You are on page 1of 31

บทที่ 5

การคานวณแสงสว่างภายในด้ วยวิธีลูเมน

5.1 ความนา
การค านวณแสงสว่างด้วยวิธี ลู เมน (lumen method) เป็ นวิธี ก ารค านวณเพื่ อหาปริ มาณ
ฟลักซ์ส่องสว่างที่เหมาะสมกับงานชนิดต่าง ๆ เป็ นวิธีที่เหมาะกับพื้นที่ใช้งานที่ตอ้ งการความส่ องสว่าง
อย่างสม่าเสมอ โดยมีหลักว่าฟลักซ์ส่องสว่างที่ใส่ ไปในบริ เวณงานที่ออกแบบ จะเฉลี่ยให้มีความส่ อง
สว่างเท่ากัน เช่ น การส่ องสว่างในสานักงาน ห้องเรี ยน เป็ นต้น หลักการคานวณจะคานึ งถึงผลการ
สะท้อนของพื้น ผนัง และเพดาน ซึ่ งเป็ นนับเป็ นการส่ องสว่างแบบทางอ้อม (indirect) คือการคิดผล
จากการสะท้อนเข้าไปด้วย สอดคล้องกับ ที่ กล่ าวไว้โดย ประสิ ท ธิ์ พิท ยพัฒน์ (2543, หน้า 206) ว่า
การคานวณด้วยวิธีลูเมนจะคิดผลของการสะท้อนเข้าไปด้วย ส่ วนการคานวณแบบจุดต่อจุดจะเป็ นการ
หาความส่ องสว่างแบบโดยตรง ดังนั้นการคานวณด้วยวิธีลูเมนนี้ จึงมี งานหลักในการคานวณหาผล
ที่เกิดจากการสะท้อนของส่ วนต่าง ๆ ของห้องทั้งที่เกิดจากชนิ ดและสี ของวัสดุ ซึ่ งก็คือค่าสัมประสิ ทธิ์
การใช้ประโยชน์ของโคมที่เลือกใช้ ดังจะได้กล่าวถึงรายละเอียดในลาดับต่อไป

5.2 ปริมาณฟลักซ์ ส่องสว่ างที่ต้องการ


จากชื่อของวิธีการคานวณแบบลูเมน คาว่า ลูเมน ก็คือหน่วยของฟลักซ์ส่องสว่างที่กระจาย
สู่ ผิวงาน กล่าวอีกนัยหนึ่ งก็คือความส่ องสว่างที่จาเป็ นสาหรับพื้นที่ใช้งานนั้น ๆ และเพื่อให้มีความ
ส่ องสว่างพอเพียงตลอดอายุการใช้งานของหลอดไฟที่ ใช้ การออกแบบจึงต้องเผื่อค่าความเสื่ อมถอย
ของแสงสว่างเนื่ องด้วยสาเหตุต่าง ๆ จะทาให้ได้สมการที่ใช้ในการคานวณ ซึ่งสอดคล้องกับที่เสนอไว้
โดย ศุลี บรรจงจิตร (2538, หน้า 141) และ Sclater and Traister (2003, p.305) การพิจารณาจะเริ่ มต้น
จากสมการความส่ องสว่าง ดังนี้

ความส่ องสว่าง E = ฟลักซ์ส่องสว่าง  (lux) (5.1)


พื้นที่ A
114

เผื่อสั ม ประสิ ท ธิ์ การใช้ประโยชน์ (coefficient of utilization, CU) ตามหลัก การของ IES
หรื อ ตัวประกอบการใช้ประโยชน์ (utilization factor, UF) ตามหลักการของ CIE ในที่น้ ีใช้ค่า CU

 CU
E =
A
เผื่อความเสื่ อมของหลอดไฟ (lamp lumen depreciation, LLD) และความสกปรกของโคม
(luminaries dirt depreciation, LDD)

 CU LLD LDD
จะได้ E = (lux) (5.2)
 A

EA
และ  = (lm) (5.3)
CU LLD LDD


จานวนโคม N = (5.4)
(lm/lamp) (lamp/luminaire)

เมื่อ
lm/lamp คือ ฟลักซ์ส่องสว่างต่อหลอด
lamp/luminaire คือ จานวนหลอดต่อโคม

5.3 ขั้นตอนการคานวณและการออกแบบ
เป็ นขั้นตอนการออกแบบทั้งหมด ของทั้งวิธีอตั ราส่ วนโพรงและวิธีอตั ราส่ วนของห้อง
จะมีข้ นั ตอนที่เหมือนกัน จากเริ่ มต้นจนถึงขั้นตอนสุ ดท้าย ดังนี้
1. วัดขนาดของพื้นที่ที่ตอ้ งการออกแบบเป็ นตารางเมตร หรื อตารางฟุ ต ให้สัมพันธ์ กบั
หน่วยของค่าความส่ องสว่างจะที่เลือกใช้ ตามลาดับ
2. กาหนดค่าความส่ องว่างเป็ นลักซ์ (lux) หรื อ ฟุตแคนเดิ ล (foot-candle) ให้สัมพันธ์กบั
หน่ วยของขนาดกว้าง-ยาวของห้อง และกาหนดค่าให้เพียงพอตามชนิ ดของงาน ตามมาตรฐาน IES
หรื อ CIE
115

3. พิจารณาเลื อกชนิ ดของหลอดและโคม โดยพิจารณาเรื่ องแสงบาดตา ความสวยงาม


และความเหมาะสมกับสภาพห้องและงาน
4. คานวณค่าอัตราส่ วนโพรง เช่น RCR หรื ออัตราส่ วนของห้อง Kr ตามวิธีที่เลือก
5. หาสัมประสิ ทธิ์ การสะท้อนแสงของเพดาน กาแพง และพื้น ตามชนิ ดและสี ของวัสดุ
หากไม่ทราบให้ใช้ค่าโดยประมาณ ดังที่ ชานาญ ห่ อเกี ยรติ (2540, หน้า4-7) ได้แนะนาไว้คือ 70, 50
และ 20 ตามลาดับ
6. หาค่าสัมประสิ ทธิ์ การใช้ประโยชน์ของโคม จากตารางที่แนบมาพร้อมกับโคมที่ได้จาก
ผูผ้ ลิต หากไม่มีก็สามารถใช้ตารางมาตรฐานของ IES หรื อ CIE
7. หาค่าความเสื่ อมของหลอดจากตารางข้อมูลที่แนบมากับหลอด หรื อตารางมาตรฐานที่มี
ผูร้ วบรวมไว้ และค่าความสกปรกของโคมตามชนิดของหลอดและระดับความสะอาดของห้อง
8. หาฟลักซ์ส่องสว่างและจานวนโคม โดยการแทนค่าในสมการที่ 5.3 และ 5.4 ตามลาดับ
9. คานวณระยะการติดตั้งพร้อมทั้งเขียนแผนผังการติดตั้งของโคม

5.4 การคานวณโดยวิธีอตั ราส่ วนโพรง


การคานวณโดยวิธีอตั ราส่ วนโพรง (zonal cavity method) เป็ นการคานวณตามวิธีการของ
IES โดยการแบ่งห้องออกออกเป็ น 3 ส่ วนหรื อโพรง เพื่อพิจารณาผลการสะท้อนแสงของส่ วนต่าง ๆ
ซึ่ งจะมีผลต่อค่าสั มประสิ ท ธิ์ การใช้ประโยชน์ของโคมไฟ การกาหนดส่ วนต่าง ๆ และมิติ ของห้อง
เป็ นไปตามภาพที่ 5.1
L
W โพรงเพดาน

HCC โพรงห้ อง
โคมไฟ
โพรงพืน้
HRC
HCC : Ceiling Cavity Height
โต๊ ะทางาน HRC : Room Cavity Height
HFC HFC : Floor Cavity Height

ภาพที่ 5.1 การแบ่งส่ วนโพรงพื้น โพรงห้อง และโพรงเพดาน


116

5.4.1 การคานวณอัตราส่ วนโพรง


นามิติของห้องจากภาพที่ 5.1 มาคานวณหาอัตราส่ วนโพรง โดยเริ่ มจากหลักการ
ในสมการที่ 5.5 ดังนี้

