You are on page 1of 217

กฎหมายครอบครัว

สิทธิ หน้าที่
และการใช้อำนาจปกครอง

iศ.ดร. มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล


เค้าโครงการบรรยาย
สิทธิหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร
1. สิทธิและหน้าที่ของบุตรต่อบิดามารดา
1.1) สิทธิใช้ชื่อสกุล
1.2) ห้ามฟ้องบุพการี
1.3) หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดู
2. สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตร
2.1) หน้าที่อุปการะเลี้ยงดู
2.2) อำนาจปกครอง
การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาและมารดา

เด็กเกิดระหว่างสมรส เด็กเกิดจากการสมรส เด็กเกิดจากหญิงที่ไม่ได้


หรือใน 310 วัน ทีเ่ ป็นโมฆียะตาม ม.1503 จดทะเบียนสมรส
นับแต่การสมรสสิ้นสุดลง โดยชอบด้วยกฎหมาย

บุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรสามี-ภริยาเดิม ของสามีภริยาเดิม บุตรชอบด้วยกฎหมาย
(ม.1536 ว.1) (ม.1560) ของมารดาเท่านั้น
(ม.1546)
เด็กเกิดจาก เด็กเกิดจากการสมรสที่ฝ่าฝืน ม.1453
การสมรสทีโ่ มฆะตาม ม.1495
ยกเว้น สมรสซ้อน (ม.1452)
บุตรชอบด้วยกฎหมาย
ของภริยาและสามีใหม่ (ม.1537)
บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามี-ภริยาเดิม (ม.1536 ว. 2)
ยกเว้น กรณีสมรสซ้อน – บุตรชอบด้วยกฎหมาย
ของภริยาและสามีใหม่ (ม. 1538)
การฟ้องปฏิเสธการเป็นบุตร

บิดาฟ้องปฏิเสธบุตร บุตรฟ้องปฏิเสธบิดา
ม.1539 ม.1545 ประกอบ ม.1562

หลัก ฟ้องเองไม่ได้ = คดีอุทลุม (ม.1562)


• ข้อห้าม ม.1541 อายุความ
เว้นแต่ ขณะนั้นไม่เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
• หลักกฎหมายปิดปาก (ม.1542)

อายุความ
(ม.1545 ว.2 และ ว.ท้าย)
พิสูจน์ว่าตนไม่ได้อยู่ร่วมกับ
มารดาเด็กในระยะเวลาตั้งครรภ์
พิสูจน์ว่าตนไม่สามารถเป็นบิดาเด็กเพราะเหตุอื่น
เช่น เป็นหมัน, อวัยวะสืบพันธุ์พิการ, พิสูจน์ DNA,
พิสูจน์หมู่เลือด
การทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย

ชายจดทะเบียนสมรส ชายจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร เด็กฟ้องขอให้ชายรับตนเป็นบุตร


กับมารดาเด็ก (ม.1548) มี 7 กรณี (ม.1555)

ผล : เป็นบุตรชอบด้วย โดยความยินยอมของมารดาและบุตร ถ้า


กฎหมายของชายนับแต่ คนใดคนหนึ ่ ง ไม่ ย ิ น ยอม ฟ้ อ งศาลขอ
วันจดทะเบียน แต่ไม่มีผล ให้พิพากษาให้มีสิทธิจดทะเบียนรับเด็กได้
ย้อนหลัง (ม.1557 (1)) (ม.1548 ว.2 ประกอบกับ ม.1548 ว.ท้าย)

ผล : - เป็นบุตรนับแต่วันจด (ม.1557 (2))


- จดแล้วขอถอน/เพิกถอนไม่ได้ (ม.1559)
สิทธิหน้าที่ของบิดา มารดา และบุตร

บิดามารดาต่อบุตร บุตรต่อบิดามารดา

สิทธิของผู้ใช้อำนาจปกครอง หน้าที่ สิทธิใช้ชื่อนามสกุล หน้าที่

ม.1567 • อุปการะเลี้ยงดู ม.1563 อุปการะบิดามารดา


• กำหนดที่อยู่ของบุตร • ให้การศึกษา ม.1562
• ทำโทษตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน • ห้ามฟ้องบุพการี (คดีอุทลุม)
• ให้ทำงานตามความสามารถและฐานานุรูป • ห้ามบุตรชอบด้วยกฎหมาย
• เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักขังบุตรไว้ • ฟ้องในฐานะอื่นที่ไม่ใช่ฐานะส่วนตัวได้
โดยมิชอบ
ม.1561
• สิทธิจะใช้หรือไม่ก็ได้ (บรรลุนิติภาวะ)
• บิดาชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
• ใช้ น ามสกุ ล มารดา เฉพาะกรณี บิ ด าไม่
ปรากฏ และมารดาปฏิเสธไม่ได้ เช่น บุตร
นอกสมรสที่บิดาไม่รับรอง/ บิดาทิ้งไป
การใช้อำนาจปกครองของบิดามารดา
1. การใช้อำนาจปกครองเหนือตัวบุตร สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดา
ต่อบุตร
2. สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตรในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกัน
และกัน
3. สิทธิและหน้าที่ของบุตรต่อบิดามารดา
4. การใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุตร
5. วิธีการใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์
6. การสิ้นสุดของอำนาจปกครอง
ข้อสังเกต
การใช้อำนาจปกครองของบิดามารดา
• เป็นสิทธิและหน้าที่ที่มุ่งให้ความผาสุกและประโยชน์แก่บุตรและปกป้อง
บุคคลภายนอกให้พ้นจากการทำละเมิดของผู้เยาว์
• อำนาจปกครองมีระยะเวลาจำกัดคือตลอดเวลาที่บุตรยังเป็นผู้เยาว์
เท่านั้น
• บิด ามารดาอาจถูก ถอนอำนาจปกครองได้ต ลอดเวลาหากละเลยต่อ
หน้าที่หรือประพฤติตนไม่สมควร
1. การใช้อำนาจปกครองเหนือตัวบุตร สิทธิและ
หน้าที่ของบิดามารดาต่อบุตร
1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567
2) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564
บทบัญญัติมาตรา 1567
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567
ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ
(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร
• เช่น กำหนดสถานที่อยู่อาศัย สถานที่ศึกษา
• การกำหนดที่อยู่ของบุตรนอกจากจะเป็นสิทธิแล้วยังเป็นหน้าที่ด้วย คือ การ
กำหนดที่อยู่เป็นไปเพื่อให้บุตรมีความปลอดภัยทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมไป
ถึงควบคุมดูแลไม่ให้บุตรไปประพฤติเสียหายต่อบุคคลภายนอกด้วย
(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
• การลงโทษตามกฎหมายจะต้องลงโทษตามสมควร คือ ความรุนแรงในการ
ลงโทษต้องเหมาะกับระดับความผิดที่บุตรกระทำลงไป และต้องมีเจตนาเพื่อว่า
กล่าวสั่งสอนด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 (ต่อ)
• บิดามารดาที่ทำร้ายบุตรจนบาดเจ็บย่อมมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 หรือมาตรา 297 หากบุตรได้รับอันตราย
สาหัส และอาจถูกถอนอำนาจปกครองตามมาตรา 1582 ได้
(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
• การให้บุตรทำงานจะต้องไม่มีลักษณะใช้แรงงานเด็กโดยมิชอบ
• การให้ทำงานต้องพิจารณาถึงความถนัดของเด็กและงานต้องไม่หนักหรือเหน็ด
เหนื่อยจนเป็นอันตรายแก่กาย หรือจิตใจ หรือกระทบต่อการเรียนของเด็ก เช่น
ให้บุตรสาวอายุสิบขวบช่วยมารดาล้างจาน ให้บุตรชายในวัยเดียวกันช่วยบิดา
รดน้ำต้นไม้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 (ต่อ)
(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
• เป็นอำนาจที่ใช้ยันต่อบุคคลภายนอก ต่อบิดาที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดา
ที่กักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือ ต่อมารดาที่ไม่มีอำนาจปกครองบุตร
หลังการหย่า
• มีสิทธิร้องขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจช่วยเหลือในการเรียกบุตรคืน
• บุคคลซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมายอาจจะมีความผิดฐานพรากเด็กหรือ
ผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317-319 หรือฐานหน่วงเหนี่ยว
กักขังผู้อื่นหรือทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายตามมาตรา 310 ได้
บทบัญญัติมาตรา 1564
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564
มาตรา 1564 วรรคหนึ ่ ง “บิ ด ามารดาจำต้ อ งอุ ป การะเลี ้ ย งดู แ ละให้
การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์”

ข้อสังเกต :
• “ให้การศึกษา” ไม่จำกัดเฉพาะการศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
เท่านั้นแต่หมายถึงการศึกษาในลักษณะที่เป็นการอบรมสั่งสอนทักษะความรู้
ศีลธรรมจรรยา
• “ตามสมควร” คือ สมควรแก่ ฐ านานุ รูป ของครอบครั ว ได้ แก่กำลัง ทรัพย์
ตลอดจนฐานะทางสังคมของบิดามารดา
2. สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร
ในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
1) หน้าที่ของบิดามารดาในการอุปการะเลี้ยงดูบุตร
2) หน้าที่ของบุตรในการอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา

ความทั่วไป
• ค่าอุปการะเลี้ยงดูอาจให้เป็นเงินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ได้
• การคำนวณค่าอุปการะเลี้ยงดูพิจารณาจากความต้องการของผู้รับประกอบกับ
ความสามารถทางการเงินของผู้ให้
• สิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นเรื่องเฉพาะตัวจะสละหรือโอน
• มิได้และไม่อยู่ในข่ายการบังคับคดี
• ค่าอุปการะเลี้ยงดูอาจเปลี่ยนแปลงได้หากพฤติการณ์เปลี่ยนไป
หน้าที่ของบิดามารดาในการอุปการะเลี้ยงดูบุตร
• บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรในระหว่างที่บุตรยังเป็นผู้เยาว์และจะมีต่อไป
หลังจากบุตรบรรลุนิติภาวะก็แต่เฉพาะในกรณีที่บุตรนั้นทุพพลภาพ (จนบุตรไม่
สามารถหาเลี้ยงตนเองได้)
• บุตรที่บิดามารดามีหน้าที่เลี้ยงดูต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
• ผู้อุปการะเลี้ยงดูตายหรืออยู่ในฐานะที่ไม่อาจอุปการะเลี้ยงดูได้ บุตรนั้นย่อมมีสิทธิ
เรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากผู้ทำละเมิดต่อบิดามารดาได้ (ป.พ.พ. มาตรา 443
วรรคท้าย)
• แม้สามีภริยาจะแยกกันอยู่ ทิ้งร้างกัน หรือการสมรสสิ้นสุดลงโดยการหย่า เป็น
โมฆะหรือโมฆียะก็ตาม ทั้งสองฝ่ายยังมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรต่อไป
หน้าที่ของบุตรในการอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
• กำหนดไว้ในมาตรา 1563 “บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา”
• หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาไม่มีระยะเวลาสิ้นสุดหรือจำกัด
• เหมือนหน้าที่เดียวกันนี้ของบิดามารดาต่อบุตรซึ่งโดยหลักแล้วระงับเมื่อบุตรบรรลุ
นิติภาวะ ดังนั้นตราบใดที่บิดามารดาเดือดร้อนบุตรต้องทำหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู
ตามความสามารถ
• หากมีบุคคลมาทำละเมิดต่อบุตร บิดามารดาย่อมฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้
โดยมิต้องพิจารณาข้อเท็จจริงว่าขณะนั้นบุตรจะได้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
หรือไม่
3. สิทธิและหน้าที่ของบุตรต่อบิดามารดา
1) สิทธิของบุตรในการใช้ชื่อสกุล ม.1561
2) หน้าที่ของบุตรที่จะไม่ฟ้องบิดามารดาเป็นคดีโดยตรง ม.1562
บทบัญญัติมาตรา 1561
สิทธิของบุตรในการใช้ชื่อสกุล
• การใช้ชื่อสกุลเป็นสิทธิของบุตร ดังนั้น บุตรจะไม่ใช้ก็ได้
• บุตรที่จะใช้ชื่อสกุลของบิดาต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
• “ในกรณีที่บิดาไม่ปรากฏ” หมายความถึง กรณีที่บิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับ
มารดา ทำให้บุตรเป็นบุตรนอกสมรสและไม่มีสิทธิใดๆทางกฎหมาย รวมถึงกรณีที่
บิดาไม่มีตัวให้เห็นในความเป็นจริง เช่น ทิ้งมารดาไปตั้งแต่บุตรยังไม่คลอด และไม่
ปรากฏตัวบิดาอีกเลย กรณีนี้บุตรมีสิทธิเลือกใช้ชื่อสกุลเดียวคือของมารดา
• แม้เป็นบุตรนอกสมรสของบิดา แต่หากบิดายินยอมให้ใช้สกุลของตน เช่นนี้บุตร
ย่อมสามารถใช้ชื่อสกุลของบิดาได้
สิทธิของบุตรในการใช้ชื่อสกุล (ต่อ)
• แม้เป็นบุตรนอกสมรสของบิดา แต่หากบิดายินยอมให้ใช้สกุลของตน เช่นนี้บุตร
ย่อมสามารถใช้ชื่อสกุลของบิดาได้
• การใช้ชื่อสกุลเป็นสิทธิของบุตร ดังนั้นบุตรชอบด้วยกฎหมายอาจจะไม่ใช้ชื่อสกุล
ของบิดาหรือแม้จะเป็นบุตรนอกสมรสอาจจะไม่ใช้ชื่อสกุลของมารดา โดยอาจจะไป
ใช้ชื่อสกุลของบุคคลอื่นหรือขอตั้งสกุลของตนขึ้นมาใหม่ก็ได้
บทบัญญัติมาตรา 1562
หน้าที่ของบุตรที่จะไม่ฟ้องบิดามารดาเป็นคดี
โดยตรง
• เรียกว่า “คดีอุทลุม” (มาตรา 1562) มาตราดังกล่าวมิได้ห้ามฟ้องบุพการีเด็ดขาด
แต่เป็นข้อห้ามที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนฟ้องเท่านั้น หากบุตรต้องการและจำเป็นต้อง
ฟ้องจริงๆจะต้องร้องขอให้อัยการยกคดีขึ้นกล่าวแทน แม้ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ก็ร้องขอ
ต่ออัยการได้โดยลำพังมิต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเพราะเป็น
สิทธิเฉพาะตัวของผู้เยาว์
• บุตรที่ต้องห้ามมิให้ฟ้องบุพการีตามมาตรานี้หมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
เท่านั้น
• ข้อห้ามฟ้องตามมาตรา 1562 มิได้จำกัดอยู่เฉพาะแต่บิดามารดาเนื่องจากตัวบทใช้
คำว่า “บุพการี” ซึ่งหมายถึงญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปของบุตรนั้นจนกว่าจะ
ขาดสาย ดังนั้น หลานย่อมต้องห้ามมิให้ฟ้อง ปู่ ย่าตายายเช่นเดียวกัน แต่บุคคล
เหล่านี้ฟ้องผู้สืบสันดานได้
หน้าที่ของบุตรที่จะไม่ฟ้องบิดามารดาเป็นคดี
โดยตรง (ต่อ)
• มาตรานี้ห้ามการฟ้องในฐานะส่วนตัวเท่านั้น หากฟ้องในฐานะอื่น เช่น ในฐานะ
ผู้จัดการมรดกย่อมไม่ต้องห้ามตามมาตรานี้
• หากบุตรไม่ได้มีความต้องการจะฟ้องบุพการีของตนแต่แรก แต่บุพการีร้องสอดหรือ
คัดค้านเข้ามาในคดีความโดยสมัครใจเองหรือศาลหมายเรียกบิดาโจทก์เข้ามาเป็น
จำเลย ไม่ทำให้คดีเป็นคดีอุทลุม
4. การใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุตร
1) หน้าที่การจัดการทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์
•การจัดการทรัพย์สินที่ศาลเข้ามาควบคุม
•การส่งมอบทรัพย์สิน บัญชี และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ
ทรัพย์สิน
•การจัดการทรัพย์สินที่จะต้องได้รับความยินยอมของบุตร
2) หน้าที่จัดการเงินได้ของบุตรผู้เยาว์
ความทั่วไป
• ป.พ.พ. มาตรา 1571 แสดงว่าอำนาจบิดามารดาที่ใช้อำนาจปกครองเหนือตัว
บุตรย่อมมีอำนาจเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุตรไปในตัว
•อำนาจของบิดามารดาเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุตรมีสองลักษณะ คือ อำนาจ
จัดการทรัพย์ของบุตรตาม มาตรา 1571 และ สิทธิการใช้เงินได้ของบุตรตาม
มาตรา 1573
•บุตรอาจมีทรัพย์สินซึ่งอาจได้รับมรดกมาจากปู่ย่าตายาย หรือบุตรอาจมี
รายได้ตั้งแต่ยังเป็นผู้เยาว์ แต่เนื่องจากบุตรเป็นผู้เยาว์ยังไม่สามารถจัดการ
ทรัพย์สินด้วยตนเองได้ จึงต้องให้บิดามารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง
จัดการให้แทนในฐานผู้แทนโดยชอบธรรม ตามมาตรา 1569
หน้าที่การจัดการทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์
• บิดามารดาต้องจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ด้วยความระมัดระวัง เช่นวิญญูชน
จะพึ ง กระทำ ไม่ เช่ น นั ้ น อาจถู ก ถอนอำนาจปกครองหรื อ อาจถู ก อั ย การ
ดำเนินคดีเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินได้ (มาตรา 1571)
• “ความระมั ด ระวั ง เช่ น วิ ญ ญู ช นจะพึ ง กระทำ” หมายถึ ง ระดั บ ความ
รอบคอบที่บุคคลธรรมดาใช้ในการพิจารณาและตัดสินกระทำการต่างๆ เป็น
ระดับความระมัดระวังที่บุคคลทั่วไปจะพึงปฏิบัติในการจัดการทรัพย์สินของ
ตนเอง เมื่อมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดการทรัพย์สินของผู้อื่นก็ต้องใช้
ความระมัดระวังในทำนองเดียวกัน
การจัดการทรัพย์สินที่ศาลเข้ามาควบคุม
• ศาลต้องเข้ามาควบคุมเพราะเป็นการจัดการทรัพย์สินที่มีความสำคัญ 2 ประการ
• ประการแรก
นิติกรรมสำคัญที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของบุตรเป็นการทำให้กรรมสิทธิ์หลุดไปหรือ
ทำให้ท รัพ ย์สินตกอยู่ในข้อ ผูก มัด นานตาม ม.1574 จึงกำหนดให้ ผู้ ใช้อ ำนาจ
ปกครองจะต้องขออนุญาตจากศาลก่อนทำนิติกรรมใน 13 อนุของมาตรานี้
• ประการทีส่ อง
กรณีที่ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์ตาม
ม.1575 ผู้ใช้อำนาจปกครองต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงเข้าทำกิจการนั้นได้
บทบัญญัติมาตรา 1574
นิติกรรมสำคัญที่มีผลกระทบต่อกองทรัพย์สิน
มาตรา 1574 บัญญัติว่า นิติกรรมดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้
เว้นแต่ศาลอนุญาต
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนองซึ่ง
อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
- ในเบื้องต้นนั้นทรัพย์สินนั้นจะต้องเป็นกรรมสิทธิของผู้เยาว์
- ผู ้ ใช้ อ ำนาจปกครองต้ อ งได้ ร ั บ อนุ ญ าตจากศาลก่ อ น จึ ง จะทำสั ญ ญาจะขาย
อสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์หรือให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์มิฉะนั้นสัญญาจะซื้อไม่มีผล
ผูกพันผู้เยาว์ (ฎีกาที่ 2425/2516)
นิติกรรมสำคัญที่มีผลกระทบต่อกองทรัพย์สิน (ต่อ)
(2) กระทำให้ ส ิ ้ น สุ ด ลงทั ้ ง หมดหรื อ บางส่ ว นซึ ่ ง ทรั พ ยสิ ท ธิ ข องผู ้ เ ยาว์ อ ั น เกี ่ ย วกั บ
อสังหาริมทรัพย์
- ทรัพยสิทธิของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นี้ ได้แก่ ภาระจำยอม (1384), ภาระ
ติดพันในอสังหาริมทรัพย์ (1429), สิทธิอาศัย (1402), สิทธิเหนือพื้นดิน (1410) เป็น
ต้น
- แต่เดิมผู้เยาว์ได้ประโยชน์จากจากทรัพย์สินเหล่านี้ หากต่อมาผู้ใช้อำนาจปกครองหรือ
ผู้เยาว์เองจะทำให้ทรัพยสิทธิเหล่านี้สิ้นสุดลงไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนต้องได้รับ
อนุญาตจากศาลเสียก่อน เนื่องจากเป็นการทำให้ผู้เยาว์ต้องเสียประโยชน์
นิติกรรมสำคัญที่มีผลกระทบต่อกองทรัพย์สิน (ต่อ)
(3) ก่ อ ตั ้ ง ภาระจำยอม สิ ท ธิ อ าศั ย สิ ท ธิ เ หนื อ พื ้ น ดิ น สิ ท ธิ เ ก็ บ กิ น ภาระติ ด พั น ใน
อสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอย่างอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์
- เป็นการก่อตั้งทรัพยสิทธิทำให้ผู้เยาว์ต้องเสียประโยชน์ เนื่องจากเป็นการก่อภาระติด
พันต่อเนื่องบนทรัพย์สินของผู้เยาว์ จึงควรให้ศาลเข้ามาเป็นผู้กลั่นกรองเสียก่อน
(4) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพยสิทธิใน
อสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สิน
เช่นนั้นของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น
- การจำหน่ายไม่ว่าจะเป็นทั้งหมดหรือบางส่วนย่อมทำให้ผู้เยาว์เสียประโยชน์ในสิทธิ
เรียกร้องดังกล่าว เหตุนี้จึงควรให้ศาลอนุญาตเสียก่อน
นิติกรรมสำคัญที่มีผลกระทบต่อกองทรัพย์สิน (ต่อ)
(5) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
- เพื่อป้องกันมิให้ทรัพย์สินของผู้เยาว์ต้องถูกผูกมัดด้วยสัญญาเช่านานจนเกินไป
กฎหมายจึงกำหนดระยะเวลาของสัญญาเช่าเอาไว้
- หากเป็นการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่เกินสามปีหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์ แม้จะเกิน
สามปีก็ไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองสามารถทำได้เลย
(6) ก่อข้อผูกพันใดๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตามข้อ (1), (2) หรือ (3)
- เป็นการที่ทำให้ผู้เยาว์ต้องเสียประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด ด้วยเหตุนี้นิติกรรมที่มุ่งไปสู่ผล
ดังกล่าว ควรจะได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
นิติกรรมสำคัญที่มีผลกระทบต่อกองทรัพย์สิน (ต่อ)
(7) ให้กู้ยืมเงิน
- ห้ามมิให้นำเงินของผู้เยาว์ให้บุคคลภายนอกกู้ก่อนที่จะได้รับอนุญาตจากศาลไม่ว่า
จำนวนเงินที่ให้กู้จะมากน้อยเพียงใดก็ตาม
- การกู้ยืมเงินจากบุคคลภายนอกไม่อยู่ในบังคับของข้อนี้ จึงอาจกู้ได้โดยไม่ต้องได้รับ
อนุญาตจากศาลแต่อย่างใด
(8) ให้โดยเสน่หาเว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อการกุศลสาธารณะ
เพื่อสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์
- ต้องนำเงินได้ของบุตรตามมาตรา 1573 ไปให้ จะนำเอาทรัพย์สินอย่างอื่นที่มิใช่เงินได้
ไปให้ไม่ได้ และการให้ดังกล่าวต้องเหมาะสมกับฐานานุรูปทางสังคมของผู้เยาว์ด้วย
นิติกรรมสำคัญที่มีผลกระทบต่อกองทรัพย์สิน (ต่อ)
(9) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่รับการให้โดยเสน่หา
- แม้จะเป็นการให้โดยเสน่หาแต่เงื่อนไขหรือภาระติดพันที่ตามมาอาจจะเป็นภาระหนัก
แก่ผู้เยาว์ไม่คุ้มแก่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวมา ทำนองเดียวกับการไม่
รับการยกให้โดยเสน่หาซึ่งย่อมทำให้ผู้เยาว์เสียประโยชน์
(10) ประกันโดยประการใดๆอันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรม
อื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น
เช่น นำทรัพย์สินของผู้เยาว์ไปค้ำประกันเงินกู้ของตนแก่เจ้าหนี้หรือรับโอนหนี้ของ
บุคคลอื่นมาโดยใช้ทรัพย์สินของผู้เยาว์ค้ำประกันการชำระหนี้ เป็นต้น
(11) นำทรั พ ย์ ส ิ น ไปแสวงหาผลประโยชน์ น อกจากในกรณี ท ี ่ บ ั ญ ญั ต ิ ไว้ ใ นมาตรา
1598/4 (1), (2) และ (3)
นิติกรรมสำคัญที่มีผลกระทบต่อกองทรัพย์สิน (ต่อ)
(12) ประนีประนอมยอมความ
- เป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะเกิดขึ้นในอนาคตโดยแต่ละฝ่ายต่างยอมผ่อน
ปรนให้แก่กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ข้อพิพาทที่จะนำมาประนีประนอมอาจเป็นข้อ
พิพาททางแพ่งหรือทางอาญาที่ยอมความกันได้
- กฎหมายต้องการให้ศาลเข้ามาควบคุมการประนีประนอมของผู้ใช้อำนาจเกี่ยวกับ
ทรัพย์สินของผู้เยาว์เนื่องจากเกรงว่าผู้ใช้อำนาจปกครองอาจจะไปตกลงยอมความกับ
คู่พิพาทโดยทำให้ผู้เยาว์เสียเปรียบหรืออาจทำไปโดยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังอย่าง
เพียงพออันจะทำให้ผลประโยชน์ของผู้เยาว์ต้องเสียหายไปด้วย
นิติกรรมสำคัญที่มีผลกระทบต่อกองทรัพย์สิน (ต่อ)
(13) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
- เนื่องจากการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการยังมีข้อด้อยอยู่มาก ผู้ใช้อำนาจ
ปกครองจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงจะมอบข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินของ
ผู้เยาว์ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
นิติกรรมที่ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับ
ประโยชน์ของผู้เยาว์
- กิจการหรือนิติกรรมที่ ม.1575 บังคับว่าต้องขออนุญาตศาลก่อนนี้ไม่น่าจะเป็น
กิจกรรมตาม ม.1574
- แม้กิจการตาม ม.1575 จะไม่ใช่นิติกรรมในบังคับของ ม.1574 ด้วยลักษณะสำคัญ
ของกิจการประเภทนี้ กฎหมายจึงวางเงื่อนไขไว้ว่าต้องขออนุญาตจากศาลก่อน
เงื่อนไขนี้คือ
• ประการแรก ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์ใน
กิจการนั้น
• ประการที่สอง คือ ประโยชน์ที่ขัดกันนั้นหมายความรวมไปถึงประโยชน์ของคู่
สมรสหรือบุตรของผู้ใช้อำนาจปกครองด้วย มิได้จำกัดอยู่เฉพาะประโยชน์ของผู้ใช้
อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
บทบัญญัติมาตรา 1578 และ 1579
การส่งมอบทรัพย์สิน บัญชี และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดการทรัพย์สิน
• มาตรา 1578 วรรคแรก
- เมื่อผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ อำนาจปกครองของบิดามารดาย่อมสิ้นสุดลง บุตรที่
บรรลุนิติภาวะย่อมสามารถทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้โดยลำพัง ผู้ใช้
อำนาจปกครองจึงต้องส่งมอบทรัพย์สินหากมีเอกสารก็ต้องส่งมอบพร้อมกับบัญชี
เพื่อให้บุตรรับรอง
- การส่งมอบต้องรีบกระทำ คือ ส่งมอบในโอกาสแรกที่ทำได้ มิใช่หน่วงเหนี่ยวหรือ
ละเลยไม่เช่นนั้นผู้บรรลุนิติภาวะย่อมให้อัยการฟ้องให้ส่งมอบได้ตามมาตรา
1581
- การรับรองของบุตรเพื่อมิให้เกิดปัญหาควรมีการรับรองเป็นลายลักษณ์อักษร
(หลักในมาตรา 1578 วรรคแรก)
การส่งมอบทรัพย์สิน บัญชี และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดการทรัพย์สิน (ต่อ)
• มาตรา 1578 วรรคสอง
- เป็นกรณีอำนาจปกครองสิ้นไปด้วยเหตุที่มิใช่การบรรลุนิติภาวะของผู้เยาว์ เช่น
ผู้เยาว์ไปเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง
และได้มีการตั้งผู้ปกครองขึ้นมาใหม่
- ผู้ที่เคยใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ก็ต้องส่งมอบทรัพย์สิน บัญชีและเอกสาร (หากมี)
ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองคนใหม่หรือให้ผู้ปกครองต่อไปแล้วแต่กรณีเพื่อให้ฝ่ายหลัง
นี้รับรอง
การส่งมอบทรัพย์สิน บัญชี และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดการทรัพย์สิน (ต่อ)
• มาตรา 1579
- เป็นข้อห้ามมิให้ทำการสมรสใหม่หลังจากคู่สมรสของตนถึงแก่ความตาย และใน
ขณะนั้นตนในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองได้ครอบครองทรัพย์สินอันเป็นสัดส่วน
ของบุตรไว้ จนกว่าจะจัดการทรัพย์สินของบุตรให้เรียบร้อยเสียก่อน
- หากมีการฝ่าฝืนคู่สมรสที่มีชีวิตอยู่อาจจะถูกศาลสั่งถอนอำนาจปกครองหรือจะ
มอบให้บุคคลภายนอกเป็น ผู้จัดการทรัพย์สินในส่วนที่ผู้ใช้อำนาจปกครองละเลย
ไม่กระทำ โดยต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย แต่การสมรสมีผลสมบูรณ์
การส่งมอบทรัพย์สิน บัญชี และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดการทรัพย์สิน (ต่อ)
- หน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ใช้อำนาจปกครองกระทำมีสามข้อ
คือ
ก. ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่บุตรเมื่อสามารถจัดการได้
ข. เก็บรักษาไว้เพื่อให้บุตรเมื่อถึงเวลาอันสมควร
ค. ถ้าเป็นทรัพย์สินจำพวกที่ระบุในมาตรา 456 หรือที่มีเอกสารเป็นสำคัญ
ให้ลงชื่อบุตรเป็นเจ้าของรวมลงในเอกสารนั้น
การจัดการทรัพย์สินที่จะต้องได้รับความยินยอมของ
บุตร
- ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำหนี้ที่บุตรจะต้องทำเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบุตร
ไม่ได้ หนี้ประเภทนี้เฉพาะแต่ตัวผู้เยาว์เท่านั้นที่จะต้องทำการชำระ เป็นหนี้การ
กระทำที่อาศัยคุณลักษณะความสามารถเฉพาะตัว บุคคลอื่นจะเข้ามาชำระแทน
ไม่ได้ เช่น สัญญาจ้างผู้เยาว์ร้องเพลง
- หนี้ที่เป็นข้อห้ามตามมาตรานี้มิได้ห้ามเด็ดขาด ผู้ใช้อำนาจปกครองสามารถทำหนี้
ดังกล่าวแทนบุตรได้แต่ก่อนจะทำต้องได้รับความยินยอมจากบุตรก่อน
บทบัญญัติมาตรา 1573
หน้าที่จัดการเงินได้ของบุตรบุตรผู้เยาว์
“เงินได้” ของบุตรผู้เยาว์ในที่นี้ หมายถึง เงินที่เป็นดอกผลตามที่กำหนดไว้ใน
ป.พ.พ. มาตรา 148 ไม่ว่าจะเป็นดอกผลธรรมดาหรือดอกผลนิตินัยจากทรัพย์สินของ
บุตร และน่าจะหมายรวมถึงรายได้จากการทำงานประกอบอาชีพของผู้เยาว์ด้วย
เมื่อ บุต รมีเงินได้ ผู้ใช้อ ำนาจปกครองมีวิธีจัด การเงินได้นี้ 2 วิธี ซึ่งเรียง
ตามลำดับ ดังนี้
ลำดับแรก ต้องนำมาใช้จ่ายเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาของบุตรก่อน ส่วน
ที่เหลือต้องเก็บรักษาไว้เพื่อส่งมอบให้บุตรตามมาตรา 1578 หรือ
1579 แล้วแต่กรณี
ลำดับสอง อนุญาตให้ผู้ใช้อำนาจปกครองใช้เงินได้ตามสมควรโดยมีเงื่อนไขว่าฝ่าย
หลังนี้ไม่มีเงินได้เพียงพอแก่การครองชีพ
5. วิธีการใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์
1) หลักและข้อยกเว้นเกี่ยวกับบิดามารดาในการใช้อำนาจปกครอง
2) การใช้อำนาจปกครองต่อบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรนอกสมรส
หลักและข้อยกเว้นเกี่ยวกับบิดามารดาในการใช้
อำนาจปกครอง
• หลัก (มาตรา 1566 วรรคแรก)
บิดามารดาต้องใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะร่วมกัน

