You are on page 1of 35

1

โลกและการเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างโลก
การกำเนิดโลก
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว โดยเกิดจากกลุ่มแก๊สและ
ฝุ่นผงในอวกาศที่มีการควบแน่นจนเป็นก้อน ผิวโลกในช่วงนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร้อนจัดต่อมาเย็นตัวลงจน
เกิดการแข็งตัว บรรยากาศของโลกในสมัยแรกยังไม่มีแก๊สออกซิเจน ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยแก๊สเฉื่อย นอกจากนี้
ผิวโลกยังไม่มีน้าในสภาพของเหลว ความรู้ในปัจจุบันยอมรับว่า โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 3 ในจานวน 8 ดวงของ
ระบบสุริยะ ซึ่งมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าการศึกษาดาวเคราะห์ดวงอื่นทำให้เรา
อธิบายโลกได้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ช่วยให้ศึกษาได้ว่า โลกและดาวศุกร์มีขนาดพอ ๆ กัน ถือว่าเป็นพี่น้องกัน แต่ดาว
ศุกร์ไม่มีสิ่งมีชีวิต จากการสำรวจโดยใช้ดาวเทียมพบว่า ดาวศุกร์มีความร้อนสูงถึง 500 องศาเซลเซียส สภาพว่าง
เปล่า ไม่มีน้ำ ไม่มีทะเล และจากการที่ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก จึงทาให้น้ำแตกตัวเป็นไฮโดรเจน และ
ออกซิเจน จึงเกิดทะเลไม่ได้ ส่วนดาวอังคาร อุณหภูมิประมาณ -60 องศาเซลเซียส สภาพแห้งแล้ง พื้นผิวปรุ
พรุนไปด้วยรอยถูกอุกาบาตชน ลักษณะเหมือนพื้นผิวดวงจันทร์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ดาวพุธร้อนมาก อุณหภูมิ 400
องศาเซลเซียส แห้งแล้งมาก สิ่งมีชีวิตอยู่ไม่ได้เช่นกัน ส่วนโลกเรานั้นอุณหภูมิเฉลี่ย 15 องศาเซลเซียส อยู่ไกลจาก
ดวงอาทิตย์พอสมควรที่น้ำจะอยู่ในสภาพของเหลวได้
โครงสร้างโลกและส่วนประกอบของโลก

นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามหาวิธีการต่างๆ ที่จะศึกษาโครงสร้างโลกทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยพยายาม


ใช้หลักฐานต่างๆ ที่สามารถค้นพบได้ รวมทั้งใช้ทฤษฎี หลักการทางวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ และ เทคโนโลยีที่
ทันสมัย เพื่อจะตอบข้อสงสัยดังกล่าว ในปัจจุบันมนุษย์มีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีสาหรับการศึกษาโครงสร้างของโลก
2

โดย ทางตรง และในขณะนี้ได้ศึกษาจากหลุมเจาะสำรวจเพื่อเก็บตัวอย่างหิน ซึ่งหลุมที่เจาะสำรวจที่ลึกที่สุดใน


ปัจจุบันเจาะได้เพียงในระดับความลึก 12.3 กิโลเมตร เท่านั้น
การแบ่งโครงสร้างโลก
1. การแบ่งโครงสร้างโลกจากการศึกษาส่วนประกอบทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีของหิน
49 .

รวมทั้งสารต่างๆ ที่อยู่ภายในโลก
2

องค์ประกอบทางกายภาพของโครงสร้างภายในของโลก

องค์ประกอบทางเคมีของโครงสร้างภายในของโลก
2
3

แบ่งได้เป็น
1. ชั้นเปลือกโลก (Crust)
เป็นชั้นนอกสุดของโลกที่มีความหนาประมาณ 60 – 70 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นชั้นที่บางที่สุดเมื่อเปรียบกับ
ชั้นอื่นๆ เสมือนเปลือกไข่ไก่หรือเปลือกหัวหอม เปลือกโลกประกอบไปด้วยแผ่นดินและแผ่นน้ำ ซึ่งเปลือกโลกส่วนที่
บางที่สุดคือส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร ส่วนเปลือกโลกที่หนาที่สุดคือเปลือกโลกส่วนที่รองรับทวีปที่มีเทือกเขาที่สูงที่สุด
อยู่ด้วย นอกจากนี้เปลือกโลกยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ
* ชั้นที่หนึ่ง: ชั้นหินไซอัล (sial) เป็นเปลือกโลกชั้นบนสุด ประกอบด้วยแร่ซิลิกาและอะลูมินาซึ่งเป็น
หินแกรนิตชนิดหนึ่ง สำหรับบริเวณผิวของชั้นนี้จะเป็นหินตะกอน ชั้นหินไซอัลนี้มีเฉพาะเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีป
เท่านั้น ส่วนเปลือกโลกที่อยู่ใต้ทะเลและมหาสมุทรจะไม่มีหินชั้นนี้
* ชั้นที่สอง: ชั้นหินไซมา (sima) เป็นชั้นที่อยู่ใต้หินชั้นไซอัลลงไป ส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ประกอบด้วยแร่
ซิลิกา เหล็กออกไซด์และแมกนีเซียม ชั้นหินไซมานี้ห่อหุ้มทั่วทั้งพื้นโลกอยู่ในทะเลและมหาสมุทร ซึ่งต่างจากหินชั้น
ไซอัลที่ปกคลุมเฉพาะส่วนที่เป็นทวีป และยังมีความหนาแน่นมากกว่าชั้นหินไซอัล
2. ชั้นเนื้อโลก (Mantle)
เป็นชั้นที่อยู่ถัดลงไปจากชั้นเปลือกโลก ส่วนมากเป็นของแข็ง มีความลึกประมาณ 2,900 กิโลเมตร นับจาก
ฐานล่างสุดของเปลือกโลกจนถึงตอนบนของแก่นโลก ชั้นเนื้อโลกส่วนบนเป็นหินที่เย็นตัวแล้วและบางส่วนมีรอยแตก
เนื่องจากความเปราะ ชั้นเนื้อโลกส่วน กับชั้นเปลือกโลก รวมตัวกันเรียกว่า “ธรณีภาค” (Lithosphere) ซึ่งมาจาก
รากศัพท์ภาษากรีก แปลว่าชั้นหิน ชั้นธรณีภาคมีความหนาประมาณ 100 กิโลเมตรนับจากผิวโลกลงไปชั้นเนื้อโลก
ถัดลงไปที่ความลึก 100 – 350 กิโลเมตร เรียกว่าชั้นฐานธรณีภาค (Asthenosphere) เป็นชั้นของหินหลอมละลาย
ร้อนหรือ หินหนืดที่เรียกว่า แมกมาซึ่งหมุนวนอยู่ภายในโลกอย่างช้า ๆ ชั้นเนื้อโลกที่อยู่ถัดลงไปอีกเป็นชั้นล่างสุดอยู่
ที่ความลึกตั้งแต่ 350 – 2,900 กิโลเมตร เป็นชั้นที่เป็นของแข็งร้อนแต่แน่นและหนืดกว่า ตอนบนมีอุณหภูมิสูง
ตั้งแต่ประมาณ 2,250 – 4,500๐C ชั้นเนื้อโลกตอนบนมีอุณหภูมิและความกดดันน้อยกว่าแก่นโลกชั้นบน และเป็น
ส่วนหนึ่งของชั้นธรณีภาคมีสภาพเป็นพลาสติก

3. ชั้นแก่นโลก (Core)
ความหนาแน่นของดาวโลกโดยเฉลี่ยคือ 5,515 กก./ลบ.ม. ทำให้เป็นดาวเคราะห์ที่หนาแน่นที่สุดในระบบ
สุริยะ แต่ถ้าวัดเฉพาะความหนาแน่นเฉลี่ยของพื้นผิวโลกแล้ววัดได้เพียงแค่ 3,000 กก./ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิด
4

ข้อสรุปว่า ต้องมีวัตถุอื่นๆ ที่หนาแน่นกว่าอยู่ในแก่นโลกแน่นอน ระหว่างการเกิดขึ้นของโลก ประมาณ 4.5 พันล้าน


ปีมาแล้ว การหลอมละลายอาจทำให้เกิดสสารที่มีความหนาแน่นมากกว่าไหลเข้าไปในแกนกลางของ โลก ในขณะที่
สสารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าคลุมเปลือกโลกอยู่ ซึ่งทำให้แก่นโลก (core) มีองค์ประกอบเป็นธาตุเหล็กถึง 80%,
รวมถึงนิกเกิลและธาตุที่มีน้ำหนักที่เบากว่าอื่นๆ แต่ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นสูงอื่นๆ เช่นตะกั่วและยูเรเนียม
มีอยู่น้อยเกินกว่าที่จะผสานรวมเข้ากับธาตุที่เบากว่าได้ และทำให้สสารเหล่านั้นคงที่อยู่บนเปลือกโลก แก่นโลกแบ่ง
ได้ออกเป็น 2 ชั้นได้แก่
- แก่นโลกชั้นนอก (outer core) มีความหนาจากผิวโลกประมาณ 2,900 – 5,000 กิโลเมตร ประกอบด้วย
ธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพที่หลอมละลาย และมีความร้อนสูง มีอุณหภูมิประมาณ 6200 – 6400 C มีความ
หนาแน่นสัมพัทธ์ 12.0 และส่วนนี้มีสถานะเป็นของเหลว
- แก่นโลกชั้นใน (inner core) เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี มีรัศมีประมาณ 1,000 กิโลเมตร มีอุณหภูมิ
ประมาณ 4,300 – 6,200 และมีความกดดันมหาศาล ทำให้ส่วนนี้จึงมีสถานะเป็นของแข็ง ประกอบด้วยธาตุเหล็ก
และนิกเกิลที่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ง มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 17.0
นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งสมมุติฐานว่าสนามแม่เหล็กโลกเกิดขึ้น เนื่องจากการเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกันของ
สารละลายเหลวหนักที่มีธาตุเหล็กและนิกเกิลอยู่ในแก่นโลกชั้นนอก หากสารประกอบที่อยู่ภายในแก่นโลกชั้นนอก
หยุดไหลหมุนวน จะทำให้โลกไร้สนามแม่เหล็กโลกห่อหุ้ม ซึ่งทำให้ได้รับอันตรายจากลมพายุสุริยะและรังสีต่างๆได้
สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในโลกจะสูญเสียการทรงตัว ไม่อาจกำหนดทิศต่างๆ ได้ จะเกิดฟ้าผ่า ฟ้าแลบบ่อยครั้ง

การแบ่งโครงสร้างโลกตามองค์ประกอบทางเคมี

รายละเอียดที่พบ เปลือกโลก เนื้อโลก แก่นโลก


ความหนา 100 km 2,900 km 3,440 km
ความหนาแน่น 2.7 – 3.0 g/cm3 3.3 – 5.7 g/cm3 9.9 – 13.0 g/cm3
องค์ประกอบทางเคมี สารประกอบของซิลิกา สารประกอบแมกนีเซียม เหล็ก นิเกิล และ
และอลูมิเนียมเป็น และเหล็กจำนวนมาก สารประกอบอื่นๆ
ส่วนมาก
ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา หินที่พบบนเปลือกโลก หินแปลกปลอมจากลาวา อุกกาบาตเหล็กที่พบบน
โลก
ข้อมูลที่สนับสนุนการแบ่ง อุกกาบาตที่พบบนโลก อุกกาบาตที่พบบนโลก อุกกาบาตที่พบบนโลก
โครงสร้างโลกแต่ละชั้น ความหนาแน่นของโลก ความหนาแน่นของโลก ความหนาแนของโลก
และทฤษฎีกำเนิดระบบ และทฤษฎีกำเนิดระบบ ทฤษฎีกำเนิดระบบสุริยะ
สุริยะ สุริยะ และสนามแม่เหล็กโลก
5

2. การแบ่งโครงสร้างโลกตามสมบัติเชิงกลโดยใช้สมบัติของคลื่นไหวสะเทือน
สำหรับการศึกษาโครงสร้างภายในของโลกโดยทางอ้อม ได้จากการศึกษาคลื่นไหวสะเทือนที่เกิดจาก
แผ่นดินไหวและจากการทดลองของมนุษย์ การศึกษาโครงสร้างโลกจากคลื่นไหวสะเทือนที่เคลื่อนที่ผ่านโลก คลื่นที่
ใช้ในการวิเคราะห์ คือ คลื่นปฐมภูมิ (Primary waves, P waves) และคลื่นทุติยภูมิ (Secondary waves, S
waves) ซึ่งเป็นคลื่นในตัวกลาง (Body wave) โดยที่คลื่นไหวสะเทือนดังกล่าวมีสมบัติสำคัญ ดังนี้
– คลื่น P สามารถที่ผ่านตัวกลางได้ทุกสถานะ และมีความเร็วมากกว่าคลื่น S
– คลื่น S สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น
คลื่นไหวสะเทือนสามารถบอกสถานะทางธรณีของโลกได้ โดยใช้สมบัติของคลื่นปฐมภูมิที่สามารถเคลื่อนที่
ผ่านตัวกลางทุกสถานะ ดังนั้นจึงเคลื่อนที่ผ่านแก่นโลกชั้นนอกไปยังอีกซีกโลกได้ ส่วนคลื่นทุติยภูมิไม่สามารถ
เคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของเหลวได้ ผลจากการตรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่า
โครงสร้างภายในของโลกแสดงลักษณะเป็นชั้น แต่ละชั้นมีสมบัติทางกายภาพที่แตกต่างกัน คือ ธรณีภาค ฐานธรณี
ภาค มีโซสเฟียร์ แก่นโลก ชั้นนอกและแก่นโลกชั้นใน

