You are on page 1of 8

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4

รหัสวิชา ค 21102 วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และ
เวลา 16 ชั่วโมง
ร้อยละ
เรื่อง การตรวจสอบอัตราส่วนที่เท่ากันโดยวิธีการคูณ
เวลา 1 ชั่วโมง
ไขว้
1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวนระบบจำนวนการดำาเนินการของ
จำนวนผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำาเนินการ และนำไปใช้

ตัวชี้วัด ค.1.1 ม.1/3 เข้าใจและประยุกต์ใช้ อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ ในการแก้ปัญหา


คณิตศาสตร์และ ปัญหาในชีวิตจริง
2. สาระสำคัญ
การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วนใด ๆ สามารถใช้การตรวจสอบได้ดังนี้
a c
ถ้า a  d = b  c แล้ว =
b d
a c
ถ้า a  d  b  c แล้ว 
b d

a c
และได้ข้อสรุปอีกว่า ถ้า = แล้ว a  d = b  c
b d

3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (K-P-A)
ด้านความรู้ (K)
นักเรียนสามารถอธิบายการตรวจสอบอัตราส่วนที่เท่ากันโดยวิธีการคูณไขว้ได้
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
นักเรียนสามารถแสดงวิธีการตรวจสอบอัตราส่วนที่เท่ากันโดยวิธีการคูณไขว้ได้
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการแก้ปัญหา
5. สาระการเรียนรู้
อธิบายเรื่อง การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วนโดยใช้การคูณไขว้ โดยครูจะสาธิตการตรวจสอบ
การเท่ากันของอัตราส่วนโดยใช้การคูณไขว้ ผ่านตัวอย่าง ประกอบกับสไลด์ PowerPoint เรื่อง การตรวจสอบ
การเท่ากันของอัตราส่วนโดยใช้การคูณไขว้ และใช่แบบฝึกทักษะเรื่อง การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วน
ในการตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน
6. ภาระงาน/ชิ้นงาน
- แบบฝึกทักษะเรื่อง การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วน
7. กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. ครูทบทวนเรื่องวิธีการหาอัตราส่วนที่เท่ากัน โดยใช้การถาม-ตอบ ดังนี้
คำถาม คำตอบ
1. หลักการหาอัตราส่วนที่เท่ากันมีกี่หลักการ 1. หลักการหาอัตราส่วนที่เท่ากันมี2 หลักการ
อะไรบ้าง คือ หลักการคูณและหลักการหาร
2. หลักการคูณอัตราส่วนเป็นอย่างไร 2. เมื่อคูณแต่ละจำนวนในอัตราส่วนใดด้วย
จำนวนเดียวกันโดยที่จำนวนนั้นไม่เท่ากับศูนย์
จะได้อัตราส่วนใหม่ที่เท่ากับอัตราส่วนเดิม
3. หลักการหารอัตราส่วนเป็นอย่างไร 3. เมื่อหารแต่ละจำนวนในอัตราส่วนใดด้วย
จำนวนเดียวกันโดยที่จำนวนนั้นไม่เท่ากับศูนย์
จะได้อัตราส่วนใหม่ที่เท่ากับอัตราส่วนเดิม

ขั้นสอน
1. ครูอธิบายการตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วนใด ๆ ว่าสามารถใช้การตรวจสอบ
ได้ดังนี้ การตรวจสอบโดยวิธีการคูณไขว้มีหลักการดังนี้
a c
ถ้า a  d = b  c แล้ว =
b d
a c
ถ้า a  d  b  c แล้ว 
b d
a c
และได้ข้อสรุปอีกว่า ถ้า = แล้ว a  d = b  c
b d

ตัวอย่างที่ 1 จงตรวจสอบว่าอัตราส่วนในแต่ละข้อต่อไปนี้เท่ากันหรือไม่
2 15
1. และ
6 45
3 6
2. และ
7 10
2 15
วิธีทำ 1. จากการคูณไขว้
6 45

จะได้ 2  45 = 90

6  15 = 90

ดังนั้น 2  45 = 6  15
2 15
นั้นคือ =
6 45
3 6
2. จากการคูณไขว้
7 10

จะได้ 3  10 = 30

76 = 42

ดังนั้น 3  10  7  6
3 6
นั้นคือ 
7 10
2 15
ตอบ 1. และ เป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน
6 45
3 6
2. และ เป็นอัตราส่วนที่ไม่เท่ากัน
7 10
9 63
3. ครูยกตัวอย่างที่ 2 จงตรวจสอบว่า และ เป็นอัตราส่วนที่เท่ากันหรือไม่
13 91
9 63
วิธีทำ จากการคูณไขว้
13 91

