You are on page 1of 31

ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว

หน่วยที่ ๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒ เรื่อง การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว รายวิชาภาษาไทย รหัส ท๒๒๑๐๑


ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว หมายถึง การอ่านถ้อยคาที่มีผู้เรียบเรียงหรือประพันธ์ไว้ โดยการเปล่ง
เสียงและวางจังหวะเสียงให้เป็นไปตามความนิยม และเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ผู้ฟัง
ซึ่งจะทาให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ร่วมคล้อยตามไปกับเรื่องราว หรือรสประพันธ์ที่อ่าน
หลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
1. ก่อนอ่านควรศึกษาเรื่องที่อ่านให้เข้าใจ เพื่อแบ่งวรรคตอน
2. อ่านให้คล่อง และเสียงดังพอเหมาะกับสถานที่และจานวนผู้ฟัง
3. อ่านให้คล่องและถูกต้องตามอักขรวิธี โดยเฉพาะ ร ล คาควบกลาต้องออกเสียงให้ชัดเจน
4. เน้ น เสี ย งและถ้อ ยคา ตามน าหนัก ความส าคัญ ของใจความ ใช้เสี ยงและจังหวะให้ เป็น ไปตาม
เนือเรื่อง เช่น ดุ อ้อนวอน จริงจัง ฯลฯ
5. อ่านออกเสียงให้เหมาะสมกับประเภทของเรื่อง เช่น ถ้าอ่านเรื่องที่ให้ข้อเท็จจริงทั่วไป จะอ่าน
ออกเสียงธรรมดาให้ชัดเจน
มารยาทในการอ่านออกเสียง
1. ในระหว่ า งที่ อ่ า น ควรกวาดสายตามองตั ว อั ก ษร สลั บ กั บ การเงยหน้ า ขึ นมาสบตาผู้ ฟั ง
ในลักษณะที่เหมาะสม และดูเป็นธรรมชาติ
2. ถ้ าอ่ านในที่ ป ระชุ ม ต้ อ งยื น ทรงตั ว ในท่ าทางที่ ส ง่า มื อ ที่ จั บ อยู่ ในท่ าทางที่ เหมาะสม ไม่ เกร็ ง
ไม่ยกกระดาษ หรือเอกสารบังหน้า หรือไม่ถือไว้ต่าเกินไปจนต้องก้มลงอ่านจนตัวงอ
3.แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม
บทอ่านร้อยแก้วบทที่ ๑ เรื่อง การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
หน่วยที่ ๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒ เรื่อง การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว รายวิชาภาษาไทย รหัส ท๒๒๑๐๑
ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

จุดประสงค์การเรียนรู้
ฝึกอ่านบทร้อยแก้วได้ถูกต้องตามอักขรวิธี

บทข่าว ภัยแล้ง (ภาคใต้)


อ่างเก็บ น้ าคลองหลา จังหวัดสงขลา เริ่มมีระดับน้าลดลง เป็นสั ญ ญาณเตือนให้ เกษตรกรช่วยกัน
ประหยัดน้า
อ่างเก็บ น้ าคลองหลา เป็ น อ่างเก็บ น้าที่ มีขนาดใหญ่ ที่สุ ดถึง ๒๕ ล้ านลู กบาศก์เมตร แต่ในขณะที่
ปริมาณน้าในอ่างเก็บน้าเหลือเพียง ๑๗ ล้านลูกบาศก์เมตร จึงเกรงกันว่าจะเกิดปัญหาขาดแคลนน้าในช่วงฤดู
แล้งนี จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในพืนที่รับน้าตอนล่าง ซึ่งมีทังงกลุ่มเพื่อเลียงปลา ตะพาบน้า ปลูกผัก และ
สวนไม้ผล ขณะที่น้าบางส่วนต้องปล่อย เพื่อไล่น้าเค็มในคลองอู่ตะเภา และการผลิตน้าประปา ซึ่งทางจังหวัด
ให้ ร ณรงค์ ให้ ป ระชาชนช่ ว ยกั น ประหยั ด น้ าเพื่ อ ให้ ส ามารถมี น้ า ไว้ใช้ ต ลอดฤดู แ ล้ ง นายวัฒ นา แก้ ว ชู ชื่ น
เกษตรกรผู้ เลี ยงปลารายหนึ่ งกล่ าวว่า ในช่ว งฤดูแล้งนี อาจจะปรับเปลี่ยนการเลี ยงสั ตว์ จากเดิมที่เตรียม
จะเลียงกุ้งน้าจืดหรือกุ้งก้ามกราม แต่เพื่อเป็นการประหยัดน้าอาจจะหันไปเลียงปลาดุกแทน

บทรายการข่าวโทรทัศน์ของ สถานีโทรทัศน์ช่อง ๙ อ.ส.ม.ท.


ข่าวภาค ๑๒.๐๐ น. วันจันทร์ที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๒
บทอ่านร้อยแก้วบทที่ ๒ เรื่อง การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
หน่วยที่ ๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒ เรื่อง การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว รายวิชาภาษาไทย รหัส ท๒๒๑๐๑
ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

จุดประสงค์การเรียนรู้
ฝึกอ่านบทร้อยแก้วได้ถูกต้องตามอักขรวิธี

บทอ่าน คนละหน้าที่

“หน้าที่” ความหมายตามพจนานุกรมหมายถึง “กิจที่ต้องทาด้วยความรับผิดชอบ” ทุกคนไม่ว่าชาย


หรือหญิง เด็กหรือผู้ใหญ่ เจ้านายหรือคนใช้ ล้วนมีหน้าที่เฉพาะตน กิจที่ต้องทาแต่ละคนมีทั้งความเหมือนและ
ความไม่เหมือนกันอยู่ ที่เหมือนกันคือการทาหน้าที่ดูแลตนเอง หน้าที่ต่อพ่อแม่ผู้มีพระคุณ และหน้าที่ต่อหลัก
ศาสนาที่ตนเชื่อ หน้าที่ต่อการงานของตน แต่ที่ไม่เหมือนกันคือลักษณะรายละเอียดของงานที่ทา วันนี้ผมขอ
พูดถึงเฉพาะหน้าที่ที่ต้องทาด้วยความรั บผิดชอบต่อตนเองและงานที่ทาแต่ละคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบ
ต่อ ชี วิตตนเอง จริ งอยู่ ชีวิต ในช่ ว งวัย ทารกและวัย เด็ ก เราจะต้ องพึ่ งอาศั ยผู้ อื่ น ช่ ว ยป้ อ นอาหาร ช่ว ยอุ้ ม
ช่วยแต่งตัว ช่วยส่งไปโรงเรียน ช่วยค่าเล่าเรียน ฯลฯ แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป เราค่อยๆ เติบโตทั้งร่างกายและ
จิตใจภายใน ทาให้เรามีศักยภาพใน
การช่วยตนเอง เราจะค่อยๆ เติบ ใหญ่จากวัยเด็กสู่วัยผู้มีวุฒิ ภาวะ หรือเป็นผู้ ใหญ่ ในวันนี้เราจะมี
ความรู้ความสานึกได้และเข้าใจว่าชีวิตของเราๆ จะต้องรับผิดชอบ เราต้องรับผิดชอบในหน้าที่ดูแลชีวิตตนเอง
ถึงวัยต้องคิดแก้ปัญหาต่างๆ ด้ วยตนเอง เลือกคู่ เลือกทางเดินชีวิตด้วยตนเอง และรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเลือก
และตั ด สิ น ใจน่ าเสี ย ดายที่ ห ลายคนโตแต่ ตัว แต่ ความคิ ด ยังไม่ โตเพราะเขายังขาดจิต ส านึ กในหน้ าที่ และ
ความรับ ผิดชอบต่อชีวิตตนเอง เขาไม่มีความมั่นใจในตัวตนและยอมมอบการตัดสินใจเรื่องสาคัญของชีวิ ต
ให้ผู้อื่นเป็นผู้ตัดสินใจให้ ชีวิตขับเคลื่อนโดยกระแสค่านิยมรอบตัว เมื่อชีวิตไม่สมหวัง เขาโทษสังคม โทษบุคคล
รอบข้าง โทษรัฐบาล โทษพ่อแม่ ครูอาจารย์ สอบไม่ได้โทษอาจารย์สอนไม่ดี ชีวิตตกต่าโทษพ่อแม่ให้ฉันเกิดมา
ทาไม ฯลฯ เราต้องระลึกเสมอว่าชีวิตของเราๆ ต้องรับผิ ดชอบ ด้วยการเสริมสร้างและพัฒนาตนเองในทุกทาง
แก้ไขนิสัยตนเองให้เข้ากับผู้อื่นได้ไม่ใช่พยายามแก้ไขผู้อื่นให้ตรงใจเรา ปรับตัวเองให้เข้ากับงาน ไม่โทษงาน
ท าไมไม่ เปลี่ ย นตามใจเรา พ่ อ แม่ มี ห น้ าที่ รั บ ผิ ด ชอบในช่ ว งที่ เราพึ่ งพาตนเองไม่ ได้ ด้ ว ยการเลี้ ย งดู อ บรม
เป็นต้นแบบชีวิต ครูถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์และเป็นแม่พิมพ์ แต่ละคน แต่ละภาคส่วนมีบทบาทและ
หน้ าที่ ถ้าทุกคนมุ่งทาหน้ าที่ความรั บ ผิดชอบของตนและมีน้าใจช่วยเหลือผู้ อื่นจะทาให้ ทั้งตัว เราและผู้ อยู่
รอบข้างเราเติบโตและเจริญไปด้วยกันอะไรที่เป็นความรับผิดชอบของตนอย่าโยนความรับผิ ดชอบนี้ให้ผู้อื่น
เป็นภาระ อย่ายุ่งกับธุระและหน้าที่ของผู้อื่นจนกว่าได้รับการร้องขอ อย่านิ่งดูดายเมื่อเห็นคนอื่นพลาดพลั้ง
ช่วยพยุงเขาให้ลุกขึ้นเดินต่อไปได้
บทความพิเศษ จาก ศจ.ดร.วัรชัย โกแวร์
ใบงำนที่ ๑ เรื่อง การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง หน่วยที่ ๑ แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ที่ ๓
เรื่อง การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง (๑) รำยวิชำ ภาษาไทย รหัส ท๒๒๑๐๒ ภำคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษำที่ ๒

คำชี้แจง นักเรียนขีดเส้นแบ่งจังหวะการอ่านและอ่านกลอนสุภาพที่กาหนดให้ต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

