You are on page 1of 52

สธ ส

หน่วยที่ 1


สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม
รองศาสตราจารย์ ดร.ปัณฉัตร หมอยาดี

. รองศาสตราจารย์สุวิทย์ ไพทยวัฒน์
สธ สธ
มส . มส

ธ.

ชื่อ รองศาสตราจารย์ ดร.ปัณฉัตร หมอยาดี


.ม
วุฒิ ศศ.บ. (ประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยบูรพา
ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปร.ด. (วัฒนธรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ต�ำแหน่ง รองศาสตราจารย์ประจ�ำสาขาวิชาศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
หน่วยที่ปรับปรุง หน่วยที่ 1

ชื่อ รองศาสตราจารย์สุวิทย์ ไพทยวัฒน์


วุฒิ กศ.บ. (ประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
อ.ม. (ประวัติศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต�ำแหน่ง ข้าราชการบ�ำนาญ
หน่วยที่ปรับปรุง หน่วยที่ 1
สธ ส
1-2 อารยธรรมมนุษย์

แผนการสอนประจ�ำหน่วย


ชุดวิชา อารยธรรมมนุษย์

.
หน่วยที่ 1 สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม
สธ สธ
มส . มส
ตอนที่
1.1 แนวคิดเกี่ยวกับอารยธรรมมนุษย์
1.2 สมัยก่อนประวัติศาสตร์
1.3 เมโสโปเตเมีย: อารยธรรมมนุษย์สมัยเริ่มแรก

แนวคิด
1. อ ารยธรรมหมายถึงความเจริญในด้านต่างๆ ทีไ่ ด้รบั การพัฒนาขึน้ เรือ่ ยๆ และเป็นความเจริญที่
สูงกว่าวัฒนธรรมขัน้ พืน้ ฐาน สังคมทีเ่ จริญสูข่ นั้ ทีม่ อี ารยธรรมนัน้ ต้องมีพฒ
ั นาการอย่างต่อเนือ่ ง
โดยมนุษย์มกี ารตัง้ ถิน่ ฐานตัง้ แต่สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ และมีการพัฒนาขึน้ เรือ่ ยๆ จนถึงสมัย
ประวัติศาสตร์ ซึ่งอารยธรรมมนุษย์ที่เกิดขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ อารยธรรมตะวันออก
ธ.

และอารยธรรมตะวันตก
2. พนื้ ฐานอารยธรรมมนุษย์สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ของโลกตะวันออกและตะวันตกเกิดขึน้ ตัง้ แต่
สมัยหินเก่า หินกลาง หินใหม่ และยุคโลหะ ตามล�ำดับ ซึ่งแต่ละท้องที่จะมีพัฒนาการของ
ความเจริญทัง้ ด้านเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ และวิถกี ารด�ำเนินชีวติ อย่างต่อเนือ่ งจนเข้าสูส่ มัยประวัต-ิ
ศาสตร์ในช่วงยุคโลหะตอนปลาย
.ม
3. ชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกในดินแดนเมโสโปเตเมียทีอ่ าศัยรวมตัวกันในรูปองค์กรทางการเมือง
แบบนครรัฐเป็นแห่งแรกของโลก ชาวสุเมเรียนสามารถสร้างสรรค์อารยธรรมต่างๆ ภายใต้
รูปแบบการปกครองดังกล่าวได้อย่างมัน่ คง จากนัน้ ได้มกี ลุม่ ชาติพนั ธุเ์ ซมิตคิ และอินโดยูโรเปียน
ผลัดเปลี่ยนกันเข้าครอบครองและสร้างสรรค์อารยธรรมขึ้นแทนที่

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาหน่วยที่ 1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายแนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับอารยธรรมมนุษย์ได้
2. อธิบายลักษณะส�ำคัญของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนต่างๆ ได้
3. อธิบายอารยธรรมมนุษย์สมัยเริ่มแรกในดินแดนเมโสโปเตเมียได้
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-3

กิจกรรมระหว่างเรียน


1. ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 1
2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 1.1-1.3
3. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอนแต่ละเรื่อง
4. ชมรายการวีดิทัศน์ประจ�ำชุดวิชา

.
5. ฟังรายการวิทยุกระจายเสียง (ถ้ามี)
สธ สธ
6. ฟังรายการวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
7. เข้ารับบริการการสอนเสริม (ถ้ามี)

มส . มส
8. ท�ำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 1

สื่อการสอน
1. เอกสารการสอน
2. แบบฝึกปฏิบัติ

3. วีดิทัศน์ประจ�ำชุดวิชา
4. รายการสอนทางวิทยุกระจายเสียง
5. รายการสอนทางวิทยุโทรทัศน์
6. การสอนเสริม
ธ.

การประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรีัยน
2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง
3. การสอบไล่ประจ�ำภาคการศึกษา
.ม
เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน
หน่วยที่ 1 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป
สธ ส
1-4 อารยธรรมมนุษย์

ตอนที่ 1.1


แนวคิดเกี่ยวกับอารยธรรมมนุษย์
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 1.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

.
หัวเรื่อง
สธ สธ
1.1.1 ความหมายและพัฒนาการของอารยธรรม

มส . มส
1.1.2 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอารยธรรม
1.1.3 ปัจจัยการตั้งถิ่นฐานและแหล่งอารยธรรม

แนวคิด
1. อ ารยธรรมหมายถึงความเจริญในด้านต่างๆ ทีไ่ ด้รบั การพัฒนาขึน้ เรือ่ ยๆ และเป็นความ

เจริญที่สูงกว่าวัฒนธรรมขั้นพื้นฐาน ซึ่งอารยธรรมมนุษย์มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง
โดยเริ่มต้นจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์และเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ด้วยการเริ่มมีภาษา
เขียน สังคมใดก็ตามที่มีความเจริญเข้าสู่ขั้นที่มีอารยธรรมนั้นต้องมีพัฒนาการภายใน
สังคมอย่างต่อเนื่อง
2. ปัจจัยส�ำคัญที่ก่อให้เกิดอารยธรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดโดยเฉพาะ แต่ขึ้น
ธ.

อยู่กับการผสมผสานปัจจัยต่างๆ หลายปัจจัยเข้าด้วยกัน ซึ่งปัจจัยส�ำคัญที่ก่อให้เกิด


อารยธรรมมี 6 ประการ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางภูมศิ าสตร์ ระบบการเมืองการปกครอง
ความเจริญทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
และการเกิดความเชื่อและศาสนา
3. การตั้งถิ่นฐานในแหล่งอารยธรรมโลกสมัยโบราณมักมีการตั้งถิ่นฐานในสภาพแวดล้อม
.ม
ทีม่ คี วามอุดมสมบูรณ์ อารยธรรมทีเ่ กิดในแต่ละแห่งส่วนหนึง่ เกิดจากการเชือ่ มสัมพันธ์และ
ติดต่อกันระหว่างแหล่งอารยธรรม ที่ส�ำคัญอารยธรรมโบราณเหล่านั้นยังเป็นรากฐาน
ความเจริญให้แก่ดินแดนทั้งในโลกตะวันออกและตะวันตกในปัจจุบันอีกด้วย

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 1.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายความหมายและพัฒนาการของอารยธรรมได้
2. อธิบายปัจจัยที่ก่อให้เกิดอารยธรรมได้
3. อธิบายปัจจัยการตั้งถิ่นฐานและแหล่งอารยธรรมได้
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-5

เรื่องที่ 1.1.1


ความหมายและพัฒนาการของอารยธรรม

ความหมายและยุคสมัยของอารยธรรมมนุษย์

. ความหมายของอารยธรรม
สธ สธ
ค�ำว่า “อารยธรรม” เป็นค�ำทีม่ คี วามหมายตรงกับค�ำในภาษาอังกฤษว่า “Civilization” มีรากศัพท์

มส . มส
มาจากภาษาละติน คือ Civitas หมายถึง City หรือ นคร โดยเหตุผลทีใ่ ช้คำ� นีเ้ นือ่ งมาจากแหล่งอารยธรรม
ของโลกส่วนใหญ่มกั จะเกิดขึน้ ในนครขนาดใหญ่ๆ ค�ำว่า “อารยธรรม” เป็นค�ำทีม่ คี วามหมายหลายประการ
ตามความเข้าใจและการตีความของแต่ละคน ซึง่ ในทีน่ ใี้ ห้ความหมายแบบง่ายๆ ว่า ความเจริญในด้านต่างๆ
ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ และเป็นความเจริญที่สูงกว่าวัฒนธรรมขั้นพื้นฐาน
ยุคสมัยของอารยธรรมมนุษย์

เมื่อทราบความหมายของค�ำว่าอารยธรรมแล้ว จะพบว่ากว่าที่สังคมมนุษย์จะมีความเจริญถึงขั้น
มีอารยธรรมอย่างทีเ่ ห็นในปัจจุบนั นัน้ สังคมมนุษย์มพี ฒ ั นาการมาอย่างต่อเนือ่ ง กล่าวคือ เริม่ ต้นจากสมัยที่
มนุษย์มชี วี ติ เร่รอ่ นไปตามแหล่งอาหารทีม่ อี ยูต่ ามธรรมชาติ ด�ำรงชีวติ ด้วยการล่าสัตว์ มีการเรียนรูแ้ ละการท�ำ
เครือ่ งมือเครือ่ งใช้แบบง่ายๆ ต่อมาเมือ่ เริม่ มีการเพาะปลูกและเลีย้ งสัตว์อนั เป็นก้าวส�ำคัญทีท่ ำ� ให้สงั คมมนุษย์
เข้าสูส่ มัยทีเ่ ริม่ ลงหลักปักฐานอยูก่ บั ที่ มีการปลูกสร้างทีอ่ ยูอ่ าศัยแบบกระท่อมทีก่ อ่ สร้างด้วยดินอย่างง่ายๆ
ธ.

เริม่ รูจ้ กั การนุง่ ห่มร่างกายด้วยหนังสัตว์ ก้าวส�ำคัญอีกประการ คือ การทีม่ นุษย์เริม่ รูจ้ กั การสือ่ สารด้วยเสียง
ภาษา และเริม่ ประดิษฐ์ตวั อักษร หลังจากนัน้ จึงเริม่ มีการตัง้ บ้านทีเ่ ป็นหลักแหล่งมัน่ คง และมีการรวมตัวกัน
เป็นสังคมเมืองจนในที่สุดก็สามารถสร้างอารยธรรมขึ้นมาได้ ซึ่งพัฒนาการของอารยธรรมมนุษย์ตั้งแต่ที่
กล่าวมาทั้งหมดนี้ แบ่งออกได้เป็น 2 ยุคใหญ่ๆ คือ
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric Age) หมายถึง ช่วงเวลาในสมัยทีม่ นุษย์ยงั ไม่รจู้ กั การ
บันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หรือยังไม่มีการจดบันทึกเป็น “ภาษาเขียน” ชนิดที่คน
.ม
ปัจจุบนั อ่านหรือสามารถถอดความหมายออกมาได้ สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ครอบคลุมระยะเวลาตัง้ แต่ชว่ ง
ที่เกิดมนุษย์ขนึ้ ในโลกจนถึงช่วงที่คนเริม่ มีการจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ของตนเองไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
สมัยก่อนประวัติศาสตร์แบ่งได้เป็น 4 สมัย คือ หินเก่า หินกลาง หินใหม่ และสมัยโลหะ โดยความเจริญ
ของมนุษย์สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์จะเกิดขึน้ ทัง้ ในโลกตะวันออกและโลกตะวันตก ซึง่ รายละเอียดความเจริญ
ของแต่ละท้องที่อาจมีความแตกต่างกันไป (นักศึกษาสามารถศึกษาได้ในหน่วยที่ 1 ตอนที่ 1.2)
2. สมัยประวัติศาสตร์ (Historic Age) หมายถึง สมัยที่มนุษย์รู้จักการคิดค้นประดิษฐ์ตัวอักษร
ขึน้ ใช้เป็นลายลักษณ์อกั ษร ซึง่ ตัวอักษรทีป่ ระดิษฐ์ขนึ้ ใช้นอี้ าจจะมีลกั ษณะแตกต่างจากตัวอักษรทีใ่ ช้กนั อยู่
ในปัจจุบัน แต่ตัวอักษรที่เกิดขึ้นต้องสามารถถอดความหมายได้ การประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ในแต่ละแห่ง
อาจเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน ส่งผลให้การเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนต่างๆ ของโลกมีวิวัฒนาการที่
แตกต่างกัน กล่าวคือ บางท้องที่อาจเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์แล้ว แต่ในขณะที่บางท้องที่ยังไม่ได้เข้าสู่สมัย
ประวัติศาสตร์
สธ ส
1-6 อารยธรรมมนุษย์

นอกจากนี้การค้นพบวิธีการเขียนตัวอักษรยังช่วยให้เกิดประโยชน์ต่างๆ มากมายทั้งทางด้าน


เศรษฐกิจและการเมืองการปกครอง โดยจะช่วยให้กจิ กรรมทางเศรษฐกิจด�ำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และเจริญก้าวหน้า ขณะที่ในด้านการเมืองการปกครอง ได้ก่อให้เกิดการจัดระเบียบ การสั่งงานและ
การควบคุมคนอย่างมีประสิทธิภาพเพิม่ มากขึน้ เป็นการเสริมให้ระบบการเมืองการปกครองมีความเข้มแข็ง
ตามไปด้วย ทีส่ ำ� คัญการเกิดตัวอักษรยังได้สง่ ผลให้เกิดการจดบันทึกเรือ่ งราวต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลาไว้ให้

.
ชนรุ่นหลังได้ศึกษาและยังเป็นพื้นฐานส�ำคัญในการสร้างเสริมอารยธรรมของคนรุ่นต่อมาอีกด้วย
การที่มนุษย์มีการค้นพบตัวอักษรและมีการจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้เป็นหลักฐาน มีส่วนท�ำให้
สธ สธ
การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในแต่ละสมัยมีความชัดเจนมากขึ้น ไม่ต้องอาศัยการสันนิษฐานจากโบราณ

มส . มส
วัตถุหลายชนิดหลายประเภทเหมือนอย่างเช่นที่ต้องท�ำในการศึกษาสมัยก่อนประวัติศาสตร์
สมัยประวัตศิ าสตร์ของโลกเป็นช่วงเวลาทีม่ นุษย์มคี วามเป็นอยูท่ เ่ี ปลีย่ นไปจากเดิมอย่างมาก ทัง้ ใน
ด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง หมู่บ้านกสิกรรมได้ขยายตัวเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางการผลิตอาหาร
และเป็นศูนย์กลางการปกครองและสังคม ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองไม่ได้ประกอบอาชีพกสิกรรม
เพียงอย่างเดียวแต่ยงั มีการประกอบอาชีพอืน่ ๆ อีกหลายประเภท เช่น ช่างหัตถกรรม ช่างท�ำเครือ่ งประดับ

ฯลฯ ซึ่งจะได้ศึกษารายละเอียดของอารยธรรมแต่ละสมัยในหน่วยต่างๆ ต่อไป

พัฒนาการของอารยธรรม
สังคมมนุษย์ในแต่ละสังคมที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ แต่ละสังคมมีความเจริญที่แตกต่างกันมากบ้าง
ธ.

น้อยบ้างตามลักษณะของแต่ละพืน้ ที่ แต่สำ� หรับสังคมทีม่ คี วามเจริญเข้าสูข่ นั้ ทีเ่ รียกว่ามี “อารยธรรม” นัน้
ถ้ามองภาพรวมในแต่ละแห่งมักจะใช้ระยะเวลาทีแ่ ตกต่างกันออกไป แต่ขนั้ ตอนหรือพัฒนาการของการเข้าสู่
สังคมที่มีอารยธรรมนั้นไม่แตกต่างกัน โดยพัฒนาการสู่สังคมที่เป็นอารยะมี 3 ขั้นตอน ดังนี้คือ1
1. การเปลี่ยนทางด้านเกษตรกรรม มนุษย์แรกเริม่ ยังไม่รจู้ กั การเพาะปลูก มีชวี ติ เร่รอ่ น เก็บพืชผัก
และล่าสัตว์จากป่ามาบริโภคเมื่ออาหารบริเวณนั้นหมดก็เร่ร่อนไปแสวงหาอาหารจากแหล่งใหม่ จนเข้าสู่
สมัยหินใหม่ตอนปลาย ช่วงเวลานี้มนุษย์เริ่มรู้จักการเพาะปลูก รู้จักน�ำสัตว์มาเลี้ยง ส่งผลให้มนุษย์เริ่ม
.ม
มีการรวมตัวกันเป็นสังคมในลักษณะแบบเผ่า จากนัน้ มามนุษย์เริม่ มีการเปลีย่ นแปลงเทคโนโลยีการเพาะปลูก
เช่น รู้จักการท�ำชลประทาน และท�ำเขื่อนกักเก็บน�ำ
้ ฯลฯ ท�ำให้มนุษย์สามารถผลิตอาหารได้เพิ่มมากขึ้น
ผลผลิตด้านอาหารในบางพืน้ ทีม่ มี ากเกินความต้องการบริโภคภายในครอบครัว ดังนัน้ มนุษย์จงึ เริม่ มีการน�ำ
ผลผลิตส่วนเกินไปใช้ในกิจกรรมอืน่ ๆ เช่น น�ำไปให้หวั หน้าหมูบ่ า้ นเพือ่ ใช้ในงานพิธกี รรม น�ำไปแลกเปลีย่ น
กับผลิตผลอื่นๆ จากต่างครอบครัว ฯลฯ

1 ธิดา สาระยา. (2539). อารยธรรมไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. น. 39-42.


สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-7

. ม
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ 1.1 การเพาะปลูกในระยะเริ่มแรก
ที่มา: http://anyamaneeis2.blogspot.com/ สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2559.
ธ.

