You are on page 1of 177

พริก

รองศาสตราจารย ดร. มณีฉัตร นิกรพันธุ


ภาควิชาพืชสวน
คณะเกษตรศาสตร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม
คําขอบคุณ

ผูเขียนขอขอบคุณผูมีพระคุณหลายทาน เชน บิดา มารดา ผูชวยศาสตราจารย


ดร. สุขุม อัศเวศน และสถาบันการศึกษาที่ผูเขียนไดเลาเรียน มูลนิธฟิ อรด ซึง่ ใหทนุ การศึกษาแก
ผูเขียน ในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ประเทศสหรัฐอเมริกา คณะเกษตรศาสตร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม องคการ INTERNATIONAL DEVELOPMENT RESEARCH CENTRE
ประเทศแคนาดา ที่ไดใหเงินสนับสนุนในการวิจัยพริก โดยทางตรงและทางออม
ผูเขียนขอขอบคุณ ทานอาจารยผูทรงคุณวุฒิหลายทาน ซึง่ เปนผูเ ชี่ยวชาญใน
แตละสาขาวิชาทีไดชวยตรวจทานตําราเลมนี้ อาทิเชน รองศาสตราจารย ดร. ดนัย บุณยเกียรติ
รองศาสตราจารย ดร. ดําเนิน กาละดี และรองศาสตราจารย ดร. วิชชา สะอาดสุด ผูเขียน
ขอขอบคุณทานอาจารยเหลานีท้ ี่ไดสละเวลา และประสบการณอันมีคา ยิ่งในการตรวจทานนี้ หาก
มีสิ่งใดที่ขาดตกบกพรองผูเขียนขออภัยไว ณ ทีน่ ี้ดวย

มณีฉัตร นิกรพันธุ
รองศาสตราจารย
ภาควิชาพืชสวน
คณะเกษตรศาสตร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม
II

สารบัญ

หนา
บทที่ 1 ตระกูล Solanaceae พริก (Capsicum sp.)
คํานํา 1
ลักษณะทางพฤกษศาสตร และการจัดจําแนก 2
การจัดจําแนกพริกโดยลักษณะทางพืชสวน 23
การจัดจําแนกพริกในประเทศไทยโดยใชการแยกชนิด
ทางพฤกษศาสตร 26
การจัดจําแนกพริกในประเทศไตหวันโดยใชการวิเคราะห DNA 26
ลักษณะทางพันธุกรรมและความสามารถในการผสมขามชนิด 29
บทที่ 2 การปลูกและดูแลรักษาพริกเพื่อผลสดและผลแหง 32
ก. การเตรียมเมล็ด 32
ข. การเตรียมแปลงเพาะกลา 32
ค. การเพาะกลาและดูแลรักษาตนกลา 33
ง. การเตรียมแปลงปลูก 33
จ. การยายกลาและดูแลรักษา 34
ฉ. การเก็บเกี่ยวผลสด และกระเทาะเมล็ด 35
ช. การจัดมาตรฐานผลสด 36
ญ. การตลาด 38
ฌ. การแปรรูปและวิธีการแปรรูป 38
บทที่ 3 โรคพริก แหลงพันธุกรรมที่ตานทานโรค การปองกันกําจัด
และคุณภาพของผลพริก 42
ก. โรคกุงแหง 42
ข. โรคผลเนา 43
ค. โรคยอดและดอกเนา 43
ง. โรคใบจุด 43
จ. โรคกลาเนา 43
III

สารบัญ

หนา
ฉ. โรคราแปง 47
ช. โรคเหี่ยว 47
ญ. โรคใบหงิกหรือใบดาง 48
แมลงศัตรูพริก 48
ความเผ็ดของพริกและพันธุกรรมที่ควบคุมความเผ็ด 56
การใชเอทธิลนี ควบคุมการแกของผลพริก 57
การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในผลพริก 58
บทที่ 4 การผลิตเมล็ดพันธุและแหลงผลิตเมล็ดพันธุพริกพันธุแทและ
พันธุล ูกผสม 60
ฤดูกาลผลิตเมล็ดพันธุพ ริก 60
การปฏิบัติในการผลิตเมล็ดพันธุพ ริกแท 60
การปฏิบัติในการผลิตเมล็ดพันธุพ ริกลูกผสม 61
ก. วันปลูกที่เหมาะสมสําหรับผลิตเมล็ดพันธุพริกลูกผสม 61
ข. การเพาะเมล็ด 61
ค. การเตรียมถุงดินหรือกระบะเพาะกลา 62
ง. การเตรียมแปลงปลูกพริก 62
จ. การดูแลรักษาตนกลา 62
ฉ. การยายกลา 63
ช. การดูแลรักษาพริกในแปลงปลูก 63
ญ. การแตงกิง่ และดอกพริก 63
ฌ. การเตรียมเกสรตัวผูและตัวเมีย 64
ด. การผสมพันธุด อกพริก 64
ท. การเก็บเกี่ยวผลพริกและเมล็ดพันธุพ ริก 65
IV

สารบัญ

หนา
บทที่ 5 การปรับปรุงพันธุพริก 76
การวางแผนการผสมพันธุพริก 91
ก. วิธีการคัดเลือกสายพันธุแบบบันทึกประวัติ
(pedigree method) 91
ข. วิธีการคัดเลือกแบบเมล็ดเดี่ยว
(single seed descent) 99
ค. วิธีการคัดเลือกหมู (mass selection) 99
ง. วิธีการผสมกลับ (backcross method) 102
จ. วิธีการผสมผสานของการคัดเลือกสายพันธุ
และการคัดเลือกหมู 108
ฉ. วิธีการคัดเลือกแบบวงจร (recurrent selection) 108
ช. วิธีการปรับปรุงพันธุลูกผสม (F1 hybrid) 110
บทที่ 6 การใชยีนตัวผูเปนหมันในการปรับปรุงพันธุพ  ริกเผ็ด 122
การทดลองที่ 1 รวบรวมและปรับปรุงพันธุพริกเผ็ด 124
1.1 การรวบรวมพันธุพริกเผ็ดและผลิตเมล็ดพันธุแท 124
ผลการรวบรวมพันธุพริกเผ็ดและผลิตเมล็ด
พันธุแท 125
1.2 การผสมพันธุ 126
ผลการผสมพันธุ 126
1.3 การทดสอบพันธุลูกผสมชั่วที่ 1 126
ผลการทดสอบพันธุลกู ผสมชั่วที่ 1 127
วิจารณ 133
สรุป 134
V

หนา
การทดลองที่ 2 รวบรวมและปรับปรุงความเผ็ดของสายพันธุแม
และลูกผสมชั่วที่ 1 136
2.1 การคัดเลือกสายพันธุพ อ
ผลการคัดเลือกสายพันธุพอ 136
2.2 การผสมกลับเพื่อปรับปรุงความเผ็ดของ
สายพันธุแม 136
ผลการผสมกลับเพื่อปรับปรุงความเผ็ดของ
สายพันธุแม 137
2.3 วิธีการผสมพันธุ การทดสอบพันธุลกู ผสมชั่วที่ 1
และการหาปริมาณสารแคบไซซินในพริก 139
การทดสอบพันธุลูกผสมชั่วที่ 1 139
การหาปริมาณสารแคบไซซินในพริก 139
ผลการทดสอบพันธุลกู ผสมชั่วที่ 1 140
ผลการหาปริมาณสารแคบไซซิน 140
วิจารณ 145
การทดลองที่ 3 ศึกษาพันธุกรรมของพริกเผ็ดในสายพันธุที่มีเกสร
ตัวผูเปนหมัน 147
วิธีการทดลอง 148
ผลการศึกษาพันธุกรรมของพริกเผ็ดในสายพันธุทมี่ ีเกสรตัวผู
เปนหมัน 148
วิจารณ 151
บทที่ 7 โรคไวรัสในพริก 152
เชื้อสาเหตุของโรคไวรัสในพริก 155
พาหะนําโรคไวรัส 155
สัณฐานวิทยาของพริกตานทานไวรัส 155
ความปลอดภัยของพริก GMO สําหรับการบริโภค 156
เอกสารอางอิง 156
VI

สารบัญตาราง

หนา
ตารางที่ 1 คุณคาทางอาหารโดยเฉลีย่ ของพริกเผ็ดและพริกหวาน 2
ตารางที่ 2 ลักษณะทางพฤกษศาสตรของพริกชนิดตางๆ 22
ตารางที่ 3 การแยกชนิดพันธุพ ริกในประเทศไทย 28
ตารางที่ 4 ตารางการปฏิบัติงานในการผลิตพริกสด 35
ตารางที่ 5 โรคพริกและเชื้อสาเหตุ 44
ตารางที่ 6 พันธุพ ริกตานทานโรคและยีนที่ควบคุมความตานทานโรค 46
ตารางที่ 7 สายพันธุพ ริกตานทานโรคและมีลักษณะที่ดีทางพืชสวน
ไดมาโดยวิธกี ารปรับปรุงพันธุแบบตางๆ 87
ตารางที่ 8 ผลผลิตพริกสดและพริกแหงของลูกผสมขามพันธุ พอและแมพันธุพริก 113
ตารางที่ 9 การผสมตัวเองและผสมขามชนิดพริก C. annuum, C. chinense
และ C. baccatum 116
ตารางที่ 10 ยีนของพริก (Bassett. 1986) 117
ตารางที่ 11 ผลการทดลองการทดสอบพันธุลูกผสมชั่วที่ 1 ของพริก
ตารางที่ 12 ผลการทดลองการทดสอบพันธุลูกผสมชั่วที่ 1
แสดง % heterosis ของผลพริก 132
ตารางที่ 13 ผลการทดสอบความเผ็ดของพริกสายพันธุตางๆ 132
ตารางที่ 14 ปริมาณสารแคบไซซินตอกรัมของผลพริก และเปอรเซ็นต
ความดีเดนของลูกผสมชัว่ ที่ 1 ลูกผสมกลับครั้งที่ 1 และ
ลูกผสมกลับครั้งที่ 2 ของพริกเผ็ด 138
ตารางที่ 15 ผลผลิตและลักษณะทางพืชสวนของลูกผสมชั่วที่ 1
เปรียบเทียบกับพันธุก ารคาของพริกเผ็ด 143
VII

สารบัญรูปภาพ

หนา
รูปที่ 1 ลักษณะใบ ดอก และผลของพริก 7
รูปที่ 2 รูปรางของผลพริกในกลุม ตางๆ 27
รูปที่ 3 โครโมโซมของพริก 6 ชนิด 30
รูปที่ 4 ความสามารถในการผสมขามขนิดของพริก 31
รูปที่ 5 ผลผลิตพริกสดและพริกแหงที่ออกสูตลาดในชวงตางๆ
จากแหลงปลูกหลายแหง 37
รูปที่ 6 วิถีตลาดพริกเล็ก จังหวัดเชียงใหม 40
รูปที่ 7 วิถีตลาดพริกใหญ จังหวัดเชียงใหม 41
รูปที่ 8 โรคพริก 50
รูปที่ 9 การปฏิบัติในการผลิตเมล็ดพันธุพ ริกยักษลูกผสม 66
รูปที่ 10 ดอกพริกทีม่ ีเกสรตัวผูปกติและไมปกติ 80
รูปที่ 11 สายพันธุพ ริกสําหรับผลิตเมล็ดพันธุพ ริกลูกผสม 82
รูปที่ 12 การผลิตเมล็ดพันธุลกู ผสม F1 และสายพันธุพอและแมของพริกทีม่ ียนี
กลายพันธุ ms (genic male sterility) 85
รูปที่ 13 การผลิตเมล็ดพันธุลกู ผสม F1 และสายพันธุพอและแม
ของพริกทีม่ ียนี กลายพันธุ CMS (cytoplasmic male sterility) 86
รูปที่ 14 การกระจายของยีนที่ควบคุมลักษณะสีเหลืองของผลพริกยักษ 92
รูปที่ 15 แผนผังการคัดเลือกสายพันธุ (pedigree method) ของลูกผสม
เพื่อคัดสายพันธุแทที่ดี หลังจากผสมตัวเองแลว 8 ชั่วอายุ 90
รูปที่ 16 วิธีการคัดเลือกแบบเมล็ดเดี่ยว (single seed descent, SSD) 100
รูปที่ 17 แผนผังการคัดเลือกหมู (mass selection) ของลูกผสม
เพื่อคัดสายพันธุแทที่ดี 101
รูปที่ 18 การผสมกลับและผสมขามในการปรับปรุงพันธุพ ริกตานทานตอโรค
PMV และ CMV 103
รูปที่ 19 วิธีการผสมกลับ (backcross) กรณีที่ลักษณะที่ตองการควบคุม
โดยยีนขมคูเดียว 104
VIII

สารบัญรูปภาพ

หนา
รูปที่ 20 วิธีการผสมกลับ (backcross) กรณีที่ลักษณะที่ตองการถายทอด
ถูกควบคุมโดยยีนดอยคูเดียว 105
รูปที่ 21 แผนการปรับปรุงพันธุพริกหวานโดยใช C. annuum และ C. chinense 107
รูปที่ 22 การคัดเลือกแบบวงจร (recurrent selection) 109
รูปที่ 23 การปรับปรุงพันธุลูกผสมพริก (F1 hybrid) จากพันธุแทพนั ธุผสมเปด
และพันธุลกู ผสม 111
รูปที่ 24 ผลพริกลูกผสมชั่วที่ 1 KY1-1 x พริกหนุมเขียว 129
รูปที่ 25 ผลพริกลูกผสมชั่วที่ 1 KY1-1 x พริกบางชาง 130
รูปที่ 26 ผลพริกลูกผสมชั่วที่ 1 KY1-1 x พริกหนุมเขียวแมโจ 130
รูปที่ 27 ผลพริกลูกผสมชั่วที่ 1 KY1-1 x พริกหนุมขาวแมกงุ 131
รูปที่ 28 ดอกที่มีเกสรตัวผูสมบูรณ (ซาย) และดอกที่มีเกสรตัวผูฝอ (ขวา) ของพริก 137
รูปที่ 29 ผลผลิตตอตนของลูกผสมชัว่ ที่ 1 KY 1-1 BC2#10 x 1-3-7 138
รูปที่ 30 ผลผลิตและสารแคปไซซินของพอพันธุลกู ผสมชั่วที่ 1 และพันธุการคา 144
บทที่ 1

ตระกูล Solanaceae
พริก (Capsicum spp.)

คํานํา

เปนทีย่ อมรับกันวาพริกมีแหลงกําเนิดในเขตรอนของทวีปอเมริกาไดแก อเมริกา


ใตและอเมริกากลาง หรือเรียกวา New World tropics มีผูพบผลของพริกในหลุมฝงศพที่มีอายุถึง
2000 ป ณ ประเทศเปรู (Safford. 1926) จากการสํารวจพันธุพ ริกในเขตรอนทวีปเอเชีย หรือ
Old World tropics ไมมีหลักฐานวาพริกมีแหลงกําเนิดในแถบนี้ (De Candolle. 1886) พริกถูก
นําเขาไปเผยแพรในประเทศสเปนตั้งแตสมัยโคลัมบัสในป ค.ศ.1493 หลังจากนัน้ ก็ไดกระจายไป
ยังประเทศตางๆ แถบทะเลเมดิเตอรเรเนียน และประเทศอังกฤษ ตอมาชาวสเปนและชาว
โปรตุเกสเปนผูนําไปเผยแพรในเอเชีย การยอมรับพริกในการบริโภคนั้น ไดรับการยอมรับในทันที
ไมเหมือนมะเขือเทศและมันฝรั่งซึ่งใชเวลานานกวาผูบริโภคจะยอมรับ จากหลักฐานพบวาใน
ประเทศอินเดียมีพริกปลูก 3 พันธุ ตัง้ แต ค.ศ. 1542 (Heiser. 1976 และ Purseglove. 1968)
สําหรับประเทศไทยเขาใจวาพริกถูกนําเขาประเทศโดยชาวโปรตุเกสเปนเวลาหลายรอยปแลว และ
ไดรับการยอมรับอยางมากเปนอาหารชูรสที่สําคัญของประชากรในประเทศ ชูรสทีส่ ําคัญของพริก
ไดแกรสที่เผ็ดอันเนื่องมาจากสาร capsaisin ในรูป vanillyl amide ของ isodecyanic acid ที่อยู
ในไสพริก (placenta)
พริกเผ็ด เชน พริกขี้หนู พริกชี้ฟา พริกกลางและ Tabasco มีแหลงปลูกในแถบ
รอน (tropics) มีความสําคัญทางเศรษฐกิจมาก ใชในการบริโภคภายในประเทศและแปรรูป
สงออกไปยังประเทศเขตอบอุน เปนพริกแหงหรือพริกสดบรรจุกระปอง สวนพริกหวาน (sweet
pepper) ปลูกในประเทศเขตอบอุนและเขตรอน ไดรับความนิยมบริโภคมากในเขตอบอุน
ประเทศในเขตรอนและกึ่งรอนเชนประเทศเซเนกัล เคนยา และอืน่ ๆ ในแอฟริกาตอนเหนือ ปลูก
พริกหวานเพื่อสงออกไปยังประเทศในทวีปยุโรป
คุณคาทางอาหารของพริกมีคอนขางสูง พริกเปนแหลงทีใ่ หวิตามิน C วิตามิน A
และวิตามินอืน่ ๆ (ตารางที่ 1 Grubben. 1977) นอกจากนี้ยงั ใชเปนยาและไมประดับอีกดวย
2

ตารางที่ 1 คุณคาทางอาหารโดยเฉลีย่ ของพริกเผ็ด และพริกหวาน (ตอสวนที่บริโภคได 100 g)

สวนประกอบ พริกหวาน พริกเผ็ด


พลังงาน (Kcal) 26.0 116.0
โปรตีน (g) 1.3 6.3
เสนใย (g) 1.4 15.0
แคลเซี่ยม (mg) 12.0 86.0
เหล็ก (mg) 0.9 3.6
แคโรตีน (mg) 1.8 6.6
ไทอามีน (mg) 0.07 0.37
ไรโบเฟรวิน (mg) 0.08 0.51
ไนอาซิน (mg) 0.8 2.5
วิตามินซี (mg) 103.0 96.0
คุณคาทางอาหารโดยเฉลีย่ (ANV) 6.61 27.92
ANV ตอน้ําหนักแหง 100 g 82.6 8.07
น้ําหนักแหง (g) 8.0 34.6
ของเหลือทิ้ง (%) 13.0 13.0

ลักษณะทางพฤกษศาสตร และการจัดจําแนก
พริกมีแหลงกําเนิดในอเมริกาเขตรอน ตั้งแตกอนโคลัมบัส พบทวีปอเมริกา พันธุ
พริกที่ปลูกในปจจุบันถูกนํามาจากตัวอยางที่เก็บมาเพียงเล็กๆ นอยๆ เมื่อเทียบกับการกระจายตัว
ของพันธุกรรมในธรรมชาติ พริกพันธุป ลูกแบงไดเปน 3 กลุมใหญๆ ไดแก Capsicum
baccatumและ C. pubescens R. and P. ซึ่งแยกออกจากกันไดชัดเจนโดยลักษณะทาง
พฤกษศาสตรและอีกกลุมหนึ่งที่รวมๆ กันอยู ปจจุบันยอมรับใหแยกเปนอีก 3 ชนิด (species)
ดวยกันไดแก C. annuum L., C. frutescens L, และ C. chinense Jacq. (Pickersgill.
1988) (รูปที่ 1:1.1-1.28) อธิบายแยกชนิดไดดังนี้

ก. Capsicum annuum L.
เปนชนิดที่ปลูกมากและมีความสําคัญมากที่สุดเมื่อเทียบกับพริกชนิดอื่นๆ มี
แหลงดั้งเดิมอยูในอเมริกากลางไดแก ประเทศเม็กซิโกและประเทศใกลเคียง มีหลักฐานวาถูก
3

พริกทีก่ ระจายอยูแถบ Old World นี้อาจเรียกไดวาเปนแหลงกําเนิดที่สอง (secondary


centres) ได เชน ในตอนกลางของทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย
พริกในชนิดนี้เห็นชัดวาแตกตางจากชนิดอื่นไดแกการทีม่ ดี อกเดี่ยวและผลเดี่ยวๆ
และมีกลีบดอกสีขาว จากการสํารวจในประเทศไทย พบวา พริก C. annuum ที่ใชเปนพันธุปลูกมี
มากสายพันธุท ี่สุดเมื่อเทียบกับพริกชนิดอืน่ รวบรวมได 31 สายพันธุ (Worayos. 1986) ชื่อสาย
พันธุเ รียกตามชื่อพื้นเมือง ไดแก พริกชี้ฟา พริกชี้ฟา ใหญ พริกจินดา พริกแดง พริกฟกทอง พริก
ขี้หนู พริกขี้หนูชี้ฟา พริกขีห้ นูจนิ ดา พริกหวานและพริกยักษ เปนตน ชื่อที่ใชเรียก เชน พริกชีฟ้ า
และพริกขี้หนู ใชเรียกในพริกชนิดอื่นดวย เชน C. chinense และ C. frutescens

ข. Capsicum chinense Jacq.


เปนพริกที่มีความสําคัญในการใชเปนพันธุปลูกมากในแถบภูเขาแอนดีส
อเมริกาใต การกระจายพันธุของพริกชนิดนี้มมี ากในบริเวณอเมซอน (Pickersgill. 1969b) พริก
ในกลุมนี้ทมี่ ีผลใหญ เนื้อหนา ใชรับประทานสด พริกที่เนื้อบางใชทาํ พริกแหง สวนพริกผลเล็กมี
กลิ่นและรสเผ็ดจัด เชื่อวามีรสเผ็ดที่สุดในพริกที่ปลูกทัง้ หมด
พริกชนิดนี้กระจายไปยังแอฟริกา โดยเสนทางการคาของชาวโปรตุเกส
ในประเทศไทย สายพันธุพ ริกที่เก็บรวบรวมมีพริกชนิดนี้อยู 18 สายพันธุ (Worayos. 1986) มีชื่อ
เรียกวาพริกขีห้ นู พริกขี้หนูแดง พริกกลาง พริกเล็บมือนาง พริกขี้หนูหอม พริกสวนและพริก
ใหญ เปนตน พริกพวกนีม้ ลี ักษณะทางพฤกษศาสตรคลายกับ C. annuum และ C. frutescens
สีกลีบดอกสีเขียวออน (greenish white) มีดอก 2 หรือมากกวา 2 ดอกตอขอ เมื่อผลแกจะมีรอย
คอดที่กลีบเลีย้ งติดกับกานของผล ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในลักษณะประจําของพริกชนิดนี้

Capsicum baccatum L.
พริกชนิดนี้มีถนิ่ กําเนิดในประเทศโบลิเวีย (Heiser. 1976) มีหลักฐานทาง
โบราณคดีของประเทศเปรูวา พริกชนิดนี้ C. baccatum var. pendulum ปลูกโดยคนโบราณกอน
คริสตศตวรรษถึง 2500 ป (Pickersgill.1969a) การกระจายของพริกชนิดนี้พบในประเทศเปรู
ประเทศโบลิเวีย ประเทศประเทศอาเจนตินา และประเทศบราซิลตอนใต ตอจากนั้นไดกระจายไป
ยังตอนใตของประเทศสหรัฐอเมริกา ฮาวาย และประเทศอินเดีย ในศตวรรษที่ 17 มีการกระจาย
ของพริกชนิดนี้ถึงยุโรป พริกนี้ไมเปนทีน่ ยิ มปลูกในทวีปเอเชียและแอฟริกา ทัง้ นี้อาจเปนเพราะ
C. annuum และ C. frutescens ไดรับความนิยมอยูแ ลว จากการรวบรวมพันธุพ ริกในประเทศ
4

Capsicum frutescens L.
ถิ่นกําเนิดของพริกชนิดนี้อยูใ นอเมริกาใตเชนเดียวกับชนิดอื่น และพบหลักฐาน
ทางโบราณคดีในประเทศเปรูกอนคริสตศตวรรษถึง 1200 ป (Pickersgill. 1969a) พบวามีการ
กระจายพันธุอยูในประเทศบราซิลตอนใตไปถึงตอนกลางของทวีปอเมริกา หมูเกาะ West Indies
ทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย พันธุทปี่ ลูกในอเมริกาเปนชนิดผลโต เรียกวา Tabasco pepper ซึ่ง
เปนพันธุท ี่รูจกั กันแพรหลาย นอกจากนี้ยังมีพนั ธุผลโตอื่นๆ อีก มีปลูกแถบทะเลคาลิเบียน ทวีป
ยุโรปและทวีปเอเชีย แตพันธุที่นยิ มในทวีปเอเชียเปนพริกผลเล็ก มีความเผ็ดมาก บางแหงใชพริก
พวกนี้ในการสกัดสาร oleoresin ในประเทศไทย มีรายงานวามีพริกชนิดนี้ 3 สายพันธุ ไดแก
พริกชี้ฟา พริกเกษตร และพริกขาว (Worayos. 1986) พริกชนิดนีม้ ลี ักษณะเดนทีม่ ีดอกเดี่ยว แต
พริกพันธุปา ของ C. frutescens มี 2-3 ดอก ในแตละขอ ดอกมีสีเขียวออน (greenish white)
ผลพริกของพันธุปาใชบริโภคไดและมีรสเผ็ด

Capsicum pubescens Ruiz & Pavon


พริกชนิดนี้เปนพริกที่ปลูกบนพืน้ ที่สงู เนือ่ งจากทนตอความหนาวได พบวาปลูก
อยูในแถบภูเขาแอนดีส และบนที่สงู ของอเมริกากลาง แตก็พบพริกชนิดนี้ในที่ราบเชนเดียวกับ
C. annuum, C. baccatum และ C. chinense (Eshbaugh. 1979 และ Pickersgill. 1971)
แหลงกําเนิดของพริกนี้เขาใจวาเปนประเทศโบลิเวีย (Eshbaugh. 1980) พริกพวกนี้ไมคอยติด
ผลไดงายเชนพริกชนิดอืน่ เมื่อปลูกในแถบรอน พันธุท ี่ใชปลูกมีลกั ษณะการกระจายนอยกวาพริก
ชนิดอื่นที่กลาวมาแลวขางตน ผลของพริกมีเนื้อหนา มีเปอรเซ็นตของน้ําสูง แตมีรสเผ็ด
ลักษณะเดิมของพริกชนิดนี้ไดแก กลีบดอกสีมวง ไมมีจุดและเมล็ดสีดํา จากการสํารวจและ
รวบรวมพันธุพ ริกในประเทศไทย อาจมีพริกชนิดนี้อยูเพียงสายพันธุเดียวเรียกวา พริกขาวดํา
(Worayos. 1986)
แหลงกําเนิดของพริกทั้ง 5 ชนิดทีก่ ลาวมาแลว พอสรุปไดวากําเนิดในแถบรอน
ของโลกใหม (New World tropics) และแถบอบอุนของโลกใหม (New World subtropics) และ
ไมมีหลักฐานปรากฏวากําเนิดในโลกเกา (Old World) เลย โคลัมบัสไดเปนคนแรกทีน่ ําพันธุพ ริก
ไปยังประเทศสเปน ในศตวรรษที่ 16 ประมาณ ค.ศ.1493 พันธุพ ริกไดกระจายจากแถบทะเล
เมดิเตอรเรเนียนไปยังประเทศอังกฤษ ใน ค.ศ.1548 และจึงกระจายไปในยุโรปตอนกลางใน
5

พริกในสกุล (Genus) นี้เรียกวา nightshade Solanaceae มีประมาณ 20-30


ชนิด (species) ไดแยกพันธุพริกที่ปลูกเปน 5 ชนิดดวยกันไดแก C. annuum L; C. frutescens
L., C. chinense Jacquin, C. baccatum และ C. pubescens Ruiz & Pavon. และยังมีพริกอีก
2 ชนิด ไดแก C. pendulum Willdenow และ C. microcarpum Cavanilles ซึ่งถูกจัดใหอยูในพริก
C. baccatum ดังนัน้ พันธุพริกผลใหญในพริกชนิดนี้เรียกวา C. baccatum L. var. pendulum
(Willd.) Eshbaugh และพันธุพ ริกผลเล็กเรียกวา C. baccatum L. var baccatum
พริกมีดอกทั้งดอกเดี่ยวและดอกชอ ชอละ 2-3 ดอก กานชอดอกตั้งตรง (erect)
หรือโนมลง (pendent) ออกดอกทัง้ ป เปนพืชยืนตน ดอกเปนดอกสมบูรณมีเกสรตัวผู (stamen)
แยกจากเกสรตัวเมีย (stigma) (รูปที่ 1 ) โดยธรรมชาติการผสมพันธุแลวพริกเปนพืชผสมตัวเอง
แตการผสมขามเกิดไดในเปอรเซนตที่สงู
ศูนย IBPGR ไดจัดทําคูมอื สําหรับการแยกพริกชนิดตางๆ ออกจากกัน โดย
อาศัยลักษณะและสีของ ดอก ผล (IBPGR Secretariat. 1983) ซึ่งก็คลายกับลักษณะที่แสดงไวใน
ตารางที่ 2 มีดังนี้

1. เมล็ดสีดํา กลีบดอกสีมว ง.........………………………………........................C. pubescens


1. เมล็ดสีน้ําตาลออน กลีบดอกขาวหรือเขียวออน
2. กลีบดอกมีจุดเหลืองที่โคนกลีบ..…………………………….......................C. baccatum
2. กลีบดอกไมมีจุดเหลืองที่โคนกลีบ
3. กลีบดอกสีมวง
4. ดอกเดี่ยว..……………………………………………................C. annuum
4. ดอกมี 2 ดอกขึ้นไปในแตละขอ..………………………………..C. chinense
3. กลีบดอกสีขาวหรือเขียวออน
5. กลีบเลี้ยงของผลคอดตรงจุดตอกับกานผล…..………………......C. chinense
5. กลีบเลี้ยงของผลไมคอดตรงจุดตอกับกานผล
6. ดอกเดี่ยว
7. กลีบดอกสีขาว กลีบดอกตรง
กานดอกหอย………………………………………….......C. annuum
7. กลีบดอกสีเขียวออน กลีบดอกโคงไปดานหลัง
กานดอกตั้ง...……………………………………….C. frutescens
6

6. ดอก 2 ดอกขึ้นไป
8. กลีบดอกสีขาว………………………………………......C. annuum
8. กลีบดอกสีเขียวออน
9. กานดอกตั้ง กลีบโคงไปดานหลัง………………..C. frutescens
9. กานดอกหอย กลีบดอกตรง…………………..C. chinense

การแยกพริกทัง้ 5 ชนิดนัน้ อาศัยลักษณะของดอกและผล (ตารางที่ 2)


(Bassett. 1986) C. annuum มีลักษณะประจําไดแก ดอกสีขาว อับละอองเกสรตัวผูสีฟาถึงสี
มวง กลีบเลี้ยงมีหยักคอดที่จุดตอกับกานที่ขอมีดอกเพียงดอกเดียวตอขอ แตบางครั้งอาจมี 2
ดอกตอขอ C. frutescens มีดอกสีเขียวออน กลีบเลี้ยงไมหยัก และไมคอดที่ฐานของผล
อับละอองเกสรตัวผูสีฟา สวนใหญมีดอกเพียงดอกเดียวตอขอ แตบางครั้งอาจมี 2 ดอกตอขอ พันธุ
ปาของพริกชนิดนี้บางพันธุอ าจมีดอก 5 ดอกตอขอ C. chinense ดอกมีสีขาวหรือเขียวออน
อับละอองเกสรตัวผูสีฟา กลีบเลี้ยงหยักและคอด ดอกมี 1-3 ดอกตอขอ C. pendulum มีดอก
สีขาวและจุดสีเหลืองที่กลีบดอก อับละอองเกสรตัวผูมสี ีเหลือง ยาวและโคง ผลหอยลง กานของ
ใบแบนคลายใบ C. pubescens ดอกใหญ สีมวง ใบมีขนออนๆ ผลสีเหลืองถึงสม และเมล็ดสีดํา
7

รูปที่ 1 ลักษณะใบ ดอก และผลของพริก


รูปที่ 1.1 และ 1.2 พริก ผักและผลไม ถูกนําไปใชในการประดับเพื่อการประกวด
8

รูปที่ 1.3 พริก ผัก และผลไม ถูกนําไปใชในการประดับเพื่อการประกวด

รูปที่ 1.4 พริกยักษ (C. annuum) ชนิดผลออนสีเขียว


9

รูปที่ 1.5 ผลพริกยักษพันธุเจียไต ผลออนมีสีเขียว

รูปที่ 1.6 ผลพริกยักษพันธุ Keystone Resistant ผลออนมีสีเขียว


10

รูปที่ 1.7 ผลพริกยักษพนั ธุ New Ace ผลออนมีสีเขียว

รูปที่ 1.8 ผลพริกยักษที่ผลออนมีสีเขียวเมื่อสุกเต็มทีม่ สี ีแดง ใชในการประดับอาหาร


11

รูปที่ 1.9 ผลพริกยักษบางพันธุม ีผลออนสีเหลืองใชในการประดับอาหาร

รูปที่ 1.10 ผลพริกยักษชนิดผลออนสีเหลือง เมื่อสุกแกเต็มที่มีผลสีแดง


12

รูปที่ 1.11 พริก C. annuum ชนิดผลเล็กเรียว และชี้ขนึ้

รูปที่ 1.12 พริก C. annuum ชนิดผลเล็กเรียว และชี้ลง


13

รูปที่ 1.13 พริก C. annuum สายพันธุ 66 A ชนิดผลเล็กรูปกรวย

รูปที่ 1.14 พริก C. annuum สายพันธุ 66 B ชนิดผลเล็กรูปกรวย เปนกลุมเดียวกับสายพันธุ 66 A


14

รูปที่ 1.15 พริก C. annuum กลุมเดียวกันที่มีการกระจายของยีนที่ควบคุมลักษณะผล

รูปที่ 1.16 พริก C. annuum สายพันธุ 66 C เปนกลุมเดียวกับ สายพันธุ 66 A และ 66 B


15

รูปที่ 1.17 พริก C. annuum สายพันธุ 66 D เปนกลุมเดียวกับ สายพันธุ 66 A, 66 B และ 66 C

รูปที่ 1.18 พริก C. annuum สายพันธุ 69 A ชนิดผลเล็กรูปสามเหลีย่ ม


16

รูปที่ 1.19 พริก C. annuum สายพันธุ 69 B ชนิดผลเล็กรูปกรวย

รูปที่ 1.20 ผลพริก C. annuum สายพันธุ 69 A, 69 B, 69 C, 69 D และ 69 E


เปนการกระจายของยีนที่ควบคุมลักษณะผล
17

รูปที่ 1.21 พริก C. annuum สายพันธุที่ 69 C ชนิดผลเล็กรูปหัวใจ

รูปที่ 1.22 พริก C. annuum สายพันธุที่ 69 D ชนิดผลเล็กรูปเรียวยาว


18

รูปที่ 1.23 พริก C. annuum สายพันธุ 69 E ชนิดผลเล็กรูปไข

รูปที่ 1.24 พริก C. baccatum มีผลรูปยาวเรียว


19

รูปที่ 1.25 พริก C. chinense หรือพริกขี้หนู มีผลเล็กเรียว และชี้ขึ้น

รูปที่ 1.26 ผลพริกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพริกสรอย พริกจินดา พริกนอย


และพริกนิว้ มือนาง

หมายเหตุ รูปที่ 1.5-1.25 จาก มงคล. 2531.


20

รูปที่ 1.27 ผลพริกพันธุตางๆ ถูกนํามารอยเพื่อประดับ

รูปที่ 1.28 ผลพริกพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพริกทีม่ ีผลออนสีเหลือง

หมายเหตุ รูปที่ 1.26-1.28 จาก ดร.กมล เลิศรัตน มหาวิทยาลัยขอนแกน


21

รูปที่ 1.29 ลักษณะใบ ดอก และผลของพริก


A. C. annuum ไดแก พริกหวาน
A1 กิง่ และใบ A2 ดอก A3 ดอกตัดตามยาว
A4 ผล A5 ผลตัดตามยาว
B. C. frutescense ไดแก พริกขี้หนู
B1 กิ่ง ใบ ดอก และผล B2 ใบ
B3 ดอก B4 ดอกตัดตามยาว B5 ผล
B6 ผลตัดตามยาว (ตาม Purseglove. 1968)
22

ตารางที่ 2 ลักษณะทางพฤกษศาสตรของพริกชนิดตางๆ

ชนิด(Species) สีกลีบดอก จุดที่กลีบ รูปรางกลีบ สีอับละออง หยักที่กลีบ สีเมล็ด จํานวน


ดอก ดอก เกสร ดอก ดอกตอขอ
C. annuum ขาว ไมมี เรียงตัวรอบ ฟา-มวง มี น้ําตาลออน 1
จุดศูนยกลาง
C. frutescens เขียวออน-ขาว ไมมี " " ฟา ไมมี น้ําตาลออน 1-5
C. chinense ขาว-เขียวออน ไมมี " " ฟา มี น้ําตาลออน 1-5
C. galapogense ขาว ไมมี " " เหลือง ไมมี น้ําตาลออน 1
C. chacoense ขาว ไมมี " " เหลือง มี น้ําตาลออน 1
C. schottianum ขาว เหลือง " " เหลือง ไมมี ดํา 5-7
C. baccatum ขาว เขียว-เหลือง " " เหลือง มี น้ําตาลออน 1-2
C. praetermissum ขาว-มวงออน เหลือง " " เหลือง มี น้ําตาลออน 1
C. eximium ขาว-มวงออน เหลือง " " เหลือง มี น้ําตาลออน 2-3
C. pubescens มวง ไมมี " " มวง มี ดํา 1
C. cardenasii ฟา เขียว-เหลือง คลายกระดิ่ง ฟาออน มี น้ําตาลออน 1-2

ลักษณะตน
พริกเปนพืชไมพุม ลําตนตรง แตกกิ่งกานสาขาแบบรัศมี และกิ่งแขนงแตกสาขา
แบบทวีคูณ จาก 2 กิ่ง เปน 4 กิ่ง และ 8 กิ่ง เปนตน บอยครั้งมีกงิ่ แขนงแตกจากระดับใตดินเจริญ
คลายเปนตนใหมอยูรวมกันเปนกระจุก ตนมีขนาดพุม ลักษณะตางๆ กัน เชน พุมเตีย้ และพุมสูง

ลักษณะใบ
ใบเปนใบเดี่ยวมีขนาดตางๆ กัน กานใบมีความยาวประมาณ 0.5-2.5 ซม. ใบ
กวางมีรูปไข ขอบใบเรียบปลายใบแหลม ใบบางและสวนใหญไมมีขน

ลักษณะราก
มีรากแกวแข็งแรง แตมักจะชงักการเจริญเนื่องจากการยายกลา มีรากแขนงแตก
มากมาย และมีความยาวถึง 1-1.5 เมตร รากฝอย พบอยางมากบริเวณรอบๆ ตน

ลักษณะดอก
ดอกเปนดอกเดี่ยว เกิดที่ขอ อาจมีหลายดอกเกิดจากขอติดๆ กันจนดูคลายเปน
ดอกชอ กานดอกมีความยาว 1.5 ซม. กลีบเลี้ยงสัน้ ประมาณ 2 มม. มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5
กลีบ เสนผาศูนยกลาง 8-15 ซม. แตกลีบดอกและกลีบเลี้ยงอาจมี 4-7 กลีบก็ได กลีบดอกมีสี
ขาวหรือเขียวออน หรือมวง เกสรตัวผูมี 5-6 อัน อยูที่ฐานของกลีบดอก อับละอองเกสรมีสีฟาหรือ
23

ลักษณะของผล
ผลพริกไมแตกเปนชนิด berry มีเมล็ดมากมีทงั้ ผลหอย หรือผลตั้ง ผลเกิดที่ขอ
ขนาด รูปราง สี ความเผ็ด มีตางๆ กัน ความยาว 1-30 ซม. ผลออนมีสเี ขียวหรือมวง ผลสุกมีสีแดง
สม เหลือง น้าํ ตาล ครีม หรือมวง ความเผ็ดมีระดับตางๆ กัน ฐานของผลเปนฐานรูปถวยหรือรูป
จานรองถวยซึง่ ใชในการแยกประเภทของพริก เมล็ดมีสเี หลืองซีด ความยาว 3-5 มม.

