You are on page 1of 22

Gemology -Crystallography-

ผลึกวิ ทยาเบือ้ งต้น


( Crystallography )

เนื่องจากคุณสมบัตติ ่าง ๆ เช่น ความแข็ง ความเหนียว ความถ่วงจําเพาะของอัญมณีจะสัมพันธ์กบั โครงสร้าง


ภายในและพันธะระหว่างอะตอมในอัญมณี ดังนัน้ จึงจะกล่าวถึงเคมีของผลึกและโครงสร้างของผลึกก่อนทีจ่ ะกล่าวถึง
คุณสมบัตทิ างกายภาพต่าง ๆ ของอัญมณี

Chemistry of Crystal

อัญมณีเป็ นของแข็งและส่วนใหญ่จะเป็ นแร่ มีโครงสร้างเป็ นผลึกหรือเป็ นอสัณฐานก็ได้ โดยอัญมณีผลึก


(crystalline gems) ประกอบด้วยอะตอม โมเลกุล หรือ ไอออน จัดเรียงตัวอย่างเป็ นระเบียบ มีรูปแบบผลึกที่มี
ลักษณะเฉพาะสําหรับอัญมณีแต่ละชนิดทําให้ผลึกมีรปู ทรงเรขาคณิตทีแ่ น่ นอน มีสมบัติ เช่น จุดหลอมเหลวคงตัวและ
แน่นอน อัญมณีประเภทนี้ได้แก่ Quartz Diamond Corundum Tourmaline Topaz เป็ นต้น ส่วนอัญมณีอสัณฐาน
(amorphous gems) มีการจัดเรียงตัวของอนุ ภาคไม่เป็ นระเบียบ แรงดึงดูดระหว่างอะตอมในส่วนต่าง ๆ แตกต่างกัน
ทําให้มรี ปู ร่างไม่สมํ่าเสมอ มีผลให้สมบัตติ ่าง ๆ ไม่คงทีแ่ น่นอน เช่น พลาสติก และแก้ว ภาพแสดงการเปรียบเทียบ
โครงสร้างของผลึกควอตซ์ (SiO2) กับแก้วควอตซ์ (SiO2) ดังรูป

Crystalline matter Amorphous matter

Crystalline SiO2 Amorphous SiO2


(Quartz) (Glass)

1
Gemology -Crystallography-

1. Chemical bonding

การทีอ่ ะตอมต่าง ๆ จะมารวมกันเป็ นโมเลกุลของสารประกอบจะต้องเกิดแรงดึงดูดระหว่างอะตอมในโมเลกุล


ของธาตุหรือสารประกอบ เรียกว่าเกิด พันธะเคมี (chemical bonding) พันธะเคมีทส่ี าํ คัญมี 2 ชนิด คือ พันธะไอออน
(Ionic bond) และพันธะโคเวเลนซ์ (covalent bond) ปกติอะตอมจะเป็ นกลางทางไฟฟ้า อะตอมทีม ่ กี ารสูญเสีย
อิเล็กตรอนจะกลายเป็ นไอออนบวก (cation) ได้แก่ธาตุโลหะในหมู่ IA IIA และ IIIA เช่น แมกนีเซียม (Mg) เมื่อ
สูญเสียอิเล็กตรอน 2 ตัว จะกลายเป็ น Mg2+ ส่วนอะตอมทีไ่ ด้รบั อิเล็กตรอนเพิม่ จะเป็ นไอออนลบ (anion) ซึง่ ส่วน
ใหญ่จะเป็ นธาตุอโลหะในหมู่ VA VIA และ VIIA เช่น ออกซิเจน (O) เมื่อได้รบั อิเล็กตรอน 2 ตัว จะกลายเป็ น
O2- พันธะไอออนเป็ นแรงดูดทางไฟฟ้าระหว่างไอออนทีม ่ ปี ระจุตรงข้ามกัน ยกตัวอย่างพันธะไอออนทีเ่ กิดขึน้ ระหว่าง
อะตอมโซเดียม (Na : Z=11) และอะตอมคลอรีน (Cl : Z=17) โซเดียมซึง่ เป็ นธาตุโลหะในหมู่ I มีอเิ ล็กตรอนนอก
สุด (valence electron) 1 ตัว จะสูญเสียอิเล็กตรอนตัวนี้ได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับคลอรีนในสภาพแก๊ส คลอรีนอะตอม
เป็ นธาตุในหมู่ VII มีอเิ ล็กตรอนในวงนอกสุดเท่ากับ 7 ตัว จะรับอิเล็กตรอนเพิม่ อีก 1 ตัว ได้ง่ายเพื่อให้เสถียร ใน
ทีส่ ดุ จะเกิดเป็ น NaCl เป็ นสารประกอบซึง่ ประกอบด้วย Na+ และ Cl- จากการถ่ายโอนอิเล็กตรอน 1 ตัวจากโซเดียม
ไปยังคลอรีน แสดงดังรูป

NaCl

2
Gemology -Crystallography-

ส่วนพันธะโคเวเลนซ์ เป็ นแรงดึงดูดทางไฟฟ้าทีเ่ กิดจากการใช้อเิ ล็กตรอนร่วมกันระหว่างอะตอม 2 อะตอม


โดยอิเล็กตรอนทีใ่ ช้รว่ มกันนัน้ ดึงดูดนิวเคลียสของทัง้ สองอะตอม (ประจุไฟฟ้าของโปรตอนในนิวเคลียส) ทําให้อะตอม
อยู่รวมกันเป็ นโมเลกุลได้ พันธะโคเวเลนซ์เป็ นพันธะที่แข็งแรงที่สุด ยกตัวอย่างพันธะโคเวเลนซ์ท่ีเกิดจากอะตอม
คาร์บอนในผลึกเพชร ธาตุคาร์บอนซึ่งเป็ นธาตุในหมู่ IV ของตาราง Periodic มีอเิ ล็กตรอนในวงนอกสุด 4 ตัว
คาร์บอนแต่ละอะตอมในผลึกเพชรจะใช้อเิ ล็กตรอนร่วมกันกับคาร์บอนอืน่ ๆ อีก 4 อะตอม ดังรูป

