You are on page 1of 10

NU Science Journal 2010; 7(1):114 - 123

ความหลากชนิดของมด (Hymenoptera: Formicidae) ในพื้นทีป่ าเบญจพรรณ


ณ อุทยานประวัติศาสตรพนมรุง จังหวัดบุรีรัมย
ธัชคณิน จงจิตวิมล1* และวันดี วัฒนชัยยิ่งเจริญ2

Species Diversity of Ants (Hymenoptera: Formicidae) at the Mixed Deciduous


Forest in Phanom Rung Historical Park, Buriram Province
Touchkanin Jongjitvimol1* and Wandee Wattanachaiyingcharoen2

1
คณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก 65000
2
คณะวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000
*Coresponding author. E-mail: touchkanin@live.psru.ac.th

บทคัดยอ

การศึกษาความหลากชนิดของมดในพื้นที่ปาเบญจพรรณ ณ อุทยานประวัติศาสตรพนมรุง
จังหวัดบุรีรัมย ระหวางเดือนกุมภาพันธ 2551 ถึงเดือนกันยายน 2552 ดวยเทคนิคการเก็บตัวอยางศึกษา
แบบสุมอยางเปนระบบ (systematic random sampling) ตามเสนทางศึกษาธรรมชาติ พบมดจํานวน
ทั้งสิ้น 5 วงศยอย 17 สกุล และ 26 ชนิด โดยพบมดในวงศยอย Dolichoderinae จํานวน 4 ชนิด วงศยอย
Formicinae จํานวน 6 ชนิด วงศยอย Myrmicinae จํานวน 8 ชนิด วงศยอย Ponerinae จํานวน 6 ชนิด
และวงศยอย Pseudomyrmecinae 2 ชนิด โดยมดในวงศยอย Formicinae จํานวน 2 ชนิด คือ
Anoplolepis gracilipes (F. Smith, 1857) และ Oecophylla smaragdina (Fabricius, 1775) มีการกระจาย
ตัวมากที่สุด จากการวิเคราะหดัชนีความหลากชนิดของมด (Shannon – Wiener index และ Pielou's
index) พบวาในพื้นที่ศึกษามีความหลากชนิดของมดมาก (J/ = 0.848) แตมีคาดัชนีความเดนของชนิด
มดนอย (C = 0.459) แสดงใหเห็นวาปาเบญจพรรณ ณ อุทยานประวัติศาสตร พนมรุง จังหวัดบุรีรัมย มี
ความหลากชนิดของมดมากเนื่องจากพื้นที่ศึกษามีความหลากหลายของแหลงอาศัยและแหลงอาหาร

คําสําคัญ: ความหลากชนิด มด ปาเบญจพรรณ อุทยานประวัติศาสตรพนมรุง


NU Science Journal 2010; 7(1) 115

Abstract

Species diversity of ants was studied at the mixed deciduous forest in Phanom Rung
Historical Park, Buriram Province during February 2008 to September 2009. The method of
systematic random sampling was used in the survey for sample collection. These specimens were
classified into 5 subfamilies belonging to 16 genera and 25 species. There were 4 species of ants in
Dolichoderinae, 6 species of subfamily Formicinae, 8 species in subfamily Myrmicinae, 6 species in
subfamily Ponerinae and 2 species in subfamily Pseudomyrmecinae. In this study, the subfamily
Myrmicinae had the highest number of species while the ants in the subfamily Formicinae:
Anoplolepis gracilipes (F.Smith, 1857) and Oecophylla smaragdina (Fabricius, 1775) were the most
abundant species. The species diversity index using Shannon – Wiener and Pielou's indices showed
the highest degree (J/ = 0.848). The dominant index does not show any dominant species (C =
0.459). The abundant of food sources and shelters in the studied site resulted in the diverse of ant
species.

