You are on page 1of 9

เอกสารประกอบการสอน

วิชา 132-203 การเงินธุรกิจ


สัปดาห์ที่ 7

ชื่อผู้สอน: อาจารย์วิมล ประคัลภ์พงศ์


ภาควิชาการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยสยาม

นักศึกษาคณะ: บริหารธุรกิจ

หัวข้อเรื่อง: การบริหารลูกหนี้การค้า (Accounts Receivable Management)

วัตถุประสงค์: 1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายความหมายของลูกหนี้การค้าได้
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถบอกวัตถุประสงค์การให้สินเชื่อได้
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายนโยบายการให้สินเชื่อได้และเลือกใช้อย่างถูกวิธี
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถบอกได้ว่าหลักการวิเคราะห์ข้อมูลการให้สินเชื่อมี
อะไรบ้าง

เอกสารอ้างอิง:
ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. การเงินธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่22. กรุงเทพมหานคร : ยงพลเทรดดิ้ง, 2553.
วิมล ประคัลภ์พงศ์ , สมชาย เบ็ญจวรรณ์, สุรชัย ภัทรบรรเจิด . การเงินธุรกิจ . พิมพ์ครั้งที่ 16.
กรุงเทพมหานคร:สุภา, 2553.
สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย . เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการการเงิน หน่วยที่ 1-8,
พิมพ์ครั้งที่ 7, นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553.
สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการการเงิน หน่วยที่ 9-15,
พิมพ์ครั้งที่ 7, นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553.
Brigham,Eugenc F.and Gapenski,Iouis C. Financial Management: Theory and Practice.
7th ed. New York:The Dryden Press, 1994.
Dickerson,Bodil, Campscy,B.J. and Brigham,Eugenc F. Introduction to Financial
Management. 4thed. New York: The Dryden Press , 1955.
Van Hornc,James C. Financial Management & Policy . 10th ed. EnglewoodCliFFs,
NJ:Prentice – hall Inc. 1995.
การบริหารลูกหนี้การค้า
(Accounts Receivable Management)
ลูกหนี้การค้าหมายความว่าการขายสินค้าหรือบริการโดยที่ผู้ซื้อจะจ่ายเงินให้ภายหลังจาก
ที่ไ ด้รับ สินค้ า หรือบริก ารไปแล้วโดยจะจ่ายเงินให้ตามที่กาหนดระยะเวลาที่ ไ ด้ตกลงกั นตาม
เงื่อนไขของทั้ง 2 ฝ่าย
นโยบายการให้สินเชื่อ (Credit Policy)
นโยบายการให้สินเชื่อเป็น ปัจจัยภายในที่ผู้บริหารสามรถควบคุม ได้ เช่น การกาหนด
นโยบายการให้สินเชื่อ การควบคุม และติดตามหนี้ ซึ่งการให้นโยบายการให้สินเชื่อของแต่ละ
กิจการจะแตกต่างกัน ตามลักษณะของการค้า คุณภาพของลูกหนี้ วงเงินการให้สินเชื่อ ระยะเวลา
การให้สินเชื่อ ตลอดจนหลักเกณฑ์การจัดเก็บหนี้
ปัจจัยต่าง ๆ ในการกาหนดนโยบายการให้สินเชื่อ มีดังนี้
