You are on page 1of 10

หน่ วยที่ 5 ระบบบัส

สาระสาคัญ
ในระบบคอมพิวเตอร์ มีอุปกรณ์หลายอย่างเชื่ อ มต่อ กันอยู่ และอุปกรณ์เหล่านั้นต้อ งสามารถ
ติดต่อสื่ อสารกันได้เพื่อส่ งข้อมูลระหว่างกัน ช่องทางที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้เชื่อมต่อกัน เรี ยกว่า บัส (Bus) ซึ่ ง
บัสนี้ มีลักษณะเป็ นเส้นทองแดงที่อยู่บนแผงวงจรหลัก (Mainboard) นั่นเอง และเนื่ อ งจากเหตุผลในด้าน
ความเร็ วของอุปกรณ์ที่นามาเชื่อมต่อมีความเร็ วต่างกัน ทาให้ตอ้ งแบ่งบัสออกเป็ น 3 ระดับ คือ บัสท้องถิ่น
(Local bus) บัสระบบ (System bus) และบัสขยาย (Expansion bus) เพื่อลดความเหลื่อมล้ าในด้านความเร็ ว
ของอุปกรณ์ของอุปกรณ์ที่เชื่ อ มต่อ นอกจากนี้ ในการออกแบบระบบบัสให้ สามารถท างานร่ วมกัน กับ
อุปกรณ์หลาย ๆ ตัวได้ ทาให้ตอ้ งมีบสั 3 ประเภท คือ 1) บัสข้อมูล 2) บัสตาแหน่ง และ 3) บัสควบคุม

หัวข้อการเรียนรู้
1. ความหมายของระบบบัส
2. ระดับของบัส
3. ประเภทของบัส
4. สถาปัตยกรรมของระบบบัส

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. อธิบายความหมายของระบบบัสของคอมพิวเตอร์ได้
2. จาแนกระดับของบัสได้
3. แยกประเภทของบัสได้
4. อธิบายสถาปัตยกรรมของระบบบัสได้
ความหมายของระบบบัส (Bus System)
ระบบบัส (System Bus) คือ เครื่ องมือ ในการติดต่อ สื่ อ สาร และขนถ่ายข้อ มูลระหว่าง CPU กับ
อุปกรณ์อื่น ๆ เป็ นการเชื่อมต่อด้วยสายทองแดงบนแผงวงจรหลักของระบบคอมพิวเตอร์ (Mainboard) โดย
ระบบบัส จะท าหน้า ที่ เ ป็ นเส้ น ทางหลัก ของคอมพิ ว เตอร์ ใ นการเชื่ อ มโยงอุ ป กรณ์ ต่ า ง ๆ ไปยัง CPU
เปรี ยบเสมือนเป็ นถนนที่มีหลายช่อทางจราจร ที่ยิ่งมีช่องทางจราจร ทาให้สามารถระบายรถได้มาก และ
หมดเร็ว แสดงดังรู ปที่ 1

