You are on page 1of 4

 

การดื้อแพ่ งต่ อกฎหมายของประชาชน (Civil Disobedience)

เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดลึกซึ้ งมากขึ้นในฝ่ ายที่ไม่ยอมรับหรื อเชื่อฟั งกฎหมาย หรื อการดื้อแพ่งต่อ


กฎหมาย ซึ่ งบุคคลเหล่านี้ เป็ นที่ ยอมรับกันว่าเป็ นบุคคลที่ มีความสําคัญเป็ นอย่างยิ่ง เช่ น มหาตมะ คานธี
(Mahatma Gandhi),มาร์ ติ น ลู เธอร์ คิ ง จู เนี ย ร์ (Martin Luter King Jr.) เฮนรี่ เดวิ ด ธอโร่ (Henry David
Thoreau) เป็ นต้น
ปั ญหาในเรื่ องปฏิเสธไม่เคารพเชื่ อฟั งกฎหมาย ม.ร.ว. เสนี ย ์ ปราโมช ได้กล่าวว่า การที่บุคคลไม่
เคารพกฎหมายนั้นมีอยู่ 4 ข้อ คือ
1. ความบกพร่ องหรื อความไม่ดีของกฎหมาย ซึ่ งอาจมาจากสาเหตุต่างๆ เช่ น อาจเกิดจากเนื้ อหา
สาระที่ไม่เป็ นธรรมของกฎหมายนั้น ๆ ซึ่ งอาจเนื่ องจากเป็ นกฎหมายที่ออกมาตามอําเภอใจของผูป้ กครอง
โดยไม่คาํ นึงถึงผลร้ายที่จะตกอยูแ่ ก่ผอู ้ ยูใ่ ต้บงั คับกฎหมาย
2. เนื่องจากผูอ้ อกกฎหมายบําเพ็ญตนอยูเ่ หนือกฎหมายเสี ยเอง
3. ไม่มีการอธิบายเหตุผลหรื อประโยชน์ของกฎหมายให้คนทัว่ ไปเข้าใจ
4. กฎหมายนั้น มิ ได้อ อกมาเพื่ อ ประโยชน์ ข องประชาชนหรื อ ออกมาโดยมิ ได้รับ ความยิน ยอม
เห็นชอบของประชาชนกฎหมายในลักษณะนี้ประชาชนอาจไม่นบั ถือปฏิบตั ิตามเพราะเห็นว่าไม่ใช่กฎหมาย
แต่เป็ นตัวกดขี่ข่มเหง
แต่อย่างไรก็ตาม การไม่เคารพเชื่อฟังกฎหมายนั้นอาจแบ่งได้ 2 กรณี คือ
1)เป็ นกรณี ที่เป็ นความรู ้สึกอยูภ่ ายในใจ
2)เป็ นกรณี ที่ ก ารแสดงออก ซึ่ งในกรณี น้ ี เป็ นการแสดงออกค่ อ นข้า งมี ผ ลกระทบอย่ า งมาก
เพราะเมื่อมีการแสดงออกนั้นอาจจะ แสดงออกโดยการละเมิดกฎหมายการท้าทายกฎหมายหรื อแม้กระทัง่
ใช้ความรุ นแรงต่อกฎหมายที่ไม่เป็ น ธรรมก็ได้ ซึ่งเรี ยกว่า “การดื้อแพ่งต่อกฎหมาย
ปัญหารากฐานของการดื้อแพ่งต่ อกฎหมายของประชาชน
การดื้อแพ่งต่อกฎหมายหมายถึงกระทําที่เป็ นฝ่ าฝื นต่อกฎหมายโดยสันติวิธีเป็ นการกระทําในเชิ ง
ศีลธรรมเป็ นการประท้วงหรื อคัดค้านคําสั่งกฎหมายของผูป้ กครองที่ อยุติธรรมหรื อเป็ นการต่อต้านการ
กระทําของรัฐบาลที่ประชาชนเห็นว่าไม่ถูกต้องฉะนั้นในเบื้องต้นเมื่อกล่าวถึงการดื้อแพ่งต่อกฎหมายจึงเป็ น
การกระทําที่มิได้ดาํ เนิ นไปทางกฎหมายหากจะเป็ นการละเมิดต่อกฎหมายโดยมีเป้ าหมายเพื่อคัดค้านคําสั่ง
หรื อการกระทําของผูป้ กครองซึ่ งการกระทํานี้ ไม่ได้อิงอยูบ่ นสิ ทธิ ของกฎหมายเป็ นลายลักษณ์อกั ษรอยูใ่ น
ขณะนั้น แนวความคิดเช่นนี้ จึงแตกต่างจากความเข้าใจต่อกฎหมายที่มีอยู่ในสังคมควรจะต้องปฏิบตั ิตาม
กฎหมาย เพื่อความเป็ นระเบียบเรี ยบร้อยของสังคมไม่เช่นนั้นแล้วก็จะเกิดความวุน่ วายความไม่สงบเรี ยบร้อย
บังเกิด ขึ้น