จะได้ 9 91 = 819

13 63 = 819

ดังนั้น 9 91 = 13 63
9 63
นั้นคือ =
13 91
9 63
ตอบ และ เป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน
13 91

4. ครูได้ให้นักเรียนได้ลงมือทำในตัวอย่างที่ 5 และตัวอย่างที่ 6 โดยหลังจากที่นักเรียนทำเสร็จแล้ว ครู


กับนักเรียนก็จะร่วมกันเฉลยทั้งสองตัวอย่างไปพร้อมกัน ดังรูป
ขั้นสรุป
1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสรุปว่าการตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วนใด ๆ
สามารถใช้การตรวจสอบได้ ดังนี้
การตรวจสอบโดยวิธีการคูณไขว้มีหลักการดังนี้
a c
ถ้า a  d = b  c แล้ว =
b d
a c
ถ้า a  d  b  c แล้ว 
b d
a c
และได้ข้อสรุปอีกว่า ถ้า = แล้ว a  d = b  c
b d
2. ครูให้นักเรียนสอบถามปัญหาที่นักเรียนสงสัยในการเรียนเรื่อง การตรวจสอบอัตราส่วนที่เท่ากัน
โดยวิธีการคูณไขว้ พร้อมทั้งสั่งแบบฝึกทักษะเรื่อง การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วน เป็นการบ้านให้
นักเรียนได้กลับไปทบทวน
8. สื่อการเรียนรู้ / แหล่งการเรียนรู้
1. หนังสือเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อักษร
2. สไลด์ PowerPoint เรื่อง การตรวจสอบอัตราส่วนที่เท่ากันโดยวิธีการคูณไขว้

9. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
จุดประสงค์การเรียนรู้ เครื่องมือ วิธีการวัด เกณฑ์การประเมิน
ด้านความรู้ (K)
1. นักเรียนสามารถอธิบายการ - แบบฝึกทักษะเรื่อง สังเกตจากคะแนนใน นักเรียนสามารถตอบ
ตรวจสอบอัตราส่วนที่เท่ากันโดย การตรวจสอบการ การทำ คำถาม
วิธีการคูณไขว้ได้ เท่ากันของอัตราส่วน - แบบฝึกทักษะเรื่อง - แบบฝึกทักษะเรื่อง
การตรวจสอบการ การตรวจสอบการ
เท่ากันของอัตราส่วน เท่ากันของอัตราส่วนได้
ถูกต้องร้อยละ 70 ขึ้นไป
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
1. นักเรียนสามารถแสดงวิธีการ - แบบฝึกทักษะเรื่อง สังเกตจากคะแนนใน นักเรียนสามารถตอบ
ตรวจสอบอัตราส่วนที่เท่ากันโดย การตรวจสอบการ การทำ คำถาม
วิธีการคูณไขว้ได้ เท่ากันของอัตราส่วน - แบบฝึกทักษะเรื่อง - แบบฝึกทักษะเรื่อง
การตรวจสอบการ การตรวจสอบการ
เท่ากันของอัตราส่วน เท่ากันของอัตราส่วนได้
ถูกต้องร้อยละ 70 ขึ้นไป
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
1. นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำ แบบสังเกตพฤติกรรม สังเกตการทำกิจกรรม นักเรียนผ่านเกณฑ์
กิจกรรมในชั้นเรียน ในชั้นเรียน คุณลักษณะอันพึง
ประสงค์อยู่ในระดับดี
อย่างน้อยร้อยละ 80
ของนักเรียนทั้งหมด
*เกณฑ์การประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดี (2) พอใช้ (1) ปรับปรุง (0)
นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำ ให้ความร่วมมือ ความ ให้ความร่วมมือเป็น ไม่ปฏิบัติ
กิจกรรมในชั้นเรียน สนใจ มีความกระตือรือร้น บางครั้ง มีความ
ในการทำงาน กระตือรือร้นน้อย
*หมายเหตุ เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
2 คะแนน หมายถึง ดี
1 คะแนน หมายถึง พอใช้
0 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง
*หมายเหตุ ถ้าได้คะแนนต่ำกว่า 1 คะแนน จะถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ถ้าได้คะแนน 1-2 คะแนน จะถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน

*เกณฑ์การประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ระดับคุณภาพ
ประเด็นการ
3 2 1 0
ประเมิน
(ดีมาก) (ดี) (พอใช้) (ต้องปรับปรุง)
1. เกณฑ์การ ใช้รูป ภาษา และ ใช้รูป ภาษา และ ใช้รูป ภาษา และ ใช้รูป ภาษา และ
ประเมินความ สัญลักษณ์ทาง สัญลักษณ์ทาง สัญลักษณ์ทาง สัญลักษณ์ทาง
สามารถในการ คณิตศาสตร์ในการ คณิตศาสตร์ในการ คณิตศาสตร์ในการ คณิตศาสตร์ในการ
สื่อสาร สื่อ สื่อสาร สื่อสาร สื่อสาร สื่อสาร
ความหมายทาง สื่อความหมาย สื่อความหมาย สื่อความหมาย สื่อความหมาย
คณิตศาสตร์ สรุปผล และ สรุปผล และ สรุปผล และ สรุปผล และ
นำเสนอได้อย่าง นำเสนอได้ถูกต้อง นำเสนอได้ถูกต้อง นำเสนอไม่ได้
ถูกต้อง ชัดเจน แต่ขาดรายละเอียด บางส่วน
ที่สมบูรณ์
2. เกณฑ์การ ทำความเข้าใจ ทำความเข้าใจ ทำความเข้าใจ ทำความเข้าใจ
ประเมินความ ปัญหา คิด ปัญหา คิดวิเคราะห์ ปัญหา คิดวิเคราะห์ ปัญหา คิดวิเคราะห์
สามารถในการ วิเคราะห์ วางแผน วางแผนแก้ปัญหา วางแผนแก้ปัญหา มีร่องรอยของการ
แก้ปัญหา แก้ปัญหา และเลือกใช้วิธีการ และเลือกใช้วิธีการ วางแผนแก้ปัญหา
และเลือกใช้วิธีการ ที่เหมาะสม แต่ ได้บางส่วน คำตอบ แต่ไม่สำเร็จ
ที่เหมาะสม โดย ความสมเหตุสมผล ที่ได้ยังไม่มีความ
คำนึงถึงความ ของคำตอบยังไม่ดี สมเหตุสมผล และ
ระดับคุณภาพ
ประเด็นการ
3 2 1 0
ประเมิน
(ดีมาก) (ดี) (พอใช้) (ต้องปรับปรุง)
สมเหตุสมผลของ พอ และตรวจสอบ ไม่มีการตรวจสอบ
คำตอบพร้อมทั้ง ความถูกต้องไม่ได้ ความถูกต้อง
ตรวจสอบความ
ถูกต้องได้

*หมายเหตุ เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
6 คะแนน หมายถึง ดีมาก
5-4 คะแนน หมายถึง ดี
3-2 คะแนน หมายถึง พอใช้
0-1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง
*หมายเหตุ ถ้าได้คะแนน 0-1 คะแนน จะถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ถ้าได้คะแนน 2-6 คะแนน จะถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
10. บันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
บันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้น ม.1/........
1) การประเมินด้านความรู้ (K)
นักเรียนร้อยละ .......... สามารถอธิบายการตรวจสอบอัตราส่วนที่เท่ากันโดยวิธีการคูณไขว้ได้
นักเรียนร้อยละ .......... ไม่สามารถอธิบายการตรวจสอบอัตราส่วนที่เท่ากันโดยวิธีการคูณไขว้ได้
2) การประเมินด้านทักษะกระบวนการ (P)
นักเรียนร้อยละ .......... สามารถแสดงวิธีการตรวจสอบอัตราส่วนที่เท่ากันโดยวิธีการคูณไขว้ได้
นักเรียนร้อยละ .......... ไม่สามารถแสดงวิธีการตรวจสอบอัตราส่วนที่เท่ากันโดยวิธีการคูณไขว้ได้
3) การประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
นักเรียนร้อยละ .......... ให้ความร่วมมือ ความสนใจ มีความกระตือรือร้นในการทำงาน
นักเรียนร้อยละ .......... ให้ความร่วมมือเป็นบางครั้ง มีความกระตือรือร้นน้อย
นักเรียนร้อยละ .......... ขาดเรียน
1) ปัญหาและอุปสรรค
…………………………………………………………………………………………………………………………………………...………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….......…
………………………………………………………………………………………………………………………………………......………….
…………………………………………………………………………………………………………………………………………...…….......
2) ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
…………………………………………………………………………………………………………………………………………...………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….......…
……………………………………………………………………………………………………………………………………………......…….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………......…….

ลงชื่อ ครูผู้สอน
( นายสุรพงศ์ จุ้ยศิริ )
.................../............................../..............

You might also like