อันชาติใดไร้ศานติสุขสงบ ต้องมัวรบราญรอนหาผ่อนไม่
ณ ชาตินั้นนรชนไม่สนใจ ในศิลปะวิไลละวาดงาม
แต่ชาติใดรุ่งเรืองเมืองสงบ ว่างการรบอริพลอันล้นหลาม
ย่อมจานงศิลปะสง่างาม เพื่ออร่ามเรืองระยับประดับประดา
อันชาติใดไร้ช่างชานาญศิลป์ เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า
ใครใครเห็นไม่เป็นที่จาเริญตา เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย
ศิลปกรรมนาใจให้สร่างโศก ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย
จาเริญตาพาใจให้สบาย อีกร่างกายก็จะพลอยสุขสราญ
แม้ผู้ใดไม่นิยมชมสิ่งงาม เมื่อถึงยามเศร้าอุราน่าสงสาร
เพราะขาดเครื่องระงับดับราคาญ โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจ
เพราะการช่างนี้สาคัญอันวิเศษ ทุกประเทศนานาทั้งน้อยใหญ่
จึงยกย่องศิลปกรรม์นั้นทั่วไป ศรีวิไลวิลาศดีเป็นศรีเมือง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่มา: บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา หนังสือวรรณคดีวิจักษ์ระดับชั้นมัธยมศึก ษาปีที่ ๒
ใบความรู้ที่ ๑ เรื่อง การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง (๑) หน่วยที่ ๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓
เรื่อง การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง (๑) รายวิชา ภาษาไทย รหัส ท๒๒๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาที่ ๒

การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง

การอ่านบทร้อยกรอง อ่านได้ ๒ แบบ


๑. อ่านแบบธรรมดา เป็นการอ่านออกเสียงพูดธรรมดา ไม่มีทานองเหมือนอ่านร้อยแก้ว แต่มีการ
แบ่งจังหวะวรรคตอนให้ถูกต้องตามชนิดของคาประพันธ์
๒. อ่านแบบทานองเสนาะ เป็นการอ่านออกเสียงที่มีทานองอย่างไพเราะ มีเอื้อนเสียง เน้นสัมผัส
แบ่งจังหวะจานวนคา การอ่านตามฉันทลักษณ์บังคับของคาประพันธ์
จุดมุ่งหมายของการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองทานองเสนาะ
การอ่านออกเสียงบทร้อยกรองหรือการอ่านทานองเสนาะ เป็ น การอ่ า นให้ ค นอื่ น ฟั ง ฉะนั้ น
ทานองเสนาะต้องอ่านออกเสียง เสียงทาให้เกิดความรู้สึก ทาให้เห็นความงาม เห็นความไพเราะ เห็ น ภาพพจน์
ผู้ฟังสัมผัสด้วยเสียง จึงจะเข้าถึงรสและความงามของบทร้อยกรองที่เรียกว่า อ่านแล้ ว ฟั ง พริ้ ง เพราะเสนาะโสต
การอ่านทานองเสนาะจึงมุ่งมั่นให้ผู้ฟังเข้าถึงรสและเห็น ความงามของบทร้อยกรอง
ศิ ล ปะการอ่ า นท านองเสนาะ จึ ง ขึ้ น อยู่ กั บ ความสามารถของผู้ อ่ า น และความไพเราะ
ของบทประพันธ์แต่ละประเภท โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ผู้ อ่ า นท านองเสนาะจึ ง ต้ อ งอาศั ย วิ ธี ก ารอ่ า นให้ ไ พเราะ
และต้องหมั่นฝึกฝนการอ่านให้เกิดความชานาญ
(มนตรี ตราโมท ๒๕๒๗ : ๕๐)
หลักการอ่านบทร้อยกรอง
๑. ก่อนอ่ า นให้ แ บ่ ง ค า แบ่ ง วรรคให้ ถู ก ต้ อ งตามหลั ก ค าประพั น ธ์ เ สี ย ก่ อ น โดยต้ อ งระวั ง ในเรื่ อ ง
ความหมายของคาด้วยเพราะคาบางคาอ่านแยกคากันไม่ ได้
เช่น “สร้อยคอขนมยุระ ยูงงาม” (ขน-มยุระ , ขนม-ยุระ)
๒. อ่านออกเสียงทานองธรรมดาให้คล่องก่อน
๓. อ่านให้ชัดเจน โดยเฉพาะออกเสียง ร ล และคาควบกล้าให้ถูกต้อง
๔. อ่านให้เอื้อนสัมผัส เรียกว่า แปรเสียง เพื่อให้เกิดเสียงสัมผัสที่ไพเราะ
๕. ระวัง ๓ ต คือ อย่าให้ตกหล่น อย่าต่อเติม อย่าตู่ตัว
๖. อ่านให้ถูกจังหวะ คาประพันธ์แต่ละประเภท จะมี จั ง หวะแตกต่ า งกั น ต้ อ งอ่ า นให้ ถู ก วรรคตอน
ตามแบบแผนลักษณะของคาประพันธ์
๗. อ่านให้ถูกทานองของคาประพันธ์
๘. ผู้อ่านต้องใส่อารมณ์ตามรสความของบทประพัน ธ์ รสรัก รสโศก ตื่นเต้นขบขัน โกรธ
9. อ่านให้เสียงดัง ไม่ใช่ตะโกน
10. เวลาอ่านอย่าให้เสียงขาดเป็นช่วง ต้องให้เสียงติดต่อกันตลอด
11. เวลาจบให้ทอดเสียงช้า
หลักการอ่านบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภ าพ
กลอนสุภาพ มีลักษณะบังคับดังนี้

คณะ กลอนบทหนึ่งจะมี ๒ บาท ๑ บาทจะมี ๒ วรรค ซึ่งนิยมเรียกว่า ๑ คากลอน ฉะนั้น


กลอน ๑ บท จะมี ๒ คากลอน ตามปกติกลอนแปดจะมีวรรคละ ๘ คา แต่อนุโลมให้มีตั้งแต่ ๖ -๙
คา โดยเรียกวรรคต่างๆ ตามลาดับ ดังนี้
วรรคแรก เรียกว่า วรรคสดับ
วรรคที่สอง เรียกว่า วรรครับ
วรรคที่สาม เรียกว่า วรรครอง
วรรคที่สี่ เรียกว่า วรรคส่ง
สัมผัส กลอนสุภาพมีสัมผัสนอกเป็นสัมผัสบังคั บ คือ คาสุดท้ายของวรรคสดับ สัมผัสกับคาที่
๓ ในวรรครับ คาสุดท้ายของวรรครับส่งสัมผัสไปยังคาสุดท้ายของวรรครอง คาสุดท้ายของวรรคส่งสัมผัสไป
ยังคาที่ ๓ ของวรรคส่ง และคาสุดท้ายของวรรคส่ง ส่งสัมผัสไปยังคาสุดท้ายของวรรครับในบทต่อไป

แผนบังคับของกลอนสุภาพ

วิธีการอ่านทานองเสนาะประเภทกลอนสุภ าพ
๑. การแบ่งวรรคจังหวะในการอ่านของกลอนสุภาพแต่ละวรรค กลอนสุภาพจะแบ่งจังหวะการ
อ่านคาในแต่ละวรรคเป็น ๓ ช่วง ดังนี้ คือ
ถ้าวรรคละ ๖ คา จะแบ่งอ่านเป็น ๒ -๒ -๒
ถ้าวรรคละ ๗ คา จะแบ่งอ่านเป็น ๒ -๒ -๓
ถ้าวรรคละ ๘ คา จะแบ่งอ่านเป็น ๓ -๒ -๓
ถ้าวรรคละ ๙ คา จะแบ่งอ่านเป็น ๓ -๓ –๓

ตัวอย่าง
ถึงบางซื่อ / ชื่อบาง / นี่สุจริต เหมือนชื่อจิต / ที่พี่ตรง / จานงสมร
มิตรจิต / ก็ขอให้ / มิตรใจจร ใจสมร / ขอให้ซื่อ / เหมือนชื่อบาง
(นิราศระบาท ของ สุนทรภู่)
๒. คาที่สัมผัสกันนิยมอ่านเน้นคาเพื่อให้เกิดความไปเราะน่าฟั ง เช่น
ในเพลงปี่ว่าสาม พี่พราหมณ์เอ๋ย ยังไม่เคย เชยชิดพิสมัย
ถึงร้อยรสบุปผา สุมาลัย จะชื่น ใจ เหมือนสตรีไม่มีเลย
(พระอภัยมณี ของ สุนทรภู่)
๓. ต้องอ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธี โดยเฉพาะคาควบกล้า ร , ล, ว
๔. การใส่อารมณ์ ในการอ่านกลอนควรใส่อารมณ์สอดแทรกลงไปในบทที่อ่านเหมาะสมกับเนื้ อเรื่อง
และบรรยากาศโดยอาศัยการตีความตัวบทที่จะอ่านให้ถ่องแท้เ สียก่อน แล้วอ่านถ่ายทอดอารมณ์ออกมาเป็น
ท่วงทานองให้น่าฟัง
๕. การอ่านให้รับสัมผัส เพื่อให้เกิดความไพเราะจากเสียงสั มผัสในวรรค เช่น
ถึงหน้าวังดังหนึ่งใจจะขาด คิดถึงบาทบพิตรอดิศร
คา อดิศร ออกเสียงเป็น อะ - ดิ - สอน เพื่อให้รับกับสัมผัสของคาว่า บพิตร
แล้วปลูกมหาโพธิบนโขดใหญ่ เผอิญให้เตี้ยต่าเพราะกรรมหนา
คา โพธิ ออกเสียงเป็น โพด เพื่อให้รับกับสัมผัสของคาว่า โขด

ตัวอย่างกลอนสุภาพ

“จะว่าโศกโศกอะไรที่ในโลก ไม่เท่าโศกใจหนักเหมือนรักสมร
จะว่าหนักหนักอะไรในดินดอน ถึงสิงขรก็ไม่หนักเหมือนรักกัน
จะว่าเจ็บเจ็บแผลก็แก้หาย ถ้าเจ็บกายชีวาจะอาสัญ
แต่เจ็บแค้นนี่แสนจะเจ็บครัน สุดจะกลั้นสุดจะกลืนฝืนอารมณ์”

(นิราศเดือน ของ นายมี)


ใบงานที่ ๑ เรื่อง การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง หน่วยที่ ๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔
เรื่อง การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง (๒) รายวิชา ภาษาไทย รหัส ท๒๒๑๐๒ ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาที่ ๒

