You are on page 1of 101

โรงเรียนทหารม้า

วิชา การจัดดำเนินการการซ่อมบำรุง
เล่มที่ ๑
รหัสวิชา ๐๑๐๒๒๓๐๖๐๑
หลักสูตร พลประจำรถกู้และช่างเชื่อม
แผนกวิชายานยนต์ กศ.รร.ม.ศม.

ปรัชญา รร.ม.ศม.
“ฝึกอบรมวิชาการทหาร วิทยาการทันสมัย ธำรงไว้ซึ่งคุณธรรม”
ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์การดำเนินงานของสถานศึกษา เอกลักษณ์ อัตลักษณ์
๑. ปรัชญา
ทหารม้าเป็นทหารเหล่าหนึ่งในกองทัพบก ที่ใช้ม้าหรือสิ่งกำเนิดความเร็วอื่น ๆ เป็นพาหนะ เป็นเหล่าที่มีความสำคัญ
และจำเป็นเหล่าหนึ่ง สำหรับกองทหารขนาดใหญ่ เช่นเดี ยวกับเหล่าทหารอื่น ๆ โดยมีคุ ณลักษณะที่มีความ
คล่องแคล่ว รวดเร็วในการเคลื่อนที่ อำนาจการยิงรุนแรง และอำนาจในการทำลายและข่มขวัญ อันเป็น
คุณลักษณะที่สำคัญและจำเป็นของเหล่า โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า มีปรัชญาดังนี้
“ฝึกอบรมวิชาการทหาร วิทยาการทันสมัย ธำรงไว้ซึ่งคุณธรรม”
๒. วิสัยทัศน์
“โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้วิชาการเหล่าทหารม้าที่ทันสมัย
ผลิตกำลังพลของเหล่าทหารม้า ให้มีลักษณะทางทหารที่ดี มีคุณธรรม เพื่อเป็นกำลังหลักของกองทัพบก”
๓. พันธกิจ
๓.๑ วิจัยและพัฒนาระบบการศึกษา
๓.๒ พัฒนาคุณภาพครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
๓.๓ จัดการฝึกอบรมทางวิชาการเหล่าทหารม้า และเหล่าอื่นๆ ตามนโยบายของกองทัพบก
๓.๔ ผลิตกำลังพลของเหล่าทหารม้า ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
๓.๕ พัฒนาสื่อการเรียนการสอน เอกสาร ตำราของโรงเรียนทหารม้า
๓.๖ ปกครองบังคับบัญชากำลังพลของหน่วย และผู้เข้ารับการศึกษาหลักสูตรต่างๆ ให้อยู่บนพื้นฐาน
คุณธรรม จริยธรรม
๔. วัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
๔.๑ เพื่อพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้
ให้กับผู้เข้ารับการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔.๒ เพื่อพัฒนาระบบการศึกษา และจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
๔.๓ เพื่อดำเนินการฝึกศึกษา ให้กับนายทหารชั้นประทวน ที่โรงเรียนทหารม้าผลิต และกำลังพลที่เข้ารับ
การศึกษา ให้มีความรู้ความสามารถตามที่หน่วย และกองทัพบกต้องการ
๔.๔ เพื่อพัฒนาระบบการบริหาร และการจัดการทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๔.๕ เพื่อพัฒนาปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน เอกสาร ตำรา ให้มีความทันสมัยในการฝึกศึกษาอย่างต่อเนื่อง
๔.๖ เพื่อพัฒนา วิจัย และให้บริการทางวิชาการ ประสานความร่วมมือ สร้างเครือข่ายทางวิชาการกับ
สถาบันการศึกษา หน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒธรรม
๕. เอกลักษณ์
“เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ทางวิชาการ และผลิตกำลังพลเหล่าทหารม้าอย่างมีคุณภาพเป็นการ
เพิ่มอำนาจกำลังรบของกองทัพบก”
๖. อัตลักษณ์
“เด่นสง่าบนหลังม้า เก่งกล้าบนยานรบ”
สารบัญ

ลำดับ วิชา หน้า


1 ระบบซ่อมบำรุงของกองทัพบก 1
2 เอกสารซ่อมบำรุง 15
3 การซ่อมบำรุงทางธุรการ และ แบบพิมพ์ประวัติ 22
4 การส่งกำลังบำรุงชิ้นส่วนซ่อม 38
5 การระมัดระวังความปลอดภัย และ เครื่องดังเพลิง 90

...................................................
หน ้า |1

แผนกวิชายานยนต์ กองการศึกษา
โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
ค่ายอดิศร สระบุรี
----------
เอกสารนำ
วิชา ระบบซ่อมบำรุงของกองทัพบก
หมายเลขวิชา ยน………………
-----------------------
1. ข้อแนะนำในการศึกษา
วิชา ระบบซ่อมบำรุงของกองทัพบก จะทำการสอนแบบเชิงประชุมโดยมี ความมุ่งหมายเพื่อสอนให้
นักเรียนทราบถึงระบบการซ่อมบำรุงของกองทัพบกไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการซ่อมบำรุงขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2
ซึ่งเป็นการซ่อมบำรุงระดับหน่วย เพื่อให้นักเรียนเข้าใจในระบบ การซ่อมบำรุง และสามารถดำเนินงานการ
ตรวจสภาพ การกำกับดูแลกิจการซ่อมบำรุงในหน่วยได้
2. หัวข้อสำคัญในการศึกษา
2.1 ให้นักเรียนศึกษาระเบียบ ทบ.ว่าด้วยการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ พ.ศ. 2524 ลง 22 เม.ย.24 และคำสั่ง
ทบ.ที่ 200/9932 ลง 8 ส.ค.04 เรื่องหลักการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธในโครงการฯ
2.2 ให้นักเรียนทราบ
2.2.1 คำจำกัดความที่สำคัญ
2.2.2 หลักการซ่อมบำรุง
2.2.3 ประเภทการซ่อมบำรุง และขั้นการซ่อมบำรุง
2.2.4 ความรับผิดชอบในการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์
2.2.5 วิธีการปฏิบัติตามลำดับขั้นการซ่อมบำรุง
2.2.6 ความรับผิดชอบทางเทคนิค
2.2.7 การตรวจสภาพยุทโธปกรณ์ และการรายงานผลการตรวจ
2.2.8 การดัดแปลงแก้ไขยุทโธปกรณ์
2.2.9 ตารางประมาณเวลาการซ่อมบำรุง
3. งานมอบ ให้นักเรียนอ่าน
3.1 ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ พ.ศ.2524 ลง 22 เม.ย.24
3.2 คำสั่งกองทัพบก ที่ 200/9932 ลง 8 ส.ค.04
3.3 คำสั่งกองทัพบก ที่ 400/2507 ลง 9 พ.ย.07 และ คท.37 - 2810
3.4 เอกสารเพิ่มเติม
4. เอกสารจ่ายพร้อมเอกสารนำ: เอกสารเพิ่มเติม

***************
หน ้า |2

แผนกวิชายานยนต์ กองการศึกษา
โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
ค่ายอดิศร สระบุรี
----------
เอกสารเพิ่มเติม
วิชา ระบบซ่อมบำรุงของกองทัพบก
หมายเลขวิชา ยน…….
----------
1. กล่ า วนำ เหล่ า ทหารม้ า กองทั พ บกไทย มี อ าวุ ธ ยุ ท โธปกรณ์ ใช้ งานอยู่ ห ลายชนิ ด หลายประเภท
ยุทโธปกรณ์เหล่านี้จะต้องได้รับการซ่อมบำรุงที่ดีอย่างต่อเนื่องกัน เพื่อให้สามารถใช้ราชการได้ดี และมีอายุ
ยาวนานที่สุด ดังนั้นพลประจำยุทโธปกรณ์ เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องเข้าใจหลักการ
ซ่อมบำรุง และขอบเขตในการซ่อมบำรุงในหน่วยตามหน้าที่ซึ่งตนรับผิดชอบอยู่โดยถ่องแท้
2. ความมุ่งหมายและมาตรฐานที่ต้องการ เพื่อให้นักเรียนทราบระบบการซ่อมบำรุ งของกองทัพบกไทย ทุก
ประเภท และทุกขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซ่อมบำรุงระดับหน่วย ขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ซึ่งเป็น การซ่อม
บำรุงขั้นมูลฐาน จนสามารถดำเนินงานการซ่อมบำรุง ตรวจสภาพ และกำกับดูแลกิจการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์
ได้ อ ย่ างมี ป ระสิ ท ธิภ าพ เป็ น ไปตามคำสั่ ง ทบ.ที่ 200/9932 ลง 8 ส.ค.04, คำสั่ ง ทบ. ที่ 400/2507 ลง 9
พ.ย.07 และระเบียบ ทบ.ว่าด้วยการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ พ.ศ.2524 ลง 22 เม.ย.24
3. ระเบียบ และคำสั่ง ทบ. เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์
3.1 ให้ยกเลิกคำสั่ง ทบ.ที่ 337/24721 ลง 22 พ.ย. 98 เรื่อง การซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์ และยุทโธปกรณ์
3.2 ข้อความในระเบียบ คำสั่ง คำชี้แจงและคำแนะนำอื่นใดของ ทบ. ที่ขัดแย้งกับระเบียบนี้ หรือที่กำหนด
ไว้ในระเบียบนี้แล้ว ให้ใช้ข้อความในระเบียบนี้แทน
ตอนที่ 1
4. คำจำกัดความที่สำคัญ
4.1 ยุทโธปกรณ์ (Equipment) หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ (สป.) ที่จัดประจำบุคคล หรือประจำหน่วยตามที่
กำหนดไว้ในอัตราการจัดและยุทโธปกรณ์ (อจย.) ตามอัตราสิ่งอุปกรณ์ (อสอ.) หรือ ตามอัตราอื่นใด และ
หมายรวมถึงสิ่งอุปกรณ์ประเภท 4 สิ่งอุปกรณ์ในการพัฒนาและสิ่งอุปกรณ์ในความรับผิดชอบของคลังสายยุทธ
บริการ เว้นเครื่องบิน
4.2 การซ่อมบำรุง (Maintenance) หมายถึง การกระทำใด ๆ ที่มุ่งหมายจะรักษายุทโธปกรณ์ ต่าง ๆ ให้
อยู่ในสภาพที่ใช้การได้หรือมุ่งหมายที่จะทำให้ยุทโธปกรณ์ที่ชำรุดกลับคืนมาอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ และให้
หมายรวมถึงการตรวจสภาพ การทดสอบ การบริการ การซ่อมแก้ การซ่อมใหญ่ การซ่อมสร้าง การดัดแปลง
และการซ่อมคืนสภาพ
4.3 การตรวจสภาพ (Inspection) หมายถึง การพิจารณาถึงสภาพการใช้การได้ของยุทโธปกรณ์ โดยการ
เปรียบเทียบคุณลักษณะทางฟิสิกส์ ทางเคมี ทางจักรกล และทางไฟฟ้า ตาม มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้
4.4 การทดสอบ (Test) หมายถึง การพิสูจน์ทราบสภาพการใช้การได้ของยุทโธปกรณ์ และการ ค้นหา
ข้อบกพร่องทางไฟฟ้า ทางเคมี และทางจักรกล โดยการใช้เครื่องมือ หรือวิธีการทดสอบต่าง ๆ
4.5 การบริการ (Service) หมายถึง การทำความสะอาด การดูแลรักษาการประจุไฟฟ้า การเติมน้ำมัน
เชื้อเพลิง น้ ำมันหล่อลื่น การเติมสารระบบความเย็ น และการเติมลม การเติมก๊าซ นอกจากนั้น ยังหมาย
รวมถึงความต้องการบริการพิเศษต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นตามความจำเป็น เช่นการพ่นสี การหล่อลื่น ฯลฯ เป็นต้น
4.6 การซ่อมแก้ (Repair) หมายถึง การซ่อมยุทโธปกรณ์ชำรุ ดให้ใช้การได้และยังหมายรวมถึง การปรับ
การถอดเปลี่ยน การเชื่อม การย้ำ และการทำให้แข็งแรง
หน ้า |3

4.7 การซ่อมใหญ่ (Overhaul) หมายถึง การซ่อมยุทโธปกรณ์ที่ชำรุดให้ใช้การได้อย่างสมบูรณ์ โดยกำหนด


มาตรฐานการซ่อมบำรุงไว้เป็นเอกสารโดยเฉพาะการซ่อมใหญ่อาจกระทำให้เสร็จได้โดย การแยกส่วนประกอบ
การตรวจสภาพส่วนประกอบ การประกอบส่วนประกอบย่อย และชิ้นส่วนต่าง ๆ ทั้งนี้จะต้องมีการตรวจสภาพ
และทดสอบการปฏิบัติการประกอบด้วย
4.8 การซ่ อ มสร้า ง (Rebuild) หมายถึง การซ่ อ มยุท โธปกรณ์ ที่ ชำรุด ให้ ก ลับ คื น สู่ส ภาพมาตรฐาน อั น
ใกล้เคียงกับสภาพเดิม หรือเหมือนของใหม่ ทั้งในรูปร่าง คุณสมบัติในการทำงาน และอายุของการ ใช้งาน การ
ซ่อมสร้างอาจกระทำให้สำเร็จได้โดยการถอดชิ้นส่วนของยุทโธปกรณ์นั้นออก เพื่อนำไป ตรวจสภาพชิ้นส่วน
และส่วนประกอบ และทำการซ่อมแก้ หรือเปลี่ยนชิ้นส่วน และส่วนประกอบที่ชำรุด หรือใช้การไม่ได้แล้วนำมา
ประกอบเป็นยุทโธปกรณ์ชนิ้ ต่อไป
4.9 การดัดแปลงแก้ไข (Modification) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงยุทโธปกรณ์ตามคำสั่ง การดัดแปลงนี้
ต้องไม่เปลี่ยนลักษณะมูลฐานเดิมของยุทโธปกรณ์ เพียงแต่เพื่อเปลี่ยนภารกิจ หรือความ สามารถในการ
ทำงาน และเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้และเพื่อผลที่ต้องการตามแบบที่กำหนดให้เปลี่ยนแปลงนั้น
4.10 การซ่อมคืนสภาพ (Reclamation) หมายถึง การดำเนินกรรมวิธีซ่อมยุทโธปกรณ์ที่ใช้การไม่ได้
เลิ กใช้ ละทิ้ ง หรือ เสี ย หายแล้ วให้ ใช้ป ระโยชน์ ได้ หรือ ซ่ อ มชิ้น ส่วนส่ วนประกอบ หรือ องค์ ประกอบของ
ยุทโธปกรณ์เหล่านั้น ให้ใช้ประโยชน์ได้ และนำกลับคืนสายส่งกำลังต่อไป
4.11 การปรนนิบัติบำรุง (Preventive Maintenance) หมายถึง การดูแล และการให้บริการโดยเจ้าหน้าที่
เพื่อมุ่งประสงค์ที่จะรักษายุทโธปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี โดยจัดให้มีระบบการ
ตรวจสภาพ การตรวจค้น และการแก้ไขข้อบกพร่องก่อนที่จะเกิดขึ้น หรือก่อนที่
4.12 ถอดปรน (Canibilization) หมายถึ ง การถอดชิ้ น ส่ วน และส่ วนประกอบตามที่ ได้ รับ อนุ มั ติ จ าก
ยุท โธปกรณ์ ครบชุด หรือองค์ประกอบที่ เกี่ยวข้อง ซึ่ งสามารถซ่ อมได้แต่ไม่คุ้มค่ าหรือที่ จำหน่าย แล้ วเพื่ อ
นำไปใช้ประโยชน์ให้แก่ยุทโธปกรณ์อื่น
4.13 ยุบรวม (Control Exchange) หมายถึง การถอดชิ้นส่วนใช้การได้จากยุทโธปกรณ์หนึ่งไปประกอบกับ
อีกยุทโธปกรณ์หนึ่ง
5. หลักการซ่อมบำรุง
5.1 การซ่อมบำรุงต้องปฏิบัติตามคู่มือที่กรมฝ่ายยุทธบริการ หรือกรมฝ่ายกิจการพิเศษที่รับผิดชอบ
ได้ จั ด พิ ม พ์ ขึ้ น หรือ จั ด หามาแจกจ่ าย โดยให้ ท ำการซ่ อ มบำรุงได้ ไม่ เกิ น ที่ ก ำหนดไว้ และให้ สอดคล้ อ งกั บ
สถานการณ์ทางการยุทธ
5.2 การซ่อมแก้ ต้องพยายามกระทำ ณ ที่ ซึ่งยุทโธปกรณ์นั้นตั้งอยู่ เพื่อให้ยุทโธปกรณ์นั้นกลับใช้งานได้
โดยเร็ว
5.3 ยุทโธปกรณ์ที่ชำรุดเกิ นขีดความสามารถของหน่วยที่จะทำการซ่อมบำรุง ให้ส่งซ่อมที่หน่วยซ่อมบำรุง
ประเภทสูงกว่า หรือขอให้หน่วยซ่อมบำรุงที่สูงกว่ามาทำการซ่อมให้
5.4 ห้ามทำการซ่อมแบบยุบรวม เว้นแต่
5.4.1 ได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจให้กระทำได้ หรือ
5.4.2 ในกรณี ฉุกเฉิน และสถานการณ์ ทางยุทธวิธีบังคับ ซึ่งไม่สามารถที่จะติดต่อกับหน่วยที่มีหน้าที่
สนับสนุนได้รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ แต่ต้องรายงานให้ผู้มี อำนาจให้กระทำได้ทราบ โดยผ่านหน่วยสนับสนุน ใน
โอกาสแรกที่สามารถทำได้
6. ประเภทของการซ่อมบำรุง ให้แบ่งการซ่อมบำรุงออกเป็น 4 ประเภท 5 ขั้น ดังนี้
6.1 การซ่อมบำรุงระดับหน่วย (Unit Maintenance) ขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2
6.2 การซ่อมบำรุงสนับสนุนโดยตรง (Direct Support) ขั้นที่ 3
6.3 การซ่อมบำรุงสนับสนุนทั่วไป (General Support) ขั้นที่ 4
หน ้า |4

6.4 การซ่อมบำรุงระดับคลัง (Depot) ขั้นที่ 5


7. การซ่ อมบำรุ งระดั บ หน่ วย คื อ การซ่ อมบำรุงยุ ท โธปกรณ์ ที่ อ ยู่ในความครอบครองของหน่ วยที่ ใช้
ยุ ท โธปกรณ์ นั้ น โดยผู้ ใช้ ห รือ พลประจำยุ ท โธปกรณ์ และช่ างซ่ อ มของหน่ วย การซ่ อ มบำรุ งประเภทนี้
ประกอบด้วย การตรวจสภาพ การทำความสะอาด การบริการ การรักษา การหล่อลื่น การปรับ ตามความ
จำเป็น การเปลี่ยนชิ้นส่วนซ่อม เล็ก ๆ น้อย ๆ การซ่อมบำรุงระดับหน่วย จะกระทำอย่างจำกัด ตามคู่มือหรือ
คำสั่ง หรือผังการซ่อมบำรุง (Maintenance Allocation Chart) ที่อนุญาตให้กระทำได้ในระดับนี้
8. การซ่ อ มบำรุ งสนั บ สนุ น โดยตรง คื อ การซ่ อ มบำรุงที่ อ นุ มั ติ ให้ ก ระทำต่ อ ยุ ท โธปกรณ์ ที่ อ ยู่ ในความ
รับผิดชอบการซ่อมบำรุงของหน่วยสนับสนุนโดยตรงซึ่งเป็นหน่วยที่กำหนดขึ้นตามอัตราการจัดและยุทโธปกรณ์
(อจย.) หรือ อัตราเฉพาะกิจ (อฉก.) และบ่งถึงภารกิจการซ่อมบำรุงดังกล่าวไว้ การซ่อมบำรุงสนับสนุนโดยตรง
เป็นการซ่อมแก้อย่างจำกัดต่อยุทโธปกรณ์ครบชุดหรือซ่อมแก้ส่วนประกอบที่ใช้งานไม่ได้ รวมทั้งการซ่อม และ
การเปลี่ยนส่วนประกอบย่อย (Subassemblies) และส่วนประกอบธรรมดา (Assemblies)
9. การซ่อมบำรุงสนับสนุนทั่วไป คือ การซ่อมแก้ยุทโธปกรณ์ที่ใช้งานไม่ ได้ ที่เกินขีดความสามารถ ของการ
ซ่อมบำรุงสนับสนุนโดยตรงเพื่อส่งกลับเข้าสายการส่งกำลังหรือเพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยน โดยตรง (Direct
Exchange) รวมทั้งทำการซ่อมส่วนประกอบใหญ่ และส่วนประกอบย่อยเพื่อส่งเข้าสายการส่งกำลัง
10. การซ่อมบำรุงระดับคลัง คือ การซ่อมบำรุงโดยหน่วยซ่อมขั้นคลังของกรมฝ่ายยุทธบริการ ซึ่งจะทำการ
ซ่อมใหญ่ยุทโธปกรณ์ที่ใช้งานไม่ได้ ให้กลับคืนอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ตามคู่มือทางเทคนิค หรือ
ทำการซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์ให้อยู่ในสภาพเหมือนของใหม่
11. หน้าที่ และความรับผิดชอบ การซ่อมบำรุงระดับหน่วย เป็นความรับผิดชอบของผู้บังคับหน่วย หน่วย
ใช้ยุทโธปกรณ์นั้น จะต้องจัดให้มีการดำเนินการ ดังนี้
11.1 ทำการปรนนิ บั ติ บ ำรุ ง ยุ ท โธปกรณ์ ต ามคู่ มื อ การปรนนิ บั ติ บ ำรุ ง หรื อ คำสั่ ง การหล่ อ ลื่ น สำหรั บ
ยุทโธปกรณ์ชนิดนั้นโดยเคร่งครัด
11.2 ทำการซ่อมบำรุงระดับหน่วยตามที่กำหนดไว้ในคู่มือทางเทคนิค หรือตามที่สายยุทธบริการ กำหนดให้
กระทำ
11.3 ถ้ายุทโธปกรณ์ชำรุด หรือจำเป็นต้องปรนนิบัติบำรุงเกินกว่าที่กำหนดไว้ ให้ส่งไปรับการ ซ่อม หรือรับ
การปรนนิบัติบำรุงที่หน่วยสนับสนุนโดยตรง
11.4 ก่อนยุทโธปกรณ์ไปดำเนินการตาม ข้อ 11.3 ให้หน่วยใช้แจ้งให้หน่วยสนับสนุนโดยตรง ทราบก่อนเมื่อ
ได้รับแจ้งให้ส่งยุทโธปกรณ์ไปทำการซ่อมแล้วจึงจัดส่งไป
ในกรณีที่หน่วยสนับสนุนโดยตรงสามารถส่งชุดซ่อมมาซ่อมยังหน่วยใช้ได้ ก็อาจจะส่งชุดซ่อม มาทำการ
ซ่อมให้ ทั้งนี้หน่วยสนับสนุนโดยตรงจะต้องพิจารณาถึงการประหยัด และสถานการณ์ด้วย
11.5 ก่อนส่งยุทโธปกรณ์ไปซ่อมที่หน่วยสนับสนุนโดยตรง หน่วยใช้จะต้องทำการปรนนิบัติบำรุง และทำ
การซ่อมบำรุงในขั้นของตนให้เรียบร้อยเสียก่อน
11.6 ชิ้นส่วนซ่อมตามอัตราพิกัด เมื่อใช้ไปแล้วให้ทำการเบิกทดแทนไปยังหน่ วยสนับสนุนโดย ตรงทันที
การเบิกให้ปฏิบัติตามระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ประเภท 2 และ 4
11.7 การส่งยุทโธปกรณ์ไปซ่อมให้ปฏิบัติตามระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการ รับ-ส่ง สิ่งอุปกรณ์ พ.ศ.2500
11.8 ในการซ่อมบำรุงหรือการปรนนิบัติบำรุงขั้นหน่วยนั้นพลประจำยุทโธปกรณ์มีหน้าที่ช่วยเหลือ ช่างซ่อม
ของหน่วย
11.9 ขอบเขตของการซ่อมบำรุง ให้ปฏิบัติตามคู่มือ คำสั่ง หรือระเบียบที่กำหนดไว้เป็น รายยุทโธปกรณ์
12. การซ่อมบำรุงสนับสนุนโดยตรง ผู้บังคับหน่วยซ่อมบำรุงสนับสนุนโดยตรงมีหน้าที่รับผิดชอบการ ซ่อ ม
บำรุงยุทโธปกรณ์ที่ส่งมาซ่อมยังหน่วยของตน และมีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งกำลังชิ้นส่วนซ่อม หน่วยซ่อม
บำรุงสนับสนุนโดยตรงต้องให้การสนับสนุนโดยใกล้ชิดต่อหน่วยใช้ดังนี้
หน ้า |5

12.1 ทำการซ่อมยุทโธปกรณ์ที่หน่วยใช้ ในความรับผิดชอบส่งมาซ่อม


12.2 พิจารณาจัดชุดซ่อมเคลื่อนที่ไปทำการซ่อม ณ ที่ตั้งหน่วยใช้ถ้าสามารถทำได้ และประหยัดกว่า การ
ให้หน่วยใช้ยุทโธปกรณ์มาซ่อมที่หน่วยสนับสนุนโดยตรง หรือซ่อมโดยการแลกเปลี่ยนโดยตรง
12.3 ให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่หน่วยใช้ เพื่อลดข้อขัดข้อง และทำให้เครื่องมือปฏิบัติงาน ได้ดีขึ้น
12.4 ช่วยเหลือหน่วยใช้ในการหาสาเหตุข้อขัดข้องของยุทโธปกรณ์
12.5 ทำการกู้ซ่อมยุทโธปกรณ์ของหน่วยใช้ เมื่อได้รับการร้องขอ
12.6 ทำการซ่อมแบบยุบรวม เมื่อจำเป็น และได้รับอนุมัติแล้ว
12.7 สนับสนุนชิ้นส่วนซ่อมตามอัตราพิกัด และชิ้นส่วนซ่อมตามความต้องการ ให้แก่หน่วยใช้
12.8 ยุทโธปกรณ์ที่ซ่อมเสร็จแล้วให้ส่งกลับคืนหน่วยใช้การส่งคื นให้ปฏิบัติตามระเบียบกองทัพบก ว่าด้วย
การรับสิ่งอุปกรณ์ พ.ศ.2500 หรือส่งไปเป็นสิ่งอุปกรณ์สำรองการซ่อม (Maintenance Float) ในกรณีที่ได้ทำ
การซ่อม โดยการแลกเปลี่ยนกับหน่วยใช้
12.9 รักษาระดับการสะสมชิ้นส่วนซ่อมตามที่ได้รับอนุมัติ (ASL)
12.10 ขอบเขตการซ่อมบำรุงให้ปฏิบัติตามคู่มือระเบียบหรือคำสั่งที่กำหนดไว้เป็นราย ยุทโธปกรณ์
13. การซ่อมบำรุงสนับสนุนทั่วไป ผู้บังคับหน่วยซ่อมบำรุงสนับสนุนทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบในการสนับสนุน
หน่วยซ่อมบำรุงสนับสนุนโดยตรง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขอบเขตหน้าที่ของหน่วยซ่อมบำรุงสนับสนุนทั่วไป มี
ดังนี้
13.1 รับยุทโธปกรณ์เพื่อทำการซ่อม หรือทำการซ่อมใหญ่จากหน่วยซ่อมบำรุงสนับสนุนโดยตรง จากตำบล
รวบรวมหน่วยส่งกำลัง และหน่วยอื่น ๆ ที่มีความรับผิดชอบในการซ่อมบำรุง
13.2 ทำการซ่อมใหญ่
13.3 ส่งยุทโธปกรณ์ที่ซ่อมเสร็จแล้ว เข้าสายการส่งกำลัง
14. การซ่อมบำรุงระดับคลัง ดำเนินการซ่อมบำรุงโดยหน่วยที่มีหน้าที่ซ่อมตามอัตราการจัดให้ทำการ ซ่อม
บำรุงระดับคลัง โดยกรมฝ่ายยุทธบริการหรือกรมฝ่ายกิจการพิเศษนั้น เป็นผู้รับผิดชอบการซ่อม บำรุงระดับ
คลัง ให้ดำเนินการ ดังนี้
14.1 กรมฝ่ายยุทธบริการเป็นผู้พิจารณาว่ายุทโธปกรณ์ใดที่มีอยู่ในความรับผิดชอบของตน จะมี การซ่อม
ระดับคลัง
14.2 ทำการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ให้ได้มาตรฐาน ตามที่ได้กำหนดไว้ใ นคู่มือประจำยุทโธปกรณ์ นั้น หรือ
ตามคูม่ ือของบริษัทผู้ผลิต
14.3 กรมฝ่ ายยุท ธบริการรับ ผิ ดชอบพิ จารณากำหนดแนวความคิ ดในการซ่ อมบำรุงระดับ คลังเมื่ อ ได้
แจกจ่ายยุทโธปกรณ์นั้นให้หน่วยใช้ โดยกำหนดว่าจะต้องทำการซ่อมบำรุงระดับคลังเมื่อใด
14.4 ยุทโธปกรณ์ที่จะนำมาซ่อมนี้ค่าซ่อมไม่ควรเกิน 65% ของราคาจัดหาใหม่
14.5 กรมฝ่ายยุทธบริการรับผิดชอบการวางแผนในรายละเอียด ได้แก่ จำนวนยุทโธปกรณ์ที่จะ เข้ารับการ
ซ่อม ความต้องการชิ้นส่วนซ่อม ตลอดจนแผนการซ่อมโดยต้องจัดทำให้แล้วเสร็จก่อนถึง กำหนดการซ่อมไม่
น้อยกว่า 3 ปี และให้เสนอความต้องการในการซ่อมเข้ารับการจัดสรรงบประมาณ
ล่วงหน้า 3 ปี
14.6 เมื่อซ่อมเสร็จแล้วให้ส่งขึ้นบัญชีคุมของกรมฝ่ายยุทธบริการ เพื่อการแจกจ่ายใหม่
15. กรมฝ่ายยุทธบริการ และกรมฝ่ายกิจการพิเศษ ที่รับผิดชอบสิ่งอุปกรณ์ ตามระเบียบกองทัพบก ว่า
ด้วยความรับผิดชอบในสิ่งอุปกรณ์ พ.ศ.2518 มีหน้าที่ และความรับผิดชอบในการซ่อมบำรุง ดังนี้
15.1 กำหนดหลักการ และคำสั่ง หรือคำแนะนำทางเทคนิค ได้แก่
15.1.1 แผนผังการแบ่งมอบการซ่อมบำรุงระดับต่าง ๆ ( Maintenance Allocation Chart )
15.1.2 คู่มือการใช้ยุทโธปกรณ์
หน ้า |6

15.1.3 คู่มือทางเทคนิค
15.1.4 คำสั่งการหล่อลื่น
15.1.5 คำสั่งการดัดแปลงยุทโธปกรณ์
15.1.6 คำแนะนำทางเทคนิคเกี่ยวกับคุณลักษณะและการใช้เครื่องมือเครื่องทดสอบและเครื่องอุปกรณ์
15.1.7 คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคของการซ่อมบำรุง วิธีดำเนินการ และการวางผังโรงงานซ่อม
15.1.8 บัญชีรายชื่อชิ้นส่วนซ่อมที่ใช้ในการซ่อมบำรุงทุกประเภท
15.2 ตรวจสอบทางเทคนิคเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ของหน่วยต่าง ๆ
15.3 ให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำแก่ผู้บังคับหน่วยทหาร ในเรื่องที่เกี่ยวกับการซ่อมบำรุง ระดับหน่วย
การซ่อมบำรุงสนับสนุนโดยตรงและการซ่อมบำรุงสนับสนุนทั่วไป
15.4 ทำการตรวจการซ่อมบำรุงให้เป็นไปตามที่ระเบียบการซ่อมบำรุงกำหนดไว้
16. ผู้บัญชาการกองพล รับผิดชอบการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ ของหน่วยซ่อมบำรุงในกองพล
17. ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบ รับผิดชอบการซ่อมบำรุงของหน่วยซ่อมบำรุงสนับสนุนทั่วไป
18. แม่ทัพภาค รับผิดชอบการซ่อมบำรุงเป็นส่วนรวมในกองทัพภาคของตน
19. กรมฝ่ายยุทธบริการ รับผิดชอบทางเทคนิคทั้งปวง และการซ่อมบำรุงระดับคลัง
20. ให้กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก รักษาการณ์ให้เป็นไปตามระเบียบนี้
หน ้า |7

ตอนที่ 2
ความรับผิดชอบในการซ่อมบำรุง
21. กล่าวทั่วไป ความรับผิดชอบในการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ มีดังต่อไปนี้
21.1 ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาทุกชั้นจะต้องสอดส่องดูแลกวดขันจนเป็นที่ แน่ใจ
ว่ายุทโธปกรณ์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับการปรนนิบัติบำรุง และซ่อมบำรุงให้อยู่ใน
สภาพใช้การได้ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังจะต้องควบคุมดูแลให้การระวังรักษา และการใช้ ยุทโธปกรณ์เป็นไป
โดยถูกต้องอีกด้วย
21.2 ความรั บ ผิ ด ชอบโดยตรง ความรั บ ผิ ด ชอบโดยตรง ซึ่ ง แตกต่ า งไปจากความรั บ ผิ ด ชอบของ
ผู้บังคับบัญชานั้น ได้แก่ความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับมอบโดยตรงแบ่งออกได้ดังนี้
21.2.1 ความรับผิดชอบส่วนบุคคล ได้แก่ความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับมอบยุทโธปกรณ์ไว้ใช้ประจำ
และอยู่ภายใต้การระวังรักษาของผู้นั้นโดยตรง
21.2.2 ความรับผิดชอบทางกำกับการ ได้แก่ความรับผิดชอบของผู้บังคับหน่วยซึ่งมีต่อยุทโธปกรณ์ที่
อยู่ในความดูแลของตน
22. การปรนนิบัติบำรุงยุทโธปกรณ์
22.1 ผู้ บั งคั บ บั ญ ชาทุ กชั้ น จะต้ องรับ ผิ ดชอบในการควบคุ ม ดูแ ลให้ ผู้ใต้ บั ง คั บ บั ญ ชาของตนปฏิ บั ติ ตาม
คำแนะนำ และระเบียบปฏิบัติอันเกี่ยวกับการปรนนิบัติบำรุง โดยเคร่งครัด และจะต้องรับผิดชอบในการ
ควบคุมกำกับการให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาของตนซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ใช้ผู้สอน หรือพลประจำยุทโธปกรณ์ ต่าง ๆ
ได้รับการฝึกจนสามารถปรนนิบัติบำรุงยุทโธปกรณ์ที่ได้รับมอบได้โดยถูกต้องเรียบร้อยกับต้องรับผิดชอบในการ
กำหนดเวลาสำหรับทำการปรนนิบัติบำรุงให้เพียงพอแก่ความจำเป็นอีกด้วย
22.2 เมื่อการปรนนิบัติบำรุงยุทโธปกรณ์ไม่อาจกระทำได้โดยพลประจำยุทโธปกรณ์นั้น ๆ ด้วย เหตุใดก็ดี ผู้
บังคับหน่วยจะต้องจัดเจ้าหน้าที่ผู้อื่น หรือชุดอืน่ ให้ทำการปรนนิบัติบำรุงตามความจำเป็น
22.3 ผู้บังคับบัญชาทุกชั้นต้องรับผิดชอบ ในการป้องกันมิให้มีการใช้ยุทโธปกรณ์ในทางที่ผิด เมื่อ ปรากฏ
หลักฐานซึ่งแสดงว่ามีการใช้ยุทโธปกรณ์ในทางที่ผิดขึ้น ต้องดำเนินการสอบสวน และแก้ไขทันที การใช้
ยุทโธปกรณ์ในทางที่ผิดทั่วไปมีดังนี้
22.3.1 ใช้ไม่ถูกต้องเหมาะสมกับคุณลักษณะ หรือวิธีการใช้ยุทโธปกรณ์ไม่ระมัดระวังใช้ หรือปฏิบัติการ
โดยประมาท
22.3.2 ขาดการหล่อลื่น หล่อลื่นมากเกินไปหรือใช้วัสดุหล่อลื่นที่ทางราชการมิได้กำหนด ให้ใช้
22.3.3 ไม่ตรวจสภาพการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ให้พอเพียงแก่ความจำเป็น
22.3.4 บกพร่องในการซ่อมบำรุง รวมทั้งขาดการบริการ และการปรับที่ถูกต้อง
22.3.5 ให้ผู้ที่ปราศจากคุณวุฒิทำการซ่อมแก้ และใช้เครื่องมือ หรือเครื่องอุปกรณ์ในการซ่อมไม่ถูกต้อ ง
เหมาะสม
22.3.6 ไม่มอบหมายความรับผิดชอบโดยตรงในการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์
23. วิธีการปฏิบัติตามลำดับขั้นการซ่อมบำรุง
23.1 การปฏิบัติการซ่อมบำรุงขั้นที่ 1
23.1.1 ปฏิบัติในหน่วยระดับหมวด โดยผู้ใช้ (พลขับ และพลประจำรถ)
23.1.2 ทำการปรนนิบัติบำรุงประจำวันและประจำสัปดาห์
23.1.3 ใช้ตารางการปบ.การตรวจ และการบริการในคู่มือพลประจำยุทโธปกรณ์แต่ละชนิด ร่วมกับแบบ
พิมพ์ สพ.110 (ทบ.468-310) บัตรการใช้รถประจำวันเป็นแนวทางในการปรนนิบัติบำรุง
23.2 การปฏิบัติการซ่อมบำรุงขั้นที่ 2 ระดับกองร้อย
หน ้า |8

23.2.1 ทำการปรนนิบัติบำรุงโดยใช้เครื่องมือประจำหน่วย ชิ้นส่วนซ่อมและอุปกรณ์ที่มีอยู่ตามอัตรา


ของหน่วย
23.2.2 ปรนนิบัติบำรุง 1,000 ไมล์(ประจำเดือน)สำหรับยานยนต์ล้อ และ 250 ไมล์ (ประจำเดือน)
สำหรับยานยนต์สายพาน ตามที่ กำหนดไว้ ในตารางการปบ.การตรวจและการบริการในคู่มือ -20 ทำการ
เปลี่ยนชิ้นส่วนซ่อมย่อย การปรับต่าง ๆ และการซ่อมแก้ย่อย การกู้รถในสนามและ การส่งกลับ ตลอดจนกำกับ
ดูแลพลขับหรือพลประจำยุทโธปกรณ์ในการปรนนิบัติบำรุงขั้นที่ 1
23.2.3 ใช้แบบพิมพ์ในการปรนนิบัติบำรุงดังนี้
- แบบพิมพ์ สพ.460 (ทบ.468-360) เป็นแบบพิมพ์กำหนดการปรนนิบัติบำรุงยุทธภัณฑ์
- แบบพิมพ์ สพ.461 (ทบ.468-361) เป็นแบบพิมพ์รายการ ปบ. และตรวจสภาพทางเทคนิคของ
ยานยนต์ล้อ
- แบบพิมพ์ สพ.462 (ทบ.468-362) เป็นแบบพิมพ์รายการ ปบ. และตรวจสภาพทางเทคนิคของ
ยานยนต์สายพาน
- ซองประวัติยุทธภัณฑ์ สพ.478 (ทบ.468-378)
23.3 การปฏิบัติการซ่อมบำรุงขั้นที่ 2 ระดับกองพัน
23.3.1 ทำการปรนนิบัติบำรุงโดยใช้ชุดเครื่องมือประจำหน่วย ชิ้นส่วนซ่อม และอุ ปกรณ์ที่มีอยู่ตาม
อัตราของหน่วย และใช้แบบพิมพ์เช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในข้อ 23.2.3
23.3.2 ปรนนิบัติบำรุงประจำ 6,000 ไมล์ (6 เดือน) สำหรับรถล้อ และ 750 ไมล์ (3 เดือน) สำหรับยาน
ยนต์สายพาน ตามที่กำหนดไว้ในตารางการปบ.การตรวจและการบริการในคู่มือ -20 ทำการเปลี่ยนชิ้นส่วนซ่อม
การปรับต่าง ๆ การซ่อมแก้ การกู้รถในสนาม การส่งกลับ และงานพิเศษที่กองร้อยขอรับการสนับสนุน
23.4 การปฏิบัติการซ่อมบำรุงขั้นที่ 3
23.4.1 ปฏิบัติการซ่อมโดยโรงซ่อมเคลื่อนที่ของหน่วยสรรพาวุธ และสะสมชิ้นส่วนซ่อม ตามที่กำหนด
ไว้ และตามสถิติการใช้
23.4.2 ทำการซ่อมแก้ ยุทโธปกรณ์ที่ส่งซ่อม เพื่อคืนให้หน่วยใช้ เปลี่ยนชิ้นส่วนใหญ่ และชิ้นส่วนย่อย
จัดหน่วยตรวจเมื่อผู้บังคับบัญชาต้องการความสนับสนุน และจ่ายชิ้นส่วนซ่อมให้กับหน่วยซ่อมขั้นต่ำกว่า ทำ
การกู้รถในสนาม ตลอดจนการส่งกลับภายในเขตจำกัด
23.5 การปฏิบัติการซ่อมบำรุงขั้นที่ 4
23.5.1 ปฏิบัติการซ่อมโดยโรงซ่อมกึ่งเคลื่อนที่ และสะสมชิ้นส่วนซ่อมของยุทโธปกรณ์ทุกชนิดสำหรับ
จ่ายให้หน่วยซ่อมขั้นต่ำกว่า
23.5.2 ทำการซ่อมชิ้นส่วนย่อย ส่วนประกอบใหญ่ เพื่อส่งคืนให้ห น่วยใช้ตามสายการส่ง กำลัง หรือ
เพื่อส่งคืนเข้าคลัง และให้การสนับสนุนหน่วยซ่อมขั้นต่ำกว่าโดยใกล้ชิด
23.6 การปฏิบัติการซ่อมบำรุงขั้นที่ 5
23.6.1 ปฏิบัติการซ่อมโดยโรงงานประจำที่ในเขตภายในโดยการซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์ และสนับสนุน
สายการส่งกำลังโดยส่งเข้าคงคลัง
23.6.2 จัดหาชิ้นส่วนซ่อม และยุทโธปกรณ์เพื่อจ่ายให้กับหน่วยซ่อมขั้นต่ำกว่าให้มีใช้อยู่ ตลอดเวลา
หน ้า |9

ตอนที่ 3
ความรับผิดชอบทางเทคนิค
24. กล่ า วทั่ ว ไป กรมสรรพาวุ ธ ทหารบกมี ห น้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบทางเทคนิ ค เกี่ ย วกั บ การซ่ อ มบำรุ ง บำรุ ง
ยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ
25. หลักการทางเทคนิค
25.1 กรมสรรพาวุธทหารบก มีหน้าที่กำหนดการทางเทคนิคเกี่ยวกับ การซ่อมบำรุงตามที่ได้ รับมอบ
อำนาจจากกองทัพบก ซึ่งได้แก่การจัดทำ
25.1.1 คู่มือทางเทคนิค
25.1.2 คำสั่งการใช้น้ำมันหล่อลื่น
25.1.3 คำสั่งดัดแปลงแก้ไขยุทโธปกรณ์
25.1.4 คำแนะนำทางเทคนิคเกี่ยวกับเครื่องมือ เครื่องทดสอบ และเครื่องอุปกรณ์ในโรงซ่อม
25.1.5 คำแนะนำในการใช้ เครื่องมือ เครื่องทดสอบ และเครื่องอุปกรณ์ในโรงซ่อม
25.1.6 คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคของการซ่อมบำรุง วิธีดำเนินการ และการวางผังโรงซ่อม
25.1.7 บัญชีรายชื่อชิ้นอะไหล่ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงทุกประเภท และทุกขั้น
25.2 การปฏิ บั ติ ตามหลั กการทางเทคนิ คที่ กรมสรรพาวุธทหารบกได้ ออกไว้แล้ว เป็ น หน้ าที่ และความ
รับผิดชอบของผู้บังคับหน่วยทุกขั้นที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงที่จะต้องควบคุมดูแลให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติ
ตามโดยเคร่งครัด และถูกต้อง
25.2.1 คำสั่งการหล่อลื่น และคู่มือทางเทคนิคเกี่ยวกับการใช้ยุทโธปกรณ์นั้น มีอำนาจบังคับเหนือคำสั่ง
หรือคำแนะนำใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าสามารถปฏิบัติได้ให้ปิดหรือเก็บไว้กับยุทโธปกรณ์นั้น ๆ หรือ เก็บไว้ ณ ที่ ๆ จะ
ปฏิบัติการซ่อมบำรุงในหน่วยโดยให้สามารถหยิบใช้ได้ทันที
25.2.2 เจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจสภาพจะต้องตรวจคำสั่งหล่อลื่น และคู่มือฯ เหล่านี้ว่าหน่วยมีใช้อยู่ครบ
ครันเพียงใด และได้ใช้คำสั่งหล่อลื่นกับ คู่มือทางเทคนิคตามวัตถุประสงค์หรือไม่แล้วให้บันทึกลงในรายงานผล
การตรวจสภาพด้วย
25.2.3 นอกจากนั้ น ผู้ บั ง คั บ หน่ ว ยทุ ก ระดั บ อาจกำหนดวิ ธี ป ฏิ บั ติ ป ลี ก ย่ อ ยเพื่ อ ให้ เหมาะสมกั บ
สถานการณ์ หรือสภาพของหน่วยแต่ละหน่วยขึ้นใช้ เป็นการภายในได้แต่ทั้งนี้ต้องไม่ขัดต่อหลักการทางเทคนิค
ซึ่งกรมสรรพาวุธทหารบกได้กำหนดไว้
26. การกำกับดูแลทางเทคนิค
26.1 เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก นอกจากจะเป็นผู้รับผิดชอบในการซ่อมบำรุงประจำที่แล้ว ยังต้อง
รับผิดชอบในการตรวจสอบทางเทคนิคเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ของหน่วยต่าง ๆ ใน กองทัพบกด้วย
การตรวจสอบทางเทคนิคของการซ่อมบำรุงนี้ได้แก่ การวางมาตรฐานเกี่ยวกับสภาพใช้ การของยุทโธปกรณ์
ความสิ้นเปลืองในการซ่อม ระเบียบปฏิบัติในการตรวจสภาพที่แสดงให้เห็นผลของ การซ่อมบำรุงประจำหน่วย
ในสนามประจำที่ และสภาพใช้การของยุทโธปกรณ์ได้โดยแน่ชัด
26.2 เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบกจะต้องให้ความช่วยเหลือ และคำแนะนำแก่ผู้บังคับหน่วยทหาร ในเรื่อง
เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงประจำหน่วย และในสนาม
26.3 เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก หรือผู้แทน จะต้องออกตรวจเพื่อให้ความช่วยเหลือแนะนำแก่ หน่วย
สรรพาวุธซ่ อมบำรุงในสนาม โดยความมุ่ งหมายที่ จะทำให้ ห น่วยสรรพาวุธซ่ อมบำรุงในสนาม สามารถ
ดำเนินการตามภารกิจ โดยมีประสิทธิภาพสูงที่สุดทั้งนี้ให้กระทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
26.4 ให้เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก หรือผู้แทนไปตรวจเยี่ยมหน่วยต่าง ๆ ตามความจำเป็นให้ ทราบสภาพ
ยุทโธปกรณ์ สายสรรพาวุธ สภาพการปรนนิบัติบำรุงสภาพการซ่ อมบำรุง และสภาพการส่ง กำลังในส่วนที่
ห น ้ า | 10

เกี่ยวข้องกับยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ ทั้งนี้ให้หน่วยต่าง ๆ ให้ความร่วมมือ และชี้แจง ข้อเท็จจริงในเรื่องที่


เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 4
การตรวจสภาพยุทโธปกรณ์ และการรายงานผลการตรวจ
27. กล่าวทั่วไป
ผู้บังคับหน่วยทุกขั้นมีอำนาจทำการตรวจสภาพยุทโธปกรณ์ของหน่วยภายใต้การบังคับบัญชา และใช้ผล
การตรวจสภาพนี้เป็นเครื่องวัดสภาพอันแท้จริงของยุทโธปกรณ์ และประสิทธิภาพในการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์
ในหน่วยใต้บังคับบัญชาของตน การตรวจสภาพซึ่งทุกหน่วยต้องได้รับการตรวจอย่างเป็นทางการและต้องมี
รายงานผลการตรวจเป็นลายลักษณ์อักษรตามที่กองทัพบกได้กำหนดไว้โดยละเอียดนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ
27.1 การตรวจสภาพการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธโดยผู้บังคับบัญชา
27.2 การตรวจสภาพเฉพาะอย่างยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ
การตรวจสภาพการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธโดยผู้บังคับบัญชา
27.1.1 การตรวจสภาพการซ่อมบำรุง ฯ โดยผู้บังคับบัญชาเป็นการตรวจ เพื่อให้เป็น ที่แน่ใจว่าการใช้
ยุทโธปกรณ์เป็นไปในทางที่ถูกที่ควร การใช้สิ่งอุปกรณ์เป็นไปโดยประหยั ด และการ ดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับ
ยุทโธปกรณ์ และสิ่งอุปกรณ์ ทั้ งปวงเป็นไปตามหลักการซ่อมบำรุงและส่งกำลัง ที่กองทัพบกได้กำหนดไว้ใน
ระเบียบ คำสั่ง คำแนะนำ คู่มือและแบบธรรมเนียมต่าง ๆ กับเพื่อ ประเมินค่าความพร้อมรบของหน่วย
27.1.2 การตรวจสภาพการซ่อมบำรุง ฯ โดยผู้บังคับบัญชานั้นให้กระทำตามคำสั่งกองทัพบก (คำสั่ง
ชี้แจง) ที่ 13/1692 ลง 6 ก.พ.04 เรื่อง การตรวจสภาพการซ่อมบำรุง ฯ โดยผู้บังคับบัญชา การตรวจสภาพ
เฉพาะอย่างยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ
27.2.1 การตรวจสภาพเฉพาะอย่าง ฯ มีความมุ่งหมายให้ผู้บัง คับบัญชาใช้เป็นเครื่องตรวจสอบความ
เพียงพอ และประสิทธิภาพของ การซ่อมบำรุงประจำหน่วย
27.2.2 การตรวจสภาพเฉพาะอย่าง ฯ นั้น ให้กระทำตามคำสั่งกองทัพบก (คำชี้แจง) ที่ 19/15790 ลง
13 ก.ค. 03 เรื่อง การตรวจสภาพเฉพาะอย่างยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ
27.2.3 ผู้บังคับบัญชาชั้น ผบ.นขต.ทบ. และ ผู้บังคับบัญชาชั้น ผบ.พล หรือเทียบเท่าเป็นผู้รับผิดชอบใน
การจั ด ให้ มี ก ารตรวจสภาพเฉพาะอย่ า งแก่ ยุ ท โธปกรณ์ และหน่ ว ยภายใต้ ก ารบั ง คั บ บั ญ ชาของตนตาม
กำหนดการที่บ่งไว้ในคำสั่งกองทัพบก
27.2.4 การตรวจสภาพเฉพาะอย่าง ฯ นั้ น ต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งมีความรู้ความสามารถในทาง
เทคนิคของยุทโธปกรณ์และการซ่อมบำรุง โดยมีนายทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งมีคุณวุฒิเหมาะสมเป็นผู้กำกับการ
28. นอกจากการตรวจสภาพดังกล่าวแล้ว ในข้อ 27.1,27.2 นั้น ยังมีการตรวจสภาพอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งแม้ว่า
กองทัพบกยังไม่กำหนดวิธีการไว้โดยแน่นอน แต่ผู้บังคับหน่วยทุกระดับจะต้องกระทำเป็นประจำคือ การตรวจ
สภาพโดยผู้ บั งคั บ หน่ วย ซึ่ งมี ค วามมุ่ งหมายที่ จ ะตรวจสอบสภาพความพร้อ มรบของ ยุ ท โธปกรณ์ ส าย
สรรพาวุธ อี กทั้ งเป็ น การตรวจสภาพการใช้ การปรนนิ บั ติ บ ำรุงและการซ่ อ มบำรุง ซึ่ ง ผู้บั งคั บ หน่ วยต้ อ ง
รับผิดชอบ ในฐานะของผู้บังคับบัญชาตามที่กำหนดไว้ในตอนที่ 3 แห่งคำสั่งนี้ว่าเป็นไปโดยถูกต้อง และสม
ความมุ่งหมายของทางราชการ วิธีปฏิบัติการตรวจสภาพโดยผู้บังคับหน่วยโดยละเอียดนั้น ให้เป็นอภิสิทธิ์ของผู้
บังคับหน่วยนั้น ๆ ที่จะกำหนดขึ้นตามความเหมาะสม
ส่วนการตรวจสภาพทางเทคนิคนั้น ได้แก่การตรวจสภาพ ซึ่งหน่วยซ่อมบำรุงกระทำต่อ ยุทโธปกรณ์ที่
หน่วยทหารนำมาส่งซ่อม หรือในขณะที่หน่วยซ่อมบำรุงในสนามส่งชุดซ่อมออกไปปฏิบัติงาน ณ ที่ตั้งของหน่วย
รับการสนับสนุน ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถประมาณความต้องการ และวางแผนการซ่อมบำรุงได้ถูกต้อง