การผสมพันธุพริก
ลักษณะทางพฤกษศาสตรของดอกพริกซึง่ มีเกสรตัวผู และตัวเมียอยูในดอก
เดียวกัน สงเสริมใหพริกมีการผสมตัวเอง สวนใหญในสภาพธรรมชาติ พริกมีการผสมขามมาก
จากการทดลองในประเทศอิตาลี พบวา การผสมขามมีตั้งแต 1 ถึง 46 เปอรเซ็นต (Belletti and
Quagliotti.1989) การผสมขามเกิดจากแมลงเปนสวนใหญ และมีสว นนอยที่เกิดจากลม ดังนัน้
พริกจึงมีความแปรปรวนในลักษณะของตน ดอก ผล รูปรางผล สีและความเผ็ดของผลพริก การ
ผสมขามนีเ้ กิดระหวางพริกชนิดเดียวกันแตตางพันธุ( intra-specific cross pollination) และเกิด
ระหวางพริกตางชนิดกันได (inter-specific cross pollination) การผสมพันธุพริกเกิดไดทุกเวลาใน
ชวงเวลากลางวัน ทั้งนีด้ อกพริกที่เจริญเต็มที่จะบานเมื่อไดรับแสงอาทิตย สวนใหญดอกบาน
ภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากดวงอาทิตยขึ้น (Erwin. 1932) การผสมเกสรทําใหเมล็ดติดดีในชวงเวลา
เชาหรือเย็น เมื่ออุณหภูมิของอากาศไมสูงเกินไป

การจัดจําแนกพริกโดยลักษณะทางพืชสวน
Erwin. 1932 ไดแยกพริกโดยอาศัยลักษณะของฐานรองดอกและกลีบเลี้ยง ไดมงุ
ในการจําแนกชนิดพริกเฉพาะใน C. annuum และมี C. frutescens คือกลุม Tabasco อยูดวย
ทั้งนี้เนื่องจาก พริกที่ปลูกในประเทศสหรัฐอเมริกาเปน C. annuum แทบทัง้ สิ้น การแยกไดพริก
2 กลุมไดแกกลุมที่มฐี านรองดอกเปนรูปถวย ในกลุม นี้มี Tabasco และ Cayenne group
และอีกกลุมเปนกลุมที่มีฐานของดอกเปนรูปจานรองถวย ประกอบดวย Cherry, Celestial,
Perfection Tomato และ Bell group ตอมาพริกมีความแปรปรวนภายในชนิดมากขึ้น และมีพริก
ชนิดอื่นถูกนําไปปลูกในประเทศสหรัฐอเมริกา Smith, et al. 1987 จึงไดเสนอการจัดจําแนก
ประเภทของพริกใหมโดยใชลักษณะของผลพริกในการจําแนกดังนี้ (รูปที่ 2)
24

1. พริกผลโต ผิวเรียบ เนื้อหนา ไดแก


1.1 Bell group ผลโตขนาดความยาว 7.5-12.5 ซม. และเสนผาศูนยกลาง 4-6 ซม.
รูปรางเปนสีเ่ หลี่ยมปลายตัด หรือรูปรางเรียวยาว รสไมเผ็ด ผลออนมีสีเขียวเมื่อ
เจริญเต็มที่มีสแี ดง แตบางพันธุอาจมีผลออนสีเหลือง และผลแกมีสีเหลืองสมก็มี
ตัวอยางเชน พันธุ California Wonder และ Yolo Wonder,
Keystone Giant เปนตน ใชสําหรับทําสลัดและพิซซา
1.2 Pimiento group ผลโตเปนรูปหัวใจ ปลายแหลม ความยาว 3.75-12.5 ซม.
เสนผาศูนยกลาง 4-6 ซม. ผิวเรียบ เนือ้ หนา รสไมเผ็ด ตัวอยางเชน
Pimiento, Pimiento Perfection และ Pimiento L. ใชสําหรับทําสลัดและซุป

2. พริกผลโต และเสนผาศูนยกลางใหญ ผิวเรียบ เนือ้ บาง ไดแก


2.1 Ancho group ความยาวของผล 10-15 ซม. เสนผาศูนยกลาง 4-6 ซม.
ปลายแหลม เนื้อบาง กานของผลจมเขาไปในผล ทําใหดูเปนรูปถวย รสไมเผ็ด
มีบางพันธุมีรสเผ็ดเล็กนอย ไดแก Mexican Chili และ Ancho Poblano ใช
สําหรับทําพริกยัดไส และพริกแหง

3. พริกผลยาว เรียว ไดแก


3.1 Anaheim Chili group ความยาวของผล 12.5-20 ซม. เสนผาศูนยกลาง
3.2-5 ซม. ผลยาวเรียว ปลายแหลม เนื้อหนาปานกลาง รสไมเผ็ดจนถึงเผ็ด
เล็กนอย เชน Sandia, New Mexico #9, Anaheim Chili,
Mild California, Paprika และพริกหยวก (ผูเขียน) ใชสําหรับทําพริกแหง
พริกปน หรือทําพริกสด กระปอง
3.2 Cayenne group ผลยาวผอม ความยาว 12.5-25 ซม. เสนผาศูนยกลาง
1.9-2.5 ซม. ผลออนมีสีเขียว ผลมีรอยยน รูปรางผลไมสมดุล เนื้อบาง
มีรสเผ็ด เชน Cayenne Long Thin และ Cayenne Large Thick พริก
ผลใหญ เชน พริกสันปาตอง พริกมัน พริกบางชาง พริกสิงคโปร พริกชี้ฟา
ใชบริโภคสดหรือตากแหง ควรจัดใหอยูในกลุมนี้ (ผูเขียน)
3.3 Cuban group ความยาวของผล 10-15 ซม. เสนผาศูนยกลาง 2.5-3.75 ซม.
ผลยาว เนื้อบาง รูปรางของผลไมสมดุล เชน Cuban, Cubanelle และ
Pepperoncini ใชสําหรับดอง
25

4. พริกผลยาว ถึง 7.5 ซม. ผลออน มีสีเขียว


4.1 Jalapeno group ความยาวของผล 5-7.5 ซม. เสนผาศูนยกลาง 3.75-5 ซม.
ผลกลมยาว ผนังหนา ผลออนสีเขียวเขม ผิวเรียบ ผลแกอาจมีผิวลาย
เนื่องจากคอรค (corky network) รสเผ็ดจัด เชน พันธุ Jalapeno และ
Mild Jalapeno ใชสําหรับบริโภคสด บรรจุกระปอง พริกแหง และทําซอส
4.2 Serrano group ความยาวของผล 5-6.25 ซม. เสนผาศูนยกลาง 1.25 ซม.
ผลรูปรางผอมยาว สวนกลางของผลคอดกวาสวนอืน่ และเรียวแหลมถึงปลาย
รสเผ็ดจัด เชน พันธุ Serrano ใชสําหรับบริโภคสดเทานัน้
4.3 Small hot group ความยาวของผลสั้นกวา 7.5 ซม. รสเผ็ดจัด เชนพันธุ
Red Chili, Chile Arbol, Japanese Chili, Santaka และ Hontaka
กลุมพริกขีห้ นูผลใหญ ไดแก หวยสีทน หัวเรือ จินดา ยอดสน บานใน
ไสปลาไหล สรอย นิ้วมือนาง นอยผลยาว ชอ มข. เดือยไก
พริกขี้หนูผลเล็ก ไดแก ขีห้ นูสวน ขีห้ นูหอม กระเหรี่ยงและขี้นก เปนตน
ควรจัดไวในพริกกลุมนี้ (ผูเขียน) ใชสําหรับบริโภคสด

5. พริกผลเล็ก ความยาว ถึง 5 ซม. รูปรางกลมรี เนื้อหนา


5.1 Cherry group แยกไดเปน 2 กลุม ไดแก
5.1.1 รสไมเผ็ด เชนพันธุ Sweet Cherry
5.1.2 รสเผ็ด เชนพันธุ Large Red Cherry, Small Red Cherry
พริกกลุมนี้ทงั้ ชนิดเผ็ดและไมเผ็ด ใชสําหรับ ดองและทําสลัด

6. พริกผลออนสีเหลือง
6.1 Small wax group ความยาวของผล 7.5 ซม. หรือสั้นกวานี้ แยกไดเปน 2 กลุม
ไดแก
6.1.1 รสไมเผ็ด เชนพันธุ Petite Yellow Sweet และ Tam Rio Grande Gold
6.1.2 รสเผ็ด เชนพันธุ Floral Gem, Cascabella และ Caloro
6.2 Long wax group ความยาวของผล 8.8 ซม. หรือมากกวา ปลายแหลมหรือ
ปลายทู แยกไดเปน 2 กลุม ไดแก
6.2.1 รสไมเผ็ดเชนพันธุ Sweet Banana, Hungarian Sweet Wax และ
Long Yellow Sweet
26

6.2.2 รสเผ็ด เชนพันธุ Hungarian Yellow Wax พริกทัง้ 2 กลุมนี้


ใชบริโภคสด ทําพริกดอง และทําซอส

7. พริกผลเรียว ผลออนสีเหลือง
เมื่อแกจัดสีแดง ความยาวของผล 2.5-3.75 ซม. รสเผ็ดมาก ชื่อชนิด
C. frutescens
7.1 Tabasco group เชนพันธุ Greenleaf Tabasco และ Tabasco ใชสําหรับทํา
พริกดอง และทําซอส

การจําแนกพริกในประเทศไทยโดยใชการแยกชนิดทางพฤกษศาสตร
แมวาพริกไมใชพืชทีม่ ีรากฐานแตดั้งเดิมในประเทศไทย แตพริกเปนที่ยอมรับและ
ปลูกโดยทัว่ ไป มีความหลากหลายของพันธุพ ริกที่ปลูกกันทั่วไป มีกลุมนักวิทยาศาสตร
หลายกลุมไดพยายามศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร เพื่อแยกชนิดของพริก ไดแก อักษร. 2523
พยนตและคณะ. 2526 และ Worayos. 1986 สรุปการแยกพริกทีพ่ บในประเทศไทยไดตามตาราง
ที่ 3 จะเห็นไดวาการแยกชนิดของพริกในแตละรายงานไมตรงกัน อักษร. 2523 จัดจําแนกพริก
อยูในชนิด C. frutescens พยนตและคณะ. 2526 ไดจดั พริกในประเทศไทยวามีเพียง 2 ชนิดไดแก
C. annuum และ C. frutescens สวน Worayos. 1986 ไดรายงานวามี 3 ชนิดใหญๆ ไดแก
C. annuum, C. frutescens และ C. chinense และมีบางพันธุท ี่เขาใจวาอาจเปนชนิด
C. pubescens และ C. baccatum พริกสวนใหญทพี่ บจัดอยูใน C. annuum มากกวาชนิดอื่นๆ
ทั้งหมด การแยกชนิดของแตละรายงานไมตรงกัน เนื่องจากใชชื่อทองถิ่นของพริก เชนพริกชี้ฟา
ถูกจัดอยูใน C. annuum C. chinense และ C. frutescens ผูเขียนมีความเห็นวา ควรมีการจัด
จําแนกพริกชนิดตางๆ ใหม จากการจําแนกนี้ผูเขียนเคยใหนกั ศึกษาระดับปริญญาตรีและโท
ทดลองทํา พบวาพริกที่ปลูกมี 3 ชนิดไดแก C. annuum C. chinense และ C. frutescens ใน
กลุมพริกพวกนี้ C. annuum พบมากที่สดุ สวน C. chinense และ C. frutescens มีบางเปน
จํานวนนอย

การจัดจําแนกพริกในประเทศไตหวัน โดยใชการวิเคราะห DNA


การจัดจําแนกลักษณะการกระจายของพันธุกรรมพริกชนิดตางๆ โดยใชการ
วิเคราะห DNA (random amplified polymorphic DNA analysis) ของพริก 8 ชนิด ในไตหวัน
(Jen, et al. 2001) ไดแก C. annuum, C. baccatum, C. chinense, C. frutescens,
C. pubescens, C. chacoense, C. praetermissum (Casicum baccatum var.
27

รูปที่ 2 รูปรางของผลพริกกลุมตางๆ (จาก Smith, et al. 1987)


A. Bell, B. Pimiento, C. Roumanian Sweet,
D. Anaheim Chili, E. Mexican Chili หรือ Ancho,
F. Caloro, G. Jalapeno, H. Long Thin Cayenne,
I. Sweet Cherry, J. Serrano และ K. Tabasco
28

ตารางที่ 3 การแยกชนิดพันธุพริกในประเทศไทย

ชนิด ชื่อพันธุ เอกสารอางอิง


Capsicum annuum ชี้ฟา ชีฟ้ าใหญ จินดา แดง Worayos. 1986
ฟกทอง แฟนซี กะเหรีย่ ง ขี้นก
ขี้หนู ขี้หนูชฟี้ า ขีห้ นูจินดา ขี้หนูขาว
กลาง กนชี้ หลวง เมือง หวาน
หวีขาว ยักษ หยวก แยม

มัน สิงคโปร ชี้ฟา หยวก พยนตและคณะ. 2526


ไสปลาไหล เดือยไก จินดาแท
ขี้หนูดง นิ้วมือนาง ขาว

Capsicum chinense ขาวชี้ฟา เขียวชี้ฟา ขี้หนู Worayos. 1986


ขี้หนูแดง ขี้หนูหอม ลาว
เล็บมือนาง สวน สวนเขียว
หวีเมือง

Capsicum frutescens ชี้ฟา เกษตร ขาว Worayos. 1986

พื้นเมือง นอย ชีฟ้ า พยนตและคณะ. 2526


ทนฝน นอยผลยาว

กนชี้ กนปน ขี้หนู ขี้นก ชีฟ้ า อักษร. 2523


ซอม ตุม แต หนุม มวง
มะตอม มวง มะยม หยวก
ยักษ หลวง แลง

Capsicum pubescens ขาวดํา (ไมแนใจ) Worayos. 1986

Capsicum baccatum ขี้หนูงา (ไมแนใจ) Worayos. 1986


29

ลักษณะทางพันธุกรรมและความสามารถในการผสมขามชนิด
พริกมีโครโมโซม n=12 Ohta (1962) ไดแสดงลักษณะของโครโมโซมพริก
หลายชนิด ดังรูปที่ 3 พริกทั้ง 6 ชนิดนี้มโี ครโมโซม 9 โครโมโซมที่เหมือนกัน ความแตกตางของ
พริกทัง้ 6 ชนิด ดูไดจากโครโมโซมที่เหลือ ถาโครโมโซมทั้ง 3 โครโมโซมมีความแตกตางกันนอย
การผสมขามชนิดเกิดขึ้นไดงา ย เชน C. frutescens ผสมกับ C. pendulum ถา โครโมโซมทัง้ 3
โครโมโซมมีความแตกตางกันมาก การผสมขามชนิดเกิดขึ้นไดยาก จากการศึกษาของ
Pickersgill. 1967, 1971 และ 1980 ไดรายงานวา การผสมพันธุข ามชนิดของพริกเกิดไดเสมอ
และพริกชนิดตางๆ สามารถผสมกันได แมกระทั่งพริกกลุมดอกสีขาว และกลุมดอกสีมวงซึ่งเปน
กลุมที่แยกกันอยางเห็นชัดเจนก็ยงั สามารถผสมขามชนิดได ความสามารถในการผสมขามชนิด
แสดงไวในรูปที่ 4 การผสมขามชนิดเกิดไดมากยิ่งขึน้ ถาใชเทคโนโลยีเขาชวย เชน ใชพริกชนิดใด
ชนิดหนึ่งเปนสะพานสําหรับการผสมกับพริกชนิดอืน่ ๆ ตัวอยางที่เห็นไดแกการใช C. chinense
เปนสะพานสําหรับ C. annuum และ C. frutescens ซึ่งทัง้ 2 ชนิดหลังนี้สามารถผสมขามชนิด
และเมล็ดลูกผสมที่ไดมางอกไดบางไมไดบาง พริกทั้ง 3 ชนิด สามารถถายทอดยีนซึ่งกันและกัน
และนําไปผสมกับพริกชนิดอื่นได นอกจากนี้การใชวิธีผสมพันธุ 2 ครั้ง (double fertilization) ก็ใช
ไดผลเชนการผสมระหวาง C. annuum และ C. baccatum var. pendulum อีกวิธีการหนึง่ ไดแก
การใชกาซไนตรัส ออกไซด (nitrous oxide, N2O) รมดอกตัวเมียของ C. annuum ที่ความดัน 6
บรรยากาศ เปนเวลา 4 ชั่วโมง กอนผสมพันธุกับเกสรของ C. baccatum การใชวิธีเลี้ยงตัวออน
ในสภาพปลอดเชื้อก็เปนอีกวิธีการหนึ่งที่ชว ยใหการผสมขามชนิดเกิดขึ้นไดเชนการผสมระหวาง
C. chinense และ C. pubescens
การผสมพันธุพ ริกขามชนิด และปญหาที่เกิดเนื่องจากพันธุกรรม ไดมีผูศึกษา
และรวบรวมไวหลายทาน อาทิ เชน Pickersgill. 1991 และ 1992 ประโยชนของการผสมขามชนิด
ไดถูกนําไปใชในการปรับปรุงพันธุพริกตานทานโรคไวรัส (Stevamovic, et al. 1992) ลูกผสมทีไ่ ด
จากการผสมขามชนิดนี้สามารถแสดงทีม่ าของยีน โดยใชความแตกตางของไอโซไซม (isozyme)
ของลูกผสมไดเชน Andrzejewski, et al. 1989/1990 ไดศึกษาไอโซไซมของลูกผสมขามชนิดของ
พริกและพอแมพันธุ พบวา การแยกไอโซไซมสามารถแสดงที่มาของยีนของลูกผสมวามาจากพอ
หรือจากแมพนั ธุใด แตไอโอไซมก็ไมสามารถใชไดเสมอไปในพอและแมทุกพันธุ
การจัดจําแนกพริกไทยใชโปรตีนของเมล็ด นํามาแยกออกจากกัน โดยใช
electrophoresis เปนวิธีการเกาแกที่ใชในพืชหลายชนิด พบวา สามารถใชวิเคราะหพันธุพ ืชไดวา มี
ความแตกตางกันของโปรตีน และสามารถใชตรวจสอบลูกผสมชั่วทีห่ นึง่ วาเปนลูกผสมที่เกิดจาก
พอและแมพนั ธุหรือไม Kale, et al. 1998 ไดใชวิธีการนีใ้ นการจําแนกพอแมลูกของพริก 11 พันธุ
ไดแก แมพันธุ 2 พันธุ, พอพันธุ 3 พันธุ และลูกผสมของพอแมพันธุเ หลานี้ 6 คูผสม พบวา
30

C. annuum

C. frutescens

C. pendulum

C. pubescens

C. microcarpum

C. chacoense

รูปที่ 3 โครโมโซมของพริก 6 ชนิด (ตามรายงานของ Ohta. 1962)


31

⎯ ลูกผสม F1 งอกปกติ
----- ลูกผสม F1 เจริญไดโดยการเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ
…… ผลและเมล็ดเจริญแตเมล็ดไมมีชีวิต
θθθθ ลูกผสม F1 บางสวนมีชีวิต

ลูกผสม F1 สวนใหญมีชีวิต
ΤΤΤΤΤ

ลูกศรบอกทิศทางของพันธุแม

รูปที่ 4 ความสามารถในการผสมขามชนิดของพริก (ตามรายงานของ Pickersgill. 1980,


Lippert, et al. 1966)
32

บทที่ 2

การปลูกและดูแลรักษาพริกเพื่อผลสดและผลแหง
การปลูกและดูแลรักษาพริกเพื่อผลสดและผลแหงเปนวิธีการที่ไมพถิ พี ิถัน และ
ละเอียดเหมือนการปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ พริกอาจปลูกโดยใชเมล็ดหยอดลงในหลุมปลูกโดยตรง
หรือโดยการยายกลา ทําไดทั้ง 2 แบบ แตความนิยมปลูกแบบยายกลามีมากกวา เพราะการดูแล
รักษาตนกลาทําไดงา ยและใชพื้นที่เพียงเล็กนอย ไมเปลืองเมล็ดพันธุ และยาฆาแมลง เมื่อ
ยายกลาลงแปลงแลว ก็ตองดูแลรักษา โรค แมลง วัชพืช ปุย การใหน้ําใหถูกตอง ผลผลิตของ
พริกที่ไดจึงจะมีคุณภาพดี และมีปริมาณมาก ดังนัน้ ขั้นตอนการปลูกจึงแบงได ดังนี้
ก. การเตรียมเมล็ด
ข. การเตรียมแปลงเพาะกลา
ค. การเพาะกลาและการดูแลรักษาตนกลา
ง. การเตรียมแปลงปลูก
จ. การยายกลาและการดูแลรักษา
ฉ. การเก็บเกีย่ วผลสด และกะเทาะเมล็ด
ช. การจัดมาตรฐานผลสด
ญ. การตลาด
ณ. การแปรรูปและวิธีการแปรรูป

ก. การเตรียมเมล็ด
ควรใชเมล็ดพันธุที่ดี มีเปอรเซ็นตความงอกสูง มีลกั ษณะตรงตามพันธุ อาจเปน
เมล็ดที่ไดจากการคัดเลือกตนที่ดี หรือเปนเมล็ดทีซ่ ื้อมาจากรานขายเมล็ดพันธุ นําเมล็ดบรรจุใน
ถุงพลาสติกที่เจาะรูไวเพื่อใหน้ําซึมเขาได แชถุงเมล็ดพันธุลงในน้าํ ซึ่งมีสวนผสมของสารเคมี
ปองกันเชื้อรา เชน ไดเทนเอ็ม 45 หรือ ริดโดมิล หรือเบนเลท ควรแชไวหนึ่งคืน นําเมล็ดออกจาก
ถุงหอเมล็ดไวในถุงผาทีเ่ ปยกน้ําทิง้ ไวประมาณ 2 วัน จะสังเกตเห็นตุม สีขาวเล็กๆ จึงนําไปเพาะถา
หากเปนการหยอดเมล็ดลงหลุมปลูกโดยตรงอาจจะแชเมล็ดดังที่กลาวมาแลวหรือไมแชเมล็ดก็ได

ข. การเตรียมแปลงเพาะกลา
แปลงเพาะกลามักถกู เตรียมขึ้นใกลๆ แปลงปลูก เพื่อความสะดวกในการขนยาย
กลาควรเลือกบริเวณที่เนินทีน่ ้ําไมขังโดยเฉพาะในฤดูฝน คลุกปุยคอก และขี้เถาแกลบลงในดิน
แปลงเพาะในอัตราสวนที่สมควรเพื่อใหแปลงเพาะมีดนิ รวนซุย อัตราสวนที่ใชแลวแตสภาพดินใน
33

ค. การเพาะกลาและการดูแลรักษาตนกลา
หวานเมล็ดที่เตรียมไวในขอ ก. ลงในแปลงใหหางกันประมาณ 4 x 5 เซนติเมตร
เมื่อหวานแลวใชดินกลบบางๆ แลวจึงใชฟางคลุมหนาแปลง เมล็ดใชเวลางอกประมาณ 5-7 วัน
ควรใชตาขายคลุมแปลงอีกทีหนึ่งเพื่อปองกันฝนตกบนตนกลาโดยตรง ในฤดูฝนมีความ
จําเปนตองคลุมแปลงเพาะกลาดวยตาขายสีฟาหรือฟางขาวมัดเปนแผงโปรงๆ การคลุมนี้ทาํ ใน 2
สัปดาหแรกของการเพาะเทานัน้ แลวรื้อออก ใหตนกลาไดรับแสงแดดเต็มที่ ดูแลใหนา้ํ ตนกลา
สม่ําเสมอ รดน้ําตอนเชาและเย็น ฉีดยาปองกันแมลงและเชื้อราทุกๆ สัปดาหจนกระทั่งยายปลูก
กอนยายปลูกตองงดการใหน้ําลงเพื่อใหตน กลาชินตอสภาพแหง ทําใหตนกลาแข็งแรงและมีความ
ทนทาน เมื่อกลามีอายุ 40-45 วัน ก็ยา ยปลูกได

ง. การเตรียมแปลงปลูก
แปลงปลูกพริกตองเลือกแปลงที่ไมมนี ้ําขัง ถาหากระบบการใหน้ําเปนระบบให
ตามรอง พื้นที่ควรมีความสม่ําเสมอ พริกไมชอบน้ําขัง ดังนั้นการเตรียมแปลงก็แลวแตลักษณะ
ภูมิอากาศภูมปิ ระเทศและการปฏิบัติในแปลงเชน การปลูกพริกในฤดูหนาวซึง่ ปลูกในนา ก็มีการไถ
และยกรองรองที่ยกควรมีความยาวขนานทางทิศเหนือและใต การปลูกลักษณะนี้มกั ใหนา้ํ ตามรอง
แตบางทองที่เชนบานหัวเรือ จังหวัดอุบลราชธานี การปลูกไมยกรองเลย แตใหน้ําแบบฝกบัวรดน้าํ
แปลงพริกฤดูฝนจําเปนตองยกรองเสมอ ระดับพื้นที่อาจไมเรียบสม่ําเสมอเหมือนทีน่ า แตตองมี
ความลาดเทพอสมควรใหนา้ํ ระบายได เชน การปลูกพริกแถบอําเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหมซึ่ง
อาศัยน้าํ ฝนเปนหลัก
ระยะปลูกถาเปนพริกเล็กใชระยะระหวางแถว 60 เซนติเมตร และระยะระหวาง
ตน 50 เซนติเมตร สําหรับพริกใหญระยะระหวางแถว 100 เซนติเมตร และระยะระหวางตน 50-
60 เซนติเมตร
เมื่อเตรียมแปลงและขุดหลุมเรียบรอยแลว ตองรองกนหลุมดวยปุยคอก หรือปุย
หมักในอัตรา 3-4 ตันตอไร หรือประมาณหลุมละ 1 กิโลกรัม ปุยคอกอาจเปนขี้วัว ขี้ควาย ขี้หมู
ขี้เปด หรือขี้ไกก็ได แตตองเปนปุยคอกเกา ถาเปนปุย ขี้เปดและขี้ไก ตองลดอัตราการใชปุยคอกลง
34

ด ด

การใสปูนขาวในแปลงปลูกมักไมคอยปฏิบัติบอยนักในแปลงเกษตรกร แตควร
ใสปูนขาวในกรณีที่ดินเปนกรดมากๆ การใสปูนขาวควรใสตั้งแตเริ่มไถแปลง จะทําใหปูนขาวคลุก
กับดินไดทั่วถึง

จ. การยายกลาและการดูแลรักษา
เมื่อกลามีอายุ 40-45 วัน ทําการยายปลูกได วิธีการยายปลูกทําแบบงายๆ โดย
รดน้ําใหชมุ แลวจึงถอนตนกลาไมตองใหติดดิน หากตองการปองกันโรคราก็ชุบรากตนกลาในน้าํ ที่
มียาฆาเชื้อราแมนโคเซป (mancozeb) ซึ่งมีขายในชื่อไดเทนเอ็ม 45 กอนนําลงปลูกในหลุมที่
เตรียมไว กอนยายกลาลงหลุม ควรรดน้ําในหลุมปลูกใหชุม ฉีดยาควบคุมวัชพืชแลวจึงยาย วิธียาย
ใชนิ้วจิม้ ลงไปในดินแลวปกตนพริกลงไป ใชมือกดดินตรงโคนใหแนนอยาใหตนพริกลม ปลูกหลุม
ละ 2 หรือ 3 ตน แลวแตความพอใจ พริกใหญนยิ มปลูกหลุมละ 1-2 ตน สวนพริกเล็กนิยมปลูก
หลุมละ 2-3 ตน
การใหน้ําไมมกี ฎเกณฑเฉพาะตัว ตองดูความชุมชืน้ ของดินและสภาพที่ดนิ เปน
หลัก แตควรใหจนชุม ชืน้ ทัว่ ถึงและสม่าํ เสมอ การใหน้ําอาจใหประมาณ 10 วันตอครั้ง พริกไม
ชอบดินที่มนี า้ํ ขังหรือแฉะตลอดเวลา การใหนา้ํ อาจใหนา้ํ ตามรองหรือรดดวยฝกบัว สวนกรณีพริก
ฤดูฝนมักไมมแี หลงน้ําสําหรับรดอาศัยการตกของฝน ดังนัน้ ผลผลิตของพริกฤดูฝนก็ขึ้นอยูกับการ
กระจายตัวของฝนและจํานวนฝนที่ตก หากฝนทิ้งชวงก็เกิดความเสียหายตอผลผลิตได
การใสปุย นอกจากปุย รองพื้นและปุย คอกที่ใสแลวในกนหลุมปลูก เมื่อพริกเริ่ม
ออกดอกหรือหลังจากยายกลา 30 วัน ใสปุย 15-15-15 อัตราประมาณ 50 กิโลกรัมตอไร หากใน
ระยะแรกตนกลาที่ยา ยแคระแกร็นก็อาจใชปุยยูเรีย หรือแอมโมเนียมไนเตรทเรงการเจริญเติบโตได
ในอัตราประมาณ 20 กิโลกรัมตอไร อีกครั้งหนึง่
35

การกําจัดวัชพืชนั้นถามีการฉีดยาควบคุมวัชพืช กอนยายกลาก็ลดแรงงานที่ตอง
กําจัดวัชพืชโดยใชจอบไดมาก การกําจัดวัชพืชควรทําในระยะแรกกอนที่ใบและทรงพุมแผกวาง
คลุมดินถาทําหลังจากนั้นจอบจะทําความเสียหายใหกบั รากเพราะรากพริกหากินในระดับผิวดิน
เปนสวนใหญ การถางหญาดวยจอบ ควรทําประมาณ 2 ครั้ง หลังยายกลา 30 วัน และ 60 วัน
การกําจัดเพลีย้ ไฟ ไรขาว และโรคทางใบที่เกิดจากเชือ้ รา ใชสารเคมีแมทโทมิล
(methomyl) มีขายในชื่อการคาวาเลนเนท และสกายฉีดปองกันและควบคุมเพลี้ยไฟและไรขาว
สวนเชื้อราใชสารเคมีแมนโคเซปซึ่งใชชื่อการคาวาไดเทนเอ็ม 45 หรือพวกคอปเปอร (copper) ใช
ชื่อการคาวาโคไซด ฉีดควบคุม การฉีดมักทําประมาณ 3 ครั้ง หลังยายกลา 30 วัน 60 วัน และ 90
วัน หากตองการใหไดผลดีควรฉีดสารเคมีเหลานี้ทกุ ๆ 10-15 วัน แตตนทุนการผลิตก็จะสูงขึ้น การ
ปลูกพริกฤดูฝนบางแหงฉีดสารเคมีนอยมากหรือไมฉีดเลย เนื่องจากตองการลดตนทุนการผลิต
ผลสดที่ไดก็มคี วามเสีย่ งในเรื่องคุณภาพและปริมาณการผลิต การฉีดสารเคมีเหลานี้ควรงดการ
ฉีดพนทุกชนิดกอนเก็บเกี่ยว 15-20 วัน เพือ่ ไมใหมีสารพริกตกคางในผลพริก

ตารางการปฏิบัติงานในการปลูกและดูแลตนพริก อาจสรุปไดดังตารางที่ 4 ดังนี้

ตารางที่ 4 ตารางการปฏิบัติงานในการผลิตพริกสด

อายุพืช การปฏิบัติงาน
0 - 40 วัน เพาะกลา
40 - 45 วัน ยายกลาลงปลูกในแปลง
70 - 75 วัน ถางหญา ใสปยุ 15-15-15 หรือ13-13-21 พนสารเคมีปองกัน
กําจัดเพลีย้ ไฟ ไรขาว และเชือ้ รา
100 - 105 วัน ถางหญา ใสปยุ 15-15-15 หรือ13-13-21 พนสารเคมีปองกัน
กําจัด เพลี้ยไฟไรขาว และเชื้อรา เริ่มเก็บเกี่ยวผลสด

ฉ. การเก็บเกีย่ วผลสดและกะเทาะเมล็ด
หลังจากยายกลาพริกลงแปลงแลวประมาณ 2 เดือนกวา ก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต
พริกสดได แรงงานที่ใชในการเก็บเกีย่ วมักเปนแรงงานจาง แรงงานหนึ่งคนจะเก็บพริกได
ประมาณ 30-40 กิโลกรัม เลือกเก็บผลพริกที่แกจัดทั้งสีเขียวและสีแดง โดยไมให
กระทบกระเทือนตอยอดดอกและผลออน พริกถูกนําไปแยกเกรดและสีในภายหลัง การเก็บทิ้งชวง
36

หากตองการเก็บผลพริกที่จะนําไปทําเมล็ดพันธุ ตองเก็บในแปลงที่มีตน พริก


ลักษณะตรงตามพันธุและเปนพันธุเดียวกัน ถามีตนที่แปลกปลอมในแปลงตองคัดทิ้ง เนื่องจาก
พริกมีการผสมพันธุระหวางตนได และเก็บผลที่แดงแกจัดจากตนที่มลี ักษณะที่ดี มักเก็บผลทํา
พันธุในครั้งที่ 3 ของการเก็บผล นําผลทีแ่ ดงแกจัดไปกะเทาะเมล็ดซึง่ อาจทําได 2 วิธี ไดแก แบบ
ตากแหง และแบบแชน้ํา แบบตากแหงก็ทําคลายๆ การทําพริกแหงโดยตากแดดโดยตรงหรือใส
ถุงผาแลวอบที่ อุณหภูมิไมเกิน 40 ํซ จนกระทัง่ ผลแหงกรอบ ทุบใหเปลือกและเมล็ดแยกออก
จากกันแลวจึงฝดแยกเมล็ดจากเปลือก วิธกี ารกระเทาะวิธีนี้คอนขางลําบากสําหรับผูป ฏิบัติเพราะ
ฝุนพริกกระจายไปทั่ว แตเมล็ดที่ไดมีความงอกดี อีกวิธกี ารหนึ่งไดแกการแชนา้ํ ทําไดโดยนําผลที่
แดงสุกไปบมใหนิ่ม เด็ดกานผลออก โขลกดวยครกจนเมล็ดแยกจากเปลือก วิธีการนี้เมล็ดมี
โอกาสแตกมากกวาวิธกี ะเทาะแบบตากแหง เมื่อโขลกเสร็จนําไปแชน้ํา เมล็ดดีจมอยูกนอาง
เปลือกเนื้อและเมล็ดเสียลอยตัวขึ้น ลางแบบนี้ 2-3 ครั้ง จนไดเมล็ดที่สะอาด นําไปตากแดดให
แหง แลวจึงฝดทําความสะอาด เมล็ดทีไ่ ดก็นําไปใชเปนเมล็ดพันธุ
พริกผลสดและผลแหงออกสูตลาดจากแหลงตางๆ ของประเทศเกือบตลอดทั้งป
พอจะสรุปไดตามรูปที่ 5 (ขอมูลไดจากการวบรวมเอกสารตาง ๆ) เวลาที่แสดงไวในตารางเปน
การกะโดยประมาณเทานั้น พริกออกสูต ลาดมากในชวงปลายฤดูฝนและฤดูหนาว ทําใหราคา
พริกในชวงที่ออกสูตลาดมากมีราคาต่ํา ราคาของพริกสดมีการเคลื่อนไหวเร็วกวาราคาพริกแหง
ตลาดปากคลองตลาดและตลาดสี่มุมเมืองรังสิตเปนทีร่ วมของพริกจากแหลงตางๆทั่วประเทศ และ
เปนทีก่ ําหนดราคาขึ้นลงของพริกสดและพริกแหง ตลาดหัวอิฐที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเปนตลาด
รวมของพริกทีส่ งออกไปยังประเทศมาเลเซีย

ช. การจัดมาตรฐานผลสด
เกษตรกรไมนยิ มคัดเกรดพริกมักขายพริกคละสี และคุณภาพการคัดทําโดย
พอคาเปนสวนใหญ ทั้งนี้เพื่อใหเหมาะสมตอตลาดที่สงขาย การคัดเกรดพริกสดและพริกแหง
จัดแยกไดดังนี้ (สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2536)

พริกสด เกรด 1 สีแดงสดไมมีตําหนิ ผลสวย มีกา นติด พริกพวกนี้เตรียมสําหรับสงขาย


ตางประเทศ
เกรด 2 สีแดง ชนิดคละ มีตําหนิ เปนโรคกุงแหงที่ผลพริกพวกนี้ถูกสงขาย
โรงงานทําซอสพริกหรือพริกแกง โรงงานทําพริกแห
37

เกรด 3 สีคละ มีทงั้ สีแดงและสีเขียว ไมไดคัดชนิดใดออกเลย คุณภาพคละกัน


มีตําหนิและไมมีตําหนิ

พริกแหง เกรด 1 สีแดงสด ไมมตี ําหนิ ผิวเรียบ ผลตรง


เกรด 2 สีแดง มีตําหนิ อาจมีสีแดงคล้ําปน ผิวยน ผลงอ
เกรด 3 สีแดงซีดมีตําหนิ ผลหัก อาจมีสีแดงคล้ําและสีดาํ ปน พริกพวกนี้ถกู
สงขายโรงงานทําพริกปน
รูปที่ 5 ผลผลิตพริกสดและพริกแหงทีอ่ อกสูตลาดในชวงตางๆ จากแหลงปลูกหลายแหง

จังหวัด เดือน
มค. กพ. มีค. เมย. พค. มิย. กค. สค. กย. ตค. พย. ธค.
ภาคเหนือ
เชียงใหม
นครสวรรค
เพชรบูรณ
อุตรดิตถ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชัยภูมิ
นครราชสีมา
เลย
ศรีสะเกษ
อุบลราชธานี

ภาคกลาง
พระนครศรีอยุธยา
ลพบุรี

ภาคตะวันออก
จันทบุรี
ระยอง
38

จังหวัด เดือน
มค. กพ. มีค. เมย. พค. มิย. กค. สค. กย. ตค. พย. ธค.
ภาคตะวันตก
นครปฐม
ประจวบคีรีขันธ
ราชบุรี

ภาคใต
ชุมพร

ณ. การตลาด
พอคาคนกลางเปนผูท ําการรวบรวมผลผลิตพริกจากแหลงผลิตไปยังตลาด
ปากคลองตลาด และตลาดสี่มุมเมือง มีพอ คาหลายระดับ เชน พอคาทองที่นาํ พริกจากไรเกษตรกร
ไปขายยังตลาดภายในจังหวัดหรือสงขายใหแกพอคาทองถิ่น พอคาทองถิ่นรับซื้อและขายตอ
ใหกับพอคาขายสงในตัวจังหวัดหรือในกรุงเทพฯ ที่ปากคลองตลาดและตลาดสี่มุมเมือง พอคาขาย
สง ขายใหกบั โรงงานแปรรูป และพอคาขายปลีกแลวจึงถึงผูบริโภค ดังนั้นการสงขายพริกจาก
เกษตรกรถึงมือผูบริโภคตองผานพอคาระดับตางๆ 4 กลุมดวยกัน
จากการสํารวจวิถีตลาดของพริกเล็กและพริกใหญ ของจังหวัดเชียงใหม พบวา
พอคารวบรวมทองที่มีบทบาทสําคัญในการรวบรวมพริกรอยละ 88.3 ของผลผลิตพริกเล็กสดใน
จังหวัด (สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2536) (รูปที่ 6) สวนพริกใหญ รอยละ 64.6 ถูกรวบรวม
โดยพอคารวมรวมทองที่ (รูปที่ 7) พอคารวบรวมทองที่ขายใหกบั พอคารวบรวมทองถิ่น พริก
ถูกแปรรูปเปนพริกแหงโดยพอคารวบรวมทองถิ่นกอนสงขายใหพอคาขายสง

ด. การแปรรูป และวิธีการแปรรูป
พริกสดถูกแปรรูปเพื่อทําซอส และอาหารรูปตางๆ โดยโรงงานทําซอส โรงงาน
น้ําพริกแกง โรงงานดอง และโรงงานทําพริกแหง พอคารอซื้อพริกพวกนี้เมื่อมีราคาถูก
ตอนกลางฤดูหรือเขาโรงงานตางๆ โดยเฉพาะการซื้อเพื่อทําพริกแหง ตองซื้อในชวงที่ฝนตกนอย
ทําใหเปอรเซ็นตของน้าํ ในผลต่ําและสะดวกในการทําพริกแหง พริกสดประมาณ 3-5 กิโลกรัม ทํา
พริกแหงได 1 กิโลกรัม กรณีการแปรรูปเปนพริกแหงนี้ เกษตรกรหลายแหงนิยมแปรรูปเอง และ
ขายใหพอคาในรูปที่แปรแลว พริกใหญของจังหวัดเชียงใหมบางสวนถูกแปรรูปเปนพริกแหงโดย
เกษตรกร การแปรรูปทําในแหลงปลูกพริก โดยมีวิธกี ารงายๆ มีขนั้ ตอนดังนี้
39

1. ใชไมไผสานยกพื้น เรียงพริกบนยกพืน้
2. สุมไฟใตยกพืน้ ประมาณ 2 คืน 2 วันติดตอกัน และพลิกกลับผลพริกใหใหได
รับความรอนโดยทั่วถึง
3. นําไปตากแดดอีก 3 วัน ตองพลิกกลับผลพริกเปนบางครั้งเพื่อใหแหงสนิท
4. บรรจุกระสอบปานรอพอคามาซื้อ

พริกเล็กแปรรูปเปนพริกแหงโดยไมใชฟน แตตากแดดและพลิกกลับผลพริก
ประมาณ 4-5 แดด บางจังหวัดเชน จังหวัดนาน นิยมตากพริกบนหลังคาสังกะสี มองเห็นเปนสีแดง
ไปทั่ว
พอคาทองถิน่ ทําการแปรรูปพริกแหง โดยวิธีการอบในเตาที่ใชเชื้อเพลิง เชน ถาน
ลิกไนท ซึ่งจะแปรรูปในปริมาณครั้งละมากๆ
พริกที่แปรรูปสวนใหญเปนพริกสีแดงทีม่ ตี ําหนิสงขายตลาดสดไมได หรือพริก
ลนตลาดสด สวนพริกสีเขียวที่แปรรูปเปนพริกแหงมีนอยมาก เมื่อแปรรูปแลวมีสีขาว มีบางกรณี
ใชปนผสมกับพริกไทยปนเพือ่ ใหราคาพริกไทยถูกลง
วิธีการแปรรูปพริกแหงที่กลาวมาแลว ซึ่งกระทําโดยเกษตรกรและพอคาไดขาด
ขั้นตอนการแปรรูปที่ถูกตองตามกรรมวิธี วิธที ี่ถกู ตองนั้นควรคัดเลือกพริกที่ไมมีตาํ หนิ สีแดงจัดทั้ง
ผลลางน้ําใหสะอาด แชในน้ํายาคลอรีนเขมขน 100 สวนในลานเพื่อฆาเชื้อโรคเปนเวลา 30 นาที
แลวลวกหรือตมในน้าํ เดือด 10 นาที จึงนําไปอบที่อุณหภูมิ 50-70 ํซ หนึ่งวันแลวตากแดดใหแหง
หรือใชตูอบแหงแสงอาทิตย (วิชัย 2536) เกษตรกรไมอาจทําตามขัน้ ตอนที่ถูกตองไดเพราะตนทุน
พริกแหงจะมีราคาสูง
40

รูปที่ 6 วิถตี ลาดพริกเล็กจังหวัดเชียงใหม (จํานวนรอยละ คิดในรูปน้ําหนักสด)

พริกสด พริกแหง

88.3 4.3
เกษตรกร

พอคารวบรวมทองที่ พอคารวบรวมทองที่

6.7 81.6 7.4 4.3

พริกแหง 34.2
พอคารวบรวมทองถิน่ พอคารวบรวมทองถิน่

14.1 35.9 4.8 13.1 23.3 2.1

พอคาขายสง พอคาขายสง โรงงานแปรรูป พอคาขายสง พอคาขายสง โรงงาน


เชียงใหม กรุงเทพฯ เชียงใหม กรุงเทพฯ แปรรูป

20.8 13.1

พอคาปลีก พอคาปลีก

20.8 13.1

ผูบริโภค ผูบริโภค

แหลงที่มา : สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ. 2536


41

รูปที่ 7 วิถีตลาดพริกใหญ จังหวัดเชียงใหม (จํานวนรอยละ คิดในรูปน้ําหนักสด)

พริกสด พริกแหง

33.7
เกษตรกร

64.6 1.7

พอคารวบรวมทองที่ พอคารวบรวมทองที่

56.2 1.7

พอคารวบรวมทองถิ่น 8.4 พอคารวบรวมทองถิน่

27.8 2.1 49.5 10.5 1.7

โรงงาน พอคา พอคาขายสง พอคาขายสง พอคาขายสง


แปรรูป สงออก กรุงเทพฯ เชียงใหม เชียงใหม

18.9 1.7

พอคาปลีก พอคาปลีก

18.9 1.7

ผูบริโภค ผูบริโภค

แหลงที่มา : สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ. 2536


42

บทที่ 3

โรคพริก แหลงพันธุกรรมที่ตานทานโรคและการปองกันกําจัด

โรคพริกทีพ่ บโดยทั่วไปในประเทศไทยไดแก โรคตนเนา โรคเหี่ยว โรคใบจุดโรค


ราแปง โรคกุง แหง โรคยอดและกิ่งแหง โรคผลเนา โรคตากบและโรคใบหงิก โรคเหลานี้ ทําความ
เสียหายใหกับการผลิตพริกมากพอควร หากไมมีการปองกันและกําจัดที่ถูกตอง สาเหตุเกิดจาก
เชื้อโรคตางๆ หลายชนิด ตามตารางที่ 5 (Giatgong. 1980) โรคกุงแหงเปนโรคทีท่ าํ ความเสียหาย
ใหมากกวาโรคอื่นๆ เพราะทําใหผลพริกเนา และคุณภาพของผลลดลง และโรคก็ระบาด
คอนขางมากในแตละหมูบา นโดยเฉพาะหมูบานที่เก็บเมล็ดพันธุใชเอง หรือแลกเปลี่ยนกันภายใน
บริเวณหมูบา นที่มโี รคนี้ระบาด เชื้อโรคติดไปกับเมล็ดทําใหการควบคุมยาก วิธีการปองกันกําจัด
มักใชเมล็ดพันธุจากแหลงอืน่ ที่ไมเปนโรค ใชยาปองกันกําจัดเชื้อราฉีดพน ทําความสะอาดแปลง
ปลูกและกําจัดแหลงเพาะเชื้อโรค ตลอดจนการใชพนั ธุตานทานโรค ซึง่ มียนี ควบคุมความ
ตานทานตามตารางที่ 6 รายละเอียดของโรคตางๆ มีดังตอไปนี้

ก. โรคกุงแหง
เกิดจากเชื้อราหลายชนิดไดแก Colletotrichum piperatum, Colletotrichum
capsici และ Colletotrichum gloeosporiodes (ลักษณา. 2536 และ Giatgong. 1980) เปนโรค
ที่ระบาดรวดเร็ว และมักเปนขณะที่ผลพริกเจริญเติบโตเกือบเต็มที่ สังเกตเห็นไดชัดบนผลพริก
เปนจุดสีนา้ํ ตาลช้ําๆ บางแผลมีเสนใยของราสีดําปนอยู แผลขยายวงกวางออก (รูปที่ 8.1) ทําให
เกิดผลเนา เมื่อสังเกตเห็นโรคแลวกําจัดไมทัน คุณภาพและผลผลิตลดลงอยางมาก มักระบาด
ลุกลามทั้งหมูบ าน ควรทําการปองกันกําจัดกอนโรคเกิดการระบาด โดยใชเมล็ดพันธุจ ากพริกที่
ไมเปนโรคนี้ แชเมล็ดในยาฆาเชื้อรากอนปลูกดวยยาไดเทนเอ็ม 45 และหลังจากปลูกควรพนยา
ฆาเชื้อรา ทุกๆ 7-15 วันตอครั้ง
พันธุพ ริกที่ตานทานตอโรคนี้ เชน พริกเหลือง และพริกหยวก (ลักษณา. 2536)
และมีรายงานวา พริก Capsicum annuum cvs. Chinese Giant, Yolo Y, Hungarian Yellow
Wax, Spartan Emerald, และ Paprika ตานทานตอโรคกุงแหงที่เกิดจากเชื้อ Colletotrichum
capsici (Bassett. 1986) (ตารางที่ 6)
โรคกุงแหงที่เกิดจากเชื้อ Colletotrichum gloeosporiodes มีรายงานวาจาก
การถายเชื้อนีใ้ นพันธุพริก 89 พันธุ มี พันธุตานทาน เชน พันธุ Janghong เปนตน (Choi, et al.
1990)
43

ข. โรคผลเนา
เกิดจากเชื้อสาเหตุ Alternaria solani, Colletotrichum capsici, Diaporthe
phaseolorum, Phomopsis sp. และ Vermicularia capsici เชื้อราเหลานี้มกั เกิดหลังจากที่
ผลพริกเกิดบาดแผลเนื่องจากแมลง ยกเวนเชื้อ Colletotrichum capsici ซึ่งทําใหเกิดแผลที่ผลได
โรคผลเนานี้บางครั้งเรียกวาโรคกุงแหงเทียม (รูปที่ 8.2) การปองกันไมใหเกิดบาดแผลที่ผล และ
ปองกันการขาดธาตุแคลเซียม และโปแตสเซียมจะลดการเปนโรคนี้ไดมาก

ค. โรคยอดและดอกเนา หรือ โรคพริกหัวโกรน


เกิดจากเชื้อราChoanephora cucurbitarum โรคนี้แสดงอาการในระยะผลิตดอก
ออกผล ยอดและใบออนเนาเปนสีนา้ํ ตาลไหม ยอดพริกแตกยอดตอไปไมได ปองกันและกําจัด
โดยใชยากําจัดโรคราเชน ซาพรอลและพรอนโต (ลักษณา. 2536) พนทุก 5-7 วัน จะชวยปองกันได
การพนควรพนยาฆาเชื้อราในดินดวย และใชปูนขาวลดความเปนกรดของดิน

ง. โรคใบจุด
เกิดจากเชื้อ Cercospora capsic, Cercospora unamunoi, Cladosporium
capsici และ Alternaria sp. แผลที่เกิดจากเชื้อเหลานี้เปนจุดสีน้ําตาลและอาจมีเชื้อราอยูตรง
กลางของวงเปนสีเหลือง ถาเปนมากใบพืชจะเหลืองและรวง (รูปที่ 18.3 และ 8.4) การ
ปองกันกําจัดโดยใชยากําจัดเชื้อราเดอโรซานและรอฟรัลก็ใชไดผล (ลักษณา. 2536) การใชพันธุ
ตานทานโรคก็เปนวิธีการปองกันที่ดที ี่สุด พันธุตานทานโรคใบจุดนี้มีรายงานจากประเทศอินเดีย
วาพันธุตา นทานตอเชื้อรา Cercospora capsici ไดแกพันธุ California Wonder, Canape
(F1), Merrimack Wonder และ Capsicum microcarpum (ตารางที่ 6) (Bassett. 1986)
โรคตากบ ซึง่ เกิดจาก Anthracnose (รูปที่ 8.5) พบในพริกยักษ

จ. โรคกลาเนา
เกิดจากเชื้อรา Fusarium sp., Pythium sp., Phytophthora sp. และ
Rhizoctonia ทําใหตนกลาเหี่ยวแหงตาย เชื้อราอาศัยในดินหรือติดมากับเมล็ด เชื้อรามักทําลาย
ลําตนสวนที่อยูติดดิน ตนพืชแสดงอาการคลายขาดน้าํ ปองกันและกําจัดโดยคลุกเมล็ดกับยาฆา
เชื้อรา เชน ไดเทนเอ็ม 45 หรือ ริโดมิล และพนยาใหตนกลา
พริกที่โตแลวมีโอกาสเปนโรคเนาตายได ถาความชืน้ ในดินสูง หรือมีฝนตกชุก มี
44

เชื้อสาเหตุอกี เชื้อหนึง่ ไดแก Sclerotium rolfsii การปองกันกําจัดโรคนี้เมื่อระบาดแลวไมควรทํา


เพราะสิน้ เปลืองมาก โดยเฉพาะในแปลงปลูกใหญๆ ควรถอนตนที่เปนโรคเผาทําลายทิ้ง หากมี
ความจําเปนตองรักษาตนพืชอาจใชเทอราคลอราดโคนตน

