You are on page 1of 2

เอกสารประกอบการสอน เรื่องระดับภาษา วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ท ๓๓๑๐๑ 1

เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา


๑. ผู้แต่ง : ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง ตอนขุนช้างถวายฎีกา แต่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าแต่งดีเยี่ยมโดยเฉพาะ
กระบวนกลอนที่สื่ออารมณ์สะเทือนใจ (เป็น ๑ ใน ๘ ตอนที่ได้รับการยกย่อง)
๒.ประวัติความเป็นมา :
เรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ เป็นนิยายพื้นบ้านของสุพรรณบุรีที่แต่งขึ้นจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยามี
หลักฐานอยู่ในหนังสือคาให้การชาวกรุงเก่า โดยแต่งเป็นบทกลอนสาหรับขับเสภาให้ประชาชนฟัง เมื่อมาถึงสมัยกรุง
รัตนโกสินทร์มีเหลืออยู่เพียงบางตอนเท่านั้น เพราะถูกไฟไหม้และสูญหายไปเมื่อครั้งเสียกรุงกับพม่า พระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัยฯ ให้กวีหลายท่าน เช่น พระองค์ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ สุนทรภู่ ครูแจ้ง เป็นต้น ให้ช่วยกัน
แต่งเพิ่มเติมขึ้นโดยแบ่งกันแต่งเป็นตอน ๆ ไปจนจบเรื่อง
ขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ว่าเป็นยอดของหนังสือประเภท
กลอนเสภามีสานวนโวหารที่ไพเราะคมคาย มีคติเตือนใจ สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตและสังคมความเป็นอยู่ของคนไทย
ให้ความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย และยังให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินอีกด้วย
๓. เรื่องย่อ :
ฝ่ายพลายงามเมื่อชนะความขุนช้างแล้วก็มาอยู่บ้านด้วยความสุข แต่มาคิดว่ายังขาดแต่มารดา เห็นว่าไม่ควรคู่
กับขุนช้าง จึงคิดว่าจะรับแม่กลับมาอยู่กับขุนแผน พอตกค่าจึงออกเดินทางไปบ้านขุนช้าง สะกดผู้คน ภูตพราย และแก้
อาถรรพณ์ แล้วสะเดาะกลอนเข้าไปถึงชั้นสาม เข้าห้องนอน ถอนสะกดนางวันทอง แล้วเจรจากัน พระไวยแจ้งว่าจะมา
รับนางวันทองกลับไปบ้าน นางวันทองแนะนาให้นาเรื่องกราบทูลพระพันวษา พลายงามไม่เห็นด้วยและจะพาไปให้ได้
นางวันทองจนใจจึงยอมไปกับพระไวย ขุนช้างตื่นขึ้นไม่พบนางวันทอง ให้บ่าวไพร่ค้นหาไม่พบ ฝ่ายพลายงามได้คิดว่า
ถ้าขุนช้างรู้ว่าลักนางวันทองมาก็คงจะนาความขึ้นกราบทูลสมเด็จพระพันวษา มารดาก็จะต้องโทษ จึงให้หมื่นวิเศษผลไป
หาขุนช้างที่บ้านช่วยไกล่เกลี่ยเรื่องราวอย่าให้ขุนช้างโกรธโดยให้บอกขุนช้างว่า ตนจับไข้อยู่หลายวัน เกรงแม่ไม่ทันจะเห็น