1.1 ธรณีภาค (lithosphere) เป็นชั้นนอกสุดของโลก พบว่าคลื่น P และคลื่น S จะเคลื่อนที่ผ่านธรณีภาค


ด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วง 6.4 -8.4 กิโลเมตรต่อวินาที และ 3.7 – 4.8 กิโลเมตรต่อวินาที
ตามลำดับ โดยทั่วไปชั้นนี้มีความลึกประมาณ 100 กิโลเมตร จากผิวโลก ประกอบด้วยหินที่มีสมบัติเป็นของแข็ง
1.2 ฐานธรณีภาค (asthenosphere) เป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วไม่สม่ำเสมอ แบ่งออกได้
เป็น 2 บริเวณ คือ
1.2.1 เขตที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วลดลง (low velocity zone) เป็นบริเวณที่คลื่นไหว
สะเทือน P และ S มีความเร็วลดลง เกิดขึ้นในระดับความลึกประมาณ 100 – 400 กิโลเมตร จากผิวโลก
6

และเนื่องจากบริเวณนี้ประกอบด้วยหินที่มีสมบัติเป็นพลาสติก (อุณหภูมิและความดันบริเวณนี้ทำให้แร่บาง
ชนิดที่อยู่ในหินเกิดการหลอมตัว เล็กน้อย) และวางตัวอยู่ส่วนล่างของธรณีภาค
1.2.2 เขตที่มกี ารเปลี่ยนแปลง (transitional zone) เป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็ว
เพิ่มขึ้นในอัตราที่ไม่สม่ำเสมอ เกิดขึ้นในระดับความลึกประมาณ 400 – 660 กิโลเมตร จากผิวโลก
เนื่องจากหินบริเวณส่วนล่างของฐานธรณีภาคเป็นของแข็งที่แกร่ง และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแร่
1.3 มีโซสเฟียร์ (mesosphere) เป็นชั้นที่อยู่ใต้ฐานธรณีภาค และเป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมี
ความเร็วเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ เนื่องจากหิน หรือสาร บริเวณส่วนล่างของมีโซสเฟียร์มีสถานะเป็นของแข็ง มีความลึก
ประมาณ 660-2,900 กิโลเมตร จากผิวโลก
1.4 แก่นโลกชั้นนอกและแก่นโลกชั้นใน
1.4.1 แก่นโลกชั้นนอก (outer core) เป็นชั้นที่อยู่ใต้มีโซสเฟียร์มีความลึกประมาณ 2,900-5,140
กิโลเมตร จากผิวโลก คลื่น P มีความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ในขณะที่คลื่น S ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านชั้น
ดังกล่าวได้
1.4.2 แก่นโลกชั้นใน (inter core) อยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 5,140 กิโลเมตร จนถึงจุด
ศูนย์กลางของโลก คลื่น P และ S มีอัตราเร็วค่อนข้างคงที่ เนื่องจากแก่นโลกชั้นในเป็นของแข็งที่มีเนื้อ
เดียวกัน
โครงสร้างภายในของโลกแบ่งตามองค์ประกอบทางกายภาพแบ่งได้ 5 ชั้น ได้แก่ ชั้นธรณีภาค
(lithosphere) ชั้นฐานธรณีภาค (asthenosphere) ชั้นมัชฌิมภาค(mesosphere) แก่นโลกชั้นนอก (outer core)
และแก่นโลกชั้นใน (inner core)
โลก ดาวอังคาร ดาวศุกร์ ดาวพุธ ต่างก็มีแกนกลางที่เป็นเหล็กเช่นกัน แต่มีสนามแม่เหล็กเกิดขึ้นเฉพาะโลก
กับดาวพุธเท่านั้น เพราะโลกกับดาวพุธมีแก่นส่วนนอกที่เป็นเหล็กเหลว ซึ่งการไหลหมุนวนของเหล็กเหลวนี้
เองที่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก
7

การแบ่งโครงสร้างโลกตามสมบัติเชิงกล

โครงสร้าง สถานะ ความหนา ข้อมูลคลื่นไหวสะเทือน


ธรณีภาค ของแข็ง 100 km เมื่อคลื่นไหวสะเทือนเคลื่อนที่ผ่านชั้นนี้
จะมีความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ฐานธรณีภาค ของแข็งสภาพพลาสติก 600 km เมื่อคลื่นไหวสะเทือนเคลื่อนที่ผ่านชั้นนี้
จะเกิดการเปลี่ยนแปลง 2 ลักษณะที่
แตกต่างกันใน 2 บริเวณ
มัชฌิมภาค ของแข็ง 2,300 km เมื่อคลื่นไหวสะเทือนเคลื่อนที่ผ่านชั้นนี้
จะมีความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
แก่นโลกชั้นนอก ของเหลว 2,200 km คลื่นทุติยภูมิเคลื่อนที่ผ่านชั้นนี้ไม่ได้
ส่วนคลื่นปฐมภูมิจะมีความเร็วเพิ่มขึ้น
อย่างช้าๆ
แก่นโลกชั้นใน ของแข็ง 1,200 km คลื่นปฐมภูมิมีความเร็วค่อนข้างคงที่

การเปรียบเทียบโครงสร้างตามองค์ประกอบทางเคมีและตามสมบัติเชิงกล

ความลึก
ชั้น ชั้นย่อย สถานะ องค์ประกอบ
(km)
เปลือกโลก(Crust) 0 - 70
ธรณีภาค (Lithosphere) ของแข็ง หิน
เนื้อโลก (Mantle) 70 - 100
ฐานธรณีภาค
100 - 350 ของเหลว หินละลาย(Magma)
(asthenosphere)
350 - 2900 มัชฌิมภาค(mesosphere) หินละลาย(Magma)
แก่นโลกชั้นนอก แก่นโลกชั้นนอก (Outer Core)
2900 - 5100 ของเหลว เหล็ก + นิเกิล
(Outer Core)
แก่นโลกชั้นใน แก่นโลกชั้นใน (Inner Core)
5100 - 6400 ของแข็ง เหล็ก + นิเกิล
(Inner Core)
8

ส่วนประกอบของโลก
1. ธรณีภาค
ชั้นธรณีภาคประกอบไปด้วยชั้นเปลือกโลกและชั้นหินหนืดตอนบน ซึ่งเป็นชั้นนอกสุดของโลกที่มีความแข็ง
และถูกแบ่งตามลักษณะองค์ประกอบทางเคมีโดยมีแนวความไม่ต่อเนื่องของโมโฮเป็นแนวรอยต่อ ธรณีภาควางตัว
อยู่บนชั้นฐานธรณีภาคที่มีความอ่อนตัวกว่า ร้อนกว่า และลึกกว่า รอยต่อระหว่างชั้นธรณีภาคและชั้นฐานธรณีภาค
จะแยกโดยดูจากลักษณะการตอบสนองต่อแรง ชั้นธรณีภาคเป็นชั้นที่มีความแข็งต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานตาม
เวลาทางธรณีและสามารถแตกหักได้ แตกต่างจากชั้นฐานธรณีภาคที่มีความยืดหยุ่นกว่า
ชั้นธรณีภาคแบ่งได้เป็น ธรณีภาคมหาสมุทร มีความสัมพันธ์กับแผ่นมหาสมุทรและรองรับพื้นที่ที่เป็น
มหาสมุทรทั้งหมดของโลก มีความหนาประมาณ 50-100 กิโลเมตร และหนาน้อยมากในบริเวณที่เป็นเทือกเขากลาง
สมุทร และธรณีภาคพื้นทวีป มีความสัมพันธ์กับแผ่นทวีป มีความหนาตั้งแต่ 40-200 กิโลเมตร
2. อุทกภาค
อุทกภาค (hydrosphere) หมายถึง ส่วนที่ห่อหุ้มเปลือกโลกที่เป็นน้ำทั้งหมด ได้แก่ ความชื้นในบรรยากาศ
(atmospheric moisture) หยาดน้ำฟ้า (precipitation) น้ำไหลบ่า (runoff) ความชื้นในดิน (soil moisture) น้ำ
ใต้ดิน (groundwater) แม่น้ำลำธาร (rivers and channels) ทะเลสาบ (lakes) น้ำในมหาสมุทร (oceanic water)
และธารน้ำแข็ง (glacier) อุทกภาคมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอีก 3 ส่วนของโลก ได้แก่ บรรยากาศ
(atmosphere) ชีวมณฑล (biosphere) และธรณีภาค (lithosphere) ส่วนต่าง ๆ ทั้ง 4 ส่วนของโลกนี้มีการกระทำ
ระหว่างกันอย่างใกล้ชิดอยู่ตลอดเวลา
น้ำทั้งหมดในอุทกภาคนี้มีปริมาตรรวมกันทั้งหมดเกือบ 1,500 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร ในจำนวนนี้เป็นน้ำใน
มหาสมุทรหรือน้ำเค็มเกือบร้อยละ 94 ที่เหลืออีกประมาณกว่าร้อยละ 6 เป็นน้ำจืด แหล่งน้ำจืดที่นับว่ามีความสำคัญ
และมีประโยชน์โดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกมากที่สุดคือน้ำใต้ดินซึ่งเป็นแหล่งน้ำจืดที่มีปริมาณมากที่สุดในบรรดา
แหล่งน้ำจืดทั้งหลายและเป็นแหล่งน้ำจืดที่ปลอดจากมลภาวะมากที่สุดอีกด้วย แหล่งน้ำจีดที่มีความสำคัญรองลงมา
คือน้ำผิวดิน(surface water)ได้แก่ หนองบึงทะเลสาบแม่น้ำลำคลองต่างๆซึ่งเป็นแหล่งน้ำจีดที่มีปริมาณน้อยมากเมื่อ
เทียบกับแหล่งน้ำใต้ดิน
ตารางส่วนประกอบของอุทกภาคประเภทของน้ำ ปริมาตรทั้งหมด(x 1,000 กม.3) ปริมาตรทั้งหมดคิด
มหาสมุทร 1,370,323 93.93
น้ำใต้ดิน 60,000 4.1
น้ำใต้ดินในส่วนที่มีการถ่ายเทได้ 4,000 0.27
ธารน้ำแข็ง 24,000 1.65
ทะเลสาบ 230 0.016
ความชื้นในดิน 83 0.005
ไอน้ำในบรรยากาศ 14 0.001
แม่น้ำต่างๆ 1.2 0.0001
รวม 1,454,651 100
9

3. บรรยากาศ
บรรยากาศ เป็นชื่อเรียกขององค์ประกอบของสสาร อันประกอบด้วย ก๊าซไนโตรเจน ออกซิเจน และก๊าซ
อื่น ๆ โดยเป็น อากาศที่ห้อหุ้มโลก มีขอบเขตนับจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 1000 กม.
องค์ประกอบ
3.1 ก๊าซไนโตรเจน (N2)
มีคุณสมบัติไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารอื่น แต่เมื่ออะตอมเดี่ยวของมันแยกออกมา รวมเข้าเป็นองค์ประกอบ
ของสารอื่น เช่น สารไนเตรท จะมีบทบาทสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต
3.2 ก๊าซออกซิเจน (O2)
เป็นผลผลิตจากการสังเคราะห์แสงของพืช สาหร่าย แพลงตอน และสิ่งมีชีวิต มีความว่องไวในการทำ
ปฏิกิริยากับสารอื่น และช่วยให้ไฟติด ถ้าปริมาณของออกซิเจนในอากาศมีมากกว่า 35% โลกทั้งดวงจะลุกไหม้ติดไฟ
ดังนั้นสิ่งมีชีวิตบนโลกจึงวิวัฒนาการให้มีสัตว์ ซึ่งใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญธาตุอาหาร และคายก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ออกมา
3.3 ก๊าซอาร์กอน (Ar)
เป็นก๊าซเฉื่อยไม่ทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น เกิดขึ้นจากการสลายตัว (ซากกัมมันตภาพรังสี) ของธาตุ
โปแตสเซียมภายในโลก
3.4 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
มีอยู่ในบรรยากาศเพียง 0.036% แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกมีคุณสมบัติใน
การดูดกลืนรังสีอินฟราเรดซึ่งแผ่ออกจากโลก ทำให้โลกอบอุ่น อุณหภูมิของกลางวันและกลางคืนไม่แตกต่าง
จนเกินไป นอกจากนั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังเป็นแหล่งอาหารของพืช