ตารางที่ 5 โรคพริกและเชื้อสาเหตุ
_______________________________________________________________________________
เชื้อสาเหตุ ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อภาษาไทย
_______________________________________________________________________________
Alternaria solani
(Ell. & G. Martin) Sor. Fruit rot โรคผลเนา
Alternaria sp. Leaf blight โรคใบแหง
Cercospora capsici
Heald & Wolf Frogeye leaf spot โรคใบจุดตากบ
Cercospora unamunoi
Castellani Leaf spot โรคใบจุด
Choanephora cucurbitarum
(Berk. & Rav.) Thaxt Wet rot, Blossom rot โรคยอดและดอกเนา
โรคพริกหัวโกรน
Cladosporium capsici Leaf spot โรคใบจุด,โรคยอด
และกิ่งแหง
Colletotrichum capsici (Syd.)
Butler & Bisby Fruit rot โรคผลเนา
Colletotrichum piperatum Anthracnose โรคกุงแหง
Diaporthe phaseolorum
(Cke. & Ell.) Sacc. Fruit rot โรคผลเนา
Erwinia carotovora
(Jones) Holland Bacterial soft rot โรคเนาเละ
45

_______________________________________________________________________________
เชื้อสาเหตุ ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อภาษาไทย
_______________________________________________________________________________
Fusarium oxysporum
Schlecht. f. sp.
vasinfectum (Atk.)
Snyd. & Hans. Fusarium wilt โรคเหี่ยวหรือโคนเนา
Gloeosporium sp. Anthracnose โรคแอนแทรคโนส
Helicotylenchus dihystera - ไสเดือนฝอยทําลายราก

Microdiplodia capsici Leaf spot โรคใบจุด


Oidiopsis sp. Powdery mildew โรคราแปง
Pratylenchus sp. Root lesion nematode ไสเดือนฝอย
Phomopsis sp. Fruit rot โรคผลเนา
Phyllosticta sp. Leaf spot โรคใบจุด
Phytophthora capsici Leonian Phytophthora blight โรคใบแหง
Pseudomonas solanacearum
E.F. Sm. Wilt โรคเหี่ยว
Pythium aphanidermatum
(Edson) Fitzp. Stem rot โรคลําตนเนา
Pythium sp. Damping - off โรคเนาคอดิน
Rhizoctonia solani Kuehn Damping - off โรคเนาคอดิน
Sclerotium rolfsii Sacc. Southern blight -
Vermicularia capsici Ripe rot โรคผลเนา
Virus (Cucumber Mosaic
Virus, CMV) - โรคใบลีบ
Virus Mosaic โรคใบดาง
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แหลงที่มา : Giangong. 1980.
46

ตารางที่ 6 พันธุพ ริกตานทานโรค และยีนที่ควบคุมความตานทานโรค


_______________________________________________________________________________
เชื้อสาเหตุ ยีนควบคุมความตานทานโรค พันธุตา นทานโรค เอกสารอางอิง
_______________________________________________________________________________
Cercospora capsici California Wonder Bassett.1986
Canape (F1)
Merrimack Wonder
C.microcarpum
Colletotrichum capsici C.annuum cvs. Bassett.1986
Chinese Giant
Yolo Y
Hungarian Wax
Spartan Emerald
Paprika
Colletotrichum gloeosporioides Janghong Choi, et al. 1990
Erwinia carotovora 2-3 ยีนขม Jalapeno Bartz and
Stall.1974
Phytophthora capsici 1-2 ยีนขม C.annuum Kimble.1960
PI 188376
PI 201232
PI 201234
Pseudomonas solanacearum Antibois Kaan and
Chays Anais.1978
Conic
Cook
_______________________________________________________________________________
47

_______________________________________________________________________________
เชื้อสาเหตุ ยีนควบคุมความตานทานโรค พันธุตา นทานโรค เอกสารอางอิง
_______________________________________________________________________________
Virus (Tobacco Mosaic Virus) 1 ยีนขม (L) Keystone Resistant Holmes.1937
Giant
YW
Yolo Y
Florida VR2
Florida VR2-34
XVR 3-25
Dutch greenhouse CVS.
Verbeterde Glas
_______________________________________________________________________________

ฉ. โรคราแปง
เกิดจากเชื้อรา Oidiopsis sp. จะมองเห็นเชื้อราเปนผงคลายแปงบนใบพริก
อาจมีจุดสีนา้ํ ตาลและสีเหลืองปนอยู การปองกันกําจัดโดยใชกํามะถันผงละลายน้าํ พนจะชวยลด
การระบาดของโรคนี้ได แตตองกําจัดสวนของพืชที่เปนโรคนี้ออกจากแปลงปลูก

ช. โรคเหี่ยว
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas solanacearum ตนพริกแสดงอาการเหี่ยว
ในเวลากลางวัน (รูปที่ 8.6) และฟนในตอนกลางคืน ถาเปนโรคมากก็จะเหีย่ วตาย ทั้งนี้เนื่องจาก
เชื้อดังกลาวไดเขาไปในตนพริกและทําลายทอน้าํ และอาหาร เมื่อเฉือนตนจะเห็นบริเวณนี้เปนสี
น้ําตาลออน ถาบีบลําตนที่เปนโรคในน้ําจะเห็นน้าํ สีขาวขุนไหลออกมาจากลําตน
โรคนี้ไมมียาปองกันและกําจัด แตควรหลีกเลี่ยงโดยเลือกพื้นทีท่ ี่ไมมีพชื ตระกูลนี้
ปลูกมากอนและไมควรปลูกซ้ําที่เดียวกัน โรคดังกลาวนี้อาศัยในดิน และอาจมากับน้ําที่ใชรด
ตนไมดวย
48

ญ. โรคใบหงิก หรือโรคใบดาง
เกิดจากเชื้อไวรัสหลายชนิด เชน Cucumber Mosaic Virus ใบพริกมีอาการใบ
หงิกหรือใบดาง (รูปที่ 8.7) โดยเฉพาะใบออนมีอาการมากกวาใบแก ทําการปองกันกําจัดโดยการ
ปองกันเพลีย้ ไฟ เพลี้ยออนและไรขาวเพราะเปนตัวนําโรคไวรัส การฉีดยาฆาแมลงชนิดตางๆ จะ
ชวยลดจํานวนแมลงเหลานีล้ ง หากพืชแสดงอาการตองกําจัดโดยถอนและเผาทิ้ง ไมมีวิธีการ
ปองกันและรักษาถาพืชแสดงอาการแลว การใชพนั ธุตานทานเปนวิธกี ารที่ดีทสี่ ุด แตพันธุ
ตานทาน ดังกลาวยังไมปรากฏวามี เนื่องจากไวรัสมีหลายชนิด แมวาตานทานไวรัสชนิดหนึง่
แตอาจไมตานทานไวรัสอีกชนิดหนึ่ง พริกก็ยงั แสดงอาการเปนไวรัสตามเดิม พันธุพ ริกที่
ตานทานตอโรค Tobacco Mosaic Virus ไดแก พันธุ Keystone Resistant Giant, YW, Yolo Y,
Florida VR2, Florida VR 2-34, XVR 3-25 และ Dutch greenhouse cvs.
Verbeterda Glas เชื่อวามียนี ตานทานหนึง่ ยีนที่มีคุณสมบัติเปนยีนขม (ตารางที่ 6)
(Holmes. 1937) พันธุดงั กลาวแมวานํามาปลูกในประเทศไทยก็อาจแสดงอาการของโรคไวรัสอัน
เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดอื่นได
อาการของพริกที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารมีการแสดงออกคลายโรคใบหงิกและ
ใบดาง (รูปที่ 8.8 และ 8.9)

แมลงศัตรูพริก
แมลงศัตรูพริกที่กลาวมาแลวไดแก เพลีย้ ออน เพลีย้ ไฟ และไรขาว ซึ่งเปนตัว
พาหะนําเชื้อไวรัส แตยังมีศตั รูอื่น เชน ไสเดือนฝอย หนอนผีเสื้อ หนอนเจาะสมอฝายหรือ
หนอนอเมริกนั และหนอนแมลงวัน เปนตน
การกําจัดแมลงศัตรูพริกไมไดใชวิธีการปรับปรุงพันธุเพื่อใหตานทานตอแมลง
เหลานี้ เนื่องจากวิธีการนี้สลับซับซอนและยากกวาการปรับปรุงพันธุเพื่อหาพันธุตานทานโรค จึง
ทําใหการผสมพันธุเ พื่อหาพันธุตานทานแมลงศัตรูพืชโดยเฉพาะเพลีย้ ออน เพลี้ยไฟ และไรขาว ไม
ประสบผลสําเร็จเชนเดียวกับพันธุตา นทานโรค ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะทีท่ ําใหพริกตานทานตอ
แมลงเหลานีเ้ ชนมีขนมากทีผ่ ล ผิวของผลหนา หรือมีรสที่ไมพงึ ประสงคตอแมลง ซึ่งลักษณะ
เหลานี้ไมเปนที่ ประสงคของคนเชนกัน จึงเปนการยากที่จะหาจุดเหมาะสมเพื่อใหมลัี กษณะทาง
พืชสวนที่ดี และมีความตานทานตอแมลงดวย การปองกันกําจัดจึงใชยาฆาแมลง การปลูกพืช
หมุนเวียน การทําความสะอาดในแปลงปลูกและบริเวณขางเคียงเปนหลัก ยาฆาแมลงเปนวิธกี ารที่
ใหผลมากที่สดุ และนิยมใชมากที่สุด
49

เพลี้ยไฟเปนแมลงขนาดเล็กความยาวเพียง 1-1.5 มิลลิเมตร มีสนี ้ําตาลออน


ตัวออนไมมีปก สวนตัวแกมีปก 2 คู เพลี้ยไฟดูดน้าํ เลี้ยงจากตนพืชโดยเฉพาะใบออนทําใหใบ
หงิกงอ พืชชงักการเจรญ ิ จึงควรกําจัดพนยาฆาแมลงเชน เมซูโรล โตกุไธออนหรือฟอสซโซโลน
(ลักษณา 2536) การพนยาฆาแมลงควรหยุดกอนเก็บผลพริกจําหนายประมาณ 2 สัปดาห พันธุ
พริกของตางประเทศที่ตานทานตอเพลี้ยไฟ (Western flower thrips) ก็มีบางเชน Keystone
Resistant Giant, Yolo Wonder L, Mississippi, Nemaheart, Sweet banana และ California
Wonder (Fery และ Schalk. 1991)
เพลี้ยออน เปนแมลงจําพวกปากดูดเหมือนเพลี้ยไฟ มีขนาดเล็กประมาณ
1 มิลลิเมตร มีทั้งชนิดมีปก และไมมีปก ทาํ ลายตนพืชโดยการดูดน้ําเลี้ยงทําใหชงักการเจริญเติบโต
และแพรเชื้อโรคไวรัส เชน โรคใบดางใหแกพริกดวย เมื่อพบการระบาดควรพนดวยยาฆาแมลง
ฟอสดริน หรือยาฆาแมลงชนิดอื่น
ไรขาว มีขนาดเล็กมองดวยตาเปลาไมเห็นชัด มักเกาะอยูใตใบออนหรือยอด
ออน ไรขาวดูดน้ําเลี้ยงจากตนพืช ทําใหพืชแคระแกร็น การกําจัดควรใชยากําจัดไรโดยเฉพาะ
เชน เคลเทนหรือไดโดฟอล อิไทออนคลอโรเบ็นซิเลทหรือกํามะถันผง (ลักษณา. 2536)

หนอนผีเสื้อ ฟกตัวจากไขที่ผเี สื้อไขไวบนตนพืช ตัวออนจะแทะกิ นผิวใบออน ยอด
ออน ดอกและฝกออน มีชื่ออีกชื่อหนึง่ วาหนอนกระทูผัก อาจทําลายผลผลิตไดถาระบาดมาก
เพราะหนอนนีช้ อบกัดกินผลพริก มีหนอนอีกชนิดหนึง่ ไดแกหนอนเจาะสมอฝายหรือหนอน
อเมริกัน แตกตางจากหนอนผีเสื้อ มีลักษณะลําตัวผอมยาว ซึ่งหนอนผีเสื้อลําตัวอวน
กวา ความยาวของตัวหนอนเจาะสมอฝายยาวกวาหนอนผีเสื้อและผิวลําตัวมีขนเล็กซึ่งในหนอน
ผีเสื้อลําตัวเรียบกวา หนอนเจาะสมอฝายทําความเสียหายตอผลพริกไดมากกวาหนอนผีเสื้อ
การกําจัดหนอนทัง้ สองชนิดนี้ใชยาฆาแมลงเชน แลนเนทหรืออโซดรินพน การพนควรยกเวน
กอนเก็บผลพริกขายประมาณ 2 สัปดาหเปนอยางต่ํา
หนอนแมลงวันผลไมหรือแมลงวันทอง เปนหนอนที่แมลงวันทองวางไขไว
โดยเฉพาะบริเวณผลพริก หนอนทีฟ่ กจากไขจะกัดกินผลพริกทําใหผลเนาเสียหาย การกําจัดก็ใช
ยาฆาแมลงเชนเดียวกับหนอนผีเสื้อและหนอนเจาะสมอฝาย
ไสเดือนฝอยทีท่ ําลายตนพริกมีหลายชนิดจะอาศัยรากพริกและดูดน้ําเลี้ยงจากตน
พริกที่เปนโรคสังเกตจากรากที่มีปม ตนพริกแคระแกร็น ใหผลผลิตนอยหรือไมใหเลย การปองกัน
กําจัดทําไดเฉพาะในแปลงกลาเทานัน้ โดยอบดวยไอน้ํารอน หรือยาแมททิลโบรไมดหรือยา
กําจัดไสเดือนฝอยอื่นๆ แตในแปลงปลูกไมทําเพราะสิ้นเปลืองมักใชวิธีการปลูกพืชหมุนเวียนหรือ
ใหนา้ํ ขังเปนระยะเวลา 2-3 เดือนเปนตน หรือเลือกที่ปลูกใหมซงึ่ ไมมีไสเดือนฝอยระบาด
50

รูปที่ 8 โรคพริก

รูปที่ 8.1 โรคกุงแหง


51

รูปที่ 8.2 โรคผลเนา


52

รูปที่ 8.3 โรคใบจุดที่ใบ

รูปที่ 8.4 โรคใบจุดที่ผล


53

รูปที่ 8.5 โรคตากบ

รูปที่ 8.6 โรคเหี่ยว


54

รูปที่ 8.7 โรคใบหงิกและใบดาง

รูปที่ 8.8 อาการปลายใบมวนเนื่องจากขาดธาตุอาหารในดิน


55

รูปที่ 8.9 อาการใบดางเนือ่ งจากการขาดธาตุอาหารในดิน สัณนิษฐานวาขาดแมกนีเซี่ยม


56

ความเผ็ดของพริกและพันธุกรรมที่ควบคุมความเผ็ด
ความเผ็ดของพริกเปนคุณสมบัติพิเศษของพริกในการชูรสอาหาร ความนิยม
บริโภคพริกของกลุมชนหลายกลุมเกิดจากความนิยมรสเผ็ด คนในแถบเขตรอนมีความนิยม
รสเผ็ดมากกวาคนในเขตหนาว รสเผ็ดเกิดจากสารแคบเซซิน (capsaicin) ซึ่งมีโครงสรางทางเคมี
ดังนี้ C18H27NO3 สารนี้ละลายในไขมัน ไมมีกลิน่ ไมมีสี โครงสรางทางเคมีของสารนี้รายงาน
ครั้งแรกโดย Nelson. 1920 ในผลพริกพบวามีสารนีม้ ากที่สุดบริเวณไสกลางของพริกซึ่งเปนสวน
ที่เมล็ดติดอยู มีสารกระจายอยูในเมล็ด เนื้อและเปลือกของผลพริกดวย ผลพริกเมื่อไดรับความ
รอนพบวาสารแคปเซซิน เพิม่ มากกวาตอนทีย่ ังไมไดรับความรอน (Huffman, et al. 1978) ความ
เผ็ดนี้ทดสอบไดโดยใชสารเคมี 1 % vanadium oxytrichloride ใน carbon tetrachloride หยดลง
ในของเหลวทีต่ องการทดสอบ ถามีสีฟา แสดงวามีสาร capsaicin วิธีการทดสอบอยางงายทีส่ ุด
ไดแกการชิม มีวิธกี ารวัดความเผ็ด เสนอโดย Rajpoot และ Govindarajan. 1981 โดยใชการ
วัดปริมาณสารแคบเซซินอย (capsaicinoids) และการแยกสารดวยกระดาษ (paper
chromatography) แยกสารแคบเซซินอยและวัดการดูดแสง (absorbance) ของสารที่ 615 นาโน
มีเตอร (nm) แลวคํานวณคาความเผ็ดจากสูตร

Y = -9.22 + 164.126 x (r ∼ 1),


Y = คาความเผ็ดมีหนวย Scoville unit (su) ใน 1000 s
x = % สารแคบเซซินอย
r = คาความสัมพันธ (correlation coefficient) ซึ่งมีคาเทากันหรือใกลเคียงกับ 1

พันธุกรรมที่ควบคุมความเผ็ดของพริก มีรายงานที่มีความขัดแยงกันจากงานวิจยั
ของ Webber. 1912 ระบุวาความเผ็ดของพริกถูกควบคุมโดยยีนเดี่ยวและเปนยีนขม เนื่องจาก
ลูกผสมของพริกที่ไดจากการผสมพริกเผ็ดและพริกหวานนัน้ มีอัตราสวนของพริกเผ็ดกับไมเผ็ด 5:1
แตจากรายงานของ Ohta. 1962 รายงานวา ความเผ็ดของลูกผสมชั่วที่หนึ่งของพริกเผ็ดและ
พริกหวานนัน้ มีระดับความเผ็ดที่แตกตางกันและจากการวิเคราะหความเผ็ดของลูกผสมชั่วที่สอง
และลูกผสมกลับกับพอแม (backcross population) พบวา ความเผ็ดถูกควบคุมโดยยีนหลายยีน
และมียีนที่เปนหลักและยีนประกอบ ทําใหระดับความเผ็ดมีระดับตางๆ กัน
57

ความเผ็ดของพริกเกิดจากสารแคปไซซิน (8-methyl-N-vanilly)-6-nonenamide
กระตุนความรูส ึกเผ็ด (pungent sensation) และความเจ็บปวดทางสรีรวิทยา (physiological
pain) (Furuse et. al. 2003) สารแคบไซซินกระตุนประสาทสวนที่ทาํ ใหเกิดความเจ็บปวด เมื่อ
ทดลองกับหนู พบวา หนูที่ตา งพันธุก ันมีความไวตอการกระตุนนี้ตา งกันดวย
Jordt and Julius (2002) รายงานวา พริกผลิตความเผ็ดซึ่งเปนสาร vanilliod
สําหรับขับไลสัตวเลี้ยงลูกดวยนม นกเปนสัตวที่ไมมีการกระตุน ใหเกิดการเจ็บปวดโดยสาร
vanilliod ดังนั้นจึงเปนตัวนําเมล็ดพริกกระจายทั่วไป ไกก็เชนเดียวกันที่ไมถูกกระตุน โดยความเผ็ด
ของพริก แตหนูมีประสาทรับการกระตุนนี้ เนื่องจากหนูมีตอมรับการกระตุนจากสาร vanilliod
Cruz et al. ไดศึกษาการใหสารแคปไซซิน (capsaicin) สกัดจากพริก (Capsium
annuum) ในอัตรา 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ใหแกหนู วามีผลตอการใชไดทางชีววิทยา
(bioavailability) ของยาแอสไพริน (acetylsalicylic acid) และ Salicylic acid หรือไม และพบวา
เมื่อใหสารแคบไซซิน 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 1 ครั้ง ระดับแอสไพรินในเลือดไมเปลี่ยนแปลง แต
ระดับของ salicylic acid ลดลง 44 เปอรเซ็นต เมื่อเทียบกับมาตรฐาน (control) เมื่อให 300
มิลลิกรัม/กิโลกรัม 1 ครั้ง ตรวจไมพบแอสไพรินในเลือดเลย ขณะที่ salicylic acid ลดลง 59
เปอรเซ็นต และเมื่อใหสารแคบไซซินในอัตราดังกลาวเปนเวลา 4 อาทิตย ปรากฏวา ตรวจไมพบ
แอสไพรินในเลือดเลย และ salicylic acid ลดลง 63 และ 76 เปอรเซ็นต ตามลําดับ เมื่อเทียบกับ
มาตรฐาน ผลแสดงใหเห็นวาการบริโภคพริกลดการใชไดทางชีววิทยาของยาที่ใหทางปาก อาจเปน
ผลจากการที่สารแคบไซซินมีผลตอลําไส

การใชเอทธีลีนควบคุมการแกของผลพริก
การใชสารเคมีเชน เอทธีลีน (ethelene) ในการทําใหผลพริกแกสม่าํ เสมอ เปน
วิธีการที่ใชในตางประเทศ แตไมมีการใชสารเคมีนี้เลยในการปลูกพริกในประเทศไทย ชื่อการคา
ของสารเคมีนี้เรียกวา ethephon ผลของการใชสารเคมีนี้ทาํ ใหเกิดเยือ่ แยกตัว (abscission layer)
ที่ฐานของผล (fruit receptacle junction) นอกจากนีย้ ังทําใหกระบวนการสุกของผลเกิดขึ้นดวย
จึงทําใหการแกของผลพริกในแปลงเดียวกันเกิดขึ้นพรอมๆ กัน เพือ่ ความสะดวกในการเก็บเกีย่ ว
ดวยเครื่องจักร และการเก็บสงตลาด Mao และ Motsenbocker (2002) ไดทดลองใช ethephon
กับพริก C. frutescens L. หรือเรียกชื่อวา tabasco pepper พันธุ Mcllhenny Select และ Hard
Pick พบวามีการเปลี่ยนแปลงของสีของผลพริก มีความสัมพันธกบั แรงที่แยกผลจากตน (fruit
detachment force) ในพันธุพริกทัง้ สอง ในพันธุ Mcllhenny Select แรงที่แยกผลจากตนลดลง
อยางมีนยั สําคัญเมื่อผลพริกแกในขั้น 3 และ 4 (ผลแกเขียวอยูในขัน้ 0 และผลแกแดงอยูในขั้น 7)
สวนพันธุ Hard Pick ผลพริกแกอยูในขัน้ 5 และ 6 แรงที่แยกผลจากตนของพริกทัง้ สองพันธุ
58

วล

คมีในผลพริก
ี (phytochemical) และการตานการออกซิเดชั่น
(antioxidant) ของพริกชนิดตางๆ เชน C. annuum, C. frutescens และ C. chinense พบวา อยู
ใตอิทธิพลของความแก (Howard, et al. 2000) สารเคมีดังกลาวหมายถึง แคโรตีนอยด
(carotenoid), ฟราโวนอยด (flavonoid) สารละลายที่รีดิวสได (total soluble reducing
equivalent), ฟนอลิค เอซิค (phenolic acid) และแอสคอบิค เอซิค (ascorbic acid) พบวา ความ
เขมขนของสารเหลานี้ รวมทั้งการตานการออกซิเดชั่นในผลพริกเพิ่มขึ้น เมื่อพริกเริม่ แก ผลพริกที่มี
ระดับแอลแอสคอรบิค เอซิค (L-ascorbic acid) และแคโรตีนอยดสูงเมื่อแก ใหวิตามินซี
124-338 เปอรเซ็นต RDA และใหวิตามินเอ 0.33-336 RE/100กรัมตอโปรวิตามิน A (provitamin
A) ตามลําดับ ระดับของฟนอลิคเอซิค แคปแวนติน (capxanthin) และซีแซนติน (zeaxanthin)
เพิ่มขึ้นเมื่อผลพริกแก แตระดับของลูทีน (lutein) ลดลง ความเขมขนของฟราโวนอยดแตกตางกัน
มากระหวางพริกชนิดตางๆ และมีความสัมพันธในทางลบกับการตานการออกซิเดชั่น
Garcia-Pineda et al. (2001) ไดศึกษาถึงพืชที่มบี าดแผล ความเครียดนี้ทาํ ใหมี
การผลิตสาร oxidative burst ซึ่งเปน ascorbate พริกมีสาร ascorbate สูงที่สุดในกลุมพืชตางๆ
สารนี้เปนตัวตานการออกซิเดชั่น (anti-oxidant) ที่ดีที่สุดชนิดหนึ่งจึงไดศึกษาการแสดงออกของยีน
ascorbate oxidase และการทํางานของเอ็นไซม ascorbate oxidase ในระหวางทีพ่ ืชเกิด
ความเครียด พบวายีน ascorbatge oxidase เปนยีนที่มชี ุดเดียว (single copy gene) และ
mRNA ของยีนดังกลาวปรากฏขึ้นหลังจากพืชเปนแผลหรือไดรับกรด arachidonic และเอ็นไซม
cellulase แตอยางไรก็ตาม เอ็นไซม ascorbate oxidase เพิ่มขึ้นเพียงเล็กนอยเทานัน้
59

(Capsicum annuum
L. var. Bronowichka Ostra ไดแยกสารโดยวิธี HPLC และตรวจหาโครงสราง (structure) โดยใช
วิธีโครมาโตกราฟค (analytica HPLC) และสเปคโตรสโคปคเทคนิค (spectroscopic) ไดแยกสาร
ทั้งหมด 9 ชนิด มี 2 ชนิด ซึง่ พบเปนครั้งแรกในอาณาจักรพืช (plant kingdom) และอีก 6 ชนิด พบ
เปนครั้งแรกในผลพริก (Capsicum annuum L.)
Chowdhury and Mukhopadhyay (2003) ไดรายงานวา สารสะกัดจากพริก
ถูกใชเปนยาสําหรับบําบัดการบวมที่ผิวหนัง การเคล็ดขัดยอกและการเจ็บปวดตามขอ นอกจากนี้
สารแคบไซซินนี้ยังเปนสารตานการออกซิเดชั่น (anti-oxidant) ตานเชือ้ รา และรักษาโรคผิวหนัง
Perez-Galvez et al. (2003) ไดรายงานวา จากการบริโภคอาหารที่มีแคโรที
นอยดสูง (carotenoid) ทําใหลดความเสี่ยงของโรคกลามเนื้อหัวใจและโรคมะเร็งบางชนิดพริกสี
แดง (Capsicum annuum L, hit 2 hit 2) และผลิตภัณฑจากพริกสีแดงมีแคโรทีนอยดหลายชนิด
ซึ่งอาจกลายเปนแคโรทีนอยดของเลือดและเนื้อเยื่อของคน ทดลองโดยใช paprika oleoresin ซึ่ง
ไดจากพริกสีแดง ซึ่งมี zeaxanthin, beta-cryptoxanthin, beta-carotene, paprika
oxocarotenoid capsanthin และ capsorubin ใหคนทดลองกิน paprika oleoresin ซึ่งมีสาร
ตางๆ ดังกลาว แลว วัดการดูดซึมของแคโรทีนอยด พบวามีเพียง zeaxanthin, beta-cryptoxanthin
และ beta-carotene ที่ตรวจพบในคน สวนแคโรทีนอยดของพริกไดแก capsanthin และ
capsorubin นั้นพบต่ํามากในคน อยางไรก็ดี oreolesin ก็เปนแหลงทีเ่ หมาะสําหรับ provitamin A
carotenoids beta-carotene, beta-cryptoxanthin และ macular pigment zeaxanthin
Morre and Morre (2003) ไดแสดงใหเห็นถึงผลที่สงเสริมกันของชาเขียวทีน่ ําเอา
สารคาเฟอินออกแลวและสารวานิลอยด (vanilloid) ทีม่ ีสารจากพริกในอัตราสวนชาเขียวเขมขน
25 สวนตอสารจากพริก 1 สวนเพิ่มประสิทธิภาพในการทําลายเซลมะเร็ง (cancer) ในอาหารที่
เลี้ยง ได 100 เทาของชาเขียวอยางเดียวพบวา ชาเขียว (tea catechin) และสารจากพริก
(Capsicum vanilloid) ยับยัง้ กิจกรรมของโปรตีน (enzyme) ที่เปนเปาหมายได
60

บทที่ 4

การผลิตเมล็ดพันธุและแหลงผลิตเมล็ดพันธุพริกพันธุแทและพันธุลกู ผสม

เมล็ดพันธุพริกทั้งพันธุแทและพันธุลูกผสม ถูกผลิตในภาคตางๆ ของประเทศ


ไทยเมล็ดพริกพันธุแทมีการผลิตกระจายแทบทุกภาคของประเทศ โดยกสิกรเลือกคัดผลพริกทีด่ ี
เพื่อเก็บเมล็ดพันธุสาํ หรับใชในฤดูกาลถัดไปหรือบริษัทขายเมล็ดพันธุรับซื้อเมล็ดพันธุพ ริกแทจาก
กสิกรและจัดจําหนาย เมล็ดพริกพันธุแ ทเปนพันธุทใี่ ชปลูกในประเทศไทยมีจุดมุง หมายในการ
ผลิตเมล็ดพันธุเพื่อใชภายในประเทศ ซึ่งแตกตางจากการผลิตเมล็ดพันธุพ ริกลูกผสม มี
วัตถุประสงคเพื่อผลิตสงขายตางประเทศแทบทัง้ สิ้น และแหลงผลิตเมล็ดพันธุพ ริกลูกผสมมี
เฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเปนสวนใหญ ในภาคเหนือมีบางเล็กนอย พันธุพริกลูกผสม
เปนพันธุพ ริกยักษหรือพริกหวานแทบทัง้ หมดและมีพริกเผ็ดบาง สวนพันธุพ ริกพันธุแททมี่ ีการผลิต
เมล็ดเปนพริกเผ็ดทั้งสิน้

ฤดูกาลผลิตเมล็ดพันธุพรกิ
ฤดูหนาวเปนฤดูที่เหมาะสมสําหรับการผลิตเมล็ดพันธุพ ริก ทัง้ พันธุแทและพันธุ
ลูกผสม เนื่องจากมีอากาศแหง ความชื้นในอากาศมีนอ ย ทําใหโรคทางใบมีโอกาสระบาดนอยมาก
ผลพริกเจริญสมบูรณมีเมล็ดติดมาก เมล็ดพริกสะอาดมีคุณภาพดี เมล็ดพันธุลกู ผสมถูกผลิตใน
ฤดูกาลนี้ทงั้ หมดสวนเมล็ดพันธุแทมีการผลิตในฤดูหนาวและฤดูฝน ทั้งนีเ้ นื่องจากการเก็บเมล็ด
พันธุเ ปนผลพลอยไดจากการผลิตพริกสด แตการผลิตเมล็ดพันธุพริกลูกผสมเปนการผลิตเพื่อ
เมล็ดพันธุโดยเฉพาะไมมีการขายผลสดเลย และสวนใหญเปนพันธุพ ริกตางประเทศทั้งสิน้

การปฏิบัติในการผลิตเมล็ดพันธุพริกพันธุแท 
เมล็ดพริกพันธุแท ผลิตโดยกสิกรที่ปลูกพริกสดจําหนายและมักเก็บจากแปลง
พริกที่ผลิตผลสดจําหนายโดยเลือกเก็บจากตนที่ใหผลผลิตดีมีผลพริกขนาดใหญ หรือเลือกเก็บ
จากผลพริกทีแ่ หงแลวจากพริกแหงที่ผลิตจําหนายโดยเลือกผลที่มีขนาดใหญและสีสวย กสิกร
นิยมใชวิธีการหลังนี้มากกวาวิธกี ารแรก เพราะสะดวกตอการคัดเลือกโดยไมทราบวาการเลือกวิธีนี้
ไดผลไมดีเทาวิธีการเลือกตน สวนการปลูกและดูแลรักษาก็ใชวิธกี ารเดียวกับวิธีการที่อธิบายไว
ขางตนในการผลิตพริกเพื่อผลสดและผลแหง
61

ผลพริกที่เก็บเพื่อทําเมล็ดพันธุควรเก็บผลในชวงกลางของการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ
เชนในการเก็บเกี่ยวผลครั้งที่ 3 ไมควรเก็บผลพริกที่เก็บในระยะตนหรือระยะสุดทายของการเก็บ
เกี่ยว ทัง้ นีต้ องการใหไดผลพริกที่สมบูรณและควรเลือกเก็บจากแปลงทีห่ างไกลจากพริกพันธุอื่น
และเปนแปลงพริกที่อยูตอนกลางของแปลง เพื่อใหไดพริกพันธุแท
การตากผลพริกควรตากแดดใหแหง แลวกระเทาะเมล็ดตามวิธีการที่ไดอธิบาย
แลวขางตน จะเลือกใชวิธกี ระเทาะจากผลแหงหรือผลสดก็แลวแตความสะดวกในการปฏิบัติงาน

การปฏิบัติในการผลิตเมล็ดพันธุพริกลูกผสม
เมล็ดพันธุพริกลูกผสมมีการผลิตมากในประเทศไทย เปนเมล็ดพันธุท ี่ผลิตเพือ่
จําหนายตางประเทศแทบทัง้ สิ้น พริกที่ปลูกเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุไดแก พริกยักษหรือพริกหวาน
และพริกเผ็ด การผลิตทําในพืน้ ที่แถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอิสานเปนสวนใหญ มี
บางสวนที่ทาํ การผลิตในภาคเหนือ หรือพยายามทดลองผลิตในภาคเหนือ แตยังไมไดผลเทาที่ควร
จึงมีการผลิตในภาคเหนือนอยมากเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอิสาน การผลิตเมล็ดพันธุพ ริก
ลูกผสมทําได 2 วิธีไดแก การผลิตเมล็ดพันธุโดยการตอนเกสรตัวผูออกจากดอกตัวเมีย(รูปที่ 9:9.1-
9.10)และการผลิตเมล็ดพันธุโดยไมตองตอนเกสรตัวผูออกจากดอกตวั เมีย ในตางประเทศทีม่ ี
อากาศหนาว การผลิตและผสมพันธุพ ริกตองปฏิบัติในลักษณะที่แตกตางจากประเทศไทย โดย
ปลูกในเรือนกระจกหรือพลาสติก (รูปที่ 9:9.11-9.12)

ก. วันปลูกที่เหมาะสมสําหรับการผลิตเมล็ดพันธุพริกลูกผสม
ฤดูหนาวเปนฤดูกาลที่เหมาะสมสําหรับการปลูกพริกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ ไมควรปลูกใน
ฤดูกาลอืน่ เหมือนการผลิตพริกผลสด เพราะผลผลิตเมล็ดพันธุตา่ํ และคุณภาพเมล็ดพันธุไมดี
เทาฤดูหนาว จากประสพการณของผูเขียน พบวาในภาคเหนือวันปลูกที่เหมาะสมอยูในชวงตน
เดือนตุลาคม ประมาณวนั ที่ 1-5 ตุลาคม ไมควรปลูกชาหรือเร็วกวานี้ สําหรับในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือจะปลูกเร็วกวานี้ เนื่องจากเก็บเกี่ยวขาวเร็วกวาภาคเหนือ

ข. การเพาะเมล็ด
นําเมล็ดเพาะในกะบะทราย ที่อบดวยแมททิลโบรไมด กรณีการเพาะของกสิกรมักไมอบ
ดินเลย รดน้าํ ใหชุม หลังจากเมล็ดเริ่มงอกมีใบจริง 1-2 ใบ ใหยายลงจิ้มในถุงดินหรือกะบะเพาะ
กลาทีเ่ ตรียมไว การเพาะเมล็ดใหเพาะตัวผูกอนตัวเมียประมาณ 10 วัน ใชเมล็ดตัวผูตอตัวเมีย
อัตรา 1:4
62

ค. การเตรียมถุงดินหรือกะบะเพาะกลา
เตรียมถุงดินสําหรับเพาะกลา กสิกรเลือกใชถุงดินมากกวากะบะเพาะกลา เพราะมีราคา
ถูกกวา หาซื้องาย แมวา การเตรียมจะเสียเวลามากกวาก็ตาม กลาพริกควรปลูกในถุงดินเพื่อความ
สะดวกในการยายกลา และกลาไมกระทบกระเทือน ดินที่เตรียมใชดินรวน 2 สวน ขีว้ ัวเกา 1 สวน
แกลบดิบหรือแกลบดํา 1 สวน ปุย 15-15-15 เล็กนอย ผสมคลุกดินใหทั่วถึง อบดินดวยแมททิล
โบรไมด กสิกรมักไมอบดินเพราะคาใชจา ยจะสูงขึน้ กรอกดินลงถุงขนาด 4 x 6 นิ้วเจาะรูดานขาง
ถุง 3-4 รู พื่อระบายน้ํา ถามีกะบะเพาะกลาใชแทนถุงดินก็ได เรียงถุงดินใหเปนระเบียบ รดน้ําให
ชุมประมาณ 3 ชั่วโมง กอนนํากลาจิ้มลงถุงทีเ่ ตรียม

ง. การเตรียมแปลงปลูกพรกิ
แปลงปลูกพริกควรเลือกแปลงที่อยูห า งจากพริกพันธุอนื่ ประมาณ 1-2 กิโลเมตร เพื่อ
ปองกันเกสรพริกพันธุอนื่ ปลิวหรือแมลงนําเกสรพริกอื่นมายังเกสรตัวเมียของพันธุพ ริกที่ตองการ
ผสม การทําแปลงควรทําแปลงทิศเหนือและใต เตรียมแปลงสําหรับปลูกแปลงคู ขนาดแปลง
กวาง 1 เมตร ปลูกแปลงแถวคู ระยะระหวางตนหาง 25-30 ซม. ระยะระหวางแถว 60 ซม. ปลูก
แปลงแถวเดี่ยวก็ได แตกสิกรนิยมปลูกแปลงคู เพราะจํานวนตนตอไรมีมากกวาปลูกแปลงแถว
เดี่ยว พื้นที่ 1 ไร จะมีจํานวนตนประมาณ 3,000 - 3,200 ตน คลุมแปลงปลูกดวยพลาสติกสีเงินที่
เจาะชองไวสําหรับกลา ถาไมมีพลาสติกอาจใชวัสดุคลุมชนิดอื่นๆ เชน ฟางขาว กากถั่ว เปนตน
หลุมปลูกควรเตรียมเรียบรอยกอนยายกลา รองกนหลุมดวยปุย 15-15-15 อัตรา 50
กิโลกรัมตอไร หรือ 15 กรัมตอตน ปุยคอกอัตรา 1 ตันตอไร หรือ 300 กรัมตอตน และยาฟูรา
ดาน (ยาฆาแมลง) อัตรา 2 กิโลกรัมตอไร หรือประมาณ 20-30 เกล็ดตอตน ผสมปุยและยาคลุก
กับดินในหลุมอยางดี มิฉะนั้นปุย วิทยาศาสตรและยาฟูราดานจะทําใหกลาตาย ถาสัมผัสถูกราก
พืชโดยตรง

จ. การดูแลรักษาตนกลา
พนยาฆาเชื้อราและยาฆาแมลงประมาณสัปดาหละ 1 ครั้ง ถาหากมีโรคทางใบระบาด
หรือมีแมลงมากอาจพนยาอัตราที่ถี่กวานี้ ประมาณ 3-4 วันตอครั้ง หลังจากจิม้ กลาประมาณหนึ่ง
สัปดาห ควรคลุมแปลงกลาดวยตาขายพลาสติกหรือวัสดุพรางแสง เพื่อใหตนกลาตั้งตัวได และ
ปองกันฝนตกนอกฤดูหรือน้าํ คางที่อาจทําอันตรายใหกบั กลา หลังจากกลาตัง้ ตัวไดใหรื้อที่คลุม
กลาออกใหไดรับแสงแดดเต็มที่
63

ฉ. การยายกลา
ยายกลาเมื่อมีอายุ 30-35 วัน ลงในหลุมปลูกที่เตรียมไว กอนยายควรปลอยน้ําเขา
แปลง เพื่อใหหลุมปลูกชุมชื้นกอนยายปลูก แตไมควรใหแปลงเปยกแฉะขณะทีท่ ําการยายกลา
การยายกลาควรทําในตอนบายหรือตอนเย็น เพื่อใหตนไมมีเวลาตั้งตัวในตอนกลางคืนที่อากาศ
เย็นหลังยายกลารดน้ําใหชุม กลาตนตัวผูและตัวเมียใหแยกกันคนละแปลง อัตราตนตัวผูตอตน
ตัวเมียประมาณ 1:4

ช. การดูแลรักษาพริกในแปลงปลูก
หลังจากยายกลาประมาณ 5-7 วัน ใสปุย 15-0-0 โดยการเจาะฝงปุยหางจากตนประมาณ
15 ซม. ไมควรใชปุยยูเรีย เขาใจวาปุยยูเรียมีสว นทําใหเมล็ดพริกเกิดสีดํา(ขอมูลนี้ไดจากการ
สังเกต)
หลังยายกลา ประมาณ 20 วัน ละลายปุย 15-0-0 และปุย 15-15-15 อัตรา 2 ชอนโตะตอ
น้ํา 20 ลิตร รดโคนตนพริกระวังอยาใหถูกใบพริกเพราะปุยทําใหใบไหมได
หลังยายกลาประมาณ 30 วัน ใสปยุ 15-15-15 โดยการเจาะฝงปุยอัตรา 10-15 กรัมตอตน
เมื่อผสมพันธุพริกเสร็จแลว ใสปุย 14-14-21 โดยการเจาะฝงปุยอัตรา 10-15 กรัมตอตน
การใหน้ํา ควรใหน้ําสม่ําเสมอ อยาใหขังแฉะในรองน้ํา ใหน้ําตามรอง และตักรดโคนตน
การพนยาฆาเชื้อราและแมลงซึง่ มีเพลี้ยออนและเพลี้ยไฟ ควรพนประมาณสัปดาหละครัง้
ถาหากมีโรคหรือแมลงระบาดพนยา 3 วันตอครั้ง
พริกอาจตองการแรธาตุอื่นๆ เพื่อเสริมการเจริญเติบโตซึ่งเปนแรธาตุรอง เชน บอแรกซ
พนประมาณ 2 ครั้งในระยะเวลาที่หา งกันประมาณหนึ่งเดือน อัตราที่ใชประมาณ 2 ชอนโตะตอ
น้ํา 20 ลิตร และยังนิยมพนแคลเซี่ยมคลอไรดประมาณ 2 ครั้งอยางนอย ในอัตรา 2 ชอนโตะตอ
น้ํา 20 ลิตร ควรพนหลังจากผลพริกโตประมาณ 2 ซม. แลว ในการใหแรธาตุ อาหารเหลานี้ไมควร
ผสมแรธาตุรวมกับยาฆาแมลงหรือยาฆาเชื้อราโดยเด็ดขาด

ด. การแตงกิง่ และดอกพรกิ
แตงกิ่งลางของตนพริก โดยเด็ดทิ้ง เริ่มไวกิ่งประมาณขอที่ 7 ดอกแรกและดอกที่สองให
เด็ดทิ้ง ไมควรผสมพันธุดอกที่หนึง่ และสองเพราะจะทําใหตนชงักการเจริญเติบโต และการติด
เมล็ดของดอกอื่นๆ ลดลงดวย
64

ต. การเตรียมเกสรตัวผูและตัวเมีย
เก็บดอกพริกจากตนตัวผู เลือกดอกที่จะบานในวันตอไป สังเกตสีกลีบดอกมีสีขาวเด็ด
กลีบดอกออกใหเหลือแตเกสรตัวผู ถามีดอกตัวผูมากใชตาขายรอนเกสรตัวผูลอดตาขาย สวน
กลีบดอกติดอยูบนตาขาย เก็บเกสรตัวผูห อกระดาษใสปบที่มีปนู ขาวดิบ ถาเกสรตัวผูมีความชืน้
มากใหตากแดดออนๆ หรือ มีตาขายพรางแสงแดดประมาณหนึ่งชัว่ โมง แลวจึงเก็บใสปบที่มปี ูน
ขาวดิบ ปูนขาวดิบจะดูดความชืน้ ในอากาศภายในปบ จึงทําใหเกสรตัวผูที่อยูภายในหอกระดาษ
แหง ซิลิกาเจลก็ใชแทนปูนขาวดิบได แตมีราคาแพงกวาและเมื่อสารดังกลาวดูดความชืน้ แลว
เกล็ดซิลิกาเจลเปลี่ยนสีจากสีฟาเปนสีชมพู จึงนําซิลกิ า เจลไปอบที่อณ ุ หภูมิประมาณ 60 ํซ เพือ่
ไลความชื้นออกจนกระทัง่ เกล็ดเปลี่ยนเปนสีฟาตามเดิม จึงนํามาใชตอ ไป สวนปูนขาวดิบนัน้ เมื่อ
ดูดความชื้นแลวจะกลายเปนผงละเอียด นําไปโรยในแปลงที่ปลูกพริกเพื่อปรับระดับความเปน
กรด-ดางของดิน เกสรตัวผูท ี่แหงแลวนํามาใสภาชนะที่มีผาขาวบางปดปากภาชนะ แลวเคาะเอา
เฉพาะละอองเกสรตัวผูที่มีสเี หลืองออนๆ เกสรตัวผูนี้ควรเตรียมใหมทุกวัน
เตรียมดอกตัวเมียเพือ่ ทําการผสมขึน้ กับชนิดของกรรมพันธุของตัวเมีย ถาเปนดอกทีม่ ีเกสร
ตัวผูและเกสรตัวเมีย ตองใชคีมคีบเกสรตัวผูทงิ้ ตั้งแตดอกพริกยังอายุนอย กลีบดอกมีสีเขียวออน
การตอนดอกตัวเมียมักทําในตอนบายและเมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกมีสีขาวจึงผสมพันธุได ถา
เปนดอกตัวเมียที่เกสรตัวผูฝอ เนื่องจากลักษณะทางพันธุกรรมภายในไซโตรพลาสซึม
(cytoplasmic male sterility) ก็ไมจําเปนตองตอนเกสรตัวผู ใหตรวจดูวาตนตัวเมียตนนัน้ มีเกสร
ตัวผูที่ฝอจริงหรือไม หากตนใดที่มีดอกซึง่ มีเกสรตัวผูปกติก็ใหถอนทิง้ ทันที โอกาสเชนนีเ้ กิดขึ้นได
ถาอุณหภูมิของสถานที่ปลูกสูง ลักษณะทางพันธุกรรมภายในไซโตรพลาสซึมอาจไมแสดงออกถา
เปนดอกตัวเมียที่เกสรตัวผูฝอ เนื่องจากลักษณะทางพันธุกรรมของโครโมโซม (genic male
sterility) ในกลุมพันธุตัวเมียจะมีตนที่ดอกมีเกสรตัวผูสมบูรณและตนทีด่ อกมีเกสรตัวผูฝอใน
อัตรา 1:1 ใหคดั ตนตัวเมียที่มีดอกสมบูรณเพศออกทิง้ ประมาณ 50 เปอรเซนต คงเหลือไวเฉพาะ
ตนที่มีดอกซึ่งเกสรตัวผูฝอ ดอกตัวเมียเหลานี้ไมตองทําการตอนเกสรตัวผู สามารถผสมเกสรได
ทันทีที่ดอกเจริญเต็มที่ กลีบดอกมีสีขาว