Keywords: species diversity, ants, mixed deciduous forest, Phanom Rung Historical Park

บทนํา
มด (ants) เปนแมลงสังคมแทชั้นสูง (eusocial insect) จัดอยูในวงศ Formicidae อันดับ
Hymenoptera เชนเดียวกับผึ้ง ชันโรง และแตน (Goulet and Huber, 1993) ซึ่งมดเปนแมลงที่มีความ
หลากหลายทางดานชนิดและมีจํานวนมากที่สุดชนิดหนึ่ง มีการแพรกระจายไปไดในหลากหลายพื้นที่
โดยเฉพาะปาเขตรอน และมดสามารถสรางแหลงที่อยูอาศัยไดตั้งแตในพื้นดินจนถึงระดับเรือนยอด
ของตนไม ยกเวนทวีปแอนตารกติกาเพราะโดยรวมของพื้นที่ในทวีปนั้นปกคลุมไปดวยน้ําแข็งทําให
มดไมสามารถอาศัยอยูได (Bolton, 1997; Shattuck, 1999; Yamane et al., 1999) โดยในธรรมชาตินั้น
มดเกือบทุกชนิดมีบทบาทเปนผูบริโภคระดับทุติยภูมิ (secondary consumer) หรือเปนผูลาในสายใย
อาหารของระบบนิเวศ มนุษยจึงนํามดบางชนิดมาใชประโยชน เชน ใชเปนตัวควบคุมแมลงศัตรูพืชได
ทําใหสามารถชวยลดปริมาณการใชสารเคมี อันเปนสาเหตุของมลพิษตอสิ่งแวดลอม เชน การใชมด
Oecophylla smaragdina (มดแดงสม) เปนแมลงศัตรูธรรมชาติในสวนผลไม ไรกาแฟ และชาใน
ประเทศตางๆ เปนตน (Yazdani and Agarwal, 1997; Yamane et al., 1999; เดชา วิวัฒนวิทยา และ
วียะวัฒน ใจตรง, 2544; Mele, 2008) หรือจากการศึกษาความสามารถของมดหํ้าตอการกําจัดมอดปา
เจาะตนสักบริเวณสวนปาพบพระและสวนปาแมละเมา จังหวัดตาก พบวาตนสักที่พบมดหํ้าอาศัย เชน
116 NU Science Journal 2010; 7(1)

Crematogaster (Physocrema) sp., Anoplolepis gracilipes และ Oecophylla smaragdina จะมีแนวโนม


