You are on page 1of 20

3742210 หลักการพื ้นฐานทางกายภาพบำบัด

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อุปกรณ์หลัชก่ วการจั
ยเดิดนท่าและรู ปแบบการเดิน
(POSITIONING)
(AMBULATORY DEVICES and WALKING PATTERN)
อ.ดร. มนทกาน ไชยกุมาร

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม
เมื่อนิสิตศึกษาจนจบเอกสารคำสอนนี้แล้วนิสิตสามารถ
1. ทราบวัตถุประสงค์ของการใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
2. ทราบถึงลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์ช่วยเดินแบบต่างๆ
3. วัดขนาด และการปรับแต่งความยาวของอุปกรณ์ช่วยเดินแบบต่างๆได้
4. เลือกอุปกรณ์ช่วยเดิน และรู ปแบบการเดินได้อย่างเหมาะสมกับสภาวะของผูป้ ่ วย
5. สอนวิธีการใช้เครื่ องช่วยเดิน และรู ปแบบการเดินให้กบั ผูป้ ่ วยได้

อุปกรณ์ช่วยเดิน (Ambulatory Devices)


เป็ นอุปกรณ์ที่
 ทำให้เกิดความมัน่ คงมากขึ้นในการเดิน โดยเพิ่ม base of support
 ช่วยลดการลงน้ำหนักที่ขาข้างหนึ่ง หรื อสองข้างขณะเดิน
 ช่วยลดการเคลื่อนไหวหรื อการทำงานของส่ วนของร่ างกายที่อ่อนแอ ซึ่ งอาจมีสาเหตุจากความเจ็บ
ปวด การเสี ยสมดุลของการทำงานประสานกันของร่ างกาย หรื อจากการมีก ำลังกล้ามเนื้อลดลง
 ช่วยส่ งเสริ มกระบวนการ healing process ในกรณี ผปู ้ ่ วย fracture เนื่องจากผูป้ ่ วยสามารถเดินโดยไม่
ลงน้ำหนัก หรื อลดการลงน้ำหนักที่ขา

อุปกรณ์ช่วยเดินมีหลายแบบ โดยที่แต่ละแบบมีวิธีการใช้ต่างกัน ขึ้นกับสภาวะผูป้ ่ วย วัตถุประสงค์การ


ฝึ กเดิน รู ปแบบการเดิน ฯลฯ ที่นิยมใช้ในแผนกกายภาพบำบัด มีดงั นี้ คือ
Parallel bars, Single cane, Tripod cane, Walker, Crutches

หากเรี ยงลำดับอุปกรณ์ช่วยเดิน โดยเรี ยงลำดับจากการให้ความมัน่ คงจากมากไปน้อย ดังนี้ คือ

Parallel bars  Walker Crutches  Single crutch  Bilateral canes Single cane
อุปกรณ์ช่วยเดินและรูปแบบการเดิน (Ambulatory devices and walking patterns)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รู ปที่ 1. Parallel bars

ก ข ค รู ปที่ 2. แสดงอุปรณ์ช่วยเดิน:
ก) Single cane
ข) Tree-point cane
ค) Walker

รู ปที่ 3. แสดงอุปรณ์ช่วยเดินชนิด
Crutches 2:
ก) Axillary
ข) Forearm /Canadian
ค) With Forearm attachment

ก ข ค

การวัดขนาดอุปกรณ์ ช่วยเดิน (Measurement and fitting)


1. Parallel bars
ระดับความสู งของบาร์
3742210 หลักการพื ้นฐานทางกายภาพบำบัด
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 Position ของผูป้ ่ วย: ยืนตรงแขนวางข้างลำตัว จับบาร์โดยงอข้อศอกเล็กน้อย ประมาณ 20 - 25


องศา มือที่จบั บาร์อยูห่ น้า ต่อ hip joint ประมาณ 6 นิ้ว บาร์แต่ละข้า งห่า งจาก greater trochanter
ประมาณ 2 นิ้ว
 วัดจากพื้นถึง greater trochanter หรื อ wrist crease ของ ulnar styloid process

2. ไม้ เท้ า (Cane/ walking stick)


