You are on page 1of 32

รายงานผลการดำเนินงาน โครงการห้องเรียนคุณภาพ

ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒

โดย
นางสาวอมรรัตน์ อรุณเจริญ

โรงเรียนอนุบาลตาก อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำนำ
รายงานผลการดำเนิ น งานโครงการห้ อ งเรี ยนคุ ณ ภาพ ฉบั บ นี้ เป็ น การรวบรวมผลการดำเนิน งานตาม
แผนปฏิบัติการโรงเรียนประจำปีการศึกษา 2562 คณะกรรมการฝ่ายประเมินผลการดำเนินงานได้รับมอบหมายให้
รวบรวมข้อมูล ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรมและสรุปผลการดำเนินกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลให้กับหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานต่อไป
คณะกรรมการฝ่ า ยประเมิ น ผล ขอขอบคุ ณ คณะผู้ บ ริ ห าร คณะครู ที่ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ ง ตลอดจนผู้ ต อบ
แบบสอบถามทุกท่าน ที่ให้การสนั บสนุนในการดำเนินกิจกรรมสำเร็จ ลุล่วงไปด้วยดี หวังเป็น อย่างยิ่งว่าเอกสาร
ประเมินผลการดำเนินโครงการห้องเรียนคุณภาพ ฉบับนี้ จะสามารถเป็นข้อมูลในการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลตาก
อย่างเต็มรูปแบบต่อไป

นางสาวอมรรัตน์ อรุณเจริญ
คณะผู้จัดทำ
สารบัญ
หน้า
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญ 1
วัตถุประสงค์ 1
เป้าหมาย 1
วิธีดำเนินการ/ขั้นตอนดำเนินงาน 2
ระยะเวลาดำเนินการ 3
งบประมาณ 3
หน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้อง 3
ระดับความสำเร็จ 3
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 3
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
หลักและแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินโครงการ 4
ความหมายของการประเมินโครงการ 4
ความมุ่งหมายของการประเมินโครงการ 5
ประโยชน์ของการประเมินโครงการ 6
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน
ขั้นตอนการร่วมกันวางแผน (Plan) 7
ขั้นตอนการร่วมกันปฏิบัติ ( Do) 7
ขั้นตอนการ่วมกันประเมิน ( Check ) 8
ขั้นตอนการร่วมปรับปรุง ( Act) 8
บทที่ 4 ผลการดำเนินการและวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการจัดกิจกรรมตามโครงการห้องเรียนคุณภาพ 9
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
วัตถุประสงค์ 12
เป้าหมาย 12
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 13
การเก็บรวบรวมข้อมูล 13
สรุปผลการดำเนินการ 13
ปัญหา/ข้อเสนอแนะ 13
บรรณานุกรม 14
ภาคผนวก 15
1

บทที่ 1
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญ
โครงการห้องเรียนคุณภาพ จัดทำขึ้นเนื่องจากทิศทางของการพัฒนาโรงเรียนมีอยู่หลากหลายวิธี ที่จะช่วย
ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน มีพื้นที่การเรียนรู้ต่าง ๆ
ที่น่าสนใจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่เอือ้ ต่อการเรียนรู้ของนักเรียนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ที่คงทน กระตุ้นสมองให้มีพัฒนาการที่
ดี ทำงานได้คล่องแคล่วกระฉับกระเฉง อีกทั้งยัง เติมเต็มความรู้ให้นักเรียนมุ่ง สู่สังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge
Based Society) อันเป็นรากฐานของการเรียนรู้ตลอดชีวิ ต (Life Long Learning) อีกทั้ง ยัง เป็นการเพิ่มศักยภาพ
ทางด้านการเรียนรู้ของนักเรียน ของโรงเรียนให้ทันเหตุการณ์ในยุคโลกาภิวัตน์และสนองนโยบายในการจัดการศึกษา
ตามพระราชบั ญ ญั ติ ก ารศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน 2542 ที่ ให้ มี ก ารส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น ให้ ผู้ ส อนสามารถจั ด บรรยากาศ
สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้
การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน
และแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนอนุบาลตาก มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มี
ความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครอง
ตามระบอบประชาธิปไตยอั นมีพระมหากษั ตริย์ทรงเป็ นประมุข มีความรู้และทักษะพื้ นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่ อ
การศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ มีความรู้และทักษะทางด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสูค่ วามเป็นสากล
โรงเรียนอนุบ าลได้เล็ งเห็ นความสำคัญ ยิ่ง ในการพั ฒ นา ตกแต่ง ห้องเรียนเป็ นหนึ่ง กระบวนการพลิกโฉม
โรงเรียนตามแนวคิด BBL และวิธีการเรียนรู้ของนักเรียน และสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนจึงมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้
บรรลุตามวัตถุประสงค์ โครงการห้องเรียนคุณภาพเป็นหนึ่งในโครงการที่ช่วยให้ครูและนักเรียนมีคุณภาพเทียบเคียง
มาตรฐานสากล
ผู้รับผิดชอบโครงการจึงได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการห้องเรียนคุณภาพ ในโรงเรียนอนุบาลตาก
อย่างต่อเนื่อง อันจะส่งผลให้เกิดผลคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืนต่อไป

