You are on page 1of 66

กรมบังคับคดี

กระทรวงยุติธรรม

สาระน่ารู้
ด้านการบังคับคดีแพ่ง
การยึดทรัพย์สิน
การอายัดทรัพย์สิน
การจำาหน่ายทรัพย์สิน

http : www.facebook.com
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
สาระน่ารู้
ด้านการบังคับคดีแพ่ง
การยึดทรัพย์สิน
การอายัดทรัพย์สิน
การจำ�หน่ายทรัพย์สิน

ผลิตครั้งที่ 1 : มิถุนายน 2559


จำ�นวน 30,000 เล่ม
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

สารบัญ หน้า

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ 3 - 18
การยึดทรัพย์สิน
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ 19 - 36
การอายัดทรัพย์สิน

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ 37 - 64
การจำ�หน่ายทรัพย์สิน

2
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
-

การยึด
56 10
KL 56
NMOLQ

20%
COUP
OFF
ON
56 10 V IP B
KL 56
NMOLQ AN K

ทรัพย์สิน
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 1
ถาม จะยึดทรัพย์ (ที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง)
ต้องเตรียมอะไรบ้าง ประกอบการขอยึดทรัพย์

ตอบ
กรณียึดที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
1. เอกสารต้นฉบับโฉนด, น.ส.3, น.ส. 3 ก หรือสำ�เนาเอกสารสิทธิ
ดังกล่าวที่ตรวจสอบได้ว่าจำ�เลย (ลูกหนี้ตามคำ�พิพากษา) มีกรรมสิทธิ์
ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน ก่อนทำ�การยึด (กรณีไม่มี
ต้นฉบับในความครอบครอง)
2. สำ�เนาทะเบียนราษฎร์จำ�เลย, ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม / สำ�เนาหนังสือ
รับรองนิตบิ คุ คล (กรณีจ�ำ เลยเป็นนิตบิ คุ คล) ซึง่ เจ้าพนักงานรับรองไม่เกิน 1 เดือน
3. ภาพถ่ายที่ตั้งทรัพย์ที่ขอยึดและรายละเอียดของสิ่งปลูกสร้าง”
ที่เป็นปัจจุบัน
4. แผนทีก่ ารไป (ทีแ่ สดงว่าทรัพย์ทย่ี ดึ ตัง้ อยูท่ ใ่ี ด ห่างจากถนนใหญ่
หรือถนน ซอยระยะทางเท่าใด ตั้งอยู่ระหว่างกิโลเมตรที่เท่าใด มีสถานที่
สำ�คัญอะไรบ้างที่เป็นจุดสังเกต)
5. ราคาประเมินที่ดิน รวมทั้งราคาประเมินห้องชุด
6. วางเงินประกันค่าใช้จ่าย คดีละ 2,500 บาท

4
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

* กรณียึดที่ดิน น.ส. 3 / น.ส. 3 ก ให้ผู้นำ�ยึดนำ�ส่งสำ�เนาใบ ร.ว.9,


สำ�เนาใบ ร.ว. 25 จ. และสำ�เนาผังแปลงที่ดินในระบบพิกัด UTM
Indian 1975 หรือระบบพิกัด UTM WGS 84 เพื่อประกอบการ
ยึดทรัพย์ทกุ แปลง เว้นแต่มเี หตุขดั ข้อง ซึง่ เจ้าหนีผ้ นู้ �ำ ยึดจะต้องติดต่อ
เจ้าพนักงานบังคับคดี แถลงหลักฐานของเจ้าพนักงานที่ดิน ว่าที่ดิน
แปลงนั้นไม่มี ใบ ร.ว. 9 และหรือ ใบ ร.ว. 25 จ. และหรือผังแปลง
ทีด่ นิ หรือแผนทีแ่ สดงตำ�แหน่งแปลงทีด่ นิ ในระบบพิกดั UTM Indian
1975 หรือระบบพิกดั UTM WGS 84 นอกจากนัน้ กรณีทดี่ นิ จะทำ�การยึด
เป็นที่ดิน น.ส. 3 โจทก์ต้องประสานกับเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อร่วมชี้
แนวเขตที่ ดิ น ด้ ว ย ค่ า ใช้ จ่ า ยในการรั ง วั ด โจทก์ เ ป็ น ผู้ รั บ ผิ ด ชอบ
หากเจ้าพนักงานรังวัดทีด่ นิ ไม่มาร่วมชีแ้ นวเขตในการยึด ณ ทีต่ งั้ ทรัพย์
ให้เจ้าหนี้แถลงนำ�ส่งเอกสารการปฏิเสธ หรือเหตุขัดข้องอื่นใดให้
เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบด้วย

$
$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$
$$$$$$$$$$$$$$$$$$

$$$$$$$$$$$$$$$$$$
$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$

$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$
$$$$$$$$$$$$$$$$$$

$$$$$$$$$$$$$$$$$$
$$$$$$$$$$$$$$$$$$

$$$$$$$$$$$$$$$$$$

5
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 2
ถาม ต้องการยึดที่ดินที่มีชื่อสามี ภรรยา
คู่สมรสเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์/สิทธิครอบครองจะทำ�ได้หรือไม่

ตอบ
ถ้ามีชอื่ คูส่ มรสถือกรรมสิทธิ์ / สิทธิครอบครอง เจ้าหนีต้ อ้ งตรวจสอบใน
เบื้องต้นก่อนว่า เป็นทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรสหรือไม่ ถ้าใช่ (เป็นสินสมรส)
เจ้าพนักงานบังคับคดีจงึ จะยึดให้ ส่วนเอกสารอืน่ ๆ ให้นำ�ส่งตามข้อ 1 และใน
กรณีนี้ต้องนำ�ส่งเอกสารการสมรสที่เจ้าหน้าที่รับรองไม่เกิน 1 เดือน ถ้าไม่ใช่
(ไม่เป็นสินสมรสแต่เป็นการได้มาในกรณีอนื่ ๆ เป็นทรัพย์สนิ ส่วนตัว) เป็นการ
ขอยึดทรัพย์ของบุคคลภายนอก ซึง่ ไม่ใช่ลกู หนีต้ ามคำ�พิพากษา เจ้าหนีจ้ ะขอ
ยึดทรัพย์ (ที่ดิน) ไม่ได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดให้

ข้อ 3
ถาม ถ้าลูกหนี้มีสามี/ภรรยา ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแล้ว
มีชื่อกรรมสิทธิ์/สิทธิครอบครองในที่ดิน
เจ้าหนี้จะขอยึดได้หรือไม่

ตอบ
ที่ดินซึ่งทำ�มาหาได้ร่วมกัน หรือได้มาในระหว่างอยู่กินกันในฐานะ
สามี/ภรรยา ซึง่ ไม่มชี อื่ ลูกหนีเ้ ป็นผูถ้ อื กรรมสิทธิ์ เจ้าพนักงานบังคับคดียดึ ไม่ได้
6
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 4
ถาม เจ้าหนี้จะขอยึดที่ดินฯ ของลูกหนี้
ซึ่งติดจำ�นองธนาคาร หรือบุคคลอื่นได้หรือไม่

ตอบ
สามารถดำ�เนินการได้ แต่ผลของการบังคับคดี ถ้าเจ้าหนี้จำ�นองขอรับ
ชำ�ระหนี้บุริมสิทธิ (ขอรับชำ�ระหนี้จำ�นอง) ต่อศาลและศาลมีคำ�สั่งอนุญาต
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดภายหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว
จะจ่ายชำ�ระหนีใ้ ห้แก่เจ้าหนีจ้ �ำ นองเป็นอันดับแรก ถ้ามีเงินเหลืออีก จึงจะจ่ายให้
เจ้าหนีผ้ เู้ ป็นโจทก์ เว้นแต่เจ้าหนีผ้ รู้ บั จำ�นอง จะแถลงขายโดยการจำ�นองติดไป
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์นั้น ภายหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว จึงจะ
จ่ายให้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์

7
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 5
ถาม ลูกหนี้อยู่ในฐานะบุตรของผู้ตาย
ผู้ตายมีที่ดินเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท
จะขอยึดทรัพย์มรดก (ที่ดิน) ได้หรือไม่

ตอบ
ต้ อ งเปลี่ ย นชื่ อ ทางทะเบี ย นให้ ลู ก หนี้ เ ป็ น ผู้ ถื อ กรรมสิ ท ธิ์ เ สี ย ก่ อ น
จึงจะทำ�การยึดได้ ถ้าลูกหนีอ้ ยูใ่ นฐานะทายาทของผูต้ ายและมีสทิ ธิได้รบั มรดก
(ที่ดิน) ดังกล่าว กรณีหากทรัพย์มรดกนั้นยังไม่มีการเปลี่ยนชื่อให้ลูกหนี้เป็น
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียน ทรัพย์มรดกนั้นยึดไม่ได้ หากเจ้าหนี้ยื่นคำ�ขอให้
เจ้าพนักงานบังคับคดีท�ำ การยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีค�ำ สัง่ ยกคำ�ขอ ซึง่ เจ้าหนี้
จะต้องยื่นคำ�ร้องต่อศาลขอให้ศาลมีค�ำ สั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีท�ำ การยึด
ถ้าศาลมีคำ�สั่งให้ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงจะทำ�การยึดให้

8
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 6
ถาม จะขอยึดทรัพย์ที่ดินเฉพาะส่วนของลูกหนี้ที่ถือกรรมสิทธิ์/
สิทธิครอบครองร่วมกับคนอื่นจะทำ�ได้อย่างไร

ตอบ
กรณีทลี่ กู หนีถ้ อื กรรมสิทธิ์ / สิทธิครอบครองร่วมกับผูอ้ นื่ นัน้ ถ้ามิได้
แบ่งแยกการครอบครองกันได้ชดั เจน กฎหมายถือว่ากรรมสิทธิ์ / สิทธิครอบครอง
ร่วมกันในทีด่ นิ มีสว่ นเท่าๆ กัน (คือมีกรรมสิทธิร์ ว่ มกันทุกตารางวาของทีด่ นิ )
การขอยึดที่ดินต้องขอยึดทั้งแปลง เมื่อการบังคับคดีถึงขั้นขายทรัพย์ได้
เงินทีไ่ ด้จากการขายทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะกันให้ผถู้ อื กรรมสิทธิ/์ สิทธิ
ครอบครองร่วมครึ่งหนึ่ง ในกรณีที่ลูกหนี้กับบุคคลภายนอกถือกรรมสิทธิ์/
สิทธิครอบครองรายอืน่ เจ้าพนักงานบังคับคดีกจ็ ะจ่ายไปให้แก่บคุ คลดังกล่าว
ต่อไป
กรณีทลี่ กู หนีถ้ อื กรรมสิทธิ์ / สิทธิครอบครองร่วมกับผูอ้ นื่ และมีการ
แบ่งแยกการครอบครองชัดเจนพิสจู น์ได้ เจ้าหนีข้ อยึด เจ้าพนักงานบังคับคดี
ดำ�เนินการยึดให้เฉพาะส่วนของลูกหนี้และนำ�ออกขายเฉพาะของลูกหนี้
เงินที่ได้จากการขาย ถ้าไม่มีเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษารายอื่นขอเฉลี่ยทรัพย์
ก็จะจ่ายชำ�ระหนี้ให้โจทก์ภายหลังการจัดทำ�บัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย

9
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 7
ถาม จะขอยึดทรัพย์ที่ดินของลูกหนี้ที่นำ�ไปประกันตัวจำ�เลย
ในคดีอาญาในชั้นศาลได้หรือไม่
ตอบ
ขอยึดทรัพย์ (ทีด่ นิ ) ดังกล่าวไม่ได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าหนีข้ องเจ้าหนีน้ นั้ มิได้
เกิดจากการฉ้อฉลและมีค�ำ สั่งให้ปล่อยทรัพย์หลักประกันดังกล่าวเนื่องจาก
ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 (แก้ไข
เพิ่มเติม ฉบับที่ 30 พ.ศ. 2558)

ข้อ 8
ถาม ขอยึดที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ของลูกหนี้ทำ�ได้หรือไม่
ตอบ
“ทีด่ นิ ทีเ่ กษตรกรซึง่ เป็นลูกหนีต้ ามคำ�พิพากษาได้รบั การจัดสรรให้เข้า
ทำ�ประโยชน์ในทีด่ นิ (ส.ป.ก. 4 - 01) เป็นกรรมสิทธิข์ องสำ�นักงานการปฏิรปู
ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ตามมาตรา 36 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ
การปฏิรปู ทีด่ นิ เพือ่ เกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ถือเป็นทรัพย์สนิ ของแผ่นดินทีห่ า้ มยึด
ตามมาตรา 1307 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช่ทรัพย์สิน
ของลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาที่เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาจะมีสิทธินำ�ยึดและ
ขายทอดตลาดนำ�เงินมาชำ�ระแก่ตนได้”

10
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 9
ถาม ที่ดินของลูกหนี้มีเพียงเอกสาร ส.ค. 1
หรือที่ดิน ภ.บ.ท. 5 เท่านั้น จะขอยึดได้หรือไม่
ตอบ
ที่ดินที่มีเพียงเอกสาร ส.ค. 1 หรือ ใบ ภ.บ.ท. 5 เจ้าพนักงานบังคับคดี
จะทำ�การยึดไม่ได้ เว้นแต่ที่ดินดังกล่าวมีสิ่งปลูกสร้างอยู่ จะทำ�การยึดได้
เฉพาะสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น

ข้อ 10
ถาม กรณีขอยึดทรัพย์สินภายในบ้าน
ต้องเตรียมอะไรบ้าง ประกอบการขอยึดทรัพย์

ตอบ
กรณีขอยึดทรัพย์สินภายในบ้าน
เจ้าหนี้ต้องนำ�ส่งสำ�เนาทะเบียนบ้านลูกหนี้
วางเงินประกันค่าใช้จ่ายคดีละ 1,500 บาท
เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบสำ�เนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้
แล้วปรากฎว่าลูกหนี้เป็นเจ้าบ้านซึ่งไปยึดให้ ถ้าบ้านปิดสามารถเปิดบ้าน
เพือ่ ทำ�การยึดทรัพย์ตามทีเ่ จ้าหนีน้ �ำ ชีไ้ ด้ กรณีเปิดบ้าน เจ้าหนีจ้ ะต้องแถลงยอมรับ
ความรับผิด เชิญตำ�รวจเป็นพยาน ตามช่างกุญแจ ลงบันทึกประจำ�วัน
11
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบสำ�เนาทะเบียนบ้านของลูกหนีแ้ ล้ว
ปรากฎว่าลูกหนี้เป็นผู้อาศัย ไปยึดให้เพราะกฎหมายสันนิษฐานว่าลูกหนี้
อาศัยอยู่ที่ไหน ทรัพย์สินของลูกหนี้ก็อยู่กับลูกหนี้ที่อาศัย แต่ถ้าบ้านปิด
เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไม่ท�ำ การเปิดบ้าน เพราะบุคคลทีอ่ ยูใ่ นฐานะเจ้าบ้าน
ได้รบั การสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเจ้าบ้านเป็นเจ้าของทรัพย์สนิ ภายในบ้าน
ส่วนลูกหนี้อยู่ในฐานะผู้อาศัยในบ้าน
อีกกรณีหนึง่ ทีล่ กู หนีอ้ ยูใ่ นฐานะผูอ้ าศัย ถ้าพบเจ้าของบ้าน เจ้าของบ้าน
ไม่ให้เข้าบ้านและแจ้งว่าทรัพย์สินภายในบ้านเป็นของตน ลูกหนี้มาอาศัย
อยู่เท่านั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไม่ยึดและจะรายงานศาลทราบ
ในกรณีเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาประสงค์จะยึดสังหาริมทรัพย์ที่เก็บ
อยูใ่ นบ้าน ซึง่ มีชอื่ ลูกหนีต้ ามคำ�พิพากษาปรากฎในทะเบียนบ้าน แต่มไิ ด้เป็น
เจ้าบ้าน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกไปทำ�การยึดให้ หากมีการคัดค้านหรือ
โต้แย้งจากบุคคลใดว่าทรัพย์ทเี่ จ้าหนีต้ ามคำ�พิพากษานำ�ชีใ้ ห้ยดึ มิใช่เป็นของ
ลูกหนี้ตามคำ�พิพากษา แต่เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษายังคงยืนยันที่จะให้ยึด
เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำ�เนินการตามความประสงค์ดงั กล่าวของเจ้าหนีต้ าม
คำ�พิพากษา เว้นแต่หากปรากฎข้อเท็จจริงว่าสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าหนี้ตาม
คำ�พิพากษานำ�ชีใ้ ห้ยดึ นัน้ มีชอื่ บุคคลอืน่ เป็นเจ้าของ เช่น อาวุธปืน เครือ่ งจักร
ฯลฯ เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะงดการยึดแล้วรายงานศาลทราบ
กรณีที่เจ้าหนี้ขอยึดเครื่องมือหรือเครื่องใช้ที่จำ�เป็นในการเลี้ยงชีพ
หรือประกอบวิชาชีพ ราคารวมกันไม่เกิน 100,000 บาท เป็นทรัพย์สินที่
ไม่อยู่ภายใต้การบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดให้ตามที่เจ้าหนี้นำ�ชี้

12
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 11
ถาม กรณีที่ลูกหนี้เป็นนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด
บริษัท/มูลนิธิ ฯลฯ จะยึดทรัพย์สิน
ภายในสถานที่ตั้งของนิติบุคคลนั้นฯ จะทำ�อย่างไร
ตอบ
เจ้าหนี้ต้องนำ�ส่งหนังสือรับรองการจดทะเบียนของลูกหนี้ที่เจ้าหน้าที่
รับรองไม่เกิน 1 เดือน ให้เจ้าพนักงานตรวจสอบความถูกต้องก่อนไปยึดให้

ข้อ 12
ถาม กรณีเจ้าหนี้ประสงค์จะขอยึดทรัพย์สินของลูกหนี้
ประเภทรถจักรยานยนต์ รถยนต์
จะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ประกอบการขอยึดทรัพย์

ตอบ
นำ�ส่งคูม่ อื การใช้รถหรือสำ�เนาคูม่ อื การใช้รถยนต์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
ตรวจสอบ ตรวจสอบแล้วมีชื่อลูกหนี้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ไปยึดให้ ถ้ามีชื่อ
บุคคลอื่นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ไม่ยึดให้ อนึ่ง สำ�เนาคู่มือการใช้รถยนต์ เจ้าหนี้
ต้องไปขอคัดจากกรมการขนส่งทางบกหรือสำ�นักงานขนส่งจังหวัด โดยให้
เจ้าหน้าที่รับรองสำ�เนามาด้วย

13
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 13
ถาม กรณีเจ้าหนี้ประสงค์จะขอยึดบ้านของลูกหนี้
ตอบ
เจ้าหนี้จะต้องทราบว่าบ้านเป็นของลูกหนี้จริงๆ ปลูกอยู่บนที่ดินของ
บุคคลอืน่ โดยได้รบั ความยินยอมจากเจ้าของทีด่ นิ แล้ว (บ้านไม่เป็นส่วนควบ
ของที่ดิน) อย่างนี้ขอยึดได้

14
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 14
ถาม ยึดทรัพย์ติดจำ�นองโจทก์ ขายทอดตลาดแล้ว
ทำ�ไมเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงยึดทรัพย์ของลูกหนี้อีก

ตอบ
กรณีตามหมายบังคับคดีระบุข้อความว่า หากขายทรัพย์จำ�นองไม่พอ
ชำ�ระหนีแ้ ล้ว สามารถยึดทรัพย์สนิ อืน่ ได้อกี เมือ่ ขายทอดตลาดทรัพย์จ�ำ นอง
แล้วได้เงินไม่พอชำ�ระหนีต้ ามคำ�สัง่ ศาล ในทางบัญชีคงเหลือหนีโ้ จทก์ หนีส้ ว่ น
ทีค่ งเหลือนี้ โจทก์สามารถทีจ่ ะขอบังคับคดียดึ ทรัพย์ของลูกหนีจ้ �ำ นองต่อไปได้
ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่งถึงที่สุด
ตัวอย่าง คำ�สัง่ หมายบังคับคดี ศาลมีค�ำ พิพากษา เมือ่ วันที่ 10 มีนาคม
2542 ให้ลกู หนี้ (จำ�เลย) ชำ�ระหนีใ้ ห้แก่เจ้าหนี้ (โจทก์) เป็นเงิน 800,000 บาท
พร้ อ มดอกเบี้ ย ร้ อ ยละ 7.5 ต่ อ ปี ของเงิ น ต้ น 750,000 บาท นั บ แต่
วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 1 มกราคม 2541) จนกว่าจะชำ�ระเสร็จ หากลูกหนี้ (จำ�เลย)
ไม่ช�ำ ระหนี้ ให้ยดึ ทีด่ นิ โฉนดเลขที่ xxx ตำ�บลทับเทีย่ ง อำ�เภอเมือง จังหวัดตรัง
พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำ�เงินมาชำ�ระหนี้ให้โจทก์ หากได้เงิน
ไม่พอ ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำ�เลยบังคับชำ�ระหนี้โจทก์จนครบ
จากตัวอย่างข้างต้น เจ้าหนี้ (โจทก์) ขอยึดทรัพย์จำ�นองที่ดินโฉนด
เลขที่ xxx ตำ�บลทับเที่ยง อำ�เภอเมือง จังหวัดตรัง พร้อมสิ่งปลูกสร้างของ
ลูกหนี้ (จำ�เลย) เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 เจ้าพนักงานบังคับคดีทำ�การ
ขายทอดตลาดทรัพย์ได้ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2542 เป็นเงิน 690,000 บาท
ปรากฎว่าในทางบัญชี หนี้โจทก์เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคิดถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2542
15
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