29. การรายงานผลการตรวจสภาพ และการตรวจเยี่ยม


ห น ้ า | 11

29.1 การรายงานผลการตรวจสภาพนั้น ต้องพยายามกระทำให้สั้นและชัดเจน และให้ผู้ทำการตรวจ เป็น


ผู้ทำรายงานเสนอให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือต่อขึ้นไปจากหน่วยรับตรวจทราบ เพื่ออำนวยการแก้ไขข้อบกพร่อง
ต่างๆ ที่มีอยู่ การรายงานผลการตรวจสภาพเฉพาะอย่าง ฯ และการตรวจสภาพการซ่ อมบำรุง ฯ โดย
ผู้บังคับบัญชา นั้น ให้ปฏิบัติตามคำสั่งกองทัพบกว่าด้วยการตรวจสภาพนั้น ๆ
29.2 ผู้บังคับหน่วยทุกหน่วย เป็นผู้ดำเนินการตามความจำเป็นเพื่อให้เป็นที่แน่นอนว่าได้มีการ ตรวจสภาพ
ตามที่กล่าวไว้แล้วนั้น ให้หน่วยที่ทำการตรวจสภาพเก็บสำเนารายงานผลการตรวจแต่ละประเภท ครั้งสุดท้าย
ที่ได้กระทำต่อหน่วยต่าง ๆ ไว้ 1 ฉบับเสมอ
29.3 เมื่อเจ้ากรมสรรพาวุธทหารบกหรือผู้แทนได้ตรวจเยี่ยมหน่วยต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมาในข้อ 26.5 แล้ว
ให้รายงานผลการตรวจเยี่ยมพร้อมด้วยข้อเสนอแนะขึ้น 3 ชุด นำเสนอ ทบ. 1 ชุด ส่งให้หน่วยรับการตรวจ
ทราบ 1 ชุด เก็บไว้ที่กรมสรรพาวุธทหารบก 1 ชุด
30. การป้องกันการตรวจซ้ำ
30.1 ผบ.นขต.ทบ. และผู้บังคับบัญชาชั้น ผบ.พล หรือเทียบเท่า และเจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก จะต้อง
พิจารณาดำเนินการ ให้มีการตรวจสภาพภายในขอบเขตของการตรวจสภาพแต่ละประเภทดัง ได้กล่าวไว้แล้ว
30.2 ผู้บังคับบัญชาที่ทำการตรวจสภาพการซ่อมบำรุงฯ โดยผู้บังคับบัญชาจะต้องพิจารณา และนำ เอาผล
ของการตรวจสภาพเฉพาะอย่าง ฯ ที่ได้กระทำขึ้นเมื่อก่อนหน้าในระยะเวลาอันใกล้พอสมควร มาใช้ในการ
กำหนดจุดอันควรสนใจเป็นพิเศษในการตรวจสภาพการซ่อมบำรุงโดยผู้บังคับบัญชาที่ตน จะกระทำขึ้น
31. การรายงานข้อบกพร่องของยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ
31.1 ในกรณีที่เกิดการบกพร่องขึ้นในยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ อันเนื่องมาจากความไม่ เหมาะสมในการ
ออกแบบ วัสดุที่ใช้ในการผลิต หรือฝีมือช่าง การสึกหรือการผุเปื่อยมากผิดปกติหรือ อาจจะเกิดอันตรายอย่าง
ร้ายแรงขึ้นแก่บุคคล และทรัพย์สิ นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดหา การใช้การ ซ่อมบำรุง การเก็บรักษา และ
แจกจ่าย ทำรายงานข้อบกพร่องเสนอตามสายบริการสรรพาวุธ จนถึง กรมสรรพาวุธทหารบกโดยเร็วที่สุด
31.2 ให้กรมสรรพาวุธทหารบกกำหนดวิธีการรายงานข้อบกพร่องของยุท โธปกรณ์ สายสรรพาวุธ ซึ่ ง
จำเป็นต้องดัดแปลงแก้ไขขึ้นเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถรายงานได้โดยถูกต้อง
31.3 ในการตรวจสภาพการซ่อมบำรุงฯ โดยผู้บังคับบัญชาและการตรวจสภาพเฉพาะอย่าง ฯ เจ้าหน้าที่
ผู้ตรวจจะต้องทดสอบความรู้ค วามเข้าใจของเจ้าหน้าที่ในหน่วยรับตรวจ และหน่วยสนับสนุน เกี่ยวแก่ การ
รายงานข้อบกพร่องยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธด้วย
ห น ้ า | 12

ตอนที่ 5
การดัดแปลงแก้ไขยุทโธปกรณ์

32. ความมุ่งหมาย
ยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธที่ใช้ในกองทัพบกนั้น อาจมีความจำเป็นที่จะต้องทำการดัดแปลงแก้ไข เพื่อเพิ่ม
ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ ลดงานซ่อมบำรุง หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรบหรือการใช้งาน
33. การดัดแปลงแก้ไขยุทโธปกรณ์นั้น ให้ทำตามคำสั่งกองทัพบกว่าด้วยการดัดแปลงแก้ไขยุทโธปกรณ์ นั้นๆ
ซึ่ งกองทั พ บกจะได้อ อกคำสั่ งเป็ น ครั้งคราวตามความจำเป็ น โดยกำหนดยุ ท โธปกรณ์ ซึ่ งจะต้ อ ง ทำการ
ดัดแปลงแก้ไข ส่วนที่จะต้องทำการดัดแปลงแก้ไข ชิ้นส่วนที่จะต้องทำการดัดแปลงแก้ไข และ ผู้รับผิดชอบใน
การดัดแปลงแก้ไข รวมทั้งวิธีดัดแปลงแก้ไขโดยละเอียด และเมื่อมีคำสั่งให้ดัดแปลง
แก้ไขยุทโธปกรณ์แล้ว ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดัดแปลงแก้ไขต้องดำเนินการตามคำสั่ งทันทีจะละเว้น หรือ
เพิกเฉยเสียมิได้
34. ห้ามมิให้ทำการดัดแปลงแก้ไขยุทโธปกรณ์โดยมิได้รับคำสั่งหรือผิดแผกนอกเหนือไปจากแบบแผน ในคำสั่ง
ที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่พิจารณาเห็นว่าถ้าหากฝืนใช้ยุท โธปกรณ์นั้น ๆ ต่อไปแล้วอาจเกิดอันตราย อย่างร้ายแรง
แก่ชีวิต และทรัพย์สิ นแล้ว ให้งดใช้การยุทโธปกรณ์ นั้นทันที แล้วรีบรายงานไปตามสาย การบังคับบัญ ชา
พร้อมทั้งข้อบกพร่องของยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ
35. การดัดแปลงแก้ไขยุทโธปกรณ์จัดตามลำดับความเร่งด่วนออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประเภทดัดแปลงแก้ไขทันที และ 2. ประเภทปกติ
35.1 ประเภทดัดแปลงแก้ไขทันที เมื่อมีคำสั่งให้ดัดแปลงแก้ไขทันที ผู้รับผิดชอบต้องดำเนินการ ดัดแปลง
แก้ไขยุทโธปกรณ์ในหน่วยใช้ทันทีก่อนที่จะใช้งานยุทโธปกรณ์ต่อไป สำหรับยุทโธปกรณ์ที่เก็บรักษาไว้คงคลัง
นั้น ผู้รับผิดชอบในการเก็บรักษา และแจกจ่าย ต้องจัดการให้ยุทโธปกรณ์นั้นได้รับการดัดแปลงแก้ไขก่อน ที่จะ
จ่ายให้หน่วยทหาร ทั้งนี้นอกจากคำสั่งดัดแปลงแก้ไขเฉพาะยุทโธปกรณ์แต่ละอย่างจะได้กำหนดไว้เป็นอย่าง
อื่น
35.2 ประเภทปกติ การดัดแปลงประเภทนี้ ให้ผู้รับผิ ดชอบดำเนินการดัดแปลงแก้ไขโดยเร็วที่ สุด เท่าที่จะ
ทำได้ ทั้งนี้โดยไม่ทำให้เสียผลในการฝึกหรือการปฏิบัติตามภารกิจของหน่วยทหาร ส่วน ยุทโธปกรณ์ที่บรรจุ
หีบห่อเพื่อการเก็บรักษาไว้ในคลังสรรพาวุธนั้นไม่ต้องนำมาดัดแปลงแก้ไข ทั้งนี้ นอกจากคำสั่งดัดแปลงแก้ไข
เฉพาะยุทโธปกรณ์แต่ละอย่างจะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
35.3 ให้กรมสรรพาวุธทหารบก รับผิดชอบในการตรวจสอบ และติดตามผลการดัดแปลงแก้ไข ให้เป็นไป
ตามคำสั่งโดยถูกต้อง และตามกำหนดเวลา
36. การเสนอแนะให้มีการดัดแปลงแก้ไข
36.1 ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ มีสิทธิ์ที่จะเสนอแนะให้มีการดัดแปลงแก้ไข ยุทโธปกรณ์
เพื่อความมุ่งหมายดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
36.2 ให้กรมสรรพาวุธทหารบกกำหนดวิธีการรายงานข้อบกพร่องของยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ พร้อมทั้ง
สิ่งที่ควรดัดแปลงแก้ไขขึ้น เพื่อให้หน่วยต่าง ๆ ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติต่อไป
36.3 เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบกมีหน้าที่ พิจ ารณาข้อเสนอแนะในการดัดแปลงแก้ไขยุทโธปกรณ์ และ
ดำเนินการทางเทคนิคอันเหมาะสม เพื่อให้บรรลุผลสมความมุ่งหมายดังกล่าวมาแล้ว

*************
ห น ้ า | 13

ตารางประมาณเวลาปฏิบัติงานซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ ทบ.สหรัฐ
การบริการหรือการซ่อม ยานยนต์สายพาน ยานยนต์ล้อ
บริการก่อนใช้งาน 30 นาที (พลประจำรถ) 15 นาที (พลขับ)
บริการหลังใช้งาน 1 ชม (พลประจำรถ) 20 นาที (พลขับ)
บริการขณะหยุดพัก 15 นาที (พลประจำรถ) 5 นาที (พลขับ)
บริการประจำสัปดาห์ 4 ชม. (พลประจำรถ) 1 ชม. (พลขับ)
บริการประจำเดือน 1 วัน (ช่าง 1 พลประจำรถ 2) 1-2 วัน (ช่าง 1 พลขับ 1)
บริการประจำ 3 เดือน 1-1 1/2 วัน (ช่าง 1 พลประจำรถ 2) 1-2 วัน (ช่าง 1 พลขับ 1)
บริการประจำ 6 เดือน - 1-2 วัน (ช่าง 1 พลขับ 2)
การยกเครือ่ งยนต์ออกจากรถ 4 ชม. (ช่าง 1 พลประจำรถ 2) -
ถอดและเปลี่ยนเครื่องยนต์ - 3 ชม. (ช่าง 2)
ถอดเปลี่ยนเฟืองขับขั้นสุดท้าย 6 ชม. (ช่าง 1 พลประจำรถ 2) -
ถอดเปลี่ ย นเครื่ อ งผ่ อ นแรง 1 ชม. (พลประจำรถ) 30 นาที (ช่าง 2)
สะเทือน
ถอดเปลี่ยนคานรับแรงบิด 1 ชม. (พลประจำรถ) -
ถอดเปลี่ยนล้อกดสายพาน 1 ชม. (พลประจำรถ) -
ถอดเปลี่ยนล้อ - 15 นาที (พลขับ)
ถอดเปลี่ยนสายพาน 1 ข้าง 6 ชม. (พลประจำรถ) -
บริการสายพาน 1 ข้าง 30 นาที (พลประจำรถ) -

สรุป 1. การซ่อมบำรุงมีความมุ่งหมายเพื่อรักษายุทโธปกรณ์ที่ชำรุด ให้กลับคืนสู่สภาพใช้การ


ได้รวมถึงการตรวจสภาพ การทดสอบ การบริการ การคัดแยกสภาพใช้การได้ การ
ซ่อมแก้ การซ่อมสร้าง การดัดแปลงแก้ไขและการซ่อมคืนสภาพ
2. หน่วยซ่อมบำรุงขั้นสูงสนับสนุนหน่วยซ่อมบำรุงขั้นต่ำ
3. การซ่อมบำรุงเป็นความรับผิดชอบของผู้บงั คับบัญชา
4. ถ้าการซ่อมบำรุงระดับหน่วยเลว ระบบการซ่อมบำรุงของกองทัพบกก็ล้มเหลว
5. การซ่อมบำรุงขั้นที่ 1 นับว่าสำคัญที่สุดกว่าทุกขั้น
*************
ห น ้ า | 14

สรุประบบซ่อมบำรุงของกองทัพบก
การซ่อมบำรุง การซ่อมบำรุงระดับหน่วย การซ่อมบำรุงสนับสนุนโดยตรง การซ่อมบำรุงสนับสนุนทั่วไป การซ่อมบำรุงระดับคลัง
ขั้นที่ 1 2 3 4 5
ที่ไหน ที่ตั้งยุทโธปกรณ์ หน่วยใช้ เคลื่อนที่ กึ่งเคลื่อนที่ โรงงาน
ใคร ผู้ใช้, พลประจำ หน่วยใช้ ผู้บัญชาการกองพล ผู้บัญชาการ กองบัญชาการช่วยรบ และ กรมฝ่ายยุทธบริการ
(ผู้รับผิดชอบ) ยุทโธปกรณ์ แม่ทัพภาครับผิดชอบเป็นส่วนรวม

อะไร ทำการ ปรนนิบัติบำรุงเพื่อป้องกัน ซ่อมแก้เล็ก ๆ ซ่อมแก้ยุทธภัณฑ์หลัก แล้วส่งคืน ซ่อมแก้ยุทธภัณฑ์หลัก แล้วส่งคืน ซ่อมสร้างเพื่อเก็บเป็นอุปกรณ์


น้อย ๆ และดูแลรักษาไว้ให้พร้อมรบ หน่วยใช้ ตามสายการส่งกำลัง คงคลังของสายยุทธบริการ
อย่างไร - ทำการปรนนิบัติบำรุงตามที่กำหนดไว้ในคู่มือทาง - ทำการซ่อมแก้ให้หน่วยใช้ - ทำการซ่อมแก้ใหญ่ - กรมฝ่ายยุทธบริการพิจารณา
เทคนิคของยุทโธปกรณ์นั้น ๆ - จัดชุดซ่อมเคลื่อนที่ไปช่วยหน่วยใช้ - ทำการซ่อมใหญ่ การซ่อม
- ทำการซ่อมบำรุงระดับหน่วย - ให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค - ซ่อมเสร็จแล้วส่งเข้าสายการส่งกำลัง - ทำการซ่อมสร้างให้เข้า
- ดำเนินการส่งซ่อมไปยังหน่วยเหนือและแจ้งให้ - ช่วยเหลือหน่วยค้นหาข้อขัดข้อง มาตรฐานของยุทโธปกรณ์
หน่วยสนับสนุนโดยตรงทราบ - ทำการกู้ซ่อมเมื่อหน่วยร้องขอ - ค่ า ซ่ อ มไม่ ค วรเกิ น 65 % ของ
- ทำการปรนนิบัติบำรุงก่อนส่งซ่อม - ทำการซ่อมแบบยุบรวม ราคาจัดหาใหม่
- รักษาระดับชิ้นส่วนซ่อมตามอัตราพิกัด - สนับสนุนชิ้นส่วนซ่อมตามอัตรา - วางแผนการจัดหาและแผนการ
พิกดั ซ่อมสร้างไว้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า
- ซ่อมเสร็จแล้วส่งคืนหน่วยใช้ 3 ปี
- ซ่อมเสร็จแล้วเก็บเข้าคงคลัง
ขอบเขต ให้ปฏิบัติตามคู่มือ คำสั่ง หรือระเบียบที่กำหนดไว้ ให้ ป ฏิ บั ติ ต าม คู่ มื อ ค ำสั่ ง ห รื อ ให้ปฏิบัติตามคู่มือ คำสั่ง หรือระเบียบที่ ให้ ป ฏิ บั ติ ต ามคู่ มื อ คำสั่ ง หรื อ
ระเบียบที่กำหนดไว้ กำหนดไว้ ระเบียบที่กำหนดไว้
ห น ้ า | 15

แผนกวิชายานยนต์ กองการศึกษา
โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
ค่ายอดิศร สระบุรี
----------
เอกสารเพิ่มเติม
วิชา เอกสารการซ่อมบำรุง
หมายเลขวิชา ยน……………..
1. กล่าวโดยทั่วไป
เอกสารซ่อมบำรุงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับการดำเนินการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ให้สามารถใช้ราชการได้
อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุยาวนาน เอกสารซ่อมบำรุงนั้นจะต้องทันสมัย หน่วยใดที่มียุทโธปกรณ์ไว้ใน
ครอบครอง แต่ ป ราศจากเอกสารซ่ อ มบำรุ ง หรื อ ไม่ น ำเอกสารซ่ อ มบำรุ ง มาใช้ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ ต่ อ
ยุทโธปกรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ยุทโธปกรณ์ของหน่วยนั้ น จะใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ ผู้บังคับหน่วยหรือ
ผู้รับผิดชอบต่อการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์จะต้องมีหลักประกันว่าในหน่วยของตนมีเอกสารซ่อมบำรุงฉบับที่
ถูกต้อง และทันสมัยตามจำนวนที่เหมาะสม
2. ชนิดของเอกสาร เอกสารที่ใช้ราชการอยู่ในกองทัพบก มีอยู่เป็นจำนวนมากในรูปแบบของ
- ระเบียบ
- คำสั่ง
- คำชี้แจง
- คู่มือทางเทคนิค (คท.)
- คู่มือราชการสนาม (รส.)
- แบบพิมพ์ต่าง ๆ สำหรับการปรนนิบัติบำรุง และส่งกำลัง
2.1 ระเบียบกองทัพบกจะออกระเบียบเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงไว้โดยแน่นอน เช่น
- ระเบียบ ทบ.ว่าด้วยการส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ 2 - 4 พ.ศ. 2534
- ระเบียบ ทบ.ว่าด้วยการรับสิ่งอุปกรณ์ พ.ศ. 2534
2.2 คำสั่ง คำสั่งเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงที่จะนำมาเป็นหลักฐาน และยึดถือเป็นหลั กปฏิบั ติ เช่นคำสั่ง ทบ.
ที่ 400/2507 ลง 9 พ.ย.07 เรื่อง ให้ใช้คู่มือทางเทคนิค คท.37-2810 ในการตรวจสภาพ และการปรนนิบัติ
บำรุงยานยนต์ เป็นต้น
2.3 คำสั่งชี้แจง ทบ.จะออกคำสั่งชี้แจง เช่น คำสั่ง ทบ.(คำชี้แจง) ที่ 13/1693 ลง 6 ก.พ. 04 เรื่องการ
ตรวจสภาพยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ โดยผู้บังคับบัญชา
2.4 คู่มือทางเทคนิค (คท.)เป็นเอกสารซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ ซึ่งจะกำหนดชนิดของเอกสารต่าง ๆ ไว้เป็น
ระบบจำนวนตัวเลข ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา และการนำไปใช้ปฏิบัติ เอกสารซ่อมบำรุงนี้ยังกำหนดตัวย่อ
ของชนิด
เอกสารไว้ เพื่อมิให้เกิดความสับสนในการนำไปใช้อีกด้วย เช่น
2.4.1 ตัวย่อ
- คู่มือทางเทคนิค (คท.) (TM ) ย่อมาจาก TECHNICAL MANUAL
- คำสั่งการหล่อลื่น (คล.) (LO ) ย่อมาจาก LUBRICATION ORDER
- คำสั่งดัดแปลงแก้ไขยุทธภัณฑ์ (MWO ) ย่อมาจาก MODIFICATION WORK ORDER
ห น ้ า | 16

2.4.2 การกำหนดระบบจำนวนตัวเลข แทนความหมายของเหล่าต่าง ๆ เพื่อมิให้เกิดสับสน และมี


ปัญหายุ่งยากในการค้นหาหลักฐานอ้างอิงสำหรับการปรนนิบัติบำรุงและซ่อมบำรุง การส่งกำลังยุทโธปกรณ์
นั้น จึงได้กำหนดจำนวน
ตัวเลขซึ่งมีความหมายแทนเหล่าต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- TM ที่มีตัวเลขต่อท้ายด้วยเลข 3 เป็นคู่มือของเหล่า วิทยาศาสตร์
- TM ที่มีตัวเลขต่อท้ายด้วยเลข 5 เป็นคู่มือของเหล่า ช่าง
- TM ที่มีตัวเลขต่อท้ายด้วยเลข 9 เป็นคู่มือของเหล่า สรรพาวุธ หรือหน่วยที่ เกี่ยวข้อง และ
ขอรับการสนับสนุนการซ่อม และการส่งกำลังจากสรรพาวุธ
- TM ที่มีตัวเลขต่อท้ายด้วยเลข 10 เป็นคู่มือของเหล่าพลาธิการ
- TM ที่มีตัวเลขต่อท้ายด้วยเลข 11 เป็นคู่มือของเหล่า สื่อสาร
- TM ที่มีตัวเลขต่อท้ายด้วยเลข 55 เป็นคู่มือของเหล่า ขนส่ง
1.4.3 ความหมายของ TM 9-2350-257-20-1
เพื่อให้ผู้บังคับบัญชา เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบต่อการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ของ
หน่วยได้มีความเข้าใจในการนำเอกสารคู่มือประจำยุทโธปกรณ์มาใช้ให้เกิ ดประโยชน์ได้ถูกต้อง จึงจำเป็น
อย่างยิ่งที่จะต้องทราบความหมายของตัวย่อและระบบจำนวนตัวเลขดังตัวอย่าง ข้างต้นซึ่งจะมีปรากฏที่
ส่วนบนของหน้าปก เอกสารคู่มือทางเทคนิค และเอกสารคู่มือส่งกำลัง เช่น
- TM ย่อมาจากคำว่า TECHNICAL MANUAL หนังสือคู่มอื ทางเทคนิค (คท.)
- 9 หมายถึง สายการบริการทางเทคนิค (เหล่าสรรพาวุธ)
- 2350 กลุ่ ม ตั ว เลข 4 ตั ว หมายถึ ง ประเภท และพวกยุ ท ธภั ณ ฑ์ (FEDERAL SUPPLY
CLASSIFICATION ) เรี ย กชื่ อ ย่ อ เป็ น ภาษาอั งกฤษสั้ น ๆ ว่ า (FSC) เลข 2 ตั ว แรกของกลุ่ ม ตั ว เลข 4 ตั ว
หมายถึง พวก หรือกลุ่ม (GROUP) ซึ่งมีประมาณ 76 กว่าพวก ขอยกตัวอย่างให้พอเข้าใจ 6 พวกแรก
ได้แก่
2.4.3.1. - 23 หมายถึง ยานยนต์ รถพ่วง รถจักรยานยนต์
2.4.3.2. - 24 หมายถึง รถแทรคเตอร์ (ล้อยาง)
2.4.3.3. - 28 หมายถึง เครื่องยนต์แก๊สโซลีน (เครื่องกำเนิดกำลัง) และส่วนประกอบ
2.4.3.4. - 30 หมายถึง รถแทรคเตอร์ (สายพาน)
2.4.3.5. - 49 หมายถึง เครื่องซ่อมบำรุง และเครื่องมือซ่อมเครื่องยุทธภัณฑ์ประจำโรงงาน
2.4.3.6. - 61 หมายถึง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องควบคุมและอุปกรณ์จ่ายกระแสไฟฟ้า เลข
2 ตั ว หลั งของกลุ่ ม ตั ว เลข 4 ตั ว หมายถึ ง ประเภท (CLASS) ประเภทนั้ น จะมี ห ลายประเภทแต่ จ ะต้ อ ง
ยกตัวอย่าง พอให้เข้าใจ 4 ประเภท ดังนี้
2.4.3.7. - 00 หมายถึง ยานยนต์ประเภทสายพาน รถสายพาน รถสายพานลำเลียงพล
และรถอัตตาจร (คู่มือเก่า)
2.4.3.8. - 20 หมายถึง ยานยนต์ประเภทล้อ
2.4.3.9. - 30 หมายถึง รถพ่วงบรรทุกและรถชานต่ำ
2.4.3.10. - 50 หมายถึง รถถัง และรถสายพานลำเลียงพล (คู่มือใหม่)
- 257 หมายถึง ลำดับที่ของหนังสือคู่มือประจำชนิดของยุทโธปกรณ์
- 20 หมายถึง ตัวเลขที่กำหนดไว้สำหรับขั้นการซ่อมบำรุง ซึ่งแบ่งขั้นการซ่อมบำรุง
ออกเป็น 5 ขั้น ซึ่งมีตัวเลขกำหนดไว้ ดังนี้
ห น ้ า | 17

10 สำหรับ ขั้นที่ 1
20 สำหรับ ขั้นที่ 2
30 สำหรับ ขั้นที่ 3
40 สำหรับ ขั้นที่ 4
50 สำหรับ ขั้นที่ 5
หมายเหตุ ปกติตัวเลขที่กำหนดขั้นการ ซบร.ของหน่วย สรรพาวุธ นั้นจะเขียนตัวเลข 34 หมายถึงใช้ได้
ขั้น 3 และ ขั้น 4 หรือ 35 คือใช้ได้ ตั้งแต่ขั้น 3 ขั้น 4 และขั้น 5 โดยอาจมีตัวเลขต่อท้ายตัวเลขที่กำหนดขั้น
การ ซบร. ไว้
-1
-2
- 1 หมายถึง ตัวรถ ( AUTOMOTIVE )
- 2 หมายถึง ป้อมปืน ( TURRET )
3. การใช้คู่มือทางเทคนิคประจำยุทโธปกรณ์ และคู่มือส่งกำลัง
3.1 TM 9 ที่ มี ตั ว เลขลงท้ า ยด้ ว ยเลข 10 เป็ น หนั งสื อ คู่ มื อ แสดงข้ อ มู ล รายละเอี ย ดทางเทคนิ ค ของ
ยุทธภัณฑ์แต่ละชนิด โดยจะรวบรวมคำแนะนำในการใช้ยุทโธปกรณ์ และการปรนนิบัติบำรุงยุทโธปกรณ์
ให้แก่พลประจำรถ พอสรุปเป็น
ข้อ ๆ ได้ดังนี้
3.1.1 แสดงข่าวสาร คุณลักษณะ รายละเอียด มาตราทานของยุทโธปกรณ์ (ประกอบภาพ)
3.1.2 ให้คำแนะนำการในเตรียมการก่อนที่จะนำยุทโธปกรณ์ไปใช้งาน
3.1.3 ให้คำแนะนำในการปรนนิบัติบำรุงขั้นที่ 1 ของพลประจำรถ
3.1.4 กำหนดแผนการหล่อลื่น
3.1.5 แสดงรายการเครื่องมือ เครื่องใช้ประจำยุทโธปกรณ์ตลอดจนการเก็บรักษา
3.1.6 แนะนำรายละเอียด วิธีการขนส่งยุทโธปกรณ์
3.1.7 แนะนำวิธีการทำลายจุดสำคัญของยุทโธปกรณ์ เพื่อป้องกันมิให้ข้าศึกนำไปใช้ประโยชน์
3.1.8 แนะนำวิธีการใช้ยุทโธปกรณ์ในสภาพดินฟ้าอากาศผิดปกติ
3.1.9 อธิบายข้อขัดข้อง สาเหตุและวิธีการแก้ไข

ตัวอย่าง คู่มือทางเทคนิคของพลประจำรถ รสพ.M113A2


---------------------------------------------------
TM 9-2350-261-10
OPERATOR'S MANUAL
CARRIER, PERSONNEL,FULL TRACK ARMORED M113A2
( 2350-01-068-4077 )
CARRIER,COMMANDPOST,LIGHT,TRACKED M577A2
( 2350-01-068-4089 )
CARRIER,MORTAR,107-MM,SELF-PROPELLED M106A2
( 2350-01-069-6931 )
CARRIER,MORTAR,81-MM,SELF-PROPELLED M125A2
ห น ้ า | 18

( 2350-01-068-4078 )
HEAD QUARTERS,DEPARTMENT OF THE ARMY
8 MAY 1962
---------------------------------------------------
3.2 คู่มือทางเทคนิค การซ่อมบำรุงที่มีเลขลงท้ายด้วย 20 เป็นคู่มือทางเทคนิคสำหรับการซ่อมบำรุงระดับ
หน่วย ซึ่งอธิบายให้ทราบถึงรายละเอียดของยุทโธปกรณ์ ซึ่งพอสรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้
3.2.1 อธิบายถึงคุณลักษณะ รายละเอียดและมาตราทานของยุทโธปกรณ์ (ประกอบภาพ)
3.2.2 แนะนำการบริการ และการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ระคับหน่วย
3.2.3 แนะนำการดำเนินกรรมวิธีเมื่อแรกรับต่อยุทโธปกรณ์ ก่อนที่จะไปใช้งาน
3.2.4 แสดงรายละเอียด วิธีการขนส่ง และการบรรทุกยุทโธปกรณ์
3.2.5 แนะนำวิธีการทำลายจุดสำคัญ ของยุทโธปกรณ์เพื่อป้องกันมิให้ข้าศึกนำไปใช้ประโยชน์
3.2.6 กำหนดผังแบ่งมอบการซ่อมบำรุง ระดับต่าง ๆ ( MAINTENANCE ALLOCATION CHART )
3.2.7 แสดงรายการเครื่องมือพิเศษ สำหรับการซ่อมบำรุงระดับหน่วย
3.2.8 อธิบายข้อขัดข้อง สาเหตุและวิธีการแก้ไข
ตัวอย่าง คู่มือทางเทคนิคสำหรับการซ่อมบำรุงระดับหน่วยของ รถถัง M60A3 (ป้อมปืน)
TM 9-2350-253-20-2
TECHNICAL MANUAL
ORGANIZATION MAINTENANCE
TANK, COMBAT, FULL TRACKED:
105-MM GUN, M60A3
NSN 2350-00-148-6548
AND
NSN 2350-01-061-2306 (TTS)
TURRET
HEADQUARTERS,DEPARTMENT OF THE ARMY
DECEMBER 1979
3.3 คู่มือทางเทคนิค TM 9 ที่ลงท้ายด้วยอักษร P เป็นเอกสารการส่งกำลังบอกรายการชิ้นส่วนซ่อม ซึ่ง
อนุมัติให้หน่วยที่ทำการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ ได้เบิกชิ้นส่วนต่าง ๆตามรายการที่ได้กำหนดไว้ แต่ละระดับชั้น
การซ่อมบำรุง เก็บสะสมหรื อเบิกทดแทนหมุนเวี ยน เพื่อใช้ในการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ ปกติคู่มือทาง
เทคนิค TM 9 ที่ลงท้ายด้วยอักษร P จะมีประจำยุทโธปกรณ์ทุกชนิดและจะต้องทันสมัยและผู้ใช้คู่มือทาง
เทคนิคนี้คือเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงฯและนายสิบส่งกำลังสาย สพ.ของหน่วยทุกระดับมีรายละเอียดพอสรุปเป็น
ข้อ ๆได้ คือ
3.3.1 มีสารบัญ รายการที่ต้องการทราบ
3.3.2 แสดงตารางรายการชิ้นส่วนซ่อม ที่อนุมัติให้หน่วยเบิกสะสมชิ้นส่วนซ่อมอะไหล่ ให้ลด คงคลัง
( PLL. Prescribed load list )
3.3.3 มีรูปภาพชิ้นส่วนประกอบใหญ่ และชิ้นส่วนประกอบย่อย
3.3.4 แสดงตารางหมายเลข และควบคุมชิ้นส่วน ชื่อชิ้นส่วนและตัวเลขอนุมัติให้หน่วย
3.3.5 แสดงรายการเครื่องมือพิเศษ สำหรับการซ่อมบำรุงระดับหน่วย
ห น ้ า | 19

ตัวอย่าง คู่มือทางเทคนิค TM 9 ทีล่ งท้ายด้วยอักษร P รถถัง M60A3 (ตัวรถ)


---------------------------------------------------------------
TM 9-2350-253-20P-1
TECHNICAL MANUAL
ORGANIZATION MAINTENANCE
TANK,COMBAT,FULL TRACKED:
105-MM GUN, M60A3
NSN 2350-00-148-6548
AND
NSN 2350-01-061-2306 (TTS)
HULL
HEAD QUARTERS DEPARTMENT OF THE ARMY
DECEMBER 1979
---------------------------------------------------
3.4 คำสั่งการหล่อลื่น( LUBRICATION ORDER) [ (LO) (คล.) ]
คำสั่งการหล่อลื่น จะทำเป็นรูปแผนผัง สำหรับให้พลประจำรถหรือผู้ปฏิบัติการหล่อลื่นได้ปฏิบัติตามคำสั่ง
ที่ระบุไว้ในแผนผัง ปกติจะมีประจำยุทโธปกรณ์ทุกชนิดโดยมีรายละเอียดสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
3.4.1 แสดงตำบล หรือจุดสำคัญที่จะต้องทำการหล่อลื่น และชนิดของวัสดุหล่อลื่นที่ใช้
3.4.2 บอกระยะเวลา จำนวนไมล์และชั่วโมงใช้งานของยุทโธปกรณ์ที่ต้องได้รับการหล่อลื่น
3.4.3 แนะนำวิธีหล่อลื่นและการใช้วัสดุหล่อลื่น ตามสภาพอุณหภูมิท้องถิ่น ที่ใช้ยุทโธปกรณ์
3.4.4 บอกจำนวนจุดหล่อลื่นและปริมาณวัสดุหล่อลื่นที่ใช้

ตัวอย่าง คำสั่งการหล่อลื่น รสพ.M113A2


----------------------------------------------------
LO 9-2350-261-12
10 JULY 1990
CARRIER,PERSNONEL,FULL TRACKED,ARMORED,M113A2
2350-01-068-4077
CARRIER,COMMAND POST,LIGHT, TRACKED, M577A2
2350-01-068-4089
CARRIER,MORTAR,107-MM,SELF,PROPELLED,M106A2
2350-01-069-6931
CARRIER,MORTAR,81-MM,SELF-PROPELLED,M125A2
2350-01-068-4087
------------------------------------
3.5 อัตราการจัด และยุทโธปกรณ์ (อจย.) TABLE OF ORGANIZATION AND EQUIPMENT (TOE)
อัตราการจัดและยุทโธปกรณ์โดยปกติจะแสดงให้ทราบถึง ภารกิจโครงสร้างการจัดหน่วย อัตราอนุมัติ
ให้มียุทโธปกรณ์และเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยทหาร เอกสารนี้แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ
ห น ้ า | 20

ตอนที่ 1 กล่าวทั่วไป
ตอนที่ 2 ผังการจัด
ตอนที่ 3 อัตรากำลังพล
ตอนที่ 4 อัตรายุทโธปกรณ์

ตัวอย่าง
อัตราการจัดและยุทโธปกรณ์ (อจย.)
หมายเลข 17 - 15 กองพันทหารม้า (รถถัง) ที่______
ตอนที่ 1 กล่าวทั่วไป
1. ภารกิจ
2. การแบ่งมอบ
3. ขีดความสามารถ
4. อัตราลด
5. ยุทโธปกรณ์
ตอนที่ 2 ผังการจัด
ตอนที่ 3 อัตรากำลังพล
ตอนที่ 4 อัตรายุทโธปกรณ์
หมายเหตุ อจย.จัดอยู่ในขั้นความลับประเภท ลับ
3.6 คำสั่งการดัดแปลงแก้ไขยุทโธปกรณ์ “MODIFICATION WORK ORDER” (MWO)
3.6.1 ความมุ่งหมาย
ยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธที่ใช้อยู่ในกองทัพบกนั้น ให้มีการดัดแปลงแก้ไขได้เมื่อเกิดความจำเป็น
ในการป้องกันมิให้ยุทโธปกรณ์ ชำรุดเสียหาย เพื่อเพิ่มความปลอดภัย เพื่อลดงานซ่อมบำรุง และเพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการใช้งานให้สูงขึ้น
3.6.2 การเสนอแนะ และการอนุมัติให้มีการดัดแปลงแก้ไขยุทโธปกรณ์
3.6.2.1 ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับยุทโธปกรณ์ มีสิทธิ์เสนอแนะให้มีการดัดแปลงแก้ไขยุทโธปกรณ์
ด้วยความมุ่งหมายดังกล่าวมาข้างต้น โดยปฏิบัติตามวิธีการซึ่งกรมสรรพาวุธกำหนดขึ้น
3.6.2.2 เจ้ า กรมสรรพาวุ ธ ทหารบก มี ห น้ า ที่ พิ จ ารณาข้ อ เสนอแนะในการดั ด แปลงแก้ ไ ข
ยุทโธปกรณ์ และดำเนินการทางเทคนิคอันเหมาะสม เพื่อให้บรรลุผลตามความมุ่งหมายดังกล่าว
3.6.3 การดัดแปลงแก้ไขยุทโธปกรณ์
ให้กระทำตามคำสั่งกองทัพบก ว่าด้วยการดัดแปลงแก้ไขยุทโธปกรณ์ในส่วนนั้น ๆ และเมื่อมี
คำสั่งให้ดัดแปลงยุทโธปกรณ์แล้ว ผู้มีหน้าที่ในการดัดแปลงแก้ไขต้องดำเนินการตามคำสั่งทันที จะละเว้นหรือ
เมินเฉยเสียมิได้
3.6.4 ห้ามทำการดัดแปลงแก้ไขยุทโธปกรณ์ โดยมิได้มีคำสั่งหรือทำการดัดแปลงแก้ไขให้ผิดแปลก
นอกเหนือไปจากแบบแผนในคำสั่งที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่พิจารณาเห็นว่าอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงแก่ชีวิต
แลทรัพย์สิน ให้งดใช้ยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธนั้น แล้วรายงานตามสายการบังคับบัญชาโดยเร็วที่สุด
3.6.5 การดัดแปลงแก้ไขยุทโธปกรณ์ตามลำดับความเร่งด่วน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1.) ประเภทต้องดัดแปลงทันที และ (2.) ประเภทปกติ
ห น ้ า | 21

3.6.5.1 ประเภทต้องดัดแปลงทันที เมื่อมีคำสั่งให้มีการดัดแปลงประเภทนี้ ผู้ที่รับผิดชอบในการ


ดัดแปลง ต้องดำเนินการดัดแปลงตามคำสั่งต่อยุทโธปกรณ์ในหน่วยใช้ก่อนที่ จะใช้งานยุทโธปกรณ์ต่อไป
สำหรับยุทโธปกรณ์ที่เก็บรักษาไว้ในคลังสรรพาวุธนั้น ผู้รับผิดชอบในการรักษาและแจกจ่าย ต้องจัดให้มีการ
ดัดแปลงก่อนที่จะจ่ายยุทโธปกรณ์ออกไปยังหน่วยใช้ ทั้งนี้นอกจากคำสั่งดัดแปลงแก้ไขเฉพาะยุทโธปกรณ์แต่
ละอย่างจะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้กรมสรรพาวุธรับผิดชอบในการตรวจสอบและการติดตามผลการ
ดัดแปลงประเภทนี้ ให้เป็นไปตามกำหนดการที่บ่งไว้ในคำสั่งดัดแปลง
3.6.5.2 ประเภทปกติ การดัดแปลงประเภทนี้ ให้ผู้รับผิดชอบการดัดแปลงดำเนินการดัดแปลง
โดยเร็วเท่าที่จะปฏิบัติได้ หรือดำเนินการให้ ทันตามกำหนดที่บ่งไว้ในคำสั่ง ส่วนยุทโธปกรณ์ที่บรรจุหีบห่อ
เพื่ อ การศึ ก ษาไว้ ใ นคลั ง สรรพาวุ ธ นั้ น ไม่ ต้ อ งนำมาดั ด แปลง นอกจากคำสั่ ง การดั ด แปลงแก้ ไขเฉพาะ
ยุทโธปกรณ์แต่ละอย่างจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
3.7 คู่มือราชการสนาม (รส.) FIELD MANUAL (FM)
คู่มือราชการสนาม เป็นหนังสือคู่มือ และจัดว่าเป็นเอกสารเกี่ยวกับหลักนิยมทางทหารยุทธวิธี และ
เทคนิคต่าง ๆ
คู่มือราชการสนามนี้จะบรรจุคำแนะนำ ข่าวสารและเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติของหน่วย
และเหล่าต่างๆ ในการปฏิบัติทางทหารและมีระบบจำนวนตัวเลขกำกับเอกสารของแต่ละเหล่า เช่น
- ทหารม้ายานเกราะ ขึ้นต้นด้วยเลข 17 (รส.17 ----------)
- ทหารราบ ขึ้นต้นด้วยเลข 7 (รส.7 -----------)
- ทหารทุกเหล่าใช้ได้ ขึ้นต้นด้วยเลข 20 (รส.20 ----------)
3.8 แบบพิมพ์ต่าง ๆ สำหรับใช้ในการปรนนิบตั บิ ำรุง ตามคำสั่ง ทบ. ที่ 400/2507 ลง 9 พ.ย.07
4. เอกสาร และคู่มือสำหรับการซ่อมบำรุงระดับหน่วย
เอกสาร และคู่มือสำหรับการซ่อมบำรุงระดับหน่วย จะต้องมีไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงและใช้ปฏิบัติเกี่ยวกับ
การปรนนิบัติบำรุง การซ่อมบำรุง และการส่งกำลัง โดยเอกสารนั้ นต้องทันสมัยและต้องนำมาใช้ให้เป็น
ประโยชน์มากที่สุด
สรุป
เอกสารซ่อมบำรุง เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ เจ้าหน้าที่ของหน่วยต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ
การปฏิบัติการปรนนิบัติบำรุง การซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ ต่าง ๆ เช่น ยานยนต์ และอาวุธ ฯลฯจำเป็นต้ องใช้
เอกสารคู่มือทางเทคนิคประกอบการปฏิบัติทางเทคนิคทุกครั้ง และการที่หน่วยต่างๆ ไม่มีเอกสารคู่มือทาง
เทคนิค และคู่มือการส่งกำลังจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นได้ เช่น
- ทำให้การปรนนิบัติบำรุง การซ่อมบำรุง และการส่งกำลังไม่เป็นไปอย่างถูกต้องและมีมาตรฐานเดียวกัน
- ทำให้การซ่อมบำรุง ไม่มีประสิทธิภาพ อาจประสบความล้มเหลว
- อาจเป็นผลเสียหายต่อยุทโธปกรณ์ มีประสิทธิภาพการใช้งานต่ำ และมีอายุการใช้งานน้อยไม่เป็นไปตาม
เวลาที่ได้รับการออกแบบไว้
**************
ห น ้ า | 22

แผนกวิชายานยนต์ กองการศึกษา
โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
ค่ายอดิศร สระบุรี
----------
เอกสารเพิ่มเติม
วิชา การซ่อมบำรุงทางธุรการ และแบบพิมพ์ประวัติ
หมายเลขวิชา ยน. ……………………

1. กล่าวทั่วไป
การศึกษาวิชาการซ่อมบำรุงทางธุรการและแบบพิมพ์ประวัติ นักเรียนจะทราบถึ งวิธีการปฏิบัติ
เกี่ยวกับการใช้ยานยนต์ การบันทึกแบบพิมพ์ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งคู่มือ และคำสั่งต่างๆ ที่กองทัพบกได้
กำหนดขึ้น เพื่อวางหนทางปฏิบัติให้เป็นไปในแนวเดียวกันเอกสารและแบบพิมพ์ประวัติซึ่งได้บันทึกไว้นี้จะ
ช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึง ปัญหาข้อเท็ จจริงและการแก้ไขที่ถูกต้อง ข้อสำคัญก็คือรู้ว่าเมื่อว่าท่านต้องการ
ทราบเรื่องใด จะตรวจสอบได้ที่ไหน โดยใช้เวลาน้อยที่สุด
2. ความมุ่งหมาย เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับ
2.1 ระเบียบปฏิบัติการใช้แบบพิมพ์ ซึ่ง ทบ.ได้กำหนดแนวทางไว้
2.2 ความรับผิดชอบทุกระดับการบังคับบัญชา ในระบบการซ่อมบำรุง
2.3 วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ยานยนต์ การ ปบ.และการบันทึกแบบพิมพ์
2.4 การใช้คู่มือ ระเบียบ และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
3. คำสั่ง คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับแบบพิมพ์ และรายงาน ที่ควรทราบ มีดังนี้
- คำสั่ง ทบ.ที่ 313/22986 เรื่อง วิธีการส่งกำลังสาย สพ. ลง 1 พ.ย.98
- คำสั่ง ทบ.ที่ 320/23630 เรื่อง วิธีการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์สาย สพ. ลง 1 พ.ย.98
- คำสั่ง ทบ.ที่ 19/15790 เรื่อง การตรวจสภาพเฉพาะอย่างยุทโธปกรณ์สาย สพ. ลง 13 ก.ค.03
- คำสัง่ ทบ.ที่ 200/9932 เรื่อง หลักการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์สาย สพ. ลง 8 ส.ค.04
- คำสั่ง ทบ.ที่ 13/1693 เรื่อง การตรวจสภาพการซ่อมบำรุงสาย สพ.ลง 6 ก.พ.04
- คำสั่ง ทบ.ที่ 23/1150 เรื่อง กำหนดขั้นการซ่อมบำรุง ลง 28 มิ.ย.05
- คำสั่ง ทบ.ที่ 400/2507 เรื่อง การตรวจสภาพและการ ปบ.ยานยนต์ ลง 9 พ.ย. 07
- คำสั่ง ทบ.ที่ 33/2510 เรื่องรายงานยานยนต์งดใช้การประจำเดือน ลง 7 ก.พ.10
4. แบบพิมพ์ แบบพิมพ์ซึ่งใช้ซ่อมบำรุงประจำหน่วยนั้นมีความมุ่งหมายในการใช้ สรุปเป็นข้อ ๆ ได้ ดังนี้
4.1 ใช้ควบคุมการใช้รถ และการ ปบ.ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
4.2 กำหนดวิธีการตรวจสภาพ และการ ปบ. ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
4.3 เป็นหลักฐานแสดงถึง สมรรถภาพของหน่วย
4.4 เป็นหลักฐานในการรายงานการสอบสวน
4.5 ใช้ในการพิจารณาแบ่งประเภทของยานยนต์ ตามสภาพการใช้งาน
4.6 เพื่อเป็นหลักฐานการเบิกจ่าย
5. เอกสารการซ่อมบำรุงทางธุรการ เอกสารการซ่อมบำรุงทางธุรการ หมายรวมถึงแบบพิมพ์สภาพ และ
รายงานเอกสาร คู่มือทั้งหมดซึ่งกองทัพบกให้มีไว้เพื่อกำหนด วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการ ปบ.ของหน่วย ใช้ซึ่งแยก
ประเภทได้ 4 ประเภท คือ (ดูแผนผังประกอบ)
ห น ้ า | 23

5.1 แบบพิมพ์ควบคุมการใช้รถ และการ ปบ.


