You are on page 1of 12

บทที่ 1

บทนำ
1.1 ที่มาและความสำคัญ
วัชพืช เป็นพืชที่ขึ้นมาเองตามธรรมชาติในไร่ในสวน โดยที่ผู้ดูแลไม่ต้องการ ส่วนใหญ่ไม่มีมูลค่าทาง
เศรษฐกิจ หรือมีน้อย มักสร้างความเสียหายให้พืชเศรษฐกิจ เช่น แย่งอาหาร อย่างไรก็ตาม วัชพืชที่ไม่ต้องการ
นั้นก็อาจจะอุดมไปด้วยธาตุอาหารพืชทั้งธาตุหลักและธาตุรองครบถ้วน และสามารถตัดมาหมักเพื่อทำปุ๋ยได้
ในปัจจุบันเกษตรกรมักจะมีปัญหากับการกำจัดวัชพืชซึง่ เป็นพืชควบคุมและกำจัดยากทำให้เกษตรกร
เกิดความเสียหายอย่างมากตั้งแต่คุณภาพผลผลิต ลดลง นอกจากนี้วัชพืชยังทำให้การเลี้ยงสัตว์ไม่ได้ผลดี
เท่าที่ควร เป็นต้นว่า กลิ่นของวัชพืชเป็นกลิ่นที่สัตว์ไม่ชอบ วัชพืชบางชนิดสัตว์กินไปแล้วเป็นพิษ ถ้าเลี้ยงสัตว์
เอาขน เช่น แกะ ก็ทำให้คุณภาพของขนเลวลง เกษตรกรยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชรวมทั้งแรงงาน
และเครื่องมือ การกำจัดวัชพืชของเกษตรกรส่วนใหญ่เกษตรกรมักใช้สารกลุ่มพาราคอตในการกำจัดวัชพืชซึ่ง
เป็นสารเคมีที่ตกค้างแล้วเกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีความเป็นพิษสูงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
และยังมีรายงานว่าพาราควอตอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่การทำการเกษตรในประเทศไทยยังคงมี
การใช้สารเคมีดังกล่าวเพื่อกำจัดวัชพืชอยู่ อีกทั้งผักผลไม้ที่นำมารับประทานก็อาจมีการตกค้างของสารเคมี
ชนิดนี้
การกำจั ด วั ช พื ช อาจทำได้ โ ดยใช้ น ้ ำ ส้ ม สายชู ซ ึ ่ ง เป็ น ของเหลวที ่ ไ ด้ จ ากกระบวนการหมั ก มี
องค์ประกอบหลักคือกรดน้ำส้ม (กรดแอซีติก) น้ำส้มสายชูทั่วไปมีความเข้มข้นของกรดตั้งแต่ 4% ถึง 8% โดย
ปริมาณ น้ำส้มสายชูหมักโดยธรรมชาติยังมีกรดชนิดอื่น ๆ เจือปนในปริมาณเล็กน้อย เช่น กรดทาร์ทาริก และ
กรดซิตริก จึงทำให้เมื่อฉีดพ่นใส่วัชพืชจะทำให้วัชพืชเติบโตได้ช้าและไม่มีอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
น้ำส้มสายชูหมักจากผลไม้จะเอาผลไม้ที่มีน้ำตาลอย่างน้อย 9% มาทำการหมักได้ทุกชนิดจะได้กรดอะซิติกไม่
น้อยกว่า 4 กรัมต่อ 100 มิ ลลิลิตร ต้องคัดเลือกผลไม้ที่มีความเหมาะสม เช่ น แอปเปิล จะได้น้ำตาลที่มี
แอลกอฮอล์สูงสามารถนำมาเป็นน้ำส้มสายชูได้ง่ายเพราะมีน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสมและยังมีกรดที่เหมาะ
สำหรับการเจริญเติบโตของจุ ลินทรีย์ด้วย คณะผู้วิจัยได้เลือกผลไม้ สำหรับนำมา 2 ชนิดคือแอปเปิ ล และ
สับปะรดเพื่อศึกษาว่าน้ำสายชูจากการหมักผลไม้ชนิดใดทำหน้าที่กำจัดวัชพืชได้ดีที่สุ ด เหตุผลที่เลือกแอปเปิล
