You are on page 1of 124

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาดนตรีศึกษา
หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563

คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
คำนำ
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา (หลักสูตรใหม่ 2563) ได้ดำเนินการ
พัฒนาหลักสูตรใหม่ โดยนำข้อมูลจากแบบสอบถาม ข้อเสนอแนะจากคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทน
องค์กรวิชาชีพ ร่วมเป็นคณะกรรมการเพื่อดำเนินการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิ
ตามข้อกำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2558 (Thai Qualification
Framework for Higher Education: TQF: HED) ซึ่งนำมาปรับปรุงสำหรับใช้เป็นแนวทางในการ
พัฒ นาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ เพื่อให้สังคมมีความเชื่อมั่นในคุณภาพของบัณฑิต โดยมุ่งเน้น
พัฒนาสมรรถนะหลักสูตรและปรับเปลี่ยนวิธีสอน เพื่อพัฒนาตามแนวทางให้สอดคล้องกับทักษะการ
เรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21
การศึกษาที่มีคุณภาพนั้นเป็นต้นทุนในการพัฒนาประเทศ และช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา
ด้านต่าง ๆ โดยในปัจจุบันประเทศยังขาดแคลนบุคลากรทางด้านดนตรีในระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อเป็น
ศักยภาพต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางด้านการศึกษาดนตรีในประเทศ
คณะครุศาสตร์ มหาวิ ทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จึงได้พัฒนาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
ดนตรีศึกษา (หลักสูตรใหม่ 2563) เพื่อสนองกับความต้องการของท้องถิ่นและการพัฒนาบุคลากรซึ่ง
เน้นคุณภาพทางด้านความรู้ ความสามารถในด้านทฤษฏีและการปฏิบัติด้านดนตรี การมีจรรยาบรรณ
นั กวิจัย สามารถปรับ ตั ว ให้ เข้ากับ การเปลี่ ยนแปลงของสังคมโลกในปัจจุบันและอนาคต มุ่งสร้าง
มาตรฐานคุณภาพหลักสูตรให้บั ณฑิตมีความรู้ความเข้าใจ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ
ดนตรีศึกษา รวมถึง ประยุกต์งานวิจัยเพื่อพัฒนาหรือแก้ปัญหาการศึกษาของชาติ ยึดมั่นในคุณธรรม
จริยธรรมและเป็นผู้นำทางวิชาการดนตรีในการพัฒนาการศึกษาต่อไป
ดังนั้น สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จึงได้ดำเนินการ
พัฒนาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา (หลักสูตรใหม่ 2563) เพื่อสามารถผลิต
บัณฑิตให้บรรลุวัตถุประสงค์และคุณภาพมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่มุ่งหวังต่อไป

สาขาวิชาดนตรีศึกษา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
สารบัญ
หน้า
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป 1
1. รหัสและชื่อหลักสูตร 1
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา 1
3. วิชาเอก 1
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 1
5. รูปแบบของหลักสูตร 1
6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร 2
7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรคุณภาพและมาตรฐาน 2
8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 2
9. ชื่อ ตำแหน่งวิชาการ คุณวุฒิ สาขาวิชา สถาบันการศึกษา และปีที่จบของ 3
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
10. สถานที่จัดการเรียนการสอน 4
11. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณา 5
ในการวางแผนหลักสูตร
12. ผลกระทบจาก ข้อ 11 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับ 7
พันธกิจของมหาวิทยาลัย
13. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/สาขาวิชาอื่นของมหาวิทยาลัย 9
หมวดที่ 2 ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร 10
1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 10
2. แผนพัฒนาปรับปรุง 11
หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร 13
1. ระบบการจัดการศึกษา 13
2. การดำเนินการหลักสูตร 13
3. หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน 17
หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล 35
1. การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา 35
2. การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน 35
3. มาตรฐานการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) 39
4. ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา 43
หมวดที่ 5 หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา 44
1. กฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์ ในการให้ระดับคะแนน 44
2. กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา 44
3. เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 45
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
หมวดที่ 6 การพัฒนาคณาจารย์ 46
1. การเตรียมการสำหรับอาจารย์ 46
2. การพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่คณาจารย์ 46
หมวดที่ 7 การประกันคุณภาพหลักสูตร 47
1. การบริหารหลักสูตร 47
2. การบริหารทรัพยากรการเรียนการสอน 48
3. การบริหารคณาจารย์ 50
4. การบริหารบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน 51
5. การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา 51
6. ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และ/หรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต 51
7. ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) 52
หมวดที่ 8 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของหลักสูตร 53
1. การประเมินประสิทธิผลของการสอน 53
2. การประเมินหลักสูตรในภาพรวม 53
3. การประเมินผลการดำเนินงานตามรายละเอียดหลักสูตร 53
4. การทบทวนผลการประเมินและวางแผนปรับปรุง 53
5. การพัฒนาหลักสูตร 54
ภาคผนวก ภาคผนวก 55
ภาคผนวก ก ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ว่าด้วย การศึกษา 56
ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559
ภาคผนวก ข ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เรื่อง การกำหนดรหัสวิชา 92
ภาคผนวก ค คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 94
เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร
ภาคผนวก ง คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 96
เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตร
ภาคผนวก จ เกณฑ์การประเมินความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษของนักศึกษา 100
ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2562
ภาคผนวก ฉ ศักยภาพของอาจารย์ประจำหลักสูตร 105
ภาคผนวก ช สมรรถนะของนักศึกษาแต่ละชั้นปีในหลักสูตร 114
ภาคผนวก ซ ผลการสำรวจความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตร 116
1

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาดนตรีศึกษา
(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563)

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
คณะ : คณะครุศาสตร์

หมวดที่ 1
ข้อมูลทั่วไป

1. รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร : xxxxxx
ภาษาไทย : หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา
ภาษาอังกฤษ : Master of Education Program in Music Education

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ดนตรีศึกษา)
ชื่อย่อ : ค.ม. (ดนตรีศึกษา)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Master of Education (Music Education)
ชื่อย่อ : M.Ed. (Music Education)

3. วิชาเอก
ไม่มี

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาโท หลักสูตร 2 ปี
5.2 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษบางรายวิชา
2

5.3 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทยหรือนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
 หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563
 คณะกรรมการประจำคณะ ให้ความเห็นชอบหลักสูตร
ในการประชุม ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2563
 คณะกรรมการบริหารบัณฑิตศึกษา ให้ความเห็นชอบหลักสูตร
ในการประชุม ครั้งที่ 2(13)/2563 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
 สภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ให้ความเห็นชอบหลักสูตร
ในการประชุม ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้อนุมัติหลักสูตร
ในการประชุม ครั้งที่ 4(151)/2563 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
การเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2565

8. อาชีพที่สามารถประกอบการได้หลังสำเร็จการศึกษา
8.1 ครู อาจารย์ ผู้อำนวยการสถาบันทางดนตรีทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
8.2 นักวิชาการ นักวิจัย นักฝึกอบรมทางด้านดนตรี
8.3 ศิลปิน นักร้อง นักประพันธ์เพลง
8.4 ผู้ผลิต ผู้พัฒนาเครื่องดนตรี
8.5 อาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา
3

9. ชื่อ ตำแหน่งวิชาการ คุณวุฒิ สาขาวิชา สถาบันการศึกษา และปีที่จบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ลำดับ ชือ่ -สกุล ตำแหน่งวิชาการ คุณวุฒิ-สาขาวิชา สถาบันการศึกษา ปีที่จบ


1 นายบพิตร เค้าหัน อาจารย์ ปร.ด.(ดุริยางคศิลป์) กลุ่มวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560
3 3108 0005 XXXX ศศ.ม.(ดนตรี) กลุ่มวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 2551
ศป.บ.(ดนตรีสากล) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2547
2 นายธวัชชัย ศิลปโชค อาจารย์ ปร.ด.(วิจัยศิลปะและวัฒนธรรม) กลุ่มวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560
3 4010 0097 XXXX ศป.ม.(ดุริยางคศิลป์) กลุ่มวิชามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2554
ศป.บ.(ดุริยางคศิลป์) กลุ่มวิชาดนตรีพื้นบ้าน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2549
3 นายธนวัฒน์ บุตรทองทิม อาจารย์ ปร.ด.(วิจัยศิลปะและวัฒนธรรม) กลุ่มวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557
1 3499 0003 XXXX ศศ.ม.(ดนตรี) กลุ่มวิชาดนตรีวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล 2553
ศป.บ.(ดนตรีไทย) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2550

3
4

10. สถานที่จัดการเรียนการสอน
ในสถานที่ตั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
10.1 อาคารที่ใช้จัดการเรียนการสอน
(1) อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ (อาคารเรียนรวม 7 ชั้น)
(2) อาคารบรรณราชนครินทร์ (ศูนย์วิทยบริการ)
(3) อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์
(4) อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 (อาคารเรียน 9 ชั้น)
(5) อาคารเฉลิมพระเกียรติ 56 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
(6) อาคารคณะครุศาสตร์
(7) อาคารปฏิบัติการดนตรีและนาฏศิลป์

10.2 สิ่งสนับสนุนประกอบการเรียนการสอน
สาขาวิชาดนตรีศึกษามีวัสดุและครุภัณฑ์ประกอบการเรียนการสอน ดังนี้
10.2.1 อุปกรณ์ด้านเครื่องดนตรี
ลำดับ วัสดุ / ครุภัณฑ์ จำนวน
1 ชุดเครื่องดนตรีวงปี่พาทย์เครื่องคู่ 1 วง
2 ชุดเครื่องดนตรีวงปี่พาทย์ไม้แข็ง 1 วง
3 ชุดเครื่องดนตรีวงปี่พาทย์ไม้นวม 1 วง
4 ชุดเครื่องดนตรีวงเครื่องสายเครื่องคู่ 2 วง
5 ชุดเครื่องดนตรีวงแชมเบอร์ 1 วง
6 ชุดเครื่องดนตรีวงบิ๊กแบนด์ 1 วง
7 ชุดเครื่องดนตรีวงซิมโฟนิคแบนด์ 1 วง
8 ชุดเครื่องดนตรีวงดรัมไลน์ 1 วง
9 ชุดเครื่องดนตรีวงโปงลางพื้นบ้านอีสาน 2 วง
10 ชุดเครื่องดนตรีวงแคน 1 วง
11 ชุดเครื่องดนตรีวงพื้นบ้านภาคเหนือ 1 วง

10.2.2 อุปกรณ์อื่น ๆ
ลำดับ วัสดุ / ครุภัณฑ์ จำนวน
1 เวทีสำเร็จรูป 40 แผ่น
2 ชุดลำโพงประกอบอาคาร 2 ชุด
3 ชุดเครื่องเสียงกลางแจ้งขนาดกลาง 1 ชุด
4 มิ๊กเซอร์ 2 เครื่อง
5 ชุดไฟเวที 1 ชุด
6 ตู้แอมป์ปริไฟล์ 10 ตู้
7 จอโปรเจอเตอร์ 2 จอ
8 เครื่องฉายโปรเจอเตอร์ 2 เครื่อง
5

10.3 ศูนย์วิทยบริการ
นักศึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา สามารถใช้บริการการสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ได้จาก
ศูนย์วิทยบริการ ศูนย์ภาษา ซึ่งให้บริการด้านวิชาการ ในการศึกษาหาความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ในการ
เรียนและการวิจัย ดังนี้
10.3.1 ศูนย์วทิ ยบริการ สิ่งตีพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
- หนังสือและตำราเรียนภาษาไทย 96,129 เล่ม
- หนังสือและตำราเรียนภาษาอังกฤษ 8,225 เล่ม
- หนังสือและตำราเรียนดนตรี 165 เล่ม
- วารสารต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 558 รายชื่อ
- วารสารวิชาการเย็บเล่ม 167 รายชื่อ
- สื่อโสตทัศน์ เช่น แผ่นวีดิทัศน์ 5,780 รายการ
10.3.2 ศูนย์ภาษา สิ่งตีพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ศูนย์ภาษา)
- ตำราภาษาอังกฤษ 180 รายการ
- ตำราภาษาไทย 250 รายการ
- นิตยสาร 75 รายการ
- VCD และภาพยนตร์พากย์เสียงภาษาอังกฤษ 120 รายการ
- VCD ช่วยสอนภาษา 15 รายการ
10.3.3 ฐานข้อมูลออนไลน์
1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ของ IG Library 2,532 ชื่อเรื่อง
2) ฐานข้อมูลออนไลน์
- ACM Digital Library
- Web of Science
- ProQuest Dissertation & Theses Global
- SpringerLink – Journal
- American Chemical Society Journal (ACS)
- EBSCO Discovery Service (EDS) Plus Full Text
- Computer & Applied Science Complete (CASC)
- ScienceDirect

11. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร
11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579
เพื่อวางกรอบเป้าหมายการจัดการศึกษาของชาติให้สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี
(พ.ศ. 2560 - 2579) โดยมุ่งจัดการศึกษาให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสและความเสมอภาคใน
การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาคน
ให้มีสมรรถนะการทำงานสอดคล้องกับความต้องการพัฒนาประเทศ แนวคิดการจัดการศึกษาตาม
แผนการศึกษาแห่งชาติ ยึดหลักในการจัดการศึกษาประกอบด้วย หลั กการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน
(Education for All) หลั กการจัดการศึก ษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่ว ถึง (Inclusive Education)
6

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) และการมีส่วนร่วมของสังคม (All for


Education) โดยนำยุทธศาสตร์ชาติมาเป็นกรอบความคิดสำคัญในการจัดทำ
สถานการณ์ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
ประเทศไทยยังคงพบสภาพการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งเศรษฐกิจกับการศึกษานั้นมีความสัมพันธ์กันใน
แบบต่างฝ่ายต่างมีอิทธิพลต่อกัน อาจกล่าวได้ว่าการศึกษาเป็นการพัฒนาทุนมนุษย์และทุนทางสังคม
ที่สำคัญที่สุดในกระบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ประเทศต้องจัดการศึกษาระดับในต่าง ๆ อย่างทั่วถึง
มีป ระสิทธิภ าพและคุณภาพ เพื่อให้ ประชาชนมีความรู้ความสามารถ มีทักษะและเป็นพลเมืองที่ มี
ความรั บ ผิ ดชอบ จึ งจะสามารถแก้ไขปั ญ หาและพั ฒ นาเศรษฐกิจให้ ประสบความสำเร็จได้ในทาง
กลับกันหากเศรษฐกิจของประเทศมีความมั่นคงก็ย่อมส่งผลให้การจัดการศึ กษามีประสิทธิภาพและ
คุณภาพเช่นเดียวกัน ในโลกปัจจุบันที่มนุษย์เข้าสู่ยุคสังคมดิจิทัลที่เทคโนโลยีไม่ได้ เป็นเพียงเครื่องมือ
สนับสนุนการทำงานเช่นที่ผ่านมา แต่จะหลอมรวมเข้ากับชีวิตคนอย่างแท้จริงและเปลี่ยนโครงสร้าง
รูปแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กระบวนการผลิต ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การค้าและกระบวนการ
ทางสังคม รวมถึงระบบการศึกษา ซึ่งประเทศจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญ
ในการขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์ เพื่อเพิ่มโอกาสการให้ประชาชนได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐาน
ตลอดชีวิต

11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม
การพัฒ นาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืนจะต้องให้ ความสำคัญกับการสร้างทุน
ความรู้ของประเทศที่มี อยู่ให้เข้ม แข็ง มีพลังเพียงพอในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒ นาประเทศ
โดยเฉพาะการพัฒนาคนหรือทุนมนุ ษย์ให้เข้มแข็ง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงโลกในยุคศตวรรษที่ 21
ซึง่ สังคมโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความเจริญทางด้านข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี
ทำให้สังคมต้องปรับเปลี่ยนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) สังคมความรู้ (Knowledge
Society) การสืบค้นและการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ สามารถทำได้ อย่างง่ายดาย
และรวดเร็ว การเสริมปัจจัยแวดล้อมดังกล่าวเอื้ อต่อการพัฒนาคุณภาพของคนทั้งในสถาบัน ระบบ
โครงสร้างสังคมให้เข้มแข็ง สามารถเป็นภูมิคุ้มกันการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ การใช้ประโยชน์จากข้อมูล
สารสนเทศในระดับต่าง ๆ จะมาพร้อมการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมของต่างประเทศที่ยากแก่การ
ปิดกั้น ไม่ว่าวัฒนธรรมนั้นจะให้เกิดผลทางบวกหรือทางลบก็ตาม สภาพสังคมจึงมีความซับซ้อนและมี
ปัญหาที่ตามมาหลายประการ สังคมไทยจึงจำเป็นต้องสร้างความเข้มแข็งให้แก่คนในสังคมให้สามารถ
ปรับตัวอยู่ได้อย่างเป็นสุข ในสภาวะที่สังคมเต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม
การศึกษาจะต้องสามารถยกระดับคุณภาพชีวิต ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
เสริม สร้ างอัต ลั กษณ์ ท างวัฒ นธรรมของที่ ดี งามของไทย หลั ก สู ตรต้ องส่ งเสริม ให้ เข้าใจ รู้เท่ าทั น
สามารถใช้วิจารณญาณในการเลือกรับหรือประยุกต์ส่วนดีของวัฒนธรรมไปพร้อมกับการรักษาและ
ดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมดั้งเดิมอันดีงาม มุ่งพัฒนาให้คนไทยมีคุณธรรมนำความรู้ ดำเนินชีวิตเป็นไปอย่าง
มีคุณภาพ มีเสถียรภาพ มีความเป็นธรรม มีความมั่งคั่งมั่นคงอย่างยั่งยืน ภายใต้ระบบบริหารจัดการ
ด้วยธรรมาภิบาล การพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทุนของมนุษย์
เพื่ อ เตรี ย มความพร้ อ มให้ กั บ ระบบสั งคม เพื่ อ สร้ างภู มิ คุ้ ม กั น ให้ กั บ ทุ ก ภาคส่ ว นให้ ต ระหนั ก ถึ ง
ความสำคัญต่อขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนเศรษฐกิจชุมชน
7

11.3 สถานการณ์ด้านมาตรฐานวิชาชีพ
ในปัจจุบันความต้องการบุคลากรทางด้านดนตรียั งคงมีอย่างต่อเนื่อง การสร้างครู
ด้านดนตรีที่มีคุณ ภาพนั้ น ต้องสอนผู้เรียนให้ มีความรู้ความเข้ าใจและมีสุ นทรียะในดนตรีได้อย่าง
แท้จริงตามบทบาทของตน มีทักษะทางด้านดนตรี และการจัดการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้ เรียนพัฒนาความรู้
ความสามารถของตนได้ต ลอดเวลา ซึ่งปั จจุบั น สั งคมของโลกเปิ ดกว้างด้านอาชี พ ของดนตรีว่ามี
คุณประโยชน์ต่อมนุษย์ อาชีพด้านการดนตรีในปัจจุบันจึงได้รับการยอมรับว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติและ
สามารถสร้างรายได้ให้แก่บุคคลและกลุ่มธุรกิจ นอกเหนือจากการเป็นเพี ยงบุคลากรทางการศึกษา
เช่น ศิลปิน นักร้อง นักประพันธ์ โปรดิวเซอร์ เป็นต้น โดยในประเทศและต่างประเทศ มีการนำเอา
ดนตรีมาใช้ในกิจกรรมทางสังคมในด้านความบันเทิง นาฏศิลป์ การละคร ศิลปวัฒนธรรม การแพทย์
การเมือง การทหาร การโฆษณาสินค้า ดังนั้นทำให้ในปัจจุบันจึงมีความต้ องการบุคลากรด้านดนตรี
เป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างงานและตอบสนองต่อความต้องการตามพื้นฐานของสังคมที่มีความเจริญ
ทางด้านการศึกษาและเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
ในปัจจุบันนโยบายของรัฐบาลนั้นมุ่งเน้นการปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมี
ความสามารถทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ การค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ การพัฒนานวัตกรรม
และเทคโนโลยีทางการศึกษาให้ก้าวหน้า นอกจากนี้ยังเป็นสร้างขวัญและกำลังใจให้กับครู ยกฐานะให้
ครูเป็ น วิช าชีพชั้น สูงอย่างแท้จ ริง โดยปฏิ รูประบบการผลิ ตครูให้ มีคุณ ภาพทัดเทียมกับนานาชาติ
ควบคู่กับ การสร้างแรงจูงใจให้ คนเก่งและมีคุณ ธรรมเข้าสู่วิชาชีพ ปรับปรุงค่าตอบแทนครู พัฒ นา
ระบบความก้าวหน้า จัดการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพครูอย่างต่ อเนื่อง โดยสร้างความ
พร้ อ มและความเข้ ม แข็ ง ทางด้ า นการศึ ก ษา เศรษฐกิ จ สั งคม วั ฒ นธรรม วิ ท ยาศาสตร์ ทั ก ษะ
ภาษาอั ง กฤษ เป็ น ต้ น ซึ่ ง ในการพั ฒ นาหลั ก สู ต รในครั้ งนี้ เป็ น การพั ฒ นาเพื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ
สถานการณ์ด้านความต้องการบุคลากรทางการศึกษาที่ มีมาตรฐานทิศทางกัน มีคุณวุฒิทางดนตรีที่
เชื่อมโยงและสัมพันธ์กับความต้องการ รวมถึงสนองตอบต่อการปฏิรูปการศึกษาในยุคของนวัตกรรมที่
จะยกระดับประเทศให้เป็น 4.0 ซึ่งทักษะการทำงานของคนในวิชาชีพด้านดนตรีก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป
เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันถูกพัฒนาไปสู่ระบบการสอนที่ทันสมัย ยิ่งขึ้น ผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะ
เฉพาะ สถาบันการศึกษาจึงต้องผลิตบุคลากรรุ่นใหม่เพื่อรองรับการเจริญเติบโต โดยต้องผสานองค์
ความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์เข้าด้วยกัน เพื่อรวมกับความเป็นศาสตร์แห่งการสอนทางดนตรีศึกษาให้
สมบูรณ์

12. ผลกระทบจากข้อ 11 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจขอมหาวิทยาลัย


12.1 การพัฒนาหลักสูตร
จากสถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตามที่ได้กล่าว
มานั้น การศึกษาจึ งนั บเป็ น เครื่องมือสำคัญ อย่างยิ่งในการพัฒ นาพลเมืองของชาติ เพื่อให้ มีความรู้
ความสามารถที่จะก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการ
การศึกษาของชาติเพื่อพัฒนาพลเมืองให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจน
วัฒนธรรมให้คงอยู่และก้าวต่อไปในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นควรเป็น การจัดการการศึกษาให้
ครอบคลุมต่อเนื่องไปในแต่ละช่วงวัยและลำดับขั้นพัฒนาการมนุษย์โดยสอดคล้องกับนโยบาย ทิศทาง
และเป้าหมายของการจัดการการศึกษาของชาติ ส่งเสริมการพัฒนาครูประจำการและนอกประจำการ
ให้มีความรู้และมี สมรรถนะทางวิชาชีพ เป็นผู้ยึดมั่นในค่า นิยม อุดมการณ์ มีจิตวิญญาณความเป็นครู
8

และสมรรถนะทางวิช าชีพ ครู ประกอบกับ รัฐได้ก ำหนดยุท ธศาสตร์ช าติ ในระยะ 20 ปี โดยเน้ น
เป้าหมายการสร้างกำลังคนที่มีคุณภาพ เป็นคนเก่งและคนดี มีขีดความสามารถในการแข่งขันและ
ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การพัฒ นาหลักสู ตรจึงมุ่งเน้นการยกระดับคุณ ภาพการผลิ ต
บั ณ ฑิ ตที่ มีคุณ ภาพที่ จะนำไปสู่ การสร้างกำลั งคนที่มี คุณ ภาพ ตอบสนองยุทธศาสตร์ช าติด้วยการ
เปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นพลวัต และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งกระทบต่อการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21 ของมนุษย์ ตลอดจนพัฒ นาการของวิทยาการใหม่ที่เป็นศาสตร์บูรณาการและข้าม
วัฒนธรรม

12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย
มหาวิท ยาลั ย ราชภั ฏ ร้อ ยเอ็ด มี พั น ธกิ จในการผลิ ต บั ณ ฑิ ต โดยใช้ อัต ลั กษณ์ ข อง
มหาวิทยาลัยในการผลิตบัณฑิต ดังนั้นจึงได้พัฒนาหลักสูตรเพื่อผลิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา
ให้มีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ดังนี้
1) ส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ เรี ย นมี ค วามรู้ มี คุ ณ ธรรม และจริ ย ธรรม จิ ต อาสา อนุ รั ก ษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนึกในความเป็นไทยและมีความรักและผูกพันท้องถิ่น ส่งเสริม
การเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
2) ส่งเสริมและสร้างค่านิย มให้ผู้เรียนมีความสามารถพร้อมที่จะให้บริการและเป็น
ผู้ น ำทางวิช าการเพื่ อเสริม สร้างความเข้มแข็งให้ ชุมชน ยึด มั่น ในระบอบประชาธิปไตย คุณ ธรรม
จริยธรรม มุ่งใช้ความรู้ความสามารถในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
3) ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นฐานในการแสวงหาความรู้เพื่อความเป็นเลิศ ทาง
วิชาการบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาสากล
4) ส่ งเสริมให้ ผู้ เรี ยนจัดการเรียนรู้โดยอาศัยเครือข่ายและประสานความร่วมมื อ
ช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน หน่วยงานทางการศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง
ในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ รวมทั้งในและต่างประเทศ
5) ส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ เรี ย นน้ อ มนำและสื บ สานโครงการหรื อ หลั ก การตามแนวทาง
พระราชดำริ ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการทำงานและการดำเนินชีวิต
6) ส่ งเสริมให้ ผู้เรียนเป็นผู้ นำในการทำนุบำรุงศิล ปวัฒ นธรรมไทยและวัฒ นธรรม
ท้องถิ่น เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่าทางวัฒนธรรมของชาติ
7) ส่ งเสริ ม ให้ ผู้ เรี ย นมี บ ทบาทในการมี ส่ ว นร่ ว มที่ ส ำคั ญ ในการเสริ ม สร้า งความ
เข้มแข็งของวิชาชีพครู เป็นแบบอย่างและผู้นำที่มีจิตวิญญาณของความเป็นครู รวมถึงสร้างคุณภาพ
และมาตรฐานวิชาชีพครูที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
8) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเป็นเลิศทางในการเลื อกและพิจารณาใช้เทคโนโลยี โดย
สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาชีวิต พัฒนาวิชาชีพ และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ทางการศึกษา
9) ส่ งเสริมให้ ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญ ในการพั ฒ นาศักยภาพของมหาวิทยาลัย ให้
สามารถเป็ น องค์กรแห่ งการเรียนรู้ อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแข่งขั นได้ในประชาคม
อาเซียนและสากล
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา จึงมุ่ง ผลิตบัณฑิตดนตรีให้มีคุณภาพ
เป็นเลิศทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มีเจตคติที่ดีต่ อวิชาชีพและมีจิตวิญญาณความเป็นครู สามารถ
นำทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 มาบูรณาการร่วมกับเทคโนโลยี การวิจัยและศาสตร์แห่งดนตรี
9

รวมถึงอนุรักษ์ส่งเสริมศิลปวัฒ นธรรมประจำท้องถิ่นและประจำชาติ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะตาม


มาตรฐานการเรีย นรู้ เน้ น ทักษะทางดนตรีควบคู่กับ หลั กทฤษฏี วิธีการสอนทางดนตรีแบบต่าง ๆ
รวมถึงการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรี ยนรู้ทางสังคม พื้นฐาน
ความเป็นมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุลทั้งด้านร่างกาย สติ ปัญญา อารมณ์
สังคมและวัฒ นธรรม ตลอดจนสามารถเป็นผู้ปฏิบัติงานหรื อเป็นผู้ นำทางวิชาการทางดนตรีให้กับ
หน่ วยงานทางการศึกษา สามารถพัฒ นาให้ เกิดองค์ความรู้ใ หม่ สนับสนุนการวิ จัยในชั้นเรี ยนเพื่ อ
พัฒนาการจัดการเรียนการสอนการศึกษาและการบริการวิชาการให้แก่ชุมชน

13. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/สาขาวิชาอื่นของมหาวิทยาลัย
13.1 กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรนี้ที่เปิดสอนโดยคณะ/สาขาวิชา/หลักสูตรอื่น
 หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน
 หมวดวิชาสัมพันธ์
 หมวดวิชาเฉพาะด้าน

13.2 กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนให้สาขาวิชา/หลักสูตรอื่นมาเรียน
รายวิชาที่เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตร นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเป็นวิชาเอก
เลือกเสรีได้โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เรียนมาแล้ว และหลักสูตรอื่นสามารถเลือกเรียนรายวิชาในหลักสูตร
ที่เปิดสอนนี้ได้ ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

13.3 การบริหารจัดการ
13.3.1 กำหนดอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรของสาขา
13.3.2 ปรึกษาหารือระหว่างผู้สอนรายวิชาที่ สอนโดยคณะ/ภาควิชา/หลักสูตรอื่น
เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้และทักษะทางดนตรีศึกษาในแต่ละรายวิชาตามหลักสูตร
13.3.3 จัดทำรายละเอียดของหลักสูต รและรายละเอียดของรายวิชา จั ดตารางสอน
เพื่อเป็นมาตรฐานในการติดตามและประเมินคุณภาพการเรียนการสอน
13.3.4 จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อทบทวนความต้องการหรือเงื่อนไขการเรียนรู้ และ
ทักษะวิชาชีพเป็นระยะ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงรายวิชาร่วมกัน
10

หมวดที่ 2
ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร


1.1 ปรัชญา
บัณฑิตเป็นผู้มีคุณธรรม ใฝ่รู้ รอบรู้ ประยุกต์ภูมิรู้ทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์

1.2 ความสำคัญ
ในปัจจุบันนโยบายของรัฐบาลนั้นได้มุ่งเน้นการปฏิรูปการศึกษาตามยุทธศาสตร์ใหม่
ของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ระยะเวลา 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) โดยมีกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณ ฑิตศึกษา พ.ศ. 2558
ที่มุ่งเน้นผลผลิตและผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา อีกทั้งยังเป็นแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอนและพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาให้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ซึง่ สามารถนำมา
บูรณาการจัดการเรียนรู้ร่วมกับศาสตร์แห่งดนตรี ศึกษาในหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
ดนตรีศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสามารถผลิตบัณฑิตให้เป็นบุคคล
ทีส่ ร้างประโยชน์ทั้งด้านจิตใจและด้านวัตถุให้แก่สังคม อนุรักษ์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม รวมถึงสามารถ
ประยุกต์และพัฒนาดนตรีให้เกิดการสร้างสรรค์ในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับนานาชาติได้
การสร้างครูด้านดนตรีที่มีคุณภาพนั้น ต้องสอนผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจและมีสุนทรียะ
ในดนตรีได้อย่างแท้จริงตามบทบาทของตน มีทักษะทางด้านดนตรี และการจัด การเรียนรู้ที่ทำให้
ผู้เรียนพัฒนาความรู้ความสามารถของตนได้ตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบันสังคมของโลกเปิดกว้างด้านอาชีพ
ของดนตรีว่ามีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์ อาชีพด้านการดนตรีในปัจจุบันจึงได้รับการยอมรับว่าเป็นอาชีพ
ที่มีเกียรติและสามารถสร้างรายได้ให้แก่บุคคลและกลุ่มธุรกิจ นอกเหนือจากการเป็น เพียงบุคลากร
ทางการศึกษา เช่น ศิลปิน นักร้อง นักประพันธ์ ยูทูปเบอร์ เป็นต้น โดยในประเทศและต่างประเทศ มี
การนำเอาดนตรีมาใช้ในกิจกรรมทางสังคมในด้านความบันเทิง นาฏศิลป์ การละคร ศิลปวัฒนธรรม
การแพทย์ การโฆษณาสินค้า ดังนั้นทำให้ในปัจจุบันจึงมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ในด้านดนตรี
เป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างงานและตอบสนองต่อความต้องการตามพื้นฐานของสังคมที่มีความเจริญ
ทางด้านการศึกษาและเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้ทำหนังสือแจ้ง ว9/2563 เรื่อง การปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการ
ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รั บเงินเดือนในกรณีที่ได้รับคุณวุฒิ เพิ่ มขึ้นหรือสูงขึ้น
ตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง ในกรณีที่ได้รับคุณวุฒิเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น ได้แก่ เป็นคุณวุฒิในสาขาวิชา
เดียวกันกับคุณวุฒิปริญญาตรีและหรือระดับปริญญาโทที่ใช้บรรจุแต่งตั้ง หรือ กลุ่มสาระที่ได้สอนหรือ
เคยทำการสอน หรือ เป็นคุณวุฒิที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนรวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตามที่
ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนด โดยมีความสอดคล้องกับหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี
ศึกษา ซึ่งเป็นคุณวุฒิที่สามารถพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาทั้งครูดนตรี ครูผู้สอนในกลุ่มสาระศิลปะ
ให้รับเงินเดือนตามคุณวุฒินี้ได้
11

1.3 วัตถุประสงค์
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา มุ่งผลิตบัณฑิตในหลักสูตรให้มี
สรรถนะและคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1.3.1 บัณฑิตมีความรู้ ความเชี่ยวชาญทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในกลุ่มสาขาวิชา
ทางด้านดนตรี รวมถึงบูรณาการองค์ความรู้ดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมร่วมกับศาสตร์ทางด้านการศึกษาได้
1.3.2 มีความสามารถในการวิจัยและการประยุกต์ใช้ดนตรีอย่างสร้างสรรค์
1.3.3 มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

