You are on page 1of 7

1

การควบคุมคุณภาพภายในสําหรับหองปฎิบัติการวิเคราะหทดสอบ
นีระนารถ แจงทอง
ปทมา นพรัตน

“คุณแนใจไดอยางไรวา ผลการวิเคราะหทดสอบของคุณถูกตอง?” เปนคําถามที่ผูวิเคราะหทดสอบ


คงเคยไดยินกันอยูเสมอ ๆ สําหรับผูวิเคราะหทดสอบแลวการทําใหผลการวิเคราะหทดสอบมีความถูกตอง
และนาเชื่อถือ ถือเปนหนาที่และความรับผิดชอบ ซึ่งการควบคุมคุณภาพ (Quality Control, QC) ถือเปน
ปจจัยสําคัญที่จะทําใหผูวิเคราะหทดสอบมีความมัน่ ใจในผลการวิเคราะหทดสอบมากยิ่งขึ้น
การควบคุมคุณภาพ หมายถึง การดําเนินการและกิจกรรมดานวิชาการ (operation techniques
and activities) ที่นามาใช
ํ เพื่อใหตรงตามขอกําหนดดานคุณภาพ ซึ่งแบงออกเปน 2 ชนิด ไดแก การควบ
คุมคุณภาพภายนอก เชน การเขารวมโปรแกรมการทดสอบความชํานาญของหองปฏิบัติการ โดยการ
เปรียบเทียบผลการทดสอบระหวางหองปฏิบัติการ และการควบคุมคุณภาพภายใน เชน การใชตัวอยาง
ควบคุม ในบทความนี้จะขอกลาวเฉพาะรายละเอียดของการควบคุมคุณภาพภายในเทานั้น
การควบคุมคุณภาพภายใน (Internal Quality Control, IQC) หมายถึง การดําเนินการของหอง
ปฏิบตั กิ ารในการเฝาระวังการทดสอบและผลการทดสอบใหนาเชื่อถือกอนรายงานผล กระบวนการควบคุม
คุณภาพตองครอบคลุมทุกขั้นตอนการวิเคราะห ตั้งแตการสุมตัวอยาง การเตรียมตัวอยาง การวิเคราะหตัว
อยาง ตลอดจนถึงการรายงานผลการทดสอบ
ในกรณีที่มีการวิเคราะหทดสอบเปนชุดตัวอยาง (batch) วิธีการควบคุมคุณภาพภายในของหอง
ปฏิบัติการจะตองเลือกตัวอยางควบคุม (Quality Control Sample, QC Sample) แลวทําการทดสอบ
พรอมกับตัวอยางในแตละชุด การเลือกตัวอยางควบคุมขึ้นอยูกับวิธีวิเคราะห ธรรมชาติของตัวอยาง สิ่งที่
ตองการวิเคราะห (analyte) และความเขมขนของสิ่งที่ตองการวิเคราะห
วิธกี ารควบคุมคุณภาพภายใน โดยทั่วไปจะเกีย่ วของกับตัวอยางควบคุมตาง ๆ ตอไปนี้
1. การวิเคราะห Certified Reference Materials (CRMs)
2. การวิเคราะห QC check standard (Instrument check standard)
3. การวิเคราะหรีเอเจนตแบลงคหรือแบลงคของวิธีทดสอบ (reagent blank or method blank)
4. การวิเคราะห spiked sample หรือ การหา % recovery ทีค่ วามเขมขนตาง ๆ ตลอดชวงใชงาน
5. การวิเคราะหซํ้าในตัวอยางเดียวกัน (duplicate analysis pair)
6. การวิเคราะห check หรือ control sample
7. การตรวจสอบสมรรถนะ (performance) ของเครื่องมือ
2