ชั้นบรรยากาศ
แบ่งชั้นบรรยากาศได้เป็น 5 ชั้น ดังนี้
1. โทรโพสเฟียร์ (troposphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงจากพื้นดินขึ้นไปประมาณ 10 กม. อุณหภูมิจะ
ค่อยๆลดลงตามระดับความสูง และเป็นชั้นที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศด้วย.
2. สตราโทสเฟียร์ (stratosphere) เป็นชั้นที่มีเสถียรภาพต่ำสุด มีความสูงตั้งแต่ 10-50 กม. อุณหภูมิใน
ระดับล่างของชั้นนี้จะคงที่จนถึงระดับความสูง 20 กม. จากนั้นอุณหภูมิจะค่อยๆสูงขึ้น
3. มีโซสเฟียร์ (mesosphere) เป็นช่วงบรรยากาศที่อยู่สูงจากพื้นดินในช่วง 50-80 กม.อุณหภูมิลดลงตาม
ระดับความสูง ตั้งแต่ชั้นแรกถึงชั้นนี้อากาศยังเป็นเนื้อเดียวกันอยู่ ทั้ง 3 ชั้นรวมทั้งหมดเรียกว่า โฮโมสเฟียร์
(homosphere)
4.เทอร์โมสเฟียร์ (thermosphere) เป็นช่วงบรรยากาศที่มีระดับความสูง 80-500 กม. อุณหภูมิจะสูงขึ้น
อย่างรวดเร็ว (เนื่องจากใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น) จนถึงระดับประมาณ 100 กม. จากนั้นอัตราการสูงขึ้นของอุณหภูมิ
จะลดลง อุณหภูมิเฉลี่ยของชั้นนี้คือ 227-1727 องศาเซลเซียส ชั้นนี้ยังมีแก็สที่เป็นประจุไฟฟ้าเรียกว่า ไอออน
สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุบางชนิดได้ เราอาจเรียกชั้นนี้ว่า ไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere) ก็ได้
10

5.เอกโซสเฟียร์ (exosphere) เริ่มตั้งแต่ 500 กม.จากผิวโลกขึ้นไป บรรยากาศชั้นนี้เจือจางมากจนไม่ถือว่า


เป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศ องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียม ไม่มีรอยต่อที่ชัดเจนระหว่าง
บรรยากาศกับอวกาศ มีอุณหภูมิประมาณ 726 องศาเซลเซียส ถึงแม้อุณหภูมิจะสูงแต่เนื่องจากอากาศเบาบางมาก
จึงแทบไม่มีผลต่อยานอวกาศ
4. ชีวภาค
โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่ห้อหุ้มด้วยสิ่งมีชีวิต พื้นดินปกคลุมด้วยพืชพรรณ พื้นผิวมหาสมุทรปกคลุม
ด้วยแพลงตอน การที่โลกอุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตเนื่องจากโลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ในระดับที่เหมาะสม ภาวะ
เรือนกระจกทำให้โลกอบอุ่นจนสามารถมีน้ำได้ทั้งสามสถานะ น้ำและบรรยากาศทำให้เกิดการถ่ายเทพลังงาน ธรณี
แปรสัณฐานทำให้พื้นดินอุดมด้วยธาตุอาหาร สิ่งมีชีวิตก่อตัวขึ้นจากสิ่งแวดล้อม และก็จะมีอิทธิพลในการปรับเปลี่ยน
สิ่งแวดล้อมด้วย
11

กิจกรรมที่ 1
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. เพราะเหตุใดโลกของเราจึงมีความเหมาะสมในการกำเนิดสิ่งมีชีวิต
......................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................
2. หลักเกณฑ์ใดที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแบ่งโครงสร้างของโลก
.............................................................................................................................................................. ........................
.................................................................................................................................................................................
3. จงอธิบายการเกิดสนามแม่เหล็กโลก
......................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
4. จากรูปจงตอบคำถาม
4.1 ส่วนที่เป็นแผ่นดินและน้ำจะอยู่ชั้นอะไร...............................
4.2 ส่วนใดของโลกที่มีความหนาแน่นมากที่สุด..............................
4.3 A คือ..................................
B คือ..................................
C คือ..................................
D คือ..................................

จงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง
1. นักวิทยาศาสตร์ศึกษาโครงสร้างภายในพื้นโลกโดยวิธีใด
ก. สัญญาณภาพผ่านดาวเทียม ข. ซากดึกดำบรรพ์ (Fossil)
ค. คลื่นความสั่นสะเทือนขณะเกิดแผ่นดินไหว ง. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
2. โครงสร้างโลกแบ่งตามลักษณะมวลสารได้ชั้นใหญ่ๆ 3 ชั้น คือ
1

ก. ชั้นเปลือกโลก ใต้เปลือกโลก แก่นโลก


1 ข. ชั้นเปลือกโลก เนื้อโลก ธรณีภาค
ค.ชั้นเปลือกโลก เนื้อโลก แก่นโลก
1 ง. ชั้นเปลือกโลก เนื้อโลก หินหนืด
1 3. เปลือกโลกแบ่งออกได้เป็น 2 บริเวณ คือ
1 ก. เปลือกโลกภาคพื้นทวีป เปลือกโลกภาคพื้นน้ำ ข. เปลือกโลกภาคพื้นดิน เปลือกโลกภาคพื้นน้ำ
1 ค. เปลือกโลกชั้นนอก เปลือกโลกชั้นใน ง. เปลือกโลกภาคพื้นทวีป เปลือกโลกใต้มหาสมุทร

4. เปลือกโลกภาคพื้นทวีป ประกอบด้วยธาตุใดบ้าง
ก. ธาตุซิลิคอน และซิลิกา ข.ธาตุซิลิกอน และอลูมิเนียม
ค. ธาตุเหล็ก และทองแดง ง. ธาตุซิลิคอน และแมกนีเซียม
5. ชั้นเนื้อโลกส่วนบนกับชั้นเปลือกโลกรวมกัน เรียกว่าอะไร
ก. แมนเทิล ข.ธรณีภาค ค. ธรณีภาคพื้นทวีป ง. ธรณีภาคพื้นเปลือกโลก
12

6. หินหลอมละลายในชั้นเนื้อโลกเรียกว่าอะไร
ก. ลาวา ข. แมกมา ค. หินหนืด ง. หินใหม่
7. แก่นโลกประกอบด้วยธาตุใดมากที่สุด
1

ก.ธาตุเหล็กและนิกเกิล
1 ข. ธาตุเหล็กและซิลิคอน
ค. ธาตุซิลิคอนและอลูมิเนียม
1 ง. ธาตุซิลิคอนและแมกนีเซียม
8. ชั้นใดของโลกมีอุณหภูมิสูงที่สุด
1

ก.แมนเทิล
1 ข.แก่นโลก
ค.เปลือกโลกชั้นใน ง.ระหว่างแก่นโลกกับแมนเทิล
9.คำกล่าวใดผิด
1

ก. โลกกำเนิดมาได้ประมาณ 4600 ล้านปี


1 ข. แก่นโลกชั้นนอกเป็นของเหลว
ค. แก่นโลกชั้นในเป็นของแข็ง
1 ง. ทั้งแก่นโลกชั้นนอกและชั้นในต่างเป็นของเหลว
10. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
1 1

ก. ส่วนประกอบของโลกที่อยู่ใต้เปลือกโลกลงไปจะเป็นของเหลวและก๊าซที่ร้อนจัด
11

ข.ส่วนประกอบของโลกส่วนบนสุดและแกนในสุดจะเป็นของแข็ง 11

ค. ส่วนประกอบของโลกส่วนบนสุดเป็นของแข็งถัดลงไปเป็นของเหลวและชั้นในสุดเป็นก๊าซ ร้อนจัด
ง. ส่วนประกอบของโลกส่วนบนสุดเป็นของแข็ง ถัดลงไปเป็นของเหลวและก๊าซและชั้นในสุดเป็นของเหลวหนืด
1
13

การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี
1. ทฤษฎีทวีปเลื่อน (Continental Drift Theory)
ในค.ศ. 1620 ฟรานซิส เบคอน ได้ตั้งข้อสังเกต ถึงการที่สองฟากมหาสมุทรแอตแลนติกมีลักษณะสัณฐาน
วิทยาที่สอดคล้องกันต่อมา P.Placet 1668 พยายามอธิบายว่าสองฟากมหาสมุทรแอตแลนติกน่าจะเชื่อมกันมาก่อน
แต่ยังไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลใดสนับสนุน นอกจากอาศัยลักษณะคล้ายคลึงสอดคล้องกันของชายฝั่งมหาสมุทร
เท่านั้น จากนั้นในปี 1858 Antonio Sniderได้อาศัยข้อมูลชั้นหินในยุค Carboniferous ในทวีปยุโรปและอเมริกา
เหนือมาเชื่อมโยงกันซึ่งสามารถสรุปได้ว่า ก่อนหน้านี้ทวีปทั้งหมดเคยเป็นทวีปผืนเดียวกันมาก่อน แล้วจึงค่อยๆ แยก
ออกจากกันในภายหลัง ในปี 1908 Frank B. Taylor ได้อธิบายถึงของการที่มหาทวีป 2 ทวีปซึ่งเคยวางตัวอยู่ใกล้ขั้ว
โลกเหนือและใต้แยกออกเป็นทวีปเล็กๆ และเคลื่อนที่มาในทิศเข้าหาเส้นศูนย์สูตร นั่นคือมหาทวีปลอเรเซีย
(Laurasia) ซึ่งอยู่ทางเหนือและมหาทวีปกอนด์วานา (Gondwanaland) ซึ่งอยู่ทางใต้ โดยเป็นการเคลื่อนที่ของ
เปลือกโลกไซอัลเท่านั้น
ต่อมาในปี 1910 Alfred Wegene ได้สร้างแผนที่มหาทวีปใหม่ โดยอาศัยรูปร่างแผนที่ของ Snider และตั้ง
ชื่อว่ามหาทวีปพันเจีย ซึ่งถูกล้อมรอบด้วยมหาสมุทรพันธาลาสซา (Panthalassa) แล้วเกิดการแยกออกและ
เคลื่อนที่ไปอยู่ ณ ตำแหน่งที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน โดยขณะเคลื่อนที่ก็เกิดเทือกเขาขึ้น ต่อมา Taylor ได้อธิบายว่ารอย
ชิ้นทวีปที่ขาดหล่นปรากฏเป็นเกาะแก่ง หรือรอยฉีกที่พบเป็นร่องลึกยังปรากฏอยู่บนพื้นมหาสมุทร

49

หลักฐานการเลื่อนไหลของทวีป 49

หลักฐานการเลื่อนไหลของทวีปนั้นมีกว้างขวาง ซากพืชและสัตว์ดึกดำบรรพ์ถูกพบรอบชายฝั่งต่างทวีปกัน
ซึ่งเป็นการอธิบายว่าครั้งหนึ่งทวีปทั้งสองเคยเชื่อมต่อกัน ซากดึกดำบรรพ์ของเมโซซอรัส สัตว์เลื้อยคลานน้ำจืด
ลักษณะคล้ายจระเข้ขนาดเล็กที่พบทั้งในบราซิลและแอฟริกาใต้ เป็นตัวอย่างหนึ่ง ส่วนอีกตัวอย่างหนึ่งนั้นคือ การ
ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์เลื้อยคลานบก ไลโทรซอรัส จากหินอายุเดียวกันในทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา
14

และแอนตาร์กติกา นอกจากนี้ยังมีหลักฐานมีชีวิตอยู่ คือ สัตว์ชนิดเดียวกันที่ถูกพบทั้งสองทวีป เช่น ไส้เดือนดินบาง


ตระกูลพบทั้งในอเมริกาใต้และแอฟริกา ตะกอนธารน้ำแข็งสมัยเพอร์โม-คาร์บอนิเฟอรัสที่กระจัดกระจายอย่าง
กว้างขวางในอเมริกาใต้ แอฟริกา มาดากัสการ์อาราเบีย อินเดีย แอนตาร์กติกาและออสเตรเลียเป็นหนึ่งในชิ้นส่วน
หลักฐานสำคัญของทฤษฎีทวีปเลื่อน ความต่อเนื่องของธารนำแข็ง อนุมานจากริ้วลายขนานธารน้ำแข็งที่หันไปทาง
เดียวกันและหินทิลไลต์ เสนอการมีอยู่ของมหาทวีปกอนด์วานา ซึ่งกลายมาเป็นองค์ประกอบกลางของมโนทัศน์ทวีป
เลื่อน ริ้วลายขนานบ่งชี้ว่าธารน้ำแข็งไหลออกจากเส้นศูนย์สูตรไปยังขั้ว ในพิกัดสมัยใหม่ และสนับสนุนแนวคิดว่า
ทวีปทางใต้เคยอยู่ในสถานที่แตกต่างกันมาก เช่นเดียวกับต่อเนื่องกันมาก่อน
49