คาชี้แจง นักเรียนอ่านออกเสียงบทร้อยกรองกลอนสุภาพ

อันชาติใดไร้ศานติสุขสงบ ต้องมัวรบราญรอนหาผ่อนไม่
ณ ชาตินั้นนรชนไม่สนใจ ในศิลปะวิไลละวาดงาม
แต่ชาติใดรุ่งเรืองเมืองสงบ ว่างการรบอริพลอันล้นหลาม
ย่อมจานงศิลปาสง่างาม เพื่ออร่ามเรืองระยับประดับประดา
อันชาติใดไร้ช่างชานาญศิลป์ เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า
ใครใครเห็นไม่เป็นที่จาเริญตา เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย
ศิลปกรรมนาใจให้สร่างโศก ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย
จาเริญตาพาใจให้สบาย อีกร่างกายก็จะพลอยสุขสราญ
แม้ผู้ใดไม่นิยมชมสิ่งงาม เมื่อถึงยามเศร้าอุราน่าสงสาร
เพราะขาดเครื่องระงับดับราคาญ โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจ
เพราะการช่างนี้สาคัญอันวิเศษ ทุกประเทศนานาทั้งน้อยใหญ่
จึงยกย่องศิลปกรรม์นั้นทั่วไป ศรีวิไลวิลาศดีเป็นศรีเมือง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่มา: บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา หนังสือวรรณคดีวิจักษ์ระดับชั้นมัธยมศึก ษาปีที่ ๒
ใบความรู้ที่ ๑ เรื่อง การท่องจาบทอาขยาน หน่วยที่ ๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๕
เรื่อง การท่องจาบทอาขยาน รายวิชา ภาษาไทย ๔ รหัส ท๒๒๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาที่ ๒

การท่องจาบทอาขยาน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๕4 ให้นิยามคาว่า "อาขยาน" ไว้ว่า บทท่องจา


การบอกเล่ า การบอก การสวด เรื่ อง นิ ทาน "อาขยาน" อ่านออกเสี ยงได้ ๒ อย่าง คือ อา - ขะ - หยาน
หรือ อา - ขะ -ยาน
กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารมี น โยบายก าหนดให้ มี ก ารท่ อ งอาขยานอย่ า งจริ ง จั ง ในสถาน ศึ ก ษาตั้ ง แต่
ปีการศึกษา ๒๕๔๒ เป็นต้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ของการท่องอาขยาน ดังนี้
๑. เพื่อให้นักเรียนตระหนักในคุณค่าของภาษาไทย และให้ซาบซึ้งในความไพเราะของบทร้อยกรอง
๒. เพื่อเป็นพื้นฐานในการแต่งคาประพันธ์
๓. เพื่อเป็นการสื่อในการถ่ายทอดคุณธรรม คติธรรม และข้อคิดที่เป็นประโยชน์แก่เยาวชน
๔. เพื่อส่งเสริมให้มีจิตสานึกทางวัฒนธรรมของคนในชาติในฐานะ "รากร่วมทางวัฒนธรรม"

ประโยชน์ของการท่องจาอาขยาน
การท่องจาบทอาขานเปรียบเสมือนเป็นบันไดขั้นแรกที่นาไปสู่การคิด เมื่อมีข้อมูลตัวอย่างที่ดีซึ่งเป็น
คลังความรู้ที่เราเก็บ ไว้กับตัว ต้องการใช้เมื่อใดเราก็สามารถนาออกมาใช้ได้ทันที นอกจากนั้นการท่องจา
บทอาขยานยังเป็นพื้นฐานที่นาไปสู่การเลือกจาบทประพั นธ์ที่มีคุณค่าทั้งในเชิงภาษาและเนื้อหาที่เราได้พบ
ในชีวิตประจาวันอีกด้วย
การท่องจาบทอาขยานมีประโยชน์ สรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้เกิดความซาบซึ้งในเรื่องที่อ่าน
2. ฝึกการคิดวิเคราะห์และประเมินค่าเรื่องที่อ่าน
3. เป็นตัวอย่างการใช้ภาษาที่ไพเราะ
4. ช่วยให้มีคติประจาตัว สอนใจให้ได้ระลึกถึงคุณธรรมที่ได้จดจา
5. ช่วยกล่อมเกลาและจรรโลงใจให้มีความประณีตมากขึ้น
6. เป็นตัวอย่างการแต่งคาประพันธ์ตามรูปแบบที่ได้ท่องจา
7. ได้รับความเพลิดเพลิน สนุกสนาน
8. สามารถนาไปใช้อ้างอิงในงานต่าง ๆ ได้

ปรับปรุงมาจาก www.thaigoodview.com
บทอาขยานหลัก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ เรื่องบทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๕ เรื่อง ท่องจาบทอาขยาน
รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ท๒๒๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอนวิศวกรรมาและสามัคคีเสวก
อันชาติใดไร้ศานติสุขสงบ ต้องมัวรบราญรอนหาผ่อนไม่
ณ ชาตินั้นนรชนไม่สนใจ ในกิจศิลปะวิไลละวาดงาม
แต่ชาติใดรุ่งเรืองเมืองสงบ ว่างการรบอริพลอันล้นหลาม
ย่อมจานงศิลปาสง่างาม เพื่ออร่ามเรืองระยับประดับประดา
อันชาติใดไร้ช่างชานาญศิลป์ เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า
ใครใครเห็นไม่เป็นที่จาเริญตา เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย
ศิลปกรรมนาใจให้สร่างโศก ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย
จาเริญตาพาใจให้สบาย อีกร่างกายก็จะพลอยสุขสราญ
แม้ผู้ใดไม่นิยมชมสิ่งงาม เมื่อถึงยามเศร้าอุราน่าสงสาร
เพราะขาดเครื่องระงับดับราคาญ โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจ
เพราะการช่างนี้สาคัญอันวิเศษ ทุกประเทศนานาทั้งน้อยใหญ่
จึงยกย่องศิลปกรรม์นั้นทั่วไป ศรีวิไลวิลาศดีเป็นศรีเมือง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ใบความรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความสาคัญ
หน่วยที่ ๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง การอ่านจับใจความสาคัญ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท๒๒๑๐๑
ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

ใจความสาคัญ
หมายถึง ใจความที่สาคัญ และเด่นที่สุดในย่อหน้า เป็นแก่นของย่อหน้าที่สามารถครอบคลุมเนื้อความ
ในประโยคอื่นๆ
ใจความรอง หรือ พลความ (พน-ละ-ความ)
หมายถึง ใจความ หรือประโยคที่ขยายความประโยคใจความสาคัญ เป็นใจความสนับสนุนใจความ
สาคัญให้ชัดเจนขึ้น อาจเป็นการอธิบายให้รายละเอียด ให้คาจากัดความ ยกตัวอย่าง เปรียบเที ยบ หรือแสดง
เหตุผลอย่างถี่ถ้วน เพื่อสนับสนุนความคิด
การอ่านจับใจความสาคัญ
การอ่านเพื่อค้นหาสาระสาคัญของเรื่องที่อ่าน ที่ผู้เขียนต้องการสื่อ ซึ่งในแต่ละย่อหน้าจะมีประโยค
ใจความสาคัญเพียงประโยคเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน ๒ ประโยค
หลักการจับใจความสาคัญ
๑. ตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านให้ชัดเจน
๒. อ่านเรื่องราวอย่างคร่าวๆ พอเข้าใจ และเก็บใจความสาคัญของแต่ละย่อหน้า
๓. เมื่ออ่านจบให้ตั้งคาถามตนเองว่า เรื่องที่อ่าน มีใคร ทาอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร
๔. นาสิ่งที่สรุปได้มาเรียบเรียงใจความสาคัญใหม่ด้วยสานวนของตนเองเพื่อให้เกิดความสละสลวย
การพิจารณาตาแหน่งใจความสาคัญ ใจความสาคัญของข้อความในแต่ละย่อหน้าจะปรากฏดังนี้
๑. ประโยคใจความสาคัญอยู่ตอนต้นของย่อหน้า
๒. ประโยคใจความสาคัญอยู่ตอนกลางของย่อหน้า
๓. ประโยคใจความสาคัญอยู่ตอนท้ายของย่อหน้า
๔. ประโยคใจความสาคัญอยู่ตอนต้นและตอนท้ายของย่อหน้า
๕. ผู้อ่านสรุปขึ้นเอง จากการอ่านทั้งย่อหน้า
การตั้งคาถามเพื่อหาสาระสาคัญของเรื่อง
การตั้งคาถามทั้งก่อนอ่านและขณะอ่าน ช่วยให้นักเรียนตั้งจุดประสงค์การอ่าน เกิดความเข้าใจเรื่อง
และสรุปสาระสาคัญของเรื่องได้ คาถามได้แก่ “ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ทาไม” การตั้งคาถาม
นักเรียนตั้งได้มากมาย เรื่องยิ่งยาวคาถามก็ตั้งได้มากขึ้น ดังตัวอย่างข้างล่าง แต่ควรคานึงถึงคาถามที่มุ่งถาม
สาระสาคัญของเรื่อง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่องโดยตรงมากกว่าคาถามรายละเอียด ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งอื่น ๆ
ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่องโดยตรง

ตัวอย่าง คาถาม

“ใคร” ๐ เรื่องนี้กล่าวถึง ใคร/อะไร


๐ ใครเป็นบุคคลสาคัญเรื่องนี้
“อะไร” ๐ เรื่องนี้เกี่ยวกับอะไร (ความคิด กระทา เหตุการณ์)
๐ เรื่องนี้ ตัวละคร/บุคคล/สิ่งมีชีวิต ทาอะไร
“ที่ไหน” ๐ เหตุเกิดที่ไหน
“เมื่อไร” ๐ เรื่องเกิดเมื่อไร
๐ เรื่องเกิดเวลาใด
“อย่างไร” ๐ (ตัวละคร) เป็นคนอย่างไร
๐ (ตัวละคร)/(สิ่งที่กล่าวถึง) ทาอย่างไร
“ทาไม” ๐ ทาไม..........จึงเป็นเช่นนี้
๐ เพราะเหตุใด
๐ เพราะอะไร

การเขียนสรุปสาระสาคัญของเรื่อง
ใบงาน เรื่อง การอ่านจับใจความสาคัญ
หน่วยที่ ๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง การอ่านจับใจความสาคัญ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท๒๒๑๐๑
ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