รู ปที่ 1 เส้นทางบัส
การออกแบบระบบบัส (Bus System) ของระบบคอมพิวเตอร์ น้ นั ได้รับการออกแบบให้ทางานใน
รู ปแบบของการแข่งขันเพือ่ แย่งใช้ทรัพยากร หมายความว่าในเวลาหนึ่ง ๆ สามารถมีการแย่งเพื่อขอใช้บสั ได้
จากอุปกรณ์หลาย ๆ ตัว แต่จะมีเพียงอุปกรณ์หนึ่งตัวเท่านั้นที่สามารถใช้งานได้ ดังนั้น ถ้ามีอุปกรณ์จานวน
มากเชื่อมต่อเข้ากับบัส จะทาให้ประสิ ทธิ ภาพการทางานของบัสลดต่า ลง เนื่ องจากจะทาให้บสั มีความยาว
มากขึ้น (ต้องรอคิวใช้บสั นาน) ซึ่งจะทาให้การสื่ อสารในบัสใช้ระยะเวลาหน่วงนานมากขึ้น และเมื่อมีความ
ต้อ งการใช้งานบัสของอุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นจนถึงจุดอิ่มตัวในการให้บริ การของบัสแล้ว ซึ่ งอาจจะ
ส่งผลให้บสั เกิดปัญหากลายเป็ นจุดคอขวดในการสื่ อสารได้
ขนาดของบัส สามารถวัดได้เป็ นความกว้างบัส (Bus width) ซึ่งเป็ นตัวระบุจานวนบิตที่คอมพิวเตอร์
สามารถส่งข้อมูลได้ในแต่ละครั้ง เช่น บัสที่มีขนาด 32 บิต จะสามารถส่งข้อมูลได้ 32 บิต หรื อ ไบต์ในแต่ละ
ครั้งละ 4 ไบต์ แต่ถา้ เราใช้บสั ที่มีขนาด 64 บิต จะสามารถส่งข้อมูลได้ท้งั หมดภายในครั้งเดียว
บัสจะมีสัญญาณนาฬิกาเช่นเดียวกับหน่วยประมวลผล ซึ่งผูผ้ ลิตกาหนดให้สัญญาณนาฬิกามีความถี่
เป็ นเฮิ ร์ต (Hertz หรื อ Hz) หรื อ เมกะเฮิ ร์ต (MHz) ในปั จจุบันส่ วนใหญ่ หน่ วยประมวลผลจะมีสัญญาณ
นาฬิกา ประมาณ 2.6, 2.8, 3.0 GHz ยิ่งค่าสัญญาณนาฬิกาสูงเท่าไหร่ ความเร็วในการส่งข้อมูลก็มากเท่านั้น
ระดับของบัส
อุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ มีความเร็ วในการส่ งข้อ มูลที่แตกต่ างกัน ดังนั้นถ้าใช้บัส
ตาแหน่งระดับเดียวกัน และมีความเร็ วเท่ากันทั้งระบบคอมพิวเตอร์ จะส่ งผลต่อประสิ ทธิ ภาพโดยรวมของ
ระบบ โดยอุปกรณ์ที่ทางานช้า จะทาให้อุปกรณ์อื่น ๆ ต้องรอด ดังนั้นในระบบคอมพิวเตอร์ จึงมีการแบ่งบัส
ออกเป็ นระดับชั้น แสดงดังรู ปที่ 2 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยสามารถแบ่งบัสออกเป็ น 3 ระดับ ดังนี้

รู ปที่ 2 ระดับของบัส
1) บัสท้องถิ่น (Local Bus) เป็ นบัสที่มีความเร็วสูง ใช้เชื่อมต่อระหว่าง CPU กับหน่วยความจา
แคช เพราะ CPU และแคชมีอตั ราในการถ่ายโอนข้อมูลสู งจึงต้องมีบสั ที่รองรับความเร็ วในระดับนี้ และเป็ น
ตัวเชื่อมระหว่างบัสท้องถิน่ เข้ากับบัสระบบ
2) บัสระบบ (System Bus) บัสระบบ เป็ นบัสที่มีความเร็ วรองลงมาจากบัสท้องถิ่น ทาหน้าที่
เป็ นเส้นทางต่อระหว่างแคชกับหน่วยความจาหลัก และเป็ นตัวเชื่อมต่อระหว่างบัสระบบเข้ากับบัสเสริ ม
3) บั ส เสริ ม (Expansion Bus) จะท าให้ อุ ป กรณ์ ภ ายนอกระบบสามารถติ ด ต่ อ กับ หน่ ว ย
ประมวลผลได้ อุปกรณ์ต่อพ่วงจะต่อเข้ากับพอร์ ต ซึ่ งพอร์ ตจะต่ออยู่บนช่องเสริ ม (Expansion Slot) ซึ่ งช่อง
เสริ มนี้จะต่อกับบัสเสริ มเพื่อส่งข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผล รู ปข้างล่างนี้เป็ นรู ปของการส่งข้อมูลระหว่าง
หน่ วยประมวลผล หน่ วยความจา อุปกรณ์ต่อ พ่ วงต่าง ๆ ผ่านทางบัสระบบ และบัสเสริ ม บัสเสริ ม บน
เมนบอร์ดมีหลายชนิ ด แต่ละชนิดบ่งบอกถึงชนิดของการ์ ดที่ต่าง ๆ ที่ต่ออยูบ่ นคอมพิวเตอร์ ได้แก่ บัส ISA,
บัส PCI, บัส AGP, บัส USB และบัสไฟร์ไวร์ (Firewire)
ประเภทของบัส
ในระบบคอมพิวเตอร์ การส่ งถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่สามารถส่ งแค่ขอ้ มูลเพียงอย่า ง
เดียวได้ เพราะอุปกรณ์ทุกตัว เชื่อมเข้าบัสเดียวกัน ทาให้ยากที่จะระบุได้ว่าข้อมูลนี้ เป็ นของใคร และส่ งมา
เพื่ อ อะไร ดัง นั้น บัส ในระบบคอมพิ ว เตอร์ ต้อ งประกอบไปด้ว ยบัส 3 ประเภท แสดงดัง รู ป ที่ 3 โดยมี
รายละเอียดดังนี้

