You are on page 1of 16

สมดุลของการละลาย

(Solubility Equilibria))

สภาพการละลาย (solubility) คือความสามารถของสสารในการละลายในน้า โดยสภาพการ


ละลายเป็นสมบัติเฉพาะตัวของสารแต่ละชนิดที่วัดได้จากอัตราส่วนความเข้มข้นของไอออนส่วนน้อยที่
ละลายในสารละลายอิ่มตัว กล่าวคือเมื่อน้าสารประกอบไอออนิกที่ละลายน้าได้ยาก (ละลายได้น้อย) มา
ละลายน้าจะพบว่าจะมีบางส่วนที่ละลายได้ โดยจะแตกตัวเป็นไอออนบวกและไอออนลบ และอีกส่วน
หนึ่งไม่ละลายซึ่งจะปรากฏอยู่ในสารละลายอิ่มตัว (saturated solution) หรือสารละลายที่เกลือละลายได้
บางส่วนที่น้อยมาก (sparing soluble) ดังนันในระบบจะเกิดสมดุลขึนระหว่างส่วนที่ละลายน้ากั บส่วนที่
ไม่ละลายน้า ซึ่งจัดเป็นสมดุลต่างสถานะ (heterogeneous equilibrium) ดังนี
MA(s) → MA(aq) → M+(aq) + A-(aq)
เกลือไอออนิกที่ละลายน้าได้น้อย (แตกตัวได้ไม่สมบูรณ์) จะเกิดสมดุลในสารละลายเป็นสมดุล
ไอออนที่อยู่ในวัฏภาคต่างกัน เกลือบางชนิดละลายน้าได้น้อยมากจนถือว่าไม่ละลายน้า เช่น AgCl,
BaSO4 และ Ag2SO4 ดังนันเมื่อ AgCl ละลายในน้าจะยังมีตะกอน AgCl เหลืออยู่ และมี Ag+ และ Cl-
ที่เกิดจากการละลายน้อยมาก ปฏิกิริยาการละลายของเกลือ AgCl เกิดภาวะสมดุลได้ดังปฏิกิริยา
AgCl(s) Ag+(aq) + Cl-(aq)

สมการค่าคงที่ส มดุลของปฏิกิริย าการละลายของเกลือ ที่ละลายน้าได้น้อย เขี ย นเช่ นเดีย วกับ


ค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาผันกลับได้ทั่วๆ ไป ดังนี
[Ag+][Cl-]
K= ……(1.1)
[AgCl]
เนื่องจาก AgCl มีสถานะเป็นของแข็ง ความเข้มข้นของของแข็ง สมมติให้คงที่ จึงไม่ต้องน้ามาคิด
ในสมการค่าคงที่สมดุล กรณีที่เป็นสมดุลของเกลือที่ละลายน้าได้น้อยใช้สัญลักษณ์ Ksp แทน K โดย
เรียกว่า “ค่าคงที่สมดุลของการละลาย” (solubility product constant) หรือเรียกสันๆ ว่า “ผลคูณการ
ละลาย” สมการ (1.1) จึงเขียนได้ดังนี
Ksp = [Ag+][Cl-] ……(1.2)

จากสมการ (1.2) สมการค่ า คงที่ ส มดุ ล ของการละลาย คื อ ผลคู ณ ของไอออนยกก้ า ลั ง ด้ ว ย


สั ม ประสิ ท ธิ์จ้ านวนโมลของสมการการแตกตัว ตัว อย่ างข้ างต้นเป็ นการเขี ย น Ksp ของ AgCl ที่ง่าย
เนื่อ งจากจ้ านวนโมลของ Ag+ และ Cl- เกิดขึ นอย่ างละ 1 โมล แต่ถ้าอัตราส่วนของการแตกตัวของ
Asst.Prof.Woravith Chansuvarn, PhD.
Faculty of Science and Technology, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon
http://web.rmutp.ac.th/woravith woravith.c@rmutp.ac.th iamworavith
2 | เคมีวิเคราะห์

ไอออนไม่เป็น 1 เราต้องพิจารณาจากสมการการแตกตัวของตะกอน ค่า Ksp และการบอกความสามารถ


ในการละลายได้ของตะกอน สรุปเป็นสมการทั่วไป และสมการค่าคงที่สมดุลของการละลายได้ดังนี
MxAy(s) xMy+(aq) + yAx-(aq)
Ksp = [My+]x[Ax–]y ……(1.3)
เช่น
MgF2(s) Mg2+(aq) + 2F-(aq)
Ksp = [Mg2+][F-]2

ค่า Ksp ขึนอยู่กับอุณหภูมิเช่นเดียวกับค่าคงที่สมดุลอื่นๆ ค่า Ksp เป็นค่าที่บอกให้ทราบว่าเกลือ


ชนิดนันละลายน้าได้มากน้อยเพียงใดที่อุณหภูมิคงที่และใช้ส้าหรับเปรียบเทียบว่าเกลือใดละลายน้าได้
ดีกว่ากัน ค่า Ksp ของเกลือบางชนิดแสดงในตารางที่ 1.1 โดยปกติเกลือที่มีค่า Ksp มากกว่าจะละลายน้า
ได้ดีกว่า เช่นเกลือ BaF2 CaF2 และ MgF2 ดังสมการ
BaF2(s) Ba2+(aq) + 2F-(aq) Ksp = [Ba2+][F-]2 = 1.7x10-6
CaF2(s) Ca2+(aq) + 2F-(aq) Ksp = [Ca2+][F-]2 = 3.9x10-11
MgF2(s) Mg2+(aq) + 2F-(aq) Ksp = [Mg2+][F-]2 = 3.7x10-8
จากค่า Ksp ของเกลือทังสามชนิด แสดงว่าความสามารถในการละลายน้าได้ดีเรียงล้าดับจากมาก
ไปน้อย ดังนี BaF2 > MgF2 > CaF2