คาชี้แจง : อ่านข้อความ/เรื่อง แล้วตอบคาถามและเขียนสรุปสาระสาคัญ

ตอนที่ 1

ป้อมเด็กดี
เย็นวันอังคารหลังโรงเรียนเลิก ป้อมรีบวิ่งกลับบ้านไปช่วยแม่ทาสวน ขณะวิ่งกลับบ้าน เขาสะดุด
รากไม้ ล้ ม ลง เขานึ ก โมโหรากไม้ นั้ น แต่ ทั น ใดนั้ น ป้ อ มก็ ม องเห็ น กระเป๋ า สตางค์ ใ บหนึ่ ง อยู่ ใ กล้ ๆ รากไม้
เขาเปิดดูเห็นเงินหลายร้อยบาท ขณะเดียวกันป้อมก็เห็นชายคนหนึ่งกาลังมองหาอะไรอยู่ เขาบอกว่ากระเป๋า
เงินหาย ป้อมเดินไปหาอย่างไม่รีรอ พร้ อมส่งกระเป๋าให้ชายคนนั้นแล้วถามว่า “กระเป๋าใบนี้ใช่ไหมครับ ”
ชายคนนั้ น ยิ้ มแล้ ว พูดว่า “ใช่แล้ ว ขอบใจหนูมากนะ หนูเป็นคนดี ฉันจะให้ รางวัล ” แล้ ว เขาก็ห ยิบเงิน
จากกระเป๋าส่งให้ป้อมหนึ่งร้อยบาท ป้อมดีใจกล่าวขอบคุณแล้วรีบกลับไปเล่าให้แม่ฟัง
(เรื่อง : วิภา ตัณฑุลพงษ์)

เรื่องนี้กล่าวถึงใคร…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
เขาทาอะไร……………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………….....
เขาทาที่ไหน………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………...
เขาทาเมื่อไร………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………...
เขาทาอย่างไร……………………………………………………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………….
ผลเป็นอย่างไร……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

สรุปสาระสาคัญ
.............................................................................................................................................................................................................................................................

............................................................................................................................................................................................................................................................
ตอนที่ 2

เต่าทะเล
เต่าทะเลเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนโลกมานานกว่า 150 ล้านปี เต่าทะเลที่พบในไทย ส่วนใหญ่
จะเป็นเต่ามะเฟือง เต่ าหญ้า เต่ากระและเต่าตนุ ตามปกติเต่าทะเลจะวางไข่ราวๆ เดือนตุลาคมถึง
มีนาคม และจะขึ้นมาวางไข่บนชายหาดในเวลากลางคืน ในบริเวณที่ปราศจากการรบกวน แม่เต่าจะ
ขุดหลุมวางไข่คราวละ 75-150 ฟอง และจะเกลี่ยดินกลบไว้อย่างมิดชิดก่อนจะคลานลงทะเล ไข่เต่า
จะใช้เวลาฟักนาน 50-55 วัน เมื่อฟักเป็นตัวลูก เต่าแรกเกิดจะคลานลงทะเล แต่ตัวมันเล็ก ลาตัว
อ่อนนิ่ม ระหว่างทางไปสู่ทะเลมันจะถูกสัตว์อื่นๆ เช่น สุนัข แย้ ตะกวด และปู จับกินเป็นอาหาร ที่
เหลือรอดลงทะเลเพียง 1 % เท่านั้น นั่นเป็นกระบวนการของธรรมชาติ
(นิตยสารหญิงไทย ปีที่ 27 พฤษภาคม 2545 : 65.)

เรื่องนี้กล่าวถึงใคร…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
เขาทาอะไร……………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………….....
เขาทาที่ไหน………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………...
เขาทาเมื่อไร………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………...
เขาทาอย่างไร……………………………………………………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………….
ผลเป็นอย่างไร……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

สรุปสาระสาคัญ
.............................................................................................................................................................................................................................................................

............................................................................................................................................................................................................................................................

ชื่อ....................................................................................................................................................ชั้น ม.๒/................เลขที่........................
ใบความรู้ เรื่อง ตาแหน่งประโยคใจความสาคัญของย่อหน้า
หน่วยที่ ๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง การอ่านจับใจความสาคัญ (3)
รายวิชาภาษาไทย รหัส ท๒๒๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

ย่ อหน้ าเป็ น ข้ อความตอนหนึ่ ง อัน ประกอยด้ว ยใจความส าคั ญอย่างหนึ่ง กั บเนื้ อความ ขยายให้ ชัด เจน
ข้อความหนึ่งย่อหน้าจะกล่าวถึงเรื่องเรื่องเดียวเท่านั้น การฝึกจับใจความสาคัญในแต่ละย่อหน้า จึงเป็นพื้นฐานสาคัญ
ของการจับใจความข้อความยาวๆ ได้เป็นอย่างดี ข้อความหนึ่งย่อหน้าประกอบด้วย
๑. ประโยคใจความสาคัญหรือประโยคหลัก ที่สรุปความคิดของข้อเขียนตอนนั้นไว้ทั้งหมดประโยคทานอง
นี้จะอยู่ส่วนใดของย่อหน้าก็ได้ แต่ที่นิยมมากคือ อยู่ต้นหรือท้ายย่อหน้า อย่างไรก็ตามข้อเขียนบางย่อหน้าอาจไม่มี
ประโยคใจความสาคัญเลยก็ได้ ในกรณีนี้ผู้อ่านจะต้องสรุปใจความสาคัญเอง
๒. ประโยคขยายความ เป็นข้อความขยายสนับสนุนประโยคใจความสาคัญให้ชัดเจนขึ้น
ตัวอย่าง
๑) ใจความสาคัญอยู่ต้นย่อหน้า
ความแตกต่างของมนุษย์และสัตว์อีกประการหนึ่งที่เห็นเด่นชัด คือเรื่องของการใช้ภาษา มนุษย์สามารถ
ถ่ายทอดความรู้ความคิดออกมาเป็นตัวเขียน คือ เป็นภาษาหนังสือสาหรับให้ผู้อื่ นอ่านและเข้าใจตรงตามที่ต้องการ
แต่สัตว์ใช้ได้แต่เสียงเท่านั้นในการสื่อสาร แม้แต่เสียงหลายท่านก็ยังมีความเห็นว่าสัตว์จะทาเสียงเพื่อแสดง
ความรู้สึก เช่น โกรธ หิว เจ็บปวด เท่านั้น เสียงของสัตว์ไม่อาจสื่อความหมายได้ละเอียดลออเท่าภาษาพูดของ
มนุษย์
(จันทร์ศรี นิตยฤกษ์ ๒๕๒๕,๔-๕)
๒) ใจความสาคัญอยู่ท้ายย่อหน้า
ภายในวงงานศิลปะประเภทหนึ่งๆ มีรูปแบบของศิลปะนั้นแยกออกไป จิตรกรรมก็มีการวาดและระบายสีบน
ฝาผนัง วาดเป็ นเส้ น บนกระดาษ วาดและระบายเป็นภาพเล็กเป็นภาพใหญ่เป็นรูปคนรูปภูมิประเทศและอื่นๆ
วรรณคดีก็เข้า ในลักษณะนี้ รูปแบบของวรรณคดีไทยก็มีหลายแบบ ถ้านับวรรณคดีต่างประเทศทั่วโลกก็มีรูปแบบ
เกือบจะนับไม่ถ้วน คุณภาพของวรรณคดีขึ้นอยู่กับรูปแบบจะมีความดีหรือความบกพร่องภายในวงของรูปแบบแต่ละ
รูปแบบ การพิจารณาวรรณคดีจึงเป็นไปตามรูปแบบแต่ละรูปๆ นั้น
(บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ๒๕๑๗,๒)
๓) ใจความสาคัญอยู่กลางย่อหน้า
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า การที่จะเป็นผู้ฟังที่ดีได้นั้นจะต้องมีการฝึกฝนจนเรียนรู้ ฉะนั้นครูจึงเป็นผู้ที่มีโอกาส
ดีกว่าคนอื่นๆ ในการฝึกนิสัยการฟังที่ดีให้แก่เยาวชนที่จะเป็นผู้นาของชาติในอนาคตครูไม่ควรมองข้ามความสาคั ญ
ของการฟังไป ควรระลึกไว้เสมอว่า การฟังมีความสาคัญเท่าๆ กับการพูด การอ่านและการเขียน ถ้าผู้ฟังรู้จักฟัง
แล้วการฟังก็จะมีประโยชน์มาก แต่ถ้าผู้ ฟังไม่รู้จักการฟัง ผู้ฟังก็จะไม่ได้รับผลอะไรเลย แต่ในทางตรงกันข้าม
บางครั้งก็อาจจะมีโทษอันร้ายแรงเกิดขึ้นอีกด้วย
(ฉัตรวรุณ ตันนะรัตน์ ๒๕๑๙,๖๘)
๔) ใจความสาคัญอยู่ต้นและท้ายย่อหน้า
ศิลปวัฒนธรรมในบ้านเมืองเรามักจะสอดคล้องกับการดาเนินชีวิตประจาวัน ตัวอย่างบางคนชอบปลูกไม้
ดอกไม้ผล เมื่อเกิดดอกออกผลก็ชื่นใจ เกิดความคิดที่จะทาดอกผลนั้นให้งดงามน่าดูยิ่งขึ้น จึงมีผู้ นาผลไม้มาประดิษฐ์
ลวดลาย แล้ ว จั ดวางในภาชนะให้มองดูแปลกตาน่ารับประทานลวดลายนั้นเกิดจากการตัด ผ่ า ปอก คว้านและ
แกะสลัก ส่วนไม้ดอกที่ออกดอก ก็นามาผูกมัดเป็นช่อบ้าง เป็นพวงเป็นพู่บ้าง เสียบเป็นพุ่มหรือปักลงในแจกันก็ได้
ตามแต่จะเห็นงาม ชีวิตชาวไทยกับศิลปะความงามจึงแยกกันไม่ออก
(การเตรียมเพื่อการพูดและการเขียน, ฉัตรวรุณ ตันนะรัตน์)
ใบงาน เรื่อง ตาแหน่งประโยคใจความสาคัญของย่อหน้า
หน่วยที่ ๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง การอ่านจับใจความสาคัญ (3)
รายวิชาภาษาไทย รหัส ท๒๒๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