คาร์บอนอื่น ๆ อีก 4 อะตอม มีโครงสร้างเป็ นโครงข่าย ทําให้ผลึกมีรูปร่างเป็ น 3 มิติ ทําให้ผลึกเพชรมีความแข็งมาก


ที่สุดในบรรดาแร่ทงั ้ หมด ผลึกควอตซ์ หรือซิลกิ อนไดออกไซด์ (SiO2) ก็มีพนั ธะและโครงสร้างเช่นเดียวกับเพชร
ส่วนแกรไฟต์ ซึง่ เป็ นผลึกทีป่ ระกอบด้วยอะตอมคาร์บอนอย่างเดียวเหมือนกับเพชร แต่ในผลึกแกรไฟต์ คาร์บอนแต่ละ
อะตอมจะเกิดพันธะโคเวเลนซ์กบั อะตอมคาร์บอนอื่นๆ อีก 3 อะตอม และทุกอะตอมอยู่ในระนาบเดียวกัน ดังนัน้ ใน
ผลึกแกรไฟต์จงึ มีกลุม่ อะตอมคาร์บอนทีเ่ กิดพันธะโคเวเลนซ์ซอ้ นกันอยู่หลายชัน้ แต่ละชัน้ ยึดเกาะกันด้วยแรงอีกชนิด
หนึ่งเรียกว่า แรงแวนเดอร์วาลส์ (Van der waals force) จึงทําให้แกรไฟต์มคี วามแข็งน้อยกว่าเพชรมาก ๆ ซึง่ มี
โครงสร้างแตกต่างกัน ดังรูป

สารอัญมณีทงั ้ ธรรมชาติและสังเคราะห์มพี นั ธะไอออน และโคเวเลนซ์เป็ นส่วนใหญ่ มีอญ


ั มณีจํานวนน้อยทีม่ ี
พันธะเป็ นแบบใดแบบหนึ่ง อัญมณีส่วนใหญ่จะมีพนั ธะทัง้ สองแบบผสมผสานกัน นอกจากพันธะทัง้ สองแบบทีก่ ล่าว
มาแล้วยังมีพนั ธะเคมีอ่นื ๆ อีก คือ พันธะแวนเดอร์วาลส์ พันธะโลหะ แต่ไม่มบี ทบาทสําคัญในสารอัญมณี

3
Gemology -Crystallography-

โดยทัว่ ๆ ไป เราจะพิจารณาว่าแร่มโี ครงสร้างประกอบด้วยไอออนเรียงตัวเป็ นแถวขนานกันใน 3 มิติ


วิธกี ารจัดเรียงไอออนหรืออนุ ภาคขึน้ กับประจุไฟฟ้าและขนาดของไอออน การวัดขนาดของไอออนโดยตรงทําได้ยาก
รัศมีของไอออนหาได้อย่างประมาณ เมื่อไอออนบวกและไอออนลบเข้ามาใกล้กนั ภายใต้แรงดึงดูด เมื่อเข้าใกล้ถึง
ระยะทางหนึ่ง แรงผลักระหว่างประจุลบมีค่าสูงขึน้ ระยะทางทีแ่ รงผลักระหว่างประจุลบสมดุลกับแรงดึงดูด คือ ระยะ
ระหว่างไอออนทัง้ คูน่ นั ้ ถ้าทราบขนาดของไอออนหนึ่งก็จะทราบขนาดของไอออนอีกตัวหนึ่งได้ ปกติขนาดของไอออน
ลบใหญ่กว่าขนาดของไอออนบวก ในตารางแสดงรัศมีไอออนของธาตุต่าง ๆ ซึง่ ส่วนใหญ่เป็ นธาตุปริมาณน้อยในอัญ
มณีทเ่ี กีย่ วข้องกับการเกิดสีของอัญมณี

สัญลักษณ์และประจุ รัศมีของไอออน
เลขอะตอม ธาตุ
ของไอออน (Å)
4 Beryllium Be2+ 0.35
5 Boron B3+ 0.23
6 Carbon C4+ 0.15
8 Oxygen O2- 1.40
9 Fluorine F- 1.36
12 Magnesium Mg2+ 0.66
13 Aluminium Al3+ 0.51
14 Silicon Si4+ 0.40
19 Potassium K+ 1.33
20 Calcium Ca2+ 0.99
22 Titanium Ti4+ 0.68
23 Vanadium V2+ 0.74
24 Chromium Cr3+ 0.63
25 Manganese Mn2+ , Mn3+ 0.80 , 0.66
26 Iron Fe2+ , Fe3+ 0.74 , 0.64
28 Nickel Ni2+ 0.69
29 Copper Cu+ 0.96
40 Zirconium Zr4+ 0.79

2. Closet packing

การจัดเรียงอนุภาคในผลึก มีการจัดเรียงในลักษณะทีใ่ ห้อนุภาคสัมผัสกันมากทีส่ ุดเท่าทีจ่ ะเป็ นไปได้ เพื่อให้


ผลึกมีเสถียรภาพ เหลือช่องว่างไว้น้อยทีส่ ดุ จึงเกิดการจัดตัวชิดทีส่ ดุ (closet packing) ซึง่ มีได้ 2 แบบ คือ
1. Hexagonal closet packing : hcp

ถ้าอนุ ภาคในผลึกเป็ นทรงกลม ในชัน้ ที่ 1 ให้แต่ละทรงกลมสัมผัสกับทรงผลมอื่นอีก 6 ลูก เป็ นชัน้ A


ชัน้ ที่ 2 วางทรงกลมซ้อนบนร่องของทรงกลมชัน้ แรกได้เป็ นชัน้ B ชัน้ ที่ 3 เรียงทรงกลมเหมือนชัน้ ที่ 1
เรียกการเรียงแบบนี้วา่ AB AB AB … ดังรูป