ตัวอย่าง 1.1 การเขียนสมการค่าคงที่สมดุลของเกลือละลายน้าได้น้อย


1) MgF2
ปฏิกิริยา MgF2(s) Mg2+(aq) + 2F-(aq)
Ksp = [Mg2+][F-]2
2) Ag2CrO4
ปฏิกิริยา Ag2CrO4(s) 2Ag+(aq) + CrO42-(aq)
Ksp = [Ag+]2[CrO42-]
3) BaSO4
ปฏิกิริยา BaSO4(s) Ba2+(aq) + SO42-(aq)
Ksp = [Ba2+][SO42-]
4) Mg3(PO4)2
ปฏิกิริยา Mg3(PO4)2(s) 3Mg2+(aq) + 2PO43-(aq)
Ksp = [Mg2+]3[PO42-]2
5) Al(OH)3
ปฏิกิริยา Al(OH)3(s) Al3+(aq) + 3OH-(aq)
Ksp = [Al3+][OH-]3
สมดุลของการละลาย | 3

ตารางที่ 1.1 ค่าคงที่สมดุลของการละลาย (Ksp) ของเกลือบางชนิดที่ 25C


ชื่อสาร สูตร Ksp ชื่อสาร สูตร Ksp
Aluminum hydroxide Al(OH)3 4.6x10-33 Lead(II) sulfide PbS 2.5x10-27
Barium chromate BaCrO4 1.2x10-10 Magnesium arsenate Mg3(AsO4)2 2x10-20
Barium fluoride BaF2 1.0x10-6 Magnesium carbonate MgCO3 1.0x10-5
Barium sulfate BaSO4 1.1x10-10 Magnesium hydroxide Mg(OH)2 1.8x10-11
Cadmium oxalate CdC2O4 1.5x10-8 Magnesium oxalate MgC2O4 8.5x10-5
Cadmium sulfide CdS 8x10-27 Manganese(II) sulfide MnS 2.5x10-10
Calcium carbonate CaCO3 3.8x10-9 Mercury(I) chloride Hg2Cl2 1.3x10-18
Calcium fluoride CaF2 3.4x10-11 Mercury(II) sulfide HgS 1.6x10-52
Calcium oxalate CaC2O4 2.3x10-9 Nickel(II) hydroxide Ni(OH)2 2.0x10-15
Calcium phosphate Ca3(PO4)2 1x10-26 Nickel(II) sulfide NiS 3x10-19
Calcium sulfate CaSO4 2.4x10-5 Silver acetate AgC2H3O2 2.0x10-3
Cobalt(II) sulfide CoS 4x10-21 Silver bromide AgBr 5.0x10-13
Copper(II) hydroxide Cu(OH)2 2.6x10-19 Silver chloride AgCl 1.8x10-10
Copper(II) sulfide CuS 6x10-36 Silver chromate Ag2CrO4 1.1x10-12
Iron(II) hydroxide Fe(OH)2 8x10-16 Silver iodide AgI 8.3x10-17
Iron(II) sulfide FeS 6x10-18 Silver sulfide Ag2S 6x10-50
Iron(III) hydroxide Fe(OH)3 2.5x10-39 Strontium carbonate SrCO3 9.3x10-10
Lead(II) arsenate Pb3(AsO4)2 4x10-36 Strontium chromate SrCrO4 3.5x10-5
Lead(II) chloride PbCl2 1.6x10-5 Strontium sulfate SrSO4 2.5x10-7
Lead(II) chromate PbCrO4 1.8x10-14 Zinc hydroxide Zn(OH)2 2.1x10-16
Lead(II) iodide PbI2 6.5x10-9 Zinc sulfide ZnS 1.1x10-21
Lead(II) sulfate PbSO4 1.7x10-8

ค่าการละลาย
ปริมาณการละลายของเกลือที่ละลายน้าได้น้อย จะบอกเป็นค่าการละลาย (solubility, s) มี
หน่ว ยคือ g/L ค่าการละลายเป็ นค่าใช้ เปรีย บเทีย บค่าการละลายของเกลือ ประเภทเดีย วกัน แต่ไม่
สามารถบอกการละลายที่แท้จริงได้ ดังนันการที่จะบอกสภาพการละลายที่แท้จริง ต้องบอกได้ในรูปของ
สภาพการละลายเป็นโมลาร์ (molar solubility) มีหน่วยคือ mol/L หรือที่เรียกว่า สภาพการละลาย (s) ซึ่ง
บอกปริมาณจ้านวนโมลของตัวถูกละลายในสารละลายอิ่มตัว 1 L สารอนินทรีย์แต่ละชนิดมีสภาพการ
ละลายในน้าได้มากน้อยแตกต่างกัน อาจจ้าแนกความสามารถในการละลายน้าได้ 4 ประเภทคือ
1) สารที่ละลายได้ดี (highly soluble) คือสารที่สามารถละลายน้าได้ดี (สูง) มีสภาพการละลาย
มากกว่า 1.0 mol/L
2) สารที่ละลายได้ (soluble) คือสารที่สามารถละลายน้าได้ที่มีสภาพการละลายอยู่ระหว่ าง
0.10-1.0 mol/L
3) สารที่ละลายได้ปานกลาง (moderately soluble) คือสารที่สามารถละลายน้าได้ที่มีสภาพการ
ละลายอยู่ระหว่าง 0.01-1.0 mol/L
4) สารที่ไม่ละลาย (insoluble) คือสารที่ละลายน้าได้น้อยมากจนแทบถือว่าไม่ละลาย มีสภาพ
การละลายน้อยกว่า 0.001 mol/L
4 | เคมีวิเคราะห์

