You are on page 1of 19

บทที่ 2

ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกีย่ วข้ อง
ระบบการวัด หมายถึง สิ่ งที่รวบรวมอุปกรณ์วดั คุมหรื อเกจวัด มาตรฐานการปฎิบตั ิงาน วิธีการ
อุปกรณ์จบั ยึดชิ้นงาน ซอฟแวร์ บุคลากร สิ่งแวดล้อมและข้อสมมุติฐานต่างๆ ที่ใช้ในการกาหนดปริ มาณ
หน่ วยที่ทาการวัดหรื อประเมินคุณลักษณะที่ไ ด้รับการวัด หรื อโดยสรุ ป คือ กระบวนการอย่างสมบูรณ์
ในการกาหนดและออกแบบระบบการวัดที่ดีน้ นั จะเป็ นหน้าที่โดยตรงของฝ่ ายบริ หารซึ่ งโดยทัว่ ไปแล้ว
ระบบการวัดที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติข้นั มูลฐานดังนี้ คือ

1. มีความไว (sensitivity) และสามารถแยกแยะความแตกต่าง (Discrimination) อย่างเพียงพอ กล่ าวคือ


ส่วนเพิม่ ของค่าวัดความจะมีขนาดเล็กเมื่อเปรี ยบเทียบกับความผันแปรของกระบวนการและช่วงพิกดั
ข้อกาหนดเฉพาะ
2. ระบบการวัดควรจะอยูภ่ ายใต้การควบคุมเชิงสถิติ คือ ต้องดาเนิ นการภายใต้เงื่อนไขที่สามารถซ้ าได้
(Repeatable Condition)
3. ในกรณี การควบคุมผลิตภัณฑ์ความผันแปรจากระบบการวัดจะต้องมีขนาดเล็กเมื่อเปรี ยบเทียบกับช่วง
พิกดั ข้อกาหนดเฉพาะโดยจะทาการประเมินความผันแปรของระบบการวัดเทียบกับความคลาดเคลื่อน
อนุโลม (Tolerance) ของสเปค
4. ในกรณี การควบคุมกระบวนการ ความผันแปรจากระบบการวัดควรจะสามารถแยกความแตกต่างของ
ชิ้นงานได้ (Resolution) และต้องมีขนาดเล็กเมื่อเปรี ยบเทียบกับความผันแปรของกระบวนการผลิ ต
โดยจะทาการประเมินความผันแปรของกระบวนการผลิตหรื อความผันแปรโดยรวมจากการศึกษาการ
วิเคราะห์ระบบการวัด

2.1 องค์ประกอบของความผันแปรของระบบการวัด

การวิเคราะห์ระบบการวัดนี้ มีจุดประสงค์สาคัญในการวิเคราะห์ถึงแหล่งของความคลาดเคลื่อน
ในระบบการวัด ด้วยการจาแนกสาเหตุออกดังตัวอย่างในรู ปที่ 2.1 การจาแนกความคลาดเคลื่อนจากการ
วัดออกเป็ นแหล่งต่างๆ และเนื่องจากความคลาดเคลื่อนของค่าวัดมีท้งั ปริ มาณที่สามารถกาจัดได้และกาจัด

9
ไม่ได้ จึงมีความจาเป็ นต้องดาเนิ นการกาจัดปริ มาณที่สามารถควบคุ มได้ก่อน ได้แก่ ความคลาดเคลื่อ น
จากความผิดพลาด ทั้งนี้ดว้ ยการดาเนินการทาให้ระบบการวัดเป็ นมาตรฐาน

จากนั้นได้ดาเนินการสอบเทียบเครื่ องมือเพื่อการกาจัดความคลาดเคลื่อนเชิงระบบ โดยการสอบ


เทียบนี้ หมายความถึ ง กระบวนวิธีในการถ่ ายค่ามาตรฐานของค่าวัดจากมาตรฐานที่สูงกว่าสู่ มาตรฐาน
ที่ต่ ากว่าโดยระบบการสอบเที ยบดังกล่ าวนี้ ต้อ งสามารถสอบกลับ ได้ โดยการสอบกลับได้ หมายถึ ง
ความสามารถต่อการกาหนดความสัมพันธ์ของค่าวัดแต่ละค่ากับมาตรฐานแห่ งชาติหรื อมาตรฐานระหว่าง
ประเทศที่ได้รับการยอมรับโดยระบบที่มีความต่อเนื่อง

ค่าความคลาดเคลื่อนเชิงระบบ
ความคลาดเคลื่อนจากเครื่ องมือ
ความคลาดเคลื่อนจากพนักงาน
ค่าจริ ง วัด ความคลาดเคลื่อนอื่นๆ

ค่าที่ได้รับการวัด

รู ปที่ 2.1 การจาแนกความคลาดเคลื่อนจากการวัดออกเป็ นแหล่ งต่ างๆ

ดังนั้น การวิเคราะห์ระบบการวัด (MSA) จะเป็ นการวิเคราะห์คุณสมบัติเชิงสถิติของระบบการวัดจากค่าที่


วัดได้ เพือ่ แยกแหล่งความผันแปรออกเป็ น

1. ชิ้นงาน (Part-to-Part Variation; PV)


2. พนักงานวัด (Appraiser Variation; AV)
3. ความแปรผันร่ วม (Interaction Variation; IV)
4. แหล่งผันแปรอื่นๆที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยธรรมชาติ ซึ่งโดยปกติมกั จะมีแหล่งความผันแปรหลักๆ
มาจากอุปกรณ์วดั (Equipment Variation; EV)

10
ทั้ง นี้ การวิ เคราะห์ ร ะบบการวัด นี้ จะอยู่ภ ายใต้ค่ า ที่ ไ ด้ จ ากการประเมิ น ผลระบบการวัด
(Measurement System Evaluation; MSE) เมื่ อ มี ก ารวิ เ คราะห์ ถึ ง ความ ผั น แปรจากระบบการวั ด
(Measurement System Variation- MSV) จะท าการประเมิ น เที ย บกับ ข้อ ก าหนดเฉพาะ (Specification)
หรื อ ความผัน แปรจากกระบวนการผลิ ต (Measurement Process Variation-MPV) ซึ่ งโดยทั่ว ไปแล้ ว
ต้อ งพยายามท าให้ ค วามผัน แปรจากระบบการวัด มี ค่ าต่ า กว่าข้อ ก าหนดเฉพาะและความผัน แปร
จากกระบวนการผลิตเสมอ ซึ่งองค์ประกอบของความผันแปรของระบบการวัดประกอบด้วยปั จจัยดังรู ปที่
2.2 องค์ประกอบความผันแปรของระบบการวัด

