You are on page 1of 6

แนวข้อสอบประวัติศาสตร์ (กลางภาค1/2566)

ตอนที่1 - ปรนัย (เลือกตอบ)

1. ความสำคัญของหลักฐาน / ประเภทของหลักฐาน (มีลายลักษณ์อักษร-ไม่มีลายลักษณ์อักษร)

แนวคำตอบ

ความสำคัญ : เป็นเครื่องมือในการสืบค้นร่องรอยของอดีตหรือเรื่องราวในอดีต ประเภทของหลักฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

• หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ หลักฐานที่เขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร

เช่น จารึก พระราชพงศาวดาร จดหมายเหตุ หนังสืออัตชีวประวัติ

• หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ หลักฐานที่ไม่ปรากฎเป็นลายลักษณ์อักษร

เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ จิตรกรรมฝาผนัง คำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้รู้

หลักฐานประเภทโสตทัศน์ เช่น รูปถ่าย เป็นต้น

2. ประโยชน์ของหลักฐาน - ประโยชน์ของวิธีการทางประวัติศาสตร์

แนวคำตอบ

• ประโยชน์ของหลักฐาน : เป็นเครื่องมือในการสืบค้นร่องรอยของอดีต เป็นแหล่งค้นคว้าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

• ประโยชน์ของวิธีการทางประวัติศาสตร์ : ทำให้ได้เรื่องราวทาง ประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ

3. หลักฐานชั้นต้น/หลักฐานชั้นรอง วิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน

แนวคำตอบ

• หลักฐานชั้นต้น - เป็นหลักฐานที่ได้จากยุคสมัยนั้น หรือเขียนโดยคนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น

• หลักฐานชั้นรอง - เป็นหลักฐานเขียนโดยอาศัยเหตุการณ์ในอดีตหรือหลักฐานชั้นต้น/การสัมภาษณ์ผู้รู้

วิธีการทางประวัติศาสตร์

กำหนด หัวเรื่องที่จะศึกษา - เลือกประเด็นที่สนใจ หรือต้องการรู้รายละเอียดที่ลึกซึ้งในความรู้ที่อธิบายกันในปัจจุบัน

รวบรวมหลักฐาน - รวบรวมทั้งหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง

ประเมินคุณค่าของหลักฐาน - ประเมินว่าหลักฐานใดมีความสำคัญควรแก่การเชือ่ ถือ

วิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ข้อมูล - การนำข้อเท็จจริงที่ผ่านกำรวิเคราะห์มารวบรวมจัดหมวดหมู่

เรียบเรียงหรือนำเสนอ – นำเสนอผลการศึกษา
4. การครองราชย์ของรัชกาลที่1

แนวคำตอบ

ในปลายสมัยธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ยกทัพไปปราบเมืองเขมร ขณะกำลัง ทำสงครามอยู่นั้น ได้เกิดการจลาจลในกรุงธนบุรี


สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงได้ยกทัพกลับ เพื่อมาระงับการจลาจล ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 บรรดาขุนนางได้อัญเชิญให้พระองค์
เสด็จ ขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์จึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี

5. การย้ายราชธานีและปัจจัยในการย้าย

แนวคำตอบ

หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระราชดำริว่า กรุงธนบุรีไม่เหมาะที่จะเป็นที่ตั้งของราชธานี


อีกต่อไป จึงโปรดให้ย้ายราชธานีไปอยู่ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา

โดยมีปัจจัยสำคัญดังนี้

• พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบถูกขนาบข้างวัดแจ้ง(วัดอรุณราชวราราม)กับวัดท้ายตลาด(วัดโมลีโลกยาราม) ทำให้ไม่สามารถขยาย
เขตพระราชวังให้กว้างขวางได้

• กรุงธนบุรีเป็นเมืองอกแตก มีแม่น้ำไหลผ่านเมือง เสี่ยงต่อการตั้งรับข้าศึก

• ที่ตั้งของกรุงธนบุรีอยู่บนท้องคุ้งของแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำจึงกัดเซาะตลิ่งพังอยู่ตลอดทำให้ไม่สามารถสร้างถาวรวัตถุต่างๆได้