ถ. การผสมพันธุด อกพริก
นําเกสรตัวผูทเี่ ตรียมไวใสในแหวนผสมพันธุ โดยใชแหวนสวมทีน่ วิ้ ชีข้ างซาย แลวนําไป
แตะปลายเกสรตัวเมียในดอกที่เจริญเต็มที่ ทําเครื่องหมายเปนหางโลหะคลองไว เพื่อเปน
เครื่องหมายวาดอกนี้ผสมพันธุแลว การผสมดอกพริกควรทําในเวลาเชาเมื่อน้ําคางแหงแลว
ประมาณ 08.00 น.ถึง 10.00 น. หากทําไมเสร็จใหผสมพันธุในตอนบาย ประมาณ 16.00 น. เปน
ตนไป การผสมพันธุตองเลือกเวลาที่อุณหภูมิไมสูงเกินไปเมล็ดจึงจะติดดี
65

พริกยักษและพริกเผ็ดที่มีขนาดผลตางกัน พริกยักษมีผลใหญ ใหผสมดอก


พริกยักษตนละ 20-25 ดอกเทานัน้ เมื่อติดผลจะมีประมาณ 15 ผลตอตน สวนพริกเผ็ดที่มีขนาด
ผลเล็กใหผสมดอกพริกเผ็ดตนละ 140-150 ดอก จะติดผลประมาณ 120 ผลตอตน

ท. การเก็บเกีย่ วผลพริกและเมล็ดพันธุพริก
หลังผสมพันธุป ระมาณ 30 วันเมื่อผลพริกมีสีแดงทัง้ ผล จึงเก็บผลได ผาผลพริก
ตามยาวแคะเมล็ดออก เมล็ดที่มีสีดําใหคดั ทิ้ง ตากเมล็ดในที่รมรําไรหรือกลางแดดที่มีตาขาย
พรางแสงประมาณ 2-3 แดด คัดทําความสะอาดสิง่ ที่เจือปนทิง้ เมื่อเมล็ดเย็นแลวจึงบรรจุใน
ถุงพลาสติกเพือ่ เตรียมสงขาย
66

รูปที่ 9 การปฏิบัติในการผลิตเมล็ดพันธุพ ริกยักษลูกผสม


รูปที่ 9.1 แปลงปลูกพริกยักษแบบไมใชพลาสติกคลุมแปลง

รูปที่ 9.2 แปลงปลูกพริกยักษแบบใชพลาสติกคลุมแปลง


(ไดรับความนิยมมากในการผลิตเมล็ดพันธุพ ริกลูกผสม)
67

รูปที่ 9.3 การขึ้นคางใหแกพริกยักษตัวเมีย


(ตนตัวผูไมตองขึ้นคาง)

รูปที่ 9.4 ตนพริกยักษตวั เมียทีพ่ รอมทําการผสมพันธุ


68

รูปที่ 9.5 ดอกตัวเมียทีพ่ รอมทําการผสมพันธุ

รูปที่ 9.6 อุปกรณที่ใชในการผสมพันธุพริก


69

รูปที่ 9.7 การตอนเกสรตัวผูในดอกตัวเมีย

รูปที่ 9.8 ดอกตัวผูที่เก็บมาเพื่อตากสําหรับเคาะเกสรตัวผู


70

รูปที่ 9.9 ดอกตัวผูที่ตากแหงแลว เตรียมเก็บไวในปบทีม่ ีปูนขาวดิบ 1 คืน

รูปที่ 9.10 การผสมเกสรตัวผูในแหวนที่นวิ้ มือลงบนเกสรตัวเมียที่ตอนแลว


71

รูปที่ 9.11 การปลูกพริกในโรงพลาสติกในประเทศเกาหลี

รูปที่ 9.12 การปลูกพริกในโรงพลาสติกในประเทศจีน


72

รูปที่ 9.13 ดอกพริกที่พรอมทําการผสมพันธุ

รูปที่ 9.14 การผสมพันธุพริกในประเทศจีน


73

รูปที่ 9.15 การเก็บดอกพริกตัวผูเพื่อเคาะเกสร

รูปที่ 9.16 การตอนเกสรตัวผูในดอกตัวเมีย และผสมเกสรตัวผู


ลงในดอกตัวเมียที่ตอนแลว
74

รูปที่ 9.17 ผลพริกที่ผสมพันธุ และติดผล


75

รูปที่ 9.18 ผลพริก


76

บทที่ 5

การปรับปรุงพันธุพริก
พันธุพ ริกที่ใชภายในประเทศไทยแทบทั้งหมดเปนพันธุแทที่ไดจากการคัดพันธุ โดย กรม
วิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ เกษตรกร และสถาบันการศึกษา สวนบริษทั ไดเริ่ม
ปรับปรุงพันธุพ ริกลูกผสมออกจําหนาย กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณเปน
หนวยงานหลักทีท่ ําการปรับปรุงพันธุพริก หวยสีทน พริกจินดา พริกไรเม็ดเล็ก พริกมัน และพริกไร
เม็ดใหญเปนตน วิธีการปรับปรุงพันธุใชวธิ ีการคัดเลือกสายพันธุ (pedigree method) และวิธีการ
คัดเลือกหมู (mass selection) พริกหวยสีทนไดรับการปรับปรุงพันธุโดยกรมวิชาการเกษตรนําโดย
นายบรรจง สิกขะมลฑล และคณะ (กรมวิชาการเกษตร 2519) ตั้งแต พ.ศ. 2516 ที่โครงการไรนา
ตัวอยางหวยสีทน ไดใชวิธีการคัดเลือกสายพันธุและตามดวยวิธกี ารคัดเลือกหมู แลวจึงนํา
สายพันธุท ี่คัดเลือกไดปลูกเปรียบเทียบกับพริกพันธุพ ื้นเมืองหลายพันธุ พบวามีลกั ษณะดีเดนจึง
รับรองพันธุใหเปนมาตรฐาน ตั้งชื่อพันธุวา หวยสีทน 1 ตอมาศูนยวิจัยพืชสวนศรีสะเกษ โดย
นายเบลเยี่ยม เจริญพานิช (ศูนยวิจยั พืชสวนศรีสะเกษ 2535) ไดคัดเลือกพริกหวยสีทน 1และ
พันธุพ ริกพื้นเมืองอีกหลายพันธุ จนกระทั่ง พ.ศ.2534 ไดพันธุพริกหวยสีทน 1 นพ. 3-2-1
พริกหวยสีทน 1 นพ.4-1-1 และพริกหัวเรือประกวดขอนแกน 23-1 ซึ่งมีผลผลิตสูงกวาพริกพันธุ
พื้นเมืองอืน่ ๆ แตเมื่อนําไปทดสอบในแปลงเกษตรกรหลายแหงปรากฏวา ผลผลิตพริกหวยสีทนที่
คัดจากศูนยศรีสะเกษยังใหผลผลิตนอยกวาพันธุห วยสีทน 1 และพันธุของเกษตรกร ทั้งนี้เนื่องจาก
พริกที่คัดเลือกมีอายุการเก็บเกี่ยวที่ยาวกวาสายพันธุอื่น มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 8 เดือน เมือ่
นํา ไปปลูกเปรียบเทียบในชวงเวลาสัน้ ทําใหมีผลผลิตต่ํากวาพันธุอนื่ ๆ
นอกจากการปรับปรุงพริกพันธุห ว ยสีทน 1 นักวิชาการของกรมวิชาการเกษตรไดปรับปรุง
พริกพันธุอนื่ เชน พริกมันซึง่ เปนพริกชี้ฟา เนื้อหนารสเผ็ดปานกลาง ใชสําหรับทําพริกแหง โดยปลูก
คัดเลือกพันธุท ี่สถานีทดลองพืชสวนทาชัย ไดคัดเลือกตนพริกที่ใหผลดก แข็งแรง ปราศจากโรค
ผลโต ผลออนสีเขียวเขม เมือ่ แกผลสีแดงเขม สําหรับพริกชนิดอื่นเชน พริกไรเม็ดใหญและพริกไร
เม็ดเล็กก็ไดรับการปลูกเปรียบเทียบพันธุโดยสถานีทดลองของกรมวิชาการเกษตร นําพันธุทดสอบ
จากพันธุพ นื้ เมืองของเกษตรกร พบวา พันธุพริกไรเม็ดใหญ พันธุพนื้ เมืองน้าํ ปาดใหผลผลิตสูงสุด
สวนพันธุพริกไรเม็ดเล็กพันธุพริกเมืองนครพนม 2 ใหผลผลิตสูงสุด ในการเปรียบเทียบ ดังกลาว
สําหรับพริกขี้หนูเล็กไดรับการปรับปรุงพันธุโดยอาจารยถาวร โกวิทยากร จาก
มหาวิทยาลัยขอนแกน ไดปรับปรุงพันธุพ ริกชอมีผลขนาดเล็ก ใหผลผลิตสูง โดยการผสมพันธุ
และคัดเลือกสายพันธุ
77

การปรับปรุงพันธุพริกในตางประเทศ ใชว ธีิ การปรับปรุงพันธุโ ดยการผสมพันธุวิธกี ารตางๆ


และใชยีนตางๆ ที่มีประโยชน เชน ยีนตัวผูเปนหมัน ยีนตานทานโรค ตานทานแมลง ตานทาน
ไวรัส และยีนที่ควบคุมลักษณะที่ดที างพืชสวนมาใชในการปรับปรุงพันธุ ในตางประเทศมี
การศึกษาเพื่อการปรับปรุงพันธุมากกวาทีท่ ํามาแลวในประเทศไทย ทั้งนี้อาจเนื่องจากสภาพทาง
เศรษฐกิจของพริกยังไมมีความสําคัญมากพอที่จะดึงดูดความสนใจ แตก็มีบริษัทเมล็ดพันธุบ าง
บริษัทภายในประเทศที่ใหความสนใจในการผสมและปรับปรุงพันธุพริก ตัวอยางความสําเร็จใน
การปรับปรุงพันธุพริกในตางประเทศ โดยการใชวิธกี ารคัดพันธุและผสมพันธุ ไดแสดงไวใน
ตารางที่ 7 เชน การปรับปรุงพันธุตานทานตอโรคไวรัส ซึ่งมีไวรัสหลายชนิด เชน tobacco
mosaic, tobacco etch, potato y และ pepper mottle เปนตน ความตานทานที่ตอ งการควรเปน
ความตานทานรวมตอไวรัสหลายชนิด การคัดพันธุตานทานจึงตองใชวิธีการผสมขาม
(crossing) การผสมขามชนิด (interspecific hybridization) การผสมกลับ (backcrossing)
และการคัดพันธุโดยใสเชื้อไวรัส (screening) ประกอบกันจึงไดพันธุพ ริกตานทานหลายพันธุ
ตามตารางที่ 7 พันธุตา นทานตอโรครา เชน โรคใบแหงที่เกิดจากเชื้อ Phytophthora capsici,
Xanthomonas campestris และ Verticillium dahliae (เชื้อสองตัวหลังนี้ไมมีรายงานวาพบเขา
ทําลายพริกในประเทศไทย Giatgong.1980) ใชวิธีการปรับปรุงพันธุโดยการผสมแบบครบวงจร
recurrent selection การผสมกลับและการคัดเลือก (selection) ไดพันธุตา งๆ ที่มีความ
ตานทาน ดังแสดงไวในตารางที่ 7 การปรับปรุงพันธุพริกเพื่อหาลักษณะที่ดที างพืชสวน เชน
ผลผลิตสูง มีเนื้อหนา มีผลใหญ มีสีตามที่ตองการ เปนตน ใชวิธีการผสมขาม (crossing) การ
คัดเลือกแบบเมล็ดเดี่ยว (single seed descent) และการคัดเลือก (selection) ทําใหไดสาย
พันธุตา งๆ ทีม่ ีลักษณะตามที่ตองการ (ตารางที่ 18) การคัดพันธุต านทานแมลงมีการรายงานอยู
บาง เชน คัดพันธุตา นทานตอ Western flower thrips จะเห็นไดวาการปรับปรุงพันธุทกี่ ลาว
มาแลวไดปรับปรุงพริกหวาน (C. annuum) เปนสวนใหญ ซึ่งเปน พริกที่นยิ มรับประทานในประเทศ
แถบตะวันตก แตก็มีพนั ธุพ ริกชนิดอื่นนอกจากพริกหวานที่รายงานวามีความตานทานตอไสเดือน
ฝอยชนิดตางๆ โดย Vito. 1993 ซึ่งก็ไดโดยการคัดพันธุ (screening) ดังแสดงไวในตารางที่ 7
ไสเดือนฝอยจีนัส Meloidogyna เปนปญหาสําคัญในการผลิตผักในประเทศบราซิลและ
ทั่วโลก พริก (Capsicum annuum) ทัง้ พริกเผ็ดและพริกยักษไดรับความสนใจในการปรับปรุงพันธุ
ตานทานไสเดือนฝอยนอยมาก Fausto et al. (2002) รายงานความตานทานตอไสเดือนฝอย
(Meloidogyne incognita) Kofoid & White Chitwood race 2 ในพริกเผ็ดพันธุ Carolina
Cayenne โดยใชพันธุดังกลาวเปนแมพนั ธุและพริกยักษพนั ธุ Agronomico-8 เปนพอพันธุ เมือ่ ได
ลูกชั่วที่ 1 (F1) ลูกชั่วที่ 2 (F2) และลูกผสมกลับชั่วที่ 1 (BC11) และลูกผสมกลับชั่วที่ 2 (BC12) ถาย
เชื้อ (ไข) ไสเดือนฝอยใหกับตนพริกและนับจํานวนปมและและพวงไข (egg mass) ของแตละตนที่
78

ยีนตัวผูเ ปนหมัน (male sterility) นิยมใชในตางประเทศมาก ทั้งนี้เพื่อใหการผลิต


เมล็ดพันธุลูกผสมชั่วที่ 1 มีคาใชจายในการผลิตต่ําเพราะไมตองตอน (emasculation) เกสรตัวผู
ใน สายพันธุต ัวเมีย ตางประเทศนิยมใชเมล็ดพันธุพริกลูกผสมชั่วที่ 1 มาก เพราะลูกผสมแข็งแรง
ใหผลผลิตที่มากกวา และมีความสม่าํ เสมอของผลิตผลมากกวาพันธุแ ท ดังนัน้ การผลิตเมล็ดพันธุ
พริกลูกผสมตองอาศัยยีนตัวผูเปนหมัน ยีนที่ทาํ ใหตัวผูเปนหมันมี 2 แบบ ไดแก

ก. Genic male sterility (ms) ซึ่งรายงานโดย Shifriss. 1973 เปนยีนกลายพันธุท เี่ กิดใน
ธรรมชาติ พบประมาณ 0.01% ในแปลงพริก ยีนนีถ้ ูกนําไปใชในบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ
พริกลูกผสม โดยถายทอดยีนนี้ ลงในสายพันธุตวั เมียที่ใชเปนแมพันธุ ในการใชยีนนี้
สายพันธุตวั เมียจะมีดอกที่มเี พศผูปกติ 50% ดังนัน้ ตองคัดตนที่มเี พศผูปกติทงิ้ ในระยะ
เปนตนกลาครึง่ หนึ่ง เหลือไวเฉพาะตนทีม่ ีเกสรตัวผูฝอ การตรวจสอบนี้งา ยมองเห็นไดชัด
แตไมมีวิธีการอื่นที่ดีกวานี้ เนื่องจากยีน ms ไมมียีนทีส่ ามารถใชเปนเครื่องหมายแสดง
(linked marker gene) ขอเสียของยีนนีไ้ ดแกการใชยีนนี้ในลูกผสมชั่วที่ 1 หากปลูกใน
สภาพที่อุณหภูมิต่ําทําใหการพัฒนาของเกสรตัวผูในลูกผสมผิดปกติ ทําใหการติดผลมี
ปญหาดวย แตอยางไรก็ดีขอเสียนี้กเ็ ปนไดเฉพาะบางกรณีเทานัน้ ผูเขียนไดเคยเยี่ยมชม
การผลิตเมล็ดพันธุพ ริกลูกผสมในประเทศเกาหลีประมาณ พ.ศ. 2530 แทบทุกบริษัทใช
ยีนกลายพันธุน ี้ในการผลิตและประสพผลดีมาก
การขยายพันธุลกู ผสมโดยใชยนี กลายพันธุ ms จําเปนตองมีสายพันธุ 3 สาย
พันธุ
ไดแก สายพันธุตัวเมียที่มยี ีนกลายพันธุ ms/ms สายพันธุตัวผูท ี่มยี ีนกลายพันธุอ ยูหนึ่ง
ยีน ms + /ms (ms+ เปนยีนปกติ) และสายพันธุป กติ ms+/ms+ ทําการขยายพันธุ
ลูกผสมและพอแมพันธุ ตามรูปที่ 11 และ 12 สายพันธุตัวเมียที่มยี นี กลายพันธุ (A line)
ไมสามารถขยายพันธุดว ยตัวเองเพราะไมมีเกสรตัวผู จึงตองใชเกสรตัวผูจากสายพันธุ
ตัวผูที่มยี ีนกลายพันธุ (B line) จึงไดลูกครึ่งหนึง่ มีเกสรตัวผูปกติ และครึ่งหนึ่งมีเกสรตัวผู
ฝอ เมื่อไดสายพันธุ ตัวเมียที่มียนี กลายพันธุแลวตองการผลิตลูกผสม จึงตองใชเกสร
79

น m

กติ
ข. Cytoplasmic genic male sterility (CGMS) ยีนตัวผูเปนหมันนีพ้ บครั้งแรกโดย
Peterson. 1958 การที่ตัวผูเปนหมันเนื่องจากปฏิกิริยาระหวางไซโตพลาสซึมที่เปน
หมัน (s-type) กับยีนดอยในนิวเคลียส ms ยีน ยีนดอยนี้แสดงออกเมื่ออยูในไซโตพลา
สซึมแบบนี้เทานัน้ S ms/ms ถามียนี อืน่ อยูดวยจะไมแสดงออก เชน S ms+/ms, S
ms+/ms+, N ms/ms, N ms+/ms, และ N ms+/ms+ (ms+ - ยีนตัวผูปกติ, N-ไซโตพลา
สซึมปกติ) พริกที่มยี ีนดังกลาวมีเกสรตัวผูที่ปกติ ยีนตัวผูเปนหมันแบบ CGMS มีขอดี
มากกวาแบบแรกที่กลาวมาแลวเพราะสายพันธุตัวเมียมีเกสรตัวผูฝอหมดสามารถใชใน
การผลิตเมล็ดพันธุลกู ผสมได แตความยุง ยากอยูท ี่การหาสายพันธุ 3 สายพันธุ เพื่อเปน
พอแมพนั ธุ ไดแก สายพันธุต ัวผูฝอ (S ms/ms) สายพันธุที่ใชในการผลิตสายพันธุต ัวผูฝอ
(N ms/ms) และสายพันธุตัวผูปกติ (N ms+/ms+ หรือ S ms+/ms+) ตามรูปที่ 13 สาย
พันธุตวั ผูฝอไมมีเกสร (A line) ตองขยายพันธุโดยอาศัยเกสรตัวผูจากสายพันธุที่มียนี
ดอยเหมือนกัน (B line) แตมีไซโตพลาสซึมที่ปกติ (N ms/ms) เมื่อไดแมพันธุก ็ผลิต
ลูกผสมโดยใชเกสรจากสายพันธุปกติ (C line) จะไดลูกผสมที่มีเกสรตัวผูปกติ
80

รูปที่ 10 ดอกพริกทีม่ ีเกสรตัวผูปกติ และไมปกติ


รูปที่ 10.1 ดอกพริกยักษ ที่มีเกสรตัวผูและเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน
ดอกดานซายมือ เปนดอกออน และดอกดานขวามือ เปนดอกที่เจริญ
เต็มที่
รูปที่ 10.2 ดอกพริกสมบูรณเพศ มีเกสรตัวผูและเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน
81

รูปที่ 10.3 ดอกพริกยักษ มีเฉพาะเกสรตัวเมีย เนื่องจากมียนี ตัวผูเปนหมัน

รูปที่ 10.4 ดอกพริกยักษ ดอกดานซายมือ เปนดอกไมสมบูรณเพศ (เกสรตัวผูฝอ)


ดอกดานขวามือ เปนดอกสมบูรณเพศ
82

รูปที่ 11 สายพันธุพ ริก สําหรับผลิตเมล็ดพันธุพ ริกลูกผสม


รูปที่ 11.1 สายพันธุตวั เมียที่มยี ีนกลายพันธุ (A line) ซึ่งไมมีเกสรตัวผู

รูปที่ 11.2 สายพันธุตวั ผูท ี่มียนี กลายพันธุและยีนปกติ (B line)


83

รูปที่ 11.3 ผลพริก จากสายพันธุ A line

รูปที่ 11.4 ผลพริก จากสายพันธุ B line


84

รูปที่ 11.5 สายพันธุตวั ผูท ี่มียนี ปกติ (C line) สําหรับผสมกับสายพันธุ A line จะไดลูกผสม
ชั่วทีห่ นึง่
85

B line A line C line


เกสรตัวผูปกติ เกสรตัวผูฝอ เกสรตัวผูปกติ
(maintainer) สายพันธุแม (pollinator)
ms+/ms ms/ms ms+/ms+


ผสมตัวเอง
X X

สายพันธุพ อ
(ขยายพันธุ)
ms/ms : ms+/ms ms+/ms : ms/ms

คัดทิ้ง X
สายพันธุแม สายพันธุแม maintainer
A line B line ลูกผสม F1
เกสรตัวผูปกติ
ms+/ms

รูปที่ 12 การผลิตเมล็ดพันธุลูกผสม F1 และสายพันธุพ อและแมของพริกที่มียนี กลายพันธุ gms


(genic male sterility)
86

C line A line B line


เกสรตัวผูปกติ เกสรตัวผูฝอ เกสรตัวผูปกติ
N ms+/ms+ S ms/ms N ms/ms

ผสมตัวเอง ⊗ ⊗ ผสมตัวเอง
N ms+/ms+ N ms/ms
เกสรตัวผูปกติ X X เกสรตัวผูป กติ
C line B line
(ขยายพันธุพอ) (ขยายพันธุพอ)

S ms+/ms S ms/ms
เกสรตัวผูปกติ เกสรตัวผูฝ อ
F1 hybrid A line
(ขยายพันธุลูกผสม) (ขยายพันธุแม)

รูปที่ 13 การผลิตเมล็ดพันธุลูกผสม F1 และสายพันธุพ อและแมที่มยี ีนกลายพันธุ CGMS ของ


พริก (cytoplasmic genic male sterility)
87

ตารางที่ 7 สายพันธุพ ริกตานทานโรค และมีลักษณะที่ดีทางพืชสวน ไดมาโดยวิธกี ารปรับปรุง


พันธุแบบตางๆ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิธีการปรับปรุงพันธุ ความตานทานโรค สายพันธุพ ริกตานทาน เอกสารอางอิง
แมลง และอืน่ ๆ และสายพันธุท ี่มีลกั ษณะดี
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. โรคไวรัส
Crossing + ตานทานตอโรคไวรัส C. annuum Villalon.1986
backcrossing ไดแก tobacco mosaic, พันธุ Tamble-2
+ selection tobacco etch potato y และ
pepper mottle
Crossing + ตานทานตอโรคไวรัส C. annuum Villalon,
selection ไดแก tobacco mosaic, พันธุ Rio et al. 1988
tobacco etch, และ Grande Gold
pepper mottle

Crossing ตานทานตอโรคไวรัส C. annuum Villalon,


tobacco etch สายพันธุ TAM et al. 1992
potyvirus, potato Y Veracruz
potyvirus, pepper
mottle potyvirus,
tobacco mosaic,
tobamovirus

Screening ตานทานตอ C. annuum cv. Khalil,


tobacco mosaic California et al. 1990
tobamovirus และ Wonder 300,
potato x potyvirus C. angulosum
K 2710 และ
K 2150
C. conicum
K 4938
88

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิธีการปรับปรุงพันธุ ความตานทานโรค สายพันธุพ ริกตานทาน เอกสารอางอิง
แมลง และอืน่ ๆ และสายพันธุท ี่มีลกั ษณะดี
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Interspecific ตานทานตอ tobacco ใช L ยีนใน C. Stevanovic,
hybridization mosaic, frutescens et al. 1992
และ tobamovirus p 55 และ
backcrossing L 606 และ
C. pendulum
C 131

2. โรครา
Backcrossing ตานทานตอ C. annuum Milkova,
Phytophthora et al. 1989
capsici
Selection ตานทานตอ Capsicum Byung-Soo.
Xanthomonas สายพันธุ 1988
campestris PI 163192,
pv. vesicatoria PI 1271322,
PI 308787,
PI 1369994,
PI 1244670,
PI 1241670,
PI 1377688,
PI 1224451
ตานทานตอ PI 163192, Byung-Soo.
Phytophthora PI 123469, 1988
capsici PI 201232,
PI 201234,
PI 224445,
P 51,
AC 2258,
89

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิธีการปรับปรุงพันธุ ความตานทานโรค สายพันธุพ ริกตานทาน เอกสารอางอิง
แมลง และอืน่ ๆ และสายพันธุท ี่มีลกั ษณะดี
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Riogrande,
Gosung

Recurrent ตานทาน C. annuum Palloix. 1990


selection Verticillium
dahliae

3. ลักษณะที่ดที าง
พืชสวน
Single seed ความหนาของ pericarp C. annuum Casali, et al.
descent และความยาวของผล สายพันธุ 1986
Agronomico
10 G

Crossing น้ําหนักผลแหงตอตนสูง C. annuum Mishra,


สายพันธุ et al.
J218 x CA586 1989
Pusa Jwala x
Sindur
BR Red x G4

Crossing ascorbic acid สูง, C. annuum Antipova.1990


nitrate ต่ํา, ผลผลิตสูง สายพันธุ
G1822, G1821,
และ G644
90

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิธีการปรับปรุงพันธุ ความตานทานโรค สายพันธุพ ริกตานทาน เอกสารอางอิง
แมลง และอืน่ ๆ และสายพันธุท ี่มีลักษณะดี
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Crossing ความหนาของ pericarp C. annuum Gvozdenovic,
และน้ําหนักผล สายพันธุ et al. 1992
L22-3/12 และ
L22-3/3
4. แมลง
Screening ทนทานตอ Western C. annuum Ferry and
flower thrips สายพันธุ Schalk. 1991
(Frankliniella Keystone
occidentalis Resistant
(Pergande) Giant, Yolo
Wonder L,
Mississippi
Nemaheart,
Sweet Banana,
California
Wonder

5. ไสเดือนฝอย ตานทานตอ root-knot C. frutescens Vito. 1993


Screening nematode เชน สายพันธุ 28-201
M. incognita, ควบคุมความ
M. javanica และ ตานทานโดยยีน
M. arenaria ขม 1 ยีน
M. incognita และ C. chacoense Vito. 1993
M. arenaria สายพันธุ
46-530/7
ควบคุมความ
ตานทานโดยยีน
91

M. Javanica C. chacoense Vito. 1993


สายพันธุ
46-530/7
ควบคุมความ
ตานทานโดยยีน
ขม 2 ยีน
M. incognita และ C. chinense Vito. 1993
M. Javanica สายพันธุ
56-547/7
ควบคุมความ
ตานทานโดยยีน
ขม 1 ยีน
M. arenaria C. chinense Vito. 1993
สายพันธุ
56-547/7
ควบคุมความ
ตานทานโดยยีน
ขม 2 ยีน
M. incognita C. annuum Fausto. 2002
race 2
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
91

การวางแผนการผสมพันธุพริก
การวางแผนการผสมพันธุพ ริกคลายกับการวางแผนการผสมพันธุมะเขือเทศ เนื่องจาก
พืชทัง้ สองเปนพืชผสมตัวเอง อาจสรุปการปรับปรุงพันธุพ ริกโดยใชวธิ กี ารตอไปนี้
ก. วิธกี ารคัดเลือกสายพันธุแบบบันทึกประวัติ (pedigree method)
ข. วิธกี ารคัดเลือก แบบเมล็ดเดี่ยว (single seed descent)
ค. วิธกี ารคัดเลือกหมู (mass selection)
ง. วิธกี ารผสมกลับ (backcross method)
จ. วิธีผสมผสานของการคัดเลือกสายพันธุ และการคัดเลือกหมู
ฉ. วิธีการคัดเลือกแบบวงจร (recurrent selection)
ช. วิธีการปรับปรุงพันธุลูกผสม (F1 hybrid)

ก. วิธีการคัดเลือกสายพันธุแบบบันทึกประวัติ (pedigree method)


วิธีการนี้เปนการคัดเลือกและบันทึกสายพันธุทกุ สายในชัว่ อายุหนึง่ ๆ โดยพอแม เปน
พันธุท ี่มีคุณสมบัติที่ตองการและมีความแตกตางทางพืน้ ฐานพันธุกรรมพอสมควร ไมควรเลือกพอ
แมที่มีพนื้ ฐานพันธุกรรมใกลเคียงกัน เพราะการกระจายของยีนจะมีนอย การกระจายของยีนจะ
เห็นไดชัดในชัว่ อายุที่ 2 (F2) ตัวอยางเชน การกระจายของยีนที่ควบคุมลักษณะผลสีเหลืองในพริก
ยักษ (รูปที่ 14) หลังจากชัว่ อายุนี้แลวการกระจายไมคอ ยมี ดังนั้นการคัดเลือกเปนการเลือกตน
เดี่ยว (single plant selection) ในชั่วอายุตนๆ เทานั้น ตัง้ แต F2 ถึง F4 ดูตามรูปที่ 15 (Briggs
และ Knowles 1967) หลังจากนี้เปนการเลือกเปนกลุม (family or line selection) การคัดเลือก
แบบบันทึกประวัตินี้ มีตัวอยางของความดีเดน (heterosis) หลายตัวอยางทีพ่ บในพืชผสมตัวเอง
เชน มะเขือเทศ พริก มะเขือ ผักกาดเขียวปลี และสลัดปลี และยังใหโอกาสแกนกั ผสมพันธุพืชใน
การฝกหัดความชํานาญในการคัดเลือก นอกจากนี้ยังใชในการศึกษาความสามารถในการ
ถายทอดยีน (genetic inheritance) ของลักษณะที่สําคัญๆ เพื่อเปนความรูทางพันธุกรรมของพืช
ดวย อยางไรก็ดีวิธีการนี้มีขอ เสียที่ใชงบประมาณและแรงงานมาก ทําใหสามารถคัดเลือกคูผสมได
นอยคู
92

รูปที่ 14 การกระจายตัวของยีนที่ควบคุมลักษณะสีเหลืองของผลพริกยักษ
รูปที่ 14.1 ลูกผสมชัว่ ที่ 1 (F1) ของพริกยักษชนิดผลออนสีเหลือง และผลสุกสีแดง

รูปที่ 14.2 ลูกผสมทีผ่ สมตัวเองชัว่ ที่ 2 (F2) ของพริกยักษ ผลออนมีสีเขียวปนในผล


ซึ่งควรมีสเี หลือง และรูปรางของผลไมสม่ําเสมอ
93

รูปที่ 14.3 สวนของผลทีเ่ ปนสีเขียวในผลพริกสีเหลืองเห็นชัดทัง้ ภายนอกและภายในผล


ของผลพริก F2

รูปที่ 14.4 สวนของผลทีเ่ ปนสีเขียวยังปรากฏเมื่อผลพริกสุกแดง ของผลพริก F2


94

รูปที่ 14.5 ผลพริกที่ผสมตัวเองชัว่ ที่ 3 (F3) มีสีเขียวปรากฏ เชนเดียวกับ F2


95

สิ่งที่ควรปฏิบัติในการคัดเลือกสายพันธุ (pedigree method) มีดังนี้

F1 ควรพิสูจนลูกผสม F1 โดยปลูกเปรียบเทียบกับพอและแมวาเปนลูกผสมจริง และปลูก


ลูกผสมนี้จาํ นวนมากพอที่จะไดเมล็ด F2 เพียงพอและมีเหลือ สํารองกรณีทกี่ ารปลูก
ครั้งแรกลมเหลว การคัดเลือกไมทําในลูกผสม F1 นี้
F2 ควรปลูก F2 จํานวนมากพอที่จะทําการคัดเลือก จํานวนนี้ควรเปน 10 หรือ 20
เทาของจํานวน F3 ที่ตองการ การปลูกตองปลูกในระยะระหวางตนและระหวางแถวหาง
กันพอสมควรตามความตองการของตนพริกและทุกๆ 10 แถว ใหปลูกพันธุม าตรฐานหรือ
พันธุเช็ค อาจเปนพอพันธุหรือแมพันธุหรือพันธุการคาที่ดีก็ได แลวทําการคัดเลือกตนที่ไมดี
ออกทิง้ คงเหลือเฉพาะตนที่แข็งแรงและมีคุณสมบัติดี นักผสมพันธุพืชตองมีความสามารถใน
การตัดตนที่ไมดีทงิ้ มิฉะนั้นจะมีสายพันธุจ ํานวนมากที่ไมมีประโยชน ทําใหโอกาสทีจ่ ะได
พันธุดีนนั้ ลดลง
F3 แตละสายพันธุของ F3 ควรปลูกจํานวนตนมากพอในแตละสายพันธุเพื่อประเมินผล
และปลูกพันธุมาตรฐานหรือพันธุเช็คแทรกทุกๆ สิบแถวของ F3 เพือ่ เปรียบเทียบ การ
คัดเลือกใหเลือกตนที่ดจี ากสายพันธุท ี่ดี แตถา หากมีตน ที่ดีในกลุมสายพันธุท ี่ไมคอยดีก็ควร
เลือกไว จํานวน F3 ที่คัดเลือกไวไมควรมากเกินกวาจํานวนสายพันธุที่ปลูกเชน ปลูก 250
สายพันธุ คัดเลือกไว 125 ตน จาก 50 สายพันธุท ดี่ ี 125 ตนนี้นาํ ไปปลูกเปน 125
สายพันธุ ใน F4
F4 นําเมล็ดจากตนที่คดั มาจาก F3 มาปลูก อาจเปนแถวเดีย่ ว หรือ 3-4 แถว เพื่อให
ประเมินผลไดจากแตละตนที่คัดเลือกมาและปลูกพันธุมาตรฐานสลับไปดวย ในแตละสายพันธุ
จะมีความสม่ําเสมอ (homogeneous) คอนขางมาก แตยังตองคัดเลือกตนอยู (single plant
selection) ควรคัดเลือกจากสายพันธุที่ไมไดมาจากสายพันธุเดียวกันใน F2
เพื่อลดความซ้ําซอนของสายพันธุถ าเปนไปได ทั้งนี้เพือ่ ลดจํานวนสายพันธุท ี่คัดเลือกใหเหลือ
นอยลง
F5 ทําวิธกี ารเดียวกับ F4 แตปลูกสายพันธุแตละสายพันธุใหเปนแปลงใหญขึ้น ปลูกพันธุ
มาตรฐานเปรียบเทียบ ประเมินผลผลิตเปนแปลงในสภาพที่ปลูกจริงแลวคัดเลือกตนที่ดีจาก
สายพันธุทใี่ หผลดีมีความสม่ําเสมอ
96

F6 การคัดเลือกในชั่วอายุนี้ เปนการเปลี่ยนจากการคัดเลือกตน (single plant selection)


เปนการคัดเลือกทั้งกลุม (single family selection) ดังนัน้ การปลูกของแตละสายพันธุก็ปลูก
เปนแปลงใหญ มีพันธุมาตรฐานเปรียบเทียบ และประเมินผลผลิตทั้งแปลง จากกลุม (family)
เดียวกัน หากมีพนื้ ทีเ่ หลือควรปลูกแตละสายพันธุห ลายซ้ํา (2-3 ซ้ํา) แลวคัดเลือกกลุมที่ดีทสี่ ุด
จํานวนไมมาก เพื่อนําไปประเมินตอไป
F7 ปลูกเมล็ดจากแตละกลุมที่คัดเลือกมาในแปลงใหญ วางแผนการทดสอบแบบ
randomized block มีแปลงของพันธุม าตรฐานปลูกเปรียบเทียบดวย สายพันธุแตละกลุม
ไมเรียกเปน family แตควรเรียกเปน line เพราะมีความเปนพันธุแท (pure line)
มาก คัดเลือกกลุมที่ดีที่สดุ ประมาณ 4-5 กลุม ทดสอบสายพันธุในที่ตางๆ กัน เพื่อดูการ
ตอบสนองของสายพันธุแ ตละกลุมตอสิ่งแวดลอม คัดเลือกกลุมที่ใหผลดีในการประเมินจาก
ทุกๆ สถานที่
F8 ขยายเมล็ดพันธุห ากลุม ที่คัดเลือกวาดี เพื่อสงเสริมและกระจายสายพันธุใหแกกสิกร
ตัวอยางของการคัดเลือกสายพันธุน ี้ ตองการเวลาถึง 8 ป ในการปรับปรุงพันธุนี้
5 ป เปนการคัดเลือกตน (single plant selection) และอีก 3 ป เปนการคัดเลือกกลุม
(family or line selection) อยางไรก็ดีระยะเวลาดังกลาวไมไดตายตัว แตเปลี่ยนแปลง
ตามความเหมาะสม
วิธีการคัดเลือกสายพันธุ (pedigree method) อาจมีการดัดแปลงเพื่อใหความ
เปนพันธุแท (homozygosity) ชาลงในชั่วอายุตนๆ และใหโอกาสแกยนี ที่ดีมโี อกาสมารวมตัวกัน
ในกลุมใหม (genetic recombination) จึงทําไดโดยนําตนที่คัดเลือกที่ดีในชัว่ อายุตนมาผสม
กัน หรือผสมกันแบบสุม (random) ในชัว่ อายุตนก็ได
การปรับปรุงพันธุโดยวิธีการคัดเลือกสายพันธุในประเทศไทย มีตัวอยางพันธุพริก
ที่ไดจากการปรับปรังพันธุโดยวิธนี ี้ ไดแก พริกชอ ม.ข.#1 ซึ่งปรับปรุงพันธุโ ดยอาจารยถาวร
โกวิทยากร และคณะ ตั้งแตป พ.ศ. 2515 (สุชีลา 2536) โดยผสมพันธุระหวางพริกจินดากับ
พริกประดับ และคัดพันธุโ ดยวิธีการคัดเลือกสายพันธุ และไดพนั ธุแทใหชื่อวาพริกชอ ม.ข.#1
ตอมา ดร.สุชีลา และคณะไดทําการปรับปรุงพันธุอีกโดยผสมพริกชอกับพริกพันธุบ า นใน และคัด
พันธุ แบบบันทึกประวัติอีก 8 ชั่วอายุ ไดพนั ธุที่ดีชื่อ พริกชอ ม.ข.#31-02 และ #31-09
ในตางประเทศมีพนั ธุพริกที่ไดโดยการคัดเลือกวิธีนี้มากมายหลายพันธุ เชน พันธุ
Marbles และ Riot ซึ่งเปนพริกประดับ (Baggett and Kean. 1988) ไดจากการผสม
ระหวางพันธุ Nosegay และพันธุ Fiery Festival แลวคัดเลือกแบบเลือกตนและจดประวัติ
ตั้งแต F2 ถึง F6 สําหรับพันธุ Marbles และ ตั้งแต F2 ถึง F7 สําหรับพันธุ Riot
97

ตัวอยางพันธุพริกที่ไดโดยวิธีการคัดเลือกแบบบันทึกประวัติมีมากมาย เชน พันธุ


NuMex Sunglo, NuMex Sunflare และ NuMex Sunburst ซึ่งเปนพริกประดับ ถูกคัดพันธุ
แบบบันทึกประวัติ มาจากพันธุ PI 1357573 (Bosland. 1992) แตเดิมเปนพันธุม าจาก
ประเทศอินเดีย พันธุท ี่คัดมาเมื่อผลแกมีสเี หลือง แดง และสม ตามลําดับ มีความสวยงามใช
ประดับบาน
พันธุตานทานโรคไวรัสที่ไดโดยวิธกี ารปรับปรุงพันธุวิธนี ี้ก็มีเชน พันธุ Tam Mild
Chile-2 (Villalon et al. 1986) ซึ่งไดจากการผสมระหวางพันธุ Agronomico-8 และ
Avelar ซึ่งตานทานตอโรคไวรัส tobacco etch virus, potato virus Y, และ tobacco mosaic
virus เมื่อคัดพันธุถ ึงชัว่ ที่ 3 พบวามีความตานทานตอไวรัสดังกลาว จึงผสมสายพันธุนกี้ ับพันธุ
การคา พันธุ Cal-Compack 528 และ Anaheim TMR 23 และคัดพันธุแบบบันทึกประวัติ จนถึง
ชั่วที่ 10 จึงไดพันธุตา นทานไวรัส Tam Mild Chile-2 แตการปรับปรุงพันธุตา นทานโรคมักนิยมใช
วิธีการผสมกลับ (backcross) มากกวาวิธกี ารคัดเลือกแบบบันทึกประวัติ
การคัดพันธุพริกตานทานโรคไวรัส (cucumber mosaic virus) Monma และ Sakata.
1997 ไดคัดพันธุพริก (C. annuum) 83 พันธุ และพริกชนิดอื่น (Capsicum spp.) อีก 57 พันธุ ทีม่ ี
ความตานทานตอโรคไวรัส (CMV) พริก (C. annuum) ที่ทดสอบเกือบทั้งหมด แสดงอาการของโรค
ไวรัสเมื่อใสเชื้อ CMV ลงไป แตมี 45 ตนใน 22 พันธุท ี่ไมแสดงอาการ จึงไดใสเชื้อ CMV ลงในตนที่
ไมมีอาการอีกครั้งก็พบวา มีตนที่ไมแสดงอาการอีกครั้ง ก็พบวา มีตน ที่ไมแสดงอาการ 15 ตนใน
10 พันธุ และทําการคัดเลือกลูกที่ตา นทานจากตนที่ไมแสดงอาการก็ไดพันธุตานทานตอโรค CMV
ในใน 57 พันธุของพริกชนิดอื่นๆ เมื่อใสเชือ้ CMV ลงไป สวนใหญแสดงอาการของไวรัสมีตนที่ไม
แสดงอาการ 5 ตนใน C. baccatum และ 7 ตนใน C. pubescens และเมื่อใสเชื้อลงไปอีกครั้งมี
ตนที่ไมแสดงอาการ 19 ตนใน C. frutescens เมื่อทดสอบในลูกของตนเหลานี้ มีลูกของ 5 ตน
และมีลูกของ 1 ตนใน C. baccatum ที่มแี นวโนมมีความตานทาน
98

จํานวนที่ปลูก จํานวนที่คัดเลือก
ตน สายพันธุ ตน สายพันธุ

F1 50 50

F2 5000 250

F3 250 125 50

F4 125 90 40

………………………..
F5 ………………………. 90 80 35
………………………

F6 80 15

F7 ปลูกทดสอบหลายซ้ํา 15 4

F8 - F10 ปลูกทดสอบหลายซ้ํา 4 1

F11 - F12 ขยายพันธุและทดสอบดวย 1 1

รูปที่ 15 แผนผังการคัดเลือกสายพันธุ (pedigree method) ของลูกผสม เพื่อคัดสายพันธุแท


ที่ดี หลังจากผสมตัวเองแลว 8 ชั่วอายุ
99

ข. วิธีการคัดเลือกแบบเมล็ดเดี่ยว (single seed descent)


การคัดเลือกแบบเมล็ดเดี่ยว เปนวิธีการปรับปรุงพืชผสมตัวเอง เชน มะเขือเทศ
พริก และมะเขือ เพื่อใหไดพันธุแททมี่ ีลักษณะที่ตอ งการ หลักการปฏิบัติคลายคลึงกับวิธกี าร
คัดเลือกรวม (bulk method) มีความคลายกันที่ไมมีการคัดเลือกและบันทึกสายพันธุในชั่วอายุ
ตนๆเหมือน pedigree method แตเปนการเก็บเมล็ดของทุกตนและทุกชัว่ อายุ เพื่อใหไดยีนที่
กระจายอยูทงั้ หมด และเริ่มทําการคัดเลือกในชั่วอายุปลายๆ ประมาณชั่วอายุที่ 5 6 หรือ 7 (รูปที่
16) แลวคัดยีนทีก่ ระจายตัวอยูแลวในสภาพธรรมชาติทตี่ องการ โดยเลือกลักษณะที่ตรงกับความ
ตองการ การปรับปรุงโดยวิธีนี้เปนวิธกี ารที่งา ยและประหยัดคาใชจา ยมากกวา pedigree method
และไมตองอาศัยนักผสมพันธุพืชก็สามารถทําได ตัวอยางการปรับปรุงพันธุว ิธนี ี้ไดแก การคัดเลือก
สายพันธุพ ริกหวานโดย Casali et al. (1986) ไดใชพันธุท ี่นยิ มปลูกไดแก พันธุ Agronomico
10 G ผสมกับพันธุพริกหวานของบราซิล พันธุ Sao Carlos และ Inoue และพันธุของ
สหรัฐอเมริกา พันธุ Pimiento Perfection ขยายเมล็ดพันธุแบบเมล็ดเดี่ยว (single seed
descent) จนถึงลูกชัว่ ที่ 7 และ 8 จึงคัดเลือก พบวามี 10 สายพันธุท ี่ดี กวา Agronomico 10 G
ในดานความหนาของเนื้อและความยาวของผล

ค. วิธีการคัดเลือกหมู (mass selection)