รู ปที่ 3 ประเภทของบัส
1) บัสข้อมูล (Data Bus)
บัส ข้อ มู ล เป็ นบัส แบบสองทิ ศ ทาง เป็ นส่ ว นที่ น าข้อ มู ล ส่ ง ไปยัง ที่ ต่ า ง ๆ ภายในระบบ
คอมพิวเตอร์ ความเร็ วในการส่งถ่ายข้อมูลจะเร็ วมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กบั ความกว้างของเส้นทางส่งข้อมูล
เช่นกัน สาหรับระบบที่ใช้ CPU 8088 มีความกว้างของบัสข้อมูลเพียง 8 บิต CPU 8086 มีบสั ข้อมูลขนาด 16
บิต CPU Pentium จะมีความกว้างของบัสข้อมูลขนาด 64 บิต เป็ นต้น

ตารางที่ 1 ขนาดของแอดเดรสบัสแยกตามชนิดของโพรเซสเซอร์
โพรเซสเซอร์ ขนาดของดาต้าบัส
80286 16 บิต
80386 และ 80486 32 บิต
Pentium และ Pentium Pro 64 บิต
Pentium II และ III 64 บิต
Pentium II Xeon และ III Xeon 64 บิต

2) บัสตาแหน่ ง (Address Bus)


บั ส ต าแหน่ ง เป็ นบั ส แบบทิ ศ ทางเดี ย ว เป็ นบั ส ที่ ใ ช้ ใ นการระบุ ต าแหน่ ง หรื อที่ อ ยู่ ข อง
หน่วยความจา หรื ออุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ ที่ CPU ต้องการติดต่อในระบบที่ใช้ CPU รุ่ น
8088 หรื อ 8086 จะมีบสั ตาแหน่งขนาด 20 เส้นเท่ากับ หมายความว่า CPU สามารถอ้างตาแหน่งได้เท่ากับ 220
ตาแหน่ง (บัสแต่ละเส้นมีขอ้ มูลที่เป็ นไปได้คือ ‘0’ และ ‘1’) หรื อ 1 MB รุ่ น 80286 มีบสั ตาแหน่ง 24 เส้น
สามารถอ้างได้ 16 MB หรื อ รุ่ น 80368DX และรุ่ น 80486 มีบสั ตาแหน่งขนาด 32 เส้นทางทาให้อา้ งได้ถึง 4
GB และในรุ่ น Pentium จะมีบสั ตาแหน่ง 36 เส้น ซึ่งอ้างอิงตาแหน่งได้เท่ากับ 236 ตาแหน่ง