4
Gemology -Crystallography-

2. Cubic closet packing : ccp

เป็ นการเรียงทรงกลมให้ชนั ้ ที่ 1 และชัน้ ที่ 4 ตรงกัน และเรียงเช่นนี้ต่อไป เรียกการเรียงแบบนี้วา่ ABC


ABC … ดังรูป

การจัดเรียงอนุ ภาคแบบจัดตัวชิดทีส่ ุดทัง้ 2 แบบนี้ แต่ละอนุ ภาคจะสัมผัสกับอนุ ภาคอื่น ๆ อีก 12 อนุ ภาค
โดยอยู่ห่างเท่า ๆ กัน มี 6 อนุ ภาคอยู่ในระนาบเดียวกัน อีก 3 อนุ ภาคอยู่ชนั ้ บท อีก 3 อนุ ภาคอยู่ชนั ้ ล่าง จํานวน
อนุ ภาคทีใ่ กล้ทส่ี ุดของแต่ละอนุ ภาคในผลึกนัน้ เรียกว่า เลขโคออร์ดเิ นชัน (coordination number) ในกรณีน้ีเลขโค
ออร์ดเิ นชันเป็ น 12

3. Phenomena

จากการทีส่ มบัตติ ่าง ๆ ของผลึกของแข็ง (เช่น อัญมณีทเ่ี ป็ นแร่) มีความเชื่อมโยงกับ องค์ประกอบทางเคมี


พันธะเคมี และโครงสร้างภายในของผลึก ทําให้เกิดปรากฏการณ์ต่อไปนี้

1. Isomorphism – ภาวะรูปร่างเหมือนกัน
ปรากฏการณ์ทผ่ี ลึกสองชนิดหรือมากกว่าสองชนิด มีองค์ประกอบทางเคมีแตกต่างกัน แต่มโี ครงสร้าง
ผลึกเป็ นแบบเดียวกัน เช่น โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) กับ แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) ซึ่งเป็ นพลอย
สังเคราะห์ชนิดหนึ่ง มีช่อื เรียกว่า Periclase มีโครงสร้างผลึกเหมือนกันแต่มสี มบัตติ ่างกัน เช่น NaCl
ละลายนํ้าได้ ความหนาแน่นตํ่า ความแข็งน้อย จุดหลอมเหลวตํ่า ในขณะที่ MgO ละลายนํ้าไม่ได้ ความ
หนาแน่ นสูง ความแข็งมากกว่า จุดหลอมเหลวสูงกว่า ผลึกทัง้ สองมีโครงสร้างผลึกคล้ายคลึงกัน หรือ

5
Gemology -Crystallography-

พลอยในตระกูลการ์เนต ซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีในรูป X2Y3(SiO4)3 ใน X2 อาจเป็ นแคลเซียม


แมกนีเซียม เฟอรัสไอออน หรือ แมงกานีส ในขณะที่ Y3 อาจเป็ น อะลูมิเนียม เฟอริกไอออน หรือ
โครเมียม อะตอมหรือธาตุโลหะที่กล่าวมาแล้วมีขนาดใกล้เคียงกันจึงแทนที่กนั ได้ ทําให้มโี ครงสร้าง
เหมือนกัน หรือรูปร่างเหมือนกัน ทําให้เกิดเป็ นพลอยหลายจําพวกและมีสมบัตติ ่าง ๆ กัน เช่น ความ
หนาแน่น ความถ่วงจําเพาะ ค่าดรรชนีหกั เห แตกต่างกัน

NaCl MgO

2. Polymorphism – ภาวะรูปร่างหลายแบบ
ปรากฏการณ์ท่ีผลึกชนิดหนึ่ง มีโครงสร้างผลึกได้สองหรือมากกว่าสองแบบ เนื่องจากพันธะระหว่าง
อะตอมและการจัดเรียงอนุภาคในผลึกแตกต่างกัน โดยอาจเกิดจากสภาวะทีแ่ ตกต่างกันในขณะตกผลึก
เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) จะรู้จกั ในชื่อของแร่ท่ีเป็ นอัญมณี 2 ชนิด คือ Calcite และ
Aragonite ซึง่ มีโครงสร้างทีแ่ ตกต่างกันภายใต้สภาวะทีแ่ ตกต่างกัน โดย Calcite มีโครงสร้างผลึกอยู่
ในระบบ Hexagonal ระบบย่อย Trigonal ส่วน Aragonite มีโครงสร้างผลึกเป็ น Orthorhombic
อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ Diamond และ Graphite ที่ต่างก็ประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอกน แต่ มี
โครงสร้างต่างกัน