วิธีการคัดเลือกหมู เรียกชื่อภาษาอังกฤษวา mass selection หรือ bulk-population
method เปนวิธีการที่พฒ ั นาโดย Nilsson-Ehle ในป ค.ศ. 1908 (Briggs และ Knowles. 1967)
โดยมีหลักการที่ผสมพันธุระหวางสายพันธุที่ดี 2 สายพันธุ นําลูกผสม F1 ที่ได ปลูกในแปลง
หลายๆ ชั่วอายุ ทําการคัดเลือกตนโดยเริม่ ทําใน F5 (รูปที่ 17) วิธีการนี้ตรงกันขามกับการ
คัดเลือกแบบบันทึกประวัติ ในชั่วอายุตน F2-F4 เปนการปลูกแบบรวมไมมีการคัดเลือก จํานวน
พืชที่ใชในแตละชั่วอายุก็แลวแตชนิดพืช ความเหมาะสม และงบประมาณของผูท ํา เริ่มทําการ
คัดเลือกตนในชั่วอายุที่ 5 (F5) หรือจะทําการคัดเลือกตนในชัว่ อายุหลังจากนี้ก็ได เชน F7 หรือ
F8 เมื่อเลือกตนที่ตองการจึงปลูกแตละตนแยกกันเชนเดียวกับทีท่ ําในการคัดเลือกแบบบันทึก
ประวัติใน ชัว่ ที่ 2 พันธุที่ไดจากวิธีการนี้เปนพันธุแท (pureline)
นักปรับปรุงพันธุพชื อาจดัดแปลงวิธีการคัดเลือกหมูโดยการปลูกลูกผสมแยกตน แลว
คัดเลือกเฉพาะตนที่ดีรวมกัน ทําเชนนี้ทกุ ๆ ชั่วอายุ วิธกี ารแบบนี้เรียกวาคัดเลือกหมูแบบดัดแปลง
(modified mass selection) วิธีการนี้เหมาะสําหรับการคัดเลือกลักษณะที่มีความสามารถใน
การถายทอดสูง (high heritability)
100

พันธุ A X พันธุ B พันธุ C X พันธุ D - ผสมพันธุ A, B, C, D หรือ


พันธุ A และ B ตาม ตองการ
F1 X F2 - นําลูกผสม F1 มาผสมพันธุก ัน

⊗ ลูกผสม 4 ทาง - ไดลูกผสม 2 ทางหรือ 3 ทาง หรือ 4 ทาง


(double cross hybrid) แลวแตจํานวนพอแมที่ใชผสมตัวเอง

⊗ - ผสมตัวเองของ F2

⊗ - ผสมตัวเองของ F3

⊗ - ผสมตัวเองของ F4

⊗ - ผสมตัวเองของ F5

- แจกเมล็ดเพือ่ นําไปคัดพันธุ
ตามสถานทีต่ างๆ

⊗ ⊗ ⊗ - คัดตนที่ดีไปขยายพันธุโดยผสมตัวเอง

- ทดสอบในสถานที่ตางๆ จนแนใจ
จึงแจกเมล็ดใหกสิกร

รูปที่ 16 วิธกี ารคัดเลือกแบบเมล็ดเดี่ยว (single seed descent, SSD)


101

จํานวนที่ปลูก จํานวนที่คัดเลือก
ตน สายพันธุ ตน สายพันธุ

F1 50 50

F2 5000 5000

F3 5000 5000

F4 5000 5000

………………………..
F5 ………………………. 5000 250
………………………

F6 250 15

F7 ปลูกทดสอบหลายซ้ํา 15 4

F8 - F10 ปลูกทดสอบหลายซ้ํา 4 1

F11 - F12 ขยายพันธุและทดสอบดวย 1 1

รูปที่ 17 แผนผังการคัดเลือกหมู (mass selection) ของลูกผสม เพื่อคัดสายพันธุแทที่ดี


102

ขอดีของวิธีการคัดเลือกหมู ไดแก การที่สามารถปลูกพืชจํานวนมากในแตละชั่วอายุ


ซึ่งเพิม่ โอกาสที่จะไดการรวมตัวของยีนทีด่ ี และเมื่อนําไปปลูกในสภาพที่มีสภาพกดดัน (stress)
เชน อากาศรอน สภาพทีโ่ รคระบาด หรือดินที่มเี กลือสูง ก็เปนการคัดเลือก ตนที่ออนแอก็ตายไป
คงเหลือแตตนที่แข็งแรงในสภาพดังกลาว นอกจากขอดีดังกลาวแลว วิธีการนี้ยงั ใชแรงงานนอย
สามารถผสมไดทีละหลายๆ คู ผสมเพื่อทําการคัดเลือกหมู
การคัดเลือกหมูของพริกในประเทศไทย เริ่มตั้งแต พ.ศ. 2514 โดย ผ.ศ. สมพร ทรัพยสาร
(สุชีลา 2536) ไดทําการคัดเลือกพริกขี้หนูพนั ธุพ ื้นเมืองโดยวิธีการนี้ การคัดเลือกหมูเปนที่นยิ ม
ของเกษตรกร มักมีการคัดเลือกที่กระทํากันในหมูบา น แตเปนการคัดเลือกผลพริกที่ดีเพื่อเก็บทํา
พันธุตอไป พันธุพริกพืน้ บานไดมาโดยวิธกี ารคัดเลือกหมูของผลพริก มากกวาไดโดยการคัดเลือก
ตน อยางไรก็ดีการคัดเลือกโดยกสิกรก็ไดใหพนั ธุพริกพืน้ เมืองที่เหมาะสมกับสภาพสิ่งแวดลอมที่ได
คัดเลือก และใชพันธุเหลานี้ในการปลูกสงตลาด

ค. วิธีการผสมกลับ (backcross method)


การปรับปรุงพันธุโดยวิธีการผสมกลับ นิยมใชกบั พืชผสมตัวเอง เชน มะเขือเทศ พริก
มะเขือ มากกวาพืชผสมขาม เชน ผักกาดขาวปลี ผักกาดหัว และขาวโพดหวาน การผสมกลับ
เปนการยายลักษณะบางลักษณะจากพันธุ A ไปยังพันธุ B โดยทีพ่ นั ธุ B ไมมีการเปลี่ยนแปลง
ทางพันธุกรรมมาก พันธุ A เรียกวาเปนผูใ ห (donor parent) สวนพันธุ B เปนผูร ับ (recurrent
parent) พันธุ B มักเปนพันธุที่ดีอยูแลวแตขาดคุณลักษณะบางอยางที่ควบคุมโดยยีนคูเดียวหรือมี
นอยคูซึ่งสวนใหญก็ไดแกความตานทานโรค เชน สมมุติวา C. chinense สายพันธุ 1555
ตานทานตอโรคไวรัสมันฝรั่ง (PMV) และมียีน et c1 หรือ et c2 ตองการถายทอดยีนนี้ไปยังพริก
หวานพันธุดีพนั ธุ XVR 3-25 (Bassett. 1986) ในสายพันธุ 1555 ยังมียนี ดีที่ควบคุมลักษณะผล
กลม (ยีน O) ผลแกเร็ว ตานทานตอโรคผลเนา และมีผลดก นอกจากนี้ยังตองการถายทอดยีน
ตานทานตอโรคไวรัสแตงกวา (CMV) จากพันธุ Perennial ไปยังพันธุ 1555 ดวย ดังนัน้ การผสม
พันธุตองใชวิธกี ารผสมกลับและวิธีการผสมขาม (รูปที่ 18) โดยผสมขามระหวาง XVR 3-25
และ สายพันธุ 1555 ขยายพันธุจนไดลูกชั่วที่ 2 (F2) จึงคัดพันธุต านทานตอ PMV แลวผสม
กลับไปยัง XVR 3-25 อีก 4 ชั่วอายุ คัดตนที่ตองการ (F2 BC4) ผสมกับตน F2 BC4 ซึ่งไดจากการ
ผสมระหวางพันธุ Perennial และ XVR 3-25 และผสมกลับกับ XVR 3-25 แลว 4 ครั้ง และคัด
ความตานทานตอ CMV แลว ลูกผสมของทัง้ สองสายพันธุถ ูกนํามาขยายพันธุและคัดความ
ตานทานตอ PMV และ CMV จนถึงชั่วที่ 5 แลวจึงขยายพันธุน าํ ไปใชได
ยีนทีถ่ ายทอดจะเปนยีนขมหรือยีนดอยก็ได ดูตามรูปที่ 19 และ 20 ถาหากเปนยีนขมก็
สามารถ คัดเลือกลักษณะที่ตองการและผสมกลับไดทนั ที การผสมกลับอาจทําประมาณ 5 ครั้ง
103

โดยที่สัดสวนของพันธุ A จะลดลงครึ่งหนึง่ ของทุกครั้งทีผ่ สมกลับ จนกระทั่งแทบจะไมเหลือเลยใน


พันธุท ี่ไดใหม ยกเวนยีนขมที่เลือกไว ถาหากตองการลักษณะทีม่ ียนี ดอยควบคุมก็ทําการผสมกลับ
เชนเดียวกับยีนขม แตตองแทรกการผสมตัวเองเขาไปทุกครั้งเพื่อคัดเอาเฉพาะยีนดอยที่ตองการ

การผสมพันธุคูที่ 1 การผสมพันธุค ูที่ 2


XVR 3-25 x C. chinense Acc.1555 Perennial X XVR 3-25

คัดพันธุ ⊗ F1 ⊗ F1 คัดพันธุ
ตาน ตาน
ทาน F2 F2 ทาน
ตอ ตอ
PMV BC1 BC1 CMV

F2BC4 X F2BC4

F1

F2 คัดพันธุตา นทานตอ PMV และ CMV

F3 คัดพันธุตา นทานตอ PMV และ CMV

F4 คัดพันธุตา นทานตอ PMV และ CMV

F5 คัดสายพันธุตา นทานตอ PMV และ CMV

F6 ปลูกทดสอบและขยายเมล็ด

ขยายพันธุใหมแจกกสิกร

รูปที่ 18 การผสมกลับและผสมขามในการปรับปรุงพันธุพริกตานทานตอโรค PMV และ CMV


104

A B
X ตองการถายทอดยีน RR จากพันธุ A ไปยังพันธุ B
RR rr

X BC1 กับ F1
Rr rr

X BC2 กับ BC1 – F1


rr Rr rr
ทิ้ง
X BC3 กับ BC2 – F1
rr Rr rr
ทิ้ง
X BC4 กับ BC3 – F1
rr Rr rr
ทิง้
X BC5 กับ BC3 – F1
rr Rr rr
ทิ้ง

ผสมตัวเอง
rr Rr
ทิ้ง

rr Rr RR
ทิ้ง ทิ้ง นําไปใช

รูปที่ 19 วิธีการผสมกลับ (backcross) กรณีที่ลักษณะ ที่ตองการถายทอดถูกควบคุมโดยยีนขมคู


เดียว
105

A B
X ตองการถายทอดยีน rr จากพันธุ A ไปยังพันธุ B
rr RR
ผสมตัวเอง
Rr

X BC1 กับ F1 ที่ผสมตัวเอง


RR Rr rr RR
ทงิ้ ทิง้ ผสมตัวเอง
Rr

X BC2 กับ BC1 F1 ที่ผสมตัวเอง


RR Rr rr RR
ทิ้ง ทิง้ ผสมตัวเอง
Rr

X BC3 กับ BC2 F1 ที่ผสมตัวเอง


RR Rr rr RR
ทิ้ง ทิง้ ผสมตัวเอง
Rr
X BC4 กับ BC3 F1ที่ผสมตัวเอง
RR Rr rr RR
ทิ้ง ทิ้ง ผสมตัวเอง
Rr

RR Rr rr
RR Rr rr
ทิ้ง ทิง้
นําไปใช
รูปที่ 20 วิธีการผสมกลับ (backcross) กรณีที่ลักษณะ ที่ตองการถายทอดถูกควบคุมโดยยีนดอย
คูเดียว
106

ตัวอยางของวิธีการผสมกลับเพื่อปรับปรุงพันธุพริกอีกตัวอยางหนึง่ ไดแก การปรับปรุงพันธุ


พริกพืน้ เมือง C. chinense ซึ่งมีความตานทานโรคใหมีลักษณะผลและคุณภาพผลเหมือนพริก
หวาน C. annuum (Cheng. 1988) สายพันธุ AMA 3 เปนพริกพื้นเมืองของบราซิล จัดอยูใน
ชนิด C. chinense ตานทานตอโรคไวรัส PVY สามารถเจริญในที่แถบรอนชืน้ ของอเมริกาใต
ไดเปนอยางดี สามารถใหผลผลิตพริกสูงในที่ๆ ไมไดใหปุยหรือฉีดยาเลย และไมเคยพบโรคใบจุด
(anthracnose spot) ในพันธุนี้ ผลมีรสหวานมีคา Brix สูง 4.5-6.5 ํ แตผลของพริกเล็กกวาพริก
หวาน (C. annuum) และมีรูปรางผลเปนรูปกรวย (imperfect conic) จึงยังไมเปนทีน่ ิยมเทาพริก
หวานและราคาก็ไมดีเทา จึงตองการปรับปรุงผลิตพันธุน ี้โดยใชยนี จาก C. annuum พันธุ
California Wonder และ Miyoshi เพื่อใหมีคุณสมบัติของผลเหมือนพริกหวาน แตมีความ
ตานทานตอโรคในแถบรอนและชื้นและออกดอกผลตลอดปเหมือนพันธุ AMA 3 ลูกผสมชั่วที่หนึ่ง
(F1) ระหวางพันธุ California Wonder และ AMA 3 มีผลขนาดโต กวา AMA 3 สองเทาตัว (รูปที่
21) มีรสเผ็ด แมวาทัง้ พอและแมพันธุมีรสหวาน ติดเมล็ดมากไมวา AMA 3 เปนพอหรือเปนแมก็
ตาม แตถา ใช California Wonder เปนแมพันธุจะมีเมล็ดติดมากกวา อยางไรก็ดีเมล็ดลูกผสม
ไมงอกเสียสวนใหญ ทั้งนี้เพราะเปนลูกผสมที่พอและแมตา งชนิดกัน (interspecific
hybridization) ทําการผสมกลับไปยัง AMA 3 อีก 3 ครั้งคัดเลือกตนที่มีความตานทานโรคผลโต
เนื้อผลหนา สีและรูปรางเหมือนพริกหวานและใหผลในชวงระยะเวลายาว ทําการคัดเลือกได 2
สายพันธุ นําไปผสมกับพริกหวานลูกผสม Miyoshi พบวาลูกผสมมีนา้ํ หนักผลเปน 2 เทาของ
AMA 3 มีรูปรางผลเหมือนพริกหวาน แตคงลักษณะของ AMA 3 ที่มีผลผลิตสูง อายุยาว และ
ไมมีโรคใบจุดหรือโรคไวรัสเลย ดังนัน้ จึงคัดพันธุจากกลุมดังกลาวเพือ่ ปลูกในประเทศบราซิล
107

California Wonder X AMA 3


(C. annuum) (C. chinense)
F1 X AMA 3

ผสมกลับ
X AMA 3 BC1

ผสมกลับ
X AMA 3 BC2

ผสมกลับ
X AMA 3 BC3

ผสมกลับ
X AMA 3 BC4

Miyashi X

ผสมตัวเองและคัดเลือก

ผสมตัวเองและคัดเลือก

พันธุพริกที่ดี

รูปที่ 21 แผนการปรับปรุงพันธุพริก พริกหวานโดยใช C. chinense และ C. annuum


พันธุพ ริกที่ดี
108

จ. วิธีการผสมผสานของการคัดเลือกสายพันธุ และการคัดเลือกหมู
การปรับปรุงพันธุโดยวิธนี ี้เปนการนําเอาวิธกี ารคัดเลือกสายพันธุแบบบันทึกประวัติในขอ
ก. มาใชในการคัดเลือกสายพันธุ และในชั่วอายุหลังๆ ทําการคัดเลือกหมูดงั ไดอธิบายไวในขอ ค.
ตัวอยางการปรับปรุงพันธุพริกโดยวิธกี ารนี้ ไดแก การปรับปรุงพันธุพริกขี้หนูเม็ดใหญ พันธุหว ยสี
ทน 1 โดย นายบรรจง สิกขะมลฑลและคณะ (กรมวิชาการเกษตร 2519) ไดปรับปรุงพันธุพริกขี้หนู
โดยใชวิธีการคัดเลือกสายพันธุแบบบันทึกประวัติใน พ.ศ. 2516 คัดเลือกได 200 สายพันธุแลว
นํามาปลูกแบบตนตอแถว ทําการผสมตัวเองของตนที่คดั เลือก นําเมล็ดที่ผสมตัวเองภายในตน
เดียวกันมาปลูกเปนกลุม สายพันธุละ 600 ตน แลวคัดเลือกกลุมที่ดีนาํ ไปปลูกแลวจึงทําการ
คัดเลือกหมู จนไดพันธุที่ดีเพื่อทดสอบเปรียบเทียบกับพันธุพ นื้ เมืองในสถานที่ตางๆ จึงขอรับการตั้ง
ชื่อรับรองพันธุว า หวยสีทน 1

ฉ. วิธีการคัดเลือกแบบวงจร (recurrent selection)


การปรับปรุงพันธุโดยวิธีการคัดเลือกแบบวงจร หมายถึง การคัดเลือกในชั่วอายุหนึง่ ๆ
และมีการผสมพันธุระหวางสายพันธุท ี่คดั เลือกแลวใหมกี ารรวมตัวของยีนภายในประชากรนั้นๆ
เพื่อใหมีความถี่ของยีนที่ดีมารวมกันมากขึน้ การคัดเลือกและการผสมพันธุจ ะกระทําซ้ําอีกจนกวา
จะไดพันธุใหมที่ดี วิธีการนี้เปนการคัดพันธุผสมเปด การคัดเลือกแบบนี้เปนวงจรโดยธรรมชาติ
เพราะกระทําซ้ําๆ กัน อาจกลาวไดวาทุกระบบของการคัดเลือกแบบนีป้ ระกอบดวย
ก. การประเมินพันธุแ ละผสมตัวเองของตนที่คัดเลือกแลว
ข. การผสมขามระหวางตนที่ผสมตัวเองแลวซึง่ คัดเลือกมา ทุกพันธุผสมกัน
(all possible combination) แลวรวมเมล็ดพันธุจ ากคูผสมแตละคูเทาๆ กัน เพื่อนําไป
ปลูก
ค. ทําขั้นตอน ก และ ข ซ้าํ อีก
วิธีการปรับปรุงพันธุน ี้ใชไดกับพืชที่ผสมตัวเอง เชน มะเขือเทศ พริก มะเขือหรือใชกับพืช
ที่ผสมขาม เชน ขาวโพดหวาน ขาวโพดฝกออน
การดําเนินวิธกี ารแบบวงจรนี้ ทําไดโดยนําพันธุที่ตองการปรับปรุงปลูกและคัดเลือกตนที่
ดี ในขณะเดียวกันก็ทาํ การผสมตัวเองของตนที่คัดเลือกไว (รูปที่ 22) นําเมล็ดจากตนที่ผสมตัวเอง
มาปลูกและผสมแบบเจอกันหมด แลวเริม่ ตนวงจรใหม ดังนัน้ วงจรหนึง่ ใชเวลาประมาณ 2 ชั่ว
อายุ และอาจทําการคัดเลือกแบบนี้ซ้ําๆ กันหลายๆ ครั้งก็ได พันธุท ี่ไดเปนพันธุท ี่เรียกวา
synthetic เนือ่ งจากเปนการผสมรวมของหลายๆ สายพันธุ การปรับปรุงพันธุวธิ กี ารนีน้ อกจากจะ
ใชปรับปรุงลักษณะทางพืชสวน เชน ผลผลิต รูปรางผล ขนาดผล และอื่นๆ แลวยังใชในการ
ทดสอบความสามารถที่รวมกับสายพันธุอนื่ ทั้งแบบไมเฉพาะเจาะจง (general combining
109

มชั่วที่ 1 (F1 hybrid) หรือพันธุ

ใช

น ง

ที่ 1 OOOOOOO ปลูก คัดเลือกตนที่


ดี และผสมตัวเอง

ปที่ 2 นําเมล็ดที่ผสมตัวเอง
จากตนที่ดีมาปลูกเปน
แถว และผสมพันธุแบบ
เจอกันหมด
รอบที่ 2
ปที่ 3 OOOOOOO ปลูก คัดเลือกตนที่
ดี และผสมตัวเอง

ปที่ 4 นําเมล็ดที่ผสมตัวเอง
จากตนที่ดีมาปลูกเปน
แถว และผสมพันธุแบบ
เจอกันหมด
รูปที่ 22 การคัดเลือกแบบวงจร (recurrent selection)
110

ช. วิธีการปรับปรุงพันธุล กู ผสม
การใชเมล็ดพันธุลูกผสมของพริก (hybrid seed) นิยมใชในตางประเทศ เชน
สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปนุ และไตหวัน พันธุลูกผสมสวนใหญเปนพริกหวาน สวนพริกเผ็ดมีนอย
เนื่องจากประเทศเหลานัน้ นิยมบริโภคพริกหวานเปนหลัก สําหรับประเทศไทยใชพริกเผ็ดเปน
สวนใหญ ตลาดพริกหวานมีนอยมาก พันธุพริกหวานสั่งเขาจากตางประเทศทั้งหมด สวนพริกเผ็ด
ที่ใชเปนพันธุผสมเปดแทบทัง้ หมด กสิกรเปนผูคัดเลือกบาง หนวยงานของรัฐบาลแจกจายบาง
หรือบริษัทเมล็ดพันธุจัดจําหนายบาง แตแนวโนมของการใชลกู ผสมพริกเผ็ดไดเริ่มขึ้นโดย
บริษัทหลายแหงทําการปรับปรุงพันธุพริกลูกผสมออกจําหนาย ในอนาคตความตองการพริก
ลูกผสมอาจมีสูง ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อกสิกรเริ่มมีความเขาใจและไดทดลองใชพนั ธุเ หลานี้ ทั้งนีเ้ นื่องจาก
พริกลูกผสมใหผลผลิตสูงกวาพันธุแทมีความสม่ําเสมอมากกวาและอาจมีขอดีในแงความตานทาน
โรค ลูกผสมพริกนิยมใชลกู ผสมชั่วที่หนึ่ง (F1 single cross hybrid) โดยใชยีนตัวผูเ ปนหมันในรูป
ของ genic male sterility หรือ cytoplasmic genic male sterility ก็ได แตตนทุนการผลิต
เมล็ด ลูกผสมชั่วแรกคอนขางสูงเนื่องจากผลผลิตของเมล็ดพันธุแทใหผลผลิตต่ํา ดังนั้นอาจ
หลีกเลี่ยงไดโดยใชพันธุลูกผสมสามทาง (three way cross) หรือลูกผสมสี่ทาง (double
cross) เพื่อลดตนทุนการผลิตเมล็ดลูกผสม แตลูกผสมสองวิธีหลังนี้มีคุณสมบัตไิ มดีเทาลูกผสม
ชั่วทีห่ นึง่ แตราคาเมล็ดพันธุถ ูกกวา
วิธีการดําเนินงานในการปรับปรุงพันธุลูกผสมชั่วที่หนึ่งทําไดโดย ทําการทดสอบหา
ความสามารถในการรวมตัวกับพันธุผสมเปด ซึ่งเรียกวาความสามารถในการรวมตัวทั่วไป
(general combining ability) ซึ่งใชประโยชนในการปรับปรุงพันธุรวม (synthetic variety) หรือ
ทดสอบหาความสามารถในการรวมตัวกับพันธุแท ซึ่งเรียกวาความสามารถในการรวมตัวแบบ
เฉพาะเจาะจง (specific combining ability) ซึ่งใชประโยชนในการปรับปรุงพันธุล ูกผสมเทานัน้
ความสามารถในการรวมตัวนี้เปนการชี้ใหเห็นวาพันธุทตี่ องการปรับปรุงนั้น เมื่อนําไปผสมพันธุก บั
พันธุอนื่ ลูกผสมที่ไดมีแนวโนมที่ใหผลผลิตและคุณสมบัติอื่นๆ ดีกวาพอแมหรือไม หากมี
คุณสมบัติที่ดีกวาก็นาํ พอแมพันธุมาผสมตัวเองจนกระทั่งพอแมพนั ธุเ ปนพันธุแทหรือพันธุบริสทุ ธิ์
แลวจึงผสมระหวางพอและแมพันธุเพื่อใหไดลูกผสมชั่วที่ 1 (รูปที่ 23)
111

AX B AXB AX D AX E - ทํา testcross ระหวาง


พันธุ A – พันธุแทหรือพันธุ
F1 F1 F1 F1 ผสมเปด และพันธุ
ขั้อนตอนที่ 1 B, C, D, E. – พันธุลูกผสม
ซ้ํา 1 ซ้ํา 2 ประเมินพันธุ F1 2 ซ้ํา
F1 A X B F1 A X C F1 A X D F1 A x E - ผลการประเมิน
ดี ดี ไมดี ไมดี
_______________________________________________________________________________
A B C - นําพันธุ A,B,C ผสมตัวเอง
การผสมตัวเองนัน้ เริ่มทําได
ขั้นตอนที่ 2 A B C พรอมๆ กับขั้นตอนที่ 1 ถา
หากมีแรงงานมากพอ แตถา
A B C ตองการประหยัดแรงงาน
ควรทําหลังจากประเมิน
B C พันธุ F1 เสร็จ
- พันธุ A ผสมตัวเอง เพียง
B C สองครั้งก็เพียงพอ ถาพันธุ
A เปนพันธุแท แตถาเปน
พันธุลกู ผสมเปด ควรผสม
ตัวเองประมาณสี่ครั้ง
_______________________________________________________________________________
A B C – ผสมพันธุ A, B, C ดวยกัน
ขั้นตอนที่ 3 A X X
B X X
C X X

ประเมินพันธุลูกผสม F1

คัดเลือกลูกผสมที่ดีทดลองหลายสถานที่

ขยายพันธุคูผสมที่ดแี จกกสิกร
รูปที่ 23 การปรับปรุงพันธลูกผสมพริก (F1 hybrid) จากพันธุแท พันธุผสมเปดและพันธุลูกผสม
112

ผูเขียนไดเริ่มปรับปรุงพันธุพ ริกลูกผสม ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหมตงั้ แต พ.ศ. 2530 โดย


นักศึกษาปริญญาโท ไดรวบรวมพันธุพ ริกพื้นเมืองและพันธุพริกตางประเทศเทาที่หาได นํามา
ประเมินผลตามวิธีการของศูนยรวบรวมพันธุพชื IBPGR (มงคล 2531) และนําพันธุพริกทีใ่ ห
ผลผลิตดีในสภาพแปลงปลูก ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม ทําการ testcross ดังนี้
ก. ขั้นตอนที่ 1 ของรูปที่ 23 โดยใชพนั ธุเบอร 92 ซึ่งเปนพันธุพ ริกพืน้ เมืองของทาง
เหนือเรียกวาพริกหนุม ภาคกลางเรียกพริกประเภทนีว้ า พริกใหญ ซึง่ มีหลายชื่อ เชน พริกมัน พริก
บางชาง พริกดอนยางหรือพริกสันปาตอง พริกพวกนี้จดั อยูในกลุมของ Cayenne group ใชพันธุ
เบอร 92 เปนพอพันธุ ผสมกับพันธุพ ริกที่เลือกจากพันธุท ี่รวบรวมโดยเลือกเฉพาะประเภทพริก
ใหญเทานัน้ วิธกี ารนีเ้ ปนการหาความสามารถในการรวมตัวทัว่ ไปของพันธุพริกตางๆ (general
combining ability) พันธุพริกลูกผสมเหลานี้เมื่อนําไปปลูกเพื่อประเมินผล พบวา พันธุพริกเหลานี้
แสดงความแตกตางกันในความสามารถในการรวมตัวทั่วไป (ตารางที่ 8) เชน พันธุไตหวัน (68)
และพันธุน า น (171) มีความสามารถในการรวมตัวทั่วไปดีกวาพันธุอนื่ เนื่องจากผลผลิตสด
ของลูกผสมสูงกวาผลผลิตเฉลี่ยของพอแมพันธุถงึ 336 และ 359.7%ตามลําดับ และผลผลิตแหง
ของลูกผสมสูงกวาผลผลิตเฉลี่ยของพอแมพันธุถงึ 253.7 และ 262.8% ตามลําดับ ความสามารถ
ที่แสดงนีห้ มายถึงแนวโนมทีจ่ ะใชพนั ธุดังกลาวเปนพอหรือแมพันธุ เพราะมีความสามารถในการ
รวมตัวกับพันธุอื่นไดดี
ข. ขั้นตอนที่ 2 ในการปรับปรุงพันธุลูกผสม ไดแก การนําพันธุไตหวัน (68) พันธุ
นาน (171) และพันธุสนั ทราย (92) นํามาปลูกเพื่อผลิตสายพันธุแ ท โดยผสมดอกภายในตน
เดียวกัน ประมาณ 2-3 ครั้ง เมล็ดพริกที่ไดจะมียีนที่มีความสม่ําเสมอ (homozygous) ใน
เปอรเซ็นตที่สงู มาก เมื่อไดพันธุแทแลวจึงดําเนินการตามขั้นตอนที่ 3 ตอไป
ค. ขั้นตอนที่ 3 นําพันธุพ ริกพันธุแททงั้ สามพันธุ ผสมแบบเจอกันหมด (cross
combination) แลวจึงนําเมล็ดลูกผสมที่ไดปลูกเพื่อประเมินผลผลิต และความตานทานโรค
วิธีการที่แนะนําขางตนไมไดเนนการปรับปรุงพันธุเ พื่อความตานทานโรค แตเปนการ
ปรับปรุงผลผลิตและคุณภาพ หากตองการความตานทานโรค ตองเริ่มตนโดยใชพอแมพนั ธุท มี่ ี
ความตานทานโรคซึ่งอาจไดมาโดยการใชวิธีการผสมกลับ (backcrossing method) เพื่อหาพันธุ
แทที่มีความตานทานโรค แลวจึงนํามาทดลองในขั้นตอนที่ 1 เพื่อหาความสามารถในการรวมตัว
กับพันธุอื่น แลวจึงจะดําเนินการในขั้นตอนที่ 2 และ 3
113

ตารางที่ 8 ผลผลิตพริกสดและพริกแหงของลูกผสมขามพันธุ พอและแมพันธุพริก

ผลผลิตเฉลี่ยตอตน (กรัม) % ผลผลิตลูกผสม


พันธพุ ริก เปรียบเทียบกับพอแมพนั ธุ
น้ําหนักสด น้ําหนักแหง น้ําหนักสด น้ําหนักแหง
เชียงใหม (2)1 89.90 21.52 100 100
สันทราย (92) 156.60 24.69 100 100
(2) x (92) 325 71.88 263.72 311.13
กําแพงแสน (45) 153.13 22.65 100 100
(45) x (92) 330 68.87 213 304.1
เกาหลี (60) 95 19.05 100 100
(60) x (92) 275 60.57 219 298.7
ไตหวัน (67A) 125 29.33 100 100
(67A) x (92) 398.47 76.44 283 300.6
ไตหวัน (68) 128.57 21.00 100 100
(68) x (92) 621.68 75.19 436 353.7
ไตหวัน (69A) 164.29 25.00 100 100
(69A) x (92) 249.41 73.74 155.5 317
ไตหวัน (69E) 148.50 30.00 100 100
(69E) x (92) 306.13 54.18 200.7 210.3
แมแตง (70B) 188.57 41.00 100 100
(70B) x (92) 310.33 74.59 179.8 238.6
แมแตง (70C) 433.33 54.00 100 100
(70C) x (92) 405.43 64.43 137.5 170.6
แมแตง (76) 449.50 55.00 100 100
(76) x (92) 921.50 144.03 304.1 378.7
นาน (171) 285.71 51.76 100 100
(171) x (92) 1,016.60 138.68 459.7 362.8
114

ผลผลิตเฉลี่ยตอตน (กรัม) % ผลผลิตลูกผสม


พันธุพ ริก เปรียบเทียบกับพอแมพนั ธุ
น้ําหนักสด น้ําหนักแหง น้ําหนักสด น้ําหนักแหง
หางดง (195) 90.30 23.47 100 100
(195) x (92) 396.90 78.75 321.5 327.0
หางดง (196) 190.69 37.00 100 100
(196) x (92) 487.90 86.32 281 279.9
1
ตัวเลขในวงเล็บเปนหมายเลขพันธุ
2
% น้ําหนักสด คํานวณจากสูตร

น้ําหนักสดของลูกผสม
X 100
(น้ําหนักสดแมพนั ธุ + น้ําหนักสดพอพันธุ)
2

3
% น้ําหนักแหงคํานวณจากสูตร

น้ําหนักแหงของลูกผสม
X 100
(น้ําหนักแหงแมพนั ธุ + น้ําหนักแหงพอพันธุ)
2
115

การทดสอบความสามารถในการรวมตัวทัว่ ไป (general combining ability) และการ


รวมตัวเดน (heterosis) ไดทดสอบในพริกหวาน (C. annuum) โดย Kaul and Sharma. 1988
ใชพันธุพ ริกตางๆ 12 พันธุ ผสมกับพันธุทดสอบ (tester) 2 พันธุ ไดแก พันธุ California Wonder
และ Yolo Wonder เมื่อปลูกเมล็ดพันธุล ูกผสมเปรียบเทียบกับพอและแมพันธุ พบวาการรวมตัว
เดนสําหรับผลผลิตตอตนในคูผสม Sweet Banana x California Wonder, Osh Region x
California Wonder และ HC 201 x California Wonder มีคาการรวมตัวเดนมากกวาพอหรือแมที่
ดี 34, 33.1 และ 25% ตามลําดับ สําหรับพันธุ HC 201, Sweet Banana, Selection 4 และ
Osh Region แสดงการรวมตัวเดนเฉพาะความยาวของผล แตสําหรับความกวางของผลพันธุ
Early Prolific ดีกวา เมือ่ ดูความสามารถในการรวมตัวทัว่ ไปของพันธุ California Wonder มี
จํานวนผลตอตนและผลผลิตตอตนเทานัน้ ที่เห็นเดนชัด
Bhagyalakshmi, et al. (1991) ไดทดสอบความสามารถในการรวมตัวทัว่ ไป
ความสามารถในการรวมตัวเฉพาะเจาะจง (specific combining ability) และการรวมตัวเดน
(heterosis) ของพริกหวาน 6 พันธุ ลูกผสม LCA 206 x LCA 960 และ LCA 206 x LA 1079
มีความสามารถในการรวมตัวเฉพาะเจาะจงสูงที่สุดสําหรับผลผลิตและพันธุ LCA 960, LCA 206
และ G4 มีความสามารถในการรวมตัวทัว่ ไป สําหรับผลผลิตตอตนและลักษณะอืน่ ๆ ที่เกีย่ วของ
กับผลผลิต
จะเห็นไดวาการทํา testcross หรือ topcross มีประโยชนในการบอกคุณสมบัติวาพันธุ
นั้นๆ สามารถรวมตัวกับพันธุอนื่ ไดดีหรือไม และใชเปนแนวโนมสําหรับการจัดคูผสมเมื่อสราง
พันธุแทของพอและแมพันธุไ ด
การปรับปรุงพันธุลูกผสมนอกจากจะมีการผสมขามพันธุ ดังตัวอยางที่แสดงขางตนแลว
ยังมีการผสมขามชนิด (interspecific hybridization) เพื่อจุดประสงคในการนํายีนที่มีประโยชน
จากพริกชนิดอื่นมาใช เชน การปรับปรุงพันธุพริกที่มีคุณภาพดี มีความตานทานตอโรคไวรัส
ใหผลพริกโต ผลผลิตสูงและใหผลผลิตเร็ว (Stevanovic, et a/. 1992) แตการผสมพันธุขามชนิด
มักมีปญหาเกีย่ วกับการผสมพันธุไมติด จากการทดสอบการผสมขามชนิดโดยผูเขียนและ
นักศึกษาปริญญาโท ไดผสมพันธุพริก C. annuum, C. chinense และ C. baccatum ใหผล
ตามตารางที่ 9 (มงคล 2531) ผลการผสมพันธุข ามชนิดที่ไดมีความแตกตางจากผลงานของ
Pickersgill. 1980 เล็กนอย ลูกผสม C. annuum และ C. chinense ผสมกันไดผลดีถาใช C.
chinense เปนตัวเมีย แตถา C. annuum เปนตัวเมียไมสามารถผสมกันไดดี ผสมไดเพียง 65%
แตจากผลงานของ Pickersgill. 1980 รายงานวาพริกทั้งสองชนิดนี้ผสมติดเปนบางสวนเทานัน้
ไมวาจะใชพริกชนิดใดเปนตัวเมียก็ตาม การผสมระหวาง C. annuum และ C. baccatum
ถาใช C. annuum เปนตัวเมียผสมได 100% แตถาใช C. baccatum เปนตัวเมียผสมกันไดเพียง
116

m
_______________________________________________________________________________
พันธุ % การผสมตัวเอง % การผสมขา ม
_______________________________________________________________________________
C. annuum 99.15
C. chinense 80.00
C. baccatum 87.75
C. annuum1 x C. chinense2 65.00
C. annuum x C. baccatum 100.00
C. chinense x C. annuum 100.00
C. chinense x C. baccatum 100.00
C. baccatum x C. annuum 80.00
C. baccatum x C. chinense 66.67
_______________________________________________________________________________
1
ชื่อแรกเปนตัวเมีย
2
ชื่อหลังเปนตัวผู

ลักษณะเดน (heterosis) อันเนื่องมาจากการใชลูกผสม นิยมใชมากในการผลิตพันธุพริก


เปนการคา เชน การปรับปรุงพันธุพริกเผ็ดโดยใชการรวมตัวเดน (Singh. 1987) พบวาลูกผสมพริก
เผ็ดบางคูสามารถใหผลผลิตพริกสด 70.9% มากกวาพันธุพอ และ 235.7% มากกวาพันธุ
มาตรฐาน การเดนดังกลาวมีในรายงานของ Mak. 1987, Subodh. 1987 และ Kordus. 1991
การแสดงออกของยีนในพริกยักษ (C. annuum) พบวา ยีนที่ควบคุมความสูงของตนและ
น้ําหนักผล พบวา เปนยีนเดน (dorminant) เปนสวนใหญ (Blank และ Maluf. 1997) และการ
คัดเลือกสายพันธุท ี่มีความสามารถในการรวมตัว (combining ability) สําหรับลักษณะดังกลาว
117

สามารถทําไดในประชากร POP 1) ของพันธุ Ikeda ซึ่งใชเปนตัวทดสอบที่ดีสําหรับยีนที่ควบคุม


ความสูงและจํานวนวันกอนออกดอก (days to flower) พันธุนมี้ ียนี เดนสําหรับน้ําหนักผล และ
ผลผลิต สวนประชากร (POP 2) ของพันธุ Linda มียนี เดน สําหรับความสูงของตนและจํานวนวัน
กอนออกดอก และใชเปนพันธุทดสอบที่ดขี องยีนควบคุมน้ําหนักผลและผลผลิต ลักษณะการออก
ดอกเร็ว (early flowering) สวนลักษณะน้ําหนักผลถูกควบคุมโดยยีนดอย

ตารางที่ 10 ยีนของพริก (Bassett. 1986)


เครื่องหมาย ลักษณะ
ยีนควบคุมสี
A Anthocyanin : ยีนใหสีมว งที่ ใบ กิง่ ดอก และผล การขมไมสมบูรณ ใหสีมวง
เมื่อมียนี MoA ตําแหนงอยูท ี่ trisomic RO; A-6.5-0-18.8-swl ซึ่ง link กันใน
C. annuum (ไมมี anthocyanin)
al-1 to al-5 Anthocyaninless (ไมมี anthocyanin) : มีขอสีเขียว เกสรตัวผูสีเหลือง สําหรับ
al-1 แต al-5 มีสีมวงจางตามเสน มีผล epistatic ตอ A, As และ Asf และยีน
ทั้งหมดเปน nonallelic ซึ่งกันและกนั
As (P) Style anthocyanin (anthocyanin) ของกานเกสรตัวเมีย : ใหสีมวง ถาไมมยี ีน
A หรือ Asf
Asf (W) Style and filament anthocyanin (anthocyanin ของกานเกสรตัวเมียและตัว
ผู) : ใหสีมว ง ถาไมมียนี A
B B-carotene : มีมากในผลพริกที่มผี ลสุกเต็มที่ (interact) กับยีน t ถาตองการ
แคโรทีนสูงขึนในผลพริ
้ กสุก
c1 (c) Carotenoid pigment inhibitor (ตัวยับยัง้ carotenoid) : ลดสีแดงในผลพริก
สุก 1/10 เทา
c2 (c1) Carotenoid pigment inhibitor (ตัวยับยัง้ carotenoid) : ลดสีแดงในผลพริก
มากกวายีน c1 ยีนทัง้ สองมผี ล (interact) กับยีน y และ y+ (สีแดง) ใหสีผลสี
แดงจนถึงสีงาชาง
c1 (g) Chlorophyll retainer in mature fruit (ยีนที่ทาํ ให chlorophyll คงคางอยูในผล
พริกสุก) ยีนนี้เมื่อรวมกับ y+ หรือ y ผลสุกมีสีน้ําตาลหรือเขียวออนตามลําดับ
im Intermediate maturity ของสีมวง ในผลทีไ่ มมีสีมวง
Mo A(B) Modifier of A (ตัวดัดแปลงยีน A) : สีมวงเขมขึ้น ถามียนี A เปนลักษณะขมไม
สมบูรณ อยูทโี่ ครโมโซมของ trisomic BR
118

เครื่องหมาย
sw1-swn Sulfury white immature fruit color (ผลออนสีขาวเหลือง) : เปนยีนควบคุมสี
เขียว shade ตางๆ หลายๆ ยีน รวมกันมีผลตอลักษณะแบบเพิม่ เทาตัว
(duplicate) หรือรวมตัว (accumulative) อยูในกลุมเดียวกัน (linkage group)
A-6.5-0-18.8-sw1
t High B carotene content (ระดับ B carotene สูง) : มีผลสงเสริม
(complementary) กับยีน B
y(r) Yellow or orange mature fruit color (ผลสุกสีเหลืองหรือสีสม) อยูที่
โครโมโซม trisomic IN
ys Yellow spot (จัดสีเหลือง) : จุดสีเหลืองที่กลีบดอกของ C. pendulum
ลักษณะยีนขม (monogenic dominant) ในการผสมขามชนิดกับ C. annuum,
C. chacoense, C. chinense, และ C. frutescens
yt1, yt2 Yellow top (ยอดสีเหลือง) : ใบออนสีเหลืองและคอยๆ เขียว

ยีนตานทานโรคและไสเดือนฝอย
Bs1 Bacterial spot resistance : ตานทานตอ X. campestris pv. vesicatoria
race 1 ใน C. chacoense PI 260435
Bs2 (Bs) Bacterial spot resistance : ตานทานตอ race 2 ของ pv. Resicatoria ใน
C. annuum PI 163192
eta Tobacco etch virus (TEV) resistance : ตานทานตอ TEV ใน C. annuum
พันธุ Cayenne SC 46252 และ PI 264281 ลักษณะขมยีน ya และเปนยีนคู
ดวย (allelic with ya)
*etav Resistance in Avelar to TEV และ PVY : ทนทานตอ PMV และ TEV-S
ลักษณะขมยีน eta และ ya และเปนคูดวย (allelic with eta and ya)
*etc1 Resistance to PMV and TEV-C : ตานทานตอ PMV และ TEV-C ใน
C. chinense PI 159236 เปนคูกับ etav (allelic with etav) เมื่อรวมกับยีน etav
เปน etav/etc1 มีผลทําใหออนแอตอ PMV
etc2 Resistance in C. chinense PI 152225 to PVY, PMV, และ TEV-S
(etc, etf) (ตานทานตอ PVY, PMV, และ TEV-5 ใน C. chinense PI 15225 : มียีนตางๆ
ตอไปนี้ etc2 > etc1 > etav > eta > ya
119

เครื่องหมาย
L3 Localization of pepper strains of TMV in C. chinense (ตําแหนงของยีน
TMV ใน C. chinense) : มียีนตางๆ ดังนี้ L3 > L2 > L1 > L+
L2(L) Localization of common strain of TMV in C. frutescens (cv. Tabasco)
and in certain cvs. of C. annuum (ตําแหนงของยีน TMV ใน C. frutescens
(cv. Tabasco) และในบางพันธุของ C. annuum) : พบใน C. baccatum
vars. pendulum และ microcarpum
L1 Imperfect localization of TMV (ตําแหนงของยีน TMV ที่ไมชัดเจน) พบใน
(L1L1) C. annuum เปนยีนขมไมสมบูรณ (incomplete dominance) ของ L2/L+ ที่มี
ตอบางสายพันธุของ TMV เปนผลใหมจี ุดสีเหลืองทีพ่ ริกโดยเฉพาะที่อุณหภูมิ
สูง ยีนมีตาํ แหนงที่โครโมโซม trisomic BR
N Root-knot nematode resistance to M. incognita and M. incognita race
acrita : ตานทานตอไสเดือนฝอยชนิด M. incognita และ M. incognita
สายพันธุ acrita
V1, V2 Veinbanding virus resistance (ตานทานโรคไวรัสทอน้ําทออาหาร) : ยีนทัง้
สองควบคุมปฏิกิริยา 4 แบบ ตอโรคไวรัส ซึ่งยีน V1/V1 และ V2/V2 เทานั้นที่
ตานทาน ความตานทานนีพ้ บในบางสายพันธุของ C. chinense,
C. frutescens, C. pendulum และ C. pubescens

ยีนความคุมสัณฐานวิทยา (mophology)
ca Canoe : ปลายใบเลี้ยงและใบจริงมวนขึ้น มองเห็นใตใบ
*dw1 Dwarf (แคระ) : ตนแคระประมาณ 6 นิ้ว และลดความสามารถในการสืบพันธุ
(fertility) ของตัวเมียลง
dw2 (dw) Dwarf warf (แคระ) : ตนแคระประมาณ 4-6 นิ้ว มีจํานวนขอปกติ 8-10 ขอ ได
จากการผสมระหวาง C. baccatum var. pendulum x C. annuum
fa Fasciculate (ทรงพุม ) : ดอกและผลเปนกลุม มีขอหลายขอติดกัน
(compound node) ตนเปนทรงพุม มีแนวโนมที่ไมทอดยอด (determinate)
fi1 Filiform threadlike leaves (ใบเปนเสน) : กนของผล (blossom) มีรูปรางไม
(fi mutant1) แนนอน ตัวเมียมีความสามารถในการสืบพันธุ (fertile)
fi2 เหมือน fi1 : ใบเลี้ยงและใบจริงแคบ กลีบดอกเปนเสน ชองรังไข (carpel) ไม
รวมกับยอดเกสรตัวเมีย (pistil) ตัวเมียเปนหมันแทบทั้งหมด
120