อัตราส่ วนโพรง = 5 เท่าของ พื้นที่ 4 ด้านในแนวดิ่ง (5.5)


พื้นที่ 2 ด้านแนวนอน
จะได้ส มการหาอัตราส่ วนโพรงทั้ง 3 ส่ วนคื อ โพรงห้ อง โพรงพื้ น และโพรงเพดาน
สอดคล้องกับที่แสดงไว้โดย ชาญศักดิ์ อภัยนิพฒั น์ (2550, หน้า 225) ดังนี้

อัตราส่ วนโพรงเพดาน (ceiling cavity ratio, CCR)


5HCC (W + L)
CCR = (5.6)
WxL

อัตราส่ วนโพรงห้อง (room cavity ratio, RCR)


5HRC (W + L)
RCR = (5.7)
WxL

อัตราส่ วนโพรงพื้น (floor cavity ratio, FCR)


5HFC (W + L )
FCR = (5.8)
WxL

5.4.2 การหาสัมประสิ ทธิ์การสะท้ อนแสงของห้ อง


สัมประสิ ทธิ์ การสะท้อนแสง (reflectance) เป็ นความสามารถในการสะท้อนแสง
ของส่ วนต่าง ๆ ของห้อง ประกอบด้วยความสามารถสะท้อนแสงของเพดาน (ceiling reflectancec)
ของผนัง (wall reflectance, w) และของพื้น (floor reflectance,f) ค่าเหล่านี้ กาหนดขึ้นมาเพื่อหาค่า
ประสิ ทธิผลการสะท้อนของโพรง (effective cavity reflectance) หลักการนี้สอดคล้องกับที่กล่าวไว้โดย
ชาญศัก ดิ์ อภัย นิ พ ัฒ น์ (2545, หน้า 231) และยัง ได้ก าหนดค่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ การสะท้อ นแสงของ
องค์ประกอบของห้อง พร้อมทั้งวัสดุเครื่ องใช้ภายในห้อง ดังตารางที่ 5.1
117

ตารางที่ 5.1 ค่าสัมประสิ ทธิ์การสะท้อนแสงของอาคาร

เปอร์ เซนต์ การสะท้อนแสง


บริเวณ
สานักงาน, โรงเรียน, โรงงาน ทีอ่ ยู่อาศัย
เพดาน 0.70-0.90 0.60-0.90
กาแพง(ผนัง) 0.40-0.60 0.35-0.60
อุปกรณ์ หรื อ ตู ้ โต๊ะ เก้าอี้ 0.25-0.45 0.25-0.48
เครื่ องใช้สานักงาน 0.25-0.45 0.25-0.48
พื้นทัว่ ไป 0.20-0.45 0.15-0.35
พื้นโรงงาน 0.10-0.30 -

ทีม่ า : ชาญศักดิ์ อภัยนิพฒั น์, 2550, หน้า 235

5.4.3 การหาประสิทธิผลการสะท้ อนของโพรงเพดานและโพรงพืน้


ประสิ ทธิ ผลการสะท้อน คือ ผลสัมฤทธิ์ ของการสะท้อนของส่ วนต่าง ๆ ของห้อง
ทั้ง หมด ผลสั ม ฤทธิ์ มี อ ยู่ 2 ส่ ว น คื อ ประสิ ท ธิ ผ ลการสะท้อ นของโพรงเพดาน (effective ceiling
reflectance, cc) และประสิ ทธิ ผลการสะท้อนของโพรงพื้น (effective floor reflectancefc) วิธีการ
หาค่าสามารถทาได้โดยพิจารณาจากตารางภาคผนวก ข.1 และ ภาคผนวก ข.2 โดยใช้ค่า RCR, FCR,
CCR, f, c แ ละ w เป็ นตัวแปรต้นสาหรับการพิจาณา

5.4.4 การหาสัมประสิทธิ์การประโยชน์
สัมประสิ ทธิ์ การใช้ประโยชน์ เป็ นอัตราส่ วนระหว่างค่าผลลัพธ์สุทธิ (หลังจากที่
สู ญเสี ยไปกับการกรองแสงของโคมและการดูดกลืน-สะท้อนของสภาพห้อง) ต่อค่าฟลักซ์ส่องสว่างที่
กระจายออกจากหลอดทั้งหมด (Capehart; Turner & Kennedy, 2002, p.172) ผลลัพธ์สุ ทธิ ของฟลักซ์
คื อ ฟลัก ซ์ ที่ ออกจากโคมและคิ ด ผลของการสะท้อนของส่ วนต่ าง ๆ ของห้อ ง การหาค่ าท าได้โดย
พิจารณาตารางภาคผนวก ค.1 กาหนดตัวแปรต้น คือ RCR, w, cc และ fc โดยพิจารณาให้ตรงกับ
ชนิดของโคมที่เลือกใช้
118

5.4.5 การหาตัวประกอบการบารุงรักษา
ตัวประกอบการบ ารุ งรักษา (maintenance factor, MF) เป็ นตัวประกอบของความ
คงอยูข่ องความส่ องสว่าง ขึ้นอยูก่ บั 2 ปั จจัยหลักคือสภาพความเสื่ อมของหลอดไฟและ ความสกปรก
ของโคม เขียนเป็ นสมการได้ดงั นี้

MF = LLD x LDD (5.9)

การหาค่าตัวประกอบความสกปรกของโคม โดยพิจารณาจากภาพที่ 5.2

ภาพที่ 5.2 ค่าตัวประกอบเนื่ องจากความสกปรกโคม


ทีม่ า : Capehart; Turner & Kennedy, 2002, p.172

ส่ วนตัวประกอบความเสื่ อมของหลอด จะได้จากจากคู่มือหลอดหรื อจากตารางที่มีการ


รวบรวมค่าไว้ตามชนิดของหลอด ดังในภาคผนวก ง.
119

อีกวิธีหนึ่ งที่สามารถหาค่าตัวประกอบการบารุ งรักษาได้คือ ใช้ค่าที่แนะนาโดย ประสิ ทธิ์


พิทยพัฒน์ (2543, หน้า 201) ดังตารางที่ 5.2 มีการจัดประเภทห้องออกตามระดับของความสะอาดเป็ น
3 กลุ่ ม คื อ สกปรก ปานกลาง และสะอาด ตัวอย่างเช่ น ห้องประชุ ม ที่มี ระบบปรับอากาศและปิ ด
มิดชิดจัดอยูใ่ นกลุ่มสะอาด ส่ วนโรงงานที่เปิ ดโล่งและมีฝนควั ุ่ นจัดอยูใ่ นกลุ่มสกปรก เป็ นต้น

ตารางที่ 5.2 ค่าตัวประกอบการบารุ งรักษา

ระดับความสะอาด LLD LDD MF


สะอาด 0.9 0.9 0.8
ปานกลาง 0.9 0.8 0.7
สกปรก 0.9 0.7 0.6

ทีม่ า : ประสิ ทธิ์ พิทยพัฒน์, 2543, หน้า 201

5.4.6 การหาฟลักซ์ แสงสว่างและจานวนโคมที่ต้องการ


โดยการแทนค่าตัวแปรในสมการ 5.3 ซึ่ งมี ความส่ องว่าง พื้นที่ สัมประสิ ทธิ์ การ
ใช้ป ระโยชน์ ตัวประกอบความเสื่ อมของหลอดและความสกปรกของโคม (หรื อตัวประกอบการ
บารุ งรักษา) เพื่อหาค่าฟลักซ์ ส่องสว่าง หลังจากนั้นแทนค่าในสมการ 5.4 จะได้จานวนโคมทั้งหมด
ที่ตอ้ งการ

ตัวอย่ างที่ 5.1 ให้คานวณหาจานวนโคมที่ใช้ในสานักงานขนาด 8 x 10 เมตร สู ง 2.7 เมตร โต๊ะทางาน


สู ง 0.7 เมตร เลื อกโคมไฟแบบฝั งในฝ้ ามีตวั กรองแสงแบบเกร็ ดแก้ว (flat prismatic) (ตรงกับโคมตาม
ตารางภาคผนวก ค. 1 เบอร์ 42) ใช้กบั หลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาด 36 วัตต์ ฟลักซ์ส่องสว่าง 3,200 ลูเมน