รวมเป็นเงิน 908,030.96 บาท นำ�เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์


690,000 บาท หั ก ค่ า ใช้ จ่ า ยและค่ า ธรรมเนี ย มการขาย รวมเป็ น เงิ น
40,551 บาท (690,000 - 40,551) คงเหลือเงิน 649,449 บาท นำ�ไปชำ�ระ
หนีโ้ จทก์ (908,030.96 - 649,449) คงเหลือหนีโ้ จทก์ทลี่ กู หนีต้ อ้ งรับผิดชำ�ระ
258,581.96 บาท พร้อมดอกเบีย้ 7.5 % จำ�นวนหนีค้ งเหลือ 258,581.36 บาท
พร้อมดอกเบีย้ 7.5 % เจ้าหนีส้ ามารถนำ�ไปขอยึดทรัพย์อนื่ ของลูกหนี้ (จำ�เลย)
ได้ภายในอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่งถึงที่สุด

ข้อ 15
ถาม “ยึดทรัพย์” ที่เป็นทรัพย์สินภายในบ้าน หรือรถยนต์
รถจักรยานยนต์ เครื่องจักร ฯลฯ
ทำ�ไมเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องไปกับโจทก์

ตอบ
การยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องมีผนู้ ำ�ยึดซึง่ เป็นบุคคลที่
ระบุไว้ในหมายบังคับคดีและข้อเท็จจริงทีป่ รากฎในหมายบังคับคดี โจทก์เป็น
ผูช้ นะคดี ศาลก็จะส่งให้โจทก์เป็นผูน้ �ำ ยึด ถ้าจำ�เลยเป็นฝ่ายชนะคดี ศาลก็จะ
สัง่ ให้จ�ำ เลยเป็นผูน้ �ำ ยึด และผูน้ �ำ ยึดต้องอยูใ่ นสถานทีย่ ดึ ทรัพย์เพือ่ ชีท้ รัพย์ให้
เจ้าพนักงานบังคับคดีทำ�การยึดและมีหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานบังคับคดี
ในการยึดทรัพย์ตามแต่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะร้องขอ การที่เจ้าพนักงาน
บังคับคดีไปกับผูน้ �ำ ยึด (ฝ่ายชนะคดีจะเป็นโจทก์หรือจำ�เลย) เป็นการดำ�เนินการ
ตามคำ�สั่งศาล
16
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 16
ถาม ยึดทรัพย์ไว้เป็นเวลานานแล้ว
กว่าจะนำ�ออกขายเป็นเพราะอะไร

ตอบ
การยึดทรัพย์ แยกเป็นยึดทรัพย์ทดี่ นิ หรือทีด่ นิ พร้อมสิง่ ปลูกสร้างและ
ยึดทรัพย์สนิ ภายในบ้านหรือทรัพย์สนิ อืน่ กรณียดึ ทีด่ นิ / ทีด่ นิ พร้อมสิง่ ปลูกสร้าง
โจทก์ขอยึดตามสำ�เนาเอกสาร น.ส. 3 น.ส. 3 ก โฉนด เจ้าพนักงาน
บังคับคดีด�ำ เนินการให้แล้ว ขัน้ ตอนต่อไปเจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกผูค้ รอบครอง
นำ � ส่ ง เอกสารดั ง กล่ า วประกอบการขายทอดตลาดทรั พ ย์ ถ้ า ได้ รั บ การ
ชีแ้ จงว่าขอผัดส่งเนือ่ งจากนำ�เอกสารไว้กบั บุคคลอืน่ แล้ว (โดยอ้างว่าวางไว้กบั
เจ้าหนีร้ ายอืน่ เป็นประกันการชำ�ระหนี)้ หรือเพิกเฉยไม่แจ้งเหตุใดๆ ระยะเวลา
ทีก่ �ำ หนด เจ้าพนักงานบังคับคดีตอ้ งรายงานศาล ขอออกหมายเรียกให้ผคู้ รอบครอง
นำ�ส่ง ปรากฎว่าผูค้ รอบครองตามหมายเรียกเพิกเฉยอีก เจ้าพนักงานบังคับคดี
จึงขอศาลขายตามสำ�เนาเอกสารซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร
ส่วนกรณีที่มีเอกสารสิทธิต้นฉบับจริงอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว
หรือกรณียึดทรัพย์สินภายในบ้านฯ การนำ�ทรัพย์ออกขายจะไม่ช้า แต่ต้อง
ขึน้ อยูก่ บั โจทก์วา่ จะของดการบังคับคดีหรือไม่ ซึง่ การงดการบังคับคดีดงั กล่าว
จำ�เลยได้ให้ความยินยอมด้วย เมื่อภายหลังว่ามีการผิดนัดชำ�ระหนี้ต่อกัน
โจทก์จงึ จะมาขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำ�การขายใหม่ได้ ระยะเวลาทีอ่ าจ
จะของดการบังคับคดีได้ คือ 6 เดือน หรือ 1 ปี

17
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 17
ถาม ทรัพย์ที่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้แล้วนั้น
มีบุคคลอื่นโต้แย้งว่าไม่ใช่ทรัพย์ของลูกหนี้ (จำ�เลย)
จะทำ�อย่างไร

ตอบ
ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้แล้วนั้น จะเป็นที่ดิน / ที่ดินพร้อม
สิง่ ปลูกสร้าง / ทรัพย์สนิ อืน่ ๆ เมือ่ มีบคุ คลภายนอกโต้แย้งเรือ่ งกรรมสิทธิ์ บุคคลนัน้
จะต้องไปร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีขอให้มีคำ�สั่งปล่อยทรัพย์ที่ยึด
(เรียกว่าร้องขัดทรัพย์) เจ้าพนักงานบังคับคดีจะชะลอการบังคับคดีไว้ เพือ่ รอฟัง
คำ�สั่งศาลถึงที่สุดว่าเป็นประการใด
กรณีที่ 1 ศาลมีค�ำ สัง่ ถึงทีส่ ดุ ให้ปล่อยทรัพย์ทยี่ ดึ เจ้าพนักงานบังคับคดี
จะถอนการยึดทรัพย์ ผูโ้ ต้แย้งเรือ่ งกรรมสิทธ์ดงั กล่าวสามารถนำ�ทรัพย์ไปทำ�
นิติกรรมใดๆ ที่ชอบด้วยกฎหมายได้ต่อไป
กรณีที่ 2 ศาลมีคำ�สั่งถึงที่สุดให้ยกคำ�ร้อง เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะ
ดำ�เนินการบังคับคดีตามกฎหมายต่อไป ขั้นตอนสุดท้ายก็คือนำ�ทรัพย์ออก
ขายทอดตลาดและนำ�เงินที่ได้ไปชำ�ระหนี้ให้โจทก์ตามคำ�พิพากษาต่อไป

18
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
การอายัด
ทรัพย์สิน
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 1
ถาม ลูกหนี้เป็นหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล
รวมกันหลายแสนบาท ต่อมาโดนฟ้องคดีและศาล
มีคำ�พิพากษาให้ลูกหนี้ชำ�ระหนี้
อยากทราบขั้นตอนการถูกอายัดเงินเดือน
และลูกหนี้สามารถจะส่งเงินเดือนที่ถูกอายัดได้เองหรือไม่

ตอบ
1. เมื่อศาลออกหมายบังคับคดีแล้วเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาสามารถ
ขออายั ด เงิ น เดื อนของลูกหนี้ได้ โดยเจ้าพนักงานบั ง คั บ คดี จ ะพิ จ ารณา
อายัดให้ ดังนี้
เงินเดือน อายัดให้ไม่เกินร้อยละ 30 ของอัตราเงินเดือน
ก่อนหักรายจ่ายอืน่ ทัง้ นีต้ อ้ งมีเงินคงเหลือให้ลกู หนีไ้ ม่นอ้ ยกว่า
10,000 บาท
เงินโบนัส อายัดให้ไม่เกินร้อยละ 50
เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา อายัดให้ไม่เกินร้อยละ 30
เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน อายัดเต็มจำ�นวนไม่เกินหนี้
ตามหมายบังคับคดี

20
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

2. เมื่อผู้รับคำ�สั่งอายัด (นายจ้าง) ได้รับคำ�สั่งอายัดของเจ้าพนักงาน


บังคับคดีแล้ว ต้องนำ�ส่งเงินตามคำ�สัง่ อายัดอย่างเคร่งครัด หากมีเหตุขดั ข้อง
ต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ มิฉะนัน้ นายจ้างอาจต้องรับผิดชำ�ระหนี้
เสมือนเป็นลูกหนี้ตามคำ�พิพากษา เท่ากับจำ�นวนที่นายจ้างไม่ได้นำ�ส่งเงิน
ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี
3. ในกรณีลกู หนีป้ ระสงค์จะนำ�ส่งเงินทีเ่ จ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัด
ไปด้วยตนเอง ลูกหนี้จะต้องไปตกลงกับนายจ้างก่อนเพราะนายจ้างมีหน้าที่
ต้องนำ�ส่งเงิน การทีล่ กู หนีน้ ำ�ส่งเงิน จึงเสมือนเป็นการนำ�ส่งเงินของนายจ้าง
และให้ลูกหนี้ส่งใบเสร็จรับเงินของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้นายจ้างทราบ
ทุกครั้ง หากลูกหนี้ไม่นำ�ส่งเงิน นายจ้างยังคงมีความรับผิดตามข้อ 2

21
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 2
ถาม กรณีที่ลูกหนี้มีห้องชุดให้บุคคลภายนอกเช่า
เจ้าหนี้จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินค่าเช่า
ไปยังผู้เช่าห้องชุดได้หรือไม่

ตอบ
เงินค่าเช่าเป็นสิทธิเรียกร้องที่ลูกหนี้ (ผู้ให้เช่า) มีต่อบุคคลภายนอก
(ผู้เช่า) เจ้าหนี้ของลูกหนี้จึงมีสิทธิที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัด
สิทธิเรียกร้องดังกล่าว โดยให้ผเู้ ช่านำ�ส่งเงินค่าเช่าต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้

22
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 3
ถาม
กรณีลูกหนี้เป็นข้าราชการ และกำ�หนดผู้ได้รับ
บำ�เหน็จตกทอดคือภรรยาของลูกหนี้ หากต่อมาลูกหนี้
เสียชีวิต เจ้าหนี้จะสามารถอายัดบำ�เหน็จตกทอดได้หรือไม่
ในทางกลับกันหากภรรยาผู้มีสิทธิได้รับบำ�เหน็จ
ตกทอดเป็นลูกหนี้ เจ้าหนี้ของภรรยาจะสามารถอายัด
บำ�เหน็จตกทอดได้หรือไม่