หน้าจึงให้คนไปพาแม่มา พอตนหายไข้แล้วจะส่งมารดาคืนกลับไป หมื่นวิเศษรับคาแล้วก็รีบไปบ้านขุนช้าง แจ้งเรื่องตามที่
พระไวยสั่งมาทุกประการ ขุนช้างได้ฟังทั้งโกรธและแค้น เมื่อข่มความโกรธแล้วก็ตอบไปว่า ไม่เป็นไรเรื่องการเจ็บไข้ ถ้าขัด
สนสิ่งไรก็ขอให้มาเอาที่ตนได้ ว่าแล้วก็ปิดหน้าต่างใส่ด้วยความเดือดดาลและแค้นใจ
ฝ่ายขุนช้างร่างฟ้องเสร็จแล้วก็มาที่วังใน รออยู่ที่ใต้ตาหนักน้า พอสมเด็จพระพันวษาเสด็จกลับวังทางเรือตอน
จวนค่า ขุนช้างก็ลงลอยคอเข้าถวายฎีกา สมเด็จพระพันวษาเห็นเข้าทรงพิโรธ ให้รับฎีกาไว้ แล้วเอาตัวไปเฆี่ยนสามสิบที
จากนั้นให้ตั้งกฤษฎีกาว่าตั้งแต่นี้ไปถ้าใครปล่อยให้ใครเข้ามาในล้อมวง ต้องระวางโทษเจ็ดสถานถึงประหารชีวิต
ฝ่ายขุนแผนได้อยู่กับนางแก้วกิริยาและนางลาวทองมาด้วยความผาสุก ตกกลางคืนคิดถึงนางวันทอง จึงมาหา
นางวันทองที่เรือนพระไวย ปลุกนางขึ้นมาสนทนาด้วย พร่าราพันถึงความหลังที่ตกทุกข์ได้ยากด้วยกันมา นางวันทอง
แนะนาขุนแผนให้นาความขึ้นเพ็ดทูลพระพันวษาและไม่ยอมตกเป็นของขุนแผน พอตกดึกก็ฝันไปว่าถูกพยัคฆ์ตะครุบ
คาบตัวไปในป่า นางจึงตกใจตื่นและเล่าฝันให้ขุนแผนฟัง ขุนแผนฟังแล้วก็ใจหาย รู้ว่าฝันร้ายมีอันตราย วันรุ่งขึ้นสมเด็จ
พระพันวษาเสด็จออกว่าราชการ เห็นขุนช้างเข้าเฝ้าอยู่จึงตรัสว่าเรื่องนางวันทองไม่รู้จบ เมื่อครั้งก่อน เรื่องตกหนักที่นาง
ศรีประจัน ตัดสินไปอยู่กับขุนแผน แต่ทาไมกลับมาอยู่กับขุนช้างแล้วให้หมื่นศรีไปเอาตัวนางวันทอง ขุนแผนและพระไวย
มาเฝ้า ทั้งสามคนได้ฟังความก็ตกใจ ขุนแผนจึงจัดการช่วยเหลือนางวันทองด้วยเวทมนตร์ แล้วจึงพากันไปเข้าเฝ้าสมเด็จ
พระพันวษาจึงตรัสถามนางวันทอง ถึงเรื่องราวแต่หนหลัง นางวันทองก็กราบทูลให้ทรงทราบ เมื่อทรงทราบแล้ว ก็กริ้วขุน
ช้างเป็นกาลัง แล้วตรัสถามนางวันทองต่อไปว่า เวลาล่วงไปแล้วถึงสิบแปดปี แต่ทาไมวันนี้จึงมาได้ นางวันทองก็กราบทูล
ว่า พระไวยไปรับเมื่อตอนกลางคืน สมเด็จพระพันวษาได้ฟัง ก็ทรงขุ่นเคืองพระไวย ที่ทาตามอาเภอใจเพราะแย่งชิงนางวัน
ทองกัน จึงให้นางวันทองตัดสินใจว่า จะอยู่กับใคร หรือถ้าไม่อยากอยู่กับทั้งสองคน จะเลือกอยู่กับลูกก็ได้ นางวันทองถึง
คราวจะสิ้นอายุไม่สามารถตัดสินใจได้ จึงกราบทูลเป็นกลางไป หวังจะให้สมเด็จพระพันวษาตัดสิน แต่พระองค์ทรงฟังนาง
วันทองพูด ก็พิโรธยิ่งนัก ตรัสประณามนางวันทองว่าเป็นหญิงหลายใจ อย่าอยู่ให้หนักแผ่นดิน ให้เอาตัวไปฆ่าเสีย

