You are on page 1of 8

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6

รหัสวิชา ค 21102 วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และ
ร้อยละ เวลา 16 ชั่วโมง
เรื่อง ความหมายของสัดส่วน เวลา 1 ชั่วโมง
1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวนระบบจำนวนการดำาเนินการของ
จำนวนผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำาเนินการ และนำไปใช้

ตัวชี้วัด ค.1.1 ม.1/3 เข้าใจและประยุกต์ใช้ อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ ในการแก้ปัญหา


คณิตศาสตร์และ ปัญหาในชีวิตจริง
2. สาระสำคัญ
การเขียนอัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน คือ การเขียนอัตราส่วนสองอัตราส่วนใด ๆ ที่แสดง
การเปรียบเทียบปริมาณของสิ่งของสามสิ่ง เราสามารถเขียนอัตราส่วนของจำนวนทั้งสามจำนวนจากสอง
อัตราส่วนเหล่านั้น ด้วยการทำปริมาณของสิ่งที่เป็นตัวร่วมในสองอัตราส่วนที่เท่ากัน โดยใช้หลักการหา
อัตราส่วนที่เท่ากัน
3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (K-P-A)
ด้านความรู้ (K)
นักเรียนสามารถบอกความหมายของสัดส่วนได้
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
นักเรียนสามารถสามารถแสดงวิธีคิดหาค่าของตัวแปรของสัดส่วนได้
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน

4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการแก้ปัญหา

5. สาระการเรียนรู้
a 2
1.จงหาค่าของ a ในสัดส่วน =
24 3
a 2
วิธีทำ จาก =
24 3
จะได้ a x 3 = 24 x 2
24 x 2
a=
ดังนั้น 3
= 16
ตอบ 16
2 5
2. จงหาค่าของ a ในสัดส่วน =
3 b
2 5
วิธีทำ จาก =
3 b
จะได้ 2xb=3x5
3x5
b=
ดังนั้น 2
= 7.5
ตอบ 7.5
6. ภาระงาน/ชิ้นงาน
- แบบฝึกทักษะเรื่อง สัดส่วน
7. กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. ครูทบทวนเรื่องอัตราส่วนที่เท่ากันโดยยกตัวอย่าง ดังต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1 จงตรวจสอบว่าอัตราส่วนในแต่ละข้อต่อไปนี้เท่ากันหรือไม่
2 15
1. และ
6 45
3 6
2. และ
7 10
2 15
วิธีทำ 1. จากการคูณไขว้
6 45

จะได้ 2  45 = 90

6  15 = 90

ดังนั้น 2  45 = 6  15
2 15
นั้นคือ =
6 45
3 6
2. จากการคูณไขว้
7 10

จะได้ 3  10 = 30

76 = 42

ดังนั้น 3  10  7  6
3 6
นั้นคือ 
7 10
2 15
ตอบ 1. และ เป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน
6 45
3 6
2. และ เป็นอัตราส่วนที่ไม่เท่ากัน
7 10

ขั้นสอน
1. ครูอธิบายถึงความหมายของสัดส่วน คือ ประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วน
เรียกว่า สัดส่วนยกตัวอย่างอัตราส่วนที่เป็นสัดส่วนเดียวกันเพื่อให้นักเรียนเห็นรูปแบบมากขึ้น เช่น 3 : 5
กับ 6 : 10 , 7 : 6 กับ 21 : 18 , 1 : 7 กับ 3 : 21
2. เมื่อนักเรียนพอรู้จักกับหน้าตาของสัดส่วนแล้วครูยกตัวอย่างอัตราส่วนที่เป็นตัวแปรตัวอย่างเช่นถ้า
a : 24 เป็นสัดส่วนเดียวกับ 2 : 3 แสดงว่า a ต้องมีค่าเท่าใด
3. ครูแนะนำว่าการหาสัดส่วนนั้นสามารถใช้ความรู้เรื่องเศษส่วนที่เท่ากันมาช่วยในการหาคำตอบ
ยกตัวอย่างเช่น
a 2
ตัวอย่างที่ 1 จงหาค่าของ a ในสัดส่วน =
24 3
a 2
วิธีทำ จาก =
24 3
จะได้ a x 3 = 24 x 2
24 x 2
a=
ดังนั้น 3
= 16
ตอบ 16