การถูกทําลายลดลง คิดเปนรอยละ 65.71, 40.00 และ 33.00 ตามลําดับ (เดชา วิวัฒนวิทยา, 2539 และ
เดชา วิวัฒนวิทยา, 2545) ดังนั้นการใชมดเปนศัตรูธรรมชาติจึงจัดเปนวิธีการที่ดีวิธีหนึ่ง เนื่องจากไมมี
ผลกระทบตอสิ่งแวดลอมและเปนการประหยัดคาใชจาย นอกจากนี้การที่มดมีการสรางรังภายใต
พื้นดินยังชวยปรับปรุงโครงสรางของดินทางดานกายภาพ เนื่องจากมดจะมีการสะสมอาหารที่เปนซาก
พืชซากสัตวไวภายในรัง โดยซากพืชซากสัตวบางสวนจะมีการยอยสลายเปนธาตุอาหารภายในดินเปน
การชวยสนับสนุนการเจริญเติบโตของพืชประการหนึ่งดวย (สุพัตรา ตั้งใจ และคณะ, 2551)
จากการสํารวจและวิจัยพบวาทั่วโลกมีมดทั้งหมด 16 วงศยอย 296 สกุล ประมาณ 15,000
ชนิด เปนมดที่ทราบชื่อแลวประมาณ 10,000 ชนิด (Bolton, 1997) โดยการกระจายของจะแปรผกผัน
กับความสูงเหนือระดับน้ําทะเล โดย Yamane และคณะ (1999) รายงานวาจํานวนชนิดของมดจะลดลง
เมื่อระดับความสูงเหนือระดับน้ําทะเลเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความหลากชนิดของแหลงอาหารลดลง ซึ่ง
สอดคลองกับรายงานของ Gurevitch และคณะ (2002) ที่อธิบายวาความหลากชนิดของแมลงจะขึ้นอยู
กับความหลากชนิดของอาหาร ปจจุบันประเทศไทยมีรายงานการระบุชนิดของมดในประเทศแลว
จํานวนทั้งสิ้น 247 ชนิด 55 สกุล และ 10 วงศยอย (Jaitrong and Nabhitabhata, 2005) และคาดการณวา
มีมดประมาณ 800-1,000 ชนิด (เดชา วิวัฒนวิทยา และวียะวัฒน ใจตรง, 2544) จากรายงานการศึกษา
ความหลากชนิดของมดในประเทศไทยทําใหทราบวามดสวนใหญจะอาศัยอยูในปาประเภทตาง ๆ เชน
ความหลากหลายและการกระจายของมดในบริเวณอุทยานแหงชาติดอยอินทนนท จังหวัดเชียงใหม
(ภรณี ประสิทธิ์อยูศีล, 2544) ความหลากหลายของมดในบริเวณปาอุทยานแหงชาติเขาใหญ (เดชา
วิวัฒนวิทยา และวารุลี โรจนวงศ, 2542) ชนิดและความชุกชุมของมดตามฤดูกาลบริเวณปาดิบชื้น
ระดับต่ําในปาบาลา เขตอนุรักษพันธุสัตวปาฮาลา-บาลา จังหวัดนราธิวาส (นาวี หนุนอนันต และคณะ,
2546) และความหลากชนิดของมดในพื้นที่ปาเบญจพรรณ ณ อุทยานแหงชาตินายูง-น้ําโสม จังหวัด
อุดรธานี (ธัชคณิน จงจิตวิมล และวันดี วัฒนชัยยิ่งเจริญ, 2552) เปนตน ซึ่งพื้นที่โดยรอบอุทยาน
ประวัติศาสตรพนมรุง จังหวัดบุรีรัมยนั้น มีสภาพสวนใหญเปนปาเบญจพรรณที่มีความหลากหลาย
ทางชีวภาพของแหลงอาหารและแหลงอาศัยของมด โดยตั้งอยูบนยอดเขาพนมรุงซึ่งเปนภูเขาไฟที่ดับ
สนิทในอําเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย (รูปที่ 1) และเปดเปนอุทยานประวัติศาสตรทําใหพื้นที่บางสวน
ถูกใชเพื่อการทองเที่ยวเชิงอนุรักษซึ่งอาจสงผลใหเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพระบบนิเวศ ประกอบ
กับพื้นที่ดังกลาวยังไมมีรายงานการศึกษาความหลากชนิดของมดมากอนดังนั้นการสํารวจความหลาก
ชนิดของมดครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงคเพื่อสํารวจและเก็บรวบรวมมดที่อาศัยในพื้นที่ปาเบญจพรรณ ณ
อุทยานประวัติศาสตรพนมรุง จังหวัดบุรีรัมย เพื่อใหไดขอมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความหลากชนิดของมด
ตอไป
NU Science Journal 2010; 7(1) 117