เราสามารถค้านวณเปลี่ยนค่าการละลาย (g/L) เป็น สภาพการละลาย (mol/L) โดยน้าค่าการ


ละลายหารด้วยมวลโมลาร์ (molar mass) ดังนี
 g  1 mol 
s (mol/L) =    ……(1.4)
 L  molar mass (g) 
ในท้านองเดียวกันเราสามารถค้านวณเปลี่ย นสภาพการละลาย (mol/L) เป็นค่าการละลาย
(g/L) โดยน้าสภาพการละลายคูณด้วยมวลโมลาร์ (molar mass) ดังนี
 mol  molar mass (g) 
g/L =    ……(1.5)
 L  1 mol 
หมายเหตุ molar mass คือ มวลอะตอม หรือ มวลโมเลกุล แล้วแต่กรณี

ตัวอย่าง 1.2 จงค้านวณเปลี่ยนค่าการละลาย (g/L) เป็น สภาพการละลาย (mol/L) ของสารต่อไปนี


1) 0.00505 g/L Mg(NO3)2
 1 mol 
Mg(NO3)2 = 0.00505 g/L x   = 3.40x10-5 mol/L
 148.31 g 
2) 1.25 g/100 mL PbSO4
 1.25 g  1 mol 
PbSO4 =   303.26 g  = 0.0412 mol/L
 0.100 L  
3) 0.50% (w/v) K2O
 0.50 g  1 mol 
K2O =    = 0.053 mol/L
 0.100 L  94.20 g 

ตัวอย่าง 1.3 จงค้านวณเปลี่ยนสภาพการละลาย (mol/L) เป็นค่าการละลาย (g/L) ของสารต่อไปนี


1) 0.00505 mol/L Mg(NO3)2
 0.00505 mol  148.31 g 
g/L =    = 0.749 g/L
 1 L  1 mol 
2) 0.125 mol/100 mL PbSO4
 0.125 mol  303.26 g 
g/L =   1 mol  = 379 g/L
 0.100 L  
3) 0.50% (w/v) K2O
 0.050 mol  94.20 g 
g/L =    = 47.1 g/L
 0.100 L  1 mol 
สมดุลของการละลาย | 5

ตั ว อย่ าง 1.4 จงเปรีย บเทีย บการละลายของเกลือ AgCl กับ AgSCN (ก้าหนด Ksp AgCl=1.8x10-10,
AgSCN=1.1x10-12)
วิธีคิด AgCl(s) Ag+(aq) + Cl-(aq)
Ksp = [Ag+][Cl-]
1.8x10-10 = s2
s = 1.8x10-10 = 1.34x10-5 mol/L

AgSCN(s) Ag+(aq) + SCN-(aq)


Ksp = [Ag+][SCN-]
1.1x10-11 = s2
s = 1.1x10-11 = 1.05x10-6 mol/L
ดังนัน จากค่าการละลาย พบว่า AgCl ละลายได้ดีกว่า AgSCN ประมาณ 12 เท่า

ตั ว อย่ าง 1.5 จงเปรีย บเทีย บการละลายของเกลือ CaF2 กับ BaCrO4 (ก้าหนด Ksp CaF2=3.9x10-11,
BaCrO4=1.2x10-10)
วิธีคิด CaF2(s) Ca2+(aq) + 2F-(aq)
Ksp = [Ca2+][F-]2
= (s)(2s)2
= 4s3
3
K sp 3 3.9x10-11
s= =
4 4
= 2.14x10-4 mol/L

BaCrO4(s) Ba2+(aq) + CrO42-(aq)


Ksp = [Ba2+][CrO42-]
1.2x10-10 = s2
s = 1.2x10-10 = 1.1x10-5 mol/L
ดังนัน จากค่าการละลาย พบว่า CaF2 ละลายได้ดีกว่า BaCrO4 ประมาณ 19 เท่า

จากตัวอย่าง 1.4 และ 1.5 เกลือที่มีอัตราส่วนการแตกตัวเป็น 1:1 เหมือนกัน ค่าการละลาย (s)


ขึนอยู่กับ Ksp เกลือที่มีค่า Ksp มากกว่าจะละลายได้ดีกว่า ส่วนเกลือที่มีอัตราการแตกตัวไม่เหมือนกัน
ไม่อาจเปรียบเทียบค่าการละลายจากค่า Ksp ได้โดยตรง ต้องค้านวณค่าการละลาย (s) มาเปรียบเทียบ
กัน
6 | เคมีวิเคราะห์

ความสัมพันธ์ระหว่าง Ksp กับสภาพการละลาย (s)


สภาพการละลาย (s) เป็นความเข้มข้นโมลาร์ของไอออนที่แตกตัวได้ และค่า Ksp เป็นผลคูณความ
เข้มข้นโมลาร์ของไอออน ดังนันค่า Ksp และ s จึงสัมพันธ์กัน พิจารณา AgCl
AgCl(s) Ag+(aq) + Cl-(aq)
Ksp = [Ag+][Cl-]
ความเข้มข้นโมลาร์ของ Ag+ เท่ากับความเข้มข้นโมลาร์ของ Cl- (เนื่องจากจ้านวนโมลเท่ากัน) ถ้า
สมมติให้ความเข้มข้นโมลาร์เป็น s ดังนัน
[Ag+] = s mol/L
[Cl-] = s mol/L
เมื่อแทนค่า [Ag+] และ [Cl-] = s mol/L จะได้สมการ Ksp ดังนี
Ksp = [Ag+][Cl-] = (s)(s) = s2
หรือ สภาพการละลายเป็นโมลาร์ (s) จะได้คือ
s = K sp

ตัวอย่าง 1.6 จงเขียนความสัมพันธ์ระหว่าง Ksp กับสภาพการละลาย (s) ของ BaCl2


BaCl2(s) Ba2+(aq) + 2Cl-(aq)
s 2s
Ksp = [Ba2+][Cl-]2 = (s)(2s)2 = 4s3
3
K sp
หรือ s =
4
ตัวอย่าง 1.7 จงเขียนความสัมพันธ์ระหว่าง Ksp กับสภาพการละลาย (s) ของ Al(OH)3
Al(OH)3(s) Al3+(aq) + 3OH-(aq)
s 3s
Ksp = [Al3+][OH-]3 = (s)(3s)3 = 27s4
4
K sp
s=
27