ตารางที่ 2 ขนาดของแอดเดรสบัสแยกตามชนิดของโพรเซสเซอร์
โพรเซสเซอร์ จานวนเส้ นของแอดเดรสบัส อ้างหน่ วยความจาสู งสุ ด
80286 24 16 MB
80386 และ 80486 32 4 GB
Pentium 32 4 GB
Pentium Pro 36 64 GB
Pentium II และ III 36 64 GB
Pentium II Xeon และ III Xeon 36 64 GB
3) บัสควบคุม (Control Bus)
เป็ นบัสที่ใช้สาหรับเป็ นเส้นทางเดินสัญญาณการควบคุมจาก CPU ไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ ภายใน
ระบบคอมพิวเตอร์ หรื อจากอุปกรณ์อื่น ๆ มายัง CPU เพื่อประสานและควบคุมการทางานของระบบให้มี
ความสอดคล้องกัน สัญญาณควบคุมมีดงั นี้
1) System Clock (SYSCLOK) เป็ นสัญญาณนาฬิกาของระบบ
2) Memory Read (MEMR) เป็ นสัญญาณให้ CPU อ่านข้อมูลจากหน่วยความจา
3) Memory Write (MEMW) เป็ นสัญญาณให้ CPU เขียนข้อมูลลงหน่วยความจา
4) I/O Read (IOR) เป็ นสัญญาณให้ CPU อ่านข้อมูลจาก I/O
5) I/O Write (IOW) เป็ นสัญญาณให้ CPU เขียนข้อมูลลง I/O
สถาปัตยกรรมของระบบบัส
1) XT-BUS (Extended Technology) หรื อ PC Bus
เป็ นบัสแบบ 8 บิต มีบสั ข้อมูลขนาด 8 เส้น และมีบสั ตาแหน่งขนาด 20 เส้น สามารถอ้างอิง
ตาแหน่งในหน่วยความจาได้ 1 MB โดย IBM ได้นาไปใช้กบั IBM PC (XT) ซึ่งใช้ CPU 8088 CPU ขนาด 8
บิต โดยระบบบัสแบบ PC Bus นี้มีความกว้างของบัสเป็ น 4.77 MHz และยังสามารถส่งถ่ายข้อมูลด้วย
ความเร็วสูงสุดที่ 2.38 MB ต่อวินาที
2) ATIBUS (Advance Technology) หรื อ ISA BUS (Industry Standard Architecture Bus)
เป็ นบัสแบบ 16 บิต มีบสั ข้อมูลขนาด 16 เส้น และมีบสั ตาแหน่ง 24 เส้น ทาให้สามารถอ้างอิง
ตาแหน่งในหน่วยความจาได้ 16 MB บริ ษทั IBM ได้นาไปใช้กบั IBM-PC/AT ที่ใช้ CPU 80286 ซึ่งเป็ น
CPU ขนาด 16 บิต สามารถส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วสู งสุด 8 MB ต่อวินาที
3) MCA BUS (Micro Channel Architecture Bus)
บริ ษทั IBM ได้ออกมาตรฐานระบบบัสของตนใหม่ เรี ยกว่า MICRO CHANNEL
AECHITECTURE หรื อ MCA เพื่อนามาใช้กบั เครื่ องไมโครคอมพิวเตอร์รุ่น PS/2 เป็ นบัสที่สนับสนุน
บัสข้อมูลทั้ง 16 บิต และ 32 บิต มีบสั ตาแหน่ง 32 เส้น ทาให้สามารถอ้างอิงหน่วยความจาได้ถึง 4 GB
ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลได้สูงสุดถึง 20 MB ต่อวินาที และเพิ่มคุณสมบัติในการรู้จกั อุปกรณ์แบบ
อัตโนมัติ (Plug and Play) แต่ไม่สามารถใช้ร่วมกับ ISA Bus ได้
จากการที่วิศวกรของ IBM มองในจุดที่แตกต่างจากคนอืน่ ๆ ทัว่ ไป เพราะแต่เดิมนั้น IBM จับ
ตลาด เมนเฟรม (Mainframe) มาก่อน ทาให้วิศวกร IBM ถนัดกับเมนเฟรมมากกว่า ทาให้วิศวกรเหล่านั้น