1.2 วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาห้องเรียนให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน เอื้อต่อกระบวนการเรียนการสอนแบบใหม่
2. เพื่อกระตุ้นสมองของนักเรียนให้อยากเรียนรู้
1.3 เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
1. ห้องเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 34 ห้อง
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 1/1MEP, 1/2, 1/3, 1/4, 1/5, 1/6, 1/7
2
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2/1MEP, 2/2EMS, 2/3, 2/4, 2/5, 2/6
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3/1MEP, 3/2EMS, 3/3, 3/4, 3/5
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 4/1MEP, 4/2EMS, 4/3, 4/4, 4/5
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 5/1EMS, 5/2EMS, 5/3, 5/4, 5/5
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 6/1EMS, 6/2EMS, 6/3, 6/4, 6/5
2. ห้องปฏิบัติการพิเศษ จำนวน 14 ห้อง
- ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 3 ห้อง
- ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 2 ห้อง
- ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ 1 ห้อง
- ห้องปฏิบัติการE-Class 1 ห้อง
- ห้องปฏิบัติการDLTV 1 ห้อง
- ห้องห้องพระพุทธศาสนา 1 ห้อง
- ห้องส่งเสริม พัฒนาทักษะอ่านเขียนเด็กเรียนช้า 1 ห้อง
- ห้องแนะแนว 1 ห้อง
- ห้องนาฏศิลป์ 1 ห้อง
- ห้องดนตรีไทย 1 ห้อง
- ห้องดนตรีสากล 1 ห้อง
เชิงคุณภาพ
1. โรงเรียนมีห้องเรียนที่น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน และท้ายทายให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
2. นักเรียนสามารถพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง

1.4 วิธีดำเนินการ/ขั้นตอนดำเนินงาน
กิจกรรมสำคัญ ระยะเวลา งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ
1. ประชุมวางแผน ก.ย. 2561 - คณะกรรมการ
2. เสนอโครงการ ต.ค. 2561 - นางสาวอมรรัตน์
3. จัดสรรงบประมาณ ห้องเรียนละ 2,000.- พ.ค. 2562 คณะกรรมการ
4. จัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ตกแต่งห้องเรียน และเอกสาร
พ.ค. – มิ.ย. 2562 51,000.- จนท.พัสดุ
ประกอบการดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 1
5. จัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ตกแต่งห้องเรียน และเอกสาร
พ.ย. – ธ.ค. 2562 51,000.- จนท.พัสดุ
ประกอบการดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 2
มิ.ย.,ส.ค.,ธ.ค.2562
6. ประเมินห้องเรียนภาคเรียนละ 2 ครั้ง - คณะกรรมการ
ก.พ. 2563
. สรุปผลการดำเนินงาน มี.ค. 2563 - นางสาวอมรรัตน์
รวมงบประมาณ(ถัวจ่ายทุกรายการ) 102,000.-
3

1.5 ระยะเวลาดำเนินการ
ตลอดปีการศึกษา 2562

1.6 งบประมาณ
งบประมาณกิ จ กรรมพั ฒ นาผู้ เรี ย นระดั บ ชั้ น ป.1 - 6 ที่ ไ ด้ รั บ การสนั บ สนุ น จากหน่ ว ยงานต้ น สั ง กั ด
เป็นจำนวนเงิน 102,000.- บาท (หนึ่งแสนสองพันบาทถ้วน) ถัวจ่ายทุกรายการ

1.7 หน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้นสังกัด องค์กรภาครัฐและเอกชน วัด ชุมชน ผู้ปกครอง ครู และนักเรียน

1.8 ระดับความสำเร็จ
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้
1. นักเรียน ครูและบุคลากรโรงเรียน
อนุบาลตากร้อยละ 100 เข้าร่วม การสังเกต/ประเมินผล การสังเกต/ประเมินผล
กิจกรรมตามที่โรงเรียนจัดให้
2. นักเรียนทุกคนใช้ความรู้ ทักษะ
และประสบการณ์จากการเรียนรู้ไป
พัฒนาตนเอง อันนำไปสู่คุณลักษณะ
การสังเกต/ประเมินผล การสังเกต/ประเมินผล
อันพึงประสงค์ ๘ ประการ ตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