ตารางที่ 1.2 ความสัมพันธ์ระหว่าง Ksp กับสภาพการละลาย (s)


สารไอออนิก Ksp expression ความเข้มข้นโมลาร์ ความสัมพันธ์ Ksp กับ s
cation anion
AgCl [Ag+][Cl-] s s Ksp = s2 ; s = (Ksp)1/2
BaSO4 [Ba2+][SO42-] s s Ksp = s2 ; s = (Ksp)1/2
Ag2CO3 [Ag+]2[CO32-] 2s s Ksp = 4s3 ; s = (Ksp/4)1/3
PbF2 [Pb2+][F-]2 s 2s Ksp = 4s3 ; s = (Ksp/4)1/3
Al(OH)3 [Al3+][OH-]3 s 3s Ksp = 27s4 ; s = (Ksp/27)1/4
Ca3(PO4)2 [Ca2+]3[PO43-]2 3s 2s Ksp = 108s5 ; s = (Ksp/108)1/5
สมดุลของการละลาย | 7

ค่า Ksp ยังมีประโยชน์ในการเปรียบเทียบกับผลคูณระหว่างไอออนในสารละลาย เพื่อพิจารณา


ถึงสภาวะของสารละลายในขณะนันว่ามีโอกาสเกิดเป็นตะกอนหรือไม่
1) การคานวณค่า Kspจากสภาพการละลาย (s)
สภาพการละลายเป็นสมบัติเฉพาะตัวของตะกอน ในการบอกสภาพการละลายนิยมบอกใน
หน่ ว ย g/L หรื อ g/mL เช่ น เงิ น มี ส ภาพการละลายเป็ น 0.000190 g/100 mL หมายความว่ า ใน
สารละลาย 100 mL เงิ น สามารถละลาย (หรื อ แตกตั ว ) เป็ น Ag+ ได้ เ พี ย ง 0.000190 กรั ม เท่ า นั น
เนื่องจาก Ksp เป็นผลคูณของความเข้มข้นโมลาร์ (หน่วย mol/L) ดังนันเราต้องค้านวณความเข้มข้นของ
ไอออนที่แตกตัวจากค่าการละลายให้เป็นสภาพการละลาย (s)

ตัวอย่าง 1.8 การละลายของ CaSO4 ที่ 25C เท่ากับ 0.56 g/L จงค้านวณค่า Ksp
วิธคี ิด CaSO4(s) Ca2+(aq) + SO42–(aq)
s s
Ksp = [Ca2+][SO42–]
ค้านวณสภาพการละลายของ CaSO4
 0.56 g CaSO4  1 mol CaSO4 
s(CaSO4 ) =    = 4.1x10-3 mol/L
 1 L soln.  136.2 g CaSO4 
ดังนัน [Ca2+] = [SO42–] = 4.1x10-3 mol/L
Ksp = [Ca2+][SO42–]
= (4.1x10-3)( 4.1x10-3)
= 1.7x10-5

ตั ว อย่ า ง 1.9 การละลายของเงิ น คลอไรด์ (AgCl) ที่ 25C มี ค่ า เท่ า กั บ 0.000190 g/100 mL จง
ค้านวณหาค่า Ksp (MM ของ AgCl = 143 g/mol)
วิธคี ิด AgCl(s) Ag+(aq) + Cl–(aq)
AgCl สามารถละลายได้เท่ากับ 0.000190 g/100 mL หรือ 0.00190 g/L
 0.00190 g AgCl  1 mol AgCl 
s(AgCl) =    = 1.33x10-5 mol/L
 1L  143 g AgCl 
นันคือ [Ag+] = 1.33x10-5 mol/L
[Cl-] = 1.33x10-5 mol/L
Ksp = [Ag+][Cl–]
ดังนัน Ksp = (1.33x10–5)(1.33x10–5) = 1.8x10–10
8 | เคมีวิเคราะห์

ตัวอย่าง 1.10 เกลือ Ag2SO4 มีสภาพการละลายเท่ากับ 1.5x10-2 mol/L ที่ 25C จงค้านวณค่า Ksp
วิธีคิด Ag2SO4(s) 2Ag+(aq) + SO42-(aq)
2s s
จากสมการจะเห็นได้ว่า 1 mol ของ Ag2SO4 จะให้ Ag+ 2 mol และ SO42- 1 mol
ดังนันถ้า Ag2SO4 1.5x10-2 mol/L ความเข้มข้นของแต่ละไอออนเป็น
[Ag+] = 2(1.5x10-2) = 3.0x10-2 mol/L
[SO42-] = 1.5x10-2 mol/L
Ksp = [Ag+]2[SO42-]
= (3.0x10-2)2(1.5x10-2)
= 1.4x10-5

2) การคานวณ s จาก Ksp


กรณีที่รู้ Ksp เราสามารถค้านวณความสามารถในการละลายได้ของตะกอน โดยอาศัยสมการ Ksp

ตัวอย่าง 1.11 เกลือ CaSO4 มีค่า Ksp=9.1x10-6 จงค้านวณ [Ca2+] และ [SO42-]
วิธีคิด CaSO4(s) Ca2+(aq) + SO42-(aq)
s s
Ksp = [Ca2+][SO42-]
9.1x10-6 = s2
s = 3.02x10-3
ดังนัน [Ca2+] และ [SO42-] = 3.02x10-3 mol/L

ตัวอย่าง 1.12 ค่า Ksp ของ Ag2CrO4=1.3x10–12 จงค้านวณหาสภาพการละลาย (s) ของแต่ละไอออนใน


สารละลายและค้านวณค่าการละลายของ Ag2CrO4 เป็น g/100 mL (MM ของ Ag2CrO4 = 332 g/mol)
วิธีคิด Ag2CrO4(s) 2Ag+(aq) + CrO42-(aq)
2s s
+ 2 2-
ก้าหนด Ksp = [Ag ] [CrO4 ] = 1.3x10 –12

