You are on page 1of 13

คำศัพท์ ทเี่ กีย่ วข้ องกับหลักสู ตร

วิชา 219 730 แนวคิดเกีย่ วกับการพัฒนาหลักสู ตร


นางนัตยา หล้ าทู
สาขาวิชาหลักสู ตรและการเรียนการสอน ระดับปริญญาเอก โครงการพิเศษ

ศัพท์ บัญญัติการศึกษาที่เกีย่ วกับหลักสู ตร


Curriculum หลักสู ตร
Curriculum and instruction หลักสู ตรและการสอน
Curriculum, articulated หลักสู ตรต่อเนื่อง
Curriculum-based assessment การประเมินผลโดยใช้หลักสู ตรเป็ นฐาน
Curriculum,broad-fields 1.หลักสู ตรแบบกว้าง
2.หลักสู ตรแบบรวมวิชา
Curriculum building การสร้างหลักสู ตร
Curriculum center ศูนย์หลักสู ตร
Curriculum change การเปลี่ยนแปลงหลักสู ตร
Curriculum,community-centered หลักสู ตรที่เน้นชุมชนเป็ นศูนย์กลาง
Curriculum, competency-baste หลักสู ตรแบบมัตถิยฐาน
Curriculum construction การสร้างหลักสู ตร
Curriculum,core หลักสู ตรแกน
Curriculum, correlated หลักสู ตรสหสัมพันธ์
Curriculum design 1.การออกแบบหลักสู ตร
2.รู ปแบบหลักสู ตร
Curriculum development การพัฒนาหลักสู ตร
Curriculum development center ศูนย์พฒั นาหลักสู ตร
Curriculum, didactic หลักสู ตรการสอนที่เน้นกฎเกณฑ์
Curriculum engineering การสร้างหลักสู ตร
Curriculum, enriched หลักสู ตรเสริ ม

1. Curriculum : หลักสู ตร
หลักสูตร เป็ นประสบการณ์ท้ งั หมดที่เด็กได้รับภายใต้การแนะแนวของครู (Caswell and
Campbell, 1935 อ้างถึงใน ทัศนีย ์ บุญเติม, 2551)
2

หลักสูตร เป็ นศาสตร์แขนงหนึ่ง เป็ นข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาที่จดั ทำขึ้นอย่างเป็ น


ทางการ และเป็ นระบบการทำงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเรื่ องของหลักสู ตร (Beauchamp, 1981 อ้างถึง
ใน ทัศนีย ์ บุญเติม, 2551)
หลักสูตร คือ ลำดับขั้นตอนของประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เป็ นเป้ าหมายของโรงเรี ยน เพื่อมุ่งสอน
วิธีการคิดและการปฏิบตั ิให้กบั เด็ก (Smith, Stanley and Shores, 1957 อ้างถึงใน ทัศนีย ์ บุญเติม,
2551)
หลักสูตร คือ แผนการเรี ยนรู้ซ่ ึ งประกอบด้วยเป้ าหมายของการเรี ยนรู ้ และจุดประสงค์ของการ
เรี ยนรู ้ที่เฉพาะเจาะจง เป้ าหมายและจุดประสงค์เหล่านี้จะเป็ นเครื่ องชี้แนวในการเลือกและจัดเนื้ อหา
และบ่งถึงวิธีการจัดการเรี ยนการสอน รวมถึงการประเมินผลด้วย (Taba, 1962 อ้างถึงใน ทัศนีย ์ บุญเติม,
2551)
หลักสูตร หมายถึง ประสบการณ์ท้ งั หมดของผูเ้ รี ยนในความรับผิดชอบของสถาบันหนึ่ง และ
หลักสู ตรหมายถึงแผนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการสอนหรื อก่อนการปฏิบตั ิจริ งในโครงการใดก็ตาม
(เสริ มศรี ไชยศร, 2526)
สรุ ปได้ ว่า หลักสูตร คือ เนื้ อหาสาระ และมวลประสบการณ์ที่ได้ออกแบบ และจัดทำขึ้นเพื่อ
ให้ผเู ้ รี ยนบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ได้กำหนดไว้
2. Curriculum development : การพัฒนาหลักสู ตร
หมายถึง การสร้างหลักสูตร หรื อ การร่ าง หรื อ การวางแผนหลักสู ตร หรื อ การทำหลักสู ตร
ขึ้นมาใหม่จากภาวะที่ไม่เคยมีหลักสูตรนี้ อยูเ่ ลย หรื อ การปรับปรุ งหลักสู ตร หรื อ การทบทวนหลักสู ตร
ที่มีอยูก่ ่อนแล้วให้ดีข้ ึน
3. Curriculum construction : การสร้ างหลักสู ตร
4. Curriculum planning : การร่ างหรือการวางแผนหลักสู ตร
5. Curriculum making : การทำหลักสู ตร
หมายถึง การจัดทำเอกสารหลักสู ตร และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำเอกสาร
หลักสู ตร
6. Curriculum improvement : การปรับปรุ งหลักสู ตร
เป็ นการทำหลักสูตรที่มีอยูแ่ ล้วให้มีคุณภาพยิง่ ขึ้น โดยไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักสู ตร

7. Curriculum revision : การทบทวนหลักสู ตร


เป็ นการแก้ไขบางส่ วนของหลักสู ตร
8. Curriculum design : การออกแบบหลักสู ตร
หมายถึง กระบวนการในการกำหนดกรอบโครงสร้างและการดำเนินงานที่เกี่ยวกับหลักสู ตร
ทั้งหมด หรื อ การกำหนดลักษณะจุดเน้นของการจัดหลักสู ตร
9. Curriculum change : การเปลีย่ นแปลงหลักสู ตร
เป็ นการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรทุกส่ วน ทั้งระบบ ทั้งปรัชญา จุดหมาย จุดประสงค์ หลักการ
โครงสร้าง วิธีการจัดการเรี ยนการสอน และการประเมินผล
10. Curriculum implementation : การใช้ หลักสู ตร
3

เป็ นกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่ การจัดการเรี ยนการสอนในสถานศึกษา