1. เงื่อนไขการให้สินเชื่อ (Credit term)
1.2 ระยะเวลาให้สินเชื่อ (Credit Period)
ส่วนลดเงินสด (Credit Discount)
2. มาตรฐานการให้สินเชื่อ (Credit Standard)
3. การกาหนดความเสี่ยงในการเกิดหนี้สูญ (Bad Debt Losses)
4. การกาหนดนโยบายการจัดเก็บหนี้ (Collection Policy)
1. เงื่อนไขการให้สินเชื่อ (Credit Term)
เงื่ อนไขการให้สินเชื่ อเป็ นส่วนส าคัญในการก าหนดยอดขายของกิ จการ กิ จการต้อ ง
กาหนดระยะเวลาให้สินเชื่อ และส่วนลดเงินสดเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของลูกค้า และเพื่อ
ความเหมาะสมจึงได้มีการกาหนดเงื่อนไขการชาระหนี้ไว้ ดังนี้
1.1 ระยะเวลาให้สินเชื่อ (Credit Period)
เป็นการกาหนดระยะเวลาในการเก็บหนี้ของกิจการเพื่อความเหมาะสมกิจการควร
กาหนดระยะเวลาที่ต่างกันให้ลูกค้าแต่ละรายหรือกิจการที่ต่างกัน
1.2 ส่วนลดเงินสด (Cash Discount)
การน าเงื่ อ นไขส่ว นลดเงิ น สดมาใช้เ ป็น การจูง ใจให้ ลู ก ค้ าน าเงิน มาช าระมี ผลให้
ลูกหนี้ลดลงทั้งยังรับชาระหนี้ได้เร็วกว่ากาหนด
ตัวอย่างที่ 1 บริษัท มียอดขายเชื่ อปีละ 1,800,000 บาท บริษัทให้เงื่อนไขการขาย
net/45 แต่สามารถเก็บหนี้ได้จริงโดยเฉลี่ยประมาณ 60 วัน
บริษัท มีนโยบายใหม่ ให้เงื่อนไขส่วนลดเงินสด 2/10,n/30 แก่ลูกค้า คาดว่าลูกค้า
40% จะมาชาระเงินภายใน 10 วันเพื่อรับส่วนลด 2% จึงทาให้ระยะเวลาเฉลี่ยในการเก็บหนี้ลดลง
จาก 60 วัน เหลือเพียง 30 วัน
บริษัทควรให้เงื่อนไขส่วนลด 2/10,n/30 หรือไม่ ถ้าค่าเสียโอกาสของเงินทุนเท่ากับ
12% ต่อปี
วิธีทา เปรียบเทียบรายได้ส่วนเพิ่มกับรายจ่ายส่วนเพิ่ม
รายได้ส่วนเพิ่ม คือ ต้นทุนเงินลงทุนในลูกหนี้ลดและระยะเวลาการเก็บหนี้ลดลง
(จาก 60 วันเหลือ 30 วัน)
ลูกหนี้ลด = ลูกหนี้เฉลี่ยเดิม - ลูกหนี้เฉลี่ยใหม่
= (1,800,000) - (1,800,000)
360 360
60 30
= 300,000 - 150,000
= 150,000 บาท
ดังนั้น ต้นทุนเงินลงทุนในลูกหนี้ลดลงเท่ากับ 150,000 x 12% = 18,000 บาท
รายจ่ายส่วนเพิ่ม คือ เสียส่วนลดเงินสด เนื่องจาก ลูกค้ารับส่วนลด 40%
ส่วนลดเงินสด = 1,800,000 x 40% x 2%
= 14,400 บาท
บริษั ท ควรใช้เงื่ อนไขส่วนลดเงินสดเพราะทาให้กิ จการมีรายได้ส่วนเพิ่ มมากกว่า
รายจ่ายส่วนเพิ่ม 3,600 บาท (18,000 บาท - 14,400 บาท)
2. มาตราฐานการให้สินเชื่อ ( Credit Standard )
ถ้ากิจการกาหนดมาตรฐานการให้สินเชื่อทางการค้าสูง ระยะเวลาในการเก็บหนี้สั้น ทาให้
ต้นทุนเงินลงทุนในลูกหนี้น้อยลง โอกาสที่จะเกิดหนี้ สูญมีน้อย ยอดขายไม่สูง เนื่องจากมีลูกค้า
น้อยรายปฏิ บั ติต ามเงื่ อ นไขได้ นอกจากลู ก หนี้ที่มี คุณภาพเท่า นั้น ดัง นั้น กิ จ การจึง ต้องปรั บ
มาตราฐานการให้สินเชื่อ เพื่อป้องกันการเสียลูกค้า ธุรกิจควรเปลี่ยนมาตรฐานสินเชื่อทางการค้า
