You are on page 1of 137

การฝึ กปฏิบัติงานวิชาชีพการบริหารการศึกษา

สำหรับนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
วิชาการบริหารการศึกษา

ชื่อ-สกุล นักศึกษา นางสาวปฐมาภรณ์ สานุกูล

รหัสประจำตัว 6319050040

ชื่อสถานศึกษา / หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา


ประถมศึกษาสงขล่ เขต 1

้ ง .นายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง.
ชื่อผู้บริหารพี่เลีย
1
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการ
ศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ปี การศึกษา 2564

แนวทางการประเมินผล การฝึ กปฏิบัติการบริหารการศึกษา


หลักสูตร ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการ
ศึกษา
คณะศึกษาศาสตรและศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

คำนำ

การฝึ กปฏิบัติการบริหารการศึกษาเป็ นหัวใจสำคัญของ


กระบวนการผลิตผู้บริหารการศึกษา เพราะเป็ นกระบวนการภาค
ปฏิบัติตามสภาพจริง ทัง้ ยังช่วยเสริมสร้างนักศึกษาให้เป็ นผู้มีวิสัย

2
ทัศน์ ภาวะผู้นำ ตลอดจนการนำความรู้ ความสามารถที่ได้จากฝึ ก
ปฏิบัติมาปรับใช้ในการบริหารการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดัง
นัน
้ คุรุสภาจึงได้กำหนดในมาตรฐานหลักสูตรศึกษาศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ให้มีการฝึ กปฏิบัติ ไม่น้อย
กว่า 3(90) หน่วยกิต โดยแบ่งการฝึ กปฏิบัติเป็ น 2 ส่วน คือ ส่วนที่
1 การฝึ กปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา จำนวนไม่น้อยกว่า 45
ชั่วโมง และส่วนที่ 2 การฝึ กปฏิบัติการบริหารการศึกษาไม่น้อยกว่า
45 ชั่วโมง นับเป็ นการเตรียมพร้อมของผู้บริหารการศึกษาที่จะก้าว
สู่ตำแหน่งทางการบริหาร ควบคูก
่ ับการเรียนรู้ภาคทฤษฎีจาก
มหาวิทยาลัย เพื่อยกระดับสมรรถนะการเป็ นผู้บริหารการศึกษาที่ดี
ในอนาคต ซึ่งหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา ของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้กำหนดในรายวิชา
905 – 619 3(90) การฝึ กปฏิบัติงานการบริหารการศึกษา และได้มี
การจัดทำแบบรายงานผลการปฏิบัติงานตามเอกสารฉบับนี ้

1. วัตถุประสงค์ของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
1. นักศึกษาได้เรียนรู้จากการกระทำโดยการฝึ กปฏิบัติ ควบคู่
กันไปในภาคทฤษฎี ทัง้ เชิงเนื้อหาและเทคนิควิธีอย่างต่อเนื่อง จน
เกิดความมั่นใจ ในการนำไปใช้
2. นักศึกษาได้พัฒนาตนเองและฝึ กงานกับหน่วยงานทางการ
ศึกษาโดยตรง

2. จุดประสงค์ในการฝึ กปฏิบัติการบริหารการศึกษา

3
1. นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการบริหารตามแนวคิด/ทฤษฎีและ
อื่นๆ ที่นักศึกษาได้เล่าเรียนตามหลักสูตรสู่การปฏิบัติจริง
2. นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางการ
บริหารงานเพื่อสูค
่ วามเป็ นผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ
3. นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างานและผู้ช่วย
หัวหน้างาน (ปฏิบัติงานตามที่หัวหน้า/ผู้บริหารพี่เลีย
้ งในหน่วย
งานการศึกษามอบหมาย)
4. นักศึกษาได้พัฒนาบุคลิกภาพและค่านิยมที่ควรเป็ นในการ
เข้าสู่วิชาชีพทางการบริหารการศึกษา

3. แนวการฝึ กปฏิบัติการบริหารการศึกษา (สำหรับนักศึกษา) ที่


ไม่อยู่ในตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา และ/หรือ ผูช
้ ่วยผู้บริหาร
การศึกษา)
การฝึ กปฏิบัติการบริหารการศึกษา ทัง้ ในฐานะหัวหน้า
และ/หรือผู้ช่วยหัวหน้า ต้องปฏิบัติตามภารกิจการฝึ กประสบการณ์
ที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายของการฝึ กปฏิบัติงานการบริหารการศึกษา
ภายใต้การแนะนำของผู้บริหารพี่เลีย
้ งในหน่วยงานการศึกษา และ
อาจารย์นิเทศก์การฝึ กปฏิบัติการบริหารการศึกษา ไม่น้อยกว่า 45
ชั่วโมง

4
4. ขัน
้ ตอนการฝึ กปฏิบัติการบริหารการศึกษา
นักศึก
นักศึก
คณะษา
นัษา กศึ
ศึ
สถาน
ติ กต่
ด ษา อ
นักษา
กแจ้ ศึงกษ
ศาสตร
ศึกษา
ประสา
หน่าฝึผูวก้ ย
สถาน
เสน
และ
มอบ
นงาน
บริ
ปฏิ
ทีอ
งานการ
อาจาร ่ฝบ หึ กัต าริ
ศิลป ่
หมาย/
สถานที
พี
ปฏิ ก่เบ
การ
ศึหนั ลี
ษา
ย์ งย ้ัตงิ
ศาสตร
แต่ ฝึงใน ตัง้ ผู้

บริการ ห
ศึกนิสืษาส่
เอทศ ารง
จัดหทำ
บริ
ปฏิ บาร
หน่
บริการ
ขอ
ผลการ
ประเมิ ห วาัตยิ
หนั
เป็การ นผูงสื้
งานกา
ศึ
รการกษาน
ควา
ประเมิ
นผล
บริ
บริอขอ
หหารพี ่
ศึรศึ
ภายใต้
กรวม
การฝึ มษาการ ษา ก
ความ
เลี ย
้ งใน
การ
ปฏิ ต่และ
การ
อนุการ อบเัติ
อนุ
หน่
ศึ กษา เ วคร ย
อาจาร
นิ
คณะ
ครา
การเ ทศ
ฝึ ก
าะห์
งานการ
บริย์ะห์
ของผู
ศึ
ปฏิกห นษา ิเทัต้ ิ
าร

สถาน
ศึ กษา
บริ
ศาสต ห
สถา
สถาน ศก์
การ ารพี่
ที่ฝึก
ประเมิ
เลี
รและ
ศึ ย
้ งใน
นที

บริ ษา ห่ า
ปฏิบัติ
หน่ ฝึนผล
ศิและลกวปย
รการ
การ
การฝึ
งานการ
ศาสต
ส่ศึปฏิ
งกตัษา วก
บริหาร
นัศึปฏิ
กบัก รต
ศึ
ของ ษา บิ ษ
ก ัติ
การ
และ
การ
ากลั
นั การ
กศึบก
ศึกษา
บริ
อาจารย์
บริษา
มหาวิ ห หทารย
การ
นิาลั
เาร
ทศก์

ศึ
การกษา

ศึกษ
5

ส่วนที่ 1

ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษาที่ทำการฝึ กปฏิบัติการบริหารการ
ศึกษา

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ-สกุล นางสาวปฐมาภรณ์ สานุกูล


รหัสนักศึกษา ๖๓๑๙๐๕๐๐๔๐ โทรศัพท์มือ
ถือ......๐๘๙-๔๖๒๑๙๒๒

6
อาชีพปั จจุบัน ประกอบอาชีพ ข้าราชการครู ตำแหน่ง
ครูชำนาญการ
หน่วยงาน โรงเรียนในเมือง
อำเภอ สทิงพระ จังหวัด สงขลา
ฝึ กปฏิบัติการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษา
ระหว่าง วันที่ ๖ เดือน กันยายน พ.ศ. 2564
ถึงวันที่ 13 เดือน.....กันยายน พ.ศ. 2564

ชื่อหน่วยงานการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สงขลา เขต 1 อำเภอ เมืองสงขลา
จังหวัด สงขลา สังกัด สพป.สงขลา
เขต 1

รหัสไปรษณีย์ 90000 โทรศัพท์ 074-337341-2

ชื่อ-สกุล ผู้บริหารหน่วยงานการศึกษา นายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง

ชื่อผู้บริหารพี่เลีย
้ ง นายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง
ชื่ออาจารย์นิเทศก์ รศ.ดร.นิรันดร์ จุลทรัพย์

7
ส่วนที่ 2

ข้อมูลสถานศึกษาที่ฝึกปฏิบัติงาน

ข้อมูลหน่วยงานการศึกษา

ชื่อหน่วยงานการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สงขลา เขต 1
สังกัด สพป.สงขลา เขต 1
วิสัยทัศน์ของหน่วยงานการศึกษา “สังคมแห่งการเรียนรู้ คู่
คุณธรรม น้อมนำศาสตร์พระราชา สู่ การพัฒนาคุณภาพตาม
มาตรฐานระดับสากล บนพื้นฐานความเป็ นไทยอย่างยั่งยืน ...........
ชื่อผู้อำนวยการหน่วยงานการศึกษา นายประสิทธิ ์ หนูกงุ้
...........................
วุฒิการศึกษา ปร.ด การวางแผน
รองผู้อำนวยการ
(1) นายณัฐวัตร รัตกี .
วุฒิการศึกษา ศษ.ม(จิตวิทยาการศึกษา) รับผิด
ชอบฝ่ าย การบริหารงานบุคคล
รองผู้อำนวยการ

8
(2) นางสาวมยุรีย์ เนตรศิลานนท์
..........................
วุฒิการศึกษา ศษ.ม (การบริหารการศึกษา) รับผิดชอบฝ่ าย
กลุ่มนโยบายและแผน
กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ และ
การสื่อสาร และกลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
รองผู้อำนวยการ
(3) นางขวัญตา ประสานสงฆ์

วุฒิการศึกษา กษ.ม (การบริหารการศึกษา)....รับผิดชอบ


ฝ่ าย กลุ่มอำนวยการ กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา และกลุ่ม
บริหารงานการเงินและสินทรัพย์
รองผู้อำนวยการ
จำนวนบุคลากร
ผู้บริหาร จำนวน…………๔……………คน
บุคลากร จำนวน.............๖๑.............คน

แผนผังแสดงบริเวณสถานศึกษา (โดยสังเขป)

9
10
แผนผังแสดงโครงสร้างการบริหารสถานศึกษา

11
ส่วนที่ 3
รายงานการฝึ กปฏิบัติการบริหารการศึกษา

12
บันทึกการฝึ กปฏิบัติการบริหารการศึกษา

วันที่ 06 เดือนกันยายน พ.ศ 2564


การดำเนินการ ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของ สพป.สงขลา เขต 1
ผลการดำเนินการ จำนวน 3 ชั่วโมง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 จัดตัง้ ขึน
้ เมื่อ
วันที่ 7 กรกฎาคม 2546 ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ซึ่งกำหนดให้มีการปรับ
โครงสร้าง การบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ โดยแบ่งการ
บริหารออกเป็ น เขตพื้นที่การศึกษา แทนการกำหนดให้มีส่วน
ราชการในระดับภูมิภาค ทำให้หน่วยงานทางการศึกษาเดิมของ
กระทรวงศึกษาธิการ ในระดับจังหวัด และอำเภอ ได้แก่ สำนักงาน
สามัญศึกษาจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัด สำนักงาน
ศึกษาธิการอำเภอ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด สำนักงาน
การประถมศึกษาอำเภอ และเขตการศึกษา ต้องถูกยุบเลิก หลอม
รวมกันเป็ นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในสังกัดสำนักงาน คณะ
กรรมการการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน และตามประกาศกระทรวง
ศึกษาธิการ เรื่องกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา ได้กำหนดเขตพื้นที่การ
13
ศึกษา เพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน จำนวน 175
เขต
ปั จจุบัน มีนายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง เป็ น ผอ. สพป.สงขลา เขต 1
มีรอง.ผอ. สพป. สงขลา เขต 1 จำนวน 3 ท่าน คือ 1) นายณัฐ
วัตร รัตกี 2) นางสาวมยุรีย์ เนตรศิลานนท์ และ 3) นางขวัญตา
ประสานสงฆ์
ผู้บริหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต
1

นายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง
ผอ. สพป. สงขลา เขต 1

นายณัฐวัตร รัตกี นางสาวมยุรีย์ เนตรศิลานนท์ นาง


ขวัญตา ประสานสงฆ์
รอง. ผอ. สพป. สงขลา เขต 1 รอง. ผอ. สพป. สงขลา เขต 1
รอง. ผอ. สพป. สงขลา เขต 1

14
จำนวนบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสงขลา
เขต 1 มีจำนวนดังนี ้

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การประถม
ศึกษาสงขลา เขต 1 จำแนกตามกลุ่มงาน
ที่ กลุ่มงาน/หน่วยงาน จำนวนบุคลากร
(คน)
1 กลุ่มอำนวยการ 10
2 กลุ่มนโยบายและแผน 5
3 กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล 3
เทคโนโลยีสารสนเทศ และการ
สื่อสาร
4 กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ 9
5 กลุ่มบริหารงานบุคคล 8
6 กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการ 2
ศึกษา
7 กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล 13
การจัดการศึกษา
8 กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา 7
9 หน่วยตรวจสอบภายใน 2
10 กลุ่มกฎหมายและคดี 2
รวม 61

วิสัยทัศน์

15
“สังคมแห่งการเรียนรู้ คูค
่ ุณธรรม น้อมนำศาสตร์พระราชา สู่การ
พัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานระดับสากล บนพื้นฐานความเป็ นไทย
อย่างยั่งยืน”

ค่านิยม
“รักองค์กร ทันสมัย มุ่งผลสัมฤทธิ ์ มีจิตสาธารณะ”

พันธกิจ
1. ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาน้อมนำศาสตร์พระราชา
และพระบรมราโชบายด้านการศึกษามาใช้ในการจัดการศึกษา
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับ
การศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคณ
ุ ภาพ
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการการจัดการศึกษาขัน
้ พื้นฐานสู่
มาตรฐานระดับสากล
4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอัน
พึงประสงค์ตามหลักสูตรและค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ
5. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบบริหารจัดการที่เน้น
การมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษา
และบูรณาการการจัดการศึกษา

เป้ าประสงค์
1. สถานศึกษาในสังกัดน้อมนำศาสตร์พระราชา และ
พระบรมราโชบายด้านการศึกษามาใช้ในการจัดการศึกษา
2. ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมี
คุณภาพ

16
3. สถานศึกษาในสังกัดจัดการศึกษาขัน
้ พื้นฐานได้มาตรฐาน
ระดับสากล
4. ผู้เรียนระดับก่อนประถมศึกษาและระดับการศึกษาขัน

พื้นฐานทุกคนมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย มีคณ
ุ ภาพและทักษะ
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
5. ผู้เรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรมมีคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ตามหลักสูตรและค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ
6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา มีระบบ
บริหารจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบ
ต่อคุณภาพการศึกษาและบูรณาการการจัดการศึกษา

ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการ
จัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาครูและ
บุคลากรทางการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการ
ศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่
เป็ นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้
ทุกภาคมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

17
ซึ่งรับผิดชอบบริหารจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาในเขต
พื้นที่ 6 อำเภอ โดยมีโรงเรียนในสังกัดทัง้ สิน
้ 137 โรงเรียน มี
จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาทัง้ หมด 1,753 คน จำนวน
นักเรียนทัง้ หมด ๒๑,๕๗๑ คน (ข้อมูล ณ วันที่ 25 มิถุนายน
2564) โดยมีศูนย์เครือข่ายโรงเรียนในการขับเคลื่อนงานทัง้ สิน
้ 19
ศูนย์เครือข่าย ดังตารางดังนี ้

ตารางที่ 2 แสดงความสัมพันธ์ขอบข่ายในการบริหารจัดการศึกษา
ของ สพป.สงขลา เขต 1
จำนวนครู
จำนวน จำนวน
ศูนย์เครือข่าย และ
อำเภอ โรงเรียน นักเรียน(
การศึกษา บุคลากร
(โรง) คน)
(คน)
อำเภอ 1)เมืองเลก้าว 137 1,753 ๒๑,๕๗๑
เมือง หน้า (9
สงขลา โรงเรียน)
2)เมืองใหม่
พัฒนา

