You are on page 1of 12

3742210 หลักการพื ้นฐานทางกายภาพบำบัด

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เทคนิคการยกของ
หลักการจัดท่ า ((POSITIONING)
LIFTING TECHNIQUE)
อ. ดร. มนทกาน ไชยกุมาร

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม
เมื่อนิสิตศึกษาจนจบเอกสารคำสอนนี้แล้วนิสิตสามารถ
1. ทราบถึงอันตรายจากการยกของหนัก
2. ทราบเทคนิคที่ถูกต้องในการยกของด้วยมือ
3. สามารถยกของด้วยเทคนิคต่างๆได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์

การยกของที่มีหนักเกินกำลังความสามารถและความแข็งแรงของผูย้ ก อาจส่ งผลทำให้เกิดอาการ


ปวดหลังโดยเฉพาะอาการปวดหลังส่ วนล่าง (Low back pain) หรื อก่อให้เกิดการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง
หรื อกล้ามเนื้อ ในกรณี ของการเกิดอาการปวดหลังส่ วนล่างแบบเรื้ อรัง (Chronic low back pain) จากการ
ทำงานยกย้ายนั้นพบสาเหตุวา่ มักจะเกิดจากการที่หมอนรองกระดูกสันหลังมีความผิดปกติ โดยเชื่อกันว่าเป็ น
เพราะการฉี กขาดขึ้นที่ คาร์ติเลจเอนด์เพลตส์ (Cartilage end plates) (รู ปที่ 1) ซึ่ งจะส่ งผลให้แอนนูลสั ไฟ
โบรซัสของหมอนรองกระดูกนั้นอ่อนตัวลงและเคลื่อนตัวยืน่ ออกไปกดทับรากเส้นประสาทไขสันหลังใน
โพรกกระดูกสันหลัง(spinal canal) ทำให้เกิดความรู ้สึกปวดขาหรื อหลังขึ้น ซึ่ งถ้าหมอนรองกระดูกเลื่อน
ออกมามากและกดทับบนเส้นประสาทที่สำคัญเข้าก็อาจจะทำให้ผนู ้ ้ นั มีอาการอ่อนแรงของขาทำให้
เคลื่อนไหวส่ วนร่ างกายบางส่ วนไม่ได้ ทั้งนี้ข้ ึนอยูก่ บั ความรุ นแรงของการบาดเจ็บนั้นๆ

รู ปที่ 1. แสดงการารฉี กขาดขึ้นที่ คาร์ติเลจเอนด์เพลตส์ (Bogduk, 1997)

ในกรณี ร้ายแรงอาจถึงขั้นหมอนรองกระดูกสันหลังแตกหรื อเคลื่อน (รู ปที่ 2) ทำให้ตอ้ งได้รับผ่าตัด


รักษาและต้องได้รับการทำกายภาพบำบัดต่ออีกเป็ นระยะเวลานาน ทำให้เสี ยทั้งสุ ขภาพกายและใจ ตลอดจน
เวลาและรายได้ที่ไม่ควรเสี ยไปอีกด้วย
เทคนิคการยกของหนัก (Lifting technique)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รู ปที่ 2. แสดงการของหมอนรองกระดูกสันหลังในระดับ 0, 1, 2 และ 3 (Bogduk, 1997)

จากสถิติของกองทุนเงินทดแทน ปี พ.ศ. 2550 พบว่ามีผบู ้ าดเจ็บจากการยกของหนักคิดเป็ นประมาณ


58 % และจากท่าทางการทำงาน อีกประมาณ 10 % ของการเจ็บป่ วยอันเนื่องมาจากการทำงานทุกชนิด
นอกจากนี้ NIOSH (National Institute of Safety and Health) พบว่า อัตราความถี่ของการได้รับบาดเจ็บที่
หลัง(back injury) และอัตราความความรุ นแรงของการบาดเจ็บหลัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากกว่าอัตรา
ปกติ ในการทำงานซึ่ งมีลกั ษณะ 5 ประการ คือ
• ยกของหนักมากเกินไป
• ยกของที่มีรูปร่ างใหญ่โต เทอะทะ มากเกินไป
• ยกของจากพื้นขึ้นสู่ ที่สูงในแนวดิ่ง
• ยกของบ่อยๆ (ซ้ำๆ) มากเกินไป
• ยกของในท่าที่ไม่สมมาตร หรื อ สมดุล

