You are on page 1of 10

1

โรงเรียนกุหลาบวิทยา
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18 เรื่อง หลักการของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 รายวิชา ว31242 ชีววิทยา ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4/1
วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 14.00 – 14.50 น. (คาบที่ 6)
อาจารย์นิเทศก์สถานศึกษา ครูณภัทร์ สบายสมัย
อาจารย์นิเทศก์คณะครุศาสตร์ อาจารย์วิภา เกียรติธนะบำรุง
นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นางสาวสิริยา ไทยภักดี รหัสนิสิต 5843667927

สาระการเรียนรู้ที่ 4 ชีววิทยา
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การถ่ายทอดยีนบนโครโมโซม สมบัติและ
หน้าที่ของสารพันธุกรรม การเกิดมิวเทชัน เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ หลักฐาน ข้อมูล และแนวคิดเกี่ยวกับ
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ภาวะสมดุลของฮาร์ดี -ไวน์เบิร์ก การเกิดสปีชีส์ใหม่ ความหลากหลายทางชีวภาพ
กำเนิดของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และอนุกรมวิธาน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ว 4.2 ม.4/14 ระบุสาระสำคัญและอธิบายเงื่อนไขของภาวะสมดุลของฮาร์ดี -ไวน์เบิร์ก ปัจจัยที่ทำให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลในประชากร พร้อมทั้งคำนวณหาความถี่ของ
แอลลีลและจีโนไทป์ของประชากรโดยใช้หลักของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
เมื่อประชากรอยู่ในภาวะสมดุลของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก โดยกลุ่มประชากรมีขนาดใหญ่ ไม่มีการถ่ายเทยีน
ระหว่างกลุ่มประชากร ไม่เกิดมิวเทชัน สมาชิกทุกตัวมีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่ากัน และไม่เกิดการคัดเลือกโดย
ธรรมชาติ จะทำให้ความถีของแอลลีลของลักษณะนั้นไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะผ่านไปกี่รุ่นก็ ตาม เป็นผลให้
ลักษณะนั้นไม่เกิดวิวัฒนาการ
จุดประสงค์การเรียนรู้
เมื่อจบคาบเรียนนี้ นักเรียนสามารถ
1. ระบุเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ทำให้ประชากรอยู่ในสมดุลฮาร์ดี-ไวน์เบิร์กได้ (K)
2. อธิบายผลของเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ทำให้ความถี่แอลลีลในประชากรไม่เปลี่ยนแปลงได้ (K)
3. คำนวณหาความถี่แอลลีลและความถี่จีโนไทป์ที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขในสมดุลฮาร์ด-ี ไวน์เบิร์กได้ (P)
4. มีวินัย อยู่ร่วมกับผู้อื่น และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม (A)
2

