You are on page 1of 8

ส ารพันความรู้ด้านพลังงาน

ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล
ห้องปฏิบัติการวัสดุและงานระบบเพื่อใช้ประโยชน์ทางพลังงานไฟฟ้าเคมี
หน่วยวิจัยวัสดุสำหรับพลังงาน
• ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
e-mail: pimpal@mtec.or.th

รู้จักแบตเตอรี่ ตอนที่1
ลองคิดดูว่าคุณจะรู้สึกอย่างไรเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ดังต่อไปนี้ รถสตาร์ตไม่ติด โทรศัพท์แบตฯ
หมด คอมพิวเตอร์ใช้งานไม่ได้เพราะไฟดับและ UPS ไม่ได้สำรองไฟไว้ หรือเครื่องปั๊มหัวใจที่ต้อง
ใช้ช่วยชีวิตคนที่คุณรักไม่ทำงานเพราะแบตเตอรี่เสื่อม?
ในปั จ จุ บั น การมี แ หล่ ง พลั ง งานที่ เ คลื่ อ นได้ สำรองไฟ (UPS) หรือเซลล์แสงอาทิตย์ เราควรใช้แบตฯ
เพื่อให้พลังงานกับอุปกรณ์ต่างๆ นับเป็นสิ่งจำเป็นต่อ มือถือให้หมดก่อนแล้วค่อยชาร์จหรือไม่ หรือชาร์จไปใช้
ชีวติ ประจำวัน แบตเตอรีเ่ ป็นแหล่งพลังงานหลักแหล่งหนึง่ ไปจะระเบิดไหม มีวิธีป้องกันแบตเตอรี่ระเบิดอย่างไร
ที่สามารถเคลื่อนย้ายพลังงานไปตามสถานที่และเวลาที่ ถ้าแบตเตอรี่หมดแล้วเอาไปใส่ตู้เย็นแล้วมันจะฟื้นกลับ
ต้องการได้ทำให้มีการใช้งานเพิ่มขึ้นมาก ครอบครัวหนึ่ง มาได้ไหม หลายคนอาจมีคำถามมากมายในใจเกี่ยวกับ
อาจมีการใช้แบตเตอรี่ถึง 30-60 ก้อนเลยทีเดียว แบตเตอรี่ ผู้เขียนจะไขข้อข้องใจต่างๆ ในรูปแบบ
คุณล่ะ! รูจ้ กั แบตเตอรีด่ แี ค่ไหน แบตเตอรีเ่ ริม่ มี คำถาม-คำตอบผ่านบทความชุดนี้
ใช้ตั้งแต่เมื่อไร แบตเตอรี่แบบไหนที่เหมาะกับรถ เครื่อง
74 กรกฎาคม - กันยายน 2557

การคิดค้นแบตเตอรี่เกิดขึ้นเมื่อใด?
มีการค้นพบแบตเตอรีท่ เ่ี ก่าแก่ทส่ี ดุ ของโลกโดยคาดว่าประดิษฐ์ขน้ึ กว่า 2,000 ปีทแ่ี ล้วในยุคพาร์เทียน (343 ปี
ก่อนพุทธศักราช ถึง พ.ศ. 746) ที่นครแบกแดด ประเทศอิรัก จึงมีชื่อเรียกว่า แบตเตอรี่พาร์เทียน หรือ แบตเตอรี่
แบกแดด (ภาพที่ 1)
แบตเตอรี่พาร์เทียนเป็นไหดิน มีท่อทองแดงล้อมแท่งเหล็กอยู่ภายในไห สันนิษฐานว่าอิเล็กโทรไลต์เป็นกรด
จากธรรมชาติ เช่น น้ำผลไม้ หรือ น้ำส้มสายชู ได้มีการลองประกอบแบตเตอรี่จำลองโดยใช้น้ำองุ่นปรากฏว่าให้
แรงดันประมาณ 2 โวลต์ [1] ทั้งนี้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าชนในยุคพาร์เทียนนั้นใช้ไฟฟ้าที่ได้จากแบตเตอรี่
พาร์เทียนสำหรับกิจการอันใด แต่มีข้อสันนิษฐานว่าอาจใช้สำหรับการชุบเคลือบโลหะ