วิธีทา
หา RCR แทนค่าในสมการ 5.7

5 x HRC (W + L)
RCR =
WxL
120

5 (2.7 - 0.7) (8 + 10)


=
8 x 10
= 2.25
กาหนดให้ cc = 70   
w = 50

หา CU จากตารางภาคผนวก ค.1 โคมหมายเลข 42 ที่ cc = 70 w = 50


และ RCR = 2.25
ค่า RCR = 2 ได้ค่า CU = 0.59 และ ที่ค่า RCR = 3 ได้ค่า CU = 0.53
ดังนั้น ค่า RCR = 2.25 ได้ค่า CU = 0.59-(0.59 - 0.53)0.25 = 0.575

หา MF จากตารางที่ 5.2 MF = 0.8 สาหรับสานักงานที่มีความสะอาด


หา E จากตารางภาคผนวก ก.1 สาหรับงานในสานักงาน E = 500 lx
แทนค่าในสมการ 5.3 เพื่อหาฟลักซ์ส่องสว่าง

ExA
 =
CU x MF
(500)(80)
=
(0.575)(0.8)
= 86,956.52 lm

หาจานวนโคม โดยเลือกใช้ 2 หลอดต่อโคม แทนค่าในสมการ 5.4 ดังนี้


จานวนโคม N =
(lm/lamp) (lamp/luminaires)

86,956.52
=
(3,200) (2)
= 13.6 โคม
ปัดเป็ น 14 โคม เพื่อให้แสงพอเพียงและติดตั้งได้อย่างสมดุล
121

ตัวอย่ างที่ 5.2 พื้นที่ประกอบชิ้นส่ วนโทรศัพท์ของโรงงานแห่ งหนึ่ ง กว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร ระยะ
จากพื้นถึงเพดาน 4.5 เมตร โต๊ะทางานสู ง 0.8 เมตร โคมแขวนจากเพดานลงมา 0.6 เมตร ถ้าเลือกใช้
โคมแขวนชนิ ดไฮเบย์แบบกระจายแสงกว้าง ใช้กบั หลอดเมทัลฮาไลด์ 400 วัตต์ ชนิ ดใส จะต้องใช้
ทั้งหมดกี่โคม

วิธีทา
1. หาอัตราส่ วนโพรง
CCR = 5 x HCC (W + L)/W x L = 5 x 0.6 (6 + 12)/6 x 12 = 0.75
RCR = 5 x HRC (W + L)/W x L = 5 x 3.1 (6 + 12)/6 x 12 = 3.875
FCR = 5 x HFC (W + L)/W x L = 5 x 0.8 (6 + 12)/6 x 12 = 1.00

2. หาค่ าประสิ ทธิผลการสะท้อนแสงของโพรง


พิจารณาตามตารางที่ 5.1 ได้  c = 80%  w = 50% f = 10%
และหาค่า cc และ fc จากตารางภาคผนวก ข.
c = 80% w = 50% CCR = 0.75 cc = 69.5%
f = 10% w = 50% FCR = 1.00 fc = 12.0%

3. หาค่ า CU จากตาราง ภาคผนวก ค.1 โคมที่ตรงกับโจทย์คือโคมหมายเลข 18


cc = 70% (ใช้แทน 69.5%) w = 50% RCR = 3.875 CU = 0.628

4. ปรั บค่ า CU ให้ ถูกต้ อง เนื่ องจากค่า CU ที่ได้มานั้นใช้กบั ค่า fc = 20 % เท่านั้น แต่
ค่าfc ที่หาได้ คือ 12 % จึงต้องหาค่าตัวคูณเพื่อปรับค่า CU ให้ถูกต้อง พิจารณาตารางภาคผนวก ค.2
cc = 70% fc = 10% (ใช้แทน12 %) RCR = 3.875 ได้ตวั คูณ = 0.962
CU ที่ถูกต้อง = 0.628 x 0.962 = 0.604

5. หาค่ า LLD และ LDD


พิจารณา LLD จากตารางภาคผนวก ง.1 ที่หลอดเมทัลฮาไลด์แบบใส (standard clear
metal halide) รู ปทรง E28 ได้ค่า LLD = 0.74 สาหรับติดตั้งแบบแขวน (vertical lamp orientation)
พิ จารณา LDD จากภาพที่ 5.2 โคมประเภทที่ 3 สภาพห้องระดับ สะอาดปานกลาง
การบารุ งรักษา 24 เดือน/ครั้ง ได้ค่า LDD = 0.8
122

6. กาหนดค่ าความส่ องสว่ าง ที่ภาคผนวก ก.1 อุตสาหกรรม งานละเอียด อิเล็กทรอนิก ส์


หรื อ ก.3 ข้อ 7 อุ ต สาหกรรมไฟฟ้ า และอิ เล็ ก ทรอนิ ก ส์ พื้ น ที่ ป ระกอบชิ้ น ส่ ว นขนาดเล็ ก เช่ น
เครื่ องโทรศัพท์ ได้ค่าความส่ องสว่าง 750 ลักซ์

7. คานวณหาปริมาณฟลักซ์ ส่องสว่างทีต่ ้ องการ

ExA
 =
CU x LLD x LDD
750 x 72
=
0.604 x 0.74 x 0.8
= 151,020.23 lm

8. หาจานวนโคมทีต่ ้ องการ

N = 151,020.23/34,000
= 4.44 โคม เลือกจริ ง 6 โคม (เลือก 5 ไม่สมดุล)

9. การจัดวางตาแหน่ งโคม

จัดอย่างง่ายเนื่ องจากจานวนโคมไม่มาก
จัดเป็ น 2 แถว ๆ ละ 3 โคม ดังแผนผัง

3/2 = 1.5 m

6/2 = 3 m
6m

3/2 = 1.5 m

2m 12/3 = 4 m 4m 4/2 = 2m
12 m
123

10. ตรวจสอบระยะห่ างในการติดตั้งดวงโคมกับมาตรฐาน


ระยะห่ า งของการติ ด ตั้ง ให้ เป็ นไปตามอัต ราส่ วนระหว่า งความห่ า งกับ ความสู ง
(spacing per mounting height ratio or spacing criteria) ซึ่ งจะระบุ ไ ว้ใ นตารางสั ม ประสิ ทธิ์ การใช้
ประโยชน์ของโคมที่เลือกใช้ ดังสมการ 5.10

S
SC   (5.10)
MH
เมื่อ S คือ ระยะระหว่างโคม (spacing)
MH คือ ระยะจากผิวงานถึงโคม (mounting height)

จากตารางภาคผนวก ค.1 โคมลาดับที่ 18 มีคา่ SC   1.5


แทนค่าในสมการ 5.10 SC = 4/3.1
= 1.29 ซึ่ง  1.5

ดังนั้น ระยะห่างของการติดตั้ง 4 เมตร จึงเป็ นค่าที่เหมาะสม

ระยะติดตั้งที่มากเกินไป แนวของลาแสงไม่ทบั ซ้อนกัน ทาให้มีจุดอับแสงค่าระดับความ


สม่าเสมอของแสงต่า ดังภาพที่ 5.3

จุดอับแสง

ก. ระยะห่ างมากเกินไป ข. ระยะห่ างเหมาะสม

ภาพที่ 5.3 ผลของระยะห่างของการติดตั้งดวงโคมที่เหมาะสมและมากเกินไป


124

ระยะของการติดตั้งดวงโคม จาแนกตามชนิดของโคม และ รู ปแบบการติดตั้ง ให้เป็ นไป


ตามภาพที่ 5.4 สอดคล้องกับที่แนะนาไว้โดย ชาญศักดิ์ อภัยนิพฒั น์ (2550, หน้า 150)

S S
S S

< S/2 (2.5– 3)


S
S

< 2(0.5– 1) 2

S
S- 4
S/2 (2.5 – 3)