มองว่าคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ควรจะทางานแบบหลาย ๆ งาน (Task) พร้อม ๆ กันได้ (Multiple tasks)
ประกอบกับ IBM ต้องการที่จะให้ภาพพจน์ Mainframe ของตน ดูมีประสิ ทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์แบบ
ตั้งโต๊ะจึงไม่ค่อยได้เพิ่มหรื อเปลี่ยนแปลงขีดความสามารถให้กบั ระบบบัสใหม่ให้เด่นกว่าเดิมมากนัก
4) EISA BUS (Extended Industry Standard Architecture Bus)
EISA BUS เกิดจากการพัฒนาระบบของ PC AT bus ในปี 1991 บริ ษทั อินเทลได้ผลิต EISA
chip set ซึ่งรวมเอา 82358 Bus controller 82357 Integrated System Peripheral และ 82355 Bus Master
Interface Controller เข้าด้วยกัน เมื่อครั้งที่ IBM ทาการขยาย จาก PC bus ไปสู่ PC AT bus โดยการเพิม่
บัสข้อมูล บัสตาแหน่ง และบัสควบคุมลงไป ผูอ้ อกแบบได้ทาการออกแบบให้มีความเข้ากันได้กบั ของเดิม
เช่น ผูใ้ ช้สามารถใช้กบั อุปกรณ์ที่เป็ นของ PC ที่เป็ น 8 บิต ได้ EISA bus นั้นได้ถูกออกแบบให้ขยายจาก PC
AT ขึ้นมาโดยมีคุณสมบัติ คือ เป็ นแบบ 32 บิต สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ดว้ ยความเร็ว 33 MB ต่อวินาที และ
มีคุณสมบัติในการรู้จกั อุปกรณ์แบบอัตโนมัติ (Plug and Play) ต่อมาได้พฒั นาเป็ น EISA-2 ซึ่งสามารถส่ง
ถ่ายข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงสุดที่ 132 เมกะไบต์ต่อวินาที และสามารถใช้งานร่ วมกับ ISA Bus ได้
5) VL BUS (VESA LOCAL BUS)
เมื่ อ คราวที่ Compaq ได้เ ปิ ดตัว Deskpro 386 นั้น ทาง Compaq ได้แ ยกสั ญ ญาณนาฬิ กาของ
หน่วยความจาหลัก บัส และ CPU ออกจากกัน ซึ่ ง Compaq ได้เปิ ดตัวระบบบัสใหม่ของตนไปด้วยเพราะ
หน่วยความจาหลักของเครื่ องนี้ จะอยู่บน slot ขนาด 32 bit ซึ่ งออกแบบมาเฉพาะของ Compaq เท่านั้น ซึ่ ง
เป็ นจุดเริ่ มต้นให้ผผู ้ ลิตแต่ละบริ ษทั เริ่ มหันไปออกแบบและผลิตระบบบัส ที่เป็ นมาตรฐานของตนเองขึ้นมา
ระบบบัสเหล่านี้ แต่เดิมเรี ยกว่าเป็ น Private Bus เพราะใช้เป็ นการส่ วนตัวเฉพาะบริ ษทั เท่านั้น
แต่ตอ่ มาก็เรี ยกว่าเป็ น Local Bus เพราะใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกับ CPU ไม่ตอ้ งพึ่งวงสัญญาณนาฬิกาพิเศษ
แยกออกจาก CPU ซึ่ ง จะท าให้ ส ามารถใช้ สั ญญาณนาฬิ กาเดี ย วกัน กับ CPU ในขณะนั้น ได้ ซึ่ ง ก็ มัก จะ
นามาใช้กบั หน่วยความจาหลัก เพื่อเพิ่มประสิ ทธิภาพโดยรวมของระบบ แต่ก็มี Card แสดงผลอีกชนิดหนึ่งที่
ต้องการความไวสูง เช่น Display Card ที่มีการเข้าถึงและส่งถ่ายข้อมูล ระหว่าง CPU กับ Display Card ได้เร็ว
แล้ว ก็ช่วยลดปั ญหาเรื่ อง Refresh Rate ต่า เพราะ CPU จะทาการประมวลผลและนามาแสดงผลบนจอภาพ