ภาพที่ 1 แบตเตอรี่แบกแดด หรือ แบตเตอรี่พาร์เทียน [1]


การค้นพบแบตเตอรี่ที่ได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1800 โดยศาสตราจารย์ชาว
อิตาเลียน นามอาเลสซันโดร วอลตา (Alessandro Volta) ซึ่งในเวลาต่อมาได้ใช้ชื่อของเขาเป็นหน่วยวัดค่าความ
ต่างศักย์หรือแรงดันไฟฟ้า (voltage) แต่การใช้แบตเตอรี่ในเชิงพาณิชย์ในช่วงเวลานั้นยังไม่ค่อยแพร่หลายนักจน
กระทั่งมีการคิดค้นโทรเลขในอีก 30 กว่าปีต่อมา
กรกฎาคม - กันยายน 2557 75

ตารางที่ 1 ลำดับการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่สมัยใหม่ (ดัดแปลงจาก I. Buchmann 2012 [2])


ปี ค.ศ. ผู้ประดิษฐ์ ประเทศ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
1600 Willam Gilbert สหราชอาณาจักร เริ่มจัดตั้งการศึกษาด้านเคมีไฟฟ้า
ต่อชุดตัวเก็บประจุ (capacitor) ผลิตเป็นไฟฟ้าจาก
1747 Benjamin Franklin สหรัฐอเมริกา ปรากฏการณ์ไฟฟ้าสถิต
ใช้คำว่า “แบตเตอรี”่ เป็นครัง้ แรกกับอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้า
1791 Luigi Galvani อิตาลี ค้นพบไฟฟ้าในสัตว์
1800 Alessandro Volta อิตาลี ค้นพบเซลล์วอลเทอิก (ใช้สงั กะสีและทองแดงเป็นขัว้ )
1802 William Cruiickshank สหราชอาณาจักร ผลิตแบตเตอรี่ในระดับอุตสาหกรรม
1820 Andre-Marie Ampere ฝรั่งเศส พบความสัมพันธ์ระหว่างไฟฟ้าและแม่เหล็ก
1833 Michael Faraday สหราชอาณาจักร กฎของฟาราเดย์
แดเนียลเซลล์ (พัฒนาต่อยอดจากเซลล์วอลเทอิก)
เป็นชนิดของเซลล์ที่ก่อให้เกิดการใช้แบตเตอรี่อย่า
งแพร่หลายในวงการโทรเลข
1836 John F. Daniell สหราชอาณาจักร
เซลล์ของ จอห์น แดเนียล กำหนดนิยามของ
หน่วยโวลต์ โดยแดเนียลเซลล์มีค่าแรงดันเซลล์เท่า
กับ 1 โวลต์
1839 William Rober Grove สหราชอาณาจักร กำเนิดเซลล์เชื้อเพลิง
1859 Gaston Plante ฝรั่งเศส กำเนิดแบตเตอรี่กรดตะกั่ว
1868 Georges Leclanche ฝรั่งเศส กำเนิดแบตเตอรี่ Leclanche (สังกะสี-คาร์บอน)
1899 Waldmar Jungner สวีเดน กำเนิดแบตเตอรี่นิกเกิล-แคดเมียม
1901 Thomas A. Edison สหรัฐอเมริกา กำเนิดแบตเตอรี่เหล็ก-นิกเกิล
1947 Georg Neumann เยอรมนี สามารถซีลแบตเตอรี่นิกเกิล-แคดเมียมได้
Lew Urry, Eveready
1949 สหรัฐอเมริกา กำเนิดแบตเตอรี่แอลคาไลน์
Battery
การพัฒนาแบตเตอรีก่ รดตะกัว่ แบบ Valve regulated
ทศวรรษ 1970 Group Effort
(VRLA)
1990 Group Effort แบตเตอรี่นิกเกิล-เมทัลไฮไดรด์ เข้าสู่ตลาด
1991 Sony ญี่ปุ่น แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเข้าสู่ตลาด
1994 Bellcore สหรัฐอเมริกา แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนโพลิเมอร์เข้าสู่ตลาด
พั ฒ นาแมงกานี ส ออกไซด์ เ ป็ น ขั้ ว บวกสำหรั บ
1996 Moli Energy แคนาดา
แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน
University of Texas ค้นพบการใช้งานลิเทียมไอออนฟอสเฟตสำหรับแบต
1996 สหรัฐอเมริกา
Autin เตอรี่ลิเทียมไอออน
University of Montreal, แคนาดา/ พัฒนาสมบัตแิ ละนำเทคโนโลยีแบตเตอรีล่ เิ ทียมไอออน
2002 แบบลิเทียมฟอสเฟตเข้าสู่ตลาด
Hydro Quebec, MIT สหรัฐอเมริกา
76 กรกฎาคม - กันยายน 2557