• ข้อยกเว้น (มาตรา 1566 วรรคท้าย)


ปกครองอาจอยู่กับบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
หลักและข้อยกเว้นเกี่ยวกับบิดามารดาในการใช้
อำนาจปกครอง
• หลัก (มาตรา 1566 วรรคแรก)
บิดามารดาต้องใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะร่วมกัน

• ข้อยกเว้น (มาตรา 1566 วรรคท้าย)


ปกครองอาจอยู่กับบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
บทบัญญัติมาตรา 1566
ข้อยกเว้นเกี่ยวกับบิดามารดาในการใช้อำนาจ
ปกครอง
กรณีดังต่อไปนี้อำนาจปกครองอาจอยู่กับบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(1) มารดาหรือบิดาตาย
อำนาจปกครองย่อมตกอยู่กับฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ ความตายในที่นี้รวมถึงการที่บิดา
หรือมารดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญตาม ป.พ.พ. มาตรา 62 ด้วย
(2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
เมื่อมีข้อเท็จจริงตามกรณีนี้เกิดขึ้นอีกฝ่ายย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่
เพียงผู้เดียวโดยผลของกฎหมาย มิจำเป็นต้องไปร้องขอศาลสั่งให้ตนเองเป็นผู้ใช้
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผูเ้ ดียว
ข้อยกเว้นเกี่ยวกับบิดามารดาในการใช้อำนาจ
ปกครอง (ต่อ)
(3) มารดาหรื อ บิ ด าถู ก ศาลสั ่ ง ให้ เ ป็ น คนไร้ ค วามสามารถหรื อ เสมื อ นไร้
ความสามารถ
เป็นการอาศัยกระบวนการศาลให้มีคำสั่งในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเสียก่อน
อำนาจปกครองจึงจะตกอยู่แก่บิดาหรือมารดาฝ่ายทีป่ กติ
(4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
เป็นการอาศัยข้อเท็จจริงโดยไม่ต้องมีคำสั่งศาล
“จิตฟั่นเฟือน” จิตที่มีอาการไม่ปกติ มีลักษณะเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย แต่อาการไม่
ร้ายแรงเท่าบุคคลวิกลจริต เป็นอาการที่อยู่ระหว่างไร้ความสามารถกับเสมือนไร้
ความสามารถ
ข้อยกเว้นเกี่ยวกับบิดามารดาในการใช้อำนาจ
ปกครอง (ต่อ)
(5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
เป็ น กรณี ท ี ่ ข ้ อ เท็ จ จริ ง ไม่ เข้ า เงื ่ อ นไขอนุ ม าตราอื ่ น กฎหมายจึ ง ได้ เขี ย น
อนุมาตรานี้ไว้เพื่อรองรับเหตุลักษณะอื่นเพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจสั่งให้อำนาจปกครอง
อยู่กับบิดาหรือมารดาก็ได้
(6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้
บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่อนุญาตให้บิดามารดาตกลงกันได้ว่าฝ่ายใดจะเป็น
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรมีเฉพาะกรณีที่การสมรสสิ้นสุดลง 2 กรณี
ข้อยกเว้นเกี่ยวกับบิดามารดาในการใช้อำนาจ
ปกครอง (ต่อ)
(6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้
บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่อนุญาตให้บิดามารดาตกลงกันได้ว่าฝ่ายใดจะเป็น
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรมีเฉพาะกรณีที่การสมรสสิ้นสุดลง 2 กรณี
• กรณีแรก ได้แก่ การหย่าโดยความยินยอมตามมาตรา 1520 วรรคแรก
• กรณีที่สอง ได้แก่ การฟ้องคดีในศาลให้การสมรสสิ้นสุดลง ภายหลังศาล
พิพากษาให้การสมรสสิ้นสุดคู่สมรสอาจมีการทำข้อตกลงเรื่องการใช้อำนาจ
ปกครองบุตรเป็นหนังสือหรือให้ศาลเข้ามาชี้ขาดได้
การใช้อำนาจปกครองต่อบุตรชอบด้วยกฎหมาย
และบุตรนอกสมรส
• “บุตรชอบด้วยกฎหมาย” หมายถึง
- บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
- บุตรที่เกิดภายในสามร้อยสิบวันนับแต่การสมรสสิ้นสุดลงและบุตรที่เกิดจาก
การสมรสที่เป็นโมฆะและโมฆียะ
- บุตรนอกสมรสที่บิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกันภายหลัง
- บุตรที่บิดาจดทะเบียนรับรองและบุตรที่ศาลมีคำพิพากษาให้เป็นบุตรชอบ
ด้วยกฎหมาย
- บุตรบุญธรรม
การใช้อำนาจปกครองต่อบุตรชอบด้วยกฎหมาย
และบุตรนอกสมรส (ต่อ)
• ระหว่างการสมรสบุตรชอบด้วยกฎหมายย่อมอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดา
มารดาในขณะเป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจะใช้อำนาจปกครองร่วมกันหรือบิดา
หรือมารดาใช้ฝ่ายเดียวย่อมเป็นไปตามมาตรา 1566
• กรณีการสมรสสิ้นสุดลง หากเป็นการหย่าด้วยความยินยอมหรือเหตุฟ้องให้
การสมรสเป็นโมฆะบิดามารดาอาจจะตกลงร่วมกันใช้อำนาจปกครองหรือ
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้ก็ได้ แต่กรณีฟ้องหย่าหรือฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆียะ
อำนาจปกครองจะตกอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยศาลเป็นผู้ชี้ขาด หากการ
สมรสสิ้นสุดเพราะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย บิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ย่อมเป็น
ผู้ใช้อำนาจปกครอง
การใช้อำนาจปกครองต่อบุตรนอกสมรส
• กรณี บ ุ ต รนอกสมรส โดยผลของมาตรา 1546 ย่ อ มเป็ น บุ ต รชอบด้ ว ย
กฎหมายของมารดาแต่เพียงผู้เดียว มารดาจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง
• บุคคลที่มีบุตรติดมาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรของตนเมื่อได้สมรสกับ
บุคคลอื่นตามมาตรา 1568
• บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองโดยพฤติการณ์ ตามมาตรา 1627 นั้นย่อมมี
มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว บิดาหาได้มีอาจปกครองร่วม
ด้วยไม่
6. การสิ้นสุดของอำนาจปกครอง
1. การถอนอำนาจปกครองเหนือตัวบุตรของบิดามารดา
- ถอนโดยอาศัยคำสั่งศาล ในเหตุไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้
ความสามารถ
- ถอนโดยอาศัยข้อเท็จจริง
2. การถอนอำนาจจัดการทรัพย์สินของบิดามารดา
3. อำนาจปกครองสิ้นสุดลงโดยมีเหตุจากผู้เยาว์
4. ผลภายหลังการสิ้นสุดของอำนาจปกครอง
- หน้าทีแ่ ละสิทธิของบิดาหรือมารดาที่ถูกถอนอำนาจปกครอง
- การได้คืนอำนาจปกครอง
การสิ้นสุดของอำนาจปกครอง
• อำนาจปกครองบุตรประกอบด้วยสองอำนาจ คือ อำนาจปกครองเหนือตัว
บุตร (มาตรา 1567 และมาตรา 1564) และอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุตร
(มาตรา 1574, มาตรา 1575, มาตรา 1577 และมาตรา1579) จึงอาจเป็นไป
ได้ที่บิดามารดาอาจจะถูกถอนอำนาจปกครองเพียงบางส่วนหรืออาจจะถูก
ถอนทั้งหมด
• อำนาจปกครองเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของ
ประชาชน ดังนั้น จึงต้องให้ศาลเท่านั้นเป็นผู้ออกคำสั่งถอนอำนาจปกครอง
การถอนอำนาจปกครองเหนือตัวบุตรของบิดา
มารดา
1) ถอนโดยอาศัยคำสั่งศาล ในเหตุไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้
ความสามารถ
2) ถอนโดยอาศัยข้อเท็จจริง 2 กรณี
- ใช้อำนาจปกครองกับผู้เยาว์โดยมิชอบ
- ประพฤติชั่วร้าย
ใช้อำนาจปกครองกับผู้เยาว์โดยมิชอบ
ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับผู้เยาว์โดยมิชอบ เช่น มารดาทิ้งบุตรไปอยู่ที่
อื่นและสมรสใหม่ตั้งแต่ผู้เยาว์อายุได้ปีเศษและไม่เคยกลับมาดูแลผู้เยาว์อีกเลย
หรือบิดาลงโทษผู้เยาว์เกินสมควร เป็นต้น เป็นการใช้อำนาจปกครองในทางที่
ผิดจนส่งผลกระทบต่อร่างกาย อนามัย จิตใจและศีลธรรมของผู้เยาว์อย่าง
ร้ายแรง
ประพฤติชั่วร้าย
ประพฤติชั่วร้าย เป็นความประพฤติส่วนตัวของผู้ใช้อำนาจปกครอง
เช่ น จำหน่ า ยยาเสพติ ด จนถู ก คุ ม ขั ง ในเรื อ นจำ มี อ าชี พ รั บ จ้ า งฆ่ า คน
เป็นต้น
การถอนอำนาจจัดการทรัพย์สินของบิดามารดา

ตามมาตรา '()* วรรคท้ าย

• กรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองล้มละลาย ศาลต้องมีคำสั่งถอนอำนาจปกครอง
ทั้งหมดเพื่อเจ้าพนักงานจะได้มีความชัดเจนและสะดวกในการพิทักษ์ทรัพย์
และจะได้แยกทรัพย์สินของผู้เยาว์ออกจากบุคคลล้มละลาย
• หากผู้ใช้อำนาจปกครองจัดการทรัพย์สินไปในทางที่ผิด จนอาจเป็นภัยต่อกอง
ทรัพย์สินของผู้เยาว์ ผู้ใช้อำนาจปกครองอาจถูกศาลถอนอำนาจปกครองได้
แต่ศาลจะถอนอำนาจปกครองทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้
อำนาจปกครองสิ้นสุดลงโดยมีเหตุจากผู้เยาว์
มี 2 เหตุ คือ
1) ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ อาจจะบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุครบยี่สิบปี
บริบูรณ์หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสก็ได้ เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วกฎหมาย
ให้พ้นจากอำนาจปกครองทั้งทางส่วนตัวและทางทรัพย์สนิ เพราะย่อมเป็นผู้ใหญ่
ปกป้องตนเองได้และมีความสามารถในการทำนิตกิ รรม
2) ผู ้ เ ยาว์ ไ ปเป็ น บุ ต รบุ ญ ธรรมของบุ ค คลอื ่ น โดยผลของมาตรา
1598/28 บิดามารดาโดยกำเนิดจะหมดอำนาจปกครองนับแต่วันที่มีการจด
ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม อำนาจปกครองจะโอนไปยังผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้รับ
บุตรบุญธรรมจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์มีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียม
กับบิดามารดาโดยกำเนิดทุกประการ
ผลภายหลังการสิ้นสุดของอำนาจปกครอง
• หน้าทีแ่ ละสิทธิของบิดาหรือมารดาที่ถูกถอนอำนาจปกครอง
• การได้คืนอำนาจปกครอง
หน้าที่และสิทธิของบิดาหรือมารดาที่ถูกถอนอำนาจ
ปกครอง
- หากถูกถอนอำนาจปกครองทรัพย์สินในระหว่างที่บุตรยังเป็นผู้เยาว์ ผู้ใช้อำนาจ
ปกครองนั้นมีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน บัญชี และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการ
จัดการทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือปกครองแล้วแต่กรณีเพื่อ
รับรอง (มาตรา 1578 วรรคท้าย)
- หากอำนาจปกครองสิ้นสุดเพราะผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ ผู้ใช้อำนาจปกครองมี
หน้าที่ต้องรีบส่งมอบทรัพย์สินและบัญชีให้ผู้บรรลุนิติภาวะเพื่อรับรอง (มาตรา
1578 วรรคแรก)
- ผู้ใช้อำนาจปกครองที่ถูกถอนอำนาจปกครองและขณะถูกถอนบุตรยังเป็น
ผู้เยาว์อยู่ยังคงมีหน้าที่ตามมาตรา 1584 ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรต่อไปตาม
กฎหมาย และยังมีสิทธิติดต่อกับบุตรได้ตามสมควรและพฤติการณ์
การได้คืนอำนาจปกครอง
- หากเหตุที่ทำให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครองสิ้นไปแล้ว บุคคลที่ถูกถอนอำนาจ
ปกครองหรื อญาติ ของผู ้ เยาว์ สามารถร้ องขอให้ ศาลสั ่ งให้อำนาจปกครอง
กลับคืนดังเดิมได้ (มาตรา 1583)
- ศาลจะสั่งให้อำนาจปกครองกลับคืนหรือไม่ต้องพิจารณาถึงความผาสุกและ
ประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์เป็นที่ตั้ง
คำพิพากษาฎีกา
การใช้อำนาจปกครองเหนือตัวบุตร และสิทธิ หน้าที่
ของบิดามารดาต่อบุตร
คำพิพากษาฎีกาที่ 448/2546
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าไม่มีข้อความใดระบุให้จำเลยต้องนำ
บุตรทั้งสองมาอยู่บ้านของจำเลยที่จังหวัดสมุทรปราการ คงระบุเพียงว่าให้บุตร
ทั้งสองอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลยซึ่งเป็นบิดาเท่านั้น จำเลยซึ่งเป็นผู้ใช้
อำนาจปกครองย่ อ มมี ส ิ ท ธิ ก ำหนดที ่ อ ยู ่ ข องบุ ต รทั ้ ง สองได้ ต าม
ป.พ.พ. มาตรา 1567 (1) การที่จำเลยยังคงให้มารดาของตนเลี้ยงดูบุตรทั้งสอง
ต่อมาภายหลังการหย่าที่จังหวัดนครสวรรค์โดยจำเลยไปเยี่ยมเยือนพร้อมทั้งส่ง
เงินค่าเลี้ยงดูให้ตลอด ย่อมเป็นการใช้อำนาจปกครองอันเหมาะสมและสอดคล้อ
กับพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการหย่า
คำพิพากษาฎีกาที่ 2461/2541
บุคคลอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1567 (4) หมายถึงบุคคลนอกจากผู้ใช้
อำนาจปกครองบุตรซึ่งได้แก่บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร จำเลย
มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์ จำเลยจึงไม่เป็นผู้ใช้อำนาจ
ปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมายย่อมไม่มีสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1567
(1) ถึง (4) การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และ
เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์ผู้เป็นมารดาของผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิ
เรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1487/2525
โจทก์เป็นบิดาที่แท้จริงของเด็กและได้จดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตร
แล้วโจทก์จึงเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กนับแต่วันจดทะเบียนตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1557 และเป็นผู้ปกครองเด็กตามมาตรา 1566 ย่อมมีสิทธิเรียก
บุตรของตนคืนจากจำเลยซึ่งเป็นน้าของบุตรได้ตามมาตรา 1567 (4) แม้การจด
ทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร โจทก์จะไม่ได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาของ
เด็กก็ตาม แต่ขณะโจทก์จดทะเบียนมารดาของเด็กถึงแก่กรรมแล้วและเด็กมี
อายุเพียง 1 ปีเศษ ไม่อาจคัดค้านหรือยินยอมได้ การจดทะเบียนดังกล่าวจึงไม่
ขัดต่อมาตรา 1548
คำพิพากษาฎีกาที่ 5183/2537
แม้ก ่อนตาย ผู้ตายจะมีรายได้จากการขับรถยนต์สองแถวรับจ้างนำ
รายได้มาเลี้ยงครอบครัวโจทก์ก็ตาม แต่ขณะถึงแก่ความตายผู้ตายมีอายุเพียง
19 ปี ซึ่งตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 42 บัญญัติว่าผู้ขับรถต้องได้รับ
ใบอนุญาตขับรถ และมาตรคา 49(2) บัญญัติว่า ผู้ขอใบอนุญาตขับรถยนต์
สาธารณะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ ผู้ตายจึงต้องห้ามมิให้ขับรถยนต์
สองแถวรับจ้าง ซึ่ง จัดเป็นรถยนต์สาธารณะตามกฎหมายดัง กล่าว การขับ
รถยนต์สองแถวรับ จ้างของผู้ตายถือไม่ไ ด้ว่าเป็นการทำงานตามสมควรแก่
ความสามารถและฐานานุรูปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1567 (3)
(โจทก์ผู้...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 5183/2537 (ต่อ)
โจทก์ผู้เป็นมารดาไม่มีสิทธิใช้ผู้ตายซึ่งเป็นบุตรให้ทำงานดังกล่าว ฉะนั้นรายได้
จากการขับรถยนต์สองแถวรับจ้างจึงมิใช่รายได้ที่เกิดจากที่ผู้ตายมีความผูกพัน
ตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกใน
ครัวเรือนดังความที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 445 โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายใน
ส่วนนี้ไม่ได้
คำพิพากษาฎีกา