Calcite Aragonite

6
Gemology -Crystallography-

3. Ionic substitution and solid solution – การแทนทีข่ องไอออนและสารละลายของแข็ง


ในธรรมชาติ การทีแ่ ร่หรือพลอยจะตกผลึกในสารละลายหรือจากการหลอมละลายในสารละลายนัน้ ๆ จะ
ประกอบด้วยธาตุ จํานวนมากหลากหลายชนิด มีธาตุ บางธาตุ ซ่งึ มีปริมาณน้ อยจะตกผลึกเป็ นมลทิน
ภายในพลอย และมักมีความสําคัญ เพราะเป็ นธาตุทท่ี ําให้เกิดสีในพลอย (coloring agents) เช่น
Chromium ใน Corundum, Vanadium ใน Emerald, Iron ใน Aquamarine ซึง่ มักอยู่ในรูปไอออน
( เช่น Cr3+ , V2+ , Fe2+ , Fe3+ เป็ นต้น ) โดยไอออนเหล่านี้เข้าไปแทนทีธ่ าตุหลักในแร่พลอยนัน้ ๆ
เช่น ยกตัวอย่างแร่ Corundum (Al2O3) ถ้า Al3+ ถูกแทนทีด่ ว้ ย Cr3+ เพราะมีขนาดของไอออน
ใกล้เคียงกัน เป็ น Cr2O3 ประมาณ 1% ก็จะทําให้เกิดสีแดงใน Corundum ได้ หรือ Pyrope
(Mg3Al2Si3O12) Almandine (Fe3Al2Si3O12) โดยทีไ่ อออนแมกนีเซียมและไอออนเหล็กมีขนาด
ไอออนใกล้เคียงกัน ถ้าแมกนีเซียมใน Pyrope ซึง่ มีสแี ดงส้ม ประมาณหนึ่งในสามถูกแทนด้วยเหล็ก
จะทําให้ Pyrope นัน้ มีสแี ดงอมม่วงได้ การแทนที่ไอออนในผลึกชนิดหนึ่งด้วยไอออนที่มีลกั ษณะ
คล้า ยกั นของผลึก อีก ชนิ ด หนึ่ ง เปรีย บได้ก ั บการที่ผ ลึก หนึ่ ง ละลายอยู่ใ นผลึก อีก ชนิ ด หนึ่ ง เรีย ก
สารละลายแบบนี้วา่ สารละลายของแข็ง (solid solution)
4. Exsolution – การแยกตัวของอะตอมตัวถูกละลายในสารละลายของแข็ง
เมื่อสารละลายของแข็งบางชนิดเกิดขึน้ ทีอ่ ุณหภูมสิ งู ซึง่ ในสภาวะนัน้ อะตอมอยู่ห่างกัน ทําให้มที ว่ี ่าง
มากพอทีจ่ ะให้ไอออนซึง่ เปรียบเหมือนกับอะตอมตัวละลาย (solute atom) เข้าไปแทนทีไ่ อออนหลักใน
สารละลายของแข็งนัน้ เมือ่ อุณหภูมลิ ดลง ความสามารถในการละลายของสารละลายของแข็งลดลง ทํา
ให้อะตอมตัวถูกละลายนัน้ ไม่สามารถอยู่ในสารละลายของแข็งได้ จึงแยกตัวออกมาตกผลึก มีโครงสร้าง
ของตัวเองในผลึกแม่และเกิดในทิศทางที่แน่ นอน เรียกกระบวนการที่เกิดขึน้ นี้ว่า การแยกตัวออกจาก
สารละลาย (Exsolution) หรือการไม่สามารถผสมกันได้ของสารละลายของแข็งนันเอง ่ ตัวอย่างการเกิด
กระบวนการเช่นนี้ เช่น ในการตกผลึกของแร่ Corundum อาจมีแร่ Titanium Oxide (Ti2O3) ซึง่
เกิดจาก Ti3+ แทนที่ Al3+ ปะปนอยู่ ถ้าอุณหภูมลิ ดลงอย่างรวดเร็ว ไทเทเนียมออกไซด์จะตกผลึกเป็ น
ผลึกเนื้อเดียวกับอะลูมเิ นียมออกไซด์ แต่ถ้าอุณหภูมลิ ดลงอย่างช้า ๆ ไทเทเนียมจะแยกตัวมารวมกับ
ออกซิเจน ตกผลึกเป็ นเส้นเข็มรูไทล์ (TiO2 : rutile needle) อยู่ในผลึก Corundum โดยไม่ทําให้ผลึก
แม่หรือผลึกเจ้าบ้าน (host crystal) เสียรูปทรง จากโครงสร้างของแร่ Corundum ที่เป็ นระบบ
Hexagonal ทําให้เส้นเข็มต่ าง ๆ ตัดกันทํามุม 60°/120° ซึง่ กันและกันกลายเป็ นแร่มลทินในพลอย
Corundum ถ้า จํา นวนเส้ นเข็ม รูไ ทล์ท่ต ี ัดกันมีมากพอ จะทําให้เกิดปรากฏการณ์ สตาร์ในพลอย
Corundum ทีเ่ จียระไนแบบหลังเบีย้ ได้

7
Gemology -Crystallography-

Crystallography

การค้นพบรังสีเอกซ์นําไปสู่การศึกษาค้นคว้าโครงสร้างภายในของผลึกได้ โดยผลึกสามารถทําให้รงั สีเอกซ์


เกิดการเลี้ยวเบนและการกระเจิงได้ ผลึกวิทยา (Crystallography) เป็ นศาสตร์ทส่ี าํ คัญในการศึกษาวิทยาแร่ ซึง่
เกีย่ วข้องอย่างมากกับการศึกษาทางด้าน Gemology เพราะสมบัตทิ างกายภาพและทางแสง ซึง่ จะใช้เป็ นข้อมูลใน
การวิเคราะห์อญ ั มณีนนั ้ จะเกีย่ วข้องกับโครงสร้างภายในของผลึก หรือเกีย่ วข้องกับการเรียงตัวอย่างเป็ นระเบียบของ
อะตอม ไอออน หรือโมเลกุล และพันธะระหว่างอะตอมในผลึกนันเอง ่

1. Type of crystal
ผลึกทีเ่ จริญเติบโตขึน้ มาจะมีลกั ษณะทีแ่ ตกต่างกัน 2 ลักษณะ คือ
1. Single crystal – ผลึกเดีย่ ว
เป็ นผลึกที่มกี ารเรียงตัวของอะตอมที่ยดึ ติดกันเป็ นระเบียบในสามมิติ สามารถมองเห็นเป็ นผลึก
โดด ๆ เช่น ผลึก Quartz ผลึก Diamond ผลึก Corundum ซึง่ มีรปู ร่างต่าง ๆ กัน
2. Aggregate หรือ Polycrystalline – ผลึกรวม
เป็ นกลุม่ ผลึกรวมอยูด่ ว้ ยกันโดยจัดเรียงตัวอย่างไม่เป็ นระเบียบ มีการเบียดเสียดกันแน่น ผลึกรวม
แบ่งเป็ น 2 กลุ่ม ได้แก่
1) Microcrystalline material – เป็ นกลุม ่ ผลึกเล็กจัดเรียงตัวไม่เป็ นระเบียบ ไม่สามารถมองเห็น
ด้วยตาเปล่า ต้องมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ เช่น Nephrite