รู ปที่ 2.2 องค์ประกอบความผันแปรของระบบการวัด

จากรู ปที่ 2.2 ความผันแปรในระบบการวัดเป็ นลักษณะของความคลาดเคลื่อนของค่าวัดจากสิ่ งที่


นามาท าการวัด ในกระบวนการวัด หนึ่ งๆ ซึ่ งค่าจากการวัดจะมี ค วามผันแปรจาก 2 สาเหตุ ใหญ่ ๆ คื อ
สาเหตุจากธรรมชาติ ซึ่ งเป็ นลักษณะของความผันแปรภายในทั่วๆไปที่เกิ ด ขึ้น โดยปกติและสามารถ
คาดการณ์ ได้ และสาเหตุ ผิดพลาดกรณี พิเศษ ซึ่ งเป็ นลักษณะของความผันแปรภายนอกที่ไ ม่ สามารถ
คาดการณ์และควบคุมได้ ดังนั้นการศึกษาความผันแปรของระบบการวัดจึงมีความจาเป็ นต้องดาเนิ นการ
ภายใต้สภาวะการควบคุมเพือ่ ให้ความคลาดเคลื่อนของค่าวัดเป็ นผลมาจากสาเหตุธรรมชาติเท่านั้น

2.1.1 ระบบการวัดแบบแปรผัน (Variable Measurement)


อ้างอิงจากรู ปที่ 2.2 ระบบการวัดแบบแปรผันประกอบด้วยการวิเคราะห์คุณสมบัติ 2 ประการดังนี้

11
1. ความผันแปรของตาแหน่ ง (Location variation)
ความผันแปรของตาแหน่ง หมายถึง คุณสมบัตกิ ารเข้าใกล้ของค่าเฉลี่ยจากผลการวัดหลายๆครั้ง
เมื่อเปรี ยบเทียบกับค่าอ้างอิง จะถูกกาหนดด้วยความผันแปร 3 ประการ ดังนี้

1.1 ลักษณะด้ านความเอนเอียงหรือไบอัส (Bias)


ค่าไบอัส หมายึง ความแตกต่างระหว่างค่าจริ ง (หรื อค่าอ้างอิง) กับค่าเฉลี่ยของค่าวัดที่วดั ได้บน
คุณลักษณะและชิ้ นงานวัดเดี ยวกัน ดังแสดงในรู ปที่ 2.3 ซึ่ งค่าไบอัสนี้ จะเป็ นค่าประเมินคุณสมบัติด้าน
ความถูกต้องของระบบการวัด เป็ นตัววัดความคลาดเคลื่อนเชิงระบบของระบบการวัด

รู ปที่ 2.3 คุณสมบัติด้านไบอัส


(ที่มา: กิตติศกั ดิ์ พลอยเจริ ญ.การวิเคราะห์ระบบการวัด (ประมวลผลด้วย Minitab), 2543)

1.2 ลักษณะด้ านความเสถียร (Stability)


คุณ สมบัติด้านเสถี ยรภาพของระบบการวัด หมายถึ ง ความผันแปรทั้งหมดในการวัดที่ได้จาก
ระบบการวัดหนึ่ งโดยอาศัยชิ้ นงานหรื อค่ามาสเตอร์เดี ยวกัน ในการวัดคุ ณลักษณะประการหนึ่ งตลอด
ช่ ว งเวลาที่ ย าวนานขึ้ น หรื อ เรี ย กอี ก อย่า งหนึ่ ง คื อ คุ ณ สมบัติ ด้า นอายุก ารใช้ง านของอุ ป กรณ์ ว ัด
โดยพิจารณาจากความผัน แปรโดยรวมในระบบการวัด ที่ ไ ด้จากการวัดงานมาตรฐานชิ้ น หนึ่ งตลอด
ช่วงเวลา ตัวอย่างลักษณะด้านความเสถียรแสดงในรู ปที่ 2.4

12
รู ปที่ 2.4 คุณสมบัติด้านความเสถียร
(ที่มา: กิตติศกั ดิ์ พลอยเจริ ญ.การวิเคราะห์ระบบการวัด (ประมวลผลด้วย Minitab), 2543)

1.3 ลักษณะด้ านความเป็ นเชิงเส้ นตรง (Linearity)


คุ ณ สมบัติเชิ งเส้น ตรงของระบบการวัด (Linearity) หมายถึ ง ความสามารถของเครื่ อ งมื อ วัด
ที่จะไม่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการเปลี่ยนพิสัยของการวัด เป็ นคุณสมบัติที่เกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงค่าวัด
ภายในย่านวัดที่กาหนด จึงอาจจะยกเว้นการวิเคราะห์ไ ด้ถ ้าหากมี การกาหนดการใช้งานระบบการวัด
ที่ค่าวัดเพียงค่าเดียว คุณสมบัติดา้ นความเป็ นเชิงเส้นตรงของระบบการวัดแสดงดังรู ปที่ 2.5

รู ปที่ 2.5 คุณสมบัติด้านความเป็ นเชิงเส้ นตรงของระบบการวัด


(ที่มา:http://www.raytheon.com/connections/rtnwcm/groups/public/documents/content/rtn_connect_msa
_pdf.pdf, 2558)
13
2. ความผันแปรของความกว้ าง (Width Variation)
ความผันแปรของความกว้าง (Width Variation) เป็ นลักษณะของความผันแปรหรื อความแตกต่างของค่าที่
ได้จากการวัดชิ้นงานเดิมด้วยเครื่ องมือวัดอันเดิม โดยทัว่ ไปแล้วจะเรี ยกความผันแปรของความกว้างของ
ระบบการวัดว่า ความแม่นยา (Precision) เป็ นตัววัดความผันแปรของระบบการวัดในรู ปความคลาดเคลื่อน
แบบสุ่มของระบบการวัด แบ่งออกเป็ นความผันแปรภายในเงื่อนไขและความผันแปรระหว่างเงื่อนไขของ
ระบบการวัด ดังนี้

2.1 ลักษณะด้ านความผันแปรภายในเงื่อนไขของระบบการวัดหรือความสามารถในการทาซ้า

ความสามารถในการทาซ้ า (Repeatability) หมายถึง ความผันแปรของค่าวัดรอบค่าที่ควรจะเป็ น