คาชี้แจง: ขีดเส้นใต้ประโยคใจความสาคัญแต่ละย่อหน้า
๑. ดนตรีไทยเป็นสัญญาณบอกถึงการดาเนินกิจกรรมต่างๆ ในพิธีกรรม เช่น ในงานทาบุญเลี้ยงพระ
เมื่อเพลงโหมโรงเช้าดังขึ้น ก็จะทราบกันว่าพระมาถึงแล้ว เวลาพระจะกลับปี่พาทย์ก็บรรเลงเพลง
กราวรา ในการเทศน์มหาชาติ ถ้าเล่นเพลงเซ่นเหล้าก็แสดงว่าจบการเทศน์กัณฑ์ชูชก แต่ละกัณฑ์จะ
มีเพลงประจา เพลงเป็นสิ่งที่บอกให้เจ้าของกัณฑ์ต่อไปได้เตรียมตัวด้วยหรือในงานพระราชพิธี ถ้า
แตรสังข์ดังขึ้นก็แสดงว่าพระเจ้าอยู่หัวเสด็จแล้ว ถ้าจะทรงลุกไปจุดเทียน ปี่พาทย์ก็จะบรรเลงเพลง
สาธุการ ดังนั้นไม่ว่าพิธีกรรมตามขั้นตอนของชีวิต พิธีทางศาสนาหรือพระราชพิธีจะมีดนตรีไทยเป็น
เครื่องบอกลักษณะ หรือขั้นตอนในพิธีเสมอ
(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๒๕๒๓,๗๔)

๒. ในสังคมไทยมีการละเล่นมากมายหลายประเภทให้เด็กๆ ได้เล่นกันเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน
เรามีการละเล่นของเด็กหญิง เช่น อีตัก ขายของ มีการละเล่นของเด็กชาย เช่น ลูกหิน ทอยกอง
มีก ารละเล่ น ที่ เ ล่ น เป็ น กลุ่ ม เช่ น มอญซ่ อ นผ้ า โพงพาง เช้ า ๆ อยู่ ใ นบ้ า นเด็ ก ๆ ก็ เ ล่ น หมากเก็ บ
พอเย็นๆ แดดร่มลมตกก็ออกไปเล่นวิ่งเปี้ยว รีรีข้างสาร ชักคะเย่อ กันบริเวณลานบ้าน การละเล่นนั้น
มีเพลงร้องประกอบ เช่น แม่งู จีจ่อเจี๊ยบ บางชนิดก็ไม่เป็นเพลง เช่น ห่วงยาว ขี่ม้าก้านกล้วย
เด็กๆ ในสังคมไทยจะไม่ ”เหงา" เพราะมีของให้เล่น อยู่คนเดียวก็เล่นได้เช่น ไปเก็บใบไม้มาเล่น
ขายของ ถ้ามีเพื่อนสักคนก็เล่นแมงมุม เล่นจ้าจี้ได้ เล่นเป่ายิงชุ้บได้ ถ้ามีเพื่ อนเล่นหลายคนก็อาจ
ชักชวนกันเล่นลิงชิงหลัก กาฟักไข่หรือวิ่งเปี้ยว
(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๒๕๒๓,๑๙)

๓. หลังจากลิเกบันตนก็เกิดมี ลิเกลูกบท ซึ่งเกิดจากมีผู้คิดนาเอาการแสดงลิเกเข้าไปผสมกับการ


บรรเลงปี่พาทย์ กล่าวคือในการบรรเลงปี่พาทย์แบบหนึ่งนั้น จะเริ่มร้องและบรรเลงเพลงสามชั้น
ก่อนเป็นเพลงแม่บท เมื่อจบแล้วจะหาเพลงสั้นๆ มาบรรเลงต่อท้ายเรียกว่า ลูกบท แล้วจึงออกลูก
หมด เป็นอันว่าจบกระบวนในตอนหนึ่ง ในระหว่างที่ปี่พาทย์บรรเลงเพลงลูกบทซึ่ง มักทาเป็นเพลง
ภาษาต่างๆ มีผู้คิดปล่อยผู้แสดงซึ่งแต่งตัวเป็นทานองเดียวกับลิเกออกภาษามาแสดงประกอบแต่ใช้
ปี่พาทย์รับแทนลูกคู่ที่ตีกลองรามะนาในลิเกบันตน เมื่อหมดชุดผู้แสดงก็เข้าฉากไป ปี่พาทย์
จะบรรเลงเพลงแม่บทต่อไปใหม่ และเมื่อถึงเพลงลูกบทเป็นภาษาใดก็ปล่อยตัวแสดงออกมาอีก
(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๒๕๒๓, ๑๓๔)
๔. ร้อนจัดหรือเย็นจัดเป็นสิ่งขัดขวางในการรู้รสอย่างมาก ถ้ามิตรไม่เคยกินอาหารร้อนจัดก็แสดงว่า
มิตรไม่เคยรู้รสอาหารทุกรสในทานองเดียวกัน ถ้าเราเอาก้อนน้าแข็งวางบนลิ้น ตอนแรกจะรู้สึกเย็น
แต่ลิ้นไม่รู้รสจนกว่าจะได้รับความอบอุ่น นั่นคือลิ้นจะรู้รสต่อเมื่อน้าแข็งที่ใส่บนลิ้นละลาย
(วิริยะ สิริสิงห ๒๕๒๕, ๘๔)

๕. เห็นชื่อของโรคที่ทาให้ตายแล้วคงมีหลายคนไม่รู้จักโรคนี้ แม้พวกหมอเองก็เถอะ น้อยคนที่จะเคย


ได้ยินชื่อของโรคนี้ แต่คนที่เคยบวชเคยเรียนมาแล้วก็คงจะพอรู้จักกันบ้าง อีตอนที่กระทาพิธี
ขอบวชนั้น เมื่อเวลาที่องค์อุปัชฌาย์ถามว่า "อปมาโร" นาคก็จะต้องตอบว่า "นัตถิ ภันเต" อันว่า
"อปมาโรค" นี้แปลว่า "ลมบ้าหมู"
(เสนอ อินทรสุขศรี ๒๕๑๔,๘๔)
ใบความรู้ เรื่อง ตาแหน่งประโยคใจความสาคัญของย่อหน้า
หน่วยที่ ๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง การอ่านจับใจความสาคัญ (3)
รายวิชาภาษาไทย รหัส ท๒๒๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

ย่ อหน้ าเป็ น ข้ อความตอนหนึ่ ง อัน ประกอยด้ว ยใจความส าคั ญอย่างหนึ่ง กั บเนื้ อความ ขยายให้ ชัด เจน
ข้อความหนึ่งย่อหน้าจะกล่าวถึงเรื่องเรื่องเดียวเท่านั้น การฝึกจับใจความสาคัญในแต่ละย่อหน้า จึงเป็นพื้นฐานสาคัญ
ของการจับใจความข้อความยาวๆ ได้เป็นอย่างดี ข้อความหนึ่งย่อหน้าประกอบด้วย
๑. ประโยคใจความสาคัญหรือประโยคหลัก ที่สรุปความคิดของข้อเขียนตอนนั้นไว้ทั้งหมดประโยคทานอง
นี้จะอยู่ส่วนใดของย่อหน้าก็ได้ แต่ที่นิยมมากคือ อยู่ต้นหรือท้ายย่อหน้า อย่างไรก็ตามข้อเขียนบางย่อหน้าอาจไม่มี
ประโยคใจความสาคัญเลยก็ได้ ในกรณีนี้ผู้อ่านจะต้องสรุปใจความสาคัญเอง
๒. ประโยคขยายความ เป็นข้อความขยายสนับสนุนประโยคใจความสาคัญให้ชัดเจนขึ้น
ตัวอย่าง
๑) ใจความสาคัญอยู่ต้นย่อหน้า
ความแตกต่างของมนุษย์และสัตว์อีกประการหนึ่งที่เห็นเด่นชัด คือเรื่องของการใช้ภาษา มนุษย์สามารถ
ถ่ายทอดความรู้ความคิดออกมาเป็นตัวเขียน คือ เป็นภาษาหนังสือสาหรับให้ผู้อื่ นอ่านและเข้าใจตรงตามที่ต้องการ
แต่สัตว์ใช้ได้แต่เสียงเท่านั้นในการสื่อสาร แม้แต่เสียงหลายท่านก็ยังมีความเห็นว่าสัตว์จะทาเสียงเพื่อแสดง
ความรู้สึก เช่น โกรธ หิว เจ็บปวด เท่านั้น เสียงของสัตว์ไม่อาจสื่อความหมายได้ละเอียดลออเท่าภาษาพูดของ
มนุษย์
(จันทร์ศรี นิตยฤกษ์ ๒๕๒๕,๔-๕)
๒) ใจความสาคัญอยู่ท้ายย่อหน้า
ภายในวงงานศิลปะประเภทหนึ่งๆ มีรูปแบบของศิลปะนั้นแยกออกไป จิตรกรรมก็มีการวาดและระบายสีบน
ฝาผนัง วาดเป็ นเส้ น บนกระดาษ วาดและระบายเป็นภาพเล็กเป็นภาพใหญ่เป็นรูปคนรูปภูมิประเทศและอื่นๆ
วรรณคดีก็เข้า ในลักษณะนี้ รูปแบบของวรรณคดีไทยก็มีหลายแบบ ถ้านับวรรณคดีต่างประเทศทั่วโลกก็มีรูปแบบ
เกือบจะนับไม่ถ้วน คุณภาพของวรรณคดีขึ้นอยู่กับรูปแบบจะมีความดีหรือความบกพร่องภายในวงของรูปแบบแต่ละ
รูปแบบ การพิจารณาวรรณคดีจึงเป็นไปตามรูปแบบแต่ละรูปๆ นั้น
(บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ๒๕๑๗,๒)
๓) ใจความสาคัญอยู่กลางย่อหน้า
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า การที่จะเป็นผู้ฟังที่ดีได้นั้นจะต้องมีการฝึกฝนจนเรียนรู้ ฉะนั้นครูจึงเป็นผู้ที่มีโอกาส
ดีกว่าคนอื่นๆ ในการฝึกนิสัยการฟังที่ดีให้แก่เยาวชนที่จะเป็นผู้นาของชาติในอนาคตครูไม่ควรมองข้ามความสาคั ญ
ของการฟังไป ควรระลึกไว้เสมอว่า การฟังมีความสาคัญเท่าๆ กับการพูด การอ่านและการเขียน ถ้าผู้ฟังรู้จักฟัง
แล้วการฟังก็จะมีประโยชน์มาก แต่ถ้าผู้ ฟังไม่รู้จักการฟัง ผู้ฟังก็จะไม่ได้รับผลอะไรเลย แต่ในทางตรงกันข้าม
บางครั้งก็อาจจะมีโทษอันร้ายแรงเกิดขึ้นอีกด้วย
(ฉัตรวรุณ ตันนะรัตน์ ๒๕๑๙,๖๘)
๔) ใจความสาคัญอยู่ต้นและท้ายย่อหน้า
ศิลปวัฒนธรรมในบ้านเมืองเรามักจะสอดคล้องกับการดาเนินชีวิตประจาวัน ตัวอย่างบางคนชอบปลูกไม้
ดอกไม้ผล เมื่อเกิดดอกออกผลก็ชื่นใจ เกิดความคิดที่จะทาดอกผลนั้นให้งดงามน่าดูยิ่งขึ้น จึงมีผู้ นาผลไม้มาประดิษฐ์
ลวดลาย แล้ ว จั ดวางในภาชนะให้มองดูแปลกตาน่ารับประทานลวดลายนั้นเกิดจากการตัด ผ่ า ปอก คว้านและ
แกะสลัก ส่วนไม้ดอกที่ออกดอก ก็นามาผูกมัดเป็นช่อบ้าง เป็นพวงเป็นพู่บ้าง เสียบเป็นพุ่มหรือปักลงในแจกันก็ได้
ตามแต่จะเห็นงาม ชีวิตชาวไทยกับศิลปะความงามจึงแยกกันไม่ออก
(การเตรียมเพื่อการพูดและการเขียน, ฉัตรวรุณ ตันนะรัตน์)
แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสาคัญ
หน่วยที่ ๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๘ เรื่อง การอ่านจับใจความสาคัญ (๓)
รายวิชาภาษาไทย รหัส ท๒๒๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

