You are on page 1of 10

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1

เฉลยแบบทดสอบ
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

1. เฉลย ข.
แนวคิด/เฉลย
ก. ไม่ถูกต้อง เพราะ ที่จุด C มีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของ CO2 น้อยที่สุด
ข. ถูกต้อง เพราะ ที่จุด A มี CO2 ปริมาณน้อยกว่าที่จุด C แสดงว่า ที่จดุ A มี CaCO3 ปริมาณ
มากกว่าที่จุด C
ค. ไม่ถูกต้อง เพราะ ที่จุด C ปฏิกิริยาเคมียังไม่สิ้นสุด เนื่องจากที่จุด C กราฟยังไม่คงที่
ง. ไม่ถูกต้อง เพราะ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่จุด A สูงกว่าที่จุด B

2. เฉลย ค.
แนวคิด/เฉลย
คํานวณอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของโลหะอะลูมิเนียม ณ ช่วงเวลาเริ่มต้นถึง 5.0 นาที ซึ่ง
โลหะอะลูมิเนียมมวล 15.0 กรัม ลดลงเหลือ 5.0 กรัม จะได้อัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของโลหะ
อะลูมิเนียมในหน่วย กรัมต่อนาที แล้วเปลี่ยนเป็นหน่วย โมลต่อนาที
(15.0 g - 5.0 g)
ก. ไม่ถูกต้อง เพราะคํานวณโดยไม่ได้เปลี่ยนหน่วยเป็น mol จะได้ = 2.0 g/min
(5.0 min - 0.0 min)
(15.0 g - 0.0 g)
ข. ไม่ถูกต้อง เพราะคํานวณโดยใช้มวลทั้งหมด จะได้ = 0.11 mol/min
27 × (5.0 min - 0.0 min)
ค. ถูกต้อง เพราะคํานวณโดยใช้มวลทีเ่ ปลี่ยนแปลง และเปลี่ยนหน่วยเป็น mol จะได้
(15.0 g - 5.0 g)
= 0.074 mol/min
27 × (5.0 min - 0.0 min)
5.0 g
ง. ไม่ถูกต้อง เพราะคํานวณโดยใช้มวลที่เหลือ จะได้ = 0.037 mol/min
27 × (5.0 min - 0.0 min)

3. เฉลย ง.
แนวคิด/เฉลย
แก๊ส O2 เป็นผลิตภัณฑ์ ดังนั้นปริมาณแก๊สจึงต้องเพิ่มขึ้น โดยอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีขณะ
เริ่มต้นสูงกว่าเมื่อใกล้สิ้นสุดปฏิกิริยาเคมี กราฟมีความชันลดลงเมื่อเวลาผ่านไป กราฟจึงเป็นเส้นโค้ง
ก. ไม่ถูกต้อง เพราะจากกราฟ ปริมาณแก๊สคงที่ จึงไม่ใช่กราฟของ O2
ข. ไม่ถูกต้อง เพราะจากกราฟ ปริมาณแก๊สลดลงและมีความชันลดลง จึงไม่ใช่กราฟของ O2
ค. ไม่ถูกต้อง เพราะจากกราฟ ปริมาณแก๊สเพิม่ ขึ้น แต่มีความชันลดลง จึงไม่ใช่กราฟของ O2
ง. ถูกต้อง เพราะจากกราฟ ปริมาณแก๊สเพิ่มขึ้นและมีความชันลดลง จึงเป็นกราฟของ O2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2