1.9 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ พัฒนา ตอบสนองความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนและเห็น
คุณค่าของวิชาความรู้ อาชีพและการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ตลอดจนเห็นแนวทางในการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพ
ได้อย่างเหมาะสม
2. ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ กว้างขวางลึกซึ้ง ทำให้ผู้เรียนมีความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
คู่คุณธรรม จริยธรรม ตามความความถนัด และความสนใจของผู้เรียน
3. ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมและปลูกฝังจิตสำนึกการทำประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และท้องถิ่นในลักษณะต่างๆ
ให้มีค่านิยมที่ดีงาม อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
หลักและแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินโครงการ
1. ความหมายของการประเมินโครงการ
สุวิมล ติรกานันท์ (2543, หน้า 2) กล่าวว่า การประเมินโครงการเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของ
กระบวนการดำเนิน งานเพื่อให้ได้สารสนเทศที่สามารถใช้ในการพิจารณาการดำเนินการ ซึ่งจะทำให้การดำเนินการ
เป็นไปได้อย่างทั นท่วงที ในทางตรงกันข้ามผลการประเมิ นจะไม่เกิดเท่ าที่ควร หากผลนั้น ไม่สามารถใช้ในเวลาที่
เหมาะสม
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2544, หน้า 21) กล่าวว่าการประเมิน หมายถึง กระบวนการที่ก่อให้เกิดสารสนเทศ
(เชิงคุณค่า) เพื่อช่วยให้ผู้มีอํานาจหรือผู้เกี่ยวข้องได้ตัดสินใจเลือกทางเลือกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศิริชัย กาญจนวาสี (2545, หน้า 21 - 22) ได้สรุปความหมายของการประเมินไว้ว่า เป็นกระบวนการศึกษาสิ่ง
ต่าง ๆ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย (Research oriented) เป็น การตรวจสอบการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ ช่วยเสนอ
สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจและเป็นการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่มุ่งประเมิน
พิส ณุ ฟองศรี (2549, หน้า 4) ได้ให้ค วามหมายของการประเมิน ว่ า การประเมิ น (Evaluation) หมายถึ ง
กระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยนําสารสนเทศหรือผลจากการวัดมาเปรียบเทียบกบเกณฑ์ที่กำหนดไว้
นอกจากความหมายของการประเมินที่ มาจากภาษาอังกฤษ คือ Evaluation แล้วยังมีคําวา Assessment ซึ่งได้พบ
เสมอบางกรณีก็ใช้ในความหมายเดียวกันโดยเฉพาะในหนังสือตําราของอเมริกนั ส่วนกลุ่มประเทศที่อยูใ่ นเครือจักรภพ
อังกฤษจะใช้ 2 คํานี้ ในความหมายที่แตกต่างกัน
จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่า ความหมายการประเมินโครงการ เป็นกระบวนการดำเนินงานที่ให้ได้มาซึ่ง
ข้อมูล สารสนเทศสำหรับการตัดสินคุณภาพ คุณค่าของโครงการว่ามีระดับคุณภาพ และคุณค่าอย่างไร สามารถนําผล
การประเมินไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อวางแผนการดําเนินงานในครั้งต่อไป และนำไปใช้พัฒนาสืบเนื่องต่อไปได้
2. ความมุ่งหมายของการประเมินโครงการ
หลักการดำเนินงานใด ๆ จะต้องมีการติดตามผลงานหรือประเมินผลงานที่ได้รับมอบหมายไปดำเนิน การ การ
ติดตามผลงานเป็นการประเมินวิธีหนึ่ง เพื่อตรวจสอบว่างานใดดำเนินต่อไปอย่างไรเป็นการป้องกันไม่ให้งานแต่ละช่วง
แต่ ละตอน ดำเนิ น การผิด จุด ประสงค์แ ละเป้ าหมายเพื่ อเป็น การเพิ่ มประสิท ธิภ าพในการทำงาน และทำให้ การ
ดำเนินงานนั้นมีโอกาสประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้มากยิ่งขึ้น บทบาทหน้าที่ของ
การศึกษาในปัจจุบันโดยเฉพาะโรงเรียนที่มีขอบข่ายขยายกว้างและซับซ้อนมากขึ้น เพราะความเติบโตและเจริญงอก
งามของสังคม ความต้องการของสังคมเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของสังคม ซึ่งปัจจุบันโรงเรียนไม่ได้มีหน้าที่สอนเพียง
อย่างเดียวแต่ต้องเกี่ยวข้องประสานงานกับชุมชน สังคมและครอบครัวของนักเรียน โรงเรียนจำเป็นต้องบริหารงานให้
ดำเนินไปตามนโยบายของการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน ต้องดำเนินตามแผนโครงการที่กำหนดจากนโยบาย
5
สูงสุด ดังนั้นจึงต้องมีการติดตามและประเมินโครงการ เพื่อให้งานดำเนิน ไปตามวัตถุประสงค์จึงทำให้การประเมิน
โครงการมีความมุ่งหมายและความสำคัญตามความคิดเห็นของนักวิชาการในหลายแง่มุม ดังต่อไปนี้
ทวี ป ศิ ริ รั ศ มี (2544, หนา 116) ไดกลาวถึ ง ความสํ า คั ญ และประโยชน์ ข องการประเมิ น โครงการวา
มีหลายประการ ดังนี้
1. หนาที่ ในด้ า นสารสนเทศ (Informational Function) การประเมิ น ทํ า หนาที่ ให้ ไ ดมาซึ่ ง สารสนเทศ
เพื่อการยอนกลับ (Feedback) โดยเฉพาะอยางยิ่งสารสนเทศที่ สามารถนําไปใชปรับปรุง ในการดําเนินโครงการ
2. หนาที่ในด้านวิชาชีพ หน้ าที่นี้มุงที่จะเพิ่ มพู นความเขาใจเกี่ ยวกับวิธีการและ จุดมุง หมายของโครงการ
การแสดงถึงประสิทธิภาพหรือความลมเหลวของแผนยุทธศาสตรของการดําเนินงานของโครงการจุดอ่อน จุดแข็งและ
ข้อเสนอแนะการดําเนินงานที่ถูกต้อง
3. หนาที่ในด้านการจัดการองคกร หนาที่นี้เปนการช่วยเหลือองคกรในการวิเคราะห เปาหมายวัตถุประสงค์
จุดแข็งและจุดออนของโครงสรางองคกร ชวยในการตัดสินใจใน การเปลี่ยนแปลงและรื้อโครงสร้างใหมขององคกร
4. หนาที่ดานการเมือง หนาที่ นี้ประกอบด้ วยการกำหนดระเบียบวาระและประเด็นหรือ หัวข้ออภิปลาย
และการแสดงความคิ ด เห็ น หนาที่ ข องการประเมิ น ในดานนี้ มุ ง เพื่ อ สงเสริ ม การมี ส วนรวมและผลประโยชน์
