ยนระดับความสูงอย่างเดียว

2. พลังงานศักย์โน้มถ่วงมีค่าเป็นบวกเท่านั้น 2. พลังงานศักย์ของวัตถุขึ้นกับระดับอ้างอิง
เมื่อวัตถุอยู่สูงจากระดับอ้างอิง จะมีพลังงาน
ศักย์โน้มถ่วงเป็นบวก แต่ถ้าอยู่ต่ำ�กว่าระดับ
อ้างอิง จะมีพลังงานศักย์โน้มถ่วงเป็นลบ

3. พลั ง งานศั ก ย์ ข องวั ต ถุ จ ะลดลง เมื่ อ วั ต ถุ 3. เมือ


่ วัตถุเคลือ
่ นทีอ
่ อกห่างจากพืน
้ โลกมากขึน

เคลื่อนที่ออกห่างจากพื้นโลกมากขึ้น แต่จะเพิ่ม วัตถุจะยิ่งมีพลังงานศักย์โน้มถ่วงมากขึ้น แต่จะ
ขึ้น เมื่อวัตถุตกลงสู่พื้นโลก ลดลง เมื่อวัตถุตกลงสู่พื้นโลก

สิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้า
1. ชุดอุปกรณ์กิจกรรม 5.2 การทดลองพลังงานศักย์โน้มถ่วงกับเส้นทางการเคลื่อนที่
2. แบบบันทึกผลการทำ�กิจกรรรม 5.2
3. ถ้าจะมีการแจกแนวทางการให้คะแนนการประเมินทักษะต่าง ๆ จากการทำ�กิจกรรม ให้จัดเตรียม
เอกสารให้เพียงพอกับจำ�นวนนักเรียน

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ของหัวข้อ 5.4.2 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพลังงานศักย์โน้มถ่วง แล้วนำ�
นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับการหางานในการยกวัตถุอย่างช้า ๆ ในแนวดิ่ง ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน
เพื่อนำ�ไปสู่ข้อสรุปว่า งานที่ทำ�ในการยกวัตถุมวล m ขึ้นสูง h จะเท่ากับ mgh ซึ่งเป็นพลังงานศักย์โน้มถ่วง
ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่อยู่สูง h จากพื้นดิน ซึ่งเป็นระดับอ้างอิง ตามสมการ (5.7)
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 125

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

พลังงานศักย์มักเกี่ยวข้องกับวัตถุสองก้อนเสมอ เช่น พลังงานศักย์โน้มถ่วง เกี่ยวข้องกับโลก


และวัตถุบริเวณผิวโลก พลังงานศักย์ไฟฟ้าเกี่ยวข้องกับประจุสองประจุขึ้นไป ดังนั้น พลังงานศักย์
จึงเป็นของระบบ ซึ่งประกอบด้วยวัตถุสองก้อนขึ้นไป ไม่ใช่เป็นของวัตถุชิ้นใดชิ้นหนึ่ง
แต่สำ�หรับในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อง่ายต่อการทำ�ความเข้าใจ จึงพิจารณาให้ใช้ค�ำ ว่า
พลังงานศักย์ของวัตถุ ได้

ต่อจากนั้น ครูอธิบายตัวอย่าง 5.9 ซึ่งแสดงการหาพลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุที่ถูกยกขึ้นสูง โดย


ใช้พื้นดินเป็นระดับอ้างอิง
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันตามรายละเอียดในหนังสือเรียนโดยใช้รูป 5.13 ประกอบ
การอภิปราย จนได้ข้อสรุปว่า เมื่อยกวัตถุมวล m ที่อยู่สูง hi จากระดับพื้นดินขึ้นไปยัง hf งานที่ท�ำ ใน
การยกวัตถุเท่ากับ mgh f − mghi ซึ่งเท่ากับพลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุที่เพิ่มขึ้นตามสมการ 5.8 ใน
หนังสือเรียน
ในตอนนี้ ครูเน้นว่า การกำ�หนดระดับอ้างอิง จะกำ�หนดทีร่ ะดับใดก็ได้ และพลังงานศักย์โน้มถ่วงของ
วัตถุที่ระดับอ้างอิงมีค่าเป็นศูนย์ ต่อจากนั้น ครูอธิบายตัวอย่าง 5.10 ซึ่งแสดงการหาพลังงานศักย์โน้มถ่วง
ของวัตถุที่ถูกยกขึ้นสูง โดยใช้ระดับอ้างอิงที่ต่างกัน
ครูใช้คำ�ถามว่า ถ้ายกวัตถุจากระดับความสูงหนึ่งไปยังอีกระดับความสูงหนึ่ง โดยให้วัตถุเคลื่อนที่
ไปในเส้นทางต่าง ๆ กัน งานที่ทำ�ได้จะเท่ากันหรือไม่ และการเปลี่ยนพลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุจะเป็น
อย่างไร เพื่อนำ�เข้าสู่กิจกรรม 5.2 การทดลองพลังงานศักย์โน้มถ่วงกับเส้นทางการเคลื่อนที่
126 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

กิจกรรม 5.2 การทดลองพลังงานศักย์โน้มถ่วงกับเส้นทางการเคลื่อนที่

จุดประสงค์
1. คำ�นวณงานของแรงดึงรถทดลอง
2. คำ�นวณพลังงานศักย์โน้มถ่วง
3. อภิปรายเพื่อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างงานของแรงดึงรถทดลองในเส้นทางที่
แตกต่างกันกับพลังงานศักย์โน้มถ่วงของรถทดลอง
เวลาที่ใช้ 90 นาที

วัสดุและอุปกรณ์
1. รางไม้ 1 ชุด
2. รถทดลอง 1 คัน
3. เครื่องชั่งสปริง 1 เครื่อง
4. ไม้เมตร 1 อัน
5. ไม้สำ�หรับหนุนราง 1 อัน

แนะนำ�ในการทำ�กิจกรรม

1. ในการหางาน ให้ดึงรถทดลองขึ้นไปตามพื้นเอียงด้วยอัตราเร็วคงตัว
2. เพื่อให้เกิดความสะดวกในการทำ�กิจกรรม ให้นักเรียนทำ�เครื่องหมายบนรางไม้ที่
ตำ�แหน่งเริ่มต้นของรถ และตำ�แหน่งสุดท้ายที่จะลากรถขึ้นไป ดังรูป 5.6 เมื่อทำ�กิจกรรมจะได้ ∆x
ค่าเดิม ส่วนระยะความสูง h จะเปลี่ยนไปตามมุมเอียงของรางไม้

ตำแหนงสุดทาย

∆x
ตำแหนงเริ่มตน h

รูป ระยะทางตามพื้นเอียงและความสูงของพื้นเอียง
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 127

ตัวอย่างข้อมูลที่ได้จากการทำ�กิจกรรม
ระยะทางที่ลากไปตามพื้นเอียง ∆x เท่ากับ 1.0 เมตร มวลรถเท่ากับ 0.5 กิโลกรัม และ เท่ากับ
9.8 เมตรต่อวินาที2

ความสูงของรางไม้ h ขนาดของแรงดึง งานที่ทำ�โดยแรงดึง พลังงานศักย์โน้มถ่วง


(m) F (N) W = F ∆x (J) W = mgh (J)
0.20 1.00 1.00 0.98
0.30 1.50 1.50 1.47
0.40 2.01 2.01 1.96
0.50 2.50 2.50 2.45
0.60 2.98 2.98 2.94

นำ�ข้อมูลจากตารางมาเขียนกราฟระหว่างงานกับความสูง จะได้ดังรูป 5.7


F∆x (J)

3.0
2.5
2.0
∆(F∆x)
1.5
1.0
∆h
0.5
h (m)
0 0.1 0.2 0.3 0.4 0.5 0.6

∆( F ∆x)
ความชันของกราฟ =
∆ ( h)


2.5 J − 1.0 J
=
0.5 m − 0.3 m
1.5 J
=
0.3 m

= 0.5 N
128 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

แนวคำ�ตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม

□ ในการทดลองแต่ละครั้ง รถทดลองมีเส้นทางการเคลื่อนที่ต่างกันหรือไม่ อย่างไร


แนวคำ�ตอบ การกระจัดเท่ากันแต่เอียงทำ�มุมกับแนวระดับต่างกัน

□ ถ้าออกแรงดึงขึ้นในแนวดิ่งเป็นระยะทาง h งานที่ทำ�โดยแรงนี้ เท่ากับงานที่ท�ำ


โดยแรงดึง F หรือไม่ อย่างไร
แนวคำ�ตอบ เท่ากัน เพราะงานแรงของฉุดตามพื้นเอียงเท่ากับ mg ∆x sin θ และงานของแรง
ยกในแนวดิ่งเท่ากับ mgh โดย ∆x sin θ = h เมื่อ เป็นการกระจัดตามพื้นเอียง

□ ในแต่ละเส้นทางที่รางไม้ท�ำ มุมเอียงต่างกัน ∆x งานที่ทำ�โดยแรงดึง F เท่ากับพลังงานศักย์โน้ม


ถ่วงของรถทดลองที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร
แนวคำ�ตอบ เท่ากับพลังงานศักย์โน้มถ่วงอ้างอิงกับพืน
้ ระดับทีเ่ พิม
่ ขึน
้ เพราะ mg ∆x sin θ = mgh
เมื่อ ∆x เป็นระกระจัดตามพื้นเอียง

□ จากการทดลอง แสดงว่าพลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุขึ้นอยู่กับเส้นทางการเคลื่อนที่หรือไม่
อย่างไร
แนวคำ�ตอบ ไม่ขึ้นกับเส้นทาง ไม่ว่าวัตถุจะเคลื่อนที่ตามแนวพื้นเอียง หรือเคลื่อนที่ในแนวดิ่งต่าง
ก็มีพลังงานศักย์โน้มถ่วงเท่ากัน

อภิปรายหลังการทำ�กิจกรรม
ครูและนักเรียนอภิปรายผลการทำ�กิจกรรมโดยใช้ค�ำ ถามและรายละเอียดในหนังสือเรียนจนสรุปได้ว่า
1. ขนาดของแรงดึงรถทดลองให้เคลื่อนที่ไปตามรางเอียงด้วยอัตราเร็วคงตัว มีค่าไม่เท่ากัน รางเอียง
ทำ�มุมมากขึ้น แรงดึงจะมากขึ้นด้วย
2. งานที่ทำ�โดยแรงดึงรถทดลองขึ้นตามรางเอียงเป็นสัดส่วนตรงกับความสูง เขียนได้ว่า W ∝ h หรือ
W = kh ความชันของกราฟมีค่าคงตัว มีหน่วย จูลต่อเมตร (J/m) หรือ นิวตัน ซึ่งเป็นหน่วยของแรง จาก
การทำ�กิจกรรมหลาย ๆ ครั้งพบว่า k มีค่าใกล้เคียงกับน้ำ�หนัก mg ของรถทดลอง คือ 4.9 นิวตัน
3. งานที่ เ กิ ด จากแรงดึ ง รถทดลองมี ค่ า ประมาณเท่ า กั บ พลั ง งานศั ก ย์ โ น้ ม ถ่ ว งของรถทดลองหรื อ
W
= E=
p
mgh
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 129

ข้อแนะนำ�เพิ่มเติมสำ�หรับครู
1. ถ้ากราฟเส้นตรงที่ได้ไม่ผ่านจุดกำ�เนิด วิเคราะห์ได้ว่า เนื่องจากรางไม้มีขอบ การวัดความสูง h อาจ
จะคลาดเคลื่อนได้มาก
2. ครูอาจยกตัวอย่างต่อไปนี้ เพื่อแสดงให้นักเรียนเห็นว่า เมื่อยกวัตถุให้เคลื่อนที่สูงขึ้นด้วยความเร็ว
คงตัวเป็นระยะทาง h โดยไม่คำ�นึงถึงเส้นทางในการเคลื่อนที่ จะทำ�งานเท่าเดิม ไม่ว่าจะอยู่ในแนวดิ่งหรือ
ไม่ และงานที่ทำ�นั้นจะเท่ากับพลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุที่เพิ่มขึ้น ดังรูป 5.4

F N
F
C

C θ
mg sin θ mg cos θ
h
h
mg

θ
A B A B
ก. ข.
รูป 5.4 เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุจาก A ไป C

จากตัวอย่างนี้ให้นักเรียนช่วยกันอภิปรายการหางานในการยกวัตถุจาก A ไปยัง C ไปตามเส้นทางที่


แตกต่างกัน คือ
1. ยกวัตถุจาก A ไป C ตามเส้นทาง ABC ดังรูป 5.8 ก.
งานในการยกวัตถุจาก A ไป B มีค่าเท่ากับ 0
งานในการยกวัตถุจาก B C ด้วยความเร็วคงตัว = Fh โดย F = mg
B→C
เพราะฉะนั้นงานในการยกวัตถุจาก B C ด้วยความเร็วคงตัว = mgh
B→C
ดังนั้น งานในการยกวัตถุจาก A ไป C ตามเส้นทาง ABC มีค่าเท่ากับ mg
2. ดึงวัตถุจาก A ไป C ตามแนวพื้นเอียงลื่น ดังรูป 5.8 ข.
งานในการดึงวัตถุจาก A C ตามพื้นเอียงลื่นด้วยความเร็วคงตัวมีค่าเท่ากับ F ∆x
B→C
โดย F = mg sin θ และ ∆x = s เมื่อ s เท่ากับระยะทางจาก A ถึง C
งานในการดึงวัตถุให้เคลื่อนที่จาก A ไป C มีค่าเท่ากับ mgh
แต่ s sin θ = h ดังนั้น งานในการดึงวัตถุให้เคลื่อนที่จาก A ไป C มีค่าเท่ากับ mg
130 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

จึงสรุปได้ว่า งานในการยกวัตถุจาก A ไป C และ จาก A ไป B ไป C มีค่าเท่ากัน และเท่ากับพลังงาน


ศักย์โน้มถ่วงของวัตถุที่เพิ่มขึ้น

ในหัวข้อนี้ ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย จนสรุปได้ว่า


1. งานที่เกิดขึ้นจากแรงดึงรถขึ้นไปตามรางไม้ซึ่งความสูงต่าง ๆ กัน เท่ากับงานที่เกิดจากแรงที่ใช้ยก
รถขึ้นไปตรง ๆ ในแนวดิ่ง และสูงเท่ากัน หรือเท่ากับพลังงานศักย์โน้มถ่วงของรถที่เพิ่มขึ้นไปด้วย
2. พลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุ จะเปลี่ยนไปเมื่อวัตถุเปลี่ยนระดับ โดยไม่ขึ้นกับเส้นทางที่วัตถุ
เคลื่อนที่เพื่อการเปลี่ยนระดับนั้น
3. งานของแรงโน้มถ่วงและพลังงานศักย์โน้มถ่วงมีความสัมพันธ์กัน โดยงานของแรงโน้มถ่วงกระทำ�
ต่อวัตถุที่มีค่าบวก เท่ากับพลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุที่ลดลง

หลังการสรุปผลการทดลอง ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและแบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ
5.4 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพลังงานศักย์โน้มถ่วง

ข. พลังงานศักย์ยืดหยุ่น
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายและคำ�นวณพลังงานศักย์ยืดหยุ่น
2. ทดลองเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงที่ใช้ดึงสปริงกับระยะที่สปริงยืดออก
และความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานศักย์ยืดหยุ่น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

1. วัตถุทถ
ี่ กู ทำ�ให้ยด ื ตัวออกเท่านัน้ ทีม
่ พ
ี ลังงาน 1. วั ต ถุ ที่ ถู ก ทำ � ให้ ยื ด ตั ว ออกหรื อ หดตั ว ลง มี
ศักย์ยดื หยุน่ วัตถุทถี่ กู ทำ�ให้หดตัวลงไม่มพ ี ลังงาน พลังงานศักย์ยืดหยุ่น
ศักย์ยืดหยุ่น

2. พลังงานศักย์ยดื หยุน
่ มีคา่ เป็นบวกหรือลบขึน
้ 2. พลังงานศักย์ยืดหยุ่นมีค่าเป็นบวกเท่านั้น
กับตำ�แหน่งอ้างอิงและตำ�แหน่งอ้างอิงเลือกได้ และตำ�แหน่งอ้างอิงต้องอยู่ที่ต�ำ แหน่งสมดุล

3. พลังงานศักย์ยืดหยุ่นของวัตถุ มีค่าคงตัว ไม่ 3. พลังงานศักย์ยด


ื หยุน
่ ของวัตถุขน
ึ้ อยูก
่ บ
ั ระยะ
ว่าจะยืดหรือหดมากเท่าไร ยืดหรือหดของวัตถุจากตำ�แหน่งสมดุล ยิ่งระยะ
ยืดหรือหดห่างจากตำ�แหน่งสมดุลมาก วัตถุจะยิง่
มีพลังงานศักย์ยืดหยุ่นมาก
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 131

สิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้า
1. ชุดอุปกรณ์กิจกรรม 5.3 การทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงที่ใช้ดึงสปริงกับระยะที่
สปริงยืดออก
2. แบบบันทึกผลการทำ�กิจกรรรม 5.3
3. ถ้าจะมีการแจกแนวทางการให้คะแนนการประเมินทักษะต่าง ๆ จากการทำ�กิจกรรม ให้จัดเตรียม
เอกสารให้เพียงพอกับจำ�นวนนักเรียน

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าหัวข้อ 5.4.2 โดยทบทวนเกี่ยวกับแรงดึงสปริงที่ได้ศึกษามาแล้วในหัวข้อ 5.2 งานของแรงไม่
คงตัว จากนั้นครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ของหัวข้อ 5.4.2 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพลังงานศักย์ยืดหยุ่น
แล้วนำ�นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับแรงดึงสปริง ตำ�แหน่งสมดุล และ พลังงานศักย์ยืดหยุ่น ตามรายละเอียด
ในหนังสือเรียน โดยอาจให้นักเรียนทดลองดึงสปริงให้ยืดออกหรืออัดสปริงให้หดเข้า
ต่อจากนั้น ครูตั้งคำ�ถามให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า แรงที่ใช้ดึงสปริงกับระยะที่สปริงยืดออกมี
ความสัมพันธ์กันอย่างไรแล้ว และงานกับพลังงานศักย์ยืดหยุ่นมีความสัมพันธ์กันเหมือนกับกรณีของ
พลังงานศักย์โน้มถ่วงหรือไม่ โดยครูไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง จากนั้น ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 5.3
เพื่อหาคำ�ตอบ

กิจกรรม 5.3 การทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงที่ใช้ดึงสปริงกับระยะ


ที่สปริงยืดออก

จุดประสงค์
1. เขียนและวิเคราะห์กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงที่ใช้ดึงสปริงกับระยะที่สปริงยืด
ออกจากตำ�แหน่งสมดุล
2. อภิปรายเพื่อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแรงที่ใช้ดึงสปริงกับระยะที่สปริงยืดออก
จากตำ�แหน่งสมดุล
3. อภิปรายเพื่อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างงานของแรงที่ใช้ดึงสปริงกับพลังงานศักย์
ยืดหยุ่นของสปริง

เวลาที่ใช้ 90 นาที
132 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

วัสดุและอุปกรณ์
1. เครื่องชั่งสปริง 1 เครื่อง
2. สปริง 1 อัน
3. ไม้บรรทัด 1 อัน

แนะนำ�ก่อนทำ�กิจกรรม

1. ครูแนะนำ�ว่า การอ่านระยะที่สปริงยืดออก ควรเลือกวงสุดท้ายของสปริงเป็นตำ�แหน่งของ


การสังเกต ดังรูป 5.5
ตำแหนงสมดุล

รูป 5.5 การวัดระยะที่สปริงยืดออกจากตำ�แหน่งสมดุล

2. ครูควรเตือนนักเรียนว่า ในการดึงสปริงให้ยืดออกจากตำ�แหน่งสมดุล ไม่ควรดึงให้ยืดออก


มากเกินไป เพราะจะทำ�ให้สปริงยืดเกินขีดจำ�กัด จะทำ�ให้สปริงไม่กลับคืนสู่ต�ำ แหน่งสมดุลเมื่อหยุด
ออกแรง
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 133

ตัวอย่างข้อมูลที่ได้จากการทำ�กิจกรรม

ระยะที่สปริงยืดจากตำ�แหน่ง
สมดุล (×10-2 m) 0 1.00 2.00 3.00 4.00 5.00 6.00 7.00

ขนาดของแรงที่ใช้ดึง (N) 0 1.00 1.85 2.80 3.85 4.80 5.70 6.60

นำ�ข้อมูลของการทำ�กิจกรรมที่ได้ในตาราง มาเขียนกราฟระหว่างขนาดของแรงที่ใช้ดึงสปริงกับ
ระยะที่สปริงยืดออก จะได้ดังรูป 5.6

F (N)

1
−2
x (× 10 m)
0
1 2 3 4 5 6 7 8
รูป 5.6 กราฟระหว่างขนาดของแรงที่ใช้ดึงสปริงกับระยะที่สปริงยืดออก

ระยะที่สปริงยืดจากตำ�แหน่ง
0 1.00 4.00 9.00 16.00 25.00 36.00 49.00
สมดุลยกกำ�ลังสอง (×10-4 m2)

ขนาดของแรงที่ใช้ดึง (J) 0 1.00 3.85 8.40 15.4 24.0 34.2 46.2


134 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

W (J)
50

40

30

20

10

−4
x (× 10 m2)
0 10 20 30 40 50
รูป 5.7 กราฟระหว่างงานแรงที่ใช้ดึงสปริงกับระยะที่สปริงยืดออกยกกำ�ลังสอง

แนวคำ�ตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม

□ กราฟระหว่างขนาดของแรงที่ใช้ดึงกับระยะที่สปริงยืดออกมีลักษณะอย่างไร
แนวคำ�ตอบ เป็นกราฟเส้นตรงผ่านจุดกำ�เนิด
□ จากลักษณะของกราฟ สรุปความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงที่ใช้ดึงกับระยะที่สปริงยืดออก
เป็นอย่างไร
แนวคำ�ตอบ ขนาดแรงที่ใช้ดึงแปรผันตรงกับระยะที่สปริงยืดออก
□ กราฟระหว่างงานของแรงที่ใช้ดึงที่ต�ำ แหน่งต่าง ๆ จากตำ�แหน่งสมดุลกับกำ�ลังสองของระยะที่
สปริงยืดออกมีลักษณะอย่างไร
แนวคำ�ตอบ เป็นกราฟเส้นตรงผ่านจุดกำ�เนิด
□ จากลักษณะของกราฟ สรุปความสัมพันธ์ระหว่างงานของแรงที่ใช้ดึงที่ตำ�แหน่งต่าง ๆ จาก
ตำ�แหน่งสมดุลกับกำ�ลังสองของระยะที่สปริงยืดออกเป็นอย่างไร
แนวคำ�ตอบ งานของแรงทีใ่ ช้ดงึ ทีต
่ �ำ แหน่งต่าง ๆ แปรผันตรงกับกำ�ลังสองของระยะทีส่ ปริงยืดออก
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 135

อภิปรายหลังการทำ�กิจกรรม
ครูนำ�อภิปรายโดยใช้แนวคำ�ถามและรายละเอียดในหนังสือเรียน จนได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแรงที่ใช้ดึง
สปริง ค่าคงตัวของสปริง และ ความสัมพันธ์ระหว่างงานของแรงที่ใช้ดึงสปริงกับพลังงานศักย์ยืดหยุ่น ดังนี้
1. แรงที่ใช้ดึงสปริงจะแปรผันตรงกับระยะที่สปริงยืดออก หรือเขียนได้ว่า
Fs ∝ x
หรือ Fs = kx
ซึ่งเป็นไปตามกฎของฮุก (Hooke’s law)
2. ความชันของกราฟระหว่างแรงทีใ่ ช้ดงึ สปริงกับระยะทีส่ ปริงยืดออกเป็นค่าคงตัวสำ�หรับสปริงหนึง่ ๆ
เรียกว่า ค่าคงตัวสปริง และค่านี้จะขึ้นอยู่กับความแข็งของสปริง
3. งานที่ใช้ในการดึงสปริงให้ยืดออกจากตำ�แหน่งสมดุล เป็นสัดส่วนตรงกับระยะยืดยกกำ�ลังสอง
4. ความชันของกราฟระหว่างงานที่ใช้ในการดึงสปริงกับระยะยืดกำ�ลังสองมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของ
ผลคูณของค่าคงตัวสปริง

ครูอาจให้นักเรียนศึกษากฎของฮุกเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน

ครูทบทวนวิธีคำ�นวณหางานจากพื้นที่ใต้กราฟระหว่างแรงกับตำ�แหน่ง จากนั้น นำ�นักเรียนอภิปราย


เกี่ยวกับพื้นที่ใต้กราฟระหว่างแรงกับระยะที่สปริงยืดออก นำ�ไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับพลังงานศักย์ยืดหยุ่น
ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน จากนั้นใช้รูป 5.16 ในหนังสือเรียนนำ�อภิปราย จนได้ข้อสรุปว่า พื้นที่
ใต้กราฟระหว่างแรงกับระยะที่สปริงยืดออกคืองานเนื่องจากแรงสปริง ซึ่งจะขึ้นกับผลต่างของกำ�ลัง
สองของระยะยืดหรือหดระหว่างตำ�แหน่งเริ่มต้นกับตำ�แหน่งสุดท้าย หรือ ผลต่างของพลังงานศักย์
ยืดหยุ่นระหว่างตำ�แหน่งเริ่มต้นกับตำ�แหน่งสุดท้าย เขียนแทนด้วยสมการ (5.14) ในหนังสือเรียน
ครูอธิบายตัวอย่าง 5.11 – 5.13 ในหนังสือเรียน เพื่อให้นักเรียนเข้าใจถึงวิธีการคำ�นวณหาพลังงาน
ศักย์ยืดหยุ่นของสปริง และวิธีการประยุกต์ความสัมพันธ์ระหว่างงานกับพลังงานศักย์ยืดหยุ่นที่เปลี่ยนไป
ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.4 โดยเลือกเฉพาะข้อที่เกี่ยวข้องกับพลังงานศักย์ยืดหยุ่น
ทั้งนี้ อาจมีการเฉลยคำ�ตอบและอภิปรายคำ�ตอบร่วมกัน

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรูเ้ กีย่ วกับพลังงานศักย์ และ ความสัมพันธ์ระหว่างงานของแรงโน้มถ่วงกับพลังงานศักย์โน้มถ่วง
พลังงานศักย์โน้มถ่วงกับเส้นทางการเคลื่อนที่ จากแบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.4 ในหัวข้อที่เกี่ยวกับพลังงาน
ศักย์และพลังงานศักย์โน้มถ่วง
2. ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงที่ใช้ดึงสปริงกับระยะที่สปริงยืดออก และ งาน
136 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ของแรงของสปริงกับพลังงานศักย์ยืดหยุ่น จากแบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.4 ในหัวข้อที่เกี่ยวกับพลังงานศักย์


ยืดหยุ่น
3. ทักษะการวัด การทดลอง การจัดกระทำ�และสื่อความหมายข้อมูล การตีความหมายข้อมูลและลง
ข้อสรุป การทำ�งานร่วมกัน จากการทำ�กิจกรรม 5.2 และ 5.3 การอภิปราย และแบบบันทึกผลการทำ�
กิจกรรม
4. ทักษะการสื่อสารและนำ�เสนอผลจากการทำ�กิจกรรม 5.2 และ 5.3
5. ทักษะการใช้จำ�นวน จากการคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ในแบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.4 ที่เกี่ยวข้องกับ
พลังงานศักย์
6. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความซื่อสัตย์ ความร่วมมือช่วยเหลือและความรับผิดชอบ จากแบบบันทึกผล
การทำ�กิจกรรม

แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 5.4

1. ถ้ามีแรงมากระทำ�ต่อวัตถุในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ พลังงานจลน์ของวัตถุจะ
เปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร ในทางกลับกัน ถ้าแรงนั้นมีทิศทางตรงข้าม พลังงานจลน์ของ
วัตถุจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร
แนวคำ�ตอบ เมือ
่ มีแรงกระทำ�ต่อวัตถุในทิศทางเดียวกับการเคลือ
่ นทีข
่ องวัตถุ จะทำ�ให้วต
ั ถุ
มีความเร็วเพิ่มขึ้น ดังนั้นพลังงานจลน์ของวัตถุจะเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าแรงที่กระทำ�ต่อ
วัตถุมีทิศทางตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ จะทำ�ให้วัตถุมีความเร็วลดลง ดังนั้น
พลังงานจลน์ของวัตถุจะลดลง

2. แดงและดำ�หิ้วตะกร้าที่มีขนาดเท่ากันและน้ำ�หนักเท่ากัน ขึ้นไปบนกำ�แพง ดังรูป แดงปีนขึ้น


บันไดที่ตั้งในแนวดิ่ง ดำ�ปีนขึ้นตามพื้นเอียง คนใดทำ�ให้พลังงานในตะกร้าเพิ่มขึ้นมากกว่า

รูปสำ�หรับคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 5.4 ข้อ 2

แนวคำ�ตอบ เมือ
่ แดงและดำ�ขึน
้ ไปอยูบ
่ นกำ�แพง ทัง้ สองคนจะสูง h จากพืน
้ เท่ากัน พลังงาน
ในตะกร้าทั้งสองจะเพิ่มเท่ากันคือ mgh
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 137

3. งานและพลังงานจลน์มีความสัมพันธ์กันอย่างไร จงอธิบาย
แนวคำ�ตอบ เมื่อมีแรงกระทำ�ต่อวัตถุ จะทำ�ให้วัตถุเคลื่อนที่ งานของแรงดังกล่าวทำ�ให้วัตถุ
มีพลังงานจลน์ ถ้าเริ่มต้น วัตถุอยู่นิ่ง งานของแรงที่ทำ�ให้เคลื่อนที่จะเท่ากับพลังงานจลน์
ของวัตถุ หรือ W = Ek แต่ถ้าเริ่มต้น วัตถุมีความเร็วค่าหนึ่ง งานจะเท่ากับพลังงานจลน์
ของวัตถุที่เปลี่ยนไป W = ∆ Ek

4. วัตถุมวล m อยู่สูงจากพื้นเป็นระยะทาง h พลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุนี้บนผิวโลกและ


บนผิวดวงจันทร์เท่ากันหรือไม่
แนวคำ�ตอบ วัตถุมวล m อยู่สูงจากพื้น (ระดับอ้างอิง) เป็นระยะทาง h จะมีพลังงานศักย์
โน้มถ่วงเท่ากับ mgh เมื่อ g คือความเร่งโน้มถ่วง ณ บริเวณนั้น แต่เนื่องจาก g บนผิว
1
โลกมากกว่า g บนผิวดวงจันทร์ (g moon g earth ) ดังนั้นที่ความสูง (จากระดับอ้างอิง)
6
เท่ากัน พลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุนีบนผิวโลกจะมีค่ามากกว่าบนผิวดวงจันทร์

เฉลยแบบฝึกหัด 5.4

1. รถยนต์มวล 1000 กิโลกรัม วิ่งด้วยอัตราเร็วคงตัวได้ระยะทาง 0.9 กิโลเมตร ในเวลา


1
นาที พลังงานจลน์ของรถยนต์คันนี้เป็นเท่าใด
2
1
วิธีทำ� หาพลังงานจลน์ของรถยนต์ จาก Ek = mv 2
2
d 0.9 ×1000 m
v= = = 30 m s
∆t 30 s
1
แทนค่า m และ v ใน Ek = mv 2
2
1 2
จะได้ Ek = (1000 kg )(30 m/s)
2
= 4.5 ×105 J

ตอบ พลังงานจลน์ของรถคันนี้เท่ากับ 4.5 × 105 จูล


138 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

2. อิเล็กตรอนมีมวล 9.1  10-31 กิโลกรัม จงหาพลังงานจลน์ของอิเล็กตรอน ซึ่งเคลื่อนที่


ด้วยอัตราเร็ว 2.0  106 เมตรต่อวินาที จะต้องใช้อิเล็กตรอนที่มีอัตราเร็วขนาดนี้กี่ตัวจึงจะมี
พลังงานจลน์เป็น 1 จูล

วิธีทำ� จาก Ek = 1 mv 2
2
1
= (9.1×10−31 kg)(2 ×106 m/s)2
2
Ek = 1.8 ×10−18 J
1
ถ้าต้องการให้มีพลังงานเป็น 1 จูล จะต้องใช้อิเล็กตรอนเท่ากับ
1.8 ×10−18
= 5.5 ×1017

ตอบ พลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนเท่ากับ 1.8 ×10−18 จูล และต้องใช้อิเล็กตรอน 5.5 ×1017

3. วัตถุหนัก 10 นิวตัน อยู่สูงจากพื้น 0.2 เมตร ปลายเชือกข้างหนึ่งผูกกับวัตถุคล้องผ่านรอกลื่น


เมือ
่ ใช้แรง 15 นิวตัน ดึงปลายเชือกอีกข้างจากตำ�แหน่ง A ถึงตำ�แหน่ง B ซึง่ ห่างกัน 0.5 เมตร ดังรูป

15 N
A

0.5 m

B
10 N
0.2 m
พื้น
รูป ประกอบแบบฝึกหัดข้อ 3

ขณะปลายเชือกถึงตำ�แหน่ง B วัตถุมีพลังงานศักย์โน้มถ่วงเท่าใด (ให้พื้นเป็นระดับอ้างอิง)


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 139

วิธท
ี �ำ พลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุมค
ี า่ ขึน
้ กับตำ�แหน่งของวัตถุเมือ
่ เทียบกับระดับอ้างอิง ถ้าให้พน
้ื
เป็นระดับอ้างอิง เมื่อดึงปลายเชือกจากตำ�แหน่ง A ถึง B ซึ่งห่างกัน 0.5 เมตร วัตถุจะถูกดึง
ขึน
้ จากตำ�แหน่งเดิมเป็นระยะ 0.5 เมตร ทำ�ให้วต
ั ถุอยูส่ งู จากพืน
้ = 0.2 m + 0.5 m = 0.7 m
Ep = mgh
= (10 N)(0.7 m)
= 7.0 J
ตอบ วัตถุมีพลังงานศักย์โน้มถ่วง 7.0 จูล

4. สปริงตัวหนึ่งมีค่าคงตัวสปริง 100 นิวตันต่อเมตร ถูกกดให้สั้นลง 5 เซนติเมตร พลังงานศักย์ใน


สปริงมีค่าเท่าใด
วิธีทำ� พลังงานศักย์ยืดหยุ่นของสปริงมีค่าขึ้นกับผลคูณระหว่างค่าคงตัวสปริงกับระยะยืดหรือหด
ของสปริงจากตำ�แหน่งสมดุล ซึ่งสปริงตัวนี้ มีค่าคงตัวสปริง 100 นิวตันต่อเมตร และสปริง
ถูกกดให้สั้นลง 5 เซนติเมตร ดังนั้น
1 2
Eps = kx
2
1
= (100 N/m)(0.05 m) 2
2
= (50 N)(0.0025 m)

= 0.125 J

ตอบ สปริงมีพลังงานศักย์ยืดหยุ่น 0.125 จูล

5. จงหางานที่ต้องทำ�ในการเข็นวัตถุมวล 25 กิโลกรัมขึ้นไปตามพื้นเอียงลื่นสูง 2.0 เมตร

วิธีทำ� จาก W = mgh

= (25 kg )(9.8 m/s 2 )(2.0 m)

= 490 J

ตอบ งานที่ต้องทำ�เท่ากับ 490 จูล


140 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

6. วัตถุมวล 1 กิโลกรัม อัตราเร็ว 2 เมตรต่อวินาที ต่อมามีอัตราเร็วเป็น 3 เมตรต่อวินาที งานที่ท�ำ


ต่อวัตถุมีค่าเท่าใด
วิธีทำ� จากทฤษฎีบทงาน-พลังงานจลน์ งานเนื่องจากแรงลัพธ์ที่ไม่เป็นศูนย์กระทำ�ต่อวัตถุจะเท่ากับ
พลังงานจลน์ของวัตถุที่เปลี่ยนไป

ดังนั้น W = Ekf − Eki


1 2 1 2
= mv − mu
2 2
1 1
= (1 kg)(3 m/s)2 − (1 kg)(2 m/s)2
2 2
= 4.5 J _2 J

= 2.5 J

ตอบ งานที่ต้องทำ�เท่ากับ 2.5 จูล

5.5 การอนุรักษ์พลังงานกล
ครูอาจให้นักเรียนปล่อยรถของเล่นวิ่งลงตามพื้นเอียง หรือ ปล่อยลูกเหล็กให้เคลื่อนไปตามรางที่เอียง
ทำ�มุมกับแนวระดับ แล้วตั้งคำ�ถามให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า ที่ต�ำ แหน่งต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มปล่อยจนถึง
จุดสุดท้าย พลังงานจลน์ พลังงานศักย์ และ พลังงานกลของวัตถุเป็นอย่างไร มีปริมาณใดที่มีค่าคงตัว โดย
ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตอบคำ�ถามอย่างอิสระ ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง
ครูอธิบายความหมายของการอนุรักษ์ในวิชาฟิสิกส์และประโยชน์ของการนำ�หลักการอนุรักษ์มาใช้
ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน โดยมีการเชื่อมโยงกับกรณีรถของเล่นวิ่งลงพื้นเอียงหรือลูกเหล็กวิ่งลง
ตามราง ที่ได้ตั้งคำ�ถามไว้ในช่วงเริ่มต้น จากนั้น ครูนำ�เข้าสู่หัวข้อ 5.5.1 โดยบอกนักเรียนว่า ในหัวข้อนี้
นักเรียนจะได้ศึกษาว่ามีปริมาณใดบ้างที่อนุรักษ์และการนำ�หลักการอนุรักษ์มาใช้แก้ปัญหาได้อย่างไร

5.5.1 งานเนื่องจากแรงอนุรักษ์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของแรงอนุรักษ์
2. จำ�แนกแรงอนุรักษ์กับแรงไม่อนุรักษ์
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 141

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ของหัวข้อ 5.5 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแรงอนุรักษ์ แล้วตั้งคำ�ถามให้
นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า ถ้าการทำ�งานด้วยแรงผลักหรือแรงดึง เริ่มที่จุดเดียวกันและสิ้นสุดที่จุด
เดียวกันแต่มีการใช้เส้นทางที่แตกต่างกัน งานที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันหรือไม่ โดยครูปล่อยให้นักเรียนตอบ
อย่างอิสระ ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง
ครูนำ�นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับการทำ�งานของแรงผลัก ตามรายละเอียดและรูป 5.17 ในหนังสือเรียน
จนได้ข้อสรุปว่า แม้ว่าจุดเริ่มต้นกับจุดสุดท้ายของการเคลื่อนที่ของวัตถุจะเป็นจุดเดียวกัน งานเนื่องจาก
แรงผลักที่มีขนาดคงตัวตามเส้นทางที่ต่างกันมีค่าไม่เท่ากัน
ครูตั้งคำ�ถามว่า งานของแรงโน้มถ่วงและงานของแรงที่ใช้ดึงสปริงที่ได้ศึกษามาแล้วในหัวข้อ 5.4 ขึ้น
กับเส้นทางหรือไม่ และจากคำ�ตอบของนักเรียน ครูน�ำ อภิปรายจนสรุปได้ว่า งานเนื่องจากแรงโน้มถ่วง
และงานของแรงที่ใช้ดึงสปริง ต่างมีค่าไม่ขึ้นกับเส้นทาง แต่จะขึ้นเฉพาะกับตำ�แหน่งเริ่มต้นกับตำ�แหน่ง
สุดท้ายของการเคลื่อนที่เท่านั้น จากนั้น ครูให้ความรู้เกี่ยวกับแรงอนุรักษ์ แรงไม่อนุรักษ์ และ งานเนื่องจาก
แรงอนุรักษ์ ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน จนสรุปได้ว่า งานเนื่องจากแรงอนุรักษ์มีความสัมพันธ์กับ
พลังงานศักย์ที่เปลี่ยนไป ตามสมการ (5.15) ในหนังสือเรียน

5.5.2 กฎการอนุรักษ์พลังงานกล
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. วิเคราะห์และอภิปรายเพื่อสรุปเกี่ยวกับกฎการอนุรักษ์พลังงานกล
2. จำ�แนกสถานการณ์ที่มีการอนุรักษ์พลังงานกลกับสถานการณ์ที่ไม่มีการอนุรักษ์พลังงานกล
3. ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องแรงอนุรักษ์และกฎการอนุรักษ์พลังงานกลในแก้ปัญหา

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

1. วัตถุจะมีพลังงานกลเพิม ่ ขึน
้ เรือ
่ ย ๆ เมือ
่ มีการ 1. พลังงานกลของวัตถุมีค่าคงตัว แต่พลังงาน
เคลื่อนที่เร็วขึ้นเรื่อย ๆ ศักย์และพลังงานจลน์ของวัตถุมกี ารเปลีย่ นแปลง
ได้ เช่น ในการตกแบบเสรี วัตถุมก
ี ารเคลือ
่ นทีเ่ ร็ว
ขึ้นเรื่อย ๆ แต่พลังงานกลยังเท่าเดิม เนื่องจาก
พลังงานศักย์ได้เปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์
142 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

2. กฎการอนุรักษ์พลังงานกลใช้ได้ 2. กฎการอนุรักษ์พลังงานกลใช้ได้ใน
ทุกสถานการณ์ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับแรงอนุรักษ์เท่านั้น

3. พลังงานของวัตถุจะใช้หมดไป เมื่อวัตถุมีการ 3. เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ อาจจะมีพลังงานในวัตถุ


เคลื่อนที่ เท่ าเดิ ม หรื อ พลั งงานของวั ตถุ อ าจเปลี่ ยนไป
เป็นพลังงานชนิดอื่นและถ่ายโอนไปที่อื่น เช่น
ความร้อน เสียง โดยพลังงานไม่ได้สูญหายไป
ตามกฎการอนุรักษ์พลังงาน

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูทบทวนเรื่องแรงอนุรักษ์ แล้วตั้งคำ�ถามให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า แรงอนุรักษ์เกี่ยวข้องกับการ
อนุรักษ์ปริมาณใด โดยไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง
ครูทบทวน ทฤษฎีบทงาน-พลังงานจลน์ ที่นักเรียนได้ศึกษามาแล้วในหัวข้อ 5.4 จากนั้นร่วมกัน
อภิปรายกับนักเรียนตามรายละเอียดในหัวข้อ 5.5.2 กฎการอนุรักษ์พลังงานกล จนได้สมการ (5.16) และ
ได้ข้อสรุปว่า ถ้างานที่เกิดขึ้นกับวัตถุมีเฉพาะงานเนื่องจากแรงอนุรักษ์เท่านั้น พลังงานกลของวัตถุจะ
มีค่าคงตัว ซึ่งเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์พลังงานกล
ต่อจากนั้น ครูอธิบายตัวอย่าง 5.14 ก่อนจะให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนพลังงาน
กลของการกระโดดค้ำ�ถ่อ ดังรูป 5.18 และการเปลี่ยนพลังงานกลของรถและสปริง ดังรูป 5.19 ตามราย
ละเอียดในหนังสือเรียน
ครูอธิบายตัวอย่าง 5.15 – 5.17 เพื่อสร้างความเข้าใจให้นักเรียนเกี่ยวกับการนำ�กฎการอนุรักษ์
พลังงานกลไปใช้ค�ำ นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ ต่อมา ครูให้ความรู้เกี่ยวกับการ
พิจารณาสถานการณ์จริง ที่มักจะพบว่า พลังงานกลมีค่าไม่คงตัว เนื่องจากวัตถุมีการเคลื่อนที่ภายใต้แรง
เสียดทาน ซึ่งเป็นแรงไม่อนุรักษ์ แต่ทั้งนี้ เมื่อพิจารณางานที่เกิดจากแรงเสียดทาน และพลังงานชนิดอื่น ๆ
พลังงานรวมทั้งหมดจะมีค่าคงตัว ซึ่งเป็นไปตาม กฎการอนุรักษ์พลังงาน
ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและทำ�แบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.5 ทั้งนี้ อาจมีการเฉลย
คำ�ตอบและอภิปรายคำ�ตอบร่วมกัน
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 143

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับแรงอนุรักษ์และกฎการอนุรักษ์พลังงานกล จากคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและ
แบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.5
2. ทักษะการแก้ปัญหาและการใช้จำ�นวน จากการแก้โจทย์ปัญหาและการคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดยใช้กฎการอนุรักษ์พลังงานกลในแบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.5


แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 5.5

1. จงอธิบายความหมายของแรงอนุรักษ์
แนวคำ�ตอบ แรงอนุรักษ์เป็นแรงซึ่งทำ�ให้เกิดงานโดยไม่ขึ้นกับเส้นทางการเคลื่อนที่  และ
งานของแรงอนุรักษ์ไม่ทำ�ให้พลังงานกลของวัตถุเปลี่ยนไป

2. ใบไม้ที่หลุดจากต้นหล่นสู่พื้น แรงที่กระทำ�ต่อใบไม้เป็นแรงอนุรักษ์หรือไม่
แนวคำ�ตอบ แรงที่กระทำ�ต่อใบไม้ ได้แก่ แรงที่โลกดึงดูดใบไม้และแรงต้านของอากาศ แรง
ทีโ่ ลกดึงดูดใบไม้ คือ แรงโน้มถ่วงเป็นแรงอนุรก
ั ษ์ ส่วนแรงต้านของอากาศเป็นแรงไม่อนุรก
ั ษ์

3. การตกแบบเสรีของวัตถุ  พลังงานกลของวัตถุจะคงตัวตลอดการเคลื่อนที่  เกี่ยวข้องกับ


แรงอนุรักษ์หรือไม่ อย่างไร
แนวคำ�ตอบ เกีย่ วข้องกับแรงอนุรกั ษ์ เพราะการตกแบบเสรีของวัตถุเป็นการเคลือ่ นทีภ
่ ายใต้
แรงโน้มถ่วงซึ่งเป็นแรงอนุรักษ์เพียงแรงเดียว พลังงานกลจึงคงตัว

4. กฎการอนุรักษ์พลังงานกลและกฎการอนุรักษ์พลังงาน เป็นกฎเดียวกันหรือไม่ จงอธิบาย


แนวคำ�ตอบ กฎทั้งสองไม่ใช่กฎเดียวกัน กฎการอนุรักษ์พลังงานกล พิจารณาเฉพาะผลรวม
พลังงานศักย์กับพลังงานจลน์ในวัตถุมีค่าคงตัว กฎการอนุรักษ์พลังงาน เป็นการพิจารณา
ผลรวมพลังงานทั้งหมดทุกชนิดทั้งที่เปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานอื่น และอาจถ่ายโอนไปที่อื่น
มีค่าคงตัว
144 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

เฉลยแบบฝึกหัด 5.5

1. จงแสดงว่าขณะใช้แปรงลบกระดานไปทางขวาแล้วกลับมาทีต
่ �ำ แหน่งเดิม แรงเสียดทานทีเ่ กิดขึน

เป็นแรงไม่อนุรักษ์
วิธท
ี �ำ กำ�หนดให้เส้นทางที่ 1 ใช้แปรงลบกระดานลบไปทางขวา จาก O ไป A ต่อมาเคลือ
่ นทีก
่ ลับมา
ที่ตำ�แหน่งเดิมโดยผ่านจุด B ดังรูป ก. ส่วนเส้นทางที่ 2 ใช้แปรงลบกระดานไปทางขวา จาก
O ไป A เช่นเดียวกัน แต่ในการเคลื่อนที่กลับมาตำ�แหน่งเดิม ให้ผ่านจุด C และ D ดังรูป ข.


f
เสนทางที่ 1
O A

 
f f
B
ก.

f
เสนทางที่ 2 O A
 
f f

D C

ข. f

งานของแรงเสียดทานตามเส้นทางที่ 1 มีค่าเท่ากับ
Wpath1 = WO→A + WA →B + WB→O
งานของแรงเสียดทานตามเส้นทางที่ 2 มีค่าเท่ากับ
Wpath 2 = WO→A + WA →C + WC→D + WD→O
ตอบ จะเห็นว่า งานเนื่องจากแรงเสียดทานตามเส้นทางทั้งสอง มีค่าไม่เท่ากัน แรงเสียดทานจึงไม่
เป็นแรงอนุรักษ์
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 145

2. ผลไม้มวล 0.1 กิโลกรัมตกจากที่สูง 5 เมตร เมื่อตกได้ครึ่งทาง ผลไม้มีพลังงานจลน์เท่าใด


วิธีทำ� หาความเร็วของผลไม้เมื่อตกแบบเสรีได้ 2.5 เมตร โดยใช้สมการ v 2 = u 2 + 2a∆x โดย
a= g= 9.8 m / s 2 และ ∆x = 2.5 m แทนค่า จะได้

v 2 = u 2 + 2a∆x

= 0 + 2(9.8 m / s 2 )(2.5 m)

= 49 m 2 / s 2
1 1 2
Ek Ek= = = mv 2mv
พลังงานจลน์ของผลไม้เมื่อตกได้ครึ่งทาง
2 2
1
= (0.1 kg ) (49 m 2 s 2 )
2
= 2.45 J

ตอบ พลังงานจลน์ของผลไม้เมื่อตกได้ครึ่งทางเท่ากับ 2.45 จูล

3. ลูกตุ้มมวล 0.2 กิโลกรัม ผูกกับเส้นเชือกยาว 2.0 เมตร ปลายอีกข้างแขวนไว้กับเพดาน


ถ้าออกแรงดึงลูกตุ้มให้สูงขึ้น 0.6 เมตร แล้วปล่อยให้ลูกตุ้มแกว่ง จงหา
ก. พลังงานศักย์โน้มถ่วงของลูกตุ้มที่สูงขึ้นจากจุดต่ำ�สุด
ข. พลังงานจลน์ของลูกตุ้มเมื่อผ่านจุดต่ำ�สุด
ก. วิธีทำ�

2m

0.6 m
v
146 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

หาพลังงานศักย์โน้มถ่วงของลูกตุ้มที่สูงขึ้นจากจุดต่ำ�สุด
ลูกตุ้มอยู่สูงจากจุดต่ำ�สุด 0.6 m
ดังนั้น พลังงานศักย์โน้มถ่วง = = (0.2 kg )(9.8 m/s 2 )(0.6 m) = 1.2 J
Ep mgh
ตอบ พลังงานศักย์โน้มถ่วงของลูกตุ้มที่สูงขึ้นจากจุดต่�ำ สุดเท่ากับ 1.2 จูล

ข. วิธีทำ� หาพลังงานจลน์ของลูกตุ้มเมื่อผ่านจุดต่ำ�สุด
จากกฎการอนุรักษ์พลังงาน
พลังงานจลน์ของลูกตุ้มที่จุดต่ำ�สุด = พลังงานศักย์โน้มถ่วงของลูกตุ้มที่อยู่สูง 0.6 m
= 1.2 J
ตอบ พลังงานจลน์ของลูกตุ้มเมื่อผ่านจุดต่�ำ สุดเท่ากับ 1.2 จูล

4. นำ�เส้นเชือกยาว 2 เมตรผูกลูกตุม
้ มวล 4.0 กิโลกรัมทีป
่ ลายข้างหนึง่ ถ้าจับปลายเชือกอีกข้างหนึง่
แกว่งให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลมในระนาบดิ่ง ถ้าที่จุดสูงสุด ลูกตุ้มมีอัตราเร็ว 10 เมตรต่อวินาที
จงหาอัตราเร็วของลูกตุ้มที่จุดต่ำ�สุด
วิธีทำ�

10 m/s B

vA
ระดับอางอิง
A

หาอัตราเร็วของลูกตุ้มที่จุดต่ำ�สุด
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 147

พลังงานกลรวมที่ A = พลังงานกลที่ B

( Ek + Ep ) A = ( Ek + Ep ) B
1 1
mvA 2 + 0 = mvB 2 + mg (2r )
2 2
vA2 = (10 m/s) 2 + (2)(9.8 m/s 2 )(2)(2 m)

= 178.4 m 2 / s 2

vA = 13.36 m/s

ตอบ อัตราเร็วของลูกตุ้มที่จุดต่�ำ สุดเท่ากับ 13.4 เมตรต่อวินาที

5.6 เครื่องกล
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายและคำ�นวณประสิทธิภาพของเครื่องกลอย่างง่าย
2. อธิบายการทำ�งานของเครื่องกลอย่างง่ายโดยใช้ความรู้เรื่องงานและสมดุลกล
3. บอกความหมายและคำ�นวณการได้เปรียบเชิงกลของเครื่องกลอย่างง่าย

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

เครื่องกลช่วยผ่อนงานหรือช่วยลดงานที่ให้ ถึงแม้เครือ่ งกลจะช่วยผ่อนแรง แต่งานทีท


่ �ำ ให้
กับเครื่องกล กับเครื่องกลยังเท่าเดิม เนื่องจากการออกแรงที่
น้อยลง ต้องมีการกระจัดที่เพิ่มขึ้น

สิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้า
จัดเตรียมและทดสอบการทำ�งานของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ ที่จะนำ�มาสาธิตการทำ�งานของเครื่องกล-
อย่างง่าย
148 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�อุปกรณ์หรือรูปของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ทั่วไป เช่น กรรไกร ที่เย็บกระดาษ ที่เปิดกระป๋อง
ล้อและเพลารถของเล่น มาแสดงให้นักเรียนชมหน้าชั้น แล้วร่วมอภิปรายเกี่ยวกับหลักการทำ�งานของ
อุปกรณ์เหล่านั้น โดยครูตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการผ่อนแรง ความสะดวกในการทำ�งาน หรือทั้งสองอย่าง โดย
ปล่อยให้นักเรียนตอบคำ�ถามอย่างอิสระ ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง
ครูอธิบายว่า อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ที่ช่วยให้การทำ�งานสะดวกขึ้น หรือช่วยผ่อนแรง เรียกว่า เครื่องกล
โดยเครื่องกลพื้นฐานที่จัดเป็นเครื่องกลอย่างง่าย (simple machine) มี 6 ชนิด ได้แก่ รอก คาน ล้อกับ
เพลา ลิ่ม พื้นเอียง และสกรู
ครูตั้งคำ�ถามให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า หลักของงานและสมดุลกลที่นักเรียนได้เรียนรู้มาแล้ว
สามารถนำ�มาอธิบายการทำ�งานของเครื่องกลอย่างง่ายได้อย่างไร โดยไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง

5.6.1 ประสิทธิภาพของเครื่องกล
ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกีย่ วกับประสิทธิภาพของเครือ
่ งกล ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน
จนสรุปได้สมการ (5.17) และ (5.18) และข้อสรุปดังนี้
1. การบอกความสามารถในการทำ�งานของเครื่องกลมักจะบอกด้วยประสิทธิภาพของเครื่องกล
2. เครื่องกลที่นำ�มาใช้ประโยชน์ ทำ�หน้าที่ถ่ายโอนพลังงานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง หรือเปลี่ยน
พลังงานหนึ่งเป็นอีกพลังงานหนึ่ง
3. ความสามารถในการถ่ายโอนพลังงาน หรือเปลี่ยนพลังงานของอุปกรณ์ บอกเป็นประสิทธิภาพ
ของเครื่องกล หรืออุปกรณ์
4. ถ้าไม่มีการสูญเสียพลังงาน ประสิทธิภาพของเครื่องกลเท่ากับ 1 หรือคิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์
เรียกว่า ประสิทธิภาพในทางอุดมคติ
5. ในทางปฏิบัติ ส่วนมากเครื่องกลหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ จะมีการสูญเสียพลังงานไปภายนอกระบบ
โดยไม่คืนกลับ ประสิทธิภาพของเครื่องกล จึงมีค่าน้อยกว่า 1 หรือน้อยกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคือ
ประสิทธิภาพของเครื่องกลในทางปฏิบัติ

ครูอธิบายตัวอย่าง 5.18 เกี่ยวกับวิธีการคำ�นวณประสิทธิภาพของเครื่องกล


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 149

รู้หรือไม่
เครื่องกลหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีจำ�หน่ายตามร้านค้าต่าง ๆ จะมีการระบุก�ำ ลังของเครื่องกลนั้น ๆ
บนตัวเครื่อง เช่น 1000 วัตต์ หรือ 2500 วัตต์ แต่จะไม่ระบุประสิทธิภาพของเครื่องกลให้
แต่อย่างไรก็ตามมีหน่วยงานภาครัฐบางหน่วยงานทำ �หน้าที่กำ�กับควบคุมคุณภาพสินค้าประเภท
อุปกรณ์ไฟฟ้าต้องมีประสิทธิภาพไม่นอ
้ ยกว่าขัน
้ ต่�ำ ทีก
่ �ำ หนดจึงสามารถจำ�หน่ายได้ ผูใ้ ช้จะต้องนำ�มา
หาประสิทธิภาพเอง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีจ�ำ นวนวัตต์มาก จึงไม่ได้หมายความว่า มีประสิทธิภาพมาก

5.6.2 หลักการของงานกับเครื่องกลอย่างง่าย
ครูทบทวนเกี่ยวกับเครื่องกลอย่างง่าย จากนั้น ตั้งคำ�ถามให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า เครื่องกล
อย่างง่าย ช่วยให้นักเรียนทำ�งานน้อยลงหรือไม่ โดยให้นักเรียนตอบคำ�ถามอย่างอิสระ ไม่คาดหวังคำ�ตอบ
ที่ถูกต้อง
นำ�นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับการใช้หลักการของงานและกฎการอนุรักษ์พลังงานมาอธิบายการ
ทำ�งานของเครื่องกลอย่างง่าย ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน จนสรุปได้ว่า
• เครื่องกลไม่ช่วยให้งานที่ให้กับเครื่องกลน้อยลง ซึ่งในทางปฏิบัติ เครื่องกลอาจมีการสูญเสียงาน
ไปส่วนหนึ่ง
• ในกรณีที่แรงเสียดทานมีค่าน้อยมาก หรือ เครื่องกลมีประสิทธิภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ การผ่อน
แรงของเครื่องยนต์พิจารณาได้จากการได้เปรียบเชิงกล เขียนแทนได้ด้วยสมการ (5.19) และ (5.20) ใน
หนังสือเรียน
• ถ้า M.A. > 1 แสดงว่าเครื่องกลนั้นช่วยผ่อนแรง แต่ถ้า M.A. > 1 แสดงว่าเครื่องกลนั้นไม่
ช่วยผ่อนแรง
จากนั้น ครูแบ่งกลุ่มให้นักเรียนวิเคราะห์การได้เปรียบเชิงกลของเครื่องกลอย่างง่ายแต่ละชนิด โดย
อาจใช้ความรู้ในหนังสือเรียนหรือแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ แล้วให้นักเรียนนำ�เสนอ
หลังการนำ�เสนอ ครูน�ำ นักเรียนอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับการใช้หลักของงานและกฎการอนุรักษ์-
พลังงานมาพิจารณาการทำ�งานของเครื่องกลอย่างง่าย

5.6.3 หลักการของสมดุลกลกับเครื่องกลอย่างง่าย
ครูนำ�เข้าสู่หัวข้อ 5.6.3 โดยให้นักเรียนจัดกลุ่มรูปอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ ในชีวิตประจำ�วัน
ที่มีการใช้หลักของเครื่องกลอย่างง่ายชนิดเดียวกัน เช่น กรรไกร คม จักรยาน รอกรถเข็น หรือ เครน
ดังรูป 5.8
150 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

รูป 5.8 อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้หลักการของเครื่องกลอย่างง่าย

จากนั้นครูนำ�อภิปราย ตัวอย่างอุปกรณ์ในกลุ่มคาน รอก และ ล้อกับเพลา ดังตัวอย่างต่อไปนี



1. อุปกรณ์ในกลุ่มคาน ได้แก่ ชะแลง ค้อนงัดตะปู คีม กรรไกร รถเข็นก่อสร้าง
2. อุปกรณ์ในกลุ่มรอก ได้แก่เครน รอกยกของ
3. อุปกรณ์ในกลุ่มล้อกับเพลา ได้แก่ บันไดจักรยาน กว้าน พวงมาลัยรถ รถเข็นในห้างสรรพสินค้า

ครูตั้งคำ�ถามว่า นอกจากการทำ�งานของเครื่องกลอย่างง่าย 3 กลุ่มนี้จะสามารถอธิบายได้ด้วยหลัก


การของงานแล้ว หลักการของสมดุลกลที่นักเรียนได้ศึกษาในบทที่ 4 สามารถนำ�มาอธิบายการทำ�งานของ
เครื่องกลอย่างง่าย 3 กลุ่มนี้ได้หรือไม่ อย่างไร ให้นักเรียนอภิปรายร่วมกัน โดยไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง
ครูอาจนำ�นักเรียนอภิปรายไปพร้อมกัน หรือ แบ่งกลุ่มให้นักเรียนวิเคราะห์อุปกรณ์หรือเครื่องมือ
อื่น ๆ ที่ได้นำ�เสนอมาว่า อุปกรณ์หรือเครื่องมือเหล่านั้นสามารถผ่อนแรงได้อย่างไร โดยใช้หลักของสมดุล
กลตามรายละเอียดในหนังสือเรียน จากนั้น ให้นักเรียนนำ�เสนอ
หลังการอภิปรายหรือการนำ�เสนอ ให้นักเรียนศึกษาตัวอย่าง 5.19 และ 5.20 เพื่อทำ�ความเข้าใจ
เกี่ยวกับการคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องกลอย่างง่ายโดยใช้หลักของสมดุลกล ทั้งนี้ ครูอาจให้
นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นต่อไปนี้
1. นอกจากคานในรูป 5.28 ในหนังสือเรียนแล้ว ให้นักเรียนช่วยกันคิดว่ามีคานแบบอื่น ๆ อีกหรือ
ไม่ที่มีใช้ในชีวิตประจำ�วัน
2. จากรอกในรูป 5.29 ในหนังสือเรียน เมื่อไม่คิดแรงเสียดทานต่าง ๆ และไม่คิดน้ำ�หนักรอก
หน้าที่ของรอกประเภทนี้ ใช้กับงานยกของที่มีน�้ำ หนักมาก โดยผู้ใช้งานต้องขึ้นไปอยู่ในที่สูง แล้วออกแรง
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 151

ดึงรอกพร้อมวัตถุขึ้นมา ถ้าผู้ใช้งานอยู่ที่พื้น จะต้องติดรอกเดี่ยวอีกตัวหนึ่งที่เพดาน ให้นักเรียนช่วยกัน


วิเคราะห์ว่ารอกตัวใหม่จะติดตั้งอย่างไร
3. สำ�หรับล้อกับเพลาในรูป 5.30 ในหนังสือเรียน ให้นักเรียนวิเคราะห์ว่าควรออกแรงกระทำ�ที่
ตำ�แหน่งใดของล้อกับเพลา และควรให้แรงต้านกระทำ�ทีต
่ �ำ แหน่งใดของล้อกับเพลา เพือ
่ ให้เกิดการผ่อนแรง
มากที่สุด

ครูอาจนำ�เสนออุปกรณ์บางอย่างที่ใช้หลักการของเครื่องกลอย่างง่าย แต่ไม่ได้ช่วยผ่อนแรง หากแต่
ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย เช่น คีมคีบน้ำ�แข็ง คีมคีบถ่าน ตะเกียบ
ครูให้นก
ั เรียนร่วมกันอภิปรายเพือ
่ สรุปแนวคิดสำ�คัญเกีย่ วกับเครือ
่ งกลทีไ่ ด้เรียนรูม
้ า แล้วให้นก
ั เรียน
ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและทำ�แบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.6 โดยอาจมีการเฉลยคำ�ตอบและอภิปราย
คำ�ตอบร่วมกัน

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับประสิทธิภาพและการได้เปรียบเชิงกลของเครื่องกลอย่างง่าย จากคำ�ถามตรวจสอบ
ความเข้าใจและแบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.6
2. ทักษะการแก้ปัญหาและการใช้จำ�นวน จากการแก้โจทย์และการคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับประสิทธิภาพและการได้เปรียบเชิงกลของเครื่องกลอย่างง่ายในแบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 5.6
3. ทักษะการสื่อสาร จากการอภิปรายร่วมกันและการนำ�เสนอผล
4. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความมีเหตุผลและความพยายามมุ่งมั่น จากการอภิปรายร่วมกัน และการทำ�
กิจกรรม

แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 5.6

1. ประสิทธิภาพของเครื่องกลและการได้เปรียบเชิงกลของเครื่องกลแตกต่างกันอย่างไร
แนวคำ�ตอบ ประสิทธิภาพของเครื่องกลเป็นการเปรียบเทียบงานที่ได้จากเครื่องกลต่องาน
ที่ทำ�ให้แก่เครื่องกล  ส่วนการได้เปรียบเชิงกลเป็นการเปรียบเทียบแรงที่ได้จากเครื่องกล
ต่อแรงที่ใส่ให้เครื่องกล
2. เพราะเหตุใด เครื่องกลมักมีประสิทธิภาพน้อยกว่าร้อยละ 100
แนวคำ�ตอบ เพราะมีการสูญเสียงานไปกับแรงเสียดทานของเครื่องกล
152 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

3. การได้เปรียบเชิงกลของเครื่องกลอย่างง่ายชนิดหนึ่งมีค่ามากกว่า 1 แสดงว่าเครื่องกลนั้น
ก. ช่วยผ่อนแรง
ข. ไม่ช่วยผ่อนแรง
ค. ช่วยให้ทางานสะดวกขึ้นแต่ไม่ผ่อนแรง
แนวคำ�ตอบ ก. ช่วยผ่อนแรง เพราะการได้เปรียบเชิงกลเท่ากับแรงที่ได้จากเครื่องกลต่อ
แรงที่ใส่ให้เครื่องกล แสดงว่าแรงที่ได้จากเครื่องกลมากกว่าแรงที่ใส่ให้เครื่องกล จึงผ่อนแรง
4. อุปกรณ์ใดในบ้านที่จะต้องอาศัยหลักการทำ�งานของคาน
แนวคำ�ตอบ ตัวอย่างเช่น กรรไกร คีม ค้อน ไม้กวาด ช้อน ทัพพีตักข้าว ตะเกียบ เป็นต้น
5. อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่อไปนี้ เป็นเครื่องกลอย่างง่ายหรือไม่ ถ้าเป็นจัดอยู่ในประเภทใด
ก. ที่ตัดเล็บ ข. มีด ค. ไม้กวาดพื้น ง. กรรไกรตัดหญ้า
แนวคำ�ตอบ
ก. กรรไกรตัดเล็บ เป็นเครื่องกลอย่างง่าย 2 ประเภทร่วมกัน ส่วนคันกดเป็นประเภทคาน
ส่วนคมกรรไกรเป็นประเภทลิ่ม
ข. มีด เป็นเครื่องกลอย่างง่าย 2 ประเภทร่วมกัน ส่วนก้านมีดเป็นประเภทคาน ส่วนคมมีด
เป็นประเภทลิ่ม
ค. ไม้กวาดพื้น เป็นเครื่องกลอย่างง่าย ประเภทคาน
ง. กรรไกรตัดหญ้า เป็นเครื่องกลอย่างง่าย 2 ประเภทร่วมกัน ส่วนด้ามกรรไกร เป็นประเภท
คาน ส่วนคมกรรไกร เป็นประเภทลิ่ม

เฉลยแบบฝึกหัด 5.6


1. กรรไกรตั ด ลวดมี ร ะยะระหว่ า งลวดและจุ ด F

หมุน 5 เซนติเมตร และระยะระหว่างมือที่กดกับ 300 N

จุดหมุน 15 เซนติเมตร ดังรูป

ถ้าต้องการตัดลวดที่ทนแรงกระทำ�ได้ 300 นิวตัน จุดหมุน


จะต้องออกแรงกด F อย่างน้อยเท่าใด ลวดจึงจะ 300 N

ขาด F
รูปประกอบแบบฝึกหัด 5.6 ข้อ 1
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 153

วิธีทำ� เขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทำ�ต่อกรรไกรตัดลวดได้ดังรูป

F

300 N 15 cm
5 cm

เมื่อวัตถุสมดุลต่อการหมุน ∑M = 0
จะได้ ∑ M = 0= ∑ M = 0
ตาม ทวน

คิดโมเมนต์รอบจุดหมุน O
( F )(15 cm) = (300 N)(5cm)
F = 100 N
ตอบ ต้องออกแรงกด F อย่างน้อยเท่ากับ 100 นิวตัน

2. จากรูป
F = 25 N

1m 4m

100 N

รูปประกอบแบบฝึกหัด 5.6 ข้อ 2


จงหาการได้เปรียบเชิงกลของคานเบา
วิธีทำ� ให้ r เป็นระยะจากตำ�แหน่งที่ออกแรงพยายามไปถึงจุดหมุน และ R เป็นระยะจากตำ�แหน่ง
ที่มีแรงต้านกระทำ�ต่อคานไปถึงจุดหมุน
R
จะได้ว่า การได้เปรียบเชิงกลของคาน M.A. =
r
5m
=
1m
= 5

ตอบ การได้เปรียบเชิงกลของคานเท่ากับ 5
154 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

3. จากรูป

F

5m 1m

W

รูปประกอบแบบฝึกหัด 5.6 ข้อ 3

จงหาการได้เปรียบเชิงกลของพื้นเอียงที่ยาว 5 เมตร สูง 1 เมตร


วิธีทำ� ให้ L เป็นระยะตามแนวพื้นเอียง และ H เป็นความสูงของพื้นเอียง
L
การได้เปรียบเชิงกลของพื้นเอียง M.A. =
H
5
=
1
= 5
ตอบ การได้เปรียบเชิงกลของพื้นเอียงนี้เท่ากับ 5

4. จากรูป

r R

150 N 50 N

รูปประกอบแบบฝึกหัด 5.6 ข้อ 4

จงหาการได้เปรียบเชิงกลของล้อกับเพลา
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 155

วิธีทำ� ให้ F1 เป็นแรงที่ให้กับล้อ และ F2 เป็นแรงต้านของวัตถุ


F2
การได้เปรียบเชิงกลของล้อกับเพลา M.A. =
F1
150 N
=
50 N
= 3

ตอบ การได้เปรียบเชิงกลของล้อกับเพลาชุดนี้ 3

5. จากรูปในข้อ 2. คานมีประสิทธิภาพเท่าใด
วิธีทำ�
งานที่ได้รับจากเครื่องกล
ประสิทธิภาพของเครื่องกล = × 100%
งานที่ให้กับเครื่องกล
จากรูปในข้อ 2. จะได้ว่า

งานที่ได้รับจากเครื่องกล Wout = (100 N)(1 m)

= 100 J

งานที่ให้กับเครื่องกล Win = (25 N)(5 m)

= 125 J

ดังนั้น
100
ประสิทธิภาพของคาน = ×100%
125
= 80%

ตอบ คานมีประสิทธิภาพ 80%


156 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2


6. จากรูปในข้อ 3. ถ้าวัตถุมีน้ำ�หนัก 200 นิวตัน ถูกแรง F ขนาด 50 นิวตันกระทำ�ให้เคลื่อนที่ไป
ตามพื้นเอียง จงหาประสิทธิภาพของพื้นเอียง
วิธีทำ�
งานที่ได้รับจากเครื่องกล
ประสิทธิภาพของเครื่องกล = × 100%
งานที่ให้กับเครื่องกล
จากรูปในข้อ 3. และตัวเลขที่กำ�หนดให้ จะได้ว่า

งานที่ได้รับจากเครื่องกล Wout = (200 N)(1 m)

= 200 J

งานที่ให้กับเครื่องกล Win = (50 N)(5 m)

= 250 J

ดังนั้น
200
ประสิทธิภาพของพื้นเอียง = ×100%
250
= 80%

ตอบ ประสิทธิภาพของพื้นเอียงเท่ากับ 80%

7. จากรูปในข้อ 4. ถ้าล้อกับเพลาไม่มีความฝืด และล้อมีรัศมี 0.3 เมตร เพลามีรัศมีเท่าใด

วิธีทำ� ถ้าล้อไม่มีความฝืด สามารถพิจารณาได้ว่า F1 = R


  F2 r
F F
โดย 1 เป็นน้ำ�หนักของวัตถุ 2 เป็นแรงที่ให้กับล้อ R เป็นรัศมีของล้อ และ r เป็นรัศมี
ของเพลา
แทนค่า จะได้
150 N = 0.3 m
50 N r
r = 0.1 m

ตอบ เพลามีรัศมี 0.1 เมตร


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 157

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

คาน
คานแบ่งเป็นสามประเภทตามตำ�แหน่งจุดหมุน ตำ�แหน่งแรงพยายาม (F) และตำ�แหน่ง
ของแรงต้านหรือน้ำ�หนักของที่ต้องการยก (W)
คานประเภทที่ 1 เป็นคานที่ตำ�แหน่งจุดหมุนอยู่ระหว่างตำ�แหน่งแรงพยายาม และตำ�แหน่ง
แรงต้าน คานประเภทนี้โดยมากใช้เป็นเครื่องมือผ่อนแรง เช่น หัวค้อนงัดตะปู คีม กรรไกร บางอย่าง
ไม่ได้เป็นเครื่องมือผ่อนแรง เช่น ไม้กระดก

จุดหมุน

W F

รูป คานประเภทที่ 1

คานประเภทที่ 2 เป็นคานที่ตำ�แหน่งแรงต้านอยู่ระหว่างตำ�แหน่งจุดหมุนและตำ�แหน่งแรง
พยายาม เช่น รถเข็นสำ�หรับงานก่อสร้าง ที่เจาะกระดาษ ที่คั้นน้ำ�ส้มแบบโยก

จุดหมุน F

รูป คานประเภทที่ 2

คานประเภทที่ 3 เป็นคานที่ตำ�แหน่งแรงกระทำ�อยู่ระหว่างตำ�แหน่งจุดหมุนและตำ�แหน่ง
แรงต้าน คานประเภทนี้จะไม่ผ่อนแรง แต่จะอำ�นวยความสะดวกในกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำ�วัน
เช่น ตะเกียบ คีมคีบถ่าน คีมคีบน้�ำ แข็ง

จุดหมุน F

รูป คานประเภทที่ 3
158 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

การได้เปรียบเชิงกล

การได้เปรียบเชิงกลจริง (Actual Mechanical Advantage, AMA) สามารถคำ�นวณได้จาก


Fout
AMA =
Fin
เมื่อ Fout คือ แรงที่ได้จากเครื่องกล
Fin คือ แรงกระทำ�กับเครื่องกล

และการได้เปรียบเชิงกลอุดมคติ (Ideal Mechanical Advantage, IMA) ซึ่งสามารถคำ�นวณได้


จาก
sin
IMA=
sout
เมื่อ sin คือ ระยะทางของแรงที่ให้กับเครื่องกล
sout คือ ระยะทางของแรงที่ได้จากเครื่องกล

ซึ่งจะพบว่าค่า AMA = IMA เมื่อระบบไม่มีแรงเสียดทาน


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 159

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5

คำ�ถาม

1. การเข็นรถไปตามพืน
้ ราบและการเข็นรถไปตามพืน
้ เอียงด้วยอัตราเร็วคงตัวในระยะทางเท่ากัน
กรณีใดต้องทำ�งานมากกว่า เพราะเหตุใด ถ้าถือว่าแรงเสียดทานที่กระทำ�ต่อรถทั้งสองกรณีมีขนาด
เท่ากัน
แนวคำ�ตอบ การเข็นรถไปตามพื้นราบ แรงที่กระทำ�ต่อรถ F1 และการกระจัด ∆x มีทิศทาง
เดียวกัน งานของแรงที่กระทำ�ต่อรถคือ W1 = F1∆x โดย F1 = f ดังรูป ก. แต่การเข็นรถ (ขึ้น)
ไปตามพื้นเอียง (ที่มีทิศทางทำ�มุม θ กับพื้นราบระดับ) แรงที่กระทำ�ต่อรถ F2 และการกระจัด ∆x
งานของแรงที่กระทำ�ต่อรถคือ W2 = F2 ∆x โดย F2 = mg sin θ + f ดังรูป ข.

∆x

F1 ∆x f
F2
θ
f mg sinθ
ก. การเข็นรถไปตามพื้นราบ ข. การเข็นรถไปตามพื้นเอียง
รูป การเข็นรถ

จะได้ F2 > F1 ดังนั้น W2 > W1 จึงสรุปได้ว่า การเข็นรถไปตามพื้นเอียงต้องทำ�งานมากกว่า


การเข็นรถไปตามพื้นราบด้วยอัตราเร็วคงตัวในระยะทางเท่ากัน

2. แรงที่เชือกดึงวัตถุเข้าสู่ศูนย์กลางที่ทำ�ให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลมครบหนึ่งรอบบนพื้นลื่น
ทำ�ให้เกิดงานหรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวคำ�ตอบ ตามสถานการณ์นี้ แรงที่เชือกดึงวัตถุเข้าสู่ศูนย์กลาง (ไม่มีแรงเสียดทานระหว่างพื้น
160 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

กับวัตถุ จึงไม่มีงานของแรงเสียดทาน) แรงนี้ตั้งฉากกับแนวการเคลื่อนที่ จึงไม่เกิดงาน


3. กล่องใบหนึ่งไถลลงมาตามพื้นเอียงที่มีความฝืด ดังรูป

รูป ประกอบคำ�ถามข้อ 3

งานของแรงแต่ละแรงที่กระทำ�ต่อกล่องขณะที่ไถลลงมานั้นมีค่าเป็น บวก ลบ หรือ ศูนย์


  
แนวคำ�ตอบ แรงที่กระทำ�ต่อกล่อง ได้แก่ แรงโน้มถ่วง (W = mg ) แรงแนวฉาก ( N ) และ แรง
  
เสียดทาน ( f ) ดังรูป N ∆x

f


mg

การพิจารณาว่า งานของแต่ละแรงมีค่างานเป็นบวก ลบ หรือ ศูนย์ พิจารณาได้จากสมการ



W = F ∆x cos θ โดย θ เป็นมุมระหว่างแรงนั้นกับการกระจัด ∆x ซึ่งเมื่อเขียนแผนภาพแสดง
มุมระหว่างแรงแต่ละแรงกับการกระจัด จะได้
 ดังรูปด้านล่าง
N 
f
 
θ
 ∆x ∆x
∆x


mg

จากรูป จะเห็นได้วา่ มุมระหว่างแรงโน้มถ่วงกับการกระจัดเป็นมุมแหลม มุมระหว่างแรงแนวฉาก


กับการกระจัดเป็นมุมฉาก ส่วนมุมระหว่างแรงเสียดทานกับการกระจัดเป็นมุมป้าน ดังนั้น งานของ
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 161

แรงโน้มถ่วง งานของแรงแนวฉาก และ งานของแรงเสียดทาน เป็น บวก ศูนย์ และ ลบ ตามลำ�ดับ


นั่นคือ งานของแรงโน้มถ่วงมีค่าเป็นบวก งานของแรงแนวฉากมีค่าเป็นศูนย์ และ งานของแรง
เสียดทานมีค่าเป็นลบ

4. จากข้อ 3. ถ้ากล่องไถลขึ้นพื้นเอียง งานของแรงแต่ละแรง จะเปลี่ยนเครื่องหมายหรือไม่


แนวคำ�ตอบ เมื่อกล่องไถลขึ้นพื้นเอียง เขียนแผนภาพแสดงมุมระหว่างแรงแต่ละแรงกับการ
กระจัด จะได้ดังรูปด้านล่าง 
  N 
∆x ∆x ∆x
θ


f

mg

จากรูป จะเห็นได้ว่า มุมระหว่างแรงโน้มถ่วงกับการกระจัดเป็นมุมป้าน มุมระหว่างแรงแนวฉาก


กับการกระจัดเป็นมุมฉาก ส่วนมุมระหว่างแรงเสียดทานกับการกระจัดเป็นมุมป้านเช่นเดิม ดังนั้น
งานของแรงโน้มถ่วง งานของแรงแนวฉาก และ งานของแรงเสียดทาน เป็น ลบ ศูนย์ และ ลบ ตาม
ลำ�ดับ
นั่นคือ งานของแรงโน้มถ่วงมีค่าเป็นลบ งานของแรงแนวฉากมีค่าเป็นศูนย์ และ งานของแรง
เสียดทานมีค่าเป็นลบ

5. จงอธิบายให้เห็นว่า เมื่อโยนวัตถุขึ้นไปในแนวดิ่งจนกระทั่งวัตถุกลับมาที่ตำ�แหน่งเดิม
(การกระจัดเป็นศูนย์) งานของแรงโน้มถ่วงที่กระทำ�ต่อวัตถุตั้งแต่เริ่มโยนจนกลับมาที่ต�ำ แหน่งเดิม
มีค่าเป็นศูนย์
แนวคำ�ตอบ ในการโยนวัตถุขึ้นในแนวดิ่ง แรงที่กระทำ�ต่อวัตถุคือ แรงโน้มถ่วง F มีทิศทางลง
(เข้าสู่ศูนย์กลางของโลก) ขณะที่การกระจัด ∆x ของวัตถุมีทิศทางขึ้น งานของแรงโน้มถ่วง
คือ F ∆x cos180 = − F ∆x จึงเป็นงานลบ แต่ขาลง ทั้งแรงและการกระจัดของวัตถุมี
ทิศทางลง งานของแรงโน้มถ่วง คือ F ∆x cos 0 = F ∆x จึงเป็นงานบวก ดังนั้นงานทั้งหมด
W = − F ∆x + F ∆x = 0 นั่นคืองานของแรงโน้มถ่วงที่กระทำ�ต่อวัตถุตั้งแต่เริ่มโยนจนกลับมาที่
ตำ�แหน่งเดิมมีค่าเป็นศูนย์
162 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

6. โยนวัตถุ ขึ้นตามแนวดิ่ง เมื่อขึ้นไปถึงจุดสูงสุด วัตถุตกกลับมาดังรูป X, Y และ Z เป็น


ตำ�แหน่งต่าง ๆ ของวัตถุขณะอยู่สูงจากพื้น จงเปรียบเทียบ
Y
ก. พลังงานจลน์ของวัตถุที่ตำ�แหน่ง X, Y และ Z
ข. พลังงานกลของวัตถุที่ตำ�แหน่ง X, Y และ Z
แนวคำ�ตอบ เมื่อโยนวัตถุขึ้นในแนวดิ่งด้วยความเร็ว v ความเร็วของ
วัตถุจะลดลงเรื่อยๆและเป็นศูนย์ที่ตำ�แหน่งสูงสุด เมื่อวัตถุตกกลับ Z
จะมีความเร็วเพิ่มขึ้นจนมีความเร็ว v ที่ต�ำ แหน่งที่โยนขึ้น ดังนั้น X
จากรูป จะได้ว่าขนาดความเร็วที่ X มากกว่าขนาดความเร็วที่ Z
(vx > vz) และขนาดความเร็วที่ Y เป็นศูนย์ (vy = 0) เนื่องจาก
1
Ek = mv 2 และจากกฎการอนุรักษ์พลังงาน จึงสรุปได้ว่า ก.
2
พลังงานจลน์ของวัตถุที่ตำ�แหน่ง X มากกว่า Z และมากกว่าศูนย์
รูป ประกอบคำ�ถามข้อ 6
พลังงานจลน์ของวัตถุที่ตำ�แหน่ง Y เป็นศูนย์ และ ข. พลังงานกล

ของวัตถุที่ตำ�แหน่ง X, Y และ Z มีค่าเท่ากัน


7. ปล่อยลูกกลมอันหนึ่งจากจุด X ตกสู่พื้นตามแนวดิ่งผ่านจุด Y ซึ่งเป็นจุดกึ่งกลางระหว่าง
ตำ�แหน่ง X กับพื้น ถ้าให้ Ep เป็นพลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุ และ Ek ป็นพลังงานจลน์ของวัตถุ
ที่ต�ำ แหน่ง Y จงหาความสัมพันธ์ของ Ep และ Ek
X

รูป ประกอบคำ�ถามข้อ 7

แนวคำ�ตอบ ที่จุด X ซึ่งอยู่สูงจากพื้น (ระดับอ้างอิง) เท่ากับ h ลูกกลมมีพลังงานศักย์โน้มถ่วง


Ep = mgh และมีพลังงานจลน์ Ek = 0 จะได้พลังงานกลรวม E = mgh เมื่อปล่อยลูกกลมตกลงมา
h mgh mgh
ถึงจุด Y ซึ่งอยู่สูงจากพื้นเท่ากับ ลูกกลมจะมี Ep = พลังงานอีกส่วนหนึ่ง
2 2 2
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 163

mgh
จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ Ek = นั่นคือที่ตำ�แหน่ง Y E p = Ek
2
8. การกระโดดบันจี (bungee jump) เกี่ยวข้องกับพลังงานใดบ้าง ณ เวลาต่าง ๆ
แนวคำ�ตอบ การกระโดดบันจีเป็นการกระโดดจากที่สูง โดยมีเชือกที่มีความยืดหยุ่นผูกติดกับ
ขาทั้งสองของผู้กระโดด อีกปลายยึดติดกับโครงสร้างสูงๆ เช่น สะพาน บอลลูนอากาศร้อน หรือ
ปั้นจั่นของรถเครน ช่วงแรก ของการกระโดดเป็นการตกแบบเสรี จากนั้นเชือกยืดออก (เนื่องจาก
น้ำ�หนักของผู้กระโดด) และหดกลับ (เนื่องจากแรงดึงกลับในเชือก) ดึงให้ผู้กระโดดเคลื่อนที่ขึ้น
ผู้กระโดดจะเคลื่อนที่ขึ้น-ลงในแนวดิ่งหลายรอบ และหยุดเมื่อพลังงานกลเปลี่ยนเป็นพลังงาน
อื่นจนหมด ขณะที่เชือกยืดออกมากที่สุด ผู้กระโดดต้องอยู่สูงจากพื้นข้างล่างเพียงพอเพื่อความ
ปลอดภัย
เมื่อพิจารณาพลังงาน ณ เวลาต่าง ๆ จะได้ดังนี้ ก่อนกระโดด จะมีแต่พลังงานศักย์โน้มถ่วงของผู้
กระโดด ดังรูป ก. ช่วงที่มีการตกแบบเสรี มีพลังงานศักย์โน้มถ่วง (ลดลง) และพลังงานจลน์ (เพิ่มขึ้น)
ดังรูป ข. ช่วงที่เชือกยืดออก จะมีทั้งพลังงานศักย์ยืดหยุ่นของเชือก พลังงานศักย์โน้มถ่วงและ
พลังงานจลน์ของผู้กระโดด ดังรูป ค. เมื่อเชือกยืดออกมากที่สุด จะมีทั้งพลังงานศักย์ยืดหยุ่น

ก. ก่อนกระโดด ข. ขณะที่เชือกยังไม่ยืดออก ค. ขณะเชือกยืดออก

รูป การกระโดดบันจี
164 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ของเชือก พลังงานศักย์โน้มถ่วงผู้กระโดด ส่วนพลังงานจลน์ของผู้กระโดดเป็นศูนย์


9. กรณีต่อไปนี้ มีการเปลี่ยนพลังงานอย่างไร
ก. เสียงจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ ข. แก้วหล่นจากโต๊ะกระทบพื้น
ค. ไมโครเวฟทำ�ให้น้ำ�เดือด ง. เมื่อเหยียบเบรกรถที่ก�ำ ลังแล่น จนรถหยุดนิ่ง
แนวคำ�ตอบ
ก. เสียงจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีการเปลี่ยนพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพลังงานกลแล้ว
เปลี่ยนเป็นพลังงานเสียง
ข. แก้วหล่นจากโต๊ะกระทบพื้น มีการเปลี่ยนพลังงานศักย์โน้มถ่วงเป็นพลังงานจลน์และ
พลังงานเสียง
ค. ไมโครเวฟทำ�ให้น�ำ้ เดือด มีการเปลีย่ นพลังงานคลืน
่ (แม่เหล็กไฟฟ้า) เป็นพลังงานความร้อน
ง. เมื่อเหยียบเบรกรถที่กำ�ลังแล่นจนรถหยุดนิ่ง มีการเปลี่ยนพลังงานจลน์ของรถเป็น
พลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างผ้าเบรกกับล้อรถ และระหว่างยางรถกับถนน

10. ยกตัวอย่างเครื่องกลอย่างง่ายที่เคยใช้ในชีวิตประจำ�วันมา 3 อย่าง พร้อมอธิบายหลักการ


ทำ�งาน
แนวคำ�ตอบ 1. บันไดจัดเป็นเครื่องกลอย่างง่ายประเภทพื้นเอียง 2. ของมีคมและของแหลม เช่น
มีดที่ใช้ในการทำ�อาหารจัด อาวุธปลายแหลมสำ�หรับล่าสัตว์เป็นเครื่องกลอย่างง่ายประเภทลิ่ม
3. ยานพาหนะ เช่น รถจักรยานที่มีระบบเกียร์ ซึ่งเป็นเครื่องกลอย่างง่ายประเภทล้อกับเพลา

ปัญหา

1. งานในการเคลื่อนมวล m จาก A ไป C ดังรูป มีค่าเท่าใด


C

θ A
B
รูป ประกอบปัญหาข้อ 1
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 165

วิธีทำ� งานที่ใช้ในการเคลื่อนมวล m จาก A ไป B


W = mg sin θ ( AC )
= mgACsin θ
ตอบ งานที่ใช้ในการเคลื่อนเท่ากับ mgACsin θ

2. จงหางานที่ใช้ในการลากกระสอบข้าวสารมวล 100 กิโลกรัม ไปบนพื้นราบเป็นระยะทาง


15.0 เมตร ด้วยอัตราเร็วสม่ำ�เสมอ ถ้าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างพื้นกับกระสอบข้าวสาร
เท่ากับ 0.05
วิธีทำ� ให้ F เป็นแรงที่ใช้ลากวัตถุให้เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วสม่ำ�เสมอจะได้ว่า
F = f = µ N = µ mg
F = (0.05)(100 kg )(9.8 m/s 2 )
F = 49 N
จะหางานได้จาก W = F ∆x
= (49 N)(15.0 m)
= 735 J
ตอบ งานที่ใช้ในการลากกระสอบข้าวสารเท่ากับ 735 จูล

3. แรงคงตัว 5.0 นิวตัน กระทำ�อย่างต่อเนื่องกับวัตถุมวล 2.0 กิโลกรัม ที่อยู่นิ่งบนพื้นราบลื่น


ให้เคลื่อนที่ จงหา
ก. งานที่แรงนี้ทำ�ในเวลา 2.0 วินาทีแรก
ข. งานที่แรงนี้ทำ�ในระหว่างวินาทีที่ 9 และวินาทีที่ 10
ก. วิธีทำ� หางานที่แรงนี้ทำ�ในเวลา 2.0 วินาทีแรก

F 5.0 N
จาก =
a = = 2.5 m s 2
m 2.0 kg
1 1
∆x = u x t + ax t 2 = 0 + (2.5 m/s 2 )(2.0 s) 2 = 5 m
2 2

W = F ∆x = (5 N)(5 m) = 25 Nm

ตอบ งานที่แรงนี้ท�ำ ในเวลา 2.0 วินาทีแรกเท่ากับ 25 จูล


166 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ข. วิธีทำ� งานที่แรงนี้ทำ�ในระหว่างวินาทีที่ 9 และวินาทีที่ 10


1 2 1
ระยะทางที่ได้ในเวลา 9 วินาที ∆x9 = at9 = (2.5 m/s 2 )(9 s) 2 = 101.25 m
2 2
1 2 1
ระยะทางที่ได้ในเวลา 9 วินาที ∆x10 = at10 = (2.5 m/s 2 )(10 s) 2 = 125 m
2 2
ระยะทางระหว่างวินาทีที่ 9 และวินาทีที่ 10 = ∆x9 − ∆x10
= 125 m − 101.25 m = 23.75 m
งานที่แรงนี้ทำ�ในระหว่างวินาทีที่ 9 และวินาทีที่ 10 W = F ∆x
= = (5 N)(23.75 m) 118.75 J
ตอบ งานที่แรงนี้ท�ำ ในระหว่างวินาทีที่ 9 และวินาทีที่ 10 เท่ากับ 118.75 จูล

4. A, B และ C เป็นตำ�แหน่งใด ๆ บนพื้นระดับโดยที่ระยะ AB ยาว 12 เมตร ระยะ BC ยาว


9 เมตร โดยมุม ABC เท่ากับ 90 องศา ดังรูป

พื้นระดับ C

9m

A
12 m B

รูป ประกอบปัญหาข้อ 4

ในการลากวัตถุก้อนหนึ่งเป็นแนวตรงจาก A ถึง C ต้องใช้แรง F เท่าใด งานของแรงนั้นจึงจะ
เท่ากับงานของแรงขนาด 20 นิวตัน ซึ่งลากวัตถุจาก A ไป B และจาก B ไป C โดยแรงมีทิศทาง
เดียวกับการเคลื่อนที่
แนวคิด งานในแนว AC เท่ากับผลรวมของงานแนว AB และ BC เขียนเป็นสมการได้ดังนี้

จากรูป
= (12 m) 2 + (9 m) 2

ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 167

จาก WA →C = WA →B + WB→C (W = F ∆x)


แทนค่า
จะได้
ต้องใช้แรง F ขนาด 28 นิวตัน
ตอบ 28 นิวตัน


5. ออกแรง F ในแนวทำ�มุม 45 องศากับแนวระดับ ลากวัตถุมวล 3 กิโลกรัม จากหยุดนิ่งให้
เคลื่อนที่บนพื้นระดับด้วยความเร่ง 2 เมตรต่อวินาที2 ดังรูป

F
2 m/s2

o
45
3 kg

รูป ประกอบปัญหาข้อ 5

งานของแรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุในช่วง 10 วินาทีแรก มีค่าเท่าใด


แนวคิด งานของแรงลัพธ์หาได้จากผลคูณระหว่างแรงลัพธ์กับระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ใน
10 วินาที
ให้ ∑ F เป็นแรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุ ดังรูป

2 m/s2

∑F
3 kg

ในช่วง 10 วินาทีแรก ให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ระยะทาง s ซึ่งหาได้จากสมการ


1
∆x = u x t + ax t 2
2
168 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

1 
= 0 +  (2 m/s 2 )(10 s) 2 
2 
∆x = 100 m
หาแรงลัพธ์ ∑ F จาก ∑ F = ma
= (3 kg )(2 m/s 2 )
=6 N
หางานของแรงลัพธ์ จาก W = ( ∑ F ) (s)
= ( 6 N )(100 m )
W = 600 J
ตอบ งานของแรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุในช่วง 10 วินาที แรกมีค่าเท่ากับ 600 จูล


6. แรง F คงตัวทั้งขนาดและทิศทางกระทำ�ต่อวัตถุทำ�ให้วัตถุเคลื่อนที่ไปบนพื้นราบจากจุด
A ไปยังจุด C โดยผ่านจุด B ถ้าระยะ AB มีค่า s1 ระยะ BC มีค่า s2 และ BC ทำ�มุม q กับแนว
เส้นตรง AB ดังรูป
C

F s2
θ
s1 B
A
รูป ประกอบปัญหาข้อ 6

จงหางานทั้งหมดเนื่องจากแรงคงตัวนี้
แนวคิด หางานเนื่องจากแรงคงตัวในแต่ละเส้นทาง แล้วนำ�มารวมกันเป็นงานรวมทั้งหมด
ในช่วง AB การกระจัดที่เกิดขึ้นมีทิศทางเดียวกับแรงคงตัว ดังนั้นงานเนื่องจากแรงที่
ให้นี้มีค่าเป็น
= W1 Fs =1 cos 0

Fs1
และในช่วง BC การกระจัดมีทิศทางซึ่งทำ�มุม θ กับแรง ดังนั้นงานในช่วงนี้ค่าเท่ากับ
W2 = Fs2 cos θ
งานเนื่องจากแรงในการเคลื่อนที่วัตถุตามเส้นทาง ABC จึงมีค่าเป็น
W = W1 + W2
= Fs1 + Fs2 cos θ
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 169

งานเนื่องจากแรงในการเคลื่อนที่วัตถุตามเส้นทาง ABC เท่ากับ Fs1 + Fs2 cos θ


ตอบ F ( s1 + s2 cos θ )

7. หย่อนเชือกที่ผูกติดกับวัตถุมวล m ทำ�ให้วัตถุเคลื่อนที่ลงมาด้วยความเร่งคงตัว a และขนาด


ของการกระจัดเป็น s งานเนื่องจากแรงที่คนดึงเชือกมีค่าเท่าใด
แนวคิด ใช้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันเพื่อหาแรงดึงเชือก แล้วจึงนำ�เอาแรงดึงเชือกที่ได้ไปหางาน
ที่เกิดขึ้น
 
มีแรงจำ�นวนสองแรงได้แก่ น้ำ�หนักของวัตถุ mg และแรงดึงเชือก T กระทำ�ต่อวัตถุ

โดยวัตถุมีความเร่งคงตัว a ในทิศทางชี้ลงสู่พื้น จากกฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน
 
∑ F = ma จะได้
mg − T = ma
นั่นคือ แรงดึงเชือกจะมีขนาดเป็น
T = mg − ma
เนื่องจากทิศทางของแรงดึงเชือกนี้อยู่ในทิศทางตรงข้ามกับการกระจัดของวัตถุ ดังนั้น
งานเนือ่ งจากขนาดแรงดึงเชือกจึงมีค่าเป็น
W = Ts cos180
= ( mg − ma )( s ) ( −1)
= −ms ( g − a )
สังเกตว่าในกรณีนี้ g > a ดังนั้นค่าของงานจึงมีค่าเป็นลบตามที่เราคาดหมายไว้
งานเนื่องจากแรงดึงเชือกมีค่าเท่ากับ ms ( g − a )
ตอบ ms ( g − a )
F(N)
8. กราฟความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงที่
ใช้ดึงปลายสปริงกับระยะที่สปริงยืดออก
เป็นดังรูป

ค่าคงตัวสปริงมีค่าเท่าใด ถ้างานของแรงดึงที่
ทำ�ให้สปริงมีการกระจัด 4 เซนติเมตร จากตำ�แหน่ง x(cm)
0 4
สมดุลมีค่าเป็น 24 มิลลิจูล
รูป ประกอบปัญหาข้อ 8
170 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

วิธีทำ� การที่ วั ต ถุ มี อั ต ราเร็ ว คงตั ว แสดงว่ า แรงที่ ใ ช้ ใ นการดึ ง วั ต ถุ มี ข นาดเท่ า กั บ ขนาดของแรง


เนื่องจากสปริง พื้นที่ใต้กราฟที่กำ�หนดให้มีค่าเท่ากับงานที่เกิดขึ้นจากแรงดังกล่าว
จากการที่วัตถุเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงตัว แสดงว่าแรงที่ใช้ในการดึงวัตถุมีขนาดเท่ากับ
F = k x ดังนั้นที่ตำ�แหน่= cm 0.04 m ขนาดของแรงจึงมีค่าเป็น ( 0.04 m ) k
ง x 4=
ดังรูป
F(N)

(0.04 m)k

x(cm)
0 4
1
พื้นที่ใต้กราฟจึงมีค่า = ( 0.04 m )( 0.04 m ) k
2
= ( 8 ×10−4 m 2 ) k

ซึ่งพื้นที่ใต้กราฟนี้มีค่าเท่ากับงานเนื่องจากแรงดึง W = 24 mJ = 24 × 10−3 J

จะได้ (
= 8 ×10−4 m 2 k = 24 ×10−3 J )
24 ×10−3 J N
นั่นคือ k= −4 2
= 30
8 ×10 m m
ค่าคงตัวสปริงมีค่าเท่ากับ 30 นิวตันต่อเมตร

ตอบ 30 นิวตันต่อเมตร

9. นักกายกรรมหนัก 600 นิวตัน ไต่เชือกที่แขวนอยู่ในแนวดิ่งขึ้นไปสูง 10.0 เมตร จากพื้นดิน


จงหา
ก. งานที่นักกายกรรมทำ�เมื่อถึงจุดสูงสุด
ข. กำ�ลังเฉลี่ยที่เขาใช้ ถ้าอัตราเร็วเฉลี่ยในการไต่เชือกของเขาเท่ากับ 0.50 เมตรต่อวินาที
ค. พลังงานจลน์เฉลี่ยขณะที่เขากำ�ลังเคลื่อนที่
ง. พลังงานศักย์โน้มถ่วงเมื่อเขาอยู่ที่จุดสูง 10.0 เมตร จากพื้นดิน
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 171

ก. วิธีทำ� หางานที่นักกายกรรมทำ�
จาก ∆x
ตอบ งานที่นักกายกรรมทำ� 6000 จูล

ข. วิธีทำ� หากำ�ลังเฉลี่ย
F ∆x
จาก Pav = = Fv = (600 N)(0.50 m/s) = 300 W
∆t
ตอบ กำ�ลังเฉลี่ยเท่ากับ 300 วัตต์

ค. วิธีทำ� หาพลังงานจลน์เฉลี่ย
1 2
จาก Ek =mv
2
1  600 N 
ดังนั้น Ek =  2 
(0.50 m/s) 2 = 7.65 J
2  9.8 m/s 
ตอบ พลังงานจลน์เฉลี่ยของนักกายกรรมเท่ากับ 7.65 จูล

ง. วิธีทำ� หาพลังงานศักย์โน้มถ่วงที่จุดสูง 10.0 เมตร


จาก Ep = mgh
=
(=
600 N)(10.0 m) 6000 J
ตอบ พลังงานศักย์โน้มถ่วงที่จุดสูงสุดเท่ากับ 6000 จูล

10. เครื่องสูบน้�
ำ สูบน้ำ�มวล 3600 กิโลกรัม ขึ้นจากบ่อลึก 10 เมตร ในเวลา 1 ชั่วโมง แล้วฉีด
น้�ำ ออกไปด้วยอัตราเร็ว 20 เมตรต่อวินาที จงหากำ�ลังของเครื่องสูบน้ำ�

W mgh
วิธีท�ำ กำ�ลังที่ใช้ในการสูบน้ำ� = =
∆t ∆t

(3600 kg )(9.8 m/s 2 )(10 m)


= = 98 W
60 × 60 s
W 1 mv 2
กำ�ลังใช้ในในการฉีดน้ำ� = =
∆t 2 ∆t

1 (3600 kg )(20 m/s) 2


= = 200 W
2 60 × 60 s
172 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

กำ�ลังของเครื่องสูบน้�
ำ = 98 W+200 W=298 W

ตอบ กำ�ลังของเครื่องสูบน้�ำ เท่ากับ 298 วัตต์


11. กล่องใบหนึ่ง ถูกแรง F กระทำ�จากหยุดนิ่งให้เคลื่อนที่ไปบนพื้นระดับด้วยความเร่งคงตัว
ดังรูป 
F

รูป ประกอบปัญหาข้อ 11

 
ถ้าเวลาผ่านไป t กล่องมีความเร็ว v กำ�ลังเฉลี่ยของแรง F ที่กระทำ�ต่อตู้ในช่วงเวลา t เป็น
เท่าใด
วิธีทำ� กำ�ลังเฉลี่ยหาได้จากอัตราส่วนระหว่างงานที่ทำ�ได้ต่อช่วงเวลาที่ใช้ ดังสมการ

W F ∆x
Pav = =
∆t ∆t

เป็นระยะทางที่ตู้เคลื่อนที่ได้ในเวลา t หาได้จาก

∆x =
( ux + vx ) ∆t

2

=
( 0 + vx ) ∆t
2
1
∆x = vx ∆t
2
F 1 
แทนค่า จะได้ Pav =  vx ∆t 
∆t  2 
1
Pav = Fvx
2
1
ตอบ กำ�ลังเฉลี่ยของแรงที่กระทำ�ต่อตู้เป็น Fvx
2
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 173

12. มอเตอร์ไฟฟ้ามีก�ำ ลัง 1000 วัตต์ นำ�ไปติดที่ล้อเพื่อหมุนให้เคลื่อนที่นาน 2 นาที ถ้ามอเตอร์


สูญเสียพลังงานไปร้อยละ 5 จงหางานที่มอเตอร์หมุนล้อ
วิธีทำ� กำ�ลังของมอเตอร์เท่ากับงานที่มอเตอร์ทำ�กับวัตถุต่อเวลา
งานที่มอเตอร์หมุนล้อ
กำ�ลังของมอเตอร์ =
เวลาที่ใช้
W
Pav =
∆t
แทนค่า W = Pav ∆t

= (1000 W)(2)(60 s)

= 1.2 ×105 J

มอเตอร์สูญเสียพลังงานไป 5 % ดังนั้น งานที่มอเตอร์หมุนล้อจะเป็น


95
W = (1.2 ×105 J ) ×
100
= 1.14 ×105 J

ตอบ งานที่มอเตอร์หมุนล้อเท่ากับ 1.14 × 105 จูล

13. ปล่อยกล่องใบหนึ่งมวล 10 กิโลกรัม ซึ่งเดิมอยู่นิ่งที่ต�ำ แหน่ง A สูงจากพื้น 6 เมตร ให้ไถล


บนรางโค้ง เมือ
่ กล่องไถลถึงปลายรางทีต
่ �ำ แหน่ง B สูงจากพืน
้ 3.5 เมตร มีอต
ั ราเร็ว 5 เมตรต่อวินาที
ดังรูป
A

5 m/s h1= 6 m
B

h2= 3.5 m

รูป ประกอบปัญหาข้อ 13

งานของแรงต้านที่พื้นรางกระทำ�ต่อกล่องมีค่าเท่าใด
174 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

วิธีทำ� จากหลักของงานและพลังงาน

W = ∆E

W = EB − EA

= ( Ek + Ep ) B − EpB
1 2
W= mv − mg ∆h
2
1
แทนค่า W = (10 kg )(5 m/s) 2 − (10 kg )(9.8 m/s 2 )(2.5 m)
2
= 125 J − 245 J

W = −120 J

ตอบ งานเนื่องจากแรงต้านที่พื้นทำ�ต่อกล่องมีค่า 120 จูล

14. แรงลัพธ์กระทำ�ต่อวัตถุมวล 100 กิโลกรัม ทำ�ให้มวลเคลื่อนที่มีความเร็ว ความสัมพันธ์


ระหว่างความเร็วกับเวลาที่วัตถุเคลื่อนที่ แสดงได้ดังรูป

ความเร็ว (m/s)
20

15

10

0 เวลา (s)
20
รูป ประกอบปัญหาข้อ 14

จงหางานของแรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุระหว่างเวลาจาก 0 ถึง 20 วินาที


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 175

วิธีทำ� งานของแรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุระหว่างเวลา 0 วินาที ถึง 20 วินาที เท่ากับพลังงานจลน์ที่


เปลี่ยนไป

W = ∆ Ek = Ek 2 − Ek1
1
=
ที่เวลา t = 0 Ek1 = (100 kg )(10 m/s) 2 5000 J
2
1
= ที่เวลา t = 20 s Ek2 = (100 kg )(15 m/s) 2 11250 J
2
ดังนั้น W = 11 250 J − 5000 J=6250 J

ตอบ งานของแรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุระหว่างเวลา 0 วินาที ถึง 20 วินาที เท่ากับ 6250 จูล

15. กราฟแสดงแรงขนาดต่าง ๆ ที่กระทำ�ต่อวัตถุมวล 2.0 กิโลกรัม ซึ่งเดิมหยุดนิ่ง ดังรูป


F (N)

40

20

x (m)
2 4
รูป ประกอบปัญหาข้อ 15

จงหา
ก. งานในการเคลื่อนที่วัตถุไปเป็นระยะทาง 2.5 เมตร
ข. ความเร็วของวัตถุหลังจากเคลื่อนที่ได้ 2.5 เมตร
ค. พลังงานจลน์ของวัตถุหลังจากเคลื่อนที่ได้ 4.0 เมตร
ก. วิธีทำ� หางานในการเคลื่อนที่วัตถุไปเป็นระยะทาง 2.5 เมตร
พื้นที่ใต้กราฟระหว่างแรงและระยะทางคืองานในการเคลื่อนที่วัตถุ

1
= (40 N)(1 m + 2.5 m)
2
= 70 J
ตอบ งานในการเคลื่อนที่วัตถุไปเป็นระยะทาง 2.5 เมตร เท่ากับ 70 จูล
176 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ข. วิธีทำ� หาความเร็วของวัตถุหลังจากเคลื่อนที่ได้ 2.5 เมตร


งานในการเคลื่อนที่วัตถุไปเป็นระยะทาง 2.5 เมตร = พลังงานจลน์ของวัตถุ หรือ
1 2
W = mv
2
1
70 J= (2.0 kg ) v 2
2
v = 8.37 m/s

ตอบ ความเร็วของวัตถุหลังจากเคลื่อนที่ได้ 2.5 เมตร เท่ากับ 8.4 เมตรต่อวินาที



ค. วิธีทำ� หาพลังงานจลน์ของวัตถุหลังจากเคลื่อนที่ได้ 4.0 เมตร
ในช่วง 2.5 m ถึง 4 m แรงกระทำ�ต่อวัตถุเป็นศูนย์ นั่นคือพลังงานจลน์ของวัตถุไม่
เพิ่มขึ้นในช่วงนี้ พลังงานจลน์ของวัตถุเท่ากับงานที่ท�ำ ในช่วงเคลื่อนที่ 2.5 m หรือ
E=
k W= 70 J
ตอบ พลังงานจลน์ของวัตถุหลังจากเคลื่อนที่ได้ 4.0 เมตร เท่ากับ 70 J

16. ชายคนหนึ่งยกกล่องที่มีขนาดเท่ากัน 6 ใบ มาซ้อนกัน กล่องแต่ละใบมีมวล 10.0 กิโลกรัม


สูง 0.20 เมตร จงหา
ก. พลังงานศักย์ของกล่องใบที่หนึ่ง
ข. งานที่ชายคนนี้ทำ�ในการนำ�กล่องใบที่สองซ้อนบนกล่องใบที่หนึ่ง แล้วนำ�กล่องใบที่สาม
ซ้อนบนกล่องใบที่สอง แล้วทำ�เช่นนี้เรื่อยไปจนครบทุกกล่อง
ค. พลังงานศักย์ของกล่องที่ตั้งซ้อนกันโดยใช้สูตร W = mgh เมื่อใช้ m เป็นมวลของ
กล่องทั้งหมดและ h เป็นความสูงของศูนย์กลางมวลของกล่องที่ซ้อนกันนี้
ง. ผลที่ได้ในข้อ ข. และ ข้อ ค. แตกต่างกันหรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. วิธีท�ำ ให้กล่องทั้ง 6 ใบ อยู่บนพื้นราบ และให้พื้นเป็นระดับอ้างอิง
หาพลังงานศักย์ของกล่องใบที่หนึ่ง
จาก Ep = mgh
Ep = (10.0 kg )(9.8 m/s 2 )(0.2 m)
= 19.6 J
ตอบ พลังงานศักย์ของกล่องใบที่หนึ่งเป็น 19.6 จูล
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 177

ข. วิธีทำ� หางานที่ทำ�ในการยกกล่อง
ในการยกกล่องแต่ละใบต้องออกแรง
= mg
= 98 N
ดังนั้นงานที่ทำ�ในการยกกล่องตั้งแต่ใบที่ 2 ถึงใบที่ 6 จะเท่ากับ
W = mgh1 + mgh2 + mgh3 + mgh4 + mgh5
= mg (h1 + h2 + h3 + h4 + h5 )
= (98 N)(0.4 m + 0.8 m + 1.2 m + 1.6 m + 2.0 m)
= (98 N)(6 m)
= 588 J
ตอบ งานที่ท�ำ ในการยกล่องซ้อนกันเท่ากับ 588 จูล

ค. วิธีทำ� หาพลังงานศักย์โน้มถ่วงของกล่องทั้งหมด
จาก Ep = mgh
= (60.0 kg )(9.8 m/s 2 )(1.20 m)

= 705.6 J
ตอบ พลังงานศักย์ของกล่องที่ตั้งซ้อนกันทั้งหมดเท่ากับ 705.6 จูล

ง. วิธีทำ� พิจารณาจากผลที่ได้ในข้อ ข. และ ค.


ตอบ ผลทีไ่ ด้ในข้อ ข. และ ค. แตกต่างกัน ทัง้ นีเ้ พราะการทำ�งานในข้อ ข. เป็นการเพิม
่ พลังงานศักย์
ของกล่อง กล่าวคือขณะที่กล่องทั้งหมดอยู่ที่พื้นจะมีพลังงานศักย์อยู่แล้ว 19.6 จูล × 6 ใบ หรือ
เท่ากับ 117.6 จูล เมื่อยกกล่องขึ้นซ้อนกัน กล่องทั้งหมดจะมีพลังงานศักย์ 117.6 จูล + 588 จูล
เท่ากับ 705.6 จูล นั่นคือ พลังงานศักย์ของกล่องเพิ่มขึ้น 588 จูล ซึ่งเท่ากับงานที่ทำ�ในการยก
กล่องในข้อ ข.

17. เครื่องชั่งสปริงแบ่งสเกลไว้ตั้งแต่ 0 - 20 นิวตัน บนสเกลที่ยาว 0.10 เมตร จงหา


ก. พลังงานศักย์ยืดหยุ่นของสปริง ขณะที่เครื่องชั่งสปริงอ่านค่าแรงได้ 6.0 นิวตัน
ข. พลังงานศักย์ยืดหยุ่นของสปริง ขณะที่เครื่องชั่งสปริงอ่านค่าแรงเต็มสเกล
ก. วิธีท�ำ เมื่อเครื่องชั่งสปริงมีสเกลยาว 0.10 เมตร และอ่านค่าของแรงได้ตั้งแต่ 0 – 20 นิวตัน
แสดงว่าแรงที่ใช้ในการดึงสปริงขณะที่สปริงยืดออก  0.10  เมตร  เท่ากับ  20  นิวตัน
สามารถหาคงตัวสปริงจากสมการ
178 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

F = kx
F
k =
x
20 N
=
0.10 m
= 200 N/m
หาพลังงานศักย์ยดื หยุน
่ ของสปริงขณะเครือ่ งชัง่ อ่านค่าของแรงได้ 6.0 นิวตัน ระยะทีส่ ปริง
ยืดออกเมื่ออ่านค่าของแรงได้ 6.0 นิวตัน หาได้ดังนี้
F
จาก F = kx หรือ x =
k
เมื่อ F = 6.0 N และ k = 200 N/m
6.0 N
ดังนั้น
= x = 0.03 m
200 N/m
1
หาพลังงานศักย์ยืดหยุ่น จากสมการ Ep = kx 2
2
1
Ep = (200 N/m)(0.03 m) 2
2
= 0.09 J

ตอบ พลังงานศักย์ยืดหยุ่น ขณะเครื่องชั่งสปริงอ่านค่าของแรงได้ 6.0 นิวตัน เท่ากับ 0.09 จูล

ข. วิธีทำ� หาพลังงานศักย์ยืดหยุ่น ขณะเครื่องชั่งสปริงอ่านค่าของแรงเต็มสเกล


1 2
จาก W = kx
2
เมื่อ k = 200 N m , ∆x = 0.10 m
1
ดังนั้น W = (200 N/m)(0.10 m) 2
2
= 1J

ตอบ พลังงานศักย์ยืดหยุ่นของสปริง ขณะเครื่องชั่งสปริงอ่านค่าของแรงเต็มสเกลเท่ากับ 1 จูล


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 179

18. สปริงอันหนึ่ง มีค่าคงตัวสปริงเท่ากับ 150 นิวตันต่อเมตร จงหา


ก. แรงที่ใช้ดึงสปริงขณะสปริงยืดออกจากเดิม 0.25 เมตร
ข. งานที่ใช้ในการดึงสปริงในข้อ ก.
ก. วิธีทำ� หาแรงที่ใช้ดึงสปริงขณะสปริงยืดออกจากเดิม 0.25 เมตร
จาก F = kx เมื่อ k = 150 N m และ x = 0.25 m
=
ดังนั้น F (150
= N/m)(0.25 m) 37.5 N
ตอบ แรงที่ใช้ดึงสปริง ขณะที่ยืดออกจากเดิม 0.25 เมตร มีค่าเท่ากับ 37.5 นิวตัน

ข. วิธีทำ� หางานที่ใช้ดึงสปริงในข้อ ก.
1 2
จาก W = kx
2
1
ดังนั้น W = (150 N/m)(0.25 m) 2
2
= 4.69 J

ตอบ งานที่ใช้ในการดึงสปริงให้ยืดออกจากเดิม 0.25 เมตร มีค่าเท่ากับ 4.69 จูล

19. ลูกปืนมวล 2.0 กรัม เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 300 เมตรต่อวินาที ไปกระทบเป้าซึ่งเป็นต้นไม้


ใหญ่ลูกปืนจมลงไปในเนื้อไม้ลึก 5.0 เซนติเมตร จงหาแรงเฉลี่ยของลูกปืนที่กระทำ�ต่อเนื้อไม้ และ
งานที่ลูกปืนทำ�ในการเคลื่อนที่เข้าไปในเนื้อไม้
วิธท
ี �ำ เมือ
่ ลูกปืนกระทบไม้และจมลึกลงไปในเนือ
้ ไม้ งานของแรงทีล่ ก
ู ปืนกระทำ�กับเนือ
้ ไม้จะเท่ากับ
1 2 1
พลังงานจลน์ของลูกปืน Ek = mv = (2.0 ×10−3 kg )(300 m/s) 2 = 90 J
2 2
งานของแรงที่ลูกปืนกระทำ�ต่อเนื้อไม้ W = F ∆x

เมื่อ W = 90 J และ ∆x = 5.0 ×10−2 m


90 J
จะได้ F= = 1800 N
5.0 ×10−2 m

ตอบ แรงเฉลี่ยที่ลูกปืนกระทำ�กับเนื้อไม้เท่ากับ 1800 นิวตัน และงานที่ลูกปืนกระทำ�กับเนื้อไม้


เท่ากับ 90 จูล
180 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

20. ลูกปืนมวล 0.002 กิโลกรัม เคลื่อนที่ออกจากปากลำ�กล้องปืนซึ่งยาว 0.80 เมตร ด้วย


อัตราเร็ว 400 เมตรต่อวินาที จงหา
ก. พลังงานจลน์ของลูกปืน
ข. แรงที่ดันให้ลูกปืนหลุดออกจากปากลำ�กล้อง
ก. วิธีท�ำ หาพลังงานจลน์ของลูกปืน
1 2
จาก Ek = mv
2
1
ดังนั้น Ek = (0.002 kg )(400 m/s) 2
2
= 160 J

ตอบ พลังงานจลน์ของลูกปืนเท่ากับ 160 จูล

ข. วิธีทำ� หาแรงที่ดันให้ลูกปืนหลุดจากลำ�กล้อง
งานของแรงที่ดันให้ลูกปืนหลุดจากลำ�กล้อง W = F ∆x และ W = Ek

ดังนั้น F ∆x = Ek
Ek 160 J
F= = = 200 N
∆x 0.80 m
ตอบ แรงที่ดันให้ลูกปืนหลุดจากลำ�กล้องเท่ากับ 200 นิวตัน

21.  นั ก เรี ย นใช้ ป ากกาลู ก ลื่ น แบบสปริ ง โดยสปริ ง ของปากกาจะหดตั ว ในลั ก ษณะที่ ร ะยะ
หดแปรผันตรงกับแรงกระทำ� จากการทดลองพบว่า แรงที่วัดได้จากการกดปุ่มที่ปลายบนสุดของ
ปากกาอยู่ในช่วง 0 – 2.5 นิวตัน และสปริงสามารถหดตัวได้มากสุด 0.5 เซนติเมตร ดังกราฟ

แรง F (N)
2.5

0 0.5
ระยะที่หด x (cm)
รูป ประกอบปัญหาข้อ 21
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 181

จงหา ก. งานที่กดปากกาหนึ่งครั้ง
ข. ค่าคงตัวสปริงของสปริงปากกา

ก. วิธีทำ� งานที่ทำ�ในการกดหนึ่งครั้ง มีค่าเท่ากับพื้นที่ใต้กราฟ = 1 × ฐาน × สูง


2
1
ดังนั้น งานที่กดปากกาหนึ่งครั้ง = (0.5 ×10 m)(2.5 N)−2

2
= 0.006 25 J

ตอบ งานที่กดปากกาหนึ่งครั้งเท่ากับ 6.25 × 10−3 จูล

∆F
ข. วิธีทำ� ค่าคงตัวสปริง k หาได้จากความชันของกราฟ ความชัน =
∆x
2.5 N
ดังนั้น k =
0.5 ×10−2 m
จะได้ k = 500 N/m

ตอบ ค่าคงตัวสปริงของสปริงปากกาเท่ากับ 500 นิวตันต่อเมตร

22. ก้อนหินมวล 50.0 กิโลกรัม ตกจากที่สูง 196 เมตร เหนือพื้นดิน จงหาพลังงานศักย์และ


พลังงานจลน์ของก้อนหิน
ก. ขณะก้อนหินเริ่มตก ข. เมื่อเวลาผ่านไป 1.0 วินาที
ค. เมื่อเวลาผ่านไป 5.0 วินาที ง. ขณะกระทบพื้นดิน

ก. วิธีทำ� ใช้พื้นดินเป็นระดับอ้างอิง
หาพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ของก้อนหินขณะเริ่มตก
ขณะก้อนหินขณะเริ่มตก v = 0 ดังนั้น Ek = 0 แต่ Ep มีค่าสูงสุด ดังนี้

= (50.0 kg )(9.8 m/s 2 )(196 m) = 96040 J


Ep mgh
=

ตอบ ขณะก้อนหินเริ่มตกมีพลังงานศักย์ 96040 จูล และมีพลังงานจลน์เป็นศูนย์


182 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ข. วิธีทำ� หาพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ของก้อนหินเมื่อเวลาผ่านไป 1.0 วินาที


เมื่อเวลาผ่านไป 1.0 วินาที อัตราเร็ว ของก้อนหินหาได้จาก
vy = u y + ayt
= 0 + (9.8 m/s 2 )(1 s)
= 9.8 m/s
หาพลังงานจลน์ของก้อนหินเมื่อเวลาผ่านไป 1.0 วินาที
1
จาก Ek
= =(50.0 kg )(9.8 m/s) 2 2401
2401JJ
2
จากกฎการอนุรักษ์พลังงาน หาพลังงานศักย์ของก้อนหินได้เท่ากับ

Ep = 96040 J − 2401 J=93639


= 93639J
J

ตอบ เมื่อเวลาผ่านไป 1 วินาที วัตถุมีพลังงานศักย์เท่ากับ 93639 จูล และมีพลังงานจลน์เท่ากับ


2401 จูล

ค. วิธีทำ� หาพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ของก้อนหินเมื่อเวลาผ่านไป 5.0 วินาที


เมื่อเวลาผ่านไป 5.0 วินาที อัตราเร็ว ของก้อนหินหาได้จาก

vy = u y + ayt

= 0 + (9.8 m/s 2 )(5 s)

= 49 m/s

หาพลังงานจลน์ของก้อนหินเมื่อเวลาผ่านไป 5.0 วินาที


1
จาก Ek
= =(50.0 kg )(49 m/s) 2 60025 J
2
จากกฎการอนุรักษ์พลังงาน หาพลังงานศักย์ของก้อนหินได้เท่ากับ

Ep = 96040 J − 60025 J=36


= 36015J
015 J

ตอบ เมื่อเวลาผ่านไป 5 วินาที วัตถุมีพลังงานศักย์เท่ากับ 36015 จูล และมีพลังงานจลนเท่ากับ


60025 จูล
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 183

ง. วิธีทำ� หาพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ขณะวัตถุกระทบพื้น
ขณะกระทบพื้น พลังงานศักย์โน้มถ่วงเป็นศูนย์ จากกฎการอนุรักษ์พลังงานจะได้
พลังงานจลน์มีค่า 96040 จูล

ตอบ ขณะกระทบพื้นวัตถุจะมีพลังงานศักย์เป็นศูนย์และมีพลังงานจลน์เท่ากับ 96040 จูล

23. วัตถุมวล m เคลื่อนที่ผ่านจุด A ด้วยอัตราเร็ว u ขึ้นพื้นเอียงลื่นได้ถึงจุด B ซึ่งสูงจากพื้น


เป็นระยะ H ดังรูป
B

u H

m
พื้น
A
รูป ประกอบปัญหาข้อ 23

ถ้าให้วต
ั ถุนเ้ี คลือ
่ นทีผ
่ า่ นจุด A ด้วยอัตราเร็ว 2u วัตถุจะขึน
้ พืน
้ เอียงได้สงู จากพืน
้ เป็นระยะเท่าใด
วิธีทำ� จากกฎการอนุรักษ์พลังงานกล
ให้พื้นเป็นระดับอ้างอิง จะได้พลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุที่ B เท่ากับพลังงานจลน์ของ
วัตถุที่ A

EpB = Ek A
1
เมื่อมวลมีอัตราเร็ว u จะได้ mgH = mu 2 (1)
2
เมื่อมวลมีอัตราเร็ว 2u ให้มวลขึ้นได้สูงจากพื้นเป็นระยะ H ′ จะได้
1
mgH ′ = m(2u ) 2 (2)
2
H′
(2) =4
(1) H
H ′ = 4H

ตอบ วัตถุจะขึ้นได้สูงจากพื้นเป็นระยะ 4H
184 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

24. ปล่อยมวลก้อนหนึ่ง ณ ตำ�แหน่งที่สูงจากพื้นเป็นระยะ h ขณะที่มวลอยู่สูงจากพื้นเป็น

ระยะ h มวลก้อนนี้มีอัตราเร็วเท่าใด ให้ g เป็นความเร่งโน้มถ่วง


3
วิธีทำ� เขียนแผนภาพจากสถานการณ์ ได้ดังนี้

h
B
v h
3
พื้น

ให้ A เป็นตำ�แหน่งที่ปล่อยมวล m สูงจากพื้นเป็นระยะ h


h
B เป็นตำ�แหน่งที่สูงจากพื้นเป็นระยะ
3
ให้พื้นเป็นระดับอ้างอิง
จากกฎการอนุรักษ์พลังงานกล
พลังงานกลของมวลที่ตำ�แหน่ง B = พลังงานกลของมวลที่ตำ�แหน่ง A

( Ep + Ek ) B = ( Ep + Ek ) A

h 1
mg   + mv 2 = mgh + 0
3 2
4
v2 = gh
3
1
 gh  2
v = 2 
 3 
1
 gh  2
ตอบ มวลมีอัตราเร็ว 2  
 3 
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 185

25. จงหาประสิทธิภาพของรอก ดังรูป

40 N

60 N

รูป ประกอบปัญหาข้อ 25

วิธีทำ� ระยะทางที่เชือกคล้องรอกเคลื่อนที่ 2x จะทำ�ให้วัตถุเคลื่อนที่ x

เพราะฉะนั้นงานที่ให้แก่รอก = (40 N)(2 x)

งานที่ยกวัตถุ = (60 N)( x)

งานที่ยกวัตถุ
ประสิทธิภาพ = (งานที่รอกทำ�) ×100%
งานที่ให้แก่รอก
(60 N)( x)
= ×100%
(40 N)(2 x)

= 75%

ตอบ ประสิทธิภาพของรอกเท่ากับ 75%


186 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

26. จงหาประสิทธิภาพของพื้นเอียง ดังรูป

2N

30° 3N

รูป ประกอบปัญหาข้อ 26

วิธีทำ� งานที่ดึงวัตถุ = F ∆x = (2 N)(2 x)

งานที่วัตถุได้=
รับ mgh
= (3 N)( x)

งานที่วัตถุได้รับ
ประสิทธิภาพ = ×100%
งานที่ดึงวัตถุ
(3 N)( x)
= ×100%
(2 N)(2 x)

= 75%

ตอบ ประสิทธิภาพของพื้นเอียงเท่ากับ 75%

27. จงหาประสิทธิภาพของเครื่องกล ดังรูป

10 cm F=1N
0.5 cm

1 cm

รูป ประกอบปัญหาข้อ 27
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 187

วิธีทำ� งานที่ใช้ในการหมุนสกรู = (2π r ) F


= (=
2)(3.14)(0.5 m)(1 N) 3.14 J

งานที่วัตถุได้รับ = mgh


= (10=kg )(9.8 m/s 2 )(0.01 m) 0.98 J

งานที่วัตถุได้รับ
ประสิทธิภาพ = ×100%
งานที่ใช้ในการยกวัตถุ
(0.98 JJ )
= ×100% = 31.2%
(3.14 JJ )
ตอบ ประสิทธิภาพของเครื่องกลเท่ากับ 31.2%