ดังนั้นการเรี ยนรู้และปฏิบตั ิตามขั้นตอนการยกเคลื่อนย้ายของอย่างถูกวิธีจะช่วยป้ องกันการเกิด


ปั ญหาดังกล่าวได้ ดังต่อไปนี้
 การวางแผนยกของ
1. ต้ องประเมินน้ำหนักของวัสดุสิ่งของ ว่าจะยกตามลำพังเพียงคนเดียวได้หรื อไม่
2. ถ้ าไม่ สามารถยกได้ ต้องหาคนช่ วยยก ไม่ควรพยายามยกเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของที่หนักมากโดยลำพัง
3. ตรวจสภาพบริ เวณที่จะยกโดยรอบ ว่า ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทาง มีเนื้ อที่วา่ งมากพอในการยกและเคลื่อน
ย้ายสิ่ งของนั้น พื้นจะต้องไม่ลื่น และมีแสงสว่างเพียงพอที่จะมองเห็นเส้นทางขณะเคลื่อนย้ายสิ่ งของ
4. ควรใช้ เครื่ องทุ่นแรงที่เหมาะสม เพื่อลดการใช้ก ำลังแรงงานคน การใช้รางเลื่อน (conveyer)
5. จัดวางตำแหน่ งวัสดุสิ่งของที่จะยก ให้อยูใ่ นระดับที่ไม่สูงเกินกว่าระดับไหล่
6. การทำงานกับวัสดุสิ่งของที่มีน ้ำหนักต่ างๆ กัน เมื่อยกของที่หนักแล้วให้สลับมายกของเบาเพื่อพักกล้าม
เนื้อ ไม่ให้เกิดอาการล้าเร็ วเกินไป และเพื่อช่วยลดโอกาสเสี่ ยงต่อการบาดเจ็บของหลังอีกด้วย
7. ควรสวมถุงมือ เพื่อป้ องกันการถลอก ขูดขีด และการถูกบาดจากของมีคม โดยเฉพาะต้องยกของเป็ น
จำนวนมากและสวมใส่ รองเท้านิรภัย เพื่อป้ องกันการลื่นไถลและป้ องกันการบาดเจ็บจากวัสดุสิ่งของหล่น
3742210 หลักการพื ้นฐานทางกายภาพบำบัด
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทับเท้า

 หลักทั่วไปในการยกของ โดยที่สิ่งของอยู่ที่พนื้
การยกของขึ้นอย่างถูกวิธีและปลอดภัยทำได้ 6 ขั้นตอนดังนี้
1. วางเท้าให้ถูกตำแหน่ง
2. ตั้งหลังตรง
3. แขนชิดลำตัว
4. จับสิ่ งของที่จะยกให้ถูกต้อง
5. ตรึ งคาง
6. การถ่ายน้ำหนักของร่ างกายที่เท้าทั้งสองข้างเท่าๆ กัน

 เทคนิคการยกของ
1. Basic lift (Diagonal lift)
เป็ นวิธีการยกของที่ใช้บ่อยสำหรับยกสิ่ งของขนาดเล็ก เทคนิคการยกของเบื้องต้นนี้ควรมีที่ที่มีขนาด
กว้างเพียงพอสำหรับก้าวขากว้างๆ

รู ปที่ 3. Basic lift (Diagonal lift)1

วิธีการ
1) ยืนใกล้สิ่งของ
2) วางเท้าให้มีระยะห่างกว้างพอสมควร โดยเท้าข้างหนึ่งวางข้างหน้าข้างสิ่ งของ
3) หลังตรง งอเข่าและสะโพกลง
4) เคลื่อนสิ่ งของให้มาอยูใ่ กล้ตวั
5) ถ้ากล่องที่ยกมีที่จบั ให้ก ำที่จบั อย่างมัน่ คง (ข้ามไปข้อ 9)
6) วางมือข้างข้างที่อยูข่ า้ งเดียวกับขาที่กา้ วไปข้างหน้า ให้จบั สิ่ งของห่างจากตัว
7) วางมืออีกข้างหนึ่งโดยจับสิ่ งของใกล้ตวั โดยมือทั้งสองข้างควรอยูท่ ี่มุมสิ่ งของตรงข้ามกัน
8) กำสิ่ งของให้มนั่ คงโดยใช้มือทั้งสองข้าง
เทคนิคการยกของหนัก (Lifting technique)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