นอกจากนีผ้ ลผลิตส่วนเกินทีไ่ ด้ยงั ท�ำให้คนในสังคมทีไ่ ม่ถนัดเพาะปลูกหันไปประกอบอาชีพอืน่ แทน


น�ำไปสู่การเกิดกลุ่มคนที่ด�ำเนินกิจกรรมทางด้านบริหาร ด้านบริการ ด้านศาสนาพิธีกรรม และช่างฝีมือ
ต่างๆ เช่น ท�ำเครื่องประดับ เครื่องมือเครื่องใช้ ฯลฯ จากนั้นจะน�ำสิ่งเหล่านี้ไปแลกเปลี่ยนกับผลผลิต
ด้านอาหารหรือสิง่ ของอืน่ ๆ ทีจ่ ำ� เป็น ท�ำให้เกิดกลุม่ พ่อค้าทีท่ ำ� หน้าทีซ่ อื้ ขายสิง่ ของต่างๆ ทีส่ งั คมต้องการ
โดยสังคมใดก็ตามที่ก้าวไปสู่ขั้นตอนนี้ นับได้ว่าสังคมนั้นเริ่มก้าวเป็นสังคมที่มีอารยะ และอาจถือว่าการ
เปลีย่ นแปลงด้านการเกษตรนีเ้ ป็นจุดเริม่ ต้นของการน�ำมาซึง่ การเกิดเมือง เกิดรัฐและเกิดอารยธรรมในเวลา
.ม
ต่อมา
2. การเปลี่ยนแปลงด้านการด�ำรงชีพ เมือ่ มนุษย์มกี ารเพาะปลูกท�ำให้มนุษย์มกี ารรวมตัวกัน โดย
สังคมเริม่ แรกอาจมีลกั ษณะเป็นเผ่าเล็กๆ และขยายเป็นชุมชน เป็นบ้านเมือง ส่วนระดับครอบครัวจากเดิม
คือครอบครัวเดี่ยวเริ่มมีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย และที่ส�ำคัญการด�ำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคนี้มีการ
เปลี่ยนไปอย่างมาก กล่าวคือ จากที่เคยแสวงหาอาหารเพื่อการบริโภคภายในครอบครัวก็เริ่มรู้จักการเก็บ
สะสมอาหาร ขณะเดียวกันจากที่เคยบริโภคเนื้อสัตว์แบบดิบๆ แต่พอมนุษย์เริ่มรู้จักการใช้ไฟท�ำให้มนุษย์
เกิดการเปลี่ยนการบริโภคโดยท�ำให้อาหารสุกก่อนการบริโภค ต่อมาเมื่อเริ่มมีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
ท�ำให้มนุษย์สามารถมีแหล่งอาหารบริโภคอย่างแน่นอนไม่ตอ้ งเร่รอ่ นไปตามแหล่งอาหาร ซึง่ เป็นจุดเริม่ ต้น
ของการตัง้ ถิน่ ฐานทีม่ นั่ คงถาวรของมนุษย์ มีการด�ำเนินวิถชี วี ติ ทางเศรษฐกิจทีเ่ ป็นแบบแผนมากขึน้ สิง่ ต่างๆ
เหล่านีล้ ้วนเป็นเครื่องดึงดูดให้ผู้คนจากท้องถิ่นอื่นอพยพมาตั้งถิ่นฐานยังบริเวณสังคมที่มีอารยธรรมกัน
มากขึ้น
สธ ส
1-8 อารยธรรมมนุษย์

. ม
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ 1.2 มนุษย์เริ่มใช้ไฟเพื่อท�ำให้อาหารสุกก่อนการบริโภค
ที่มา: http://beforehistory.myreadyweb.com/article/topic-49582.html สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2559.

3. การจัดล�ำดับฐานะทางสังคม สังคมที่จะมีการพัฒนาสู่ความมีอารยธรรมนั้นมีความจ�ำเป็น
ธ.

อย่างยิง่ ทีป่ ระชากรต้องมีการจัดล�ำดับฐานะทางสังคม ซึง่ การจัดล�ำดับฐานะหรือการแบ่งงานกันท�ำในสังคม


จะช่วยท�ำให้เกิดการจ�ำแนกประชากรในสังคมตามหน้าทีข่ องแต่ละคน ในทีส่ ดุ ก็กลายเป็นโครงสร้างชนชัน้
ตามสถานภาพทางสังคม (Status Society) การแบ่งชนชั้นในระยะแรกๆ จะเป็นการแบ่งเป็นชนชั้น
ปกครองและชนชั้นใต้ปกครอง โดยแต่ละชนชั้นจะมีความส�ำคัญภายในสังคมที่มีความแตกต่างกันออกไป
การจัดล�ำดับฐานะทางสังคมนี้ยังก่อให้เกิดระบบการปกครองแบบต่างๆ ขึ้น
นอกจากนี้การจัดล�ำดับฐานะทางสังคมยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางชนชั้น เช่น มีการก�ำหนด
.ม
พิธีกรรมและจารีตประเพณีระหว่างชนชั้นขึ้น เกิดความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ก�ำหนดสิทธิหน้าที่และเกิด
การยอมรับอ�ำนาจหน้าที่ เกิดการยอมรับสถานภาพและฐานะของกันและกัน ฯลฯ แต่ในปัจจุบันการแบ่ง
ล�ำดับฐานะทางสังคมนัน้ มักจะดูจากความรู้ เงินทอง อ�ำนาจ และยศฐาบรรดาศักดิ์ สิง่ เหล่านีไ้ ด้เข้ามาเป็น
ตัวก�ำหนดความส�ำคัญของคนในสังคม ชุมชนที่มีการจัดล�ำดับฐานะทางสังคมก็จะพัฒนาขึ้นเป็นเมืองหรือ
นครในที่สุด
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-9


กิจกรรม 1.1.1
พัฒนาการของสังคมมนุษย์เมื่อเข้าสู่สังคมที่มีอารยธรรมนั้นมีลำ� ดับขั้นอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม 1.1.1
พัฒนาการของสังคมมนุษย์เมื่อเข้าสู่สังคมที่มีอารยธรรมนั้นมีลำ� ดับขั้นอยู่ด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือ

.
1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านเกษตรกรรม
สธ สธ
2. การเปลี่ยนแปลงด้านการด�ำรงชีพ

มส . มส
3. การจัดล�ำดับฐานะทางสังคม

เรื่องที่ 1.1.2

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอารยธรรม

การเกิดขึ้นของอารยธรรมในแต่ละแห่งของโลกไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดโดยเฉพาะ แต่
ธ.

ขึ้นอยู่กับการผสมผสานปัจจัยต่างๆ หลายปัจจัยเข้าด้วยกัน ซึ่งปัจจัยส�ำคัญที่ก่อให้เกิดอารยธรรมในที่นี้


จะเสนอ 6 ประการ ได้แก่

1. สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยส�ำคัญโดยตรงปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์
อารยธรรมของมนุษย์ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยโบราณ สังคมสมัยโบราณมีลักษณะเป็นสังคม
.ม
เกษตรกรรม ดังนัน้ ธรรมชาติจงึ มีอทิ ธิพลเหนือชีวติ ความเป็นอยูข่ องมนุษย์ จากหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์
ของแหล่งอารยธรรมหลายแห่งแสดงให้เห็นว่าบทบาทของสภาพแวดล้อมทางภูมศิ าสตร์มผี ลต่อความเจริญ
ของอารยธรรมมนุษย์อย่างมาก ดังจะเห็นได้ว่าอารยธรรมส�ำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยโบราณมักเกิดขึ้นใน
บริเวณที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นบริเวณที่ราบใกล้ภูเขา ที่ราบลุ่มแม่น�้ำ หรือบริเวณ
ทีม่ คี วามเหมาะสมกับการเพาะปลูกและการด�ำรงชีวติ การทีม่ นุษย์เลือกทีจ่ ะตัง้ ถิน่ ฐานในบริเวณทีม่ คี วาม
เหมาะสมในด้านต่างๆ จะช่วยให้ชุมชนของมนุษย์เกิดการพัฒนาจนถึงขั้นมีการสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นได้
ดังนัน้ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางภูมศิ าสตร์ จึงเป็นปัจจัยส�ำคัญโดยตรงปัจจัยหนึง่ ทีก่ อ่ ให้เกิดการสร้างสรรค์
อารยธรรมของมนุษย์ขึ้น
สธ ส
1-10 อารยธรรมมนุษย์

2. ระบบการเมืองการปกครอง


มนุษย์เมื่อมีการตั้งบ้านเมืองเป็นหลักแหล่งและเริ่มมีการขยายถิ่นที่อยู่อาศัยให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น
ท�ำให้เกิดความจ�ำเป็นในการสร้างสิง่ ทีจ่ ะมาช่วยควบคุมคนในสังคม เช่น การจัดการระบบการชลประทาน
การจัดการระบบการใช้ที่ดิน ฯลฯ เหล่านี้ท�ำให้ภายในชุมชนต้องมีหัวหน้าในการออกกฎข้อบังคับต่างๆ
ระบบข้อบังคับนั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบการปกครองที่ช่วยท�ำให้เกิดความสงบสุขและความปลอดภัย

.
ในสังคม
สธ สธ
การปกครองในยุคเริ่มแรกจะเริ่มขึ้นภายในครอบครัวก่อนจากนั้นจึงขยายวงกว้างออกไปสู่ชุมชน
ขนาดเล็กและสู่ชุมชนขนาดใหญ่ เมื่อชุมชนมีขนาดใหญ่ขึ้นสังคมก็จะมีลักษณะซับซ้อนขึ้นตามไปด้วย

มส . มส
ท�ำให้ต้องมีการพัฒนาการปกครองตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมในแต่ละช่วงเพื่อความเหมาะสม
ดังนัน้ ระบบการปกครองของแต่ละยุคแต่ละสมัยจึงมักมีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพสังคม
ในแต่ละสมัย เห็นได้จากสังคมแบบชนเผ่าจะมีการปกครองด้วยระบบหัวหน้าเผ่า ต่อมาเมือ่ สังคมขยายขึน้
ระบบการปกครองก็มกี ารพัฒนาขึน้ เพือ่ ให้เหมาะสมกับแต่ละสังคมไม่วา่ จะเป็นระบบราชาธิปไตย (Monarchy)
ระบบประชาธิปไตย (Democracy) ระบบคณาธิปไตย (Oligarchy) ระบบเผด็จการ (Dictatorship)

ลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) หรือเกิดลัทธิการเมือง เช่น ลัทธิฟาสซิสม์ (Fascism) ลัทธินาซี
(Nazism) เป็นต้น

3. ความเจริญทางเทคโนโลยี
ธ.

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นปัจจัยส�ำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลต่อการสร้างสรรค์อารยธรรม
ของมนุษย์ โดยในแต่ละยุคแต่ละสมัยมักจะมีการเปลีย่ นแปลงเทคโนโลยีอย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ การเปลีย่ นแปลง
เทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้เท่ากับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอารยธรรมในแต่ละยุคแต่ละสมัยด้วยเช่นกัน
เทคโนโลยีเป็นปัจจัยส�ำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดอารยธรรมของมนุษย์ กล่าวคือ ในยุคก่อน
ประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีของมนุษย์ยังคงเป็นแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่ภายหลังได้เริ่มมีการพัฒนา
เทคโนโลยีใหม่ๆ ขึน้ มา ซึง่ เทคโนโลยีแบบใหม่นมี้ กั เกิดขึน้ จากการทีม่ นุษย์พยายามทีจ่ ะเอาชนะธรรมชาติ
.ม
เพื่อจะสามารถด�ำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นมนุษย์จึงพยายามขวนขวายหาวิธีที่จะอยู่ร่วมกับ
ธรรมชาติหรือบางแห่งต้องหาวิธเี อาชนะธรรมชาติในทุกด้าน ความพยายามทัง้ สองประการนีก้ อ่ ให้เกิดการ
แสวงหาความรูเ้ กีย่ วกับธรรมชาติ เห็นได้จากเทคโนโลยีในด้านการเกษตร กล่าวคือ ในบางท้องทีเ่ กิดน�ำ้ ท่วม
เกิดความแห้งแล้ง ก็จำ� เป็นต้องมีการพัฒนาระบบชลประทานเพือ่ ใช้ในการเกษตร ต้องมีการเรียนรูว้ ธิ กี ารน�ำ
เหล็กมาใช้เพือ่ ท�ำคันไถหรือตัดไม้เพือ่ บุกเบิกพืน้ ทีใ่ นการท�ำการเกษตรหรือหาวิธที จี่ ะช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพ
และเพิม่ ผลผลิตทางเกษตรกรรม บางท้องทีท่ เี่ ป็นทะเลทราย มนุษย์ยงั สามารถปรับปรุงทีด่ นิ ให้สามารถใช้
ประโยชน์ในการเกษตรได้ บางท้องที่ที่อยู่ติดแม่น�้ำ ติดทะเล แรกเริ่มมนุษย์อาจใช้กระดูกสัตว์ท�ำคันเบ็ด
ต่อมาเริม่ พัฒนาเครือ่ งมือจับสัตว์ เช่น แห อวน เรือ ฯลฯ เท่ากับเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีดา้ นการประมง
นอกจากนีย้ งั มีการพัฒนาเทคโนโลยีดา้ นการขนส่งและการคมนาคม เริม่ แรกมนุษย์รจู้ กั การใช้มา้ เป็นพาหนะ
โดยต่อมาเมือ่ เข้าสูย่ คุ ปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมท�ำให้เกิดรถจักรไอน�ำ
้ หรือในปัจจุบนั มีรถไฟฟ้า รถยนต์ เครือ่ งบิน
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-11

เป็นพาหนะในการขนส่ง เป็นต้น เหล่านี้เป็นความเจริญทางเทคโนโลยีที่น�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม


และอารยธรรมมนุษย์

.
สธ สธ
มส . มส
ภาพที่ 1.3 รถยนต์ไอน�้ำสู่รถยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีสมัยใหม่
ที่มา: http://suwit-history.blogspot.com/2015/07/1.html และhttp://khunnoojan11.blogspot.com/p/1.html สืบค้นเมื่อ 3
พฤษภาคม 2559.

4. การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
การทีม่ นุษย์เริม่ มีการรวมตัวเป็นสังคม มีการจัดระเบียบสังคมขึน้ ในกลุม่ เพือ่ ให้เกิดประโยชน์สงู สุด
ต่อมนุษย์ทอี่ ยูร่ วมกันภายในกลุม่ ของตน มีการออกกฎหมายเพือ่ ตัดสินคดีความทีเ่ กิดขึน้ มีการเลือกผูน้ ำ �
ธ.

มีการสร้างสถาบันต่างๆ ขึ้นมาเพื่อสะดวกในการปกครอง มีการวางแผนจัดการในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ล้วน


ก่อให้เกิดความเจริญเติบโตขึ้นในสังคมมนุษย์ ซึ่งการรวมตัวกันของมนุษย์นั้นนอกจากเพื่อให้มนุษย์
สามารถด�ำรงชีวิตอยู่ได้แล้ว ยังท�ำให้มนุษย์สามารถสร้างสรรค์วัฒนธรรมขึ้นได้อีกด้วย
การที่มนุษย์สร้างสรรค์วัฒนธรรมนั้นมีจุดเริ่มต้นส่วนหนึ่งมาจากการที่มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้ไฟ
กล่าวคือ ก่อนทีม่ นุษย์จะเริม่ รูจ้ กั ไฟ มนุษย์จะท�ำงานเฉพาะในเวลากลางวันด้วยการออกจากทีพ่ กั ไปเพาะปลูก
พอตกกลางคืนก็ไม่สามารถท�ำอะไรได้อกี เนือ่ งจากไม่มแี สงสว่าง แต่พอมนุษย์รจู้ กั ไฟท�ำให้มนุษย์สามารถ
.ม
ท�ำงานเพิม่ ขึน้ ในตอนกลางคืน โดยในตอนกลางวันก็ยงั คงท�ำไร่ทำ� นาและเลีย้ งสัตว์ พอกลางคืนก็จะจุดไฟ
เพือ่ เพิม่ แสงสว่าง น�ำไปสูก่ ารสร้างสรรค์วฒ ั นธรรมขึน้ ได้แก่ เกิดการประดิษฐ์งานฝีมอื ต่างๆ ไม่วา่ จะเป็น
การทอผ้า ท�ำเครื่องมือเครื่องใช้ มีการพัฒนาความคิดต่างๆ ขึ้น จากนั้นในแต่ละสังคมก็เกิดการเปลี่ยน-
แปลงทางวัฒนธรรมตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
สธ ส
1-12 อารยธรรมมนุษย์

. ม
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ 1.4 การก่อไฟของมนุษย์ยุคหินใหม่ในถ�้ำเพื่อเพิ่มแสงสว่าง
ที่มา: http://kankamnadmanut.blogspot.com/2015_08_01_archive.html สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2559.

5. การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ธ.

จากการที่มนุษย์พ้นสภาพของการเร่ร่อนและล่าสัตว์จนเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานอยู่กับที่ เป็นเหตุให้
ประชากรมาอาศัยอยู่ร่วมกันมากขึ้น มีการแบ่งแยกการท�ำงานที่ชัดเจน สิ่งที่ตามมาที่ส�ำคัญ คือ ท�ำให้
มนุษย์เกิดความจ�ำเป็นในการแลกเปลี่ยนอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตลอดจนเริ่มมีการจัดให้มีบริการใน
รูปแบบต่างๆ น�ำไปสู่การเกิดศูนย์กลางเพื่อด�ำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยนและบริการที่เรียกว่า “ตลาด”
เมือ่ การแลกเปลีย่ นมีจำ� นวนมากขึน้ จึงเกิดการคิดมูลค่าของสิง่ ของเป็นจ�ำนวนเงินทีเ่ ป็นตัวเลขอย่างมีระบบ
ขึน้ มา โดยการซือ้ ขายแลกเปลีย่ นนีท้ ำ� ให้เมืองในเวลานีม้ บี ทบาทในฐานะเป็นศูนย์กลางทีข่ ยายตัวไปพร้อมๆ
.ม
กับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
นอกจากนีเ้ มืองต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ใหม่ตามเส้นทางการค้าหรือชุมชนทางการค้า ในเวลาต่อมาได้กลาย
เป็นแหล่งอารยธรรมแห่งใหม่ เช่น เมืองเวนิช เจนัว ปิซา ฯลฯ จากการที่เมืองดังกล่าวเป็นเมืองที่มีการ
ค้าขายข้ามแดนในระดับภูมิภาคนั้นได้น�ำมาซึ่งการติดต่อค้าขายระหว่างแหล่งต่างๆ ที่มีความแตกต่างกัน
ทางอารยธรรม จึงเป็นเหตุให้อารยธรรมจากดินแดนต่างๆ มีโอกาสแลกเปลีย่ นหรือมีโอกาสในการแผ่ขยาย
อารยธรรมของตนไปยังดินแดนอื่นๆ
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-13

. ม
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ 1.5 การค้าขายสมัยโบราณที่เมืองเวนิส
ที่มา: http://www.mylusciouslife.com/headline-of-the-week-internationally-acclaimed-barrister-amal-alamuddin-
marries-an-actor/ สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2559.
ธ.

