You are on page 1of 17

ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลตากสิน

อาหาร
ผู้ป่วยผ่าตัด
ลดน้ำหนัก
โทร 02-4370123 ต่อ 1416
สารบัญ

ความสำคัญของอาหารกับผู้ป่วยผ่าตัดลดน้ำหนัก
การควบคุมอาหารก่อนการผ่าตัด
แนวทางการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดลดน้ำหนัก
Dumping Syndrome คืออะไร
อาหารหลังการผ่าตัด
ระยะที่ 1
ระยะที่ 2
ระยะที่ 3
ระยะที่ 4
อาหารสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดลดน้ำหนัก(ระยะยาว)
แนะนำอาหารตามอาการที่พบได้หลังผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก
หารลดน้ำหนัก
อา

ความสำคัญของอาหารกับผู้ป่วยผ่าตัดลดน้ำหนัก
โรคอ้วน องค์การอนามัยโลกให้นิยาม หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันในส่วนต่างๆ ของ
ร่างกายเกินปกติ จนเป็นปัจจัยเสี่ยง หรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ที่ส่งผลถึงสุขภาพ จนอาจเป็นสาเหตุ
ให้เสียชีวิตได้ โรคอ้วนมาจากปัจจัยที่ชับซ้อน เป็นผลร่วมกันระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรม ฮอร์โมน การเผา
ผลาญอาหารของร่างกาย และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันประชากรโลกประสพกับโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นภาวะ
ที่อันตรายต่อสุขภาพอย่างมากเพราะก่อให้เกิดโรคที่ร้ายแรงหลายโรคตามมา เช่น เบาหวาน หัวใจ ความ
ดันโลหิตสูง และเพิ่มอุบัติการณ์เกิดมะเร็งของมดลูก ลำไส้ใหญ่ และเต้านม มีผู้ป่วยหลายคนที่พยายามจะ
ลดความอ้วนหลายๆ วิธี เช่น ออกกำลังกาย ลดอาหาร รับประทานยาลดความอ้วน แต่ก็ยังไม่สามารถลด
ความอ้วนได้
ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ ๆ เข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ให้กับผู้ป่วยโรคอ้วน
การผ่าตัดลดความอ้วน ซึ่งในต่างประทศใช้กัอย่างแพร่หลายมานานแล้ว รักษาโรคอ้วนด้วยการผ่าตัด
(Bariatric Sugar) เป็นวิธีเดียวที่จะคงผลของการลดน้ำหนักได้ในระยะยาว(Sustain weight loss ) การ
ควบคุมน้ำหนักโดยการงดอาหาร การใช้ยา และการออกกำลังกายจะได้ผลในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และ
95-99% จะกลับมาอ้วนเท่าเดิม/มากกว่าเดิม การผ่าตัดลดความอ้วน ได้รับการยอมรับจากสถาบันทางและ
สถาบันสุขภาพชั้นนำทั่วโลก เช่น U.N, WHO, American Academy of Family Practice เป็นต้น ว่าเป็นวิธี
การรักษาโรคอ้วนที่ได้ผลมากที่สุด วัตถุประสงค์การผ่าตัดคือ การลดน้ำหนักเพื่อให้โรคแทรกซ้อนต่างๆ
หายไปหรือดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ชีวิตยืนยาวเท่าคนปกติ
เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด ค่อนข้างสูงและต้องใช้ศัลยแพทย์ส่องกล้องที่มีความชำนาญ
ทางนี้โดยเฉพาะ ทั้งการเลือกวิธีผ่าตัดที่ไม่เหมาะสมและการเตรียมผู้ป่วยไม่ดี จะส่งผลให้ผลของ
การผ่าตัดไม่ดี การดูแลผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัดและหลังการผ่าตัดที่ดีที่สุดจะต้องดูแลเป็นทีมซึ่ง
ประกอบด้วย ศัลยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ เจ้าหน้าที่ประสานงาน (coordinator) และ
แพทย์เฉพาะทางอื่น ๆ เนื่องจากโรคอ้วนมีสาเหตุจากปัจจัยที่ซับซ้อน การผ่าตัดจึงเป็นเพียง
เครื่องมือที่จะบังคับให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินไปโดยสิ้นเชิง การใช้ชีวิตของผู้ป่วยจะ
เปลี่ยนแปลงอย่างมาก ผู้ป่วยจะต้องรับรู้ข้อมูลทุกด้านเป็นอย่างดี เต็มใจและมีกำลังใจในการ
ติดตามผลในระยะยาวรวมทั้งการเปลี่ยนวิถีชีวิตและการรับประทานอาหาร
ดังนั้นผู้ป่วยผ่าตัดลดน้ำหนัก ต้องได้รับการดูแลด้านโภชนาการทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดซึ่ง
เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่าง 1 ที่จะเกิดขึ้นได้ โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำ
และการติดตาม ประเมินภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 1 ปีหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหาร
การให้คำแนะนำ และการติดตาม ประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วย มีวัตถุประสงค์ คือ
- เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานด้านโภชนาการและอาหารชนิดต่างๆ ก่อนและหลังผ่าตัด
- เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคหลังผ่าตัดลดน้ำหนัก
- เพื่อลดน้ำหนักได้ และควบคุมน้ำหนักตัวไมให้เพิ่มขึ้น
- เพื่อให้มีสุขภาพดี ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิติที่ดีในระยะยาว