มาทำน้ำส้มสายชูเพราะเป็นที่นิยมที่นำมาหมักเป็นน้ำส้มสายชูมากที่สุด ส่วนที่เลือกสับประรดเพราะเป็นผลไม้
ที่มีร าคาถูกหาซื้อได้ง่ายกว่าแอปเปิล ผู้ว ิจัยจึงนำสับปะรดมาทำน้ำส้มสายชูกำจัดวัช พืช การที่ฉีดกรด
น้ำส้มสายชูหมักจากผลไม้ กำจัดวัช พืช ผลที่ตามมาอาจจะเกิดดินเปรี้ยวได้ โดยดินเปรี้ยวเกิดจากการที่
เกษตรกรสะสมใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นกรดทำการเกษตร น้ำส้มสายชูที่เป็นกรดสามารถจะไปเพิ่มความ
เป็นกรดของดินได้เล็กน้อยแม้ว่าจะเป็นผลชั่วคราว กรดอะซิติกที่สลายตัวในน้ำอย่างรวดเร็วสามารถลบได้และ
จะไม่มีผลกระทบทางลบเนื่องจากสารตกค้างใด ๆ อาจหายไปหลังจากการชลประทานหรือฝนครั้งแรก

1.2 วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการกำจัดวัชพืชโดยใช้น้ำส้มสายชูที่ได้จากการหมักผลไม้
1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ทราบว่าการกำจัดวัชพืชด้วยน้ำสายชูหมักจากผลไม้ด้วยผลไม้ชนิดใดมีประสิทธิภาพมากที่สุด
2. ได้วิธีการกำจัดวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี

1.4 ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
ขอบเขตเนื้อหา ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการกำจัดวัชพืชจากน้ำส้มสายจากผลไม้ 2 ชนิด
คือแอปเปิลกับสับปะรด ตัวอย่างพื้นที่ที่มีวัชพืชที่ใช้ในการทดลอง 1 ตารางเมตร
ขอบเขตเวลา 16 กุมภาพันธ์ 2564 – 26 มีนาคม 2564

1.5 สมมติฐาน
กำจั ด วั ช พื ช โดยใช้ น ้ ำ ส้ ม สายชูห มั ก จากแอปเปิ ล มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากกว่ า กำจั ด วั ช พื ช โดยใช้
น้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด
ตัวแปรต้น : น้ำสายชูหมักจากแอปเปิลและสับปะรด
ตัวแปรตาม : ประสิทธิภาพการกำจัดวัชพืช
ตัวแปรควบคุม : เวลา พื้นที่ที่มีวัชพืช น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ ลและน้ำส้มสายชูห มัก จาก
สับปะรด วิธีการเตรียม
1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ
1) ประสิทธิภาพการกำจัดวัชพืช หมายถึง ทำให้วัชพืชแห้งเหี่ยวตายไปจากพื้นที่นั่นๆพื้นที่มีวัชพืชไป
รุกรานแย่งอาหารต้นพืชเยอะๆ
2) น้ำส้มสายชู หมายถึง สารละลายกรดอะซิติกซึ่งได้จากการหมักแอปเปิลและลับปะรด ซึ่งให้รส
เปรี้ยว กลิ่นฉุน สีใส หลังจากหมักไปแล้วนำมากลั่นเพื่อให้เป็นน้ำส้มสายชูบริสุทธิ์
บทที่2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 วัชพืช
วัชพืช คือ พืชซึ่งเป็นโทษแก่พืชที่เราปลูกไว้ วัชพืชมีหลายชนิด ทุกชนิดเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ อาจ