ระดับความสู งของไม้เท้า
 Position ของผูป้ ่ วย: ยืน หรื อนอนหงาย ขาเหยียดตรง แขนเหยียดตรงแนบข้างลำตัว
 วางไม้เท้าขนานกับขาผูป้ ่ วย ส่ วนปลายของไม้เท้าวางบนพื้น มือจับ (handgrip) อยูใ่ นระดับเดียวกับ
greater trochanter
 หรื อวัดความยาวของไม้เท้า โดยใช้สายวัด วัดจาก greater trochanter ถึงส้นเท้า
วิธีการตรวจยืนยันขนาด:
1) วางปลาย cane ให้เยื้องไปทางด้านข้างประมาณ 2 นิ้ว และไปทางด้านหน้า 4-6 นิ้ว ของ
ปลายนิ้วเท้า
2) สังเกตโดยให้ผปู้ ่ วยมี Elbow flexion ประมาณ 20 - 25 องศา

3. Forearm crutches (Canadian crutches)


 ความสูงของ forearm crutches จากพื้นถึง มือจับ วิธีการวัดเช่นเดียวกับการวัด cane
 ขณะผูป้ ่ วยใส่ แ ขนไปในช่อ งใส่ แ ขน (cuff) ปลาย forearm cuff อยูใ่ ต้ต ่อ olecranon process
ประมาณ 1-1.5 นิ้ว
 มือจับที่ hand piece ในท่า neutral flexion-extension
 ผูป้ ่ วยควรจะสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของลำตัวและสะโพกได้ดี

วิธีการตรวจยืนยันขนาด:
1) ให้ผปู้ ่ วยสอด/วางปลายแขน (forearm) เข้าไปในปลอกรองรับ และกำมือจับ (hand pieces)
2) วางปลาย crutches เยื้องไปทางด้านข้างประมาณ 2 นิ้ว และไปทางด้านหน้า 4-6 นิ้ว ของ
ปลายนิ้วเท้า
3) สังเกตโดยให้ผปู้ ่ วยมี Elbow flexion ประมาณ 20 - 25 องศา
4) ตำแหน่งขอบบน ของปลอกรองรับ ควรอยูใ่ ต้
ต่อ olecranon process ประมาณ 1-1.5 นิ้ว

20-25° flexion
อุปกรณ์ช่วยเดินและรูปแบบการเดิน (Ambulatory devices and walking patterns)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รู ปที่ 4. แสดงการตรวจยืนยันขนาดของ Forearm crutches ในท่ายืน 2

4. Axillary crutches
Position ของผูป้ ่ วย : นอนหงาย
- ใช้สายวัด วัดจากขอบรักแร้ทางด้านหน้า (anterior axillary fold) ลงไปยังด้านข้างของส้นเท้า
โดยห่างออกไปทางด้านข้างส้นเท้า 4-6 นิ้ว

4-6 inches

รู ปที่ 5. การวัดความยาวของ Axillary crutches ในท่านอน 2

Position ของผูป้ ่ วย: ยืนใน parallel bars ลำตัวตรง มือจับบาร์


- ใช้สายวัด วัดจาก anterior axillary fold ลงไปถึงด้านหน้าของนิ้วเท้า 4-6 นิ้ว และด้านข้างของ
นิ้วเท้า 4-6 นิ้ว
3742210 หลักการพื ้นฐานทางกายภาพบำบัด
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

4-6 inches

รู ปที่ 6. การวัดความยาวของ Axillary crutches ในท่ายืน 2

Position ของผูป้ ่ วย: นัง่ กางแขนออก 90 องศา ทั้งสองข้าง และงอศอกข้างหนึ่ง 90 องศา


- ใช้สายวัด วัดจาก olecranon process ของศอกข้างที่งอ ถึงปลายนิ้วกลางของแขนอีกข้างหนึ่ง

รู ปที่ 7. การวัดความยาวของ Axillary crutches ในท่านัง่


อุปกรณ์ช่วยเดินและรูปแบบการเดิน (Ambulatory devices and walking patterns)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รู ปที่ 8. การปรับขนาดความยาวของ Axillary crutches

ระยะความสู งของมือจับ (Handpiece height)


ท่านอนหงาย หรื อ ยืนตรง วัดจาก greater trochanter หรื อ wrist crease ของ ulnar styloid process ขณะแขน
เหยียดตรง แนบลำตัว ไปยังส้นเท้า

