You are on page 1of 7

บทปฏิบตั ิการที่ 2

การเก็บตัวอย่างพืช (Plant specimen collection)


(เรียน online)

บทนำ
การศึกษาทางด้านความหลากหลายและอนุกรมวิธานของพืชนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องมีการเก็บตัวอย่างของพืช (plant specimens) เพื่อเป็นข้อมูลและเป็นตัวอย่างหลักฐานอ้างอิง
ในการศึกษารายละเอียดลักษณะทางสัณฐานวิทยา โครงสร้างส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของราก
ลำต้น ใบ ดอก ผลและเมล็ด ทั้งนี้การเก็บตัวอย่างพืชนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
1. การเก็บรักษาตัวอย่างแบบมีชีวิต (living specimens) ได้แก่ การนำตัวอย่างพืชมาปลูก
ไว้ในโรงเรือน (greenhouse) สวน (garden or park) หรือสวนพฤกษศาสตร์ (botanical garden)
เป็นต้น ข้อดีของตัวอย่างพืชที่เก็บรวบรวมไว้นี้ก็คือ สามารถที่จะติดตามศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ของ
พืชได้อย่างต่อเนื่องทุกส่วน ได้ตัวอย่างใหม่สดเสมอ อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ของพืชไว้อีก
ทางหนึ่ง แต่ปัญหาก็คือต้องมีพื้นที่กว้างขวางพอเพียง และต้องดูแลบำรุงรักษาเพื่อให้พืชที่ปลูกไว้นี้มี
การเจริญเติบโต และออกดอก ออกผล โดยเฉพาะพืชต่างถิ่น (exotic species) ที่จะต้องเลียนแบบ
สถานที่ ถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมของพืชให้ได้มากที่สุด ยกตัวอย่าง เช่น การนำพืชเมืองหนาวมาปลูกในประเทศ
ไทย ก็มักจะพบว่าไม่สามารถเจริญเติบโตได้ หรือเจริญเติบโตได้แต่ก็จะไม่มีการออกดอก หรือออก
ดอกแต่ไม่ติดผล เป็นต้น ซึ่งทางแก้ปัญหาอาจดำเนินการโดยปลูกในโรงเรือนที่ควบคุมอุณหภูมิ และ
สิ่งแวดล้อมได้ หรือถ้าพืชต้องการอากาศเย็นอาจนำพืชไปปลูกในพื้นที่ภูเขาสูงที่มีอากาศเย็น ซึ่งก็
จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมากขึ้นตามไปด้วย
2. การเก็ บ ตั วอย่า งแห้ งหรื อตั วอย่า งดอง (dried or liquid specimens) ได้แ ก่ การนำ
ชิ้นส่วนของพืช ซึ่งอาจจะเป็นทั้งต้นในกรณีของพืชล้มลุก (herb) หญ้า (grass) หรือเฟิร์น (fern) แต่
ถ้าหากเป็นพืชที่มีขนาดใหญ่ เช่น ไม้พุ่ม (shrub) หรือไม้ต้น (tree) นิยมเก็บตัวอย่างในส่วนของกิ่ง
ใบ ดอก และผล เท่านั้นที่นำมาทำการอัดในแผงอัดพรรณไม้ (plant press) จากนั้นนำไปทำให้แห้ง
ด้วยการตากแดดหรืออบให้แห้ง ส่วนตัวอย่างของดอก ผล หรือส่วนที่มีความอวบน้ำ ซึ่ งจะเสียรูปร่าง
ไปเมื่ออบแห้งนั้น จะต้องแยกตัวอย่างบางส่วนไปดองไว้ในสารละลายที่เตรียมไว้ ส่วนใหญ่นิยมใช้ เอ
ทานอลความเข้มข้นประมาณ 70% เนื่องจากมีราคาถูก เตรียมง่าย และไม่มีความเป็นพิษ อีกทั้งยัง
สามารถใช้กับพืชได้ทุกกลุ่ม การดองพืชด้วยเอทานอลควรเติมกลีเซอรีน (glycerin) ลงไปเล็กน้อย
เพื่อเพิ่มความชุ่มให้กับตัวอย่าง พืชดองจะไม่กรอบหรือเน่าสลาย แต่ข้อเสียของเอทานอลคือ ตัวอย่าง
ที่เก็บรักษาไว้จะไม่สามารถรักษาสีดั้งเดิมของตัวอย่างไว้ได้ เนื่องจากเอทานอลจะไปละลายสีต่าง ๆ
เหล่านั้น ออกไป
สิ่งสำคัญในการเก็บตัวอย่างพืชไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดก็คือ การจดบันทึกข้อมูลประจำตัวอย่าง
ที่จะต้องดำเนินการอย่างถูกต้องเป็นระบบ ซึ่งข้อมูลสำคัญที่จะต้องทำการบันทึกไว้เสมอ ได้แก่ข้อมูล