(Expect Value) ของระบบการวัด โดยใช้พ นัก งานวัด คนเดี ย ว อุ ป กรณ์ ว ดั เดี ย วกัน ในการวัด ชิ้ น งาน
เดียวกันซ้ าๆ โดยทัว่ ไปในอุ ตสาหกรรมมักจะหมายถึงความผันแปรของอุ ปกรณ์ (Equipment Variation
(EV)) คุณสมบัติดา้ นรี พทิ ทะบิลิต้ ขี องระบบการวัดแสดงดังรู ปที่ 2.6

รู ปที่ 2.6 คุณสมบัติด้านรีพิททะบิลิตขี้ องระบบการวัด


(ที่มา: http://www.bexcellence.org/Continuous-data.html, 2558)

2.2 ลักษณะด้ านความผันแปรระหว่ างเงื่อนไขของระบบการวัดหรือความสามารถในการผลิตซ้า

ความสามารถในการผลิ ตซ้ า (Reproducibility) หมายถึง ค่าความผันแปรที่แสดงถึงค่าเฉลี่ยของ


ค่าวัดจากการใช้อุปกรณ์วดั เดียวกันในการวัดชิ้นงานเดียวกันด้วยเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ซึ่งในอุตสาหกรรม
ทั่ ว ไปมั ก จะหมายถึ ง ความแตกต่ า งระหว่ า งพนั ก งานวัด (Appraiser Variation (AV)) คุ ณ สมบั ติ
ด้านรี โปรดิวซิบิลืต้ ขี องระบบการวัดแสดงดังรู ปที่ 2.7

14
รู ปที่ 2.7 คุณสมบัติด้านรีโปรดิวซิบิลืตขี้ องระบบการวัด
(ที่มา: http://www.cqeacademy.com/wp-content/uploads/2013/04/reproducibility.jpg, 2558)

2.1.2 ระบบการวัดแบบคุณลักษณะ (Attribute Measurement)


อ้างอิงจากรู ปที่ 2.2 เมื่ อ การวัดเป็ นแบบคุ ณลักษณะนั้น องค์ประกอบความผันแปรของระบบ
การวัด มี แ ตกต่ างจากการวัด แบบผัน แปร กล่ าวคื อ ข้อ มู ล ที่ ศึ ก ษาเป็ นข้อ มู ล คุ ณ ลัก ษณะเชิ ง คุ ณ ภาพ
(Attribute Characteristics) โดยมีรายละเอียดดังนี้

การวัดแบบคุณลักษณะ หมายถึง การประเมินโดยการเปรี ยบเทียบชิ้นงานที่ทาตามการตรวจสอบ


กับ พิกัดของข้อ ก าหนดเฉพาะ ท าให้ส ามารถประเมิ น ผลของข้อ มู ล ออกมาเป็ นที่ ยอมรับ หรื อ ปฎิ เสธ
ผ่านหรื อ ไม่ผ่าน จึงไม่ สามารถประเมินผลได้ว่าคุ ณภาพของงานที่ตรวจสอบได้น้ ันดี หรื อ ไม่ดีอย่างไร
ซึ่งความแปรผันของกระบวนการวัดประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ดังนี้

1. ค่าประสิ ทธิภาพในการตัดสิ นใจ (Effectiveness)


ค่าประสิ ท ธิ ภ าพในการตัด สิ น ใจ หมายถึ ง ความสามารถในการตรวจสอบซ้ าของพนัก งาน
ตรวจสอบ ซึ่ งโดยปกติจะทาการประเมิ นผลออกมาในรู ปของ ความมี ประสิ ทธิ ผลของการตรวจสอบ
(Effectiveness) นัน่ หมายถึง ความสามารถของการวัดหรื อการตรวจสอบ ในการแยกแยะงานไม่ดีออกจาก
งานที่ดี โดยมีข้นั ตอนดังต่อไปนี้

15
1.1 ทาการคัดเลือกผูม้ ีความสามารถเป็ นพิเศษในการแยกแยะคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ดีและเสีย
1.2 กาหนดลอตมาตรฐานสาหรับใช้ในการประเมิ นโดยให้พนักงานทดสอบทาการตรวจสอบ
ผลิตภัณฑ์ตวั อย่างที่ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ดี ข้อบกพร่ อง และคุณภาพก้ ากึ่ง (Marginal) ด้วยปริ มาณ
อย่างละใกล้เคียงกัน คือ 1 ใน 3
1.3 เลื อ กพนั ก งานวัด มา 2-4 คนโดยพนั ก งานที่ เลื อ กมาได้ผ่ านการฝึ กอบรมและผ่า นการ
ประเมินผลแล้ว
1.4 ทาการกาหนดจานวนชิ้นตัวอย่างงาน และจานวนครั้งในการทดสอบซ้ าตามตารางที่ 2.1

ตารางที่ 2.1 ขนาดสิ่ งตัวอย่ างแนะนาในการประเมินผลระบบการตรวจสอบ (ข้ อมูลนับ)


(ที่มา: กิตติศกั ดิ์ พลอยเจริ ญ.การวิเคราะห์ระบบการวัด (ประมวลผลด้วย Minitab), 2543)
จานวนพนักงานตรวจสอบ จานวนชิ้นงานตัวอย่ างที่ต่าทีส่ ุ ด จานวนทดลองซ้าที่ต่าสุ ด
1 24 5
2 18 4
3 หรื อมากกว่า 12 3

1.5 ท าการสุ่ ม พนักงานตรวจสอบขึ้น มาหนึ่ งคนแล้ว ให้ต รวจสอบตัวอย่างงานแบบสุ่ ม เพื่ อ


ประเมินผลคุณภาพของสิ่งจัวอย่าง ว่าผ่านหรื อไม่ผา่ น (Good-G, No Good-NG) พร้อมบันทึกผล
1.6 สุ่มพนักงานมาอีก แล้วดาเนิ นการเหมือนขั้นตอนที่ 1.5 จนครบการประเมินผลจากพนักงาน
ทุกคน
1.7 ประเมินผลด้วยดัชนี ดังนี้

16
1.8 ดาเนินการตัดสินใจ ตามเกณฑ์ดงั นี้
1. หากร้อยละรี พิททะบิลิต้ ีของพนักงานตรวจสอบไม่ผ่านเกณฑ์ที่กาหนดให้ทาการอบรม
พนักงานใหม่
2. หากร้อยละความไม่ไบอัสของพนักงานตรวบจสอบไม่ผ่านเกณฑ์ที่กาหนดให้ปรับปรุ ง
วิธีการตรวจสอบใหม่ หรื อกาหนดให้ชิ้นงานได้รับการตรวจสอบโดยผูเ้ ชี่ยวชาญเท่านั้น
3. หากร้อยละประสิ ทธิผลด้านรี พิททะบิลิต้ ีของการตรวจสอบ และร้อยละความไม่ไบอัส
ของการตรวจสอบไม่ผา่ นเกณฑ์ที่กาหนด ให้คน้ หาสาเหตุและทาการแก้ไขให้ถูกต้อง