5.2 แบบพิมพ์สำหรับบริการ
5.3 แบบพิมพ์การส่งกำลัง
5.4 แบบพิมพ์บันทึกสถิติ-รายงาน

6. แบบพิมพ์ ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงประจำหน่วย แบบพิมพ์ประเภทต่ าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ถ้าแบ่งตาม


ลักษณะการใช้งานทางการซ่อมบำรุง แบ่งได้เป็น 3 อย่าง คือ
6.1 แบบพิมพ์ใช้ในการซ่อมบำรุงขั้นที่ 1
6.2 แบบพิมพ์ใช้ในการซ่อมบำรุงขั้นที่ 2
6.3 แบบพิมพ์ใช้ในการส่งกำลัง
6.1 แบบพิมพ์ใช้ในการซ่อมบำรุงขั้นที่ 1
(1.1 ) แบบพิม พ์ บัตรการใช้รถประจำวัน ทบ.468 - 310 (สพ.110) บัตรนี้เปรียบเสมือนบัตร
อนุญาตให้พลขับนำรถออกใช้งานนอกหน่วยได้ มีรายละเอียดการบันทึกและเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย
ซึ่งการการบันทึกนั้นต้องสามารถเชื่อถือได้ ไม่มีการปลอมแปลง ทั้งนี้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติงานได้
ถูกต้อง และผู้บังคับบัญชาได้ทราบถึงสถานการณ์ที่แท้จริง
( 1.1.1) การบันทึกบัตรการใช้รถประจำวัน เป็นการบันทึกเพื่อวางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ
- การบันทึก
- เวลาการใช้งาน
- จำนวนระยะทางการใช้งาน
- ความสิ้นเปลือง สป.3
- รายงานการ ปบ.ขั้นที่ 1
- ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น และการแก้ไข
(1.1.2) กรณียกเว้นไม่ต้องใช้บัตรการใช้รถประจำวัน
- การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
- ขบวนในความควบคุม
หมายเหตุ กรณี ไม่ ต้ อ งใช้ แ บบพิ ม พ์ นี้ พลขั บ จะต้ อ งทำการ ปบ.ตามรายการที่ ระบุ ไว้ทุ ก นตอน
เช่นเดียวกัน แต่ไม่ต้องบันทึกแบบพิมพ์ ถ้าสถานการณ์ทางยุทธวิธีไม่เอื้ออำนวย ให้งดเว้นการ ปบ.ได้บาง
รายการ แต่จะงดเว้นไม่ ปบ.เลยไม่ได้
(1.1.3) แบบพิมพ์บัตรใช้รถประจำวันใช้ทำการ ปบ.ประจำสัปดาห์ด้วย ถ้าใช้แบบพิมพ์บันทึกการ ปบ.
ประจำสัปดาห์ จะต้องเก็บเป็นหลักฐานไว้ในซองประวัติยุทธภัณฑ์ จนกว่าจะทำการ ปบ.ประจำเดือน แล้ว
จึงจะทำลายได้ แบบพิมพ์นี้ใช้บันทึกการ ปบ.ยานพาหนะได้ทุกชนิด
(1.1.4) กรณี เกิดอุบั ติ เหตุ ในการนำรถออกใช้ งานแล้วเกิด อุบั ติเหตุขึ้น ต้องเก็บ แบบพิ ม พ์ นี้ ไว้ กั บ
รายงานอุบัติเหตุ สพ.91 จนกว่าคดีจะสิ้นสุด
(1.1.5) ลักษณะรายละเอียด และการบันทึก
แบบพิมพ์นี้มีรายการบันทึกทั้งสองหน้า แบ่งเป็นส่วน ๆ 4 ส่วน ฉีกแยกจากกันได้
(รายละเอียดการบันทึกดูเอกสารแบบพิมพ์ ทบ.468-310 ประกอบ)
ส่วนที่ 1
ส่วนที่ 2
ห น ้ า | 24

ส่วนที่ 3
ส่วนที่ 4
( 2 ) แบบพิมพ์รายงานอุบัติเหตุ ทบ.468 - 702 (สพ.91) แบบพิมพ์รายงานอุบัติเหตุ ใช้สำหรับบันทึก
กรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น ฉะนั้นพลขับจะต้องนำแบบพิมพ์ รายงานอุบัติเหตุนี้ติดไปกับรถทุกครั้งที่นำรถออก
ใช้งานนอกหน่วย พลขับเป็นผู้ บันทึ กการรายงานนี้เสนอต่อผู้บังคับบัญ ชา กรณี ที่ เกิดอุบัติเหตุทำให้เกิด
ทรัพ ย์สิ น เสี ยหาย ได้ รับ บาดเจ็บ หรือเสียชี วิต หรือรถของตนมี ส่วนเกี่ ยวข้องกับ อุบั ติเหตุ นั้ น โดยต้ อ ง
ดำเนินการ ดังนี้
(2.1) บันทึกแบบพิมพ์รายงานอุบัติเหตุทันทีหลังจากเกิดอุบัติเหตุ
(2.3) พยายามบันทึกในสถานที่เกิดเหตุนั้น
(2.4) รีบยื่นรายงานนี้เสนอต่อ ผบ.ชา ทันที
(2.3) การบันทึกแบบพิมพ์รายงาน จะต้องบันทึกทุกครั้งที่มีอุบัติเหตุ ไม่มีข้อยกเว้น
(2.4) กรณีที่พลขับไม่สามารถบันทึกรายงานนี้ได้ เช่นได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ให้ผบ.ชา โดยตรงของพล
ขับ (หรือผู้อาวุโสในขณะนั้น) เป็นผู้บันทึกแทน
(2.5) ถ้ามีผู้บาดเจ็บให้พลขับรีบดำเนินการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บก่อนแล้วรีบบันทึกรายงานนี้ทันที ที่มีโอกาส
(2.6) การบันทึกรายงาน ต้องบันทึกตามข้อเท็จจริง
(2.7) บั นทึ กรายงานนี้ใช้เป็นหลักฐานของคณะกรรมการในการสอบสวนอุบัติเหตุ เพื่อพิจารณาถึงความ
รับผิดชอบ ฉะนั้นต้องเก็บแบบพิมพ์นี้ จนกว่าคดีจะสิ้นสุด
(2.8) ลักษณะรายละเอียด และการบันทึก
(2.8.1) สัญลักษณ์
(2.8.2) หัวข้อที่พลขับต้องบันทึก
(2.8.3) หลักฐานของฝ่ายตรงข้าม และชื่อที่อยู่ของพยาน

( 3.) คำสั่งการหล่อลื่น หรือแผนการหล่อลื่น (คล.) (LO) คำสั่งการหล่อลื่น ปกติจะทำเป็นรูปแผนผัง หรือ


ทำเป็นเล่มแบบคู่มือ จะลงท้ายด้วยเลข 10 และ 12 สำหรับให้พลประจำรถ หรือช่างผู้ทำการหล่อลื่นได้
ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ คำสั่งการหล่อลื่นจะมีประจำยุทโธปกรณ์ทุกชนิด โดยมีรายละเอียดสรุปเป็นข้อ ๆ ได้
ดังนี้
(3.1) แสดงจุดที่ต้องให้การหล่อลื่น และชนิดของวัสดุที่ใช้ทำการหล่อลื่น
(3.2) บอกระยะเวลา หรือจำนวนระยะทางใช้งานของยุทโธปกรณ์ซึ่งจะต้องได้รับการหล่อลื่นหรือบริการเมื่อ
ครบที่กำหนดไว้
(3.3) ให้คำแนะนำวิธีการหล่อลื่น และการใช้วัสดุหล่อลื่นตามอุณหภูมิและสภาพของท้องถิ่นที่ใช้ยุทโธปกรณ์
(3.4) บอกจำนวนของวัสดุหล่อลื่น (ความจุ)
(3.5) ให้คำอธิบายและแสดงภาพประกอบรวมทั้งขั้นตอนในการปฏิบัติ
( 4.) คู่มือทางเทคนิ คประจำยุทโธปกรณ์ (คท.) (TM) คู่มือทางเทคนิคประจำยุทโธปกรณ์ ที่มีตัวเลข
กำหนดขั้ น การซ่ อ มบำรุ งลงท้ ายด้ ว ยเลข 10 เป็ น หนั งสื อ คู่ มื อ แสดงข้ อ มู ล รายละเอี ย ดทางเทคนิ ค ของ
ยุทโธปกรณ์ ข้อมูลต่าง ๆ นี้จะรวมคำแนะนำ วิธีใช้ยุทโธปกรณ์ และการปรนนิบัติบำรุงยุทโธปกรณ์แก่พล
ประจำรถ สรุปเป็นข้อ ๆ ได้ ดังนี้
(4.1) แสดงรายละเอียด คุณลักษณะ มาตราทานของยุทโธปกรณ์และภาพประกอบ
(4.2) ให้คำแนะนำในการเตรียมการก่อนนำยุทโธปกรณ์ออกใช้งาน
ห น ้ า | 25

(4.3) ให้คำแนะนำการใช้ยุทโธปกรณ์ในสภาพดินฟ้าอากาศผิดปกติ
(4.4) ให้คำแนะนำการ ปบ.ขั้นที่ 1
(4.5) กำหนดแผนการหล่อลื่น
(4.6) แสดงรายละเอียดเครือ่ งมือเครื่องใช้ประจำยุทโธปกรณ์ การเก็บรักษา การติดตั้ง
(4.7) ให้คำแนะนำรายละเอียด วิธีการขนส่ง
(4.8) ให้คำแนะนำวิธีการทำลายจุดสำคัญของยุทโธปกรณ์ เพื่อมิให้นำไปใช้ประโยชน์ได้อีก
ใบอนุญาตขับขี่ยานยนต์ทหาร
ใบอนุญาตขับขี่ยานยนต์ทหารนี้ กรมการขนส่งทหารบก เป็นผู้ทำการสอบคุณวุฒิ และออกให้แก่
บุคคลที่ผ่านการทดสอบและรับรองคุณวุฒิแล้วเท่านั้น มีลักษณะคล้ายใบขับขี่ของกรมตำรวจ พลขับจะต้อง
นำใบอนุญาตขับขี่ยานยนต์ทหารติดตัวไปด้วยทุกครั้งเมื่อขณะทำการขับขี่ เพื่อแสดงว่าตนได้รับอนุญาตให้
ทำการขับขี่ยานยนต์ทหารประเภทนั้น ๆ ได้ เพราะใบขับขี่ยานยนต์ทหารนี้มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท
6.2 แบบพิมพ์ใช้ในการซ่อมบำรุงขั้นที่ 2 แบบพิมพ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงขั้นที่ 2 ประกอบด้วย
(6.2.1) แบบพิมพ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุง หรือตรวจสภาพ
(6.2.2) แบบพิมพ์ที่ใช้ในการควบคุมการปฏิบัติการซ่อมบำรุงยานพาหนะ
(1.) แบบพิมพ์การจ่ายรถประจำวัน ทบ.468-375 (สพ.9-75)
ก. แบบพิมพ์นี้ผู้จ่ายรถใช้สำหรับบันทึกควบคุมรายละเอียด ในการใช้รถประจำวันของหน่วย
ข. ผู้จ่ายรถ(ผู้ที่มีลายเซ็นปล่อยรถในบัตร สพ.110) จะรวบรวมการบันทึก การขอรถ ลงในแบบพิมพ์น้ี และ
พยายามรวมการขนส่งเข้าด้วยกัน โดยพิจารณาถึง ประสิทธิภาพของยานพาหนะ เส้นทาง ความสิ้นเปลือง
และการสึกหรอ รวมทั้งการจัดชนิดของยานยนต์ พลขับ ตามความเหมาะสม เพื่อการประหยัดและให้การใช้
รถ บังเกิดผลคุ้มค่ามากที่สุด
ค. การตรวจสอบหลั งจากการใช้ รถ พลขั บ จะนำบั ต รใช้ รถ สพ.110 มาคื น แก่ ผู้ จ่ ายรถ ๆ ต้ อ ง
ตรวจสอบรายละเอียดการบันทึกของพลขับ จำนวนระยะทางการใช้งานทั้งหมด เพื่อการวางแผนเกี่ยวกับการ
นำยานพาหนะเข้ารับการ ปบ. ตามจำนวนระยะทาง หรือวันที่กำหนด หากพลขับรายงานข้อบกพร่องของ
ยานยนต์ ผู้จ่ายรถจะฉีกท่อนล่าง พร้อมทำใบของานเสนอต่อนายสิบยานยนต์เพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป
ง. การเก็บแบบพิมพ์การจ่ายรถประจำวัน ปกติจะเก็บไว้ 1 เดือนจึงทำลายได้ยกเว้น ถ้าเกิดอุบัติเหตุ จะ
บันทึกรายการในหมายเหตุ และเก็บไว้จนกว่าคดีจะสิ้นสุด
จ. ลักษณะรายละเอียดการบันทึก
การจ่ายรถข้ามวัน ผู้จ่ายรถจะต้องบันทึกการจ่ายรถในแบบพิมพ์ทุกวันจนกว่ายานยนต์นั้นจะกลับ
ในช่อง หมายเหตุ และหากยานยนต์นั้น มีรายงานข้อบกพร่อง มีสิ่งผิดปกติหรือเกิดอุบัติเหตุ ผู้จ่ายรถจะ
บันทึกในช่องหมายเหตุ ดังนี้
ยานยนต์บกพร่อง - ดูใบของาน
เกิดอุบัติเหตุ - ดูรายงานอุบัติเหตุ
- ดูรายงานสอบสวน
(2.) แบบพิมพ์รายการตรวจสภาพเฉพาะอย่าง
ยานยนต์ล้อ ทบ.468 - 368 (สพ.9-68)
ยานยนต์สายพาน ทบ.468 - 369 (สพ.9-69)
ห น ้ า | 26

ก. แบบพิมพ์รายการตรวจสภาพเฉพาะอย่างทั้ง 2 แบบนี้ ใช้สำหรับบันทึกผลการตรวจสภาพเฉพาะ


อย่าง หรือการตรวจสภาพของ ผบ.ชา ซึ่งปกติทำการตรวจอย่างน้อยปีละครั้ง แบบพิมพ์นี้เป็นเครื่องมืออย่าง
หนึ่งของ ผบ.ชา ในการหาข่าวสารเกี่ยวกับสถานภาพยุทโธปกรณ์
ข. การตรวจ จนท.ช่าง หรือผู้ที่ มีความรู้ท างเทคนิคเป็ นผู้ตรวจและลงเครื่องหมายที่ระบุ ไว้ตาม
รายการที่ตรวจ พร้อมทั้งบันทึ กการชำรุดสั้นๆ ในช่องหมายเหตุ ส่วนวิธีการปฏิบัติโดยละเอียดนั้น ดูจาก
คู่มือทางเทคนิคประจำรถ TM-20 และ TM 37-2810
ค. การเก็บแบบพิมพ์นี้หลังจากทำการตรวจสภาพแล้ว จนท.จะส่งคืนมาพร้อมสรุปผลการตรวจซึ่ง
จะต้องเก็บไว้ในซองประวัติยุทธภัณฑ์ จนถึงการตรวจครั้งต่อไปเพื่อติดตามผลการตรวจและแก้ไข
ง. ลักษณะรายละเอียดการบันทึก
ในแบบพิมพ์ที่ใช้บันทึกผลการตรวจสภาพเฉพาะอย่างนี้ แยกเป็นตอนๆ 5 ตอน คือ
1. ห้องพลขับ
2. ห้องเครื่องยนต์
3. เครื่องบังคับการส่งกำลัง การหล่อลื่น ห้องรบ (รถสายพาน)
4. ลักษณะภายนอก และอาวุธประจำ ระบบเครื่องพยุงตัวรถ
5. ล้อ เครื่องพยุงตัวรถและอุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องประกอบ (รถสายพาน) ในหัวข้อแต่ละตอน
จะมีรายการตรวจประมาณ 10 - 12 รายการ ที่ว่างไว้ 3 รายการ เพื่อให้ผู้ตรวจเลือกตรวจเพิ่มเติม จาก
แบบพิมพ์ สพ.461 และแบบพิมพ์ สพ. 462
เครื่องหมาย
 เรียบร้อย
 ต้องปรับ
 ต้องเปลีย่ นหรือซ่อม
 แก้ไขเรียบร้อยแล้ว
3. ตารางกำหนดการ ปบ.ยุทธภัณฑ์ (ทบ.468-360) (สพ.460)
ก. การ ปบ.ยุท ธภัณ ฑ์ จะต้องกระทำโดยต่อเนื่องตามกำหนดเวลาเป็นวงรอบสม่ำเสมอ ในวันหนึ่งๆ
จะต้องมียานยนต์เข้ารับการ ปบ. จำนวนเฉลี่ยเท่ากัน จึงจำเป็นต้องใช้แบบพิมพ์นี้ควบคุมระยะเวลา
และจำนวนยานพาหนะ
เข้ารับการบริการหล่อลื่น โดยนายสิบยานยนต์เป็นผู้จัดทำในการควบคุม ของนายทหารยานยนต์ และต้อง
ทำให้สมบูรณ์ล่วงหน้า 1 เดือน
(1) การใช้การปรนนิบัติบำรุงยุทธภัณฑ์ ต้องกระทำในเวลาต่างๆ กัน (ประจำวัน ประจำสัปดาห์
ประจำเดือน รอบ 3 เดือน และรอบ 6 เดือน) ให้ใช้แบบพิมพ์ที่กำหนดเวลาการ ปบ. ยานยนต์ล้อ ยานยนต์
สายพาน เครื่องยนต์หรือยุทโธปกรณ์ใด ๆ ที่มีเครื่องยนต์ติดตั้งอยู่
(2) วิธีลงกำหนดการ ปบ.ให้ลงกำหนดการ ปบ. พร้อมทั้งประเภทการ ปบ.ไว้ล่วงหน้าด้วยตัวดินสอ
ตลอดทัง้ เดือนเมื่อได้ทำการ ปบ.ไปแล้วจึงลงหมึก พยายามแบ่งเฉลี่ยการ ปบ.แต่ละประเภทให้ดีพอที่จะไม่ทำ
ให้ยานยนต์ หรือยุทโธปกรณ์ที่เข้ารับการ ปบ.แต่ละวันนั้น มีจำนวนแตกต่างกันมากเกินไป การลงอักษรย่อ
ประกอบการซ่อมบำรุงนั้นให้ปฏิบัติดังนี้
ส1 ส2 ส3 หมายถึง การ ปบ.ประจำสัปดาห์ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3
ด1 ด2 ด3 ด4 ด5 หมายถึง การ ปบ.รอบเดือนที่ 1-2-3-4-5 ตามลำดับ
3 หมายถึง การ ปบ.รอบ 3 เดือน (รถสายพาน)
ห น ้ า | 27

6 หมายถึง การ ปบ.รอบ 6 เดือน (รถล้อ)


ชช. หมายถึง ยานยนต์ชำรุด เพราะขาดชิ้นส่วนอะไหล่
ชส. หมายถึง ยานยนต์ชำรุด เพราะส่งซ่อม
ชอ. หมายถึง ยานยนต์ชำรุด เพราะอุปัทวเหตุ
(3) การปฏิบัติงาน นายทหารยานยนต์ นายสิบยานยนต์ หรื อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมการ ปบ.
จะต้องตรวจการ ปบ. ทุกวันว่าได้มีการ ปบ.ถูกต้องตามที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ และลงนามกำกับไว้ในช่องผู้
ควบคุมรับผิดชอบ แล้วลงหมึกทับตัวดินสอเพื่อแสดงให้เห็นว่า ได้ปฏิบัติการ ซ่อมบำรุงไปเป็นการเสร็จสิ้น
เรียบร้อยแล้ว กรณีที่ไม่สามารถจะทำการ ปบ.ได้ตามกำหนดเวลาให้ใช้หมึกเขียนวงกลมล้อมรอบตัวอักษรย่อ
ไว้ และให้รีบทำการ ปบ.ทันทีเมื่อสามารถทำได้ และห้ามมิให้เลื่อนกำหนดการ ปบ.ครั้งต่อไปออกไป
ข. หลักการทำตารางกำหนดการ ปบ.ยุทธภัณฑ์
(1) ต้องทราบจำนวนยุทโธปกรณ์ทั้งหมด
(2) ทำทันทีเมื่อได้รบั ยุทโธปกรณ์
(3) ทำครั้งแรก 2 ฉบับ (เดือนปัจจุบัน - ล่วงหน้า 1 เดือน)
(4) ทำล่วงหน้า 1 เดือน
(5) ใช้ปฏิทินกำหนดวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ เป็นแนวทาง
(6) กำหนดเกณฑ์วันเฉลี่ย ส. ด. 3. 6.
(7) ด้านตารางวันที่ลงด้วยดินสอดำ
(8) เว้นช่องอะไหล่ 2 ช่อง
ค. ลักษณะรายละเอียดการ ปบ.ยานยนต์ต้องกำหนดลงไว้ตลอดทั้งเดือน มีรายการแบบพิมพ์ดังนี.้ -
(1) พลขับ 1 พลประจำ
(2) ผู้รับผิดชอบ 1 ควบคุมการ ปบ.
(3) ชื่อยุทธภัณฑ์
(4) วันหรือระยะทาง(ไมล์) ปบ.ครั้งสุดท้าย
(5) หมายเลขภายในหน่วย
(6) กำหนดการ ปบ.ครั้งต่อไปในรอบเดือน (1,000 ไมล์) หรือ 6 เดือน (6,000 ไมล์)
(7) หมายเลขทะเบียนยานพาหนะ
(8) ลงช่องกาเพียง 25 ช่อง อีก 2 ช่องเหลือไว้เพื่อการโอนหรือบันทึกสิ่งจำเป็น
(9) ช่องวันที่ด้านขวา ใช้หมึกระบายทับ วันเสาร์-อาทิตย์ ใช้ลงจำนวนเลขไมล์ที่วิ่งมาแล้ว
(10) การลงกำหนดการ ปบ.ของรถแต่ ล ะคั น ลงช่ อ งวัน ที่ ด้ านขวา บรรทั ด เดี ย วกั บ หมายเลข
ทะเบียน (ไม่เว้นวันหยุด)
(11) เครื่องหมาย (คำแนะนำข้อ 2)
(12) กรณี ยานยนต์ไปราชการที่ อื่น เมื่ อกลับ มาต้ องนำ สพ.461, สพ.462 มาบั น ทึ กลงในตาราง
กำหนดการ ปบ.ด้วย
(13) ยานยนต์ชำรุดเพราะขาดชิ้นส่วน ต้องทำการ ปบ.และ ชช.ไว้ตั้งแต่วันชำรุดจนกว่าจะคืนสภาพ
(14) ยานยนต์ชำรุดเพราะส่งซ่อมให้ลง ชส.ไว้ตั้งแต่วันที่ส่งซ่อม เมื่อรับกลับมามีผลเท่ากับการ ปบ.
รอบ 6 เดือน ให้ลง 6. ในช่องวันที่รับกลับ
(15) ชำรุดเพราะอุปัทวเหตุ ซึ่งกำลังรอการสอบสวนลงช่อง ชอ.ช่องวันที่ๆ ชำรุดเมื่อถึงกำหนดการ
ปบ.ให้ทำการ ปบ.ด้วยยกเว้นกรณีที่ทำให้หลักฐานทางคดีมีผลเสีย
ห น ้ า | 28

(16) ความสม่ำเสมอในการ ปบ. ให้พยายามทำการ ปบ.ตามกำหนดเวลาให้ได้ หากมีความจำเป็น


ไม่สามารถทำได้ เพราะไปราชการนอกหน่วยให้กระทำทันทีเมื่อยานยนต์กลับมา แต่ต้องไม่เปลี่ยนแปลง
กำหนดการ ปบ.ที่กำหนดไว้เดิม
(17) การเตรียมการ ปบ. จนท.จ่ายรถจะต้องตรวจสอบจำนวนระยะทางที่ใช้งานอยู่เสมอเช่น วิ่งไป
แล้วเหลืออีก 10% ของ 1,000 ไมล์ วิ่งไปแล้วเหลืออีก 5% ของ 6,000 ไมล์ ให้เตรียมการเรียกรถเข้ารับ
การ ปบ.และไม่จ่ายรถใช้งานทางไกลจนกลับไม่ทันเข้ารับการ ปบ.อย่าวิ่งเกิน 10% ของ 1,000 ไมล์ และ
อย่าวิ่งเกิน 5% ของ 6,000 ไมล์ โดยมิได้ทำการ ปบ.เป็นอันขาด
4. แบบพิมพ์รายงาน ปบ.และตรวจสภาพทางเทคนิค
- ยานยนต์ล้อ ทบ.468 - 361 ( สพ.461 )
- ยานยนต์สายพาน ทบ.468 - 362 ( สพ.462 )
ก. แบบพิมพ์ทั้ง 2 ชนิด ไม่ใช้เป็นหลักฐานรายละเอียดสำหรับทำการ ปบ.เพียงใช้บันทึกผลการ ปบ.
และการตรวจสภาพทางเทคนิคเท่านั้น ส่วนวิธีการปฏิบัติ ปบ.โดยละเอียดนั้น ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ทบ.ที่
400/2507 เรื่ อ ง การตรวจสภาพและการ ปบ.ยานยนต์ ป ระกอบคู่ มื อ (TM-20) รวมทั้ ง การตรวจ การ
ปรับเปลี่ยนชิ้นส่วน ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดข้อผิดพลาด อันเป็นสาเหตุให้เกิดการชำรุด
ข. แบบพิมพ์นี้ใช้บันทึกผลการ ปบ.หรือตรวจสภาพทางเทคนิคได้ 3 อย่างด้วยกัน
(1) บันทึกผลการ ปบ.ประจำรอบเดือน(ด1 ด2 ด3 ด4 ด5)
(2) บันทึกผลการ ปบ.ประจำรอบ 3 - 6 เดือน (3. 6.)โดยช่างประจำหน่วย
(3) บันทึกผลการตรวจสภาพทางเทคนิค (ทบ.) จนท.หน่วยซ่อมบำรุงขั้นที่ 3
หมายเหตุ การ ปบ.รอบ 3. 6. เดือน และการตรวจสภาพทางเทคนิคมีลักษณะคล้ายกันจึงใช้รายการ
เดียวกันแต่เลือกใช้ตามความมุ่งหมาย โดยขีดฆ่าหัวข้อที่ไม่ต้องการ คือ ทน. และ ค.
ค. วิธีปฏิบัติการบันทึกทั่วไป (ข้อ 14 คำสั่ง ทบ. ที่ 400/1407)
การบันทึก
(1) ทำการ ปบ.หรือตรวจสภาพตามรายการที่ระบุไว้ในแบบพิมพ์
(2) บันทึกรายละเอียดของยานยนต์
(3) เลือกใช้ช่องที่ทำการตรวจ ด ทน. ค.ให้ถูกต้องโดยขีดฆ่าหัวข้อที่ไม่ต้องการออกเสียยานยนต์คัน
ใดไม่มีรายการที่ระบุขีดฆ่าออก
(4) ช่องสี่เหลี่ยมตรงข้ามกับรายการ แสดงว่ารายการนั้นจะได้รับการ ปบ.อย่างใด หรือใช้ตรวจ
สภาพ และแก้ไขข้อบกพร่องตามความจำเป็น หากมีสัญลักษณ์จะต้องได้รับการ ปบ. เพิ่มเติมตามสัญลักษณ์
แสดงไว้
(5) รายการตามแบบพิมพ์ที่ไม่ขีดฆ่าออกให้ทำการ ปบ.ตามลำดับที่กำหนดไว้ตามคู่มือของรถนั้นๆ
หากในคู่มือไม่กำหนดหมายเลขให้ถือปฏิบัติตามคู่มือนี้ หากจำเป็นให้เปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
(6) ถ้าตรวจพบข้อบกพร่องต้องแก้ไขทันทีหรือรายงาน ผบ.ชา หรือส่งหน่วยเหนือทันที
(7) เมื่อตรวจสภาพ ทราบสถานภาพ ตามรายการในแบบพิมพ์แล้ว ให้ใช้เครื่องหมายต่างๆ เหล่านี้
ลงในช่องสี่เหลี่ยม
- ข้อบกพร่องที่พบซึ่งยังแก้ไขไม่ได้ หรือจำเป็นต้องส่งซ่อมหน่วยเหนื อ ให้บันทึกเหตุผลสั้นๆ ลงในช่อง
หมายเหตุด้านหลังลงหมายเลขไว้ด้วย เพื่อสะดวกในการค้นหาเมื่อช่างประจำ หน่วยหรือหน่วยซ่อมขั้นเหนือ
ได้ซ่อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เขียนวงเล็บล้อมสัญลักษณ์ แล้วลงนามรับรองทับข้อบกพร่องนั้น นายทหาร
ผู้รับผิดชอบควบคุมกำกับดูแลต้องลงนามรับรองด้วย
ห น ้ า | 29

- การเขียนคำอธิบายในช่องหมายเหตุให้เขียนเฉพาะรายการที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ทันทีนั้น
- รายการ ปบ.พิเศษ เมื่อทำการ ปบ.แล้วให้วงเล็บรอบตัวอักษรเช่นกัน เพื่อแสดงให้ทราบว่าได้ทำเสร็จ
เรียบร้อยแล้ววิธีปฏิบัติ
- การ ปบ.ยานยนต์ ปกติห้ามมิให้ถอดแยกชิ้นส่วน นอกจากที่คู่มือประจำรถกำหนด ถ้าจำเป็นต้อง
ถอดแยก ต้องเปลี่ยนปะเก็นทุกครั้ง
- การเปลี่ยนส่วนประกอบขนาดเล็กที่ซ่อมใหม่หรือเปลี่ยนใหม่ ต้องตรวจให้แน่ใจว่าสะอาด ได้หล่อลื่น
และปรับถูกต้องแล้ว
- หลังตรวจสภาพทางเทคนิคแล้ว จะต้องทำให้ยานยนต์นั้นคืนสภาพใช้งานได้ทันที นอกจากยานยนต์
นั้นงดใช้การ เพราะขาดชิ้นส่วน
ง. การตรวจสภาพทั่ว ๆ ไป
คือการตรวจชิ้นส่วนและส่วนที่ยึดและรองรับส่วนนั้นๆ ด้วย เช่น สภาพทั่วๆไป การติดตั้งถูกต้อง
มั่นคง ไม่สึกหรอเกินควร
จ. คำจำกัดความ
(1) สภาพเรียบร้อย ได้แก่ การตรวจสภาพภายนอกด้วยสายตาเพื่อจะดูว่าสิ่งนั้นไม่ชำรุดเสียหายจน
ใช้ราชการไม่ได้ และพิจารณาถึงสาเหตุการชำรุด สภาพเรียบร้อย อาจอธิบายเพิ่มเติมได้ว่า ไม่บิด คด งอ ฉีก
ขาด หัก และได้รับการหล่อลื่นถูกต้อง
(2) ติดตั้งถูกต้องได้แก่ การตรวจสภาพภายนอกด้วยสายตาว่าสิ่งนั้น ติดตั้งอยู่ในตำบลที่ถูกต้อง และ
ในลักษณะที่ควรจะติดตั้งอยู่ตามปกติ
(3) ติดตั้งมั่นคงคือการตรวจสภาพภายนอกด้วยการจับเขย่า ใช้เหล็กลองงัด หรือใช้กุญแจลองขัน
เพื่อตรวจดูการหลวมคลอน ตามแท่นโครงรับ แหวนกันคลายแป้นเกลียวและสลักยึด
(4) สึกหรอเกินควร หมายถึงการสึกหรอจนเกือบจะเกินขอบเขตพิกัดหรือ เกินเขตพิกัดของสภาพใช้
ราชการได้ และอาจทำให้เกิดการชำรุดเสียหายขึ้นได้ก่อนถึงกำหนดการปรนนิบัติบำรุงรอบต่อไป ถ้าหากไม่
เปลี่ยน
ฉ. สัญลักษณ์และการ ปบ.พิเศษ
สัญลักษณ์ซึ่งทำไว้ครบกับรายการที่จะต้องทำการ ปบ.ตามระยะเวลานั้น แสดงว่าส่วนนั้นจะต้องได้ทำการ
ปบ.พิเศษตามอักษรที่ระบุ ซึ่งมีความหมายอธิบายไว้ในแบบพิมพ์

ป. = ปรับ
อ. = ทำความสะอาด
ล. = หล่อลื่นพิเศษนอกเหนือจากที่กำหนดในคำสั่งการหล่อลื่นหรือส่วนที่ถอดแยก
บ. = บริการ การกระทำพิเศษนอกเหนือจากการ ปบ.เช่น เติมน้ำกลั่น น้ำมันห้ามล้อ ถ่าย หรือเติม
น้ำมันหล่อลื่น เปลี่ยนหรือทำความสะอาดไส้กรองน้ำมันเครื่อง
ข. = ขันแน่น ปกติใช้กุญแจวัดแรงบิด เลือกกุญแจถูกขนาด มีแหวนหรือแป้นเกลียวกันคลาย
ช. สถานการณ์ทางยุทธวิธี สถานการณ์ทางยุทธวิธีอาจทำให้ไม่สามารถทำการ ปบ.ทั้งหมดในคราวเดียว
อาจแบ่ งเป็ น ตอนๆ โดยวางแผนให้ แ ล้ วเสร็จใน 1 สั ป ดาห์ หรือใช้เวลาเท่ าที่ ห าได้ท ำให้ ได้ทั้ งหมด หาก
สถานการณ์ทางยุทธวิธีบังคับ ไม่สามารถทำการ ปบ.ได้ทั้งหมด ให้ทำการ ปบ.แยกที่มีสัญลักษณ์พิเศษเป็น
อันดับแรก
ห น ้ า | 30

หมายเหตุ การบันทึกและวิธีปฏิบัติโดยละเอียด ดูจากคำสั่ง 400/2507 เรื่อง การตรวจสภาพและ การ


ปบ.ยานยนต์ประกอบคู่มือประจำรถ
ซ. การเก็บแบบพิมพ์
แบบพิมพ์ 2 อย่างนี้ เมื่อบันทึกผลการ ปบ.แล้วต้องเก็บไว้ในซองประวัติตามห้วงระยะเวลา ดังนี้
(1) บันทึกผลการ ปบ.รอบเดือนเก็บไว้ การ ปบ. 3. 6. ครั้งต่อไป
(2) บันทึกผลการ ปบ.รอบ 3. เก็บไว้ถึงการ ปบ. 3. 6. ครั้งต่อไป
(3) บันทึกผลการตรวจสภาพทางเทคนิค ต้องเก็บไว้ถึงการตรวจสภาพครั้งต่อไป

5. ซองประวัติยุทธภัณฑ์ ทบ.468-378 (สพ.478)


ก. ซองประวัติยุทธภัณฑ์มีประจำรถทุกคันและยุทธภัณฑ์หลักบางชนิด ปกติหน่วยซ่อมบำรุงเป็นผู้เก็บ
รักษา มีความมุ่งหมายในการใช้ ดังนี้
(1) ใช้บันทึ กประวัติการซ่อมบำรุงของ จนท.สพ.ที่ท ำการซ่อมแก้ เปลี่ยน หรือดัดแปลงที่ได้กระทำ
มาแล้ว โดย บันทึกเฉพาะส่วนประกอบที่สำคัญเท่านัน้
(2) การโอน การส่งซ่อม หรือส่งคืน ขั้นเหนือต้องส่งซองประวัติไปพร้อมกับยานยนต์
(3) ใช้เก็บแบบพิมพ์การ ปบ.และตรวจสภาพ
(4) รับตรวจ
ข. ซองประวัติยุทธภัณฑ์เป็นแหล่งข่าวสารสำคัญของ ผบ.ชา เกี่ยวกับการ ปบ.เพราะเก็บเอกสารแบบ
พิมพ์ต่างๆ ไว้คอื
(1) บัตรใช้รถที่มีรายงานข้อบกพร่อง และใช้ ปบ.ประจำสัปดาห์ (สพ.110)
(2) รายการ ปบ.และตรวจสภาพทางเทคนิคประจำรอบเดือน 3. 6.(สพ.461 สพ.462 อย่างใดอย่าง
หนึง่ )
(3) ใบส่งซ่อม สพ.811
(4) คำสั่งการหล่อลื่น ( คล. LO )
(5) รายงานอุบัติเหตุ สพ.91
(6) รายการตรวจสภาพเฉพาะอย่าง (สพ.9-68) (สพ.9-69)
(7) ใบของาน (สพ.9-76)
ค. ลักษณะรายละเอียดการบันทึก ( ดูตัวอย่าง )

6. ใบส่งซ่อมและสั่งงาน ทบ.468-311 (สพ.811)


ใบส่งซ่อมและสั่งงานนี้ ตามคำสั่ง ทบ.ที่ 400/2507 ระบุให้เป็นแบบพิมพ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงขั้นที่ 2 ซึ่ง
ต้องเก็บไว้ในซองประวัติ แต่ในทางปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการนั้น เกี่ยวข้องกับการส่งกำลังด้วย จึงขอ
นำไปกล่าวถึงในเรื่องแบบพิมพ์ที่ใช้ในการส่งกำลัง
แบบพิมพ์ที่ใช้ในการส่งกำลัง
ก. แบบพิมพ์ที่ใช้ในการส่งกำลัง ตามคำสั่ง ทบ.ที่ 400/2507 ระบุไว้เพียง 4 อย่างคือ
(1) ใบเบิก ทบ.400-006 (สพ.446)
(2) ใบส่งคืน ทบ.400-013 (สพ.447)
(3) ป้ายแลกเปลี่ยน หรือป้ายชื่อชิ้นส่วน ทบ.468-281 (สพ.9-81)
(4) บัตรบัญชีคุมชิ้นส่วนซ่อมและสิ่งอุปกรณ์ใช้สิ้นเปลือง ทบ.400-068
ห น ้ า | 31

ข. แบบพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งกำลังเพิ่มเติมในปัจจุบัน นอกเหนือจากที่ระบุไว้ คือ.


(1) ทะเบียนส่งกำลัง ทบ.400-002 ( สพ.272 )
(2) ใบเบิกชิ้นส่วนภายใน ทบ.468-201 ( สพ.9-79)
(3) ใบติดตามใบเบิก ทบ.400-071
(4) ใบของาน สพ.9-76
(5) ใบเบิกหรือใบส่งคืน ทบ.400-007-1 และ
- ใบเบิกพร้อมขอการขนส่ง ทบ.400-007
- แบบรายการขออนุมัติจำหน่าย
- ทะเบียนใบส่งงาน สพ.9-77
- บันทึกงานของช่าง
ค. แบบพิมพ์ที่ใช้ในการส่งกำลังมีไว้สำหรับใช้ในการเบิก การส่งคืน การควบคุมยอดสิ่ งอุปกรณ์ การเก็บ
รักษา และการแจกจ่าย รวมทั้งการควบคุมการซ่อมบำรุงประจำหน่วย
1. ใบเบิก ทบ.400-006 (สพ.446)
(ก) ใบเบิกนี้ ไว้ให้หน่วยใช้เบิกสิ่งอุปกรณ์ตามสายการส่งกำลังทุกสายงานไปยังหน่วยสนับสนุน
(ข) หน่วยใช้เบิกไปยัง มทบ.จทบ.หรือ มทบ.จทบ.ใช้เบิกไปยังคลังฝ่ายยุทธการ
(ค) การใช้
(1) การเบิก ผู้เบิกและผู้รับของ จะต้องมีตัวอย่างลายเซ็น ให้สายงานไว้ตรวจสอบด้วย
(2) ต้องใช้ใบเบิกให้ถูกต้อง คือ ทบ.400-006 หรือ ทบ.400-007-1
(3) ตรวจสอบรายละเอียดว่าได้กรอกรายการในใบเบิกครบถ้วนเช่น
(4) หมายเลขสิ่งอุปกรณ์
(5) หมายเหตุให้ชัดเจน
(6) การเบิกยุทธภัณฑ์หลักและชิ้นส่วนให้แยกเบิก
(7) สป.ที่หน่วยจัดหาได้เองห้ามทำการเบิก
(8) การส่งใบเบิกไม่ต้องมีหนังสือกำกับ เพราะใบเบิก มีรายละเอียดเพียงพอแล้ว และอาจทำให้
ล่าช้าเพราะกรรมวิธี
(9) ลักษณะแบบพิมพ์
แบบพิมพ์ 1 ชุด มี 4 สี คือ ชมพู,ขาว,เขียว และ ฟ้า
สีชมพู และ สีเขียว หน่วยจ่ายเก็บเป็นหลักฐานทางบัญชี
สีฟ้า ส่งคืนหน่วยเบิก พร้อมรับของ
สีขาว หน่วยเบิกเก็บไว้เป็นหลักฐานการเบิกและติดตาม

2. ทะเบียนส่งกำลัง ทบ.400-002 ( สพ.272 )


(ก) ทะเบียนส่งกำลังใช้สำหรับลงที่ใบเบิกของหน่วยที่ได้เบิกสิ่งอุปกรณ์ ไปยังหน่วยสนับสนุน มีความมุ่ง
หมายเช่นเดียวกับทะเบียนหนังสือราชการ ใช้บันทึกใบเบิกทั้งหมดในรอบปี สรุปความมุ่งหมายในการใช้
เป็นข้อ ๆ ดังนี้
(1) บันทึกหลักฐานใบเบิก
(2) ใช้ตรวจสอบการรับของค้างจ่าย และติดตาม
(3) ใช้ดัดแปลงเป็นทะเบียนใบส่งคืนได้
ห น ้ า | 32

(ข) ลักษณะรายละเอียด
3. แบบพิมพ์ใบติดตามใบเบิก ทบ.400-071
(ก) แบบพิมพ์ใบติดตามใบเบิกมีไว้เพื่อให้ใช้ตามสายการส่งกำลังทุกสายงาน เพื่อติดตามใบเบิกไปยังหน่วย
สนับสนุน
(ข) หน่วยใช้ติดตามใบเบิกไปยัง จทบ.มทบ.หรือ จทบ.มทบ.ติดตามใบเบิกไปยังคลังไปยังสายงานยุทธ
บริการ
หมายเหตุ รายละเอียดอยู่ในคำสั่ง ทบ.ที่ 289/2511 เรื่อง การติดตามใบเบิก
(ค) วิธีใช้และการกรอกแบบพิมพ์
(1) วิธีใช้หน่วยเบิกไปแล้ว 45 วัน ต้องสอบทาน 1 ครั้ง (ทุกๆ 45 วัน) ให้ติดตามใบเบิก โดยใช้แบบ
พิมพ์ แบบ ก.ถ้าเกินกว่า 90 วัน ยังไม่ได้รับ สป.ให้ติดตามใบเบิกด้วยแบบพิมพ์ แบบ ข.
- หน่วยใช้เขียนแบบพิมพ์ จำนวน 2 ใบ เก็บไว้ที่หน่วยเบิก 1 ใบ เสนอหน่วยจ่าย 1 ใบ
- หน่วยจ่ายเมื่อได้รับใบติดตามใบเบิก ให้บันทึกชี้แจงในแบบ ก.(ช่องที่ 6) และ ช่องที่ 7 แบบ ข.
(2) วิธีกรอกแบบพิมพ์ แบบ ก.
ดูตัวอย่าง
----------------------------------

(3) วิธีกรอกแบบพิมพ์ แบบ ข.


ดูตัวอย่าง
----------------------------------

**************
4. ใบส่งคืน ทบ.400-013 (สพ.447)
(ก) ใบส่งคืนมีไว้เพื่อใช้ส่งคืนยุทโธปกรณ์ทุกชนิด ตามสายการส่งกำลังไปยังหน่วยสนับสนุน
(ข) หน่วยใช้นำสิ่งอุปกรณ์ส่งคืน มทบ.จทบ.หรือ มทบ.จทบ.นำส่งคืนคลัง ฝ่ายยุทธบริการหรือ ฝ่ายกิจการ
พิเศษ
(ค) ใช้นำส่งคืน ยุทโธปกรณ์ชำรุด เกินอัตรา หรือยืม
(ง) การใช้
(1) ตรวจสอบการกรอกรายการในใบส่งคืนให้ถูกต้อง
(2) ส่งคืน สป.พร้อมกับหลักฐานใบส่งคืน
(3) หมายเหตุ ให้ชัดเจนว่า ส่งคืนเพราะเหตุใด ตามช่องระบุไว้หรืออาจเพิ่มข้อความตามความจำเป็น
(4) หาก สป.ที่ส่งคืนนั้น ได้เบิกรับของไปแล้ว ให้หมายเหตุด้วยว่า ได้เบิกรับของไปแล้ว ตามใบเบิก
ที่.........เมื่อ........................
(5) การส่งคืนไม่ต้องมีหนังสือกำกับ เพราะใบส่งคืนมีรายละเอียดเพียงพอแล้ว และอาจทำให้ล่าช้า
(6) รายละเอียดที่ไม่กล่าวถึง หน่วยจ่ายเป็นผู้บันทึก
(7) ลักษณะแบบพิมพ์
- 1 ชุดมี 4 สี ชมพู,เขียว,ขาว และฟ้า
- สีชมพู และสีเขียว หน่วยสนับสนุนเก็บไว้เป็นหลักฐาน
- สีฟ้า และ สีขาว หน่วยนำส่งคืนเก็บเป็นสำเนา
ห น ้ า | 33

5. ใบเบิกและใบส่งคืน ทบ.400-007-1
(ก) ใบเบิกและใบส่งคืน มีความมุ่งหมายในการใช้เช่นเดียวกับใบเบิกและใบส่งคืนดังกล่าวแล้ว แตกต่างกัน
ที่แบบพิมพ์นใี้ ช้เป็นทั้งใบเบิก และใบส่งคืน
(ข) แบบพิมพ์นี้เบิกสิ่งอุปกรณ์ได้เพียงรายการเดียว วิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับการทำใบเบิกใบส่งคืน สพ.446
และ สพ.447
(ค) การใช้
ลักษณะแบบพิมพ์
(1) ชุดหนึ่งมี 4 สี เช่นเดียวกัน
(2) การดำเนินกรรมวิธีทางเอกสาร เช่นเดียวกัน
6. บัตรแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนหรือป้ายชื่อชิ้นส่วน สพ.9-81 (ทบ.468-281)
(ก) บัตรแลกเปลี่ยนชิ้นส่วน มีไว้เพื่อใช้เบิกสิ่งอุปกรณ์จากหน่วยสนับสนุนโดยตรงด้วยวิธีการแลกเปลี่ยน
โดยตรง ซึ่งการใช้บัตรแลกเปลี่ยนนี้หน่วยสนับสนุนจะแจ้งให้หน่วยทราบว่าสิ่งอุปกรณ์ อะไรบ้างที่ใช้บัตรนี้ทำ
การเบิกแบบแลกเปลี่ยนได้
(ข) ใช้ผูกกับชิ้นส่วนที่เก็บไว้ในช่องตามตู้ ในคลังชิ้นส่วน
(ค) การใช้
(1) ผู้เบิกและรับของต้องมีตัวอย่างลายเซ็นไว้ตรวจสอบ
(2) ตรวจสอบการกรอกรายการให้ถูกต้อง
(ง) ลักษณะรายละเอียด
(1) บัตรนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน มีเลขกำกับ 1,2,3
หมายเลข 3 ผูกติดชิ้นส่วนส่งคืน
หมายเลข 2 หน่วยจ่ายเก็บ หรือผูกกับชิ้นส่วนที่จ่ายให้
หมายเลข 1 หน่วยเบิกเก็บไว้เพื่อติดตาม
(2) ข้อความทั้ง 2 ส่วน คล้ายคลึงกัน ยกเว้น หมายเลข 2 มีข้อความเพิ่มเติม 5 ข้อ ดังนี้
ข้อ 5
ข้อ 6
ข้อ 7
ข้อ 8
ข้อ 9
(3) การกรอกข้อความ
- ชนิดของยานยนต์
- หมายเลขทะเบียน
- ชื่อชิ้นส่วน
- หมายเลขชิ้นส่วน
- วันแลกเปลี่ยนและส่งคืน
หมายเหตุ ที่ด้านหลังของหมายเลข 3
7. บัตรบัญชีคุมชิ้นส่วนซ่อมและสิ่งอุปกรณ์ใช้สิ้นเปลือง ทบ.400-068
(ก) บัตรบัญชีคุมชิ้นส่วนซ่อม และสิ่งอุปกรณ์ใช้สิ้นเปลือง มีไว้เพื่อใช้ควบคุมจำนวนชิ้นส่วนตามอัตราพิกัด
ที่หน่วยมีอยู่ในครอบครอง ตามบัญชีชิ้นส่วนที่ สพ.กำหนดไว้
ห น ้ า | 34

(ข) ใช้ควบคุมการเบิกจ่าย และค้างรับ ค้างจ่าย ของเจ้าหน้าที่ส่งกำลัง


(ค) แจ้งสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการค้นหาและตรวจสอบ
(ง) ลักษณะรายละเอียด (วิธีเขียนแบบพิมพ์)
(1) หมายเลขสิ่งอุปกรณ์ (ตาม บช.อพ.)
(2) รายการที่ใช้แทนกันได้
(3) ชนิด แบบ และ ปี ยุทธภัณฑ์
(4) คลัง แถว หรือ รถ
(5) ตอน หรือ ตู้
(6) ช่องหรือลิ้นชัก
(7) ระดับสะสมอนุมัติ (เขียนด้วยดินสอดำ จาก บช.อพ.)
(8) คู่มือ (TM 9-20P)
(9) วัน, เดือน, ปี
(10) รับ (จำนวนที่ได้รับ)
(11) จ่าย (จำนวนที่จ่ายไป)
(12) คงคลัง (จำนวนในครอบครอง)
(13) ที่หลักฐานหรือหมายเลขยุทธภัณฑ์เลขงานที่นำชิ้นส่วนไปใช้
(14) วัน,เดือน,ปี (ใบเบิกชิ้นส่วน)
(15) ค้างรับ (ยังมิได้รับของ)
(16) ค้างจ่าย (ยังไม่ได้จ่าย)
(17) ที่หลักฐาน (เลขที่ใบเบิก)
(18) ทะเบียนหน่วยจ่าย (เลขที่ใบสั่งจ่าย)
หมายเหตุ แผ่ น บัน ทึ กนี้ ควรทำให้ มี ขนาดเล็กพอที่ จะเก็บ ไว้ในลิ้น ชักหรือโต๊ะเก็บ บัตรมาตรฐาน เป็ น
กระดาษแข็งใช้ได้ 2 หน้า
8. ใบเบิกชิ้นส่วนภายใน ทบ.468-201 ( สพ.9-79 )
(ก) ใบเบิกชิ้นส่วนภายใน ปกติใช้ควบคู่กับใบของาน ในกรณีที่การซ่อมบำรุงในคราวนั้นต้องการเปลี่ยน
ชิ้นส่วน นายสิบยานยนต์เป็นผู้ทำใบเบิก 1 แผ่น ใบของาน 1 แผ่น เสนอต่อผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายชิ้นส่วน
ช่างประจำหน่วยที่ทำการซ่อม หรือพลประจำรถ นำใบเบิกและของานนี้มอบกับ จนท.ส่งกำลังพร้อมของ
ชำรุด เมื่อเจ้าหน้าที่ส่งกำลังตรวจสอบแล้ว จะรับของชำรุดพร้อมกับจ่ายชิ้นส่วนที่เบิก ให้ผู้เบิกลงท้ายรับของ
แล้วเก็บใบเบิกชิ้นส่วนภายในและใบของานเป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินการทางบัญชีต่อไป
(ข) ใบเบิกชิ้นส่วนภายใน มีความมุ่งหมายในการใช้สรุปเป็นข้อๆ ดังนี้
(1) ใช้เบิกชิ้นส่วนจากเจ้าหน้าที่ส่งกำลังกรณีการซ่อมนั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนชิ้นส่วน
(2) ป้องกันมิให้มีการสับเปลี่ยนชิ้นส่วน
(3) ป้องกันการทุจริต
(4) ใช้ เป็ น หลั ก ฐานการเบิ ก จ่ าย การตั ด ยอดบั ญ ชี คุ ม ในบั ต รบั ญ ชี คุ ม และสิ่ งอุ ป กรณ์ ใช้ สิ้ น เปลื อ ง
ทบ.400-068
(ค) ลักษณะรายละเอียด
9. ใบของาน สพ.9-76
ห น ้ า | 35

(ก) แบบพิมพ์ใบของานนี้มีไว้เพื่อขออนุมัติการซ่อมภายในหน่วยต่อขั้นสูงกว่า แต่ต้องไม่เกินขั้น 2 ของ


หน่วย
(ข) สามารถใช้เป็นหลักฐานตรวจสอบการชำรุดของยานพาหนะในรอบปีได้ (เพราะต้องเก็บในซองประวัต)ิ
(ค) กรณีการซ่อมนั้น จำเป็นต้องเปลี่ยนชิ้นส่วน นายสิบยานยนต์ ต้องทำใบของานอีก 1 ใบ ควบคู่กับใบ
เบิกชิ้นส่วนภายใน เพื่อเสนอผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายชิ้นส่วน จนท.ส่งกำลังจะเก็บใบเบิกชิ้นส่วนการใช้และใบ
ของานนี้เป็นหลักฐานเพื่อดำเนินการทางบัญชี
(ง) ผบ.หน่วย ใช้บันทึกการส่งซ่อม
(จ) จนท.ใช้เป็นหลักฐานการเบิกจ่าย
(ฉ) ลักษณะรายละเอียด
หน่วยของาน

---------------------

หน่วยซ่อม

--------------------
10. ใบส่งซ่อมและสั่งงาน ทบ.468-311 ( สพ.811 )
(ก) ใบส่งซ่อมและสั่งงาน มีไว้เพื่อใช้ในการนำยุทโธปกรณ์ที่ชำรุดส่งซ่อมตามสายงานการส่งกำลังทุกสาย
งานไปยังหน่วยสนับสนุน
(ข) การใช้ ใบส่งซ่อมและสั่งงานนี้ ต้องนำส่งพร้อมกับยานยนต์ที่ชำรุดและซองประวัติยุทธภัณฑ์
(ค) ผบ.หน่วย เทียบเท่า ผบ.พัน.หรือ ผบ.ร้อย.อิสระ เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งการซ่อม
(ง) ฝอ.4 หรือนายทหารยานยนต์ เป็นผู้นำส่งซ่อม
(จ) หลักการพิจารณาการส่งซ่อม ดูจากคำสั่ง ทบ.ที่ 140/2526 เรื่อง การแบ่งชั้นการซ่อมบำรุงยานยนต์
(ฉ) ลักษณะรายละเอียด และการบันทึ กคำสั่ง ทบ.ที่ 320/23630 เรื่อง วิธีการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์
สาย สพ.
(ช) การเก็บแบบพิมพ์ใบส่งซ่อมและสั่งงานนี้ ต้องเก็บไว้ในซองประวัติ ยุทธภัณฑ์จนถึงสิ้นปี (สีเหลือง)
เมื่อครบปีแล้ว แยกมาเก็บในแฟ้มการส่งซ่อมอีก 1 ปี จึงทำลายได้

************
(สำเนา)
คำสั่งกองทัพบก
ที่ 289/2511
เรื่อง การติดตามใบเบิก
-------------
เนื่องจาก การดำเนินการเบิกสิ่งอุปกรณ์ของหน่วยต่างๆ ในกองทัพบกขณะนี้ยังไม่มีแบบพิมพ์ในการ
ติดตามใบเบิกเป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงทำให้เกิดความยุ่งยากและล่ าช้า ในด้านการส่งกำลังบำรุง เพื่อขจัด
ปัญหาดังกล่าวให้หมดไป จึงให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ให้หน่วยเบิกใช้แบบพิมพ์ในการติดตามใบเบิก ติดตามใบเบิกได้ทุกสายงาน
ห น ้ า | 36

2. การใช้แบบพิมพ์ติดตามใบเบิก ให้ใช้ตามสายการส่งกำลัง ซึ่งแบ่งออกเป็นสาย คือ


2.1 หน่วยใช้ติดตามใบเบิกไปยังหน่วยสนับสนุนโดยตรง หน่วยสนับสนุนติดตามใบเบิกไปยังหน่วย
สนับสนุนส่วนรวมหรือคลังฝ่ายยุทธบริการ หรือฝ่ายกิจการพิเศษ
2.2 หน่วยใช้ติดตามใบเบิกไปยัง มทบ.จทบ.หรือ มทบ.จทบ. ติดตามใบเบิกไปยังคลังสายงานฝ่าย
ยุทธบริการ หรือฝ่ายกิจการพิเศษ
3. แบบพิมพ์การติดตามใบเบิก ใช้ตามแบบพิมพ์คำสั่งนี้
4. ลักษณะและการใช้แบบพิมพ์
4.1 ชื่อแบบพิมพ์ ติดตามใบเบิก
4.2 อักษรย่อและหมายเลขแบบพิมพ์ ทบ.400-071
4.3 แบบพิมพ์ติดตามใบเบิก ทบ.400-071 ใช้ตามแบบพิมพ์ท้ายคำสั่งนี้
4.4 วิธีใช้ดูคำอธิบายหลังแบบพิมพ์ประกอบคำสั่ง
ห น ้ า | 37