2) Cryptocrystalline material – เป็ นกลุม


่ ผลึกเล็กละเอียดทีจ่ ดั เรียงตัวไม่เป็ นระเบียบ มี
ลักษณะเล็กกว่า microcrystalline ถึงแม้มองด้วยกล้องจุลทรรศน์กไ็ ม่เห็น เช่น Quartz ทีไ่ ม่
เป็ นผลึก ซึง่ เรียกรวมเป็ น Chalcedony

8
Gemology -Crystallography-

2. Bravais lattice
โครงสร้างของผลึกประกอบด้วยการเรียงตัวของอนุ ภาคในผลึก ซึ่งอาจเป็ น อะตอม โมเลกุล หรือไอออน
อย่างเป็ นระเบียบในสามมิติ มีแบบแผนทีแ่ น่นอน การเรียงตัวของจุดทีต่ าํ แหน่งซึง่ โครงข่ายของเส้นตรงตัดกันในปริภูมิ
ถูก เรียกว่ า แลตทิซปริภู มิ (space lattices) การเรีย งตั วในสามมิติโดยไม่ส้นิ สุด และแต่ ล ะจุ ดในปริ ภูมิจ ะมี
สภาพแวดล้อมทีเ่ หมือนกันภายในผลึก จุดทีก่ ล่าวถึงจะเป็ นตําแหน่งของอนุภาคในผลึกนันเอง ่ สําหรับส่วนทีเ่ ล็กทีส่ ดุ
ของ space lattices ทีส่ ามารถใช้เป็ นตัวแทนการจัดเรียงอนุภาคในผลึกชนิดนัน้ ๆ เรียกว่า Unit cell เป็ นส่วนเล็ก ซึง่
ยังคงสมบัตแิ ละลักษณะเหมือนผลึกนัน้ อยู่

โดยเวกเตอร์ทงั ้ สามมีความยาวเป็ น a, b และ c ตามแกน X, Y และ Z ตามลําดับ โดยใช้ α, β และ γ เป็ นมุมระหว่าง
ด้าน b กับ c, a กับ c และ a กับ b ตามลําดับ เรียกด้าน a , b , c และมุมระหว่างด้าน α, β และ γ ว่าค่าคงตัวแลตทิซ
(lattice constants)

ในปี ค.ศ. 1849 นักฟิสกิ ส์ชาวฝรังเศส


่ Auguste Bravais ได้สรุปไว้ว่า การจัดเรียงจุดเพื่อให้แต่ละจุดมี
สภาพแวดล้อมทีเ่ หมือนกันมีทงั ้ หมด 14 แบบ เรียกการเรียงจุดทัง้ 14 แบบของ unit cell นี้วา่ Bravais lattice แต่
ละเซลล์จะแตกต่างกันทีค่ วามยาวของด้าน และมุมระหว่างด้าน

Bravais lattice ทัง้ 14 แบบ จะมีแบบพืน


้ ฐานของ unit cell 4 แบบ คือ

1) Simple หรือ Primitive – แบบธรรมดา


แต่ละ unit cell จะมีอนุภาคอยู่ตรงมุมของ unit cell เท่า นัน้
2) Body-centered – แบบกลางตัว
แต่ละ unit cell นอกจากมีอนุ ภาคอยู่ทม่ี ุมของ unit cell แล้ว ยังมีอกี 1 อนุ ภาคอยู่ตรงกลางของ unit
cell
3) Face-centered – แบบกลางหน้า
แต่ละ unit cell นอกจากมีอนุภาคอยูท่ ม่ี มุ ของ unit cell แล้ว ยังมีอนุภาคอยู่ทก่ี ลางหน้าของ unit cell
ทุกหน้า
4) End-centered – แบบกลางปลาย
แต่ละ unit cell นอกจากมีอนุ ภาคอยู่ทม่ี ุมของ unit cell แล้วยังมี 2 อนุ ภาคอยู่ทก่ี ง่ึ กลางหน้าด้านบน
และด้านล่างของ unit cell อีก

9
Gemology -Crystallography-

3. Crystal face

รูปร่างภายนอกทีม่ องเห็นได้ของผลึกเป็ นผลจากรูปทรงเรขาคณิตของ unit cell และวิธกี ารจัดเรียง unit cell


ให้ผลึกโตขึน้ เรื่อย ๆ พิจารณาผลึกใหญ่รูปทรงลูกบาศก์ ซึง่ เกิดจาก unit cell ทีเ่ ป็ นลูกบาศก์เช่นกัน ดังรูป (ก) เป็ น
ผลมาจากการจัดซ้อน unit cell จํานวนเท่า ๆ กันในแต่ ละด้านในสามมิติ จะเห็นว่าผลึกทรงลูกบาศก์ใหญ่
ประกอบด้วย n2 unit cell (ในกรณีน้ี n = 5 และ n3 = 125 ) อย่างไรก็ตามในธรรมชาติ สภาวะแวดล้อมทีแ่ ตกต่างกัน
ของอุณหภูมิ ความดัน หรือการเคลื่อนไหวของสารละลายที่ผลึกจะเติบโตอาจทําให้การจัดซ้อนของ unit cell ใน
ทิศทางต่าง ๆ ไม่เท่ากัน ทําให้จํานวน unit cell ในแต่ละทิศทางมีไม่เท่ากัน มีผลทําให้ผลึกอาจมีรูปทรงเป็ นแผ่น
หนา (tabular) ดังรูป (ข) หรือเป็ นเท่งยาวดังรูป (ค) อย่างไรก็ตามรูปทรงทัง้ 3 แบบ ก็ยงั คงเป็ นสีเ่ หลีย่ มซึง่ มี 6 หน้า
แต่ละหน้าตัง้ ฉากซึง่ กันและกัน แต่ถ้าอัตราการเติบโตของผลึกในทิศทางต่าง ๆ ไม่เท่ากันตามการเปลีย่ นแปลงของ
สภาพแวดล้อม เช่น การเติบโตทางด้านและทางมุมไม่เท่ากัน เริม่ ต้นจาก unit cell รูปลูกบาศก์จะได้ผลึกรูปทรง
แปดหน้า (octahedron) ดังรูป (ง) หรือได้ผลึกทรงสิบสองหน้า (dodecahedron) ดังรูป (จ)

