You are on page 1of 12

หัวข้อวิจัย: เปรียบเทียบทางสรีรวิทยาของกัญชา 4 สายพันธุ์ที่ปลูกในโรงเรือน และปลูกในระบบปิด

Research topic: Comparison of physiology in four strains of cannabis grown in


greenhouses and indoor cultivation.
โดย: นายธนกร ไชยชนะ 63080780 Sec.11 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา
นางสาวรัตติกาญ มามูล 63080928 Sec.1 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา
ส่วนที่เอามานำเสนอ: การเปรียบเทียบค่าความเขียวของใบกัญชาโดย Chlorophyll Meter SPAD-502 Plus
การวางแผนการทดลอง
พืชกัญชาที่นำมาทดลอง มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ได้แก่ 05 07 12 และ 13
อุปกรณ์เก็บข้อมูล: Konica Minolta Chlorophyll Meter SPAD-502 Plus - Chlorophyll content
Condition in Greenhouses
ความเข้มแสง อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ไม่สามารถควบคุมได้ขึ้นอยู่กับแดด ณ ขณะนั้น
ระยะเวลาที่มีการให้พืชรับแสง = 18 ชั่วโมง ตอนไม่มีแสงใช้ Full spectrum led grow lights.
มีการไหลเวียนอากาศจากภายนอกสู่ภายในตลอดเวลาในตอนเช้าโดยพัดลมขนาดใหญ่
Condition in Indoor cultivation
ความเข้มแสงประมาณ 20000 lux. ความชื้นสัมพัทธ์ 45-50 %RH อุณหภูมิ 30-35 องศาเซลเซียส
การให้แสงใช้ Full spectrum led grow lights. เป็นเวลา 12 ชั่วโมง
มีการไหลเวียนอากาศโดยอาศัยเครื่องปรับอากาศ(Air conditioner) และเปิดพัดลม
ทั้งสองวิธีให้น้ำในตอนเช้าเวลาประมาณ 08.00-09.00 น. และปลูกในดินชนิดเดียวกัน
การเก็บผล: ใน 1 สายพันธุ์เก็บ 3 ต้น ในแต่ละต้นวัด 3 ซ้ำ
วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบค่าความเขียวของใบกัญชาสี่สายพันธุ์ที่ปลูกในโรงเรือน และปลูกในระบบปิด
สมมติฐาน: 1. กัญชาที่ปลูกในระบบปิดมีค่าความเขียวมากกว่าในโรงเรือน
2. กัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกในโรงเรือนมีค่าความเขียวแตกต่างกัน
3. กัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกในระบบปิดมีค่าความเขียวแตกต่างกัน
ผลการทดลอง: Species=สายพันธุ์กัญชา, Num.tree=ต้นที,่ Count=วัดซ้ำที่
ตารางที่ 1: ค่าความเขียว(SPAD value)ของกัญชาที่ปลูกในโรงเรือน
Species Num.tree Count.1 Count.2 Count.3
7 1 49.5 45.9 45.6
7 2 45.8 46.9 44.4
7 3 44.3 43.4 52
13 1 56.5 53.3 59.3
13 2 56.5 57.3 57.4
13 3 57.9 60.6 60.1
12 1 60.5 56.5 61.7
12 2 51.5 51.8 51.6
12 3 58 56.4 57
5 1 59.5 57.7 58.3
5 2 53.7 51.8 50.9
5 3 55.2 56.5 54.8
ตารางที่ 2: ค่าความเขียว(SPAD value)ของกัญชาที่ปลูกในระบบปิด
Species Num.tree Count.1 Count.2 Count.3
7 1 56.9 63.8 61.2
7 2 62.9 60.3 61.8
7 3 60.3 59.6 59.7
13 1 59.6 58.9 62.5
13 2 59.8 60.7 64.1
13 3 68.2 70.2 66.3
12 1 62.5 66.4 67.9
12 2 67.5 63.4 61.5
12 3 66.5 68.5 63
5 1 56.8 56.5 55.4
5 2 53.6 51.4 51.1
5 3 42.5 40.1 42.7
กราฟแสดงความถี่ของค่าเฉลี่ย SPAD value ที่ได้จากการทดลอง:

กราฟที่ 1: กราฟแสดงความถี่ของค่าเฉลี่ย SPAD valueของกัญชาที่ปลูกในโรงเรือน

กราฟที่ 2: กราฟแสดงความถี่ของค่าเฉลี่ย SPAD valueของกัญชาที่ปลูกในระบบปิด


วิเคราะห์ข้อมูล:
ประเด็นที่ 1 กัญชาที่ปลูกในระบบปิดมีค่าความเขียวมากกว่าในโรงเรือน
วิธีการ: 1. หาค่าเฉลี่ย SPAD value ของต้นกัญชาแต่ละต้นด้วยคำสั่ง Transform > Compute Variable
โดย Mean. SPAD = (Count.1 + Count.2 + Count.3) / 3 ได้ดังนี้

รูปที่ 1: ค่าเฉลี่ย SPAD value ของต้นกัญชาแต่ละต้นที่ปลูกในโรงเรือน

รูปที่ 2: ค่าเฉลี่ย SPAD value ของต้นกัญชาแต่ละต้นที่ปลูกในระบบปิด


นำค่าค่าเฉลี่ย SPAD value ของต้นกัญชาที่ปลูกในโรงเรือน และปลูกในระบบปิด มาอนุมานค่าเฉลี่ย โดย
ค่าเฉลี่ยของประชากรทั้ง 2 กลุ่มนั้นเป็นอิสระต่อกัน จึงใช้ Independent - Samples T Test ทดสอบ
พิสูจน์ว่ากัญชาที่ปลูกในระบบปิดมีค่าความเขียวมากกว่าในโรงเรือนโดยไม่แบ่งสายพันธุ์
นำค่า Mean. SPAD ไปจัดเป็น 2 กลุ่มในโปรแกรม SPSS แล้วทดสอบ
1. ทดสอบว่าข้อมูลแจกแจงปกติหรือไม่ Tests of Normality ที่ความเชื่อมั่น 99%
สมมติฐาน: H0 = ข้อมูลค่าเฉลี่ย SPAD value ของต้นกัญชามีการแจกแจงปกติ
H1 = ข้อมูลค่าเฉลี่ย SPAD value ของต้นกัญชาไม่มีการแจกแจงแบบปกติ

ที่ความเชื่อมั่น 99% มีค่า 𝛼 = 0.01 โดยค่า Sig ที่ได้จากสถิติ Shapiro-Wilk(ประชากรไม่เกิน 50)ของต้น


กัญชาที่ปลูกใน Greenhouses = 0.075 และใน Indoor cultivation = 0.056 มากกว่าค่า α จึงยอมรับ H0
ดังนั้นสรุปได้ว่า ข้อมูลค่าเฉลี่ย SPAD value ของต้นกัญชามีการแจกแจงปกติ
2. ทดสอบว่ากัญชาที่ปลูกในระบบปิดมีค่าความเขียวมากกว่าในโรงเรือนโดยไม่แบ่งสายพันธุ์
ทำการทดสอบ Independent - Samples T Test
2.1. พิจารณาผลการทดสอบความแปรปรวนของประชากรทั้ง 2 กลุ่มว่าเท่ากันหรือไม่ โดยใช้
Levene's Test for Equality of Variances ดังนี้

สมมติฐาน: H0 = 𝜎22 = 𝜎22

H1 = 𝜎22 ≠ 𝜎22

ทดสอบที่ความเชื่อมั่น 99% มีค่า α = 0.01 โดยค่า F และ Sig. ที่ได้จาก Levene's Test for Equality of
Variances เท่ากับ 0.101 และ 0.753 ซึ่งค่า Sig. > α จึงยอมรับ H0 ดังนั้นสรุปได้ว่า ค่าความแปรปรวนของ
ประชากรทั้ง 2 กลุ่มมีค่าเท่ากัน
2.2. ทดสอบว่าค่าเฉลี่ยของค่าเฉลี่ย SPAD value ของต้นกัญชาที่ปลูกในระบบปิดมากกว่าในโรงเรือน
หรือไม่ โดยในที่นี้ถ้าหากผลเป็นไปตาม H0 จะสามารถสรุปได้ว่า ต้นกัญชาที่ปลูกในระบบปิดมีค่า
SPAD มากกว่าต้นกัญชาที่ปลูกในโรงเรือน แต่ถ้าหากผลเป็นไปตาม H1 จะสามารถสรุปได้ว่า ต้น
กัญชาที่ปลูกในระบบปิดมีค่า SPAD น้อยกว่าหรือเท่ากับต้นกัญชาที่ปลูกในโรงเรือน