รายละเอียดของตัวอยางควบคุมแตละชนิด เปนดังนี้
1. การวิเคราะห Certified Reference Materials (CRMs)
Certified Reference Materials เปนวัสดุหรือสารอางอิงมาตรฐานที่ไดรับการรับรอง โดยการ
ดําเนินการที่ถูกตองทางวิชาการ มีใบรับรอง และสามารถสอบกลับ (traceable) ไปยังมาตรฐานระหวาง
ประเทศ (International Standard, SI unit) ได การวิเคราะห Certified Reference Materials เพื่อเปนการ
ทวนสอบใหแนใจวาคาที่ไดจากการวิเคราะหสารอางอิงมาตรฐานที่เตรียมขึ้นเอง (In-house Reference
Materials) หรือตัวอยางควบคุมตาง ๆ มีความถูกตอง จึงควรวิเคราะห CRMs อยางนอยเดือนละครั้ง โดย
ใชความเขมขนใกลเคียงกับตัวอยาง
เกณฑยอมรับ : ± 10 % ของคาจริง (true value) หรือใช t – test หรือพิจารณาจาก % ความถูก
ตอง ซึ่งคํานวณไดจากสูตร
% ความถูกตอง = คาที่ไดจากการวิเคราะห x 100
คาจริง
2. การวิเคราะห QC check standard (Instrument check standard) ตัวอยางควบคุมชนิดนี้แบงเปน
2.1 Calibration Verification of Standard (CVS) หมายถึง สารมาตรฐานจากแหลงที่แตกตาง
จากแหลงที่ใชเตรียมกราฟมาตรฐาน เชน รุนการผลิต (batch) ทีต่ า งกัน ผูผลิตที่ตางกัน หรือการชั่งสาร
มาตรฐานมาใหม การใช CVS ควรใชความเขมขนเดียว ที่ความเขมขนใกลจุดกลางของ calibration
range (กรณี range กวาง อาจเพิ่มจํานวนจุดที่ความเขมขนอื่น) และควรวิเคราะห CVS ทุก 10 ตัวอยาง
หรือทุก 12 ชัว่ โมง หรือทุกครัง้ กอนเริ่มตัวอยางชุดใหม หรือตรวจสอบระหวางการทดสอบตัวอยางแตละชุด
เกณฑยอมรับ : ± 10 % ของคาจริง
2.2 Continuing Calibration Standard (CCS) ใชสารมาตรฐานที่ใชสรางกราฟมาตรฐาน โดยใช
ความถีแ่ ละความเขมขนเชนเดียวกับ CVS แตเกณฑยอมรับ จะแคบกวา คือ ± 5 % ของคาจริง
ถาผลการวิเคราะห QC check standard เกินเกณฑการยอมรับ ตองสรางกราฟมาตรฐานหรือ
วิเคราะหตัวอยางในชุดทดสอบนั้นใหม
คาจริงในทีน่ ี้หมายถึง คาที่ไดจากใบรับรอง หรือคาที่คํานวณไดจากใบรับรอง
3. การวิเคราะหรีเอเจนตแบลงค หรือแบลงคของวิธีทดสอบ (Reagent blank or Method blank)
รีเอเจนตแบลงค หรือแบลงคของวิธีทดสอบ หมายถึง ตัวอยางที่ปราศจากสิ่งที่ตองการวิเคราะห
(analyte-free sample) โดยทัว่ ไปใชนากลั
ํ้ ่นที่ผานกระบวนการเชนเดียวกับตัวอยางที่เราจะวิเคราะห โดย
ใชรเี อเจนต เครื่องแกว และเครื่องมือเดียวกัน การทําแบลงคเพื่อใหแนใจวาสัญญาณทั้งหมดเปนของสิ่งที่
ตองการวิเคราะห ไมใชจากรีเอเจนต หรือจากสิ่งอื่น ๆ ที่ใชในการวิเคราะห
3