แต่ถ้ารายได้ส่วนเพิ่มน้อยกว่ารายจ่ายส่วนเพิ่ม ธุรกิจก็ควรใช้มาตรฐานสินเชื่อทางการค้าเดิม
ตัวอย่างที่ 2 บริษัท มียอดขายเชื่อปีละ 3,600,000 บาท ต้นทุนขาย 70% ของยอดขาย
บริษัทให้เครดิตแก่ลูกค้า 30 วัน แต่เก็บหนี้ได้จริงโดยใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 45 วัน
บริษัท ต้องการเพิ่มยอดขายจึงลดมาตรฐานสินเชื่อทางการค้า ซึ่งคาดว่ายอดขายเชื่อ
เพิ่มขึ้น 5% ระยะเวลาเฉลี่ยในการเก็บหนี้จริงเพิ่มจาก 45 วันเป็น 60 วัน
บริษัทควรลดมาตรฐานสินเชื่อทางการค้าหรือไม่ ถ้าต้นทุนค่าเสียโอกาสของเงินทุน
เท่ากับ 12% ต่อปี
วิธีทา เปรียบเทียบรายได้ส่วนเพิ่มกับรายจ่ายส่วนเพิ่ม
รายได้ส่วนเพิ่ม คือ ยอดขายเพิ่ม กาไรเพิ่ม
ยอดขาย 100 บาท ขายได้เพิ่มขึ้น = 5 บาท
ยอดขายเดิม 3,600,000 บาท ขายได้เพิ่มขึ้น = 5 x 3,600,000 บาท
100
= 180,000 บาท
ต้นทุนขาย 70% ดังนั้นกาไร คือ 30%
ขายได้เพิ่มขึ้น 180,000 บาท ดังนั้นกาไรเพิ่มขึ้น = 180,000 x 30%
= 54,000 บาท
รายจ่ายส่วนเพิ่ม คือ ต้นทุนเงินลงทุนในลูกหนี้เพิ่ม ( ระยะเวลาเก็บหนี้เพิ่มจาก 45 วัน
เป็น 60 วัน)
ลูกหนี้เพิ่ม = ลูกหนี้เฉลี่ยใหม่ - ลูกหนี้เฉลี่ยเดิม
จากสูตร ลูกหนี้เฉลี่ย = ยอดขายเชื่อ
360
อายุลูกหนี้
ดังนั้น ลูกหนี้เพิ่ม = (3,600,000 + 180,000) - (3,600,000)
360 360
60 45
= 630,000 - 450,000
= 180,000 บาท
ลูกหนี้เพิ่มในราคาทุน (70%) = 180,000 x 70%
= 126,000 บาท
ต้นทุนเงินลงทุนในลูกหนี้เพิ่ม = 126,000 x 12% บาท
= 15,120 บาท
ดัง นั้น บริษั ท ควรลดมาตรฐานการให้สินเชื่อทางการค้าเนื่องจากรายได้ส่วนเพิ่ ม
มากกว่ารายจ่ายส่วนเพิ่ม เท่ากับ 38,880 บาท (54,000 บาท - 15,120 บาท)
3. การกาหนดความเสี่ยงในการเกิดหนี้สูญ
บริษัทต้องประสบปัญหาหนี้สูญ เนื่องจากไม่สามารถเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ ซึ่งหนี้สูญจะ
ผันแปรตามคุณภาพของลูกหนี้การค้า และระยะเวลาการให้สินเชื่อ ถ้าระยะเวลาการให้สินเชื่อยิ่ง
มากเท่าใด โอกาสการเกิดหนี้สูญย่อมมากขึ้นและถ้าลู กหนี้การค้ามีคุณภาพไม่ดี โอกาสการเกิด
หนี้สูญก็ จะมากเช่ นเดียวกั น หนี้สูญจึงเป็นค่าใช้จ่ายอย่ างหนึ่งของธุรกิจ ดังนั้น ธุรกิ จจะทา
อย่างไรที่จะให้เกิดหนี้สูญน้อยที่สุดหรือไม่มีหนี้สูญเลย
ตัวอย่างที่ 3
บริษั ท มี ย อดขายเชื่ อปี ล ะ 1,500,000 บาท ต้นทุนขายคิ ดเป็น 70% ของยอดขาย
ระยะเวลาเฉลี่ยในการเก็บหนี้ 30 วัน อัตราการเกิดหนี้สูญ 1% ของยอดขายเชื่อ
บริ ษั ท มี น โยบายลดมาตรฐานสิ น เชื่ อ ทางการค้ า คาดว่ า ยอดขายจะเพิ่ ม ขึ้ น 10%
ระยะเวลาเฉลี่ยในการเก็บหนี้เพิ่มจาก 30 วันเป็น 60 วัน และอัตราการเกิดหนี้สูญเพิ่มจาก 1% เป็น
2% บริษัทควรลดมาตรฐานสินเชื่อทางการค้าหรือไม่ถ้าค่าเสียโอกาสของเงินทุนเท่ากับ 12% ต่อปี