เครื่องหมาย ลักษณะ
Fr Frilly (หยัก) : ปลายใบหยัก
(H1) H Hairless stem in C. annuum var. munimum (Blanco) (กิ่งไมมีขนใน
C. annuum var. minimum (Blanceo)) : ยีนไมมีขน ขมลักษณะ กิ่งมีขนใน
cv. Golden Dawn แตมีรายงานวาใน C. annuum อื่น ลักษณะมีขนขม
ลักษณะไมมีขนในอัตรา 15 : 1 (digenic inheritance) ดังนัน้ กิง่ กาน และใบ
แสดงลักษณะไมมีขนในระดับตางๆ กัน
O Oblate or round fruit shape in C. annuum and C. chinense (ผลรูปไข
หรือผลกลมใน C. annuum และ C. chinense) : ยีนผลรูปไขหรือกลม ขม ผล
รูปยาว อยูในกลุม (linkage) A-6.5-0-18.8-sw1
P (D) Pointed fruit apex (ปลายผลแหลม : ยีนปลายผลแหลม ขมยีนปลายผลมน
แบบไมสมบูรณ (incompletely dominant)
pc1, pc2, pc3 Polycotyledon (ใบเลี้ยงมาก) : ตนกลามีใบเลี้ยง 2-4 ใบ และลําตนแตกหลาย
กิ่งไมแตกกิง่ เปนคูๆ (pseudo-dichotomous) การพัฒนาของกานไมเทากัน
(unequally developing shoots) nonallelic ตอกัน
r1 Roundleaf (ใบกลม) : ความยาวของใบลดลง แตความกวางไมลด อัตราสวน
ความยาว/ความกวาง จาก 1.50 เปน 1.24
ru Rugose or savoyed mature leaves (ใบที่เจริญเต็มที่เปนคลื่น) : พบใน
ลูกผสมระหวาง C. chinense x C. annuum ใบที่เจริญเต็มที่สีเขียวเขมกวาใบ
ปกติ แยกไดงายโดยดูจากใบเลี้ยงที่อวบน้ํา ปลายใบโคงลง ตนกลาแข็งแรง
อัตราการรอดชีวิตสูง
tu Cotyledons and leaves are rolled up like a tube, with only the abaxial
surface exposed (ใบเลี้ยงและใบจริงมวนคลายทอเห็นแตใตใบ)
up (p, u) Upright or erect pedicel and fruit orientation (กานดอกและผลชี้ขึ้น) : การ
แสดงของยีนในพริกบางชนิดไมแสดงออกทั้งหมด ยีนอยูบนโครโมโซมตําแหนง
trisomic NO
wl Willlow leaf (ใบวิลโล) : ใบแคบเหมือน fi แตกวางกวา nonallelic ตัวเมียเปน
หมันมาก (highly sterile) ตัวผูไมเปนหมัน (fertile) ติดผลแบบไมตองใชเกสร
ตัวผู (parthenocarpic) ผลไมมีเมล็ด
121

เครื่องหมาย ลักษณะ
ยีนควบคุมความเปนหมัน
fs1 Female – sterile mutant in C. annuum (ยีนกลายพันธุตวั เมียเปนหมันใน
C. annuum : ตนโตกวาธรรมดา ตัวผูไมเปนหมัน (fertile) ติดผลแบบไมตองใช
เกสรตัวผู (parthenocarpic) ผลไมมีเมล็ด
fs2 (fs) Female-sterile mutant in C. annuum PI 159276 (ยีนกลายพันธุตวั เมียเปน
หมันใน C. annuum PI 159276 : เหมือน fs1 ตัวผูไมเปนหมัน (fertile)
ms Male-sterile nuclear gene induces male sterility in S cytoplasm in
genotype Sms/ms (ยีนในนิวเคลียสทีต่ ัวผูเปนหมัน ทําใหเกิดความเปนหมัน
ใน S ไซโตพลาสซึม ในสภาพยีน Sms/ms : แหลงของ S ไซโตพลาสซึมมี 3
แหลง ทําใหเกิดปฏิกิริยาความเปนหมันเหมือนกัน เมือ่ ใชกับยีน ms และ
restorer ยีนทีต่ างกัน
ms1,ms2,ms3 Spontaneous male-sterile mutants from C. annuum cvs. Allbig,
California Wonder, and Gambo, respectively (ยีนกลายพันธุท าํ ใหตัวผู
เปนหมันจาก C. annuum พันธุ All big, California Wonder, และ Gambo
ตามลําดับ : nonallelic
ms9 ms509 r-radiation-(ms9) and chemical (EMS)-induced (ms509, ms705) male-
ms705 sterile mutants (ยีนตัวผูเปนหมัน ms9 ไดจากรังสีแกมมา ms509 และ
ms705 ไดจากการใชสารเคมีกระตุน) : ยีน ms509 ใชในการปรับปรุงพันธุ
พริกหวานลูกผสมชั่วที่ 1 พันธุ Lamuyo-INRA

ยีนควบคุมสรีรวิทยาของพริก
C Capsaicin or pungent fruit (ผลมีรสเผ็ด) : ยีนนี้ขนึ้ กับยีนอืน่ ๆ (modifiers)
ในการเพิ่มหรือลดความเผ็ด ตําแหนงอยูบนโครโมโซม 11 ของ trisomic JA
Gi Graft incompatible (ทาบกิ่งไมติด) : ปฏิกิริยาของ C. annuum เมื่อทาบกิง่
กับพืชในตระกูล Solanaceae
Ps (S) Pod separates easily from calyx (ผลแยกออกจากฐานรองดอกไดงาย) :
แตกตางจากพวกเนื้อผลนิม่ S ผลแยกออกจากฐานรองดอกงายเมื่อผลแก ยีน
นี้ขึ้นกับยีนอืน่ ๆ ดวย (modifiers และ background genotype)
S (Ps) Soft juicy fruit in Paprika (ผลนิ่มและอวบน้ําใน Paprika) : แตกตางจาก Ps
พบใน C. chinense ลูกผสมของ PI 152225 x Tabasco (Ps, S)
122

บทที่ 6

การใชยีนตัวผูเปนหมันในการปรับปรุงพันธุพ
 ริกเผ็ด

บทนํา

พริกเปนพืชผักชนิดหนึง่ ทีม่ คี วามสําคัญทางเศรษฐกิจเปนวัตถุดิบที่สาํ คัญ ใน


อุตสาหกรรมซอสพริก พริกดอง และพริกแหง การปลูกพริกในประเทศไทยมีการเพาะปลูกกันใน
พื้นที่ทวั่ ไปและมีพนื้ ทีก่ ารผลิต และผลผลิตรวมโดยเฉลี่ยจะเพิม่ ขึ้นทุกปแตปริมาณพริกที่ผลิตได
ยังไมเพียงพอตามความตองการ ประกอบกับสวนใหญมีคุณภาพไมไดมาตรฐาน ทั้งนี้เนื่องจาก
พันธุท ี่ใชปลูกสวนใหญเปนพันธุพ นื้ เมืองที่เกษตรกรนิยมเก็บ เมล็ดพันธุเ องมีการปะปนพันธุสงู มี
ผลใหในแตละป ประเทศไทยตองนําเขาพริกแหงจากตางประเทศประมาณปละ 30 ลานบาท
เนื่องจากพริกแหงจากตางประเทศมีคุณภาพดี เมล็ดนอย เนื้อหนา สีสวย ไมเผ็ดจัด และราคาถูก
กวาพริกในประเทศ (เฉลิมเกียรติ 2536) มงคล. 2540 รายงานวาพริกชี้ฟา ลูกผสมพันธุนา นเจา
ซึ่งเกิดจากการผสมขามพันธุระหวางสายพันธุ ES # 3 - 1 x 268-3 มีคุณสมบัติเหมาะสมตอ
การบริโภคสด และเหมาะสมสําหรับอุตสาหกรรมทําซอสพริก พริกบด และพริกแชแข็งและให
ผลผลิตสูงกวาพริกพันธุทองถิ่นอืน่ ๆ สุชีลา. 2540 รายงานวาพริกลูกผสมที่เกิดจากพริกพันธุห วยสี
ทนผสมขามพันธุกับพริกชอญี่ปนุ พันธุ Yatsubusa ใหผลผลิตที่สุกแกจากการเก็บเกี่ยวทั้ง 3 ครั้ง
รวมกัน และผลผลิตรวมสูงสุดคือ 102.62 และ 109.67 กรัมตอตนตามลําดับทัง้ ในสภาพปกติและ
ขาดน้ํา Tase. 1985 รายงานวาในการเปรียบเทียบพันธุพ ริกหวานลูกผสมชั่วที่ 1 จํานวน
3 สายพันธุ กับพันธุพ ริกมาตรฐาน 7 สายพันธุ พบวาพริกพันธุ IPP 1810 F-1 ใหผลผลิตสูงทีส่ ุด
ทั้งปริมาณและคุณภาพ Chen. 1985 พบวาในการศึกษาพันธุพ ริกลูกผสมจํานวน 30 สายพันธุม ี
พริกลูกผสม 10 สายพันธุท ี่อายุเก็บเกีย่ วเร็วกวาพันธุเปรียบเทียบ และมีสายพันธุที่เก็บเกี่ยวเร็ว
กวาพอ-แม 35% ใหผลผลิตสูงกวาพอ-แม และพันธเปรี ุ ยบเทียบ 20% บางสายพันธุแสดงอาการ
ตานทานโรคสูงขึ้น Milkova และ Daskalov. 1984 ไดรายงานถึงพริกลูกผสมพันธุหนึง่ ที่ไดจาก
การผสมพันธุข องสายพันธุท ี่มีเกสรตัวผูเ ปนหมันชื่อ Ljulin กับสายพันธุตัวผูปกติ ใหผลผลิตสูงกวา
พันธุเ ปรียบเทียบ 10-30% อายุเก็บเกี่ยวเร็วขึ้น ผลผลิตมีคุณภาพในการขนสงไดไกล เก็บรักษา
ไวไดยาวนาน
123

พริกที่เกษตรกรใชเปนพันธุพ ื้นเมือง และพันธุลกู ผสมเปด ( Wisut. 1999 ) เชน


พริกมัน พริกบางชาง พริกหลวง พริกยักษ พริกหวยสีทน พริกหัวเรือ และพริกจินดา 2
(Terry and Shich. 2000) เนื่องจากพริกที่ใชปลูกในประเทศสวนใหญเปนพันธุผสมเปด ผลผลิต
ตอไรคอนขางต่ํา ทําใหตองสั่งพริกแหงจากตางประเทศประมาณ 80 ลานบาทตอป (กรมศุลกากร,
2540) จึงมีความพยายามปรับปรุงพันธุพ ริกลูกผสม เพื่อเพิ่มผลผลิต แตเนื่องจากเมล็ดพันธุพ ริก
ลูกผสมมีราคาคอนขางสูง เกษตรกรจึงไมนิยมใชมาปลูกเปนการคา เมล็ดพันธุพริกลูกผสมมีราคา
แพงเพราะวาจะตองเสียคาใชจายในการตอนเกสรเพศผูในดอกเพศเมีย ดังนัน้ เพือ่ ลดคาใชจายใน
สวนนี้จึงมีการนําเอาลักษณะความเปนหมันของเกสรเพศผู (male sterile) มาใชซึ่งเปนที่นยิ ม
มากในตางประเทศ แตเนื่องจากสายพันธุพริกจากตางประเทศสวนใหญมีความเผ็ดต่ํา และไม
สามารถเจริญเติบโตในสภาวะภูมิอากาศของประเทศไทยไมเปนทีน่ ยิ มบริโภคภายในประเทศ
ดังนัน้ เพื่อใหไดพันธุพ ริกทีม่ ลี ักษณะความเผ็ดสูง และใหผลผลิตที่เปนที่ตองการของตลาดพรอม
กันนั้นยังไดใชลักษณะของความเปนหมันมารวมเขากับการพัฒนาสายพันธุแมในการปรับปรุง
พันธุน ี้ดวยเพือ่ ชวยลดแรงงานในการผลิตเมล็ดพันธุลูกผสม เนื่องจากไมตองตอนเกสรเพศผูจาก
ดอกของสายพันธุแมเปนการชวยใหตน ทุนเมล็ดพันธุลกู ผสมลดลง
ดังนั้นเพื่อใหเกษตรกรมีพันธุพริกที่ดีใชในการเพาะปลูกและผูบริโภคมีพริกพันธุดี
ตามตองการ จึงตองมีการปรับปรุงพริกโดยการสรางลูกผสมจุดมุงหมาย เพื่อใหไดพันธุใหมที่ใหผล
ผลิตสูงคุณภาพดีและตานทานตอโรคและแมลง การสรางลูกผสมชั่วที่ 1 ไดมีการทําอยาง
แพรหลายมานานเพราะลูกผสมชั่วที่ 1 มีลักษณะดีเดนกวาสายพันธุพอแม (เจริญศักดิ์. 2527)
ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม จึงไดรวมกับบริษัทเอกชนแหงหนึ่ง ทําการปรับปรุง
พั น ธุพ ริก โดยใช สายพัน ธุเ กสรตั ว ผูเ ป น หมัน ในการผลิ ตเมล็ ด พั น ธุลู ก ผสมขึ้ น โดยหวั ง วา จะ
สามารถปรับปรุงพันธุใหมๆ มาใหเกษตรกรไดนําไปใชในการเพาะปลูกตอไป โดย นงลักษณ.
2542 นําพริกสายพันธุที่เปนหมัน (cytoplasmic genic male sterile) มาจากตางประเทศ นํามา
ผสมขามกับพริกพันธุพื้นเมืองที่คัดเลือกใหไดลักษณะตามความตองการ ปรากฏวา ลูกผสมที่ได
ใหผลผลิตที่มีคุณภาพดีกวาสายพันธุพอที่เปนพันธุพื้นเมืองลูกผสม ปญหาที่เกิดขึ้น ไดแก ความ
เผ็ดของลูกผสมสวนใหญมีความเผ็ดนอยกวาพันธุพื้นเมือง จึงจําเปนตองพัฒนาความเผ็ดของ
ลูกผสม โดยพัฒนาความเผ็ดของสายพันธุแม (กฤษดาและมณีฉัตร. 2545)
ความเผ็ดของพริกถูกสรางโดยสาร capsaicinoid ซึ่งเปนสารประเภทอัลคาลอยด
โดยจะมีอยูเฉพาะพืชในสกุล Capsicum เทานั้น (Hoffman et al. 1983) สาร capsaicin มีมาก
ในสวนของไสกลาง (placenta) สวนในเมล็ดไมมีการสรางสารนี้ (Bosland. 1996) Ahmed
et al. 1983 รายงานวาความเผ็ดถูกควบคุมโดยยีนเดน และเปนลักษณะยีนบวกเพิ่ม (additive
gene) Yayeh and Bosland. 2000 รายงานวา ความเผ็ดนั้นขึ้นอยูกับความแตกตางระหวาง
124

บทที่ 5 มี 2 แบบ ไดแก เกสรตัวผูเปนหมันใน


นิวเคลียส หรือภาษาอังกฤษเรียกวา genic male sterility และยีนตัวผูเปนหมันเนื่องจากปฏิกิริยา
ระหวางไซโตพลาสซึม และยีนในนิวเคลียส หรือภาษาอังกฤษเรียกวา cytoplasmic genic male
sterility การเปนหมันทั้ง 2 แบบนี้ก็ไดรับความนิยมในการปรับปรุงพันธุพริกลูกผสมชั่วที่หนึ่งใน
ตางประเทศ ซึ่งก็มีขอดีขอเสีย เชน การเปนหมันเนื่องจากยีนในนิวเคลียสหรือวิธีแรกก็มีขอเสียที่
สิ้นเปลืองกวาการเปนหมัน เนื่องจากไซโตพลาสซึมและยีนในนิวเคลียสหรือวิธีหลัง เพราะวิธีแรก
นั้นตองทิ้งกลาตัวเมียหรือแมพันธุครึ่งหนึ่งเสมอเนื่องจากพันธุกรรมทําใหมีกลาตัวเมียที่มีเกสรตัวผู
เปนหมันเพียงครึ่งเดียว และการคัดตนตัวเมียที่มีเกสรตัวผูเปนหมันก็ตองเปนผูที่มีความชํานาญ
แตบางครั้งความผิดพลาดก็เกิดขึ้นได ดังนั้นความสิ้นเปลืองและความผิดพลาดนี้อาจแกไขไดโดย
ใชการเปนหมันเนื่องจากปฏิกิริยาระหวางไซโตพลาสซึมและยีนในนิวเคลียส นอกจากนี้การใชการ
เปนหมันวิธีแรกนั้นมีความแปรปรวนเนื่องจากอุณหภูมิ หากอุณหภูมิในฤดูปลูกสูงขึ้นก็มีโอกาสที่
เกสรตัวผูพัฒนาในดอกที่เปนหมัน ทําใหมีการผสมตัวเองได ถาการตรวจในแปลงปลูกไมละเอียด
พอ ดังนั้นจึงมีความสนใจจากนักปรับปรุงพันธุพริกมาใชเกสรตัวผูเปนหมันเนื่องจากไซโตพลาสซึม
และยีนในนิวเคลียส ซึ่งผูเขียนและนักศึกษาไดใชยีนนี้ในการปรับปรุงพันธุพริกเผ็ด หรือภาษา
พื้นเมืองเรียกพริกชนิดนี้วาพริกหนุม เพื่อปรับปรุงพันธุพริกเผ็ดลูกผสมชั่วที่หนึ่ง (Milerue and
Nikornpun. 2000, นงลักษณ และคณะ. 2546 และกฤษดาและมณีฉัตร. 2545)
Cytoplasmic genic male sterility (CGMS) คือ ยีนตัวผูเปนหมันนี้พบครั้งแรก
โดย Peterson. 1958 การที่ตัวผูเปนหมันเนื่องจากปฏิกิริยาระหวางไซโตพลาสซึมที่เปนหมัน
(s-type) กับยีนดอยในนิวเคลียส ms ยีน ยีนดอยนี้แสดงออกเมื่ออยูในไซโตพลาสซึมแบบนี้
เทานั้น S ms/ms ถามียีนอื่นอยูดวยจะไมแสดงออก เชน S ms+/ms, S ms+/ms+, N ms/ms,
N ms+/ms, และ N ms+/ms+ (ms+ - ยีนตัวผูปกติ, N-ไซโตพลาสซึมปกติ)

การทดลองที่ 1 รวบรวมและปรับปรุงพันธุพริกเผ็ด (Milerue and Nikornpun. 2000)

1.1 การรวบรวมพันธุพริกเผ็ดและผลิตเมล็ดพันธุแท
รวบรวมพันธุพ ริกเผ็ดหรือพริกหนุม จากแหลงปลูกหลายแหง เชน แปลงเกษตรกร
และตลาดสด ภายในประเทศ จํานวน 10 พันธุ ซึง่ พันธุเหลานี้มีเกสรตัวผูปกติ และรวบรวมพันธุ
125

พริกจากตางประเทศ 5 พันธุ ซึ่งมีเกสรตัวผูเ ปนหมัน มีพนั ธุกรรมเปนแบบ cytoplasmic genic


male sterility (มณีฉัตร. 2538) นําพันธุท งั้ 15 พันธุ ปลูกที่จงั หวัดเชียงราย เดือนตุลาคม 2539 ถึง
เดือนมิถนุ ายน 2540 โดยปลูกในกระถางซึ่งมีดิน 3 สวน ขุยมะพราว 2 สวน และปุย คอก 1 สวน
ใสปุย 15-15-15 อัตรา 1 ชอนโตะตอกระถาง หลังยายกลา 15 วัน ใสปุยเกล็ด 30-20-10 อัตรา 1
ชอนโตะตอกระถางทุกๆ สัปดาห จนกระทัง่ ตนพริกเริ่มเก็บเกี่ยว ฉีดสารเคมีกําจัดศัตรูพืชทั้งโรค
และแมลงทุกๆ 7-10 วัน พันธุพริกที่รวบรวมภายในประเทศนัน้ เมื่อตนพริกเริ่มออกดอกและติด
ผล คัดเลือกพันธุทมี่ ีตนแข็งแรงไมเปนโรค รูปทรงตนดี ติดผลดี รูปทรงผลดี มีแนวโนมที่ใหผลผลิต
สูง ไดคัดเลือกพันธุท ี่ดีเปนสายพันธุพ อ และผสมตัวเองในแตละตนของพันธุน ั้นๆ โดยตอนเกสรตัว
ผูในดอกตูมทีค่ าดวาจะบานในวันรุงขึ้น สวมถุงกระดาษใหแกดอกทีต่ อนแลว และตอนเชากอน
11.00 น. ของวันรุงขึน้ นําเกสรตัวผูในดอกจากตนเดียวกัน แตะดอกที่ตอนที่เกสรตัวเมีย สวมถุง
ดังเดิมและทําเครื่องหมายไว รอใหผลแกจัดสีแดง จึงเก็บผลเพื่อแคะเมล็ดตากแดดใหแหง นํา
เมล็ดปลูกซ้ําอีกครั้งเพื่อผสมตัวเอง เมล็ดเหลานี้เปนเมล็ดพันธุท ี่ไดจากการผสมตัวเองเก็บไว
สําหรับทําเปนสายพันธุพ อ
สําหรับพริกพันธุตางประเทศ ที่มีลกั ษณะตัวผูเปนหมัน 5 พันธุ คัดเลือกตนแมที่
แข็งแรง ไมเปนโรค มีดอก ซึง่ มีเกสรตัวผูเปนหมันทุกดอกทั้งตน การผลิตเมล็ดพันธุข องพริกเหลานี้
ตองใชเกสรตัวผูจากพันธุทมี่ ียีนอืน่ เหมือนกับตนแมพนั ธุแตกตางเฉพาะยีนที่ตวั ผูเปนหมัน
(maintainer) (มณีฉัตร. 2538) โดยใชเกสรตัวผูจากพันธุเ หลานี้แตะที่ดอกทีม่ ีเกสรตัวผูเปน
หมัน คลุมถุงดอกตัวเมียไมใหแมลงรบกวน เมื่อติดผลคัดเลือกตนที่ตดิ ผลดี มีลักษณะรูปรางผล
ใกลเคียงกับพริกเผ็ดที่รวบรวมภายในประเทศ ความเปนหมันของพันธุพริกตางประเทศไดรับการ
ทดสอบแลววาเปนหมันในไซโตพลาสซึมและยีนในนิวเคลียส (cytoplamic genic male sterility)
มียีน S (ms ms) คัดเลือกพันธุท ี่ดี สําหรับเปนสายพันธุแม

ผลการรวบรวมพันธุพริกเผ็ดและผลิตเมล็ดพันธุแ ท
จากการปลูกเพื่อศึกษาลักษณะสายพันธุท งั้ 15 สายพันธุ พบวามีพริก
บางสายพันธุท ี่มีลักษณะนาสนใจ ไดแก พริกหนุมขาวแมกุงเปนพริกที่มี ฝกขนาดใหญ ยาว ติด
ผลดก ผลสีขาวเหลือง และมีรสเผ็ด พริกหนุมเขียวมีลําตนแข็งแรง ผลสีเขียวออน ผลยาว ใหญ
และมีรสเผ็ดปานกลาง อีกสายพันธุท ี่มีลกั ษณะดี มีลาํ ตนสูงและแข็งแรง เก็บเกี่ยวไดนาน
และมีรสเผ็ดคือ พริกฝาง การ คัดเลือกสายพันธุท ี่ดีเพือ่ นํามาใชเปนสายพันธุพ อและสายพันธุแม
พบวาสายพันธุทเหมาะสมสําหรับเปนสายพันธุพ อ ไดแก สายพันธุหมายเลข 2 (พริกหนุมเขียว
แมโจ), 3 (พริกหนุมเขียว), 6 (พริกหนุมขาวแมกุง), 8 (พริกบางชาง) และ 9 (พริกฝาง) ซึ่งมี
126

ุ
พบวา ไดเมล็ดพันธุจากทั้ง 5 พันธุ สวนพันธุแมซงึ่ ตองใชสายพันธุท ี่มียนี พิเศษในการผลิตเมล็ด
พันธุ ก็พบวามีเมล็ดพันธุแทซึ่งไดจากการผสมระหวางแมพันธุ และพันธุพ อซึง่ มียนี อื่นๆ เหมือนแม
พันธุ ยกเวน ยีนทีท่ ําใหตัวผูเปนหมัน ไดเมล็ดพันธุแทของแมพนั ธุ 2 พันธุ โดยวิธกี ารดังกลาว

1.2 การผสมพันธุ
ปลูกสายพันธุแ มที่คัดเลือกไว 2 พันธุ ไดแก CF 21789 (หมายเลข 12) KY 1-1
(หมายเลข13) พันธุละ 25 ตน ปลูกสลับกับสายพันธุพอ ที่คัดเลือกไว 5 พันธุ ไดแก พริกหนุม ขาว
แมกุง (หมายเลข 6), พริกหนุมเขียว (หมายเลข 3), พริกบางชาง (หมายเลข 8), พริกหนุมเขียว
แมโจ (หมายเลข 2) และพริกฝาง (หมายเลข 9) ใชระยะหางระหวางตน 60 เซนติเมตร และ
ระหวางแถว 80 เซนติเมตร แตละคูผสมปลูกในมุง พลาสติกสีฟา เพื่อกันแมลง ขนาด 5 x 10 เมตร
เริ่มผสมพันธุเวลาเชา 08.30 – 11.00 น. เก็บดอกจากตนสายพันธุพ อ พันธุละ
10-20 ดอก แบบรวมตน แตะเกสรตัวผูกับดอกสายพันธุแม และทําเครื่องหมาย ผสมดอกในตน
สายพันธุแมประมาณ 20 ดอก/ตน การผสมใชเวลาประมาณ 2 อาทิตย หลังผสมพันธุแลว 45-50
วัน ผลพริกเริ่มสุกแดง และเก็บเมล็ดได พันธุลกู ผสมชัว่ ที่ 1 ที่ทาํ การผสมพันธุนี้ไดแก CF 21789
X หนุมขาวแมกุง, CF 21789 X หนุม เขียว, CF 21789 x หนุมเขียวแมโจ, CF 21789 x บางชาง,
CF 21789 x ฝาง, KY 1-1 x หนุมขาวแมกุง, KY 1-1 x หนุมเขียว, KY 1-1 x หนุม เขียวแมโจ,
KY 1-1 x บางชาง และ KY 1-1 x ฝาง

ผลการผสมพันธุ
ไดเมล็ดพันธุลกู ผสมชั่วที่ 1 จากการผสมขามระหวางพันธุแมที่มยี ีนตัวผูเปนหมัน
2 พันธุ กับพันธุพอที่คัดเลือก 5 พันธุ พบวาไดเมล็ดพันธุลูกผสมชัว่ ที่ 1 ดังนี้ CF 21789 X หนุม
ขาวแมกงุ , CF 21789 X หนุมเขียว, CF 21789 x หนุมเขียวแมโจ, CF 21789 x บางชาง, CF
21789 x ฝาง, KY 1-1 x หนุม ขาวแมกงุ , KY 1-1 x หนุมเขียว, KY 1-1 x หนุมเขียวแมโจ, KY 1-1
x บางชาง และ KY 1-1 x ฝาง

1.3 การทดสอบพันธุล ูกผสมชั่วที่ 1


นําพันธุพริกลูกผสมชั่วที่ 1 10 พันธุ ไดแก CF 21789 X หนุมขาวแมกุง,
CF 21789 X หนุมเขียว, CF 21789 x หนุมเขียวแมโจ, CF 21789 x บางชาง, CF 21789 x ฝาง,
KY 1-1 x หนุม ขาวแมกงุ , KY 1-1 x หนุม เขียว, KY 1-1 x หนุม เขียวแมโจ, KY 1-1 x บางชาง
127

และ KY 1-1 x ฝาง และพันธุพ อ 5 สายพันธุ ไดแก พริกหนุม ขาวแมกุง, พริกหนุมเขียว, พริก
หนุมเขียวแมโจ, พริกบางชาง และพริกฝาง ทดสอบที่สถานีวิจัยของบริษัทเอกชนทีจ่ งั หวัดเชียงราย
และที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม ระหวางเดือนตุลาคม 2541 ถึงเดือนกุมภาพันธ 2542 วางแผนการ
ทดลองแบบบลอกสมบูรณ (randomized complete block design) มี 3 ซ้ํา เมื่อผลพริกแกเขียว
บันทึกผลผลิตเฉลี่ยตอไร และคํานวณความดีเดนของลูกผสม (heterosis) ในดานผลผลิตกับสาย
พันธุพ อโดยใชสูตรดังนี้

คาเฉลี่ยผลผลิตของลูกผสม – คาเฉลี่ยของพอ-แมทสี่ ูงกวา


% ความดีเดนของลูกผสม = X 100
คาเฉลี่ยของพอ-แมที่สูงกวา

นอกจากนีย้ ังทดสอบความเผ็ดของผลพริกโดยการหาปริมาณสารแคบไซซินโดยใชวิธี Anan et al.


1966 และใชคนชิม
สกัดสารแคบไซซิน โดยนําผลพริกแตละพันธุหนั่ เปนชิน้ เล็กๆ ใหมีไสพริกติดดวย
น้ําหนักตัวอยางละ 3 กรัม แชใน diethyl ether 15 มิลลิลิตร คนตัวอยางในตูควันประมาณ
10-15 วินาที ใชปเปตดูดสารละลายทีเ่ ปนของเหลว 5 มิลลิลิตร ใสในบีกเกอรขนาด 20 มิลลิลิตร
เติม sodium hydroxide (NaOH) 0.5 N และเกลือ sodium chloride (NaCl) 3 มิลลิลิตร
รอใหตกตะกอนแลวดูดสารละลายที่สกัดได วัดคาดูดกลืนแสงที่ 450 นาโนเมตร โดยเครื่อง
Spectrophotometer เปรียบเทียบคาทีอ่ านไดกับสารละลายแคบไซซินบริสุทธิ์ โดยทํากราฟ
มาตรฐาน นําคาที่อานไดมาคํานวณหาความดีเดนของลูกผสมพริกในดานความเผ็ด

คาความเผ็ดของลูกผสม – คาความเผ็ดของพอ-แมทดี่ ีกวา


% ความดีเดนของลูกผสมพริก = X 100
คาความเผ็ดของพอ-แมที่ดีกวา

สําหรับการวัดความเผ็ดของพริกโดยวิธีใชคนชิม จัดตัวอยางพริกที่ตองการ
ทดสอบ หัน่ เปนชิ้นเล็กๆ ใชคน 10 คนทดสอบ และใหคะแนนความเผ็ดระดับ 1 ถึง 5 (1 = ไมเผ็ด,
2 = เผ็ดเล็กนอย, 3 = เผ็ดปานกลาง, 4 = เผ็ดมาก และ 5 = เผ็ดที่สดุ ) หาคาเฉลี่ยแตละตัวอยาง
จากผลคะแนนจาก 10 คน

ผลการทดสอบพันธุล ูกผสมชัว่ ที่ 1


จากการเปรียบเทียบผลผลิตของพริกพันธุลูกผสม 10 สายพันธุท ี่เกิดจาก แม CF
21789 และ KY 1-1 พบวา จากการปลูกทดสอบ ที่คณะเกษตรศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม
128

พันธุลกู ผสมชัว่ ที่ 1 ไดแก CF 21789 X หนุม ขาวแมกุง, CF 21789 X หนุมเขียว, CF 21789 x
หนุมเขียวแมโจ, CF 21789 x บางชาง, CF 21789 x ฝาง, KY 1-1 x หนุม ขาวแมกุง, KY 1-1 x
หนุมเขียว, KY 1-1 x หนุม เขียวแมโจ, KY 1-1 x บางชาง และ KY 1-1 x ฝาง ปลูกเปรียบเทียบ
กับพันธุพอ 5 พันธุ ไดแก พริกหนุมขาวแมกุง, พริกหนุมเขียว, พริกหนุมเขียวแมโจ, พริกบางชาง
และพริกฝาง
มีพริกลูกผสม 3 สายพันธุ ที่ใหผลผลิตเฉลี่ยตอไรสูง ไดแกพริกลูกผสมชั่วที่ 1
KY 1-1 x พริกหนุมเขียว (รูปที่ 24) ใหผลผลิตสูงสุดคือ 4,189 กิโลกรัมตอไร รองลงมาคือ
KY 1-1 x พริกบางชาง (รูปที่ 25) ใหผลผลิตเฉลี่ย 4,153 กิโลกรัมตอไร และ KY 1-1 x พริกหนุม
เขียวแมโจ (รูปที่ 26) ใหผลผลิตเฉลีย่ 4,014 กิโลกรัมตอไร สําหรับการปลูกทดสอบที่สถานี
ทดลองของบริษทั (เซมินีส เวเจทเทเบิ้ล สีดส) ที่จังหวัดเชียงราย พบวา พริกลูกผสมชั่วที่ 1 KY 1-1
x พริกหนุมเขียว (รูปที่ 24) ใหผลผลิตสูงสุดคือ 3,156 กิโลกรัมตอไร รองลงมาคือ KY 1-1 x พริก
หนุมขาวแมกงุ (รูปที่ 27) ใหผลผลิตเฉลีย่ 3,033 กิโลกรัมตอไร และ KY 1-1 x พริกบางชาง (รูป
ที่ 25) ใหผลผลิตเฉลี่ย 2,853 กิโลกรัมตอไร สวนผลผลิตเฉลี่ยของลูกผสมชั่วที่ 1 คูอื่นๆ และสาย
พันธุพ อพันธุอนื่ ๆ ไดแสดงไวในตารางที่ 11 นอกจากนั้นจากการเปรียบเทียบความดีเดนของ
ลูกผสม ( heterosis ) ในดานผลผลิต พบวาลูกผสมชัว่ ที่ 1 สวนใหญมีเปอรเซ็นตความดีเดนของ
ลูกผสมสูงเชน ลูกผสมชัว่ ที่ 1 CF 21789 x พริกฝางมีเปอรเซ็นตความดีเดนของลูกผสมเทากับ
261.58 ลูกผสมชั่วที่ 1 KY 1-1 x พริกฝาง มีเปอรเซ็นตความดีเดนของลูกผสมเทากับ 237.93
และ KY 1-1 x บางชางมีเปอรเซ็นตความดีเดนของลูกผสมเทากับ 233.97 สวนเปอรเซ็นตความ
ดีเดนของลูกผสมคูอื่นๆ ไดแสดงไวในตารางที่ 12 ผลจากการปลูกทดสอบพันธุลกู ผสมชั่วที่ 1 ทั้ง
10 สายพันธุเปรียบเทียบกับสายพันธุพ อทั้ง 5 สายพันธุ ในสองสถานที่ โดยพิจารณาผลผลิต
เฉลี่ยตอไร และเปอรเซ็นตความดีเดนของลูกผสมชั่วที่ 1 พบวาลูกผสมชั่วที่ 1 KY 1-1 x พริกหนุม
เขียวและ KY 1-1 x พริกหนุมขาวแมกงุ มีลักษณะทีด่ ีเปนที่ตองการของตลาดเพือ่ การบริโภคผล
สด เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุพอทั้งสองสายพันธุ (พริกหนุมขาวแมกุงและพริกหนุมเขียว ) ซึ่ง
เปนพันธุท ี่เกษตรกรใชอยูในปจจุบัน และลูกผสมชั่วที่ 1 KY 1-1 x พริกบางชาง, KY 1-1 x พริก
หนุมขาวแมกงุ และ KY 1-1 x พริกฝาง มีลักษณะทีด่ ี ที่เปนที่ตองการของตลาดเพื่อใชในการทํา
พริกแหง โดยเปรียบเทียบกับสายพันธุพ อทั้ง 3 สายพันธุ (พริกบางชาง, พริกหนุม เขียวแมโจ และ
พริกฝาง)
จากการหาปริมาณสารแคบไซซินในพริกทัง้ หมด ที่หองปฏิบัติการภาควิชา
พืชสวน โดยวิธีวัดคาการดูดกลืนแสง พบวาพริกบางชางมีปริมาณสารแคบไซซินสูงที่สุดโดยมีคา
ความเผ็ดเปน 0.01175 scoville unit รองลงมาคือลูกผสมชั่วที่ 1 CF 21789 x พริกหนุมเขียวมี
คาความเผ็ดเปน 0.00949 scoville unit KY 1-1 x พริกหนุมเขียวแมโจ มีคาความเผ็ดเปน
129

0.00632 scoville unit KY 1-1 x พริกหนุมเขียว มีคา ความเผ็ดเปน 0.00560 scoville unit และ
CF 21789 x พริกบางชางมีคาความเผ็ดเปน 0.00379 scoville unit เมื่อวัด heterosis ของความ
เผ็ดพบวา KY 1-1 x พริกหนุมเขียวแมโจ, CF21789 x พริกหนุมเขียว, KY1-1 x พริกหนุมเขียว
มีคา heterosis สูง ผลของการวิเคราะหของแตละสายพันธุไดแสดงไวในตารางที่ 13 และเมื่อ
เปรียบเทียบกับผลการทดสอบโดยใชคนทดสอบจํานวน 10 คน พบวาใหผลการทดลองทีม่ ี
แตกตางกัน โดยคาเฉลี่ยที่ไดจากการทดสอบโดยใชคนจํานวน 10 คน พบวาพริกฝางมีระดับ
ความเผ็ดสูงสุดโดยมีคาเฉลีย่ ของคะแนนเปน 4.9 รองลงมาคือลูกผสมชั่วที่ 1 KY 1-1 x พริกหนุม
ขาวแมกงุ มีคาเฉลี่ยของคะแนนเปน 4.3 และ KY 1-1 x พริกฝางมีคาเฉลี่ยของคะแนนเปน 4
ผลการทดลองในลูกผสม ชั่วที่ 1 คูอื่นๆ ไดแสดงไวในตารางที่ 13

รูปที่ 24 ผลพริกลูกผสมชัว่ ที่ 1 KY 1-1 x พริกหนุมเขียว


130

รูปที่ 25 ผลพริกลูกผสมชัว่ ที่ 1 KY 1-1 x พริกบางชาง

รูปที่ 26 ผลพริกลูกผสมชัว่ ที่ 1 KY 1-1 x พริกหนุมเขียวแมโจ


131

รูปที่ 27 ผลพริกลูกผสมชัว่ ที่ 1 KY 1-1 x พริกหนุมขาวแมกุง

ตารางที่ 11 ผลการทดลองการทดสอบพันธุลูกผสมชั่วที่ 1 ของพริก


สายพันธุ ความสูงตน (ซม.) ผลผลิต (กิโลกรัมตอไร)
เชียงใหม เชียงราย เชียงใหม เชียงราย
พริกหนุมขาวแมกุง 68.80 58.93 ab 3,446 cd 2,793
1
ab cde
พริกหนุมเขียว 64.50 ab 60.33 ab 3,105 2,533
bcd bcde
พริกหนุมเขียวแมโจ 63.90 a 60.56 ab 3,606 d 2,763
cde
พริกบางชาง 66.83 ab 59.20 a 2,487 2,393
abc bcde
พริกฝาง 67.13 ab 69.26 b 1,073 a 1,213 a
CF 21789 X หนุมขาวแมกุง 65.46 ab 59.53 a 3,493 cd 2,360
bcd
CF 21789 X หนุมเขียว 69.46 ab 66.66 ab 3,800 d 2,606
bcde
CF 21789 x หนุมเขียวแมโจ 66.00 ab 60.60 ab 3,220 cd 2,623
bcde
CF 21789 x บางชาง 68.40 ab 65.83 ab 3,686 d 2,186 bc
CF 21789 x ฝาง 75.10 b 69.30 b 1,586 a 2,193 bc
KY 1-1 x หนุมขาวแมกุง 64.80 ab 62.33 ab 3,830 d 3,033 de
KY 1-1 x หนุมเขียว 66.30 ab 59.83 a 4,189 d 3,156 e
KY 1-1 x หนุมเขียวแมโจ 65.23 ab 58.10 a 4,014 d 2,180 bc
KY 1-1 x บางชาง 63.33 a 60.13 a 4,153 d 2,853
cde
132

KY 1-1 x ฝาง 72.36 ab 62.46 ab 1,813 ab 1,900 b


LSD 0.05 0.176 0.242 0.781 1.21
CV (%) 3.3 4.46 13.06 5.0
1
อักษรเหมือนกัน ไมมีความแตกตางทางสถิติที่ P = .05 โดย Least significant difference

ตารางที่ 12 ผลการทดลองการทดสอบพันธุลูกผสมชั่วที่ 1 แสดง% heterosisของผลผลิต


สายพันธุ เชียงใหม เชียงราย
ผลผลิต(กก./ %heter ผลผลิต(กก./ไร) %heteros
ไร) osis is
พริกหนุมขาวแมกุง 3,446 00 2,793 00
พริกหนุมเขียว 3,105 00 2,533 00
พริกหนุมเขียวแมโจ 3,606 00 2,763 00
พริกบางชาง 2,487 00 2,393 00
พริกฝาง 1,073 00 1,213 00
CF 21789 X หนุมขาว 3,493 102.72 2,360 68.99
แมกุง
CF 21789 X หนุมเขียว 3,800 144.76 2,606 105.76
CF 21789 x หนุมเขียว 3,220 78.59 2,623 89.86
แมโจ
CF 21789 x บางชาง 3,686 196.42 2,186 82.69
CF 21789 x ฝาง 1,586 195.61 2,193 261.58
KY 1-1 x หนุมขาวแมกุง 3,830 122.28 3,033 117.18
KY 1-1 x หนุมเขียว 4,189 169.82 3,156 149.19
KY 1-1 x หนุมเขียวแมโจ 4,014 122.62 2,180 57.79
KY 1-1 x บางชาง 4,153 233.97 2,853 138.44
KY 1-1 x ฝาง 1,813 237.93 1,900 213.27

ตารางที่ 13 ผลการทดสอบความเผ็ดของพริกสายพันธุตางๆ
สายพันธุ คาความเผ็ด1(scoville % ระดับความเผ็ด3
unit) heterosis2
พริกหนุมขาวแมกุง 0.00153 0 3.1
พริกหนุมเขียว 0.00094 0 2.1
พริกหนุมเขียวแมโจ 0.00056 0 2.5
พริกบางชาง 0.01175 0 1.3
พริกฝาง 0.00045 0 4.8
CF 21789 X พริกหนุมขาว 0.00054 -64.70 2.7
แมกุง
CF 21789 X พริกหนุมเขียว 0.00949 909.57 1.7
CF 21789 X พริกหนุมเขียว 0.00090 60.71 2.2
แมโจ
CF 21789 X พริกบางชาง 0.00379 -67.74 0.4
133

CF 21789 X พริกฝาง 0.00027 40.00 1.5


KY 1-1 X พริกหนุมขาวแมกุง 0.00345 125.49 4.3
KY 1-1 X พริกหนุมเขียว 0.00560 495.74 2.4
KY 1-1 X พริกหนุมเขียวแม 0.00632 1028.57 3.2
โจ
KY 1-1 X พริกบางชาง 0.00117 -90.04 1.8
KY 1-1 X พริกฝาง 0.00244 81.55 4.0
1
การวัดความเผ็ดโดยใชคาการดูดกลืนแสงที่ 750 นาโนเมตร
2
% heterosis ที่ไดจากการวัดคาการดูดกลืนแสง ที่ 750 นาโนเมตร
3
คาเฉลี่ยความเผ็ดโดยใชคนทดสอบ
วิจารณ

จากการรวบรวมพันธุพ ริกทัง้ หมด 15 สายพันธุ สามารถคัดเลือกสายพันธุ ที่มี


คุณสมบัติที่จะใชเปนสายพันธุพอได 5 สายพันธุคือ สายพันธุพ ริกหนุมเขียวแมโจ, พริกหนุม
เขียว, พริกหนุมขาวแมกุง, พริกบางชาง และพริกฝาง และสายพันธุแมได 2 สายพันธุค ือ
สายพันธุ CF 21789 และ KY 1-1 จากการปลูกทดสอบพันธุลกู ผสม 10 สายพันธุที่เกิดจาก แม
CF 21789 และ KY 1-1 ทั้ง 2 สถานทีพ่ บวา ที่คณะเกษตรศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม
พริกลูกผสม KY1-1 x พริกหนุมเขียว ใหผลผลิตสูงสุด รองลงมาคือ KY1-1 x พริกบางชาง และ
KY1-1 x พริกหนุมเขียวแมโจ โดยใหผลผลิตเฉลี่ย 4,189, 4,153 และ 4,014 กิโลกรัมตอไร
จากการปลูกที่สถานีทดลองของบริษทั เซมินีส เวเจทเทเบิ้ล สีดส พบวาพริกลูกผสม KY 1-1 x
พริกหนุมเขียวใหผลผลิตสูงสุด รองลงมาคือ KY 1-1 x พริกหนุม ขาวแมกงุ และ KY 1-1 x
พริกบางชาง โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 3,156, 3,033 และ 2,853 กิโลกรัมตอไร จากการทดลองที่
เชียงใหมใหจาํ นวนผลผลิตสูงกวาทีเ่ ชียงรายเปนผลมาจากปจจัยตางๆ หลายปจจัย เชน ระบบ
รากของพริกทีป่ ลูกในกระถางกับปลูกในดินโดยตรง อุณหภูมิ ความชื้น สุชีลา. 2540 ศึกษา
ความสามารถในการใหผลผลิตของพริกในสภาพขาดน้าํ โดยปลูกในกระถาง พบวาหลังจากตน
พริกผานการขาดน้ํามา ระยะหนึง่ พริกทุกสายพันธุใหผลผลิตลดลง และอัตราการเจริญเติบโตใน
ดานความสูงลดลง อาจเปนเพราะการปลูกในกระถางทําใหตนพริกมีพื้นที่จาํ กัด ในการหาอาหาร
ของรากไมเอื้ออํานวยใหพริกมีการเจริญเติบโตอยางเต็มที่ ดังนั้นในการศึกษาครัง้ ตอไปจึงควร
คํานึงถึงปจจัยตางๆเหลานี้ดว ยเพื่อใหงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึน้ นอกจากนั้นในการคัดเลือกตน
สายพันธุพ อและสายพันธุแมที่มีตน สูงแข็งแรง รูปทรงผลดี ติดผลดก ตานโรคซึ่งเปนการรวม
ลักษณะดี ในดานตางๆ ของทัง้ สายพันธุพ อและสายพันธุแมไวในลูกผสม เพื่อลูกผสมที่ไดจะเปน
สายพันธุท ี่มีลกั ษณะดีตามที่เกษตรกรตองการ
เมื่อพิจารณาคา heterosis พบวา มีสายพันธุพอบางสายพันธุม ีลักษณะดี จาก
การผสมขามกับสายพันธุแมทั้งสองสายพันธุใหลูกผสมที่มีเปอรเซ็นต heterosis สูง ลูกผสมชั่วที่ 1
134