คือ โคมฟลูออเรสเซนต์ ขนาด 4 ft หรื อ 120 cm


คือ โคมหลอดไส้, ฮาโลเจน หรื อ หลอด HID มีลกั ษณะทรงกลมหรื อสี่ เหลี่ยมจัตุรัส

ภาพที่ 5.4 รู ปแบบและระยะห่างการติดตั้งโคมไฟฟ้า

ตัว อย่ างที่ 5.3 ส านัก งานออกแบบแห่ งหนึ่ ง กว้าง 12.61 เมตร ยาว 36.04 เมตร สู ง 3.60 เมตร
พื้นผิวปฏิ บตั ิ งานสู ง 0.9 เมตร กาหนดให้ c = 80% w = 50% f = 10% ใช้โคมฟลูออเรสเซนต์
ติ ด ตั้ง ซ่ อ นในฝ้ า ขนาด 36 วัต ต์ 2 หลอด รหัส LMPM2 – 240/R/MI ของ LUSO ใช้ ห ลอดมี ฟ ลัก ซ์
ส่ องสว่างเฉลี่ย 2,970 ลูเมน ฟลักซ์ส่องสว่างเริ่ มต้น 3,300 ลูเมน ต้องการความสว่างตามมาตรฐานของ
IES สภาพห้องเป็ นแบบสะอาด ทาความสะอาดโคมไฟทุก ๆ 2 ปี ให้คานวณหาจานวนโคมและเขียน
แผนผังการติดตั้ง

วิธีทา
1. หาอัตราส่ วนโพรง
RCR = HRC x 5(W + L)/W x L = 2.7 x 5(12.61 + 36.04)/12.61 x 36.04 = 1.45
CCR = HCC x 5(W + L)/W x L = 0 x 5(12.61 + 36.04)/12.61 x 36.04 = 0
125

FCR = HFC x 5(W + L)/W x L = 0.9 x 5(12.61 + 36.04)/ 12.61 x 36.04 = 0.482

2. หา cc , fc
c = 80% w = 50% CCR = 0 cc = c = 80%
f = 10% w = 50% FCR = 0.482 fc = 11%

3. หา CU ที่ RCR = 1.45


จากตารางภาคผนวก ค.3 โคม LMPM2 – 240/R/MI
cc = 80% w = 50% RCR = 1 CU = 0.73
RCR = 2 CU = 0.66
RCR = 1.45 CU = ?…

ใช้เทคนิคการแทรกค่า (interpolate technique)


ค่า RCR แตกต่าง 2 - 1 = 1 ได้ CU ลดลง 0.73 - 0.66 = 0.07
ค่า RCR แตกต่าง 1.45 – 1 = 0.45 ได้ CU ลดลง 0.07 x 0.45/1 = 0.0315
CU ที่ควรได้ = 0.73 - 0.0315 = 0.6985

4. ปรับค่ า CU
เปิ ดตารางภาคผนวก ค.2 หาตัวคู ณประกอบค่าความถู กต้องส าหรั บประสิ ทธิ ผลของ
โพรงพื้น fc ที่ต่างไปจาก 20% ซึ่งจากข้อ 2 fc มีค่า 11 %
ที่ cc = 80% w = 50% และที่ fc = 10% (กาหนดแทน 11% )
RCR = 1 ตัวคูณ = 0.929
RCR = 2 ตัวคูณ = 0.942
126

RCR = 1.45 ตัวคูณ = ???


RCR ต่างกัน 2 - 1 = 1 ได้ส่วนต่างตัวคูณ 0.942 - 0.929 = 0.013
RCR ต่างกัน 1.45 - 1 = 0.45 ได้ส่วนต่างตัวคูณ 0.45 x 0.013 = 0.00585
ดังนั้นที่ RCR = 1.45 ได้ตวั คูณ 0.929 + 0.00585 = 0.935

ปรับ CU ด้วยค่าตัวคูณ
CU เมื่อปรับค่าแล้ว = 0.6985 x 0.935 = 0.653

5. หาค่ า LLD และ LDD

ปริ มาณแสงเฉลี่ย
LLD =
ปริ มาณแสงเริ่ มต้น
= 2,790/3,300
= 0.845
LDD จากภาพที่ 5.2 โคมประเภทที่ 4 รอบการบารุ งรักษาทุ ก 24 เดื อน สภาพห้อง
ระดับสะอาด ได้ค่า LDD = 0.80

6. หาฟลักซ์ ส่องสว่างทีต่ ้ องการทั้งหมด


ExA
 =
CU x LLD x LDD

ค่าความส่ องสว่างสาหรับงานภายในอาคาร ในงานออกแบบจากตารางภาคผนวก ก.1 แสง


สว่างสาหรับงานเขียนแบบ 750 lux ซึ่งตรงกับที่ระบุไว้โดย ศุลี บรรจงจิต (2538, หน้า 326) คือ 750 lux
750 (12.61 x 36.04 )
 =
(0.653 x 0.845 x 0.80)
= 772,149.25 lm

7. หาจานวนโคม
N = 772,149.25/(3,300 x 2)
= 117 โคม
127

8. การจัดวางตาแหน่ งโคม
พื้นที่ท้ งั หมด
พื้นที่การให้แสงสว่างของ 1 โคม =
จานวนโคม
= (12.61 x 36.04)/117 = 3.88 m2
ระยะระหว่างโคม (S) = 3.88  1.97 m

ค านวณเพื่ อ ตรวจสอบระยะระหว่ า งโคมกับ ค่ า SC จากตารางสั ม ประสิ ทธิ์ การใช้


ประโยชน์ของโคมที่ใช้ โดยพิจารณาระนาบที่กาหนดค่าต่ าเป็ นเกณฑ์ คือที่ระนาบ C 90 SC = 1.06
หากระยะห่างไมเกินนี้ถือว่าใช้ได้ โดยแทนค่าในสมการที่ 5.10

ระยะระหว่างโคม
1.06 =
ระยะผิวงานถึงโคม 2.7 m
ระยะระหว่างโคม   1.06 x 2.7 = 2.862 m

ดังนั้น ระยะระหว่างโคมที่คานวณได้ 1.97 m ไม่เกิน 2.862 m จึงเป็ นค่าที่ใช้ได้

เขียนแผนผังการติดตั้ง หลักโดยทัว่ ไปการติดตั้ง ควรกาหนดให้ลาแสงส่ องเข้าด้านข้าง


ของผูป้ ฏิบตั ิงานเพื่อให้มีเงาบนงานที่กาลังทา น้อยที่สุด ในที่น้ ีจะกาหนดการติดตั้งไว้ 2 กรณี ดงั นี้

กรณีที่ 1 กรณี คนงานหันหน้าไปตามความยาวของพื้นที่ จัดโคมตามความยาวของพื้นที่


จานวนโคมในแต่ละแถว = 36.04/1.97 = 18.29 โคม เลือก 17 โคม
(ไม่เลือก 18 โคม เพราะจานวนจะมากเกิน ไม่ประหยัด)
จานวนแถว = 117/17 = 6.88 เลือก 7 แถว
จานวนโคมทั้งหมด = 7 x 17 = 119 โคม
ระยะระหว่างแถว = 12.61/7 = 1.8 m
ระยะระหว่างโคมในแถวเดียวกัน = 36.04/17 = 2.12 m
ระยะระหว่างแถวติดผนัง = 1.8/2 = 0.9 m
ระยะกึ่งกลางของหลอดแรกถึงผนัง = 2.12/2 = 1.06 m
128

1.8 m 2.12 m 0.46 m

12.61 m
1.06 m

0.9 m
36.04 m

กรณีที่ 2 กรณี คนงานหันหน้าขวางกับความยาวของพื้นที่ จัดให้โคมขวางกับความยาว


ของพื้นที่

2.12 m 0.9 m
แถวที่ 1
1.06 m 0.3 m

12.61 m
1.8 m

แถวที่ 7
36.04 m

จานวนแถว = 12.61 m/1.97 m = 6.4 เลือก 7 แถว


จานวนโคมต่อแถว = 117 โคม/7 แถว = 16.7 เลือก 17 โคม
จานวนโคมทั้งหมด = 7 แถว x 17โคม = 119 โคม
ระยะระหว่างโคมในแถว = 36.04 m/17 โคม = 2.12 m
ระยะระหว่างโคมแรกกับผนัง = 2.12/2 = 1.06 m
ระยะระหว่างแถว = 12.61 m/7 แถว = 1.8 m
ระยะกึ่งกลางโคมแถวริ มกับผนัง = 1.8/2 = 0.9 m
129