28.  ดึงเชือกที่คล้องผ่านรอกเบาด้วยแรง F ทำ�ให้วัตถุหนัก 40 นิวตัน เคลื่อนที่ขึ้นด้วย
ความเร็วคงตัว ดังรูป


F

40 N

รูป ประกอบปัญหาข้อ 28

ถ้ารอกมีประสิทธิภาพร้อยละ 80 แรง F มีขนาดเท่าใด
188 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

งานที่ได้รับจากรอก
วิธีทำ� ประสิทธิภาพของรอก = ×100%
งานที่ให้กับรอก

เมื่อออกแรง F ดึงเชือก วัตถุเคลื่อนที่ขึ้นในแนวดิ่งได้ระยะทาง s


และเชือกที่คล้องรอกเคลื่อนที่ได้ระยะทาง 2s
งานที่ได้รับจากรอก = งานที่ยกวัตถุ 40 N ได้ระยะทาง s = (40 N)s
งานที่ให้กับรอก = งานที่ออกแรง F ได้ระยะทาง 2s = F(2s)

งานที่ยกวัตถุ 40 N ได้ระยะทาง s
ดังนั้น ประสิทธิภาพของรอก = ×100%
งานที่ออกแรง F ได้ระยะทาง 2s
(40 N) s
80 % = ×100%
F (2s)
F = 25 N
ตอบ แรง F มีขนาดเท่ากับ 25 นิวตัน

29. กรรไกรตัดลวดมีระยะระหว่างลวดและจุดหมุน 2.0 เซนติเมตร ระยะระหว่างจุดหมุนและ
 
มือ 10 เซนติเมตร ออกแรง F บีบขากรรไกรดังรูป ถ้าแรง F มีขนาด 50.0 นิวตัน

F
ลวด

10 cm
2 cm

รูป ประกอบปัญหาข้อ 29

ก. จงเขียนแผนภาพของแรงต่าง ๆ ที่กระทำ�ต่อขากรรไกรข้างเดียว
ข. แรงที่กระทำ�ต่อลวดมีค่าเท่าใด
ก. วิธีท�ำ แผนภาพของแรงต่าง ๆ ที่กระทำ�ต่อขากรรไกร

F เป็นแรงที่บีบขากรรไกร

P เป็นแรงที่ลวดกระทำ�ต่อกรรไกร
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 189

ตอบ
P F

10 cm
2 cm


ข. วิธีทำ� ตามรูป F เป็นแรงที่บีบขากรรไกร เท่ากับ 50.0 นิวตัน
C เป็นแกนหมุน

P เป็นแรงที่ลวดที่กระทำ�ต่อกรรไกร (เท่ากับแรงที่ปลายกรรไกรกระทำ�ต่อลวด)
กรรไกรสมดุลต่อการหมุน คิดโมเมนต์รอบแกนหมุน C
( F ) (10 cm ) = ( P )( 2 cm )
50.0 N (10 cm ) = ( P )( 2 cm )
P = 250 N
ตอบ แรงที่กระทำ�ต่อลวดเท่ากับ 250 นิวตัน

30. กว้านดังรูป มีแขนหมุนยาว 60 เซนติเมตร ถ้าไม่มีความเสียดทาน การได้เปรียบเชิงกลจะ


เป็นเท่าใด ถ้าออกแรง 50 นิวตัน ยกน้�ำ หนักได้จริง 150 นิวตัน การได้เปรียบเชิงกลครั้งหลังนี้จะ
เป็นเท่าใด

7.5 cm
60 cm F
W

รูป ประกอบปัญหาข้อ 30

วิธีทำ� เมื่อไม่มีความเสียดทานให้ยกน้�ำ หนักได้ W คิดโมเมนต์รอบจุดหมุน


( F ) (60 ×10−2 m) = (W ) (7.5 ×10−2 m)

( 50 N ) (60 × 10−2 m) = (W ) (7.5 ×10−2 m)
W = 400N
190 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

แรงที่ได้จากเครื่องกล
การได้เปรียบเชิงกล =
แรงที่เรากระทำ�

(400 N)
=
(50 N)
=8

ในครั้งหลังออกแรง 50 N ยกน้ำ�หนักได้ 150 N


(150 N)
การได้เปรียบเชิงกล =
(50 N)
=3

ตอบ การได้เปรียบเชิงกลครั้งแรก = 8
การได้เปรียบเชิงกลครั้งหลัง = 3

31. รอกประกอบกับล้อกับเพลา ดังรูป


F

1200 N
รูป ประกอบปัญหาข้อ 31


จงหาขนาดของแรง F ที่พอดีใช้ในการยกน้ำ�หนัก 1200 นิวตัน
กำ�หนด รอกและล้อกับเพลาเบาหมุนคล่อง รัศมีล้อเท่ากับ 3 เท่าของรัศมีเพลา
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 191

วิธีทำ� ใช้หลักสมดุลต่อการเลื่อนที่ หาแรงดึงในเชือกที่คล้องผ่านรอกแล้วใช้แรงนี้หาขนาดของ


แรง F จากหลักสมดุลต่อการหมุน ดังนี้
พิจารณาแรงกระทำ�ต่อรอก ดังรูป

T T

1200 N

ใช้หลักสมดุลต่อการเลื่อนที่ได้
2T = 1200 N
T = 600 N
พิจารณาแรงที่กระทำ�ต่อล้อกับเพลา ดังรูป
3r

r

F

T = 600 N

ใช้หลักสมดุลต่อการหมุนได้

(600 N)(r ) = F ( 3r )
600 N
F=
3
F = 200 N

ตอบ แรง F มีขนาดเท่ากับ 200 นิวตัน


192 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2


32. จงหาขนาดของแรง F ที่พอดีใช้ในการยกน้ำ�หนัก 1200 นิวตัน โดยใช้รอกเบาหมุนคล่อง
ดังรูป


F

1200 N
รูป ประกอบปัญหาข้อ 32

วิธีทำ� เขียนแผนภาพแสดงแรงกระทำ�ต่อน้ำ�หนักได้ดังรูป

T T

1200 N

ใช้หลักสมดุลต่อการเลื่อนที่ได้
2T = 1200 N
T = 600 N
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 193

เขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทำ�ต่อรอกเดี่ยวเคลื่อนที่ได้ดังรูป


F
T′ T′ T′ T′

600 N 600 N

ใช้หลักสมดุลต่อการเลื่อนที่
T ′ + T ′ + T ′ + T ′ = 600 N+600 N
4T ′ = 1200 N
T ′ = 300 N
แรง T ′ เป็นแรงดึงในเชือกเกิดจากแรงดึง F นั่นคือ
F = T′
F = 300 N
ตอบ แรง F มีขนาดเท่ากับ 300 นิวตัน
194 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ปัญหาท้าทาย

33. วัตถุมวล 1.00 กิโลกรัม ติดอยู่กับปลายข้างหนึ่งของสปริงดังรูป

0.2m

รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 33

เมื่อสปริงถูกกดเข้าเป็นระยะ 0.20 เมตรจากตำ�แหน่งสมดุล แล้วปล่อย จงหาอัตราเร็วของ


วัตถุขณะผ่านตำ�แหน่งสมดุลของสปริง เมื่อค่าคงตัวสปริงเท่ากับ 115 นิวตันต่อเมตร
วิธีท�ำ ขณะที่วัตถุถูกกดเข้าไปอยู่ที่จุดห่างจากจุดสมดุล 0.20 เมตร นั้น พลังงานศักย์ของวัตถุ
จะเท่ากับพลังงานศักย์ยืดหยุ่นของสปริง เมื่อปล่อยมือ วัตถุจะเคลื่อนที่ ขณะวัตถุเคลื่อนที่
ผ่านตำ�แหน่งสมดุล พลังงานศักย์ยืดหยุ่นของวัตถุจะเป็นศูนย์ โดยพลังงานศักย์ยืดหยุ่น
จำ�นวนนี้จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ของวัตถุตามกฎการอนุรักษ์พลังงาน ดังนั้นถ้าให้ Ep
เป็นพลังงานศักย์ยืดหยุ่นของสปริง ขณะที่ถูกอัดเข้าไปเป็นระยะทาง 0.20 เมตร และ Ek
เป็นพลังงานจลน์ของวัตถุขณะผ่านตำ�แหน่งสมดุลจะได้ว่า
Ep = Ek
1 2 1
เมื่อ Ep = kx และ Ek = mv 2
2 2
1 2 1 2
จะได้ kx = mv
2 2 2
kx
v2 =
m
เมื่อ k = 115 N/m m = 1.00 kg และ x = 0.20 m
(115 N/m) (0.20 m) 2
จะได้ v =
1.00 kg
v = 2.14 m/s
ตอบ ขณะที่วัตถุผ่านตำ�แหน่งสมดุล วัตถุจะมีอัตราเร็ว 2.14 เมตรต่อวินาที
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 195

34. วัตถุมวล 3.0 กิโลกรัม ตกจากที่สูง 0.75 เมตร เหนือปลายบนของสปริงที่ตั้งอยู่ในแนวดิ่ง


เมื่อชนแล้วกดปลายสปริงให้ยุบตัว จงหาว่าปลายสปริงจะถูกกดลงมาเป็นระยะทางเท่าใด ถ้าสปริง
นี้มีค่าคงตัวสปริงเท่ากับ 2.0 × 103 นิวตันต่อเมตร
วิธีทำ�

m
A

h
B
x m ระดับอางอิง
C

จากรูป สมมติให้วัตถุมวล m อยู่ที่ระดับ A ซึ่งอยู่สูงจากปลายสปริง เมื่อตกลงมากระทบกับ


ปลายสปริงที่ระดับ B ทำ�ให้สปริงถูกอัดมาอยู่ที่ระดับ C โดยให้ระยะ BC เท่ากับ x เมื่อให้
C  เป็นระดับอ้างอิงของการคิดพลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุมวล  m  ขณะที่วัตถุอยู่ที่
ระดับ A จะมีพลังงานศักย์โน้มถ่วงเป็น Ep เท่ากับ
Ep = mgh + mgx (1)
เมื่อวัตถุอยู่ที่ระดับ C วัตถุจะมีพลังงานศักย์เท่ากับพลังงานศักย์ยืดหยุ่นของสปริง นั่นคือ

1 2
Ep = kx (2)
2
1 2
จาก (1) และ (2) จะได้ mgh + mgx = kx
2
2mgx 2mgh
x2 − − = 0 (3.
k k
2mg 2(3.0 kg )(9.8 m/s 2 )
เมื่อ = = 0.03 m
k 2.0 ×103 N/m
2
แทนค่าใน (3) จะได้ x − (0.03 m) x − (0.03 m)(0.75 m) = 0
196 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

−(−0.03 m) ± (−0.03 m) 2 + (4)(1)(0.03 m)(0.75 m)


หา x จะได้ x =
2(1)
x = 0.166 m

ตอบ ปลายสปริงจะถูกกดลงมาเป็นระยะทางเท่ากับ 0.166 เมตรหรือ 16.6 เซนติเมตร


35. ออกแรงคงตัว F ดึงวัตถุมวล m ในแนวทำ�มุม α กับพื้นเอียงที่มี µ เป็น สัมประสิทธิ์
ความเสียดทานระหว่างพื้นเอียงกับวัตถุ และทำ�มุม q กับพื้นระดับ ดังรูป

F

α
m μ

θ
รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 35


ถ้าดึงวัตถุไปบนพื้นเอียงฝืดได้ไกล ∆x งานของแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นมีค่าเท่าใด
แนวคิด หาแรงเสียดทานจากข้อมูลที่กำ�หนดให้ จากนั้นนำ�มาหางานเนื่องจากแรงเสียดทาน
แยกองค์ประกอบของแรงทั้งหมดที่กระทำ�ต่อวัตถุในแนวขนานกับพื้นเอียงและใน
แนวตั้งฉากกับพื้นเอียง ดังรูป

y
x
N
F cos α
F sin α

mg sin θ f

θ
mg cosθ
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 197

เนื่องจากวัตถุไม่มีการกระจัดในแนวตั้งฉากกับพื้นเอียง แสดงว่าแรงลัพธ์ในแนวตั้งฉาก
กับพื้นเอียงมีค่าเป็นศูนย์
∑F y = N + F sin α − mg cos θ
เมื่อ N คือแรงปฏิกิริยาในแนวตั้งฉากที่พื้นกระทำ�ต่อวัตถุ จะได้
N = mg cos θ − F sin α
และแรงเสียดทาน f ที่เกิดขึ้นมีทิศทางชี้ลงขนานพื้นเอียงและขนาดเป็น
= − f ∆x = −∆xu[mg cos θ − F sin α ]
เนื่องจากแรงเสียดทานและการกระจัดของวัตถุทำ�มุม 180 องศาซึ่งกันและกัน ดังนั้น
งานเนื่องจากแรงเสียดทานจึงมีค่าเป็น
W = f ∆x cos180°
− f ∆x = −∆xu[mg cos θ − F sin α ]
W = µ F ∆x sin α − µ mg ∆x cos θ
ตอบ งานเนื่องจากแรงเสียดทานมีค่าเท่ากับ µ∆x( F sin α − mg cos θ )

36. ปล่อยมวล 0.5 กิโลกรัม ที่ A ให้เคลื่อนที่ไปตามส่วนโค้งของครึ่งวงกลมรัศมี 0.4 เมตร ที่


วางตัวในระนาบดิ่ง มี O เป็นศูนย์กลางและ B เป็นจุดต่�ำ สุด ดังรูป

0.5 kg O 0.4 m
A

B
รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 36

ถ้ามวลนี้เคลื่อนที่ผ่านจุด B ด้วยอัตราเร็ว 2.0 เมตรต่อวินาที งานเนื่องจากแรงเสียดทานใน


ช่วง A ไป B มีค่าเท่าใด
วิธีทำ� ถ้าส่วนโค้งไม่มีความเสียดทาน จะได้พลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุที่ A เท่ากับพลังงานจลน์
ของวัตถุที่ B หรือ EpA = EkB แต่ในกรณีนี้ส่วนโค้งมีความเสียดทานจึงมีการสูญเสียพลังงาน
บางส่วน เกิดงานเนื่องจากความเสียดทาน Wf ดังนั้นจะได้
198 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

EpA = EkB + พลังงานส่วนทีส่ ญ


ู เสียไปเป็นความร้อนเนือ
่ งจากความเสียดทานในช่วง A ไป B
หรือ EpA = EkB + Wf (1)
ให้ B เป็นระดับอ้างอิง (EkB ที่ B = 0)
ที่ A EpA = mgh = (0.5 kg)(9.8 m/s2)(0.4 m) = 1.96 J
1 2 1
ที่ B=
EkB =mv (0.5 kg )(2.0 m/s) 2 = 1.00 J
2 2
จาก (1) EpA = EkB + Wf
แทนค่า 1.96 J=1.00 J +Wf
จะได้ Wf = 0.96 J
งานเนื่องจากแรงเสียดทานในช่วงจาก A ไป B เท่ากับ 0.96 จูล

37. ลูกกลมเคลื่อนที่บนรางลื่นวงกลมรัศมี R ในระนาบดิ่ง มี O เป็นศูนย์กลางของวงกลม และ


B เป็นจุดสูงสุด ขณะที่ลูกกลมเคลื่อนที่ผ่านจุด A โดยแนวรัศมีทำ�มุม α กับแนวดิ่ง ลูกกลมมี
อัตราเร็วเชิงเส้น v0 ดังรูป
B

O v0
α R
A
รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 37

เมื่อลูกกลมผ่านจุดสูงสุด ลูกกลมจะมีอัตราเร็วเชิงเส้นเท่าใด กำ�หนดให้ g เป็นความเร่งโน้มถ่วง


วิธีทำ� ลูกกลมเคลื่อนที่เป็นวงกลมในระนาบดิ่ง พลังงานกลของลูกกลมที่ A จะเท่ากับพลังงานกล
ของลูกกลมที่ B
เขียนแผนภาพรายละเอียดได้ดังนี้
vB B

v0
Rcosα α R
ระดับอางอิง EP =0
A
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 199

ให้ m เป็นมวลลูกกลม และ vB เป็นอัตราเร็วที่จุด B


ตำ�แหน่ง A เป็นระดับอ้างอิง (Ep)A = 0
จากกฎการอนุรักษ์พลังงานกล

( Ep + Ek ) B = ( Ep + Ek ) A
1 2 1
แทนค่า mg ( R + R cos α ) + mvB = 0 + mv02
2 2
จะได้ vB = v02 − 2 Rg (1 + cos α )

ตอบ อัตราเร็วเชิงเส้นของลูกกลมที่จุดสูงสุดvมีBค=
่า v02 − 2 Rg (1 + cos α )

38. วัตถุมวล m แขวนอยู่นิ่งกับเชือกยาว 1 เมตร ในแนวระดับ ดังรูป


กอนปลอย m
1m

รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 38

เมื่อปล่อยมวลลงมาจนเชือกทำ�มุม 60 องศา กับแนวดิ่ง มวลจะมีอัตราเร็วเท่าใด


วิธีทำ� พลังงานกลของมวล m ขณะอยู่ในแนวระดับ เท่ากับพลังงานกลขณะที่เชือกทำ�มุม 60 องศา
กับแนวดิ่ง เขียนแผนภาพรายละเอียด ได้ดังนี้
1
1m
E1
60 o

0.5 m
2
ระดับอางอิง
E2
0.5 m v

ให้ระดับอ้างอิงอยู่ในแนวระดับที่ผ่านตำ�แหน่ง 2
จากกฎการอนุรักษ์พลังงานกล

E1 = E2

Ep1 + Ek1 = Ep2 + Ek2


200 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

Ep1 + 0 = 0 + Ek2

Ep1 = Ek2
1 2
แทนค่า mg (0.5 m) = mv
2
v = 2 g (0.5 m)

= 2(9.8 m/s 2 )(0.5 m)

v = 3.1 m/s

ตอบ มวลมีอัตราเร็วเท่ากับ 3.1 เมตรต่อวินาที

39. กราฟระหว่างแรงที่ไม่คงตัวที่กระทำ�ต่อวัตถุซึ่งเดิมอยู่นิ่งเป็นดังรูป
F(N)

0 ∆x(m)
6 10

รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 39

จงหาการกระจัดของวัตถุ ถ้างานทั้งหมดที่ทำ�ให้วัตถุเคลื่อนที่มีค่าเป็นศูนย์
วิธีทำ� พื้นที่ใต้กราฟของแรงและการกระจัด มีค่าเท่ากับงานเนื่องจากแรงดังกล่าว การที่งานเป็น
ศูนย์แสดงว่าผลรวมของพื้นที่ใต้กราฟมีค่ารวมกันเป็นศูนย์ด้วย
สมมุติให้งานเนื่องจากแรงมีค่าเป็นศูนย์เมื่อการกระจัดมีค่าเป็น d เนื่องจากในช่วงที่แรงมี
ค่าลดลง ดังนั้นเมื่อการกระจัดเป็น d แรงที่ต�ำ แหน่งนั้นจะมีค่าเป็น −F ' ดังรูป
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 201

F(N)

C B
4

E A P
0 ∆x(m)
D 6 10 d

F' Q

หา F ' ได้ดังนี้
จากสามเหลี่ยมคล้าย ABE และ APQ

AE AP
=
BE PQ
4 m (d − 10 m)
=
4N F'
(d −10 m)
F'= N
1m
งานเนื่องจากแรงในช่วงที่มีค่าเป็นบวกหาได้จากพื้นที่ใต้กราฟเหนือแกน x ของ
รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ABCD โดยมีค่าเท่ากับ
1
W1 = ( 4 N ) ( 6 m + 10 m ) = 32 J
2
ในขณะที่งานเนื่องจากแรงในช่วงที่มีค่าเป็นลบนั้นหาได้จากพื้นที่ใต้กราฟใต้แกน x ของ
รูปสามเหลี่ยม APQ โดยมีค่าเป็น

1
W2 = − F ' ( d − 10 m )
2

1  (d − 10 m) 
=−  N  (d − 10 m)
2  1m 
1
= − (d − 10 m) 2 N/m
2
202 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

เนื่องจากงานลัพธ์เท่ากับศูนย์ นั่นคือ W = W1 + W2 = 0 จะได้ว่า


1
( d − 10 m ) N/m=32 J
2
2
( d − 10 m ) = 64 m 2
2


d − 10 m= ± 8 m

d = 2 m, 18 m
การแก้สมการหาค่า d จะได้ d = 2 m หรือ d = 18 m แต่จากรูป d มีค่ามากกว่า 10 เมตร
ดังนั้น งานลัพธ์เนื่องจากแรงจะมีค่าเป็นศูนย์เมื่อการกระจัดมีค่าเป็น 18 เมตร

ตอบ งานเนื่องจากแรงจะมีค่าเป็นศูนย์เมื่อการกระจัดมีค่าเป็น 18 เมตร

40.  สปริงเบาเส้นหนึ่งแขวนอยู่ในแนวดิ่ง  เมื่อ กอน หลัง


นำ�มวล 0.25 กิโลกรัม มาติดที่ปลายสปริง พบว่า
ตำ�แหน่งสมดุลอยู่ห่างจากจุดเดิมเป็นระยะ
4.9 เซนติเมตร ดังรูป
4.9 cm

ถ้านำ�มวล 0.50 กิโลกรัม แขวนแทน แล้วปล่อย 0.25 kg


v=0

ให้ยืด ขณะที่ผ่านระยะ 4.9 เซนติเมตร รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 40


มวล 0.50 กิโลกรัม จะมีอัตราเร็วเท่าใด

วิธีทำ� เมื่อแขวนมวล 0.50 kg กับสปริง แล้วปล่อย กอน หลัง


ให้ยืด ขณะมวลผ่านระยะ 4.9 cm สปริงยืด
เป็นระยะ x คือ 4.9 cm และมวลมีอัตราเร็ว v
ดังรูป
จากกฎการอนุรักษ์พลังงานกล จะได้ ผลรวม 4.9 cm
ของพลังงานจลน์ของมวล  0.50 kg  และ
พ ลั ง ง า น ศั ก ย์ ยื ด ห ยุ่ น ใ น ส ป ริ ง เ ท่ า กั บ v
0.50 kg
พลั ง งานศั ก ย์ โ น้ ม ถ่ ว งของมวล  0.50 kg
ดังสมการ
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 203


1 2 1 2
mv + kx = mgx
2 2
1 1
แทนค่า (0.5 kg )v 2 + k (4.9 ×10−2 m) 2 = (0.5 kg )(9.8 m/s 2 )(4.9 ×10−2 m) (1)
2 2
หา k จากโจทย์ เมื่อแขวนมวล 0.25 kg ที่สปริง สุดท้ายสปริงยืดจากเดิม 4.9 cm จะได้ว่า

แรงดึงกลับในสปริงเท่ากับน้ำ�หนักที่แขวน หรือ kx = mg จะได้


mg (0.25 kg )(9.8 m/s 2 )
k= = = 50 N m
x (4.9 ×10−2 m)
แทน k ใน (1) จะได้
1 1
(0.5 kg )v 2 + (50 N/m)(4.9 ×10−2 m) 2 = (0.5 kg )(9.8 m/s 2 )(4.9 × 10−2 m)
2 2
v ≅ 0.85 m/s

ตอบ มวล 0.50 กิโลกรัม มีอัตราเร็วเท่ากับ 0.85 เมตรต่อวินาที

41. เครื่องสูบน้ำ�ให้กำ�ลัง 547.5 วัตต์ สูบน้ำ�มวล 4500 กิโลกรัม ขึ้นจากบ่อซึ่งระดับน้ำ�อยู่ต�่ำ ลง


ไป 15 เมตร ในเวลา 30 นาที เครื่องสูบน้�ำ นี้สามารถฉีดน้ำ�ออกด้วยอัตราเร็วเท่าใด

วิธีทำ� ขณะสูบน้�ำ ขึ้นจากบ่อ ถือว่าระดับน้ำ�ไม่เปลี่ยน ระดับน้ำ�คงตัวที่ 15 เมตร จากปากบ่อ


กำ�ลังของเครื่องสูบน้�ำ เท่ากับกำ�ลังที่ใช้ในการสูบน้ำ�ขึ้นจากบ่อ (ถึงปากบ่อ) + กำ�ลังที่ใช้ใน
การฉีดน้ำ�ออกไป (ในแนวระดับ)
W mgh
กำ�ลังที่ใช้ในการสูบน้ำ�ขึ้นจากบ่อ = =
∆t ∆t
(4500 kg )(9.8 m/s 2 )(15 m)
=
(30 × 60 s)
= 367.5 W

ดังนั้น กำ�ลังที่ใช้ในการฉีดน้ำ�ออกไป = 547.5 W – 367.5 W

= 180.0 W
204 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

W 1 mv 2
แต่ กำ�ลังที่ใช้ในการฉีดน้ำ�ออกไป = =
∆t 2 ∆t
1 (4500 kg )v 2
180 W=
2 (30 × 60 s)
v 2 = 144 m 2 s 2

v = 12 m/s

ตอบ เครื่องสูบน้�ำ ฉีดน้ำ�ออกไปด้วยอัตราเร็ว 12 เมตรต่อวินาที

42. ถ้าต้องใช้แรงอย่างน้อย 5 นิวตัน ในทิศทางขนานกับพื้นเอียงจึงลากวัตถุหนัก 4 10 นิวตัน


ขึ้นไปตามพื้นเอียงจาก A ถึง B ได้ ดังรูป
B
5N
1m

A 4 10 N
3m C
รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 42

พื้นเอียงนี้มีประสิทธิภาพร้อยละเท่าใด
งานที่ได้รับจากพื้นเอียง
วิธีทำ� ประสิทธิภาพของพื้นเอียง = ×100%
งานที่ให้กับพื้นเอียง

เขียนแผนภาพวัตถุอิสระ ได้ดังนี้

5N
0 si n θ
4 1
θ
θ 4 10 N
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 5 | งานและพลังงาน 205

ระยะ AB เท่ากับ (3 m) 2 + (1 m) 2 = 10 m

งานที่ให้กับพื้นเอียง = งานที่ดึงวัตถุจาก A ถึง B

= (5 N)( 10 m)

= 5 10 J

งานที่วัตถุได้รับจากพื้นเอียง = งานที่ดึงวัตถุขึ้นในแนวดิ่งจาก B ถึง C

= mgh

= (4 10 N)(1 m)

= 4 10 J
4 10 J
ดังนั้น ประสิทธิภาพของพื้นเอียง = ×100%
5 10 J
= 80 %

ตอบ ประสิทธิภาพของพื้นเอียงมีค่าร้อยละ 80

43. แรงกระทำ�ต่อวัตถุหนึ่งมีขนาดขึ้นกับตำ�แหน่งในแนวระดับตามสมการ
x
F ( x) = F0 (1 − ) โดยที่ F0 และ x0 เป็นค่าคงตัว งานที่ทำ�โดยแรงนี้ในช่วงการเคลื่อนที่ของ
x0
วัตถุจากตำ�แหน่ง x = 0 ถึง x = 4x0 มีค่าเท่าใด

แนวคิด วาดกราฟระหว่าง F(x) กับ x ได้ดังแสดงในรูป


206 บทที่ 5 | งานและพลังงาน ฟิสิกส์ เล่ม 2

F(x) (N)

F0

x0 4x0
0 x (m)

_3F
0

จากกราฟ งานเนื่องจากแรงดังกล่าวที่กระทำ�ต่อวัตถุให้เคลื่อนที่จากตำ�แหน่ง x = 0
ถึง x = 4x0 นั้น มีค่าเท่ากับ พื้นที่ใต้กราฟในช่วงนี้

W 1 1
0→ 4 x0 = ( x0 )( F0 ) + (3 x0 )(−3F0 ) = −4 x0 F0
2 2
ตอบ งานที่ท�ำ โดยแรง F(x) จากตำ�แหน่ง x = 0 ถึง x = 4x0 มีค่าเท่ากับ −4 x0 F0
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 207

6
บทที่ โมเมนตัมและการชน

goo.gl/HRdic3

ผลการเรียนรู้:

1. อธิบาย และคำ�นวณโมเมนตัมของวัตถุ และการดลจากสมการและพื้นที่ใต้กราฟความสัมพันธ์


ระหว่างแรงลัพธ์กับเวลา รวมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงดลกับโมเมนตัม
2. ทดลอง อธิบาย และคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการชนของวัตถุในหนึ่งมิติทั้งแบบยืดหยุ่น
ไม่ยืดหยุ่น และการดีดตัวแยกจากกันในหนึ่งมิติซึ่งเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม

การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ กับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะ


แห่งศตวรรษที่ 21

ผลการเรียนรู้
1. อธิบาย และคำ�นวณโมเมนตัมของวัตถุ และการดลจากสมการและพื้นที่ใต้กราฟความสัมพันธ์
ระหว่างแรงลัพธ์กับเวลา รวมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงดลกับโมเมนตัม

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของโมเมนตัม
2. คำ�นวณโมเมนตัมของวัตถุ
3. วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับการเปลี่ยนโมเมนตัม
4. ประยุกต์ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับการเปลี่ยนโมเมนตัมในการแก้ปัญหา
5. บอกความหมายของแรงดลและการดล
6. คำ�นวณการดลจากสมการและพื้นที่ใต้กราฟความสัมพันธ์ระหว่างแรงลัพธ์กับเวลา
7. วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแรงดลกับโมเมนตัม
8. ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับ โมเมนตัมของวัตถุ การดล และแรงดลในการแก้ปัญหา
208 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ทักษะกระบวนการทาง ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


วิทยาศาสตร์

1. การตีความหมายข้อมูลและ 1. การแก้ปญ
ั หา (สถานการณ์ ด้ า นความมี เ หตุ ผ ล ความ
ลงข้ อ สรุ ป (โดยอาศั ย ความรู้ เกีย่ วกับโมเมนตัม แรงดลและ รอบคอบ จากการอภิ ป ราย
จากกฎการเคลือ
่ นทีข
่ องนิวตัน) การดล) ร่วมกัน
2. การใช้จำ�นวน (การคำ�นวณ 2. การสื่อสาร (การอภิปราย
ป ริ ม า ณ ต่ า ง ๆ ที่ เ กี่ ย ว กั บ ร่วมกันและการนำ�เสนอผล)
โมเมนตัมของวัตถุ การดล และ
แรงดล)

ผลการเรียนรู้
2. ทดลอง อธิบาย และคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการชนของวัตถุในหนึ่งมิติทั้งแบบยืดหยุ่น
ไม่ยืดหยุ่น และการดีดตัวแยกจากกันในหนึ่งมิติซึ่งเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม
2. ประยุกต์ใช้กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม ในการแก้ปัญหา
3. ทดลองการชนของวัตถุในหนึ่งมิติเพื่ออธิบายการชนแบบยืดหยุ่นและการชนแบบไม่ยืดหยุ่น
4. ทดลองการดีดตัวแยกจากกันของวัตถุเพื่อสรุปเกี่ยวกับโมเมนตัมและพลังงานที่เกี่ยวข้อง
5. ประยุกต์ใช้ความเข้าใจเกี่ยวกับการชนและการดีดตัวแยกจากกันในการแก้ปัญหา
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 209

ทักษะกระบวนการทาง ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


วิทยาศาสตร์

1. การวัด (ระยะห่างระหว่าง 1. การแก้ปัญหา 1. ด้ า นความซื่ อ สั ต ย์ ความ


จุดบนแถบกระดาษ) (สถานการณ์เกี่ยวกับการชน รอบคอบ และความรับผิดชอบ
2. การใช้จำ�นวน (การคำ�นวณ และการดีดตัวแยกจากกัน) จากรายงานผลการทดลอง
ผลรวมโมเมนตัมก่อนและหลัง 2. การสื่อสาร (การอภิปราย 2. ด้ า นความพยายามมุ่ ง มั่ น
ชนและผลรวมของพลังงานจลน์ ร่วมกันและการนำ�เสนอผล) และความร่ ว มมื อ ช่ ว ยเหลื อ
ก่อนและหลังชน) 3. การทำ�งานเป็นทีม จากการทำ�การทดลอง และการ
3. การทดลอง อภิปรายร่วมกัน
4. การตีความหมายข้อมูลและ
ลงข้อสรุป (จากผลการทดลอง)
210 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ผังมโนทัศน์ โมเมนตัมและการชน

โมเมนตัม

กฎการเคลื่อนที่
แรงดล
ข้อที่สองของนิวตัน

นำ�ไปสู่ เกี่ยวข้องกับ

ความสัมพันธ์ระหว่างแรงลัพธ์กับ นำ�ไปสู่
การดล
อัตราการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม

นำ�ไปสู่

กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม พลังงานจลน์ของระบบ

นำ�ไปอธิบายและ
คำ�นวณเกี่ยวกับ

การชน การดีดตัวแยกจากัน

แบ่งเป็น

การชนแบบยืดหยุ่น การชนแบบไม่ยืดหยุ่น
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 211

สรุปแนวความคิดสำ�คัญ
เมื่อวัตถุเคลื่อนที่จะมีโมเมนตัม (momentum) ของวัตถุ ซึ่งมีค่าเท่ากับผลคูณระหว่างมวลกับ
 
ความเร็วของวัตถุ ดังสมการ p = mv โมเมนตัมเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีทิศทางเดียวกับความเร็ว และมี
หน่วย กิโลกรัม เมตรต่อวินาที (kg m/s)
เมือ่ มีแรงลัพธ์กระทำ�ต่อวัตถุจะทำ�ให้โมเมนตัมของวัตถุเปลีย่ นไป โดยแรงลัพธ์ทกี่ ระทำ�ต่อวัตถุเท่ากับ
 ∆p
อัตราการเปลี่ยนโมเมนตัมของวัตถุนั้น เขียนแทนได้ด้วยสมการ ∑ F =
∆t
แรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุในช่วงเวลาสั้น ๆ เรียกว่า แรงดล (impulsive force) ผลคูณระหว่าง

แรงลัพธ์ดล กับช่วงเวลาที่แรงกระทำ� เรียกว่า การดล (impulse) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ I
 
( )
ซึง่ มีคา่ ดังสมการ I = ∑ F ∆t การดลเป็นปริมาณเวกเตอร์มท ี ศ
ิ ทางเดียวกับแรงลัพธ์ มีหน่วยเป็น นิวตัน
วินาที (N s) อาจหาค่าการดลได้จากพื้นที่ใต้กราฟระหว่างแรงลัพธ์กับเวลา การดลมีความสัมพันธ์กับ
 
การเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม ตามสมการ I = ∆p ความสัมพันธ์นี้เรียกว่า ทฤษฎีบทการดล-โมเมนตัม
(impulse-momentum theorem)
เมื่ อ ไม่ มี แ รงภายนอกมากระทำ � ต่ อ ระบบ โมเมนตั ม รวมของระบบมี ค่ า คงตั ว ซึ่ ง เป็ น ไปตาม
 
กฎการอนุรก
ั ษ์โมเมนตัม (law of conservation of momentum) เขียนแทนได้ดว้ ยสมการ pi = p f
การชนในหนึ่งมิติ (collisions in one dimension) หรือ การชนในแนวตรง เป็นการชนที่แนวการ
เคลื่อนที่ของวัตถุทั้งสองอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันทั้งก่อนการชนและหลังการชน ในการชนกันของวัตถุ
โมเมนตัมของระบบมีคา่ คงตัว เป็นไปตามกฎการอนุรก
ั ษ์โมเมนตัม แต่พลังงานจลน์ของระบบอาจมีคา่ คงตัว
หรือไม่คงตัวก็ได้ การชนที่มีพลังงานจลน์ของระบบมีค่าคงตัว เรียกว่า การชนแบบยืดหยุ่น (elastic
collision) การชนที่พลังงานจลน์ของระบบมีค่าไม่คงตัว เรียกว่า การชนแบบไม่ยืดหยุ่น (inelastic
collision)
212 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

เวลาที่ใช้

บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 18 ชั่วโมง

6.1 โมเมนตัม 1 ชั่วโมง


6.2 แรงและการเปลี่ยนโมเมนตัม 3 ชั่วโมง
6.3 การดล 3 ชั่วโมง
6.4 การอนุรักษ์โมเมนตัม 1 ชั่วโมง
6.5 การชนและการดีดตัวแยกจากกัน 10 ชั่วโมง

ความรู้หรือทักษะพื้นฐานที่นักเรียนต้องมีก่อนเรียน
ความเร็ว มวล แรง กฎการเคลื่อนที่ การหาพื้นที่ใต้กราฟ พลังงานจลน์ กฎการอนุรักษ์พลังงานกล

นำ�เข้าสู่บทที่ 6
ครูน�ำ เข้าสูบ
่ ทที่ 6 โดยยกตัวอย่างสถานการณ์ทม
ี่ ก
ี ารชนหรือกระทบกันของวัตถุ เช่น รถชนกัน การ
ตบลูกวอลเลย์บอล การชนกันในแนวตรงของลูกสนุกเกอร์ แล้วให้นักเรียนพยายามใช้ความรู้ที่ได้เรียนมา
อธิบายการเคลือ
่ นทีข
่ องวัตถุในสถานการณ์ดงั กล่าว โดยเปิดโอกาสให้นก
ั เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง
ครูจะพบว่า นักเรียนประสบปัญหาในการพยายามใช้กฎการเคลือ
่ นทีข
่ องนิวตันอธิบาย ครูแนะนำ�ว่า
เนื่องจากเราทราบข้อมูลเกี่ยวกับแรงที่กระทำ�ในสถานการณ์ข้างต้นน้อยมาก การอธิบายการเคลื่อนที่ของ
วัตถุในสถานการณ์ดังกล่าว จึงต้องมีปริมาณอีกปริมาณหนึ่งเกี่ยวข้อง
ครูชแี้ จงคำ�ถามสำ�คัญทีน
่ ก
ั เรียนจะต้องตอบได้หลังจากการเรียนรูบ
้ ทที่ 6 และหัวข้อต่าง ๆ ทีน
่ ก
ั เรียน
จะได้เรียนรู้ในบทที่ 6
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 213

6.1 โมเมนตัม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของโมเมนตัม
2. คำ�นวณโมเมนตัมของวัตถุ

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

โมเมนตัมเป็นปริมาณสเกลาร์ การบวกหรือ โมเมนตัมเป็นปริมาณเวกเตอร์ การบวกหรือ


ลบโมเมนตัมไม่ตอ้ งคำ�นึงถึงเครือ่ งหมายบวกหรือ ลบโมเมนตัมต้องคำ�นึงถึงเครือ่ งหมายบวกหรือลบ
ลบ เสมอ

สิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้า
ถุงทราย 2 ถุง สำ�หรับการทำ�กิจกรรม

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูน�ำ เข้าสูห
่ วั ข้อ 6.1 โดยใช้ค�ำ ถามเพือ
่ ให้นก
ั เรียนบอกเกีย่ วกับการออกแรงรับลูกบอลทีก
่ �ำ ลังเคลือ
่ นที่
ด้วยความเร็วต่าง ๆ กันว่า ขนาดของแรงที่ใช้รับแตกต่างกันอย่างไร จากประสบการณ์ที่เคยเล่นกีฬาบาง
ประเภท เช่น บาสเกตบอล แชร์บอล จากนัน
้ ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเพือ่ ตอบคำ�ถามว่า การออกแรง
ที่ต่างกันเพื่อรับวัตถุนั้นขึ้นกับปริมาณใดบ้าง โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง
ครูชแี้ จงจุดประสงค์การเรียนรูข
้ องหัวข้อ 6.1 ก่อนจะให้นก
ั เรียนทำ�กิจกรรมโดยการรับถุงทรายตามราย
ละเอียดในหนังสือเรียน
นำ�ผลจากการทำ�กิจกรรมมาอภิปรายร่วมกันเพื่อหาผลสรุปว่า
1. เมื่อปล่อยถุงทรายมวลเท่ากันให้ตกจากตำ�แหน่งที่ระดับความสูงต่างกัน ถุงทรายที่ปล่อยจาก
ตำ�แหน่งที่สูงกว่าจะมีความเร็วขณะกระทบมือมากกว่า และการรับถุงทรายที่มีความเร็วมากกว่า
จะใช้แรงมากกว่าการับถุงทรายที่มีความเร็วน้อยกว่า
2. เมื่อปล่อยถุงทรายที่มีมวลต่างกันจากตำ�แหน่งระดับความสูงเท่ากัน ถุงทรายจะตกกระทบมือด้วย
ความเร็วเท่ากัน จึงกล่าวได้ว่า แรงที่ใช้รับถุงทรายที่มีมวลมากจะมีค่ามากกว่าแรงที่ใช้รับถุงทรายที่
มีมวลน้อย
214 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

3. จากผลสรุปทั้งข้อ 1 และ 2 สามารถสรุปรวมได้ว่า แรงที่ใช้หยุดการเคลื่อนที่ของวัตถุขึ้นอยู่กับมวล


และความเร็วของวัตถุ

ครูอธิบายเกีย
่ วกับความหมายของโมเมนตัม การหาค่าโมเมนตัม และสมการ (6.1) ตามรายละเอียดใน
หนังสือเรียน จากนั้นครูชี้แจงคำ�ถามสำ�คัญที่นักเรียนจะต้องตอบได้หลังจากการเรียนรู้บทที่ 6 และหัวข้อ
ต่าง ๆ ที่นักเรียนจะได้เรียนรู้ในบทที่ 6 ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน
ครูอธิบายตัวอย่าง 6.1 และ 6.2 เพือ
่ สร้างความเข้าใจให้กบ
ั นักเรียนเกีย่ วกับการคำ�นวณโมเมนตัม ของ
วัตถุ จากนัน
้ ให้นก
ั เรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและทำ�แบบฝึกหัด 6.1 โดยอาจมีการเฉลยคำ�ตอบ
และอภิปรายคำ�ตอบร่วมกัน

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับโมเมนตัมจากคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและแบบฝึกหัด 6.1
2. ทักษะการใช้จำ�นวน จากการคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ เกี่ยวกับโมเมนตัมในแบบฝึกหัด 6.1
3. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความมีเหตุผล จากการอภิปรายร่วมกัน

แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 6.1

1. อนุภาคชนิดเดียวกันสองอนุภาค มีอต
ั ราเร็วเท่ากัน อนุภาคทัง้ สองจะมีโมเมนตัมเท่ากันหรือไม่
แนวคำ�ตอบ อาจจะเท่ากันหรือไม่กไ็ ด้ เพราะโมเมนตัมเป็นปริมาณเวกเตอร์จงึ ต้องพิจารณา
ทั้งขนาดและทิศทาง หากอัตราเร็วเท่ากันและมีทิศทางเดียวกัน โมเมนตัมจะเท่ากัน แต่หาก
อัตราเร็วเท่ากันแต่ทิศทางต่างกันถือว่าโมเมนตัมจะไม่เท่ากัน

2. วัตถุชิ้นหนึ่งกำ�ลังเคลื่อนที่ วัตถุนี้มีโมเมนตัมคงเดิมตลอดการเคลื่อนที่หรือไม่ เพราะเหตุใด


แนวคำ�ตอบ อาจจะคงเดิมหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับมวลและความเร็วของวัตถุว่าคงตัวหรือไม่
ถ้ามวลและความเร็วของวัตถุคงตัว โมเมนตัมก็จะคงเดิม

3. นกสองตัวบินคู่กัน ไปทางทิศเหนือ ถ้านกตัวที่หนึ่งมีมวลเป็นสองเท่าของอีกตัว ขนาดของ


โมเมนตัมของนกตัวที่สองเป็นกี่เท่าของนกตัวที่หนึ่ง
แนวคำ�ตอบ นกบินคู่กันไปแสดงว่ามีความเร็วเท่ากัน เมื่อมวลของนกตัวที่หนึ่งเป็นสองเท่า
ของอีกตัวหนึ่ง จึงทำ�ให้โมเมนตัมของนกที่สองเป็นครึ่งหนึ่งของนกตัวที่หนึ่ง
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 215

4. โมเมนตัมกับพลังงานจลน์ของวัตถุหนึ่งมีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ อย่างไร
แนวคำ�ตอบ เกี่ยวข้องกัน เพราะทั้งโมเมนตัมและพลังงานจลน์เป็นปริมาณที่เกี่ยวข้องกับ
มวลและความเร็วของวัตถุเหมือนกัน ถ้าโมเมนตัมเพิม
่ พลังงานจลน์กจ็ ะเพิม
่ ด้วย (โดยเขียน
ความสัมพันธ์ของปริมาณทั้งสองได้เป็น p = 2mEk )

เฉลยแบบฝึกหัด 6.1

1. นกตัวหนึ่งมีมวล 30 กรัม บินด้วยอัตราเร็ว 8 เมตรต่อวินาที ขนาดโมเมนตัม ของนกตัวนี้เป็น


เท่าใด
วิธีทำ� m = 30 g
v = 8 m/s
จาก p = mv
= (0.03 kg)(8 m/s)
= 0.24 kg m/s
ตอบ ขนาดโมเมนตัมของนกตัวนี้เป็น 0.24 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที

2. จงหาโมเมนตั ม ของรถบรรทุ ก ที่ มี ม วล กิ โ ลกรั ม กำ � ลั ง เคลื่ อ นที่ ด้ ว ยความเร็ ว


36 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไปทางทิศตะวันออก
วิธีทำ� m = 1.5 × 104 kg

v = 36 km/h ไปทางทิศตะวันออก
 
จาก p = mv
36 ×103
= (1.5 ×10 kg )( m/s) ไปทางทิศตะวันออก
4

3600
= 1.5  105 kg m/s ไปทางทิศตะวันออก
ตอบ โมเมนตัมของรถบรรทุกเท่ากับ 1.5  105 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที และมีทิศไปทาง
ตะวันออก
216 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

3. นักฟุตบอล A มีมวล 75 กิโลกรัม วิ่งไปทางขวาด้วยอัตราเร็ว 2.0 เมตรต่อวินาที นักฟุตบอล B


มีมวล 60 กิโลกรัม วิ่งไปทางซ้ายด้วยอัตราเร็ว 3.0 เมตรต่อวินาที จงหาขนาดและทิศทางของ
ก. โมเมนตัมของนักฟุตบอล A
ข. โมเมนตัมของนักฟุตบอล B
ค. โมเมนตัมรวมของนักฟุตบอลทั้งสอง

ก. วิธีทำ� ให้ mA และ vA เป็นมวลและความเร็วของนักฟุตบอล A ตามลำ�ดับ

จะได้ mA = 75 kg และ vA = 2.0 m/s มีทิศไปทางขวา
 
จาก p = mv
จะได้โมเมนตัมของนักฟุตบอล A
 
pA = mA vA
= (75 kg)(2.0 m/s)
= 150 kg m/s มีทิศไปทางขวา
ตอบ โมเมนตัมของนักฟุตบอล A เป็น 150 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที มีทิศไปทางขวา


ข. วิธีทำ� ให้ mB และ vB เป็นมวลและความเร็วของนักฟุตบอล B ตามลำ�ดับ

จะได้ mB = 60 kg และ vA = 3.0 m/s มีทิศไปทางซ้าย
 
จาก p = mv
จะได้โมเมนตัมของนักฟุตบอล B
 
pB = mBvB
= (60 kg)(3.0 m/s)
= 180 kg m/s มีทิศไปทางซ้าย
ตอบ โมเมนตัมของนักฟุตบอล B เป็น 180 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที มีทิศไปทางซ้าย

ค. วิธีทำ� โมเมนตัมรวมของนักฟุตบอลทั้งสอง หาได้จากผลรวมแบบเวกเตอร์ของโมเมนตัมของ


นักฟุตบอลทั้งสอง ดังสมการ
  
∑ p = pA + pB
กำ�หนดให้ มีทิศไปทางขวาเป็นบวก ทิศไปทางซ้ายเป็นลบ
แทนค่า จะได้

∑ p = 150 kg m/s + (−180 kg m/s)
= − 30 kg m/s
ตอบ โมเมนตัมรวมของนักฟุตบอลทั้งสองเป็น 30 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที มีทิศไปทางซ้าย
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 217

4. รถยนต์ มี ม วล 1000 กิ โ ลกรั ม เคลื่ อ นที่ ด้ ว ยความเร็ ว 4.2 เมตรต่ อ วิ น าที ไปทางทิ ศ ใต้
รถจักรยานยนต์มม
ี วล 120 กิโลกรัม จะต้องมีความเร็วขนาดเท่าใด ขนาดของโมเมนตัมของรถทัง้ สอง
จึงจะเท่ากัน

วิธีทำ� วัตถุที่มีมวล m กำ�ลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว v ขนาดของโมเมนตัม p = mv
เนื่องจากขนาดของโมเมนตัมรถจักรยานยนต์เท่ากับขนาดของโมเมนตัมรถยนต์
แทนค่า

v = 35 m/s
ตอบ รถจักรยานยนต์ตอ้ งมีขนาดความเร็วเท่ากับ 35 เมตรต่อวินาที จึงมีโมเมนตัมเท่ากับโมเมนตัม
ของรถยนต์

5. โยนก้อนหินมวล 0.5 กิโลกรัม ขึน


้ ในแนวดิง่ ด้วยอัตราเร็วต้น 30 เมตรต่อวินาที ขนาดและทิศทาง
ของโมเมนตัมก้อนหินหลังจากที่โยนไปแล้ว 5 วินาที เป็นเท่าใด
วิธีทำ� ก้อนหินมีอัตราเร็วต้น u = 30 m/s ในทิศขึ้นในแนวดิ่ง
เวลาที่ก้อนหินเคลื่อนที่ขึ้นในแนวดิ่งจนถึงจุดสูงสุด v = 0 หาได้จากสมการ
vy = u y + ayt
กำ�หนดให้ มีทิศขึ้นเป็นบวก ทิศลงเป็นลบ และ t1 เป็นเวลาที่ก้อนหินเคลื่อนที่ไปจนถึง
จุดสูงสุด แทนค่า จะได้

0 = 30 − gt1
30
t1 = (a)
g
ให้ t2 เวลาที่ก้อนหินตกจากจุดสูงสุด ซึ่งรวมกับเวลาที่ก้อนหินถูกโยนขึ้นไป เป็น 5 วินาที
ดังสมการ t1 + t2 = 5 s

จะได้ว่า t2 = 5 s - t1
30
แทนค่า t1 จาก (a) จะได้ t2 = 5 s − (b)
g
ความเร็วของก้อนหิน ณ เวลา t2 ทีก่ อ้ นหินกำ�ลังตกลงสูพ
่ น
ื้ หาได้จากสมการ v y = u y + a y t
แทนค่าจะได้
v y = 0 + gt2
218 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

แทนค่า t2 จาก (b)


30
v y = g (5 s − )
g

= 19 m/s
ดังนั้น เมื่อเวลาผ่านไป 5 วินาที ก้อนหินมีโมเมนตัม
 
p = mv
= (0.5 kg)(19 m/s) ในทิศลงในแนวดิ่ง
= 9.5 kg m/s ในทิศลงในแนวดิ่ง
ตอบ เมื่อเวลาผ่านไป 5 วินาที ก้อนหินมีขนาดของโมเมนตัมเท่ากับ 9.5 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที
มีทิศลง

6.2 แรงและการเปลี่ยนโมเมนตัม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับการเปลี่ยนโมเมนตัม
2. ประยุกต์ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับการเปลี่ยนโมเมนตัมในการแก้ปัญหา

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

การดลทำ�ให้วัตถุมีโมเมนตัม การดลทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม
ของวัตถุ

สิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้า
• คลิปวีดิโอการเล่นกีฬาประเภทต่าง ๆ และคลิปวีดิโอจากการบันทึกด้วยกล้องความเร็วสูง
(high-speed camera)
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 219

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่หัวข้อ 6.2 โดยอาจเปิดคลิปวีดิโอการเล่นกีฬาบางประเภท เช่น ฟุตบอล แบดมินตัน ปิงปอง
เทนนิส และ อาจให้นักเรียนดูทั้งคลิปวีดิโอแบบใช้กล้องความเร็วปกติ และ คลิปวีดิโอแบบใช้กล้องความ-
เร็วสูง (high-speed camera) เช่น คลิปวีดิโอแสดงการเล่นกีฬาเทนนิส และคลิปวีดิโอแสดงการเคลื่อนที่
ของลูกเทนนิสกระทบกับตาข่ายของไม้เทนนิสแบบเคลื่อนที่ช้า ๆ ซึ่งสามารถหาได้จากอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้
ระหว่างการชมคลิป ครูให้นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับขนาดและทิศทางของโมเมนตัมของลูกบอล รวมทั้ง
ขนาดและทิศทางของแรงที่ใช้ในการทำ �ให้ลูกบอลมีโมเมนตัมเปลี่ยนไป โดยครูเปิดโอกาสให้นักเรียน
อภิปรายอย่างอิสระ ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง
ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ของหัวข้อ 6.2 จากนั้น ครูทบทวนสมการของการเคลื่อนที่ในแนวตรง
และกฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน แล้วนำ�นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับการใช้สมการดังกล่าวในการ
หาความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับโมเมนตัมของวัตถุตามรายละเอียดในหนังสือเรียน จนสรุปได้สมการ (6.2)
และ (6.3) ทัง้ นี้ ครูควรเน้นว่า กฎการเคลือ
่ นทีข
่ อ
้ ทีส่ องของนิวตันกล่าวได้อก
ี แบบหนึง่ ว่า แรงลัพธ์ทก
ี่ ระทำ�
ต่อวัตถุเท่ากับอัตราการเปลี่ยนโมเมนตัมของวัตถุ
ครูอธิบายตัวอย่าง 6.3 และ 6.4 ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการ
คำ�นวณแรงและโมเมนตัมของวัตถุทเี่ ปลีย
่ นไป จากนัน
้ ให้นก
ั เรียนทำ�แบบฝึกหัด 6.2 โดยอาจมีการเฉลยคำ�
ตอบและอภิปรายคำ�ตอบร่วมกัน

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับแรงลัพธ์ที่ทำ�ให้วัตถุมีการเปลี่ยนโมเมนตัมจากคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและ
แบบฝึกหัด 6.2
2. ทักษะการใช้จำ�นวนจากการคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงลัพธ์ที่ท�ำ ให้วัตถุมีการเปลี่ยน
โมเมนตัมในแบบฝึกหัด 6.2
3. จิตวิทยาศาสตร์ดา้ นความมีเหตุผล และความรอบคอบ จากการอภิปรายร่วมกันและแบบฝึกหัด 6.2

แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 6.2

1. แรงทำ�ให้โมเมนตัมของวัตถุเปลี่ยนได้อย่างไร
แนวคำ�ตอบ แรงทำ�ให้ขนาดหรือทิศทางของโมเมนตัมอย่างใดอย่างหนึ่งเปลี่ยนแปลง หรือ

เปลี่ยนแปลงทั้งสองอย่างพร้อมกัน สอดคล้องสมการ เนื่องจาก

แรงทำ�ให้วัตถุเกิดความเร่งหรือเปลี่ยนแปลงความเร็ว ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
220 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

2. การเปลี่ยนโมเมนตัมมีทิศทางเดียวกับแรงหรือไม่ อย่างไร
แนวคำ�ตอบ โมเมนตัมของวัตถุที่เปลี่ยนแปลงเป็นปริมาณเวกเตอร์ที่มีทิศทางเดียวกับ
 ∆p
แรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุ ตามสมการ ∑ F =
∆t

3. เมือ
่ ขนาดความเร็วของวัตถุเพิม
่ การเปลีย่ นขนาดโมเมนตัมและการเปลีย่ นพลังงานจลน์ของ
วัตถุจะเป็นอย่างไร
แนวคำ�ตอบ ทั้งขนาดของโมเมนตัมและพลังงานจลน์ของวัตถุเพิ่มขึ้น เพราะทั้งขนาด
โมเมนตัมและพลังงานจลน์ของวัตถุขน
ึ้ อยูก่ บ
ั ขนาดความเร็วของวัตถุ โดยสอดคล้องกับสมการ
  1
p = mv และ Ek = mv 2
2

4. วัตถุที่ตกแบบเสรีมีการเปลี่ยนโมเมนตัมหรือไม่ อย่างไร
แนวคำ�ตอบ การตกแบบเสรีมแี รงลัพธ์กระทำ�ต่อวัตถุเท่ากับแรงโน้มถ่วงตลอดการเคลือ
่ นที่
ทำ�ให้วัตถุมีความเร็วเปลี่ยน โมเมนตัมของวัตถุที่ตกแบบเสรี จึงมีการเปลี่ยนแปลง

เฉลยแบบฝึกหัด 6.2

1. วัตถุมวล 0.4 กิโลกรัม เคลือ่ นทีใ่ นแนวระดับด้วยอัตราเร็วคงตัว 5 เมตรต่อวินาที ไปชนผนังแนวดิง่


หลังจากชนแล้วกระดอนกลับในแนวเดิมด้วยอัตราเร็วเดิม แต่ทิศทางตรงข้าม จงหาโมเมนตัมที่
เปลี่ยนไป
วิธีทำ� กำ�หนดให้ทิศความเร็วของวัตถุที่เข้าหากำ�แพงมีเครื่องหมาย +
ให้ทิศความเร็วของวัตถุที่ออกจากกำ�แพงมีเครื่องหมาย –
โมเมนตัมที่เปลี่ยนไปหาได้จากสมการ
  
∆p = p f − pi
แทนค่า = (0.4 kg )(−5 m/s) − (0.4 kg )(5 m/s)
= − 4 kg m/s

ตอบ โมเมนตัมที่เปลี่ยนไปเท่ากับ 4 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที ในทิศทางออกจากกำ�แพง


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 221

2. ลูกฟุตซอลมวล 0.5 กิโลกรัม เคลือ่ นทีด่ ว้ ยความเร็ว 20 เมตรต่อวินาที ถ้าผูร้ กั ษาประตูรบ


ั ลูกฟุตซอล
ให้หยุดนิ่งภายในเวลา 1.0 วินาที แรงเฉลี่ยที่ลูกบอลกระทำ�ต่อผู้รักษาประตูมีขนาดเท่าใด
วิธีทำ� กำ�หนดให้ ความเร็วของลูกฟุตบอลที่เข้าหาผู้รักษาประตูมีเครื่องหมาย +

จาก
 
mv − mu
=
∆t
= (0.5 kg )(0 m/s)-(0.5 kg )( +20 m/s)
1.0 s
10 kg m/s
=
1.0 s
= 10 N
ตอบ แรงเฉลี่ยที่มือกระทำ�ต่อลูกบอลมีขนาด 250 นิวตัน

3. ลูกกลมลูกหนึ่งมวล 2 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 1 เมตรต่อวินาที ไปกระทบฝาผนังและ


กระดอนกลับด้วยอัตราเร็ว 1 เมตรต่อวินาที ถ้าแรงเฉลีย่ ทีก
่ ระทำ�ต่อผนังในช่วงเวลาทีม
่ ก
ี ารชนเป็น
4 นิวตัน เวลาดังกล่าวมีค่าเท่าใด
วิธีทำ� กำ�หนด ให้ทิศความเร็วของลูกกลมที่เข้าหาผนังมีเครื่องหมาย +
ให้ทิศทางของความเร็วของลูกกลมที่ออกจากผนังมีเครื่องหมาย –
ให้ทิศทางของแรงเฉลี่ยที่ลูกกลมกระทำ�ต่อผนังมีเครื่องหมาย +
ให้ทิศทางของแรงเฉลี่ยที่ผนังกระทำ�ต่อลูกกลมมีเครื่องหมาย –
พิจารณาที่ลูกกลม
mv − mu
จาก F=
∆t
แทนค่า

ตอบ เวลาในการชนเท่ากับ 1 วินาที


222 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

4. วัตถุมวล 4 กิโลกรัม เคลือ่ นทีด


่ ว้ ยอัตราเร็วคงตัว 5 เมตรต่อวินาที ในแนวระดับไปชนกำ�แพงแนวดิง่
หลังจากชนแล้วกระดอนกลับในแนวเดิมด้วยอัตราเร็วคงเดิม แต่ทิศทางตรงข้าม
ก. จงหาโมเมนตัมที่เปลี่ยนไป
ข. ถ้าเวลาที่วัตถุชนกำ�แพง 0.5 วินาที แรงเฉลี่ยที่วัตถุนั้นกระทำ�ต่อกำ�แพงเป็นเท่าใด
ก. วิธีท�ำ กำ�หนดให้ทิศความเร็วของวัตถุที่เข้าหากำ�แพงมีเครื่องหมาย +
ให้ทิศความเร็วของวัตถุที่ออกจากกำ�แพงมีเครื่องหมาย –
โมเมนตัมที่เปลี่ยนไปหาได้จากสมการ
  
∆p = p f − pi
แทนค่า = (4 kg)(−5 m/s) − (4 kg)(5 m/s)
= − 40 kg m/s
ตอบ โมเมนตัมที่เปลี่ยนไปเท่ากับ 40 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที ในทิศทางออกจากกำ�แพง

ข. วิธีทำ� กำ�หนดให้ทิศความเร็วของวัตถุที่เข้าหากำ�แพงมีเครื่องหมาย +
ให้ทิศความเร็วของวัตถุที่ออกจากกำ�แพงมีเครื่องหมาย –
หาแรงเฉลี่ยจากสมการ
 
 mv − mu
Fav =
∆t
แทนค่า จากข้อ ก. จะได้
 40 kg m/s
Fav =
0.5 s
= − 80 N
ตอบ แรงเฉลี่ยที่ก�ำ แพงกระทำ�ต่อวัตถุเท่ากับ 80 นิวตัน ในทิศทางออกจากกำ�แพง
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 223

6.3 การดล
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของแรงดลและการดล
2. คำ�นวณการดลจากสมการและพื้นที่ใต้กราฟความสัมพันธ์ระหว่างแรงลัพธ์กับเวลา
3. วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแรงดลกับโมเมนตัม
4. ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับ โมเมนตัมของวัตถุ การดล และแรงดลในการแก้ปัญหา

สิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้า
จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำ�หรับการนำ�เข้าสู่บทเรียน ได้แก่
1. ไข่ดิบที่มีมวลเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน 3 – 5 ฟอง
2. ฟองน้ำ�หนาประมาณ 3 – 5 เซนติเมตร 2 อัน
3. อุปกรณ์ทำ�ความสะอาด

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูน�ำ เข้าสูห
่ วั ข้อ 6.3 โดยใช้ค�ำ ถามให้นก
ั เรียนคาดคะเนและให้เหตุผลประกอบการคาดคะเน ว่าจะเกิด
ผลอย่างไรเมื่อปล่อยไข่ตกลงจากที่สูงลงบนพื้นผิวต่างกัน หลังจากนั้นอาจเลือกนักเรียนสามคนร่วมการ
สาธิตปล่อยไข่ตกสู่พื้น ให้คนที่หนึ่ง ปล่อยไข่ดิบที่ความสูง 0.5 เมตร ลงบนพื้นแข็ง คนที่สอง ปล่อยไข่ดิบ
จากตำ�แหน่งระดับความสูงเดียวกันให้ตกลงบนฟองน้ำ�หนา และคนที่สาม ปล่อยไข่ดิบให้ตกลงบนฟองน้�ำ
หนาเหมือนกันแต่ปล่อยจากตำ�แหน่งระดับความสูง 1 เมตร

ก. ไข่กระทบพื้นแข็ง ข. ไข่กระทบฟองน้ำ�
รูป 6.1 ไข่กระทบพื้นที่ต่างกัน

หลังการสาธิตครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายภายใต้หัวข้อ ดังนี้
1. ความเร็วของไข่ขณะตกกระทบฟองน้ำ�และตกกระทบพื้นแข็งต่างกันหรือไม่ อย่างไร
2. ผลที่เกิดขึ้นเมื่อไข่ตกกระทบฟองน้ำ�และตกกระทบพื้นแข็งต่างกันหรือไม่ อย่างไร
3. โมเมนตัมทีเ่ ปลีย่ นไปของไข่ทงั้ สองเมือ
่ ตกกระทบฟองน้�ำ กับตกกระทบพืน
้ แข็งต่างกันหรือไม่ อย่างไร
224 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