เป็นเพราะลมพาเมล็ดมาตกไว้ หรือน้ำพัดพามา คนหรือสัตว์อาจนำติดตัวมาหล่นไว้โดยไม่ตั้งใจก็ได้ วัชพืชเป็น
โทษเพราะคอยแย่งอาหาร น้ำ และแสงสว่าง ทำให้พืชที่ปลูกไว้ไม่เจริญเติบโต ให้ผลิตผลน้อยลง วัชพืชบาง
ชนิดยังเป็นพิษร้ายแรง ที่อาจทำให้สัตว์ที่กินวัชพืชเข้าไปเป็นอันตรายถึงตายได้ ในปีหนึ่งๆ เราต้องเสียเงิ นและ
แรงงานไปเป็นจำนวนมากเพื่อกำจัดวัชพืช
คำว่า วัชพืช มาจาก วัช หรือ วัชชะ แปลว่า "สิ่งที่ควรละทิ้ง" ซึ่งเมื่อรวมกับคำว่า พืช เป็นวัชพืช จึงมี
ความหมายว่า "พืชที่ควรละทิ้ง" ได้มีผู้ให้คำจำกัดความ วัชพืช ไว้เป็นหลายอย่าง เช่น พืชที่ไร้ประโยชน์ พืชไม่
พึงประสงค์ พืชที่ขัดผลประโยชน์ต่อมนุษย์ พืชที่ควรละทิ้ง
ความเสียหายจากวัชพืช ด้านการเพาะปลูกทำให้ผลผลิตลดลง วัชพืชจะแย่ง น้ำ ธาตุ อาหารจากพืชหลักที่
เพาะปลูกและทำให้ราคาผลิตผลตกต่ำทุ่งหญ้าที่ใช้เลี้ยงโคนมถ้ามีวัชพืชขึ้นอยู่มาก น้ำนมที่ได้จะมีกลิ่นและรส
ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ราคาผลผลิตก็ต่ำลง วัชพืชบางชนิดสร้างสารมีพิษลงสู่ดิน สารนี้จะไปทำอันตราย
ต่อพืชปลูก โดยชะงักการเจริญเติบโต ทำให้พืชปลูกแคระแกร็น ด้านชลประทานวัชพืชที่ขึ้นตามอ่างเก็บน้ำน้ำ
จะระเหยออกทางลำต้น ใบ ทำให้น้ำในอ่างเก็บน้ำมีปริมาณลดลง นอกจากนั้น ยังทำให้คูส ่งน้ำตื้น เขิน
ประสิทธิภาพในการส่งน้ำลดลง ท่อระบายน้ำอุดตัน ทำให้เสียค่าแรงงานขุดลอกคันคูน้ำ และสิ้นเปลือง
ค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืช เช่น หลังจากสร้างเขื่อนภูมิพลเสร็จ แล้วมีการกักน้ำ พื้นที่ตอนบนของเขื่อน น้ำ
จะท่วมเป็นบริเวณกว้าง ผักตบชวาตามหมู่บ้านที่น้ำท่วมถึงมารวมกันในอ่างเก็บน้ำ และขยายพันธุ์จนเต็มอ่าง
ตอนเหนือเขื่อน ทำให้กรมชลประทานต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการกำจัดผักตบชวา ด้านประมงมีมากไปทำ
ให้บ่อน้ำตื้นเขิน เนื้อที่น้อยลง กีดขวางการจับสัตว์น้ำ พืชน้ำบางชนิด เช่น สาหร่าย ข้าวเหนียว จับปลาเล็ก ๆ
เป็นอาหาร ทำให้ปริมาณปลาลดลง หากวัชพืชน้ำขึ้นหนาแน่น แสงไม่พอการสร้างอาหารของพืชก็จะลดลง
ก๊าซออกซิเจนซึ่งเป็นผลที่ได้จากการสร้างอาหารก็ลดลงด้วย ทำให้สัตว์น้ำตาย นอกจากนี้ ยังลดปริมาณอาหาร
เบื้องต้นของสัตว์น้ำ เช่น พวกไรน้ำ (plankton) ทั้งนี้เพราะพวกวัชพืชแย่งอาหารพวกฟอสเฟต ซึ่งพวกไรน้ำ
ต้องการเช่นกัน
ปัญหาที่เกิดจากวัชพืช วัชพืชหลายชนิดเมื่อไถกลบแล้วไม่ตาย สามารถงอกโตขึ้นมาได้อีก ในท้องที่ๆ ไม่มี
การปลูกพืชหมุนเวียน หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยววัชพืชจะขึ้นคลุมพื้นที่นั้นหมด และยากที่จะกำจัดทิ้งภายหลัง และ