ตอบ
1. บำ�เหน็จตกทอดเป็นสิทธิที่ภรรยาของลูกหนี้มีสิทธิได้รับภายหลัง
จากทีล่ กู หนีเ้ สียชีวติ แล้ว จึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของลูกหนีท้ เี่ จ้าหนีจ้ ะสามารถ
บังคับชำ�ระหนี้ได้
2. ในกรณีที่ภรรยาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับบำ�เหน็จตกทอดเป็นลูกหนี้
เจ้าหนีข้ องภรรยาไม่สามารถอายัดบำ�เหน็จตกทอดดังกล่าวได้ตามมาตรา 286 (2)
แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งกำ�หนดว่า เงินสงเคราะห์
บำ � นาญ หรื อ บำ � เหน็ จ ที่ ห น่ ว ยราชการได้ จ่ า ยให้ แ ก่ คู่ ส มรสหรื อ ญาติ
ที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

23
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 4
ถาม เจ้าหนี้จะสามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
ยึดทรัพย์และอายัดเงินเดือนไปพร้อม ๆ กันได้หรือไม่

ตอบ
การบังคับคดีเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ ที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
ดำ�เนินการยึดทรัพย์หรืออายัดเงินเดือนอย่างใดก่อนก็ได้ หรือจะดำ�เนินการ
พร้อมกันก็ได้ แต่ราคาทรัพย์ที่ยึดและจำ�นวนเงินที่มีการอายัดรวมกันแล้ว
จะต้องไม่เกินหนี้ตามคำ�พิพากษา

ข้อ 5
ถาม การที่เจ้าหนี้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินค่าจ้าง
หมายความรวมถึงเงินประเภทใดบ้าง

ตอบ
เงินค่าจ้าง หมายความรวมถึง เงินเดือน ค่าจ้าง หรือรายได้อื่นที่มี
ลักษณะจ่ายเพื่อตอบแทนการทำ�งานเป็นรายเดือน เป็นเงินที่มีอัตราชัดเจน
สม่ำ�เสมอทุกเดือนเป็นจำ�นวนแน่นอน โดยไม่คำ�นึงว่าลูกหนี้จะนำ�ไปใช้จ่าย
จริงหรือไม่ เพียงแต่เมื่อทำ�งานตามตำ�แหน่งที่ก�ำ หนดไว้ก็จะได้เงินจำ�นวน
ดังกล่าว ทั้งนี้ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าเงินอะไรก็ตาม เช่น ค่าเช่าบ้าน เงินประจำ�
ตำ�แหน่ง ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น
24
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

BANK

ข้อ 6
ถาม เจ้าหนี้สามารถขออายัดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร
ของลูกหนี้ได้หรือไม่

ตอบ
การที่เจ้าหนี้จะอายัดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารของลูกหนี้ เจ้าหนี้
สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำ�เนินการได้ ซึง่ ชือ่ เจ้าของบัญชีจะต้อง
ตรงกับชื่อของลูกหนี้ตามหมายบังคับคดีและตามหนังสือรับรองนิติบุคคล
(กรณีลกู หนีเ้ ป็นนิตบิ คุ คล) หรือแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ (ท.ร. 14)
(กรณีลูกหนี้เป็นบุคคลธรรมดา) หากชื่อลูกหนี้ไม่ตรงกัน ต้องมีหลักฐาน
การเปลี่ยนชื่อบุคคลหรือนิติบุคคลมาประกอบการขออายัด นอกจากนี้
เจ้าหนีต้ อ้ งแถลงประเภทบัญชี ชือ่ และสาขาธนาคาร และเลขทีบ่ ญั ชีทตี่ อ้ งการ
อายัด (หากมี)
25
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 7
ถาม เจ้าหนี้สามารถขออายัดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร
ได้เป็นจำ�นวนเท่าใด

ตอบ
เจ้าหนี้สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินในบัญชีเงินฝาก
ธนาคารได้ไม่เกินจำ�นวนหนี้ตามหมายบังคับคดี

ข้อ 8
ถาม กรณีที่ลูกหนี้ทำ�งานอยู่ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
เจ้าหนี้จะขออายัดเงินเดือนลูกหนี้ได้หรือไม่

ตอบ
เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ที่ทำ�งานอยู่
ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจได้ เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย องค์การขนส่ง
มวลชนกรุงเทพ การประปาส่วนภูมภิ าค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
การท่าเรือแห่งประเทศไทย การบินไทย เป็นต้น เพราะเงินเดือนของลูกจ้าง
ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอยู่ในข่ายที่สามารถบังคับคดีได้

26
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 9
ถาม เจ้าหนี้จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินประเภทใด
ในสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ลูกหนี้เป็นสมาชิกอยู่ได้บ้าง

ตอบ
เจ้ า หนี้ ส ามารถขอให้ เ จ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี อ ายั ด เงิ น ปั น ผล
เงินเฉลี่ยคืน และเงินค่าหุ้น ไปยังสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ลูกหนี้เป็นสมาชิก
อยูไ่ ด้ แต่เงินค่าหุน้ สหกรณ์ฯจะส่งมายังเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตอ่ เมือ่ ลูกหนี้
สิน้ สุดความเป็นสมาชิกภาพ (กรณีลาออก เสียชีวติ ) ทัง้ นี้ สหกรณ์ออมทรัพย์
จะนำ�เงินค่าหุน้ มาชำ�ระหนีท้ ลี่ กู หนีเ้ ป็นหนีส้ หกรณ์ออมทรัพย์กอ่ น หากมีเงินเหลือ
จึงจะส่งมายังเจ้าพนักงานบังคับคดี

ข้อ 10
ถาม เจ้าพนักงานบังคับคดีจะสามารถอายัดเงินเดือน
ของลูกหนี้ซึ่งเป็นข้าราชการได้หรือไม่

ตอบ
เงิ น เดื อ นของข้ า ราชการไม่ อ ยู่ ใ นความรั บ ผิ ด แห่ ง การบั ง คั บ คดี
ตามมาตรา 286 (2) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เว้นแต่
กรณีมีกฎหมายอื่นบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะให้อายัดได้ เช่น พระราชบัญญัติ
ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.
2553 เป็นต้น
27
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 11
ถาม เจ้าหนี้สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
อายัดเงินเดือนคู่สมรสของลูกหนี้
ไปที่นายจ้างของคู่สมรสของลูกหนี้ได้หรือไม่

ตอบ
เงินเดือนของคูส่ มรสของลูกหนีท้ ยี่ งั ไม่ได้จา่ ยให้แก่คสู่ มรส เป็นสิทธิเรียกร้อง
ที่คู่สมรสของลูกหนี้เท่านั้นที่มีสิทธิเรียกร้องจากบริษัทฯนายจ้างได้ ยังไม่ใช่
สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำ�นาจอายัดเงินเดือน
ของคู่สมรสลูกหนี้ไปที่บริษัทฯนายจ้างของคู่สมรสลูกหนี้ได้

28
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 12
ถาม เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถตรวจสอบว่าลูกหนี้
ถูกอายัดเงินเดือนไว้ในคดีใดแล้วหรือไม่
ทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น

ตอบ
หากลูกหนีถ้ กู อายัดเงินเดือนไว้ในคดีใดแล้ว และมีเจ้าหนีใ้ นอีกคดีหนึง่
มาขอเจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินเดือนให้อีก เจ้าพนักงานบังคับคดี
จะตรวจสอบได้วา่ ลูกหนีเ้ คยถูกอายัดไว้ในคดีอนื่ แล้วหรือไม่จากในระบบงาน
บังคับคดีแพ่ง ซึ่งตรวจสอบได้ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด

29
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 13
ถาม กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำ�สั่งอายัดเงินเดือน
ของลูกหนี้ไว้เต็มจำ�นวนร้อยละ 30 แล้ว

ก. เจ้าหนี้ในคดีอื่นจะขออายัดอีกได้หรือไม่เพียงใด
ข. หากต่อมาลูกหนี้ขอลดการอายัดลงเหลือร้อยละ 15 เจ้าพนักงาน
บังคับคดีมีคำ�สั่งลดการอายัดเหลือร้อยละ 15 แล้ว เจ้าหนี้ในคดีหลังจะขอ
อายัดในส่วนที่มีการลดเงินอายัดลงได้หรือไม่
ค. ในทางกลับกันหากคดีแรกเจ้าหนี้ขอเจ้าพนักงานบังคับคดีอายัด
เงินเดือนไว้เพียงร้อยละ 15 คดีหลังจะสามารถขอเจ้าพนักงานบังคับคดีอายัด
เงินเดือนร้อยละ 15 ที่มิได้ถูกอายัดไว้ได้หรือไม่

30%

30
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ตอบ
ก. ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำ�สั่งอายัดเงินเดือนร้อยละ 30
ไว้ในคดีแรก เงินเดือนส่วนทีเ่ หลือร้อยละ 70 ถือว่าเป็นเงินเดือนทีเ่ จ้าพนักงาน
บั ง คั บ คดี กำ � หนดเป็ น ค่ า ดำ � รงชี พ ให้ แ ก่ ลู ก หนี้ ดั ง นั้ น เจ้ า หนี้ ใ นคดี ห ลั ง
จึงไม่สามารถขออายัดเงินเดือนส่วนที่เหลือ (ร้อยละ 70) ต่อเจ้าพนักงาน
บังคับคดีอีกได้ เพราะเงินเดือนส่วนที่เหลือร้อยละ 70 ไม่อยู่ในความ
รับผิดชอบแห่งการบังคับคดี
ข. กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีลดการอายัดลงเหลือร้อยละ 15 นั้น
เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาจากพฤติการณ์แห่งการดำ�รงชีพ
ของลูกหนี้ที่เปลี่ยนแปลงไป จำ�นวนที่ลดไปร้อยละ 15 เมื่อรวมกับร้อยละ
70 เป็นจำ�นวนร้อยละ 85 จึงไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เจ้าหนี้
จึงไม่อาจขออายัดเงินจำ�นวนดังกล่าวได้
ค. กรณี นี้ ก รมบั ง คั บ คดี มี แ นวปฏิ บั ติ ใ นการพิ จ ารณาการอายั ด
เงินเดือนของลูกหนี้ โดยพิจารณาถึงการดำ�รงชีพของลูกหนีใ้ ห้อายัดได้ไม่เกิน
ร้อยละ 30 ซึ่งส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 70 ถือเป็นเงินเพื่อการดำ�รงชีพของ
ลูกหนี้ เมือ่ เจ้าหนีใ้ นคดีแรกขออายัดเงินเดือนเพียงร้อยละ 15 ไม่เต็มจำ�นวน
เงินส่วนที่เหลือที่มิได้ถูกอายัดอีกร้อยละ 15 เจ้าหนี้ในคดีหลังสามารถ
ขออายัดได้

31
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 14
ถาม ลูกหนี้จะต้องถูกอายัดเงินเดือนเป็นระยะเวลานานเท่าใด
จึงจะถอนการอายัดเงินเดือน และเมื่อครบ 10 ปี
แล้วลูกหนี้จะหลุดพ้นจากการถูกอายัดเงินเดือนหรือไม่