อาหารผู้ป่วยผ่าตัดลดน้ำหนัก
การควบคุมอาหารให้ถูกต้องเหมาะสม ก่อนผ่าตัดลดน้ำหนักมีความ
จำเป็นมากสำหรับผู้ป่วยด้วยเหตุผล คือ ค่าดัชนีมวลกาย และน้ำหนักตัว
ที่ลดลง จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการแทรกซ้อนได้ เช่น ลดโอกาส
เกิดเลือดออกระหว่างผ่าตัด ทำให้ตับมีขนาดเล็กลง ลดความเสี่ยงที่จะ
ผ่าตัดผิดพลาดไปโดนตับ และช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้เร็วขึ้น
การควบคุมอาหารก่อนการผ่าตัด แนะนำให้เป็นอาหารที่มีลักษณะ
เหลว โปรตีนสูง แต่คาร์โบไฮเดรต่ำได้แก่ นมพร่องมันเนย หรือนมขาด
มันเนย นมถั่วเหลือง(หวานน้อย) โยเกิร์ต(น้ำตาลและไขมันต่ำ) ซุปข้น
(ไขมันต่ำ) โปรตีนผงผสมน้ำ ฯลฯ
การ

วบ
คุม

อาห าตั ด
ารก่อ น การผ่
แนวทางการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดลดน้ำหนัก
ㆍ รับประทานอาหารไขมันต่ำ น้ำตาลต่ำ และควรเป็นอาหารที่มีลักษณะเหลว ในช่วงหลังผ่าตัดระยะแรก
ㆍ แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ 5 - 6 มื้อ (3 มื้อหลัก และ 3 มื้อว่าง) เนื่องจากกระเพาะมีขนาดเล็กลงมาก
เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับพลังงาน และสารอาหารเพียงพอในแต่ละวัน โดยให้เริ่มให้ปริมาณ 30-45
มิลลิลิตร/มื้อ (2 - 3 ช้อนโต๊ะ) และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 125-250 มิลลิลิตร/มื้อ (1/2 - 1 ถ้วยตวง)
ควรเว้นช่วงการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารแต่ละมื้อให้ห่างกันอย่างน้อย 30นาที
ㆍ รับประทานอาหารให้ช้าลง เคี้ยวให้นานขึ้น แนะนำให้เคี้ยวอาหารแต่ละคำอย่างน้อย 25 วินาที
ㆍ จิบน้ำเปล่าทั้งวัน จิบน้ำบ่อย ๆ ครั้งละน้อย อย่าให้จุกแน่นท้อง หลังจากมื้ออาหาร 30 นาที และ
ก่อนกินอาหาร 30 นาที
ㆍ ห้ามดื่มน้ำในขณะกินอาหาร เพราะน้ำจะทำให้อาหารผ่านลงสู่ลำไส้เร็วขึ้น
ㆍ ผู้ป่วยต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาล เช่น น้ำหวานต่างๆ น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ขนมหวาน โดยเฉพาะที่มีแป้งทอด
ㆍ หลีกเลี่ยงคาเฟอีนที่มีในกาแฟ ชาเย็น ช็อคโกแลต และเครื่องดื่มชูกำลัง
ㆍ รับประทานอาหารที่มีวิตามิน และอาหารเสริมตามความจำเป็น ควรปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการ
ㆍ ควรเลือกรับประทานอาหารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นอาหารที่ย่อยง่าย