การสูญเสียหน้าดินทำให้พืชที่ปลูกโตช้ากว่าวัชพืช
2.2 น้ำส้มสายชู
น้ำส้มสายชูเป็นเครื่องปรุงรสอาหารที่มีประจำทุกครัวเรือน เพื่อเพิ่มรสเปรี้ยวหรือแต่งกลิ่น มีกรด
อินทรีย์ชนิดหนึ่ง คือกรดน้ำส้ม (Acetic Acid) เป็นองค์ประกอบสำคัญ นอกจากนี้อาจมีกรดอินทรีย์และสาร
อื่นๆ ปนอยู่ด้วยเป็นส่วนน้อย เช่น กรดมาลิค (Malic Acid) กรดแลคติค (Lactic Acid) เอสเทอร์ (Ester)
แอลกอฮอล์ (Alcohol) อัลดีไฮด์ (Aldehyde) ฯลฯ ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของการผลิตน้ำส้ม สายชูด้วย
กรรมวิธีหมัก
นํ้าส้มสายชูหมัก เป็นน้ำส้มที่ได้จากหมักน้ำตาล ผลไม้หรือน้ำผลไม้กับยีสต์ (yeast) แล้วนำมาหมักกับ
เชื้อน้ำส้มสายชู (Acetic Acid Bacteria) ตามกรรมวิธีตามธรรมชาติ ผลไม้หรือน้ำผลไม้ที่มีกลูโคสหรือให้
กลูโคสได้ ย่อมนำมาหมักได้ทั้งนั้น ผลไม้ที่ใช้ควรมีน้ำตาลประมาณร้อยละ 8-10 เมื่อหมักให้เกิดแอลกอฮอล์
แล้ว ควรจะได้แอลกอฮอล์ราวร้อยละ 4.5-5.5 โดยปริมาตร ซึ่งถ้านำไปหมักน้ำส้มแล้ ว จะได้น้ำส้มสายชูที่มี
กรดน้ำส้มประมาณร้อยละ 4.0-5.2 (สำหรับในการหมักให้เกิดแอลกอฮอล์และการหมักน้ำส้มที่เป็นไปอย่าง
ปรกติ) ตัวอย่างของผลไม้และน้ำผลไม้ เช่น องุ่น แอปเปิล สับปะรด ส้มคั้น ส่วนของพืชที่จะใช้ทำน้ำตาล เช่น
น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำตาลสด หรือน้ำเหลืองน้ำตาล (Molass) น้ำจากจั่นมะพร้าว ฯลฯ
เมื่อเอาน้ำตาลหรือน้ำผลไม้ตั้งทิ้งไว้จะมีแบคทีเรียในอากาศที่เรียกว่า Aceiobacterer ตกลงไป เป็นวุ้น
ขาวๆ ลอยอยู ่ ข ้ า งบน หรื อ จะหมั ก น้ ำ ตาล น้ ำ ผลไม้ เ หล่ า นั ้ น กั บ ยี ส ต์ (แป้ ง ข้ า วหมาก) ก็ ไ ด้ ซึ ่ ง ทั้ ง
Aceiobacterer และยี ส ต์ ทำให้ น ้ ำ ตาลหรื อ น้ ำ ผลไม้ ท ี ่ ห มั ก นั ้ น เปลี ่ ย นเป็ น แอลกอฮอล์ จำพวกเอทธิ ล
แอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) หรือไวน์ (wine) ก่อน ซึ่งเมื่อทิ้งไว้ต่อไป หรือนำมาหมักต่อกับเชื้อน้ำส้มสายชูที่
เป็ น แบคที เ รี ย มี ช ื ่ อ ว่ า อะซิ ต ิ ค แอซิ ค แบคที เ รี ย (Acetic Acid Bacteria) ตามกรรมวิ ธ ี ต ามธรรมชาติ
แอลกอฮอล์ก็จะถูกเปลี่ยนให้เป็นกรดนํ้าส้มสายชู (Acetic Acid) ในที่สุด การหมักนี้จะกินเวลานานประมาณ
3 เดือน หลังจากหมักแล้วจึงกรองแยกเอาที่เป็นน้ำส้มออกมา เรียกว่าน้ำส้มสายชูหมัก ในการหมักครั้งต่อไปไม่
จำเป็นต้องกินเวลาหมักนานถึง 3 เดือนก็ได้ เพราะอาจจะเอาเชื้อที่หมักไว้ครั้งแรกผสมลงในการหมักครั้งต่อไป
ด้วยประมาณ 2 ใน 3