 
 

การกระทําที่เรี ยกว่า การดื้อแพ่งต่อกฎหมายวางอยูบ่ นแนวคิดที่สาํ คัญ 2 ประการด้วยกัน คือ


1.การดื้ อ แพ่ ง ต่ อ กฎหมายเป็ นการกระทํา ที่ ยื น ยัน ถึ ง สิ ท ธิ ข องมนุ ษ ย์ที่ มี อ ยู่ แ ละควรได้ก าร
เคารพเมื่อพิจารณาถึงความหมายของสิ ทธิในปัจจุบนั อาจแบ่งแยกออกได้ 2 ประเภท
1) สิ ทธิ ประเภทแรก คือ สิ ทธิ ที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย (Legal rights) ตามนัยสิ ทธิ
ประเภทนี้ ถื อ ว่ า สิ่ ง ที่ จ ะถู ก จัด ว่ า เป็ นสิ ท ธิ โ ดยถู ก ต้อ งนั้ นจํา เป็ นต้อ งได้รั บ การรั บ รองตามกฎหมาย
ก่อนและมีแต่สิทธิประเภทนี้เท่านั้นซึ่งจะเป็ นหลักของการอ้างอิงรวม
2) สิ ทธิ ประเภท สอง คื อ สิ ทธิ ที่ อาจนํ า ไปสู่ การฝ่ าฝื น ห รื อการไม่ ป ฏิ บั ติ ต าม
กฎหมายของรัฐที่มีผลบังคับใช้อยูใ่ นปั จจุบนั
ดังนั้นการดื้อแพ่งต่อกฎหมายแม้จะเป็ นการกระทําที่ละเมิดต่อกฎหมายของรัฐแต่ในอีก
แง่มุมหนึ่งเป็ นการกระทําของบุคคลที่ทาํ ตามความเชื่อหรื อมโนธรรมส่ วนตัวเป็ นสิ่ งที่ถูกต้องและยุติธรรม
มากกว่า

2.การดื้อแพ่งต่อกฎหมายเป็ นภาพสะท้อนถึงความล้มเหลวของการเมืองในระบอบประชาธิ ปไตย


แบบตัวแทน
ในปั จ จุ บัน ท่ ามกลางการเปลี่ ย นแปลงอย่างรวดเร็ ว อัน เนื่ อ งมาจากความเปลี่ ย นแปลงทางด้าน
เศรษฐกิ จ สังคม เทคโนโลยีการสื่ อสาร การครอบงําลัทธิ ทางการค้าเสรี แพร่ ขยายไปทัว่ โลกมี การจัดตั้ง
องค์กรโลกบาลเพื่อจัดวางกฎเกณฑ์ทางด้านการค้าและธุรกิจ รัฐและกลไกของรัฐต้องอยูภ่ ายใต้อิทธิพลการ
ชี้นาํ ขององค์กรโลกบาลมากขึ้น(ยกตัวอย่างเช่น องค์กร WTO เป็ นต้น) รวมกับการแสวงหาประโยชน์ของ
นักการเมืองพรรคการเมืองเองทําให้ระบอบประชาธิ ปไตยแบบตัวแทนไม่สามารถแก้ปัญหาของประชาชน
ได้อย่างแท้จริ ง
ดังปรากฏจากการดําเนิ นนโยบายของรัฐจํานวนมากที่เกิดผลกระทบต่อผูค้ นอย่างกว้างขวาง (เช่น
โครงการขุดท่อก๊าซไทย – มาเลเซี ย ที่สงขลา) แต่โครงการดังกล่าวก็มกั จะเกิดขึ้นและดําเนิ นต่อไป ภายใต้
การสนับสนุนขององค์กรโลกบาลและนักการเมืองภายในประเทศนั้น โครงการสร้างเขื่อนเป็ นตัวอย่างหนึ่ง
ที่สะท้อนความล้มเหลว ของระบบนี้ได้เป็ นอย่างดี
การดื้อแพ่งต่อกฎหมาย จึงเป็ นการเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบใหม่ที่ปฏิเสธการเมืองแบบตัวแทน
แต่เป็ นการสร้างรู ปแบบการเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบใหม่ข้ ึนเป็ นการเมืองที่ประชาธิปไตยแบบทางตรง
(Direct Democracy) รู ปแบบเก่า