วิธีการตรวจยืนยันขนาด:
1) ให้ขอบบนของ axillary crutches อยูใ่ ต้รักแร้: วางปลาย crutches เยื้องไปทางด้านข้าง
ประมาณ 2 นิ้ว และไปทางด้านหน้าประมาณ 4 นิ้ว จากปลายนิ้วเท้า หรื อประมาณ 6 นิ้ว
จากกึ่งกลางฐานการยืน (รู ปที่ 9)

6 นิว้ 6 นิว้

รู ปที่ 9. การวางเท้าและ Axillary crutches เมื่อยืนตรวจยืนยันขนาดหรื อก่อนเริ่ มเดิน


2) ให้ผปู้ ่ วยกำมือจับ (handpiece) โดยให้ขอ้ มือเหยียดตรง
3) ประเมินโดย ให้มีที่วา่ งระหว่างขอบบนของ axillary crutches กับใต้รักแร้ประมาณความ
กว้างของ 2 นิ้วมือ (2 finger breadths)
3742210 หลักการพื ้นฐานทางกายภาพบำบัด
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

4) สังเกตโดยให้ผปู้ ่ วยมี Elbow flexion ประมาณ 20 - 25 องศา

20-25°
flexion

รู ปที่ 10. วิธีการตรวจยืนยันขนาด Axillary crutches

5. Walker
ท่า ยืน ตรง ที่มือ จับ ของ walker อยูท่ ี่ร ะดับ wrist crease ของ ulnar styloid process หรื อ greater
trochanter ในขณะที่วาง walker ด้านหน้าผูป้ ่ วย
วัดโดยใช้สายวัด วัดจาก greater trochanter ไปยังส้นเท้าขณะยืนขาเหยียดตรง
วิธีการตรวจยืนยันขนาด:
1) วาง walker ด้านหน้าของผูป้ ่ วย
2) ให้ผปู้ ่ วยกำมือจับ นักกายภาพบำบัดสังเกตมุมให้มี elbow flexion ประมาณ 20 - 25 องศา
อุปกรณ์ช่วยเดินและรูปแบบการเดิน (Ambulatory devices and walking patterns)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รู ปที่ 11. วิธีการตรวจยืนยันขนาด walker