แผนกวิชายานยนต์ กองการศึกษา
โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
สระบุรี
------------------------------
เอกสารนำ
วิชา เอกสารการซ่อมบำรุง, การซ่อมบำรุงทางธุรการ และแบบพิมพ์ประวัติ
1 .ความมุ่งหมาย เพื่อให้นักเรียนทราบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เอกสารการซ่อมบำรุงและ แบบพิมพ์ต่าง ๆ
ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงระดับหน่วย
2.ขอบเขตการศึกษา ให้นักเรียนมีความรู้ในเรื่อง
2.1 เอกสารการซ่อมบำรุง
2.2 แบบพิมพ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงขั้นที่ 1 ดังต่อไปนี้
2.2.1 บัตรการใช้รถประจำวัน ทบ.468-310
2.2.2 รายงานอุบัตเิ หตุ ทบ.468-702
2.2.3 คำสั่งการหล่อลื่น
2.2.4 คู่มือทางเทคนิคประจำยุทโธปกรณ์
2.2.5 ใบอนุญาตขับขี่ยานยนต์ทหาร
2.3 แบบพิมพ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงขั้นที่ 2 ดังต่อไปนี้
2.3.1 รายการจ่ายรถประจำวัน ทบ.468-375
2.3.2 รายการตรวจสภาพเฉพาะอย่าง
- ยานยนต์ล้อ ทบ.468-368
- ยานยนต์สายพาน ทบ.468-369
2.3.3 ตารางกำหนดการปบ.ยุทธภัณฑ์ ทบ.468-360
2.3.4 รายการปบ.และตรวจสภาพทางเทคนิค
- ยานยนต์ล้อ ทบ.468-361
- ยานยนต์สายพาน ทบ.468-362
2.3.5 ซองประวัติยุทธภัณฑ์ ทบ.468-378
2.3.6 ใบส่งซ่อมและสั่งงาน ทบ.468-311
3.ระยะเวลาการศึกษา - ชั่วโมง
4.หลักฐาน - คท.37-2810
- คำสั่งทบ.ที่ 400/2507 ลง 9 พ.ย.07 เรื่องให้ใช้ คท.37-2810 เกี่ยวกับ
การตรวจสภาพ และการปบ.ยานยนต์
5.งานมอบ ให้นักเรียนศึกษา
- คำสั่งทบ.ที่ 400/2507 ลง 9 พ.ย.07 เรื่องให้ใช้ คท.37-2810 เกี่ยวกับ
การตรวจสภาพ และการปบ.ยานยนต์
- ศึกษาและทำความเข้าใจกับแบบพิมพ์ที่ใช้ในการซบร.ขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2
- อ่านเอกสารเพิ่มเติม วิชา เอกสารการซ่อมบำรุง การซ่อมบำรุงทางธุรการและแบบพิมพ์ประวัติ
6.เอกสารจ่ายพร้อมเอกสารนำ เอกสารเพิ่มเติม
---------------------------------
ห น ้ า | 38

แผนกวิชายานยนต์ กองการศึกษา
โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
สระบุรี
-----------------------------
เอกสารนำ
วิชา การส่งกำลังบำรุงชิ้นส่วนซ่อม
หมายเลขวิชา ยน. ...........................
1. ความมุ่งหมาย เพื่อให้นักเรียนทราบถึงวิธีการปฏิบัติ เกี่ยวกับการส่งกำลังชิ้นส่วนซ่อมยุทโธปกรณ์
สายสรรพาวุธ
2. ขอบเขต ให้นักเรียนมีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
2.1 คำจำกัดความต่าง ๆ
2.2 การส่งซ่อมยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ
2.3 การเบิกจ่าย
2.4 การยืม
2.5 การส่งคืน
2.6 การขอจำหน่าย
2.7 การทำรายงานสอบสวน
3. ระยะเวลาการศึกษา - ชั่วโมง
4. หลักฐาน 4.1 ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วย การส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ ประเภท 2
และ 4 พ.ศ. 2534
4.2 คำสั่ง ทบ.ที่ 320/23630 ลง 9 พ.ย. 98 เรื่อง วิธีซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์
สายสรรพาวุธ
4.3 ระเบี ย บ ทบ.ว่าด้ ว ยชิ้ น ส่ วนซ่ อ มตามอั ต ราพิ กั ด และชิ้ น ส่ ว นซ่ อ มที่ ส ะสม
พ.ศ.2512
5. งานมอบ ให้นักเรียนศึกษา
5.1 ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วย การส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ ประเภท 2 และ 4
พ.ศ. 2534
5.2 คำสั่ง ทบ.ที่ 320/23630 ลง 9 พ.ย. 98 เรื่อง วิธีซ่อมบำรุง
ยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ
5.3 ระเบี ย บ ทบ.ว่าด้ ว ยชิ น ส่ วนซ่ อ มตามอั ต ราพิ กั ด และชิ้ น ส่ ว นซ่ อ มที่ ส ะสม
พ.ศ.2512
6. เอกสารจ่ายพร้อมเอกสารนำ เอกสารเพิ่มเติม

-----------------------------
ห น ้ า | 39

แผนกวิชายานยนต์ กองการศึกษา
โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
สระบุรี
-----------------------------
เอกสารเพิ่มเติม
1. กล่าวทั่วไป การส่งกำลัง และการซ่อมบำรุงประจำหน่วย เป็นกิจการ 2 ประการที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์จน
ไม่ อ าจแยกออกจากกั น ได้ เนื่ อ งจากการซ่ อ มบำรุงจะดำเนิ น การไปได้ ดี ย่ อ มต้ อ งอาศั ย การส่ งกำลังที่ มี
ประสิทธิภาพดีด้วย
2. ขอบเขต ให้นักเรียนทราบแนวทางปฏิบัติ ในการดำเนินการเกี่ยวกับ
2.1 วิธีการส่งกำลังสายสรรพาวุธ
2.2 การใช้แบบพิมพ์ส่งกำลัง
2.3 วิธีการเบิกเปลี่ยนชิ้นส่วน
3. อธิบาย การส่ งกำลั งที่ ด ำเนิ น การอยู่ในกองทั พ บกยึด ถือหลัก 4 ประการเป็ น แนวทางกำหนด
วงรอบ การปฏิบัติ คือ
3.1 การเสนอความต้องการ
3.2 การจัดหา
3.3 การเก็บรักษา
3.4 การแจกจ่าย
3.1 การส่งกำลังชิ้นส่วนซ่อมสำหรับการซ่อมบำรุงระดั บหน่วย ความต้องการสิ่งอุปกรณ์ชิ้นส่วน
ซ่อมของหน่วยจะลดลงเป็นอย่างมาก ถ้าหน่วยมีการซ่อมบำรุงที่ดี กล่าวคือเจ้าหน้ าที่ผู้รับผิดชอบในการซ่อม
บำรุงขั้นที่ 1 และ ขั้น ที่ 2 ได้ป ฏิ บั ติห น้ าที่ ของตนอย่างเรียบร้อยสมบู รณ์ ตามที่ กำหนดไว้ในตารางการ
ปรนนิบัติบำรุง การตรวจ และการบริการ (PMCS) ของยุทโธปกรณ์แต่ละชนิด โดยมีการกำกับดูแลตามสาย
การบังคับบัญชา อย่างเคร่งครัด
3.2 การควบคุม เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการส่งกำลังจะต้องควบคุมการปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับ
ชิ้นส่วนซ่อม ในเรื่องการเก็บรักษา และการเบิกจ่ายชิ้นส่วนที่นำไปใช้ในการซ่อม ให้ดำเนินไปโดยถูกต้อง และ
เรียบร้อยตามระเบียบที่ได้วางไว้
3.3 ระเบียบ คำสั่ง และคำชี้แจง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการส่งกำลังจะต้องทราบระเบียบ คำสั่ง
และคำชี้แจงต่าง ๆ ที่กองทัพบกได้กำหนดไว้ และต้องนำมาใช้เป็นแนวทาง และหลักในการปฏิบัติ ดังนี้
(1) คำสั่ ง ทบ.ที่ 320/23630 ลง 9 พ.ย. 2498 เรื่ อ ง วิธีซ่ อ มบำรุงยุ ท โธปกรณ์ สาย
สรรพาวุธ
(2) ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการรับสิ่งอุปกรณ์ พ.ศ. 2500
(3) ระบียบ ทบ.ว่าด้วยชินส่วนซ่อมตามอัตราพิกัด และชิ้นส่วนซ่อมที่สะสม พ.ศ.2512
(4) ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ประเภท 2 และ 4 พ.ศ. 2534
3.4 การส่งกำลังระดับหน่วย การส่งกำลังระดับหน่วยมีขอบเขตจำกัด โดยหน่วยจะทำการเบิกจ่าย
ชิ้นส่วนซ่อม เฉพาะเท่าที่จำเป็นต้องใช้ในการซ่อมบำรุงของหน่วยเท่านั้น ตามปกติหน่วยใช้ยุทโธปกรณ์มักจะ
เป็นหน่วยทางยุทธวิธี ต้องการความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง ดังนั้นเครื่องมือเครื่องใช้ และชิ้นส่วนซ่อม
ที่หน่วยได้รับอนุมัติให้ มีอยู่ในครอบครองตามอัตรา จึงจำนวนเหมาะสมกับภารกิจ ซึ่งศึกษาข้อมูลได้จาก
อจย. หรือ อสอ. ของหน่วย และ คท.9-20 P หรือคู่มือส่งกำลังชิ้นส่วนซ่อมของยุทโธปกรณ์ นั้น ๆ
ห น ้ า | 40

3.5 ความล่าช้าในการส่งกำลัง ปัญหาสำคัญที่สุดในการบำรุงรักษายุทโธปกรณ์ ให้อยู่ในสภาพใช้


การได้ตลอดเวลานั้น อยู่ที่ประสิทธิภาพในการซ่อมบำรุงระดับหน่วย อย่างไรก็ ตามหน่วยย่อมไม่สามารถทำ
การซ่อมได้ทันที หากไม่มีชิ้นส่วนซ่อมมาทดแทนสิ่งที่ชำรุ ด และหน่วยสรรพาวุธที่สนับสนุนไม่มีชิ้นส่วนซ่อม
จ่ายให้ ย่อมไม่ใช่ความผิดของหน่วยเบิก โดยทั่วไปสาเหตุของความล่าช้าอันเนื่องมาจากหน่วยใช้ หรือหน่วย
เบิก มีดังนี้
3.5.1 ลงลักษณะประจำสิ่งอุปกรณ์ผิด (ชื่อ และหมายเลขชิ้นส่วน)
3.5.2 ใช้เอกสารคู่มือส่งกำลังทีล่ ้าสมัย
3.5.3 ถ่วงเวลาในการเบิกไว้จนนาทีสุดท้าย
3.5.4 คำนวณสิทธิการในการเบิกผิด
3.5.5 สะสมในเบิกไว้คราวละมาก ๆ หรือไม่นำส่งหน่วยเบิกตามกำหนดเวลา
3.5.6 ทำใบเบิกแล้วไม่นำส่งทันที
3.5.7 เจ้าหน้าที่ไม่มีความรู้ในเรื่องการส่งกำลังดีพอ
3.5.8 ล้าช้า เพราะรอผู้บังคับบัญชาลงนาม
3.5.9 ไม่ไปรับชิ้นส่วนทันที เมื่อได้รับแจ้ง
3.5.10 การประสานงานระหว่างหน่วยเบิก และหน่วยจ่ายไม่ใกล้ชิดพอ
ปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมานี้ อยู่ในวิสัยที่ผู้บังคับหน่วยจะแก้ไขได้ไม่ยากด้วยการตรวจ และกำกับดูแล
อย่าง
ใกล้ชิด โดยใช้สายการบังคับบัญชาในการซ่อมบำรุง สำหรับสาเหตุอื่น ๆ ยังมีอีกมากเช่น ปัญหาของหน่วย
สนับสนุนเป็นต้น

--------------------------------------------
แบบพิมพ์ที่ใช้ในการส่งกำลัง
ก. แบบพิมพ์ที่ใช้ในการส่งกำลัง ตามคำสั่ง ทบ.ที่ 400/2507 ระบุไว้เพียง 4 อย่างคือ
(1) ใบเบิก ทบ.400-006 (สพ.446)
(2) ใบส่งคืน ทบ.400-013 (สพ.447)
(3) ป้ายแลกเปลี่ยน หรือป้ายชื่อชิ้นส่วน ทบ.468-281 (สพ.9-81)
(4) บัตรบัญชีคุมชิ้นส่วนซ่อมและสิ่งอุปกรณ์ใช้สิ้นเปลือง ทบ.400-068
ข. แบบพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งกำลังเพิ่มเติมในปัจจุบัน นอกเหนือจากที่ระบุไว้ คือ.
(1) ทะเบียนส่งกำลัง ทบ.400-002 ( สพ.272 )
(2) ใบเบิกชิ้นส่วนภายใน ทบ.468-201 ( สพ.9-79)
(3) ใบติดตามใบเบิก ทบ.400-071
(4) ใบของาน สพ.9-76
(5) ใบเบิกหรือใบส่งคืน ทบ.400-007-1 และ
- ใบเบิกพร้อมขอการขนส่ง ทบ.400-007
- แบบรายการขออนุมัติจำหน่าย
- ทะเบียนใบส่งงาน สพ.9-77
- บันทึกงานของช่าง
ห น ้ า | 41

ค. แบบพิมพ์ที่ใช้ในการส่งกำลังมีไว้สำหรับใช้ในการเบิก การส่งคืน การควบคุมยอดสิ่งอุปกรณ์ การเก็บรักษา


และการแจกจ่าย รวมทั้งการควบคุมการซ่อมบำรุงประจำหน่วย
1. ใบเบิก ทบ.400-006 (สพ.446)
(ก) ใบเบิกนี้ ไว้ให้หน่วยใช้เบิกสิ่งอุปกรณ์ตามสายการส่งกำลังทุกสายงานไปยังหน่วยสนับสนุน
(ข) หน่วยใช้เบิกไปยัง มทบ.จทบ.หรือ มทบ.จทบ.ใช้เบิกไปยังคลังฝ่ายยุทธการ
(ค) การใช้
(1) การเบิก ผู้เบิกและผู้รับของ จะต้องมีตัวอย่างลายเซ็น ให้สายงานไว้ตรวจสอบด้วย
(2) ต้องใช้ใบเบิกให้ถูกต้อง คือ ทบ.400-006 หรือ ทบ.400-007-1
(3) ตรวจสอบรายละเอียดว่าได้กรอกรายการในใบเบิกครบถ้วนเช่น
(4) หมายเลขสิ่งอุปกรณ์
(5) หมายเหตุให้ชัดเจน
(6) การเบิกยุทธภัณฑ์หลักและชิ้นส่วนให้แยกเบิก
(7) สป.ที่หน่วยจัดหาได้เองห้ามทำการเบิก
(8) การส่งใบเบิกไม่ต้องมีหนังสือกำกับ เพราะใบเบิก มีรายละเอียดเพียงพอแล้ว และอาจทำให้
ล่าช้าเพราะ กรรมวิธี
(9) ลักษณะแบบพิมพ์
แบบพิมพ์ 1 ชุด มี 4 สี คือ ชมพู,ขาว,เขียว และ ฟ้า
สีชมพู และ สีเขียว หน่วยจ่ายเก็บเป็นหลักฐานทางบัญชี
สีฟ้า ส่งคืนหน่วยเบิก พร้อมรับของ
สีขาว หน่วยเบิกเก็บไว้เป็นหลักฐานการเบิกและติดตาม

2. ทะเบียนส่งกำลัง ทบ.400-002 ( สพ.272 )


(ก) ทะเบียนส่งกำลังใช้สำหรับลงที่ใบเบิกของหน่วยที่ได้เบิกสิ่งอุปกรณ์ ไปยังหน่วยสนับสนุน มีความมุ่ง
หมายเช่นเดียวกับทะเบียนหนังสือราชการ ใช้บันทึกใบเบิกทั้ งหมดในรอบปี สรุปความมุ่งหมายในการใช้
เป็นข้อ ๆ ดังนี้
(1) บันทึกหลักฐานใบเบิก
(2) ใช้ตรวจสอบการรับของค้างจ่าย และติดตาม
(3) ใช้ดัดแปลงเป็นทะเบียนใบส่งคืนได้
(ข) ลักษณะรายละเอียด
3. แบบพิมพ์ใบติดตามใบเบิก ทบ.400-071
(ก) แบบพิมพ์ใบติดตามใบเบิกมีไว้เพื่อให้ใช้ตามสายการส่งกำลังทุกสายงาน เพื่อติดตามใบเบิกไปยังหน่วย
สนับสนุน
(ข) หน่วยใช้ติดตามใบเบิก ไปยัง จทบ.มทบ.หรือ จทบ.มทบ.ติดตามใบเบิกไปยังคลังไปยังสายงานยุทธ
บริการ
หมายเหตุ รายละเอียดอยู่ในคำสั่ง ทบ.ที่ 289/2511 เรื่อง การติดตามใบเบิก
(ค) วิธีใช้และการกรอกแบบพิมพ์
(1) วิธีใช้หน่วยเบิกไปแล้ว 45 วัน ต้องสอบทาน 1 ครั้ง (ทุกๆ 45 วัน) ให้ติดตามใบเบิก โดยใช้แบบ
พิมพ์ แบบ ก.ถ้าเกินกว่า 90 วัน ยังไม่ได้รับ สป.ให้ติดตามใบเบิกด้วยแบบพิมพ์ แบบ ข.
ห น ้ า | 42

- หน่วยใช้เขียนแบบพิมพ์ จำนวน 2 ใบ เก็บไว้ที่หน่วยเบิก 1 ใบ เสนอหน่วยจ่าย 1 ใบ


- หน่วยจ่ายเมื่อได้รับใบติดตามใบเบิก ให้บันทึกชี้แจงในแบบ ก.(ช่องที่ 6) และ ช่องที่ 7 แบบ ข.
(2) วิธีกรอกแบบพิมพ์ แบบ ก.
ดูตัวอย่าง
----------------------------------

(3) วิธีกรอกแบบพิมพ์ แบบ ข.


ดูตัวอย่าง
----------------------------------

**************

4. ใบส่งคืน ทบ.400-013 (สพ.447)


(ก) ใบส่งคืนมีไว้เพื่อใช้ส่งคืนยุทโธปกรณ์ทุกชนิด ตามสายการส่งกำลังไปยังหน่วยสนับสนุน
(ข) หน่วยใช้นำสิ่งอุปกรณ์ส่งคืน มทบ.จทบ.หรือ มทบ.จทบ.นำส่งคืนคลัง ฝ่ายยุทธบริการหรือ ฝ่ายกิจการ
พิเศษ
(ค) ใช้นำส่งคืน ยุทโธปกรณ์ชำรุด เกินอัตรา หรือยืม
(ง) การใช้
(1) ตรวจสอบการกรอกรายการในใบส่งคืนให้ถูกต้อง
(2) ส่งคืน สป.พร้อมกับหลักฐานใบส่งคืน
(3) หมายเหตุ ให้ชัดเจนว่า ส่งคืนเพราะเหตุใด ตามช่องระบุไว้หรืออาจเพิ่มข้อความตามความจำเป็น
(4) หาก สป.ที่ส่งคืนนั้น ได้เบิกรับ ของไปแล้ว ให้หมายเหตุด้ว ยว่า ได้เบิกรับของไปแล้ว ตามใบเบิก
ที่........เมื่อ........................
(5) การส่งคืนไม่ต้องมีหนังสือกำกับ เพราะใบส่งคืนมีรายละเอียดเพียงพอแล้ว และอาจทำให้ล่าช้า
(6) รายละเอียดที่ไม่กล่าวถึง หน่วยจ่ายเป็นผู้บันทึก
(7) ลักษณะแบบพิมพ์
- 1 ชุดมี 4 สี ชมพู,เขียว,ขาว และฟ้า
- สีชมพู และสีเขียว หน่วยสนับสนุนเก็บไว้เป็นหลักฐาน
- สีฟ้า และ สีขาว หน่วยนำส่งคืนเก็บเป็นสำเนา
5. ใบเบิกและใบส่งคืน ทบ.400-007-1
(ก) ใบเบิกและใบส่งคืน มีความมุ่งหมายในการใช้เช่นเดียวกับใบเบิกและใบส่งคืนดังกล่าวแล้ว แตกต่างกัน
ที่แบบพิมพ์นี้ใช้เป็นทั้งใบเบิก และใบส่งคืน
(ข) แบบพิ ม พ์ นี้ เบิ ก สิ่ งอุ ป กรณ์ ได้ เพี ย งรายการเดี ย ว วิ ธีป ฏิ บั ติ เช่ น เดี ย วกั บ การทำใบเบิ ก ใบส่ งคื น
สพ.446 และ สพ.447
(ค) การใช้
ลักษณะแบบพิมพ์
(1) ชุดหนึ่งมี 4 สี เช่นเดียวกัน
(2) การดำเนินกรรมวิธีทางเอกสาร เช่นเดียวกัน
ห น ้ า | 43

6. บัตรแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนหรือป้ายชื่อชิ้นส่วน สพ.9-81 (ทบ.468-281)


(ก) บัตรแลกเปลี่ยนชิ้นส่วน มีไว้เพื่อใช้เบิกสิ่งอุปกรณ์จากหน่วยสนับสนุนโดยตรงด้วยวิธี การแลกเปลี่ยน
โดยตรง ซึ่งการใช้บัตรแลกเปลี่ยนนี้หน่วยสนับสนุนจะแจ้งให้หน่วยทราบว่ าสิ่งอุปกรณ์อะไรบ้างที่ใช้บัตรนี้ทำ
การเบิกแบบแลกเปลี่ยนได้
(ข) ใช้ผูกกับชิ้นส่วนที่เก็บไว้ในช่องตามตู้ ในคลังชิ้นส่วน
(ค) การใช้
(1) ผู้เบิกและรับของต้องมีตัวอย่างลายเซ็นไว้ตรวจสอบ
(2) ตรวจสอบการกรอกรายการให้ถูกต้อง
(ง) ลักษณะรายละเอียด
(1) บัตรนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน มีเลขกำกับ 1,2,3
หมายเลข 3 ผูกติดชิ้นส่วนส่งคืน
หมายเลข 2 หน่วยจ่ายเก็บ หรือผูกกับชิ้นส่วนที่จ่ายให้
หมายเลข 1 หน่วยเบิกเก็บไว้เพื่อติดตาม
(2) ข้อความทั้ง 2 ส่วน คล้ายคลึงกัน ยกเว้น หมายเลข 2 มีข้อความเพิ่มเติม 5 ข้อ ดังนี้
ข้อ 5
ข้อ 6
ข้อ 7
ข้อ 8
ข้อ 9
(3) การกรอกข้อความ
- ชนิดของยานยนต์
- หมายเลขทะเบียน
- ชื่อชิ้นส่วน
- หมายเลขชิ้นส่วน
- วันแลกเปลี่ยนและส่งคืน
หมายเหตุ ที่ด้านหลังของหมายเลข 3
7. บัตรบัญชีคุมชิ้นส่วนซ่อมและสิ่งอุปกรณ์ใช้สิ้นเปลือง ทบ.400-068
(ก) บัตรบัญชีคุมชิ้นส่วนซ่อม และสิ่งอุปกรณ์ใช้สิ้นเปลือง มีไว้เพื่อใช้ควบคุมจำนวนชิ้นส่วนตามอัตรา
พิกัดที่หน่วยมีอยู่ในครอบครอง ตามบัญชีชิ้นส่วนที่ สพ.กำหนดไว้
(ข) ใช้ควบคุมการเบิกจ่าย และค้างรับ ค้างจ่าย ของเจ้าหน้าที่ส่งกำลัง
(ค) แจ้งสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการค้นหาและตรวจสอบ
(ง) ลักษณะรายละเอียด (วิธีเขียนแบบพิมพ์)
(1) หมายเลขสิ่งอุปกรณ์ (ตาม บชอพ.)
(2) รายการที่ใช้แทนกันได้
(3) ชนิด แบบ และ ปี ยุทธภัณฑ์
(4) คลัง แถว หรือ รถ
(5) ตอน หรือ ตู้
(6) ช่องหรือลิ้นชัก
ห น ้ า | 44

(7) ระดับสะสมอนุมัติ (เขียนด้วยดินสอดำ จาก บช.อพ.)


(8) คู่มือ (TM 9-20P)
(9) วัน, เดือน, ปี
(10) รับ (จำนวนที่ได้รบั )
(11) จ่าย (จำนวนที่จ่ายไป)
(12) คงคลัง (จำนวนในครอบครอง)
(13) ที่หลักฐานหรือหมายเลขยุทธภัณฑ์เลขงานที่นำชิ้นส่วนไปใช้
(14) วัน,เดือน,ปี (ใบเบิกชิ้นส่วน)
(15) ค้างรับ (ยังมิได้รับของ)
(16) ค้างจ่าย (ยังไม่ได้จ่าย)
(17) ที่หลักฐาน (เลขที่ใบเบิก)
(18) ทะเบียนหน่วยจ่าย (เลขที่ใบสั่งจ่าย)
หมายเหตุ แผ่ น บั น ทึ กนี้ ควรทำให้ มี ขนาดเล็กพอที่ จะเก็ บ ไว้ในลิ้น ชักหรือ โต๊ะเก็บ บั ตรมาตรฐาน เป็ น
กระดาษแข็งใช้ได้ 2 หน้า
8. ใบเบิกชิ้นส่วนภายใน ทบ.468-201 ( สพ.9-79 )
(ก) ใบเบิกชิ้นส่วนภายใน ปกติใช้ควบคู่กับใบของาน ในกรณีที่การซ่อมบำรุงในคราวนั้นต้องการเปลี่ยน
ชิ้นส่วน นายสิบยานยนต์เป็นผู้ทำใบเบิก 1 แผ่น ใบของาน 1 แผ่น เสนอต่อผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายชิ้นส่วน
ช่างประจำหน่วยที่ทำการซ่อม หรือพลประจำรถ นำใบเบิกและของานนี้มอบกับ จนท.ส่งกำลังพร้อมของ
ชำรุด เมื่อเจ้าหน้าที่ส่งกำลังตรวจสอบแล้ว จะรับของชำรุดพร้อมกับจ่ายชิ้นส่วนที่เบิก ให้ผู้เบิกลงท้ายรับของ
แล้วเก็บใบเบิกชิ้นส่วนภายในและใบของานเป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินการทางบัญชีต่อไป
(ข) ใบเบิกชิ้นส่วนภายใน มีความมุ่งหมายในการใช้สรุปเป็นข้อๆ ดังนี้
(1) ใช้เบิกชิ้นส่วนจากเจ้าหน้าที่ส่งกำลังกรณีการซ่อมนั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนชิ้นส่วน
(2) ป้องกันมิให้มีการสับเปลี่ยนชิ้นส่วน
(3) ป้องกันการทุจริต
(4) ใช้เป็นหลักฐานการเบิกจ่าย การตัดยอดในบัตรบัญชีคุมชิ้นส่วนซ่อมและสิ่งอุปกรณ์ใช้สิ้นเปลือง
ทบ.400-068
(ค) ลักษณะรายละเอียด
9. ใบของาน สพ.9-76
(ก) แบบพิมพ์ใบของานนี้มีไว้เพื่อขออนุมัติการซ่อมภายในหน่วยต่อขั้นสูงกว่า แต่ต้องไม่เกินขั้น 2 ของ
หน่วย
(ข) สามารถใช้เป็นหลักฐานตรวจสอบการชำรุดของยานพาหนะในรอบปีได้ (เพราะต้องเก็บในซองประวัต)ิ
(ค) กรณีการซ่อมนั้น จำเป็นต้องเปลี่ยนชิ้นส่วน นายสิบยานยนต์ ต้องทำใบของานอีก 1 ใบ ควบคู่กับใบ
เบิก
ชิ้นส่วนภายใน เพื่อเสนอผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายชิ้นส่วน จนท.ส่งกำลังจะเก็บใบเบิกชิ้นส่วนการใช้และใบขอ
งานนี้เป็นหลักฐานเพื่อดำเนินการทางบัญชี
(ง) ผบ.หน่วย ใช้บันทึกการส่งซ่อม
(จ) จนท.ใช้เป็นหลักฐานการเบิกจ่าย
(ฉ) ลักษณะรายละเอียด
ห น ้ า | 45

หน่วยของาน

---------------------

หน่วยซ่อม

--------------------

10. ใบส่งซ่อมและสั่งงาน ทบ.468-311 ( สพ.811 )


(ก) ใบส่งซ่อมและสั่งงาน มีไว้เพื่อใช้ในการนำยุทโธปกรณ์ที่ชำรุดส่งซ่อมตามสายงานการส่งกำลังทุกสาย
งานไปยังหน่วยสนับสนุน
(ข) การใช้ ใบส่งซ่อมและสั่งงานนี้ ต้องนำส่งพร้อมกับยานยนต์ที่ชำรุดและซองประวัติยุทธภัณฑ์
(ค) ผบ.หน่วย เทียบเท่า ผบ.พัน.หรือ ผบ.ร้อย.อิสระ เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งการซ่อม
(ง) ฝอ.4 หรือนายทหารยานยนต์ เป็นผู้นำส่งซ่อม
(จ) หลักการพิจารณาการส่งซ่อม ดูจากคำสั่ง ทบ.ที่ 140/2526 เรื่อง การแบ่งชั้นการซ่อมบำรุงยานยนต์
(ฉ) ลักษณะรายละเอียด และการบันทึกคำสั่ง ทบ.ที่ 320/23630 เรื่อง วิธีการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์
สาย สพ.
(ช) การเก็บแบบพิมพ์ใบส่งซ่อมและสั่งงานนี้ ต้องเก็บไว้ในซองประวัติ ยุทธภัณฑ์จนถึงสิ้นปี (สีเหลือง)
เมื่อครบปีแล้ว แยกมาเก็บในแฟ้มการส่งซ่อมอีก 1 ปี จึงทำลายได้

************
ห น ้ า | 46

(สำเนา)
คำสั่งกองทัพบก
ที่ 289/2511
เรื่อง การติดตามใบเบิก
-------------
เนื่องจาก การดำเนินการเบิกสิ่งอุปกรณ์ของหน่วยต่างๆ ในกองทัพบกขณะนี้ยังไม่มีแบบพิมพ์ในการ
ติดตาม
ใบเบิกเป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงทำให้เกิดความยุ่งยากและล่าช้า ในด้านการส่งกำลังบำรุง เพื่อขจัดปัญหา
ดังกล่าวให้หมดไป จึงให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ให้หน่วยเบิกใช้แบบพิมพ์ในการติดตามใบเบิก ติดตามใบเบิกได้ทุกสายงาน
2. การใช้แบบพิมพ์ติดตามใบเบิก ให้ใช้ตามสายการส่งกำลัง ซึ่งแบ่งออกเป็นสาย คือ
2.1 หน่วยใช้ติดตามใบเบิกไปยังหน่วยสนับสนุนโดยตรง หน่วยสนับสนุนติดตามใบเบิกไปยัง
หน่วยสนับสนุนส่วนรวมหรือคลังฝ่ายยุทธบริการ หรือฝ่ายกิจการพิเศษ
2.2 หน่วยใช้ติดตามใบเบิกไปยัง มทบ.จทบ.หรือ มทบ.จทบ. ติดตามใบเบิกไปยังคลังสายงานฝ่าย
ยุทธบริการ หรือฝ่ายกิจการพิเศษ
3. แบบพิมพ์การติดตามใบเบิก ใช้ตามแบบพิมพ์คำสั่งนี้
4. ลักษณะและการใช้แบบพิมพ์
4.1 ชื่อแบบพิมพ์ ติดตามใบเบิก
4.2 อักษรย่อและหมายเลขแบบพิมพ์ ทบ.400-071
4.3 แบบพิมพ์ติดตามใบเบิก ทบ.400-071 ใช้ตามแบบพิมพ์ท้ายคำสั่งนี้
4.4 วิธีใช้ดูคำอธิบายหลังแบบพิมพ์ประกอบคำสั่ง
ห น ้ า | 47

(สำเนา)
คำสั่งกองทัพบก
(คำชี้แจง)
ที่ 320/23630
เรื่อง วิธีการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ
-------------------------------------
1. ความมุ่งหมาย
เพื่อเป็นการขยายความในคำสั่งกองทัพบกที่ 306/25616 เรื่อง หลักการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์
สายสรรพาวุธ ลง 30 พ.ย.97 และเพื่อให้หน่วยที่ได้รับยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ ตามโครงการป้องกันร่วมฯ
สามารถปฏิบัติการซ่อมบำรุงและนำยุทโธปกรณ์ส่งซ่อมยังกองสรรพาวุธที่ให้การสนับสนุนได้โดยถูกต้องและ
รวดเร็ว จึงได้ออกคำสั่งชี้แจงฉบับนี้ไว้ให้หน่วยต่าง ๆ ถือเป็นหลักปฏิบัติต่อไป
2. คำจำกัดความ
2.1 ชงักใช้ราชการ
ได้แก่ลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน 3 ประการ ที่เกิดขึ้นแก่ยุทโธปกรณ์ คือ
2.1.1 ไม่ทำงานตามหน้าที่
2.1.2 ไม่ปลอดภัยในการใช้งาน
2.1.3 ถ้าใช้ต่อไปจะเสียหายมากขึ้น
2.2 ชำรุดตามสภาพ
ได้แก่ลักษณะการชำรุดที่เป็นไปตามธรรมชาติของยุทโธปกรณ์นั้น ๆ เช่น สึกหรอเพราะใช้มานาน
หรือ เสื่อมคุณภาพตามระยะเวลาเป็นต้น
2.3 ชำรุดผิดปกติหรือสูญหาย
ได้แก่การชำรุดที่ไม่เป็นไปตามสภาพ แต่เนื่องจากเหตุอื่น เช่น อุบัติเหตุ ประมาท เลินเล่อ หรือ
สูญหาย
2.4 หน่วยใช้
ได้แก่หน่วยทหารที่ใช้ยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ
3. ลักษณะแห่งการชำรุดของยุทโธปกรณ์
ในการที่ยุทโธปกรณ์ชะงักใช้ราชการนั้น ย่อมเนื่องมาจากลักษณะแห่งการชำรุด 2 ประการ คือ
3.1 ชำรุดตามสภาพ
3.2 ชำรุดผิดปกติ หรือสูญหาย
4. การปฏิบัติเมื่อยุทโธปกรณ์ชำรุดหรือชะงักใช้ราชการ
เมื่อยุทโธปกรณ์ชำรุดหรือชะงักใช้ราชการ ให้ผู้รับผิดชอบรายงานตามลำดับ ชั้น หรือผู้มีอำนาจสั่ง
การในการซ่อมบำรุงประจำหน่วยภายใน 24 ชั่วโมง และห้ามมิให้ใช้ยุทโธปกรณ์ที่อยู่ในสภาพงดใช้การนั้นอีก
ต่อไป จนกว่าจะได้ทำการซ่อมบำรุงให้กลับมาอยู่ในสภาพใช้ก ารได้เรียบร้อย ผู้มีอำนาจสั่งการในการซ่ อม
บำรุงประจำหน่วย ได้แก่
ก. ผบ.กรม หรือ ฝอ.4
ข. ผบ.พัน. หรือ ฝอ.4
ค. ผบ.ร้อยอิสสระ
( ข้อ ก. ข. ค. แก้ตามคำสั่ง ทบ. (คำชี้แจง) ที่ 19/7017 สั่ง ณ 5 มิ.ย. 05 )
ห น ้ า | 48

5. การปฏิบัติการซ่อมบำรุงของหน่วยใช้
เมื่อได้รับรายงานว่ายุทโธปกรณ์ชะงักใช้ร าชการ ให้ผู้มีอำนาจสั่งการในการซ่อมบำรุงประจำหน่วย
ปฏิบัติ ดังนี้
5.1 เมื่อชำรุดตามสภาพ
สั่งการให้เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงประจำหน่วยจัดการซ่อมทันที โดยใช้เครื่องอะไหล่ประจำหน่วยซึ่ง
ได้เบิกขั้นต้นมาจาก คส.สพ.ทบ. ถ้าการชำรุดนั้นต้องการเครื่องอะไหล่ ซึ่ งยังอยู่ในประเภทการซ่อมบำรุง
ประจำหน่ ว ย ( ขั้ น ที่ 1 - 2 ) แต่ ห น่ ว ยนั้ น ไม่ ได้ รั บ อนุ มั ติ ให้ เบิ ก ประจำหน่ ว ยได้ ก็ ให้ ท ำการเบิ ก ไปยั ง
สรรพาวุธที่ให้การสนับสนุนทันที เพื่อนำมาทำการซ่อมต่อไป
5.2 เมื่อชำรุดผิดปกติหรือสูญหาย
สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสาเหตุแห่งการชำรุดหรือสูญหาย เพื่อเก็บรายงานการสอบสวน
ไว้เป็นหลักฐานในการ เบิกทดแทน หรือการนำส่งซ่อมภายหลัง และสั่งการเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงดังเช่นในข้อ
ก.ต่อไป
5.3 ถ้าการชำรุด ของยุทโธปกรณ์อยู่ในประเภทการซ่อมบำรุงในสนาม ( ขั้น 3 - 4 )
ให้เจ้าหน้าที่นำยุทโธปกรณ์นั้นส่งซ่อมยังกองสรรพาวุธ ทั้งนี้ห้ามมิให้หน่วยใช้ทำการซ่อมบำรุง
เกินขั้นเป็นอันขาด ในการที่จะพิจารณาว่า การชำรุดของยานยนต์อยู่ในการซ่อมบำรุงขั้นใด และเป็นหน้าที่
ของหน่วยใดนั้น ให้ปฏิบัติตามคำสั่งชี้แจงกองทัพบกที่ 183/14352 เรื่อง การแบ่งขั้นการซ่อมบำรุงยานยนต์
สายสรรพาวุธ ลง
22 ก.ค.98 โดยเคร่งครัด
6. หลักฐานการนำยุทโธปกรณ์ส่งซ่อม
หลักฐานการนำยุทโธปกรณ์ส่งซ่อม ได้แก่
6.1 ใบส่งซ่อม ( สพ.811 )
6.2 ซองประวัติยุทธภัณฑ์ประจำหน่วย ( สพ.478 ) หรือสมุดประวัติ
6.3 รายงานยุทโธปกรณ์ชำรุด ( ดูข้อ 4 ) หรือรายงานการสอบสวนให้รู้
7. ใบส่งซ่อม ( สพ.811 )
7.1 ลักษณะ
ใบส่งซ่อมนี้เป็นใบส่งซ่อมแบบใหม่ มี 4 แผ่น ใช้ในการส่งซ่อมยุทโธปกรณ์สาย สพ. ทุกอย่าง คือ
อาวุธ ยานยนต์ และสรรพาวุธอื่ น ๆ แผ่ น ที่ 1 ( สี เหลื อ ง ) แผ่ น ที่ 2 ( สี ข าว ) และแผ่ น ที่ 3 ( สี ฟ้ า ) มี
ข้อความเหมือนกันทุกประการ และแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนส่งซ่อมอยู่มุมบนซ้าย ส่วนเหลือเป็นส่วน
สั่งงาน แผ่นที่ 4 ( สีชมพู ) มีลักษณะแตกต่างจากแผ่นที่ 1 - 2 - 3 คือ ใช้เป็นใบรับและหลักฐานของหน่วยส่ง
ซ่อมในการมารับยุทโธปกรณ์ที่ซ่อมเสร็จจากกองสรรพาวุธที่รับซ่อม
7.2 การกรอกข้อความ
7.2.1 ลงวัน, เดือน, ปี ที่ส่งซ่อม นาม และที่ตั้งของหน่วยส่งซ่อม เลขที่ใบส่งซ่อม และวันที่ ผู้อนุ มัติให้
ส่งซ่อมลงนาม ชนิดและหมายเลขของยุทโธปกรณ์ รายการชำรุด ผู้อนุมัติให้ส่งซ่อม และผู้ส่ง ในช่องว่างซึ่งอยู่
ในกรอบบนซ้าย ( ดูตัวอย่างในผนวกท้ายคำสั่ง )
7.2.2 รายการชำรุด ให้ลงรายการชำรุดที่สำคัญ ๆ ไว้
7.2.3 ผู้อนุมัติให้ส่งซ่อม ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาในข้อ 4 ทั้งนี้ให้หน่วยได้ส่งลายเซ็นไปให้กองสรรพาวุธที่
สนับสนุนไว้เป็นหลักฐาน
ห น ้ า | 49

7.2.4 ผู้ส่ง อาจเป็นนายทหาร สพ. นายทหารยานยนต์ หรือนายทหารที่ได้รับมอบให้เป็นผู้มีสิทธิรับ


ของ และลายเซ็นอยู่ที่กองสรรพาวุธแล้ว
7.2.5 ผู้รับ ให้เว้นช่องว่างไว้สำหรับนายทหาร หรือนายสิบควบคุมการซ่อมของกองสรรพาวุธเป็นผู้รับ
เซ็น
7.2.6 ในกรณีที่หน่วยใช้ได้เบิกชิ้นส่วนอะไหล่ที่ใช้ในการซ่อมบำรุง ขั้นที่ 2 สำหรับยุทโธปกรณ์ที่จะส่ง
ซ่อมไปยังกองสรรพาวุธแล้ว แต่ยังไม่ได้รับ ให้หมายเหตุที่ใบเบิก วันที่เบิก ชื่อหมายเลข และจำนวนของ
ชิ้นส่วนอะไหล่นั้นไว้ข้างหลังใบส่งซ่อมนั้นด้วย
7.2.7 การกรอกข้อความให้ทำทั้ง 4 แผ่น
7.2.8 ในขณะที่ยังไม่มีใบส่งซ่อม ( สพ.811 ) ให้หน่วยใช้ใบส่ง ( ย.57 ) แทน
7.3 ใบส่งซ่อมนี้สำหรับการส่งซ่อมยานยนต์ และปืนใหญ่ ให้ทำหนึ่งชุดต่อยานยนต์ 1 คัน หรือปืนใหญ่
1 กระบอก ส่วนอาวุธเบา และเครื่องควบคุมการยิงชนิดเดียวกัน ให้ทำหนึ่งชุด ต่ออาวุธเบา 10 กระบอก
หรือเครื่องควบคุมการยิง 10 ชิ้น
8. ซองประวัติยุทธภัณฑ์ประจำหน่วย ( สพ.478 )
เป็นซองสำหรับเก็บ ประวัติในการซ่ อมบำรุงยานยนต์ และยุทธภัณ ฑ์ อื่น ๆ เช่น เครื่องทำไฟฟ้ า
เครื่องประจุแบตเตอรี่ ฯลฯ ในขณะที่ ยังไม่มีซองยุทธภัณ ฑ์ประจำหน่วย ให้หน่วยใช้สมุดประวัติรถยนต์
ทหารบก ( ย.46 ) เก็บหลักฐาน และให้ส่งสมุดประวัติรถยนต์นี้มาพร้อมกับรถที่ส่งซ่อมเสมอ
9. สมุดประวัติปืน
เป็นสมุดสำหรับบันทึก รายละเอียดเกี่ยวกับตั วปืน พร้อมทั้งสถิ ติในการใช้ และการซ่อมบำรุงด้วย
อาวุธในโครงการป้องกันร่วม ที่มีสมุดประวัติได้แก่ปืนใหญ่ทุกขนาด เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 4.2 นิ้ว และปืน
ใหญ่ไร้แรงสะท้อนถอยหลัง
10. รายงานยุทโธปกรณ์ชำรุดและรายงานการสอบสวน
ในกรณีที่นำยุทโธปกรณ์ซึ่งชำรุดตามสภาพส่งซ่อม หน่วยใช้จะต้องแนบรายงานยุทโธปกรณ์ชำรุดไป
ด้วย แต่ถ้าเป็นการชำรุดผิดปกติหรือสูญหาย ใช้รายงานการสอบสวนของคณะกรรมการแทนทั้งนี้ ผู้มีอำนาจ
สั่งการในการซ่อมบำรุงประจำหน่วย จะต้องลงความเห็นในท้ายรายการนั้นด้วยเสมอ
11. การส่งยานยนต์ซ่อม
ในการส่งยานยนต์ซ่อมให้หน่วยใช้ และกองสรรพาวุธที่รับซ่อม ปฏิบัติดังนี้
11.1 หน่วยใช้ต้องนำหลักฐานในการส่งซ่อมตามข้อ 6 ไปพร้อมกับยานยนต์ที่ส่งซ่อมเสมอ กอง
สรรพาวุธจึงจะพิจารณา และรับทำการซ่อมให้
11.2 หน่วยใช้จะต้องทำความสะอาดยานยนต์ให้เรียบร้อย ภายในยานยนต์ต้องไม่มีอาวุธ กระสุน
วัตถุระเบิด และเครื่องมือเครื่องใช้ประจำรถติดมาด้วย
11.3 ให้หน่วยใช้จดหมายเลข ยาง แบตเตอรี่ และสิ่งอื่น ๆ ที่จำเป็นไว้หลังใบส่งซ่อมเพื่อป้องกัน
การสับเปลี่ยน และการเข้าใจผิดภายหลังได้
11.4 หน่วยใช้ต้องทำการซ่ อมบำรุงขั้นที่ 1 - 2 เสียให้เรียบร้อย ก่อนนำยานยนต์ส่งซ่อมยังกอง
สรรพาวุธ ถ้าปรากฏว่าหน่วยใช้นำยานยนต์มาซ่อม โดยยังมีการชำรุดในการซ่อมบำรุงขั้นที่ 1 - 2 ไม่เกิน 3
รายการ ให้กองสรรพาวุธจัดที่และเครื่องมือที่จำเป็นให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยใช้ ไปทำการซ่อมเองได้ โดยไม่
ต้องนำยานยนต์กลับไปซ่อมที่หน่วย การปฏิบัติเช่นนี้ เฉพาะเมื่อเป็นการชำรุดเล็กน้อยเท่านั้น และหน่วยใช้
พยายามหลีกเลี่ยงมิให้มีขึ้นได้
ห น ้ า | 50

11.5 ในกรณีที่มีการชำรุดในการซ่อมบำรุงขั้นที่ 1 - 2 หลายรายการซึ่งหน่วยใช้ไม่สามารถแก้ไขได้


เพราะขาดชิ้นส่วนอะไหล่ ให้กองสรรพาวุธปฏิบัติดังนี้
11.5.1 ตรวจสอบหมวดส่งกำลัง ถ้าปรากฏว่าหน่วยใช้ไม่ได้เบิกชิ้นส่วนอะไหล่ไป หรือไม่
ปรากฏว่าหน่วยใช้ ได้เคยมีหลักฐานเบิกไว้เลย ให้หน่วยใช้นำรถกลับไปทำการซ่อม หรือใบเบิกชิ้นส่วนอะไหล่
ไปทำการซ่อมเสียให้เรียบร้อยก่อน จึงนำส่งซ่อมยังกองสรรพาวุธได้
11.5.2 ถ้าหน่วยใช้ได้เคยเบิกมายังกองสรรพาวุธแล้วตามหลักฐานของใบเบิก ซึ่งหมายเหตุไว้
หลังใบส่งซ่อมแต่ยังไม่ได้รับไป ให้กองสรรพาวุธรับยานยนต์นั้นไว้ซ่อมได้
11.6 หน่วยใช้ต้องมีน้ำมันเชื้อเพลิงติดยานยนต์มาด้วย เพื่อให้กองสรรพาวุธใช้ในการเดินเครื่อง และ
ทดลองวิ่ง ในเมื่อทำการซ่อมแล้วเสร็จ ตามจำนวนดังนี้
รถยนต์บรรทุกขนาด 1/4 ตัน 20 ลิตร
รถยนต์บรรทุกขนาด 3/4 ตัน และ รยบ.2 1/2 ตัน 30 ลิตร
รถฉุดลากและรถกู้ขนาด 5 ตัน 40 ลิตร
รถกู้ขนาด 6 ตัน 50 ลิตร
รถกึ่งสายพาน 60 ลิตร
รถถัง เอ็ม 24 200 ลิตร
รถสายพานลำเลียงพลหุ้มเกราะ เอ็ม 113 260 ลิตร
รถถัง เอ็ม 41 260 ลิตร
11.7 ในกรณีที่ช่างตรวจยานยนต์ ตรวจพบข้อบกพร่อง เพราะหน่วยใช้ไม่ปฏิบัติการซ่อมบำรุงขั้นที่
1 - 2 ให้ รายงานให้ น ายทหารยานยนต์ควบคุ มการซ่ อมทราบ เพื่ อทำหนังสือแจ้งให้ ผบ.หน่ วยใช้ท ราบ
ข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่กองสรรพาวุธไม่สามารถรับยานยนต์นั้นไว้ซ่อมได้ แล้วมอบให้แก่ผู้ส่งซ่อมไปพร้อมกั บใบ
ส่งซ่อม
11.8 เมื่อช่างตรวจยานยนต์ของสรรพาวุธได้ทำการตรวจ และยอมรับไว้ทำการซ่อมได้ ให้มอบใบส่ง
ซ่อมทั้ง 4 แผ่น พร้อมด้วยแบบฟอร์มการตรวจสภาพทางเทคนิค ( สพ.461 หรือ 462 ) ให้แก่ผู้ส่งซ่อมของ
หน่วยใช้รับไป ให้แก่เจ้าหน้าที่หมู่ควบคุมการซ่อม เพื่อออกเลขงานให้นายทหาร หรือนายสิบควบคุมการซ่อม
จะมอบใบส่งซ่อมแผ่นที่ 4 ( สีชมพู ) ให้แก่ผู้ส่งซ่อมรับไว้เป็นหลักฐานในการนำมารับยานยนต์เมื่อซ่อมเสร็จ
แล้ว และในการสอบสวนเรื่องยานยนต์ที่ส่งซ่อม ให้หน่วยใช้อ้างเลขงานที่กองสรรพาวุธให้ไปนี้ด้วยเสมอ
11.9 ให้ ผบ.กองสรรพาวุธเป็นผู้พิจารณาและให้ความเห็นว่า รายงานยุทโธปกรณ์ชำรุด หรือรายงาน
การสอบสวนของคณะกรรมการที่หน่วยใช้ส่งมานั้น มีเหตุผลสมควรหรือไม่เพียงใด ถ้าปรากฏว่าเป็นการชำรุด
ผิดปกติหรือสูญหาย ให้รายงานไปตามสายบังคับบัญชาจนถึงผู้มีอำนาจสั่งการจำหน่าย เพื่อดำเนินการให้
ผู้ ก ระทำผิ ด ชดใช้ เงิน หรื อ ลงทั ณ ฑ์ ต ามแต่ ก รณี การดำเนิ น การซ่ อ มนั้ น ให้ อ ยู่ ในดุ ล ย์ พิ นิ จ ของ ผบ.กอง
สรรพาวุธ ว่าจะปฏิบัติไปทันที หรือรอจนกว่าจะได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจสั่งการจำหน่ายเสียก่อน ทั้งนี้ย่อม
ขึ้นแก่สถานการณ์ และความเร่งด่วน และจะต้องไม่เสียผลแก่ทางราชการ
11.10 เมื่อได้รับแจ้งจากกองสรรพาวุธ ว่าได้ซ่อมยานยนต์เสร็จ ให้หน่วยใช้ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการ
ตรวจรับทันที กองสรรพาวุธจะยึดใบส่งซ่อมแผ่นที่ 4 ( สีชมพู ) ไว้ และส่งคืนใบส่งซ่อมแผ่นที่ 1 ( สีเหลือง )
พร้อมด้วยแบบฟอร์มการตรวจสภาพทางเทคนิค ( สพ.461 หรือ 462 ) ให้แก่ผู้รับเพื่อเก็บไว้เป็นสถิติในการ
ซ่อมบำรุงยานยนต์นั้น ๆ ในซองประวัติยุทธภัณฑ์ประจำหน่วยต่อไป
12. การส่งอาวุธ
ห น ้ า | 51

ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการส่งซ่อมยานยนต์ โดยใช้สมุดประวัติปืนเป็นหลักฐานในการส่งซ่อมแทนซอง
ประวัติยุทธภัณฑ์ประจำหน่วย เนื่องจากปืนใหญ่เป็นอาวุธที่มีน้ำหนั กมาก ลำบากต่อการลำเลียงและอาจเกิด
การชำรุดเสียหายในระหว่างเดินทางได้ ดังนั้นจึงให้หน่วยใช้แจ้งรายการชำรุดโดยละเอียด ให้กองสรรพาวุธ
ทราบก่อนนำส่งซ่อม ในการปฏิบัติการซ่อมนั้นได้ ผบ.กองสรรพาวุธ เป็นผู้พิจารณาว่าจะส่งเจ้าหน้าที่ไปซ่อม
ให้ที่หน่วยใช้ หรือจะให้หน่วยใช้นำส่งซ่อมยังกองสรรพาวุธ

ระเบียบกองทัพบก
ว่าด้วย ชิ้นส่วนซ่อมตามอัตราพิกัดและชิ้นส่วนซ่อมทีส่ ะสม
พ.ศ.2512
------------------------------------
โดยที่ เห็นเป็นการสมควร ที่จะกำหนดความรับผิดชอบ และระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนด
รายการ และจำนวนชิ้นส่วนซ่ อม การจัดทำ การแจกจ่าย และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงบัญชีชิ้นส่วนซ่อมตาม
อัตราพิ กั ด และบั ญ ชีชิ้น ส่ วนซ่ อ มที่ ส ะสม จึงได้ก ำหนดระเบี ยบนี้ ขึ้น เพื่ อ ถือเป็ น หลักในการดำเนิ น การ
เกี่ยวกับชิ้นส่วนซ่อมต่อไป
ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วย ชิ้นส่วนซ่อมตามอัตราพิกัด และชิ้นส่วนซ่อมที่
สะสม พ.ศ.2512 ”
ข้อ 2. ให้ยกเลิก
2.1 ระเบียบกองทัพบกว่าด้วยชิน้ ส่วนซ่อมตามอัตราพิกัดและชิ้นส่วนซ่อมที่สะสมพ.ศ.2511
2.2 บรรดาระเบียบ คำสั่ง คำแนะนำ คำชี้แจง ฯลฯ ที่ขัดแย้งกับระเบียบนี้
ข้อ 3. ขอบเขต
3.1 ระเบียบนี้ใช้เป็นหลักฐานสำหรับชิ้นส่ วนซ่อมของสิ่งอุปกรณ์ทั้งในโครงการและนอก
โครงการ
3.2 ระเบียบนี้ใช้กับหน่วยใช้ หน่วยสนับสนุน และคลัง ซึ่งอยู่ในสายการส่งกำลัง และซ่อม
บำรุงของกองทัพบก
ข้อ 4. คำจำกัดความ
4.1 ชิ้นส่วนซ่อม หมายถึง องค์ประกอบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนที่ใช้ในการซ่อมบำรุงสิ่ง
อุปกรณ์ ตามที่กำหนดในคู่มือส่งกำลัง และ/หรือคู่มือเทคนิคที่มีบัญชีชิ้นส่วนซ่อม
4.2 บั ญ ชีชิ้น ส่ วนซ่ อมตามอัต ราพิ กั ด ( บชอพ.) คื อ เอกสารแสดงรายการ และจำนวน
ชิ้นส่วนซ่อมซึ่งอนุมัติให้หน่วยใช้สะสมไว้ เพื่ อสนับสนุนขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงประจำหน่วย ( ขั้น
1–2)
4.3 ชิ้นส่วนซ่อมตามอัตราพิกัด ( ชอพ.) คือ ชิ้นส่วนซ่อมสำหรับการซ่อมบำรุงประจำหน่วย
ซึ่งอนุมัติให้หน่วยใช้สะสมไว้ได้ตามบัญชีชิ้นส่วนซ่อมตามอัตราพิกัด
4.4 ชิ้นส่วนซ่อมตามอัตราพิกัดรวม คือ ชิ้นส่วนซ่อมที่ใช้ในการซ่อมบำรุงยุทธภัณฑ์ได้ตั้งแต่
2 ชนิดขึ้นไป
4.5 บัญชีชิ้นส่วนซ่อมที่สะสม ( บชสส.) คือ เอกสารแสดงรายการชิ้นส่วนซ่อมซึ่งต้องการ
ให้หน่วยสนับสนุนโดยตรง และหน่วยสนับสนุนทั่วไป สะสมไว้เพื่อสนับสนุนหน่วยใช้ และหน่วยสนับสนุนใน
สายงานส่งกำลังบำรุง
4.6 หน่วยใช้ หมายถึง หน่วยซึ่งได้รับประโยชน์จากการใช้สิ่งอุปกรณ์นั้นโดยตรง
4.7 หน่วยสนับสนุนโดยตรง หมายถึง หน่วยของสายงานฝ่ายยุทธบริการ ซึ่งมี
ห น ้ า | 52

ภารกิจสนับสนุนในด้านการส่งกำลัง และ/หรือการซ่อมบำรุง ต่อ


4.7.1 หน่วยในอัตราการจัดของหน่วยระดับกองพล
4.7.2 หน่วยอื่น ๆ ภายในพื้นที่ซึ่งได้รับมอบหมายให้สนับสนุน

4.8 หน่ ว ยสนั บ สนุ น ทั่ ว ไป หมายถึ ง หน่ ว ยของสายงานฝ่ า ยยุ ท ธบริ ก าร ซึ่ ง มี ภ ารกิ จ
สนับสนุนด้านการส่งกำลัง และ/หรือการซ่อมบำรุง ต่อ
4.8.1 หน่วยสนับสนุนโดยตรง
4.8.2 หน่วยอื่น ๆ ภายในพื้นที่ซึ่งได้รับมอบหมายให้สนับสนุน
4.9 คลัง หมายถึง หน่วยที่มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติภารกิจ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ
หลายอย่างในเรื่อง ความต้องการ การควบคุม การจัดหา การตรวจ การแยกประเภท การแจกจ่าย การซ่อม
บำรุง และจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์
4.10 คลังแจกจ่าย หมายถึง คลังสายงาน คลังทั่วไป คลังกองบัญชาการช่วยรบ และคลัง
ส่วนภูมิภาค ซึ่ งดำเนินการสะสมและแจกจ่ายสิ่งอุปกรณ์ โดยปกติจะแบ่งเป็นหน่วยบัญชีคุม และคลังเก็บ
รักษา
4.11 คลังสายงาน หมายถึง คลังซึ่งกรมฝ่ายยุทธบริการ และกรมฝ่ายกิจการพิเศษได้จัดตั้ง
ขึ้นเพื่อดำเนินการสะสม และแจกจ่ายสิ่งอุปกรณ์
4.12 คลังทั่วไป หมายถึง คลังของหน่วยบั ญ ชาการ ซึ่งใช้สำหรับดำเนินการเกี่ยวกับสิ่ง
อุปกรณ์ และยุทธภัณฑ์ ในความรับผิดชอบของกรมฝ่ายยุทธบริการต่าง ๆ อย่างน้อย 2 กรมฝ่ายยุทธบริการ
4.13 คลังกองบัญ ชาการช่วยรบ หมายถึง คลังซึ่งกองบัญ ชาการช่วยรบได้จัดตั้งขึ้นเพื่อ
ดำเนินการสะสม และแจกจ่ายสิ่งอุปกรณ์
4.14 คลังส่วนภูมิภาค หมายถึง คลังซึ่งมณฑลทหารบก หรือจังหวัดทหารบกได้จัดตั้งขึ้น
เพื่อดำเนินการสะสม และแจกจ่ายสิ่งอุปกรณ์ให้แก่หน่วยใช้ภายในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
4.15 คลังเก็บรักษา หมายถึง คลังซึ่งดำเนินการเก็บรักษาสิ่งอุปกรณ์ที่ได้รับอนุมัติให้สะสม
ไว้เพื่อการแจกจ่ายดำเนินไปด้วยดี
ข้อ 5. ความรับผิดชอบ
5.1 กบทบ.
5.1.1 กำหนดนโยบายและหลักการในการจัดทำบัญชีชิ้นส่วนซ่อมตามอัตราพิกัด
และบัญชีชิ้นส่วนซ่อมที่สะสม
5.1.2 จัดทำ แก้ไข ปรับปรุง แบบธรรมเนียมเกี่ยวกับชิ้นส่วนซ่อมตามอัตราพิกัด
และชิ้นส่วนซ่อมที่สะสม เพื่อให้ ทบ.สามารถควบคุมการปฏิบัติของหน่วยที่เกี่ยวข้องได้ และให้สอดคล้องกับ
นโยบาย หรือหลักการที่อาจเปลี่ยนแปลงไป
5.1.3 กำกับดูแลหน่วยต่าง ๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบซึ่งระบุไว้ในระเบียบนี้ เพื่อให้
การปฏิบัติงานไปตามมุ่งหมายที่กำหนดไว้
5.2 กรมฝ่ายยุทธบริการ
5.2.1 จัดหาชิ้นส่วนซ่อม
5.2.2 ควบคุม กำกับดูแล คลังกรมฝ่ายยุทธบริการ หน่วยสนับสนุนทั่วไป หน่วย
สนับสนุนโดยตรงในสายงานของตน เพื่อให้ปฏิบัติตามนโยบาย และหลักการเกี่ยวกับการสะสม และการส่ง
กำลังชิ้นส่วนซ่อม
ห น ้ า | 53

5.2.3 อำนวยการ จัดทำ และแจกจ่าย บัญชีชิ้นส่วนซ่อมตามอัตราพิกัด และบัญชี


ชิ้นส่วนซ่อมที่สะสม
5.3 คลัง
5.3.1 จัดทำบัญ ชีชิ้นส่วนซ่อมตามอัตราพิกัดขั้นต้นของหน่วยใช้ เฉพาะรายการ
ยุทธภัณฑ์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของตน แล้วแจกจ่ายให้คลัง หน่วยสนับสนุน และหน่วยใช้ที่เกี่ยวข้อง
5.3.2 สะสมชิ้นส่วนซ่อมเฉพาะรายการที่อยู่ในความรับผิดชอบไว้ในปริมาณ
ที่เพียงพอสำหรับสนับสนุนหน่วยซึ่งตนมีภารกิจต้องให้การสนับสนุนหน่วยใช้โดยตรง
5.3.3 อนุมัติการเปลี่ยนแปลงบัญชีชิ้นส่วนซ่อมตามอั ตราพิกัด ตามเกณฑ์ความ
ต้องการของหน่วยใช้ ในกรณีที่ทำหน้าที่สนับสนุนหน่วยใช้โดยตรง
5.4 หน่วยสนับสนุนโดยตรง
5.4.1 อนุมัติการเปลี่ยนแปลง บชอพ. ตามเกณฑ์ความต้องการของหน่วยใช้
5.4.2 ทำ บชสส.ของตนและแก้ไขให้ตรงกับเกณฑ์ความต้องการในปัจจุบัน
5.4.3 สะสมชิ้นส่วนซ่อมตาม บชสส.
5.4.4 เสนอ บชสส. และการแก้ไขให้หน่วย หรือคลังที่สนับสนุนทราบ
5.5 หน่วยสนับสนุนทั่วไป
5.5.1 ทำ บชสส.ของตนและแก้ไขให้ตรงกับเกณฑ์ความต้องการในปัจจุบัน
5.5.2 สะสมชิ้นส่วนซ่อมตาม บชสส.
5.5.3 เสนอ บชสส. และการแก้ไขให้หน่วย หรือคลังที่สนับสนุนทราบ
5.6 หน่วยใช้
5.6.1 สะสมชิ้นส่วนซ่อมตาม บชอพ.
5.6.2 จัดหา และเก็บรักษา บชอพ. ไว้ให้พร้อมที่จะใช้ และรับตรวจได้เสมอ
5.6.3 จัดทำ บชอพ.รวมของหน่วย ( ตามผนวก ก )
5.6.4 บันทึกข้อมูลส่งกำลังชิ้นส่วนซ่อมลงในแผนเก็บของ และสำรวจยอด ทบ.400
– 068 ( ตามผนวก ข ) ทุกครั้งที่มีการเบิก รับ และจ่าย
5.6.5 สอบทานความต้องการชิ้นส่วนซ่อมจากแผนเก็บของ และสำรวจยอดถ้ามี
การเปลี่ยนแปลงไปจาก บชอพ. ก็แจ้งไปยังหน่วยสนับสนุนโดยตรงเพื่อขออนุมัติเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ตรงกับ
ความต้องการที่คำนวณได้
ข้อ 6. การปฏิบัติเกี่ยวกับ ชอพ.
6.1 การจัดทำ บชอพ.ขั้นต้น และการแจกจ่าย
6.1.1 คลัง ใช้แบบพิมพ์ ทบ.400 - 065 บัญชีชิ้นส่วนซ่อมตามอัตราพิกัด
( ผนวก ก )
6.1.2 ชอพ.ขั้นต้น สำหรับ 15 วันส่งกำลัง ใช้รายการ และจำนวนชิ้น ส่วนซ่ อม
ตามที่ระบุไว้ในคู่มือส่งกำลัง หรือคู่มือเทคนิค สำหรับจำนวนนั้น ถ้าคู่มือดังกล่ าวข้างต้นแสดงความสิ้นเปลือง
ต่อยุทธภัณฑ์ 100 ชิ้นไว้ ก็คำนวณโดยใช้สูตร
จำนวนเกณฑ์สูงในช่องจำนวนยุทธภัณฑ์ใบแบบ ทบ.400-066 X ความสิ้นเปลือง
100
= ระดับสะสมที่อนุมัติ
ผลลั พ ธ์ที่ ได้ ใช้จ ำนวนเต็ ม ทศนิ ยมตั้ งแต่ .5 ขึ้ น ไป ปั ด เศษเป็ น 1 ต่ำกว่านั้ น ปั ดเศษเป็ น 0 เช่ น
จำนวนความสิ้นเปลืองในคู่มือส่งกำลัง และคู่มือเทคนิค = 5 มียุทธภัณฑ์อยู่ 44 ชิ้น
ห น ้ า | 54

ระดับสะสมที่อนุมัติ = 50 X 5 = 2.5 ( ปัดเศษ .5 เป็น 1 ) = 3


100
6.1.3 รายการที่ มี ค วามสำคั ญ ต่ อ การรบ ใช้ ต ามคู่ มื อ ส่ งกำลัง และ/หรือ คู่ มื อ
เทคนิค และให้ทำเครื่องหมายดอกจันทร์ไว้ในช่องรายการที่สำคัญต่อการรบของ บชอพ. ด้วย
6.1.4 คลังสายงาน แจกจ่าย บชอพ.ขั้นต้น ซึ่งจัดทำขึ้นตามข้อ 5.3.1 ให้แก่หน่วย
ใช้ หน่วยสนับสนุน และคลังสายงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
6.2 การปฏิบัติของหน่วยใช้เมื่อได้รับ บชอพ.ขั้นต้น
6.2.1 ตรวจสอบรายการและจำนวนชิ้นส่วนซ่อมที่มี คงคลังรวมค้างรับกับ บชอพ.
ขั้นต้นที่ได้รับ แล้วเบิก ส่งคืน หรือแจ้งยกเลิกค้างรับ เพื่อให้มีรายการและจำนวนคงคลังรวมค้างรับ ของ
ชิ้นส่วนซ่อมตรงกับ บชอพ.นั้น ทั้งนี้ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับ บชอพ.ขั้นต้น
6.2.2 ทำ บชอพ.รวมด้วยแบบพิมพ์ ทบ.400-066 โดยใช้ บชอพ.ขั้นต้นเป็น
มูลฐาน และแยกสำหรับแต่ละสายยุทธบริการ แล้วเสนอหน่วยหรือคลังที่สนับสนุนโดยตรงไว้เป็นหลักฐาน
6.2.3 ใช้ ชอพ.ทำการซ่อมบำรุงประจำหน่วย แล้วเบิกทดแทนให้เต็ มระดับอยู่
เสมอ
6.2.4 เก็บเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับชิ้นส่วนซ่อม และ บชอพ. ไว้เป็นหลักฐานใน
สำนักงานของหน่วย และให้พร้อมที่จะรับตรวจได้
6.3 การทำบัญ ชีคุม ทุกหน่วยที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการซ่อมบำรุงประจำหน่วย บันทึก
สถานภาพและข้อมูลการส่งกำลังของชิ้นส่วนซ่อมทุกรายการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ในการซ่อมบำรุง ลงในแผน
เก็บของและสำรวจยอด ( ทบ.400-068 ) ดังนี้
6.3.1 สำหรั บ ชอพ. คงบั น ทึ ก ตามวิ ธี เขี ย นใน ผนวก ข และหมายเหตุ ค ำว่ า
“ชอพ.” ด้วยสีแดงไว้มุมบนซ้าย
6.3.2 สำหรับ ชิ้ น ส่ วนซ่ อ มที่ ไม่ ใช่ ชอพ. แต่ ได้ รับ อนุ มั ติ ให้ ใช้ ในการซ่ อ มบำรุง
ประจำหน่วยได้ โดยบันทึกตามวิธีเขียนใน ผนวก ข ยกเว้นช่องที่เก็บและช่องระดับสะสมที่อนุมัติ
6.4 การสอบทานความต้องการ เพื่อปรับปรุง บชอพ. ให้มีรายการ และจำนวนของ ชอพ.
ได้สมดุลกับความต้ องการในการซ่อมบำรุงประจำหน่วย ให้หน่วยที่รับผิดชอบการซ่อมบำรุงประจำหน่วย
ปฏิบัติดังนี้
6.4.1 ชอพ.ให้ ส อบทานแผนเก็ บ ของและสำรวจยอดทุ ก รอบเดื อ น เพื่ อ ทราบ
ความถี่และจำนวนของความต้องการทดแทนในห้วง 6 เดือนที่แล้วมา และขีดเส้นแดงในแผนเก็บของและ
สำรวจยอดใต้บันทึกสุดท้ายของรอบเดือนทางด้านขวามือ
6.4.2 ชิ้นส่วนซ่อมที่ไม่ปรากฏใน บชอพ. แต่คู่มือส่งกำลังหรือคู่มือเทคนิคอนุมัติ
ให้เบิกไปใช้ในการซ่อมบำรุงประจำหน่วยได้ เช่น รายการที่มีเครื่องหมายแสดงไว้ว่า “ตามความต้องการ”
หรือรายการที่กำหนดระดับสะสมไว้ แต่ผลของการคำนวณโดยถือจำนวนยุทธภัณฑ์เป็นหลัก ได้ผลลัพธ์ต่ำ
กว่า 0.5 นั้น ถ้าปรากฏว่ามีความถี่ของความต้องการทดแทนตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปในห้วง 6 เดือนที่แล้วมา
เมื่อใด ให้สอบทานความต้องการตามข้อ 6.4.1 ได้
6.5 การเพิ่ม และการตัดรายการใน บชอพ.
6.5.1 การเพิ่มรายการชิ้นส่วนซ่อมที่ไม่ปรากฏใน บชอพ. แต่คู่มือส่งกำลังหรือ
คู่มือเทคนิคอนุมั ติไปใช้ในการซ่อมบำรุงประจำหน่วยได้ ถ้ารายการใดมีความถี่ของความต้องการทดแทน
ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปในห้วง 6 เดือนที่แล้วมา ให้คำนวณระดับสะสมที่อนุมัติ โดยนำจำนวนรวมที่ต้องการของ
ความต้องการทดแทนในห้วง 6 เดือนที่แล้วมา ไปค้นหาระดับสะสมที่อนุมัติจาก
ห น ้ า | 55

ตาราง ผนวก ค วิธีหา ดูตัวอย่างท้ายผนวก ค และเสนอขอเพิ่มรายการนั้นต่อหน่วยสนับสนุนโดยตรง เมื่อ


ได้รับอนุมัติแล้ว ให้เพิ่มรายการนั้นลงใน บชอพ. และทำการเบิกให้เต็มระดับสะสมที่อนุมัติ
6.5.2 การตัดรายการ ชอพ.รายการใด เมื่อมีการบันทึกความต้องการทดแทนใน
แผนเก็บของและสำรวจยอด ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป และมีความถี่ของความต้องการทดแทนต่ำกว่า 3 ครั้งใน
ห้วง 6 เดือนที่แล้วมา ให้ขอตัดรายการนั้นต่อหน่วยสนับสนุนโดยตรง เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้ตัดรายการนั้น
ออกจาก บชอพ.ได้ ชอพ. รายการที่มีความสำคัญต่อการรบ แม้ว่าจะมีความถี่ของความต้องการทดแทนไม่ถึง
3 ครั้งในห้วง 6 เดือนที่แล้วมา ไม่ต้องตัดรายการนั้นออก คงสะสมไว้ได้จำนวน 1 หน่วยนับ เมื่อตัดรายการ
ชอพ. ออกจาก บชอพ.แล้ว ให้ส่งคืน และ/หรือยกเลิกค้างรับต่อหน่วยสนับสนุนโดยตรงด้วย
6.6 การเพิ่ม และการลดระดับสะสมที่อนุมัติใน บชอพ.
6.6.1 การเพิ่มระดับสะสมที่อนุมัติ ชอพ. รายการใดที่มีความถี่ของความต้องการ
ทดแทนตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปในห้วง 6 เดือนที่แล้วมา ให้คำนวณระดับสะสมที่อนุมัติตามวิธีในข้อ 6.5.1 ถ้าได้
ผลลัพธ์สูงกว่าใน บชอพ. ให้ขอเพิ่มระดับสะสมนั้นต่อหน่วยสนับสนุนโดยตรง เมื่อได้รับอนุ มัติแล้วจึงเพิ่ม
ระดับสะสมใน บชอพ.ได้ และเบิกให้เต็มระดับสะสมที่อนุมัติเว้น ชอพ.ค่าควรซ่อม ซึ่ งกำหนดให้ทำการ
แลกเปลี่ยนโดยตรง หรือ ชอพ.ที่คลังสายงานรับผิดชอบการส่งกำลังกำหนดไว้ว่าไม่ให้เพิ่มระดับสะสมเกินกว่า
ที่อนุมัติไว้ใน บชอพ.ขั้นต้น
6.6.2 การลดระดับสะสมที่อนุมัติ ชอพ. รายการใดถ้ามีความถี่ของความต้องการ
ทดแทนตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปในห้วง 6 เดือนที่แล้วมา ให้คำนวณระดับสะสมที่อนุมัติเช่นเดียวกับ ข้อ 6.5.1
ถ้าต่ำกว่าที่กำหนดไว้ใน บชอพ.ให้ขอลดระดับสะสมต่อหน่วยสนับสนุนโดยตรง เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงลด
ระดับสะสมในรายการนั้นใน บชอพ.ได้ การลดระดับสะสมที่อนุมัติของ บชอพ.ลงต่ำกว่าที่กำหนดใน บชอพ.
ขั้นต้น ให้กระทำได้เมื่อมีข้อมูลความต้องการทดแทนในแผนเก็บของและสำรวจยอดตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป
และส่งคืน และ/หรือยกเลิกค้างรับต่อหน่วยสนับสนุนโดยตรง
6.7 ข้อยกเว้น
6.7.1 ชอพ. รายการใดเป็น สป. ล้าสมัย หรือหน่วยใช้ไม่มียุทธภัณฑ์ที่ใช้ ชอพ.
รายการนั้นสำหรับการซ่อมบำรุงประจำหน่วยอีกแล้ว ให้หน่วยใช้ส่งคืนทันที และตัด ชอพ.รายการนั้นออก
จาก บชอพ.ได้โดยอัตโนมัติ
6.7.2 ชอพ.รายการใดมีความต้องการทดแทนไม่ถึง 3 ครั้งในห้วง 6 เดือนที่แล้ว
มา เนื่องจากยุทธภัณฑ์ไม่ได้ใช้งาน เช่น งดใช้การ ฯลฯ หรือ ชอพ.นั้นมีความต้องการเฉพาะฤดูกาล ให้สะสม
ไว้ได้เท่ากับจำนวนคงคลังที่มีอยู่ แต่ไม่เกินระดับสะสมที่อนุมัติครั้งสุดท้าย
6.7.3 เมื่อได้รับแจ้งการเปลี่ยนแปลงหมายเลขสิ่งอุปกรณ์ และ/หรือรายการจาก
หน่วยสนับสนุนโดยตรง ให้หน่วยใช้แก้ไข บชอพ. กับแผนเก็บของและสำรวจยอดได้โดยอัตโนมัติ เพื่อใช้
สำหรับเบิกคราวต่อไปด้วย
6.8 วิธีปรับปรุง บชอพ.ตามข้อ 6.5 และ 6.6
6.8.1 หน่วยใช้ ใช้แบบพิมพ์ ทบ.400-066 ตามผนวก ก เขียนเฉพาะรายการที่
ต้องการปรับปรุง บชอพ. เสนอหน่วยสนับสนุนโดยตรง จำนวน 2 ชุด ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ทำการ
สอบทานความต้องการ
6.8.2 หน่วยสนับสนุนโดยตรง ตรวจสอบหมายเลขสิ่งอุปกรณ์ รายการขั้นการ
ซ่อม และความต้องการที่ขอปรับปรุง บชอพ. เมื่อเห็นว่าถูกต้องแล้ว ให้หัวหน้าหน่วยสนับสนุนโดยตรง หรือผู้
ห น ้ า | 56

ที่ได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามอนุมัติ แล้วส่งคืนให้หน่วยที่เสนอมา จำนวน 1 ชุดภายใน


30 วัน นับแต่วันที่ได้รับ
6.8.3 เมื่อได้รับหลักฐานที่อนุมัติแล้ว ให้แก้ไข บชอพ.ได้ตามอนุมัติ
6.9 การปฏิบัติเพิ่มเติมจากการปรับปรุง บชอพ.
6.9.1 การเพิ่มรายการ และการเพิ่มระดับสะสมที่อนุมัติ
6.9.1.1 เพิ่มระดับสะสมที่อนุมัติในแผนเก็บของและสำรวจยอด
6.9.1.2 ตรวจสอบจำนวนคงคลัง ค้างรับ และค้างจ่ายเปรียบเทียบกับ
ระดับสะสมที่อนุมัติ ถ้าจำเป็นให้เบิกทดแทนจากหน่วยสนับสนุน เพื่อให้เต็มระดับระดับสะสมที่อนุมัติ
6.9.2 การตัดรายการ และการลดระดับสะสมที่อนุมัติ
6.9.2.1 ลดระดับสะสมที่อนุมัติในแผนเก็บของและสำรวจยอด
6.9.2.2 ตรวจสอบจำนวนคงคลัง ค้างรับ และค้างจ่ายเปรียบเทียบกับ
ระดับสะสมที่อนุมัติ ถ้าจำเป็นให้ส่งคืน และ/หรือยกเลิกค้างรับต่อหน่วยสนับสนุนโดยตรง เพื่อมิให้เกินระดับ
สะสมที่อนุมัติ
ข้อ 7. การปฏิบัติเกี่ยวกับชิ้นส่วนซ่อมที่สะสม ( ชสส.)
7.1 หลักเกณฑ์ในการสะสม
ชิ้นส่วนซ่อมรายการใดที่เข้าหลักเกณฑ์ในการสะสมต่อไปนี้ให้จัดไว้เป็น
พวก ชสส. และต้องทำ บชสส. ได้แก่
7.1.1 ชิ้นส่วนซ่อมที่มีความถี่ของความต้องการประจำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ในห้วง
ควบคุม 12 เดือน ( 360 วัน )
7.1.2 ชิ้ น ส่ ว นซ่ อ มที่ มี ค วามถี่ ข องความต้ อ งการประจำต่ ำกว่ า 3 ครั้งในห้ ว ง
ควบคุม 12 เดือน ( 360 วัน ) แต่เป็นรายการที่จำเป็นต่อภารกิจ รวมทั้งรายการต่อไปนี้ คือ
7.1.2.1 ชอพ.ของหน่วยซึ่งตนมีภารกิจให้การสนับสนุน
7.1.2.2 ชสส.ของหน่วยซึ่งตนมีภารกิจให้การสนับสนุน
7.1.2.3 ชิ้นส่วนซ่อม ที่อนุมัติให้สะสมไว้ได้ โดยจำนวนตามคู่มือส่งกำลัง
หรือคู่มือเทคนิคที่มีบัญชีชิ้นส่วนซ่อม เพื่อประกันได้ว่ายุทธภัณฑ์ในความสนับสนุนสามารถนำไปใช้งานได้โดย
ต่อเนื่อง
7.1.2.4 องค์ ป ระกอบของยุ ท ธภั ณ ฑ์ ที่ ก รมฝ่ ายยุ ท ธบริก ารอนุ มั ติ ให้
หน่วยสนับสนุนในการส่งกำลังสะสมไว้ เพื่อจ่ายทดแทนองค์ประกอบที่ชำรุดซ่อมของยุทธภัณฑ์ เมื่อหน่วย
สนับสนุนการซ่อมบำรุงไม่สามารถซ่อมยุทธภัณฑ์ที่ชำรุดให้แล้วเสร็จทันความต้องการ
7.1.2.5 ชิ้นส่วนซ่อมควบคู่ ที่ จัดให้โดยอัตโนมัติที่ หน่ วยจ่ายส่งให้ เพื่ อ
สนับสนุนยุทธภัณฑ์รายการใหม่
7.1.2.6 ชิ้นส่วนซ่อมตามบัญชีแลกเปลี่ยนโดยตรง ซึ่งกรมฝ่ายยุทธบริการ
อนุมัติให้สะสม
7.1.2.7 ชิ้ น ส่ ว นตามบั ญ ชี ส ะสม ของโรงงานซ่ อ มบำรุ ง ของหน่ ว ย
สนับสนุน
7.2 การจัดทำบัญชีชิ้นส่วนซ่อมที่สะสม ( บชสส.)
ห น ้ า | 57

7.2.1 หน่วยสนับสนุนโดยตรง และหน่วยสนับสนุนทั่วไป จัดทำ บชสส.โดยใช้


แบบพิมพ์ ทบ.400-069 บัญชีชิ้นส่วนซ่อมที่สะสม ( ผนวก ง ) และเสนอให้หน่วย หรือคลังที่สนับสนุนทราบ
เพื่อเป็นหลักฐาน
7.2.2 เมื่อมีการปรับปรุง บชสส. ให้จัดทำใหม่ทุก ๆ ปี และเสนอให้หน่วย หรือ
คลังที่สนับสนุนทราบภายใน ม.ค. ของทุกปี
7.3 การสอบทานความต้องการเพื่อปรับปรุง บชสส. ให้มีรายการ ชสส.ได้สมดุลย์กับความ
ต้องการในการส่งกำลัง และ/หรือการซ่อมบำรุง ให้ปฏิบัติดังนี้
7.3.1 ชสส. ที่สะสมโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามข้อ 7.1.1 ให้สอบทานบัตรบัญชีคุม
ทบ.400-003 ในช่องในความต้องการประจำทุกรอบเดือน เพื่อให้ทราบความถี่ของความต้องการประจำใน
ห้วงควบคุม และขีดเส้นแดงใต้บันทึกสุดท้ายของรอบเดือนที่สอบทานนั้นทุกครั้ง
7.3.2 ชสส.ที่ ส ะสมโดยอาศั ยหลักเกณฑ์ ตามข้อ 7.1.2 และชิ้น ส่วนซ่ อมที่ ยังไม่
เข้าเกณฑ์ในการสะสมตามข้อ 7.1.1 ให้สอบทานทุกครั้งที่บันทึกความต้องการประจำลงในบัตรบัญ ชีคุม
ทบ.400-003 เมื่อมีความต้องการประจำถึง 3 ครั้งในห้วงควบคุมเมื่อใด ให้คำนวณและกำหนดเกณฑ์เบิกด้วย
7.4 การเพิ่มและตัดรายการใน บชสส.
7.4.1 การเพิ่มรายการชิ้นส่วนซ่อมที่ไม่ปรากฏใน บชสส. แต่คู่มือส่งกำลัง หรือ
คู่มือเทคนิคที่มีบัญชีชิ้นส่วนซ่อมอนุมัติให้เบิกไปสะสมไว้ เพื่อภารกิจในการสนับสนุนได้ ถ้ารายการใดเข้า
หลั ก เกณฑ์ ส ะสมตามข้ อ 7.1 อย่ างใดอย่ า งหนึ่ ง ให้ เพิ่ ม รายการนั้ น ใน บชสส. ได้ และให้ ใช้ แ บบพิ ม พ์
ทบ.400-069 บัญชีชิ้นส่วนซ่อมที่สะสม ( ผนวก ง ) เสนอให้หน่วย หรือคลังที่สนับสนุนทราบเฉพาะรายการที่
เพิ่มภายใน 1 เดือน
7.4.2 การตัดรายการ
รายการต่อไปนี้ต้องตัดออกจาก บชสส.
7.4.2.1 ชสส.ที่ สะสมตามหลัก เกณฑ์ ในข้อ 7.1.1 ถ้าปรากฏว่าในห้ วง
ควบคุมใดไม่มีความต้องการเลย และไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ 7.1.2 ด้วย
7.4.2.2 ชสส. ที่สะสมตามหลักเกณฑ์ในข้อ 7.1.2.1 ถ้าหากหน่วยใช้ไม่มี
ความต้องการอีกต่อไป
7.4.2.3 ชสส. ที่สะสมตามหลักเกณฑ์ในข้อ 7.1.2.2 ถ้าหากหน่วยซึ่งตนมี
ภารกิจให้การสนับสนุนไม่มีความต้องการอีกต่อไป
7.4.2.4 ชสส. ที่สะสมตามหลักเกณฑ์ในข้อ 7.1.2.3 ถ้าหากคู่มือส่งกำลัง
หรือคู่มือเทคนิค มีการแก้ไขโดยตัดรายการนั้นออก
7.4.2.5 ชสส. ที่ ส ะสมตามหลั ก เกณฑ์ ในข้ อ 7.1.2.4 ถ้ ากรมฝ่ ายยุ ท ธ
บริการที่อนุมัติให้สะสมแจ้งการแก้ไขโดยยกเลิกการอนุมัติ
7.4.2.6 ชสส. ที่สะสมตามหลักเกณฑ์ในข้อ 7.1.2.5 เมื่อสะสมไว้ครบตาม
เวลาของห้วงควบคุมแล้ว และไม่เข้าหลักเกณฑ์อย่างใดตามข้อ 7.1
7.4.2.7 ชสส. ที่ ส ะสมตามหลั ก เกณฑ์ ในข้ อ 7.1.2.6 ถ้ ากรมฝ่ ายยุ ท ธ
บริการทีอ่ นุมัติให้สะสมแจ้งการแก้ไขโดยยกเลิกอนุมัติ
7.4.2.8 ชสส. ที่สะสมตามหลักเกณฑ์ในข้อ 7.1.2.7 ถ้าโรงงานซ่อมบำรุง
ของหน่วยสนับสนุนไม่ต้องการอีกต่อไป
ห น ้ า | 58

การตั ด รายการใน บชสส. ให้ ใ ช้ แ บบพิ ม พ์ ทบ.400-069 บั ญ ชี ชิ้ น ส่ ว นซ่ อ มที่ ส ะสม
( ผนวก ง ) เสนอให้หน่วยหรือคลังที่สนับสนุนทราบเฉพาะรายการที่ตัดออกภายใน 1 เดือน
ข้อ 8. ให้กรมฝ่ายยุทธบริการ และกรมฝ่ายกิจการพิเศษ ที่รับผิดชอบในสิ่งอุปกรณ์ ออกระเบียบ
ปลีกย่อยได้ตามความจำเป็นโดยไม่ขัดกับระเบียบนี้
ข้อ 9. ให้กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก รักษาการให้เป็นตามระเบียบนี้
ข้อ 10. ให้ใช้ระเบียบนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

หมายเหตุ แบบพิมพ์ “แผนเก็บของและสำรวจยอด ทบ.400-068” ให้ เปลี่ยนชื่อเป็น


“บัตรบัญชีคุมชิ้นส่วนซ่อม และสิ่งอุปกรณ์ใช้สิ้นเปลือง ทบ.400-068”
เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ ทบ.ว่าด้วยการส่งกำลัง สป.2 และ 4 พ.ศ.2534

คัดสำเนาจาก ประมวลระเบียบ คำสั่ง อนุมัติหลักการ ฯลฯ กองทัพบก


สายงานสรรพาวุธ พ.ศ.2480 ถึง 2519 ฉบับร่าง รวบรวมโดยกองวิทยาการ
กรมสรรพาวุธทหารบก
ห น ้ า | 59

(สำเนา)
ระเบียบกองทัพบก
ว่าด้วย การส่งกำลังสิง่ อุปกรณ์ ประเภท 2 และ 4
พ.ศ. 2534
-------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ ประเภท 2 และ 4 พ.ศ.
2532 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงวางระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ ประเภท 2 และ 4
พ.ศ. 2534”
ข้อ 2 ให้ใช้ระเบียบนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ ประเภท 2 และ 4 พ.ศ. 2524
บรรดาระเบียบ คำสั่ง และคำชี้แจงอื่นใด ที่นำมากำหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือที่ขัดแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้
ระเบียบนี้แทน
ข้อ 4 ให้เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบกรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้

ตอนที่ 1
คำจำกัดความ
ข้อ 5 คำจำกัดความที่ใช้ในระเบียบนี้
5.1 การส่งกำลัง หมายถึง การปฏิบัติการในเรื่อง ความต้องการการจัดหา การแจกจ่าย และการ
จำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ รวมทั้งการควบคุมการปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าว
5.2 ความต้องการ หมายถึง การกำหนดหรือการเสนอหรือคำขอในเรื่องสิ่งอุปกรณ์ตามจำนวน
และในเวลาที่บ่งไว้ หรือตามเวลาที่กำหนดไว้
5.3 การควบคุม หมายถึง การควบคุมทางบัญชี และการควบคุมทางการส่งกำลัง
5.4 การควบคุมทางบัญ ชี หมายถึง วิธีการในการควบคุมสิ่งอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับ การควบคุมการ
แจกจ่าย การจ่ายเพิ่มเติม การรวบรวมบันทึกรายงาน การจัดทำข้อมูลถาวรต่าง ๆ การสำรวจ การรายงาน
สถานภาพสิ่งอุปกรณ์ การกำหนดนโยบายเกี่ยวกับระดับสิ่งอุปกรณ์เพื่อการประหยัดโดยต่อเนื่องทุกขั้นตอน
ในสายการส่งกำลัง และสายการบังคับบัญชา นับตั้งแต่สิ่งอุปกรณ์ไ ด้เริ่งเข้าสู่ระบบการส่งกำลังจนกระทั่ง
หน่วยใช้ได้ใช้หมดสิ้นไป และได้รับอนุมัติให้จำหน่ายออกจากบัญชีคุมของกองทัพบกแล้ว
5.5 การควบคุมทางการส่งกำลัง หมายถึง วิธีการที่เกี่ยวกับระบบการรายงาน การคำนวณ การ
รวบรวมข้อมูล และการประเมินค่า เพื่อให้สิ่งอุปกรณ์ตามความต้องการทั้งสิ้นได้ส่วนสัมพันธ์กับทรัพย์สินที่มี
อยู่ อันเป็นแนวทางในการประมาณการด้านงบประมาณ การจัดหา การแจกจ่าย และการจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์
5.6 การจัดหา หมายถึง กรรมวิธีเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งอุปกรณ์
5.7 การแจกจ่าย หมายถึง การรับ การจ่าย การเก็บรักษา และการขนสิ่งอุปกรณ์
5.8 การจำหน่ า ย หมายถึ ง การตั ด ยอดสิ่ งอุ ป กรณ์ อ อกจากความรับ ผิ ด ชอบของกองทั พ บก
เนื่องจากสูญไป สิ้นเปลืองไป (สิ่งอุปกรณ์สิ้นเปลือง) ชำรุดเสียหายจนไม่สามารถซ่อมคืนสภาพได้อย่างคุ้มค่า
เสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้ หรือสูญหาย ตาย เกินความต้องการ หรือเป็นของล้าสมัย ไม่ใช้ราชการต่อไป
ห น ้ า | 60

5.9 สิ่งอุปกรณ์ หมายถึง สิ่งของทีจ่ ำเป็นทั้งมวล สำหรับหน่วยทหาร รวมทั้งที่มีไว้เพื่อการดำรงอยู่


และการปฏิบัติของหน่วยทหารด้วย เช่น อาหาร เครื่องแต่งกาย เชื้อเพลิง สัตว์ ยานพาหนะ อาวุธ กระสุน
วัตถุระเบิด เครื่องจักรกล ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เป็นต้น
5.10 สิ่งอุปกรณ์ประเภท 2 หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ซึ่งอนุมัติให้หน่วยมีไว้ในครอบครอง โดยระบุ
เป็นอัตราของหน่วย หรือบุคคล เช่น เครื่องแต่งกาย อาวุธ เครื่องมือ และชิ้นส่วนซ่อม เป็นต้น
5.11 สิ่งอุปกรณ์ประเภท 4 หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ซึ่งมิได้ระบุไว้ในอัตราของหน่วย หรือมิได้จัดเป็น
สิ่งอุปกรณ์ตามประเภทอื่น ๆ แต่อาจอนุมัติให้หน่วยมีไว้ในครอบครองตามความจำเป็น เช่น วัสดุในการ
ก่อสร้าง และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
5.12 สิ่ งอุ ป กรณ์ ส ำเร็ จ รู ป หมายถึ ง สิ่ งอุ ป กรณ์ ที่ เกิ ด จากการรวมเข้ าด้ วยกั น ของผลิ ต ภั ณ ฑ์
สำเร็จรูป องค์ประกอบ ส่วนประกอบ ชิ้นส่วน และ/หรือ วัสดุซึ่งพร้อมจะใช้ได้ตามความมุ่งหมาย เช่น เรือ
รถถัง เครื่องบิน และโรงงานจักรกลเคลื่อนที่ เป็นต้น
5.13 สิ่งอุปกรณ์สำคัญ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อ การฝึก การรบ ราคาแพง ยาก
ต่อการจัดหา หรือการผลิต มีความต้องการไม่แน่นอน อาจจะขาดหรือเกินอยู่เสมอในระบบการส่งกำลัง และ/
หรือ เป็นรายการที่อาจเกิดวิกฤตในวัสดุขั้นมูลฐาน โดยกรมฝ่ายยุทธบริการเสนอบัญชีให้กองทัพบกประกาศ
เป็นสิ่งอุปกรณ์สำคัญ เช่น รถถัง ชุดเรดาห์ เครื่องแต่งกายพิเศษ โทรศัพท์สนาม และหน้ากากป้องกันไอพิษ
เป็นต้น
5.14 สิ่งอุปกรณ์หลัก หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ที่ใช้เวลาในการจัดหานาน และราคาแพง แต่มิได้ระบุ
ไว้เป็นอุปกรณ์สำคัญ โดยกรมฝ่ายยุทธบริการที่รับผิดชอบทำบัญชี และประกาศเป็นสิ่งอุปกรณ์หลักได้เอง
เช่น เครื่องมือก่อสร้าง และเครื่องสื่อสารประจำที่ เป็นต้น
5.15 สิ่งอุปกรณ์รอง หมายถึง สิ่งอุปกรณ์สำเร็จรูปทุกรายการซึ่งมิได้ระบุไว้เป็นสิ่งอุปกรณ์สำคัญ
และสิ่งอุปกรณ์หลัก โดยทั่วไปแล้วสิ่งอุปกรณ์เหล่านี้ จะเวลาในการจัดหาสั้น ราคาถูก และง่ายต่อการจัดหา
เช่น เครื่องแต่งกาย เครื่องสนาม สิ่งอุปกรณ์ทั่วไป เครื่องใช้ประจำบ้านพัก และน้ำมัน เป็นต้น
5.16 สิ่งอุปกรณ์ถาวร หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ถาวรกำหนดอายุ และสิ่งอุปกรณ์ถาวรไม่กำหนดอายุ
ของสิ่งอุปกรณ์ทั้งมวล ซึ่งจำเป็นสำหรับการปฏิบัติของหน่วยทางทหาร
5.17 สิ่งอุปกรณ์ถาวรกำหนดอายุ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์สำเร็จรูปซึ่งมีสภาพ และลักษณะมั่นคงต่อ
การใช้งาน แต่ย่อมเสื่อมสภาพเสื่อมราคาไปตามวาระ และระยะเวลาแห่งการใช้งาน
5.18 สิ่งอุปกรณ์ถาวรไม่กำหนดอายุ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์สำเร็จรูปซึ่งมีสภาพ และลักษณะมั่นคง
ต่อการใช้งาน หากมีการเก็บรักษา และการปรนนิบัติบำรุงเป็นอย่างดีแล้วย่อมจะมีอายุยืนนาน
5.19 สิ่งอุปกรณ์ใช้สิ้นเปลือง หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ที่ใช้แล้วย่อมหมดสิ้นไป ไม่คงรูป ไม่คงสภาพ
และ/หรือ ไม่มีคุณค่าของการใช้งานเหมือนเดิม
5.20 สิ่งอุปกรณ์สำรองเพื่อการซ่อมบำรุง หมายถึง สิ่งอุปกรณ์สำเร็จรูป หรือองค์ประกอบเพื่อ
สะสมไว้ ณ ที่ตั้งการส่งกำลัง หรือซ่อมบำรุง เพื่อจ่ายทดแทนสิ่งอุปกรณ์ชำรุดซ่อมได้ ซึ่งไม่สามารถซ่อมบำรุง
โดยหน่วยสนับสนุนได้ทันตามกำหนด
5.21 สิ่งอุปกรณ์ใช้การได้ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ที่มีคุณภาพใช้งานได้ตามความมุ่งหมายเดิม
5.22 สิ่งอุปกรณ์ใช้การไม่ได้ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ที่ล้าสมัย หรือสึกหรอชำรุด ไม่สามารถนำไปใช้
ได้ตามความมุ่งหมายเดิม จำเป็นต้องซ่อมปรับสภาพ หรือดัดแปลงก่อนที่จะนำเข้าเก็บรักษาเพื่อแจกจ่าย
หรือเพื่อใช้งานต่อไป
ห น ้ า | 61

5.23 สิ่งอุปกรณ์ซ่อมคุ้มค่า หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ที่ชำรุด และต้อ งการซ่อม ซึ่งพิจารณาแล้วว่าเป็น


การเหมาะสม และประหยัดในการซ่อมบำรุง
5.24 สิ่ ง อุ ป กรณ์ ง ดใช้ ก าร หมายถึ ง สิ่ ง อุ ป กรณ์ ส ำเร็ จ รู ป ซึ่ ง อยู่ ใ นลั ก ษณะใดลั ก ษณะหนึ่ ง
ดังต่อไปนี้
5.24.1 ไม่ทำงานตามหน้าที่
5.24.2 ไม่ปลอดภัยในการใช้งาน
5.24.3 ถ้าใช้ต่อไปจะเสียหายมากขึ้น
5.25 ยุทธภัณฑ์ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ทั้งมวลอันจำเป็นเพื่อปฏิบัติการ เพื่อดำรง และสนับสนุน
การปฏิบัติการรบของหน่วยทหาร (รวมถึง เรือรบ รถถัง อาวุธอัตตาจร อากาศยาน ฯลฯ และอะไหล่ที่
เกี่ยวข้อง ชิ้นส่วนอะไหล่ หรือ ชิ้นส่วนซ่อม และอุปกรณ์สนับสนุนแต่ไม่รวมถึงอสังหาริม ทรัพย์ สถานที่ตั้ง
และสาธารณูปโภค)
5.26 ยุทโธปกรณ์ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ทั้งมวลที่ต้องการจัดให้บุคคล หรือหน่วยทหาร ได้แก่ อาวุธ
ยานพาหนะ เครื่องแต่งกาย เครื่องมือ ฯลฯ
5.27 วัสดุ หมายถึง ชิ้นส่วน หรือสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งได้จัดทำขึ้น หรือประกอบขึ้น
5.28 ชิ้นส่วนซ่อม หมายถึง องค์ประกอบ ส่วนประกอบ และชิ้นส่วนที่ใช้ในการซ่อมบำรุงสิ่ง
อุปกรณ์ตามที่กำหนดไว้ในคู่มือการส่งกำลัง และ/หรือคู่มือทางเทคนิคที่มีบัญชีชิ้นส่วนซ่อม เช่น ลำกล้องปืน
ใหญ่ และคาบูเรเตอร์ เป็นต้น
5.29 องค์ประกอบ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ที่เกิดจากการรวมเข้าด้วยกันของชิ้นส่วนประกอบ และ
ชิ้นส่วนต่าง ๆ ซึ่งสามารถปฏิบัติงานได้ในตัวเอง แต่อาจต้องอาศัยการควบคุมจากภายนอก หรืออาศัยการ
ขับเคลื่อนจากแหล่งอื่นประกอบด้วย เช่น เครื่องยนต์ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น
5.30 ส่วนประกอบ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อสัมพันธ์กันตั้งแต่
สองชิ้นขึ้นไป และสามารถถอดแยกออกจากกันได้ เช่น เครื่องเปลี่ยนความเร็ว และคาบูเรเตอร์ เป็นต้น
5.31 ชิ้นส่วน หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ หรือเป็นสิ่งอุปกรณ์ที่ ได้
ออกแบบไว้ให้ถอดแยกออกจากกันไม่ได้ เช่น หลอดวิทยุ ยางนอกรถยนต์ และลำกล้องปืน เป็นต้น
5.32 คลัง หมายถึง หน่วยที่มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติภารกิจในเรื่อง ความต้องการ การ
ควบคุม การจัดหา การแยกประเภท การแจกจ่าย การซ่อมบำรุง และการจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์
5.33 คลังสายงาน หมายถึง คลังซึ่งกรมฝ่ายยุทธบริการ หรือกรมฝ่ายกิจการพิเศษ ได้จัดตั้งขึ้น
เพื่อปฏิบัติภารกิจของคลังสายงานเดียวกัน
5.34 คลังทั่วไป หมายถึง คลังที่จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติภารกิจของคลังตั้งแต่สองสายงานขึ้นไป
5.35 คลังกองบัญชาการช่วยรบ หมายถึง คลังทั่วไปซึ่งกองบัญชาการช่วยรบได้จัดตั้งขึ้น
5.36 คลังส่วนภูมิภาค หมายถึง คลังทั่วไปซึ่งมณฑลทหารบก หรือจังหวัดทหารบก ได้จัดตั้งขึ้น
5.37 หน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลัง หมายถึง หน่วยสนับสนุนโดยตรง หน่วยสนับสนุนทั่วไป
และคลัง
5.38 หน่วยสนับสนุนทั่วไป หมายถึง หน่วยซึ่งมีภารกิจสนับสนุนด้านการส่งกำลัง และ/หรือ การ
ซ่อมบำรุงต่อหน่วยสนับสนุนโดยตรง
5.39 หน่วยสนับสนุนโดยตรง หมายถึง หน่วยซึ่งมีภารกิจสนับสนุนด้านการส่งกำลัง และ/หรือ การ
ซ่อมบำรุงโดยตรงให้กับหน่วยใช้
ห น ้ า | 62