ตามตารางที่ 2.2 แสดงตัวอย่างการการประเมินผลความมีประสิทธิผล (Effectiveness) ของระบบ


การตรวจสอบโดยแสดงผลการผลการตรวจสอบได้ซ้ าและเหมื อ นกันนั้นตรงกับคุ ณ ภาพแท้จริ งของ
ตัวอย่างงาน โดยให้

Y (YES) แทนการตรวจสอบที่ซ้ าและเหมือนกันหรื อถูกต้อง

N (No) แทนการตรวจสอบที่ไม่ซ้ าและหรื อไม่ถูกต้อง

17
ตารางที่ 2.2 แสดงผลการประเมินความมีประสิ ทธิผลของระบบการตรวจสอบ
(ที่มา: กิตติศกั ดิ์ พลอยเจริ ญ.การวิเคราะห์ระบบการวัด (ประมวลผลด้วย Minitab), 2543)
พนักงานตรวจได้ เหมือนกัน พนักงานตรวจได้ เหมือนกัน
สิ่ งตัวอย่ างงาน คุณภาพที่แท้ จริง
ทุกครั้งและทุกคน อย่ างถูกต้ องทุกคน
1 G N N
2 G Y Y
3 NG Y Y
4 NG Y Y
5 G N N
6 G N N
7 G Y Y
8 NG Y Y
9 NG Y Y
10 G N N
11 NG Y Y
12 NG N N
13 G Y Y
14 G Y Y
15 G N N
16 G N N
17 G Y N
18 G N N
19 NG Y Y
20 NG N N
จานวนครั้งที่ตรวจได้เหมือนกัน 11 10

จากตารางที่ 2.2 สามารถคานวนร้อยละประสิ ทธิผลด้านรี พิททะบิลิต้ ีของการตรวจสอบร้อยละ


และประสิทธิผลไบอัสด้านของการตรวจสอบ ดังนี้

= 55%

18
= 50%

จากผลการคานวน ผลจากดัชนี แสดงความมีประสิ ทธิ ผลของระบบการตรวจสอบที่ได้ขา้ งต้น


แสดงว่ า ระบบการตรวจสอบมี ปั ญหาด้ า นความถู ก ต้อ งในการตรวจ ท าให้ เกิ ด ความผิ ด พลาด
ในการตรวจสอบ
2. ความสอคล้ อง (Agreement)
ความสอดคล้อง หมายถึ ง การวิเคราะห์ถึงความแตกต่างในการตรวจสอบของพนักงานแต่ละคู่
โดยอาศัย สั ม ประสิ ท ธิ์ Kappa (Cohen’s Kappa) ที่ อ ธิ บ ายถึ ง ความสั ม พัน ธ์ร ะหว่างกัน ของพนั ก งาน
ทั้ง 2 คนที่ตรวจสอบได้ผลเหมือนกัน (Interrater Agreement) ซึ่งกาหนดไว้วา่ ถ้าหากพนักงานมี

Kappa  0.75 ผลการตรวจสอบพ้องกันดีมาก


Kappa  0.40 ผลการตรวจสอบไม่พอ้ งกัน
แต่ค่าสัมประสิทธิ์ Kappa จะมิได้ระบุถึงระดับความเห็นพ้องกันของพนักงานตรวจสอบทั้ง 2 คน
เพราะเป็ นการวิเคราะห์เพียงแต่ผลการตรวจสอบเห็ นพ้อ งกันหรื อ ไม่ เท่านั้นการคานวน สัมประสิ ท ธิ์
Kappa สามารถคานวนได้ดงั นี้

เมื่อ Po = ผลรวมของค่าสัดส่วนของค่าสังเกตแนวทแยงมุม
Pe = ผลรวมค่าสัดส่วนคาดหมายในแนวทแยงมุม
ตัวอย่างการคานวนค่าสัมประสิทธิ์ Kappa แสดงตามตารางที่ 2.3

ตารางที่ 2.3 การไขว้ ผลการทดสอบของ A และ B


(ที่มา: กิตติศกั ดิ์ พลอยเจริ ญ.การวิเคราะห์ระบบการวัด (ประมวลผลด้วย Minitab), 2543)

พนักงาน B
การไขว้ผลการทดสอบของ A และ B ผลรวม
NG G
NG 18 6 24
พนักงาน A
G 3 13 16
ผลรวม 21 19 40

19
จากตารางที่ 2.3 การไขว้ผลการทดสอบของ A และ B จะได้ ค่าสัมประสิทธิ์ Kappa ตามสมการ
ด้านล่าง

= = 0.545

3. ความผิดพลาด (Miss Rate/False alarm Rate)


ความผิดพลาด หมายถึง ความสามารถในการตรวจสอบของพนักงานแต่ละคน โดยพิจารณาถึง
ความมีประสิ ทธิผล (Operator Effectiveness Index: OE) ของพนักงานแต่ละคน ดัชนี การตรวจสอบที่ปฎิ
เสธผิด พลาด (False Alarm Index: IFA) ของพนั ก งานแต่ ล ะคน รวมถึ ง ดัช นี ก ารตรวจสอบที่ ย อมรั บ
ผิดพลาด (Index of Miss: IMISS) ของพนักงานแต่ละคน โดยนิยามไว้วา่

ซึ่งเกณฑ์ในการตัดสินใจในผลการวิเคราะห์ความสามารถของพนักงานทดสอบแสดงตามตาราง
ที่ 2.4

ตารางที่ 2.4 เกณฑ์ การตัดสิ นใจในผลการวิเคราะห์ ความสามารถของพนักงานทดสอบ


(ที่มา: กิตติศกั ดิ์ พลอยเจริ ญ.การวิเคราะห์ระบบการวัด (ประมวลผลด้วย Minitab), 2543)
การตัดสิ นใจ OE IFA IMISS
ยอมรับพนักงานทดสอบ  90% 2% 5%
ยอมรับแบบก้ ากึ่ง  80% 5% 10%
ปฎิเสธพนักงานทดสอบ <80% >5% >10%

20
ตัวอย่างผลการทดสอบเพือ่ วิเคราะห์ความสามารถของพนักงาน A, B และ C แสดงตามตารางที่ 2.5

ตารางที่ 2.5 สรุปผลการทดสอบพนักงาน A,B และ C


(ที่มา: กิตติศกั ดิ์ พลอยเจริ ญ.การวิเคราะห์ระบบการวัด (ประมวลผลด้วย Minitab), 2543)