สมมติฐาน: H0 = 𝜇1 − 𝜇2 > 0

H1 = 𝜇1 − 𝜇2 ≤ 0
จากการทดสอบได้ ค่ าสถิต ิท ดสอบ โดยเอาค่าในส่ว นของ Equal variances assumed มาใช้ในการ
สรุป ผล มีค่า t test = -2.331 และ ค่า Sig(2-tail) = 0.029 เนื่องจากเป็นการทดสอบหางเดียวทาง
ด้านซ้าย จะได้ค่า Sig. = Sig(2-tail) / 2 = 0.0145 ที่ระดับความเชื่อมั่น 99% มีค่า α = 0.01 ค่า Sig. >
α จึงยอมรับ H0 ดังนั้นสรุปได้ว่า ต้นกัญชาที่ปลูกในระบบปิดมีค่า SPAD มากกว่าต้นกัญชาที่ปลูกใน
โรงเรือน นั่นหมายถึง กัญชาที่ปลูกในระบบปิดมีค่าความเขียวมากกว่าในโรงเรือน โดยมีค่าเฉลี่ยของ
SPAD value แตกต่างกันเท่ากับ 5.944 โดยค่าประมาณแบบช่ว งของผลต่างของค่าเฉลี่ยของ SPAD
value ของกัญชาที่ปลูกทั้ง 2 ระบบ มีค่าอยู่ระหว่าง -1.245 – 13.134
ประเด็นที่ 2 กัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกในโรงเรือนมีค่าความเขียวแตกต่างกัน
วิธีการ: 1. หาค่าเฉลี่ย SPAD value ของต้นกัญชาแต่ละต้นด้วยคำสั่ง Transform > Compute Variable
โดย Mean. SPAD = (Count.1 + Count.2 + Count.3) / 3 ได้รูปที่ 2 และ 3
2. วิเคราะห์ความแปรปรวนค่าเฉลี่ย SPAD value โดยข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์จากการทดลองเป็น
ข้อมูลที่ได้จากแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (completely randomized design, CRD) จึงเลือกใช้
One-Way ANOVA ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยทดสอบที่ความเชื่อมั่น 95% และไม่ต้องทดสอบการ
แจกแจงข้อมูลแล้ว เนื่องจากเคยทดสอบสอบไปแล้วในการพิสูจน์ก่อนหน้า ข้อมูลมีการกระจายปกติ

2.1. ทดสอบว่ากัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกในโรงเรือนมีค่าความเขียวแตกต่างกันหรือไม่

สมมติฐาน: H0 = 𝜇7 = 𝜇13 = 𝜇12 = 𝜇5


H1 = ค่าเฉลี่ยความเขียวของกัญชาอย่างน้อย 2 สายพันธุ์แตกต่างกัน
จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนค่าเฉลี่ย SPAD value โดยการใช้ One-Way ANOVA ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้ค่า Sig = 0.004 < α = 0.05 ที่ความเชื่อมั่น 95% จึงปฏิเสธ H0 ดังนั้นสรุปได้ว่า กัญชาแต่ละสายพันธ์ที่
ปลูกในโรงเรือนมีค่าความเขียวแตกต่างกัน
2.2. ทดสอบว่าค่าความเขียวของกัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกในโรงเรือนมีความแปรปรวนเท่ากันหรือไม่

สมมติฐาน: H0 = ค่าความเขียวของกัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกในโรงเรือนมีความแปรปรวนเท่ากัน

H1 = ค่าความเขียวของกัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกในโรงเรือนมีความแปรปรวนไม่เท่ากัน

จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนค่าเฉลี่ย SPAD value จากตาราง Test of Homogeneity of Variances


ในส่วน Based on Mean ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ค่า Sig = 0.180 > α = 0.05 ที่ความเชื่อมั่น 95% จึง
ยอมรับ H0 ดังนั้นสรุปได้ว่าค่าความเขียวของกัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกในโรงเรือนมีความแปรปรวนเท่ากัน
2.3. ทำการจัดกลุ่มค่าเฉลี่ยโดยใช้วิธีในกลุ่ม Equal Variances Assumed ในการทดลองนี้ใช้ Duncana

