You are on page 1of 4

บทนำเสนอ วิชา mw315

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2562 ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ภาวะหมดไฟ


หรือภาวะหมดไฟจากการทำงานเป็นแนวทางการวินิจฉัยโรค ตามแนวทางการวินิจฉัยโรคฉบับที่ 11 หรือ ICD-
11 โดยในทางการแพทย์จัดให้ภาวะหมดไฟเป็นการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นปัญหาทางด้าน
สุขภาพจิตที่ประกอบด้วยอาการหลัก 3 ประการดังนี้ 1) มีความรู้สึกต่อต้านและมองงานของตนในทางลบ 2)
รู้สึกเหินห่างจากคนอื่น เช่นผู้ร่วมงาน และ 3) รู้สึกอ่อนเพลียหรือเสียพลังงานจากภาระที่ตนรับผิดชอบ
หน้าที่ 3
ในปัจจุบันยังไม่สามารถอาการของผู้ที่มีภาวะหมดไฟในการทำงานได้อย่างแน่ชัด เนื่องจากอาการส่วน
ใหญ่คล้ายโรคซึมเศร้า เช่นเกิดความรู้สึกหดหู่ ความรู้สึกเครียด ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน หรือในบางรายอาจ
มีอารมณ์ก้าวร้าว หรือหงุดหงิดง่าน
ในปี 1993 Miller และ Smith ได้มีการแบ่งระยะต่าง ๆ ในการทำงานซึ่งนำมาสู่ภาวะหมดไฟเป็น 5 ระยะ
ดังนี้
1) ระยะฮันนีมนู โดยระยะนี้เป็นช่วงของการทำงานที่มีความตั้งใจ และทุ่มเทในหน้าที่ พยายามปรับตัว
เข้าสู่องค์กร
2) ระยะรู้สึกตัว เป็นระยะที่บุคคลมีความคาดหวังกับการทำงานแต่เริ่มรู้สึกว่าความหวังของตนนั้นไม่ตรง
กับความเป็นจริง เช่นในมิติของค่าตอบแทน การได้รับการยอมรับ จนเกิดเป็นความคับข้องใจ และ
เหนื่อยล้า
3) ระยะไฟตก เป็นระยะที่บุคคลจะมีความเหนื่อยล้าเรื้อรังกับการทำงาน ส่งผลให้มีความรู้สึกที่หงุดหงิด
ง่ายขึ้น และอาจมีการเริ่มปรับตัวเพื่อให้เกิดความสุขเช่น การเริ่มใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หรือการดื่มสุราเป็น
ต้น ซึ่งการปรับตัวดังกล่าวนั้นส่งผลให้บุคคลมีความสามารถในการทำงานที่ลดลง เริ่มแยกตัวจาก
เพื่อนร่วมงาน และเริ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์องค์กรของตน
4) ระยะหมดไฟเต็มที่ เป็นระยะที่บุคคลเริ่มเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง และถ้าหากไม่ได้รับการแก้ไขอาจ
นำไปสู่ความรู้สึกล้มเหลว และสูญเสียความมั่นใจ
5) ระยะฟืน้ ตัว เป็นระยะที่บุคคลได้รับการฟื้นฟูมีโอกาสได้ผักผ่อนและผ่อนคลายความรู้สึกในเชิงลบจน
สามารถปรับคนเองและความหวังให้ตรงกับงานมากขึ้น รวมถึงสามารถปรับแรงบันดาลใจและ
เป้าหมายในการทำงานได้ด้วย
สาเหตุของภาวะหมดไฟ แบ่งเป็น 3 ประเภท
1) ปัจจัยที่เกี่ยวกับการทำงาน เช่นการได้รับภาระการทำงานที่เยอะหรือไม่เหมาะสมกับความสามารถ
บรรยากาศในการทำงานมีความเครียดสูง การได้รับงานที่ตนเองไม่ถนัด ถูกละเลยไม่ได้รับการยอมรับ
หรือได้รับค่าตอบแทนที่น้อยเกินไป ระยะเวลาในการทำงานมากเกินไป องค์กรไม่มีความมั่นคง
2) ปัจจัยเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ เช่นการทำงานหนักเกินไปจนขาดเวลาในการพักผ่อน หรือการต้อง
รับหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัว หรือเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุตามลำพัง
3) ปัจจัยเกี่ยวกับบุคลิกส่วนตัว เช่น เป็นคนที่มีความคาดหวังในตนเองสูงทำให้รู้สึกผิดหวังได้ง่ายเมื่องาน
ไม่เป็นไปตามที่ตนต้องการ
หน้าที่4
ผลกระทบที่เกิดจากภาวะหมดไฟ
1. มิติทางกาย เช่นเกิดความอ่อนเพลีย บางรายอาจนำไปสู่พฤติกรรมพึ่งสุราหรือยาเสพติด
เกิดโรคทางกายเรื้อรัง เช่น เบาหวาน และหัวใจ
2. มิติทางจิตใจ เช่น มีความรู้สึกไม่อยากทำงาน เกิดภาวะ Cynicism เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย กังวล
นอนไม่หลับ