4. ช่วงเวลาที่ไข่เปลี่ยนความเร็วขณะกระทบฟองน้ำ�จนหยุดนิ่งต่างกับช่วงเวลาที่ไข่กระทบพื้นแข็งจน
หยุดนิ่งหรือไม่ อย่างไร
ในการอภิปราย ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง
จากนั้น ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเปรียบเทียบการตกกระทบพื้นหรือฟองน้�ำ ของไข่
กับการที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายปะทะหรือกระทบวัตถุแข็งเมื่อเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่ยานพาหนะ
หรือเล่นกีฬา รวมทั้งอภิปรายเกี่ยวกับลักษณะของวัสดุที่ใช้ป้องกันการบาดเจ็บ โดยครูไม่คาดหวังคำ�ตอบ
ที่ถูกต้อง
ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ของหัวข้อ 6.3 จากนั้น ร่วมอภิปรายกับนักเรียนเกี่ยวกับ แรงที่กระทำ�
ต่อวัตถุกับค่าของการเปลี่ยนโมเมนตัมตามรายละเอียดในหนังสือเรียน จนได้ข้อสรุปเกี่ยวกับความหมาย
ของ แรงดล แรงดลเฉลี่ย และการดล รวมทั้งสมการ (6.4) สมการ (6.5) และทฤษฎีบทการดล-โมเมนตัม
ครูควรเน้นว่า แรงที่กระทำ�ต่อวัตถุนอกจากจะขึ้นอยู่กับค่าของการเปลี่ยนโมเมนตัมแล้ว ยังขึ้นกับช่วง
เวลาที่แรงกระทำ�กับวัตถุเพื่อใช้ในการเปลี่ยนโมเมนตัมของวัตถุ และ ในกรณีการดลที่ทำ�ให้วัตถุเปลี่ยน
โมเมนตัมในแนวตรง การดลกับโมเมนตัมเดิมอยู่ในแนวเดียวกัน โดยอาจมีทิศทางเดียวกันหรือทิศทางตรง
  
ข้ามกันก็ได้ ดังนั้นการใช้สมการ I = mv − mu ในกรณีการดลและการเปลี่ยนโมเมนตัมในแนวตรง จึง
ควรใส่เครื่องหมาย + และ – เพื่อกำ�หนดทิศทางของปริมาณเวกเตอร์เหล่านั้นด้วย
ครูอาจอภิปรายเพิม่ เติมเกีย
่ วกับการเปรียบเทียบสถานการณ์ของไข่ดบ
ิ กับหลักการทำ�งานของอุปกรณ์
 mv − mu
ลดการบาดเจ็บต่าง ๆ ในการเล่นกีฬาหรือขับขี่ยานพาหนะ โดยใช้สมการ F = ประกอบการ
∆t
อภิปราย ซึง่ ควรได้ขอ
้ สรุปว่า ช่วงเวลาทีไ่ ข่ตกกระทบบนฟองน้�ำ จนหยุดนิง่ มากกว่าช่วงเวลาทีไ่ ข่ตกกระทบ

บนพื้นแข็งจนหยุดนิ่ง ดังนั้น แรง F ที่ฟองน้ำ�กระทำ�ต่อไข่จึงน้อยกว่า เป็นผลทำ�ให้ไข่ไม่แตก สำ�หรับไข่
ที่ตกบนพื้นราบแข็งนั้นช่วงเวลาตั้งแต่กระทบจนหยุดนิ่งน้อยมาก แรงที่พื้นกระทำ�ต่อไข่จึงมาก เป็นผลให้
ไข่แตก เปรียบได้กบ
ั การทีร่ า่ งกายของผูเ้ ล่นกีฬาหรือขับขีย่ านพาหนะไปกระแทกกับวัตถุหรือสิง่ ของต่าง ๆ
การทีม
่ อ
ี ป
ุ กรณ์ทม
ี่ ลี ก
ั ษณะหนาและยืดหยุน
่ เหมือนฟองน้�ำ จะช่วยเพิม
่ ช่วงเวลาตัง้ แต่กระทบจนหยุดนิง่ ช่วย
ทำ�ให้แรงที่กระทำ�กับร่างกายน้อยลง จึงช่วยลดการบาดเจ็บในการเล่นกีฬาหรือขับขี่ยานพาหนะได้
ครูอธิบายตัวอย่าง 6.5 - 6.8 จากนั้นให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 6.3 โดยอาจมีการเฉลยคำ�ตอบและ
อภิปรายคำ�ตอบร่วมกัน

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับแรงดลและการดล จากคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและแบบฝึกหัด 6.3
2. ทักษะการแก้ปญ
ั หาและการใช้จ�ำ นวน จากการคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับแรงดลและการดล
ทั้งด้วยการใช้สมการและพื้นที่ใต้กราฟในแบบฝึกหัด 6.3
3. จิตวิทยาศาสตร์ดา้ นความมีเหตุผล และความรอบคอบ จากการอภิปรายร่วมกันและจากแบบฝึกหัด 6.3
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 225

แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 6.3

1. การดลและแรงมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร
  
แนวคำ�ตอบ มีความสัมพันธ์กันตามสมการ I =  ∑ F  ∆t
 

2. แรงดล F มีทิศทางเดียวกับปริมาณใดต่อไปนี้
 
ก. โมเมนตัม p ข. การเปลี่ยนโมเมนตัม ค. การดล I
 
ง. ความเร็ว v จ. การเปลี่ยนความเร็ว ฉ. ความเร่ง a
 
แนวคำ�ตอบ แรงดล F มีทิศทางเดียวกับ การเปลี่ยนโมเมนตัม    การดล  I

  ∆p I m∆v


การเปลี่ยนความเร็ว และ ความเร่ง a เพราะ F = = = = ma
∆t ∆t ∆t
3. การเบรกรถจักรยาน ให้รถช้าลงจนหยุด กับการเบรกรถจักรยาน ให้รถหยุด ทันที การดลใน
กรณีแรก มากกว่า เท่ากับ หรือน้อยกว่ากรณีหลัง จงอธิบาย
แนวคำ�ตอบ เท่ากัน เพราะการดลเท่ากับโมเมนตัมที่เปลี่ยนไป ตามสมการ
   
I = ∆p = p f − pi ก่อนเบรกถือว่ามีโมเมนตัมเท่ากัน เมือ
่ เบรกจนหยุดโมเมนตัมเป็นศูนย์
เหมือนกันทั้งสองกรณี ดังนั้นทั้งสองกรณีมีโมเมนตัมเปลี่ยนไปเท่ากัน

4. เป็นไปได้หรือไม่ ที่แรงดลที่ค่ามากทำ�ให้เกิดการดลที่มีค่าน้อยกว่าแรงดลที่มีค่าน้อย
 
แนวคำ�ตอบ เป็นไปได้ เพราะการดล I = F ∆t นั่นคือการดลยังขึ้นอยู่กับช่วงเวลาด้วย
ถ้าแรงน้อยแต่มีช่วงเวลามากกว่ามาก ๆ สามารถทำ�ให้เกิดการดลมากกว่าแรงมากแต่มีช่วง
เวลาน้อยได้

เฉลยแบบฝึกหัด 6.3

1. รถยนต์ก�ำ ลังแล่นไปตามถนน คนขับรถยนต์เห็นรถบรรทุกจอดนิง่ อยูข


่ า้ งหน้าในระยะกระชัน
้ ชิด
เขาจึงเหยียบเบรกทันที ขณะที่ความเร็วของรถยนต์ลดลงเกือบหยุด รถยนต์ก็ชนรถบรรทุก ถ้า
รถยนต์ จ ะหยุ ด นิ่ ง ภายในเวลา 5.0 × 10−3 วิ น าที แรงที่ ร ถยนต์ ก ระทำ � ต่ อ รถบรรทุ ก เป็ น
1.0 ×106 นิวตัน การดลที่กระทำ�ต่อรถบรรทุกเป็นเท่าใด
226 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

 
วิธีทำ� การดลที่รถยนต์กระทำ�ต่อรถบรรทุก I มีขนาดเท่ากับผลคูณระหว่างแรง F ที่กระทำ�ต่อ
 
รถบรรทุกกับช่วงเวลาที่แรงกระทำ� ดังสมการ I = F ∆t
แทนค่า จะได้การดลที่กระทำ�ต่อรถบรรทุก

I = (1.0 × 106 N)(5.0 × 10−3 s) ไปในทิศทีร่ ถยนต์แล่น
= 5.0 × 103 N s
ตอบ การดลที่กระทำ�ต่อรถบรรทุกเป็น 5.0 × 103 นิวตัน วินาที

2. ลูกบอลมวล 0.5 กิโลกรัม ขณะที่มีความเร็ว 10 เมตรต่อวินาที ในทิศทางขวา นักกีฬาคนหนึ่ง


ใช้เท้าเตะลูกบอลให้มีความเร็วเปลี่ยนเป็น 15 เมตรต่อวินาที ในทิศทางตรงข้าม การดลเฉลี่ยที่
เท้านักกีฬากระทำ�ต่อลูกบอลมีขนาดเท่าใด

วิธีทำ� กำ�หนดให้ ความเร็วที่มีทิศขึ้นไปทางขวาเป็น + ความเร็วไปทางซ้ายเป็น -



การดลเฉลี่ยที่เท้าของนักกีฬากระทำ�ต่อลูกบอล I มีขนาดเท่ากับ การเปลี่ยนโมเมนตัมของ
   
ลูกบอล ดังสมการ I = ∆p = p f − pi
แทนค่า จะได้การดลเฉลี่ยที่เท้านักกีฬากระทำ�ต่อลูกบอล

I = (0.5 kg)( − 15 m/s) − (0.5 kg )(10 m/s)
= −12.5 N s
ตอบ การดลเฉลี่ยที่เท้านักกีฬากระทำ�ต่อลูกบอลเป็น -12.5 นิวตัน วินาที

3. ลูกบอลมวล 400 กรัม ตกจากหลังคาตึกสูง 10 เมตร เมื่อลูกบอลกระทบพื้น จะกระดอนขึ้นไป


ถ้าลูกบอลกระทบพื้นนาน 0.01 วินาที และแรงดลเฉลี่ยที่พื้นกระทำ�ต่อลูกบอลมีค่า 960 นิวตัน
จงหาระยะสูงสุดที่ลูกบอลกระดอนขึ้นไป

วิธีทำ� ถ้า v1 เป็นความเร็วของลูกบอลขณะกระทบพื้น

v2 เป็นความเร็วของลูกบอลขณะกระดอนขึ้นจากพื้นดิน
h1 เป็นความสูงของตึก และ h2 เป็นระยะสูงสุดที่ลูกบอลกระดอนขึ้นไป ดังรูป
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 227


u = 0 m/s


v3 = 0 m/s

h1 = 10 m

h2 v2

 
v1 Fav

การเคลื่อนที่ของลูกบอลเป็นการตกแบบเสรี จากสมการ v y2 = u y2 + 2 g ∆y

จะได้ v1 = 2 gh1

= 2(9.8 m/s 2 )(10 m)

= 196 m 2 /s 2

= 14 m/s

และ = 2 gh2 (c)


กำ�หนดให้ ความเร็วที่มีทิศขึ้นมีเครื่องหมาย บวก ไปทางทิศลงมีเครื่องหมาย ลบ
หาความเร็ว v2 ของลูกบอลขณะกระดอนขึ้นจากพื้น จากสมการ

= mv2 − mv1 (d)

เมื่อ Fav เป็นแรงเฉลี่ยที่พื้นกระทำ�ต่อลูกบอล จากสมการ (d) จะได้

(960 N)(0.010 s) = (0.400 kg )v2 − (0.400 kg)(−14 m/s)

9.6 N s = (0.400 kg )v2 + 5.6 kg m/s


228 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

(0.400 kg )v2 = 4.0 kg m/s


v2 = 10 m/s
แทนค่า v2 ในสมการ (c) จะได้

10 m/s = 2(9.8 m/s 2 )h2

(19.6 m/s ) h 2
2 = 100 m 2 /s 2
h2 = 5.10 m
ตอบ ระยะสูงสุดที่ลูกบอลกระดอนขึ้นไปได้เท่ากับ 5.10 เมตร

4. ลูกบอลมวล 0.4 กิโลกรัม เคลือ


่ นทีด
่ ว้ ยความเร็ว 10 เมตรต่อวินาที ในแนวระดับ ถูกตีสวนด้วยไม้
กราฟระหว่างแรงกับเวลาในขณะกระทบกัน ดังรูป

F (N)

1000

500
-2
0 t (10 s)
1 2 3 4

รูป ประกอบแบบฝึกหัด 6.3 ข้อ 4


จงหาว่า
ก. พื้นที่ใต้กราฟมีค่าเท่าใด และค่านี้แทนปริมาณใด
ข. การดลที่ไม้กระทำ�ต่อลูกบอลมีค่าเท่าใด
ค. ความเร็วของลูกบอลหลังถูกตีเป็นเท่าใด
ก. วิธีท�ำ พื้นที่ใต้กราฟ คือพื้นที่สามเหลี่ยมระหว่างช่วงเวลา 0 – 0.03 วินาที
จะได้ว่า
1
พื้นที่ใต้กราฟ = (1000 N)(0.03 s - 0 s)
2
= (500 N)(0.03 s)
= 15 N s
ตอบ พื้นที่ใต้กราฟเท่ากับเป็น 15 นิวตัน วินาที ซึ่งเป็นค่าของการดล
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 229

ข. วิธีทำ� การดลที่ไม้กระทำ�ต่อลูกบอลมีค่าเท่ากับพื้นที่ใต้กราฟระหว่างแรงกับเวลา
ดังนั้น การดลที่ไม้กระทำ�ต่อลูกบอลมีค่าเท่ากับ 15 นิวตัน วินาที

ตอบ การดลที่ไม้กระทำ�ต่อลูกบอลมีค่าเท่ากับ 15 นิวตัน วินาที

ค. วิธีท�ำ กำ�หนดให้ ทิศทางความเร็วของลูกบอลที่เข้าหาไม้มีเครื่องหมาย +


ทิศทางความเร็วของลูกบอลที่ออกจากไม้มีเครื่องหมาย –
ทิศทางของแรงที่ลูกบอลกระทำ�ต่อไม้มีเครื่องหมาย +
ทิศทางของแรงที่ไม้กระทำ�ต่อลูกบอลมีเครื่องหมาย –
    
จาก I = ∆p = mv − mu ซึ่งหา I ได้จากพื้นที่ใต้กราฟ ในข้อ ก.

เนื่องจาก มีทิศทางเดียวกับแรง ดังนั้น I = −15 N s

แทนค่า I มวล และความเร็วของลูกบอลก่อนถูกตี จะได้

−15 N s = (0.4 kg )v − (0.4 kg )(10 m/s)
 (−15 N s+4 N s)
v=
(0.4 kg )
= −27.5 m/s

ตอบ ความเร็วของลูกบอลหลังถูกตีเท่ากับ 27.5 m/s มีทิศออกจากไม้

5. กล่องบรรจุของมีมวล 4.0 กิโลกรัม มีแรงลัพธ์ที่มีขนาดเปลี่ยนแปลงตามเวลากระทำ� ดังกราฟ


ในรูป ทำ�ให้กล่องเคลื่อนที่ไปโดยมีความเร่งไม่คงตัว

แรงลัพธ (N)
30

20
15
10

0 เวลา (s)
1 2 4
230 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

เมื่อเวลา t = 0 กล่องนี้มีความเร็ว 10 เมตรต่อวินาที ในทิศทางของแรงลัพธ์ จงหา


ก. พื้นที่ใต้กราฟในช่วง 0 - 2 วินาที และ 2 - 4 วินาที มีค่าเท่าใด และแทนปริมาณใด
ข. อัตราเร็วของกล่องเมื่อเวลา t = 4 s
ค. ขนาดของความเร่งเมื่อเวลา t = 1 s
ก. วิธีท�ำ กำ�หนดตัวอักษรแต่ละตำ�แหน่งของกราฟ ดังรูป
แรงลัพธ (N)
30

20
C G
B
15
10 A
F E D H เวลา (s)
0
1 2 4

พื้นที่ใต้กราฟในช่วง 0 – 2 วินาที = พื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู ABCE


1
= × 2s × (10 N+20 N)
2
= 30 N s

พื้นที่ใต้กราฟในช่วง 2 – 4 วินาที = พื้นที่สี่เหลี่ยม BFGC

= (4 s − 2 s)(20 N)

= 40 N s

ตอบ พื้นที่ใต้กราฟในช่วง 0 – 2 วินาที และ 2 – 4 วินาที เป็น 30 นิวตัน วินาที และ


40 นิวตัน วินาที ตามลำ�ดับซึ่งเป็นค่าของการดล

ข. วิธีทำ� ให้อัตราเร็วของกล่องเมื่อเวลา t = 4 s เป็น v


จากกราฟ พื้นที่ใต้กราฟอยู่ทางด้านบนของแกน x จะได้
จาก พื้นที่ใต้กราฟ = I = mv − mu
ในช่วงเวลา 0 – 4 วินาที จะได้
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 231

1
(10 + 20 kg m/s 2 )( 2 s) + ( 20 kg m/s 2 )( 2 s) = ( 4 kg )v − ( 4 kg )(10 m/s)
2
70 kg m/s = ( 4 kg )v − 40 kg m/s
110
v = m/s
4
= 27.5 m/s

ตอบ อัตราเร็วของกล่องเมื่อเวลาผ่านไป 4 วินาที เท่ากับ 27.5 เมตรต่อวินาที

ค. วิธีทำ� หาขนาดของความเร่งเมื่อเวลา t = 1 s
จากกราฟ ที่ t = 1 วินาที แรง F = 15 N
จาก F = ma
แทนค่า จะได้
15 kg m/s 2 = ( 4 kg ) a
a = 3.75 m/s 2
ตอบ เมื่อเวลาผ่านไป 1 วินาที ขนาดของความเร่งเท่ากับ 3.75 เมตรต่อวินาที2

6.4 การอนุรักษ์โมเมนตัม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม
2. ประยุกต์ใช้กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม ในการแก้ปัญหา

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

โมเมนตัมของวัตถุมีการอนุรักษ์ โมเมนตั ม ของวั ต ถุ ก้ อ นหนึ่ ง อาจจะมี ก าร


อนุรักษ์หรือไม่ก็ได้ เนื่องจาก อาจมีแรงภายนอก
กระทำ�ต่อวัตถุนั้นโดยที่แรงลัพธ์ไม่เป็นศูนย์
232 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูน�ำ เข้าสูห
่ วั ข้อ 6.4 โดยทบทวนเรือ
่ งทฤษฎีงาน-พลังงานจลน์ และกฎการอนุรก
ั ษ์พลังงานกลทีไ่ ด้เรียน
มาในบทที่ 5 จากนั้นใช้ค�ำ ถามนำ�เพื่อให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า ทฤษฎีการดล-โมเมนตัมที่ได้เรียนมา
ในหัวข้อ 6.3 นำ�ไปอธิบายการอนุรักษ์ปริมาณใด โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนตอบอภิปรายอย่างอิสระ
ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง
ครูชแี้ จงจุดประสงค์การเรียนรูข
้ องหัวข้อ 6.4 แล้วนำ�อภิปรายเกีย่ วกับความสัมพันธ์ระหว่างการดลและ
โมเมนตัมในสถานการณ์ทวี่ ต
ั ถุสองก้อนเคลือ
่ นทีเ่ ข้ามากระทบกันบนพืน
้ ลืน
่ ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน
จนได้ข้อสรุปเกี่ยวกับกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม โดยแสดงให้เห็นว่า การที่ทฤษฎีการดล-โมเมนตัมนำ�ไป
อธิบายการอนุรักษ์โมเมนตัม และสมการ (6.7)
ครูให้ความรูเ้ พิม
่ เติมเกีย่ วกับ แรงภายนอกและแรงภายในระบบประกอบการสรุปเกีย่ วกับกฎการอนุรกั ษ์
โมเมนตัม จากนัน
้ ครูอธิบายตัวอย่าง 6.9 เพือ
่ ให้นกั เรียนเข้าใจถึงวิธกี ารประยุกต์ใช้กฎการอนุรกั ษ์โมเมนตัม
ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและทำ�แบบฝึกหัด 6.4 โดยมีการเฉลยคำ�ตอบและ
อภิปรายคำ�ตอบร่วมกัน

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม จากคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและแบบฝึกหัด 6.4
2. ทักษะการใช้จำ�นวนจาก การคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยใช้
กฎการอนุรักษ์โมเมนตัมจากแบบฝึกหัด 6.4

แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 6.4

1. การอนุรักษ์โมเมนตัมของระบบมีความเกี่ยวข้องกับแรงภายนอกหรือไม่ อย่างไร
แนวคำ�ตอบ เกี่ยวข้องโดยตรงกับแรงภายนอก เพราะแรงลัพธ์ภายนอกเป็นต้นเหตุที่ทำ�ให้
โมเมนตัมของระบบเปลี่ยนไป ดังนั้นถ้าแรงลัพธ์ภายนอกเป็นศูนย์ โมเมนตัมของระบบจะมี
ค่าคงตัว หรือมีการอนุรักษ์โมเมนตัมนั่นเอง

2. วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ชนกับอีกวัตถุหนึ่งที่มีมวลมากกว่าและอยู่นิ่ง โมเมนตัม


ของระบบที่ประกอบด้วยวัตถุทั้งสองชิ้นมีการเปลี่ยนหรือไม่ อย่างไร
แนวคำ�ตอบ โมเมนตัมของระบบมวลทัง้ สองคงตัว เป็นไปตามกฎการอนุรกั ษ์โมเมนตัม เพราะ
การชนไม่มีแรงภายนอกกระทำ� แรงที่เกิดจากการชนเป็นแรงภายในซึ่งแรงลัพธ์ของแรง
ภายในเป็นศูนย์เสมอ
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 233

3. กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม เขียนในรูปสมการได้อย่างไร
       
แนวคำ�ตอบ pi = p f หรือ m1u1 + m2u2 + ... + mnun = m1v1 + m2 v2 + ... + mn vn

เฉลยแบบฝึกหัด 6.4

1. วัตถุมวล 10 กิโลกรัม เคลื่อนที่บนพื้นลื่น ไปทางขวาด้วยความเร็ว 2.0 เมตรต่อวินาที ชนวัตถุ


มวล 5 กิโลกรัม ที่อยู่นิ่ง หลังชน วัตถุทั้งสองติดกันไป วัตถุทั้งสองที่ติดกันไปมีขนาดความเร็วเท่าใด
และมีทิศทางใด
วิธีทำ� เนื่องจากไม่มีแรงภายนอกกระทำ� ดังนั้น จึงใช้กฎการอนุรักษ์โมเมนตัมได้
 
pi = p f
โดยโมเมนตัมหลังชนหาได้จาก ผลคูณระหว่างมวลของวัตถุสองก้อนรวมกันคูณกับความเร็ว
ที่วัตถุทั้งสองเคลื่อนที่ไป ให้วัตถุทั้งสองที่ติดกันไป เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว v
แทนค่า จะได้

(10 kg )(2.0 m/s) = (10 kg + 5 kg )v

20 kg m/s
v=
15 kg
= 1.3 m/s
ตอบ วัตถุทั้งสองที่ติดกันไปเคลื่อนที่ด้วยขนาดของความเร็ว 1.3 เมตรต่อวินาที

2. พิจารณาการดีดตัวแยกออกจากกันของมวล 1 กิโลกรัม และมวล 2 กิโลกรัม ที่อัดสปริงเบาไว้


และเดิมมวลทั้งสองอยู่นิ่ง ดังรูป

2 kg
1 kg

รูป ประกอบแบบฝึกหัด 6.4 ข้อ 2

ถ้ามวล 1 กิโลกรัม เคลื่อนที่ไปทางซ้ายด้วยความเร็ว 10 เมตรต่อวินาที มวล 2 กิโลกรัม จะ


เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าใด ในทิศทางใด
234 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

วิธีทำ� มวล 1 กิโลกรัม และ 2 กิโลกรัม ยึดติดกันด้วยสปริงเบา ขณะนี้โมเมนตัมของมวลทั้งสอง


เป็นศูนย์ เมือ
่ สปริงดีดตัวออก มวลทัง้ สองจะเคลือ
่ นทีแ่ ยกออกจากกัน แต่โมเมนตัมรวมของ
มวลทัง้ สองยังคงเป็นศูนย์ตามกฎการอนุรก
ั ษ์โมเมนตัม เนือ
่ งจากไม่มแี รงภายนอกกระทำ�ต่อ
ระบบ

ให้มวล 2 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว v
จากกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม

 
pi = p f
แทนค่า 0 = (1 kg)(−10 m/s) + (2 kg)v

v = +5 m/s
ตอบ มวล 2 กิโลกรัมจะเคลื่อนที่ไปทางขวา ด้วยความเร็ว 5 เมตรต่อวินาที

3. เมล็ดพืชชนิดหนึ่งขณะกำ�ลังตกลงพื้นด้วยขนาดความเร็วตามแนวดิ่ง v เกิดการดีดตัวแยกเป็น
สองส่วนเท่ากัน ส่วนหนึง่ ของเมล็ดมีขนาดความเร็ว v ในทิศทางเคลือ
่ นทีข
่ น
ึ้ อีกส่วนหนึง่ จะมีขนาด
ความเร็วเท่าใด
วิธีทำ� กำ�หนดให้ 2m เป็นมวลของเมล็ดพืชขณะยังไม่แยกเป็นสองส่วน
v f เป็นความเร็วของเมล็ดพืช
กำ�หนดให้ ทิศทางความเร็วของวัตถุในทิศขึ้นมีเครื่องหมาย +
ทิศทางความเร็วของวัตถุในทิศลงมีเครื่องหมาย –
เนื่องจากไม่มีแรงภายนอกกระทำ�ต่อเมล็ดพืช จึงใช้กฎการอนุรักษ์โมเมนตัมได้
 
จาก pi = p f
จะได้ −2mv = mv + mv f
v f = −3v
ตอบ อีกส่วนหนึ่งของเมล็ดจะมีความเร็วเท่ากับเป็น 3 เท่าของความเร็วเดิมและเคลื่อนที่ลง
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 235

6.5 การชนและการดีดตัวแยกจากกัน
ครูน�ำ เข้าสูห
่ วั ข้อ 6.5 โดยการสาธิตการชนกันของลูกทรงกลมของชุดอุปกรณ์สาธิตโมเมนตัม ดังรูป 6.2
โดยก่อนการสาธิต ครูใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนคาดคะเนพร้อมให้เหตุผลประกอบการคาดคะเนว่า จะเกิด
ผลอย่างไร ถ้าดึงลูกทรงกลม 1 ลูก 2 ลูก 3 ลูก ให้ห่างออกไปแล้วปล่อยให้แกว่งมาชนลูกทรงกลมที่เหลือ

รูป 6.2 ชุดอุปกรณ์สาธิตโมเมนตัม

โดยครูอาจให้นักเรียนอภิปรายก่อนจะเขียนหรือบอกผลการคาดคะเนพร้อมเหตุผลประกอบ จากนั้น
ครูให้นักเรียน 3 คนปล่อยลูกทรงกลม 1 ลูก 2 ลูก 3 ลูก ตามลำ�ดับ แล้วให้นักเรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้น ครู
และนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับผลการปล่อยลูกทรงกลม จนได้ข้อสรุปว่าสถานการณ์การชนกันของ
ลูกทรงกลมของอุปกรณ์สาธิตสามารถอธิบายได้ด้วยกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม จากนั้นครูถามนักเรียนว่า
นอกจากการชนกันจะมีการอนุรักษ์โมเมนตัมแล้ว ยังมีปริมาณใดอีกบ้างที่มีการอนุรักษ์ โดยเปิดโอกาสให้
นักเรียนตอบคำ�ถามอย่างอิสระ ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

อุปกรณ์สาธิตโมเมนตัมดังรูป 6.4 ประกอบด้วยลูกกลมโลหะหรือพลาสติก 5 ลูกแขวนเรียงกัน


ในแนวเส้นตรง เมื่อดึงลูกหนึ่งซึ่งอยู่ด้านริมสุดขึ้น แล้วปล่อยให้เคลื่อนที่เข้าชนลูกอื่น จะพบว่า
เฉพาะลูกสุดท้ายทีด
่ ด
ี ตัวออก ถ้าดึงออกมาสองลูกก็ดด
ี ออกสองลูก ฯลฯ สิง่ ทีเ่ กิดขึน
้ อธิบายได้วา่ ใน
การชนของลูกกลมทีม
่ ม
ี วลเท่ากันทุกลูกเป็นการชนแบบยืดหยุน
่ หลังการชนลูกทีเ่ ข้าชนจะถ่ายทอด
โมเมนตัมทั้งหมดให้กับลูกที่ถูกชน ลูกที่เข้าชนจึงหยุดนิ่ง ลูกที่ถูกชนจะถ่ายทอดโมเมนตัมทั้งหมด
ให้กบ
ั ลูกทีอ
่ ยูถ
่ ด
ั ไปจนกระทัง่ ไปถึงลูกสุดท้ายจึงกระเด็นออกไป ด้วยโมเมนตัมเท่ากับโมเมนตัมของ
236 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ลูกที่เข้าชน โดยเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม และด้วยการอธิบายลักษณะนี้ สามารถขยาย


ความในกรณีที่ปล่อยลูกกลมตั้งแต่ 2 ลูกขึ้นไป

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ทดลองการชนของวัตถุในหนึ่งมิติเพื่ออธิบายการชนแบบยืดหยุ่นและการชนแบบไม่ยืดหยุ่น
2. ทดลองการดีดตัวแยกจากกันของวัตถุเพื่อสรุปเกี่ยวกับโมเมนตัมและพลังงานที่เกี่ยวข้อง
3. ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการชนและการดีดตัวแยกจากกันในการแก้ปัญหา

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

1. การชนของวัตถุในชีวิตประจำ�วันส่วนใหญ่ 1. การชนของวั ต ถุ ส องก้ อ นในชี วิ ต ประจำ � วั น


เป็นการชนแบบยืดหยุ่น ส่วนใหญ่เป็นการชนแบบไม่ยืดหยุ่น เนื่องจากมี
การสูญเสียพลังงานจลน์ไปกับการเปลีย่ นรูปทรง
ของวัตถุ เสียง ความร้อน ยกตัวอย่างเช่น การชน
กันของรถ หรือ จักรยานยนต์

2. การชนของวั ต ถุ ส องก้ อ นที่ วั ต ถุ ติ ด กั น ไป 2. การชนแบบไม่ยืดหยุ่นไม่จำ�เป็นต้องเป็นการ


เท่านั้นเป็นการชนแบบไม่ยืดหยุ่น ชนที่วัตถุต้องติดกันไปเสมอ วัตถุที่ชนกันอาจไม่
ติดกันแต่มีการสูญเสียพลังงานจลน์ไปจากการ
เปลี่ยนไปเป็นพลังงานเสียง พลังงานความร้อน
หรือ การทำ�ให้วัตถุเปลี่ยนรูปทรง

6.5.1 การชนของวัตถุในหนึ่งมิติ
แนวการจัดการเรียนรู้
ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ของหัวข้อ 6.5 ก่อนจะนำ�เข้าสู่กิจกรรม 6.1 เพื่อหาคำ�ตอบว่าในการชน
กันมีปริมาณใดบ้างที่มีการอนุรักษ์
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 237

กิจกรรม 6.1 การทดลองเรื่องการชนของวัตถุในแนวตรง

จุดประสงค์
เพื่ อ ศึ ก ษาผลรวมของโมเมนตั ม และผลรวมของพลั ง งานจลน์ จ ากการชนของรถทดลอง
ในแนวตรง ก่อนและหลังการชน

วัสดุและอุปกรณ์
1. รถทดลอง 2 คัน
2. แท่งเหล็ก 2 แท่ง
3. รางไม้ 1 ราง
4. เครื่องเคาะสัญญาณเวลา 1 เครื่อง
5. หม้อแปลงโวลต์ต่ำ� 1 เครื่อง
6. แผ่นเหล็กสปริง 1 แผ่น
7. สายไฟพร้อมปากหนีบ 2 เส้น
8. แถบกระดาษและกระดาษคาร์บอน 2 ชุด

ตอนที่ 1 การศึกษาผลรวมของโมเมนตัมและผลรวมของพลังงานจลน์จากการชนของรถทีต
่ ด
ิ แผ่นเหล็กสปริง

แนะนำ�ก่อนการทำ�กิจกรรม
1. ในการศึกษาการถ่ายโอนโมเมนตัมและพลังงานจลน์ของรถทดลองทีช
่ นกันนัน
้ จะต้องทราบทัง้ มวล
และความเร็วของรถทดลอง มวลของรถทดลองหาได้จากการชั่งด้วยเครื่องชั่งสปริง ส่วนความเร็วของรถ
ทดลองแต่ละคันทัง้ ก่อนการชนและหลังการชนหาได้จากจุดบนแถบกระดาษทีร่ ถทดลองดึงผ่านเครือ
่ งเคาะ
สัญญาณเวลา
2. เครื่องเคาะสัญญาณเวลาที่ใช้ในกิจกรรมตอนที่ 1 ต้องใช้กระดาษคาร์บอน 2 แผ่นซ้อนกัน
3. การชนกันของรถทดลองจะต้องชนกันในแนวตรงจริง ๆ ซึง่ ทำ�ได้โดยนำ�รถทดลองคันที่ 2 ซึง่ เป็นคัน
ที่วิ่งเข้าชนไปวางชิดรถทดลองคันที่ 1 ตรงตำ�แหน่งที่จะชนกัน แล้วจึงถอยรถคันที่ 2 ในแนวตรงกลับมาที่
ปลายราง
4. แรงที่ใช้ในการผลักรถทดลองคันที่ 2 ควรกระทำ�กับรถทดลองในช่วงสั้น ๆ ในลักษณะแรงดล ด้วย
ขนาดของแรงทีเ่ พียงพอให้วต
ั ถุเคลือ
่ นทีด
่ ว้ ยความเร็วคงตัวจนเข้าชน เนือ
่ งจากไม่ได้ปรับรางไม้เพือ
่ ชดเชย
238 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

แรงเสียดทาน ถ้าออกแรงผลักรถน้อย แรงเสียดทานจะมีผลต่อการเคลื่อนที่ของรถทดลองมากกว่าการใช้


แรงผลักมาก ๆ
5. ในการชนของรถทดลอง การหาความเร็วก่อนการชนและหลังการชนจากแถบกระดาษจะมีช่วงที่
แผ่นเหล็กสปริงอัดตัวและขยายตัวอยูด
่ ว้ ย นักเรียนต้องหาความเร็วของรถก่อนกระทบแผ่นเหล็กสปริง และ
หลังจากทีแ่ ผ่นเหล็กสปริงยืดตัวออกเต็มทีแ่ ล้ว จึงจะได้ความเร็วก่อนการชนและความเร็วหลังการชนจริง ๆ
โดยพิจารณาได้จากลักษณะของจุดที่ปรากฏบนแถบกระดาษ
6. ความเร็ ว ของรถทดลองก่ อ นชน และหลั ง ชนอยู่ ใ นทิ ศ ทางเดี ย วกั น จึ ง ไม่ จำ � เป็ น ต้ อ งกำ � หนด
เครือ
่ งหมายแสดงทิศทางของความเร็ว โดยถือว่าเครือ
่ งหมายแสดงทิศทางของความเร็วเป็นบวกเหมือนกัน
ทั้งสองคัน

ตัวอย่างผลที่ได้จากการทำ�กิจกรรม 6.1 ตอนที่ 1


เมือ
่ ใช้รถทดลองมวล 0.50 1.00 และ 1.50 กิโลกรัม วิง่ เข้าชนรถทดลองมวล 0.50 กิโลกรัม ซึง่ ติดแผ่น
เหล็กสปริงไว้และอยู่นิ่ง จะได้จุดบนแถบกระดาษซึ่งติดอยู่กับรถทดลองแต่ละคัน ดังตัวอย่างในรูป 6.3

คันที่ 2 มวล 0.5 กิโลกรัม

ชวงที่เกิดการชน คันที่ 1 มวล 0.5 กิโลกรัม


คันที่ 2 มวล 1.0 กิโลกรัม

ชวงที่เกิดการชน คันที่ 1 มวล 0.5 กิโลกรัม


คันที่ 2 มวล 1.5 กิโลกรัม

ชวงที่เกิดการชน คันที่ 1 มวล 0.5 กิโลกรัม


รูป 6.3 ตัวอย่างจุดบนแถบกระดาษที่ติดกับรถทดลองซึ่งชนกันแบบยืดหยุ่น

จากแถบกระดาษที่ได้จากการทำ�กิจกรรม นำ�มาหาความเร็วก่อนการชนและความเร็วหลังการชนของ
รถทดลองแต่ละคัน แล้วคำ�นวณหาโมเมนตัมและพลังงานจลน์ บันทึกผลลงในตารางบันทึกผลการทำ�
กิจกรรมได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 239

ก่อนการชน หลังการชน

ครั้งที่ รถคันที่ m u mu รถคันที่ m u mu


(kg) (m/s) (kg m/s) (kg (kg) (m/s) (kg (kg
(J) (J) (J) (J)
m/s) m/s) m/s)

1 0.50 0 0 0 1 0.50 0.83 0.415 0.17


1 0.410 0.17 0.415 0.17
2 0.50 0.82 0.410 0.17 2 0.50 0 0 0
1 0.50 0 0 0 1 0.50 0.74 0.37 0.14
2 0.70 0.245 0.67 0.19
2 1.00 0.70 0.70 0.245 2 1.00 0.3 0.3 0.05
1 0.50 0 0 0 1 0.50 1.12 0.56 0.314
3 1.22 0.49 1.24 0.47
2 1.50 0.81 1.22 0.49 2 1.50 0.45 0.675 0.152

แนวคำ�ตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม ตอนที่ 1

□ หลังการชนในแต่ละกรณี รถทดลองทั้งสองคันเคลื่อนที่อย่างไร ขนาดความเร็วก่อนการชนและ


หลังการชนของรถทดลองแต่ละคันเป็นอย่างไร
แนวคำ�ตอบ เคลื่อนแยกออกจากกัน โดยกรณีมวลเท่ากัน รถคันที่เข้าชนหยุดนิ่ง รถคันที่ถูกชน
เคลื่อนที่ในทิศทางของคันที่เข้าชน กรณีรถเข้าชนมีมวลมากกว่า รถทั้งสองเคลื่อนที่ตามกันไปโดย
คันที่ถูกชนเคลื่อนเร็วกว่าคันที่เข้าชน

□ ผลรวมของโมเมนตัมก่อนการชนและผลรวมของโมเมนตัมหลังการชนในแต่ละกรณีเป็นอย่างไร
แนวคำ�ตอบ ผลรวมโมเมนตัมก่อนชนและหลังชนมีขนาดเท่ากันโดยประมาณ และมีทศ
ิ ทางเดียวกัน

□ ผลรวมของพลังงานจลน์ก่อนการชนและผลรวมของพลังงานจลน์หลังการชนในแต่ละกรณีเป็น
อย่างไร
แนวคำ�ตอบ ผลรวมพลังงานจลน์ก่อนชนและหลังชนมีค่าเท่ากันโดยประมาณ
240 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ตอนที่ 2 การศึกษาผลรวมของโมเมนตัมและผลรวมของพลังงานจลน์จากการชนของรถที่ติดดินน้ำ�มัน

แนะนำ�ก่อนทำ�การทำ�กิจกรรม
1. แนะนำ�การทำ�กิจกรรมตอนที่ 2 เหมือนกับการทำ�กิจกรรมตอนที่ 1 แต่เปลี่ยนแผ่นเหล็กสปริงเป็น
ดินน้ำ�มัน
2. ติดดินน้ำ�มันท้ายรถทดลองตรงตำ�แหน่งที่เกิดการชนและไม่ควรใช้ดินน้ำ�มันก้อนใหญ่ เพราะทำ�ให้
มวลของรถเปลี่ยนไปมาก

ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม 6.1 ตอนที่ 2


จากการผลักรถมวล 0.50 1.00 และ 1.50 กิโลกรัม เข้าชนรถมวล 0.50 กิโลกรัม ซึ่งติดดินน้�ำ มันไว้
ท้ายรถ รถทัง้ สองคันจะเคลือ
่ นทีต
่ ด
ิ กันไป ดังนัน
้ ความเร็วหลังการชนของรถทัง้ สองคันจะเท่ากัน จุดบนแถบ
กระดาษที่ติดไว้ท้ายรถทดลองคันที่วิ่งเข้าชนจะมีลักษณะดังตัวอย่างในรูป 6.4

รถคันที่ 2 มวล 0.50 กิโลกรัม ชนรถคันที่ 1 มวล 0.50 กิโลกรัม

ชวงที่เกิดการชน
รถคันที่ 2 มวล 1.00 กิโลกรัม ชนรถคันที่ 1 มวล 0.50 กิโลกรัม

ชวงที่เกิดการชน
รถคันที่ 2 มวล 1.50 กิโลกรัม ชนรถคันที่ 1 มวล 0.50 กิโลกรัม

ชวงที่เกิดการชน
รูป 6.4 ตัวอย่างจุดบนแถบกระดาษที่ติดกับรถทดลองซึ่งชนกันแบบไม่ยืดหยุ่น

เมื่อนำ�แถบกระดาษมาหาความเร็วก่อนการชนและความเร็วหลังการชน แล้วคำ�นวณหาโมเมนตัมและ
พลังงานจลน์ บันทึกผลลงในตารางไว้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 241

ก่อนการชน หลังการชน

ครั้งที่ รถคันที่ m u mu รถคันที่ m u mu


(kg) (m/s) (kg m/s) (kg (kg) (m/s) (kg (kg
(J) (J) (J) (J)
m/s) m/s) m/s)

1 0.50 0 0 0 1 0.50 0.40 0.20 0.04


1 0.40 0.160 0.40 0.080
2 0.50 0.80 0.40 0.160 2 0.50 0.40 0.20 0.04
1 0.50 0 0 0 1 0.50 0.45 0.23 0.051
2 0.70 0.245 0.68 0.152
2 1.00 0.70 0.70 0.245 2 1.00 0.45 0.45 0.101
1 0.50 0 0 0 1 0.50 0.50 0.25 0.063
3 1.01 0.375 1.00 0.251
2 1.50 0.675 1.01 0.357 2 1.50 0.50 0.75 0.188

ตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม ตอนที่ 2

□ หลังการชนในแต่ละกรณี รถทดลองแต่ละคันเคลื่อนที่อย่างไร ขนาดของความเร็ว ก่อนการชน


และหลังการชนของรถทดลองแต่ละคันเป็นอย่างไร
แนวคำ�ตอบ หลังชนรถทั้งสองเคลื่อนที่ไปด้วยกัน ด้วยความเร็วเท่ากัน ในทิศที่เคลื่อนที่เข้าชน

□ ผลรวมของโมเมนตัมก่อนการชนและผลรวมของโมเมนตัมหลังการชนในแต่ละกรณี เป็นอย่างไร
แนวคำ�ตอบ ผลรวมโมเมนตัมก่อนชนและหลังชนมีขนาดประมาณเท่ากัน และมีทิศเดียวกัน

□ ผลรวมของพลังงานจลน์ก่อนการชนและผลรวมของพลังงานจลน์หลังการชนในแต่ละกรณีีเป็น
อย่างไร
แนวคำ�ตอบ ผลรวมพลังงานจลน์ก่อนชนมากกว่าหลังชนทุกกรณี

□ เมื่อรถทดลองชนกันแล้ว รูปร่างของดินน้ามันเปลี่ยนไปหรือไม่ อย่างไร


แนวคำ�ตอบ รูปร่างดินน้�ำ มันเปลี่ยนไป โดยยุบตัวลง
242 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

อภิปรายหลังการทำ�กิจกรรม
ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทำ�กิจกรรม 6.1
ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 จนได้ข้อสรุปดังนี้
1. การชนในหนึ่งมิติทุกกรณี โมเมนตัมรวมของระบบคงตัว
2. การชนของรถทดลองที่ติดแผ่นเหล็กสปริงเป็นการชนที่ไม่มีการสูญเสียพลังงานจลน์ในระหว่าง
การชน นั่นคือ พลังงานจลน์รวมก่อนการชนเท่ากับพลังงานจลน์รวมหลังการชน ซึ่งแสดงว่าพลังงานจลน์
รวมของระบบคงตัว การชนในลักษณะนี้เรียกว่า การชนแบบยืดหยุ่น (elastic collision)
3. การชนของรถที่ติดดินน้ำ�มันเป็นการชนของวัตถุที่สูญเสียพลังงานจลน์ไประหว่างการชน นั่นคือ
พลังงานจลน์รวมก่อนการชนจะมากกว่าพลังงานจลน์รวมหลังการชน ซึ่งแสดงว่า พลังงานจลน์ส่วนหนึ่ง
หายไประหว่างการชน การชนในลักษณะนี้เรียกว่า การชนแบบไม่ยืดหยุ่น (inelastic collision)

ข้อแนะนำ�เพิ่มเติมสำ�หรับครู
ในการทำ�กิจกรรมทั้งสองตอนผลรวมของโมเมนตัมก่อนการชน และผลรวมของโมเมนตัมหลังการชน
ไม่เท่ากัน แต่มีค่าใกล้เคียงกันซึ่งมีสาเหตุที่อาจสรุปได้ดังนี้
1. การเลือกช่วงที่จะหาความเร็วก่อนการชนและหลังการชนผิดพลาดไป ความเร็วก่อนการชนจะต้อง
วัดจากช่วงจุดบนแถบกระดาษก่อนเกิดการชนเล็กน้อย และความเร็วหลังการชนจะต้องวัดเมื่อแผ่นเหล็ก
สปริงคลายตัวออกเต็มที่แล้ว หรือเมื่อดินน้�ำ มันยุบตัวแล้ว ความเร็วก่อนการชน และความเร็วหลังการชน
นั้น เป็นความเร็วตรงจุดที่เกิดการชน จากการทำ�กิจกรรมจะหาความเร็วตรงจุดที่เกิดการชนโดยตรงไม่ได้
จึงต้องหาความเร็วเฉลี่ยในช่วงเวลาสั้น ๆ ทั้งก่อนการชนและหลังการชนแทน ความเร็วเฉลี่ยที่หาได้มีค่า
เท่ากับความเร็วตรงจุดที่เกิดการชน
2. สำ�หรับกิจกรรม 6.1 ตอนที่ 1 นั้น ผลรวมของพลังงานจลน์ก่อนการชนและหลังการชนอาจไม่เท่า
กัน มีสาเหตุ คือ ความเร็วที่วัดได้ทั้งก่อนการชนและหลังการชนผิดพลาดไป ซึ่งเกิดจากการเลือกช่วงจุดที่
ใช้วัดความเร็วไม่ถูกต้อง และผลเกิดจากแรงเสียดทานของล้อรถทดลองด้วย

6.5.2 การดีดตัวแยกจากกันของวัตถุในหนึ่งมิติ
แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่หัวข้อ 6.5.2 โดยตั้งคำ�ถามให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า ฝักแห้งของพืชบางชนิด เช่น
ต้อยติ่ง เมื่อโดนน้�ำ ฝน ฝักจะดีดตัวออกจากกัน ทำ�ให้เมล็ดที่อยู่ภายในกระเด็นไป ในกรณีนี้โมเมนตัม
รวมของฝักเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์โมเมนตัมหรือไม่ โดยครูเปิดโอกาสให้นักเรียนอภิปรายอย่างอิสระ
ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง
ครูให้นักเรียนศึกษาระบบอยู่นิ่งแล้วเกิดการดีดตัวแยกจากกันทำ�ให้วัตถุในระบบเคลื่อนที่ออกจากกัน
โดยทำ�กิจกรรม 6.2 การทดลองเรื่องการดีดตัวแยกจากกันของวัตถุในแนวตรง
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 243

กิจกรรม 6.2 การทดลองเรื่องการดีดตัวแยกจากกันของวัตถุในแนวตรง

จุดประสงค์
เพื่อศึกษาผลรวมของโมเมนตัมและผลรวมของพลังงานจลน์ของรถทดลองก่อนและหลังจาก
การดีดตัวแยกจากกัน

วัสดุและอุปกรณ์
1. รถทดลอง 2 คัน
2. รางไม้ 1 ราง
3. เครื่องเคาะสัญญาณเวลา 2 เครื่อง
4. หม้อแปลงโวลต์ต่ำ� 2 เครื่อง
5. แผ่นเหล็กสปริง 1 แผ่น
6. สายไฟพร้อมปากหนีบ 4 เส้น
7. แถบกระดาษและกระดาษคาร์บอน 2 ชุด
8. ด้าย 1 หลอด
9. แท่งเหล็ก 1 แท่ง

แนะนำ�ก่อนการทำ�กิจกรรม
1. กิจกรรมนีต
้ อ้ งใช้หม้อแปลงโวลต์ต�ำ่ และเครือ่ งเคาะสัญญาณเวลา กลุม
่ ละ 2 เครือ่ ง ในกิจกรรม
ถ้าเครื่องเคาะสัญญาณเวลามีจำ�นวนไม่เพียงพอ อาจให้นักเรียน 2 กลุ่มรวมกันเป็นกลุ่มเดียวก็ได้
2. เมือ
่ เอาด้ายผูกโยงรถทดลองสองคันให้อด
ั แผ่นเหล็กสปริงเข้าไปนัน
้ รถทัง้ สองคันต้องไม่อด

แผ่นเหล็กสปริงมากเกินไปจนทำ�ให้ท้ายรถกระดก ทั้งนี้เพื่อให้รถทดลองทั้งสองคันวิ่งไปบนพื้นราง
ไม้อย่างสม่ำ�เสมอเมื่อตัดเชือกแล้ว

ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม
จากการใช้รถทดลองมวล 0.50 กิโลกรัม อัดแผ่นเหล็กสปริงเข้ากับรถทดลองมวล 0.50 กิโลกรัมนัน

เมื่อตัดให้เชือกขาด แผ่นเหล็กสปริงจะคลายตัวดีดรถทั้งสองคันให้แล่นไปในทิศทางตรงข้ามกัน
จุดบนแถบกระดาษที่ติดไว้กับรถทดลองแต่ละคันจะมีลักษณะดังตัวอย่างในรูป 6.5
244 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

คันที่ 1 มวล 0.50 กิโลกรัม คันที่ 1 มวล 0.50 กิโลกรัม

ชวงที่แผนเหล็ก ชวงที่แผนเหล็ก
สปริงคลายตัว สปริงคลายตัว
รูป 6.5 ตัวอย่างจุดบนแถบกระดาษที่ติดกับรถทดลองซึ่งดีดตัวแยกออกจากกัน

เนือ่ งจากในกิจกรรม 6.2 รถทดลองทัง้ สองคันเคลือ่ นทีด


่ ว้ ยความเร็วในทิศทางตรงข้าม ในการ
หาความเร็วของรถทดลองแต่ละคันจากแถบกระดาษนั้นจึงกำ�หนดให้รถทดลองคันที่ 1 ซึ่งวิ่งไป
ทางซ้ายมือมีทิศทางของความเร็วเป็นลบ และรถทดลองคันที่ 2 ซึ่งวิ่งไปทางขวามือมีทิศทางของ
ความเร็วเป็นบวก เมื่อคำ�นวณโมเมนตัมของรถทดลองแต่ละคัน โมเมนตัมและพลังงานจลน์รวม
บันทึกผลได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ก่อนการชน หลังการชน

ครั้งที่ รถคันที่ m u mu รถคันที่ m u mu


(kg) (m/s) (kg m/s) (kg (kg) (m/s) (kg (kg
(J) (J) (J) (J)
m/s) m/s) m/s)

1 0.50 0 0 0 1 0.50 +0.59 +0.295 0.04


1 0 0 0 0.080
2 0.50 0 0 0 2 0.50 -0.59 -0.295 0.40

แนวคำ�ตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม

□ ก่อนดีดตัวแยกจากกันในแต่ละกรณี รถทดลองทั้งสองมีผลรวมของโมเมนตัมและผลรวมของ
พลังงานจลน์เท่าใด
แนวคำ�ตอบ ก่อนดีดตัว ผลรวมของโมเมนตัมเป็นศูนย์ และผลรวมของพลังงานจลน์เป็นศูนย์

□ รถทดลองทั้งสองเคลื่อนที่อย่างไร หลังดีดตัวแยกจากกันในแต่ละกรณี
แนวคำ�ตอบ หลังดีดตัว รถทั้งสองเคลื่อนที่แยกจากกันในทิศทางตรงข้ามกัน
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 245

□ หลังดีดตัวแยกจากกันในแต่ละกรณี ขนาดและทิศทางโมเมนตัมของรถทดลองทัง้ สองเป็นอย่างไร


และผลรวมของโมเมนตัมของรถทดลองทั้งสองมีค่าเท่าใด
แนวคำ�ตอบ ก่อนดีดตัว โมเมนตัมของรถทั้งสองมีขนาดเท่ากันโดยประมาณ แต่มีทิศทางตรง
ข้ามกัน และผลรวมของโมเมนตัมของรถทั้งสองคันมีค่าเป็นศูนย์หรือใกล้เคียงศูนย์

□ ผลรวมของพลังงานจลน์หลังดีดตัวแยกจากกันในแต่ละครั้งเป็นอย่างไร
แนวคำ�ตอบ หลังดีดตัว ผลรวมของพลังงานจลน์มีค่ามากกว่าศูนย์

อภิปรายหลังการทำ�กิจกรรม
ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทำ�กิจกรรม 6.2
จนได้ข้อสรุปดังนี้
1. ก่อนตัดเส้นด้าย โมเมนตัมของรถทดลองทั้งสองคันเท่ากับศูนย์ และพลังงานจลน์ของรถทดลอง
ทั้งสองคันเท่ากับศูนย์ด้วย เพราะรถทดลองอยู่นิ่ง เมื่อตัดเส้นด้ายแล้วแผ่นเหล็กสปริงจะดีดตัวออก และ
ถ่ายโอนพลังงานศักย์ยด
ื หยุน
่ ให้แก่รถทดลองทัง้ สองคัน พลังงานศักย์ยด
ื หยุน
่ จะเปลีย่ นรูปเป็นพลังงานจลน์
ทำ�ให้รถทดลองทั้งสองคันเคลื่อนที่แยกจากกัน
2. ผลรวมของโมเมนตัมของรถทดลองก่อนการแยกตัวออกจากกันและหลังแยกตัวออกจากกันคงตัว
โดยเท่ากับศูนย์เช่นเดิม แต่พลังงานจลน์รวมของรถทดลองภายหลังการแยกตัวไม่เป็นศูนย์ เพราะ
รถทดลองทั้งสองต่างก็เคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงข้าม
ครูชี้แจงต่อไปว่าผลการทำ�กิจกรรม โมเมนตัมรวมของรถทดลองภายหลังการชนอาจไม่เท่ากับศูนย์ ซึ่ง
มีสาเหตุเดียวกับที่ได้กล่าวมาแล้วในกิจกรรม 6.1 ครูอาจนำ�คำ�อธิบายของสาเหตุเหล่านั้นมาทบทวนให้
นักเรียนรับรู้อีกครั้งหนึ่ง
ต่อจากนั้น ครูยกตัวอย่างของสถานการณ์ที่คล้ายกับกิจกรรม 6.2 ซึ่งแสดงไว้ดังรูป 6.12 ในหนังสือ
เรียน แล้วร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการอนุรักษ์โมเมนตัมและการเคลื่อนที่ของลูกโป่งขณะปล่อยอากาศ
ออก การเคลื่อนที่ของปลาหมึก และการเคลื่อนที่ของจรวด
ครูอธิบายตัวอย่าง 6.10 เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการคำ�นวณโมเมนตัมและพลังงานจลน์ในกรณี
ที่มีการยิงกระสุนเข้าไปฝังในเป้า จากนั้น อธิบายขั้นตอนการแก้ปัญหาเรื่องโมเมนตัมและการชนในหนึ่ง
มิติตามรายละเอียดในหนังสือเรียน แล้ว อธิบายตัวอย่าง 6.11 - 6.12
ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและทำ�แบบฝึกหัด 6.5 โดยครูอาจมีการเฉลยคำ�ตอบ
และอภิปรายคำ�ตอบร่วมกัน
246 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับการชนและการดีดตัวแยกจากคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและแบบฝึกหัด 6.5
2. ทักษะการวัด การทดลอง การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป การทำ�งานเป็นทีม จากการ
อภิปรายร่วมกัน การทำ�กิจกรรม และแบบบันทึกผลการทำ�กิจกรรม 6.1 และ 6.2
3. ทักษะการสื่อสาร จากการนำ�เสนอผลการทำ�กิจกรรม 6.1 และ 6.2
4. ทักษะการแก้ปัญหาและการใช้จำ�นวน จากการทำ�โจทย์และคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
การชนและการดีดตัวแยกจากกันในหนึ่งมิติในแบบฝึกหัด 6.5
5. จิตวิทยาศาสตร์ ด้านความซื่อสัตย์ ความรอบคอบ และความรับผิดชอบ จากแบบบันทึกผลการทำ�
กิจกรรม 6.1 และ 6.2 และแบบฝึกหัด 6.5
6. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความพยายามมุ่งมั่น และความร่วมมือช่วยเหลือ จากการทำ�กิจกรรม 6.1 และ
6.2 และการอภิปรายร่วมกัน

แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 6.5

1. การชนแบบยืดหยุ่นและการชนแบบไม่ยืดหยุ่นเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร
แนวคำ�ตอบ การชนทั้ ง แบบยื ด หยุ่ น และการชนแบบไม่ ยื ด หยุ่ น มี โ มเมนตั ม ของระบบ
คงตัว หรือเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์โมเมนตัมเหมือนกัน และการชนแบบยืดหยุ่น มี
พลังงานจลน์ของระบบคงตัวหรืออนุรก
ั ษ์พลังงานจลน์ แต่การชนแบบไม่ยด ื หยุน
่ พลังงานจลน์
ของระบบไม่คงตัวหรือไม่มีการอนุรักษ์พลังงานจลน์

2. การชนแบบไม่ยืดหยุ่น พลังงานจลน์ของระบบคงตัวหรือไม่ เป็นเพราะเหตุใด


แนวคำ�ตอบ การชนแบบไม่ยืดหยุ่นพลังงานจลน์ของระบบไม่คงตัว เพราะมีการเปลี่ยน
พลังงานจลน์บางส่วนไปเป็นงานของแรงต้าน  หรือเปลี่ยนไปเป็นพลังงานชนิดอื่น  ๆ  เช่น
เสียง ความร้อน เป็นต้น

3. การชนกันของวัตถุแล้วติดกันไปเป็นการชนแบบยืดหยุ่นหรือการชนแบบไม่ยืดหยุ่น เพราะ
เหตุใด
แนวคำ�ตอบ เป็นการชนแบบไม่ยืดหยุ่น เพราะสูญเสียพลังงานจลน์ภายหลังชน

4. ถ้าวัตถุมวลมากชนวัตถุมวลน้อยกว่าที่อยู่นิ่ง โมเมนตัมของวัตถุทั้งสองจะเปลี่ยนหรือไม่
อย่างไร
แนวคำ�ตอบ ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะการชนมีการอนุรักษ์โมเมนตัมเสมอ ไม่ขึ้นอยู่กับ
มวลของวัตถุ
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 247

เฉลยแบบฝึกหัด 6.5

1. รถทดลอง A มวล 1.0 กิโลกรัม เคลื่อนที่ไปทางขวา ด้วยความเร็ว 0.8 เมตรต่อวินาที เข้าชนใน


แนวตรงกับรถทดลอง B มวล 0.5 กิโลกรัม ที่กำ�ลังเคลื่อนที่ไปทางซ้ายด้วยความเร็ว 0.6 เมตรต่อ
วินาที หลังการชน รถทดลอง A มีความเร็ว 0.3 เมตรต่อวินาที ไปทางขวา รถทดลอง B มีความเร็ว
0.4 วินาที ไปทางขวา
ก. ก่อนชน รถทดลอง A และรถทดลอง B มีโมเมนตัมเท่าใด
ข. หลังชน รถทดลอง A และรถทดลอง B มีโมเมนตัมเท่าใด
ค. ก่อนชน รถทดลอง A และรถทดลอง B มีพลังงานจลน์เท่าใด
ง. หลังชน รถทดลอง A และรถทดลอง B มีพลังงานจลน์เท่าใด
จ. การชนครั้งนี้มีการอนุรักษ์โมเมนตัมหรือไม่ ทราบได้อย่างไร
ฉ. การชนครั้งนี้มีการอนุรักษ์พลังงานจลน์หรือไม่ ทราบได้อย่างไร

ก. วิธีทำ� กำ�หนด ให้ทิศทางไปทางขวามีเครื่องหมาย + ทิศทางไปทางซ้ายมีเครื่องหมาย –


 
mA , vA และ pA เป็น มวล ความเร็ว และโมเมนตัมของรถทดลอง A ตามลำ�ดับ
 
mB , vB และ pB เป็น มวล ความเร็ว และโมเมนตัมของรถทดลอง B ตามลำ�ดับ
 
โมเมนตัมของวัตถุหาได้จาก p = mv
 
ก่อนชน โมเมนตัมของรถทดลอง A pA = mA vA
= (1.0 kg )(0.8 m/s)
= 0.8 kg m/s
 
โมเมนตัมของรถทดลอง B pB = mBvB
= (0.5 kg )(−0.6 m/s)
= − 0.3 kg m/s
ตอบ ก่อนชน โมเมนตัมของรถทดลอง A เท่ากับ 0.8 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที ทิศไปทางขวา
โมเมนตัมของรถทดลอง B เท่ากับ 0.3 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที ทิศไปทางซ้าย


ข. วิธีทำ� หลังชน โมเมนตัมของรถทดลอง A pA = (1.0 kg )(0.3 m/s)
= 0.3 kg m/s
248 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2


โมเมนตัมของรถทดลอง B pB = (0.5 kg )(0.4 m/s)
= 0.2 kg m/s
ตอบ หลังชน โมเมนตัมของรถทดลอง A เท่ากับ 0.3 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที ทิศไปทางขวา
โมเมนตัมของรถทดลอง B เท่ากับ 0.2 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที ทิศไปทางขวา

1 2
ค. วิธีทำ� พลังงานจลน์ของวัตถุ หาได้จากสมการ Ek =
mv
2
1
ก่อนชน พลังงานจลน์ของรถทดลอง A Ek A = mA vA2
2
1
= (1.0 kg )(0.8 m/s) 2
2
= 0.32 J
1
mBvB2
พลังงานจลน์ของรถทดลอง B Ek B =
2
1
= (0.5 kg )(0.6 m/s) 2
2
= 0.09 J

ตอบ ก่อนชน พลังงานจลน์ของรถทดลอง A เท่ากับ 0.32 จูล ส่วนพลังงานจลน์ของรถทดลอง B


เท่ากับ 0.09 จูล

1
ง. วิธีทำ� หลังชน พลังงานจลน์ของรถทดลอง A Ek A = mA vA2
2
1
= (1.0 kg )(0.3 m/s) 2
2
= 0.045 J
1
พลังงานจลน์ของรถทดลอง B Ek B = mBvB2
2
1
= (0.5 kg )(0.4 m/s) 2
2
= 0.04 J

ตอบ หลังชน พลังงานจลน์ของรถทดลอง A เท่ากับ 0.045 จูล ส่วนพลังงานจลน์ของรถทดลอง B


เท่ากับ 0.04 จูล
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 249

จ. แนวคำ�ตอบ การชนครั้งนี้ มีการอนุรักษ์โมเมนตัม เพราะโมเมนตัมของระบบก่อนชนเท่ากับ


โมเมนตัมของระบบหลังชน เท่ากับ 0.5 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที ทิศไปทางขวา

ฉ. แนวคำ�ตอบ การชนครั้งนี้ ไม่มีการอนุรักษ์พลังงานจลน์ เพราะพลังงานจลน์ของระบบก่อนชน


ไม่เท่ากับพลังงานจลน์ของระบบหลังชน

2. รถทดลอง A มวล 1.0 กิโลกรัม เคลื่อนที่ไปทางขวาด้วยความเร็ว 0.6 เมตรต่อวินาที เข้าชน