ㆍ หลีกเลี่ยงอาหารที่ต้องเคี้ยวหรือย่อยยาก
ㆍ เลือกวิธีรับประกอบอาหารที่ช่วยทำให้อาหารที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เช่น ต้ม นึ่ง ตุ๋น
ㆍเลือกอาหารประเภทปลา ไข่ และเนื้อไก่ที่ทำให้สุกแล้ว เพราะเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ไม่ควรกิน
อาหารที่ปรุงแบบดิบๆ สุกๆ ควรสับเนื้อสัตว์หรือหันเนื้อสัตว์ให้มีขนาดเล็กกว่าเดิม แล้วควรเคี่ยว
ให้เปื่อย เพื่อให้ง่ายต่อการย่อย
ㆍผักไม่ควรกินผักสดปริมาณมากในแต่ละครั้ง อาจจำเป็นต้องหันมากินผักต้มมากกว่าผักสด
ㆍหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงเพราะจะทำให้รู้สึกท้องอืดได้ง่าย และควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เพื่อไม่
ทำให้เกิดการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร
ดังนั้นอาจต้องใช้เวลาปรับตัวในเรื่องของการรับประทานอาหาร อาจจะไม่
ได้ทานอาหารที่เคยชอบหรือทานอาหารใหม่ที่ไม่เคยทานจนทำให้เครียด โดยใช้
เวลาประมาณ 1-2 ปี จึงจะรู้ว่าน้ำหนักเป็นอย่างไร ทั้งนี้ภาวะเครียดอาจเกิดตั้งแต่
ก่อนทำผ่าตัดซึ่งต้องปรึกษาทีมและนักโภชนาการอย่างสม่ำเสมอ ต้องออกกำลังกาย
จำกัดอาหาร และรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ทุกวันต่อเนื่องจนน้ำหนักคงที่

Dumping syndrome คืออะไร

Dumping syndrome เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นเฉียบพลันภายหลังการกินอาหาร


ประมาณ 15-30 นาที หรือมีอาการภายหลังการกินอาหารระยะหนึ่ง ซึ่งได้แก่
ปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้ ท้องเสีย มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ความดัน
โลหิตต่ำ หน้ามือเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ เหงื่อออก อ่อนเพลีย ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยง
อาการดังกล่าว ผู้ป่วยจึงได้รับคำแนะนำให้กินอาหารปริมาณน้อยในแต่ละครั้ง
และให้กินบ่อยขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่น้ำตาล อาหารรสหวานจัด เครื่องดื่ม
รสหวาน และหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำระหว่างการกินอาหาร

Dumping
syndrome!!
ระย
ะ ที่ 1

ระยะที่ 1 (Phase 1) (1-7 วันหลังผ่าตัด) : อาหารเหลวใส (Clear liquid diet)


เป้าหมาย
ㆍ อาหารเหลวใส รวมน้ำเปล่า 1.5-2ลิตร/วัน (6-8ถ้วยตวง)