4. เฉลย ค.
แนวคิด/เฉลย
คํานวณหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเฉลี่ย โดยใช้เวลาตั้งแต่เริ่มต้นปฏิกิริยาเคมีจนถึงสิ้นสุดปฏิกิริยาเคมี
นั่นคือ ช่วงเวลา 0.0 วินาที ถึง 8.0 วินาที ซึ่งสารลดลงจาก 6.0 กรัม เหลือ 1.0 กรัม
(6.0 g - 1.0 g)
ก. ไม่ถูกต้อง เพราะคํานวณโดยใช้เวลา 10.0 s จะได้ = 0.50 g/s
(10.0 s - 0.0 s)
(6.0 g - 0.0 g)
ข. ไม่ถูกต้อง เพราะคํานวณโดยใช้เวลา 10.0 s และใช้สารหมด จะได้ = 0.60 g/s
(10.0 s - 0.0 s)
ค. ถูกต้อง เพราะคํานวณโดยใช้เวลา 8.0 s และใช้ปริมาณสารตั้งแต่เริม่ ต้นจนสิน้ สุดปฏิกิริยา จะได้
(6.0 g - 1.0 g)
= 0.63 g/s
(8.0 s - 0.0 s)
(6.0 g - 0.0 g)
ง. ไม่ถูกต้อง เพราะคํานวณโดยใช้สารหมด จะได้ = 0.75 g/s
(8.0 s - 0.0 s)
5. เฉลย ข.
แนวคิด/เฉลย
1 [H2 ] [O 2 ]
จากสมการเคมี อัตราการเกิดปฏิกิริยา = =
2 t t
1 [H2 ]
ดังนั้น อัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของ O2 เฉลี่ย =
2 t
คํานวณหาอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของ H2 เฉลี่ย โดยใช้เวลาตั้งแต่เริ่มต้นปฏิกิริยาเคมีจนถึงสิ้นสุด
ปฏิกิริยาเคมี นั่นคือ ช่วงเวลา 0.0 นาที ถึง 8.0 นาที ซึ่งสารเพิ่มขึ้นจาก 0.0 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร
เป็น 40.0 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร
(40.0 M - 0.0 M)
ก. ไม่ถูกต้อง เพราะคํานวณโดยใช้เวลา 10.0 min จะได้
2 × (10.0 min - 0.0 min)
= 2.0 Mmin-1
(40.0 M - 0.0 M)
ข. ถูกต้อง เพราะคํานวณโดยใช้เวลา 8.0 min จะได้
2 × (8.0 min - 0.0 min)
= 2.5 Mmin-1
ค. ไม่ถูกต้อง เพราะ คํานวณโดยใช้เวลา 8.0 min แต่ไม่ได้หาร 2 จะได้
(40.0 M - 0.0 M)
= 4.0 Mmin-1
(10.0 min - 0.0 min)
ง. ไม่ถูกต้อง เพราะคํานวณโดยใช้เวลา 10.0 min แต่ไม่ได้หาร 2 จะได้
(40.0 M - 0.0 M)
= 5.0 Mmin-1
(8.0 min - 0.0 min)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 3

6. เฉลย ข.
แนวคิด/เฉลย
ก. ไม่ถูกต้อง เพราะ KI มีปริมาณมากเกินพอ เมื่อปฏิกิริยาเคมีสิ้นสุดจึงยังมี KI เหลืออยู่
ข. ถูกต้อง เพราะเมื่อ Pb(NO3)2 ทําปฏิกริ ิยาหมด ปริมาณ PbI2 จะคงที่ ทําให้กราฟมีความชันเป็น
ศูนย์
ค. ไม่ถูกต้อง เพราะถ้าอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของ PbI2 คงที่ กราฟจะเป็นเส้นตรงที่มีความชัน
คงที่
ง. ไม่ถูกต้อง เพราะถ้าอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของ PbI2 ช้าลง กราฟจะเป็นเส้นโค้งที่มีความชันลดลง

7. เฉลย ง.
แนวคิด/เฉลย
ก. ไม่ถูกต้อง เพราะทิศทางชนเหมาะสม แต่พลังงานที่เกิดจากการชนไม่เหมาะสม
ข. ไม่ถูกต้อง เพราะพลังงานที่เกิดจากการชนเหมาะสม แต่ทิศทางชนไม่เหมาะสม
ค. ไม่ถูกต้อง เพราะพลังงานที่เกิดจากการชนเหมาะสม แต่ทิศทางชนไม่เหมาะสม
ง. ถูกต้อง เพราะทิศทางชนและพลังงานทีเ่ กิดจากการชนเหมาะสม

8. เฉลย ข.
แนวคิด/เฉลย
ก. ไม่ถูกต้อง เพราะปฏิกิริยาเคมีของสาร A มี Ea มากกว่า จึงเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ยากกว่า
ข. ถูกต้อง เพราะปฏิกิริยาเคมีของสาร B มี Ea น้อยกว่า จึงเกิดปฏิกิริยาเคมีง่ายกว่า
ค. ไม่ถูกต้อง เพราะค่า E ไม่เกี่ยวข้องกับความยากง่ายในการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ง. ไม่ถูกต้อง เพราะค่า E ไม่เกี่ยวข้องกับความยากง่ายในการเกิดปฏิกิริยาเคมี