ประโยชนของรีเอเจนตแบลงค หรือแบลงคของวิธีทดสอบ คือ ชี้บงและแกไขความคลาดเคลื่อน


จากระบบ (systematic error) ทีม่ าจากความไมบริสุทธิ์ของรีเอเจนต การปนเปอนจากเครื่องแกว หรือ
เครื่องมือ
อยางไรก็ตามถามีการสุมตัวอยางและการขนยาย จะมีแบลงคอีกชนิดหนึ่งทีเ่ รียกวา ฟลดแบลงค
(field blank) ซึง่ หมายถึง ตัวอยางที่ปราศจากสิ่งที่ตองการวิเคราะหที่นําจากหองปฏิบัติการ ไปยังบริเวณที่
มีการสุม ตัวอยางเพื่อใหสัมผัสกับสิ่งแวดลอมเหมือนตัวอยาง แลวถายใสขวดบรรจุตัวอยางที่สะอาด แลว
จึงนํากลับหองปฏิบัติการพรอมกับตัวอยาง
ควรทําการวิเคราะหแบลงคทุก ๆ 10-20 % ของจํานวนตัวอยางในแตละชุดตัวอยาง และเมื่อทํา
การวิเคราะหตัวอยางที่มีความเขมขนสูง ตองวิเคราะหแบลงคตามทันที เพือ่ ปองกันการปนเปอนจากตัว
อยางนั้นไปยังตัวอยางถัดไป (carry-over of analyte)
เกณฑยอมรับ : ถาคาแบลงคนอยกวาขีดจํากัดตํ่าสุดของวิธีทดสอบ (Method Detection Limit,
MDL) สามารถยอมรับได ถาคาแบลงคมากกวาขีดจํากัดตํ่าสุดของวิธีทดสอบ จะไมยอมรับ แตถาคา
แบลงคมากกวาขีดจํากัดตํ่าสุดของวิธีทดสอบ และผลการทดสอบมากกวา Limit of Quantity สามารถยอม
รับได แตควรตรวจสอบวามีสิ่งที่ตองการวิเคราะหปะปนกับแบลงคหรือไม
4. การวิเคราะห spiked sample หรือ การหา % recovery ทีค่ วามเขมขนตาง ๆ ตลอดชวงใชงาน
การเตรียม spiked sample ทําไดโดยเติมสารมาตรฐานความเขมขนสูง ๆ ปริมาณนอย ๆ ลงในตัว
อยาง เพื่อตรวจสอบ analyte recovery ใน sample matrix หรือถามีการวิเคราะหตัวอยางที่มี matrix ที่
แตกตางไป ก็เปนการทวนสอบปริมาณสารรบกวน นอกจากนี้ยังสามารถเติมสารมาตรฐานลงในแบลงค
ของวิธีทดสอบ หรือฟลดแบลงค เพื่อตรวจสอบสมรรถนะของวิธีวิเคราะหทดสอบ สารมาตรฐานที่ใชควรมา
จากคนละแหลงกับที่ใชเตรียมกราฟมาตรฐาน และความเขมขนของ spiked sample ควรอยูในชวงเดียว
กันกับตัวอยางที่ทําการวิเคราะห ทั้งนี้ผูวิเคราะหทดสอบควรแนใจวาสิ่งที่เติมลงไปมีคุณสมบัติทางเคมี
เหมือนตัวอยาง และรวมตัวเปนเนื้อเดียวกับตัวอยาง
วิธีการเตรียม spiked sample
1. ชัง่ หรือตวงตัวอยางจํานวนเทา ๆ กัน 2 สวน (portions) สวนแรกเติมสารมาตรฐานลงไป เรียก
สวนนีว้ า spiked sample สวนที่สองไมตองเติมสารมาตรฐาน เรียกสวนนี้วา ตัวอยางเริ่มตน (original
sample)
2. เตรียมตัวอยางทั้งสองสวนตามขั้นตอนการวิเคราะห
3. วิเคราะหหาปริมาณสิ่งที่ตองการวิเคราะห
4. หา % recovery จากสูตร
% recovery = (ความเขมขนของ spiked sample - ความเขมขนของตัวอยางเริ่มตน) x 100
ความเขมขนของสารมาตรฐานที่เติมลงไป
4

% recovery สามารถตรวจสอบความคลาดเคลื่อนจากระบบในขั้นตอนตาง ๆ ของการวิเคราะห


ทดสอบได กลาวคือเมื่อวิเคราะห spiked sample แลว พบวา % recovery เกินเกณฑการยอมรับ ในขั้น
ตอนใดจะแสดงผล ดังตอไปนี้
z % recovery เกินเกณฑการยอมรับในฟลดแบลงค แตไมเกินในแบลงคของวิธีทดสอบ
แสดงวามีความคลาดเคลื่อนจากระบบในกระบวนการสุมและขนยาย
z % recovery เกินเกณฑการยอมรับทั้งในฟลดแบลงค และแบลงคของวิธีทดสอบ แสดงวามี
ความคลาดเคลื่อนจากระบบของหองปฏิบัติการ
z % recovery เกินเกณฑการยอมรับใน matrix spiked sample แสดงวามีความคลาด
เคลื่อนจากระบบเนื่องจาก matrix ของตัวอยาง ซึ่งหากพบวา matrix มีผลตอการวิเคราะหทดสอบ
ผูวิเคราะหทดสอบจะตองทํา standard addition ในการวิเคราะหตัวอยางนั้น
ผูว เิ คราะหทดสอบสามารถทําการวิเคราะห matrix spiked sample โดยใชความเขมขนประมาณ
10 เทาของขีดจํากัดตํ่าสุดของวิธีทดสอบ หรือเทากับความเขมขนที่จุดกึ่งกลางของความเขมขนของชวง
การทดสอบ (working range) หรือตามขอมูลของการทดสอบความใชไดของวิธีทดสอบ (method
validation)
เกณฑยอมรับ : % recovery จากขอมูลของการทดสอบความใชไดของวิธีทดสอบ
ตัวอยางเกณฑการยอมรับ % recovery สําหรับการวิเคราะหนํ้า และนํ้าทิ้ง
สิง่ ที่ตองการวิเคราะห เกณฑยอมรับ % recovery
กรด 60 –140
แอนไอออน 80 -120
เบส หรือสารเปนกลาง 70 - 130
ยาฆาแมลงชนิดคารบาเมต 50 - 150
ยาฆาวัชพืช 40 – 160
โลหะ 80 - 120