มี ตวั อย่างการออกแบบโดยใช้โปรแกรมคอมพิ วเตอร์ ผูเ้ ขี ย นใช้โปรแกรมแคลคู ล ัก ซ์


(calculux indoor 5.0b) ของฟิ ลิปส์ ออกแบบด้วยสถานการณ์เดียวกับตัวอย่าง 5.3 ที่ผา่ นมา ขนาดห้อง
กว้าง 12.61 เมตร ยาว 36.04 เมตร สู ง 3.60 เมตร โต๊ะทางานสู ง 0.9 เมตร กาหนดความส่ องสว่าง 750 ลักซ์
สัมประสิ ทธิ์ การสะท้อนแสงของเพดาน ผนัง (4 ด้าน) และพื้นกาหนดเท่าเดิมคือ 0.80 0.50( 0.5 0.5
0.5) และ 0.10 ตามลาดับ ดังภาพที่ 5.5

ภาพที่ 5.5 การกาหนดขนาดและสัมประสิ ทธิ์ การสะท้อนแสงของห้องในโปรแกรมแคลคูลกั ซ์

การออกแบบเลือกใช้โคมฟลูออเรสเซนต์ TL-D36W ของฟิ ลิปส์ โคมละ 2 หลอด รหัส


TCS098/236 C3 2xTL-D36W/835 ใช้บลั ลาสต์มาตรฐาน (แกนเหล็ก) มีฟลักซ์ส่องสว่าง 3,350 ลูเมน
กาหนดแฟกเตอร์ การบารุ งรักษา 0.81 (0.90 x 0.90) ดังภาพที่ 5.6
ผูใ้ ช้สามารถกาหนดแนวการจัดวางดวงโคมได้ท้ งั แนวขนานหรื อขวางกับความยาวของ
พื้นที่ ได้ตามต้องการ โดยกาหนดลงที่ กรอบ Rot หากกาหนดเลข 0 (องศา) ดวงโคมจะวางนานกับ
แกนนอน หากกาหนดตัวเลข 90 ดวงโคมจะถูกวางตั้งฉาก การประมวลผลของโปรแกรมได้จานวน
โคมทั้งหมด 144 โคม พร้อมทั้งแผนภาพการติดตั้ง ดังภาพที่ 5.7
130

ภาพที่ 5.6 รายละเอียดของหลอดและดวงโคมที่กาหนดในการออกแบบด้วยโปรแกรมแคลคูลกั ซ์

ภาพที่ 5.7 ส่ วนการคานวณ-การจัดดวงโคมและแผนภาพการติดตั้งของโปรแกรมแคลคูลกั ซ์


131

โปรแกรมจะวาดกราฟไอโซลักซ์ (iso-lux curve) 500 - 800 ลักซ์ โดยเส้นความส่ องสว่าง


สู งสุ ดจะลากผ่านพื้นที่ส่วนกลางของห้อง ส่ วนเส้นความส่ องสว่างต่าสุ ดจะลากผ่านบริ เวณริ มห้อง ดัง
ภาพที่ 5.8 ก ส่ วนกราฟการกระจายความส่ องสว่างสามมิติ (mountain plot) ดังภาพที่ 5.8 ข เป็ นค่า
ความส่ องสว่างที่วาดลงบนพื้นผิวปฏิบตั ิงานแบบ 3 มิติ ที่ระดับ 0.9 เมตร (ระดับโต๊ะทางาน) จะพบว่า
จุดที่มีความส่ องสว่างต่ าสุ ดจะอยู่บริ เวณรอบ ๆ โดยเฉพาะบริ เวณมุมห้อง โดยสรุ ป คุณภาพของการ
ออกแบบในครั้งนี้ มีค่าความส่ องสว่างเฉลี่ย 740 ลักซ์ ความสม่าเสมอของแสง 0.54 หรื อ 1 : 1.85 ไม่ต่า
กว่า 1 : 3 จึงถือว่าเป็ นค่าที่ยอมรับได้

ก. ข.
ภาพที่ 5.8 กราฟไอโซลักซ์และกราฟการกระจายความส่ องสว่างสามมิติ
132

5.5 การคานวณโดยวิธีอตั ราส่ วนของห้ อง


การคานวณโดยวิธีหาอัตราส่ วนของห้อง (room ratio) เป็ นการคานวณตามแบบของ CIE
วิธีการจะคล้ายกับวิธีของ IES เพียงแต่ลดั สั้นกว่า มีความต่างและความคล้ายดังหลักการต่อไปนี้

5.5.1 ขั้นตอนของการคานวณโดยวิธีอตั ราส่ วนของห้ อง


ขั้นตอนของการคานวณจะลัดสั้ น ลง โดยตัดขั้นตอนที่ ยุ่งยากจากวิธีอตั ราส่ วน
โพรงออก ดังภาพที่ 5.9 วิธีอตั ราส่ วนของห้องคานวณเฉพาะค่าอัตราส่ วนของห้องเพียงค่าเดี ยวแทน
การคานวณอัตราส่ วนโพรงถึ ง 3 ส่ วน นอกจากนั้นการหาค่าสัมประสิ ทธิ์ การใช้ประโยชน์ของวิธีหา
อัตราส่ วนโพรง จะต้องอาศัยการหาค่าประสิ ทธิ ผลการสะท้อนของเพดาน (cc) และ พื้น (fc) ซึ่ ง
เป็ นขั้นตอนที่ใช้เวลามาก ส่ วนวิธีหาค่าอัตราส่ วนของห้องจะไม่มีข้ นั ตอนนี้ เป็ นต้น

cc CU
CCR
fc
RCR
FCR E Amount of
C w  Luminaires
f LDD
w RCR
LLD

ก. ขั้นตอนการคานวณของวิธีอตั ราส่ วนโพรง

Kr CU

Amount of
C E  Luminaires
w
MF

ข. ขั้นตอนการคานวณของวิธีอตั ราส่ วนของห้อง

ภาพที่ 5.9 ขั้นตอนการคานวณวิธีอตั ราส่ วนโพรงและวิธีอตั ราส่ วนของห้อง


133

ค่ า สั ม ประสิ ทธิ์ การสะท้ อ นของส่ วนต่ า ง ๆ ของห้ อ ง (C w และ f ) ตามวิ ธี


อัตราส่ วนของห้อง ให้พิจารณาค่าตามสี และชนิ ดของวัสดุ ตามตารางที่ 5.3 ซึ่ งแนะนาโดย ชาญศักดิ์
อภัยนิพฒั น์ (2550, หน้า 233)

ตารางที่ 5.3 สัมประสิ ทธิ์ การสะท้อนแสงของสี และชนิดของวัสดุ

สี % การสะท้อน วัสดุ % การสะท้อน


ดา 0-5 อิฐ 10-20
เทา 10-60 หิ นอ่อน 20-70
ขาว 70-90 ปูนฉาบ 40-50
แดง 10-55 ไม้ 10-40
น้ าเงิน 10-50 คอนกรี ต 10-30
เขียว 10-55
เหลือง 40-80
น้ าตาล 20-30

ทีม่ า : ชาญศักดิ์ อภัยนิพฒั น์, 2550, หน้า 233

5.5.2 การพิจารณาเลือกสู ตรที่ใช้ คานวณ


จากภาพที่ 5.9 ขั้นตอนของการหาค่าสัมประสิ ทธิ์ การใช้ประโยชน์ จะต้องใช้ค่า
อัตราส่ วนของห้องร่ วมกับ ค่ าสั ม ประสิ ท ธิ์ การสะท้อนแสง การค านวณอัตราส่ วนของห้องซึ่ งเป็ น
ขั้นตอนหลัก จะมี 2 สู ตรให้เลือกใช้ตามรู ปแบบการกระจายแสงของโคม ซึ่ งเดิมมี 5 ประเภท แต่ใน
กรณี น้ ีถูกจัดเป็ น 2 กลุ่มใหญ่ ถ้าโคมจัดอยูใ่ นกลุ่มใดให้ใช้สูตรคานวณที่เหมาะสม ดังนี้