10
Gemology -Crystallography-

อีกตัวอย่างหนึ่งของพลอย Peridot การเติบโตซ้อนทับกันของ unit cell ของแร่ Olivine ขนาดของ unit


cell มีความยาวของด้านทัง้ สามทีท ่ าํ มุมตัง้ ฉากกันดังรูป (ก) เมือ่ unit cell เรียงซ้อนกันตามรูป (ข) จะทําให้เกิดหน้า
ผลึก h ซึง่ มีความเอียงระดับหนึ่ง แต่ถ้าการซ้อนทับของ unit cell เป็ นไปตามรูป (ค) จะทําให้เกิดหน้าผลึก k และ
การพัฒนาการเกิดหน้าผลึกอืน่ ๆ ของผลึก Peridot

ผลึก Peridot

11
Gemology -Crystallography-

ผลึกแร่อญ
ั มณีบางชนิด หน้ า ผลึกหลายหน้ าพยายามเกิดในพื้นที่เ ดียวกัน จึงเกิดเป็ นหน้ าผลึกแคบ ๆ
เติบโตมาด้วยกัน ทําให้เกิดเป็ นแนวร่องขนานบนผลึก (Striations) พบได้ในผลึก Tourmaline, Quartz

อย่ า งไรก็ต าม ไม่ ว่ า อั ตราการเติบ โตของผลึก จะมีค วามแตกต่ า งกั นอย่ า งไร รูป ร่ า งของผลึก ที่ไ ด้จ ะมี
ความสัมพันธ์กบั รูปร่างของ unit cell การเกิดหน้าของผลึกจะสัมพันธ์กบั โครงสร้างเครือข่ายของ lattice

Nicolas Steno ได้ให้ขอ้ สังเกตว่า ผลึกจะเติบโตในแหล่งใดก็ได้ มุมระหว่างหน้าทีเ่ หมือนกันของผลึกแร่


ชนิดหนึ่งจะคงทีเ่ สมอ และความจริงข้อนี้ถูกตัง้ เป็ นกฎทีร่ จู้ กั กันในชื่อ Steno’s law ผลึกอาจแตกต่างกันได้ในขนาด
เล็กหรือใหญ่ แต่ มุมระหว่างหน้ าที่เหมือนกันของผลึกจะคงที่เสมอ เครื่องมือที่ใช้วดั มุมระหว่างหน้าผลึกเรียกว่า
Goniometer

4. Crystal symmetry
ผลึกประกอบด้วยหน้าผลึกและมุมระหว่างหน้าผลึกที่เป็ นระเบียบแบบแผน เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่ามี
ความสมมาตรอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ รูปร่างภายนอกของผลึกจะแสดงสมมาตรของผลึก (crystal symmetry) มี
ด้วยกัน 3 ประเภท คือ
1) Planar symmetry – สมมาตรเชิงระนาบ
คือระนาบจินตนาการที่แบ่งรูปผลึกออกเป็ น 2 ส่วนที่เหมือนกัน โดยแต่ละส่วนจะเป็ นภาพเสมือน
สะท้อนจากกระจกเงาของอีกส่วนหนึ่ง ดังรูป

2) Axial symmetry – สมมาตรเชิงแกน


คือแกนจินตนาการที่เมื่อหมุนผลึกรอบแกนนี้หนึ่งรอบจะเห็นภาพที่เหมือนกันมากกว่าหนึ่งครัง้ เช่น
ในขณะทีห่ มุนผลึกครบหนึ่งรอบ เห็นหน้าผลึกทีเ่ หมือนกัน 2 ครัง้ เรียกว่า สมมาตรแบบ 2 ความเหมือน
(2 fold axis) จากรูป จะเห็นว่า ถ้าหมุนผลึกรอบแกน cc′ จะมีสมมาตรแบบ 4 ภาพเหมือน (4 fold
axis) แต่ถา้ หมุนรอบแกน AA3 หรือแกน A2A4 จะมีสมมาตรแบบ 2 ภาพเหมือนทัง้ สองแกน

12
Gemology -Crystallography-

3) Central point symmetry – สมมาตรเชิงศูนย์กลาง


คือจุดกึง่ กลางของเส้นทีล่ ากต่อระหว่างหน้าผลึกทีข่ นานกันทุก ๆ ด้าน ดังรูป C เป็ นจุดศูนย์กลาง
สมมาตร

5. Form & Habit

คําว่า ฟอร์ม (Form) มีความหมายว่า ลักษณะภายนอก (outward appearance) หรือรูปร่าง แต่นักผลึก


ศาสตร์และนักอัญมณีจะนิยมใช้คาํ ว่า แฮบิต (Habit) มีความหมายว่ารูปร่างภายนอก (external shape) มากกว่าใช้
คําว่าฟอร์ม
ฟอร์มหมายถึงกลุ่มของหน้าผลึกซึง่ มีความสัมพันธ์กบั สมมาตรผลึกและแกนผลึกทีเ่ หมือนกัน กลุม่ ของหน้า
ผลึกเหล่านี้เกิดจากการเรียงตัวของอะตอมตามรูปทรงเรขาคริตแบบเดียวกัน จึงทําให้มลี กั ษณะภายนอกเหมือนกัน
ฟอร์มผลึกแบ่งเป็ น 2 แบบ คือ ฟอร์มปิ ด (closed form) หมายถึงฟอร์มทีป่ ิ ดล้อมทีว่ ่างด้วยตัวเองได้ทงั ้ หมด เช่น รูป
พีระมิด 2 รูปซ้อนร่วมฐานกัน (dipyramid) และฟอร์มเปิ ด (open form) หมายถึงฟอร์มทีไ่ ม่สามารถปิ ดล้อมทีว่ ่าง
ทัง้ หมดได้ดว้ ยตัวเองต้องอาศัยฟอร์มอืน่ ช่วย เช่น รูปปริซมึ (prism) และรูปพินาคอยส์ (pinacoid) ดังรูป

