You are on page 1of 11

วิชาอุปกรณ์ไฟฟ้าและการควบคุม

เรื่อง
อุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบจำหน่าย

โดย
นาย คณิสสร ทองเชื้อ
รหัสนักศึกษา 116430421080-3 กลุ่ม 64342 EPE2

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาอุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบจำหน่าย
2. เพื่อเข้าใจ หน้าที่และหลักการทำงานของอุปกรณ์เหล่านั้น
3. รู้จักอุปกรณ์ในระบบจำหน่าย แรงดันปานกลาง หรือมากกว่า

ตารางที่ 1
อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าที่ควรรู้จัก มี ไม่มี หน้าที่
1.หม้อแปลง
2.ลูกถ้วยฉนวน
3.สายไฟฟ้า
4.เสาไฟฟ้า
5.กับดักฟ้าผ่า
6.ดรอปเอ้า ฟิวส์
7.อุปกรณ์ในการวัดค่ากำลังไฟฟ้าPT, CT
8.อื่นๆ
1

2 6

3 7

4 8

รูปที่ 1 เสาไฟฟ้าและหม้อแปลง
สถานที่ ข้างหอ THE WOOD

1. Overhead Ground Wire (สายกราวด์พาดอากาศ)


เป็นสายดินที่พาดอยู่บนส่วนยอดของเสา และอยู่เหนือสายสายส่ง สายนี้จะถูกต่อลงดินที่โคนเสาทุกๆต้น
สามารถลดแรงดันฟ้าเหนี่ยวนำเมื่อเกิดฟ้าผ่าได้และสามารถป้องกันผลที่เกิดจากการฟ้าผ่าได้โดยตรง คุณสมบัติ
สายดินนี้ต้องมีค่าความต้านทานที่ต่ำมากๆ (R<10 Ω) เป็นสายทองแดงหรือสายตีเกลียว
2. ลูกถ้วยแขวน (Suspension Insulator)
ด้านบนและล่างของจานลูกถ้วยจะมีข้อต่อห่วงโลหะสำหรับเกี่ยวยึดกันเป็นชั้นๆ สายตัวนำจะถูกยึดไว้ด้วย
suspension clamp ลูกถ้วยแขวนสามารถใช้กับเสาต้น dead end เพื่อรับสายไฟที่มีแรงดึงสูง จำนวนชั้นของลูก
ถ้วย ขึ้นอยู่กับระดับแรงดัน ยิ่งแรงดันสูงจำนวนชั้นก็ยิ่งมาก กรณีที่ลูกถ้วยชำรุดสามารถถอดเปลี่ยนเฉพาะตัวที่
ชำรุดได้ นิยมใช้มากในระบบแรงสูง โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้ลูกถ้วยแขวน 2 ขนาดคือเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 และ
10 นิ้ว มีทั้งแบบธรรมดาและแบบ anti – pollution
3. ดรอปเอาท์ฟิวส์ (DropOut Fuse Cutout)
เป็นอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้ในระบบจำหน่ายแรงสูง ทำหน้าที่ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือระบบจำหน่ายจาก
กระแสไฟฟ้าเกินพิกัด โดยมีฟิวส์ ลิงค์ (fuse link) เป็นตัวกำหนดพิกัดของโหลด การทำงานเป็นแบบ Expulsion
Principle จึงเรีย กเป็น Drop Out Fuse Cutout Expulsion Type การออกแบบจะดูตามความเหมาะสมกับ
สภาพใช้งาน โดยส่วนใหญ่จะใช้ในการป้องกันหม้อแปลงไฟฟ้าและสายเมนย่อยที่แยกจากสายเมนในระบบ