วิธีทา เปรียบเทียบรายได้ส่วนเพิ่มกับรายจ่ายส่วนเพิ่ม
รายได้ส่วนเพิ่ม คือ ยอดขายเพิ่ม กาไรเพิ่มขึ้น
ยอดขายเพิ่ม = 1,500,000 x 10%
= 150,000 บาท
กาไรเพิ่ม (30%) = 150,000 x 30%
= 45,000 บาท
รายจ่ายส่วนเพิ่ม 1. ต้นทุนเงินลงทุนในลูกหนี้เพิ่มระยะเวลาเก็บหนี้เพิ่มจาก 30 วัน
เป็น 60 วัน
2. เกิดหนี้สูญเพิ่มจาก 1% เป็น 2%
ลูกหนี้เพิ่ม = ลูกหนี้เฉลี่ยใหม่ - ลูกหนี้เฉลี่ยเดิม
ลูกหนี้เพิ่ม = (1,500,000 + 150,000) - (1,500,000)
360 360
60 30
= 275,000 - 125,000
= 150,000 บาท
ลูกหนี้เพิ่มในราคาทุน(70%) = 150,000 x 70%
= 105,000 บาท
ต้นทุนเงินลงทุนในลูกหนี้เพิ่ม (12%) = 105,000 x 12%
= 12,600 บาท
หนี้สูญเพิ่ม = {(1,500,000 + 150,000) x 2%} - {1,500,000 x 1%}
= 33,000 - 15,000
= 18,000 บาท
เปรียบเทียบ รายได้ส่วนเพิ่ม คือ กาไรเพิ่ม = 45,000 บาท
รายจ่ายส่วนเพิ่ม คือ เงินลงทุนในลูกหนี้เพิ่ม = 12,600 บาท
หนี้สูญเพิ่ม = 18,000 บาท
จะเห็นว่ารายได้ส่วนเพิ่มมากกว่ารายจ่ายส่วนเพิ่ม = 14,400 บาท
บริษัทควรลดมาตรฐานการให้สินเชื่อทางการค้าเนื่องจากรายได้ส่วนเพิ่มมากกว่า
รายจ่ายส่วนเพิ่ม 14,400 บาท
4. นโยบายการจัดเก็บหนี้ ( Collection Policy )
การจัดเก็บหนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของนโยบายการให้สินเชื่อกิจการต้องติดตาม การเก็บ
กิจการต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บหนี้ที่พ้นกาหนด เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดหนี้สูญและ
สามารถเก็บหนี้ได้จึงควรเลือกใช้วิธีการเก็บหนี้จากลูกค้าที่มีประสิทธิภาพ และจะต้องพิจารณา
ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บหนี้ต้องไม่สูงกว่าผลตอบแทน
ตัวอย่างที่ 4 บริษัท มียอดขายเชื่อ ปีละ 1,200,000 บาท เงื่อนไขสินเชื่อทางการค้า
net 30 แต่เก็บหนี้ได้จริง 45 วัน บริษัทจึงใช้นโยบายเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเก็บหนี้จาก 40,000 บาท
เป็น 60,000 บาท คาดว่าจะทาให้เก็บหนี้ได้ในระยะเวลา 30 วัน อัตราการเกิดหนี้สูญลดลงจาก 2%
เหลือ 0.5% บริษัทควรเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเก็บหนี้หรือไม่ ถ้าค่าเสียโอกาสของเงินทุนเท่ากับ
12% ต่อปี
วิธีทา เปรียบเทียบรายได้ส่วนเพิ่ม กับ รายจ่ายส่วนเพิ่ม
รายได้ส่วนเพิ่ม คือ 1. ต้นทุนเงินลงทุนในลูกหนี้ลดจาก 45 วัน เหลือ 30 วัน
2. หนี้สูญลดจาก 2% เหลือ 0.5%
รายได้ส่วนเพิ่ม
ลูกหนี้ลด = ลูกหนี้เฉลี่ยเดิม - ลูกหนี้เฉลี่ยใหม่
= (1,200,000) - (1,200,000)
360 360
45 30
= 150,000 - 100,000
= 50,000 บาท
ต้นทุนเงินลงทุนในลูกหนี้ลด (12%) = 50,000 x 12%
= 6,000 บาท
หนี้สูญลด = (1,200,000 x 2%) - (1,200,000 x 0.5%)
= 24,000 - 6,000
= 18,000 บาท