รูป 1 แหลงที่ตั้งของอุทยานประวัติศาสตรพนมรุง จังหวัดบุรีรัมย

อุปกรณและวิธีการ
1. สํารวจและเก็บรวบรวมตัวอยางของมดในพื้นที่ปาเบญจพรรณ ณ อุทยานประวัติศาสตร
พนมรุง จังหวัดบุรีรัมย ระหวางเดือนกุมภาพันธ 2551 ถึงเดือนกันยายน 2552 ดวยวิธีการเก็บตัวอยาง
แบบสุมอยางเปนระบบ (systematic random sampling) (Krebs, 1999) ตามเสนทางศึกษาธรรมชาติ
เดือนละ 1 ครั้งๆ ละ 3 วัน โดยวิธีการจับดวยมือตามแหลงอาศัย เชน บนดินหรือใตดิน ในเปลือกไม
บนตนไม เปนตน รวมกับการใชตะแกรงรอนซากใบไมและดิน (Romeo and Jaffe, 1998; Hashimoto
et al., 2001) ทุกๆ 100 เมตรในรัศมี 5 เมตร เพื่อเก็บตัวอยางมดอยางนอยรังละประมาณ 20 ตัว หรือ
ตามความเหมาะสม โดยรักษาสภาพของตัวอยางมดที่ไดในเอทิลแอลกอฮอลความเขมขนรอยละ 70
2. บันทึกขอมูลพื้นฐานแตละตัวอยาง ไดแก สถานที่เก็บตัวอยาง วัน เดือน ปที่เก็บ แหลงที่
พบหรือแหลงอาศัย ลักษณะรังที่สรางบนพื้นดินหรือวัสดุตางๆ เพื่อนําขอมูลไปวิเคราะหคาดัชนีความ
เดน (dominant index) และดัชนีความหลากหลายชนิดของมด (species diversity index) (Krebs, 1999)

2.1 วิเคราะหคาดัชนีความเดนของชนิดมด
สูตร C = ∑ (ni / N)2
เมื่อ ni = จํานวนจุดที่พบมดในแตละชนิด
N = จํานวนชนิดของมดทั้งหมดที่พบในการศึกษา
คาที่ไดจะอยูในชวง 0 –1 กลาวคือ
118 NU Science Journal 2010; 7(1)

- ถามีคาใกล 1 แสดงวามีโครงสรางที่ซับซอน (complex structure) คือมี


ความเดนของชนิดมาก
- ถามีคาใกล 0 แสดงวามีโครงสรางที่งาย (simple structure) คือมีความเดน
ของชนิดนอย
2.2 วิเคราะหความหลากชนิดของมดโดยใชสมการของ Shannon – Wiener
สูตร H/ = -∑ Pi ln Pi
เมื่อ H/ = ดัชนีความหลากหลายของ Shannon – Wiener
Pi = สัดสวนของจํานวนจุดที่เก็บมดในแตละชนิดตอผลรวมของ
จํานวนจุดที่พบมดทั้งหมด
ปรับคามาตรฐานเพื่อเปรียบเทียบดัชนีความหลากชนิดของมดโดยใชสมการของ
Pielou index
สูตร J/ = H/ / ln N
เมื่อ J/ = คามาตรฐานดัชนีความหลากชนิด
N = จํานวนชนิดของมดทั้งหมดที่พบในการศึกษา
คาที่ไดจะอยูในชวง 0 –1 กลาวคือ
- ถามีคาใกล 1 แสดงวามีความซับซอนทางสังคม (complex community)
คือมีความหลากชนิดมาก
- ถามีคาเขาใกล 0 แสดงวามีความไมมีความซับซอนทางสังคม (simple
community) คือมีความหลากชนิดนอย

3. นําตัวอยางมดที่เก็บรวบรวมไดมาตรวจเอกลักษณ และจําแนกชนิดตามคูมือการจําแนก
ชนิดมดของเดชา วิวัฒนวิทยา และวียะวัฒน ใจตรง (2544), Bolton (1997) และ Shattuck (1999) ใน
หองปฏิบัติการ และนําตัวอยางไปเปรียบเทียบตัวอยางเพื่อตรวจสอบชนิดที่พิพิธภัณฑธรรมชาติวิทยา
องคการพิพิธภัณฑวิทยาศาสตรแหงชาติ จังหวัดปทุมธานี