หลักฐานทางธรณีวิทยา
49หลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีของเวเกเนอร์คือ
1. รอยต่อของแผ่นธรณีภาค ตามทฤษฎีเพลทเทคโทนิค (plate tectonic) นักธรณีวิทยา แบ่งเปลือก
โลกออกเป็นแผ่น ๆ เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก(Plate) หรือแผ่นธรณีภาค(Lithosphere Plate) แผ่นธรณีภาคขนาด
ใหญ่มีทั้งหมด 6 แผ่น
1.1. แผ่นธรณีภาคยูเรเซีย(Eurasian Plate) รองรับทวีปยุโรป ทวีปเอเชียและพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
1.2 แผ่นธรณีภาคอเมริกา(American Plate) รองรับทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้และพื้นน้ำครึ่งซีก
ตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก
1.3 แผ่นธรณีภาคแปซิฟิก(Pacific Plate) รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก
1.4 แผ่นธรณีภาคอินเดีย – ออสเตรเลีย (India-Australian Plate) รองรับทวีปออสเตรเลีย ประเทศ
อินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศอินเดีย
1.5 แผ่นธรณีภาคแอนตาร์กติก(Antartic Plate) รองรับทวีปแอนตาร์กติกและพื้นน้ำโดยรอบ
1.6 แผ่นธรณีภาคอัฟริกา(African Plate) รองรับทวีปอัฟริกาและพื้นน้ำโดยรอบ
นอกจากนี้ยังมีแผ่นธรณีภาคขนาดเล็กที่แทรกอยู่ระหว่างแผ่นธรณีภาคขนาดใหญ่ อีกหลายแผ่น เช่น แผ่น
ฟิลิปปินส์ แผ่นนาสกา แผ่นคาริบเบียน เมื่อนำภาพแต่ละทวีปในปัจจุบันมาต่อกัน จะมีส่วนที่สามารถต่อกันได้พอดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทวีปอัฟริกากับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ จะต่อกันได้อย่างพอดี ซึ่งเป็นเหตุผลที่สามารถ
15

ตั้งสมมติฐานได้ว่าทวีปทั้งสองอาจเป็นแผ่นดินผืนเดียวกันมาก่อน แล้วต่อมาก็แยกออกจากกัน มีมหาสมุทร


แอตแลนติกอยู่ระหว่างทวีปทั้งสอง
2.รอยแยกของแผ่นธรณีภาคและอายุหินบนเทือกเขากลางมหาสมุทร
ลักษณะโดดเด่นของพื้นมหาสมุทรแอตแลนติก ได้แก่ เทือกเขากลางมหาสมุทรซึ่งเป็นเหมือนเทือกเขายาว
ที่โค้งอ้อมไปตามรูปร่างของขอบทวีปด้านหนึ่งเกือบขนานกับชายฝั่งสหรัฐอเมริกาและอีกด้านหนึ่งขนานกับชายฝั่ง
ของทวีปยุโรปและอัฟริกานอกจากนั้นเทือกเขากลางมหาสมุทร
ยังมีรอยแยกตัวออกเป็นร่องลึกไปตลอดความยาวของเทือกเขาและมีรอยแตกตัดขวางบนสันเขานี้มากมาย
ได้มีการพบหินบะซอลต์ที่บริเวณร่องลึก หรือรอยแยกบริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก และยังพบว่า
หินบะซอลต์ที่อยู่ไกลจากรอยแยกมีอายุมากกว่าหินบะซอลต์ที่อยู่ใกล้รอยแยก จากหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวทำ
ให้อธิบายได้ว่าเมื่อเกิดรอยแยก แผ่นดินจะเกิดการเคลื่อนตัวออกจากกันอย่างช้าๆตลอดเวลาในขณะเดียวกันเนื้อ
ของหินบะซอลต์จากส่วนล่างจะถูกดันแทรกเสริมขึ้นมาตรงรอยแยกเป็นเปลือกโลกใหม่ทำให้ตรงกลางรอยแยกเกิด
หินบะซอลต์ใหม่เรื่อยๆดังนั้นโครงสร้างและอายุหินรองรับแผ่นธรณีภาคจึงมีอายุอ่อนสุดบริเวณเทือกเขากลาง
มหาสมุทรมีอายุมากและอายุมากขึ้นเมื่อเข้าใกล้ขอบทวีป

2. ทฤษฎีแผ่นธรณีภาค (Plate Tectonic)


แมกมาในชั้นฐานธรณีภาคมีทั้งอุณหภูมิและความดันสูง จึงเกิดการดันตัวขึ้นมาบนชั้นธรณีภาค ทำให้แผ่น
ธรณีภาค (Plate) เกิดการโก่งตัวขึ้น อันเนื่องจากแรงเค้น (Stress) กระทำต่อแผ่นธรณีภาค และจากสมบัติความ
แข็งเปาะของแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของแผ่นธรณีภาคทำให้แผ่นธรณีภาคเกิดความเครียด (Strain) ทนต่อ
แรงดันของแมกมาได้ระยะหนึ่ง ในที่สุดก็จะแตกออก ทำให้อุณหภูมิและความดันของแมกมาลดลง เพราะแมกมา
ถ่ายโอนความร้อนออกสู่บรรยากาศภายนอกได้อย่างเร็วและมากขึ้น เป็นผลให้แผ่นธรณีภาคบริเวณนั้นเกิดการทรุด
ตัวลงกลายเป็นหุบเขาทรุด
16

ในระยะเวลาต่อมามีน้ำไหลมาสะสมกลายเป็นทะเลที่มีรอยแตกอยู่ใต้ทะเล ซึ่งต่อมารอยแตกนั้นก็จะเกิด
เป็นรอยแยกจนกลายเป็นร่องลึก (Groove) มีสันขอบ (Ridge) และทำให้แมกมาในชั้นฐานธรณีภาคสามารถแทรก
ดันขึ้นมาตามรอยแยกแล้วเคลื่อนที่ม้วนตัวออกมาจากรอยแยกจะทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรเคลื่อนตัวแยก
ออกไปทั้งสองข้างของรอยแยก พื้นทะเลจะขยายกว้างออกไปทั้งสองด้าน เรียกกระบวนการนี้ว่า การขยายตัวของ
พื้นทะเล (Sea floor spreading) ส่วนบริเวณตรงกลางก็ปรากฏเป็นแนวเทือกเขากลางมหาสมุทร (Mid Oceanic
Ridge)

การเคลื่อนที่ของแมกมาในชั้นฐานธรณีภาคอันเนื่องมาจากการถ่ายโอนความร้อน ก่อให้เกิดการเคลื่อนที่
เป็นวงจรการพาความร้อน และเนื่องจากแมกมาในชั้นฐานธรณีภาคมีลักษณะเป็นพลาสติกหยุ่น จึงทำให้แผ่นธรณี
ภาคด้านบนเคลื่อนที่ออกไปจากรอยแตก และมีการเสริมเนื้อขึ้นมาจากด้านล่าง ดังนั้นแผ่นธรณีภาคอีกด้าน
หนึ่งจึงมุดลงไป เป็นการสูญเสียเนื้อโลกไป เพื่อให้เกิดการสมดุลนั่นเอง การเคลื่อนที่ของแมกมาในชั้นฐานธรณีภาค
ทำให้ส่วนที่เป็นของแข็งในชั้นธรณีภาคเคลื่อนที่ไปด้วย เกิดเป็นการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค (Plate) เกิดจาก
การแตกร้าวของเปลือกโลก (Crust) ตั้งแต่บริเวณผิวโลกลึกลงไปจนสิ้นสุดชั้นธรณีภาค
17

3. ทฤษฎีการแผ่ขยายพื้นสมุทร
เป็นทฤษฏีหนึ่งที่เป็นพื้นฐานของทฤษฏีที่สำคัญที่สุดทางธรณีวิทยา นั่นคือทฤษฏี Plate Tectonics ทฤษฏี
การขยายตัวของพื้นมหาสมุทรที่เสนอโดย Harry Hess เป็นทฤษฏีต่อยอดจากแนวคิด การเลื่อนไหลของทวีปนั้น
(Continental drift) ของอัลเฟรด เวเจเนอร์ โดยทฤษฏีนี้ได้อธิบายถึงสาเหตุของการขยายตัวของพื้นมหาสมุทรว่า
เกิดขึ้นจากกระแส วน (convection current) ในชั้นเนื้อโลกตอนบนหรือชั้น asthenosphere นักธรณีได้ให้
ข้อสรุปไว้ว่าแผ่นเปลือกโลกสามารถเคลื่อนที่ได้สามแบบได้แก่
1.เคลื่อนที่แยกออกจากกัน (Divergent)
2.เคลื่อนที่เข้าชนกัน (Convergent)
3.เคลื่อนผ่าน (Transform)
18

กิจกรรมที่ 2
จงตอบคำถาม
1. หลักฐานใดบ้างที่แสดงให้เห็นว่าในยุคก่อนทวีปทั้งหมดเคยเป็นทวีปผืนเดียวกันมาก่อน
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
2. มหาทวีปหมายถึงอะไร
...................................................................................................................... ................................................................
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
3. แผ่นธรณีภาคแบ่งได้ ทั้งหมดกี่แผ่น อะไรบ้าง
................................................................................................................................................................ ......................
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
4. การแปรสัณฐานตามทฤษฎีแผ่นธรณีภาคมีสาเหตุมาจากอะไร จงอธิบาย
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
5. แผ่นเปลือกโลกสามารถเคลื่อนที่ได้กี่แบบ อะไรบ้าง
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง
1.กลไกที่ทำให้เกิดกระบวนการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกเกิดจาก
ก. การหมุนของโลกและแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ชักจูงให้เกิดกระบวนการของทวีปเลื่อน
ข. เพลตธรณีชั้นนอกถูกดึงดูดให้ขยายตัวจากจุดกลาง
ค.การพาความร้อนในแมนเทิล
ง. การแยกของแผ่นทวีป
2. 300 - 200 ล้านปีที่แล้ว ทวีปต่างๆอยู่รวมกันเป็น
ก.ลอราเซีย ข.แพนเจีย ค.กอนด์วานาแลน ง.ทีทีส
3.รอยต่อที่แยกแผ่นโลกออกจากกัน คือ
ก. รอยแตกที่แยกออกจากกัน ข. รอยต่อที่ชนกัน
ค. รอยต่อแบบเฉือนกัน ง.ถูกทุกข้อ
4. ผืนแผ่นดินแผ่นเดียวกันบนโลกต่อมาแยกเป็นทวีปใหญ่ 2 ทวีป คือข้อใด
ก. ยุโรปและอเมริกา ข. เอเชียและยุโรป
ค.ลอเรเซียและกอนด์วานา ง. ออสเตรเลียและอัฟริกา
19

5. สิ่งใดที่ทำให้แผ่นธรณีภาคในแต่ละส่วนมีอัตราการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน
ก.การเคลื่อนตัวของแมกมาในชั้นเนื้อโลกไม่เท่ากัน ข. ความร้อนของแมกมาในชั้นเนื้อโลก
ค. การเคลื่อนตัวของหินหนืดในชั้นแก่นโลก ง. ถูกทุกข้อ
6. พืชและสัตว์เลื้อยคลานสามารถเป็นหลักฐานทางธรณีวิทยา ที่นำมาพิสูจน์การแยกตัวของทวีปได้เพราะเหตุใด
ก. เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์
ข. เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะคล้ายกันในแต่ละทวีป
ค. มีอยู่เป็นจำนวนมากและหาได้ง่ายในการใช้สังเกต
ง. มีลักษณะใหญ่พอที่จะสามารถนำมาวัดน้ำหนัก และวัดขนาดที่แท้จริงในปัจจุบันได้
7. ข้อใด ไม่ ถูกต้องเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
ก. แผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นเคลื่อนที่ในทิศทางเดียวกัน
ข. แผ่นเปลือกโลกแผ่นเล็ก ๆ จะมีพื้นที่หายไป
ค. แผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นอาจเกิดการกระแทกซึ่งกันและกัน
ง. แผ่นเปลือกโลกแผ่นใหญ่จะเคลื่อนที่ไปพร้อมกับทวีปเคลื่อนอย่างช้า ๆ
8. ทฤษฎีที่ใช้อธิบายถึงกำเนิดของแผ่นดิน มหาสมุทร และสิ่งมีชีวิตที่ตายทับถมอยู่ในหินบนเปลือกโลก คือทฤษฎีใด
ก. ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป ข. ทฤษฎีการขยายตัวของพื้นทวีป
ค. ทฤษฎีแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ง. ผิดทุกข้อ
9. หลักฐานที่นักธรณีวิทยาและนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกของเรามีกระบวนการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาคือ
ก. การปรากฏรอยแตกของแผ่นเปลือกโลก ข. การเกิดแผ่นดินไหว
ค. การเกิดภูเขาและภูเขาไฟ ง. ถูกทุกข้อ
10. แผ่นดินของทวีปอเมริกากับทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา แยกห่างกันมากขึ้นตลอดเวลา เพราะสาเหตุใด
ก. แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เนื่องจากการไหลของแมกมาในชั้นเนื้อโลก
ข. หินหนืดในชั้นเนื้อโลกดันแทรกขึ้นมาตามรอยแตกระหว่างเปลือกโลก
ค. เกิดการแทรกตัวของภูเขาไฟและแผ่นดินในบริเวณชั้นนี้บ่อยครั้ง
ง. ข้อ ก และข ถูก
20