สิทธิ หน้าที่ของบิดามารดาต่อบุตร
คำพิพากษาฎีกาที่ 1283/2522
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1561 บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา ในกรณีที่บิดา
ไม่ปรากฏบุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดาเป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่บุตรมิได้
บังคับว่าต้องใช้เช่นนั้นบุตรชอบที่จะใช้ชื่อสกุลอื่นได้แม้ปรากฏบิดาอันชอบด้วย
กฎหมาย บิดามารดาย่อมให้บุตรใช้ชื่อสกุลของมารดาได้
คำพิพากษาฎีกา

อำนาจปกครองเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุตร
คำพิพากษาฎีกาที่ 7043/2540
สัญญาประกันชีวิตที่โจทก์ได้ให้ถ้อยคำในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม
ของเด็กหญิง ภ. ถือเสมือนเด็กหญิง ภ. เป็นผู้ให้ถ้อยคำด้วยตนเองนั้นเป็น
ปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1570 ที่กำหนดว่า คำบอกกล่าวที่ผู้ใช้
อำนาจปกครองแจ้งไป หรือรับแจ้งมาให้ถือว่าเป็นคำบอกกล่าวที่บุตรได้แจ้งไป
หรือรับแจ้งมา การแจ้งของโจทก์จึงเป็นการแจ้งแทนบุตรผู้เยาว์ ส่วนการแจ้งจะ
เป็นเท็จอันจะทำให้สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะ และจำเลยได้บอกล้างโดย
ชอบแล้วหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นแห่งคดี
ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว และพิพากษาใหม่ตามรูปความ
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 240 (3)
คำพิพากษาฎีกาที่ 3830/2542
โจทก์เป็นผู้เยาว์ ล.ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์
ขายที่ดินพิพาทให้แก่ ก. โดยมิได้ความยินยอมจากโจทก์และไม่ได้รับอนุญาต
จากศาล ขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 การซื้อขาย
ที่ดินจึงไม่มีผลผูกพันส่วนของโจทก์ แม้ ล. ได้มอบการครอบครองที่ดินพิพาท
ให้แก่ ก. และจำเลยเข้าทำประโยชน์ตลอดมาถึง 16 ปีเศษก็ถือว่า ก. และ
จำเลยเข้ายึดถือที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้กับโจทก์จนกว่า ก. และจำเลยจะเปลี่ยน
ลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าจำเลยจึงไม่มีสิทธิ
ครอบครองที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์
คำพิพากษาฎีกาที่ 2425/2516
ผู้ใช้อำนาจปกครองต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน จึงจะทำสัญญาจะ
ขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์หรือให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์มิฉะนั้นสัญญาจะ
ซื้อไม่มีผลผูกพันผู้เยาว์
คำพิพากษาฎีกาที่ 2541/2516
มารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ยินยอมอนุญาตให้ผู้เยาว์ทำสัญญา
จะซื้อขายที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาล
เป็นการขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1546 (1) ไม่ผูกพันผู้ขาย
คำพิพากษาฎีกาที่ 2203/2541
ผู้ร้องซึ่งเป็นมารดาผู้เยาว์และผู้เยาว์มีบ้านอยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง ไม่มี
ปัญหาเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย ผู้ร้องประกอบอาชีพเป็นนางพยาบาลและมี
รายได้ประจำเดือนละ 50,000 บาท แม้จะต้องใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูแก่
บิดามารดาของผู้ร้อง แต่ก็ต้องกันรายได้ให้เหลือเพียงพอแก่การครองชีพของผู้
ร้องบ้าง การที่พี่ชายของผู้เยาว์ มีโครงการจะศึกษาต่อระดับปริญญาโท และ
ผู้เยาว์ต้องการเงินไปฝากธนาคารไว้เพื่อเป็นทุนการศึกษาและสำรองเก็บไว้ใช้
จ่ายในกรณีฉุกเฉินนั้น มิใช่เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนหรือเป็นเหตุฉุกเฉินที่ผู้เยาว์
จำเป็นจะต้องขายที่ดินเพื่อนำเงินมาใช้จ่าย ผู้เยาว์ได้รับเงิน

(ค่าอุปการะ...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 2203/2541 (ต่อ)
ค่าอุปการะลี้ยงดูจากบิดาผู้เยาว์เดือนละ 10,000 บาท ฐานะและวัยของผู้เยาว์
แล้ว เงินจำนวนดังกล่าวหากให้จ่ายพอประมาณและแบ่งเก็บไว้บ้างบางส่วนเป็น
ค่าใช้จ่ายในการศึกษาคงไม่ถึงกับขัดสนหรือเดือนร้อน แม้ที่ดินของผู้เยาว์จะ
ได้มาจากการยกให้จากบิดาผู้เยาว์ และบิดาผู้เยาว์ไม่ขัดข้องที่ขายที่ดินก็ตาม
แต่ผู้เยาว์มีอายุ 18 ปีเศษแล้วอีกไม่นานก็จะบรรลุนิติภาวะและสามารถจัดการ
ทรัพย์สินของตนเองได้ เพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์ในอนาคต สมควรปล่อยให้
ผู้เยาว์ได้มีโอกาสตัดสินใจด้วยตนเองเมื่อถึงเวลาอันควรอันจะเป็นประโยชน์แก่
ผู้เยาว์มากกว่าเพราะราคาที่ดินมีแต่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงยังไม่มีเหตุที่จะอนุญาต
ให้ผู้ร้องทำนิติกรรมขายที่ดินของผู้เยาว์
คำพิพากษาฎีกาที่ 2700/2527
ผู้ร้องเป็นมารดาผู้เยาว์ได้รับเงิน 4,000,000 บาท เพียงเวลา 2 ปี ก็ใช้
จ่ายไปจนหมด โดยไม่มีรายการใดที่แสดงว่าได้ใช้จ่ายไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้เยาว์
นอกจากการเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามปกติเท่านั้น มิหนำซ้ำยังก่อหนี้ขึ้นอีก
1,400,000 บาท ที่ดินมีโฉนดพร้อมตึกแถว 2 ชั้นอยู่ในแหล่งชุมชนและมีราคา
สูงหากยังเป็นของผู้เยาว์อยู่ต่อไปจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่าขาย ศาลจึงไม่อนุญาต
ให้ผู้ร้องขายทรัพย์ดังกล่าว
คำพิพากษาฎีกาที่ 287/2506
ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้บิดาของผู้เยาว์ทำนิติกรรมจำนองที่ดินแทน
ผู้เยาว์และเปิดร้านขายผ้าเพื่อประโยชน์แก่ผู้เยาว์ แต่บิดาไปจำนองที่ดิน
ของผู้เยาว์เพื่อประกันหนี้บุคคลอื่นไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ผู้เยาว์และมิได้นำ
เงินไปใช้จ่ายตามที่ศาลสั่งอนุญาตเลยการทำนิติกรรมจำนองเช่นนี้ย่อมไม่
ผูกพันผู้เยาว์และทรัพย์สินจำนอง0
คำพิพากษาฎีกาที่ 8535/2547
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งหกที่ว่าจำเลยทั้งหกขอถอนชื่อ
ออกจากโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนของ ส. ย่อมมีผลทำให้ที่ดินดังกล่าวตกเป็นของ
กรรมสิทธิ์ของโจทก์แก่ผู้เดียว การถอนชื่อจำเลยที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นผู้เยาว์
ออกถือได้ว่าเป็นการกระทำให้สิ้นสุดบางส่วนซึ่งทรัพย์สินของผุ้เยาว์อันเกี่ยวกับ
อสังหาริมทรัพย์ เป็นนิติกรรมที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาล
จะอนุญาต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 (2) เมื่อผู้ใช้
อำนาจปกครองและผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรม
ดังกล่าวซึ่งหมายรวมถึงทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว
(จะถือว่า...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 8535/2547 (ต่อ)
จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดย
ชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการ
หลี ก เลี ่ ย งไม่ ต ้ อ งขออนุ ญ าตจากศาลซึ ่ ง เป็ น การผิ ด ไปจากเจตนารมณ์ ข อง
กฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 5 และที่ 6
ผู้เยาว์ไม่ได้รับอนุญาตจากศาล บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่
5 และที่ 6
คำพิพากษาฎีกาที่ 2540/2516
การที่ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ตกลงให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์
เกินสามปีโดยมิได้รับอนุญาตจากศาล แม้จะไม่เป็นโมฆะ ก็มีผลบังคับได้เพียง
สามปี ถัดจากนั้นไปไม่มีผลผูกพันผู้เยาว์
คำพิพากษาฎีกาที่ 2170/2516
การที่ผู้แทนโดยชอบธรรมให้เช่าอาคารตลอดชีวิตของผู้เช่าเป็นการให้เช่า
อสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์เกินกว่า 3 ปี แม้เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งผู้เช่า
ออกเงินก่อสร้างอาคารก็ตาม ถ้ามิได้รับอนุญาตจากศาล การเช่าอาคารย่อมมี
ผลผูกพันเพียง 3 ปี
ในบางกรณี หลักการคุ้มครองทรัพย์สินของผู้เยาว์อาจจะต้องมาทีหลัง
หลักการอื่นที่สำคัญกว่า ดังเช่นหลักการคุ้มครองผู้ทำนาหรือผู้เพาะปลูกพืชไร่
ตาม พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 ดังตัวอย่างคำพิพากษาที่ตามมานี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1048/2526
บทบัญญัติมาตรา 5 ของ พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านาฯ ที่ว่า “การเช่านา
ให้ ม ี ก ำหนดคราวละไม่ น ้ อ ยกว่ า หกปี การเช่ า นารายใดที ่ ท ำไว้ โ ดยไม่ มี
กำหนดเวลา หรือมีแต่ต่ำกว่าหกปีให้ถือว่าการเช่านารายนี้มีกำหนดเวลาหกปี”
เป็นข้อยกเว้นของ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1546 (2) แม้เจ้าของนาจะเป็น
ผู้เยาว์ ผู้ใช้อำนาจปกครองก็นำออกให้เช่าได้โดยไม่ต้องรับอนุญาตจากศาล และ
มีผลผูกพันผู้เยาว์ไม่ว่าผู้เยาว์จะรู้เห็นยินยอมในการให้เช่าหรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาฎีกาที่ 1056/2525
การที่มารดาโจทก์ไปตกลงให้หักเงินบำเหน็จตกทอดของผู้ตายที่จะได้แก่
โจทก์บางส่วนชำระหนี้แก่จำเลยนั้น เป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่งที่ได้กระทำ
ไปแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ และเป็นผลให้โจทก์ต้องชำระหนี้เมื่อมารดาโจทก์
ไม่ได้รับอนุญาตจากศาล จึงเป็นการขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1574 (10) ข้อตกลง
ดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะและไม่มีมูลที่จะอ้างเพื่อการรับชำระหนี้จากโจทก์ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1394/2545
จำเลยในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทำสัญญาขายไม้เคี่ยม
ในส่วนที่เป็นของผู้เยาว์กับโจทก์ มิใช่เป็นการนำทรัพย์สินของผู้เยาว์ไป
แสวงหาผลประโยชน์อันจำเป็นต้องขออนุญาตต่อศาลก่อนตาม ป.พ.พ.
มาตรา 1574 (11) หากแต่เป็นการทำสัญญาขายสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์
ซึ่งไม่ขัดต่อมาตรา 1574 เพราะไม่เป็นกรณีที่ต้องห้ามตามมาตรา 1574
สัญญาซื้อขายไม้เคี่ยมมีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมายจำเลยในฐานะ
ส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ต้องผูกพันตามสัญญา
ดังกล่าว
คำพิพากษาฎีกาที่ 2860/2548
จำเลยที่ 12 ทำข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทกับโจทก์ อันมีลักษณะเป็น
สัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
1574 (12) ในขณะที่จำเลยที่ 12 เป็นผู้เยาว์โดยไม่ไ ด้รับ อนุญ าตจากศาล
ข้อตกลงในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 12 และมี
ผลกระทบถึงจำนวนเนื้อที่ดินตลอดจนตำแหน่งของที่ดินที่จะแบ่งแยก ย่อมเป็น
สิ่งที่เกี่ยวพันไม่อาจแบ่งแยกได้จากนิติกรรมซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ร่วม
กระทำ ข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11
ด้ ว ย โจทก์ ไ ม่ อ าจบั ง คั บ ให้ จ ำเลยทั ้ ง สิ บ สองแบ่ ง ที ่ ด ิ น พิ พ าทให้ แ ก่ ต นตาม
ข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม
คำพิพากษาฎีกาที่ 8438/2547
พ. ผู้ประสบภัยเป็นผู้เยาว์มี ส. เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองซึ่งตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 (12) ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญา
ประนี ป ระนอมยอมความเกี ่ ย วกั บ ทรั พ ย์ สิ น ของผู ้ เ ยาว์ ม ิ ไ ด้ เว้ น แต่ ศาลจะ
อนุญาต เมื่อ ส. ไม่ได้รับอนุญาตจากศาล การทำสัญญาประนีประนอมยอม
ความระหว่างจำเลยกับ ส. จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและตกเป็นโมฆะ จำเลยจะ
อ้างว่าจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้ พ.ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยจนเป็นที่พอใจตาม
สัญญาประนีประนอมยอมความแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะรับช่วง สิทธิจาก
ผู้ประสบภัยที่มีอยู่แก่จำเลยหาได้ไม่ และเมื่อ