อาหารเหลวใส เป็นอาหารที่มีลักษณะเหลว ที่สามารถมองทะลุผ่านได้


โดยไม่มีเนื้ออาหารใดๆ เป็นส่วนประกอบ

ตัวอย่างอาหารเหลวใสที่แนะนำ
- น้ำสมุนไพร (ไม่เติมน้ำตาล) เช่น น้ำเก๊กฮวย น้ำมะตูม น้ำตะไคร้
น้ำใบเตย น้ำอัญชัน ฯลฯ
- น้ำต้มผัก (กรองกาก)
- ซุปใสต้มกระดูก หรือเนื้อสัตว์ (กรองกาก)
- น้ำผลไม้เจือจาง (ไม่มีกาก)
- เจลลี่ (ไม่เติมน้ำตาล)
แนวทางการรับประทานอาหารระยะที่ 1
เริ่มตันรับประทานครั้งละ 15 มิลลิลิตร (1ช้อนโต๊ะ ทุก 30 นาที)
(2 ชั่วโมงแรก) หลังจากนั้นให้เพิ่ม 15 มิลลิลิตร ทุก ๆ 15 นาที

"ห้ามใช้หลอดดูดน้ำ"
2
ตัวอย่างรายการอาหาร
ตัวอย่างรายการอาหาร ระยะที่ 11
ระยะที่

มื้ออาหาร รายการอาหาร

เช้า น้ำแอปเปิ้ลเจือจาง 125 มิลลิลิตร (น้ำแอปเปิ้ล 60 มิลลิลิตร ผสมกับ


น้ำเปล่า 65 มิลลิลิตร) + น้ำเก๊กฮวย (ไม่เติมน้ำตาล) 125 มิลลิลิตร

ว่างเช้า เจลลี่ (ไม่เติมน้ำตาล) 1ถ้วย (125 มิลลิลิตร)

กลางวัน น้ำซุปใสต้มเนื้อสัตว์ (กรองกาก) 125 มิลลิลิตร + เจลลี่ (ไม่เติมน้ำตาล)


1ถ้วย (125 มิลลิลิตร)

ว่างบ่าย น้ำใบเตย (ไม่เติมน้ำตาล) 125 มิลลิลิตร

เย็น น้ำต้มผัก (กรองกาก) 125 มิลลิลิตร + น้ำแอปเปิ้ลเจือจาง 125


89.-
มิลลิลิตร
89.-
ก่อนนอน น้ำกระเจี๊ยบ (ไม่เติมน้ำตาล) 125 มิลลิลิตร
99.-

* จากรายการอาหารได้ปริมาณ 1,125 มิลลิลิตร ให้จิบน้ำเปล่าทั้งวันเพิ่มอีก 750 มิลลิลิตร


เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำตามเป้าหมาย 1.5-2 ลิตร
ระย
ะ ที่ 2

ระยะที่ 2 (Phase 2) (8 - 14 วันหลังผ่าตัด) : อาหารเหลวข้น (Full iquid diet)


เป้าหมาย
- อาหารเหลว รวมน้ำเปล่า 1.5-2 ลิตร/วัน (6-8ถ้วยตวง)
- 3 มื้อหลัก (ปริมาณน้อย) และ 3 มื้อว่าง ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง
- ปริมาณอาหาร 125-250 มิลลิลิตร/มื้อ
- ปริมาณโปรตีนที่แนะนำ 40กรัม/วัน

อาหารเหลวข้น เป็นอาหารที่มีลักษณะเหลว มีน้ำลักษณะขุ่นได้

ตัวอย่างอาหารเหลวที่แนะนำ
ㆍ นมพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนย
ㆍ นมถั่วเหลือง (หวานน้อย)
ㆍ โยเกิร์ต (น้ำตาลและไขมันต่ำ)
ㆍ ซุปข้น (ไขมันต่ำ) หรือซุปข้าวโอ้ต (ไม่หวาน)
ㆍ น้ำผลไม้ (มีสีเข้ม หรือมีตะกอนขุ่นได้ เช่น น้ำฝรั่ง น้ำองุ่น น้ำส้ม
(ไม่มีเกล็ดน้ำส้ม) น้ำมะม่วง ฯลฯ
ㆍ โปรตีนผงผสมน้ำ
ㆍ พุดดิ้ง
แนวทางการรับประทานอาหารระยะที่ 2
-เริ่มตันรับประทานครั้งละ 30 มิลลิลิตร (2ซ้อนโต๊ะ) ทุก ๆ 15นาที
- ในมื้ออาหารที่เพิ่มโปรตีนผง ควรให้ได้พลังงานน้อยกว่า 200 กิโลแคลอรี
น้ำตาลน้อยกว่า 10 กรัม โปรตีน 20 กรัม/มื้อ