13
Gemology -Crystallography-

ฟอร์มผลึกรูปต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในระบบผลึกโดยทัวไปที


่ พ่ บบ่อย ๆ มีดงั ต่อไปนี้
1) Pinacoid form – ฟอร์มรูปพินาคอยด์
เป็ นฟอร์มแบบเปิ ดประกอบด้วยหน้าผลึกทีค่ ล้ายกัน 1 คู่ ซึง่ ขนานกัน ดังรูป (ก) (ข)

2) Prism form – ฟอร์มรูปปริซม



เป็ นฟอร์มแบบเปิ ดโดยปกติ ประกอบด้วยหน้าผลึกทีค่ ล้ายกันอย่างน้อย 3 หน้า ขนานกับแกนเดียวกัน
่ อหน้าผลึกอาจจะมี 3, 4, 6, 8 หรือ 12 หน้า ดังรูป
นันคื

3) Pyramid form – ฟอร์มรูปพีระมิด


เป็ นฟอร์มแบบเปิ ดประกอบด้วยหน้าผลึกจํานวน 3, 4, 6, 8 หรือ 12 หน้า แต่ละหน้าไม่ขนานกัน แต่จะ
บรรจบกันทีจ่ ดุ เดียวกัน ดังรูป

14
Gemology -Crystallography-

4) Bipyramid form – ฟอร์มรูปพีระมิดคู่


เป็ นฟอร์มแบบปิ ด ประกอบด้วยพีระมิด 2 อัน ประกบกัน ดังนัน้ จะมีหน้าผลึกเป็ น 6, 8, 12, 16 หรือ
24 หน้า ดังรูป

ดังที่ได้ก ล่าวมาแล้ว นักอัญมณีศาสตร์นิยมใช้คําว่า แฮบิต ซึ่งหมายถึงรูปทรง (shape) หรือลักษณะ


ภายนอนกของผลึกทีม่ องเห็นได้ เช่น แฮบิตเป็ นลูกบาศก์ (cube) ทรงแปดหน้า (octahedron) และปริซมึ (prism)
แฮบิตจะถูกควบคุมโดยสภาวะแวดล้อมทีผ่ ลึกเติบโต ดังนัน้ แฮบิตของแร่ชนิดเดียวกัน หรือของพลอยจําพวกเดียวกัน
หรือชนิดเดียวกันจะแตกต่างกันได้ตามแหล่งกําเนิด เช่น ผลึกของ Ruby จากแหล่ง พม่า ศรีลงั กา เวียดนาม มีแฮบิต
แตกต่างกัน พลอยจํานวนมากจะมีแฮบิตเฉพาะตัว ดังนัน้ ในบางโอกาสอาจสามารถนํามาวิเคราะห์พลอยนัน้ ๆ ได้
จากการที่ผลึกพลอยแบ่งเป็ นผลึกเดี่ยวและผลึกรวม หรือผลึก Aggregate และแฮบิตของผลึกเดี่ยวมีได้
หลายลักษณะได้แก่ รูปเข็ม (acicular) รูปใบมีด (bladed) รูปแผ่นหนา (tabular) รูปตอ (stubby) รูปแท่งหรือเสา
(columnar) เป็ นต้น ส่วนผลึกแบบ Aggregate ซึง่ เป็ นแร่แบบ Cryptocrytalline จะมีแฮบิตเป็ นเนื้อสมาน ได้แก่
สมานแน่นแบบมวลเม็ด (granular massive) หรือรูปเส้นใย (fibrous) ดังรูป

6. Crystal system
มีการแบ่งระบบผลึก (crystal system) ออกเป็ น 6 ระบบ กําหนดให้ a, b และ c เป็ นแกนผลึก โดย a เป็ น
แกนทางด้านหน้า-หลัง b เป็ นแกนทางขวา-ซ้าย และ c เป็ นแกนทางแนวดิง่ บน-ล่าง ในกรณีทแ่ี กนยาวเท่ากันจะใช้
สัญลักษณ a1, a2 และ a3 จะได้กล่าวถึงลักษณะของแกนผลึก มุมทีแ่ กนผลึกตัดกัน α, β, γ และแร่อญ
ั มณีทพ่ี บได้ใน
แต่ละระบบดังต่อไปนี้

15
Gemology -Crystallography-

1) Isometric or Cubic System


แกนผลึก : มี 3 แกน
ความยาวของแกน : เท่ากันหมดทุกแกน a1 = a 2 = a 3
มุมทีแ่ กนตัดกัน : α = β = γ = 90°

แร่ทจ่ี ดั อยู่ในระบบนี้ได้แก่ Diamond, Garnet, Spinel, Synthetic Spinel, YAG, Synthetic Cubic
Zirconia หรือ CZ, Strontium Titanate

แฮบิตทีพ่ บในระบบนี้ ได้แก่

a. Cube เป็ นรูปลูกเต๋า 6 หน้า เช่น Diamond, Fluorite, Pyrite, Cuprite เป็ นต้น

b. Octahedron รูปพีระมิด 2 อันประกบกันมี 8 หน้า เช่น Diamond, Spinel, Fluorite, Cuprite,


Lazurite เป็ นต้น

c. Dodecahedron มี 12 หน้า เช่น Diamond, Garnet, Cuprite, Sodalite, Polluzite, Lazurite,


Pyrite เป็ นต้น

16
Gemology -Crystallography-

d. Trapesohedron มี 24 หน้า เช่น Diamond, Garnet

2) Tetragonal System
แกนผลึก : มี 3 แกน
ความยาวของแกน : มี 2 แกนยาวเท่ากัน 1 แกนยาว หรือสัน้ กว่า a = b ≠ c
มุมทีแ่ กนตัดกัน : α = β = γ = 90°