พนักงาน บ่ งชี้ว่า G บ่ งชี้ว่า NG จานวนรวม จานวนการ จานวนการ รวม

อย่ างถูกต้ อง อย่ างถูกต้ อง ที่ชี้บ่ง ปฎิเสธที่ ยอมรับที่


ถูกต้ อง ผิดพลาด ผิดพลาด
A 14 14 28 10 2 40
B 17 14 31 7 2 40
C 18 16 34 6 0 40

โดยใช้ตวั อย่างที่มีคุณภาพดี (Good-G) ในการทดสอบจานวน 12 ชิ้น


โดยใช้ตวั อย่างที่มีคุณภาพไม่ดี (NO Good-NG) ในการทดสอบจานวน 8 ชิ้น
เมื่อทาการวิเคราะห์ความสามารถของพนักงานแต่ละท่านจะได้ผลการคานวนดังตารางที่ 2.6

ตารางที่ 2.6 ผลการวิเคราะห์ ความสามารถของพนักงานทดสอบพนักงาน A, B และ C


(ที่มา: กิตติศกั ดิ์ พลอยเจริ ญ.การวิเคราะห์ระบบการวัด (ประมวลผลด้วย Minitab), 2543)

ความมีประสิทธิผล อัตราการปฎิเสธ อัตราการยอมรับ


พนักงาน
(OE) ที่ผิดพลาด (IFA) ที่ผิดพลาด (IMiss)
A
B

จากผลการวิเคราะห์ในตารางที่ 2.6 พิจารณาเปรี ยบเทียบกับตารางที่ 2.4 เกณฑ์การตัดสินใจ


ในผลการวิเคราะห์ความสามารถของพนักงานทดสอบ สรุ ปได้ดงั นี้

21
1. ความมีประสิทธิผล (OE) พบว่า พนักงาน C มีประสิทธิผลการยอมรับแบบก้ ากึ่ง ส่วนพนักงาน A
และ B ไม่สามารถให้การยอมรับได้
2. การปฎิเสธที่ผดิ พลาด (IFA) พบว่า ไม่สามารถยอมรับพนักงานทั้ง 3 ท่านได้
3. อัตราการยอมรับที่ผดิ พลาด (IMiss) พบว่าไม่สามารถให้การยอมรับพนักงาน A และ B ได้สาหรับ
การยอมรับที่ผดิ พลาด

2.2 ทบทวนวรรณกรรมที่เกีย่ วข้ อง

ผลการศึ ก ษาทฤษฎี แ ละผลงานวิ จ ัย ต่ า งๆ ที่ ใ ช้ห ลัก การควบคุ ม กระบวนการเชิ ง สถิ ติ แ ละ


การวิเคราะห์ระบบการวัด เพื่อเพิม่ ประสิ ทธิภาพของกระบวนการวัดแสดงให้เห็นว่าการวิเคราะห์ระบบ
การวัดมีจุดประสงค์การในวิเคราะห์แหล่ งของความคลาดเคลื่ อ นในระบบการวัด โดยใช้กระบวนการ
ทางสถิ ติ ผลจากการวิ เคราะห์ จ ะถู ก ไปใช้ ใ น การวางแผนปรั บ ปรุ งกระบวนการวัด เพื่ อ ให้
ความคลาดเคลื่อนเกิดน้อยที่สุด การตัดสิ นใจที่คลาดเคลื่อนของพนักงานตรวจสอบย่อมส่ งผลทาให้เกิด
ความผิดพลาดในการตัดสิ นใจ ดังนั้นจึงมีความจาเป็ นอย่างยิง่ ที่จะต้องมีการควบคุม และลดความผันแปร
ในระบบการวัดซึ่งจะนาไปสู่ การตัดสินใจที่ถูกต้อง อันจะส่งผลช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อทาให้
เกิ ดการปรับปรุ งคุ ณ ภาพในกระบวนการผลิ ต และยังเป็ นการรับรองยืนยันผลว่าผลิ ตภัณฑ์น้ ันเป็ นไป
ตามข้อกาหนดของลูกค้า ผลการศึกษางานวิจยั ของเรื่ องระบบการวัดสามารถแบ่งออกได้เป็ น 2 ส่ วน คือ
ระบบการวัด แบบแปรผัน (Variable MSA) ร่ วมกับ แบบคุ ณ ลัก ษณะ (Attribute Measurement System
Analysis)

ในส่วนระบบการวัดแบบแปรผัน (Variable MSA) การศึกษาเรื่ องดังกล่าวแบ่งการวิเคราะห์เป็ น 2


ส่วน คือ

1. การวิเคราะห์ความผันแปรของตาแหน่ง (Location Variation)


2. ความวิเคราะห์ความผันแปรของความกว้าง (Width Variation)

โดยลักษณะการวิเคราะห์ความผันแปรทั้ง 2 ส่ วนนั้น จากการศึกษางานวิจยั มีล ักษณะความผัน


แปรที่พบ การดาเนินการและการแก้ไขที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งสามารถแยกการวิเคราะห์เป็ น 2 ส่วนใหญ่ ดังนี้

22
1. การวิเคราะห์ ความผันแปรของตาแหน่ ง (Location Variation)

ความผันแปรของตาแหน่ง หมายถึง คุณสมบัติการเข้าใกล้ของค่าเฉลี่ยจากผลการวัดหลายๆครั้ง


เมื่อเปรี ยบเทียบกับค่าอ้างอิง ซึ่งขึ้นอยูก่ บั ความผันแปร 3 ประเภท ดังนี้

1.1 ปริมาณความเอนเอียงหรือไบอัส (Bias)