จำหน่ายที่มีกระแสไม่เกิน 100 แอมป์ หากโหลดมากและมีกระแสเกิน 100 แอมป์ ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันชนิดอื่น
แทน
4. หม้อแปลงแรงดัน (Potential Transformer or Voltage Transformer)
หม้อแปลงแรงดัน ไฟฟ้า (PT) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ ใช้ในการลดค่า แรงดันไฟฟ้า ที่ มีค่ าสูงให้ เ ป็ น
แรงดันไฟฟ้าที่มีค่าต่ำ ลง เป็นแรงดันไฟฟ้าที่ใช้งานจริงเพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องวัดแรงดันไฟฟ้า เมื่อแรงดันไฟฟ้า
ที่ต้องการวัดนั้นมีค่าสูงกว่าพิสัย (Range) ของเครื่องวัด เช่น โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter) เป็นต้น โดยอัตราส่วนของ
ด้านแรงดันสูง (High Voltage) คือด้าน Primary จะมีขนาดมาตรฐานเท่ากับแรงดันของสายเมน เช่น 220V,
440V, 2200V เป็น ต้น ซึ่งด้าน Primary และด้านแรงดันต่ำ (Low Voltage) คือด้าน Secondary โดยทั่วไป
มักจะมีขนาดแรงดัน เช่น 110V, 220V,380V เป็นต้น
5. สายเฟสในระบบจำหน่าย เฟส A
ระบบไฟ 3 เฟส (Three phase) เป็นระบบไฟที่ใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรม อาคารพาณิชย์ หรือที่พัก
อาศัยขนาดใหญ่เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ จะให้แรงดันไฟฟ้า 380 V ความถี่ไฟฟ้าที่ 50Hz. มีสายจำนวน 4 เส้น
จัดเป็นเส้นที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจำนวน 3 เส้น และเส้นที่ไม่ มีกระไฟฟ้าหรือเรียกว่าสายนิวทรัลจำนวน 1 เส้น
เนื่องจากระบบไฟฟ้า 3 เฟสเป็นระบบที่ให้ไฟฟ้าได้มากกว่าระบบไฟ 1 เฟส ถึง 3 เท่า ดังนั้นจึงนิยมนำไปใช้กับ
เครื่องจักรต่างๆใน โรงงานอุ ตสาหกรรม เพราะเครื่องจักรเหล่านี้มักมีขนาดใหญ่จึงต้องการแรงดันไฟฟ้าที่สูงและ
การให้แสงสว่างภายในโรงงานพร้อมกันหลายจุด
6. สายเฟสในระบบจำหน่าย เฟส B
7. สายเฟสในระบบจำหน่าย เฟส C
8. หม้อแปลงกระแส (Current Transformer)
หม้อแปลงกระแสไฟฟ้า (ซีที) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการลดทอนกระแสไฟฟ้าที่มีค่าสูงให้เป็นกระแสไฟฟ้าที่มี
ค่าต่ำเพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า เมื่อต้องการวัดกระแสไฟฟ้าที่มีค่าสูงกว่าพิสัย ( Range) ของ
เครื่องวัดกระแสไฟฟ้านั้น เช่น แอมป์มิเตอร์ (Ammeter) ที่ใช้งานทั่วไปจะสามารถวัดกระแสไฟฟ้าได้โดยตรงที่ 5A
เท่านั้น หากในกรณีที่ต้องการวัด กระแสไฟฟ้า ที่ มากกว่า 5A จำเป็นจะต้องต่อผ่าน CT โดย CT (Current
Transformer) จะทำหน้ า ที ่ ว ัด กระแสไฟฟ้ าทางด้ า นอิ นพุ ต (Input Current) และลดทอนกระแสไฟฟ้ าตาม