6. การเกิดความเชื่อและศาสนา
มนุษย์ต้องการความมั่นคงทางจิตใจ เพื่อจะได้ด�ำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและอยู่รอดปลอดภัย
มนุษย์จึงจ�ำเป็นต้องแสวงหาความผูกพันกับอ�ำนาจเหนือธรรมชาติ หรือสิ่งที่ปราศจากตัวตนที่มนุษย์มอง
ไม่เห็นและสัมผัสไม่ได้ แต่เชือ่ ว่าสิง่ เหล่านัน้ จะสามารถปกป้องคุม้ ครองตนเองให้ปลอดภัยได้ การแสดงออก
ในเรื่องของการแสวงหาความมั่นคงทางจิตใจนี้มีลักษณะต่างกันตั้งแต่สมัยโบราณถึงสมัยปัจจุบัน โดยใน
ช่วงเวลาอันยาวนานทีผ่ า่ นมามนุษย์ได้พบว่า “ศาสนาและความเชือ่ ” เป็นแนวทางหนึง่ ทีจ่ ะช่วยน�ำมนุษย์
.ม
ไปสู่ความมั่นคงทางจิตใจ ซึ่งศาสนาเป็นผลของความต้องการทางจิตใจ การแสดงออกทางความคิด และ
ความเชื่อของมนุษย์
สิ่งที่ท�ำให้มนุษย์พบกับศาสนาและความเชื่ออีกประการที่ส�ำคัญคือ “ความอ่อนแอของมนุษย์”
ที่ต้องการหาสิ่งมาช่วยให้จิตใจของตนมีความเข้มแข็ง ซึ่งศาสนาและความเชื่อก็เป็นสิ่งที่ช่วยสนองความ
ต้องการนัน้ ได้ โดยมนุษย์ตอ้ งการทีพ่ งึ่ ทางจิตใจ ต้องการเครือ่ งยึดเหนีย่ วเพือ่ ให้ชวี ติ มีความมัน่ คง สาเหตุ
อาจมาจากการที่มนุษย์เห็นความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติจึงได้พยายามแสวงหาเหตุผลอันเกิดจากการ
เปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ในระยะแรกๆ อาจออกมาในลักษณะของการกระท�ำในสิ่งที่คิดว่าจะช่วยให้พ้นจาก
การเปลีย่ นแปลง และเมือ่ การกระท�ำดังกล่าวได้ผลก็ยดึ ถือ เชือ่ มัน่ ในการกระท�ำนัน้ ในขัน้ แรกอาจเป็นการ
ท�ำตามความเชือ่ ส่วนบุคคล ต่อมาเมือ่ มีผอู้ นื่ เห็นว่าดีกน็ ำ� มาปฏิบตั ติ าม จากนัน้ จึงเริม่ หาเหตุผลมาประกอบ
การกระท�ำจนเป็นทีม่ าของการเกิดเป็นลัทธิ ศาสนา ในเวลาต่อมาก็เกิดสิง่ ต่างๆ ทีช่ ว่ ยส่งเสริมให้ความเชือ่
และศาสนามีความน่าเชื่อถือ เช่น กฎข้อบังคับ พิธีกรรม ประเพณี ฯลฯ ขณะเดียวกันยังเกิดเครื่องมือ
สธ ส
1-14 อารยธรรมมนุษย์

เครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบพิธี เกิดงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าที่นับถือเพื่อเป็นการบูชาและ


แสดงความเคารพในสิง่ ทีม่ นุษย์จนิ ตนาการขึน้ ซึง่ การแสดงความรูส้ กึ นึกคิดอาจออกมาในลักษณะรูปธรรม
ต่างๆ เช่น ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม วรรณคดี ดนตรี ฯลฯ
เหล่านี้เป็นปัจจัยส�ำคัญที่ก่อให้เกิดอารยธรรมของมนุษย์ขึ้น ซึ่งปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาเป็นเพียง
ส่วนหนึ่ง ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่ก่อให้เกิดอารยธรรมขึ้นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ในการ

.
สร้างสรรค์อารยธรรมขึ้นมา
สธ สธ
มส . มส
กิจกรรม 1.1.2
ความจ�ำเป็นในการแลกเปลี่ยนอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ น�ำไปสู่การเกิดสิ่งใด

แนวตอบกิจกรรม 1.1.2
ความจ�ำเป็นในการแลกเปลี่ยนอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ น�ำไปสู่การเกิดศูนย์กลางเพื่อด�ำเนิน

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนและบริการที่เรียกว่า “ตลาด” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนสิ่งของ เมื่อ
การแลกเปลีย่ นมีจำ� นวนมากขึน้ จึงเกิดการคิดมูลค่าของสิง่ ของเป็นจ�ำนวนเงินทีเ่ ป็นตัวเลขอย่างมีระบบขึน้ มา
ธ.

เรื่องที่ 1.1.3
ปัจจัยการตั้งถิ่นฐานและแหล่งอารยธรรม
 
.ม
ปัจจัยการตั้งถิ่นฐาน
การที่มนุษย์อยู่รวมกันและพัฒนาชุมชนของตนให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้นั้น อาจเนื่องมาจากการที่
คนในชุมชนมีการพัฒนาภาษา การด�ำรงชีวติ และขนบธรรมเนียมประเพณีรว่ มกัน ทีส่ ำ� คัญการเลือกท�ำเล
ในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีส่วนอย่างมากในการพัฒนาความเจริญทางอารยธรรมของแต่ละสังคม โดย
ในแต่ละกลุม่ อาจจะมีพนื้ ฐานความคิดในการลงหลักปักฐานทีแ่ ตกต่างกันไปตามความคิดและความเชือ่ ของ
กลุ่มตน แต่ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่าปัจจัยทางกายภาพเกี่ยวกับการเลือกตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จะมีความ
คล้ายคลึงกัน 3 ประการหลักดังนี2้

2 น�ำบางส่วนและเพิ่มเติมจาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=17&chap=6&page
=t17-6-l1.htm สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2559.
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-15

1. ลักษณะทางภูมิประเทศ การเลือกตัง้ ถิน่ ฐานในช่วงแรก มนุษย์มกั เลือกท�ำเลบริเวณทีร่ าบลุม่


ริมน�ำ้ มากกว่าการตัง้ ถิน่ ฐานในเขตทีส่ งู หรือภูเขา เนือ่ งจากลักษณะพืน้ ทีก่ ว้างขวาง ราบเรียบท�ำให้สามารถ
เพาะปลูกได้สะดวกและมีดินที่อุดมสมบูรณ์
2. ลักษณะทางภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศมีผลโดยตรงต่อมนุษย์เนื่องจากมีบทบาทส�ำคัญใน
การก�ำหนดลักษณะดินและพืช สภาพของดินฟ้าอากาศไม่ว่าจะร้อนเกินไปหนาวเกินไปก็มีอิทธิพลต่อ

.
การตั้งถิ่นฐาน มีอิทธิพลต่อการสร้างบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย และวิถีการด�ำรงชีวิต
3. แหล่งน�้ำใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภค แหล่งน�้ำใช้มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานเป็นอย่างมาก
สธ สธ
โดยเฉพาะในสมัยโบราณการตั้งถิ่นฐานทุกแห่งต้องใกล้กับแหล่งน�ำ ้ เพราะต้องใช้นำ�้ ในการท�ำการเกษตร

มส . มส
ใช้แหล่งน�ำ้ ในการคมนาคมขนส่งเพือ่ แลกเปลีย่ นสินค้าและใช้ในการอุปโภคบริโภคของมนุษย์ สังคมใดก็ตาม
ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน�ำ ้ สังคมนั้นก็จะเกิดการพัฒนาต่อไป
จะเห็นได้ว่าการตั้งถิ่นฐานจนเกิดเป็นอารยธรรมโบราณที่ส�ำคัญของโลกมักมีความเจริญขึ้นจาก
การตัง้ ถิน่ ฐานในบริเวณทีม่ ลี กั ษณะภูมปิ ระเทศและภูมอิ ากาศทีเ่ หมาะสม ขณะเดียวกันต้องอยูใ่ กล้ลมุ่ แม่นาํ้
ทีม่ คี วามอุดมสมบูรณ์ เช่น อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (ลุม่ แม่นำ�้ ไทกริสและยูเฟรทีส) และอารยธรรมอียปิ ต์

โบราณ (ลุ่มแม่น�้ำไนล์) อารยธรรมอินเดียโบราณ (ลุ่มแม่น�้ำสินธุ) และอารยธรรมจีนโบราณ (ลุ่มแม่น�้ำ
ฮวงโห) เป็นต้น

แหล่งอารยธรรม
ธ.

การตั้งถิ่นฐานในแหล่งอารยธรรมโลกสมัยโบราณที่เกิดขึ้นเริ่มจากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมอียิปต์โบราณ อารยธรรมอินเดียโบราณ และอารยธรรมจีนโบราณ ต่อจากนั้นเป็นอารยธรรม
ที่เกิดขึ้นบริเวณริมฝั่งทะเล คือ อารยธรรมกรีกโบราณ และมาสิ้นสุดที่อารยธรรมโรมันโบราณ อารยธรรม
เหล่านีถ้ อื ว่าเป็นแหล่งเชือ่ มสัมพันธ์และมีการติดต่อแลกเปลีย่ นกัน ทีส่ ำ� คัญยังเป็นรากฐานความเจริญให้แก่
ดินแดนทัง้ ในโลกตะวันออกและตะวันตกในปัจจุบนั 3 ในทีน่ จ้ี ะศึกษาอารยธรรมต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ทัง้ 2 ซีกโลก
โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
.ม
อารยธรรมตะวันออก เป็นอารยธรรมเก่าแก่ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่ง
อารยธรรมตะวันออกสมัยโบราณในที่นี้มีทั้งหมด 3 อารยธรรม ได้แก่ อารยธรรมเอเชียใต้ ซึ่งจะเน้นไปที่
อินเดีย แต่อารยธรรมอินเดียในที่นี้จะครอบคลุมอาณาเขตของเอเชียใต้โดยรวม ซึ่งในปัจจุบันนี้ประกอบ
ด้วยประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ อัฟกานิสถาน ศรีลังกา และเนปาล อย่างไรก็ตามประเทศ
อินเดียในปัจจุบันเป็นดินแดนหลักที่สืบทอดอารยธรรมอินเดียมาแต่โบราณ4 อารยธรรมเอเชียตะวันออก
ประกอบด้วย จีน เกาหลี และญีป่ นุ่ โดยในทีน่ จี้ ะเน้นทีอ่ ารยธรรมจีน เนือ่ งจากอารยธรรมจีนมีความเจริญ
อย่างมากและยังเป็นแม่แบบให้กบั อารยธรรมเกาหลีและญีป่ นุ่ ด้วย และอารยธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หมายถึง ดินแดนทีอ่ ยูร่ ะหว่างจีนและอินเดีย ปัจจุบนั ประกอบด้วยประเทศเมียนมา ลาว กัมพูชา เวียดนาม

3 http://arayatum007.blogspot.com/2012/09/blog-post.html สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2559.


4 วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ และคณะ. (2558). อารยธรรมตะวันออก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สธ ส
1-16 อารยธรรมมนุษย์

ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และติมอร์ตะวันออก ซึ่งในสมัยโบราณยังไม่ได้


มีการรวมกันเป็นประเทศอย่างในปัจจุบัน แต่จะมีการรวมตัวกันเป็นแคว้น เป็นอาณาจักรหลากหลาย
อาณาจักรที่น่าสนใจ อารยธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอารยธรรมที่รับอารยธรรมจากอินเดียและจีน
ผสมผสานกับอารยธรรมของตนเองที่มีการสร้างสรรค์อยู่ก่อน ขณะเดียวกันยังเป็นอารยธรรมที่อยู่ใน
เส้นทางผ่านของพ่อค้าทีท่ ำ� การค้าขายระหว่างอินเดีย จีน เปอร์เซีย และอาหรับ (รายละเอียดของอารยธรรม

.
ต่างๆ ทีก่ ล่าวไว้ขา้ งต้นโปรดศึกษาในหน่วยการสอนต่างๆ)
ต่อมาอารยธรรมตะวันออกโบราณต่างๆ ต้องพบกับภาวะเผชิญกับอารยธรรมตะวันตก จากการ
สธ สธ
เข้ามาติดต่อค้าขาย เผยแผ่ศาสนา และสุดท้ายก็เข้ายึดครองดินแดนเหล่านี้ น�ำไปสูก่ ารแบ่งเขตแดนอย่าง

มส . มส
ชัดเจนในภายหลัง
อารยธรรมตะวันตก เป็นอารยธรรมเก่าที่มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนเข้าสู่
สมัยประวัตศิ าสตร์ อารยธรรมตะวันตกในทีน่ ป้ี ระกอบด้วย 3 อารยธรรม ได้แก่ อารยธรรมอียปิ ต์ ตัง้ อยูท่ าง
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา บริเวณสองฝัง่ ของแม่นำ้� ไนล์ อารยธรรมโบราณของอียปิ ต์เจริญขึน้
ในบริเวณแถบเดลต้า ซึง่ อยูบ่ ริเวณปลายสุดของล�ำน�ำ้ ไนล์ อารยธรรมกรีก ตัง้ อยูต่ อนปลายสุดของคาบสมุทร

บอลข่านทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป และตั้งอยู่บริเวณอารยธรรมยุคเก่าที่สำ� คัญ 2 แห่งของ
โลก คือ อียิปต์และตอนเหนือของเมโสโปเตเมีย โดยอารยธรรมกรีกที่เป็นมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบัน
ประกอบด้วยอารยธรรมหลัก 2 ส่วน คือ อารยธรรมเฮลเลนิกและอารยธรรมเฮลเลนิสติก อารยธรรมโรมัน
จุดเริม่ ต้นของอารยธรรมโรมันตัง้ อยูบ่ นคาบสมุทรอิตาลี มีศนู ย์กลางอยูท่ กี่ รุงโรม ซึง่ ตัง้ อยูบ่ นฝัง่ แม่นำ�้ ไทเบอร์
ธ.

และอยูห่ า่ งจากชายฝัง่ ทะเลประมาณ 15 ไมล์ จากลักษณะทางภูมศิ าสตร์ดงั กล่าวน�ำไปสูก่ ารติดต่อคมนาคม


และการพัฒนาอารยธรรมให้เจริญก้าวหน้า (รายละเอียดของอารยธรรมต่างๆ ทีก่ ล่าวไว้ขา้ งต้นโปรดศึกษา
ในหน่วยการสอนต่างๆ)
ต่อมาเมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลาย โรมันแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ โรมันตะวันตกที่เข้าสู่ยุคมืด
เกิดระบบฟิวดัลและการอยู่ภายใต้ขนบธรรมเนียมของศาสนาคริสต์ ส่วนโรมันตะวันออกยังคงมีการด�ำรง
อยู่ภายใต้อารยธรรมไบเซนไทน์ ต่อมาเมื่อระบบฟิวดัลล่มสลายในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 ฝรั่งเศส
.ม
โปรตุเกส สเปน และอังกฤษ จึงเริ่มมีการปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ภายใต้แนวคิดของ
การเกิดรัฐชาติแบบใหม่ จากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในอารยธรรมตะวันตกไม่ว่าจะเป็นการ
ฟื้นฟูศิลปวิทยา การปฏิรูปศาสนา ปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ปฏิวัติอุตสาหกรรม และยุคของลัทธิล่าอาณานิคม
ยุคสมัยต่างๆ เหล่านี้เป็นพื้นฐานการด�ำเนินชีวิตและอารยธรรมของยุโรปในปัจจุบัน
อารยธรรมโบราณอีกหนึ่งอารยธรรมคือ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมนี้ต�ำราทางวิชาการ
บางเล่มจัดอยู่ในอารยธรรมตะวันออก ขณะที่ต�ำราบางเล่มรวมอยู่ในอารยธรรมตะวันตก เนื่องจากพื้นที่
ของแหล่งอารยธรรมทั้งหมดครอบคลุมอาณาบริเวณจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปสู่อ่าวเปอร์เซีย โดยมี
ต้นก�ำเนิดในลุ่มแม่นำ�้ สองสาย คือ แม่น�้ำไทกริส (Tigris River) และแม่นำ�้ ยูเฟรทีส (Euphrates River)
ซึง่ ปัจจุบนั ดินแดนส่วนใหญ่อยูใ่ นประเทศอิรกั อันเป็นบริเวณทีม่ ลี กั ษณะเป็นรูปเสีย้ วจึงเรียกอีกชือ่ หนึง่ ว่า
“ดินแดนพระจันทร์เสีย้ วอันอุดมสมบูรณ์” (Fertile Crescent) ซึง่ เป็นดินแดนรูปครึง่ วงกลมผืนใหญ่ ทอดโค้ง
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-17

ขึน้ ไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจรดอ่าวเปอร์เซีย5 แต่อย่างไรก็ตามอารยธรรมเมโสโปเตเมียนับเป็น


แหล่งอารยธรรมแรกของโลก และเป็นอารยธรรมพื้นฐานของอารยธรรมตะวันออกและอารยธรรมตะวันตก
ขณะเดียวกันอารยธรรมตะวันออกและอารยธรรมตะวันตกแม้จะมีการสร้างความเจริญอยูค่ นละฝัง่
ของโลก แต่อารยธรรมทัง้ สองไม่ได้ดำ� เนินอยูโ่ ดยล�ำพัง เนือ่ งจากมีการสังสรรค์กนั ทัง้ ในรูปของการค้า โดยเฉพาะ
อารยธรรมจีนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก จนสามารถเชื่อมตัวเองและโลกตะวันออกไปยังโลกตะวันตกได้

.
ขณะเดียวกันยังมีการถ่ายทอดอารยธรรมระหว่างกันผ่านผูค้ นทีเ่ ดินทางไปมาหาสูก่ นั แต่ใช่ว่าจะมีเฉพาะ
การสังสรรค์ทางอารยธรรมเท่านั้น ยังมีแง่มุมของความขัดแย้งอันเป็นผลมาจากการครอบครองดินแดน
สธ สธ
อันน�ำไปสู่อารยธรรมยุคใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกตะวันออกและโลกตะวันตก

มส . มส
กิจกรรม 1.1.3
อารยธรรมโบราณของโลกตะวันออกและโลกตะวันตกที่ส�ำคัญมีอะไรบ้าง

แนวตอบกิจกรรม 1.1.3
อารยธรรมโบราณของโลกตะวันออก ได้แก่ อารยธรรมเอเชียใต้ อารยธรรมเอเชียตะวันออก และ
อารยธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนโลกตะวันตก ได้แก่ อารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมกรีก และ
อารยธรรมโรมัน ส�ำหรับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ต�ำราทางวิชาการบางเล่มจัดอยูใ่ นอารยธรรมตะวันออก
ธ.

ขณะที่ต�ำราบางเล่มรวมอยู่ในอารยธรรมตะวันตก
.ม

5 https://th.wikipedia.org/wiki/เมโสโปเตเมีย สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2559.


สธ ส
1-18 อารยธรรมมนุษย์

ตอนที่ 1.2


สมัยก่อนประวัติศาสตร์
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 1.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

.
หัวเรื่อง
สธ สธ
1.2.1 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ของโลกตะวันออก

มส . มส
1.2.2 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก

แนวคิด
1. ม นุษย์สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ของโลกตะวันออกเกิดขึน้ เมือ่ ประมาณ 500,000-10,000 ปี
ล่วงมาแล้ว โดยเริม่ ตัง้ แต่มนุษย์สมัยหินเก่าทีม่ ชี วี ติ เร่รอ่ นไปตามแหล่งอาหาร ยังไม่รจู้ กั

การตั้งถิ่นฐานที่แน่นอน จากนั้นมีพัฒนาการเข้าสู่สมัยหินกลาง สมัยหินใหม่ และสมัย
โลหะ ซึ่งในแต่ละสมัยจะมีวิถีชีวิตและเทคโนโลยีการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่มี
การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2. มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตกเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2,000,000 ปี
ล่วงมาแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่มนุษย์สมัยหินเก่าเช่นเดียวกับของโลกตะวันออก จากนั้นก็มี
ธ.