9) เตรี ยมยกของ โดยมองไปข้างหน้า


10) ยกของขึ้น และถือสิ่ งของให้ใกล้ตวั โดยเหยียดขาขึ้น และหลังตรง ยกก้นขึ้น และหายใจออก
ขณะยกสิ่ งของขึ้น

2. Power lift
ใช้สำหรับยกของที่ใหญ่จนไม่สามารถยืนในท่าก้าวขาได้ เทคนิคการยกของแบบ Power lift คล้ายกับ
Basic lift แต่สิ่งของที่อยูด่ า้ นหน้าจะทำให้ CG ของผูย้ กเลื่อนไปอยูท่ างด้านหน้า และผูย้ กต้องยกก้นไปด้าน
หลังเพื่อปรับให้สมดุล

รู ปที่ 4. Power lift1

วิธีการ
1) ยืนให้เท้าทั้งสองข้างห่างกันกว้างๆ
2) พยายามให้หลังตรง ยกก้นขึ้น ย่อเข่า ย่อสะโพกลงมาที่สิ่งของ
3) เคลื่อนสิ่ งของให้เข้ามาใกล้ตวั
4) กำสิ่ งของให้แน่น
5) เตรี ยมยกของ มองไปข้างหน้า
6) ยกของขึ้น ถือสิ่ งของให้ใกล้ตวั เหยียดขาขึ้น หลังตรง ยกก้นขึ้นไปทางด้านหลัง หายใจออก
ขณะยกสิ่ งของ

3. Tripod lift
ใช้ Tripod lift สำหรับยกสิ่ งของที่มีการกระจายน้ำหนักไม่เท่ากัน วิธีน้ ีเหมาะกับคนที่มีก ำลังแขนน้อย
แต่ไม่เหมาะกับคนที่เข่าไม่แข็งแรง
3742210 หลักการพื ้นฐานทางกายภาพบำบัด
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รู ปที่ 5. Tripod lift 1

วิธีการ
1) วางเท้าข้างหนึ่งติดกับสิ่ งของ หลังตรง และค่อยๆย่อตัวลงมาถึงเข่า (ขณะย่อตัวลง ให้วางมือข้าง
หนึ่งที่ตน้ ขาเพื่อพยุง)
2) เคลื่อนสิ่ งของให้ใกล้เข่าที่วางบนพื้น
3) กำสิ่ งของให้มนั่ คง
4) เลื่อนสิ่ งของจากเข่าที่วางบนพื้นไปจนถึงกลางต้นขา ศีรษะและหลังตรง ยกก้นขึ้น และยก
สิ่ งของวางลงบนขาอีกข้างหนึ่ง
5) ปลายแขนทั้งสองข้างอยูใ่ ต้สิ่งของ (โดยหงายมือขึ้น) และกอดสิ่ งของไว้ที่บริ เวณท้องและอก
6) เตรี ยมยกของ มองไปข้างหน้า
7) ยกของขึ้น โดยถือสิ่ งของใกล้ตวั ยกข้างทั้งสองข้าง หลังตรง ยกก้นขึ้น และหายใจออกขณะยก
ของ

4. Partial Squat lift


ใช้สำหรับยกสิ่ งของที่มีขนาดเล็กและเบาซึ่ งมีที่จบั ใกล้ๆเข่า
เทคนิคการยกของหนัก (Lifting technique)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รู ปที่ 6. Partial Squat lift 1

วิธีการ
1) ยืนโดยสิ่ งของวางอยูด่ า้ นข้างตัว
2) วางเท้าทั้งสองข้างให้กว้างประมาณความกว้างของไหล่ โดยเท้าข้างหนึ่งเยื้องไปทางด้านหน้า
อีกข้างหนึ่งเล็กน้อย
3) มือข้างหนึ่งวางบนที่ที่มนั่ คง เช่นโต๊ะ หรื อบนหน้าขา
4) หลังตรง ยกก้นไปทางด้านหลัง และค่อยๆย่อตัวลงมาจับที่จบั
5) เตรี ยมยก โดยกำที่จบั และมองไปข้างหน้า
6) เพื่อให้มนั่ คงขณะยก กดมือลงบนที่จบั ที่มนั่ คง (หรื อบนหน้าขา)
7) ยกของขึ้น เหยียดขาทั้งสองข้าง หลังตรง ยกก้น และหายใจออกขณะยกของ