11. Curriculum management : การจัดการหลักสู ตร
เป็ นกระบวนการบริ หารจัดการเพื่อให้การใช้หลักสู ตรเกิดประสิ ทธิ ผลอย่างมีประสิ ทธิ ภาพ
12. Curriculum evaluation : การประเมินหลักสู ตร
เป็ นการตรวจสอบ บ่งชี้ เพื่อตัดสิ นใจเกี่ยวกับคุณภาพของหลักสู ตร ไม่วา่ จะเป็ นคุณภาพของ
เอกสาร คุณภาพของกระบวนการ คุณภาพของระบบ คุณภาพของการจัดการ และอื่น ๆ อีกมากมาย
13. Curriculum system : ระบบหลักสู ตร
หมายถึง การจัดองค์ประกอบทั้งหมดของกระบวนการหลักสู ตร ทั้งการร่ างหลักสู ตร การใช้
หลักสู ตร และการประเมินหลักสูตร ให้มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันเพื่อให้บรรลุเป้ าหมายที่วางไว้
14. Curriculum objectives
คือ ความมุ่งหมายของหลักสูตรและการเรี ยนการสอน หลักสู ตรจะต้องมีความมุ่งหมายเป็ น
อันดับแรกและต้องชัดเจนทั้งความมุ่งหมายทัว่ ไปและความมุ่งหมายเฉพาะ
15. Curriculum structure
คือ โครงสร้างของหลักสูตร เป็ นส่ วนที่กล่าวถึงว่าหลักสู ตรจะมีการแบ่งระบบการศึกษาอย่างไร
เช่น แบ่งเป็ นภาคเรี ยน หรื อจะใช้เวลานานเท่าไรจึงจะจบหลักสู ตร จะใช้การวัดผลอย่างไร อาจจะเป็ น
แบบคะแนนรวมปลายปี ระบบหน่วยกิต หรื ออื่น ๆ
16. Curriculum contents
คือ เนื้อหาของหลักสูตร โดยต้องกำหนดว่า ต้องจัดสอนเนื้ อหาอย่างไร มากน้อยเท่าไร ลำดับ
ก่อนหลังอย่างไรจึงจะเหมาะสมตามวัตถุประสงค์
17. Curriculum materials
คือ วัสดุประกอบหลักสูตร แบ่งเป็ น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ได้แก่แบบเรี ยน กลุ่มที่ 2 ได้แก่
อุปกรณ์การสอนต่างๆ, หนังสื ออ่านประกอบ, วัสดุโสตทัศนูปกรณ์ เป็ นต้น

18. Curriculum process


คือ กระบวนการเรี ยนการสอนให้เป็ นไปตามหลักสู ตร เริ่ มด้วยวิธีสอน การจัดชั้นเรี ยน เทคนิค
ในการจัดกิจกรรมให้แก่นกั เรี ยน รวมทั้งการวัดผลประเมินผลการเรี ยน
19. Curriculum guide : เอกสารประกอบหลักสู ตร
เป็ นเอกสารที่ให้รายละเอียดเพื่อเสนอแนะแก่ครู ให้สามารถใช้หลักสู ตรได้ตรงกับเจตนารมณ์
ของคณะพัฒนาหลักสูตร
20. Curriculum inquiry : การสืบค้นทางหลักสู ตร
เป็ นกระบวนการในการศึกษาค้นคว้าเพื่อสร้างความเข้าใจหรื อคิดค้นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์
ในสาขาหลักสูตร
21. Organization pattern : แบบของหลักสู ตร
หมายถึง บุคคลผูท้ ีส่วนร่ วมหรื อเกี่ยวข้องในการจัดทำหลักสู ตร
22. Formal curriculum หลักสูตรที่เป็ นทางการ
23. Informal curriculum หลักสูตรที่ไม่เป็ นทางการ
24. Extra curriculum หลักสูตรพิเศษ นอกเหนือจากหลักสู ตรปกติ
4

25. Null curriculum หลักสูตรที่กำหนดไว้แต่ไม่ได้สอน


26. Hidden curriculum หลักสูตรแฝง
27. Subject matter curriculum : หลักสู ตรที่เน้ นเนือ้ หาวิชา
เป็ นหลักสูตรที่เน้นความสำคัญของเนื้อหาวิชา ซึ่ งมีลกั ษณะเป็ นรายวิชาเดี่ยว ๆ
28. Discrete – discipline curriculum : หลักสู ตรรายวิชา
หมายถึงหลักสูตรที่จดั เนื้ อหาวิชาแยกเป็ นวิชาเดี่ยว ๆ โดดๆและการสอนก็ไม่ได้สอนให้เกี่ยวโยง
กับเนื้อหาวิชาอื่น
29. Correlated curriculum : หลักสู ตรสั มพันธ์ วชิ า
เป็ นการนำเนื้อหารายวิชาตั้งแต่ 2 รายวิชามาเชื่อมโยงกัน โดยที่แต่ละวิชาก็แยกเป็ นเอกเทศ
เพียงแต่นำเนื้อหามาเชื่อมโยงกันเท่านั้น
30. Fused curriculum : หลักสู ตรผสมผสาน
เป็ นการเอาเนื้ อหาของรายวิชาเดิมหลาย ๆ รายวิชาที่มีความคล้ายคลึงกัน แล้วนำมาสร้างให้เกิด
เป็ นรายวิชาใหม่ข้ ึน
31. Interdisciplinary curriculum : หลักสู ตรสหวิทยาการ
เป็ นหลักสูตรที่มีการผสมผสานความรู ้ หรื อเนื้ อหาวิชาจากสาขาวิชาที่ต่างกันโดยธรรมชาติ แต่
มีความสัมพันธ์กนั โดยความมุ่งหมายของผูเ้ รี ยนหรื อผูส้ อนหรื อของเนื้ อหาวิชาเฉพาะเรื่ องเท่านั้น