18
(7 โรงเรียน)
3)เพชรบงกช
(2 โรงเรียน)
อำเภอ 1)บางงาม
สิงหนคร สัมพันธ์
(7 โรงเรียน)
2)สหสัมพันธ์
(7 โรงเรียน)
3)สทิงหม้อ
หัวเขา
(7 โรงเรียน)
4)ชิงโค
(6 โรงเรียน)
5)ทำนบ ป่ า
ขาด ปากรอ
(7 โรงเรียน)
อำเภอ 1) สมเด็จ
สทิงพระ เจ้าพระโคะ
(11 โรงเรียน)
2) คูขุด จะ
ทิง้ พระ
กระดังงา (8
โรงเรียน)
ท่าหิน บ่อดาน

19
บ่อแดง วัน
จันทร์ (8
โรงเรียน)
อำเภอ 1)พังยาง
ระโนด ระวะ
(9 โรงเรียน)
2)บ่อตรุ วัด
สน
(6 โรงเรียน)
3) ท่าบอน
ปากแตระ
(8 โรงเรียน)
4) คลองแดน
แดนสงวน
(5 คน)
ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ขอบข่ายในการบริหารจัดการศึกษา
ของ สพป.สงขลา เขต 1 (ต่อ)
จำนวนครู
จำนวน จำนวน
ศูนย์เครือข่าย และ
อำเภอ โรงเรียน นักเรียน(
การศึกษา บุคลากร
(โรง) คน)
(คน)
อำเภอ 5) บ้านใหม่
ระโนด ระโนด
(8 คน)

20
6) ตะเครียะ
บ้านขาว
(5 คน)
อำเภอกระ 1) กระแสสินธุ์
แสสินธุ์ (9 โรงเรียน)
อำเภอนา 1) นาหม่อม
หม่อม (9 โรงเรียน)

แผนผังแสดงบริเวณสถานศึกษา (โดยสังเขป)

21
โครงสร้างในการบริหารงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 1

ภารกิจ บทบาท และอำนาจหน้าที่ ของสำนักงานเขตพื้นที่การ


ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1

             ด้วยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 1 เป็ นหน่วยงานทางการศึกษาที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน มีภารกิจบทบาท
และอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี ้
          1. มาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้

22
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ตาม
ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ กระทรวง
ศึกษาธิการหรือกฎหมายอื่น และมีอำนาจหน้าที่ ดังนี ้
             (1) อำนาจหน้าที่ในการบริหารและการจัดการศึกษา
และพัฒนาสาระของหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขัน
้ พื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการ
ศึกษาขัน
้ พื้นฐาน
             (2) อำนาจหน้าที่ในการพัฒนางานด้านวิชาการและจัด
ให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาร่วมกับสถานศึกษา
             (3) รับผิดชอบในการพิจารณาแบ่งส่วนราชการภายใน
สถานศึกษาของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
             (4) ปฏิบัติหน้าที่อ่ น
ื ตามที่กฎหมายกำหนด
          2. ข้อ 5 แห่งประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่ง
ส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2560 และ
ที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจ
หน้าที่ดำเนินการให้เป็ นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาร
ราชการกระทรวงศึกษาธิการ และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี ้
             (1) จัดทำนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการศึกษา
ของเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายมาตรฐานการศึกษา
แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน และความต้องการ
ของท้องถิ่น
             (2) วิเคราะห์การจัดตัง้ งบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของ
สถานศึกษา และหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษา และแจ้งการ
จัดสรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นรับทราบ รวมทัง้

23
กำกับ ตรวจสอบ ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงาน ดัง
กล่าว
             (3) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตรร่วม
กับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
             (4) กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษาขัน

พื้นฐานและในเขตพื้นที่การศึกษา
             (5) ศึกษา วิเคราะห์วิจัย และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ
ด้านการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
             (6) ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทัง้
ทรัพยากรบุคคล เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการจัดและพัฒนาการศึกษา
ในเขตพื้นที่การศึกษา
             (7) จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา และประเมินผล
สถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
             (8) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของ
สถานศึกษาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทัง้ บุคคล
องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ
และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษารูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การ
ศึกษา
             (9) ดำเนินการและประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัย
และพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
             (10) ประสาน ส่งเสริม การดำเนินการของคณะ
กรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานด้านการศึกษา
             (11) ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กรหรือ
หน่วยงานต่าง ๆ ทัง้ ภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้อง
ถิ่น
24
             (12) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของ
หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
          3. ข้อ 6 แห่งประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่ง
ส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2560 และที่
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ให้แบ่งส่วนราชการภายใน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ไว้ดังต่อไปนี ้
             (1) กลุ่มอำนวยการ
             (2) กลุ่มนโยบายและแผน
             (3) กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร
             (4) กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์
             (5) กลุ่มบริหารงานบุคคล
             (6) กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
             (7) กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
             (8) กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
             (9) หน่วยตรวจสอบภายใน
            (10) กลุ่มกฎหมายและคดี

วันที่ 06 เดือนกันยายน พ.ศ 2564


การดำเนินการ ศึกษาข้อมูลของกลุ่มอำนวยการ
ผลการดำเนินการ จำนวน 5 ชั่วโมง

จากโครงสร้างในการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 และภารกิจ บทบาท และอำนาจ

25
หน้าที่ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ต้องมีการแบ่งส่วนราชการภายใน โดยแบ่งอำนาจหน้าที่ในการรับ
ผิดชอบดูแลฝ่ ายงานต่างๆ ดังนี ้

กลุม
่ อำนวยการ

เป็ นการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ โดยมีนางขวัญตา


ประสานสงฆ์ รอง.ผอ.สพป.สงขลา เขต 1 ได้รับมอบอำนาจจาก

26
นายประสิทธิ ์ หนูกงุ้ ผอ สพป.สงขลา เขต 1 ในการดำเนินงาน
กำกับและติดตาม โดยมีบุคลากรซึ่งทำหน้าที่เป็ น ผอ.กลุ่มงาน และ
บุคลากรในฝ่ ายงาน เป็ นส่วนในการขับเคลื่อนงาน โดยมีแนวคิด
และภาระงานที่ต้องดูแลรับผิดชอบ ดังนี ้

แนวคิดในการบริหารส่วนงาน
งานอํานวยการของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็ นงานที่
เกี่ยวข้องกับการจัดระบบบริหาร องค์การ การประสานงานและให้
บริการ สนับสนุน ส่งเสริม ให้กลุ่มภารกิจและงานต่าง ๆ ในสํา
นักงานเขตพื้นที่การศึกษา สามารถบริหารจัดการและดําเนินงาน
ตามบทบาทภารกิจอํานาจหน้าที่ ได้อย่างเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลบนพื้นฐานของความถูกต้องและโปร่งใส ตลอดจน
สนับสนุนและ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร เอกสาร สื่อ อุปกรณ์
ทางการศึกษาและทรัพยากรที่ใช้ในการจัดการศึกษาแก่ สถาน
ศึกษาเพื่อให้สถานศึกษาบริหารจัดการได้อย่างสะดวก คล่องตัว มี
คุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

27
ภาพ 1 ขอบข่ายภารกิจงานตามอำนาจหน้าที่

28
โดยจากการทำงานเนื่องจากกลุ่มอำนวยการเป็ นกลุ่มงานที่มีความ
เกี่ยวข้องกับการให้บริการ จึงเกิดนวัตกรรมที่สำคัญของกลุ่มงาน
คือ ONE STOP SERVICE ที่มุ่งเน้นการบริการที่รวดเร็ว ทันใจ
และสบายใจเมื่อรับบริการ จุดเด่นที่สำคัญอีกประการเนื่องจาก
สภาพเศรษฐกิจในปั จจุบันมีความผันผวนมาก จึงมักส่งผลกระทบ
ต่อการใช้จ่าย ทาง สพปสงขลา เขต 1 จึงมีแนวคิดในการมีกองทุน
สำหรับบุคลากรเพื่อการกู้ยืมในอัตราดอกเบีย
้ ต่ำ ในคร่าวที่มีความ
จำเป็ น ทัง้ ภาระกิจและนวัตกรรมที่เกิดขึน
้ สอดคล้องกับคำ
สัมภาษณ์ของนายประสิทธิ หนูกุ้ง ผอ.สพป.สงขลา เขต 1 ซึ่งกล่าว
ถึงภาระงานในกลุ่มอำนวยการดังนี ้

“กลุ่มต่อไป กลุ่มอำนวยการก็จะทำหน้าที่เกี่ยวกับการ
ประชาสัมพันธ์ ธุรการ และก็ยานพาหนะ อาคารสถานที่ รวมทัง้
เรื่องของบริการติดต่อภายนอก ซึ่งเราก็ได้ทำหน้าที่เน้นไปที่งาน
บริการผู้มาติดต่อบริการให้มีความประทับใจ คล่องตัว จุดเด่นของ
กลุ่มนี ้ คือ เรื่องความสะอาดในอาคาร การจัดบริเวณให้เป็ นสัดส่วน
การอำนวยความสะดวกแก่ผู้ มาติดต่อ เรื่องสวัสดิการสำนักงาน มี
เงินสำนักงานอยู่ประมาณ 5 ล้านบาท จะให้บุคลากรในสำนักงาน
ได้กู้ยืมในอัตราดอกเบีย
้ ต่ำ เพื่อใช้ประโยชน์ในยามจำเป็ น ถือเป็ น
ภาระกิจของกลุ่มอำนวยการ ”

นายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง
ผอ. สพป.สงขลา เขต 1

29
สัมภาษณ์ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2564

ภาพ 2 อาคารของ สพป.สงขลา เขต 1 ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2

วันที่ 07 เดือนกันยายน พ.ศ 2564


การดำเนินการ ศึกษาข้อมูลของกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมิน
ผลการจัดการศึกษา
ผลการดำเนินการ จำนวน 8 ชั่วโมง

30
จากโครงสร้างในการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 และภารกิจ บทบาท และอำนาจ
หน้าที่ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ต้องมีการแบ่งส่วนราชการภายใน โดยแบ่งอำนาจหน้าที่ในการรับ
ผิดชอบดูแลฝ่ ายงานต่างๆ ดังนี ้

กลุม
่ นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการ
จัดการศึกษา

ศึกษานิเทศก์

31
เป็ นการบริหารงานโดยมี นายประสิทธิ ์ หนูกงุ้ ผอ
สพป.สงขลา เขต 1 ทำหน้าที่เป็ นผู้ กำกับและติดตาม โดยมี
บุคลากรซึ่งทำหน้าที่เป็ น ผอ.กลุ่มงาน และบุคลากรในฝ่ ายงาน เป็ น
ส่วนในการขับเคลื่อนงาน โดยมีแนวคิดและภาระงานที่ต้องดูแลรับ
ผิดชอบ ดังนี ้

แนวคิดในการบริหารส่วนงาน
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 เป็ นกลุ่ม
งานดำเนินการเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการพัฒนาระบบการบริหารและการ
จัดการศึกษาเพื่อให้ สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารและ
การจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐาน เท่าเทียม
กันโดยยึดโรงเรียนเป็ นฐาน ส่งผลให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม

กรอบแนวทางในการปฏิบัติงาน

งานนิเทศ ติดตาม และประเมินผลระบบบริ หารและ


จัดการศึกษา

งานพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขันพื
้ ้นฐานและ
กระบวนการเรี ยนรู้

งานวัดผลและประเมินผลการศึกษา 32
งานส่งเสริ มพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา
การจัดการศึกษา

งานส่งเสริ มและพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี
ทางการศึกษา

งานเลขานุการคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ
ประเมินผล

ภาพ 2 ขอบข่ายภารกิจงานตามอำนาจหน้าที่

จากการปฏิบัติงานทำให้เกิดนวัตกรรมสำหรับกลุ่มนี ้ 2 นวัตกรรม
ด้วยกัน คือ

1)SONGKHLA1…SANDBOX ซึ่งเป็ นนวัตกรรมที่ถูกนำมาใช้


ในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์โควิด-
33
19 โดยมีหลักคิดของตัวชีว้ ัดที่ต้องรู้เป็ นขอบกระบะทราย และ
ทราย คือ การเปิ ดโอกาสให้ ผอ. และคุณครูได้มีความคิดสร้างสรรค์
ในการจัดการเรียนการสอนแต่ก็ยังคงอยู่ในขอบของตัวชีว้ ัดที่ต้องรู้
โดยเป้ าหมายคือ การเปลี่ยนบ้านให้เป็ นห้องเรียน เปลี่ยนพ่อแม่ให้
เป็ นครู โดยมีผอ.และคุณครูเป็ นผู้อำนวยความสะดวก มี
ศึกษานิเทศก์ลงไปกำกับและติดตาม โดยมีรูปแบบในการขับ
เคลื่อนผ่านศูนย์เครือข่าย ทัง้ 19 เครือข่าย

ภาพที่ 3 การประชุม กำกับและติดตาม การขับเคลื่อนการจัดการ


เรียนการสอนในสภาะวิกฤต

2) โคก หนอง นา แหลมจาก โมเดลวิถีใหม่ : การใช้


ประโยชน์จากที่ดินของโรงเรียนที่ถูกยุบเลิก มาจากแนวคิดการใช้
ประโยชน์จากที่ดิน อันเนื่องมาจากโรงเรียนที่ถูกยุบเลิก ซึ่งเป็ น

34
สามารถเหตุสำคัญที่มาจากอัตราการเกิดที่ลดลง จำนวนนักเรียนลด
ต่ำลงส่งผลให้มีโรงเรียนขนาดเล็กเกิดขึน
้ จำนวนมาก จนทำให้เกิด
โรงเรียนที่ยุบเลิก โรงเรียนไม่ได้ใช้เป็ นสถานที่ในการจัดการเรียน
การสอน ดังนัน
้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 1 มีความตระหนักและให้ความสำคัญในการใช้ประโยชน์จาก
ที่ดินของโรงเรียนที่ยุบเลิกไปแล้ว ตามมติที่ประชุมของคณะ
กรรมการศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ในคราวประชุมครัง้ ที่ 9/2561
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 และครัง้ ที่ 10/2561 เมื่อวันที่ 20
สิงหาคม 2561 เห็นชอบให้เลิกสถานศึกษาขัน
้ พื้นฐาน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 คือ
โรงเรียนบ้านแหลมจาก (รักเมืองไทย 27) ตำบลปากรอ อำเภอสิงห
นคร จังหวัดสงขลา ตัง้ แต่ปีการศึกษา 2561 เป็ นต้นไป จึงได้มีนโย
บายใช้ประโยชน์จากที่ดินของโรงเรียนที่ยุบเลิกและพัฒนาให้เป็ น
แหล่งเรียนรู้แก่นักเรียนในพื้นที่ เพื่อเป็ นต้นแบบของสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ในการพัฒนาโรงเรียนที่
ถูกยุบเลิกให้เป็ นแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียนและเยาวชนในพื้นที่
เนื่องจากเป็ นโรงเรียนที่ยังคงมีสภาพอาคารสถาน สามารถใช้การได้
ดี และมีพ้น
ื ที่ใช้สอยอีก จำนวน 17 ไร่ สามารถนำมาพัฒนาเป็ น
แหล่งเรียนรู้และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ อาทิ กิจกรรม
เกี่ยวกับลูกเสือ-เนตรนารี กิจกรรมเกี่ยวกับกีฬา กิจกรรมเกี่ยวกับ
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา อีกทัง้
ยังเป็ นฟื้ นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ
โรงเรียนที่ยุบเลิก ซึ่งนับวันมียิ่งมีความเสื่อมโทรมมากขึน
้ หากไม่ได้

35
นำมาใช้ประโยชน์ใด ๆ โดยพัฒนาพื้นที่ผ่านกระบวนการวิจัย มี
คู่มือในสำหรับแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับ
นักเรียนและผู้สนใจ

ภาพที่ 3 โคกหนองนา โมเดล ค่ายลูกเสือแหลมจาก และศูนย์กีฬา


แหลมจาก

การใช้ประโยชน์จากที่ดินของ
โรงเรียนที่ยุบเลิก สังกัด
นักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 1 แหล่งเรียนรู้ที่พัฒนาขึน

ได้แก่
1. โคกหนองนาโมเดล
การมีส่วนร่วมในการพัฒนา 2. ค่ายลูกเสือ
แหล่งเรียนรู้ 3. ศูนย์ฝึกกีฬา
ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้
ประโยชน์จากที่ดินของ
โรงเรียนที่ยุบเลิก สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 1 36
ภาพที่ ๔ กรอบแนวคิดในการวิจัย