สมมติให้ solubility ของไอออนที่แตกตัวเป็น = s mol/L


ดังนัน [Ag+] = 2s mol/L และ [CrO42-] = s mol/L
Ksp = (2s)2(s) = 1.3x10–12
4s3 = 1.3x10–12
(1.3x10-12 )
s= 3
4
s = 6.9x10–5 mol/L
สมดุลของการละลาย | 9

ที่ภาวะสมดุลของการละลาย Ag2CrO4 จะมี s ของ [Ag+] และ [CrO42-] คือ


[Ag+] = 2x6.9x10–5 = 1.4x10–4 mol/L
[CrO42-] = 6.9x10–5 mol/L
 6.9x10-5 mol Ag2CrO4   332 g Ag2CrO4  1 L 
s(Ag2CrO4 ) =      = 2.3x10–3 g/100 mL
 L   1 mol Ag2CrO4  100 mL 

ตัวอย่าง 1.13 จงค้านวณสภาพการละลาย (s) ของ Cu(OH)2 เป็น g/100 mL (Ksp=8.52x10-20)


วิธคี ิด Cu(OH)2(s) Cu2+(aq) + 2OH–(aq)
s 2s
Ksp = [Cu2+][OH–]2 = 8.52x10-20
ให้ solubility ของไอออนที่แตกตัวเป็น = s mol/L
ดังนัน [Cu2+] = s mol/L และ [OH-] = 2s mol/L
Ksp = (s)(2s)2 = 8.52x10-20
4s3 = 8.52x10-20
(8.52x10-20 )
s= 3
= 2.77x10-7 mol/L
4
ค่าการละลายของ Cu(OH)2 ใน 100 mL ค้านวณได้จาก
 2.77x10-7 mol Cu(OH)2   97.6 g Cu(OH)2  1 L 
s(Cu(OH)2 ) =    1 mol Cu(OH)  100 mL 
 1L  2  
= 2.7x10–6 g/100 mL

ผลคูณของความเข้มข้นไอออน
ผลคูณของความเข้มข้ นไอออน (ion concentration product, ICP หรือ Q) คือผลคูณระหว่ าง
ความเข้ ม ข้ นของไอออนที่เกิดจากการแตกตัว ณ ภาวะสมดุล การค้านวณผลคูณของความเข้ ม ข้ น
ไอออนเพื่อพิจารณาว่าความเข้มข้นของแต่ละไอออนในระบบสารละลาย ณ ภาวะสมดุลนัน จะเกิดเป็น
ตะกอนหรือยังคงเป็นไอออนในสารละลาย ผลคูณของความเข้มข้นไอออนเปรียบเทียบกับค่า Ksp ดังนี
1) ถ้า Q น้อยกว่าค่า Ksp ระบบยังไม่ถึงจุดสมดุล เรียกว่า under-saturated solution
2) ถ้า Q มากกว่าค่า Ksp เรียกว่า super-saturated solution

เมื่อพิจารณาผลคูณของไอออนกับค่า Ksp แล้วสามารถสรุปได้ดังนี


Q < Ksp สารละลายเป็นสารละลายไม่อิ่มตัว (under-saturated solution) ไม่เกิดเป็นตะกอน
Q = Ksp สารละลายเป็นสารละลายอิ่มตัว (saturated solution) แต่ยังไม่เกิดเป็นตะกอน
Q > Ksp สารละลายเป็ น สารละลายเกิ น จุ ด อิ่ ม ตั ว (super-saturated solution) จะเกิ ด เป็ น
ตะกอน
10 | เคมีวิเคราะห์

เมื่อ Q คือผลคูณระหว่างความเข้มข้นของไอออนที่เกิดจากการแตกตัว ณ ภาวะสมดุล การ


ค้านวณ Q จะต้องค้านวณโดยใช้ความเข้มข้นโมลาร์ของไอออนที่แตกตัว แล้วเปรียบเทียบกับค่า Ksp
ของตะกอน เช่นในสารละลายมี [Ca2+] และ [SO42-] = 1.0x10-3 mol/L
Q = [Ca2+][SO42-] = (1.0x10-3)(1.0x10-3) = 1.0x10-6
เมื่อ Ksp ของ CaSO4=9.1x10-6 ดังนัน Q < Ksp แสดงสารละลายเป็นสารละลายไม่อิ่มตัว ไม่
เกิดเป็นตะกอนขึน

ตั ว อย่ า ง 1.14 เมื่ อ ผสม BaCl2 เข้ ม ข้ น 0.0040 mol/L ปริ ม าตร 200 mL กั บ K2SO4 เข้ ม ข้ น 0.0080
mol/L ปริมาตร 600 mL ตะกอน BaSO4 จะเกิดขึนหรือไม่ (ก้าหนด Ksp ของ BaSO4=1.1x10-10)
วิธีคิด จะตอบค้าถามนีได้ เราต้องค้านวณ Q เพื่อพิสูจน์ว่า Q มากกว่าหรือน้อยกว่า Ksp
ขันแรก เขียนสมการเคมี
ปฏิกิริยาตกตะกอน Ba2+(aq) + SO42-(aq) → BaSO4(s)
ปฏิกิริยาการละลาย BaSO4(s) Ba2+(aq) + SO42-(aq)
ตะกอน BaSO4 จะเกิดขึนได้ก็ต่อเมื่อ Q > Ksp
Q = [Ba2+][SO42-] > 1.1x10-10
ขันที่สอง หาความเข้มข้นเป็นโมลาร์ของแต่ละไอออนที่เกิดจาการผสมกันในสารละลายปริมาตรรวมเป็น
800 mL
(200 mL)(0.0040 mol/L)
[Ba 2+] = = 1.0×10-3 mol/L
800 mL
(600 mL)(0.0080 mol/L)
[SO4 2-] = = 6.0×10-3 mol/L
800 mL
Q = [Ba ][SO42-] = (1.0x10-3)(6.0x10-3) = 6.0x10-6
2+

