You are on page 1of 136

กฎหมายครอบครัว

ความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

รศ.ดร. มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล


เค้าโครงการบรรยาย
บิดามารกับดาบุตร
1. บททั่วไป
1.1) ข้อสันนิษฐานการตั้งครรภ์
1.2) ข้อสันนิษฐานความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
- ข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1536
- ข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1537
- ข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1538
เค้าโครงการบรรยาย (ต่อ)
1.3) การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร
1.4) การฟ้องคดีปฏิเสธความเป็นบุตร
1.5) วิธีการเปลี่ยนสถานะของบุตรนอกสมรสให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
- บิดามารดาสมรสกันภายหลัง
- บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร
- ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร
ความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
• ส่วนที่ 1 บุตรในสมรส
• ส่วนที่ 2 การปฏิเสธข้อสันนิษฐานความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรในสมรส
1. บุตรที่เกิดจากการสมรสที่เป็นโมฆะ
2. บุตรที่เกิดจากการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452
3. บุตรที่เกิดจากการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1453
4. บุตรที่เกิดจากการสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขโมฆียะ
บทบัญญัติมาตรา 1536 – 1538
และ 1546, 1560
บุตรในสมรส
• บุตรในสมรส หมายถึง
- บุตรที่เกิดจากมารดาที่ได้มีการสมรส (จดทะเบียน) กับบิดาเด็ก
- บุตรที่เกิดภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง (มาตรา
1536 ว.1)
ข้อสังเกต
มาตรา 1536 เป็นเพียงบทสันนิษฐานว่าเด็กที่เกิดมาเป็นบุตรของ
ชายผู้เป็นสามี ไม่ใช่ข้อบัญญัติเด็ดขาด หากชายเห็นว่าเด็กไม่ใช่บุตรของ
ตนก็มีสิทธิฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรา 1539 ได้
ขณะเดียวกัน มาตรา 1545 ก็ให้สิทธิแก่เด็กในการฟ้องคดีปฏิเสธ
ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายได้เช่นเดียวกัน
บุตรที่เกิดจากการสมรสที่เป็นโมฆะ
หมายถึง บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่สมรสโดยฝ่าฝืนเงื่อนไขที่ทำ
ให้การสมรสเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ได้แก่
1. การสมรสที่ขัดต่อความยินยอมของตัวคู่สมรสชายหญิง (ม.1458)
2. การสมรสที่คู่สมรสเป็นคนวิกลจริตหรือคนไร้ฯ (ม.1449)
3. การสมรสที่คู่สมรสเป็นญาติสืบสายโลหิตกัน (ม.1450)
4. การสมรสซ้อน (ม.1452)
บุตรที่เกิดจากการสมรสที่เป็นโมฆะ (ต่อ)
กรณีนี้ มาตรา 1536 วรรคสองบัญญัติให้สันนิษฐานว่า เป็นบุตรชอบ
ด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีแล้วแต่กรณี
ข้อสังเกต : - กรณีชายสมรสซ้อนจะใช้ข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1536 ว.2
แต่ถ้าหญิงสมรสซ้อนย่อมอยู่ในบังคับมาตรา 1538
- การสมรสที่เป็นโมฆะไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สิน
ระหว่ า งสามี ภ ริ ย า(มาตรา1498 ว.1) แต่ จ ะไม่ ก ระทบ
กระเทือนถึงบุตร โดยมาตรา 1499/1 ให้คู่สมรสในการสมรสที่
เป็นโมฆะสามารถตกลงกันว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง
บุตรคนใดหรือจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวน
เท่าใด
บุตรที่เกิดจากการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452
• กรณีนี้คือ สมรสโดยการจดทะเบียนซ้อนในขณะที่ชายหรือหญิงมีคู่
สมรสอยู่แล้วได้ และต่อมาเกิดบุตรจากการสมรสดังกล่าว การสมรส
ซ้อนเช่นนีอ้ าจถูกศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆะได้
• กรณีชายผู้เป็น สามีไปหลอกลวงให้หญิงอื่น มาจดทะเบียนสมรสกับ
ตนเองเกินกว่าหนึ่งคน ให้ใช้บทบัญญัติในมาตรา 1536 ว.2 คุ้มครอง
บุตรที่เกิดจากการสมรสที่เป็นโมฆะโดยให้สันนิษฐานว่าเป็นบุตรชอบ
ด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามี
บุตรที่เกิดจากการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 (ต่อ)
• กรณีที่หญิงผู้เป็นภริยาไปหลอกลวงผู้ชายเกินหนึ่งคนให้จดทะเบียน
สมรสกับตนให้อยู่ในบังคับมาตรา1538 (ให้สันนิษฐานว่าเป็นบุตรชอบ
ด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีซึ่งได้จดทะเบียนสมรสครั้งหลัง)
บุตรที่เกิดจากการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1453
• มาตรา 1453 เป็นข้อห้ามหญิง มิให้นายทะเบียนทำการจดทะเบียน
สมรสให้จนกว่าจะพ้นระยะเวลาสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่สามีตายหรือ
การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น
• การสมรสที่ฝ่าฝืนข้อห้ามนี้มีผลสมบูรณ์ ไม่ตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ แต่
มี ผ ลเกี ่ ย วกั บ ตั ว เด็ ก ที ่ ห ญิ ง คลอดออกมา โดย มาตรา 1537 โดย
สันนิษฐานว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีคนใหม่ และมิให้นำ
มาตรา 1536 ว.1 ที่ว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีเดิมมาใช้
บังคับ เว้นแต่มีคำพิพากษาศาลแสดงว่าเด็กมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมาย
ของชายผู้เป็นสามีคนใหม่นั้น
บุตรที่เกิดจากการสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขโมฆียะ
• การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขแล้วตกเป็นโมฆียะมี 5 เหตุตามมาตรา 1503
• การสมรสที่เป็นโมฆียะเป็นการสมรสที่สมบูรณ์ แต่สิ้นสุดลงในวันที่ศาล
มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอน (มาตรา 1511)
• บุตรที่เกิดจากการสมรสที่เป็นโมฆียะ มีมาตรา 1560 รับรองคุ้มครองไว้
ว่า บุตรเกิดระหว่างการสมรสซึ่งศาลพิพากษาให้เพิกถอนภายหลังนั้นให้
ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
การปฏิเสธข้อสันนิษฐาน
ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
• ส่วนที่ 2 การปฏิเสธข้อสันนิษฐานความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
1. การฟ้องคดีปฏิเสธไม่รับเด็กเป็นบุตร
2. การฟ้องคดีปฏิเสธความเป็นบุตร
บทบัญญัติมาตรา 1539 – 1545
การฟ้องคดีปฏิเสธไม่รับเด็กเป็นบุตร
1. ข้อห้ามไม่ให้ชายฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร
2. อายุความในการฟ้องคดี
3. กรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ชายผู้
ฟ้องคดี
4. กรณีชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีถึงแก่กรรมก่อนจะได้ฟ้องคดีไม่
รับเด็กเป็นบุตร
การฟ้องคดีปฏิเสธไม่รับเด็กเป็นบุตร
• บัญญัติไว้ในมาตรา 1539 โดยให้สิทธิชายที่ถูกกฎหมายสันนิษฐานให้
เป็นบิดาตามมาตรา 1536,1537 และมาตรา1538 ฟ้องคดีไม่รับเด็ก
เป็นบุตร
• ข้อพิสูจน์ในการปฏิเสธไม่รับเด็กเป็นบุตร มี 2 ประการ คือ
1. พิสูจน์ระยะเวลาตั้งครรภ์ เป็นการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่าตนไม่ได้อยู่
ร่วมกับมารดาเด็กในระยะเวลาตั้งครรภ์ คือ ระหว่างร้อยแปดสิบวัน
ถึงสามร้อยสิบวันก่อนเด็กเกิด
2. พิสูจน์เหตุอย่างอื่น เช่น ไม่มีอวัยวะเพศ หรือมีสภาพแห่งกายไม่อาจ
ร่วมประเวณีได้หรือพิสูจน์กลุ่มเลือดหรือ DNA ฯลฯ
การฟ้องคดีปฏิเสธไม่รับเด็กเป็นบุตร (ต่อ)
• วิธีการฟ้อง
- ถ้าเด็กและมารดาเด็กยังมีชีวิตอยู่ให้ฟ้องเด็กและมารดาเด็กเป็นจำเลย
ร่วมกัน (มาตรา 1539 ว.1)
- ถ้ า ขณะยื ่ น ฟ้ อ งมารดาเด็ ก ตาย จะฟ้ อ งเด็ ก ผู ้ เ ดี ย วเป็ น จำเลยก็ ได้
(มาตรา 1539 ว.2)
- ถ้าเด็กตาย ไม่ว่ามารดาเด็กจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ จะยื่นคำร้องขอให้ศาล
แสดงว่าเด็กนั้นไม่เป็นบุตรก็ได้ ถ้ามารดาเด็กหรือทายาทยังมีชีวิตอยู่
ให้ศาลส่งสำเนาคำร้องไปให้ด้วย และศาลอาจส่งสำเนาคำร้องไปให้
อัยการเพื่อดำเนินคดีแทนเด็กด้วยก็ได้ (มาตรา 1539 ว.2)
ข้อห้ามไม่ให้ชายฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร
• หากชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีเป็นผู้แจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคน
เกิดเองว่าเป็นบุตรของตน หรือจัดหรือยอมให้มีการแจ้งดังกล่าว ชายผู้
นั้นจะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรไม่ได้ (มาตรา 1541)
• มาตรา 1541 เป็นกรณีที่กฎหมายปิดปากชายฝ่ายเดียว แต่ไม่ตัดสิทธิ
การฟ้ อ งคดี ป ฏิ เ สธความเป็ น บุ ต รของฝ่ า ยเด็ ก ตามมาตรา 1545
นอกจากนี้ เด็กยังสามารถนำการแจ้งเกิดมาเป็นข้ออ้างในการฟ้องคดี
ขอให้รับเด็กเป็นบุตรตาม มาตรา 1555(4) ได้อีกด้วย
อายุความในการฟ้องคดี
• ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีต้องฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรภายในหนึ่งปี
นับแต่วันรู้ถึงการเกิดของเด็ก แต่ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันเกิดของเด็ก
(มาตรา 1542)
• กรณีชายผู้เป็นสามีคนใหม่ตามมาตรา 1537 หรือชายผู้เป็นสามีในการ
สมรสครั้งหลังตามมาตรา 1538 ฟ้องและศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าเด็ก
มิ ใช่ บ ุ ต รชอบด้ ว ยกฎหมายของตน หากชายตามมาตรา1536 ว.1
ต้องการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร ต้องฟ้องภายในอายุความหนึ่งปีนับ
แต่วันที่รู้ว่ามีคำพิพากษาถึงที่สุด
ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกเข้ามาเป็นคู่ความแทน
• ถ้าชายได้ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรไว้แล้ว แต่ชายถึงแก่กรรมก่อนคดีถึง
ที่สุด บุคคลต่อไปนี้ขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่หรืออาจถูกเรียกให้เข้ามา
เป็นคู่ความแทนทีไ่ ด้
1. ผู้มีสิทธิได้รับมรดกร่วมกับเด็ก เด็กเป็นทายาทโดยธรรมลำดับแรก
ของชายที่ถึงแก่กรรม กล่าวคือ เป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายตามมาตรา
1629 (1) ดังนั้นบุคคลที่จะมีสิทธิรับมรดกร่วมกับผู้สืบสันดานของเจ้า
มรดกก็คือบิดามารดาของเจ้ามรดกตามมาตรา มาตรา 1630 ว. ท้าย
ด้วยเหตุนี้ บิดามารดาของชายจึงสามารถเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่
บุตรของตนเองได้
ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกเข้ามาเป็นคู่ความแทน
(ต่อ)
2. ผู้จะเสียสิทธิรับมรดกเพราะการเกิดของเด็ก ได้แก่ ทายาทโดยธรรม
ตั้งแต่ลำดับสามลงไปอันได้แก่พี่น้อง ปู่ย่า ตายาย หรือลุงป้า น้าอา
ของผู้ตาย
ชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีตายก่อนฟ้องคดี
• เป็นกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับมรดกร่วมกับเด็กหรือผู้จะเสียสิทธิรับมรดก
เพราะการเกิดของเด็ก ดำเนินคดีแทนเนื่องจาก ตัวชายตายก่อนที่จะมี
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรา 1544
• กฎหมายกำหนดเงื่อนไขเบื้องต้นดังนี้
1. ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีตายก่อนพ้นระยะเวลาที่ตนเองจะพึงฟ้อง
ได้ ผู้ดำเนินคดีแทนจะต้องฟ้องภายในหกเดือนนับแต่วันรู้ถึงการตาย
ของชายนั้นและห้ามเกินสิบปีนับแต่วันเกิดของเด็ก
ชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีตายก่อนฟ้องคดี
(ต่อ)
2. เด็ ก เกิ ด ภายหลั ง การตายของชายผู ้ เ ป็ น หรื อ เคยเป็ น สามี (ซึ ่ ง
สันนิษฐานได้ว่าหากชายมีชีวิตอยู่ชายจะต้องฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็น
บุตร) การฟ้องคดีนี้ต้องฟ้องภายในหกเดือนนับแต่วันรู้ถึงการเกิดของ
เด็กและห้ามเกินสิบปีนับแต่วันเกิดของเด็ก
การฟ้องคดีปฏิเสธความเป็นบุตร
1. หลักเกณฑ์ใหม่ในการฟ้องปฏิเสธความเป็นบุตร (แก้ไขปี 2551)
2. อายุความในการฟ้องคดี
หลักการฟ้องคดีปฏิเสธความเป็นบุตร
• เป็นการให้สิทธิแก่เด็กฟ้องคดีปฏิเสธความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
ของชายผู้เป็นสามีของมารดาตนตามมาตรา 1545
• เด็กเพียงแต่พิสูจน์ว่าตนมิได้เป็นบุตรสืบสายโลหิตของชายผู้เป็นสามี
มารดาตนโดยจะพิสูจน์ระยะเวลาตั้งครรภ์หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างอื่น
ทำนองเดียวกับมาตรา 1539
• การฟ้องตามมาตรา 1545 นี้จะต้องให้อัยการฟ้องแทน เพราะขณะฟ้อง
เด็กยังถูกสันนิษฐานว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายจำเลยซึ่งมี
ฐานะเป็นบุพการี ซึ่งต้องห้ามมิให้ผู้สืบสันดานฟ้องเป็นคดีตามมาตรา
1562 (คดีอุทลุม)
อายุความในการฟ้องคดี
• มาตรา 1545 ว.2 และ ว.ท้าย ใช้การบรรลุนิติภาวะ (ทั้งอายุและการ
สมรส) เป็นเกณฑ์ โดยแบ่งพิจารณาได้ดังนี้
1. หากเด็กได้รู้ข้อเท็จจริงก่อนบรรลุนิติภาวะว่าตนมิได้เป็นบุตรของชาย
ผู้เป็นสามีของมารดา ห้ามอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่เด็ก
บรรลุนิติภาวะ
2. ถ้าเด็กรู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวหลังจากบรรลุนิติภาวะแล้ว ห้ามอัยการ
ฟ้องคดีเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่เด็กรู้เหตุนั้น
3. ไม่ว่ากรณีใดๆ ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่เด็กบรรลุนิติ
ภาวะ
คำพิพากษาฎีกา
เกี่ยวกับความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาฎีกาที่ 2648/2526
โจทก์เป็นบุตร ฉ. (สามี) กับ ท. (ภริยา) ระหว่างคนทั้งสองเป็นสามี
ภริยาโดยมีการจดทะเบียนสมรส แม้ขณะนั้น ฉ. มีหญิงอื่นเป็นคู่สมรสอยู่
โจทก์ย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ ฉ. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดี
เรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด เป็นเหตุให้ ฉ. ถึงแก่ความตายได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 3471/2526
โจทก์จำเลยได้เสียกัน ต่อมาได้ไปจดทะเบียนสมรสซึ่งกระทำต่อหน้า
เจ้าพนักงานนายทะเบียน โจทก์จะอ้างภายหลังว่ามีเงื่อนไขอื่นที่จำเลย
รับปากซึ่งรับฟังไม่ได้มาเป็นเหตุให้การสมรสเป็นโมฆะหาได้ไม่ จำเลย
ตั้งครรภ์ภายหลังได้เสียกับโจทก์ เด็กที่เกิดแต่จำเลยขณะเป็นภริยาโจทก์
ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นบุตรของโจทก์
หมายเหตุ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 หมายถึงเด็ก
ที่เกิดจากหญิงขณะที่เป็นภริยาชาย โดยชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกับ
แล้ว จึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้
เป็นสามี หรือเคยเป็นสามีในกรณีที่เด็กเกิดภายใน 310 วันนับแต่การ
สมรสได้สิ้นสุดลงตามกฎหมาย เมื่อโจทก์จำเลยมิได้จดทะเบียนสมรสกัน
ตามกฎหมาย จึงไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ
จำเลย เด็กจึงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวตามมาตรา
1546 และอยู่ในอำนาจปกครองของโจทก์ซึ่งเป็นมารดาตามมาตรา 1566
วรรคท้าย โจทก์มีสิทธิเรียกเด็กจากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิจะกักเด็กไว้ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 116/2547
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1536 วรรคหนึ ่ ง ให้ ส ั น นิ ษ ฐานไว้ ก ่ อ นว่ า
จำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ การที่โจทก์จะฟ้องคดีไม่
รับจำเลยที่ 2 เป็นบุตร โจทก์จะต้องพิสูจน์ว่าโจทก์ไม่ได้อยู่ร่วมกับจำเลยที่
1 มารดาจำเลยที่ 2 ในเวลาตั้งครรภ์ คือระหว่างหนึ่งร้อยแปดสิบวันถึงสาม
ร้อยสิบวันก่อนจำเลยที่ 2 เกิด หรือโจทก์ไม่สามารถเป็นบิดาของจำเลยที่
2 ได้เพราะเหตุอย่างอื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1539 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2
เกิดเมื่อ วันที่ 29 พฤษภาคม 2542 โจทก์สืบแต่เพียงว่าไม่ได้ร่วมประเวณี
กับจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมาอันเป็นการสืบลอยๆ การนำ
สืบของโจทก์ยังไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1539
วรรคหนึ่ง ที่ให้สันนิษฐานว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของโจทก์
คำพิพากษาฎีกา
ตามมาตรา 1541
คำพิพากษาฎีกาที่ 4791/2542
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1541 หมายถึง ชายผู้เป็นสามีหรือ
เคยเป็นสามีจะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรา 1539 ซึ่งเป็นกรณีที่
สันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็น
สามีตามมาตรา 1536 และ 1537 หรือมาตรา 1538 โจทก์เป็นบุตรของ ร.