ในแนวตรงกับรถทดลอง B มวล 0.5 กิโลกรัม ที่อยู่นิ่ง หลังการชน รถทดลอง A และรถทดลอง B
เคลื่อนที่ติดกันไป
ก. ความเร็วของรถทดลองทั้งสองเป็นเท่าใด
ข. ก่อนชน รถทดลอง A และรถทดลอง B มีพลังงานจลน์เท่าใด
ค. หลังชน รถทดลอง A และรถทดลอง B มีพลังงานจลน์เท่าใด
ง. การชนครั้งนี้มีการอนุรักษ์พลังงานจลน์หรือไม่ ทราบได้อย่างไร
จ. การชนเป็นการชนแบบยืดหยุ่นหรือการชนแบบไม่ยืดหยุ่น เพราะเหตุใด

ก. วิธีทำ� กำ�หนด ให้ทิศทางไปทางขวามีเครื่องหมาย + ทิศทางไปทางซ้ายมีเครื่องหมาย –


 
mA , vA และ pA เป็น มวล ความเร็ว และโมเมนตัมของรถทดลอง A
ตามลำ�ดับ
 
mB , vB และ pB เป็น มวล ความเร็ว และโมเมนตัมของรถทดลอง B
ตามลำ�ดับ
 
ก่อนชน โมเมนตัมของรถทดลอง A pA = mA vA
= (1.0 kg )(0.6 m/s)
= 0.6 kg m/s
 
โมเมนตัมของรถทดลอง B pB = mBvB
= (0.5 kg )(0 m/s)
= 0 kg m/s

กำ�หนดให้ หลังชน pAB เป็นโมเมนตัมของรถทดลองทั้งสองที่ติดกันไป และ

vAB เป็นความเร็วของรถทดลองทั้งสองที่ติดกันไป
ถ้ามีการชดเชยแรงเสียดทานของรางไม้แล้ว สามารถพิจารณาได้ว่า ไม่มีแรงภายนอก
กระทำ�ต่อระบบ จึงสามารถใช้กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม ซึ่งจะได้ว่า
250 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

  
pA +pB = pAB

= (mA + mB )vAB
แทนค่า จะได้


0.6 kg m/s + 0 = (1 kg + 0.5 kg )vAB

vAB = 0.4 m/s

ตอบ ความเร็วของรถทดลองทั้งสองที่เคลื่อนที่ติดกันไปเท่ากับ 0.4 เมตรต่อวินาที ในทิศทางขวา


1
ข. วิธีทำ� ก่อนชน พลังงานจลน์ของรถทดลอง A Ek A =
mA vA2
2
1
= (1.0 kg )(0.6 m/s) 2
2
= 0.18 J
1
พลังงานจลน์ของรถทดลอง B Ek B =
mBvB2
2
1
= (0.5 kg )(0) 2
2
= 0 J

ตอบ ก่อนชน พลังงานจลน์ของรถทดลอง A เท่ากับ 0.18 จูล ส่วนพลังงานจลน์ของรถทดลอง B


เท่ากับ 0 จูล

ค. วิธท
ี �ำ หลังชน รถทดลองทัง้ สองเคลือ่ นทีต
่ ด
ิ กันไปด้วยความเร็ว 0.4 เมตรต่อวินาที ในทิศทางขวา
แทนค่า จะได้ว่า
1
พลังงานจลน์ของรถทดลอง A Ek A =
mA vA2
2
1
= (1.0 kg )(0.4 m/s) 2
2
= 0.08 J
1
พลังงานจลน์ของรถทดลอง B Ek B = mBvB2
2
1
= (0.5 kg )(0.4 m/s) 2
2
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 251

= 0.04 J

ตอบ หลังชน พลังงานจลน์ของรถทดลอง A เท่ากับ 0.08 จูล ส่วนพลังงานจลน์ของรถทดลอง B


เท่ากับ 0.04 จูล

ง. แนวคำ�ตอบ การชนครัง้ นี้ พลังงานจลน์ของระบบไม่มกี ารอนุรกั ษ์ เพราะหลังการชน พลังงานจลน์


มีค่าลดลง จาก 0.18 จูล เหลือ 0.12 จูล

จ. แนวคำ�ตอบ การชนครั้งนี้ เป็นการชนแบบไม่ยืดหยุ่น เพราะ ไม่มีการอนุรักษ์พลังงานจลน์

3. ในรูป ก. ข. และ ค. แสดงการชนของมวล 2 ชิ้น ซึ่งขนาดบอกด้วยตัวเลขในวงกลมและมีหน่วย


กิโลกรัม รูปใดเป็นการชนแบบยืดหยุ่น เพราะเหตุใด

6 m/s 10 m/s 3 m/s 5 m/s


ก. 5 3 5 3

5 m/s 5 m/s
ข. 3 3 3 3

6 m/s 2 m/s 8 m/s


ค. 6 3 6 3

รูป ประกอบแบบฝึกหัด 6.5 ข้อ 3

วิธีทำ� ถ้าการชนเป็นการชนแบบยืดหยุ่นสมบรูณ์จะได้ว่า
 
1. pi = p f
2. Ek i = Ek f
 
โดย pi เป็นโมเมนตัมของระบบก่อนชน และ p f เป็นโมเมนตัมของระบบหลังชน และ
เป็น Ek พลังงานจลน์ของระบบก่อนชน และ Ek f เป็นพลังงานจลน์ของระบบหลังชน
i

แทนค่าเพื่อหาโมเมนตัมและพลังงานจลน์ของ ข้อ ก. ข. และ ค. ดังแสดงในตาราง


252 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

 
pi pf

ก. (5 kg)(6 m/s) + (3 kg)(-10 m/s) = 0 kg m/s (5 kg)(3 m/s) + (3 kg)(-5 m/s) = 0 kg m/s
ข. (3 kg)(5 m/s) + (3 kg)(0 m/s) = 15 kg m/s (3 kg)(0 m/s) + (3 kg)(5 m/s) = 15 kg m/s
ค. (6 kg)(6 m/s) + (3 kg)(0 m/s) = 36 kg m/s (6 kg)(2 m/s) + (3 kg)(8 m/s) = 36 kg m/s

 
pi pf
1 1 1 1
ก. (5 kg)(6 m/s)2 + (3 kg)(10 m/s)2 = 240 J (5 kg )(3 m/s) 2 + (3 kg )(5 m/s) 2 = 60 J
2 2 2 2
1 1
ข. (3 kg)(5 m/s) + 0 = 37.5 J
2
0 + (3 kg )(5 m/s) 2 = 37.5 J
2 2
1 1 1
ค. (6 kg)(6 m/s)2 + 0 = 108 J (6 kg )(2 m/s) 2 + (3 kg )(8 m/s) 2 = 108 J
2 2 2
 
ตอบ ข. และ ค. เป็นการชนแบบยืดหยุ่น เพราะ pi = p f และ Ek i = Ek f

4. รถทดลองมวล 1.0 กิโลกรัม เคลือ


่ นทีด
่ ว้ ยความเร็ว 0.4 เมตรต่อวินาที เข้าชนรถทดลองอีกคันหนึง่
ซึ่งมีมวลเท่ากันและอยู่นิ่ง หลังการชน รถทดลองเคลื่อนที่ติดกันไป จงหาพลังงานที่สูญเสียไปจาก
การชน
 
วิธีทำ� pi = p f
  
m1u1 + m2u2 = ( m1 + m2 )v

(1.0 kg )(0.4 m/s) + 0 = (1.0 kg+1.0kg )v


0.4
v = m/s
2
= 0.2 m/s

พลังงานที่สูญเสียไปจากการชน ∆Ek = Ek f − Ek i
1 1 1
= m1u12 + m2u22 − (m1 + m2 )v 2
2 2 2
1 1
= (1.0 kg )(0.4 m/s) 2 − (1.0 kg+1.0 kg )(0.2 m/s) 2
2 2
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 253

= 0.08 J − 0.04 J
= 0.04 J
ตอบ พลังงานที่สูญเสียไปจากการชน 0.04 จูล

5. มวล m1 และ m2 วิ่งตรงเข้าชนกันแบบยืดหยุ่น หลังชนแล้วสะท้อนกลับทางเดิม ขนาดความเร่ง


หลังชนของมวล m1 และ m2 เท่ากับ 4 เมตรต่อวินาที2 และ 3 เมตรต่อวินาที2 ตามลำ�ดับ จงหา
อัตราส่วนของ m1 และ m2
วิธีทำ� ตามกฎข้อที่ 3 ของนิวตัน ขณะชนจะเกิด F12 = F21
m1 a1 = m2 a2

m1 a2
=
m2 a1
m1 3 m/s
=
m2 4 m/s

ตอบ อัตราส่วนระหว่าง m1 และ m2 เท่ากับ 3


4

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6

คำ�ถาม

1. ในชีวิตประจำ�วัน ในช่วงใดที่นักเรียนมีโมเมนตัม
แนวคำ�ตอบ ช่วงที่ร่างกายมีการเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็น ช่วงเวลาเดิน วิ่ง ลุกขึ้นยืน

2. เป็นไปได้หรือไม่ ที่รถจักรยานจะมีโมเมนตัมมากกว่ารถจักรยานยนต์
แนวคำ�ตอบ เป็นไปได้ ถ้ารถจักรยานทีม
่ ม
ี วลน้อยกว่ารถจักรยานยนต์ เคลือ่ นทีด่ ว้ ยความเร็วเพียงพอ

3. ระบบหนึ่งประกอบด้วยวัตถุหลายชิ้นมีพลังงานจลน์รวม 100 จูล แต่มีโมเมนตัมรวมเป็นศูนย์


ข้อความนี้เป็นไปได้หรือไม่ จงอธิบาย
แนวคำ�ตอบ เป็นไปได้ เพราะพลังงานจลน์เป็นปริมาณสเกลาร์ ผลรวมของปริมาณสเกลาร์หลาย
ปริมาณเป็นผลบวกของปริมาณนั้น ๆ ส่วนโมเมนตัมเป็นปริมาณเวกเตอร์ ผลรวมแบบเวกเตอร์
หลายเวกเตอร์ สามารถมีค่าเป็นศูนย์ได้
254 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

4. จงคิดสถานการณ์ที่มีขนาดโมเมนตัมเท่ากับ 10 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที


แนวคำ�ตอบ ลูกฟุตบอลมวล 0.5 กิโลกรัม ถูกเตะให้พุ่งด้วยความเร็ว 20 เมตรต่อวินาที

5. ถ้าทำ�ให้วัตถุซึ่งกำ�ลังเคลื่อนที่ให้มีขนาดของความเร็วเพิ่มขึ้น ทิศทางของแรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อ
วัตถุกับทิศทางของความเร็วเดิมของวัตถุจะเป็นอย่างไร และถ้าต้องการทำ�ให้วัตถุนั้นมีขนาด
ของความเร็วลดลงหรือหยุดการเคลื่อนที่ ทิศทางของแรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุกับทิศทางของ
ความเร็วเดิมของวัตถุจะเป็นอย่างไร โดยทั้งสองกรณีวัตถุจะไม่เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ จงเขียน
เวกเตอร์ประกอบคำ�อธิบายในแต่ละกรณี
แนวคำ�ตอบ วัตถุก�ำ ลังเคลื่อนที่มีขนาดของความเร็วเพิ่มขึ้น

v1 v2

 
รูป ทิศของความเร็ว v1 ต่อมามีความเร็วเป็น v2
 
ทิศทางของความเร็วที่เปลี่ยนไป หาได้จากการลบเวกเตอร์ v2 − v1 ทิศทาง
ของความเร็วที่เปลี่ยนไปมีทิศทางเดียวกับทิศทางของความเร็วเดิม ดังนั้นแรงลัพธ์
จึงมีทิศทางเดียวกับทิศทางของความเร็วเดิม

v2
∆v -v1

รูป ทิศของ

ถ้าต้องการให้วัตถุมีขนาดความเร็วลดลง หรือหยุดการเคลื่อนที่ ความเร็วของวัตถุ


เริ่มต้นมีค่ามากต่อมาวัตถุมีความเร็วลดลง

v1 v2

 
รูป ทิศของความเร็ว v1 ต่อมามีความเร็วเป็น v2
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 255

 
ความเร็วที่เปลี่ยนไปหาได้จาก v2 − v1

∆v v2
-v1

รูป ทิศของ

ความเร็วที่เปลี่ยนไปมีทิศทางตรงข้ามกับทิศทางของความเร็วเดิม ดังนั้นทิศทางของ
แรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุมีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของความเร็วเดิมด้วย

6. ปัจจุบันมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม โดยให้ลมปะทะกังหันลมที่ต่อกับเครื่องกำ�เนิดไฟฟ้า
เพื่อผลิตไฟฟ้า การหมุนของกังหันเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนโมเมนตัมหรือไม่ อย่างไร
แนวคำ�ตอบ โมเมนตัมเป็นปริมาณเวกเตอร์ซึ่งมีทั้งขนาดและทิศทาง และเป็นผลคูณระหว่าง
ความเร็วกับมวลของวัตถุ การหมุนของกังหันทำ�ให้ใบพัดของกังหันมีการเคลื่อนที่
แบบวงกลม ขนาดและทิศทางของความเร็วของใบพัดมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น
การหมุนของกังหันจึงเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนโมเมนตัม

7. เหตุใดที่สนามแข่งรถความเร็วสูงที่ด้านข้างถนนจึงมีกองฟางหรือยางรถยนต์วางกองไว้

รูปประกอบคำ�ถามข้อ 7

แนวคำ�ตอบ เพราะ เมือ่ รถแข่งซึง่ มีความเร็วสูงเลีย้ วโค้ง อาจทำ�ให้รถหลุดจากโค้งไปชนกับสิง่ ต่าง ๆ


ข้างถนนได้ แต่เมื่อนำ�กองฟางหรือยางรถยนต์ซึ่งมีความยืดหยุ่นไปวางไว้ข้างถนน
จะทำ�ให้แรงที่กองฟางหรือยางรถยนต์กระทำ�ต่อรถแข่งที่วิ่งไปชนน้อยกว่าการชน
กับวัตถุที่ไม่มีความยืดหยุ่น
256 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

8. ถุ ง ลมนิ ร ภั ย ในรถยนต์ ถู ก ออกแบบให้ ป้ อ งกั น คนในรถขณะเกิ ด การชนโดยถุ ง จะพองขึ้ น


จงอธิบายว่าถุงลมป้องกันคนในรถยนต์ได้อย่างไร
แนวคำ�ตอบ เพราะ เมื่อเกิดอุบัติเหตุชนกันของรถยนต์ ตัวของคนในรถยนต์จะพุ่งไปข้างหน้า
ถ้ามีถุงลมที่พองขึ้นซึ่งมีความยืดหยุ่น ช่วงเวลาที่ถุงลมหยุดการเคลื่อนที่ของคนใน
รถยนต์ จ ะมากกว่ า ช่ ว งเวลาที่ ส่ ว นด้ า นหน้ า ของรถยนต์ ที่ มี ค วามแข็ ง หยุ ด การ
เคลือ
่ นทีข
่ องคนในรถ ทำ�ให้แรงทีถ
่ งุ ลมกระทำ�ต่อคนในรถน้อยกว่าแรงทีส่ ว่ นด้านหน้า
รถกระทำ�ต่อคนในรถ จึงช่วยลดอันตรายที่เกิดกับคนในรถเมื่อเกิดการชนได้

9. การห้อยโหนของนักแสดงกายกรรมจำ�เป็นต้องมีตาข่ายขึงไว้เบื้องล่าง ตาข่ายนี้ใช้รองรับ นัก


แสดงเมื่อพลาดตกลงมา ถ้าผู้แสดงตกลงบนตาข่ายกับตกลงบนพื้นด้วยความเร็วก่อนกระทบเท่า
กัน กรณีใดจะได้รับอันตรายมากกว่ากัน เพราะเหตุใด
แนวคำ�ตอบ เมื่อความเร็วก่อนกระทบเท่ากัน นักแสดงกายกรรมที่ตกลงบนพื้นจะได้รับอันตราย
มากกว่าตกลงบนตาข่าย เพราะช่วงเวลาที่พื้นหยุดการเคลื่อนที่ของนักแสดงสั้นกว่า
ช่วงเวลาที่ตาข่ายหยุดการเคลื่อนที่ของนักแสดง ดังนั้นแรงที่พื้นกระทำ�ต่อนักแสดง
จึงมากกว่าแรงที่ตาข่ายกระทำ�ต่อนักแสดง

10. จงอธิบายการเคลื่อนที่ของสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้โดยใช้กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม


ก. การเคลื่อนที่ของตัวปืนหลังการยิง
ข. การเคลื่อนที่ของหมึกขณะพ่นน้�ำ ออก
ค. การเคลื่อนที่ของลูกโป่งขณะปล่อยอากาศออก
แนวคำ�ตอบ สถานการณ์ ก. ก่อนการยิงปืน โมเมนตัมของระบบเป็นศูนย์ ขณะยิงปืน ลูกปืน
มีโมเมนตัมพุ่งไปข้างหน้าและปืนจะถูกดันให้ถอยหลัง ซึ่งก็มีโมเมนตัมขนาดเดียวกับ
โมเมนตัมของลูกปืน นั่นคือ ขณะยิงปืน โมเมนตัมของระบบเป็นศูนย์ แต่เนื่องจาก
มวลของปืนมากกว่ามวลของลูกปืน ดังนั้นความเร็วถอยหลังของปืนจะน้อยกว่า
ความเร็วของลูกปืน
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 257

สถานการณ์ ข. ก่อนการเคลื่อนที่ โมเมนตัมของระบบเป็นศูนย์ เมื่อหมึกเคลื่อนที่


เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณลำ�ตัว ทำ�ให้น้ำ�ภายในลำ�ตัวถูกพ่นออกมา
ลำ�ตัวของหมึกจึงเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงข้ามกับทิศทางของน้ำ�ที่พ่นออกมา โดย
ขนาดของโมเมนตัมของน้ำ�ที่พุ่งออกมาเท่ากับขนาดของโมเมนตัมของตัวหมึกที่พุ่ง
ไปข้างหน้า เพื่อทำ�ให้โมเมนตัมของระบบเป็นศูนย์

สถานการณ์ ค. ก่อนปล่อยอากาศออกจากลูกโป่ง โมเมนตัมของระบบเป็นศูนย์


เมื่อปล่อยอากาศออก ลูกโป่งเคลื่อนที่ในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของอากาศที่
ถูกปล่อยออกมา ซึ่งขนาดโมเมนตัมของตัวลูกโป่งที่พุ่งไปข้างหน้าเท่ากับขนาดของ
โมเมนตัมของอากาศที่พุ่งออกมา เพื่อทำ�ให้โมเมนตัมของระบบเป็นศูนย์

ปัญหา

1. รถ A มีพลังงานจลน์เป็น 2 เท่าของรถ B แต่รถ B มีมวลเป็น 2 เท่าของรถ A อัตราส่วนของ


ขนาดโมเมนตัมของรถ A ต่อขนาดโมเมนตัมของรถ B เป็นเท่าใด
วิธีทำ� อัตราส่วนของขนาดโมเมนตัมของรถ A ต่อขนาดโมเมนตัมของรถ B มีค่าดังนี้
pA mA vA
= (1)
pB mBvB
รถ A มีพลังงานจลน์เป็น 2 เท่าของรถ B จะได้

EkA = 2EkB
1 1 
mA vA2 = 2  mBvB2 
2 2 
1 2 1
แต่ mB = 2mA จะได้ mA vA = 2   (2mA )vB2
2 2
vA = 2vB

แทน mB = 2mA และ vA = 2vB ใน (1) จะได้


pA mA (2vB )
= = 1
pB (2mA )vB
ตอบ อัตราส่วนของขนาดโมเมนตัมของรถ A ต่อขนาดโมเมนตัมของรถ B เท่ากับ 1
258 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

2. วัตถุมวล m เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว u เข้าชนกำ�แพงในแนวตั้งฉาก แล้วสะท้อนออกมาในแนว


4
เดิมด้วยอัตราเร็ว u โมเมนตัมของวัตถุที่เปลี่ยนไปมีขนาดเท่าใด
5
แนวคิด โมเมนตัมที่เปลี่ยนไปเท่ากับโมเมนตัมหลังชน – โมเมนตัมก่อนชน หรือ
 
= mv − mu

กอนชน หลังชน
4u
u
v =
5 ให้ทิศทางไปทางขวามีค่าเป็นบวก

 
= mv − mu
 4 
= m  − u  − mu
 5 
4
= − mu − mu
5
9
= − mu
5

9
ตอบ โมเมนตัมของวัตถุที่เปลี่ยนไปมีขนาดเท่ากับ mu
5

3. ในการก่อสร้างอาคารแห่งหนึ่ง นอตตัวหนึ่งมวล 20 กรัม ตกจากที่สูง 19.6 เมตร ขณะที่นอต


นั้นกระทบพื้นมีขนาดโมเมนตัมเท่าใด และมีทิศทางใด
วิธีทำ� นอตมีการตกแบบเสรี โดยความเร็วเริ่มต้น uy= 0
 
u y = 0 ความเร็วขณะกระทบพื้นเป็น v y มี

ทิศทางลง ขนาดของความเร็ว v y หาได้จาก
v y2 = และโมเมนตัมของนอต
∆y
 
หาได้จาก p y = mv y ดังรูป
vy
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 259

กำ�หนดให้ทิศทางลงมีค่าเป็นลบ (–) ทิศทางขึ้นมีค่าเป็นบวก (+)


นอตเคลื่อนที่ลงด้วยความเร็วที่มีขนาดเพิ่มขึ้นและทิศทางลง และมีโมเมนตัมทิศทางลงสู่

พื้นขนาดของความเร็วของตัวนอตขณะกระทบพื้น v y หาได้จาก

v y2 =

v y =

แทนค่า vy = 2(9.8 m/s 2 )(19.6 m)


v y = 19.6 m/s
  
โมเมนตัมของนอต p y หาได้จาก p y = mv y

แทนค่า p y = (20 ×10−3 kg )(19.6 m/s) ในทิศทางลง

= 0.392 kg m/s ในทิศทางลง

ตอบ ขนาดโมเมนตัมเท่ากับ 0.392 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที ทิศทางลง

4. นักกีฬาเตะลูกบอลมวล 400 กรัม อัดกำ�แพงแล้วลูกบอลสะท้อนสวนกลับออกมาด้วย


อัตราเร็ว 5 เมตรต่อวินาที ซึ่งเท่ากับอัตราเร็วเดิม ถ้าแรงที่ก�ำ แพงกระทำ�ต่อลูกบอลเป็น 80 นิวตัน
ลูกบอลกระทบกำ�แพงอยู่นานเท่าใด
วิธีทำ� m = 400 g
v = − 5 m/s
u = + 5 m/s
F = − 80 N

mv − mu
จาก F =
∆t
400 400
( kg)( −5 m/s) − ( kg )( +5 m/s)
−80 kg m/s 2 = 1000 1000
∆t
−80 kg m/s 2 = ( −2 kg m/s) − ( 2 kg m/s)
∆t
−4
= s
−80
260 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

= 0.05 s

ตอบ ลูกบอลกระทบกำ�แพง 0.05 วินาที

5. ปล่อยลูกบอลจากความสูง h เหนือพื้น ลูกบอลกระทบพื้นแล้วกระดอนกลับขึ้นมาในแนวดิ่งสูง


2
จากพื้นเป็นระยะ h ดังรูป
3
กอนปลอย หลังจากลูกบอลกระทบพื้น

h
2h
3

รูปประกอบคำ�ถามข้อ 5

อัตราส่วนของโมเมนตัมก่อนกระทบพื้นต่อโมเมนตัมขณะกระดอนขึ้นเป็นเท่าใด
วิธีทำ� เขียนแผนภาพความเร็วตอนกระทบพื้นและขณะกระดอนขึ้นจากพื้น ได้ดังนี้

v2
กอนกระทบพื้น

พื้น พื้น
ขณะกระดอน
v1 ขึ้นจากพื้น
เมื่อ v1 เป็นความเร็วก่อนกระทบพื้น
v2 เป็นความเร็วขณะกระดอนขึ้นจากพื้น
โมเมนตัมก่อนกระทบพื้น p1 = mv1
โมเมนตัมขณะกระดอนขึ้น p2 = mv2
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 261

อัตราส่วนของโมเมนตัมก่อนกระทบพื้นต่อโมเมนตัมขณะกระดอนขึ้น
p1 mv1
=
p2 mv2
p1 v
= 1 (1)
p2 v2
คิดขาลง หา v1 จาก v 2 =

จะได้ v12 =

v1 =

คิดขาขึ้น หา v2 จาก v 2 =

จะได้ 0 =

v2 =

v1 3
= = (2)
v2 2
p1 3
จาก (1) และ (2) จะได้ =
p2 2
ตอบ อัตราส่วนของโมเมนตัมก่อนกระทบพื้นต่อโมเมนตัมขณะกระดอนขึ้นจากพื้นเป็น 3
2
6. ลูกปืนมวล 10 กรัม ถูกยิงออกไปจากปืนมวล 800 กรัม ในแนวระดับด้วยความเร็ว
400 เมตรต่อวินาที เพื่อให้ปืนหยุดนิ่งในมือผู้ยิงภายในเวลา 2.50 มิลลิวินาที แรงที่ปืนกระทำ�ต่อ
มือมีค่าเท่าใด
วิธีท�ำ เมื่อยิงลูกปืนมวล m = 10 g ออกไปในแนวระดับด้วยความเร็ว v ขนาด 400 m/s
ปืนมวล M = 800 g จะเคลื่อนที่ในทิศตรงข้ามด้วยความเร็ว v1 ดังรูป
262 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

 
v1 v
m

F
M

จากกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม
 
pi = p f
กำ�หนดให้ทิศทางไปทางขวามีค่าเป็นบวก (+) ทิศทางไปทางซ้ายมีค่าเป็นลบ (-)
แทนค่า จะได้

0 = mv + Mv1
m
v1 = − v
M
 10 g 
v1 = −   (400 m/s)
 800 g 
v1 = −5 m/s
ถ้า F เป็นแรงที่มือผู้ยิงกระทำ�ต่อปืน เพื่อให้ปืนหยุดนิ่งในมือ ( v2 = 0 ) ภายในเวลา
จากหลักการดลและโมเมนตัม จะได้
= Mv2 − Mv1
F (2.50 × 10−3 s) = 0 − (800 × 10−3 kg )(−5 m/s)
F = 1.60 × 103 N
ตอบ แรงที่มือกระทำ�ต่อปืนเท่ากับ 1600 นิวตัน

7. นักกีฬาเตะลูกบอลมวล m อัดกำ�แพงด้วยอัตราเร็ว v แล้วลูกบอลสะท้อนออกมาด้วยอัตราเร็ว


v
ถ้าลูกบอลกระทบกำ�แพงอยูน
่ าน t จงหาทิศทางและขนาดแรงเฉลีย่ ทีก
่ �ำ แพงกระทำ�ต่อลูกบอล
2
ในเทอม m, v และ t
วิธีทำ� แรงเฉลี่ยที่ก�ำ แพงกระทำ�ต่อลูกบอลเพื่อทำ�ให้ลูกบอลเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมจาก mv เป็น
v
m หาได้จากอัตราการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมของลูกบอล
2
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 263


v

v 2

ก่อนถูกแรงกระทำ� ภายหลังถูกแรงกระทำ�ทันที
กำ�หนดให้เวกเตอร์มท
ี ศ
ิ ทางขวามือมีเครือ
่ งหมายบวก (+) ทิศทางซ้ายมือมีเครือ
่ งหมายลบ (-)
ให้ m เป็นมวลของลูกบอล
u เป็นขนาดความเร็วก่อนถูกแรงกระทำ�มีค่าเท่ากับ v
v เป็นขนาดความเร็วภายหลังถูกแรงกระทำ�มีค่าเท่ากับ v
2

จากสมการ F =

 v
แทนค่า F = m  − 2  − m(v)

t
 3 
=  − 2 mv 
t
3 mv
= −
2 t
3mv
ตอบ แรงเฉลี่ยที่ก�ำ แพงกระทำ�ต่อลูกบอลเท่ากับ ทิศออกจากกำ�แพง
2t

8. ลูกบอลมวล 0.1 กิโลกรัม เคลือ ่ นทีด


่ ว้ ยความเร็ว 20 เมตรต่อวินาที ชนผนังในทิศทางตัง้ ฉาก
1
ลูกบอลกระทบผนังเป็นเวลา วินาที แล้วสะท้อนออกมาด้วยความเร็ว 15 เมตรต่อวินาที ขนาด
20
ของแรงดลเฉลี่ยที่ผนังกระทำ�ต่อลูกบอลมีค่าเท่าใด
วิธีทำ� แรงดลเป็นแรงทีก
่ ระทำ�ต่อวัตถุในช่วงเวลาสัน
้ ๆ แรงดลเฉลีย่ ทีผ
่ นังกระทำ�ต่อลูกบอลเท่ากับ

อัตราส่วนระหว่างโมเมนตัมที่เปลี่ยนไปต่อเวลา หรือ

เขียนแผนภาพก่อนชนและหลังชนผนัง ได้ดังนี้
264 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

กอนชน หลังชน
u = +20 m/s v = −15 m/s
mu mv

กำ�หนดให้เวกเตอร์มท
ี ศ
ิ ทางขวามือมีเครือ
่ งหมายบวก (+) ทิศทางซ้ายมือมีเครือ
่ งหมายลบ (-)
จากภาพ โมเมนตัมที่เปลี่ยนไป = โมเมนตัมหลังชน – โมเมนตัมก่อนชน
 
= mv − mu
แทนค่า = (0.1 kg )(−15 m/s) − (0.1 kg )(+20 m/s)
= −1.5 kg m/s − 2.0 kg m/s
= −3.5 kg m/s

จาก แรงดลเฉลี่ย

−3.5 kg m/s

แทนค่า F = 1 = −70 N
s
20
ตอบ ขนาดของแรงดลเฉลี่ยที่ผนังกระทำ�ต่อลูกบอลมีค่าเท่ากับ 70 นิวตัน

9. อนุภาคหนึ่งเคลื่อนที่ไปทางเหนือด้วยขนาดโมเมนตัม 3 × 10−18 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที ถ้ามี


แรงคงตัวขนาด 2 × 10−15 นิวตัน กระทำ�ต่ออนุภาคนาน 1 มิลลิวินาที ไปทางทิศใต้ อนุภาคจะมี
ขนาดโมเมนตัมเป็นเท่าใด และมีทิศทางใด
วิธีทำ� เขียนแผนภาพของโมเมนตัมและแรงที่ ทิศเหนือ (มีเครื่องหมายบวก)
กระทำ�ต่ออนุภาค ได้ดังนี้

โมเมนตัม p

อนุภาค

แรง F ขนาด 2 ×10−15 N


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 265

แรงคงตัวที่กระทำ�ต่ออนุภาคในช่วงเวลาหนึ่ง จะทำ�ให้โมเมนตัมของอนุภาคเปลี่ยนไป โดย


ผลคูณของแรงกับเวลาจะเท่ากับโมเมนตัมหลังจากได้รับแรง – โมเมนตัมก่อนได้รับแรง
ดังสมการ

= pf − p i

หรือ = p
t =10 −3 s
− p t =0
กำ�หนดให้ ทิศทางไปทางเหนือเป็นบวก

แทนค่า −(2 × 10−15 N)(1× 10−3 s) = pt =10−3 s − (3 × 10−18 kg m/s)

−(2 ×10−18 N s) = pt =10−3 s − (3 × 10−18 kg m/s)
 −18
จะได้ p = +1× 10 kg m/s
t=10 −3 s

ตอบ อนุภาคจะมีโมเมนตัม 1× 10−18 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที ไปทางทิศเหนือ

10. จากรูป เป็นกราฟระหว่างโมเมนตัมกับเวลาของวัตถุหนึ่ง

โมเมนตัม (kg m/s)


20

10

0 เวลา (s)
5 10 15
รูปประกอบปัญหาข้อ 10

จงหา
ก. ความชันของกราฟในช่วง 0-5 วินาที 5-10 วินาที และ 10-15 วินาที
ข. ขนาดของการดลที่กระทำ�ต่อวัตถุในช่วง 0-5 วินาที 5-10 วินาที และ 10-15 วินาที
ค. ขนาดของแรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุในช่วงเวลา 0-5 วินาที และ 10-15 วินาที
266 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ก. หาความชันของกราฟ
วิธีทำ� จาก ความชันของกราฟ
(20 − 0)
ในช่วง 0 - 5 วินาที ความชันของกราฟ =
(5 − 0)
= 4

(20 − 20)
ในช่วง 5 - 10 วินาที ความชันของกราฟ =
(10 − 5)
= 0

(10 − 20)
ในช่วง 10 - 15 วินาที ความชันของกราฟ =
(15 − 10)
= − 2

ตอบ ความชันของกราฟในช่วง 0-5 วินาที 5-10 วินาที และ 10-15 วินาที เท่ากับ 4, 0 และ -2
ตามลำ�ดับ

ข. หาขนาดของการดลที่กระทำ�ต่อวัตถุในช่วง 0-5 วินาที 5-10 วินาที และ 10-15 วินาที


  
วิธีทำ� จาก I = mv - mu

ในช่วง 0 - 5 วินาที I = 20 kg m/s − 0 kg m/s
= 20 kg m/s


ในช่วง 5 - 10 วินาที I = 20 kg m/s − 20 kg m/s
= 0 kg m/s


ในช่วง 10 - 15 วินาที I = 10 kg m/s − 20 kg m/s
= −10 kg m/s

ตอบ ขนาดของการดลที่กระทำ�ต่อวัตถุในช่วง 0-5 วินาที 5-10 วินาที และ 10-15 วินาที เท่ากับ
20 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที, 0 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที และ -10 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที ตามลำ�ดับ
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 267

ค. หาขนาดของแรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุ
วิธีทำ� จาก

จัดรูปสมการ จะได้
 20 kg m/s
ในช่วง 0 - 5 วินาที F =
5s
= 4N

 0 kg m/s
ในช่วง 5 - 10 วินาที F =
5s
= 0 N

 −10 kg m/s
ในช่วง 10 - 15 วินาที F =
5s
= −2N

ตอบ ขนาดแรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อวัตถุในช่วง 0-5 วินาที 5-10 วินาที และ 10-15 วินาที เท่ากับ
4 นิวตัน 0 นิวตัน และ 2 นิวตัน ตามลำ�ดับ

11. ลูกบอลมวล 0.5 กิโลกรัม ขณะที่มีความเร็ว 10 เมตรต่อวินาที ในทิศทางลง นักกีฬาคนหนึ่งใช้


เท้าเดาะลูกบอลให้มีความเร็วเปลี่ยนเป็น 15 เมตรต่อวินาที ในทิศทางขึ้น ถ้าใช้เวลาในการเปลี่ยน
ความเร็วลูกบอล 0.1 วินาที แรงดลเฉลี่ยที่เท้านักกีฬากระทำ�ต่อลูกบอลมีขนาดเท่าใด
วิธีทำ� แรงดลเฉลี่ยที่เท้านักกีฬากระทำ �ต่อลูกบอลเพื่อทำ�ให้ลูกบอลเปลี่ยนแปลงความเร็วจาก
10 m/s ทิศลง เป็น 15 m/s ทิศขึ้น หาได้จากอัตราการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมของลูกบอล
โดยให้ทิศขึ้นมีเครื่องหมาย บวก ทิศลงมีเครื่องหมายเป็น ลบ

     
u =u10 u =m/s
= 10
m/s 10 m/s + + + v =v15 v =m/s
= 15
m/s 15 m/s

ก่อนถูกแรงกระทำ� ภายหลังถูกแรงกระทำ�ทันที
268 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ให้ m เป็นมวลของลูกบอล มีค่าเท่ากับ 0.5 kg



u เป็นความเร็วก่อนถูกแรงกระทำ� มีขนาดเท่ากับ 10 m/s

v เป็นความเร็วภายหลังถูกแรงกระทำ� มีขนาดเท่ากับ 15 m/s
เวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนโมเมนตัม = 0.1 s

จากสมการ F =

F = (0.5 kg)(15 m/s) − (0.5 kg)(−10 m/s)


แทนค่า
0.1 s
= (7.5 kg m/s ) + (5.0 kg m/s)
0.1 s
= 12.5 kg m/s
0.1 s
= 125 N
ตอบ แรงดลเฉลี่ยมีขนาดเท่ากับ 125 นิวตัน

12. ปล่อยวัตถุมวล m ตกจากที่สูงเป็นระยะ H ลงสู่พื้น การดลที่ต้องใช้ในการทำ�ให้วัตถุหยุดนิ่ง


ทันทีที่กระทบพื้นมีขนาดเท่าใด ในเทอม m, g และ H
วิธีทำ� การดลในการทำ�ให้วัตถุที่กำ�ลังเคลื่อนที่แล้วหยุด หาได้จากอัตราการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม
ของวัตถุ
ให้ m เป็นมวลของวัตถุ
 
p1 เป็นโมเมนตัมก่อนถูกแรงกระทำ� มีค่าเท่ากับ mu
โดยขนาดของความเร็วก่อนถูกแรงกระทำ� u หาได้จากกฎการอนุรักษ์พลังงานกล
โดยพลังงานศักย์โน้มถ่วงเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานจลน์
1
mgH = mu 2
2
2gH = u 2

u = 2gH

จะได้โมเมนตัมก่อนถูกแรงกระทำ� p1 = m 2 gH ทิศลง

โมเมนตัมภายหลังถูกแรงกระทำ� p= 2 mv
= 0 kg m s
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 269


หาการดลจาก I =
 
= p2 − p1

โดยให้ทิศขึ้นมีเครื่องหมาย บวก ทิศลงมีเครื่องหมาย ลบ

แทนค่า I = p2 − (− p1 )

= 0 − (−m 2 gH )

= +m 2 gH

ตอบ การดลมีขนาดเท่ากับ m 2 gH

13. ลูกบอลมวล 0.2 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 10 เมตรต่อวินาที ในแนวระดับไปทางขวามือ


ถูกตีสวนด้วยไม้ ได้กราฟระหว่างแรงกับเวลาที่ลูกบอลกระทบไม้ ดังรูป

F(N)
600

300

t(s)
0.01
รูปประกอบปัญหาข้อ 13

ก. พื้นที่ใต้กราฟระหว่างแรงกับเวลามีค่าประมาณเท่าใด
ข. การดลมีขนาดประมาณเท่าใด
ค. ถ้าแรงเฉลี่ยเท่ากับ 300 นิวตัน ความเร็วของลูกบอลภายหลังกระทบไม้มีขนาดเท่าใด

ก. วิธีทำ� พื้นที่ใต้กราฟระหว่างแรงกับเวลาหาได้จาก ผลคูณระหว่างแรงเฉลี่ยกับช่วงเวลาที่แรง


กระทำ� จากกราฟ พิจารณาให้แรงเฉลี่ย Fav มีค่าประมาณ 300 นิวตัน จะได้ว่า
พื้นที่ใต้กราฟ = Fav ∆ t
= (300 N)(0.01s)
= 3Ns
ตอบ พื้นที่ใต้กราฟระหว่างแรงกับเวลามีค่าประมาณ 3 นิวตัน เมตร
270 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

ข. วิธีทำ� ขนาดของการดลที่มีค่าเท่ากับพื้นที่ใต้กราฟระหว่างแรงกับเวลา ดังนั้น ถ้าพิจารณาให้


แรงเฉลี่ย Fav มีค่าประมาณ 300 นิวตัน จะได้ว่า

= (300 N)(0.01s)
= 3Ns
ตอบ ขนาดของการดลมีค่าประมาณ 3 นิวตัน เมตร

ค. วิธีทำ� การดลที่เกิดจากแรงดลเฉลี่ย คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมของลูกเทนนิส โดย


กำ�หนดให้ทิศทางขวามีเครื่องหมายเป็น บวก ทิศทางซ้ายมีเครื่องหมายเป็น ลบ

u +

F


v
ก่อนชน หลังชน

มวลของลูกเทนนิส m = 0.2 kg
โมเมนตัมก่อนถูกแรงกระทำ�
mu = (0.2 kg)(10 m/s)
= 2 kg m/s
โมเมนตัมภายหลังถูกแรงกระทำ�
mv = (0.2 kg)v
จากสมการ = mv − mu
(−300 N)(0.01s) = (0.2 kg)v − 2 kg m/s
−3 kg m/s + 2 kg m/s = (0.2 kg)v
v = −5.0 m/s
ตอบ ขนาดของความเร็วเท่ากับ 5.0 เมตรต่อวินาที
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 271

14. ลูกเบสบอลมวล 0.145 กิโลกรัม กำ�ลังเคลื่อนที่ในแนวระดับด้วยความเร็ว 40 เมตรต่อวินาที


ไปทางซ้าย และถูกไม้ตอ
ี อกไปในทิศทางตรงข้ามด้วยความเร็ว v ถ้าแรงทีไ่ ม้ตก
ี ระทำ�ต่อลูกเบสบอล
มีค่า 7.25 × 103 นิวตัน และลูกเบสบอลกระทบไม้ตีนาน 2.0 × 10−3 วินาที จงหา
ก. การดลของแรงเฉลี่ยที่ไม้ตีกระทำ�ต่อลูกเบสบอล
ข. ขนาดความเร็ว v ที่ลูกเบสบอลถูกไม้ตีออกไป


ก. วิธีทำ� ลูกเบสบอลมวล m เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว u ในแนวระดับไปทางซ้าย แล้วถูกไม้ตีออก

ไปทำ�ให้ลูกเบสบอลเคลื่อนที่ไปทางขวาด้วยความเร็ว v ดังรูป

 
u v

 
ถ้า Fav เป็นแรงเฉลี่ยที่ไม้ตีกระทำ�ต่อลูกเบสบอลในช่วงเวลา และ I เป็นการดล

ของแรง F จะได้ ซึ่งมีขนาดดังนี้
I = F ∆t
I = (7.25 ×103 N)(2.0 ×10−3 s)
I = 14.50 N s
ตอบ การดลของแรงเฉลี่ยที่ไม้ตีกระทำ�ต่อลูกเบสบอลเท่ากับ 14.5 นิวตัน วินาที

  
ข. วิธีทำ� ให้ F เป็นแรงที่ทำ�ให้ลูกเบสบอลเปลี่ยนค่าโมเมนตัม จาก mu เป็น mv
    
หาความเร็ว v ทีล่ ก ู เบสบอลถูกไม้ตอ
ี อกไปจากสมการ I = F ∆t = mv − mu
กำ�หนดให้ ความเร็วที่มีทิศไปทางขวามีเครื่องหมาย บวก ไปทางทิศไปทางซ้าย
มีเครื่องหมาย ลบ แทนค่า จะได้
14.50 N s = (0.145 kg )v − (0.145 kg)(−40 m/s)
(0.145 kg )v = 8.7 kg m/s
v = 60 m/s
ตอบ ขนาดของความเร็วที่ลูกเบสบอลถูกไม้ตีออกไปเท่ากับ 60 เมตรต่อวินาที
272 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

15. กล่องมวล 5.0 กิโลกรัม เคลื่อนที่บนพื้นระดับผิวลื่นด้วยความเร็ว 6.0 เมตรต่อวินาที เข้าหา


กล่องมวล 4.0 กิโลกรัม ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 5.0 เมตรต่อวินาที ทิศทางเข้าหากัน ภายหลัง
การชนทันที กล่องมวล 5.0 กิโลกรัม สะท้อนกลับจากทิศทางเดิมด้วยความเร็ว 4.0 เมตรต่อวินาที
กล่องมวล 4.0 กิโลกรัม จะมีขนาดความเร็วเท่าใด
วิธท
ี �ำ เนือ่ งจากวัตถุทง้ั สองชนกันโดยไม่มแี รงภายนอกกระทำ� จึงสามารถใช้กฎการอนุรกั ษ์โมเมนตัม
คือ ผลรวมของโมเมนตัมก่อนชนเท่ากับผลรวมของโมเมนตัมหลังชน

u1 = 6.0 m/s u2 = 5.0 m/s v1 = 4.0 m/s v2

ก่อนชน หลังชน

กำ�หนดให้ ความเร็วที่มีทิศไปทางขวามีเครื่องหมาย บวก ไปทางซ้ายมีเครื่องหมาย ลบ


 
pi = p f
(5.0 kg)(6.0 m/s) + (4.0 kg)(−5.0 m/s) = (5.0 kg)(−4.0 m/s) + (4.0 kg)v2
30.0 kg m/s = (4.0 kg)v2
v2 = 7.5 m/s
ตอบ ขนาดความเร็วเท่ากับ 7.5 เมตรต่อวินาที


16. มวล M เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว u บนพื้นลื่น ชนมวล m ที่อยู่นิ่ง ดังรูป

M
m
รูปประกอบปัญหาข้อ 16

หลังชน มวลทั้งสองติดกันไป มวลทั้งสองที่ติดกันไปมีขนาดความเร็วเท่าใด และมีทิศทางใด


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 273

วิธีทำ� ในการชนกันของวัตถุ โมเมนตัมของระบบมีค่าคงตัว หรือ โมเมนตัมของระบบก่อนชน


เท่ากับโมเมนตัมของระบบหลังชน ดังสมการ
 
pi = p f
 
จะได้ ( Mu ) + 0 = ( M + m)v
 M 
v = u
( M + m)
M 
ตอบ ศูนย์กลางมวลของมวลทั้งคู่มีขนาดความเร็วเท่ากับ u ทิศทางเดียวกับ u
( M + m)

17. รถ A มวล 0.3 กิโลกรัม ติดแถบกระดาษท้ายรถ ซึ่งสอดผ่านเครื่องเคาะสัญญาณเวลา


เมื่อให้รถ A เคลื่อนที่เข้าชนรถ B ซึ่งอยู่นิ่งบนพื้นลื่น หลังชน รถทั้งสองเคลื่อนที่ติดกันไป จุดที่
ปรากฏบนแถบกระดาษเป็นดังรูป

หัวกระดาษ

6 cm 10 cm

รูปประกอบปัญหาข้อ 17

ก. ก่อนเข้าชน รถ A มีอัตราเร็วเท่าใด
ข. หลังชน รถทั้งสองเคลื่อนที่ติดกันไป มีอัตราเร็วเท่าใด
ค. รถ B มีมวลเท่าใด
ก. วิธท
ี �ำ การชนของรถเป็นไปตามกฎการอนุรก
ั ษ์โมเมนตัม โมเมนตัมของรถทัง้ สองก่อนชนเท่ากับ
v
โมเมนตัมของรถทั้งสองหลั งชน
แถบกระดาษ
A B
เวลาระหว่าง 1 ช่วงจุดของเครื่องเคาะสัญญาณเวลาคือ 1/50 วินาที
 
ให้ความเร็วรถ A ก่อนชนเป็น u และความเร็
ภาพหลังชน วรถ A และ B หลังชนเป็น v
u uB=0
แถบกระดาษ
A B

ภาพกอนชน
v
แถบกระดาษ
A B

ภาพหลังชน
u uB=0
แถบกระดาษ
A B
274 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

จากจุดบนแถบกระดาษ ได้ว่า ก่อนชน u = 0.1 m


4
s
50
= 1.25 m/s
ตอบ ก่อนเข้าชน รถมีอัตราเร็ว 1.25 เมตรต่อวินาที

ข. วิธีทำ� หลังชน รถทั้งสองเคลื่อนที่ติดกันไป


จากจุดบนแถบกระดาษ ได้ว่า หลังชน v = 0.06 m
4
s
50
= 0.75 m/s
ตอบ หลังชน รถทั้งสองเคลื่อนที่ติดกันไปด้วยอัตราเร็ว 0.75 เมตรต่อวินาที

ค. วิธีทำ� ให้มวลรถ B เป็น mB


 
จากกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม pi = p f
 0.06 m   0.1 m 
แทนค่า (0.3 kg + mB )   = (0.3 kg)  +0
 t   t 
จะได้ mB = 0.2 kg
ตอบ รถ B มีมวลเท่ากับ 0.2 กิโลกรัม

18. หญิงคนหนึ่งมวล 60 กิโลกรัม ยืนบนลานน้ำ�แข็งลื่น ถ้าหญิงคนนี้ขว้างวัตถุมวล 2 กิโลกรัม


ออกไปด้วยความเร็ว 12 เมตรต่อวินาที ทิศทางทำ�มุม 60 องศากับแนวระดับ หญิงคนนี้จะเคลื่อนที่
ในทิศทางใด ด้วยความเร็วเท่าใด
วิธีทำ� ระบบประกอบด้วยหญิงและวัตถุ ตอนเริ่มต้นก่อนขว้างวัตถุ ทั้งหญิงและวัตถุมีโมเมนตัม
เป็นศูนย์ (เพราะไม่มีความเร็ว) หลังขว้างวัตถุออกไปในทิศทางทำ�มุม 60 องศากับแนว

ระดับ ทำ�ให้ทั้งหญิงและวัตถุมีความเร็ว
u
โดยวัตถุมีความเร็ว และหญิง

มีความเร็ว v ดังรูป
v 60o
ucos60o
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 275

กำ�หนดให้ทิศไปทางขวามีเครื่องหมายบวก (+) ทิศไปทางซ้ายมีเครื่องหมายลบ (-)


จากกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม (คิดในแนวระดับ)
 
pi = p f
0 =
 
= (60 kg )v + (2 kg)(u cos 60°)
   1 
= (60 kg )v + (2 kg) (+12 m/s)   
  2 

เครื่องหมาย – แสดงว่า หญิงเคลื่อนที่ไปทางซ้ายหรือถอยหลัง
ตอบ หญิงคนนี้จะเคลื่อนที่ถอยหลังด้วยความเร็ว 0.2 เมตรต่อวินาที

19. วัตถุ A มีมวล 1.0 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 4.0 เมตรต่อวินาที ไปตามพื้นราบที่ไม่มี


ความเสียดทาน ชนกับวัตถุ B ที่วางอยู่นิ่ง ภายหลังการชน วัตถุ A กระดอนกลับด้วยความเร็วเป็น
3.0 เมตรต่อวินาที ส่วนวัตถุ B มีความเร็ว 1.0 เมตรต่อวินาที ในทิศทางเดียวกับวัตถุ A ก่อนชน
การชนกันของวัตถุทั้งสองเป็นการชนแบบยืดหยุ่นหรือไม่ เพราะเหตุใด
วิธีทำ� เนื่องจากไม่มีแรงภายนอกกระทำ�ขณะที่วัตถุทั้งสองชนกัน จึงสามารถใช้กฎการอนุรักษ์
โมเมนตัม คือ ผลรวมของโมเมนตัมก่อนชนเท่ากับผลรวมของโมเมนตัมหลังชน และถ้า
การชนกันเป็นแบบยืดหยุน
่ ผลรวมของพลังงานจลน์กอ
่ นชนเท่ากับผลรวมของพลังงานจลน์
หลังชน
vB = 1.0 m/s
uA = 4.0 m/s uB = 0 m/s vA = 3.0 m/s

ก่อนชน หลังชน

กำ�หนดให้ ความเร็วที่มีทิศไปทางขวามีเครื่องหมาย บวก ไปทางซ้ายมีเครื่องหมาย ลบ


 
pi = p f
(1.0 kg)(4.0 m/s) + 0 = (1.0 kg)(−3.0 m / s) + (m)(1.0 m/s)
4.0 kg m/s = −3.0 kg m/s + (m)(1.0 m/s)
276 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

7.0 kg m/s = (m)(1.0 m/s)


m = 7.0 kg

ผลรวมของพลังงานจลน์ก่อนชน = ผลรวมของพลังงานจลน์หลังชน
1 1 1
(1.0 kg)(4.0 m/s) 2 + 0 = (1.0 kg)(3.0 m/s) 2 + (7.0 kg)(1.0 m/s) 2
2 2 2
16.0 J = 9.0 J + 7.0 J
16.0 J = 16.0 J
แสดงว่าเป็นการชนแบบยืดหยุ่นสมบูรณ์ เพราะพลังงานจลน์ของระบบคงตัว
ตอบ การชนกันของวัตถุทั้งสองเป็นการชนแบบยืดหยุ่นสมบูรณ์ เพราะพลังงานจลน์ของระบบ
คงตัว

20.  ชายคนหนึ่งยิงลูกปืนมวล  10  กรัม  ด้วยความเร็ว  500  เมตรต่อวินาที  ไปยังแท่งไม้มวล


2.0 กิโลกรัม ซึ่งวางนิ่งอยู่บนพื้นระดับผิวลื่น ดังรูป

500 m/s 2.0 kg

10 g

รูปประกอบปัญหาข้อ 20

ถ้าลูกปืนฝังในแท่งไม้ จงหาพลังงานที่สูญเสียไปในการชนกันระหว่างลูกปืนและแท่งไม้
 
วิธีทำ� ถ้า u เป็นความเร็วของลูกปืนก่อนชน และ v เป็นความเร็วของแท่งไม้และลูกปืนหลังชน
กำ�หนดให้ ความเร็วที่มีทิศไปทางขวามีเครื่องหมาย บวก ไปทางซ้ายมีเครื่องหมาย ลบ
จากกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม
 
pi = p f
  
m1u1 + m2u2 = ( m1 + m2 ) v

(0.010 kg )(500 m/s) + 0 = (0.010 kg + 2.0 kg )v
v = 2.49 m/s
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 277

ถ้า Ek1 และ Ek2 เป็นพลังงานจลน์ก่อนและหลังชน ตามลำ�ดับ


1 1
จะได้ Ek1 =
m1u12 + m2u22
2 2
1
= (0.010 kg )(500 m/s) 2 + 0
2
= 1250 J
1
Ek2 =
(m1 + m2 )v 2
2
1
= (0.010 kg + 2.0 kg )(2.49 m/s) 2
2
= 6.23 J

ถ้า เป็นพลังงานจลน์ที่เปลี่ยนไปจากการชนกัน
= Ek2 − Ek1
= 6.23 J − 1250 J
= −1243.77 J
=
ตอบ พลังงานจลน์ที่สูญเสียไปเท่ากับ 1.244 × 103 จูล

21. อนุภาคมวล m ถูกเร่ง จนมีโมเมนตัม p เมื่อทำ�ให้อนุภาควิ่งเข้าชนเป้าแล้วหยุด เป้าจะได้รับ


พลังงานเท่าใด
วิธีทำ� โมเมนตัมที่เปลี่ยนไปทำ�ให้เกิดการสูญเสียพลังงานที่เป้า
1 2
จาก Ek =
mv
2
และ p = mv
2
จะได้ Ek = p
2
2m
ตอบ เป้าจะได้รับพลังงานเท่ากับ p
2m
278 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

22. ลูกบอลสองลูกมีมวล m เท่ากัน ลูกหนึง่ หยุดนิง่ อยูก


่ บ
ั ที่ อีกลูกวิง่ เข้าชนด้วยความเร็ว u หลังชน
ลูกบอลทั้งสองเคลื่อนที่ติดกันไปด้วยความเร็วเท่ากัน การชนนี้เป็นการชนแบบยืดหยุ่นหรือไม่
เพราะเหตุใด
วิธีทำ� การชนแบบยืดหยุ่นเป็นการชนที่โมเมนตัมของระบบและพลังงานจลน์ของระบบมีค่าคงตัว
จากสถานการณ์ เขียนแผนภาพได้ดังนี้

กอนชน หลังชน
u v

m m m m

จากกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม
 
pi = p f
  
mu + 0 = mv + mv

u
จะได้ v =
2
1
พลังงานจลน์ก่อนชน Ek1 = mu 2
2
1
พลังงานจลน์หลังชน Ek2 = ( 2m ) v 2
2
u 1 u2 1
แทนค่า v = Ek2 = ( 2m ) = mu 2
2 2 4 4
1
= Ek2 − Ek1 = − mu 2
4
1
มีค่าติดลบ แสดงว่า พลังงานของระบบมีค่าลดลง และลดลง− mu 2
4
จะเห็นว่า พลังงานจลน์ของระบบหลังชนมีค่าน้อยกว่าพลังงานจลน์ของระบบก่อนชน แสดงว่าการ
ชนนี้เป็นการชนแบบไม่ยืดหยุ่น

ตอบ การชนนี้เป็นการชนแบบไม่ยืดหยุ่น เพราะพลังงานจลน์ของระบบหลังชนมีค่าน้อยกว่า


พลังงานจลน์ของระบบก่อนชน
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 279

23. ในการทดลองเกี่ยวกับการชนของรถทดลองสองคัน A และ B บนพื้นราบไม่มีความเสียดทาน


รถ A มีมวล 0.5 กิโลกรัมวิ่งเข้าชนรถ B ซึ่งอยู่กับที่ ภายหลังการชน รถทั้งสองเคลื่อนที่ติดไป
ด้วยกัน โดยแถบกระดาษที่ติดไว้กับรถ A และผ่านเครื่องเคาะสัญญาณเวลาจะมีลักษณะดังแถบ
กระดาษนี้

(เซนติเมตร)
0 5 10 15
รูปประกอบปัญหาข้อ 23

ก. จุดลำ�ดับที่เท่าใดบนแถบกระดาษที่รถ A ชนรถ B และรถทั้งสองเคลื่อนที่ติดไป


ข. รถ B ที่ใช้ในการทดลองนี้มีมวลเท่าใด

ก. แนวคำ�ตอบ พิจารณาระยะห่างระหว่างจุดบนแถบกระดาษ พบว่า ระหว่างจุดที่ 1 ถึงจุดที่ 5


ระยะห่างระหว่างจุดสองจุดที่อยู่ติดกัน มีความยาวเท่า ๆ กัน แต่ระหว่างจุดที่ 6
ถึงจุดที่ 9 ระยะห่างระหว่างจุดสองจุดที่อยู่ติดกันเริ่มลดลงเรื่อย ๆ แสดงว่า รถ A
เคลื่อนที่มาด้วยความเร็วคงตัว ในช่วงระหว่างจุดที่ 1 – 5 จนกระทั่งชนกับรถ B
ที่จุดที่ 6 ทำ�ให้รถ A ติดกับรถ B เคลื่อนที่ต่อไปด้วยความเร็วช้าลงเรื่อย ๆ

ข. วิธท
ี �ำ เนือ
่ งจากการทดลองนีเ้ ป็นการทดลองบนพืน
้ ราบไม่มค
ี วามเสียดทาน จึงไม่มแี รงภายนอก
กระทำ�ต่อระบบ จึงพิจารณาใช้กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม ได้ ซึ่งจะได้ว่า
 
pi = p f
 
mA u = ( mA + mB ) v
∆x1 ∆x
mA = ( mA + mB ) 2 (a)
∆t1 ∆t2
∆x1 = ระยะทางใน 4 ช่วงจุดของช่วงต้นแถบกระดาษ = 8 cm = 0.08 m
∆x2 = ระยะทางใน 4 ช่วงจุดของช่วงปลายแถบกระดาษ = 5 cm = 0.05 m
4
t = s = 0.08 s
40
280 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

แทนค่าใน (a) จะได้ว่า


(0.08 m) (0.05 m)
(0.5 kg ) = ( 0.5 kg + mB )
0.08 s 0.08 s
0.8 kg = 0.5 kg + mB

mB = 0.3 kg

ตอบ มวลของรถ B เท่ากับ 0.3 kg

24. วัตถุมวล m ตกลงมาในแนวดิง่ ขณะทีอ่ ยูห


่ า่ งจากพืน
้ 1000 เมตรนัน
้ มีความเร็ว 20 เมตรต่อวินาที
และได้แตกออกเป็นสองก้อน แต่ละก้อนมีมวลเท่ากันและยังคงเคลือ่ นทีอ่ ยูใ่ นแนวดิง่ ทัง้ คู่ มวลก้อนหนึง่
เคลื่อนที่ลงมาด้วยความเร็ว 60 เมตรต่อวินาที จงหาว่าที่เวลา 2 วินาที หลังการแตกออก มวลทั้งสอง
อยู่ห่างกันเป็นระยะทางเท่าใด
วิธีทำ� กำ�หนดให้ เวกเตอร์ที่มีทิศไปทางขวามีเครื่องหมาย บวก ไปทางซ้ายมีเครื่องหมาย ลบ

หา v2 จาก pi = p f
 

mv =
m m
v1 + v2
2 2
60 m/s v2
20 m/s = +
2 2
v2 = 20 m/s

หาระยะที่วัตถุเคลื่อนที่ได้จาก

∆y = u y t +
1 2
a yt
2
1
คิดก้อนแรกลง ∆y1 = (60 m/s)(2 s) + (9.8 m/s 2 )(2 s) 2
2
= 120 m + 19.6 m

= 139.6 m
1
คิดก้อนที่สองขึ้น ∆y2 = (20 m/s)(2 s) − (9.8 m/s 2 )(2 s) 2
2
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 281

= 40 m − 19.6 m
= 20.4 m

∴ มวลทั้งสองจะอยู่ห่างกัน = ∆y1 + ∆y2


= 139.6 m + 20.4 m
= 160m
ตอบ มวลทั้งสองจะอยู่ห่างกันเท่ากับ 160 เมตร

25. มวล m วิ่งเข้าชนมวล M ที่ติดสปริงเบา มีค่าคงตัวสปริง k ด้วยความเร็ว u ดังรูป พลังงานจลน์


ของระบบเป็นเท่าใด เมื่อ m กับ M ใกล้กันที่สุด

u
m M

รูปประกอบปัญหาข้อ 25

 
วิธีทำ� จากกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม pi = p f
mu + 0 = (m + M )v

mu
v =
(m + M )
1
พลังงานจลน์ของระบบ Ek = ( M + m)v 2
2
2
1  mu 
= ( M + m)
2  M + m 
1 mu  2
=  mu
2  M + m 
1 m 
ตอบ เมื่อ m กับ M ใกล้กันมากที่สุด พลังงานจลน์ของระบบเท่ากับ   mu 2
2 M + m
282 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

26.  มวล 8 กิโลกรัม เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกด้วยความเร็ว 20 เมตรต่อวินาที ไปชนกับมวล


2 กิโลกรัม ที่เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 10 เมตรต่อวินาที แล้วมวลแรกยังคงเคลื่อนที่
ไปทางทิศตะวันออกด้วยความเร็ว 10 เมตรต่อวินาที พลังงานจลน์รวมเปลี่ยนไปเท่าใด
วิธีทำ� วาดรูปประกอบการแก้ปัญหา ดังนี้

m1 = 8 kg m2 = 2 kg m1 = 8 kg m2 = 2 kg

u1 = 20 m/s u2 = 10 m/s v1 = 10 m/s v2

กำ�หนดให้ เวกเตอร์ที่มีทิศไปทางขวามีเครื่องหมาย บวก ไปทางซ้ายมีเครื่องหมาย ลบ


 
pi = p f
จาก
  
m1u1 + m2u2 = ( m1 + m2 )v

(8 kg )(20 m/s) + (2 kg )(−10 m/s) = (8 kg)(10 m/s) + 2v2

160 kg m/s − 20 kg m/s) = 80 kg m/s + 2v2


60 kg m/s
v =
2
1 1
ก่อนชน Eki = m1u12 + m2u22
2 2
1 1
= (8 kg)(20 m/s) 2 + (2kg)(10 m/s) 2
2 2
= 1600 kg m 2 /s 2 + 100 kg m 2 /s 2

= 1700 J
1 1
หลังชน Ek f = m1v12 + m2v22
2 2
1 1
= (8 kg)(10 m/s) 2 + (2kg)(30 m/s) 2
2 2
= 400 kg m 2 /s 2 + 900 kg m 2 /s 2
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 283

= 1300 J

ดังนั้น พลังงานจลน์เปลี่ยนไป = 1700 J − 1300 J

= 400 J

ตอบ พลังงานจลน์รวมเปลี่ยนไปเท่ากับ 400 จูล

27.  ลูกปืนมวล 4 กรัม มีความเร็ว 1000 เมตรต่อวินาที ยิงทะลุแผ่นไม้มวล 600 กรัม ที่ห้อยแขวนไว้
ด้วยเชือกยาว หลังจากทะลุแผ่นไม้ ลูกปืนมีความเร็ว 400 เมตรต่อวินาที จงหาว่าแท่งไม้จะแกว่ง
ขึ้นไปสูงจากจุดหยุดนิ่งเท่าใด
วิธีทำ� กำ�หนดให้ เวกเตอร์ที่มีทิศไปทางขวามีเครื่องหมาย บวก ไปทางซ้ายมีเครื่องหมาย ลบ
 