37
ตามภาพที่ 2.1 แผ่นบันทึกข้อมูลพืช (label) และข้อมูลพืชที่บันทึกแล้วจะนำไปติดไว้กับตัวอย่างพันธุ์
ไม้แห้ง (herbarium specimen) ดังภาพที่ 2.2

ภาพที่ 2.1 ตัวอย่างแผ่นบันทึกข้อมูลพันธุ์ไม้แห้ง ขนาด กว้าง 3.5 x 6.5 นิ้ว

ความมหมายของหัวข้อต่างๆ ในแผ่นบันทึกข้อมูลที่อยู่ในแผ่นบันทึกข้อมูลมีความหมายดังนี้
1. Flora of Thailand หมายถึง พรรณพฤกษชาติของประเทศไทย
2. PNU Herbarium หมายถึง ชื่อหอพรรณไม้ ปัจจุบัน คือ ห้อง SC3-104 ภาควิชาชีววิทยา
ที่อยู่คือ Faculty of Science, Naresuan University คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย
P หมายถึง Phitsanulok
N หมายถึง Naresuan
U หมายถึง University
3. FAMILY: ให้เติมชื่อวงศ์ของพืชตัวอย่าง
4. Local Name : ให้เติมชื่อไทย หรือชื่อเรียกตามท้องถิ่นนั้นๆ
5. BOTANICAL NAME : ให้เติมชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชตัวอย่าง
6. Province : ให้เติมชื่อจังหวัดที่เก็บพืชตัวอย่าง
7. District : ให้เติมชื่ออำเภอที่เก็บพืชตัวอย่าง
8. Location : ตำแหน่ ง หรือสถานที่เก็บตัวอย่าง (locality) หมายถึงสถานที่เก็บตัวอย่าง
เช่น ชื่อหมู่บ้าน ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด หรือเป็นพื้นที่อนุรักษ์ต่าง ๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ เขต
รักษาพัน ธุ์สัตว์ป่า สวนรุกขชาติ หรือพื้นที่อื่น ๆ เช่น ชื่อถ้ำ ชื่อสวน โดยต้องจดบันทึกให้ละเอียด
ชัดเจนมากที่สุด ปัจจุบันสามารถใส่พิกัดภูมิประเทศได้ด้วย

38
9. Elevation : หมายถึง ความสูงของพื้นที่ (altitude) จากความสูงจากระดับน้ำทะเลปาน
กลาง ที่พืชตัวอย่างขึ้นอยู่ สามารถตรวจดูได้จาก เครื่องกำหนดพิกัดภูมิศาสตร์ (Global Position
System: GPS) หรือเครื่องมือวัดความสูงจากระดับน้ำทะเล (altimeter) ปานกลาง ซึ่งจะช่วยบอกให้
ทราบว่าพื้นที่ที่เก็บตัวอย่างนั้นเป็นที่ราบหรือภูเขา
10. Date : คือวันที่เก็บตัวอย่างพืชนั้น ให้เขียนเต็ม และนิยิมระบุเป็นปีสากล คือใช้ ค.ศ.
เช่น 1 January 2021 เพื่อความชัดเจน ให้สามารถเข้าใจได้ตรงกัน ไม่ย่อหรือเขียนเป็นตัวเลข
11. Habitat : ลักษณะทางนิเวศวิทยาหรือสภาพพื้นที่ที่พืชตัวยอย่างนั้นๆ เจริญอยู่ เช่น ป่า
ดิบ ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ป่าเมฆฝน ทุ่งหญ้า ป่าชายหาด เกาะแก่งต่างๆ น้ำตก ริมลำธาร ภูเขา
หินปูน หน้าผา ในสระน้ำ ริมคลอง ริมถนน ทุ่งนา ที่รกร้าง หรือพื้นที่เพาะปลูก ไร่ สวน เป็นต้น
12. Notes : ส่วนนี้มีความสำคัญมาก ที่ต้องบันทึกเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับตัวอย่างพืชชนิดที่
เก็บ คือ ต้องบันทึกลักษณะของพืชที่ยังสด สียังไม่เปลี่ยน หลักการคือให้บันทึกสิ่งที่จะหายไปเมื่อพืช
นั้นถูกอบให้แห้ง ซึ่งได้แก่ สี น้ำยาง กลิ่น ขนาดที่เมื่อแห้งแล้วจะเหี่ยวลดขนาดลง รวมถึง ขนาดของ
ลำต้น และความสูงของต้น ให้บันทึกด้วย เช่น ไม้ต้น ที่มีขนาดใหญ่และสูง ซึง่ เราจะไม่สามารถเก็บมา
ได้ทั้งต้นได้ จึงมีความจำเป็ นต้องบันทึกไว้ในแผ่น บันทึกข้อมูล เพื่อให้ผู้ที่มาดูหรือมาศึกษาตัวอย่าง
พั น ธุ์ ไม้ แ ห้ งที่ เราเก็ บ มานั้ น ทราบข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม ซึ่ งลั ก ษณะที่ บั น ทึ ก นี้ จ ะช่ ว ยในการตรวจสอบ
เอกลักษณ์ของพืชและระบุชื่อได้แม่นยำยิ่งขึ้น บางครั้งจะบันทึกการใช้ประโยชน์ของพืชนั้นๆ ไว้ด้วยก็
ได้
13. Collected by : ใส่ชื่อ-นามสกุล ผู้เก็บตัวอย่าง (collector) ซึ่งจะระบุเป็นบุคคลเดียว
หรือหลายคนก็ได้
14. Number : หมายถึง ลำดับหมายเลขที่ถูกกำหนดขึ้นด้วยผู้เก็บตัวอย่างแต่ละคน เริ่มจาก
หมายเลข 1 เรียงลำดับกันไป ซึ่งอาจมีรหัสของผู้เก็บร่วมด้วยก็ได้ เช่น CT-01 PN-01 หรือ 21-01 ซึง่
21 หมายถึงปี ค.ศ. 2021 เป็นต้น
15. Duplicates : ให้ใส่เป็นตัวเลข คือ ถ้าเก็บตัวอย่างหมายเลขใด ๆ ก็ตาม ได้เก็บมา 2 ชิ้น
เพื่อนำไปฝากเก็บยังหอพรรณไม้อื่นๆ ด้วย แสดงว่าตัวอยางหมายเลขนั้นมีแยกไป 1 ชิ้น ดังนั้น
Duplicates คือ 1 จะไม่ใช่ 2