ยิ่งหากว่ามีการใช้ mode resolution ของ จอภาพสู ง ๆ และเป็ น mode graphics ด้วยแล้ว CPU ต้องทาการส่ ง
ถ่ายข้อมูลให้เร็ วขึ้น เพื่อให้ภาพที่ได้ไม่กระตุก และไม่กระพริ บ (Refresh Rate ต่าเป็ นเหตุให้จอกระพริ บ)
เนื่องจากระบบ Local Bus นั้นจะช่วยในการส่งผ่าน และเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว จึงได้มีบริ ษทั นาระบบ Local
Bus มาใช้กบั Display Card ด้วย โดยบริ ษทั แรกที่นามาใช้และเปิ ดตัวอย่างเป็ นทางการ คือ NEC ซึ่ งใช้กับ
NEC Powermate (ในปี 1991) และต่อ ๆ มาผูผ้ ลิตรายอื่น ๆ ก็ได้พยายามเลียนแบบ และได้ออกแบบระบบ
Local Bus ของตน ซึ่ง Card ของแต่ละบริ ษทั ก็นาเอาไปใช้กบั บริ ษทั อื่นไม่ได้ ทาให้มีการกาหนดมาตรฐาน
ระบบ Bus นี้ ขึ้ น มา โดยกลุ่ ม นั้ น ชื่ อ Video Electronics Standards Association หรื อ VESA และได้เ รี ย ก
มาตรฐานนั้นว่าเป็ น VESA Local Bus หรื อ สั้น ๆ ว่า VL Bus ในปี 1992
ระบบ VL Bus นั้นสามารถใช้สัญญาณนาฬิกา ได้สูงถึง 50 MHz ทั้งยังสนับสนุนเส้นทางข้อมูล
ทั้ง 32 bit และ 64 bit รวมถึงอ้างตาแหน่ งหน่ วยความจาได้สูงถึง 4 GB อีกด้วย แต่อ ย่างไรก็ตาม VLBus
ไม่ใช่สถาปัตยกรรมที่ดีนัก เพราะไม่มีเอกลักษณ์หรื อคุณสมบัติพิเศษนอกเหนือไปจาก ISA มากนัก เพราะ
จะเป็ นการเพิ่มขีดความสามารถให้กบั ISA มากกว่าที่จะเป็ นการพัฒนาความสามารถให้กบั ISA เนื่ องจาก
ยังคงให้ CPU เป็ นตัวควบคุมการทางาน ใช้ Bus Mastering ไม่ได้ และยังไม่สามารถปรับแต่งค่าต่าง ๆ ผ่าน
ทางซอฟต์แวร์ได้ จากจุดอ่อนตรงจุดนี้ ทาให้อินเทลได้พฒั นาระบบ Local Bus ของตนขึ้นมานัน่ เอง
6) PCI BUS (Peripheral Component Interconnect)
PCI Bus หรื อ Peripheral Computer Interconnect เป็ น Local Bus อีกแบบหนึ่ งที่พฒั นาขึ้นโดย
อินเทล ในเดือนกรกฎาคม ปี 1992 โดยที่แยกการควบคุมของระบบบัส กับ CPU ออกจากกัน และส่งข้อมูล
ผ่านทางวงจรเชื่อม (Bridge Circuit) ซึ่งจะมีชิปเซตที่คอยควบคุมการทางานของระบบบัสต่างหาก โดยที่ชิป
เซตที่ควบคุมนี้ จะมีลกั ษณะเป็ น Processor Independent คือ ไม่ข้ ึนกับตัว CPU แรกเริ่ มที่เปิ ดตัวนั้น PCI จะ
เป็ นบัสแบบ 32 bit ที่ทางานด้วยความเร็ ว 33 MHz ซึ่ งสามารถให้อตั ราเร็ วในการส่ งผ่านข้อมูลถึง 133 MB
ต่อวินาที แสดงดังรู ปที่ 4 และ 5
ต่อมา เมื่ออินเทลเปิ ดตัว CPU ใน Generation ที่ 5 ของตน Intel Pentium ซึ่งเป็ น CPU ขนาด 32
บิต ทางอินเทลได้ทาการกาหนดมาตรฐาน ของ PCI ใหม่ เป็ น PCI 2.0 ในเดือนกรกฎาคม 1993 ซึ่ง PCI 2.0
มีความกว้างของเส้นทางข้อมูลถึง 64 บิต ซึ่ งหากใช้งานกับการ์ ด 64 บิต แล้ว จะสามารถให้อตั ราเร็ วในการ
ส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 266 MB ต่อวินาที