จาก pi = p f

m1v1 = m1v2 + m2v3


(0.004 kg )(1000 m/s) = (0.004 kg)(400 m/s) + (0.6 kg )v3

4 kg m/s − 1.6 kg m/s = (0.6 kg )v3

2.4 kg m/s = (0.6 kg )v3

v3 = 4 m/s

จากกฎการอนุรักษ์พลังงาน E = Ek + Ep = ค่าคงตัว

1
m2v 2 = m2 gh
2
1
v 2 = gh
2

1
(4 m/s) 2 = (9.8 m/s) 2 h
2
284 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

h = 8 m
9.8

= 0.82 m

ตอบ แท่งไม้จะแกว่งขึ้นไปสูงจากจุดหยุดนิ่ง 0.82 เมตร

ปัญหาท้าทาย

28. ในการแข่งขันตีลูกยางกลมที่มีมวล 20 กรัม ผู้เล่นคนหนึ่งตีลูกยางออกไปในแนวระดับด้วย


ความเร็ว 50 เมตรต่อวินาที เมื่อลูกยางไปกระทบไม้ตีของผู้เล่นคนที่สอง ลูกยางจะถูกตีกลับไป
ด้วยความเร็ว 50 เมตรต่อวินาที ในทิศทางทำ�มุม 60 องศากับแนวระดับ ดังรูป

50 m/s

60

50 m/s

รูปประกอบปัญหาข้อ 28

จงหาขนาดและทิศทางของการดลของแรงที่กระทำ�ต่อลูกยาง
 
วิธีทำ� ถ้า mu และ mv เป็นโมเมนตัมของลูกยางก่อนกระทบไม้ตีและหลังถูกไม้ตีออกไป
ตามลำ�ดับ เป็นโมเมนตัมของลูกยางที่เปลี่ยนไป
 
จะได้ = mv − mu
  
หรือ mv = mu + ∆p
 
mu mv และ มีความสัมพันธ์กัน ดังรูป
β

∆p 
mv

α 120 60

mu
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 285

จากกฎโคไซน์ จะได้ = (mu ) 2 + (mv) 2 − 2(mu )(mv)cos 120

= (mu ) 2 + (mv) 2 − 2(mu )(mv)(−cos 60 )

= (0.020 kg × 50 m/s) 2 + (0.020 kg × 50 m/s) 2


1
−2(0.020 kg × 50 m/s)(0.020 kg × 50 m/s)(− )
2
= 3(0.020 × 50) 2 kg 2 m 2 /s 2

= 1.732 kg m/s

ถ้า I เป็นขนาดของการดลของแรง F ที่ไม้ตีกระทำ�ต่อลูกยาง

I = F ∆t

= 1.732 N s

 
เนื่องจาก mu และ mv มีขนาดเท่ากัน ดังนั้น α = β
นั่นคือ I มีทิศเดียวกับ ซึ่งทำ�มุม 30 กับแนวระดับ

ตอบ การดลของแรงที่กระทำ�ต่อลูกปิงปองเท่ากับ 1.732 นิวตัน วินาที และมีทิศทำ�มุม 30 องศา


กับแนวระดับ

29. วัตถุหนึง่ ทีว่ างนิง่ แตกออกเป็น 3 ส่วน ส่วนทีห


่ นึง่ มีมวล 1.5 กิโลกรัม อัตราเร็ว 10 เมตรต่อวินาที
ส่วนที่สองมีมวล 1.0 กิโลกรัม อัตราเร็ว 20 เมตรต่อวินาที โดยทิศทางความเร็วของส่วนที่หนึ่งและ
สองทำ�มุมฉากกัน ถ้าส่วนที่สามมีมวล 2.0 กิโลกรัม จะมีอัตราเร็วเท่าใด
วิธีทำ� วัตถุที่อยู่นิ่งมีโมเมนตัมเป็นศูนย์ เมื่อแตกออกเป็นสามส่วน โมเมนตัมรวมของทั้งสามส่วน
ยังคงเป็นศูนย์ตามกฎการอนุรก
ั ษ์โมเมนตัม ในกรณีน้ี ทราบโมเมนตัมของสองส่วนแรกดังนัน

โมเมนตั ม ของส่ ว นที่ ส ามจึ ง มี ข นาดเท่ า กั บ โมเมนตั ม รวมของสองส่ ว นแรกแต่ มี ทิ ศ ทาง
ตรงข้าม
286 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

เขียนแผนภาพโมเมนตัมของทั้งสามส่วน ได้ดังนี้
p1,2
p1

p2

p3

โมเมนตัมส่วนที่หนึ่ง p1 = (1.5 kg)(10 m/s) = 15 kg m/s


โมเมนตัมส่วนที่สอง p2 = (1.0 kg)(20 m/s) = 20 kg m/s
ให้ v3 เป็นอัตราเร็วส่วนที่สาม จะได้

โมเมนตัมส่วนที่สาม p3 = (2.0 kg )v3

จากรูป p1,2 = p12 + p2 2

แทนค่า p1,2 = (15 kg m/s) 2 + (20 kg m/s) 2

p1,2 = 25 kg m/s

จากรูป p3 = p1,2

แทนค่า (2.0 kg )v3 v3 = 25 kg m/s

v3 = 12.5 m/s

ตอบ ส่วนที่สามมีมวล 2.0 กิโลกรัม จะมีอัตราเร็ว 12.5 เมตรต่อวินาที


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 287

 
30. ลูกเทนนิสมีโมเมนตัม p1 กระทบพื้นและสะท้อนออกด้วยโมเมนตัม p2 โดยโมเมนตัมทั้งสอง
มีทิศทางตั้งฉากกัน ดังรูป

p2


p1

รูปประกอบปัญหาข้อ 30

ถ้าเวลาทีล่ กู เทนนิสกระทบพืน
้ นาน t แรงเฉลีย่ ทีพ
่ น
้ื กระทำ�ต่อลูกเทนนิสมีขนาดเท่าใด ในเทอม
 
p1 , p2 และ t
วิธท
ี �ำ แรงเฉลีย่ ทีพ
่ น
้ื กระทำ�ต่อลูกเทนนิสเพือ
่ ทำ�ให้ลก
ู บอลเปลีย่ นแปลงโมเมนตัมจาก p1 เป็น p2
หาได้จากอัตราการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมของลูกเทนนิส ตามสมการ

Fav = (b)

เนื่องจากโมเมนตัมก่อนและหลังถูกแรงกระทำ�ไม่ได้อยู่ในแนวเดิม จึงต้องบวกเวกเตอร์ตาม
หลักการรวมเวกเตอร์ โดยการเขียนรูป

-p1

∆p

p2

จากสมการ p2 − p1 = p2 + (− p1 )
p2 − p1 = (c)

โดยใช้ทฤษฎีพีทาโกรัส จะได้ขนาดของ ดังนี้

เขียนรูปได้ดังนี้ = p12 + p22


288 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

= p12 + p22

จากสมการ (b) และ (c) Fav = p12 + p22


t
ตอบ แรงเฉลี่ยที่พื้นกระทำ�ต่อลูกเทนนิสเท่ากับ p12 + p22
t
31. ลูกปืนมวล m เข้าชนเป้านิ่งมวล M ที่แขวนด้วยเชือกยาว l เมตรและอยู่ในแนวดิ่ง ลูกปืนฝังเข้า
ไปในเป้าแล้วมวล M แกว่งขึ้นทำ�มุม θ กับแนวดิ่ง อัตราเร็วของลูกปืนก่อนชนเป้าเป็นเท่าใด
วิธีทำ� การชนระหว่างลูกปืนและเป้าเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม หลังจากนั้นลูกปืนและ
เป้าเคลื่อนที่ไปด้วยกัน ทำ�ให้เป้าและลูกปืนเคลื่อนที่สูงขึ้นจากเดิม โดยพลังงานของเป้า
และลูกปืนที่ตำ�แหน่งเดิมและตำ�แหน่งใหม่มีค่าเท่ากัน ให้ u เป็นอัตราเร็วของลูกปืนกับเป้า
หลังชน
เขียนแผนภาพสถานการณ์ได้ดังนี้

θ l

u
l - lcosθ
m M

ให้ v เป็นอัตราเร็วของลูกปืนกับเป้า หลังชน


จากกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม
 
pi = p f
mu = (m + M )v (d)
ลูกปืนและเป้าแกว่งขึ้นไปจากแนวดิ่งเป็นระยะ l − l cos θ
จากกฎการอนุรักษ์พลังงานกล

E1 = E2
1
( m + M )v 2 =
2
v =
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 289

แทนค่า v ในสมการ (d)

ตอบ อัตราเร็วของลูกปืนก่อนชนเป้าเท่ากับ

32. วัตถุ A และ B มีมวลเท่ากัน 0.1 กิโลกรัม วัตถุ A เคลื่อนที่เข้าชนวัตถุ B ที่อยู่นิ่ง ด้วยความเร็ว
20 เมตรต่อวินาที ดังรูป

20 m/s

A B

รูปประกอบปัญหาข้อ 32

ถ้าการชนเป็นแบบยืดหยุ่น หลังจากการชนแล้ว วัตถุ B เคลื่อนที่ไปบนพื้นที่มีแรงเสียดทาน


0.2 นิวตัน เมื่อเวลาผ่านไป 5 วินาที วัตถุ B มีโมเมนตัมขนาดเท่าใด และมีทิศทางใด
วิธท
ี �ำ A และ B มีมวลเท่ากัน ชนกันแบบยืดหยุน
่ ก่อนชน A มีความเร็ว 20 m/s ไปทางขวาเข้าชน
B ที่อยู่นิ่ง หลังชน A จะหยุดนิ่ง B จะเคลื่อนที่ไปทางขวาด้วยความเร็วต้น 20 m/s ความเร็ว
ของ B มีขนาดลดลงเนือ
่ งจากพืน
้ มีแรงเสียดทาน เมือ
่ เวลาผ่านไป 5 วินาที วัตถุ B มีความเร็ว
v เมื่อเขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของ B จะได้ดังนี้

20 m/s
A B
กอนชน
20 m/s
A B
หลังชน
v
A B
เวลาผานไป 5 วินาที
0.2 N

หาความเร่ง a ของวัตถุ B
F = ma
แทนค่า 0.2 N = (0.1 kg )a
จะได้ a = 2.0 m/s 2 ไปทางซ้าย
290 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

หาความเร็ว v ของวัตถุ B หลังการชน 5 s


v = u + at (ให้ทิศทางไปทางขวาเป็นบวก)

v = (20 m/s) + (−2.0 m/s 2 )(5 s) 

= 10 m/s
p = mv
p = (0.1 kg )(10 m/s)
= 1.0 kg m/s
ตอบ หลังการชน 5 วินาที โมเมนตัมของวัตถุ B มีค่า 1.0 กิโลกรัม เมตรต่อวินาที ไปทางขวา

33. ลูกปืนมวล 5 กรัม ความเร็ว 1000 เมตรต่อวินาที เข้าไปฝังในแท่งไม้มวล 5 กิโลกรัม ที่วางนิ่ง


อยู่บนโต๊ะ ถ้าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์ระหว่างผิวแท่งไม้กับพื้นเท่ากับ 0.2 หลังจากชนแล้ว
แท่งไม้และลูกปืนจะไถลไปตามพื้นได้ไกลเท่าใด
วิธีทำ� กำ�หนดให้ ความเร็วที่มีทิศไปทางขวามีเครื่องหมาย บวก ไปทางซ้ายมีเครื่องหมาย ลบ

v
u1 = 1000 m/s u2 = 0 m/s

 
pi = p f
(0.005 kg)(1000 m/s) + 0 = (5 kg + 0.005 kg)v
5 kg m/s = (5.005 kg)v
v = 1.0 m/s
แท่งไม้ที่มีลูกปืนฝังอยู่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 1.0 m/s
พิจารณาการเคลื่อนที่ของแท่งไม้กับลูกปืนที่ติดกันบนพื้นระดับ ด้วยความเร็ว v1 เท่ากับ v
แล้วเปลี่ยนเป็น v2 เท่ากับ 0 ได้การกระจัดเป็น s ดังรูป
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 291

v1 = 1.0 m/s
v2 = 0 m/s


fk


∆x

งานเนื่องจากแรงลัพธ์หาได้จากพลังงานจลน์ของวัตถุที่เปลี่ยนไป

W =

1 2 1 2
= mv2 − mv1
2 2
1
= 0 − mv12
2
1 2
= mv1
2

= (1.0 m / s) 2
2(0.2)(9.8 m / s 2 )
= 0.25 m

ตอบ หลังจากชนแล้วแท่งไม้และลูกปืนจะไถลไปตามพื้นได้ไกลเท่ากับ 0.25 เมตร

34. วัตถุมวล 3m เคลื่อนที่ในอากาศด้วยความเร็ว v ต่อมาแยกออกเป็น 2 ส่วนโดยส่วนแรกมีมวล m


และความเร็ว 3 3mv ทิศทางตั้งฉากกับทิศทางก่อนการแยก ส่วนที่สองมีทิศทางทำ�มุมกับส่วน
แรกเท่าใด
วิธีทำ� เนื่องจากไม่มีแรงภายนอกกระทำ�จึงสามารถใช้กฎการอนุรักษ์โมเมนตัมได้
โมเมนตัมของมวลก่อนการแยกออกจากกัน มีค่าเท่ากับ 3mv
292 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

หลังการระเบิดมวลส่วนแรก มีค่าเท่ากับ m
โมเมนตัมของมวลส่วนแรก มีค่าเท่ากับ 3 3mv
หลังการระเบิดมวลส่วนที่สอง มีค่าเท่ากับ 2m
โมเมนตัมของมวลส่วนที่สอง มีค่าเท่ากับ 2mv2
สมมติให้ทิศทางการแยกออกจากกันเป็นดังรูป และกำ�หนดให้ ความเร็วที่มีทิศไปทางขวา
หรือทิศขึ้นมีเครื่องหมาย บวก ทิศไปทางซ้ายหรือทิศลงมีเครื่องหมาย ลบ


3 3mv


3mv สวนแรก

2mv2 cos θ
สวนที่สอง θ

2mv2sin θ 
2mv2

 
pi = p f
แกน x ; 3mv =

3v = (e)

แกน y ; 0 =

3 3v =

3 3v = (f)

สมการ (f ) 3 =
(e)
q = 60o

ดังนั้นส่วนที่สองทำ�มุม 60 องศากับแนวการเคลื่อนที่ก่อนการแยกออกจากกัน หรือทำ�มุม

กับส่วนแรกเท่ากับ 150 องศา


ตอบ ส่วนที่สองทำ�มุม 60 องศากับแนวการเคลื่อนที่ก่อนการแยกออกจากกัน หรือทำ�มุมกับส่วน
แรกเท่ากับ 150 องศา
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 293

35. ลูกปืนมวล 5 กรัม เคลื่อนที่ในแนวระดับด้วยความเร็ว 600 เมตรต่อวินาที ไปชนกับแท่งไม้


มวล 995 กรัม ซึ่งแขวนด้วยเชือกยาว 1.0 เมตร ถ้าลูกปืนฝังในแท่งไม้ หลังชนแท่งไม้จะแกว่งขึ้น
ไปได้สูงสุดเท่าใด
วิธีทำ� ลูกปืนมวล m เคลื่อนที่ในแนวระดับด้วยความเร็ว u ไปชนกับแท่งไม้มวล M แล้วฝังใน
แท่งไม้ ทำ�ให้แท่งไม้เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว v ดังรูป

1.0 m
(2)

 (1)
u h

m 
M+m v

สามารถหาขนาดของ v ได้จากกฎการอนุรก
ั ษ์โมเมนตัม กำ�หนดให้ ความเร็วทีม
่ ท
ี ศ
ิ ไปทางขวา
หรือทิศขึ้นมีเครื่องหมาย บวก ทิศไปทางซ้ายหรือทิศลงมีเครื่องหมาย ลบ
 
pi = p f
 
mu = (m + M )v
(5 g )(600 m/s) = (5 g + 995 g )v
v = 3 m/s
กำ�หนดให้ หลังชนแท่งไม้ที่มีลูกปืนฝัง จะแกว่งขึ้นไปได้สูงสุด h
จากกฎการอนุรักษ์พลังงานกล
จะได้ E1 = E2
1
(m + M )v 2 = (m + M ) gh
2
2
h = v
2g

แทนค่า h = (3 m/s) 2
2(9.8 m/s 2 )
= 0.459 m
294 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

= 45.9 cm
ตอบ หลังชนแท่งไม้จะแกว่งขึ้นไปได้สูงเท่ากับ 45.9 เซนติเมตร

36. วัตถุมวล m1 มีความเร็ว u1 เข้าชนวัตถุมวล m2 ความเร็ว u2 หลังชนวัตถุมวล m1 มีความเร็ว v1


และวัตถุมวล m2 มีความเร็ว v2 ถ้าการชนเป็นการชนแบบยืดหยุ่นในหนึ่งมิติ จงแสดงว่า
u1 + v1 = u2 + v2
วิธีทำ� ถ้าการชนเป็นการชนแบบยืดหยุ่น แสดงว่าทั้งโมเมนตัมและพลังงานจลน์ของระบบมีการ
อนุรักษ์ ดังนั้น จะได้ว่า
โมเมนตัมของระบบก่อนชนเท่ากับโมเมนตัมของระบบหลังชน นั่นคือ
m1u1 + m2u2 = m1v1 + m2 v2
จัดรูปใหม่ได้เป็น
m1u1 − m1v1 = m2 v2 − m2u2
m1 (u1 − v1 ) = m2 (v2 − u2 ) (g)
พลังงานจลน์ของระบบก่อนชนเท่ากับพลังงานจลน์ของระบบหลังชน นั่นคือ
1 1 1 1
m1u12 + m2u22 = m1v12 + m2 v22
2 2 2 2
จัดรูปใหม่ได้เป็น
1 1 1 1
m1u12 − m1v12 = m2 v22 − m2u22
2 2 2 2
1 1
m1 (u1 − v1 ) = m2 (v2 − u22 )
2 2 2

2 2
m1 (u1 − v1 )(u1 + v1 ) = m2 (v2 − u2 )(v2 + u2 ) (h)

แทนค่า (g) ใน (h) จะได้

m2 (v2 − u2 )(u1 + v1 ) = m2 (v2 − u2 )(v2 + u2 )

(u1 + v1 ) = (u2 + v2 )
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 295

37. วัตถุมวล 1.0 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 10 เมตรต่อวินาที บนพื้นระดับผิวลื่น แล้วไปชน


แบบยืดหยุ่นกับวัตถุมวล 3.0 กิโลกรัม ที่วางนิ่งบนพื้น ดังรูป

10 m/s

1.0 kg 3.0 kg
รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 37

หลังชนวัตถุมวล 3.0 กิโลกรัม เคลื่อนที่ไปชนสปริงที่มีค่าคงตัว 1200 นิวตันต่อเมตร สปริง


จะหดตัวได้มากที่สุดเท่าใด
  
วิธีทำ� ให้ v1 และ v2 เป็นความเร็วของมวล 1.0 กิโลกรัม และ 3.0 กิโลกรัม ตามลำ�ดับ หา v2 ได้
จากการใช้กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม
 
pi = p f
   
m1u1 + m2u2 = m1v1 + m2 v2
กำ�หนดให้ ความเร็วที่มีทิศไปทางขวาหรือทิศขึ้นมีเครื่องหมาย บวก ทิศไปทางซ้ายหรือทิศลง
มีเครื่องหมาย ลบ จะได้ว่า
(1.0 kg )(10 m/s) + 0 = (1.0 kg )v1 + (3.0 kg )v2
v1 + 3v2 = 10 m/s (i)

จากกฎการอนุรักษ์พลังงาน
1 1 1 1
m1u12 + m2u22 = m1v12 + m2 v22
2 2 2 2
1 1 1
(1.0 kg )(10 m/s) 2 + 0 = (1.0 kg )v12 + (3.0 kg )v22
2 2 2
v12 + 3v22 = 100 m /s
2 2
(j)
จากสมการ (i) และ (j) จะได้
v2 = 5 m/s
การหา v2 สามารถหาได้อีกวิธีหนึ่งโดยใช้ความสัมพันธ์ ตามสมการ
u1 + v1 = u2 + v2
10 m/s + v1 = 0 + v2
v2 − v1 = 10 m/s (k)
296 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

สมการ (1) + (3)


v2 = 5 m/s
ดังนั้น วัตถุมวล 3.0 kg เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 5 m/s ทิศไปทางขวาไปชนสปริงทำ�ให้สปริง
หดตัวมากที่สุดเป็นระยะ x
จากกฎการอนุรักษ์พลังงานกลจะได้
1 2 1
kx = m2 v22
2 2
(1200 N/m) x 2 = (3.0 kg )(5 m/s) 2
5
x = m
20
x = 0.25 m

ตอบ สปริงจะหดตัวมากที่สุดเท่ากับ 0.25 เมตร

38. สปริงเส้นหนึ่งมีค่าคงตัวสปริง 2500 นิวตันต่อเมตร วางอยู่บนพื้นระดับผิวลื่น โดยปลายข้างหนึ่ง


ตรึงไว้กับผนัง เมื่อนำ�วัตถุมวล 1.0 กิโลกรัม อัดสปริงเข้าไปจากตำ�แหน่งสมดุลเป็นระยะ
10 เซนติเมตร ดังรูป

ตำแหนงสมดุล
1.0 kg 4.0 kg

10 cm 30 cm
รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 38

เมื่อปล่อยมวล 1.0 กิโลกรัม จะเคลื่อนที่ไปชนวัตถุมวล 4.0 กิโลกรัมที่อยู่ห่างออกไป


40 เซนติเมตร ถ้าการชนเป็นแบบยืดหยุ่น จงหาความเร็วของมวล 4.0 กิโลกรัมหลังชน
วิธีทำ� ถ้า E1 เป็นพลังงานกลเมื่อสปริงถูกกดเป็นระยะ 10 เซนติเมตร
E2 เป็นพลังงานกลของวัตถุมวล 1.0 กิโลกรัมเมื่อผ่านตำ�แหน่งสมดุล
u1 เป็นขนาดของความเร็วของวัตถุมวล 1.0 กิโลกรัมที่ผ่านตำ�แหน่งสมดุล
จากกฎการอนุรักษ์พลังงานกล จะได้
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 297

E2 = E1
1 1
m1u12 = kx 2
2 2
1 1
(1.0 kg )u1 = (2500 N/m)(0.10 m) 2
2

2 2
u1 = (50)(0.10) m/s

= 5 m/s
 
ให้ v1 และ v2 เป็นความเร็วของมวล 1.0 kg และ 4.0 kg หลังชนกัน
กำ�หนดให้ ความเร็วที่มีทิศไปทางขวาหรือทิศขึ้นมีเครื่องหมาย บวก ทิศไปทางซ้ายหรือทิศ
ลงมีเครื่องหมาย ลบ จากกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม จะได้ว่า
 
pi = p f
   
m1u1 + m2u2 = m1v1 + m2 v2
(1.0 kg )(5 m/s) + 0 = (1.0 kg )v1 + (4.0 kg )v2
v1 + 4v2 = 5 m/s (l)

จากกฎการอนุรักษ์พลังงาน
1 1 1 1
m1u12 + m2u22 = m1v12 + m2 v22
2 2 2 2
1 1 1
(1.0 kg )(5 m/s) 2 + 0 = (1.0 kg )v12 + (4.0 kg )v22
2 2 2
v12 + 4v22 = 25 m 2 /s 2 (m)
จากสมการ (l) และ (m) จะได้
v2 = 2 m/s
การหา v2 สามารถหาได้อีกวิธีหนึ่งโดยใช้ความสัมพันธ์ ตามสมการ
u1 + v1 = u2 + v2
5 m/s + v1 = 0 + v2
v2 − v1 = 5 m/s (n)
สมการ (l) + (n) 5v2 = 10 m/s
v2 = 2 m/s
ตอบ หลังชน มวล 4.0 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 2 เมตรต่อวินาที ทิศขวา
298 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

39. ลูกกลม A มวล m เคลื่อนที่บนพื้นระดับผิวลื่นด้วยความเร็ว u1 ไปตามแนวแกน x ไปชนกับ


ลูกกลม B มวล m เท่ากัน ซึ่งหยุดนิ่ง หลังชนลูกกลม A เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว v1 ในทิศทางทำ�
มุม θ1 กับแกน x ส่วนลูกกลม B เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว v2 ในทิศทางทำ�มุม θ 2 กับแกน x ดังรูป

v1

A

u1
θ1
A x
B B θ
2

B

v2

กอนชน หลังชน
รูปประกอบปัญหาท้าทายข้อ 39

ถ้าการชนเป็นแบบยืดหยุ่น จงหาค่าของมุม θ1 + θ 2
วิธีทำ� จากกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม
 
pi = p f
   
m1u1 + m2u2 = m1v1 + m2 v2
  
v1 + v2 = u1 (o)
  
จากสมการ (o) สามารถเขียนรูปแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง v1 v2 และ u1 ได้ดังรูป 1
หรือ 2
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 299


v1


θ1 v1
 
θ2 u1 v2
θ1 θ2
 
v2 u1
รูป 1 รูป 2
จากรูป 2 ถ้าการชนเป็นแบบยืดหยุน
่ พลังงานจลน์ของระบบก่อนชน มีคา่ เท่ากับพลังงานจลน์
ของระบบหลังชน ดังนั้น
1 1 1

mu12 = mv12 + mv22
2 2 2
2
u1 = v12 + v22 (p)

จากสมการ (o) และ (p) และทฤษฏีพีทาโกรัส จะได้ว่าหลังชนลูกกลม A และ B เคลื่อนที่

ตั้งฉากกัน ดังนั้น
θ1 + θ 2 = 90
ตอบ มุม θ1 + θ 2 มีค่าเท่ากับ 90 องศา

40. ลูกเหล็กทรงกลมมวล 1 กิโลกรัม ผูกติดกับปลายเชือกเส้นหนึ่งซึ่งยาว 80 เซนติเมตร ส่วน


อีกปลายหนึ่งของเชือกถูกตรึงไว้ที่จุด A ดังรูป
1 kg 80 cm
A

4 kg

รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 40

เมื่อปล่อยลูกเหล็กทรงกลมให้ตกลงมา ขณะที่เชือกอยู่ในแนวระดับ ลูกเหล็กทรงกลมจะ


กระทบกับแท่งเหล็กสี่เหลี่ยมมวล 4 กิโลกรัม ซึ่งวางอยู่นิ่งบนพื้นที่ไม่มีแรงเสียดทาน ถ้าการชน
เป็นแบบยืดหยุ่น ความเร็วหลังการชนของลูกเหล็กทรงกลมและแท่งเหล็กสี่เหลี่ยมจะเป็นเท่าใด
300 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2

วิธีทำ� จากกฎการอนุรักษ์พลังงาน

E p = Ek
1
mgh = mv 2
2
นำ� m หารตลอดสมการ จะได้ว่า
1 2
gh =
v
2
1
แทนค่า (9.8 m/s 2 )(0.8 m) = v 2
2
v 2 = 15.68 m 2 /s 2

vv ==33.96
.96 m/s
m/s
กำ�หนดให้ m1 = มวลของลูกเหล็ก
m2 = มวลของแท่งเหล็ก
v1 = ความเร็วของลูกเหล็กหลังชน
v2 = ความเร็วของแท่งเหล็กหลังชน
 
pi = p f

m1u = m1 + m2v2

(1 kg)(3.96 m/s) = (1 kg)(v1) + (4 kg)(v2)

v1 = 3.96 − 4v2 (q)

เนื่องจากเป็นการชนแบบยืดหยุ่น

Ek = Ek
i f

1 1 1
m1u 2 = m1v12 + m2 v2 2
2 2 2
1 1 1
(1 kg )(3.96 m/s) 2
= (1 kg )v1 +
2
( 4 kg )v2 2
2 2 2
(3.96 m/s) 2
= v1 + ( 4 kg )v2 2
2
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน 301

15.68 m 2 /s 2 = v12 + ( 4 kg )v2 2 (r)


แทนค่า (q) ใน (r) จะได้
15.68 = (3.96 − 4v2 ) 2 + 4v2 2
15.68 = 15.68 − ( 2)( 4v2 )(3.96) + 16v2 2 + 4v2 2
0 = − 31.68v2 + 20v2 2
v2 ( 20v 2 −31.68) = 0
20v 2 = 31.68
v 2 = 1.584 m/s
แทนค่า v 2 ใน (1) จะได้ว่า
v1 = 3.96 − 4(1.584 m/s)
v1 = − 2.38 m/s
ตอบ ความเร็วหลังการชนของลูกเหล็กทรงกลมและแท่งเหล็กสีเ่ หลีย่ มจะเป็น 1.58 เมตรต่อวินาที
และ 2.38 เมตรต่อวินาที ตามลำ�ดับ
302 บทที่ 6 | โมเมนตัมและการชน ฟิสิกส์ เล่ม 2
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 303

7
บทที่ การเคลือ
่ นทีแ
่ นวโค้ง

goo.gl/27g4K5

ผลการเรียนรู้:

1. อธิบาย วิเคราะห์ และคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ และ


ทดลองการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
2. ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงสูศ
่ น
ู ย์กลาง รัศมีของการเคลือ
่ นที่ อัตราเร็วเชิงเส้น
อัตราเร็วเชิงมุม และมวลของวัตถุในการเคลือ
่ นทีแ่ บบวงกลมในระนาบระดับ รวมทัง้ คำ�นวณปริมาณ
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และประยุกต์ใช้ความรู้การเคลื่อนที่แบบวงกลมในการอธิบายการโคจรของ
ดาวเทียม

การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ กับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะ


แห่งศตวรรษที่ 21

ผลการเรียนรู้
1. อธิบาย วิเคราะห์ และคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ และ
ทดลองการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ทดลองการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการกระจัดในแนวระดับกับ
การกระจัดในแนวดิ่ง
2. อธิบายหลักการของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
3. นำ�หลักการของการเคลือ่ นทีแ่ บบโพรเจกไทล์ไปคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการเคลือ่ นที่
แบบโพรเจกไทล์
304 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

ทักษะกระบวนการทาง ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


วิทยาศาสตร์

1. การสั ง เกต การวั ด และ 1. การแก้ปญ


ั หา (สถานการณ์ 1. ด้ า นความรอบคอบและ
การลงความเห็ น จากข้ อ มู ล ที่ เ กี่ ย วกั บ การเคลื่ อ นที่ แ บบ ความรับผิดชอบ และความร่วม
(จากการทำ�กิจกรรม) โพรเจกไทล์) มือช่วยเหลือ (การทำ�กิจกรรม)
2. การใช้จำ�นวน (การคำ�นวณ 2. ความร่วมมือ การทำ�งาน
ปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และ เป็นทีม และภาวะผู้นำ� (การ
การเขี ย นรายงานผลการทำ � ทำ�กิจกรรม)
กิจกรรม) 3. การสื่อสาร (การอภิปราย
ร่วมกันและนำ�เสนอผล)

ผลการเรียนรู้
2. ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงสูศ
่ น
ู ย์กลาง รัศมีของการเคลือ
่ นที่ อัตราเร็วเชิงเส้น
อัตราเร็วเชิงมุม และมวลของวัตถุในการเคลือ
่ นทีแ่ บบวงกลมในระนาบระดับ รวมทัง้ คำ�นวณปริมาณ
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และประยุกต์ใช้ความรู้การเคลื่อนที่แบบวงกลมในการอธิบายการโคจรของ
ดาวเทียม

จุดประสงค์การเรียนรู้
4. ทดลองการเคลื่อนที่แบบวงกลมเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวกับคาบ แรงสู่ศูนย์กลาง รัศมีของ
การเคลื่อนที่แบบวงกลม
5. อธิบายหลักการของการเคลือ
่ นทีแ่ บบวงกลมทีเ่ กีย่ วข้องกับแรงสูศ
่ น
ู ย์กลาง ความเร่งสูศ
่ น
ู ย์กลาง
และความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเร็วเชิงเส้นกับอัตราเร็วเชิงมุม
6. หาแรงลัพธ์ที่ทำ�หน้าที่เป็นแรงสู่ศูนย์กลางซึ่งทำ�ให้เกิดการเคลื่อนที่แบบวงกลม
7. นำ�หลักการของการเคลื่อนที่แบบวงกลมไปคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่
แบบวงกลม
8. นำ�หลักของการเคลื่อนที่แบบวงกลมไปคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของ
รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์บนถนนโค้ง
9. ประยุกต์ใช้ความรู้การเคลื่อนที่แบบวงกลมในการอธิบายและคำ�นวณการโคจรของดาวเทียม
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 305

ทักษะกระบวนการทาง ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาศาสตร์


วิทยาศาสตร์

1. การสั ง เกต การวั ด และ 1. การแก้ปญ


ั หา (สถานการณ์ 1. ด้ า นความรอบคอบและ
การลงความเห็ น จากข้ อ มู ล ที่ เ กี่ ย วกั บ การเคลื่ อ นที่ แ บบ ความรับผิดชอบ และความร่วม
(การทำ�กิจกรรม) วงกลม) มือช่วยเหลือ (การทำ�กิจกรรม)
2. การใช้จำ�นวน (การคำ�นวณ 2. ความร่วมมือ การทำ�งาน
ปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และ เป็นทีม และภาวะผู้นำ� (การ
การเขี ย นรายงานผลการทำ � ทำ�กิจกรรม)
กิจกรรม) 3. การสื่อสาร (การอภิปราย
ร่วมกันและนำ�เสนอผล)
306 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

ผังมโนทัศน์

การเคลื่อนที่แนวโค้ง

พิจารณาเฉพาะ

การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบวงกลม

อัตราเร็วคงตัว
นำ�ไปพิจารณา
ประกอบด้วย
การเคลื่อนที่แบบวงกลมสม่ำ�เสมอ
การเคลื่อนที่ในแนวระดับ การเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง
ด้วยความเร็วคงตัว ด้วยความเร่งคงตัว
ประกอบด้วย

อธิบายได้ด้วย
ความเร่งในแนวสัมผัส ความเร่งในแนวสู่ศูนย์กลาง
เท่ากับศูนย์ มีขนาดคงตัว
สมการการเคลี่อนที่แนวตรง

นำ�ไปคำ�นวณ
ได้

ปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ แรงลัพธ์เป็นแรงสู่ศูนย์กลาง


เคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
นำ�ไปอธิบายและคำ�นวณ

ปริมาณต่างๆ เกี่ยวกับ
การเคลื่อนที่แบบวงกลมสม่ำ�เสมอ
แรงโน้มถ่วง
แรงเสียดทาน

นำ�ไปอธิบาย นำ�ไปอธิบายและคำ�นวณ

การโคจรของดาวเทียม การเคลื่อนที่ของรถยนต์และจักรยานยนต์บนทางโค้งราบ
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 307

สรุปแนวความคิดสำ�คัญ
การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ (projectile motion) เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุในสองมิติที่มี
แนวการเคลือ
่ นทีเ่ ป็นแนวโค้งพาราโบลา การเคลือ
่ นทีแ่ บบโพรเจกไทล์ประกอบด้วยการเคลือ
่ นทีใ่ นสองแนว
ที่ตั้งฉากกันและเป็นอิสระต่อกัน โดยแนวหนึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงตัว และอีกแนวหนึ่งเคลื่อนที่ด้วย
ความเร็วคงตัว ทั้งนี้โดยมีปริมาณที่ใช้ร่วมกันคือ เวลา เนื่องจากเป็นวัตถุก้อนเดียวกัน
กรณีวัตถุเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ที่มีความเร่งในแนวแกน y คงตัว และมีความเร็วในแนวแกน x
คงตัว สามารถอธิบายได้ด้วยสมการ
1 2
ในแนวแกน y
∆y = u y t + a yt
2
v y = u y + a y t

v 2y = u 2y + 2a y ∆y
 u + vy 
และ
∆y =  y  t
 2 
ในแนวแกน x ∆x = u x t

สำ�หรับกรณีวัตถุเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ภายใต้สนามโน้มถ่วงของโลกโดยไม่คิดแรงต้านอากาศ
วัตถุจะมีความเร่งในแนวดิ่งคงตัวซึ่งเท่ากับความเร่งโน้มถ่วงของโลก ( a y = − g ) และการเคลื่อนที่ใน
แนวระดับจะมีความเร็วคงตัว
การเคลื่อนที่แบบวงกลม (circular motion) เป็นลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุในสองมิติที่มี
เส้นทางการเคลื่อนที่เป็นวงกลมหรือส่วนของวงกลม สำ�หรับการศึกษาในชั้นนี้เน้นการศึกษาการเคลื่อนที่
แบบวงกลมสม่ำ�เสมอ (uniform circular motion) ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่แบบวงกลมที่มีอัตราเร็วคงตัว
ไม่มีแรงกระทำ�ต่อวัตถุในแนวสัมผัสเส้นทางการเคลื่อนที่ แต่มีแรงกระทำ�ต่อวัตถุในทิศเข้าสู่ศูนย์กลางหรือ
แรงในแนวตั้งฉากกับเส้นทางการเคลื่อนที่ เรียกว่า แรงสู่ศูนย์กลาง (centripetal force) คำ�นวณได้จาก
สมการ
mv 2
Fc =
r
่ นทีแ่ บบวงกลมสามารถอธิบายได้ดว้ ยอัตราเร็วเชิงมุม (angular speed) ซึง่ คือ มุมระนาบ
การเคลือ
ทีร่ ศ
ั มีกวาดไปได้ตอ
่ หนึง่ หน่วยเวลา ใช้สญ
ั ญลักษณ์ ω มีหน่วยเป็น เรเดียนต่อวินาที (rad/s) โดยอัตราเร็ว
เชิงมุมมีความสัมพันธ์กับอัตราเร็วเชิงเส้นตามสมการ
v = ω r
308 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

จะได้ แรงสู่ศูนย์กลางมีความสัมพันธ์กับอัตราเร็วเชิงมุมตามสมการ

Fc = mω 2 r

การโคจรของดาวเทียมรอบโลกทีม
่ ก
ี ารเคลือ
่ นทีแ่ บบวงกลมจะมีแรงโน้มถ่วงซึง่ เป็นแรงดึงดูดระหว่าง
มวลของดาวเทียมกับโลกทำ�หน้าที่เป็นแรงสู่ศูนย์กลางทำ�ให้ดาวเทียมยังโคจรอยู่ได้ ซึ่งหาได้จากสมการ
m1m2
F = G
r2
ดาวเทียมบางชนิดโคจรไปทางเดียวกันกับโลกด้วยอัตราเร็วเชิงมุมเท่ากันกับโลก และมีคาบการโคจร
เท่ากับคาบการหมุนรอบตัวเองของโลก ดาวเทียมจึงอยู่ตรงกับตำ�แหน่งที่ก�ำ หนดไว้บนพื้นโลกตลอดเวลา

เวลาที่ใช้

บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 20 ชั่วโมง

7.1 การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ 10 ชั่วโมง


7.2 การเคลื่อนที่แบบวงกลม 10 ชั่วโมง

ความรู้หรือทักษะพื้นฐานที่นักเรียนต้องมีก่อนเรียน
การเคลื่อนที่แนวตรง  การเคลื่อนที่แบบตกเสรี  กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน  แรงดึงดูดระหว่าง
มวล สมดุล คาบ

นำ�เข้าสู่บทที่ 7
ครูนำ�เข้าสู่บทที่ 7 โดยให้นักเรียนดูภาพของวัตถุที่มีการเคลื่อนที่ในแนวโค้งทั้งการเคลื่อนที่แบบ
โพรเจกไทล์ เช่น การโยนรับส่งสิง่ ของ การโยนลูกบาสเกตบอล และการฉีดน้�ำ ออกจากสายยาง เป็นต้น และ
การเคลื่อนที่แบบวงกลม เช่น การขับรถมอเตอร์ไซด์ไต่ถัง การเหวี่ยงวัตถุที่ผูกเชือกเป็นวงกลม และ
การเคลือ
่ นทีข
่ องดาวเทียมรอบโลก เป็นต้น โดยให้นก
ั เรียนอภิปรายเกีย่ วกับความเหมือนและความแตกต่าง
ระหว่างการเคลื่อนที่ในแนวโค้งทั้งสองแบบ รวมทั้งความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการเคลื่อนที่
ในแนวโค้งกับการเคลื่อนที่ในแนวตรงที่ได้เรียนผ่านมาแล้ว ทั้งนี้ ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนตอบอย่าง
อิสระและไม่คาดหวังคำ�ตอบถูกต้อง
ครูบอกนักเรียนว่า ในบทที่ 7 นี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีการเคลื่อนที่
ในแนวโค้งหรือมีการเคลือ
่ นทีใ่ นสองมิติ จากนัน
้ ครูชแี้ จงหัวข้อทีน
่ ก
ั เรียนจะได้เรียนรูใ้ นบทที่ 7 และคำ�ถาม
สำ�คัญที่นักเรียนจะต้องตอบได้หลังจากการเรียนรู้บทที่ 7 ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 309

7.1 การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ทดลองการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการกระจัดในแนวระดับกับ
การกระจัดในแนวดิ่ง
2. อธิบายหลักการของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
3. นำ�หลักการของการเคลือ่ นทีแ่ บบโพรเจกไทล์ไปคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการเคลือ่ นที่
แบบโพรเจกไทล์

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

1. เมือ
่ ไม่คด
ิ แรงต้านของอากาศ วัตถุทเ่ี คลือ
่ นที่ 1. เมื่อไม่คิดแรงต้านของอากาศ วัตถุที่เคลื่อนที่
แบบโพรเจกไทล์เป็นการเคลือ
่ นทีท
่ ม
ี่ ค
ี วามเร่งทัง้ แบบโพรเจกไทล์จะมีความเร่งในแนวดิ่งเท่ากับ
ในแนวดิ่งและแนวระดับ ความเร่งโน้มถ่วงของโลก หรือ g แต่ไม่มค
ี วามเร่ง
ในแนวระดั บ เนื่ อ งจากมี เ ฉพาะแรงโน้ ม ถ่ ว ง
กระทำ�ต่อวัตถุเท่านั้น

2. ความเร็วของวัตถุทจี่ ด
ุ สูงสุดของการเคลือ
่ นที่ 2. ความเร็วของวัตถุทจี่ ด
ุ สูงสุดของการเคลือ
่ นที่
แบบโพรเจกไทล์มีค่าเป็นศูนย์ แบบโพรเจกไทล์ มี ค่ า ไม่ เ ป็ น ศู น ย์ เฉพาะ
องค์ประกอบของความเร็วในแนวดิง่ เท่านัน
้ ทีม
่ ค
ี า่
เป็นศูนย์ ส่วนองค์ประกอบของความเร็วในแนว
ระดับมีค่าคงตัวตลอดการเคลื่อนที่

สิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้า
1. ชุดอุปกรณ์สำ�หรับการสาธิตเพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น ลูกเทนนิส ลูกบอล
2. ชุดอุปกรณ์สำ�หรับการสาธิตการเคลื่อนที่ของเหรียญ ประกอบด้วยเหรียญจำ�นวน 2 เหรียญ และ
ไม้บรรทัดจำ�นวน 2 อัน
310 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูชแี้ จงจุดประสงค์การเรียนรูข
้ องหัวข้อ 7.1 จากนัน
้ ครูน�ำ เข้าสูบ
่ ทเรียนโดยให้นก
ั เรียนสังเกตแนวการ
เคลื่อนที่ของวัตถุที่ถูกโยนไปในอากาศโดยให้ตัวแทนนักเรียน 2 คน สาธิตการโยนรับและส่งวัตถุ เช่น ลูก
เทนนิส หรือลูกบอล แล้วให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันในประเด็นดังต่อไปนี้
- เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุมีลักษณะเป็นอย่างไร
- ความเร็วของวัตถุขณะเคลื่อนที่ออกจากมือมีลักษณะเป็นอย่างไร
- ความเร็วของวัตถุขณะอยู่ที่จุดสูงสุดมีลักษณะเป็นอย่างไร
- แรงที่กระทำ�ต่อวัตถุขณะที่วัตถุเคลื่อนที่มีอะไรบ้าง และมีทิศทางใด

ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตอบคำ�ถามอย่างอิสระ ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง จากนั้น ครูให้ความรู้


ตามรายละเอียดในหนังสือเรียนว่า การเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศที่มีเส้นทางการเคลื่อนที่เป็นแนวโค้ง
ถ้าไม่มีแรงต้านของอากาศหรือแรงต้านทานมีผลน้อยมากจนไม่ต้องนำ�มาคิด เรียกว่า การเคลื่อนที่แบบ
โพรเจกไทล์ (projectile motion)
ครูให้นกั เรียนทำ�กิจกรรม 7.1 ในหนังสือเรียน จากนัน
้ อภิปรายร่วมกันจนได้ขอ้ สรุปเกีย่ วกับการเคลือ่ นที่
แบบโพรเจกไทล์

กิจกรรม 7.1 การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์

จุดประสงค์
1. ศึกษาลักษณะของเส้นทางการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
2. หาความสัมพันธ์ระหว่างการกระจัดในแนวระดับและการกระจัดในแนวดิ่งของการเคลื่อนที่
แบบโพรเจกไทล์

เวลาที่ใช้ 90 นาที

วัสดุและอุปกรณ์
ชุดทดลองการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ 1 ชุด
1.
2. กระดาษกราฟ 2 แผ่น
3. กระดาษคาร์บอน 1 แผ่น
4. กระดาษขาว 1 แผ่น
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 311

แนะนำ�ก่อนทำ�กิจกรรม
1. ปรับปลายรางอะลูมิเนียมตอนล่างให้อยู่ในแนวระดับ
2. ติดกระดาษกราฟกับแผ่นไม้โดยให้แกนของกราฟวางตัวอยู่ในแนวดิ่งและแนวระดับ และปรับ
ตำ�แหน่งของกระดาษกราฟให้จุดที่ลูกกลมโลหะกระทบเป้าเมื่อวางเป้าชิดปลายรางตรงกับจุดตัดของ
เส้นทึบในแนวดิ่งและแนวระดับบนกระดาษกราฟ
3. ทุกครั้งที่ปล่อยลูกกลมโลหะ ต้องจับแผ่นเป้าโลหะที่ด้านหลังไว้เพื่อไม่ให้แผ่นเป้าเคลื่อนที่ขณะ
ลูกกลมโลหะชน
4. เพื่ อ ความสะดวก อาจบั น ทึ ก ตำ � แหน่ ง ที่ ลู ก กลมโลหะชนเป้ า แต่ ล ะครั้ ง ลงในกระดาษกราฟอี ก
หนึง่ แผ่นทีไ่ ม่ได้ตด
ิ เข้ากับแป้นไม้ โดยให้จด
ุ แรกซึง่ ตรงกับจุดทีล่ ก
ู กลมโลหะกระทบเป้าเมือ
่ วางชิดปลายราง
เป็นจุดกำ�เนิด

ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม
1. หาแนวการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์โดยลากเส้นผ่านจุดต่าง ๆ ที่ปรากฏบนกระดาษกราฟ

∆y (cm)
0
∆ x (cm)

รูป 7.1 แนวการเคลื่อนที่ของลูกกลมโลหะบนกระดาษกราฟ


312 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

2. หาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดการกระจัดในแนวดิ่ง ( ∆y ) กับกำ�ลังสองของขนาดการกระจัดใน
(
แนวระดับ ( ∆x )
2
)
ตัวอย่างตารางบันทึกผลการทดลอง

ขนาดการกระจัด ขนาดการกระจัด กำ�ลังสองของขนาดการกระจัด


(
ในแนวระดับ ( ∆x ) (cm)
2
) ในแนวดิ่ง ( ∆y ) (cm) (
ในแนวระดับ ( ∆x ) (cm2)
2
)
1.00 0.10 1.00

2.00 0.35 4.00

3.00 0.70 9.00

4.00 1.20 16.0

5.00 1.90 25.0

6.00 2.65 36.0

7.00 3.30 49.0

8.00 4.45 64.0

9.00 5.55 81.0

10.00 6.80 100.0

11.00 8.20 121.0

12.00 9.70 144.0


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 313

∆y (cm)

10

(∆x) 2 (cm2)
0 25 50 75 100 125 150

รูป 7.2 กราฟระหว่างขนาดการกระจัดในแนวดิ่ง ( ∆y )


กับกำ�ลังสองของขนาดการกระจัดในแนวระดับ (( ∆x )2 )
แนวคำ�ตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม

□ การปล่ อ ยลู ก กลมโลหะที่ ตำ � แหน่ ง เดิ ม ใกล้ ป ลายรางตอนบนทุ ก ครั้ ง   มี ผ ลต่ อ ความเร็ ว ที่
ปลายรางตอนล่างอย่างไร
แนวคำ�ตอบ การปล่อยลูกกลมโลหะทีต
่ �ำ แหน่งเดิมใกล้ปลายรางตอนบนทุกครัง้ ทำ�ให้ความเร็วของ
ลูกกลมโลหะหลุดออกจากปลายรางตอนล่างมีค่าเท่ากัน

□ แนวการเคลื่อนที่ของลูกกลมโลหะจากกระดาษกราฟมีลักษณะอย่างไร
แนวคำ�ตอบ แนวการเคลื่อนที่ของลูกกลมโลหะที่ปรากฏบนกระดาษกราฟเป็นแนวโค้ง

□ จากกราฟระหว่างขนาดการกระจัดในแนวดิ่ง ( ∆y ) กับกำ�ลังสองของขนาดการกระจัดในแนว
ระดับ (( ∆x ) ) ปริมาณทั้งสองมีความสัมพันธ์กันอย่างไร จะสรุปลักษณะของแนวการเคลื่อนที่
2

แบบโพรเจกไทล์เป็นแนวโค้งแบบใด
314 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

แนวคำ�ตอบ จากกราฟสรุปได้ว่า ขนาดการกระจัดในแนวดิ่ง ( ∆y ) แปรผันตรงกับกำ�ลังสองของ


ขนาดการกระจัดในแนวระดับ (( ∆x ) ) โดยพิจารณาได้จาก ∆y ∝ (∆x)
2 2
หรือ ∆y = k ( ∆x ) 2
เมื่อ k เป็นค่าคงตัวของการแปรผัน เนื่องจากสมการ y = kx 2 เป็นสมการของกราฟพาราโบลาที่
ผ่านจุดกำ�เนิด ดังนั้น การเคลื่อนที่ของลูกกลมโลหะเป็นการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ที่มีแนว
การเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งพาราโบลา

อภิปรายหลังการทำ�กิจกรรม
ครู แ ละนั ก เรี ย นร่ ว มกั น อภิ ป รายโดยใช้ ผ ลการทำ � กิ จ กรรมและการตอบคำ � ถามท้ า ยกิ จ กรรมตาม
รายละเอียดในหนังสือเรียน จนได้ข้อสรุปดังนี้
1. การปล่ อ ยลู ก กลมโลหะที่ ตำ � แหน่ ง เดี ย วกั น ทุ ก ครั้ ง เพื่ อ ให้ ค วามเร็ ว ของลู ก กลมโลหะหลุ ด จาก
ปลายรางตอนล่างมีค่าเท่ากัน
2. แนวการเคลื่อนที่ของลูกกลมโลหะที่ปรากฏบนกระดาษกราฟเป็นแนวโค้ง
3. จากกราฟระหว่างขนาดการกระจัดในแนวดิง่ ( ∆y ) กับกำ�ลังสองของขนาดการกระจัดในแนวระดับ
( )
( ∆x ) ทำ�ให้สรุปได้ว่า ∆y ∝ ( ∆x )2 หรือ ∆y = k ( ∆x )2 เมื่อ k เป็นค่าคงตัวของการแปรผัน ซึ่งเป็น
2

สมการของเส้นกราฟพาราโบลา
ครูให้ความรูเ้ พิม
่ เติมว่า การเคลือ
่ นทีแ่ บบโพรเจกไทล์มแี นวการเคลือ
่ นทีเ่ ป็นเส้นโค้งพาราโบลา โดยวัตถุ
จะมีการกระจัดทั้งในแนวระดับและแนวดิ่งพร้อมกัน จากนั้น ให้นักเรียนอภิปรายว่าการกระจัดในแนวดิ่ง
และแนวระดับมีความสัมพันธ์กันอย่างไร โดยครูอาจสาธิตด้วยการนำ�เหรียญขนาดเท่ากันสองเหรียญมา
วางโดยให้เหรียญแรกวางที่ขอบโต๊ะ และวางอีกเหรียญบนไม้บรรทัดส่วนที่ยื่นพ้นขอบโต๊ะ แล้วกดปลาย
ด้านหนึง่ ของไม้บรรทัด นำ�ไม้บรรทัดอีกอันมาเคาะปลายไม้บรรทัดทีย่ น
ื่ พืน
้ ขอบโต๊ะโดยเร็ว แล้วให้นก
ั เรียน
สังเกตการเคลื่อนที่ของเหรียญทั้งสองเมื่อใช้แรงเคาะต่าง ๆ กัน ดังรูป 7.3

รูป 7.3 การเคาะไม้บรรทัดให้เหรียญทั้งสองเคลื่อนที่


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 315

ครูให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเหรียญทั้งสองซึ่งควรได้ข้อสรุปว่า เหรียญที่อยู่
บนไม้บรรทัดจะตกในแนวดิ่ง ส่วนเหรียญที่ขอบโต๊ะจะเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ แต่เหรียญทั้งสองใช้เวลา
ในการเคลื่อนที่ตกถึงพื้นพร้อมกันไม่ว่าจะเคาะด้วยแรงขนาดเท่าใดก็ตาม จากนั้นครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า
วัตถุที่เคลื่อนที่แบบโพรเจไทล์ประกอบด้วยการเคลื่อนที่ทั้งในแนวระดับ และแนวดิ่งพร้อม ๆ กัน และเป็น
อิสระต่อกัน โดยการเคลือ
่ นทีใ่ นแนวระดับจะเหมือนกับการเคลือ
่ นทีแ่ นวตรงด้วยความเร็วคงตัว (ความเร่ง
เป็นศูนย์) ส่วนการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งจะเหมือนกับการตกแบบเสรีด้วยความเร่งคงตัว การที่วัตถุมีการ
เคลื่อนที่ทั้งสองแนวนี้ ทำ�ให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นแนวโค้งพาราโบลา
ครูให้ความรูเ้ กีย่ วกับสมการทีใ่ ช้ในการคำ�นวณการเคลือ่ นทีต
่ ามรายละเอียดในหนังสือเรียน แล้วอภิปราย
ตัวอย่าง 7.1-7.6 ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน จากนัน
้ ครูให้นก
ั เรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ
และทำ�แบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 7.1 โดยอาจมีการเฉลยคำ�ตอบและอภิปรายคำ�ตอบร่วมกัน

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ จากการตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 7.1 และ
การทำ�แบบฝึกหัด 7.1
2. ทักษะการแก้ปัญหาและการใช้จำ�นวน จากการคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่
แบบโพรเจกไทล์
3. จิตวิทยาศาสตร์/เจตคติด้านความมีเหตุผล และความรอบคอบ จากการอภิปรายร่วมกัน และจาก
การทำ�แบบฝึกหัด 7.1

แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 7.1

1. ที่ตำ�แหน่งสูงสุดของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ อัตราเร็วของวัตถุเท่ากับศูนย์หรือไม่
อย่างไร
แนวคำ�ตอบ ไม่เท่ากับศูนย์ โดยอัตราเร็วของวัตถุทต
ี่ �ำ แหน่งสูงสุดจะเท่ากับอัตราเร็วในแนว
ระดับของวัตถุ
316 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

2. ในการยิงวัตถุขน
้ึ จากพืน
้ ให้เคลือ
่ นทีแ่ บบโพรเจกไทล์ อัตราเร็วขาขึน
้ กับขาลงทีร่ ะดับความสูง
เท่ากันมีค่าเท่ากันหรือไม่ จงอธิบาย
แนวคำ�ตอบ มีค่าเท่ากัน โดยเมื่อพิจารณาอัตราเร็วของวัตถุในแนวดิ่งของวัตถุที่เคลื่อนที่
แบบโพรเจกไทล์ ขณะวัตถุเคลื่อนที่ขึ้นอัตราเร็วในแนวดิ่งจะมีค่าลดลงด้วยความเร่งเท่ากับ
ความเร่งโน้มถ่วงของโลกจนกระทั่งเป็นศูนย์แล้วเคลื่อนที่ลงด้วยความเร่งขนาดเท่าเดิม
จึงทำ�ให้อต
ั ราเร็วในแนวดิง่ ทีต
่ �ำ แหน่งใด ๆ ขาขึน
้ เท่ากับขาลง ส่วนอัตราเร็วในแนวระดับมีคา่
คงตัว จึงทำ�ให้อต
ั ราเร็วขาขึน
้ กับขาลงทีร่ ะดับความสูงเท่ากันมีคา่ เท่ากัน นัน
่ คือ วัตถุทถ่ี กู ยิงขึน

จากพืน
้ ให้เคลือ
่ นทีแ่ บบโพรเจกไทล์ทร่ี ะดับความสูงเท่ากันจะมีอต
ั ราเร็วขาขึน
้ กับขาลงเท่ากัน

3. ยิงวัตถุจากขอบหน้าผาสูงด้วยอัตราเร็วเท่ากัน แต่ทำ�มุมแตกต่างกัน วัตถุที่ถูกยิงด้วยมุม


45 องศากับแนวระดับ จะไปตกบนพื้นด้านล่างไกลที่สุดจากขอบหน้าผาหรือไม่ จงอธิบาย
แนวคำ�ตอบ ไม่ไกลสุดเสมอไป เพราะถ้าความสูงของหน้าผามากพอ มุมยิงที่น้อยกว่า
45 องศา อาจทำ�ให้ผลคูณของอัตราเร็วในแนวระดับกับเวลาซึ่งคือระยะทางมากกว่า เช่น
ยิงวัตถุทำ�มุม 30 องศากับแนวระดับ ด้วยอัตราเร็ว 20 เมตรต่อวินาที จากขอบหน้าผาสูง
30 เมตร จะทำ�ให้วัตถุเคลื่อนที่ในอากาศเป็นเวลา 3.70 วินาที และตกลงบนพื้นไกลจาก
ขอบหน้าผา 64.08 เมตร ในขณะที่ยิงวัตถุทำ�มุม 45 องศากับแนวระดับ ด้วยอัตราเร็ว
20 เมตรต่อวินาที จากขอบหน้าผาสูง 30 เมตร จะทำ�ให้วัตถุเคลื่อนที่ในอากาศเป็นเวลา
4.31 วินาที และตกลงบนพื้นไกลจากขอบหน้าผาเพียง 60.91 เมตรเท่านั้น ในกรณีนี้
การยิงวัตถุทำ�มุม 30 องศากับแนวระดับ จะตกบนพื้นด้านล่างไกลกว่าการยิงวัตถุทำ�มุม
45 องศากับแนวระดับ

4. วัตถุที่ถูกยิงด้วยคู่มุมใด ๆ ที่มีผลรวมเป็น 90 องศา เช่น มุม 15 องศากับมุม 75 องศา ด้วย


อัตราเร็วต้นเท่ากันซึ่งมีการกระจัดในแนวระดับเท่ากัน จะใช้เวลาในการเคลื่อนที่เท่ากัน
หรือไม่
แนวคำ�ตอบ ใช้เวลาในการเคลือ่ นทีไ่ ม่เท่ากัน เนือ่ งจากเวลาในการเคลือ่ นทีข่ น
้ึ กับอัตราเร็วต้น
2u sin θ
u และมุม θ ดังสมการ t = ในกรณีนี้ อัตราเร็วต้น u เท่ากัน เวลาในการเคลือ
่ นที่
g
จึงขึ้นกับมุม θ เนื่องจาก sin 15° < sin 75° ดังนั้นวัตถุที่ถูกยิงด้วยมุม 15 องศา จะใช้
เวลาน้อยกว่าวัตถุที่ถูกยิงด้วยมุมมุม 75 องศา
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 317

เฉลยแบบฝึกหัด 7.1

1. ก้อนหินถูกขว้างออกจากหน้าผาในแนวระดับด้วยความเร็วต้น 10 เมตรต่อวินาที ก้อนหินตกถึง


พื้นดินในเวลา 8.0 วินาที ก้อนหินตกห่างจากจุดขว้างในแนวระดับเท่าใด
วิธีทำ� จาก ∆x = u x t
∆x = (10 m/s)(8.0 s)

= 80 m
ตอบ ก้อนหินตกห่างจากจุดขว้างในแนวระดับเท่ากับ 80 เมตร

2. ลูกบอลลูกหนึ่งกลิ้งตกลงมาจากโต๊ะราบซึ่งสูง 1.0 เมตร ถ้าลูกบอลกระทบพื้นตรงจุดที่ห่างจาก


ขอบโต๊ะตามแนวระดับ 1.0 เมตร ความเร็วของลูกบอลขณะหลุดจากขอบโต๊ะมีค่าเท่าใด
วิธีทำ� หาเวลาในการเคลื่อนที่
1
จาก ∆y = u yt + a yt 2
2
1
แทนค่า −1.0 m = ( −9.8 m/s2 ) t 2
2
t = 0.451s
∆x∆x∆x
จาก uu
x x=u=
x t= t
t
1.0 m
แทนค่า u x =
0.451s

= 2.22 m/s

ตอบ ความเร็วของลูกบอลขณะหลุดจากขอบโต๊ะเท่ากับ 2.2 เมตรต่อวินาที ในแนวระดับ

3. หินก้อนหนึ่งถูกขว้างออกไปในแนวระดับจากที่สูง 10 เมตรจากพื้น ก้อนหินตกกระทบพื้นดิน


ทำ�มุม 45 องศา กับพื้น ความเร็วต้นที่ใช้ขว้างก้อนหินมีค่าเท่าใด
วิธีทำ� หินถูกขว้างออกไปในแนวระดับ แสดงว่าความเร็วต้นเท่ากับความเร็วในแนวระดับ และ
เนื่องจากก้อนหินกระทบกับพื้นทำ�มุม 45 องศา กับพื้น ดังนั้นความเร็วในแนวระดับ (u x )
มีขนาดเท่ากับความเร็วในแนวดิ่ง ( v y )
318 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

หาความเร็วในแนวดิ่งขณะกระทบพื้น จาก
v 2y = u 2y + 2a y ∆y
แทนค่า v 2y = 0 + 2( −9.8 m/s2 )( −10 m)
= 96.04 m 2s −2
จะได้ v y = 14 m/s
ตอบ ความเร็วที่ใช้ในการขว้างก้อนหินในแนวระดับเท่ากับ 14 เมตรต่อวินาที

4. วัตถุชิ้นหนึ่งถูกยิงจากพื้นดินด้วยความเร็ว 60 เมตรต่อวินาทีในทิศทางทำ�มุม 30 องศา กับ


แนวระดับ จงหาว่า
ก. วัตถุนั้นลอยอยู่ในอากาศเป็นเวลานานเท่าใดก่อนจะตกถึงพื้น
ข. ขณะที่อยู่จุดสูงสุด วัตถุอยู่สูงจากพื้นดินเท่าใด
วิธีทำ� เขียนภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุได้ดังนี้

uy = u sin 30°
u = 60 m/s
30°
u x = u cos 30°

ก. หาเวลาที่วัตถุอยู่ในอากาศ จาก
1
∆y = u yt + a yt 2
2
1
แทนค่า 0 = (60 m/s sin 30° ) t + ( −9.8 m/s2 )t 2
2
t = 6.12 s

ตอบ วัตถุลอยอยู่ในอากาศเป็นเวลา 6.1 วินาที

ข. หาความสูงขณะวัตถุอยู่ที่จุดสูงสุด จาก
v 2y = u 2y + 2a y ∆y
แทนค่า 0 = (30 m/s) 2 + 2( −9.8 m/s2 ) ∆y
∆y = 45.9 m
ตอบ วัตถุจะขึ้นไปได้สูงสุดจากพื้น 46 เมตร
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 319