รายจ่ายส่วนเพิ่ม คือ ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บหนี้เพิ่ม


ค่าใช้จ่ายในการเก็บหนี้สินเพิ่ม = 60,000 - 40,000 = 20,000 บาท
เปรียบเทียบ รายได้ส่วนเพิ่ม คือ 1. ต้นทุนเงินลงทุนในลูกหนี้ลด = 6,000 บาท
2. หนี้สูญลด = 18,000 บาท
รวม = 24,000 บาท
รายจ่ายส่วนเพิ่ม คือ ค่าใช้จ่ายในการเก็บหนี้เพิ่ม = 20,000 บาท
รายได้ส่วนเพิ่มมากกว่ารายจ่ายส่วนเพิ่ม = 4,000 บาท
ดังนั้น บริษัทควรเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเก็บหนี้เนื่องจาก รายได้ส่วนเพิ่มมากกว่ารายจ่าย
ส่วนเพิ่มเท่ากับ 4,000 บาท
ในการดาเนินธุรกิจ บริษัทสามารถที่จะกาหนดนโยบายการให้สินเชื่อทางการค้า และ
นโยบายการจัดเก็ บหนี้หลาย ๆ วิธี แล้วทาการเปรียบเทีย บนโยบายต่าง ๆ เพื่ อตัดสินใจเลือก
นโยบายที่ให้ประโยชน์ต่อกิจการสูงสุด
การประเมินการขอสินเชื่อของลูกค้า
ก่อนการตัดสินใจให้สินเชื่อแก่ลูกค้ากิจการต้องพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า
การพิจารณาการให้สินเชื่อทางการค้า ซึ่งการพิจารณาการให้สินเชื่อมีดังนี้
1. การรวบรวมข้อมูล เป็นการเก็บข้อมูลของลูกค้า เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูล
เชิงปริมาณ
แหล่งที่มาของข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ
1.1 งบการเงิ น ของลู ก ค้ า เพื่ อ ใช้ ป ระกอบการพิ จ ารณาถึ ง ความสามารถในการ
ดาเนินงานของกิจการ
1.2 ประสบการณ์ธุรกิจ ธุรกิจสามารถรวบรวมข้อมูลของลูกค้าจากฝ่ายขายและฝ่าย
อื่น ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ
1.3 ส่วนของผู้เกี่ยวข้อง สอบถามข้อมูลของลูกค้าเพื่อขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ
กระแสการไหลเวียนทางการเงินของลูกค้า
2. การวิเคราะห์ข้อมูล
เป็นการวิเคราะห์จากอัตราส่วนทางการเงิน เช่น งบการเงินของลูกหนี้ ได้แก่ งบดุล
งบกาไรขาดทุน
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่ต้องวิเคราะห์โดยใช้ 6 C ,S ได้แก่
1. Character หมายถึง คุณสมบัติและลักษณะของลูกค้า เช่น ความรับผิดชอบ ความ
ซื่อตรง บุคลิกลักษณะท่าทาง เป็นต้น
2. Capital หมายถึง เงินทุนของลูกค้า โดยพิจารณาจากงบดุลทั้งในด้าน สินทรัพย์
หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ
3. Capacity หมายถึง ความสามารถในการชาระหนี้ของลูกค้า ซึ่งพิจารณาจากกาไร
สุทธิในงบกาไรขาดทุน
4. Collateral หมายถึง หลักทรัพย์ค้าประกัน เพื่อลดความเสี่ยงของลูกค้าต่อธุรกิจ
5. Condition หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม พฤติกรรม
ผู้บริโภคที่มีผลต่อการดาเนินธุรกิจ
6. Country หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องระหว่างประเทศที่มีผ ลต่อการดาเนินธุรกิจ เช่น
กฎหมายระหว่างประเทศ อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ วัฒนธรรม อัตราภาษี
ศุลกากร เป็นต้น
3. การตัดสินใจ
ในการตัดสินใจว่าจะให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายใดหรือไม่ ถ้าให้ควรเป็นวงเงินสูงสุด
เท่าใดและใช้เงื่อนไขอะไรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาระดับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและ
มาตรฐานในการให้สินเชื่อของกิจการ
4. การจัดเก็บหนี้รายธุรกิจ
เพื่อความก้าวหน้าและเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากการให้สินเชื่อ
นั้น ฝ่ายติดตามผลต้องดาเนินงานเป็นระยะด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง จะเป็นการกระตุ้นเตือน
กาหนดการชาระหนี้และมีส่วนช่วยในการเก็บยอดสั่งซื้อ แต่ต้องเปรียบเทียบรายได้กับค่าใช้จ่ายที่
เพิ่มขึ้น

You might also like