สาระการเรียนรู้
หลักการของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก (Hardy-Weinberg principle)
มีแนวคิดว่า ความถี่ของแอลลีลและความถี่ของจีโนไทป์ในยีนพูลของประชากรจะมีค่าคงที่ในทุก ๆ ชั่วรุ่น
ถ้าประชากรอยู่ในเงื่อนไขดังนี้
1. ประชากรต้ อ งมี ข นาดใหญ่ ซ ึ ่ ง จะทำให้ ก ารเปลี ่ ย นแปลงความถี ่ ข องแอลลี ล แบบสุ ่ ม มี โ อกาสที่
จะเกิดได้น้อย
2. ไม่มีการถ่ายเทหรือเคลื่อนย้ายยีนระหว่างประชากรจากการอพยพเข้าหรือออก จึงไม่มีการรับเพิ่มหรือ
สูญเสียแอลลีลเดิม ทำให้ความถี่ของแอลลีลในประชากรไม่เปลี่ยนแปลง
3. ไม่เกิดมิวเทชัน เนื่องจากมิวเทชันอาจทำให้เกิดการหายไปหรือเพิ่มขึ้นของแอลลีล ทำให้ความถี่ของ
แอลลีลเปลี่ยนแปลงไปได้
4. สมาชิกทุกตัวมีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่ากัน หรือการผสมพันธุ์เป็นแบบสุ่ม นั่นคือสมาชิกทั้ง หมดใน
ประชากรไม่ว่าจะมีลักษณะหรือจีโนไทป์แบบใดก็ตาม มีโอกาสเท่ากั นในการผสมพันธุ์ซึ่งทำให้แต่ละ
แอลลีลมีโอกาสเท่ากันในการถ่ายทอดไปยังประชากรชั่วรุ่นต่อไป
5. ไม่มีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สมาชิกทุกตัวในประชากรมีโอกาสสืบพันธุ์ได้เท่ากัน และมีจำนวน
ลูกหลานได้เท่ากัน ทำให้แต่ละแอลลีลมีโอกาสเท่ากันในการถ่ายทอดไปยังประชากรชั่วรุ่นต่ อไป และ
ส่งผลให้ความถี่ของแอลลีลในประชากรไม่เปลี่ยนแปลง
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร (การตอบคำถาม อธิบาย ฟังจับใจความ อ่านในใจ แสดงความคิดเห็น)
2. ความสามารถในการคิด (วิเคราะห์ สังเกต ระบุ สรุป เปรียบเทียบ ลงความเห็นจากข้อมูล คำนวณ)
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา (แก้ปัญหาโจทย์)
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต (การทำงานร่วมกับผู้อื่น)
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี (ใช้นวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนรู้)
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. ครูนำเสนอข่าวสถานการณ์ที่หิ่งห้อยจำนวนกว่า 2,000 สปีชีส์ทั่วโลกกำลัง เสี่ยงต่อการสูญ พันธุ์
เนื่องจากการสูญเสียที่อยู่อาศัย การใช้ยาฆ่าแมลง และแสงประดิษฐ์จากมนุษย์

แหล่งที่มา: https://thematter.co/brief/brief-1580806801/99758
3

2. ครูใช้คำถามหลังแสดงสถานการณ์ข่าว ดังนี้
2.1 จากข่าวดังกล่าว นักเรียนคิดว่าจำนวนประชากรหิ่งห้อยในแต่ละสปีชีส์เป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับ
ในอดีต (จำนวนประชากรหิ่งห้อยลดลง)
2.2 นักเรียนคิดว่าความถี่แอลลีลในประชากรหิ่งห้อยมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร (เปลี่ยนแปลง
โดยความถี่แอลลีลในประชากรลดลง)
3. ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่แอลลีลของประชากร และหากประชากรไม่มีการ
เปลี่ยนแปลงความถี่แอลลีลในแต่ละรุ่นจะเป็นเช่นไร
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ครูกล่าวว่าหากประชากรมีความถี่ของแอลลีลคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่ามีการสืบพันธุ์ต่อเนื่ องไปกี่รุ่นก็
ตาม แสดงว่าประชากรนั้นอยู่ในสมดุลฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก ซึ่งฮาร์ดีและไวน์เบิร์กเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้
ศึกษาเกี่ยวกับยีนพูลของประชากร จนสรุปได้เป็นหลักการของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก
2. ครูกล่าวว่า นักเรียนจะได้ศึกษาปัจจัยหรือเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับสมดุลฮาร์ดี -ไวน์เบิร์ก จากกิจกรรม
ต่อไปนี้
2.1 ครูให้นักเรียนจับคู่กันเพื่อปฏิบัติกิจกรรม
2.2 ครูใช้สื่อนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์ “หลักการของฮาร์ดี -ไวน์เบิร์ก” ของนิสิตนางสาวสโรชา
เตียงช่างรัมย์ เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษา

3. ขั้นตอนในการใช้สื่ออิเล็กทรอกนิกส์ มีดังนี้
3.1 ครูแสดงสถานการณ์ทั้ง 5 สถานการณ์ที่นักเรียนต้องศึกษา
4

3.2 ครูและนักเรียนร่วมกันศึกษาวิธีการเล่นจากสื่อนวัตกรรม โดยเมื่อเลือกสถานการณ์แต่ละแบบ