พัฒนาการเข้าสู่สมัยหินกลาง สมัยหินใหม่ และสมัยโลหะ ซึ่งในแต่ละสมัยจะมีวิถีชีวิต


และเทคโนโลยีการประดิษฐ์เครือ่ งมือเครือ่ งใช้ทมี่ กี ารพัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง โดยเฉพาะใน
ตอนปลายของสมัยโลหะ ชุมชนมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วและเจริญก้าวหน้าอย่างมาก

วัตถุประสงค์
.ม
เมื่อศึกษาตอนที่ 1.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของโลกตะวันออกได้
2. อธิบายสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตกได้
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-19

เรื่องที่ 1.2.1


สมัยก่อนประวัติศาสตร์ของโลกตะวันออก

. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนของโลกตะวันออกมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยหินเก่า
สมัยหินกลาง สมัยหินใหม่ และสมัยโลหะ ซึง่ ในแต่ละสมัยจะมีวถิ ชี วี ติ และเทคโนโลยีการประดิษฐ์เครือ่ งมือ
สธ สธ
เครื่องใช้ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

มส . มส
สมัยหินเก่า
อารยธรรมสมัยหินเก่าของโลกตะวันออกเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 500,000-10,000 ปีล่วงมาแล้ว
มนุษย์ในสมัยนี้มีชีวิตเร่ร่อนไปตามแหล่งอาหาร ยังไม่รู้จักการตั้งถิ่นฐานที่แน่นอน บางกลุ่มอาศัยอยู่ตาม
ถ�้ำและใต้หน้าผา ขณะเดียวกันยังด�ำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ เก็บพืชผัก ผลไม้จากป่า เครื่องมือเครื่องใช้

และอาวุธท�ำจากหินทีเ่ ก็บจากบริเวณภูเขา หรือบริเวณแม่นำ�้ น�ำมากะเทาะแบบง่ายๆ ท�ำให้มลี กั ษณะหนา
และหนัก เพื่อใช้ในการล่าสัตว์ และหาอาหาร โดยพบหลักฐานที่เป็นเครื่องมือหินในดินแดนต่างๆ เช่น
ประเทศไทย เมียนมา ลาว เวียดนาม จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ฯลฯ นอกจากนี้ ยังพบร่องรอยว่าได้มีการเริ่มใช้
ไฟในบางพื้นที่
ธ.
.ม
ภาพที่ 1.6 เครื่องมือหินกะเทาะ
ที่มา: http://www.chennaimuseum.org/draft/gallery/08/01/civil2.htm สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2559.

ขณะเดียวกันยังพบหลักฐานทีเ่ ป็นโครงกระดูกมนุษย์ในหลายท้องที่ กล่าวคือ มีการค้นพบโครงกระดูก


ของมนุษย์หยวนโหม่ว (Yuanmou Man) ทางบริเวณมณฑลยูนนาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน สันนิษฐาน
ว่ามีอายุประมาณ 1,700,000 ปีลว่ งมาแล้ว พบมนุษย์ปกั กิง่ (Peking Man) ทีบ่ ริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของ
กรุงปักกิ่ง มีอายุอยู่ราว 400,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช สันนิษฐานว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวจีนปัจจุบัน
สธ ส
1-20 อารยธรรมมนุษย์

ขณะเดียวกันยังพบหลักฐานว่ามีมนุษย์ชนเผ่าไอนุเข้ามาอาศัยอยูใ่ นญีป่ นุ่ ด้วย โดยเป็นมนุษย์ทผี่ สมผสาน


ระหว่างมนุษย์สายพันธุ์มองโกลอยด์เก่ากับมนุษย์สายพันธุ์มองโกลอยด์ใหม่ และมีการขุดพบฟอสซิลของ
มนุษย์โฮโมอิเล็คตัส (Homoelectus) อายุ 1,700,000 ปี ทีเ่ กาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ซึง่ มีความเก่าแก่
ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีการขุดพบชิ้นส่วนของมนุษย์ เช่น มนุษย์ชวา พบที่ต�ำบล
ตรินลิ มนุษย์โซโล พบทีเ่ มืองงันดอง บริเวณลุม่ แม่นำ�้ โซโล ในเกาะชวาตอนกลาง มนุษย์วาจก พบทีเ่ มือง

.
วาจก ในเกาะชวาตอนใต้ ฯลฯ ซึ่งนักมานุษยวิทยาจัดมนุษย์ที่พบดังกล่าวเป็นมนุษย์วานรเช่นเดียวกับที่
พบในประเทศจีน
สธ สธ
มส . มส

ธ.
.ม
ภาพที่ 1.7 โครงกระดูกและรูปจ�ำลองมนุษย์ปักกิ่ง
ที่มา: http://my.dek-d.com/historyteacherp/writer/viewlongc.php?id=1050712 สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2559.

สมัยหินกลาง
สมัยหินกลางเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 10,000-4,000 ปีล่วงมาแล้ว เครื่องมือเครื่องใช้ยังคงเป็นหิน
แต่มคี วามคม แข็งแรง มีขนาดเล็กลง มีการกะเทาะคมหินทัง้ สองด้านส�ำหรับใช้งาน และฝีมอื มีความประณีต
กว่าสมัยหินเก่า อาวุธทีข่ ดุ พบ ได้แก่ ธนูทปี่ ลายธนูทำ� ด้วยหินทีเ่ หลาให้แหลม มนุษย์สมัยนีอ้ าศัยอยูใ่ นถ�ำ้
และเพิงผาใกล้หว้ ยล�ำธารแม่นำ �้ ยังคงด�ำรงชีวติ ด้วยการล่าสัตว์และเก็บของป่าเป็นอาหาร แต่ในบางภูมภิ าค
เช่น อินเดียเริ่มรู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ พืชที่ปลูก เช่น ข้าว ถั่ว แตงกวา มะเขือ ผักกาด ฯลฯ
นอกจากนีย้ งั มีการน�ำเอากระดูกสัตว์ ก้างปลา และเปลือกหอยมาใช้เป็นเครือ่ งมือ เช่น หัวธนู หอก ฉมวก ฯลฯ
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-21

และยังรู้จักท�ำเครื่องประดับจากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ เช่น ก�ำไล จี้ สร้อยคอ ตุ้มหู ฯลฯ ขณะเดียวกัน


ยังรู้จักขุดต้นไม้ท�ำเป็นเรือ เริ่มรู้จักการท�ำประมง และที่ส�ำคัญเริ่มประกอบพิธีฝังศพ
ในประเทศไทยพบว่ามนุษย์สมัยนี้เริ่มรู้จักก่อไฟและหุงหาอาหาร อาศัยอยู่ในถ�้ำ มีการเพาะปลูก
สะสมอาหาร และเก็บพืชมากักตุนเป็นอาหาร และพบซากสัตว์ เช่น วัวป่า แรด ฯลฯ ท�ำให้สันนิษฐานได้
ว่ามีการล่าสัตว์เพื่อน�ำมาปรุงเป็นอาหาร มีการขุดพบหลักฐานที่เป็นโครงกระดูกสัตว์ในหลายท้องที่ของ

.
ประเทศไทย เช่น ถ�ำ้ พระ อ�ำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุร ี ถ�ำ้ ผี อ�ำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮอ่ งสอน เป็นต้น
และยังพบหลักฐานการด�ำรงอยู่ของมนุษย์ยุคนี้อีกหลายท้องที่ทั้งในพื้นที่ภาคเหนือของเวียดนาม ลาว
สธ สธ
ฟิลิปปินส์ เกาะฟอร์โมซา และฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย

มส . มส
ร่องรอยความเจริญของวัฒนธรรมมนุษย์ในสมัยหินกลางที่โดนเด่นที่สุดที่จะกล่าวถึงในที่น้ีคือ
วัฒนธรรมฮัวบินห์และวัฒนธรรมบัคซอน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- วัฒนธรรมฮัวบินห์ (Hoa Binh) หรือฮัวบินเหียน (Hoabinhian) พบร่องรอยที่ต�ำบล
ฮัวบินห์ใกล้เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยพบเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ รวมทัง้ อาวุธทีท่ ำ� ด้วยหินกรวดแม่นำ�้
น�ำมากะเทาะให้เกิดรอยแหลมคม และมีการขัดให้เรียบเพือ่ การใช้งานทีด่ ขี นึ้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความ

เจริญก้าวหน้าของมนุษย์อีกขั้นหนึ่ง ร่องรอยวัฒนธรรมฮัวบินห์ยังพบในหลายท้องที่ในบริเวณจังหวัด
กาญจนบุรแี ละบริเวณภาคเหนือบางแห่งของประเทศไทย นอกจากนีแ้ ล้วยังพบบริเวณใกล้เมืองหลวงพระบาง
ประเทศลาว ฯลฯ
- วัฒนธรรมบัคซอน (Bac Son) เป็นวัฒนธรรมทีพ่ ฒ ั นามาจากวัฒนธรรมฮัวบินห์ พบใน
เวียดนามตอนเหนือ เครื่องมือเครื่องใช้เป็นขวานสั้น ใช้ก้อนหินผ่าซีกออกแล้วขัดเฉพาะบางส่วนให้เกิด
ธ.

ความแหลมคม เครื่องมือเครื่องใช้บางอย่างท�ำด้วยกระดูกสัตว์และเปลือกหอย นอกจากนี้ ยังพบ


เครื่องปั้นดินเผาแบบง่ายๆ พบเมล็ดพืชบางชนิด ท�ำให้สันนิษฐานได้ว่า น่าจะเริ่มมีการเพาะปลูกพืชกัน
บ้างแล้ว ร่องรอยของวัฒนธรรมบัคซอน ยังพบในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย

สมัยหินใหม่
สมัยหินใหม่เกิดขึน้ เมือ่ ประมาณ 4,000-2,000 ปีลว่ งมาแล้ว มนุษย์สมัยนีร้ จู้ กั การเพาะปลูก โดย
.ม
พบว่ามีการปลูกข้าวเจ้าและมีการเลีย้ งสัตว์ เช่น หมู สุนขั ฯลฯ ท�ำให้มนุษย์เริม่ ปักหลักอยูก่ บั ที่ เริ่มมีการ
สร้างบ้านที่ท�ำด้วยไม้และไม้ไผ่ มีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ท�ำเป็นลวดลายแบบง่ายๆ บางชิ้นมีการใช้สี
เขียนลาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสีแดง ส่วนเครื่องมือเครื่องใช้ยังคงใช้หิน แต่มีการขัดให้เรียบขึ้น เครือ่ งมือหิน
ขัดทีพ่ บ ได้แก่ ขวานหินขัดรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้าและขวานพาดบ่าปลายมน ในประเทศไทยชาวบ้านเรียกขวาน
ชนิดนี้ว่า ขวานรามสูรหรือขวานฟ้า โดยเชื่อว่าเป็นเครื่องลางของขลัง เป็นเครื่องน�ำโชคลาภ
นอกจากนี้มนุษย์ยังมีความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ เชื่อในวิญญาณ ภูตผีปีศาจ เชื่อในพลังที่มีอยู่
เหนือธรรมชาติ และพลังทีม่ อี ยูใ่ นไร่นา เห็นได้จากความเชือ่ เกีย่ วกับเจ้าแม่โพสพ ท�ำให้เริม่ มีการเซ่นสรวง
บูชาพลังเหนือธรรมชาติ ซึ่งเป็นจุดก�ำเนิดของพิธีกรรมและธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ของสังคมในแต่ละ
หมูบ่ า้ น พบการตัง้ ถิน่ ฐานของมนุษย์ในหลายแห่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบริเวณลุม่ แม่นำ�้ ฮวงโห
หรือแม่นำ�้ เหลืองในประเทศจีน
สธ ส
1-22 อารยธรรมมนุษย์

ประเทศจีนมีแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ตอนปลายที่ส�ำคัญ คือ วัฒนธรรมหยางเชา (Yang


Shao Culture) พบที่เมืองหยางเชา มณฑลเหอหนาน (Henan) ทางภาคตะวันตกเลยมาทางตะวันออก
ถึงแมนจูเรียใต้ และวัฒนธรรมหลงซาน (Lung Shan Culture) พบทีเ่ มืองหลงซาน มณฑลซานตง (Shan-
Tung) โดยมีรายละเอียดดังนี้
- วัฒนธรรมหยางเชา พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะส�ำคัญ คือ เครื่องปั้น

.
ดินเผาเป็นลายเขียนสีดำ � ขาว น�ำ้ ตาล แดง และเทา มีการแกะสลักรูปสัตว์ตา่ งๆ เห็นได้จากการแกะสลักม้า
ลงบนเครื่องปั้นดินเผา ขณะเดียวกันยังมีการแกะสลักใบหน้ามนุษย์ มีการพิมพ์ลายหรือขูดสลักลายเป็น
สธ สธ
รูปลายจักสาน ลายเชือกทาบบนเครือ่ งปัน้ ดินเผา นอกจากนีย้ งั พบเครือ่ งทอผ้า รวมถึงเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ตา่ งๆ

มส . มส
ทีท่ ำ� ด้วยหิน สันนิษฐานว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเพาะปลูก ทั้งยังพบว่ามนุษย์สมัยนี้เริ่มมีการเลี้ยงสัตว์
ด้วย

ธ.
.ม
ภาพที่ 1.8 เครื่องปั้นดินเผาวัฒนธรรมหยางเชา
ที่มา: http://www.ksv.ac.th/tb/cai/social/east_china_data.htm สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2559.

- วัฒนธรรมหลงซาน พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีคุณภาพดีขึ้น มีความประณีตขึ้น โดยจะ


ปั้นด้วยแป้นหมุน เครื่องปั้นดินเผามีสีด�ำ ผิวเรียบเป็นมัน แต่ไม่พบว่ามีการวาดภาพวาดหรือระบายสี
ตกแต่ง นอกจากนี้ ยังพบภาชนะ 3 ขา พบกระดูกเสีย่ งทายและพบซากกระดูกสัตว์จำ� นวนมากทีใ่ ช้ในการ
บูชายัญ บริเวณหลุมฝังศพยังพบวัตถุที่ท�ำด้วยหยก จากหลักฐานต่างๆ ท�ำให้สันนิษฐานได้ว่ามนุษย์ใน
สมัยนั้นรู้จักสร้างบ้านเรือนด้วยดินเหนียว บางแห่งมีการอยูร่ วมกันเป็นหมูบ่ า้ น ตามเชิงเขาบ้าง ใกล้แม่นำ�้
บ้าง มนุษย์สมัยนีใ้ นช่วงหลังมีการเพาะปลูกและเลีย้ งสัตว์เพิม่ มากขึน้ วัฒนธรรมหลงซานนับเป็นวัฒนธรรม
ที่เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ทั้งยังเป็นพื้นฐานของอารยธรรมจีนในสมัยต่อมา
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-23

. ม
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ 1.9 เครื่องปั้นดินเผาวัฒนธรรมหลงซาน
ที่มา: http://www.ksv.ac.th/tb/cai/social/east_china_data.htm สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2559.
ธ.

ขณะที่ในญี่ปุ่นได้มีการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ท�ำจากหินที่มีความประณีต มีการพัฒนาวิธี
การล่าสัตว์โดยใช้คันธนูและลูกธนู ตลอดจนมีการผลิตภาชนะเครื่องปัน้ ดินเผาใส่อาหารและเพือ่ เก็บรักษา
อาหาร สมัยนีเ้ รียกว่า สมัยโจมน โดยเรียกชือ่ ตามรูปแบบเครือ่ งปัน้ ดินเผาโจมนทีม่ ลี วดลายเป็นเชือกทาบ
.ม

ภาพที่ 1.10 เครื่องปั้นดินเผาลายเชือกและตุ๊กตาดินเผาสมัยโจมน


ที่มา: http://www.thaigoodview.com/node/10260 สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2559.
สธ ส
1-24 อารยธรรมมนุษย์

สมัยโลหะ


สมัยโลหะเกิดขึน้ เมือ่ ประมาณ 2,000-500 ปีลว่ งมาแล้ว สมัยนีไ้ ด้เปลีย่ นวัสดุทที่ ำ� เครือ่ งมือเครือ่ งใช้
จากหินมาเป็นโลหะ ทั้งทองแดง ส�ำริด และเหล็ก เป็นการแสดงให้เห็นว่า มนุษย์สมัยนี้มีความก้าวหน้า
ขึน้ กว่าสมัยก่อนด้วยการรูจ้ กั การน�ำแร่ธาตุทมี่ อี ยูต่ ามธรรมชาติมาหลอมเพือ่ ใช้ประโยชน์ หลักฐานการใช้โลหะ
ทีเ่ ก่าแก่ทสี่ ดุ พบทีเ่ อเชียตะวันออกกลางเมือ่ ประมาณ 10,000-12,000 ปีลว่ งมาแล้ว โดยได้มกี ารน�ำเอาทองแดง

.
มาท�ำเป็นเครื่องมือโดยตีเป็นแผ่นที่เรียกว่า การตีเย็น (Cold Hammering) ก่อนพัฒนาการมาเป็น
สธ สธ
การใช้ความร้อนหลอมทองแดงกับดีบุกจนกลายเป็น “ส�ำริด”
หลักฐานการค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ในสมัยโลหะ เช่น ขวาน ใบหอก หัวลูกศร เข็ม

มส . มส
และเครื่องประดับต่างๆ ฯลฯ และยังพบว่าในสมัยนี้มีการประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผาทั้งแบบเรียบและแบบ
มีลวดลายทั้งลายเชือกทาบ ลายจักสาน และแบบที่เขียนลายขึ้นเองด้วย
สมัยโลหะพบในหลายท้องที่ เช่น ค้นพบเครื่องมือโลหะหลายชนิดที่ท�ำด้วยทองแดงในบริเวณ
ตอนเหนือของประเทศจีน เป็นต้น ส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งวัฒนธรรมยุคนีอ้ อกได้เป็น 2 วัฒนธรรม
มีรายละเอียดดังนี้

- วัฒนธรรมดงเซินหรือวัฒนธรรมดองซอน (Dong Son Culture) มีศูนย์กลางอยู่ใน
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น�้ำแดงทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม เป็นวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรม
อื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งในคาบสมุทรและในหมู่เกาะต่างๆ6 โดยขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้ของ
วัฒนธรรมดงเซิน ได้แก่
ธ.

1. กลองมโหระทึกท�ำด้วยส�ำริด ทีส่ ำ� คัญยังมีลวดลายทีบ่ ง่ บอกถึง “ความอุดมสมบูรณ์”


เช่น ลายปลา ลายคลืน่ น�ำ ้ หรือมีรปู ประติมากรรมรูปกบประดับตามมุม ฯลฯ ซึง่ เป็นสัญลักษณ์ของน�ำ้ หรือ
ฝน ฯลฯ 7
2. อาวุธที่ท�ำจากส�ำริด เช่น ขวาน หอก หัวลูกศร ด้ามมีด มีดสั้น ฯลฯ
3. ภาชนะที่ท�ำจากส�ำริด เช่น แจกัน พาน หม้อ ฯลฯ
4. เครื่องปั้นดินเผา
.ม
5. เครื่องประดับที่ท�ำด้วยส�ำริด และหิน

6 https://th.wikipedia.org/wiki/วัฒนธรรมดงเซิน สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2559.