5.40 หน่ ว ยใช้ หมายถึ ง หน่ ว ยที่ ได้ รับ สิ่ งอุ ป กรณ์ ต าม อจย., อสอ. หรื อ อนุ มั ติ อื่ น ใด ซึ่ งได้ รั บ
ประโยชน์จากใช้สิ่งอุปกรณ์นั้น ๆ
5.41 หน่วยเบิก หมายถึง หน่วยใช้ตั้งแต่ระดับกองพัน หรือเทียบเท่า หรือกองร้อยอิสระขึ้นไป
หรือหน่วยอิสระที่ ทบ.อนุมัติ หรือหน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลังทุกระดับที่เบิกสิ่งอุปกรณ์ไปยังหน่วยจ่าย
5.42 หน่วยจ่าย หมายถึง หน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลังซึ่งทำหน้าที่จ่ายสิ่งอุปกรณ์ให้แก่หน่วย
เบิก
5.43 หน่วยบัญชีคุม หมายถึง หน่วยซึ่งดำเนินการควบคุมทางบัญชีต่อสิ่งอุปกรณ์
5.44 วั น ส่ ง กำลั ง หมายถึ ง ปริม าณสิ่ งอุ ป กรณ์ ที่ ป ระมาณว่ า จะใช้ สิ้ น เปลื อ งไปหนึ่ งวั น ตาม
สภาวการณ์ต่าง ๆ
5.45 ระดับส่งกำลัง หมายถึง ปริมาณสิ่งอุปกรณ์ ณ ที่ตั้งการส่งกำลังต่าง ๆ ที่ได้รับอนุมัติให้
สะสมไว้เพื่อสนับสนุนการส่งกำลังให้สมบูรณ์ และต่อเนื่อง โดยปกติจะต้องกำหนดเป็นจำนวนวันส่งกำลัง
หรืออาจจะกำหนดเป็นจำนวนสิ่งอุปกรณ์ก็ได้
5.46 ระดับปฏิบัติการ หมายถึง ปริมาณสิ่งอุปกรณ์ที่ต้องการให้มีไว้เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการใน
ระยะเวลาเบิก หรือรับสิ่งอุปกรณ์ที่ส่งมาเพิ่มเติม
5.47 ระดับปลอดภัย หมายถึง ปริมาณสิ่งอุปกรณ์ที่เพิ่มเติมจากระดับปฏิบัติการให้มีคงคลังไว้ เพื่อ
สามารถปฏิบัติการได้อย่างต่อเนื่องในเมื่อมีเหตุขัดข้องในการส่งเพิ่มเติมตามปกติ หรือเมื่อความต้องการไม่
เป็นไปตามความที่คาดคะเนไว้
5.48 ระดับเก็บกัน หมายถึง ปริมาณสิ่งอุปกรณ์ที่หน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลังได้รับอนุมัติให้
เก็บกันไว้ได้เกินกว่าเกณฑ์เบิก
5.49 เกณฑ์สะสม หมายถึง ปริมาณสูงสุดของสิ่งอุปกรณ์ที่มีคงคลังเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการได้
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วยระดับปฏิบัติการ และระดับปลอดภัย
5.50 เกณฑ์เบิก หมายถึง ปริมาณสูงสุดของสิ่งอุปกรณ์คงคลังรวมกับค้างรับ ซึ่งจำเป็นสำหรับ
สนับสนุนการปฏิบัติการในระยะนั้น และเพียงพอสำหรับความต้องการที่คาดว่าจะมีในอนาคต หรือคือผลรวม
ของเกณฑ์สะสมกับเวลาในการเบิก และจัดส่ง
5.51 เกณฑ์ความต้องการ หมายถึง ปริมาณสูงสุดของสิ่งอุปกรณ์คงคลังรวมกับที่สั่งชื้อ ซึ่งจำเป็น
สำหรับสนับสนุนการปฏิบัติการในระยะนั้น และเพียงพอสำหรับความต้องการที่คาดว่าจะมีในอนาคต หรือคือ
ผลรวมของสิ่งอุปกรณ์ ตามระดับปลอดภัย วงรอบการจัดหา เวลาล่วงหน้าในการจัดหา และเวลาที่เสียไปใน
การรายงานสถานภาพ
5.52 เวลาในการเบิก และจัดส่ง หมายถึง เวลานับตั้งแต่หน่วยเบิกทำการเบิกสิ่งอุปกรณ์ จนถึงวันที่
ได้รับสิ่งอุปกรณ์
5.53 เวลาล่วงหน้าในการจัดหา หมายถึง เวลานับตั้งแต่ริเริ่มทำการจัดหา จนถึงวันที่ได้รับสิ่ง
อุปกรณ์งวดแรก เข้าสู่ระบบการส่งกำลัง
5.54 วงรอบการสอบทาน หมายถึง ห้วงเวลาที่กำหนดให้ทำการสอบทาน
5.55 วงรอบการเบิก หมายถึง ห้วงเวลาที่กำหนดให้ทำการเบิก
5.56 วงรอบการจัดหา หมายถึง ห้วงเวลาที่กำหนดให้ทำการจัดหา
5.57 จุดเพิ่มเติม หมายถึง ปริมาณสิ่งอุปกรณ์ที่ต้องการทำการเบิกเพิ่มเติม ซึ่งเท่ากับผลรวมของ
ระดับปลอดภัยกับเวลาในการเบิก และจัดส่ง ทั้งนี้เพื่อเก็บรักษาไว้ซึ่งเกณฑ์สะสม
ห น ้ า | 63

5.58 ปัจจัยทดแทน หมายถึง ตัวเลขแสดงความสิ้นเปลืองของสิ่งอุปกรณ์ถาวร เป็นร้อยละ หรือพัน


ละต่อเดือน
5.59 อั ต ราสิ้ น เปลื อ ง หมายถึง ตัวเลขแสดงความสิ้น เปลือ งของสิ่งอุ ป กรณ์ ใช้สิ้ น เปลื อง โดย
กำหนดเป็นมาตราอย่างใดอย่างหนึ่งตามความเหมาะสม
5.60 คงคลั ง หมายถึ ง ประมาณสิ่ งอุ ป กรณ์ ที่ มี อ ยู่ ในครอบครองของหน่ วย ตามบั ญ ชี คุ ม ใน
ขณะนั้น
5.61 ค้างรับ หมายถึง ปริมาณสิ่งอุปกรณ์ที่คาดหมายว่าจะได้รับ จากการจัดชื้อ การเบิก และจาก
แหล่งอื่น ๆ เช่น การโอน และการซ่อมบำรุง เป็นต้น
5.62 ค้างจ่าย หมายถึง ปริมาณสิ่งอุปกรณ์ ซึ่งหน่วยจ่ายไม่สามารถจ่ายให้หน่วยเบิ กได้ครบใน
ขณะที่ของเบิกมา และบันทึกเป็นหลักฐานไว้เพื่อปลดเปลื้องค้างจ่ายให้เมื่อมีสิ่งอุปกรณ์
5.63 การเบิก หมายถึง วิธีดำเนินการเสนอคำขอไปยังหน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลัง เพื่อขอรับ
สิ่งอุปกรณ์ตามจำนวนที่ต้องการ
5.64 การยืม หมายถึง วิธีดำเนินการขอรับการสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์เป็นการชั่วคราว (เว้นชิ้นส่วน
ซ่อม) สำหรับเพิ่มพูลการปฏิบัติภารกิจ หรือสำหรับการทรงชีพของหน่วยใช้ ซึ่งหน่วยไม่ได้รับอนุมัติให้มีสิ่ง
อุปกรณ์ดังกล่าวไว้ในครอบครอง หรืออนุมัติให้มีไว้แล้วแต่ไม่เพียงพอ
5.65 การติดตามใบเบิก หมายถึง การสอบถามเพื่อขอทราบผลการปฏิบัติต่อใบเบิกที่ได้เสนอไปยัง
หน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลัง
5.66 การยกเลิกใบเบิก หมายถึง การแจ้งระงับการจ่ายสิ่งอุปกรณ์ตามใบเบิกที่หน่วยเบิกเสนอมา
อาจจะเป็นทั้งหมด หรือบางส่วนของการเบิกก็ได้
5.67 การรับ หมายถึง การดำเนินกรรมวิธีเพื่อครอบครองสิ่งอุปกรณ์ที่ได้มาจากการจัดหา
5.68 การจ่าย หมายถึง การดำเนินการตอบสนองความต้องการตามที่หน่วยเบิกได้ส่งคำขอมา
5.69 การปลดเปลื้องค้างจ่าย หมายถึง การจ่ายสิ่งอุปกรณ์ที่ค้างจ่ายให้กับหน่วยเบิกโดยอัตโนมัติ
ตามใบเบิกที่ค้างจ่าย
5.70 การเก็บรักษา หมายถึง การเตรียมพื้นที่ การนำสิ่งอุปกรณ์เข้า-ออก การเก็บ หรือการวาง
การระวังรักษาสิ่งอุปกรณ์ในที่เก็บ รวมทั้งการปรนนิบัติบำรุง และการซ่อมบำรุงขณะเก็บ และก่อนจ่ายด้วย
5.71 การสำรวจ หมายถึง การสำรวจสิ่งอุปกรณ์ และสำรวจที่เก็บ
5.72 การสำรวจสิ่งอุปกรณ์ หมายถึง การนับจำนวน และการตรวจสภาพสิ่งอุปกรณ์ในที่เก็บให้ตรง
กับหลักฐานในบัญชีคุม
5.73 การสำรวจที่เก็บ หมายถึง การตรวจสอบที่เก็บสิ่งอุปกรณ์ให้ตรงกับบัตรบัญชีคุมสิ่งอุปกรณ์
หรือบัตรแสดงที่เก็บของ
5.74 การขนส่ง หมายถึง การเคลื่อนย้ายสิ่งอุปกรณ์ระหว่างหน่วยส่งกับหน่วยรับ
5.75 การส่งคืน หมายถึง การส่งสิ่งอุปกรณ์กลับคืนหน่วยจ่าย หรือสนับสนุนทางการส่งกำลัง มิได้
หมายถึงการส่งซ่อม หรือส่งสิ่งอุปกรณ์ที่ซ่อมเสร็จแล้วกลับคืนหน่วยส่งซ่อม
5.76 การโอน หมายถึง การโอนความรับผิดชอบในสิ่งอุปกรณ์ระหว่างสายยุทธบริการ หรือการ
โอนสิทธิครอบครองสิ่งอุปกรณ์ระหว่างหน่วย
5.77 สายการบังคับบัญ ชา หมายถึง ความเกี่ยวพันในการบังคับบัญชาของหน่วยเหนือที่มีต่อ
หน่วยรอง ตามลำดับ เช่น กองทัพบก - กองทัพภาค - กองพล - กรม - กองพัน - กองร้อย เป็นต้น
ห น ้ า | 64

5.78 สายการส่งกำลัง หมายถึง ความเกี่ยวพันในการส่ง กำลังของหน่วยเหนือที่มีต่อหน่วยรอง


ตามลำดับ เช่น กองทัพบก - กรมฝ่ายยุทธบริการ หรือกรมฝ่ายกิจการพิเศษ - หน่วยสนับสนุนทั่วไป - หน่วย
สนับสนุนโดยตรง – หน่วยใช้

ตอนที่ 2
ความต้องการ
ข้อ 6 ลักษณะความต้องการ
6.1 ความต้องการประจำ
6.1.1 ความต้องการประจำ คือ ความต้องการเพื่อทดแทนสิ่งอุปกรณ์ที่ใช้หมด
ไป หรือใช้สิ้นเปลือง และเพื่อเพิ่มเติมระดับการส่งกำลัง อันสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติงาน
6.1.2 ความต้องการประจำ ใช้เป็นข้อมูลสำหรับคำนวณความต้องการทั้งเพื่อการ
จัดหา และการเบิก
6.2 ความต้องการครั้งคราว
6.2.1 ความต้องการครั้งคราว คือ ความต้องการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวในห้วงเวลา
12 เดือน สำหรับความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน และหมายรวมถึงความต้องการขั้นต้น เพื่อสนองความต้องการ
ตามอัตรา ความต้องการเพื่อรักษาระดับการส่งกำลังที่เพิ่มขึ้น และความต้องการตามโครงการพิเศษต่ าง ๆ
เช่น ความต้องการเพื่อการซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์สำเร็จรูป เป็นต้น
6.2.2 ความต้องการครั้งคราว ใช้เป็นข้อมูลสำหรับคำนวณความต้องการเพื่อการ
จัดหาเท่านั้น
ข้อ 7 ประเภทความต้องการ
7.1 ความต้องการขั้นต้น ได้แก่ ความต้องสิ่ งอุปกรณ์ ที่ทหาร หรือหน่วยต้องการมีไว้เพื่อการ
ปฏิบัติภารกิจของตน ซึ่งสิ่งอุปกรณ์นั้น ๆ ยังไม่เคยได้รับมาก่อน และเป็นความต้องการสิ่งอุปกรณ์ในกรณี
ดังต่อไปนี้
7.1.1 การรับทหารเข้าประการใหม่
7.1.2 การจัดตั้งหน่วยใหม่
7.1.3 การกำหนดมาตรฐานสิ่งอุปกรณ์ใหม่
7.1.4 การเพิ่มจำนวน และรายการเนื่องมาจากการแก้อัตรา
7.1.5 รายการที่ได้รับอนุมัติให้จ่ายครั้งแรก แก่หน่วยที่ยังไม่ได้รับอนุมัติอัตรา
7.1.6 รายการที่ได้รับอนุมัติให้จ่ายครั้งแรก ซึ่งเกินจำนวนจากอัตรา
7.1.7 การอนุมัติจ่ายสิ่งอุปกรณ์ใหม่ เพื่อทดแทนสิ่งอุปกรณ์เดิมที่ยังใช้ราชการได้
ซึ่งได้รับคืนจากหน่วยทหาร
7.1.8 การจ่ายครั้งแรกให้กับหน่วยนอกกองทัพบก ตามคำสั่งกองทัพบก
7.2 ความต้องการทดแทน ได้แก่ ความต้องการเพื่อทดแทนสิ่งอุปกรณ์ที่หน่วยใช้เคยได้รับมาแล้ว
และเป็นความต้องการสิ่งอุปกรณ์ในกรณีดังต่อไปนี้
7.2.1 เพื่ อทดแทนสิ่งอุปกรณ์ ที่หมดเปลืองไป หรือชำรุดเนื่องจากการใช้ และ
รวมทั้งทดแทนชิ้นส่วนซ่อมที่ชำรุดด้วย
7.2.2 เพื่อทดแทนสิ่งอุปกรณ์ ที่ถูกละทิ้ง ทำลาย ข้าศึกทำให้เสียหาย โจรกรรม หรือ
เสียหายโดยเหตุอื่น ๆ
ห น ้ า | 65

7.2.3 เพื่อทดแทนสิ่งอุปกรณ์ที่อยู่ในระหว่างการซ่ อมบำรุง โดยใช้สิ่งอุปกรณ์สำรองเพื่อ


การซ่อมบำรุง
7.3 ความต้ อ งการเพื่ อ รั ก ษาระดั บ ส่ ง กำลั ง ได้ แ ก่ ความต้ อ งการสิ่ ง อุ ป กรณ์ ที่
นอกเหนือไปจากความต้องการตามปกติ เพื่อสนับสนุนโครงการ หรือการปฏิบัติการพิเศษตามแผน และ
วัตถุประสงค์ของกองทัพบก เช่น สิ่งอุปกรณ์ประเภท 4 โครงการจัดตั้งหน่วยใหม่ และโครงการระดมสรรพ
กำลัง เป็นต้น
ข้อ 8 การคำนวณความต้องการ
8.1 ความต้องการขั้นต้น = อัตราอนุมัติ X จำนวนหน่วยทหาร ตามอัตรานั้น
8.2 ความต้องการทดแทน = ความต้องการขั้นต้น X ปัจจัยทดแทน/อัตราสิ้นเปลือง
X จำนวนเดือน/วัน จะต้องการทดแทน
8.3 ความต้องการเพื่อรักษาระดับส่งกำลัง = ความต้องการขั้นต้น X ปัจจัยทดแทน/
อัตราสิ้นเปลือง X จำนวนเดือน/วัน ในสายทางเดินส่งกำลัง
8.3.1 สายทางเดินส่งกำลัง ได้แก่ ระยะเวลาเป็นวันส่งกำลังนับตั้งแต่ริเริ่มจัดหา
สิ่งอุปกรณ์จนถึงหน่วยใช้ได้รับสิ่งอุปกรณ์นั้น
8.3.2 ระดับคลังสายงาน สายทางเดินส่งกำลังประกอบด้วยระดับปลอดภัย +
วงรอบการจัดหา + เวลาล่วงหน้าในการจัดหา
8.3.3 ระดั บ คลั งกองบั ญ ชาการช่วยรบ และคลั งส่ วนภูมิ ภาค หรือหน่ วย
สนับสนุนโดยตรง สายทางเดินส่งกำลังประกอบด้วย ระดับปลอดภัย + ระดับปฏิบัติการ/วงรอบการเบิก +
เวลาในการเบิก และจัดส่ง
8.4 ความต้องการตามโครงการ การคิดคำนวณขึ้นอยู่กับโครงการ หรือการปฏิบัติการ
พิเศษ ตามแผน และวัตถุประสงค์ของกองทัพบก
8.5 ความต้องการรวม = ความต้องการขั้นต้น + ความต้องการเพื่อรักษาระดับส่งกำลัง /
ความต้องการทดแทน + ความต้องการตามโครงการ
8.6 ความต้องการสุทธิ = ความต้องการรวม + ค้างจ่าย - คงคลัง - ค้างรับ
ข้อ 9 การเสนอความต้องการ
9.1 สิ่งอุปกรณ์ตามอัตรา ตามระดับส่งกำลัง หรือตามโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว กรมฝ่าย
ยุทธบริการ หรือกรมฝ่ายกิจการพิเศษที่รับผิดชอบ เป็นผู้รวบรวมความต้องการสิ่งอุปกรณ์เสนอไปยังกรมส่ง
กำลังบำรุงทหารบก ตามที่กองทัพบกกำหนด

9.2 สิ่งอุปกรณ์ที่นอกเหนือที่กล่าวมาแล้วในข้อ 9.1


9.2.1 หน่วยใช้ เสนอความต้องการไปตามสายงานส่งกำลังจนถึงกรมฝ่ายยุทบริ
การ หรือกรมฝ่ายกิจการพิเศษที่รับผิดชอบ
9.2.2 กรมฝ่ายยุทบริการ หรือกรมฝ่ายกิจการพิเศษ รวมรวมความต้องการแล้ว
เสนอไปยัง กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก ตามที่กองทัพบกกำหนด
ห น ้ า | 66

ตอนที่ 3
การจัดหา
ข้อ 10 ทางที่ได้มาซึ่งสิ่งอุปกรณ์ โดยทั่วไปหน่วย หรือคลังซึ่งมีการสะสมสิ่งอุปกรณ์ และ/หรือ มี
ไว้เพื่อการปฏิบัติการย่อมจะได้รับสิ่งอุปกรณ์จากลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้
10.1 การจั ด ชื้ อ และการจ้ า ง หน่ วยหรือ เจ้าหน้ าที่ ซึ่ งมี ห น้ าที่ ในการจั ด ชื้ อ และจ้ าง
จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
และระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
10.2 การรับ ความช่ วยเหลือจากต่างประเทศ ให้ปฏิบัติตามวิธีการซึ่งได้ตกลงระหว่าง
กองทัพบกกับองค์การหรือตัวแทนของประเทศนั้น ๆ
10.3 การซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์ที่หน่วยใช้ส่งซ่อม หากหน่วยซ่อมบำรุงสนับสนุนโดยตรง
หรือหน่วยสนับสนุนทั่วไปพิจารณาเกินขั้นการซ่อมบำรุง ก็ให้นำส่งซ่อมต่อไปยังหน่วยซ่อมบำรุงระดับคลัง
เมื่อหน่วยซ่อมบำรุงระดับคลังทำการซ่อมเสร็จแล้ว ให้ส่งสิ่งอุปกรณ์นั้นเข้าคลังเพื่อดำเนินการตามระบบส่ง
กำลังต่อไป และให้หน่วยซ่อมบำรุงสนับสนุนโดยตรง หรือสนับสนุนทั่วไป แจ้ งให้หน่วยใช้ทราบทันที่ได้ส่งสิ่ง
อุปกรณ์ไปยังหน่วยซ่อมบำรุงระดับคลัง ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยใช้เบิกรับสิ่งอุปกรณ์ทดแทนต่อไป
10.4 การเก็บซ่อมสิ่งอุปกรณ์ชำรุด ถูกทำลาย เสื่อมสภาพ หรือถูกทอดทิ้ง ไม่ว่าจะเป็น
ของใหม่หรือของใช้แล้วก็ตาม หากหน่วยซ่อมบำรุงของสายยุ ทธบริการพิจารณาเห็นว่าเกินขั้นการซ่อมบำรุง
ไม่สามารถซ่อมได้คุ้มค่า ให้หน่วยซ่อมนั้นรายงานขออนุมัติถอดแยกชิ้นส่วนซ่อมที่สามารถใช้ราชการได้จาก
เจ้ากรมฝ่ายยุทธบริการ หรือฝ่ายกิจการพิเศษที่รับผิดชอบ เพื่อดำเนินการบำรุงรักษา และนำเข้าระบบส่ง
กำลังต่อไป
10.5 การบริจาค สิ่ งอุปกรณ์ ที่ ได้มาโดยมีผู้บริจาคให้แก่ส่วนราชการเป็น สิ่งอุปกรณ์ ที่
จะต้องดำเนินการตามระบบส่งกำลัง
10.6 การยืม หน่วยที่มีความจำเป็นในการยืมสิ่งอุปกรณ์ให้ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในตอน
ที่ 4 การเบิก การยืม การโอน และการส่งคืน
10.7 การโอน
10.7.1 การโอนความรับผิดชอบในสิ่งอุปกรณ์ระหว่างสายยุทธบริการ ให้ปฏิบัติ
ตามระเบียบปฏิบัติในการโอนสิ่งอุปกรณ์จากสายยุทธบริการหนึ่งไปให้อีกสายหนึ่ง พ.ศ.2501 และคำสั่ง ทบ.
ที่ 90/2508 ลง 30 ส.ค. 08 เรื่อง กำหนดวิธีดำเนินการโอนสิ่งอุปกรณ์ครบชุดของสายยุทธบริการเพิ่มเติม
จากระเบียบปฏิบัติในการโอนสิ่งอุปกรณ์จากสายยุทธบริการหนึ่งไปให้อีกสายหนึ่ง พ.ศ.2501
10.7.2 การโอนสิทธิครอบครองสิ่งอุปกรณ์ระหว่างหน่วยให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้
ตอนที่ 4 การเบิก การยืม การโอน และการส่งคืน
10.8 การเบิก หน่วยในสายการส่งกำลังซึ่งต่ำกว่าระดับคลังสายงานให้ถือการเบิกเป็นวิธี
หลักในการได้มาซึ่งสิ่งอุปกรณ์ ส่วนรายละเอียดให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ตอนที่ 4 การเบิก การยืม การโอน
และการส่งคืน
10.9 การผลิต หากกรมฝ่ายยุทธบริการ หรือกรมฝ่ายกิจการพิเศษใดมีการผลิตสิ่งอุปกรณ์
เพื่อใช้ราชการ ให้เจ้ากรมฝ่ายยุทธบริการ หรือเจ้ากรมฝ่ายกิจการพิเศษนั้นรับผิดชอบในการปฏิบัติให้เป็นไป
ตามข้อกำหนด และความมุ่งหมายของราชการต่อไป
10.10 การเกณฑ์ และการยึด ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกฏอัยการศึก พ.ศ.2457 และ
พระราชบัญญัติการเกณฑ์ช่วยราชการ พ.ศ.2530
ห น ้ า | 67

10.11 การแลกเปลี่ ยน ให้ ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการแลกเปลี่ยน


ยานพาหนะ และครุภัณฑ์ของส่วนราชการ พ.ศ.2518
ข้อ 11 งานของการจัดหา ในการดำเนินกรรมวิธีเพื่อให้ได้ซึ่งสิ่งอุปกรณ์มีงานที่เกี่ยวข้องดังนี้
11.1 การกำหนดแบบสิ่งอุปกรณ์
11.2 การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะสิ่งอุปกรณ์
11.3 การกำหนดมาตรฐานสิ่งอุปกรณ์
11.4 การกำหนดราคากลาง
11.5 การกำหนดแบบสัญญา
11.6 การทำสัญญา
11.7 เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการสงวนสิทธิต่าง ๆ
11.8 การปฏิบัติตามสัญญา
11.9 การแก้ไขสัญญา
11.10 การตรวจรับสิ่งอุปกรณ์
11.11 ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการเงิน
11.12 ข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดหา
ข้อ 12 ประเภทการจัดหา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทรวมการ และประเภทแยก
การ
12.1 ประเภทรวมการ ได้แก่ การจัดหาในลักษณะดังต่อไปนี้
12.1.1 หน่วยจัดหา ได้แก่ กรมฝ่ายยุทธบริการ และกรมฝ่ายกิจการพิเศษ ซึ่ง
จัดหาเป็นส่วนรวมในระดับกองทัพบก
12.1.2 ความมุ่งหมาย จัดหาเพื่อสะสมและแจกจ่ายให้แก่คลังกองบัญชาการช่วย
รบ และคลังส่วนภูมิภาค หรือบางกรณีอาจจะแจกจ่ายโดยตรงให้กับหน่วยใช้ก็ได้
12.1.3 ลักษณะสิ่งอุปกรณ์ ที่จัดหา เป็นสิ่งอุป กรณ์ สำเร็จรูปที่ความต้องการมี
ปริมาณมาก มีความถี่ในการความต้องการสูง เป็นยุทโธปกรณ์ทางทหาร หรือยุทโธปกรณ์ทางเทคนิค
12.1.4 งบประมาณที่ใช้ในการจัดหา ใช้เงินงบส่งกำลังบำรุง หรือเงินงบอื่น ๆ
ที่กองทัพบกอนุมัติ
12.1.5 ราคาสิ่งอุปกรณ์ส่วนมากราคาแพง หรือวงเงินในการจัดหามาก
12.2 ประเภทแยกการ ได้แก่ การจัดหาในลักษณะดังต่อไปนี้
12.2.1 หน่วยจัดหา ได้แก่ กองบัญชาการช่วยรบ และส่วนภูมิภาค หรือหน่วย
ใช้ที่ได้รับอนุมัติให้จัดหาได้
12.2.2 ความมุ่งหมาย จัดหาสนับสนุนหน่วยใช้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ า
หรือหน่วยใช้จัดหาเพื่อใช้เอง
12.2.3 ลักษณะสิ่งอุปกรณ์ที่จัดหา เป็นสิ่งอุปกรณ์เบ็ดเตล็ดที่มีขายในท้องตลาด
โดยทั่วไป ปริมาณความต้องการไม่มาก และความถี่ในความต้องการไม่สูง
12.2.4 งบประมาณในการจัดหา ใช้เงินงบบริหาร และเงินงบเครื่องช่วยฝึก หรือ
อาจจะเป็นเงินงบอื่น ๆ ที่กองทัพบกอนุมัติเป็นกรณีพิเศษ
12.2.5 ราคาสิ่งอุปกรณ์ ส่วนมากราคาไม่แพง หรือเป็นวงเงินที่จัดหาไม่มาก
12.2.6 รายละเอียดในการปฏิบัติ ให้ถือปฏิบัติตามคำสั่งกองทัพบกดังต่อไปนี้
ห น ้ า | 68

12.2.6.1 คำสั่ งกองทั พ บก ที่ 96/2524 ลง 20 ก.พ. 24 เรื่อ งการ


จัดหา และซ่อมบำรุงรายย่อยโดยใช้เงินบริหารทั่วไปของหน่วย
12.2.6.2 คำสั่ งกองทั พ บก ที่ 476/2524 ลง 23 ก.ย. 24 เรื่อ งการ
จัดหาและซ่อมบำรุงรายย่อยโดยใช้เงินงบเครื่องช่วยฝึก
12.2.6.3 คำสั่ งหรือ อนุ มั ติ ข องกองทั พ บก เรื่ อ งอื่ น ใดที่ ก ำหนด หรื อ
อนุมัติ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการจัดหาประเภทแยกการของการบัญชาการช่วยรบส่วนภูมิภาค หรือหน่วยใช้
ข้อ 13 ความรับผิดชอบในการจัดหา
13.1 กรมฝ่ายยุทธบริการ หรือกรมฝ่ายกิจการพิเศษ รับผิดชอบจัดหาสิ่งอุปกรณ์เป็น
ส่วนรวม ประเภทรวมการตามที่กำหนดไว้ในข้อ 12.1 โดยเจ้าหน้าที่ของกรมฝ่ายยุทธบริการ หรือกรมฝ่าย
กิจการพิเศษ ดังนี้
13.1.1 รวบรวมความต้องการเสนอไปยังกรมส่งกำลังบำรุงทหารบก ตามที่กำหนด
ไว้ในข้อ 9
13.1.2 เสนองบประมาณไปยังสำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก ตามระยะเวลาที่
กองทัพบกกำหนด เพื่อพิจารณาจัดสรรงบประมาณต่อไป
13.1.3 ทำแผนจัดหาโดยถือมูลฐานจากงบประมาณที่ได้รับแต่ละปี เสนอ กรมส่ง
กำลังบำรุงทหารบก ตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อขอรับอนุมัติจากกองทัพบก
13.1.4 ดำเนินการจัดหาเพื่อสะสม และแจกจ่ายตามงบประมาณที่ได้รับ
13.2 กองบัญชาการช่วยรบ และส่วนภูมิภาค รับผิดชอบการจัดหาสิ่งอุปกรณ์ประเภท
แยกการตามที่กำหนดในข้อ 12.2 โดยเจ้าหน้าที่กองบัญชาการช่วยรบ หรือส่วนภูมิภาค
ข้อ 14 รายละเอียดในการปฏิบัติอื่นใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ และ
คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา ซึ่งกำหนดไว้โดยเฉพาะสำหรับเรื่องนั้น

ตอนที่ 4
การเบิก การยืม การโอน และการส่งคืน
ข้อ 15 การเบิก ได้แก่ วิธีดำเนินการเสนอคำขอไปยังหน่วยสนับสนุน เพื่อขอรับสิ่งอุปกรณ์ตาม
จำนวนที่ต้องการ
ข้อ 16 ประเภทการเบิก แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
16.1 การเบิกขั้นต้น ได้แก่ การเบิกสิ่งอุปกรณ์ตามความต้องการขั้ นต้นที่ระบุไว้ในข้อ
7.1
16.2 การเบิกทดแทน ได้แก่ การเบิกสิ่งอุปกรณ์ตามความต้องการทดแทนที่ระบุไว้ในข้อ
72
16.3 การเบิ ก เพิ่ ม เติ มเพื่ อรักษาระดับ ส่ งกำลั ง ได้แก่ การเบิ กสิ่งอุป กรณ์ ตามความ
ต้องการ เพือ่ รักษาระดับส่งกำลัง ที่ระบุไว้ในข้อ 7.3
16.4 การเบิกพิเศษ ได้แก่ การเบิกเร่งด่วน การเบิกนอกอัตรา การเบิกก่อนกำหนด
16.4.1 การเบิกเร่งด่วน ได้แก่ การเบิกสิ่งอุปกรณ์ที่หน่วยใช้มีความจำเป็นที่ต้อง
ใช้โดยเร่งด่วน หรือในยามฉุกเฉิน หรือเพื่อการซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์งดใช้การ
16.4.2 การเบิกนอกอัตรา ได้แก่ การเบิกสิ่งอุปกรณ์ ประเภท 4
ห น ้ า | 69

16.4.3 การเบิกก่อนกำหนด ได้แก่ การเบิกสิ่งอุปกรณ์ที่หน่วยมีความจำเป็นต้อง


ใช้ก่อนวงรอบการเบิก ซึ่งหน่วยสนับสนุนได้กำหนดขึ้น
ข้อ 17 หน่วยเบิก
17.1 ผู้บังคับหน่วยเบิ ก ต้องรับผิดชอบในการขอเบิกสิ่งอุปกรณ์ เพื่อให้หน่วยสามารถ
ปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
17.2 ผู้ บั ง คั บ หน่ ว ยเบิ ก จะต้ อ งส่ งรายมื อ ชื่ อ ผู้ มี สิ ท ธิ เบิ ก และผู้ รั บ สิ่ งอุ ป กรณ์ ตาม
ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการส่งรายมือชื่อผู้มีสิทธิเบิก และผู้รับสิ่งอุปกรณ์ พ.ศ.2510
ข้อ 18 วิธีดำเนินการเบิก
18.1 การเบิกขั้นต้น
18.1.1 หน่วยใช้ เมื่อความต้องการขั้นต้น ทำใบเบิกเสนอหน่วยสนับสนุนโดยตรง
หรือคลังส่วนภูมิภาค หรือคลังกองบัญชาการช่วยรบ หรือคลังสายงานแล้วแต่กรณี ยกเว้นสิ่งอุปกรณ์ประเภท
2 และ 4 สายอากาศยานให้เสนอใบเบิกผ่าน พัน.ขส.ซบร.บ.ทบ. สำหรับสิ่งอุปกรณ์ตาม อจย. และ อสอ. ให้
ดำเนินการเบิกเมื่อได้รับเอกสารการแจกจ่ายสิ่งอุปกรณ์แล้ว
18.1.2 หน่วยสนับสนุนโดยตรง หรือคลังส่วนภูมิภาค หรือคลังกองบัญชาการ
ช่วยรบ
18.1.2.1 เมื่อได้รับใบเบิกจากหน่วยใช้แล้ว ให้ดำเนินกรรมวิธีเพื่อการ
แจกจ่าย ถ้าไม่สามารถสนับสนุนได้ ให้ดำเนินการเบิกตามสายการส่งกำลังต่อไป
18.1.2.2 ในกรณีที่มีการจัดตั้งหน่วยใหม่ และมิได้มีการสะสมสิ่งอุปกรณ์
ไว้ เมื่อหน่วยสนับสนุนโดยตรง หรือคลังส่วนภูมิภาค หรือคลังกองบัญชาการช่วยรบ ได้ท ราบการจัดตั้งหน่วย
โดยแน่นอนแล้ว ให้ทำใบเบิกเสนอตามสายการส่งกำลัง เพื่อให้มีการสะสมสิ่งอุปกรณ์พร้อมจ่ายหน่วยได้ทันที
เว้นสิ่งอุปกรณ์ตาม อจย. และ อสอ. ให้ดำเนินการเมื่อได้รับเอกสารการแจกจ่ายสิ่งอุปกรณ์แล้ว
18.1.2.3 คลังสายงาน เมื่อได้รับใบเบิกจากหน่วยรั บการสนับสนุน ให้
ดำเนินกรรมวิธีเพื่อการแจกจ่าย ถ้าไม่มี สิ่งอุปกรณ์สนับสนุนให้ดำเนินการเสนอความต้องการเพื่อจัดหา
ต่อไป
18.2 การเบิ กทดแทน เมื่อมีความต้องการทดแทน ให้ดำเนินการเบิกตามสายการ ส่ง
กำลัง
18.3 การเบิกเพิ่มเติมเพื่อรักษาระดับส่งกำลัง
18.3.1 หน่วยใช้ ไม่มีการเบิก
18.3.2 หน่วยสนับสนุนโดยตรง คลังส่วนภูมิภาค หรือคลังกองบัญชาการช่วย
รบ เมื่อสิ่งอุปกรณ์ที่สะสมไว้เพื่อสนับสนุนหน่วยลดระดับลงถึงจุดเพิ่มเติม หรือถึงวงรอบการเบิก ให้ทำการ
เบิกตามสายการส่งกำลังต่อไป
18.3.3 คลังสายงาน เมือ่ สิ่งอุปกรณ์ที่สะสมไว้เพื่อสนับสนุนให้แก่หน่วยรับการ
สนับสนุนลดระดับลงถึงจุดเพิ่มเติม หรือถึงวงรอบการจัดหาให้ดำเนินการเสนอความต้องการเพื่อจัดหาต่อไป
18.4 การเบิกพิเศษ
18.4.1 การเบิกเร่งด่วน
18.4.1.1 หน่วยใช้เมื่อมีความต้องการเร่งด่วน ให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยใช้ที่
มีสิทธิเบิกติดต่อขอรับสิ่งอุปกรณ์จากหน่วยให้การสนับสนุนโดยเครื่องสื่อสารที่เหมาะสม เมื่อได้รับสิ่งอุปกรณ์
แล้ว จะต้องทำใบเบิกส่งหน่วยจ่ายภายใน 3 วัน โดยอ้างหลักฐานในการเบิกเร่งด่วน
ห น ้ า | 70

18.4.1.2 หน่ ว ยสนั บ สนุ น โดยตรง หรื อ คลั ง ส่ ว นภู มิ ภ าค หรื อ คลั ง
กองบัญชาการช่วยรบ ถ้ามีสิ่งอุปกรณ์สนับสนุน ให้ผู้ มีอำนาจสั่งจ่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ 36.6 อนุมัติจ่าย
ตามหลักฐานในการเบิกเร่งด่วน ถ้าไม่มีสิ่งอุปกรณ์สนับสนุนให้ติดต่อขอรับการสนับสนุนด้วยเครื่องสื่อสารที่
เหมาะสม เมื่อได้รับสิ่งอุปกรณ์แล้ว จะต้องทำใบเบิกส่งหน่วยจ่ายภายใน 3 วัน
18.4.1.3 คลังสายงาน ถ้ามี สิ่งอุปกรณ์ สนับสนุนให้ผู้มีอำนาจในการสั่ง
จ่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ 36.6 อนุมัติจ่ายตามหลักฐานในการเบิกเร่งด่วน ถ้าไม่มีสิ่งอุปกรณ์สนับสนุน หาก
พิจารณาเห็นว่าสามารถจัดหาสนับสนุนได้ทันที ก็ให้ดำเนินการต่อไป
18.4.2 การเบิกนอกอัตรา เมื่อได้รับอนุมัติความต้องการตามที่เสนอไปในข้อ 9.2
แล้วให้ดำเนินการเบิกได้
18.4.3 การเบิกก่อนกำหนด เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้สิ่งอุปกรณ์ก่อนวงรอบการ
เบิก ซึ่งหน่วยสนับสนุนได้กำหนดขึ้น ให้ดำเนินการเบิกได้
18.5 วิธีทำใบเบิก
18.5.1 ใบเบิกหลายรายการ ได้แก่ แบบพิมพ์ ทบ.400-006 และ ทบ.400-007
ใช้เบิกสิ่งอุปกรณ์ในใบเบิกชุดเดียวกันได้หลายรายการ ดำเนินการดังนี้
18.5.1.1 ทำใบเบิกโดยแยกประเภทสิ่งอุปกรณ์ และสายงายที่รับผิดชอบ
1 ชุด 4 ฉบับ (ชมพู ฟ้า เขียว ขาว ตามลำดับ)
18.5.1.2 ใบเบิกฉบับที่ 1, 2 และ 3 เสนอไปยังหน่วยจ่าย
18.5.1.3 ใบเบิกฉบับที่ 4 เก็บไว้ในแฟ้มรอเรื่อง
18.5.1.4 ถ้าหน่วยเบิกไปรับของเองจากหน่วยจ่าย ให้นำใบเบิกฉบับที่ 4
ไปตรวจสอบกับจำนวน และประเภทกับสิ่งอุปกรณ์ที่ได้จ่ายจริง ตามใบเบิกฉบับที่ 1 และ 2 ลงนามรับสิ่ง
อุปกรณ์ในใบเบิกฉบับที่ 1, 2 และ 4 แล้วนำใบเบิกฉบับที่ 2 และ 4 กลังพร้อมสิ่งอุปกรณ์
18.5.1.5 ถ้าหน่วยเบิกได้รับสิ่งอุปกรณ์จากสำนักงานขนส่งปลายทาง ให้
ตรวจสอบใบเบิกฉบับที่ 4 กับจำนวน และประเภทสิ่งอุปกรณ์ที่จ่ายจริงตามใบเบิกฉบับที่ 1 และ 2 ลงนาม
รับสิ่งอุปกรณ์ในใบเบิกฉบับที่ 1, 2 และ 4 แล้วส่งใบเบิกฉบับที่ 1 คืนหน่วยจ่าย
18.5.1.6 เก็บใบเบิกฉบับที่ 2 ในแฟ้มเสร็จเรื่อง แนบใบเบิกฉบับที่ 4 ไป
กับรายงานการรับสิ่งอุปกรณ์ให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยเบิกทราบ เพื่อรายงานหน่วยตามสายการบังคับบัญชา
เหนือขึ้นไปอีก 1 ขั้น
18.5.2 ใบเบิกรายการเดียว ได้แก่ แบบพิมพ์ ทบ.400-007-1 ใช้เบิกสิ่งอุปกรณ์
ในใบเบิกชุดเดียวกันเพียงรายการเดียว ดำเนินการดังนี้
18.5.2.1 ใบเบิ ก 1 ชุ ด มี 5 ฉบั บ ( ชมพู ฟ้ า เขี ย ว ขาว ขาว
ตามลำดับ )
18.5.2.2 ใบเบิกฉบับที่ 1,2,3 และ 4 เสนอไปยังหน่วยจ่าย
18.5.2.3 ใบเบิกฉบับที่ 5 เก็บไว้ในแฟ้มรอเรื่อง
18.5.2.4 ถ้าหน่วยเบิกไปรับของเองจากหน่วยจ่าย ให้นำใบเบิกฉบับที่ 5
ไปตรวจสอบกับจำนวน และประเภทกับสิ่งอุปกรณ์ที่ได้จ่ายจริง ตามใบเบิกฉบับที่ 1, 2 และ 4 ลงนามรับสิ่ง
อุปกรณ์ในใบเบิกฉบับที่ 1, 2, 4 และ 5 แล้วนำใบเบิกฉบับที่ 2 และ 4 กลับพร้อมสิ่งอุปกรณ์
ห น ้ า | 71

18.5.2.5 ถ้าหน่วยเบิกได้รับสิ่งอุปกรณ์จากสำนักงานขนส่งปลายทาง ให้


ตรวจสอบใบเบิกฉบับที่ 5 กับจำนวน และประเภทสิ่งอุปกรณ์ที่จ่ายจริงตามใบเบิกฉบับที่ 1 และ 2 ลงนาม
รับสิ่งอุปกรณ์ในใบเบิกฉบับที่ 1, 2 และ 5 แล้วส่งใบเบิกฉบับที่ 1 คืนหน่วยจ่าย
18.5.2.6 เก็บใบเบิกฉบับที่ 2 ในแฟ้มเสร็จเรื่อง แนบใบเบิกฉบับที่ 5 ไป
กับรายงานการรับสิ่งอุปกรณ์ให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยเบิกทราบ เพื่อรายงานหน่วยตามสายการบังคับบัญชา
เหนือขึ้นไปอีก 1 ขัน้
18.6 จำนวนเบิก
18.6.1 การเบิกขั้นต้น
จำนวนเบิก = จำนวนตามอัตรา - คงคลัง - ค้างรับ
18.6.2 การเบิกทดแทน
จำนวน = จำนวนสิ่งอุปกรณ์ที่ชำรุด สูญหาย ฯลฯ ซึ่งได้ดำเนินการตามระเบียบ
กองทัพบกว่าด้วยการจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ พ.ศ.2524 แล้ว
18.6.3 การเบิกเพิ่มเติมเพื่อรักษาระดับส่งกำลัง
จำนวนเบิก = เกณฑ์เบิก (RO) - คงคลัง (OH) - ค้างรับ (DI) + ค้างจ่าย (DO)
18.6.4 การเบิกพิเศษ
จำนวนเบิก = จำนวนสิ่งอุปกรณ์ตามความจำเป็นที่ระต้องปฏิบัติภารกิจ หรือ
จำนวนที่ได้รับอนุมัติ
18.7 ข้อกำหนดในการใช้แบบพิมพ์
18.7.1 ให้ใช้แบบพิมพ์ ทบ.400-007-1 ในการเบิกสิ่งอุปกรณ์ทุกประเภท และทุก
กรณี เว้นสิ่งอุปกรณ์ที่กำหนดในข้อ 18.7.2
18.7.2 ให้ ใ ช้ แ บบพิ ม พ์ ทบ.400-006 ในกรณี ที่ ห น่ ว ยเบิ ก ต้ อ งไปรั บ ของเอง
หรือแบบพิมพ์ ทบ.400-007 ในกรณีที่หน่วยเบิกต้องการให้หน่วยจ่ายส่ งสิ่งอุปกรณ์ผ่านสำนักงานขนส่งใน
การเบิก
สิ่งอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
18.7.2.1 เครื่องแต่งกาย
18.7.2.2 เครื่องนอน
18.7.2.3 เครื่องสนาม
18.7.2.4 เครื่องเขียน
18.7.2.5 แบตเตอรี่แห้ง
18.7.2.6 สิ่งอุปกรณ์สิ้นเปลืองสายทหารช่าง
18.7.2.7 สิ่งอุปกรณ์สิ้นเปลืองสายแพทย์
18.7.2.8 สิ่งอุปกรณ์สิ้นเปลืองสายการสัตว์
18.7.2.9 สิ่งอุปกรณ์ประเภท 4 จำพวกสารเคมีชนิดต่าง ๆ ก๊าช น้ำกรด และน้ำ
กลั่นสายวิทยาศาสตร์
18.7.2.10 สิ่ งอุ ป กรณ์ ป ระเภท 4 จำพวกวัสดุ ก่ อสร้าง และอุป กรณ์ ที่ เกี่ ยวกั บ
สาธารณูปโภคสายยุทธโยธา
18.7.2.11 วัสดุทำความสะอาด และปรนนิบัติบำรุงสายสรรพาวุธ และเป้า
18.7.2.12 แบบพิมพ์
ห น ้ า | 72

ข้อ 19 การติดตามใบเบิก ได้แก่ การสอบถามเพื่อขอทราบผลการปฏิบัติต่อใบเบิกที่ได้เสนอไป


ยังหน่วยสนับสนุน
19.1 หน่ วยเบิ ก เมื่ อเสนอใบเบิ ก ไปยังหน่ วยสนั บ สนุ น เกิน 45 วัน แล้วยังไม่ได้รับ สิ่ ง
อุปกรณ์ ให้ติดตามใบเบิกโดยใช้แบบพิมพ์ ทบ.400-071
19.2 หน่วยสนับสนุน เมื่อได้รับใบติดตามใบเบิกแล้ว ให้ทำการตรวจสอบใบเบิก และ
บันทึกผลการปฏิบัติในใบติดตามใบเบิก แล้วส่งคืนหน่วยเบิกโดยเร็ว
ข้อ 20 การยกเลิกการเบิก ได้แก่ การแจ้งระงับการจ่ายสิ่งอุปกรณ์ตามใบเบิกที่หน่วยเบิกเสนอ
มา อาจจะเป็นทั้งหมดหรือบางส่วนของการเบิกก็ได้
20.1 เหตุผลในการยกเลิก การยกเลิกอาจริเริ่มจากหน่วยเบิก หรือหน่วยจ่ายก็ได้ เมื่อมี
เหตุผลตามรหัสการยกเลิกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
รหัส ความหมาย
01 รายการนี้ยกเลิกแล้ว ไม่สะสมอีก
02 ขาดแคลนไม่สามารถจ่ายให้ได้ในระยะรอบนี้
03 ไม่สะสมเพราะความต้องการห่างมาก ให้แจ้งเหตุผลที่ต้อง
การโดยละเอียดใหม่
04 ให้เบิกจากหน่วยสนับสนุนโดยตรง
05 ให้เบิกจากคลังส่วนภูมิภาคหรือคลังกองบัญชาการช่วยรบ
06 ให้เบิกจากคลังสายงาน
07 ให้เบิกจากคลังสายงานที่รับผิดชอบ
08 ไม่จ่ายทั้งชุด ให้เบิกเฉพาะชิ้นส่วนซ่อมตามคู่มือส่งกำลัง
09 ไม่จ่ายเฉพาะชิ้นส่วนซ่อม ให้เบิกทั้งชุดตามคู่มือส่งกำลัง
10 ปฏิบัติตามระเบียบไม่ถูกต้อง ให้แก้ไขใหม่ตามที่แจ้งให้ทราบ
11 จำนวนที่เบิกไม่คุ้มค่าขนส่งให้จัดหาในท้องถิ่น
12 งดเบิกเพราะหมดความต้องการ
13 จำนวนที่เบิกเกินกว่าอัตราที่อนุมัติ
14 มีสิ่งอุปกรณ์ชนิดนี้เกินระดับสะสมที่หน่วยเบิก
15 เป็นสิ่งอุปกรณ์ประเภท 4 ให้ขออนุมัติหลักการก่อน
16 เบิกซ้ำ
17 ตรวจสอบหมายเลขสิ่งอุปกรณ์ไม่พบ ขอให้เบิกใหม่ โดย
อ้างชื่อสิ่งอุปกรณ์สำคัญ สิ่งอุปกรณ์หลัก สิ่งอุปกรณ์รอง
แบบ ชื่อคู่มือและหน้า
20.2 วิธีดำเนินการยกเลิก มี 2 วิธี คือ
20.2.1 บั น ทึ ก ยกเลิ ก ในใบเบิ ก ใช้ เมื่ อ ต้ อ งการยกเลิ ก การเบิ ก สิ่ งอุ ป กรณ์ ทุ ก
รายการในใบเบิก ให้ดำเนินการ ดังนี้
20.2.1.1 บันทึก “ยกเลิกรหัส.... วัน เดือน ปี” ด้วยอักษรสีแดง ด้านบนของใบ
เบิก แล้วลงชื่อผู้ตรวจสอบกำกับไว้
20.2.1.2 ในกรณีที่หน่วยจ่ายขอยกเลิก ให้เก็บใบเบิกฉบับที่ 1 ไว้ ส่งใบเบิกฉบับที่
2 คืนหน่วยเบิก ส่วนที่เหลือให้ทำลาย
ห น ้ า | 73

20.2.1.3 ในกรณี ที่หน่วยเบิกขอยกเลิก ให้ส่งใบเบิกฉบับที่เก็บรอเรื่องไว้ไปยัง


หน่วยจ่าย
20.2.2 ยกเลิกด้วยใบแจ้งการยกเลิกใช้เมื่อต้องการยกเลิกการเบิกให้ดำเนินการ
ดังนี้
20.2.2.1ทำใบแจ้งการยกเลิกด้วยแบบพิมพ์ ทบ.400-008 จำนวน 2 ฉบับ
20.2.2.2 ส่งใบแจ้งการยกเลิกไปยังหน่วยเบิก หรือหน่วยจ่ายแล้วแต่กรณี จำนวน
1 ฉบับ แล้วเก็บไว้ 1 ฉบับ
ข้อ 21 การยืมสิ่งอุปกรณ์ ได้แก่ วิธีดำเนินการขอรับการสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์เป็นการชั่วคราว (
เว้นชิ้นส่วนซ่อม ) สำหรับการเพิ่มพูนการปฏิบัติภารกิจ หรือสำหรับการทรงชีพของหน่วยใช้ ซึ่งหน่วยไม่ได้รับ
อนุมัติให้มีสิ่งอุปกรณ์ดังกล่าวไว้ในครอบครอง หรืออนุมัติให้มีไว้แล้วแต่ไม่เพียงพอ
ข้อ 22 วิธีปฏิบัติในการยืมสิ่งอุปกรณ์
22.1 หน่วยใช้
22.1.1 ทำรายงานขอยืมสิ่งอุปกรณ์เป็นลายลั กษณ์อักษร เสนอตามสายการส่ง
กำลัง ในรายการให้ แ จ้งเหตุผ ล และรายละเอียดในการใช้สิ่งอุป กรณ์ ให้ชัดเจนพอที่ จะเป็ นข้อมูลในการ
พิจารณาตกลงใจของผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งให้ยืมได้ ทั้งนี้ให้กำหนดวันส่งคืนในรายงานนั้นด้วย
22.1.2 ทำใบเบิกตามข้อ 18.5 แนบไปพร้อมกับรายงาน
22.1.3 เมื่อครบกำหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ยืมตามบ่งไว้ในใบเบิก ต้องนำส่งคืน
ภายใน 7 วัน
22.1.4 ถ้าสิ่งอุปกรณ์ยืม เกิดการชำรุด สูญหาย ให้ปฏิบัติตามระเบียบกองทัพบก
ว่าด้วยการจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ พ.ศ.2524
22.1.5 เมื่อมีการโยกย้าย หรือสับเปลี่ยนตำแหน่ งผู้เบิกยืม ให้แจ้งยกเลิกใบเบิก
เดิม พร้อมกับทำใบเบิกเสนอไปใหม่
22.2 หน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลัง
22.2.1 หากสิ่งอุปกรณ์ ใดไม่มีให้ยืม ให้ยกเลิกรายการนั้น และแจ้งให้หน่วยยืม
ทราบ
22.2.2 ถ้ามีสิ่งอุปกรณ์สนับสนุนได้ ให้บันทึกเหตุผลในรายงาน และแนบใบเบิ ก
เสนอจนถึงผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งให้ยืม
22.2.3 ผู้อำนาจอนุมัติสั่งให้ยืม
22.2.3.1 สิ่งอุปกรณ์สำคัญ ได้แก่ ผู้บัญชาการทหารบก
22.2.3.2 สิ่งอุปกรณ์อื่น ๆ ได้แก่ เจ้ากรมฝ่ายยุทธบริการ หรือเจ้ากรม
ฝ่ายกิจการพิเศษ หรือแม่ทัพ แล้วแต่กรณี
ข้อ 23 การโอน ได้แก่ การโอนความรับผิดชอบในสิ่งอุปกรณ์ระหว่างสายยุทธบริการ หรือการ
โอนสิทธิครอบครองสิ่งอุปกรณ์ระหว่างหน่วย
ข้อ 24 การโอนความรับผิดชอบในสิ่งอุปกรณ์ระหว่างสายยุทธบริการ ได้แก่ การโอนความ
รับผิดชอบสิ่งอุปกรณ์จากสายยุทธบริการหนึ่งไปยังสายยุทธบริการหนึ่ง ตามระเบียบ หรือคำสั่งกองทัพบก
กำหนด
ข้อ 25 การโอนสิทธิครอบครองสิ่ งอุปกรณ์ระหว่างหน่วย ได้แก่ การเปลี่ยนกรรมสิทธิในการ
ครอบครองสิ่งอุปกรณ์จาหน่วยหนึ่งไปยังอีกหน่วยหนึ่ง เพื่อความมุ่งหมายดังต่อไปนี้
ห น ้ า | 74