จากการหาปริมาณสารแคบไซซินในพริก พบวาผลการทดลองทั้งสองวิธีใหผลการ
ทดลองที่แตกตางกันโดยการหาปริมาณสารแคบไซซินโดยการวัดคาการดูดกลืนแสงพบวาพริก
บางชางมีคาความเผ็ดสูงที่สดุ สวนการหาคาความเผ็ดโดยใชคนทดสอบ 10 คนพบวาพริกฝางมี
คาความเผ็ดสูงที่สุดอยางไรก็ตามพบวาลูกผสมที่เกิดจากสายพันธุพอตางกันมีระดับความเผ็ด
แตกตางกัน มีการกระจายตัวแบบตอเนือ่ ง แสดงวาความเผ็ดควบคุมโดยยีนจํานวนมากและ
ยีนเดนเปนตัวกําหนดความเผ็ด โดยมีสิ่งแวดลอมเปนตัวทําใหระดับความเผ็ดผันแปร

สรุป

รวบรวมสายพันธุพริกจากแหลงปลูกหลายแหลงในประเทศจํานวน 10 สายพันธุ
มาปลูกเพื่อศึกษา และประเมินพันธุร วมกับสายพันธุพริกที่เกสรตัวผูเปนหมันจากตางประเทศ
5 สายพันธุท าํ การคัดเลือกพันธุเ พื่อหาสายพันธุทจี่ ะนํามาใชเปนพอ-แม ผสมตัวเองสายพันธุพอที่
ผานการคัดเลือกจํานวน 5 สายพันธุ 2 ครั้ง จากนัน้ ผสมขามระหวางสายพันธุเกสรตัวผูเปนหมัน
2 สายพันธุ และสายพันธุพ อ 5 สายพันธุ ไดลูกผสมชั่วที่ 1 จํานวน 10 สายพันธุ ปลูกทดสอบ
พันธุลกู ผสมเปรียบเทียบกับสายพันธุพ อที่สถานีวิจัยของบริษัทเอกชนแหงหนึ่ง และภาควิชา
พืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม พบวามีลกู ผสม 3 สายพันธุ คือ KY 1-1 x พริกบางชาง KY 1-1 x
135

กัน น

ปร
136

การทดลองที่ 2 รวบรวมและปรับปรุงความเผ็ดของสายพันธุแมของลูกผสมชั่วที่ 1
(กฤษดา และมณีฉัตร. 2545)

2.1 การคัดเลือกสายพันธุพอ
นําพริกที่รวบรวมได 12 พันธุ ซึ่งมีเกสรตัวผูปกติมาผสมตัวเอง 3 ครั้ง โดยแตละ
ตนผสมตัวเองและเก็บเมล็ดจากตนที่มีลกั ษณะดีเอาไวมาปลูกเปนเมล็ดชั่วที่ 3 ทําการปลูก
เปรียบเทียบโดยวางแผนการทดลองแบบสุมสมบูรณในบล็อก (randomized complete block
design; RCBD มี 12 หนวยการทดลองๆ ละ 3 ซ้ํา เริม่ ทําการบันทึกเมื่อตนพริก โตเต็มที่ อายุ
ประมาณ 85- 90 วัน โดยบันทึกลักษณะทางพืชสวน ไดแก สีผลออน สีผลแก การวางตัวของผล
ความยาวผล ความกวางผล ความสูงของลําตน ลักษณะทรงพุม ความมีรสของผล ความเปนหมัน
และผลผลิต สามารถคัดเลือกสายพันธุพอได 3 สายพันธุ ไดแก 1-3-7 3-3-7 และ 4-3-7

ผลการคัดเลือกสายพันธุพ  อ
จากการคัดเลือกสายพันธุพอ พบวาสามารถคัดเลือกสายพันธุพ อไดดังนี้ สาย
พันธุ 1-3-7 ผลออนสีเขียว ผลแกสีเขียว ทรงพุม สูง 80 เซนติเมตร ไมแผกวาง ดอกไมมีความเปน
หมันของเกสรเพศผู ผลรูปทรงยาว ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ผลหอยลง ผลผลิต 2,027.2
ก.ก/ไร สายพันธุ 3-3-7 ผลออนสีเหลืองผลแกสีเขียว ทรงพุม สูง 80 เซนติเมตรไมแผกวาง ดอกไม
มีความเปนหมันของเกสรเพศผู รูปทรงผลยาวผลยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ผลหอยลง
ผลผลิต 3,104 ก.ก/ไร สายพันธุ 4-3-7 ผลออนสีเหลือง ผลแกสเี ขียว ทรงพุมสูงประมาณ 80
เซนติเมตร ไมแผกวาง ดอกไมมีความเปนหมันของเกสรเพศผู รูปทรงผลยาว 15 เซนติเมตร
ผลหอยลง ผลผลิต 2,468.8 ก.ก/ไร

2.2 การผสมกลับเพื่อปรับปรุงความเผ็ดของสายพันธุแม
คัดเลือกลูกผสมชั่วที่ 1 ของนงลักษณ (2542) ที่สรุปจากการทดลองแลววาให
ผลผลิต และมีความเผ็ดสูง คือ ลูกผสม CF 21789 และ KY 1-1 จีโนไทฟ (Sms+/ms) มาผสม
ตัวเอง และสุมเมล็ดผสมตัวเองชัว่ ที่ 2 มาปลูกเพือ่ คัดเลือกตนที่มีเกสรเพศผูเ ปนหมันจีโนไทฟ
Sms/ms พรอมกับปลูกพริกบางชางเพื่อนํามาผสมกลับ เมื่อพบตนทีม่ ีเกสรเพศผูเปนหมัน ซึ่งดอก
พริกแสดงลักษณะเกสรที่เปนหมัน (รูปที่ 28) จึงนําพริกบางชางมาผสมกลับ และนําลูกที่ไดมา
ผสมตัวเองเพือ่ คัดเลือกตนที่มีเกสรเพศผูเ ปนหมันมาผสมกลับ จากการคัดเลือกดังกลาวทําใหได
สายพันธุแม 3 สายพันธุ คือ CF 21789BC2#14 CF 21789BC2#16 และ KY 1-1BC2#10
137

ผลการผสมกลับเพื่อปรับปรุงความเผ็ดของสายพันธุแม
จากการผสมกลับเพื่อปรับปรุงความเผ็ดของสายพันธุแม 2 ครั้ง พบวาสามารถ
เพิ่มปริมาณสารแคปไซซินได ใหผลที่แตกตางกันทางสถิติ โดยที่ พันธุลูกผสมชั่วที่ 1 KY 1-1 มี
ปริมาณสารแคปไซซิน 7,493 scoville unit ลูกผสมชั่วที่ 1 CF 21789 มีปริมาณสารแคปไซซิน
1,313 scoville unit สายพันธุผสมกลับครั้งที่ 1 KY 1-1BC1#10 มีปริมาณสารแคปไซซิน 8,063
scoville unit CF 21789BC1#14 มีปริมาณสารแคปไซซิน 5,290 scoville unit และ
CF 21789BC1#16 มีปริมาณสารแคปไซซิน 4,703 scoville unit สายพันธุผสมกลับครั้งที่ 2
CF 21789BC2#16 มีปริมาณสารแคปไซซิน 10,110 scoville unit KY 1-1BC2#10 มีปริมาณ
สารแคปไซซิน 9,147 scoville unit และ CF 21789BC2#14 มีปริมาณสารแคปไซซิน 7,220
scoville unit การเปรียบเทียบเปอรเซ็นตความดีเดนดานปริมาณสารแคปไซซิน พบวา สายพันธุ
CF 21789BC2#16 มีเปอรเซ็นต heterosis 114.96 เปอรเซ็นต CF 21789BC1#14 มีเปอรเซ็นต
heterosis 36.48 เปอรเซ็นต สายพันธุ KY 1-1BC2#10 มีเปอรเซ็นต heterosis 13.44
เปอรเซ็นต CF 21789BC1#14 มีเปอรเซ็นต heterosis 302.89 เปอรเซ็นต CF 21789BC1#16 มี
เปอรเซ็นต heterosis 258.18 เปอรเซ็นต และ KY 1-1BC1#10 มีเปอรเซ็นต heterosis 7.60
เปอรเซ็นต (ตารางที่ 14)

รูปที่ 28 ดอกที่มีเกสรตัวผูส มบูรณ (ซาย) และดอกที่มีเกสรตัวผูฝอ (ขวา) ของพริก


138

รูปที่ 29 ผลพริกตอตนของลูกผสมชัว่ ที่ 1 KY 1–1BC2 #10 x 1-3-7

ตารางที่ 14 ปริมาณสารแคปไซซิน ตอกรัมของผลพริก และเปอรเซ็น ตความดีเดนของลูกผสมชั่ว ที่ 1


ลูกผสมกลับครั้งที่ 1 และลูกผสมกลับครั้งที่ 2 ของพริกเผ็ด
ปริมาณแคปไซซิน/กรัมของผล ความดีเดน
พันธุ
(scoville unit) (%)
F1 (นงลักษณ. 2542)
KY 1-1 7,493 d1 -
21789 1,313 f -
BC1
KY 1-1BC1#10 8,063 c 7.60
CF 21789BC1#14 5,290 e 302.89
CF 21789BC1#16 4,703 e 258.18
BC2
CF 21789BC2#16 10,110 a 114.96
KY 1-1BC2#10 9,147 b 13.44
CF 21789BC2#14 7,220 d 36.48
LSD.05 627 -
CV ( %) 16.97 -
1 อักษรที่เหมือนกัน ไมมีความแตกตางทางสถิติที่ P = .05 โดย Least significant difference
139

2.3 วิธีการผสมพันธุ การทดสอบพันธุล ูกผสมชัว่ ที่ 1 และการหาปริมาณสาร


แคบไซซินในพริก
ทําการผสมขามพันธุโดยการปลูกสายพันธุพ อ 3 สายพันธุไดแก 1-3-7 3-3-7
และ 4-3-7 ในกระถาง พรอมกับสุมเมล็ดที่ไดจากตน CF 21789BC2#14 CF 21789BC2#16
และ KY1-1BC2#10 มาผสมตัวเอง และคัดตนที่มีเกสรเพศผูเปนหมันเอาไว ยายลงกระถางแลว
นํามาผสมกับสายพันธุพ อทีเ่ ตรียมไวไดลูกผสม 9 คูผสม ไดแก CF 21789 BC2 #14 x 1-3-7,
CF 21789BC2 #16 x 1-3-7, CF 21789BC2 #14 x 3-3-7, CF 21789BC2 #14 x 4-3-7,
CF 21789BC2 #16 x 3-3-7, CF 2735BC2 #16 x 4-3-7, KY 1-1# 10 x 1-3-7, KY 1-1#10 x
3-3-7 และ KY 1-1#10 x 4-3-7

การทดสอบพันธุล ูกผสมชั่วที่ 1
นําสายพันธุลกู ผสมทัง้ 9 สายพันธุ ไดแก CF 21789 BC2 #14 x 1-3-7,
CF 21789BC2 #16 x 1-3-7, CF 21789BC2 #14 x 3-3-7, CF 21789BC2 #14 x 4-3-7,
CF 21789BC2 #16 x 3-3-7, CF 2735BC2 #16 x 4-3-7, KY 1-1# 10 x 1-3-7, KY 1-1BC2
#10 x 3-3-7 และ KY 1-1BC2#10 x 4-3-7 สายพันธุพอ 3 สายพันธุ ไดแก 1-3-7, 3-3-7 และ
4-3-7 มาปลูกเปรียบเทียบกับพันธุก ารคา 3 สายพันธ ไดแก พันธุจอมทอง 2 พันธุเ ขียว และพันธุ
สันปาตอง วางแผนการทดลองแบบสุมสมบูรณ ในบล็อก (RCBD) มี 15 หนวยการทดลองๆ ละ
3 ซ้ํา โดยใชขนาดแปลง 1 x 6 เมตร ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร และคํานวณ ความดีเดนของ
ลูกผสม (heterosis) โดยเปรียบเทียบผลผลิตตอตนของลูกผสมกับสายพันธุพอ

การหาปริมาณสารแคปไซซินในพริก
นําพริกลูกผสมของนงลักษณ (2542) ไดแก ลูกผสมชัว่ ที่ 1 CF 21789 (KY 1-1 x พันธุ
บางชาง) และ KY 1-1 (CF 21789 x พันธุบ างชาง) BC1 (back cross ครั้งที่ 1) ไดแก ลูกผสมกลับ
ชั่วที่ 1 CF 21789BC 1 #14, CF 21789BC1 #16 และ KY 1-1BC1 #10 และ BC2 (back cross
ครั้งที่ 2) ไดแก ลูกผสมกลับ ชัว่ ที่ 2 CF 21789BC2 #14, CF 21789BC2 #16 และ KY 1-1
BC2 #10 หาปริมาณสาร แคปไซซินเพื่อตรวจสอบผลการผสมกลับ พรอมกันนั้นนําพริก
ลูกผสมชั่วที่ 1 ไดแก CF 21789BC2 #14 x 1-3-7,CF 21789BC2 #16 x 1-3-7, CF
21789BC2 #14 x 3-3-7, CF 21789BC2 #14 x 4-3-7, CF 21789BC2 #16 x 3-3-7, CF
21789BC2 #16 x 4-3-7, KY 1-1BC2 #10 x 1-3-7, KY 1-1BC2 # 10 x 3-3-7 และ KY 1-
1BC2 # 10 x 4-3-7 สายพันธุพอ ไดแก 1-3-7, 4-3-7 และ 3-3-7 และสายพันธุการคา ไดแก
พันธุจ อมทอง 2,หนุมเขียว, และสันปาตอง จากแปลงทดสอบความเผ็ดโดยวิธกี าร
spectrophotometry ที่คาดูดกลืนแสง 750 นาโนเมตร แลวนํามาหาคาความดีเดนของลูกผสมกับ
140

ผลการทดสอบพันธุล ูกผสมชัว่ ที่ 1


ผลการปลูกเปรียบเทียบพันธุลูกผสมชัว่ ที่ 1 9 สายพันธุ เปรียบเทียบกับ
สายพันธุพ อ 3 สายพันธุ และสายพันธุก ารคา 3 สายพันธุ พบวา ลูกผสมที่ใหผลผลิตสูงที่สดุ
3 อันดับแรก ไดแก ลูกผสมชัว่ ที่ 1 KY1-1BC2#10 x 1-3-7 (รูปที่ 30) ใหผลผลิต 6,149.26 กก./ไร
ลูกผสมชั่วที่ 1 CF 21789BC2#14 x 1-3-7 ใหผลผลิต 5,774.56 กก./ไร และลูกผสมชั่วที่ 1 CF
21789BC2#14 x 4-3-7 ใหผลผลิต 5,628.64 กก./ไร (ตารางที่ 15) และเมื่อนําลูกผสมทั้ง 3 พันธุ
มาเปรียบเทียบกับสายพันธุก ารคาที่ใหผลผลิตสูงที่สุด คือ พันธุจอมทอง 2 ที่ใหผลผลิต 5,363.20
กก./ไร พบวา ลูกผสมชั่วที่ 1 KY1-1BC2 #10 x 1-3-7 และ ลูกผสมชัว่ ที่ 1 CF 2735BC2#14 x
1-3-7 ใหผลผลิตแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิตทิ ี่ระดับความนาเชื่อถือ .05

ผลการหาปริมาณสารแคปไซซิน
การหาปริมาณสารแคปไซซิน โดยการใชวิธี spectrophotometry ที่คาดูดกลืน
แสง 750 นาโนเมตร พบวา ลูกผสมชั่วที่ 1 มีสารแคปไซซินอยูในชวง 1,020 – 7,520
scoville unit (ตารางที่ 15 รูปที่ 30) ลูกผสมที่มีปริมาณสารแคปไซซินมากที่สุด ไดแก ลูกผสม
ชั่วที่ 1 CF 21789BC2#16 x 1-3-7 มีปริมาณสารแคปไซซินตอน้ําหนักผล 1 กรัมเทากับ 7,520
scoville unit เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุการคา พบวา มีปริมาณสารแคปไซซินมากกวาสายพันธุ
การคาทุกสายพันธุ และเมื่อนํามาเปรียบเทียบกับสายพันธุพอ 1-3-7 ที่มีปริมาณสารแคปไซซินสูง
ที่สุด 9,310 scoville unit พบวา ลูกผสมทั้งหมดมีปริมาณสารแคปไซซินนอยกวาสายพันธุพอ
ดังกลาว ในดานเปอรเซ็นตความดีเดนของลูกผสม พบวา KY1-1BC2#10 x 3-3-7 มีเปอรเซ็นต
heterosis สูงที่สุด คือ 364.76 เปอรเซ็นต มีปริมาณสาร แคปไซซิน 4,880 scoville unit
รองลงมา ไดแก ลูกผสมชั่วที่ 1 CF 21789BC2#16 x 3-3-7 มีเปอรเซ็นต heterosis 324
เปอรเซ็นต มีปริมาณสารแคปไซซิน 4,460 scoville unit และลูกผสมชั่วที่ 1 CF 21789BC2#14 x
3-3-7 มีเปอรเซ็นต heterosis 71 เปอรเซ็นต มีปริมาณสารแคปไซซิน 3,720 scoville unit
ตามลําดับเมื่อทดสอบโดยใชคนชิม พบวาใหผลที่แตกตางกันโดยมีคาเฉลี่ยของคะแนนอยูระหวาง
2.1–3.3 คะแนน อยูในระดับที่เผ็ดเล็กนอยถึงเผ็ดปานกลาง ซึ่งสายพันธุที่มีระดับคะแนนสูง
ที่สุดไดแก ลูกผสม ชั่วที่ 1 CF 21789BC2#16 x 3-3-7 3.3 คะแนน รองลงมาไดแก ลูกผสม
ชั่วที่ 1 CF 21789BC2#14 x 1-3-7 3.0 คะแนน อยูในระดับที่เผ็ดปานกลาง ตามลําดับ
141

เมื่อนําผลผลิตตอตน และ ปริมาณสารแคปไซซินของสายพันธุพอ ลูกผสมชั่วที่ 1


และพั นธุ การค ามาเปรียบเทียบเพื่อดูความแตกตางของแตละสายพันธุพบวา ลูกผสมชั่ วที่ 1
KY1-1BC2#10 x 1-3-7 มีผลผลิตตอตนสูงที่สุด 0.947 กิโลกรัม (ตารางที่ 15) เมื่อเปรียบเทียบกับ
สายพันธุพอ 1-3-7 ผลผลิตตอตน 0.901 กิโลกรัม พบวามีผลผลิตไมแตกตางกันทางสถิติที่
ระดับ นัยสําคัญ .05 สวนปริมาณสารแคปไซซินของลูกผสมชั่วที่ 1 CF 21789BC2#10 x 1-3-7
เทากับ 1,470 scoville unit เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุพอ 1-3-7 ที่มีปริมาณสารแคปไซซินมาก
ที่สุด 9,310 scoville unit ซึ่งความแตกตางกันนี้มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ลูกผสมที่มี
ปริมาณสารแคปไซซินสูงที่สุดคือ ลูกผสมชั่วที่ 1 CF 21789BC2#16 x 1-3-7 มีปริมาณสารแคปไซ
ซิน 7,520 scoville unit เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุพอ 1-3-7 พบวา ไมมีแตกตางกันทางสถิติที่
ระดับ นัยสําคัญ .05 แตเมื่อนําปริมาณสารแคปไซซินของลูกผสมชั่วที่ 1 CF 21789BC2#16 x
1-3-7 มา เปรียบเทียบกับสายพันธุการคาที่มีปริมาณสารแคปไซซินสูงที่สุด คือ พันธุสันปาตองมี
ปริมาณสารแคปไซซิน 4,430 scoville unit พบวาลูกผสมชั่วที่ 1 CF 21789BC2#16 x 1-3-7 มี
ปริมาณสาร แคปไซซินมากกวาพันธุสันปาตองซึ่งแตกตางกันทางสถิติอยางมีนัยสําคัญ .05
ตารางที่ 15 ผลผลิตและลักษณะทางพืชสวนของลูกผสมชั่วที่ 1 เปรียบเทียบกับพันธุการคาของพริกเผ็ด
พันธุ ผลผลิต ความยาวของผล ความกวางของ ผลผลิตตอตน % ความ ปริมาณแคปไซซิน % ความดีเดน ระดับความเผ็ด1
กก./ไร (ซม.) ผล (ซม.) (กก.) ดีเดน (s.u./g)
พอแม
1-3-7 5,405.92 a2 14.21 d 1.61 b 0.901a - 9,310 a - 2.7
4-3-7 4,418.24 c 12.72 e 1.37 cd 0.692b - 8,290 a - 2.7
3-3-7 3,128.64 d 17.77 b 1.68 b 0.637b - 1,050 d - 2.3
ลูกผสมชั่วที่ 1
KY1-1BC2#10 x 1-3-7 6,149.28 a 15.34 e 1.84 a 0.947a 5.20 1,470 d -84.21 2.3
CF 21789BC2#14 x 1-3-7 5,774.56 a 15.37 e 1.97 a 0.901a 0 1,020 d -89.00 2.3
CF 21789BC2#14 x 4-3-7 5,628.64 a 15.43 e 1.65 b 0.872a 25.97 5,580 b -32.68 2.7
CF 21789BC2#10 x 3-3-7 5,504.00 a 19.93 a 1.42 c 0.883a 38.66 4,880 b 364.76 2.5
CF 21789BC2#14 x 3-3-7 4,936.32 b 19.37 a 1.40 c 0.760b 19.30 3,720 c 71.00 3.0
CF 21789BC2#16 x 1-3-7 4,922.56 b 15.67 c 1.59 b 0.810b -10.0 7,520 a -19.22 2.9
CF 21789BC2#16 x 4-3-7 3,998.56 c 13.69 d 1.43 c 0.699b 1.04 5,480 b -33.89 2.6
KY 1-1BC2#16 x 3-3-7 3,847.52 c 18.92 a 1.37 cd 0.697b 9.47 4,460 b 324.00 3.3
KY1-1BC2#10 x 4-3-7 3,206.24 d 14.10 d 1.23 de 0.513c -25.78 5,030 b -39.32 2.4
พันธุการคา
จอมทอง 2 5,363.20 a 15.34 e 1.97 a 0.775b - 4,050 b - 2.5
หนุมเขียว 3,213.92 d 11.68 e 1.11 e 0.539c - 3,900 c - 3.0
สันปาตอง 2,893.92 d 18.11 b 1.56 b 0.475c - 4,430 b - 2.1
LSD.05 424 1.47 0.14 0.24 - 2,227 - -
CV(%) 9.61 5.72 10.60 19.10 - 28.52 - -
1/ คาเฉลี่ยของความเผ็ดวัดโดยการชิม (1 – ไมเผ็ด, 2 – เผ็ดนอย, 3 – เผ็ดปานกลาง, 4 – เผ็ด และ 5 – เผ็ดมาก)
2/ อักษรเหมือนกัน ไมมีความแตกตางทางสถิติที่ P = .05 โดย Least significant differance

142
ผลผลิตตอตน(กิโลกรัม

0
0.2
0.4
0.6
0.8
1
1-3
-7
4-3
27 -7
40
BC 3-3
27 2 # -7
35 10 x
BC 1-
27 2#14 3-7
35
BC X 1-
27 2#14 3-7
35
BC X 1-
27 2#14 3-7
35
BC X 1-
27 2#14 3-7
35
BC X 1-
27 2#14 3-7
35
พันธุ

BC X 1-
27 2#14 3-7
35
BC X 1-
27 2#14 3-7
รูปที่ 30 ผลผลิตและสารแคปไซซินของพอพันธุ ลูกผสมชั่วที่ 1 และพันธุการคา

35
BC X 1-
2 # 3-7
14
X1
-3
จ อ -7
มท
อง
หน 2
ุมเข
ีย
สัน ว
ปา
ตอ

0

ผลผลิตตอตน
1000
2000
3000
4000
5000
6000
7000
8000
9000
10000

ปริมาณสารแคปไซซิน

ปริมาณสารแคปไซซิน(scoville unit
143
144

วิจารณ

การรวบรวมพันธุพริก 12 สายพันธุ เพื่อคัดเลือกเปนสายพันธุพอ โดยใชลักษณะ


ทางพืชสวนทีด่ ี การใหผลผลิตที่สูง และความเผ็ด สามารถคัดเลือกสายพันธุพ อได 3 สายพันธุ
ไดแก 1-3-7 3-3-7 และ 4-3-7 และการปรับปรุงความเผ็ดของพริกสายพันธุแม พบวา
สายพันธุแมทที่ ําการผสมกลับ 2 ครั้ง มีปริมาณสารแคปไซซินเพิม่ ขึ้นในแตละครั้งของการ
ผสมกลับ สามารถทําไดโดยการผสมกลับ
จากการปลูกทดสอบลูกผสมชั่วที่ 1 เปรียบเทียบกับสายพันธุพอ และสายพันธุ
การคา พบวาลูกผสมที่ใหผลผลิตสูงที่สุด คือ ลูกผสมชั่วที่ 1 KY1-1BC2#10 x 1-3-7 (รูปที่ 30)
ใหผลผลิต 38.43 ตันตอเฮกแตร มีความยาวผล 15.34 เซนติเมตร ความกวางผล 1.84
เซนติเมตร น้ําหนักผล 20.107 กรัม ใหผลผลิตตอตน 0.947 กิโลกรัม เปอรเซ็นต heterosis 5.20
มีปริมาณสารแคปไซซินตอน้ําหนักผล 1 กรัม 1,470 scoville unit เหมาะสม ที่จะนํามาพัฒนาเปน
พริกลูกผสมที่ดีตอไปเพราะวามีรูปทรงผลเรียว ผิวเรียบ กนผลแหลม ใหผลผลิตสูง แตมีความเผ็ด
ต่ํา และมีรูปรางผลยังไมสม่ําเสมอเนื่องจากสายพันธุแมยังมีการกระจายตัวของยีนอยู ดังนั้นตอง
ทําการผสมกลับ โดยใชพันธุที่คัดเลือกแลววามีลักษณะที่ดีมาถายทอดยีน 2-3 ครั้ง เพื่อลดการ
กระจายตัวของยีน และ ทําใหไดลูกผสมที่มีลักษณะดี ใหผลผลิตสูงและความเผ็ดสูงดวย
จากการหาคาสั มประสิทธิ์สหสัมพันธ พบวา ความกวางของผลที่เพิ่มขึ้นเปน
ปจจัยที่มีผลตอการเพิ่มขึ้นของน้ําหนักเฉลี่ยตอ 1 ผล (r2 = 0.85) มากกวาความยาวที่เพิ่มขึ้น
(r2 = 0.01ns) ซึ่งตรงกับขอสรุปในการทดลองของ He and Wang. 1989 กลาววา ความกวาง
ของผลและความหนาของเนื้อมีความสัมพันธไปในทิศทางเดียวกัน กับน้ําหนักของผลผลิตสดของ
พริก และ Ben. 2000 กลาววา น้ําหนักผลมีความสัมพันธที่ต่ํามากกับ ความยาวของผลซึ่ง
แสดงวา ผลผลิ ต นั้ น ขึ้ น กั บความกว า งผลซึ่ ง สอดคล อ งกับ ผลการทดลองนี้ดั ง นั้ น การคั ด เลื อ ก
สายพันธุพริกที่ใหผลผลิตสูงควรคัดเลือกสายพันธุที่มีเนื้อหนาจะทําใหไดลูกผสมที่มีน้ําหนักผล
มากขึ้น
การวิเคราะหหาปริมาณสาร capsaicin พบวา ลูกผสมที่มีปริมาณสารแคปไซซิ
นสูงที่สุด ไดแก ลูกผสมชัว่ ที่ 1 CF 21789BC2#16 x 1-3-7 7,520 scoville unit และ ลูกผสมชัว่
ที่ 1 CF 21789BC2#16 x 4-3-7 5,480 scoville unit แตลูกผสมที่มีเปอรเซ็นต hetrosis สูง
ที่สุด ไดแก ลูกผสมชั่วที่ 1 KY1-1BC2#10 x 3-3-7 364.76 เปอรเซ็นต CF 21789BC2#16 x 3-3-
7 324 เปอรเซ็นต และ CF 21789BC2#14 x 3-3-7 71 เปอรเซ็นต ซึง่ การที่ลูกผสม
ชั่วที1่ ทั้ง 3 สายพันธุม ีเปอรเซ็นต heterosis สูงอาจเปนเพราะวาสายพันธุพ อทีน่ ํามาผสมมี
สารแคปไซซินต่ํา เมื่อนํามาผสมกับสายพันธุแมที่ไดรับการพัฒนาแลวจึงทําใหมีปริมาณสารแคป
145

บก

าห ผ อ

ตรงกันขาม
จากการรวบรวมพันธุพ ริกในจังหวัดเชียงใหมและไดรับจาก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร นํามาปลูกและประเมินพันธุไดสายพันธุที่เหมาะเปนสายพันธุพ อ 3
สายพันธุ ไดแก 1-3-7 3-3-7 และ 4-3-7 มีลักษณะผลยาว ความเผ็ดปานกลาง เกสรเพศผูไมเปน
หมัน และใหผลผลิตสูง จากการผสมกลับเพื่อปรับปรุงความเผ็ดของสายพันธุแมซึ่งมีเกสรเพศผู
เปนหมัน 2 ครั้ง ทําใหไดสายพันธุแมทมี่ ีปริมาณสารแคปไซซินเพิ่มขึ้น 3 สายพันธุ ไดแก CF
21789BC2#14 CF 21789BC2#16 และ KY1-1BC2#10 นําสายพันธุแมผสมตัวเองเพื่อคัดเลือก
ตนที่มีเกสรเพศผูฝอ จีโนไทฟ Sms/ms เพื่อใชเปนตนแม เมื่อผสมขามสายพันธุพอแมโดยวิธีผลิต
ลูกผสมชั่วที่ 1 (F1 hybrid) ไดลูกผสมชั่วที่ 1 9 คูผสม เมื่อนํามาปลูกเปรียบเทียบกับสาย
พันธุพ อ และสายพันธุก ารคา 3 สายพันธุ คือ พริกหนุมจอมทอง 2 พริกหนุม เขียว และพริก
หนุมสันปาตอง พบวาพริกลูกผสมสวนใหญใหผลผลิตสูงกวาสายพันธุพอ และสายพันธุก ารคา
พริกลูกผสมใหผลผลิต 3,206.27 ถึง 6,149.28 กก./ไร สายพันธุพ อใหผลผลิต 3,128.64 ถึง
5,405.92 กก./ไร ลูกผสมชั่วที่ 1 KY1-1BC2#10 x 1-3-7 ใหผลผลิตเฉลี่ยสูงทีส่ ุด 6,149.28
กก./ไร มีความดีเดนของลูกผสม 5.20 เปอรเซ็นต สวนลูกผสมชัว่ ที่ 1 ที่มีเปอรเซ็นตความดีเดน
ของลูกผสมในดานผลผลิตสูงที่สุด คือ ลูกผสมชั่วที่ 1 KY1-1BC2#10 x 3-3-7 มีเปอรเซ็นตความ
ดีเดนของลูกผสม 38.66 เปอรเซ็นต ใหผลผลิต 5,504 กก./ไร ซึ่งลูกผสมชัว่ ที่ 1 KY1-
1BC2#10 x 1-3-7 มีความแตกตางกันทางสถิติอยางมีนัยสําคัญกับพริกหนุมจอมทอง 2 ที่ใหผล
ผลิต 5,363.2 กก./ไร แต ลูกผสมชั่วที่ 1 KY1-1BC2#10 x 3-3-7 ไมมีความแตกตางกันทาง
สถิติกับพริกหนุมจอมทอง 2
การศึกษาความเผ็ดของพริกทั้ง 15 สายพันธุ ดวยวิธกี ารวัดคาการดูดกลืนแสงที่
ความเขมแสง 750 นาโนเมตร พบวา พริกสายพันธุ 1-3-7 มีปริมาณสารแคปไซซินตอน้าํ หนักผล
1 กรัม สูงที่สดุ 9,310 scoville unit แตเมื่อทดสอบโดยคนชิมใหผลตางกัน โดยที่พริกลูกผสม
146

ทิ ธิ์สัมพันธ พบวา ความกวางของผลทีเ่ พิ่มขึ้นเปน


ปจจัยทีม่ ีผลตอการเพิ่มขึน้ ของน้าํ หนักผลมากกวาความยาวของผลที่เพิ่มขึ้น (คา r2 ของความ
กวาง 0.85 และ คา r2 ของความยาว 0.01) และพบวาน้าํ หนักผลที่เพิ่มขึ้นมีผลทําใหปริมาณสาร
แคปไซซินเฉลี่ยตอน้ําหนักผล 1 กรัมมีแนวโนมลดลง โดยมีคา r2 0.37
147

การทดลองที่ 3 ศึกษาพันธุกรรมของพริกเผ็ดในสายพันธุที่มีเกสรตัวผูเปนหมัน
(กนกวรรณ. 2546)
เมล็ดพันธุลูกผสมกลับทีน่ ํามาศึกษาความเปนหมัน 3 สายพันธุ จากการทดลอง
ที่ 2 (กฤษดา และมณีฉัตร. 2545) ไดแก พันธุ KY1-1#10BC1, พันธุ CF 21789#14BC1 และ
CF 21789#16BC1 จะมีลักษณะความเปนหมันติดมาดวย เนื่องจากเมล็ดพันธุดังกลาวไดจากการ
ผสมพันธุพริกสายพันธุพ ริกพันธุแมที่เปนหมัน (Smsms) กับตนพอปกติ (NMsMS) ใหลูกผสม
ชั่วที่ 1 (F1 hybrid) เปนตนพริกทีม่ เี กสรตัวผูไมเปนหมัน (SMsms) เมื่อนําลูกผสมชั่วที่ 1
มาผสมตัวเองไดลูกผสมชั่วที่ 2 ที่มีลักษณะดังนี้ คือ SMsMS SMsms และ Smsms (Ms-ยีนตัวผู
ปกติ, N-ไซโตพลาสซึมปกติ, S-ไซโตพลาสซึมที่เปนหมัน) อัตราสวนของตนพริกที่มีเกสรปกติตอ
ตนพริกที่มีเกสรตัวผูเปนหมัน 3:1 จากนั้นคัดเอาเฉพาะลักษณะ Smsms ไวและนํามาผสมกลับไป
ยังตนพริกสายพันธุพอที่มียนี ปกติ NMsMs เพื่อปรับปรุงลักษณะความเปนหมัน โดยทําการผสม
กลับ 1 ครั้ง

วิธีการทดลอง
1) เพาะเมล็ดพริกในถุงพลาสติก 3 สายพันธุ คือ KY1-1#10BC1,
CF 21789#14BC1 และ CF 21789#16BC1 ซึ่งเปนพันธุพ ริกลูกผสมกลับ เมื่อตนกลามีอายุ
ประมาณ 30 วันคัดเลือกตนกลาที่แข็งแรงและสมบูรณ พันธุละ 3 ตน ยายปลูกลงกระถางดินเผา
รองกนกระถางดวยปุย 15-15-15 15 g/ตน ปุย คอก 300 กรัม/ตน และยาฟูราดาน 20-30 เกล็ด/
ตน
2) นํากระถางตนกลาแตละพันธุมาวางเรียงไวในมุง ตาขายสีฟาที่เตรียมไว
ระยะหางระหวางตน 60 เซนติเมตร เขียนปายชื่อแตละพันธุติดไวที่กระถางพรอมหมายเลขลําดับ
ตนใสปุยบและพนยากันโรคและแมลงสัปดาหละครั้ง
3) ตนพริกจะเริ่มออกดอกหลังจากยายปลูกประมาณ 45 วัน ใหผสมพันธุ
ตัวเองโดยใน 1 ตนจะทําการผสมตัวเอง 2 แบบ คือ (1) ใชเกสรตัวผูที่อยูภายในตนเดียวกันและ
(2) ใชเกสรตัวผูระหวางตนในพันธุเดียวกนั ใหครอบดอกพริกที่มีกลีบดอกสีขาวและยังตูมอยูดวย
ถุงกระดาษขนาด 2 x 2 เซนติเมตรในตอนเย็น และชวยผสมดอกพริกในตอนเชาเวลาประมาณ
8.00-10.00 น. เมื่อทําการผสมเกสรแลวใหครอบถุงกระดาษไวตามเดิมประมาณ 1 สัปดาหเขียน
ปายชื่อแขวนไวที่ดอกที่ผสมเกสรแลว ทําการผสมตัวเองแบบนี้ประมาณ 3 สัปดาห
4) หลังจากผสมเกสรแลวประมาณ 40-50 วัน ผลผลิตจะเริ่มแดงและเก็บ
เกี่ยวได การเก็บผลผลิตใหเก็บแยกตนและแยกพันธุกนั แกะเมล็ดออกจากผล ผึง่ ลมใหแหง บันทึก
ขอมูลโดยนับจํานวนผลผลิต/ตน ชัง่ น้าํ หนักเมล็ด/ตน และน้ําหนักเมล็ดเฉลี่ย/ผล
148

ผลการศึกษาพันธุกรรมของพริกเผ็ดในสายพันธุทมี่ ีเกสรตัวผูเปนหมัน

1. เมื่อผสมตัวเองโดยใชเกสรตัวผูภายในตนเดียวกัน ใหผลดังนี้
KY1-1#10BC1
KY1-1#10BC1 ตนที่ 1 (KY1-1#10-1BC1 ) ใหผลผลิตตอตน 5 ผล/ตน ให
น้ําหนักเมล็ดตอตนเทากับ 0.312 กรัม/ตน และใหนา้ํ หนักเมล็ดเฉลีย่ ตอผล 0.062 กรัม/ผล สวน
ตนที่ 2 (KY1-1#10-2BC1) ใหผลผลิตตอตน 22 ผล/ตน ใหนําหนักเมล็ดตอตนเทากับ 3.153 กรัม/
ตน และใหนา้ํ หนักเมล็ดเฉลีย่ ตอผล 0.143 กรัม/ผล และตนที่ 3 (KY1-1#10-3BC1 ) ใหผลผลิตตอ
ตน 6 ผล/ตน ใหนา้ํ หนักเมล็ดตอตน 0.665 กรัม/ตน และใหนา้ํ หนักเมล็ดเฉลี่ยตอผล 0.111 กรัม/
ผล (ตารางที่ 16)

CF 21789#14BC1
CF 21789#14BC1 ตนที่ 1 (CF 21789#14-1BC1) ใหผลผลิตตอตน 28 ผล/ตน
ใหนา้ํ หนักเมล็ดตอตน 7.749 กรัม/ตน และใหนา้ํ หนักเมล็ดเฉลี่ยตอผล 0.277 กรัม/ผล สวนตนที่ 2
(CF 21789#14-2BC1) ใหผลผลิตตอตน 27 ผล/ตน ใหน้ําหนักเมล็ดตอตน 6.442 กรัม/ตน และให
น้ําหนักเมล็ดเฉลี่ยตอผล 0.239 กรัม/ผล และตนที่ 3 (CF 21789#14-3BC1) ใหผลผลิตตอตน 20
ผล/ตน ใหนา้ํ หนักเมล็ดตอตน 5.461 กรัม/ตน และใหน้ําหนักเมล็ดเฉลี่ยตอผล 0.273 กรัม/ผล

CF 21789#16BC1
CF 21789#16BC1 ตนที่ 1 (CF 21789#16-1BC1) ใหผลผลิตตอตน 9 ผล/ตน
ใหนา้ํ หนักเมล็ดตอตน 1.265 กรัม/ตน และใหนา้ํ หนักเมล็ดเฉลี่ยตอผล 0.141 กรัม/ผล สวนตนที่ 2
(CF 21789#16-2BC1) ใหผลผลิตตอตน 11 ผล/ตน ใหน้ําหนักเมล็ดตอตน 4.202 กรัม/ตน และให
น้ําหนักเมล็ดเฉลี่ยตอผล 0.382 กรัม/ผล และตนที่ 3 (CF 21789#16-3BC1) ใหผลผลิตตอตน 26
ผล/ตน ใหนา้ํ หนักเมล็ดตอตน 3.550 กรัม/ตน และใหน้ําหนักเมล็ดเฉลี่ยตอผลเทากับ 0.136 กรัม/
ผล

2. เมื่อทําการผสมตัวเองโดยใชเกสรตัวผูระหวางตนที่อยูภายในพันธุเดียวกัน
ใหผลดังนี้
KY1-1#10BC1
KY1-1#10BC1 ตนที่ 1 (KY1-1#10-1BC1 ) ใหผลผลิตตอตน 12 ผล/ตน ให
น้ําหนักเมล็ดตอตน 0.581 กรัม/ตน และใหนา้ํ หนักเมล็ดเฉลี่ยตอผล 0.048 กรัม/ผล สวนตนที่ 2
(KY1-1#10-2BC1) ใหผลผลิตตอตน 26 ผล/ตน ใหนาํ หนักเมล็ดตอตน 3.319 กรัม/ตน และให
149

CF 21789#14BC1
CF 21789#14BC1 ตนที่ 1 (CF 21789#14-1BC1) ใหผลผลิตตอตน 24 ผล/ตน
ใหนา้ํ หนักเมล็ดตอตน 8.311 กรัม/ตน และใหนา้ํ หนักเมล็ดเฉลี่ยตอผล 0.346 กรัม/ผล สวนตน
ที่ 2 (CF21789#14-2BC1) ใหผลผลิตตอตน 34 ผล/ตน ใหนา้ํ หนักเมล็ดตอตน 8.077 กรัม/ตน
และใหนา้ํ หนักเมล็ดเฉลี่ยตอผล 0.238 กรัม/ผล และตนที่ 3 (CF21789#14-3BC1) ใหผลผลิตตอ
ตน 28 ผล/ตน ใหนา้ํ หนักเมล็ดตอตน 7.422 กรัม/ตน และใหนา้ํ หนักเมล็ดเฉลี่ยตอผล 0.265 กรัม/
ผล

CF21789#16BC1
CF21789#16BC1 ตนที่ 1 (CF21789#16-1BC1) ใหผลผลิตตอตน 17 ผล/ตน
ใหนา้ํ หนักเมล็ดตอ ตน 2.211 กรัม/ตน และใหนา้ํ หนักเมล็ดเฉลี่ยตอผล 0.130 กรัม/ผล สวนตนที่ 2
(CF21789#16-2BC1) ใหผลผลิตตอตน 17 ผล/ตน ใหน้ําหนักเมล็ดตอตน 4.296 กรัม/ตน และให
น้ําหนักเมล็ดเฉลี่ยตอผล 0.253 กรัม/ผล และตนที่ 3 (CF21789#16-3BC1) ใหผลผลิตตอตน 44
ผล/ตน ใหนา้ํ หนักเมล็ดตอตน 8.675 กรัม/ตน และใหน้ําหนักเมล็ดเฉลี่ยตอผล 0.197 กรัม/ผล

2. การศึกษาความเปนหมันของพริกเผ็ดจากความงอกของละอองเกสรตัวผู
KY1-1#10BC1
KY1-1#10BC1 ตนที่ 1 (KY1-1#10-1BC1) ใหเปอรเซ็นตความงอกของ
ละอองเกสร 7 เปอรเซ็นต ตนที่ 2 (KY1-1#10-2BC1) ใหเปอรเซ็นตความงอกของละอองเกสร 24
เปอรเซ็นต และตนที่ 3 (KY1-1#10-3BC1 ) ใหเปอรเซ็นตความงอกของละอองเกสร 11 เปอรเซ็นต

CF 21789#14BC1
CF 21789#14BC1 ตนที่ 1 พันธุ (CF21789#14-1BC1) ใหเปอรเซ็นตความงอก
ของละอองเกสร 48 เปอรเซ็นต ตนที่ 2 (CF 21789#14-2BC1) ใหเปอรเซ็นตความงอกของ
ละอองเกสร 43 เปอรเซ็นต และตนที่ 3 (CF 21789#14-3BC1) ใหเปอรเซ็นตความงอกของละออง
เกสร 37 เปอรเซ็นต

CF 21789#16BC1
150

CF 21789#16BC1 ตนที่ 1 (CF 21789#16-1BC1) ใหเปอรเซ็นตความงอกของ


ละอองเกสร 13 เปอรเซ็นต ตนที่ 2 (CF 21789#16-2BC1) ใหเปอรเซ็นตความงอกของ
ละอองเกสร 29 เปอรเซ็นต และตนที่ 3 (CF 21789#16-3BC1) ใหเปอรเซ็นตความงอกของ
ละอองเกสร 42 เปอรเซ็นต

ตารางที่ 16 ผลผลิต นา้ํ หนักเมล็ด น้ําหนักเมล็ดเฉลีย่ และเปอรเซ็นตความงอกของละออง