1
เอกสารประกอบการสอน เรื่องระดับภาษา วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ท ๓๓๑๐๑ 2

คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๑. สะท้อนถึงอารมณ์โกรธแค้นและสะเทือนใจ (พิโรธวาทัง)
ยิ่งคิดเดือดดาลทะยานใจ ฉวยได้กระดานชนวนมา
ร่างฟ้องท่องเทียบให้เรียบร้อย ถ้อยคาถี่ถ้วนเป็นหนักหนา...
๒. มีการพรรณนาถึงเรื่องฝันร้าย
...ครั้งนี้น่าจะมีอันตราย ฝันร้ายสาหัสตัดตารา
พิเคราะห์ดูทั้งยามอัฐกาล ก็บันดาลฤกษ์แรงเป็นหนักหนา
มิรู้ที่จะแถลงแจ้งกิจจา กอดเมียเมินหน้าน้าตากระเด็น...
๓. ใช้ถ้อยคาเกิดความเศร้าสะเทือนใจสงสารในชะตากรรมของตัวละคร (สัลลาปังคพิสัย)
...วันนี้แม่จะลาพ่อพลายแล้ว จะจาจากลูกแก้วไปสูญสิ้น
พอบ่ายก็จะตายลงถมดิน ผินหน้ามาแม่จะขอชม
เกิดมาไม่เหมือนกับเขาอื่น มิได้ชื่นเชยชิดสนิทสนม...
๔. การบรรยายโวหาร (เสาวรจนี)
ฟ้าขาวดาวเด่นดวงสว่าง จันทร์กระจ่างทรงกลดหมดมฆสิ้น
จึงเซ่นเหล้าข้าวปลาให้พรายกิน เสกขมิ้นว่านยาเข้าทาตัว
๕. การพรรณนาโวหาร (นารีปราโมทย์)
จะเป็นตายง่ายยากไม่จากรัก จะฟูมฟักเหมือนเมื่ออยู่ในกลางเถื่อน
ขอโทษที่พี่ผิดอย่าบิดเบือน เจ้าเพื่อนเสน่หาจงอาลัย
๖. เชิงเปรียบเทียบ (อุปมาโวหาร)
อีวันทองตัวมันเหมือนแก้ว ถ้าตัดโคนขาดแล้วก็ใบเหี่ยว
ใครจะควรสู่สมอยู่กลมเกลียว ให้เด็ดเดี่ยวรู้กันแต่วันนี้
๗. กวีแทรกอารมณ์ขันในการแต่ง (หาสยรส)
ขุนช้างเห็นข้าไม่มาใกล้ ขัดใจลุกขึ้นทั้งแก้ผ้า
แหงนเถ่อเป้อปังยืนจังกา ย่างเท้าก้าวมาไม่รู้ตัว
ยายจันงันงกยกมือไหว้ นั่นพ่อจะไปไหนพ่อทูนหัว
ไม่นุ่งผ่อนนุ่งผ้าดูน่ากลัว ขุนช้างมองดูตัวก็ตกใจ

คุณค่าด้านสังคม
- แสดงให้เห็นภาพสังคมสมัยก่อน เช่น
๑. ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
๒. ความรักระหว่างแม่และลูก
๓. สะท้อนให้เห็นชีวิต วัฒนธรรม ค่านิยม และความเชื่อ
๔. ความเชื่อในกฎแห่งกรรม
- สะท้อนค่านิยมของคนในสังคม เช่น
๑. ค่านิยมเกี่ยวกับการมีสัมมาคารวะ พลายงามรู้จักแสดงความเคารพนบน้อมมีสัมมาคารวะ แม้จะอยู่ใน
สถานการณ์ที่ทาให้ขุ่นเคืองใจ แต่เมื่อมาเห็นมารดาก็ยังระลึกถึงพระคุณเข้าไปกราบไหว้
๒. ค่านิยมเกี่ยวกับผู้หญิงต้องมีสามีคนเดียว ไม่นิยมผู้หญิงที่มีพฤติกรรมเยี่ยงนางวันทองคือสามีสองคนใน
เวลาเดียวกัน แม้โดยจริงแท้แล้วการที่นางต้องมีสามีสองคนนั้นมิใช่เกิดจากความปรารถนาของนางเอง แต่สังคมก็มองแต่
เพียงผิวเผินว่านางเป็นคนที่ไม่น่านิยม น่ารังเกียจ คาพิพากษาให้ได้รับพระราชอาญาถึงประหารย่อมเป็นยืนยันถึงผลของ
ค่านิยมด้านนี้ของสังคมไทย

You might also like