ที่มาของคำว่า “battery”?
คำว่า battery ในภาษาอังกฤษมีหลายความหมาย พจนานุกรม Merriam-Webster [3] ได้บัญญัติ
ความหมายของคำว่า battery ไว้ดังต่อไปนี้ 1) การทุบตี หรือการต่อสู้ 2) กลุ่มสิ่งของหรือคนที่เหมือนๆ กัน ที่มา
ต่อหรือรวมกันเพื่อการต่อสู้หรือการรุก 3) กลุ่มปืนของเรือรบ 4) กลุ่มอาวุธยุทโธปกรณ์ในกองทัพ 5) ปฏิบัติการ
เตรียมพร้อมสำหรับการยิงปืน 6) อุปกรณ์ผลิตไฟฟ้า 7) พิชเชอร์และแคชเชอร์ในกีฬาเบสบอล
แบตเตอรี่มาจากคำว่า battuere ในภาษาละติน ซึ่งเป็นรากของภาษาแองโกล-ฝรั่งเศส คำว่า baterie ซึ่งมี
ที่มาจากคำว่า batre หรือคำว่า beat แปลว่า ตีหรือทุบหลายๆ ครั้ง (strike) จากคำว่า beat หรือ strike นี้เป็นที่มา
ของความหมายที่ 1-5 ส่วนการใช้คำนี้ในวงการเบสบอล เพราะการขว้างลูกเบสบอลของพิชเชอร์คล้ายกับการยิง
ลูกปืน [4]
การใช้คำว่าแบตเตอรี่ในความหมายว่าเป็นอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้า เริ่มโดย เบนจามิน แฟรงกลิน (Benjamin
Franklin) ในปี ค.ศ. 1748 (พ.ศ. 2291) เขาได้ต่อตัวเก็บประจุ (capacitor) ที่ทำจากโหลแก้วเคลือบโลหะ (Leyden
Jars) หลายๆ โหลเข้าด้วยกัน (ภาพที่ 2) เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ชาร์จมาจากไฟฟ้าสถิต [5] และเรียกชุดจ่าย
กระแสไฟฟ้านี้ว่า battery (เนื่องจากต่อกันเป็นชุด และก่อให้เกิดปรากฏการณ์ยิงกระแสไฟ) คำว่า battery นี้ยังคง
ใช้ต่อมาเมื่อ อาเลสซันโดร วอลตา นำแผ่นโลหะสังกะสีและแผ่นทองแดงคั่นด้วยแผ่นกระดาษแช่ในน้ำเกลือมา
ซ้อนๆ กัน เรียกว่า ชั้นวอลเทอิก หรือ วอลเทอิกไพล์ (voltaic pile) ก่อให้เกิดการอาร์กของกระแสไฟฟ้าระหว่าง
ขั้วขึ้น