(โจทก์ได้จ่าย...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 8438/2547 (ต่อ)
โจทก์ได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นจำนวน 15,000 บาท ให้แก่ พ. ซึ่งเป็น
ผู้ประสบภัยไปแล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่
จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ตามพระราชบัญญัติ
คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาฎีกาที่ 1522/2526
ไม่ปรากฏว่าจำเลยภริยา พ. เจ้ามรดกได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำสัญญา
ประนีประนอมยอมความกับ ท. บิดาเจ้ามรดกอันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ พ.
ที่ตกได้แก่บุตรผู้เยาว์ของจำเลยจึงเป็นนิติกรรมที่ต้องห้ามชัดแจ้งตาม ป.พ.พ.
มาตรา 1574 (8) และไม่มีผลบังคับถึงมรดกของ พ. ทั้งหมดที่ตกได้แก่ทายาท
ท. จึงไม่ได้รับหรือไม่อาจแสดงสิทธิจากทรัพย์สินในอันจะตกได้แก่ตนตาม
สัญญาดังกล่าว เมื่อไม่มีสิทธิของ ท. อันเกิดจากสัญญาดังกล่าวดังกล่าวอันจะ
พึงตกได้แก่โจทก์ตามพินัยกรรมของ ท. โจทก์ไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของ
จำเลย และไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องขอศาลลงโทษจำเลยตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 350 ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1837/2523
บิดาเด็กชาย บ. โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับบิดา
เด็กชาย ว. ผู้ทำละเมิดต่อผู้เยาว์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาล มูลละเมิดที่
เด็กชาย ว. ก่อขึ้นมามีผลระงับไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความอัน
เป็นโมฆะไม่และไม่มีผลผูกพันเด็กชาย บ. โจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาฎีกาที่ 3496/2537
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 ได้บัญ ญัติไว้เฉพาะในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจ
ปกครองผู้เยาว์ทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ จะต้องได้รับอนุญาต
จากศาลเสี ย ก่ อ น แต่ เ มื ่ อ โจทก์ ซ ึ ่ ง เป็ น ผู ้ เ ยาว์ เ ป็ น ผู ้ เ ยาว์ เ ป็ น ผู ้ ท ำสั ญ ญา
ประนีประนอมยอมความกับจำเลยทั้งสองเองบิดาโจทก์ก็เพียงแต่ลงลายมือชื่อ
ในฐานะพยานเท่านั้น จึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลและถือได้ว่าบิดาโจทก์ซึ่ง
เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความ
ดังกล่าว จึงสมบูรณ์มีผลใช้บังคับได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 4984/2537
ป.พ.พ. มาตรา 1574 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ของ
ผู้เยาว์ซึ่งใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้เว้นแต่จะอนุญาตนั้น เป็นเจตนารมณ์
ของกฎหมายที่จะให้มีการคุ้มครองทรัพย์สินและกิจการบางอย่างที่สำคัญของ
ผู้เยาว์ เมื่อศาลได้ไต่สวนแล้วเห็นเป็นการสมควรก็สั่งอนุญาตแล้ว ผู้แทนโดย
ชอบธรรมจึงจะอาศัยคำอนุญาตของศาลไปทำนิติกรรมได้ในเมื่อผู้แทนโดยชอบ
ธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติ
กรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรม
พร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้

(โดยไม่...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 4984/2537 (ต่อ)
โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาต
จากศาลซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย ฉะนั้น สัญญาจะซื้อจะ
ขายที่พิพาทที่ จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น
บิดาและผู้ใช้อำนาจปกครองของจำเลยที่ 3 จะทำสัญญาในสัญญาฉบับเดียวกัน
ก็ตาม สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 และ
กรณีมิใช่โมฆกรรม แม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส
จำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ การที่จำเลยที่ 3 แม้จะเป็นเจ้าของที่ดิน
ร่วมกับจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์