5. การวิเคราะหซํ้าในตัวอยางเดียวกัน (duplicate analysis pair)


เกณฑยอมรับ : ระบุเกณฑการยอมรับของ % ความแตกตางสัมพัทธ (% Relative Percent
Difference, RPD) หรือเมื่อผลการทดสอบอยูใ นเกณฑควบคุม (control limit) ถาใชแผนภูมิควบคุม ซึ่งขึ้น
อยูก บั ระดับความเขมขนของสิ่งที่ตองการวิเคราะห
% ความแตกตางสัมพัทธ = (ผลการทดสอบครั้งที่ 1 - ผลการทดสอบครั้งที่ 2) x 100
คาเฉลี่ยของผลการทดสอบทั้งสองครั้ง

ถาในวิธีวเิ คราะหทดสอบใดไมสามารถวิเคราะหซาได
ํ้ ตองวิเคราะห matrix spiked sample
5

ตัวอยางเกณฑการยอมรับ % ความแตกตางสัมพัทธสําหรับการวิเคราะหนํ้า และนํ้าทิ้ง


% ความแตกตางสัมพัทธ % ความแตกตางสัมพัทธ
เมื่อสิ่งที่ตองการวิเคราะห เมื่อสิ่งที่ตองการวิเคราะห
สิ่งที่ตองการวิเคราะห
มีปริมาณนอยกวา 20 เทาของ มีปริมาณมากกวา 20 เทาของ
ขีดจํากัดตํ่าสุดของวิธีทดสอบ ขีดจํากัดตํ่าสุดของวิธีทดสอบ
กรด 40 20
แอนไอออน 25 10
เบส หรือสารเปนกลาง 40 20
ยาฆาแมลงชนิดคารบาเมต 40 20
ยาฆาวัชพืช 40 20
โลหะ 25 10
6. การวิเคราะห check หรือ control sample
check หรือ control sample หมายถึง ตัวอยางที่ทําการวิเคราะหแลว มีความคงสภาพและมีความ
สมําเสมอ
่ (homogeneity) นํามาทดสอบแทรกเขาไปในชุดตัวอยาง
เกณฑยอมรับ : ระบุเกณฑ % ความแตกตางจากคาจริง หรือ % ความถูกตอง หรือเมื่อผลการ
ทดสอบอยูในเกณฑควบคุม
การวิเคราะห matrix spiked sample, check หรือ control sample และการทดสอบซํ้า ควรทํา
ทุก ๆ 10-20 % ของจํานวนตัวอยางในแตละชุดตัวอยาง
7. การตรวจสอบสมรรถนะของเครื่องมือ
ทําไดโดยพิจารณาจากชวงความเปนเสนตรง หรือใชวิธีอื่นที่เหมาะสม ผูวิเคราะหทดสอบสราง
กราฟมาตรฐาน โดยใชสารมาตรฐาน 3 - 5 ความเขมขน แลวพิจารณาชวงความเปนเสนตรง โดยดูจากคา
สัมประสิทธิสหสัมพันธ (correlation coefficient, r) หรือสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (coefficient of
determination, R2) ในการทดสอบที่สามารถตรวจสอบคาสัมประสิทธิสหสัมพันธ หรือสัมประสิทธิ์การตัด
สินใจได ควรตรวจสอบทุกครั้ง แตถาทําไมไดก็ควรตรวจสอบอยางนอยทุก ๆ 6 เดือน
เกณฑยอมรับ : r ไมนอยกวา 0.995, R2 ไมนอยกวา 0.990
เมือ่ พิสจู นชว งความเปนเสนตรงไดแลว การสรางกราฟมาตรฐานอาจทําโดยใชสารมาตรฐานเพียง
ความเขมขนเดียวได แตอยางไรก็ตามไมควรรายงานผลเกินจุดสูงสุดของกราฟมาตรฐาน การรายงานผล
เกินจุดสูงสุดของกราฟมาตรฐานจะทําไดตอเมื่อ มีการพิสูจนแลววาคาที่ไดยังคงอยูในชวงความเปนเสน
ตรง และไมทําใหองคประกอบของเครื่องมือ (instrument parameter) เปลีย่ นแปลงไป แตตองไมเกิน 1.5
เทาของความเขมขนสูงสุดของสารมาตรฐานที่ใชสรางกราฟมาตรฐาน
6