9. เฉลย ข.
แนวคิด/เฉลย
ก. ไม่ถูกต้อง เพราะปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาดูดพลังงาน แต่ E และ Ea ผิด โดย H ใช้
100 – 50 = 50 kJ/mol ส่วน Ea ใช้ค่าพลังงานสูงที่สุด
ข. ถูกต้อง เพราะพลังงานของสารตั้งต้นมีค่าน้อยกว่าผลิตภัณฑ์แสดงว่าปฏิกิริยาเคมีนี้เป็นปฏิกิริยา
ดูดพลังงาน มี E = 50 – 20 = 30 kJ/mol และมี Ea = 100 – 20 = 80 kJ/mol
ค. ไม่ถูกต้อง เพราะมี E = 50 – 20 = 30 kJ/mol แต่ปฏิกิริยานี้ไม่ใช่ปฏิกิริยาคายพลังงาน และ Ea
ผิด โดย Ea ใช้ 100 – 50 = 50 kJ/mol
ง. ไม่ถูกต้อง เพราะปฏิกิริยานี้ไม่ใช่ปฏิกิริยาคายพลังงาน E และ Ea ผิด โดย H ใช้
100 – 20 = 80 kJ/mol ส่วน Ea ใช้ค่าพลังงานสูงที่สุด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 4

10. เฉลย ง.
แนวคิด/เฉลย
ก. ไม่ถูกต้อง เพราะจากสมการเคมี ค่าพลังงานอยู่ทางผลิตภัณฑ์แสดงว่าเป็นปฏิกิริยาดูดพลังงาน
ข. ไม่ถูกต้อง เพราะปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาดูดพลังงาน ดังนั้นผลิตภัณฑ์มพี ลังงานสูงกว่าสารตั้งต้น
ค. ไม่ถูกต้อง เพราะปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาดูดพลังงาน จึงทําให้อุณหภูมลิ ดลง
ง. ถูกต้อง เพราะปฏิกิริยานีเ้ ป็นปฏิกิริยาดูดพลังงาน Ea จะมีค่ามากกว่า H ดังนัน้ Ea จึงมีค่า
มากกว่า 205 kJ/mol

11. เฉลย ค.
แนวคิด/เฉลย
ควรเลือกปฏิกิริยาเคมีที่เป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน มีพลังงานของปฏิกิริยามาก และมี Ea ต่ํา
ก. ไม่ถูกต้อง เพราะสาร A เป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน มีพลังงานของปฏิกิริยามาก แต่มี Ea สูง
ข. ไม่ถูกต้อง เพราะสาร B เกิดปฏิกิริยาดูดพลังงาน จึงไม่สามารถนํามาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้
ค. ถูกต้อง เพราะสาร C เป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน มีพลังงานของปฏิกิรยิ ามาก และมี Ea ต่ํา
ง. ไม่ถูกต้อง เพราะสาร D เกิดปฏิกิริยาดูดพลังงาน จึงไม่สามารถนํามาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้

12. เฉลย ข.
แนวคิด/เฉลย
พิจารณาข้อความได้ดังนี้
1. การเติมตัวเร่งปฏิกิริยาทําให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีสูงขึ้น
2. การลดอุณหภูมิทําให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่ําลง
3. การเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้นทําให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีสูงขึ้น
การที่จะทําให้อัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของแก๊สออกซิเจนเพิ่มขึ้น เป็นการทําให้อัตราการ
เกิดปฏิกิริยาเคมีสูงขึ้น ดังนั้นการเติมตัวเร่งปฏิกิริยาและการเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้นจึงเป็นคําตอบ
ที่ถกู ต้อง

13. เฉลย ก.
แนวคิด/เฉลย
ก. ถูกต้อง เพราะการเพิ่มอุณหภูมิทําให้อตั ราการเกิดปฏิกิริยาเคมีสูงขึ้น กราฟจึงมีความชันมากขึ้น
ข. ไม่ถูกต้อง เพราะการเพิ่มปริมาณ Zn ทําให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีสูงขึ้น กราฟจึงชันมากขึ้น แต่ถ้าใช้
Zn เพิ่มขึ้น เมือ่ สิ้นสุดปฏิกิริยา H2 ที่ได้จะมีปริมาณมากกว่าเดิม กราฟที่แกน y จึงควรมีค่ามากกว่าเดิม
ค. ไม่ถูกต้อง เพราะการลดพื้นที่ผิวทําให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่ําลง กราฟจึงมีความชันน้อยลง
ง. ไม่ถูกต้อง เพราะการลดความเข้มข้นของสารตั้งต้นทําให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่ําลง กราฟจึงมี
ความชันน้อยลง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 5