6. วังหน้า สมุหนายก สมุหกลาโหม

แนวคำตอบ

1. สมุหนายก - มีอำนาจบังคับบัญชาทั้งด้านการทหารและพลเรือนในหัวเมืองฝ่ายเหนือ

2. สมุหกลาโหม - มีอำนาจบังคับบัญชาทั้งด้านการทหารและพลเรือนในหัวเมืองฝ่ายใต้

7. ยุคทองของแต่ละรัชกาล

แนวคำตอบ

รัชกาลที่ 2 : ยุคทองของวรรณกรรม - ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านวรรณกรรม พระราชนิพนธ์งานประพันธ์ไว้ในเรื่อง เช่น ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง


มณีพิชัย ไกรทอง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน เรื่องที่โดดเด่นที่สุดคือ อิเหนา

กวีสุนทรภู่ -เป็นกวีเอกและโปรดปรานในรัชกาลที่2 มีความรักกาพย์กลอนพระองค์จึงแต่งตั้งเป็น “ขุนสุนทรโวหาร”

แต่งเรื่อง พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน นิราศภูเขาทอง สุภาษิตสอนหญิง นิราศพระบาท นิราศเมืองแกลง

รัชกาลที่ 3 : ยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง - สมัยรัชกาลที่ 2 ทรงตำแหน่ง กรมหมื่นเจษฏาบดินทร เก่งเรื่องการแต่งสําเภาสินค้าออกไปค้าขายกับ


ต่างประเทศทําให้มีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอย่างมากจนไค้รับฉายาจากพระราชบิดาว่า “เจ้าสั่ว”
8. เศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

แนวคำตอบ

เศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงเป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา แต่สินค้าส่งออกของไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นและมี
การค้ากับหลายประเทศ รวมทั้งมีการใช้ระบบภาษีนายอากร

พื้นฐานทางเศรษฐกิจ

1. การเกษตรเน้นการปลูกข้าวเป็นพืชสำคัญ เพื่อการบริโภคในครัวเรือน จ่ายเป็นค่าน่าให้แก่รัฐบาล ส่วนที่เหลือจึงนำไปค้าขาย


นอกจากการเพาะปลูกแล้ว ยังมีการเลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องใช้จากวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น พืชเศรษฐกิจที่สำคัญนอกจากข้าวแล้ว ก็มี
ฝ้าย พริกไทย ยาสูบ อ้อย และพืชเศรษฐกิจสำคัญในท้องถิ่น เช่น ผัก ผลไม้
2. อุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาลทราย ต่อเรือ เหมืองแร่ เช่น เหล็ก ดีบุก ผลิตผลด้านอุตสาหกรรมทำรายได้สูง
ให้แก่ราชสำนักโดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่3อุตสาหกรรมเหล่านี้เจริญเติบโตสูงสุด โดยผู้ลงทุนคือ พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุน
นาง และชาวจีน
3. เงินตราที่ใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นเงินพดด้วง เช่นเดียวกับที่เคยใช้กันในสมัยอยุธยา เงินพดด้วงใช้โลหะเงิน มีตรา
เครื่องหมายรัชกาลตีก่ากับ ดังนี้

รัชกาลที่ 1 อุณาโลมกับจักร

รัชกาลที่ 2 ครุฑกับจักร

รัชกาลที่ 3 ปราสาทกับจักร

9. พระคลังสินค้า รายได้ การเก็บภาษี ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

แนวคำตอบ

รายได้ของอาณาจักร

รายได้จากการเก็บภาษี แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเก็บภายในประเทศ ซึ่งเก็บจากราษฎรไทย และส่วนที่ได้จากภายนอกประเทศ