ลักษณะของการดื้อแพ่ งต่ อกฎหมาย


ตามแนวความคิ ด ของ จอห์ น รอลส์ (John Rawls) ซึ่ งเป็ นศาสตราจารย์ท างด้านปรั ช ญาของ
มหาวิทยาลัยฮาวาร์ ด ได้เขียนงานชิ้ น สําคัญ คือ “ทฤษฎี ความยุติธรรม” (A Theory of Justice) รอลส์ ให้
นิ ยามการดื้อแพ่งต่อกฎหมายของประชาชนว่า คือ การฝ่ าฝื นกฎหมายด้วยมโนธรรมสํานึ ก ซึ่ งกระทําโดย


 
 

เปิ ดเผยในที่สาธารณะโดยไม่ใช้ความรุ นแรงและเป็ นการกระทําในเชิ งการเมืองที่ปกติแล้ว มุ่งหมายจะให้


เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายหรื อนโยบายของรัฐบาล
ตามแนวความคิดของ รอลส์ เขาเห็นด้วยกับการเคารพเชื่ อฟั งต่อกฎหมายโดยถือว่าเป็ นส่ วนหนึ่ ง
ของหน้าที่โดยธรรมชาติของประชาชนในการรักษาสถาบันแห่ งความยุติธรรม โดยสร้างพื้นฐานของสังคม
ยังคงมีความเป็ นธรรมอยู่ แต่ถา้ กฎหมายนั้นไม่เป็ นธรรม รอลส์ ก็กม้ หัวให้กบั ความชอบธรรมในการดื้อ
แพ่งต่อกฎหมายของประชาชน แต่ตอ้ งอยูภ่ ายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ต้องเป็ นการกระทําที่มีจุดประสงค์ของการสร้างความเป็ นธรรมให้เกิดแก่สงั คมเป็ นการกระทําใน
เชิ งการเมือง แต่ตอ้ งมิ ใช่ เป็ นมุ่งทําลายระบบกฎหมายทั้งหมดหรื อรัฐธรรมนู ญ (Constitutional theory of
civil disobedience)
2. กฎหมายที่ ต่อต้านหรื อดื้ อแพ่งนั้น ต้องเป็ นกฎหมายที่ ขาดความชอบธรรมเป็ นอย่างมาก อัน
เป็ นการฝ่ าฝื นหลักความเป็ นธรรมขั้นพื้นฐานหรื ออิสรภาพขั้นมูลฐานของประชาชน
3. การไม่เคารพหรื อต่อต้านกฎหมายต้องถือว่า เป็ นปฏิ บตั ิ การซึ่ งเป็ นทางเลื อกสุ ดท้ายหลังจาก
ประสบความล้มเหลว ในการแก้ปั ญ หากฎหมายที่ ไม่ เป็ นธรรมและความสุ จริ ตตามขั้น ตอนที่ ชอบด้วย
กฎหมายตามปกติ ซึ่ งอาจเป็ นลักษณะของการยืน่ คําร้องผ่านพรรคการเมืองต่อรัฐสภา หรื อสถาบันของรัฐที่
รับผิดชอบเรื่ องการตรวจสอบแก้ไขกฎหมาย
4. การต่อต้านกฎหมายต้องกระทําโดยสันติวิธีโดยเปิ ดเผย และในหลายกรณี มีขอ้ จํากัดในแง่ที่ตอ้ ง
เคารพต่อสิ ทธิ ในการดื้ อแพ่งของบุ คคลอื่นที่มีความคล้ายคลึงกัน ทั้งนั้นย่อมหมายความด้วยว่าผูต้ ่อต้าน
จะต้องพร้อมเสมอที่จะเผชิ ญหน้ากับผลทางกฎหมายจากการดื้อ แพ่งดังกล่าว เงื่อนไขข้อนี้ เท่ากับเป็ นการ
ชี้ ให้เห็นลึกๆลงแล้วในมโนธรรมสํานึ ก ของผูด้ ้ือแพ่งต่อกฎหมายยังเปี่ ยมไปด้วยความซื่ อสัตย์เชื่ อมัน่ ต่อ
สถาบันกฎหมาย เป็ นการใช้ความสงบ นุ่มนวล เปิ ดเผยและพร้อมที่จะรับโทษทัณฑ์จากการกระทํานั้นๆ