32. Broad fields curriculum : หลักสู ตรสหสั มพันธ์ หรือหลักสู ตรหมวดวิชา


เป็ นการนำเอาเนื้อหา รายวิชาที่มีความใกล้เคียงกัน มาจัดไว้เป็ นหมวดหมู่เดียวกัน
33. Core curriculum : หลักสู ตรแกนวิชา
เป็ นหลักสูตรที่นำเอาเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กนั มาผสมผสานโดยที่อาจจะมีวิชาหนึ่ง
วิชาใดเป็ นหลัก แล้วนำเอาวิชาอื่น ๆ มาเสริ ม โดยต้องกลมกลืนกับประสบการณ์ที่จำเป็ นสำหรับผู ้
เรี ยน มีส่วนเกี่ยวข้องกับความต้องการของสังคม เพื่อให้ผเู ้ รี ยนได้เข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์จาก
ความสัมพันธ์ของเนื้ อหาวิชาได้ชดั เจนยิง่ ขึ้น
34. Individualized curriculum : หลักสู ตรแบบเอกัตภาพ
หลักสูตรประเภทนี้ ข้ นึ อยูก่ บั ความต้องการของผูเ้ รี ยนแต่ละคน ผูส้ อนเป็ นผูว้ ิเคราะห์วา่ จะจัด
เนื้อหาสาระอย่างไรจึงตรงกับความสนใจ ความต้องการและความถนัดของผูเ้ รี ยน
35. Personalized curriculum : หลักสู ตรส่ วนบุคคล
หลักสูตรประเภทนี้ ผสู้ อนและผูเ้ รี ยนมาร่ วมกันวางแผนการเรี ยนร่ วมกัน โดยยึดความต้องการ
ความสนใจและความสามารถของผูเ้ รี ยนเป็ นหลัก
36. Learning activity/experience curriculum : หลักสู ตรกิจกรรมหรือประสบการณ์
เป็ นหลักสูตรที่จะบรรจุประสบการณ์ที่ให้ผเู ้ รี ยนต้องแก้ปัญหา วางแผน และลงมือปฏิบตั ิดว้ ย
ตนเอง
37. Competency curriculum : หลักสู ตรแบบอิงสมรรถภาพ
หลักสูตรประเภทนี้ มุ่งเน้นความสามารถด้านการปฏิบัติงานเป็ นหลัก
38. หลักสู ตรบูรณาการ
5

เป็ นหลักสูตรที่พยายามรวบรวมความรู ้และประสบการณ์ที่จะให้ผเู ้ รี ยนได้เรี ยนเข้าเป็ นอันหนึ่ง


อันเดียวกัน โดยผูอ้ อกแบบหลักสูตรจะต้องพยายามคัดเลือกเนื้ อหาสาระ ตลอดจนประสบการณ์จาก
รายวิชาต่าง ๆ เข้ามาจัดกลุ่มหรื อเป็ นหมวดหมู่
39. Curriculum based on social process and life functions : หลักสู ตรที่ยดึ กระบวนการทางสั งคม
และหน้ าที่ของชีวติ
เป็ นหลักสูตรที่สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นอนระหว่างเนื้อหาสาระในหลักสู ตรกับชีวิต การเน้น
หน้าที่ทางสังคม กระบวนการทางสังคม หรื อปั ญหาทางสังคม
40. Social process and life function curriculum : หลักสู ตรเพือ่ ชีวติ และสั งคม
เป็ นหลักสูตรที่ได้ยดึ เอาสังคมและชีวิตจริ งของเด็กเป็ นหลัก เพื่อผูเ้ รี ยนจะได้นำความรู ้ไป
ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

นิยามคำศัพท์ หลักสู ตร
หลักสู ตรการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน พุทธศักราช 2544
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้ การศึกษาขั้นพืน้ ฐาน (Content standards / Academic standards / Learning
standards)
หมายถึง สิ่ งที่นกั เรี ยนพึงรู้และปฏิบตั ิได้ เมื่อจบการศึกษาขึ้นพื้นฐาน ความรู ้ ความสามารถ
ทักษะ และคุณลักษณะที่ระบุไว้ในมาตรฐานการเรี ยนรู ้การศึกษาขึ้ นพื้นฐานถือเป็ นสิ่ งจำเป็ นสำหรับผู ้
เรี ยนทุกคน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาทั้งระดับชาติ เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา
มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผูเ้ รี ยนให้บรรลุคุณภาพตามที่มาตรฐาน
กำหนด
โดยทัว่ ไปจะมีการกำหนดตัวชี้วดั (Benchmarks) เพื่อใช้ในการตรวจสอบผูเ้ รี ยนเป็ นระยะๆ ใน
การพัฒนาไปสู่ มาตรฐานการเรี ยนรู้การศึกษาขึ้นพื้นฐาน การกำหนดตัวชี้วดั ดังกล่าวนั้น ในระบบการ
ศึกษาบางแห่งอาจกำหนดไว้เป็ นช่วงๆ ทุก ๓-๔ ปี แต่บางแห่งอาจกำหนดทุกระดับชั้น (ตัวชี้วดั ชั้นปี )
ทั้งนี้ข้ ึนอยูก่ บั ความเหมาะสมกับบริ บทการศึกษาแต่ละแห่ง
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้น (ตัวชี้วดั ช่ วงชั้น) (Interval benchmarks)
หมายถึง สิ่ งที่นกั เรี ยนพึงรู้และปฏิบตั ิได้ในระดับชั้นสำคัญ (key stage) ได้แก่ ประถมศึกษาปี ที่
๓ ประถมศึกษาปี ที่ ๖ มัธยมศึกษาปี ที่ ๓ และมัธยมศึกษาปี ที่ ๖ เป็ นตัวชี้ วดั พัฒนาการของผูเ้ รี ยนไปสู่
มาตรฐานการเรี ยนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับมาตรฐานการเรี ยนรู ้การศึกษา
ขั้นพื้นฐาน แต่มีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า ใช้สำหรับเป็ นเป้ าหมายและกรอบทิศทางในการจัดทำ
หลักสู ตร กำหนดเนื้อหาการเรี ยนการสอนและการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผูเ้ รี ยนเมื่อเรี ยน
จบแต่ละช่วงชั้น
มาตรฐานการเรียนรู้ ช้ันปี (ตัวชี้วดั ชั้นปี ) (Grade-level indicators/Grade-level expectations)
6