ตอนที่ ๑ คาสั่ง จากข้อความต่อไปนี้ ให้นักเรียนแยกประโยคที่เป็นใจความสาคัญของเรื่อง

๑. ชีวิตของคนเมืองหลวงในปัจจุบัน มีแต่ความเคร่งเครียดและเร่งรีบในการปฏิบัติภารกิจ ต่าง ๆ ใน


ชีวิตประจาวัน ทาให้บางครั้งรับประทานอาหารไม่เป็นเวลาหรือไม่ได้รับประทานอาหาร ตรงตามมื้ออาหาร
บางคนต้องงดเว้นอาหารบางมื้อไปก็มี ปัญหาเหล่านี้ทาให้ร่างกายไม่ได้รับ พลังงานและสารอาหารที่ต้องการ
อย่างเพียงพอในแต่ละวัน อันมีผลกระทบต่อสุขภาพทาให้ ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เกิดภาวะติดเชื้อโรคได้
ง่าย และเกิดเจ็บป่วยการรับประทานอาหารไม่ครบ ทุกมื้อนับว่ามีโทษต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

ใจความสาคัญ......................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................

๒. อาหารมื้อหลักที่ไม่ควรงดก็คือ อาหารมือเช้า เนื่ องจากตอนเช้าเป็นการเริ่มต้นทากิจกรรมต่าง ๆ ใน


ชีวิต อาหารมื้อเช้าจะทาให้ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารอย่างเพียงพอ สามารถปฏิบัติงานในแต่ละวัน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ระยะเวลาระหว่างมื้อเย็นกับมื้อ เช้าห่างกันถึง ๑๒ ชั่วโมง อาหารที่ได้รับ
ประทานตั้งแต่ตอนเย็นจะถูกเผาผลาญเป็นพลังงานจน หมดสิ้น ระดับน้าตาลในเลือดก็ลดต่ างลงจึงทาให้
ร่างกายต้องการอาหารเพื่อสร้างพลังงานใหม่

ใจความสาคัญ......................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................
๓. สาเหตุสาคัญที่ทาให้หลายคนไม่รับประทานอาหารเช้ามี ๒ ประการ คือประการแรก ไม่รับประทาน
อาหารเช้าเพราะไม่มีเวลาพอ นอนตื่ นสาย ต้องรีบไปโรงเรียนหรือไปทางานจึงไม่ สะดวกและไม่พร้อมในการ
เตรียมอาหารเช้า วิธีแก้ปัญหานี้คือ การท าอาหารที่ง่าย ๆ สะดวก รวดเร็วไม่ต้องพิถีพิถันมากนัก เช่น ข้าวไข่
เจียว ไข่ต้ม แซนวิช ฯลฯ ประการที่สอง ไม่ รับประทานอาหารเช้ าเพราะกลัวอ้วนหรือต้องการลดน้าหนัก
วิธีแก้ปัญหานี้ไม่ใช่การงดอาหารมื้อใด มื้อหนึ่ง แต่ควรรับประทานอาหารให้ครบทุกมื้อโดยการควบคุมอาหาร
และให้ได้สารอาหารถูกต้อง ตามหลักโภชนาการ

ใจความสาคัญ......................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................

๔. ผลการวิจั ย พบว่า การรั บ ประทานอาหารเช้าท าให้ ก ารทางานภายในร่างกายเป็ นไปอย่าง มี


ประสิทธิภาพเพราะร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอและมีระดับน้าตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ

ใจความสาคัญ......................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................
ตอนที่ ๒ คาสั่ง จงขีดเส้นใต้ประโยคใจความสาคัญจากข้อความที่กาหนดให้

๑. ศิลปะแห่งการฟังนั้นไม่ได้หมายถึงการนั่งปล่อยให้ผู้อื่นพูดฝ่ ายเดียว การท าเช่นนั้นง่ายเกิน กว่าที่จะ


นับว่าเป็นศิลปะ ศิลปะการฟังจึงหมายถึงความสามารถที่จะชักจูงผู้พูดให้หันเข้ามาหาเรื่องที่ เขาถนัด คือแสดง
ให้เห็นว่าตนกาลังฟังคาพูดของเขาด้วยความตั้งใจ

๒. ประเทศที่พัฒนาแล้วต่างตระหนักกันดีว่า การศึกษานั้นเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ ที่ยอด


เยี่ยมที่สุด การเร่งรัดพัฒนาทางวัตถุใด, จักล้มเหลวสิ้น หากประชาชนยังด้อยการศึกษา

๓. วั ด กั บ คนไทยมี ค วามเกี่ ย วพั น กั น อย่ า งลึ ก ซึ้ ง ตลอดมา ในสมั ย ก่ อ นวั ด เป็ น ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งใน
ชีวิตประจาวัน เป็นโรงเรียนอบรมสั่งสอนเด็ก เป็นศาลไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งของผู้ใหญ่

๔. ความสมบูรณ์ของชีวิตมาจากความเข้าใจชีวิตเป็นพื้นฐาน คือเข้าใจธรรมชาติ เข้าใจความ เป็นมนุษย์


และความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติ มีความรัก ความเมตตาต่อ
เพื่อนมนุษย์และธรรมชาติอย่างจริงใจ

๕. ความเครียดทาให้เพิ่มฮอร์โมนอะดรีนาลีนในเลือด ทาให้หัวใจเต้นเร็ว เส้นเลือดบีบตัว กล้ามเนื้อเขม็ง


ตึง ระบบย่อยอาหารผิดปกติและเกิดอาการปวดหัว ปวดท้อง ใจสั่น แข้งขา อ่อนแรง ความเครียดจึงเป็น
ตัวการที่เร่งให้แก่เร็ว

๖. สารอาหารในข้าวกล้องจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยปูองกันโรคอ้วน ข้าวกล้องมี สาร เส้นใย


มากกว่าข้าวขาว ๘ เท่า ข้าวกล้องจะช่วยดูดซับไขมันและน้าตาลในอาหาร แล้วขับออกมาเป็น กากอาหาร ทา
ให้ไขมันและน้าตาลซึมเข้ากระแสเลือดน้อยลง

๗. ปลาทูจากจังหวัดสมุทรสงครามหรือแม่กลองกินอร่อยกว่าปลาทูน่านน้าอื่น เพราะนวลดิน และระบบ


น้า บริเวณก้นอ่าวไทยแถบจังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงครามโดยเฉพาะบริเวณปากน้าและก้นอ่าวแม่กลอง
จะเป็นดินเลนร่วนซุยซึ่งมีนวลดินที่ทาให้ปลาทูอร่อย

๘. คนโบราณท่านแบ่งการปกครองในบ้านไว้ดังนี้คือ สามีเป็นใหญ่นอกบ้าน ซึ่งหมายความว่า สามีเป็นผู้มี


ภาระหน้าที่ทางานภายนอกบ้านเป็นงานอาชีพหาเงินเลี้ยงครอบครัว ส่วนภริยาเป็นใหญ่ในบ้าน ซึ่งหมายความ
ถึงผู้รับผิดชอบในการปกครองดูแลกิจการในบ้านซึ่งเป็นพวกการบ้านงานครัว นั่นเองหรือ “ สามีเป็นผู้หา
ภริยาเป็นผู้เก็บ ( เงิน )” การแบ่งหน้าที่ของสามีและภริยากันเช่นนี้ทาให้ คนแต่ก่อนอยู่ด้วยกันอย่างสันติสุข
ใบงาน เรื่อง การอ่านสรุปความ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๙
เรื่อง การอ่านสรุปความ รายวิชา ภาษาไทย รหัส ท๒๒๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาที่ ๒

คาชี้แจง นักเรียนอ่านบทความแล้วเขียนสรุปความโดยเรียบเรียงใจความให้สละสลวย ลายมืออ่านง่าย


สวยงาม

เรื่อง ประดับเมืองเหลืองอร่ามวันเฉลิมฯ

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อม


งานวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในวันที่ ๒๘ ก.ค.
๖๑ โดยกล่าวว่า กทม. ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์ท้องสนามหลวงและรอบเกาะรัตนโกสินทร์เพื่อเตรียมงานวันเฉลิม
พระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร โดยพื้นที่ท้องสนามหลวงนั้น
กทม. ด้าเนินการปรับปรุงพื้นที่และปรับระดับพื้นดินงานวางระบบระบายน้้าใต้พื้นท้องสนามหลวง.........

(ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันอังคารที่ 17 กรกฎาคม 2561 หน้า 14)

วิธีสรุปความ
ใคร
………………………………………………………………………………………………………………………
ท้าอะไร
………………………………………………………………………………………………………………………
เมื่อไร
………………………………………………………………………………………………………………………
อย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………
สรุปความได้ ดังนี้
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ใบความรู้ เรื่อง การอ่านสรุปความ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๙
เรื่อง การอ่านสรุปความ รายวิชา ภาษาไทย รหัส ท๒๒๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาที่ ๒

การอ่านสรุปความ
การสรุปความ หมายถึง การรวบรวมนาใจความสาคัญของเรื่อง มาเรียบเรียงใหม่แบบสั้นๆ โดยใช้
สานวนภาษาของตนเองโดยคลอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด สรุปข้อความที่อ่านให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของเนื้อเรื่องที่
ทาให้ผู้อ่านเข้าใจ

วิธีการอ่านสรุปความ
๑. อ่านรอบแรกดูชื่อเรื่องก่อน แล้วอ่านโดยมีคาถามในใจว่า ใคร ทาอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ผล
เป็นอย่างไร ข้อความใดสาคัญให้ขีดเส้นใต้ไว้
๒. อ่านอีกครั้งดูรายละเอียดของเนื้อหา
๓. สามารถอ่านเพิ่มได้จนกว่าจะเข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น
๔. ให้สรุปใจความสาคัญเพียงใจความเดียวของแต่ละย่อหน้าไว้
๔. นาใจความสาคัญที่รวบรวมไว้มาเขียนเรียบเรียงใหม่อย่างละเอียดและสละสลวยโดยใช้สานวนของ
ตนเอง
๕. ทบทวนการสรุปความอีกครั้งเพื่อพิจารณาหาส่วนที่ต้องแก้ไขหรือต้องการเพิ่มเติม

หลักการสรุปความจากเรื่องที่อ่าน
๑. อ่านเนื้อเรื่องที่จะสรุปความโดยให้ความสาคัญกับชื่อเรื่อง ควรใช้เทคนิคการตั้งคาถาม เช่น ใคร
ทาอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ผลเป็นอย่างไร หลังจากที่อ่านจบแล้ว
๒.หาใจความสาคัญของแต่ละย่อหน้า
๓.นาใจความสาคัญที่ได้มาเรียบเรียงให้ต่อเนื่องกัน โดยควรรักษาเนื้อความเดิมของแต่ละย่อหน้าไว้
แต่อาศัยการใช้คาเชื่อมเพื่อความสละสลวย และต่อเนื่องสัมพันธ์กัน
๔. อ่านทบทวนและแก้ไขหากพบว่าเนื้อความยังไม่มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน หากพบใจความซ้าซ้อน
ควรตัดออก
๕.การสรุปความสามารถนาเสนอได้ทั้งในรูปแบบของการเขียนและการพูด
ตัวอย่างการสรุปความ
เรื่อง ลดอ้วน (ได้) โดยไม่พึ่งยา

ยุ คปั จ จุ บั น มีผ ลิ ตภั ณฑ์อาหารเสริ ม ยาลดความอ้ว น ที่ โ ฆษณาเกิ นจริ ง ว่ากิน แล้ ว ทาให้ หุ่ น ดี
น้าหนักลด ซึ่งทาให้ประชาชนบางคนหลงเชื่อแบบผิดๆ จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมา
ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว การลดน้าหนักเพื่อแก้ปัญหาโรคอ้วนที่ดีที่สุด ควรเน้นวิธีการทางธรรมชาติซึ่งเป็น
วิธีที่เหมาะสมกับทุกคน คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินด้วยการควบคุมปริมาณและชนิดของอาหาร
ควบคู่กับการออกกาลังกาย
(ที่มา: นิตยสารกุลสตรี ฉบับที่ ๑๑๑๘ ปีที่ ๔๘ มิถุนายน ๒๕๖๑ หน้า ๑๔ )
วิธีสรุปความ
ใคร ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
ทาอะไร ยาลดความอ้วน
เมื่อไร ยุคปัจจุบัน
อย่างไร โฆษณาเกินจริง
ผลเป็นอย่างไร ประชาชนบางคนหลงเชื่อแบบผิดๆ
สรุปความได้ ดังนี้
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมยาลดความอ้วน ในยุคปัจจุบันได้โฆษณาเกินจริง ทาให้ประชาชนบางคนหลงเชื่อ
แบบผิดๆ
ใบงาน เรื่อง การเขียนสรุปความ
หน่วยที่ ๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10 เรื่อง การเขียนสรุปความ
รายวิชาภาษาไทย รหัส ท๒๒๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

ตอนที่ 1 อ่านเรื่องแล้วตั้งคาถาม และเขียนคาตอบ “ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร ทาไม อย่างไร” ลงในมือ
นักสรุปความและสรุปความเรื่องที่อ่าน

เรื่องบ้านโป่ง’ราลึก 52 ปีพระบารมีปกเกล้า
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 13 กันยายน 2549 ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ เทศบาลเมือง
บ้านโป่ง จ. ราชบุรี นายธนน เวชกรกานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานเปิดงาน
“52 ปี พระบารมีปกเกล้าชาวบ้านโป่ง”
นายธนน เปิดเผยว่า อ. บ้านโป่ง เป็นอาเภอใหญ่และเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมด้านอู่
ต่อรถยนต์ประดับยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาสวยงามป้อนตลาดทั้ง
ในและต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นเมืองประวัติศาสตร์ “ครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2497
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดาเนินเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อเยี่ยมเยียน
ราษฎร อ.บ้านโป่ง ผู้ประสบภัยพิบัติจากเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ นับเป็น
พระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อประชาชนชาวบ้านโป่งอย่างมาก ในการนี้ทางภาคราชการประชาชนจึง
ร่วมกันจัดงานขึ้นดังกล่าว”
(หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 14 กันยายน 2549)
ที่ไหน
อะไร

อย่างไร
……………………………………………………..
……………………………………………………….
………………………………………………………………..

สรุปความ………………………………………………….
…………………………………………………………..……
……………………………………………………………….
………………………………………………………………………
ตอนที่ 2 สรุปความโดยบอกความหมายของถ้อยคา สานวน และเจตนาของผู้ส่งสารได้

คาชี้แจง
ให้นักเรียนอ่านคาประพันธ์ต่อไปนี้แล้วสรุปความ

ชุดที่ 1

เพ็ญพระจันทร์นั้นสว่างแต่ข้างขึ้น
กระต่ายมึนเมาเพ็ญจนเป็นบ้า
อันทรามวัยใสสุกทุกเวลา
น้าใจข้าเมามืนทั้งขึ้นแรม

(นิทานเวตาล)
เขียนสรุปความ...................................................................................................................................
............................................................................................................................................................

ชุดที่ 2

“ผมมีน้าผึ้งในปาก แต่ไม่มีมีดในหัวใจ

(รงค์ วงษ์สวรรค์)

เขียนสรุปความ...................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
ใบความรู้ เรื่อง การเขียนสรุปความ
หน่วยที่ ๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๗ เรื่อง การอ่านจับใจความสาคัญ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท๒๒๑๐๑
ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

การสรุปความ
การฝึ กอ่านแล้วเขียนสรุปความช่ว ยให้ผู้ อ่านมีความเข้าใจในการอ่านยิ่งขึ้น การสรุปความเป็น
การแยกแยะเนื้อหาที่อ่านออกเป็นสาระสาคัญ และรายละเอียดของเรื่อง แล้วพิจารณาเฉพาะสาระสาคัญ
นามาพูดหรือเขียนเป็นข้อความสั้นๆ ที่สามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ

วิธีการเขียนสรุปความ มีขั้นตอนการเขียนสรุปความดังนี้
1) ขั้นอ่าน อ่านข้อความหรือเรื่องราวให้ตลอดเรื่อง
2) ขั้นคิด ตั้งคาถามสั้นๆ เพื่อทดสอบความเข้าใจ โดยตั้งคาถามกับตัวเองเกี่ยวกับจุดสาคัญของเรื่อง
ได้แก่
 เรื่องอะไร ใครเป็นผู้เขียน มีความว่าอย่างไร
 ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทาไม
 สาระสาคัญของเรื่องจะสัมพันธ์กับหัวข้อเรื่องมากที่สุด ส่วนรายละเอียดจะ
สัมพันธ์กับสาระสาคัญอีกต่อหนึ่ง คาถามที่จะตั้งจึงควรถามหาสาระสาคัญ ซึ่งเป็นจุดสาคัญ
ของเรื่อง
3) ขั้นเขียน เรียบเรียงสาระสาคัญของเรื่องมาสรุปความโดย
 นาสาระสาคัญที่จดบันทึกไว้แต่ละตอนมาเรียบเรียงใหม่
 เขียนด้วยสานวนของตนเอง ใช้ภาษาให้ถูกต้อง กระชับ
 คาสรรพนามที่ใช้ให้เปลี่ยนเป็นบุรุษที่ 3
 คาที่ยากและยาวในเรื่องเดิมควรเปลี่ยนใช้คาธรรมดาที่ทุกคนเข้าใจง่าย
 ประโยคสั้นๆ ทุกประโยคต้องเชื่อมโยงกัน โดยอาจใช้บุพบท สันธาน หรือวลีมาเชื่อม
4) ขั้นตรวจ สอบการเขียนสรุปความเมื่อเขียนเสร็จแล้วควรทบทวน ดังนี้
 มีสารสนเทศสาคัญครบถ้วน โดยเปรียบเทียบกับเรื่องเดิม
 ใช้ประโยคสมบูรณ์หรือไม่ มีรายละเอียดของเรื่องความติดมาบ้างหรือไม่
 มีข้อความใดที่ผิดเพี้ยนไปจากเรื่องเดิมบ้าง
 ประโยคต่างๆ เชื่อมโยงด้วยถ้อยคาที่เหมาะสม
 หลักภาษา และการสะกดคาถูกต้อง
ใบความรู้ เรื่อง การอ่านวิเคราะห์และประเมินค่างานประพันธ์
หน่วยที่ ๑ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องอ่านวิเคราะห์และประเมินค่าวรรณกรรม
รายวิชาภาษาไทย รหัส ท๒๒๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

