You are on page 1of 14

รายงานนาฏศิลป์พื้นเมือง

จัดทำโดย

นายกฤตเมธ รักจันทร์

ม.๕/๘ เลขที่ ๑

เสนอ

ครูกุลนิธี แสงกิตติกุล

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้
สารบัญ

เรื่อง หน้ า

คำนำ ๑

ความหมายนาฏศิลป์ ๒

ความหมายนาฏศิลป์พื้นเมือง ๓

ภาคเหนือ ๔-๕

ภาคกลาง ๖-๗

ภาคอีสาน ๘-๙

ภาคใต้ ๑๐ - ๑๑

อ้างอิง ๑๒

คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาเพิ่มเติม นาฏศิลป์
พื้นเมือง เป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับนาฏศิลป์ นาฏศิลป์พื้นเมือง
รายละเอียดในภาคต่าง ๆ ทั้งสี่ภาค
การจัดทำผู้จัดทำได้ทำการค้นคว้าจากแหล่งคัาคว้าทาง
อินเตอร์เน็ต ผู้จัดทำหวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน หากมี
ข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้

นายกฤตเมธ รักจันทร์

ผู้จัดทำ


ความหมายนาฏศิลป์

นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะการฟ้ อนรำ หรือความรู้


แบบแผนของการฟ้ อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความ
ประณีตงดงาม ให้ความบันเทิง อันโน้ มน้ าวอารมณ์และความรู้สึก
ของผู้ชมให้คล้อยตาม ศิลปะประเภทนี้ต้องอาศัยการบรรเลง
ดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น
หรือเรียกว่า ศิลปะของการร้องรำทำเพลง


ความหมายนาฏศิลป์พื้นเมือง

การแสดงที่เกิดขึ้นตามท้องถิ่นและตามพื้นที่ต่างๆ
ของแต่ละภูมิภาค โดยอาจมีการพัฒนา ดัดแปลงมาจากการละ
เล่นพื้นเมืองของท้องถิ่นนั้นๆ การแสดงพื้นเมือง เป็นมรดกทาง
วัฒนธรรมอันล้ำค่า ที่บรรพบุรุษไทยได้สั่งสม สร้างสรรค์ และ
สืบทอดไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้เรียน
รู้และรักในคุณค่าในศิลปะไทยในแขนงนี้ เกิดความภาคภูมิใจใน
ความเป็นไทย และพร้อมที่จะช่วยสืบทอด จรรโลง และธำรงไว้
เป็นสมบัติของชาติสืบไป
การแสดงพื้นเมือง เป็นการแสดงเพื่อก่อให้เกิด
ความสนุกสนานเพลิดเพลิน และความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ ซึ่ง
จะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ สังคม วัฒนธรรม
แต่ละท้องถิ่น ดังนั้นการแบ่งประเภทของการแสดงพื้นเมืองของ
ไทย โดยทั่วไปจะแบ่งตามส่วนภูมิภาค ดังนี้

๑.การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ
๒.การแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง
๓.การแสดงพื้นเมืองของอีสาน
๔.การแสดงพื้นเมืองของใต้


ภาคเหนือ

ศิลปะการแสดงทางภาคเหนือ เป็นลักษณะศิลปะที่มี
การผสมผสานกันระหว่างชนพื้นเมืองชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทย
ลานนา ไทยใหญ่ เงี้ยว รวมถึงพวกพม่าที่เคยเข้ามาปกครองล้าน
นาไทย ทำให้นาฏศิลป์หรือการแสดงที่เกิดขึ้นในภาคเหนือมีความ
หลากหลาย แต่ยังคงมีเอกลักษณ์เฮพาะที่แสดงถึงความนุ่มนวล
ของท่วงท่า และทำนองเพลงประกอบกับความไพเราะของเครื่อง
ดนตรีประเภทเครื่องดีด สี ตี เป่า ที่มีความเด่นชัด ไม่ว่าจะเป็น
เป้ ยะ สล้อ ซอ ซึง และกลอง ที่ปรากฏอยู่ในการฟ้ อนประเภท
ต่างๆ รวมทั้งการแสดงที่มีความเข้มแข็ง หนักแน่นในแบบฉบับ
ของการตีกลองสะบัดชัย และการตบมะผาบ