2 5
ตัวอย่างที่ 2 จงหาค่าของ a ในสัดส่วน =
3 b
2 5
วิธีทำ จาก =
3 b
จะได้ 2xb=3x5
3x5
b=
ดังนั้น 2
= 7.5
ตอบ 7.5
4. ครูได้ให้นักเรียนได้ลงมือทำในตัวอย่างที่ 3 และตัวอย่างที่ 4 โดยหลังจากที่นักเรียนทำเสร็จแล้ว ครู
กับนักเรียนก็จะร่วมกันเฉลยทั้งสองตัวอย่างไปพร้อมกัน
6 30
ตัวอย่างที่ 3 จงหาค่าของ m ในสัดส่วน =
7 m

6 30
วิธีทำ เนื่องจาก =
7 m

ดังนั้น 6  m = 7  30
7  30
m= 6

นั่นคือ m = 35
ตอบ 35
a 18
ตัวอย่างที่ 4 จงหาค่าของ a ในสัดส่วน =
7 42

a 18
วิธีทำ เนื่องจาก =
7 42

ดังนั้น a  42 = 18  7

18  7
a =
42

นั่นคือ a =3

ตอบ 3
ขั้นสรุป
1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาของวันนี้ให้ได้ว่า ความหมายของสัดส่วน เป็นประโยคที่แสดง
การเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วน เรียกว่า สัดส่วน
2. ครูให้นักเรียนสอบถามปัญหาที่นักเรียนสงสัยในการเรียนเรื่อง สัดส่วน พร้อมทั้งสั่งแบบฝึกทักษะ
เรื่อง สัดส่วน เป็นการบ้านให้นักเรียนได้กลับไปทบทวน
8. สื่อการเรียนรู้ / แหล่งการเรียนรู้
1. หนังสือเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อักษร
2. สไลด์ PowerPoint เรื่อง สัดส่วน
9. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
จุดประสงค์การเรียนรู้ เครื่องมือ วิธีการวัด เกณฑ์การประเมิน
ด้านความรู้ (K)
1. นักเรียนสามารถบอกความหมาย - แบบฝึกทักษะเรื่อง สังเกตจากคะแนนใน นักเรียนสามารถตอบ
ของสัดส่วนได้ สัดส่วน การทำ คำถาม
- แบบฝึกทักษะเรื่อง - แบบฝึกทักษะเรื่อง
สัดส่วน สัดส่วนได้ถูกต้องร้อยละ
70 ขึ้นไป
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
1. นักเรียนสามารถสามารถแสดง - แบบฝึกทักษะเรื่อง สังเกตจากคะแนนใน นักเรียนสามารถตอบ
วิธีคิดหาค่าของตัวแปรของ สัดส่วน การทำ คำถาม
สัดส่วนได้ - แบบฝึกทักษะเรื่อง - แบบฝึกทักษะเรื่อง
สัดส่วน สัดส่วนได้ถูกต้องร้อยละ
70 ขึ้นไป

ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
1. นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำ แบบสังเกตพฤติกรรม สังเกตการทำกิจกรรม นักเรียนผ่านเกณฑ์
กิจกรรมในชั้นเรียน ในชั้นเรียน คุณลักษณะอันพึง
ประสงค์อยู่ในระดับดี
อย่างน้อยร้อยละ 80
ของนักเรียนทั้งหมด

*เกณฑ์การประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดี (2) พอใช้ (1) ปรับปรุง (0)
นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำ ให้ความร่วมมือ ความ ให้ความร่วมมือเป็น ไม่ปฏิบัติ
กิจกรรมในชั้นเรียน สนใจ มีความกระตือรือร้น บางครั้ง มีความ
ในการทำงาน กระตือรือร้นน้อย
*หมายเหตุ เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
2 คะแนน หมายถึง ดี
1 คะแนน หมายถึง พอใช้
0 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง
*หมายเหตุ ถ้าได้คะแนนต่ำกว่า 1 คะแนน จะถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ถ้าได้คะแนน 1-2 คะแนน จะถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน

*เกณฑ์การประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ระดับคุณภาพ
ประเด็นการ
3 2 1 0
ประเมิน
(ดีมาก) (ดี) (พอใช้) (ต้องปรับปรุง)
1. เกณฑ์การ ใช้รูป ภาษา และ ใช้รูป ภาษา และ ใช้รูป ภาษา และ ใช้รูป ภาษา และ
ประเมินความ สัญลักษณ์ทาง สัญลักษณ์ทาง สัญลักษณ์ทาง สัญลักษณ์ทาง
สามารถในการ คณิตศาสตร์ในการ คณิตศาสตร์ในการ คณิตศาสตร์ในการ คณิตศาสตร์ในการ
สื่อสาร สื่อ สื่อสาร สื่อสาร สื่อสาร สื่อสาร
ความหมายทาง สื่อความหมาย สื่อความหมาย สื่อความหมาย สื่อความหมาย
คณิตศาสตร์ สรุปผล และ สรุปผล และ สรุปผล และ สรุปผล และ
นำเสนอได้อย่าง นำเสนอได้ถูกต้อง นำเสนอได้ถูกต้อง นำเสนอไม่ได้
ถูกต้อง ชัดเจน แต่ขาดรายละเอียด บางส่วน
ที่สมบูรณ์
2. เกณฑ์การ ทำความเข้าใจ ทำความเข้าใจ ทำความเข้าใจ ทำความเข้าใจ
ประเมินความ ปัญหา คิด ปัญหา คิดวิเคราะห์ ปัญหา คิดวิเคราะห์ ปัญหา คิดวิเคราะห์
สามารถในการ วิเคราะห์ วางแผน วางแผนแก้ปัญหา วางแผนแก้ปัญหา มีร่องรอยของการ
แก้ปัญหา แก้ปัญหา และเลือกใช้วิธีการ และเลือกใช้วิธีการ วางแผนแก้ปัญหา
และเลือกใช้วิธีการ ที่เหมาะสม แต่ ได้บางส่วน คำตอบ แต่ไม่สำเร็จ
ที่เหมาะสม โดย ความสมเหตุสมผล ที่ได้ยังไม่มีความ
คำนึงถึงความ ของคำตอบยังไม่ดี สมเหตุสมผล และ
สมเหตุสมผลของ พอ และตรวจสอบ ไม่มีการตรวจสอบ
คำตอบพร้อมทั้ง ความถูกต้องไม่ได้ ความถูกต้อง
ตรวจสอบความ
ถูกต้องได้

*หมายเหตุ เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
6 คะแนน หมายถึง ดีมาก
5-4 คะแนน หมายถึง ดี
3-2 คะแนน หมายถึง พอใช้
0-1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง
*หมายเหตุ ถ้าได้คะแนน 0-1 คะแนน จะถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ถ้าได้คะแนน 2-6 คะแนน จะถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
10. บันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
บันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้น ม.1/........
1) การประเมินด้านความรู้ (K)
นักเรียนร้อยละ .......... สามารถบอกความหมายของสัดส่วนได้
นักเรียนร้อยละ .......... ไม่สามารถบอกความหมายของสัดส่วนได้
2) การประเมินด้านทักษะกระบวนการ (P)
นักเรียนร้อยละ .......... สามารถสามารถแสดงวิธีคิดหาค่าของตัวแปรของสัดส่วนได้
นักเรียนร้อยละ .......... ไม่สามารถสามารถแสดงวิธีคิดหาค่าของตัวแปรของสัดส่วนได้
3) การประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
นักเรียนร้อยละ .......... ให้ความร่วมมือ ความสนใจ มีความกระตือรือร้นในการทำงาน
นักเรียนร้อยละ .......... ให้ความร่วมมือเป็นบางครั้ง มีความกระตือรือร้นน้อย
นักเรียนร้อยละ .......... ขาดเรียน
4) ปัญหาและอุปสรรค
…………………………………………………………………………………………………………………………………………...………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….......…
………………………………………………………………………………………………………………………………………......………….
…………………………………………………………………………………………………………………………………………...…….......
5) ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
…………………………………………………………………………………………………………………………………………...………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….......…
……………………………………………………………………………………………………………………………………………......…….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………......…….

ลงชื่อ ครูผู้สอน
( นายสุรพงศ์ จุ้ยศิริ )
.................../............................../..............

You might also like