5.5.2.1 สู ตรสาหรับโคมกระจายแสงแบบโดยตรง กึง่ โดยตรง และแบบ


กระจายรอบทิศทาง
WxL
Kr = (5.11)
HRC (W + L)
134

5.5.2.2 สู ตรสาหรับโคมกระจายแสงแบบอ้อมหรื อแบบกึง่ อ้อม


3 (W x L)
Kr = (5.12)
2 (HRC + HCC) (W + L)
Kr คือ อัตราส่ วนของห้อง
HRC, HCC คือ ความสู งของโพรงห้องและโพรงเพดาน

สู ตรที่ใช้ในการคานวณหาฟลักซ์ส่องสว่างทั้งหมดที่ตอ้ งการ จะใช้สูตรเดียวกันกับวิธีการ


หาอัตราส่ วนโพรง คือ สมการที่ 5.3

ExA
 = (lm)
CU x LLD x LDD

หรื อ
ExA
 = (lm)
CU x MF

ตัวอย่างที่ 5.4 ห้องบรรยายแห่งหนึ่ง เพดานสี ขาว ผนังสี เทาอ่อน พื้นสี เทาเข้ม กว้าง 100 ฟุต ยาว 150 ฟุต
เพดานสู ง 33 ฟุ ต โต๊ะ จดงานสู ง 3 ฟุ ต ต้อ งการติ ด ตั้ง โคมขนาดกว้าง 1 ฟุ ต ยาว 4 ฟุ ต ติ ด ตั้งให้
ด้านล่ างของโคมเสมอกับ ฝ้ าเพดาน ครอบด้วยบานเกร็ ดโลหะที่ มี มุ ม ก าบัง 45 (โคมหมายเลข 4
ภาคผนวก ค.4) ติดตั้งด้วยหลอดฟลูออเรสเซนต์ TLD 36 W cool white ฟลักซ์ส่องสว่างเริ่ มแรก 3,350 lm
ฟลักซ์ ส่องสว่างเฉลี่ ย 2,950 lm รอบของการบารุ งรักษา 2 ปี ให้คานวณหาจานวนโคมที่ตอ้ งใช้ และ
เขียนแผนผังแสดงตาแหน่งการติดตั้งโคม

วิธีทา
1. วิเคราะห์ ชนิดของดวงโคมเพื่อเลือกสู ตร จากโจทย์ เป็ นโคมชนิ ดส่ องแสงโดยตรง จึง
เลือกใช้สมการที่ 5.11
WxL 100 x 150
Kr = = =2
HRC (W + L) 30 (100 + 150)
135

2. หาค่ า CU โดยพิจารณาจากตารางที่ 5.3 พิจารณาว่าเพดานเป็ นสี ขาว ผนังสี เทาอ่อนได้


c และw 80% และ 50% ตามลาดับ
จากตารางสัมประสิ ทธิ์ การใช้ประโยชน์ ของโคมหมายเลข 4 ในตารางภาคผนวก ค.4
ที่ Kr = 2 c = 80 % w = 50 % ได้ CU = 0.41

3. หา LLD และ LDD หรื อ MF


LLD = 2950/3350 = 0.88
LDD ของโคมประเภทที่ 4 (ติดตั้งซ่อน) ที่ 24 เดือน ห้องระดับสะอาด ได้ LDD = 0.8
LLD x LDD = 0.88 x 0.8 = 0.7
หรื อจากตารางที่ 5.2 ที่การบารุ งรักษาระดับปานกลาง ได้ MF = 0.7

4. กาหนดความส่ องสว่ าง จากตารางภาคผนวก ก.1 ค่าความส่ องสว่างของสถานศึ กษา


โรงเรี ยน มหาวิทยาลัย ส่ วนของห้องเรี ยน ห้องบรรยาย ใช้ค่า 300 lux (30 fc) อาจใช้ 500 หรื อ 750 lux
จากค่าสู งของตารางก็ได้

5. คานวณหาฟลักซ์ ส่องสว่างทั้งหมด
EA
 = (lm)
CU x LLD x LDD
30 (100 x 150)
 = lm
0.41 x 0.7
= 1,559,035.5 lm

6. หาจานวนโคม
1,559,035.5
N = โคม
2 x 3,350
= 233 โคม

7. แผนผังการติดตั้ง
พื้นที่ของ 1 โคม = 100 x 150/233 = 64.4 ft2
136

ระยะระหว่างโคม
 64.4  8 ft

ตรวจสอบระยะห่ างจากตารางภาคผนวก ค.1 สั ม ประสิ ท ธิ์ การใช้ป ระโยชน์ ข องโคม


หมายเลข 4 มีค่า SC = 0.9
ดังนั้น S = SC x MH
= 0.9 x 30
= 27 ft
ระยะระหว่างโคมที่คานวณได้ 8 ft 27 ft จึงเป็ นค่าที่ใช้ได้

แผนผังการติดตั้ง
กรณีที่ 1 จัดแบบปกติ
จานวนแถว = 100 ft/8 ft = 12.5 แถว ปัดเป็ น 12 แถว
จานวนโคมใน 1 แถว = 233 โคม / 12 แถว = 19.4 โคม ปัดเป็ น 20 โคม
ระยะระหว่างแถว = 100 ft/12 = 8.33 ft
ระยะระหว่างโคมแถวที่ติดผนังกับผนัง = 8.33 ft/2 = 4.17 ft
ระยะระหว่างกึ่งกลางโคมถึงกึ่งกลางโคมที่อยูใ่ นแถวเดียวกัน = 150 ft/20 = 7.5 ft
ระยะระหว่างหัว-ท้ายของโคมกับผนังด้านหน้าและด้านหลัง = (7.5 ft / 2) – 2 ft = 1.75 ft

4.17’

8.33’

7.5’
1.75’
137

กรณีที่ 2 จัดโคมเป็ นกลุ่ม


การจดกลุ่มคือการเอาโคมมาเรี ยงต่อกัน เสมือนเป็ นโคมเดี ยวแต่มีความยาวเพิ่มขึ้น จะทา
ในกรณี ที่ มี โต๊ะท างานขนาดยาวใกล้เคี ยงกับความยาวของ 1 กลุ่ มโคม ในที่ น้ ี จัด กลุ่ ม ละ 2 โคมเรี ย ง
ตามยาว จากเดิมแถวละ 20 โคมก็จะกลายเป็ นแถวละ 10 กลุ่มโคม แต่ยงั มีจานวนแถวเท่าเดิมคือ 12 แถว

2’ 4’ S

6’ S’ = 15.33’ 6’

จากรู ป รวมส่ วนความยาวของโคมที่อยูช่ ิ ดด้านหน้าและด้านหลัง ได้ 12 ft (2 x 2+4) โดย


ให้นบั เป็ นส่ วนความยาวของ 1 กลุ่มโคม ส่ วนอีก 9 กลุ่มโคมที่เหลือ เฉลี่ยจาก 138 ft (150 ft – 12 ft)
ดังนี้
ระยะของ 1 กลุ่มโคม S = 138 ft/9 = 15.33 ft
ระยะห่างมาตรฐาน S = 15.33 ft – 4 ft (ความยาวของโคม)
= 11.33 ft
ซึ่ง S 27 ft ที่คานวณจากค่า SC
ระยะห่างของโคม S จึงเป็ นค่าที่ยอมรับได้

5.6 การคานวณโดยวิธีวตั ต์ ต่อตารางเมตร


หลัก ส าคัญ ประการหนึ่ ง ของการออกแบบระบบส่ องสว่างก็คื อ การประหยัดพลังงาน
หมายถึ งการมี แสงสว่างพอเพียงต่อการใช้งานแต่ใช้พ ลังงานน้อยที่ สุ ด การออกแบบโดยวิธีวตั ต์ต่อ
ตารางเมตร (watt per square meter method) นี้ จะก าหนดก าลังไฟฟ้ าที่ ใ ช้ ไม่ ให้ เกิ น ค่ าที่ เหมาะสม
ดัง ที่ ก รมพัฒ นาพลังงานทดแทนและอนุ รัก ษ์พ ลังงาน (2552, หน้า 191) ได้ก ล่ าวไว้ ซึ่ งสรุ ป ได้ว่า
อุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างที่ติดตั้งจะต้องใช้กาลังไฟฟ้ าไม่เกินค่าที่กาหนดตามตารางที่ 5.4 ซึ่ งเป็ นไปตาม
พระราชกฤษฎีกา กาหนดอาคารควบคุม พ.ศ. 2535 ว่าด้วยเรื่ องการใช้พลังงานในอาคาร
138