เกสรตัวผู
ผสมตัวเองโดยใชเกสรตัวผู ผสมตัวเองโดยใชเกสรตัวผู ความงอก
ตนที่ พันธุพริก ภายในตนเดียวกัน ระหวางตนรวมผสม ละอองเกสร
(%)
จํานวน น้ําหนัก น้ําหนักเมล็ด จํานวน น้ําหนัก น้ําหนัก
ผล เมล็ด เฉลี่ย(กรัม/ ผล เมล็ด(กรัม/ เมล็ด
(ผล/ตน) (กรัม/ ตน) (ผล/ตน) ตน) เฉลี่ย
ตน) (กรัม/ตน)
1 KY1-1#10-1BC1 5 0.312 0.062 12 0.581 0.048 7
2 KY1-1#10-2BC1 22 3.153 1.143 26 3.319 0.128 24
3 KY1-1#10-3BC1 6 0.665 0.111 15 1.253 0.084 11
1 CF21789#14-1BC1 28 7.749 0.277 24 8.311 0.346 48
2 CF21789#14-2BC1 27 6.442 0.239 34 8.077 0.238 43
3 CF21789#14-3BC1 20 5.461 0.273 28 7.422 0.265 37
1 CF21789#16-1BC1 9 1.265 0.141 17 2.211 0.130 13
2 CF21789#16-2BC1 11 4.202 0.382 17 4.296 0.253 29
3 CF21789#16-3BC1 26 3.550 0.136 44 8.675 0.197 42
วิจารณ

จากการศึกษาความเปนหมันของพริกเผ็ดสายพันธุลกู ผสมกลับ (BC1) 3 สาย


พันธุซ ึ่งมีพนั ธุกรรมเปนหมันในเกสรตัวผู ไดแก KY1-1#10-BC1, CF21789#14-BC1,และ
CF21789#16-BC1 โดยศึกษาจากการผสมตัวเองและจากการงอกของละอองเกสรตัวผู
เมื่อทําการผสมตัวเองโดยการใชเกสรตัวผูภ ายในตนเดียวกันและใชเกสรตัวผู
ระหวางตนภายในพันธุเดียวกัน พบวาในพันธุ KY1-1#10-BC1 ตนที่ 1 (KY2-1#10-1BC1) และตน
ที่ 3 (KY1-1#10-3BC1) ใหผลผลิตและใหนา้ํ หนักเมล็ดพันธุตา่ํ เมื่อเทียบกับตนที่ 2 (KY1-1#10-
2BC1) ซึ่งใหผลผลิตและน้ําหนักเมล็ดพันธุสูง และจากการตรวจสอบความงอกของละอองเกสร
ตัวผูพบวาตนที่ 1 (KY1-1#10-1BC1) และตนที่ 3 (KY1-1#10-3BC1) ใหเปอรเซ็นตความงอกของ
ละอองเกสรตัวผูต่ํา สวนตนที่ 2 (KY1-1#10-2BC1) ใหเปอรเซ็นตความงอกของละอองเกสรตัวผู
151

นั และใชเกสรตัวผูที่อยูระหวางตนภายในพันธุเดียวกัน พบวาตนที่ 1, 2 และ 3


CF21789#14-1BC1 , CF21789#14-2BC1 และ CF21789#14-3BC1) ใหผลผลิตและน้ําหนัก
เมล็ดพันธุสูงใกลเคียงกัน และจากการตรวจสอบความงอกของละอองเกสรตัวผูพ บวาทั้ง 3 ตน
(CF21789#14-1BC1 , CF21789#14-2BC1 และ CF21789#14-3BC1) ใหเปอรเซ็นตความงอก
ของละอองเกสร ตัวผูสูงใกลเคียงกันทั้ง 3 ตน จึงคาดคะเนไดวา CF21789#14BC1 ตนที่ 1, 2
และ 3 (CF21789#14-1BC1 , CF21789#14-2BC1 และ CF21789#14-3BC1) นาจะมีการ
แสดงออกของยีนเปนแบบ SMsMs หรือ SMsms ทําใหมีเกสรตัวผูปกติ
และใน CF21789#16BC1 เมื่อทําการผสมตัวเองโดยใชเกสรตัวผูภายในตน
เดียวกันและใชเกสรตัวผูระหวางตนภายในพันธุเดียวกัน พบวา ตนที่ 1 (CF21789#16-1BC1) ให
ผลผลิตและน้ําหนักเมล็ดพันธุต่ํา เมื่อเทียบกับตนที่ 2 (CF21789#16-2BC1) และตนที่ 3
(CF21789#16-3BC1) ซึง่ ใหผลผลิตและน้ําหนักเมล็ดพันธุสงู และเมื่อตรวจสอบความงอกของ
ละอองเกสรตัวผูพบวา ตนที่ 1 (CF21789#16-1BC1) ใหเปอรเซ็นตความงอกของละอองเกสรตัวผู
ต่ํา สวนตนที่ 2 (CF21789#16-2BC1) และตนที่ 3 (CF21789#16-3BC1) ใหเปอรเซ็นตความ
งอกของละอองเกสรตัวผูสงู จึงทําใหคาดคะเนไดวา CF21789#16-1BC1 ตนที่ 1 (CF21789#16-
1BC1) นาจะมีการแสดงออกของยีนเปน Smsms ทําใหมีเกสรตัวผูเปนหมัน สวนตนที่ 2
(CF21789#16-2BC1) และตนที่ 3 (CF21789#16-3BC1) นาจะมีการแสดงออกของยีนเปนแบบ
SMsMs หรือ SMsms ทําใหมีเกสรตัวผูปกติ
จากผลการทดลองขางตน พบวาพันธุกรรมเปนหมันในเกสรตัวผูข องพริกเผ็ดที่
นํามาศึกษามีความไมคงที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเนื่องมาจากอุณหภูมิที่สงู เกินไปในชวงทีม่ ีการผสมเกสร
จึงทําใหการแสดงออกของยีนทีท่ ําใหเกสรตัวผูเปนหมันผิดปกติเมื่อทําการผสมเกสรจึงมีการติดผล
และเมล็ดขึ้นเปนผลใหผลการทดลองคลาดเคลื่อนไปจากความเปนจริง Novak et al. (1971) จาก
การทดลองในการคัดเลือกตนที่มเี กสรตัวเพศผูเปนหมันที่จะนํามาใชเปนสายพันธุแมในประชากร
ที่ปลูกจํานวนไมมากไดพบกับปญหาความไมคงที่ของความเปนหมัน Ledo et al. (1992) รายงาน
วาตนพริกที่มีเกสรตัวผูเปนหมันจะพบวาบางอับละอองเรณูมีละอองเรณูที่ฝอและ cytoplasmic
genic male sterility (Rfrfr ยีน และ N, S ไซโตพลาสซึม) เปนลักษณะที่ตอบสนองตออุณหภูมิ
มาก
152

1#1BC1, CF21789#14BC1 และ CF21789#16BC1 ซึ่งเปนพันธุพริกลูกผสมกลับทัง้ หมด


จํานวน 9 ตน (พันธุละ 3 ตน)
เมื่อทําการผสมตัวเองโดยใชเกสรตัวผูภายในตนเดียวกันและใชเกสรตัวผูระหวาง
ตนในพันธุเดียวกัน พบวา KY1-1#10-1BC1 ตนที่ 1 ใหผลผลิต 5 และ 12 ผล/ตน, ใหน้ําหนัก
เมล็ด 0.312 และ 0.581 กรัม/ตน, ใหนา้ํ หนักเมล็ดเฉลี่ย 0.062 และ 0.048 กรัม/ผล และให
เปอรเซ็นตความงอกของละอองเกสรตัวผูเทากับ 7% ซึ่งมีการแสดงออกของยีนเปน Smsms จึงทํา
ใหมีเกสรตัวผูเปนหมัน สวน KY1-1#10-2BC1 ตนที่ 2 ใหผลผลิต 22 และ 26 ผล/ตน, ใหนา้ํ หนัก
เมล็ด 3.153 และ 3.319 กรัม/ตน, ใหนา้ํ หนักเมล็ดเฉลี่ย 0.143 และ 0.128 กรัม/ผล และให
เปอรเซ็นตความงอกของละอองเกสรตัวผู 24 % ซึ่งมีการแสดงออกของยีนเปน SMsMs หรือ
SMsms จึงทําใหมีเกสรตัวผูปกติ และ KY1-1#10-3BC1) ตนที่ 3 ใหผลผลิต 6 และ 5 ผล/ตน, ให
น้ําหนักเมล็ด 0.665 และ 1.253 กรัม/ตน, ใหนา้ํ หนักเมล็ดเฉลี่ย 0.111 และ 0.084 กรัม/ผล และ
ใหเปอรเซ็นตความงอกของละอองเกสรตัวผู 11% ซึ่งมีการแสดงของยีนเปน Smsms จึงทําใหมี
เกสรตัวผูเปนหมัน
CF21789#14-1BC1 ตนที่ 1 ใหผลผลิต 28 และ 24 ผล/ตน, ใหนา้ํ หนักเมล็ด
7.749 และ 8.311 กรัม/ตน, ใหนา้ํ หนักเมล็ดเฉลี่ย 0.277 และ 0.346 กรัม/ผล และใหเปอรเซ็นต
ความงอกของละอองเกสรตัวผู 48 % ซึ่งมีการแสดงออกของยีนเปน SMsMs หรือ SMsms จึงทํา
ใหมีเกสรตัวผูป กติ สวน CF21789#14-2BC1 ตนที่ 2 ใหผลผลิต 27 และ 34 ผล/ตน, ให น้ําหนัก
เมล็ด 6.442 และ 8.077 กรัม/ตน, ใหนา้ํ หนักเมล็ดเฉลี่ย 2.239 และ 2.238 กรัม/ผล และให
เปอรเซ็นตความงอกของละอองเกสรตัวผู 43 % ซึ่งมีการแสดงออกของยีนเปน SMsMs หรือ
SMsms จึงทําใหมีเกสรตัวผูปกติ และ ตนที่ 3 (CF21789#14-3BC1) ใหผลผลิต 20 และ 28 ผล/
ตน, ใหนา้ํ หนักเมล็ด 5.461 และ 7.422 กรัม/ตน, ใหนา้ํ หนักเมล็ดเฉลี่ย 0.273 และ 0.265 กรัม/
ผล และใหเปอรเซ็นตความงอกของละอองเกสรตัวผู 37 % ซึ่งมีการแสดงออกของยีนเปน SMsMs
หรือ SMsms จึงทําใหมีเกสรตัวผูปกติ
และใน CF21789#16-1BC1 ตนที่ 1 ใหผลผลิตเทากับ 9 และ 17 ผล/ตน, ให
น้ําหนักเมล็ด 1.265 และ 2.211 กรัม/ตน, ใหนา้ํ หนักเมล็ดเฉลี่ย 0.141 และ 0.130 กรัม/ผล และ
ใหเปอรเซ็นตความงอกของละอองเกสรตัวผู 19 % ซึ่งมีการแสดงออกของยีนเปน Smsms จึงทํา
ใหมีเกสรตัวผูเปนหมัน สวน CF21789#16-2BC1 ตนที่ 2 ใหผลผลิต 11 และ 17 ผล/ตน, ให
น้ําหนักเมล็ด 4.202 และ 4.296 กรัม/ตน, ใหน้ําหนักเมล็ดเฉลี่ย 0.382 และ 0.253 กรัม/ผล และ
ใหเปอรเซ็นตความงอกของละอองเกสรตัวผู 29 % ซึง่ มีการแสดงออกของยีนเปน SMsMs หรือ
153

C1) เนื่องจากมีพันธุกรรมเปนหมันในเกสรตัวผูซ ึ่ง


ลักษณะดังกลาวมีประโยชนตอการนําไปปรับปรุงพันธืพริกเพื่อผลิตเมล็ดพันธลูุ กผสมที่ดีตอไปใน
อนาคต
บทที่ 7

โรคไวรัสในพริก

โรคไวรัสเปนโรคที่พบมากในพริก ตนพริกแสดงอาการใบดาง ใบหด หรือใบแตก


เปนกระจุก การเจริญเติบโตหยุดชงัก ตนแคระแกร็น ทั้งนี้เนื่องจากไวรัส RNA ยับยั้งขบวนการ
สังเคราะหคลอโรฟลลของพืชทําใหปรากฏเปนจุดสีเหลืองที่ใบพืช จุดที่แสดงอาการเปนโรคเหลานี้
เกิดจากปฏิกิรยิ าที่ตอบสนองตอไวรัส (hypersensitive reaction) ที่เซลพืชที่ไดรับเชื้อไวรัสแลว
ตายทันที ทําใหโรคไวรัสถูกยับยั้งไมสามารถแพรไปสูสวนอื่นๆ ของตนไม หลังจากนัน้ 5-7 วัน ใบที่
แสดงอาการก็มีจุดสีเหลืองและแหง หลงั จากนัน้ ใบก็รว งไปทําใหตน ไมปราศจากโรคไวรัส ปฏิกิริยา
เชนนีพ้ บในพริกตานทานตอ TMV ไดแก C. frutescens cv. Tabasco และ C. annuum cv.
Mimimum Blanco ยีนที่ควบคุมลักษณะดังกลาวเปนยีนเดนยีนเดียว ใชอักษร L ซึ่งมียีนดอย l
และ li ตนไมทมี่ ียีนดอยแสดงอาการจุดสีเหลืองและแหงทั่วๆ ไป (systemic necrosis) โดยเฉพาะ
ถาอุณหภูมิสงู ตนไมอาจตายเพราะเชื้อไวรัสได โรคไวรัสของพริกพบในประเทศไทย มีทั่วไปใน
แหลงปลูกพริก มีโรคใบดางและโรคใบลีบ ที่เกิดจากเชื้อ CMV (cucumber mosaic virus) และ
TMV (tobacco mosaic virus) Rivera – Bustamante and Lozoya – Gloria 2002 รายงานวา
Pep GMV (Pepper Golden Mosaic Gemivirus) เปนไวรัสที่ทาํ ความเสียหายทางเศรษฐกิจที่
สําคัญแกพริกในประเทศเม็กซิโก และไมมีรายงานวามีความตานทานของพริกตอไวรัสชนิดนี้ แต
พบวาอาการของพริกที่ไดรับเชื้อไวรัสลดลงไดในสภาพทีค่ วบคุม ดังนั้นจึงมีขอเสนอวา อาจมี
ปฏิกิริยาระหวางพริกและไวรัส และมีการเปลี่ยนแปลงของการแสดงออกของพริก เนื่องจากได
ทดลองไวรัสในพริกพันธุ Sonora Anaheim พบวาเมือ่ ใสเชื้อ ไวรัสใหแกพริก ใบยอดแสดงอาการ
ของไวรัส สวนใบลางๆ ไมแสดงอาการเมื่อตรวจดูในเนื้อเยื่อพบวาใบที่แสดงอาการมีไวรัสมากกวา
ใบที่ไมแสดงอาการ เขาใจวายีนที่ตานทานไวรัสไดแสดงออกในใบที่ไมแสดงอาการ
154

เชื้อสาเหตุของโรคไวรัสในพริก
โรคไวรัสในพริกของประเทศสหรัฐอเมริกาพบวามีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส
หลายชนิด (Bassett 1986) เชน TMV (tobacco mosaic rivus) มียีน L เปนยีนตานทาน ดังที่
กลาวมาแลวขางตน SLTMV (Samsun latent strain of TMV) มียีน L2 และ L3 เปนยีนตานทาน
CMV (cucumber mosaic virus), PVY (potato virus Y), TEV (tobacco etch virus), TSWV
(tomato spotted virus), PMV (pepper mottle virus) และ TRSV (tobacco ring spot virus)

พาหะที่นาํ โรคไวรัส
เปนความเขาใจโดยทัว่ ๆ ไปวาวัชพืชเปนตัวนําโรคไวรัสใหแกพริก แตจากการ
ทดสอบ โดย Whitam (1974) ไดถายเชื้อไวรัส CMV, PVY, TEV และ TSWV จากวัชพืช 18 ชนิด
(species) ใหแกพริกพบวาเปนไปไดดวยความลําบาก การถายเชือ้ ที่มากที่สุดพบใน Solanum
nigrum (black night shade) 26/42 ตามดวย Medicago anabica (spotted bur clover)
15/85, Rudbeckia amplexicaulis (Blackeyed Susan) 12/54, Melilotus officinalis (yellow
sweet clover) 10/51, Geranum carolinianum (cranesbill) 8/40 และ Senecio glabellus
(butterweed) 5/69 ในการถายเชื้อไวรัสทั้งหมด 615 ครั้ง พบวา เปนโรคไวรัส CMV 47 ครั้ง, PVY
45 ครั้ง, TEV 21 ครั้ง และ TSWV 7 ครั้ง ผลการศึกษานี้คอนขางแตกตางจากความเขาใจวาวัชพืช
เปนแหลงทีถ่ ายเชื้อไวรัสใหแกพืช การวิจยั ดังกลาวทดลองที่ประเทศสหรัฐอเมริกา หากมีการวิจยั
เชนนี้ในประเทศไทยบางก็คงเปนการดี เพราะวัชพืชในประเทศไทยตางชนิดกันกับพืชทีก่ ลาว
มาแลว
พืชที่ผลิตเปนอาหารเชน มะเขือเทศ มะเขือ ยาสูบ มัสตารด และแตงแคนตาลูป
ที่ปลูกใกลตน พริกจะถายทอดเชื้อไวรัสใหแกพริกได เชน มะเขือเทศ ถายเชื้อไวรัส CMV, TEV,
TMV และ potato virus X (PVX) ใหแกพริกได แตงแคนตาลูปถายเชื้อไวรัส CMV ใหแกพริก
มะเขือถายเชือ้ ไวรัส CMV และ TEV ใหแกพริก ยาสูบถายเชื้อไวรัส TMV, TEV และ PVX ใหแก
พริก และมัสตารด ถายเชื้อไวรัส PVX ใหแกพริกได

สัณฐานวิทยาของพริกตานทานไวรสั
Sandha et al. (1999) ศึกษาถึงลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพริกทีต่ านทานตอ
โรคไวรัส (cucumber mosaic virus) พบวา พันธุพ ริกที่ตานทานตอโรคไวรัสมีความหนาของสาร
เคลือบใบ (cuticle) และผิวใบหนากวาพันธุพริกที่ออนแอตอไวรัสอยางมีนัยสําคัญหลังจากที่พนั ธุ
พริกที่ออนแอตอไวรัสไดรับเชื้อไวรัสแลวผิวใบสูญเสียลักษณะทีเ่ ปนระเบียบ โดยพาลิเสดเซล
(palisade cell) เรียงตัวไมเปนระเบียบ และเซลยังแตกหักดวย นอกจากนี้สปอนจีเซล (spongy
155

ความปลอดภัยของพริก GMO (genetically modified organism) สําหรับการบริโภค


Chen et al. (2003) ไดรายงานวาเมื่อยีน (coat protein gene) ของไวรัส
(cucumber mosaic virus, CMV) ถูกถายใหแกพริกยักษและมะเขือเทศเพื่อใหตานทานตอโรค
ไวรัส CMV มีการตรวจสอบความปลอดภัยในการใชตนไมทไี่ ดรับการดัดแปลงพันธุกรรม
(genetically modified) มีความปลอดภัยตอการบริโภค และไดพบวา ผลิตภัณฑจากพืชเหลานี้
ไมไดแสดงความเปนพิษทางพันธุกรรม (genotoxicity) ในการทดสอบนิวเคลียส (micronucleus
test) การทดสอบการผิดปกติของสเปอรม (sperm aberration test) และการทดสอบอาเมส
(Ames test) ทั้งในระดับเซล (in vivo) หรือภายนอกเซล (in vitro) และจากการทดลองใหเปน
อาหารหนูก็ไมพบความแตกตางในการเจริญเติบโต การเพิ่มน้ําหนัก การกินอาหาร เลือด สารเคมี
ในเลือด น้าํ หนักอวัยวะ และ histopathoglogy เมื่อเลี้ยงหนูดวยพริกยักษและมะเขือเทศที่
ดัดแปลงพันธกุ รรม และไมดัดแปลงพันธุกรรม ผลแสดงใหเห็นวา พริกยักษและมะเขือเทศที่
ดัดแปลงพันธุกรรม ปลอดภัยเหมือนๆ กับพืชที่ไมไดดัดแปลงพันธุกรรม

เอกสารอางอิง

กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ. 2519. รายงานผลงานวิจัย ป 2519


เรื่องการปรับปรุงพันธุพริกพื้นเมืองจินดา กองพืชสวน สาขาพืชผัก กองวิทยาการ
กรมวิชาการเกษตร.
กฤษฎา สุขวิวัฒน และมณีฉัตร นิกรพันธุ. 2545. การพัฒนาพอแมพันธุลกผสมชั่วที่หนึ่งของ
พริกเผ็ด. การประชุมพืชสวนแหงชาติ. ตุลาคม 2545. มหาวิทยาลัยขอนแกน.
เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิพ์ ิเชษฐ. 2527. การปรับปรุงพันธุพืชชัน้ สูง ภาควิชาพืชไรนา คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ. 161 น.
เฉลิมเกียรติ โภควัฒนา. 2536. การผลิตการตลาดพริก. โรงพิมพชมุ นุมสหกรณการเกษตรแหง
ประเทศไทย. กรุงเทพฯ.
ดําเนิน กาละดี. 2541. การปรับปรุงพันธุพ ืชผสมตัวเอง. ภาควิชาพืชไร คณะเกษตรศาสตร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม. 256 น.
156

นงลักษณ ไมลหรือ. 2542. การปรับปรุงพันธุพ ริกเผ็ดโดยใชสายพันธุเ กสรตัวผูเปนหมัน.


วิทยานิพนธปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม, เชียงใหม. 66 น.
นงลักษณ ไมลหรือ, โชคชัย ไชยมงคล, ตระกูล ตันสุวรรณ และมณีฉัตร นิกรพันธุ. 2546. การ
ปรับปรุงพันธุพ ริกโดยใชสายพันธุเกสรตัวผูเปนหมัน. วารสารแกนเกษตร
มหาวิทยาลัยขอนแกน ฉบับที่ 1 ปที่ 31.
พยนต คุมภัย นริศร ขจรผล และปรีดา จาติกวานิช. 2526. การศึกษาพันธุพริกในประเทศไทย
วารสารวิทยาศาสตรเกษตร 16(4):295-303.
มงคล พทุ ธวงศ. 2540. การปรับปรุงพันธุพ ริกชี้ฟา “นานเจา”. ใน : หนา 343-349 เอกสารในการ
ประชุมวิชาการพืชผักแหงชาติ ครั้งที่ 15 11-14 สิงหาคม ณ โรงแรมรามาการเดนส,
กรุงเทพฯ.
มณีฉัตร นิกรพันธุ. 2538. พริก. เอกสารประกอบการสอนวิชาการจําแนกพืชผักและการปรับปรุง
พันธุผกั . ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม, เชียงใหม. 186 น.
มณีฉัตร นิกรพันธุ, สุรพล ธนการกิจกุล, มาโนช ทองเจียม, ตระกูล ตันสุวรรณ, ปรัชญา คงทวีเลิศ
และคณะ. 2545. การปรับปรุงพันธุผักและการผลิตเมล็ดพันธุผกั . ในวารสารงานเกษตร
ปที่ 18 พ.ศ. 2545. คณะเกษตรศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม. S1 – S22.
ลักษณา วรรณภีร. 2536. การผลิตการตลาดพริก : โรคแมลงศัตรูพริกและการปองกันกําจัด
กรมสงเสริมการเกษตร หนา 30-38.
สุชีลา เตชะวงคเสถียร. 2540. การปรับปรุงพันธุพริกชอทนแลง. ใน : หนา 155 - 169. เอกสารใน
การประชุมวิชาการ พืชผักแหงชาติครั้งที่ 15 11–14 สิงหาคม ณ โรงแรมรามาการ
เดนส, กรุงเทพฯ.
ศูนยวิจยั พืชสวนศรีสะเกษ. 2535. รายงานผลงานวิจัยประจําป สถาบันวิจัยพืชสวน กรม
วิชาการเกษตร 340 น.
สุชีลา เตชะวงศเสถียร. 2536. การผลิตการตลาดพริก : การปรับปรุงพันธุพริก กรมสงเสริม
การเกษตร หนา 49-57.
สุชีลา เตชะวงษสเถียร. 2540. การปรับปรุงพันธุพริกชอทนแลง. ใน : หนา 155-169. เอกสารใน
การประชุมวิชาการพืชผักแหงชาติ ครั้งที่ 15 11-14 สิงหาคม ณ โรงแรมรามาการเดนส,
กรุงเทพฯ.
อักษร ศรีเปลง. 2523. พริก ขาวสารเกษตรศาสตร เดือนสิงหาคม-กันยายน หนา 8-24.
Ahmed, N., J. Singh and K. Bajaj. 1983. Genetics of capsaicin content in chilli pepper
(Capsicum annuum L.). Plant Breeding Abstracts 66(6):482.
157

Allard, R. W. and A. D. Bradshaw. 1964. Implications of Genotype-Environment


Interaction in Applied Plant Breeding. Crop sci. 4:503-508.
Anan, T. H., H. Matsunaga and S. Monama. 1966. A Simple Method for Determining
the Degree of Pungency of Pepper. Capsicum And Eggplant Newsletter 15 : 51-
54.
Andrzejewski, R. P., I. J. Odrzykoski, and E. Andrzejewska. 1989/1990.
Monitoring interspecific hybridization between Capsicum baccatum, C.
chacoense and C. annuum with isoenzymes. Capsicum Newsletter No. 8-9,
38-39. Department of Genetics
and Plant Breeding, University of Agriculture, Poznan, Poland.
Antipova, N. Y. 1990. Results of breeding work and a study of some
agronomic measures with sweet pepper. Simferopool, 15-16
maya, 1990. Moscow, USSR (1990) 66-67 [Ru] From Referativnyi Zhurnal
(1990) 10 Ya3324.
Baggett, J. R. and D. Kean. 1988. `Marbles' and `Riot' dwarf ornamental
peppers. HortScience 23(6) 1097 [En] Dep. Hort., Oregon State Univ.,
Corvallis, OR97331, USA.
Bartz, J. A., and W. M. Stall. 1974. Tolerance of fruit from different pepper lines to
Erwinia carotovora. Phytopathology 64, 1290-1293.
Basset, M. J. 1986. Breeding vegetable crops. Avi Publishing Company, Inc.
Westport, Connecticut, pp. 584.
Belletti, P. and L. Quagliotti. 1989. Problems of seed production and
storage of peppers. Tomato and pepper Production in the Tropics, Asian
vegetable Research and Development Center, Taiwan, 28-41.
Bhagyalakshmi, P. V., C. R. Shankar, D. Subrahmanyam, and V. G. Babu. 1991.
Heterosis and combining ability studies in chillies. Indian Journal of Genetics &
Plant Breeding 51(4) 420-423.
Andhra Pradesh Agricultural University, Agricultural College, Bapatta
522101, India.
Bosland, P. W. 1996. Capsicum : Innovation use of an ancient crop. Pp. 479-178. In
Journal Janic, Progress in New Crop. ASHS Press. Arilington.
158

Blank, A. F. and W. R. Moluf. 1997. Gene action and early testing for combining ability
in sweet peppers (Capsicum annuum L.). J. Genet. & Breed. 51 : 319-324.
Bosland, P. W. 1992. `NuMex Sunglo'. `MuMex Sunflare', and `NuMex
Sunburst' ornamental chile peppers. HortScience (1992) 27 (12) 1341-
1342 [En, 4 ref.] Department of Agronomy & Horticulture, New Mexico State
University, Las Cruces, NM 88003, USA.
Briggs, F. N. and P. F. Knowles. 1967. Introduction to plant breeding. Reinhold
Publishing Corporation. pp. 426.
Byung-Soo, K. 1988. Characteristics of bacterial spot resistant lines and
Phytophthora blight resistant lines of Capsicum pepper. Journal of the Korean
Society for Horticultural Science (1988) 29 (4) 247-252 [Ko, en, 31 ref.]
Dep. Hort. Coll. Agric., Kyungpook Natn Univ., Taegu 702-010, Korea
Republic.
Casali, V. W. D., J. G. Padua, and J. P. Campos. 1986. Breeding lines of
sweet pepper obtained by single seed descent method.
Capsicum Newsletter (1986) No. 5, 32 [En] Univ. Vicosa, Fitotecnia Dep.,
36570. Vicosa, Brazil.
Chen, X. S. 1985. Determination of combining ability and analysis of heterosis
in pollen line C. annuum var. grossum Sendt. Acta Horticulture Science
12 (4) : 267 - 272.
Chen, Z. L., H. Gu, Y. Li, Y. Su, P. Wu, Z. Jiang, X. Ming, J. Tian, N. Pan and L. J. Qu.
2003. Safety assessment for genetically modified sweet pepper and tomato.
Toxicology, vol. 188, Issues 2-3; 297-307.
Chowdhury, B., S. Mukhopadhyay, D. Bhattacharayay and A. K. De. 2003. Capsaicin a
unique anti-oxidant, anti-inflammatory, analgesic compound with antifungal
activity against dermatophytes. Medical science Research vol. 24, Issue 10.
Cruz, L., G. Castaneda-Hernandez and A. Navarrete. 2003. Ingestion of chilli pepper
(Capsicum annuum) reduces salicylate bioavailability after oral asprin
administration in the rat. Area Farmaceutica, Facultad de estudios Superiores
159

Zaragoza, Universidad Nacional Autonoma de Mexico DF.


www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/

Cheng, S. S. 1989. The use of Capsicum chinense as sweet pepper cultivars and
sources for gene transfer. Tomato and pepper production in the tropics.
Proceedings of the international
symposium on integrated management practices. Asian
vegetable Research and Development Center P.O. Box 205, Taipei, 55-62.
Choi, J. K., D. Y. Park, Y. H. Woo, and J. M. Sung. 1990. Studies on the resistance of
red pepper varieties to Phytophthora blight and anthracnose. Research
Reports of the Rural Development Administration, Horticulture 32(2)1-9 [ko,
en, 15 ref.]. Pyongchang-gun Rural Guidance Office, Ryongchang, Kangweon,
Korea Republic.
De Candolle, A. 1886. Origin of cultivated plants. 2nd Edition, Hafner Publishing Co.,
New York, NY 1967.
Erwin, A. T. 1932. The peppers. Iowa Agr. Expt. Sta. Bul. 293 121-151.
Eshbaugh, W. H. 1979. A biosystematic and evolutionary study of the Capsicum
pubescens complex. Natt. Geogr. Soc. Res. Repts., 1970 Projects:143-162.
Eshbaugh, W. H. 1980. Chilli peppers in Bolivia FAO/IBPGR Plant. Gen. Resources
Newsl., 43:17-19.
Fausto de S. S., W. R. Maluf, L. A. A. Gomes and V. P. Campos. 2002. Inheritance of
resistance to Meloidogyn incognita race 2 in the hot pepper cultivar Carolina
Cayenne (Capsicum annuum L.). Department os de Biology, Agriculture and
Fitopatologia, Universidade Federal de Lavras, Caixa Postal 37,37200-000
Lavras, Mg, Brazil. http://www.funpecrp.com.br/gmr/year2002/vol3-1/gmr0006-
abstract.htm. Genet.Mol. Res. 1(3):271-279.
Ferrari, V., G. Celani and S. Porcelli. 1988. Research methodology on the pungency of
chili peppers (Capsicum annuum L.). Sementi Elette 6(34): 9-15.
160

Furuse, T., Y. Miura, K. Yagasaki, T. Shiroishi and T. Koide. 2003. Identification of


QTLs for differential capsaicin sensitivity between mouse strains KJR and
C57BL/6. Elsevier Science B. V.
Fery, R. L. and J. M. Schalk. 1991. Resistance in pepper (Capsicum
annuum L.) to Western flower thrips [Frankliniella occidentalis (Pergande)].
HortSci. 26(8):1073-1074.
Garcia-Pineda, E., E. Castro-Mercado and E. Lozoya-Gloria. 2001. Pepper (Capsicum
annuum L.) ascorbate oxidase gene induction by elicitor and wounding.
Universidad Autonoma de Aguascalientes, Dept. de Quimica.
http://abstracts.aspb.org/aspp 2001/public/p51/0024.html.
Giatgong, P. 1980. Host index of plant diseases in Thailand. Ministry of
Agriculture and Cooperatives, Bangkok, Thailand 2nd edition. pp. 118.
Grubben, G. J. H. 1977. Tropical vegetables and their genetic resources. IBPGR,
Rome. pp 197.
Gvozdenovic, D., A. Takac, D. Jovicevic, D. Bugarski. 1992.
Production and technological characteristics of new red pepper lines.
Savremena Poljoprivreda 40(1-2) 37-40 [Sh, en, 8 ref.]. Institut Za Ratarsvo i
Povrtarstvo, Novi Sad, Yugoslavia.
He, X. and M. Wang. 1989. Correlation and path- coefficient analysis for fruit
characters in sweet pepper. EUCARPIA VII th meeting on genetics and
breeding on capsicum and eggplant. Kragujevac, Yugoslavia, 27-30 June
1989:31-35.
Heiser, C. B. 1976. Peppers Capsicum (Solanaceae). In, Simmonds, N.W.
(Evolution of Crop Plants). Longman, London : 265-268.
Hoffman, P.G., M. Lego and W. Galetto. 1983. Separation and quantitation of red
pepper major heat principles by reverse-phase high pressure liquid
chromatography. Journal of agricultural and food chemistry.31:1326-1330.
Holmes, F. O. 1937. Inheritance of resistance to tabacco mosaic diseases in the
pepper. Phytopathology. 27, 637-642.
Howard, L. R., T. S. Talcott, C. H. Brenes and B. Villalon. 2000. Changes in
phytochemical and antioxidant activity of selected pepper cultivars (Capsicum
161

species) as influenced by maturity. Journal of Agricultural and Food Chemistry.


Vol. 48, Issue 5, p. 1713-1720.
IBPGR Secretariat, 1983. Genetic resources of Capsicum.
International Board for Plant Genetic Resources, AGPG/IBPGR/82/12,
Rome. pp. 49.

Jen, F. M., W. J. Yueh, L. S. Fang, S. T. Rong and L. M. Engle. 2003. Analysis of the
genetic diversity of Capsicum spp (pepper) using random amplified polymorphic
DNA analysis. Journal of Agricultural Research of China. Vol. 50 Issue 4, p. 29-
42 Ref. 41 ref.
Jiang, J. Z., D. H. Wang, Z. Y. Wang and Y. S. Han. 1987. A study on the genetic
parameters of the capsaicin content of pepper fruit. Scientia Agricultura
Sinica. 20(6):39-43.
Jordt, S. E. and D. Julius. 2002. Molecular basis for species-specific sensitivity to ‘ Hot ‘
chili peppers. Department of Cellular and Molecular Pharmacology, University of
California, San Francisco, CA 94143, U. S. A. Cell Vol 108, Issue3, pg 421-430.
Kaan, F., and G. Anais. 1978. Breeding large fruit red peppers (C. annuum) in the
French West Indies for climatic adaptation
and resistance to bacterial (Pseudomonas solanacearum, Xanthomonas
vesicatoria) and viral diseases (Potato Virus Y), Annu. Rep. pp. 265-273.
Station Amelioration des Plants, INRA, Domaine Duclos, Petit-Bourg,
(Guadeloupe (in French), in Plant Breed. Abstr. 1978.48. Abstr. No.
8867. Reprinted in Capsicum 77. Third Eucarpia (Congr., Avignon-Montfavet,
Frence, July 5-8, 1977. E. Pochard (Editor). Station Amelioration des Plants
Maraicheres, INRA Montfavet 84140, Vancluse) France.
Kale, P. B., N. G. V. Rao, D. T. Desmukh and B. H. Naik. 1998. Identification of
Capsicum cultivars by electrophoresis of soluble seed proteins. Vegetable
Science. Vol 25, Issue 2. P.131-132. Ref. 5 ref.
Kaul, B. L. and P. P. Sharma. 1988. Heterosis and combining ability studies for
some fruit characters in bell pepper (Capsicum annuum L.) Vegetable
162

Science15(2) 171-180. Department of Vegetable Crops, Dr.Y.S. Parmar


University of Horticulture & Forestry, Solan, Himachal Pradesh 173230, India.
Khalil, Kh. A., T. S. Fominykh, and M. V. Voronina. 1990. Resistance of collection
accessions of red pepper to viruses. Nauchno-Teknicheskii Byulleten
Vsesoyuznogo Ordena Lenina i Ordena Druzhby Narodov Nauchno-Issledo
vatel'skogo Instituta Rastenievodstva Imeni N. I. Vavilova (1990) No. 199,
89 [Ru] VIR, Leningrad, USSR.
Kimble, K. A., and R. G. Grogan. 1960. Resistance to Phytophthora root rot in pepper.
Plant Dis. Rep. 44:872-873.
Kordus, R. 1991. Heterosis in F1 hybrids of hot pepper (Capsicum annuum L.).
Capsicum Newsletter. No. 10,51-52. Department of Horticultural Plant
Breeding University of Agriculture, Poznan, Poland.
Ledo, H. D., V. S. Anikeenko and M. V. Voronina. 1992. Examination of five CMS lines in
Capsicum annuum L : in Hungary, Capsicum News letter. 66-68.
Lippert, L. F., P. G. Smith, and B. O. Bergh. 1966. Cytogenetics of the
vegetable crop, garden pepper, Capsicum sp. Bot. Rev., 32:24-55.
Lippert, L. F., B. O. Bergh, and P. G. Smith. 1965. Gene list for the pepper. J.
Hered. 56, 30-34.
Mao, C. and C. E. Motsenbocker. 2002. Effects of ethephon on tabasco pepper fruit
ripening and abscission at the fruit receptacle junction. Scientia Horticulturae.
Vol 93, Issues 3-4, p 357-360.
Mak. C. 1987. A study of hybrid vigour in chilli (Capsicum annuum L.) Capsicum
Newsletter. No. 6, 47-48. Dep. Genetics & Cellular Biol., Univ Malaya, 59100
Kualalumpur, Malaysia.
Margaret, D.C., L.M. Wasmund and P.W. Bosland. 1995. Improved method for
quantifying capsaicinoids in Capsicum using high performance liquid
chromatography. HortScience. 30 (1) : 137-139.
Materska, M., S. Piacente, A. Stochmal, C. Pizza, W. Oleszek and I. Perucka. 2003.
Isolation and structure elusidation of flavonoid and phenolic acid glycosides
from pericarp of hot pepper fruit Capsicum annuum L. Phytochemistry. Vol. 63
(8) : 893 - 898.
163

Milerue, N. and M. Nikornpun. 2000. Studies on heterosis of chili (Capsicum annuum L.)
Kasertsat J. (Nat. Sci.) 34:190-196.
Milkova, L. and S. Daskalov. 1984. Khykub a Hybrid Cultivar of Pepper Base on
Induced Male Sterility. Mutation Breeding Newsl. 24 : 9.
Milkova, L., M. Vitanov, and S. Daskalov. 1989. Phytostopa new
cultivar resistant to Phytophthora capsici. Capsicum Newsletter (1988, publ.
1989) No. 7. 62 [En] Institute of Genetics Acad. D. Kostoff, Sofia, Bulgaria.
Mishra, R. S., R. E. Lotha, S. N. Mishra, P. K. Paul, and H. N. Mishra. 1989. Results of
heterosis breeding on chilli (Capsicum annuum L.) Capsicum Newsletter (1988,
publ. 1989) No. 49-50 [En] Department of Horticulture, Orissa University of
Agriculture & Technology, Bhubaneswar 751003, India.
Morre, D. J. and M. D. Morve. 2003. Synergistic Capsicum – tea mixtures with
anticancer activity. The journal of Pharmacy and Pharmacology. Vol. 55 (Issu 7):
987-994.
Ohta, Y. 1962. Genetical studies in the Genus Capsicum. Kihara Inst. Biol. Res.,
Yokohama, Japan (in Japanese, English summary). pp 94.
Palloix, A., E. Pochard, T. Phaly, A. M. Daubeze. 1990. Recurrent selection for
resistance to Verticillium dahliae in pepper. Euphytica (1990) 47(1) 79-89 [En,
19 ref.] INRA, Station d' Amelioration des Plants Maraicheres, BP 94-84140
Montifavet, France.
Perez – Galvez, A., H. D. Martin, H. Sies and W. Stahl. 2003. Incorporation of
carotenoids from paprika oleoresin into human chylomicrons. The British Journal
of Nutrition Vol. 89, Issue 6 : 787 – 793.
Peterson, P. A. 1958. Cytoplasmically inherited male sterility in Capsicum. Am. Nat.
92, 111-119.
Pickersgill, B. 1967. Interspecific isolating mechamisms in some South American
chilli peppers. Amer. J. Bot., 54:654.
Pickersgill, B. 1969a. The archeological record of chilli peppers (Capsicum spp.)
and the sequence of plant domestication in Peru. American Antiquity, 34:53-
61.
164

Pickersgill, B. 1969b. The domestication of chilli peppers. In. P.J.


Ucko and G.W. Dimbleby (eds.) The domestication and
exploitation of plants and animals. Duckworth and Co., London:443-450.
Pickersgill. B. 1971. Relationships between weedy and cultivated forms in some
species of chilli peppers (genus Capsicum). Evolution, 25:683-691.
Pickersgill, B. 1980. Some aspects of interspecific hybridization in Capsicum. Paper
presented during the IV th Meeting of the
EUCARPIA Capsicum Working Group, 14-16 October 1980. Wageningen,
Netherlands.
Pickersgill, B. 1988. Genetic resources of Capsicum for tropical
regions. Tomato and Pepper Production in the Tropics, Proceedings of the
International Symposium on Integrated
Management practices, Asian Vegetable Research and Development
Center, 2-9. Taiwan.
Pickersgill, B. 1991. Cytogenetics and evolution of Capsicum L. In Chromosome
engineering in plants : genetics breeding evolution. Part B Amsterdam,
Netherlands : Elsevier Science Publishers 139-160. ISBN 0-444-88260-
x. Plant Science Laboratories, Department of Agricultural Botany, University
of Reading, Whiteknights, PO Box 221, Reading RG6 2AS, UK.
Pickersgill, B. 1992. Barriers to interspecific gene exchange in Capsicum.
Capsicum Newsletter Special issue, 57-60. Department of Agricultural
Botany, University of Reading, Whiteknights, Reading RG6 2AS, UK.
Safford, W.E. 1926. Our heritage from the Amercican Indians. Smithson.
Inst. Annu. Rep. pp. 405-410.
Purseglove, J. W. 1968. Tropical crops. Dicotyledons 2. Longman, Green and Co.,
London. 524-530.
Rivera-Bustamante, R. F. and E. Lozoya-Gloria. 2002. Differential gene expression in
pepper plants (Capsicum annuum) infected with Pepper Golden Mosaic
Gemivirus (Pep GMV). Genetic Engineering Dept., CINVESTAV-IPN, Irapuato
Unit, P. O. Box 629. C. P. 36500 Irapuato, Gto. Mexico.
http://abstracts.aspb.org/pb2002/public/p60/0183.html.
165

Safford, W. E. 1926. Our heritage from the Amercican Indians. Smithson. Inst. Annu.
Rep. 405-410.
Sandha, M. S., J. S. Hundal and S. S. Cheema. 1999. Role of anaomical traits in
resistance to cucumber mosaic virus in chilli. XVI. International Botanical
Congress. Abstract Number : 5253. Poster No. 1757.
Shifriss, C. 1973. Additional spontaneous male sterile mutants in Capsicum annuum
L. Euphytica 22 : 527-529.
Singh, J. 1987. Heterosis potential in hot pepper (Capsicum annuum L.)
Capsicum Newsletter, No.6, 52-53. Dep. Veget. Crops,
Landscaping & Floricult., Punjab Agric. Univ. Ludhiana 141004, India.
Smith, P. G., B. Villalon, and P. L. Villa. 1987. Horticultural
classification of peppers grown in the United States. Hortscience, Vol.
22(1)11-13.
Stevanovic, D., Z. Miladinovic, D. Savic, and V. Todorovic. 1992. Use of the
interspecies hybridization method in the selection and breeding of new
red pepper varieties. Savremena poljoprivreda 40(1-2) 32-36. Institut za
Povrtarstvo, Smederevska Palanka, Yugoslavia.
Subodh, J. 1987. Extent of heterosis retention and genetic variability in segregating
generation in Capsicum. Capsicum Newsletter. No. 6, 51. Indian Agric. Res.
Inst., Reg. Sta., Katrain, Kullu, HP 175129 India.
Tase, L. 1985. Comparative Study of Some Cultivars and Hybrids of Sweet Pepper for
Early Production. Bulletin II Shkencave Bujquesore. 24(4) : 39-44.
Terry, B. and S. C. Shich. 2000. Chili pepper in Asia. Capsicum and Eggplant
Newsletter 19: 38-41.
Thomas, V., A. Schreiber and C. Weisskope. 1998. Simple method for quantitation
of capsaiciniods in peppers using capillary gas chromatography. Journal
of Agricultural and food chemistry 46(7): 2655-2663.
Villalon, B., F. J. Dainello, W. N. Lipe, and R. M. Taylor. 1986. `Tam Mild Chile-
2' Chile Pepper. HortScience 21(6) : 1468-1469. Texas Agric. Exp. Sta.,
2415 East Highway 83, Weslaco, TX 78596, USA.
166

Villalon, B., F. J. Dainello, and D. A. Bender. 1992. `TAM Veracruz' hot jalapeno
pepper. HortScience (1992) 27(2)184-185 [En, 2 ref.] Texas Agricultural
Experiment Station, 2415 East Highway 83, Westlaco, TX78596, U.S.A.
Vito, M. Di., F. Saccardo, A. Errico, V. Zema, and G. Zaccheo. 1993. Genetics of
resistance to root-knot nematodes (Meloidogyne spp.) in Capsicum chacoense,
C. chinense and C. frutescens. Journal of Genetics & Breeding. (1993) 47(1)
23-26 [En, 13 ref.] Istituto di Nematologia Araria, CNR,70126 Bari, Italy.
Wisut, C. 1999. Situation of vegetable seed production in Thailand, In Proceeding
of the Training Course for Vegetable Production Extension, Kaen Inn Hotel,
Khon Kaen, Thailand, Department of Agriculture Extension, Ministry of
Agriculture and Cooperation. Bangkok, Thailand.

Whitam, H. K. 1974. The epidemiology of virus diseases of bell peppers (Capsicum


annuum L.) in Louisiana. Ph. D. Louisiana State Univ., Baton Rouge.
Worayos, Y. 1986. Collection of Capsicum germplasm in Thailand.
IBGPR News Letter. Vol. 10 No. 3 IBGPR/SEAP Regional Coordinator, FAO
Regional Office for Asia and the pacific, Bangkok Thailand.
Yayeh, Z. and P. Bosland. 2000. Evaluation of genotype environment and genotype by
environment interaction for capsaiciniods in Capsicun annuum L. Euphytica vol.
111-185.

You might also like