แล้ว นักเรียนต้องสังเกตรายละเอียดสถานการณ์ในรุ่นปัจจุบันโดยการคลิกเลือกที่ปุ่ม i สังเกต
จำนวนประชากร และคำนวณหาความถี่จีโนไทป์และความถี่แอลลีล หลังการคำนวณนักเรียน
สามารถคลิกเลือกปุ่ม CHECK เพื่อตรวจสอบคำตอบได้ หากต้องการเริ่มคำนวณใหม่ให้เลือกปุ่ม
RESET เพื่อล้างคำตอบทั้งหมด และกดปุ่ม NEXT เพื่อไปศึกษาประชากรรุ่นถัดไป หากนักเรียน
คำนวณความถี่แอลลีลและความถี่จีโนไทป์ได้ถูกต้องจะได้รับคะแนนจากคำตอบนั้น ๆ

สังเกตจำนวนประชากรที่มีจีโนไทป์แบบต่าง ๆ

คำนวณความถี่จีโนไทป์และความถี่แอลลีลแบบต่าง ๆ และบันทึกคำตอบในช่อง

เลือกปุ่ม CHECK เพื่อตรวจสอบคำตอบ

เลือกปุ่ม RESET เพื่อคำนวณใหม่

ปุ่ม i แสดงข้อมูลสถานการณ์ประชากรในรุ่นปัจจุบัน
5

ปุ่ม NEXT เพื่อไปยังประชากรรุ่นถัดไปในสถานการณ์นั้น

ช่องคะแนนเพื่อแสดงคะแนนที่ได้ในประชากรรุ่นนั้น ๆ

4. ครูให้นักเรียนศึกษาแต่ละสถานการณ์ โดยมีรายละเอียดการปฏิบัติกิจกรรมดังนี้
4.1 เมื่อครูแสดงจำนวนประชากรในแต่ละรุ่นของแต่ละสถานการณ์ ให้นักเรียนที่เป็นคู่กันช่วยกัน
คำนวณหาความถี่แอลลีลและความถี่จีโนไทป์แบบต่าง ๆ โดยนักเรียนต้องบันทึกลงในใบกิจกรรม
ด้วยเช่นกัน
4.2 นักเรียนคู่ใดที่คำนวณหาความถี่ได้ก่อน ให้ยกมือเพื่อรอแจ้งคำตอบกับครู
4.3 เมื่อนักเรียนทุกคู่คำนวณเสร็จเรียบร้อย ครูถามคำตอบกับนักเรียนคู่แรกที่ยกมือ ครูกรอกคำตอบ
ของนักเรียนลงในสื่ออิเล็กทรอนิกส์
4.4 ครูให้นักเรียนคู่อื่นตรวจสอบ หากนักเรียนได้คำตอบที่ต่างไป ครูบันทึกคำตอบของนักเรียนไว้
4.5 ครูกดปุ่ม CHECK เพื่อตรวจสอบคำตอบของนักเรียน หากถูกต้องทุกคำตอบนักเรียนคู ่น ั้น จะ
ได้รับคะแนนตามช่อง SCORE ที่ขึ้นในสื่อ หากไม่ถูกต้อง นักเรียนที่เสนอคำตอบมาจะได้รับ
การตรวจความถูกต้องตามลำดับ
4.6 เมื่อนักเรียนศึกษาเรียบร้อยทั้ง 5 สถานการณ์ ให้รวมคะแนนของคู่ตนเอง คู่ใดที่ได้คะแนนมาก
ที่สุดจะเป็นผู้ชนะ
5. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทำกิจกรรม
5.1 ให้นักเรียนเล่าเหตุการณ์ย่อ ๆ ของแต่ละสถานการณ์
- สถานการณ์ที่ 1 มีมลพิษมาก ส่งผลต่อการอยู่รอดของผีเสื้อแต่ละสี
- สถานการณ์ที่ 2 ประชากรมีการผสมพันธุ์แบบสุ่ม
- สถานการณ์ที่ 3 เกิดแผ่นดินไหว ประชากรกระต่ายลดจำนวนลง
- สถานการณ์ที่ 4 ประชากรเป็นโรคโลหิตจางชนิดซิกเกิลเซลล์
- สถานการณ์ที่ 5 มีการอพยพย้ายถิ่นฐานของประชากรค้างคาว
6