น้ำส้มสายชูชนิดนี้จะมีรสชาติดีและกลิ่นหอมกว่าน้ำส้มชนิดอื่น แต่มีสีอ่อนเข้มตามชนิดของน้ำตาลหรือ
น้ำผลไม้ที่ใช้ทำแต่มักจะมีสีเหลืองอ่อนไปจนถึงน้ำตาล ข้อเสียของน้ำส้มชนิดนี้ตรงที่อาจเสื่อมได้ง่าย เพราะ
ไม่ได้ฆ่าเชื้อโดยการกลั่น ถ้ากรรมวิธีในการผลิตไม่สะอาด เช่น ผลไม้หรือวัตถุดิบที่ใช้สกปรก เต็มไปด้วยฝุ่น
ละอองปิดไม่มิดชิด แมลงหวี่หรือแมลงวันตอม ภาชนะที่ใช้หมักหรือบรรจุไม่สะอาด โอกาสที่จะมีจุลชีวัน หรือ
เกิดหนอนน้ำส้ม (vinegar eel) มีมาก หนอนน้ำส้มนี้มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าอยู่บนผิวหน้าของน้ำส้ม และจะ
กินกรดน้ำส้ม (acetic acid) ทำให้น้ำส้มจืด (ปรกติกรดอะซีติคเองไม่เสื่อมและไม่สลายง่าย) เมื่อมีหนอนน้ำส้ม
เกิดขึ้นในน้ำส้มสายชูต้องทำลายด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 54ºC ฉะนั้นหากต้องการเก็บน้ำส้มสายชูหมักไว้ให้
นานต้องต้มฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่อุณหภูมิ 60°C เป็นเวลา 30 นาที แล้วใส่ในขวดหรือภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด
นำส้มสายชูกลั่น เป็นน้ำส้มสายชูที่ได้จากการกลั่นน้ำส้มสายชูหมัก โดยเอาแอลกอฮอล์ที่ได้จากการ
หมักมากลั่นแยกแอลกอฮอล์ออกเสียก่อน แล้วจึงนำไปหมักกับเชื้อน้ำส้มสายชู (Acetic acid bacteria) ให้
เป็นน้ำส้มทีหลัง หรือเอาเมล็ดข้าวต่างๆ มาหมัก เช่นเอาข้าวเหนียวมานึ่งแล้วผสมแป้งข้าวหมากหรือยีสต์ลงไป
เพื่อให้เกิดการหมักเป็นแอลกอฮอล์ แยกเอาส่วนที่เป็นน้ำที่มีแอลกอฮอล์ไปกลั่นเป็นน้ำเหล้าแล้วเอาส่วนที่
เหลือที่เป็นส่าเหล่า ส่าเบียร์ หรือน้ำเชื้อแอลกอฮอล์ หรือแอลกอฮอล์กลั่นเจือจาง หรือปล่อยให้ข้าวหมากนั้น
เกิดการหมักต่อไปอีกกับเชื้อน้ำส้มสายชูตามกรรมวิธีธรรมชาติ ก็จะเกิดกรดอะซีติค เอาของเหลวมากลั่นจะได้
น้ำส้มสายชูกลั่น ซึ้งน้ำส้มชนิดนี้จะมี กลิ่น รส เข้มข้นกว่าชนิดแรก มักจะไม่มีสี ใสกว่า และราคาก็ถูกกว่าชนิด
แรกด้วย เนื่องจากน้ำส้มชนิดนี้ได้จากการกลั่น ซึ่งใช้ความร้อนจึงผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว โอกาสที่จะมีหนอนน้ำส้ม
ก็ยากจึงเก็บไว้ได้นานโดยไม่จืด
ส่วนประกอบของน้ำส้มสายชูแท้ (น้ำส้มสายชูหมักและน้ำส้มสายชูกลั่น) ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบที่ใช้
หมัก น้ำส้มสายชูแท้นั้น มีกลิ่มหอมเฉพาะ นอกจากจะมีกรดน้ำส้มแล้วยังมีสารประกอบอื่นๆ รวมอยู่อย่างละ
เล็กละน้อย เช่น กรดมาลิค (Malic Acid) กรดแลคติค (Lactic Acid) กรดซิทริค (citric Acid) เอสเทอร์