หมายถึง สิ่ งที่นกั เรี ยนพึงรู้และปฏิบตั ิได้ในแต่ละระดับชั้น ซึ่ งสอดคล้องสัมพันธ์กบั มาตรฐาน


การเรี ยนรู ้ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวชี้วดั ชั้นปี มีความชัดเจน มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็ นรู ปธรรม
สำหรับการนำไปใช้ ในการกำหนดเนื้อหาการเรี ยนการสอน จัดทำหน่วยการเรี ยนรู ้ และเป็ นเกณฑ์สำคัญ
สำหรับการวัดและประเมินผล เพื่อตรวจสอบคุณภาพผูเ้ รี ยนในแต่ละระดับชั้น

หลักสู ตรการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน (Basic education curriculum)


หลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรี ยนการสอนเพื่อพัฒนาผูเ้ รี ยนในระดับการศึกษาที่ต ่ำกว่าอุดมศึกษา
โดยมุ่งหวังให้ผเู้ รี ยนมีความสมบูรณ์ท้ งั ด้านร่ างกาย จิตใจ และสติปัญญา อีกทั้งมีความรู ้และทักษะที่
จำเป็ นสำหรับการดำรงชีวิต และมีคุณภาพได้มาตรฐานสากล เพื่อการแข่งขันในยุคปั จจุบนั หลักสู ตรการ
ศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยส่ วนที่เป็ นแกนกลาง ซึ่ งกำหนดโดยหน่วยงานส่ วนกลาง ส่ วนที่เกี่ยวข้อง
กับสภาพชุมชนและท้องถิ่น ซึ่ งพัฒนาโดยเขตพื้นที่การศึกษา และส่ วนเพิ่มเติมที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้น
เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับความสนใจ ความต้องการ และความถนัดของผูเ้ รี ยน

หลักสู ตรแกนกลาง (Core curriculum)


หลักสูตรแกนกลางเป็ นหลักสูตรในส่ วนที่สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดเพื่อ
ใช้ในการพัฒนาผูเ้ รี ยนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสู ตรแกนกลางประกอบด้วยโครงสร้าง
หลักสู ตร ซึ่ งระบุการจัดแบ่งกลุ่มสาระการเรี ยนรู ้ กิจกรรมต่างๆ โครงสร้างเวลาเรี ยน สาระการเรี ยนรู ้
แกนกลางที่จำเป็ นสำหรับผูเ้ รี ยนทุกคน และเกณฑ์กลางในการวัดและประเมินผลการเรี ยนรู ้ หลักสู ตร
แกนกลางเป็ นกรอบทิศทางในการพัฒนากรอบหลักสู ตรเขตพื้นที่การศึกษาและหลักสู ตรสถานศึกษา
เป็ นส่ วนจำเป็ นสำหรับการพัฒนาเยาวชนไทยทุกคนให้เป็ นพลเมืองดีของชาติ และสามารถดำรงชีวิตอยู่
ได้อยากมีความสุ ข ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ความเจริ ญทางวิทยาการในโลกยุค
ปั จจุบนั
กรอบหลักสู ตรเขตพืน้ ที่การศึกษา (Local curriculum framework)
กรอบหลักสูตรที่จดั ทำขึ้นในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่ งครอบคลุมสิ่ งที่กำหนดในหลักสู ตร
แกนกลางและอาจมีส่วนที่เขตพื้นที่พฒั นาหรื อกำหนดเพิม่ เติมให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
ปัญหาและความพร้อมของแต่ละแห่ง ทั้งนี้สถานศึกษาในเขตพื้นที่น้ นั ๆ จะใช้กรอบหลักสู ตรเขตพื้นที่
การศึกษาเป็ นแนวทางในการจัดทำหลักสู ตรสถานศึกษา เพื่อพัฒนาผูเ้ รี ยนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการ
เรี ยนรู ้ และเป็ นสมาชิกที่ดีของสังคม มีความรักและหวงแหนมรดกทางสังคมของบรรพบุรุษ มีความรู ้
ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหา การแก้ไขปัญหา การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพในชุมชน
หลักสู ตรสถานศึกษา (School curriculum)
แผนหรื อแนวทางในการจัดประมวลความรู ้และประสบการณ์ ซึ่ งจัดทำโดยบุคคลหรื อคณะ
บุคคลในระดับสถานศึกษา เพื่อใช้ในการพัฒนาผูเ้ รี ยนให้มีความรู ้ความสามารถตามมาตรฐานการเรี ยนรู ้
7