5. The Golfer’s lift


ใช้สำหรับยกสิ่ งของที่เล็กและเบาแต่อยูใ่ นกล่องหรื อที่เก็บที่มีรูปทรงลึกและต้องยกของนั้นที่วางบนพื้น
เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาข้อเข่าหรื อคนที่มีความแข็งแรงของขาน้อย
3742210 หลักการพื ้นฐานทางกายภาพบำบัด
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รู ปที่ 7. Golfer’s lift1

วิธีการ
1) วางมือใกล้ขอบของสิ่ งของ
2) หลังตรง ยกขาข้างหนึ่งขึ้นในท่าขาเหยียดไปข้างหลังในขณะที่โน้มตัวไปทางด้านหน้า เพื่อยก
ของ น้ำหนักของขาจะช่วงทำให้มีสมดุลกับน้ำหนักของลำตัวท่อนบนที่โน้มไปข้างหน้า
3) กำสิ่ งของให้แน่น
4) เตรี ยมยกของ มองไปข้างหน้า ขายังคงยกอยูข่ ณะที่เริ่ มยกของ
5) เพื่อให้สามารถยกของได้ ต้องกดมือที่วางที่ขอบของสิ่ งของขณะที่ลดขาที่ยกอยูล่ งมา พยายาม
ให้หลังตรงและหายใจออกขณะยกของ

6. Straight Leg Lift


ใช้วธิ ี การยกนี้ ในกรณี ที่มีสิ่งของหรื อสิ่ งกีดขวางทำให้ไม่สามารถงอเข่าได้ การยกท่านี้ควรระมัดระวัง
เพราะท่านี้ท ำให้เสี่ ยงต่อการฉีกขาดของกล้ามเนื้ อมากขึ้น ถ้าเป็ นไปได้ไม่ควรยกท่านี้ ดังนั้นจะยกท่านี้เมื่อ
จำเป็ นจริ งๆ เท่านั้น (เช่น ยกของออกจากท้ายรถ)
เทคนิคการยกของหนัก (Lifting technique)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รู ปที่ 8. Straight Leg lift1

วิธีการ
1) ยืนใกล้สิ่งของมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเข่างอเล็กน้อย
2) ห้ามก้มหลัง ให้ยกก้นไปด้านหลัง
3) ถ้าสิ่ งกีดขวางวางอยูอ่ ย่างมัน่ คง ให้โน้มขาทั้งสองข้างต้านกับสิ่ งกีดขวางเพื่อพยุงให้มนั่ คง ยก
เข่า และสะโพกลงไปที่สิ่งของ
4) กำสิ่ งของให้แน่นด้วยมือทั้งสองข้าง
5) เตรี ยมยกของ มองไปด้านหน้า
6) ยกของขึ้น ถือสิ่ งของให้ใกล้ตวั ยกของโดยเหยียดขาทั้งสองข้าง หลังตรง ยกก้นไปด้านหลัง
และหายใจออกขณะยกของ

7. Overhead lift
ใช้วธิ ี การยกนี้ เพื่อวางสิ่ งของที่อยูเ่ หนือศีรษะ การยกท่านี้อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้ อได้
ขณะยกอาจลำบากในการคงความสมดุลขณะยกของขึ้น ถ้าเป็ นไปได้ควรหลีกเลี่ยงวิธีน้ี
3742210 หลักการพื ้นฐานทางกายภาพบำบัด
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รู ปที่ 9. Overhead lift 1

วิธีการ
1) ถือสิ่ งของให้ใกล้ตวั มากที่สุด
2) วางเท้าให้กว้างในระดับความกว้างของไหล่ เท้าข้างหนึ่งอยูห่ น้าอีกข้างเล็กน้อย
3) ยกของขึ้นวางบนชั้นที่สูงโดยใช้กล้ามเนื้ อแขนและไหล่ ถือของให้ใกล้ตวั และหายใจออกขณะยก
4) ค่อยๆ ถ่ายน้ำหนักตัวจากขาที่อยูด่ า้ นหลัง ไปยังขาที่อยูด่ า้ นหน้า ขณะเอื้อมไปที่ช้ นั และหลังตรง
5) เมื่อสิ่ งของวางถึงของของชั้น ให้ผลักสิ่ งของเข้าไปบนชั้น