ภาพที่ 2 ภาพวาดของ Leyden jar หนึ่งหน่วย [6] (ซ้าย) และแบตเตอรี่ที่คาดว่าเป็นของ เบนจามิน แฟรงกลิน
ซึ่งประกอบไปด้วย Leyden jar 35 หน่วยต่อกัน [7] (ขวา)

ภาพที่ 3 ภาพวาดแสดงวอลเทอิกไพล์ ซึ่งประกอบไปด้วยแผ่นสังกะสี (ขั้วลบ) และแผ่นทองแดง (ขั้วบวก) โดยมีแผ่น


กระดาษชุบน้ำเกลือเป็นอิเล็กโทรไลต์ (ซ้าย) และวอลเทอิกไพล์ที่วางแสดงอยู่ที่ Tempio Voltiano (The Volta Temple)
ใกล้กับบ้านของอาเลสซันโดร วอลตา [8] (ขวา)
กรกฎาคม - กันยายน 2557 77

แบตเตอรี่คืออะไร และประกอบด้วยอะไรบ้าง?
แบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์เคมีไฟฟ้าที่ให้กระแสไฟฟ้าจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารเคมีที่อยู่ในเซลล์
แบตเตอรี่ แบตเตอรี่ประกอบด้วยส่วนหลักๆ สามส่วนคือ
1) แคโทด1 (cathode) หรือ ขั้วบวก
2) แอโนด2 (anode) หรือ ขั้วลบ
3) อิเล็กโทรไลต์ (electrolyte)
ขณะใช้งาน ขั้วแอโนด (ขั้วลบ) เป็นขั้วที่เกิดปฏิกริยาเคมีที่
ให้อิเล็กตรอน (ปฏิกิริยาออกซิเดชัน) และขั้วแคโทด (ขั้วบวก) เป็น
ขั้วที่เกิดปฏิกริยาเคมีที่รับอิเล็กตรอน (ปฏิกิริยารีดักชัน) อิเล็กตรอน
ทีไ่ ด้จากปฏิกริ ยิ าทีข่ ว้ั ลบ (เมือ่ ขัว้ ลบต่อกับขัว้ บวกด้วยลวดโลหะ) จะวิง่
ผ่านลวดเกิดกระแสไฟฟ้าทีน่ ำไปใช้ได้ ส่วนอิเล็กโทรไลต์เป็นสารละลาย
ที่ไม่นำอิเล็กตรอนแต่มีหน้าที่ส่งผ่านไอออนที่จำเป็นต่อเกิดปฏิกิริยา
ดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่องจนกว่าแบตเตอรี่จะหมด

เซลล์เชือ้ เพลิง (Fuel cell) เป็นแบตเตอรีห่ รือไม่และแตกต่างจากแบตเตอรี่


อย่างไร?
บางคนเรียกเซลล์เชื้อเพลิงว่า Fuel cell battery ซึ่งเซลล์เชื้อเพลิงก็เป็นเซลล์เคมีไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่ให้
กระแสไฟฟ้าจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารเคมีที่ทำปฏิกิริยาในเซลล์เช่นเดียวกับแบตเตอรี่ แต่ต่างกันที่สาร
เคมีที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาจนเกิดกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่นั้นเป็นของแข็งหรือของเหลว เช่น สังกะสีกับทองแดง
หรือเกลือเหลว ในขณะที่เซลล์เชื้อเพลิงเป็นแก๊ส และเซลล์เชื้อเพลิงจะสามารถทำงานได้ต่อเมื่อมีการป้อนแก๊สเข้า
ไปทำปฏิกิริยาในเซลล์ โดยให้ผลผลิตออกมาเป็นน้ำ หรือแก๊สประเภทอื่นๆ เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