14. เฉลย ก.
แนวคิด/เฉลย
การทดลองที่ 2 มีอุณหภูมิสูงกว่าการทดลองที่ 1 จึงเกิดปฏิกิริยาเคมีได้เร็วกว่า ทําให้มีความชัน
มากกว่า และเนื่องจากใช้สารตั้งต้นเท่ากัน เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาจึงมีปริมาณสารที่เหลือเท่ากัน
ก. ถูกต้อง เพราะจากกราฟแสดงว่าการทดลองที่ 2 ความชันมากกว่าการทดลองที่ 1 และสิ้นสุด
ปฏิกิริยาเคมีโดยมีปริมาณสารเท่ากัน
ข. ไม่ถูกต้อง เพราะจากกราฟแสดงว่าการทดลองที่ 1 ความชันมากกว่าการทดลองที่ 2 และสิ้นสุด
ปฏิกิริยาโดยมีปริมาณสารเท่ากัน
ค. ไม่ถูกต้อง เพราะจากกราฟแสดงว่าการทดลองที่ 2 ความชันมากกว่าการทดลองที่ 1 และสิ้นสุด
ปฏิกิริยาโดยมีปริมาณสารต่างกัน
ง. ไม่ถูกต้อง เพราะจากกราฟแสดงว่าการทดลองที่ 1 ความชันมากกว่าการทดลองที่ 2 และสิ้นสุด
ปฏิกิริยาโดยมีปริมาณสารต่างกัน

15. เฉลย ง.
แนวคิด/เฉลย
ก. ไม่ถูกต้อง เพราะการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาไม่ได้ทําให้ปริมาณผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น แต่ทําให้อัตราการ-
เกิดปฏิกิริยาเคมีสูงขึ้น
ข. ไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีจะต่ําหรือใช้เวลาในการ
เกิดปฏิกิริยาเคมีมาก
ค. ไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา E ไม่เปลี่ยนแปลง
ง. ถูกต้อง เพราะเมื่อใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา จะทําให้ Ea ลดลง พลังงานทีใ่ ช้สลายพันธะจึงมีค่าน้อยลง
ดังนั้นเมื่อไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา จึงใช้พลังงานเพื่อสลายพันธะมากทีส่ ดุ

16. เฉลย ง.
แนวคิด/เฉลย
ก. ไม่ถูกต้อง เพราะใช้สารตั้งต้นที่มีพื้นที่ผิวน้อยและความเข้มข้นน้อย จึงเกิดปฏิกิริยาเคมีช้า
ข. ไม่ถูกต้อง เพราะใช้สารตั้งต้นที่มีพื้นที่ผิวน้อย แต่ความเข้มข้นมาก จึงเกิดปฏิกิริยาเคมีไม่เร็วที่สุด
ค. ไม่ถูกต้อง เพราะใช้สารตั้งต้นที่มีพื้นที่ผิวมาก แต่ความเข้มข้นน้อย จึงเกิดปฏิกิริยาเคมีไม่เร็วที่สุด
ง. ถูกต้อง เพราะใช้สารตั้งต้นที่มีพนื้ ที่ผวิ มากและความเข้มข้นมาก จึงเกิดปฏิกิริยาเคมีเร็วทีส่ ุด

17. เฉลย ค.
แนวคิด/เฉลย
เมื่อให้ความร้อนแก่ระบบ พิจารณาข้อความได้ดังนี้
1. ไม่ถูกต้อง เพราะการเพิ่มอุณหภูมิไม่มีผลต่อค่า Ea นั่นคือ Ea มีค่าเท่าเดิม
2. ถูกต้อง เพราะการเพิ่มอุณหภูมิทําให้อนุภาคที่มีพลังงานสูงเพิ่มขึ้น ดังนั้นจํานวนโมเลกุลทีม่ ีพลังงานจลน์
ที่จุด Y จึงลดลง
3. ถูกต้อง เพราะการเพิ่มอุณหภูมิทําให้อนุภาคที่มีพลังงานสูงเพิ่มขึ้น อนุภาคในพื้นที่ Z จึงเพิ่มขึ้น
ดังนั้น ข้อที่ถูกต้องคือข้อ 2 และ 3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 6