ขั้นตอนการเตรียมการฝึ กเดินโดยใช้ อุปกรณ์ ช่วยเดิน


1. ทบทวนแบบบันทึกประวัติของผูป้ ่ วย และการรักษาที่ได้รับ
2. ตรวจประเมินทางกายภาพบำบัด เพื่อประเมินข้อจำกัด และความสามารถของผูป้ ่ วย เพื่อเลือก
อุปกรณ์ช่วยเดิน และรู ปแบบการเดินที่เหมาะสม
3. การเลือกอุปกรณ์ช่วยเดิน และรู ปแบบการเดิน พิจารณาจากประวัติ การตรวจร่ างกาย และเป้ า
หมายของการรักษา
4. เตรี ยมผูป้ ่ วยก่อนการฝึ กเดิน โดยเตรี ยมความพร้อมของกล้ามเนื้ อ และอธิ บายรู ปแบบของการเดิน
5. การเริ่ มฝึ กเดิน ควรเริ่ มให้ผปู้ ่ วยฝึ กเดินใน parallel bars ก่อน เพื่อให้มีความมัน่ คงสู งสุ ด และ
ปลอดภัย
6. สถานที่สำหรับฝึ กเดินปลอดภัย ไม่ลื่น และไม่มีสิ่งกีดขวาง
7. ตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ช่วยเดิน ต้องไม่ช ำรุ ด เช่น น็อตต้องแน่น ยางที่หุม้ ปลายอุปกรณ์ช่วย
เดินไม่แตก
8. รัดเข็มขัดให้ผปู้ ่ วยก่อนเสมอ
9. ก่อนการฝึ กเดินต้องแน่ใจว่าผูป้ ่ วยมีความพร้อมทางด้านร่ างกายเช่น balance, coordination, range of
motion, strength และ endurance และด้านจิตใจ
10. นักกายภาพบำบัดอธิบายวิธีการเดิน และแสดงรู ปแบบการเดินก่อนผูป้ ่ วยฝึ กเดิน
11. นักกายภาพบำบัดจับที่เข็มขัดด้านหลัง (gait belt) และจับที่ไหล่ผปู ้ ่ วย เพื่อป้ องกันผูป้ ่ วย
12. นักกายภาพบำบัดอยูใ่ นท่าที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ตนเอง และผูป้ ่ วย
ข้ อควรระวังของการฝึ กเดินโดยใช้ อุปกรณ์ ช่วยเดิน
1. รองเท้าที่ผปู้ ่ วยใส่ ตอ้ งไม่ลื่น
2. ขณะผูป้ ่ วยฝึ กเดิน นักกายภาพบำบัดต้องสังเกต vital signs, general appearance และความตื่นตัว
ของผูป้ ่ วย
3. หลีกเลี่ยงการป้ องกันผูป้ ่ วย หรื อการแนะนำการเดินของผูป้ ่ วย โดยจับที่เสื้ อผ้า หรื อแขนของผูป้ ่ วย
4. นักกายภาพบำบัดต้องตื่นตัว สังเกต ท่าทางที่อาจผิดปกติไปของผูป้ ่ วย ปั ญหาที่อาจเกิดขึ้นกับ
อุปกรณ์ช่วยเดิน และพร้อมในการป้ องกันอันตรายต่อผูป้ ่ วยตลอดเวลา
5. ท่ายืนที่เหมาะสมของนักกายภาพบำบัดคือ ยืนด้านหลังผูป้ ่ วย และเยื้องออกด้านข้างเล็กน้อย โดย
ยืนข้างที่ผปู้ ่ วยมีพยาธิสภาพ มือจับที่เข็มขัดด้านหลังของผูป้ ่ วย
เช่นผูป้ ่ วยมีพยาธิสภาพที่ขาซ้าย และฝึ กเดินโดยใช้ axillary crutches
- นักกายภาพบำบัดยืนด้านหลังผูป้ ่ วย และยืนเยื้องไปทางด้านซ้ายของผูป้ ่ วย
- มือขวาจับ gait belt และมือซ้ายจับไหล่ซา้ ยของผูป้ ่ วย
- เท้าซ้ายของนักกายภาพบำบัดอยูร่ ะหว่าง crutch ข้างซ้าย และเท้าซ้ายของผูป้ ่ วย
- เท้าขวาของนักกายภาพบำบัดอยูด่ า้ นหลังของผูป้ ่ วย
6. นักกายภาพบำบัดก้าวขาไปข้างหน้าพร้อมกับผูป้ ่ วย
3742210 หลักการพื ้นฐานทางกายภาพบำบัด
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

7. ถ้าผูป้ ่ วยจะล้มไปข้างหน้า ให้ดึง gait belt และควบคุมที่ไหล่ผปู ้ ่ วย ถ้าผูป้ ่ วยจะล้มไปทางข้างหลัง


ให้ผปู ้ ่ วยยืนพิงนักกายภาพบำบัดได้
8. ไม่ละทิ้งให้ผปู้ ่ วยยืนเพียงลำพัง
9. ดูแลอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษา ซึ่ งติดตัวผูป้ ่ วยเช่น เฝื อก , drainage tubes, intravenous tubes และ ผ้า
พันแผล ขณะฝึ กเดิน
10. ต้องแน่ใจว่าสถานที่ฝึกเดินมีความปลอดภัย พื้นไม่ลื่น
11. ต้องให้ค ำแนะนำแก่ผปู้ ่ วยอย่างชัดเจน

การฝึ กเดิน
1. อาจเริ่ มจากอุปกรณ์ที่มีการพยุง และให้ความมัน่ คงสู งสุ ด แต่จ ำกัดการเคลื่อนไหวก่อน เพื่อสร้าง
ความมัน่ ใจ และปลอดภัยให้กบั ผูป้ ่ วย เช่นฝึ กเดินใน parallel bars
2. เมื่อสามารถเคลื่อนไหวได้ดีข้ึน จึงให้ผปู ้ ่ วยฝึ กเดินโดยใช้เครื่ องช่วยเดินที่เหมาะสม เพื่อให้ผปู ้ ่ วย
เคลื่อนไหวได้ และเดินได้ดว้ ยตนเองมากที่สุด

