You are on page 1of 6

รายงานการทดลอง

เรื่อง การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า (Electroplating) และการสะเทิน


(Neutralization)

กลุ่มที่ 101-AM4

นายชัยธวัช แก้วกองทรัพย์ รหัสนักศึกษา 66010172


นายไชยวัฒน์ พุ่มมา รหัสนักศึกษา 66010186
นางสาวฐิติรัตน์ ธรรมารักษ์วัฒนะ รหัสนักศึกษา 66010202
นายณฐกร ตั้งสิทธิ์วิเศษกุล รหัสนักศึกษา 66010205
นายณปภัช อิงโชติศักดิ์ รหัสนักศึกษา 66010212
นายณัฐชนน จอมงูเหลือม รหัสนักศึกษา 66010229
นางสาวณัฐณิชา จินดาศรี รหัสนักศึกษา 66010232

รายงานเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเคมีสําหรับวิศวกรรม (01006045)
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ปีการศึกษา 2566
2

รายงานการทดลอง เรื่อง การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า และการสะเทิน

1. วัตถุประสงค์
1. มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการสารเคมี (Chemical Handling) และการทําปฏิกิริยาเคมี
(Chemical Reaction) อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และปลอดภัย เช่น
1.1 การชั่ง ตวง วัด สารเคมี
1.2 การเตรียมและการทําปฏิกิริยาเคมีของสารเคมีที่มีสมบัติกรดหรืเบส
1.3 การทําปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า (Electrochemistry) ด้วยวิธีการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า (Electroplating)
2. ใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ของการปฏิบัติการทางเคมีได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และปลอดภัย เช่น
เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์ (Laboratory Glassware) เครื่องชั่งดิจิตอลตั้งโต๊ะ (Digital Balance) ทศนิยม
2 ตําแหน่งเครื่องวัดอุณหภูมิหรือเทอร์โมมิเตอร์แบบแท่งแก้วไส้แอลกอฮอล์ (Thermometer) เครื่องวัดค่า pH
(pH Meter)
3. ประยุกต์ใช้และเชื่อมโยงความรู้ความเข้าใจเรื่องปฏิกิริยาเคมีและปริมาณสารสัมพันธ์ (Chemical Reactions
and Reaction Stoichiometry) สารละลายทีม่ นี ้ําเป็นตัวทําละลาย (Aqueous Solution) ของแข็ง (Solid)
ของเหลว (Liquid) พันธะเคมี (Chemical Bonding) ตลอดจนปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า (Electrochemistry) กับ
การสร้างชิ้นงานทางวิศวกรรมได้
4. วางแผนการทํางานอย่างเป็นขั้นตอน และทํางานกลุ่มอย่างมีระบบ
5. มีจิตสํานึกและความรับผิดชอบด้านความปลอดภัย สังคม และสิ่งแวดล้อม
การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) : ใส่แว่นตากันสารเคมี ถุงมือ เสื้อกาวน์และรองเท้า
หุ้มส้น
ข้อควรระวัง : หากสารเคมีกระเด็นหรือหกใส่ตวั ให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาดโดยเร็วที่สุด

2. วิธีการทดลอง
1. เตรียมแผ่นอะลูมิเนียมที่ใช้ชุบ ความยาว 5 cm
- ใช้กระดาษทรายถูแผ่นอะลูมิเนียม เพื่อช่วยเปิดหน้าผิว
2. เตรียม 0.1 M NaOH Solution ปริมาตร 250 mL สำหรับเปิดหน้าผิวของแผ่นอะลูมิเนียม
- ตวงน้ำ DI ปริมาตร 250 mL จากนั้นเทน้ำ DI ในบีกเกอร์ขนาด 1000 mL
- ละลาย NaOH 1 กรัม ลงในน้ำ DI และคนให้ NaOH ละลายจนหมด
- วัด PH ด้วยกระดาษวัดความเป็นกรด-ด่าง
- จุ่มแผ่นอะลูมิเนียมใน 0.1 M NaOH Solution เป็นเวลา 10 นาที
- ล้างแผ่นอะลูมิเนียมด้วยน้ำ DI 1 ครั้ง พร้อมทั้งสังเกตและบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
3