18. เฉลย ข.
แนวคิด/เฉลย
ปฏิกิริยา X(g) + 2Y(g)  XY2(g) เป็นปฏิกิริยาดูดพลังงาน โดยมี E = +189 kJ/mol และ
Ea = 264 kJ/mol ดังนั้นปฏิกิริยา XY2(g)  X(g) + 2Y(g) จึงเป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน โดย
พลังงานของปฏิกิริยามีค่าเท่าเดิม แต่เปลี่ยนเครื่องหมายจากบวกเป็นลบ นั่นคือ E = –189 kJ/mol
ส่วน Ea = 264 – 189 = 75 kJ/mol

19. แนวคําตอบ
ปฏิกิริยาที่ 1 : Zn(s) + 2HCl(aq)  ZnCl2(aq) + H2(g)
4 0.4
rate [HCl] = = 0.4 Mmin-1 ดังนั้น rate [H2] = = 0.2 0.4 Mmin-1
10 2
ปฏิกิริยาที่ 2 : 2H2O(l)  2H2(g) + O2(g)
6
rate [H2] = = 0.5 0.4 Mmin-1
12
0.5
ดังนั้น ปฏิกิริยาที่ 2 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของแก๊สไฮโดรเจนสูงกว่าปฏิกิริยาที่ 1 = = 2.5 เท่า
0.2
เกณฑ์การให้คะแนน
ข้อที่ รายการประเมิน คะแนน
19 การหาอัตราการเกิดแก๊สไฮโดรเจนของปฏิกิริยาที่ 1
- ดุลสมการเคมีถูกต้อง 0.5
- คํานวณ rate [HCl] ถูกต้อง 0.5
- คํานวณ rate [H2] ถูกต้อง 0.5
การหาอัตราการเกิดแก๊สไฮโดรเจนของปฏิกิริยาที่ 2
- ดุลสมการเคมีถูกต้อง 0.5
- คํานวณ rate [H2] ถูกต้อง 0.5
ระบุว่าปฏิกิริยาที่ 2 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของแก๊สไฮโดรเจน 0.5
สูงกว่าหรือเกิดแก๊สไฮโดรเจนได้เร็วกว่าปฏิกิริยาที่ 1
ระบุว่าปฏิกิริยาที่ 2 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของแก๊สไฮโดรเจน 0.5
มากกว่าปฏิกิริยาที่ 1 เท่ากับ 2.5 เท่า
รวม 3.5

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 7

20. แนวคําตอบ
ปฏิกิริยา CO(g) + NO2(g)  CO2(g) + NO(g) เป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน ดังนั้นปฏิกิริยา
CO2(g) + NO(g)  CO(g) + NO2(g) จึงเป็นปฏิกิริยาดูดพลังงาน พลังงานของปฏิกิริยามีค่าเท่าเดิม แต่
มีเครื่องหมายเป็น + นั่นคือมีค่าเท่ากับ +226 kJ/mol ส่วนพลังงาน-ก่อกัมมันต์มีค่าเท่ากับ 226 + 134 =
360 kJ/mol ซึ่งเขียนกราฟแสดงพลังงานกับการดําเนินไปของปฏิกิริยาได้ดังนี้

พลังงาน (kJ/mol) Ea = 360 kJ/mol

CO + NO2
H = +226 kJ/mol

CO2 + NO
การดําเนินไปของปฏิกิริยา

เกณฑ์การให้คะแนน
ข้อที่ รายการประเมิน คะแนน
20 เขียนกราฟแสดงปฏิกิริยาดูดพลังงานได้ถูกต้อง
- ระบุแกนและหน่วยได้ถูกต้อง 0.5
- วาดเส้นกราฟได้ถูกต้อง 0.5
ระบุสารตั้งต้นได้ถูกต้อง 0.5
ระบุผลิตภัณฑ์ได้ถูกต้อง 0.5
ระบุค่าของพลังงานก่อกัมมันต์ได้ถูกต้อง 0.5
ระบุค่าของพลังงานของปฏิกิริยาได้ถูกต้อง 0.5
รวม 3

21. แนวคําตอบ
สาร B เนื่องจากถึงแม้จะให้พลังงานน้อยกว่า แต่มีราคาถูกกว่า เมื่อคิดด้วยราคาที่เท่ากันจะซื้อสาร B ได้
ปริมาณมากกว่า ทําให้ได้พลังงานปริมาณสูงกว่าสาร A วิธีการคํานวณดังนี้
สาร A คายพลังงาน = 1050 kJ/mol – 250 kJ/mol = 800 kJ/mol
800 kJ 1 mol 1000 g
=  
1 mol 16 g 1 kg
= 5  104 kJ/kg