ของกลุมระหวางนักวางแผนและผูบริหารจัดการโครงการ
5. หนาที่ในทางสังคมจิตวิทยา หนาที่นี้ มุง เน้นเพื่อ สรางความรูสึกเกี่ยวกับความมั่ นคงของ ลูกคาและผูมี
สวนไดสวนเสีย ประเด็นและปัญหาขอขัดแยงตาง ๆ จะถูกทําใหงายตอการแกไขและเยียวยา
6. หนาที่ในด้านประวัติศาสตรของการประเมิน ประกอบดวยการบันทึกและการเขียน เรื่องราวเกี่ยวกับ
เหตุการณ์และกิจกรรมที่สําคัญ ๆ ของโครงการเพื่อการกําหนดทิศทาง และการปฏิบัติเกี่ยวกับโครงการที่ชัดเจนใน
อนาคต
ฐาปนา ฉิ่นไพศาลและอัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ (2546, หนา 10 - 23) ไดกลาวถึง ความสําคัญและประโยชน์
ของการประเมินผลโครงการวามีหลายประการ ดังนี้
1. ชวยใหการกําหนดวัตถุประสงคของการดําเนินงานมีความชัดเจน กลาวคือกอนที่ โครงการจะไดรับการ
สนับสนุนใหเริ่มดําเนินงาน ควรไดรับการประเมินผลเสียกอน หากมีสวนใด ที่ขาดความชัดเจนก็จะได้ให้ไปทำการ
ปรับปรุงใหชัดเจนเสียกอน
2. ชวยใหการใชทรัพ ยากรเกิ ด ประโยชนเต็ ม ที่ หรื อ เปนไปอยางคุ ม คา ทั้ ง นี้ เพราะในการประเมิ น ผล
โครงการตองมีการวิเคราะหทุกสวนของโครงการรวมถึงทรัพยากรทุกประเภทที่ ไดรับการจัดสรรวามีงบประมาณ
พอเหมาะแกการดําเนินงานเพียงใด
3. ชวยใหแผนงานบรรลุ วั ต ถุ ป ระสงคเพราะการประเมิ น ผลโครงการ เปนขั้ น ตอนเพื่ อ ปรั บ ปรุ ง แกไข
ข้อบกพร่อง เพื่อใหโครงการบรรลุเปาหมายรวมทัง้ ชี้วัดความสําเร็จของโครงการ
4. ชวยในการควบคุมคุณ ภาพของงานอยางเปนระบบ โดยใช้ห ลักของวิทยาศาสตรจะวิเคราะหถึง ปัจจัย
ทุกชนิดที่ใช้ในการดําเนินงาน มีการตรวจสอบขอมูลยอนกลับเพื่อปรับปรุง คุณภาพของงาน
5. ชวยในการตัดสินใจในการบริหารโครงการเพราะการติดตามประเมิ นผลจะทำให ผูบริหารโครงการทราบ
ถึงปญหาอุปสรรคขอดีขอเสีย ตลอดจนแนวทางในการปรับปรุงแกไข
6. ใชเปนขอมูลสำคัญในการวางแผนหรือกำหนดนโยบายขององคกร จากการที่มีผูใหแนวคิดในเรื่องของ
ความสำคัญ และประโยชนในการประเมินผล โครงการนั้น
6
สรุปได้ว่าการประเมินโครงการ มีความมุ่ง หมายเพื่อแสดงผลการพิจารณาถึง คุณ ค่า ของโครงการ เพื่อนำ
ข้อมูลไปวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของโครงการ เพื่อช่วยให้ผู้มีอำนาจสามารถนำไปตัดสินใจและนำไปใช้ได้ โดย
คำนึงถึงความสำคัญของโครงการว่ามีความเหมาะสมเพียงใด บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เพราะผลการประเมินจะ
เป็นตัวกระตุ้น ให้การดำเนินงานมีข้อบกพร่องน้ อยลง ขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพให้ มากขึ้นในการ
ดำเนินงานแต่ละโครงการ
3. ประโยชน์ของการประเมินโครงการ
จากความมุ่งหมายและความสำคัญดังกล่าวแล้ว พอสรุปได้ว่าการประเมินโครงการมีประโยชน์ดังต่อไปนี้
1. การประเมินโครงการช่วยให้กำหนดวัตถุประสงค์และมาตรฐานของการดำเนินงานมีความชัดเจน ดัง
กล่าวคือ ก่อนที่จะนำโครงการไปใช้ย่อมจะได้รบการตรวจสอบอย่างละเอียดจากผู้บริหารและผู้ประเมิน ส่วนใดที่ไม่
ชัดเจน เช่น วัตถุประสงค์หรือมาตรฐานการดำเนินงาน หากขาดความแน่นอนที่แจ่มชัดจะต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข
ให้มีความถูกต้องชัดเจนเสียก่อน
2. ประโยชน์เต็มที่ ทั้งนี้ เพราะการประเมินโครงการจะต้องวิเคราะห์ทุกส่วนของโครงการข้อมูลใดหรือ
ปัจจัยใดที่เป็นปัญหา จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานหรือใช้ในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมกับ
คุณ ค่า ทรัพ ยากรทุก ชนิดจะได้รับการจัด สรรให้อยู่ ในจำนวนหรือปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอแก่ การดำเนิ นงาน
ทรัพยากรที่ไม่จำเป็นหรือมีมากเกินไป จะได้รับการตัดทอน และทรัพยากรใดที่ขาดจะได้รับการจัดสรรเพิ่มเติม
3. การประเมินโครงการช่วยให้แผนงานบรรลุวัตถุประสงค์ เพราะโครงการเป็นส่วนหนึ่งของแผน ดังนี้เมื่อ
โครงการได้รับการตรวจสอบวิเคราะห์ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ดำเนินไปด้วยดี
4. การประเมินโครงการมีส่วนช่วยให้การแก้ปัญหาอันเกิดจากผลกระทบ (impact) ของโครงการ และทำ
ให้โครงการมีข้อที่ทำให้ความเสียหายลดน้อยลง
5. การประเมินโครงการมีส่วนช่วยอย่างสำคัญในการควบคุมคุณภาพของงาน เพราะการประเมินโครงการ
มีการตรวจสอบ และควบคุมชนิดหนึ่ง
6. การประเมินโครงการมีช่วยในการสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการ เพราะการประเมิน
โครงการไม่ใช่เป็นการควบคุมบังคับบัญชาหรือสั่งการ แต่เป็นการศึกษาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงแก้ไขและเสนอแนะ
วิธีการใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติโครงการย่อมจะนำมาซึ่งผลงานที่ดีเป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องทั้งปวง
7. ผลของการประเมินโครงการอาจเป็นข้อมูลอย่างสำคัญในการวางแผนหรือกำหนดนโยบายของผู้บริหาร
และฝ่ายการเมือง
8. การประเมินโครงการช่วยในการตัดสินใจในการบริหารโครงการ กล่าวคือ การประเมินโครงการจะช่วย
ให้ผู้บริหารได้ท ราบถึงอุปสรรคและปั ญ หา ข้อดี ข้อเสี ย ความเป็นไปได้และแนวทางในการปรับ ปรุงแก้ไ ขในการ
ดำเนินการโครงการ โดยข้อมูลดังกล่าวแล้วจะช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการนั้นต่อไป หรือยุติโครงการ
นั้น
บทที่ 3
วิธีดำเนินการ
รายงานผลการจัดกิจกรรมตามโครงการห้องเรียนคุณภาพ ประจำปีการศึกษา 2562 ได้นำวงจรคุณภาพ
ของเดมิ่ง PDCA มาใช้ในการดำเนินการ 4 ขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นตอนการร่วมกันวางแผน (Plan)
2. ขั้นตอนการร่วมกันปฏิบัติ (Do)
3. ขั้นตอนการ่วมกันประเมิน (Check )
4. ขั้นตอนการร่วมปรับปรุง (Act)