และส่ งเสริ มให้ผเู้ รี ยนรู้จกั ตนเอง มีชีวิตอยูใ่ นโรงเรี ยน ชุมชน และสังคมอย่างมีความสุ ข การพัฒนา
หลักสู ตรสถานศึกษา พิจารณาจากหลักสูตรแกนกลาง และกรอบหลักสู ตรเขตพื้นที่การศึกษา นอกจาก
นั้นสถานศึกษาแต่ละแห่ง สามารถพัฒนาเพิ่มเติมขึ้นในส่ วนที่สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพสังคมและ
ความต้องการ ความถนัด และความสามารถของผูเ้ รี ยน
หลักสู ตรอิงมาตรฐาน (Standards-based curriculum)
รู ปแบบและกระบวนการพัฒนาหลักสู ตรที่มีมาตรฐานเป็ นเป้ าหมายหลักสู ตรสถานศึกษาขั้นพื้น
ฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔ ยึดรู ปแบบการพัฒนาหลักสู ตรในลักษณะดังกล่าว โดยคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐานได้กำหนดมาตรฐานการเรี ยนรู้ ซึ่ งเป็ นคุณภาพที่คาดหวังให้เกิดตัวผูเ้ รี ยนขึ้น ดังนั้น การพัฒนา
หลักสู ตรตลอดแนว ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ระดับสถานศึกษา ตลอดจนถึงระดับชั้นเรี ยน จะมี
ลักษณะเป็ นหลักสูตรอิงมาตรฐาน คือ ยึดมาตรฐานการเรี ยนรู ้ เป็ นเป้ าหมายและเป็ นกรอบทิศทาง ในการ
กำหนดโครงสร้าง เนื้ อหา กิจกรรมการเรี ยนการสอน ตลอดจนการวัดและประเมิผนการเรี ยนรู ้ กล่าวโดย
รวมก็คือ การกำหนดมาตรฐานการเรี ยนรู ้ นำไปสู่ การพัฒนาหลักสู ตรอิงมาตรฐาน (standards-based
curriculum) การเรี ยนการสอนอิงมาตรฐาน (standards-based instrcution) และการประเมินผลอิง
มาตรฐาน (standards-based assessment)
วิสัยทัศน์ (Vision)
คำอธิบายเกี่ยวกับความคาดหวังของหน่วยงาน หรื อ สถานศึกษา เพื่อเป็ นทิศทางในการวางแผน
จัดการศึกษา ออกแบบหลักสูตรการเรี ยนการสอน และการดำเนินงานในการพัฒนาคุณภาพผูเ้ รี ยน ที่
สามารถนำไปสู่ การปฏิบตั ิได้ ตามเวลาที่กำหนด
พันธกิจ (Mission)
ภารกิจ ความรับผิดชอบในการดำเนินงานจัดการศึกษาของหน่วยงานหรื อสถานศึกษาเพื่อให้เกิด
มรรคผลตามที่มุ่งหวังไว้ในวิสยั ทัศน์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ (Subject areas)
กลุ่มขององค์ความรู้และทักษะตามมาตรฐานการเรี ยนรู ้ที่เกี่ยวกับสัมพันธ์กนั ซึ่ งจัดแบ่งตาม
ศาสตร์ต่างๆ เป็ น ๘ กลุ่ม ได้แก่ ภาษาไทย คณิ ตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สุ ขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ
สาระ (Strands)
กลุ่มย่อยและองค์ความรู้และทักษะภายในกลุ่มสาระการเรี ยนรู ้ เช่น กลุ่มสาระการเรี ยนรู ้
คณิ ตศาสตร์ ประกอบด้วย ๖ สาระ ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ การวัด เรขาคณิ ต พีชคณิ ต การ
วิเคราะห์ขอ้ มูลและความน่าจะเป็ น และทักษะ/กระบวนการทางคณิ ตศาสตร์
สาระการเรียนรู้ (Content)
องค์ความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะสำคัญที่ระบุไว้ในมาตรฐานการเรี ยนรู ้ ซึ่ ง
นักเรี ยนต้องรู้และปฏิบตั ิได้

สาระการเรียนรู้ พนื้ ฐาน (Core topics/ content)


8

องค์ความรู้ และทักษะที่จำเป็ นสำหรับผูเ้ รี ยนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหน่วยงานส่ วน


กลาง มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดสาระการเรี ยนรู ้พ้ืนฐาน เพื่อให้โรงเรี ยนทุกแห่งใช้จดั การเรี ยน
การสอน เพื่อพัฒนาผูเ้ รี ยน

สาระการเรียนรู้ เพิม่ เติม (Additional/selective content)


องค์ความรู้ และทักษะที่จดั ขึ้นเพิ่มเติมจากสาระการเรี ยนรู ้พ้ืนฐานเพื่อให้ผเู ้ รี ยนได้เลือกเรี ยน
ตามความถนัดและความสนใจ หรื อเพื่อการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรื อเป็ นพื้นฐานในการประกอบ
อาชีพในอนาคต สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถกำหนดสาระเพิ่มเติมขึ้นได้ตามความเหมาะสม

สาระการเรียนรู้ ท้องถิ่น (Local-related content)


องค์ความรู้และทักษะที่เขตพื้นที่การศึกษาพัฒนาขึ้น โดยพิจารณาจากสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติ
ความเป็ นมาสภาพปัญหาชุมชน วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การงานอาชีพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อปลูกฝังผูเ้ รี ยน
ให้รู้จกั เข้าใจ มีความรักและหวงแหนมรดกทางสังคมของบรรพบุรุษ มีความเป็ นไทย เป็ นสมาชิกที่ดีของ
สังคม และสามารถดำรงชีวิต ประกอบอาชีพ แก้ปัญหาการดำเนินชีวิต และพัฒนาสังคม ชุมชน

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (Activities)
กิจกรรมที่สถานศึกษาจัดขึ้นให้ผเู ้ รี ยนได้พฒั นาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ ผูเ้ รี ยน
สามารถเลือกเข้าร่ วมตามความถนัดและความสนใจเพื่อช่วยพัฒนาองค์รวมทั้งร่ างกาย และจิตใจ
กิจกรรมพัฒนาผูเ้ รี ยนแบ่งเป็ น 2 ลักษณะ คือ 1) กิจกรรมแนะแนว 2) กิจกรรมนักเรี ยน เช่น ลูกเสื อ
เนตรนารี ชมรม ชุมนุม วิชาการ เป็ นต้น

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Desired characteristics)


คุณภาพของผูเ้ รี ยนด้านคุณธรรม จริ ยธรรม ค่านิยมที่สถานศึกษากำหนดขึ้นเพิ่มเติมจากที่
กำหนดไว้ในมาตรฐานการเรี ยนรู้ของกลุ่มสาระต่าง ๆ โดยอาจพิจารณาจากสภาพปั ญหาของชุมชน
สังคม และการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปั จจุบนั ซึ่ งทำให้มีความจำเป็ นที่โรงเรี ยนต้องเน้นและปลูกฝัง
ลักษณะดังกล่าวให้เกิดขึ้นในตัวผูเ้ รี ยนทุกคน เพื่อช่วยให้ผเู ้ รี ยนเกิดการพัฒนาในองค์รวม ทั้งด้านสติ
ปัญญาและคุณธรรม อันจะนำไปสู่ ความเจริ ญก้าวหน้าและความมัน่ คงสงบสุ ขในสังคมโดยรวม