การลงน้ำหนัก (Weight bearing)


การลงน้ำหนักคือ ปริ มาณของน้ำหนักที่ลงบนขาในขณะยืนหรื อเดิน โดยปริ มาณน้ำหนักที่ลงบนขา
นี้ข้ นึ กับระดับของการเจ็บป่ วย และการรักษาที่ได้รับ
1. Non Weight Bearing (NWB) คือ ไม่ลงน้ำหนักที่ขา
2. Partial Weight Bearing (PWB) คือ มีการลงน้ำหนักที่ขาบางส่ วน อาจมีการกำหนดระดับของน้ำ
หนักที่ลงบนขา หรื อถ้าไม่มีการกำหนดน้ำหนัก ให้ผปู ้ ่ วยลงน้ำหนักที่ขาด้านที่มีพยาธิ สภาพน้อย
ที่สุด
3. Full Weight Bearing (FWB) คือ การลงน้ำหนักเต็มที่
4. Weight bearing as tolerated คือ มีการลงน้ำหนักที่ขาข้างที่มีพยาธิ สภาพมากเท่าที่ผปู ้ ่ วยจะทนได้

แบบแผนการเดิน (Walking pattern)


การเลือกรู ปแบการเดินที่เหมาะสมขึ้นกับความสามารถในการทรงตัวของผูป้ ่ วย (balance) ,
strength, coordination, ความจำเป็ นที่จะต้องใช้ในชีวิตประจำวัน, ระดับการใช้พลังงาน และข้อจำกัดด้าน
ความสามารถในการเดินลงน้ำหนัก (FWB, PWB หรื อ NWB)

Four-point pattern
ต้องใช้ bilateral walking aids ลักษณะการทำงาน จะสลับซ้ายขวา ไปด้านหน้า ทั้งเครื่ องช่วยเดิน
และขาผูป้ ่ วย
 เริ่ มโดยยกเครื่ องช่วยเดินไปด้านหน้า 1 ข้าง
 ตามด้วยยกขาด้านตรงข้ามไปด้านหน้า
อุปกรณ์ช่วยเดินและรูปแบบการเดิน (Ambulatory devices and walking patterns)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 เช่น right crutch  left foot  left crutch  right foot


เป็ นการเดินที่ค่อนข้างช้า มัน่ คง และปลอดภัย ใช้พลังงานในการเดินน้อย เหมาะสำหรับกรณี ที่
ต้องการ maximal stability และ balance คล้าย normal gait pattern แต่ผปู ้ ่ วยเดินได้ชา้

รู ปที่12. การเดินด้วย axillary crutches แบบ Four-point pattern


Two-point pattern
ต้องใช้ bilateral walking aids ลักษณะการทำงาน จะยก walking aid ข้างหนึ่ง ไปพร้อมกับ ขาข้าง
ตรงข้าม ในลักษณะ reciprocal forward placement
 เช่น right crutch ยกไปข้างหน้าพร้อมกับ left foot  left crutch ยกไปข้างหน้าพร้อมกับ right foot
เป็ นการเดินที่ค่อนข้างมัน่ คง เดินได้เร็ วกว่า four-point gait ใช้พลังงานน้อย ลักษณะการเดินคล้าย
การเดินปกติ ต้องการ coordination ในการเคลื่อนแขน และขา ด้านตรงข้ามไปพร้อมกัน ผูป้ ่ วยสามารถเดิน
ได้เร็ ว แต่มนั่ คงน้อยกว่า four-point gait

รู ปที่ 13. การเดินด้วย axillary crutches แบบ Two-point pattern

Modified four-point or two-point pattern


- ต้องการ one walking aid
- ใช้สำหรับผูป้ ่ วยที่แขนสามารถทำงานได้ขา้ งเดียว หรื อผูท้ ี่ตอ้ งการใช้แค่ walking aid อันเดียว
- ใช้แขนข้างตรงข้ามกับขาที่อ่อนแรงหรื อเจ็บ
3742210 หลักการพื ้นฐานทางกายภาพบำบัด
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