และ อ. ซึ่งมีตัวตนแน่นอน ส. และ ค. ไม่ใช่บิดามารดาผู้ให้กำเนิดโจทก์
โดยแท้จริง การที่ ส. ไปแจ้งการเกิดลงในสูติบัตรของโจทก์ว่าบิดาโจทก์
เป็นคนไทย มารดาเป็นคนกัมพูชา เมื่อมีบุตรขึ้นมาก็แจ้งเกิดไม่ได้ ส. จึงรับ

(สมอ้าง...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 4791/2542 (ต่อ)
สมอ้างไปแจ้งเกิดแทนโดยระบุว่าเป็นบิดา ดังนี้เป็นกรณีคนละเรื่องกับการ
แจ้งเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็น บุตรของตนตาม ป.พ.พ.
มาตรา 1541 เมื ่ อ โจทก์ ไ ม่ ใช่ บ ุ ต รที ่ แ ท้ จ ริ ง ของ ส. จึ ง ไม่ ใช่ บ ุ ต รนอก
กฎหมายตามความจริงที่บิดาได้รับรองแล้ว ทั้งไม่ใช่ผู้สืบสันดานและไม่ใช่
ทายาทโดยธรรมของ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 และ 1629 (1) โจทก์
จึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของ ส. ผู้ตาย และไม่มีอำนาจฟ้อง
บทบัญญัติมาตรา 1546 - 1559
บุตรนอกสมรสและการเปลี่ยนเป็น
บุตรชอบด้วยกฎหมาย
1. บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง
2. บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร
- ข้อสงวนเกี่ยวกับการใช้อำนาจปกครองบุตรของบิดาที่จดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร
3. การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
- เหตุที่มุ่งพิสูจน์ถึงการมีความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างมารดาเด็กและชายผู้เป็นบิดาใน
ระยะเวลาที่หญิงมารดาอาจตั้งครรภ์ได้
- เหตุยึดถือเอกสารแสดงฐานะความเป็นบิดาและบุตร
- เหตุที่อาศัยพฤติกรรมภายนอกที่บิดาได้แสดงการรับรองว่าเด็กเป็นบุตรของตน
- บุคคลที่จะมีสิทธิฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
- สิทธิในการรับมรดกเมื่อเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษา
บุตรนอกสมรสหรือไม่ ?
- บุตรที่เกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ตามมาตรา 1546 ถือว่าเป็นบุตรชอบ
ด้วยกฎหมายของหญิงเท่านั้น ไม่มีความผูกพันทางกฎหมายกับชายผู้เป็นบิดาโดย
กำเนิด
- บุตรของมารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม
มาตรา 1536, 1537, 1538, 1560
- เป็นบุตรนอกกฎหมายตามถ้อยบัญญัติในมาตรา 1627 ซึ่งมีสิทธิเฉพาะในการรับ
มรดกเท่านั้น
วิธีการเปลี่ยนฐานะให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
• บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง
• บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรและข้อสงวน
• การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง
ป.พ.พ. มาตรา 1557 แก้ไขเมื่อปี 2551
- เดิม บุตรที่เกิดก่อนการสมรสจะมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายนับ
แต่วันที่บิดามารดาจดทะเบียนสมรส ไม่มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่เด็ก
เกิด
- ปั จ จุ บ ั น การเป็ น บุ ต รชอบด้ ว ยกฎหมายตามมาตรา 1547 (บิ ด า
มารดาจดทะเบียนสมรส) ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด
บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร
• ข้อสังเกตกรณีบิดาจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (มาตรา 1548)
- เกิดฐานะความเป็นบิดาและบุตรชอบด้วยกฎหมาย โดยที่บิดากับ
มารดาของเด็กไม่มีฐานะเป็นสามีภริยากัน
- เมื่อเปรียบเทียบกับการที่บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกัน การจด
ทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรมีวิธีการยุ่งยากซับซ้อนกว่า
- การจดทะเบียนเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความ
ยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก
บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร (ต่อ)
• การให้ความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก (มาตรา 1548)
- เด็กและมารดาเด็กจะต้องมาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียนด้วย
ตนเอง
- หากเด็กและมารดาไม่ได้มาให้ความยินยอม นายทะเบียนมีหน้าที่ต้อง
แจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็ก และมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือ
มารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายใน 60 วัน นับแต่การ
แจ้งไปถึง ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม
บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร (ต่อ)
- การจดทะเบียนต้องมีคำพิพากษาของศาลถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่
นอกประเทศไทยให้ขยายเวลาตอบรับเป็น 180 วัน
- บุคคลที่จะจดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตรจะต้องเป็นบิดาที่แท้จริงของเด็ก
ด้วย มิฉะนั้นการจดทะเบียนจะไม่เกิดผลใดๆ ทางกฎหมาย
ข้อสงวนเกี่ยวกับการใช้อำนาจปกครองบุตรของ
บิดาที่จดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร
กรณีที่มารดาเด็กยินยอมให้จดทะเบียนรับรองบุตร อาจมีการตั้ง
ข้อสงวนอำนาจการปกครองบุตรไว้ที่ตนเองหรืออาจจะให้บ ิดาเด็กใช้
อำนาจปกครองแต่เพียงบางส่วนก็ได้
ทั้งนี้ มีข้อพิจารณาเกี่ยวกับปัญหาในการใช้อำนาจปกครองของ
บิดาที่จดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร 3 กรณี ดังนี้
ปัญหาการใช้อำนาจปกครองของบิดาที่จดทะเบียน
ว่าเด็กเป็นบุตร
• กรณีแรก ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1549 คือ เด็กหรือมารดาเด็กแจ้งให้
นายทะเบียนจดบันทึกว่า ผู้ขอจดทะเบียนไม่สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจ
ปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด โดยแจ้งภายใน 90 วันนับแต่วันแจ้งขอจด
ทะเบียนรับรองบุตร
• ผล แม้ต่อมาบิดาจะได้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรแล้วก็ตาม แต่บิดาก็
ยังใช้อำนาจปกครองไม่ได้ จนกว่าศาลจะพิพากษาให้ใช้หรือกำหนดเวลา
90 วันนับแต่วันที่เด็กหรือมารดาเด็กได้แจ้งต่อนายทะเบียนเรื่องการใช้
อำนาจปกครองของบิดาเด็กได้ล่วงพ้นไปโดยเด็กหรือมารดาเด็กมิได้ร้อง
ต่อศาลให้พิพากษาว่าบิดาไม่สมควรใช้อำนาจปกครอง
ปัญหาการใช้อำนาจปกครองของบิดาที่จดทะเบียน
ว่าเด็กเป็นบุตร (ต่อ)
• กรณีแรกที่สอง คือ กรณีที่มีการคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา
ศาลจะพิ พ ากษาให้ ฝ ่ า ยใดเป็ น ผู ้ ใ ช้ อ ำนาจปกครองหรื อ จะให้
บุคคลภายนอกมาเป็นผู้ปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้(มาตรา 1551)
• กรณีที่สาม คือ กรณีตามมาตรา 1552 ซึ่งศาลได้ตั้งผู้อื่นเป็นผู้ปกครอง
บางส่วนหรือทั้งหมดไว้ก่อนมีการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร บิดาซึ่ง
จดทะเบี ย นรั บ เด็ ก เป็ น บุ ต รแล้ ว จะร้ อ งขอให้ ศ าลถอนความเป็ น
ผู้ปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดของผู้ปกครองและให้ตนเป็นผู้ใช้อำนาจ
ปกครองก็ได้
ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลถอน
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรได้ (ม.1554)
• แม้มีการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิจะร้อง
ขอให้ศาลถอนการจดทะเบียนนั้นได้ ตามมาตรา 1554 เพราะเหตุว่าผู้
จดทะเบียนมิใช่บิดาที่แท้จริงของเด็ก
• ผู้มีส่วนได้เสีย น่าจะหมายความเช่นเดียวกับผู้มีส่วนได้รับมรดกร่วมกับ
เด็กหรือผู้จะเสียสิทธิรับมรดกเพราะการเกิดของเด็กตามมาตรา 1543
และมาตรา 1544
ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลถอน
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรได้ (ม.1554) (ต่อ)
• การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรเกิดได้ 2 กรณี คือ โดยความยินยอมของ
เด็กและมารดาเด็กและการจดทะเบียนรับรองบุตรโดยคำพิพากษาของ
ศาล ดังนั้น ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลถอนการจดทะเบียนได้เฉพาะ
กรณีการจดทะเบียนที่เกิดจากความยินยอมเท่านั้น