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 8

สาร A 1 kg ราคา 12 บาท ดังนั้น สาร A 12 บาท ให้พลังงาน = 5  104 kJ


สาร B คายพลังงาน = 480 kJ/mol – 120 kJ/mol= 360 kJ/mol
360 kJ 1 mol 1000 g
=  
1 mol 12 g 1 kg
= 3  104 kJ/kg
คิดสาร B 12 บาท เพื่อเปรียบเทียบกับสาร A โดยสาร B 1 kg ราคา 6 บาท นั่นคือจะได้สาร B 2 kg
ดังนั้น สาร B 12 บาท ให้พลังงาน = 3  104 kJ/kg  2 kg = 6  104 kJ

เกณฑ์การให้คะแนน
ข้อที่ รายการประเมิน คะแนน
21 ตอบว่าสาร B พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลได้ถูกต้อง โดยเชื่อมโยงพลังงาน 1
ที่ได้กับราคา
คํานวณหาปริมาณพลังงานที่คายออกมาของแต่ละสารจากกราฟ 1
(สารละ 0.5 คะแนน)
คํานวณหาปริมาณพลังงานเทียบกับราคา (สารละ 0.5 คะแนน) 1
รวม 3

22. แนวคําตอบ
22.1
50
45
40
ปริมาณ O2 (cm3)

35
30
25
20
15
10
5
0
0 10 20 30 40 50 60 70

การทดลองที่
Series1 1 การทดลองที่
Series2 2
เวลา (s)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 9

22.2 ปฏิกิริยาที่ 1 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของแก๊สออกซิเจนสูงกว่าปฏิกิริยาที่ 2


โดยคํานวณจากกราฟดังนี้
50
45
40
ปริมาณ O2 (cm3)
35
30
25
20
15
10
5
0
0 10 20 30 40 50 60 70

การทดลองที่
Series1 1 การทดลองที่
Series2 2
เวลา (s)
(30.0 cm3 - 15.0 cm3 )
อัตราการเกิดปฏิกิริยาที่เวลา 45 วินาทีของการทดลองที่ 1 =
(58.0 s - 22.0 s)
15.0 cm3
= 36.0 s
= 0.417 cm3/s
(50.0 cm3 - 35.0 cm3 )
อัตราการเกิดปฏิกิริยาที่เวลา 45 วินาทีของการทดลองที่ 2 =
(61.0 s - 21.0 s)
15.0 cm3
= 40.0 s
= 0.375 cm3/s

เกณฑ์การให้คะแนน
ข้อที่ รายการประเมิน คะแนน
22.1 ระบุชื่อแกนและหน่วยได้ถูกต้อง 0.5
วาดกราฟได้ถูกต้อง (เส้นกราฟละ 0.5 คะแนน) 1
ระบุเส้นกราฟ 0.5
22.2 ระบุจุดที่เส้นกราฟที่เวลา 45 วินาทีได้ถูกต้อง และใช้วิธีการลากเส้น 1
สัมผัสผ่านจุดได้เหมาะสม (เส้นกราฟละ 0.5 คะแนน)
แสดงวิธีคํานวณได้ถูกต้อง (เส้นกราฟละ 0.5 คะแนน) 1
ระบุหน่วยได้ถูกต้อง 0.5
เปรียบเทียบผลได้ถูกต้อง 0.5
รวม 5

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 10

23. แนวคําตอบ
การทดลองที่ 2 ใส่ตัวเร่งปฏิกิริยา เนื่องจากตัวเร่งปฏิกิริยาทําให้เกิดปฏิกิริยาเคมีได้เร็วขึ้น ซึ่งพิจารณาได้
จากกราฟของการทดลองที่ 2 มีความชันมากกว่าการทดลองที่ 1 แสดงว่าการทดลองที่ 2 เกิดปฏิกิริยาเคมี
เร็วกว่าการทดลองที่ 1 หรือจากข้อมูลในตาราง การทดลองที่ 2 ได้แก๊สออกซิเจนเร็วกว่าการทดลองที่ 1
เกณฑ์การให้คะแนน
ข้อที่ รายการประเมิน คะแนน
23 ระบุว่าการทดลองที่ 1 ไม่ใส่ตัวเร่งปฏิกิริยา และการทดลองที่ 2 ใส่ 0.5
ตัวเร่งปฏิกิริยา
ระบุว่าตัวเร่งปฏิกิริยาทําให้เกิดปฏิกิริยาเคมีได้เร็วขึ้น 0.5
อธิบายโดยใช้ข้อมูลของกราฟหรือข้อมูลจากตาราง 0.5
รวม 1.5

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

You might also like