แบตเตอรี่มีก่ปี ระเภท?
แบตเตอรี่แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
1) แบตเตอรี่แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือ แบตเตอรี่ชนิดปฐมภูมิ (primary batteries)
2) แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟใหม่ได้ หรือ แบตเตอรี่ชนิดทุติยภูมิ (rechargeable batteries)
แบตเตอรี่แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เมื่อปฏิกิริยาเคมีเกิดไปบ้างแล้ว (ปฏิกิริยารีดักชันที่ขั้วบวกและปฏิกิริยา
ออกซิเดชันที่ขั้วลบ) จะไม่สามารถเกิดย้อนกลับได้จึงใช้ได้เพียงครั้งเดียว ส่วนแบตเตอรี่ที่ชาร์จไฟใหม่ได้ ปฏิกิริยา
เคมีสามารถเกิดไปข้างหน้า และย้อนกลับได้เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แบตเตอรี่ (ชาร์จแบตเตอรี่) จึงใช้ได้หลายครั้ง

1
แคโทด คือ ขั้วไฟฟ้าที่มีปฎิกิริยารีดักชันเกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้วไฟฟ้าบวกในเซลล์แกลแวนิก หรือเป็นขั้วไฟฟ้าลบในเซลล์อิเล็กโทรไลต์
(ที่มา : พจนานุกรมวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี)
2
แอโนด คือ ขั้วไฟฟ้าที่เกิดปฎิกิริยาออกซิเดชัน อาจเป็นขั้วไฟฟ้าลบในเซลล์แกลแวนิก หรือขั้วไฟฟ้าบวกในเซลล์อิเล็กโทรไลต์
(ที่มา : พจนานุกรมวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี)
78 กรกฎาคม - กันยายน 2557

ภาพที่ 5 แบตเตอรี่ชนิดปฐมภูมิ (ซ้าย) และแบตเตอรี่ชนิดทุติยภูมิ (ขวา) ประเภทต่างๆ

แบตเตอรี่แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ใช้กันทั่วไปมีก่ชี นิด ชนิดใดบ้าง?


แบตเตอรี่แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมีหลายร้อยชนิด แต่ที่นิยมใช้มีประมาณ 7 ชนิด ดังแสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 แบตเตอรี่แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่นิยมใช้ (ดัดแปลงจาก www.energybc.ca)
ชื่อทั่วไป การใช้งาน
ถ่านไฟฉายธรรมดา ไฟฉาย วิทยุ ของเล่น และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นทั่วไป
(Standard duty/ Carbon-Zinc)
ถ่านเฮฟวี่ดิวตี้/ ซูเปอร์เฮฟวี่ดิวตี้
(Heavy duty/ Super heavy duty/ Zinc Chloride) เครือ่ งเล่นเทป เครือ่ งอัดเสียง นาฬิกาแขวน เครือ่ งคิดเลข รีโมทคอนโทรล
ถ่านแอลคาไลน์ ไฟฉาย แฟลช เครือ่ งโกนหนวด กล้องถ่ายรูปดิจทิ ลั (สมัยเก่า) เครือ่ งรับส่ง
(Alkaline/ Alkaline Zinc-Manganese dioxide) สัญญาณวิทยุ เครื่องเล่นซีดีแบบพกพา (สมัยเก่า)
แบตเตอรี่ลิเทียม นาฬิกาข้อมือ กล้องถ่ายรูป เครื่องมือทดสอบ
(Lithium/ Lithium-Manganese dioxide)
เซลล์ปรอท เครื่องคิดเลข เพจเจอร์ เครื่องช่วยฟัง นาฬิกาข้อมือ เครื่องมือทดสอบ
(Mercury cell/ Zinc-Mercuric oxide)
เซลล์กระดุม เครื่องคิดเลข เพจเจอร์ เครื่องช่วยฟัง นาฬิกาข้อมือ เครื่องมือทดสอบ
(Silver oxide cell/ Zinc-silver oxide)
แบตเตอรี่ซิงค์แอร์ เพจเจอร์ เครื่องช่วยฟัง
(Zinc-air/ Zinc-oxygen)

แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ท่ใี ช้กันทั่วไปมีก่ชี นิด อะไรบ้าง?


แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟใหม่ได้มีหลายสิบชนิด มีทั้งขนาดเล็กจิ๋ว บางเฉียบเท่าเส้นผม หรือใหญ่กว่ารถบรรทุก
แต่ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในระดับการค้านั้นมีอยู่ไม่เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น เช่น แบตเตอรี่กรดตะกั่ว และแบตเตอรี่ที่
มีความจุมากขึน้ อย่างตระกูลนิกเกิล เช่น นิกเกิล-แคดเมียม นิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ ลิเทียมไอออน และลิเทียมโพลิเมอร์
สำหรับอุปกรณ์แบบพกพา ดังแสดงในตารางที่ 3
กรกฎาคม - กันยายน 2557 79

ตารางที่ 3 ชนิดของแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ที่พบบ่อย (ดัดแปลงจาก www.energybc.ca/www.energybc.ca


[9])
ชื่อทั่วไป การใช้งาน
แบตเตอรี่กรดตะกั่ว สตาร์ตเครือ่ งยนต์ในรถยนต์ รถไฟ และยานยนต์อน่ื ๆ เครือ่ งสำรองไฟฟ้า
(lead acid)
ถ่านชาร์จแอลคาไลน์
(alkaline rechargeable/Rechargeable Alkaline เครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังต่ำ รีโมทคอนโทรล ไฟฉาย วิทยุสื่อสาร
Manganese (RAM))
แบตเตอรี่เหล็กนิกเกิล เครื่องสำรองไฟฟ้าขนาดปานกลางและขนาดใหญ่ เครื่องขุดเจาะ
(Nickel - Iron)
แบตเตอรี่นิกเกิลแคดเมียม/แบตเตอรี่ไนแคด อุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดพกพา หรือขนาดเล็ก ไฟฉุกเฉิน เครื่องบิน (สำหรับสตาร์ต)
(Nickel - Cadmium/ NiCd/NiCad) แฟลช รถไฟฟ้า รถไฮบริด
แบตเตอรี่นิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ อุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดพกพาสมัยเก่า รถไฟฟ้า รถไฮบริด แหล่งสำรองไฟฟ้าสำหรับ
(Nickel - Metal Hydrid/NiMH) พลังงานหมุนเวียน
แบตเตอรี่ลิเทียม/แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน อุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดพกพาสมัยเก่า รถไฟฟ้า รถไฮบริด แหล่งสำรองไฟฟ้าสำหรับ
(Lithium-ion/ Li-ion/ LIB) พลังงานหมุนเวียน
แบตเตอรี่ลิเทียมโพลิเมอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดพกพา ของเล่น เครื่องบินบังคับ
(Lithium-ion polymer/ Li-Po, Li-Poly)

แบตเตอรี่หมด หมายความว่าอย่างไร
แบตเตอรี่หมด หมายถึง ปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดไฟฟ้าไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ ทำให้แบตเตอรี่จ่ายไฟต่อไม่ได้
สาเหตุอาจเกิดจากสารเคมีที่อยู่ในเซลล์แบตเตอรี่ได้ทำปฏิกิริยาไปจนหมด หรือปฏิกิริยาเคมีที่ก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้า
เกิดไม่ได้ เนื่องจากส่วนประกอบสำคัญของเซลล์เสื่อมสภาพ เช่น แท่งของขั้วบวกหรือขั้วลบภายในเซลล์แบตเตอรี่
ขึ้นสนิม หรือ สารละลายอิเล็กโทรไลต์ระเหยไปหมด เป็นต้น