ภาษีอากรที่เก็บภายในประเทศ มี 4 ประเภท คือ

1.1 จังกอบ คือ การเรียกเก็บสินค้าของราษฎร โดยชักส่วนจากสินค้าที่ผ่านด่านทั้งทางบกและทางน้ำในอัตราสิบหยิบหนึ่ง

1.2 อากร คือ เงินหรือสิ่งของที่รัฐบาลเรียกเก็บจากผลประโยชน์ของราษฎรที่ได้จากการประกอบอาชีพค้าขาย หรือรัฐบาลให้สิทธิประชาชน


ไปทำอาชีพผูกขาด โดยเรียกเก็บผลประโยชน์จากราษฎร อากร ที่สำคัญได้แก่ อากรค่าน่า อากรสวน อากรค่าน้ำ

1.3 ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ไพร่หลวงนำมาให้แก่ราชการทดแทนการเข้าเดือน เช่น ดีบุก พริกไทย มูลค้างคาว รวมไปถึงเครื่องบรรณาการที่


เมืองประเทศราชถวาย

1.4 ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่ทางราชการเรียกเก็บ เป็นค่าบริการ เช่น การออกโฉนดที่ดิน

ภาษีที่ได้จากภายนอกประเทศ มี 2 ประเภท คือ

2.1 ภาษีเบิกร่องหรือภาษีปากเรือ คือ ภาษีที่เก็บจากคเรือสินค้าต่างประเทศ โดยคิดจากขนาดความกว้างของปากเรือที่บรรทุกสินค้าเข้ามา

2.2 ภาษีสินค้าออก เรียกเก็บตามประเภทของสินค้า


รายได้สินค้าผูกขาดและสินค้าต้องห้าม

สินค้าผูกขาด คือ สินค้าที่กรมพระคลังสินค้า เป็นผู้ขายเอง เพื่อความปลอดภัย และความมั่นคงของประเทศ เช่น อาวุธปืน กระสุนปืน ดิน
ระเบิด หากนำเข้าจากต่างประเทศก็ต้องขายให้แก่พระคลังสินค้าเท่านั้น

สินค้าต้องห้าม คือ สินค้าที่หายาก มีราคาแพง เป็นที่ต้องการของต่างประเทศ เช่น งาช้าง รังนก ไม้ฝาง ไม้กฤษณา สินค้าต้องห้ามเหล่านี้
ราษฎรต้องนำมาขายแก่กรมพระคลังสินค้า แล้ว ชาวต่างประเทศจึงมาซื้อผ่านกรมพระคลังสินค้า

รายได้อื่น ๆ เช่น เครื่องราชบรรณาการจากประเทศราช ค่าธรรมเนียมทีเ่ รียกเก็บจาก ผู้ชายชาวจีน เรียกว่า ค่าผูกปี เริ่มเก็บตั้งแต่สมัยรัชกาล


ที่ 2 ค่าไถ่โทษและค่าปรับจากผู้ทำความผิด

รายจ่ายของอาณาจักร

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นถือว่ารายได้ทั้งหมดของอาณาจักรเป็นของพระมหากษัตริย์ และทรงมีพระราชอำนาจที่จะใช้จ่ายได้ตามพระ
อัธยาศัย จึงเรียกว่า รายจ่ายพระราชทรัพย์

ซึ่งแบ่ง ได้ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1. จ่ายเป็นเบี้ยหวัด เป็นเงินรายได้รายปีแก่เจ้านายและขุนนาง
2. รายจ่ายในด้านความมั่นคง เช่น รายจ่ายในการเลี้ยงดูสัตว์พาหนะ ซื้ออาวุธ
3. รายจ่ายในด้านการศาสนา เช่น การก่อสร้าง ปฏิสังขรณ์วัด การบำเพ็ญพระราชกุศล
4. รายจ่ายอื่น ๆ เช่น รายจ่ายในงานพระราชพิธีต่าง ๆ รายจ่ายด้านสงเคราะห์คนอนาถา

8. สังคมไทย บทบาทพระมหากษัตริย์ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