รายวิชา (Course)
ประมวลความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ที่จดั รวมขึ้นอย่างระบบแบบแผน เพื่อใช้
ในการพัฒนาผูเ้ รี ยนให้มีคุณภาพและมีศกั ยภาพตามเป้ าหมายที่ กำหนด มีการวางแผน กำหนดระยะเวลา
สำหรับจัดการเรี ยนการสอน และการวัดประเมินผลไว้อย่างชัดเจน สถานศึกษาสามารถวิเคราะห์องค์
ความรู ้ ทักษะ และคุณลักษณะต่างๆ ที่ระบุในมาตรฐานแต่ละกลุ่มสาระ เพื่อนำไปจัดเป็ นรายวิชาต่างๆ
ได้อย่างหลากหลายตามความเหมาะสม ทั้งในส่ วนที่เป็ นรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม ให้ผเู ้ รี ยน
9

เลือกเรี ยนตามความสนใจ บางรายวิชาอาจเป็ นการบูรณาการหลายกลุ่มสาระเข้าด้วยกันก็ได้ และเพื่อให้


เกิดความสะดวกและความชัดเจนในการรายงานผล และการสื่ อสารระหว่างกัน สถานศึกษาจะต้อง
กำหนดรหัสและชื่อสำหรับเรี ยกแต่ละรายวิชาขึ้น ตามแนวปฏิบตั ิที่ส่วนกลางกำหนดไว้

รหัสวิชา (Course code)


ตัวเลขหรื อสัญลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนดขึ้นกำกับแต่ละรายวิชาตามหลักการที่ส่วนกลาง
กำหนดไว้ เพื่อใช้ประโยชน์และอำนวยความสะดวกในการจำแนก บันทึก รายงานผล และการเทียบ
โอนผลการเรี ยนรายวิชาต่าง ๆ สัญลักษณ์แต่ละตัวของรหัสวิชาจะบ่งบอกถึงคุณสมบัติและสถานภาพ
ของรายวิชา ซึ่ งช่วยให้ผทู้ ี่เกี่ยวข้องสามารถสื่ อสารให้เกิดความเข้าใจที่ชดั เจนตรงกันเกี่ยวกับวิชานั้น ๆ

คำอธิบายรายวิชา (Course description)


ข้อมูลรายละเอียดของแต่ละรายวิชา ประกอบด้วยมาตรฐานการเรี ยนรู ้ เนื้ อหาสาระ เวลาเรี ยน
รหัสวิชา ชื่อวิชา จำนวนหน่วยกิต ระดับชั้น เพื่อใช้เป็ นกรอบทิศทางที่ผสู ้ อนใช้ในการวางแผนและ
ออกแบบการเรี ยนการสอน

หน่ วยการเรียนรู้ (Unit plan)


แผนหรื อแนวทางที่ครู ผสู้ อนจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรี ยนการสอนในชั้นเรี ยน หน่วยการ
เรี ยนรู ้แต่ละหน่วยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ มาตรฐานการเรี ยนรู ้ที่เป็ นเป้ าหมายของหน่วยนั้น
สาระซึ่ งเป็ นองค์ความรู้/ทักษะสำคัญ กิจกรรมการเรี ยนการสอน ชิ้นงานหรื อภาระงานที่ให้ผเู ้ รี ยนปฏิบตั ิ
และเกณฑ์การประเมินผล

หน่ วยการเรียนรู้ แบบบูรณาการ (Integrated unit)


การจัดการเรี ยนการสอนที่ผสมผสานเชื่อมโยงสาระการเรี ยนรู ้ต่าง ๆ กับหัวข้อเรื่ องหรื อ
ประเด็นที่สอดคล้องกับชีวิตจริ ง ผูส้ อนสามารถเชื่อมโยงสาระและกระบวนการเรี ยนรู ้ต่าง ๆ เช่น การ
อ่าน เขียน คิดคำนวณ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผเู ้ รี ยนเกิดการพัฒนาในองค์รวม เป็ นธรรมชาติโดยเชื่อมโยง
สอดคล้องกับสภาพ และปัญหาที่เกิดในวิถีชีวิตจริ ง หน่วยการเรี ยนรู ้แบบบูรณาการมีองค์ประกอบของ
หน่วยเช่นเดียวกับหน่วยการเรี ยนรู้ทวั่ ไป รวมทั้งมีการกำหนดมาตรฐานการเรี ยนรู ้และตัวชี้ วดั เป็ นเป้ า
หมายของหน่วยด้วย แต่มาตรฐานการเรี ยนรู ้ในหน่วยการเรี ยนรู ้แบบบูรณาการนี้ มกั จะเป็ นมาตรฐาน
ที่มาจากหลายกลุ่มสาระการเรี ยนรู้
10

แผนการจัดการเรียนรู้ (Lesson plan)


แผนหรื อแนวทางการจัดการเรี ยนการสอนซึ่ งเป็ นส่ วนหนึ่งของหน่วยการเรี ยนรู ้ เมื่อดำเนินการ
เรี ยนการสอนครบทุกแผนของแต่ละหน่วยการเรี ยนรู ้ ผูเ้ รี ยนจะได้พฒั นาคุณภาพบรรลุตามมาตรฐานที่
กำหนดเป็ นเป้ าหมายของแต่ละหน่วยการเรี ยนรู ้

การเรียนการสอน
กระบวนการเรียนรู้ (Learning process)
กระบวนการเรี ยนรู้ที่ผเู้ รี ยนใช้ในการแสวงหาความรู ้ สร้างความเข้าใจ สร้างองค์ความรู ้ และ
พัฒนาตนเอง ให้มีความรู้ และศักยภาพตามที่มุ่งหวังในหลักสู ตร

วิธีการเรียนรู้ (Learning styles)