• เหตุที่จะนำมาอ้างเพื่อให้ศาลถอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรมีได้
เฉพาะเหตุผู้จดทะเบียนมิใช่บิดาที่แท้จริงของเด็ก จะนำเหตุอย่างอื่นมา
อ้างไม่ได้ (ฎ.729/2491)
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย

การจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนรับ การฟ้องขอให้


ของบิดามารดาเด็ก เด็กเป็นบุตร ศาลพิพากษาว่า
เด็กเป็นบุตร
ชายผู้เป็นบิดาสมัครใจที่จะรับเด็กเป็น
บุตรของตนตามกฎหมาย การฟ้องคดีเป็นการบังคับเมื่อ
บิดาเด็กไม่ยินยอมจดทะเบียน
สมรสหรื อจดทะเบี ยนรั บเด็ ก
เป็นบุตรหรือบิดาถึงแก่กรรม
ก่ อ นจะได้ จ ดทะเบี ย นสมรส
หรือจดทะเบียนรับรองบุตร
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
• การฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรนั้นจะต้องอาศัยข้อเท็จจริง
ตามที่กฎหมายกำหนดไว้มาเป็นเหตุในการฟ้องเท่านั้น จะไปหยิบยกเอา
เหตุอื่นมาใช้ในคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรไม่ได้
• เหตุในการฟ้องมีทั้งหมด 7 เหตุ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1555 โดย
แยกได้เป็น 3 ลักษณะ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรา 1555
• มาตรา 1555 เหตุในการฟ้องทั้งหมด 7 เหตุ แยกได้เป็น 3 ลักษณะ
ดังนี้
- ลักษณะที่หนึ่ง เหตุที่มุ่งพิสูจน์ถึงการมีความสัมพันธ์ทางเพศระหว่าง
มารดาเด็กและชายผู้เป็นบิดา ในระยะเวลาที่หญิงมารดาอาจตั้งครรภ์
ได้
- ลักษณะที่สอง เหตุที่ยึดถือเอกสารที่แสดงความสัมพันธ์ว่าเป็นบิดา
และบุตร
- ลักษณะที่สาม เหตุที่อาศัยพฤติกรรมภายนอกที่บิดาได้แสดงการ
รับรองว่าเด็กเป็นบุตรของตน
เหตุที่มุ่งพิสูจน์ถึง
การมีความสัมพันธ์ทางเพศ
ในระยะเวลาที่หญิงอาจตั้งครรภ์ได้
เหตุที่มุ่งพิสูจน์ถึงการมีความสัมพันธ์ทางเพศ
ในระยะเวลาที่หญิงอาจตั้งครรภ์ได้
1. เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังหญิงมารดาโดย
มิชอบด้วยกฎหมายในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
2. เมื ่ อ มี ก ารลั ก พาหญิ ง มารดาไปในทางชู ้ ส าว หรื อ มี ก ารล่ อ ลวงร่ ว ม
ประเวณี
3. เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้น
อาจตั้งครรภ์ได้
4. เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจ
ตั้งครรภ์ได้และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น
1. ข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หน่วงเหนี่ยวกักขัง
การข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังหญิงมารดาโดยมิชอบ
ด้วยกฎหมายในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
- “ข่มขืนกระทำชำเรา” การข่มขืนกระทำชำเราหญิงมารดาได้แก่ การ
กระทำตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 แต่การ
พยายามข่มขืนกระทำชำเราหญิงมารดาไม่อาจนำมาใช้เป็นเหตุในการฟ้อง
คดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้
- “หน่ ว งเหนี ่ ย วกั ก ขั ง ” มี ค วามหมายตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 310 การหน่วงเหนี่ยวกักขังในข้อนี้จะต้องเป็นการกระทำที่มิชอบ
ด้วยกฎหมายหากเป็นเจ้าพนักงานกระทำการตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ใน
ความหมายที่จะฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้
* ต้องเกิดขึ้นในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
2. ลักพาไปในทางชู้สาว หรือล่อลวงให้ร่วมประเวณี
- การลักพาหญิงมารดาไปจะต้องมีเจตนาเพื่ออยู่กินเป็นสามีภริยากันเป็น
เรื่องที่หญิงสมัครใจไปกับชายด้วยความเสน่หา ต่างจากการฉุดคร่าซึ่ง
หญิงมิได้ยินยอม
- การลักพาที่มิได้มีวัตถุประสงค์ในทางชู้สาว เช่น การลักพาตัวเรียกค่าไถ่
แม้จะไม่เข้าข้อนี้ แต่ก็อาจถือได้ว่ามีการหน่วงเหนี่ยวกักขังตาม
- การล่อลวงร่วมประเวณี เป็นการที่ชายใช้อุบายหลอกลวงให้หญิงสมัครใจ
ร่วมประเวณี เช่น ลวงว่าจะเลี้ยงดูหญิงเป็นภริยา หญิงจึงยอมให้ร่วม
ประเวณี ทั้งนี้ การลักพาหรือการล่อลวงร่วมประเวณีจะต้องเกิดขึ้นใน
ระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
3. บิดามารดาอยู่กินกันอย่างเปิดเผย
- การอยู่กินนั้น ต้องเป็นไปในลักษณะที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าทั้งคู่จะต้องมี
ความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างกันในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
และจะต้องเป็นไปอย่างเปิดเผยต่อบุคคลทั่วไป
- การได้เสียกันในทุ่งนาโดยไม่เคยอยู่ร่วมเรือนเดียวกัน การได้เสียกันใน
โรงแรม ไม่ถือว่าเป็นการอยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผย จะนำมาอ้างเป็น
เหตุฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรไม่ได้
4. มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดา
- การร่วมประเวณีกับหญิงมารดาตามข้อนี้ไม่จำต้องมีพฤติกรรมแวดล้อม
อย่างอื่น เช่น การลักพาหรือฉุด
- การร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น
- การที่หญิงมารดาเป็นโจทก์ฟ้องชายให้รับเด็กเป็นบุตรพร้อมทั้งเปิดเผย
ว่าตนร่วมประเวณีกับชาย กฎหมายก็เชื่อว่ามีการร่วมประเวณีกันจริง
เพราะหญิงย่อมไม่อยากจะเปิดเผยถ้าไม่จำเป็น เหตุนี้ การได้เสียกับหญิง
จึงเป็นไปอย่างปกปิดอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งหญิงมารดามีครรภ์และ
คลอดเด็กออกมา
เหตุยึดถือเอกสารแสดงฐานะ
ความเป็นบิดาและบุตร
เหตุที่มุ่งพิสูจน์ถึงการมีความสัมพันธ์ทางเพศ
ในระยะเวลาที่หญิงอาจตั้งครรภ์ได้
1. เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
2. เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็น
ผู้แจ้งการเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น
1. มีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
- เอกสารของบิดาคือเอกสารที่บิดาทำขึ้นด้วยตนเอง เป็นเอกสารลักษณะ
ใดก็ได้ที่แสดงถึงการยอมรับว่าเด็กเป็นบุตรของตนเอง
- จะทำขึ้นด้วยความสมัครใจหรือไม่ไม่สำคัญ
- จะทำให้ไว้กับมารดาเด็ก กับตัวเด็กเองหรือแม้จะทำไว้กับบุคคลอื่นก็ได้
- จะทำขณะเด็กอยู่ในครรภ์มารดาก็ได้
ตัวอย่าง ข้อเท็จจริงปรากฏว่า หญิงตั้งครรภ์แล้ว ชายจึงยอมทำหนังสือรับ
เลี้ยงดูหญิง จะเห็นว่าแม้หนังสือดังกล่าวมิได้มีข้อความใดที่ยอมรับว่าเด็ก
ในท้องหญิงเป็นบุตรของตนโดยตรงก็ตาม แต่ศาลก็ยังถือว่าเป็นเอกสารที่
แสดงโดยปริยายว่าเด็กเป็นบุตรของชาย
2. ปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตร
- ทะเบียนคนเกิดเป็นเอกสารของบิดาอีกประเภทหนึ่งที่แสดงว่าเด็กนั้นเป็น
บุตร ซึ่งมีความชัดเจนมากกว่าเอกสารลักษณะอื่นที่กล่าวมา (สไลด์ก่อนหน้า)
และเป็นเอกสารมหาชนที่จัดทำขึ้นโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงถือว่าถูกต้อง
สมบูรณ์
• ผลของการที่บิดาเป็นผู้แจ้งการเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้ง
ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีของมารดานั้นจะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร
ไม่ได้ แต่เด็กหรือมารดาเด็กยังมีสิทธิฟ้องคดีปฏิเสธความเป็นบุตร
• ข้อสังเกต
กรณีชายมิได้จดทะเบียนสมรสกับหญิง แต่เมื่อหญิงคลอดชายได้ไปแจ้ง
การเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้ง ชายก็อาจถูกฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้
เหตุที่อาศัยพฤติกรรมภายนอก
ทีบ่ ิดาได้แสดงการรับรองว่า
เด็กเป็นบุตรของตน
เหตุที่อาศัยพฤติกรรมภายนอกที่บิดาได้แสดงการ
รับรองว่าเด็กเป็นบุตรของตน
- เหตุดังกล่าวมีบัญญัติอยู่ในมาตรา 1555 (7) โดยเมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กัน
ทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร เด็กหรือมารดาเด็กอาจฟ้องคดีขอให้รับเด็ก
เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้
- พฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตรนั้น ให้พิจารณาข้อเท็จจริงที่
แสดงความเกี่ยวข้องกันระหว่างบิดากับบุตร เช่น บิดาให้การศึกษา ให้
ความอุปการะเลี้ยงดูหรือยอมให้เด็กใช้ชื่อสกุลของตน เป็นต้น
- พฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตรตามมาตรา 1555(7) นี้ มี
ความหมายเดียวกันกับการที่บิดาได้รับรองบุตรนอกกฎหมายตามมาตรา
1627 อันมีผลทำให้บุตรนอกกฎหมายนั้นมีฐานะเป็นผู้สืบสันดานของบิดา
บุคคลที่มีสิทธิฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตร
บุคคลที่มีสิทธิฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตร
•บุคคลที่มีสิทธิฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา
1556
1. ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็ก
- เป็นผู้ฟ้องคดีแทนในระหว่างที่เด็กเป็นผู้เยาว์และมีอายุยังไม่ครบ 15 ปี
บริบูรณ์
- ผู้ที่ไม่ใช่ผู้ปกครองของเด็กจะร้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรไม่ได้
2. ผู้แทนเฉพาะคดี
- ญาติสนิทของเด็กหรืออัยการอาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งขึ้นได้ในกรณีที่เด็ก
มีอายุยังไม่ครบ 15 ปี บริบูรณ์ และไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือมีแต่ไม่
สามารถทำหน้าทีไ่ ด้
บุคคลที่มีสิทธิฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตร (ต่อ)
3. ตัวเด็กเอง
- เมื่อเด็กมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ แม้มีผู้แทนโดยชอบธรรมที่สามารถฟ้องคดี
ได้ เด็กก็สามารถฟ้องเองได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทน
โดยชอบธรรม
- หากเด็กไม่ฟ้องจนกระทั่งบรรลุนิติภาวะ จะต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับ
แต่วันบรรลุนิตภิ าวะ
- การที่เด็กฟ้องตามมาตรา 1556 นี้ ไม่ถือเป็นคดีอุทลุมเพราะขณะฟ้อง
เด็กยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชาย
บุคคลที่มีสิทธิฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตร (ต่อ)
4. ผู้สืบสันดานของเด็ก
- เป็นการฟ้องภายหลังการตายของเด็ก (เช่น หลานฟ้องปู่ให้รับบิดาตน
เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย)
- ผู้สืบสันดานจะฟ้องได้นั้น ต้องปรากฏว่าเด็กตายในระหว่างที่เด็กนั้นยัง
มีสิทธิฟ้องคดี ขอให้รับเด็กเป็นบุตรอยู่ (ระหว่างเวลาเด็กเกิดไปจนถึง
ระยะเวลาภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เด็กบรรลุนิติภาวะ) ซึ่งเมื่อเด็กตาย
สิทธิในการฟ้องคดีก็ตกทอดไปสู่ผู้สืบสันดานทายาทโดยธรรมลำดับหนึ่ง
ตามมาตรา 1629
สิทธิในการรับมรดกเมื่อ
เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สิทธิในการรับมรดกเมื่อเด็กเป็นบุตรชอบด้วย
กฎหมาย
•ปัญหาและการแก้ไขกฎหมายในปี 2551
เดิม มาตรา 1557 บัญญัติไว้ว่า การที่ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรจะ มีผลนับ
แต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด ด้วยเหตุนี้เด็กที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายภายหลังที่บิดาถึงแก่กรรม จึงไม่มีสิทธิ
รับมรดกของบิดา เนื่องจากในขณะบิดาถึงแก่กรรมเด็กยังไม่มีฐานะ
เป็นทายาทโดยธรรม
สิทธิในการรับมรดกเมื่อเด็กเป็นบุตรชอบด้วย
กฎหมาย (ต่อ)
การแก้ไข มีการบัญญัติมาตรา 1558 ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหามาตรา 1557
โดยมาตรา1558 บัญญัติว่า “การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรของ
ผู้ตายที่ได้ฟ้องภายในกำหนดอายุความมรดก ถ้าศาลได้พิพากษาว่า
เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เด็กนั้นมีสิทธิรับมรดกใน
ฐานะทายาทโดยธรรม”
ป.พ.พ. แก้ไขล่าสุด พ.ศ. 2551 แก้ไขมาตรา 1557 เป็นว่า การที่ศาลมีคำ
พิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา ให้มีผลนับแต่วันที่
เด็กเกิด ซึ่งเท่ากับว่ากฎหมายให้คำพิพากษามีผลย้อนหลัง
ข้อสังเกต เมื่อมีการแก้ไขมาตรา 1557 แล้วมาตรา 1558 ยังมีที่ใช้อยู่หรือไม่
คำพิพากษาฎีกา
บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง
คำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2509
บิดาของผู้เยาว์ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาผู้เยาว์ฟ้องเรียกค่า
สินไหมทดแทนในฐานะที่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์จากที่ผู้กระทำ
ละเมิดต่อผู้เยาว์ อำนาจฟ้องในกรณีเช่นนี้เป็นของผู้เยาว์ เมื่อบิดาผู้เยาว์มิใช่
บิดาตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิกระทำแทนผู้เยาว์ก็เท่ากับว่าผู้เยาว์เสนอข้อหา
เอง โดยบกพร่องในเรื่องความสามารถไม่ใช่ไม่มีอำนาจที่กระทำแทนผู้เยาว์
ได้ เมื่อต่อมาบิดาของผู้เยาว์ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาผู้เยาว์จึงเป็นบิดา
ตามกฎหมายและมีอำนาจที่จะกระทำแทนผู้เยาว์ได้ เท่ากับได้มีการแก้ไขใน
เรื่องความสามารถที่บกพร่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 56 แล้ว ทำให้การฟ้องคดีแทนผู้เยาว์ซึ่งบกพร่องมาแต่ต้นเป็นอัน
สมบูรณ์
คำพิพากษาฎีกาที่ 7473/2537
โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ขณะที่โจทก์และจำเลยทำบันทึกข้อตกลงแยกกันอยู่โดยให้ ย. ผู้เยาว์อยู่กับ
แต่ละฝ่ายคนละ 2 สัปดาห์ โจทก์ไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ
ย. โจทก์จึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะที่เป็นบิดาของ ย. ตามบทบัญญัติใน
ป.พ.พ. บรรพ 5 ลักษณะ 2 หมวด 2 เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิและหน้าที่ดังกล่าว
ข้อพิพาทอันเกี่ยวกับการปกครองดูแล ย. ระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่มี
โจทก์และจำเลยจึงไม่อาจทำบันทึกข้อตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทอันเกี่ยวกับ
ย. ได้ ดังนั้น บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลเป็นสัญญาประนีประนอม
ยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 โจทก์ไม่อาจฟ้องให้บังคับจำเลยปฏิบัติ
ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้
คำพิพากษาฎีกา
บิดาได้จดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร
คำพิพากษาฎีกาที่ 1177/2540
ป.พ.พ. มาตรา 1547 วรรคแรก บั ญญั ติ ถึ งหลั กเกณฑ์ ในการจด
ทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไว้ว่า บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็น
บุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก
มิใช่เพียงแต่เด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา
เท่านั้นดังข้อความที่บัญญัติไว้เดิม แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่
ประสงค์วางหลักเกณฑ์ไว้เข้มงวดกว่าเดิม นอกจากนี้มาตรา 1548 ได้
บัญญัติถึงทางแก้ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กไม่อาจให้ความยินยอมไว้ว่า
การจดทะเบียนจะกระทำได้ต้องมีคำพิพากษาของศาล และให้บิดานำคำ
พิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อหน้า แสดงว่าประสงค์ให้เด็กเป็นผู้ให้ความ
ยินยอมเป็นการเฉพาะตัว
คำพิพากษาฎีกาที่ 2473/2545
ผู้ร้องกับ ด. อยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรคือ
ช. ต่อมา ด. และ ช. ถึงแก่ความตาย ทางราชการจะจ่ายเงินบำเหน็จตก
ทอดแก่ ทายาทของ ช. ซึ ่ งผู ้ ร้ องเป็ นทายาทคนเดี ยวที ่ ช. ระบุ ตั วผู ้ รั บ
บำเหน็จตกทอดไว้ แต่กรมบัญชีกลางแจ้งว่าผู้ร้องมิใช่บิดาโดยชอบด้วย
กฎหมายของ ช. ผู้ตาย ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร แต่นาย
ทะเบียนไม่สามารถดำเนินการให้ได้เพราะไม่มีผู้ใดมาให้ความยินยอม เมื่อ
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ด. และ ช. ถึงแก่ความตายแล้ว

(บุคคลทั้งสอง...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 2473/2545 (ต่อ)
บุคคลทั้งสองจึงไม่อาจให้ความยินยอมในการที่ผู้ร้องขอจดทะเบียนรับ ช.
เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1548 วรรคสาม ผู้ร้องไม่
อาจกระทำได้โดยวิธีอื่นนอกจากดำเนินการทางศาล ในเมื่อบุคคลที่จะต้อง
ให้ความยอนยอมในการขอจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีชีวิตอยู่ ผู้ร้องก็ชอบที่จะ
ใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาให้ผู้ร้องจดทะเบียน ช. เป็นบุตรได้
คำพิพากษาฎีกา
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาฎีกาที่ 2573/2518
ชายข่มขืนกระทำชำเราหญิงอายุ 15 ปี จนมีครรภ์คลอดบุตร ศาล
พิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรของชายตามฟ้องของหญิง ให้ใช้นามสกุลชาย ให้
เด็กอยู่กับหญิงและให้หญิงเป็นผู้ปกครองบุตรให้ชายจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู
จนเด็กอายุ 20 ปี และให้ใช้ค่าเสียหายแก่หญิง
คำพิพากษาฎีกาที่ 2114/2524
ในวันที่นาย ก. ถึงแก่ความตาย โจทก์เป็นบุตรนอกสมรสยังมิได้มี
ฐานะเป็นทายาทของนาย ก. แม้ภายหลังจะมีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุด
ให้โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ก็ย่อมไม่มีผลย้อนหลัง
โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับส่วนแบ่งในเงินสงเคราะห์ตกทอดจากการรถไฟแห่ง
ประเทศไทยจำเลยซึ่งมีข ้อ บังคับ ให้ต กทอดแก่ท ายาทโดยอนุโ ลมตาม
หลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ป.พ.พ. มาตรา 1558 เป็นกรณีที่ให้สิทธิบุตรชอบด้วยกฎหมายโดย
คำพิพากษาภายหลังการตายของเจ้ามรดก รับมรดกในฐานะทายาทโดย
ธรรมซึ่งเป็นเรื่องของการรับมรดกโดยตรง เมื่อเงินสงเคราะห์ตกทอดไม่ใช่
มรดก จะนำมาตรา 1558 มาบังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1833/2528
ส. มารดาเด็กหญิง ว. ซึ่งเป็นผู้ปกครองตามกฎหมายของเด็กหญิง
ว. ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กไม่สามารถ
ทำหน้าที่ได้ ผู้ร้องซึ่งเป็นยายในฐานะญาติสนิทของเด็กหญิง ว. มีสิทธิร้อง
ขอให้ศาลตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่แทนเด็กได้ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 1556 จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าเด็กหญิง ว. เป็นบุตรชอบ
ด้วยกฎหมายของ ช. ผู้วายชนม์ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1914/2529
การที่จะอาศัยข้อเท็จจริงตามพฤติการณ์ฟังว่าเป็นบุตรชอบด้วย
กฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1555 จะต้องมีการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็น
บุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่พฤติการณ์ที่ผู้ตายอุปการะเลี้ยงดู ให้
การศึกษา ให้ผู้ร้องใช้นามสกุล และผู้ตายแสดงต่อบุคคลอื่นๆว่าผู้ร้องเป็น
บุตร ก็ฟังได้ว่าผู้ตายรับรองว่าผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายของตนตาม
มาตรา 1627 ผู้ร้องจึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย มี
สิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1713 ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 4141/2535
ตาม พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20 ได้บัญญัติ
ถึงการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไว้เป็นพิเศษว่า เมื่อศาล
ได้พิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่น
สำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็
ได้ แสดงว่าการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายนั้น นาย
ทะเบียนสามารถจดทะเบียนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอัน
ถึงที่สุด ซึ่งรับรองถูกต้องแล้วได้โดยไม่จำต้องอาศัยการแสดงเจตนาของ
จำเลย ดังนั้นศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยไปจดทะเบียน
รับเด็กเป็นบุตรหากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของ
จำเลย
คำพิพากษาฎีกาที่ 3273/2536
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า เมื่อระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม 2530 ถึงวันที่ 9
กุมภาพันธ์ 2531 โจทก์จำเลยได้มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวและร่วมประเวณี
กันหลายครั้งในระยะเวลาที่โจทก์สามารถตั้งครรภ์ได้และทำให้โจทก์ตั้งครรภ์
ในเวลาต่อมา และจำเลยเขียนจดหมายถึงโจทก์ยอมรับว่าเด็กหญิงที่คลอด
จากโจทก์คือ เด็กหญิง บ. เป็นบุตรของจำเลยตามเอกสารท้ายฟ้องนั้นเป็นคำ
ฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัย
เป็ น หลั ก แห่ ง ข้ อ หาพอที ่ จ ำเลยจะเข้ า ใจแล้ ว ส่ ว นจำเลยและโจทก์ ร ่ ว ม
ประเวณีกันเมื่อใดที่ไหนที่เป็นเหตุให้โจทก์ตั้งครรภ์และ

(จำเลย...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 3273/2536 (ต่อ)
จำเลยยอมรับเด็กหญิง บ. เป็นบุตรอย่างไร เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบใน
ชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์คลอดเด็กหญิง บ. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2531 จำเลยได้ร่วม
ประเวณีกับโจทก์หลายครั้งในระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม 2531 ถึงวันที่ 9
กุ ม ภาพั น ธ์ 2531 และจั ด การให้ โจทก์ ไ ปอยู ่ ก ั บ เพื ่ อ นของจำเลยที่
กรุงเทพมหานคร จากนั้นจำเลยไปเยี่ยมโจทก์หลายครั้ง พาโจทก์ไปหา
แพทย์และเขียนจดหมายถึงโจทก์หลายฉบับมีข้อความที่แสดงว่าเด็กหญิง บ.
เป็นบุตรของจำเลย
(ทั้งข้อเท็จจริง...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 3273/2536 (ต่อ)
ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ร่วมประเวณีกับชายอื่นย่อมมีเหตุอัน
สมควรเชื่อได้ว่าเด็กหญิง บ. มิได้เป็นบุตรของชายอื่น โจทก์จึงฟ้องให้จำเลย
รับเด็กหญิง บ. เป็นบุตรของจำเลยได้
การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1557 (3)
ดังนั้น ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจะต้องกำหนดให้นับแต่วันดังกล่าวมิใช่
นับแต่วันฟ้อง จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่าควรกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูเท่าไร
ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ชำระตามที่ศาลล่างกำหนดคือเดือนละ 1,000 บาท
นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดจนกว่าบุตรจะมีอายุครบ 10 ปี บริบูรณ์
หลังจากนั้นให้ชำระเดือนละ 1,500 บาท จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ โดย
ให้จำเลยชำระเป็นเงินก้อนครั้งเดียว
คำพิพากษาฎีกาที่ 1196/2538
แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะเพิ่งคลอดและศาลมีคำสั่งภายหลังผู้ตายถึงแก่
ความตายประมาณ 8 เดือนว่าผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ
ผู้ตายก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 2 ก็มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดย
ธรรมย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่คงวามตายตาม ป.พ.พ. มาตรา
1558 วรรคแรกและเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 ผู้ร้องเป็นเพียงน้องร่วม
บิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายและมิได้
เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก เพราะผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา
1713 หมายถึง ผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้น
(ขณะที่...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 1196/2538 (ต่อ)
ขณะที ่ เจ้ า มรดกถึ ง แก่ ค วามตาย หาใช่ เ กิ ด ขึ ้ น ในภายหลั ง ตามสั ญ ญา
ประนีประนอมซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีไม่ ผู้ร้อง
จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 3290/2545
เด็กหญิง อ. เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับจำเลย แม้มิได้จดทะเบียน
สมรสกัน เด็กหญิง อ. ก็เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็น
มารดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 แม้เด็กหญิง อ. จะอยู่ในความอุปการะ
เลี้ยงดูของ น. กับ ป. ซึ่งเป็นบิดามารดาของโจทก์ที่ 1 หรือต่อมาหลังจาก
ฟ้องคดีนี้แล้ว น. กับ ป. จะไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง อ. เป็นบุตรบุญธรรม
ก็ตาม ก็หากระทบกระทั่งถึงสิทธิของเด็กหญิง อ. โจทก์ที่ 2 โดย โจทก์ที่ 1
ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมในการนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลย

(จดทะเบียน...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 3290/2545
จดทะเบียนรับรองเด็กหญิง อ. เป็นบุตรตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 1556 ที่
บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่ เพราะการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรานี้
ระบุให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทน ผู้แทนโดยชอบธรรมจึง
ไม่ อ าจกระทำในนามส่ ว นตั ว ได้ แต่ ก ระทำการในฐานะผู ้ ฟ ้ อ งแทนได้
ดังนั้น โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาฎีกาที่ 1646/2548
ผู้ร้องเป็นบุตรสืบสายโลหิตของ ป. โดย ป. แสดงออกต่อญาติพี่น้อง
และเพื่อนบ้านที่บ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของมารดาผู้ร้อง แต่มิได้แสดงออก
ต่อญาติข้างบิดาหรือเพื่อนบ้านแถวบ้านพักของ ป. ซึ่งอยู่ต่างท้องที่กันว่าผู้
ร้องเป็นบุตร ก็ถือได้ว่ามีพฤติการณ์ที่รู้กันอยู่ทั่วไปตลอดมาว่าผู้ร้องเป็น
บุตร ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555 (7) แล้ว
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1546
คำพิพากษาฎีกาที่ 3554/2524
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติให้เด็กที่เกิดจากหญิงที่