7 http://museum.socanth.tu.ac.th/images/page5Online%20Exhibition/Klongratueng/KlongRaTueng %20Ex.
html สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2559.
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-25

. ม
สธ สธ
มส . มส
ภาพที่ 1.11 กลองมโหระทึกที่ประดับด้วยประติมากรรมรูปกบ

ที่มา: http://museum.socanth.tu.ac.th/images/page5Online%20Exhibition/Klongratueng/KlongRaTueng%20Ex.html
สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2559.

- วัฒนธรรมหินใหญ่ 8 เป็นวัฒนธรรมที่เด่นชัดมากของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็น


วัฒนธรรมที่น�ำหินมาก่อสร้าง เช่น โต๊ะหิน โลงหินมีขา หลุมศพก่อด้วยแท่งหินและแผ่นหิน รูปหินจ�ำหลัก
ธ.

เป็นรูปนูนต�ำ
่ เครือ่ งมือเครือ่ งใช้ทำ� ด้วยส�ำริดหรือเหล็ก ฯลฯ หลักฐานทีพ่ บเหล่านีท้ นี่ า่ สนใจ คือ โกศหิน หรือ
ไหหินทีแ่ ขวงเชียงขวาง และหินตัง้ ทีแ่ ขวงหัวพัน ประเทศลาว สันนิษฐานว่าท�ำขึน้ เพือ่ ใช้ในการท�ำพิธฝี งั ศพ
เพราะพบเศษกระดูกมนุษย์ที่เผาแล้ว รวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ที่ใช้ในพิธีศพ เช่น ขวานหินขัด
ลูกปัดแก้ว เครือ่ งปัน้ ดินเผา เครือ่ งประดับท�ำด้วยส�ำริด และเครือ่ งมือเหล็ก ฯลฯ บรรจุอยูใ่ นไหหิน บนฝาไหหิน
มีการแกะสลักลวดลายเป็นรูปคน หรือรูปสัตว์ นอกจากนี้ ยังมีหลุมดินและมีฝาปิดท�ำด้วยหินรูปวงกลม
ซึง่ สันนิษฐานว่าไหหิน คือ หลุมดินทีม่ นุษย์ทำ� ขึน้ ให้เป็นสัญลักษณ์ของโลกบาดาล ซึง่ เป็นอีกโลกหนึง่ ของ
.ม
คนตาย9

8 วัฒนธรรมหินใหญ่แบ่งเป็น 2 รุ่น ได้แก่ หินใหญ่รุ่นเก่า (Older Megaliths) ตรงกับยุคหินใหม่ และหินใหญ่รุ่นใหม่


(Younger Megaliths) ตรงกับยุคโลหะ ดูรายละเอียดได้ใน ชิน อยู่ดี และสุด แสงวิเชียร. (2517). อดีต: รวมเรื่องราวก่อน
ประวัติศาสตร์. พระนคร: โรงพิมพ์พิฆเณศ. น. 81-82.
9 สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2538). “หินตั้งกับไหหินในลาว เป็นฝีมือ “ขมุ” หรือใครกันแน่?”. ใน ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 17
ฉบับที่ 12 ธันวาคม 2538. น. 114.
สธ ส
1-26 อารยธรรมมนุษย์

. ม
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ 1.12 วัฒนธรรมหินใหญ่
ที่มา: http://www.muaythaiseemuaytu.com/index.aspx?pid=30191d17-f4d4-480f-9940-674daff330ea&WTID=c51646bf-
a55b-476b-82fc-2ef94a29ea24 สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2559.

หลังจากนัน้ ดินแดนในโลกตะวันออกก็เข้าสูย่ คุ ประวัตศิ าสตร์ โดยดินแดนต่างๆ เริม่ มีการขยายตัว


ธ.

เป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จากนั้นได้มีการพัฒนาเป็นบ้าน เมือง แคว้น อาณาจักร และประเทศอย่าง


ปัจจุบัน

กิจกรรม 1.2.1
สมัยโลหะได้เปลีย่ นวัสดุทใี่ ช้ในการท�ำเครือ่ งมือเครือ่ งใช้จากหินมาเป็นโลหะ เป็นการแสดงให้เห็นว่า
.ม
มนุษย์ในสมัยนี้มีลักษณะอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม 1.2.1
สมัยโลหะได้เปลีย่ นวัสดุทที่ ำ� เครือ่ งมือเครือ่ งใช้จากหินมาเป็นโลหะ แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ในสมัยนี้
มีความก้าวหน้าขึ้นกว่าสมัยก่อนที่ผ่านมา โดยดูได้จากวิถีชีวิตของมนุษย์ในสมัยนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลง
การด�ำรงชีวิตขนานใหญ่ในทุกด้าน
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-27

เรื่องที่ 1.2.2


สมัยก่อนประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก

.
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตกมีพัฒนาการไม่แตกต่างจากโลกตะวันออก โดยมี
พัฒนาการจากสมัยหินเก่า หินกลาง หินใหม่ และสมัยโลหะ มีรายละเอียดดังนี้
สธ สธ
มส . มส
สมัยหินเก่า
สมัยหินเก่ามีอายุราว 2,000,000 ปีมาแล้ว สมัยนี้มนุษย์ดำ� รงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์และเก็บผัก
ผลไม้เป็นอาหาร เครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธท�ำจากหินแบบง่ายๆ หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาเครื่องมือ
เครือ่ งใช้ให้มคี ณ
ุ ภาพดีขนึ้ ตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม สภาพทีอ่ ยูอ่ าศัยในระยะแรกๆ อาศัยอยู่
ตามถ�ำ้ และเพิงทีท่ ำ� ด้วยกิง่ ไม้ ใบไม้ มีการสร้างทีพ่ กั แบบง่ายๆ จากวัสดุในธรรมชาติ ต่อมารูจ้ กั สร้างทีอ่ ยู่

อาศัยให้ดขี นึ้ โดยใช้หนิ ท�ำผนังบ้าน ซึง่ ปรากฏครัง้ แรกในแอฟริกา โดยบางกลุม่ รูจ้ กั สร้างบ้านด้วยดินเหนียว
การปรากฏตัวของมนุษย์ในสมัยหินเก่ายังแบ่งออกเป็น 3 สมัยย่อยๆ10 ดังนี้
- สมัยหินเก่าตอนต้น มีการค้นพบมนุษย์โฮโมไฮเดลเบิร์ก (Homo Heidelbergensis)
มนุษย์สไตนไฮน์ (Steinheim Man) ในทวีปยุโรป ค้นพบมนุษย์โฮโมอิเรกตัส (Homo Erectus) ในทวีป
แอฟริกา โดยพบหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่ท�ำด้วยหินมีลักษณะเป็นขวานกะเทาะแบบก�ำปั้น
ธ.
.ม

ภาพที่ 1.13 จ�ำลองมนุษย์โฮโมไฮเดลเบิร์กและมนุษย์โฮโมอิเรกตัส


ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Homo_heidelbergensis และhttp://humanorigins.si.edu/evidence/human-fossils/
species/homo-erectus สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559.

10 เค้าโครงจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559.


สธ ส
1-28 อารยธรรมมนุษย์

- สมัยหินเก่าตอนกลาง ค้นพบโครงกระดูกของมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายกับมนุษย์ปัจจุบัน


มากขึน้ คือ โครงกระดูกมนุษย์นแี อนเดอร์ทลั (Neanderthal Man) ในประเทศฝรัง่ เศส หลักฐานการด�ำรง
อยู่ของมนุษย์กลุ่มนี้พบว่าเริ่มเข้าอาศัยอยู่ในถ�้ำ พบเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีลักษณะแหลมคมมากขึ้น และ
จากการค้นพบกองขีเ้ ถ้ากองใหญ่ของมนุษย์ซแิ นนโทรปัส (Sinanthropus Man) เป็นการแสดงให้เห็นว่า มนุษย์
กลุ่มนี้เริ่มรู้จักการใช้ไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ให้แสงสว่าง ให้ความปลอดภัย รวมถึงใช้ในการหุง

.
ต้มอาหาร นอกจากนีก้ ารค้นพบโครงกระดูกของมนุษย์ซแิ นนโทรปัสในลักษณะต่างๆ ยังเป็นการแสดงให้เห็น
ว่ามนุษย์ในสมัยนี้ ได้มกี ารประกอบพิธกี รรมฝังศพตามความคิดความเชือ่ เรือ่ ง “การฟืน้ คืนชีพ” ของมนุษย์
สธ สธ
มส . มส

ธ.
.ม
ภาพที่ 1.14 จ�ำลองมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล
ที่มา: http://biology4isc.weebly.com/4-human-evolution.html สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559.

- สมัยหินเก่าตอนปลาย มีการค้นพบโครงกระดูกของมนุษย์ 3 กลุ่ม ในยุโรป ได้แก่


(1) มนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon Man) มีลกั ษณะเป็นคนผิวขาว ค้นพบในถ�ำ้ ทีด่ อร์ดอน (Dordone) 
ในฝรั่งเศส (2) มนุษย์กริมัลดี (Grimaldi Man) มีลักษณะเป็นคนผิวด�ำ คล้ายกับพวกนิกรอยด์ และ
(3) มนุษย์ชานเซอเลด (Chancelade Man) มีลกั ษณะเป็นคนผิวเหลือง คล้ายคลึงกับเอสกิโม มนุษย์ใน
สมัยนีม้ ีลักษณะคล้ายมนุษย์ในปัจจุบันมากขึ้น
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-29

. ม
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ 1.15 จ�ำลองมนุษย์โครมันยอง
ธ.

ที่มา: http://realhistoryww.com/world_history/ancient/cro_magnon_Homo_sapien.htm สืบค้นเมือ่ 12 พฤษภาคม 2559.

หลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์สมัยนี้มีความหลากหลายมากกว่าสมัยหินเก่า เห็นได้จาก
เครื่องมือเครื่องใช้ที่ท�ำจากหินและกระดูกสัตว์โดยการแกะสลัก เช่น เข็มเย็บผ้า ฉมวก หัวลูกศร คันเบ็ด
เครื่องประดับท�ำด้วยเปลือกหอยและกระดูกสัตว์ ฯลฯ มีการค้นพบตะเกียงรูปร่างเหมือนจานท�ำด้วยหิน
เพื่อใช้เพิ่มแสงสว่างภายในถ�้ำ ตะเกียงที่พบสันนิษฐานว่าใช้ไขสัตว์แทนน�ำ้ มันและใช้หญ้าชนิดหนึ่งแทน
.ม
ไส้ตะเกียง ซึง่ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของการรูจ้ กั ใช้ไฟ ขณะเดียวกันยังพบเครือ่ งใช้ทแี่ สดงให้
เห็นถึงความก้าวหน้าทีส่ ดุ ของมนุษย์สมัยหินเก่าตอนปลาย คือ การประดิษฐ์เข็มทีท่ ำ� จากกระดูกสัตว์มที รี่ อ้ ย
เพื่อใช้เย็บเครื่องนุ่งห่ม โดยเป็นฝีมือของมนุษย์โครมันยอง
นอกจากนี้มนุษย์สมัยหินเก่ายังมีศิลปะที่มีชื่อเสียงเรียกว่า “ศิลปะแบบแมกดาเลเนียน” (Mag-
dalenian) โดยเป็นฝีมือมนุษย์โครมันยอง ที่เขียนภาพจากประสบการณ์และความเชื่อของกลุ่มตน ภาพ
เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นภาพการด�ำรงชีวิตของมนุษย์ ภาพเกี่ยวกับความเชื่อ พิธีกรรม การบวงสรวงต่างๆ
และภาพเกีย่ วกับสัตว์และการล่าสัตว์ เช่น หมี กวาง เป็นต้น แต่จะนิยมวาดภาพสัตว์มากกว่าภาพคน โดย
จะเขียนภาพในถ�้ำที่เป็นที่อยู่อาศัย ถ�้ำที่มีภาพเขียนมาก คือ ถ�้ำลาสโค (Lascaux) และถ�้ำอัลตามิรา
(Altamira) อยู่ระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศสเปน
สธ ส
1-30 อารยธรรมมนุษย์

. ม
สธ สธ
มส . มส
ภาพที่ 1.16 วัวสีแดงและม้าในถ�้ำลาสโค
ที่มา: http://www.bradshawfoundation.com/lascaux/ สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559.

สมัยหินกลาง

สมัยหินกลาง เกิดขึ้นประมาณ 10,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยเป็นสมัยที่เริ่มต้นเมื่อยุคน�ำ้ แข็ง
ปกคลุมโลกผ่านพ้นไปแล้ว อากาศเปลี่ยนเป็นอบอุ่นขึ้น มีป่าไม้เขียวชอุ่ม ท�ำให้มนุษย์เริ่มออกจากถ�้ำมา
อาศัยตัง้ ถิน่ ฐานภายนอกตามป่า ตามทุง่ หญ้าบ้าง ตามแหล่งน�ำ ้ และตามชายฝัง่ ทะเล มนุษย์ในช่วงเวลานี้
เริ่มมีการน�ำวัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เช่น ท�ำตะกร้าสาน ท�ำรถลาก ฯลฯ มีการเลี้ยงสุนัขเพื่อเป็น
สัตว์เลี้ยง เริ่มมีการเพาะปลูกพืช มีการสร้างที่พักอาศัยที่แข็งแรงขึ้น เครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธยังคงท�ำ
ธ.

จากหิน หากแต่เครื่องมือเครื่องใช้ที่ท�ำด้วยหินมีความประณีตมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังรู้จักใช้ไม้เพื่อ


ประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ เช่น การพบด้ามขวาน พบเรือขุดจากไม้ทั้งต้นในประเทศเนเธอร์แลนด์ และ
ยังพบพายท�ำด้วยไม้ในประเทศอังกฤษ ฯลฯ
.ม

ภาพที่ 1.17 เครื่องมือในสมัยหินกลาง


ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Middle_Stone_Age#/media/File:Blombos_point.JPG สืบค้นเมือ่ 12 พฤษภาคม 2559.
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-31

มนุษย์ในสมัยนี้แม้จะยังไม่มีความก้าวหน้าถึงขั้นสามารถควบคุมการผลิตอาหารได้ แต่ก็เริ่มรู้จัก


การท�ำเกษตรกรรมแบบง่ายๆ และจากการค้นพบเครื่องมือคล้ายแห บ่งบอกว่ามนุษย์สมัยนี้รู้จักการท�ำ
ประมงแบบง่ายๆ มีการล่าแมวน�้ำ และเก็บหอย และยังรู้จักการประดิษฐ์ภาชนะแบบง่ายๆ ขึ้นใช้
จิตรกรรมฝาผนัง ที่พบส่วนมากจะปรากฏตามผนังที่อยู่กลางแจ้ง ดังนั้นภาพจึงมักจะถูกท�ำลาย
โดยดินฟ้าอากาศ ส�ำหรับภาพจิตรกรรมทีพ่ บบริเวณหน้าผาแถบชายฝัง่ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางยุโรป

.
ตะวันออกมาจนถึงทวีปเอเชียในบริเวณที่มีเขตติดต่อกัน ภาพที่พบเป็นภาพคน สัตว์ และการด�ำรงชีวิต
ประจ�ำวันของมนุษย์ในสมัยนั้น โดยภาพจะมีลักษณะเคลื่อนไหวมากกว่ายุคก่อน แต่ระยะเวลาของการ
สธ สธ
ปรากฏตัวของมนุษย์ในสมัยหินกลางมีระยะเวลาไม่ยาวนานนักก็เริ่มเข้าสู่สมัยหินใหม่

มส . มส
สมัยหินใหม่
มนุษย์สมัยหินใหม่มีการเปลี่ยนแปลงวิถีการด�ำเนินชีวิตขนานใหญ่ กล่าวคือ มนุษย์สมัยนี้
ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตจากการอยู่อาศัยบนที่สูงมาอยู่ที่ราบใกล้แหล่งน�ำ ้ โดยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่บ้าน
บนเนิน และด�ำรงชีวิตด้วยเศรษฐกิจแบบใหม่ คือ เกษตรกรรม การเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์

การทีม่ นุษย์รจู้ กั การเพาะปลูกได้เปลีย่ นวิถชี วี ติ ของมนุษย์จากสังคมล่าสัตว์มาเป็นสังคมเกษตรกรรม
พืชส�ำคัญที่ปลูกในช่วงนี้ เช่น ข้าว ถั่ว ฟัก บวบ ผลไม้ ฯลฯ มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ม้า แพะ แกะ ฯลฯ
เพือ่ ไว้เป็นอาหาร เพือ่ ระวังภัยและเพือ่ ช่วยล่าสัตว์ สัตว์ทลี่ า่ ในสมัยนี้ เช่น กวาง หมี กระต่าย ตะพาบ ฯลฯ
ขณะเดียวกันการที่มนุษย์มีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ท�ำให้มนุษย์สามารถควบคุมแหล่งอาหารได้ ดังนั้น
มนุษย์จึงไม่ต้องเร่ร่อนไปตามแหล่งอาหาร มนุษย์จึงลงหลักปักฐานอยู่กับที่มากขึ้น เป็นสาเหตุสำ� คัญทีน่ ำ�
ธ.

ไปสูก่ ารเพิม่ ขึน้ ของประชากร เกิดการพัฒนากลายเป็นหมูบ่ า้ น มีหวั หน้าหมูบ่ า้ นหรือหัวหน้าเผ่าปกครองและ


เริ่มมีการสร้างสถาบันต่างๆ ขึ้นในสังคม
สภาพที่อยู่อาศัยของมนุษย์ มีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่ถาวรมากขึ้น โดยการก่อสร้างที่อยู่อาศัย
จะใช้วสั ดุทหี่ าได้งา่ ยตามธรรมชาติ มีการใช้ดนิ เหนียวและไม้ในการก่อสร้าง โดยค้นพบซากบ้านของมนุษย์
สมัยหินใหม่ทปี่ ระเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากนีม้ นุษย์สมัยหินใหม่ยงั รูจ้ กั การท�ำเครือ่ งปัน้ ดินเผาทีม่ กี าร
พัฒนาให้มีคุณภาพดีและสวยงามขึ้น มีการท�ำเครื่องจักสาน เครื่องประดับ และทอผ้า
.ม
สธ ส
1-32 อารยธรรมมนุษย์

. ม
สธ สธ
มส . มส
ภาพที่ 1.18 การท�ำเครื่องปั้นดินเผาของมนุษย์สมัยหินใหม่
ที่มา: https://thelosttreasurechest.wordpress.com/2013/01/17/historical-warrior-illustration-series-part-xxll/people-

of-the-new-stone-age/ สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559.

เครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยนี้ยังคงเป็นหิน แต่มีการขัดหินให้มีความแหลมคมและมีความประณีต
มากขึ้นเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย และที่สำ� คัญยังเกิดสถาปัตยกรรมขึ้นในช่วงเวลานี้ คือ อนุสาวรีย์หิน
ขนาดใหญ่ ในประเทศฝรัง่ เศส ไอร์แลนด์ และทีม่ ขี นาดใหญ่ทสี่ ดุ คือ อนุสาวรียส์ โตนเฮนจ์ (Stonehenge)
ตัง้ อยูท่ รี่ าบซอลส์บรี (Salisbury Plain) ในบริเวณตอนใต้ของอังกฤษ ซึง่ นักโบราณคดีสนั นิษฐานว่าสร้างขึน้
ธ.