ตอบ
การอายัดเงินเดือนเป็นการอายัดอย่างต่อเนื่อง (กรณีที่ลูกหนี้ยังคง
ทำ�งานอยู่ที่เดิม) มีผลจนกว่าหนี้ตามคำ�พิพากษาจะได้รับชำ�ระครบถ้วน
แม้ระยะเวลาจะเกิน 10 ปี

ข้อ 15
ถาม ลูกหนี้จะสามารถขอลดการอายัดเงินเดือน
ได้หรือไม่ เพียงใด

ตอบ
หากลูกหนี้มีความจำ�เป็น เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถพิจารณา
จากความจำ � เป็ น ของลู ก หนี้ ที่ เ ปลี่ ย นแปลงไป โดยสามารถลดอายั ด
เงิ น เดื อ นของลู ก หนี้ ไ ด้ ไ ม่ เ กิ น ครึ่ ง หนึ่ ง ของจำ � นวนเงิ น ที่ อ ายั ด ไว้ เ ดิ ม
ซึง่ ลูกหนีต้ อ้ งนำ�ส่งหลักฐานประกอบการพิจารณาของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ได้แก่ หลักฐานความจำ�เป็นในการดำ�รงชีพ เช่น ค่าน้ำ� ค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน
ค่าเลี้ยงดูบุพการี คู่สมรส บุตร เป็นต้น
32
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

หากลู ก หนี้ มี ค วามจำ � เป็ น ที่ จ ะขอลดอายั ด เงิ น เดื อ นมากกว่ า ที่
เจ้าพนักงานบังคับคดีกำ�หนด ลูกหนี้สามารถยื่นคำ�ร้องขอลดการอายัด
เงินเดือนต่อศาลได้ แต่ในขณะเดียวกันเจ้าหนี้สามารถที่จะคัดค้านคำ�สั่ง
ลดการอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีต่อศาลได้เช่นกัน และการลดการ
อายัดมีผลทำ�ให้การชำ�ระหนี้ครบช้าลง ซึ่งมีผลทำ�ให้ลูกหนี้จะต้องรับภาระ
ในการชำ�ระดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น

ข้อ 16
ถาม กรณีศาลมีคำ�พิพากษาให้ลูกหนี้ชำ�ระค่าอุปการะเลี้ยงดู
เป็นประจำ�ทุกเดือน แต่ลูกหนี้ค้างชำ�ระมากว่า 1 ปี
เจ้าหนี้จะขออายัดเงินเดือนของลูกหนี้ทั้งที่ต้องนำ�ส่ง
ปัจจุบันและที่ค้างชำ�ระย้อนหลังได้หรือไม่

ตอบ
กรณีที่ศาลมีคำ �สั่งให้ลูกหนี้ชำ �ระเงินเป็นรายเดือน เจ้าพนักงาน
บั ง คั บ คดี จ ะอายั ด เงิ น ตามจำ � นวนที่ ศ าลมี คำ � สั่ ง โดยไม่ ต้ อ งนำ � มาตรา
286(3) แห่ ง ประมวลกฎหมายวิ ธี พิ จ ารณาความแพ่ ง มาใช้ บั ง คั บ
(แม้ลูกหนี้จะมีเงินคงเหลือน้อยกว่า 10,000.-บาทก็ตาม) ดังนั้น เจ้าหนี้
จึงสามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดค่าอุปการะเลีย้ งดูได้เป็นรายเดือน
นับตั้งแต่วันที่เจ้าหนี้ตั้งเรื่องขออายัด (เป็นการอายัดตามคำ�สั่งของศาล)

33
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ส่ ว นค่ า อุ ป การะเลี้ ย งดู ที่ ค้ า งชำ� ระก่ อ นนั้ น หากเจ้ า หนี้ ป ระสงค์
จะขออายั ด เงิ น เดื อ นเพิ่ ม เติ ม ก็ ส ามารถแถลงต่ อ เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี
เพื่อให้ดำ�เนินการอายัดได้ โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีจะพิจารณาจาก
ข้อเท็จจริงในสำ�นวนประกอบก่อนมีคำ�สั่ง ซึ่งคู่ความสามารถยื่นคำ�ร้อง
ขอให้ศาลมีคำ�สั่งเป็นอย่างอื่นได้ แต่ทั้งนี้เจ้าหนี้สามารถนำ�เจ้าพนักงาน
บังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องอื่นของลูกหนี้ตามคำ�พิพากษา
เพื่อบังคับส่วนที่ค้างชำ�ระก็ได้

ข้อ 17
ถาม กรณีที่ลูกหนี้ถูกอายัดเงินเดือน
แต่ได้ลาออกจากงานมาแล้ว
และลูกหนี้ยังคงส่งเงินอายัดเท่าจำ�นวนเดิมอยู่
จะสามารถทำ�ได้หรือไม่ และหากลูกหนี้ประสงค์จะชำ�ระหนี้
ทั้งหมด จะต้องดำ�เนินการอย่างไร

ตอบ
ลูกหนี้สามารถนำ�ส่งเงินเท่าจำ�นวนที่ถูกอายัดได้เช่นเดิม แต่ทั้งนี้
ลู ก หนี้ ค วรจะนำ � ส่ ง หลั ก ฐานการออกจากงาน พร้ อ มแถลงว่ า ประสงค์
จะนำ�ส่งเงินเพื่อชำ�ระหนี้ตามหมายบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี
ได้รับเงินจากลูกหนี้แล้ว จะจัดทำ�บัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย เพื่อเรียก
ให้เจ้าหนี้มารับเงินต่อไป
34
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

หากลู ก หนี้ ป ระสงค์ จ ะชำ � ระหนี้ ต ามหมายบั ง คั บ คดี ทั้ ง หมด


ลู ก หนี้ ส ามารถขอให้ เ จ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี คิ ด หนี้ ที่ เ หลื อ รวมทั้ ง
ค่ า ฤชาธรรมเนี ย มเพื่ อ ขอวางเงิ น ชำ � ระหนี้ ต่ อ เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี
และเมื่อชำ�ระหนี้ครบถ้วนแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนการอายัด
และถอนการบังคับคดีต่อไป

ข้อ 18
ถาม เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดไี ด้รับเงินจากการอายัดแล้ว
เจ้าหนี้จะสามารถขอรับเงินได้ทันทีหรือไม่

ตอบ
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินจากการอายัดแล้ว เจ้าพนักงาน
บั ง คั บ คดี จ ะต้ อ งรอระยะเวลา 14 วั น นั บ แต่ วั น ที่ ส่ ง เงิ น ล่ ว งพ้ น ก่ อ น
(รอพ้นระยะเวลาที่กำ�หนดให้เจ้าหนี้อื่นร้องขอเฉลี่ยได้) จึงจะจัดทำ�บัญชี
แสดงรายการรับ - จ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ แต่หากเป็นคดีที่จำ �เลยขาดนัด
เจ้าพนักงานบังคับคดีจะจ่ายเงินได้เมื่อพ้นกำ�หนด 6 เดือนนับแต่วันที่ลูกหนี้
ได้รับหมายแจ้งอายัด

35
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 19
ถาม ค่าธรรมเนียมในการถอนการอายัด
ผใดมี
ู้ หน้าที่ต้องชำ�ระ

ตอบ
กรณีทมี่ กี ารขอถอนอายัดทรัพย์นนั้ ผูท้ ตี่ อ้ งรับผิดชอบในการชำ�ระ
ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี คือ เจ้าหนี้ผู้ขออายัด ตามมาตรา 169/2
วรรคท้าย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยจะต้องชำ�ระ
ในอัตราร้อยละ 1 ของจำ�นวนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งอายัดไว้
เว้นแต่คู่กรณีจะมีข้อตกลงกันเป็นอย่างอื่น

36
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
37094
65367

23544 99
53
9

การจำ�หน่าย
ทรัพย์สิน
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 1
ถาม หากสนใจที่จะซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด
ของเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องทำ�อย่างไร
จึงจะไม่ซื้อทรัพย์ผิดแปลงหรือผิดหลัง

ตอบ
ผู้ที่สนใจเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
จะต้องตรวจสอบรายละเอียดเกีย่ วกับตัวทรัพย์สนิ ทีจ่ ะทำ�การขายทอดตลาด
ตามที่ปรากฏในประกาศขายทอดตลาดและภาพถ่ายสภาพทรัพย์ ประกอบ
กับแผนที่การไป ว่าตรงตามที่ประกาศขายทอดตลาดระบุไว้หรือไม่ก่อน
หากท่านเห็นว่าทรัพย์ที่จะทำ�การขายไม่ตรงตามที่ระบุในประกาศขาย
ทอดตลาด ควรติดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนที่จะมีการขายทอดตลาด
เพื่อที่จะได้ตรวจสอบความถูกต้องต่อไป

38
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 2
ถาม ในการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด
สามารถลงชื่อผู้ซื้อเป็น 2 คนได้หรือไม่

ตอบ
สามารถลงชื่อกี่คนก็ได้ แต่ต้องลงชื่อร่วมกันทุกคนก่อนการวางเงิน
เข้าสู้ราคา และหากคนที่เข้าชื่อด้วยกันมิได้มาในวันขายทอดตลาด ต้องมี
หนังสือมอบอำ�นาจจากผูซ้ อื้ ทรัพย์รายนัน้ มาแสดงประกอบการลงชือ่ เข้าสูร้ าคา
ข้างต้นด้วย ทั้งนี้หากซื้อได้จะมาขอเปลี่ยนแปลงชื่อภายหลังไม่ได้

ข้อ 3
ถาม ผู้ที่ประมูลซื้อทรัพยได้แต่มไิ ด้ชำ�ระราคาภายในกำ�หนด
สามารถร่วมเข้าสู้ราคาซื้อทรัพย ในการขายทอดตลาด
ได้อีกหรือไม่ และต้องวางหลักประกันการเข้าสู้ราคา
เป็นจำ�นวนเท่าใด

ตอบ
ในกรณีทผี่ ซู้ อื้ ทรัพย์มไิ ด้ชำ�ระเงินส่วนทีเ่ หลือภายในกำ�หนด สามารถ
เข้าประมูลซื้อทรัพย์ได้ ทั้งในคดีเดิมและที่ตนมิได้ชำ�ระราคาภายในกำ�หนด
และในคดีอนื่ ทีต่ นสนใจเข้าสูร้ าคา แต่ตอ้ งวางหลักประกันในการเข้าสูร้ าคาเป็น
จำ�นวนสองเท่าของจำ�นวนเงินหลักประกันทีก่ �ำ หนดไว้ในประกาศขายทอดตลาด
39
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 4
ถาม หากต้องการประมูลทรัพย์
แต่ไม่ทราบรายละเอียดของคดี
รู้แต่ที่ตั้งของทรัพย์ที่จะทำ�การขายทอดตลาด
ควรทำ�อย่างไร