ฟ้ อนเงี้ยว


ฟ้ อนสาวไหม


ภาคกลาง

เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้น
บ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะ
การแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิง
สนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จ
จากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว

เต้นกำรำเคียว เป็นเพลงพื้นเมืองของชาวบ้านจังหวัด
นครสวรรค์นิยมเล่นตามท้องนาในฤดูกาลลงแขกเกี่ยวข้าว ร้อง
เล่นกันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน ผ่อนคลายจากความเหน็ด


รำกลองยาว ประเพณีการเล่นเทิงบ้องกลองยาว หรือ
เถิดเทิง มีผู้เล่าให้ฟังเป็นเชิงสันนิษฐานว่าเป็นของพม่า พวกไทย
เราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง เมื่อชาวไทยเห็นว่ารำกลองยาว
เป็นการเล่นที่สนุกสนาน และเล่นได้ง่ายก็นิยมเล่นกันไปแทบ ทุก
บ้านทุกเมืองมาจนทุกวันนี้


ภาคอีสาน

ศิลปะการแสดงภาคอีสาน จะมีลักษณะคล้ายภาค
เหนือ ในการรวมกลุ่มของชนชาติต่างๆ เช่นพวกไทยลาว ภูไทย
ไทยพวน แสก โซ่ แต่ละกลุ่มมีลักษณะแตกต่างตามเชื้อชาติ เผ่า
พันธุ์ แต่ยังมีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นการแสดงที่เกิดขึ้นเพื่อ
พิธีกรรมทางศาสนา และความสนุกสนานรื่นเริงในเทศกาลต่างๆ
การร่ายรำจะมีลักษณะเฉพาะของการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆ
ของร่างกาย เช่น ก้าวเท้า การวาดแขน การยกเท้า การส่ายมือ
การส่ายสะโพก ที่เกิดขึ้นจากท่าทางอันเป็นธรรมชาติที่ปรากฏอยู่
ในชีวิตประจำวัน แล้วนำมาประดิษฐ์หรือปรุงแต่งให้สวยงามตาม
แบบท้องถิ่นอีสานเช่นทำท่าทางลักษณะเเอ่นตัวแล้วโยกตัวไปมา
เวลาก้าวตามจังหวะก็มีการกระแทกกระทั้นตัว ดีดขา ขยับเอว
ขยับไหล่ เน้ นความสนุกสนาน

ฟ้ อนภูไท

เซิ้งบั้งไฟ


ภาคใต้

ด้วยเหตุที่ภาคใต้เป็นภาคที่มีอาณาเขตติดต่อกับ
ประเทศมาลาเชีย และเป็นดินแดนที่ติดทะเล ทำให้เกิดการผสม
ผสานทั้งทางศาสนา วัฒนธรรม และอารยธรรมจากกลุ่มชนหลาย
เชื้อชาติ เกี่ยวโยงถึงศาสนาและพิธีกรรม จนทำให้นาฏศิลป์ และ
ดนตรีในภาคใต้มีลักษณะที่เป็นเครื่องบันเทิงทั้งในพิธีกรรม และ
พิธีชาวบ้าน รวมทั้งงานรื่นเริงโดยมีลักษณะการแสดงที่เป็น
เอกลักษณ์เฉพาะ คือมีจังหวะที่เร่งเร้า กระฉับกระเฉง ผิดจากภา
คอื่นๆ และเน้ นจังหวะมากกว่าท่วงทำนอง โดยมีลักษณะที่เด่นชัด
ของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีให้จังหวะเป็นสำคัญ ส่วนลีลาท่า
รำจะมีความคล่องแคล่วว่องไว สนุกสนาน การแสดงพื้นเมืองภาค
ใต้มีทั้งแบบพื้นเมืองเดิม และแบบประยุกต์ที่ได้แนวความคิดมา
แล้วพัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบใหม่ หรือรับมาบางส่วนแล้วแต่งเติม
เข้าไป

หนังตะลุง
๑๐
โนรา

๑๑
อ้างอิง

https://sites.google.com/site/dramaticarttuppschool/nats
ilp-phun-meuxng

๑๒

You might also like