Q > Ksp
ดังนัน เกิดตะกอนของ BaSO4

ตัวอย่าง 1.15 จงค้านวณหาความเข้มข้นของไอออนซัลไฟด์ (S2-) ที่ต้องการให้เริ่มมีการตกตะกอนของ


FeS โดยเติม S2- ลงในสารละลายของ Fe2+ เข้มข้น 1.0x10–4 mol/L (Ksp ของ FeS = 5.0x10-18)
วิธีคิด ประเด็นการพิจารณาคือ 1) ตะกอน FeS จะเกิดขึนได้ก็ต่อเมื่อ Q > Ksp
2) ความเข้มข้นของ S2- น้อยที่สุดที่จะท้าให้ Q > Ksp
ปฏิกิริยาตกตะกอน Fe2+(aq) + S2-(aq) → FeS(s)
ปฏิกิริยาการละลาย FeS(s) Fe2+(aq) + S2-(aq)
Ksp = [Fe2+][S2-] = 5.0x10-18
K sp 5.0x10-18
[S2-] = 2+ = -4 = 5.0x10
-14
[Fe ] 1.0x10
ดังนันต้องใช้ S2-ความเข้มข้นอย่างน้อยสุด 1.0x10–4 mol/L
สมดุลของการละลาย | 11

ตัวอย่าง 1.16 ถ้าเติม Na2CrO4 1.00 mg ลงในบีกเกอร์ที่มีสารละลาย AgNO3 เข้มข้น 1.50x10-4 mol/L
ปริมาตร 225 mL จะเกิดตะกอน Ag2CrO4 ขึนหรือไม่ (Ksp ของ Ag2CrO4=1.1x10-12)
วิธีคิด ประเด็นการพิจารณาคือ ตะกอน Ag2CrO4 จะเกิดขึนได้ก็ต่อเมื่อ Q > Ksp
ปฏิกิริยาตกตะกอน 2Ag+(aq) + CrO42-(aq) → Ag2CrO4(s)
ปฏิกิริยาการละลาย Ag2CrO4(s) 2Ag+(aq) + CrO42-(aq)
2s s
Q = [Ag+]2[CrO42-]
ค้านวณ [Ag+] และ [CrO42-] จากโจทย์
[Ag+] จาก AgNO3 = 1.50x10-4 mol/L
ส่วน [CrO42-] จาก Na2CrO4 ที่หนัก 1 mg เมื่อละลายในสารละลาย 225 mL ดังนัน
1.00x10-3 g 1 mol Na 2CrO4
[CrO42-] = x = 2.74x10-8 mol/L
0.225 L 161.97 g Na 2CrO4

Q = (2x1.50x10-4)2(2.74x10-8) = 2.47x10-15
Q < Ksp แสดงว่าที่สภาวะดังกล่าวไม่เกิดตะกอน Ag2CrO4 ขึน

ตัวอย่าง 1.17 ผสมสารละลาย 0.0030 mol/L Pb(NO3)2 ปริมาตร 100 mL กับ สารละลาย 0.040 mol/L
Na2SO4 ปริมาตร 400 mL จะเกิดตะกอนของ PbSO4 หรือไม่ (Ksp ของ PbSO4=2.0x10-8)
วิธีคิด จะตอบค้าถามนีได้ เราต้องค้านวณ Q เพื่อพิสูจน์ว่า Q มากกว่าหรือน้อยกว่า Ksp
ขันแรก เขียนสมการเคมี
ปฏิกิริยาตกตะกอน Pb2+(aq) + SO42-(aq) → PbSO4(s)
ปฏิกิริยาการละลาย PbSO4(s) Pb2+(aq) + SO42-(aq)
ตะกอน PbSO4 จะเกิดขึนได้ก็ต่อเมื่อ Q > Ksp
Q = [Ba2+][SO42-] > 2.0x10-8
ขันที่สอง หาความเข้มข้นเป็นโมลาร์ของแต่ละไอออนที่เกิดจาการผสมกันในสารละลายปริมาตรรวมเป็น
500 mL
 0.0030 mol/L 
[Pb2+]= 100 mL   = 6.0×10 mol/L
-4

 500 mL 
 0.0040 mol/L 
[SO4 2-]= 400 mL   = 3.2×10-2 mol/L
 500 mL 
Q = [Pb2+][SO42-] = (6.0x10-4)(3.2x10-2) = 1.9x10-5
Q > Ksp
ดังนัน เกิดตะกอนของ PbSO4
12 | เคมีวิเคราะห์