(Ester) แอลกอฮอล์ (Alcohol) อัลดีไฮด์ (Aldehyde) เฟอร์ฟูรัล (Furfural) กลีเซอร์โรล (Glycerol) ฟอสเฟต
(phosphate) และน้ำตาลที่ยังเหลืออยู่ (Reducing Sugar) โดยเหตุนี้น้ำส้มสายชูแท้จะมีของเหลวทั้งหมด
(Total Solid) เถ้า (ash) และความถ่วงจำเพาะสูงกว่าน้ำส้มสายชูเทียมที่ปนปลอมให้ดูคล้ายน้ำส้มสายชูแท้
2.3 กรดแอซีตกิ
ชื่อตาม IUPAC : กรดแอซีติก (Acetic acid)
ชื่อเรียกตามระบบ : กรดเอทาโนอิก (Ethanoic acid)
สูตรโมเลกุล : C2H4O2
มวลโมเลกุล : 60.05 g mol−1
ลักษณะทางกายภาพ : ของเหลวไม่มีสี
ความหนาแน่น : 1.049 g/cm3 (l) 1.266 g/cm3 (s)
จุดหลอมเหลว : 16.5 °C, 290 K, 62 °F
จุดเดือด : 118.1 °C, 391 K, 245 °F
กรดน้ ำ ส้ ม หรื อ กรดแอซี ต ิ ก (อั ง กฤษ: acetic acid) หรื อ มี ช ื ่ อ ตามระบบว่ า กรดเอทาโนอิ ก เป็ น
สารประกอบอินทรีย์ในสถานะของเหลวไร้สี มีสูตรเคมีว่า CH 2COOH (บ้างเขียนเป็น CH 3CO 2H หรือ C 2H 4O2)
น้ำส้มสายชูมีกรดแอซีติกตั้งแต่ 4% ต่อปริมาตรขึ้นไป ทำให้กรดแอซีติกเป็นส่วนประกอบหลักของน้ำส้มสายชู
นอกจากน้ำ กรดแอซีติกยังมีรสเปรี้ยวและกลิ่นฉุนเฉพาะตัว นอกจากน้ำส้มสายชูในครัวเรือนแล้ว ยังมีการ
ผลิตกรดแอซีติกเป็นสารตั้งต้นของพอลีไวนิลแอซีเตด และเซลลูโลสแอซีเตด จัดเป็นกรดอ่อนเนื่องจากแตก
ตัวบางส่วนในสารละลาย แต่กรดแอซีติกเข้มข้นมีฤทธิ์กัดกร่อนและสามารถระคายเคืองผิวหนังได้
กรดแอซีติกเป็นกรดคาร์บ็อกซิลิกที่เรียบง่ายที่สุดเป็นอันดับสอง (รองจากกรดฟอร์มิก) ประกอบด้วยหมู่
เมทิลต่อกับหมู่คาร์บ็อกซิล กรดแอซีติกเป็นสารเคมีสำคัญและสารเคมีอุตสาหกรรม ซึ่งใช้เป็นหลักในการผลิต
เซลลูโลสแอซีเตดสำหรับภาพยนตร์ภาพถ่าย พอลีไวนิลแอซีเตดสำหรับกาวทาไม้ และใยและเส้นใยสังเคราะห์
ในครัวเรือน กรดแอซีติกเจือจางใช้เป็นสารขจัดตะกรัน
2.4 แอปเปิล
ต้นแอปเปิล (อังกฤษ: apple; ชื่อวิทยาศาสตร์: Malus domestica) เป็นต้นไม้ผลัดใบในวงศ์กุหลาบ มีผล
รสหวานเรียกว่า ผลแอปเปิล แอปเปิลมีปลูกอยู่ทั่วโลกในลักษณะของไม้ผล และสายพันธุ์ที่ถูกปลูกมากที่สุดคือ
สกุล Malus เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 3 - 12 เมตร เรือนยอดกว้าง กิ่งหนาแน่น ใบรูปไข่เรียงสลับ
ยาว 5 - 12 ซม. กว้าง 3 - 6 ซม. ก้านใบยาว 2 - 5 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใต้ใบปก
คลุมด้วยขนนุ่มเล็กน้อย ดอกเกิดขึ้นพร้อมการแตกใบใหม่ในฤดูใบไม้ผลิ ดอกมีสีขาวแต้มสีชมพู และเข้มขึ้น
เมื่อดอกใกล้โ รย มีกลีบ ดอกห้ากลีบ เส้น ผ่าศูนย์กลาง 2.5 - 3.5 ซม. ผลสุกในฤดูใบไม้ร่ว ง โดยทั่ ว ไปมี
เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 - 9 ซม. กลางผลมีคาร์เพล (carpel) ห้าโพรงเรียงตัวในรูปดาวห้าแฉก แต่ละโพรงบรรจุไป
ด้วยเมล็ดหนึ่งถึงสามเมล็ด นิยมรับประทานเป็นผลไม้สด และใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น สลัด ซอส
แอปเปิล แยม พาย หรืออบแห้ง ในไทยใช้ผลแอปเปิลเปรี้ยวมาทำอาหาร เช่น ใส่ในยำ น้ำพริก ทางยามี
สรรพคุณลดกรดในกระเพาะอาหาร ละลายเสมหะ ลดความดันโลหิต ช่วยขับเกลือโซเดียมส่วนเกินออกจาก
ร่างกาย มีฤทธิ์เป็นยาระบาย
การหมักน้ำส้มสายชูจากแอปเปิลเป็นน้ำส้มสายชูหมักที่ผลิตจากการนำแอปเปิลสดหรือน้ำแอปเปิลมาบ่ม
รวมกับ ยีส ต์ ห รือน้ำตาล โดยในกระบวนการนี้จะเกิดกรดอะซิติก (Acetic Acid) หรือกรดน้ำส้ม ซึ่งเป็น
สารชีวภาพจากการบ่มหรือหมัก ทำให้น้ำส้มสายชูจากแอปเปิลมีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นเฉพาะตัว อุดมไปด้วยแร่
ธาตุและวิตามินต่าง ๆ เหมือนกับน้ำแอปเปิ้ล เช่น เพคติ น (Pectin) ไบไอติน (Biotin) กรดโฟลิก วิตามินซี
วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 โซเดียม แคลเซียม โพแทสเซียม และธาตุเหล็ก เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่นั้น
ประกอบด้วยน้ำ กรดอะซิติก 1-10.57 เปอร์เซ็นต์ กรดซิตริก 0-18.5 เปอร์เซ็นต์ และอื่น ๆ
2.5 สับปะรด
สับปะรด (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Ananas comosus) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจาก
บริเวณทวีปอเมริกาใต้ ลำต้นมีขนาดสูงประมาณ 80-100 เซนติเมตร การปลูกสามารถปลูกได้ง่ายโดยการฝัง
กลบหน่อหรือส่วนยอดของผลที่เรียกว่า จุก เปลือกของผลสับปะรดภายนอกมีลักษณะคล้ายตาล้อมรอบผล
สับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดีและสามารถดัดแปลงเป็นไม้
ประดับได้สรรพคุณทางสารเคมี มีเอนไซม์ย่อยโปรตีนชื่อบรอมีเลน (bromelain) ช่วยย่อยโปรตีนไม่ให้ตกค้าง
ในลำไส้ มีเกลือแร่ วิตามินซีจำนวนมาก นำไปใช้ในอุตสาหกรรมการแพทย์เพื่อรักษาอาการอักเสบของเนื้อเยื่อ
และนำไปใช้ในการผลิตเบียร์เพื่อป้องกันการตกตะกอนทำให้เบียร์ไม่ขุ่น
สับปะรด เป็นผลไม้ที่มีความเป็นกรด สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำส้มสายชู ทดแทนการใช้น้ำส้มสายชูตาม
ท้องตลาดได้ดี ด้วยวิธีการง่ายๆ เพียงนำสับปะรดมาสับเป็นชิ้นๆ คลุกด้วยน้ำตาลทรายแดง แล้วเติมน้ำลงไป
ให้ท่วม หมักไว้นาน 1 เดือน สามารถรับประทานได้ หากต้องการให้ได้รับประโยชน์ดีขึ้นให้หมักต่อไปนาน
ประมาณ 3 เดือน น้ำสับปะรดจะเป็นน้ำไซเดอร์ที่ได้กรดดีที่เป็รประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น ช่วยในการย่อ ย