2. แผนการกำกับมาตรฐานหลักสูตร
แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง กลยุทธ์ หลักฐาน/ตัวบ่งชี้
1.พัฒนาหลักสูตรครุศาสตร 1.พัฒนาและปรับปรุง 1.เอกสารพัฒนาหลักสูตร
มหาบัณฑิต ให้มีมาตรฐานตามที่ หลักสูตรให้มีความทันสมัย 2.รายงานการประเมินหลักสูตร
สกอ.กำหนดและให้สอดคล้องกับ อย่างต่อเนื่อง ทุก ๆ 5 ปี
ความต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ 2. ติดตามประเมินหลักสูตร
อย่างต่อเนื่อง
2.พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับ 1.ติดตามความเปลี่ยนแปลง 1.รายงานผลการประเมินความ
ชุมชน สังคม หน่วยงานทางการ ด้านความต้องการทาง พึงพอใจในการใช้บัณฑิตของ
ศึกษา รวมถึงสอดคล้องกับการ สังคมและการศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต
เปลี่ยนแปลงของสังคม 2.สำรวจความต้องการจำเป็น 2.รายงานความต้องการในการ
ในการพัฒนาหลักสูตร พัฒนาหลักสูตร
เพื่อให้สอดคล้องกับการ 3.ความพึงพอใจในทักษะ ความรู้
เปลี่ยนแปลงและพัฒนา ความสามารถในการทำงาน
การศึกษา ของบัณฑิตโดยเฉลี่ยในระดับดี
3.ศึกษาวิเคราะห์การ 4.เครือข่ายกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง
เปลี่ยนแปลงของ เช่น มหาวิทยาลัยต่างประเทศ
สภาพแวดล้อมทีส่ ่งผลต่อ ในประเทศ และร่วมกับองค์กร
การพัฒนาหลักสูตร ต่าง ๆ ในชุมชน
3.แผนพัฒนาทักษะการสอน/การ 1.พัฒนาทักษะการสอนของ 1.จำนวนโครงการหรือกิจกรรม
ประเมินผลของบุคลากรตามผลการ อาจารย์ที่เน้นด้านคุณธรรม การพัฒนาทักษะการสอนและ
เรียนรู้ทั้ง 6 ด้าน ดังนี้ จริยธรรม/ด้านความรู้/ การประเมินผลของอาจารย์
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม ทักษะทางปัญญา/ทักษะ ตามผลการเรียนรู้ 6 ด้าน
2. ด้านความรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2.ระดับความพึงพอใจของ
3. ด้านทักษะปัญญา และความรับผิดชอบ/ นักศึกษาต่อทักษะการสอน
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง ทักษะการวิเคราะห์และ ของอาจารย์ตามผลการเรียนรู้
บุคคลและความรับผิดชอบ การสื่อสาร/ทักษะการ 5 ด้าน
5.ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์เชิง ปฏิบัติทางวิชาชีพ 3.หลักฐานการส่งบุคลากรเข้ารับ
ตัวเลข การสื่อสาร และการใช้ 2.สนับสนุนบุคลากรในการ การฝึกอบรม/การเข้าร่วมการ
เทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ให้ ประชุม/สัมมนาวิชาการต่าง ๆ
6. ด้านทักษะพิสัย เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาดนตรี
ของสังคม ศึกษา
12

3.สนับสนุนให้อาจารย์ทำงาน 4.ผลงานวิจัย
วิจัยอย่างต่อเนื่องและ
สม่ำเสมอ
4.แผนการพัฒนาการจัดการเรียนการ 1.ส่งเสริมให้มีระบบการ 1.ระดับความพึงพอใจของ
สอนให้ผู้สำเร็จการศึกษามีทักษะทาง เพิม่ พูนทักษะการเรียนรู้ นักศึกษาต่อกิจกรรมการ
วิชาการและวิชาชีพที่จะเข้าสู่การเป็น ของนักศึกษาที่ทันสมัย ทัน เพิ่มพูนทักษะ
นักวิชาการทางด้านดนตรี ต่อสถานการณ์ 2.ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้
2.จัดระบบห้องปฏิบัติการที่ บัณฑิตต่อการปฏิบัติงานของ
ส่งเสริมการเรียนรู้ตาม บัณฑิต
ความต้องการของผู้เรียน 3.การมีส่วนร่วมในการเข้าร่วม
ประชุม นำเสนอผลงานในการ
ประชุมเชิงวิชาการ
4.การศึกษาดูงาน
13

หมวดที่ 3
ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร

1. ระบบการจัดการศึกษา
1.1 ระบบ
การจั ดการศึกษาเป็ นแบบระบบทวิภ าคโดย 1 ปีการศึกษาแบ่ งออกเป็ น 2 ภาค
การศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์

1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
อาจจัดให้มีภ าคฤดูร้อน โดยกำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่ว ยกิตโดยมีสัดส่วน
เทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ

1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบไตรภาค
เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
พ.ศ. 2559

2. การดำเนินการหลักสูตร
2.1 วัน - เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ในเวลาราชการ เริ่มเปิดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือน มิถุนายน - กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือน พฤศจิกายน - มีนาคม
ในกรณีจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนให้จัดในช่วงเดือน เมษายน - พฤษภาคม
(** อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศของมหาวิทยาลัย)

2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
2.2.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
2.2.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาทางการศึกษาหรือสาขาวิชาทางด้านอื่น ๆ
จากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
2.2.3 มีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่มีสอดคล้องกับระเบียบของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559
2.2.4 ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

2.3 ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า
2.3.1 นักศึกษาในหลักสูตรอาจยังไมสามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศการเรียนรู้
แบบใหม่ได้ และอาจมีพื้นฐานทางด้านทฤษฏีและปฏิบัติเครื่องดนตรีต่าง ๆ ทีแ่ ตกต่างกันออกไป
2.3.2 นักศึกษาในหลักสูตรอาจมีทักษะ ความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
และคอมพิวเตอร์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
14

2.3.3 นักศึกษาในหลักสูตรที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาในสาขาการศึกษาอาจมีกรอบ
ความคิดด้านการศึกษาไม่ชัดเจน ทำให้เป็นอุปสรรคในการทำงานในบางรายวิชา

2.4 กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา / ข้อจำกัดของนักศึกษาในข้อ 2.3


2.4.1 จัดการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ มีการปรั บพื้นฐานความสามารถภาคทฤษฏี
และภาคปฏิบัติดนตรี ก่อนเปิ ดภาคเรียน โดยหากนักศึกษาในหลักสูตรไม่ได้จบการศึกษาทางด้าน
ดนตรีมาก่อนจะต้องเรียนในรายวิชาเสริมพื้นฐาน และเข้าร่วมการอบรมพัฒนาตนเองก่อนเปิดภาค
เรียนหรือในระหว่างเรียน และจะต้องสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
2.4.2 จัดให้มีโครงการพัฒ นาความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ก่อน
เปิดภาคเรียน โดยหากนักศึกษาในหลักสูตรมีทักษะ ความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและ
คอมพิวเตอร์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องเรียนในรายวิชาเสริมพื้นฐาน และเข้าร่วมการอบรมพัฒนา
ตนเองก่อนเปิดภาคเรียนหรือในระหว่างเรียน และจะต้องสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
2.4.3 จัดให้มีการทดสอบความรู้ความเข้าใจและกรอบความคิดทางด้านการศึกษา
ก่อนรับเข้าศึกษา โดยหากนักศึกษาในหลักสูตรไม่ได้จบสาขาทางการศึกษาจะต้องเรียนในรายวิชา
เสริมพื้นฐาน และเข้าร่วมการอบรมพัฒนาตนเองก่อนเปิดภาคเรียนหรือในระหว่างเรียน และจะต้อง
สอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

2.5 แผนการรับนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษา ในระยะเวลา 5 ปี


2.5.1 แผนการรับนักศึกษาภาคปกติและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะเวลา 5 ปี
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563
มีโครงการผลิตบัณฑิต ปีการศึกษา 2563 - 2567 มีแผนการรับนักศึกษาในแต่ละปี ดังนี้
ปีการศึกษา
ระดับชั้นปี
2563 2564 2565 2566 2567
ปีที่ 1 5 5 5 5 5
ปีที่ 2 - 5 5 5 5
รวม 5 10 10 10 10
คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา - 5 5 5 5

2.5.2 แผนการรับนักศึกษาภาคพิเศษและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะเวลา 5 ปี
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563
มีโครงการผลิตบัณฑิต ปีการศึกษา 2563 - 2567 มีแผนการรับนักศึกษาในแต่ละปี ดังนี้
ปีการศึกษา
ระดับชั้นปี
2563 2564 2565 2566 2567
ปีที่ 1 20 20 20 20 20
ปีที่ 2 - 20 20 20 20
รวม 20 40 40 40 40
คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา - 20 20 20 20
15

2.6 งบประมาณตามแผน
ใช้งบประมาณมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยค่าใช้จ่ายในการผลิตบัณฑิตต่อคน
ต่อปี ตามรายละเอียดดังนี้
2.6.1 ประมาณการรายรับภาคปกติ (หน่วย : บาท)
คิดประมาณการจากค่าลงทะเบียนแบบเหมาจ่าย ภาคเรียนละ 12,000 บาท/คน
ปีงบประมาณ
รายละเอียด
2563 2564 2565 2566 2567
รายรับเหมาจ่าย 120,000 240,000 240,000 240,000 240,000
รวมรายรับ 120,000 240,000 240,000 240,000 240,000

2.6.2 ประมาณการรายรับภาคพิเศษ (หน่วย : บาท)


คิดประมาณการจากค่าลงทะเบียนแบบเหมาจ่าย ภาคเรียนละ 20,000 บาท/คน
ปีงบประมาณ
รายละเอียด
2563 2564 2565 2566 2567
รายรับเหมาจ่าย 800,000 1,600,000 1,600,000 1,600,000 1,600,000
รวมรายรับ 800,000 1,600,000 1,600,000 1,600,000 1,600,000

2.6.3 งบประมาณรายจ่ายภาคปกติ (หน่วย : บาท)


ปีงบประมาณ
รายละเอียด
2563 2564 2565 2566 2567
งบดำเนินงานและงบลงทุน
1. ค่าตอบแทน - - - - -
2. ค่าใช้สอย 60,000 120,000 120,000 120,000 120,000
3. ค่าวัสดุ 30,000 60,000 60,000 60,000 60,000
4. ค่าครุภัณฑ์ 10,000 20,000 20,000 20,000 20,000
งบอุดหนุน
1. การทำวิจัย 10,000 20,000 20,000 20,000 20,000
2. การบริการวิชาการ 10,000 20,000 20,000 20,000 20,000
รวม 120,000 240,000 240,000 240,000 240,000
จำนวนนักศึกษา (คน) 5 10 10 10 10
ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษา/ปีการศึกษา 24,000 24,000 24,000 24,000 24,000
หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษา/ปีการศึกษา 24,000 บาท
16

2.6.4 งบประมาณรายจ่ายภาคพิเศษ (หน่วย : บาท)


ปีงบประมาณ
รายละเอียด
2563 2564 2565 2566 2567
งบดำเนินงานและงบลงทุน
1. ค่าตอบแทน 400,000 800,000 800,000 800,000 800,000
2. ค่าใช้สอย 200,000 400,000 400,000 400,000 400,000
3. ค่าวัสดุ 80,000 160,000 160,000 160,000 160,000
4. ค่าครุภัณฑ์ 20,000 40,000 40,000 40,000 40,000
5. รายจ่ายระดับมหาวิทยาลัย 60,000 120,000 120,000 120,000 120,000
งบอุดหนุน
6. การทำวิจัย 20,000 40,000 40,000 40,000 40,000
7. การบริการวิชาการ 20,000 40,000 40,000 40,000 40,000
รวม 800,000 1,600,000 1,600,000 1,600,000 1,600,000
จำนวนนักศึกษา (คน) 20 40 40 40 40
ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษา/ปี 40,000 40,000 40,000 40,000 40,000
การศึกษา
หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษา/ปีการศึกษา 40,000 บาท

2.7 ระบบการศึกษา
ระบบการศึกษาแบบชั้นเรียนและเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิ ทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 (ภาคผนวก ก)

2.8 การเทียบโอนหน่วยกิต รายวิชาและการลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย


นักศึกษาที่เคยศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาอื่นมาก่อน เมื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้
สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ ทั้งนี้ต้องได้รับการเห็นชอบของจากคณะกรรมการประจำหลักสูตร และ
เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัย ราชภัฏร้อยเอ็ด ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559
(ภาคผนวก ก)
2.9 การคิดหน่วยกิต
2.9.1 รายวิชาภาคทฤษฎี ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหา 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ตลอดหนึ่งภาคการศึกษาปกติ หรือจำนวนชั่วโมงรวมไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง ให้นับเป็นหนึ่งหน่วยกิต
2.9.2 รายวิช าภาคปฏิ บั ติ ใช้ เวลาในการฝึ ก หรือ ทดลอง 2-3 ชั่ ว โมงต่ อ สั ป ดาห์
ตลอดหนึ่งภาคการศึกษาปกติ หรือจำนวนชั่วโมงรวมระหว่าง 30-45 ชั่วโมง ให้นับเป็นหนึ่งหน่วยกิต
2.9.3 การศึกษาบางรายวิชาที่มีลักษณะเฉพาะ มหาวิทยาลัยอาจกำหนดหน่วยกิต
โดยใช้หลักเกณฑ์อื่นได้ตามความเหมาะสม
17

3. หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน
3.1 หลักสูตร
3.1.1 จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
3.1.2 โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชา ดังนี้
หมวดวิชาเฉพาะด้าน เรียนไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
- วิชาเอกบังคับ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- วิชาเอกเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก (2) เรียนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
และรายวิชาที่กำหนดให้ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต

3.2 รายวิชาในหลักสูตร
3.2.1 หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
3.2.1.1 หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ด้านภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)
GEL9102 ภาษาอังกฤษสำหรับการศึกษาขั้นสูง 3 (2-2-5)
English for Advanced Studies ไม่นับหน่วยกิต
GET9102 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษาขั้นสูง 3 (2-2-5)
Information Technology for Advanced Studies ไม่นับหน่วยกิต
หมายเหตุ นักศึกษาทุกคนจะต้องได้รับ การประเมินว่าผ่านความรู้ด้ านการใช้ภาษาอังกฤษ
และคอมพิว เตอร์ กรณี ที่มีความรู้ ความสามารถต่ำกว่าที่กำหนด จะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิช า
GEL9102 หรือ GET9102 โดยไม่นับรวมหน่วยกิตและต้องมีผลการเรียนระดับ S (Satisfactory)

3.2.1.2 หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ด้านการศึกษา


รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)
EDU7703 พื้นฐานทางการศึกษา 3 (3-0-6)
Educational Foundations ไม่นับหน่วยกิต
EDU7704 นวัตกรรมและการประเมินผลทางการศึกษา 3 (3-0-6)
Educational Innovation and Evaluation ไม่นับหน่วยกิต
หมายเหตุ นั กศึกษาที่ไม่ได้ส ำเร็ จการศึกษาระดับปริญ ญาตรี ในกลุ่ มสาขาวิช าทางด้าน
การศึกษา จะต้องเรียนรายวิช าเพิ่มเติมจำนวน 2 รายวิชา โดยไม่นับหน่ วยกิตและต้องมีผลการเรียน
ระดับ S (Satisfactory)
18

3.2.1.3 หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ด้านทฤษฏีและปฏิบัติดนตรี


รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)
MME7101 ประวัติและทฤษฏีดนตรี 2 (2-0-4)
History and Music Theory ไม่นับหน่วยกิต
MME7102 การบันทึกโน้ตและฝึกโสตประสาท 2 (1-2-3)
Musical Notation and Ear Training ไม่นับหน่วยกิต
MME7103 การปฏิบัติเครื่องดนตรี 2 (1-2-3)
Musical Instrument Practice ไม่นับหน่วยกิต
หมายเหตุ นักศึกษาที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในกลุ่มสาขาวิชา
ทางด้านดนตรี จะต้องเรียนรายวิชาเพิ่มเติมจำนวน 3 รายวิชา โดยไม่นับหน่วยกิตและต้องมีผลการ
เรียนระดับ S (Satisfactory)

3.2.2 หมวดวิชาเฉพาะด้าน เรียนไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต


3.2.2.1 วิชาเอกบังคับ บังคับเรียนจำนวน 12 หน่วยกิต
รหัสวิชา ชือ่ วิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)
MME7201 ปรัชญาและหลักการสำคัญทางดนตรีศึกษา 3 (2-2-5)
Philosophy and Important Principles in Music Education
MME7202 หลักสูตรและวิธีวิทยาการสอนดนตรีศึกษา 3 (2-2-5)
Curriculum and Methods in Music Education
MME7203 ระเบียบวิธีวิจัยทางดนตรี 3 (2-2-5)
Methodology of Music Research
MME7204 สัมมนาพหุวัฒนธรรมทางดนตรี 3 (2-2-5)
Seminar in Multiculturalism for Music
3.2.2.2 วิชาเอกเลือก เรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
ก) วิชาเอกเลือกกลุ่มดนตรี
(1) กลุ่มดนตรีศึกษา บังคับเรียนจำนวน 6 หน่วยกิต
รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)
MME7301 การวิจัยทางดนตรีศึกษา 3 (2-2-5)
Research in Music Education
MME7302 ดนตรีในชั้นเรียน 3 (2-2-5)
Music in Classroom
(2) กลุ่มดนตรีวิทยา บังคับเรียนจำนวน 6 หน่วยกิต
รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)
MME7311 การวิจัยทางดนตรีวิทยา 3 (2-2-5)
Research in Musicology
MME7312 ภาคสนามทางดนตรี 3 (2-2-5)
Fieldwork in Music
19

ข) วิชาเอกเลือกเสรี เรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต


รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)
MME7321 การวัดและประเมินผลทางดนตรี 3 (2-2-5)
Measurement and Evaluation in Music
MME7322 สื่อและนวัตกรรมทางดนตรีศึกษา 3 (2-2-5)
Media and Innovative in Music Education
MME7323 การประพันธ์เพลงสำหรับการสอน 3 (2-2-5)
Music Composition for Teaching
MME7324 สัมมนาการสอนทางดนตรี 3 (2-2-5)
Seminar for Teaching Music
MME7325 ดนตรีโลก 3 (3-0-6)
World Music
MME7326 ดนตรีชาติพันธุ์ 3 (3-0-6)
Ethnic Music
MME7327 เทคโนโลยีทางดนตรี 3 (2-2-5)
Music Technology
MME7328 สุนทรียศาสตร์ทางดนตรี 3 (3-0-6)
Aesthetics of Music
MME7329 อาศรมศึกษาทางดนตรี 3 (1-4-4)
Pedagogy in Specific Field for Music
MME7330 ธุรกิจดนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 (3-0-6)
Music Business and Related Laws

3.2.3 หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ เรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต


รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)
MME7401 วิทยานิพนธ์ 12
Thesis
หมายเหตุ ความหมายของรหัสรายวิชา
ตัวอักษรภาษาอังกฤษ 3 ตัวแรก หมายถึง สาขาวิชาหรือคณะที่สังกัด
เลขตัวที่ 4 หมายถึง ระดับชั้นปี
เลขตัวที่ 5 หมายถึง หมวดวิชา
เลขตัวที่ 6 - 7 หมายถึง ลำดับของรายวิชาในแต่ละหมวดวิชา
20

3.3 การจัดแผนการศึกษา
แผนการจัดการศึกษาระบบในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ

ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1
หน่วยกิต
หมวด/กลุ่มวิชา รหัสวิชา ชื่อรายวิชา
(ท-ป-อ)
MME7201 ปรัชญาและหลักการสำคัญทางดนตรีศึกษา 3 (2-2-5)
หมวดวิชาเฉพาะด้าน
MME7202 หลักสูตรและวิธีวิทยาการสอนดนตรีศึกษา 3 (2-2-5)
(วิชาเอกบังคับ)
MME7203 ระเบียบวิธีวิจัยทางดนตรี 3 (2-2-5)
GET9102 * เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษาขั้นสูง 3 (2-2-5)
EDU7703 ** พื้นฐานทางการศึกษา 3 (3-0-6)
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน
MME7101 *** ประวัติและทฤษฏีดนตรี 2 (2-0-4)
MME7102 *** การบันทึกโน้ตและฝึกโสตประสาท 2 (1-2-3)
รวม 9 หน่วยกิต
หมายเหตุ * สำหรับนักศึกษาที่ไม่ผ่านการประเมินภาษาอังกฤษ/คอมพิวเตอร์ และไม่นับหน่วยกิต
** สำหรับนักศึกษาที่ไม่มีพื้นฐานด้านการศึกษา และไม่นับหน่วยกิต
*** สำหรับนักศึกษาที่ไม่มีพื้นฐานด้านดนตรี และไม่นับหน่วยกิต

ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2
หน่วยกิต
หมวด/กลุ่มวิชา รหัสวิชา ชือ่ รายวิชา
(ท-ป-อ)
หมวดวิชาเฉพาะด้าน
MME7204 สัมมนาพหุวัฒนธรรมทางดนตรี 3 (2-2-5)
(วิชาเอกบังคับ)
หมวดวิชาเฉพาะด้าน MME73xx วิชาเอกเลือกกลุ่มดนตรี 3 (x-x-x)
(วิชาเอกเลือกกลุ่มดนตรี) MME73xx วิชาเอกเลือกกลุ่มดนตรี 3 (x-x-x)
GEL9102 * ภาษาอังกฤษสำหรับการศึกษาขั้นสูง 3 (2-2-5)
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน EDU7704 ** นวัตกรรมและการประเมินผลทางการศึกษา 3 (3-0-6)
MME7103 *** การปฏิบัติเครื่องดนตรี 2 (1-2-3)
รวม 9 หน่วยกิต
หมายเหตุ * สำหรับนักศึกษาที่ไม่ผ่านการประเมินภาษาอังกฤษ/คอมพิวเตอร์ และไม่นับหน่วยกิต
** สำหรับนักศึกษาที่ไม่มีพื้นฐานด้านการศึกษา และไม่นับหน่วยกิต
*** สำหรับนักศึกษาที่ไม่มีพื้นฐานด้านดนตรี และไม่นับหน่วยกิต
21

ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
หน่วยกิต
หมวด/กลุ่มวิชา รหัสวิชา ชื่อรายวิชา
(ท-ป-อ)
หมวดวิชาเฉพาะด้าน MME73xx วิชาเอกเลือกเสรี 3 (x-x-x)
(วิชาเอกเลือกเสรี) MME73xx วิชาเอกเลือกเสรี 3 (x-x-x)
หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ MME7401 วิทยานิพนธ์ 6 หน่วยกิต
รวม 12 หน่วยกิต

ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2
หน่วยกิต
หมวด/กลุม่ วิชา รหัสวิชา ชื่อรายวิชา
(ท-ป-อ)
หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ MME7401 วิทยานิพนธ์ 6 หน่วยกิต
รวม 6 หน่วยกิต

3.4 คำอธิบายรายวิชา
3.4.1 หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
รหัสวิชา ชื่อและคำอธิบายรายวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)
GET9102 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษาขั้นสูง 3 (2-2-5)
Information Technology for Advanced Studies
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่ อ การสื่ อ สารและการสื บ ค้ น การอ้ า งอิ ง อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ การประยุ ก ต์ ใช้
โปรแกรมสำเร็ จ รู ป ในงานต่ า ง ๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ สาขาผู้ เรี ย น การใช้ โ ปรแกรม
คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัย การใช้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเพื่อประโยชน์
ในการศึกษาค้นคว้า
Introduction to information technology; uses of information
technology for communication and searching; effective reference,
application of software packages relevant to academic areas of learners;
uses of computer packages for research; uses of computer network, and
the Internet for educational benefits and information retrieval

GEL9102 ภาษาอังกฤษสำหรับการศึกษาขั้นสูง 3 (2-2-5)


English for Advanced Studies
การพัฒ นาทักษะการอ่าน การเขียน การฟังและการพูดภาษาอังกฤษที่จำเป็ น
สำหรับการค้นคว้าเอกสารวิจัยเน้นการอ่านเอกสารและบทความวิจัยต่าง ๆ การแปล
ความและการสรุปความจากบทความวิจัย การเขียนบทคัดย่ องานวิจัย การค้นหาข้อมูล
จากตำราและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การเขียน นำเสนอรายงานการวิจัยเป็นภาษาอังกฤษ
22

รหัสวิชา ชื่อและคำอธิบายรายวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)


Development of reading, writing, listening and speaking skills in
English necessary for reviewing research documents emphasizing on
reading academic document and research articles; interpreting and
summarizing articles for main ideas and writing research abstract;
searching information from texts and electronic resources writing and
research presentation in English

EDU7703 พื้นฐานทางการศึกษา 3 (3-0-6)


Educational Foundations
หลักและปรัชญาในการจัดการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษา การเปลี่ยนแปลง
ทางสังคมที่มีผลต่อการจัดการศึกษาและการจัดระบบโรงเรียน บทบาทของชุมชนต่อ
การศึกษา การพัฒ นาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียน บทบาทของผู้บริ หารและ
ผู้สอนในการจัดการศึกษา
Foundation principles and philosophy for education management,
educational acts, social change affecting education management and
school organization, community roles in education, learning
development and learners behaviors, roles of administrators and
teachers in education management

EDU7704 นวัตกรรมและการประเมินผลทางการศึกษา 3 (3-0-6)


Educational Innovation and Evaluation
แนวคิด ทฤษฎี และหลักการทางด้านสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
การนำสื่ อเทคโนโลยีและนวัต กรรมมาใช้ ในการจัดการศึก ษา แนวคิ ด ทฤษฎี และ
หลักการของการวัดและประเมินผลทางการศึ กษา การสร้างและพัฒนาสื่อเทคโนโลยี
นวัตกรรมทางการศึกษาและเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษา
Concepts; theories and principles in technological media and
innovation for education; the use of technological media and innovation
for education management; analysis of concepts, theories and principles
of educational measurement and evaluation; practicum in technological
media and innovation construction including tools for educational
measurement and evaluation

MME7101 ประวัติและทฤษฏีดนตรี 2 (2-0-4)


History and Music Theory
ประวัติและวิวัฒนาการทางดนตรีในยุคต่าง ๆ ความสัมพันธ์ของดนตรีทางด้าน
วัฒ นธรรม วรรณกรรม คีตกวีที่สำคัญ ทฤษฏี ดนตรีที่เกี่ยวกับเสี ยง จังหวะ ทำนอง
เสียงประสาน สีสันของเสียง โครงสร้าง พื้นผิวทางดนตรี ระบบเสียงและศัพท์สังคีต
23

รหัสวิชา ชื่อและคำอธิบายรายวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)


History and evolution of music in various periods, the relationship of
music in term of culture, literature, important composers, music theory
related to rhythmic, sound, melodies, harmonics, timbre, structures,
musical textures, sound system and musical terminology

MME7102 การบันทึกโน้ตและฝึกโสตประสาท 2 (1-2-3)


Musical Notation and Ear Training
การบันทึกโน้ตดนตรี ระดับเสียง จังหวะ การประสานเสียง เครื่องหมายทางดนตรี
การเปล่ งเสี ย งระดับ ตัวโน้ ตและพัฒ นาโสตประสาท การฝึ กทักษะการฟั งขั้นคู่เสี ยง
คอร์ดและบันไดเสียง
Musical notation, volume, rhythm, choir, western musical symbol,
voicing of note and auditory development, practicing interval listening
skills; including with chord and scale

MME7103 การปฏิบัติเครื่องดนตรี 2 (1-2-3)


Musical Instrument Practice
การปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ การถ่ายทอดอารมณ์บทเพลง การอธิบาย
ลักษณะทางกายภาพเครื่องดนตรี การดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องดนตรี
Practices of various musical instruments, conveying song emotions,
explaining the physical characteristics of musical instruments and musical
instruments maintenance and repair

3.4.2 หมวดวิชาเฉพาะด้าน (วิชาเอกบังคับ) เรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต


รหัสวิชา ชื่อและคำอธิบายรายวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)
MME7201 ปรัชญาและหลักการสำคัญทางดนตรีศึกษา 3 (2-2-5)
Philosophy and important principles in music education
ปรัชญาทางดนตรี แนวคิด บทบาทของดนตรีในสังคม หลักการและความสำคัญ
ทางดนตรีศึกษา รูปแบบและทฤษฎีการเรียนรู้ดนตรี จิตวิทยาทางดนตรี พัฒ นาการ
และความก้าวหน้าของดนตรีศึกษา ดนตรีกับพฤติกรรมมนุษย์
Music philosophy, concepts, music role in society, principles and
importance of music education, musical styles and learning theories,
music psychology, development and progression of music education,
music and human behavior
24

รหัสวิชา ชื่อและคำอธิบายรายวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)


MME7202 หลักสูตรและวิธีวิทยาการสอนดนตรีศึกษา 3 (2-2-5)
Curriculum and Methods in Music Education
ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีและรูปแบบหลักสูตรดนตรีในระดับการศึกษาต่าง ๆ
การจัดทำแผนการเรียนรู้ดนตรี พัฒนาการของการสอนดนตรี การบูรณาการออกแบบ
กิจกรรมดนตรีในชั้นเรียน การบริห ารชั้นเรียนทางดนตรี การวัดและประเมินผลทาง
ดนตรี
History, concepts, theories and forms of music curriculum at various
educational levels, music lesson plan preparation, development of
music teaching, integration of music activity design in classroom, music
classroom management, music measurement and evaluation

MME7203 ระเบียบวิธีวิจัยทางดนตรี 3 (2-2-5)


Methodology of Music Research
ระเบียบวิธีวิจัยดนตรี การให้ คำนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย วรรณกรรมงานวิจัย
ประเภทต่าง ๆ ฐานข้อมูลในการวิจัย การเลื อกหัวข้อวิจัย ประเภทของการทำวิจัยทั้ง
การวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ จรรยาบรรณที่เกี่ยวข้อ งในการทำงานวิจัย การเรียบ
เรียงข้อมูลและการเสนอรายงานการวิจัย
Research methodology in music; defining research terminology;
research literature of different types; research databases, types of
research, choosing a topic, qualitative and quantitative research
methodologies; ethical issues in conduction research and presentation of
the study

MME7204 สัมมนาพหุวัฒนธรรมทางดนตรี 3 (2-2-5)


Seminar in Multiculturalism for Music
แนวคิด อัตลักษณ์ การธำรงอยู่ การวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา วิธีการ ขั้นตอนใน
การจัดสั มมนา การพัฒ นาพหุ วัฒ นธรรมทางดนตรีในกลุ่ มวัฒ นธรรมต่าง ๆ โดยจัด
สัมมนาเพื่อนำไปสู่ประเด็นการวิจัย
Concepts, identity, existence, analysis and problem solving,
methods, procedures for conducting seminar, music multicultural
development in various cultural groups, educational presentations and
seminars for research issues
25

3.4.3 หมวดวิชาเฉพาะด้าน (วิชาเอกเลือก) เรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต


ก) วิชาเอกเลือกกลุ่มดนตรี บังคับเรียนจำนวน 6 หน่วยกิต
(1) กลุ่มดนตรีศึกษา
รหัสวิชา ชื่อและคำอธิบายรายวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)
MME7301 การวิจัยทางดนตรีศึกษา 3 (2-2-5)
Research in Music Education
ความหมาย ทฤษฎีและแนวคิด การวิจัยทางดนตรีศึกษา พัฒ นาการทางดนตรี
ศึกษา การใช้เทคโนโลยีสำหรับงานวิจัย วิธีการเก็บข้อมูลทางดนตรีศึกษา การวิเคราะห์
และสังเคราะห์งานวิจัยทางดนตรีศึกษา การกำหนดหัวขอวิจัย และการจัดทำแผนการ
วิจัยทางดนตรีศึกษา
Definitions, theories and concepts of research in music education,
development of music education, using technology for research, data
collection method for music education, data analysis and synthesis for
music education research, determining research topic and research plan
in music education
MME7302 ดนตรีในชั้นเรียน 3 (2-2-5)
Music in classroom
หลักการเก็บข้อมูลวิจัยดนตรี ในชั้นเรียน การศึกษางานวิจัยที่ดีเด่นและเกี่ยวข้อง
กับดนตรีศึกษา การวิเคราะห์และแปลผลทางดนตรี การนําข้อมูลดนตรีในชั้นเรียนเพื่อ
ใช้ในการวิจัย และนำเสนอผลการศึกษางานดนตรีในชั้นเรียน
Principles of data collection for music research in classroom,
outstanding research studies in music education, analysis and
interpretation of musical results, applying of music information in
classroom for research and presentation of music in classroom results

(2) กลุ่มดนตรีวิทยา
รหัสวิชา ชื่อและคำอธิบายรายวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)
MME7311 การวิจัยทางดนตรีวิทยา 3 (2-2-5)
Research in Musicology
ความหมาย ทฤษฎี และแนวคิด การวิจัยทางดนตรีวิทยา พัฒ นาการทางดนตรี
วิทยาและมานุษยวิทยาดนตรี การใช้เทคโนโลยี สำหรับงานวิจัย วิธีการเก็บข้อมูลทาง
ดนตรีวิทยา การวิเคราะห์ และสังเคราะห์งานวิจัยทางดนตรี วิทยา การกำหนดหัวข้อ
วิจัย และการจัดทำแผนการวิจัยทางดนตรีวิทยา
Definitions, theories and concepts of research in musiciology,
development of musiciology and ethnomusicology, using technology for
research, data collection for musicology, data analysis and synthesis for
musicology research, determining research topic and research plan in
musiciology
26

รหัสวิชา ชื่อและคำอธิบายรายวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)


MME7312 ภาคสนามทางดนตรี 3 (2-2-5)
Fieldwork in Music
หลักการเก็บข้อมูลวิจัยดนตรีภาคสนาม การศึกษางานวิจัยที่ดีเด่นและเกี่ยวข้อง
กับดนตรีวิทยาและมานุษยวิทยาดนตรี การออกภาคสนามทางดนตรี การวางแผนการ
วิจัยงานภาคสนามทางดนตรี การสังเกตและการสัมภาษณ์ การนำข้อมูลภาคสนามทาง
ดนตรีมาใช้ในงานวิจัย และนำเสนอผลการศึกษางานดนตรีภาคสนาม
Principles of data collection for fieldwork in music, outstanding
research studies in musicology and ethnomusicology, fieldwork in music;
fieldwork research planning, observing and interviewing, applying of
music information in fieldwork for research and presentation of fieldwork
results

ข) วิชาเอกเลือกเสรี เรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต


รหัสวิชา ชื่อวิชาและคำอธิบายรายวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)
MME7321 การวัดและประเมินผลทางดนตรี 3 (2-2-5)
Measurement and Evaluation in Music
หลักการ ทฤษฎี การวัดและประเมินผลทางดนตรี การศึกษาสถิติที่ใช้ในการวัดและ
ประเมินผลทางดนตรี การนำสัมฤทธิ์ผลทางดนตรีมาประยุกต์ใช้ การสร้างแบบทดสอบ
และการประเมินคุณค่าทางดนตรี
Principles, theory, measurement and evaluation in music. The study
of statistics used in music measurement and evaluation, applying music
achievement, test conduction and music evaluation