8. Pivot Technique
เมื่อต้องยกของและต้องหมุนตัวเพื่อถือของออกไป การบิดลำตัวอาจเป็ นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บที่หลัง
ได้ ดังนั้นจึงควรใช้เทคนิคนี้ ในการยกของเพื่อหลีกเลี่ยงการบิดลำตัวขณะยก
เทคนิคการยกของหนัก (Lifting technique)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รู ปที่ 10. Pivot Technique1

วิธีการ
1) ใช้เทคนิคการยกของที่กล่าวมาข้างต้น
2) ถือสิ่ งของใกล้ล ำตัวที่ระดับเอว
3) หมุนเท้าข้างหนึ่ง 90 องศา ไปยังด้านที่ตอ้ งการจะหมุนตัวไป
4) ลากเท้าอีกข้างหนึ่งตาม และห้ามบิดลำตัว

 การยกวัสดุสิ่งของด้ วยคนสองคน
เป็ นลักษณะการช่วยยกวัสดุสิ่งของหนึ่งชิ้นด้วยคนสองคน โดยยกที่ดา้ นหัวและด้านท้ายของวัสดุ
สิ่ งของ ซึ่ งใช้ท่าทางการยกรู ปแบบเดียวกับการยกคนเดียว ในการยกเคลื่อนย้าย ควรยกขึ้นพร้อมกัน อาจใช้
วิธีให้สญั าณ เช่น นับหนึ่ง สอง สาม แล้วยก เป็ นต้น ผูย้ กทั้งสองคนควรใช้ความเร็ วในการยกเท่ากัน ในกรณี
ที่น้ำหนักด้านหัวและด้านท้ายของวัสดุสิ่งของไม่เท่ากัน และต้องยกหลายครั้ง ผูย้ กทั้งสองควรสลับด้านกัน
โดยมีข้นั ตอนการยกอย่างเดียวกันกับการยกสิ่ งของคนเดียว ดังที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้า

 กฏหมายที่เกีย่ วข้ องกับการยกของหนัก


กฎกระทรวงกำหนดน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้ พ.ศ. 2547 (ลงนาม ณ วันที่ 23
เมษายน 2547) มีผลบังคับใช้ วันที่ 7 ธันวาคม 2547
3742210 หลักการพื ้นฐานทางกายภาพบำบัด
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ห้ ามใช้ ลูกจ้ าง ยก แบก ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกินอัตรา น้ำหนักเฉลีย่ ต่ อลูกจ้ าง 1 คน ดังนี้

อายุ 15-18 ปี เด็กหญิง 20 กิโลกรัม เด็กชายไม่ เกิน 25 กิโลกรัม


ลูกจ้ างหญิงไม่ เกิน 25 กิโลกรัม และ ลูกจ้ างชายไม่ เกิน 55 กิโลกรัม
กรณีจะให้ ทำงาน ต้ องจัดเครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสม ไม่ เป็ นอันตรายต่ อลูกจ้ าง

ข้ อแนะนำสำหรับงานยกโดยอาศัยหลักชีวกลศาสตร์ (Biomechanical recommended limits)


NIOSH ได้ก ำหนดพิกดั แรงกดที่ L5/S1 เอาไว้เพื่อความปลอดภัยในการทำงานมี 2 ค่าคือ
1. Action Limit:AL ค่าแรงกดต้องไม่เกิน 3400 นิวตัน
2. Maximum permissible limit:MPL ค่าแรงกดไม่ควรเกิน 6400 นิวตัน

ข้ อแนะนำโดยอาศัยหลักทางสรีรวิทยา(Physiological recommended limits)


- โดยทัว่ ไปงาน MMH หากใช้เวลาปกติ คือ ทำงาน 8 ชัว่ โมงต่อวัน งานยกย้ายนั้นไม่ควรใช้พลังงานเกิน
กว่า 1 ใน 3 ของค่า PWC (Physical work capacity) โดยที่คนปกติจะมีคา่ PWC ประมาณ 3 ลิตร/นาที (15
กิโลแคลอรี่ ต่อนาที) และช่วงเวลาในการทำงานที่มีการยกวัตถุข้ ึน มากที่สุดต้องไม่เกิน 8 ชัว่ โมง