ตัวอยางการแทรกตัวอยางควบคุม แสดงในตารางตอไปนี้
ชุดตัวอยางที่ 1 ชุดตัวอยางที่ 2
สารมาตรฐานทีใ่ ชสรางกราฟมาตรฐาน สารมาตรฐานทีใ่ ชสรางกราฟมาตรฐาน
(จากความเขมขนตํ่าไปหาสูง) (จากความเขมขนตํ่าไปหาสูง)
รีเอเจนตแบลงค Check sample
ตัวอยางที่ 1 รีเอเจนตแบลงค
ตัวอยางที่ 2 ตัวอยางที่ 6
Check sample (หรือ spiked sample) ตัวอยางที่ 7
ตัวอยางที่ 3 สารมาตรฐานทีใ่ ชสรางกราฟมาตรฐาน (CCS)
ตัวอยางที่ 4 ตัวอยางที่ 8
ตัวอยางที่ 2 (duplicate analysis) ตัวอยางที่ 9
รีเอเจนตแบลงค ตัวอยางที่ 7 (duplicate analysis)
ตัวอยางที่ 5 รีเอเจนตแบลงค
สารอางอิงมาตรฐาน ตัวอยางที่ 10
สารมาตรฐานทีใ่ ชสรางกราฟมาตรฐาน (CCS)

อยางไรก็ตามการทํา IQC อยางนอยควรใชตัวอยางควบคุมตัวใดตัวหนึ่ง ในทุก ๆ 10 ตัวอยาง


ทดสอบ ดังแสดงในภาพ
# 11 # 22 # 33

#12-21 # 23 –32
Horwizt แนะนําวา ในแตละชุดตัวอยางควรมี QC check standard 1 ตัวอยาง รีเอเจนตแบลงค
หรือแบลงคของวิธีทดสอบ 1 ตัวอยาง การวิเคราะหซํ้า 1 ตัวอยาง และ spiked sample 1 ตัวอยาง โดยใน
แตละวิธที ดสอบควรกําหนดตัวอยางควบคุม และความถี่ในการวิเคราะหไวเปนลายลักษณอักษร ทั้งนี้ขึ้น
กับเครือ่ งมือที่ใช ความคงสภาพของตัวอยางควบคุม และความเขมขนของสิ่งที่ตองการวิเคราะห
ความถีใ่ นการใชตวั อยางควบคุม ในทุกชุดตัวอยางขึ้นกับวิธีทดสอบ วามีความซํ้าซอน มีขั้นตอนที่
ตองควบคุมหลายขัน้ ตอน ปริมาณตัวอยางมีจํานวนมากแตมีเวลาทดสอบจํากัด ความถี่ของงาน เปนงาน
ประจํา หรือเปนครั้งคราว สําหรับงานทดสอบที่นาน ๆ ทําครั้ง หองปฏิบัติการตองควบคุมเครื่องมือ สารเคมี
สารมาตรฐานตาง ๆ ใหเปนไปตามมาตรฐานของสิ่งนั้น และเพื่อใหมั่นใจในผลการทดสอบตองเพิ่มจํานวน
การทดสอบตัวอยางควบคุมในชุดตัวอยางใหมากขึ้น บางครั้งอาจเปน 6-8 เทาของตัวอยางที่ทําการ
วิเคราะห แตถาเปนงานที่ทําเปนประจํา งานทดสอบตอเนื่อง หรืองานทดสอบที่ไมตอ เนื่อง มีการเวนระยะ
ชวงการทดสอบเปนชวงสั้นๆ เครือ่ งมือ สารเคมี มีการควบคุมการใชงานอยางตอเนื่อง โดยทั่วไปกําหนดให
มีการใชตัวอยางควบคุม ทุก ๆ 10 – 20 % ของจํานวนตัวอยางในแตละชุดตัวอยาง ทั้งนี้เพื่อใหเกิดความ
มัน่ ใจในผลการวิเคราะหทดสอบนั่นเอง.
7

เอกสารอางอิง :
American Public Health Association, American Water Works Association, Water Environment
Federation. Standard methods for the examination of water and wastewater. 20th ed.
Washington DC: Publication Office. 1998. p.3-3 – 3-5.
Garfield, F.M. Quality assurance principles for analytical laboratories. Virginia : AOAC
International,1991. p.87-94.
Harvey, D. Modern analytical chemistry. New York : McGraw Hill, 2000. p.1-20.
National Association of Testing Authorities. Guidelines for Quality Control in the Analytical
Laboratory, NATA technical note no.23, October 1995.

You might also like