จากการจัดกลุ่มค่าเฉลี่ยโดยใช้ Duncana จะเห็นได้ว่าที่ความเชื่อมั่น 95% กัญชาสายพันธุ์ 07 นั้นมีค่าความ


เขียวแตกต่างจากพืชชนิดอื่นอย่างสิ้นเชิงและมีค่าความเขียวต่ำที่สุด ที่ 46.422 ส่วนกัญชาสายพันธุ์ 05 12
และ 13 ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน แสดงว่ามีค่าความเขียวใกล้เคียงกัน ไม่ต่างกัน โดยกัญชาสายพันธุ์ 13 มีค่า
ความเขียวมากที่สุดที่ 57.656
ประเด็นที่ 3 กัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกในระบบปิดมีค่าความเขียวแตกต่างกัน
วิธีการ: 1. หาค่าเฉลี่ย SPAD value ของต้นกัญชาแต่ละต้นด้วยคำสั่ง Transform > Compute Variable
โดย Mean. SPAD = (Count.1 + Count.2 + Count.3) / 3 ได้รูปที่ 2 และ 3
2. วิเคราะห์ความแปรปรวนค่าเฉลี่ย SPAD value โดยข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์จากการทดลองเป็น
ข้อมูลที่ได้จากแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (completely randomized design, CRD) จึงเลือกใช้
One-Way ANOVA ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยทดสอบที่ความเชื่อมั่น 95% และไม่ต้องทดสอบการ
แจกแจงข้อมูลแล้ว เนื่องจากเคยทดสอบสอบไปแล้วในการพิสูจน์ก่อนหน้า ข้อมูลมีการกระจายปกติ
2.1. ทดสอบว่ากัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกในระบบปิดมีค่าความเขียวแตกต่างกันหรือไม่

สมมติฐาน: H0 = 𝜇7 = 𝜇13 = 𝜇12 = 𝜇5


H1 = ค่าเฉลี่ยความเขียวของกัญชาอย่างน้อย 2 สายพันธุ์แตกต่างกัน
จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนค่าเฉลี่ย SPAD value โดยการใช้ One-Way ANOVA ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้ค่า Sig = 0.014 < α = 0.05 ที่ความเชื่อมั่น 95% จึงปฏิเสธ H0 ดังนั้นสรุปได้ว่า กัญชาแต่ละสายพันธ์ที่
ปลูกในระบบปิดมีค่าความเขียวแตกต่างกัน
2.2. ทดสอบว่าค่าความเขียวของกัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกในโรงเรือนมีความแปรปรวนเท่ากันหรือไม่

สมมติฐาน: H0 = ค่าความเขียวของกัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกในโรงเรือนมีความแปรปรวนเท่ากัน

H1 = ค่าความเขียวของกัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกในโรงเรือนมีความแปรปรวนไม่เท่ากัน

จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนค่าเฉลี่ย SPAD value จากตาราง Test of Homogeneity of Variances


ในส่วน Based on Mean ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ค่า Sig = 0.030 < α = 0.05 ที่ความเชื่อมั่น 95% จึง
ปฏิเสธ H0 ดังนั้นสรุปได้ว่าค่าความเขียวของกัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกในโรงเรือนมีความแปรปรวนไม่เท่ากัน
2.3. ทำการจัดกลุ่มค่าเฉลี่ยโดยใช้วิธีในกลุ่ม Equal Variances Not Assumed โดยเลือกใช้ Tamhane’s T2

จากการจัดกลุ่มค่าเฉลี่ยโดยใช้ Tamhane’s T2 จะเห็นได้ว่าที่ความเชื่อมั่น 95% โดยสังเกตจากเครื่องหมาย


ดอกจัน (*) และ พิจารณาจากค่า Sig < α จะเห็นได้ว่ามีกัญชาเพียงสายพันธุ์เดียวเท่านั้นที่ต่างกันคือ คู่สาย
พันธุ์ 07 กับ 12 มี่ค่า Sig. = 0.026 < α = 0.05 แสดงว่า 07 และ 12 มีค่าความเขียวต่างกัน และคู่กัญชาสา
พันธุ์อื่น ๆ ไม่มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด หมายถึงค่าความเขียวของสายพันธุ์คู่อื่นไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