MME7322 สื่อและนวัตกรรมทางดนตรีศึกษา 3 (2-2-5)


Media and Innovative in Music Education
ความสำคัญ ความหมาย ประเภทและประโยชน์ของสื่อและนวัตกรรม การพัฒนา
สื่ อ และนวั ต กรรมสำหรับ ใช้ ในการสอนดนตรีให้ เหมาะสมกั บ ผู้ เรี ย นและสามารถ
นำไปใช้สอนในสถานศึกษาได้
Importance, definition, types and benefits of media and innovation.
Development of media and innovation for teaching music to students
suitably as well as applying for teaching in schools

MME7323 การประพันธ์เพลงสำหรับการสอน 3 (2-2-5)


Music Composition for Teaching
หลักการประพันธ์เพลง การประพันธ์เพลงสำหรับการสอนดนตรี หลักจิตวิทยา
พัฒนาการทางดนตรี การใช้เทคโนโลยีในการประพันธ์เพลงและสามารถนำไปใช้สอน
ในสถานศึกษาได้
27

รหัสวิชา ชื่อวิชาและคำอธิบายรายวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)


Principles of music composition. Composition for music teaching,
psychology of music development, using technology for music composition
and applying for teaching in schools

MME7324 สัมมนาการสอนทางดนตรี 3 (2-2-5)


Seminar for Teaching Music
หลักการ ทฤษฏี วิธีการและขั้นตอนการจัดสัมมนาปัญหาทางดนตรีศึกษา การนำ
ประเด็นความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีศึกษามาจัดการประชุมสัมมนาเพื่อนำไปสู่ประเด็น
การวิจัย
Principles, theories, methods and procedures in organizing seminars on
problems in music education; selection of issues and new knowledge
pertaining to music education for seminars for research issues

MME7325 ดนตรีโลก 3 (3-0-6)


World Music
ประวัติและวิวัฒนาการดนตรีของโลก เครื่องดนตรี วงดนตรีและความเชื่อ คุณค่า
ทางสังคมและบทบาทที่เกี่ยวข้องกับดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
History and evolution of music in the world, musical instruments,
bands and beliefs. Social values and roles related to music in each culture

MME7326 ดนตรีชาติพันธุ์ 3 (3-0-6)


Ethnic Music
หลักการ ทฤษฎีและวิธีการศึกษาทางดนตรีชาติพันธุ์ อัตลักษณ์ทางดนตรี คุณค่าทาง
สังคมและบทบาทที่เกี่ยวข้องกับดนตรีในแต่ละชาติพันธุ์
Principles, theories and methods of study in ethnic music. Music
identity, social values and roles related to music in each ethnicity

MME7327 เทคโนโลยีทางดนตรี 3 (2-2-5)


Music Technology
หลักการของเสียงและการได้ยิน หลักการเกิดเสียง คุณสมบัติของเสียง ระบบเสียง
การวัดเสียง การใช้คอมพิวเตอร์ในงานดนตรี ระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยี
ระดับสูง การบันทึก การปรับแต่งและการผสมเสียงทางดนตรี การดูแลรักษาอุปกรณ์ การ
สร้างเสียงด้วยเครื่องดนตรีสังเคราะห์
Principles of sound and hearing, principles sound formation, sound
properties, sound system, sound measurement; using computers in music
operating system, software and high technology, recording music, tuning
and mixing sounds, musical instrument maintenance, creating sound with
synthetic musical instruments
28

รหัสวิชา ชื่อวิชาและคำอธิบายรายวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)


MME7328 สุนทรียศาสตร์ทางดนตรี 3 (3-0-6)
Aesthetics of Music
หลักปรัชญา คุณวิทยาที่เกี่ยวกับดนตรี ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับ ความรู้สึก
อารมณ์ และความคิด ของมนุษย์ ความหมายของสุนทรียศาสตร์และพัฒนาการในยุค
สมัยต่าง ๆ ตลอดทั้งการประเมินคุณค่าทางดนตรี
Philosophy of music ontology, relationship between music and
human feelings, emotions, and thoughts. The meaning of aesthetics and
development in different eras, value judgement of music

MME7329 อาศรมศึกษาทางดนตรี 3 (1-4-4)


Pedagogy in Specific Field for Music
การศึกษาประวัติและผลงานนักดนตรีที่สำคัญ อัตลักษณ์ทางดนตรี การถ่ายทอด
ความรู้และการกระบวนพัฒนาทักษะทางดนตรี ตลอดทั้งบทบาททางดนตรีที่มตี ่อสังคม
Study of the history and work of important musicians. Music identity,
transferring knowledge and musical skill development processes, role of
music in society

MME7330 ธุรกิจดนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 (3-0-6)


Music Business and Related Laws
ความสำคัญ กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจดนตรี การศึกษากลยุทธ์ทาง
ดนตรีและองค์ประกอบของแผนธุรกิจดนตรี การศึกษาประมวลกกฎหมาย คำพิพากษา
และการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางกฎหมายในธุรกิจดนตรี
Importance of strategic management processes in music business,
study of musical strategies and components of music business plan,
legal code study, judgments and analysis of legal issues in the music
business

3.4.4 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต


รหัสวิชา ชื่อและคำอธิบายรายวิชา หน่วยกิต (ท-ป-อ)
MME7401 วิทยานิพนธ์ (แผน ก แบบ ก (2)) 12 หน่วยกิต
Thesis
การทำวิจัยเพื่อสร้างความรู้ใหม่หรือการแก้ปัญหาทางการศึกษาที่สนใจทางดนตรี
ภายใต้การให้คำปรึกษาของคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์
Conducting research for building new knowledge or solving some
interesting educational problems related to music under consultant and
supervision of a thesis advisory committees
29

3.5 ชื่อ สกุล ตำแหน่งและคุณวุฒิของอาจารย์


3.5.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ตำแหน่ง ภาระการสอน (ชม./สัปดาห์)
ลำดับ ชื่อ – นามสกุล คุณวุฒิ - สาขาวิชาเอก สถาบันการศึกษา ปีที่จบ
วิชาการ 2563 2564 2565 2566
1 นายบพิตร เค้าหัน อาจารย์ ปร.ด.(ดุริยางคศิลป์) กลุ่มวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560
3 3108 0005 XXXX ศศ.ม.(ดนตรี) กลุ่มวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 2551 6 6 9 9
ศป.บ.(ดนตรีสากล) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2547
2 นายธวัชชัย ศิลปโชค อาจารย์ ปร.ด.(วิจัยศิลปะและวัฒนธรรม) กลุ่มวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560
3 4010 0097 XXXX ศป.ม.(ดุริยางคศิลป์) กลุ่มวิชามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2554 6 6 9 9
ศป.บ.(ดุริยางคศิลป์) กลุ่มวิชาดนตรีพื้นบ้าน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2549
3 นายธนวัฒน์ บุตรทองทิม อาจารย์ ปร.ด.(วิจัยศิลปะและวัฒนธรรม) กลุ่มวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557
1 3499 0003 XXXX ศศ.ม.(ดนตรี) กลุ่มวิชาดนตรีวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล 2553 6 6 9 9
ศป.บ.(ดนตรีไทย) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2550

29
30

3.5.2 อาจารย์ประจำหลักสูตร
ภาระการสอน
ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง
ลำดับ คุณวุฒิ - สาขาวิชาเอก สถาบันการศึกษา (ชม./สัปดาห์) รายวิชาสอน
เลขที่บตั รประชาชน วิชาการ
2563 2564 2565 2566
1 * นายบพิตร เค้าหัน อาจารย์ ปร.ด.(ดุริยางคศิลป์) กลุ่มวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6 9 12 12 - ปรัชญาและหลักการสำคัญทางดนตรี
3 3108 0005 XXXX ศศ.ม.(ดนตรี) กลุ่มวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษา
ศป.บ.(ดนตรีสากล) มหาวิทยาลัยขอนแก่น - หลักสูตรและวิธีวิทยาการสอนดนตรี
ศึกษา
- ระเบียบวิธีทางดนตรีศึกษา
- การประพันธ์เพลงสำหรับการสอน
2 * นายธวัชชัย ศิลปโชค อาจารย์ ปร.ด.(วิจัยศิลปะและวัฒนธรรม) กลุ่มวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6 9 12 12 - ระเบียบวิธีวจิ ัยทางดนตรี
3 4010 0097 XXXX ศป.ม.(ดุริยางคศิลป์) กลุ่มวิชามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม - สัมมนาทางพหุวัฒนธรรมดนตรี
ศป.บ.(ดุริยางคศิลป์) กลุ่มวิชาดนตรีพื้นบ้าน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม - ภาคสนามทางดนตรี
- ดนตรีชาติพันธุ์
3 * นายธนวัฒน์ บุตรทองทิม อาจารย์ ปร.ด.(วิจัยศิลปะและวัฒนธรรม) กลุ่มวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6 9 12 12 - ระเบียบวิธีทางดนตรีวิทยา
1 3499 0003 XXXX ศศ.ม.(ดนตรี) กลุ่มวิชาดนตรีวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล - ดนตรีโลก
ศป.บ.(ดนตรีไทย) มหาวิทยาลัยขอนแก่น - สุนทรียศาสตร์ทางดนตรี
- อาศรมศึกษาทางดนตรี
4 นายสัจธรรม พรทวีกุล ผู้ช่วย ปร.ด. (หลักสูตรและการเรียนการสอน) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6 6 6 6 - ปรัชญาและหลักการสำคัญทางดนตรี
3 3015 0085 XXXX ศาสตราจารย์ ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศึกษา
ค.บ. (ดนตรีศึกษา) สถาบันราชภัฏนครราชสีมา - หลักสูตรและวิธีวิทยาการสอนดนตรี
ศึกษา
5 นายวีรยุทธ ชุติมารังสรรค์ ผู้ช่วย ปร.ด. (เทคโนโลยีสื่อสารและการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 6 6 6 6 - สื่อและนวัตกรรมทางดนตรีศึกษา
3 1002 0212 XXXX ศาสตราจารย์ กศ.ม. (เทคโนโลยีทางการศึกษา) มหาวิทยาลัยขอนแก่น - เทคโนโลยีทางดนตรี
วศ.บ. (วิศวกรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

30
31

ภาระการสอน
ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง
ลำดับ คุณวุฒิ - สาขาวิชาเอก สถาบันการศึกษา (ชม./สัปดาห์) รายวิชาสอน
เลขที่บตั รประชาชน วิชาการ
2563 2564 2565 2566
6 นายคันธทรัพย์ ชมพูพาทย์ ผู้ช่วย วท.ด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 6 6 6 6 - การวิจัยดนตรีในชั้นเรียน
3 3417 0002 XXXX ศาสตราจารย์ ค.ม. (การวิจัยการศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - พื้นฐานทางการศึกษา
ศษ.บ. (การมัธยมศึกษา) มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช
กศ.บ. (การประถมศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
หมายเหตุ * อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

31
32

3.5.2 อาจารย์ประจำ
ภาระการสอน
ตำแหน่ง
ลำดับ ชื่อ – นามสกุล คุณวุฒิ - สาขาวิชาเอก สถาบันการศึกษา (ชม./สัปดาห์) รายวิชาสอน
วิชาการ
2563 2564 2565 2566
1. นายสมประสงค์ เสนารัตน์ ผู้ช่วย ปร.ด. (วิจัยและประเมินผลการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 6 6 6 6 - การวัดและประเมินผลทาง
ศาสตราจารย์ กศ.ม. (การวัดผลการศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดนตรี
มหาสารคาม
ค.บ. (วิทยาศาสตร์) วิทยาลัยครูมหาสารคาม
2. นางสาวศิริญญา อ่อนอัฐ อาจารย์ Ph.D.(Computer Science) Paul Sabatier University 6 6 6 6 - สื่อและนวัตกรรมทางดนตรี
(Toulouse 3) ศึกษา
M.Sc.(Computer Science) Paul Sabatier University - เทคโนโลยีสารสนเทศ
(Toulouse 3) สำหรับการศึกษาขั้นสูง
B.Sc.(Computer Science) University of Bordeaux 1
3. นางรัชนีเพ็ญ พลเยีย่ ม ผู้ช่วย ปร.ด. (วิจัยและประเมินผลการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 6 6 6 6 - นวัตกรรมและการ
ศาสตราจารย์ กศ.ม. (การวัดผลการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประเมินผลทางการศึกษา
ค.บ. (คณิตศาสตร์) สถาบันราชภัฏมหาสารคาม
4. นางสาวนฤมล แสงพรหม อาจารย์ ปร.ด. (วิจัยและประเมินผลการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 6 6 6 6 - การวิจัยดนตรีในชั้นเรียน
กศ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
5. นางสาวปาริชาติ ประเสริฐสังข์ ผู้ช่วย ปร.ด. (นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 6 6 6 6 - สื่อและนวัตกรรมทางดนตรี
ศาสตราจารย์ ศศ.ม. (การสอนคณิตศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษา
ค.บ. (คณิตศาสตร์) สถาบันราชภัฏนคราชสีมา

32
33

ภาระการสอน
ตำแหน่ง
ลำดับ ชื่อ – นามสกุล คุณวุฒิ - สาขาวิชาเอก สถาบันการศึกษา (ชม./สัปดาห์) รายวิชาสอน
วิชาการ
2563 2564 2565 2566
6. นายพรชัย ผาดไธสง อาจารย์ ปร.ด. (หลักสูตรและการเรียนการสอน) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6 6 6 6 - หลักสูตรและวิธีวิทยาการ
ค.ม. (การพัฒนาหลักสูตรและการเรียน สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี สอนดนตรีศึกษา
การสอน) มหาวิทยาลัย - พืน้ ฐานทางการศึกษา
ศษ.บ. (บริหารการศึกษา) สุโขทัยธรรมาธิราช
7. นายสัญชัย ฮามคำไพ อาจารย์ ปร.ด. (ภาษาอังกฤษ) Texas A&M 6 6 6 6 - ภาษาอังกฤษสำหรับ
University-commerce, USA การศึกษาขั้นสูง
M.A. (ภาษาอังกฤษและการสื่อสาร) สถาบันพัฒนศิลป์ (นิด้า)
บธ.บ. (การตลาด) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
8. นายเกรียงศักดิ์ ศรีสมบัติ อาจารย์ ศษ.ด. (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6 6 6 6 - ปรัชญาและหลักการ
ค.ม. (จิตวิทยาการศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำคัญทางดนตรีศึกษา
ศษ.บ. (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ค.บ. (อุตสาหกรรมศิลป์) สถาบันราชภัฏบุรรี ัมย์

33
34

3.5.3 อาจารย์พิเศษ
ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง
ลำดับ คุณวุฒิ - สาขาวิชาเอก สถาบันการศึกษา
เลขที่บัตรประชาชน วิชาการ
1 นายเฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี ศาสตราจารย์ Ph.D. (Musicology) Banaras Hindu University, India
M.Mus. (Musicology) Banaras Hindu University, India
ค.บ. (ดนตรีศึกษา) วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
2 นายพงษ์ศิลป์ อารุณรัตน์ ศาสตราจารย์ ศศ.ม. (วัฒนธรรมศึกษา-วัฒนธรรมดนตรี) มหาวิทยาลัยมหิดล
ศศ.บ. (ดนตรีศึกษา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3 นายยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ รองศาสตราจารย์ ค.ด. (อุดมศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศศ.ม. (ดุริยางค์ไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ค.บ. (ดนตรีศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4 นายอนรรฆ จรัญยานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปร.ด. (ดนตรี) มหาวิทยาลัยมหิดล
M.M. (Musicology University of the Philippines, Philippines
ค.บ. (ดนตรีศึกษา) วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
5 นายเจริญชัย ชนไพโรจน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Ph.D. (Musicology-Ethnomusicology) Kent State University, USA.
M.A. (Asian Studies) University of Michigan, USA.
กศ.บ. (เคมี-ภาษาอังกฤษ) วิทยาลัยวิชาการศึกษา
6 นายสยาม จวงประโคน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปร.ด. (ดุริยางคศิลป์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
กศ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ศป.บ. (ดุริยางคศิลป์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
7 นายศักดิ์ชัย หิรัญรักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปร.ด. (ดนตรีศึกษา) มหาวิทยาลัยมหิดล
ศศ.ม. (วัฒนธรรมศึกษา-วัฒนธรรมดนตรี) มหาวิทยาลัยมหิดล
ศศ.บ. (ประวัติศาสตร์-ดนตรี) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

34
35

หมวดที่ 4
ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล

1. การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา
คุณลักษณะพิเศษ กลยุทธ์หรือกิจกรรมของนักศึกษา
1) มี ค วามเป็ น เลิ ศ ทางดนตรี ทั้ งด้ านทฤษฎี - พัฒ นาทักษะทางดนตรีทั้งทฤษฎี และการปฏิ บัติ
และการปฏิบัติ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์รู้จัก การค้นคว้าหาแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่ อนำมา
ค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภ าพ สร้ างสรรค์ ผ ลงานทางวิ ช าการทางดนตรี อ ย่ างมี
และตอบสนองความต้องการของสังคม ระบบและเกิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพโดยคำนึ ง ต่ อ ความ
ต้องการของสังคม
2) มีความสามารถในการทำวิจัย ซึ่งก่อให้เกิด - ฝึกฝนให้เป็นนักวิจัยด้านดนตรี โดยใช้กรณีศึกษา
การพัฒนาความรู้ใหม่ในศาสตร์ทางด้านดนตรี การศึกษาประสบการณ์จริง โดยการเก็บข้อมูลและ
การวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
3) มีความสามารถในด้านการคิดวิเคราะห์ และ - จัดกิจกรรม/โครงการ เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษา
สังเคราะห์งานทางด้านดนตรี โดยนำไปสู่การ เรียนรู้การคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ ในงานดนตรี
พัฒ นาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ใน โดยคำนึงต่อการนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการ
วงกว้าง นำไปใชประโยชน์ได้ในวงกว้าง
4) มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทาง - มี ก ารให้ ค วามรู้ถึ ง ผลกระทบต่ อ สั ง คม และข้ อ
วิช าการ/วิ ช าชี พ ตลอดทั้ งมี ภ าวะความเป็ น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับ
ผู้นำทางวิชาการดนตรี จรรยาบรรณนักวิจัย ตลอดทั้งมีภาวะความเป็นผู้นำ
ทางวิชาการดนตรีอย่างมีประสิทธิภาพ

2. การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้านรายวิชาเฉพาะด้าน
2.1 คุณธรรม จริยธรรม
2.1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1) มีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถจัดการเกี่ยวกับปัญหาทางด้านจริ ยธรรมที่
ซับซ้อนในทางวิชาชีพด้วยความเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่น
2) มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม คำนึงถึง
ความรู้สึกของผู้อื่นที่จะได้รับผลกระทบ
3) ปฏิบั ติตามจรรยาบรรณ เคารพสิ ท ธิและรับฟังความคิดเห็ นของผู้ อื่น
และมีความกระตือรือร้น มีความคิดริเริ่มในการหยิบยกข้อบกพร่องของจรรยาบรรณที่มีอยู่ในปัจจุบัน
เพื่อให้เกิดการทบทวนและแก้ไข
4) มีจิตสาธารณะ เสียสละ แสดงออกซึ่งคุณธรรม จริยธรรมของผู้นำ
36

2.1.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม


เน้น คุณธรรมจริยธรรมในการเรียนการสอนทุกวิชา จัดให้ มีการอภิปราย
ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรมและจริยศาสตร์ จัดกิจกรรมการสัมมนาวิชาการกลุ่มย่อย การเคารพ
สิทธิและรับฟังความคิดเห็น ของผู้อื่น รวมถึงการเข้าร่วมการประชุมวิชาการทั้งในและต่างประเทศ
เพื่อให้นักศึกษาตระหนักถึงจริยธรรมการทำงานวิจัยมีโอกาสได้เรียนรู้ธรรมเนียมปฏิบัติจากนักวิจัยใน
เชิงบูรณาการ
2.1.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรม
ประเมินจากการเรียนการสอน ผลงานได้สะท้อนถึงการตระหนักในคุณค่า
ทางคุณธรรมจริยธรรม ความเชื่อมโยงระหว่างสาระเนื้อหาที่เรียนรู้กับการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ
หน้ าที่ และสั งคม ทั้งระหว่างเรีย นจากอาจารย์ประจำวิช าและผู้ร่ว มชั้นเรียน และภายหลั งสำเร็จ
การศึกษาจากผู้ใช้มหาบัณฑิต

2.2 ความรู้
2.2.1 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
1) มี ความรู้ ความเข้ าใจในหลั กการและทฤษฎี ด้ านดนตรีอ ย่างถ่อ งแท้
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ
2) สามารถถ่ายทอดความคิดได้อย่างเป็นระบบ และมีความเข้าใจในวิธีการ
พัฒนาความรู้ใหม่
3) มีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการวิจัย การสร้างสรรค์ และการ
ปฏิบัติทางวิชาชีพด้านดนตรีศึกษา
4) สามารถประยุกต์ความรู้จากหลั กการทฤษฎีในเชิ งบูรณาการ ให้ เ กิด
ประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม และตระหนักในระเบียบข้อบังคับที่ใช้อยู่ในสภาพแวดล้ อมของ
ท้องถิน่ และในระดับนานาชาติที่อาจมีผลกระทบต่อศาสตร์ด้านดนตรีทั้งในปัจจุบันและอนาคต
2.2.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้
มีการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นหลักการภาคทฤษฎีและสอดคล้อง
กับความเป็นจริงในการประยุกต์ใช้งาน มีการเชิญวิทยากรบรรยายให้ความรู้ที่ทันต่อเหตุการณ์สำหรับ
บางรายวิชา
2.2.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้
ประเมินผลความสำเร็จจากการเรียนการสอนด้วยการทดสอบประจำภาค
เรียนและจากการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย การศึกษาดูงานในประเทศและต่างประเทศ

2.3 ทักษะทางปัญญา
2.3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
1) สามารถบูรณาการความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบั ติ แนวคิด เทคนิคต่าง ๆ
ที่หลากหลาย แปลกใหม่ และไม่อาจทำนายหรือคาดหวั งได้ ทั้งจากภายในและภายนอกสาขาวิชาที่
ศึกษาขั้นสูง
37

2) สามารถคิดวินิจฉัย วิเคราะห์ วิพากษ์ และวิจารณ์ อย่างผู้ รู้ ตลอดทั้ ง


สามารถคิดแบบองค์รวม คิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ อย่างบูรณาการ จับประเด็นของแก่น
ความคิดสำคัญ ได้ สามารถวิเคราะห์ สั งเคราะห์ และประเมินความรู้ เพื่อการประยุ กต์ใช้ได้อย่าง
เหมาะสม
3) สามารถใช้เทคนิคการวิจัย และให้ข้อสรุปที่สมบูรณ์ซึ่งขยายองค์ความรู้
หรือแนวทางการปฏิบัติในวิชาชีพที่มีอยู่เดิมได้อย่างมีนัยสำคัญ ตลอดทั้งสามารถคิดริเริ่ม สร้างสรรค์
และพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่เป็ นต้นแบบได้อย่างสร้างสรรค์สู่ระดับชาติอย่างมีคุณค่าและ
ยั่งยืน
4) มี ค วามสามารถในการสั ง เคราะห์ ประยุ ก ต์ ใ ช้ ผ ลงานวิ จั ย จาก
วิทยานิพนธ์หรือรายงานผลของโครงการ และจากสิ่งพิมพ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อ้างอิงได้ ในวงวิชาการหรือ
วิชาชีพทางด้านดนตรี และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ ที่สำคัญโดยการบูรณาการเข้ากับองค์ความรู้ที่มีอยู่
หรือที่สร้างใหม่
2.3.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
เน้นการสอนที่ให้ นักศึกษาแสดงแนวคิด ใช้คำถามกระตุ้นพฤติกรรมทาง
ความคิดร่วมกันการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา ส่งเสริมการใช้เหตุผลใน
การคิ ด หาคำตอบของคำถาม นำเสนอกรณี ศึก ษาที่ เป็ น ตัว อย่างในเชิ งรูป ธรรมทางด้ านการวิจั ย
ส่งเสริมให้นักศึกษาเสนอความคิดเห็นเป็นกลุ่ม เพื่อพัฒนาแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
2.3.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
ประเมิน จากการตอบคำถามระหว่า งกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้
แบบทดสอบที่วัดองค์ความรู้ในการคิด การประเมินจากการเสนอความคิดเห็นเชิงวิพากษ์ในงานเดี่ยว

2.4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
2.4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
1) สามารถเสริ ม สร้างแนวคิ ด ถ่ายทอดมุ มมองที่ มี คุณ ค่ าต่ อสั งคม และ
เมื่อใดที่มีความต้องการข่าวสารและทักษะเพิ่มเติม ก็ส ามารถดำเนินการได้อย่างเป็นอิสระในการ
แสวงหา และประยุกต์ใช้ข้อมูลข่าวสารและทักษะนั้น ๆ
2) มีความสามารถในการเข้าใจบทบาทและหน้าที่ ปรับตัว และอยู่ ร่วมกับ
สังคมต่างวัฒนธรรม
3) สามารถแสดงออกซึ่ ง ภาวะผู้ น ำในการเพิ่ ม พู น ประสิ ท ธิ ภ าพในการ
ทำงานของกลุ่มในภาพรวม และสามารถแก้ ปัญหาในสถานการณ์ที่ หลากหลายโดยหลักธรรมาภิบาล
ตลอดทั้งมีความรับผิดชอบต่ อความคิด คำพูด และการกระทำของตนเอง และตามระเบียบข้อบังคับ
ทั้งองค์กรระดับชาติ และระดับนานาชาติ
2.4.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์
ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
จัดรูปแบบการสอนที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ย นความ
คิดเห็น ช่วยเหลือ และแลกเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ มอบหมายงานกลุ่มและร่วมกันกำหนดข้อตกลงของ
การทำงานร่วมกัน
38

2.4.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
และความรับผิดชอบ
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมปฏิบัติงานกลุ่มขณะการเรียนการสอน
การสังเกตปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ประเมินจากคุณภาพของงาน
กลุ่มทีม่ อบหมาย

2.5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


2.5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศ
1) มี ต รรกะทางความคิ ด มี ค วามสามารถในการประเมิ น ผลอย่ า งมี
วิจารณญาณ สามารถนำแนวคิดเชิงสถิติมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
2) สามารถสื่อสารภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และภาษาสื่อสารอื่น ๆ
เช่น ภาษาอักษร ภาษาภาพ ภาษาเสียง ภาษากาย ภาษาคอมพิวเตอร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) สามารถสื่อสาร ถ่ายทอดแนวความคิดได้อย่า งเป็นระบบ ด้วยวิธีการ
และรูป แบบที่เหมาะสมกับ เนื้อหาสาระ ตลอดทั้งสามารถบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศในการ
สืบค้นข้อมูล การสร้างสรรค์ผลงาน การนำเสนอผลงาน ตรวจสอบปัญหา หาข้อสรุปและข้อเสนอแนะ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.5.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิง
ตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
มี ก ารเรี ย นการสอนในรายวิ ช าที่ เปิ ด โอกาสให้ นั ก ศึ ก ษาวิ เ คราะห์ เพื่ อ
แก้ปัญหาในระบบสถิติส่งเสริมให้มีการจำลองการทำงานเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
รวมถึงการนำมาใช้ในงานวิจัย นำเสนอสื่อประกอบการเรียนทางเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย
และเป็นส่วนหนึ่งในการใช้เป็นช่องทางสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
2.5.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข
การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ใช้การสังเกตและประเมินการพูดจากการตอบคำถามระหว่างการเรียนการ
สอน ใช้การประเมินการเขียนจากรายงานประกอบการเรียนในรายวิชา และประเมินทักษะการ
วิเคราะห์และการสื่อสารโดยรวมจากการรายงานหน้าชั้นเรียน

2.6 ทักษะพิสัย
1) สามารถใช้ความรู้และทักษะปฏิบัติทางด้านดนตรีจนเกิดความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ และพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างมีคุณค่าและยั่งยืน
2) สามารถบูรณาการความรู้ ทักษะปฏิบัติทางดนตรี ตามความเชี่ยวชาญ
เฉพาะบุคคล และค้นคว้างานวิจัยจากเอกสาร สิ่งตีพิมพ์ หรือสื่อต่าง ๆ อย่างลุ่มลึก
39

2.6.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
มีก ารเรี ย นการสอนในรายวิช าที่ ให้ นั ก ศึก ษาได้คิ ด ริเริ่ม และสร้างสรรค์
ผลงาน ทั้งงานวิจัย และ งานสร้างสรรค์ และ นำผลงานไปแสดง หรือ เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ
2.6.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
ประเมินผลจากงานสร้างสรรค์ที่ได้รับมอบหมาย หรือ งานวิจัยที่ ฝึกให้ทำ
วิชาเรียน

3. มาตรฐานการเรียนรู้จากหลักสูตร (Curriculum Mapping)


แสดงให้เห็นว่าแต่ละรายวิชาในหลักสูตรรับผิ ดชอบต่อผลการเรียนรู้ใดบ้าง ผลการ
เรียนรู้ในตารางมีความหมาย ดังนี้
3.1 คุณธรรมจริยธรรม
1) มีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถจัดการเกี่ยวกับปัญหาทางด้านจริยธรรมที่ซับซ้อน
ในทางวิชาชีพด้วยความเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่น
2) มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงความรู้สึก
ของผู้อื่นที่จะได้รับผลกระทบ
3) ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีความ
กระตือรือร้น มีความคิดริเริ่มในการหยิบยกข้อบกพร่องของจรรยาบรรณที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อให้ เกิด
การทบทวนและแก้ไข
4) มีจิตสาธารณะ เสียสละ แสดงออกซึ่งคุณธรรม จริยธรรมของผู้นำ

3.2 ความรู้
1) มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีด้านดนตรีอย่างถ่องแท้ สามารถนำมา
ประยุกต์ใช้ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ
2) สามารถถ่ายทอดความคิดได้อย่างเป็นระบบ และมี ความเข้าใจในวิธีการพัฒนา
ความรู้ใหม่
3) มีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการวิจัย การสร้างสรรค์ และการปฏิบัติทาง
วิชาชีพด้านดนตรีศึกษา
4) สามารถประยุกต์ความรู้จากหลักการทฤษฎีในเชิงบูรณาการ ให้เกิดประโยชน์ต่อ
ตนเองและส่วนรวม และตระหนักในระเบียบข้อบังคับที่ใช้ อยู่ในสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น และใน
ระดับนานาชาติทอี่ าจมีผลกระทบต่อศาสตร์ด้านดนตรีทั้งในปัจจุบันและอนาคต

3.3 ทักษะทางปัญญา
1) สามารถบู ร ณาการความรู้ ภ าคทฤษฎี ภาคปฏิ บั ติ แนวคิ ด เทคนิ ค ต่ าง ๆ ที่
หลากหลาย แปลกใหม่ และไม่อาจทำนายหรือคาดหวังได้ ทั้งจากภายในและภายนอกสาขาวิชาที่
ศึกษาขั้นสูง
40

2) สามารถคิดวินิจฉัย วิเคราะห์ วิพากษ์ และวิจารณ์อย่างผู้รู้ ตลอดทั้งสามารถคิด


แบบองค์รวม คิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ อย่างบูรณาการ จับประเด็นของแก่นความคิด
สำคัญได้ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินความรู้เพื่อการประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
3) สามารถใช้เทคนิ คการวิจัย และให้ ข้อสรุปที่ส มบูรณ์ ซึ่งขยายองค์ ความรู้ หรือ
แนวทางการปฏิบัติในวิชาชีพที่มีอยู่เดิมได้อย่างมีนัยสำคัญ ตลอดทั้งสามารถคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และ
พัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่เป็นต้นแบบได้อย่างสร้างสรรค์สู่ระดับชาติอย่างมีคุณค่าและยั่งยืน
4) มีความสามารถในการสังเคราะห์ ประยุกต์ใช้ผลงานวิ จัยจากวิทยานิพนธ์หรือ
รายงานผลของโครงการ และจากสิ่งพิมพ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อ้างอิงได้ ในวงวิชาการหรือวิชาชีพทางด้าน
ดนตรี และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ ที่สำคัญโดยการบูรณาการเข้ากับองค์ความรู้ที่มีอยู่หรือที่สร้างใหม่
3.4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
1) สามารถเสริมสร้างแนวคิด ถ่ายทอดมุมมองที่มี คุณ ค่าต่อสั งคม และเมื่อใดที่มี
ความต้องการข่าวสารและทักษะเพิ่มเติม ก็สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นอิสระในการแสวงหา และ
ประยุกต์ใช้ข้อมูลข่าวสารและทักษะนั้น ๆ
2) มีความสามารถในการเข้าใจบทบาทและหน้าที่ ปรับตัว และอยู่ร่วมกับสังคมต่าง
วัฒนธรรม
3) สามารถแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในการเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงานของกลุ่ม
ในภาพรวม และสามารถแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่หลากหลายโดยหลักธรรมาภิ บาล ตลอดทั้งมีความ
รั บ ผิ ด ชอบต่ อ ความคิ ด คำพู ด และการกระทำของตนเอง และตามระเบี ย บข้ อ บั งคั บ ทั้ ง องค์ ก ร
ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
3.5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1) มีตรรกะทางความคิด มีความสามารถในการประเมิน ผลอย่างมี วิจ ารณญาณ
สามารถนำแนวคิดเชิงสถิติมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
2) สามารถสื่อสารภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และภาษาสื่อสารอื่น ๆ เช่น ภาษา
อักษร ภาษาภาพ ภาษาเสียง ภาษากาย ภาษาคอมพิวเตอร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) สามารถสื่อสาร ถ่ายทอดแนวความคิดได้อย่างเป็ นระบบ ด้วยวิธีการและรูปแบบ
ทีเ่ หมาะสมกับเนื้อหาสาระ ตลอดทั้งสามารถบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การ
สร้ างสรรค์ ผ ลงาน การนำเสนอผลงาน ตรวจสอบปั ญ หา หาข้ อสรุป และข้อ เสนอแนะได้ อย่ างมี
ประสิทธิภาพ
3.6 ทักษะพิสัย
1) สามารถใช้ความรู้และทักษะปฏิบัติทางด้านดนตรีจนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
และพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างมีคุณค่าและยั่งยืน
2) สามารถบู รณาการความรู้ ทักษะปฏิบัติทางดนตรี ตามความเชี่ ยวชาญเฉพาะ
บุคคล และค้นคว้างานวิจัยจากเอกสาร สิ่งตีพิมพ์ หรือสื่อต่าง ๆ อย่างลุ่มลึก
41

แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)


 ความรับผิดชอบหลัก  ความรับผิดชอบรอง
4. ทักษะความ 5. ทักษะการ
สัมพันธ์ระหว่าง วิเคราะห์เชิงตัวเลข
1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 6. ทักษะพิสัย
รายวิชา บุคคลและความ การสื่อสารและการใช้
รับผิดชอบ เทคโนโลยีสารสนเทศ
1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน
GEL9102 ภาษาอังกฤษสำหรับการศึกษาขั้นสูง      
GET9102 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษาขั้นสูง      
EDU7703 พื้นฐานทางการศึกษา       
EDU7704 นวัตกรรมและการประเมินผลทางการศึกษา        
MME7101 ประวัตแิ ละทฤษฏีดนตรี      
MME7102 การบันทึกโน้ตและฝึกโสตประสาท      
MME7103 การปฏิบัติเครื่องดนตรี     
หมวดวิชาเฉพาะด้าน
MME7201 ปรัชญาและหลักการสำคัญทางดนตรีศึกษา       
MME7202 หลักสูตรและวิธีวิทยาการสอนดนตรีศึกษา        
MME7203 ระเบียบวิธีวิจัยทางดนตรี          
MME7204 สัมมนาพหุวัฒนธรรมทางดนตรี         
MME7301 การวิจัยทางดนตรีศึกษา          
MME7302 ดนตรีในชั้นเรียน          
MME7311 การวิจัยทางดนตรีวิทยา          
MME7312 ภาคสนามทางดนตรี           
MME7321 การวัดและประเมินผลทางดนตรี    

41
42

แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)


 ความรับผิดชอบหลัก  ความรับผิดชอบรอง
5. ทักษะการ
4. ทักษะความ วิเคราะห์เชิงตัวเลข
1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา สัมพันธ์ระหว่างบุคคล การสื่อสารและการ 6. ทักษะพิสัย
รายวิชา และความรับผิดชอบ ใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศ
1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2
MME7322 สื่อและนวัตกรรมทางดนตรีศึกษา       
MME7323 การประพันธ์เพลงสำหรับการสอน        
MME7324 สัมมนาการสอนทางดนตรี       
MME7325 ดนตรีโลก      
MME7326 ดนตรีชาติพันธุ์      
MME7327 เทคโนโลยีทางดนตรี      
MME7328 สุนทรียศาสตร์ทางดนตรี      
MME7329 อาศรมศึกษาทางดนตรี        
MME7330 ธุรกิจดนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง       
หมวดวิชาวิทยานิพนธ์
MME7401 วิทยานิพนธ์              
ความรับผิดชอบหลัก 9 9 5 4 8 4 8 7 11 5 7 6 15 2 2 7 3 14 5 9
รวมรายข้อ
ความรับผิดชอบรอง 6 2 4 1 6 3 0 10 1 0 2 5 1 0 2 0 0 7 5 2
ความรับผิดชอบหลัก 27 (67.5) 27 (58.7) 29 (78.37) 19 (86.36) 23 (74.19) 14 (66.66)
รวมรายด้าน
ความรับผิดชอบรอง 13 (32.5) 19 (41.3) 8 (21.63) 3 (13.67) 8 (25.80) 7 (33.33)
รวม 40 (100) 46 (100) 37 (100) 22 (100) 31 (100) 21 (100)
อันดับความสำคัญ 2 1 3 5 4 6

4242
43

4. ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา
ชั้นปี ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่นักศึกษาจะได้รับเมื่อเรียนจบแต่ละชั้นปี
ปีที่ 1 สามารถใช้หลักการสำคัญทางดนตรีศึกษา วิธีวิทยาการสอนและระเบียบวิธีวิจัยทางดนตรี
พัฒนาองค์ความรู้ทางดนตรี บูรณาการองค์ความรู้ดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมร่วมกับศาสตร์
ทางด้านการศึกษาได้
ปีที่ 2 สามารถนำความรู้ทางด้านทฤษฏีและปฏิบัติดนตรีมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยอย่างสร้างสรรค์
มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
44

หมวดที่ 5
หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา

1. กฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน
1.1 การวัดผลการศึกษา
เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดว่าด้วยการศึกษาระดับ
บัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 (ภาคผนวก ก)

1.2 ระยะเวลาการศึกษา
นั ก ศึ กษาตามคุ ณ สมบั ติ หมวด 3 ข้อ 2.1 ระยะเวลาศึ กษาตลอดหลั กสู ต ร 2 ปี
การศึกษา สำเร็จได้ไม่ก่อน 2 ภาคการศึกษาปกติ ใช้ เวลาศึกษาไม่เกิน 5 ปีการศึกษาสำหรับการ
ลงทะเบียนเต็มเวลา

2. กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา
2.1. การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ขณะนักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษา
ให้กำหนดระบบการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ การเรียนรู้ของนักศึกษาเป็นส่วนหนึ่ งของ
ระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาที่จะต้องทำความเข้าใจตรงกันทั้งสถาบัน และ
นำไปดำเนินการจนบรรลุผลสัมฤทธิ์ ซึ่งผู้ประเมินภายนอกจะต้องสามารถตรวจสอบได้การทวนสอบ
ในระดับรายวิชาควรให้นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนในระดับรายวิชามีคณะกรรมการพิจารณา
ความเหมาะสมของข้ อสอบให้ เป็ น ไปตามแผนการสอน มี ก ารประเมิ น ข้ อสอบโดยผู้ ท รงคุ ณ วุฒิ
ภายนอกการทวนสอบในระดั บ หลั ก สู ต รสามารถทำได้ โ ดยมี ร ะบบประกั น คุ ณ ภาพภายใน
สถาบันการศึกษาดำเนินการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้และรายงานผล

2.2. การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา
การกำหนดกลวิธีการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ควรเน้นการทำ
วิจัยสัมฤทธิ์ผลของการประกอบอาชีพของบัณฑิต ที่ทำอย่างต่อเนื่องและนำผลวิจัยที่ได้ย้อนกลับมา
ปรับปรุงกระบวนการการเรียนการสอน และหลักสูตรแบบครบวงจร รวมทั้งการประเมินคุณภาพของ
หลักสูตรและหน่วยงานโดยองค์กรระดับสากล โดยการวิจัยอาจจะทำดำเนินการดังตัวอย่างต่อไปนี้
2.2.1 ภาวการณ์ได้งานทำของบัณฑิต ประเมินจากบัณฑิตแต่ละรุ่นที่จบการศึกษา
ในด้านของระยะเวลาในการหางานทำ ความเห็ นต่อความรู้ ความสามารถ ความมั่นใจของบัณฑิตใน
การประกอบการงานอาชีพ
2.2.2 การตรวจสอบจากผู้ ป ระกอบการ โดยการขอเข้ าสั ม ภาษณ์ หรือ การส่ ง
แบบสอบถาม เพื่อประเมินความพึงพอใจบัณฑิตที่จบการศึกษาและเข้าทำงานในสถานประกอบการ
นั้น ๆ
2.2.3 การประเมินตำแหน่ง และหรือความก้าวหน้าในสายงานของมหาบัณฑิต
45

2.2.4 การประเมินจากสถานศึกษาอื่น โดยการส่งแบบสอบถาม หรือ สอบถามเมื่อมี


โอกาสในระดับความพึงพอใจในด้านความรู้ ความพร้อม และสมบัติด้านอื่น ๆ ของมหาบัณฑิตจะจบ
การศึกษาและเข้าศึกษาเพื่อปริญญาที่สูงขึ้นในสถานศึกษานั้น ๆ
2.2.5 การประเมินจากมหาบัณฑิตที่ไปประกอบอาชีพ ในแง่ของความพร้อมและ
ความรู้จากสาขาวิชาที่เรียนรวมทั้ง สาขาอื่น ๆ ที่กำหนดในหลักสู ตร ที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบ
อาชีพของมหาบัณฑิต รวมทัง้ เปิดโอกาสให้เสนอข้อคิดเห็นในการปรับหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้นด้วย
2.2.6 ความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ที่มาประเมินหลักสูตร หรือ เป็นอาจารย์
พิเศษ ต่อความพร้อมของนักศึกษาในการเรี ยน และสมบัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้
และการพัฒนาองค์ความรู้ของนักศึกษา
2.2.7 ผลงานของนักศึกษาที่วัดเป็นรูปธรรมได้ซึ่ง อาทิ (ก) จำนวนรางวัลทางสังคม
และวิชาชีพ, (ข) จำนวนกิจกรรมการกุศลเพื่อสังคมและประเทศชาติ, (ค) จำนวนกิจกรรมอาสาสมัคร
ในองค์กรทีท่ ำประโยชน์ต่อสังคม เป็นต้น

3. เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาได้ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ร้อยเอ็ดว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 หมวด 7 การวัดและประเมินผลการศึกษา
แผน ก แบบ ก2
 ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมขั้นต่ำ 3.00 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน)
 สอบผ่านภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษา (ภาษาอังกฤษ)
 เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่า
 ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่ างน้อยดำเนินการให้ผลงาน
หรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการ
ภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์และเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น หรือ
นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ใน
รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว
 เป็ น ไปตามประกาศมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ ร้ อ ยเอ็ ด เรื่ อ ง เกณฑ์ ก ารสำเร็ จ
การศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ข้อ 3.1.2
 เกณฑ์อื่น ๆ (ถ้ามี-ระบุ)..............................................
46

หมวดที่ 6
การพัฒนาคณาจารย์

1. การเตรียมการสำหรับอาจารย์ใหม่
1.1 ปฐมนิเทศแนะแนวความเป็นครูแก่อาจารย์ใหม่ ให้มีความรู้ มีจิตวิญญาณความเป็นครู
และเข้าใจนโยบายของมหาวิทยาลัย ตลอดจนในหลักสูตรที่สอน
1.2 จัดพี่เลี้ยงแก่อาจารย์ใหม่เพื่อช่วยเหลือและให้คำแนะนำแก่อาจารย์ใหม่
1.3 ส่งเสริมให้อาจารย์ใหม่ได้เพิ่มพูนความรู้ สร้างเสริมประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมการสอน
และการวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านการทำวิจัยในสาขาวิชาดนตรีศึกษา
1.4 การสนับสนุนการฝึกอบรม การศึกษาดูงานในองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ การประชุมทางวิชาการและการเพิ่มพูนประสบการณ์โดยการสัมมนาต่าง ๆ หรือการ
ลาเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์

2. การพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่คณาจารย์
2.1 การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล
1) ส่งเสริมให้อาจารย์ได้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในด้านการสอนและการ
วิจัยอย่างต่อเนื่องโดยผ่านการทำวิจัยในสาขาวิชาดนตรีศึกษา สนับสนุนการฝึกอบรม การศึกษาดูงาน
ในองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ รวมถึงการประชุมทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการ
เข้าร่วมสัมมนาต่างๆ
2) การเพิ่มพูนทักษะการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลให้ทันสมัย

2.2 การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพด้านอื่นๆ
1) มีส่วนร่วมในกิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
2) พัฒนาอาจารย์ให้ทำผลงานทางวิชาการที่มีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านดนตรี
ศึกษากับศาสตร์สาขาอื่นๆ
3) ส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและทำ
ให้เกิดความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4) จัดสรรงบประมาณสำหรับการทำวิจัย
5) จัดให้อาจารย์เข้าร่วมกิจกรรมบริการวิชาการร่วมกับหน่วยงานทั้งในและนอก
สถาบัน
6) จัดให้อาจารย์เข้าร่วมวิจัยกับหน่วยงานภายในและนอกในลักษณะสหวิทยาการ
7) จัดให้อาจารย์แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแสวงหาความร่วมมือการจัดการ
เรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษากับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
8) ส่งเสริมให้อาจารย์ศึกษาเรียนรู้การทำวิจัยหลังปริญญาเอก (Postdoctoral)
47

หมวดที่ 7
การประกันคุณภาพหลักสูตร

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา จะต้องมีการตรวจสอบดูแลด้านต่าง ๆ


โดยมีการประกันคุณภาพดังนี้

1. การบริหารหลักสูตร
ในการบริหารหลั กสูตรจะมีคณะกรรมการประจำหลักสูตรอันประกอบด้วยรองคณบดีฝ่าย
วิชาการ ประธานหลักสูตรและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เป็นผู้รับผิดชอบโดยมีคณบดีเป็นผู้กำกับ
ดูแลและคอยให้คำแนะนำตลอดจนกำหนดนโยบายปฏิบัติให้แก่อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสู ตรจะวางแผนการจัดการเรียนการสอนรวมกับผู้บริหารของคณะ
และอาจารย์ผู้สอนติดตามและรวบรวมข้อมูลสำหรับใช้ในการปรับปรุ งและพัฒนาหลักสูตรโดยกระทำ
ทุกปีอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมาย การดำเนินงาน การประเมินผล


1. พัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย 1. จัดให้หลักสูตรสอดคล้องกับ - หลักสูตรที่สามารถอ้างอิงกับ
โดยอาจารย์และนักศึกษา มาตรฐานวิชาชีพด้านดนตรี มาตรฐานที่กำหนดโดย
สามารถก้าวทันหรือเป็นผู้นำ ศึกษาในระดับสากลหรือ หน่วยงานวิชาชีพทางสังคม
ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ระดับชาติ ศึกษา มีความทันสมัยและมีการ
ทางด้านดนตรีศึกษา 2. ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย ปรับปรุงสม่ำเสมอ
2. กระตุ้นให้นักศึกษาเกิด โดยมีการพิจารณาปรับปรุง - จำนวนวิชาเรียนที่มีภาคปฏิบัติ
ความ หลักสูตรทุก ๆ 5 ปี และวิชาเรียนที่มีแนวทางให้
ใฝ่รู้ มีแนวทางการเรียนที่ 3. จัดแนวทางการเรียนในวิชา นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าความรู้
สร้างทั้งความรู้ความสามารถ เรียนให้มีทั้งภาคทฤษฎี และ ใหม่ได้ด้วยตนเอง
ในวิชาการวิชาชีพที่ทันสมัย ภาคปฏิบัติ และมีแนวทางการ - จำนวนและรายชื่อคณาจารย์
3. ตรวจสอบและปรับปรุง เรียนหรือกิจกรรมประจำวิชาให้ ประจำประวัติอาจารย์ด้าน
หลักสูตรให้มีคุณภาพ นักศึกษาได้ศึกษาความรู้ที่ คุณวุฒิ ประสบการณ์ และการ
มาตรฐาน ทันสมัยด้วยตนเอง พัฒนาอบรมของอาจารย์
4. มีการประเมินมาตรฐาน 4. จัดให้มีผู้สนับสนุนการเรียนรู้ - จำนวนบุคลากรผู้สนับสนุนการ
ของหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ และ/หรือผู้ช่วยสอน เพื่อกระตุ้น เรียนรู้ และบันทึกกิจกรรมให้
ให้นักศึกษาเกิดความใฝ่รู้ การสนับสนุนการเรียนรู้
5. กำหนดให้อาจารย์ที่สอนมี - ผลการประเมินการเรียนการ
คุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์ของ สอนอาจารย์ผู้สอน และการ
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏ สนับสนุนการเรียนรู้ของ
ร้อยเอ็ด ว่าด้วยการศึกษาระดับ ผู้สนับสนุนการเรียนรู้โดย
บัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 นักศึกษา
48

เป้าหมาย การดำเนินงาน การประเมินผล


6. สนับสนุนให้อาจารย์ผู้สอน - ประเมินผลโดยคณะกรรมการ
เป็นผู้นำในทางวิชาการ และ/ ที่ประกอบด้วยอาจารย์ภายใน
หรือ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ วิทยาลัยฯ ทุก 2 ปี
7. ส่งเสริมอาจารย์ประจำ - ประเมินผลโดยคณะกรรมการ
หลักสูตรให้ไปดูงานในหลักสูตร ผู้ทรงคุณวุฒภิ ายนอก ทุก ๆ 4 ปี
หรือวิชาการที่เกี่ยวข้อง - ประเมินผลโดยบัณฑิตผู้สำเร็จ
ทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ การศึกษาทุก ๆ 2 ปี
8. มีการประเมินหลักสูตรโดย
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ภายในทุกปี
และภายนอกอย่างน้อยทุก 4 ปี
9. จัดทำฐานข้อมูลทางด้าน
นักศึกษา อาจารย์ อุปกรณ์
เครื่องมือวิจัย งบประมาณ
ความร่วมมือกับต่างประเทศ
ผลงานทางวิชาการทุกภาค
การศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลการ
ประเมินของคณะกรรมการ
10. ประเมินความพึงพอใจของ
หลักสูตรและการเรียนการสื่อ
โดยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา

2. การบริหารทรัพยากรการเรียนการสอน
2.1 การบริหารงบประมาณ
คณะจัดสรรงบประมาณประจำปี ทั้งงบประมาณแผ่นดินและเงินรายได้เพื่อจัดซื้ อ
ตำรา สื่อการเรียนการสอน โสตทัศนูปกรณ์ และวัสดุครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์อย่างเพียงพอเพื่อสนับสนุน
การเรีย นการสอนในชั้น เรี ย นและสร้างสภาพแวดล้ อมให้ เหมาะสมกับ การเรียนรู้ด้ว ยตนเองของ
นักศึกษา
49

2.2 การบริหาร ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน


คณะมีความพร้อมด้านหนังสือ ตำรา และการสืบค้นผ่านฐานข้อมูลโดยมีศูนย์วิทย
บริการที่มีหนังสือด้านการบริหารจัดการและด้านอื่น ๆ รวมถึงฐานข้อมูลที่ให้สืบค้น ส่วนระดับคณะมี
หนังสือ ตำราเฉพาะทาง และมีอุปกรณ์ที่ใช้สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนอย่างพอเพียง
นักศึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากศูนย์วิทยบริการของ
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ในการศึกษาหาความรู้และข้อมูลในการเรียนและการวิจัย

2.3 การจัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนเพิ่มเติม
ประสานงานกับศูนย์วิทยบริการในการจัดซื้อหนังสื อ ตำราที่เกี่ยวข้องเพื่อบริการให้
อาจารย์และนักศึกษาได้ ค้นคว้าและใช้ประกอบการเรียนการสอน ในการประสานการจัดซื้ อหนังสือ
ผู้สอนแต่ละรายวิชาจะมีส่วนร่วมในการเสนอแนะรายชื่อหนังสือตลอดจนสื่ออื่น ๆ ที่จำเป็นนอกจากนี้
อาจารย์พิเศษที่เชิญมาสอนบางรายวิชา และบางหัวข้อก็ มีส่วนในการเสนอแนะรายชื่อหนังสือสำหรับ
ให้ศูนย์วิทยบริการจัดซื้อหนังสือด้วย ในส่วนของวิทยาลัยจะมีห้องสมุดย่อยเพื่อบริการหนังสือตำรา
หรือวารสารเฉพาะทางและวิทยาลัยจะต้องจัดสื่อการสอนอื่นเพื่อใช้ประกอบการสอนของอาจารย์
เช่น เครื่องมัลติมีเดียโปรเจคเตอร์คอมพิวเตอร์ เครื่องฉายสไลด์ เป็นต้น

2.4 การประเมินความพอเพียงของทรัพยากร
มีเจ้าหน้าที่ประจำห้องสมุดของศูนย์วิทยบริการซึ่งทำหน้าที่ประสานงานการจัดซื้อ
จัดหาหนังสือเพื่อเข้าศูนย์วิทยบริการ และทำหน้าที่ประเมินความพอเพียงของหนังสือตำรานอกจากนี้
มีเจ้ าหน้ าที่ด้านโสตทัศนอุป กรณ์ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการใช้ส อยของอาจารย์แล้ วยังต้อง
ประเมินความพอเพียงและความต้องการใช้สื่อของอาจารย์ดว้ ยโดยรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้

เป้าหมาย การดำเนินงาน การประเมินผล


จัดให้มีห้องเรียนห้องปฏิบัติการ 1. จัดให้มีห้องเรียนมัลติมีเดียที่มี - รวบรวมจัดทำสถิติจำนวน
ระบบเครือข่าย แม่ข่าย อุปกรณ์ ความพร้อมใช้งานอย่างมี เครื่องมืออุปกรณ์ ต่อหัวนักศึกษา
การทดลอง ทรัพยากร สื่อและ ประสิทธิภาพทั้งในการสอน การ ชั่วโมงการใช้งานห้องปฏิบัติการ
ช่องทางการเรียนรู้ที่เพียบพร้อม บันทึกเพื่อเตรียมจัดสร้างสื่อ - จำนวนนักศึกษาลงเรียนในวิชา
เพื่อสนับสนุนทัง้ การศึกษาใน สำหรับการทบทวนการเรียน เรียนที่มีการฝึกปฏิบัติดว้ ย
ห้องเรียน นอกห้องเรียน และเพื่อ 2. จัดเตรียมห้องปฏิบัติการทาง อุปกรณ์ต่าง ๆ
การเรียนรูด้ ้วยตนเองอย่าง ภูมิศาสตร์ที่มี เครื่องมือทันสมัย - สถิติของจำนวนหนังสือตำรา
เพียงพอมีประสิทธิภาพ และเป็นเครื่องมือวิชาชีพในระดับ และ สื่อดิจิทัล ที่มีให้บริการ และ
สากล เพื่อให้นักศึกษาสามารถฝึก สถิติ การใช้งานหนังสือตำรา สือ่
ปฏิบัติ สร้างความพร้อมในการ ดิจิทัล
ปฏิบัติงานในวิชาชีพ - ผลสำรวจความพึงพอใจของนัก
3. จัดให้มีห้องสมุดให้บริการทั้ง ศึกษาต่อการให้บริการทรัพยากร
หนังสือตำรา และสื่อดิจิทลั เพื่อ เพื่อการเรียนรู้และการ
การเรียนรู้ ทั้งห้องสมุดทาง ปฏิบัติการ
กายภาพและทางระบบเสมือน
50

3. การบริหารคณาจารย์
3.1 การรับอาจารย์ใหม่
3.1.1 กำหนดคุ ณ สมบัติ ของอาจารย์ให้ เป็น ไปตามมาตรฐานคุณ วุฒิ โดยสำเร็จ
การศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านดนตรีศึกษา หรือสาขาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ มีความสามารถในการ
ใช้ภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โปรแกรมการพัฒนาเอกสารพื้นฐาน เป็นต้น
3.1.2 ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติของอาจารย์
3.1.3 ประกาศรับสมัครผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม
3.1.4 สื บ ค้น ประวัติแ ละคุณ สมบั ติ ของผู้ ส มัค รจากแหล่ งข้ อมู ล ที่ น่ าเชื่ อถื อและ
ตรวจสอบข้อมูลอย่างเป็นธรรม
3.1.5 สัมภาษณ์ผู้สมัครเกี่ยวกับคุณสมบัติการเป็นอาจารย์ และความสามารถทาง
วิชาการ
3.1.6 ประชุมพิจารณาการตัดสินคัดเลือกอาจารย์
3.1.7 ประกาศผลการคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งอาจารย์ป ฏิบัติงานตามระเบียบของ
มหาวิทยาลัย

3.2 การมีส่วนร่วมของคณาจารย์ในการวางแผนการติดตามและการทบทวนหลักสูตร
คณาจารย์ผู้สอนมีโอกาสได้ให้ข้ อมูลผลการดำเนินการจัดการสอนตามรายวิชาใน
หลักสูตรตามวาระการประชุมสาขาวิชาเดือนละ 1 ครั้ง และการประชุมสรุปผลการจัดการเรียนการ
สอนระดับสาขาวิชาปีละ 1 ครั้ง รวมถึงการประชุมพัฒนาหลักสูตรตามวาระ

3.3 การแต่งตั้งคณาจารย์พิเศษ
การพิจารณาแต่งตั้งอาจารย์พิเศษเพื่อจัดการเรียนการสอน ดำเนินการพิจารณาจาก
การประชุมวางแผนการเรียนการสอนก่อนเริ่มภาคการศึกษาแต่ละภาค หลักเกณฑ์การแต่งตั้งอาจารย์
พิเศษพิจารณาจากคุณสมบัติ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และการเป็นที่ยอมรับในศาสตร์เฉพาะ
ด้านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคณาจารย์และนักศึกษามากทีส่ ุด

3.4 การแต่งตั้งอาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์
อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากทางมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ซึ่งมี
คุณสมบัติดังนี้
1) เป็นอาจารย์ประจำ
2) เป็นอาจารย์ทมี่ วี ุฒิปริญญาเอก
3) ในกรณีที่อาจารย์ที่ปรึกษายังไม่จบปริญญาเอก สามารถเป็นที่ปรึกษาได้
แต่ต้องมีตำแหน่งรองศาสตราจารย์
4) เป็นอาจารย์ที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในสาขาวิชาดนตรีศึกษาหรือ
สาขาวิชาที่สัมพันธ์
5) มีประสบการณ์การทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
51

4. การบริหารบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน
4.1 การกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
คุณสมบั ติของบุ คลากรสนับสนุนการเรียนการสอนเป็นไปตามความต้องการของ
คณะและนโยบายของมหาวิทยาลัย

4.2 การเพิ่มทักษะความรู้เพื่อการปฏิบัติงาน
คณะมีนโยบายส่งเสริมบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอนให้พัฒ นาองค์ความรู้
เฉพาะตำแหน่ง รวมถึงการส่งเสริมบุคลากรให้พัฒนาคุณวุฒิของตนในสาขาที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน
และอยู่ในความสนใจของบุคลากร

5. การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา
5.1 การให้คำปรึกษาด้านวิชาการ และอื่น ๆ แก่นักศึกษา
นักศึกษาสามารถดำเนินการขอรับคำปรึกษาจากอาจารย์ได้หลายกรณี
5.1.1 มีการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา โดยนักศึกษาเป็นผู้เลือกขอรับคำปรึกษาจาก
อาจารย์ที่ต้องการ
5.1.2 ส่ งเสริ ม ให้ มี ก ารแจงกำหนดวั น และเวลาเพื่ อ ให้ ค ำปรึก ษานั ก ศึ ก ษาจาก
อาจารย์แต่ละท่านตามความเหมาะสม
5.1.3 ส่งเสริมให้อาจารย์ผู้สอนมีเว็บไซต์เพื่อเปิดรับความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้
และไขข้อข้องใจของนักศึกษาทั้งในรายวิชาและการพัฒนางานวิจัยวิทยานิพนธ์

5.2 การอุทธรณ์ของนักศึกษา
กรณีที่ นักศึกษามีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลการตัดสินผลการเรียน สามารถดำเนินการ
ติดต่ออาจารย์ผู้สอนเพื่อขอดูผลการสอบ หลักฐานการสอบ รวมถึงสัดส่วนคะแนนชิ้นงานจากผู้สอน

6. ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และ/หรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต


ความต้ องการบุ คลากรทางด้ านดนตรี ยั งคงเป็ น ที่ ต้อ งการอย่างต่อ เนื่ องและยิ่ งทวีค วาม
ต้องการมากขึ้นในปัจจุบัน การสร้างครูด้านดนตรีที่มีคุณภาพนั้น ต้องสอนผู้เรียนให้มี ความรู้ความ
เข้าใจและมีสุน ทรียะในดนตรีได้อย่างแท้จริงตามบทบาทของตน มีทักษะทางด้ านดนตรี และการ
จัดการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ความสามารถของตนได้ตลอดเวลา ซึ่งปัจ จุบันสังคมของโลก
เปิดกว้างด้านอาชีพของดนตรีว่ามีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์ อาชีพด้านการดนตรีในปัจจุบันจึงได้รับการ
ยอมรับว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติและสามารถสร้างรายได้ให้แก่บุค คลและกลุ่มธุรกิจ นอกเหนือจากการ
เป็นเพียงบุคลากรทางการศึกษา เช่น ศิลปิน นักร้อง นักประพันธ์ โปรดิวเซอร์ เป็นต้น โดยในประเทศ
และต่างประเทศ มีการนำดนตรีมาใช้ในกิจกรรมทางสั งคมในด้านความบันเทิง นาฏศิลป์ การละคร
ศิลปวัฒนธรรม การแพทย์ การเมือง การทหาร การโฆษณาสินค้ า ดังนั้นทำให้ในปั จจุบันจึงมีความ
ต้องการบุคลากรด้านดนตรีเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างงานและตอบสนองต่อความต้องการตามพื้นฐาน
ของสังคมที่มีความเจริญทางด้านการศึกษาและเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
52

7. ตัวบ่งชีผ้ ลการดำเนินงานที่สำคัญ (Key Performance Indicators)


ผลการดำเนินการบรรลุตามเป้าหมายดังตัวบ่งชี้ทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์ดีต่อ เนื่อง 2 ปีการศึกษา
เพื่อติดตามการดำเนินการตาม TQF ต่อไป ทั้งนี้เกณฑ์การประเมินผ่าน คือ มีการดำเนินงานตามข้อ
1-5 และ อย่างน้อยร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี
ตัวบ่งชีผ้ ลการดำเนินงาน ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3
1. คณาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมใน การ X X X
ประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
2. มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบ X X X
มาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติหรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา (ถ้ามี)
3. มี ร ายละเอี ย ดของรายวิ ช า และรายละเอี ย ดของประสบการณ์ X X X
ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิด
สอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกวิชา
4. จัดทำรายงานผลการดำเนิน การของรายวิชา และรายงานผลการ X X X
ดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 และ
มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุก
รายวิชา
5. จั ดทำรายงานผลการดำเนิ น การของหลั ก สู ต ร ตามแบบ มคอ.7 X X X
ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนิสิต/นักศึกษาตามมาตรฐานผล การ X X X
เรียนรู้ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ 25
ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
7. มีการพัฒ นา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน X X X
หรือการประเมินผลการเรียนรู้ จากผลการประเมินการดำเนินงานที่
รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว
8. คณาจารย์ ใหม่ (ถ้ า มี ) ทุ ก คน ได้ รั บ การปฐมนิ เทศ อบรมหรื อ X X X
คำแนะนำด้านศาสตร์วิชาครูและวิทยาการการจัดการเรียนรู้
9. คณาจารย์ ป ระจำทุก คนได้รั บ การพั ฒ นาทางวิช าการ และ/หรือ X X X
วิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
10. จำนวนบุ ค ลากรสนั บ สนุ น การเรีย นการสอน (ถ้ ามี ) ได้ รั บ การ X X X
พัฒนาวิชาการ และหรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี
11. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่เฉลี่ยไม่น้อย X X
กว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5.0
53

หมวดที่ 8
การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของหลักสูตร

1. การประเมินประสิทธิผลของการสอน
1.1 การประเมินกลยุทธ์การสอน
ช่วงก่อนการสอนควรมีการประเมินกลยุทธ์การสอนโดยทีมผู้สอนหรือระดับวิทยาลัย
และ/หรือ การปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรหรือวิธีการสอน ส่วนช่วงหลังการสอนควรมี
การวิเคราะห์ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา และการวิเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษา
ด้านกระบวนการนำผลการประเมิ นไปปรับ ปรุง สามารถทำโดยรวบรวมปั ญ หา
ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงและกำหนดประธานหลักสูต รและทีมผู้สอนนำไปปรับปรุงและรายงานผล
ต่อไป

1.2 การประเมินทักษะของอาจารย์ในการใช้แผนกลยุทธ์การสอน
การประเมินทักษะดังกล่าวสามารถทำโดยการ
- ประเมินโดยนักศึกษาในแต่ละวิชา
- การสังเกตการณ์ของผู้รับผิดชอบหลักสูตร/ประธานหลักสูตร และ/หรือ
ทีมผู้สอน
- ภาพรวมของหลักสูตรประเมินโดยบัณฑิตใหม่
- การทดสอบผลการเรียนรู้ของนักศึกษาเทียบเคียงกับสถาบันอื่นใน
หลักสูตรเดียวกัน

2. การประเมินหลักสูตรในภาพรวม
การประเมินหลักสูตรในภาพรวมพิจารณาข้อมูลจากบุคคลที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
2.1 นักศึกษาปีสุดท้าย/มหาบัณฑิตใหม่
2.2 ผู้ว่าจ้าง/ผู้บริหาร/ผู้บังคับบัญชา/หัวหน้าหน่วยงาน/ผู้ใช้บัณฑิตหรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ
2.3 ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
2.4 ประชุมผู้แทนนักศึกษากับผู้แทนอาจารย์ รวมทั้งสำรวจสัมฤทธิผลของมหาบัณฑิต

3. การประเมินผลการดำเนินงานตามรายละเอียดหลักสูตร
ต้องผ่านการประกันคุณภาพหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับ
ปริญญาโท สาขาวิชาดนตรีศึกษาและตัวบ่งชี้เพิ่มเติมข้างต้น รวมทั้งการผ่านการประเมินการประกัน
คุณภาพภาพใน (IQA)

4. การทบทวนผลการประเมินและวางแผนปรับปรุง
- รวบรวมข้อเสนอแนะ/ข้อมูล จากการประเมินจากนักศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต ผู้ทรงคุณวุฒิ
- วิเคราะห์ทบทวนข้อมูลข้างต้น โดยผู้รับผิดชอบหลักสูตร 1 ประธานหลักสูตร
- เสนอการปรับปรุงหลักสูตรและแผนกลยุทธ์
54

5. การพัฒนาหลักสูตร
คณะครุศาสตร์มีนโยบายให้ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรทุก ๆ 5 ปี เพื่อให้หลักสูตรมีค วาม
ทันสมัยและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาด้านการศึกษาและกำลังคนของประเทศการปรั บปรุง
หลักสูตรหรือการพัฒนาหลักสูตรพิจารณาจากตัวบ่งชี้ด้านมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา ดังนี้
5.1 ร้อยละของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาต่อนักศึกษาแรกเข้า
5.2 ความรู้ ทักษะ และความสามารถตามหลักสูตร
5.3 ความรู้ และทักษะด้านภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์
5.4 ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
5.5 ความต้องการผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา
5.6 ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรและการบริหารจัดการหลักสูตร
55

ภาคผนวก
56

ภาคผนวก ก

ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดว่าด้วยการศึกษา
ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559
57

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559
......................................................................................................