ผลการศึกษา
จากการสํารวจความหลากชนิดของมดที่อาศัยในพื้นที่ปาเบญจพรรณ อุทยานประวัติศาสตร
พนมรุง จังหวัดบุรีรัมย ระหวางเดือนกุมภาพันธ 2551 ถึงเดือนกันยายน 2552 พบมดจํานวนทั้งสิ้น 5
วงศยอย 17 สกุล และ 26 ชนิด (ตาราง 1) คือวงศยอย Dolichoderinae วงศยอย Formicinae วงศยอย
Mymicinae วงศยอย Ponerinae และวงศยอย Pseudomyrmecinae
NU Science Journal 2010; 7(1) 119

ตาราง 1 ชนิดของมดที่พบในพื้นที่ปาเบญจพรรณ ณ อุทยานประวัติศาสตรพนมรุง จังหวัดบุรีรัมย

วงศยอย สกุล ชื่อวิทยาศาสตร


Dolichoderinae Dolichoderus Dolichoderus thoracicus (F. Smith,1860)
Dolichoderus tuberifer Emery,1887
Technomyrmex Technomyrmex kraepelini Forel, 1905
Iridomyrmex Iridomyrmex anceps (Roger, 1863)
Formicinae Anoplolepis Anoplolepis gracilipes (F. Smith, 1857)
Camponotus Camponotus rufoglaucus (Jerdon, 1851)
Camponotus sp.1
Camponotus sp.2
Oecophylla Oecophylla smaragdina (Fabricius,1775)
Polyrhachis Polyrhachis sp.
Myrmicinae Cataulacus Cataulacus sp.
Crematogaster Crematogaster coriaria Mayr, 1872
Crematogaster difformis F. Smith, 1857
Crematogaster rogenhoferi Mayr, 1879
Meranopus Meranoplus bicolor (Guerin-Meneville, 1844)
Pheidologeton Pheidologeton diversus (Jerdon, 1851)
Pheidologeton sp.
Solenopsis Solenopsis geminate (Fabricius,1804)
Ponerinae Diacamma Diacamma sculpturata (F.Smith, 1859)
Diacamma vargen (F.Smith, 1860)
Leptogenys Leptogenys diminuta (F. Smith, 1857)
Leptogenys kitteli (Mayr, 1870)
Odontoponera Odontoponera denticulate (F. Smith, 1858)
Pachycondyla Pachycondyla luteipes (Mayr, 1862)
Pseudomyrmecinae Tetraponera Tetraponera allaborans (Walker, 1859)
Tetraponera attenuata (F. Smith, 1877)
รวม 5 วงศยอย 17 สกุล 26 ชนิด
120 NU Science Journal 2010; 7(1)

โดยจํ า แนกเป น มดในวงศ ย อ ย Mymicinae จํ า นวน 5 สกุ ล 8 ชนิ ด ซึ่ ง เป น วงศ ย อ ยที่ พ บ
จํานวนความหลากชนิดของมดมากที่สุด รองลงมาคือมดในวงศยอย Formicinae พบมด 4 สกุล 6 ชนิด
วงศยอย Ponerinae พบมด 4 สกุล 6 ชนิด วงศยอย Dolichoderinae พบมด 3 สกุล 4 ชนิด และวงศยอย
Pseudomyrmecinae เปนวงศยอยที่พบมดนอยที่สุดเพียง 1 สกุล 2 ชนิดดังแสดงรายละเอียดไวตาม
ตาราง 1
เมื่อวิเคราะหดัชนีความเดนของชนิดของมดทั้งหมดที่พบในพื้นที่ศึกษา พบวาไมมีมดชนิด
ใดที่มีความเดนมาก (C = 0.459) โดยมีโครงสรางของระบบนิเวศเปนแบบงายหรือไมมีความซับซอน
สวนคาดัชนีความหลากชนิดของมดนั้น พบวามีความหลากชนิดของมดมาก (J/ = 0.848) กลาวคือมด
ในพื้ น ที่ ดั ง กล า วมี รู ป แบบทางสั ง คมซั บ ซ อ น โดยการศึ ก ษาครั้ ง นี้ พ บมดในวงศ ย อ ย Formicinae
จํานวน 2 ชนิด คือ Anoplolepis gracilipes และ Oecophylla smaragdina (รูป 2) ซึ่งเปนชนิดที่มีการ
กระจายตัวมากที่สุด