ตอบ
หากทรั พ ย์ ดั ง กล่ า วอยู่ ร ะหว่ า งประกาศขายทอดตลาดทรั พ ย์
ท่านสามารถตรวจสอบเบือ้ งต้นได้ในเว็บไซต์ของกรมบังคับคดี โดยตรวจสอบ
ได้จากโปรแกรมขายทอดตลาดทรัพย์ของกรมบังคับคดี แล้วจะพบแผนที่
ประเทศไทย ให้ เ ลื อ กจั ง หวั ด ที่ ส นใจจะซื้ อ เลื อ กเขตที่ ส นใจจะซื้ อ
จะพบรายการทรัพย์ทจี่ ะทำ�การขาย แล้วดูรายละเอียดแต่ละรายการว่าเป็น
ทรัพย์รายการที่สนใจจะซื้อหรือไม่ หากตรวจสอบไม่พบจะต้องตรวจสอบ
รายละเอียดกับสำ�นักงานบังคับคดีในเขตทีท่ รัพย์ตงั้ อยู่ โดยแจ้งรายละเอียด
เท่าที่ทราบกับเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบ
รายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์นั้น

40
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 5
ถาม หากสนใจทรัพย์ที่อยู่ในระหว่างการบังคับคดี
แต่ยังไม่มีการประกาศขาย
สามารถเข้าซื้อทรัพย์ดังกล่าวได้หรือไม่

ตอบ
หากยังไม่มีประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ท่านยังไม่สามารถซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดได้

ข้อ 6
ถาม การขายทอดตลาดทรัพย์โดยการจำ�นองติดไป
กับปลอดการจำ�นอง แตกต่างกันอย่างไร

ตอบ
ในการขายทอดตลาดทรัพย์โดยปลอดการจำ�นอง ผู้ซื้อทรัพย์เพียง
แต่ ชำ � ระเงิ น ค่ า ซื้ อ ทรั พ ย์ ค รบถ้ ว นตามที่ ป ระมู ล ได้ ย่ อ มได้ ท รั พ ย์ ไ ป
โดยปลอดจากภาระจำ�นอง
ส่วนการขายทอดตลาดโดยการจำ�นองติดไป ผู้ซื้อทรัพย์นอกจาก
ต้ อ งชำ � ระราคาค่ า ซื้ อ ทรั พ ย์ กั บ เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ใ ห้ ค รบถ้ ว นแล้ ว
ยังจะต้องชำ�ระหนี้จำ�นองกับผู้รับจำ�นองด้วย

41
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 7
ถาม ในกรณีการขายทอดตลาดโดยการจำ�นองติดไป
ผู้สนใจเข้าประมูลซื้อทรัพย์สามารถตรวจสอบ
ยอดหนี้จำ�นอง ณ ปัจจุบันก่อนเข้าประมูลได้อย่างไร

ตอบ
ในการขายทอดตลาดโดยการจำ � นองติ ด ไป ผู้ ซื้ อ ควรสอบถาม
ยอดหนี้จำ�นองจากผู้รับจำ�นองโดยตรง เพื่อทราบยอดหนี้จำ�นองที่แท้จริง
ที่ค้างอยู่ ณ ปัจจุบัน

42
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 8
ถาม โจทก์แถลงงดการขาย หมายความว่าอย่างไร
ครั้งต่อไปจะขายหรือไม่ หรือ งดการขายตลอดไป

ตอบ
โจทก์แถลงงดการขาย หมายความว่า โจทก์ของดการบังคับคดีไว้
ชั่วคราว โดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์
ทีท่ �ำ การขายทอดตลาด ส่วนจะงดการขายทอดตลาดเป็นระยะเวลาเท่าใดนัน้
ขึ้นอยู่กับคู่ความที่จะตกลงกัน

ข้อ 9
ถาม ถ้าคู่ความงดขายหรือเจ้าพนักงานงดขาย
จะนับการขายครั้งต่อไปอย่างไร

ตอบ
หากการขายทอดตลาดนั ด ใด มี เ หตุ ใ ห้ ต้ อ งงดการขายไว้ ไม่ ว่ า
คู่ ค วามงดขายหรื อ เจ้ า พนั ก งานงดขาย จะถื อ ว่ า ไม่ มี ก ารขายในนั ด นั้ น
เช่น ประกาศขายทอดตลาดไว้ 6 นัด ขายครั้งแรกเริ่มที่ 100 % ของราคา
ประเมิน ครั้งที่ 2 เริ่มที่ 90 % ของราคาประเมิน ครั้งที่ 3 เริ่มที่ 80 %
ของราคาประเมิน ครั้งที่ 4 เริ่มที่ 70 % ของราคาประเมิน หากการ
ขายทอดตลาดนัดแรกงดการขายไว้ นัดที่ 2 ราคาจะเริ่มต้นที่ 100 %
ของราคาประเมิน เพราะถือว่านัดแรกยังไม่มีการขาย

43
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 10
ถาม ผู้สนใจเข้าประมูลซื้อทรัพย์มีสิทธิเข้าไปดูทรัพย์
ที่จะทำ�การขายทอดตลาดได้หรือไม่

ตอบ
ผู้สนใจเข้าประมูลซื้อทรัพย์มีสิทธิเพียงตรวจดูจากสภาพภายนอก
เท่านั้น ไม่มีสิทธิเข้าไปดูในทรัพย์ที่จะทำ�การขายทอดตลาดได้ แม้ว่าจะ
ไม่มีบุคคลอาศัยอยู่ในสถานที่ดังกล่าวก็ตาม

ข้อ 11
ถาม จำ�เลยมีสิทธิในการตรวจดูสำ�นวน
ที่มีการบังคับคดีได้หรือไม่

ตอบ
จำ�เลยเป็นบุคคลที่มีส่วนได้เสีย ย่อมมีสิทธิขอตรวจดูสำ�นวนได้

44
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 12
ถาม เจ้าของกรรมสิทธิ์ มีสิทธิอย่างไรบ้าง
ในทรัพย์ของตนที่อยู่ระหว่างถูกยึด
และประกาศขายทอดตลาด
ตอบ
แม้ทรัพย์อยู่ระหว่างถูกยึดและประกาศขายทอดตลาด กรรมสิทธิ์
ในทรั พ ย์ ยั ง เป็ น ของเจ้ า ของกรรมสิ ท ธิ์ อ ยู่ ดั ง นั้ น เจ้ า ของกรรมสิ ท ธิ์
ยั ง คงมี สิ ท ธิ ใ นการครอบครองอยู่ อ าศั ย ได้ แ ต่ ไ ม่ อ าจทำ � นิ ติ ก รรมใดๆ
เกี่ยวกับทรัพย์นั้นหรือทำ �ให้ทรัพย์เสื่อมเสียประโยชน์โดยต้องย้ายออก
เมื่อมีการขายทอดตลาดและผู้ซื้อชำ�ระราคาครบถ้วน

45
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 13
ถาม กรณีนำ�ทรัพย์กลับมาขายทอดตลาดใหม่
เนื่องจากผู้ซื้อไม่ชำ�ระราคาครบถ้วนภายในกำ�หนด
ราคาเริ่มต้นในการขายทอดตลาดในนัดที่ขายใหม่
จะเริ่มที่ราคาเท่าไร

ตอบ
เมือ่ เจ้าพนักงานบังคับคดีรบิ มัดจำ�แล้วนำ�ทรัพย์ออกขายทอดตลาดใหม่
ในการขายทอดตลาดครั้งใหม่นี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะกำ�หนดราคา
เริ่มต้นเท่ากับราคาเริ่มต้นของนัดที่มีการรับราคาและมีการเคาะไม้ขาย
เช่ น หากมี ก ารรั บ ราคาในนั ด ที่ 2 ซึ่ ง ราคาเริ่ ม ต้ น อยู่ ที่ 90 % ของ
ราคาประเมิน ไม่ว่าผู้ซื้อจะเสนอราคาสูงเพียงใดก็ตาม เมื่อมีการเคาะไม้
ขายแล้ว หากต่อมามีการริบมัดจำ� การขายทอดตลาดครั้งใหม่จะกำ�หนด
ราคาเริ่มต้นที่ 90 % ของราคาประเมิน

46
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 14
ถาม ในการประกาศขายทอดตลาดคดีหนึ่ง
มีทรัพย์ที่ประกาศขายหลายรายการ
สามารถเข้าซื้อรายการเดียวได้หรือไม่ อย่างไร

ตอบ
ต้องดูว่าตามประกาศขายทอดตลาด ระบุว่าขายรวมกันไป หรือ
ขายแยกรายการ หากประกาศขายทอดตลาดระบุว่าให้ขายรวมกันไป ก็ไม่
สามารถแยกซื้อบางรายการได้

ข้อ 15
ถาม ประกาศขายทอดตลาดตามสำ�เนาเอกสารสิทธิ
หมายความว่าอย่างไร

ตอบ
หมายความว่า ก่อนทีเ่ จ้าพนักงานบังคับคดีจะประกาศขายทอดตลาด
ผู้ครอบครองเอกสารสิทธิไม่ส่งมอบต้นฉบับเอกสารสิทธิต่อเจ้าพนักงาน
บังคับคดี เช่น ไม่ส่งต้นฉบับโฉนดที่ดิน หรือต้นฉบับหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์
ห้องชุด ดังนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องประกาศขายทอดตลาดทรัพย์
ตามสำ � เนาเอกสารสิ ท ธิ และผู้ ซื้ อ ได้ ต้ อ งไปดำ � เนิ น การขอออกใบแทน
เอกสารสิทธิ ณ สำ�นักงานที่ดินเอง
47
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 16
ถาม ผู้ใดมีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนราคา

ตอบ
ผู้ใดมีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนคือ
1 ผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิร่วมกับลูกหนี้ตามคำ�พิพากษา หรือผู้มีส่วน
ได้เสียจากกองมรดกตามคำ�พิพากษา
2. เจ้าหนี้บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ขายตามคำ�ชี้ขาดของศาล
3. คู่สมรสที่ศาลมีคำ�สั่งอนุญาตให้กันส่วนแล้ว

ข้อ 17
ถาม มีกรณใดบ้างหรือไม่ ที่เจ้าพนักงานบังคับคดี
ขายทอดตลาดได้แล้ว แต่ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดี
กลับนำ�ทรัพย์รายการนั้นมาขายทอดตลาดใหม่

ตอบ
มีในกรณีดังนี้
1. กรณีผู้ซื้อทรัพย์ได้ไม่ชำ�ระเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือภายใน
กำ�หนด เจ้าพนักงานบังคับคดีจะริบเงินมัดจำ� และจะนำ�ทรัพย์รายการนั้น
ออกขายทอดตลาดใหม่
2. กรณีศาลมีคำ�สั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาด หรือเพิกถอน
กระบวนการบังคับคดีบางส่วน เจ้าพนักงานบังคับคดีจะนำ�ทรัพย์รายการนัน้
ออกขายทอดตลาดใหม่
48
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 18
ถาม การร้องขัดทรัพย์ หมายความว่าอย่างไร
และเจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาด
นำ�ทรัพย์ที่มีการร้องขัดทรัพย์หรือไม่ อย่างไร