การเปลี่ยนแปลงของโลก
นับแต่โลกถือกำเนิดขึ้นมาก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาจนแม้ปัจจุบัน จึงกล่าวได้ว่าโลกเป็น “พลวัต”
dynamic) มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนโลกอาจ แบ่ง(ออกเป็น 2
กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในโลก (internal processes) และกระบวนการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก (superficial processes) ซึ่งทั้งสองกระบวนการนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน
และส่งผลต่อลักษณะธรณีสันฐาน ภูมิลักษณ์ ตลอดจนทรัพยากรธรณีที่เกิดขึ้นและแผ่กระจายบนพื้นผิวโลก
กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน
1. กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน (internal processes)
เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในโลกแล้วส่งผลกระทบออกมาสู่พื้นผิวโลก เช่น การขับเคลื่อน
ตัวของแผ่นธรณีภาค แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น กล่าวคือ เมื่อความร้อนไหลวนจากแมกมาส่วนที่อยู่ลึกขึ้น
สู่ที่สูงจนมาถึงส่วนผิวของแมกมาที่อยู่ใต้แผ่นธรณีภาคจะเกิดการกระจายความ ร้อนและในขณะเดียวกันความร้อน
นั้นและแรงดันทำให้พื้นผิวที่เป็นเหมือนฝาครอบอยู่นั้นปริและแตกออกเกิดเป็นเขตแยกตัว (divergent zone) ส่วน
ที่วงจรการพาความร้อนสองแนวหมุนวนมาเจอกันจะทำให้วัตถุที่เย็นกว่าจมลงไปทำให้เกิดแรงลอยตัว มีวัตถุลอยอยู่
บนแมกมา ได้บริเวณที่แนวการพาความร้อนมาปะทะกันเรียกว่าขอบเขตของการรวมตัว (convergent zone) เขต
รอยต่อของแผ่นธรณีภาคส่วนใหญ่จะถูกควบคุมโดยกระบวนการไหลวนของความร้อนในชั้นเนื้อโลก ทั้งขอบเขต
แบบแยกตัวและรวมตัวการไหลวนของความร้อนในรูปแบบของการแยกตัวทำให้แผ่นดินหรือพื้นทวีปแยกออกเป็น
ร่องหรือเป็นแนวทรุดซึ่งเป็นช่องทางให้แมกมาไหลแทรกขึ้นมาเป็นหินบะซอลต์และ ถ้ารอยแตกนั้นขยายกว้าง
ออกไปทำให้หินบะซอลต์แทรกขึ้นมาตามร่องทรุดนั้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นพื้นมหาสมุทรรุ่นใหม่
การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค (plate tectonics) ที่ทราบกันดีว่าโลกไม่ได้หยุดนิ่ง เนื่องจากมีแรงกระทำ
ต่อใต้พื้นผิวโลกเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยมีทั้งการเพิ่มพูนพื้นที่ และการสูญเสียพื้นที่ ทั้งนี้เพราะส่วนบนของโลก
ประกอบด้วยแผ่นธรณีภาค (plate) ที่ประกอบด้วยชั้นเปลือกโลกและส่วนบนของชั้นเนื้อโลกตอนบนที่เรียกว่าลิโธส
เฟีย (lithosphere) หลายแผ่น แผ่นธรณีภาคเหล่านี้ถูกขับเคลื่อนเบื้องแรกจากแรงไหลทะลักขึ้นมาของหิน
หลอมเหลวร้อน (magma และ lava) แผ่นธรณีภาคมีการเคลื่อนที่สัมพันธ์กันได้หลายรูปแบบจึงมีรอยต่อระหว่าง
แผ่นธรณีภาคที่แตกต่างกัน
จากการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา พบว่า หินบริเวณตรงกลางแนวสันเขาใต้น้ำกลางทะเลเป็นหินบะซอลต์
ใหม่ มีอายุน้อยกว่าหินที่อยู่ในแนวถัดออกไป จึงมีการตั้งทฤษฎีของแนวสันเขากลางมหาสมุทรว่าเป็นรอยแตก
กึ่งกลางมหาสมุทร ซึ่งเป็นรอยแตกของแผ่นเปลือกโลกที่ถูกแรงดันจากหินหนืดภายในเปลือกโลกดันออกจากกันที
ละน้อยรอยแยกของแผ่นเปลือกโลกจึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกต่างๆได้
1.1 แผ่นดินไหว (earthquake)
แผ่นดินไหว เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่มีสาเหตุมาจากการปลดปล่อยพลังงานจากความเครียดที่เก็บอยู่
ในหินใต้ผิวโลกอย่างทันทีทันใด กล่าวคือเป็นกระบวนการที่พื้นที่บนโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเด่นชัด เมื่อ
แรงเค้น (stress) ที่เกิดขึ้นตามรอยแตก หรือรอยเลื่อนที่เกิดขึ้นบนเปลือกโลก ภายในโลกถูกปลดปล่อยขึ้นมาสู่
พื้นผิวโลก
ผลที่เกิดจากแผ่นดินไหวมีหลายประการ ที่สำคัญ ได้แก่ พื้นดินสั่นสะเทือน เกิดไฟไหม้ (ที่อาจมีสาเหตุมา
จากท่อแก๊สแตกรั่วและไฟฟ้าลัดวงจร) แผ่นดินถล่ม (landslide) แผ่นดินเลื่อนจากกันอย่างถาวร แผ่นดินไหว
ระลอกหลัง (after shock) ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็กเกิดตามมาหลังจากการเกิดแผ่นดินไหวระลอกแรก บริเวณ
21

ที่เกิดแผ่นดินไหว กล่าวได้ว่าไม่มีส่วนใดเลยที่ไม่เคยได้รับการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวแต่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นแต่
ละที่อาจต่างกัน
ผู้คนในสมัยโบราณมีความเชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากสาเหตุต่างๆ กันไป เช่น
- คนญี่ปุ่นเชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากเทพเจ้าแห่งปลา ชื่อ Namazu สะบัดหางไปมา
- Thales นักปราชญ์ชาวกรีกในสมัยพุทธกาลเชื่อว่าอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นมาจะต้องมีเทพเจ้าสิงสถิตอยู่
ภายใน โดยเขาคิดว่าการไหลของคลื่นในมหาสมุทรอย่างรุนแรงเป็นต้นเหตุทำให้เกิดแผ่นดินไหว
- Homer กวีชาวกรีกเชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เทพเจ้า Poseidon แห่งท้องทะเลลึกทรงพิโรธ
- คนจีนโบราณคิดว่า แผ่นดินไหวเกิดจากพญามังกรที่อาศัยอยู่ใต้พื้นดินขยับและเคลื่อนไหวลำตัวพร้อมส่ง
เสียงคำราม
ทฤษฎีการเกิดแผ่นดินไหวที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันมี 2 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก (dilation source theory) แผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือก
โลกเกิดการ คดโค้งโก่งงออย่างเฉียบพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่น
แผ่นดินไหว
2. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ (elastic rebound theory) แผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนอัน
เป็นเหตุผลมาจาก การเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน (fault) ดังนั้น เมื่อเกิดการเคลื่อนที่ถึงจุดจุดหนึ่งวัตถุจึงขาดออกจาก
กัน และเสียรูปอย่างมากพร้อมกับการปลดปล่อยพลังงานออกมา และหลังจากนั้นวัตถุก็คืนตัวกลับสู่รูปเดิม ทฤษฎีนี้
สนับสนุนแนวความคิดที่ว่า แผ่นดินไหวมีกลไกการ กำเนิดเกี่ยวข้องโดยตรงและใกล้ชิดกับรอยเลื่อนที่มีพลัง (active
fault) ที่เกิดขึน้ จากผลพวงของการแปรสัณฐานของเปลือกโลก (plate tectonics)
ศูนย์การเกิดแผ่นดินไหว
คลื่นความไหวสะเทือนเป็นผลจากกระบวนการเคลื่อนที่และแยกตัวของแผ่นธรณีภาค/แผ่นเปลือกโลก
ตำแหน่งที่กำเนิดคลื่น ความไหวสะเทือนใต้ผิวโลก เรียกว่าศูนย์การเกิดแผ่นดินไหว (focus) โดยที่ตำแหน่งบนผิว
โลกที่อยู่เหนือจุดโฟกัสเรียกว่าอีพิเซ็นเตอร์ (epicenter) คลื่นความไหวสะเทือนที่ออกมาจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมี
2 ประเภท คือ

- คลื่นปฐมภูมิ (primary waves: P-waves)


- คลื่นทุติยภูมิ (secondary waves: S-waves)
การกำหนดตำแหน่งของแผ่นดินไหวและการตรวจวัดทำโดยใช้เครื่องตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวที่ เรียกว่า
ไซสโมมิเตอร์ (seismometer) โดยข้อมูลจะถูกบันทึกลงและแปรผลเพื่อให้ทราบถึงลักษณะของวัตถุที่คลื่นเคลื่อน
ผ่านมา
เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ทั้งคลื่น P และ คลื่น S จะเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งหนึ่งใต้ผิวโลก ซึ่งเรียกตำแหน่งนี้
ว่าเรียกว่า จุดโฟกัส หรือ ศูนย์การเกิดแผ่นดินไหว เมื่อคลื่นทั้ง 2 ชนิดคลื่นที่ผ่านไปในชั้นหินใต้ผิวโลก อนุภาคต่างๆ
ในชั้นหินที่ถูกคลื่น P กระทบจะสั่นไปมาในแนวที่คลื่นพุ่งไป ดังนั้น ชั้นหินจึงตกอยู่ในสภาพถูกอัด และขยายตัว
เหมือนการยืดหดของลวดสปริงในกรณีของคลื่น S นั้น อนุภาคต่างๆ ในชั้นหินจะเคลื่อนที่ในแนวขึ้นลงที่ตั้งฉากกับ
ทิศการพุ่งไปของคลื่น เหมือนลูกคลื่นที่เกิดจากการขยับเส้นเชือกผูกปลายขึ้นลง คลื่น P นั้น ตามปกติจะมีความเร็ว
มากกว่าคลื่น S ดังนั้นการวัดเวลาที่คลื่นที่ P และ S เดินทางถึงเครื่องรับสัญญาณ ซึ่งอยู่ที่ตำแหน่งต่างๆ บนผิวโลก
จะทำให้นักธรณีวิทยาสามารถวิเคราะห์และรู้ได้ว่าจุดโฟกัสของการเกิดคลื่นอยู่ที่ใดคลื่น p-wave จะเดินทางไปได้
22

ทั้งในตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ส่วนคลื่น s-wave จะเดินทางไปได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็ง


เท่านั้น
ขนาดของแผ่นดินไหวสามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัดความไหวสะเทือน (Seismograph) หลักการโดยสังเขป
ของเครื่องมือคือ มีตัวโครงยึดติดกับพื้นดิน และมีกระดาษหมุนไปด้วยความเร็วคงที่ เมื่อแผ่นดินมีการเคลื่อนไหว
สะเทือน กระดาษกราฟที่ติดอยู่กับโครงจะเคลื่อนที่ตามแผ่นดินแต่ลูกตุ้มซึ่งมีความเฉื่อยจะไม่เคลื่อนที่ตามปากกาที่
ผูกติดกับลูกตุ้มก็จะเขียนกราฟลงบนกระดาษ และในขณะเดียวกันทำให้ได้กราฟแสดงความสัมพันธ์ของขนาดการ
เคลื่อนที่ของแผ่นดินต่อหน่วยเวลา

Seismograph

การวัดแผ่นดินไหวนิยมวัดอยู่ 2 แบบ ได้แก่ การวัดขนาด (magnitude) และการวัดความรุนแรง


(intensity) การวัดขนาดเป็นการวัดกำลัง หรือพลังงานที่ปลดปล่อยในการเกิดแผ่นดินไหว ส่วนการวัดความรุนแรง
เป็นการวัดผลกระทบของแผ่นดินไหว ณ จุดใดจุดหนึ่งที่มีต่อคน โครงสร้างอาคาร และพื้นดิน มาตราการวัด
แผ่นดินไหวมีอยู่หลายมาตรา ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่นิยมใช้ทั่วไป 3 มาตรา ได้แก่ มาตราริกเตอร์ มาตราเมอร์
แคลลี และมาตราการวัดขนาดโมเมนต์
มาตราริกเตอร์ เป็นการวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวได้จากการคำนวณปริมาณพลังงานที่ถูกปล่อย
ออกมาจากศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว โดยวัดจากความสูงของคลื่น (amplitude) จากเส้นไซสโมแกรม ซึ่งแอม
พลิจูดยิ่งสูงเท่าไรก็เท่ากับพื้นดินสะเทือนมากเท่านั้น หรือแผ่นดินไหวรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น วิธีการนี้ ชาร์ล เอฟ ริก
เตอร์ (Charles F. Richter) ได้คิดค้น และคำนวณออกมาเป็นสมการลอกกาลิธึม เพื่อคำนวณหาระดับขนาดต่างๆ
โดยใช้หลักการจากผลบันทึกของเครื่องวัดความไหวสะเทือน และมีการปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับระยะทางจากศูนย์เกิด
แผ่นดินไหว ได้ผลลัพธ์ออกมาจนเป็นมาตราที่เรียกว่า มาตราริกเตอร์ (Richter scale) ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 0-9 มาตรา
ที่ใช้กันทั้งสองวิธีนี้ใช้เปรียบเทียบ หรือวัดขนาดแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นตามที่ต่างๆ ได้
มาตราเมอร์แคลลี วัดจากความรู้สึกของคนร่วมกับการประเมินผล และความเสียหายของสิ่งปลูกสร้างที่
เกิดขึ้นจากการเกิดแผ่นดินไหว วิธีนี้ถูกกำหนดขึ้นเป็นมาตราที่เรียกว่า มาตราเมอร์แคลลี (mercalli scale)
มาตราการวัดขนาดโมเมนต์ การวัดขนาด ด้วยมาตราริกเตอร์เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่วิธีการของริก
เตอร์ยังไม่แม่นตรงนักในเชิงวิทยาศาสตร์ เมื่อมีสถานีตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวมากขึ้นทั่วโลก ข้อมูลที่ได้ แสดงว่า
วิธีการของริกเตอร์ใช้ได้ดีเฉพาะในช่วงความถี่และระยะทางหนึ่งเท่านั้น ใน ค.ศ. 1977 ฮิรู คะนะโมะริ ( Hiroo
Kanamori นักธรณีฟิสิกส์ ชาวญี่ปุ่น) ได้เสนอวิธีวัดพลังงานโดยตรงจากการวัดการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อน มาตรการ
วัดขนาดของ คะนะโมะริ เรียกว่า มาตราขนาดโมเมนต์ ( moment magnitude scale)
23