เพื่อดูว ่าค่าเฉลี่ย ความเขีย วของสายพัน ธุ์ ใดมีมากที่ส ุดและสายพันธุ์ใดต่ำที่ส ุด สามารถดูได้จากตาราง


Descriptives ซึ่งจะเห็นได้ว่ากัญชาสายพันธุ์ 12 มีค่าความเขียวมากที่สุดที่ 65.244 และกัญชาสายพันธุ์ 05 มี
ค่าความเขียวต่ำที่สุดที่ 50.011
สรุปผลการทดลองตามสมมติฐาน:
จากสมมติฐาน: 1. กัญชาที่ปลูกในระบบปิดมีค่าความเขียวมากกว่าในโรงเรือน
2. กัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกในโรงเรือนมีค่าความเขียวแตกต่างกัน
3. กัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกในระบบปิดมีค่าความเขียวแตกต่างกัน
สำหรับการพิสูจน์ว่ากัญชาที่ปลูกในระบบปิดมีค่าความเขียวมากกว่าในโรงเรือน พบว่าที่ความเชื่อมั่น
99% และค่า 𝛼 = 0.01 ข้อมูลค่าเฉลี่ย SPAD value ของต้นกัญชามีการแจกแจงปกติ ค่าความแปรปรวน
ของประชากรทั ้ ง 2 กลุ ่ ม มี ค ่ า เท่ า กั น จาก Tests of Normality และ Levene's Test for Equality of
Variances ทำให้ ส ามารถใช้ Independent - Samples T Test ในส่ ว น Equal variances assumed
วิเคราะห์ข้อมูล และได้ผลออกมาว่า ที่ระดับความเชื่อมั่น 99% มีค่า α = 0.01 ค่า Sig. = Sig(2-tail) / 2 =
0.0145 ค่า Sig. มากกว่า α สรุปได้ว่าต้นกัญชาที่ปลูกในระบบปิดมีค่า SPAD value มากกว่าต้นกัญชาที่ปลูก
ในโรงเรือน นั่นหมายถึงกัญชาที่ปลูกในระบบปิดมีค่าความเขียวมากกว่าในโรงเรือน โดยมีค่าเฉลี่ยของ SPAD
value แตกต่างกันเท่ากับ 5.944 โดยค่าประมาณแบบช่วงของผลต่างของค่าเฉลี่ยของ SPAD value ของ
กัญชาที่ปลูกทั้ง 2 ระบบ มีค่าอยู่ระหว่าง -1.245 – 13.134 สมมติฐานที่ 1 เป็นจริง
สำหรับการพิสูจน์ว่ากัญชาแต่ละสายพันธุ์ที่ปลูกในโรงเรือนมีค่าความเขียวแตกต่างกัน พบว่าจากการ
วิเคราะห์ความแปรปรวนค่ าเฉลี่ย SPAD value ด้วยวิธี One-Way ANOVA ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ ระดับ
ความเชื่อมั่น 95% จาก ANOVA test ค่า Sig = 0.004 < α = 0.05 สรุปได้ว่ากัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกใน
โรงเรือนมีค่าความเขียวแตกต่างกัน จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนค่าเฉลี่ย SPAD value จากตาราง Test
of Homogeneity of Variances ในส่วน Based on Mean ค่า Sig = 0.180 > α = 0.05 สรุปได้ว่าค่าความ
เขียวของกัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลู กในโรงเรือนมีความแปรปรวนเท่ากัน และทำการจัดกลุ่มค่าเฉลี่ยโดยใช้วิธี
ในกลุ่ม Equal Variances Assumed ในการทดลองนี้ใช้ Duncana ได้ว่ากัญชาสายพันธุ์ 07 นั้นมีค่าความ
เขียวแตกต่างจากพืชชนิดอื่นอย่างสิ้นเชิงและมีค่าความเขียวต่ำที่สุดที่ 46.422 ส่วนกัญชาสายพันธุ์ 0 5 12
และ 13 ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน แสดงว่ามีค่าความเขียวใกล้เคียงกันไม่ต่างกัน โดยกัญชาสายพันธุ์ 13 มีค่า