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบังคับมหาวิ ทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ว่าด้วยการศึกษาระดับ


บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีแนวทางการปฏิบั ติไปใน
ทิศทางเดียวกัน มีมาตรฐานและคุณ ภาพสอดคล้ องกับประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์
มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 เรื่องแนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร
ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่องหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียน
ระดับปริญญาเข้าสู่การศึกษาในระบบ พ.ศ. 2545 และเรื่องข้อแนะนำเกี่ยวกับแนวปฏิบัติ ที่ดีในการ
เทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญา พ.ศ. 2545 และประกาศทบวงมหาวิทยาลัย ข้อแนะนำเกี่ยวกับ
แนวปฏิบัติที่ดีในการเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญา
อาศัย อำนาจตามความในมาตรา 18 (2) แห่ งพระราชบั ญ ญั ติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.
2547 และมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ในคราวประชุมครั้งที่ 5(105)/2559 เมื่อวันที่ 26
พฤษภาคม พ.ศ. 2559 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จึงตราข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้
58

หมวด 1
บททั่วไป

ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ว่าด้วยการศึกษาระดับ


บัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559”
ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับสำหรับนักศึกษาที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป
ข้ อ 3 ให้ ย กเลิ ก ข้ อ บั งคั บ มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ ร้ อ ยเอ็ ด ว่ าด้ ว ยการจั ด การศึ ก ษาระดั บ
บัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558
ข้อ 4 บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง หรือประกาศอื่นใด ที่ขัดหรือแย้งกับข้ อบังคับนี้ให้ใช้
ข้อบังคับนี้แทน
ข้อ 5 ในข้อบังคับนี้
“มหาวิทยาลัย” หมายความว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
“สภามหาวิทยาลัย” หมายความว่า สภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
“อธิการบดี” หมายความว่า อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
“คณะกรรมการบริห ารหลั กสูตร” หมายความว่า คณะกรรมการบริห าร
หลักสูตรสาขาวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา
“บัณฑิตวิทยาลัย ” หมายความว่า บัณ ฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ร้อยเอ็ด
“บั ณ ฑิ ต ศึก ษา” หมายความว่า การจัด การศึ กษา ในหลั กสู ตรที่ สู งกว่า
ระดับปริญญาตรี
“คณะ” หมายความว่า คณะ หรือวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ที่
เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา
“คณะกรรมการบริ ห ารบั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา” หมายความว่ า คณะกรรมการ
ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
“คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะ” หมายความว่า คณะกรรมการ
บัณฑิตศึกษาประจำคณะหรือวิทยาลัยที่เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
“คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาระหว่างคณะ” หมายความว่า คณะกรรมการ
บัณฑิตศึกษาระหว่างคณะ ที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาร่วมกันมากกว่า 1 คณะ
“คณ บดี บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย ” หมายความว่ า คณ บดี บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
“คณบดี” หมายความว่า คณบดีของคณะ หรือวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราช
ภัฏร้อยเอ็ดที่จัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา
“อาจารย์ ป ระจำ หมายความว่ า บุ คคลที่ ด ำรงตำแหน่ งอาจารย์ ผู้ ช่ว ย
ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์และศาสตราจารย์ ในมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลัก สูตรนั้น ที่มีหน้าที่
รับผิดชอบตามพันธกิจของการอุดมศึกษาและปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลา
“อาจารย์ประจำหลักสูตร” หมายความว่า อาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิตรง
หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตรที่เปิดสอน ซึ่งมีหน้าที่สอนและค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาดังกล่าว
59

ทั้งนี้สามารถเป็ นอาจารย์ประจำหลักสูตรหลายหลักสูตรได้ในเวลาเดียวกัน แต่ต้องเป็น หลักสูตรที่


อาจารย์ผู้นั้นมีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตร
“อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร” หมายความว่า อาจารย์ประจำหลักสูตรที่
มีภาระหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ตั้งแต่การวางแผน การควบคุม
คุณภาพการติดตามประเมินผลและการพั ฒนาหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต้อ งอยู่ประจำ
หลั กสู ตรนั้ น ตลอดระยะเวลาที่ จัด การศึกษา โดยจะเป็น อาจารย์ผู้ รับผิ ดชอบหลั กสู ตรเกิน กว่า 1
หลักสูตรในเวลาเดียวกันไม่ได้ ยกเว้น พหุ วิทยาการหรือสหวิ ทยาการ ให้ เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบ
หลักสูตรได้อีกหนึ่งหลักสูตรและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสามารถซ้ำได้ไม่เกิน 2 คน
“อาจารย์พิเศษ” หมายความว่า ผู้สอนที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำ
“ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร” หมายความว่า อาจารย์ผู้รับผิดชอบ
หลักสูตรสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งให้บริหารหลักสูตรสาขาวิชา
“ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ภ ายนอก” หมายความว่ า ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ภายนอก
มหาวิทยาลัย ที่มีคุณวุฒิ ปริญญาเอก และมีผลงานทางวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตระดั บ
บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา พ.ศ. 2558 และได้ รั บ การแต่ ง ตั้ ง จากอธิ ก ารบดี โดยความเห็ น ชอบจากคณ ะ
กรรมการบริหารบัณฑิตศึกษา
“อาจารย์ ร ะดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา” หมายความว่ า อาจารย์ ป ระจำหรื อ
บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
พ.ศ. 2558 และแนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 และได้รับ
การแต่งตั้งจากอธิการบดี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารบัณฑิตศึกษา
“ดุ ษ ฎี นิ พ นธ์ ” หมายความว่ า รายงานผลการวิ จั ย ที่ เป็ น ผลมาจาก
กระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบระเบียบตามหลักสูตรปริญญาเอก เพื่อ ให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่
และอาจนำไปใช้ประโยชน์ภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์
“วิทยานิพนธ์” หมายความว่า รายงานผลการวิจัยที่เรียบเรียงจากข้อมูล
เชิ ง ประจั ก ษ์ ที่ เป็ น เหตุ เป็ น ผลโดยศึ ก ษาอย่ า งละเอี ย ดและเป็ น ระบบในเชิ ง วิ ท ยาศาสตร์ แ ละ
สังคมศาสตร์ ตามหลักสูตรปริญญาโท แผน ก ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
“การค้นคว้าอิสระ” หมายความว่า รายงานที่เป็นผลจากการค้นคว้าด้ว ย
ตนเองอย่างเป็นระบบของนักศึกษาในหัวข้อที่ไ ด้รับผิดชอบตามหลักสูตรปริญญาโท แผน ข ภายใต้
คำปรึกษาดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ
ข้อ 6 เพื่อให้การดำเนินงานเกี่ยวกับการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
อธิการบดีอาจออกระเบียบ ประกาศหรือหลั กเกณฑ์โดยความเห็ นชอบของคณะกรรมการบริห าร
บัณฑิตศึกษาเพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติในรายละเอียดเพิ่มเติมและสั่งปฏิบัติการได้โดยที่ไม่ขั ดหรือแย้งกับ
ข้อบังคับนี้
ข้อ 7 ให้ อธิการบดีเป็ น ผู้ รักษาการตามข้อบั งคับนี้ กรณี มี ปัญ หาเกี่ยวกับการปฏิ บัติตาม
ข้อบังคับนี้ ให้มหาวิทยาลัยนำเสนอสภามหาวิทยาลัยเป็นกรณีไป
60

หมวด 2
การบริหารบัณฑิตศึกษา

ข้อ 8 การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ให้มีคณะกรรมการบริหารงานการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ดังนี้
8.1 คณะกรรมการบริหารบัณฑิตศึกษา
8.2 คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะ
8.3 คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาระหว่างคณะ
การประชุมคณะกรรมการตามข้อ 8.2 และ 8.3 ให้ใช้ข้อบังคับการประชุม
สภามหาวิทยาลัยโดยอนุโลม
ข้อ 9 คณะกรรมการบริห ารบัณ ฑิตศึกษา ให้เป็น ไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ร้อยเอ็ด ว่าด้วย บัณฑิตวิทยาลัย พ.ศ. 2559
ข้ อ 10 ในคณะที่ มี ห ลั ก สู ต รระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาให้ อ ธิ ก ารบดี แ ต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการ
บัณฑิตศึกษาประจำคณะโดยมีองค์ประกอบและหน้าที่ ดังนี้
10.1 องค์ประกอบ
10.1.1 คณบดี เป็นประธานกรรมการ
10.1.2 ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร เป็นกรรมการ
10.1.3 รองคณบดีที่ได้รับมอบหมายด้านบัณฑิตศึกษา
เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับประธานกรรมการ
10.1.4 อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา เป็นกรรมการและ
ผู้ช่วยเลขานุการ
กรรมการมีวาระตำแหน่ง 4 ปีและให้พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
เมื่อ ตาย ลาออก ขาดคุณสมบัติหรือมหาวิทยาลัยถอดถอน
10.2 หน้าที่
10.2.1 ควบคุมคุณภาพการจัดการศึกษา การประกันคุ ณภาพของ
หลักสูตร และการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับ
บัณฑิตศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
10.2.2 อนุมัตผิ ลการประเมินผลการศึกษาของนักศึกษา
10.2.3 ให้ ความเห็ นชอบการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาเพื่ อ
เสนอคณะกรรมการบริหารบัณฑิตศึกษา
10.2.4 พิ จารณาหลั กสู ตรและรายวิช าระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึก ษาเพื่ อ
เสนอคณะกรรมการบริหารบัณฑิตศึกษา
10.2.5 พิจารณาอนุมัติหัวข้อเรื่องดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์และการ
ค้นคว้าอิสระ
10.2.6 เสนอรายชื่ อ อาจารย์ ระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาเพื่ อ ให้ ค ณบดี
บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ หรือวิทยานิพนธ์ คณะกรรมการสอบเค้าโครง
ดุษฎีนิพนธ์ หรือวิทยานิพนธ์ และคณะกรรมการสอบดุษฎีนิพนธ์ หรือวิทยานิพนธ์
61

10.2.7 แต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ คณะกรรมการ


สอบเค้าโครงการค้นคว้าอิสระและคณะกรรมการสอบการค้นคว้าอิสระ
10.2.8 ประสานงานด้านการบริหารและวิชาการเกี่ยวกับการรับ
นักศึกษา การจัดตารางสอน การสอน การวิจัย การสอบประมวลความรู้ การสอบวัดความรู้ด้านภาษา
และการสอบวัดคุณสมบัติกับบัณฑิตวิทยาลัย
ข้ อ 11 ในการจั ด การหลั ก สู ต รระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาที่ มี ก ารดำเนิ น การโดยคณะ จำนวน
มากกว่า 1 คณะ ให้อธิการบดีแต่งตั้งคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาระหว่า งคณะโดยมีองค์ประกอบและ
หน้าที่ ดังนี้
11.1 องค์ประกอบ
11.1.1 คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย เป็นประธานกรรมการ
11.1.2 คณบดี ของคณะที่ร่วมกันจัดหลักสูตร เป็นกรรมการ
11.1.3 ประธานกรรมการบริ ห ารหลั ก สู ต รทุ ก หลั ก สู ต ร เป็ น
กรรมการ
11.1.4 อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาที่ร่วมกันจัดหลักสูตรไม่เกินกึ่ง
หนึ่งของจำนวนกรรมการในข้อ 11.1.1 11.1.2 และ 11.1.3 เป็นกรรมการ
11.1.5 อาจารย์ระดับบัณ ฑิตศึกษาคนหนึ่ง ที่ประธานกรรมการ
แต่งตั้งเป็นกรรมการและเลขานุการโดยมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับประธานกรรมการ
กรรมการมีวาระดำรงตำแหน่ ง 4 ปี และให้พ้นตำแหน่ง
ก่อนวาระ เมื่อตาย ลาออก ขาดคุณสมบัติ หรือมหาวิทยาลัยถอดถอน
11.2 หน้าที่
11.2.1 ควบคุมคุณภาพการจัดการศึกษา การประกันคุณภาพของ
หลักสูตร และการพัฒนาหลักสู ตรระดับบัณฑิตศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับ
บัณฑิตศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
11.2.2 อนุมัติผลการประเมินผลการศึกษาของนักศึกษา
11.2.3 ให้ ความเห็ นชอบการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาเพื่ อ
เสนอคณะกรรมการบริหารบัณฑิตศึกษา
11.2.4 พิ จารณาหลั กสู ตรและรายวิช าระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึก ษาเพื่ อ
เสนอคณะกรรมการบริหารบัณฑิตศึกษา
11.2.5 พิจารณาอนุมัติหัวข้อเรื่องดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์และการ
ค้นคว้าอิสระ
11.2.6 เสนอรายชื่ อ อาจารย์ ระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาเพื่ อ ให้ ค ณบดี
บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ หรือวิทยานิพนธ์ คณะกรรมการสอบเค้าโครง
ดุษฎีนิพนธ์ หรือวิทยานิพนธ์ และคณะกรรมการสอบดุษฎีนิพนธ์ หรือวิทยานิพนธ์
11.2.7 แต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ คณะกรรมการ
สอบเค้าโครงการค้นคว้าอิสระและคณะกรรมการสอบการค้นคว้าอิสระ
62

11.2.8 ประสานงานด้านการบริหารและวิชาการเกี่ยวกับการรับ
นักศึกษา การจัดตารางสอน การสอน การวิจัย การสอบประมวลความรู้ การสอบวัดความรู้ด้านภาษา
และการสอบวัดคุณสมบัติกับบัณฑิตวิทยาลัย

หมวด 3
ระบบการจัดการศึกษา

ข้อ 12 มหาวิทยาลัยมีการจัดระบบการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ดังนี้


12.1 ระบบทวิภาค หนึ่งปีการศึกษาให้แบ่งออกเป็นสองภาคการศึกษาปกติ
คื อ ภาคต้ น กั บ ภาคปลาย มี ร ะยะเวลาการศึ ก ษาไม่ น้ อ ยกว่ า 15 สั ป ดาห์ มหาวิ ท ยาลั ย อาจจั ด
การศึกษาภาคฤดูร้อนต่อจากภาคปลายได้ตามความจำเป็นของคณะโดยให้จัดจำนวนชั่ วโมงการเรียน
ในแต่ละรายวิชาเท่ากับจำนวนชั่วโมงการเรียนที่จัดให้สำหรับรายวิชานั้นในภาคต้นกับภาคปลาย
12.2 ระบบไตรภาค หนึ่งปี การศึกษาให้แบ่งออกเป็นสามภาคการศึกษา
ปกติ คือ ภาคต้น ภาคปลายและการศึกษาภาคฤดูร้อน ทั้งนี้หนึ่งภาคการศึกษาปกติให้มีระยะเวลาไม่
น้อยกว่า 12 สัปดาห์
12.3 ระบบจตุรภาค หนึ่งปีการศึกษาให้แบ่งออกเป็นสี่ภาคการศึกษาปกติ
รวมการศึกษาภาคฤดูร้อน ทั้งนี้หนึ่งภาคการศึกษาปกติให้มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 สัปดาห์
ข้อ 13 มหาวิทยาลัยมีการจั ดการศึกษาทั้งในและนอกเวลาราชการรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
หรือรูปแบบผสมผสาน ดังนี้
13.1 ระบบในเวลาราชการ เป็น การจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาทั่วไป
เฉพาะในเวลาราชการโดยจัดแบบระบบทวิภาค หรือระบบไตรภาค
13.2 ระบบนอกเวลาราชการ เป็นการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาทั่วไป
หรือกลุ่มนักศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งโดยอาจจั ดการเรียนการสอนในรูปแบบใด
รูปแบบหนึ่งหรือรูปแบบผสมผสาน ดังนี้
13.2.1 โปรแกรมนอกเวลาราชการ เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้
เวลานอกเวลาราชการ
13.2.2 โปรแกรมทางไกลโดยใช้ ร ะบบทางไกล วี ดิ ทั ศ น์ ส องทางและ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต
13.2.3 โปรแกรมชุด วิช า เป็นการจัดการเรียนการสอนเป็นช่วงเวลาละ
รายวิชาหรือหลายวิชาที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กัน
13.2.4 โปรแกรมนานาชาติ เป็ น การจั ดการศึ กษาโดยความร่ว มมื อกั บ
สถาบัน การศึกษาต่างประเทศหรือเป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยที่มีการจัดการเรียนการสอนและมี
มาตรฐานเช่นเดียวกันกับหลั กสูตรนานาชาติโดยอาจจัดในเวลาและเนื้อหาที่ สอดคล้องกับโปรแกรม
ต่างประเทศโดยใช้รูปแบบผสมผสานตามข้อ 12.1 และ 12.2
63

ข้อ 14 การคิดหน่วยกิตสำหรับแต่ละรายวิชา
14.1 ระบบทวิภาค
14.1.1 รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหา
ไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
14.1.2 รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30
ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
14.1.3 การฝึกงานหรือฝึกภาคสนามที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45
ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
14.1.4 การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับ
มอบหมาย ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้ นไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่า
เท่ากับ 1 หน่วยกิต
14.1.5 รายวิชาการค้นคว้าอิสระที่ใช้ในเวลาศึกษาค้นคว้าไม่น้อย
กว่า 45 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
14.1.6 วิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ ที่ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าไม่น้อย
กว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
14.2 ระบบไตรภาค
14.2.1 รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหา
ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
14.2.2 รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 24
ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
14.2.3 การฝึกงานหรือฝึกภาคสนามที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 36
ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
14.2.4 รายวิชาการค้นคว้าอิสระ ที่ใช้ในเวลาศึกษาค้นคว้าไม่น้อย
กว่า 36 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
14.2.5 วิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ ที่ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าไม่น้อย
กว่า 36 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
14.3 ระบบจตุรภาค
14.3.1 รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิ ปรายปัญหา
ไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
14.3.2 รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 20
ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
14.3.3 การฝึกงานหรือฝึกภาคสนามที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 30
ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
14.3.4 รายวิชาการค้นคว้าอิสระ ที่ใช้ในเวลาศึกษาค้นคว้าไม่น้อย
กว่า 30 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
14.3.5 วิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ ที่ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าไม่น้อย
กว่า 30 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
64

หมวด 4
หลักสูตรการศึกษา

ข้ อ 15 หลั ก สู ต รที่ เปิ ด สอนในระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา ต้ อ งเป็ น หลั ก สู ต รที่ ส อดคล้ อ งกั บ


แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึ กษาของชาติ ปรัชญาของการอุดมศึกษา ปรัชญาของมหาวิทยาลัย
และมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ ดังนี้
15.1 หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้น การ
พัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพให้มีความชำนาญในสาขาวิชาเฉพาะ เพื่ อให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ
สามารถปฏิ บั ติ งานได้ดียิ่ งขึ้น โดยเป็ น หลั กสู ต รการศึก ษาที่ มีลั กษณะเบ็ ด เสร็จในตัว เอง สำหรับ
ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามาแล้ว
15.2 หลั ก สู ต รปริ ญ ญาโทเป็ น หลั ก สู ต รการศึ ก ษาที่ เน้ น การพั ฒ นา
นักวิช าการและวิชาชีพ ที่มีความรู้ค วามสามารถระดับสู งในสาขาวิชาต่างๆ โดยกระบวนการวิจัย
เพื่อให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ได้อย่างมีอิสระ รวมทั้ง มีความสามารถในการสร้างสรรค์
จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ เชื่อมโยงและบูรณาการศาสตร์ทตี่ นเชี่ยวชาญกับศาสตร์อื่นได้อย่าง
ต่อเนื่อง มีคุณธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือ
เทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรบัณฑิต
15.3 หลักสูตรประกาศนี ยบัตรบัณฑิตชั้นสูงเป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้น
การพั ฒ นานั กวิช าการและนั กวิช าชี พให้ มี ความชำนาญในสาขาวิช าเฉพาะ เพื่ อให้ มีความรู้ความ
ชำนาญ สามารถปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น โดยเป็นหลักสูตรที่ มีลักษณะเบ็ดเสร็จในตัวเอง สำหรับผู้สำเร็จ
การศึกษาหลักสูตร 6 ปีการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือปริญญาโทหรือเทียบเท่า
15.4 หลั ก สู ต รปริ ญ ญาเอก เป็ น หลั ก สู ต รการศึ ก ษาที่ เน้ น การพั ฒ นา
นักวิชาการและนักวิชาชีพ ที่มีความรู้ความสามารถระดับสูง ในสาขาวิชาต่างๆ โดยกระบวนการวิจัย
เพื่อให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ได้อย่างมีอิสระ รวมทั้ง มีความสามารถในการสร้างสรรค์
จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ เชื่อมโยงและบูรณาการศาสตร์ทตี่ นเชี่ยวชาญกับศาสตร์อื่นได้อย่าง
ต่ อ เนื่ อ ง มี คุ ณ ธรรมและจรรยาบรรณทางวิ ช าการและวิ ช าชี พ โดยมุ่ งให้ มี ค วามสามารถในการ
ค้นคว้าวิจัยเพื่อสรรค์สร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางาน สังคมและ
ประเทศ สำหรั บ ผู้ ส ำเร็ จ การศึ ก ษาปริ ญ ญาตรี ปริ ญ ญาโท ป ระกาศนี ย บั ต รบั ณ ฑิ ต หรื อ
ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงหรือเทียบเท่า
ข้อ 16 หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต มีจำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า
24 หน่วยกิต
ข้อ 17 หลักสูตรปริญญาโท มีจำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
โดยอาจแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 แผน ดังนี้
17.1 แผน ก เป็นแผนการศึกษาเน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์มี 2 แบบ ดังนี้
แบบ ก 1 ทำเฉพาะวิ ท ยานิ พ นธ์ มี ค่ าเที ย บได้ ไม่ น้ อ ยกว่ า 36
หน่วยกิต โดยอาจารย์ผู้รั บผิดชอบหลักสูตรอาจกำหนดให้เรียนรายวิชาเพิ่มเติมหรือทำกิจกรรมทาง
วิชาการอื่นเพิม่ ขึ้นก็ได้ โดยไม่นับหน่วยกิต แต่ต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
65

แบบ ก 2 ทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต


และต้องศึกษารายวิชาสัมพันธ์และรายวิชาเฉพาะด้านไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต รวมทั้งหมดไม่น้อย
กว่า 36 หน่วยกิต
17.2 แผน ข เป็นแผนเน้นการศึกษารายวิชาโดยไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ เป็น
การศึกษารายวิชาสัมพันธ์และรายวิชาเฉพาะด้านไม่น้ อยกว่า 30 หน่วยกิต และต้องทำการค้นคว้า
อิสระไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
ข้อ 18 หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
ข้อ 19 หลักสูตรปริญ ญาเอก เน้นการวิจัยเพื่อพัฒ นานั กวิชาการและนักวิช าชีพชั้นสูง มี
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรตามแบบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยกำหนด แบ่งการศึกษาออกเป็น
2 แบบ ดังนี้
แบบ 1 เป็ น แผนการศึ ก ษาที่ เน้ น การวิ จั ย โดยมี ก ารทำดุ ษ ฎี นิ พ นธ์ ที่
ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอาจกำหนดให้มีการเรียนรายวิชาเพิ่มเติมหรือทำ
กิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มขึ้นก็ได้โดยไม่นับรวมหน่วยกิต และต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่มหาวิทยาลั ย
กำหนด ดังนี้
แบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโทหรือเทียบเท่าหรือประกาศนียบัตร
บัณฑิตชั้นสูงจะต้องทำดุษฎีนิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
แบบ 1.2 ผู้ เข้ าศึ ก ษาที่ ส ำเร็จการศึ ก ษาปริญ ญาตรี หรือ เที ย บเท่ าหรื อ
ประกาศนียบัตรบัณฑิต จะต้องทำดุษฎีนิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
ทั้ ง นี้ ดุ ษ ฎี นิ พ นธ์ ต ามแบบ 1.1 และแบบ 1.2 จะต้ อ งมี คุ ณ ภาพและ
มาตรฐานเดียวกัน
แบบ 2 เป็ น แผนการศึ ก ษาที่ เน้ น การวิจั ย โดยมี ก ารทำดุ ษ ฎี นิ พ นธ์ที่ มี
คุณภาพสูงและก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ และมีการศึกษารายวิชาเพิ่มเติม ดังนี้
แบบ 2.1 ผู้ เข้ าศึ ก ษาที่ ส ำเร็ จ การศึ ก ษาปริ ญ ญาโทหรื อ เที ย บเท่ าหรื อ
ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ต้องทำดุษฎีนิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิตและศึกษารายวิ ชาอีกไม่
น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
แบบ 2.2 ผู้ เข้ าศึ ก ษาที่ ส ำเร็จการศึ ก ษาปริญ ญาตรี หรือ เที ย บเท่ าหรื อ
ประกาศนียบัตรบัณฑิตต้องทำดุษฎีนิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิตและศึกษารายวิชาอีกไม่น้อยกว่า
24 หน่วยกิต
ทั้ งนี้ ดุ ษ ฎี นิ พ นธ์ ตามแบบ 2.1 และแบบ 2.2 จะต้ อ งมี คุ ณ ภาพ และ
มาตรฐานเดียวกัน
ข้อ 20 ระยะเวลาการศึกษา
20.1 การสอนในเวลาราชการ ให้ใช้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
20.1.1 ห ลั ก สู ตรป ระกาศนี ยบั ต รบั ณ ฑิ ตและห ลั ก สู ต ร
ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ใช้ระยะเวลาศึกษาตามหลักสูตรจนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 2 ภาค
การศึกษาปกติ แต่ไม่เกิน 6 ภาคการศึกษาปกติ ทั้งนี้ไม่เกิน 3 ปีการศึกษา
66

20.1.2 หลักสู ตรปริญ ญาโทใช้ระยะเวลาศึกษาตามหลักสูตรจน


สำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 3 ภาคการศึกษาปกติ แต่ไม่เกิน 10 ภาคการศึกษาปกติ ทั้งนี้ไม่เกิน 5 ปี
การศึกษา
20.1.3 หลั ก สู ต รปริ ญ ญาเอก ให้ เป็ น ไปตามที่ ก ำหนดไว้ ใ น
หลักสูตร
20.1.3.1 นั ก ศึ ก ษาที่ ส ำเร็ จ การศึ ก ษาปริ ญ ญาตรี ห รื อ
ประกาศนียบัตรบัณฑิต ใช้ระยะเวลาศึกษาจนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 6 ภาคการศึกษาปกติ แต่ไม่
เกิน 16 ภาคการศึกษาปกติ ทั้งนี้ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
20.1.3.2 นั ก ศึก ษาที่ ส ำเร็จการศึ กษาปริญ ญาโท หรือ
ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ใช้ระยะเวลาศึกษาจนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 4 ภาคการศึกษาปกติ
แต่ไม่เกิน 12 ภาคการศึกษาปกติทั้งนี้ไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
20.2 การสอนนอกเวลาราชการ ให้ใช้หลักเกณฑ์ต่อไปนี้
20.2.1 ห ลั ก สู ต รป ระกาศนี ยบั ต รบั ณ ฑิ ตและห ลั ก สู ต ร
ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ให้ใช้ระยะเวลาศึกษาตามหลักสูตรจนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 3 ภาค
การศึกษาแต่ไม่เกิน 9 ภาคการศึกษา ทั้งนี้ไม่เกิน 3 ปีการศึกษา
20.2.2 หลักสูตรปริญญาโทให้ใช้ระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตร
จนสำเร็ จ การศึ ก ษาอย่ างน้ อ ย 4 ภาคการศึ ก ษา แต่ ไม่ เกิ น 15 ภาคการศึ ก ษา ทั้ งนี้ ไม่ เกิ น 5 ปี
การศึกษา
20.2.3 หลั ก สู ต รปริ ญ ญาเอก ให้ เป็ น ไปตามที่ ก ำหนดไว้ ใ น
หลักสูตร
20.2.3.1 นั ก ศึ ก ษาที่ ส ำเร็ จ การศึ ก ษาปริ ญ ญาตรี ห รื อ
ประกาศนียบัตรบัณฑิต ใช้เวลาศึกษาจนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 9 ภาคการศึกษา แต่ไม่เกิน 24
ภาคการศึกษา ทั้งนี้ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
20.2.3.2 นั ก ศึ ก ษาที่ ส ำเร็ จ การศึ ก ษาปริญ ญาโทหรื อ
ประกาศนียบัตรบัณฑิตบัณฑิตชั้นสูง ใช้เวลาศึกษาจนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 6 ภาคการศึกษา แต่
ไม่เกิน 18 ภาคการศึกษา ทั้งนี้ไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
ทั้งนี้ การนับภาคการศึกษา ให้นับตั้งแต่ภาคเรียนแรกที่เข้าศึกษา
ข้อ 21 ระยะเวลาการขอขยายเวลาการเผยแพร่ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์
กรณี นั ก ศึ ก ษาระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาเรี ย นครบหลั ก สู ต รและหรื อ สอบวั ด
คุณ สมบั ติผ่ าน และได้ส่ งดุษ ฎีนิ พนธ์ห รือวิ ทยานิ พนธ์ฉบั บสมบู รณ์ ให้ บัณ ฑิ ตวิท ยาลั ยแล้ ว แต่ไม่
สามารถส่งผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์เพื่อตีพิมพ์หรือตอบรับให้ตีพิมพ์ได้ทันภายในระยะเวลา
ของหลักสูตรที่ศึกษา ให้มหาวิทยาลัยขยายเวลารอตีพิมพ์หรือตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการตาม
ประกาศของมหาวิทยาลัยได้อีก 1 ปีการศึกษาสำหรับการศึกษาระดับปริญญาโท และขยายเวลาได้อีก
3 ปีการศึกษาสำหรับการศึกษาระดับปริญญาเอก
ข้อ 22 จำนวนและคุณวุฒิอาจารย์
22.1 การเปิ ด สอนหลั ก สู ต รระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาต้ อ งมี อ าจารย์ ป ระจำ
หลั กสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้นจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน ซึ่งแต่งตั้งโดย
67

อธิการบดี โดยสามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้หลายหลักสูตรในเวลาเดียวกัน แต่ต้องเป็น


หลั ก สู ต รที่ อ าจารย์ นั้ น มี คุ ณ วุ ฒิ ต รงหรือสั ม พั น ธ์กั บ สาขาวิ ช าของหลั ก สู ตร ทั้ งนี้ อ าจารย์ ป ระจำ
หลักสูตรต้องเป็นอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาประจำ ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 61.1.1 หรือ อาจารย์ระดับ
บัณฑิตศึกษาผู้ช่วยที่มีคุณสมบัติตามข้อ 61.2.1
การเปลี่ ย นแปลงอาจารย์ป ระจำหลั กสู ต รต้ อ งได้ รับ ความเห็ น ชอบจาก
คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะหรือคณะกรรมการบัณฑิต ศึกษาระหว่างคณะโดยผ่านการ
พิ จ ารณาเสนอจากอาจารย์ ผู้ รั บ ผิ ด ชอบหลั ก สู ต รและได้ รั บ อนุ มั ติ จ ากคณะกรรมการบริ ห าร
บัณฑิตศึกษา โดยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
ให้ อ าจารย์ ป ระจำหลั ก สู ต ร กำหนดระบบการประกั น คุ ณ ภาพสำหรั บ
หลักสูตรนั้นไว้ให้ชัดเจน โดยใช้ระบบการประกันคุ ณภาพหลักสูตรของมหาวิทยาลัย หรือระบบการ
ประกันคุณภาพการศึกษาระบบอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัยและมีการควบคุมมาตรฐาน
คุณภาพและจัดทำรายงานตามแนวทางการประกันคุณภาพที่กำหนดไว้ ทั้งนี้อย่างน้อยแต่ละสาขาวิชา
ต้องทำรายงานประเมินตนเองปีละ 1 ครั้งเสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัยพร้อมสำเนาให้มหาวิทยาลัย
ให้ อาจารย์ป ระจำหลั ก สู ต รจัด ให้ มี ก ารประเมิ น และปรั บ ปรุงมาตรฐาน
คุณภาพการศึกษาอย่างน้อยทุกๆ 5 ปี
22.2 ในแต่ล ะหลั กสู ต รสาขาวิ ช าที่ เปิ ด สอนต้ อ งมี อ าจารย์ผู้ รับ ผิ ด ชอบ
หลักสูตร จำนวนอย่างน้อย 5 คนกรณีเป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรหรือหลักสูตรประกาศนียบัตร
ชั้น สู ง และจำนวนอย่างน้ อย 3 คนกรณี เป็นหลั กสูตรปริญ ญาโท หรือหลัก สู ตรปริญ ญาเอก ทั้งนี้
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต้องเป็นอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาประจำที่มีคุณสมบัติตามข้อ 61.1.1
ข้ อ 23 ให้ อ ธิ ก ารบดี แ ต่ งตั้ ง คณะกรรมการบริ ห ารหลั ก สู ต ร ซึ่ งประกอบด้ ว ยอาจารย์
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตรจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน ทั้งนี้องค์ประกอบ การ
ได้มาการดำรงตำแหน่งให้เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัย
ข้อ 24 อำนาจและหน้ าที่ของคณะกรรมการบริห ารหลักสู ตร ให้ เป็นไปตามประกาศของ
มหาวิทยาลัย

หมวด 5
การรับเข้าเป็นนักศึกษาและสภาพนักศึกษา

ข้อ 25 คุณวุฒิและคุณสมบัติของผู้สมัครเข้าเป็นนักศึกษา
25.1 หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต ผู้สมัครเข้าศึกษาจะต้องเป็นผู้สำเร็จ
การศึ ก ษาปริ ญ ญาตรี ห รื อ เที ย บเท่ า จากมหาวิ ท ยาลั ย หรื อ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาที่ ส ำนั ก งาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษารับ รองและต้องมีคุณ สมบัติอื่นเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการบริห าร
หลักสูตรและมหาวิทยาลัยกำหนด
25.2 หลักสูตรปริญญาโทผู้สมัครเข้าศึกษาจะต้องสำเร็จการศึ กษาปริญญา
ตรีหรือเทียบเท่าหรือประกาศนี ยบัต รบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่ส ำนักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษารับ รองและเป็นผู้มีคุณสมบัติอื่นเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการบริหาร
หลักสูตรและมหาวิทยาลัยกำหนด
68

25.3 หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ผู้สมัครเข้าศึกษาจะต้องสำเร็จ