ตารางแสดงมาตราการตรวจวัดคลื่นความสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว
มาตราริคเตอร์
ขนาด ความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง
1 – 2.9 เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มมีความรูส้ ึกถึงการสั่นไหว บางครั้ง รู้สึกเวียน ศีรษะ
3 – 3.9 เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยูใ่ นอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน
4 – 4.9 เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ
สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว
5 – 5.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
6 – 6.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
7.0 ขึ้นไป เกิดการสั่นไหวร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างมีความเสียหายอย่างมาก แผ่นดินแยก วัตถุที่อยู่บน
พื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น

มาตราเมอร์แคลลี่
อันดับที่ ลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบ
I เป็นอันดับที่อ่อนมาก ตรวจวัดโดยเครื่องมือ
II พอรู้สึกได้สำหรับผู้ที่อยู่นิ่ง ๆ ในอาคารสูง ๆ
III พอรู้สึกได้สำหรับผู้อยู่ในบ้าน แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รสู้ ึก
IV ผู้อยู่ในบ้านรูส้ ึกว่าของในบ้านสั่นไหว
V รู้สึกเกือบทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว
VI รู้สึกได้กับทุกคนของหนักในบ้านเริ่มเคลื่อนไหว
VII ทุกคนต่างตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มปรากฏความเสียหาย
VIII เสียหายค่อนข้างมากในอาคารธรรมดา
IX สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้อย่างดี เสียหายมาก
X อาคารพัง รางรถไฟบิดงอ
XI อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทัง้ หมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบน พื้นดินอ่อน
XII ทำลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน

ความสัมพันธ์ระหว่างมาตราริกเตอร์และเมอร์แคลลี

ความรุนแรง มาตราเมอร์แคลลี มาตราริคเตอร์


1 ไม่รสู้ ึก เครื่องมือวัดความสั่นสะเทือนตรวจวัดได้ น้อยกว่า 3.5
2 อ่อน ผู้มีความรูส้ ึกไวสามารถรูส้ ึกได 3.5
3 เบา ผู้ที่อยู่อย่างสงบรูส้ ึกได 4.2
4 พอประมาณ วัตถุเล็กเคลื่อนที่ วัตถุโตกว่าเอียงไปมา 4.3
5 ค่อนข้างแรง ผู้ที่หลับตกใจตื่น จาน กระจก แตก ลูกตุ้มนาฬิกาหยุดเดิน 4.8
6 แรง เครื่องเรือนขนาดใหญ่เคลื่อนที่ รูปภาพหลุดจากผนัง 4.9-5.4
7 แรงมาก ฝาห้องแยกร้าว ผู้ขับขี่ยวดยานรูส้ ึก 5.5-6.1
8 ทำลาย ตึกร้าว เครื่องเรือนหนักพลิกคว่ำ 6.2
24

9 ทำลายสูญเสีย ตึกเลื่อนจากฐานราก พื้นดินแตก ท่อใต้ดินเสียหาย 6.9


10 วินาศภัย ตึกถล่ม พื้นดินแตก แผ่นดินถล่ม 7.0-7.3
11 วินาศภัยใหญ่ ตึก/ดิน ถล่ม สะพานขาด พื้นดินแตกแยก ท่อใต้ดินเสียหาย 7.4-8.1
12 มหาวิบัติ ทุกสิ่งทุกอย่างถูกทำลาย วัตถุกระเด็นขึ้นไปในอากาศ มากกว่า 8.1

แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว
แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือบริเวณตำแหน่งศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะอยู่ตรง
- บริเวณขอบหรือรอยตะเข็บของแผ่นเปลือกโลก (แผ่นธรณีภาค) ในกรณีของประเทศไทย และสุมาตรา
แนวแผ่นดินไหวโลกที่ใกล้ ๆ ได้แก่ แนวเกาะอันดามัน-นิโคบา ในมหาสมุทรอินเดีย
- แนวรอยเลื่อนต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ได้แก่ แนวรอยเลื่อนมีพลังในประเทศ และแนวรอย
เลื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า จีนตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
- บริเวณที่มนุษย์มีกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหว เช่น การทดลองระเบิดเขื่อน บ่อน้ำมัน เป็นต้น
แนวของแผ่นดินไหวบนโลกนี้ ส่วนใหญ่จึงเกิดขึ้นตามแนวตะเข็บรอยต่อของแผ่นธรณีภาค โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งรอยต่อที่เป็นการรวมตัวหรือเป็นบริเวณที่มีการมุดของแผ่นธรณีภาค ดังนั้นพื้นที่ซึ่งมีรอยเลื่อนมีพลัง (active
fault) และเป็นตะเข็บรอยต่อของแผ่นธรณีภาคจะทำให้ภูมิลักษณ์เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะเมื่อเกิด
แผ่นดินไหวพื้นที่จะมีการเคลื่อนที่ทั้งในแนวดิ่งและในแนวราบ เปลี่ยนสภาพหรือรูปลักษณ์ของพื้นที่ไปจากเดิม มี
การเกิดรอยแตก รอยแยกบนพื้นดิน มีการเกิดแผ่นดินถล่ม (landslides) จึงทำให้หินในพื้นดิน ภูเขา พังทลายลงสู่ที่
ต่ำ สำหรับประเทศไทยซึ่งไม่ได้อยู่แนวเขตแผ่นดินไหวรุนแรง พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวจึงมาจาก
พื้นที่ที่อยู่ใกล้แนวรอยเลื่อนที่มีพลัง ภูมิลักษณ์ที่เกิดจากรอยเลื่อน และอาจจะเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวในอดีตของ
ไทย ได้แก่ แนวรอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนแม่ปิง รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ และรอยเลื่อนระนอง เป็นต้น
การพยากรณ์แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ยังคงไม่สามารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำ ทั้งเรื่องตำแหน่ง ขนาด และเวลา
เกิด ด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์เครื่องมือตรวจวัดที่มีอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ได้มีความพยายาม
อย่างยิ่งในการศึกษาวิเคราะห์ถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ของบริเวณแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ
พยากรณ์แผ่นดินไหว
คุณลักษณะทางกายภาพของเปลือกโลก ที่เปลี่ยนแปลงจากปกติก่อนเกิดแผ่นดินไหว
• แรงเครียดในเปลือกโลกที่เพิ่มขึ้น
• การเปลี่ยนแปลงสนามไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก สนามโน้มถ่วง
• การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก
• น้ำใต้ดิน (ชาวจีน สังเกต การเปลี่ยนแปลง ของน้ำในบ่อน้ำ 5 ประการ ก่อนเกิดแผ่นดินไหวได้แก่ น้ำขุ่น
ขึ้น มีการหมุนวนของน้ำ ระดับน้ำเปลี่ยนแปลง มีฟองอากาศ และ รสขม)
• ปริมาณก๊าซเรดอน เพิ่มขึ้น
• การส่งคลื่นวิทยุความยาวคลื่นสูงๆ
การสังเกตพฤติกรรมของสัตว์หลายชนิดที่มีการรับรู้ถึงภัยก่อนเกิดแผ่นดินไหว
• แมลงสาปจำนวนมากวิ่งเพ่นพ่าน
25

• สุนัข เป็ด ไก่ หมู หมี ตื่นตกใจ


• หนู งู วิ่งออกมาจากรู
• ปลา กระโดดขึ้นจากผิวน้ำ ฯลฯ
1.2 ภูเขาไฟ
ภูเขาไฟเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่หินและลาวาร้อนจากภายในโลกระเบิดพุ่งหรือไหลทะลักขึ้นมาสู่เปลือก
โลก การระเบิดมีรูปแบบที่เห็นได้ชัดเกิดเป็นภูเขาไฟที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านรูปร่างและส่วนประกอบของลาวา
ลักษณะการระเบิดของภูเขาไฟแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ การระเบิดเป็นแนวยาว และการระเบิดแบบเป็นจุดร้อน
การระเบิดเป็นแนวภูเขาไฟ มักจะเกิดกับภูเขาไฟที่อยู่ในแนวที่เป็นเขตการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก/แผ่น
ธรณีภาค โดยภูเขาไฟที่อยู่ใกล้รอยแยกจะเกิดระเบิดเมื่อตะกอนเปียกที่อยู่บนแผ่นธรณีภาคตกลงไปปนกับแมกมา ก็
จะปล่อยแก๊สและของไหลลงไปในแมกมาที่อยู่เหนือแผ่นธรณีภาคมุดตัว ทำให้บริเวณนั้นมีความหนืดมากกว่าที่อื่น
และทำให้ของไหลและแก๊สเหล่านั้นพุ่งลอยขึ้นมาสู่แผ่นธรณีภาคที่ปิดทับอยู่ แล้วตามมาด้วยแมกมา การพุ่งขึ้นมาสู่
ผิวโลกนี้ทำให้เกิดเป็นภูเขาไฟ ที่มีลาวาเป็นไฟร้อนสีแดงฉานไหลเป็นสายลงมาตามไหล่เขาและพื้นลาด การระเบิด
แบบนี้มักจะรุนแรง มีเสียงดัง
การระเบิดเป็นจุดร้อน มักจะเกิดกับภูเขาไฟที่อยู่บนแผ่นธรณีภาค ส่วนมากจะเป็นภูเขาไฟรูปกรวยที่ไม่สูง
ชันมาก ต้นกำเนิดของพลังงานความร้อนของแมกมาจะอยู่ลึกภายในเนื้อโลก โดยแมกมาที่อยู่ลึกๆ นั้นจะสะสม
ความร้อนขึ้นมาเองจนเป็นจุดร้อนกว่าบริเวณข้างเคียงในขณะที่แผ่นธรณีภาคที่อยู่ส่วนบนเคลื่อนที่ผ่านจุดนั้นไป
อย่างช้าๆ จึงเกิดการทะลักขึ้นมาตามรอยแตกของมวลหินหลอมสู่ผิวโลกเป็นจุดๆ หรือเป็นหย่อมๆ ส่วนมากจะเป็น
หินบะซอลต์ที่มีปริมาณซิลิกาต่ำ
การะเบิดของภูเขาไฟลักษณะต่างๆ ทำให้เกิดภูมิลักษณ์เฉพาะของหินภูเขาไฟ ซึ่งจะมีทั้งภูเขาไฟที่
ประกอบด้วยหินภูเขาไฟรูปทรงต่างๆ ปล่องภูเขาไฟที่เหลือจากการระเบิดและท่อแกนของภูเขาไฟ (volcanic
neck) เป็นต้น เช่นที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี การระเบิดครั้งสุดท้ายของภูเขาไฟในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ
ประมาณหกแสนปีที่แล้ว บริเวณแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ส่วนภูเขาไฟบริเวณภาคอีสานตอนล่าง บริเวณจังหวัด
บุรีรัมย์เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 0.92 ล้านปีที่แล้ว

1.3 สึนามิ
Tsunami (สึนามิ) เป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่มีความยาวคลื่นค่อนข้างมาก และช่วงห่างระยะเวลาของแต่ละลูก
คลื่นยาวนาน เกิดจากการเคลื่อนตัวของพื้นทะเลในแนวดิ่ง จมตัวลงในแนวรอยเลื่อน หรือการที่มวลของน้ำ ถูก
กระตุ้นหรือรบกวน โดยการแทนที่ทางแนวดิ่งของมวลวัตถุ สึนามิสัมพันธ์กันกับการเกิดแผ่นดินไหว (earthquakes)
แผ่นดินถล่ม (submarine landslides) หรือการระเบิดของภูเขาไฟใต้ทะเล (submarine volcanic eruptions)
26