รู ปที่ 4 PCI slot และ ISA slot

จุดเด่นของ PCI ที่เห็นได้ชัดนอกเหนื อไปจากข้างต้น ก็ยงั มีเรื่ องของ Bus Mastering ซึ่ ง PCI
นั้นสามารถทาได้เช่นเดียวกับ EISA และ MCA แล้ว Chipset ที่ใช้เป็ นตัวควบคุมการทางาน ก็ยงั สนับสนุน
ระบบ ISA และ EISA อีกด้วย ซึ่งก็สามารถทาให้ผลิตแผงวงจรหลักที่มีท้งั Slot ISA, EISA และ PCI รวมกัน
ได้ นอกจากนั้นยังสนับสนุนระบบ PlughandhPlay (เป็ นมาตรฐานที่พฒ ั นาในปี 1992 ที่กาหนดให้ Card
แบบ PlughandhPlay นี้ จะไม่มี Dip switch หรื อ Jumper เลย ทุกอย่าง ทั้ง IRQ,DMA หรื อ Port จะถูกกาหนด
ไว้แล้ว แต่เราสามารถเลือก หรื อ เปลี่ยนแปลงได้จาก Software)

รู ปที่ 5 ICI 64 Bit (วงสี เหลือง) และ PCI 32 Bit (วงสี แดง)
7) AGP BUS (Accelerated Graphics Port)
ในกลางปี 1996 เมื่อทางอินเทลได้ทาการเปิ ดตัว Intel Pentium II ซึ่ งพร้ อ มกันนั้นได้ทาการ
เปิ ดตัวสถาปัตยกรรมที่ชวยเพิ่มประสิ ทธิภาพของหน่วยแสดงผลด้วยนัน่ คือ Accelerated Graphics Port หรื อ
AGP ซึ่งได้เปิ ดตัวชิปเซตที่สนับสนุนการทางานนี้ดว้ ย คือ 440LX (ซึ่งแน่นอนว่าชิปเซตที่ออกมาหลังจากนี้
จะสนับสนุนการทางาน AGP ด้วย AGP นั้น จะมีการเชื่อมต่อกับชิปเซตของระบบแบบ Point-to Point ซึ่ ง
จะช่วยให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่าง Card AGP กับชิปเซตของระบบได้เร็วขึ้นและยังมีเส้นทางเฉพาะสาหรับ
ติดต่อกับหน่วยความจาหลักของระบบ เพื่อใช้ทาการ Render ภาพแบบ 3D ได้อย่างรวดเร็ วอีกด้วย จากเดิม
Card แสดงผล แบบ PCI นั้น จะมีปัญหาเรื่ องของหน่วยความจาบน Card เพราะเมื่อต้องการใช้งาน ด้านการ
Render ภาพ 3 มิติ ที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ จาเป็ นต้องมีการใช้หน่วยความจาบน Card นั้นมาก ๆ เพื่อรองรับ
ขนาดของพื้นผิว (Texture) ที่เป็ นองค์ประกอบสาคัญของงาน Render เมื่อต้องใช้หน่วยความจามาก ๆ ราคา
ก็ยิ่งแพง ดังนั้นทาง Intel จึงได้ทาการคิดค้นสถาปัตยกรรมใหม่เพื่องานด้าน Graphics นี้ โดยเฉพาะ AGP จึง
ได้ถือกาเนิ ดขึ้นมา AGP นั้นจะมี mode ในการ render อยู่ 2 แบบ คือ Local Texturing และ AGP Texturing
โดยที่ Local Texturing นั้น จะทาการ copy หน่ วยความจาของระบบไปเก็บไว้ที่เฟรมบัฟเฟอร์ ของ Card
(หน่วยความจาบนตัว Card) จากนั้นจงทาการประมวลผล โดยดึงข้อมูลจากเฟรมบัฟเฟอร์ บน Card นั้นอีกที
ซึ่ ง วิ ธี ก ารนี้ เ ป็ นวิ ธี การที่ ใ ช้ บนระบบ PCI ด้ว ย วิ ธี น้ ี จะพึ่ ง ขนาดของหน่ ว ยความจ าบน Card มาก APG
Texturing นั้น เป็ นเทคนิคใหม่ที่ช่วยลดปริ มาณของหน่ วยความจา หรื อ เฟรมบัฟเฟอร์บน Display Card ลง
ได้มาก เพราะสามารถทาการใช้งานหน่วยความจาของระบบให้เป็ นเฟรมบัฟเฟอร์ ได้เลย โดยไม่ ตอ้ งดึง
ข้อมูลมาพักไว้ที่เฟรมบัพเฟอร์ของ Card โดยปกติแล้ว AGP จะทางานที่ความเร็ว 66 MHz ซึ่งแม้ว่าระบบจะ
ใช้ FSB เป็ น 100 MHz แต่มันยังคงทางานที่ 66 MHz (ซึ่ งตรงจุดนี้ Mainboard บางรุ่ น บางยี่ห้อ สามารถ
ปรั บ แต่ ง ค่ า นี้ ได้ แต่ ค วรค านึ ง ถึ ง ขี ด จ ากัด ของ Card และอุ ป กรณ์ อื่ น ๆ ด้ ว ย) ซึ่ งใน mode ปกติ จ ะมี
ความสามารถแทบจะเหมือนกับ PCI แบบ 66 MHz เลย โดยจะมีอตั ราการส่ งถ่ายข้อมูลที่สูงถึง 266 M/s และ
นอกจากนี้ยงั สามารถทางานได้ท้งั ขอบขาขึ้นและขอบขาลงของ 66 MHz จึงเท่ากับว่ามัน ทางาน ที่ 133 MHz
ซึ่งจะชวยเพิ่มอัตราการส่งถ่ายข้อมูลได้สูงถึง 532M/s (Card ที่ใช้ และ chipset ที่ใช้ตอ้ งสนับสนุนการทางาน
แบบนี้ ดว้ ย) ซึ่ งเรี ยก mode นี้ ว่า mode2X และ mode ปกติว่าเป็ น mode 1X สาหรับความเร็ วในการส่ งถ่า ย
ข้อมูลนั้น จะขึ้นอยู่กบั ชนิ ดของหน่ วยความจาหลักด้วย ถ้าหน่วยความจาหลักเป็ นชนิ ดที่เร็ วจะยิ่งชวยเพิ่ม
อัตราเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลมากขึ้น ดังนี้
EDO DRAM หรื อ SDRAM PC 66 ได้ 528 MB/s
SDRAM PC 100 ได้ 800 MB/s
DRDRAM ได้ 1.4 GB/s
อีกสาเหตุหนึ่งที่ระบบบัสแบบ AGP ทาได้ดีกว่า PCI เพราะเป็ น Slot แบบเอกเทศ ไม่ตอ้ งไปใช้
Bandwidth ร่ วมกับใคร แสดงดังรู ปที่ 6 (เพราะเครื่ อง ๆ หนึ่ งมี Display Card เพียงตัวเดี ยวก็เพียงพอแล้ว
ดังนั้น ในแผงวงจรหลักจึ งมี Slot AGP เพียง Slot เดี ยว) ในปั จจุบัน ระบบบัสแบบ AGP ได้พฒ
ั นามาถึง
AGP 4X แล้ว ซึ่งช่วยให้เพิ่มอัตราการส่งผ่านข้อมูลได้สูงขึ้น อีกเท่าตัวจาก 2X