ก) ข)
รูป 2 Anoplolepis gracilipes (ก) และ Oecophylla smaragdina (ข)

สรุปและวิจารณผลการศึกษา
จากการศึกษาความหลากชนิดของมดในปาเบญจพรรณพื้นที่อุทยานประวัติศาสตรพนมรุง
จังหวัดบุรีรัมย ระหวางเดือนกุมภาพันธ 2551 ถึงเดือนกันยายน 2552 ดวยเทคนิคการเก็บตัวอยางแบบ
สุมอยางเปนระบบตามเสนทางศึกษาธรรมชาติ พบมดจํานวนทั้งสิ้น 5 วงศยอย 17 สกุล และ 26 ชนิด
(ตาราง 1) โดยจากผลการวิเคราะหดัชนีความเดนของชนิดของมด พบวาไมมีมดชนิดใดที่มีความเดน
มาก (C = 0.459) และจากดัชนีความหลากชนิดของมดโดยใชสมการของ Shannon – Wiener พบวามี
ความหลากชนิดของมดมาก (J/ = 0.848) อาจเปนเพราะสภาพพื้นที่ทําการศึกษามีความอุดมสมบูรณทั้ง
แหลงอาศัยและแหลงอาหาร ทําใหมดนั้นสามารถอาศัยอยูรวมกันไดโดยมีการภาวะการแกงแยงกัน
นอย มดแตละชนิดจึงไมมีการเพิ่มประชากรขึ้นมาอยางโดดเดนเพื่อเขาครอบครองทรัพยากรในพื้นที่
นั้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผลการศึกษาครั้งนี้กับรายงานการศึกษาความหลากชนิดของมดในพื้นที่อื่นโดย
NU Science Journal 2010; 7(1) 121

ใชเทคนิคการเก็บ ตัวอยางเดีย วกันและปาประเภทเดียวกัน พบวาที่อุทยานแหงชาตินายูง-น้ําโสม