5. เตะลูกบอลขึน
้ ไปในอากาศ ถ้าลูกบอลลอยอยูใ่ นอากาศนาน 4.0 วินาที และลูกบอลเคลือ
่ นทีไ่ ป
ได้ไกลในแนวระดับ 45.0 เมตร จงหาว่า
ก. ลูกบอลขึ้นไปได้สูงสุดเท่าใด
ข. ความเร็วของลูกบอลที่ออกจากเท้ามีค่าเท่าใด
วิธีทำ� เขียนภาพการเคลื่อนที่ของลูกบอลได้ดังนี้

u y = u sin θ u
θ u = u cosθ
x

รูปสำ�หรับปัญหาข้อ 5

ก. หาระยะที่ลูกบอลขึ้นไปได้สูงสุด
วัตถุใช้เวลาเคลือ
่ นทีท
่ ง้ั หมด 4.0 วินาที ดังนัน
้ วัตถุเคลือ
่ นทีข
่ น
้ึ ถึงจุดสูงสุดใช้เวลา 2.0 วินาที
หาความเร็วต้นในแนวดิ่ง จาก
v y = u y + a yt
แทนค่า 0 = u y + ( −9.8 m/s2 )( 2.0 s)
u y = 19.6 m/s

หาระยะทางที่ลูกบอลเคลื่อนที่ได้สูงสุด
1
∆y = u yt + a yt 2
2
1
แทนค่า ∆y = (19.6 m/s) ( 2.0 s) + ( −9.8 m/s2 )( 2.0 s) 2
2
= 19.6 m

ตอบ ลูกบอลขึ้นไปได้สูง 19.6 เมตร

ข. หาความเร็วของลูกบอลที่ออกจากเท้า
หาความเร็วต้นในแนวระดับ จาก
∆x = u x t
แทนค่า ( 45.0 m ) = u x ( 4.0 s )
ux = 11.25 m/s
320 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

หาความเร็วของลูกบอลที่หลุดออกจากเท้า
  
จาก uu == uuxx ++uuyy

+ (uy )
2
( ux )
2
จะได้ u =

(11.25 m/s ) + (19.6 m/s )


2 2
แทนค่า u =

= 22.60 m/s

ตอบ ความเร็วของลูกบอลที่ออกจากเท้ามีค่าเท่ากับ 22.6 เมตร/วินาที

7.2 การเคลื่อนที่แบบวงกลม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ทดลองการเคลื่อนที่แบบวงกลมเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวกับคาบ  แรงสู่ศูนย์กลาง  รัศมีของ
การเคลื่อนที่แบบวงกลม
2. อธิบายหลักการของการเคลื่อนที่แบบวงกลมที่เกี่ยวข้องกับแรงสู่ศูนย์กลาง  ความเร่งสู่ศูนย์กลาง
และความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเร็วเชิงเส้นกับอัตราเร็วเชิงมุม
3. หาแรงลัพธ์ที่ทำ�หน้าที่เป็นแรงสู่ศูนย์กลางซึ่งทำ�ให้เกิดการเคลื่อนที่แบบวงกลม
4. นำ�หลักการของการเคลื่อนที่แบบวงกลมไปคำ�นวณปริมาณต่าง  ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่
แบบวงกลม
5. นำ�หลักของการเคลือ
่ นทีแ่ บบวงกลมไปคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการเคลือ
่ นของรถยนต์
หรือรถจักรยานยนต์บนถนนโค้ง
6. ประยุกต์ใช้ความรู้การเคลื่อนที่แบบวงกลมในการอธิบายและคำ�นวณการโคจรของดาวเทียม
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 321

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

1. ผูกเชือกทีว่ ต
ั ถุแล้วแกว่งให้เคลือ่ นทีเ่ ป็นวงกลม 1. ผู ก เชื อ กเข้ า วั ต ถุ แ ล้ ว แกว่ ง ให้ เ คลื่ อ นที่ เ ป็ น
ถ้าเชือกขาด วัตถุจะเคลื่อนที่ต่อไปตามเส้นโค้ง วงกลม ถ้าเชือกขาด วัตถุจะเคลื่อนที่ต่อไปใน
ของวงกลม แนวสัมผัสกับเส้นโค้งของวงกลม ณ ตำ�แหน่งที่
เชือกขาด

2. วั ต ถุ ที่ เ คลื่ อ นที่ แ บบวงกลมด้ ว ยอั ต ราเร็ ว 2. วั ต ถุ ที่ เ คลื่ อ นที่ แ บบวงกลมด้ ว ยอั ต ราเร็ ว
สม่ำ�เสมอเป็นการเคลื่อนที่แบบไม่มีความเร่ง สม่ำ � เสมอเป็ น การเคลื่ อ นที่ โ ดยมี ค วามเร่ ง ที่ มี
ทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของการเคลื่อนที่

3. วั ต ถุ ที่ เ คลื่ อ นที่ เ ป็ น วงกลมจะมี แ รงกระทำ � 3. วั ต ถุ ที่ เ คลื่ อ นที่ เ ป็ น วงกลมจะมี แ รงกระทำ �
ในทิศทางออกจากศูนย์กลาง ในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลาง

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูชแี้ จงจุดประสงค์การเรียนรูข
้ องหัวข้อ 7.2 จากนัน
้ ครูน�ำ เข้าสูบ
่ ทเรียนโดยให้นก
ั เรียนยกตัวอย่างของ
วัตถุทม
ี่ ก
ี ารเคลือ
่ นทีแ่ บบวงกลม เช่น การโคจรรอบโลกของดาวเทียม การเคลือ
่ นทีข
่ องรถยนต์รอบวงเวียน
การเคลื่อนที่ของรถไต่ถัง การหมุนรอบของกระเช้าไฟฟ้าของชิงช้าสวรรค์ การแกว่งของวัตถุที่ผูกติดกับ
เชือกให้เคลือ
่ นทีเ่ ป็นวงกลม การเคลือ
่ นทีข
่ องรถไฟตีลงั กาในสวนสนุก การขว้างค้อนของนักกีฬาขว้างค้อน
เป็นต้น จากนั้นให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุดังกล่าวในประเด็นต่อไปนี้
- เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุมีลักษณะอย่างไร
- ทิศทางของความเร็วของวัตถุขณะเคลื่อนที่มีลักษณะเป็นอย่างไร
- แรงที่กระทำ�ต่อวัตถุขณะที่วัตถุเคลื่อนที่มีอะไรบ้าง และมีทิศทางใด
ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตอบคำ�ถามอย่างอิสระ ไม่คาดหวังคำ�ตอบที่ถูกต้อง จากนั้น ครูให้ความรู้
ตามรายละเอียดของหนังสือเรียนว่า การเคลือ
่ นทีข
่ องวัตถุทม
ี่ เี ส้นทางการเคลือ
่ นทีเ่ ป็นวงกลมหรือส่วนของ
วงกลม เรียกว่า การเคลื่อนที่แบบวงกลม (circular motion)
ครูให้นกั เรียนทำ�กิจกรรม 7.2 ในหนังสือเรียน จากนัน
้ อภิปรายร่วมกันจนได้ขอ้ สรุปเกีย่ วกับการเคลือ่ นที่
แบบวงกลม
322 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

กิจกรรม 7.2 การเคลื่อนที่แบบแนววงกลม

จุดประสงค์การทดลอง
1. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคาบ และแรงสู่ศูนย์กลางของการเคลื่อนที่แบบวงกลมของวัตถุ
ในระนาบระดับเมื่อรัศมีคงตัว
2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคาบ และรัศมีของการเคลื่อนที่แบบวงกลมของวัตถุในระนาบ
ระดับเมื่อแรงสู่ศูนย์กลางคงตัว

เวลาที่ใช้ 90 นาที

วัสดุและอุปกรณ์
1. ชุดทดลองการเคลื่อนที่แบบวงกลม 1 ชุด
2. นอต 6 ตัว
3. นาฬิกาจับเวลา 1 เรือน
4. ลวดหนีบกระดาษ 1 ตัว

แนะนำ�ก่อนทำ�กิจกรรม
1. ก่อนการทดลองจริง นักเรียนควรฝึกแกว่งจุกยางเพือ
่ ให้สามารถแกว่งจุกยางด้วยอัตราเร็วคงตัวโดย
พยายามให้ลวดหนีบกระดาษอยู่ห่างจากปลายล่างของท่อพีวีซี 1 เซนติเมตร คงตัวตลอดเวลา
2. ขณะแกว่งจุกยางควรให้นักเรียนที่ไม่ได้แกว่งจุกยางเป็นผู้ตรวจสอบว่า จุกยางเคลื่อนที่แบบวงกลม
ในแนวระดับหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับแนวการแกว่งของจุกยางกับขอบบนของท่อพีวีซีหรือแนวเส้นตรง
ของสิ่งอื่นๆ ที่อยู่ในแนวระดับ เช่น ขอบกระดาน ขอบประตู ขอบหน้าต่าง
3. เพื่อช่วยให้การจับเวลาได้ถูกต้องยิ่งขึ้น ควรมีนักเรียนนับจำ�นวนรอบในการแกว่งของจุกยาง 1 คน
และจับเวลา 1 คน โดยเริ่มต้นการนับจำ�นวนรอบและจับเวลาหลังจากที่ผู้ทำ�การทดลองสามารถแกว่ง
จุกยางให้มีอัตราเร็วคงตัวได้
4. การวัดความยาวเส้นเชือกทำ�ได้โดยการวัดระหว่างกึ่งกลางของจุกยางถึงปลายด้านบนของท่อพีวีซี
ขณะที่ลวดเสียบกระดาษห่างจากปลายล่างของท่อพีวีซี 1 เซนติเมตร ซึ่งเป็นตำ�แหน่งเดียวกับขณะที่แกว่ง
จุกยาง
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 323

ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม
ตอนที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างคาบ และแรงสู่ศูนย์กลางของการเคลื่อนที่แบบวงกลมของวัตถุในระนาบ
ระดับเมื่อรัศมีคงตัว
ตัวอย่างตารางบันทึกผลการทดลอง
ความยาวของเส้นเชือกวัดจากกึง่ กลางของจุกยางถึงปลายบนของท่อพีวซ
ี เี ท่ากับ 60 เซนติเมตร

จำ�นวนนอต F (N) ช่วงเวลาการ T (s) T 2 (s2) 1 (s-2)


เคลื่อนที่ T2
30 รอบ (s)
3 3W 15 0.50 0.25 4.0
4 4W 13 0.43 0.18 5.6
5 5W 12 0.40 0.16 6.3
6 6W 11 0.37 0.14 7.1

1 (s-2)
T2
8

F (N)
0 2W 4W 6W

1
รูป 7.4 กราฟระหว่าง กับ F
T2
324 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

แนวคำ�ตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม

□ เมือ่ ขนาดของแรงดึงในเส้นเชือกเพิม่ ขึน้ ช่วงเวลาในการเคลือ่ นทีค่ รบรอบของจุกยางเป็นอย่างไร


แนวคำ�ตอบ ช่วงเวลาในการเคลื่อนที่ครบรอบของจุกยางลดลง

 1 
□ กราฟระหว่างส่วนกลับของกำ�ลังสองของคาบ  2  กับขนาดแรงดึงในเส้นเชือก (F) มีลก
ั ษณะ
T 
อย่างไร และสรุปความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณทั้งสองได้อย่างไร
 1 
แนวคำ�ตอบ กราฟระหว่างส่วนกลับของกำ�ลังสองของคาบ  2  กับขนาดแรงดึงในเส้นเชือก (F)
T 
 1 
เป็นกราฟเส้นตรง แสดงว่า เมื่อรัศมีคงตัว ส่วนกลับของกำ�ลังสองของคาบ  2  แปรผันตรงกับ
T 
ขนาดของแรงที่ใช้ดึงจุกยาง (F)

ตอนที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างคาบ และรัศมีของการเคลื่อนที่แบบวงกลมของวัตถุในระนาบระดับเมื่อ


แรงสู่ศูนย์กลางคงตัว

ตัวอย่างตารางบันทึกผลการทดลอง

ช่วงเวลาการเคลื่อนที่
2 2
ความยาวเส้น T (s) T (s )
เชือก l (m) 30 รอบ (s)

0.50 11 0.37 0.14


0.60 13 0.43 0.18
0.70 15 0.50 0.25
0.80 17 0.57 0.32
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 325

T 2(s2)
0.40

0.30

0.20

0.10

l (m)
0 0.25 0.5 0.75

2
รูป 7.5 กราฟระหว่าง T กับ l

แนวคำ�ตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม

□ เมื่อรัศมีการเคลื่อนที่เพิ่มขึ้น ช่วงเวลาในการเคลื่อนที่ครบรอบของจุกยางเป็นอย่างไร
แนวคำ�ตอบ ช่วงเวลาในการเคลื่อนที่ครบรอบของจุกยางเพิ่มขึ้น

□ กราฟกำ�ลังสองของคาบ (T 2) กับความยาวเส้นเชือก (l) มีลกั ษณะอย่างไร และสรุปความสัมพันธ์


ระหว่างปริมาณทั้งสองได้อย่างไร
แนวคำ�ตอบ กราฟกำ�ลังสองของคาบ (T ) กับความยาวเส้นเชือก (l) เป็นกราฟเส้นตรง แสดงว่า
2

เมื่อขนาดของแรงที่ใช้ดึงคงตัว กำ�ลังสองของคาบ (T ) แปรผันตรงกับความยาวเชือก (l)


2

อภิปรายหลังการทำ�กิจกรรม
ครู แ ละนั ก เรี ย นร่ ว มกั น อภิ ป รายโดยใช้ ผ ลการทำ � กิ จ กรรมและการตอบคำ � ถามท้ า ยกิ จ กรรมตาม
รายละเอียดในหนังสือเรียน จนได้ข้อสรุปดังนี้
1. ขณะรัศมีคงตัว ถ้าขนาดแรงเข้าสู่ศูนย์กลางเพิ่มขึ้น คาบการเคลื่อนที่จะลดลง
 1 
2. กราฟระหว่างส่วนกลับของกำ�ลังสองของคาบ  2  กับขนาดแรงดึงในเส้นเชือก (F) เป็นกราฟ
T 
 1 
เส้นตรง แสดงว่า เมื่อรัศมีคงตัว ส่วนกลับของกำ�ลังสองของคาบ  2  แปรผันตรงกับขนาดของแรงที่ใช้
1 T 
ดึงจุกยาง (F) หรือ 2 ∝ F
T
326 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

3. ขณะที่แรงดึงในเส้นเชือกคงตัว คาบของการเคลื่อนที่จะเพิ่มขึ้นถ้ารัศมีของการเคลื่อนที่เพิ่มขึ้น
4. กราฟระหว่างกราฟกำ�ลังสองของคาบ (T 2) กับรัศมีของการเคลือ่ นทีข
่ องจุกยาง (r) เป็นกราฟเส้นตรง
แสดงว่า เมื่อขนาดของแรงที่ใช้ดึงคงตัว กำ�ลังสองของคาบ (T 3) แปรผันตรงกับความยาวเชือก (l) หรือ
T2 ∝l
เมื่อจบการอภิปรายหลังการทำ�กิจกรรมแล้ว ครูให้ความรู้ตามรายละเอียดในหนังสือเรียนจนสรุปได้ว่า
แรงสูศ
่ น
ู ย์กลางทีก
่ ระทำ�ต่อวัตถุให้เคลือ
่ นทีแ่ บบวงกลม แปรผันตรงกับกำ�ลังสองของอัตราเร็วของวัตถุ และ
แปรผกผันกับรัศมีของวงกลม
จากนัน
้ ครูให้ความรูเ้ กีย่ วกับการเคลือ
่ นทีแ่ บบวงกลมสม่�ำ เสมอ การเคลือ
่ นทีข
่ องดาวเทียม และการเลีย้ ว
โค้งของรถยนต์หรือรถจักรยานยน โดยอภิปรายตัวอย่าง 7.7-7.12 ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน
จากนั้น ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและทำ�แบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 7.2 โดยอาจมี
การเฉลยคำ�ตอบและอภิปรายคำ�ตอบร่วมกัน

ข้อแนะนำ�เพิ่มเติมสำ�หรับครูผู้สอน
กรณีการแกว่งของจุกยางให้เคลือ
่ นทีเ่ ป็นวงกลมในระนาบระดับ เส้นเชือกจะไม่อยูใ่ นแนวระดับ เพราะ
น้ำ�หนักของจุกยางทำ�ให้เส้นเชือกเอียงทำ�มุม θ กับแนวระดับเล็กน้อย ดังรูป

F sin θ 
F
θ F cosθ
mg

รูป 7.6 การแกว่งจุกยางที่เส้นเชือกทำ�มุม θ กับแนวระดับ



 
ให้ F เป็นแรงดึงในเส้นเชือก โดยแรง F ทำ�มุม θ กับแนวระดับ จะได้ว่า องค์ประกอบของแรงดึง
ในเส้นเชือกในแนวดิ่ง F sin θ จะเท่ากับน้ำ�หนักของจุกยาง mg โดยมีทิศตรงกันข้ามกัน เพื่อทำ�ให้
แรงลัพธ์ที่กระทำ�ต่อจุกยางในแนวดิ่งเป็นศูนย์ นั่นคือ
F sin θ − mg = 0
หรือ F sin θ = mg
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 327

ส่วนองค์ประกอบของแรงดึงเชือกในแนวระดับ คือ F cos θ เป็นแรงที่กระทำ�ต่อจุกยางให้เคลื่อนที่


แบบวงกลมในระนาบระดั บ อยู่ ไ ด้ นั่ น คื อ องค์ ป ระกอบของแรงดึ ง เชื อ กในแนวระดั บ ทำ � หน้ า ที่ เ ป็ น
แรงสู่ศูนย์กลาง นั่นคือ

F cos θ = Fc
mv 2
F cos θ =
r
ในการทดลองตอนที่ 1 เมื่อจุกยางเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงตัวในระนาบระดับ มุม θ จะเปลี่ยนไปบ้าง
แต่ค่าของ cos θ จะใกล้เคียงกัน จึงถือได้ว่า cos θ มีค่าคงตัว นั่นคือ ขนาดของแรงสู่ศูนย์กลาง Fc
แปรผันตรงกับขนาดของแรงดึงในเส้นเชือก F
ทำ�นองเดียวกัน รัศมีของการเคลื่อนที่ r จะเท่ากับ l cos θ เมื่อ l เป็นระยะจากจุดกึ่งกลางของจุกยาง
ตามแนวเส้นเชือกถึงปลายบนของท่อพีวีซี และ cos θ มีค่าคงตัว จะได้รัศมีการเคลื่อนที่ของจุกยางมีค่า
ใกล้เคียงความยาวของเส้นเชือก
ดังนัน
้ จึงเขียนความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงสูศ
่ น
ู ก
์ ลาง อัตราเร็วและรัศมีของการเคลือ
่ นที่ ได้ดงั นี้
v2
Fc ∝
r

แนวการวัดการประเมินผล
1. ความรู้ความเข้าใจเกีย
่ วกับการเคลือ
่ นทีแ่ บบวงกลม จากการตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 7.2
และการทำ�แบบฝึกหัด 7.2
2. ทักษะการแก้ปัญหาและการใช้จำ�นวน จากการคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่
แบบวงกลม
3. จิตวิทยาศาสตร์/เจตคติด้านความมีเหตุผล และความรอบคอบ การการอภิปรายร่วมกัน และจาก
การทำ�แบบฝึกหัด 7.2
328 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 7.2

1. ขณะวัตถุมก
ี ารเคลือ
่ นทีแ่ บบวงกลมสม่ำ�เสมอ ปริมาณใดต่อไปนีม
้ ท
ี ศ
ิ ทางเข้าสูศ
่ น
ู ย์กลางของ
วงกลม และปริมาณใดมีทิศทางในแนวเส้นสัมผัสวงกลม
  
ก. ความเร็ว v ข. แรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ F ค. ความเร่ง a
แนวคำ�ตอบ ขณะวั ต ถุ มี ก ารเคลื่ อ นที่ แ บบวงกลมสม่ำ � เสมอ ปริ ม าณที่ มี ทิ ศ ทางเข้ า สู่
 
ศูนย์กลางของวงกลม คือ แรงทีก
่ ระทำ�ต่อวัตถุ F และความเร่ง a ส่วนปริมาณทีม ่ ท
ี ศ
ิ ทางใน

แนวเส้นสัมผัสวงกลม คือ ความเร็ว v

2. ดาวเทียมค้างฟ้าอยู่ที่ตำ�แหน่งความสูงต่างกันได้หรือไม่ จงอธิบาย
แนวคำ�ตอบ โดยหลักการแล้วดาวเทียมค้างฟ้าอยู่ที่ตำ�แหน่งความสูงต่างกันไม่ได้ เพราะ
การเคลื่อนของดาวเทียมค้างฟ้าจะต้องเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเชิงมุมเท่ากับอัตราเร็วเชิงมุม
ของการหมุนรอบตัวเองของโลก ทำ�ให้ดาวเทียมค้างฟ้าต้องมีรศ
ั มีวงโคจรเดียวกันหมด จึงอยู่
ทีต
่ �ำ แหน่งความสูงต่างกันไม่ได้ ทัง้ นี้ ในทางปฏิบต
ั ิ เนือ
่ งจากระยะความสูงของดาวเทียมจาก
ผิวโลกมีค่ามาก ทำ�ให้สามารถมีดาวเทียมค้างฟ้าที่ต�ำ แหน่งความสูงต่างกันเล็กน้อยได้

3. เหตุใด นักมอเตอร์ไซค์ไต่ถงั จึงสามารถควบคุมให้รถมอเตอร์ไซค์วง่ิ ไต่ถงั ไปตามผนังของถังได้


แนวคำ�ตอบ นักมอเตอร์ไซค์และรถมอเตอร์ไซǁ˪มก
ี ารเคลือ
่ นทีแ่ บบวงกลมในระนาบระดับ
โดยนักมอเตอร์ไซค์ตอ
้ งขับรถให้มอ
ี ต
ั ราเร็วพอเหมาะจนทำ�ให้แรงแนวฉากทีถ
่ งั กระทำ�ต่อรถ
เป็นแรงสู่ศูนย์กลางในการเคลื่อนที่แบบวงกลม และมีแรงเสียดทานในทิศขึ้นที่มีค่าเท่ากับ
น้�ำ หนักของนักมอเตอร์ไซค์และรถ จึงทำ�ให้สามารถควบคุมให้รถมอเตอร์ไซค์วงิ่ ไต่ถงั ไปตาม
ผนังของถังได้
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 329

แบบฝึกหัด 7.2

1. วัตถุเคลื่อนที่อย่างสม่ำ�เสมอในแนววงกลมด้วยอัตรา 20 รอบในเวลา 4.0 วินาที จงหา


ก. คาบของการเคลื่อนที่
ข. ความถี่ของการเคลื่อนที่
ค. อัตราเร็วของการเคลื่อนที่ ถ้ารัศมีของการเคลื่อนที่เท่ากับ 2.0 เมตร
วิธีทำ�
ก. หาคาบของการเคลื่อนที่
เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่
T = จำ�นวนรอบของการเคลื่อนที่

4.0 s
T=
20
= 0.2 s

ตอบ คาบของการเคลื่อนที่ของวัตถุเท่ากับ 0.2 วินาที

ข. หาความถี่ของการเคลื่อนที่

= 5 s-1

ตอบ ความถี่ของการเคลื่อนที่ของวัตถุเท่ากับ 5 รอบต่อวินาที



ค. หาอัตราเร็วของการเคลื่อนที่
2π r
v=
T
( 2)(3.1416)( 2.0 m)
=
( 2.0 s)
 = 62.83 m/s
ตอบ อัตราเร็วของการเคลื่อนที่ของวัตถุเท่ากับ 62.8 เมตรต่อวินาที
330 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

2. จงหาความเร่งสู่ศูนย์กลางของวัตถุที่เคลื่อนที่ในแนววงกลมรัศมี 16.0 เมตร ด้วยอัตราเร็ว 40.0


เมตรต่อวินาที

v2
วิธีทำ� ความเร่งสู่ศูนย์กลางของวัตถุ ac =
r
( 40.0 m/s )
2

=
(16.0 m )
= 100 m/s2

ตอบ ความเร่งสู่ศูนย์กลางของวัตถุเท่ากับ 100 เมตรต่อวินาที2

3. ลูกยางกลมลูกหนึ่งผูกไว้กับเชือกแล้วแกว่งให้เคลื่อนที่ตามแนววงกลมรัศมี 1.30 เมตร ด้วย


ความถี่ 5.0 รอบต่อวินาที จงหาความเร่งสู่ศูนย์กลางของลูกยางกลม
v 2v 2v 2
acacac= = =
วิธีทำ� จาก
rrr
โดยที่ v = ωr และ ω = 2π f จะได้

acacac== =4π4π24πf2 2f2r2fr2 r

= 4(3.14) 2 (5 s −1 ) 2 (1.30 m)

= 1283 m/s2

ตอบ ความเร่งสู่ศูนย์กลางของลูกยางกลมมีค่าเท่ากับ 1.3 × 103 เมตรต่อวินาที2

4. ในการแกว่งชุดทดลองการเคลือ่ นทีแ่ บบวงกลมให้จกุ ยางเคลือ่ นทีด


่ ว้ ยอัตราเร็วคงตัวในแนวระดับ
ปรากฏว่าขณะนัน
้ เชือกทำ�มุม 20 องศา กับแนวระดับตลอดเวลา ถ้าขนาดน้�ำ หนักของขอเกีย่ วโลหะ
และนอตที่ใช้มีค่า 1.2 นิวตัน จงหา
ก. แรงสู่ศูนย์กลางของจุกยาง
ข. ความเร่งสู่ศูนย์กลางของจุกยาง
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 331

วิธีทำ� เขียนภาพการเคลื่อนที่ของจุกยางได้ดังนี้

F sin 20° 
F
20°
F cos20°
mg

รูปสำ�หรับปัญหาข้อ 4

ก. หาแรงสู่ศูนย์กลางของจุกยาง
แรงสู่ศูนย์กลางของจุกยาง คือ Fc มีขนาดเท่ากับ F cos 20
แต่ F คือแรงดึงในเส้นเชือกซึ่งมีขนาดเท่ากับน้ำ�หนักขอเกี่ยวโลหะและนอต
ดังนั้น Fc = (1.2 N ) cos 20
= (1.2)(0.9397)
= 1.13 N
ตอบ แรงสู่ศูนย์กลางของจุกยางมีขนาดเท่ากับ 1.1 นิวตัน

ข. หาความเร่งสู่ศูนย์กลางของจุกยาง
ความเร่งของจุกยางที่เคลื่อนที่ในแนววงกลมด้วยอัตราเร็วคงตัวในแนวระดับก็คือความเร่ง
สู่ศูนย์กลางของจุกยาง เนื่องจากเส้นเชือกทำ�มุม 20 องศากับแนวระดับตลอดเวลา แสดงว่า
จุกยางเคลื่อนที่อยู่ ในระนาบระดับที่คงตัว ดังนั้น แรงลัพธ์ในแนวดิ่งที่กระทำ�ต่อจุกยางมีค่า
เป็นศูนย์

จะได้ = mg

แทนค่า m = (1.2 N )(0.3421)


9.8 m/s2
= 0.042 kg
332 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

จาก Fc = mac
11..13
13NN
แทนค่า aacc ==
00..042
042kg
kg
= 26.9 m/s2

ตอบ ความเร่งสู่ศูนย์กลางของจุกยางมีขนาดเท่ากับ 27 เมตรต่อวินาที2



5. วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกมีรัศมีประมาณ 384000 กิโลเมตร และคาบการโคจรของดวง
จันทร์ 27.3 วัน อัตราเร็วของดวงจันทร์เทียบกับโลกเป็นเท่าใด ในหน่วยกิโลเมตรต่อชั่วโมง
วิธีทำ� อัตราเร็วของดวงจันทร์เทียบกับโลก หาได้จาก

2π r
v =
T
2(3.14)(384000 km)
แทนค่า v =
27.3 d × 24 h/d
= 3.681 × 103 km/h

ตอบ อัตราเร็วของดวงจันทร์เทียบกับโลกเท่า 3.68 × 103 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 333

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7

คำ�ถาม
1. การดีดเหรียญออกจากขอบโต๊ะด้วยแรงในแนวระดับทีม
่ ค
ี า่ แตกต่างกัน เส้นทางการเคลือ
่ นทีข
่ อง
วัตถุจะเป็นดังรูป

1 2 3
รูป ประกอบคำ�ถามข้อ 1

ความเร็วตามแนวระดับของเหรียญตามเส้นทาง ทั้งสามเป็นอย่างไร
แนวคำ�ตอบ  การดีดเหรียญออกจากขอบโต๊ะด้วยแรงในแนวระดับที่มีค่าแตกต่างกัน จะทำ�ให้
ความเร็วตามแนวระดับของเหรียญมีค่าต่างกัน ถ้าเหรียญทั้งสามใช้เวลาในการเคลื่อนที่เท่ากัน
เหรียญที่มีความเร็วต้นในแนวระดับมากกว่าจะเคลื่อนที่ได้ระยะทางในแนวระดับมากกว่า นั่นคือ
ตกไกลจากโต๊ะมากกว่า ดังนัน
้ ความเร็วตามแนวระดับของเหรียญตามเส้นทาง 3 มากกว่า เส้นทาง 2
และ 1 ตามลำ�ดับ

2. นักกีฬายิงธนูออกไปในแนวระดับไปยังเป้า ลูกธนูมีการเคลื่อนที่แนวตรงหรือการเคลื่อนที่แบบ
โพรเจกไทล์ ให้เหตุผล
แนวคำ�ตอบ  เมื่อนักกีฬายิงธนูออกไปในแนวระดับไปยังเป้า เราอาจเห็นว่าลูกธนูมีการเคลื่อนที่
แนวตรง แต่จริง ๆ แล้วลูกธนูมีการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ เช่นเดียวกับการดีดเหรียญจาก
ขอบโต๊ะ หรือขว้างวัตถุออกไปในแนวระดับ ทั้งนี้เนื่องจากลูกธนูมีความเร็วต้นค่อนข้างสูงและเป้า
อยู่ไม่ไกลมาก จึงใช้เวลาในการเคลื่อนที่น้อย ทำ�ให้ระยะทางในแนวดิ่งมีค่าน้อย
334 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

3. ดีดเหรียญทีว่ างบนขอบโต๊ะ ถ้าบริเวณนัน


้ ปราศจากสนามโน้มถ่วง แนวการเคลือ
่ นทีข
่ องเหรียญ
จะเป็นอย่างไร
แนวคำ�ตอบ ถ้าบริเวณที่ดีดเหรียญปราศจากสนามโน้มถ่วง จะไม่มีแรงโน้มถ่วงกระทำ�ต่อเหรียญ
จึงไม่มก
ี ารเคลือ
่ นทีใ่ นแนวดิง่ มีแต่การเคลือ
่ นทีใ่ นแนวระดับ นัน
่ คือแนวการเคลือ
่ นทีข
่ องเหรียญจะ
เป็นเส้นตรงในแนวระดับโดยมีความเร็วในแนวระดับคงตัว

4. ขณะที่กำ�ลังถีบรถจักรยานด้วยอัตราเร็วคงตัว ก็ปล่อยเหรียญบาทให้ตกสู่พื้นถนน แนวทางเดิน


ของเหรียญบาทที่สังเกตโดยผู้ถีบรถจักรยานจะเป็นอย่างไร และผู้ที่ยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามของถนนจะ
เห็นแนวทางเดินของเหรียญบาทเป็นอย่างไร เหมือนผู้ถีบรถจักรยานเห็นหรือไม่ (ลองทำ�ดู) และ
เขียนแนวทางเดินของเหรียญที่ผู้สังเกตทั้งสองเห็น
แนวคำ�ตอบ ขณะที่กำ�ลังถีบรถจักรยานด้วยอัตราเร็วคงตัว เมื่อเหรียญบาทถูกปล่อยให้ตกสู่พื้น
ถนน เหรียญบาทและคนถีบจะมีความเร็วในแนวระดับค่าเดียวกัน ผู้ถีบรถจักรยานจะเห็นเหรียญ
ตกในแนวดิ่ง ดังนั้นแนวทางเดินของเหรียญบาทที่ผู้ถีบจักรยานเห็นจะเป็นเส้นตรงในแนวดิ่ง ส่วน
ผูท
้ ยี่ น
ื อยูฝ
่ งั่ ตรงข้ามของถนนจะเห็นแนวทางเดินของเหรียญบาทเป็นเส้นโค้งพาราโบลา ทีม
่ ค
ี วามเร็ว
ในแนวระดับเท่ากับความเร็วของรถจักรยาน

5. พิจารณาทางเดินของลูกบอลที่ถูกเตะออกไป ดังรูป ขณะที่ลูกบอลลอยอยู่

C
B D

A E

รูป ประกอบคำ�ถามข้อ 5

จงหา
ก. ตำ�แหน่งใดที่ขนาดของความเร็วในแนวดิ่งมีค่ามากที่สุด
ข. ตำ�แหน่งใดที่ขนาดของความเร็วในแนวระดับมีค่าเท่ากัน
ค. ตำ�แหน่งใดที่ขนาดของความเร็วในแนวดิ่งมีค่าน้อยที่สุด
ง. ตำ�แหน่งใดที่ขนาดของการกระจัดมีค่ามากที่สุด
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 335

แนวคำ�ตอบ ถ้าลูกบอลถูกเตะออกไปจาก A จะได้


ก. ที่ A และ E ขนาดของความเร็วในแนวดิ่ง มีค่ามากที่สุด
ข. ขนาดของความเร็วในแนวระดับทุกตำ�แหน่งมีค่าเท่ากัน
ค. ที่จุดสูงสุด C ขนาดของความเร็วในแนวดิ่งมีค่าน้อยที่สุด
ง. ที่ E ขนาดของการกระจัดมีค่ามากที่สุด

6. เด็กคนหนึ่งกำ�ลังเล่นรถบังคับไร้สายบนระเบียงบ้าน ปรากฏว่ารถพุ่งออกนอกระเบียงตกสู่พื้น
ด้านล่าง เวลาที่รถตกถึงพื้นขึ้นกับอัตราเร็วขณะพ้นขอบระเบียงหรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวคำ�ตอบ เวลาที่รถตกถึงพื้นไม่ขึ้นกับอัตราเร็วขณะพ้นขอบระเบียง เพราะถ้าถือว่า รถพุ่งออก
1
จากระเบียงในแนวระดับ เมื่อพิจารณาจากสมการ ∆y = gt 2 พบว่าเวลาที่รถตกถึงพื้นขึ้นกับ
2
ความสูงของระเบียงเท่านั้น

7. การปั่นผ้าของเครื่องซักผ้าทำ�ให้ผ้าหมาดได้ เพราะน้ำ�พุ่งออกจากผ้าในแนวรัศมี คำ�กล่าวนี้ถูก


ต้องหรือไม่ ให้เหตุผล
แนวคำ�ตอบ คำ�กล่าวนี้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากเสื้อผ้าในถังปั่นของเครื่องซักผ้าแห้งได้ เพราะน้ำ�ถูก
สะบัดออกจากเสื้อผ้าในแนวเส้นสัมผัสวงกลม

8. จากชุดทดลองการเคลื่อนที่แบบวงกลม ขณะที่จุกยางเคลื่อนที่แบบวงกลม ถ้าเชือกที่ผูกจุกยาง


ขาด จุกยางจะเคลื่อนที่อย่างไร
แนวคำ�ตอบ จุกยางจะเคลื่อนที่ในแนวตรงตามแนวเส้นสัมผัสวงกลม

9. วัตถุเคลือ
่ นทีต
่ ามแนวทางโค้งโดยมีความเร่งเป็นศูนย์หรือความเร่งคงตัวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวคำ�ตอบ ในบทเรี ย นนี้ การเคลื่ อ นที่ ต ามแนวทางโค้ ง อาจเป็ น ได้ ทั้ ง วั ต ถุ ที่ เ คลื่ อ นที่ แ บบ
โพรเจกไทล์และแบบวงกลมสม่ำ�เสมอซึ่งจะมีความเร่งเป็นศูนย์ไม่ได้เพราะทิศทางของความเร็ว
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เมือ
่ พิจารณาความเร่งของวัตถุ จะพบว่า การเคลือ
่ นทีแ่ บบโพรเจกไทล์ความเร่งคงตัว
ได้เพราะเป็นการเคลือ
่ นทีภ
่ ายใต้สนามโน้มถ่วง แต่การเคลือ
่ นทีแ่ บบวงกลมสม่�ำ เสมอความเร่งคงตัว
ไม่ได้เพราะทิศทางของความเร่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
336 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

10. แรงที่กระทำ�ต่อวัตถุที่ตกแบบเสรี วัตถุที่เคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ และวัตถุที่เคลื่อนที่แบบ


วงกลม กับแนวการเคลื่อนที่ของวัตถุทั้งสามกรณี เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
แนวคำ�ตอบ แรงที่ ก ระทำ � ต่ อ วั ต ถุ แ บบตกเสรี กั บ การเคลื่ อ นที่ แ บบโพรเจกไทล์ เ หมื อ นกั น แต่
ต่างจากการเคลื่อนที่แบบวงกลม ส่วนแนวการเคลื่อนที่ทั้งสามแบบแตกต่างกัน ดังตาราง

การเคลื่อนที่ แรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ แนวการเคลื่อนที่

การตกแบบเสรี แรงโน้มถ่วง เส้นตรงในแนวดิ่ง


การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ แรงโน้มถ่วง แนวโค้งพาราโบลา
การเคลื่อนที่แบบวงกลม แรงลัพธ์จากแรงใดๆ ที่มีทิศทาง วงกลมหรือส่วน
เข้าสู่ศูนย์กลางวงกลม ของวงกลม
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 337

ปัญหา

1. นักกระโดดไกลกระโดดด้วยความเร็ว 9.8 เมตรต่อวินาที ทำ�มุม 45 องศากับพื้นดิน จงหาว่า


ก. เขาจะกระโดดไปได้ระยะทางไกลเท่าใด
ข. ถ้าเขากระโดดบนผิวดวงจันทร์ดว้ ยความเร็วเท่ากันและมุมเท่ากัน เขาจะกระโดดได้ไกลเท่าใด
1
เมื่อความเร่งโน้มถ่วงบนผิวดวงจันทร์เป็น เท่าของความเร่งโน้มถ่วงบนผิวโลก
6
วิธีทำ�
ก. กระโดดบนพื้นโลก
พิจารณาแนวดิ่ง กระโดดขึ้นและลงสู่พื้น การกระจัด ∆y = 0 และ
u y = ( 9.8 m/s ) sin 45° หาเวลาในการกระโดดจาก
1
∆y = u yt + a yt 2
2
1
แทนค่า 0 = (9.8 m/s) sin45°t + ( −9.8 m/s2 ) t 2
2
t = 2 s
พิจารณาแนวระดับ เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ t = 2 s และ
u x = ( 9.8 m/s ) cos 45° หาระยะทางที่กระโดดจาก
∆x = u x t
แทนค่า ∆x = (9.8 m/s) cos 45° ( 2 s)
∆x = 9.8 m
ตอบ กระโดดบนพื้นโลกได้ระยะทางไกล 9.8 เมตร

ข. กระโดดบนดวงจันทร์
g
พิจารณาเช่นเดียวกับการกระโดดบนพื้นโลกโดยบนดวงจันทร์ความเร่งโน้มถ่วงเท่ากับ
6
หาเวลาในการกระโดดจาก
1  −g  2
∆y = u yt +  t
2 6 
1  −9.8 m/s2  2
แทนค่า 0 = (9.8 m/s) sin45°t +  t
2 6 
t = 6 2 s
338 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

หาระยะทางในแนวระดับจาก
∆x = u x t
แทนค่า ∆x = (9.8 m/s) cos 45° (6 2 s)
∆x = 58.8 m
ตอบ กระโดดบนผิวดวงจันทร์ได้ไกล 59 เมตร

2. ก้อนหินถูกยิงขึ้นจากพื้นดินด้วยความเร็ว 29.4 เมตรต่อวินาที ในแนวเอียงทำ�มุม 30 องศา กับ


พื้นดิน จงหา
ก. ความเร็วและความสูงของก้อนหินที่จุดสูงสุด
ข. เวลาทั้งหมดที่ก้อนหินอยู่ในอากาศ
ค. ก้อนหินตกถึงพื้นได้ระยะทางไกลเท่าใด
ง. จุดสูงสุดอยู่ห่างจากจุดตั้งต้นเป็นระยะทางเท่าใด
วิธีทำ� เขียนภาพการเคลื่อนที่ของก้อนหิน ดังรูป

( 29.4m/s ) sin 30°


29.4m/s
30° ( 29.4m/s ) cos30°

ก. หาความเร็วและความสูงของก้อนหินที่จุดสูงสุด
พิจารณาที่จุดสูงสุด ขณะที่ v y = 0 แต่ก้อนหินยังคงมีความเร็วในแนวระดับ
หาความเร็วของก้อนหินในแนวระดับ จาก
vx = =
( 29
( 29
.4.m/s)
4 m/s)
cos
cos
3030
 

= =2525 .5.5m/s
m/s
2 2
หาระยะทางสูงสุด จาก v y = u y + 2a y ∆y
แทนค่า 0 = ( 29.4 m/s sin30 ) 2 + 2( −9.8 m/s2 ) ∆y
∆y = 11.0 m
ตอบ ความเร็วของก้อนหินที่จุดสูงสุดเท่ากับ 25.5 เมตรต่อวินาที มีทิศทางในแนวระดับ และ
ความสูงของก้อนหินที่จุดสูงสุดเท่ากับ 11.0 เมตร
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 339

ข. หาเวลาที่ก้อนหินใช้เคลื่อนที่ถึงจุดสูงสุด
จากสมการ vvy y == uuy y++aay ty t
แทนค่า
0 = ( 29.4 m/s) sin30 + ( −9.8 m/s2 ) t
t = 1.5 s
ดังนั้นเวลาทั้งหมดที่ก้อนหินอยู่ในอากาศเท่ากับ 1.5 s × 2 = 3.0 s
ตอบ เวลาทั้งหมดที่ก้อนหินอยู่ในอากาศเป็น 3.0 วินาที

ค. หาระยะทางในแนวระดับที่ก้อนหินตกถึงพื้น
จากสมการ ∆x = uxt
แทนค่า ∆x = ( 29.4 m/s) cos 30 (3.0 s)
= 76.4 m
ตอบ ก้อนหินตกถึงพื้นได้ระยะทางไกล 76.4 เมตร

ง. หาระยะห่างระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดสูงสุด โดยเขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของก้อนหิน
ดังรูป

d
dy
dx

จากรูป ให้ d เป็นระยะห่างระหว่างจุดเริ่มต้นถึงจุดสูงสุด

จาก dd2 2 == ddx2 x2++ddy2 y2

แทนค่า d = (38.2 m) 2 + (11.0 m) 2


= 39.76 m

ตอบ จุดสูงสุดอยู่ห่างจากจุดตั้งต้นเป็นระยะทาง 39.8 เมตร


340 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

3. ขว้างลูกกอล์ฟให้เคลื่อนออกไปด้วยความเร็ว 10 เมตรต่อวินาที ในทิศทางทำ�มุม 60 องศากับ


แนวระดับ ลูกกอล์ฟตกถึงพื้นดินในเวลา 2.0 วินาที ลูกกอล์ฟตกได้ระยะทางในแนวระดับกี่เมตร
วิธีทำ� เขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของลูกกอล์ฟ ดังรูป

(10 m/s ) sin 60° 10 m/s

60° 10 m/s cos 60°


( )

หาระยะทางในแนวระดับของลูกกอล์ฟ

จาก ∆x = u x t
แทนค่า ∆x = (10 m/s) cos 60 ( 2.0 s)
= 10 m
ตอบ ลูกกอล์ฟตกได้ระยะทางในแนวราบ เท่ากับ 10 เมตร

4. ในการเตะฟุตบอลด้วยความเร็วต้นค่าหนึง่ ได้การกระจัดในแนวระดับไกลทีส
่ ด
ุ พบว่าทีจ่ ด
ุ สูงสุด
ลูกฟุตบอลที่พุ่งออกไปมีความเร็ว 10 เมตรต่อวินาที ช่วงเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่จนกระทั่งตกถึง
พื้นมีค่าเท่าใด
วิธีทำ� การเตะฟุตบอลให้ได้ระยะทางในแนวระดับไกลที่สุดด้วยความเร็วต้นค่าหนึ่ง
มุมทีล่ กู ฟุตบอลพุง่ ออกไปเท่ากับ 45 องศา และทีจ่ ด
ุ สูงสุดมีความเร็วในแนวระดับ
หาความเร็วต้น u ได้จาก
= 10 m/s
จะได้ u = 14.14 m/s
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 341

ช่วงเวลาที่ใช้เคลื่อนที่จนกระทั่งตกถึงพื้นหาได้จาก

t
2u sin θ =
g
2(14.14 m/s)(0.7071)
แทนค่า t =
9.8 m/s2
t = 2.04 s

ตอบ ช่วงเวลาที่ลูกฟุตบอลใช้เคลื่อนที่จนกระทั่งตกถึงพื้นมีค่า 2.0 วินาที

5. ในการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบโพรเจกไทล์ เมื่อเวลาผ่านไป t การกระจัดในแนวระดับ ∆x = u x t


1
และการกระจัดในแนวดิ่ง ∆y = a y t 2
2
 ay 
ก. จงพิสูจน์ว่า ∆y =  2  ( ∆x ) 2
 2u x 
ข. จากสมการในข้อ ก. จงแสดงว่า วัตถุมีเส้นทางเดินเป็นรูปพาราโบลา
11 1
วิธีทำ� ก. จาก ∆y∆y
=∆y
= a=yat 2y ta2y t 2 (1)
22 2
จาก ∆x = u x t (2)
∆x
t =
ux
แทน t จาก (2) ใน (1)
2
1  ∆x 
จะได้ ∆y = ay  
2  ux 
 aaa   2 2 2
y y== y2 y2y(2∆(x∆()∆
∆y∆∆
= x )x )
2 u2 u
2 u
  x x x 
ay
ข. เนื่องจาก a y และ u x มีค่าคงตัว ดังนั้น = k เมื่อ k เป็นค่าคงตัว
2u x 2
นั่นคือ ∆y = k ( ∆x ) 2 ถ้าให้จุดเริ่มต้นอยู่ที่จุดกำ�เนิดจะได้ ∆y = y และ ∆x = x
ดังนั้นจึงเทียบ ∆y = k ( ∆x ) 2 ได้กับ y = kx 2 ซึ่งสมการนี้เป็นสมการของพาราโบลา
แสดงว่า วัตถุมีเส้นทางเดินเป็นรูปพาราโบลา
342 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2


6. ยิงวัตถุ A ให้เคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ด้วยความเร็วเริ่มต้น u1 ขนาดเท่ากับ 40 เมตรต่อวินาที

ทำ�มุม 30 องศากับแนวระดับ ขณะเดียวกันวัตถุ B ถูกยิงขึ้นไปในแนวดิ่งด้วยความเร็วต้น u2
ดังรูป

u1

u2
30°
วัตถุ A วัตถุ B
รูป ประกอบปัญหาข้อ 6


วัตถุ B จะต้องถูกยิงขึน
้ ไปในแนวดิง่ ด้วยความเร็วต้น u2 ขนาดเท่าใดจึงจะทำ�ให้วต
ั ถุ A และ B
ชนกันกลางอากาศ
วิธีทำ� วัตถุ A และ B เริ่มต้นเคลื่อนที่จากระดับเดียวกันพร้อมกัน เมื่อชนกันแสดงว่าวัตถุเคลื่อนที่
มาถึงตำ�แหน่งเดียวกันที่เวลาเดียวกัน ดังนั้น เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่และการกระจัดใน
แนวดิง่ มีคา่ เท่ากัน นัน
่ คือ tA= tB= t และ ∆yA = ∆y B แต่เนือ่ งจากวัตถุ A มีการเคลือ่ นที่
แบบโพรเจกไทล์ จึงต้องหาเวกเตอร์องค์ประกอบของความเร็วต้นในแนวดิ่งและแนวระดับ
ดังรูป


u1 sin30° u1

30° u1 cos30°
u2
วัตถุ A วัตถุ B

จาก ∆yA = ∆y B

1
ที่วัตถุ A, ∆yA = u1 y t + ( a y )t 2
2
1
ที่วัตถุ B, ∆yB = u2t + (a y )t 2
2
 1 2  1 
จะได้ u t + ( a ) t = u2t + ( a y )t 2 
 1 y
2
y 
A  2 B
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 343

u1 y = u2

= u2
1
( 40 m/s )   = u2
2
u2 = 20 m/s

ตอบ วัตถุมวล B จะต้องยิงขึ้นไปในแนวดิ่งด้วยความเร็วต้น u2 เท่ากับ 20 เมตรต่อวินาที


ข้อสังเกต ไม่ว่าจะยิงวัตถุ B ที่ตำ�แหน่งใดใต้แนวการเคลื่อนที่ของวัตถุ A ด้วยความเร็วต้นเท่ากับ
ความเร็วต้นในแนวดิ่งของ A วัตถุทั้งสอง ๆ จะพบกันหนึ่งครั้งเสมอ

7. ขว้างก้อนหินออกไปในแนวระดับด้วยอัตราเร็ว 5.0 เมตรต่อวินาทีจากตึกสูงแห่งหนึ่ง เมื่อก้อน


หินตกกระทบพื้น ความเร็วของก้อนหินขณะนั้นทำ�มุม กับแนวระดับ ก้อนหินตกห่างจากตึกใน
แนวระดับเท่าใด กำ�หนดให้
วิธีทำ� เขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของก้อนหิน ดังรูป

ux = 5 m/s

vx
60°


vy v

ความเร็ ว ในแนวระดั บ มี ค่ า คงตั ว ทั้ ง ขนาดและทิ ศ ทาง หาความเร็ ว ในแนวดิ่ ง ขณะวั ต ถุ

กระทบพื้น จาก
vy
=
vx
344 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

vy
แทนค่า 3 =
50
. m/s
v y = 8.66 m/s
หาเวลาที่ก้อนหินเคลื่อนที่ในอากาศจากแนวดิ่ง
จากสมการ v y = u y + a y t
แทนค่า −8.66 m/s = 0 + ( −9.8 m/s2 )t
t = 0.884 s
ให้ sx เป็นการกระจัดของก้อนหินขณะกระทบพื้น
จากสมการ ∆x = uxt
แทนค่า ∆x = (5.0
u x t m/s)(0.884 s)
= 4.42 m
ตอบ ก้อนหินตกห่างจากตึกในแนวระดับ 4.4 เมตร

8. ทหารยิงปืนในแนวระดับสูงจากพื้น 1.5 เมตร ลูกปืนที่ออกจากลำ�กล้องมีอัตราเร็ว 500 เมตร


ต่อวินาที ถูกต้นไม้ที่อยู่ห่างออกไป 100 เมตร เมื่อไม่คิดแรงต้านจากอากาศ ลูกปืนจะเจาะต้นไม้ที่
ความสูงจากพื้นเท่าใด
วิธีทำ� เขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของลูกปืน ดังรูป

ux = 500 m/s
∆y
1.5 m
h
∆x = 100 m

หาเวลาที่ลูกปืนเคลื่อนที่ในแนวระดับ
จากสมการ ∆x = uxt
แทนค่า 100 m = (500 m/s)t
t = 0.2s
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 345

พิจารณาการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง
1
จากสมการ ∆y = u yt + a yt 2
2
1
แทนค่า ∆y = (0)(0.2 s) + ( −9.8 m/s2 )(0.2 s) 2
2
= -0.196 m
ดังนั้น h = 1.5 m - 0.196 m
= 1.304 m
ตอบ ลูกปืนจะเจาะต้นไม้ที่ความสูงจากพื้นดิน 1.3 เมตร

9. ขว้างวัตถุ A ด้วยอัตราเร็ว 20.0 เมตรต่อวินาที ขึ้นทำ�มุม 60 องศากับแนวระดับ วัตถุ A กลับ


ถึงระดับเดิม โดยใช้เวลาเท่ากับการขว้างวัตถุ B ด้วยอัตราเร็ว uB ขึ้นทำ�มุม 30 องศากับแนวระดับ
อัตราเร็ว uB เป็นเท่าใด ถ้าไม่คิดแรงต้านของอากาศ
วิธีทำ� พิจารณาการกระจัดของวัตถุในแนวแกน y เมื่อวัตถุกลับมาถึงระดับเดิม
1
จากสมการ ∆y = u yt + a yt 2
2
1
จะได้ 0 = ( u sin θ ) t + ( − g )t
2

2
1 2
gt = ( u sin θ ) t
2
2u sin θ
t =
g
โจทย์กำ�หนดให้วัตถุ A และวัตถุ B ใช้เวลากลับถึงระดับเดิมเท่ากัน

2uA sin θ A 2uB sin θ B


จะได้ =
g g
uB = uA sin 60
sin 30
= ( 20.0 m/s)( 3 / 2)
(1 / 2)
= 20 3 m/s

ตอบ อัตราเร็ว uB มีขนาด 20 3 m/s


เมตรต่อวินาที หรือ 34.6 เมตรต่อวินาที
346 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

10. ลูกแก้วกลิ้งไปตามพื้นห้องด้วยอัตราเร็วคงตัว 4.0 เมตรต่อวินาที แล้วตกลงไปบนบันไดซึ่ง


แต่ละขั้นสูง 10 เซนติเมตร กว้าง 20 เซนติเมตร ลูกแก้วจะตกลงบนบันไดขั้นที่เท่าใดในครั้งแรก
วิธีทำ� เขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของลูกแก้วแสดง ดังรูป


u = 4 m/s

∆y = (0.1 m) N

∆x = (0.2 m) N

สมมติให้ลูกแก้วตกกระทบครั้งแรกที่ขอบของบันไดขั้นที่ N
หาเวลาที่ลูกแก้วเคลื่อนที่ในแนวระดับ เมื่อตกลงขั้นบันไดขั้นที่ N
จากสมการ
แทนค่า ( 0.2 m ) N = ( 4.0 m/s) t
t = 0.05 N s
พิจารณาการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง
1 1
จากสมการ ∆y ==u y tu+y t +a y ta2 y t 2
2 2
1
แทนค่า ( −0.1 m ) N = (0)(0.05 N s) + ( −9.8 m/s2 )(0.05N s) 2
2
1
( −0.1 m ) N = ( −9.8 m/s2 )(0.05N s) 2
2
0.1 = 0.01225 N

N = 8.163
สังเกตได้ว่า ลูกแก้วตกลงเลยขอบบันไดขั้นที่ 8 ดังนั้น ลูกแก้วจะตกลงบนบันไดครั้งแรกใน
ขั้นที่ 9
ตอบ ลูกแก้วจะตกลงบนบันไดครั้งแรกในขั้นที่ 9
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 347

11. ในการแกว่งจุกยางมวล m ของชุดทดลองการเคลื่อนที่แบบวงกลม ใช้นอตหนัก W พบว่า


เมื่อแกว่งจุกยางจนทำ�ให้นอตหยุดนิ่ง เส้นเชือกเอียงทำ�มุม θ กับแนวระดับ ดังรูป

θ
m

W
รูป ประกอบปัญหาข้อ 11

  ถ้าแกว่งจุกยางให้เร็วขึ้นจนทำ�ให้นอตเคลื่อนที่จนหยุดนิ่ง เส้นเชือกจะเอียงทำ�มุม θ กับแนว


ระดับเหมือนเดิมหรือไม่ จงอธิบาย
วิธีทำ� เขียนแผนภาพของแรงที่กระทำ�ต่อจุกยาง ดังรูป

T sinθ 
T
θ T cosθ
mg


เมื่อแยกองค์ประกอบของแรง T ให้อยู่ในแนวระดับและแนวดิ่ง จะได้
แนวดิ่ง T sin θ = mg
จากสมการจะได้ว่า แรงดึงเชือกมีค่าคงตัวเท่ากับน้�ำ หนักของนอต นั่นคือ
T = W
จะได้ W sin θ = mg
mg
mg
mg
sin θ θθ = ==
sin
sin
WW
W
348 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

mg
เนื่องจาก น้ำ�หนักของลูกตุ้ม (mg) และน้ำ�หนักของนอต (W) มีค่าคงตัว ดังนั้น sin θ =
W
มีค่าคงตัว จึงทำ�ให้ θ กับแนวระดับ มีค่าคงตัว
ตอบ ถ้าแกว่งจุกยางให้เร็วขึ้นจนทำ�ให้นอตเคลื่อนที่จนหยุดนิ่ง เส้นเชือกจะเอียงทำ�มุม θ กับ
แนวระดับเหมือนเดิม

12. นักเรียนคนหนึ่งทำ�การทดลองการเคลื่อนที่แบบวงกลม โดยใช้เชือกผูกกับจุกยางแล้วแกว่ง


ให้เคลื่อนที่เป็นวงกลมในระนาบระดับ น้ำ�หนักของจุกยางทำ�ให้เส้นเชือกไม่อยู่ในแนวระดับและ
จุกยางอยู่ห่างจากท่อพีวีซี 0.8 เมตร ดังรูป

0.1 m
0.8 m

รูป ประกอบปัญหาข้อ 12

จุกยางแกว่งด้วยอัตราเร็วกี่เมตรต่อวินาที

วิธีทำ� ให้ T เป็นแรงดึงในเส้นเชือก และ θ เป็นมุมที่เชือกเอียงทำ�มุมกับแนวดิ่ง ดังรูป

 T cosθ
0.1 m
θ T
0.8 m
T sinθ
mg
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 349

แรงในแนวระดับเป็นแรงสู่ศูนย์กลาง
mv 2
จากสมการ Fc =
r
mv 2
จะได้ T sin θ = (1)
r
แรงลัพธ์ในแนวดิ่งมีค่าเป็นศูนย์

จะได้ T cos θ = mg (2)


(1) v2
จะได้ tan θ =
( 2) rg
v = rg tan θ 2

2  0.8 
= (0.8 m)(9.8 m/s )  
 0.1 
v 2 =(62.72 m 2 /s2 )
ดังนั้น v = 7.92 m/s
ตอบ จุกยางมีอัตราเร็ว 8 เมตรต่อวินาที

13. ลูกกลมเหล็กมวล 0.4 กิโลกรัม ผูกไว้ดว้ ยเชือกเบา ปลายข้างหนึง่ ตรึงไว้กบ


ั ที่ แกว่งเชือกเพือ

ให้ ลู ก เหล็ ก เคลื่ อ นที่ เ ป็ น วงกลมในระนาบระดั บ รั ศ มี 0.49 เมตร โดยมี อั ต ราเร็ ว เชิ ง มุ ม
4.0 เรเดียนต่อวินาที ดังรูป

0.49 m


รูป ประกอบปัญหาข้อ 13

ขณะนั้นแรงดึงของเส้นเชือกมีค่าเท่าใด
350 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2


วิธีทำ� ให้้ T เป็นแรงดึงในเส้นเชือก และ θ เป็นมุมที่เชือกเอียงทำ�มุมกับแนวดิ่ง ดังรูป

T cosθ 
T

θ
T sin θ

mg

จากสมการ Fc =
mv 2
r
เมื่อแรงในแนวระดับเป็นแรงสู่ศูนย์กลาง จะได้
2
T sin θ = mv
r
T sin θ = mω 2 r (1)

แรงลัพธ์ในแนวดิ่งเป็นศูนย์ จะได้

T cos θ = mg (2)
2
(1) ωr
จะได้ tan θ =
( 2) g
( 4 rad/s) 2 (0.49 m)
=
(9.8 m/s2 )
4
=
5
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 351

เขียน tan θ เป็นรูปสามเหลี่ยม ดังรูป


θ

41
5

4
5
จะได้ cos θ =
41
แทนค่า cos θ ในสมการ (2) จะได้

 5 
T   = (0.4 kg)(9.8 m/s )
2

 41 
T = 5.02 N
ตอบ แรงดึงของเส้นเชือก 5 นิวตัน

14. ในการนั่งม้าหมุนในเทศกาลแห่งหนึ่ง ผู้โดยสารที่นั่งเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงตัวเป็นวงกลม


รัศมี 5 เมตร และเคลื่อนที่ครบ 2 รอบในเวลา 20 วินาที ขนาดความเร่งสู่ศูนย์กลางของผู้โดยสาร
มีค่าเท่าใด (ตอบในเทอม )
วิธีทำ� เนื่องจากผู้โดยสารเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงตัว ดังนั้นความเร่งของผู้โดยสารจึงมีเฉพาะ
ความเร่งสู่ศูนย์กลางอย่างเดียว
v2
จากสมการ ac =
r
=

จะได้ ac =

ac =

ตอบ ขนาดความเร่งสู่ศูนย์กลางของผู้โดยสารมีค่าเท่ากับ เมตรต่อวินาทีก�ำ ลังสอง


352 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

15. แกว่งจุกยางให้เคลือ
่ นทีเ่ ป็นวงกลมในระนาบระดับ โดยมีรศ
ั มีการเคลือ
่ นทีค
่ งตัว เขียนกราฟ
ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดความเร่งสู่ศูนย์กลาง ( ac ) กับอัตราเร็วเชิงมุมยกกำ�ลังสอง (ω 2 ) ได้
ดังกราฟ

ac (m/s 2 )
8

ω 2 (rad 2 /s 2 )
0 2 4 6 8 10

รูป ประกอบปัญหาข้อ 15

รัศมีการเคลื่อนที่มีค่าเท่าใด

วิธีทำ� จากสมการ ac = rω 2

ความชัน ของกราฟระหว่าง ac กับ ω 2 คือรัศมี r

r = ∆ac
∆ω 2
2
= 3 m/s
4 rad 2 /s2
= 0.75 m

ตอบ รัศมีการเคลื่อนที่เป็น 0.75 เมตร


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 353

16. ลูกตุ้มมวล m ถูกปล่อยจากตำ�แหน่งหยุดนิ่ง ในขณะที่เชือกซึ่งยาว l เอียงทำ�มุม θ กับ


แนวดิ่ง เมื่อลูกตุ้มผ่านจุดต่ำ�สุด แรงดึงในเส้นเชือกมีค่าเท่าใด
วิธีทำ� เขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของลูกตุ้ม ดังรูป

l l cosθ

A
T
h l − l cosθ

mg

พิจารณาวัตถุมวล m ที่ตำ�แหน่งต่ำ�สุด คือ ตำ�แหน่ง B


mvB2
TB − mg =
r
mvB2
TB = + mg (1)
r
หาความเร็วที่จุด B โดยใช้กฎการอนุรักษ์พลังงานจาก
EB = EA
1 1
mghB + mvB2 = mghA + mvA2
2 2
1
0 + mvB2 = mg (l − l cos θ ) + 0
2
vB2 = 2 g (l − l cos θ ) (2)
แทนค่า (2) ใน (1) จะได้
2mg (l − l cos θ )
TB = + mg
l
=
mg(3 − 2 cos θ )
ตอบ แรงดึงของเส้นเชือกเมื่อลูกตุ้มผ่านจุดต่�ำ สุดมีค่าเท่ากับ mg(3 − 2 cos θ )
354 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

17. ลูกกลมมวล 2 กิโลกรัม ผูกไว้ด้วยเชือกยาว 2 เมตร จัดให้ปลายข้างหนึ่งตรึงไว้กับที่ แกว่ง


เชือกเพื่อให้ลูกกลมเคลื่อนที่ในแนววงกลมในระนาบระดับ โดยเชือกเอียงทำ�มุม θ กับแนวดิ่ง
ดังรูป

รูป ประกอบปัญหาข้อ 17

ถ้าอัตราเร็วเชิงมุมของลูกกลมเพิม
่ ขึน
้ ทีละน้อย และเส้นเชือกทนแรงดึงได้มากทีส่ ด
ุ 100 นิวตัน
จงหา
ก. เส้นเชือกจะขาดเมื่อมุม θ มีค่ากี่องศา
ข. อัตราเร็วเชิงมุมขณะนั้นมีค่าเท่าใด
วิธีทำ� เขียนภาพการเคลื่อนที่ของลูกกลม ดังรูป


T cosθ T

T sinθ

mg

ก. หามุม θ ขณะแรงดึงของเส้นเชือก T = 100 N จะได้


(100 N ) cos θ = 19.6 N
θ = 78.697
ถ้า มากกว่า 100 N มุม θ จะต้องโตกว่
θ> า 78.7° ดังนั้น เชือกจะขาดเมื่อ θ > 78.7°
ตอบ เชือกจะขาดเมื่อมุม θ โตกว่า 78.7 องศา
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 355