เพื่อใช้คำ� นวณเวลาทางดาราศาสตร์ หรืออาจสร้างขึ้นเพื่อพิธีกรรมการบวงสรวงดวงอาทิตย์ ทั้งยังเป็นไป


เพือ่ ผลทางการเพาะปลูก แม้ยงั ไม่สามารถทราบวัตถุประสงค์ในการสร้างอย่างชัดเจน แต่นบั ได้วา่ อนุสาวรีย์
หินนี้เป็นจุดเริ่มต้นของงานสถาปัตยกรรมของมนุษย์ที่ปรากฏในโลก
.ม

ภาพที่ 1.19 อนุสาวรีย์สโตนเฮนจ์


ที่มา: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=free4u&month=08-2010&date=05&group=81&gblog=138 สืบค้นเมือ่
12 พฤษภาคม 2559.
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-33

สมัยโลหะ


สมัยโลหะเป็นช่วงเวลาทีม่ นุษย์รจู้ กั การน�ำทองแดงมาใช้ประโยชน์ ด้วยการน�ำมาท�ำเป็นเครือ่ งมือ
เครือ่ งใช้แทนหิน การใช้ทองแดงมีอย่างแพร่หลายบริเวณยุโรปตะวันตกเฉียงใต้และขยายไปทัว่ ยุโรป โดย
พบขวานด้ามยาวและขวานถือท�ำด้วยทองแดงหลายแห่งทั้งในบริเวณไอซ์แลนด์ เดนมาร์ก และเยอรมนี
ภาคกลางไปจนกระทั่งถึงแถบสแกนดิเนเวีย

. ต่อมาในยุคโลหะตอนกลางมนุษย์รู้จักวิธีการหลอมโลหะผสม คือ น�ำทองแดงมาผสมกับดีบุก


สธ สธ
จนกลายเป็นส�ำริด และน�ำส�ำริดมาหลอมท�ำเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ตา่ งๆ หลายชนิด เช่น กฤช เข็มเย็บผ้า และ
เครื่องประดับ ฯลฯ โดยการพัฒนาส�ำริดเกิดขึ้นในหลายแห่งของโลกตะวันตก

มส . มส

ธ.
.ม
ภาพที่ 1.20 หัวหอก มีด ขวาน และเครื่องมืออื่น ่ๆ ท�ำจากส�ำริด
ที่มา: http://classroom.synonym.com/tools-weapons-created-during-bronze-age-23362.html สืบค้นเมือ่ 12 พฤษภาคม
2559.

ขณะที่การใช้เหล็กนั้นแหล่งอารยธรรมแห่งแรกที่สามารถน�ำเหล็กมาใช้งาน คือ ชาวฮิตไทต์ ใน


บริเวณอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ในดินแดนบริเวณตะวันออกไกล กลุม่ นีส้ ามารถสร้างจักรวรรดิของตนด้วย
อาวุธท�ำจากเหล็ก เมื่อประมาณ 5,000 กว่าปีล่วงมาแล้ว หลังจากนั้นกรีกเป็นผู้น�ำเหล็กมาใช้งานอย่าง
จริงจัง เนื่องจากมีแร่เหล็กอยู่มาก โดยน�ำเหล็กมาหลอมเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ รวมถึงอาวุธต่างๆ
สธ ส
1-34 อารยธรรมมนุษย์

. ม
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ 1.21 การหลอมโลหะเพื่อใช้งาน
ธ.

ที่มา: https://sites.google.com/site/eraselahistoria/home/1o-eso-ciencias-sociales/la-prehistoria/04-the-metal-age
สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559.

ในตอนปลายของสมัยโลหะ ชุมชนมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วและขยายจนเป็นชุมชนเกษตรกรรม
ขนาดใหญ่ มีผลผลิตมากเกินที่จะบริโภคภายในครอบครัว ขณะเดียวกันยังเป็นช่วงเวลาที่มีการติดต่อกับ
ชุมชนในบริเวณใกล้เคียง ท�ำให้เกิดการแลกเปลีย่ นระหว่างชุมชน เป็นเหตุให้ชมุ ชนเติบโตจากหมูบ่ า้ นขึน้
.ม
เป็นเมือง จากนั้นเริ่มมีการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนขยายวงกว้างออกไปทางทะเลด้วยการติดต่อค้าขาย
กับดินแดนที่อยู่ห่างไกล เริ่มมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ ท�ำให้วิถีชีวิตของคนในช่วงเวลานี้เริ่มมีการ
เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเปลี่ยนจากสภาพความเป็นอยู่แบบชุมชนเกษตรกรรมมาเป็นชุมชนเมือง
ต่อมาเมืองได้พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางการเกษตรกรรม การปกครอง และสังคม ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลา
ของการพัฒนาเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับอารยธรรมตะวันออก
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-35


กิจกรรม 1.2.2
ชนชาติที่สามารถน�ำเหล็กมาใช้งานได้ชนชาติแรกคือชนชาติใด

แนวตอบกิจกรรม 1.2.2
ชาวฮิตไทต์ในแหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ซึ่งชาวฮิตไทต์สามารถสร้างจักรวรรดิของตนด้วย

.
การพัฒนาอาวุธทีท่ ำ� จากเหล็ก จากนัน้ ชนชาติกรีกและชนชาติอนื่ ๆ ก็เริม่ มีการน�ำเหล็กมาใช้งานจนกลาย
สธ สธ
เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมของแต่ละชาติ

มส . มส

ธ.
.ม
สธ ส
1-36 อารยธรรมมนุษย์

ตอนที่ 1.3


เมโสโปเตเมีย: อารยธรรมมนุษย์สมัยเริ่มแรก
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 1.3 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

.
หัวเรื่อง
สธ สธ
1.3.1 อารยธรรมสุเมเรียน

มส . มส
1.3.2 การรุกรานดินแดนเมโสโปเตเมียช่วงแรก
1.3.3 การรุกรานดินแดนเมโสโปเตเมียช่วงหลัง

แนวคิด
1. ช าวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกในดินแดนเมโสโปเตเมียทีร่ วมตัวกันในรูปองค์กรทางการเมือง

แบบนครรัฐเป็นแห่งแรกของโลก โดยในช่วงแรกหมูบ่ า้ นได้รวมเป็นศูนย์กลางการปกครอง
ในลักษณะของเมือง และเมืองต่างๆ เหล่านี้มีฐานะเป็นศูนย์กลางของการปกครองที่
ไม่ขนึ้ ต่อกันเรียกว่า “นครรัฐ” จากนัน้ ก็สามารถสร้างสรรค์ความเจริญในด้านต่างๆ ขึน้
2. บริเวณเมโสโปเตเมียหลังจากที่อารยธรรมของชาวสุเมเรียนเริ่มเสื่อม ได้มีกลุ่มชนอีก
หลากหลายกลุ่มเข้ารุกรานและยึดครอง กลุ่มชนต่างๆ เหล่านั้นมีทั้งชนเผ่าเซมิติคและ
ธ.

อินโดยูโรเปียน โดยในช่วงแรกกลุม่ ชนทีเ่ ข้ามารุกราน คือ ชาวอัคคาเดียน ชาวอมอไรด์


และชาวฮิตไทต์ ซึ่งแต่ละกลุ่มได้สร้างความเจริญในรูปแบบต่างๆ
3. ในช่วงหลังมีกลุม่ ชน ได้แก่ ชาวอัสซีเรียน ชาวคาลเดียน และชาวเปอร์เซีย ได้เข้ามารุกราน
และได้สร้างความเจริญในรูปแบบต่างๆ ขึ้นเช่นกัน โดยจักรวรรดิสุดท้ายของดินแดน
บริเวณนี้ คือ จักรวรรดิของชาวเปอร์เซีย แต่ภายหลังถูกพิชติ โดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์
มหาราช ท�ำให้วัฒนธรรมหลายอย่างของชาวเปอร์เซียได้ตกทอดและผสมผสานกับ
.ม
วัฒนธรรมกรีก

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 1.3 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายลักษณะที่สำ� คัญและความเจริญของอารยธรรมสุเมเรียนได้
2. อธิบายลักษณะที่ส�ำคัญและความเจริญของกลุ่มชนที่เข้ารุกรานดินแดนเมโสโปเตเมีย
ช่วงแรกได้
3. อธิบายลักษณะที่ส�ำคัญและความเจริญของกลุ่มชนที่เข้ารุกรานดินแดนเมโสโปเตเมีย
ช่วงหลังได้
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-37

เรื่องที่ 1.3.1


อารยธรรมสุเมเรียน

. ชนชาติสุเมเรียน (Sumerian) เป็นชนชาติแรกที่สร้างความเจริญขึ้นในบริเวณเมโสโปเตเมีย


(Mesopotamia) เชือ่ กันว่าชาวสุเมเรียนได้อพยพมาจากทีร่ าบสูงอิหร่าน และได้มาตัง้ ถิน่ ฐานอยูใ่ นบริเวณ
สธ สธ
ที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่นำ
�้ 2 สาย คือ แม่น�้ำไทกริส (Tigris River) และแม่นำ�้ ยูเฟรทีส (Euphrates River)

มส . มส
ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศอิรัก โดยเรียกบริเวณนี้ว่า ซูเมอร์ (Sumer) นักประวัติศาสตร์ถือว่า ซูเมอร์ คือ
แหล่งก�ำเนิดของนครรัฐ (City-State) แห่งแรกของโลก เมโสโปเตเมียจึงเป็นอู่อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุด
แห่งหนึ่งของโลกสมัยโบราณ

ธ.
.ม
ภาพที่ 1.22 ที่ตั้งอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
ที่มา: https://hamptonworldhistoryi.wikispaces.com/1st+9+Weeks+Unit+3 สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559.

ความเจริญของอารยธรรมสุเมเรียน
การปกครองในรูปของนครรัฐ
ชีวติ ความเป็นอยูข่ องชาวสุเมเรียนเริม่ แรกจากชีวติ แบบหมูบ่ า้ นเล็กๆ ต่อมาเมือ่ รวมกันก็ได้มกี ารสร้าง
ชลประทานขึ้น ท�ำให้หมู่บ้านเกิดการรวมเป็นศูนย์กลางการปกครองในลักษณะของเมือง เมืองที่ส�ำคัญ
ได้แก่ อิเรค (Erech) อิรดิ ู (Eridu) เออร์ (Ur) ลาร์ซา (Larsa) ลากาซ (Lagash) อุมมา (Umma) นิปเปอร์
(Nippur) และคิช (Kish) เมืองต่างๆ เหล่านีม้ ฐี านะเป็นศูนย์กลางของการปกครองทีไ่ ม่ขน้ึ ต่อกันทีเ่ รียกว่า
สธ ส
1-38 อารยธรรมมนุษย์

“นครรัฐ” โดยแต่ละนครรัฐจะดูแลความเป็นอยู่ของคนในนครรัฐของตน ซึ่งระยะแรกชาวสุเมเรียนมี


พระเป็นผู้ดูแลและควบคุมกิจการต่างๆ ในนครรัฐ พระจะมีอำ� นาจในการปกครองแผ่นดินและเป็นประมุข
สูงสุด เรียกว่า ปะเตซี (Patesi) ท�ำการปกครองในนามของพระเป็นเจ้า ท�ำหน้าที่ควบคุมตั้งแต่การเก็บ
ภาษี ข้าวปลาอาหาร ตลอดจนควบคุมดูแลเกีย่ วกับการชลประทาน และการท�ำไร่ไถนา ต่อมาเมือ่ เกิดการ
แข่งขันและรบพุง่ ระหว่างนครรัฐ อ�ำนาจการปกครองจึงเปลีย่ นมาอยูท่ นี่ กั รบหรือกษัตริยแ์ ทน กษัตริยจ์ ะมี

.
ต�ำแหน่งเรียกว่า “ลูกาล” (Lugal) ซึง่ เป็นผูเ้ ข้มแข็งสามารถสูร้ บป้องกันนครรัฐ และท�ำหน้าทีค่ วบคุมดูแล
กิจกรรมต่างๆ แทนพระ การปกครองแบบนครรัฐของชาวสุเมเรียนดังกล่าวนี้นับได้ว่าเป็นนครรัฐแห่งแรก
สธ สธ
ของโลก และยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตั้งถิ่นฐานของอารยธรรมบาบิโลเนีย อารยธรรมอัสซีเรียน

มส . มส
อารยธรรมอิหร่าน รวมทั้งอารยธรรมนี้อยู่ใกล้เคียงอย่างอียิปต์ด้วย
ด้านชลประทาน
ชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกทีไ่ ด้สร้างระบบชลประทานทีม่ ปี ระสิทธิภาพสูง ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากถิน่ ฐาน
ที่ชาวสุเมเรียนกลุ่มแรกตั้งนั้นทั่วทั้งบริเวณปกคลุมด้วยพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์อันเกิดจากการทับถมของ
โคลนตมทีแ่ ม่นำ�้ พัดมา พืน้ ดินดังกล่าวเหมาะต่อการเพาะปลูกพืชผลทางเกษตร แต่ทยี่ ากล�ำบาก คือ ปัญหา

เรือ่ งน�ำ
้ เพราะบริเวณเมโสโปเตเมียเป็นดินแดนเกือบไม่มีฝนตก ท�ำให้บริเวณพื้นที่ที่อยู่ห่างฝั่งแม่นำ�้ เป็น
ทีแ่ ห้งแล้งไม่เหมาะสมทีจ่ ะท�ำการเพาะปลูก ในขณะเดียวกันน�ำ้ จะเอ่อขึน้ ท่วมฝัง่ ทุกๆ ปี ท�ำให้บริเวณทีอ่ ยู่
ใกล้กบั ฝัง่ น�ำ้ ชุม่ ชืน้ แฉะ น�ำ้ ขังเป็นหนองบึง ปัญหาจึงอยูท่ วี่ า่ พืน้ ทีบ่ างแห่งชืน้ แฉะเกินไป บางแห่งแห้งแล้งเกิน
ไป ซึ่งชาวสุเมเรียนที่เข้ามาในระยะแรกได้เห็นปัญหาดังกล่าว เมื่อพวกเขาได้ตัดสินใจที่จะตั้งรกรากใน
ธ.

บริเวณนี้ก็จะต้องหาทางเอาชนะธรรมชาติ ด้วยการปรับสภาพทางธรรมชาติเพื่อใช้ประโยชน์ในการด�ำรง
ชีวติ ของตนให้มากที่สุด กล่าวคือในขั้นแรกชาวสุเมเรียนได้สร้างท�ำนบใหญ่ขึ้นสองฟากฝั่งแม่น�้ำยูเฟรทีส
สร้างคลองระบายน�้ำ เขื่อนกั้นน�้ำ ประตูน�้ำ และอ่างเก็บน�้ำ เพื่อระบายน�้ำออกไปในบริเวณที่อยู่ห่างไกล
และเพื่อเก็บกักน�้ำไว้ใช้ในยามที่ต้องการ วิธีการควบคุมน�้ำและจัดระบายน�้ำดังกล่าวเรียกว่า ระบบ
การชลประทาน ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกโดยชาวสุเมเรียน
ชาวสุเมเรียนเป็นกสิกรที่มีประสิทธิภาพ มีผลผลิตที่ได้จากไร่นาที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ข้าวสาลี
.ม
อินทผลัม ฯลฯ ชาวสุเมเรียนได้ใช้พืชผลส่วนเกินจากการบริโภคแลกเปลี่ยนกับวัตถุดิบที่ขาดแคลนใน
เขตอืน่ เช่น ไม้จากซีเรียและจากเขตภูเขาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หินและทองแดงจากโอมานซึง่ อยู่
ริมอ่าวเปอร์เซีย อัญมณี ได้แก่ ลาปิส ลาซูลีจากอัฟริกานิสถาน เงินและตะกั่วจากเทือกเขาทอรัส และ
ดีบุกจากเอเซียไมเนอร์ ฯลฯ สินค้าเหล่านี้ส่งเข้ามาในเมโสโปเตเมียโดยอาศัยเส้นทางทั้งทางบกและ
ทางน�ำ้
ด้านการเพาะปลูก
ชาวสุเมเรียนมีการใช้คันไถเทียมด้วยวัว ท�ำให้สามารถหว่านไถได้เป็นบริเวณกว้างกว่าเดิม การ
ประดิษฐ์คันไถเทียมด้วยวัวมีความส�ำคัญในแง่ที่ว่ามนุษย์เริ่มรู้จักใช้และควบคุมที่มาของพลังงาน คือ
พลังงานของสัตว์ นอกเหนือไปจากพลังงานทีม่ าจากตัวของมนุษย์เอง นอกจากนีช้ าวสุเมเรียนยังประดิษฐ์
เครือ่ งมือทางการเกษตรดัง้ เดิม เห็นได้จากเครือ่ งหยอดเมล็ดพืชซึง่ ปัจจุบนั ก็ยงั คงใช้กนั อยูใ่ นบางแห่งของ
โลก เครื่องหยอดเมล็ดพืช ท�ำงานโดยกรุยพื้นดินให้เป็นร่องก่อน ต่อจากนั้นจะค่อยๆ หยอดเมล็ดพืช
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-39

ลงในร่องโดยผ่านทางกรวยเล็กๆ เมื่อเมล็ดพืชลงไปอยู่ในดินแล้วคนบังคับเครื่องมือจึงเดินย�้ำกลบ


เป็นอันเสร็จกรรมวิธหี ยอดเมล็ด ชาวสุเมเรียนนอกจากจะประสบความส�ำเร็จในการเพาะปลูกแล้ว จากหลักฐาน
ทางโบราณคดียังบ่งชี้ว่าชาวสุเมเรียน นิยมเลี้ยงสัตว์ โดยมีการท�ำนมเนยและผ้าขนสัตว์
การเขียนตัวหนังสือ
ชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกในดินแดนเมโสโปเตเมียทีร่ จู้ กั การเขียนหนังสือ การเขียนตัวหนังสือ

.
ของชาวสุเมเรียนจะใช้ไม้ตัดปลายเป็นเหลี่ยม หรือใช้กระดูกที่ท�ำให้ปลายกระดูกมีลักษณะคล้ายรูปลิ่ม
กดลงบนแผ่นดินเหนียวที่ยังอ่อนอยู่ท�ำให้เกิดเป็นรอย แล้วน�ำไปตากแดดให้แห้ง หรือเผาไฟ ตัวอักษร
สธ สธ
ชนิดนี้เรียกว่า “ตัวอักษรคูนิฟอร์ม” (Cuneiform) หรือ “ตัวอักษรรูปลิ่ม” อักษรดังกล่าวมีอิทธิพลต่อ

มส . มส
การเขียนตัวอักษรของกรีกและโรมันในสมัยต่อมา

ธ.
.ม
ภาพที่ 1.23 ตัวอักษรคูนิฟอร์มหรือตัวอักษรรูปลิ่ม
ที่มา: http://www.omniglot.com/writing/sumerian.htm สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559.