อัตราส่วน (Ratio) ของ CT แต่ละรุ่นโดยให้เหลือกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ 5A เช่น กระแสไฟฟ้าทางด้านอินพุตหรือ
ทางด้านปฐมภูมิ (Primary) 100A เมื่อต่อผ่าน CT (ตามรูปโครงสร้าง 1.2) แล้ว กระแสไฟฟ้าทางด้านเอาต์พุตหรือ
ทางด้านทุติยภูมิ (Secondary) จะลดลงเหลือเพียง 5A ตามอัตราส่วนของ CT แล้วนำไปต่อร่วมกับแอมป์มิเตอร์
Amp meter เพื่อวัดและแสดงค่ากระแสไฟฟ้า
9. หม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส (Three phase transformer)
หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นเครื่องกลไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนระดับแรงดันไฟฟ้าจากแรงดันสูงที่ต่ำกว่า
ตามความต้ อ งใช้ งานโดยทั่ว ไป SPEC หม้อแปลงเป็ นเพีย งการกำหนดพิ กั ดของหม้ อแปลงแต่ ไ ม่ ได้บ อกถึ ง
ประสิทธิภาพ ของหม้อแปลงได้อย่างถี่ถ้วนจากการวิเคราะห์ความเหมาะสมด้านเศรษฐศาสตร์ของหม้อแปลงไฟฟ้า
ประหยัดพลังงานพบว่าการสูญเสีย (Loss) ในหม้อแปลงเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าหม้อแปลงมีประสิทธิภาพอย่างไรและ
สามารถบอกระยะเวลาคืนทุนได้
โดยหมอแปลงไฟฟ้าประกอบด้วยขดลวด 2 ขด “ขดปฐมภูมิกับขดทุติยภูมิ พันอยู่รอบแกนเหล็ก (เป็น
แผนเหล็กจำนวนมากที่วางซ้อนทับกัน) ขดลวดทั้ง 2 ชนิดไม่ได้ต่อกันโดยตรงทางไฟฟ้าหากแต่ถูกกั้นห่างกันด้วย
ฉนวน เพื่อให้แรงดันไฟฟ้าไหลผ่านขดลดปฐมภูมิที่ขดลวดนี้จะเกิดเส้น แรงแม่เหล็ก และจะถูกส่งไปยังขดลวดทุติย
ภูมิโดยผ่านแกนเหล็ก ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าขึ้นที่ขดลวดทุติยภูมิสำหรับอัตราส่วนระหว่างแรงดันไฟฟ้าที่ขดลวด
ปฐมภูมิเทียมกับแรงดันไฟฟ้าที่เกิดที่ขดลวดทุติยภูมินั้น จะขึ้นอยู่กับอัตราส่วนจำนวนรอบที่พันของขดลวดทั้งสอง
สำหรับหม้อแปลงจำหน่ายที่ใช้งานทั่วไปของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น 2 ระบบคือ
1. ระบบ 1 เฟส 3 สาย มีใช้งาน 4 ขนาดคือ 10 KVA , 20 KVA , 30 KVA , 50 KVA
2. ระบบ 3 เฟส 4 สาย มีหลายขนาดได้แก่ 30, 50, 100, 160, 250, 315, 400, 500, 1000, 1250, 1500, 2500
KVA.
หม้อแปลงที่ติดตั้งเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าทั่วไปของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกำหนดให้ใช้ได้ตั้งแต่ขนาด 10 KVA. 1 เฟส
จนถึง 250 KVA. 3 เฟส (ยกเว้น 30 KVA. 3 เฟส) นอกเหนือจากนี้เป็นหม้อแปลงที่ติดตั้งให้ผู้ใช้ไฟเฉพาะราย