ปัจจัยที่มีผลต่อการละลายของตะกอน
1) อุณหภูมิ
โดยส่ ว นใหญ่ ค่ า การละลายของเกลื อ มั กจะ
เพิ่ ม ขึ นเมื่ อ อุ ณ หภู มิ เ พิ่ ม ขึ น ดั ง ภาพที่ 1.1 เมื่ อ
อุณหภูมิสูงขึน แนวโน้มของการละลายของสารในน้า
100 กรัม จะเพิ่มสูงขึน เราสามารถบอกความสามารถ
ในการละลายได้จากความชันของกราฟ โดยสารที่มี
ความชันมาก เมื่อเพิ่มอุณหภูมิ แนวโน้มการดูดความ
ร้อนสูง ดังนัน การละลายจะสูง เช่น KNO3, NaClO3,
Cs2SO4 เป็นต้น ในทางกลับกัน สารที่มีความชันน้อย
เมื่อเพิ่มอุณหภูมิ แนวโน้มการดูดความร้อนจะน้อย
ดังนัน การละลายจะน้อย เช่น K2CrO4, KClO3 เป็น
ต้น
อย่างไรก็ตาม ค่าการละลายของเกลือบางชนิด
กลั บ ละลายได้ น้ อ ยลงเมื่ อ อุ ณ หภู มิ เ พิ่ ม ขึ น เช่ น
MgNH4PO4
ภาพที่ 1.1 ปัจจัยอุณหภูมมิ ีผลต่อสภาพการละลายของสารอนินทรีย์บางชนิด
ที่มา : http://www.chem1.com/acad/webtext/solut/solut-6a.html
2) ตัวท้าละลาย
โดยทั่วไป น้าเป็นตัวท้าละลายที่สามารถละลายเกลือได้ดี แต่มีเกลือบางชนิดพวกเกลืออินทรีย์
หรือพวกโคเวเลนซ์จะละลายได้ดีขึนในตัวท้าละลายอินทรีย์ เช่น Ni-DMG แต่โดยทั่วไปเกลืออนินทรีย์จะ
ละลายได้ดีในน้า เช่น CaSO4 ละลายได้ 0.208 g ในน้า 100 g แต่ถ้าเติมแอลกอฮอล์ 6.2% w/w การ
ละลายของ CaSO4 ลดลงเหลือ 0.1 g และถ้าเพิ่มแอลกอฮอล์เป็น 13.6% w/w การละลายจะลดลงเหลือ
เพียง 0.044 g

3) ไอออนร่วม
ในกรณีที่มีไอออนที่เหมือ นกับ ไอออนใดไอออนหนึ่ งที่เกิดมาจากเกลือ เรีย กว่า ไอออนร่วม
(common ion) ตัว อย่า งเช่น เมื ่อ เติม NaCl ลงในสารละลาย AgCl ไอออนร่ว มคือ Cl- สมดุล ของ
AgCl เป็นดังนี
AgCl(s) Ag+ aq) + Cl-(aq) Ksp = [Ag+][Cl-]

จากค่า Ksp มีค่าเท่ากับ 1.8x10-10 เมื่อเติม Cl- ลงในสารละลายของ AgCl ความเข้มข้นของ


Ag+ และ Cl- จะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามหลักของเลอชาเตอร์ ลิเอร Cl- จะท้าปฏิกิริยากับ Ag+ เกิด
เป็น AgCl มากขึนเพื่อท้าให้ [Ag+][Cl-] จะมีค่าเท่ากับ Ksp ก็คือ [Ag+] จะมีค่าลดลง และ [Cl-] มีค่า
สมดุลของการละลาย | 13

เพิ ่ม ขึ น ผลคือ ท้า ให้เ กิด การละลายน้อ ยลงเมื ่อ เติม ไอออนร่ว ม ปรากฏการณ์นี เรีย กว่า ผล ของ
ไอออนร่วม (common ion effect) ในท้านองเดียวกัน ถ้าเติม Ag+ ลงไปท้าให้ปริมาณ Ag+ เพิ่มขึน ผล
คือท้าให้ AgCl ตกตะกอนมากขึน ดังนันการเติมไอออนชนิดเดียวกันกับไอออนของเกลื อนันลงไปทัง
แคตไอออนหรือแอนไอออน จะท้าให้ตะกอนมีการละลายลดลงได้ จากประโยชน์ดังกล่าว จึงน้าไปใช้ใน
การตกตะกอนสาร โดยการตกตะกอนไอออนใดก็ตาม จะต้องเติมสารตกตะกอนลงไปในไอออนนันๆ
ให้มากเกินพอเล็กน้อย เพื่อให้ตกตะกอนไอออนได้หมด และเพื่อให้เกิดไอออนร่วมซึ่งจะท้าให้ตะกอนที่
เกิดขึนนันมีการละลายลดลง ดังนันการสูญเสียตะกอนเนื่องจากการละลายจะลดลง

ตัวอย่าง 1.18 จงค้านวณหาสภาพการละลาย (s) ของ AgCl เมื่อ น้าไปละลายในสารละลาย 0.010


mol/L NaCl (Ksp ของ AgCl = 1.8x10-10)
วิธคี ิด AgCl(s) Ag+(aq) + Cl-(aq)
Ksp = [Ag+][Cl-]
1.8x10-10 = s2
s = 1.8x10-10 = 1.34x10-5 mol/L
เมื่อเติม 0.010 mol/L NaCl ลงไป ท้าให้ [Cl-] = s+0.010 mol/L
Ksp = [Ag+][Cl-] = 1.8x10-10
(s)(0.010 + s) = 1.8x10-10
เนื่องจากค่า Ksp มีค่าน้อยมาก ดังนัน s มีค่าน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับ 0.010 ดังนัน
s (0.010) = 1.8x10-10
s = 1.8x10-8 mol/L
จะเห็นว่า AgCl ละลายได้ 1.8x10-8 mol/L ในสารละลายที่มีไอออนร่วม ซึ่งลดลงเมื่อเปรียบเทียบ
กับสารละลายของ AgCl ในน้ามีค่าเท่ากับ 1.34x10-5 mol/

ตัวอย่าง 1.19 จงค้า นวณหาค่า การละลาย (s) ของ CaF2 ในน้า ที่ 25C และเมื่อ เติม 0.10 mol/L
CaCl2 ลงไปน้าไปละลาย จงค้านวณค่าการละลายของเกลือ CaF2 ใหม่ (Ksp ของ CaF2=3.9x10-11)
วิธคี ิด CaF2(s) Ca2+(aq) + 2F-(aq)
Ksp = [Ca2+][F-]2 = (s)(2s)2
= 4s3
3
K sp 3 3.9x10-11
s= =
4 4
= 2.14x10-4 mol/L
เมื่อเติม 0.10 mol/L CaCl 2 ลงไป ท้าให้ [Ca2+] = s+0.10
Ksp = (s+0.10)(2s)2
ให้ s มีค่าน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับ 0.10 ดังนัน
14 | เคมีวิเคราะห์