รู ปที่ 6 แผนภาพ AGP BUS


ทุกวันนี้การใช้งานคอมพิวเตอร์ โดยทัว่ ไปนั้นจะใช้งานด้านกราฟิ กกันเป็ นหลัก อย่างน้อยที่สุด
ระบบปฏิบตั ิการที่ใช้โดยทัว่ ไปส่ วนใหญ่จะเป็ นในแบบ Graphical User Interface ( GUI ) จะมีบางแค่ส่วน
ของ UNIX เช่ น Linux หรื อ Solaris เป็ นต้น ในรุ่ นใหม่ ๆ นั้นจะใช้เป็ น GUI (เช่ น Open Win หรื อ CDE)
ดังนั้น เรี ยกได้ว่า ผูใ้ ช้งานจะมีการใช้งานด้านกราฟิ กทุกครั้งของการเปิ ดเครื่ อง หากใช้งานเพื่อ เล่ นเกม
โดยเฉพาะเกม 3 มิติ (3D) จะต้องใช้งานด้านกราฟิ ก และแอนิเมชันสูง ซึ่งหน้าที่การทางานเหล่านี้ เพื่อให้ได้
ผลลัพธ์ออกมาที่หน้าจอให้ผูใ้ ช้พอใจนั้นมาจากหน่ วยประมวลผลด้านกราฟิ ก ซึ่ ง Graphics Card ที่ใช้บน
เครื่ องคอมพิวเตอร์ โดยทัว่ ไป สามารถแบ่งออกได้ 3 แบบคือ
1) Onboard คือมีการรวมเอาหน่ วยประมวลผลด้าน Graphics และส่ วนควบคุมหน่ วยความจา
ของ Graphics เข้าไว้บนแผงวงจรหลัก
2) Card PCI โดยการเสี ยบเข้ากับ Slot แบบ PCI
3) Card AGP โดยการเสี ยบเข้ากับ Slot เฉพาะ สาหรับงานด้าน Graphicsโดยเฉพาะ นั่นคือ
AGP หรื อ Accelerated Graphics Port แสดงดังรู ปที่ 7

รู ปที่ 7 แผงวงจรหลักที่มี Interface แบบ AGP 2.0


8) USB (Universal Serial Bus)
USB คือ พอร์ต หรื อช่องทางในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กบั อุปกรณ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็ น
Printer, Modem, Mouse, Keyboard, Digital Camera เป็ นต้น แสดงดังรู ปที่ 8 พอร์ต USB นั้นนับว่าเป็ นระบบ
ที่ทนั สมัยรองลงมาจาก Firewire เนื่ องจากรองรับอุปกรณ์ได้มากขึ้น และง่ายต่อการติดตั้ง มีความสามารถ
รองรับ Plug and Play จึงทาให้ USB เป็ นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบนั โดย USB มีคุณสมบัติดงั ต่อไปนี้
1) ลดข้อจากัดของอุปกรณ์ตอ่ พ่วงโดยมากขึ้นถึง 127 อุปกรณ์ในคอมพิวเตอร์เครื่ องเดียว
2) Hot Plug สนับสนุ นการต่อ ถอดออก และเซตอุปกรณ์ที่ติดต่ออยู่โดยไม่จาเป็ นต้อง boot
เครื่ องใหม่
3) สามารถจ่ายไฟฟ้าขนาด 5 Volt ให้แก่อุปกรณ์ที่ตอ่ พ่วงกับ USB
4) มี MODE การทางานแบบ Suspend เพื่อช่วยในการประหยัดพลังงาน
5) สามารถกาหนดค่าตาแหน่งแอดเดรสของอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ
6) USB มีคอนเนคเตอร์ ที่เป็ นแบบเฉพาะ ทาให้ช่วยป้องกันความผิดพลาดในเรื่ องของการต่อ
อุปกรณ์ผิดประเภท
ในปั จจุบนั USB ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่ องถึง 3 รุ่ น โดยแต่ละรุ่ นถูกเพิ่มความสามารถ
และความเร็วในการรับส่งข้อมูลลงไป
1) USB 1.1 ความเร็ วในการรับข้อมูล 1.5-12 Mb/s ความเร็ วในการส่ งข้อมูล 0.19-1.5 Mb/s
แรงดันไฟฟ้า 5V 0.5A
2) USB 2.0 ความเร็ ว ในการรั บ ข้ อ มู ล 480 Mb/s ความเร็ ว ในการส่ ง ข้ อ มู ล 60 Mb/s
แรงดันไฟฟ้า 5V 0.5A
3) USB 3.0 ความเร็วในการรับข้อมูล 5 Gb/s ความเร็วในการส่งข้อมูล 500 Mb/s แรงดันไฟฟ้า
5V 0.5A

รู ปที่ 8 พอร์ตเชื่อมต่อ USB 2.0 และ USB 3.0

You might also like