"ไม่เติมน้ำตาลและน้ำมันเพิ่ม"

2
ตัวอย่างรายการอาหาร
ตัวอย่างรายการอาหาร ระยะที่ 22
ระยะที่

มื้ออาหาร รายการอาหาร

เช้า ข้าวโอ้ตผสมนมพร่องมันเนย (เพิ่มโปรตีนผง 2 ซ้อนโต๊ะ)


300 มิลลิลิตร

ว่างเช้า โยเกิร์ต ไขมัน 0% ไม่มีน้ำตาล (เพิ่มโปรตีนผง 2 ข้อนโต๊ะ) 1ถ้วย


(125 มิลลิลิตร)

กลางวัน ซุปขันไขมันต่ำ 125 มิลลิลิตร

ว่างบ่าย น้ำมะเขือเทศ 125 มิลลิลิตร

เย็น ซุปผักใส่นมพร่องมันเนย 125 มิลลิลิตร + พุดดิ้ง (ไขมันต่ำและไม่มี


89.-
น้ำตาล) 60 มิลลิลิตร
89.-
ก่อนนอน นมถั่วเหลือง (หวานน้อย) 125 มิลลิลิตร
99.-
ระย
ะ ที่ 3

ระยะที่ 3 (Phase 3) (14-28 วันหลังผ่าตัด) : อาหารเนื้อข้น (Pureed diet)


เป้าหมาย
ㆍ ปริมาณของเหลว รวมน้ำเปล่า 1.5-2 ลิตร/วัน (6-8 ถ้วยตวง)
ㆍ 3 มื้อหลัก (ปริมาณน้อย) และ 2-3 มื้อว่าง
ㆍ ปริมาณโปรตีนที่แนะนำ 60-80 กรัม/วัน

อาหารเนื้อข้น เป็นอาหารที่มีลักษณะข้นๆ หนืดๆ มีเนื้ออาหาร


แต่ผ่านการปั่นแล้ว สามารถเคี้ยวหรือกลืนได้ง่าย

ตัวอย่างอาหารเนื้อข้นที่แนะนำ
- โยเกิร์ต (น้ำตาลและไขมันต่ำ)
- ซุปข้นใส่นมพร่องมันเนย เช่น ซุปฟักทอง ซุปข้าวโพด ซุปข้นไก่ ฯลฯ
- ไข่คน (นุ่มๆ)
- เต้าหู้อ่อน
- อาหารปั่น(นำวัตถุดิบที่สุกแล้วมาปั่นผสมกัน) เช่นเนื้อปลา, ไข่,
ผัก/ผลไม้ (นิ่ม ๆ)
แนวทางการรับประทานอาหารระยะที่ 3
· เน้นอาหารไขมันและน้ำตาลต่ำ แต่โปรตีนสูง
ㆍ ผัก/ผลไม้ ควรเป็นกลุ่มที่มีใยอาหารต่ำ
ㆍ ควรรับประทานอาหารกลุ่มโปรตีนก่อน
ㆍ ไม่ควรดื่มน้ำก่อน-หลังอาหารอย่างน้อย 30 นาที

2
ตัวอย่างรายการอาหาร
ตัวอย่างรายการอาหาร ระยะที่
ระยะที่ 3
3

มื้ออาหาร รายการอาหาร

เช้า ไข่คน (นุ่มๆ) 2 ฟอง + นมพร่องมันเนย 125 มิลลิลิตร

ว่างเช้า โยเกิร์ต ไขมัน 0% ไม่มีน้ำตาล (เพิ่มโปรตีนผง 2 ช้อนโต๊ะ) 1 ถ้วย


(125 มิลลิลิตร)