การศึ ก ษาปริ ญ ญาโทหรื อ เที ย บเท่ า จากมหาวิ ท ยาลั ย หรื อ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาที่ ส ำนั ก งาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษารั บรองและเป็นผู้มีคุณสมบัติอื่นเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการบริหาร
หลักสูตรและมหาวิทยาลัยกำหนด
25.4 หลักสูตรปริญญาเอก
25.4.1 ผู้สมัครเข้าศึกษาจะต้องสำเร็จการศึกษาปริญญาโทหรือ
เทียบเท่าหรือประกาศนียบัตรบัณฑิตขั้นสูงหรือเทียบเท่า จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่
สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษารั บ รองและเป็ น ผู้ มี คุ ณ สมบั ติ อื่ น เพิ่ ม เติ ม ตามที่ ค ณะ
กรรมการบริหารหลักสูตรและมหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
25.4.2 ผู้สมัครเข้าศึกษาจะต้องเป็นผู้สำเร็จ การศึกษาปริญญาตรี
หรื อ เที ย บเท่ า และต้ อ งมี ผ ลการเรี ย นไม่ ต่ ำ กว่ า เกรดเฉลี่ ย 3.50 จากมหาวิ ท ยาลั ย หรื อ
สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาที่ ส ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษารั บ รองในสาขาที่ เกี่ ย วข้ อ ง หรื อ
ประกาศนียบัตรบัณฑิต หรือเทียบเท่าหรือสาขาที่ สัมพันธ์กันกับหลักสูตรที่เข้าศึกษาและมีพื้ นความรู้
ความสามารถและศักยภาพเพีย งพอที่จะทำดุษฎีนิพ นธ์ได้ห รือมีคุณ สมบัติอื่ น เพิ่มเติมตามที่ คณะ
กรรมการบริหารหลักสูตรและมหาวิทยาลัยกำหนด
25.4.3 ต้ อ งไม่ เป็ น ผู้ พ้ น สภาพจากการเป็ น นั ก ศึ ก ษาตามข้ อ
45.4.10, 45.4.11, 45.4.12 และข้อ 45.4.13
ข้อ 26 วิธีการรับผู้สมัครเข้าเป็นนักศึกษา
26.1 การรับสมัครเข้าเป็นนักศึกษาใช้วิธีการคัดเลือกตามที่มหาวิทยาลัย
กำหนด
26.2 มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาอนุมัติให้รับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยหรือ
สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาอื่ น ลงทะเบี ย นศึ ก ษารายวิ ช าเพื่ อ นำหน่ ว ยกิ ต ไปคิ ด รวมกั บ หลั ก สู ต รของ
สถาบันการศึกษาที่ตนสังกัดได้ โดยต้องชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาและหน่วยกิตตามระเบียบการ
รับและจ่ายเงินค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงการศึกษาการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและระเบียบ
หรือประกาศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัย
26.3 มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาอนุมัติให้บุคคลภายนอกที่มี คุณสมบัติตาม
ข้อ 25 ลงทะเบี ย นศึ ก ษารายวิช าได้ โดยต้ อ งปฏิ บั ติ ต ามข้ อ บั งคั บ ระเบี ย บหรือ ประกาศอื่ น ๆ ที่
เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัย
ข้อ 27 การขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
27.1 ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาจะมีสภาพเป็ นนักศึกษาต่อเมื่อ
ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาแล้ว
27.2 ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาต้องขึ้นทะเบียนนักศึกษาด้วย
ตนเอง หรื อโดยวิธีก ารที่ ม หาวิท ยาลั ยกำหนดโดยแสดงหลั ก ฐานที่ ม หาวิท ยาลั ย กำหนดต่ อนาย
ทะเบียนมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งชำระเงินตามการรับและจ่ายเงิน ค่าธรรมเนียม และค่าบำรุงการศึกษา
การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตามวัน เวลาและสถานที่ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
27.3 ผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาที่ไม่มาขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
ตามวัน เวลา และสถานที่ที่มหาวิทยาลัยกำหนด จะหมดสิทธิ์ขึ้นทะเบียนนักศึกษา เว้น แต่จะได้แจ้ง
69

เหตุขัดข้องให้บัณฑิตวิทยาลัยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในวันที่กำหนดให้มารายงานตัวและเมื่อ
ได้รับอนุมัติแล้วต้องมารายงานตัวภายใน 7 วันนับจากวันสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยกำหนดรายงานตัว
27.4 ผู้ ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาระบบในเวลาราชการจะขึ้ น
ทะเบียนเป็นนักศึกษาเข้าศึกษาในสาขาวิชาเกิ นกว่าหนึ่งสาขาวิชาในปีการศึกษาเดียวกันไม่ได้ แต่
นักศึกษาที่ศึกษาสาขาวิชาหนึ่ งในระบบในเวลาราชการอาจขึ้นทะเบียนนักศึกษาเข้าศึกษาสาขาวิชา
อื่นในระบบนอกเวลาราชการได้อีกไม่เกินหนึ่งสาขาวิชา
27.5 ผู้ ที่ ไ ด้ ขึ้ น ทะเบี ย นเป็ น นั ก ศึ ก ษาและได้ ช ำระเงิ น ค่ า ธรรมเนี ย ม
การศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดแล้ว มหาวิทยาลัยจะไม่คืนเงินให้ เว้นแต่
มีเหตุจำเป็น โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารบัณฑิตศึกษา
ข้อ 28 สภาพนักศึกษาและการเปลี่ยนสภาพนักศึกษา
28.1 นักศึกษาจะมีสภาพใดสภาพหนึ่งต่อไปนี้
28.1.1 นั ก ศึ ก ษาที่ ได้ รั บ การคั ด เลื อ กเข้ า ศึ ก ษาในหลั ก สู ต รใด
หลักสูตรหนึ่ง
28.1.2 นั ก ศึ ก ษาที่ ม หาวิ ท ยาลั ย รั บ เข้ า ทดลองศึ ก ษาในภาค
การศึ ก ษาแรกของปี ก ารศึ ก ษา ตามเงื่ อ นไขที่ ก ำหนดขึ้ น เฉพาะคราวที่ ได้ รั บ การพิ จ ารณาจาก
คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา ประจำคณะหรือคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาระหว่างคณะ และได้ รับ
อนุมัติจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
28.1.3 นั ก ศึ ก ษาที่ ไ ด้ รั บ การคั ด เลื อ กและอนุ มั ติ จ ากคณ ะ
กรรมการบริหารหลักสูตร ให้ลงทะเบียนศึกษารายวิชาตามข้อ 26.3
28.2 นักศึกษาตามข้อ 28.1.2 ที่เข้าศึกษาในภาคการศึกษาแรกและสอบได้
ระดั บ คะแนนเฉลี่ ย ไม่ ต่ ำ กว่ า 3.00 ให้ เปลี่ ย นสภาพเป็ น นั ก ศึ ก ษาตามข้ อ 28.1.1 ได้ ตั้ งแต่ ภ าค
การศึกษาถัดไป
ข้อ 29 การโอนหรือเทียบโอนหน่วยกิตรายวิชา
29.1 นั กศึกษาหลักสูตรระดับบัณ ฑิตศึกษาอาจจะโอนหน่วยกิตรายวิช า
หน่วยกิตดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระซึ่งยังไม่แล้วเสร็จในหลักสูตรระดับเดียวกันที่ได้
เคยศึกษามาแล้วจากการศึกษาในหลักสูตรอื่นหรือหลักสูตรเดียวกันในมหาวิทยาลัย หรือเทียบโอน
หน่วยกิตรายวิชาจากสถาบันการศึกษาอื่นที่สำนักงานคณะกรรมการการอุ ดมศึกษารับรองได้โดยให้
ปฏิบัติตามระเบียบการโอนผลการเรียน การเทีย บโอนผลการเรียนและการเทียบโอนความรู้ทักษะ
และประสบการณ์ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย
29.2 การโอนหรือเทียบโอนหน่วยกิตรายวิ ชาต้องได้รับความเห็นชอบจาก
คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะหรือคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาระหว่างคณะและได้รับอนุมัติ
จากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
ข้อ 30 การเปลี่ยนสาขาวิชาและรูปแบบการศึกษา
30.1 นักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกให้ศึกษาในสาขาวิชาหนึ่งสามารถเปลี่ยน
สาขาวิช าใหม่ ได้โดยความเห็ นชอบจากประธานกรรมการบริห ารหลั กสูตรใหม่และคณะกรรมการ
บัณฑิตศึกษาประจำคณะหรือคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาระหว่างคณะ และได้รับอนุมัติจากคณะ
กรรมการบริหารบัณฑิตศึกษา
70

30.2 ระยะเวลาการศึ กษาของนั กศึ กษาที่ เปลี่ ย นสาขาวิช าให้ นั บ ตั้ งแต่
เริ่มต้นเข้าศึกษาสาขาวิชาใหม่
30.3 การโอนหน่วยกิตรายวิชาอาจกระทำได้ตามข้อ 29
30.4 ในกรณี ที่ มี เหตุผ ลและความจำเป็นอย่างยิ่ง มหาวิทยาลั ยโดยการ
เสนอของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรคณะกรรมการบริหารบัณฑิตศึกษาอาจอนุมัติให้นักศึกษา
ระบบในเวลาราชการไปศึกษาระบบนอกเวลาราชการได้ ทั้งนี้นักศึ กษาจะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ
และระเบียบต่างๆ รวมทั้งชำระค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนักศึกษาระบบนอก
เวลาราชการ
30.5 นักศึกษาระบบนอกเวลาราชการอาจเปลี่ยนประเภทเป็นนักศึ กษา
ระบบในเวลาราชการได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารบัณฑิตศึกษา
71

หมวด 6
การลงทะเบียน

ข้อ 31 การลงทะเบียนเรียนในระบบไตรภาคและระบบจตุรภาค ให้เป็นไปตามประกาศของ


บัณฑิตวิทยาลัย
ข้อ 32 การลงทะเบียนเรียนสำหรับระบบทวิภาค ให้เป็นดังนี้
32.1 กำหนดวัน จำนวนหน่วยกิต และวิธีการลงทะเบียนเรียนรายวิชาใน
แต่ละภาคการศึกษาให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย
32.2 การลงทะเบียนเรียนรายวิชาจะสมบูรณ์ต่อเมื่อนักศึกษาได้ชำระเงิน
ตามระเบี ย บมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ ร้ อ ยเอ็ ด เรี ย บร้ อ ยแล้ ว ภายในกำหนดเวลาตามประกาศของ
มหาวิทยาลัย
32.3 นั กศึกษาที่ได้รับการคัดเลื อกเข้าศึกษาในภาคการศึกษาใดจะต้อง
ลงทะเบีย นเรียนรายวิ ช าในภาคการศึกษานั้นเป็นจำนวนหน่วยกิตไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่มหาวิทยาลั ย
กำหนด นักศึกษาที่ไม่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาอย่างสมบูรณ์ในภาคการศึกษาแรกที่ ได้รับการคัดเลือก
เป็ น นั ก ศึ ก ษาจะถู ก มหาวิ ท ยาลั ย คั ด ชื่ อ ออก เว้ น แต่ จ ะได้ รับ การอนุ มั ติ เป็ น กรณี พิ เศษจากคณะ
กรรมการบริหารบัณฑิ ตศึกษาและจะต้องดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาเพื่อรักษาสภาพ
นักศึกษาให้แล้วเสร็จภายในภาคการศึกษานั้น
32.4 นั ก ศึ ก ษาต้ อ งได้ รั บ อนุ มั ติ จ ากอาจารย์ ที่ ป รึ ก ษาดุ ษ ฎี นิ พ นธ์
วิท ยานิ พ นธ์ห รื อ อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษาการค้ น คว้าอิ ส ระในการเลื อ กเรีย นรายวิช าใดๆ ในแต่ ล ะภาค
การศึกษาก่อนการลงทะเบี ยนเรียนรายวิชา ในขณะที่ยังไม่ได้แต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎี นิพนธ์
วิทยานิพนธ์ห รืออาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ให้ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรทำ
หน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและจัดแผนการเรียนของนักศึกษา
32.5 ในกรณีที่มีความจำเป็น คณะกรรมการบริหารบัณฑิตศึกษาอาจอนุมัติ
ให้นักศึกษาระบบในเวลาราชการลงทะเบียนเรียนรายวิชาบางวิชาที่เปิดสอนสำหรับนักศึกษาระบบ
นอกเวลาราชการได้ หรืออนุ มัติให้นักศึกษาระบบนอกเวลาราชการ ลงทะเบีย นรายวิชาที่เปิดสอน
สำหรับนักศึกษาระบบในเวลาราชการได้ตามการเสนอของประธานกรรมการบริหารหลักสูตร หรือ
อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์วิทยานิพนธ์หรืออาจารย์ที่ปรึ กษาการค้นคว้าอิสระ ทั้งนี้นักศึกษาระบบ
ในเวลาราชการจะต้องชำระค่ า หน่ ว ยกิต เช่น เดี ยวกัน กับ นั กศึ กษาระบบนอกเวลาราชการ ส่ ว น
นักศึกษาระบบนอกเวลาราชการจะต้องชำระค่าหน่วยกิตอัตราเดียวกับนักศึ กษาระบบนอกเวลา
ราชการเท่านั้น
ข้อ 33 การลงทะเบียนเรียนรายวิชาโดยไม่นับหน่วยกิต (Audit)
นักศึกษาทุกสาขาวิชาอาจลงทะเบียนเรียนรายวิชาใดๆ โดยไม่นับหน่วยกิต
ได้ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
33.1 นั ก ศึ ก ษาที่ ล งทะเบี ย นรายวิ ช าโดยไม่ นั บ หน่ ว ยกิ ต ในแต่ ล ะภาค
การศึกษาอาจสอบหรือไม่สอบก็ได้
33.2 นั กศึกษาจะลงทะเบียนเรียนรายวิช าโดยไม่นับหน่วยกิตได้ต่ อเมื่อ
ได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้สอนรายวิชานั้นและต้องชำระค่าหน่วยกิตตามสาขาวิชากำหนด
72

33.3 ให้ ส ำนั ก วิ ช าการและประมวลผลบั น ทึ ก ในใบแสดงผลการเรี ย น


(Transcript) ตรงช่องผลการเรียนรายวิชาโดยไม่นับหน่วยกิตนั้นว่า “Au” เฉพาะผู้ที่มีเวลาเรียนไม่
น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดของรายวิชานั้น
ข้อ 34 การลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบันอุดมศึกษา
34.1 นักศึกษาจะขอลงทะเบียนเรียน ณ สถาบันอุดมศึกษาอื่นได้ต่อเมื่อ
ได้รับความเห็นชอบจากประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและได้รับอนุมัติจากคณบดีบัณฑิต
วิทยาลัย ตามเกณฑ์การอนุมัติ ดังนี้
34.1.1 รายวิชาที่หลักสูตรกำหนดมิได้เปิดสอนในมหาวิทยาลัยใน
ภาคการศึกษาและปีการศึกษานั้น
34.1.2 รายวิช าที่ส ถาบันอุ ดมศึกษาอื่นเปิ ดสอนต้องมี เนื้อหาที่
เทียบเคียงกันได้ หรือมีเนือ้ หาสาระครอบคลุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของรายวิชาในหลักสูตร
34.1.3 รายวิ ช าที่ เป็ น ประโยชน์ ต่อ การศึ ก ษาหรือ การทำดุ ษ ฎี
นิพนธ์ วิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ
34.2 ให้นำหน่วยกิต และผลการศึกษาของรายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียน
เรียนข้ามสถาบันอุดมศึกษาไปเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่นักศึกษาศึกษาอยู่
34.3 นักศึกษาต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ ายที่เพิ่มขึ้นตามที่สถาบันอุดมศึกษา
อื่นกำหนด
ข้อ 35 การขอถอน ขอเพิ่ม หรือของดรายวิชา ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย
ข้อ 36 การขอคืนค่าลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่ถอน ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย
ข้อ 37 การชำระค่าธรรมเนียมเพื่อรักษาสภาพนักศึกษา
นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาครบตามที่กำหนดในหลักสูตรแต่ยังไม่
สำเร็จการศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมเพื่อรักษาสภาพนักศึกษาทุกภาคการศึกษาตามที่มหาวิทยาลัย
กำหนดจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา
ข้อ 38 การลาพักการเรียน
38.1 นักศึกษาอาจยื่นคำร้องขออนุมัติลาพักการเรียนได้ในกรณีต่อไปนี้
38.1.1 ถูกเกณฑ์หรือระดมเข้ารับราชการทหารกองประจำการ
38.1.2 ทำวิ จั ย ในหลั ก สู ต รหรื อ ได้ รับ ทุ น แลกเปลี่ ย นนั ก ศึ ก ษา
ระหว่างประเทศ หรือได้รับทุนอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาซึ่งสาขาวิชาเห็นสมควรสนับสนุน
38.1.3 เจ็บป่วยจนต้องพักรักษาตัวเป็ นเวลานานเกินกว่าร้อยละ
20 ของเวลาเรี ย นทั้ ง หมดในภาคการศึ ก ษาตามคำสั่ ง ของแพทย์ โ ดยมี ใ บรั บ รองแพทย์ จ าก
สถานพยาบาลของทางราชการ หรือสถานพยาบาลของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลซึ่ง
เป็นของเอกชน ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
38.1.4 มีความจำเป็นส่ วนตัว โดยต้องได้ล งทะเบี ยนเรียนอย่าง
สมบูรณ์ในมหาวิทยาลัยมาแล้วอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา
38.2 ในการลาพักการเรียนให้คณบดีเป็นผู้อนุมัติ
38.3 การลาพักการเรียนตามข้อ 38.1 ให้ อนุมัติได้ครั้งละไม่เกิน 1 ภาค
การศึกษา ถ้านักศึกษายังมีความจำเป็นต้องลาพักการเรียนต่อไปให้ยื่นคำร้องขอลาพักการเรียนใหม่
73

ทั้งนี้ จะลาพักการเรียนได้ไม่เกิน 2 ภาคการศึกษาติดต่อกัน ในกรณีที่มีความจำเป็นให้คณบดีบัณ ฑิต


วิทยาลัยอาจพิจารณาอนุมัติการลาพักได้มากกว่า 2 ภาคการศึกษาติดต่อกัน
38.4 ในกรณีที่นักศึกษาได้รับอนุมัติให้ลาพักการเรียนตามข้อ 38.1.3 และ
38.1.4 ให้นับระยะเวลาที่ลาพักการเรียนรวมอยู่ในระยะเวลาการศึกษาด้วย
38.5 ในระหว่างที่ได้รับอนุมัติให้ ล าพักการเรี ยน นักศึกษาต้องชำระเงิน
ค่าธรรมเนียมรักษาสภาพนักศึกษาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด มิฉะนั้นจะพ้นจากสภาพนักศึกษา
38.6 นักศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ลาพักการเรียนทีจ่ ะกลับเข้าเรียน ต้องยื่นคำ
ร้องขอกลับ เข้าเรียนต่อคณะหรือบัณ ฑิ ตวิทยาลัย ทั้งนี้ จะต้องได้รับอนุมัติจากคณบดีห รือคณบดี
บัณฑิตวิทยาลัยแล้วแต่กรณี ก่อนกำหนดการลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์
ข้อ 39 การลาออก
นักศึกษาที่ประสงค์จะลาออกจากการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ให้ยื่น
คำร้องต่อบั ณฑิตวิทยาลัย การลาออกจะมีผ ลสมบู รณ์เมื่อนักศึกษาได้รับอนุมัติจากคณบดีบัณ ฑิ ต
วิทยาลัย

หมวด 7
การวัดและประเมินผลการศึกษา

ข้อ 40 การมีสิทธิเข้าสอบ
นักศึกษาต้องมีเวลาเรียนในรายวิชาหนึ่งๆ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 หรือ
เทียบเท่าของเวลาเรียนทั้งหมดของรายวิชานั้น จึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบในรายวิชานั้น
ข้อ 41 ระบบการให้คะแนนการเรียนรายวิชา
41.1 ระบบการให้ คะแนนของแต่ ล ะรายวิช าให้ กระทำเป็น ระบบระดั บ
คะแนนตัวอักษรซึ่งมีความหมายและระดับคะแนน ดังนี้
ระดับคะแนนตัวอักษร ความหมาย ระดับคะแนน
A ดีเยี่ยม (Excellent) 4.0
B+ ดีมาก (Very Good) 3.5
B ดี (Good) 3.0
C+ ดีพอใช้ (Fairly Good) 2.5
C พอใช้ (Fairly) 2.0
D+ อ่อน (Poor) 1.5
D อ่อนมาก (Very Poor) 1.0
F ไม่ผ่าน (Failed) 0

41.2 นอกจากการให้คะแนนเป็นแบบระดับคะแนนตัวอักษรตามข้อ 41.1


ในกรณีที่เห็นสมควรอาจกำหนดให้การประเมินผลรายวิชาโดยใช้ตัวอักษรนี้ไม่มีระดับคะแนนได้ ดังนี้
74

ตัวอักษร ความหมาย
S ผลการประเมินผ่านเกณฑ์ (Satisfactory)
U ผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ (Unsatisfactory)
I การประเมินผลยังไม่สมบูรณ์ (Incomplete)
W การงดเรียนโดยได้รับอนุมัติ (Withdrawn)
Au การลงทะเบียนเรียนโดยไม่นับหน่วยกิต (Audit)
R การเรียนรายวิชาช้ำหรือเรียนแทน (Repeated)
ทั้งนี้ การประเมินผลตัวอักษร U ถือเป็นตกในรายวิชานั้น
41.3 การประเมิ น ผลการสอบดุ ษ ฎีนิ พ นธ์ วิท ยานิพ นธ์และการค้ นคว้า
อิสระหลักสูตรปริญญาโทและหลักสูตรปริญญาเอกแล้วแต่กรณี ให้ใช้ระบบการประเมินเป็นตัวอักษร
ดังนี้
ตัวอักษร ความหมาย
E (Excellent) ดีเยี่ยม
G (Good) ดี
P (Passed) ผ่าน
F (Failed) ไม่ผ่าน
41.4 การให้ ระดั บ คะแนนตั ว อั กษร F ตามข้ อ 41.1 ให้ ก ระทำในกรณี
ต่อไปนี้
41.4.1 สอบตก
41.4.2 ขาดสอบประจำภาคโดยไม่ได้แจ้งอาจารย์ประจำรายวิชา
41.4.3 มีเวลาเรียนไม่ครบตามเกณฑ์ในข้อ 40
41.4.4 ทุจริตในการสอบ
41.4.5 นักศึกษาที่ได้รับการประเมินผลระดับคะแนนตัวอักษร I
แต่มิได้ดำเนินการขอประเมินผลเพื่อแก้ระดับคะแนนตัวอักษร I ให้เสร็จสิ้นภายในสัปดาห์ที่ 3 ของ
ภาคการศึกษาถัดไปที่นักศึกษามีสิทธิ์ลงทะเบียน
41.5 การให้ S หรือ U จะกระทำได้เฉพาะรายวิชาที่ไม่มีหน่วยกิต หรือมี
หน่วยกิต หรือกรณี ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและบัณฑิตวิท ยาลัยเห็นว่าไม่ควรรายงานผล
การศึกษาเป็ นแบบระดับคะแนนตัวอักษรที่มีระดับคะแนนและการประเมินผลการทำดุษฎีนิพนธ์
วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในแต่ละภาคการศึกษา โดยอาจารย์ที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการ
ควบคุมดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ
41.6 การให้ I ในรายวิชาใดให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย
41.7 การให้ W ในรายวิชาใดจะกระทำในกรณีต่อไปนี้
41.7.1 ได้รับอนุมัติให้งดเรียนรายวิชานั้นตามข้อ 35
41.7.2 ได้รับอนุมัติให้ลาพักการเรียนตามข้อ 38
41.7.3 ถูกสั่งพักการเรียนในภาคการศึกษานั้น
41.8 การให้ Au จะกระทำในกรณี ที่นักศึกษาได้รับอนุมัติใ ห้ ล งทะเบียน
เรียนรายวิชาโดยไม่นับหน่วยกิต ตามข้อ 33
75

41.9 การนับจำนวนหน่วยกิตเพื่อใช้ในการคำนวณหาระดับคะแนนเฉลี่ย
ให้ นั บ เฉพาะรายวิ ช าที่ มี ร ะบบการให้ ค ะแนนแบบระดั บ คะแนนตั ว อั ก ษร ในกรณี ที่ นั ก ศึ ก ษา
ลงทะเบียนเรียนซ้ำ หรือเรียนรายวิชาใดแทนในรายวิชาหนึ่ง ให้นับจำนวนหน่วยกิตและระดับคะแนน
ที่ได้ครั้งสุดท้ายไปใช้ในการคำนวณหาระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมเพียงครั้งเดียว
41.10 การนับจำนวนหน่วยกิตสะสมของนักศึกษาเพื่อให้ครบหลัก สูตร ให้
นับเฉพาะหน่วยกิตของรายวิชาที่สอบได้เท่านั้น
ข้อ 42 การคำนวณระดับคะแนนเฉลี่ย
42.1 ระดับคะแนนเฉลี่ยรายภาคการศึกษา ให้คำนวณจากผลการเรียนของ
นักศึกษาในภาคการศึกษานั้น โดยเอาผลรวมของผลคูณของจำนวนหน่วยกิตกับระดับคะแนนของแต่
ละรายวิชาเป็นตัวตั้ง หารด้วยจำนวนหน่วยกิตรวมของภาคการศึกษานั้น การคำนวณดังกล่าวให้ตั้ง
หารถึ งทศนิย ม 3 ตำแหน่ ง และให้ ปัดเศษเฉพาะทศนิยมที่ มีค่าตั้งแต่ 5 ขึ้นไปเฉพาะตำแหน่งที่ 3
เพื่อให้เหลือทศนิยม 2 ตำแหน่ง
42.2 ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ให้คำนวณจากผลการเรียนของนักศึกษา
ตั้งแต่เริ่ มเข้าศึก ษาในภาคการศึ กษาแรกจนถึงภาคการศึก ษาสุ ด ท้ าย โดยเอาผลรวมของผลคู ณ
ระหว่างจำนวนหน่วยกิตกับระดับคะแนนของแต่ละรายวิชาที่เรียนทั้งหมดเป็นตัวตั้ง หารด้วยจำนวน
หน่วยกิตทั้งหมด การคำนวณดังกล่าวให้ตั้งหารถึงทศนิยม 3 ตำแหน่งและให้ปัดเศษเฉพาะทศนิยมที่มี
ค่าตั้งแต่ 5 ขึ้นไป เฉพาะตำแหน่งที่ 3 เพื่อให้เหลือทศนิยม 2 ตำแหน่ง
ข้อ 43 การเรียนซ้ำหรือเรียนแทน
ในกรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตแล้ว มีระดับ
คะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.00 สามารถลงทะเบียนเรียนซ้ำรายวิชาที่สอบได้ต่ำกว่า B หรือจะเลือก
เรียนวิชาอื่นในหมวดเดี ยวกันและมีลักษณะเนื้อหาคล้ายคลึงแทนกันได้ ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพิ นิจของ
ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรและต้องได้รับอนุมัติจากประธานกรรมการบริหารหลักสูตร หรือ
ประธานกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะหรือประธานกรรมการบัณฑิตศึกษาระหว่างคณะ ผลการ
เรียนในรายวิชาเดิมจะถูกปรับเปลี่ยนเป็นตัวอักษร R
ในกรณีที่นักศึกษาสอบตกในรายวิชาใดต้องลงทะเบียนรายวิชานั้นซ้ำอีก
ครั้ง หรือในกรณีที่ได้ผลการเรียนเป็น D หรือ D+ หรือ C หรือ C+ อาจขอเรียนวิชานั้นซ้ำอีกครั้งหรือ
อาจเลือกเรียนรายวิชาอื่นในหมวดเดียวกันและมีลักษณะเนื้อหาคล้ายคลึงกันแทนกัน ได้ ทั้งนี้ให้อยู่ใน
ดุ ล ยพิ นิ จ ของประธานกรรมการบริ ห ารหลั ก สู ต รและต้ อ งได้ รั บ อนุ มั ติ จ ากประธานกรรมการ
บั ณ ฑิ ตศึ กษาประจำคณะ หรื อประธานกรรมการบั ณ ฑิ ตศึกษาระหว่างคณะ โดยผลการเรียนใน
รายวิชาเดิมจะถูกปรับเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ R
ข้อ 44 การเรียนเพื่อเปลี่ยนระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม
ในกรณี ที่นักศึกษาลงทะเบียนครบตามจำนวนหน่วยกิตแล้วและมีร ะดับ
คะแนนเฉลี่ยสะสมเกิน 3.00 นักศึกษาอาจขอเรียนรายวิชาเดิมเพื่อเปลี่ยนระดับคะแนนสะสมได้โดย
ได้รับ อนุ มัติจากประธานกรรมการบัณฑิต ศึกษาประจำคณะ หรือประธานกรรมการบัณฑิตศึกษา
ระหว่างคณะ ทั้งนี้ผลการเรี ยนในรายวิชาเดิมจะถูกเปลี่ยนเป็นตัวอักษร R และมหาวิทยาลัยจะใช้
ระดับคะแนนตัวอักษรผลการเรียนครั้งสุดท้ายแสดงไว้ในใบแสดงผลการเรียน
76

ข้อ 45 การพ้นสภาพนักศึกษา
นักศึกษาจะพ้นสภาพนักศึกษาในกรณีต่อไปนี้
45.1 ศึกษาครบถ้วนตามหลักสูตรและได้รับอนุมัติให้สำเร็จการศึกษา
45.2 ตาย
45.3 ลาออกโดยได้รับอนุมัติจากบัณฑิตวิทยาลัย
45.4 ถู กคั ด ชื่ อออกจากมหาวิท ยาลั ย โดยอธิก ารบดี สั่ งให้ นั ก ศึก ษาพ้ น
สภาพนักศึกษาในกรณีดังต่อไปนี้
45.4.1 ไม่ลงทะเบียนเรียนอย่างสมบูรณ์ในภาคการศึกษาแรกที่ขึ้น
ทะเบียนนักศึกษาตามข้อ 32.3
45.4.2 ไม่ชำระเงินเพื่อรักษาสภาพนักศึกษาตามข้อ 38.5
45.4.3 ไม่ลงทะเบียนเรียนอย่างสมบูรณ์ในภาคการศึกษาใดภาค
การศึกษาหนึ่ง
45.4.4 ขาดคุณวุฒิและคุณสมบัติตามข้อ 25 อย่างใดอย่างหนึ่ง
45.4.5 สอบประมวลความรู้ ครั้งที่ 3 ไม่ผ่ านสำหรับ นั ก ศึ กษา
ปริญญาโท
45.4.6 สอบวั ด คุ ณ สมบั ติ ครั้ ง ที่ 3 ไม่ ผ่ า น สำหรั บ นั ก ศึ ก ษา
ปริญญาเอก
45.4.7 เป็นนักศึกษาตามข้อ 26 มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม
ต่ำกว่า 3.00
45.4.8 ไม่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรภายในระยะเวลาตาม ข้อ 20
45.4.9 สอบดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ
ครั้งที่ 2 ไม่ผ่าน
45.4.10 รั บ จ้ า งทำหรื อ จ้ า ง หรื อ วานให้ ผู้ อื่ น ทำดุ ษ ฎี นิ พ นธ์
วิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ
45.4.11 ผลงานดุษฎี นิพ นธ์ วิทยานิ พนธ์ห รือการค้นคว้าอิส ระ
ส่วนใหญ่ซ้ำซ้อนกับผลงานวิชาการของผู้อื่น
45.4.12 ตกแต่ ง ข้ อ มู ล หรื อ การสร้ า งข้ อ มู ล ที่ ไ ม่ เป็ น ไปตาม
กระบวนการวิจัย
45.4.13 มี ค วามประพฤติ เสื่ อ มเสี ย อย่ า งร้ า ยแรงขณะที่ เป็ น
นักศึกษา
45.4.14 ทำผิดระเบียบมหาวิทยาลัยอย่างร้ายแรง
45.4.15 ไม่ได้ลงทะเบียนรายวิชาดุษ ฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ หรือ
การค้นคว้าอิสระ อย่างต่อเนื่องยกเว้นกรณีลาพักการเรียน
77

ข้อ 46 การคืนสภาพนักศึกษา
นั กศึกษาพ้ นสภาพนักศึกษาตามข้อ 45.4.2 และ 45.4.3 และ 45.4.15
สามารถยื่นคำร้องขอคืนสภาพการเป็นนักศึกษาได้ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณบดีบัณ ฑิต
วิ ท ยาลั ย และได้ รั บ อนุ มั ติ จ ากอธิ ก ารบดี โดยนั ก ศึ ก ษาต้ อ งชำระค่ า ธรรมเนี ย มตามร ะเบี ย บที่
มหาวิทยาลัยกำหนด

หมวด 8
การทำดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ

ข้อ 47 การลงทะเบี ย นดุ ษ ฎี นิ พ นธ์ วิท ยานิ พ นธ์ และการค้ น คว้าอิส ระจะกระทำได้ เมื่ อ
นักศึกษามีคุณสมบัติครบตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา
ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระแล้วแต่กรณี
นักศึกษาที่ลงทะเบียนดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้า อิสระครั้ง
แรก จะต้องดำเนินการสอบเค้าโครงให้แล้วเสร็จภายในภาคการศึกษาที่ลงทะเบียนครั้งแรก
47.1 นักศึกษาหลักสูตรปริญญาโทแผน ก แบบ ก1 หรือแผน ก แบบ ก2
และนักศึกษาหลักสูตรปริญญาโท แผน ข จะต้องลงทะเบียนวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระแล้วแต่
กรณี โดยมีจำนวนหน่ว ยกิตตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด และจะต้องดำเนินการสอบเค้าโครงให้แล้ว
เสร็จภายในภาคการศึกษาที่ลงทะเบียนครั้งแรก
47.2 สำหรับ นั ก ศึ ก ษาหลั ก สู ต รปริ ญ ญาเอกต้ อ งสอบผ่ า นการสอบวั ด
คุณสมบัติก่อน จึงจะมีสิทธิ์เสนอเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์
47.3 อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระต้อง
รายงานผลการประเมิน ความก้ าวหน้าการทำดุษ ฎี นิพ นธ์ วิท ยานิ พ นธ์ห รือการค้น คว้าอิ ส ระของ
นักศึกษา โดยให้ระดับคะแนนตัวอักษร S หรือ U ตามจำนวนหน่วยกิตที่ผ่านหรือไม่ผ่านเกณฑ์การ
ประเมิน ไปยังสำนักวิชาการและประมวลผลทุกภาคการศึกษา นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนซ้ำสำหรับ
จำนวนหน่วยกิตที่ได้ระดับคะแนนตัวอักษร U
การทำและการสอบเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ
ให้เป็นไปตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย
ข้อ 48 การสอบดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ
48.1 คุณสมบัติของนักศึกษาที่มี สิทธิ์ขอสอบดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์หรือ
การค้นคว้าอิสระ มีดังนี้
48.1.1 ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน สำหรับดุษฎีนิพนธ์ และวิทยานิพนธ์ไม่
น้อยกว่า 60 วัน สำหรับการค้นคว้าอิสระหลังจากคณะกรรมการสอบเค้าโครงเห็นชอบผลการสอบ
เค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระแล้ว
48.1.2 ลงทะเบียนรายวิชาตามหลักสูตรที่ศึกษาและได้ระดับคะแนนเฉลี่ย
สะสมนับถึงภาคการศึกษาที่ผ่านมาไม่น้อยกว่า 3.00
48.2 ได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์
หรือการค้นคว้าอิสระ
78