ตารางที่ 5.4 การใช้ไฟฟ้าแสงสว่างในอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

อาคาร ค่ากาลังไฟฟ้าแสงสว่างสู งสุ ด (1)


ประเภท/ลักษณะพื้นที่ (วัตต์ต่อตารางเมตรของพื้นที่ใช้งาน)
สานักงาน โรงแรม สถานศึกษาและโรงพยาบาล/สถานพักฟื้ น 16
ร้านขายของ ซุ ปเปอร์ มาร์ เก็ตและศูนย์การค้า (2) 23
(1) ค่าเฉลี่ยของพื้นที่ทวั่ ทั้งอาคารแต่ไม่รวมที่จอดรถ
(2) รวมถึงไฟฟ้ าแสงสว่างทัว่ ไปที่ใช้ในการโฆษณาเผยแพร่ สินค้า ยกเว้นที่ใช้ในตูก้ ระจกแสดงสิ นค้า
หน้าร้าน

ทีม่ า : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2552, หน้า 191

วิธี ว ตั ต์ต่ อ ตารางเมตรประยุก ต์ม าจากวิธี ลู เมน มี ข้ นั ตอนที่ ส้ ั นลงและมี ค วามสะดวก


มากขึ้น หลักการของวิธีน้ ี มาจากคาถามที่วา่ จะติดตั้งโคมไฟกี่ วตั ต์ จึงจะทาให้มีแสงสว่างพอเพียงต่อ
การใช้งาน ซึ่ งที่มาและหลักการของวิธีน้ ี กล่าวไว้โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุ รักษ์พลังงาน
(2552, หน้า 193) ผูเ้ ขียนได้เรี ยบเรี ยงใหม่เพื่อให้เข้ากันได้กบั บทเรี ยนที่ผา่ นมา ดังนี้

จากสมการ 5.3

ExA
 =
CU x LLD x LDD
และจากสมการ 5.4

จานวนโคม N =    
(lm/lamp) (lamp/luminaire)
 = N (lm/lamp) (lamp/luminaire)
= N (L) (n)
แทน  ในสมการที่ 5.3 ด้วย N (L) (n)
ExA
N x L x n =
CU x LLD x LDD
139

EA = N x L x n x CU x LLD x LDD
EA = N x L x n x CU x MF

N x L x n x CU x MF
E =
A
Nxn E
=
A L x CU x MF

NxnxP E
= (5.13)
A (L/P) CU x MF

จากสมการที่ 5.13 เมื่ อแทนตัวแปรบางส่ วนด้วยหน่ วย จะได้ส มการที่ เป็ นที่ ม าของชื่ อ
วิธีการออกแบบโดยวิธีวตั ต์ต่อตารางเมตร ดังสมการที่ 5.14
W E
= (5.14)
m2 (LPW) CU x MF

จากสมการที่ 5.14 LPW หรื อ lm/w คือหน่ วยของประสิ ทธิ ผลการส่ องสว่างของหลอดที่
จะติ ดตั้ง ส่ วน W ยุบรู ปจาก N n P ในสมการที่ 5.13 ดังนั้น W ก็คือหน่ วยวัตต์ของกาลังไฟฟ้ า ของ
หลอดไฟฟ้าทั้งหมดที่จะติดตั้งในพื้นที่ A (m2) ที่กาลังออกแบบ

ตั ว อย่ า งที่ 5.5 อาคารส านั ก งานแห่ ง หนึ่ งต้ อ งการความส่ องสว่ า ง 500 ลัก ซ์ เลื อ กใช้ ห ลอด
ฟลู ออเรสเซนต์ ที่มี ฟลักซ์ ส่องสว่าง 3,350 ลู เมน สัมประสิ ทธิ์ การใช้ป ระโยชน์ ของดวงโคม 0.59
ค่าการบารุ งรักษา 0.7 ใช้บลั ลาสต์แกนเหล็กขนาด 36 W จงหาค่ากาลังไฟฟ้าแสงสว่างเป็ น W/m2

วิธีทา
กาลังวัตต์ที่ใช้ 1 หลอดรวมกับกาลังสู ญเสี ยที่บลั ลาสต์อีก 10 วัตต์ จะได้ 46 วัตต์
ดังนั้น LPW จะได้ 3,350/46 = 72.83
500
แทนค่า W/m2 =
72.83 x 0.59 x 0.7

= 16.62 เลือก 16 เพื่อไม่ให้เกินตามข้อกาหนด


140

หมายเหตุ : หากคานวณแล้วเกินข้อกาหนดให้เลือกตามข้อกาหนด หากไม่เกินให้ใช้ค่าที่คานวณได้


ตัวอย่ างที่ 5.6 บริ เวณจัดเตรี ยมส่ วนผสม และอบขนมของร้านเบเกอรี่ ขนาด 4 x 5 m2 พื้นผิวการ
ทางานสู ง 0.85 เมตร ต้องการความส่ องสว่าง 300 lux และเลือกใช้ดวงโคมตามตารางภาคผนวก ค.1
หมายเลข 31 ระยะแขวนจากดวงโคมถึงผิวงาน 2.2 เมตร ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดเดย์ไลต์ 36 W
2,600 lm มีค่าการบารุ งรักษา 0.7 ให้คานวณหาค่ากาลังไฟฟ้าต่อพื้นที่ใช้งานและจานวนโคมที่ใช้

วิธีทา
5 x HRC (W + L) 5 x 2.2 (4 + 5)
RCR = =
WxL 4x5
= 4.95
LPW = 2,600 lm/46 W
= 56.522

ตามแนวทางการก าหนดค่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ การสะท้อ นแสงของอาคารในตารางที่ 5.1


กาหนดค่าประสิ ทธิ ผลการสะท้อนของโพรงเพดาน 0.80 และสัมประสิ ทธิ์ การสะท้อนของผนัง 0.50
กาหนดค่าลงบนตารางภาคผนวก ค.1 เพื่อหาค่าสัมประสิ ทธิ์ การใช้ประโยชน์ จากตาราง
ใช้เทคนิคการแทรกค่าระหว่าง 0.47 กับ 0.42 ได้ค่าสัมประสิ ทธิ์ การใช้ประโยชน์ 0.4225

จากภาพ ใช้หลักการแทรกค่า จะได้ค่าสัมประสิ ทธิ์ การใช้ประโยชน์ 0.4225


300
แทนค่า W/m2 =
(56.522) (0.4225) (0.7)

= 17.95 W/m2
= 18 W/m2 (ไม่เกินข้อกาหนดที่ 23 W/m2)
141

เมื่อพื้นที่ใช้งานเท่ากับ 4 x 5 m2 จะได้กาลังวัตต์ที่เพียงพอของหลอดที่จะติดตั้ง
= (18 W/m2) (4 x 5m2)
= 360 W
เมื่อใช้ดวงโคมชนิด 2 หลอด จะได้จานวนดวงโคม
= 360 W/(2 x 46 W)
= 3.91 เลือก 4 โคม

หมายเหตุ : กรณี ที่ใช้บลั ลาสต์อิเล็กทรอนิ กส์ ค่ากาลังไฟฟ้ าต่อโคมจะคิดเท่ากับขนาดวัตต์ของหลอด


เนื่ องจากบัลลาสต์อิเล็กทรอนิ กส์ ลดการใช้กาลังไฟฟ้ ารวมทั้งวงจรได้ 10 วัตต์ เช่ น โคม
ขนาด 2 x 36 W ใช้บลั ลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ จะใช้กาลังวัตต์เพียง 72 W เป็ นต้น