39
ภาพที่ 2.2 ตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้ง (herbarium specimens) ตัวอย่างดอง พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูล

วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ
1. ทราบถึงความสำคัญและวิธีการเก็บตัวอย่างพืชในแบบต่าง ๆ
2. ดำเนินการเก็บตัวอย่างพืช และบันทึกข้อมูลประจำตัวอย่างพืชได้อย่างถูกต้อง
3. ทำตัวอย่างพืชแห้ง และตัวอย่างดอง เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้
4. สืบค้นข้อมูลเพื่อนำมาอภิปรายผลการศึกษาได้
วัสดุอุปกรณ์
1. แผงอัด พรรณไม้ (ขนาด 12 x 18 นิ้ ว จำนวน 1 คู่ ) และอุ ป กรณ์ ได้ แ ก่ กระดาษแข็ ง
กระดาษหนังสือพิมพ์ เชือกรัดแผงอัด ครั้งนี้ให้นิสิตใช้เพียงกระดาษแข็งอย่างเดียวได้ ไม่ต้องทำแผง
อัดพรรณไม้ส่ง
2. ป้ายติดหมายเลขตัวอย่างขณะเก็บตัวอย่าง (ดูจากวิดิโอ) กรรไกรตัดกิ่ง สมุดบันทึก
3. เครื่องมือวัดความสูงของพื้น (altimeter หรือ GPS หรือแอพปริเคชั่นจากโทรศัพท์มือถือ)
4. ตู้อบ (hot oven) ครั้งนี้ให้นิสิตใช้วิธีการตากแดดแทนการใช้ตู้อบ
5. เอทานอล 70% และขวดดองตัวอย่าง ครั้งนี้ม่าต้องเก็บตัวอย่างดอง
6. กล้องถ่ายภาพ
7. กระดาษแข็งการ์ดขาว 250 แกรม ขนาด กว้าง 11 นิ้ว ยาว 17 นิ้ว สำหรับเย็บตัวอย่าง
เข็ม และด้าย ครั้งนี้นิสิตไม่ต้องเย็บตัวอย่าง แต่บทปฏิบัติการนี้ให้นิสิตส่งตัวอย่างพร้อมแผ่น
บันทึกข้อมูลพืชมาในกระดาษหนังสือพิมพ์เท่านั้น ตามภาพที่ 2.4

40
ภาพที่ 2.3 อุปกรณ์ที่จำเป็นในการจัดทำตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้ง และศึกษาทางอนุกรมวิธานพืช

ภาพที่ 2.4 พรรณไม้ที่ต้องส่ง ใส่กระดาษหนังสือพิมพ์พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูล

41
วิธีปฏิบัติ
1. ดูคลิปวิดิโอการทำตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้ง ที่อัพโหลดไว้ใน MS Team
2. ให้นิสิตแต่ละคน ทำตัวอย่างพรรณไม้แห้งของพืชดอก (flowering plant) เก็บตัวอย่างพืช
ที่ประกอบไปด้วย กิ่ง ใบ ดอก และ/หรือ ผล มาจัดวางลงในกระดาษหนังสือพิมพ์ 1 แผ่น พับครึ่ง
หากพืชมีขนาดที่ใหญ่กว่ากระดาษ ให้พับกิ่งหรือใบ หรือใช้กรรไกรตัดออกตามความเหมาะสม
3. การอัดตัวอย่าง ให้พลิกใบให้แสดงทั้งด้านหลังใบและท้องใบ พยายามไม่ให้ใบ กิ่ง และ
ดอกทับกัน จัดวางให้สวยงาม
4. เก็บตัวอย่างคนละ 5 ชนิด ชนิดละ 1 ตัวอย่าง ที่ชนิดไม่ซ้ำกัน ใส่ในกระดาษ
หนังสือพิมพ์ซ้อนทับกันและคั่นด้วยกระดาษแข็งหรือกระดาษกล่อง มัดให้แน่น นำไปตากแดดให้แห้ง
5. ทำแผ่นบันทึกข้อมูลพืชทั้ง 5 ตัวอย่าง บันทึกเป็นภาษาอังกฤษ ด้วย Times
New Roman ขนาด 12 pt แล้วตัดขนาดตามที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น วางบนหนังสือพิมพ์ที่จัดตัวอย่าง
แล้วถ่ายภาพตัวอย่างที่สวยงามนั้น ส่งเป็นรายงาน
บัน ทึกข้อมูล ให้ครบทุกหัวข้อตามแผ่น บันทึกข้อมูล โดยเฉพาะในส่วนของ Notes ควรบัน ทึก
ลักษณะของพืชให้ละเอียด ได้แก่ ความสูงของต้นไม้ สีของน้ำยาง (ถ้ามี) สีของกลีบเลี้ยง สีของ
กลีบดอก กลิ่น และลักษณะอื่น ๆ ที่สังเกตได้
6. ข้อมูลพืชทุกชนิดที่นิสิตเก็บ จะถูกนำมาใช้ในการเรียนปฏิบัติการต่อไป

ผลการศึกษา
นิ สิ ต ทุ ก คนส่ ง ตั ว อย่ า งพั น ธุ์ ไม้ แ ห้ ง (herbarium specimen) คนละ 5 ชนิ ด ชนิ ด ละ 1
ตัวอย่าง ตามที่เขียนไว้ในวิธีปฏิบัติ

สรุปและวิจารณ์ผลการศึกษา
จำแนกให้เป็น เรียกโครงสร้างพืชให้ถูกต้อง ปัญหาที่พบจากการทำปฏิบัติการนี้แบบออน
ไหลน์ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะ

คำถามท้ายบท
1. ให้เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของการเก็บตัวอย่างพืชที่มีชีวิต กับการเก็บตัวอย่างแห้งหรือตัวอย่าง
ดอง ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ
2. ตัวอย่ างพื ช (plant specimens) ที่เก็บ ไว้นี้ ทั้ งตัวอย่างที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต มีความสำคัญ ต่ อ
การศึกษาทางด้านอนุกรมวิธานอย่างไรบ้าง จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ
3. พิพิธภัณฑ์พืช (herbarium) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรต่อการศึกษาทางด้านอนุกรมวิธาน
ของพืช

42
สิ่งที่ต้องส่ง
1.ภาพถ่ายตัวอย่างพืชที่จัดสวยงามบนกระดาษหนังสือพิมพ์ พร้อม label 5 ชนิด ถ่ายให้เห็นเหมือนใน
ภาพ 2.4 นำภาพมาใส่ไฟล์ world
2. ตอบคำถาม โดยลอกคำถามแล้วตอบ ทำในไฟล์ world
3. ให้นิสิตสืบค้นแหล่งเก็บตัวอย่างพรรรไม้ของต่างประเทศที่เป็น Herbarium และที่เป็น Botanical
garden มาอย่างละ 1 สถานที่ โดยระบุข้อมูล ดังนี้
3.1.ชื่อเต็ม
3.2 ชื่อย่อ (ถ้ามี botanical garden) herbarium
3.3 สถานที่ตั้ง เมือง พร้อมภาพประกอบ
3.4 จำนวนชนิด (ถ้ามี)
4. ส่งวันอังคารก่อนเรียนครั้งถัดไป
5. การเขียนชื่อไฟล์ส่งงานให้เขียนดังนี้ รหัส_ชื่อ-นามสกุล_บทที่

หมายเหตุ ให้เก็บดอกสดของพืชที่นิสิตเก็บครั้งนี้มาใช้ในการเรียนปฏิบัติการต่อไป

43

You might also like