หลักเกณฑ์และวิธีการสอบดุษฎีนิพนธ์ วิท ยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ


ให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการบริหารบัณฑิตศึกษาโดยให้จัดทำเป็นประกาศมหาวิทยาลัย
48.3 การประเมิน ผลการสอบดุษ ฎี นิพ นธ์ วิท ยานิ พ นธ์ห รือ การค้ นคว้า
อิสระ
48.3.1 เมื่อการสอบดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ
เสร็จสิ้นแล้ว ให้คณะกรรมการสอบแสดงความคิดเห็นและลงมติตัดสินผลการสอบเป็นระดับตัวอักษร
“ดีเยี่ยม (Excellent)” “ดี (Good)” “ผ่าน (Passed)” หรือ“ไม่ผ่าน (Failed)”
48.3.2 ในกรณีที่นักศึกษาสอบไม่ผ่าน ให้ประธานกรรมการสอบ
ดุษ ฎี นิ พ นธ์ วิ ท ยานิ พ นธ์ หรื อ การค้ น คว้าอิ ส ระ แจ้ งให้ นั ก ศึ ก ษาปรับ ปรุงตามคำแนะนำภายใน
ระยะเวลาที่กำหนดและทำเรื่องขอสอบต่อคณะกรรมการสอบดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้า
อิส ระอีกครั้งเมื่อสิ้ น สุดระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยนักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมการสอบดุษฎี
นิพนธ์ วิทยานิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้การสอบดังกล่าวจะกระทำได้ไม่เกิน 2 ครั้ง
ข้อ 49 การสอบเค้าโครงและการสอบดุษ ฎี นิ พ นธ์ วิทยานิ พ นธ์ห รือการค้ นคว้าอิส ระให้
เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัย
ข้อ 50 การเขีย นดุ ษ ฎี นิ พ นธ์ วิท ยานิ พ นธ์ห รือการค้น คว้าอิ ส ระ ให้ เขียนเป็ น ภาษาไทย
หรือภาษาอังกฤษ ในกรณีที่เป็นภาษาอื่นที่มีความจำเป็นและมีเหตุผลสมควร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
อาจอนุมัติให้เขียนเป็นภาษาอื่นได้

หมวด 9
การสอบวัดความรู้ด้านภาษา การสอบประมวลความรู้ และการสอบวัดคุณสมบัติ

ข้อ 51 การสอบวัดความรู้ด้านภาษา
51.1 นักศึกษาทุกหลักสูตรในระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอกต้อง
สอบผ่านการสอบวัดความรู้ด้านภาษาที่ไม่ใช่ภาษาประจำชาติของตนอย่างน้อย 1 ภาษา การสอบวัด
ความรู้ด้านภาษาใดให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะ หรือคณะกรรมการ
บัณฑิตศึกษาระหว่างคณะ โดยการอนุมัติของคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
51.2 การสอบวัดความรู้ด้านภาษาตามข้อ 51.1 ให้บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง
คณะกรรมการสอบวัดความรู้ด้านภาษา ซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสม เพื่อ
การดำเนินการและควบคุมการสอบให้ได้มาตรฐาน
51.3 การยื่นสมัครสอบและเกณฑ์การสอบผ่าน ให้เป็นไปตามประกาศของ
มหาวิทยาลัย
51.4 มหาวิทยาลัยอาจยกเว้นการสอบวัดความรู้ด้านภาษาได้ตามเกณฑ์ที่
มหาวิทยาลัยกำหนด
ข้อ 52 การสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination)
นักศึกษาหลั กสู ตรปริญ ญาโท แผน ข จะต้องสอบประมวลความรู้โดยมี
หลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้
79

52.1 บั ณ ฑิ ต วิท ยาลั ย จะแต่ งตั้ งคณะกรรมการสอบประมวลความรู้ ซึ่ ง


ประกอบด้วยอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาที่มีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดเพื่อดำเนินการออก
และตรวจข้อสอบข้อเขียน และหรือการสอบปากเปล่า การควบคุมการสอบและการตรวจข้อสอบให้
ได้มาตรฐาน
52.2 บัณฑิตวิทยาลัยจะจัดให้มีการสอบประมวลความรู้ทุกภาคการศึกษา
ปกติ หรื อ อาจจั ด ในภาคฤดู ร้ อ นด้ ว ย วิ ธี ก ารและหลั ก เกณฑ์ ก ารสอบให้ อ ยู่ ใ นดุ ล พิ นิ จ ของ
คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะหรือคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาระหว่างคณะ โดยการอนุมัติ
ของคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
52.3 นักศึกษาที่มีสิทธิ์สอบประมวลความรู้ ต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้
52.3.1 ลงทะเบี ย นเรี ย นรายวิ ช าครบตามหลั ก สู ต รโดยไม่ นั บ
รายวิชาการค้นคว้าอิสระ และได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมนับถึงภาคการศึกษาที่ผ่านมาไม่น้อยกว่า
3.00
52.3.2 ผ่ านการประเมินจากคณะกรรมการบริห ารหลั กสู ตรว่า
สมควรเข้าสอบประมวลความรู้ได้
52.4 นักศึกษาที่ประสงค์จะสอบประมวลความรู้ต้องยื่นคำร้องขอสอบโดย
ผ่ านอาจารย์ ที่ป รึก ษาการค้น คว้าอิ ส ระและคณะกรรมการบริห ารหลั กสู ต รเพื่ อให้ คณบดีบั ณ ฑิ ต
วิทยาลัยอนุมัติ
52.5 นักศึกษาที่สอบประมวลความรู้ครั้งแรกไม่ผ่านมีสิทธิ์ที่จะสอบใหม่ได้
อีกไม่เกิน 2 ครั้ง
ข้อ 53 ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการสอบประมวลความรู้ มีจำนวนไม่น้อย
กว่ า 5 คน โดยการเสนอของประธานกรรมการบริ ห ารหลั ก สู ต ร ประกอบด้ ว ยประธาน
กรรมการบริ ห ารหลั ก สู ต ร เป็ น ประธานกรรมการ อาจารย์ ป ระจำหลั ก สู ต ร อาจารย์ ร ะดั บ
บัณฑิตศึกษาพิเศษที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก หรืออาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาประจำ เป็นกรรมการ
และให้ อาจารย์ประจำหลักสูตร เป็นกรรมการและเลขานุการเพื่อประเมินความรู้ด้านวิชาการของ
นักศึกษาศึกษาหลักสูตรปริญญาโท แผน ข ก่อนสำเร็จการศึกษา
ให้ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรเสนอชื่อคณะกรรมการสอบประมวลความรู้ต่อ
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยพิจารณาแต่งตั้ง
ข้อ 54 ให้คณะกรรมการสอบประมวลความรู้มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
54.1 ออกข้อสอบและตรวจให้คะแนนข้อเขียน
54.2 สอบปากเปล่าในเนื้อหาหรือรายวิชาของหลักสูตร (ถ้ามี)
ข้อ 55 ขั้นตอนการสอบประมวลความรู้ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย
ข้อ 56 การสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
นักศึกษาหลักสูตรปริญญาเอกจะต้องสอบวัดคุณสมบัติ โดยมีหลักเกณฑ์
ดังนี้
56.1 นักศึกษาที่มีสิทธิ์สมัครสอบวัดคุณสมบัติ ต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้
56.1.1 ลงทะเบี ย นเรี ย นรายวิ ช าครบตามหลั ก สู ต รโดยไม่ นั บ
รายวิชาดุษฎีนิพนธ์ และได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมนับถึงภาคการศึกษาที่ผ่านมาไม่น้อยกว่า 3.00
80

56.1.2 ผ่ านการประเมินจากคณะกรรมการบริห ารหลั กสู ตรว่า


สมควรเข้าสอบวัดคุณสมบัติได้
56.2 นั กศึกษาที่ ประสงค์จะสอบวัดคุณ สมบัติต้องยื่นคำร้องขอสอบโดย
ผ่ านอาจารย์ ที่ ป รึ ก ษาดุ ษ ฎี นิ พ นธ์ห ลั ก และคณะกรรมการบริ ห ารหลั ก สู ต รเพื่ อ ให้ ค ณบดี บั ณ ฑิ ต
วิทยาลัยอนุมัติ
56.3 นักศึกษาที่สอบวัดคุณสมบัติครั้งแรกไม่ผ่านมีสิทธิ์ที่จะสอบใหม่ได้อีก
ไม่เกิน 2 ครั้ง
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวัดคุณสมบัติให้แต่งตั้งสำหรับนักศึกษาเป็น
กลุ่มหรือนักศึกษาแต่ละรายก็ได้
ข้อ 57 การดำเนินการสอบวัดคุณสมบัติ ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย
ข้ อ 58 ให้ ค ณบดี บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย แต่ ง ตั้ งคณะกรรมการสอบวั ด คุ ณ สมบั ติ (Qualifying
Examination) มี จ ำนวนไม่น้ อ ยกว่า 5 คน โดยการเสนอของประธานกรรมการบริห ารหลั กสู ต ร
ประกอบด้วยประธานกรรมการบริห ารหลักสู ตร เป็นประธานกรรมการ อาจารย์ประจำหลักสูตร
อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาพิเศษที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก หรืออาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาประจำ
เป็นกรรมการ และให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลั กสูตร เป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อประเมินความรู้
ความสามารถของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาเอกก่อนสอบเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์
ข้อ 59 ให้คณะกรรมการสอบวัดคุณสมบัติมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
59.1 ออกข้อสอบและตรวจให้คะแนนข้อเขียน
59.2 สอบปากเปล่าในเนื้อหาของหลักสูตร (ถ้ามี)
ข้อ 60 ขั้นตอนในการสอบวัดคุณสมบัติให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย

หมวด 10
อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาและคณะกรรมการ

ข้ อ 61 ให้ อ ธิ ก ารบดี แ ต่ ง ตั้ ง ข้ า ราชการพลเรื อ นในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา หรื อ พนั ก งาน


มหาวิทยาลัยหรืออาจารย์ประจำตามสัญญา เป็นอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาประจำ หรืออาจารย์
ระดับบัณฑิตศึกษาผู้ช่วย และแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัยเป็นอาจารย์
ระดับ บั ณ ฑิ ตศึกษาพิ เศษได้ โดยความเห็ นชอบของคณะกรรมการบัณ ฑิตศึกษาประจำคณะหรือ
คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาระหว่างคณะ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยแล้วแต่กรณี
อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา มี 3 ประเภท ดังนี้
61.1 อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาประจำ
61.1.1 คุณสมบัติของอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาประจำ
61.1.1.1 มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ ำ
ปริญญาโทหรือเทีย บเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และมีผลงานวิชาการที่ไม่ใช่ ส่ วนหนึ่งของ
การศึกษาเพื่อรับปริญญา และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้ รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน
การพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการ ในรอบ 5 ปีย้อนหลัง
โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย หรือ
81

61.1.1.2 มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำ


ปริ ญ ญาโทหรื อ เที ย บเท่ า ที่ มี ต ำแหน่ ง ศาสตราจารย์ และมี ผ ลงานวิ ช าการที่ ไม่ ใช่ ส่ ว นหนึ่ งของ
การศึกษาเพื่อรับปริญญา และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลั กเกณฑ์ที่กำหนดใน
การพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการ ในรอบ 5 ปีย้อนหลัง
โดยอย่างน้อย 1 รายการ ต้องเป็นผลงานวิจัย หรือ
61.1.1.3 มี คุ ณ วุ ฒิ ป ริ ญ ญาเอกหรื อ เที ย บเท่ า และมี
ผลงานทางวิช าการภายหลั งสำเร็จการศึกษาอย่างน้ อย 1 รายการ ภายใน 2 ปี หรือ 2 รายการ
ภายใน 4 ปี หรือ 3 รายการ ภายใน 5 ปี
61.1.2 หน้าที่ของอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาประจำ
61.1.2.1 เป็นอาจารย์ประจำหลักสู ตรประกาศนียบัตร
บัณฑิต หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง หลักสูตรปริญญาโท หรือหลักสูตรปริญญาเอก
6 1 .1 .2 .2 เป็ น อ า จ า ร ย์ ผู้ รั บ ผิ ด ช อ บ ห ลั ก สู ต ร
ประกาศนียบัตรบัณฑิต หลักสูตรปริญญาโท
6 1 .1 .2 .3 เป็ น อ า จ า ร ย์ ผู้ รั บ ผิ ด ช อ บ ห ลั ก สู ต ร
ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง หรือหลักสูตรปริญญาเอก กรณีมีคุณสมบัติตามข้ อ 61.1.1.2 หรือข้อ
61.1.1.3
61.1.2.4 สอนรายวิชาในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง หลักสูตรปริญญาโท หรือหลักสูตรปริญญาเอก
61.1.2.5 เป็ น อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษาวิ ท ยานิ พ นธ์ หรื อ ที่
ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ในหลักสูตรปริญญาโท หรืออาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ในหลักสูตรปริญญา
เอก
61.1.2.6 เป็ น อาจารย์ ผู้ ส อบการค้ น คว้ า อิ ส ระ หรื อ
วิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์
61.1.2.7 เป็ น กรรมการสอบประมวลความรู้ หรือเป็ น
กรรมการสอบวัดคุณสมบัติ
61.2 อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาผู้ช่วย
61.2.1 คุณสมบัติของอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาผู้ช่วย
61.2.1.1 มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรื อเทียบเท่า และมี
ผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาและเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับ
การเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิช าการอย่าง
น้อย 3 รายการ ในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง อย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจยั หรือ
61.2.1.2 มี คุ ณ วุ ฒิ ขั้ น ต่ ำ ปริ ญ ญาโทหรื อ เที ย บเท่ า ใน
สาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือในสาขาวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอน
และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาและเป็นผลงานทางวิชาการที่
ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
อย่างน้อย 1 รายการ ในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง หรือ
82

61.2.1.3 มีคุณวุฒิ ขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่าหรือ


ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพั นธ์
กัน หรื อในสาขาวิช าของรายวิช าที่ ส อน และต้อ งมี ป ระสบการณ์ ด้ านการสอน และมี ผ ล งานทาง
วิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา และเป็ นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่
ตามหลั ก เกณฑ์ ที่ กำหนดในการพิ จารณาแต่ งตั้งให้ บุ คคลดำรงตำแหน่ งทางวิช าการอย่างน้ อย 1
รายการ ในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง หรือ
61.2.1.4 มี คุ ณ วุ ฒิ ป ริ ญ ญาเอกแต่ ยั ง ไม่ มี ผ ลงานทาง
วิชาการหลังสำเร็จการศึกษา
61.2.2 หน้าที่ของอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาผู้ช่วย
61.2.2.1 เป็นอาจารย์ประจำหลั กสูตรประกาศนียบัตร
บัณฑิต และหลักสูตรปริญญาโท กรณีมีคุณสมบัติตามข้อ 61.2.1.1
61.2.2.2 สอนรายวิชาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
หรือหลักสูตรปริญญาโท
61.2.2.3 สอนรายวิชาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
ชั้นสูง หรือหลักสูตรปริญญาเอก มีคุณสมบัติตามข้อ 61.2.1.3
61.3 อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาพิเศษ
61.3.1 คุณสมบัติของอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาพิเศษ
61.3.1.1 เป็นอาจารย์พิเศษที่มีคุณวุฒิขั้น ต่ำปริญญาเอก
หรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มี ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือ
สาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือในสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอน และมี
ผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา และเป็น ผลงานทางวิชาการที่ได้รับ
การเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่ าง
น้อย 1 รายการ ในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง หรือ
61.3.1.2 เป็นอาจารย์พิเศษที่มีคุณวุฒิ ขั้นต่ำปริญญาโท
หรือเทียบเท่าในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กั นหรือในสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้อง
มีประสบการณ์ด้านการสอน และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับปริญญาโท
และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่ก ำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้
บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการ ในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง หรือ
61.3.1.3 เป็นอาจารย์พิเศษที่มีคุณวุฒิ ขั้นต่ำปริญญาโท
หรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือ
61.3.1.4 เป็นอาจารย์พิเศษที่มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาตรี
หรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี หรือ
61.3.1.5 เป็ น ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ภ ายนอกมหาวิ ท ยาลั ย ที่ มี
คุ ณ วุ ฒิ ป ริ ญ ญาเอกหรื อ เที ย บเท่ า และมี ผ ลงานทางวิ ช าการที่ ไ ด้ รั บ การตี พิ มพ์ เ ผยแพร่ ใ น
วารสารวิชาการที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ หรือตรงหรือสัมพันธ์กับหั วข้อ
วิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หรือ
83

61.3.1.6 เป็ น ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ภ ายนอกมหาวิท ยาลั ย ที่ มี


คุ ณ วุ ฒิ ป ริ ญ ญาเอกหรื อ เที ย บเท่ า และมี ผ ลงาน ทางวิ ช าการที่ ไ ด้ รั บ การตี พิ ม พ์ เ ผยแพร่ ใ น
วารสารวิชาการที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูล ที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อ
ดุษฎีนิพนธ์ไม่น้อยกว่า 5 เรื่อง หรือ
61.3.1.7 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย ที่ไม่มี
คุณวุฒิและผลงานทางวิชาการแต่ต้องเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับ
ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านความเห็นชอบ
จากสภามหาวิทยาลัยและแจ้งให้คณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบ
61.3.1.8 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย ที่ไม่มี
คุณวุฒิและผลงานทางวิชาการแต่ต้องเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงมากเป็นที่
ยอมรับ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อดุษฎี นิพนธ์ วิทยานิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านความ
เห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยและแจ้งให้คณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบ
61.3.2 หน้าที่ของอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาพิเศษ
61.3.2.1 สอนรายวิชาหลัก สูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
หลั ก สู ต รประกาศนี ย บั ต รบั ณ ฑิ ต ชั้ น สู ง หลั ก สู ต รปริ ญ ญาโท และหลั ก สู ต รปริ ญ ญาเอก กรณี มี
คุณสมบัติตามข้อ 61.3.1.1
61.3.2.2 สอนในรายวิ ช าในหลั กสู ต รประกาศนี ยบั ต ร
บัณฑิต และหลักสูตรปริญญาโท กรณีมีคุณสมบัติตามข้อ 61.3.1.2
61.3.2.3 สอนรายวิชาในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง และหลักสูตรปริญญาโท กรณีมีคุณสมบัติตามข้อ 61.3.1.3
61.3.2.4 สอนรายวิชาในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
กรณีมีคณ ุ สมบัติตามข้อ 61.3.1.4
61.3.2.5 เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระร่วม หรือ
วิทยานิพนธ์ร่วม กรณีมีคุณสมบัติตามข้อ 61.3.1.5 ข้อ 61.3.1.6 ข้อ 61.3.1.7 หรือข้อ 61.3.1.8
61.3.2.6 เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ร่วม กรณี มี
คุณสมบัติตามข้อ 61.3.1.6 หรือ ข้อ 61.3.1.8
61.3.2.7 เป็ น อาจารย์ ส อบการค้ น คว้ า อิ ส ระ หรื อ
วิทยานิพนธ์ กรณีมีคุณสมบัติข้อ 61.3.1.5 ข้อ 61.3.1.6 ข้อ 61.3.1.7 หรือข้อ 61.3.1.8
61.3.2.8 เป็นอาจารย์สอบดุษฎีนิ พนธ์ หรือวิทยานิพนธ์
กรณีมีคุณสมบัติตามข้อ 61.3.1.6 หรือข้อ 61.3.1.8
61.3.2.9 เป็ น กรรมการสอบประมวลความรู้ หรือเป็ น
กรรมการสอบวัดคุณสมบัติ กรณีมีคุณสมบัติตามข้อ 61.3.1.5 หรือข้อ 61.3.1.6
ทั้งนี้อาจารย์บัณฑิตศึกษาพิเศษที่ทำหน้าที่สอนตามข้อ 61.3.1.1 ข้อ 61.3.1.2 ข้อ
61.3.1.3 และข้อ 61.3.1.4 จะต้องมีชั่วโมงการสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิช าโดยมีอาจารย์
ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น
84

ข้อ 62 ในการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมดุษฎีนิพนธ์ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้งตาม
ความเห็นชอบของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะหรือคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาระหว่าง
คณะที่เสนอโดยประธานกรรมการบริหารหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย
62.1 อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษาดุ ษ ฎี นิ พ นธ์ ห ลั ก ต้ อ งเป็ น อาจารย์ ร ะดั บ
บัณฑิตศึกษาประจำ
62.2 อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อย่างน้อย 1 คน อาจเป็น
อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาประจำ หรืออาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาพิเศษที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
สำหรับหลักสูตรปริญญาเอก แบบ 1 อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์หลักต้อง
มีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการในระดับนานาชาติ เป็นผลงานที่ชี้ชัดว่า
สามารถที่จะสนับสนุนการวิจั ยของนักศึกษาได้ และมีประสบการณ์ในการดูแลควบคุมวิทยานิพนธ์
หรือดุษฎีนิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษามาไม่น้อยกว่า 5 คน
ข้อ 63 อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์หลัก มีหน้าที่ดงั ต่อไปนี้
63.1 รั บ ผิ ด ชอบการทำเค้ า โครงและควบคุ ม การทำดุ ษ ฎี นิ พ นธ์ ข อง
นักศึกษาให้สอดคล้องกับเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ที่สอบผ่าน
63.2 ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาแก่นักศึกษาเกี่ยวกั บเนื้อหาทางทฤษฎี
แนวคิดและวิธีการศึกษาวิจัย รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
63.3 ให้ คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาแก่นักศึกษาเกี่ยวกับการเขียนดุษ ฎี
นิพนธ์และการใช้ภาษา
63.4 ติดตามการดำเนินงานวิจัยให้เป็นไปตามแผนงาน และเป็นกรรมการ
ประเมินผลความก้าวหน้าในการทำดุษฎีนิพนธ์ของนักศึกษา
63.5 ให้ความเห็นชอบในการขอสอบดุษฎีนิพนธ์ของนักศึกษา
63.6 เป็ น กรรมการสอบเค้าโครงและสอบดุ ษ ฎีนิ พ นธ์ ของนั กศึ กษาใน
ความดูแล
63.7 ให้คำแนะนำและคำปรึกษาในการตี พิมพ์เผยแพร่ผลงานดุษฎีนิพนธ์
ให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้และตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
63.8 ให้คำปรึกษาในการลงทะเบียนรายวิชาในแต่ละภาคเรียน
ข้อ 64 อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ร่วม มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
64.1 ร่ ว มรั บ ผิ ด ชอบและควบคุ ม การทำดุ ษ ฎี นิ พ นธ์ ข องนั ก ศึ ก ษาให้
สอดคล้องกับเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ที่สอบผ่านแล้ว
64.2 ร่วมให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาแก่นักศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาทาง
ทฤษฎี แนวคิดและวิธีการศึกษาวิจยั รวมทัง้ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
64.3 ร่วมให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาแก่นักศึกษาเกี่ยวกับการเขียนดุษฎี
นิพนธ์และการใช้ภาษา
64.4 ร่ ว มติ ด ตามการดำเนิ น งานวิ จั ย ให้ เป็ น ไปตามแผนงาน และเป็ น
กรรมการประเมินผลความก้าวหน้าการทำดุษฎีนิพนธ์
64.5 ให้ความเห็นชอบในการขอสอบดุษฎีนิพนธ์ของนักศึกษา
85

64.6 ร่วมเป็นกรรมการสอบเค้าโครงและสอบดุษฎีนิพนธ์ ของนักศึกษาใน


ความดูแล
64.7 ร่วมให้คำแนะนำและปรึกษาในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานดุษฎีนิพนธ์
ให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้และตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ข้อ 65 ในการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง
ตามความเห็ น ชอบของคณะกรรมการบั ณ ฑิ ตศึกษาประจำคณะหรือคณะกรรมการบัณ ฑิตศึกษา
ระหว่างคณะที่เสนอโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย
65.1 อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษาวิ ท ยานิ พ นธ์ ห ลั ก ต้ อ งเป็ น อาจารย์ ร ะดั บ
บัณฑิตศึกษาประจำ
65.2 อาจารย์ ที่ ป รึก ษาวิ ท ยานิ พ นธ์ ร่ว ม (ถ้ ามี ) ต้ อ งเป็ น อาจารย์ ระดั บ
บัณฑิตศึกษาประจำหรืออาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาพิเศษ ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
ข้อ 66 หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม
ให้นำข้อ 63 และ 64 มาใช้บงั คับโดยอนุโลม
ข้อ 67 ในการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้ าอิสระ ให้ประธานกรรมการบัณฑิตศึกษา
ประจำคณะหรื อ ประธานกรรมการบั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาระหว่ า งคณะ แต่ ง ตั้ ง ตามข้ อ เสนอของคณะ
กรรมการบริหารหลักสูตร ประกอบด้วย
67.1 อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษาการค้ น คว้ า อิ ส ระหลั ก ต้ อ งเป็ น อาจารย์ ร ะดั บ
บัณฑิตศึกษาประจำ
67.2 อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิส ระร่วม (ถ้ามี) ต้องเป็นอาจารย์ระดับ
บัณฑิตศึกษาประจำหรืออาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาพิเศษที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
ข้อ 68 หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ และอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ
ร่วม (ถ้ามี) ให้นำข้อ 63 และ 64 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 69 ภาระงานที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ
69.1 อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาประจำ 1 คน ให้เป็นอาจารย์ที่ป รึกษา
ดุษฎีนิพนธ์หลักหรือวิทยานิพนธ์หลัก ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
69.1.1 กรณีอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาประจำมีคุณวุฒิ ปริญญา
เอกหรือเทียบเท่า และมีผลงานทางวิชาการ ให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ของ
นักศึกษาระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอกรวมกันได้ไม่เกิน 5 คน ต่อภาคการศึกษา
69.1.2 กรณีอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาประจำมี คุณวุฒิ ปริญญา
เอกหรือเทียบเท่า และดำรงตำแหน่งระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ขึ้นไป หรือมีคุณวุฒิ ปริญญาโทหรือ
เทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการตามเกณฑ์ ให้เป็นอาจารย์ที่
ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอกรวมกันได้ไม่
เกิน 10 คน ต่อภาคการศึกษา
69.1.3 กรณีอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาประจำมีคุณวุฒิ ปริญญา
เอกหรือเทีย บเท่า และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ และมีความจำเป็นต้องดูแลนักศึกษาเกินกว่า
จำนวน 10 คน ต่อภาคการศึกษา ให้เสนอต่อสภามหาวิทยาลัยพิจารณา แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 15 คน
86

ต่อภาคการศึกษา หากมีความจำเป็นต้องดูแลนักศึกษาเกินกว่า 15 คน ให้ ขอความเห็ นชอบจาก


คณะกรรมการอุดมศึกษาเป็นรายกรณี
69.2 อาจารย์ร ะดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาประจำ ให้ เป็ น อาจารย์ ที่ ป รึก ษาการ
ค้นคว้าอิสระของนักศึกษาระดับปริญญาโทได้ไม่เกิน 15 คน ต่อภาคการศึกษา
หากเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ
ให้ คิ ด สั ด ส่ ว นจำนวนนั ก ศึ ก ษาที่ ท ำดุ ษ ฎี นิ พ นธ์ หรื อ วิ ท ยานิ พ นธ์ เที ย บได้ กั บ จำนวนนั ก ศึ ก ษาที่
ทำการค้นคว้าอิสระ จำนวน 3 คน แต่ทงั้ นี้ รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน ต่อภาคการศึกษา
ทั้งนี้ ภาระงานที่ปรึกษาทั้งดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระให้
นับรวมจำนวนนักศึกษาที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาโดยเริ่มนั บเมื่อเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์หรือ
การค้นคว้าอิสระ ของนักศึกษาได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัยแล้ว และสิ้นสุด
เมื่อนักศึกษาสอบผ่านดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระแล้ว
ข้ อ 70 ให้ ค ณบดี บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย แต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการสอบการค้ น คว้ า อิ ส ระ สอบ
วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ ดังนี้
70.1 กรณีการค้นคว้าอิสระและวิท ยานิพนธ์ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบ
ประกอบด้ ว ย อาจารย์ ร ะดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาประจำ และอาจารย์ ระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาพิ เศษที่ เป็ น
ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก รวมกันไม่น้อยกว่า 3 คน ทั้งนี้ ประธานกรรมการสอบต้ องไม่เป็นอาจารย์ที่
ปรึกษาการค้นคว้าอิสระหรืออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
70.2 กรณีดุษฎีนิพนธ์ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบ ประกอบด้วย อาจารย์
ระดับบัณฑิตศึกษาประจำ และอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาพิเศษที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ร่วมกัน
ไม่ น้ อ ยกว่ า 5 คน ทั้ งนี้ ป ระธานกรรมการสอบต้ อ งเป็ น อาจารย์ ร ะดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาพิ เศษที่ เป็ น
ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
ทั้ งนี้ ขั้ น ตอนในการทำการค้ น คว้าอิ ส ระ วิท ยานิ พ นธ์ หรือดุ ษ ฎี นิ พ นธ์
รวมทั้งการสอบเค้าโครงและการสอบการค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์ ให้เป็นไปตาม
ประกาศของมหาวิทยาลัย
87

หมวด 11
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ

ข้อ 71 ให้มหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ในกรณี


ที่มี ผู้ ก ล่ าวหาเป็ น ลายลั ก ษณ์ อัก ษรว่า นั กศึ กษาระดั บ บั ณ ฑิ ตศึ กษากระทำผิ ดทางจริยธรรมและ
จรรยาบรรณทางวิชาการเกี่ยวกับการทำการค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ ในกรณีใดกรณี
หนึ่งหรือหลายกรณี ดังนี้
71.1 การคัดลอกผลงานวิชาการของผู้ อื่น โดยไม่มีการอ้างอิงหรือปกปิด
แหล่งที่มาหรือการเสนอแนวคิด
71.2 ผลงานส่วนใหญ่ซ้ำซ้อนกับผลงานวิชาการของผู้อื่น
71.3 การตกแต่งข้อมูลหรือการสร้างข้อมูลที่ไม่เป็นไปตามกระบวนการวิจัย
71.4 การจ้าง หรือวานให้ผู้อื่นช่วยทำ หรือทำแทนตนหรือมอบให้ผู้อื่นทำ
แทนนอกเหนือจากงานที่ได้ระบุไว้ในเค้าโครงการค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ที่ได้รับ
อนุมัติแล้ว และการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์หรือนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ ทั้งนี้ไม่รวมถึงการ
เก็ บ รวมข้ อ มู ล การประมวลผลข้ อ มู ล การวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล และการเขี ย นบทคั ด ย่ อ เป็ น
ภาษาต่างประเทศ
ข้ อ 72 ให้ อ ธิ ก ารบดี แ ต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการจริ ย ธรรมและจรรยาบรรณทางวิ ช าการ
ประกอบด้วย
72.1 คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
เป็นประธานกรรมการ
72.2 คณบดีหรือรองคณบดีที่นักศึกษาสังกัด เป็นกรรมการ
72.3 คณบดีที่เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษาจำนวน 1 คน เป็นกรรมการ
72.4 รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย เป็นกรรมการและเลขานุการ
72.5 นิติกร มหาวิทยาลัย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ 73 ให้คณะกรรมการจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
73.1 เรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำเป็นลายลักษณ์อักษร
73.2 เรียกเอกสารที่อยู่ในการครอบครองของบุคคลอื่นหรือหน่วยงานใน
สังกัดมหาวิทยาลัย
73.3 รวบรวมพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
73.4 สรุปผลการสอบหาข้อเท็จจริงและเสนอบทลงโทษต่ออธิการบดี
ข้อ 74 คณะกรรมการจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาได้
ชี้แจงข้อเท็จจริงด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษร และนำพยานบุคคลหรือพยานเอกสารมาชี้แจงข้อ
กล่าวหาด้วย
ข้อ 75 ให้คณะกรรมการจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ดำเนิน การให้แล้วเสร็จ
ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งจากอธิการบดี
กรณีที่ไม่สามารถสอบหาข้อเท็จจริงได้ความตามวรรคหนึ่ง ให้ทำเรื่องขอ
ขยายเวลาดำเนินการได้อีกไม่เกิน 30 วัน
88

ข้อ 76 ให้คณะกรรมการจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการสรุปผลการสอบและเสนอ
ลงโทษตามควรแก่กรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้
76.1 กรณีที่นักศึกษาไม่ได้จงใจ หรือละเลยการดำเนินการตามขั้นตอนของ
การค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนพิ นธ์ อาจเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง แล้วรายงาน
ให้ดำเนินการสอบใหม่อีกครั้ง
76.2 กรณีที่นักศึกษาจงใจกระทำผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณทาง
วิชาการ อาจเสนอให้ปรับการสอบการค้นคว้ าอิสระ วิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์เป็น “ตก” หรือให้
ยกเลิกการทำการค้นคว้าอิ สระ วิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์ นักศึกษาจะต้องเสนอหัวข้อเรื่องใหม่
ต่อไป
76.3 กรณีที่นักศึกษากระทำผิดจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตาม
ข้อ 71.2 ข้อ 71.3 หรือ ข้อ 71.4 อาจเสนอให้มหาวิทยาลัยคัดชื่อพ้นสภาพนักศึกษา
76.4 กรณี ที่ ต รวจพบว่ า ได้ ก ระทำผิ ด จริ ย ธรรมและจรรยาบรรณทาง
วิชาการหลังจากได้รับอนุมัติปริญญาไปแล้ว
76.4.1 กรณีทำความผิดตามข้อ 71.1 ให้เรียกนักศึกษามาปรับแก้
ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลา 60 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากมหาวิทยาลัย
76.4.2 กรณี ทำความผิ ดตามข้อ 71.2 ข้อ 71.3 หรือ ข้อ 71.4
โดยตรวจพบหลังจากสำเร็จการศึกษาไปแล้ว ให้มหาวิทยาลัยทำเรื่องเสนอสภามหาวิทยาลัยถอดถอน
ปริญญาบัตร
ข้อ 77 เมื่ออธิการบดีสั่งลงโทษตามข้อ 76 แล้ว ให้แจ้งผลการลงโทษเป็นลายลักษณ์อักษรให้
ผู้ถูกลงโทษทราบภายใน 7 วันทำการ
ข้อ 78 ผู้ถูกลงโทษตามข้อ 76 มีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อมหาวิทยาลัย ภายใน 30 วัน นับจากวันที่
ทราบคำสั่งลงโทษนั้น