5.7 สรุป
การคานวณแสงสว่างภายในด้วยวิธีลูเมน เป็ นการคานวณเพื่อหาฟลักซ์ส่องสว่างที่พอเพียง
สาหรับงานชนิ ดต่าง ๆ เพื่ อให้ได้ค่าความส่ องสว่างตามมาตรฐาน เป็ นวิธีซ่ ึ งเหมาะกับ พื้นที่ ใช้งาน
ที่ ต้อ งการแสงสว่ า งสม่ า เสมอ วิธี ก ารค านวณเริ่ ม จากพิ จ ารณาขนาดของส่ ว นต่ า ง ๆ ของพื้ น ที่
ที่ออกแบบ การคานึงถึงผลการสะท้อนของพื้น ผนัง และเพดาน ซึ่ งจัดเป็ นการส่ องสว่างแบบทางอ้อม
เพื่ อหาค่ าสั ม ประสิ ท ธิ์ การใช้ป ระโยชน์ ในขั้น ตอนนี้ โดยทัว่ ไปจะมี ก ารค านวณมี ส องวิธี คื อ วิธี
อัตราส่ วนโพรงซึ่ งเป็ นวิธีการของ IES เป็ นวิธีที่มีข้ นั ตอนมากต้องมีความละเอียดและใช้เวลาพอควร
อีกวิธีคือวิธีอตั ราส่ วนของห้อง ซึ่ งเป็ นวิธีที่เสนอโดย CIE มีข้ นั ตอนลัดสั้นกว่าแบบแรก และเมื่อได้
ปริ มาณฟลักซ์ แม่เหล็กที่ ตอ้ งการแล้ว ในขั้นตอนสุ ดท้ายจะเป็ นการคานวณหาจานวนโคมที่ ตอ้ งใช้
การกาหนดระยะห่ างของโคมและการเขียนแผนผังการติดตั้งดวงโคม กรณี ของวิธีวตั ต์ต่อตารางเมตร
เป็ นวิธีที่ประยุกต์มาจากวิธีลูเมน จากการหาฟลักซ์ส่องสว่างที่ตอ้ งการก็เปลี่ ยนเป้ าหมายมาเป็ นกาลัง
วัตต์ของหลอดที่ตอ้ งการ การคานวณจะต้องใช้ค่าอัตราส่ วนโพรงห้องและค่าประสิ ทธิ ผลการส่ องสว่าง
เป็ นปั จจัยหลัก เป็ นวิธีที่ลดั สั้นกว่าสองวิธีแรก วิธีน้ ี มีเป้ าหมายในการใช้พลังงานให้คุม้ ค่า โดยมีการ
กาหนดกาลังไฟฟ้าที่ใช้ไม่ให้เกินค่าที่กฎหมายกาหนด
142

5.8 คาถามทบทวน

1. แสงสว่างที่ออกจากหลอดไฟ ก่ อนตกกระทบผิวงานจะสู ญเสี ยไปด้วยสาเหตุใดบ้าง


อย่างไร
2. สัมประสิ ทธิ์ การใช้ประโยชน์ข้ ึ นอยู่กบั ค่าอะไรบ้าง โคมแต่ละชนิ ดมี ค่าแตกต่างกัน
หรื อไม่
3. ถ้าห้ องปฏิ บ ัติงานไม่ มี มี ฝุ่ นละอองเลยตลอดระยะเวลาการใช้งาน สู ตรค านวณหา
ฟลักซ์ส่องสว่างในสมการ 5.3 น่าจะเป็ นอย่างไร
4. สานักงานแห่งหนึ่ง ปูพ้นื ด้วยกระเบื้องยางสี เทา มีผนังและเพดานปูนฉาบทาสี ขาว ให้
กาหนดสัมประสิ ทธิ์ การสะท้อนของโพรงพื้น ผนัง และเพดาน ตามวิธีอตั ราส่ วนโพรง
5. เมื่ออัตราส่ วนโพรงพื้นเท่ากับ 1 โพรงเพดานเท่ากับ 0.5 สัมประสิ ทธิ์ การสะท้อนของ
เพดานเท่ากับ 80 % ของผนังเท่ากับ 60 % ของพื้นเท่ากับ 20 % ให้หาค่าประสิ ทธิ ผลการสะท้อนของ
โพรงเพดาน
6. ดวงโคมประเภทที่ 3 ใช้งานในโรงงานท าเฟอร์ นิเจอร์ ไม้ จะมี ค่าตัวประกอบความ
สกปรกเท่าใด เมื่อทาความสะอาดทุก ๆ 1 ปี
7. ห้องปฏิ บตั ิงานขนาด 20 x 60 ฟุ ต ใช้หลอดคายประจุความดันสู งจานวน 8 โคม ให้
คานวณหาระยะห่างของการติดตั้ง
8. โคมหมายเลข 15 ในภาคผนวก ค.1 ติดตั้งด้วยระยะห่ าง 12 เมตร สู งจากพื้น 8 เมตร
อยากทราบว่าระยะห่างดังกล่าวมีค่ามากเกินไปหรื อไม่ มีวธิ ีการตรวจสอบอย่างไร
9. ให้เลือกสู ตรที่ใช้หาอัตราส่ วนของห้อง สาหรับโคมฟลูออเรสเซนต์อุตสาหกรรม และ
โคมไฮเบย์
10. สู ต รค านวณหาฟลัก ซ์ ส่ อ งสว่าง ในการค านวณแบบอัต ราส่ วนของห้ องกับ แบบ
อัตราส่ วนโพรง เหมือนหรื อต่างกันอย่างไร
11. โรงฝึ กงานแห่ งหนึ่ ง พื้ นปู นซี เมนต์สีเขี ยว ผนังก่ อด้วยอิ ฐมอญ(สี แดง)สู ง 1 เมตร
และเสริ มด้วยลู กกรงเหล็ก โครงหลังคาเหล็กมุ งกระเบื้ องสี เทา ให้กาหนดสัมประสิ ทธิ์ การสะท้อน
แสงเพดาน ผนัง และพื้น ตามวิธีอตั ราส่ วนห้อง
12. หอประชุ ม ขนาด 20 x 30 ตารางเมตร ติ ด ตั้ง โคมสู ง 5 เมตร(หมายเลข 16 ใน
143

ภาคผนวก ค.1) ให้คานวณหาระยะห่ างของการติดตั้งโดยอาศัยอัตราส่ วนระหว่างความห่ างกับความสู ง


(SC) และเขียนแผนผังบางส่ วนที่สาคัญ
13. ห้องประชุมขนาด 20 x 15 ตารางเมตร โต๊ะประชุมสู ง 75 เซนติเมตร เพดานเป็ นฝ้าที
บาร์ สี ข าว สู ง 3 เมตร ผนั ง ติ ด ผ้า ม่ า นสี ฟ้ า อ่ อ น พื้ น กระเบื้ อ งยางสี เทา ให้ ก าหนดชนิ ด ของโคม
คานวณหาจานวนโคมด้วยวิธีอตั ราส่ วนโพรง
14. โรงฝึ กงานวิศวกรรมยานยนต์ขนาด 15 x 10 ตารางเมตร หลังคาโครงเหล็กสู ง 6 เมตร
พื้นปู นซี เมนต์สี เขียว ผนังอิ ฐมอญ ให้กาหนดชนิ ดแสงจันทร์ ขนาด 250 วัตต์ 20,000 ลู เมน มี ระยะ
แขวน 30 เซนติเมตร กาหนดให้ใช้โคมหมายเลข 19 ในตารางภาคผนวก ค.4 ค่าบารุ งรักษาปานกลาง
ให้คานวณหาจานวนโคมด้วยวิธีอตั ราส่ วนของห้อง
15. ห้องเรี ยนขนาด 8 x 10 ตารางเมตร โต๊ะเรี ยนสู ง 0.8 เมตร ติดโคมฟลู ออเรสเซนต์
ชนิ ด2 x 36 วัตต์ ชนิ ดฝังในฝ้ามีตะแกรงกรองแสงอลูมิเนี ยมอโนไดซ์ ดังภาคผนวก ค.3 ใช้บลั ลาสต์
อิ เล็ ก ทรอนิ ก ส์ แ ละมี ฟ ลัก ซ์ ส่ อ งสว่า ง 2,900 ลู เมน ก าหนดสั ม ประสิ ท ธิ์ การใช้ ป ระโยชน์ 0.64
แฟกเตอร์ การบารุ งรักษา 0.8 ให้คานวณหาจานวนโคมด้วยวิธีวตั ต์ต่อตารางเมตร

You might also like