ภาพที่ 5 รายงานการวิจัย โคก หนอง นา แหลมจาก โมเดลวิถีใหม่


: การใช้ประโยชน์จากที่ดินของโรงเรียนที่ถูกยุบเลิก

37
ภาพที่ 6 คู่มือโคก หนอง นา โมเดล คู่มือค่ายลูกเสือแหลมจาก
และคู่มือศูนย์กีฬาแหลมจาก

สอดคล้องกับคำสัมภาษณ์ของนายประสิทธิ หนูกุ้ง ผอ.สพป.สงขลา


เขต 1 ซึง่ กล่าวถึงภาระงานในกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล
การจัดการศึกษา ดังนี ้

“กลุ่มแรกที่ถือเป็ นกลุ่มแนวหน้า กลุ่มกองหน้า เรามี


ศึกษานิเทศก์เป็ นผู้รับผิดชอบ ขับเคลื่อนงาน มีธุระการมาช่วยใน
งานธุระการ ขับเคลื่อนงานไปตามกลุ่มที่รับผิดชอบ ภาระหลัก คือ
การรับผิดชอบการลงพื้นที่ ในการสนับสนุนเครือข่าย โรงเรียนให้
สามารถจัดการศึกษาให้เป็ นไปตามนโยบายของกระทรวงและ
สพฐ. ในส่วนของการนิเทศและติดตามก็ใช้หลักการของการนิเทศก์
ในสถานการณ์โควิด โดยใช้การนิเทศก์แบบ SONGKHLA1
sandbox คือ การใช้ตัวชีว้ ัดที่ต้องรู้เป็ นขอบในการทำงาน ส่วนข้าง
ในเป็ นทราย ก็เหมือนกับการที่ให้ครูและผู้บริหารได้คิด ริเริ่ม
สร้างสรรค์ เพื่อจะให้งาน การขับเคลื่อนไปที่บ้าน โดยเป้ าหมายคือ
การเปลี่ยนบ้านให้เป็ นห้องเรียน เปลี่ยนพ่อแม่ให้เป็ นครู คุณครู
และผู้บริหาร เป็ นผู้สนับสนุนส่งเสริมให้การจัดการศึกษาที่บ้าน
ประสบความสำเร็จ ศึกษานิเทศก์ก็ลงไปกำกับติดตาม แบบ
ออนไลน์บ้างแล้วก็สะท้อนผลเป็ นเอกสารบ้าง ซึ่งการจัดการศึกษา
ในการจัดการศึกษาแบบ SANDBOX ประสบความสำเร็จพอ
สมควร ที่เราเจอโรคระบาด เรามีนักเรียนที่ติดเชื่อโควิด 186 คน

38
คุณครูประมาณ 10 กว่าคน เสียชีวิต 1 คน สำหรับกลุ่มนิเทศก์
นวัตกรรมที่ค้นพบอีกอย่าง คือ โคก หนอง นา โมเดล ที่เราได้รับ
รางวัลในระดับประเทศ ที่อำเภอสิงหนคร โดยมีการจัดทำคู่มือ
เอกสาร รายงานการวิจัย ซึ่งจะมีผม ลงไปดูแลรับผิดชอบเอง และ
อาคารตัง้ อยู่ที่อเภอพะวง แยกออกจากส่วนที่ 1”

นายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง
ผอ. สพป.สงขลา เขต 1
สัมภาษณ์ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2564

วันที่ 08 เดือนกันยายน พ.ศ 2564


การดำเนินการ ศึกษาข้อมูลของกลุ่มนโยบายและแผน
ผลการดำเนินการ จำนวน 4 ชั่วโมง

จากโครงสร้างในการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 และภารกิจ บทบาท และอำนาจ
หน้าที่ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ต้องมีการแบ่งส่วนราชการภายใน โดยแบ่งอำนาจหน้าที่ในการรับ
ผิดชอบดูแลฝ่ ายงานกลุ่มนโยบายและแผน ดังนี ้

39
กลุม
่ นโยบายและแผน

เป็ นการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ โดยมีนางสาวมยุรีย์


เนตรศิลานนท์ รอง.ผอ.สพป.สงขลา เขต 1 ได้รับมอบอำนาจจาก
นายประสิทธิ ์ หนูกงุ้ ผอ สพป.สงขลา เขต 1 ในการดำเนินงาน
กำกับและติดตาม โดยมีบุคลากรซึ่งทำหน้าที่เป็ น ผอ.กลุ่มงาน และ

40
บุคลากรในฝ่ ายงาน เป็ นส่วนในการขับเคลื่อนงาน โดยมีแนวคิด
และภาระงานที่ต้องดูแลรับผิดชอบ ดังนี ้
แนวคิดในการบริหารส่วนงาน
กลุ่มนโยบายและแผน เป็ นกลุ่มที่มีภารกิจงานที่เกี่ยวข้องกับ
การสร้างกลไกเพื่อขับเคลื่อนนโยบายและแผนสูก
่ ารปฏิบัติให้บรรลุ
เป้ าหมายของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการขับ
เคลื่อนยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา เชื่อมโยงยุทธศาสตร์กับแผน
ปฏิบัติงานและงบประมาณ สื่อสารและถ่ายทอดยุทธศาสตร์เพื่อให้
หน่วยงานนำไปปฏิบัติ ให้บรรลุเป้ าหมายได้อย่างสอดคล้องใน
ทิศทางเดียวกัน จัดระบบควบคุมภายในของสถานศึกษา ดำเนิน
การติดตามประเมินผล และพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา
เพื่อเป็ นกลไกในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาให้มีมาตรฐาน
อย่างต่อเนื่อง

41
กรอบแนวทางในการปฏิบัติงาน

งานธุรการ

งานนโยบายและแผน

กลุม่ นโยบายและแผน
งานวิเคราะห์งบประมาณ

งานติดตาม ประเมินผล และรายงาน

ภาพที่ 7 ขอบข่ายภารกิจงานตามอำนาจหน้าที่

งานธุรการ มีขอบเขตหน้าที่ ดังนี ้

มีหน้าที่รับผิดชอบและปฏิบัติงาน มีดังนี ้
1) งานสารบรรณของกลุ่มนโยบายและแผน ออกแบบและ
พัฒนาระบบงานธุรการ
2) จัดระบบและประสานการจัดการงานธุรการภายในกลุ่มที่
เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของกลุ่มงาน
3) งานจัดประชุมภายในกลุ่มนโยบายและแผน

42
4) จัดระบบ ประสานงานการให้บริการข้อมูลข่าวสาร และข้อมูล
สารสนเทศ
5) ดำเนินการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและผลงานของกลุ่ม
นโยบายและแผนผ่านสื่อต่างๆ
6) ดูแล รักษา ซ่อมแซม และจัดระบบการใช้พัสดุครุภัณฑ์ให้มี
ความสะดวกพร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
7) ตรวจสอบ ควบคุม ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติ
งานธุรการ
8) งานจัดกาารความรู้ภายในกลุ่ม ศึกษา วิเคราะห์รวบรวม กลั่น
กรองแลกเปลี่ยน และเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวกับระบบงาน
9) การจัดระบบและการายงานการควบคุมภายในและการ
ป้ องกันความเสี่ยง
10) งานมาตรการประหยัดภายในกลุ่มนโยบายและแผน
11) การจัดเก็บ-ทำลายหนังสือราฃการของกลุ่มนโยบาย
และแผน

งานกลุ่มนโยบายและแผน มีขอบเขตหน้าที่ ดังนี ้


มีหน้าที่รับผิดชอบและปฏิบัติงาน มีดังนี ้
1. วิเคราะห์และพัฒนานโยบายทางการศึกษา
1.1 วิเคราะห์ทิศทางและหรือยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ระดับชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขัน
้ พื้น
ฐาน และจังหวัด รวมทัง้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
43
1.2 วิเคราะห์ผลการจัดการศึกษาทัง้ ด้านปริมาณและคุณภาพ
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
1.3 จัดทำนโยบาย จุดเน้น และเป้ าหมายการจัดการศึกษาที่
สอดคล้องกับบริบทสภาพแวดล้อมและความต้องการของชุมชน
และสนับสนุนการนำไปใช้ในการจัดการศึกษา ตลอดจนเผยแพร่สู่
สาธารณชน
2. จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาประจำปี
2.1 จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี งบประมาณของ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
2.2 สนับสนุนช่วยเหลือให้สถานศึกษาจัดทำแผนปฏิบัติการ
ประจำปี ของสถานศึกษา
3. จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาขัน
้ พื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 4. งานบริหารยุทธศาสตร์
และบูรณาการการศึกษาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
3.1 จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาประจำปี ของจังหวัดสงขลา
3.2 ประสานการดำเนินงานการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา
กลุ่มจังหวัด
3.3 ประสานการดำเนินงานแผนความมั่นคงจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ (ศอ.บต.)
4. ดำเนินงานเกี่ยวกับการขยายชัน
้ เรียนและการเปิ ดห้องเรียน
พิเศษ
5. ดำเนินงานจัดตัง้ ยุบ รวม เลิก การขยายชัน
้ เรียน การรับและ
โอนสถานศึกษา
6. จัดทำแผนชัน
้ เรียนรายปี และแผนชัน
้ เรียนเต็มรูป

44
7. ประสานการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงาน
ภายนอกทัง้ ในส่วนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1
และสถานศึกษา
8. การเสนอโครงการของสถานศึกษาเพื่อของบประมาณจากองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น

กลุ่มงานวิเคราะห์งบประมาณ มีขอบเขตหน้าที่ ดังนี ้


1) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณ รวมทัง้
การคำนวณต้นทุนผลผลิต
2) การจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
3) การจัดตัง้ เสนอขอ และการจัดสรรงบประมาณ
3.1 งบดำเนินงาน
 ค่าเช่าบ้านข้าราชการ
 ค่าตอบแทนวิทยากรสอนศาสนาอิสลามศึกษาราย
ชั่วโมง
 ค่าตอบแทนจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ (พี่เลีย
้ งเด็ก
พิการ)
 เงินตอบแทนพิเศษข้าราชการและลูกจ้างกรณีเงินเดือน
เต็มขัน

 ค่าตอบแทนจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ข้าราชการ (พนักงาน
พิมพ์ดีด/เจ้าหน้าที่เวรยาม/พนักงานทำความสะอาด/พ
นักงานขับรถยนต์)
 ค่าตอบแทนจ้างครูรายเดือนแก้ไขปั ญหาสถานศึกษา
ขาดแคลนครูขน
ั ้ วิกฤต

45
 ค่าตอบแทนจ้างบุคลากรปฏิบัติงานแทนครูเพื่อทำ
หน้าที่ธุรการ (ครูธุรการ)
 ค่าตอบแทนจ้างนักการภารโรง
 ค่าติดตัง้ ปรับปรุงซ่อมแซมระบบไฟฟ้ า ประปา
 ค่าติดตัง้ โทรศัพท์
 ค่าซ่อมแซมสิ่งก่อสร้าง วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท
 ค่าสาธารณูปโภค
 ค่าวัสดุ สื่อ อุปกรณ์การศึกษา
 ค่าพาหนะ – รับส่งนักเรียน
3.2 งบลงทุน
 รายการค่าครุภัณฑ์
 ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง (รายการก่อสร้างอาคารเรียน
อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างอื่น/ รายการค่า
ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบ สิ่ง
ก่อสร้างอื่นที่ชำรุดเสียหาย)
 งบกลาง รายการสำรองรายจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน
หรือจำเป็ น - สถานศึกษาประสบภัยธรรมชาติ
3.3 งบบุคลากร
 ค่าตอบแทนและเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวพนักงาน
ราชการ
 ค่าตอบแทนพนักงานราชการที่ปรับเปลี่ยนมาจาก
วิทยากรสอนอิสลามศึกษา
3.4 งบเงินอุดหนุน
 ปั จจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน
 ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน
46
 เงินอุดหนุนอื่น
3.5 รายจ่ายอืน
4.) การบริหารงบประมาณ (การโอนและการเปลี่ยนแปลงงบ
ประมาณ) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 1/สถานศึกษา

งานติดตาม ประเมินผล และรายงาน มีขอบเขตหน้าที่ ดังนี ้


1.วางแผนควบคุม กำกับ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบาย
กระทรวงศึกษาธิการ/สพฐ./สพป.
1.1 จัดทำแผนกำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนิน
งานตามนโยบาย กระทรวงศึกษาธิการ/สพฐ./สพป.
1.2 จัดทำเครื่องมือกำกับ ติดตาม ประเมินและรายงาน
ผลการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ/สพฐ./สพป.
1.3 ประสานแผนการติดตาม กำกับ ประเมิน และ
รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ/สพฐ./
สพป. กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. ศึกษาและพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลของ
สพป. และสถานศึกษา โดยเน้นการพัฒนาและการประยุกต์ใช้
นวัตกรรมและกระบวนการที่เหมาะสม มีคณ
ุ ภาพ
3. การติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดำเนินงานตาม
นโยบายและกลยุทธ์
3.1 ติดตาม ประเมิน และรายงานผล การดำเนินงาน
ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ/สพฐ./สพป.
3.2 ติดตาม ประเมิน และรายงานผล การดำเนินงาน
ตามกลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน

47
3.3 ติดตาม ประเมิน และรายงานผล การดำเนินงาน
ตามแผนปฏิบัติการประจำปี ของ สพป.
3.4 ติดตาม ประเมิน และรายงานผล การดำเนินงาน
ตามนโยบายของหน่วยงานทางการศึกษาในสังกัดกระทรวง
ศึกษาธิการในฐานผู้แทนกระทรวง
4. การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการตามแผน
ปฏิบัติราชการ สพฐ.
4.1 จัดระบบและประสานการดำเนินงานตามคำรับรอง
การปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติการ สพฐ.
4.2 ติดตามผลการดำเนินงานตัวชีว้ ัดคำรับรองการ
ปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการ สพฐ.
4.3 รายงานผลการดำเนินงานตัวชีว้ ัดคำรับรองการ
ปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการ สพฐ.
5. การดำเนินงานรับการติดตามผลการบริหารและจัดการ
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
6. การติดตามและรายงานการตรวจราชการตามนโยบายการ
ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และการตรวจราชการแบบบูรณ
าการของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
6.1 ศึกษาวิเคราะห์รายละเอียดประเด็นการตรวจ
ราชการตามนโยบายการตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และ
การตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการสำนักนายก
รัฐมนตรี
6.2 ประสานแผนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ
กระทรวงศึกษาธิการและการตรวจราชการแบบบูรณาการสำนัก
นายกรัฐมนตรี
48
6.3 ติดตาม ประเมิน และรายงานผล การดำเนินงาน
ตามนโยบายการตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และการตรวจ
ราชการแบบบูรณาการสำนักนายกรัฐมนตรี
6.4 จัดทำรายงานการตรวจราชการตามนโยบายการ
ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และการตรวจราชการแบบบูรณ
าการสำนักนายกรัฐมนตรี
6.5 รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายการตรวจ
ราชการกระทรวงศึกษาธิการ และการตรวจราชการแบบบูรณาการ
สำนักนายกรัฐมนตรี
7. การติดตาม กำกับ ดูแล และรายงานผล การดำเนินงาน
ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ e-mes
8. จัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินงานประจำปี ของ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 เผยแพร่
ต่อสาธารณชน

จากการทำงานของกลุ่มนโยบายและแผน เป็ นกลุ่มงาน้ที่มี


ความเกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายเงินตามแผนและให้สอดคล้องกับงาน
งบประมาณ เพื่อให้การเบิกจ่ายไปเป็ นตามแผนและดำเนินการ
อย่างถูกต้อง เกิด การผิดพลาดและล่าช้าน้อยที่สุด นโยบายที่
สำคัญของกลุ่มงานนี ้ จึงมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มบริหารงานการเงิน
และสินทรัพย์ นั่นคือ นวัตกรรมการใช้งบประมาณแบบถ่วงดุล ซึ่ง
เป็ นการตรวจสอบ กำกับและติดตาม การใช้งบประมาณ เป็ นระ
ยะๆ ทำให้ทราบว่าเงินของสำนักงานเขตพื้นที่ถูกใช้ไปตามแผนงาน
อย่างไร เงินเหลืออย่างไร

49
สอดคล้องกับคำสัมภาษณ์ของนายประสิทธิ หนูกุ้ง
ผอ.สพป.สงขลา เขต 1 ซึง่ กล่าวถึงภาระงานในกลุ่มนโยบายและ
แผน ดังนี ้