(ในสัญญา...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 4984/2537 (ต่อ)
ในสัญญาฉบับเดียวกัน จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 หาเป็นลูกหนี้ร่วมกันไม่
ดังนั้นแม้สัญญาจะไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ไม่จำต้อง
ขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่าง
โจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงต้อง
ขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาฎีกาที่ 776/2533
โจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง
หุ้นมรดกของผู้ตายในบริษัทจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1509, มาตรา 1600,
มาตรา 1629 (1), มาตรา 1629 วรรคท้าย และมาตรา 1635 (1) การที่โจทก์
ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาผู้ตาย เป็นผู้ถือหุ้นมรดก
ทั้งหมดแต่ผู้เดียว เท่ากับขอให้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหุ้นมรดกทั้งหมดแต่ผู้เดียว
โดยไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตาย ถือได้ว่าโจทก์ที่
1 ซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ที่ 2 เอาประโยชน์จากกิจการ
และประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574
และมาตรา 1575
คำพิพากษาฎีกาที่ 2081-2087/2514
บิดานำหุ้นของบุตรผู้เยาว์ไปโอนตีใช้หนี้ส่วนตัวของบิดา ประโยชน์ของ
บิดาผู้ใช้อำนาจปกครองย่อมขัดกับประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์ บิดาทำไปโดยไม่ได้
รับอนุญาตจากศาลย่อมเป็นโมฆะ
คำพิพากษาฎีกาที่ 1686/2506
การนำบุตรผู้เยาว์เข้าทำสัญญาเป็นลูกหนี้แทนบิดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจโดย
มิได้รับอนุญาตจากศาลนั้น เป็นที่เห็นได้ว่าประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองขัด
กับประโยชน์ของผู้เยาว์อย่างชัดแจ้ง สัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.
มาตรา 1547 จะบังคับผู้เยาว์ไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2718/2516
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ตกลงให้ผู้อื่นทำและใช้ถนนในที่ดินของ
ผู้เยาว์เป็นการจัดการทรัพย์ตามมาตรา 1543 ไม่ต้องได้รับอนุญาตศาลตาม
มาตรา 1546 การทำเป็นประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้เยาว์กับผู้ใช้อำนาจปกครองซึ่ง
ใช้ถนนได้ด้วย ไม่เป็นการขัดกับประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองตามมาตรา
1547 ศาลบังคับให้จดทะเบียนภาระจำยอมได้
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1561
คำพิพากษาฎีกาที่ 1283/2522
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 บุตรมีสิทธิใช้ชื่อ
สกุ ล ของบิ ด า ในกรณี บ ิ ด าไม่ ป รากฏบุ ต รมี ส ิ ท ธิ ใช้ ช ื ่ อ สกุ ล ของมารดาเป็ น
บทบัญญัติให้สิทธิแก่บุตรมิได้บังคับว่าต้องใช้เช่นนั้น บุตรชอบที่จะใช้ชื่อสกุลอื่น
ได้แม้ปรากฏบิดาอันชอบด้วยกฎหมายบิดามารดายอมให้บุตรใช้ชื่อสกุลของ
มารดาได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1435/2523
เด็กเกิดจากบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย บิดาแสดงต่อ
สาธารณชนทั่วไปว่าเป็นบุตรมีสูติบัตรระบุชื่อบิดา เด็กนั้นมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของ
บิดา ไม่เป็นละเมิดต่อภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1562
คำพิพากษาฎีกาที่ 1393/2495
มารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู
บุตรจากบิดาได้ไม่เป็นอุทลุมเพราะฟ้องในฐานะส่วนตัวของตนเองไม่ใช่ฟ้องใน
นามของเด็ก
คำพิพากษาฎีกาที่ 111/2497, 1391/2497 และ
806/2501
บุตรเขยฟ้องมารดาของภริยาได้ ไม่เป็นอุทลุม
คำพิพากษาฎีกาที่ 288/2506
บุตรซึ่งเป็นผู้เยาว์ใช้สิทธิฟ้องคดีด้วยตนเองยังมิได้ผู้ใช้อำนาจปกครองจึงใช้สิทธิ
นั้นแทนด้วยอำนาจกฎหมายในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมโดยมิต้องให้บุตรมอบ
อำนาจ เมื่อบุตรนั้นไม่มีสิทธิฟ้องบุพการี ผู้แทนโดยชอบธรรมก็ไม่มีสิทธิฟ้อง
ด้วยเพราะเป็นคดีอุทลุม เหตุนี้โจทก์ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงฟ้องจำเลย
ซึ่งเป็นย่าของบุตรผู้เยาว์มิได้ ต้องร้องขอให้พนักงานอัยการยกคดีนี้ขึ้นกล่าว
ตามช่องทางที่กฎหมายให้ไว้
คำพิพากษาฎีกาที่ 961/2509
การที่ศาลเรียกบิดาโจทก์เข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยในคดี เนื่องจาก
ศาลเห็ น สมควรเพื ่ อ ประโยชน์ แห่ ง ความยุ ต ิ ธรรมตามประมวลกฎหมายวิ ธี
พิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) ข. การที่บิดาโจทก์ถูกเรียกเข้ามาในคดี ไม่ใช่
เป็นการกระทำของโจทก์ เรียกไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องบุพการีของตนจึงไม่เป็นคดี
อุทลุม
คำพิพากษาฎีกาที่ 1320/2506
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาเรียกทรัพย์ที่ยืมไปคืนได้ ไม่เป็นอุทลุม
คำพิพากษาฎีกาที่ 333/2516
บุ ต รเป็ น โจทก์ ฟ ้ อ งมารดาในฐานะผู ้ จ ั ด การมรดกเป็ น จำเลยได้ ไม่
ต้องห้าม เพราะบุตรหาได้ฟ้องมารดาในฐานะส่วนตัวที่เป็นมารดาอันจะพึงถือ
ว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างบุตรกับมารดาไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 2179/2522
บุตรฟ้องมารดาขอเพิกถอนการโอนที่ดินซึ่งเป็นมรดกได้แก่โจทก์ แต่
มารดาเอาไปขายแก่ผู้อื่นเสีย โจทก์ฟ้องมารดาไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ มาตรา 1534 ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น จึงฟ้องผู้รับโอนไม่ได้ด้วย
คำพิพากษาฎีกาที่ 1432/2522
สามีภริยาไม่จดทะเบียนสมรสหย่าและตกลงกันให้แบ่งที่ดินยกให้เป็น
ของบุตร เมื่อภริยาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง สามีฟ้องบังคับให้แบ่งตามข้อตกลงได้
โดยฟ้องในนามตนเองให้ภริยาปฏิบัติตามข้อตกลง ซึ่งไม่เป็นการที่บุตรฟ้องบิดา
มารดาไม่ต้องห้าม
คำพิพากษาฎีกาที่ 2046/2526
ในกรณีที่ไม่อาจฟ้องบุพการีได้ เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย จึงร้อง
ขอให้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ดำเนินคดีแพ่งแทนนั้น พนักงานอัยการเป็นตัว
โจทก์ว่าความเอง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทนายความตามประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาฎีกาที่ 2412/2527
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 เป็นบทบัญญัติตัดสิทธิ
ห้ามมิให้ฟ้องผู้บุพการีของตน จึงต้องแปลโดยเคร่งครัด การที่ศาลมีคำสั่งเรียก
บิ ด าโจทก์ เข้ า มาเป็ น จำเลยร่ ว มกั บ จำเลยในคดี ต ามประมวลกฎหมายวิ ธี
พิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ข) ยังเรียกไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องบุพการีของตน
จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1562
คำพิพากษาฎีกาที่ 1551/2494
บิดาฟ้องมารดาเป็นจำเลย หาว่าร้องเรียนเท็จแจ้งความเท็จ ระหว่าง
พิจารณาบิดาตาย บุตรจึงร้องขอรับมรดกความแทนบิดา ดังนี้ ก็นับได้ว่าอยู่ใน
ฐานะเป็นผู้ฟ้องบุพการีของตนด้วยข้อห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ มาตรา 1534 (บรรพ 5 เดิม ตรงกับมาตรา 1562 บรรพ 5 ใหม่)
คำพิพากษาฎีกาที่ 236/2529
โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะผู้สืบสันดานคือเป็นหลานจำเลยจำเลยอยู่ในฐานะ
เป็นยายย่อมเป็นบุพการีของโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยจึงเป็นการ
ฟ้องบุพการีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562
โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย สำหรับโจทก์ที่ 1 เป็นเพียงบุตรเขย ไม่ได้
เป็นผู้สืบสันดานของจำเลย จำเลยไม่ได้เป็นบุพการีของโจทก์ที่ 1 ฟ้องโจทก็จึง
ไม่ต้องห้ามทั้งหมด โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยในที่พิพาทย่อมมี
อำนาจดำเนินคดีต่อไปได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2387/2529
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. สามีโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นยายโจทก์ใน
ฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ตามสัญญาจะขายที่ดินของ อ. ระหว่างจำเลยผู้จะ
ขายกับ พ. ผู้จะซื้อ ดังนี้ โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวของโจทก์และใน
ฐานะส่วนตัวของจำเลยไม่แม้สัญญาจะขายที่ดินมิได้ระบุว่าจำเลยทำในฐานะ
ผู้จัดการมรดกก็หาทำให้เป็นฟ้องในฐานะส่วนตัวจำเลยไม่จึงมิใช่คดีอุทลุม โจทก์
มีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 227/2532
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ที่ห้ามฟ้องบุพการีของ
ตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาเป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิ ต้องตีความโดย
เคร่งครัดจึงห้ามเฉพาะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 2268/2533
โจทก์ฟ้องบิดาเป็นจำเลยให้รับรองโจทก์เป็นบุตรดังนั้นขณะยื่นฟ้องโจทก์
ก็ยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย คดีของโจทก์จึงไม่เป็นคดีอุทลุมไม่
ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562
คำพิพากษาฎีกาที่ 190/2536
จำเลยที่ 2 เป็นบุตรเขยของโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่บุพการีของจำเลยที่ 2
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรสาวโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นสามีฟ้องแย้ง
ขับไล่โจทก์ออกจากที่พิพาทอันเป็นสินสมรสได้ก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 ฟ้องคดีด้วย
เพราะจำเลยที่ 2 ฟ้องคดีในนามของตนเอง ไม่ได้ฟ้องแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่
ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 จำเลยที่ 2 มี
อำนาจฟ้องแย้ง
คำพิพากษาฎีกาที่ 4816/2537
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเป็นการ
ฟ้องบุพการีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 แต่ปัญหา
ดังกล่าวเป็นเหตุเฉพาะตัวระหว่างโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นบุตรกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น
บิดาเท่านั้น ไม่มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วย จำเลยที่ 2 ไม่
อาจยกเรื่องห้ามฟ้องจำเลยที่ 1 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ทั้งสามได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 547/2548
จำเลยที่ 1 กับมารดาโจทก์ทั้งสองอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาตั้งแต่ พ.ศ.
2480 อันเป็นเวลาภายหลังใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
กัน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโจทก์ทั้งสองเป็นบุตร หรือศาล
พิพากษาว่าโจทก์ทั้งสองเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้ง
สองจึงเป็นเพียงบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 บทบัญญัติของ
ป.พ.พ. มาตรา 1562 ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป้นคดีแพ่งและคดีอาญาเป็น
บทกฎหมายที่จำกัดสิทธิ ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงต้องถือว่าข้อห้ามดังกล่าว
เป็นการห้ามเฉพาะบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น ฉะนั้น
โจทก์ทั้งสองซึ่งไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิฟ้อง
จำเลยที่ 1 ได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 1562
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1563
คำพิพากษาฎีกาที่ 477/2514
บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
คำพิพากษาฎีกาที่ 625/2515
การที ่ บ ุ ต รตายลงเพาะการละเมิ ด ทำให้ โจทก์ ผ ู ้ เ ป็ น บิ ด าต้ อ งขาดไร้
อุปการะจากผู้ตายตามกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนในการที่
ต้องขาดไร้อุปการะนั้น โดยไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์มีฐานะดีหรือไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 935/2516
บุตรถูกทำให้ตายโดยประมาท บิดามารดาของผู้ตายมีสิทธิที่จะได้ค่า
ทดแทนในการที่ต้องขาดไร้อุปการะ โดยไม่ต้องพิจารณาว่าปัจจุบันบุตรได้
อุปการะบิดามารดาอยู่หรือไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 1809-1810/2523
ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่บุตรมีต่อบิดามารดานั้นเป็นหนี้ที่จะแบ่งกันชำระมิได้
เมื่อบิดาฟ้องจำเลยที่ทำละเมิดต่อบุตรถึงตายเรียกค่าขาดไร้อุปการะ ย่อมมีสิทธิ
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ภริยาซึ่งเป็นเจ้าหนี้ แม้บิดา
มิได้รับมอบอำนาจจากมารดาให้ฟ้องก็ตาม
คำพิพากษาฎีกาที่ 1437/2526
โจทก์ที่ 1 มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายส่วนโจทก์ที่ 2 เป็น
มารดาของผู้ตาย เมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะมา 60,000 บาท
โดยมิได้แยกเรียกร้องว่าโจทก์แต่ละคนขาดไร้อุปการะเท่าใด และได้ความว่า
โจทก์ที่ 2 แต่ผู้เดียว มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะเป็นเงิน 60,000 บาท โจทก์
ที่ 2 จึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะเต็มจำนวน
คำพิพากษาฎีกาที่ 1831/2526
จำเลยเป็นบุตรโจทก์กับ อ.ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์มีสายตาไม่
ปกติมองเห็นเพียงรางๆ มิได้ประกอบอาชีพไม่มีรายได้จึงอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายที่
ควรได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย แต่รายได้จากมรดกที่รับจาก อ. เป็นค่า
เช่าซึ่งเพียงพอสำหรับการศึกษาและค่าใช้จ่ายส่วนตัวของจำเลยเท่านั้น เงินส่วน
แบ่งที่ได้จากการขายทีดินมรดก จำเลยก็ให้โจทก์ไปส่วนหนึ่งก่อนฟ้องแล้ว
โจทก์ยังมีบิดามารดาและบุตรที่เกิดจากสามีใหม่ ซึ่งคนโตก็บรรลุนิติภาวะแล้ว
ทั ้ ง ก่ อ นมาอยู ่ ก รุ ง เทพฯ โจทก์ ก ็ พ ั ก อาศั ย อยู ่ ก ั บ บิ ด ามารดา เมื ่ อ คำนึ ง ถึ ง
ความสามารถของจำเลยซึ่งมีส่วนในการที่จะต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู ฐานะ
ของโจทก์และพฤติการณ์แห่งกรณีแล้ว จำเลยได้ให้การอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์
ในส่วนของจำเลยเป็นการเพียงพอแก่อัตภาพในปัจจุบันแล้ว
คำพิพากษาฎีกาที่ 3800/2533
ผู้ตายเป็นบุตรมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1563 จำเลยที่ 3 กระทำละเมิดเป็น
เหตุให้โจทก์ทั้งสองต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับ
ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้ ไม่ว่าผู้ตายจะอยู่ในฐานะที่จะอุปการะโจทก์ทั้ง
สองได้หรือไม่
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1564
คำพิพากษาฎีกาที่ 1601/2492
บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ที่
ฆ่าบิดา ส่วนบุตรที่บิดารับรองแล้ว แม้เป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็มีสิทธิใน
ฐานะผู้สืบสันดานจึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทำศพจากผู้ฆ่าบิดาตนได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2085/2499
มารดาของเด็กมีสิทธิฟ้องชายที่ได้เสียกับตนโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ขอให้รับรองบุตรซึ่งเกิดจากชายนั้น และเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้นรวมใน
คดีเดียวกันได้ ไม่จำเป็นจะต้องรอให้ศาลพิพากษาเด็กเป็นบุตรเสียก่อน แล้วจึง
จะฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูภายหลัง
คำพิพากษาฎีกาที่ 677/2501
มารดาต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วเฉพาะเมื่อบุตร
ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ จำเลยละเมิดทำให้มารดาโจทก์ตาย
โจทก์ว้าเหว่ขาดที่เคารพรักและขาดอุปการะที่มารดาดูแลบ้านเรือนและ
บุตรโจทก์ ไม่เรียกว่าโจทก์ขาดอุปการะและตามกฎหมายโจทก์เรียกค่า
ทดแทนในส่วนนี้ไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 677/2501
มารดาต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วเฉพาะเมื่อบุตร
ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ จำเลยละเมิดทำให้มารดาโจทก์ตาย โจทก์
ว้าเหว่ขาดที่เคารพรักและขาดอุปการะที่มารดาดูแลบ้านเรือนและบุตรโจทก์ ไม่
เรียกว่าโจทก์ขาดอุปการะและตามกฎหมายโจทก์เรียกค่าทดแทนในส่วนนี้ไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1146/2513
บุ ต รนอกสมรสที ่ บ ิ ด าได้ ร ั บ รองแล้ ว มี ส ิ ท ธิ ท ี ่ จ ะได้ ร ั บ มรดกในฐานะ
ผู้สืบสันดาน แต่ไม่มีสิทธิได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู
จากผู้ที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย (คำพิพากษาฎีกาที่ 513/2546)
คำพิพากษาฎีกาที่ 14/2517
บิดาโจทก์ถูกทำละเมิดถึงแก่ความตายและรถยนต์เสียหายโจทก์ซึ่งเป็น
บุตรนอกกฎหมายซึ่งบิดารับรองแล้ว มีสิทธิฟ้องเรียกค่าปลงศพบิดาและค่า
สินไหมทดแทนที่รถยนต์เสียหาย (อ้างฎีกาที่ 1601/2492)
คำพิพากษาฎีกาที่ 623/2519
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเกิด พ.ศ. 2495 แต่ไม่ระบุวันเดือนเกิด ต้องถือตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16 ว่า เกิดวันที่ 1 มกราคม 2495
นับถือวันเกิดเหตุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงมีสิทธิเรียกค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู
เพราะจำเลยทำละเมิดให้มารดาโจทก์ตายได้ แม้มีบิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง
มารดาก็ยังต้องอุปการะบุตร ข้อที่ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม เป็นแต่บกพร่อง
เรื่องความสามารถที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา
56 ไม่ใช่ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ในชั้นฎีกาโจทก์บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ไม่ต้องแก้ไข
คำพิพากษาฎีกาที่ 135/2522
ทำละเมิดทำให้บิดาตาย บุตรฟ้องผู้ทำละเมิดเรียกค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู
ตามมาตรา 443 ไม่ใช่เรียกตามมาตรา 1564 ไม่อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็ก
และเยาวชน
คำพิพากษาฎีกาที่ 2217/2524
จำเลยเป็นฝ่ายละเมิดทำให้สามีโจทก์และบิดาโจทก์ถึงแก่ความตาย เมื่อ
สามีต ายภริยาย่อ มขาดไร้อุป การะจากสามีต ามประมวลกฎหมายแพ่ง และ
พาณิชย์ มาตรา 1461 และเมื่อบิดาตายบุตรผู้เยาว์ก็ย่อมขาดไร้อุปการะจาก
บิดาตามมาตรา 1564 โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นภริยาและบุตรผู้เยาว์ของผู้ตาย จึง
ย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะนั้น ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสาม โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้ตาย
จะมีฐานะยากดีมีจนอย่างไร เพราะเป็นสิทธิที่ผู้เสียหายจะถึงได้รับชดใช้ตาม
กฎหมาย
คำพิพากษาฎีกาที่ 1991/2527
ขณะ ช. ตาย ร. และ ภ. บุตร มีอายุ 9 ปีเศษ และ 5 ปีเศษ ตามลำดับ
ร. และ ภ. ชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าอายุจะบรรลุ
นิติภาวะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 กำหนดเวลาที่
ได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแม้เกิด 10 ปีก็เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หา
เป็นการขัดกันกับกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 ได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะไม่
เมื่อ ร. และ ภ. เจริญเติบโตขึ้นก็จำเป็นต้องได้รับการศึกษาสูงขึ้นและได้รับการ
เลี้ยงดูเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ที่ศาลคิดถัวเฉลี่ยค่าขาดไร้อุปการะตลอดไป
จนกว่าจะบรรลุนิติภาวะเป็นเงินคนละ 25,000 บาทต่อปี จึงเป็นการพอสมควร
และเหมาะสมแก่ฐานะของ ช. ผู้ตายแล้ว
คำพิพากษาฎีกาที่ 1691/2528
บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่
บุตรผู้เยาว์ อันเป็นลูกหนี้ร่วมกัน จึงต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน เว้นแต่จะได้
กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ซึ่งอาจกำหนดโดยนิติกรรมสัญญาหรือตามที่กฎหมาย
บัญญัติไว้
สามีภริยาหย่าขาดจากกัน และตกลงให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครอง
ของฝ่ายหนึ่งโดยมิได้ตกลงกันว่าฝ่ายที่ปกครองบุตรนั้นจะเป็นผู้ออกค่าอุปการะ
เลี้ยงดูบุตรแต่ฝ่ายเดียว ดังนี้ฝ่ายที่ปกครองบุตรย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะ
เลี้ยงดูบุตรจากอีกฝ่ายหนึ่งตั้งแต่วันหย่าจนถึงวันฟ้อง เพื่อแบ่งส่วนความรับผิด
ในฐานะที่เป็นลุกหนี้ร่วมกันได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
229 และมาตรา 296 ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรสมควรจำเป็นจำนวนเท่าใด
ศาลมีอำนาจกำหนดตามมาตรา 1522
คำพิพากษาฎีกาที่ 2395/2529
ผูต้ ายมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วเฉพาะผู้ทุพพล
ภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ตามมาตรา 1564 วรรคสอง เท่านั้น เมื่อโจทก์ที่ 2
ถึงที่ 5 บรรลุนิติภาวะแล้ว และไม่ได้ความว่าเป็นผู้ทุพพลภาพหาเลี้ยงตนเอง
ไม่ได้ จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับค่าขาดเลี้ยงอุปการะตามมาตรา 443 วรรคสาม
คำพิพากษาฎีกาที่ 1073/2539
เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อนว่าผู้เยาว์เป็นบุตรของจำเลย
จำเลยในฐานะบิดาจึงมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตมสมควรแก่
บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
1564 วรรคหนึ่ง โจทก์ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีสิทธิฟ้องคดีนี้
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลยแทนบุตรผู้เยาว์โดยคิดย้อนหลังไปตั้งแต่
วันที่มีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดว่าผู้เยาว์เป็นบุตรของจำเลยเพื่อแบ่งส่วน
ความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมกันได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 7249/2546
ป.พ.พ. มาตรา 1464 บัญญัติว่า บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและ
ให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ เมื่อ อ. และ พ. เป็น
บุ ต รผู ้ เ ยาว์ ข องโจทก์ โจทก์ จ ึ ง ต้ อ งมี ห น้ า ที ่ ใ ห้ ก ารอุ ป การะเลี ้ ย งดู แ ละให้
การศึก ษาตามสมควรดัง ที่ก ฎหมายบัญ ญัติไว้ แม้ว่าโจทก์และจำเลยได้จด
ทะเบียนหย่าขาดจากกันและจำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง
แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรผู้เยาว์ทั้ง
สองตามกฎหมาย
คำพิพากษาฎีกาที่ 2697/2548
ในกรณีที่บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ผู้เยาว์ไปฝ่ายเดียวทั้งหมด ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาจากอีกฝ่ายหนึ่งนับแต่วันที่
ชำระค่าอุปการะไปฝ่ายเดียวซึ่งถือว่าเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม
ประมวลกฎหมายแพ่ ง และพาณิ ช ย์ มาตรา 193/33 (4) ประกอบมาตรา
193/12
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1565
คำพิพากษาฎีกาที่ 2601/2536
เมื่อบิดามารดาหย่าขาดจากกันโดยตกลงให้ผู้เยาว์อยู่ในความปกครอง
ของมารดา ดังนั้น บิดาย่อมไม่มีอำนาจปกครองบุตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1520,
1566 (6) อำนาจปกครองจึงตกแก่มารดาแต่ผู้เดียว มารดาจึงมีอำนาจให้ความ
ยินยอมในการที่บุคคลภายนอกจะรับผู้เยาว์ได้เพียงลำพังโดยไม่จำต้องใช้สิทธิ
ทางศาล ขอให้สั่งอนุญาตแทนบิดาอีก
คำพิพากษาฎีกาที่ 1002/2537
บิดามิได้ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวผู้เยาว์โดยมิชอบหรือประพฤติชั่ว
ร้ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1582 เพียงแต่ไม่สามารถปกครองดูแลผู้เยาว์ให้ได้รับ
ความผาสุกอันอาจเป็นเหตุทำให้สุขภาพจิตของผู้เยาว์เสื่อมลงเท่านั้น กรณีจึงไม่
มีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองบิดา แต่ตามพฤติการณ์ของคดีได้ความว่า ความ
ผูกพันทางจิตใจของมารดาที่มีต่อผู้เยาว์จะแนบแน่นมากกว่าผู้เป็นบิดา แม้
มารดาได้มีโอกาสปกครองดูแลผู้เยาว์บ้างเป้ฯครั้งคราวชั่วระยะเวลาอันสั้น
ผู้เยาว์กลับประสงค์จะอยู่กับมารดา แสดงว่าผู้เยาว์ขาดความอบอุ่นทางจิตใจ
ขณะอยู่กับบิดา เมื่อผู้เยาว์มีความผูกพันกับมารดามากกว่าบิดา การที่ผู้เยาว์อยู่
กับมารดาจะมีผลดีต่อสุขภาพจิตของผู้เยาว์ จึงเห็นสมควรให้การใช้อำนาจ
ปกครองผู้เยาว์อยู่กับมารดาฝายเดียวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 (5)
คำพิพากษาฎีกาที่ 116/2547
ปัจจุบ ัน เด็ก ชาย อ. อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 หลัง จากจบชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 2 แล้ว เด็กชาย อ. ได้มาพักอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1
เป็นผู้ออกค่าเล่าเรียนทั้งหมด ก่อนหน้านี้ก็เคยอยู่กับจำเลยที่ 1 และย่าที่บ้าน
ของย่าที่อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา ยิ่งกว่านั้นตามรายงานแสดงข้อเท็จจริง
เกี่ยวกับผู้เยาว์ของพนักงานคุมประพฤติ ระบุว่าเด็กชาย อ. ประสงค์จะอยู่กับ
จำเลยที่ 1 มากกว่าอยู่กับโจทก์ ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจะไม่ปรากฏว่ามี
ความประพฤติเสียหายหรือไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย อ.
แต่โจทก์เป็นข้าราชการต้องย้ายไปรับราชการในที่ต่างๆ ตลอดมา