3. เตรียม 2 M H2SO4 Solution ปริมาตร 100 mL


- ตวง 2 M H2SO4 100 mL จากนั้นค่อย ๆ เท H2SO4 ในบีกเกอร์ ขนาด 250 mL
- วัด pH ด้วยกระดาษวัดความเป็นกรด-ด่าง
4. เตรียมวัสดุและอุปกรณ์การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า
- จุ่มแผ่นอะลูมิเนียมบริเวณกลางบีกเกอร์ที่บรรจุ 2 M H2SO4 Solution และกำหนดให้เป็น Anode (ขั้วบวก)
- พันลวดอะลูมิเนียมบริเวณขอบบีกเกอร์ และกำหนดให้เป็นขั้ว Cathode (ขั้วลบ)
5. เตรียมเครื่อง Power Supply โดยใช้ความต่างศักย์ 12 V
- ต่อขั้ว Anode ที่ความต่างศักย์ 12 V และ Cathode ที่ความต่างศักย์ 0 V
6. ชุบแผ่นอะลูมิเนียม โดยใช้เวลา 30 นาที พร้อมทั้งสังเกตและบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
- ระหว่างการรอ TA จะเตรียม
- สารละลายหมึกพิมพ์ จำนวน 1 ชุด ที่อุณหภูมิ 75 o C
- สารละลายเบกกิงโซดา จำนวน 1 ชุด โดยละลายเบกกิงโซดา 1 g ในน้ำ DI 200 mL และบรรจุในกระบอก
ฉีดน้ำ
7. เมื่อครบกำหนดเวลาการชุบ ล้างแผ่นอะลูมิเนียมด้วยสารละลายเบกกิงโซดา เพื่อปรับค่า pH ให้เป็นกลาง
8. ค่อยๆจุ่มชิ้นงานแผ่นอะลูมิเนียมในสารละลายหมึกพิมพ์ที่มีอุณหภูมิ 75 O C เป็นเวลา 10 นาที
9. จุ่มชิ้นงานแผ่นอะลูมิเนียมในน้ำเดือดเป็นเวลา 3 นาที เพื่อปิดหน้าผิว
10. วางชิ้นงานแผ่นอะลูมิเนียมบนกระดาษเอนกประสงค์

3. ผลการทดลองและวิ เคราะห์

ภาพที่ 1 แสดงการใช้เวลาในการชุบแผ่นอะลูมิเนียม 30 นาที


4

ผลการทดลอง
จากภาพที่ 1 จะเห็นได้ว่าสีที่ทำการชุบนั้นติดลงบนแผ่นอะลูมิเนียมเป็นสีน้ำเงินเข้ม
วิเคราะห์ผลการทดลอง
- ค่าความต่างศักย์ที่ 12 V ทำให้เกิดการถ่ายเทอิเล็กตรอนจึงทำให้ผลการทดลองสำเร็จ
- สีที่ติดลงบนอะลูมิเนียมเป็นส่วนที่เกิดจากการขัดเพื่อเปิดหน้าผิว ส่วนที่ไม่ถูกขัดจะไม่มีสีติด
- ระหว่างชุบแผ่นอะลูมิเนียมด้วยไฟฟ้า ที่ด้านแอโนดจะเกิดก๊าซออกซิเจนและอะลูมิเนียมจะเปลี่ยนเป็น
อะลูมิเนียมออกไซด์ ส่วนขั้วแคโทดจะเกิดก๊าซไฮโดรเจน

4. สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่าการจุ่มแผ่นอะลูมิเนียมลงใน NaOH Solution ที่เวลา 10 นาที จะเกิดฟองแก๊สบริเวณ
พืน้ ผิวของแผ่นอะลูมิเนียม เมื่อนำไปชุบด้วยไฟฟ้าและเปิดสวิตช์ให้กระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านแผ่นอะลูมิเนียมใน
H2SO4 Solution ทีเ่ วลา 30 นาที จะเกิดฟองแก๊สทั่วบริเวณพื้นผิวของแผ่นอะลูมิเนียม ที่ด้านแอโนดจะเกิดก๊าซ
ออกซิเจนและอะลูมิเนียมจะเปลี่ยนเป็นอะลูมิเนียมออกไซด์ ส่วนขั้วแคโทดจะเกิดก๊าซไฮโดรเจนเมื่อชุบแผ่น
อะลูมิเนียมด้วยไฟฟ้าเสร็จก็ให้นำสารละลายเบกกิงโซดามาฉีดให้ค่า pH เป็นกลางกแล้วนำไปจุ่มสารละลายหมึก
พิมพ์ที่มีอุณหภูมิ 75 O C เป็นเวลา 10 นาทีและนำไปจุ่มในน้า เดือดเป็นเวลา 3 นาที เพื่อปิดหน้าผิว พบว่าสีที่ทำ
การชุบติดลงบนแผ่นอะลูมิเนียมเป็นสีน้ำเงินเข้ม

5. คาถามท้ายรายงาน
1. ระบุขั้นตอนการเกิดฟองก๊าซและอธิบายที่มาของการเกิดฟองก๊าซในการทดลองการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า
ตอบ เกิดจากไฮโดรเจนไอออนจากกรดซัลฟิวริกจะถูกรีดิวซ์เป็นแก๊สไฮโดรเจนที่ลวดลวดอะลูมิเนียม จึงทำให้เห็น
เป็นฟองแก๊สลอยขึ้นดังสมการที่ขั้วแคโทด

𝟐𝐇 + (𝐚𝐪) + 𝟐𝐞− → 𝐇𝟐 (𝐠)

2. เปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนหรือความแตกต่างของชิ้นงานแผ่นอะลูมิเนียมที่ใช้แรงดันจ่ายไฟ 12 V
และ 24 V
ตอบ มีความแตกต่างกันในเชิงของเวลาที่ใช้ในการให้กระแสไฟฟ้า เพราะเมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่มที่ใช้
เวลาในการชุบ 15 นาทีกบั กลุ่มที่ใช้เวลาในการชุบ 30 นาที ทำให้เห็นความแตกต่างได้ว่ากลุ่มที่ใช้เวลา 30 นาที
ชิ้นงานจะมีสีเกาะแน่นกว่าและมีสีเคลือบติดที่เข้มชัดกว่า ส่วนความต่างศักย์ก็มีผลต่อการก่อตัวของผิวชิ้นงาน
5

ภาพที่ 2 แสดงการใช้เวลาในการชุบแผ่นอะลูมิเนียม 15 นาที


101-AM3 (กลุม่ เปรียบเทียบ)

ภาพที่ 3 แสดงการใช้เวลาในการชุบแผ่นอะลูมิเนียม 30 นาที


101-AM4

3. สรุปขั้นตอนการการชุบโลหะอะลูมิเนียมด้วยไฟฟ้าด้วยความเข้าใจของนักศึกษาภายใน 300 คํา


ตอบ ขัน้ ตอนแรกนำแผ่นอะลูมิเนียมที่เตรียมไว้ ขัดให้ด้วยกระดาษทรายเพื่อเปิดหน้าผิวชิ้นงานเพียงหนึ่งด้าน นำ
โซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 0.1 M ที่เตรียมไว้ไปละลายด้วยน้ำ DI ปริมาตร 250 ml คนให้โซเดียมไฮดรอก
ไซด์ละลายจนหมด วัดค่า pH ที่ได้จากสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ นำแผ่นอะลูมิเนียมที่ขัดไว้จุ่มลงใน
สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นเวลา 5 -10 นาทีเพื่อล้างคราบไขมัน จากนั้นนำแผ่นอะลูมิเนียมไปล้างด้วยน้ำ
6

DI อีกรอบ ในขั้นตอนต่อไปวัดค่า pH ของสารละลายกรดซัลฟิวริก 2 M ปริมาตร 100 ml ที่เตรียมไว้ หลังจาก


นั้น จึงเริ่มนำแผ่นอะลูมิเนียมต่อกับขั้วแอโนด (ขั้วบวก) ส่วนลวดอะลูมิเนียมต่อกับขั้วแคโทด (ขั้วลบ) เมื่อต่อครบ
แล้ว นำอะลูมิเนียมทัส้ องจุ่มลงในสารละลายกรดซัลฟิวริก เริ่มปล่อยกระแสไฟด้วยความต่างศักย์ 12 โวลต์ เป็น
เวลา 30 นาที โดยห้ามให้ลวดอะลูมิเนียมกับแผ่นอะลูมิเนียมชนกัน ขณะปล่อยกระแสไฟฟ้าระหว่างรอถ่ายภาพ
หรือวิดีโอเพื่อนำไปสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เตรียมสารละลายหมึกพิมพ์ 1 ชุด ที่อุณหภูมิ 75 องศา
เซลเซียส พร้อมกับสารละลายเบกกิ้งโซดา 1 g ปริมาตร 200 ml บรรจุในกระบอกฉีด เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วนำ
แผ่นอะลูมิเนียมล้างด้วยสารละลายเบกกิ้งโซดาเพื่อปรับค่า pH ให้เป็นกลาง นำชิ้นงานหรือแผ่นอะลูมิเนียมจุ่มลง
ในหมึกพิมพ์ทเี่ ตรียมไว้ข้างต้นครบ 10 นาที หลังจากนั้นให้นำไปแช่ในน้ำเดือด เป็นเวลา 3 นาที เพื่อทำการปิด
หน้าผิวของชิ้นงาน เมื่อทำการทดลองเสร็จ นำอุปกรณ์ที่ใช้เสร็จแล้วไปล้างยกเว้นสารเคมีหรือสารละลายที่เหลือ
จากการทดลอง กรดซัลฟิวริกเนื่องจากมีความเป็นกรดสูง ควรนำไปลดความเข้มข้นหรือนำไปสะเทินเพื่อทำให้
เป็นกลางก่อนจึงจะสามารถนำสารละลายทิ้งได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากสารเคมีต่อผู้ทดลอง

4. ระบุค่า pH ของของเสียจากการทดลองที่ 1 และหากต้องการสะเทินของเสียดังกล่าวต้องใส่สารใดเพิ่มด้วย


ปริมาณเท่าไร
ตอบ ของเสียของ H2SO4 ปริมาตร 100 mL ค่า pH = 0.96 ต้องใส่สาร NaOH เพิ่มปริมาณ 0.384 g

6. เอกสารอ้างอิง
1. คลังความรู้ SciMath. 2018. เซลล์ไฟฟ้าเบื้องต้น. [online]: https:/www.scimath.org/lesson-
chemistry/item/9788-2019-02-21-06-37-12
2. Royal Society of Chemistry. 2022. Experiments: Anodising Aluminium. [online]:
https://edu.rsc.ore/experiments/anodising-aluminium/1918.article

You might also like