1. ขั้นตอนการร่วมกันวางแผน (Plan)
ขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนการดำเนินการโดยมีขั้นตอน ดังนี้
1.1 ประชุมปรึกษาร่วมกันระหว่างหัวหน้าสายชั้น/หัวหน้ากลุ่มสาระฯ แล้วขยายผลสู่คณะครูทุกคน
1.2 จัดทำโครงการห้องเรียนคุณภาพ เสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาเห็นชอบ
1.3 แต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมแต่ละงานแต่กิจกรรมตามความเหมาะสม
1.4 สร้างความเข้าใจกับครูเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการ
1.5 ติดต่อประสานงานเตรียมความพร้อม ทั้งด้านสถานที่
1.6 กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ และวิธีประเมินผล
2. ขั้นตอนการร่วมกันปฏิบัติ ( Do)
การปฏิบัติงานตามแผนงานที่วางไว้โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนี้
2.1 บันทึกเสนอผู้บริหารเพื่อขออนุญาตดำเนินการ
2.2 ดำเนินการตามโครงการห้องเรียนคุณภาพ ในระหว่างประจำปีการศึกษา 2562 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย
เป็นบุคลากรภายในโรงเรียนทุกคน โดยมีกิจกรรมดำเนินการดังนี้
2.2.1 ประชุมวางแผน
2.2.2 เสนอโครงการ
2.2.3 จัดสรรงบประมาณ ห้องเรียนละ 2,000.- และห้องดนตรี ห้องละ 5,000.-
2.2.4 จัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ตกแต่งห้องเรียน และเอกสารประกอบการดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 1
2.2.5 จัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ตกแต่งห้องเรียน และเอกสารประกอบการดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 2
2.2.6 ประเมินห้องเรียนภาคเรียนละ 2 ครั้ง
2.2.7 สรุปผลการดำเนินงาน
3. ขั้นตอนการร่วมกันประเมิน ( Check ) 8
3.1 ดำเนินการประเมินผลการจัดกิจกรรมตามโครงการห้องเรียนคุณภาพ โดยใช้แบบบันทึกกิจกรรม และ
แบบสอบถามความคิดเห็น
3.2 ข้อ มูล ที่เป็น มาตราส่ วนประมาณค่า (Rating Scale) ใช้วิธี แจกแจงความถี่ หาค่ าเฉลี่ ย (X) และส่ว น
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ทั้งในรายข้อและภาพรวมเทียบกับเกณฑ์ ดังนี้ บุญชม ศรีสะอาด (2553, หน้า 74 – 84)
4.51 - 5.00 หมายความว่า ระดับความพึงพอใจ ในระดับ มากที่สุด
3.51 – 4.50 หมายความว่า ระดับความพึงพอใจ ในระดับ มาก
2.51 - 3.50 หมายความว่า ระดับความพึงพอใจ ในระดับ ปานกลาง
1.51 - 2.50 หมายความว่า ระดับความพึงพอใจ ในระดับ พอใช้
1.00 - 1.50 หมายความว่า ระดับความพึงพอใจ ในระดับ ปรับปรุง
3.3 ข้อมูลที่เป็นความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากแบบบันทึกกิจกรรม ใช้วิธี วิเคราะห์เนื้อเรื่อง (Content
Analysis )
3.4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ค่าเฉลี่ย (Arithmetic: X )
2. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standard Deviation : SD )
3.5 รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารและบุคลากรโรงเรียนอนุบาลตาก