แบตเตอรี่ที่มีขนาดจิ๋วที่สุด
แบตเตอรีท่ เ่ี ล็กทีส่ ดุ ในโลกมีขนาดเพียง 3 มิลลิเมตร
ประกอบด้วยแท่งนาโนทำจากดีบุกออกไซด์เส้นผ่าน
ศูนย์กลาง 100 นาโนเมตร (หนึ่งในพันของเส้นผม)
และยาว 10 ไมโครเมตร (หนึ่งในสิบของเส้นผม)
แบตเตอรีใ่ ห้แรงดัน 3.5 โวลต์ และกระแสเพียง 1/1 ล้าน
ของไมโครแอมป์ เท่านั้น แบตเตอรี่นี้ประดิษฐ์ขึ้นที่ศูนย์
วิจัยแห่งชาติแซนเดีย เมืองอัลเบอร์เคอร์กี้ ประเทศ
สหรัฐอเมริกา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เข้าใจการทำงาน
ของวัสดุที่ขั้วแบตเตอรี่ในระดับจุลภาค เพื่อพัฒนา
แบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อีกทั้งใช้งานได้ ภาพที่ 6 แบตเตอรี่ที่มีขนาดจิ๋วที่สุดในโลก
ยาวนานขึ้น (ภาพจากศูนย์วิจัยแห่งชาติแซนเดีย [10])
80 กรกฎาคม - กันยายน 2557

แบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่ท่สี ุด
แบตเตอรีข่ นาดใหญ่ทส่ี ดุ ในโลกทีไ่ ด้รบั การติดตัง้ มีขนาดใหญ่เกินตูค้ อนเทนเนอร์หลายตูต้ อ่ กัน กินพืน้ ทีข่ นาด
ตึกย่อมๆ กว่าหนึ่งตึก แบตเตอรี่นี้เป็นแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนของบริษัทผลิตไฟฟ้าโทโฮกุ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผลิต
โดยบริษัท โตชิบา ติดตั้งอยู่ที่สถานีจ่ายไฟฟ้าเซ็นได ใช้ในการควบคุมคุณภาพความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับให้คงที่
และจัดการไฟฟ้าที่ได้จากแหล่งพลังงานทดแทน แบตเตอรี่นี้มีกำลังไฟฟ้า 40 เมกะวัตต์ สามารถจ่ายไฟฟ้าให้บ้านได้
32,000 หลังคาเรือนเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงติดต่อกัน โดยจะเริ่มใช้งานในปี 2558 นี้

ภาพที่ 7 แบตเตอรี่ที่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (ภาพจากนิตรสารฟอร์บ [11])

บทความตอนที่ 2 จะนำเสนอแบตเตอรี่สำหรับการใช้งานด้านต่างๆ รวมถึงวิธีการใช้งานให้มีประสิทธิภาพ


และมีอายุการใช้งานยาวนาน

เอกสารอ้างอิง
1. Iran chamber society
2. Buchmann, I. (2011), Battery in a Portable World 3rd Ed., Cadex Electronics Inc.
3. www.marriam-webter.com/dictionary/battery: Retrieved date: 17 April, 2014
4. en.wikipedia.org/wiki/battery_(baseball): Retrieved date: 17 April, 2014
5. en.wikipedia.org/wiki/history_of_battery: Retrieved date: 17 April, 2014
6. www.sciencebob.com: Retrieved date: 17 April, 2014
7. The Benjamin Franklin Tercentenary: www.benfranklin300.org: Retrieved date: 17 April, 2014
8. www.answers.com/topic/voltaic-pile: Retrieved date: 17 April, 2014
9. www.energybc.ca/: Retrieved date: 17 April, 2014
10. share.sandia.gov/news/resources/news_releases/world%E2%80%99s-smallest-battery/ Retrieved date: 23 April, 2014
11. http://www.forbes.com/sites/williampentland/2014/01/25/worlds-10-biggest-grid-scale-batteries/ Retrieved date: 23
April, 2014

You might also like