ตอบ
การร้องขัดทรัพย์ หมายความว่า มีบุคคลที่กล่าวอ้างว่าทรัพย์ที่
เจ้ า พนั ก งานบั ง คับคดียึดไว้ ไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคำ �พิ พ ากษา และเมื่ อ
เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ไ ด้ รั บ สำ � เนาคำ � ร้ อ งขั ด ทรั พ ย์ แ ล้ ว ต้ อ งงดการ
ขายทอดตลาดทรัพย์รายการนั้นไว้ก่อน เพื่อรอคำ�วินิจฉัย ชี้ขาดของศาล
หากศาลมี คำ � วิ นิ จ ฉั ย แล้ ว ว่ า เป็ น ทรั พ ย์ ข องลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา
เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงจะนำ�ทรัพย์รายการนั้นมาขายทอดตลาดต่อไป

สำ�เนาคำ�ร้อง
ขัดทรัพย์

49
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ขั้นตอนการเข้าประมูลซื้อทรัพย์ มีดังนี้
1. ผู้ ส นใจเข้ า สู้ ร าคาต้ อ งลงทะเบี ย นและวาง
หลั ก ประกั น ในการเข้ า สู้ ร าคาตามที่ ร ะบุ ใ นประกาศ
ขายทอดตลาด
2. เมื่อถึงลำ�ดับที่ตนสนใจเข้าประมูล ให้ยกป้าย
เสนอราคา
3. หากท่ า นเป็ น ผู้ เ สนอราคาสู ง สุ ด ท่ า นต้ อ ง.
ทำ � สั ญ ญากั บ เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี แ ละให้ ถื อ ว่ า
หลักประกัน

ข้อ 19
ถาม ขั้นตอนการเข้าประมูลซื้อทรัพย์
ในการขายทอดตลาด ต้องทำ�อย่างไรบ้าง

ตอบ
ขั้นตอนการเข้าประมูลซื้อทรัพย์ มีดังนี้
1. ผู้ ส นใจเข้ า สู้ ร าคาต้ อ งลงทะเบี ย นและวางหลั ก ประกั น ในการ
เข้าสู้ราคาตามที่ระบุในประกาศขายทอดตลาด
2. เมื่อถึงลำ�ดับที่ตนสนใจเข้าประมูล ให้ยกป้ายเสนอราคา
3. หากท่านเป็นผูเ้ สนอราคาสูงสุด ท่านต้องทำ�สัญญากับเจ้าพนักงาน
บังคับคดีและให้ถือว่าหลักประกันตามข้อ 1 เป็นเงินมัดจำ� แต่หากซื้อไม่ได้
ท่านสามารถขอรับหลักประกันในการเข้าสูร้ าคาทีว่ างไว้คนื เมือ่ เสร็จสิน้ การขาย

50
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 20
ถาม โจทก์จะเข้าประมูลซื้อทรัพย์เอง
ต้องวางหลักประกันการเข้าสู้ราคาหรือไม่

ตอบ
หากโจทก์เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์เหนืออสังหาริมทรัพย์ เช่น ผู้รับจำ�นอง
และศาลมีคำ�สั่งอนุญาตให้ได้รับชำ�ระหนี้บุริมสิทธิ์แล้ว โจทก์ไม่ต้องวาง
หลักประกันการเข้าสู้ราคา แต่หากโจทก์เป็นผู้ซื้อได้หรือเป็นผู้ผูกพันราคา
ต้องวางเงินร้อยละ 5 ของราคาเริ่มต้นในวันที่ซื้อได้หรือผูกพันราคา
หากโจทก์มิได้เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ โจทก์ต้องวางเงินหลักประกัน
การเข้าสู้ราคาตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในประกาศขายทอดตลาด

51
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 21
ถาม ผู ใดบ้างที่มีสิทธิคัดค้านราคา
และสามารถคัดค้านราคาได้กี่ครั้ง

ตอบ
ผู้ที่มีสิทธิคัดค้านราคา ได้แก่ โจทก์ จำ�เลย ผู้รับจำ�นอง ผู้ร้องเฉลี่ย
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม หรือผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ
การคัดค้านราคาจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้เสนอราคาในวันขายทอดตลาด
ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีจะสอบถามบุคคลผู้มีสิทธิคัดค้านราคาที่มาดูแล
การขายในวั น นั้ น ว่ า จะคั ด ค้ า นราคาหรื อ ไม่ หากมี บุ ค คลหนึ่ ง บุ ค คลใด
คั ด ค้ า นราคา เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี จ ะเลื่ อ นการขายในนั ด นั้ น ออกไป
โดยให้ผู้เสนอราคาสูงสุดผูกพันราคาในการขายไว้ ในการขายครั้งต่อไป
เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไม่ฟงั คำ�คัดค้าน ไม่วา่ จะเคยคัดค้านหรือไม่เคยคัดค้าน
หรือไม่มาในคราวก่อนทุกราย (ทรัพย์หนึง่ รายการ มีการคัดค้านราคาได้เพียง
ครั้งเดียว)

52
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 22
ถาม ในการขายทอดตลาด ผู้มีส่วนได้เสีย
ควรมาดูแลการขายทอดตลาดหรือไม่
และประโยชน์ในการคัดค้านราคาเพื่ออะไร

ตอบ
ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียในทรัพย์ทที่ �ำ การขายทอดตลาดควรมาดูแลการขาย
เพื่อรักษาสิทธิและประโยชน์ของตนเอง เนื่องจากหากไม่มีผู้มีส่วนได้เสีย
มาดู แ ลการขายในการขายทอดตลาด เมื่ อ มี ผู้ เ สนอราคาสู ง สุ ด
ในการขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเคาะไม้ขายทอดตลาดให้
แก่ผู้เสนอราคาสูงสุด ซึ่งหากขายทอดตลาดได้ราคาต่ำ�กว่าหนี้ โจทก์จะได้
รับชำ�ระหนี้ไม่ครบถ้วน ซึ่งจะต้องสืบหาทรัพย์ของจำ�เลยเพิ่ม ทำ�ให้เสีย
ค่าใช้จ่าย ส่วนจำ�เลยเมื่อโจทก์ได้รับชำ�ระหนี้ไม่ครบถ้วน จำ�เลยก็อาจถูก
ยึดทรัพย์อื่นเพิ่มเติม แต่หากผู้มีส่วนได้เสียมาดูแลการขายและมีผู้เสนอ
ราคาสู ง สุ ด ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ย่ อ มมี สิ ท ธิ ที่ จ ะคั ด ค้ า นราคาได้ ทำ � ให้ มี ก าร
เลื่อนการขายไป 1 นัด เพื่อให้ผู้คัดค้านหาผู้เข้าสู้ราคาตามที่ต้องการ
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเลื่อนการขายทอดตลาดออกไป ก็เพื่อให้
ผู้มีส่วนได้เสียหาผู้เข้าสู้ราคาที่ให้ราคาที่ต้องการมาเข้าประมูลแข่งขัน และ
หากมีการเลือ่ นการขายทอดตลาดออกไปถือว่ายังไม่มกี ารขายทอดตลาดทรัพย์
ดั ง นั้ น ในระหว่ า งนี้ โจทก์ กั บ จำ� เลยยั ง สามารถตกลงกั น ได้ แ ละมาของด

53
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

การขายทอดตลาดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยมีความยินยอมของผู้มี
ส่วนได้เสียครบถ้วน โดยการคัดค้านราคา ผูม้ สี ว่ นได้เสียมีสทิ ธิคดั ค้านราคาได้
เพียง 1 ครัง้ ในการขายทอดตลาดทีม่ ผี เู้ สนอราคาในครัง้ แรก หากผูม้ สี ว่ นได้เสีย
ไม่ ม าดู แ ลการขายในนั ด นั้ น สิ ท ธิ ใ นการคั ด ค้ า นราคาย่ อ มเสี ย ไป
เพราะถือว่าไม่ติดใจคัดค้านราคา และไม่ว่าผู้มีส่วนได้เสียรายอื่นจะได้ใช้
สิทธิคดั ค้านราคาไปแล้วหรือไม่ หากผูม้ สี ว่ นได้เสียไม่มาดูแลการขายในนัดนัน้
ก็ไม่สามารถใช้สิทธิคัดค้านราคาได้อีก

54
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 23
ถาม สมมุติ ผู้ซื้อได้เข้าประมูลบ้านพร้อมที่ดิน
ซึ่งกรมบังคับคดีได้ตั้งราคาที่ 900,000 บาท
และผู้ซื้อทรัพย์ก็รับราคาเพียงผู้เดียว
โดยไม่มีผู้เข้าสู้ราคา ทางโจทก์ก็มิได้คัดค้านราคาด้วย
แต่เจ้าของทรัพย์คัดค้านราคาไว้ที่ 1,600,000 บาท
ดังนั้น กรมบังคับคดีจึงได ใหผูซื้อผูกพันราคาไว้
เพื่อรอในครั้งต่อไป ว่าจำ�เลยจะหาผู้มาเข้าสู้ราคา
ตามที่จำ�เลยคัดค้านไว้ ทำ� ใหผูซื้อไม่เข้าใจว่าการคัดค้าน
ราคาของจำ�เลยหมายถึงอะไร คือ ในครั้งต่อไป
หากจำ�เลยสามารถหาผู้เข้าสู้ราคาได้
จะต้องเริ่มประมูลใหม่หรือไม่ ในราคาที่ผู้ซื้อรับไว้
ใช่หรือไม่ หรือผู้เข้าสู้ราคาจะต้องรับราคาที่จำ�เลยคัดค้าน
ในราคาที่ 1,600,000 บาท

55
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ตอบ
ในกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียใช้สิทธิคัดค้านราคา ไม่ว่าจะคัดค้านราคา
ที่เท่าใดก็ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ
กำ�หนดให้ผู้ที่คัดค้านราคาหาผู้ที่จะซื้อในราคาที่ตนต้องการมาเสนอราคา
ในการขายทอดตลาดนัดต่อไป ซึ่งในการขายครั้งต่อไป ซึ่งราคาเริ่มต้นจะ
เริม่ จากราคาทีผ่ ผู้ กู พันให้ราคาไว้ (กรณีตามคำ�ถามเป็นจำ�นวน 900,000 บาท)
และในการขายครั้งนี้ หากไม่มีผู้เสนอราคาสูงกว่าราคาที่มีการผูกพันไว้
เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเคาะไม้ขายให้แก่ผผู้ กู พันราคา แต่หากมีผเู้ สนอราคา
สูงกว่าที่ผู้ผูกพันเสนอราคาไว้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ที่
ให้ราคาสูงสุดนั้น

56
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 24
ถาม หลักเกณฑ์ในการขอขยายระยะเวลาในการชำ�ระราคา
ส่วนที่เหลือมีอย่างไรและสามารถขยายระยะเวลา
ในการชำ�ระราคาส่วนที่เหลือได้กี่ครั้ง