หรือแม้กระทั่งการกระทบของอนุภาคขนาดใหญ่ เช่น อุกกาบาต ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ สามารถก่อให้เกิดคลื่นสึนา


มิได้
สึนามิ เป็นคำมาจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า harbor wave หรือคลื่นที่เข้าสู่อ่าว ฝั่ง
หรือ ท่าเรือ โดยที่คำว่า Tsu หมายถึง harbor แปลว่า อ่าว ฝั่ง หรือ ท่าเรือ ส่วนคำว่า Nami หมายถึง คลื่นใน
บริเวณมหาสมุทรทุกแห่งในโลก มีโอกาสเกิดคลื่นสึนามิได้ แต่ในมหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลที่ใกล้ขอบทวีปมี
โอกาสเกิดคลื่นสึนามิที่มีขนาดใหญ่ และมีพลังการทำลายสูงมากกว่า เนื่องจากในบริเวณดังกล่าวมีจุดที่เกิด
แผ่นดินไหว และการระเบิดของภูเขาไฟบ่อยครั้งมาก โดยเฉพาะบริเวณขอบมหาสมุทรแปซิฟิกที่เรียกว่าวงแหวนไฟ
ยกตัวอย่างประเทศที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากสึนามิ ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ เปรู
เอกัวดอร์ โคลัมเบีย กัวเตมาลา เม็กซิโก คิวบา อลาสกา และแคลิฟอร์เนีย

ปัจจัยพื้นฐานที่อาจ ทำให้เกิดคลื่นสึนามิ มีดังต่อไปนี้


1.โลกของเรามีทั้งส่วนที่เป็นมหาสมุทร และ ทวีป ประกอบไปด้วยแผ่นเปลือกโลก/แผ่นธรณีภาค (plates)
เป็นชิ้นๆ ต่อกันอยู่เหมือนจิ๊กซอว์ ดังนั้น plates เหล่านี้จึงมีทั้งแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร (oceanic
plates) และ แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป (continental plates) ซึ่งมีความหนาตั้งแต่ 70 ถึง 250 กิโลเมตร
2. plates เหล่านี้มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากมีการหมุนเวียน หรือไหลวนของหินหลอมละลาย
ภายในโลกที่รองรับ plates เหล่านี้อยู่
3. การเคลื่อนที่ของ plates เป็นต้นเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวซึ่งยังไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดที่
ไหน เมื่อไร และด้วยความรุนแรงเท่าใด
4. บริเวณรอยต่อของ plates ทำให้เกิดภูเขาไฟและแผ่นดินไหวขึ้นบ่อยๆ เรียกว่า วงแหวนไฟ
5.ในมหาสมุทรแปซิฟิก จะถูกล้อมด้วยวงแหวนไฟแสดงว่าใต้พื้นโลกบริเวณดังกล่าวในระดับลึกมีมวลแมกมา
จำนวนมากฝังตัวอยู่
การเกิดสึนามิ
คลื่นสึนามิ มักเกิดจากแผ่นดินไหวใต้ทะเล เมื่อเกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเล อันเนื่องมาจากแผ่นเปลือกโลก/
ธรณีภาค มีการเคลื่อนตัวเกิดรอยเลื่อนทำให้เกิดแรงกระเพื่อมอย่างรุนแรงตรงบริเวณจุดโฟกัสของการเคลื่อนที่
และแรงกระเพื่อมนี้ถูกถ่ายทอดไปสู่น้ำทะเล ทำให้น้ำทะเลเกิดคลื่นใต้น้ำ ซึ่งในระยะแรกในทะเลลึก คลื่นจะมี
ลักษณะความยาวช่วงคลื่นมาก ความสูงของคลื่นน้อยแพร่ออกไปเป็นวงทุกทิศทาง ด้วยความเร็วประมาณ 700
กิโลเมตร/ชั่วโมง เมื่อคลื่นดังกล่าวเคลื่อนเข้าหาชายฝั่งทะเลที่น้ำตื้นจะมีการเปลี่ยนแปลงความยาวช่วงคลื่นลดลง
แต่ความสูงของคลื่นจะเพิ่มขึ้น ทำให้มีพลังทำลายล้างอย่างรุนแรง
27

การเกิดสึนามิจาก แผ่นดินไหว
ลักษณะของคลื่นสึนามิ
คลื่นสึนามิแตกต่างจากคลื่นธรรมดามาก ตัวคลื่นนั้นสามารถเดินทางได้เป็นระยะทางไกลๆ โดยไม่สูญเสีย
พลังงาน และสามารถเข้าทำลายชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลจากจุดกำเนิดหลายพันกิโลเมตรได้ โดยทั่วไปแล้วคลื่นสึนามิซึ่ง
เป็นคลื่นในน้ำ จะเดินทางได้ช้ากว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เป็นคลื่นที่เดินทางในพื้นดิน ดังนั้น คลื่นอาจ
เข้ากระทบฝั่งภายหลังจากที่ผู้คนบริเวณนั้นรู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหวเป็นเวลาหลายชั่วโมง
ความสูงของคลื่นในทะเลเปิดมักน้อยกว่าหนึ่งเมตร ซึ่งทำให้ไม่เป็นที่สังเกตของผู้คนบนเรือ คลื่นจะเคลื่อนที่
ด้วยความเร็วตั้งแต่ 500 ถึง 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ชายฝั่งที่มีความลึกลดลง คลื่นจะมี
ความเร็วที่ต่ำลงและเริ่มก่อตัวเป็นคลื่นสูง โดยอาจมีความสูงได้ถึง 30 เมตรหรือมากกว่านั้น

2. กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายนอก(การเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวโลก)
ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากพลังงานดวงอาทิตย์ กระทำผ่านตัวการต่างๆ น้ำ ลม ธารน้ำแข็ง ปฎิกริยาทางเคมี
แมคคานิคส์ และการกระทำของสิ่งมีชีวิตมักจะปรับให้ผิวโลกมีระดับราบเรียบเสมอกัน คือทำลายบริเวณที่สูงและ
ทับถมบริเวณที่ต่ำ
- การทำลายเรียก ดีกราเดชั่น(degradation)คือการลดระดับแผ่นดิน
- การทับถม เรียกว่า อะกราเดชั่น (aggradation) เป็นการทับถมเพิ่มระดับ
ตัวกระทำที่อยู่กับที่อุณหภูมิ ความชื้น แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2 กลุ่ม
2.1 การกระทำทางกายภาพ(physical weathering)
- อุณหภูมิ ทำให้หินที่มีแร่ธาตุต่างชนิดกันเกิดการยืดหดไม่เหมือนกัน ทำให้เนื้อหินแตกแยกจาก
กันและเนื้อหินดูดรับความชื้นขยายตัวไปบีบอัดส่วนที่รับความชื้นน้อย พอฤดูแล้งจะคายความชื้นออกมา
ทำให้หินแตกแยกเนื้อหินเริ่มผุผัง
- ในเขตหนาวมีน้ำแทรกเมื่อน้ำแข็งตัวจะเกิดแรงดันหรือการดูดซับน้ำ จะทำให้เกลือแร่ที่ละลาย
มากับน้ำแทรกตามรอยต่อของหิน น้ำระเหยทำให้เกลือแร่ตกผลึกมีแรงดันทำให้ขยายรอยต่อรอยแยกของ
หิน
- รากของพืชจะชอนไชไปตามซอกหินดันให้หินแตกแยกจากกัน
28

การ
กระทำจากอุณหภูมิ การกระทำจากน้ำแข็งตัว
การกระทำจากรากพืช
2.2 ปฏิกิริยาเคมี ( chemical weathering)
การผุพังยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก เช่น เมื่อฝนตกบริเวณภูเขา น้ำฝนจะละลายแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศทำให้น้ำฝนมีสภาพเป็นกรดคาร์บอนิก เมื่อกรดนี้ไหลซึมตามรอยร้าวของหิน
โดยเฉพาะหินปูนก็จะละลายหรือทำปฏิกิริยากับแคลเซี่ยมคาร์บอเนตในหินปูน ได้สารละลายแคลเซียมไฮโดรเจน
คาร์บอเนต เมื่อสารละลายนี้ซึมลงทางเพดานถ้ำแล้วน้ำระเหยไปหมด จะเหลือตะกอนปูนเกาะสะสมอยู่ นาน ๆ
ไป ตะกอนปูนจะแข็งตัวเกิดหินย้อยที่เพดานถ้ำ แต่ถ้าสารละลายนี้หยดลงบนพื้นถ้ำ แล้วน้ำระเหยไปจนเหลือ
ตะกอนปูนเกาะสะสมอยู่ เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ ก็จะแข็งตัวเกิดเป็นหินงอก
- ออกซิเดชั่น (oxidation) แร่ธาตุทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เกิดออกไซด์ทำให้แร่สึกกร่อน
- ไฮโดรไลชิส (hydrolysis) น้ำแทรกซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อหินจะชุ่มฉ่ำตลอดเวลา ทำให้หินผุพังได้ง่ายเช่น
หินแกรนิตเมื่ออุ้มน้ำทำให้แตกเป็นกาบ เม็ด
- คาร์บอเนชั่น (carbonation) คาร์บอนไดออกไซต์รวมกับน้ำ เกิดเป็นกรดคาร์บอนนิก กัดกร่อนหินปูน
หินอ่อนเกิดโพรง ถ้ำ ธารน้ำใต้ดิน
- รากพืชมีสารเคมีเป็นน้ำย่อยสลายแร่ธาตุ

การ เปลี่ยนแปลง
ทางเคมี
2.3 ตัวกระทำที่เกิดจากน้ำ การกร่อน พังทลาย (Weathering and mass wasting) โดย
กระแสน้ำ ถือว่าเป็นกระบวนการจัดระดับ
การไหลของกระแสน้ำในแม่น้ำลำธารเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บริเวณริมฝั่งหรือตลิ่งถูกกัดเซาะให้พังทลายไป
กระแสน้ำสามารถทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงได้ โดยกระแสน้ำจะกัดเซาะริมฝั่งน้ำให้พังทลายลงและพัดพาเอา
ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่หลุดออกมานี้ให้เคลื่อนที่ไป เราเรียก กระบวนการที่ทำให้สารเปลือกโลกหลุดไปนี้ว่า การกร่อน
ตะกอนจะถูกกระแสน้ำพัดพาไปทับถม
ตัวกระทำที่สำคัญ
29

2.3.1 แม่น้ำ น้ำที่ไหลผ่านร่องน้ำเกิดเป็นร่องลึก ทำให้เกิดการสึกกร่อน (erosion) การพาเคลื่อนที่


(transportation) และการตกตะกอนทับถม (deposition) การกระทำขึ้นอยู่กับระยะของแม่น้ำกับความลาดชัน
ของพื้นที่
- แม่น้ำบนที่สูง น้ำจะกัดเซาะเกิดน้ำตก น้ำโจน และแก่ง แคนยอน น้ำที่ไหลผ่านหินที่มีความทนทาน
ต่างกัน ท้องน้ำมีความชันและราบเรียบไม่เท่ากัน ต้นน้ำ หินที่มีความแข็งทนต่อการสึกกร่อน ทำให้เกิดแก่งและน้ำ
โจน ถ้าน้ำไหลเชี่ยวและมีความต่างระดับมากเกิดน้ำตก หากน้ำไหลแรงกัดเซาะท้องน้ำและฝั่งแม่น้ำพร้อมๆกัน ถ้า
เป็นเขตแห้งแล้งกัดเซาะท้องน้ำมากกว่าชายฝั่ง ทำให้เกิดหุบเขาแคบๆคล้ายตัว V เรียกหุบเขารูปตัว V หรือโตรก
เขา (แคนยอน) canyon

ออบหลวง จ.เชียงใหม่
แกรนแคนยอน สหรัฐอเมริกา

- น้ำที่ไหลผ่านท้องน้ำพัดพาเอากรวด ทรายหยาบๆครูดหมุนไหลวนอยู่ในแอ่ง บนหน้าหิน กรวด ทรายจะ


เป็นตัวครูด ถูขัด สี ทำให้เกิดแอ่งลึก กว้างมากขึ้น เรียก รูรูปหม้อหรือ กุมภลักษณ์ (Pothole) จะเกิดกับหินปูน
หรือหินทราย หินดินดาน มักจะพบบริเวณน้ำตก ธารน้ำ

ตัวอย่าง รูรูปหม้อหรือ กุมภลักษณ์


สามพันโบก จ. อุบลราชธานี
- การกัดกร่อนที่เกิดจากน้ำฝนไหลแผ่กว้าง เรียกการกัดกร่อนเป็นแผ่น หากไหลอย่างรุนแรงเกิดการกัด
กร่อนเป็นร่องเรียก gully erosion
- การสะสมตัวเนื่องจากน้ำ น้ำจะพัดพาตะกอนมาทิ้งทับถมเป็นดินตะกอนรูปพัด (alluvial fan)
30

ตะกอน รูปพัด

- หากไหลผ่านพื้นที่ที่มีความต่างระดับลาดชันน้อย มักเรียกว่า แม่น้ำวัยแก่ (Old age) จะเกิดการกัด