4. ขั้นตอนการร่วมปรับปรุง ( Act)
เมื่อคณะกรรมการฝ่ายประเมินผล สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะกลุ่มงาน
ผู้รับผิดชอบจึงได้นำสารสนเทศที่ได้มาปรับปรุง พัฒนาการงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
บทที่ 4
ผลการดำเนินการและวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการจัดกิจกรรมตามโครงการห้องเรียน ประจำปีการศึกษา 2562 สามารถสรุปตามขั้นตอนในการ
ดำเนินงาน ดังนี้

ขั้นตอนการร่วมกันวางแผน (Plan)
ขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนการดำเนินการโดยมีขั้นตอน พบว่า การประชุมปรึกษาร่วมกันระหว่างหัวหน้า
สายชั้น/หัวหน้ากลุ่มสาระฯ แล้วขยายผลสู่คณะครูทุกคนได้รับความร่วมมือและสนับสนุนการทำโครงการเป็นอย่างดี
และนำเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาเห็นชอบโครงการได้รับการอนุมัติโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการจึงได้ดำเนินการ
แต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมแต่ละงานแต่กิจกรรมตามความเหมาะสม แล้วสร้างความ
เข้าใจกับครูเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการ ติดต่อประสานงานเตรียมความพร้อม ทั้งด้านสถานที่ และกำหนด
ระยะเวลาในการดำเนินการ และวิธีประเมินผล ตามลำดับ