การอ่ านวิ เคราะห์ เ ป็ น กระบวนการที่ ดาเนิน ต่อ เนื่อ งภายในสมองมนุ ษย์ โ ดยอาศัย ความรู้ ท างภาษา
ประสบการณ์ตลอดจนวิจารณญาณของผู้อ่าน เป็นการอ่านที่ต้องใช้สติปัญญาสูงกว่าการอ่านจับใจความ คือ
ต้องอ่านอย่างพิจารณา ไตร่ตรองแยกแยะหาเหตุผล เพื่อให้เข้าใจเจตนาของผู้เขียน และเข้าใจเนื้ อเรื่อง
อันจะส่งผลให้เป็นผู้ได้รับความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง มีเหตุผล และสามารถนาประโยชน์จากการอ่านไปใช้ใน
การดาเนินชีวิตได้
ประเมินค่า คือ การประเมินค่าเป็นการตัดสินความถูกต้องเที่ยงตรงและคุณค่าของเรื่องที่อ่านว่าถูกต้อง
ชัดเจนหรือไม่ เชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด มีคุณค่าหรือไม่ อย่างไร โดยพิจารณา เนื้อหา วิธีการนาเสนอ และการใช้
ภาษา การประเมินค่า จึงต้องทาอย่างผู้มีสติปัญญา คือจะต้องมีข้อมูล หลักเกณฑ์ และเหตุผล การประเมินค่า
อาจพิจารณาตามประเภท
การวิเคราะห์งานประพันธ์แบ่งเป็นขั้นตอน ดังนี้
1. ดูรูปแบบงานประพันธ์นั้นว่าเป็นงานประเภทใด
2. แยกเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ ให้เห็นว่า ใครทาอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร
3. แยกพิจารณาแต่ละส่วนให้ละเอียดว่าประกอบกันอย่างไร หรือประกอบด้วยอะไรบ้าง
4. พิจารณาว่าผู้เขียนใช้กลวิธีอย่างไรในการนาเสนอเรื่อง
เกณฑ์ในการเลือกวรรณกรรม
1. การเลือกวรรณกรรมที่มีเนื้อหาสาระตรงกับความสนใจและความต้องการ ผู้อ่านจะต้องถามตัวเอง
ว่าต้องการอ่านอะไร อ่านทาไม หรืออ่านเพื่ออะไร
2. การเลือกวรรณกรรมที่ดีที่มีคุณค่า ควรคานึงถึงหัวข้อต่อไปนี้
2.1 เนื้อหาความดี หมายถึง วรรณกรรมที่ผู้แต่งมีความมุ่งหมายในการแต่งดี และมีความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ ความมุ่งหมายที่ว่าดีคือ ความคิดบริสุทธิ์ คานึงความถูกต้อง ความดีงาม ความเป็นธรรม ไม่มอมเมา
ให้ผู้อื่นหลงผิด ส่วนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์คือ ความคิดที่มุ่งประโยชน์เพื่อยกระดับจิตใจของผู้อ่านให้ตระหนัก
ในคุณธรรม ความดี ความถูกต้อง ยุติธรรม
2.2 กลวิธีในการแต่งดี โดยพิจารณาจากการใช้ภาษาและองค์ประกอบอื่นๆ คือ
2.2.1 ถูกต้องตามลักษณะภาไทย
2.2.2 สื่อความหมายได้ตามต้องการ
2.2.3 มีความเหมาะสมประการต่างๆ คือ ใช้ภาษาเหมาะสมกับผู้อ่าน
2.2.4 ใช้ภาษาอย่างละเอียด
2.2.5 เลือกวิธีเขียนเหมาะสมกับประเภทหนังสือและเนื้อหา
2.2.6 เลือกใช้ส่วนระกอบของเนื้อหาอย่างเหมาะสม
2.2.7 การจัดระบบดี คือ ระบบจาแนกหัวข้อ การใช้ขนาด
และตัวอักษร ความถูกต้องชัดเจนในการพิมพ์ รวมทั้งการจัดหน้าละรูปเล่ม
บทร้อยสำหรับกำรอ่ำนเพื่อประเมินค่ำ

“ทุ่งข้ำว”

ทุ่งข้ำวเขียวขจี สีสดชื่นระรื่นลมไหว
ปูปลำมำเล็มไคล นำใสใต้สันตะวำ
สำหร่ำยชูดอกกระจิดริด แมลงน้อยนิดไร้เดียงสำ
เกำะดอกหญ้ำบนคันนำ แมงมุมตังท่ำตะครุบกิน
ควำยเคียวเอืองนอนหนอง แววตำหม่นหมองไม่สิน
เหลือบลินวนเวียนบิน เกำะกินเลือดล้นพุงกลวง
กบเขียดร้องเสียงใส เสมือนนำบนใบบัวหลวง
งูอะไรสีเงินยวง เลือยไปล้วงรูปูนำ
ยำงยูงขำวถลำบิน จิกปลำกินเกำะกิ่งหว้ำ
เงำเมฆสีหม่นลอยมำ แสงแดดกล้ำกึ่งกลำงวัน
ถอนกล้ำมำเหนื่อยเมื่อยล้ำ เข้ำร่มไม้ชำยคำประหนึ่งสวรรค์
แก้ห่อข้ำวออกวำงพลัน ชวนกันนั่งล้อมวงกิน
นำพริกเจือแมงดำ แกล้มยอดหว้ำหวั่นใจถวิล
ว่ำสวรรค์ในแคว้นแดนดิน คือถิ่นทุ่งทองของไทยเอย

โดย อังคาร กัลยาณพงศ์


เพียงสามคา
ความสุขของคนเรานั้น บางทีก็เกิดจากสิ่งง่ายๆ คือเกิดจากความคิด ความเข้าใจของตัวเอง สาคัญอยู่
ที่ว่าคิดอย่างไรเท่านั้น “ปณิธาน” ได้ฟังนิทานมาเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องที่น่าคิด จึงจะขอนามาเล่าสู่กันฟัง
ดังต่อไปนี้
การดังได้สดับมา มีชายนายหนึ่งเดินทางร่อนเร่กระเซอะกระเซิงเข้าไปในเมืองหลวงของประเทศหนึ่ง
ตะแกตื่นตาตื่นใจในความงามของเมืองเป็นอันมาก เดินชมเมืองอย่างเพลิดเพลิน ไม่นานก็มาหยุดยืนอยู่หน้า
บ้านๆ หนึ่ง ซึ่งสวยงามในใจของตะแกก็คิดว่า“บ้านใครหนอช่างสวยงามอะไรอย่างนี้ เรานี้ตายแล้วเกิดใหม่ก็คง
ไม่มีวันได้มีบ้านสวยงามเช่นนี้แน่” ขณะทีย่ ืนราพึงอยู่ก็มีคนเดินผ่านมากลุ่มหนึ่ง ตะแกก็ร้องถามคนกลุ่มนั้นว่า
“พ่อเอ๋ยช่วยบอกฉันที่ได้ไหมว่าใครเป็นเจ้าของบ้านงามหลังนี้” แต่หามีใครฟังเข้าใจไม่ คนหนึ่งในกลุ่มนั้นก็พูด
อะไรออกมา ๒–๓ คา ซึ่งตะแกก็ฟังไม่เข้าใจก็นึกว่าเขาบอกชื่อเจ้าของบ้านก็ขอบใจเขาแล้วก็เดินต่อไป สักพัก
ใหญ่ก็เดินมาถึงท่าเรือ เห็นเรือลาใหญ่ทอดสมออยู่ที่ท่าประมาณราคาแล้วก็เป็นมูลค่าอเนกอนันต์ ตะแกก็ยืน
ราพึง“อุแม่เจ้า ใครหนอเป็นเจ้าของเรือลานี้ เราตายแล้วเกิดใหม่ก็ไม่มีวันรวยได้อย่างนี้ ” พอดีมีคนกลุ่มหนึ่ง
เดินผ่านมาตะแกก็ร้องถามเขาไปอีกว่า ใครเป็นเจ้าของเรือลานั้น คนกลุ่มนั้นไม่เข้าใจว่าแกถามว่าอะไร จึงตอบ
ด้วยคา ๒–๓ คาเหมือนคนกลุ่มแรกตอบ ตะแกได้ยิน ๒–๓ คานั้นซ้าอีกก็เข้าใจว่าเป็นชื่อเจ้าของเรือ จึงนึกว่า
“บุญอะไรของท่านหนอ จึงมีบ้านสวยและเรือสินค้าใหญ่โตเช่นนี้” แล้วก็เดินต่อไปอีกครู่ใหญ่ก็เห็นขบวนแห่
ศพมาตามถนน ดูจะเป็นศพของคนมั่งมีเพราะมีขบวนยืดยาว ก็ตะโกนถามว่าเป็นศพของใคร คนกลุ่มนั้นฟัง
คาถามของแกไม่รู้เรื่องก็ตอบด้วยคา ๒–๓ คาเหมือนคนกลุ่มก่อนๆ ตะแกก็เข้าใจว่าเป็นชื่อของผู้ตาย จึงราพึง
ในใจว่า “อพิโธ่เอ๋ย ดูทีรึมีบ้านสวย มีเรือสินค้าใหญ่โต แต่กลับไม่ได้มีชีวิตอยู่ชื่นชมทรัพย์สมบัติเลยนี่แหละ
หนอ อนิจจังไม่เที่ยง เออ เรานี่ก็โชคดีที่ยังมีชีวิตอยู่ดูโลกต่อไป ถึงเราจะยากจนไม่มีบ้านสวย ไม่ร่ารวยอะไรกับ
เขา เราก็เป็นสุขตามประสายาจกของเราแล้ว” คิดได้เท่านั้นตะแกก็ผิวปากอย่างร่าเริงเดินชมกรุงต่อไป โดยหา
รู้ไม่ว่า คา ๒–๓ คา ที่แกเข้าใจว่าเป็นชื่อของบุคคลผู้เป็นเจ้าของบ้านสวยและเป็นเจ้าของเรือสินค้าอันมั่งคั่งนั้น
ที่แท้เป็นคาพูดที่แปลได้ความว่า “ฉันไม่เข้าใจภาษาที่ท่านพูด”
ความสุขของกระทาชายนายนี้เกิดขึ้นได้ด้วยการที่คิดเอาเองจนเกิดปลงตก จิตใจก็มีสันโดษ พอใจใน
สภาพความเป็นอยู่ของตน เลิกอิจฉาคนที่มั่งมีกว่า เพราะแกคิดเสียว่าถึงอย่างไร แกก็ยังมีชีวิตอยู่ดีกว่าคนมั่งมี
ที่อายุสั้นเคล็ดลับของการมีความสุขนั้น ท่านว่าอยู่ที่ใจของเราเอง ถ้าใจเราคิดอะไร มองอะไร ในทางดี และ
เกิดความ “พอใจ” แล้ว เราก็หาความสุขได้ไม่ยากนัก ก่อนจบ ขอฝากกลอนสั้นๆ บทหนึ่งไว้ให้คิด ดังนี้
เที่ยวด้นค้นคว้าหาสุข พบทุกข์แทนทีน่ ี่ไฉน
เลิกแสวงสุขหนอพอใจ สุขซาบซ่านในใจเอง
(จากนิทานประกอบเรียงความ ของ ปณิธาน)

You might also like