มิได้มีการสมรากับชายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ทั้งให้มี
อำนาจปกครองมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตร และเรียกบุตรคืนจากผู้อื่นซึ่ง
กักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ตกลงกับจำเลยให้
เป็นฝ่ายเลี้ยงดูเด็ก แต่อำนาจปกครองไม่ได้อยู่กับจำเลย ต่อมาเมื่อโจทก์
ประสงค์จะเลี้ยงดูเองย่อมมีอำนาจกระทำได้ เพราะโจทก์เป็นกำหนดที่อยู่
ไม่ใช่เรื่องผิดข้อตกลงหรือใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาฎีกาที่ 260/2525
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับ ที่ 337 ที่ให้ถอนสัญชาติไทยของ
บรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าวตาม
เงื่อนไขที่กำหนดไว้นั้น หมายถึงบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น เมื่อคน
ต่างด้าวมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์จึงไม่อาจถอนสัญชาติไทย
ของโจทก์ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2664/2527
โจทก์เป็นบุตรของผู้ตายตามความจริงแม้จะไม่ใช่บุตรที่ชอบด้วย
กฎหมาย แต่ก็ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา มาตรา 5 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งฆ่าบิดาของตนได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1526/2497
บุ ต รของผู ้ ท ี ่ ถ ู ก ทำร้ า ยถึ ง ตายถื อ เป็ น ผู ้ ส ื บ สั น ดานตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 5 (2) นั้น หมายความถึงผู้สืบสันดานตามความเป็น
จริง
คำพิพากษาฎีกาที่ 2882/2527
บิดาของผู้เยาว์ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์ ทั้งไม่
ปรากฏว่าได้จดทะเบียนว่าผู้เยาว์เป็นบุตร ไม่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของ
ผู้เยาว์ และไม่มีอำนาจจัดการร้องทุกข์แทนผู้เยาว์ในความผิดฐานข่มขืน
กระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญา ตรา 276 วรรคแรก จึงถือได้ว่า
ไม่มีคำร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงาน
อัยการไม่มีอำนาจยื่นฟ้องคดีต่อศาล
คำพิพากษาฎีกาที่ 1690/2493
ชายหญิงได้เสียกันเองโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส เมื่อเกิดบุตรขึ้นมา
บุตรที่เกิดมานั้น ย่อมไม่ใช่บุตรอันชอบด้วยกฎหมายของชาย และเมื่อ
ต่อมาชายก็มิได้จดทะเบียนรับรองหรือร้องขอต่อศาลให้แสดงว่าเป็นบุตร
อีก เช่นนี้ชายนั้นจึงไม่ใช่บิดาหรือทายาทของบุตรนั้น และย่อมไม่มีสิทธิที่
จะรับมรดกของบุตร และไม่อาจที่จะยกอายุความมรดก 1 ปีมาต่อสู้แก่
ทายาท
คำพิพากษาฎีกาที่ 3670/2529
เมื่อโจทก์จำเลยมิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายจึงไม่เข้าข้อ
สันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เด็กจึงเป็นบุตร
ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ฝ่ายเดียวตามมาตรา 1546
คำพิพากษาฎีกาที่ 1340/2534
โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วของ ส. ผู้
ไร้ความสามารถ ซึ่งหากเป็นจริงก็เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบ
ด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 ดังนี้
โจทก์ย่อมมีอำนาจยื่น คำร้องขอต่อศาลให้ศ าลสั่งให้ ส. ซึ่งเป็น บุคคล
วิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 29 (ปัจจุบันแก้ไขเป็นมาตรา 28) ได้ และโดยนัยเดียวกันแม้จำเลย
เป็นผู้อนุบาลของ ส. ตามคำสั่งศาลอยู่แล้วก็ตาม ถ้ามีเหตุสมควร โจทก์ซึ่ง
เป็นผู้มีส่วนได้เสียก็ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนจำเลยจากการเป็นผู้
อนุบาลและตั้งโจทก์เป็นผู้อนุบาลได้
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1547
คำพิพากษาฎีกาที่ 1320/2506
จำเลยกับมารดาของโจทก์เป็นสามีภริยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์จึงเป็นบุตรนอกสมรส เมื่อจำเลยไม่ได้จดทะเบียนว่าโจทก์เป็นบุตร
และศาลก็มิได้พิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรของจำเลย โจทก์กับจำเลยจึงไม่
อาจเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมายได้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฟ้องบิดาเรียกทรัพย์ที่ยืมไปคืนได้ไม่เป็นอุทลุม
คำพิพากษาฎีกาที่ 1469/2526
ชายไปอยู่กินกับหญิง และแสดงความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาในที่
ต่างๆ อย่างเปิดเผย เป็นการยอมรับว่าหญิงเป็นภริยา มีการจัดเลี้ยงฉลอง
การตั้งครรภ์ เป็นการแสดงออกถึงการรับรองว่าโจทก์ซึ่งเป็นทารกในครรภ์
มารดาเป็นบุตรของตน โจทก์จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
ถื อ ว่ า เป็ น ผู ้ ส ื บ สั น ดานเหมื อ นบุ ต รที ่ ช อบด้ ว ยกฎหมายตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิ
รับมรดกตามมาตรา 1629 (1)
คำพิพากษาฎีกาที่ 2307/2527
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของ บ. และ บ. เป็นผู้แจ้งการเกิดโดย
ระบุในสูติบัตรว่า บ. เป็นบิดา และระบุว่าโจทก์มีชื่อสกุลของ บ. รับเลี้ยงดู
จน บ. ถึงแก่กรรม ดังนี้ ถือได้ว่า บ. รับรองว่าโจทก์เป็นบุตร โจทก์จึงเป็น
ผู้ส ืบ สัน ดานเหมือ นกับ บุต รที่ชอบด้ว ยกฎหมายของ บ. ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และมีอำนาจฟ้องขอแบ่งมรดก
ของ ก. มารดา บ. ถึงแก่กรรมก่อน ก. โจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของ บ. จึง
มีสิทธิรับมรดกแทนที่ได้ตามมาตรา 1639
คำพิพากษาฎีกาที่ 2882/2527
บิดาของผู้เยาว์ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์ ทั้งไม่
ปรากฏว่าได้จดทะเบียนว่าผู้เยาว์เป็นบุตร ไม่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของ
ผู้เยาว์ และไม่มีอำนาจจัดการร้องทุกข์แทนผู้เยาว์ในความผิดฐานข่มขืน
กระทำชำเรา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคแรก จึงถือได้
ว่าไม่มีคำร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงาน
อัยการไม่มีอำนาจยื่นฟ้องคดีต่อศาล
คำพิพากษาฎีกาที่ 506/2534
เด็กชาย ฤ เป็นบุตรผู้ตายซึ่งเกิดจากโจทก์ที่ 1 ในขณะที่ผู้ตายและ
โจทก์ที่ 1 ยังไม่ได้สมรสกัน ต่อมาผู้ตายและโจทก์ที่ 1 ได้สมรสกันแล้ว จึง
ต้องถือว่าเด็กชาย ฤ เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547
กรณีเรียกค่าสินไหมทดแทนเพราะทำให้เขาถึงตายตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ซึ่งได้แก่ค่าปลงศพ และค่าใช้จ่าย
จำเป็นอื่นๆ กับค่าใช้จ่ายตามมาตรา 444 ในกรณีทำให้ผู้อื่นเสียหายแก่
ร่างกายหรืออนามัยนั้น แม้หน่วยราชการต้นสังกัดที่ผู้ตายทำงานอยู่ได้ทด
รองจ่ายค่าปลงศพและค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้มีสิทธิรับไปแล้ว ก็หาทำให้
ผู้กระทำละเมิดต่อผู้ตายพันความรับผิดไปไม่
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1548
คำพิพากษาฎีกาที่ 2473/2545
ผู้ร้องกับ ค. อยู่กินเป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรคือ ช.
ต่อมา ค. และ ช. ถึงแก่ความตาย ทางราชการจะจ่ายบำเหน็จตกทอดแก่ทายาท
ของ ช. ซึ่งผู้ร้องเป็นทายาทคนเดียวที่ ช. ระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดไว้ แต่
กรมบัญชีกลางแจ้งว่าผู้ร้องมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ช. ผู้ตาย ผู้ร้องจึง
ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร แต่นายทะเบียนไม่สามารถดำเนินการให้ได้
เพราะไม่มีผู้ใดมาให้ความยินยอม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ค. และ ช. ถึงแก่ความ
ตายแล้ว บุคคลทั้งสองจึงไม่อาจให้ความยินยอมในการที่ผู้ร้องขอจดทะเบียน
รับรอง ช. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1548 วรรคสาม ผู้ร้อง
ไม่อาจกระทำได้โดยวิธีอื่นนอกจากดำเนินการทางศาล ในเมื่อบุคคลที่จะต้องให้
ความยินยอมในการขอจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีชีวิตอยู่ ผู้ร้องก็ชอบที่จะใช้สิทธิทาง
ศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาให้ผู้ร้องจดทะเบียน ช. เป็นบุตรได้
พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478
มาตรา 19
ในกรณีที่บิดามาขอจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ถ้าเด็กและมารดาเด็ก
อยู่ในฐานะให้ความยินยอมได้และได้มาให้ความยินยอมด้วยตนเองแล้วก็ให้นายทะเบียนรับ
จดทะเบียน
ถ้าเด็กและมารดาเด็กคนหนึ่งคนใดหรือทั้งสองคนไม่มีให้ความยอนยอมด้วยตนเอง
ให้น ายทะเบีย นมีห นัง สือ สอบถามไปยัง ผู้ท ี่ไ ม่ม าว่า จะให้ค วามยิน ยอมหรือ ไม่ เมื่อ นาย
ทะเบียนได้รับหนังสือแจ้งความยินยอมจากบุคคลดังกล่าวหรือบุคคลดังกล่าวได้มาให้ความ
ยินยอมด้วยตนเองแล้ว ก็ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียน แต่ถ้านายทะเบียนไม่ได้รับแจ้งความ
ยินยอมภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้นายทะเบียน
แจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบถึงเหตุที่ไม่อาจรับจดทะเบียนได้โดยไม่ชักช้า
บิดาจะร้องขอให้น ายทะเบียนไปจดทะเบียนนอกสำนักทะเบียนก็ได้ แต่ต้องเสีย
ค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
คำพิพากษาฎีกาที่ 2268/2533
ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยไปจดทะเบียนรับรองบุตรภายในกำหนด 30
วัน ถ้า ไม่ป ฏิบ ัติให้ถ ือเอาคำพิพากษาแสดงเจตนาของจำเลยและศาล
อุทธรณ์พิพากษายืนนั้น ไม่ชอบ เพราะตาม พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว
พ.ศ. 2478 มาตรา 20 บัญ ญัติให้ผ ู้มีส ่ว นได้เสีย เพียงแต่ย ื่น สำเนาคำ
พิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้ว เพื่อให้บันทึกในทะเบียนเท่านั้น
ประกอบกับโจทก์มิได้มีคำขอบังคับดังกล่าวมาในคำฟ้อง จึงเป็นกรณีที่
พิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.
แพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก
คำพิพากษาฎีกาที่ 1177/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคแรก บัญญัติ
ถึงหลักเกณฑ์ในการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไว้ว่า บิดา
จะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอม
ของเด็กและมารดาเด็ก มิใช่เพียงแต่เด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านว่าผู้ขอ
จดทะเบียนมิใช่บิดาเท่านั้นดังข้อความที่บัญญัติไว้เดิม แสดงให้เห็นว่า
บทบั ญ ญั ต ิ ท ี ่ แ ก้ ไขเพิ ่ ม เติ ม ขึ ้ น ใหม่ ว างหลั ก เกณฑ์ ไว้ เข้ ม งวดกว่ า เดิ ม
นอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 ยังได้บัญญัติ
ถึงทางแก้ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กไม่อาจให้ความยินยอมไว้ว่า
(การจดทะเบียน...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 1177/2540 (ต่อ)
การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรจะกระทำได้ต้องมีคำพิพากษาของศาล และให้
บิดานำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียน
ดำเนินการจดทะเบียนให้ อันเป็นข้อสนับสนุนให้เห็นชัดเจนว่าประสงค์ให้
เด็กเป็นผู้ให้ความยินยอมเป็นการเฉพาะตัว ดังนั้นที่โจทก์ทั้งสามฎีกาอ้าง
ว่า โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ที่ 3 โจทก์ที่ 2 จึงให้ความ
ยินยอมแทนโจทก์ที่ 3 ได้นั้น จึงฟังไม่ขึ้น เพราะไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติ
ให้โจทก์ที่ 2 ทำการแทนโจทก์ที่ 3 ในกรณีดังกล่าวได้
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1554
คำพิพากษาฎีกาที่ 729/2491
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับนางกิมจู บุตรโจทก์โดยมิได้จดทะเบียนสมรส
เกิดบุตรด้วยกันไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร เมื่อนางกิมจูตายแล้วสอง
เดือน จำเลยไปจดทะเบียนที่อำเภอรับรองเด็กเป็นบุตร การที่จำเลยไปจด
ทะเบียนรับรองเด็กฝ่ายเดียวเช่นนี้ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนางกิมจูตาย
แล้ว เด็กอยู่ในความปกครองของโจทก์ผู้เป็นยายจึงขอให้ศาลพิพากษาว่า
การจดทะเบียนรับรองบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ถอนการจดทะเบียน
และส่งเด็กไปอยู่ในความปกครองของโจทก์ จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงดัง
ฟ้อง
คำพิพากษาฎีกาที่ 2414/2519
ชายจดทะเบี ย นรั บ รองบุ ต รแล้ ว หญิ ง มารดาฟ้ อ งขอให้ เ พิ ก ถอน
อำนาจปกครองและจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็ก ชายกับหญิงประนีประนอม
ยอมความ ศาลพิพากษาตามยอมว่า หญิงยอมไปถอนทะเบียนรับรองบุตร
ชายให้ค่าตอบแทน 20,000 บาท คำพิพากษานี้ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ของประชาชน โจทก์อุทธรณ์ได้ เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงยุติว่าชายมิใช่บิดา ก็จะ
ถอนการจดทะเบียนมิได้
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1556
คำพิพากษาฎีกาที่ 1053/2480
การฟ้องขอให้รับรองบุตรนั้นจะฟ้องได้ต่อเมื่อเด็กนั้นได้คลอดจาก
ครรภ์มารดาแล้วและมีชีวิตรอดอยู่มีสภาพเป็นบุคคล จะฟ้องในขณะที่
ทารกอยู่ในครรภ์มารดาหาได้ไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 1833/2528
ส. มารดาเด็กหญิง ว. ซึ่งเป็นผู้ปกครองตามกฎหมายของเด็กหญิง
ว. ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เป็นกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กไม่สามารถ
ทำหน้าที่ได้ผู้ร้องซึ่งเป็นยายในฐานะญาติสนิทของเด็กหญิง ว. มีสิทธิร้อง
ขอให้ศาลตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่แทนเด็กได้ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1556 จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง
ว่าเด็กหญิง ว. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ช. ผู้วายชนม์ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 3304/2528
อายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1556
นั้น คู่ความจะต้องยกขึ้นเป็นประเด็น ศาลจึงจะวินิจฉัยให้ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193 ศาลจะยกอายุความขึ้นวินิจฉัยเอง
โดยไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นเป็นประเด็นไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2268/2533
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1556 วรรคสอง ได้
บัญญัติไว้แล้วว่า “เมื่อเด็กมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ เด็กต้องฟ้องเอง ทั้งนี้โดย
ไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม” แสดงว่ากฎหมายให้
อำนาจเด็กฟ้องคดีให้รับรองเด็กเป็นบุตรได้เองโดยเฉพาะ
คำพิพากษาฎีกาที่ 3290/2545
เด็กหญิง อ. เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับจำเลย แม้มิได้จดทะเบียน
สมรสกัน เด็กหญิง อ. ก็เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 ซึ่ง
เป็ น มารดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 แม้ เ ด็ ก หญิ ง อ. จะอยู ่ ใ นความ
อุปการะเลี้ยงดูของ น. กับ ป. ซึ่งเป็นบิดามารดาของโจทก์ที่ 1 หรือต่อมา
หลังจากฟ้องคดีนี้แล้ว น. กับ ป. จะไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง อ. เป็นบุตร
บุญธรรมก็ตาม ก็หากระทบกระทั่งถึงสิทธิของ ว. โจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 1
ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมในการนำคดีมาฟ้องขอให้จดทะเบียนรับรอง
อ. เป็นบุตร ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 1556 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่
(เพราะการ...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 3290/2545 (ต่อ)
เพราะการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรานี้ระบุให้ผู้แทนโดยชอบ
ธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทน ผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจกระทำในนาม
ส่วนตัวได้ แต่กระทำการในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมได้ ดังนั้น โจทก์ที่ 2
จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1557
คำพิพากษาฎีกาที่ 2255/2515
โจทก์เพิ่งจะได้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายซึ่งเป็นบิดา
ตามคำสั่งศาลในคดีซึ่งถึงที่สุดภายหลังที่ผู้ตายตายไปแล้ว ขณะที่ผู้ตายตาย
โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาจากผู้ตาย โจทก์
จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพราะต้องขาดไร้อุปการะจาก
ผู้กระทำละเมิดทำให้ผู้ตายตาย
คำพิพากษาฎีกาที่ 1230/2522
ชายหญิงอยู่กินกันโดยเปิดเผย แต่ไม่จดทะเบียน มีบุตร 2 คน มีสูติ
บัตรของนายทะเบียน มารดาเด็กฟ้องให้บิดารับรองบุตรได้ การรับรองมี
ผลเมื่อค่ำพิพากษาถึงที่สุดเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตั้งแต่นั้น ส่วนค่าเลี้ยง
ดูที่โจทก์จ่ายไปตั้งแต่วันที่จำเลยเลิกร้างกับโจทก์จนถึงวันฟ้องนั้น บังคับให้
ไม่ได้ มารดาฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตร และเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมกัน
มาได้ไม่ต้องฟ้องขอให้รับรองบุตรจนมีคำพิพากษาถึงที่สุดเสียชั้นหนึ่งก่อน
คำพิพากษาฎีกาที่ 4141/2535
การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลมีผลนับแต่
วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
1557 (3) ซึ่งสำหรับคดีนี้ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็น
ต้ น ไป คำพิ พ ากษาศาลอุ ท ธรณ์ ภาค 1 ที ่ พ ิ พ ากษาให้ จ ำเลยจ่ า ยค่ า
อุปการะเลี้ยงดูนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ซึ่งเป็น ปัญ หาอัน เกี่ย วด้ว ยความสงบเรีย บร้อ ยของประชาชน แม้ไม่มี
คู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีเด็กและเยาวชนก็เห็นสมควรหยิบ
ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1558
คำพิพากษาฎีกาที่ 2114/2524
สิทธิรับเงินสงเคราะห์ตกทอดของผู้ตายตามข้อบังคับของการรถไฟ
แห่งประเทศไทย ตกได้แก่ทายาทเนื่องจากการตาย แต่ไม่ใช่ทรัพย์สินของ
ผู้ตาย มิใช่มรดก โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายยังมิได้เป็นทายาทในขณะ
บิดาตาย จึงไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวตามข้อบังคับ แม้ภายหลังจะมีคำ
พิพากษาของศาลถึงที่สุดให้โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ
ผู้ตายก็ไม่มีผลย้อนหลัง
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1559
คำพิพากษาฎีกาที่ 2414/2519
บิดาของเด็กเท่านั้นที่จะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ตามนัยประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1527 (บรรพ 5 เดิม) (บรรพ 5 ใหม่
มาตรา 1548) เมื่อจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วก็จะถอนมิได้ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1531 (บรรพ 5 เดิม) (บรรพ 5 ใหม่
มาตรา 1559) และเมื่อมีการจดทะเบียนดังกล่าวแล้วจะฟ้องขอให้ถอนการ
จดทะเบียนได้ก็ด้วยเหตุที่ว่า ผู้ขอให้จดทะเบียนมิใช่บิดาตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1528 (บรรพ 5 เดิม) (บรรพ 5 ใหม่
มาตรา 1554) เท่านั้นจำเลยยอมให้เงินโจทก์ 20,000 บาท
(เป็นค่า...)
คำพิพากษาฎีกาที่ 2414/2519 (ต่อ)
เป็นค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ยินยอมจะไปเพิกถอนการจดทะเบียนรับรอง
บุตร ซึ่งไม่มีข้อเท็จจริงที่ยุติว่าจำเลยมิใช่บิดาแท้จริงของเด็กนั้นสัญญา
ประนี ป ระนอมยอมความและคำพิ พ ากษาตามยอมของศาลจึ ง ขั ด กั บ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1528 (บรรพ 5 เดิม) ซึ่งเป็น
บทกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาฎีกา
กรณีตามมาตรา 1560
คำพิพากษาฎีกาที่ 1580/2494
บุตรที่เกิดในระหว่างที่บิดามารดาสมรสอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
และจดทะเบียนสมรสกันแล้วจนกระทั่งบิดาถึงแก่กรรมจึงมีคำพิพากษาชี้
ขาดว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างบิดามารดานั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เพราะขณะนั้นบิดายังมีภริยาเดิมอยู่มิได้หย่าขาดกัน ดังนี้ ก็ต้องถือว่าบุตร
นั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาตลอดมา และมีสิทธิได้รับ
มรดกของบิดา
คำพิพากษาฎีกา (เพิ่มเติม)
โปรดดูตำรา
• สหัส สิงหะวิริยะ
จบการบรรยาย
ถาม - ตอบข้อสงสัย

You might also like