25.1 ให้หน่วยมีสิ่งอุปกรณ์ครบตามอัตรา หรือระดับสะสม


25.2 ใช้สิ่งอุปกรณ์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
25.3 ประหยัดเวลา และค่าขนส่ง
25.4 ให้การส่งกำลังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ข้อ 26 การดำเนินการโอนความรับผิดชอบในสิ่งอุปกรณ์ระหว่างสายยุทธบริการ ให้ปฏิบัติตาม
ระเบียบ และคำสั่งกองทัพบก ดังต่อไปนี้
26.1 ระเบียบปฏิบัติการโอนสิ่งอุปกรณ์จากสายยุทธบริการหนึ่งไปให้อีกสายหนึ่ง พ.ศ.2501
26.2 คำสั่งกองทัพบก ที่ 290/2508 ลง 30 ส.ค. 08 เรื่อง กำหนดวิธีดำเนินการโอนสิ่ง
อุปกรณ์ครบชุดของสายยุทธบริการ เพิ่มเติมจากระเบียบปฏิบัติในการโอนสิ่งอุปกรณ์จากสายยุทธบริการหนึ่ง
ไปให้อีกสายหนึ่ง พ.ศ.2501
ข้อ 27 การดำเนินการโอนสิทธิครอบครองสิ่งอุปกรณ์ระหว่างหน่วย เมื่อได้รับอนุมัติโอนจากผู้มี
อำนาจในการสั่งโอนตามข้อ 28 ให้ปฏิบัติดังนี้
27.1 หน่วยโอน
27.1.1 ทำการปรนนิบัติบำรุงสิ่งอุปกรณ์ก่อนโอน
27.1.2 ตรวจสอบให้มีสิ่งอุปกรณ์ครบชุด และสามารถใช้การได้
27.1.3 ผูกป้ายประจำสิง่ อุปกรณ์ โดยใช้แบบพิมพ์ ทบ.400-010
27.1.4 ทำใบโอนสิ่ ง อุ ป กรณ์ โดยใช้ แ บบพิ ม พ์ ทบ.400-074 จำนวน 1 ชุ ด
(5 ฉบับ)
27.1.5 ส่งสิ่งอุปกรณ์พร้อมใบโอนไปยังหน่วยรับโอน จำนวน 4 ฉบับ เก็บไว้ใน
แฟ้มรอเรื่องจำนวน 1 ฉบับ
27.1.6 เก็บใบโอนที่ได้รับคืนจากหน่วยรับโอน และสำเนาใบโอน รายงานหน่วย
สนับสนุนหน่วยโอน จำนวน 1 ฉบับ
27.1.7 ตัดยอดสิ่งอุปกรณ์จากบัญชีคุม
27.2 หน่วยรับโอน
27.2.1 ลงทะเบียนใบโอน
27.2.2 ตรวจรับสิ่งอุปกรณ์ตามใบโอน
27.2.3 ลงนามรับสิ่งอุปกรณ์ในใบโอน ทั้ง 4 ฉบับ เก็บไว้ 1 ฉบับ และส่งให้ก รม
ฝ่ายยุทธบริการที่รับผิดชอบ 1 ฉบับ
ข้อ 28 ผู้มีอำนาจสั่งให้โอน
28.1 สิ่งอุปกรณ์ เกินอัตรา หรือระดับสะสม สิ่งอุป กรณ์ รอง และชิ้นส่วนซ่อมเว้นอาวุธ
ได้แก่ เจ้ากรมฝ่ายยุทธบริการ
28.2 กรณีอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ได้แก่ ผู้บัญชาการทหารบก
ข้อ 29 การส่งคืน ได้แก่ การส่งสิ่งอุปกรณ์กลับคืนหน่วยจ่าย หรือหน่วยสนับสนุนทางการส่ง
กำลัง มิได้หมายถึง การส่งซ่อม หรือส่งสิ่งอุปกรณ์ที่ซ่อมเสร็จแล้วกลับคืนหน่วยส่งซ่อม
ข้อ 30 มูลเหตุการส่งคืน
30.1 เกินอัตรา หรือระดับสะสมที่ได้รับอนุมัติ
30.2 ล้าสมัย เปลี่ยนแบบ หรือ เลิกใช้
30.3 เมื่อครบกำหนดเวลาที่ให้ยืม
ห น ้ า | 75

30.4 เมื่อได้รับอนุมัติให้จำหน่าย
30.5 กรณีอื่น ๆ
ข้อ 31 ประเภทสิ่งอุปกรณ์ที่ส่งคืน
31.1 สิ่งอุปกรณ์ใช้การได้ ได้แก่สิ่งอุปกรณ์ที่มีคุณภาพใช้งานได้ตามความมุ่งหมายเดิม
31.2 สิ่งอุปกรณ์ใช้การไม่ได้ ได้แก่ สิ่งอุปกรณ์ที่สึกหรอ ชำรุดไม่สามารถนำไปใช้งาน
ตามความมุ่งหมายเดิม จำเป็นต้องซ่อม ปรับสภาพ ก่อนนำเข้าเก็บรักษาเพื่อแจกจ่าย หรือในกรณีที่หน่วย
ซ่อมบำรุงพิจารณาแล้วเห็นว่าซ่อมไม่คุ้มค่า ซึ่งจะต้องดำเนินการขอจำหน่ายต่อไป หรือซากสิ่งอุ ปกรณ์ ตาม
ระเบียบกองทัพบกว่าด้วย การจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ หรือสัตว์พาหนะที่ปลดจำหน่ายออกจากทะเบียน ตาม
ระเบียบกองทัพบกว่าด้วย กิจการสัตว์พาหนะ
ข้อ 32 การดำเนินการส่งคืน
32.1 สิ่งอุปกรณ์ใช้การได้
32.1.1 หน่วยส่งคืน เมื่อมีมูลเหตุที่จะต้องส่งคืน ตามข้อ 30 ให้ปฏิบัติดังนี้
32.1.1.1 ทำการปรนนิบัติบำรุงสิ่งอุปกรณ์ก่อนส่งคืน
32.1.1.2 ตรวจสอบให้มีสิ่งอุปกรณ์ครบชุด
32.1.1.3 ผูกป้ายประจำสิ่งอุปกรณ์ โดยใช้แบบพิมพ์ ทบ.400-010
32.1.1.4 ทำใบส่งคืนโดยใช้แบบพิมพ์ ทบ.400-013 หรือ ทบ.400-014
หรือ ทบ.400-007-1 แล้วแต่กรณี จำนวน 1 ชุด ทางเดินของใบส่งคืนตามเอกสารที่แนบท้ายระเบียบ
32.1.1.5 ส่งสิ่งอุปกรณ์ พ ร้อมใบส่งคืนไปยังหน่วยรับคืน ภายใน 7 วัน
เว้นจะได้รับคำสั่งเป็นอย่างอื่น
32.1.1.6 ตั ด ยอดสิ่ งอุ ป กรณ์ อ อกจากบั ญ ชี คุ ม เมื่ อ ได้ รับ ใบส่ งคื น จาก
หน่วยรับคืน
32.1.2 หน่วยรับคืน ปฏิบัติดังนี้
32.1.2.1 ลงทะเบียนใบส่งคืน
32.1.2.2 ตรวจรับสิ่งอุปกรณ์ตามใบส่งคืน
32.1.2.3 ลงนามรับ สิ่ งอุ ป กรณ์ ในใบส่ งคื น และส่ งใบส่ งคื น คื น หน่ วย
ส่งคืน จำนวน 1 ฉบับ
32.1.2.4 บันทึกการรับสิ่งอุปกรณ์ในบัตรบัญชีคุม
32.2 สิ่งอุปกรณ์ใช้การไม่ได้
32.2.1 สิ่งอุปกรณ์ชำรุดไม่สามารถนำไปใช้ได้ตามความมุ่งหมายเดิมจำเป็นต้อง
ซ่อม ปรับสภาพ ก่อนนำเข้าเก็บรักษาเพื่อแจกจ่าย เมื่อได้รับคำสั่งให้ส่งคืน ให้ปฏิบัติดังนี้
32.2.1.1 หน่วยส่งคืน ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 32.1.1
32.2.1.2 หน่วยรับคืน ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 32.1.2
32.2.2 สิ่งอุป กรณ์ ชำรุด ในกรณี ที่หน่วยซ่อมบำรุงพิจารณาแล้วเห็นว่าซ่อมไม่
คุ้มค่า และดำเนินการจำหน่ายตามระเบียบแล้ว ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
32.2.2.1 หน่วยส่งคืน ทำใบส่งคืนโดยใช้แบบพิมพ์ ทบ.400-013 หรือ
ทบ.400-014 หรือ ทบ.400-007-1 แล้วแต่กรณี จำนวน 1 ชุด ส่วนสิ่งอุปกรณ์นั้นไม่ต้องนำส่งคืน เพราะอยู่
กับหน่วยซ่อมซึ่งเป็นหน่วยเดียวกันกับหน่วยรับคืนอยู่แล้ว
23.2.2.2 หน่วยรับคืน ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับกับข้อ 32.1.2
ห น ้ า | 76

32.2.3 ซากสิ่งอุปกรณ์ ตามระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการจำหน่ายสิ่ง


อุปกรณ์ พ.ศ.2524 ให้ปฏิบัติดังนี้
32.2.3.1 หน่วยส่งคืน ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 32.1.1
32.2.3.2 หน่วยรับคืน ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 32.1.2
ข้อ 33 ผู้มีอำนาจสั่งให้ส่งคืนสิ่งอุปกรณ์
33.1 สิ่งอุปกรณ์เกินระดับสะสม ได้แก่ ผู้บังคับหน่วยเก็บรักษา
33.2 สิ่งอุปกรณ์ที่ครบกำหนดยืมแล้วยังไม่ส่งคืน ได้แก่ ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งให้ยืม
33.3 สิ่งอุปกรณ์หรือซากสิ่งอุปกรณ์ที่ได้รับอนุมัติให้จำหน่าย ได้แก่ ผู้มีอำนาจสั่งให้ตัด
ยอดสิ่งอุปกรณ์ออกจากบัญชีคมุ
33.4 สิ่งอุปกรณ์ เกินอัตรา ล้าสมัย เปลี่ยนแบบ หรือ เลิกใช้ ได้แก่ เจ้ากรมฝ่ายยุทธ
บริการ หรือเจ้าฝ่ายกิจการพิเศษ
33.5 เหตุอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ได้แก่ ผู้บัญชาการทหารบก

ตอนที่ 5
การแจกจ่าย
ข้อ 34 การรับสิ่งอุปกรณ์ ได้แก่ การดำเนินกรรมวิธีเพื่อเข้าครอบครองสิ่งอุปกรณ์ที่ได้มา
34.1 การเตรียมรับสิ่งอุปกรณ์
34.1.1 ตรวจสอบเอกสารการรับสิ่งอุปกรณ์
34.1.2 เตรียมสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการรับสิ่งอุปกรณ์
34.2 การรับสิ่งอุปกรณ์จากการเบิก
34.2.1 หน่วยเบิกไปรับสิ่งอุปกรณ์เอง
34.2.1.1 ผู้ รั บ สิ่ ง อุ ป กรณ์ ด ำเนิ น การตามข้ อ 18.5.1.4 หรื อ 18.5.2.4
แล้วแต่กรณี
34.2.1.2 สำหรับสิ่งอุปกรณ์ที่ไม่ประสงค์จะเปิดหีบห่อ ให้ผู้รับสิ่งอุปกรณ์
ตามจำนวนที่ระบุไว้ และให้ผู้จ่ายบันทึกในใบเบิกไว้ด้วย “ไม่เปิดหีบห่อ”
34.2.1.3 การจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ออกจากหน่วยจ่าย ให้ผู้รับปฏิบัติตาม
ระเบียบ และคำแนะนำของหน่วยจ่าย
34.2.1.4 เมื่อผู้รับนำสิ่งอุปกรณ์ไปถึงหน่วยเบิก ให้ผู้บังคับหน่วยเบิกตั้ง
กรรมการตรวจรับสิ่งอุปกรณ์ จำนวน 3 นาย ประกอบด้วยนายทหารสัญญาบัตรอย่างน้อย 2 นาย โดยเฉพาะ
ควรจะตั้งเจ้าหน้าที่ในสายงานที่รับผิดชอบต่อสิ่งอุปกรณ์นั้นเข้าร่วมด้วย
34.2.1.5 ให้คณะกรรมการรายงานผลการตรวจรับให้ผู้บังคับหน่วยเบิก
ทราบ ถ้าปรากฏว่าสิ่งอุปกรณ์คลาดเคลื่อนไปจากใบเบิก หรือมีการชำรุด เสียหาย ให้คณะกรรมการสอบสวน
สาเหตุแล้วแนบสำเนาการสอบสวนไปพร้อมกับรายงานด้วย
34.2.1.6 ถ้ า มี สิ่ ง อุ ป กรณ์ ช ำรุ ด หรื อ สู ญ หาย ให้ ป ฏิ บั ติ ต ามระเบี ย บ
กองทัพบก ว่าด้วยการจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ พ.ศ.2524 ลง 30 ก.ย. 24
34.2.1.7 ให้คณะกรรมการตรวจรับ มอบสิ่งอุปกรณ์ให้แก่เจ้าหน้าที่คลัง
เจ้าหน้าที่เก็บรักษา
34.2.1.8 เจ้าหน้าที่บัญชีคุมบันทึกการรับสิ่งอุปกรณ์ในบัตรบัญชีคุม
ห น ้ า | 77

34.2.2 หน่วยเบิกรับสิ่งอุปกรณ์จากสำนักงานขนส่งปลายทาง
34.2.2.1 เมื่อหน่วยได้รับสิ่งอุปกรณ์ จากสำนักงานขนส่งปลายทาง ให้
ปฏิบัติตามระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการส่งและรับสิ่งอุปกรณ์ พ.ศ.2500 และคำสั่งกองทัพบก (คำสั่งชี้แจง)
ที่ 57/13166 ลง 11 ต.ค.2504 เรื่อง ชี้แจงการปฏิบัติการส่งและรับสิ่งอุปกรณ์ของ ทบ. (ครั้งที่ 3)
34.2.2.2 เจ้าหน้าที่บัญชีคุม บันทึกการรับสิ่งอุปกรณ์ในบัตรบัญชีคุม
หลังจากคณะกรรมการตรวจรับได้ตรวจรับเรียบร้อยแล้ว
34.3 การรับสิ่งอุปกรณ์จากกรณีอื่น ให้ถือปฏิบัติดังนี้
34.3.1 ตรวจรับสิ่งอุปกรณ์
34.3.2 ขึ้นบัญชีคุมสิ่งอุปกรณ์
34.3.3 รายละเอียดการดำเนินการให้ถือปฏิบัติตามระเบียบหรือคำสั่งต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับที่มาของสิ่งอุปกรณ์นั้น ๆ
ข้อ 35 การเก็บรักษา ได้แก่ การเตรียมพื้นที่ การนำสิ่งอุปกรณ์เข้า-ออก การเก็บ หรือการวาง
การระวังรักษาสิ่งอุปกรณ์ในที่เก็บ รวมทั้งการปรนนิบัติบำรุง และการซ่อมบำรุงขณะเก็บ และก่อนจ่ายด้วย
35.1 ความรับผิดชอบในการเก็บรักษา
35.1.1 เจ้ากรมฝ่ายยุทธบริการ และ/หรือ เจ้ากรมฝ่ายกิจการพิเศษ ผู้บัญชาการ
ช่วยรบ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก ผู้บังคับการจังหวัดทหารบก ผู้บังคับหน่วยสนับสนุนโดยตรง ผู้บังคับ
หน่วยใช้ จะต้องวางระเบียบ และจัดงานเก็บรักษาสิ่งอุปกรณ์ในที่เก็บให้ปลอดภัย และอยู่ในสภาพที่ใช้การได้
35.1.2 เจ้าหน้าที่เก็บรักษา จะต้องเก็บรักษาสิ่งอุปกรณ์ให้เป็ นไปตามระเบียบที่
ผู้บังคับบัญชา ในข้อ 35.1.1 กำหนด
35.2 ปัจจัยในการเก็บรักษา เพื่อให้การเก็บรักษาได้ผลดี ผู้บังคับหน่วยเก็บรักษาจะต้อง
คำนึงปัจจัย ดังต่อไปนี้
35.2.1 พื้นที่เก็บรักษา
35.2.2 กำลังคน
35.2.3 เครื่องมือยกขน
35.3 การเตรียมที่เก็บรักษา
35.3.1 ที่เก็บ เตรียมทำที่เก็บในพื้นที่คลังปิด หรือคลังกลางแจ้ง แบ่งเป็นคลัง
หรือพื้นที่ แถว ตอน และช่อง โดยใช้ตัวอักษรผสมกับตัวเลข ตัวอย่างเช่น 1-ก-2-4 หมายความว่า คลังพื้นที่
1 แถว ก ตอนที่ 2 ช่องที่ 4
35.3.2 ให้เขียนผังแสดงที่เก็บตามที่จัดระบบไว้ในข้อ 35.3.1 เพื่อสะดวกในการ
วางแผนนำสิ่งอุปกรณ์เข้าที่เก็บ
35.4 การนำสิ่งอุปกรณ์เข้าที่เก็บ เจ้าหน้าที่เก็บรักษาดำเนินการดังนี้
35.4.1 บั น ทึ ก บั ต รแสดงที่ เก็ บ โดยใช้ แ บบพิ ม พ์ ทบ.400-009 สำหรั บ หน่ ว ย
สนับสนุน และแบบพิมพ์ ทบ.400-068 สำหรับหน่วยใช้
35.4.2 ทำการบำรุงรักษาสิ่งอุปกรณ์ก่อนนำเข้าเก็บ
35.4.3 ผูกป้ายประจำสิ่งอุปกรณ์โดยใช้แบบพิมพ์ทบ.400-010 โดยอนุโลม
35.4.4 นำสิ่งอุปกรณ์เข้าเก็บในที่ที่กำหนดให้
35.5 การเก็บรักษา หรือการวางสิ่งอุปกรณ์
ห น ้ า | 78

35.5.1 กำหนดทางเดินในพื้นที่เก็บรักษาเพื่อความสะดวกในการใช้แรงงาน หรือ


เครื่องทุ่นแรง ดังต่อไปนี้
35.5.1.1 ทางเดินหลัก อาจมีทางเดียวตรงกึ่งกลางตามความยาวของพื้นที่
เก็บรักษา หรือมีทั้งสองข้างของพื้นที่เก็บรักษาก็ได้ ควรให้มีความกว้างพอที่รถยก 2 คันสวนทางกันได้
35.5.1.2 ทางเดิน ขวาง ตั้งฉากกับทางเดินหลักควรกำหนดให้ตรงกับ
ประตู
35.5.1.3 ทางเดินระหว่างที่เก็บของควรให้รถเข็นหรือรถยกปฏิบัติงานได้
35.5.1.4 ทางเดินฉุกเฉิน จัดสำรองไว้สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน
35.5.2 เก็บสิง่ อุปกรณ์ให้เต็มที่ว่างทั้งทางดิ่ง และทางระดับ
35.5.3 เก็บสิ่งอุปกรณ์ให้พ้นจากอันตราย
35.5.4 เก็ บ สิ่ งอุ ป กรณ์ ในที่ เก็ บ รัก ษาให้ ต รงกั บ ลั ก ษณะและคุ ณ สมบั ติ ข องสิ่ ง
อุปกรณ์
35.6 การระวังรักษา เจ้าหน้าที่เก็บรักษาจะต้องระวังรักษาสิ่งอุปกรณ์ให้ปลอดภัย และ
อยู่ในสภาพใช้การได้ ดังต่อไปนี้
35.6.1 ภัยธรรมชาติ
35.6.1.1 เก็บสิ่งอุปกรณ์ในคลังเก็บรักษาซึ่งสามารถระบายอากาศหรือ
ป้องกันความชื้นได้
35.6.1.2 ตรวจ ป้องกัน และทำลายจำพวกสัตว์ และแมลงต่าง ๆ
ในกรณีพื้นที่คลังไม่เพียงพอ ให้แยกเก็บสิ่งอุปกรณ์ที่มีความคงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศไว้ในคลังเปิด
35.6.1.4 ใช้ไม้รอง หรือทาสี หรือทาน้ำมันสำหรับสิ่งอุปกรณ์ที่เก็บไว้ใน
คลังเปิด
35.6.2 อัคคีภัย
35.6.2.1 กำหนดเขตและกวดขันไม่ให้นำเชื้อเพลิงเข้าบริเวณที่เก็บรักษา
35.6.2.2 รักษาความสะอาด และขจัดเชื้อเพลิงบริเวณที่เก็บรักษา
35.6.2.3 ดูแลรักษาเครื่องมือดับเพลิงให้อยู่ในสภาพพร้อมที่ใช้การได้
35.6.2.4 จัดเจ้าหน้าที่ดับเพลิง และหมั่นฝึกซ้อมอยู่เสมอ
35.6.2.5 กำหนดข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ และแรงงาน เพื่อลด
ความเสียหายเมื่อเกิดอัคคีภัย
35.6.2.6 จัดทำป้ายเตือน เช่น ป้าย “ห้ามสูบบุหรี่” หรือ “ไวไฟ” เป็น
ต้น
35.6.2.7 หมั่นตรวจตราสภาพการอื่น ๆ อันอาจก่อให้เกิดอัคคีภัย เช่น
สายไฟฟ้า เป็นต้นส่วนรายละเอียดในการปฏิบัติอื่น ๆ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการป้องกัน
อัคคีภยั พ.ศ.2503 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
35.6.3 การทุจริต
35.6.3.1 สิ่งอุปกรณ์ที่มีค่าสูง ขนย้าย และขายง่าย ต้องเก็บรักษาไว้ในที่
ปลอดภัย และมอบความรับผิดชอบให้เฉพาะบุคคล
35.6.3.2 คลังทุกคลังจะต้องปิดประตูใส่กุญแจ และตีตราให้เรียบร้อยเมื่อ
เลิกงาน
ห น ้ า | 79

35.6.3.3 ระมัดระวังมิให้บุคคลลักลอบนำสิ่งอุปกรณ์ออกจากคลัง
35.6.4 วินาศกรรม
35.6.4.1 จัดเจ้าหน้าที่รักษาการณ์ หรือเวรยาม พร้อมอาวุธเพื่อตรวจ
รอบๆ บริเวณที่เก็บรักษาตามความจำเป็น ถ้าหากบริเวณกว้างขวางอาจจัดให้มียานพาหนะ และเครื่องมือ
สื่อสารด้วยก็ได้
35.6.4.2 กวดขันบุคคล และยานพาหนะที่จะผ่านข้า-ออก
35.6.4.3 จัดให้มีเครื่องกีดขวางหรือเครื่องเตือนภัยในบริเวณที่เก็บรักษา
ตามความเห็ น สมควรรายละเอี ยดในการปฏิ บั ติ อื่ น ๆ ให้ ถือ ปฏิ บั ติ ต ามระเบี ยบ ว่าด้วยการรัก ษาความ
ปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2517
35.6.5 อุบตั ิเหตุ
35.6.5.1 อบรมชี้แจงการใช้เครื่องมือยกขน วิธีการขนย้าย และวิธีการจัด
วางสิ่งอุปกรณ์
35.6.5.2 หมั่นตรวจ และปรนนิบัติบำรุงเครื่องยกขนอยู่เสมอ
35.6.5.3 ทำความสะอาดในที่เก็บรักษา
35.6.6 การชำรุดหรือเสื่อมสภาพ
สิ่งอุปกรณ์ซ่อมอยู่ในที่เก็บจะต้องได้รับการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพใช้การได้ หรือมิให้เสื่อมสภาพ
ก่อนนำไปใช้โดยจะต้องปฏิบัติตามระเบียบ หรือคำสั่งที่ทางราชการกำหนด หรือตามคำแนะนำของผู้ผลิต
หรือทำหน้าที่ทางเทคนิค
35.7 การนำสิ่งอุปกรณ์ออกจากที่เก็บ
35.7.1 การนำสิ่งอุปกรณ์ออกจากที่เก็บ ต้องมีหลักฐานการนำออก
35.7.2 การย้ายที่เก็บสิ่งอุปกรณ์ ต้องบันทึกการย้ายไว้เป็นหลักฐาน
35.7.3 สิ่งอุปกรณ์ใดที่นำเข้าเก็บก่อน ให้นำออกจากจ่ายก่อน
ข้อ 36 การจ่ายสิ่งอุปกรณ์ ได้แก่ การดำเนินการตอบสนองความต้องการที่หน่วยเบิกได้ส่งคำขอ
มา
36.1 ข้อพิจารณาในการจ่ายสิ่งอุปกรณ์ หลักเกณฑ์ที่จะต้องพิจารณาว่าควรจ่ายรายการ
ใด จำนวนเท่าใดนั้น ให้คำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้
36.1.1 ความต้องการของหน่วยรับการสนับสนุน
36.1.2 สถานการณ์ทางยุทธวิธี
36.1.3 ระดับส่งกำลัง หรืออัตราของหน่วยรับการสนับสนุน
36.1.4 สิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่ง
36.1.5 สถานที่เก็บรักษาของหน่วยรับการสนับสนุน
36.1.6 ปริมาณสิ่งอุปกรณ์คงคลังของหน่วยจ่าย
36.1.7 ขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงของหน่วยรับการสนับสนุน
36.2 การเตรียมการจ่ายสิ่งอุปกรณ์
36.2.1 จัดทำแผนการแจกจ่าย หรือเอกสารการแจกจ่ายสิ่งอุปกรณ์แล้วแต่กรณี
36.2.2 ดำเนินการปรนนิบัติบำรุงสิ่งอุปกรณ์ก่อนจ่าย ถ้าจำเป็น
36.2.3 จัดสถานที่เตรียมจ่ายโดยแบ่งส่วนดังต่อไปนี้
36.2.3.1 ส่วนจ่าย และคัดแยก
ห น ้ า | 80

36.2.3.2 ส่วนบรรจุหีบห่อ และจัดส่ง


36.3 วิธีดำเนินการจ่ายสิ่งอุปกรณ์
36.3.1 ส่วนบัญชีคุม
36.3.1.1 รั บ ใบเบิ ก และลงทะเบี ย นเอกสารโดยใช้ แ บบพิ ม พ์ ทบ.
400-002
36.3.1.2 ตรวจสอบใบเบิกในเรื่องดังต่อไปนี้
36.3.1.2.1 ลายมือชื่อผู้มีสิทธิเบิก
36.3.1.2.2 ความเรียบร้อยและความถูกต้องของใบเบิก เช่น การ
อ้างหลักฐานที่ใช้ในการเบิก รายการและจำนวนที่ขอมา เป็นต้น
36.3.1.2.3 ความผูกพันระหว่างหน่วยเบิกกับหน่วยจ่าย เช่น
ค้างรับ และค้างจ่าย เป็นต้น
36.3.1.2.4 ห้วงเวลากำหนดให้ทำการเบิก
36.3.1.3 การดำเนินการทางบัญชี
36.3.1.3.1 จำนวนที่ ข อเบิ ก มาอาจเพิ่ ม หรื อ ลดได้ ทั้ ง นี้ เพื่ อ
ความเหมาะสมกับมาตรฐานการบรรจุหีบห่อ
36.3.1.3.2 พิจารณาจ่ายตามลำดับทะเบียนหน่วยจ่าย เว้นแต่
จะได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งจ่ายให้ดำเนินการเป็นอย่างอื่น
36.3.1.3.3 ถ้ า ไม่ มี สิ่ ง อุ ป กรณ์ จ่ า ยให้ บั น ทึ ก การจ่ า ยโดยผู้
ตรวจสอบลงนามในใบเบิก ส่งใบเบิกฉบับที่ 2 คืนหน่วยเบิก ส่วนที่เหลือเก็บไว้ในแฟ้มรอเรื่อง
36.3.1.3.4 ถ้าไม่มีสิ่งอุปกรณ์จ่ายให้บันทึกการจ่าย ผู้ตรวจสอบ
ลงนามแล้วเสนอผู้มีอำนาจสั่งจ่ายลงนามอนุมัติ เก็บใบเบิกฉบับที่ 3 ไว้ในแฟ้มรอเรื่อง ส่วนใบเบิกที่เหลือส่ง
ส่วนเก็บรักษาดำเนินการต่อไป เมื่อได้รับใบเบิกฉบับที่ 1 คืนแล้วให้สำเนาชื่อผู้รับผู้จ่ายลนามในใบเบิกฉบับที่
3 แล้วส่งให้ส่วนเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน
36.3.2 ส่วนเก็บรักษา
36.3.2.1 ลงนามผู้จ่ายในใบเบิก
36.3.2.2 จัดเตรียม และคัดแยกสิ่งอุปกรณ์ให้ครบถ้วนตามใบเบิก
36.3.2.3 เขียนป้ายประจำสิ่งอุปกรณ์ โดยใช้แบบพิมพ์ ทบ.400-010
36.3.2.4 ในกรณีที่หน่วยเบิกมารับสิ่งอุปกรณ์เอง ให้ตรวจสอบรายมือชื่อผู้มีสิทธิ
รับสิ่งอุปกรณ์ให้ถูกต้อง
36.3.2.5 มอบสิ่งอุปกรณ์ให้ผู้รับไปพร้อมกับใบเบิกฉบับที่ 2 และส่งใบเบิกฉบับที่
3 คืนส่วนบัญชีคุม
36.3.2.6 ให้ความช่วยเหลือในการบรรทุกสิ่งอุปกรณ์
36.3.2.7 ในกรณีที่ผู้รับไม่สามารถรับสิ่งอุปกรณ์ตามใบเบิกได้ครบในครั้งเดียว ให้ผู้
จ่ายและผู้รับทำบันทึกไว้ด้านหลังใบเบิก แล้วลงนามรับรองไว้
36.3.2.8 ในกรณีที่หน่วยจ่ายส่งสิ่งอุปกรณ์ ให้หน่วยเบิกผ่านสำนักงานขนส่ง ให้
ปฏิบัติตามระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการส่งและรับสิ่งอุปกรณ์ พ.ศ.2500 และระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการ
ทำหีบห่อ และทำเครื่องหมายเพื่อการขนส่งสิ่งอุปกรณ์ พ.ศ.2499
ห น ้ า | 81

36.4 การจ่ า ยสิ่ ง อุ ป กรณ์ โดยอั ต โนมั ติ ได้ แ ก่ การจ่ า ยสิ่ ง อุ ป กรณ์ ให้ ห น่ ว ยรั บ การ
สนับสนุน โดยหน่วยที่รับการสนับสนุนนั้นไม่ต้องทำใบเบิก
36.4.1 ข้อพิจารณาในการจ่ายอัตโนมัติ
36.4.1.1 หน่วยจ่ายทำใบเบิก 1 ชุด โดยใช้แบบพิมพ์ ทบ.400-007 หรือ
ทบ.400-007-1 แล้วแต่กรณี
36.4.1.2 ลงทะเบียนเอกสารแล้วบันทึกคำว่า “อัตโนมัติ” ไว้ด้านบนของ
ใบเบิกด้วยอักษรสีแดง
36.4.1.3 บันทึกการจ่าย
36.4.1.4 ผู้ตรวจสอบลงนามแล้วเสนอผู้มีอำนาจสั่งจ่าย ลงนาม อนุมัติ
36.4.1.5 เก็ บ ใบเบิ ก ฉบั บ ที่ 3 ไว้ ในแฟ้ ม รอเรื่ อ ง ส่ วนที่ เหลื อ ส่ งไปให้
หน่วยรับการสนับสนุน พร้อมกับสิ่งอุปกรณ์
36.4.1.6 หน่วยรับการสนับสนุน ลงที่ใบเบิก ลงนามผู้เบิก และผู้รับสิ่ง
อุปกรณ์ในใบเบิก ฉบับที่ 1, 2, 4, หรือ 5 แล้วแต่กรณี ส่งใบเบิกฉบับที่ 1 คืนหน่วยจ่ายภายใน 7 วัน นับจาก
วันที่ได้รับสิ่งอุปกรณ์ ส่วนใบเบิกที่เหลือให้ดำเนินการเหมือนกับการเบิกตามปกติ
36.4.1.7 หากหน่วยรับการสนับสนุนส่งใบเบิกฉบับที่ 1 คืนหน่วยจ่ายช้า
เกินกว่ากำหนด ให้หน่วยจ่ายแจ้งผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือของหน่วยรับการสนับสนุนนั้นทราบ เพื่อพิจารณา
สอบสวนสาเหตุแห่งความล่าช้าต่อไป

36.5 การปลดเปลื้องค้างจ่าย
36.5.1 การปลดเปลื้องค้างจ่าย ได้แก่ การจ่ายสิ่งอุปกรณ์ที่ค้างจ่ายให้กับหน่วย
โดยอัตโนมัติ
36.5.2 วิธีดำเนินการปลดเปลื้องค้างจ่าย
36.5.2.1 หน่ ว ยจ่ ายทำใบเบิ ก 1 ชุ ด ใช้ แ บบพิ ม พ์ ทบ.400-007 หรื อ
ทบ.400-007-1 แล้วแต่กรณี โดยใช้ที่ใบเบิกเดิม
36.5.2.2 บันทึกทะเบียนเอกสารในใบเบิก โดยใช้เลขทะเบียนเดิม แล้ว
เพิ่มจำนวนครั้งที่ ปลดเปลื้องท้ายทะเบียนนั้น กับบันทึกคำว่า “ปลดเปลื้องค้างจ่าย” ไว้ด้านบนของใบเบิก
ด้วยอักษรสีแดง
36.5.2.3 บันทึกการจ่าย
36.5.2.4 ผู้ตรวจสอบลงนามแล้วเสนอผู้มีอำนาจสั่งจ่าย ลงนาม
36.5.2.5 เก็ บ ใบเบิ ก ฉบั บ ที่ 3 ไว้ ในแฟ้ ม รอเรื่ อ ง ส่ วนที่ เหลื อ ส่ งไปให้
หน่วยรับการสนับสนุน พร้อมกับสิ่งอุปกรณ์
36.5.2.6 หน่วยรับการสนับสนุนลงนามผู้เบิก และผู้รับสิ่งอุปกรณ์ในใบ
เบิกฉบับที่ 1, 2, 4 หรือ 5 แล้วแต่กรณี ส่งใบเบิกฉบับที่ 1 คืนหน่วยจ่ายภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับสิ่ง
อุปกรณ์ ส่วนใบเบิกที่เหลือให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการเบิกตามปกติ
ห น ้ า | 82

36.5.2.7 หากหน่วยรับการสนับสนุนส่งใบเบิกฉบับที่ 1 คืนหน่วยจ่าย


ล่าช้าเกินกว่ากำหนด ให้หน่วยจ่ายแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือของหน่วยรับการสนับสนุนนั้นทราบ เพื่อ
พิจารณาสอบสวนสาเหตุแห่งความล่าช้าต่อไป
36.6 อำนาจสั่งจ่ายในใบเบิก
36.6.1 การเบิก
36.6.1.1 สิ่ ง อุ ป กรณ์ ส ำคั ญ และสิ่ ง อุ ป กรณ์ ห ลั ก เมื่ อ ผู้ บั ญ ชาการ
ทหารบก อนุมัติหลักการแจกจ่ายแล้ว ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้ากอง ตามที่เจ้ากรมฝ่ายยุทธบริการ
และ/หรือเจ้ากรมฝ่ายกิจการพิเศษกำหนด ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก
หรือผู้บังคับการจังหวัดทหารบก เป็นผู้สั่งจ่าย
36.6.1.2 สิ่งอุปกรณ์รอง และชิ้นส่วนซ่อม ผู้อำนวยการกอง หรือ หรือ
หั ว หน้ า กอง ตามที่ เจ้ ากรมฝ่ ายยุ ท ธบริ ก าร และ/หรือ เจ้ ากรมฝ่ ายกิ จ การพิ เศษ กำหนด ผู้ บั ญ ชาการ
กองบัญชาการช่วยรบ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก หรือผู้บังคับการจังหวัดทหารบก หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
เป็นผู้สั่งจ่าย
36.6.2 การยืม
36.6.2.1 สิ่งอุปกรณ์สำคัญ เมื่อผู้บัญชาการทหารบก อนุมัติหลักการยืม
แล้ว ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้ากอง ตามที่เจ้ากรมฝ่ายยุทธบริการ และ/หรือ เจ้ากรมฝ่ายกิจการพิเศษ
กำหนด ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก หรือผู้บังคับการจังหวัดทหารบก เป็น
ผู้สั่งจ่าย
36.6.2.2 สิ่งอุปกรณ์อื่น ๆ เมื่อได้รับหลักการจากผู้มีอำนาจให้ยืมแล้ว
ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้ากอง ตามที่เจ้ากรมฝ่ายยุทธบริการ และ/หรือ เจ้ากรมฝ่ายกิจการพิเศษ กำหนด
ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก หรือผู้บังคับการจังหวัดทหารบก เป็นผู้สั่งจ่าย
ตอนที่ 6
การจำหน่าย
ข้อ 37 การจำหน่าย หมายถึง การตัดยอดสิ่งอุปกรณ์ออกจากความรั บผิดชอบของกองทัพบก
เนื่องจากสูญไป สิ้นเปลืองไป (สิ่งอุปกรณ์สิ้นเปลือง) ชำรุดเสียหายจนไม่สามารถคืนสภาพได้อย่างคุ้มค่า
เสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้ หรือสูญหาย ตาย เกินความต้องการ เป็นของล้าสมัยไม่ใช้ราชการต่อไป
ข้อ 38 การดำเนิ น การ ให้ป ฏิ บั ติตามระเบี ยบกองทั พ บก ว่าด้วยการจำหน่ ายสิ่งอุป กรณ์
พ.ศ.2524 ลง 30 ก.ย. 24
ตอนที่ 7
การควบคุม
ข้อ 39 ประเภทการควบคุม แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ การควบคุมทางการคลัง และการ
ควบคุมทางบัญชี
39.1 การควบคุ มทางการส่ งกำลั ง หน่ วยในสายการส่งกำลังต่ ำกว่า ต้องอยู่ ในความ
ควบคุ ม ของหน่ วยระดั บ เหนื อ กว่าในสายการส่ งกำลั งเดี ย วกั น โดยถื อ ว่ามู ล ฐานภารกิ จ และความ
รับผิดชอบในการควบคุม ดังต่อไปนี้
39.1.1 มูลฐานการควบคุมทางการส่งกำลัง มีดังนี้
39.1.1.1 นโยบายการส่งกำลังของหน่วยเหนือ
39.1.1.2 หลักฐานการควบคุมสิ่งอุปกรณ์
ห น ้ า | 83

39.1.1.3 การพยากรณ์ ค วามต้ อ งการสิ่ ง อุ ป กรณ์ ในอนาคตตามห้ ว ง


ระยะเวลาที่กำหนด
39.1.1.4 ปัจจัยทั้งมวลที่อาจเป็นอุปสรรค และขัดต่อสถานภาพทางการ
ส่งกำลัง
39.1.2 ภารกิจการควบคุมทางการส่งกำลัง มีดังนี้
39.1.2.1 สำรวจการทำบัญชีรายการสิ่งอุปกรณ์
39.1.2.2 คำนวณความต้องการ
39.1.2.3 อำนวยการจัดหา
39.1.2.4 จัดงานการแจกจ่าย
39.1.2.5 อำนวยการซ่อมสร้าง
39.1.2.6 อำนวยการจำหน่าย
39.1.3 ความรับผิดชอบในการควบคุมทางการส่งกำลัง
39.1.3.1 กองทัพบกกำหนดระดับส่งกำลัง
39.1.3.2 หน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลัง
39.1.3.2.1 คำนวณปริมาณสิ่งอุปกรณ์ ตามวันส่งกำลังที่กองทัพบกกำหนด
39.1.3.2.2 รักษาระดับส่งกำลัง
39.1.3.2.3 รวบรวมข้อมูลที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสถานภาพทางการส่งกำลัง
แล้วเสนอขออนุมัติเปลี่ยนแปลงระดับส่งกำลัง

39.2 การควบคุมทางบัญชี ผู้บังคับหน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลัง และหน่วยใช้จะต้อง


รับผิดชอบดำเนินการควบคุมทางบัญชีต่อสิ่งอุปกรณ์ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสม เพื่อให้ทราบ
สถานภาพสิ่งอุปกรณ์ได้ตลอดเวลา โดยถือมูลฐาน ภารกิจ และความรับผิดชอบในการควบคุม ดังต่อไปนี้
39.2.1 มูลฐานการควบคุมทางบัญชี มีดังนี้
39.2.1.1 บัตรบัญชีคุมสิ่งอุปกรณ์ และข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบัตร
บัญชีคุม รวมทั้งประวัติสิ่งอุปกรณ์
39.2.1.2 สถานภาพสิ่งอุปกรณ์
39.2.1.3 ประสบการณ์ในการรับ-จ่าย สิ่งอุปกรณ์
39.2.2 ภารกิจในการควบคุมทางบัญชี มีดังนี้
39.2.2.1 บันทึก รายงาน และจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวกับจำนวนสภาพ และ
สถานภาพของสิ่งอุปกรณ์
39.2.2.2 จัดทำแผนการแจกจ่ายหรือเอกสารการแจกจ่ายสิ่งอุปกรณ์ แล้วแต่กรณี
39.2.2.3 พิจารณาจำนวนสิ่งอุปกรณ์ให้หน่วยสนับสนุน ตามความจำเป็นให้น้อยที่สุด
39.2.3 ความรับผิดชอบในการควบคุมทางบัญชี
39.2.3.1 หน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลัง
39.2.3.1.1 ดำเนินการรวบรวมหลักฐาน จัดทำสถิติ และข้อมูล
สำหรับสิ่งอุปกรณ์แต่ละรายการ
39.2.3.1.2 จัดทำบัญชีคุมสิ่งอุปกรณ์ โดยใช้แบบพิมพ์ ทบ.400-
003 และแบบพิมพ์ ทบ.400-003-2
ห น ้ า | 84

39.2.3.1.3 จัดทำบัญชีคุมอุปกรณ์ถาวรที่อยู่ในความครอบครอง
ของหน่วยใช้ โดยใช้แบบพิมพ์ ทบ.400-003-3 และ ทบ.400-002-4
39.2.3.2 หน่วยใช้
39.2.3.2.1 ดำเนินการรวบรวมหลักฐาน จัดทำสถิติ และข้อมูล
สำหรับสิ่งอุปกรณ์แต่ละรายการ
39.2.3.2.2 จั ด ทำบั ญ ชี คุ ม สิ่ งอุ ป กรณ์ ถ าวร โดยใช้ แ บบพิ ม พ์
ทบ.400-005 สำหรับบัญชีคุมชิ้นส่วนซ่อม และสิ่งอุปกรณ์ใช้สิ้นเปลืองนั้นให้ใช้แบบพิมพ์ ทบ.400-068
ข้อ 40 ความรับผิดชอบ ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น ต้องรับผิดชอบในการควบคุมสิ่งอุปกรณ์ให้
เป็นไปโดยเรียบร้อยเหมาะสม ถูกต้องตามความมุ่งหมายของทางราชการ

ตอนที่ 8
การสำรวจ
ข้อ 41 การสำรวจ ได้แก่ การสำรวจสิ่งอุปกรณ์ และการสำรวจที่เก็บ
41.1 การสำรวจสิ่งอุปกรณ์ ได้แก่ การนับจำนวน และตรวจสภาพสิ่งอุปกรณ์ในที่เก็บให้
ตรงกับหลักฐานบัญชีคุม
41.2 การสำรวจที่เก็บ ได้แก่ การตรวจสอบที่เก็บสิ่งอุปกรณ์ให้ ตรงกับบัตรบัญชีคุมสิ่ง
อุปกรณ์ หรือบัตรแสดงที่เก็บ
ข้อ 42 ประเภทการสำรวจสิ่งอุปกรณ์
42.1 การสำรวจเบ็ดเสร็จ ได้แก่ การสำรวจสิ่งอุปกรณ์ในครอบครองทั้งหมด โดยปิดการ
เบิกจ่ายทั้งสิ้น เว้นกรณีเร่งด่ วน การสำรวจประเภทนี้กระทำเมื่อมีเครื่องมือสำรวจสมบูรณ์ ซึ่ งจะทำให้การ
สำรวจนั้นเสร็จสิ้นโดยเร็ว
42.2 การสำรวจหมุนเวียน ได้แก่ การสำรวจสิ่งอุปกรณ์ที่ได้แบ่งออกเป็นจำพวก หรือ
ชนิด หรือรายการเพื่อทำการสำรวจหมุนเวียนกันไปตามห้วงระยะเวลาที่กำหนด โดยปิดการเบิ กจ่ายเฉพาะ
รายการที่สำรวจนั้น เว้นกรณีเร่งด่วน
42.3 การสำรวจพิเศษ ได้แก่ การสำรวจสิ่งอุปกรณ์เป็นครั้งคราวตามความจำเป็น โดย
ปิดการเบิกจ่ายเฉพาะรายการที่สำรวจนั้น เว้นกรณีเร่งด่วน การสำรวจประเภทนี้จะสำรวจสิ่งอุปกรณ์จำพวก
ใด ชนิดใด หรือรายการใดนั้น ขึ้นอยู่กับกรณีดังต่อไปนี้
42.3.1 เมื่ออันตรายเกิดขึ้นกับสิง่ อุปกรณ์
42.3.2 เมื่อหน่วยบัญชีคุมต้องการทราบจำนวน
42.3.3 เมื่อยอดคงคลังในบัตรบัญชีคุมเป็นศูนย์
42.3.4 เมื่อมีการยับยั้งการจ่าย
42.3.5 เมื่อพบสิ่งอุปกรณ์ตกหล่น
42.3.6 เมื่อมีการรับส่งหน้าที่
42.3.7 เมื่อสิ่งอุปกรณ์ในที่เก็บเป็นศูนย์
ข้อ 43 การดำเนินการสำรวจสิ่งอุปกรณ์
43.1 การสำรวจเบ็ดเสร็จ
43.1.1 ประกาศระงั บ การเบิ ก -จ่ า ย ให้ ห น่ ว ยรั บ การสนั บ สนุ น และหน่ ว ยที่
เกี่ยวข้องทราบล่วงหน้า
ห น ้ า | 85

43.1.2 ให้ทำการจ่ายสิ่งอุปกรณ์ให้เสร็จสิ้นก่อนวันเริ่มสำรวจ
43.1.3 วิธีปฏิบัติในการสำรวจ
43.1.3.1 เจ้าหน้าที่บัญชีคุม กรอกหมายเลข ชื่อ และที่เก็บสิ่ง
อุปกรณ์ โดยใช้แบบพิมพ์ ทบ.400-011 และบันทึกคำว่า “ สำรวจ วัน เดือน ปี ” ที่ทำการสำรวจ ลงในบัตร
บัญชีคุม ขีดเส้นใต้ด้วยหมึกสีแดง เสร็จแล้วส่งแบบพิมพ์ ทบ.400-011 ให้คณะกรรมการหรือชุดสำรวจ
43.1.3.2 คณะกรรมการ หรือชุดสำรวจ ทำการสำรวจสิ่งอุปกรณ์ ตาม
แบบพิมพ์ ทบ.400-011 เสร็จแล้วส่งแบบพิมพ์ดังกล่าวคืนเจ้าหน้าที่บัญชีคุม
43.1.3.3 เจ้าหน้าที่บัญชีคุม บันทึกผลการรายงานลงในใบรายงานผล
การเปรียบเทียบการตรวจสอบยอดสิ่งอุปกรณ์ โดยใช้แบบพิมพ์ ทบ.400-012
43.1.3.4 เจ้ า หน้ า ที่ บั ญ ชี คุ ม เสนอใบรายงานผลเปรี ย บเที ย บการ
ตรวจสอบยอดสิ่งอุปกรณ์ต่อผู้มีอำนาจสั่งปรับยอดในบัตรบัญชีคุม ตามข้อ 48
43.1.3.5 เจ้าหน้าที่ บัญชีคุม ทำการปรับยอดในบัตรบัญชีคุมเมื่อได้รับ
อนุมัติ
43.2 การสำรวจหมุนเวียน
43.2.1 เจ้าหน้าที่บัญชีคุมทำตารางการสำรวจเพื่อให้มีการสำรวจอย่างต่อเนื่องใน
รอบปี
43.2.2 ให้ทำการจ่ายสิ่งอุปกรณ์เฉพาะรายการที่ทำการสำรวจ ให้เสร็จสิ้นก่อนวัน
เริ่มสำรวจ
43.2.3 ระงับการเบิกจ่าย เฉพาะรายการที่ทำการสำรวจ โดยไม่ต้องแจ้งให้หน่วย
รับการสนับสนุนทราบ
43.2.4 วิธีการปฏิบัติในการสำรวจ ดำเนินการเช่นเดียวกับ การสำรวจเบ็ดเสร็จ
ตามที่กล่าวในข้อ 43.1.3
43.3 การสำรวจพิเศษ
43.3.1 เมื่อมีเหตุที่จะต้องทำการสำรวจพิเศษอันเนื่องมาจากกรณีใดกรณีหนึ่ง ตามที่กล่าวมา
ในข้อ 42.3 ให้ผู้รับผิดชอบโดยตรงรายงานขออนุมัติทำการสำรวจต่อผู้มีอำนาจสั่งสำรวจ
43.3.2 ให้ทำการจ่ายสิ่งอุปกรณ์เฉพาะรายการที่ทำการสำรวจให้เสร็จสิ้นก่อนวัน
เริ่มสำรวจ
43.3.3 ระงับการเบิกจ่าย เฉพาะรายการที่ทำการสำรวจ โดยไม่ต้องแจ้งให้หน่วย
รับการสนับสนุนทราบ
43.3.4 วิธีปฏิบัติในการสำรวจ ดำเนิน การเช่นเดียวกับการสำรวจเบ็ดเสร็จตามที่กล่าวมาใน
ข้อ 43.1.3
ข้อ 44 ผู้มีอำนาจในการสั่งสำรวจสิ่งอุปกรณ์
44.1 คลังกรมฝ่ายยุทธบริการ หรือฝ่ายกิจการพิเศษ ได้แก่ เจ้ากรมฝ่ายยุทธบริการ
หรือฝ่ายกิจการพิเศษ
44.2 คลังกองบัญชาการช่วยรบ ได้แก่ ผู้บัญชาการช่วยรบ
44.3 คลังมณฑลทหารบก ได้แก่ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก
44.4 คลังจังหวัดทหารบก หน่วยสนับสนุนโดยตรง หรือหน่วยใช้ ได้แก่ ผู้บังคับ
บัญชาชั้นผู้บัญชาการกองพล หรือเทียบเท่า
ข้อ 45 การตั้งกรรมการ หรือชุดสำรวจสิ่งอุปกรณ์
ห น ้ า | 86

ให้ผู้มีอำนาจในการสั่งสำรวจสิ่งอุปกรณ์ตามข้อ 44 ตั้งกรรมการ หรือชุดสำรวจสิ่งอุปกรณ์