วรรณกรรม
ด้วยความส�ำเร็จในระบบการเขียนท�ำให้ชาวสุเมเรียนสามารถสร้างวรรณกรรมส�ำคัญทีม่ คี วามยาว
เรื่องแรกของโลก ซึ่งรู้จักอย่างกว้างขวาง มีชื่อว่า มหากาพย์กิลกาเมช (Gilgamehsepic) เขียนบน
แผ่นดินเผาขนาดใหญ่ 12 แผ่น รวมด้วยกันทั้งสิ้น 3,000 บรรทัด
สธ ส
1-40 อารยธรรมมนุษย์

. ม
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ 1.24 แผ่นหนึ่งของมหากาพย์กิลกาเมช
ธ.

ที่มา: http://www.komkid.com/feature/มหากาพย์กิลกาเมช/ สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559.

ด้านคณิตศาสตร์
ชาวสุเมเรียนเป็นพวกแรกที่คิดค้นวิธีการคิดเลขทั้งการลบ การบวก และการคูณ ชาวสุเมเรียน
นิยมใช้หลัก 60 และหลักนีเ้ องในเรือ่ งการนับเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบนั รวมทัง้ การแบ่งวงกลมออกเป็น 360
องศา (6 × 60) ด้วย
.ม
การสร้างระบบชั่ง ตวง วัด และปฏิทิน
ชาวสุเมเรียนรู้จักใช้ระบบการชั่ง ตวง วัด อย่างดี มาตราชั่ง ตวง วัดของชาวสุเมเรียนแบ่งเป็น
เชคเคิล (Shekel) มีนา่ (Mina) และทาเลน (Talent) โดยใช้หลัก 60 คือ 60 เชคเคิล เป็น 1 มีนา่ 60 มีนา่
เป็น 1 ทาเลน ส�ำหรับการสร้างปฏิทนิ พระชาวสุเมเรียนได้คดิ ค้นหลักใหญ่ของปฏิทนิ ขึน้ เป็นครัง้ แรก ทัง้ นี้
โดยอาศัยการเฝ้าสังเกตการโคจรของดวงจันทร์ ปฏิทินของชาวสุเมเรียนเป็นปฏิทินแบบจันทรคติ ปีหนึง่
มี 12 เดือน ปีของชาวสุเมเรียนมีเพียง 354 วัน เดือนของชาวสุเมเรียนแบ่งออกเป็น 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 7–8
วัน วันหนึ่งแบ่งออกเป็นกลางวัน 6 ชั่วโมง และกลางคืน 6 ชั่วโมง (1 ชั่วโมงเทียบเท่ากับ 2 ชั่วโมงใน
ปัจจุบัน)
ด้านสถาปัตยกรรม
ชาวสุเมเรียนได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเริ่มการใช้อิฐในการก่อสร้างอย่างกว้างขวาง โดยมีการท�ำอิฐขึ้นจาก
ดินเหนียว ซึ่งมีอยู่มากมายโดยใช้แทนหินซึ่งเป็นของหายาก อิฐของสุเมเรียนมี 2 ประเภท คือ ประเภท
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-41

ตากแห้ง และประเภทอบความร้อนหรือเผาไฟ ชนิดแรกไม่ทนความชื้น ใช้ในการก่อสร้างอาคารส่วนที่


ไม่กระทบต่อความชืน้ แฉะ ขณะทีอ่ ฐิ ชนิดอบความร้อนหรือเผาไฟทนความชืน้ ได้ดี ใช้กอ่ ส่วนล่างของอาคาร
เห็นได้จากยกพื้นฐานรากและก�ำแพง การพัฒนาอิฐจนมีคุณภาพดี ท�ำให้ชาวสุเมเรียนได้สร้างนครรัฐ
ของตนขึน้ โดยสร้างก�ำแพงอิฐขึน้ ล้อมรอบบริเวณทีเ่ ป็นส่วนส�ำคัญทีส่ ดุ ของนครรัฐ คือ บริเวณทีเ่ ป็นวัดหรือ
ที่ศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นที่ประทับของพระเป็นเจ้า ตรงมุมด้านหนึ่งของบริเวณอันศักดิ์สิทธิ์มีสิ่งก่อสร้างที่มี

.
รูปร่างคล้ายๆ พีระมิดของอียิปต์ เรียกว่า “ซิกกูแรต” (Ziggurat) หรือ “หอคอยระฟ้า” สร้างเป็นหอสูง
ขนาดใหญ่ ลดหลั่นเป็นสามระดับ ยอดบนสุดเป็นวิหารเทพเจ้าสูงสุดประจ�ำนครรัฐ เบื้องล่างถัดจาก
สธ สธ
“หอคอยระฟ้า” ลงมาเป็นทีต่ งั้ ของวัดวาอาราม พระราชวังของกษัตริย์ สุสานหลวง ทีท่ ำ� ตามความคิดของ

มส . มส
พวกสุเมเรียน ชาวสุเมเรียนบูชาพระเจ้าหลายองค์ และแต่ละนครรัฐจะมีพระเป็นเจ้าผูเ้ ป็นองค์อปุ ถัมภ์นครรัฐ
นัน้ โดยเฉพาะประทับอยู่ ณ วัดใหญ่ที่เรียกว่า ซิกกูแรต ประชาชนมีหน้าที่ดูแลท�ำนุบ�ำรุงวัดในรูปของ
ภาษี หรือเครื่องพลีซึ่งน�ำมาถวายวัดผ่านทางพระหรือนักบวชผู้มีหน้าที่ดูแล

ธ.
.ม
ภาพที่ 1.25 ร่างแบบของ “ซิกกูแรต” หรือ “หอคอยระฟ้า”
ที่มา: http://www.crystalinks.com/ziggurat.html สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559.

จะเห็นได้วา่ ความเจริญของชาวสุเมเรียนมีความก้าวหน้าและเปลีย่ นแปลงโดยตลอด ตัง้ แต่การตัง้


ถิ่นฐานแบบหมู่บ้านแล้วพัฒนาไปเป็นเมืองในรูปแบบนครรัฐ มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ หลายอย่าง
เช่น ระบบการชลประทาน การเพาะปลูก การประดิษฐ์คันไถ การเขียนตัวหนังสือ สถาปัตยกรรม ฯลฯ
ความเจริญของชาวสุเมเรียนดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นความมั่งคั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุที่น�ำอันตรายมาสู่นครรัฐได้
สธ ส
1-42 อารยธรรมมนุษย์

ทัง้ จากการปล้นสะดม และการคุกคามจากชนเผ่าอืน่ ท�ำให้ชาวสุเมเรียนต้องฝึกฝนคนของตนในด้านการรบ


นักรบชาวสุเมเรียนรู้จักใช้รถรบ และรู้จักสวมหมวกเป็นเกราะป้องกันก�ำลังทัพ นอกจากจะใช้ป้องกัน
ชนเผ่าอืน่ ทีเ่ ข้ามารุกรานแล้ว ยังใช้สรู้ บระหว่างนครรัฐด้วยกันเอง ทัง้ นีเ้ พราะแต่ละนครรัฐมีกษัตริยป์ กครอง
และเป็นอิสระต่อกัน การรบพุ่งแย่งชิงความเป็นใหญ่จึงเกิดขึ้นอยู่เสมอ นี่คือสาเหตุของความอ่อนแอ และ
ในที่สุดซูเมอร์ของชาวสุเมเรียนก็ถูกรุกรานโดยชนเผ่าอื่นและเป็นวาระสิ้นสุดความเจริญของนครรัฐแห่งนี้

.
สธ สธ
กิจกรรม 1.3.1

มส . มส
การจัดการรูปการปกครองแบบนครรัฐมีผลต่อความส�ำเร็จและความมัน่ คงของชาวสุเมเรียนอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม 1.3.1
ชีวติ ความเป็นอยูข่ องชาวสุเมเรียนได้มคี วามก้าวหน้าและเปลีย่ นแปลงมาโดยตลอดนับตัง้ แต่ชวี ติ
แบบหมูบ่ า้ นมาเป็นชีวติ ในเมือง ได้มกี ารสร้างความเจริญในด้านต่างๆ เช่น ระบบการชลประทาน การช่างฝีมอื

สถาปัตยกรรม การเขียนหนังสือ เป็นต้น ความเจริญต่างๆ ของชาวสุเมเรียนนี้ได้กลายเป็นรากฐานและ
มีอิทธิพลต่อความเจริญของชนชาติต่างๆ ที่เข้ามาตั้งอยู่ในเมโสโปเตเมียในรุ่นต่อๆ มา
ธ.

เรื่องที่ 1.3.2
การรุกรานดินแดนเมโสโปเตเมียช่วงแรก
.ม
ชนกลุ่มใหม่ที่เข้ามารุกรานและผลัดกันยึดครองดินแดนเมโสโปเตเมียต่อจากชาวสุเมเรียน
แบ่งได้กว้างๆ เป็น 2 ชนเผ่า คือ
1. ชนเผ่าเซมิติค (Semitics) อาศัยอยู่บริเวณทะเลทรายอาราเบียน ได้แก่ ชาวอัคคาเดียน
(Akkadian) ชาวอมอไรต์ (Amorite) ชาวอัสซีเรียน (Assyrian) และชาวคาลเดียน (Chaldean)
2. ชนเผ่าอินโดยูโรเปียน (Indo–European) อยู่บริเวณทางเหนือของทะเลแคสเปียน ได้แก่
ชาวฮิตไทต์ (Hitties) และชาวเปอร์เซีย (Persian)
บริเวณเมโสโปเตเมียหลังจากที่อารยธรรมของชาวสุเมเรียนเริ่มเสื่อม ได้มีกลุ่มชนอีกหลากหลาย
กลุม่ เข้ายึดครอง การรุกรานเข้ามาของทัง้ ชนเผ่าเซมิตคิ และอินโดยูโรเปียนในดินแดนเมโสโปเตเมียทีเ่ กิดขึน้
ในช่วงแรกมี 3 กลุม่ ชนด้วยกัน ได้แก่ ชาวอัคคาเดียน ชาวอมอไรต์ ซึง่ เป็นชนเผ่าเซมิตคิ และชาวฮิตไทต์
ซึ่งเป็นชนเผ่าอินโดยูโรเปียน
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-43

ชาวอัคคาเดียน


เป็นชนเผ่าเร่ร่อนเผ่าเซมิติคพวกแรกที่เข้ามาในเขตเมโสโปเตเมีย เมื่อประมาณ 2,400 ปีก่อน
คริสต์ศักราช ภายใต้การน�ำโดยพระเจ้าซาร์กอนที่ 1 (Sargon I) โดยได้ยกทัพเข้ารุกรานและยึดครอง
นครรัฐทัง้ หลายของชาวสุเมเรียน จากนัน้ ได้ขยายดินแดนไปจนถึงฝัง่ ตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ชาวอัคคาเดียนได้สถาปนาจักรวรรดิอัคคาเดียนขึ้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นจักรวรรดิแห่งแรกของโลกที่ปรากฏ

.
ในประวัติศาสตร์ และนับเป็นพื้นฐานในการตั้งจักรวรรดิของมนุษย์ในยุคต่อมา แต่จักรวรรดิดังกล่าวนี้
สธ สธ
ด�ำรงอยูใ่ นชัว่ ระยะเวลาหนึง่ หลังสิน้ รัชกาลพระเจ้าซาร์กอนที่ 1 แล้ว ชาวสุเมเรียนก็ยดึ ดินแดนคืนมาได้อกี

มส . มส

ธ.

ภาพที่ 1.26 พระเจ้าซาร์กอนที่ 1 ภาพที่ 1.27 จักรวรรดิอัคคาเดียน


ที่มา: http://forum.valka.cz/topic/view/67219/V-Akkadske-obdobi และ http://my.dek-d.com/yamnaruk/writer/
viewlongc.php?id=774206&chapter=6 สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559.
.ม
ชาวอมอไรต์
เป็นชนเผ่าเซมิติคอีกพวกหนึ่งที่อพยพมาจากทะเลทรายอาราเบียน โดยได้ยกก�ำลังเข้ายึดครอง
นครรัฐของชาวสุเมเรียนและขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางเมือ่ ประมาณ 2,000 ปีกอ่ นคริสต์ศกั ราช
โดยมีผู้น�ำที่เข้มแข็งทรงพระนามว่า ฮัมมูราบี (Hammurabi) ซึ่งต่อมาได้สถาปนาจักรวรรดิบาบิโลเนีย
(Babylonia Empire) ขึ้น โดยมีนครบาบิโลน (Babylon) เป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิ
สธ ส
1-44 อารยธรรมมนุษย์

. ม
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ 1.28 กษัตรย์ฮัมมูราบี
ธ.

ที่มา: http://my.dek-d.com/abjmp-social/writer/viewlongc.php?id=773121&chapter=5 สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559.

จักรพรรดิฮัมมูราบีทรงเป็นนักปกครองและนักบริหารที่ยอดเยี่ยมได้ทรงคิดค้นเครื่องมือทีจ่ ะช่วย
สร้างความเป็นระเบียบและความยุตธิ รรมให้แก่ดนิ แดนทัว่ ทัง้ จักรวรรดิ เครือ่ งมือดังกล่าวนัน้ คือ กฎหมายที่
เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งประมวลขึ้นจากจารีตประเพณีของพวกสุเมเรียนเดิมตลอดจนธรรมเนียม
ปฏิบัตขิ องชนเผ่าเซมิตคิ เรียกว่า ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) มีขอ้ บัญญัติ
.ม
ต่างๆ รวมทั้งสิ้นเกือบ 300 ข้อ จารึกอยู่บนแท่งหินสีดำ� สูงประมาณ 8 ฟุต จารึกด้วยตัวอักษรคูนิฟอร์ม
ประมวลกฎหมายนีใ้ ช้หลักความคิดแบบแก้แค้นและตอบโต้อย่างตรงไปตรงมาทีเ่ รียกว่า “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน”
นอกจากนีย้ งั มีบททีว่ า่ ด้วยเรือ่ งต่างๆ ในการปฏิบตั ติ อ่ กันของคนในสังคม เช่น เรือ่ งการค้าขายและประกอบ
อาชีพ เรื่องทรัพย์สินที่ดิน เรื่องการอยู่กินระหว่างสามีภรรยาและการหย่าร้าง เป็นต้น ประมวลกฎหมาย
ฉบับนีน้ บั ว่าเป็นหลักฐานทางวัฒนธรรมของมนุษย์ทแี่ สดงถึงความพยายามทีจ่ ะจัดระเบียบภายในสังคมที่
มีกลุม่ คนเข้ามาอยูร่ วมกันแล้วน�ำระเบียบดังกล่าวเขียนลงไว้อย่างชัดเจน ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีจงึ เป็น
ประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งเหลือตกค้างมาจนถึงสมัยปัจจุบัน
จักรวรรดิบาบิโลเนียนเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยจักรพรรดิฮัมมูราบี แต่หลังสมัยของพระองค์
อาณาจักรทีเ่ ป็นปึกแผ่นอยูเ่ ป็นเวลาเกือบหกร้อยปีกค็ อ่ ยๆ เสือ่ มลงจนในทีส่ ดุ ถูกพวกชาวแคสไซท์ (Kassites)
เข้ามายึดครอง ชาวแคสไซท์เป็นพวกอารยชนซึง่ ไม่มคี วามสนใจในวัฒนธรรมใดๆ ทัง้ สิน้ ท�ำให้วฒ ั นธรรม
เก่าแก่ของดินแดนแถบนี้เกือบจะต้องสลายไปอย่างสิ้นเชิง
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-45

ชาวฮิตไทต์


ในระยะเวลาต่อมามีชนเผ่าอินโดยูโรเปียน คือ ชาวฮิตไทต์ ซึง่ เป็นเผ่าเร่รอ่ น มีถนิ่ ทีอ่ ยูเ่ ดิมในเขต
ทุ่งหญ้าทางตอนใต้ของรัสเซีย พวกนี้เป็นพวกเร่ร่อน เลี้ยงสัตว์ ใช้ม้าเป็นพาหนะ มักจะอพยพโยกย้าย
หาถิน่ ทีอ่ ดุ มสมบูรณ์ใหม่ๆ อยูเ่ สมอ รูจ้ กั น�ำม้ามาเลีย้ งเพือ่ ใช้แรงงาน รูจ้ กั สร้างและใช้รถรบเทียมม้าทีเ่ คลือ่ นที่
ได้รวดเร็วและคล่องแคล่ว รถม้าดังกล่าวมีโครงเป็นไม้ยดึ ไว้ดว้ ยเชือกหนัง หรือหวายและมีลอ้ เป็นทีร่ องรับ

.
รถรบดังกล่าวมักจะเทียมม้าคู่ผูกอยู่ด้วยกัน
สธ สธ
มส . มส

ธ.

ภาพที่ 1.29 รถเทียมม้าของชาวฮิตไทต์ จากภาพนูนของอียิปต์


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ประวัติศาสตร์ฮิตไทต์ สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559.
.ม
ชาวฮิตไทต์ได้อาศัยช่องทางระหว่างทะเลด�ำและทะเลสาบแคสเปียนผ่านลงมาในเอเซียไมเนอร์
ยึดบริเวณดังกล่าวเป็นที่มั่น จากนั้นก็ขยายตัวลงมาตามล�ำน�้ำยูเฟรทีส เข้าโจมตีภาคเหนือของซีเรีย เข้า
ปล้นสะดมกรุงบาบิโลนและตั้งเมืองฮัตตูชา (Hattusa) เป็นศูนย์กลางการปกครองจักรวรรดิฮิตไทต์ และ
สร้างความเจริญในบริเวณนี้เมื่อประมาณ 1,500–1,200 ปีก่อนคริสต์ศกั ราช
ชาวฮิตไทต์ได้ชื่อว่าเก่งกล้าสามารถในการท�ำสงคราม ในการรบพวกฮิตไทต์ใช้รถเทียมม้าเข้า
ท�ำลายกองทหารเดินเท้าของศัตรู ส่วนในการตั้งรับศึกพวกฮิตไทต์มีความช�ำนาญเป็นพิเศษ รู้จักสร้าง
ก�ำแพงเมืองอย่างแข็งแรง พวกฮิตไทต์เป็นพวกแรกในสมัยโบราณที่รู้จักใช้เหล็ก นอกเหนือไปจากการใช้
ทองแดงและส�ำริด จากหลักฐานทีป่ รากฏในสมัยต่อมาพบว่าพวกช่างตีเหล็กในสมัยนัน้ มีความสามารถและ
มีเทคนิคอย่างดีในการประดิษฐ์เหล็กเป็นเครือ่ งใช้ หลังปี 1250 ก่อนคริสต์ศกั ราช การใช้เหล็กก็แพร่หลายไป
ทั่วดินแดนภาคตะวันตกของทวีปเอเชีย
สธ ส
1-46 อารยธรรมมนุษย์

จักรวรรดิฮิตไทต์สิ้นสุดลงด้วยเหตุใดไม่มีหลักฐานปรากฏชัดนัก แต่จากการสันนิษฐานของ


นักประวัตศิ าสตร์บางท่านระบุวา่ พวกฮิตไทต์ถกู ขับออกจากกรุงบาบิโลนและพวกแคสไซท์เข้าครอบครอง
แทนจนถึงประมาณ 900 ปีก่อนคริสต์ศกั ราช พวกแคสไซท์ก็ถูกพวกอัสซีเรียนขับออกไป

.
กิจกรรม 1.3.2
อธิบายลักษณะความเจริญของอารยธรรมของชาวฮิตไทต์มาพอสังเขป
สธ สธ
มส . มส
แนวตอบกิจกรรม 1.3.2
ชาวฮิตไทต์รู้จักน�ำม้ามาเลี้ยงเพื่อใช้แรงงาน รู้จักสร้างรวมถึงการใช้รถรบเทียมม้าที่เคลื่อนที่ได้
รวดเร็วและคล่องแคล่ว รูจ้ กั สร้างก�ำแพงเมืองอย่างแข็งแรง รูจ้ กั ใช้เหล็ก ทองแดง และส�ำริด โดยช่างตีเหล็ก
ในสมัยนีม้ ีความสามารถและมีเทคนิคอย่างดีในการประดิษฐ์เหล็กเป็นเครื่องใช้

เรื่องที่ 1.3.3
การรุกรานดินแดนเมโสโปเตเมียช่วงหลัง
ธ.