(ทั้งเด็กชาย...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 116/2547 (ต่อ)
ทั้งเด็กชาย อ. อายุประมาณ 12 ปี ขณะนี้อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 เมื่อ
คำนึงถึงความผาสุก ความผูกพันระหว่างมารดากับบุตร การที่ผู้เยาว์อยู่กับ
จำเลยที่ 1 จะมีผลดีต่อสุขภาพของผู้เยาว์ เห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 ใช้อำนาจ
ปกครองเด็กชาย อ. แต่เพียงผู้เดียว
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1567
คำพิพากษาฎีกาที่ 141/2497
บิดาของเด็กผู้เยาว์ยังมีชีวิตอยู่ มารดาของเด็กซึ่งตายไปก่อนบิดา ทำ
พินัยกรรมตั้งป้าของเด็กเป็นผู้ปกครองเด็ก การแต่งตั้งนั้นไม่มีผลเพราะไม่ใช่
พินัยกรรมของบิดาหรือมารดาซึ่งตายทีหลัง บิดาย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง
เรียกเด็กคืนจากป้าได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 824/2498
มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองเรียกบุตรคืนจากอาของบุตรซึ่งไม่ยอมคืนบุตร
มาให้ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 916/2519
บุตรนอกกฎหมายอยู่ในอำนาจปกครองของมารดา เด็กอยู่กับผู้ใด ผู้นั้น
ไม่ยอมคืนให้มารดาเด็ก มารดาเด็กฟ้องให้ส่งเด็กแก่ตนได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1487/2525
โดยสายโลหิต แล้วโจทก์เ ป็น บิดาที่แท้จริง ของ จ.และโจทก์ยัง ได้จด
ทะเบียนรับรองว่า จ. เป็นบุตรของตนอีกขั้นหนึ่งด้วย โจทก์จึงเป็นบิดาโดยชอบ
ด้วยกฎหมายของ จ. นับตั้งแต่วันจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ มาตรา 1557 และเป็นผู้ปกครองของ จ. ตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ มาตรา 1566 โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรของตนคืนจากน้าของบุตร
คือจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ยอมคืนบุตรให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1567 (4)
ขณะโจทก์จดทะเบียน จ. เป็นบุตรนั้น มารดาของ จ. ถึงแก่กรรมไปแล้ว
และขณะนั้น จ. มีอายุเพียง 1 ปีเศษมารดา จ. และ จ. จึงไม่อาจคัดค้านหรือให้
ความยินยอมในการจดทะเบียนได้ การจดทะเบียนดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548
คำพิพากษาฎีกาที่ 3571/2525
จำเลยใช้ผู้เยาว์อายุ 9 ปีเศษขึ้นขย่มให้ผลกระท้อนหล่นจากต้น แล้วมิได้
ใช้ความระมัดระวังในการป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่ผู้เยาว์โดยงดเว้นมิได้
ตักเตือนมิให้ผู้เยาว์ทำงานมากเกินไป ผู้เยาว์ขย่มต้นกระท้อนอยู่ครึ่งชั่วโมงเป็น
เหตุให้แขนไม่มีกำลังพอที่จะยึดเหนี่ยวกิ่งไม้ไว้ได้ จึงตกลงมาตาย ดังนี้ เป็นการ
กระทำละเมิดต่อผู้เยาว์และต่อโจทก์ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ด้วย จำเลยจึง
ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1569
คำพิพากษาฎีกาที่ 2558/2532
ลูกจ้างประสบอันจรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงาน และอธิบดี
กรมแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนให้แก่มารดา สามีและบุตร เป็น
การจ่ายเงินเพื่อการคุ้มครองแรงงาน ไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด
โจทก์ซึ่งเป็นสามีของลูกจ้างผู้ตายยังคงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเรื่อง
ละเมิดได้ในตอนต้นของคำฟ้องโจทก์มีชื่อโจทก์เพียงผู้เดียวแต่โจทก์เป็นบิดาผู้ใช้
อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง จ. และปรากฏในคำ
ฟ้องว่า โจทก์กับนาง ส. ผู้ตายมีบุตรด้วยกันคือเด็กหญิง จ. ทั้งโจทก์เรียกค่า
อุปการะเลี้ยงดูไว้เป็นจำนวนเงินชัดเจน ถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องคดีในฐานะบิดา
ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ด้วยแล้ว
คำพิพากษาฎีกาที่ 1114/2535
โจทก์ทั้งสามยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดา
มารดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 วรรคแรก ทั้งคดีไม่ปรากฏว่าอำนาจปกครอง
อยู่กับบิดาหรือมารดาแต่ฝ่ายเดียวดังเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 1566 วรรคสอง
ต้องถือว่าโจทก์ทั้งสามอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาทั้งสองคน บิดาหรือ
มารดาคนใดคนหนึ่งจึงมีสิทธิใช้อำนาจปกครองโจทก์ทั้งสามได้ มารดาจึงเป็น
ผู ้ แทนโดยชอบธรรมตามมาตรา 1569 มี สิ ท ธิ ฟ ้ อ งคดี แทนโจทก์ ท ั ้ ง สามได้
ข้ อ เท็ จ จริ ง รั บ ฟั ง ได้ ว ่ า ที ่ ด ิ น ตามฟ้ อ งเป็ น กรรมสิ ท ธิ ์ ข องโจทก์ ท ั ้ ง สาม มิ ใช่
สินสมรสระหว่างสามีภริยา ส. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ทั้งสามจึง
มีอำนาจฟ้องคดีได้ตามลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี
คำพิพากษาฎีกาที่ 482/2537
โจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1566 แม้บิดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อยู่ใต้
อำนาจปกครองของมารดาไม่ เมื่อมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง โจทก์จึง
เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ตามมาตรา 1569 มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1570
คำพิพากษาฎีกาที่ 7043/2540
สัญญาประกันชีวิตที่โจทก์ได้ให้ถ้อยคำในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม
ของเด็กหญิง ภ. ถือเสมือนเด็กหญิง ภ. เป็นผู้ให้ถ้อยคำด้วยตนเองนั้นเป็น
ปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1570 ที่กำหนดว่า คำบอกกล่าวที่ผู้ใช้
อำนาจปกครองได้แจ้งไปหรือรับแจ้งมา ให้ถือว่าเป็นคำบอกกล่าวที่บุตรได้แจ้ง
ไปหรือรับแจ้งมา การแจ้งของโจทก์จึงเป็นการแจ้งแทนบุตรผู้เยาว์ ส่วนการแจ้ง
จะเป็นเท็จอันจะทำให้สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะ และจำเลยได้บอกล้าง
โดยชอบแล้วหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นแห่งคดี
ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยตามที่โจทก์ได้อุทธรณ์ไว้ ศาลฎีกาจึงย้อนสำนวนให้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวและพิพากษาใหม่ตามรูปความ ตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 240 (3)
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1571
คำพิพากษาฎีกาที่ 651/2507
บิดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์ มีหน้าที่จัดการทรัพย์สิน
ของบุตรด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำ หากผู้แทนโดยชอบ
ธรรมไม่ดูแลหรือใช้ทรัพย์สินโดยผิดหน้าที่ ทั้งบุตรก็มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วย ดังนี้ไม่
มีกฎหมายใดที่จะให้บุตรต้องรับผิดร่วมด้วย จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของบิดานำเรือ
ยนต์และถุงลากปลาของบุตรผู้เยาว์ไปกระทำผิดตามพระราชบัญญัติการประมง
จนศาลพิพากษาให้ลงโทษจำเลยและริบของกลาง บุตรผู้เยาว์ของบิดาซึ่งมิได้รู้
เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลยย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งคืนเรือ
ยนต์และถุงลากปลาของกลางได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 753/2508
มารดาครอบครองที่มรดกไว้แทนบุตรตั้งแต่เยาว์จนกระทั่งมารดาตาย ก็
ไม่ปรากฏว่ามารดาได้แสดงว่าไม่เจตนายึดถือครอบครองที่มรดกนั้นแทนบุตร
ดังนี้ แม้จะเป็นเวลาช้านานเท่าใด ก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ มาตรา 1754 และมารดาไม่มีสิทธิจะนำเอาทรัพย์สินส่วนของบุตร
ไปทำพินัยกรรมยกให้แก่คนอื่นได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2500/2525
บุตรจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์ถือกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ในที่ดินพิพาท จำเลย
ย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุตรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1571 การที่จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของบุตร ถือได้ว่าเป็นการ
จัดการทรัพย์สินของบุตรทั้งได้ปลูกในส่วนที่เป็นของบุตร จึงไม่เป็นการขัดต่อ
สิทธิแห่งโจทก์ผู้เป็นเจ้าของรวม โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยรื้อถอน
ออกไปได้
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1574
คำพิพากษาฎีกาที่ 74/2495
ยื่นคำร้องต่อศาลขอเป็นผู้ปกครองเฉพาะทำนิติกรรมขายที่ดินของเด็ก
แทนเด็ก ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งอนุญาต เมื่อปรากฏว่าการซื้อขายนั้นได้กระทำ
โดยสมยอมกันขายในราคาต่ำ และปิดบังความจริงต่อศาล เด็กก็ย่อมมีสิทธิฟ้อง
ขอให้ทำลายนิติกรรมการซื้อขายนั้นเสียได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 4984/2537
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการ
ขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้เว้นแต่ศาล
จะอนุญาตนั้นเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะให้มีการคุ้มครองทรัพย์สินและ
กิจการบางอย่างที่สำคัญของผู้เยาว์ เมื่อศาลได้ไต่สวนแล้วเห็นเป็นการสมควรก็
สั่งอนุญาต แล้วผู้แทนโดยชอบธรรมจึงจะอาศัยคำอนุญาตของศาลไปทำนิติ
กรรมได้ ในเมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขาย
ที่ดิน ซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือ
ว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่า

(ผู้แทน...)โดยชอบธรรม
คำพิพากษาฎีกาที่ 4984/2537 (ต่อ)
ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อนก็เท่ากับ
เป็ น การหลี ก เลี ่ ย งไม่ ต ้ อ งมาขออนุ ญ าตจากศาล ซึ ่ ง เป็ น การผิ ด ไปจาก
เจตนารมณ์ของกฎหมาย
ฉะนั้น สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยัง
เป็นผู้เยาว์ แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 3 จะ
ทำสัญญาในสัญญาฉบับเดียวกันก็ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทดังกล่าวก็ไม่
มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 และกรณีมิใช่โมฆียกรรม แม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุ
นิติภาวะโดยการสมรส จำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ การที่จำเลยที่ 3

(แม้จะเป็น...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 4984/2537 (ต่อ)
แม้จะเป็นเข้าของที่ดินร่วมกับจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว
ให้โจทก์ในสัญญาฉบับเดียวแต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้เป็นลูกหนี้ร่วมกันไม่
ดังนั้น แม้สัญญาจะไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็ไม่มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ไม่
จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขาย
ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2
จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาฎีกาที่ 6595/2539
นอกจากจำเลยที่ 1 จะเป็นทายาทของผู้ตายและเป็นมารดาผู้แทนโดย
ชอบธรรมของทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์ด้วยแล้ว ก็ยังเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ด้วยเมื่อจำเลยที่ 1 ขายที่พิพาทไปในขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก ไม่ใช่ใน
ฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์ จึงเป็นเรื่องผู้จัดการมรดกขายทรัพย์
มรดกซึ่งจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 มาใช้บังคับ
ไม่ได้ นิติกรรมขายที่พิพาทจึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาฎีกาที่ 876/2516
บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทำสัญญาให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ของ
ผู้เยาว์มีกำหนดเกินกว่า 3 ปี โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล สัญญาเช่าซึ่งมีผลใช้
บังคับได้เพียง 3 ปี หลังจากนั้นสัญญาหาผูกพันผู้เยาว์ไม่ และกรณีเช่นนี้ไม่ใช่
โมฆียะกรรมอันผู้เยาว์จะให้สัตยาบันได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1987/2516
บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ให้จำเลยเช่าอาคารตลอดชีวิตของ
จำเลย แม้การเช่านั้นจะเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งไม่ทำเป็นหนังสือและจด
ทะเบียน แต่เมื่อการให้เช่าเกินกว่า 3 ปี และบิดาโจทก์ได้กระทำไปโดยมิได้รับ
อนุญาตจากศาล การให้เช่าต่อไปเกินกว่าระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาแล้ว ย่อม
ต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมาย โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1082/2533
บิดามารดาโจทก์ยินยอมให้จำเลยทำถนนบนที่ดินของโจทก์ซึ่งขณะนั้น
เป็นผู้เยาว์ โดยโจทก์รู้เห็นด้วยตั้งแต่ขณะจำเลยเริ่มทำและได้เคยโต้แย้งคัดค้าน
มาก่อน จึงถือได้ว่าโจทก์ยินยอมให้ทางราชการทำถนนผ่านที่ดินของโจทก์แล้ว
การที่โจทก์มีอายุ 19 ปีเศษเป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งถือว่ามีความรู้สึก
ผิดชอบและรอบรู้ถึงผลดีผลเสียแห่งการกระทำของตนได้เป็นอย่างดีแล้ว ได้
ยินยอมให้จำเลยทำถนนผ่านที่ดินของโจทก์โดยเข้าใจว่าบิดามารดาโจทก์จะ
ได้รับสัมปทานเดินรถในถนนสายดังกล่าว แต่ต่อมาเมื่อบิดามารดาโจทก์ไม่ได้
รับอนุมัติสัมปทาน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทำละเมิดและขอให้