อาหาร และระบบขับถ่ายอย่างได้ผล นอกจากสับปะรดแล้ว ยังสามารถนำผลไม้ทุกชนิดที่ต้องการมาทำด้วย
วิธีการเดียวกันได้ด้วย เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล องุ่น เป็นต้น
การหมักน้ำส้มสายชูจากสับปะรดจะได้น้ำส้มสายชูแท้บริสุทธิไม่มี สารเคมีเจือปนและสับปะรดก็ราคาถูก
น้ำส้มสายชูมีประโยชน์สารพัดอย่างใช้ดูแล อุปกรณ์ต่างในครัวเรือน ขจัดกลิ่นเพิ่มรสชาติอาหาร
บทที่ 3
วิธีการดำเนินการศึกษา
ในการวิจัยศึกษาว่าวิธีการกำจัดวัชพืชวิธีใดมีประสิทธิภาพดี คณะผู้จัดทำได้ใช้วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ
ทดลองดังต่อไปนี้
3.1 วัสดุ และ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
1. แอปเปิล 1 กิโลกรัม
2. สับปะรด 1 กิโลกรัม
3. น้ำตาลทรายแดง 700 กรัม
4. น้ำเปล่า
5. โหลแก้ว
6. ตะเกียบไม้
7.ผ้าขาวบาง
8. กระบอกฉีดน้ำ
3.2 วิธีการทำน้ำส้มสายชูหมัก
1.นำแอปเปิลและสับปะรดหั่นเป็นเป็นชิ้นขนาดปานกลาง
2. เตรียมโหลแก้ว 2 ใบ
3.นำแอปเปิลและสับปะรดใส่ในโหลแก้ว ที่เตรียมไว้
4.ใส่น้ำตาลทรายแดง 350 กรัม และน้ำเปล่าในโหลแก้วทั้ง 2 ใบ
5.แล้วปิดฝา หมักไว้ในอุณภูมิห้อง หมักไว้อย่างต่ำ 1 เดือน
3.3 วิธีการทดลอง
1.นำน้ำสายชูที่ได้ไปใส่ในกระบอกฉีดน้ำ แล้วเอาไปฉีดพ่นใส่วัชพืชที่ต้องการกำจัด
2.ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง แล้วสังเกตและบันทึกผลที่ได้
ตารางบันทึกผลการทดลองประสิทธิภาพการกำจัดวัชพืชโดยน้ำส้มสายชูจากการหมักแอปเปิลและสับปะรด

น้ำส้มสายชู วัชพืช
ก่อนพ่น หลังพ่น
1. แอปเปิล
2. สับปะรด

สรุปผลการทดลอง
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
อภิปรายผลการทดลอง
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
บรรณานุกรม
น้ำส้มสายชูกรดอะซิติกและวัชพืช. เข้าถึงได้จาก : https://th.milanospettacoli.com/2049-vinegar-
acetic-acid-and-weeds (วันที่ค้นข้อมูล 18 กุมภาพันธ์ 64)
น้ำส้มสายชูหมัก. เข้าถึงได้จาก : https://www.thaiwellbe.com/category/foods-and-drinks/10-
benefits-of-vinegar/ (วันที่ค้นข้อมูล 20 กุมภาพันธ์ 64)
น้ำส้มแอปเปิ้ลหมัก (Apple Cider Vinegar). เข้าถึงได้จาก : http://www.naibann.com/apple-cider-
vinegar-recipe/?fbclid=IwAR2REZ2hH-
FDhn9GGLaCzcO22bo8Mf0wwsEDkhbVAILyMG8twAs5iNQnc4 (วันที่ค้นข้อมูล 20 กุมภาพันธ์ 64)
การทำน้ำส้มสายชูจากสับปะรด. เข้าถึงได้จาก :
https://rakbankerd.com/agriculture/print.php?id=8607&s=tblplant
(วันที่ค้นข้อมูล 21 กุมภาพันธ์ 64)

You might also like