“กลุ่มที่ 2 ซึ่งถือเป็ นเสนาธิการของเขต ก็คือ กลุ่มนโยบาย


และแผน มีภาระกิจงานในเรื่องของโครงการ กิจกรรม เรื่องของ
การจัดทำแผนกลยุทธ์ เรื่องของการจัดทำแผนประจำปี เรื่องของ
การติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษาของเขตพื้นที่ รวมทัง้
งานข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งปั จจุบันความสำเร็จที่เกิดขึน
้ เราสามารถ
จัดทำแผนระยะยาว 5 ปี และแผนระยะสัน
้ 1 ปี และสามารถใช้งบ
ประมาณได้เป็ นไปตามแผนที่กำหนด ส่วนข้อมูลสารสนเทศ ก็ลงไป
บรรจุไว้ในเว็ปไซต์ของเขตพื้นที่ เพื่อให้สามารถจัดเก็บข้อมูลมาใช้
ประโยชน์ในการบริหารจัดการศึกษา โดยนวัตกรรมที่ค้นพบ คือ
การใช้งบประมาณแบบถ่วงดุล มีการตรวจสอบระหว่างกลุ่มการเงิน
กับแผนเป็ นระยะๆ ทำให้ทราบว่าเงินของสำนักงานเขตพื้นที่ถูกใช้
ไปตามแผนงานอย่างไร เงินเหลืออย่างไร”

นายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง
ผอ. สพป.สงขลา เขต 1
สัมภาษณ์ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2564

50
วันที่ 08 เดือนกันยายน พ.ศ 2564
การดำเนินการ ศึกษาข้อมูลของกลุ่มกฎหมายและคดี
ผลการดำเนินการ จำนวน 4 ชั่วโมง

จากโครงสร้างในการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 และภารกิจ บทบาท และอำนาจ
หน้าที่ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ต้องมีการแบ่งส่วนราชการภายใน โดยแบ่งอำนาจหน้าที่ในการรับ
ผิดชอบดูแลกลุ่มกฏหมายและคดี ดังนี ้

กลุ่มกฏหมายและคดี

นิ
ติก
ร 51
เป็ นการบริหารงานโดยมี นายประสิทธิ ์ หนูกงุ้ ผอ
สพป.สงขลา เขต 1 ทำหน้าที่เป็ นผู้ กำกับและติดตาม โดยมี
บุคลากรซึ่งทำหน้าที่เป็ น ผอ.กลุ่มงาน และบุคลากรในฝ่ ายงาน
จำนวน 2 คน ซึ่งทำหน้าที่เป็ นนิติกร เป็ นส่วนในการขับเคลื่อนงาน
โดยมีแนวคิดและภาระงานที่ต้องดูแลรับผิดชอบ ดังนี ้

1. ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาการมีวินัยและรักษาวินัย


๒. ดําเนินการสืบสวนเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน
๓. ดําเนินการสอบสวนเกี่ยวกับวินัยและการตรวจพิจารณาวินัย
๔. ดําเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์
๕. ดําเนินการเกี่ยวกับการร้องทุกข์และการพิจารณาร้องทุกข์
6. ดําเนินการเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
7. ดําเนินการเกี่ยวกับงานคดีปกครอง คดีแพ่ง คดีอาญา และคดี
อื่นๆ ของรัฐ
8. ดําเนินการป้ องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมขอบ
9. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทําข้อมูลและติดตามประเมินผลเพื่อ
พัฒนางานกฎหมายและงานคดีของรัฐ
๑๐. งานการปฏิบัติราชการตามคํารับรองการปฏิบัติราชการของ
ส่วนราชการ
11. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของกลุ่มงานอื่น
ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
จากผู้บังคับบัญชา

52
จากการปฏิบัติงาน จุดเด่นที่สำคัญของกลุ่มนี ้ คือ การให้
ความรู้เรื่องกฏหมาย เพื่อให้บุคลากรมีความรรู้ใหม่ของกฏหมาย
ต่างๆ เพื่อเป็ นแนวทางในการปฏิบัติตนให้อยู่ในระเบียบวินัย และ
หากมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดำนินคดี ก็ทำหน้าที่ในการรับเรื่อง
ร้องเรียน ร้องทุกข์ สอบสวน และช่วยในส่วนของคดีความต่างๆ
โดยมีส่ อ
ื กลางที่สำคัญ คือ เว็ปไซต์

ภาพที่ 8 หน้าเว็ปไซต์ของกลุ่มกฏหมายและคดี

53
ภาพที่ 9 หน้าเว็ปไซต์ของกลุ่มกฏหมายและคดีในส่วนของการร้อง
เรียน/ร้องทุกข์

สอดคล้องกับคำสัมภาษณ์ของนายประสิทธิ หนูกุ้ง
ผอ.สพป.สงขลา เขต 1 ซึง่ กล่าวถึงภาระงานในกลุ่มกฎหมายและ
คดี ดังนี ้

“กลุ่มต่อไปก็มีกลุ่มกฏหมายและคดี ก็เป้ นกลุ่มนึงที่ที่ทำ


หน้าที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวน เสนอ ลงโทษ พร้อมกับฟั ง และให้
ครูได้มีวินัย รักษาวินัย และการลงโทษ มีบุคลากรที่เป็ นนิติกร
ทำงานในหน้าที่ 2 คน มีภาระกิจในเรื่องของโรงเรียน ในส่วนของ
การถูกร้องเรียน สอบสวน หรือให้ความรู้ต่างๆ อย่างเป็ นประจำ มี
จุดเด่นคือ ทำเว็ปไซต์ออนไลน์ ให้ครูได้เข้ามาศึกษากฏหมาย
ระเบียบใหม่ๆ อยู่เสมอ ก็ทำหน้าที่เป็ นสื่อกลางที่ทำให้ครูได้รับรู้กฏ
หมาย มีการช่วยเหลือครูจากการถูกฟเองร้องจากเอกชน ในการขึน

สู่ศาล ศาลแพ่ง ศาลอาญา”

นายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง
ผอ. สพป.สงขลา เขต 1
สัมภาษณ์ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2564

วันที่ 09 เดือนกันยายน พ.ศ 2564

54
การดำเนินการ ศึกษาข้อมูลของกลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลการดำเนินการ จำนวน 4 ชั่วโมง

จากโครงสร้างในการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 และภารกิจ บทบาท และอำนาจ
หน้าที่ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ต้องมีการแบ่งส่วนราชการภายใน โดยแบ่งอำนาจหน้าที่ในการรับ
ผิดชอบดูแลส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี ้

กลุม
่ ส่งเสริมการศึกษาทางไกล
เทคโนโลยีสารสนเทศ

55
เป็ นการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ โดยมีนางสาวมยุรีย์
เนตรศิลานนท์ รอง.ผอ.สพป.สงขลา เขต 1 ได้รับมอบอำนาจจาก
นายประสิทธิ ์ หนูกงุ้ ผอ สพป.สงขลา เขต 1 ในการดำเนินงาน
กำกับและติดตาม โดยมีบุคลากรซึ่งทำหน้าที่เป็ น ผอ.กลุ่มงาน และ
บุคลากรในฝ่ ายงาน เป็ นส่วนในการขับเคลื่อนงาน โดยมีแนวคิด
และภาระงานที่ต้องดูแลรับผิดชอบ ดังนี ้
แนวคิดในการบริหารส่วนงาน
1.ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2. ศึกษา วิเคราะห์ นโยบาย กำหนดแผนการปฏิบัติงาน
พัฒนาและแก้ไขปั ญหาการปฏิบัติงานในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาทาง
ไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้มีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล
3. ศึกษา วิเคราะห์ดำเนินการ และส่งเสริมการจัดการศึกษา
ทางไกล
4. ศึกษา วิเคราะห์วิจัยและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อ
การบริหารและการจัดการศึกษา
5. ดำเนินงานสารสนเทศ เพื่อการบริหารและการจัดการ
ศึกษา
6. ดำเนินวิเคราะห์ และปฏิบัติงานระบบคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
7. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการบริการเทคโนโลยี
สารสนเทศ

56
8. ศึกษา วิเคราะห์พัฒนาและดูแลระบบเครือยข่ายเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารของ สพป.สงขลา เขต 1
9. การประสานการใช้งานและบำรุงรักษาทรัพยากร
เทคโนโลยีสารสนเทศของ สพป.สงขลาทเขต 1 และสถานศึกษาใน
สังกัด
9. การจัดทำข้อมูลตามโปรแกรมระบบสารสนเทศทางการ
ศึกษาและโปรแกรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
10. การดำเนินการพัฒนานวัตกรรมและระบบเทคโนโ,ยี
สารสนเทศเพื่อการบริหาร
11. การประสานงาน และให้บริการการประชุมทางไกล
ระบบวีดิโอคอมเฟอเรนซ์ ของสพป.สงขลา. เขต 1
12 ดำเนินการตรวจสอบแฟ้ มก่อนนำเสนอ ออกเลขส่งและจัด
ส่งงานในส่วนที่รับผิดชอบ
13. ปฏิบัติงานร่วมมือกับหรือสนับสนุนปฏิบ้ติงานของ
กลุ่ม/งานอื่น ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

โดยมีโครงสร้างในการบริหารงาน ดังนี ้

งานการเรี ยนการสอนดิจิทลั

กลุม่ ส่งเสริ มการศึกษาทางไกล


เทคโนโลยีสารสนเทศ งานคอมพิวเตอร์

งานข้ อมูลสารสนเทศ
57
ภาพที่ ๑๐ ขอบข่ายภารกิจงานตามอำนาจหน้ าที่

1)งานการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
 งานส่งเสริมการพัฒนาสื่อนวัตกรรมมและเทคโนโลยีทางการ
ศึกษา (DLIT)
 งานส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาสื่อ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
 งานส่งเสริมการจัดศูนย์ส่ อ
ื นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการ
ศึกษา
 งานพัฒนาปรับปรงระบบการจัดการเรียนรู้ ผ่านระบบเครือ
ข่ายคอมพิวเตอร์
 งานติดตามประเมินผลการใช้ส่ อ
ื นวัตกรรมและเทคโนโลยี
ทางการศึกษา
2) งานคอมพิวเตอร์
 จัดทําแผนแมบทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ของ
หน่วยงาน

58
 งานศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ วางแผน และดําเนินการเกี่ยวกับระบบ
คอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร
โทรคมนาคม
 งานติดตัง้ ดูแล บํารุงรักษา และพัฒนาเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม
 งานศึกษา วิเคราะห์ และกําหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของ
ระบบคอมพิวเตอร์
 งานดําเนินการเกี่ยวกับระบบรักษาคุ้มครองความปลอดภัยของข้อมูล
และการโต้ตอบข้อมูลข่าวสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์กับผู้ใช้บริการ
 งานพัฒนาบุคลากรทางดานระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม
 งานให้คําปรึกษา แนะนํา แก้ไขปั ญหาเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม
 งานติดตามประเมินผลระบบคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
และระบบสื่อสารโทรคมนาคม

3) งานข้อมูลสารสนเทศ
 การประสานงานและสรางเครือขายขอมูลสารสนเทศ
 การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาขอมูลสารสนเทศเพื่อ
การบริหารและการจัดการศึกษา
 การจัดทําข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการ
ศึกษา
 การติดตามประเมินผลระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการ
บริหารและการจัดการศึกษา
 การพัฒนาปรับปรุง และจัดการเว็บไซตสํานักงาน เผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ข้อมูลสารสนเทศ

59
 การพัฒนา ปรับปรุงและประยุกต์ใช้ ICT เขากับกระบวนการ
ทํางานให้สอดคล้องกับระบบข้อมูลสารสนเทศของสํานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและสํานักงานคณะกรรมการ
การศึกษา

ขอบเขตในการทำหน้าที่ ต่างๆ สอดคล้องกับคำสัมภาษณ์ของนาย


ประสิทธิ หนูกุ้ง ผอ.สพป.สงขลา เขต 1 ซึ่งกล่าวถึงภาระงานใน
กลุ่มกฎหมายและคดี ดังนี ้

“กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร กลุ่ม ICT ทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่ง
เสริมการสื่อสารให้กับโรงเรียน เช่น DLIT DLTV รวม
ทัง้ การดูแลเรื่องคลื่นความถี่ อินเตอร์เน็ต ของโรงเรียน
ของเขตพื้นที่จัดสรรงบประมาณ เพื่อให้โรงเรียนได้เบิก
จ่ายในเรื่องอินเตอร์เน็ต และยังสนับสนุนและส่งเสริม
ให้ครูได้มีความรู้เรื่องเทคโนดลยี สารสนเทศ อย่าง
เสมอเช่น การอบรม การใช้ GOOGLE รูปแบบต่างๆ
การอบรมเรื่องสื่อมัลติมีเดีย การอบรมการใช้ DLTV
เป็ นข้อคิดของกลุ่มนี”้

นายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง
ผอ. สพป.สงขลา เขต 1
สัมภาษณ์ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2564

60
วันที่ 09 เดือนกันยายน พ.ศ 2564
การดำเนินการ ศึกษาข้อมูลของหน่วยตรวจสอบภายใน
ผลการดำเนินการ จำนวน 4 ชั่วโมง

จากโครงสร้างในการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 และภารกิจ บทบาท และอำนาจ
หน้าที่ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ต้องมีการแบ่งส่วนราชการภายใน โดยแบ่งอำนาจหน้าที่ในการรับ
ผิดชอบดูแลหน่วยตรวจสอบภายใน ดังนี ้

หน่วยตรวจสอบภายใน

61
เป็ นการบริหารงานโดยมี นายประสิทธิ ์ หนูกงุ้ ผอ
สพป.สงขลา เขต 1 ทำหน้าที่เป็ นผู้ กำกับและติดตาม โดยมี
บุคลากรซึ่งทำหน้าที่เป็ น ผอ.หน่วยงาน จำนวน 1 คน เป็ นส่วนใน
การขับเคลื่อนงาน โดยมีแนวคิดและภาระงานที่ต้องดูแลรับผิดชอบ
ดังนีด
้ ังนี ้

แนวคิดในการบริหารส่วนงาน
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม 134 ตอนพิเศษ 295 ง วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ได้กำ
หนดอ านาจหน้าที่หน่วยตรวจสอบภายใน ไว้ดังนี ้
1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานตรวจสอบการเงิน การบัญชี และ
ตรวจสอบระบบการดูแลทรัพย์สิน
2. ดำเนินงานเกี่ยวกับงานตรวจสอบการด าเนินงานหรือ
กระบวนการปฏิบัติงานเปรียบเทียบกับผลผลิตหรือเป้ าหมายที่
กำหนด
3. ดำเนินงานเกี่ยวกับการประเมินการบริหารความเสี่ยง
4. ดำเนินการอื่นเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในตามที่กฎ
หมายก าหนด
5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วย
งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

โดยมีโครงสร้างกระบวนการในการทำงานในขอบเขตหน้าที่ ดังนี ้

62
ภาพที่ ๑๑ ขอบข่ายภารกิจงานตามอำนาจหน้ าที่

ขอบเขตในการทำหน้าที่ ต่างๆ สอดคล้องกับคำสัมภาษณ์ของนาย


ประสิทธิ หนูกุ้ง ผอ.สพป.สงขลา เขต 1 ซึ่งกล่าวถึงภาระงานใน
หน่วยตรวจสอบภายใน ดังนี ้

“กลุ่มหน่วยตรวจสอบภายใน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการ
ตรวจสอบงประมาณแผ่นดินของเขตพื้นที่การศึกาและ
สถานศึกษา หน่วนตรวจสอบภายใน จะทำหน้าที่ลงไป
ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินแผ่นดินที่เบิกจ่ายไป เป็ น
โครงการ เป็ นปี หรือสุ่มตรวจ ตามการร้องขอของ

63
โรงเรียน จะไปตรวจสอบถ่วงดุล เพื่อให้เกิดการเบิก
จ่ายถูกต้องตามระเบียบของราชการ”

นายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง
ผอ. สพป.สงขลา เขต 1
สัมภาษณ์ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2564

วันที่ 10 เดือนกันยายน พ.ศ 2564


การดำเนินการ ศึกษาข้อมูลของกลุ่มบริหารงานบุคคล
ผลการดำเนินการ จำนวน 4 ชั่วโมง

จากโครงสร้างในการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 และภารกิจ บทบาท และอำนาจ
หน้าที่ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ต้องมีการแบ่งส่วนราชการภายใน โดยแบ่งอำนาจหน้าที่ในการรับ
ผิดชอบดูแลกลุ่มบริหารงานบุคคล ดังนี ้