0.10 x 2s2 = 3.9x10-11


3.9x10-11
s =
2
= 9.75x10-4
0.4
s = 9.9x10-6 mol/L
จะเห็นว่า CaF2 ละลายได้เท่ากับ 2.14x10-4 mol/L ในน้า แต่ละลายได้ลดลงเป็น 9.9x10-6 mol/L
ในสารละลาย 0.10 mol/L CaCl 2

4) ผลของ pH
ค่า pH ของตัวท้าละลายจะมีผลต่อการละลายของเกลือบางชนิด กรณีที่แคตไอออนเป็นกรด
อ่อนหรือแอนไอออนเป็นเบสอ่อน ค่า pH ของสารละลายจึงมีผลต่อการละลาย เช่น เกลือ AB
AB(s) A+(aq) + B-(aq)
เมื่อ B- เป็นอนุมูลเบสอ่อน
B- + H3O+ HB + H2O
ดังนัน เมื่อกรดเพิ่มขึน B- จะเข้าท้าปฏิกิริยาได้มากขึน AB ก็ละลายได้มากขึน
ถ้ากรณีที่เป็นอนุมูลกรดอ่อน
A+ + OH- AOH
เมื่อความเป็นกรดเพิ่มขึน (pH ลดลง) ก็จะถูกดึงมาท้าปฏิกิริยากับ OH- ท้าให้ H3O+ เพิ่มขึน
A+ ก็จะรวมกับ B- ได้ตะกอนเพิ่มขึนจึงท้าให้การละลายลดลง

พิจารณาการละลายของสารประกอบไฮดรอกไซด์ของโลหะ
Mg(OH)2(s) Mg2+(aq) + 2OH-(aq)
ถ้าเติมเบสลงไป (OH-) จะท้าให้สมดุลเสีย โดย OH- ถูกรบกวน (เพิ่มขึน) ดังนันปฏิกิริยาจะ
ด้าเนินไปทางซ้ายมากขึนตามหลักของเลอชาเตอร์ ลิเอร์ ค่าการละลายจะลดลง แต่ถ้าเติมกรดลงไป H+
จะสะเทิน OH- ได้เป็น H2O โดย OH- ถูกรบกวน (ลดลง) ปฏิกิริยาจะด้าเนินไปทางขวามากขึน ค่าการ
ละลายเพิ่มขึน

ตัวอย่าง 1.20 ที่สมดุล 25C การละลายของ Mg(OH)2 จะมี pH เท่าใด (Ksp ของ Mg(OH)2=1.2x10-11)
วิธีคิด Mg(OH)2(s) Mg2+(aq) + 2OH-(aq)
[ ]เริ่มต้น 0 0
[ ]เปลี่ยน s 2s
[ ]สมดุล s 2s

Ksp = [Mg2+][OH-]2
1.2x10-11 = s(2s)2 = 4s3
สมดุลของการละลาย | 15

s = 1.4x10-4 mol/L
ดังนัน [OH-] = 2(1.4x10-4) = 2.8x10-4 mol/L
pOH = -log(2.8x10-4) = 3.55
pH = 14.00 - 3.55 = 10.45

ตั ว อย่ า ง 1.21 ค้ า นวณค่ า การละลายของ Mg(OH)2 ในบั พ เฟอร์ pH 12.0 และ 9.0 (Ksp ของ
Mg(OH)2=1.2x10-11)
วิธีคิด Mg(OH)2(s) Mg2+(aq) + 2OH-(aq)
s 2s
ก) ที่บัพเฟอร์ pH 12.0
pOH = 14.0-12.0 = 2.0
[OH-] = 1.0x10-2 mol/L
Ksp = [Mg2+][OH-]2
= s(1.0x10-2)2
1.2x10-11
s= = 1.2x10-7 mol/L
(1.0x10 )
-2 2

ดังนันการละลาย Mg(OH)2 ในบัพเฟอร์ pH 12.0 จะลดลง เมื่อเทียบกับการละลายที่ pH 10.45


เท่ากับ 1.4x10-4 mol/L

ข) ที่บัพเฟอร์ pH 9.0
pOH = 14.0 - 9.0 = 5.0
[OH-] = 1.0x10-5 mol/L
Ksp = [Mg2+][OH-]2
= s(1.0x10-5)2
1.2x10-11
s= = 0.12 mol/L
(1.0x10 )
-5 2

ดังนันการละลาย Mg(OH)2 ในบัพเฟอร์ pH 9.0 จะเพิ่มขึน เมื่อเทียบกับการละลายที่ pH 10.45


เท่ากับ 1.4x10-4 mol/L
16 | เคมีวิเคราะห์

5) ผลของการเกิดไอออนเชิงซ้อน
ในสารละลายที่มีไอออนที่สามารถท้าปฏิกิริยากับแคตไอออนหรือแอนไอออนของตะกอนเกิด
เป็นไอออนเชิงซ้อนที่ละลายได้ จะท้าให้ตะกอนมีการละลายเพิ่มขึน เช่นการตกตะกอน Al3+ ด้วยเบส
ในสารละลายที่มี F- อยู่ด้วย การตกตะกอนจะไม่สมบูรณ์ เนื่องจาก Al3+ จะเกิดไอออนเชิงซ้อนที่คงตัว
กับ F-
Al(OH)3(s) Al3+ + 3OH-
+
6F- AlF63-

ในกรณีผลของไอออนร่วม ต้องไม่เติมสารตกตะกอนในปริมาณมากเกินไป เพราะมีตะกอน


บางชนิดสามารถท้าปฏิกิริยากับไอออน เกิดไอออนเชิงซ้อนที่ละลายน้าได้ ท้าให้ตะกอนละลายได้มาก
ขึน เช่น ตะกอน AgCl เมื่ออยู่ในสารละลายที่มี Cl- ปริมาณมาก จะเกิดไอออนเชิงซ้อนที่ละลายน้า เช่น
AgCl2-, AgCl32-, AgCl43- เป็นต้น

You might also like