5.2 สถานการณ์ใดบ้างที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่แอลลีลของประชากร (สถานการณ์ที่ 1 3 4


และ 5)

5.3 สถานการณ์ใดบ้างที่ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่แอลลีลของประชากร (สถานการณ์ที่ 2)

5.4 ตั ว อย่ า งในแต่ ล ะสถานการณ์ แ สดงถึ ง ปั จ จั ย ที ่ เ ปลี ่ ย นแปลงหรื อ ไม่ เ ปลี ่ ย นแปลงความถี่
แอลลีลอย่างไรบ้าง
- สถานการณ์ที่ 1 เกี่ยวข้องกับการเกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง
ความถี่แอลลีล
- สถานการณ์ที่ 2 เกี่ยวข้องกับการผสมพันธุ์แบบสุ่ม ซึ่งไม่ส่ง ผลต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่
แอลลีล
- สถานการณ์ที่ 3 เกี่ยวข้องกับการลดขนาดของประชากรซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่
แอลลีล
- สถานการณ์ที่ 4 เกี่ยวข้องกับการเกิดมิวเทชันซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่แอลลีล
- สถานการณ์ที่ 5 เกี่ยวข้องกับการอพยพซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่แอลลีล
7

5.5 ประชากรที่อยู่ในสมดุลฮาร์ดี-ไวน์เบิร์กจะต้องมีความถี่แอลลีลเป็นอย่างไร (ความถี่แอลลีลคงที่ใน


ประชากรทุกรุ่น)
5.6 นักเรียนคิดว่าควรเปลี่ยนแปลงปัจจัยในสถานการณ์ข้อใดที่จะทำให้ประชากรมีความถี่แอลลี ล
คงที่และอยู่ในสมดุลฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก
- สถานการณ์ที่ 1 เปลี่ยนแปลงไม่เกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
- สถานการณ์ที่ 3 ประชากรต้องมีขนาดใหญ่
- สถานการณ์ที่ 4 ไม่เกิดมิวเทชัน
- สถานการณ์ที่ 5 ไม่มีการอพยพเข้าหรือออกของประชากร

6. ครูให้นักเรียนสรุปเงื่อนไขที่ทำให้ประชากรอยู่ในสมดุลฮาร์ดี -ไวน์เบิร์ก (ประชากรมีขนาดใหญ่ ไม่มี


การอพยพเข้าหรือออก มีการผสมพันธุ์แบบสุ่ม ไม่เกิดมิวเทชัน และไม่มีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ)
7. ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขแต่ละข้อที่ส่งผลให้ประชากรไม่เปลี่ยนแปลงความถี่แอลลีลใน
แต่ละชั่วรุ่น ทำให้อยู่ในสมดุลตามหลักการของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์กได้
8

ขั้นสรุป
1. ครูให้นักเรียนระบุและอธิบายเงื่อนไขที่ทำให้ประชากรอยู่ในสมดุลฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก ตามแผนผังรูปภาพ

2. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับเงื่อนไขที่ทำให้ประชากรอยู่ในสมดุลฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก
สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2
2. สื่อ Power Point เรื่อง หลักการของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก
3. ใบกิจกรรม เรื่อง หลักการของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก
4. สื่อนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “หลักการของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก” ของน.ส.สโรชา เตียงช่างรัมย์
การประเมินผลการเรียนรู้
1. ประเมินความรู้เรื่องหลักการของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก
1) จากการสังเกตการตอบคำถามในห้องเรียน ตอบถูกร้อยละ 80 ของจำนวนข้อคำถามขึ้นไปจึงจะ
ผ่านเกณฑ์
2) จากการทำใบกิจกรรม เรื่อง หลักการของฮาร์ดี - ไวน์เบิร์ก ได้ 3 คะแนนขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์
มีเกณฑ์คะแนนดังนี้
คะแนน เกณฑ์
5 ถูกต้องสมบูรณ์ สะอาดเรียบร้อย ส่งตรงเวลา
4 ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ สะอาดเรียบร้อย ส่งตรงเวลา
3 ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ ค่อนข้างสะอาดเรียบร้อย ส่งตรงเวลาหรือไม่ตรงเวลา
2 ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ ค่อนข้างสะอาดเรียบร้อย ส่งไม่ตรงเวลา
1 ไม่ถูกต้อง ไม่สะอาดเรียบร้อย ส่งไม่ตรงเวลา
9