หมวด 12
การสำเร็จการศึกษา การรับปริญญา หรือประกาศนียบัตร

ข้อ 79 นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาให้ยื่นคำร้องขอสำเร็จการศึกษาที่สำนักวิชาการ
และประมวลผล ภายในระยะเวลาที่กำหนดและต้องมีคุณสมบัติดงั นี้
79.1 หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต และประกาศนียบัตรชั้นสูง
79.1.1 มีระยะเวลาศึ ก ษาตลอดหลั ก สู ตรตามข้อ 20.1.1 หรือ
20.2.1
79.1.2 ศึกษารายวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามโครงสร้างของหลักสูตร
79.1.3 ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
79.1.3 ผ่านข้อกำหนดอื่นตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด
79.2 หลักสูตรปริญญาโท
89

79.2.1 มีระยะเวลาศึกษาตลอดหลั กสู ตร ตามข้อ 20.1.2 หรือ


20.2.2
79.2.2 ศึกษารายวิชาต่างๆครบถ้วนตามโครงสร้างของหลักสูตร
79.2.3 ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
79.2.4 สอบผ่านการสอบวัดความรู้ด้านภาษาที่ไม่ใช่ภาษาประจำ
ชาติตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
79.2.5 หลักสูตรปริญญาโท แผน ก
แผน ก แบบ ก 1 ต้องสอบผ่านการสอบวิทยานิพนธ์และผลงาน
วิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่ งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อ ยได้รับการยอมรับให้
ตี พิ ม พ์ ในวารสารระดั บ ชาติ หรื อ ระดั บ นานาชาติ ที่ มี คุ ณ ภาพตามประกาศคณะกรรมการการ
อุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
แผน ก แบบ ก 2 ต้องสอบผ่านการสอบวิทยานิพนธ์และผลงาน
วิทยานิพนธ์หรือส่ วนหนึ่งของวิ ทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้
ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง
หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อ
ที่ป ระชุม วิช าการโดยบทความที่ น ำเสนอฉบั บ สมบู รณ์ (Full Paper) ได้รับ การตี พิ มพ์ ในรายงาน
สืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว
79.2.6 หลั ก สู ต รปริ ญ ญาโท แผน ข ต้ อ งสอบผ่ า นการสอบ
ประมวลความรู้และผ่านการสอบการค้นคว้าอิส ระและผลงานการค้นคว้าอิส ระหรือส่วนหนึ่งการ
ค้ น คว้ า อิ ส ระ ต้ อ งได้ รั บ การเผยแพร่ ใ นลั ก ษณะใดลั ก ษณะหนึ่ ง ที่ สื บ ค้ น ได้ ตามประกาศของ
มหาวิทยาลัย
79.2.7 ผ่านข้อกำหนดอื่นตามที่ แต่ละหลักสูตรและมหาวิทยาลัย
กำหนด
79.2.8 ส่งวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระฉบับสมบูรณ์
79.3 หลักสูตรปริญญาเอก
79.3.1 มีระยะเวลาศึกษาตลอดหลั กสู ต ร ตามข้ อ 20.1.3 หรือ
20.2.3
79.3.2 ศึกษารายวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามโครงสร้างของหลักสูตร
79.3.3 ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
79.3.4 สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ
79.3.5 มีผลการสอบภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการ
อุดมศึกษากำหนด
79.3.6 สอบผ่านการสอบดุษฎีนิพนธ์และผลงานดุษฎีนิพนธ์ต้อง
ได้รับการเผยแพร่ ดังนี้
แบบ 1 ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่ วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ต้องได้รับ
การตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตี พิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือระดับนานาชาติที่มี
90

คุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุ ดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารวิชาการ


สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง
แบบ 2 ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ต้องได้รับ
การตีพิมพ์ หรืออย่างน้ อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือระดับนานาชาติที่มี
คุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารวิ ชาการ
สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
79.3.7 ผ่านข้อกำหนดอื่นตามที่แต่ละหลักสูตรและมหาวิทยาลัย
กำหนด
79.3.8 ส่งดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์
ข้อ 80 การขอรับปริญญาหรือประกาศนียบัตร
80.1 นักศึกษาที่จะได้รับการพิจารณาเสนอชื่อเพื่อขออนุมัติปริญญาหรือ
ประกาศนียบัตรต่อสภามหาวิทยาลัยต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
80.1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษา ตามข้อ 79
80.1.2 ไม่ค้างชำระค่าธรรมเนียม หรือค่าหน่วยกิต หรือมีหนี้สิน
กับมหาวิทยาลัย
80.1.3 เป็นผู้ที่ไม่อยู่ในระหว่างการดำเนินการทางวินัยนักศึกษา
80.2 ให้คณะกรรมการบริหารบัณฑิตศึกษารับรองรายชื่อผู้สำเร็จการศึกษา
แล้วเสนอต่อสภาวิชาการเพื่อขออนุมัติปริญญาหรือประกาศนียบัตรต่อสภามหาวิทยาลัย

/บทเฉพาะกาล...
91

บทเฉพาะกาล

ข้อ 74 สำหรับนักศึกษาที่เข้าศึกษาก่อนข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ ให้นำข้อบังคับมหาวิทยาลัย


ราชภัฏร้อยเอ็ด ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2549 และข้อบังคับมหาวิทยาลัย
ราชภัฏร้อยเอ็ด ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิ ตศึกษา พ.ศ. 2549 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 และ
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 รวมทั้ง
ประกาศและคำสั่งของของบัณฑิตวิทยาลัย และมหาวิทยาลั ยซึ่งได้บังคับอยู่ในขณะที่นักศึกษาผู้นั้น
เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย มาใช้บังคับการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาผู้นั้นต่อไป จนกว่า
จะพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา

ประกาศ ณ วันที่ 26 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2559

(ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์สมพร โพธินาม)


นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
92

ภาคผนวก ข

ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
เรื่อง การกำหนดรหัสวิชา
93

ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
เรื่อง การกำหนดรหัสวิชา
---------------------------
เพื่อให้การกำหนดรหัสวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตาม
ความในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จึง
กำหนดการใช้รหัสวิชา ดังต่อไปนี้
1. ให้ใช้รหัสวิชาประกอบด้วยสัญลักษณ์ 7 ตัว โดย
ตัวอักษรภาษาอังกฤษ 3 ตัวแรก หมายถึง สาขาวิชาหรือคณะที่สังกัด
ตัวเลข ตัวที่ 4 หมายถึง ระดับชั้นปี
ตัวเลข ตัวที่ 5 , 6 และ 7 หมายถึง ลำดับความยากง่ายของรายวิชา
2. ความหมายของตัวเลข ตัวที่ 4 แสดงระดับชั้นปี มีดังนี้
เลข 1 หมายถึง ระดับชั้นปีที่ 1
เลข 2 หมายถึง ระดับชั้นปีที่ 2
เลข 3 หมายถึง ระดับชั้นปีที่ 3
เลข 4 หมายถึง ระดับชั้นปีที่ 4
เลข 5 หมายถึง ระดับชั้นปีที่ 5
เลข 6 หมายถึง ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
เลข 7 หมายถึง ระดับปริญญาโท
เลข 8 หมายถึง ระดับปริญญาเอก
3. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ให้ใช้ตัวอักษร 3 ตัวแรก หมายถึง กลุ่มวิชา แทนตัวเลข 000
GEL หมายถึง กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร
GEH หมายถึง กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
GES หมายถึง กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
GET หมายถึง กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
4. รายวิชาใดที่คณะ/วิทยาลัยเปิดสอน แต่ไม่สามารถจัดให้สังกัดสาขาวิชาใดได้ ให้คณะ/วิทยาลัย
กำหนดอักษรภาษาอังกฤษ 3 ตัวแรก และนำเสนอสภาวิชาการ เพื่อออกเป็นประกาศของมหาวิทยาลัยราช
ภัฏร้อยเอ็ด เพิ่มเติม
5. ให้ใช้ระบบรหัสวิชากับหลักสูตร หรือรายวิช าที่เปิดสอนใหม่หรือปรับปรุงใหม่ มหาวิทยาลัยราช
ภัฏร้อยเอ็ด ตั้งแต่วันออกประกาศเป็นต้นไป

จึงประกาศให้ทราบและยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร

ประกาศ ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2554

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เฉลย ภูมิพันธุ์)


อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
94

ภาคผนวก ค

คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร
95
96

ภาคผนวก ง

คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตร
97
98
99
100

ภาคผนวก จ

เกณฑ์การประเมินความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษของนักศึกษา
ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2562
101
102
103
104
105

ภาคผนวก ฉ

ศักยภาพของอาจารย์ประจำหลักสูตร
106

ผลทางวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร

1. ชื่อ นายบพิตร นามสกุล เค้าหัน


1.1 ตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์
1.2 ประวัติการศึกษา
สำเร็จการศึกษา
ระดับ ชือ่ ปริญญา (สาขาวิชา)
สถาบันการศึกษา ปีที่จบ
ปริญญาเอก ปร.ด.(ดุริยางคศิลป์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560
กลุ่มวิชาดนตรีศึกษา
ปริญญาโท ศศ.ม.(ดนตรี) มหาวิทยาลัยมหิดล 2551
กลุ่มวิชาดนตรีศึกษา
ปริญญาตรี ศป.บ.(ดนตรีสากล) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2547

1.3 ผลงานทางวิชาการ
1.3.1 หนังสือ ตำรา (ย้อนหลัง 5 ปี)
-
1.3.2 งานวิจัย (ย้อนหลัง 5 ปี)
-
1.3.3 บทความทางวิชาการ (ย้อนหลัง 5 ปี)
บพิตร เค้าหัน. (2561). แนวทางการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลบรมนาถบพิตร ตามระเบียบกรมราชเลขานุการ
ในพระองค์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(1): 269-281. (TCI กลุ่ม 2)

1.3.4 บทความวิจัย (ย้อนหลัง 5 ปี)


ศิลปศาสตร์ วิเศษดอนหวาย, ฑีฆา โพธิเวส, ธรรมชาติ ถามะพันธ์, บพิตร เค้าหัน, ชัชวาล สร้อยกุดเรือ.
(2560). อรรถาธิบายและวิเคราะห์ผลงานการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงกาเต้นก้อน .
ผลงานวิจัยที่นำเสนอในที่ประชุมวิชาการ. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับ
บัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2, กรกฏาคม 2560. (หน้า 281 - 290). ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ร้อยเอ็ด.
ธีรชาติ อุดมญาติ, ฑีฆา โพธิเวส, อำนาจ ถามะพันธ์, บพิตร เค้าหัน และ ชัชวาลย์ สร้อยกุดเรือ.
(2560). อรรถาธิบายและวิเคราะห์ผลงานการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงแขกบรเทศ
สำหรับวงดุริยางค์. ผลงานวิจัยที่นำเสนอในที่ประชุมวิชาการ. การประชุมวิชาการเสนอ
ผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2, กรกฏาคม 2560. (หน้า 146 - 157). ร้อยเอ็ด:
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
107

ผลทางวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร

2. ชื่อ นายธวัชชัย นามสกุล ศิลปโชค


2.1 ตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์
2.2 ประวัติการศึกษา
สำเร็จการศึกษา
ระดับ ชื่อปริญญา (สาขาวิชา)
สถาบันการศึกษา ปีที่จบ
ปริญญาเอก ปร.ด.(วิจัยศิลปะและวัฒนธรรม) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560
กลุ่มวิชาดนตรี
ปริญญาโท ศป.ม.(ดุริยางคศิลป์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2554
กลุ่มวิชามานุษยดุริยางควิทยา
ปริญญาตรี ศป.บ.(ดุริยางคศิลป์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2549
กลุ่มวิชาดนตรีพื้นบ้าน

2.3 ผลงานทางวิชาการ
2.3.1 หนังสือ ตำรา (ย้อนหลัง 5 ปี)
-
2.3.2 งานวิจัย (ย้อนหลัง 5 ปี)
-
2.3.3 บทความทางวิชาการ (ย้อนหลัง 5 ปี)
ธวัชชัย ศิลปโชค. (2561). ละครหุ่นอีป๊อก เมืองหลวงพระบาง : การฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรม
เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในยุคโลกาภิวัตน์. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ.
การประชุมวิชาการระดับชาติ ศิลปกรรมวิจัย ครั้งที่ 4 อัตลักษณ์ศิลปกรรมจากรากสู่โลก,
กรกฎาคม 2561. (หน้า 946-951). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2.3.4 บทความวิจัย (ย้อนหลัง 5 ปี)


ธวัชชัย ศิลปโชค. (2561). ช่างทำแคนสกุลร้อยเอ็ด : วิกฤตการณ์ แนวทางในการอนุรักษ์และ
ฟื้นฟูเพื่อสืบทอดภูมิปัญญา. ผลงานวิจัยทีน่ ำเสนอในที่ประชุมวิชาการ. การประชุม
วิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 1 มนุษย์-สังคม :
นวัตกรรมการพัฒนาท้องถิ่นสู่สากลตามศาสตร์พระราชา, กันายน 2561. (หน้า 2009-2024).
สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ราชันย์ เจริญแก่นทราย, ธวัชชัย ศิลปโชค. (2562). ปี่พาทย์ในฮูปแต้มสิมอีสาน. วารสาร
ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 6(1) :121-128. (TCI กลุ่ม 1)
108

ผลทางวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร

3. ชื่อ นายธนวัฒน์ นามสกุล บุตรทองทิม


3.1 ตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์
3.2 ประวัติการศึกษา
สำเร็จการศึกษา
ระดับ ชื่อปริญญา (สาขาวิชา)
สถาบันการศึกษา ปีที่จบ
ปริญญาเอก ปร.ด.(วิจัยศิลปะและวัฒนธรรม) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557
กลุ่มวิชาดนตรี
ปริญญาโท ศศ.ม.(ดนตรี) มหาวิทยาลัยมหิดล 2553
กลุ่มวิชาดนตรีวิทยา
ปริญญาตรี ศป.บ.(ดนตรีไทย) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2550

3.3 ผลงานทางวิชาการ
3.3.1 หนังสือ ตำรา (ย้อนหลัง 5 ปี)
-
3.3.2 งานวิจัย (ย้อนหลัง 5 ปี)
-
3.3.3 บทความทางวิชาการ (ย้อนหลัง 5 ปี)
ธนวัฒน์ บุ ตรทองทิม. (2559). การแปลความงามทัศนศิลป์ในดนตรีลาวเดิ ม: กรณี ศึกษาวัดใน
เมืองหลวงพระบาง. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ. การประชุมวิชาการระดับชาติ
ดนตรีภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสัมพันธ์ ครั้งที่ 1, พฤษภาคม 2560. (หน้า 34 - 49). อุบลราชธานี :
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

3.3.4 บทความวิจัย (ย้อนหลัง 5 ปี)


ทิวาพร อรรคอำนวย, ธนวัฒน์ บุตรทองทิม และวรพจน์ มานะสมปอง. (2561). สุนทรียศาสตร์และ
สัญ ลักษณ์ สัมพัน ธ์ในการปรับปรนสร้างสรรค์การแสดงของหมอลำบานเย็น รากแก่น
(ศิลปินแห่งชาติ). ผลงานวิจัยที่นำเสนอในที่ประชุมวิชาการ. การประชุมวิชาการระดับชาติ
ครั้งที่ 3, พฤษภาคม 2561. (หน้า 54 - 65). อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยการจัดการและ
เทคโนโลยี.
ธนวัฒน์ บุตรทองทิม, ชญานิศ โนมะยา ฟอล์สชี, ราชันย์ เจริญแก่นทราย, อำนาจ ถามะพันธ์
และธรรมชาติ ถามะพันธ์. (2560). การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา
ดนตรีศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.
2555. ผลงานวิจัยที่นำเสนอในที่ประชุมวิชาการ. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับ
บัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2, มกราคม 2560. (หน้า 240 - 249).
มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
109

ธนวัฒน์ บุตรทองทิม, อนุวัฒน์ บุตรทองทิม และอำนาจ ถำมะพันธุ์. (2563). กระบวนการจัดการ


เรียนและการพัฒนาวงดนตรีไทยสู่ความเป็นเลิศ: กรณีศึกษาวงดนตรีไทยโรงเรียนเบ็ญจะมะ
มหาราช. ผลงานวิจัยที่นำเสนอในที่ประชุมวิชาการ. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7,
พฤษภาคม 2563. (หน้า 106 - 117). นครราชสีมา : วิทยาลัยนครราชสีมา.
110

ผลทางวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร

4. ชื่อ นายสัจธรรม นามสกุล พรทวีกุล


4.1 ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
4.2 ประวัติการศึกษา
ระดับ ชื่อปริญญา (สาขาวิชา) สถาบันการศึกษา ปีที่จบ
ปริญญาเอก ปรด. (หลักสูตรและการเรียนการสอน) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556
ปริญญาโท ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2545
ปริญญาตรี ค.บ. (ดนตรีศึกษา) สถาบันราชภัฏนครราชสีมา 2541

4.3 ผลงานทางวิชาการ
4.3.1 หนังสือ ตำรา (ย้อนหลัง 5 ปี)
สัจธรรม พรทวีกุล. (2559). หลักการจัดการเรียนรู้. รุจรวีการพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

4.3.2 งานวิจัย (ย้อนหลัง 5 ปี)


สัจธรรม พรทวีกุลและจิตราภรณ์ วงศ์คำจันทร์. (2560). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการ
พัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน.สำนักงานคณะกรรมการการ
การวิจัยแห่งชาติ.
สัจธรรม พรทวีกุล, จิตราภรณ์ วงศ์คำจันทร์ และธนาภรณ์ พันทวี. (2560). แบบการเรียนรู้ของ
นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
สัจธรรม พรทวีกุล, จิตราภรณ์ วงศ์คำจันทร์. (2561). การพัฒนากรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบ
การเรียนการสอนความคิดสร้างสรรค์แห่งศตวรรษที่ 21. สำนักงานคณะกรรมการการการ
วิจัยแห่งชาติ.

4.3.3 บทความทางวิชาการ (ย้อนหลัง 5 ปี)


-
4.3.4 บทความวิจัย (ย้อนหลัง 5 ปี)
Satjatam Porntaweekul. (2016). Development reflective thinking instructional
model for enhancing student desirable learning outcome. Academic
Journals Education and Research Reviews. Vol.11(6) pp.238-251 March 2016
Pinayo Prommuang, Satjatam Porntaweekul and Boonrod Donprapeng. (2016). The
Training Curriculum Development as Gentle Men and Gentle Ladies for
University Students by means of Buddhist Critical Thinking. The 9th
International Conference on Educational Research, 12-13 November 2016,
Faculty of Education, Khon Kaen University, Thailand
111

กมลลักษณ์ พรมมา, สัจธรรม พรทวีกุล และจิตราภรณ์ คำวงศ์จันทร์. (2560). การพัฒนาแผนการ


เรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R เพื่อการพัฒนาทักษะการอ่านคิด วิเคราะห์กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัย
ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ครั้งที่ 1, 2560.
สมฤดี อยู่สมบูรณ์, สัจธรรม พรทวีกุลและคันธทรัพย์ ชมพูพาทย์. (2560). การพัฒนากิจกรรมการ
เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานวิชากฎหมายที่ประชาชนควรรู้. การประชุมวิชาการนำเสนอ
ผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, ครั้งที่ 1, 2560.
สัจธรรม พรทวีกุล, จิตราภรณ์ วงค์คำจันทร์, ธนาภรณ์ พันทวีและคันธทรัพย์ ชมพูพาทย์. (2561).
แบบการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ร้อยเอ็ด. ปีที่12 (1) 204-212
112

ผลทางวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร

5. ชื่อ นายคันธทรัพย์ นามสกุล ชมพูพาทย์


5.1 ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
5.2 ประวัติการศึกษา
ระดับ ชื่อปริญญา (สาขาวิชา) สถาบันการศึกษา ปีที่จบ
ปริญญาเอก วท.ด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2554
ปริญญาโท ค.ม. (วิจัยการศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2549
ปริญญาตรี ศษ.บ. (การสอนมัธยมศึกษา) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาราช 2548
กศ.บ. (การประถมศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2545

5.3 ผลงานทางวิชาการ
5.3.1 หนังสือ ตำรา (ย้อนหลัง 5 ปี)
คันธทรัพย์ ชมพูพาทย์. (2560). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์. 314 หน้า

5.3.2 งานวิจัย (ย้อนหลัง 5 ปี)


-
5.3.3 บทความวิชาการ (ย้อนหลัง 5 ปี)
-
5.3.4 บทความวิจัย (ย้อนหลัง 5 ปี)
สัจธรรม พรทวีกุล, จิตราภรณ์ วงศ์คำจันทร์, ธนาภรณ์ พันทวี และคันธทรัพย์ ชมพูพาทย์. (2561).
แบบการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัย
ราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(1): 207-215. (TCI กลุ่ม 2)
พิชญาณี ภู่ตระกูล, ประทีป จินงี่ และคันธทรัพย์ ชมพูพาทย์. (2560). แบรนด์บุคคลและแบรนด์
มหาวิทยาลัย: กรณีศึกษาการสร้างแบรนด์บุคคลผ่านเฟซบุ๊กของอาจารย์
มหาวิทยาลัย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 23(2): 101-116. (TCI กลุม่ 1)
จักรเพชร สุริยะกมล, วิชุดา กิจธรธรรม และคันธทรัพย์ ชมพูพาทย์. (2559).
ผลของการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรแบบบูรณาการตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อ
การรู้เท่าทันและพฤติกรรมการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 13(2): 119-
129. (TCI กลุ่ม 1)
พิชญาณี ภู่ตระกูล, ประทีป จินงี่, คันธทรัพย์ ชมพูพาทย์ และประภาส ณ พิกุล. (2559,).
สร้างแบรนด์บุคคลของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยผ่านเฟซบุ๊ก. วารสารพฤติกรรม
ศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 8(2): 57-70. (TCI กลุม่ 1)
113

ผลทางวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร

6. ชื่อ นายวีรยุทธ นามสกุล ชุติมารังสรรค์


6.1 ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
6.2 ประวัติการศึกษา
ระดับ ชื่อปริญญา(สาขาวิชา) สถาบันการศึกษา ปีที่จบ
ปริญญาเอก ปร.ด. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2556
ปริญญาโท ศษ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2546
ปริญญาตรี วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2542

6.3 ผลงานทางวิชาการ
6.3.1 หนังสือ ตำรา (ย้อนหลัง 5 ปี)
วีรยุทธ ชุติมารังสรรค์. (2560). นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา. มหาสารคาม:
อภิชาติการพิมพ์. 265 หน้า.
วีรยุทธ ชุติมารังสรรค์. (2560). คอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา. มหาสารคาม:
อภิชาติการพิมพ์. 270 หน้า.
6.3.2 งานวิจัย (ย้อนหลัง 5 ปี)
วีรยุทธ ชุติมารังสรรค์ และธวัชชัย เหล่าสงคราม. (2561). บทบาทครูที่ส่งเสริมการสร้างความคิด
รวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกจำนวนผลลัพธ์ไม่เกิน 10 ของนักเรียน
ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 1. ร้อยเอ็ด : มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
6.3.3 บทความวิชาการ (ย้อนหลัง 5 ปี)
-
6.3.4 บทความวิจัย (ย้อนหลัง 5 ปี)
ณัฐกานต์ ชุตมิ ารังสรรค์, วีรยุทธ ชุติมารังสรรค์. (2560). การประเมินประสิทธิภาพเครือข่ายเฉพาะ
กิจเคลื่อนที่ในสถานกาณ์การจัดนิทรรศการ. บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ ตีพิมพ์ในรายงาน
สืบเนื่องจากการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 1
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 13 กรกฎาคม 2560. หน้า 360-366.
วีรยุทธ ชุติมารังสรรค์. (2560). การประเมินประสิทธิภาพเครือข่ายเฉพาะกิจเคลื่อนที่ในสถาการณ์
การจัดนิทรรศการ. Proceeding “การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ครั้งที่ 1“นวัตกรรมสร้างสรรค์ ศาสตร์พระราชาสู่การ
พัฒนาที่ยั่งยืนไทยแลนด์ 4.0” 13 กรกฎาคม 2560. ร้อยเอ็ด.
วีรยุทธ ชุติมารังสรรค์, ณัฐกานต์ ชุติมารังสรรค์. (2562). การศึกษาประสิทธิภาพกระบวนการแฮช
ของอัลกอริธึม HMAC-MD5, HMAC-SHA1 และ CBC-MAC-AES. การประชุมวิชาการ
ระดับชาติ “การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม” ครั้งที่ 5 “The 5th National
Conference on Technology and Innovation Management”. 5 - 6 มีนาคม 2562.
มหาสารคาม.
114

ภาคผนวก ช

สมรรถนะของนักศึกษาแต่ละชัน้ ปีในหลักสูตร
115

สมรรถนะของนักศึกษาแต่ละชั้นปีในหลักสูตร

ชัน้ ปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2


สมรรถนะหลัก สมรรถนะหลัก
มีความเข้าใจในปรัชญาดนตรีศึกษา หลักการ สามารถประยุกต์ภูมิรู้ทางดนตรีร่วมกับการวิจัย
สำคัญทางดนตรีศึกษา และระเบียบวิธีวิจัยทาง มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทาง
ดนตรี วิชาการและวิชาชีพ

สมรรถนะรอง สมรรถนะรอง
1. มีความรู้ทางประวัติดนตรี ทฤษฏีดนตรีและมี 1. มีความรู้ด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีด้านดนตรี
ทักษะดนตรีที่ดี 2. สามารถบูรณาการความรู้และทักษะทางดนตรี
2. มีความเข้าใจในหลักสูตรและวิธีวิทยาการสอน ตามความเชี่ยวชาญเฉพาะบุคคล
ดนตรีศึกษา
3. มีความเข้าใจในด้านพหุวัฒนธรรมทางดนตรี
4. มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครูดนตรี
ภาคเรียน ภาคเรียน
1 2 1 2
หมวดวิชาเฉพาะด้าน หมวดวิชาเฉพาะด้าน หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ หมวดวิชาวิทยานิพนธ์
(วิชาเอกบังคับ) (วิชาเอกบังคับ) - วิทยานิพนธ์ - วิทยานิพนธ์
- ปรัชญาและหลักการ - สัมมนาพหุวัฒนธรรม
สำคัญทางดนตรีศึกษา ทางดนตรี หมวดวิชาเฉพาะด้าน
- หลักสูตรและวิธี (วิชาเอกเลือกเสรี)
วิทยาการสอนดนตรีศึกษา หมวดวิชาเฉพาะด้าน - การวัดและประเมินผล
- ระเบียบวิธีวิจัยทาง (วิชาเอกเลือกกลุม่ ดนตรี) ทางดนตรี
ดนตรี - การวิจัยทางดนตรีศึกษา - สื่อและนวัตกรรมทาง
- ดนตรีในชั้นเรียน ดนตรีศึกษา
- การวิจัยทางดนตรีวิทยา - การประพันธ์เพลง
- ภาคสนามทางดนตรี สำหรับการสอน
- สัมมนาการสอนทาง
ดนตรี
- ดนตรีโลก
- ดนตรีชาติพนั ธุ์
- เทคโนโลยีทางดนตรี
- สุนทรียศาสตร์ทางดนตรี
- อาศรมศึกษาทางดนตรี
- ธุรกิจดนตรีและกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้อง
116

ภาคผนวก ซ

ผลการสำรวจความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตร
117

ผลการสำรวจความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาดนตรีศึกษา
ขอบเขตการสำรวจ

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา และประชาชนที่สำเร็ จการศึกษาระดับ
ปริ ญ ญาตรี ในเขตพื้ น ที่ บ ริ ก ารของมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ ร้อ ยเอ็ ด ได้ แ ก่ จั งหวั ด ร้ อ ยเอ็ ด จั งหวั ด
อำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดกาฬสินธุ์
กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้ที่สนใจ ที่สำเร็จการศึกษาในระดับ
ปริ ญ ญาตรี ในเขตพื้ น ที่ บ ริ ก ารของมหาวิท ยาลั ยราชภั ฏ ร้อยเอ็ด ได้ แก่ จังหวั ดร้ อยเอ็ ด จังหวั ด
อำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 125 คน

ประเด็นที่สำรวจ
ประเด็นที่สำรวจ ได้แก่ เพศ สถานภาพ อายุ ประเภทของผู้ตอบแบบสำรวจ สาขาที่
สำเร็จการศึกษา ความสนใจในการศึกษาต่อหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา
ช่วงเวลาที่สะดวกในการศึกษา ปัจจัยที่ตัดสินใจจะศึกษาต่อ

วิธีการสำรวจ
ใช้การสำรวจออนไลน์ โดยการสร้างแบบสำรวจออนไลน์ และแชร์ส่งไปยังครู บุคลากร
ทางการศึกษา และบุคคลที่รู้จักในสังคมออนไลน์และให้แชร์แบบสำรวจต่อไป เก็บข้อมูลในช่วงวันที่ 7
- 14 มิถุนายน พ.ศ. 2562
118

ผลการสำรวจ

ตาราง 1 จำนวน และร้อยละเพศ สถานภาพ ช่วงอายุ ประเภทของผู้ตอบแบบสำรวจและสาขาที่


สำเร็จการศึกษาของผู้ตอบแบบสำรวจ
ข้อมูล รายละเอียด จำนวน ร้อยละ
เพศ ชาย 90 72
หญิง 35 28
รวม 125 100.00
สถานภาพ โสด 82 65.6
สมรส 41 32.8
หม้าย/ หย่า 2 1.6
รวม 125 100.00
ช่วงอายุ น้อยกว่า 30 ปี 41 32.8
30 - 39 ปี 43 34.4
40 - 49 ปี 34 27.2
ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป 7 5.6
รวม 125 100.00
ประเภทของผู้ตอบ ครู หรือบุคลากรทางการศึกษา 91 72.8
แบบสำรวจ ผู้ประกอบอาชีพอิสระทางดนตรี เช่น นักดนตรี โปรดิวเซอร์
ยูทูบเบอร์ ฯลฯ 34 27.2
รวม 125 100.00
สาขาทีส่ ำเร็จ สาขาทางด้านการศึกษา 75 60
การศึกษา ไม่ใช่สาขาทางด้านการศึกษา 50 40
รวม 125 100.00

จากตาราง 1 พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 90 (ร้อยละ 72)


สถานภาพโสด จำนวน 82 คน (ร้อยละ 65.6) ช่วงอายุ 30 - 39 ปี จำนวน 43 คน (ร้อยละ 34.4) เป็น
ครู หรือบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 91 คน (ร้อยละ 72.8) และสำเร็จการศึกษาทางด้านการศึกษา
จำนวน 75 คน (ร้อยละ 60)
119

ตาราง 2 จำนวน และร้อยละความสนใจในการศึกษาต่อหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต


สาขาวิชาดนตรีศึกษา
ความสนใจในการศึกษาต่อหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต จำนวน ร้อยละ
สนใจ 89 71.2
ไม่แน่ใจ 31 24.8
ไม่สนใจ 5 4
รวม 125 100.00

จากตาราง 2 พบว่า ผู้ที่ตอบแบบสำรวจมีความสนใจในการศึกษาต่อหลักสูตรครุศาสตรม


หาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา มากที่สุดคือจำนวน 89 คน (ร้อยละ 71.2) รองลงมาคือไม่แน่ใจ
จำนวน 31 คน (ร้อยละ 24.8)

ตาราง 3 จำนวน และร้อยละช่วงเวลาที่สะดวกในการศึกษา


ช่วงเวลาที่สะดวกในการศึกษา จำนวน ร้อยละ
ในเวลาราชการ (ภาคปกติ) 36 28.8
นอกเวลาราชการ (ภาคพิเศษ) 84 67.2
ไม่สะดวก 5 4
รวม 125 100.00

จากตาราง 3 พบว่า ผู้ที่ตอบแบบสำรวจมีความช่วงเวลาที่สะดวกในการศึกษา คือ นอก


เวลาราชการ (ภาคพิเศษ) มากที่สุดคือจำนวน 84 คน (ร้อยละ 67.2) รองลงมา คือ ในเวลาราชการ
จำนวน 36 คน (ร้อยละ 28.8)
120

ตาราง 4 จำนวน และร้อยละปัจจัยที่ตัดสินใจจะศึกษาต่อ


ปัจจัยที่ตัดสินใจจะศึกษาต่อ จำนวน ร้อยละ
ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย 103 82.4
ชื่อเสียงของหลักสูตรดนตรีศึกษาในระดับปริญญาตรี 107 85.6
ความสะดวกในการเดินทาง 96 76.8
ความสนใจด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดนตรี 102 81.6
ความสนใจด้านพัฒนาการสอนทางดนตรี 85 68
ความสนใจด้านการปฏิบัติทางดนตรี 78 62.4
ความสุขในการเรียนสาขาที่ตนเองสนใจ 115 92
ต้องการเปลี่ยนงาน 30 24
ค่าเล่าเรียน 12,000 ในภาคปกติ และ 20,000 ในภาคพิเศษ 105 84

จากตาราง 4 พบว่า ปัจจัยสำคัญที่ผู้ตอบแบบสำรวจจะใช้ในการตัดสินใจศึกษาต่อซึ่งเลือก


ทัง้ หมดคือ ความสุขในการเรียนสาขาที่ตนเองสนใจ (ร้อยละ 92) รองลงมา คือ ชื่อเสียงของหลักสูตร
ดนตรีศึกษาในระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 85.6) และค่าเล่าเรียน 12,000 ในภาคปกติ และ 20,000
ในภาคพิเศษ (ร้อยละ 84)

You might also like