กลุ่มบริหารงานบุคคล

64
เป็ นการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ โดยมีนางสาวมยุรีย์
เนตรศิลานนท์ รอง.ผอ.สพป.สงขลา เขต 1 ได้รับมอบอำนาจจาก
นายประสิทธิ ์ หนูกงุ้ ผอ สพป.สงขลา เขต 1 ในการดำเนินงาน
กำกับและติดตาม โดยมีบุคลากรซึ่งทำหน้าที่เป็ น ผอ.กลุ่มงาน และ
บุคลากรในฝ่ ายงาน เป็ นส่วนในการขับเคลื่อนงาน โดยมีแนวคิด
และภาระงานที่ต้องดูแลรับผิดชอบ ดังนี ้

แนวคิดในการบริหารส่วนงาน

การบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษาเป็ น
มาตรการจูงใจให้ข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองภารกิจของหน่วย
งานโดยยึดหลักการกระจายอำนาจ ระบบคุณธรรมและหลักธร
รมาภิบาล เพื่อให้การบริหารจัดการมีความคล่องตัว เกิดความอิสระ
ใน การปฏิบัติงานภายใต้กฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติงานได้
รับการพัฒนา มีความรู้ความสามารถ มีขวัญกำลังใจ นำไปสู่การ

65
บริการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลัก การบริหารแบบมุ่ง
ผลสมัฤทธิซ์ ึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนต่อไป

มีอำนาจหน้าที่
 วางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง
 ส่งเสริมสนับสนุนมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
 วิเคราะห์จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการสรรหา บรรจุและแต่งตัง้
ย้าย โอน และการลาออกจากราชการของข้าราชการและ
บุคลากรทางการศึกษา
 ศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลการ
ปฏิบัติงาน การเลื่อนเงินเดือน การมอบหมายหน้าที่ให้
ปฏิบัติของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา
 จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับบำเหน็จความชอบและทะเบียนประวัติ
 จัดทำข้อมูลระบบจ่ายตรงเงินเดือน และค่าจ้างประจำ
 ปฏิบัติการบริการ และอำนวยความสะดวกเรื่องการออก
หนังสือรับรองต่าง ๆ ออกบัตรประจำตัว และการอนุญาตต่าง

มีโครงสร้างขอบข่ายและภารกิจงาน ดังนี ้

66
ภาพที่ ๑๒ ขอบข่ายภารกิจงานตามอำนาจหน้ าที่

โดยจากการทำงานเนื่องจากกลุ่มบริหารงานบุคคล เป็ นกลุ่ม


งานที่มีความเกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่บุคลากรในขอบเขตความ
รับผิดชอบ จึงเกิดนวัตกรรมที่สำคัญของกลุ่มงาน คือ ONE
STOP SERVICE ที่มุ่งเน้นการบริการที่รวดเร็ว ทันใจ และสบายใจ
เมื่อรับบริการ โดยสอดคล้องกับคำสัมภาษณ์ของนายประสิทธิ หนู
กุ้ง ผอ.สพป.สงขลา เขต 1 ซึง่ กล่าวถึงภาระงานในกลุ่มบริหารงาน
บุคคล ดังนี ้

“กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับงานบุคคล ถึงแม้ว่าเราได้แยกงาน
ส่วนหนึ่งไปเป็ นของ กศจ. แต่ภาระกิจหลักของกลุ่มนีก
้ ็ยังคงทำ
หน้าที่ในส่วนของการบรรจุ แต่งตัง้ โยกย้าย และให้พ้นจาก
งาน ซึง่ ถือเป็ นหน้าที่ของเขตพื้นที่ที่ต้องจัดการบรรจุครู และ
บุคลากรในเขต ที่ทำหนหน้าที่ให้สอดคล้องกับภาระหน้าที่ 2)

67
ต้องจัดทำข้อมูล ID plan ของแต่ละคน เพื่อใช้ในการวางแผน
ใน การบริหารงานบุคคลรวมทัง้ 3) ให้พ้นจากงาน นัน
้ คือ
การเกษียณอายุ การทำ กพ.7 และอื่นๆ รวมไปถึงการโยก
ย้าย สับเปลี่ยนอัตรากำลัง นวัตกรรมที่พบ คือ การทำงาน
แบบรวดเร็ว ถ้ามายื่นเรื่อง คือก็จะเสร็จภายใน 1 วัน 15 นาที
ครึ่งขั่วโมง ก็แล้วแต่งาน ใช้หลัก ONE STOP
SERVICE”

นายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง
ผอ. สพป.สงขลา เขต 1
สัมภาษณ์ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2564

วันที่ 10 เดือนกันยายน พ.ศ 2564


การดำเนินการ ศึกษาข้อมูลของกลุ่มพัฒนาครูและบุคลากร
ทางการศึกษา
ผลการดำเนินการ จำนวน 4 ชั่วโมง

จากโครงสร้างในการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 และภารกิจ บทบาท และอำนาจ
หน้าที่ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ต้องมีการแบ่งส่วนราชการภายใน โดยแบ่งอำนาจหน้าที่ในการรับ
ผิดชอบดูแลกลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนี ้

68
กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา

เป็ นการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ โดยมีนายณัฐวัติ รัตกี


รอง.ผอ.สพป.สงขลา เขต 1 ได้รับมอบอำนาจจาก นายประสิทธิ ์
หนูกุ้ง ผอ สพป.สงขลา เขต 1 ในการดำเนินงาน กำกับและ
ติดตาม โดยมีบุคลากรซึ่งทำหน้าที่เป็ น ผอ.กลุ่มงาน และบุคลากร
ในฝ่ ายงาน เป็ นส่วนในการขับเคลื่อนงาน โดยมีแนวคิดและภาระ
งานที่ต้องดูแลรับผิดชอบ ดังนี ้

แนวคิดในการบริหารส่วนงาน
งานพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาเป็ นมาตรการจูงใจให้ข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษาปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองต่อภารกิจของหน่วยงาน ผู้

69
ปฏิบัติงานได้รับการพัฒนา มีความรู้ความสามารถ มีขวัญกำลังใจ
นำไปสูก
่ ารพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีการพัฒนาให้
เป็ นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ และสนับสนุนการ
ปฏิบัติงานของหน่วยงานให้บรรลุวัตถุประสงค์

ขอบข่าย/ ภารกิจ

 การดำเนินงานฝึ กอบรมการพัฒนาก่อนแต่งตัง้
 ดำเนินงานฝึ กอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงาน
 ดำเนินงานพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้
เป็ นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ
 ปฏิบัติงานส่งเสริม สนับสนุน และยกย่องเชิดชูเกียรติ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
 ดำเนินการเกี่ยวกับการลาศึกษาต่อ ฝึ กอบรมหรือปฏิบัติการ
วิจัยภายในประเทศหรือต่างประเทศ
 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและเสริมสร้างระบบเครือข่ายพัฒนาครู
และบุคลากรทางการศึกษา
 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
อื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

จากภาระกิจงานจึงทำให้กลุ่มงานพัฒนาครูและบุคลากร
ทางการศึกษา มีหน้าที่หลักที่สำคัญ คือ การฝึ กอบรมและพัฒนาให้
กับครูและบุคลากรมีความรู้ที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา และเนื่องจาก

70
ในสถานการณ์วิกฤตที่ผ่านมา การเรียนการสอนจำเป็ นต้องปรับ
เปลี่ยนวิธีการ จึงทำให้ สพป.สงขลา เขต 1 มุ่งพัฒนาให้ครูและ
บุคลากร สามารถจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์วิกฤตได้ จึงมี
การอบรมหลักสูตรออนไลน์หลายหลักสูตร นอกเหนือจากนี ้ ภาระ
กิจอีกส่วนที่สำคัญคือ การให้ขวัญและกำลังใจ ทัง้ ในส่วนของการ
ผลักดันให้ครูและบุคลากรส่งผลงานเข้าประกวดกับหน่วยงานต่าง
ๆ และในปี ที่ผ่านมา สพป.สงขลา เขต 1 ตระหนักถึงความสำคัญ
ของการให้ขวัญกำลังใจ จึงมีการจัดตัง้ รางวัลขึน
้ ด้วย 2 รางวัล คือ
ครูแม่ดีเด่น และยอดนักการเรียนรู้

ภาพที่ ๑๒ โปสเตอร์ ครูดีศรี สงขลา รางวัลครูแม่ดีเด่นและยอดนักการเรี ยนรู้

71
ภาพที่ ๑๓ โปสเตอร์ หลักสูตรอบรมออนไลน์ในช่วงสถาการณ์วิกฤต

โดยสอดคล้องกับคำสัมภาษณ์ของนายประสิทธิ หนูกุ้ง
ผอ.สพป.สงขลา เขต 1 ซึง่ กล่าวถึงภาระงานในกลุ่มบริหารงาน
บุคคล ดังนี ้

“กลุ่มพัฒนาบุคลากร ก็เป็ นกลุ่มหนึ่งที่ทำหน้าที่สอด


รับกับงานบุคคล เมื่อบุคลากรถึงระยะที่ต้องปรับปรุง
พัฒนา ถึงเวลาก็มีการจัดอบรม การประกวด เสริมแรง
ให้กำลังใจให้โล่ยกย่องเชิดชูเกียรติ ส่งไปพัฒนา ให้

72
ศึกษาต่อ เป็ นภาระกิจของกลุ่มนี ้ เราพยายามจะให้ครูมี
รางวัล มีการส่งผลงานเข้าประกวด ในช่วงโควิดก็มีคิด
รางวัลของสำนักงานเขตเอง เช่น รางวัลแสวงหาความรู้
ดีเด่นในรอบปี โดยการเรียนออนไลน์ พบว่ามีครูเรียน
ออนไลน์ 880 กว่า 2) ก็มีรางวัลคัดเลือกครูแม่ดีเด่น มี
การมอบโล้เชิดชูเกียรติ”

นายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง
ผอ. สพป.สงขลา เขต 1
สัมภาษณ์ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2564

วันที่ 13 เดือนกันยายน พ.ศ 2564


การดำเนินการ ศึกษาข้อมูลของกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
ผลการดำเนินการ จำนวน 3 ชั่วโมง

จากโครงสร้างในการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 และภารกิจ บทบาท และอำนาจ
หน้าที่ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ต้องมีการแบ่งส่วนราชการภายใน โดยแบ่งอำนาจหน้าที่ในการรับ
ผิดชอบดูแลกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา ดังนี ้
73
กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา

เป็ นการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ โดยมีนางขวัญตา


ประสานสงฆ์ รอง.ผอ.สพป.สงขลา เขต 1 ได้รับมอบอำนาจจาก
นายประสิทธิ ์ หนูกงุ้ ผอ สพป.สงขลา เขต 1 ในการดำเนินงาน
กำกับและติดตาม โดยมีบุคลากรซึ่งทำหน้าที่เป็ น ผอ.กลุ่มงาน และ
บุคลากรในฝ่ ายงาน เป็ นส่วนใน การขับเคลื่อนงาน โดยมี
แนวคิดและภาระงานที่ต้องดูแลรับผิดชอบ ดังนี ้

แนวคิดในการบริหารส่วนงาน
งานสงเสริมการจัดการศึกษา เปนงานที่สนับสนุนและสง
เสริมใหสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาสามารถจัดการ
ศึกษาขัน
้ พื้นฐานไดอยางมีประสิทธิภาพโดยเนนการบูรณาการ
การจัดการศึกษาทัง้ การศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย

74
นําแหลงเรียนรูและภูมิปญญา ทองถิ่นมาใชประกอบการจัดการ
เรียนการสอน การพัฒนาคุณภาพผูเรียนทัง้ ดาน รางกาย จิตใจ
สังคม สติปญญา ทักษะชีวิต คุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา การกีฬา
ลูกเสือ เนตรนารียุวกาชาด ผูบําเพ็ญประโยชนองคกร
นักเรียน สิทธิเด็ก การจัดหาทุน–กองทุนการศึกษา เพื่อชวยเหลือ
ผูเรียนทัง้ เด็กปกติ เด็กดอยโอกาส เด็กบกพรอง เด็กพิการ และ
เด็กที่มีความสามารถพิเศษ อีกทัง้ สงเสริมใหบุคคล ครอบครัว
ชุมชน สถาบันทางศาสนา สถานประกอบการ องคกรปกครอง
สวนทองถิ่น และภาคเอกชน รวมจัดการศึกษาที่จะสงผลตอกา
รพัฒนาคุณภาพชีวิตผูเรียนรวมทัง้ ปฏิบัติตามพันธกิจที่ไดมีการลง
นามในความตกลงรวมกันระหวางประเทศ การรองรับประชาคมอา
เซียนในดานการจัดการศึกษาทัง้ การแลกเปลี่ยนและการสงเสริม
การจัดการศึกษา ตลอดจนการดําเนินงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ขอบข่าย/ ภารกิจ

 สงเสริมการจัดการศึกษาขัน
้ พื้นฐานในรูปแบบการศึกษาใน
ระบบ การศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัย
 สงเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาขัน
้ พื้นฐานของบุคคล
ครอบครัว องคกร ชุมชน
องคกร
 ประสานและสงเสริมองคกรปกครองสวนทองถิ่นใหสามารถ
จัดการศึกษา สอดคลองกับ
นโยบายและมาตรฐานการศึกษา

75
 สงเสริมการจัดการศึกษาสําหรับผูพิการ ผูดอยโอกาส และผูมี
ความสามารถพิเศษ
 สงเสริมงานการแนะแนว สุขภาพอนามัย กีฬาและ
นันทนาการ ลูกเสือ ยุวกาชาด เนตรนารี
ผูบําเพ็ญประโยชนนักศึกษาวิชาทหาร ประชาธิปไตย วินัย
นักเรียน การพิทักษสิทธิเด็กเยาวชนและงานกิจการนักเรียน
อื่น
 สงเสริมสนับสนุนการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
 สงเสริมงานกิจกรรมพิเศษและงานโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดําริ
 ประสานการปองกันและแกไขปญหาการใชสารเสพติดและสง
เสริมปองกัน แกไข และคุ้มครองความประพฤตินักเรียน
นักศึกษา รวมทัง้ ระบบดูแลชวยเหลือนักเรียน
 ดําเนินงานวิเทศสัมพันธ
 ประสาน สงเสริมการศึกษากับการศาสนาและการวัฒนธรรม
 สงเสริมแหลงการเรียนรูสิ่งแวดลอมทางการศึกษา และภู
มิปญญาทองถิ่น
 ประสานและสงเสริมสถานศึกษาใหมีบทบาทในการสราง
ความเขมแข็งของชุมชน
 ปฏิบัติงานรวมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหนวยงา
นอื่นที่เกี่ยวของหรือที่ไดรับ
มอบหมาย

76
ตามโครงสร้างในการทำงาน ดังนี ้

งานส่งเสริ มกิจกรรมพิเศษ

งานส่งเสริ มคุณภาพการจัดการศึกษา

กลุม่ ส่งเสริ มการจัดการศึกษา

งานกิจการนักเรี ยน

งานส่งเสริ มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้ อง

ภาพที่ ๑๔ ขอบข่ายภารกิจงานตามอำนาจหน้ าที่

77
ขอบเขตในการทำหน้าที่ ต่างๆ สอดคล้องกับคำสัมภาษณ์
ของนายประสิทธิ หนูกุ้ง ผอ.สพป.สงขลา เขต 1 ซึ่งกล่าวถึงภาระ
งานในกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา ดังนี ้

“กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา ทำหน้าที่คล้ายคลึง
กับกลุ่มนิเทศ เพราะกลุ่มส่งเสริมจะทำเยวกับเรื่องของ
ทุน การประกวด การแข่งขัน ทักาะทางวิชาการ
โรงเรียนในโครงการพิเศษ โรงเรียนรางวัลพระราชทาน
โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง โครงการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ
สถานศึกษาที่ส่งเสริมให้เด็กและครูมีการพัฒนา ก็ช่วย
ให้โรงเรียนได้ดำเนินงานในนโยบาย เพิ่มเติ่มในช่วงนี ้
คือ การจัดการเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด ทัง้
การรายงานการติดเชื้อ การเสียชีวิต การมีทุนเยี่ยวยา
การติดตามผล ในเรื่องของการจัดการศึกษา และมีหน้า
ที่ในส่วนของลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด โครงการยา
เสพติด และกีฬา เป็ นเรื่องของกิจกรรม”

นายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง
ผอ. สพป.สงขลา เขต 1
สัมภาษณ์ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2564

วันที่ 13 เดือนกันยายน พ.ศ 2564

78
การดำเนินการ ศึกษาข้อมูลของกลุ่มบริหารงานการเงินและ
สินทรัพย์
จำนวน 4 ชั่วโมง

จากโครงสร้างในการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 และภารกิจ บทบาท และอำนาจ
หน้าที่ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ต้องมีการแบ่งส่วนราชการภายใน โดยแบ่งอำนาจหน้าที่ในการรับ
ผิดชอบดูแลกลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ผลการดำเนินการ
ดังนี ้

กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์

79
เป็ นการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ โดยมีนางขวัญตา
ประสานสงฆ์ รอง.ผอ.สพป.สงขลา เขต 1 ได้รับมอบอำนาจจาก
นายประสิทธิ ์ หนูกงุ้ ผอ สพป.สงขลา เขต 1 ในการดำเนินงาน
กำกับและติดตาม โดยมีบุคลากรซึ่งทำหน้าที่เป็ น ผอ.กลุ่มงาน และ
บุคลากรในฝ่ ายงาน เป็ นส่วนใน การขับเคลื่อนงาน โดยมี
แนวคิดและภาระงานที่ต้องดูแลรับผิดชอบ ดังนี ้

ขอบข่าย/ ภารกิจ

กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ มีอำนาจหน้าที่ต่อไปนี ้
 ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารการเงิน
 ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารงานบัญชี
 ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารงานพัสดุุ
 ดำเนินงานเกี่ยวกบงานบริหารงานสินทรัพย์
 ให้คำปรึกษาสถานศึกษาเกีย
่ วกับการดำเนินงานบริหารการเงิน
งานบัญชี งานพัสดุและงานบริหารสินทรัพย์
 ปฏิบต ิ
ั งิ านร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบตังานของหน่
วยงานอื่นที่
่ วข้องหรือทีไ่ ด้รั บมอบหมาย
เกีย ้
ตามโครงสร้างในการทำงาน ดังนี ้

งานบริ หารการเงิน

งานบริ หารงานบัญชี

กลุม่ บริ หารงานการเงินและ


สินทรัพย์

งานบริ หารงานพัสดุ

80
งานบริ หารงานสินทรัพย์

ภาพที่ ๑๔ ขอบข่ายภารกิจงานตามอำนาจหน้ าที่


โดยจากการทำงานเนื่องจากกลุ่มบริหารงานการเงินและ
สินทรัพย์ เป็ นกลุ่มงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่
บุคลากรในขอบเขตความรับผิดชอบ จึงเกิดนวัตกรรมที่สำคัญ
ของกลุ่มงาน คือ ONE STOP SERVICE ที่มุ่งเน้นการบริการที่
รวดเร็ว ทันใจ และสบายใจเมื่อรับบริการ โดยสอดคล้องกับคำ
สัมภาษณ์ของนายประสิทธิ หนูกุ้ง ผอ.สพป.สงขลา เขต 1 ซึ่งกล่าว
ถึงภาระงานในกลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ ดังนี ้

“กลุ่มการเงินและสินทรัพย์ ซึ่งทำหน้าที่ในเรื่องของการ
วางแผน การเบิกจ่าย การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ
หลักฐานการสั่งซื้อ สั่งจ้าง ของสถานศึกษารวมทัง้ การ
ดำเนินการ ต่างของสถานศึกษา เช่น ค่ารักษาพยาบาล
ค่าเช่าบ้าน ค่าการศึกษาบุตร ของบุคลากรทัง้ เขตก็จะอยู่
ตรงนี ้ นอกจากนี ้ ภาระกิจหลักอีกอย่าง คือ การทำบัญชี
ซึง่ ต้องดูงบดุลต่างๆ ของเขตพื้นที่การศึการายงานให้ ผอ
เขต ทราบทุกวัน นอกจากนัน
้ ก็ทำในเรื่องพัสดุ การจัด
เก็บรักษา การทำลาย นวัตกรรมสิ่งที่ค้นพบ จากการ
ปฏิบัติงาน ก็คือ one stop service เช่นคุณครูมาเบิกค่า
81
รักษาก็จะได้ไปเลยรายวัน 2) ค่าเช่าบ้านก็สามารถเบิก
จ่ายได้รวดเร็วตามที่ผู้เช่าได้ย่ น
ื เบิกแบบเดือนต่อเดือน”

นายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง
ผอ. สพป.สงขลา เขต 1
สัมภาษณ์ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2564

วันที่ 13 เดือนกันยายน พ.ศ 2564


การดำเนินการ สรุปการทำงานของทัง้ 9 กลุ่มงานและ 1 หน่วย
พร้อมปั ญหาและอุปสรรค รวมถึงหลักการในการทำงานของ
ผอ.สพป.สงขลา เขต 1
จำนวน 1 ชั่วโมง

จากภาระกิจทัง้ สิน
้ 10 กลุ่มงาน แต่ละกลุ่มงานก็จะมี รอง
ผอ. เขตพื้นที่การศึกษาตามโครงสร้าง 3 คน ลงไปกำกับดูแล และ
จะมีผู้อำนวยการกลุ่มเป็ นหัวหน้ากลุ่มที่ทำหน้าที่เป็ นผู้บังคับบัญชา
ข้าราชการในกลุ่มนัน
้ ๆ เพื่อให้ปฏิบัติบัติไปตามนโยบายและปฏิบัติ
ไปตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ในสำนักงานเขต เราใช้แผน
ปฏิบัติการประจำปี เป็ นเครื่องมือในการขับเคลื่อนมี การปรับปรุง
แผนเป็ นระยะๆ หลังสุดเราปรับแผนทุก 3 เดือน เพื่อให้เกิดความ
คล่องตัวในการทำงานสามารถจะใช้งบประมาณได้ทันปี งบประมาณ

ปั ญหาอุปสรรคของเขต

82
1) การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิดเราไม่
สามารถจัดการเรียน ON SITE ได้ เราก็ใช้การจัดการเรียนการสอน
แบบรูปแบบอื่นๆ ที่สามารถให้เด็กได้เรียน โดยใช้บ้านเป็ น
ห้องเรียน และใช้พ่อแม่เป็ นครู พยายามจัดให้มากที่สุด แต่จากการ
ประเมินก็ไม่ได้ผลตามที่ตงั ้ ไว้ก็ยังมีปัญหาเรื่องเครื่องมือสื่อสารของ
ผู้ปกครอง การสื่อสารระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง หรือระหว่าง
ครูกับเด็ก ก็เป็ นปั ญหาที่ สพป.สงขลา เขต 1 พยายามแก้ต่อไป
2) การขาดแคลนบุคลากรในการปฏิบัติงาน เช่น ขาด
ศึกษานิเทศก์ จำนวน 8 คน ขาดเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่จำนวน 7
คน ทำให้คนที่มีอยู่ทำงานหนัก ทำงานแทนตำแหน่งว่างที่มีอยู่
สาเหตุส่วนสำคัญที่เป็ นการกำหนดให้สอบจากส่วนกลาง ทาง
สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาเอง ไม่สามารถจัดหาบุคลากร
ได้เอง
3) ปั ญหาโรงเรียนที่มีขนาดเล็กลง ลำบากในเรื่องการจัดการ
โรงเรียนขนาดกลางก็จะเปลี่ยนแปลงเป็ นโรงเรียนขนาดเล็ก
โรงเรียนขนาดใหญ่ก็จะกลายเป็ นขนาดกลาง นักเรียนก็มีจำนวน
ลดลง ทำให้อัตรากำลังครูก็จะถูกรับให้ลดลงด้วย ในการปรับอัตรา
กำลังแต่ละครัง้ ก็จะถูกเกลี่ยไปยังเขตพื้นที่อ่ น

4) สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสงขลา เขต 1 มีที่ตงั ้
อยู่ 2 ส่วน ทำให้เราต้องบริหารสำนักงาน 2 ที่ ทัง้ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่า
ดำเนินการ ซึ่งไม่เหมือนเขตอื่นที่มีจุดเดียว ทำให้การประสานงา
นอื่นๆ คล่องตัว

หลักการทำงานของ ผอ.สพป.สงขลา เขต 1


83
1. อย่าอุปสรรคมาเป็ นปั ญหาในการทำงาน
2. ปั ญหามีโอกาสที่จะเกิดขึน
้ ได้พร้อมๆ กัน ดังนัน
้ ในการ
ทำงานจึงควรใช้การทำงานแบบหน้ากระดาน พยายามแก้ปัญหา
และทำงานหลายๆ งานไปพร้อมกัน เพื่อเป็ นการแก้ปัญหา/ทำงาน
ทัง้ ระบบ โดยมองไปที่การบริหารจัดการเวลาเป็ นสำคัญ
3. หากจะมีปัญหาเกิดขึน
้ จะต้องไม่ได้เกิดปั ญหาจากระบบ
เพราะถ้าเราวางระบบที่ดีพอ ปั ญหาที่เกิดขึน
้ มักมาจากสถานการณ์
ที่เราอาจจะยังคาดไม่ถึงเท่านัน

ลงชื่อ
(............นายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง................)
ผู้
บริหารพี่เลีย
้ งในหน่วยงานการศึกษา

84
ผลที่ได้รับจากการฝึ กปฏิบัติงานวิชาชีพการบริหารการศึกษาใน
หน่วยงานการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสงขลา เขต ๑

ในการดำเนินงานบริหารงานในหน่วยการศึกษาของรัฐบาล
ต้องกำหนดโครงสร้างตลอดจน การบริหารงานที่ชัดเจน
ตามลำดับและขัน
้ ตอนที่เป็ นระบบซึ่งสอดคล้อง ผูบ
้ ริหารจะต้องมี
ภาวะผู้นำ เพื่อเป็ นต้นแบบที่ดีของสมาชิกภายในองค์กร ผู้บริหาร
ต้องมีภาวะผู้นำและหลักการต่าง ๆ ในบริหารงาน ตามบทบาทใน
85
โครงสร้างงานของเพื่อการบริหารงานได้มีประสิทธิภาพและ
สอดคล้องกับสถานการณ์ลักษณะงาน หรือในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
โดยสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสงขลา เขต ๑ มีโครงสร้าง
ของหน่วยงาน ประกอบด้วย ๙ กลุ่มงาน และ ๑ หน่วยงาน คือ
(๑) กลุ่มอำนวยการ
(๒) กลุ่มนโยบายและแผน
(๓) กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยี
สารสนเทศ และการสื่อสาร
(๔) กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์
(๕) กลุ่มบริหารงานบุคคล
(๖) กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
(๗) กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
(๘) กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
(๙) หน่วยตรวจสอบภายใน
(๑๐) กลุ่มกฎหมายและคดี

เนื่องจากในช่วงปี ที่ผ่านมาเกิดสถานการณ์วิกฤตของการแพร่
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงส่งผลกระทบต่อรูป
แบบการบริหารองค์กรในภาพรวม เป็ นปั ญหาที่ส่งผลกระทบต่อ
การจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ ทาง สพปสงขลา เขต ๑ เอง
ตระหนักในปั ญหาที่เกิดขึน
้ แต่ก็ยังคงพยายามขับเคลื่อนองค์กร ให้
มีประสิทธิผลใกล้เคียงกับสภาวะปกติให้มากที่สุด โดยใช้นวัตกรรม
ที่เกิดขึน
้ ขณะปฏิบัติงานเข้ามาเป็ นเครื่องมือที่ใช้ในการขับเคลื่อน
ท่ามกลางเหตุการณ์ที่มี การปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว
โดยต้องปรับเปลี่ยนให้รูปแบบการบริหารที่การต้องความยืดหยุ่น

86
ลดขัน
้ ตอน แต่เน้นผลไปที่ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงสถานการณ์ปกติ ผ่าน
การติดตามและประเมินตลอดเวลา ในช่วงเวลาที่สน
ั ้ โดยถือ
เป็ นการบริหารองค์การท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง โดยแบ่งรูป
แบบนวัตกรรมออกเป็ น ๒ ส่วนใหญ่ คือ ๑) นวัตกรรมที่แก้ปัญหา
และ ๒) นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องการปฏิสัมพันธ์กับบุคคล รายละเอียด
ดังนี ้
1)นวัตกรรมที่แก้ปัญหา เนื่องจากปั ญหาที่เกี่ยวข้องกับการ
จัดการเรียนการสอน ปั ญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่ถูกยุบเลิก จนทำให้
ที่ดินไม่ได้เกิดการใช้ประโยชน์ และปั ญหาในการเบิกจ่ายงบ
ประมาณไม่ทันตามแผน จึงเกิดเป็ นนวัตกรรมขึน
้ ๓ นวัตกรรม คือ
๑.๑ SONGKHLA1…SANDBOX ของกลุ่มนิเทศ ติดตาม
และประเมินผลการจัดการศึกษา
๑.๒ โคก หนอง นา แหลมจาก โมเดลวิถีใหม่ : การใช้
ประโยชน์จากที่ดินของโรงเรียนที่ถูกยุบเลิก ของกลุ่มนิเทศ ติดตาม
และประเมินผลการจัดการศึกษา
๑.๓ การใช้งบประมาณแบบถ่วงดุล มีการตรวจสอบ
ระหว่างกลุ่มแผนกับกลุ่มการเงิน เป็ นระยะๆ ทำให้ทราบข้อมูล
การใช้จ่ายเงินตลอด เพื่อให้ทันกับการเบิกจ่ายในแต่ละ
ปี งบประมาณ ของกลุ่มนโยบายและแผน
๒) นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องการปฏิสัมพันธ์กับบุคคล เนื่องจากใน
การบริหารงานองค์การ เป็ นรูปแบบการทำงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคล
โดยตรง ดังนัน
้ หากองค์กรตระหนักถึงความสำคัญกับตัวบุคคล จะ
ทำให้เข้าใจว่าในการที่บุคคลเข้ารับบริการทุกครัง้ บุคคลย่อม
ต้องการรูปแบบการบริการที่อำนวยความสะดวก เป็ นมิตร และ
รวดเร็ว จึงเกิดเป็ นนวัตกรรม ONE STOP SEVICE ขึน
้ ในกลุ่มงานที่
87
เกี่ยวข้องกับการบริการ นั่น คือ กลุ่มบริหารงานการเงินและ
สินทรัพย์และกลุ่มบริหารงานบุคคล

โดยนวัตกรรมทัง้ หมดถูกกำกับ ติดตามและประเมินผลอย่าง


เป็ นระยะๆ ในช่วงเวลาสัน
้ เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึน

อย่างรวดเร็วและตลอดเวลา เพราะเมื่อเกิดปั ญหาขึน
้ จะได้เข้าไป
จัดการกับปั ญหาได้อย่างทันที
และจากแนวคิดของการบริหารองค์กรท่ามกลางการ
เปลี่ยนแปลงโดยใช้การนวัตกรรมเป็ นตัวขับเคลื่อน และหลักคิดที่
สำคัญในการทำงาน จึงสะท้อนให้เห็นว่าท่าน ผอ.สพป.สงขลา เขต
๑ ถือเป็ นต้นแบบที่ดีของการทำงาน ส่งผลต่อวัฒนธรรมและค่า
นิยมในการทำงานของคนในองค์กร โดยแสดงให้เห็นว่าไม่ว่า
สถานการณ์จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ท่านก็ยังคงแสดง
บทบาทของการมีภาวะผู้นำในเชิงสถานการณ์ กล่าวคือ ความ
สามารถในการนำพาให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกถึงการมีคณ
ุ ค่าใน
ตนเอง รู้สึกถึงการมีคุณค่าที่จะทำงาน ยังคงต้องการทำงานและ
์ ี่ดียิ่งขึน
ปฏิบัติงานให้มีผลสัมฤทธิท ้ โดยในเวลาเดียวกันก็ไม่ได้ลืม
คำนึงถึงความรู้สึกของผู้ใต้บังคับบัญชา พยายามปรับเปลี่ยนรูป
แบบของการบริการบนพื้นฐานของความเข้าอกเข้าใจ (Empathy)

88
ภาพที่ ๑๕ การบริ หารองค์การท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงและหลักคิดในการทำงาน

ส่วนที่ 4
การประเมินผลการปฏิบัติการบริหารการศึกษา
(สำหรับผู้บริหารพี่เลีย
้ งในหน่วยงานการศึกษา)

89
คำชีแ
้ จง โปรดให้ข้อมูลด้านสมรรถนะหลักของการปฏิบัติงานใน
บทบาทผู้บริหารการศึกษา ว่ามีการปฏิบัติ หรือเป็ นจริงตามที่
บรรยายไว้มากน้อยเพียงใด และทำเครื่องหมาย ลงในช่องว่าง
ตามความเป็ นจริงว่าท่านมีความคิดเห็นอย่างไร โดยมีให้เลือกดังนี ้
5 หมายถึง การปฏิบัติงานในบทบาทผู้บริหารการศึกษา
อยู่ในระดับ มากที่สุด
4 หมายถึง การปฏิบัติงานในบทบาทผู้บริหารการศึกษา
อยู่ในระดับระดับ มาก

90
3 หมายถึง การปฏิบัติงานในบทบาทผู้บริหารการศึกษา
อยู่ในระดับ ปานกลาง
2 หมายถึง การปฏิบัติงานในบทบาทผู้บริหารการศึกษา
อยู่ในระดับ น้อย
1 หมายถึง การปฏิบัติงานในบทบาทผู้บริหารการ
ศึกษาอยู่ในระดับระดับ น้อยที่สุด

ผลการประเมิน
มา ปา
น้อย
ก มา น น้อ
ข้ ที่สุ
รายการประเมิน ที่สุ ก กล ย
อ ด
ด าง
(4
(5) (3) (2) (1)
)
ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ ์
1 นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจใน
การวางแผนการปฏิบัติงานด้าน
ต่าง ๆ โดยยึดเป้ าหมายที่กำหนด
ไว้
2 นักศึกษามีการวางแผน การ
ปฏิบัติงานแต่ละภารกิจให้บรรลุ
เป้ าหมายตามแผนปฏิบัติงาน
3 นักศึกษามีความมุ่งมั่น
กระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน

91
ผลการประเมิ
ผลการประเมิ
น น
มา มา ปา ปาน้อ
ข้ ก มาก น มาน้อ น ย น้อ น้อย
รายการประเมิน
ข้อ เพืรายการประเมิ
่ อให้งานบรรลุเนป้ าหมาย ที่ กทีส
่ ุกล ก ย กลที่สุ ย ที่สด

อ 4 นักศึกษาเปิ ดโอกาสให้ผู้ร่วมงาน สุด ด าง าง ด
ได้แสดงความคิดเห็นและส่ง (5 (4(5) (4) (3) (2) (1)
(3) (2) (1)
2 เสริ ม การบริ ห ารแบบมี
นักศึกษามีความสามารถในการใช้ภาษา ส ว
่ นร่ ว ม) )
83 กศึ5กษามี
นัไทย เพืนั่ อกการสื
กศึารติ
กษาสามารถ สนองความ
่ อดสารภาษาอั
ตาม ประเมิงน
กฤษเพื
ผล ่ อ
การปฏิ บต้ัตอิงงการของผู
การแสวงหาความรู านและมีก ้ ้ม ีส่วนได้
ารปรั บปรุส่วงนเสีย

2 แก้ ขององค์
นัไกขการปฏิ
ศึกษามี ัติงกานาร ให้
ที่มบีครรลุ
คบวามสามารถในการใช้ วามต้
เป้ อ
า งการที่
คอมพิวแตกต่
4 หมายในแต่ เตอร์ าเบื
งกั้อนงต้
ละภารกิ จ นในการติดตาม
กศึ6กษาปฏิ
นัก่ อศึนไหวทางวิ
9 นัความเคลื บกัต
ษามี การส่
ิงานให้ ชงด
เกิ เสริ มให้ จ
าการและ
ผลสำเร็
บุคลากรพั
ด้สามารถใช้
วยความรวดเร็ E-mailฒนางาน
วและทั นเวลา และนำ

12 นันั
กก ศึศึ
กก นวัตกรรมมาใช้
ษาสามารถปฏิ
ษาสามารถเลืบอัต ิงเพื
กใช้ ่แ
อหล่
เพิถ่มงูกเรียนรู้ที่
านได้
ประสิทาหมายที
05 ต้หลากหลายแลกเปลี
องตรงตามเป้ ธิภาพในการปฏิ
่ยนเรี
่วางไว้ยนรู้กบับัตเพื
ิงาน
่ อน
7กษานักนำผลการประเมิ
ศึกษาสามารถวิ
1 นัร่กวศึมงานและให้ เคราะห์
ความร่วมมื
น อเพื
กับ่ อหน่
ใช้ วย
นข้อามูสั
1 เป็งานต่ งลงในการวางแผนงานครั
ๆเคราะห์ให้การปฏิบัติงง้ านได้
2 ต่นั
อไป ผลดีโดยใช้ทเรัคราะห์
กศึกษาสามารถวิ พยากรน้ อยที่สุด
และ
หรือนแบบอย่
16 นัสักงศึเคราะห์
กษาเป็ อเท่
งค์าค
ทีวามรู
่จะทำได้
้เพื่ด่ อีตนำไปใช้
างที ่อ พัฒนา
2 บุงาน เช่น การผลิ
คลากรในองค์ การ ตนวัตกรรม และ
เทคโนโลยี
ด้านการบริ ใหม่
การที ่ดี ๆ มาใช้ในการพัฒนา
1 นัองค์
กศึกกษามี
าร การศึกษาความต้องการ
3 ของผู้รับด้บริ
านการทำงานเป็ นทีม
การและให้คำแนะนำ
12 นันั
กก ศึศึ
กก ษามี
ษามีกส
ารจั ดระบบการให้
่วนร่ วมในการวางแผนเพื่อ
47 บริ
ปฏิการบนพื ้นฐานของข้
บัติงานเป็ นทีม อมูล
ข่าวสาร ความรู้ ความต้องการของ
2 นักศึกษามีความสามารถในการวางแผน
การให้บริการ
18 นัเพื
กศึ่ อกการปฏิ บัติงานเป็
ษามีความตั นทีมมใจ และ
ง้ ใจ เต็
92
5 กระตือรือร้นในการให้บริการ เสีย
2 นักศึกษามีการรับฟั งความคิดเห็น
สละเวลาให้แก่ผู้รับบริการได้รับ
9 ยอมรับข้อตกลงของทีมงานด้วย
ผลการประเมิน
ปา
ข้
รายการประเมิน มาก มา น น้อ น้อย

ที่สุด ก กล ย ที่สุด
าง
30 นักศึกษามีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ร่วม
งาน
31 นักศึกษามีความเต็มใจให้ความร่วมมือ
ในการปฏิบัติงานร่วมกัน ยึดมั่นในหลัก
การ และจรรยาบรรณวิชาชีพ
32 นักศึกษามีการตัดสินใจบนพื้นฐานของ
ข้อมูลเป็ นสำคัญ
33 นักศึกษามีการปฏิบัติตามบทบาท
หน้าที่ของตนด้วยความโปร่งใส
34 นักศึกษามีการปฏิบัติตนเป็ นผู้นำหรือผู้
ตาม ตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้
35 นักศึกษามีการสนับสนุนให้กำลังใจ
ยกย่องให้เกียรติผู้อ่ น
ื ในโอกาสที่เหมาะ
สม
36 นักศึกษามีความสามารถในการ
สร้างสรรค์ให้ทีมงามเข้มแข็ง
สรุปผลการประเมิน
คะแนนเต็ม 180 คะแนน
คะแนนเฉลี่ยที่ได้ =

93
คะแนนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก คะแนนเฉลี่ยที่ได้ x
25 /180 = คะแนน

ลงชื่อ ผู้ประเมิน
(
)
วันที่
…….…/…..……..…….……/…...……….

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

ลงชื่อ ผู้บริหารพี่เลีย
้ ง
(
)
วันที่
…….…/…..……..…….……/…...……….

94
ภาคผนวก

95
ภาคผนวก ก
แบบบันทึกเวลาการฝึ กปฏิบัติการบริหารการศึกษา

96
แบบบันทึกเวลาการฝึ กปฏิบัติการบริหารการศึกษา

วัน/เดือน/ปี เวลามา ลงชื่อ เวลากลับ ลงชื่อ ผู้รับรอง

97
ภาคผนวก ข
หนังสือขอความอนุเคราะห์และตอบรับ

98
99
100
101
102
103
ภาคผนวก ค
ปฏิทินการฝึ กประสบการณ์การบริหารการศึกษา

104
ปฏิทินการฝึ กประสบการณ์การบริหารการศึกษาในหน่วย
งานการศึกษา :
สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสงขลา เขต 1
นางสาวปฐมาภรณ์ สานุกูล นักศึกษามหาวิทยาลัย
หาดใหญ่ รหัส 6319050040
สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และ
ศิลปศาสตร์
วัน เดือน ปี ประเด็นในการฝึ ก จำนวนชั่วโมง
ประสบการณ์
06 ก.ย. 64 ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของ 3
สพป.สงขลา เขต 1
ศึกษาข้อมูลของกลุ่มอำนวย 5
การ
07 ก.ย.64 กลุ่มนิเทศ ติดตาม และ 8
ประเมินผลการจัดการ
ศึกษา
08 ก.ย. 64 กลุ่มนโยบายและแผน 4

กลุ่มกฎหมายและคดี 4

0 ๙ ก.ย. 64 กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทาง 4
ไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ

105
และการสื่อสาร

หน่วยตรวจสอบภายใน 4

10 ก.ย. 64 กลุ่มบริหารงานบุคคล 4

กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากร 4
ทางการศึกษา

13 ก.ย. 64 กลุ่มส่งเสริมการจัดการ 3
ศึกษา

กลุ่มบริหารงานการเงินและ 4
สินทรัพย์

สรุปการทำงานของทัง้ 9 1
กลุ่มงานและ 1 หน่วยพร้อม
ปั ญหาและอุปสรรค รวมถึง
หลักการในการทำงานของ
ผอ.สพป.สงขลา เขต 1

ลงชื่อ
(............นายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง....................)
ผู้บริหารพี่
เลีย
้ งในหน่วยงานการศึกษา

106
ภาคผนวก ง
ประมวลภาพการฝึ กประสบการณ์การบริ หารการศึกษา

107
การนิเทศการฝึ กปฏิบัติงานวิชาชีพการบริหารการศึกษา : เมื่อวันที่
10 กันยายน 2564

นายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง ผู้อำนวยการสำนักงาน


เขตพื้นที่การประถมศึกษาสงขลา
เขต 1
อาจารย์ รศ.ดร. นิรันดร์ จุลทรัพย์ อาจารย์นิเทศการฝึ ก
ปฏิบัติงานวิชาชีพการบริหารการศึกษา นางสาวปฐมาภรณ์ สานุกล

นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา

108
การฝึ กประสบการณ์ : กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการ
จัดการศึกษา

การฝึ กประสบการณ์ : กลุ่มอำนวยการ

109
POWERPOINT นำเสนอ ผลการนิ เทศ

110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
ภาคผนวก จ
ถอดบทสัมภาษณ์
นายประสิ ทธ์ หนูกงุ้ ผอ. สพป.สงขลา เชต 1

127
ถอดเทปคำสัมภาษณ์ของ นายประสิทธิ ์ หนูกุ้ง

ผอ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษาสงขลา เขต 1

ภาพรวม : ภาระกิจที่แต่ละกลุ่มคำและปั ญหาที่พบเจอ

นายประสิทธิ: ปฏิบัติงานที่สำนักงานเขตพื้นที่ทงั ้ หมด จำนวน 3 ปี


ประสบการณ์ในกาบริหารเป็ น ผอ เขต พื้นที่การศึกษามาเป็ นเวลา
14 ปี บริหารงานเขตพื้นที่มา 6 เขต ในการทำงานของสำนักงาน
เขตพื้นที่หลังจากที่ได้มีการปรับปรุงกระทรวง พ.ศ.2546 จนถึง
ปั จจุบัน สำนักงานเขตพื้นที่ได้มีการปรับเปลี่ยนเป็ น 3 ระยะ ดังนี ้
1) ระยะแรกที่เขตพื้นที่ยังเป็ นเขตการศึกษาซึ่งดูแลทัง้ เขตพื้นที่
ประถมและมัธยม ระยะที่ 2 เขตพื้นที่ปรับเปลี่ยนมาเป็ นเขตมัธยม
และเขตประถม ในปี พ.ศ. 2552 และครัง้ หลังสุด คือ พ.ศ. 2560
ได้ปรับเปลี่ยนสำนักงานเขตมาเป็ นการบริหารงานภายใต้คำสั่ง
คสช. ที่ 19 /2560 ซึง่ ภาระกิจบางส่วนถูกแยกไปเป็ นของ
ศึกษาธิการจังหวัด เช่น คุรุสภา งานบริหารงานบุคคล และยุบองค์
คณะบุคคลไป 2 คณะ คือ 1) อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา และ 2)
คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ให้ไปเป็ นอำนาจของสำนักงาน
ศึกษาธิการจังหวัด (ก.ศ.จ) ณ ปั จจุบัน สำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาสงขลา เขต 1 มีความรับผิดชอบอยู่ในพื้นที่ 6 อำเภอ ดังนี ้ 1)
128
อำเภอเมืองสงขลา 2) อำเภอสิงหนคร 3) อำเภอสทิงพระ 4)
อำเภอระโนด 5) อำเภอกระแสสินธุ์ และ 6) อำเภอ นา
หม่อม มีโรงเรียนในสังกัด 137 โรงเรียน มีครูประมาณ 2000 คน มี
นักเรียนประมาณ 18,000 คน สำหรับการจัดการศึกษาได้แบ่งการ
บริหารจัการออกเป็ น 19 ศูนย์เครือข่ายคุณภาพ เพื่อเป็ นการ
กระจายอำนาจจาก ผอ.เขต ไปยังประธานศุนย์เครือข่ายบริหาร
จัดการเพื่อมุ่งเน้นไปยังคุณภาพผู้เรียนเป็ นสำคัญ สำหรับในเขต
พื้นที่การศึกษาเราบริหารกลุ่มงานออกเป็ น 9 กลุ่มกับกับอีก 1
หน่วยงาน แต่ละกลุ่มงานก็ขออนุญาตที่จะยก บอกเล่า แต่ละกลุ่ม
งานร่วมถึงปั ญหาและอุปสรรค ในแต่ละกลุ่มงาน รวมทัง้ นวัตกรรม
ที่ได้เกิดขึน
้ จากการทำงานในแต่ละกลุ่มกลุ่มที่ 1

(1) กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา กลุ่มแรกที่


ถือเป็ นกลุ่มแนวหน้า กลุ่มกองหน้า เรามีศึกษานิเทศก์เป็ นผู้รับผิด
ชอบ ขับเคลื่อนงาน มีธุระการมาช่วยในงานธุระการ ขับเคลื่อนงาน
ไปตามกลุ่มที่รับผิดชอบ ภาระหลัก คือ การรับผิดชอบการลงพื้นที่
ในการสนับสนุนเครือข่าย โรงเรียนให้สามารถจัดการศึกษาให้เป็ น
ไปตามนโยบายของกระทรวงและ สพฐ. ในส่วนของการนิเทศและ
ติดตามก็ใช้หลักการของการนิเทศก์ในสถานการณ์โควิด โดยใช้การ
นิเทศก์แบบ SONGKHLA1 sandbox คือ การใช้ตัวชีว้ ัดที่ต้องรู้เป็ น
ขอบในการทำงาน ส่วนข้างในเป็ นทราย ก็เหมือนกับการที่ให้ครู
และผู้บริหารได้คิด ริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อจะให้งาน การขับเคลื่อนไป

129
ที่บ้าน โดยเป้ าหมายคือ การเปลี่ยนบ้านให้เป็ นห้องเรียน เปลี่ยน
พ่อแม่ให้เป็ นครู คุณครูและผู้บริหาร เป็ นผู้สนับสนุนส่งเสริมให้การ
จัดการศึกษาที่บ้านประสบความสำเร็จ ศึกษานิเทศก์ก็ลงไปกำกับ
ติดตาม แบบออนไลน์บ้างแล้วก็สะท้อนผลเป็ นเอกสารบ้าง ซึ่งการ
จัดการศึกษาในการจัดการศึกษาแบบ SANDBOX ประสบความ
สำเร็จพอสมควร ที่เราเจอโรคระบาด เรามีนักเรียนที่ติดเชื่อโควิด
186 คน คุณครูประมาณ 10 กว่าคน เสียชีวิต 1 คน สำหรับกลุ่มนิ
เทศก์ นวัตกรรมที่ค้นพบอีกอย่าง คือ โคก หนอง นา โมเดล ที่เรา
ได้รับรางวัลในระดับประเทศ ที่อำเภอสิงหนคร โดยมีการจัดทำคู่มือ
เอกสาร รายงานการวิจัย ซึ่งจะมีผม ลงไปดูแลรับผิดชอบเอง และ
อาคารตัง้ อยู่ที่อเภอพะวง แยกออกจากส่วนที่ 1