จังหวัดอุดรธานี พบมดจํานวนทั้งสิ้น 5 วงศยอย 15 สกุล และ18 ชนิด (ธัชคณิน จงจิตวิมล และวันดี
วัฒนชัยยิ่งเจริญ, 2552) อุทยานแหงชาติทุงแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก พบมดจํานวน 5 วงศยอย 17
สกุล และ 22 ชนิด (สุพัตรา ตั้งใจ และคณะ, 2551) จะเห็นไดวาจํานวนชนิดของมดที่พบจากการศึกษา
ในพื้นที่ดังกลาวมีความใกลเคียงกัน แตยังคงมีความแตกตางกันในดานชนิดของมดที่มีการกระจาย
พันธุมากที่สุด โดยในการศึกษาครั้งนี้พบมดชนิด A. gracilipes และ O. smaragdina มีการกระจายตัว
มากที่สุด ซึ่งเมื่อเปรียบกับรายงานศึกษาความหลากชนิดของมดในพื้นที่อุทยานแหงชาตินายูง-น้ําโสม
พบวามดชนิด Crematogaster difformis และ C. rogenhoferi มีการกระจายพันธุมากที่สุด ในขณะที่พบ
มดชนิด Diacamma sculpturata และ O. smaragdina ในพื้นที่อุทยานแหงชาติทุงแสลงหลวงมากที่สุด
แสดงใหเห็นวาแมจะมีสังคมนิเวศปาไมที่ใกลเคียงกันคือสภาพปาเปนปาเบญจพรรณเหมือนกัน แตจะ
มีความแตกตางกันของพื้นที่ทําใหมีทรัพยากรที่จําเปนตอการดํารงชีวิตของมดมีความแตกตางกัน
เพราะแตละพื้นที่จะมีระบบนิเวศเฉพาะ (individual ecology) จึงสงผลใหมีการกระจายพันธุที่ตางกัน
ดวย แตมีความแตกตางกันนอยกวาพื้นที่ที่มีลักษณะแตกตางกันอยางชัดเจน ซึ่งสอดคลองกับรายงาน
การศึกษาความหลากหลายของมดในเขตรักษาพันธุสัตวปาฮาลา-บาลา จังหวัดนราธิวาส ที่พบมด 8
วงศยอย 63 สกุล และ 255 ชนิด (นาวี หนุนอนันต และคณะ, 2546) จะเห็นวาพื้นที่ปาฮาลา-บาลานั้น
พบชนิดมดสูงกวาพื้นที่อื่นๆ ที่กลาวมาแลวขางตนอยางมีนัยสําคัญ เนื่องจากปาฮาลา-บาลามีความ
อุดมสมบรูณของระบบนิเวศที่สมบูรณ จึงทําใหมีความหลากหลายของชนิดมดสูงที่สุด ซึ่ง Bruehl
และคณะ (1998) อธิบายวาความหลากหลายของมดจะแตกตางกันไปตามชนิดของแหลงอาศัย และ
สอดคลองกับการศึกษาของ Gurevitch และคณะ (2002) ที่รายงานวาความหลากชนิดของแมลงจะ
ขึ้นอยูกับความหลากชนิดของอาหาร ดังนั้นจึงสรุปไดวาความหลากชนิดมดในพื้นที่แสดงใหเห็นถึง
ความสมบูร ณข องระบบนิเวศ โดยเราสามารถใชความหลากชนิ ดของมดเปนดัชนีชี้วัดความ
หลากหลายทางชีวภาพและความซับซอนของระบบนิเวศของพื้นที่นั้น

กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบพระคุ ณ คุ ณ วีย ะวัฒ น ใจตรง เป น อย า งสู ง ที่ กรุ ณ าถ า ยทอดความรู แ ละใหค วาม
ชวยเหลือในการจําแนกชนิดตัวอยางของมด รวมไปถึงเจาหนาพิพิธภัณฑธรรมชาติวิทยา ณ องคการ
พิพิธภัณฑวิทยาศาสตรแหงชาติ จังหวัดปทุมธานี ทุกทานที่เอื้อเฟอความสะดวกในการเทียบเคียง
ตัวอยาง และขอขอบคุณ คุณอิศราพร นิลนนท และเจาหนาที่อุทยานประวัติศาสตรพนมรุง จังหวัด
บุรีรัมย ที่ชวยเหลือในการเก็บรวบรวมตัวอยางของมดในครั้งนี้
122 NU Science Journal 2010; 7(1)