ปริ ม าณความเอนเอี ย งหรื อ ไบอัส (Bias) คื อ ความแตกต่ า งระหว่ างค่ าจริ ง (หรื อ ค่ า อ้างอิ ง )
กับค่าเฉลี่ยของของค่าวัดที่วดั ได้บนคุณลักษณะและชิ้นงานวัดเดียวกัน โดยคุณสมบัติดา้ นไบอัสนี้จะเป็ น
ตัววัด ความคลาดเคลื่ อนเชิ งระบบของระบบวัด มี สาเหตุม าจากสิ่ งต่างๆ เช่ น อุ ปกรณ์ วดั เกจวัด หรื อ
อุปกรณ์จบั ยึดชิ้นงานมีความสึกหรอ มีความคลาดเคลื่อนหรื อสึกหรอกับชิ้นงานมาตรฐานหรื อมาสเตอร์
มีการสอบเทียบอุปกรณ์วดั หรื อเกจวัดอย่างไม่ถูกต้อง เช่น จากการศึกษาของ ชัชวาล พรพัฒน์กุล (2544)
ทาการวิเราะห์ระบบการวัดของเครื่ อ งชั่งน้ าหนัก เครื่ อ งวัดอุ ณ หภูมิ เตาอบแม่ พิมพ์ เครื่ อ งวัดอุ ณ หภู มิ
เตาหล่ อ เครื่ อ งวัด ความดัน และกระบองไซค์ ในโรงงานผลิ ต เครื่ อ งเพชรพลอยและเครื่ อ งประดับ
เมื่ อ ท าการวิเคราะห์ ค วามผัน แปรของต าแหน่ ง พบว่า ความผัน แปรนั้ น เกิ ด จากอายุก ารใช้งานนาน
ขาดการบารุ งรักษาและขาดการสอบเทียบจากเครื่ องมือมาตรฐาน จึงได้ดาเนินการปรับเทียบจากเครื่ องมือ
มาตรฐาน ในอีกกรณี หนึ่งที่ความแปรปรวนเกิดจากอุปกรณ์วดั ได้รับการออกแบบอย่างไม่ถูกต้อง รวมถึง
การใช้อุ ปกรณ์ การวัดไม่ ถูกวิธี มี วิธีการวัดที่แตกต่างกัน เช่ น การเตรี ยมการ การใส่ ชิ้นงาน การจับยึด
ชิ้ นงาน เช่ น งานวิจยั ของ ผจงกิ จ โสธนะยงกุล (2544) ทาการวิเคราะห์ ความถู กต้อ งของระบบการวัด
พบว่า การใช้อุปกรณ์จบั ยึดชิ้นงานเพื่อการวัดที่ไม่ได้มาตรฐานเป็ นปั จจัยทาให้การวัดมีการคลาดเคลื่อน
จึงทาการแก้ไข โดยจัดทาเป็ นมาตรฐานการวัดชิ้นงาน และทาการฝึ กอบรมพนักงานให้เกิดความชานาญ
ในมาตรฐานการวัด นั้น ระบบการวัดที่ มี ความถู กต้อ งนั้น เป็ นระบบที่ มี ความเสถี ยร (Stability) ไม่ มี
ความเอนเอี ย งหรื อ ไบอัส (Bias) ซึ่ งหมายถึ งผลการวัด ที่ มี ค วามเสถี ยรจะมาจากอุ ป กรณ์ ก ารวัด ที่ มี
ความเสถี ยร และขั้น ตอนการท างานหรื อ ขั้น ตอนการวัด ที่ ถู ก ต้อ ง ปั จจัยทางสิ่ งแวดล้อ มก็ ส่ งผลต่ อ
ความผันแปรของระบบการวัดได้เช่นกัน ไม่วา่ จะเป็ นอุณหภูมิ ความชื้น ความสะอาด

1.2 คุณสมบัติด้านความเสถียร (Stability)

คุณสมบัติดา้ นความเสถียร (Stability) เป็ นการวิเคราะห์และศึกษาคุณสมบัติความไบอัสที่เกิดขึ้น


ในระบบการวัดตามระยะเวลาโดยใช้ชิ้นงานหรื อค่ามาสเตอร์เดียวกันในการวัดคุณลักษณะตลอดช่วงเวลา
ที่ยาวนานขึ้น เพื่อ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงไบอัสตลอดช่ วงเวลา สาเหตุของความไม่ เสถียร อาจเกิ ดจาก

23
ช่วงเวลาในการสอบเทียบยาวเกินไป การเสื่ อ มสภาพของอุปกรณ์วดั และอุปกรณ์ จบั ยึด การบารุ งรักษา
ที่ไม่ดี

1.3 คุณสมบัติด้านเชิงเส้ นตรง (Linearity)

คุ ณ สมบัติ ด้า นเชิ ง เส้ น ตรง (Linearity) คื อ การวิเคราะห์ ค วามแตกต่ า งของค่ า ไบอั ส เมื่ อ มี
การเปลี่ยนย่านการวัดไป สาเหตุของการขาดคุณสมบัติเชิงเส้นตรง อาจเกิดจาก ช่วงเวลาสอบเทียบที่นาน
เกินไป มี การสอบเทียบไม่ถูกต้อง คือ ไม่ครอบคลุมตลอดช่วงการใช้งานของระบบวัด ตัวอย่างงานวิจยั
ของของ ชินวุธ สถิรวุฒิพงศ์ (2543) ศึกษาชนิดและขนาดของความผันแปรในระบบการวัด ภายใต้สภาวะ
แวดล้อมที่เป็ นอยูแ่ ละทาการลดและควบคุมความผันแปรเพือ่ ปรับปรุ งระบบการวัด ในส่วนการวิเคราะห์
ความถู กต้อ งพบว่าเครื่ องมื อ วัดทั้งหมดไม่ สามารถใช้งานได้ตลอดย่านวัดที่ระบุบนเครื่ อ งมื อ จึงได้ทา
การแก้ไ ขโดยก าหนดเป็ นมาตรฐานการใช้งานและการประเมิ น ความมี เสถี ยรภาพโดยใช้วิธี แผนภู มิ
ควบคุมเป็ นการทดลองเพือ่ หาระยะเวลาที่เครื่ องมือเสื่อมสภาพ จาเป็ นต้องได้รับการสอบเทียบใหม่

2. ความวิเคราะห์ ความผันแปรของความกว้าง (Width Variation)

ในงานวิจยั บางงานวิจยั เรี ยกการวิเคราะห์ความผันแปรของความกว้างว่าความแม่นยา แบ่งการ


วิเคราะห์ออกเป็ น 2 ส่วน คือ

2.1 ความผันแปรภายใน (Repeatability)

ความแปรผัน หรื อ ความสามารถในการท าซ้ า คื อ ความผัน แปรของค่ า ที่ ไ ด้ จ ากการวัด