รู ปแบบหรื อวิธีการที่ผเู้ รี ยนใช้ในการแสวงหาความรู ้ สร้างความเข้าใจหรื อมีปฏิก ิริยาสนองตอบ
ต่อสิ่ งต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมหรื อสถานการณ์ของการเรี ยนรู ้ ผูเ้ รี ยนแต่ละคนอาจใช้วิธีการแตกต่างกัน
ไปเพื่อช่วยให้เกิดการเรี ยนรู้ ผูเ้ รี ยนแต่ละคนอาจใช้วธิ ี การแตกต่างกันไปเพื่อช่วยให้เกิดการเรี ยนรู ้อย่างมี
ประสิ ทธิ ภาพ ทั้งนี้ข้ นึ อยูก่ บั ความชอบ ความถนัด ภูมิหลังด้านสังคม วัฒนธรรม หรื อพัฒนาการของ
แต่ละบุคคล

สื่ อการเรียนรู้ (Learning materials)


สื่ อที่ช่วยกระตุน้ ให้ผเู้ รี ยนเกิดความสนใจ มีความเข้าใจ เกิดการเรี ยนรู ้และช่วยส่ งเสริ มให้การ
เรี ยนรู ้เป็ นไปอย่างมีประสิ ทธิภาพ สื่ อการเรี ยนรู ้มีหลายรู ปแบบ เช่น สื่ อสิ่ งพิมพ์ สื่ อเทคโนโลยี สื่ อ
ธรรมชาติ การเลือกสื่ อที่ใช้ในการเรี ยนการสอนควรคำนึงถึงความน่าสนใจ ชวนคิด ชวนติดตามเป็ นสื่ อ
ที่เข้าใจง่าย กระตุน้ ให้ผเู้ รี ยนรู้จกั วิธีแสวงหาความรู ้ และที่ สำคัญคือสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการ
เรี ยน วิธีการเรี ยนรู้ของผูเ้ รี ยน และความแตกต่างระหว่างบุคคล

แหล่ งการเรียนรู้ (Learning resource)


สถานที่ หรื อแหล่งข้อมูลทั้งในสถานศึกษา และนอกสถานศึกษา ที่ผเู ้ รี ยนสามารถเข้าไปศึกษา
แสวงหาประสบการณ์ ความรู้ เพื่อช่วยพัฒนาให้เกิดการเรี ยนรู ้อย่างกว้างขวางลึกซึ้ ง

กิจกรรมการเรียนรู้ (Learning activities)


กิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการเรี ยนการสอน เพื่อช่วยกระตุน้ ให้ผเู ้ รี ยนสนใจ เข้าใจ เกิดการเรี ยนรู ้
และมีพฒั นาการการเปลี่ยนแปลงตามเป้ าหมายของหลักสู ตร

การเน้ นผู้เรียนเป็ นสำคัญ (Child-centered)


การจัดกิจกรรมการเรี ยนการสอนที่ผเู ้ รี ยนมีส่วนร่ วมและมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรี ยนรู ้
บทบาทของครู จะเปลี่ยนจากการเป็ นผูช้ ้ี นำ หรื อ ผูถ้ ่ายทอดความรู ้ ไปเป็ นผูช้ ่วยเหลืออำนวยความสะดวก
ส่ งเสริ มสนับสนุนให้ผเู้ รี ยนในการแสวงหาความรู ้และลงมือปฏิบตั ิ และสร้างสรรค์ความรู ้โดยใช้วธิ ี การ
11

ต่างๆ หลากหลายรู ปแบบ ทั้งนี้โดยคำนึงความถนัด ความสนใจ และแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อให้ผเู ้ รี ยน


เกิดการสร้างสรรค์ความรู้ และนำความรู้ไปใช้ได้อย่างมีประสิ ทธิ ภาพ

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment)
เป็ นกระบวนการเรี ยนรู้เก็บรวบรวมข้อมูล ร่ องรอย หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการ ความ
ก้าวหน้าและความสำเร็ จทางการเรี ยนของผูเ้ รี ยนอย่างเป็ นระบบ เพื่อเป็ นประโยชน์ต่อการส่ งเสริ มให้ผู ้
เรี ยนเกิดการพัฒนา และเรี ยนรู้อย่างเต็มศักยภาพ การวัดประเมินผลกาเรี ยนรู ้ สามารถจัดให้มีข้ึ นทั้งระดับ
ชั้นเรี ยน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ

การประเมินการปฏิบัติ (Performance assessment)


การวัดและประเมินผลการเรี ยนรู ้ที่ตอ้ งการให้ผเู ้ รี ยนได้แสดงความรู ้ ความสามารถด้วยการ
ปฏิบตั ิหรื อผลิตผลงาน รู ปแบบที่ใช้ในการประเมินการปฏิบตั ิมีหลายรู ปแบบ เช่น การอภิปราย การ
ออกแบบ การทดลอง การทำโครงงาน การทำชิ้นงาน ภาระงาน การสาธิ ต เป็ นต้น

การประเมินตามสภาพจริง (Authentic assessment)


การวัดและประเมินผลการเรี ยนรู ้จากการที่นกั เรี ยนได้ลงมือปฏิบตั ิงาน ซึ่ งแสดงให้เห็นถึง
การนำความรู้และทักษะที่เรี ยนไปใช้ในสภาพและสถานการณ์จริ ง หรื อเชื่อมโยงใกล้เคียงกับ
สถานการณ์จริ งมากที่สุด การวัดประเมินผลตามสภาพจริ งมักมีการกำหนดชิ้นงานหรื อภาระงานให้ผู ้
เรี ยนปฏิบตั ิ และมีการใช้เครื่ องมือการวัดและประเมินผลที่มีเกณฑ์พร้อมทั้งคำอธิ บายคุณภาพงานตาม
เกณฑ์ไว้อย่างชัดเจน

การประเมินผลย่อย (Formative assessment)


เป็ นการประเมินผลระหว่างการเรี ยน ช่วยให้ทราบว่าพัฒนาการของผูเ้ รี ยนอยูใ่ นขั้นใด มีจุดดี
หรื อบกพร่ องใดที่ตอ้ งเสริ มสร้างให้ดีข้ ึน การประเมินผลลักษณะนี้ ควรกระทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาปรับปรุ งการเรี ยนการสอน ให้ผเู ้ รี ยนเกิดการเรี ยนรู ้อย่างเต็มศักยภาพและ
พัฒนาไปสู่ คุณภาพตามมาตรฐาน