- ช่วยเบือนจุดศูนย์ถ่วงของผูป้ ่ วยออกจากขาที่อ่อนแรงหรื อเจ็บ


- ขั้น ตอนการเดิน เช่น เดีย วกับ four-point หรื อ two-point pattern แต่ใ ช้ one walking aid เป็ น การ
ดัดแปลงรู ปแบบการเดิน บางครั้งเรี ยกรู ปแบบนี้วา่ Hemi gait หรื อ Hemi pattern

รู ปที่ 14. การเดินด้วย single cane แบบ Modified two-point pattern

Three-point pattern
ต้องการ bilateral walking aids หรื อ walker แต่ไม่สามารถใช้ bilateral canes รู ปแบบการเดินเป็ น
ลักษณะ ‘step to’ หรื อ ‘step through’ pattern มากกว่า ‘swing to’ หรื อ ‘swing through’ ใช้เมื่อผูป้ ่ วยสามารถ
ลงน้ำหนักได้เต็มที่บนขาข้างหนึ่ง (Full Weight Bearing: FWB) แต่ไม่สามารถลงน้ำหนักบนขาอีกข้างหนึ่ง
ได้ (Non Weight Bearing: NWB) ท่าเดินนี้เร็ วกว่าท่าแรก ๆ แต่ความมัน่ คงน้อยกว่า ผูป้ ่ วยต้องมีความแข็ง
แรงของระยางค์แขน และ มัน่ คงในการยืน-เดิน มากกว่าการเดินแบบอื่น
อุปกรณ์ช่วยเดินและรูปแบบการเดิน (Ambulatory devices and walking patterns)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รู ปที่ 15. การเดินด้วย walker แบบ Three-point pattern

Three-one หรือ Modified three-point pattern


ลักษณะการเดินเช่นเดียวกับ three-point pattern แต่ผปู ้ ่ วยสามารถลงน้ำหนักได้บางส่ วน (Partial
Weight Bearing: PWB) บนขาข้างที่มีปัญหา การเดินท่านี้จะมัน่ คงกว่า three-point gait

รู ปที่ 16. การเดินด้วย axillary crutches แบบ Three-one หรื อ Modified three-point pattern

Swing-to และ Swing-through pattern


เป็ นท่าสำหรับผูป้ ่ วยที่กล้ามเนื้ อของลำตัว และขาท่อนล่างอ่อนแรง หรื อไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
ขณะเดิน ใช้การเหวี่ยง ลำตัว และขาไปด้านหน้า หรื อด้านหลัง เพื่อเคลื่อนที่ มักใช้ในกลุ ่มของ spinal
cord injury ใช้กล้ามเนื้อแขนทั้ง 2 ข้าง ในการพยุง และยกลำตัวและเคลื่อนไปด้านหน้า
3742210 หลักการพื ้นฐานทางกายภาพบำบัด
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Drag-to pattern
ใช้สำหรับผูป้ ่ วยที่ยกตัวลำบาก เช่นจาก spinal cord injury ที่มีพยาธิ สภาพระดับสู ง วิธีการเดินคือ
เลื่อนไม้ค ้ำยันไปด้านหน้า ออกแรงเหยียดศอก กดไหล่ ทิ้งน้ำหนักบนไม้ จนไม่มีน ้ำหนักตกมาที่ขา แล้ว
ลากขามาด้านหน้า จนอยูร่ ะดับเดียวกับไม้ค ้ำยัน เท้าแตะพื้นตลอดเวลา ท่านี้ค่อนข้างปลอดภัย แต่ชา้

การเดินโดยใช้ เครื่องช่ วยเดินในชีวติ ประจำวัน


 การเดินทางด้ านข้ าง (Sideway movement)
วิธีการเดินเมื่อต้องการเดินไปทางด้านขวา
1) บอกให้ผปู้ ่ วยเลื่อนอุปกรณ์ช่วยเดินข้างซ้าย มาชิดกับด้านข้างของเท้าซ้าย
2) เลื่อนอุปกรณ์ช่วยเดินข้างขวาออกไปด้านข้างประมาณ 6-8 นิ้ว
3) ก้าวขาขวาออกไปด้านข้าง ชิดกับอุปกรณ์ช่วยเดินข้างขวา
4) ก้าวขาซ้ายมาชิดขาขวา
5) ทำซ้ำตาม ข้อ 1-4

 การหมุน (Turning movement)