3. มิติทางสังคม เช่น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง อาจนำไปสู่ภาวะตกงาน สัมพันธภาพต่อ
บุคคลใกล้ชิดลดลง
หน้า 5
4. มิติทางจิตวิญญาณ เช่นขาดการตั้งเป้าหมายในการดำรงชีวิตที่ชัดเจน ความสุขที่เกิดจากความ
เข้าใจชีวิต ลดลง
หน้า 6
พัฒนาการของแนวคิดภาวะหมดไฟ
1. ระยะบุกเบิก หรือ Pioneer Phase ในช่วงกลางปี1970-1980
ระยะนี้มีนักจิตวิทยาที่เป็นผู้ให้ความหมายของภาวะหมดไฟ อย่างโดดเด่น 2 คน โดยคนแรกคือ
Freudenberger และคนที่สองคือ Maslach
ปี 1974 นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน Herbert Freudenberger ได้มีการให้ความหมายของ
ภาวะหมดไฟเป็นครั้งแรก ภาวะหมดไฟว่าไม่ได้เกิดจากการตอบสนองที่เบี่ยงเบนหรือมีความผิดปกติ
แต่เกิดจากภาวะการตอบสนองที่มากกว่าปกติ ที่มีสาเหตุเกี่ยวโยงกับมิติทางสังคม โดย Herbert ได้
ทำการทดลองโดยสังเกตจากพฤติกรรมของอาสาสมัครใน alternative health care center ที่ตัว
ของเขาเองทำงานอยู่โดยพบว่าในกรณีที่อาสาสมัครที่ทำงานเริ่มรู้สึกไม่เติมเต็มทางอารมณ์ หรือมี
อารมณ์ร่วมกับการทำงานลดลง และขาดแรงบันดาลใจรวมทั้งความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นเวลานาน
จะส่งผลให้เกิดอาการที่ส่งผลต่อจิตใจและร่างกายที่หลากหลาย
และในปี ค.ศ. 1976 Christina Maslach นักสังคมจิตวิทยาและอาจารย์มหาวิทยาลัย
แคลิฟอร์เนียร์เบิร์กลีย์ ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับประเด็นความเหนื่อยหน่ายในการประกอบอาชีพ โดย
Maslach ได้ให้ความในประเด็นด้าน Cognitive Strategies, detached concern การลดทอนความ
เป็นมนุษย์ และหลักการใช้กลไกลการป้องกันตัวเองในมิติของการทำงาน
2. ระยะเชิงประจักษ์ หรือ Empirical Phase
เป็นระยะตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 ในระยะเชิงประจักษ์นักวิจัยได้ในความสนใจในที่จะศึกษาเชิงลึก
ในประเด็นของปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหมดไฟมากกว่าการหาสาเหตุจากปัจจัยอื่น ๆ ดังนี้
1) การเข้าไปศึกษาในเชิงลึกทางประเด็นด้านความพึงพอใจในการทำงาน เช่น ประเด็นด้าน
ความเครียดจากการทำงาน การได้รับภาระงานที่มากเกินไป ปัญหาความขัดแย้งในหน้าที่ ปัญหา
ความไม่ชัดเจนของบทบาทการทำงาน
2) ประเด็นเรื่องค่าตอบแทนในการทำงาน เช่นการทำงานมากเกินไป หรือการได้รับค่าแรงที่ไม่
เหมาะสม
3) ความคาดหวังของบุคคลในการทำงาน
4) ความสัมพันธ์ของปัจเจกบุคคลกับเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้างาน รวมทั้งประเด็นด้านการมี
Social Support ระหว่างกันในองค์กรอีกด้วย
นอกจากการศึกษาในประเด็นดังกล่าวยังมีการศึกษาถึงปัจจัยแทรกซ้อนที่ไม่อื่น ๆอีก เช่น ประเด็นด้านปัญหา
สุขภาพ หรือการมีโรคประจำตัวที่สัมพันธ์กับการทำงาน Social Support จากครอบครัว บทบาทหน้าที่ใน
ครอบครัว และการประเมินคุณค่าในตนเอง
จากการศึกษาในประเด็นข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าสังคมเป็นปัจจัยหนึ่งทีท่ ำให้เกิดความเจ็บป่วยของ
บุคคลได้
หน้า7
แนวทางการรับมือ
1) ในระดับบุคคล เช่น
- รับรู้ถึงความรู้สึกของตนเองอย่างซื่อสัตย์
- พักผ่อนให้เยอะขึ้น
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ฝึกทำสมาธิ
- ฝึกการหายใจ
หน้า 8
2) ในระดับองค์
- ปรับลดให้พนังงานทำงานที่บ้านน้อยลง
- มีการกำหนดเวลาการทำงานที่เหมาะสม
- เปิดโอกาสให้ผู้ที่ทำงานในองค์กรได้แลกเปลี่ยนพูดคุยเพื่อลดความเครียดจากการทำงาน
- กำหนดนโยบายสร้างกิจกรรมเพื่อสร้างความผ่อนคลายให้กับบุคลากรในองค์กร

You might also like