กลางวัน อาหารปั่ น 250 มิลลิลิตร

ว่างบ่าย ซุปผักใสใส่เต้าหู้อ่อน 125 มิลลิลิตร

เย็น ซุปขันเห็ดใส่นมพร่องมันเนย 125 มิลลิลิตร + พุดดิ้ง (ไขมันต่ำ


89.-
และไม่มีน้ำตาล) 60 มิลลิลิตร
89.-
ก่อนนอน น้ำองุ่น 125 มิลลิลิตร
99.-
ระย
ะ ที่ 4

ระยะที่ 4 (Phase 4) (สัปดาห์ที่ 5 หลังผ่าตัด) : อาหารอ่อน (Soft diet)


เป้าหมาย
ㆍ ปริมาณของเหลว รวมน้ำเปล่า 1.5-2 ลิตร/วัน (6-8ถ้วยตวง)
ㆍ 3 มื้อหลัก (ปริมาณน้อย) และ 2-3 มื้อว่าง
ㆍ ปริมาณโปรตีนที่แนะนำ 60-80 กรัม/วัน

อาหารอ่อน เป็นอาหารคล้ายปกติเคี้ยวง่าย กลืนง่าย ย่อยง่าย


แต่ไม่ถึงขนาดเป็นอาหารปั่นหรืออาหารเหลว

ตัวอย่างอาหารอ่อนที่แนะนำ
- เนื้อปลา
- ข้าวกล้อง
- ขนมปังโฮลวีต (ควรเป็นขนมปังแบบปิ้ง ลดความเสี่ยงขนมปังเกาะกัน
เป็นก้อนในกระเพาะ)
- นมขาดมันเนย
- โยเกิร์ต (น้ำตาลและไขมันต่ำ)
- ผัก/ผลไม้เคี้ยวง่าย
แนวทางการรับประทานอาหารระยะที่ 4
ㆍ หลีกเลี่ยงอาหารพลังงาน ไขมัน และน้ำตาลสูง
ㆍ เน้นอาหารโปรตีนสูง ควรรับประทานอาหารกลุ่มโปรตีนก่อน
และหากรับประทานโปรตีนไม่ครบ ให้เสริมโปรตีนผงในอาหาร
ㆍ เริ่มปรุงประกอบโดยใช้น้ำมันน้อยได้
ㆍ เคี้ยวอาหารให้ดีละเอียด และช้าๆ หากรู้สึกอิ่มให้หยุดรับประทานทันที
2
ตัวอย่างรายการอาหาร
ตัวอย่างรายการอาหาร ระยะที่ 44
ระยะที่