กลุม่ ชนทีเ่ ข้ารุกรานดินแดนเมโสโปเตเมียในช่วงหลังมีอยู่ 3 กลุม่ ได้แก่ ชาวอัสซีเรียน ชาวคาลเดียน


ซึ่งเป็นชนเผ่าเซมิติค และชาวเปอร์เซีย ซึ่งเป็นชนเผ่าอินโดยูโรเปียน
.ม
ชาวอัสซีเรียน
เป็นชนเผ่าเซมิติคอีกพวกหนึ่งที่ในระยะแรกเริ่มได้ตั้งถิ่นฐานและสร้างสรรค์อารยธรรมในบริเวณ
ภาคเหนือของลุม่ แม่นำ�้ ไทกริส ประมาณ 858 ปีกอ่ นคริสต์ศกั ราช ชาวอัสซีเรียนเริม่ ท�ำการขยายอาณาเขต
และในไม่ช้าก็มีอ�ำนาจครอบคลุมทางเหนือของหุบเขาทั้งหมด โดยชาวอัสซีเรียนได้โค่นอ�ำนาจของพวก
แคสไซท์ลงได้และสถาปนาจักรวรรดิอสั ซีเรียขึน้ ชาวอัสซีเรียนได้ชอื่ ว่า เป็นพวกทีม่ ชี อื่ เสียงในความเก่งกล้า
สามารถในการรบและความดุรา้ ย ท�ำให้สามารถแผ่ขยายจักรวรรดิออกไปอย่างกว้างขวาง นับเป็นจักรวรรดิ
แห่งแรกที่เจริญขึ้นในยุคเหล็ก โดยได้ทิ้งอนุสรณ์แห่งความโหดร้าย ทารุณและความยิ่งใหญ่ไว้ในภาพ
แกะสลักนูนอันเป็นศิลปวัตถุที่ยังคงอยู่มาจนถึงวันนี้
จักรพรรดิซงึ่ ทรงอานุภาพ คือ แอสซูรบ์ านิปาล (Assurbanipal) พระองค์ได้ขยายอาณาจักรออก
ไปอย่างกว้างขวางโดยรวมเอาดินแดนเมโสโปเตเมียไปทางด้านตะวันตกจนถึงอียิปต์ ซีเรีย ปาเลสไตน์
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-47

ฟินีเซียน และตะวันออกของเอเชียไมเนอร์ ขณะที่ทางตะวันออกขยายไปถึงอ่าวเปอร์เซีย11 และยังทรง


โปรดให้รวบรวมแผ่นดินเผาซึ่งบรรจุข้อเขียนด้วยตัวอักษรคูนิฟอร์มไว้ในหอสมุดใหม่ที่กรุงนิเนเวห์
(Nineveh) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิ

.
สธ สธ
มส . มส

ธ.

ภาพที่ 1.30 ห้องสมุดนิเนเวห์


ที่มา: https://blog.britishmuseum.org/category/at-the-museum/ สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559.

อารยธรรมที่โดดเด่นส�ำคัญอีกประการ คือ สถาปัตยกรรม โดยชาวอัสซีเรียนได้สร้างพระราชวัง


ของซาร์กอนที่คอร์ซาบัค (Khorsabad) ลักษณะพิเศษคือเริ่มมีการใช้ประตูโค้ง (Arch) ซึ่งเป็นเทคนิค
การก่อสร้างทีก่ า้ วหน้ามาก นอกจากนีย้ งั มีการประดับประดาด้วยประติมากรรมทีส่ ำ� คัญคือ ประติมากรรม
.ม
รูปสัตว์ในจินตนาการที่ท�ำหน้าที่รักษาประตูวัง โดยมีรูปเป็นวัว มีปีกเหมือนนก และมีหัวเป็นมนุษย์
ประติมากรรมนูนต�ำ่ ทีม่ ชี อื่ เสียงอีกชิน้ หนึง่ มีชอื่ ว่า สิงโตตัวเมียใกล้ตาย (Dying Lioners) เป็นภาพสิงโต
ตัวเมียที่ถูกล่าก�ำลังร้องครวญคราง ภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงสัดส่วนของร่างกายทีเ่ ป็นจริงและสามารถ
ให้อารมณ์ความรูส้ กึ สมจริง นับเป็นประติมากรรมทีก่ า้ วหน้ามาก จักรวรรดิอัสซีเรียนได้รุ่งเรืองอยู่ไม่นาน
ก็เสื่อมลงเมื่อพ่ายแพ้แก่ชาวคาลเดียนในปี 612 ก่อนคริสต์ศกั ราช

11 เอกชัย จันทรา. (2557). เมโสโปเตเมียถึงจักรวรรดิเปอร์เซียเส้นทางอารยธรรมยิ่งใหญ่ของโลก. กรุงเทพฯ: ยิปซี.


น. 83.
สธ ส
1-48 อารยธรรมมนุษย์

. ม
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ 1.31 สิงโตตัวเมียใกล้ตาย
ที่มา: https://mesopotamiadiv1.wikispaces.com/The+Art+of+Assyria สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559.

ชาวคาลเดียน
ธ.

เป็นชนเผ่าเซมิตคิ กลุม่ หนึง่ ทีพ่ ชิ ติ จักรวรรดิของชาวอัสซีเรียนได้สำ� เร็จ และได้สถาปนานครบาลิโลน


ขึน้ เป็นเมืองหลวงอีกครัง้ หนึง่ ชาวคาลเดียนได้เรียกชือ่ จักรวรรดิใหม่นวี้ า่ บาบิโลเนียใหม่ (Neo Babylonia
Empire) หรือจักรวรรดิคาลเดียน (The Chaldean Empire)
ชาวคาลเดียนมีความเชือ่ ว่าแต่เดิมดาวเคราะห์มเี พียง 5 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร
ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ ซึ่งถือว่าเป็นพลังอันศักดิ์สิทธิ์ของมนุษย์ เมื่อรวมกับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์
.ม
เป็น 7 ดวง ก็จะเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ 7 องค์ ซึ่งวิชาการด้านดาราศาสตร์ของชาวคาลเดียนได้แพร่ไปยัง
ชาวตะวันตกในเวลาต่อมา ดังจะเห็นได้จากการตั้งชื่อวันที่มีการตั้งตามชื่อของดวงดาวบนท้องฟ้า
ชาวคาลเดียนสามารถหาเวลาที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก เวลาเกิดสุริยุปราคา และจันทรุปราคา
รวมทั้งค�ำนวณความยาวของปีทั้งหมดได้อย่างแม่นย�ำ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ของกรีกได้น�ำผลงานของชาว
คาลเดียนมาใช้ในภายหลัง
นอกจากนี้ในยุคของจักรพรรดิเนบูคัดเนสซาร์ (Nebuchadnezzar) ทรงครองราชย์อยู่ระหว่าง
604-561 ปีกอ่ นคริสต์ศกั ราช พระองค์ทรงเป็นกษัตริยท์ ชี่ อบความหรูหราฟุม่ เฟือย ทรงโปรดให้ฟน้ื ฟูบรู ณะ
นครบาบิโลนขึ้นใหม่ และตกแต่งระเบียงพระราชวังด้วยการปลูกต้นไม้ขึ้น เพื่อให้คลุมหลังคาพระราชวัง
อย่างแน่นหนา หลังคาที่ปลูกต้นไม้นี้เรียกว่า “สวนลอยแห่งนครบาบิโลน” (Hanging Garden of
Babylonia) ซึ่งชาวกรีกนับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลกที่มีผู้กล่าวถึงในยุคปัจจุบัน
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-49

. ม
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ 1.32 สวนลอยแห่งนครบาบิโลน
ที่มา: http://matamnoi.blogspot.com/2015/02/hanging-gardens-of-babylon.html สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559.

ชาวเปอร์เซีย
ธ.

เป็นพวกอินโดยูโรเปียนทีม่ คี วามช�ำนาญในการรบและการเลีย้ งสัตว์ โดยได้อพยพย้ายถิน่ มาจาก


เอเชียกลาง เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศกั ราช เพื่อหาท�ำเลที่เหมาะสมในการเลี้ยงสัตว์ จนในที่สุด
ได้มาตั้งถิน่ ฐานอยู่ระหว่างอ่าวเปอร์เซียกับทะเลแคสเปียน ซึง่ เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอิหร่านในปัจจุบัน
ต่อมาประมาณ 540 ปีก่อนคริสต์ศกั ราช ชาวเปอร์เซียได้สร้างจักรวรรดิอันเข้มแข็งภายใต้การน�ำ
ของพระเจ้าไซรัส (Cyrus) จากนัน้ พระองค์ทรงยกทัพเข้าไปยึดดินแดนตอนเหนือของเมโสโปเตเมีย อัสซีเรียน 
.ม
ฟินิเซีย ลิเดีย และเข้ายึดกรุงบาบิโลนได้ในปี 568 ก่อนคริสต์ศกั ราช จักรวรรดิของไซรัสแผ่ออกไปจนจรด
ลุม่ แม่นำ�้ สินธุทางทิศตะวันออก หลังจากนัน้ พระเจ้าแคมไบซีสที่ 2 (Cambyses II) พระราชโอรสในพระเจ้า
ไซรัสได้รวมอียิปต์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิ
กษัตริย์ผู้มีความสามารถอย่างยิ่งในด้านการปกครองในยุคต่อมา คือ จักรพรรดิดาริอุสที่ 1
(Darius I) ได้ทรงวางระเบียบการปกครองภายในจักรวรรดิได้อย่างเรียบร้อยมั่นคง ทรงแบ่งจักรวรรดิ
ออกเป็นมณฑลเรียกว่า “แซแทรมปี” (Satrapies) แต่ละมณฑลมีข้าหลวงเปอร์เซียเรียกว่า “แซแทรป”
(Satrap) ออกไปปกครองดูแลกิจการทุกๆ อย่างในมณฑล ที่เกี่ยวข้องกับการกินดีอยู่ดีของประชาชน
ตลอดจนการเก็บภาษีอากรและดูแลกองทัพของจักรวรรดิ จักรพรรดิทรงมีพระราชอ�ำนาจเด็ดขาด พระบรม-
ราชโองการคือกฎหมายของประเทศทีพ่ สกนิกรทุกคนตลอดทัว่ ทัง้ จักรวรรดิจะต้องปฏิบตั ติ าม อย่างไรก็ตาม
ในทางปฏิบตั ติ ราบใดทีท่ กุ คนยอมรับความจริงในข้อนีแ้ ล้ว ก็จะได้รบั การคุม้ ครองอย่างยุตธิ รรมและมีเมตตาธรรม
ประชาชนภายในจักรวรรดิได้รับสิทธิและตราบใดที่มิได้ก่อความเดือดร้อนให้แก่ฝ่ายปกครอง
สธ ส
1-50 อารยธรรมมนุษย์

. ม
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ 1.33 ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเปอร์เซีย
ที่มา: http://my.dek-d.com/abjmp-social/writer/viewlongc.php?id=773121&chapter=17 สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559.
ธ.

แต่เดิมชาวเปอร์เซียนับถือเทพเจ้าหลายองค์ทเี่ กีย่ วข้องกับท้องฟ้า ดวงอาทิตย์และไฟ ต่อมาเมือ่


ประมาณ 570 ปีก่อนคริสต์ศกั ราช ได้เกิดศาสนาโซโรแอสเตอร์ (Zoroaster) พระชาวเปอร์เซียได้ปฏิรูป
ศาสนา โดยสัง่ สอนว่าโลกนีม้ ที งั้ ฝ่ายดีและฝ่ายชัว่ ซึง่ ต่อสูเ้ อาชนะกันตลอดเวลา ฝ่ายดีนนั้ มีพระอาหุระมาสดา
(Ahura Mazda) เป็นประมุข ทรงเป็นเทพเจ้าแห่งความดีและความยุติธรรมเป็นพระเจ้าแห่งความสว่าง
และเป็นผู้รับมอบธรรมและค�ำสั่งสอนให้แก่โซโรแอสเตอร์มาสู่ประชาชน ส่วนฝ่ายชั่ว นั้นคือ พวกปีศาจ
ซึ่งเปรียบได้กับความมืด มนุษย์เป็นสาวกของทั้งสองฝ่าย และจะต้องตัดสินใจว่าจะเข้าข้างใดโดยเน้น
.ม
ทางสายกลาง ด้วยเหตุนี้ชีวิตมนุษย์จึงมีการต่อสู้ระหว่างความดีและความชั่วและในที่สุดฝ่ายดีก็เป็นฝ่าย
มีชัย เมื่อวันสุดท้ายมาถึงมนุษย์จะถูกตัดสินตามผลการกระท�ำของตนเอง
จักรวรรดิเปอร์เซียได้ถูกพิชิตโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) เมื่อ
ทศวรรษที่ 300 ปีกอ่ นคริสต์ศกั ราช ท�ำให้วฒ ั นธรรมหลายอย่างของชาวเปอร์เซียได้ตกทอดและผสมผสาน
กับวัฒนธรรมกรีกสืบมา เป็นที่น่าสังเกตว่าถึงแม้จักรวรรดิเปอร์เซียในอดีตจะประกอบขึ้นด้วยประชาชนที่
มีเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ กัน แต่ก็สามารถรวมกันอยู่ได้อย่างสงบและ
สันติ โดยทีร่ ฐั มิได้เข้าแทรกแซงในเรือ่ งดังกล่าว ระบบการบริหารการปกครองของเปอร์เซียได้นำ� ความสงบ
มาให้แก่ภาคตะวันตกของเอเชียเป็นเวลาประมาณ 200 ปี ทัง้ ยังเป็นแบบอย่างทีด่ ี ซึง่ นักปกครองจักรวรรดิ
สมัยหลังได้รับไปใช้ในจักรวรรดิของตนโดยเฉพาะจักรวรรดิโรมัน
สธ ส
สมัยก่อนประวัติศาสตร์และจุดเริ่มของอารยธรรม 1-51


กิจกรรม 1.3.3
อารยธรรมด้านการปกครองที่เกิดขึ้นโดยกลุ่มชาวเปอร์เซียในบริเวณดินแดนเมโสโปเตเมีย
มีลักษณะอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม 1.3.3

. อารยธรรมด้านการปกครองที่เกิดขึ้นโดยกลุ่มชาวเปอร์เซียในบริเวณดินแดนเมโสโปเตเมีย คือ
สธ สธ
การวางระเบียบการปกครองภายในจักรวรรดิได้อย่างเรียบร้อยมั่นคง มีการแบ่งจักรวรรดิออกเป็นมณฑล

มส . มส
เรียกว่า “แซแทรมปี” แต่ละมณฑลมีขา้ หลวงเปอร์เซียเรียกว่า “แซแทรป” ได้ออกไปปกครองดูแลกิจการ
ทุกๆ อย่างในมณฑล มีการจัดระบบการเก็บภาษีอากร และดูแลกองทัพของจักรวรรดิ

ธ.
.ม
สธ ส
1-52 อารยธรรมมนุษย์

บรรณานุกรม


เฉลิม พงศ์อาจารย์. (2529). พื้นฐานอารยธรรมไทย. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.
ชิน อยู่ดี และสุด แสงวิเชียร. (2517). ก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน อดีต รวมเรื่องราวก่อน

. ประวัติศาสตร์. พระนคร: โรงพิมพ์พิฆเณศ.


สธ สธ
ณกมล ชาวปลายนา. (2539). พื้นฐานอารยธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

มส . มส
ธิดา สาระยา. (2554). ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
. (2539). อารยธรรมไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน. (2515). ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
นันทนา กปิลกาญจน์. (2550). ประวัติศาสตร์และอารยธรรมโลก (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
เพ็ชรี สุมิตร. (2520). ประวัติอารยธรรมอินเดีย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพ็ญศรี ภูมิถาวร และคณะ. (2555). อารยธรรมโลก (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง.
ภารดี มหาขันธ์. (2532). พื้นฐานอารยธรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
มานุษยวิทยาสิรธิ ร, ศูนย์ (รวบรวม). (2542). สังคมและวัฒนธรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ และคณะ. (2558). อารยธรรมตะวันออก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีสรุ างค์ พูลทรัพย์ (บรรณาธิการ). (2536). อารยธรรมตะวันออก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธ.

สนั่น เมืองวงษ์. (2520). ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์. พระนคร: โอเดียนสโตร์.


สุวรรณา สัจจวีรวรรณ. (2522). อารยธรรมตะวันออกและตะวันตก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง.
สุวรรณา สัจจวีวรรณ และคณะ. (2522). อารยธรรมตะวันออกและตะวันตก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2538). หินตั้งกับไหหินในลาว เป็นฝีมือ “ขมุ” หรือใครกันแน่?. ใน ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 17
ฉบับที่ 12 ธันวาคม 2538.
เอกชัย จันทรา. (2557). เมโสโปเตเมียถึงจักรวรรดิเปอร์เซียเส้นทางอารยธรรมยิง่ ใหญ่ของโลก. กรุงเทพฯ: ยิปซี.
.ม
Coedes, George. (1968). The Indianized States of Southeast Asia. Hawaii: East West center Press.
Magenis, Alice and Appel, John Conrad. (1963). History of the World. New Delhi: Eurasia
Publishing House.
http://arayatum007.blogspot.com/2012/09/blog-post.html สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2559.
http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=17&chap= 6&page =t17-6-l1.htm สืบค้นเมือ่
10 พฤษภาคม 2559.
http://museum.socanth.tu.ac.th/images/page5Online%20Exhibition/Klongratueng/KlongRaTueng
%20Ex.html สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2559.
https://th.wikipedia.org/wiki/เมโสโปเตเมีย สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2559.
https://th.wikipedia.org/wiki/ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559.
https://th.wikipedia.org/wiki/วัฒนธรรมดงเซิน สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2559.

You might also like