ควรสอนผูป้ ่ วยให้สามารถหมุนตัวได้ท้ งั ด้านซ้ายและด้านขวา ขณะสอนให้หมุนจะต้องระมัดระวัง
และป้ องกันขาข้างที่มีพยาธิสภาพให้มีความมัน่ คง โดยเฉพาะเมื่อหมุนไปทางขาข้างที่มีพยาธิ สภาพ
ตัวอย่างการสอนการหมุน ในกรณี ผปู ้ ่ วยที่ใช้ bilateral ambulation aids หรื อ walker ที่มีพยาธิ สภาพ
ที่ขาขวา โดยสอนให้หมุนไปด้านขวา
1) ให้ผปู้ ่ วยถ่ายน้ำหนัก (shift weight) ไปบนขาซ้าย
2) ยกอุปกรณ์ช่วยเดินข้างขวา และขาขวาไปข้างหน้าเล็กน้อย และออกไปทางด้านขวา
3) หมุนขาซ้าย แล้วยกอุปกรณ์ช่วยเดินข้างซ้าย และขาซ้ายไปทางข้างขวา

ก ข

ค ง
อุปกรณ์ช่วยเดินและรูปแบบการเดิน (Ambulatory devices and walking patterns)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รู ปที่ 17. การหมุนตัวไปทางซ้ายเมื่อใช้ axillary crutches

 การเดินขึน้ พืน้ ต่ างระดับ/ การขึน้ บันได


หลักการ ก้าวขาข้างปกติข้ ึนก่อน
Unilateral cane
1) ให้ผปู้ ่ วยจับ cane และวางข้างขาข้างปกติ (หรื อข้างที่มีพยาธิ สภาพน้อยกว่า)
2) ก้าวขาข้างปกติข้ ึนไปวางที่พ้ืนต่างระดับ
3) ยก cane และก้าวขาข้างที่มีพยาธิ สภาพขึ้นพร้อมกัน
Bilateral crutches
1) บอกให้ผปู้ ่ วยยืนลงน้ำบนขาข้างปกติ ส่ วนขาข้างที่มีพยาธิ สภาพให้งอเข่า และกดน้ำหนัก
ลงที่ handpieces ทั้งสองข้าง
2) ก้าวขาข้างปกติข้ ึนไปวางที่พ้ืนต่างระดับ
3) ยก crutches และลำตัวขึ้น พร้อมกับก้าวขาข้างที่มีพยาธิ สภาพขึ้น
Walker
1) ยก walker ขึ้นไปวางที่พ้ืนต่างระดับ
2) กดน้ำหนักลงที่ handpieces ทั้งสองข้าง ยกลำตัวขึ้น แล้วก้าวขาข้างปกติข้ ึน
3) ยกขาข้างที่มีพยาธิสภาพขึ้น

รู ปที่ 18 การเดินขึ้นบันได เมื่อใช้ Axillary crutches ทั้งสองข้าง


3742210 หลักการพื ้นฐานทางกายภาพบำบัด
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รู ปที่ 19. การเดินขึ้นพื้นต่างระดับ / การขึ้นบันไดแบบจับราวบันไดเมื่อใช้ crutches 2

 การเดินลงพืน้ ต่ างระดับ/การลงบันได
หลักการ ก้าวขาข้างที่มีพยาธิสภาพลงก่อน
Unilateral cane
1) ก้าวขาข้างที่มีพยาธิสภาพลงพร้อมกับ cane
2) ก้าวขาข้างปกติลงมา
Bilateral crutches
1) ยก crutches ลงมาวางที่พ้ืนต่างระดับ
2) บอกให้ผปู้ ่ วยกดน้ำหนักลงที่ handpieces งอเข่าขาข้างปกติเล็กน้อย แล้วก้าวขาข้างที่มีพยาธิ
สภาพลงมา
3) ก้าวขาข้างปกติลงมา
อุปกรณ์ช่วยเดินและรูปแบบการเดิน (Ambulatory devices and walking patterns)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รู ปที่ 20 การเดินลงพื้นต่างระดับ / การลงบันได เมื่อใช้ crutches 2