10

11

รูปที่ 2 เสาไฟฟ้าและหม้อแปลง (ต่อ)


สถานที่ หน้าหอ Magazine
10. กับดักฟ้าผ่า (Lighting Arrester)
บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ใช้ในระบบไฟฟ้าแรงดันปานกลาง (Medium Voltage) หรือ 1000 โวลท์ขึ้นไป เพื่อทำ
หน้าที่ป้องกันแรงดันเกิน (Overvoltage) ซึ่งอาจเกิดจากฟ้าผ่า (Lightning) หรือการปิด-เปิดวงจรของอุปกรณ์
(Switching Surge) การทำงานของ Lightning Arrester โดยทั่วไปในขณะแรงดันปกติ ตัว Lightning Arrester
จะมีอิมพีแดนซ์สูงมาก และมีกระแสรั่วไหล (Leakage Current) น้อยมาก แต่เมื่อเกิดแรงดันเกินอินพีแดนซ์ของ
Lightning Arrester จะมีค่าต่ำและช่วยให้กระแสที่เกิดจากฟ้าผ่า (Lightning Current) ไหลลงดินได้อย่างสะดวก
ซึ่งจะช่วยให้อุปกรณ์ที่ต่ออยู่หลัง Lightning Arrester จะไม่ได้รับอันตรายและปลอดภัยจากแรงดันเกิน
11. เสาไฟฟ้าคอนกรีต
เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการรองรับการติดตั้งสายไฟให้อยู่เหนือพื้นดิน ด้วยวิธีติดตั้งถ้วยยึดจับ
สายไฟฟ้า สำหรับเหตุผลที่ทำให้ต้องมีการพาดสายไฟไว้เหนือพื้นดินสูง ๆ ก็เนื่องจากว่าสายไฟฟ้าโดยทั่วไปนั้นเป็น
สายเปลือยที่มีอันตรายต่อผู้ที่ไปสัมผัสโดยไม่ตั้งใจ และถ้าหากเกิดความผิดปกติขึ้ นก็จะส่งผลกระทบอื่นๆ อีก
มากมาย โดยจากรูปจะเป็นเสาคอนกรีต 12 เมตร มักจะใช้งานกับการจำหน่ายแรงไฟฟ้าสูง บริเวณด้านบนของเสา
จะมีการติดตั้งคอนสายไว้ เพื่อรองรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 22-33 KV นอกจากนี้แล้ว ยังมีการติดตั้งหม้อแปลงและ
อุปกรณ์ต่าง ๆ แบบแขวนไว้อีกด้วย เสาคอนกรีต 12 เมตร มีน้ำหนักอยู่ที่ 1,265 กิโลกรัม มีความต้านทานโมเมนต์
ระดับดินตั้งแต่ 2,550 กิโลกรัมขึ้นไป สำหรับเสาคอนกรีต 12 เมตรรุ่นใหม่ จะมีสายดินแบบลวดตีเกลียว 25 ตมม.
ฝังอยู่ในเสาแล้วเรียบร้อย พร้อมติดตั้งได้ทันที
ลูกถ้วยแขวน

ดรอปเอำต์
ฟิ วส์ หม้อแปลงไฟฟ้ำ
Trio type
ล่อฟ้ำแรงต่ำ

ฟิ วส์สวิตช์แรงต่ำ

ลูกถ้วยไลน์โพสท์

รูปที่ 3 เสาไฟฟ้าและหม้อแปลง
สถานที่ หน้าเซเว่นติดถนนคลอง 5
Hot line clamp

ดรอปเอำต์ฟิวส์

ลูกถ้วยไลน์
โพสท์

หม้อแปลง
ไฟฟ้ำ 3 เฟส

ฟิ วส์สวิตช์
แรงต่ำ

รูปที่ 4 เสาไฟฟ้าและหม้อแปลง
สถานที่ ริมถนนคลอง 5
Bail clamp and
Hot line clamp

ลูกถ้วยไลน์โพสท์

ดรอปเอำต์ฟิวส์

หม้อแปลง
ไฟฟ้ำ 3เฟส

ฟิ วส์สวิตช์ แรค 4 ช่อง


แรงต่ำ

รูปที่ 5 เสาไฟฟ้าและหม้อแปลง
สถานที่ หน้าอพาร์ทเม้นต์ เดอะ พรีเมี่ยม
Lighting
arrester

ลูกถ้วยแขวน
หม้อแปลง
ไฟฟ้ำ 1 เฟส

Load break switch

รูปที่ 6 เสาไฟฟ้าและหท้อแปลง
สถานที่ ซอยไส้แตก

You might also like