ขั้นตอนการร่วมกันปฏิบัติ ( Do)
การปฏิบตั ิงานตามแผนงานที่วางไว้โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงาน คือ การบันทึกเสนอผู้บริหารเพื่อขออนุญาต
ดำเนินการ พบว่า ได้รับการอนุญาตและให้ดำเนินการ และผลการดำเนินการตามโครงการห้องเรียนคุณภาพ ประจำปี
การศึกษา 2562 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนทุกคน พบว่า ครูให้ความร่วมมือใน
การดำเนินกิจกรรมด้วยดี ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ พัฒนา ตอบสนองความสนใจ ความถนัด และความต้องการของ
ผู้เรียนและเห็นคุณค่าของวิชาความรู้ อาชีพและการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ตลอดจนเห็นแนวทางในการศึกษาต่อ และ
การประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ กว้างขวางลึกซึ้ง ทำให้ผู้เรียนมี
ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ คู่คุณธรรม จริยธรรม ตามความความถนัด และความสนใจของผู้เรียน และผู้เรียนได้รับการ
ส่งเสริมและปลูกฝังจิตสำนึกการทำประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และท้องถิ่นในลักษณะต่างๆ ให้มีค่านิยมที่ดีงาม อยู่
ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข
ขั้นตอนการ่วมกันประเมิน ( Check )
การประเมินผลการจัดกิจกรรมตามโครงการห้องเรียนคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น พบว่า
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) จากแบบสอบถาม โดยแปลความหมาย
ดังต่อไปนี้
4.51 - 5.00 หมายความว่า ระดับความพึงพอใจ ในระดับ มากที่สุด
3.51 - 4.50 หมายความว่า ระดับความพึงพอใจ ในระดับ มาก
2.51 - 3.50 หมายความว่า ระดับความพึงพอใจ ในระดับ ปานกลาง
1.51 - 2.50 หมายความว่า ระดับความพึงพอใจ ในระดับ พอใช้
1.00 - 1.50 หมายความว่า ระดับความพึงพอใจ ในระดับ ปรับปรุง
10
วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมิน ได้ผลการประเมิน ดังนี้
ระดับความพึงพอใจ
ปาน
ข้อที่ รายการ ปรับปรุง พอใช้
กลาง
มาก มากที่สุด ค่าเฉลี่ย SD
1 2 3 4 5
1 ห้องเรียนสะอาด เปนระเบียบเรียบรอย
นาอยู และมีพื้นที่ในการทำกิจกรรม 4 22 24 4.40 0.64
ส่งเสริมการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
2 สภาพแวดลอมทั่วไปดีขึ้น บรรยากาศ
7 24 19 4.24 0.69
ส่งเสริมต่อการทำงาน และการเรียนรู้
3 ความเหมาะของระยะเวลาในการจัด
11 18 21 4.20 0.78
กิจกรรม
4 มีสวนรวมในการปรับปรุงห้องเรียนและ
5 19 26 4.42 0.67
สถานที่ทํางาน
5 มีสภาพจิตใจแจมใส อารมณดี และ
4 17 29 4.50 0.65
ขวัญกําลังใจดี
6 เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียน และการ
4 22 24 4.40 0.64
ทํางาน
7 ผู้เรียนสามารถเรียนรู และพัฒนา
3 32 15 4.24 0.56
ตนเองได
8 ความประทับใจในการจัดกิจกรรม 5 27 18 4.26 0.63
9 ความสนุกสนานที่ได้จากการจัด
3 32 15 4.24 0.56
กิจกรรม
10 ต้องการให้จัดโครงการนี้อีก 3 24 23 4.40 0.61
ค่าเฉลี่ย 4.33
ร้อยละ 86.00

จากตาราง พบว่า พบวาผูตอบแบบสอบถามมีระดับความพึงพอใจของการทําโครงการห้องเรียนคุณภาพ ที่มี


ความพึงพอใจมากที่สุดคือมีสภาพจิตใจแจมใส อารมณดี และขวัญกําลังใจดี ( X= 4.50 ,SD = 0.65 ) รองลงมาคือ
มีสวนรวมในการปรับปรุงห้องเรียนและสถานที่ทํางาน ( X= 4.42 ,SD = 0.67 ) น้อยที่สุด คือความเหมาะของ
ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม ( X= 4.42 ,SD = 0.78 )ตามลำดับ
11
ขั้นตอนการร่วมปรับปรุง ( Act)
เมื่ อ คณะกรรมการฝ่ า ยประเมิ น ผลแล้ ว จึ ง ได้ จั ด ทำสรุ ป ผลการดำเนิ น งาน ปั ญ หา อุ ป สรรค และ
ข้อ เสนอแนะกลุ่มงานผู้รับ ผิดชอบและได้น ำสารสนเทศที่ ไ ด้นำเสนอต่อผู้บริหารและเผยแพร่ให้ ผู้มี ส่วนเกี่ยวข้อ ง
รับทราบและนำผลการทำเนินงานมากปรับปรุงพัฒนาการงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
บทที่ 5
สรุปผล และข้อเสนอแนะ
ผลการจัดกิจกรรม ตามโครงการห้องเรียนคุณภาพ ได้ผลสรุปดังนี้
1. วัตถุประสงค์
2. เป้าหมาย
3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. สรุปผลการดำเนินการ
6. ข้อเสนอแนะ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาห้องเรียนให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน เอื้อต่อกระบวนการเรียนการสอนแบบใหม่
2. เพื่อกระตุ้นสมองของนักเรียนให้อยากเรียนรู้

เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
1. ห้องเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 34 ห้อง
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 MEP1, 1/1, 1/2, 1/3, 1/4, 1/5, 1/6
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 MEP2, EMS2, 2/1, 2/2, 2/3, 2/4
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 MEP3, EMS3, 3/1, 3/2, 3/3, 3/4
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 EMS4, 4/1, 4/2, 4/3, 4/4
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 EMS5.1, EMS5.2, 5/1, 5/2, 5/3
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 EMS6.1, EMS6.2, 6/1, 6/2, 6/3
2. ห้องปฏิบัติการพิเศษ จำนวน 12 ห้อง
- ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 3 ห้อง
- ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 2 ห้อง
- ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ 1 ห้อง
- ห้องปฏิบัติการE-Class 1 ห้อง
- ห้องปฏิบัติการDLTV 1 ห้อง
- ห้องห้องพระพุทธศาสนา 1 ห้อง
- ห้องส่งเสริม พัฒนาทักษะอ่านเขียนเด็กเรียนช้า 1 ห้อง
- ห้องแนะแนว 1 ห้อง
- ห้องนาฏศิลป์ 1 ห้อง
13
4. ห้องดนตรี(ไทย,สากล) จำนวน 2 ห้อง (ห้องละ 5,000)
- ห้องดนตรีไทย 1 ห้อง
- ห้องดนตรีสากล 1 ห้อง
เชิงคุณภาพ
1. โรงเรียนมีห้องเรียนที่น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน และท้ายทายให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
2. นักเรียนสามารถพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในครั้งนี้
1. แบบสอบถามความพึงพอใจของคณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการจัดกิจกรรม
ภายใต้โครงการห้องเรียนคุณภาพ
2. แบบสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละกิจกรรม

การเก็บรวบรวมข้อมูล
มีขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
1. ผู้รับผิดชอบโครงการแจกแบบสอบถามความพึงพอใจให้คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องประเมินผลการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามโครงการห้องเรียนคุณภาพ
2. ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลการจัดกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินการ
ผู้รับผิดชอบโครงการได้ดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2562 ภายใต้
โครงการห้องเรียนคุณภาพ โดยดำเนินการแล้วเสร็จและสรุปรายงานต่อผู้บริหาร สรุปโดยภาพรวม พบว่า การจัด
กิจกรรมทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นภายใต้โครงการห้องเรียนคุณภาพ ปีการศึกษา 2562 สำเร็จลุล่วงด้วยดีจากการสอบถาม
ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละกิจกรรม พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องส่วนใหญ่มีความความคิดเห็นต่อการจัด
กิจกรรมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

ปัญหา/ข้อเสนอแนะ
1. ..............................................................................................................
2. ..............................................................................................................
3. ..............................................................................................................
14

บรรณานุกรม
ฐาปนา ฉิ่นไพศาลและอัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ. (2546). การบริหารโครงการและการศึกษาความเป็นไปได้. พิมพ์ครั้งที่ 6
กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
ทวีป ศิริรัศมี. (2544). การวางแผนพัฒนาและประเมินโครงการ. พิมพ์ครัง้ ที่ 3 กรุงเทพมหานคร : สํานักงานกองทุน
สนับสนุนงานวิจัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพมหานคร : สุวีริยสาสน์.


พิสณุ ฟองศรี. (2549). วิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร : เทียมฝ่าการพิมพ์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2545). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร : ส านักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2544). วิธีวิทยาการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ภาคผนวก
สรุปผลการประเมินความพึงพอใจ
ของผู้ปกครองต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการ/กิจกรรม
โครงการห้องเรียนคุณภาพ
ผู้ตอบแบบสอบถาม นักเรียน.........คน ครู...............คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน................คน
ร้อยละระดับความคิดเห็น เฉลี่ย
ข้อ ข้อความ
5 4 3 2 1 รายข้อ
1 ห้องเรียนสะอาด เปนระเบียบเรียบรอย นาอยู และมี
พื้นที่ในการทำกิจกรรม ส่งเสริมการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
2 สภาพแวดลอมทั่วไปดีขึ้น บรรยากาศส่งเสริมต่อการ
ทำงาน และการเรียนรู้
3 ความเหมาะของระยะเวลาในการจัดกิจกรรม
4 มีสวนรวมในการปรับปรุงห้องเรียนและสถานที่ทํางาน
5 มีสภาพจิตใจแจมใส อารมณดี และขวัญกําลังใจดี
6 เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียน และการทํางาน
7 ผู้เรียนสามารถเรียนรู และพัฒนาตนเองได
8 ความประทับใจในการจัดกิจกรรม
9 ความสนุกสนานที่ได้จากการจัดกิจกรรม
10 ต้องการให้จัดโครงการนี้อีก
ค่าเฉลี่ย
ร้อยละ

ข้อเสนอแนะ 1. .................................................................
2. .................................................................

สรุป ผลการประเมินความพึงพอใจของโครงการมีค่าเฉลี่ย............คิดเป็นร้อยละ.............อยู่ในระดับคุณภาพ...........

เกณฑ์การพิจารณาความคิดเห็น
4.51 - 5.00 หมายความว่า ระดับความคิดเห็น ในระดับ มากที่สุด
3.51 – 4.50 หมายความว่า ระดับความคิดเห็น ในระดับ มาก
2.51 - 3.50 หมายความว่า ระดับความคิดเห็น ในระดับ ปานกลาง
1.51 - 2.50 หมายความว่า ระดับความคิดเห็น ในระดับ พอใช้
1.00 - 1.50 หมายความว่า ระดับความคิดเห็น ในระดับ ปรับปรุง
ความคิดเห็นของฝ่ายบริหาร
ความเห็นหัวหน้างาน
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................

ลงชื่อ...............................................................
(.............................................................)
ความเห็นรองผู้อำนวยการโรงเรียน
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................

ลงชื่อ...............................................................
(.............................................................)
ความเห็นผู้อำนวยการโรงเรียน
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................

ลงชื่อ...............................................................
(.............................................................)

You might also like