เซาะด้านข้าง ไหลโค้งตะวัด ทำให้แม่น้ำเปลี่ยนทางเดินทิ้งร่องเก่าเกิดทะเลสาบรูปแอกหรือที่เรียกว่า กุด (oxbow
lake)

ภาพ แสดงขั้นตอนการเกิด ทะเลสาบรูปแอก กุด(oxbow lake)

ภาพ การ
เกิดกุด หรือoxbow lake
- น้ำฝนที่ตกลงมาไหลกัดเซาะพื้นที่บริเวณที่มีหินฐานผ่านกระบวนการต่างๆจนผุเน่าเปื่อย ป่าไม้ปกคลุม
ถูกทำลายลงเกิดการกัดเซาะสึกกร่อนแนวดิ่งผิวบนยังคงอยู่เป็นเกิดภูมิประเทศที่เรียกว่า เสาดิน เช่น ฮ่อมจ๊อม จ.
น่าน แพะเมืองผี จ.แพร่
31

2.3.2 กระแสลม ในสภาพภูมิประเทศบางแห่ง เช่น


บริเวณที่ราบสูง ทะเลทราย ภูเขาสูง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากกระแสลมที่พัดผ่านบริเวณเหล่านี้อยู่เป็นประจำนั้น
กระแสลมก็จะทำใหเปลือกโลกเกิดการกร่อนได้อีกทางหนึ่งด้วย

ตัวอย่างการกร่อนโดยกระแสลม
2.3.3 แรงดึงดูดของโลก
โลกมีแรงโน้มถ่วงซึ่งพยายามดึงดูดสิ่งต่างๆ ให้ตกสู่ที่ต่ำหรือตกสู่พื้นโลกตลอดเวลาดังนั้นส่วนต่าง ๆ ของเปลือกโลก
จึงถูกโลกดึงดูดอยู่ตลอดเวลา แรงดึงดูดของโลกจึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ช่วยทำให้เปลือกโลกเกิดการกร่อนขึ้น
2.3.4 การเคลื่อนที่ของธารน้ำแข็ง
บริเวณที่มีอากาศหนาวจัดก็จะมีหิมะสะสมตัวกันมากขึ้นจนกลายเป็นมวลน้ำแข็งขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากซึ่ง
เรียกกันว่า ธารน้ำแข็ง แรงดึงดูดของโลกจะพยายามดึงธารน้ำแข็งให้เคลื่อนที่ลงสู่ที่ต่ำ เมื่อธารน้ำแข็งเคลื่อนที่
ทำให้เกิดการบดการกระแทกและการขัดสีกับหินที่ธารน้ำแข็งเคลื่อนที่ผ่านไป จึงทำให้เปลือกเกิดการกร่อนได้
32

ธารน้ำแข็ง
2.4 การเปลี่ยนแปลง ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่
1. การตัดไม้ทำลายป่า เกิดจากการกระทำเพื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยนำมาทำเป็นที่อยู่อาศัย ทำ
อุปกรณ์ต่าง ๆ ป่าไม้จึงถูกทำลายมากขึ้น ทำให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ดินขาดความชุมชื่น หน้าดินไม่มีพืชปกคลุม
จะถูกกระแสลม กระแสน้ำ พัดพาหน้าดินไปได้ง่าย เกิดการพังทลายของหน้าดิน เกิดภาวะน้ำท่วม เพราะพื้นดิน
ดูดซับน้ำได้น้อย
2. การเกษตรกรรม การปลูกพืช การทำสวนทำไร่ ซึ่งต้องมีการไถพรวน พลิกหน้าดิน เพื่อปรับพื้นที่ให้
เหมาะสมแก่การเพาะปลูก การขุดร่องน้ำ เพื่อใช้ในการเกษตรกรรมทำให้พื้นดินเกิดการทรุดตัว
3. การชลประทานการปรับเปลี่ยนพื้นที่เพื่อการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ำ ในบริเวที่เป็นภูเขา
ต้องมีการทำลายป่า
4. การทำเหมืองแร่ ต้องมีการขุดเจาะสำรวจหา แร่ แหล่งเชื้อเพลิง พื้นที่บริเวณดังกล่าวจะเกิดการ
เปลี่ยนแปลง
5. การทำอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง มีการขุดเจาะหน้าดินเพื่อวางรากฐานการก่อสร้าง มีการระเบิด
ภูเขา เพื่อนำหินมาใช้ในการก่อสร้าง มีการปรับพื้นที่ในการก่อสร้าง

กิจกรรมที่ 3
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง
................................................................................................................................................................ ......................
......................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
2. กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลกและบนผิวโลก แตกต่างกันอย่างไร
......................................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................... ...........................................
.....................................................................................................................................................................................
3. ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................
33

4. มาตราเมอร์แคลี่ กับมาตราริกเตอร์ และมาตราการวัดขนาดโมเมนต์ต่างกันอย่างไร


......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
5. ทำไมบริเวณใกล้ขอบทวีป จึงมีโอกาสเกิดคลื่นสึนามิมากกว่าบริเวณอื่น
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
6. สึนามิต่างจากคลื่นในท้องทะเลอย่างไร
......................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
7.สาเหตุของการผุพังทางกายภาพเกิดจากอะไรได้บ้าง
....................................................................................................................................................... ...............................
......................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................
8. สาเหตุของการผุพังทางเคมีมีอะไรบ้าง
......................................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................... ...........................
......................................................................................................................................................................................
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง
1. การเกิดแผ่นดินไหว เกิดที่โครงสร้างใดของโลก
ก. ฐานธรณีภาค ข. ธรณีภาค
ค. แก่นโลก ง. ชั้นโครงสร้างโลกที่มีหินหลอมละลาย
2. มาตราที่ใช้บอกความเสียหายของแผ่นดินไหว คืออะไร
ก. ริกเตอร์ ข. เมอร์คัลลี
ค. โมห์ ง. เวนส์เวอร์ด
3. การเกิดสึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกใด
ก. ออสเตรเลีย – อินเดีย กับแผ่นยูเรเซีย ข. แผ่นอินโดนีเซียกับแผ่นแปซิฟิก
ค. แผ่นยูเรเซียกับแผ่นแปซิฟิก ง. แผ่นอินโดนีเซียกับแผ่นฟิลิปปินส์
4. ในเหตุการณ์สึนามิ บุคคลใดที่มีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุด
ก. นาย A อยู่บนยอดมะพร้าวริมทะเล ข.นาย B ตกปลาอยู่บนเกาะกลางทะเล
ค. นาย C ทำกับข้าวอยู่ที่ครัวโรงแรมริมทะแล ง. นาย D กำลังว่ายน้ำอยู่กลางทะเล
5. สาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง คือ
ก. มนุษย์ ข. ธรรมชาติ ค. สัตว์และพืช ง. สิ่งแวดล้อม
6. ข้อใดเป็นการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกโดยธรรมชาติ
ก. แผ่นดินไหว ข. การสร้างเขื่อน ค. การระเบิดภูเขา ง. การทำเหมืองแร่
34

7. สาเหตุสำคัญที่ทำให้ธารน้ำแข็งเคลื่อนที่ลงสู่ที่ต่ำจนทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงคืออะไร
ก. แรงดึงดูดของโลก
ข. ความลาดเอียงของภูมิประเทศ
ค. ความกดดันของธารน้ำแข็งด้านบน
ง. การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิรอบๆ ธารน้ำแข็ง
8. สาเหตุที่ทำให้สิ่งก่อสร้างในเมืองอุตสาหกรรมเกิดการสึกกร่อนมากกว่าเมืองเกษตรรรม คือ
ก. กระแสน้ำ ข. ฝนกรด ค. กระแสลม ง. แผ่นดินทรุดตัว
9.ข้อใดไม่ใช่ผลที่เกิดขึ้นจาการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรที่มุดเข้าไปใต้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรอีก
แผ่นหนึ่งในระดับลึก
ก.ภูเขาไฟที่มีพลัง
ข.แนวเทือกเขากลางมหาสมุทร
ค.แนวเกิดแผ่นดินไหวตามขอบแผ่นธรณีภาคลึกลงไป
ง.ปลายส่วนที่มุดเข้าไปกลายเป็นแมกมา ประทุขึ้นมาบนแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร
10.เทือกเขาหิมาลัย เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรณีภาคแบบใด
ก.การเกิดแผ่นดินไหว ข.การแยกตัวของแผ่นเปลือกโลก
ค.การชนกันของแผ่นเปลือกโลก ง.การระเบิดของภูเขาไฟ
11.ประเทศไทยจะได้รับผลจากแผ่นดินไหว อันเนื่องมาจากการกระทบกันของแผ่นธรณีภาคคู่ใดมากที่สุด
ก.แผ่นยูเรเซียกับแผ่นแปซิฟิค ข.แผ่นยูเรเซียกับแผ่นอินเดีย
ค.แผ่นแปซิฟิกกับแผ่นนาสกา ง.แผ่นแอนตาร์กติกากับออสเตรเลีย-อินเดีย
12.ข้อใดถือว่าสำคัญเป็นอันดับแรกในการบอกว่าบริเวณใดเป็นบริเวณที่เรียกว่าวงแหวนแห่งไฟ
ก.มีแนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาค
ข.มีการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคตลอดเวลา
ค.มีภูเขาไฟระเบิดมากที่สุดในโลก ทั้งในแผ่นดินและใต้มหาสมุทร
ง.มีแผ่นดินไหวรุนแรงและมากที่สุดในโลกถึงร้อยละ 80 ของการเกิดแผ่นดินไหวในโลก
13.ภูเขาไฟระเบิดมีสาเหตุมาจากข้อใด
ก.แมกมา แก๊ส และไอน้ำอัดไว้ มีการเคลื่อนไหวเกิดเสียงดัง เมื่อปริมาณเพิ่มมากขึ้นจะระเบิดพ่นชิ้นส่วนออก
ทางปล่องภูเขาไฟ
ข.แมกมาเคลื่อนที่ขึ้นมาใกล้ผิดโลก แก๊สที่ปนอยู่แยกตัวออกแล้วลอยขึ้นเหนือแมกมา เพิ่มจำนวนและขยาย
ตัวอย่างรวดเร็วจนระเบิดอย่างรุนแรง
ค.ชิ้นส่วนภูเขาไฟที่มีแก๊สและไอน้ำประกอบอยู่ เมื่ออยู่ใต้ผิวโลกจะมีอุณหภูมิและความดันสูงมาก จึงขยายตัว
และพุ่งขึ้นจากช่องเปิดอย่างรวดเร็วเป็นการระเบิดที่รุนแรง
ง.แมกมาเคลื่อนที่มาถึงใต้เปลือกโลก แล้วดันออกทางช่องด้านข้าง และรอยแตกแยกของภูเขาไฟอย่างแรงเกิด
ความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง
14. ถ้าหากเกิดแผ่นดินไหวในขณะที่นักเรียนอยู่บนอาคารสูง ควรปฏิบัติตนอย่างไร
ก. รีบวิ่งลงบันได ข. รีบลงชั้นล่างโดยใช้ลิฟต์
ค. มุดเข้าใต้โต๊ะภายในอาคาร ง. ไปที่หน้าต่าง เพื่อขอความช่วยเหลือ
35

15. แนวการเกิแผ่นดินไหวของโลกในข้อใดมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด
ก. แนวภูเขาแอลป์-หิมาลัย ข. แนวแถบหมู่เกาะอันดามัน
ค. แนวล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก ง. แนวสันกลางมหาสมุทรแอตแลนติก
16. เครื่องบันทึกคลื่นแผ่นดินไหวมีชื่อเรียกว่าอะไร
ก. ไซสโมกราฟ ข. บารอมิเตอร์
ค. สเฟียร์โรมิเตอร์ ง. ไกเกอร์ มูเลอร์ เคาเตอร์
17. อัตราเร็วในการแผ่ของคลื่นแผ่นดินไหวขึ้นอยู่กับอะไร
ก. ความยืดหยุ่นและความหนาแน่นของตัวกลาง ข. ความหนาและความหนืดของตัวกลาง
ค. อุณหภูมิและความลึกของตัวกลาง ง. มวลและอุณหภูมิของตัวกลาง
18. เหตุใดจึงต้องมีการกำหนดขนาดของแผ่นดินไหว
ก. เพื่อตรวจสอบการเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้า ข. เพื่อทราบถึงศูนย์กลางของการเกิดแผ่นดินไหว
ค. เพื่อทราบผลกระทบหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ง. เพื่อป้องกันการเกิดแผ่นดินไหว
19. จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Epicenter) คืออะไร
ก. จุดที่อยู่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวแต่อยู่ในชั้นเนื้อโลก (Mantle)
ข. จุดบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว
ค. จุดในอากาศที่อยู่เหนือการเกิดแผ่นดินไหว
ง. จุดล่างสุดของชั้นเปลือกโลก (Crust) ที่อยู่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว
20. บริเวณบนผิวโลกที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยมากที่สุดได้แก่
ก. แนวรอยต่อภูเขาแอลป์กับภูเขาหิมาลัย ข. บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก
ค. บริเวณวงแหวนแห่งไฟ ง. บริเวณใจกลางแผ่นยุราเซียน (Eurasian plate)

You might also like