อย่างน้อย 3 นาย (ประธานกรรมการ หรือหัวหน้าชุดต้องเป็นนายทหารสัญญาบัตร) เพื่อทำการสำรวจสิ่ง
อุปกรณ์ตามที่กล่าวแล้วในข้อ 43
ข้อ 46 วิธีสำรวจสิ่งอุปกรณ์ ให้คณะกรรมการ หรือชุดสำรวจสิ่งอุปกรณ์ ใช้แบบพิมพ์ ทบ.400-
011 ซึ่งมีอยู่ 3 ส่วน ดำเนินการสำรวจตามลำดับดังต่อไปนี้
46.1 คนที่ 1 สำรวจสิ่งอุปกรณ์ แล้วบันทึกผลลงในใบสำรวจสิ่งอุปกรณ์ส่วนที่ 1
46.2 คนที่ 2 สำรวจสิ่ งอุ ป กรณ์ รายการเดี ย วกั บ คนที่ 1 แล้ วบั น ทึ ก ผลลงในใบสำรวจ
ส่วนที่2
46.3 คนที่ 3 (ประธานกรรมการ หรือหัวหน้ าชุด) ตรวจสอบผลการสำรวจของคนที่ 1
และ 2 ถ้าตรงกันให้บันทึกผลในใบสำรวจสิ่งอุปกรณ์ส่วนที่ 3 ถ้าผลการสำรวจของคนที่ 1 และ 2 ไม่ตรงกัน
ให้คนที่ 3 ทำการสำรวจใหม่ ผลการสำรวจของคนที่ 3 ตรงกับคนใดคนหนึ่ง ให้เอาผลนั้นบันทึกลงในใบ
สำรวจสิ่งอุปกรณ์ส่วนที่ 3 ถ้าผลการสำรวจของคนที่ 3 ไม่ตรงกับใครเลย ให้ทำการสำรวจใหม่พร้อมกันทั้ ง 3
คน
ข้อ 47 การรายงานการสำรวจสิ่งอุปกรณ์
47.1 เมื่อเจ้าหน้าที่บัญชีคุมได้รับใบสำรวจสิ่งอุปกรณ์จากคณะกรรมการ หรือชุด

สำรวจแล้ว ทำการเปรียบเทียบการตรวจสอบยอดสิ่งอุปกรณ์ โดยใช้แบบพิมพ์ ทบ.400-012

47.2 ถ้าผลตรวจนับสิ่งอุปกรณ์คลาดเคลื่อนจากยอดในบัต รบัญชีคุมก่อนเสนอรายงาน ให้


ปฏิบัติดังนี้
47.2.1 ตรวจสอบเอกสารการรับสิ่งอุปกรณ์และหลักฐานการนำสิ่งอุปกรณ์เข้าที่เก็บ
47.2.2 ตรวจสอบเอกสารการจ่ายสิ่งอุปกรณ์และหลักฐานการนำสิ่งอุปกรณ์ออกจาก
ที่เก็บ
47.2.3 สำรวจที่เก็บสิ่งอุปกรณ์
47.3 เสนอรายงานผลการเปรียบเทียบการตรวจสิ่งอุปกรณ์ต่อผู้มีอำนาจในการสั่งสำรวจ
และบันทึกจำนวนสิ่งอุปกรณ์ตามที่ได้รับอนุมัติให้ปรับยอดแล้วด้วยหมึกสีแดงในบัตรบัญชีคุม
ข้อ 48 การปรับยอดในบัตรบัญชีคุม
48.1 ถ้าจำนวนสิ่งอุปกรณ์ขาดจากยอดในบัตรบัญชีคุม ให้ปฏิบัติตามระเบียบกองทัพบก
ว่าด้วยการจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ พ.ศ.2524 ลง 30 ก.ย.24
48.2 ถ้าจำนวนสิ่งอุปกรณ์เกินกว่ายอดในบัญชีคุม ให้ผู้มีอำนาจในการสั่งสำรวจสิ่งอุปกรณ์
สั่งแก้ไขในบัตรบัญชีคุมได้ แล้วแจ้งให้สายยุทธบริการที่รับผิดชอบในสิ่งอุปกรณ์นั้นทราบด้วย
ข้อ 49 การสำรวจที่เก็บสิ่งอุปกรณ์
49.1 ความมุ่งหมายในการสำรวจที่เก็บที่สิ่งอุปกรณ์
49.1.1 เพื่อให้สิ่งอุปกรณ์อยู่ในที่เก็บตรงกับบัตรแสดงที่เก็บ
49.1.2 เพื่อให้สิ่งอุปกรณ์ชนิดเดียวกันเก็บในที่แห่งเดียวกัน
49.1.3 เพื่อให้สิ่งอุปกรณ์ในที่เก็บตรงกับลักษณะ และคุณสมบัติ
49.1.4 เพื่อให้ทราบที่เก็บที่ว่าง
49.2 การดำเนินการสำรวจที่เก็บ
ห น ้ า | 87

49.2.1 ผู้บังคับหน่วยเก็บรักษาทำตารางการสำรวจที่เก็บสิ่งอุปกรณ์ เพื่อให้มีการ


สำรวจอย่างต่อเนื่องในรอบปี
49.2.2 เจ้าหน้าที่บัตรแสดงที่เก็บบันทึ กรายละเอียดสิ่งอุปกรณ์ในที่เก็บเดิมลงใบ
สำรวจที่เก็บ โดยใช้แบบพิมพ์ ทบ.400-011-1 ตามตารางการสำรวจที่เก็บสิ่งอุปกรณ์ที่กำหนดไว้
49.2.3 ผู้ สำรวจทำการสำรวจที่เก็บ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้บันทึกในใบ
สำรวจที่เก็บ
49.2.4 ผู้บังคับหน่วยเก็บรักษาสั่งการแก้ไข
49.2.5 เจ้าหน้าที่บัตรแสดงที่เก็บ แก้บัตรแสดงที่เก็บแล้วส่งให้เจ้าหน้าที่บัตรบัญชี
คุมทราบด้วย
ตอนที่ 9
การรายงานสถานภาพ
ข้อ 50 ความมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้บังคับบัญชา และหน่วยส่งกำลังบำรุงชั้นเหนือทราบสถานภาพ สิ่ง
อุปกรณ์ของหน่วยใช้ และหน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลังตามห้วงระยะเวลา
ข้อ 51 หน่วยรายงาน
51.1 หน่วยใช้ ได้แก่ หน่วยระดับกองพัน หรือเทียบเท่า หรือหน่วยอิสระที่กองทัพบก
อนุมัติขึ้นไป
51.2 หน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลัง ได้แก่ หน่วยสนับสนุนโดยตรง หน่วยสนับสนุน
ทั่วไป และคลัง
ข้อ 52 ห้วงระยะเวลาการรายงาน
52.1 หน่วยใช้ รายงานรอบ 3 เดือน ปิดรายงานสิ้น มีนาคม มิถุนายน กันยายน และ
ธันวาคม
52.2 หน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลัง รายงานในรอบ 6 เดือน ปิดรายงานในสิ้น มีนาคม
และ กันยายน
ข้อ 53 สิ่งอุปกรณ์ที่ต้องรายงาน
53.1 หน่วยใช้ รายงานสถานภาพสิ่งอุปกรณ์ตาม อจย. ทุกรายการ ส่วนสิ่งอุปกรณ์ตาม
อสอ. นั้น ให้รายงานเฉพาะรายการที่กองทัพบกกำหนด
53.2 หน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลัง ให้รายงานสถานภาพสิ่งอุปกรณ์ที่สะสมเฉพาะ
รายการที่กองทัพบกกำหนด
ข้อ 54 การดำเนินการรายงาน
54.1 รายงานของหน่วยใช้
54.1.1 หน่ ว ยใช้ ทำรายงานในรอบ 3 เดื อ น โดยใช้ แ บบพิ ม พ์ ทบ.400-016
จำนวน 3 ชุด แยกสิ่งอุปกรณ์ ตามความรับผิดชอบของสายยุท ธบริการ หน่วยรายงานเก็บ ไว้ 1 ชุด ส่ง
รายงานตามสายการบังคับบัญชา 2 ชุด สำหรับสิ้น มีนาคม ให้รายงานสถานภาพสิ่งอุปกรณ์ทุกรายการ
ตามที่ ก ำหนดในข้ อ 53.1 ส่ ว นสิ้ น มิ ถุ น ายน กั น ยายน และ ธั น วาคม ให้ ร ายงานเฉพาะรายการที่
เปลี่ยนแปลง ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้ยืนยันให้ทราบ
54.1.2 หน่วยบังคับบัญชาชั้นเหนือของหน่วยรายงาน รับทราบสถานภาพสิ่ง
อุปกรณ์ แล้วส่งรายงานจำนวน 2 ชุด ไปตามสายการบังคับบัญชาจนถึง นขต.ทบ. และ นขต.ทบ. ส่งรายงาน
ให้กรมฝ่ายยุทธบริการที่รับผิดชอบสิ่งอุปกรณ์ จำนวน 2 ชุด ภายใน 30 วัน นับจากวันปิดรายงาน
ห น ้ า | 88

54.1.3 กรมฝ่ายยุทธบริการ ตรวจสอบสถานภาพสิ่งอุปกรณ์แล้วส่งรายงานให้


กองทัพบก จำนวน 1 ชุด เก็บไว้ 1 ชุด
ข้อ 55 ประเภทเอกสาร เอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในการรายงานสถานภาพสิ่งอุปกรณ์ให้ถือเป็นเอกสาร
“ลับ”
ตอนที่ 10
ข้อกำหนดอืน่ ๆ
ข้อ 56 แบบพิมพ์ที่ใช้ในระเบียบนี้
การเบิก การยืม การโอน และการส่งคืน
56.1 ทบ.400-006 ใบเบิก
56.2 ทบ.400-007 ใบเบิก และใบส่งสิ่งอุปกรณ์
56.3 ทบ.400-007-1 ใบเบิก หรือใบส่งคืนสิ่งอุปกรณ์
56.4 ทบ.400-008 ใบแจ้งการยกเลิก
56.5 ทบ.400-013 ใบส่งคืน
56.6 ทบ.400-014 ใบส่งคืน และส่งสิ่งอุปกรณ์
56.7 ทบ.400-071 ใบติดตามใบเบิก
56.8 ทบ.400-073 เอกสารการแจกจ่ายสิ่งอุปกรณ์
56.9 ทบ.400-074 ใบโอนสิ่งอุปกรณ์
การเก็บรักษา
56.10 ทบ.400-009 บัตรแสดงที่เก็บ
56.11 ทบ.400-010 บัตรประจำสิ่งอุปกรณ์
การควบคุม
56.12 ทบ.400-002 ทะเบียนหลักฐานการส่งกำลัง
56.13 ทบ.400-003 บัตรบัญชีคุม
56.14 ทบ.400-003-2 บัตรบัญชีคุมสิ่งอุปกรณ์ใช้การไม่ได้
56.15 ทบ.400-003-3 บัตรบัญชีคุมสิ่งอุปกรณ์ถาวรคุมเป็นรายการ
56.16 ทบ.400-003-4 บัตรบัญชีคุมสิ่งอุปกรณ์ถาวรคุมเป็นหน่วย
56.17 ทบ.400-005 บัญชีสิ่งอุปกรณ์ของหน่วย
56.18 ทบ.400-068 บัตรบัญชีคุมชิ้นส่วนซ่อม และสิ่งอุปกรณ์ใช้สิ้นเปลือง
การสำรวจ
56.19 ทบ.400-011 ใบสำรวจสิ่งอุปกรณ์
56.20 ทบ.400-011-1 ใบสำรวจที่เก็บ
56.21 ทบ.400-012 ใบรายงานผลการเปรียบเทียบการตรวจสอบยอดสิ่ง อุปกรณ์
การรายงานสถานภาพ
56.22 ทบ.400-016 ใบรายงานสถานภาพสิ่งอุปกรณ์ของหน่วยใช้
56.23 ทบ.400-017 ใบรายงานสถานภาพสิ่งอุปกรณ์ของหน่วยสนับสนุน
ข้อ 57 สิ่งอุปกรณ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบหลายสายงาน
57.1 องค์ประกอบ ส่วนประกอบ ชิ้นส่วน ฯลฯ
ห น ้ า | 89

57.1.1 ให้สายยุทธบริการซึ่งรับผิดชอบต่อสิ่งอุปกรณ์สำเร็จรูปชนิดใด รวบรวม


องค์ประกอบ ส่ วนประกอบ ชิ้นส่วน ฯลฯ ของสิ่งอุปกรณ์ สำเร็จรูปนั้นแจกจ่ายขั้นต้นให้กับหน่วยรับการ
สนับสนุน
57.1.2 ส่วนการแจกจ่ายทดแทน องค์ประกอบ ส่วนประกอบ ชิ้นส่วน ฯลฯ ให้
สายยุทธบริการที่รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการ
57.2 สิ่งอุปกรณ์ที่จัดเป็นชุด
57.2.1 ให้ ส ายยุ ท ธบริ ก ารที่ รั บ ผิ ด ชอบต่ อ สิ่ ง อุ ป กรณ์ ที่ จั ด เป็ น ชุ ด รวบรวม
ส่วนประกอบของชุดแจกจ่ายขั้นต้นให้แก่หน่วยที่รับการสนับสนุน
57.2.2 ส่วนการแจกจ่ายทดแทนส่วนประกอบชุด ให้สายยุทธบริการที่รับผิดชอบ
เป็นผู้ดำเนินการ
ข้อ 58 อำนาจในการวางระเบียบปลีกย่อย ให้กรมฝ่ายยุทธบริก าร และกรมฝ่ายกิจการพิเศษ
ออกระเบียบปลีกย่อยได้โดยไม่ขัด หรือแย้งกับระเบียบนี้
ห น ้ า | 90

แผนกวิชายานยนต์ กองการศึกษา
โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
ค่ายอดิศร สระบุรี
----------
เอกสารนำ
วิชา การระมัดระวังความปลอดภัย และเครื่องดับเพลิง
1. ข้อแนะนำในการศึกษา
วิ ช านี้ ใช้ เวลาสอน 2 ชั่ ว โมง ทำการสอนแบบเชิ ง ประชุ ม และสาธิ ต เพื่ อ ให้ นั ก เรี ย นมี ค วามรู้
ความสามารถเกี่ ย วกั บ การระมั ด ระวังความปลอดภั ย เมื่ อ ปฏิ บั ติ งานที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ ยานยนต์ และการ
ปฏิบัติงานในโรงซ่อม วิธีป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ การใช้เครื่องดับเพลิง และการดับเพลิงที่
ถูกวิธี ตลอดจนวิธีการตรวจสภาพเครื่องดับเพลิง เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติในการระมัดระวังความปลอดภัย
และเป็นแนวทางในการกำหนดวิธีปฏิบัติ และมาตรการในการระมัดระวังความปลอดภัยของหน่วย ต่อไป
2. หัวข้อสำคัญในการศึกษา เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ คือ
2.1 อันตรายเกี่ยวกับเพลิง
2.2 อันตรายซึ่งเกิดจากการกระทบกระแทก
2.3 อันตรายซึ่งเกิดจากยานพาหนะ
2.4 อันตรายเกี่ยวกับเครื่องมือ
2.5 อันตรายจากสารเคมี
2.6 สาเหตุของอุบัติเหตุ ในโรงซ่อม และวิธีป้องกัน
2.7 เครื่องดับเพลิง
2.8 หลักทั่วไปในการดับเพลิง
2.9 ชนิดของเครื่องดับเพลิง
2.10 หลักการใช้เครื่องดับเพลิง
2.11 การตรวจสภาพเครื่องดับเพลิง
3. งานมอบ ให้นักเรียนอ่านเอกสารเพิ่มเติม เรื่องการระมัดระวังความปลอดภัย และเครื่องดับเพลิง ก่อน
เข้าห้องเรียน
4. คำแนะนำพิเศษ ไม่มี
5. เอกสารแจกจ่ายพร้อมเอกสารนำ เอกสารเพิ่มเติม

***********
ห น ้ า | 91

แผนกวิชายานยนต์ กองการศึกษา
โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
ค่ายอดิศร สระบุรี
----------
เอกสารเพิ่มเติม
วิชา การระมัดระวังความปลอดภัย และเครื่องดับเพลิง
ตอนที่ 1
การระมัดระวังความปลอดภัย
1. กล่าวทั่วไป
1.1 คำแนะนำเหล่านี้แจกจ่ายให้เพื่อเป็นหลักปฏิบัติในการระมัดระวังความปลอดภัย และเป็นแนวทาง
กำหนดวิธีปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยในโรงซ่อมเมื่อทำการซ่อมบำรุงยานพาหนะ และอย่าเข้าใจว่าคำแนะนำ
นี้เป็นสิ่งถาวร โดยท่านจะต้องแก้ ไข เปลี่ยนแปลงหรือทบทวนให้ตรงกันกับข้อบังคับของกองทัพบกหรือ
เอกสารของทางราชการซึ่งกำหนดไว้ รวมทั้ง รปจ.ของหน่วยด้วย
1.2 ผู้มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงจะต้องศึกษาวิธีการปฏิบัติ และต้องปฏิบัติตามอย่าง
เคร่งครัด ต้องย้ำให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจว่าจะต้องทำการฝึกให้เป็นนิสัยตลอดในชีวิตรับราชการ ฉะนั้นในหลักสูตรนี้
เราจะนำข้อระมัดระวังความปลอดภัย และวิธีปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพมาใช้ ในขณะนักเรียนปฏิบัติงานซ่อม
บำรุง ครู และนักเรียนจะต้องตื่นตัวอยู่เป็นนิจเกี่ยวกับข้อระมัดระวังอันตรายในขณะฝึกงาน และจะต้องแก้ไข
ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยทันที
1.3 การซ่อมหรือการบริการยานพาหนะที่รีบด่วนจะไม่เกิดผลงานที่ดี ถ้าการทำงานขาดความระมัดระวัง
ปกติอุบัติเหตุซึ่งเกิดขึ้นส่วนมากจากสาเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ เราต้องหลีกเลี่ยงโดยสนใจต่อสิ่งเล็กๆ น้อยๆ อย่า
เพิกเฉยละเลยเสีย สิ่งซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้เป็นอันตรายทั่ว ๆ ไปซึ่งต้องหลีกเลี่ยงอย่าให้เกิดขึ้น
2. อันตรายเกี่ยวกับเพลิง
2.1 ของเหลวที่หก น้ำมันเครื่อง ไขข้น น้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันทำความสะอาดซึ่งติดไฟได้ง่าย ที่
หกหรือหยดอยู่บนพื้นโรง หรือบนยานพาหนะจะต้องทำความสะอาดทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้เป็นอันขาด
2.2 การสูบบุหรี่ภายในโรงรถ และรอบ ๆ ยานพาหนะ ถ้าอนุญาตให้มีการสูบบุหรี่ได้ในบริเวณ
รอบ ยานพาหนะ หรือในโรงซ่อม ย่อมทำให้เกิดอันตรายจากไฟได้ การสูบบุหรี่ อย่าสูบใกล้โรงซ่อม หรือ
ยานพาหนะอย่างน้อย 15 ฟุต ถ้าอนุญาตให้สูบภายในโรงซ่อมได้ต้องกำหนดพื้นที่เฉพาะ และจัดหาที่ทิ้งก้น
บุหรี่ไว้ให้ผู้สูบทิ้งตามที่ ที่ได้กำหนดไว้
2.3 การกระโดดของประกายไฟฟ้า ไอระเหยของน้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันเครื่องจะติดไฟได้
ง่าย เนื่องจากประกายไฟจากการกระโดดของไฟฟ้าที่ลัดวงจร การป้องกันมิให้เกิดอันตรายจากไฟฟ้านั้น
ก่อนจะเริ่มทำงานเกีย่ วกับระบบไฟฟ้าของยานพาหนะให้ปลดขั้วแบตเตอรี่ที่ต่อลงดินออกเสียก่อน
2.4 ของเหลวซึ่งไวไฟ ไฟซึ่งลุกไหม้ที่ภาชนะใส่ของเหลวไวไฟภายในอาคารดับได้ยากมาก ฉะนั้น
ภาชนะที่ใส่น้ำมันเครื่อง สี น้ำ ยาเคมี และน้ำมันล้างเครื่อง เมื่อใช้งานเสร็จแล้วให้เก็บที่โรงเก็บน้ำ มัน โดย
บรรจุไว้ในภาชนะที่ทำด้วยโลหะมีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันอันตรายซึ่งเกิดจากเพลิงไหม้
2.5 การเผาไหม้ซึ่งเกิดเองโดยธรรมชาติ ผ้าขี้ริ้วเปียกน้ำมัน หรือเปื้อนน้ำมัน หรือขยะซึ่งชุ่ม
น้ำมัน จะเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้เองโดยธรรมชาติได้จากการย่อยสลายตัวจากเชื้อราต่าง ๆ ที่นำมาทิ้ง
ห น ้ า | 92

สุมกองรวมเข้าไว้ด้วยกัน ฉะนั้นภาชนะที่ใช้ใส่ขยะเปื้อนน้ำมันควรจะกันไฟได้ มีฝาปิดมิดชิด และเก็บไว้


ภายนอกอาคาร
2.6 น้ำมันทำความสะอาด ไม่ควรใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการทำความสะอาด เนื่องจากน้ำมันติดไฟ
ง่าย แอลกอฮอล์ ทินเนอร์ น้ำมันอาซิโตน และน้ำมันผสมสีบางชนิด เป็นวัสดุไวไฟเช่นเดียวกัน แต่บางครั้ง
จำเป็น จะต้องใช้ล้างสิ่งของในรายการพิเศษบางรายการ เมื่อเราใช้สารเคมีเหล่านี้ทำความสะอาดให้ใช้ในที่
โล่งแจ้ง เมื่อเกิดเพลิงไหม้สามารถจะดับได้ทันทีโดยไม่ไปติดกับสิ่งอื่น ๆ การเก็บน้ำมัน และสารเคมีเหล่านี้
ให้เก็บแยกต่างหากกับเสื้อผ้าเพื่อป้องกันไฟไหม้ น้ำมันพิเศษซึ่งมีการลุกไหม้ต่ำ เช่น น้ำมันล้างเครื่อง (
โซลเว้นท์ ) ที่ ใช้ทำการล้างส่วนประกอบ องค์ประกอบเครื่องยนต์ เมื่อเกิดการติดไฟเราสามารถดับได้ง่าย
ผ้าขี้ริ้วชุบน้ำมันเครื่อง เมื่อใช้แล้วให้เผาทิ้ง ให้หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันทำความสะอาดทา ยานพาหนะเพื่อ
รักษายานพาหนะ เพราะไม่ปลอดภัยดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
2.7 ถังน้ำมันเชื้อเพลิง ไฟซึ่งเกิดจากการลุกไหม้ที่ถังน้ำมันเชื้อ เพลิง ปกติจะเกิดขึ้นเนื่องจาก
ไฟฟ้าสถิต ข้อระมัดระวังในการป้องกันไฟฟ้าสถิตนี้ ให้แตะพวยเติมน้ำมันกับปากถังน้ำมัน ก่อนที่จะเลื่อน
พวยเติมน้ำมันเข้าไปในคอถังน้ำมัน และแตะไว้ตลอดเวลาระหว่างขณะเติมน้ำมัน จะต้องจัดหาเครื่องดับเพลิง
พร้อมเจ้าหน้าที่ไว้ใกล้ ๆ และอย่าติดเครื่องยนต์ไว้ระหว่างเติมน้ำมัน
2.8 ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงไฟฟ้า ยานพาหนะซึ่งมีปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงไฟฟ้าเป็นอันตรายอย่างยิ่งในการ
จะทำให้เกิดการลุกไหม้ขึ้นได้ เมื่อปิดสวิตช์จุดระเบิดทิ้งไว้ในขณะดับเครื่องยนต์ เพื่อป้องกันอันตรายดังกล่าว
มาแล้วนี้ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องควรระมัดระวังอย่าเปิดสวิตช์จุดระเบิด ทิ้งไว้เป็นอันขาด เมื่อเครื่องยนต์ไม่
ทำงาน
3. อันตรายซึ่งเกิดจากการกระทบกระแทก
กล่าวโดยทั่วไป การบาดเจ็บซึ่งเกิดจากการล้ม และการกระแทกของวัสดุ ส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำ
ของบุคคล ถ้ารอบ ๆโรงซ่อมจัดระเบียบไว้ดีพอย่อมมีความปลอดภัย และโอกาสที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บ
ขึ้นจะน้อยลง ต่อไปจะกล่าวถึงสภาพอันตรายซึ่งเป็นสาเหตุทำให้บุคคลได้รับบาดเจ็บระหว่างการล้ม การ
กระทบกระแทก
3.1 น้ำมันที่หก และหยด น้ำมันเครื่อง ไขข้น น้ำมันเชื้อเพลิง หรือน้ำ หรือการทำความ
สะอาดด้วยของเหลวต่าง ๆ จะสาเหตุให้มีการลื่นที่พื้น เป็นแห่ง ๆ จะต้องเช็ดของเหลวที่หกโดยทันที
3.2 การคลาน และการลุกขึ้น การคลานออกจากใต้พื้นรถ และลุกยืนขึ้น หรือบางครั้งอาจต้อง
กลิ้งออกมานั้นอาจ จะเป็นสาเหตุให้ล้มลง ในขณะยืนขึ้นได้ ฉะนั้นผู้คลานออกจากใต้ท้องรถควรจะหยุดพัก
เมื่อสิ้นสุดการคลาน หรือใช้การพยุงตัวลุกขึ้นโดยใช้ผนังช่วย
3.3 การเปิดประตูยานพาหนะทิ้งไว้ อันตรายจะเกิดขึ้นได้เสมอเมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งคลานออกจากใต้
ท้องรถ แล้วผงกศีรษะขึ้น ศีรษะจะชนขอบประตูรถส่วนที่เป็นมุมแหลม เพื่อป้องกันมิ ให้เกิดอุบัติเหตุ
ดังกล่าวมาแล้ว จะต้องปิดประตูรถไว้เสมอเมื่อลงจากรถ
3.4 การลืมองค์ประกอบและเครื่องมือ องค์ประกอบของพาหนะ และเครื่องมือที่วางทิ้งไว้หรือ
ลืมไว้บนยานพาหนะ อาจจะหล่นเข้าไปในส่วนเคลื่อนไหว และอาจจะทำให้องค์ประกอบ หรือชิ้นส่วนของ
เครื่องยนต์แตกหักเสียหายได้
4. อันตรายซึ่งเกิดจากยานพาหนะ
4.1 การปฏิ บั ติข องพลประจำรถ อย่าหมุน เครื่องยนต์เมื่อเครื่อ งเปลี่ยนความเร็วไม่ อยู่ใน
ตำแหน่งว่าง และเมื่อมีผู้หนึ่งผู้ใดอยู่ใต้ยานพาหนะ ต้องจัดให้มีผู้ตรวจ และร้องว่า "เรียบร้อย" เป็นสัญญาณ
เตือนก่อนที่จะติดเครื่องยนต์
ห น ้ า | 93

4.2 การขับยานพาหนะ อย่าอนุญาตให้นักเรียนขับรถ


4.3 ไม่สนใจการทำงานของเครื่องยนต์ อย่าออกจากรถเมื่อเครื่องยนต์ติดอยู่ ในโรงซ่อม ต้องมี
คนควบคุมบังคับอยู่ตลอดเวลาในห้องพลขับ เมื่อเครื่องยนต์ติด
4.4 เมื่อจะนำรถเข้า-ออกในโรงซ่อม จะต้องให้สัญญาณแก่พลขับแต่ผู้เดียว เพื่อหลีกเลี่ยงความ
ยุ่งยากสับสน บุคคลอื่น ๆ ต้องอยู่ในความสงบ และไม่ส่งเสียง
4.5 การนั่งโดยสารรถ ระหว่างการวิ่งลองเครื่อง นักเรียนจะต้องนั่งประจำที่ใกล้ตอนหน้ารถ ซึ่ง
สามารถคอยสังเกตดูแผงหน้าปัด และศึกษาการตรวจสอบของครู ได้อย่างปลอดภัย และเห็นการปฏิบัติได้
สมบูรณ์
4.5 ก๊าซคาร์บอนโมน๊อกไซด์ ก๊าซไอเสียทำให้เกิดอันตรายถึงตายได้ โรงซ่อมที่ปิดมิดชิดควร
จัดหาข้อต่อท่อไอเสียเสริมต่อจากท่อไอเสียของรถออกไปภายนอกโรงซ่อม และควรจะต่อท่อไอเสียก่อนเสมอ
ก่อนติดเครื่องยนต์ ถ้าไม่มีท่อดังกล่าวแล้ว ให้เปิดประตูหน้าต่างให้หมดเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
4.6 ยานพาหนะล้ ม จะต้องจัดหาแม่แรงที่ เหมาะสมกับการยกยานพาหนะเพื่ อป้องกันมิให้
ยานพาหนะล้ม จึงจะดำเนินงานซ่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย ก่อนยกจะต้องหาเครื่องหนุนล้อ
ไว้ มิให้ยานพาหนะเคลื่อนที่แล้วจึงขึ้นแม่แรงได้
4.7 แหวน นาฬิกา และเครื่องประดับร่างกาย ถ้าแหวน หรือนาฬิกาซึ่งเป็นโลหะเกิดลัดวงจร
ขึ้นกับระบบไฟฟ้าของรถ จะทำให้เกิดการชำรุดเสียหาย และการบาดเจ็บขึ้นได้อย่างร้ายแรง เพื่อป้องกัน
อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นให้ถอดแหวน นาฬิกาข้อมือ สายสร้อย และเครื่องประดับออกก่อนที่จะทำงานกั บ
ยานพาหนะ
5. อันตรายเกี่ยวกับเครื่องมือ
5.1 ใช้ เครื่ อ งมื อ ไม่ ถู ก ต้ อ ง อย่ าใช้ กุ ญ แจงัด ขั ด หรือ ดั น ถ้ าใช้ กุ ญ แจโดยการดั น ออกจากตั ว
อันตรายจะเกิดขึ้นได้เมื่อปากกุญแจเกิดการเลื่อน หรือหลุดออกจากชิ้นงาน
5.2 การยืนไม่มั่นคง การยืนควรยืนให้ทะมัดทะแมง และมั่นคง ก่อนที่จะพยายามใช้เครื่องมือใด
ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้เครื่องมือที่ต้องการใช้แรงมาก ๆ
5.3 การใช้ เครื่องมือไม่ ถูกต้องกับ งาน เช่น ใช้ กุญ แจเลื่อน คีม กุญ แจจับของกลมยึดจับ
สิ่งของ (ยกเว้นการใช้กับของกลม) จะต้องพิจารณาในเรื่องการชำรุดของเครื่องมื อ ควรหลีกเลี่ยงการใช้
เครื่องมือเหล่านี้ ถ้ามีเครื่องมืออื่น ๆ ที่เหมาะสมกว่า
5.4 สกัด เหล็กส่ง ค้อน มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเสมอ ๆ ในการตีเหล็กส่ง หรือสกัดโดยเกิดการตีลื่น
ถูกมือของผู้ตี หรือเกิดเศษโลหะหลุดออกจากส่วนบนของเหล็กส่ง และสกัด เมื่อจะทำการตีด้วยค้อนควร
ตรวจดูความมั่นคงที่ปลายเหล็กส่ง หรือสกัดจะต้องตรวจสภาพส่วนบน และตบแต่งเครื่องมือให้เรียบร้อย
ก่อนใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุจากเศษวัตถุที่หลุดออกจากชิ้นงาน
5.5 แว่นกันสะเก็ด ให้สวมแว่นกันสะเก็ดเสมอเมื่อใช้ล้อหินเจียระไน เมื่อ
ทำการเจาะด้วยสว่าน ทำการสกัดโลหะ โดยปกติจะต้องจัดให้มี แว่นกันสะเก็ดไว้ประจำกับหินเจียระไนทุก
โรงซ่อม
5.6 ท่อลม มีบุคคลจำนวนมากที่ได้รับอันตรายหรือบาดเจ็บเมื่อใช้กับท่อลมเสมอ ๆ ฉะนั้นบุคคล
ทุกนาย จะต้องไม่หยอกล้อเล่นด้วยท่อลม และระมัดระวังอันตราย ซึ่งจะเกิดขึ้นจากท่อลม
5.7 ท่อน้ำ อย่าเปิดน้ำเมื่อไม่มีผู้ใดจับสายสูบน้ำ และอย่าฉีดน้ำร้อนใส่บุคคลใกล้เคียง
ห น ้ า | 94

5.8 เครื่องมื อหล่ อลื่ น ด้วยกำลั งดัน ของลม เช่นเครื่องอัดไขข้นด้วยลม สามารถจะดันไขข้น


ออกมาได้ไกลถึง 50 ฟุต เมื่อกดกระเดื่องใช้งาน ไขข้นซึ่งออกจากปลายท่อสามารถทำให้ ผิวหนังแตกได้
ฉะนั้น เมื่อจะกดกระเดื่อง ควรจะใส่ปลายหัวอัดเข้าไปในหัวอัดไขข้นให้สนิท ก่อนที่จะกดกระเดื่องใช้งาน
5.9 สายยาง อย่าวางหรือจุ่มสายยางลงในน้ำ เมื่อจะต่อสายยางเข้ากับท่อที่มีความดัน ถ้า
เห็นว่าจะมีผู้ใดถูกสะบัดหรือฟาดด้วยสายยางนั้น และอย่าคว้าหรือจับออก แต่ให้พยายามถอดสายยางออก
จากที่ใส่ และดึงออกจากมือถือ ด้วยมือ
6. อันตรายจากสารเคมี
6.1 น้ ำกรดแบตเตอรี่ ให้หลีกเลี่ยงสาเหตุต่างๆ ที่จะทำให้เกิดประกายไฟโดยรอบแบตเตอรี่
แบตเตอรี่ที่กำลังประจุไฟอยู่ จะปล่อยก๊าซไฮโดรเจน และอ๊อกซิเจนออกมา ซึ่งสามารถจะทำให้ระเบิดอย่าง
ร้ายแรงได้ ถ้ามีผู้ใดถูกน้ำกรดเข้าตาให้เปิดตาขึ้นด้วยนิ้วมือ แล้วใช้น้ำเป็นจำนวนมาก ๆ ล้างตาและให้รินน้ำ
ลงบนทุกส่วนของร่างกาย ที่ถูกน้ำกรดหกรด หากสามารถใช้เบกกิ้งโซดา ผสมกับน้ำจะช่วยให้กรดเป็นกลาง
ได้เร็วขึ้น ที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นเพียงการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และควรนำคนเจ็บไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
เท่าที่จะทำได้
6.2 น้ำมันห้ามล้อ เมื่อน้ำมันห้ามล้อเข้าตาคงใช้วิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วในเรื่อง
ของน้ำกรด และให้ล้างผิวหนังที่เปื้อนน้ำมันห้ามล้อด้วยสบู่ และน้ำจนสะอาด
6.3 น้ำมันเชื้อเพลิง ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาด และล้างผิวหนังที่เปื้อนน้ำมันด้วยสบู่และ
น้ำ
6.4 น้ำมันล้างเครื่อง (โซลเว้นท์) ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับน้ำมันเชื้อเพลิง
6.5 แอลกอฮอล์ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับน้ำมันเชื้อเพลิง
6.6 น้ ำ มั น อาซิ โ ทน ให้ ป ฏิ บั ติ เช่ น เดี ย วกั บ น้ ำ กรดแบตเตอรี่ และหลี ก เลี่ ย งอย่ า ให้ น้ ำ มั น
อาซิโทนถูกผิวหนัง
6.7 น้ำมันหล่อลื่น ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับน้ำมันเชื้อเพลิง

ตอนที่ 2
สาเหตุของอุบัติเหตุ และวิธีป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุภายในโรงซ่อม
1. ความปลอดภัยในโรงซ่อม จะต้องมีความเข้าใจ และเพิ่มความระมัดระวังเมื่อปฏิบัติงาน ภายในโรง
ซ่อม พลประจำรถและเจ้าหน้าที่ในโรงซ่อมต้องตื่นตัวคอยสังเกตการทำงานของเจ้าหน้าที่อื่น ๆ และแจ้งให้
เพื่อนซึ่งปฏิบัติงานอยู่ด้วยทราบ และให้สนใจต่อการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินอยู่ในโรงซ่อม จะ
เป็นการป้องกัน และลดอุบัติเหตุลงได้
2. การระมัดระวังความปลอดภัยในโรงซ่อม
2.1 การยกรถให้ลอยพ้นพื้น
2.2 ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเพลิง
2.3 การยก และการติดตั้งเครื่องยนต์ และองค์ประกอบหลัก เครื่องมือยก เครื่องผูกมัด
ต้องรับน้ำหนักได้อย่างมั่นคง
2.4 ความสะอาดภายในโรงซ่อม
3. อธิบาย
3.1 การใช้เครื่องยนต์ และยานยนต์อย่างผิดวิธี
3.2 อุปนิสัยแต่ละบุคคล
ห น ้ า | 95

3.3 การล้อเล่นกันภายในโรงซ่อม
4. ความบกพร่องส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นภายในโรงซ่อม
4.1 ความชำนาญไม่เพียงพอ
4.2 ไม่มีมุ่งความสนใจต่องานที่กำลังกระทำอยู่
4.3 ทำงานต่อเนื่องกันนาน จนเหนื่อยล้า
4.4 เชื่อใจตนเองมากจนเกินควร
4.5 ประมาทเลินเล่อ
4.6 ใช้กำลังมากเกินควร
5. สรุป
อุบัติเหตุทั้งปวงนั้นมิได้เกิดขึ้นเอง แต่มีผู้ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ แม้แต่ตัวท่านเอง
การระมัดระวังรักษาความปลอดภัยเป็นหน้าที่ของทุกคนต้องรับที่ต้องผิดชอบร่วมกัน รวมทั้งการปฏิบัติตาม
รปจ.ของหน่วยที่ได้กำหนดไว้
ตอนที่ 3
เครื่องดับเพลิง
1. กล่าวทั่วไป เพลิงที่เกิดลุกไหม้ขึ้นในรถเป็นอันตรายอย่างยิ่ง และน่ากลัวที่สุด สำหรับหน่วยยานยนต์
ดังนั้นหากเกิดเพลิงไหม้ขึ้นจะต้องรีบดับเสียก่อนที่จะลุกลามใหญ่โต โดยใช้เครื่องดับเพลิงประจำรถ และ
เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ควรจะมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับประเภทต่าง ๆ ของเพลิง ชนิดของเครื่อง
ดับเพลิง และวิธีการดับเพลิงที่กำลังลุกไหม้ จะต้องทราบวิธีการใช้เครื่องดับเพลิง และอุปกรณ์ป้องกันเพลิง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระงับความตื่นตระหนกตกใจอันเป็นสาเหตุให้นำความรู้ไปใช้ในการดับเพลิงไม่ได้
2. หลักทั่วไปในการดับเพลิง เมื่อเริ่มเกิดเพลิงไหม้ลุกไหม้ขึ้น
2.1 คุมสติ
2.2 แบ่งประเภทของเพลิง
2.3 เลือกเครื่องดับเพลิงที่ถูกต้อง
2.4 เข้าไปให้ใกล้เพลิงที่สุด
2.5 เปิดเครื่องดับเพลิง
2.6 ฉีดไปที่ต้นเพลิง
3. การแบ่งประเภทของเพลิง
3.1 เพลิงประเภท "ก" (CLASS "A") เพลิงประเภทนี้เกิดจากวัสดุที่ติดไฟ เช่น ผ้า กระดาษ ไม้
ฯลฯ
3.2 เพลิงประเภท " ข " (CLASS " B ") เพลิงประเภทนี้เกิดจากสารไวไฟ เช่น น้ำมันแก๊สโซลีน และ
น้ำมันเชื้อเพลิง หรือน้ำมันหล่อลื่น ฯลฯ
3.3 เพลิงประเภท " ค " (CLASS " C ") เพลิงประเภทนี้เกิดจากกระแสไฟฟ้า
3.4 เพลิงประเภท "ง" (CLASS "D") เพลิงประเภทนี้เกิดจากโลหะที่ติดไฟ เช่น โลหะแมกนีเซียม
ฯลฯ
4. ชนิดของเครื่องดับเพลิง
4.1 ชนิ ด ปั๊ ม น้ ำ (WATER TYPE) เครื่อ งดั บ เพลิ งชนิ ด นี้ ใช้ น้ ำ เป็ น ตั ว ดั บ เพลิ ง อย่ า ใช้ เครื่ อ ง
ดับเพลิงชนิดใช้น้ำ ในการดับเพลิงที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า หรือน้ำมันเชื้อเพลิง
ห น ้ า | 96

4.2 ชนิ ดโซดา และกรด (SODA - ACID) เครื่องดับเพลิงชนิดนี้ใช้น้ำเป็นตัวดับเพลิง ภายใน


เครื่องดับเพลิงตอนบนจะมีขวดโซดาไบคาร์บอเนต (NaHCO3) และกรดกำมะถัน (H2SO4 ) ซึ่งแยกกันอยู่
เมื่อคว่ำเครื่องดับเพลิงลงจะทำให้โซดา และน้ำกรดผสมทำปฏิกิริยากัน เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นขับดัน
ให้น้ำพุ่งออกจากเครื่องดับเพลิง อย่าใช้เครื่องดับเพลิงชนิดโซดา และกรด ดับเพลิงที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า
หรือน้ำมันเชื้อเพลิง
4.3 ชนิดฟองเหลว (FOAM) เครื่องดับเพลิงชนิดนี้ใช้สารเคมีซึ่งเป็นฟองเหลวซึ่งประกอบด้วย
น้ำยาโซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO3) กับน้ำยาแมกนีเซียมซัลเฟต (MgSO4 ) โดยปกติน้ำยาทั้งสองชนิดนี้
จะบรรจุยู่ในภาชนะแยกกันอยู่ เมื่อคว่ำเครื่องดับเพลิงลง จะทำให้น้ำยาสองชนิดผสมกัน ทำปฏิกิริยาเกิด
แก๊ส และฟองเหลวขับดันออกจากเครื่องดับเพลิง เครื่องดับเพลิงชนิดนี้มีขนาด และรูปร่างเหมือน กับเครื่อง
ดับเพลิงชนิดโซดา และกรด
4.4 ชนิด โบรไมไตรฟลูออโรมีเธน (CF3C) เครื่องดับเพลิงชนิดนี้ใช้สารโบรไมไตรฟลูออโรมีเธน
ซึ่งรู้จักทั่วไปในชื่อของฟรีออน 1301 หรือ เฮลอน 1211 ในรูปของแก๊สเหลวเป็นตัวดับเพลิง และใช้ดับเพลิง
ประเภท ข และ ค ที่ให้ความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพดีเป็นพิเศษ แต่ควรหลีกเลี่ยงการหายใจ เอา
ไอระเหยของแก๊สดับเพลิงชนิดนี้เข้าไป เนื่องจากแก๊สนี้เป็นพิษ รถซึ่งใช้เครื่องดับเพลิงชนิดนี้คือรถตระกูล
รถถังเบา 21 (สกอร์เปี้ยน) ทุกแบบ รถถัง30 (T96-2) และ รถสายพานกู้ซ่อม T 653 รวมทั้งเครื่องดับเพลิง
ชนิดมือถือขนาด 2 3/4 ปอนด์ ที่ใช้อยู่กับรถต่าง ๆ
4.5 ชนิด ผงเคมีแห้ง (DRY CHEMICAL) เครื่องดับเพลิงชนิดนี้ใช้สารเคมีบางชนิดเช่นโซเดียมไบ
คาร์บอเนต หรือโปแตสเซี่ยมไบคาร์บอเนต เป็นตัวดับเพลิง โดยใช้แก๊สไนโตรเจน เป็นตัวขับดันผงเคมีออก
จากเครื่องดับเพลิง รถซึ่งใช้เครื่องดับเพลิงชนิดนี้คือรถเกราะ วี-150 ทุกแบบ และรถถังเบา 32 "สติงเรย์"
4.6 ชนิด คาร์บอนเทตระคลอไรด์ (CCL3) ปัจจุบันเลิกใช้ เครื่องดับเพลิงชนิดนี้ใช้สารคาร์บอนเท
ตระคลอไรด์ ซึ่งเป็นของเหลวระเหยเร็วเป็นตัวดับเพลิง ปกตินิยมบรรจุสารดับเพลิงนี้ไว้ในขวดแก้ว และใช้
ดับเพลิงด้วยการขว้างเข้าไปในเพลิงให้ขวดแตก เมื่อสารดับเพลิงได้รับความร้อนก็จะระเหยอย่างรวดเร็ว
ครอบคลุมเพลิงไว้ ป้องกันมิให้ออกซิเจนในอากาศเข้าไปทำปฏิกิริยากับเชื้อเพลิง เมื่อขาดออกซิเจนเพลิงก็จะ
ดับ
4.7 ชนิด คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (CO2) เครื่องดับเพลิงชนิดนี้ใช้แก๊สคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ซึ่งมี
คุ ณ สมบั ติ ไ ม่ ช่ ว ยให้ ติ ด ไฟ และหนั ก กว่ า อากาศเป็ น ตั ว ดั บ เพลิ ง โดยปกติ จ ะบรรจุ แ ก๊ ส คาร์ บ อนได
อ๊อกไซด์ที่ถูกอัดตัวจนเป็นแก๊สเหลวไว้ในเครื่องดับเพลิง ซึ่งเป็นท่อโลหะรูปทรงกระบอก เครื่องดับ-เพลิงชนิด
คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ที่ใช้กับยานยนต์ทหาร มีอยู่ 2 ขนาด คือ
- เครื่องดับเพลิงประจำที่ บรรจุน้ำยาดับเพลิง 10 ปอนด์
- เครื่องดับเพลิงเคลื่อนย้ายได้ บรรจุน้ำยาดับเพลิง 5 ปอนด์
หมายเหตุ ก่อนใช้เครื่องดับเพลิง ซึ่งเกิดลุกไหม้ขึ้นในห้องเครื่องยนต์ จะต้องดับเครื่องยนต์เสียก่อน และ
ต้องปิดสวิตซ์แบตเตอรี่ประจำรถ ด้วย
ห น ้ า | 97

5. ตารางการใช้เครื่องดับเพลิง
เพลิงประเภท
ชนิดของเครื่องดับเพลิง เพลิงประเภท เพลิงประเภท เพลิงประเภท
“ก” “ข” “ค” “ง”
- น้ำ ดี ห้ามใช้ ห้ามใช้ ห้ามใช้
- โซดา และกรด ดีมาก ห้ามใช้ ห้ามใช้ ห้ามใช้
- คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ดี ดีมาก ดีมาก ดี
- ฟองเหลว (โฟม) ห้ามใช้ ดีมาก ดีมาก ห้ามใช้
- โบรโมไตรฟลูออโรมีเทน ห้ามใช้ ดีมาก ดีมาก ห้ามใช้
- กรวดทราย ดี ห้ามใช้ ห้ามใช้ ดี
- คาร์ บ อนเทตระคลอไรด์ ดี ดี ดี ห้ามใช้
– ผงเคมีแห้ง ดีมาก ดีมาก ดีมาก ต้องใช้เคมี
พิเศษ

6. หลักการใช้เครื่องดับเพลิง และข้อควรระมัดระวัง
6.1 ใช้เครื่องดับเพลิงให้ถูกต้องตามประเภทของเพลิง
6.2 อย่าเปิดเครื่องดับเพลิงก่อนพร้อมที่จะใช้งาน
6.3 อย่าวางเครื่องดับเพลิงไว้กับพื้น แล้วถือที่ปลายสาย
6.4 เข้าไปให้ใกล้เพลิงมากที่สุด
6.5 ฉีดน้ำยาเข้าที่ต้นเพลิง ไม่ใช่ฉีดที่เปลวเพลิง
6.6 เมื่ อ เพลิ ง ดั บ แล้ ว อย่ า ปิ ด เครื่ อ งดั บ เพลิ ง ทั น ที ให้ ฉี ด ต่ อ ไปจนละอองน้ ำ ยาจั บ คลุ ม ทั่ ว
จุดต้นเพลิง
6.7 เครื่องดับเพลิงที่ใช้แล้ว ต้องส่งไปทำการบรรจุใหม่โดยเร็ว
6.8 อย่าทดสอบเครื่องดับเพลิงด้วยการฉีดดู
6.9 ถ้าได้รับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการหายใจเข้าไปมากจนเกิดอาการวิงเวียนศีรษะหรือ
หน้ามืด จะต้องรีบช่วยเหลือทันที โดยรีบนำผู้ป่วยออกสู่อากาศบริสุทธิ์ แล้วผายปอด เช่นเดียวกับการช่วยคน
จมน้ำ
6.10 เครื่องดับเพลิงแบบคาร์บอนไดออกไซด์ จะต้องเก็บไว้ในที่มีการระบายอากาศอย่างเพียงพอ
เพื่อป้องกันแก๊สรั่วไหล และต้องเก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 140 องศา ฟ.
7. การตรวจสภาพเครื่องดับเพลิง
7.1 เครื่ อ งดั บ เพลิ ง ชนิ ด ใช้ น้ ำ ให้ ต รวจสภาพภายนอกด้ ว ยสายตา และตรวจการใช้ ง าน
ประจำเดือน
7.2 เครื่องดับเพลิงชนิดโซดา และกรด ให้ตรวจสภาพภายนอกด้วยสายตา เปิดฝาครอบออก
ตรวจขวดน้ำกรด และน้ำยาภายในเครื่องดับเพลิง ประจำเดือน และการตรวจประจำปี จะต้องถ่ายน้ำยาเก่า
ทิ้ง และเปลี่ยนน้ำยาใหม่
7.3 เครื่องดับเพลิงชนิดฟองเหลว ให้ตรวจสภาพภายนอกด้วยสายตา เปิดฝาครอบออกตรวจดู
ขวดน้ำกรด และน้ำยาภายในเครื่องดับเพลิงประจำเดือน
ห น ้ า | 98

7.4 เครื่องดับเพลิงชนิดเคมีผง ให้ตรวจสภาพของลวด และตะกั่วผนึกกระเดื่องบังคับท่อแก๊ส


เครื่องวัดแรงดัน ท่อยาง และหัวฉีด สารดับเพลิงประจำเดือนทุก 6 เดือน ให้ถอดท่อบรรจุผงเคมีชั่งน้ำหนัก
ถ้าน้ำหนักขาดหายไปมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ให้เปลี่ยนท่อบรรจุผงเคมีใหม่
7. 5 เครื่องดับเพลิงชนิดคาร์บอนเทตระคลอไรด์ ให้ตรวจสภาพภายนอก ประจำเดือน
7.6 เครื่องดับเพลิงชนิดโบรไมไตรฟลูออโรมีเธน ให้ตรวจสภาพภายนอกด้วยสายตา และต้อง
ตรวจสอบด้วยการชั่งน้ำหนักทุก 6 เดือน ถ้าน้ำหนักขาดหายไปมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ให้เปลี่ยนท่อน้ำยา
ดับเพลิง หรือนำไปบรรจุใหม่
7.7 เครื่องดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ ให้ตรวจสภาพของลวดร้อย และตะกั่วผนึกกระเดื่อง
บังคับลิ้นเปิดน้ำยาและสภาพภายนอกโดยทั่วไปของเครื่องดับเพลิง ถ้าผนึกตะกั่วและลวดร้อยหลุดออก ให้
ถอดท่อน้ำยาดับเพลิงออกชั่งตรวจสอบน้ำหนัก โดยปกติต้องตรวจด้วยการชั่งน้ำหนักทุก 6 เดือนถ้าน้ำหนัก
ขาดหายไปมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ให้เปลี่ยนท่อน้ำยาดับเพลิง หรือนำไปบรรจุใหม่
เครื่องดับเพลิงประจำที่ขนาด 10 ปอนด์
น้ำหนักท่อบรรจุ 26 ปอนด์
น้ำหนักของน้ำยาดับเพลิง 10 ปอนด์
น้ำหนักรวม 36 ปอนด์
ฉีดได้นาน 28 วินาที
หมายเหตุ เมื่อนำไปชั่ง ถ้าน้ำหนักรวมน้อยกว่า 35 ปอนด์ ให้ส่งไปบรรจุใหม่
เครื่องดับเพลิงเคลื่อนย้ายได้ขนาด 5 ปอนด์
น้ำหนักท่อบรรจุ 11.5 ปอนด์
น้ำหนักของน้ำยาดับเพลิง 4 ปอนด์
น้ำหนักรวม 16.5 ปอนด์
ฉีดได้นาน 18 วินาที
หมายเหตุ เมื่อนำไปชั่ง ถ้าน้ำหนักรวมน้อยกว่า 16 ปอนด์ ให้นำไปบรรจุใหม่

การตรวจเครื่องดับเพลิงประจำที่ของยานยนต์สายพาน
ให้ตรวจเครื่องบังคับการทำงานของเครื่องดับเพลิงทั้งภายนอกและภายในรถ โดยตรวจลวดร้อย
และผนึกตะกั่วของคันดึงสายลวดบังคับลิ้นเปิดน้ำยาดับเพลิง จะต้องอยู่ในสภาพเรียบร้อย และพร้อมที่จะใช้
งานได้ ตรวจความเรียบร้อย ความมั่นคง และการขันแน่นของเหล็กรัดท่อน้ำยาดับเพลิง หัวต่อและท่อน้ำยา
ดับเพลิง และหัวฉีดต่าง ๆ

***********

You might also like