Walker
1) ยก walker ลงมาวางที่พ้ืนต่างระดับ
2) บอกให้ผปู้ ่ วยกดน้ำหนักลงที่ handpieces งอเข่าขาข้างปกติเล็กน้อย แล้วก้าวขาข้างที่มีพยาธิ
สภาพลงมา ก้าวขาข้างปกติลงมา

การลงนั่งบน wheelchair หรือเก้าอีเ้ มื่อใช้ crutches


1) ยืนหันหลังห่างจาก wheelchair ให้มีระยะห่างพอที่จะลงนัง่ ได้
2) หมุน crutches ออก แล้วจับ hand piece อยูใ่ นท่าคว่ำมือ หรื อรวบไม้ไว้ขา้ งขาที่แข็งแรง
3) เลื่อนขาเจ็บไปด้านหน้า แล้วลงนัง่ โดยโน้มตัวไปด้านหน้า ลงน้ำหนักขาข้างปกติพร้อมกับ
ใช้มือกด crutches

รู ปที่ 10 การลงนัง่ บน wheelchair หรื อเก้าอี้เมื่อใช้ crutches


3742210 หลักการพื ้นฐานทางกายภาพบำบัด
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รู ปที่ 10 การลงนัง่ บนเก้าอี้ เมื่อใช้ crutches (แบบรวบไม้)

การลุกขึน้ จาก wheelchair หรือเก้าอีเ้ มื่อใช้ crutches


1) รวบไม้ท้ งั สองข้างไว้ขา้ งขาที่เจ็บ แล้วเลื่อนตัวออกมาด้านหน้าโดยให้ขาที่เจ็บอยูด่ า้ นหน้า
2) ลุกขึ้นโดยลงน้ำหนักขาข้างปกติพร้อมกดมือลงบน arm rest และ hand piece ของ crutches
เพื่อช่วยในการยืน
3) หยิบ crutch ไปไว้อีกด้านหนึ่ง เพื่อมาสู่ ท่ายืนเตรี ยมพร้อมที่จะเดิน

รู ปที่ 11 การลุกขึ้นจาก wheelchair หรื อเก้าอี้เมื่อใช้ crutches

ตารางสรุ ปรู ปแบบการเดินและข้ อบ่ งชี้ในการใช้ 2


รู ปแบบการเดิน ข้ อบ่ งชี้ในการใช้
อุปกรณ์ช่วยเดินและรูปแบบการเดิน (Ambulatory devices and walking patterns)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Four-point Bilateral weakness / disability


เช่น ข้อเสื่ อม หรื อ เด็กสมองพิการ

รู ปแบบการเดิน ข้ อบ่ งชี้ในการใช้


Two-point เหมือน Four-point แต่ใช้ในกรณี ผปู้ ่ วย
มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้ อ การทรงตัว
และการประสานสัมพันธ์ (coordination)
มากกว่า
3742210 หลักการพื ้นฐานทางกายภาพบำบัด
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Three-point ขาขาด/ บาดเจ็บ 1 ข้าง


(non-weight- เช่น ข้อเท้าแพลง ขาท่อนล่างหัก
bearing)

รู ปแบบการเดิน ข้ อบ่ งชี้ในการใช้


Three-point หัดเดินด้วยขาเทียม / มีการบาดเจ็บที่ขาข้าง
(partial weight- หนึ่งดีข้ ึน สามารถลงน้ำหนักได้บา้ ง
bearing

ขาข้างไม่
แข็งแรง

Swing- through มีการบาดเจ็บ/ อ่อนแรง ของขา 1 หรื อ 2


อุปกรณ์ช่วยเดินและรูปแบบการเดิน (Ambulatory devices and walking patterns)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้าง (paraplegia) หรื อใส่ leg brace

เอกสารอ้ างอิง
1. มนทกาน ไชยกุมาร. อุปกรณ์ช่วยเดินและรู ปแบบการเดิน. เอกสารประกอบการเรี ยน รายวิชา 3742210
หลักการพื้นฐานทางกายภาพบำบัด. ภาควิชากายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2549.
2. Taylor C., Lillis C., LeMone P., and Pamela Lynn P. Fundamentals of Nursing: The Art and Science
of Nursing Care. 5th edition. Lippincott Williams & Wilkins, 2005.
3. Pierson FM. Principles and Techniques of patient care. 1 st edition. W.B. Saunders, Philadelphia, 1994.

You might also like