ข. หาอั ต ราเร็ ว เชิ ง มุ ม ขณะเส้ น เชื อ กจะขาด เนื่ อ งจาก T sin θ เป็ น แรงเข้ า สู่ ศู น ย์ ก ลาง
ดังนั้น
mv 2
T sin θ =
r
= mω 2 r

แทนค่า (100 N ) sin θ = ( 2 kg ) ω 2 ( 2 m ) sin θ

ω = 5 rad/s

ตอบ เชือกจะขาดเมื่ออัตราเร็วเชิงมุมมากกว่า 5 เรเดียนต่อวินาที

18. วัตถุมวล 300 กรัม โยงติดกับคานที่ตั้งอยู่ในแนวดิ่งด้วยเชือก 2 เส้น โดยที่คานหมุนรอบ


ตัวเองทำ�ให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลมในระนาบระดับโดยมีความถี่คงตัว ดังรูป

50 cm

80 cm m

50 cm

รูป ประกอบปัญหาข้อ 18

ถ้าเชือกเส้นบนมีแรงดึง 20 นิวตัน จงหา


ก. แรงดึงของเชือกเส้นล่าง
ข. ความถี่ของการเคลื่อนที่ของวัตถุ
356 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

วิธีทำ� เขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของลูกตุ้ม ดังรูป

 T1 sin θ
T1
(T1 + T2) cosθ θ
80 cm
θ
m

T2
T2sinθ + mg

ก. เมื่อวัตถุสมดุลต่อการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง

T1 sin θ = T2 sin θ + mg

แทนค่า ( 20 N )sin θ = T2 sin θ + (0.3 kg × 9.8 m/s2)

 40 cm   40 cm 
20 N   = 2.94 N + T2  50 cm 
 50 cm   
4
16 N = 2.94 N + T2
5
T2 = 16.33 N

ตอบ แรงดึงของเชือกเส้นล่างเท่ากับ 16.3 นิวตัน

ข. จากรูป แรงสู่ศูนย์กลางเท่ากับ ( T1 + T2 ) cos θ

mv 2
จากสมการ Fc =
r
m ( 2π Rf )
2

จะได้ ( T1 + T2 ) cos θ =
r
f = 2.48 s-1

ตอบ ความถี่ของการเคลื่อนที่ของวัตถุเท่ากับ 2.5 รอบต่อวินาที


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 357

19. ถ้าแกว่งเชือกที่มีวัตถุก้อนหนึ่งผูกอยู่ที่ปลายให้เคลื่อนที่ในแนววงกลมในระนาบระดับ โดย


แนวเส้นเชือกทำ�มุม θ กับแนวดิ่ง รัศมีของการเคลื่อนที่ในแนววงกลมเท่ากับ r และวัตถุเคลื่อนที่
v2
ด้วยอัตราเร็วสม่ำ�เสมอ v จงแสดงว่า tan θ = เมื่อ g คือความเร่งโน้มถ่วง
rg
วิธีทำ� เขียนแผนภาพการแกว่งของลุกตุ้มแบบกรวย ดังรูป

T cosθ 
T

T sinθ

mg
mv 2
พิจารณาแรงในแนวระดับ T sin θ = (1)
r
พิจารณาแรงในแนวดิ่ง T cos θ = mg (2)
(1) v2
จะได้ tan θ =
( 2) rg
v2
แสดงว่า tan θ =
rg

20. ขณะโลกหมุนรอบตัวเอง พบว่าวัตถุต่าง ๆ ที่อยู่บนผิวโลกเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเชิงมุม


7.27 × 10−5 เรเดียนต่อวินาที โลกมีรัศมี 6.37 × 106 เมตร ดาวเทียมสื่อสารดวงหนึ่งอยู่สูงจาก
ผิวโลกเป็น 5 เท่าของรัศมีโลก ดาวเทียมดวงนี้เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเชิงเส้นเท่าใด
วิธีทำ� อัตราเร็วเชิงมุมของดาวเทียมสื่อสารเท่ากับอัตราเร็วเชิงมุมของวัตถุที่อยู่บนผิวโลก โดย
ดาวเทียมห่างจากศูนย์กลางโลกเท่ากับ 6 เท่าของรัศมีโลก

จากสมการ v = ωr

แทนค่า v = (7.27 × 10−5 rad/s)(6 × 6.37 × 106 m)

= 2.78 × 103 m/s

ตอบ ดาวเทียมดวงนี้เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเชิงเส้น 2.78 × 103 เมตรต่อวินาที


358 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

21. ดาวเทียม A มวล m โคจรรอบโลก โดยมีรัศมี r ดาวเทียม B มวล 2m โคจรรอบโลก โดยมี


รัศมี 2r อัตราส่วนระหว่างอัตราเร็วเชิงเส้นของดาวเทียม A และ B มีค่าเท่าใด
วิธีทำ� แรงสู่ศูนย์กลางของดาวเทียมเกิดจากแรงดึงดูดระหว่างมวลของโลกกับดาวเทียม
ให้ M เป็นมวลของโลก และ m เป็นมวลของดาวเทียม

v
m

Fc
r
M

mv 2 G mM
จะได้ =
r r2
GM
v =
r
GM
พิจารณาดาวเทียม A
vA = (1)
r
GM
พิจารณาดาวเทียม B
vB = (2)
2r
(1) จะได้ vA 2
=
( 2) vB 1

ตอบ อัตราส่วนระหว่างอัตราเร็วเชิงเส้นของดาวเทียม A และ B เป็น 2 :1


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 359

22. ขณะที่ ถ นนแห้ ง อั ต ราเร็ ว สู ง สุ ด ที่ ร ถยนต์ คั น หนึ่ ง จะแล่ น เลี้ ย วโค้ ง ที่ ถ นนแห่ ง หนึ่ ง อย่ า ง
ปลอดภัยมีคา่ 18 เมตรต่อวินาที ถ้าแรงเสียดทานสถิตสูงสุดขณะรถคันนีแ้ ล่นเลีย้ วโค้งตอนถนนเปียก
มีค่าเพียงหนึ่งในสามของแรงเสียดทานสถิตสูงสุดขณะถนนแห้ง เมื่อถนนเปียก รถคันนี้ควรใช้
อัตราเร็วขณะแล่นเลี้ยวโค้งไม่เกินเท่าใด
วิธีทำ� ขณะรถแล่ น เลี้ ย วโค้ ง แรงเสี ย ดทานที่ ก ระทำ � ต่ อ ล้ อ รถทางด้ า นข้ า งทำ � หน้ า ที่ เ ป็ น แรง
สู่ศูนย์กลาง
ในกรณีถนนแห้ง จะได้
2
f s = mv1 (1)
r
ขณะถนนเปียกแรงเสียดทานสถิตมีคา่ เป็นหนึง่ ในสามของแรงเสียดทานสูงสุดขณะถนนแห้ง
จะได้

1 = mv22 (2)
fs
3 r
2
( 2) 1 v 
จะได้
=  2 
(1) 3  v1 

v2 = 1
v
3
18 m/s
=
3

= 10.39 m/s

ตอบ เมื่อถนนเปียก รถคันนี้ควรใช้อัตราเร็วขณะแล่นเลี้ยวโค้งไม่เกิน 10.4 เมตรต่อวินาที


360 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

ปัญหาท้าทาย

23. รถคันหนึ่งวิ่งในแนวตรงด้วยอัตราเร็วคงตัว 20.0 เมตรต่อวินาที เมื่อถึงตำ�แหน่ง ก คนในรถ


ยิงก้อนหินขึ้นไปในแนวดิ่งด้วยอัตราเร็ว 19.6 เมตรต่อวินาที ดังรูป

u y =19.6 m/s

v = 20.0 m/s

ตำแหนง ก
รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 23

ขณะที่ก้อนหินตกกลับมาถึงมือคนยิง รถอยู่ห่างจากตำ�แหน่ง ก เป็นระยะทางเท่าใด


วิธีทำ� ก้อนหินอยู่ในรถที่มีความเร็ว  จะมีความเร็วในแนวราบเป็น  20.0  เมตรต่อวินาทีเท่ากับ
ความเร็วของรถด้วย เมื่อก้อนหินหลุดจากมือคนยิง จะมีทั้งความเร็วในแนวราบและแนวดิ่ง
ทำ�ให้เส้นทางการเคลื่อนที่เป็นแนวโค้ง ดังรูป

u y =19.6 m/s

u x = 20.0 m/s

ตำแหนง ก

หาความเร็วของก้อนหินในแนวดิ่ง โดยให้ t เป็นเวลาที่ก้อนหินเคลื่อนที่ในอากาศ


1 2
จากสมการ = u yt + a yt
2
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 361

1 2
0 = u y t + a yt
2
1

u y t = − a y t 2
2
2u
t = − y
ay
2(19.6 m/s)
แทนค่า = −
−9.8 m/s2

t = 4.0 s
ให้ เป็นระยะทางที่เคลื่อนที่ได้ในแนวราบ
จากสมการ = uxt
จะได้ = (20.0 m/s)(4.0 s)
= 80 m
ตอบ ขณะที่ก้อนหินกลับตกมาถึงมือ รถอยู่ห่างจากตำ�แหน่ง ก เป็นระยะทาง 80 เมตร

24. เฮลิคอปเตอร์ล�ำ หนึ่งบินในแนวระดับด้วยความเร็ว 50 เมตรต่อวินาที และบินที่ความสูง


จากผิวน้ำ�ทะเล  120  เมตร  เมื่อนักบินเห็นเรือบรรทุกสัมภาระที่แล่นสวนทางมาด้วยความเร็ว
10 เมตรต่อวินาที จึงตัดสินใจปล่อยสัมภาระลงไป ดังรูป

50 m/s

สัมภาระ

120 m

10 m/s

รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 24
362 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

ถ้าสัมภาระจากเฮลิคอปเตอร์ลงเรือพอดี  ต้องปล่อยสัมภาระเมื่อเฮลิคอปเตอร์ห่างเรือใน
แนวระดับเป็นระยะทางเท่าใด
วิธีทำ� เขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของสัมภาระ ดังรูป

50 m/s

สัมภาระ

120 m

10 m/s

sx xs

ให้ t เป็นเวลาที่สัมภาระเคลื่อนที่ลงในเรือ
1 2
จากสมการ = u yt + a yt
2
1
แทนค่า −120 m = 0 + ( −9.8 m/s2 )t 2
2
t = 4.949 s

ให้ xs เป็นระยะทางแนวระดับที่สัมภาระเคลื่อนที่ได้ ในเวลา t = 4.949 s

จากสมการ xs = u x t

แทนค่า xs = (50 m/s)( 4.949 s)

= 247.43 m
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 363

ให้ xs เป็นระยะทางที่เรือแล่นมารับสัมภาระได้พอดี
xs = ust
แทนค่า xs = (10 m/s)( 4.949 s)
= 49.49 m
ดังนั้น ก่อนปล่อยสัมภาระ เรืออยู่ห่างจากเฮลิคอปเตอร์ในแนวระดับเป็นระยะ
s x + xs = 247.43 m + 49.49 m
= 296.92 m
ตอบ ต้องปล่อยสัมภาระเมื่อเฮลิคอปเตอร์อยู่ห่างจากเรือ 297 เมตร ในแนวระดับ

25. นักกีฬาทุ่มน้ำ�หนักทุ่มลูกเหล็กออกไป ปรากฏว่าเมื่อลูกเหล็กขึ้นไปได้สูงสุด ขนาดความเร็ว


ในแนวระดับมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของขนาดความเร็วขณะที่ลูกเหล็กอยู่สูงจากพื้นเป็นครึ่งหนึ่งของ
การกระจัดสูงสุด มุมระหว่างทิศทางของความเร็วต้นกับแนวระดับจะมีค่ากี่องศา
วิธีทำ� ลูกเหล็กถูกทุ่มออกไปด้วยความเร็วต้น u ในทิศทางทำ�มุม θ กับแนวระดับ
การกระจัดสูงสุดที่ลูกเหล็กขึ้นไปได้ หาได้จากสมการ
v = u 2y + 2a y ∆y 2
y

กำ�หนดให้ทิศทางขึ้นเป็นบวก ความเร็วต้นในแนวดิ่ง u y = u sin θ


เนื่องจาก a y = − g และที่จุดสูงสุดความเร็วในแนวดิ่ง v y = 0
2
แทนค่า 0 = (u sin θ ) − 2 g ( ∆y )
2
= (u sin θ ) (1)
2g
เมื่อลูกเหล็กขึ้นไปจนสูงจากพื้นเป็นครึ่งหนึ่งของการกระจัดสูงสุด ความเร็วในแนวดิ่ง ( v y )

หาได้จากสมการ

v 2y = u 2y + 2a ( ∆y )

 ∆y 
จะได้ v y = (u sin θ ) 2 − 2 g  
 2 
= (u sin θ ) 2 − g ( ∆y )

แทนค่า จากสมการ (1) จะได้


364 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

 (u sin θ ) 2 
v y = (u sin θ ) 2 − g  
 2g 
v y = (u sin θ ) 2 (2)
2
ความเร็วในแนวระดับ ( v x ) มีค่าคงตัว

v x = u cos θ (3)

หาความเร็วของลูกเหล็กเมื่ออยู่สูงจากพื้นเป็นครึ่งหนึ่งของการกระจัดสูงสุด จากสมการ

v = vx2 + vy2 (4)

แทนค่าสมการ (2) และ (3) ใน (4) จะได้

 (u sin θ ) 2 
v = (u cos θ ) 2 +  
 2 
โจทย์กำ�หนดเงื่อนไขว่า  ความเร็วของลูกเหล็กที่จุดสูงสุดมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของขนาด
ความเร็วขณะที่ลูกเหล็กอยู่สูงจากพื้นเป็นครึ่งหนึ่งของการกระจัดสูงสุด  และที่จุดสูงสุด
ลูกเหล็กมีความเร็วในแนวแกน y เป็นศูนย์ แต่มีความเร็วในแนวแกน x เท่ากับ u cos θ
ดังนั้น ความเร็วที่จุดสูงสุดมีค่า u cos θ

1
ดังนั้น u cos θ = v
2
1  (u sin θ ) 2  
แทนค่า u cos θ =  (u cos θ ) 2 +   
2  2 

2
(u sin θ )
4(u cos θ ) 2 = (u cos θ ) 2 +
2
(u sin θ ) 2
3(u cos θ ) 2 =
2
tan θ = 6
θ = 67.79

ตอบ มุมระหว่างทิศทางของความเร็วต้นกับแนวระดับมีขนาด 68 องศา


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 365

26. วัตถุมวล m ผูกด้วยเชือกเบาถูกทำ�ให้เคลื่อนที่เป็นวงกลมในระนาบดิ่งด้วยอัตราเร็วคงตัว


d
3dg และมีรัศมี โดย O เป็นศูนย์กลางการเคลื่อนที่ ซึ่งอยู่สูงจากพื้น d ดังรูป
2
  A

B
d O
2

m d

รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 26

ถ้าเชือกขาดขณะวัตถุอยู่ที่ตำ�แหน่ง A วัตถุจะตกถึงพื้นห่างจากจุด O ในแนวระดับมากกว่า


กรณีเชือกขาดขณะวัตถุอยู่ที่ตำ�แหน่ง B เท่าใด ในเทอม d
วิธีทำ� ถ้าวัตถุมวล m หลุดออกที่ตำ�แหน่ง A ด้วยอัตราเร็วในแนวระดับ 3dg จะเคลื่อนที่แบบ
โพรเจกไทล์ถึงพื้นห่างจากจุด O ในแนวระดับเป็นระยะ s ดังรูป

A
v= 3dg

B
O
d
2
v= 3dg

s
366 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

หาเวลาที่วัตถุมวล m ตกถึงพื้น จากสมการ


1 2
= u yt + a yt
2
3
แทนค่า ∆y = − d , u y = 0 และ a y = − g
2
3 1 2
จะได้ d = gt
2 2
3d
t =
g
หาระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในแนวระดับจากสมการ

= uxt

แทนค่า ∆x = s และ u x = 3dg


 3d 
จะได้ s = ( 3dg  ) 
 g 
s = 3d

ถ้าวัตถุนี้หลุดออกที่ตำ�แหน่ง B จะเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง ตกถึงพื้นห่างจากจุด O ในแนวระดับ


d
ที่ระยะ ดังนั้น วัตถุหลุดออกที่ตำ�แหน่ง A จึงตกถึงพื้นห่างจากจุด O ในแนวระดับมากกว่า
2
วัตถุหลุดออกที่ต�ำ แหน่ง B โดยวัตถุที่หลุดออกจากตำ�แหน่ง A ตกถึงพื้นไกลกว่าวัตถุที่หลุดจาก
d 5
ตำ�แหน่ง B เท่ากับ 3d − = d
2 2
5
ตอบ วัตถุที่หลุดจากตำ�แหน่ง A ตกถึงพื้นไกลกว่าวัตถุที่หลุดจากตำ�แหน่ง B เท่ากับ d
2
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 367

27. มวล m ผูกกับเชือกเบาวางบนโต๊ะลื่นตรงกลางโต๊ะเจาะรู เอาเชือกคล้องผ่านรูแล้วไปผูกกับ


มวล M ดังรูป

m

รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 27

เมื่อมวล m เคลื่อนที่เป็นวงกลมด้วยอัตราเร็วคงตัว 9.8 เมตรต่อวินาที โดย M มีมวลเป็น


49 เท่าของ m ถ้ามวล M ไม่เคลื่อนที่ขึ้นลง รัศมีการเคลื่อนที่ของมวล m มีค่าเท่าใด
วิธีทำ� เขียนแผนภาพแรงที่กระทำ�ต่อมวล m และ M ดังรูป

T m

Mg

เมื่อ T เป็นแรงดึงของเส้นเชือก เมื่อมวล M ไม่เคลื่อนที่ในแนวดิ่ง จะได้


T = Mg (1)
มวล m เคลื่อนที่เป็นวงกลม มีแรงสู่ศูนย์กลาง Fc โดยแรงดึงเชือก T ทำ�หน้าที่เป็น Fc
จะได้
mv 2
T= (2)
r
368 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

mv 2
(1) = (2) จะได้ Mg =
r
mv 2
r=
Mg
m(9.8 m/s) 2
แทนค่า r =
( 49m )(9.8 m/s2 )

= 0.2 m

ตอบ รัศมีการของที่ของมวล m เท่ากับ 0.2 เมตร

28. เชือกเส้นหนึ่งยาว  L  ผูกวัตถุแล้วแกว่งวัตถุให้เคลื่อนที่เป็นวงกลมในระนาบระดับด้วย


อัตราเร็วเชิงมุมคงตัว ω ดังรูป

รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 28

มุมที่เส้นเชือกเอียงทำ�มุมกับแนวดิ่งมีค่าเท่าใด ในเทอมของ L, ω และ g


วิธีทำ� เขียนแผนภาพแรงที่กระทำ�วัตถุ ดังรูป

θ

T T cosθ

T sinθ

mg
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 369

ให้ T เป็นแรงดึงในเส้นเชือก, m เป็นมวลของวัตถุ, เส้นเชือกเอียงทำ�มุม θ กับแนวดิ่ง,


r เป็นรัศมีของการเคลื่อนที่แบบวงกลม และ r = L sin θ
2
จาก Fc = mω r
2
แทนค่า T sin θ = mω ( L sin θ )
จะได้ T = mω 2 L
จาก T cos θ = mg

( )
แทนค่า mω 2 L cos θ = mg
g
จะได้ cos θ = 2
ω L
 g 
ตอบ มุมที่เส้นเชือกเอียงทำ�มุมกับแนวดิ่งมีค่า arccos  2 
ω L

29. วัตถุมวล  0.10  กิโลกรัม  เคลื่อนที่เป็นวงกลมในระนาบระดับด้วยอัตราเร็วและรัศมีการ


เคลื่อนที่คงตัว เขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างขนาดแรงสู่ศูนย์กลาง ( Fc ) กับอัตราเร็วเชิงมุม
2
ยกกำ�ลังสอง (ω ) ได้ดังรูป

Fc (N)

ω 2 (rad 2 /s 2 )
0 4 8 12 16

รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 29

รัศมีการเคลื่อนที่มีค่าเท่าใด
370 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

∆Fc
วิธีทำ� จาก ความชันของกราฟ =

∆(ω 2 )
4 N−2 N
=
16 rad 2 /s2 − 8 rad 2 /s2
1
= N s2 /rad 2
4
จากสมการ Fc = mω 2 r
Fc
หรือ mr =

ω2
1
แทนค่า (0.10 kg) r = N s2 /rad 2
4
r = 2.5 m
ตอบ รัศมีการเคลื่อนที่มีค่าเท่ากับ 2.5 เมตร

30. รถยนต์มวล 900 กิโลกรัม วิ่งมาตามถนนตรงในแนวระดับด้วยอัตราเร็ว 72 กิโลเมตรต่อ


ชั่วโมง ได้ลดอัตราเร็วอย่างสม่�ำ เสมอก่อนถึงทางโค้งราบเป็นเวลา 3.0 วินาที ในระยะทาง 45 เมตร
จึงวิ่งได้อย่างปลอดภัย ถ้าทางโค้งราบนั้นมีรัศมีความโค้ง 150 เมตร แรงเสียดทานระหว่างยางกับ
ถนนในแนวรัศมีความโค้งขณะที่รถยนต์วิ่งทางโค้งเป็นเท่าใด
วิธีทำ� อัตราเร็วต้นของรถยนต์ขณะเข้าโค้งเท่ากับ 72 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
72 × 1000 m
จะได้ u =
3600 s
u = 20 m/s
u+v
จากสมการ s =  t
 2 
 20 m/s + v 
แทนค่า 45 m =   (3.0 s)
 2 
30 m/s = 20 m/s + v

v = 10 m/s

จากการเคลื่อนที่แบบวงกลม แรงสู่ศูนย์กลางมีค่าตามสมการ
mv 2
Fc =
r
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 371

ขณะที่รถยนต์เลี้ยวโค้งบนทางราบจะมีแรงเสียดทานสถิตเป็นแรงสู่ศูนย์กลาง
mv 2
f s =
r
(900 kg)(10 m/s) 2
แทนค่า f s =
150 m
f s = 600 N

ตอบ แรงเสี ย ดทานระหว่ า งยางกั บ ถนนในแนวรั ศ มี ค วามโค้ ง ขณะที่ ร ถยนต์ วิ่ ง ทางโค้ ง เป็ น
600 นิวตัน

31. ในการแข่ ง ขั น รถจั ก รยานยนต์ บ นทางราบ  ขณะที่ ผู้ เ ข้ า แข่ ง ขั น เข้ า สู่ ท างโค้ ง ที่ มี รั ศ มี
ความโค้งค่าหนึง่ พบว่า คนแข่งคนที่ 1 เอียงรถทำ�มุม θ1 กับแนวดิง่ คนแข่งคนที่ 2 เอียงรถทำ�มุม θ 2
กับแนวดิ่ง ถ้าอัตราเร็วของรถคันที่ 1 เท่ากับ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อัตราเร็วของรถคันที่ 2 เป็น
กี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง
3 4
กำ�หนด tan θ1 = และ tan θ 2 =
4 3
วิธีทำ� เขียนแผนภาพของแรงที่กระทำ�ต่อรถจักรยานยนต์ ดังรูป

R Rcosθ

θ
Rsinθ


fs
 θ
mg

N

ให้ R แทนเวกเตอร์ลัพธ์ที่เกิดจากการรวมแรง N กับแรง fs


θ แทนมุมที่คนกับรถเอียงทำ�กับแนวดิ่ง
372 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

แรงในแนวระดับเป็นแรงสู่ศูนย์กลาง หาได้จากสมการ
mv 2
Fc =
r
mv 2
จะได้ R sin θ = (1)
r

แรงลัพธ์ในแนวดิ่งมีค่าเป็นศูนย์

R cos θ − mg = 0

R cos θ = mg (2)
(1) 2
จะได้ tan θ = v
( 2) rg
(80 km/h ) 2
กรณีรถคันที่ 1 tan θ1 = (3)
rg
v2
กรณีรถคันที่ 2 tan θ 2 =
(4)
(80 km/h ) 2
(4) v2
จะได้  3   3  = 2
( 3)  4   4  (80 km/h )
3
v =   (80 km/h )
4
= 60 km/h

ตอบ อัตราเร็วของรถคันที่ 2 เป็น 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 373

32. ถนนโค้งราบเส้นหนึ่งมีรัศมีความโค้ง 250 เมตร เมื่อพื้นถนนแห้ง อัตราเร็วสูงสุดของรถ


ที่เลี้ยวโค้งปลอดภัยคือ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในวันที่ฝนตก อัตราเร็วสูงสุดของรถเพื่อเลี้ยวโค้ง
ได้ปลอดภัยคือ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างล้อรถกับพื้นถนน
ขณะฝนตกเป็นร้อยละเท่าใดของค่าปกติ (ถนนแห้ง)
วิธีทำ� เขียนแผนภาพของแรงที่กระทำ�ต่อรถขณะเลี้ยวโค้ง ดังรูป

mg


fs ศูนยกลางความโคง

N

รถที่กำ�ลังเลี้ยวโค้งจะมีแรงเสียดทานสถิตเป็นแรงสู่ศูนย์กลาง

mv 2
จากสมการ Fc =
r
mv 2
จะได้ f s =
r
mv 2
=
r
mv 2
=
r
v2
=
r
v12
ขณะพื้นถนนแห้ง = (1)
r
v22
ขณะฝนตก = (2)
r
2
( 2) v 
จะได้ =  2
(1)  v1 
2
 40 km/h 
= 
 80 km/h 
374 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

1
=
4

เมื่อคิดเป็นร้อยละ =

ตอบ สัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างล้อรถกับพื้นถนนขณะฝนตกเป็นร้อยละ  25  ของพื้น


ถนนแห้ง

33. ชายคนหนึ่งต้องการโยนกล่องพัสดุข้ามตึกไปให้เพื่อนที่อยู่ตึกข้างๆ ที่อยู่ห่างกัน 12.0 เมตร


และจุดที่รับอยู่ต่ำ�กว่าจุดที่โยน 2.0 เมตร เขาโยนกล่องพัสดุมุม 45 องศากับแนวระดับ ดังรูป
12 m


u

2m

รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 33

จงหาว่า
ก. กล่องพัสดุใช้เวลาในการเคลื่อนที่เท่าใด
ข. เขาจะต้องโยนกล่องพัสดุด้วยอัตราเร็วเท่าใด
ค. กล่องพัสดุตกถึงผู้รับด้วยความเร็วเท่าใด
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 375

ก. แนวคิด กล่องพัสดุจะเคลื่อนออกจากผู้ส่งแบบโพรเจกไทล์ที่มีการเคลื่อนที่ทั้งในแนวดิ่งและ
ในแนวระดับ โดยมีองค์ประกอบของความเร็วต้นในแนวระดับเท่ากับ
ซึ่งมีขนาดคงตัว และองค์ประกอบของความเร็วต้นในแนวดิ่งเท่ากับ ซึ่ง
มีขนาดเปลี่ยนไปตามเวลาที่ใช้ ในการเคลื่อนที่  โดยเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของ
กล่องพัสดุทั้งในแนวระดับและแนวดิ่งเท่ากัน
วิธีทำ� หาเวลาในการเคลื่อนที่ของกล่องพัสดุ

เมื่อพิจารณาในแนวดิ่ง
1
จากสมการ = u yt + a yt 2
∆y
2
1
จะได้ ∆y = (u sinθ )t − gt 2
2
1 2
∆y = ut sinθ − gt (1)
2
เมื่อพิจารณาในแนวระดับ

จากสมการ ∆x = u x t

จะได้ ∆x = (u cosθ )t

(2)

แทนค่า ut จากสมการ (2) ใน (1) จะได้

1 2 ∆x
gt = sinθ − ∆y
2 cosθ
2∆x sinθ 2∆y
t 2 = −
g cosθ g
2
t
2
= ( ∆x tanθ − ∆y )
g
2
แทนค่า t 2 = [(12.0 m) tan45° − ( −2.0 m)]
9.8 m/s2
376 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

tt == 22857
857

และ -1.69 s
เนื่องจาก การเคลื่อนที่ของวัตถุด้วยระยะเวลามีค่าเป็นลบไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง
ดังนั้น เวลาที่เป็นไปได้ คือ 1.69 วินาที
ตอบ กล่องพัสดุใช้เวลาในการเคลื่อนที่เท่ากับ 1.7 วินาที

ข. แนวคิด ในกรณีน ้ี กล่องพัสดุมกี ารเคลือ


่ นทีใ่ นแนวระดับด้วยอัตราเร็วคงตัวตลอดการเคลือ
่ นที่
ซึ่ ง มี ค่ า เท่ า กั บ องค์ ป ระกอบของความเร็ ว ต้ น ในแนวระดั บ   (u cos45 )   โดย
ระยะกระจัดในแนวระดับ เท่ากับ 12.0 เมตร และระยะเวลาที่ใช้ในการ
เคลื่อนที่ในแนวระดับเท่ากับระยะเวลาที่ กล่ อ งพั สดุ ใช้ ในการเคลื่ อ นที่ ในแนวดิ่ ง
ซึ่งเท่ากับ 1.69 วินาที ตามที่ได้จากข้อ ก.
วิธีทำ� หาอัตราเร็วในการโยนกล่องพัสดุ
แทนค่า เท่ากับ 12.0 เมตร และเวลา t เท่ากับ 1.69 วินาที ลงในสมการ (1)
12.0 m
จะได้ u (1.69 s) =
cos45°
u = 10.04 m s
ตอบ กล่องพัสดุถูกขว้างด้วยอัตราเร็ว 10 เมตรต่อวินาที

ค. แนวคิด การหาความเร็วของกล่องพัสดุ ณ ตำ�แหน่งใด ๆ สามารถหาได้จากผลรวมของ


องค์ประกอบความเร็วในแนวระดับ ( v x ) และในแนวดิ่ง v y ดังรูป ( )

vx
θ

vy v
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 377

วิธีทำ� หาความเร็วของกล่องพัสดุขณะที่ตกถึงผู้รับ

หาความเร็วในแนวระดับ
∆x
จาก v x = u x และ u x =
t
12.0 m
แทนค่า v x =
1.69 s

หาความเร็วในแนวดิ่ง

จาก v y = u y + a yt

จะได้ v y = u sinθ − gt

แทนค่า v y = (10.04 m/s ) sin 45° − ( 9.8 m s2 ) (1.69 s )

จะได้ขนาดของความเร็ว v = v x2 + v 2y

( 7.0994 m s ) + ( 9.463 m s )
2 2
=

= 11.83 m s

หามุมของความเร็วเทียบกับแกนแนวระดับ

จาก

แทนค่า

θ θ=θ=−53
=−53
−.12
53
.12
°.12
°°

ตอบ ความเร็วของกล่องพัสดุขณะที่ตกถึงผู้รับเท่ากับ 12 เมตรต่อวินาที ทำ�มุม -53.1 องศากับ


แนวระดับ
378 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2

34. การยิงวัตถุสองครั้ง ด้วยอัตราเร็วต้นเท่ากัน ครั้งแรกยิงด้วยมุมเงย θ1 ครั้งที่สองยิงด้วย


มุมเงย θ 2 เมื่อ θ1 < θ 2 และ θ1 + θ 2 = 90° จงพิสูจน์ว่าขณะที่วัตถุตกถึงระดับเดิมในการยิง
แต่ละครั้ง ขนาดการกระจัดมีค่าเท่ากัน

θ2
θ1

รูป ประกอบปัญหาท้าทายข้อ 34

วิธีทำ� สมมติยิงครั้งแรกด้วยอัตราเร็วต้น u ทำ�มุม θ1 กับพื้นแนวระดับ ได้ขนาดการกระจัดใน


แนวระดับ (หรือพิสัย) และใช้เวลา t1 และยิงครั้งที่สองด้วยอัตราเร็วต้น u ทำ�มุม θ 2
กับพื้นแนวระดับ ได้ขนาดการกระจัดในแนวระดับ (หรือพิสัย) และใช้เวลา t2
หาระยะการกระจัดในแนวระดับ

∆x = uxt

= (u cos θ ) t

 2u sin θ 
จาก t
=  
 g 
 2u sin θ 
แทนค่า ∆x = (u cos θ )  
 g 
 u2 
=   2 cos θ sin θ
 g 
u2
∆x = sin 2θ
g
ฟิสิกส์ เล่ม 2 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง 379

u2
ยิงครั้งที่ 1 จะได้ ∆x1 = sin 2θ1 (1)
g
u2
ยิงครั้งที่ 2 จะได้ ∆x2 = sin 2θ 2 (2)
g

เนื่องจาก θ1 + θ 2 = 90 ดังนั้น θ 2 = 90 − θ1 แทนใน (2) จะได้

u2
∆x2 = sin 2(90 − θ1 )
g
u2
= sin(180 − 2θ1 )
g
u2
= sin( 2θ1 ) (3)
g

(1) = (3) จะได้ ∆x1 = ∆x2

แสดงว่าขณะที่วัตถุตกถึงระดับเดิมในการยิงแต่ละครั้ง ขนาดการกระจัดมีค่าเท่ากัน
380 บทที่ 7 | การเคลื่อนที่แนวโค้ง ฟิสิกส์ เล่ม 2
ฟิสิกส์ เล่ม 2 ภาคผนวก 381

ภาคผนวก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
382 ภาคผนวก ฟิสิกส์ เล่ม 2

ตัวอย่างเครื่องมือวัดและประเมินผล
แบบทดสอบ
การประเมิ น ผลด้ ว ยแบบทดสอบเป็ น วิ ธี ท่ี นิ ย มใช้ กั น อย่ า งแพร่ ห ลายในการวั ด ผลสั ม ฤทธ์ิ ใ น
การเรี ย นโดยเฉพาะด้ า นความรู้ เ เละความสามารถทางสติ ปั ญ ญาควบคู่ ค วามเข้ า ใจในลั ก ษณะของ
แบบทดสอบ รวมทั้งข้อดีและข้อจำ�กัดของแบบทดสอบรูปแบบต่างๆ เพ่ือประโยชน์ในการสร้าง หรือเลือก
ใช้แบบทดสอบให้เหมาะสมกับส่ิงที่ต้องการวัด โดยลักษณะของแบบทดสอบ รวมท้ังข้อดี และข้อจำ�กัด
ของแบบทดสอบรูปแบบต่าง ๆ เป็นดังน้ี
1) แบบทดสอบแบบที่มีตัวเลือก
แบบทดสอบแบบที่มีตัวเลือก ได้แก่ แบบทดสอบแบบเลือกตอบแบบทดสอบแบบถูกหรือผิด
และแบบทดสอบแบบจับคู่ รายละเอียดของแบบทดสอบแต่ละแบบเป็นดังนี้
1.1) แบบทดสอบแบบเลือกตอบ
เป็นแบบทดสอบที่มีการกำ�หนดตัวเลือกให้หลายตัวเลือก โดยมีตัวเลือกที่ถูกเพียงหน่ึง
ตัวเลือก องค์ประกอบหลักของแบบทดสอบแบบเลือกตอบมี 2 ส่วน คือ คำ�ถามและตัวเลือก แต่บางกรณี
อาจมีส่วนของสถานการณ์เพิ่มขึ้นมาด้วย แบบทดสอบแบบเลือกตอบมีหลายรูปแบบ เช่น แบบทดสอบ
แบบเลือกตอบคำ�ถามเดี่ยว แบบทดสอบแบบเลือกตอบคำ�ถามชุด แบบทดสอบแบบ เลือกตอบคำ�ถาม
2 ชั้น โครงสร้างดังตัวอย่าง

แบบทดสอบแบบเลือกคำ�ตอบคำ�ถามเดี่ยวที่ไม่มีสถานการณ์

คำ�ถาม...............................................................................................

ตัวเลือก ก.................................................................................
ข.................................................................................
ค.................................................................................
ง.................................................................................

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์ เล่ม 2 ภาคผนวก 383

แบบทดสอบแบบเลือกคำ�ตอบคำ�ถามเดี่ยวที่มีสถานการณ์

สถานการณ์.......................................................................................

คำ�ถาม...............................................................................................

ตัวเลือก ก.................................................................................
ข.................................................................................
ค.................................................................................
ง.................................................................................

แบบทดสอบแบบเลือกคำ�ตอบเป็นชุด

สถานการณ์.......................................................................................

คำ�ถามที่ 1...............................................................................................

ตัวเลือก ก.................................................................................
ข.................................................................................
ค.................................................................................
ง.................................................................................

คำ�ถามที่ 2...............................................................................................

ตัวเลือก ก.................................................................................
ข.................................................................................
ค.................................................................................
ง.................................................................................

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
384 ภาคผนวก ฟิสิกส์ เล่ม 2

แบบทดสอบแบบเลือกคำ�ถาม 2 ชั้น

สถานการณ์.......................................................................................

คำ�ถามที่ 1.........................................................................................

ตัวเลือก ก.................................................................................
ข.................................................................................
ค.................................................................................
ง.................................................................................

คำ�ถามที่ 2...(ถามเหตุผลของการตอบคำ�ถามที่ 1)...


.........................................................................................................
.........................................................................................................

แบบทดสอบแบบเลือกตอบมีข้อดีคือ สามารถใช้ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนได้ครอบคลุม
เน้ือหาตามจุดประสงค์ สามารถตรวจให้คะแนนและแปลผลคะแนนได้ตรงกัน แต่มีข้อจำ�กัดคือ ไม่เปิด
โอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกอย่างอิสระจึงไม่สามารถวัดความคิดระดับสูง เช่น ความคิด สร้างสรรค์ได้
นอกจากนี้นักเรียนที่ไม่มีความรู้สามารถเดาคำ�ตอบได้
1.2) แบบทดสอบแบบถูกหรือผิด
เป็นแบบทดสอบท่ีมีตัวเลือก ถูกและผิด เท่านั้น มีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ คำ�สั่งและ
ข้อความให้นักเรียนพิจารณาว่าถูกหรือผิด ดังตัวอย่าง

แบบทดสอบแบบถูกหรือผิด

คำ�สั่ง ให้พิจารณาว่าข้อความต่อไปนี้ถูกหรืือผิด เเล้วใส่เครื่องหมาย หรือ หน้าข้อความ


................ 1. ข้อความ............................................................................
................ 2. ข้อความ............................................................................
................ 3. ข้อความ............................................................................
................ 4. ข้อความ............................................................................
................ 5. ข้อความ............................................................................

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์ เล่ม 2 ภาคผนวก 385

แบบทดสอบรูปแบบนี้สามารถสร้างได้ง่าย รวดเร็ว เเละครอบคลุมเนื้อหาสามารถตรวจ


ได้รวดเร็วเเละให้คะเเนนได้ตรงกัน แต่นักเรียนมีโอกาสเดาได้มาก และการสร้างข้อความเป็นจริงหรือ
เป็นเท็จโดยสมบูรณ์ในบางเนื้อทำ�ได้ยาก
1.3) แบบทดสอบแบบจับคู่
ประกอบด้วยส่วนทีเ่ ป็นคำ�สัง่ และข้อความสองชุด ทีใ่ ห้จบ
ั คูก
่ น
ั โดยข้อความชุดที่ 1
อาจเป็นคำ�ถาม และข้อความชุดท่ี 2 อาจเป็นคำ�ตอบหรือตัวเลือก โดยจำ�นวนข้อความในชุดท่ี 2 อาจมี
มากกว่าในชุดท่ี 1 ดังตัวอย่าง

แบบทดสอบแบบจับคู่

คำ�สั่ง ให้นำ�ตัวอักษรหน้าข้อความในชุดคำ�ตอบมาเติมในช่องว่างหน้าข้อความในชุดคำ�ถาม

ชุดคำ�ถาม ชุดคำ�ตอบ

............ 1. ข้อความ.............................. ............ 1. ข้อความ..............................


............ 2. ข้อความ.............................. ............ 2. ข้อความ..............................
............ 3. ข้อความ.............................. ............ 3. ข้อความ..............................

แบบทดสอบรู ป แบบน้ี ส ร้ า งได้ ง่ า ยตรวจให้ ค ะแนนได้ ต รงกั น  และเดาคำ � ตอบได้ ย าก


เหมาะ สำ�หรับวัดความสามารถในการหาความสัมพันธ์ระหว่างคำ�หรือข้อความ 2 ชุด แต่ในกรณีที่นักเรียน
จับคู่ผิดไปแล้วจะทำ�ให้มีการจับคู่ผิดในคู่อื่น ๆ ด้วย

2) แบบทดสอบแบบเขียนตอบ
เป็นแบบทดสอบที่ให้นักเรียนคำ�ตอบเอง จึงมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นและสะท้อน
ความคิดออกมาโดยการเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจ โดยทั่วไปการเขียนตอบมี 2 แบบ คือ การเขียนตอบแบบเติม
คำ�หรือการเขียนตอบอย่างสั้นและการเขียนตอบแบบอธิบายรายละเอียดของแบบทดสอบ ที่มีการตอบ
แต่ละแบบเป็นดังน้ี
2.1) แบบทดสอบเขียนตอบแบบเติมคำ�หรือตอบอย่างส้ัน
ประกอบด้วยคำ�สั่งและข้อความที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะมีส่วนที่เว้นไว้เพื่อให้เติมคำ�ตอบ
หรือข้อความสัน
้ ๆ เพือ่ ให้เติมคำ�ตอบหรือข้อความสัน
้  ๆ ท่ท
ี �ำ ให้ขอ้ ความข้างต้นถูกต้องหรือสมบูรณ์ นอกจากนี้
แบบทดสอบยังอาจประกอบ ด้วยสถานการณ์และคำ�ถามที่ให้นักเรียนตอบโดยการเขียนอย่างอิสระ แต่
สถานการณ์และคำ�ถาม จะเป็นส่ิงที่กำ�หนดคำ�ตอบให้มีความถูกต้องและเหมาะสม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
386 ภาคผนวก ฟิสิกส์ เล่ม 2

แบบทดสอบรูปแบบน้ีสร้างได้ง่าย มีโอกาสเดาได้ยาก และสามารถวินิจฉัยคำ�ตอบที่


นักเรียนตอบผิด เพื่อให้ทราบถึงข้อบกพร่องทางการเรียนรู้หรือความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ แต่การจำ�กัด
คำ�ตอบให้นักเรียนตอบเป็นคำ� วลี หรือประโยคได้ยาก ตรวจให้คะแนนได้ยากเนื่องจากบางคร้ังมีค�ำ ตอบ
ถูกต้องหรือยอมรับได้หลายคำ�ตอบ
2.2) แบบทดสอบเขียนตอบแบบอธิบาย
เป็นแบบทดสอบทที่ต้องการให้นักเรียนตอบอย่างอิสระ ประกอบด้วยสถานการณ์และ
คำ�ถามที่สอดคล้องกัน โดยคำ�ถามเป็นคำ�ถามแบบปลายเปิด
แบบทดสอบรูปแบบนี้ในการตอบจึงสามารถใช้วัดความคิดระดับสูงได้ แต่เนื่องจาก
นักเรียนต้องใช้เวลาในการคิดและเขียนคำ�ตอบมาก ทำ�ให้ถามได้น้อยข้อ จึงอาจทำ�ให้วัดได้ไม่ครอบคลุม
เนื้อหาทั้งหมด รวมทั้งตรวจให้คะแนนยาก และการตรวจให้คะแนนอาจไม่ตรงกัน

แบบประเมินทักษะ
เมื่อนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมจริงจะมีหลักฐานร่องรอยท่ีแสดงไว้ทั้งวิธีการปฏิบัติและผล
การปฏิบัติ ซ่ึงหลักฐานร่องรอยเหล่านั้นสามารถใช้ในการประเมินความสามารถ ทักษะการคิด และทักษะ
ปฏิบัติได้เป็นอย่างดี
การปฏิบัติการทดลองเป็นกิจกรรมที่สำ�คัญที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยทั่วไป
ประเมินได้ 2 ส่วน คือประเมินทักษะการปฏิบต
ั ก
ิ ารทดลองและการเขียนรายงานการทดลอง โดยเคร่อ
ื งมือ
ที่ใช้ประเมินดังตัวอย่าง

ตัวอย่างแบบสำ�รวจรายการทักษะปฏิบัติการทดลอง

ผลการสำ�รวจ
รายการที่ต้องสำ�รวจ มี
(ระบุจำ�นวนครั้ง) ไม่มี

การวางเเผนการทดลอง

การทดลองความขั้นตอน

การสังเกตการทดลอง

การบันทึกผล

การอภิปรายผลการทดลองก่อนลงข้อสรุป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์ เล่ม 2 ภาคผนวก 387

ตัวอย่างแบบประเมินทักษะปฏิบัติการทดลอง
ที่ใช้เกณฑ์การให้คะเเนนเเบบเเยกองค์ประกอบย่อย

คะแนน
ทักษะปฏิบัติการ
ทดลอง
3 2 1

การเลือกใช้อุปกรณ์ เลือกใช้อุปกรณ์ เลือกใช้อุปกรณ์ เลือกใช้อุปกรณ์


/เครื่องมือใน /เครือ่ งมือในการทดลอง /เครือ่ งมือในการทดลอง /เครือ่ งมือในการทดลอง
การทดลอง ได้ถูกต้องเหมาะสม ได้ถก
ู ต้องเเต่ไม่เหมาะสม ไม่ถก
ู ต้อง
กับงาน กับงาน

การใช้อุปกรณ์ เลือกใช้อุปกรณ์ ใช้อุปกรณ์ /เครือ่ งมือใน ใช้อุปกรณ์ /เครือ่ งมือใน


/เครื่องมือใน /เครือ่ งมือในการทดลอง การทดลองได้ถก
ู ต้องตาม การทดลองไม่ถก
ู ต้อง
การทดลอง ได้อย่างคล่องเเคล่ว หลักการปฏิบต
ิ ิ แต่ไม่
และถูกต้องตามหลัก คล่องเเคล่ว
การปฏิบัติ

การทดลองเเผนที่ ทดลองตามวิธีการเเละ ทดลองตามวิธีการเเละ ทดลองตามวิธีการเเละ


กำ�หนด ขั้นตอนที่กำ�หนดไว้ ขั้นตอนที่ก�ำ หนดไว้ มี ขั้นตอนที่กำ�หนดไว้หรือ
อย่างถูกต้อง มีการปรับ การปรับปรุงเเก้ไขบ้าง ดำ�เนินการข้ามขั้นตอน
ปรุงเเก้ไขเป็นระยะ ที่ก�ำ หนดไว้ ไม่มีการ
ปรับปรุงแก้ไข

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
388 ภาคผนวก ฟิสิกส์ เล่ม 2

ตัวอย่างแบบประเมินทักษะปฏิบัติการทดลอง
ที่ใช้เกณฑ์การให้คะเเนนเเบบมาตรประมาณค่า

ผลการประเมิน
ทักษะที่ประเมิน
ระดับ 3 ระดับ 2 ระดับ 1

1.วางแผนการทดลองอย่างเป็นขั้นตอน ระดับ 3 ระดับ 2 ระดับ 1


2.ปฏิบัติการทดลองได้อย่างคล่องเเคล่ว สามารถ หมายถึง หมายถึง หมายถึง
เลือกใช้อุปกรณ์ได้ถูกต้อง เหมาะสมเเละจัดวาง ปฏิบัติได้ทั้ง ปฏิบัติได้ทั้ง ปฏิบัติได้ทั้ง
อุปกรณ์เป็นระเบียบสะดวกต่อการใช้งาน 3 ข้อ 2 ข้อ 1 ข้อ
3.บันทึกผลการทดลองได้ถูกต้องเเละครบถ้วน
สมบูรณ์

ตัวอย่างเเนวทางให้คะเเนนการเขียนรายงานการทดลอง

คะเเนน

3 2 1

เขียนรายการตามลำ�ดับ เขียนรายงานการทดลองตาม เขียนรายงานโดยลำ�ดับขั้นตอน


ขั้นตอน ผลการทดลองตรง ลำ�ดับ เเต่ไม่สื่อความหมาย ไม่สอดคล้องกัน เเละสื่อ
ตามสภาพจริงเเละสื่อ ความหมาย
ความหมาย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์ เล่ม 2 ภาคผนวก 389

แบบประเมินคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์
การประเมินจิตวิทยาศาสตร์ไม่สามารถทำ�ได้โดยตรง โดยท่ัวไปทำ�โดย การตรวจสอบ
พฤติ ก รรมภายนอกที่ ป รากฏให้ เ ห็ น ในลั ก ษณะของคำ � พู ด   การแสดงความคิ ด เห็ น  การปฏิ บั ติ ห รื อ
พฤติ ก รรมบ่ ง ชี้ ที่ ส ามารถสั ง เกตหรื อ วั ด ได้  และแปลผลไปถึ ง จิ ต วิ ท ยาศาสตร์ ซึ่ ง เป็ น สิ่ ง ท่ี ส่ ง ผลให้ เ กิ ด
พฤติกรรมดังกล่าว เครื่องมือที่ใช้ประเมินคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์ ดังตัวอย่าง

ตัวอย่างแบบประเมินคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์

คำ�ชี้เเจง จงทำ�เครื่องหมาย ลงในช่องว่างที่ตรงกับคุณลักษณะที่นักเรียนเเสดงออก โดยจำ�เเนกระดับ


พฤติกรรม
การเเสดงออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
มาก หมายถึง นักเรียนเเสดงออกในพฤติกรรมเหล่านั้นอย่างสม่�ำ เสมอ
ปานกลาง หมายถึง นักเรียนเเสดงออกในพฤติกรรมเหล่านั้นเป็นครั้งคราว
น้อย หมายถึง นักเรียนเเสดงออกในพฤติกรรมเหล่านั้นน้อยครั้ง
ไม่มีการเเสดงออก หมายถึง นักเรียนเเสดงออกในพฤติกรรมเหล่านั้นเลย

ระดับพฤติกรรมการเเสดงออก
รายการพฤติกรรมการเเสดงออก
ไม่มีการ
มาก ปานกลาง น้อย
เเสดงออก

ด้านความอยากรู้อยากเห็น
1.นักเรียนสอบถามจากผู้รู้หรือไปศึกษาค้นคว้า
เพิม
่ เติม เมือ
่ เกิดความสงสัยในเรือ
่ งราววิทยาศาสตร์
2.นักเรียนชอบไปงานนิทรรศการวิทยาศาสตร์
3.นักเรียนนำ�การทดลองทีส่ นใจไปทดลองต่อทีบ
่ า้ น

ด้านความซื่อสัตย์
1.นักเรียนรายงานผลการทดลองตามทีท
่ ดลองได้จริง
2.เมื่อทำ�งานทดลองผิดพลาด นักเรียนจะลอกผล
การทดลองของเพื่อส่งครู
3.เมื่อครูมอบหมายให้ท�ำ ชิ้นงานสิ้นประดิษฐ์
นักเรียนจะประดิษฐ์ตามเเบบที่ปรากฏอยู่ใน
หนังสือ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
390 ภาคผนวก ฟิสิกส์ เล่ม 2

ระดับพฤติกรรมการเเสดงออก
รายการพฤติกรรมการเเสดงออก
ไม่มีการ
มาก ปานกลาง น้อย
เเสดงออก

ด้านความใจกว้าง
1.แม้ว่านักเรียนจะไม่เห็นด้วยกับการสรุปผลการ
ทดลองในกลุ่ม แต่ก็ยอมรับผลสรุปของสมาชิก
ส่วนใหญ่
2.ถ้าเพื่อนแย่งวิธีการทดลองนักเรียนและมีเหตุผล
ที่ดีกว่า นักเรียนพร้อมที่จะนำ�เสนอเเนะของเพื่อน
ไปปรับปรุงงานของตน
3.เมื่องานที่นักเรียนตั้งใจและทุ่มเททำ�ถูกตำ�หนิ
หรือโต้เเย้ง นักเรียนจะหมดกำ�ลังใจ

ด้านความรอบคอบ
1.นักเรียนสรุปผลการทดลองทันทีเมื่อเสร็จสิ้น
การทดลอง
2.นักเรียนทำ�การทดลองซ้ำ�ๆ ก่อนที่จะสรุปผลการ
ทดลอง
3.นักเรียนตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ก่อน
ทำ�การทดลอง

ด้านความมุ่งมั่นอดทน
1.ถึงแม้ว่างานค้นคว้าที่ทำ�อยู่มีโอกาสสำ�เร็จได้ยาก
นักเรียนจะยังค้นคว้าต่อไป
2.นักเรียนล้มเลิกการทดลองทันที เมื่อผลการทด
ลองที่ได้ขัดจากาที่เคยเรียนมา
3.เมื่อทราบว่าชุดการทดลองที่นักเรียนสนใจต้อง
ใช้ระยะเวลาในการทดลองนาน นักเรียนก็เปลี่ยน
ไปศึกษาชุดการทดลองที่ใช้เวลาน้อยกว่า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์ เล่ม 2 ภาคผนวก 391

ระดับพฤติกรรมการเเสดงออก
รายการพฤติกรรมการเเสดงออก
ไม่มีการ
มาก ปานกลาง น้อย
เเสดงออก

เจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์
1.นักเรียนนำ�ความรู้วิทยาศาสตร์ มาใช้เเก้ปัญหา
ในชีวิตประจำ�วันอยู่เสมอ
2.นักเรียนชอบทำ�กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ
วิทยาศาสตร์
3.นักเรียนสนใจติมตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับ
วิทยาศาสตร์

วิธีการตรวจให้คะเเนน
ตรวจให้คะเเนนตามเกณฑ์โดยกำ�หนดน้ำ�หนักของตัวเลขในช่องต่าง ๆ เป็น 4 3 2 1 ข้อความที่
มีความหมายเป็นทางบวก กำ�หนดให้คะเเนนเเต่ละข้อความดังต่อไปนี้

ระดับพฤติกรรมเเสดงออก คะเเนน

มาก 4

ปานกลาง 3

น้อย 2

ไม่มีการเเสดงออก 1

ส่วนของข้อความทีมค
ี วามหมายเป็นทางลบการกำ�หนดให้คะเเนนในเเต่ละข้อความ
จะมีลักษณะเป็นตรงกันข้าม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
392 ภาคผนวก ฟิสิกส์ เล่ม 2

การประเมินการนำ�เสนอผลงาน
การประเมิ น ผลและให้ ค ะแนนการนํ า เสนอผลงานใช้ แ นวทางการประเมิ น เช่ น เดี ย วกั บ การ
ประเมิน ภาระงานอื่น คือ การใช้คะแนนแบบภาพรวม และการให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบย่อย ดัง
รายละเอียด ต่อไปนี้
1) การให้คะแนนในภาพรวม เป็นการให้คะแนนที่ต้องการสรุปภาพรวมจึงประเมินเฉพาะ
ประเด็นหลักที่สําคัญ ๆ เช่น การประเมินความถูกต้องของเนื้อหา ความรู้และการประเมินสมรรถภาพ
ด้านการเขียน โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบภาพรวม ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินความถูกต้องของเนื้อหาความรู้ (แบบภาพรวม)

รายการประเมิน ระดับประเมิน

- เนื้อหาไม่ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ ต้องปรับปรุง
- เนื้อหาถูกต้องเเต่ให้สาระสำ�คัญน้อยมาก เเละระบุเเหล่งที่มาของความรู้ พอใช้
- เนื้อหาถูกต้อง มีสาระสำ�คัญ แต่ยังไม่ครบถ้วน มีการระบุเเหล่งที่มาของความรู้ ดี
- เนื้อหาถูกต้อง มีสาระสำ�คัญครบถ้วน เเละระบุเเหล่งที่มาของความรู้ชัดเจน ดีมาก

ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินสมรรถภาพด้านการเขียน (แบบภาพรวม)

รายการประเมิน ระดับประเมิน

- เขียนสับสน ไม่เป็นระบบ ไม่บอกปัญหาและจุดประสงค์ ขาดการเชื่อมโยง ต้องปรับปรุง


เนื้อหาบางส่วนไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ใช้ภาษาไม่เหมาะสมเเละสะกดคำ�ไม่
ถูกต้อง ไม่อ้างอิงเเหล่งที่มาของความรู้
- เขียนเป็นระบบเเต่ไม่ชัดเจน บอกจุดประสงค์ไม่ชัดเจน เนื้อหาถูกต้องเเต่มี พอใช้
รายละเอียดไม่เพียงพอ เนื้อหาบางตอนไม่สัมพันธ์กัน การเรียบเรียงเนื้อหาไม่
ต่อเนื่อง ใช้ภาษาถูกต้อง อ้างอิงแหล่งที่มาของความรู้

- เขียนเป็นระบบ แสดงให้เห็นโครงสร้างของเรื่อง บอกความสำ�คัญเเละที่มาของ ดี


ปัญหา จุดประสงค์ เเนวคิดหลักไม่ครอบคุมประเด็นสำ�คัญทั้งหมด เนื้อหาบาง
ตอนเรียบเรียงไม่ต่อเนื่อง ใช้ภาษาถูกต้อง มีการยกตัวอย่าง รูปภาพเเผนภาพ
ประกอบ อ้างอิงเเหล่งที่มาของความรู้
- เขียนเป็นระบบ แสดงให้เห็นโครงสร้างของเรื่อง บอกความสำ�คัญเเละที่มาของ ดี
ปัญหา จุดประสงค์ เเนวคิดหลักได้ครอบคุมประเด็นสำ�คัญทั้งหมด เรียบเรียง
เนื้อหาได้ต่อเนื้องต่อเนื่อง ใช้ภาษาถูกต้อง ชัดเจนเข้าใจง่าย รูปภาพเเผนภาพ
ประกอบ อ้างอิงเเหล่งที่มาของความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์ เล่ม 2 ภาคผนวก 393

2) การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบย่อย เป็นการประเมินเพื่อต้องการนําผลการประเมิน
ไปใช้พฒ
ั นางานให้มค
ี ณ
ุ ภาพผ่านเกณฑ์ และพัฒนาคุณภาพให้สงู ขึน
้ กว่าเดิมอย่างต่อเนือ่ ง โดยใช้เกณฑ์ยอ่ ย ๆ
ในการประเมินเพื่อทําให้รู้ทั้งจุดเด่นที่ควรส่งเสริมและจุดด้อยที่ควรแก้ไขปรับปรุงการทํางานในส่วนนั้น ๆ
เกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบย่อย มีตัวอย่างดังนี้
ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินสมรรถภาพ (แบบแยกองค์ประกอบย่อย)

รายการประเมิน ระดับคุณภาพ

ด้านการวางเเผน

- ไม่สามารถออกเเบบได้ หรืออกเเบบได้เเต่ไม่ตรงกับประเด้นปัญหาทีต
่ อ
้ งการเรียนรู้ ต้องปรับปรุง

- ออกเเบบการได้ตามประเด็นสำ�คัญของปัญหาบางส่วน พอใช้

- ออกเเบบครอบคลุมประเด็นสำ�คัญของปัญหาเป็นส่วนใหญ่ เเต่ยังไม่ชัดเจน ดี

- ออกเเบบได้ครอบคลุมประเด็นสำ�คัญของปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน ดีมาก
เเละตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการ

ด้านการดำ�เนินการ

- ดำ�เนินการไม่เป็นไปตามแผน ใช้อป
ุ กรณ์เเละสือ
่ ประกอบถูกต้องเเต่ไม่คล่องเเคล่ว ต้องปรับปรุง

- ดำ�เนินการตามแผนทีว่ างไว้ ใช้อป


ุ กรณืเเละสือ
่ ประกอบถูกต้องเเต่ไม่คล่องเเคล่ว พอใช้

- ดำ�เนินการตามแผนที่วางไว้ ใช้อุปกรณ์เเละสื่อประกอบการสาธิตได้อย่าง ดี
คล่องเเคล่วที่เสร็จทันเวลา ผลงานในบางขั้นตอนไม่เป็นไปตามจุดประสงค์
- ดำ�เนินการตามแผนที่วางไว้ ใช้อุปกรณ์เเละสื่อประกอบได้ถูกต้อง คล่องเเคล่ว ดีมาก
เเละเสร็จทันเวลา ผลงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามจุดประสงค์
ด้านการอธิบาย
- อธิบายไม่ถูกต้อง ขัดเเย้งกับเเนวคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ ต้องปรับปรุง
- อธิบายโดยอาศัยเเนวคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ เเต่การอธิบายเป็นเเนวพรรณนา พอใช้
ทั่วไป ซึ่งไม่ค�ำ นึงถึงการเชื่อมโยงกับปัญหาทำ�ให้เข้าใจยาก
- อธิบายโดยอาศัยเเนวคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ ตรงตามประเด็นของปัญหา เเต่ ดี
ข้ามไปในบางขั้นตอน ใช้ภาษาได้ถูกต้อง
- อธิบายโดยอาศัยเเนวคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ ตรงตามประเด็นของปัญหาเเละ ดีมาก
จุดประสงค์ ใช้ภาษาได้ถูกต้องเข้าใจง่าย สื่อความหมายให้ชัดเจน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์ เล่ม 2 ภาคผนวก 394

คณะกรรมการจัดทำ�คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เล่ม 2 ตามผลการเรียนรู้


กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
--------------
คณะที่ปรึกษา
1. ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อ�ำ นวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี
2. รศ.ดร.สัญญา มิตรเอม รองผู้อำ�นวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี
3. ดร.วนิดา ธนประโยชน์ศักดิ์ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี

คณะผู้จัดทำ�คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เล่ม 2


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
1. นายสุมิตร สวนสุข โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
2. นายรังสรรค์ ศรีสาคร ผู้เชี่ยวชาญ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. นายบุญชัย ตันไถง ผู้ชำ�นาญ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. นายวัฒนะ มากชื่น ผู้ชำ�นาญ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5. นายวินัย เลิศเกษมสันต์ ผู้ชำ�นาญ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
6. นายรักษพล ธนานุวงศ์ นักวิชาการอาวุโส สาขาวิทยาศาสตร์มธั ยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
7. ดร.กวิน เชื่อมกลาง นักวิชาการอาวุโส สาขาวิทยาศาสตร์มธั ยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
8. ดร.ปรีดา พัชรมณีปกรณ์ นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
9. นายสรจิตต์ อารีรัตน์ นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10. นายจอมพรรค นวลดี นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
395 ภาคผนวก ฟิสิกส์ เล่ม 2

11. นายเทพนคร แสงหัวช้าง นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย


สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
12. นายธนะรัชต์ คัณทักษ์ นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะผู้ร่วมพิจารณาคู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เล่ม 2


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ฉบับร่าง)
1. นายวิศาล จิตต์วาริน นักวิชาการอิสระ
2. ดร.ศักดิ์ สุวรรณฉาย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
3. นายพลพิพัฒน์ วัฒนเศรษฐานุกุล โรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง กรุงเทพมหานคร
4. นายโฆสิต สิงหสุต โรงเรียนศึกษานารีวิทยา กรุงเทพมหานคร
5. นางสาวปิยะมาศ บุญประกอบ โรงเรียนวัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร
6. นายอดิศักดิ์ ยงยุทธ โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก กรุงเทพมหานคร
7. นายบุญโฮม สุขล้วน โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
8. นายเสน่ห์ เชื้อสูงเนิน โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
9. นายอิศรัชฌ์ โชติผโลทัย โรงเรียนลาซาล กรุงเทพมหานคร
10. นายณัฐวีร วุฒิกุล โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพมหานคร
11. นางสาวสายชล สุขโข โรงเรียนจ่านกร้อง จ.พิษณุโลก
12. นางสาวศรีไพร เเตงอ่อน โรงเรียนวังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์
13. นางศิริเพ็ญ ศรีตระกูล โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จ.ขอนแก่น
14. นางปาริชาติ อักษรภักดี โรงเรียนสตรีทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
15. ดร.จำ�เริญตา ปริญญาธารมาศ นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์ เล่ม 2 ภาคผนวก 396

คณะบรรณาธิการ
1. ผศ.ดร.บุรินทร์ อัศวพิภพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. นายรังสรรค์ ศรีสาคร ผู้เชี่ยวชาญ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. นายบุญชัย ตันไถง ผู้ชำ�นาญ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. นายวัฒนะ มากชื่น ผู้ชำ�นาญ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5. นายรักษพล ธนานุวงศ์ นักวิชาการอาวุโส สาขาวิทยาศาสตร์มธั ยมศึกษาตอนปลาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

You might also like