แร่ทจ่ี ดั อยูใ่ นระบบนี้ได้แก่ Zircon, Synthetic Rutile เป็ นต้น

แฮบิตทีพ่ บในระบบนี้ ได้แก่

a. Square prism เช่น Diamond, Zircon, Synthetic Rutile, Cassiterite เป็ นต้น

b. Acicular เช่น Rutile เป็ นต้น

3) Hexagonal System
แกนผลึก : มี 4 แกน
ความยาวของแกน : 3 แกนยาวเท่า กันอยูใ่ นระนาบเดียวกัน a1 = a2 = a3
1 แกนยาวหรือสัน้ กว่า ตัง้ ฉากกับฐาน a = b ≠ c
มุมทีแ่ กนตัดกัน : 3 แกนทีอ่ ยูใ่ นระนาบเดียวกันตัดกัน 60°
ส่วนแกนที่ 4 ตัง้ ฉากกับระนาบนี้ α = β = 90° , γ = 120°

17
Gemology -Crystallography-

แร่ทจ่ี ดั อยูใ่ นระบบนี้ได้แก่ Beryl, Apatite, Beniotite เป็ นต้น

แฮบิตทีพ่ บในระบบนี้ ได้แก่

a. Hexagonal prism เช่น Beryl, Apatite, Quartz เป็ นต้น

Beryl Apatite Quartz

b. Tabular เช่น Beryl, Apatite, Beniotite เป็ นต้น

4) Trigonal or Rhombohedral Subsystem


ระบบย่อย Trigonal จัดเป็ นระบบย่อยของ Hexagonal system โดยทีท่ งั ้ สองระบบแตกต่างทีแ่ กนดิง่
ของระบบ Hexagonal เป็ นแกนสมมาตรแบบ 6 ภาพเสมือน ในขณะทีแ่ กนดิง่ ของระบบย่อย Trigonal เป็ นแกน
สมมาตรแบบ 3 ภาพเสมือน

แร่ทจ่ี ดั อยูใ่ นระบบนี้ได้แก่ Corundum, Quartz, Tourmaline, Calcite, Rhodochrosite, Dioptase

แฮบิตทีพ่ บในระบบนี้ ได้แก่

a. Prism เช่น Corundum, Quartz, Tourmaline เป็ นต้น

18
Gemology -Crystallography-

b. Dipyramid เช่น Quartz, Corundum เป็ นต้น

c. Rhombohedron เช่น Calcite, Rhodochrosite, Dioptase เป็ นต้น

d. Tabular เช่น Corundum, Calcite

e. Barrel-Shaped เช่น Corundum

f. Acicular เช่น Tourmaline, Penakyte

g. Botryoidal-พวงองุน
่ เช่น Smithsonite

h. Granular massive เช่น Quartz, Calcite

19
Gemology -Crystallography-

5) Orthorhombic System
แกนผลึก : มี 3 แกน
ความยาวของแกน : ไม่เท่ากันทัง้ 3 แกน a ≠ b ≠ c
มุมทีแ่ กนตัดกัน : ทุกแกนตัดกัน 90° , α = β = γ = 90°

แร่ทจ่ี ดั อยูใ่ นระบบนี้ได้แก่ Peridot, Topaz, Iolite, Chrysoberyl, Zoisite, Andalusite เป็ นต้น

แฮบิตทีพ่ บในระบบนี้ ได้แก่

a. Prism เช่น Topaz, Andalusite, Zoisite เป็ นต้น

b. Blocky-แบบก้อน เช่น Peridot, Topaz, Chrysoberyl, Barite เป็ นต้น

c. Granular massive เช่น Topaz Prehnite, Aragonite, Zoisite เป็ นต้น

d. Pseudo-hexagonal twin เช่น Chrysoberyl

20
Gemology -Crystallography-

6) Monoclicnic System
แกนผลึก : มี 3 แกน
ความยาวของแกน : ทัง้ 3 แกนยาวไม่เท่ากัน a ≠ b ≠ c
มุมทีแ่ กนตัดกัน : 2 แกนตัดกัน 90° อีก 1 แกนตัดกับ 2 แกนแรกเป็ นมุมเอียง
α = γ = 90° , β ≠ 90°

แร่ทจ่ี ดั อยู่ในระบบนี้ได้แก่ Spodumene, Nephrite, Jadite, Orthoclase, Actinolite, Malachite,


Diopside เป็ นต้น

แฮบิตทีพ่ บในระบบนี้คอื

a. Prism เช่น Spodumene, Orthoclase, Actinolite เป็ นต้น

b. Blocky-แบบก้อน เช่น Orthoclase, Datolite เป็ นต้น


c. Botryoidal-พวงองุ่น เช่น Malachite, Azurite เป็ นต้น

d. Granular massive เช่น Jadite, Nephrite, Actinolite


e. Fibrous เช่น Actinolite, Nephrite

21
Gemology -Crystallography-

7) Triclinic System
แกนผลึก : มี 3 แกน
ความยาวของแกน : 3 แกนยาวไม่เท่ากัน a ≠ b ≠ c
มุมทีแ่ กนตัดกัน : ทุกแกนตัดกันเป็ นมุมเอียง , α ≠ β ≠ γ ≠ 90°

แร่ทจ่ี ดั อยู่ในระบบนี้ได้แก่ Turquoise, Labradorite, Rhodonite, Microcline, Amazonite,


Kyanite

แฮบิตทีพ่ บในระบบนี้คอื

a. Prism เช่น Turquoise, Amazonite, Albite เป็ นต้น

b. Tabular or Blocky เช่น Rhodonite, Axinite เป็ นต้น

Axinite Rhodonite
c. Bladed เช่น Kyanite เป็ นต้น

d. Granular massive เช่น Turquoise เป็ นต้น

22

You might also like