(บังคับจำเลย...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 1082/2533 (ต่อ)
บังคับจำเลยรื้อถอนถนนดังกล่าวออกไปจาที่ดินโจทก์จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิ
โดยไม่สุจริตขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มี
อำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการให้ความยินยอมของโจทก์มิได้รับอนุญาต
จากศาล เป็ น การขั ด ต่ อ ประมวลกฎหมายแพ่ ง และพาณิ ช ย์ มาตรา 1574
หรือไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 927/2485
กฎหมายห้ามแต่ว่าผู้ปกครองให้กู้เงินแทน เด็กต้องขออนุญาตศาลก่อน
จนแปลเลยไปถึงการที่ผู้ปกครองกู้เงินแทนเด็กด้วยย่อมเป็นการขัดกับตัวบท
คำพิพากษาฎีกาที่ 848/2496
มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์ กู้
เงินแทนผู้เยาว์มาใช้เพื่อประโยชน์แก่ผู้เยาว์ การกู้นั้นผูกพันผู้เยาว์
คำพิพากษาฎีกาที่ 876/2525
โจทก์เป็นบุตรมีสิทธิได้บำเหน็จตกทอดของ จ. ผู้ถึงแก่กรรม การที่
มารดาผู ้ แ ทนโดยชอบธรรมของโจทก์ ไ ด้ ล งชื ่ อ ยิ น ยอมให้ ก รมการเงิ น
กระทรวงกลาโหมหักบำเหน็จตกทอดที่โจทก์มีสิทธิได้รับ ส่งชำระหนี้ของ จ.
ให้แก่จำเลย เป็นการทำนิติกรรมที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องชำระหนี้ของบุคคลอื่นหรือ
แทนบุ ค คลอื ่ น ตามประมวลกฎหมายแพ่ ง และพาณิ ช ย์ มาตรา 1574 (13)
(ปัจจุบันมาตรา 1574 (10) มารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์กระทำโดย
มิได้รับอนุญาตจากศาลเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ จึงไม่ผูกพันโจทก์
โจทก์มีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยได้ตามมาตรา 406
คำพิพากษาฎีกาที่ 1056/2525
การที่มารดาโจทก์ไปตกลงให้หักเงินบำเหน็จตกทอดของผู้ตายที่จะได้แก่
โจทก์บางส่วน ชำระหนี้แก่จำเลยนั้น เป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่งที่ได้กระทำ
ไปแทนโจทก็ซึ่งเป็นผู้เยาว์ และเป็นผลให้โจทก์ต้องชำระหนี้ เมื่อมารดาโจทก์
ไม่ได้รับอนุญาตจากศาล จึงเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1574 (13) ปัจจุบันมาตรา 1574 (10) ข้อตกลงดังกล่าวย่อมตกเป็น
โมฆะ จำเลยไม่มีมูลที่จะอ้างเพื่อการชำระหนี้จากโจทก์ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1243/2499
มารดาย่อมไม่มีสิทธิที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับ
ทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์โดยลำพัง
คำพิพากษาฎีกาที่ 1109/2512
ที่นาพิพาทเป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกตกทอดได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรกับ
มารดาเจ้ามรดก โจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์มารดาโจทก์ไม่มีอำนาจทำสัญญา
ประนี ป ระนอมยอมความเกี ่ ย วกั บ ที ่ พ ิ พ าททำได้ โ ดยพลการ สั ญ ญา
ประนีประนอมยอมความที่ ส. กับมารดาทำไว้ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1319/2512
ผู ้ ใช้ อ ำนาจปกครองจำทำสั ญ ญาประนี ป ระนอมยอมความเกี ่ ย วแก่
ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนี้ เมื่อยังไม่ได้รับอนุญาตจาก
ศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอม
แก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งมรดก
คำพิพากษาฎีกาที่ 1837/2523
บิ ด าเด็ ก ชาย บ. โจทก์ ทำสั ญ ญาประนี ป ระนอมยอมความกั บ บิ ด า
เด็กชาย ว. ผู้ทำละเมิดต่อผู้เยาว์ โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลตามมาตรา 1574
(8) (ปัจจุบันมาตรา 1574 (12)) ดังนี้ มูลละเมิดที่เด็กชาย ว. ก่อขึ้นหามีผล
ระงับไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นโมฆะไม่ และไม่มีผลผูกพัน
เด็กชาย บ. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาฎีกาที่ 4006/2536
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 (8) (ปัจจุบันมาตรา
1574(12)) บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอม
ความเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น การที่จำเลยซึ่ง
เป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ ทำสัญญาประนีประนอมยอม
ความตกลงที่จะโอนบ้านและที่ดินพิพาทซึ่งบุตรผู้เยาว์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย
ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท. บิดาผู้ตายแต่ผู้เดียว โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลจึง
ตกเป็นโมฆะ โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของ ท. จึงฟ้องบังคับให้
จำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 3496/2537
ตามประมวลกฎหมายแพ่ ง และพาณิ ช ย์ มาตรา 1574 ได้ บ ั ญ ญั ต ิ ไว้
เฉพาะในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองของผู้เยาว์ทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน
ของผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์
ผู้เยาว์เป็นผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเอง บิดาโจทก์เพียงแต่ลงลายมือ
ชื่อในฐานะพยานเท่านั้น ดังนี้ จึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
คำพิพากษาฎีกาที่ 9414/2542
ประมวลกฎมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 (12) ห้ามผู้ใช้อำนาจ
ปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นนิติกรรมเกี่ยวด้วยทรัพย์สิน
ของผู้เยาว์เว้นแต่ศาลจะอนุญาตไม่ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นผู้เยาว์
จะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ก็ตาม ก็ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำสัญญา
ประนีประนอมยอมความ สัญญาประนีประนอมยอมความจึงตกเป็นโมฆะ ใช้
บังคับไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 4860/2548
จำเลยที่ 12 ทำข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทกับโจทก์อันมีลักษณะเป็น
สัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
1574 (12) ในขณะที่จำเลยที่ 12 เป็นผู้เยาว์โดยไม่ไ ด้รับ อนุญ าตจากศาล
ข้อตกลงในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 12 และมี
ผลกระทบถึงจำนวนเนื้อที่ดินตลอดจนตำแหน่งของที่ดินที่จะแบ่งแยก ย่อมเป็น
สิ่งที่เกี่ยวกันไม่อาจแบ่งแยกออกได้จากนิติกรรมซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ร่วม
กระทำ ข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่
11 ด้วย โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสิงสองแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ตนตาม
ข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม
คำพิพากษาฎีกาที่ 8535/2547
ข้อความตามบันทึกข้อตกลงที่ว่าจำเลยทั้งหกขอถอนชื่อออกจากโฉนด
ที่ด ิน พิพาทในเฉพาะส่วนของ ส. นั้น ย่อ มมีผลทำให้ที่ด ิน ดัง กล่า วตกเป็น
กรรมสิทธิ์ของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว การถอนชื่อจำเลยที่5 และที่ 6 ซึ่งเป็น
ผู้เยาว์ออกจากโฉนดดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการกระทำให้สิ้นสุดลงบางส่วนซึ่ง
ทรัพย์สินของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และเป็นการประนีประนอมยอม
ความ จึงเป็นนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะ
กระทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 (2) และ (12) เมื่อ
ผู้ใช้อำนาจปกครองและผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิได้ทำ
คำพิพากษาฎีกาที่ 8535/2547
นิติกรรมดังกล่าว ซึ่งหมายรวมถึงทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว
จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรม มีผลว่าผู้แทน
โดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน เท่ากับเป็น
การหลีกเลี่ยงไม่ต้องขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของ
กฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาเป็นผุ้ใช้อำนาจปกครอง
จำเลยที่ 5 และที่ 6 ผู้เยาว์ได้รับอนุญาตจากศาล บันทึกข้อตกลงการถอนชื่อ
จากโฉนดที่ดินดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 5 และที่ 6
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1575
คำพิพากษาฎีกาที่ 1686/2506
การที่บุตรผู้เยาว์เข้าทำสัญญาเป็นลูกหนี้แทนบิดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจ
ปกครองโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลนั้น ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าประโยชน์ของผู้ใช้
อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์อย่างชัดแจ้ง สัญญาดังกล่าวจึงตก
เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 (บรรพ 5 เดิม)
จะบังคับเอาจากผู้เยาว์นั้นไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2081-2087/2514
บิดาผู้ใช้อำนาจปกครองมีอำนาจจัดการ และจำหน่ายทรัพย์สินของบุตร
ผู้เยาว์ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของบุตร เว้นแต่ในกรณีที่ประโยชน์ของ
ผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาล
ก่อน มิฉะนั้นเป็นโมฆะบิดานำหุ้นของบุตรผู้เยาว์ไปไปโอนตีใช้หนี้ส่วนตัวของ
บิดาประโยชน์ของบิดาผู้ใช้อำนาจปกครอง ย่อมขัดกับประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์
ถ้าบิดาทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลย่อมเป็นโมฆะ
คำพิพากษาฎีกาที่ 776/2533
โจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง
หุ้นมรดกของผู้ตายในบริษัทจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1599, 1600, 1629 (1), 1629 วรรคท้าย และ 1635 (1) การที่โจทก์
ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาผู้ตายเป็นผู้ถือหุ้นมรดก
ทั้งหมดแต่ผู้เดียว เท่ากับขอให้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหุ้นมรดกทั้งหมดแต่ผู้เดียว
โดยไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตาย ถือได้ว่าโจทก์ที่
1 ซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ที่ 2 เอาประโยชน์จากกิจการและ
ประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ มาตรา 1574, 1575
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1577
คำพิพากษาฎีกาที่ 458/2547
ตามคำฟ้องของโจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการ
ทรัพย์สินของผู้เยาว์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาของผู้เยาว์ และอำนาจจัดการ
ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมของผู้เยาว์ในส่วนที่โจทก์ยก
ทรัพย์สนิ ให้แก่ผเู้ ยาว์ และให้จำเลยทัง้ สองส่งมอบบัญชีและทรัพย์สนิ ดังกล่าวให้
โจทก์ กับมีคำสั่งห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้ผู้เยาว์ คำ
ขอดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการทรัพย์สินของ
ผู้เยาว์ในส่วนที่โจทก์ยกให้ จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ชอบ กรณีดังกล่าว
โจทก์ในฐานะผู้ให้ทรัพย์สินแก่ผู้เยาว์ ย่อมถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะ

(ร้องขอ...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 458/2547 (ต่อ)
ร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนจำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินในส่วน
ดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1577 ประกอบ
มาตรา 56
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1580
คำพิพากษาฎีกาที่ 343/2486
อายุ ความตามมาตรา 1551 (บรรพ 5 เดิ ม ซึ ่ ง ตรงกั บ มาตรา 1581
บรรพ 5 ใหม่) ใช้เฉพาะคดีเกี่ยวกับจัดการทรัพย์ ไม่เกี่ยวกับการเรียกทรัพย์คืน
จากผู้ปกครอง เมื่อคดีนี้เป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการจัดการ
ทรัพย์สินระหว่างเด็กกับผู้ใช้อำนาจปกครอง ฉะนั้น จะยกมาตราดังกล่าวมา
ปรับกับคดีนี้ไม่ได้ โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์ซึ่งจำเลยเก็บไว้
ให้แก่โจทก์คืนจากจำเลย จะยกอายุความ 1 ปีตามมาตรา 1551 (บรรพ 5 เดิม
ซึ่งตรงกับมาตรา 1581 บรรพ 5 ใหม่) มาปรับกับคดีไมได้
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1582
คำพิพากษาฎีกาที่ 944/2496
ชายละทิ้งภริยาและบุตรผู้เยาว์ไปจนหญิงตาย บุตรต้องอยู่กับลุงผู้เป็นพี่
ของหญิงภริยา แสดงว่าบิดาไม่อาจปกครองบุตรได้ดีกว่าลุง ควรถอนอำนาจ
ปกครองของบิดา
คำพิพากษาฎีกาที่ 824/2498
การที่ศาลจะสั่งถอนอำนาจปกครองจากมารดาเด็ก ต้องปรากฏว่ามารดา
ใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบ หรือประพฤติชั่วอย่างไร เพียงแต่ว่าอาสมควร
ปกครองเด็กได้ดีกว่า ยังไม่เป็นเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองของมารดาได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 797/2499
คดีเรื่องตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์นั้น เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้ปกครองแล้ว
ภายหลังต่อมาญาติของผู้เยาว์จะขอให้ศาลถอดถอนผู้ปกครองนั้นโดยเสนอคำ
ร้องขอเข้ามาในคดีเดิมนั้นก็ได้ไม่จำต้องทำเป็นคดีเรื่องใหม่อีกต่างหาก
คำพิพากษาฎีกาที่ 1803/2523
โจทก์เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (แต่เป็นบิดาที่แท้จริงตามพฤติ
นัย) ถือไม่ได้ว่าเป็นญาติตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1582 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ถอนอำนาจปกครองของผู้ใช้อำนาจปกครอง
ที่มีต่อผู้เยาว์
คำพิพากษาฎีกาที่ 2151/2523
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ถอนอำนาจปกครองเด็ก โดยให้โจทก์เป็นผู้ใช้
อำนาจปกครอง และให้จำเลยส่งมอบเด็กคืนแก่โจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้อง
ขอให้ศาลมีคำสั่ง ให้จำเลยส่ง มอบเด็ก ให้โจทก์ในระหว่างการพิจารณา จึง
เกี่ยวกับประโยชน์ของโจทก์ที่มีอยู่ในคดีโจทก์จึงมีสิทธิร้องขอได้ตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 และคำร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัด
กับคำฟ้อง
คำพิพากษาฎีกาที่ 5135/2537
ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของ ก. กับ ส. ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกัน มิใช่
บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ก. ผู้เป็นบิดา ผู้ร้องเป็นน้องของบิดาของ ก. จึง
มิใช่ญ าติข องผู้เ ยาว์ทั้ง สองตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่ง และ
พาณิชย์ มาตรา 1582 ไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนอำนาจปกครองของมารดาของ
ผู้เยาว์ทั้งสอง และไม่อาจขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง
คำพิพากษาฎีกาที่ 4323/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1582 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจ
ศาลในการถอนอำนาจปกครองเสียได้โดยลำพังโดยไม่ต้องให้ผู้ใดร้องขอก็ได้
หากมีเหตุตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ขณะผู้ร้องยื่นคำร้อง ผู้ร้องยังมิได้
เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ แต่เมื่อความปรากฏต่อศาลว่ามารดา
ของผู้เยาว์ย้ายไปอยู่ที่อื่นและสมรสใหม่ตั้งแต่ผู้เยาว์อายุได้เพียงปีเศษและไม่
เคยกลับมาดูแลผู้เยาว์อีกเลย กรณีจึงเป็นการที่มารดาผู้เยาว์ใช้อำนาจปกครอง
แก่ตัวผู้เยาว์โดยไม่ชอบ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาถอนอำนาจปกครองจาก
มารดาผู้เยาว์ และปรากฏว่าผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้ร้องมาโดย
ตลอด การให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์จึงเหมาะสมกว่า
คำพิพากษาฎีกาที่ 2114/2542
ตามมาตรา 1566 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดให้
บุตรซึ่งยังไม่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา ใน
กรณีที่มารดาหรือบิดาตาย อำนาจปกครองจึงอยู่กับบิดาหรือมารดา และมีสิทธิ
เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา
1567 (4) อย่างไรก็ตาม มาตรา 1582 กำหนดไว้ว่า ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองใช้
อำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวผู้เยาว์โดยมิชอบก็ดี ประพฤติชั่วร้ายก็ดี ศาลอาจ
ถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทัง้ หมดก็ได้ ดังนัน้ เมือ่ ส. ซึง่ เป็นบิดาของ
เด็กหญิง ร. ผู้เยาว์ถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองจึงตกอยู่กับโจทก์

(ซึ่งเป็น...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 2114/2542 (ต่อ)
ซึ่งเป็นมารดา เว้นแต่โจทก์ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวเด็กหญิง ร. โดยมิชอบ
และประพฤติชั่วร้าย และถูกศาลถอนอำนาจปกครอง การที่จำเลยซึ่งเป็นย่า
ของเด็กหญิง ร. ฎีกาโต้แย้งว่าโจทก์ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวเด็กหญิง ร. มี
ความกลัวมารดานั้น จะเห็นได้ว่าปกติธรรมชาติของมารดาย่อมมีความรักบุตร
และปรารถนาดีต่อบุตร หากจำเลยประสงค์ที่จะแสดงให้ศาลเห็นว่าโจทก์เป็น
มารดาที่ประพฤติผิดธรรมชาติ ปราศจากความรักความเมตตาต่อบุตรและ
ประพฤติตนชั่วร้ายพยานหลักฐานของจำเลยก็ต้องมีน้ำหนักให้เชื่อได้ว่าเป็น
เช่นนั้นจริง เมื่อจำเลยไม่มีผู้เยาว์มาเบิกความยืนยันต่อศาลถึงสภาพจิตใจ

(ที่เป็น...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 2114/2542 (ต่อ)
ที่เป็นอยู่จึงไม่อาจอนุมานตามที่จำเลยกล่าวอ้างว่าที่ผู้เยาว์มีอาการผิดปกติ
เพราะโจทก์ใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบหรือประพฤติชั่วร้ายอันจะเป็นสาเหตุ
ให้ศาลถอนอำนาจปกครองของโจทก์ ดังนั้น แม้จำเลยจะมีฐานะดีมีความเมตตา
ต่อผู้เยาว์และสามารถเลี้ยงดูผู้เยาว์ได้เป็นอย่างดีสักเพียงใดก็ตามไม่อาจที่จะ
ปกครองเลี้ยงดูผู้เยาว์ได้ ตราบใดที่อำนาจปกครองของโจทก์ซึ่งเป็นมารดายัง
มิได้ถูกเพิกถอน จำเลยจึงต้องคืนตัวเด็กหญิง ร. ให้แก่โจทก์
จบการบรรยาย
ถาม - ตอบข้อสงสัย

You might also like