แนวคำตอบ

โครงสร้างทางสังคมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีความสัมพันธ์กับระบบการปกครองอาณาจักร พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในตำแหน่งสูงสุด
รองลงมาเป็นเจ้านาย ขุนนาง ไพร่ และทาส โดยมีศักดินาเป็นพื้นฐานในการจัดระบบสังคมตามแบบที่เคยมีในสมัยอยุธยา

ระบบศักดินา เป็นระบบที่กำหนดฐานะของคนในสังคม

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการแบ่งกลุ่มคนในสังคมเป็นชนชั้นต่างๆ 5 ชนชั้น เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา ได้แก่

พระมหากษัตริย์ เป็นสมมติเทพผู้ดำรงตำแหน่งประมุขสูงสุดของอาณาจักร เป็นเจ้าของ แผ่นดินภายในราชอาณาจักร มีพระราชอำนาจเหนือ


ชีวิตทุกคนภายใต้การปกครองของพระองค์ และเป็นธรรมราชาที่ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร์ด้วยทศพิธราชธรรม

เจ้านาย เป็นชนชั้นสูงที่สืบเชื้อสายใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระบรมวงศานุวงศ์ เจ้านายมีสกุลยศมาแต่กำเนิด มี 3 ชั้น คือ เจ้าฟ้า


พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า และอิสริยยศสูงสุด ที่พระมหากษัตริย์พระราชทาน ได้แก่ พระมหาอุปราชหรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

ขุนนาง เป็นข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ โดยจะพระราชทาน บรรดาศักดิ์ ราชทินนาม ตำแหน่ง และศักดินา ขุนนางจะ


เป็นผู้มีศักดินาตั้งแต่ 400 ขึ้นไป นอกจากนี้ขุนนางยังมีฐานะเป็นมูลนายที่จะมีไพร่ไว้ในครอบครองได้ ขุนนางได้รับสิทธิพิเศษหลาย ประการ
เช่น ได้รับสิทธิเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินเวลาเสด็จออก ได้รับสิทธิให้ผู้อื่นขึ้นศาลแทนตนได้ ละได้รับการยกเว้นภาษีที่นา

ไพร่ เป็นราษฎรทั่วไปทั้งชายหญิงที่เป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศที่ไม่ได้เป็นเจ้านาย ขุนนาง ทาส และพระสงฆ์ ไพร่ทุกคนต้องสังกัดมู ล


นาย ไพร่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีฐานะ เช่นเดียวกับไพร่ในสมัยอยุธยา มี 2 ประเภท คือ
1. ไพร่หลวง คือ ไพร่ที่ขึ้นกับพระมหากษัตริย์โดยตรง ในสมัยอยุธยาปีหนึ่งจะต้อง อย่างหนึ่ง พระมหา เข้าเวรถึง 6 เดือน คือ เข้าเวร
1 เดือน ออกเวรไปอยู่บ้าน 1 เดือน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 เปลี่ยนเป็นให้ไพร่เข้าเวรปีละ 4 เดือน คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 2
เดือน สลับกันไป ในสมัย ให้มีวัตรปฏิบัติ รัชกาลที่ 2 เปลี่ยนเวลาเป็นเข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 3 เดือน หรือเท่ากับปีหนึ่งถูกเกณฑ์
เข้า รับราชการเพียง 3 เดือน ไพร่หลวงอาจส่งส่วยหรือผลผลิตให้แก่ทางราชการแทนการถูกเกณฑ์

แรงงานเรียกว่า “ไพร่ส่วย”

2. ไพร่สม คือ ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่เจ้านายและขุนนางที่มีตำแหน่งทางราชการ


มูลนายและไพร่ต่างมีสิทธิและหน้าที่ต่อกัน กล่าวคือ มูลนายมีหน้าที่ในการปกครอง บังคับบัญชา ช่วยเหลือ และให้ความคุ้มครองไพร่ใน
สังกัดของตน

5. ทาส เป็นผู้ที่ไม่มีอิสระในตัวเอง เป็นชนชั้นที่ต่ำสุดในสังคม ทาสเป็นกรรมสิทธิ์ของนาย ทาสหรือนายเงิน ซึ่งมีสิทธิ์ลงโทษทัณฑ์และขาย