การประเมินผลรวม (Summative assessment)


การประเมินผลการเรี ยนรู้เมื่อสิ้ นสุ ดการเรี ยนการสอนในแต่ละหน่วยใหญ่หรื อแต่ละรายวิชา
เพื่อศึกษาว่านักเรี ยนมีความรู้เพียงไร หรื อมีจุดอ่อนที่ใดจะต้องปรับปรุ งแก้ไข โดยเทียบเคียงกับระดับ
คุณภาพตามมาตรฐานกำหนด

แนวการให้ คะแนน (Scoring guide)


เครื่ องมือที่ใช้ในการประเมินชิ้นงานหรื อภาระงานที่มอบหมายให้นกั เรี ยนปฏิบตั ิ แนวการให้
คะแนนจะระบุเกณฑ์ และคำอธิบายคุณภาพงาน แนวการให้คะแนนที่ใช้กนั โดยมากมักเขียนในรู ปของรู
บริ ค
12

รูบริค (Rubric)
แนวการให้คะแนนซึ่ งสามารถแยกแยะระดับต่าง ๆ ของความสำเร็ จในการเรี ยน หรื อการ
ปฏิบตั ิงานของนักเรี ยนได้อย่างชัดเจน ตั้งแต่คุณภาพที่ตอ้ งแก้ไขปรับปรุ ง ถึงระดับดีมาก โดยประกอบ
ด้วยเกณฑ์ ซึ่ งมีระดับคุณภาพชัดเจนในการให้คะแนน ช่วยให้การประเมินผลมีความเที่ยงตรงเชื่อมโยง
สัมพันธ์กบั มาตรฐาน

การวัดและประเมินผลอิงมาตรฐาน (Standards-based assessment)


การวัดประเมินผลการเรี ยนรู้ที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการ ความก้าวหน้า และความสำเร็ จทางการ
เรี ยน โดยเทียบเคียงกับคุณภาพที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการเรี ยนรู ้

หน่ วยกิต (Credit)


ค่าน้ำหนักที่กำหนดให้ในการเรี ยนแต่ละรายวิชา โดยคิดจากระยะเวลาที่ใช้ในการเรี ยนการสอน
เพื่อบรรลุมาตรฐานหรื อจุดประสงค์ที่ต้ งั ไว้สำหรับรายวิชานั้น โดยรายวิชาที่ใช้เวลาในการเรี ยนการสอน
40 ชัว่ โมงต่อภาคเรี ยน มีคา่ เท่ากับ 1 หน่วยกิต
การเทียบโอนผลการเรียน (Credit transfer)
การนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาในรู ปแบบต่าง ๆ หรื อจากการ
ประกอบอาชีพมาเทียบเป็ นผลการเรี ยนของหลักสู ตรใดหลักสู ตรหนึ่ง ทั้งนี้การเทียบโอนผลการเรี ยน
สามารถทำได้ท้ งั จากการศึกษารู ปแบบเดียวกัน หรื อระหว่างการศึกษาต่างรู ปแบบ ไม่วา่ จะเป็ นผลการ
เรี ยนจากสถานศึกษาเดียวกันหรื อต่างสถานศึกษา รวมทั้งจากการเรี ยนรู ้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึ ก
อาชีพ หรื อจากประสบการณ์การทำงานโดยดำเนินการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิ การว่าด้วยแนว
ดำเนินเทียบโอนผลการเรี ยนระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา
การประเมินผลระดับชั้นเรียน (Classroom assessment)
เป็ นการวัดและประเมินผลที่ควบคู่ไปในกระบวนการเรี ยนการสอน ครู ผสู ้ อนเป็ นผูม้ ีบทบาท
สำคัญในการดำเนินการ มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการหาคำตอบว่า ผูเ้ รี ยนมีความก้าวหน้า ด้านความรู ้
ทักษะ คุณธรรม ค่านิยม อันเป็ นผลสื บเนื่องมาจาก กิจกรรมการเรี ยนการสอนหรื อไม่เพียงใด ดังนั้น การ
วัดและประเมินผลระดับชั้นเรี ยน ควรเน้นการประเมินตามสภาพจริ งโดยใช้วธิ ี การที่หลากหลาย
สอดคล้องกับมาตรฐานการเรี ยนรู้ และมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง
การประเมินผลระดับเขตพืน้ ที่การศึกษา (Local assessment)
การวัดประเมินผลที่ดำเนินการโดยเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อตรวจสอบคุณภาพผูเ้ รี ยนในโรงเรี ยน
ที่อยูใ่ นความรับผิดชอบของเขตพื้นฐานที่การศึกษาแต่ละแห่ง โดยมีการรายงานผลแก่สถานศึกษาและ
ชุมชนได้รับทราบ ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าสถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดการเรี ยนการสอน เพื่อพัฒนาผู ้
เรี ยนได้บรรลุตามมาตรฐานการเรี ยนรู้ที่กำหนดหรื อไม่ เพียงใด และมีขอ้ บกพร่ องใดที่ตอ้ งการดำเนิน
การปรับปรุ งแก้ไขต่อไป
การประเมินคุณภาพระดับชาติ (National tests)
การวัดและประเมินผลการเรี ยนรู ้ที่ดำเนินการโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ โดย
ประเมินผูเ้ รี ยนในระดับชั้นสำคัญ (key stage) ได้แก่ ประถมศึกษาปี ที่ ๓ ประถมศึกษาปี ที่ ๖ มัธยมศึกษา
13

ปี ที่ ๓ และมัธยมศึกษาปี ที่ ๖ ในกลุ่มสาระการเรี ยนรู ้ที่สำคัญ ได้แก่ ภาษาไทย คณิ ตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และภาษาต่างประเทศ ข้อมูลที่ได้จากการประเมิน จะนำไปใช้ในการ
พัฒนาคุณภาพของผูเ้ รี ยน และคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่งต่อไป

You might also like