ความเขียวมากที่สุดที่ 57.656 สมมติฐานที่ 2 เป็นจริง
สำหรับการพิสูจน์ว่ากัญชาแต่ละสายพันธุ์ที่ปลูกในโรงเรือนมีค่าความเขียวแตกต่างกัน พบว่าจากการ
วิเคราะห์ความแปรปรวนค่าเฉลี่ย SPAD value ด้วยวิธี One-Way ANOVA ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ระดับ
ความเชื่อมั่น 95% จาก ANOVA test ค่า Sig = 0.014 < α = 0.05 สรุปได้ว่ากัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกใน
ระบบปิดมีค่าความเขียวแตกต่างกัน จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนค่าเฉลี่ย SPAD value จากตาราง Test
of Homogeneity of Variances ในส่วน Based on Mean ค่า Sig = 0.030 < α = 0.05 สรุปได้ว่าค่าความ
เขียวของกัญชาแต่ละสายพันธ์ที่ปลูกในโรงเรือนมีความแปรปรวนไม่เท่ากันและทำการจัดกลุ่มค่าเฉลี่ยโดยใช้
วิธีในกลุ่ม Equal Variances Not Assumed โดยในการทดลองนี้ใช้ Tamhane’s T2 ได้ว่ามีกัญชาเพียงสาย
พันธุ์เดียวเท่านั้นที่ต่างกันคือ คู่สายพันธุ์ 07 กับ 12 มีค่า Sig. = 0.026 < α = 0.05 แสดงว่า 07 และ 12 มี
ค่าความเขียวต่างกัน และคู่กัญชาสาพันธุ์อื่น ๆ ไม่มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด หมายถึงค่าความเขียวของ
สายพันธุ์คู่อื่นไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ นากจากนี้จากตาราง Descriptives จะเห็นได้ว่ากัญชาสายพันธุ์ 12 มี
ค่าความเขียวมากที่สุดที่ 65.244 และกัญชาสายพันธุ์ 05 มีค่าความเขียวต่ำที่สุดที่ 50.011 สมมติฐานที่ 3
เป็นจริง
ดังนั้นสรุปทั้งหมดได้ว่า กัญชาที่ปลูกในระบบปิดมีค่าความเขียวมากกว่าในโรงเรือนโดยมีค่าเฉลี่ยของ
SPAD value แตกต่างกันเท่ากับ 5.944 โดยค่าประมาณแบบช่วงของผลต่างของค่าเฉลี่ยของ SPAD value
ของกัญชาที่ปลูกทั้ง 2 ระบบ มีค่าอยู่ระหว่าง -1.245 – 13.134 กัญชาแต่ละสายพันธุ์ที่ปลูกในโรงเรือนมีค่า
ความเขียวแตกต่างกันโดย กัญชาสายพันธุ์ 07 นั้นมีค่าความเขียวแตกต่างจากพืชชนิดอื่นอย่างสิ้นเชิงและมีค่า
ความเขียวต่ำที่สุดที่ 46.422 ส่วนกัญชาสายพันธุ์ 05 12 และ 13 ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน แสดงว่ามีค่าความ
เขียวใกล้เคียงกันไม่ต่างกัน โดยกัญชาสายพันธุ์ 13 มีค่าความเขียวมากที่สุดที่ 57.656 และ กัญชาแต่ละสาย
พันธุ์ที่ปลูกในโรงเรือนมีค่าความเขียวแตกต่างกัน โดย มีกัญชาเพียงสายพันธุ์เดียวเท่านั้นที่ต่างกันคือ คู่สาย
พันธุ์ 07 กับ 12 มีค่า Sig. = 0.026 < α = 0.05 แสดงว่า 07 และ 12 มีค่าความเขียวต่างกัน และคู่กัญชาสา
พันธุ์อื่น ๆ ไม่มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด หมายถึงค่าความเขียวของสายพันธุ์คู่อื่นไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
และกัญชาสายพันธุ์ 12 มีค่าความเขียวมากที่สุดที่ 65.244 และกัญชาสายพันธุ์ 05 มีค่าความเขียวต่ำที่สุดที่
50.011 การทดลองเป็นไปตามสมมติฐาน

You might also like