ทาสให้นายเงินอื่นได้ ทาสแบ่งเป็นออกเป็น 7 ประเภท คือ ทาสเชลย ทาสในเรือนเบี้ย ทาสสินไถ่ ทาสท่านให้ ทาสได้มาแต่บิดามารดา ทาสที่
ช่วยมาจากทัณฑโทษ และทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย

ชนชั้นในสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นทั้ง 5 ชนชั้นสามารถจัดกลุ่มตามลักษณะทาง การปกครองได้ 2 กลุ่ม คือ ชนชั้นปกครอง ได้แก่


พระมหากษัตริย์ เจ้านาย และขุนนาง และ ชนชั้นใต้ปกครอง ได้แก่ ไพร่และทาส นอกจากนีย้ ังมีชนชั้นพิเศษที่ไม่จัดเป็นชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง
คือ พระสงฆ์ ผู้มีหน้าที่สืบทอดเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นผู้ที่ทุกชนชั้นต่างเคารพเลื่อมใสศรัทธา ในวัตรปฏิบัติ
ตอนที่2 - อัตนัย (ข้อเขียน)

1. วิเคราะห์ประเด็น

1.1 หลักฐานทางประวัติศาสตร์มีความสำคัญต่อการศึกษาเรื่องราว

แนวคำตอบ

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ มีความสำคัญต่อการศึกษาเรื่องราวเพราะ หลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือในการสืบค้นเรื่องราวที่จะ


ศึกษาได้ โดยนำเอาไปประกอบกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างความเข้าใจ ในเหตุการณ์ต่าง ที่ต้องการสืบค้น

1.2 เพราะเหตุใดต้องใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการสืบค้น

แนวคำตอบ

ทำให้เรื่องราว กิจกรรม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์มีความน่าเชื่อถือ มีความถูกต้องเป็นความจริง หรือใกล้เคียงความเป็นจริงมาก


ที่สุด เพราะได้ศึกษาอย่างเป็นระบบ อย่างมีขั้นตอน มีความระมัดระวัง รอบคอบ

1.3 ประวัติศาสตร์มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

แนวคำตอบ

นำเหตุการณ์ในอดีตนำมาเป็นบทเรียนและประยุกต์ใช้ในกระบวนการแก้ไขปัญหา

2. เคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

แนวคำตอบ

1. มีที่ตั้งในทางยุทธศาสตร์เหมาะสม ตำบลบางกอกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงรัตนโกสินทร์ มีลักษณะเป็นแหลม มีแม่น้ำเป็นกำแพงเมือง


เกือบครึ่งเมือง ส่วนด้านตะวันออกของเมืองเป็น ที่ราบลุ่มทะเลตม น้ำท่วมเป็นเวลานานในฤดูน้ำหลาก เป็นด่านป้องกันข้าศึกได้
อย่างดี
2. เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร พื้นที่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ เจ้าพระยามีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์
สามารถทำการเพาะปลูกได้ผลดี ทำให้การเกษตรกรรมเจริญก้าวหน้า
3. เป็นศูนย์กลางการค้า กรุงรัตนโกสินทร์มีที่ตั้งไม่ไกลจากปากแม่น้ำ มีแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านเมืองลงสู่ทะเลอ่าวไทย ทำให้การ
ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมีความสะดวก รวมไปถึง ทำเลที่ตั้งอยู่ในเส้นทางการค้าระหว่างจีนกับอินเดีย จึงเป็นศูนย์กลางการค้า
ระหว่างตะวันออกกับ ตะวันตก ซึ่งการเป็นศูนย์กลางการค้าทำให้ได้รับวัฒนธรรมใหม่ ๆ และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสม กั บ
อาณาจักรได้
4. พระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์

5กประเทศเพื่อนบ้านมีปัญหาภายใน และถูกคุกคามจากชาติตะวันตก

You might also like