กลุ่มที่ 2 ซึ่งถือเป็ นเสนาธิการของเขต ก็คือ กลุ่มนโยบายและแผน


มีภาระกิจงานในเรื่องของโครงการ กิจกรรม เรื่องของการจัดทำ
แผนกลยุทธ์ เรื่องของการจัดทำแผนประจำปี เรื่องของการติดตาม
และประเมินผล การจัดการศึกษาของเขตพื้นที่ รวมทัง้ งานข้อมูล
สารสนเทศ ซึ่งปั จจุบันความสำเร็จที่เกิดขึน
้ เราสามารถจัดทำแผน
ระยะยาว 5 ปี และแผนระยะสัน
้ 1 ปี และสามารถใช้งบประมาณ
ได้เป็ นไปตามแผนที่กำหนด ส่วนข้อมูลสารสนเทศ ก็ลงไปบรรจุไว้
ในเว็ปไซต์ของเขตพื้นที่ เพื่อให้สามารถจัดเก็บข้อมูลมาใช้ประโยชน์
ในการบริหารจัดการศึกษา โดยนวัตกรรมที่ค้นพบ คือ การใช้งบ
ประมาณแบบถ่วงดุล มีการตรวจสอบระหว่างกลุ่มการเงินกับแผน

130
เป็ นระยะๆ ทำให้ทราบว่าเงินของสำนักงานเขตพื้นที่ถูกใช้ไปตาม
แผนงานอย่างไร เงินเหลืออย่างไร

กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับงานบุคคล ถึงแม้ว่าเราได้แยกงาน


ส่วนหนึ่งไปเป็ นของ กศจ. แต่ภาระกิจหลักของกลุ่มนีก
้ ็ยังคงทำ
หน้าที่ในส่วนของการบรรจุ แต่งตัง้ โยกย้าย และให้พ้นจากงาน ซึง่
ถือเป็ นหน้าที่ของเขตพื้นที่ที่ต้องจัดการบรรจุครู และบุคลากรใน
เขต ที่ทำหนหน้าที่ให้สอดคล้องกับภาระหน้าที่ 2) ต้องจัดทำข้อมูล
ID plan ของแต่ละคน เพื่อใช้ในการวางแผนในการบริหารงาน
บุคคลรวมทัง้ 3) ให้พ้นจากงาน นัน
้ คือ การเกษียณอายุ การทำ
กพ.7 และอื่นๆ รวมไปถึงการโยกย้าย สับเปลี่ยนอัตรากำลัง
นวัตกรรมที่พบ คือ การทำงานแบบรวดเร็ว ถ้ามายื่นเรื่อง คือก็จะ
เสร็จภายใน 1 วัน 15 นาที ครึ่งขั่วโมง ก็แล้วแต่งาน ใช้หลัก ONE
STOP SERVICE

กลุ่มพัฒนาบุคลากร ก็เป็ นกลุ่มหนึง่ ที่ทำหน้าที่สอดรับกับงานบุคคล


เมื่อบุคลากรถึงระยะที่ต้องปรับปรุงพัฒนา ถึงเวลาก็มีการจัดอบรม
การประกวด เสริมแรง ให้กำลังใจให้โล่ยกย่องเชิดชูเกียรติ ส่งไป
พัฒนา ให้ศึกษาต่อ เป็ นภาระกิจของกลุ่มนี ้ เราพยายามจะให้ครูมี
รางวัล มีการส่งผลงานเข้าประกวด ในช่วงโควิดก็มีคิดรางวัลของ
สำนักงานเขตเอง เช่น รางวัลแสวงหาความรู้ดีเด่นในรอบปี โดยการ
เรียนออนไลน์ พบว่ามีครูเรียนออนไลน์ 880 กว่า 2 ) ก็มีรางวัลคัด
เลือกครูแม่ดีเด่น มีการมอบโล้เชิดชูเกียรติ

131
กลุ่มต่อไปก็มีกลุ่มกฏหมายและคดี ก็เป้ นกลุ่มนึงที่ที่ทำหน้าที่
เกี่ยวข้องกับการสอบสวน เสนอ ลงโทษ พร้อมกับฟั ง และให้ครูได้มี
วินัย รักษาวินัย และการลงโทษ มีบุคลากรที่เป็ นนิติกร ทำงานใน
หน้าที่ 2 คน มีภาระกิจในเรื่องของโรงเรียน ในส่วนของการถูกร้อง
เรียน สอบสวน หรือให้ความรู้ต่างๆ อย่างเป็ นประจำ มีจุดเด่นคือ
ทำเว็ปไซต์ออนไลน์ ให้ครูได้เข้ามาศึกษากฏหมาย ระเบียบใหม่ๆ
อยู่เสมอ ก็ทำหน้าที่เป็ นสื่อกลางที่ทำให้ครูได้รับรู้กฏหมาย มีการ
ช่วยเหลือครูจากการถูกฟเองร้องจากเอกชน ในการขึน
้ สูศ
่ าล ศาล
แพ่ง ศาลอาญา

กลุ่มต่อไป กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับ


กลุ่มนิเทศ เพราะกลุ่มส่งเสริมจะทำเยวกับเรื่องของทุน การ
ประกวด การแข่งขัน ทักาะทางวิชาการ โรงเรียนในโครงการพิเศษ
โรงเรียนรางวัลพระราชทาน โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง โครงกา
รอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาที่ส่งเสริมให้เด็กและครูมีการพัฒนา
ก็ช่วยให้โรงเรียนได้ดำเนินงานในนโยบาย เพิ่มเติ่มในช่วงนี ้ คือ การ
จัดการเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด ทัง้ การรายงานการติด
เชื้อ การเสียชีวิต การมีทุนเยี่ยวยา การติดตามผล ในเรื่องของการ
จัดการศึกษา และมีหน้าที่ในส่วนของลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด
โครงการยาเสพติด และกีฬา เป็ นเรื่องของกิจกรรม

กลุ่มต่อไป กลุ่มอำนวยการก็จะทำหน้าที่เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
ธุระการ และก็ยานพาหนะ อาคารสถานที่ รวมทัง้ เรื่องของบริการ

132
ติดต่อภายนอก ซึง่ เราก็ได้ทำหน้าที่เน้นไปที่งานบริการผู้มาติดต่อ
บริการให้มีความประทับใจ คล่องตัว จุดเด่นของกลุ่มนี ้ คือ เรื่อง
ความสะอาดในอาคาร การจัดบริเวณให้เป็ นสัดส่วน การอำนวย
ความสะดวกแก่ผู้ มาติดต่อ เรื่องสวัสดิการสำนักงาน มีเงิน
สำนักงานอยู่ประมาณ 3 ล้านบาท จะให้บค
ุ ลากรในสำนักงานได้กู้
ยืมในอัตราดอกเบีย
้ ต่ำ เพื่อใช้ประโยชน์ในนามจำเป็ น ถือเป็ นภาระ
กิจของกลุ่มอำนวยการ

กลุ่มการเงินและสินทรัพย์ ซึ่งทำหน้าที่ในเรื่องของการวางแผน การ


เบิกจ่าย การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ หลักฐานการสั่งซื้อ สั่งจ้าง
ของสถานศึกษารวมทัง้ การดำเนินการ ต่างของสถานศึกษา เช่น ค่า
รักษาพยาบาล ค่าเช่าบ้าน ค่าการศึกษาบุตร ของบุคลากรทัง้ เขตก็
จะอยู่ตรงนี ้ นอกจากนี ้ ภาระกิจหลักอีกอย่าง คือ การทำบัญชี ซึ่ง
ต้องดูงบดุลต่างๆ ของเขตพื้นที่การศึการายงานให้ ผอ เขต ทราบ
ทุกวัน นอกจากนัน
้ ก็ทำในเรื่องพัสดุ การจัดเก็บรักษา การทำลาย
นวัตกรรมสิ่งที่ค้นพบ จากการปฏิบัติงาน ก็คือ one stop service
เช่นคุณครูมาเบิกค่ารักษาก็จะได้ไปเลยรายวัน 2) ค่าเช่าบ้านก็
สามารถเบิกจ่ายได้รวดเร็วตามที่ผู้เช่าได้ย่ น
ื เบิกแบบเดือนต่อเดือน

กลุ่มสุดท้ายหน่วยตรวจสอบภายใน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอ
บงประมาณแผ่นดินของเขตพื้นที่การศึกาและสถานศึกษา หน่วน
ตรวจสอบภายใน จะทำหน้าที่ลงไปตรวจสอบการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน
ที่เบิกจ่ายไป เป็ นโครงการ เป็ นปี หรือสุ่มตรวจ ตามการร้องขอของ

133
โรงเรียน จะไปตรวจสอบถ่วงดุล เพื่อให้เกิดการเบิกจ่ายถูกต้องตาม
ระเบียบของราชการ

กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ และการ


สื่อสาร กลุ่ม ICT ทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการสื่อสารให้กับ
โรงเรียน เช่น DLIT DLTV รวมทัง้ การดูแลเรื่องคลื่นความถี่
อินเตอร์เน็ต ของโรงเรียน ของเขตพื้นที่จัดสรรงบประมาณ เพื่อให้
โรงเรียนได้เบิกจ่ายในเรื่องอินเตอร์เน็ต และยังสนับสนุนและส่ง
เสริม ให้ครูได้มีความรู้เรื่องเทคโนดลยี สารสนเทศ อย่างเสมอเช่น
การอบรมการใช้ GOOGLE รูปแบบต่างๆ การอบรมเรื่องสื่อ
มัลติมีเดีย การอบรมการใช้ DLTV เป็ นข้อคิดของกลุ่มนี ้

มีภาระกิจทัง้ สิน
้ 10 กลุ่มงาน แต่ละกลุ่มงานก็จะมี รอง ผอ. เขต
พื้นที่การศึกษาตามโครงสร้าง 3 คน ลงไปกำกับดูแล และจะมีผู้
อำนวยการกลุ่มเป็ นหัวหน้ากลุ่มที่ทำหน้าที่เป็ นผู้บังคับบัญชา
ข้าราชการในกลุ่มนัน
้ ๆ เพื่อให้ปฏิบัติบัติไปตามนโยบายและปฏิบัติ
ไปตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ในสำนักงานเขต เราใช้แผน
ปฏิบัติการประจำปี เป็ นเครื่องมือในการขับเคลื่อนมีการปรับปรุง
แผนเป็ นระยะๆ หลังสุดเราปรับแผนทุก 3 เดือน เพื่อให้เกิดความ
คล่องตัวในการทำงานสามารถจะใช้งบประมาณได้ทันปี งบประมาณ

ในส่วนที่เป็ นปั ญหาอุปสรรคของเขต

134
อย่างที่หนึ่งคือ การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิดเราไม่
สามารถจัดการเรียน ON SITE ได้ เราก็ใช้การจัดกาเรียนการสอน
แบบรูปแบบอื่นๆ ที่สามารถให้เด็กได้เรียน โดยใช้บ้านเป็ น
ห้องเรียน และใช้พ่อแม่เป็ นครู พยายามจัดให้มากที่สุด แต่จากการ
ประเมินก็ไม่ได้ผลตามที่ตงั ้ ไว้ก็ยังมีปัญหาเรื่องเครื่องมือสื่อสารของ
ผู้ปกครอง การสื่อสารระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง หรือระหว่าง
ครูกับเด็ก ก็เป็ นปั ญหาที่ สพป.สงขลา เขต 1 พยายามแก้ต่อไป

ปั ญหาที่ 2 การขาดแคลนบุคลากรในการปฏิบัติงาน เช่น เราขาด


ศึกษานิเทศก์ อีก 8 คน ขาดเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่อีก 7 คนทำให้
คนที่มีอยู่ทำงานหนัก ทำงานแทนตำแหน่งว่างที่มีอยู่ เป็ นส่วนนึงที่
เป้ นการกำหนดให้สอบจากส่วนกลางเราไม่สามารถจัดหาบุคลากร
ได้เอง

ปั ญหาที่ 3 ปั ญหาโรงเรียนที่มีขนาดเล็กลง ลำบากในเรื่องการ


จัดการ ดรงเรียนขนาดกลางก้จะเปลี่ยนแนโรงเรียนขนาดเล็ก
โรงเรียนขนาดใหญ่ก็จะกลายเป็ นขนาดกลาง นักเรียนก็มีจำนวน
ลดลง ทำให้อัตากำลังครูก็จะถูกรับให้ลดลงด้วย ในการปรับอัตรา
กำลังแต่ละครัง้ ก็จะถูกเกลี่ยไปยังเขตพื้นที่อ่ น

ปั ญหาที่ 4 สำนักงานเขตมี 2 ส่วน ทำให้เราต้องบริหารสำนักงาน 2


ที่ ทัง้ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าดำเนินการ ซึ่งไม่เหมือนเขตอื่นที่มีจุดเดียว
ทำให้การประสานงานอื่นๆ คล่องตัว

135
ประเด็นที่ 3 มีแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งเป็ นส่วน
ของการมีปัญหาในเชิงนโยบาย เนื่องจากถ้าเด็กน้อยคุณครูจะให้ไป
น้อย ซึ่งถ้าเด็กต่ำกว่า 120 เราก็จะไม่ให้ ผอ ไป และเมื่อหลังจากนั ้
นก้จะมีการยุบเลิก ก็แก้ปัญหาโดยให้ ผอ โรงเรียนไปด฿แลโรงเรียน
ขนาดเล็ก แต่ว่าการยุบเลิกกอยู่ในแผน 3 ปี แต่ปัญหาโควิดทำให้
การยุบเลิกมันแผ่วไป โรงเรียนเล็กใหญ่ไม่กระทบ แต่ก็คงยุบเลิก
ตามนโยบาย การเกิดน้อย เด็กน้อย ครูน้อย ส่วนที่ 2 ที่เรทำกับคือ
ให้โรงเรียนเปิ ดรับอนุบาล 3 ขวบ นโยบายจัดอาหารเช้าให้โรงเรียน
ขนาดเล็ก โดยขอรับบริจาคอาหารแห้ง จัดเป้ นอาหารเช้าให้กับ
นักเรียน ก็เป็ นส่วนที่ทำให้เด็กเพิ่มขึน

โรงเรียนที่ถูกยุบเลิก ไปเป็ นโรงเรียนสนาม และมีโรงเรียนนึงที่ไป


ปรับใช้ ก็ไปทำเป้ นค่ายลูกเสือ โคกหนองนา ศูนย์กีฬา ก็ถือเป้ นการ
ใช้พ้น
ื ที่ให้เกิดประโยชน์ คิดว่าช่วงโควิดหายคงจะสมบูรณ์

หลักการในการทำงาน

ใช้หลักการบริหารเวลา ปั จจุบันก็เรียนต่อ ป เอก ต้องส่งเค้าโครง ก็


บริหารเวลา ก็ทำธุรกิจส่วนตัว หลักคิดคือ ทุกวันต้องทำงาน ความ
สุขที่ได้ก็ได้จากการทำงาน บรหารเวลาให้เป็ นประโยชน์มากที่สุด
นอกจากนอนแล้ว ก็คิดเรื่องาน ก็พยายามอยู่ในสมองตลอดก็ต้อง
พยายามต้องแบ่งเวลา ก้จะทำให้งานเดินได้ เราไม่เอาอุปสรรคมาเป้
นปั ญหา วันนึงควรทำได้หลายงาน เรียนหนังสือด้วย ทำสวนด้วย

136
บริหารงานด้วยเขียนตำราได้ บนรถก็ฝึกภาษาได้ อย่าทำชีวิตให้เป็ น
แถวตอน อย่าเสร็จอันนีแ
้ ล้วค่อยทำอันนี ้ ถ้าเวลาที่มี 1 ชม เรา
สามารถทำงานได้ร้อยแปดพันเก้า อย่าไปติดเรื่องระบบ บางทีก็ขับ
รถเองได้ บริหารจัดการได้

137

You might also like