ด้ว ยเครื่ อ งมื อ วัด เดี ย วกัน โดยใช้พ นั ก งานคนเดี ย วกัน และวัด ชิ้ น งานเดิ ม หลายๆครั้ ง กล่ า วได้ว่ า
ความสามารถในการทาซ้ า คือ การที่พนักงานคนเดิ มใช้เครื่ อ งมื อ วัดอัน เดิ ม วัด ชิ้ นงานเดิ มแล้วได้ผ ล
การวัด เหมื อ นเดิ ม หรื อ ใกล้เคี ย งกับ ค่ า เดิ ม ทุ ก ครั้ ง กรณี ที่ มี ค่ า รี พี ท ทะบิ ลิ ต้ ี มากเกิ น ไป อาจมาจาก
ความผัน แปรภายในชิ้ น งาน ความผันแปรในอุ ป กรณ์ วดั เช่ น การซ่ อ มแซม การสึ ก หรอ การพังของ
อุปกรณ์วดั หรื อตัวจับชิ้นงาน งานบารุ งรักษาที่ไม่ดี และอาจเกิดจากการผันแปรในวิธีการตรวจสอบ ได้แก่
การเตรี ยมการ การปรั บ ศู น ย์ การจับ ยึด ชิ้ น งาน ตัว อย่างการวิเคราะห์ ค วามแม่ น ยาของระบบการวัด
ของงานวิจยั โดย ชัชวาล พรพัฒ น์กุล (2554) พบว่าความแปรปรวนเเกิดจากพนักงานวัดไม่ วางชิ้ นงาน
บริ เวณกลางจานของเครื่ อ งชั่ง และไม่ ไ ด้ป รับ ตั้งศูน ย์ ท าให้ความแม่ นย าในการวัดหรื อ GR&R มี ค่ า
น้อยกว่า 10% ก่อนทาการชัง่ ชิ้นงาน จึงเสนอให้มีการสอบเทียบเครื่ องชัง่ น้ าหนักอิเล็กทรอนิกส์ เครื่ องวัด
อุณหภูมิ และเครื่ องวัดความดัน ทุกๆ 1 ปี นอกจากนั้นยังได้จดั ทาคู่มือมาตรฐาน และขั้นตอนการสอบ
24
เทียบเครื่ องมือวัดอย่างละเอียด สุ ดท้ายคือการจัดฝึ กอบรมให้ความรู ้พนักงาน อีกความแปรผันที่เกิดจาก
ตัวพนักงานวัดแล้วทาให้เกิดความผันแปรในระบบการวัด เช่น งานวิจยั ของ ชินวุธ สถิรวุฒิพงศ์ (2543)
ก็ทาการวิเคราะห์ความสามารถในการทาซ้ า พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพนักงานวัดที่ทาเกิดความผัน
แปร จนระบบการวัดมี ที่ GR&R >10 % ได้ดาเนิ น การแก้ไ ขโดยจัดท าคู่มื อ และมาตรฐานการใช้งาน
จนระบบการวัดมีที่ GR&R < 10 % ในส่ วนปั ญหาด้านความถูกต้อ งและความสามารถในการวัดซ้ าของ
พนักงาน ได้ปรับ ปรุ งโดยจัดคู่มือ ทามาตรฐานการตรวจสอบชิ้ น งาน ดังนั้น จะเห็ นได้ว่าการวิเคราะห์
ความแม่ น ยาของระบบการวัดจะต้อ งสามารถแยกความผัน แปรระหว่างพนักงานงานวัด และชิ้ น งาน
ในอี ก ตัว อย่างงานวิจ ัย ที่ ท าการศึ ก ษาระบบการพัฒ นาความสามารถกระบวนการวัด ค่ ายึด ติ ด ของ
การเชื่อมลวดทอง โดย ธิติกาญจน์ ชมภู (2550) ทาการลดข้อผิดพลาดที่ส่งผลต่อค่าค่ายึดติดที่วดั ได้ของ
กระบวนการต่ อ ลวดทอง โดยใช้เทคนิ ค การวิเคราะห์ ร ะบบการวัด (Measurement System Analysis:
MSA) และเพือ่ ปรับปรุ งปั จจัยที่ทาให้เกิดข้อผิดพลาดจากระบบการวัดค่าความยึดติดของลวดทอง เพื่อให้
ได้ ข ้ อ มู ลที่ น าไป ใช้ ใ น การตั ด สิ น ใจได้ อ ย่ า งถู กต้ อ ง ท าการวิ เ คราะห์ ด้ ว ยวิ ธี Nest ANOVA
โดยท าการศึกษา 3 ระบบการวัดที่ แตกต่างกันด้วยพนักงานผูว้ ดั และชิ้ น งาน พบว่าระบบการวัดทั้ง 3
มี ค วามผัน แปรจากการวัด อยู่ม าก และพบว่าความผัน แปรส่ ว นใหญ่ ม าจากสาเหตุ รี พีท ะบิ ลิ ต้ ี หรื อ
ความสามารถในการวัดซ้ าต่า จึงได้วิเคราะห์ด้วยแผนผังก้างปลาและเฝ้ าสังเกตระบบการวัดจริ ง พบว่า
สาเหตุหลักมาจากวิธีการวัดที่ไม่ถูกต้อง จึงทาการแก้ไขโดยการสอนวิธีปฎิบตั ิงานที่ถูกต้องให้พนักงาน
และสอบเทียบเครื่ อ งมื อ วัด หลังจากนั้นพบว่าระบบการวัดมี การปรับปรุ งความสามารถเพิ่ม ขึ้น โดยที่
ความผันแปรของระบบ และความแปรปรวนจากการวัดลดลง ในงานวิจยั ของ ธิติกาญจน์ ชมภู (2550) นั้น
ชี้ชัดว่าความแปรปรวนหลักเกิ ดจากด้วยพนักงานผูว้ ดั และวิธีการวัดไม่ ถูกต้อ ง จึงทาการปรับปรุ งด้วย
การสอนงาน (Training) มีการจัดทาเป็ นเอกสารวิธีการทางาน (Work Instruction) และระบุในมาตรฐาน
การท างานที่ จะเป็ นผูว้ ดั ต้อ งผ่านการสอนงานด้วยเอกสารมาตรฐานนี้ ทุ กคน และระบุ ในมาตรฐาน
การทางานของแต่ละผลิตภัณฑ์ให้มีการประเมิน GR&R ทุกครั้ง และนอกจากนั้น ธิติกาญจน์ ชมภู (2550)
ยังทาการสอบเทียบเครื่ องมือวัด (Calibration) เพือ่ ลดความผันแปรของระบบการวัดเช่นเดียวกับแนวทาง
ในการแก้บญั หาของ ชัชวาล พรพัฒน์กุล (2554) และชินวุธ สถิรวุฒิพงศ์ (2543)

2.2 ความผันแปรระหว่ างเงื่อนไขของระบบการวัด (Reproducibility)

ความผันแปรระหว่างเงื่อนไขหรื อความสามารถในการวัดเหมือน เป็ นการวิเคราะห์ความแปรผัน