มื้ออาหาร รายการอาหาร

เช้า ข้าวต้มปลา (1 ส่วนข้าวแป้ง, 1 ส่วนเนื้อสัตว์) + กล้วยน้ำว้า 1 ผล

ว่างเช้า มะละกอ 2 ชิ้นคำ + โยเกิร์ตไขมันต่ำ 1/2 ถ้วย

กลางวัน ไข่ตุ๋นกุ้งใส่แครอท (2 ส่วนเนื้อสัตว์, 1/4 ส่วนผัก) + ข้าวกล้องต้ม

ว่างบ่าย นมพร่องมันเนย 1/2 กล่อง + แตงโม 4 คำ

เย็น เกาเหลาไก่ (2 ส่วนเนื้อสัตว์ + 1 ส่วนผัก) + ข้าวกล้องตัม


89.-
(1 ส่วนข้าวแป้ง)
89.-
ก่อนนอน ปลานึงซีอิ้ว (1 ส่วนเนื้อสัตว์)
99.-
ㆍ ปริมาณพลังงานที่แนะนำ 900-1,000 กิโลแคลอรี/วัน, โปรตีน 60-80 กรัม/วัน
โดยแบ่งมื้ออาหารเป็น 3 มื้อหลัก และ 1-2 มื้อว่าง/วัน
วิธีคำนวณโปรตีน
โปรตีนที่ควรได้รับ (ต่อวัน) = (1.1-1.5) x น้ำหนักตัวในอุดมคติ
(น้ำหนักในอุดมคติ ผู้ชาย = ส่วนสูง 100 และ ผู้หญิง = ส่วนสูง 105)
ตัวอย่าง นางสาว ก. สูง 160 เซนติเมตร ต้องการโปรตีนกี่กรัม/วัน
โปรตีนที่ควรได้รับ (ต่อวัน) = (1.1-1.5)x (160-105)
= 60.5 - 82.5 กรัม/วัน

ㆍ รับประทานอาหารให้หลากหลาย เป็นกลุ่มอาหารพลังงาน ไขมัน และน้ำตาลต่ำ


ㆍหลีกเลี่ยงผักสด ผลไม้เปลือกบางที่รับประทานได้ทั้งเปลือก ผลไม้อบแห้ง ขนมปัง
ขาวและถั่วต่างๆ
ㆍ ควรรับประทานอาหารกลุ่มโปรตีนก่อน หลังผ่าตัดจะต้องการโปรตีนในการฟื้นฟู
ร่างกายมากขึ้น หากรับประทานอาหารกลุ่มโปรตีนไม่เพียงพอ แนะนำให้เติมโปรตีน
ผงในอาหาร
ㆍ ควรเป็นอาหารเคี้ยวง่าย ปรุงประกอบด้วยวิธีตัม นี่ง ตุ๋น และเคี้ยวอาหารช้าๆ
ใช้เวลารับประทานอาหารอย่างน้อย 20 นาที/มื้อ
ㆍ ดื่มน้ำอย่างน้อย 1.5-2 ลิตร/วัน
ㆍ ห้ามใช้หลอดดูดน้ำ, เคี้ยวน้ำแข็ง, ดื่มเครื่องดื่มหรือรับประทานอาหารที่มีแก๊ส
ป้องกันการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
ㆍ ต้องรับประทานวิตามินเสริมตลอด ได้แก่
ㆍ ไม่ควรเสริมวิตามินตอนท้องว่าง หรือรับประทานพร้อมกับอาหารที่มีใยอาหารสูง
ㆍ แนะนำให้หักหรือบดูวิตามินที่เป็นเม็ดก่อนรับประทาน เพื่อไมให้เปลืองพื้นที่ใน
กระเพาะอาหาร
ㆍ แนะนำรับประทานแคลเซียมเม็ด พร้อมวิตามินดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึม
แต่ไม่แนะนำให้รับประทานพร้อมกับวิตามินรวม ควรรับประทานห่างกันอย่างน้อย
2 ชั่วโมง

แนะนำอาหารตามอาการที่พบได้หลังผ่าตัด
กระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก

อาการที่พบ รายละเอียด
1 คลื่นไส้เอาเจียน หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารปริมาณมากในครั้งเดียว
2. ผมร่วง มักมีอาการในช่วง 6 เดือนแรกหลังการผ่าตัด
แต่อาการจะดีขึ้นด้วยการรับประทานโปรตีนและวิตามินให้เพียงพอ
3. Dumping syndrome เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มักพบหลังได้รับการผ่าตัดกระเพาะ
ป้องกันโดยหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง และควร
เคี้ยวอาหารช้าๆ
4. น้ำตาลในเลือดต่ำ หากมีอาการหน้ามืด วิงเวียน เหงื่อแตก เหมือนจะเป็นลม
ให้จิบน้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ 1/4 แก้ว
5. ภาวะขาดน้ำ พบได้ในผู้ที่ดื่มน้ำไม่เพียงพอ หรือสูญเสียน้ำจากการอาเจียน ท้องเสีย
ป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ ด้วยการดื่มน้ำอย่างน้อย 1.5-2 ลิตร/วัน
6. ท้องผูก ป้องกันโดยการรับประทานอาหารที่มีใยอาหาร และดื่มน้ำให้เพียงพอ

You might also like