ตอบ
ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดต้องชำ�ระราคาทรัพย์
ให้ครบถ้วนต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 15 วันนับแต่วันที่ซื้อได้ แต่
หากผู้ซื้อประสงค์ขยายระยะเวลาในการชำ�ระราคาส่วนที่เหลือ ผู้ซื้อต้อง
ยื่น คำ � ร้ อ งขอขยายการชำ �ระราคาส่วนที่เหลือต่ อ เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี
ก่อนครบกำ�หนด 15 วันดังกล่าว โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีจะพิจารณา
อนุญาตได้ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ผูซ้ อื้ ต้องมีหลักฐานการขอสินเชือ่ จากสถาบันการเงินมาแสดง หรือ
2. ผู้ซื้อขอวางเงินเพิ่มอีกไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของราคาที่ซื้อได้
3. หากเป็นกรณีที่ผู้ซื้อเคยเป็นผู้ทิ้งมัดจำ� ไม่ว่าในคดีใดหรือคดีนั้น
เคยมีการทิง้ มัดจำ�มาก่อน แม้วา่ มีหลักฐานการขอสินเชือ่ จากสถาบันการเงิน
หรื อ เหตุ อื่ น ผู้ ซื้ อต้องวางเงินเพิ่มอีกไม่น้อยกว่ า ร้ อ ยละ 20 ของราคา
ที่ซื้อได้ด้วย
เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี จ ะอนุ ญ าตให้ ข ยายระยะเวลาได้ ไ ม่ เ กิ น 3
เดือนนับแต่วันครบกำ�หนดและการขอขยายระยะเวลาวางเงินจะกระทำ�ได้
เพียงครัง้ เดียวไม่วา่ กรณีใด ๆ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไม่อนุญาตให้ขยายการ
วางเงินอีก
57
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 25
ถาม หากประมูลซื้อทรัพย์ได้แล้ว
ผู้ซื้อทรัพย์ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ตอบ
นอกจากราคาทรัพย์ทตี่ อ้ งชำ�ระครบแล้ว ผูซ้ อื้ ทรัพย์ตอ้ งเสียค่าใช้จา่ ย
เพิ่มเติม ดังนี้
1. ค่าอากรปิดใบรับเงินชำ�ระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี
2. ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ค่าภาษีตา่ ง ๆ และ
ค่าธรรมเนียมที่เจ้าพนักงานที่ดินอาจเรียกเก็บ ให้ชำ�ระ ณ สำ�นักงานที่ดิน

58
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 26
ถาม หากซื้อทรัพย์จากการขายทอกตลาดแล้ว
ผู้มีส่วนได้เสียในคดีมีสิทธิร้องขอเพิกถอน
การขายทอดตลาดต่อศาลหรือไม่
และหากมีการร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด
ผู้ซื้อต้องดำ�เนินการอย่างไร

ตอบ
ตามกฎหมาย ผูม้ สี ว่ นได้เสียในคดีสามารถร้องขอเพิกถอนการขายต่อ
ศาลได้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำ�หนดไว้
ในคดีที่มีการร้องเพิกถอนการขายทอดตลาด ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะยื่น
คำ � ร้ อ งต่ อ เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี เ พื่ อ ขอขยายระยะเวลาการวางเงิ น
ส่วนที่เหลือออกไปจนกว่าศาลจะมีคำ�สั่งถึงที่สุดในเรื่องคำ�ร้องขอเพิกถอน
การขายทอดตลาด โดยต้ อ งปฏิ บั ติ ต ามเงื่ อ นไขที่ ก รมบั ง คั บ คดี กำ� หนด
นอกจากนี้ผู้ซื้อยังมีสิทธิยื่นคำ�ร้องคัดค้านคำ�ร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดนั้น
ต่อศาล

59
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 27
ถาม หากผู้รับจำ�นองเป็นผู้ประเมินซื้อทรัพย์ได้
และใช้สิทธิหักส่วนได้ใช้แทน
ผู้รับจำ�นองสามารถขอรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์
ไปก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำ�บัญชีเสร็จ ได้หรือไม่

ตอบ
กรณีนี้ ผู้รับจำ�นองจะรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ได้เมื่อเจ้าพนักงาน
บังคับคดี ได้จัดทำ� “รายงานหักส่วนได้ใช้แทน” คือการนำ�จำ�นวนเงิน
ทีผ่ รู้ บั จำ�นองมีสทิ ธิได้รบั ชำ�ระหักกับราคาทีซ่ อื้ ได้แล้ว ผูร้ บั จำ�นองไม่ตอ้ งวาง
เงินเพิ่ม ก็สามารถรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ได้ แต่หากต้องวางเงินเพิ่ม ผู้รับ
จำ�นองจะต้องวางเงินเพิม่ ภายในระยะเวลาทีเ่ จ้าพนักงานบังคับคดีก�ำ หนดก่อน
จึงจะสามารถรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ได้ก่อนทำ�บัญชีเสร็จ

60
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 28
ถาม กรณีผู้ถือกรรมสิทธ ในทรัพย์ที่ทำ�การขายทอดตลาด
เสียชีวิตลงก่อนที่ผู้ซื้อจะรับโอนกรรมสิทธิ์
จะมีผลต่อการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ทำ�การขายทอดตลาด
ตอบ
ในกรณี ที่ ศ าลไม่ มี คำ � สั่ ง ให้ ง ดการบั ง คั บ คดี เมื่ อ ผู้ ซื้ อ ชำ � ระราคา
ครบถ้วน เจ้าพนักงานมีหน้าที่จะต้องออกหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดิน
โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งแตกต่างจากการโอนกรรมสิทธิ์ทั่วไป ดังนั้น
หากผู้ ถื อ กรรมสิ ท ธิ์ ใ นทรั พ ย์ ที่ ทำ � การขายทอดตลาดเสี ย ชี วิ ต ลงก่ อ นที่
ผู้ซื้อจะรับโอนกรรมสิทธิ์ จึงไม่มีผลต่อการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อจาก
การขายทอดตลาดแต่อย่างใด

61
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 29
ถาม หากซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดแล้ว
ปรากฏว่า จำ�เลยหรือผู้เช่าจากจำ�เลยยังอาศัยอยู่
ผูซื้อได้สามารถครอบครองทรัพย์นั้นได้หรือไม่
หลังจากโอนกรรมสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว

ตอบ
ในกรณีที่ปรากฏว่ามีผู้อาศัย ไม่ว่าจะเป็นจำ�เลยหรือบริวาร ผู้ซื้อจะ
เข้าไปในทรัพย์ที่ซื้อโดยทันทีไม่ได้ ต้องยื่นคำ�ร้องต่อศาลที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่
ในเขต เพือ่ ขอให้ศาลออกคำ�บังคับและออกหมายบังคับคดีให้ขบั ไล่จ�ำ เลยและ
บริวารออกไปจากทรัพย์นนั้ และนำ�เจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำ�เนินการขับไล่
จำ�เลยและบริวารเพื่อส่งมอบการครอบครองให้แก่ผู้ซื้อก่อน

ข้อ 30
ถาม กรณีผู้ซื้อทรัพย์จาการขายทอดตลาดไม่ชำ�ระราคา
ภายในกำ�หนดจึงถูกริบมัดจำ� แล้วนำ�ทรัพย์ออกขายทอดตลาดใหม่
หากการขายทอดตลาดครั้งใหม่ได้ราคาต่ำ�กว่า ที่ผู้ซื้อทรัพย์เคย
เสนอราคาสูงสุดในครั้งก่อน ผู้ซื้อต้องรับผิดส่วนต่างหรือไม่

62
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ตอบ
ผู้ซื้อทรัพย์เดิมที่ไม่ชำ�ระราคาภายในกำ�หนดต้องรับผิดในจำ�นวน
เงินส่วนต่าง หากการขายทอดตลาดครั้งใหม่ขายได้ราคาที่ต่ำ�กว่าครั้งที่ตน
เป็นผู้ซื้อได้ โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ผู้ซื้อเดิมนั้นชำ�ระราคาส่วนต่าง
ของราคาและค่าใช้จ่าย

ข้อ 31
ถาม ขายทอดตลาดทรัพย์ได้แล้ว
ทำ�ไมโจทก์ได้รับเงินส่วนได้จากการขายทอดตลาด
ไม่เต็มตามจำ�นวนที่ผู้ซื้อชำ�ระราคาค่าซื้อทรัพย์

ตอบ
เมื่อผู้ซื้อชำ�ระราคาครบถ้วนแล้ว เงินที่ได้จากการขายทอดตลาด
ต้องจ่ายตามลำ�ดับ ดังนี้
1. ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี
2. เงินที่โจทก์วางทดรองค่าใช้จ่าย
3. เจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ เช่น ผู้รับจำ�นอง เป็นต้น
4. เจ้าหนี้สามัญ
5. หากยั ง มี เ งิ น เหลื อ อยู่ อี ก เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี จ ะจ่ า ยให้ แ ก่
ลูกหนี้ต่อไป
ดังนั้น เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมิได้นำ�มาชำ�ระให้แก่เจ้าหนี้
ทัง้ หมด ต้องชำ�ระค่าฤชาธรรมเนียมก่อน และหากเจ้าหนีไ้ ด้รบั ชำ�ระหนีไ้ ม่ครบถ้วน
ก็มีสิทธิบังคับคดีเอาทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ภายในระยะเวลาที่กฎหมาย
กำ�หนดต่อไป
63
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อ 32
ถาม หากโจทก์ยึดทรัพย์และขายทอดตลาดแล้ว
ปรากฏว่าโจทก์ยังได้รับชำ�ระหนี้ไม่ครบถ้วน
หนี้ส่วนที่เหลือนี้จำ�เลยสามารถขอผ่อนผันชำ�ระหนี้ได้หรือไม่
และหากจำ�เลยไม่มีเงินชำ�ระหนี้ส่วนที่เหลือ
จะถูกฟ้องล้มละลายหรือไม่

ตอบ
หนีส้ ว่ นทีเ่ หลือนีจ้ �ำ เลยจะสามารถขอผ่อนผันชำ�ระหนีไ้ ด้หรือไม่ ขึน้ อยู่
กับการตกลงระหว่างโจทก์-จำ �เลย และหากจำ�เลยเป็นบุคคลที่มีหนี้สิน
ล้นพ้นตัวและหนี้ส่วนที่เหลือเกินกว่า 1,000,000 บาท (สำ�หรับบุคคล
ธรรมดา) หรือเกินกว่า 2,000,000 บาท (สำ�หรับนิติบุคคล) ก็อาจถูกฟ้อง
ล้มละลายได้

64
สาระน่ารู้ด้านการบังคับคดีแพ่ง
Application
ค้นหาทรัพย์ขายทอดตลาด
“LED PROPERTY”

กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
189/1 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
โทรศัพท์ 0 2881 4999 สายด่วน 1111 กด 79
www.led.go.th

You might also like