แนวทางการจัดการลดความเสี่ยงของการเกิดอันตรายเนื่องจากการยกของ
ในการลดความเสี่ ยงของการเกิดอันตรายเนื่องจากการยกมีอยู่ 3 ขั้นตอนเรี ยงลำดับ ก่อน-หลังดังนี้
คือ
1.การออกแบบการทำงานที่ดี (Job Design)
เป็ นการลดความเสี่ ยงที่ดีที่สุดคือ การที่ไม่ตอ้ งใช้แรงคนในการยกย้ายสิ่ งของเลย และใช้
เครื่ องจักร/ทุ่นแรงมาใช้ในการยกของ เช่น สลิง หรื ออีกวิธีหนึ่งคือการปรับปรุ งระดับความสู งของพื้นที่
ทำงานให้มีความสูงพอเหมาะกับขนาดรู ปร่ างของผูป้ ฏิบตั ิงาน นอกจากนั้นยังมีวิธีอื่นอีกที่จะช่วยลดความ
หนักของการขนย้ายให้นอ้ ยลง ได้แก่
• พยายามลดน้ำหนักของวัตถุที่ตอ้ งการย้าย
• พยายามกำหนดคนงานมากกว่า 1 คนช่วยกันยกสำหรับการยกย้ายของที่มีน ้ำหนักมาก
• เปลี่ยนกิจกรรมของการยกย้ายให้เหมาะสม เช่นการลากดึงแทนการหิ้ว หรื อการผลักแทนการดึง
• ลดระยะราบทางในแนวที่ตอ้ งเคลื่อนย้ายสิ่ งของ
• ในการจัดเรี ยงซ้อนวัสดุ (stacking) ไม่ควรวางซ้อนกันให้สูงกว่าความสู งไหล่ของผูท้ ำการซ้อนของ
นั้นเพื่อทำให้สมามารถยกของชิ้นบนสุ ดได้
• พยายามลดความถี่ในการยกให้นอ้ ยลง (หรื อให้ท ำงานในจังหวะที่ชา้ ลง)
• พยายามจัดเวลาพักให้พอเพียง
• จัดให้มีการหมุนเวียนกันทำงาน (Job rotation) ของพนักงานยกจากงานที่ยกที่หนักมากๆ ไปยังงาน
เบากว่า เมื่อทำงานไปได้สกั ระยะเวลาหนึ่ง
• ออกแบบบรรจุภณั ฑ์ที่มีหูหิ้วหรื อมือจับ เพื่อให้การยกของอยูช่ ิดแนบกับลำตัวผูย้ กมากที่สุด
2. การคัดเลือกคนทีเ่ หมาะสมมาทำงาน(worker selection)
เทคนิคการยกของหนัก (Lifting technique)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

- บุคคลที่ท ำงาน MMH ควรมีความสามารถเพียงพอกับงานที่ท ำ มีร่างกายแข็งแรง ควรตรวจสอบ


สมรรถภาพทางกาย และประวัติการเจ็บป่ วยก่อนเลือกผูน้ ้ นั มาทำงาน
3. การฝึ กอบรมแนะนำเทคนิคการยกย้ ายวัสดุสิ่งของอย่างปลอดภัยให้แก่ผปู ้ ฏิบตั ิงาน (Working training)



เอกสารอ้ างอิง
1. USACHPPM. Lifting Technique. A USACHPPM Information Bulletin Promoting Better Health
through Public Awareness. from www.yorku.ca/dohs/documents/armylift.pdf Accessed on 21-
05-2008.
2. สาขาการยศาสตร์แรงงาน. การยกเคลื่อนย้ายของอย่างถูกวิธี. สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
3. NIOSH. Back Injury Control Measures for Manual Lifting and Seat Design. NIOSHTIC-2 No.
20032971.
4. NIOSH. Applications Manual for the Revised NIOSH Lifting Equation. NIOSH Publication No.
94-110
5. Bogduk N (1997). Clinical Anatomy of the Lumbar Spine and Sacrum (Jd Edition).New York,
NY: Churchill Livingstone 252 pp.
6. สำนักงานกองทุนเงินทดแทน.สถิติการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานปี 2550. from
http://www.oshthai.org/CmsLite/download/pdf/3cause_stat50.pdf Accessed on 21-05-2008.

You might also like