ข้ อสั งเกตบางประการ
ทฤษฎีปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย ยอมรับไม่ได้ที่จะให้มีการดื้อแพ่งต่อกฎหมายของประชาชน ด้วย
เหตุผลจากแนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย 2 ข้อ คือ
1. การยืนยันว่า การดํารงอยู่ของกฎหมายใด ๆ มิได้ข้ ึนอยู่กบั การสนองตอบหรื อสอดคล้องกับ
หลักคุณค่าทางศีลธรรมอันหนึ่งอันใดที่สามารถปรับใช้ได้อย่างเป็ นสากลในทุกระบบกฎหมาย
2. การยืนยันว่า การดํารงอยู่ของกฎหมายขึ้นอยู่กบั การที่กฎหมายถูกสร้างขึ้นโดยผ่านการตกลง
ปลงใจของมนุษย์ในสังคม
ดังนั้น ข้อสรุ ปของปฏิฐานนิยมทางกฎหมายก็คือ กฎหมายที่ไม่เป็ นธรรมก็ยงั ถือว่าเป็ นกฎหมายที่มี
สภาพบังคับ ให้ทุ ก คนต้อ งปฏิ บัติ ต ามอยู่ การละเมิ ด ฝ่ าฝื นกฎหมายไม่ ว่าด้วยเหตุ ผ ลใดต้องได้รับ โทษ
เหมื อนกันหมด โดยทฤษฎีปฏิฐานนิย มทางกฎหมายมีความเห็นว่ า ภายใต้ หลักนิติธรรม รั ฐควรปรั บใช้
กฎหมายโดยเสมอภาค หรื อเคร่ งครัดจริงจังแก่ผู่ที่ทําการดื้อแพ่ งต่ อกฎหมาย ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องนัก เพราะ

 
 

แนวคิดดังกล่าวมีความเคร่ งครัดแข็งกร้าวมากเกินไป เพราะถึงแม้ว่ากฎหมายจะอ้างว่าอยู่ภายใต้หลักนิ ติ


ธรรมก็ตาม แต่ตอ้ งยอมรับกันว่า มีท้ งั กฎหมายที่ออกมาโดยถูกต้องชอบธรรม และกฎหมายที่ออกมาโดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อรับใช้ผมู ้ ีอาํ นาจ หรื อกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ กฎหมายนั้นมีท้ งั ยุติธรรมและไม่ยตุ ิธรรม ดังนั้น
ถ้ามีกฎหมายที่ไม่ยตุ ิธรรมเกิดขึ้นในสังคม แล้วการบังคับใช้กฎหมายนั้นไปมีผลกระทบต่อคนในสังคมแล้ว
ย่อมเป็ นการชอบที่จะให้มีการดื้อแพ่งทางกฎหมายได้ และเมื่อผูท้ ี่ทาํ การดื้อแพ่งทางกฎหมายมิได้มีมูลเหตุ
จูงใจที่จะทําผิดกฎหมายอย่างอาชญากรหรื อผูก้ ระทําความผิดอาญาต่าง ๆ การบังคับใช้กฎหมายของรัฐใน
การลงโทษแก่ผทู ้ ี่ทาํ การดื้อแพ่งต่อกฎหมาย จึงควรมีความยืดหยุน่ ไม่เคร่ งครัดมากจนเกินไป เช่น อาจมีการ
อนุญาตให้มีการชะลอการฟ้องคดี หรื อลงโทษสถานเบาหรื ออาจมีการภาคทัณฑ์ไว้ เป็ นต้น
อย่างไรก็ดี เพื่อป้องกันมิให้เกิดความวุน่ วายขึ้นในสังคม เพราะบุคคลอื่นที่ทาํ ผิดกฎหมายอาจอ้างว่า
ทําไปเพราะดื้อแพ่งต่อกฎหมายเพื่อให้ตนเองได้ลดหย่อนโทษลง จึงจําเป็ นต้องกําหนดเงื่อนไขของกรณี ที่จะ
ทําการดื้อแพ่งต่อกฎหมายไว้ ดังเช่นที่จอห์น รอลส์ ได้เสนอไว้ เช่น ต้องเป็ นการดื้อแพ่งโดยไม่มีการยัว่ ยุ
ความรุ นแรงให้เกิดขึ้น ต้องทําโดยเปิ ดเผยในที่สาธารณะ ไม่ใช้ความรุ นแรง ต้องมีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์
ของสังคม และต้องเป็ นทางเลือกสุ ดท้าย เป็ นต้น


 

You might also like