2. ประเมินทักษะการคำนวณหาความถี่แอลลีลและความถี่จีโนไทป์ จากการคำนวณโดยใช้สื่อนวัตกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ในการศึกษา นักเรียนสามารถคำนวณได้ร้อยละ 80 ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์
3. ประเมินความมีวินัย การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
1) ประเมินการการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน จากการสัง เกตความมีส่วนร่วมร้อยละ 80 ขึ้นไปจึง จะ
ผ่านเกณฑ์
2) ประเมิน ความมีวินัย จากการส่ง งาน การทำกิจกรรม นักเรียนมีความตรงต่อเวลาร้อยละ 80
ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์
10

บันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ผลการจัดการเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถตอบคำถามได้ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 90
2. นักเรียนสามารถทำใบกิจกรรม เรื่อง หลักการของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์กได้โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.0
3. คำนวณหาความถี่แอลลีลและความถี่จีโนไทป์จากการคำนวณโดยใช้สื่อนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ได้ร้อยละ 80 ขึ้นไป
4. นักเรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียนทั้งการตอบคำถาม และการปฏิบัติกิจกรรมมากกว่าร้อยละ 90
5. นักเรียนมีความตรงต่อเวลามากกว่าร้อยละ 90
ปัญหา/อุปสรรค
1. ตัวเลขที่แสดงจำนวนสิ่งมีชีวิตจีโนไทป์ต่าง ๆ ในประชากรที่แสดงด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตัวเล็ก
เกินไป นักเรียนบางคนมองไม่เห็น
2. ครูคาดการณ์ว่าเวลาไม่เพียงพอที่จะให้นักเรียนคำนวณความถี่แอลลีลและความถี่จีโนไทป์ให้ครบ
3 รุ่น ในแต่ละสถานการณ์
3. นักเรียนที่คำนวณได้ไวจะยกมือตอบก่อนทุกครั้ง ทำให้นักเรียนคนอื่นอาจไม่อยากคำนวณต่อ
4. นักเรียนบางคนไม่มีเครื่องคิดเลขที่ช่วยในการคำนวณ
ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
1. ครูใช้วิธีการขยายหน้าจอให้เป็นแบบ full screen และทุกครั้ง ที่แสดงสถานการณ์ครูจะอ่าน
จำนวนสิ่งมีชีวิตจีโนไทป์แบบต่าง ๆ ให้นักเรียนฟังประกอบด้วย
2. ครูลดการคำนวณโดยให้นักเรียนศึกษาความเปลี่ยนแปลงแค่ประชากรเพียง 2 ชั่วรุ่น จะได้มีเวลา
เพียงพอต่อการสรุปในตอนท้าย
3. ครูเพิ่มเงื่อนไขในการตอบ โดยกำหนดว่าสถานการณ์หนึ่ งนักเรียนจะยกมือตอบได้เพียงหนึ่งครั้ง
จะได้เป็นการกระจายให้นักเรียนคนอื่นได้แสดงคำตอบของตัวเองบ้าง
4. หากมีการคำนวณที่ต้องใช้เครื่องคิดเลข ให้ครูแจ้งนักเรียนก่อนล่วงหน้าให้เตรียมมา
ลงชื่อ............................................................
(นางสาวสิริยา ไทยภักดี)
นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

ลงชื่อ............................................................
(ครูณภัทร์ สบายสมัย)
อาจารย์นิเทศก์สถานศึกษา

ลงชื่อ............................................................
(นายธเนศ วินัยรักษ์)
ฝ่ายวิชาการ

You might also like