เอกสารอางอิง
เดชา วิวัฒนวิทยา และวารุลี โรจนวงศ. (2542). ความหลากหลายของมดในบริเวณปาอุทยานแหงชาติ
เขาใหญ. การประชุมวิชาการประจําปโครงการ BRT ครั้งที่ 3, 346-350.
เดชา วิวัฒนวิทยา และวียะวัฒน ใจตรง. (2544). คูมือการจัดจําแนกสกุลมดบริเวณอุทยานแหงชาติเขาใหญ.
ภาควิชาชีววิทยาปาไม คณะวนศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ.
เดชา วิวัฒนวิทยา. (2539). มดตัวห้ําของมอดปาเจาะตนสัก. วิทยาสารเกษตรศาสตร (สาขาวิทยาศาสตร).
30(3), 330-335.
เดชา วิวัฒนวิทยา. (2545). ความสามารถของมดหํ้าตอการกําจัดมอดปาเจาะตนสัก. รายงานการสัมมนา
ทางวนวัฒนวิทยา ครั้งที่ 7, 76-81.
ธัชคณิน จงจิตวิมล และวันดี วัฒนชัยยิ่งเจริญ. (2552). ความหลากชนิดของมด (Hymenoptera:
Formicidae) ในพื้นที่ปาเบญจพรรณ ณ อุทยานแหงชาตินายูง-น้ําโสม จังหวัดอุดรธานี.
วารสารเกษตรนเรศวร, 12(ฉบับพิเศษ), 152-155.
นาวี หนุนอนันต, ศุภฤกษ วัฒนสิทธิ์ และเดชา วิวัฒนวิทยา. (2546). ชนิดและความชุกชุมของมดตาม
ฤดูกาลบริเวณปาดิบชื้นระดับต่ําในปาบาลา เขตอนุรักษพันธุสัตวปาฮาลา–บาลา จังหวัดนราธิวาส.
รายงานวิจัยในโครงการ BRT (2546), 163-172.
ภรณี ประสิทธิ์อยูศีล. (2544). ความหลากหลายและการกระจายของมดในบริเวณอุทยานแหงชาติดอย
อินทนนท จังหวัดเชียงใหม. วิทยานิพนธ วท.ม., มหาวิทยาลัยเชียงใหม, เชียงใหม.
สุพัตรา ตั้งใจ, รพีพร ประสาท และอรรถพล ใจงาม. (2551). ความหลากชนิดของมดในปาเบญจพรรณ
ณพื้นที่อุทยานแหงชาติทุงแสลงหลวง จ.พิษณุโลก. การศึกษาอิสระปริญญาตรี. มหาวิทยาลัย
นเรศวร, พิษณุโลก.
Bolton, B. (1997). Identification Guide to the Ant Genera of the World (2nd ed.). Massachusetts:
Cambridge.
Bruehl, C.A., Maryati, M. and Linsenmair, K.E. (1998). Stratification of ants (Hymenoptera:
Fomicidae) in primary rain forest in Sabah, Borneo. Journal of Tropical Ecology, 14(2),
285-297.
Goulet, H. and Huber, J. (Eds.). (1993). Hymenoptera of the World: An identification guide to
families. Ottawa: Agriculture Canada Publication.
Gurevitch, J., Scheiner, S.M. and Fox, G.A. (2002). The Ecology of Plants. USA: Sinauer
Associates.
Hashimoto, Y., Yamane, S. and Maryati, M. (2001). How to design an inventory method for ground-
level ants in tropical forests. Nature and Human Activities, 6, 25-30.
NU Science Journal 2010; 7(1) 123

Jaitrong, W. and Nabhitabhata, J. (2005). A list of known ant species of Thailand (Formicidae:
Hymenoptera). The Thailand Natural History Museum Journal, 1(1), 9-54.
Krebs, C.J. (1999). Ecological Methodology (2nded.). California: Addison Welsey Educational
Publishers.
Mele, P.V. (2008). A historical review of research on the weaver ant Oecophylla in biological
control. Agricultural and Forest Entomology, 10, 13–22.
Romeo, H. and Jaffe, K. (1998). A comparison method for sampling ant (Hymenoptera: Formicidae)
in savannas. Biotropica, 21(4), 348-352.
Shattuck, S.O. (1999). Australian Ants: Their Biology and Identification. Collingwood: CSIRO
Publishing.
Yamane, S., Ikudome, S. and Terayama, M. (1999). Identification Guide to the Aculeata of the
Nansei Islands, Japan. Sapporo: Hokkaido University Press.
Yamane, S., Itino, T. and Nona, A.R. (1996). Ground ant fauna in a Bornean dipterocarp forest.
Raffles Bulletin of Zoology, 44, 253-256.
Yazdani, S.S. and Agarwal, M.L. (1997). Elements of Insect Ecology. India: Narosa Publishing
House.

You might also like