และความแตกต่ างของพนัก งานโดยใช้อุ ป กรณ์ วดั เดี ยวกัน ด้ว ยเงื่อ นไขการวัดชิ้ น งานที่ แตกต่ างกัน
ความแปรผันชนิ ดนี้ อาจมาจากความผันแปรระหว่างชิ้ นงาน อุปกรณ์ วดั มาตรฐานการวัดที่แตกต่างกัน

25
ในกระบวนการวัดเดียวกัน ความแปรผันระหว่างการวัดอาจมาจากการตั้งศูนย์ของเครื่ องมือวัด การจับยึด
ชิ้น งาน และโดยเฉพาะอย่างยิง่ หากการฝึ กอบรมไม่ มีประสิ ทธิ ผลก็จะเป็ นตัวแปรที่สาคัญ ต่อ การเกิ ด
ความผัน แปรในด้ า นความสามารถในการวัด เหมื อ น เช่ น งานวิ จ ัย ของ วิ นิ ตา เพชรรุ่ ง (2546)
ทาการปรับปรุ งระบบการวัดในสายการผลิตซี ลของการผลิตวงจรรวม และพบว่าเกิดจากพนักงานผูว้ ดั
มีความรู ้และทักษะไม่เพียงพอ จึงการเพิ่มความแม่นยาของเครื่ องมือวัด โดยส่ งเสริ มการเพิ่มความรู ้และ
ทักษะให้กบั พนักงานผูว้ ดั เพื่อขจัดความแปรปรวนของระบบการวัดแบบข้อมูลวัด แต่สาหรับการศึกษา
ระบบการวัดแบบข้อมูลนับพบว่าความแปรปรวนของระบบการวัดไม่เป็ นนัยสาคัญ ผูว้ ิจยั ได้จดั ทาคู่มื อ
สาหรับการปฏิบตั ิงานขึ้นมาเพื่อให้พนักงานใช้อา้ งอิง หลังจากที่ดาเนิ นการปรับปรุ งตามบทสรุ ปข้างต้น
แล้ว พบว่าค่า % GR&R ของระบบการวัดมีค่าลดลง ในอี กงานวิจยั หนึ่ งที่ทาการกาหนดวิธีการควบคุ ม
การแปรผั น ของระบบการวั ด ด้ ว ยเทคนิ ค GR&R ขอ งโรงงาน ผลิ ต อุ ป กรณ์ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์
เป็ นการวิ เคราะห์ ก ารวัด โดยใช้ เทคนิ คที่ เรี ย กว่ า Gage Repeatability and Reproducibility (GR&R)
ซึ่งเครื่ องมือวัดประเภทที่แสดงผลแบบตัวเลข การแปรผันส่ วนใหญ่จะเกิดขึ้นเนื่ องจากเครื่ องมือวัดจึงได้
ทาการปรับปรุ งโดยการสอบเทียบเครื่ องมือวัดและวิธีการวัดอย่างถูกต้อง ส่วนเครื่ องมือวัดประเภทเชิงกล
การแปรผันส่ วนใหญ่จะขึ้นอยูก่ บั พนักงานวัด จึงได้ทาการปรับปรุ งวิธีการทางาน วิธีการวัดอย่างถูกวิธี
จากการปรับปรุ งด้วยหลักการดังกล่าวทาให้การแปรผันของระบบการวัดในแต่ละเครื่ องมือวัด มีค่าลดลง
อย่างต่อเนื่องและอยูใ่ นเกณฑ์การยอมรับของทฤษฎี GR&R

ในด้านงานวิจยั ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ระบการวัดแบบคุณลักษณะนั้น พบงานวิจยั ของ สุ โอปอ


หิ รัญ จิรชี พ และ อรอุ มา ลาสุ นนท์ (2556) ทาการปรับปรุ งคุ ณ ภาพของระบบการวัดในอุ ตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิ กส์ เพื่อลดปริ มาณของเสี ยและลดต้นทุนในกระบวนการผลิต โดยเริ่ มต้นจากการเก็บข้อมู ล
ลักษณะของเสี ยที่เกิ ดขึ้น แล้วคัดเลื อ กปั ญหาหลักที่พบในกระบวนการโดยใช้แผนภาพพาเรโต พบว่า
ลักษณะของเสียที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือ ชิ้นงานมีระยะเคลือบตะกัว่ ลึกเกินมาตรฐาน เมื่อได้ปัญหาหลักที่จะ
ทาการแก้ไขแล้วนั้น สุโอปอ หิรัญจิรชีพ และ อรอุมา ลาสุ นนท์ (2556) ได้ทาการวิเคราะห์แหล่งความผัน
แปรของการวัดแบบคุณลักษณะ โดยการออกแบบระบบการตรวจสอบ ทั้งสองท่านทาการคัดเลือกชิ้นงาน
มา 30 ตัว ใช้พนักงานที่มีประสบการณ์ 3 ท่าน ทาการตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานแต่ละชิ้นแบบสุ่ มจานวน
3 ครั้ง โดยแต่ละคนจะต้องระบุว่าชิ้ นงานเหล่ านั้นผ่านการตรวจสอบ (GO) หรื อไม่ผ่านการตรวจสอบ
(NO GO) เมื่อได้ผลการตัดสิ นใจคุณภาพชิ้นงานของพนักงานแต่ละแผนก ผูท้ างานวิจยั นี้ ทาการวิเคราะห์
ระบบการวัดโดยพิจารณาจากดัชนีดงั ต่อไปนี้

26
1. ลักษณะด้านความเอนเอียง (%Bias) คานวนจาก

2. ลักษณะด้านความสามารถในการทาซ้ าของพนักงานแต่ละคน (%Repeatability)

3. ประสิทธิผลของระบบตรวจสอบของพนักงานทุกคนด้านความเอนเอียง (%Bias
Effectiveness)

4. ประสิทธิผลด้านความสามารถในการทาซ้ า (%Repeatability Effectiveness)

งานวิจยั นี้ พ บว่าจานวนครั้งที่พ นักงานทุ กคนได้ผ ลการทดสอบเหมื อ นกัน โดยไม่ จาเป็ นต้อ ง
ถูกต้องตามคุณภาพที่ทจ้ ริ ง และจานวนครั้งที่พนักงานทุกคนได้ผลการตรวจสอบเหมือนกันและถูกต้อง
ตามคุณภาพที่แท้จริ งมีค่าเท่ากันและมีค่าค่อนข้างน้อย ดังนั้นพนักงานมีแนวโน้มที่จะ ปฎิเสธชิ้นงานหรื อ
ระบุให้ชิ้นงานนั้นไม่ผา่ นการตรวจสอบทั้งที่ชิ้นงานนั้นมีคุณภาพดี

27

You might also like